--- Page 1 ---
กา (1:1)
         นก ตัว ดำ เที่ยว หา กิน อยู่ ริม บ้าน. อนึ่ง เปน ภาชะนะ สำหรับ ใส น้ำ ต้ม น้ำ บ้าง. อนึ่ง ทำ เปน สำคัญ อย่าง นี้ ๋ บ้าง.
      กาโก (1:1.1)
                ฯ เปน ศรับท์ แปล ว่า กา.
      กากะ (1:1.2)
                ฯ คำ ไท ว่า กา, นก ตัว ดำ นั่น เอง.
      กา ขาว (1:1.3)
               กา เผือก, แต่ ตาม ทรรมดา มัน นั้น ตัว ศี ดำ.
      กา บอก ข่าว (1:1.4)
               นก ตัว ดำ ทำ อาการ ร้อง กอก แกก ๆ, เหมือน จะ บอก ข่าว ต่าง ๆ.
      กา คะนา (1:1.5)
                ฯ ชื่อ สัตว มี ใน เรื่อง สิบ สอง เหลี่อม นั้น. อนึ่ง ว่า หมู่ กา.
      กา เงิน (1:1.6)
               ภาชนะ สำหรับ ใส่ น้ำ, ทำ ด้วย เงิน, เหมือน อย่าง พวก ขุน นาง ใช้ นั้น.
      กา ตะกั่ว (1:1.7)
               ภาชะนะ สำหรับ ใส่ น้ำ, ทำ ด้วย ตะกั่ว, เหมือน อย่าง กา ใส่ น้ำ กาแฝ่ เปน ต้น นั้น.
      กา ต้ม น้ำ (1:1.8)
               คือ กา เปน ภาชนะ ต้ม น้ำ.
      กา ทอง ขาว (1:1.9)
               ภาชะนะ สำหรับ ใส่ น้ำ, ทำ ด้วย ทอง ขาว.
      กา ทอง คำ (1:1.10)
               ภาชะนะ สำหรับ ใส่ น้ำ, ทำ ด้วย ทอง คำ, สำหรับ จ้าว แล คน มี วาศนา มาก ใช้.
      กา ทอง แดง (1:1.11)
               สำหรับ ใส่ น้ำ บ้าง, ต้ม น้ำ บ้าง, ทำ ด้วย ทอง แดง.
      กา ทอง เหลือง (1:1.12)
               ภาชะนะ สำหรับ ใส่ น้ำ, ทำ ด้วย ทอง เหลือง.
      กา น้ำ (1:1.13)
               ภาชะนะ สำหรับ ใส่ น้ำ กิน, เหมือน อย่าง กา เงิน เปน ต้น.
ก๋า (1:2)
         คือ คน เก่ง ไม่ กลัว ใคร, กิน เล่า เมา เที่ยว หร้า อยู่ กลาง ถนน เปน ต้น.
กากี (1:3)
          ฯ ชื่อ หญิง ใน เรื่อง นิทาน แต่ ก่อน, มี หลาย เล่ม.
กาแก (1:4)
         นก ตัว ดำ เล็ก กว่า กา, ร้อง เสียง ดัง แก ๆ.
กากะนึก (1:5)
          ฯ คือ ทรัพย์ นอ้ย ไม่ ถึง เฟื้อง. เรา เปน คน จน มี ทรัพย์ อยู่ กากะนึก หนึ่ง เท่า นั้น.
กากะทึง (1:6)
          ฯ เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ดอก มัน คล้าย ๆ กับ ดอก สาระพี.
กากะบาท (1:7)
          ฯ แปล ว่า ตีน กา, เขียน ไว้ อย่าง นี้ ๋ เปน สำคัญ ว่า ค่ำ ตก ใน ที่ นั้น. อนึ่ง เรียก ว่า ไม้ จัตวา
กา ขีด ไว้ (1:8)
         คือ ขีด ไว้ อย่าง นี้ ๋, เรา จะ ขีด ไว้ เปน สำคัญ เช่น นี้ -:-.
กาณะ (1:9)
          ฯ คำ ไท ว่า ตา บอด, คือ ตา มืด ตา เหน ไม่ ได้.
กา ฝาก (1:10)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, มัน งอก ขึ้น ติด อยู่ กับ กิ่ง ไม้ ต่าง ๆ.
กาแฝ่ (1:11)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, มา แต่ เมือง นอก, เม็ด มัน ต้ม น้ำ ร้อน กิน, คล้าย กับ ใบ ชา.
กา เฟือง (1:12)
         คือ กา น้ำ ที่ ทำ ด้วย ทอง เหลือง บ้าง เปน ต้น, ทำ เปน เฟือง ๆ นั้น.
กามาพะจร (1:13)
          ฯ ชื่อ สวรรค์ ๖ ชั้น, บุคล กระทำ การ กุศล มี ศิล แล ทาน เปน ต้น, ไท ถือ ว่า ได้ ไป บังเกิด ใน ชั้น กามาพะจร สวรรค์ ชั้น ใด ชั้น หนึ่ง นั้น.
กาเมสุ (1:14)
          ฯ แปล ว่า ใน กาม ทั้งหลาย.
กาเมสุมิจฉาจาร (1:15)
          ฯ ประพฤษดิ์ ผิด ใน ความ ปราถนา, คือ ล่วง ประ เวณีย์ ผัว เมีย เขา นั้น.
กาโม (1:16)
          ฯ ความ อยาก ได้, คือ ใจ คิด ใคร่ ได้ นั้น.
กามะ (1:17)
          ฯ ว่า ความ ใคร่ ได้.
      กามะตันหา (1:17.1)
                ฯ ใจ ปราถนา อยาก ได้ สิ่ง ของ ทั้งปวง, ใคร่ อยาก ได้.
      กามะคิเลศ (1:17.2)
                ฯ คือ อยาก ได้ ใน เรื่อง ของ ที่ จะ กระทำ ให้ ใจ เศร้า หมอง นั้น.
      กามภพ (1:17.3)
                ฯ ว่า อยาก ไป บังเกิด ใน โลกย์ ต่าง ๆ.
      กามะพฤกษ (1:17.4)
                ฯ ต้น ไม้ เปน ที่ ให้ สม ปราถนา.
      กามคุณ (1:17.5)
                ฯ ใจ ปราถนา รูป, เสียง, กลิ่น, รศ, ถูก ต้อง ด้วย กาย.
      กามราค (1:17.6)
                ฯ ใจ อยาก เสพ เมถุน, จะ ไคร่ ได้ ความ คำนัด.

--- Page 2 ---
      กามะวิตก (2:17.7)
                ฯ ความ คิด ตรึก ตรอง ไป ใน เรื่อง กิเลศ กาม, แล พัศดุ กาม เปน ต้น.
กายา (2:1)
          ฯ ตัว คน ตัว สัตว เดียรฉาน ทั้งปวง, คือ รูป กาย อัน ประชุม ลง ซึ่ง ของ ชั่ว นั้น เอง.
กายี (2:2)
          ฯ ว่า กาย. ชื่อ เสนาบดี ผู้ พิภาคษา, ใน เรื่อง นิทาน สิบ สอง เหลี่ยม.
กาโย (2:3)
          ฯ ตัว คน ตัว สัตว ทั้งปวง, คือ ร่าง กาย นำ มา ซึง ของชั่วนั้น.
กายะ (2:4)
          ฯ ว่า กาย, คือ ปันจะขันธ์ ประชุม กัน.
      กายะกรรม (2:4.1)
                ฯ การ ทิ้ ทำ ด้วย กาย.
      กายะศิทธิ (2:4.2)
                ฯ สำเร็ทธิ์ ด้วย กาย. อนึ่ง ฆ่า ปรอด ตาย, ว่า เปน กายะศิทธิ.
การิยะ (2:5)
          ฯ กระทำ แล้ว.
การุณิโก (2:6)
          ฯ แปล ว่า ประกอบ ด้วย ความ กรรุณา.
การะเกศ (2:7)
         ดอกไม้ ศี เหลือง กลิ่น หอม ดี ดู งาม, ต้น เท่า ด้ำ ภาย, ใบ เปน หนาม, ขึ้น อยู่ ที่ ดิน เปียก ริม น้ำ.
การะณิกา (2:8)
          ฯ ต้น ไม้ ดอก ขาว ก้าน แดง งาม, กลิ่น หอม ดี, ต้น โต เท่า น่อง, ใบ เท่า สอง นิ้ว คาย ๆ.
การะณิเหตุ (2:9)
          ฯ เหตุ เดิม แรก กระทำ.
การะณัง (2:10)
          ฯ เหตุ ทั้งปวง ต่าง ๆ.
การะบูร (2:11)
         ของ เผ็ด ร้อน เปน เม็ด ๆ เหมือน น้ำ ตาน ทราย, มา แต่ เมือง นอก, ใช้ ทำ ยา หลาย อย่าง หอม ดี.
การะวิก (2:12)
          ฯ นก งาม เสียง เพราะ, เมือง ไท ไม่ มี. อนึ่ง ชื่อ ภูเขา, บริวาน เขา พระเมร.
การะเวก (2:13)
          ฯ ความ เหมือน การะวิก.
กาหรอด (2:14)
         นก อย่าง หนึ่ง มัน ร้อง ดัง กรอด ๆ เปน ต้น, กิน ผลไม้.
การก (2:15)
          ฯ กระทำ. อนึ่ง หนังสือ สำหรับ เรียน ภาษา, เขา เรียก ชื่อ อย่าง นั้น.
กาลาป๋า (2:16)
         เปน ชื่อ เกาะ หนึ่ง อยู่ ทิศ ใต้ ใน ทะเล, เขา เรียก เกาะ ยะกะกรา บ้าง.
กาลี (2:17)
          ฯ ว่า โทษ การ ชั่ว หน้า อาย ที่ ไม่ ควร จะกระทำ, คือ เด็ก หญิง ชาย ที่ ยัง ไม่ สม ประเวณีย์ เปน ผัว เมีย กัน เปน ต้น.
กาลุไท (2:18)
          ฯ เคราะห์ ร้าย มา ถึง เปน เพลา เปน คราว ๆ
กาเล (2:19)
          ฯ เพลา, ขณะ ครั้ง, คราว.
กาโล (2:20)
          ฯ เวลา, เหมือน กัน.
กาลำภัก (2:21)
         แก่น ไม้ ที่ ไม่ เคย มี ตาม ทำเนียม, กลิ่น หอม ดี, ศี ดำ เปน เส้น ๆ, ทำ ยา บ้าง, เผา ไฟ ไหว้ จ้าว บ้าง.
กาหล่ำ (2:22)
         ผัก คล้าย กับ ผัก กาด, เปน ปลี หุ้ม ห่อ กัน อยู่, ต้น สัก คืบ หนึ่ง, ผัด กิน, ต้ม กิน ก็ ได้.
กาละ (2:23)
          ฯ เวลา ตาย.
กาละกัดตา (2:24)
         เปน หัว เมือง ขึ้น แก่ อังกฤษ. อยู่* ใน ประเทศ บังคลา.
กาละ กีริยา (2:25)
          ฯ ว่า ตาย.
กาลปาวะสาน (2:26)
          ฯ ว่า เปน ที่ สุด กัลป์.
กาลัง (2:27)
          ฯ ตาย.
กาละ ได (2:28)
         คือ เวลา ใด, เมื่อ ไร, ขณะ ใด, ครั้ง ใด, ปาง ใด.
กาลิง (2:29)
         นก ตัว เขียว เหมือน นก แก้ว ปาก ดำ, ต้ว ไม่ สู่ โต, อยู่ ใน ป่า ออก ลูก ใน โพรง ไม้, คน เอา มา เลี้ยง บ้าง.
กาลิงปิง (2:30)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ ย่อม ๆ อย่าง หนึ่ง, มี ลูก รศ เปรี้ยว, เขา กิน เปน กับ เข้า.
กาละบาต (2:31)
          ฯ ดวง กลม โต เท่า ผล มพร้าว ห้าว, ศี คล้าย กับ โคม ที่ จุด ไฟ สว่าง, ตก ลง มา จาก อากาษ ถึง ดิน แล้ว, แตก กระจาย ออก เหมือน ไฟ ผะเนียง.
กาฬะปักข์ (2:32)
          ฯ วัน แรม ค่ำ หนึ่ง ไป ถึง วัน สิ้น เดือน.
การะศรรบท์ (2:33)
          ฯ ข่าว เล่า ฦๅ พูด กัน ต่อ ๆ มา. อนึ่ง กระทำ เสียง ดัง เที่ยง คืน, เปน คำ ตลาด.
กาละปังหา (2:34)
          ฯ เปน ต้นไม้ ไม่ มี ใบ อยู่ ใน ทะเล น้ำ เคม, ต้น มัน ศีดำ.
กาละ สูตร (2:35)
          ฯ ขุม นรก มี สาย บัน ทัด เหล็ก รุ่ง เรือง เปน เปลว ไฟ, สำหรับ ดีด กาย สัตว นรก ให้ แตก ตาย.
กาละ ก่อน (2:36)
         คือ เวลา ที่ ล่วง แล้ว นาน บ้าง, เรว บ้าง.
กาหลง (2:37)
         ต้น ไม้ ไม่ สู้ โต, ดอก ขาว บาน เปน สี่ กลีบ ไม่ สู้ หอม, ใช้ ทำ ยา บ้าง, กา ซ่อน ของ ไว้ ลืม เสีย.
กาลัก น้ำ (2:38)
         คือ ลำ หลอด เหมือน ก้าน บัว ที่ ดูด น้ำ ให้ ไหล ไป นั้น.
กาหลัง (2:39)
         ชื่อ เมือง ใน เรื่อง อิเหนา.
กาล่อน (2:40)
         เปน ชื่อ ต้น ไม่ ม่วง อย่าง หนึ่ง, จุบ เนื้อ มัน ล่อน ไม่ ติด เม็ด นั้น.
กาวี (2:41)
          ฯ ชื่อ ใบ เรือ ล่อง บท อย่าง หนึ่ง. หิน ศี แดง อ่อน พระสงฆ์ ทำ สำหรับ ลับ มีด โกน ทอง เหลือง.
กาเหว่า (2:42)
         นก ตัว ดำ บ้าง, ตัว ลายบ้าง, เล็ก กว่า กา, เสียง เพราะ, ไม่ รู้ จัก ทำ รัง, มัน ไข่ ให้ แม่ กา ฟัก.

--- Page 3 ---
กาษาวะพรรษถ์ (3:1)
          ฯ ผ้า ยอม ด้วย น้ำ อัน บังเกิด แต่ รศ ฝาด, คือ ผ้า เหลือง ที่ พวก พระสงฆ์ นุ่ง ห่ม.
กาษาวัง (3:2)
          ฯ น้ำ บังเกิด แต่ รศ ฝาด.
กาศัก (3:3)
         นก อย่าง หนึ่ง บิน มา เมื่อ เวลา กลาง คืน, ได้ ยิน แต่ เสียง ปีก มัน, หา เหน ตัว ไม่.
กาษร (3:4)
         เปน สัตว สี่ ท้าว, ไท เรียก ควาย, คำ เขมม เรีอก กาษร.
กาสับ (3:5)
         นก ตัว ดำ เมื่อ มัน กิน ของ นั้น, เอา ปาก สับ สง กิน.
กาฬะยักษ (3:6)
          ฯ เปน ชื่อ ยักษ ตัว มัน ดำ, ว่า ไว้ ใน เรื่อง นิทาน.
กาฬา (3:7)
          ฯ ของ ดำ เหมือน มึก แล เขม่า.
กาฬะกีนี (3:8)
          ฯ แปล ว่า โทษ ชั่ว ร้าย.
กาฬะ (3:9)
          ฯ ของ ศี ดำ ทั้งปวง หมด เรียก อย่าง นั้น.
กาแอ (3:10)
         เด็ก อ่อน ๆ เรียก ลูก กาแอ, ลูก งัว, ลูก ควาย, ลูก แพะ, ลูก แกะ, เล็กๆ ภอ วิ่ง ได้ เปน ต้น จน สอง ขวบ สาม ขวบ นั้น.
กาแอต (3:11)
         เด็ก อ่อน ๆ ตื่น นอน แล้ว ร้อง ไห้ เสียง มัน คล้ายๆ กัน.
กาออด (3:12)
         เสียง คน แก่ บ่น ต่าง ๆ, เขา มัก พูด กัน ว่า บ่น.
กาอับ (3:13)
         เสียง คน บ่น ต่าง ๆ, เขา พูด กัน ว่า, บ่น กาอับ กาอุบ.
กาอุบ (3:14)
         เสียง บ่น ต่าง ๆ, เขา พูด กัน ว่า, บ่น กาอุบ กาอับ, คำ ตลาด, ว่า ปลา กาอุบ.
กินร (3:15)
          ฯ คน อะไร, สัตว อย่าง หนึ่ง รูป เหมือน มนุษ, เบื้อง ต่ำ ตั้งแต่ บั้น เอว ลง ไป มี หาง คล้าย ไก้ แจ้. สัตว นี้ อยู่ ใน ถ้ำ แก้ว ป่า หิมพาน, เขา มัก เขียน รูป ปั้น รูป มัน ตั้ง ไว้ ดู เล่น.
กิริยา (3:16)
          ฯ กระทำ ดี, กระทำ ชั่ว, การ ดี, การ ชั่ว.
      กิริยา ภาที (3:16.1)
               คือ พูด แล กระทำ การ ดี การ ชั่ว.
      กิริยา ตาย (3:16.2)
               คือ ความ ตาย นั้น, เหมือน คำว่า กระทำ กาละกิริยาตาย.
กิริยะติ (3:17)
          ฯ เรี่ย ราย, กระทำ เดียระดาษ, ดาด ดื่น.
กิระ (3:18)
          ฯ ได้ ยิน ว่า, ได้ ฟัง มา.
กิมิชาติ (3:19)
          ฯ แปล ว่า หนอน.
กิลาโส (3:20)
          ฯ ขี้ กลาก,
กิเลศ (3:21)
          ฯ ของ ยัง ใจ ให้ เสร้า หมอง, คือ โลภ แล พยาบาท แล โกรษ แล หลง เปน ต้น.
กิเล็น (3:22)
         สัตว สี่ ท้าว ตัว เปน เกล็ด คล้าย จรเข้, หัว คล้าย มังกร, หาง คล้าย สิงห์ โต, มี อยู่ เมือง จีน.
กิละมะติ (3:23)
          ฯ ลำบาก, ประดัก ประเดิด, คือ ความ อยาก นั้น เอง.
กิละมะถะ (3:24)
          ฯ ความ ลำบาก กาย, ประดัก ประเดิด, เหน็ดเหนื่อย.
กิหลัน (3:25)
         คำ จีน ว่า, ที่ ลับ ของ ผู้ ชาย.
กิทิสัง (3:26)
          ฯ เหมือน อะไร, เหมือน อย่างไร, ปานใด, เช่นไร.
กิษา (3:27)
          ฯ ผอม, ซูบ.
กี่ (3:28)
         เครื่อง ธอ หูก, เครื่อง สำหรับ ทำ ทอง.
      กี่ ทำ ทอง (3:28.1)
               เครื่อง ทำ ด้วย ไม้ ให้ เปน ราง แล้ว, อาไศรย ทำ ทอง คำ ให้ เปน รูป ต่าง ๆ.
      กี่ ธอ ผ้า (3:28.2)
               เครื่อง ทำ ด้วย ไม้ ให้ เปน ร้าน ขึ้น แล้ว, สำหรับ อาไศรย นั่ง ธอ ผ้า ต่าง ๆ.
      กี่ หูก (3:28.3)
               เครื่อง สำหรับ ธอ ผ้า.
กี้ (3:29)
         ก่อน, เมื่อ กี้, แต่ กี้ แต่ ก่อน, คำ ตลาด. ไป เมื่อ ตะกี้.
กุ (3:30)
          ฯ ชั่ว, ร้าย.
กุกะ (3:31)
          เปน คน ดุดะ เกะกะ.
กุกุจะ (3:32)
          ฯ จม อยู่ อัน บุคล เปน ไป ด้วย ปัญา พึ่ง เกลียด, ขี้ เกียจ.
กุกุก (3:33)
          ฯ กึก ก้อง เพราะ คน เล่า ฦๅ กัน ไป, ด้วย มี บุญ มี ยศศักดิ์.
กุกุฎะพันท์ (3:34)
          ฯ เครื่อง สำหรับ พระ มหา กระษัตร ห้า สิ่ง, คือ สนอง พระ บาท, ธาร พระกร, พระแซ่, พระขรรค์, มงกุฏ.
กุกุฏะ (3:35)
          ฯ ไก่.
กุจฉา (3:36)
          ฯ คำ ติเตียน.
กุจฉิ (3:37)
          ฯ ท้อง.
กุช่าย (3:38)
         เปน ชื่อ ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง เปน ของ จีน.
กุฎี (3:39)
          ฯ เรือน เล็ก ๆ, สำหรับ พระสงฆ์ อาไศรย.
กุดั่น (3:40)
         ลาย เครื่อง ประดับ, ลาย สลัก เครื่อง ใช้ ต่าง ๆ, เขา เรียก ลาย กุดั่น, คือ เอา สิ่ว สลัก ดุน พื้น มัน ขึ้น มา.
กุปะ (3:41)
          ฯ กำเริบ เหมือน น้ำ ที่ ถุก ลม เปน คลื่น เปน ต้น.
กุมารกศักปะ (3:42)
          ฯ ชื่อ พระสงฆ์ อริยสาวก.
กุมารา (3:43)
          ฯ คือ เด็ก ชาย ยัง อยู่ พร้อม ทั้ง พ่อ ทั้ง แม่ นั้น.
กุมารี (3:44)
          ฯ เด็ก หญิง, คือ นาง กุมารี มี อายุศม์ ได้ สิบ สอง สิบ สาม ปี พ่อ แม่ ยัง อยู่ พร้อม.
กุระ (3:45)
         อังกุระ ฯ หน่อ, หน่อ กล้วย, หน่อไม้, หน่อ โพธิสัตว์.
กุเรปั่น (3:46)
         ชื่อ กระษัตร ใน เรื่อง อีเหนา.
กุลา (3:47)
          ฯ กระกูล, วงษ์, เหล่า, แซ่.
กุลี หนึ่ง (3:48)
         คำ เขา เรียก ผ้า ๒๐ ผืน, ว่า กุลี หนึ่ง.
กุลาหล (3:49)
          ฯ เสียง อือ อึง ใหญ่ หลวง, ความ เล่า ฦๅ กัน เอิกเกริก วุ่น วาย, ความ กุลาหล ทั้ง เมือง.
กุลุปะโค (3:50)
          ฯ ภิกขุ เข้าไป สู่ กระกูล.

--- Page 4 ---
กุเล (4:1)
          ฯ กระกูล, วงษ, โคตร์, เหล่า, กอ, แซ่.
กุละบุตร (4:2)
          ฯ ลูก กระกูล, ลูก เหล่า, ลูก กอ.
กุละทูสก (4:3)
          ฯ ทำลาย กระกูล, ทำ ร้าย กระกูล.
กุหลาบ (4:4)
         ดอก ไม้ ศี แดง อ่อน งาม นัก กลิ่น ดี ด้วย, ต้นเดิม เอา มา แต่ เมือง เทษ, ใบ เล็ก ๆ ต้น เปน หนาม.
กุเวรุราช (4:5)
          ฯ ชื่อ เมือง ใน เรื่อง นิทาน แต่ ก่อน. อนึ่ง ชื่อ พญา เทวดา ชั้น จาตุมหาราช ที่ หนึ่ง.
กุลา (4:6)
         ฯ หญ้าคา, ต้น มัน กลม เท่า เข็ม ใหญ่, ใบบาง เล็ก คม สอง ข้าง, ใช้ มุง หลัง คา.
กุสาวะดี (4:7)
          ฯ ชื่อ เมือง ใน เรื่อง นิทาน แต่ ก่อน.
กุสิตาราม (4:8)
          ฯ ชื่อ วิหาร ใหญ่ ใน เรื่อง นิทาน แต่ ก่อน.
กุศล (4:9)
          ฯ บุญ, การดี, การ ชอบ.
กุสะลา (4:10)
          ฯ กุศล, บุญ, การดี.
กุสะลัง (4:11)
          ฯ ซึ่ง กุศล, บุญ, การดี.
กุสุม (4:12)
          ฯ แปล ว่า ดอก ไม้.
กุหะกะ (4:13)
          ฯ โกหก, พูดปด, พูด เท็จ, พูด ไม่ จริง, อำพราง, หลอกลวง, คดโกง.
กู (4:14)
         แทน ข้า, แทน เรา, แทน ฉัน, คน ที่ โกรธ พูด ถึง ตัว ว่า, กู ไม่ กลัว, เด็ก พูด กัน ว่า, กู ไม่ เล่น.
      กู หน่า (4:14.1)
               นาย พูด กับ บ่าว ถึง ตัว เอง ว่า, กู หน่า มึง จำ ไม่ ได้ หฤๅ, ผู้ ใหญ่ พูด กับ เด็ก อย่าง นั้น บ้าง.
      กู เอง (4:14.2)
               ใช้ ต่าง ฉัน, ต่าง เรา, บ่าว ถาม นาย ว่า ใคร, นาย ตอบ ว่า, กู เอง, เด็ก ก็ เหมือน กัน.
กู่ (4:15)
         คน เดิน ทาง พลัด กัน แล้ว, กู่ เรียก กัน, หา กัน, เสียง คน กู่ กัน ออก เพรียก ไป ตาม หน ทาง ใน ดง.
      กู่ ก้อง (4:15.1)
               คน เดิน ดง พลัด กัน ไป, กู่ หา กัน เสียง ก้อง ดง, จึ่ง ว่า กู่ ก้อง ดง, ก้อง ป่า.
      กู่ กัน (4:15.2)
               คน เดิน ป่า, หฤๅ เดิน เรือ, หฤๅ เดิน เวลา กลาง คืน, พลัด กัน ไป, ต่าง คน ต่าง กู่ หา กัน.
      กู่ รับ (4:15.3)
               เขา ร้อง กู่ รับ เพื่อน กัน, เรา ได้ ยิน เสียง คน กู่ รับ อยู่ ใน ป่า, เรา ยืน อยู่ ชาย ป่า กู่ เข้า ไป ได้ ยิน เสียง เหมือน คน กู่ รับ อยู่ ใน ป่า นัน.
      กู่ เพรียก ไป (4:15.4)
               คน เดิน พลัด กัน ไป หลาย คน, ต่าง คน ต่าง กู่ หา กัน เสียง เพรียก ไป.
กู้ (4:16)
         คน ตาก เข้า แล้ว, เมื่อ โกย เข้า ใส่ กะบุง ไว้ นั้น, ว่า กู้ เข้า.
      กู้ เงิน (4:16.1)
               ฯ เอา เงิน เขา ไป, ทำ หนังสือ สาร กรมทัน สัญา ไว้ ให้ เฃา, แล้ว ส่ง ดอก เบี้ย ตาม ทำเนียม กฎหมาย.
      กู้ นี่ (4:16.2)
               ใช้ เงิน ให้ เขา จน พ้นนี่, เพราะ เปน นี่ เขา, พูดกัน ว่า กู้ นี่.
      กู้ บ้าน (4:16.3)
               บ้าน จะ เสีย แก่ ผู้ อื่น แล้ว, ช่วย แก่ ไข ไว้ ได้.
      กู้ ผ้า (4:16.4)
               ผ้า ตาก แดด ตาก ลม ไว้, เก็บ กู้ เอา มา ไว้ เสีย.
      กู้ เมือง (4:16.5)
               เมือง จะ เสีย แก่ ฆ่า ศึก แล้ว, หฤๅ เกือบ จะ เสีย ก็ ดี, กลับ แก้ ไข ช่วย เมือง ไว้ ได้.
      กู้ เรือ (4:16.6)
               เรือ ล่ม น้ำ เข้า เต็ม แล้ว, วิด น้ำ ออก เสีย ทำ ให้ เรือ ลอย ขึ้น ได้.
      กู้ ยืม (4:16.7)
               เอา เงิน เขา มา ใช้, หฤๅ ของ อื่น ก็ ดี, แล้ว เอา ของ นั้น ไป ใช้ ไป ส่ง เขา, ให้ ดอก เบี้ย บ้าง.
เก (4:17)
         สิ่ง ที่ ไม่ ตั้ง ตรง อยู่, เหมือน ฟัน คน เปน ต้น, ถ้า มัน ไม่ ตั้ง ตรง อยู่, ว่า ฟัน เก.
เกจิ (4:18)
          ฯ อัน ใด อัน หนึ่ง, ถ้า พูด ถึง คน ก็ ว่า, คน ใด คน หนึ่ง, พูด ถึง สัตว ว่า, ตัว ใด ตัว หนึ่ง, พวก หนึ่ง, บ้าง พวก เปน ต้น.
      เกจิ อาจาริย์ (4:18.1)
                ฯ อาจารย์ คน ใด คน หนึ่ง, ว่า อาจาริย์ พวก หนึ่ง ก็ ว่า.
เกตุมาลา (4:19)
          ฯ ว่า พระโมลี, คือ ผม เปน จอม อยู่ บน ศีศะ, เปรียบ เหมือน ธง.
เกเร (4:20)
         พูด จา ไม่ ตรง, พูด ไม่ เข้า เพื่อน, ทำ การ ไม่ เข้า เพื่อน, เล่น ไม่ เข้า เพื่อน.
      เกเร เกเส (4:20.1)
               ของ ไม่ สู้ ดี, คน ไม่ สู้ ดี, สารพัด ไม่ สู้ ดี ว่า อย่าง นั้น.
เกลิง (4:21)
          ฯ เยาะ เย้ย, เย้ย หยัน, ไยไภย, ยั่ว เย้า.
เกวัดฎ (4:22)
          ฯ พรานเบ็ด. อนึ่ง เปน ชื่อ คน ใน เรื่อง นิทาน แต่ ก่อน.
เกวะลัง (4:23)
          ฯ สิ้น เชิง, ด้วย แท้, ทั้ง ปวง, เปน ไป กับ ด้วย อะไวยวะ อัน บรรณดิต พึง นับ
เกวะลัศะ (4:24)
          ฯ ด้วย แท้, ทั้ง ปวง, ทั้ง สิ้น, ทั้ง หมด, สี้น เชิง.
เกษา (4:25)
          ฯ ผม มาก.
เกศี (4:26)
          ฯ ผม.
เกเส (4:27)
          ฯ ใน ผม.
เกษรฯ (4:28)
          เปน เส้น เล็ก ๆ อยู่ ใน กลีบ ดอก ไม้ ทั้ง ปวง กลิ่น หอม.
เกษุมะ (4:29)
          ฯ ดอก ไม้.
เกฬา (4:30)
          ฯ เยาะ เย้ย
เกฬิง (4:31)
          ฯ เยาะ เย้ย, เย้ย หยัน, ยั่ว เยาะ.
เก่ (4:32)
         ไม่ ดี, หฤๅ ไม่ ได้ การ, ว่า มัน ไม่ เปน เก่ แล้ว.
เก้ (4:33)
         คน เมา เดิร ไม่ ตรง ทาง, เขา ว่า เดิร เก้ กัง.
      เก้ กัง (4:33.1)
               ความ เหมือน กัน.

--- Page 5 ---
แก (5:1)
         นก ตัว ดำ เหมือน กา, แต่ เล็ก กว่า กา, มัน ร้อง เสียง แก แก, เขา จึ่ง เรียก ตาม เสียง มัน.
แกแล (5:2)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, แก่น เหลือง ใช้ ย้อม ผ้า บ้าง, ทำ ยา บ้าง, ต้น เปน เครือ หนาม มี บ้าง, มี ใน ดง.
แก่ (5:3)
         เถ้า*, ชะรา, หง่อม, เช่น กับ คน แล สัตว์, อายุ มาก ฟัน หัก ผม หงอก เรียก อย่าง นั้น. ต้น ไม้ แล ของ อื่น ยืน อยู่ นาน คร่ำ คร่า, ก็ เรียก เหมือน กัน.
      แก่ กล้า (5:3.1)
               คือ แก่ กล้า หาร, คน อายุ แก่ แล กล้า ด้วย.
      แก่ กู (5:3.2)
               เอง จง เอา มา ให้ แก่ กู.
      แก่ ข้า (5:3.3)
               เจ้า เอา มา ให้ แก่ ข้า.
      แก่ เขา (5:3.4)
               เจ้า เอา ไป ให้ แก่ เขา.
      แก่ คู่ (5:3.5)
               เจ้า จง ไป อยู่ กับ คู่ เถิด, สิ่ง ของ เหล่า นี้ เจ้า จะ เอา ไป ให้ แก่ คู่ ของ เจ้า หฤๅ.
      แก่ คน (5:3.6)
               มึง จง เอา ของ ไป ให้ แก่ คน นั้น, เจ้า หยาก จะ ให้ แก่ คน ไหน, ก็ จง ให้ แก่ คน นั้น.
      แก่ คร่ำคร่า (5:3.7)
               คน แล สัตว์ อายุ มาก ยืน อยู่ นาน, เขา พูด ว่า, แก่ คร่ำ คร่า เต็ม ที แล้ว, ท่าน แก่ คร่ำ ลง หนัก หนา.
      แก่ งก งัน (5:3.8)
               คน แล สัตว์ อายุ ยืน นาน, แก่ จน ตัว สั่น, เขา พูด ว่า, แก่ งก งัน แล้ว.
      แก่ โงก เงก (5:3.9)
               คน แก่ ไม่ มิ แรง เดิร โงก ไป โงก มา, ว่า แก่ โงก เงก, ท่าน นี้ แก่ โงก เงก เต็ม ที แล้ว.
      แก่ หงอก (5:3.10)
               คน แก่ ผม ขาว ทั้ง หัว นั้น, ท่าน นี่ แก่ หงอก แล้ว ยัง หา รู้ จัก ประมาณ ตัว ไม่.
      แก่ งง (5:3.11)
               คน แก่ งง หลง ลืม ไป นึก อะไร ไม่ ใคร่ จะ ออก นั้น, เขา ว่า ท่าน นี่ แก่ งง หลง ลืม ไป หฤๅ.
      แก่ โงง เงง (5:3.12)
               คน แก่ ไม่ มี กำลัง ยืน ขึ้น ไม่ ตรง โงงเงง จะ ล้ม ไป.
      แก่ งัน งก (5:3.13)
               คน แก่ ตัว สั่น งันงก นั้น, ท่าน แก่ งันงก หลง นัก หนา ที เดียว, เออ ปี นี้ เรา แก่ งันงก เต็ม ที.
      แก่ งม งาย (5:3.14)
               คน แก่ ตา มืด มัว ไม่ ใคร่ เหน สิ่ง ใด, ต้อง เอา มือ เที่ยว งม คลำ ไป, ว่า แก่ งมงาย เต็ม ที แล้ว.
      แก่ งอม (5:3.15)
               คน แก่ นัก เปรียบ เหมือน ผลไม้ ที่ สุก งอม เต็ม ที, ว่า แก่ งอม เกือบ จะ ร่วง แล้ว.
      แก่ หง่อม (5:3.16)
               คน แก่ นัก จน หลัง โกง, ตัว ก็ ซูบ ผอม เล็ก ลง ด้วย. ท่าน นี้ อายุ ยืน แก่ หง่อม เต็ม ที
      แก่ งุย (5:3.17)
               คน แก่ นัก จน ง่วง งุย หลง ลืม สติ ไป บ้าง, ว่า แก่งุย เงื่อง งุน, แมว ตัว นี้ แก่ งุย ไป ไม่ ว่อง ไว.
      แก่ เงอะ (5:3.18)
               คน แก่ นัก จน หลง เงอะงะ เหมือน คน บ้า, ว่า แก่ เงอะ เต็ม ที แล้ว, ท่าน นี้ แก่ เงอะ ไม่ รู้ จัก อะไร.
      แก่ จะ ตาย (5:3.19)
               คน แก่ นัก จน เกืยบ จะ ตาย อยู่ แล้ว, ท่าน นี้ แก่ จะ ตาย อยู่ แล้ว ยัง พูด โก หก ด้วย.
      แก่ จัด (5:3.20)
               ผลไม้ ทั้งปวง ที่ แก่ ห้าว เต็ม ที, ว่า แก่ จัด. อนึ่ง เครื่อง ภาชนะ ทั้งปวง มี โอ่ง อ่าง เปน ต้น, เผา แก่ ไฟ เหมื่อน เคลือบ, ว่า แก่ จัด,
      แก่ เจียน ตาย (5:3.21)
               คน แก่ มี อายุ มาก เกือบ จะ สิ้น ชีวิตร แล้ว, ว่า แก่ เจียน ตาย, เรา แก่ เจียน ตาย อยู่ แล้ว.
      แก่ ชรา (5:3.22)
               คน แก่ เต็ม ที. ชรา ฯ ว่า แก่, ไท ว่า คร่ำ คร่า, ปี นี้ เรา แก่ ชรา ลง นัก หนา.
      แก่ ซาน (5:3.23)
               คน แก่ นัก เดิร ไม่ ไหว เซซวน ไป, ว่า แก่ ซาน, ตา คน นี้ แก่ ซาน เต็ม ที แล้ว.
      แก่ เซอะ ซะ (5:3.24)
               คน แก่ นัก จน หลง ไหล ไป เหมือน คน บ้า, ว่า แก่ เซอะ ซะ, ตา คน นี้ แก่ เซอะ เซะ ไม่ รู้ จัก อะไร
      แก่ ดี (5:3.25)
               คน แก่ แต่ สติ อารมณ์ ดี ไม่ หลง ไหล, ว่า แก่ ดี, ผล ไม้ แก่ ภอ ดี,
      แก่ แดด (5:3.26)
               ผล ไม้ ทั้งปวง มิ ได้ แก่ เอง ตาม ธรรมดา, มัน แก่ เพราะ ถูก แดด มาก, ว่า แก่ แดด.
      แก่ ทน (5:3.27)
               คน แล สัตว์ แก่ อายุ ยืน นาน, ว่า แก่ ทน. คน แก่ ทำ. การ งาน อด ทน ไม่ ใคร่ อยุด, ว่า ทน.
      แก่ เทื้อ (5:3.28)
               ผู้ หญิง มี อายุสี่สิบ, ห้าสิบ แล้ว ยัง ไม่ มี ผัว, ว่า แก่ เทื้อ
      แก่ ผิด รูป (5:3.29)
               คน แก่ รูป ผิด จาก รูป เดิม, แก่ รูป วิปริด ผิด ไป นั้น.
      แก่ เพียบ (5:3.30)
               คน แก่ นัก เต็ม ที, แก่ เกือบ จะ ตาย, แก่ เจียน ตาย, แก่ จวน ตาย, แก่ ใกล้ ตาย.
      แก่ ภอ ดี (5:3.31)
               คน แก่ ภอ สม ควร, ไม่ สู้ แก่ มาก นัก นั้น.
      แก่ รุด ไป (5:3.32)
               อายุ สังขาร แก่ ร่ำ ไป, แก่ เรว ไป, เรา ท่าน ทั้งปวง นี้ แก่ รุด ไป ไม่ อยุด เลย.
      แก่ ร่ำ ไป (5:3.33)
               อายุ คน แก่ ไม่ อยุด, แก่ เสมอ ไป, แก่ รุด ไป, เรา ท่าน ทั้งปวง แก่ รุด ไป.
      แก่ ล้ำ (5:3.34)
               คน แล สัตว แล ต้น ไม้ แก่ เกิน ธรรมดา สิ่ง ทั้งปวง, คือ แก่ เกิน เพื่อน ทั้งหลาย นั้น.

--- Page 6 ---
      แก่ วัด (6:3.35)
               คน อยู่ วัด นาน, คน อยู่ วัด จน แก่, คน บวช อยู่ ใป วัด ช้า นาน ศึก ออก มา นั้น.
      แก่ วัน (6:3.36)
               คน เกิด ได้ หลาย วัน, หนังสือ ท้อง ตรา เกิน กำหนฎ ว่า แก่ วัน, เกิด เดือน เดียว กัน, ผู้ ที่ เกิด ก่อน นั้น, ว่า แก่ วัน.
      แก่ สุก (6:3.37)
               ผล ไม้ ทั้ง ปวง แก่ หาม จน สุก เอง นั้น, ลูก ไม้ นี้ แก่ สุกกะ ต้น ที เดียว.
      แก่ สมควร (6:3.38)
               คน ฟัน หัก, หัว หงอก, เนื้อ หนัง เหี่ยว แห้ง, ร่าง กาย คร่ำ คร่า, ทั้ง อายุ ก็ มาก ด้วย นั้น.
      แก่ ออด แอด (6:3.39)
               คนแก่ แล้ว มัก ป่อย เจ็บ หลาย ประการ, บ่น ออด แอด.
      แก่ อด ทน (6:3.40)
               คน แก่ มัก ทำการ งาน อด ทน ไม่ ใคร่ หยุด. อนึ่ง แก่ อยู่ นาน ไม่ ใคร่ ตาย ง่าย.
แก้ (6:1)
         ทำ เชือก ที่ ผูก ให้ หลุด ออก, ถ้อย คำ ที่ เขา ไต่ ถาม บอก ได้ ไม่ สง ไสย, คน เจ็บ ป่วย รักษา หาย
      แก้ กล (6:1.1)
               ฆ่า ศึก สัตรู คิด จะ ทำ ร้าย ด้วย กล อุบาย ต่าง ๆ, เรา รู้ เท่า คิด กล อุบาย แก้, กลับ เอา ไชย ชะนะ ได้ นั้น.
      แก้ กัน (6:1.2)
               คน เล่น เพลง, หฤๅ สักะวา, หฤๅ เทพ ทอง, ว่า กล่าว กัน ด้วย คำ อัน เผ็ด ร้อน, แล้ว ตอบ ได้ เหมือน กัน. อนึ่ง เพื่อน ติด อยู่ ใน พวก สัตรู, ฝืน ฝ่า เข้า ไป ช่วย รอด ได้.
      แก้ กิน (6:1.3)
               คน เล่น ถั่ว เล่น โป เอา เงิน แทง ลง ไว้ ใน กั๊ก, แล้ว คน หนึ่ง หยิบ เอา ขึ้น ไว้ สัญา กัน ว่า, ได้ เลีย จะ ให้ ตาม ทำ เนียม, ว่า แก้ กิน.
      แก้ เก้อ (6:1.4)
               ทำ ความ ชั่ว ไว้ คน อื่น รู้ แล้ว, ตัว ก็ เก้อ อาย, แล้ว ทำ พูด แก้ ตัว, ว่า แก้ เก้อ.
      แก้ ไข (6:1.5)
               กุญ แจ แล หีบ แล เครื่อง จักร ไก ทั้งปวง, เสีย ไป แล้ว, จัด แจง ทำ ให้ ดี ขึ้น ได้, ว่า แก้ ไข.
      แก้ ไข้ (6:1.6)
               คน ป่วย เปน ไข้ ต่าง ๆ, จัด แจง รักษา ให้ หาย, ว่า แก้ ไข้.
      แก้ ขัด (6:1.7)
               คน ขัด สน ไม่ มี เงิน ทอง ไช้ สอย, ผู้ หนึ่ง ให้ ยืม เงิน หฤๅ ยืม ของ ไป ใช้ พลาง, ว่า ผู้ นั้น ช่วย แก้ ขัด เปน ต้น.
      แก้ เขิน (6:1.8)
               คน ทำ ความ ผิด ไว้ มี ผู้ อื่น รู้ เข้า, คน นั้น ขวย เขิน อาย ใน ใจ, แกล้ง พูด คำ อื่น กลบ ความ นั้น เสีย, ว่า แก้ เขิน
      แก้ ขวย (6:1.9)
               คน ขวย อาย แก่ ใจ, แกล้ง ทำ อุบาย อื่น กลบ เกลื่อน เสีย, ว่า แก้ ขวย
      แก้ คำ (6:1.10)
               คน หนึ่ง กล่าว ถ้อย คำ ต่าง ๆ, แล้ว เรา กล่าว ความ แก้ คำ นั้น ได้.
      แก้ คัน (6:1.11)
               คน เปน ฝี ดาด หฤๅ โรค อื่น ให้ คัน เปน กำลัง, หมอ จัด แจง ยา ใส่ ให้ หาย นั้น.
      แก้ คุณ (6:1.12)
               คน ถูก คุณ ผี หฤๅ คุณ คน, คือ มัน ทำ ให้ เนื้อ หนัง หฤๅ ก้าง กระดูก, เข้า อยู่ ใน กาย, ให้ ป่วย จุก เสียด เปน ต่าง ๆ, หมอ ทำ ให้ เจ็บ ป่วย นั้น หาย ด้วย วิธี ต่าง ๆ, ว่า แก้ คุณ.
      แก้ แค้น (6:1.13)
               คน ทำ ความ แค้น ให้ แก่ เรา, เรา ทำ ความ แค้น ให้ ถึง คน นั้น ได้, ว่า แก้ แค้น.
      แก้ ความ (6:1.14)
               เขา ฟ้อง กล่าว โทษ เรา, ๆ ไป ให้ การ แก้ คำ เขา อนึ่ง ความ จะ บังเกิด ขึ้น, เรา ทำ เสีย ให้ สงบ นั้น.
      แก้ คุย (6:1.15)
               คน พูด โอ้ อวด มาก, เรา ไป พูด จา แก้ คำ คน นั้น, ให้ สงบ เงิยบ ได้, ว่า แก้ คุย,
      แก้ คาว (6:1.16)
               จะ แกง เนื้อ สด ปลา สด กลิ่น มัน คาว นัก, เรา เอา เครื่อง ปรุง ใส่ ลง ให้ มัน หาย คาว นั้น, ว่า แก้ คาว,
      แก้ ฆ้าน (6:1.17)
               พญาณ ของ เรา เขา ฆ้าน เสีย, ว่า คน ไม่ ดี, เขา จึ่ง ถาม พญาณ ว่า, จริง ดั่ง นั้น หฤๅ, พญาณ ว่าหา มิ ได้, ว่า แก้ ฆ้าน.
      แก้ งอ (6:1.18)
               เดิม ของ ตรง อยู่ กลับ งอ ไป, เรา คัด ให้ ตรง ได้.
      แก้ งก (6:1.19)
               คน กลัว สิ่ง ไดๆ จน ตัว สั่น งก, เรา ช่วย พูดจา ให้ หาย กลัว, ว่า แก้ งก. อนึ่ง คน หนาว ตัว สั่น งก, เรา ให้ ผิง ไฟ, หฤๅ ห่ม ผ้า ให้ หาย สั่น.
      แก้ งง (6:1.20)
               แก้ ฉงน, คน งง งวย หลง ลืม ไป, เรา ช่วย เตือน สติ ให้ ระฦก ขึ้น ได้, ว่า แก้ งง, แก่ ฉงน.
      แก้ ง่วง (6:1.21)
               คน ตื่น ขึ้น ยัง มัว นอน อยู่, เรา ให้ เอา น้ำ ล้าง หน้า หฤๅ ทำ ให้ หาย มัว นอน, ว่า แก้ ง่วง.
      แก้ เงื่อง (6:1.22)
               คน ทำ การ สิ่ง ใด เงื่อง หง่อย นัก, เรา เร่ง รัด ให้ ทำ การ งาน เร็ว ขึ้น ได้, ว่า แก้ เงื่อง.
      แก้ เงิน (6:1.23)
               คน ทำ เงิน ให้ ออก จาก ที่ ขอด ไว้. อนึ่ง เงิน เปราะ หฤๅ เงิน ไม่ บริสุทธิ์, ไล่ เลิยง ให้ เหนียว ให้ บริสุทธิ์ นั้น.
      แก้ เงี่ยน (6:1.24)
               แก้ กระหาย, คน เงี่ยน ความ เหมือน กระหาย อยาก น้ำ, เงี่ยน ฝีน หฤๅ เงี่ยน เล่า, เอา ของ อื่น กิน หฤๅ สูบ ให้ หาย เงี่ยน, ว่า แก้ เงี่ยน.
      แก้ งม (6:1.25)
               คน ไม่ รู้ เหตุ ผล เรื่อง ราว สิ่ง ใด, เรา ชี้ แจง สำแดง ให้ รู้ เหตุ, ว่า แก้ งม, เพราะ คน ไม่ รู้, เหมือน งม ของ ตก น้ำ.
      แก้ งุย (6:1.26)
               คน งุย ง่วง เชื่อน ไป เหมือน บ้า, จัด แจง ยา แก้ ให้ หาย งุยได้ นั้น.

--- Page 7 ---
      แก้ ง่อย (7:1.27)
               คน เปน ง่อย มา แต่ กำเนิฎ, หฤๅ พึ่ง เปน ภาย หลัง มี ผู้ ทำ ให้ หาย, ว่า แก้ ง่อย นั้น.
      แก้ ใจ (7:1.28)
               เดิม ใจ เปน บาป, ใจ ไม่ บริสุทธิ์, ใจ ไม่ ผ่อง ใส, ใจ มัว หมอง ด้วย อุปะกิเลศ, กระทำ ชำระ ให้ ใจ เปน บุญ, แล บริ สุทธิ์, แล ผ่อง ใส ไม่ มัว หมอง ได้.
      แก้ จน (7:1.29)
               คน จน ไม่ มี ทรัพย์ สิน สิ่ง ใด เลย, อุษ่าห์ จ้าง ทำ การ งาน หา เงิน ทอง ใช้ สอย ได้, ว่า แก้ จน.
      แก้ ฉาว (7:1.30)
               แก้ อึง, จะ เกิด ความ วุ้น วาย ฉาว, คือ อื้ อึง ขึ้น, เรา จัด แจง ระงับ ดับ ความ นั้น สงบ ได้.
      แก้ ชู้ (7:1.31)
               ชู้ สาว ของ ตัว คิด กล อุบาย ต่าง ๆ, แล้ว ตัว คิด ตัด กล อุบาย นั้น เสีย ได้, ว่า แก้ ชู้.
      แก้ ชก (7:1.32)
               แก้ ต่อย, คน ชก มวย กัน, คน หนึ่ง ชก ถูก แล้ว, ฝ่าย คน หนึ่ง ก็ ชก ถูก ด้วย บ้าง เหมือน กัน, ว่า แก้ ชก, แก้ ต่อย
      แก้ ชัก (7:1.33)
               แก้ สะทก, คน ป่วย เปน ไข้ ให้ มือ กำ, ตีน กำ, ตา เหลือก, ตา ช้อน, หมอ จัด แจง ทำ ให้ หาย นั้น.
      แก้ เชือก (7:1.34)
               เชือก เขา ผูก ไว้ หฤๅ เชือก เกลียว, แล ทำ ให้ หลุด ลุ่ย ออก จาก กัน ได้.
      แก้ ชัง (7:1.35)
               คน ที่ เกลียด ชัง เรา หนัก, เรา ทำ ความ ชอบ ให้ คน มี ใจ เมตา เรา, ว่า แก้ ชัง.
      แก้ ชั่ว (7:1.36)
               แก้ ถ่อย, คน ที่ เคย ทำ การ ชั่ว ต่าง ๆ แล้ว, มา ภาย หลัง ก็ ละ การ ชั่ว ถ่อย นั้น เสีย, กลับ ประพฤษดิ์ การ ดี.
      แก้ ซึม (7:1.37)
               แก้ เชื่อม, คน ป่วย เปน ไข้ ซึม แล เชื่อม มึน ไป, หมอ เอา ยา ให้ กิน หาย ซึม แล เชื่อม มึน ไป นั้น.
      แก้ เซอะ (7:1.38)
               คน โง เซอะ ซะ ไม่ รู้ จัก ประมาณ, มี ผู้ เมตา ช่วย สั่ง สอน ให้ ฉลาด หาย เซอะ ได้.
      แก้ ฎีกา (7:1.39)
               ฎีกา ที่ จะ เบิก สิ่ง ฃอง ใน ท้อง พระคลัง, หฤๅ ฎีกา ที่ จะ ทูล เกล้า ทูล กระหม่อม ถวาย, จัด แจง ทำ เสีย ให้ ดี
      แก้ แดก (7:1.40)
               คน เจ็บ จุก แดก แน่น ใน อก, ทำ ให้ หาย ได้.
      แก้ แดด (7:1.41)
               คน ตาก แดด ร้อน รน กระวน กระวาย, ได้ กิน ซ่ม, หฤๅ แตง โม, หฤๅ น้ำ จืด เย็น, หาย ร้อน รน กระวน กระวาย ได้, ว่า กิน แก้ แดด.
      แก้ เดือด (7:1.42)
               คน เดือด ร้อน ด้วย เหตุ ใด ๆ, หฤๅ จะ เอา ของ สิ่ง ใด ๆ, เรา ชัก ชวน พูดจา ให้ หาย เดือด ร้อน ได้ นั้น.
      แก้ ตก (7:1.43)
               คน ถาม ปฤษนา สิ่ง ใด ก็ ดี, หฤๅ เจ็บ ไข้ ก็ ดี, บอก ได้, หฤๅ ทำ ให้ หาย ได้, ว่า แก้ ตก.
      แก้ ตน (7:1.44)
               คน จะ ทำ อันตะราย สิ่ง ใด แก่ เรา, หฤๅ เขา ฟ้อง หา กล่าว โทษ เรา, ๆ คิด กล อุบาย แก้ ตัว ได้ นั้น.
      แก้ ทุกข์ (7:1.45)
               คน เปน ทุกข์ ด้วย เหตุ ใด ๆ, แล คิด หา อุบาย ทำ ให้ หาย ทุกข์ ได้ นั้น.
      แก้ ทอง (7:1.46)
               ทอง คำ เปราะ จะ ตี แผ่ ทำ รูปพรรณ ไม่ ได้, ต้อง หล่อ หลอม ไล่ เลียง ให้ เหนิยว ดี หาย เปราะ, ว่า แก้ ทอง.
      แก้ ท้อง (7:1.47)
               ท้อง ขึ้น เฟื้อ แน่น, หฤๅ อุจาร เสีย, ทำ ท้อง ให้ ดี ปรกติ ได้.
      แก้ หน้า (7:1.48)
               คน ทำ ผิด หน้า อาย, พูดจา กลบ ความ ประสงค์ จะ ให้ หาย อาย, ว่า แก้ หน้า.
      แก้ นี่ (7:1.49)
               คน เปน นี่ เขา มาก, แล้ว จัด แจง หา เงิน ทอง มา ใช้ นี่ เขา ได้, ว่า แก้ นี่.
      แก้ นินทา (7:1.50)
               คะระหา, คน เคย กระทำ ชั่ว, แล้ว กลับ กระทำ ดี ทุก อย่าง ให้ พ้น ความ คะระหา นินทา นั้น.
      แก้ นิ่ว (7:1.51)
               คน เปน นิ่ว เบา ไม่ ใคร่ จะ ออก, เอา ยา ให้ กิน แก้ หาย ได้,
      แก้ เนื้อ (7:1.52)
               เนื้อ ทอง คำ ยัง ต่ำ อยู่, จัด แจง หุง ไห้ เนื้อ สูง ขึ้น อนึ่ง เนื้อ สัตว์ จะ เน่า เอา เกลือ ใส่ ให้ ดี ขึ้น, ว่า แก้ เนื้อ.
      แก้ บท (7:1.53)
               บท กลอน คลาด เคลื่อน ไป ไม่ ถูก ต้อง ตาม ฉันท์, คณะ, ทำ ให้ ถูก ต้อง ตาม บัง คับ.
      แก้ บิด (7:1.54)
               คน เจ็บ เปน บิด เอา ยา ให้ กิน จน หาย, ว่า แก้ บิด
      แก้ บูด (7:1.55)
               ฃอง ที่ จะ บูด เสีย ไป, จัด แจง มิ ให้ บูด ได้.
      แก้ บน (7:1.56)
               คน ต้อง ไภย ได้ ทุกข์, หฤๅ ป่วย ไข้ ประการ ใด, บน บาน จ้าว ผี ให้ ช่วย, ครั้น หาย แล้ว ก็ เอา ของ ถวาย นั้น.
      แก้ บาน (7:1.57)
               ดอก ไม้ หฤๅ เห็ด ที่ ควร จะ บาน, เรา แก้ ไข รักษา ไว้. มิ ให้ บาน ได้. อย่าง หนึ่ง บาน ประตู, หฤๅ บาน หน้า ต่าง เสีย ปิด เปิด ไม่ คล่อง, ทำ ให้ ปิด เปิด คล่อง นั้น.
      แก้ บาป (7:1.58)
               พราหมณ์ ถือ, ว่า บาป มี แล้ว, ก็ ไป ล้าง บาป เสีย ที่ แม่ น้ำ คง คา, ว่า แก้ บาป ได้.
      แก้ บวม (7:1.59)
               แก้ ฟก, มือ หฤๅ ท้าว มัน บวม ขึ้น, เรา เอา ยา ทา ให้ หาย บวม ได้ นั้น.
      แก้ เบี้ยว (7:1.60)
               ของ เบียว บิด ไม่ กลม, เรา จัด แจง ทำ ให้ กลม ดี ได้.

--- Page 8 ---
      แก้ เบี้ย (8:1.61)
               เจ้า มือ กำ เบี้ย ออก มา แล้ว แจง ไป, ครั้น รู้ ชัด ว่า, เบี้ย จะ แพ้ เสีย เขา แล้ว, จึ่ง ซ่อน เอา เบี้ย เข้า ไป ได้, กลับ มี ไชย ชะนะ ว่า แก้ เบี้ย ได้.
      แก้ ปิด (8:1.62)
               คน ป่วย เปน โรค ต่าง ๆ, ไม่ ถ่าย อุจาระ ปัศสาวะ, กิน อยา ถ่าย ออก มา ได้, ว่า แก้ ปิด.
      แก้ ปวด (8:1.63)
               คน ปวด ทอง, หฤๅ ปวด ฝี, เอา อยา กิน, หฤๅ ทา ให้ หาย ปวด ได้, ว่า แก้ ปวด.
      แก้ ปอบ (8:1.64)
               เปน ผี อย่าง หนึ่ง, เขา เลี้ยง ไว้ สำหรับ ใช้ ให้ ทำ อัน ตราย คน, เรา ขับ ไล่ ผี ปอบ ออก ได้, ว่า แก้ ปอบ.
      แก้ ป่วย (8:1.65)
               คน เปน โรค ต่าง ๆ, รักษา หาย ได้ นั้น.
      แก้ เปื่อย (8:1.66)
               ของ กิน ที่ จะ ต้ม นั้น มัน จะ เปื่อย เสีย, จึ่ง แช่ น้ำ ปูน บ้าง, แช่ น้ำ เกลือ บ้าง, ไม่ ให้ เปื่อย, ว่า แก้ เปื่อย. อย่าง หนึ่ง คน มี บาด แผล ที่ ตัว เปื่อย พัง, เขา ทำ ไม่ ให้ เปื่อย นั้น.
      แก้ ผ้า (8:1.67)
               คน เอา ผ้า ออก เสีย จาก ตัว คน ที่ นุ่ง นั้น. อนึ่ง คน ที่ เปลือย กาย ไม่ นุ่ง ผ้า, ว่า แก้ ผ้า อยู่.
      แก้ ผี (8:1.68)
               คน ขับ ไล่ ผี ที่ เข้า สิง อยู่ ใน ตัว คน ให้ ออก ได้. อนึ่ง คน ผูก มัด ผี ไว้ แล้ว ทำ ให้ ออก เสีย, ว่า แก้ ผี.
      แก้ เผ็ด (8:1.69)
               เขา กิน น้ำ ให้ หาย เผ็ด ร้อน อย่าง หนึ่ง กิน ของ ที่ หวาน ให้ หาย เผ็ด นั้น.
      แก้ ผวน (8:1.70)
               คน พูด คำ ผวน มา, เรา พูด คำ ผวน แก้ ได้ บ้าง, ว่า
      แก้ ผวน (8:1.71)
               คือ พูด ถาม ว่า ปา ไหน ไม, เขา บอก ว่า, ปาน ไบ้
      แก้ ผอม (8:1.72)
               คน ผอม โดย ธรรมดา, หฤๅ ผอม เพราะ โรค เบียด เบียน, เรา รักษา ให้ อ้วน ขึ้น ได้, ว่า แก้ ผอม.
      แก้ ผิว (8:1.73)
               ผิว เนื้อ หนัง คล้าม ดำ, หฤๅ ซูบ ซีด ไม่ งาม* ตาม ปรกติ, เรา แก้ ไฃ ให้ ผิว งาม ดี ขึ้น ได้, ว่า แก้ ผิว.
      แก้ ฝี (8:1.74)
               ฝี ดาศ หฤๅ ฝี หัว เดียว มัน ทำ พิศม์ เรา พอก อยา เกลื่อน ให้ หาย ไป ว่า แก้ ฝี
      แก้ ฝาด (8:1.75)
               ของ รศ ฝาด, เรา แก้ ไข ทา ให้ หาย ฝาด ได้, ว่า แก้ ฝาด
      แก้ ฝัน (8:1.76)
               คน นอน หลับ นิมิต ฝัน เหน ต่าง ๆ, ครั้น ตื่น ขึ้น แล้ว, เล่า เรื่อง ความ ฝัน นั้น ให้ เขา ทำนาย, ว่า แก้ ฝัน.
      แก้ ฝิ่น (8:1.77)
               คน สูบ ฝิ่น หฤๅ กิน ฝิ่น จน เมา เกือบ จะ ตาย, เอา อยา ให้ กิน แก้ หาย เมา รอด ได้, ว่า แก้ ฝิ่น.
      แก้ ฝอย (8:1.78)
               ตำราโหร มี ฝอย, คือ หนังสือ บอก เรื่อง ความ ทำนาย ต่าง ๆ, แต่ ฝอย นั้น ยัง ผิด พลั้ง อยู่ บ้าง, แก้ ให้ ดี ขึ้น นั้น.
      แก้ พิศม์ (8:1.79)
               พิศม์ ไข้ หฤๅ พิศม์ เคี่ยว งา ต่าง ๆ, มัน ทำ ให้ คลุ้ม คลั่ง ใน ใจ, เรา ทำ ให้ สงบ ลง ได้, ว่า แก้ พิศม์.
      แก้ พิมภ์ (8:1.80)
               พิมภ์ หนังสือ หฤๅ รูป พรรณ์ สิ่ง ใด ๆ ไม่ ถูก หฤๅ ไม่ สู้ งาม, จัด แก้ ทำ ให้ ดี ขึ้น, ว่า แก้ พิมภ์.
      แก้ โพย (8:1.81)
               ห่อ กระดาศ เขียน ชื่อ ตัว หวย เรียก ว่า โพย, แก้ ห่อ กระดาศ นั้น ออก ดู, ว่า แก้ โพย.
      แก้ ฟก บวม (8:1.82)
               คน ถูก ไม้, หฤๅ ต้อง ประหาร ฟก บวม ขึ้น, เรา เอา อยา ทา แก้ ฟก หาย, ว่า แก้ ฟก.
      แก้ ฟัง (8:1.83)
               โรค ไภย สิ่ง ใด หฤๅ สิ่ง ของ ที่ จะ พึ่ง แตก พึ่ง ทำลาย เรา แก้ ไว้ ได้, ว่า แก้ ฟัง.
      แก้ ฟาง (8:1.84)
               คน ตา ฟาง จะ ดู สิ่ง ใด ใน เพลา กลาง คืน ไม่ ใคร่ เหน แก้ ไข ใส่ อยา ให้ เหน ได้. อย่าง หนึ่ง ต้น ฟาง เข้า, เขา ห่อ ของ มา แต่ เมือง จีน เขา เปลื้อง ทำ ให้ ฟาง หลุด ออก นั้น.
      แก้ ฟั่น (8:1.85)
               แก้ ถลุน, เชือก เขา ฟั่น เปน เกลียว ไว้, เรา แก้ ให้ คลาย เกลียว ออก, ว่า แก้ ฟั่น.
      แก้ เฟือน (8:1.86)
               คน เฟือน สติ หลง ลืม ไป, แล มี ผู้ มา ตัก เตือน ให้ สติ ระฦก ได้, ว่า แก้ เฟือน
      แก้ ฟิบ (8:1.87)
               ของ ฟิบ อยู่ หา สูง ไม่, เรา จัด แก้ ไข ให้ สูง ขึ้น ได้, ว่า แก้ ฟิบ. อย่าง หนึ่ง จมูก คน บี่ แบน ฟิบ อยู่ เขา ทำ ให้ มัน ดี ขึ้น ได้ นั้น ว่า แก้ ฟิบ.
      แก้ แฟบ (8:1.88)
               ของ แฟบ แนบ อยู่ เรา จัด แจง ทำ ให้ พอง ขึ้น, ว่า แก้ แฟบ, เหมือน เขา ทำ หมอน ลม ให้ พอง ขึ้น นั้น.
      แก้ เฟื้อ (8:1.89)
               เข้า กล้า ดำ ลง ไว้ ใน นา, ครั้น แตก กอ ออก งาม ติด กัน เข้า เรียก ว่า เฟื้อ, เขา ถอน ดำ ทำ ให้ ห่าง ออก จาก กัน ว่า แก้ เฟื้อ.
      แก้ เฟ้อ (8:1.90)
               ท้อง ขึ้น เฟ้อ เรา กิน อยา แก้ หาย เฟ้อ, ว่า แก้ เฟ้อ.
      แก้ ภี (8:1.91)
               สิ่ง ของ ภี อ้วน ทำ ให้ ผอม เล็ก ลง, ว่า แก้ ภี.
      แก้ ภุ (8:1.92)
               คน เปน ภุ พอง หฤๅ น้ำ ภุ ออก มา หลาย แห่ง จัด แจง ทำ ให้ หาย มิ ให้ ภุ ออก มา ได้, ว่า แก้ ภุ.
      แก้ ไภย (8:1.93)
               คน ต้อง ไภย ได้ ทุกข์, เรา ช่วย แก้ ไข ให้ พ้น ไภย นั้น.
      แก้ ภก (8:1.94)
               คน เอา ของ ห่อ ภก ไว้, แล้ว แก้ ออก, ว่า แก้ ภก.
      แก้ ภูน (8:1.95)
               สิ่ง ของ เต็ม ภูน อยู่, เรา แก้ ให้ ยุบ ลง ให้ พรอง ลง. ว่า แก้ ภูน

--- Page 9 ---
      แก้ ภูม (9:1.96)
               คน ถือ ตัว ถือ ภูม, ว่า มี วาศนา มาก, เรา ไป สั่ง สอน ให้ หาย ถือ ตัว ถือ ภูม, ว่า แก้ ภูม.
      แก้ มือ (9:1.97)
               คน ทำ การ เสีย ไป แล้ว, กลับ ทำ ใหม่ ให้ ดี ขึ้น กว่า แต่ ก่อน, ว่า แก้ มือ.
      แก้ มูก (9:1.98)
               คน เปน โรค ตก มูก, หฤๅ สิ่ง ของ อื่น ๆ เปน มูก, แก้ ไข ทำ ให้ หาย มูก ได้, ว่า แก้ มูก.
      แก้ หมอก (9:1.99)
               หมอก ตาม ธรรมดา, หฤๅ ใน ตา แล ดู สิ่ง ใด ๆ เปน หมอก ไป, แก้ ให้ หาย หมอก ได้, ว่า แก้ หมอก.
      แก้ มวก (9:1.100)
               ของ สิ่ง ใด เปน มวก เปน ยาง, จัด แจง แก้ หาย มวก ได้, ว่า แก้ มวก.
      แก้ หมาง (9:1.101)
               คน ทำ ความ ชั่ว ไว้, มา ภาย หลัง มี คน รู้ เข้า, คน นั้น หมาง ใจ อาย หน้า, แล้ว พูด แก้ ตัว, ว่า แก้ หมาง.
      แก้ มุ้ง (9:1.102)
               คน กาง มุ้ง นอน แล้ว แก้ เก็บ เสีย. อย่าง หนึ่ง เย็บ มุ้ง เสีย ไป, แล แก้ เย็บ เสีย ใหม่ นั้น.
      แก้ หมอง (9:1.103)
               สิ่ง ของ หมอง มัว ไป, แล้ว ขัด สี ทำ ให้ ผ่อง ใส ขึ้น.
      แก้ มูด (9:1.104)
               มูด พิการ ต่าง ๆ ไม่ เปน ปรกติ, เรา ให้ กิน ยา ให้ มูด นั้น ดี เปน ปรกติ ขึ้น, ว่า แก้ มูด.
      แก้ มนตร์ (9:1.105)
               คน ทำ ผู้ อื่น ให้ คลุ้ม คลั่ง ให้ รักษ ให้ ชัง ให้ เสีย จริต เปน บ้า ไป ด้วย กำลัง มนตร์, เรา แก้ ให้ หาย ได้, ว่า แก้ มนตร์.
      แก้ หมัน (9:1.106)
               เรือ คาย หมัน. หฤๅ หญิง หมัน ไม่ มี ลูก, เรา จัด แจง ตอก หมัน เสีย ให้ ดี. อนึ่ง หญิง หมัน นั้น แก้ ไข ให้ มี ลูก ได้, ว่า แก้ หมัน.
      แก้ ม้าน (9:1.107)
               เข้า ใน นา เมื่อ ออก รวง นั้น, น้ำ แห้ง ไป, รวง เข้า ก็ พลอย ม้าน แห้ง ไป ด้วย, จึ่ง ไข น้ำ เข้า ไป เข้า หาย ม้าน.
      แก้ มึน (9:1.108)
               คน กิน เหล้า, หฤๅ ป่วย ไข้ มัน ให้ มึน ไป. อนึ่ง ผล ไม้ ทั้ง ปวง เล็ก กว่า ธรรมดา, เรา จัด แจง แก้ หาย มึน, หฤๅ ผล ไม้ แก้ ให้ โต ขึ้น, ว่า แก้ มึน.
      แก้ มุ่น (9:1.109)
               คน มุ่น โกรธ ด้วย เหตุ สิ่ง ใด สิ่ง หนึ่ง, เรา แก้ ไข ให้ ระงับ หาย มุ่น ได้, ว่า แก่ มุ่น.
      แก้ หมุน (9:1.110)
               คน เปน ลม ให้ หมุน เวียน ศีศะ, หฤๅ ของ สิ่ง ใด ๆ ที่ หมุน ไป มา เรา แก้ ให้ อยุด สงบ ลง ได้, ว่า แก้ หมุน.
      แก้ เหมือน (9:1.111)
               สิ่ง ของ ใด ๆ ทำ ไม่ เหมือน อย่าง, เรา แก้ ทำ ให้ เหมือน, ว่า แก้ เหมือน.
      แก้ ม่อย (9:1.112)
               คน ต้อง ด่า ต้อง ว่า, ด้วย ถ้อย คำ หยาบ ช้า หน้า เศร้า ลง, เรา ช่วย พูดจา สรรเสิญ ให้ หน้า ชื่น ขึ้น, ว่า แก่ ม่อย.
      แก้ เมื่อย (9:1.113)
               เมื่อย แข้ง ขา หฤๅ หลัง ไหล่, เรา ช่วย นวด ไคล ให้ หาย เมื่อย, ว่า แก้ เมื่อย.
      แก้ มัว (9:1.114)
               มัว ด้วย สิ่ง ใด ๆ, หฤๅ ตา มัว แล ไม่ ใคร่ เหน สิ่ง ใด, เรา ทำ ให้ หาย มัว ได้ นั้น.
      แก้ อยา (9:1.115)
               คน ป่วย ไข้ กิน อยา ผิด เข้า ไป, ไข้ กำ เริบ ทำ พิศม์ ต่าง ๆ, ไห้ กิน อยา ถอน พิศม์ เสีย ได้ นั้น.
      แก้ ยู่ (9:1.116)
               มีด พร้า หฤๅ สิ่ว ขวาน คม ยู่ ล้ม ไป, เรา จัด แจง ชุบ ให้ คม กล้า ขึ้น ได้ นั้น.
      แก้ ยอก (9:1.117)
               แก้ เสียด, คน เจ็บ ยอก ใน อก, หฤๅ ยอก ที่ ใด ๆ, เรา ทำ ให้ หาย ได้ นั้น.
      แก้ ยุ่ง (9:1.118)
               ด้าย ไหม หฤๅ ป่าน เชือก, หฤๅ ถ้อย ความ สิ่ง ใด ๆ ยุ่ง หยุก หยิก หนัก, ปลด เปลื้อง ให้ ดี ได้ นั้น.
      แก้ โยง (9:1.119)
               เชือก สาย ระยาง หฤๅ สิ่ง ใดๆ ผูก โยง ไว้, เปลื้อง ได้ นั้น.
      แก้ เยื้อง (9:1.120)
               ของ สิ่ง ได เยื้อง ยัก ไม่ ตรง กัน, เรา ทำ เสีย ให้ ตรง.
      แก้ หยุด (9:1.121)
               คน ป่วย ลง ราก หฤๅ เปน โรค อื่น, หฤๅ เรือ รั่ว, เรา ทำ ให้ หยุด ได้ นั้น.
      แก้ ยัน หมาก (9:1.122)
               คน กิน หมาก ยัน เมา เวียน ศีศะ, แล้ว เอา ซ่ม, หฤๅ สิ่ง ใด กิน แก้ ให้ หาย ยัน หมาก ได้ นั้น.
      แก้ รา (9:1.123)
               สิ่ง ของ ใด ๆ ที่ บูด รา ขึ้น แล้ว, เรา จัด แจง ทำ ให้ หาย รา.
      แก้ ไร ผม (9:1.124)
               ไร ผม ไม่ สู้ ดี ไม่ ตรง, จัด แจง ให้ ดี ให้ ตรง ได้ นั้น.
      แก้ รักษ (9:1.125)
               คน รักษ์ เข้า ของ เงิน ทอง เกิน ประมาณ, จน ลุ่ม หลง ไป, เรา สั่ง สอน ให้ รักษ์ ภอ ประมาณ ได้ นั้น.
      แก้ ราก (9:1.126)
               แก้ อวก, คน เหียน ราก, หฤๅ ราก ไม้ ใดๆ, เรา ทำ ให้ หาย เหียน ราก, หฤๅ ทำ ให้ ราก ไม้ ดี ขึ้น,
      แก้ รุก (9:1.127)
               คน เล่น หมาก รุก กัน, หฤๅ คน รุก ที่ รุก ดิน กัน, เรา ทำ กัน รุก, หฤๅ ทำ ไม่ ให้ ผู้ อื่น รุก ที่ รุก แดน ได้ นั้น.
      แก้ โรค (9:1.128)
               คน ป่วย เปน โรค ต่าง ๆ เรา ทำ ให้ หาย โรค ได้ นั้น.
      แก้ รุง รัง (9:1.129)
               เข้า ของ สิ่ง ใด รุง รัง ไม่ ดี, เรา ทำ ให้ ของ สิ่ง นั้น ไม่ รุง รัง เตียน สอาด ดี นั้น.
      แก้ แรง (9:1.130)
               ของ สิ่ง ใด ๆ หนัก เรา รับ ไหว, แล้ว ให้ คน อื่น ช่วย ผลัด เปลี่ยน. กำลัง น้อย ไป, แล ทำ ให้ มี กำลัง มาก ขึ้น.

--- Page 10 ---
      แก้ เรื่อง (10:1.131)
               เรื่อง ราว สิ่ง ใด ความ มัว หมอง ยัง ไม่ กระจ่าง ดี, ทำ ให้ เรื่อง ความ กระจ่าง แจ้ง ดี ขึ้น.
      แก้ รุด (10:1.132)
               สิ้ง ของ ใด ๆ ไม่ สู้ ดี แก้ ร่ำ ไป ไม่ หยุด นั้น.
      แก้ รอด (10:1.133)
               คน ป่วย ไข้ เกือบ จะ ตาย อยู่ แล้ว ก็ ดี, หฤๅ คน จะ ถึง ที่ ตาย อยู่ แล้ว, เรา ช่วย ให้ รอด อยู่ ได้ นั้น.
      แก้ ร้อน (10:1.134)
               คน ร้อน ด้วย โรค เบียด เบียน, หฤๅ ร้อน ด้วย แสง แดด, หฤๅ เพราะ ระดู, หฤๅ ด้วย เหตุ สิ่ง ใด, เรา ทำ ให้ หาย ร้อน ได้ นั้น.
      แก้ เรื้อ (10:1.135)
               คน หฤๅ สัตว์ อยุด เรื้อรัง อยู่ นาน ไม่ ได้ กระทำ การ, หฤๅ หัดปฤๅ วิชา มัก ทำ ช้า ไป, แล้ว ซัก ซ้อม ให้ ทำ เรว ขึ้น นั้น.
      แก้ รั่ว (10:1.136)
               ของ สิ่ง ใด ที่ รั่ว, ทำ ให้ หาย รั่ว ได้ นั้น.
      แก้ ลง (10:1.137)
               คน ลง ท้อง ให้ กิน ยา แก้ หาย ลง ได้ นั้น.
      แก้ ลวง (10:1.138)
               คน มัน ลวง เรา ได้, แล้ว เรา กลับ ลวง มัน ได้ บ้าง.
      แก้ หลุด (10:1.139)
               เชือก เขา ผูก ไว้, ทำ ให้ หลุด ออก ได้, หฤๅ เขา ไต่ ถาม ข้อ ความ สิ่ง ใด, วิสัชนา ได้ นั้น.
      แก้ เลิศ (10:1.140)
               คน ที่ รู้ ทั่ว, เขา ไต่ ถาม ข้อ ความ สิ่ง ใด ๆ ที่ ล้ำเลิศ, วิสัชนา สละสลวย มิ ได้ มัว หมอง นั้น.
      แก้ ลม (10:1.141)
               คน เปน โรค ลม ต่าง ๆ, กิน ยา ให้ หาย ลม ได้, หฤๅ ลม พัด หนัก ตาม ธรรมดา ทำ ให้ หาย ได้ นั้น.
      แก้ หวัด (10:1.142)
               คน เปน หวัด, แล้ว ทำ ให้ หาย หวัด ได้ นั้น.
      แก้ วน (10:1.143)
               น้ำ วน หฤๅ คน คิด การ สิ่ ใด วน เวียน ไป, ทำ ให้ หาย วน เวียน ได้ นั้น.
      แก้ วุ่น (10:1.144)
               คน คิด วุ่น, หฤๅ พูด จา วุ่น, หฤๅ ทำ สิ่ง ใด วุ่น วาย, จัด แจง ทำ ให้ หาย วุ่น ได้.
      แก้ ศุข (10:1.145)
               คน เปน ทุกข์ นัก, เรา ช่วย ทำ ให้ มี ความ ศุข.
      แก้ เสียด (10:1.146)
               คน เจ็บ ให้ เสียด ใน ท้อง บ้าง, เสียด ใน อก บ้าง, เรา ให้ กิน ยา ให้ หาย.
      แก้ สอบ (10:1.147)
               เรือ หฤๅ สิ่ง ของ ใด ๆ, มัน สอบ แคบ ไม่ กว้าง, ทำ ให้ มัน กว้าง ออก นั้น.
      แก้ หัก (10:1.148)
               ของ สิ่ง ใดๆ เดิม นั้น หัก ไม่ สู้ ดี, เรา จัด แจง ให้ ดี ขึ้น ได้.
      แก้ หึงษ์ (10:1.149)
               ผัว เมีย หึงษ์ หวง กัน หนัก, เรา คิด ทำ ให้ หาย หึงษ์ ได้.
      แก้ ห่วง (10:1.150)
               คน เปน ห่วง ลูก, หฤๅ ห่วง เมีย, หฤๅ ขวง ทรัพย์ สิ่ง ของ ใด ๆ, เรา ธรมาน ให้ ละ ห่วง ได้.
      แก้ หด (10:1.151)
               สิ่ง ของ ใด ๆ, หฤๅ น้ำ ใจ มัน ให้ หด ห่อ ท้อ ถอย, ทำ ด้วย อุบาย ใด ๆ ให้ หาย หด ห่อ ได้.
      แก้ หัด (10:1.152)
               คน ป่วย เปน หัด มัน ทำ พิศม์ ต่าง ๆ, เรา เอา ยา แก้ หาย ได้.
      แก้ หิด (10:1.153)
               คน เปน หิด เปื่อย, หฤๅ หิด ด้าน มัน คัน หนัก, เรา เอา ยา ทา ให้ หาย คัน ได้.
      แก้ หืด (10:1.154)
               คน เปน หืด เรา ทำ ให้ หาย ได้.
      แก้ หูด (10:1.155)
               คน เปน หูด เรา ทำ ให้ หาย ได้.
      แก้ เหือด (10:1.156)
               คน ป่วย เปน เหือด เรา รักษา ให้ หาย ได้ นั้น, คือ โรค ผุด เปน เม็ด ขึ้น ที่ ตัว หัว เล็ก ๆ.
      แก้ เหียน (10:1.157)
               คน เหียน ราก, หฤๅ จะ เหียน กลับ, ใบ เรือ ไม่ แล่น คล่อง, เรา จัด แจง ทำ ให้ หาย เหียน, หฤๅ ให้ เหียน ใบ เรือ ให้ คล่อง นั้น.
      แก้ หอบ (10:1.158)
               คน วิ่ง หอบ, หฤๅ คน ทำ การ เนื่อย หอบ, หฤๅ เปน สิ่ง ใด หอบ ก็ ดี, เรา ทำ ให้ หาย หอบ ได้ นั้น.
      แก้ แหบ (10:1.159)
               คน หฤๅ สัตว์ เสียง แหบ แห้ง, ทำ ให้ เสียง* เพราะ หาย ได้.
      แก้ หาว (10:1.160)
               คน หาว หนัก เรา ทำ ให้ หาย หาว ได้ นั้น.
      แก้ หิว (10:1.161)
               คน หฤๅ สัตว์ มัน หิว อ่อน ไป, เรา ทำ ให้ หาย หิว ได้.
      แก้ หวย (10:1.162)
               คน เล่น หวย, แก้ ใบ โภย หวย ออก ดู นั้น.
      แก้ เหี่ยว (10:1.163)
               ผัก หฤๅ ใบ ไม้ สิ่ง ใด ๆ เหี่ยว ลง, เรา ทำ ให้ สด ชื่น, หาย เหี่ยว ได้.
      แก้ เหื่อ (10:1.164)
               คน เหื่อ ออก หนัก, เรา ทำ ให้ หาย เหื่อ ได้.
      แก้ ไอ (10:1.165)
               คน ไอ หนัก, เรา ทำ ให้ หาย ไอ ได้.
      แก้ เอก (10:1.166)
               ของ สิ่ง ใด ๆ มี นาระกา เปน ต้น เสีย ไป, เรา ทำ ให้ ดี เปน อย่าง เอก ไม่ มี ใคร เสมอ.
      แก้ แอก (10:1.167)
               แอก เกียน หฤๅ, แอก คราด, แอก ไถ, เรา ปลด ออก จาก งัว จาก ควาย, หฤๅ จาก แอก จาก ไถ ได้ นั้น.
      แก้ อวก (10:1.168)
               คน อวก ลม เหียน ราก, เรา ทำ ให้ หาย ได้.
      แก้ องค์ (10:1.169)
               องค์ รูป พระ หฤๅ องค์ สิ่ง ใด ๆ ไม่ สู้ ดี, เรา ทำ องค์ นั้น ให้ ดี ขึ้น.
      แก้ อึง (10:1.170)
               ที่ ใด ๆ เสียง อึง หนัก, เรา ห้าม มิ ให้ อึง ได้.
      แก้ เอียง (10:1.171)
               ของ สง ใด ๆ เอียง, เรา จัด แจง ทำ ให้ มัน ตรง ขึ้น ได้.
      แก้ อด (10:1.172)
               จะ ไป ทาง ไกล กระ เกรียม สะเบียง อาหาร ไป พร้อม, มิ ให้ อด ได้.

--- Page 11 ---
      แก้ อวด (11:1.173)
               คน ที่ มัก พูด โอ อวด หนัก, เรา ข่ม ขี่ ห้าม ปราม เสีย มิ ให้ พูด อวด ได้,
      แก้ อับ (11:1.174)
               เข้า สาร หฤๅ ของ สิ่ง ใดๆ อับ, เรา ทำ ให้ หาย อับ ได้.
      แก้ อับ แก้ จน (11:1.175)
               คือ การ ที่ คน ทำ ปลด เปลื้อง ตัว, เมื่อ เข้า ที่ ขัด สน ด้วย ถ้อย ความ หฤๅ ทับ ศึก เปน ต้น นั้น.
      แก้ อิ่ม (11:1.176)
               คน กิน ของ เกิน ประมาณ อิ่ม หนัก, เรา ให้ กิน ยา ให้ หาย อิ่ม หาย เพ้อ ได้.
      แก้ อาย (11:1.177)
               ผู้ ใด ทำ ให้ เรา ได้ ความ อาย, แล้ว เรา ทำ ให้ ผู้ นั้น ได้ ความ อาย บ้าง.
ไก (11:1)
         ของ สิ่ง ใด ๆ เปน ไก เปน กล เหมือน นาริกา เปน ต้น.
      ไกยเกษ (11:1.1)
               ชื่อ เมือง ใน เรื่อง รามเกียรติ์, มี หลาย เล่ม.
      ไก กล (11:1.2)
               สิ่ง ของ ที่ มี ไก มี กล เหมือน อย่าง กุญแจ บ้าง, หีบ บ้าง, นาระกา บ้าง นั้น.
      ไก ปืน (11:1.3)
               คือ ของ อยู่ ใน ท้าย ลำ กล้อง ปืน, สำหรับ ลั่น นก ปืน สับ ลง, ให้ ไฟ ติด ขึ้น ให้ ขับ ลูก ออก นั้น.
      ไก นาระกา (11:1.4)
               ฃอง ที่ ใน นาระกา, สำหรับ ให้ เฃม ใน นั้น เดิร หมุน ไป ได้.
      ไก หีบ (11:1.5)
               สิ่ง ของ อยู่ ใน หีบ สำหรับ รับ ลูก กุญ แจ ให้ หมุน ไป ได้ นั้น, เหมือน ไก ปืน เปน ต้น นั้น.
ไก่ (11:2)
         ตัว มัน คล้าย กับ นก สอง ท้าว มี ปีก บิน ได้, ขัน ได้, กิน ดี.
      ไก่ ก้อ (11:2.1)
               มี ปีก เหมือน นก, ใจ มัน กล้า รื่น เริง, ไม่ กลัว ไก่ อื่น, ครั้น เหน ตัว เมีย แล้ว ทำ กิริยา ก้อ กรีด.
      ไก่ กก (11:2.2)
               ไก่ แม่ ลูก อ่อน เอา ลูก เข้า ไว้ ใน อก, แล้ว ฟุบ คลุม ให้ ลูก นอน นั้น.
      ไก่ กุก (11:2.3)
               ไก่ ตัว ผู้ ร้อง เรียก หา ไก ตัว เมีย, หฤๅ ไก่ แม่ ลูก อ่อน ร้อง กุก หา ลูก.
      ไก่ แกง (11:2.4)
               ไก่ ที่ เลี้ยง ไว้ สำหรับ แกง กิน.
      ไก่ กิน (11:2.5)
               ไก่ ที่ เลี้ยง ไว้ สำหรับ จะ กิน. อย่าง หนึ่ง ไก่ มัน จิก ของ กิน.
      ไก่ ไข่ (11:2.6)
               ไก่ ตัว เมีย ที่ มัน ไข่ ทุก วัน ๆ.
      ไก่ แขก (11:2.7)
               ไก่ ที่ พวก แขก เลี้ยง ไว้.
      ไก่ แข้ง (11:2.8)
               ไก่ แข้ง มัน มี พิศม์, เขา เลี้ยง ไว้ สำหรับ ชน พะนัน กัน.
      ไก่ ขัน (11:2.9)
               ไก่ ที่ มัน ร้อง ออก เสียง ดัง.
      ไก่ แจ้ (11:2.10)
               ไก่ ตัว ไม่ สู้ โต นัก, ขน เหลือง บ้าง, แดง บ้าง, หงอน จักๆ.
      ไก่ จิก (11:2.11)
               ไก่ ที่ มัน จิก เอา ด้วย ปาก
      ไก่ จุก (11:2.12)
               ไก่ ที่ หัว มัน มี ขน งอก ขึ้น เปน จอม อยู่ ที่ กระ หม่อม นั้น.
      ไก่ โจก (11:2.13)
               ไก่ ที่ เปน ใหญ่ ใน ฝูง, ชะนะ ไก่ ทั้ง ปวง ใน ฝูง นั้น หมด.
      ไก่ เจียบ (11:2.14)
               ลูก ไก่ เล็ก ๆ, มัน ร้อง เสียง ดัง เจียบ ๆ. อนึ่ง เปน เถา วัน ขึ้น อยู่ ริม* น้ำ, ลูก เปน ขน คล้าย ลูก ไก่.
      ไก่ จ้าว (11:2.15)
               ไก่ ที่ ศี ขาว ทั้ง ตัว, เขา สมมุติ เรียก ว่า, ไก่ จ้าว.
      ไก่ จ้อย (11:2.16)
               ไก่ แก่ แต่ ตัว เล็ก ๆ.
      ไก่ ฉาบ (11:2.17)
               ไก่ ที่ มัน บิน ฉาบ ไป ฉาบ มา.
      ไก่ ชน (11:2.18)
               ไก่ ที่ เลี้ยง ไว้ สำหรับ ชน กัน.
      ไก่ หญอง (11:2.19)
               ไก่ ที่ ขน มัน หญอง กลับ ทวน ขึ้น เบื้อง บน.
      ไก่ เดือย (11:2.20)
               ไก่ ที่ มี เดือย ยาว.
      ไก่ ต่อ (11:2.21)
               คือ ไก่ คน เลี้ยง ไว้ สำหรับ เอา ไป ตั้ง ให้ สู้ กับ ไก่ เถือน.
      ไก่ ตี (11:2.22)
               ไก่ ที่ เขา เลี้ยง ไว้ สำหรับ พะนัน กัน.
      ไก่ ตั้ง (11:2.23)
               ไก่ ที่ เขา เลี้ยง ไว้ สำหรับ ตี กัน, แต่ ฅอ ตั้ง ชัน อยู่, ไม่ ใคร่ จะ ก้ม ลง เลย.
      ไก่ ต้อย (11:2.24)
               ลูก ไก่ ที่ เขา เลี้ยง, แต่ มัน เล็ก ๆ, เชื่อง จน ตาม คน.
      ไก่ เตี้ย (11:2.25)
               ไก่ ที่ ขา สั้น ต่ำ เตี้ย, เขา เลี้ยง ไว้ สำหรับ ชม เล่น.
      ไก่ เถื่อน (11:2.26)
               คือ ไก่ อยู่ ใน ป่า ไม่ มี บ้าน.
      ไก่ เทา (11:2.27)
               ไก่ ที่ ขน ศี ดำ กับ ศี ขาว เจือ กัน เปน ศี เทา.
      ไก่ บน (11:2.28)
               ไก่ ที่ อยู่ ข้าง บน, หฤๅ เปน ไก่ มา แต่ เมือง บน, หฤๅ ไก่ ที่ เขา บน จ้าว บน ผี ไว้.
      ไก่ บ้าน (11:2.29)
               ไก่ ที่ เกิด อยู่ ใน บ้าน.
      ไก่ ป่า (11:2.30)
               ไก่ ที่ เกิด ใน ป่า.
      ไก่ ผี (11:2.31)
               ไก่ ที่ ขน ขาว ทั้ง ตัว นั้น.
      ไก่ ผู้ (11:2.32)
               คือ ไก่ ตัว ผู้.
      ไก่ เผือก (11:2.33)
               ไก่ ที่ ขาว ทั้ง ตัว.
      ไก่ ฟ้า (11:2.34)
               ตัว เหมือน นก มี ปีก ขน ลาย, หงอน แดง เหมือน ไก่, มี อยู่ ใน* ป่า.
      ไก่ ผู้ เมีย (11:2.35)
               คือ ไก่ มี หงอน มี แรง เปน ตัว ผู้, มี ขน เปน ตัว เมีย นั้น.
      ไก่ เยีย (11:2.36)
               ไก่ ตัว ผู้, แต่ รูป ร่าง มัน เหมือน ไก่ ตัว เมีย.
      ไก่ เริง (11:2.37)
               ไก่ ที่ รื่น เริง, มิ ได้ กลัว ไก่ ตัว อื่น.
      ไก่ รอง (11:2.38)
               ไก่ ที่ สำหรับ รอง บ่อน, หฤๅ ไก่ ที่ ชน พะนัน เกือบ จะ แพ้ เขา นั้น.

--- Page 12 ---
      ไก่ รุ่น (12:2.39)
               ไก่ ที่ มัน พึง จะ รุ่น ขึ้น มา.
      ไก่ ลง (12:2.40)
               ไก่ ที่ ชน พะนัน มี แต่ จะ มุด หัว ลง ข้าง ล่าง นัน.
      ไก่ ล่าง (12:2.41)
               ไก่ ที่ ชน กัน มัน มัก มุด หัว ลง ข้าง ล่าง, ไม่ ไคร่ จะ ยก หัว ขึ้น บน เลย.
      ไก่ วิลาศ (12:2.42)
               ไก่ มี งวง มี ที่ เมือง วิลาศ.
      ไก่ สูง (12:2.43)
               ไก่ อู หฤๅ ไก่ แจ้ ขา มัน ยาว ไม่ เตี้ย.
      ไก่ สาว (12:2.44)
               ไก่ ตัว เมีย หนุ่ม ๆ ยัง ไม่ แก่.
      ไก่ ฬ่อ (12:2.45)
               ไก่ ที่ เขา เลี้ยง ไว้ สำหรับ ฬ่อ จับ ไก่ อื่น.
      ไก่ เฬา (12:2.46)
               ไก่ ที่ ขน ดำ กับ ขน ขาว เจือ กัน อยู่ เหมือน ดอก เฬา.
      ไก่ ฬุ่น (12:2.47)
               ไก่ ที่ ไม่ มี ขน หาง, ๆ มี หนิด น้อย เหมือน ไก่ ตะเภา.
      ไก่ อู (12:2.48)
               ไก่ เขา เลี้ยง ไว้ สำหรับ ชน กัน, หงอน กลม เล็กๆ ไม่ เปน แฉก เหมือน ไก่ แจ้.
โก (12:1)
          ฯ ว่า ดัง ฤๅ, ว่า ใคร, ว่า ผู้ ใด, ว่า อย่าง ไร.
โกกิลา (12:2)
          ฯ ว่า นก กระเหว่า ตัว ดำ บ้าง ลาย บ้าง, มัน ไข่ ให้ แม่ กา ฟัก, มัน กิน ผล ไม้ เสียง เพราะห์.
โกจิ (12:3)
          ฯ อัน ใด อัน หนึ่ง, คน ใด คน หนึ่ง. ตัว ใด ตัว หนึ่ง, เปน ต้น.
โกฏิ (12:4)
          ฯ ว่า สิบ ล้าน เปน โกฏิ หนึ่ง.
โกตุลัง (12:5)
          ฯ ว่า ชั่ง โกง, ชั่ง โกหก, ชั่ง ขี ฉ้อ.
โกธา (12:6)
          ฯ ว่า ใจ โกรธ.
โกธัง (12:7)
          ฯ ว่า โกรธ.
โกเมร (12:8)
         เปน ชื่อ หัว แหวน อย่าง หนึ่ง, ศี เหลือง อ่อน เจือ ขาว.
โกมุทธ์ (12:9)
         ต้น ดอก ไม้ ที่ เกิด ใน น้ำ คล้าย กับ บัว หลวง.
โกโรโกโส (12:10)
         เปน ชื่อ วัด แห่ง หนึ่ง, เปน วัด เลว.
โกโรค (12:11)
         คน แก่ เปน โรค ผอม หนัก, เขา มัก พูด ว่า, คน โกโรค.
โกโรโกเก (12:12)
         คือ คน โอยก เอยก.
โกลาหล (12:13)
          ฯ ว่า เหตุ การ ที่ เขา เล่า ฦๅ, หฤๅ เขา กระทำ กึก ก้อง ทั่ว.
โกลังโกละโสดา (12:14)
         คน ที่ ตัก บาป ธรรม ได้ บ้าง, แล้ว จัก มา เกิด ใน โลกย์ นี้ อีก หก ชาติ, จึ่ง จะ นิพาน.
โกวิธา (12:15)
          ฯ ว่า คน รู้, คน ฉลาด.
โกวิทธาโร (12:16)
          ฯ ว่า คน ฉลาด ต่าง ๆ ตาม วิธี,
โกษี (12:17)
          ฯ ชื่อ พระอินทร์, แต่ ทว่า เรียก ตาม โคตร์,
โกษีโย (12:18)
          ฯ ว่า ชื่อ พระอินทร์.
โกสินาราย (12:19)
         เปน ชื่อ เมือง ๆ หนึ่ง อยู่ ทิศ ตวัน ตก เมือง ไท.
โกไสยพัตถ์ (12:20)
          ฯ ว่า ผ้า ที่ เขา ธอ ด้วย ไหม, เหมือน อย่าง แพร นั้น.
โกสุม (12:21)
          ฯ ว่า ดอก ไม้.
โกหก (12:22)
          ฯ ว่า พูด ปด, พูด ไม่ จริง, พูด ฬ่อ ลวง, พูด ตอ แหล, โกง
โกหก ตอแหล (12:23)
         คือ การ คด โกง ไม่ ซื่อ ตรง, มัก พูด ปด.
โก๋ (12:24)
         เปน ปลาย ชื่อ ขนม เจ็ก, เขา ทำ ด้วย แป้ง เข้า เหนียว ขั้ว, ใส่ น้ำ ตาน ทราย ด้วย, กิน หวาน, เรียก ขนมโก๋.
โก้ (12:25)
         เปน ปลาย ชื่อ ขนม ของ ไทย, เขา ทำ ด้วย แป้ง เข้า โภช บ้าง, แห้ว บ้าง, กระจับ บ้าง, ถั่ว บ้าง, ใส่ น้ำ ตาน ทราย, กิน หวาน, เรียก ตะโก้.
เกา (12:26)
         คน คัน ตัว เอา เล็บ มือ งอ เข้า ลาก มา ที่ ตัว ให้ หาย คัน.
      เกา กาย (12:26.1)
               คือ เกา ตัว.
      เกา ขน (12:26.2)
               คน หฤๅ สัตว์ เอา เล็บ งอ เข้า ครูด ลง ที่ ขน.
      เกา ตัว (12:26.3)
               คน หฤๅ สัตว์ คัน ตัว เอา เล็บ ครูด ลง ที่ ตัว.
      เกา ยุง (12:26.4)
               คน หฤๅ สัตว์ ยุง มัน กัด คัน เอา เล็บ ครูด ลง ที่ ยุง กัด.
      เกา แสบ (12:26.5)
               คน หฤๅ สัตว์ เอา เล็บ ครูด ลง ที่ ตัว หฤๅ ที่ ใด จน แสบ.
      เกา หัว (12:26.6)
               คน หฤๅ สัตว์ เอา เล็บ ครูด ลง ที่ หัว.
      เกา องค์ (12:26.7)
               คน ที่ เปน ใหญ่ มี วาศนา มาก เอา เล็บ ครูด ลง ที่ ตัว.
      เก่า (12:26.8)
               ผ้า หฤๅ ของ สิ่ง ใด ๆ, ทำ แล้ว ใช้ สอย ไป นาน คร่ำ คร่า เศร้า หมอง นั้น.
เก่าแก่ (12:27)
         คน หฤๅ สัตว์ สิ่ง ของ ใดๆ, ที่ ได้ ใช้ สอย อยู่ นาน จน แก่.
      เก่า ก่อน (12:27.1)
               สิ่ง ของ ที่ เก่า เขา มี อยู่ ก่อน นั้น นาน.
      เก่า คร่ำ คร่า (12:27.2)
               สิ่ง ใด ๆ ที่ ชำรุธ.
      เก่า จริง (12:27.3)
               สิ่ง ของ ที่ เก่า แท้ ๆ นั้น.
      เก่า เต็ม ที (12:27.4)
               สิ่ง ของ ใด เก่า จน เกิน กำหนฎ.
      เก่า นัก (12:27.5)
               สิ่ง ของ ใด ๆ เก่า มาก, หฤๅ เก่า หลาย แห่ง หลาย ตำบล.
      เก่า นาน (12:27.6)
               สิ่ง ของ ใด ๆ, คร่ำ คร่า อยู่ นาน แล้ว.
เก้า (12:28)
         คน นับ สิ่ง ของ ใด ๆ สิบ หย่อน หนึ่ง, ว่า เก้า. อนึ่ง ตีน เดิร ย่าง ไป, ว่า เก้า.
      เก้า ก่าย (12:28.1)
               สิ่ง ของ ใด ๆ วาง ก่าย กัน ไป มา, หฤๅ รอย คน รอย สัตว์, เดิน ก่าย กัน ไป มา.
      เก้า ลัด (12:28.2)
               คือ แล่น เรือ ทวน ลม ขึ้น ไป, แล ตัด ทาง น้ำ ไป นั้น.
      เก้า ทัน (12:28.3)
               สิ่ง ของ ทำ ด้วย ไม้ มี สาย พาด ลูก เหมือน ธนู, สำ หรับ ยิง คน ยิง สัตว์ ต่าง ๆ.
      เก้า แล่น (12:28.4)
               คือ แล่น เก้า เช่น ว่า นั้น.

--- Page 13 ---
เก้าอี้ (13:1)
         ของ ทำ ด้วย ไม้ บ้าง ทำ ด้วย หวาย บ้าง, สำหรับ เปน ที่ นั่ง ของ คน ทั้ง ปวง.
      เก้าอี้ โยก (13:1.1)
               เก้า อี้ โคลง ไป ข้าง หน้า โคลง มา ข้าง หลัง นั้น.
กำ (13:2)
         มือ กำ สิ่ง ของ ใด ๆ ไว้. อนึ่ง ผัก แล ของ ใด ๆ, เขา เอา ตอก มัด ไว้ เปน สิ่ง ๆ นั้น.
กรรม (13:3)
         ฯ ว่า กระทำ.
      กรรม ก่อน (13:3.1)
               การ ที่ คน กระทำ ดี, หฤๅ การ ชั่ว ต่าง ๆ ไว้ แต่ ก่อน นั้น.
กำกับ (13:4)
         คือ ให้ คน ไป คอย ดู คน ทำ การ อัน ใด อัน หนึ่ง เปน ต้น.
กำ เกียน (13:5)
         คือ ไม้ เปน อัน ๆ, เขา ใส่ เข้า กับ ดุม ข้าง หนึ่ง ๆ ใส่ กับ กง ขา เกียน นั้น.
กำจัด (13:6)
         การ ขับ เสีย, ขับ ไล่, บ่าว ทาษ หฤๅ ลูก จ้าง, หฤๅ พวก พ้อง ทำ ความ ชั่ว เรา ขับ ไล่ เสีย นั้น. อนึ่ง ต้น ไม้ มี อยู่ ใน ป่า เหนือ ชื่อ กำจัด.
กำจาย (13:7)
         งา ช้าง ที่ อาละวาด แทง ต้น ไม้, หฤๅ แทง สิ่ง ใด ๆ, งา หัก ติด อยู่ ใน นั้น, งา นั้น ว่า งา กำจาย.
กำ ชับ กำ ชา (13:8)
         คือ คำ พูด บังคับ ว่า ทำ ให้ ดี ๆ เปน ต้น นั้น.
      กำชับ (13:8.1)
               คำ สั่ง หลาย หน ว่า จง ระวัง ให้ ดี.
กำชาบ (13:9)
         คือ ลูก หน้า ไม้, หฤๅ ลูก ธะนู ที่ เขา อาบ ชุบ อยา พิศม์ ไว้ นั้น.
กำดัด (13:10)
         กำลัง ดี, ภอ ดี, หน้า รักษ, หน้า ชม, ว่า กำดัด ดี. ซาม กิน ซาม ช้อน ซาม ชม เปน ต้น นั้น.
กำเดา (13:11)
         คำ เขมร ว่า ร้อน. อนึ่ง เลือด ที่ ไหล ออก จาก รู จมูก เหตุ ด้วย ร้อน, หฤๅ กระทบ สิ่ง ใด ๆ เข้า, ว่า เลือด กำเดา.
กำตัด (13:12)
         คน เล่น เบี้ย การ พนัน อย่าง หนึ่ง, ว่า เล่น กำ ตัด.
กำตาก (13:13)
         คือ ถึง กำหนฎ เมื่อ วัน แรก นา ใน หลวง เปน พีธี สำ หรับ แผ่นดิน เดือน หก นั้น.
กำหนฎ (13:14)
         ความ ตั้ง สัญา ไว้ ว่า, วัน นั้น เรา จะ ไป, หฤๅ เดือน นั้น จะ มา เปน ต้น นั้น, หฤๅ กำหนฎ ลง ว่า. ถ้า ผู้ ใด ขัด ขืน จะ ลง โทษ, ว่า กำหนฏ.
      กำหนฎ กฎหมาย (13:14.1)
               คือ กาละ ที่ จำ วัน คืน ไว้ เปน ต้น, แล สัง เกต ไว้ นั้น.
กำหนัด (13:15)
         ใจ หื่น ใจ อาคละ ใน รูป เสียง กลิ่น รศ สัมผัด จับ ต้อง โดย การ สังวาศ นั้น.
กำเนิด (13:16)
         การ ที่ เกิด เปน มนุษ, หฤๅ เกิด เปน สัตว เดียรฉาน นั้น.
      กำนน (13:16.1)
               ของ ให้ เพื่อ คำนับ, เหมือน อย่าง คน จะ เล่น มโหรี หฤๅ พิณภาษ เปน ต้น, ต้อง เอา เงิน ติด เทียร ตั้ง คำนับ ก่อน นั้น.
กำนัน (13:17)
         คน ที่ เปน ใหญ่ ใน บ้าน อัน ชาว บ้าน ควร จะ คำนับ.
      กำนัน พรรทนาย บ้าน (13:17.1)
               คือ คน ที่ เขา ตั้ง ไว้ ให้ ว่า กล่าว คน ใน บ้าน หนึ่ง นั้น.
กำบัง (13:18)
         ที่ ปิด หฤๅ ที่ บัง นั้น.
      กำบัง กาย (13:18.1)
               คือ บัง ตัว ไม่ ให้ คน อื่น เหน นั้น.
กำปะนาท (13:19)
         ฯ ว่า หวั่น ไหว.
กำปั่น (13:20)
         เรือ ใหญ่ ของ พวก แขก, ฝรั่ง, อังกฤษ, วิลันดา ใน ทาง ทะเล ใหญ่. อนึ่ง หีบ ใหญ่ ๆ
      กำปั่น รบ (13:20.1)
               คือ เรือ กำปั่น สำหรับ รบ กับ ฆ่า ศึก นั้น.
      กำปั่น ไฟ (13:20.2)
               คือ เรือ กำปั่น ที่ แล่น ไป เพราะ ไฟ นั้น.
กำปั้น (13:21)
         คน กำ มือ เข้า, ว่า กำปั้น.
กำพร้า (13:22)
         คน ที่ พ่อ หฤๅ แม่ ตาย ไม่ มี ที่ พึ่ง, หฤๅ ตาย ทั้ง สอง คน.
กำแพง (13:23)
         คือ ที่ ล้อม ก่อ ด้วย อิฐ เปน ต้น.
      กำแพง เพชร์ (13:23.1)
               เปน ชื่อ เมือง อยู่ ฝ่าย เหนือ เมือง หนึ่ง นั้น.
      กำแพง แก้ว (13:23.2)
               คือ กำแพง ก่อ ด้วย อิฐ ปูน ต่ำ ๆ, สำหรับ ล้อม ที่ วัด เปน ต้น.
กำพืช (13:24)
         คือ พืช พันธุ ว่าน เครือ เทือก แถว.
กำ พุชภาคย์ (13:25)
         ภาษา ชาว กัมภูชา คือ เขมร.
กำพวด (13:26)
         ของ ทำ ด้วย ทอง เหลือง บ้าง ทอง แดง บ้าง, ห่อ เปน หลอด เข้า แล้ว สิ้น ปี. อนึ่ง เปน ชื่อ ปลา กำพวด.
กำพล (13:27)
         ผ้า ศี แดง ทำ ด้วย ขน สัตว มา แต่ เมือง เทศ ศี งาม นัก, คือ ผ้า สร่าน ศี ต่าง ๆ.
กำภีร์ (13:28)
         หนังสือ เรื่อง หลาย ผูก รัด เข้า ด้วย กัน เปน ห่อ หนึ่ง.
กำภู (13:29)
         ของ ทำ ใส่ ที่ ฉัตร์ หฤๅ พุ่ม ดอก ไฟ, สำหรับ กั้น สันถาน คล้าย กับ จงกล บัว.
      กำภู ฉัตร์ (13:29.1)
               ของ ทำ ด้วย ไม้ มี สัน ถาน คล้าย กับ บัว จงกล ทำ ไว้ ที่ กง ฉัตร์.
กำภู ชา (13:30)
         ชื่อ เมือง หลวง เขมน.
กำมา (13:31)
         กำ มือ เข้า, แล้ว วัด ลง มา ถึง ข้อ ศอก.
กำ มือ (13:32)
         ทำ นิ้ว มือ ให้ งอ ม้วน กลม เข้า.
กรรม (13:33)
         ฯ ว่า กระทำ การ ดี หฤๅ การ ชั่ว.

--- Page 14 ---
กรรมกร (14:1)
         ฯ การ ลง โทษ ต่าง ๆ, หฤๅ คน กระทำ การ งาน.
      กรรมบถ (14:1.1)
               ฯ แปล ว่า คลอง แห่ง กรรม, คือ การ ดี หฤๅ ชั่ว ที่ คน กระทำ เปน ที่ เกิด แห่ง กรรม นั้น.
กำมะถัน (14:2)
         ของ ศี เหลือง มา แต่ เมือง นอก, สำหรับ ประสม กับ ดิน ประสิว ทำ ดิน ปืน.
กำมะหญี่ (14:3)
         ผัา เปน ขน นุ่ม อ่อน ละเอียด ศี ต่าง ๆ งาม นัก, มา แต่ เมือง จีน แล เมือง เทศ บ้าง.
กำญาน (14:4)
         ยาง ไม้ หอม มา แต่ ป่า เหนือ, ใช้ ทำ เครื่อง อบ เผา ไฟ กลิ่น หอม นัก.
กรรมฐาน (14:5)
         ฯ ใจ พิจรณา เหน ว่า, รูป, เวทนา, สัญา, สังขาร, วิญาณ ไม่ เที่ยง, เปน ทุกข์, ไช่ ตน, ไช่ ของ ตน. อนึ่ง คือ ที่ ตั้ง แห่ง การ ที่ ทำ นั้น.
กำมัง (14:6)
         ฯ การ ทั้ง ปวง สิ้น. อนึ่ง ชื่อ บ้าน ที่ เมือง เหนือ.
กำเม็ง (14:7)
         ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง มัก ขึ้น อยู่ ตาม ทุ่ง นา แล สวน, สำ หรับ ปน กับ มะเกลือ ย้อม ผ้า ดำ.
กำหมัด (14:8)
         คน กำ มือ เข้า ทุบ ตี กัน, หฤๅ จะ กระทำ การ สิ่ง ใด ๆ.
กำไร (14:9)
         กระทำ ให้ ยิ่ง, หฤๅ เข้า ของ ซื้อ มา ถูก ขาย ได้ แพง, เงิน ที่ ได้ เกิน ทุน นั้น, ว่า กำไร,
กำหราบ (14:10)
         การ ที่ คน ว่า กล่าว ปราบ ปราม, ให้ ตั้ง อยู่ ใน ถ้อย คำ ตัว นั้น.
กำเริบ (14:11)
         โรค ไภย หฤๅ เหตุ สิ่ง ใด ๆ, เดิม นั้น เปน แต่ น้อย, ครั้น มา ภาย หลัง กลับ เปน ทวี มาก ขึ้น นั้น.
กำไล (14:12)
         ของ ทำ ด้วย เงิน บ้าง ทำ ด้วย ทอง บ้าง, สำหรับ ใส่ มือ แล ท้าว เด็ก, ให้ ดู งาม นั้น.
      กำไล มือ (14:12.1)
               คือ วง เขา ทำ ด้วย ทอง หฤๅ เงิน, สำหรับ ใส่ มือ เปน เครื่อง ประดับ เด็ก ๆ นั้น.
กำลัง (14:13)
         คน มี แรง มาก, หฤๅ มี ผู้ คน บ่าว ไพร่ มาก นั้น. อนึ่ง คือ ขณะ ที่ รีบ เร่ง ไป เปน ต้น นั้น.
      กำลัง วัง ชา (14:13.1)
               กำลัง คือ แรง, วัง ชา เปน สร้อย คำ.
กำมะลอ (14:14)
         โอ, หฤๅ ร่ม, หฤๅ หีบ, หฤๅ ของ สิ่ง ใด ๆ เขียน ด้วย ลาย น้ำ มัน นั้น, เรียก ลาย* กำมะลอ.
กำยำ (14:15)
         คือ ว่า โต ใหญ่ นั้น, มี กาย คน เปน ต้น.
กรรมเรียญติ์ (14:16)
         ฯ คือ โรง ที่ สำหรับ ฟัง ธรรม เทศนา.
กรรม นิยม (14:17)
         ฯ คือ การ เปน เพราะ กรรม, ถ้า ฝ่าย อกุศล, เหมือน คน ผูก ฅอ ตาย เปน ต้น, ฝ่าย กุศล, เหมือน คน ที่ ราช รถ มา เกย รับ นั้น.
กรรม วาจา (14:18)
         ฯ ครู ที่ สอง สำหรับ นั่ง เบื้อง ขวา เมื่อ กระทำ อุป สมบท กรรม, คือ บวช นาค นั้น.
กรรม ลาศนะ (14:19)
         ฯ ว่า มี ดอก บัว เปน อาศนะ.
กรรม วิบาก (14:20)
         ฯ ว่า ผล แห่ง การ ดี แล การ ชั่ว นั้น.
กำมเลศร (14:21)
         ฯ ว่า ดอก บัว ใหญ่.
กรรม เวรา (14:22)
         ว่า ผล แห่ง การ ดี แล การ ชั่ว ที่ เวียน ติด ตาม ตน ไป, ว่า กรรม เวรา.
กรรมชวาต (14:23)
         ฯ ว่า ลม เกิด แต่ กรรม, คือ ลม บังเกิด ใน อุทร เมื่อ บุตร จะ คลอด ออก จาก ครรภ์.
กรรมเวร (14:24)
          ฯ ใจ ความ เมือน กัน.
กำไว้ (14:25)
         คือ ทำ นิ้ว มือ ให้ งอ เข้า ถือ ของ ไว้, หฤๅ มือ เปล่า บ้าง.
กำสรติ์ (14:26)
         ฯ ระฦก ถึง การ ดี การ ชั่ว ที่ ตัว ทำ ไว้, คำ ตลาต ว่า โศรก เศร้า.
กำ สรวน (14:27)
         ว่า โศรก เศร้า, เปน คำ สูง.
กำมสิทธิ์ (14:28)
         สำเร็ทธิ์ การ หฤๅ ให้ สิ่ง ของ ใด ๆ เปน อัน ขาด แก่ ผู้ ที่ รับ นั้น
กำแหง (14:29)
         ว่า แขง แรง, กล้า หาร.
      กำแหง หาร (14:29.1)
               คือ ใจ เหี้ยม กล้า หาร.
ก่ำ (14:30)
         ศี แดง แก่, หฤๅ แสง อาทิตย์ เมือ เพลา เย็น นั้น.
ก้ำกึ่ง (14:31)
         การ ขะเน, คือ สิ่ง ที่ คิด ไว้ นั้น, จะได้ หฤๅ มิ ได้ ก็ เท่า กัน, หฤๅ คน ไข้ หนัก จะ เปน จะ ตาย เท่า กัน.
      ก้ำเกิน (14:31.1)
               คือ สิ่ง ของ ที่ ไม่ เสมอ กัน นั้น.
กร้ำกรุ่น (14:32)
         ของ ศี ขาว กับ ศี แดง เจือ กัน เปน ศี นวน.
กะ (14:33)
         คือ คน จะ ทำ การ สิ่ง ใด ๆ, จะ เอา เพียง ไหน, ก็ กำ หนฎ ทำ สำคัญ ลง ไว้ เพียง นั้น, เรียก ว่า กะ.
      กะ การ (14:33.1)
               คน จะ ทำ การ สิ่ง ใด ๆ กะ ไว้ ว่า เรา จะ ทำ การ วัน นั้น หฤๅ เดือน นั้น, ปี นั้น หฤๅ กะ ลง ไว้ ว่า เรา จะ ทำ เท่า นี้, เรียก ว่า กะ การ ลง ไว้.
      กะเกน (14:33.2)
               การ ใน หลวง กะเกน ให้ คน นี้ ทำ การ สิ่ง นี้, หฤๅ เกน กอง ทับ ว่า, กอง นี้ ให้ ยก ไป ทาง นี้, ว่า กะ เกน.
กะจ๋อ กะแจ๋ (14:34)
         เด็ก สอน พูด ยัง ไม่ ชัด มัน พูด เสีย กะจ๋อ กะแจ๋

--- Page 15 ---
กะจี๋หรีด (15:1)
         คน หฤๅ สัตว หฤๅ สิ่ง ของ ใด ๆ มัน เล็ก ๆ ที่ สุด.
กะเจา (15:2)
         ปอ อย่าง หนึ่ง เขา ปลูก ไว้ สำหรับ ปั่น เชือก, เขา เอา เม็ด มัน หว่าน ที่ ดิน เหมือน ทำ นา, มี อยู่ ที่ กรุง เก่า.
กะจก (15:3)
         ของ ทำ ด้วย แก้ว สำหรับ ดู เงา รูป. อนึ่ง เขา ทำ ที่ ใน เมือง ไทย นี้ สำหรับ ประดับ เครื่อง ภาชนะ ใช้ สรอย.
กะจัด กะจาย (15:4)
         คือ พรัด พราย ไป นั้น.
กะจิก กะจุก (15:5)
         ของ เล็ก ๆ น้อย ๆ สิ่ง ละ อัน พรรณ์ ละ น้อย.
      กะจุก กะจิก (15:5.1)
               ความ เล็ก ๆ น้อย ๆ หลาย สิ่ง หลาย อัน.
กะจุก กะจุย (15:6)
         คือ ฟุ้ง เฟื่อง.
กะจอก (15:7)
         คน ขา เสีย, เดิร เขยก ๆ. อนึ่ง นก ตัว เล็ก ๆ มัน อา- ไศรย ทำ รัง อยู่ ที่ เรือน, แล ใน รู ไม้, ว่า นก กะจอก.
กะจง (15:8)
         สัตว ตัว เล็ก เท่า แมว, รูป มัน คล้าย กับ เนื้อ, อยู่ ใน ป่า, กิน ผัก กิน หญ้า.
กะจัง (15:9)
         ของ ทำ ด้วย ทอง บ้าง, ด้วย ไม้ บ้าง, กะดาด บ้าง, สลัก เปน ช่อง รูป แบบ ๆ, ใช้ ประดับ เครื่อง สภ เปน ต้น.
กะจ่าง (15:10)
         กะจก หฤๅ โคม แก้ว หฤๅ สิ่ง ของ ใด ๆ, หฤๅ คิด แก้ ความ สิ่ง ใด ไม่ เหน ชัด, เรา จัด แจง แก้ ให้ ใส สว่าง นั้น.
      กะจ่าง แจ้ง (15:10.1)
               คือ แจ่ม แจ้ง เมือน ดวง จันทร์ เมื่อ วัน เพง ปราศ จาก เมฆ นั้น.
กะเจิง (15:11)
         คน หลง ทาง หฤๅ คน เที่ยว ต่อ ๆ ไป ไม่ ใคร่ จะ กลับ มา, ว่า หลง เที่ยว กะเจิง.
กะจัด กะจาย (15:12)
         เรี่ย ราย ไป ไม่ อยู่ ที่ ของ ตัว.
กะจาด (15:13)
         ของ สาน ด้วย ไม้ ไผ่ เปน รูป แบน ๆ ปาก กว้าง ๆ สำ หรับ ใช้ ใส่ ของ ไป ตลาด บ้าง, ใส่ ขนม มี เทศนา บ้าง.
กะจัด พรัด พราย (15:14)
         คือ เรี่ย ราย วุ่นวาย ไป.
กะจิ๋ด กะจ้อย (15:15)
         สิ่ง ของ ใด ๆ, หฤๅ สัตว ใด ๆ เล็ก ที่ สุด, ว่า เปน ของ กะจิด กะจ้อย.
กะจูด (15:16)
         ต้น หญ้า อย่าง หนึ่ง ต้น กลม ๆ, ขึ้น อยู่ ที่ ทุ่ง นา สำหรับ สาน เสื่อ.
กะโจน กะโดด (15:17)
         คน หฤๅ สัตว กะโดด ลง ใน น้ำ, หฤๅ กะโดด ขึ้น จาก เรือ, หฤๅ กะโดด ลง จาก เรือน, ว่า กะโจน.
กะจ้อน (15:18)
         เปน สัตว สี่ ตีน ตัว เล็ก ๆ เท่า กัน กับ หนู, กิน ผลไม้ อยู่ ใน สวน บ้าง ใน ป่า บ้าง. อนึ่ง เหมือน ผลไม้ พึ่ง ออก ยัง เล็ก อยู่, ว่า ลูก กะจ้อน.
กะจาบ (15:19)
         นก ตัว เล็ก ๆ เท่า กับ นก กะจอก, อยู่ ใน ทุ่ง นา กิน เข้า เปลือก, ทำ รัง ห้อย กับ กิ่ง ไม้ ประลาด นัก.
กะจับ (15:20)
         ผัก อย่าง หนึ่ง ผล เมือน หัว ควาย บ้าง, เปน สาม ง่าม เหมือน ขวาก บ้าง ขึ้น ใน น้ำ, กิน ดี.
กะจับปี (15:21)
         เปน เครื่อง ใน มะโหรี อย่าง หนึ่ง มัน มี พะอบ มี คัน แล สาย, แล นม แล ลูก บิด นั้น.
กะจิบ (15:22)
         นก ตัว เล็ก ๆ, มัน ร้อง เสียง ดัง จิบ ๆ, กิน บุ้ง กิน หนอน ศี ขน มัว ๆ.
กะจุบ (15:23)
         ของ สำหรับ. ตาม ตะเกียง, เขา เอา ดิน บ้าง ตะกั่ว บ้าง ทำ เปน สาม ขา, เจาะ รู กลาง เอา ไส้ ใส่ ใน นั้น ตาม ไฟ.
กะเจียบ (15:24)
         ลูก ไก่ เล็ก ๆ ที่ พึ่ง ออก จาก ไข่ มัน ร้อง เจียบ ๆ นั้น.
กะจุ้ม กะจิม (15:25)
         เด็ก หฤๅ ผู้ ใหญ่ ที่ พึ่ง ฟื้น จาก ไข้, ขึ้น ใหม่ ๆ, อยาก กิน ของ เล็ก ๆ น้อย ๆ, โน่น บ้าง นี่ บ้าง, ว่า อยาก กิน กะจุ้ม กะจิ้ม.
กะโจม (15:26)
         ของ ทำ ด้วย ไม้ บ้าง ด้วย กะดาด บ้าง, เอา ผ้า คลุม สำ หรับ กัน ผง, หฤๅ สำหรับ คน เข้า อยู่ ใน นั้น ให้ เหื่อ ออก นั้น.
กะโจม จับ (15:27)
         คือ โดด เข้า จับ.
      กะโจม กะจาม (15:27.1)
               คือ โดด เข้า ตะครุบ จับ เอา.
กะจาย (15:28)
         ของ ที่ แตก เรี่ยราย ออก ไป นั้น. อนึ่ง ฝูง สัตว, หฤๅ คน เปน หมู่ กัน อยู่ แล้ว กะจาย ออก ไป จาก กัน.
กะจุย (15:29)
         คน หฤๅ สัตว เปน หมู่ เปน พวก กัน อยู่, แล้ว ตก ใจ กลัว แต่ เหตุ ใด ๆ ต่าง คน ต่าง หนี กะจุย ไป.
กะจ้อย (15:30)
         คน หฤๅ สัตว หฤๅ สิ่ง ของ ใด ๆ ยัง เล็ก อยู่ นั้น
      กะจ้อยร้อย (15:30.1)
               คือ รูป คน จ้อน เล็ก, หฤๅ ผล ไม้ จ้อน เล็ก นั้น.
กะเจียว (15:31)
         ผัก อย่าง หนึ่ง ต้น ใบ เหมือน ขมิน, ดอก เหมือน ขมิ่น, มัก ขึ้น อยู่ กลาง ทุ่ง กลาง ป่า, ดอก กิน ได้.
กะเจอะ กะเจิง (15:32)
         คือ อาการ ที่ ไม้ รู้แห่ง, แล แวะ เข้า ข้าง โน้น ข้าง นี้ นั้น.
      กะแจะ (15:32.1)
               เครื่อง หอม ปรุง เข้า กัน หลาย สิ่ง, ทำ ไว้ สำหรับ ทา บ้าง ประพรม อบ ผ้า อบ หีบ บ้าง.
      กะจี๋หริด (15:32.2)
               คือ ฃอง เล็ก หนิด เดียว ควร จะ ใหญ่ ตาม ธรรม ดา นั้น.
กะจ้อย ร่อย (15:33)
         คือ ของ เคย ใหญ่ เปน ธรรมดา, ของ นั้น แคระ กรัง อยู่ ไม่ ใหญ่ ตาม ทำเนียม นั้น.

--- Page 16 ---
กะเจาะ (16:1)
         โรค คน เปน ฝี ดาศ, หฤๅ เปน ต้อ เปน รอย กลม อยู่ เท่า เม็ด ถั่ว นั้น.
กะฉีก (16:2)
         ของ กิน อย่าง หนึ่ง, เขา เอา น้ำ ตาน เคี่ยว ขึ้น, แล้ว เอา มะพร้าว ขูด ใส่ ลง ขั้ว ไป, กิน กับ เข้า เหนียว.
กะฉอก (16:3)
         น้ำ ใส่ ขัน หฤๅ ใส่ ภาชนะ สิ่ง ใด ๆ ไว้, หฤๅ น้ำ ใน แม่ น้ำ กะฉ่อน หก ไป ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง, ว่า น้ำ กะฉอก.
กะฉีด (16:4)
         ที่ เปียก เปน น้ำ เปน โคลน, เรา เหยียบ ลง ไป น้ำ หฤๅ โคลน มัน ปรีด ขึ้น มา ว่า กะฉีด.
กะฉูด (16:5)
         เนื้อ ความ ก็ คล้าย กัน กับ กะฉีด. อย่าง หนึ่ง หล่อ ตัว อักษร ภิมภ์ เขา วัด ไป ดี บุก ฟุ้ง ออก ไป บ้าง นั้น.
กะเฉด (16:6)
         ผัก อย่าง หนึ่ง ขึ้น ลอย อยู่ ใน น้ำ, ใบ เล็ก ๆ, ต้ม กิน กับ เข้า ดี.
กะฉ่อน (16:7)
         น้ำ ใน แม่ น้ำ เปน ต้น, ฟู ขึ้น เปน ตอน ๆ, เปน เมื่อ แผ่น ดิน ไหว นั้น.
กะโฉม (16:8)
         ผัก อย่าง หนึ่ง ขึ้น อยู่ ใน โคลน ที่ ดิน เปียก ๆ ใบ มี กลิ่น หอม, แกง กิน ดี.
กะ เช้า (16:9)
         ของ สาน ด้วย ไม้ เหมือน กะบุง เล็ก.
กะชะ (16:10)
         ของ สาน ด้วย หวาย บ้าง, ด้วย ตอก บ้าง, เปน รูป แบน ๆ มี หู อยู่ ที่ ปาก สอง ข้าง สำหรับ ไส่ ปลา.
กะชุ (16:11)
         ของ สาน ด้วย ไม้ ไผ่ สำหรับ ใส่ นุ่น บ้าง ใส่ ฝ้าย บ้าง นั้น.
กะ ชาก (16:12)
         คน จะ ถอน หญ้า, หฤๅ จะ ฉุด ชัก สิ่ง ของ ใดๆ, ชัก กะหก มา เร็ว ๆ ว่า กะ ชาก.
กะโชก กะชั้น (16:13)
         คือ กะโชก ขู่ แล เข้า ชิด ใกล้.
กะชัง (16:14)
         ของ สำหรับ บัง แดด บัง ฝน ที่ น่า โรง น่า ร้าน, หฤๅ น่า แพ, เขา เอา ไม้ มา ทำ เปน สี่ เหลี่ยม มุง ด้วย จาก บ้าง, ด้วย แผง บ้าง ยก ขึ้น ลด ลง ได้,
กะชิง (16:15)
         เปน ใบ ไม้ อย่าง หนึ่ง เขา ใช้ กั้น ฝน กั้น แดด ต่าง ร่ม ได้ นั้น. อนึ่ง เอา กระบอก ไม้ มา ทำ เหมือน ร่ม มุงด้วย จาก บ้าง ด้วย แผง บ้าง คน จน ใช้ บัง ฝน ว่า กะชิง.
กะแชง (16:16)
         ของ ที่ คน เอา ใบ จาก บ้าง ใบ เตย บ้าง, มา เย็บ ติด กัน เข้า เปน แผ่น โต ๆ สำหรับ บัง แดด บัง ฝน.
กะเชียง (16:17)
         ของ ทำ ด้วย ไม้ มี ด้ำ มี ใบ คล้าย กับ แจว, สำหรับ ภุ้ย ตีลง ใน น้ำ ให้ เรือ แล่น ไป.
กะชด กะช้อย (16:18)
         กิริยา ผู้ หญิง ที่ ถือ ตัว, ไว้ ตัว ว่า รูป งาม, จะ นั่ง ลุก พูด จา มัก ทำ กิริยา ฅอ อ่อน ไป อ่อน มา นั้น.
กะชั้น (16:19)
         ใกล้ จะ ถึง, หฤๅ ใกล้ จะ ทัน, หฤๅ ใกล้ กำหนฏ การนั้น.
กะ ชอน (16:20)
         ของ สำหรับ กรอง กะทิ, สาน ด้วย ไม้ บ้าง, ทำ ด้วย ผ้า บ้าง, รูป เปน สี่ เหลี่ยม บ้าง กลม บ้าง.
กะชับ (16:21)
         คือ เอา ยาง ที่ เหนียว ๆ ทา เข้า เพื่อ จะ ไม่ ให้ หลุด ง่าย เร็ว นั้น.
กะชุ่ม กะชวย (16:22)
         คน ยัง หนุ่ม ยัง สาว, เนื้อ หนัง ยัง สด ชุ่ม บริ บูรณ์ อยู่ นั้น.
กะชาย (16:23)
         เปน ผัก อย่าง หนึ่ง มี หัว อยู่ ใน ดิน, กลิ่น หอม เปน เครื่อง แกง รศ เผ็ด นั้น.
กะแชะ (16:24)
         ผู้ ชาย ชอบ ใจ ผู้ หญิง ภอ ใจ เข้า ไป ใกล้ ให้ กะทบ กะ ทัง, แล้ว พูด จา เลียบ เคียง นั้น.
กะเชอ (16:25)
         รูป เหมือน กะบุง, มี หู มี สาย เชือก สำหรับ หาบ หิ้ว ได้ นั้น.
กะแซ (16:26)
         คน ภาษา หนึ่ง รูป คล้าย กับ พะม่า นั้น.
กะซอก กะแซก (16:27)
         ทาง ใน บ้าน หฤๅ ทาง ใน ดง แยก ย้าย หลาย ทาง, ซับ ซ้อน กัน ไป หลาย แห่ง หลาย ตำบล นั้น.
กะซุง (16:28)
         เจ้า พะนักงาน, หฤๅ ตาม ตำแหน่ง นั้น, ว่า เจ้า กะซุง.
กะทรวง (16:29)
         ตาม พะนักงาน, หฤๅ ตาม ตำแหน่ง, ตาม ที่ ตาม ถาน นั้น.
กะซ่าน กะเซ็น (16:30)
         คือ กะเด็น ไป เหมือน น้ำ ฝน เปน ต้น, ที่ ตก ลง ถูก พื้น กะเด็น ไป นั้น.
กะเซ็น (16:31)
         น้ำ ฝน หฤๅ น้ำ ท่า ตก ลง มา ถึง พื้น กะดาน, หฤๅ พื้น ดิน, แล้ว แตก กระเด็นไป นั้น.
กะซิบ (16:32)
         เสียง คน พูด เบา ๆ เสียง กระเสร่า ๆ อยู่ ใน ฅอ นั้น.
      กะซิบ กะซาบ (16:32.1)
               คือ เสียง คน พูด เบา ๆ เพื่อ จะ ไม่ ให้ ผู้ อื่น ได้ ยิน นั้น.
      กะซุบ กะซิบ (16:32.2)
               เสียง คน พูด เบา ๆ เสียง อยู่ แต่ ใน ฅอ นั้น.
กะซุ่ม กะซ่าม (16:33)
         กิริยา คน พลุ่ม พล่าม ไม่ รู้ จัก ประมาณ นั้น,
กะเซา (16:34)
         เสียง คน พูด อยู่ ใน ฅอ, ว่า เสียง กะเซา.
กะเซอ (16:35)
         อาการ คน หลง ไม่ รู้ แห่ง หน ทาง, หฤๅ คน โง่ ไม่ รู้ จัก อะไร, เที่ยว ถาม คน โน้น ถาม คน นี้ นั้น.

--- Page 17 ---
กะดอ (17:1)
         ของ ที่ ลับ ของ ชาย, หฤๅ ที่ ลับ ของ สัตว ตัวผู้ นั้น.
กะดี (17:2)
         เรือน ที่ อยู่ ของ พวก พระสงฆ์ ทั้ง ปวง แต่ หลัง โตๆ นั้น. กะดี่ จีน, คือ เก๋ง กวน ที่ จีน ทำ ไว้ ใน บ้าน พวก จีน นั้น.
กะได (17:3)
         ของ สำหรับ ขึ้น ลง ทำ ด้วย ไม้ บ้าง, ก่อ ด้วย อิฐ บ้าง, กะได เวียน, คือ บันได เขา ทำ วง รอบ ขึ้น ไป นั้น. กะไดหก, คือ บันได ที่ เขา ทำ เปน สอง บันได, ข้าง บน ติด กัน หัน หก ได้ นั้น.
กะเด้า (17:4)
         คน หฤๅ สัตว ทำ บั้นเอว ยัก ไป ยัก มา ข้าง หน้า ข้าง หลัง กะโดก ๆ นั้น.
      กะเด้า กะโดก (17:4.1)
               คือ อาการ ที่ คน ทำ เอว ให้ งุบ ไป งุบ มา ข้าง หน้า ข้าง หลัง นั้น.
กะดำ กะด่าง (17:5)
         ของ ที่ ศี ขาว บ้าง ศี ต่าง บ้าง ปะ ปน กัน นั้น.
กะดก (17:6)
         อาการ คน หฤๅ สิ่ง ของ ใด ๆ, ทำ ยก หัว ขึ้น ก้ม ลง บ่อย ๆ, เหมือน ไม้ กะเดื่อง ขึ้น นั้น.
กะดัก กะเดี้ย (17:7)
         อาการ คน ตก น้ำ ทำ กะเดือกๆ นั้น.
กะดาก (17:8)
         อาการ ที่ คน ทำ ความ ผิด ไว้, ครั้น คน อื่น รู้ แล้ว เขา ก็ ถาม ผู้ นั้น, อาย อยู่ นั้น.
กะดี่ (17:9)
         เปน ชื่อ ปลา อย่าง หนึ่ง มี เกล็ด, ตัว มัน เท่า สอง นิ้ว.
กะดิก (17:10)
         อาการ คน หฤๅ สัตว ทำ ให้ ท้าว หฤๅ หาง แกว่ง ไป แกว่งมา นั้น.
กะดึก กะดื้อ (17:11)
         ใจ คน แก่ ที่ มี อายุ มาก, เมื่อ เหน หญิง สาว ๆ เล็ก ๆ, ให้ มี ใจ คิด รักษ อยาก ได้ เปน เมีย นั้น.
กะดุก (17:12)
         อาการ ทารก หฤๅ สัตว ที่ ยัง อยู่ ใน ครรภ์ มัน ดิ้น อยู่ ใน ท้อง, ว่า มัน ดิ้น กะดุก ๆ
      กะดุก กะดิก (17:12.1)
               คือ อาการ ที่ กะดุก กะดิก นั้น.
กะดูก (17:13)
         ของ ที่ มัน แขง อยู่ ใน กาย คน หฤๅ กาย สัตว นั้น.
กะเดก (17:14)
         การ ที่ คน คอน ท้าย เรือ ไป คน เดียว, เรือ เต้น ขึ้น เต้น ลง นั้น.
กะโดก (17:15)
         การที่คนตำเข้า, หฤๅ แจว เรือ ทำ หัว ผงก ขึ้น ผงก ลง นั้น.
      กะโดก กะเดก (17:15.1)
               อาการ ที่ เรือ เบา ต้อง ลม เต้นอยู่กลาง แม่ น้ำ นั้น.
กะดอก (17:16)
         คน ถ่อ เรือ ทำ หัว ผงก ขึ้น ผงก ลง นั้น.
กะดูก งู (17:17)
         คือ ไม้ เอ็น ที่ เขา ทำ ไว้ ตรง กลาง, ยาว ไป ตาม เรือ โขน นั้น. อนึ่ง คือ กะดูก ใน ตัว งู นั้น.
กะเดือก (17:18)
         อาการ ที่ คน กลืน เข้า กลืน น้ำ แล อาหาร ทั้ง ปวง ลง ไป, ว่า กลืน กะเดือก.
กะดง กะดาน (17:19)
         กะดง เปน คำ สร้อย, แต่ กะดาน คือ แผ่น ไม้ จริง มี ไม้ ศัก เปน ต้น นั้น.
กะด้ง (17:20)
         ของ เครื่อง ฝัด เข้า, เขา สาน ด้วย ตอก, รูป แบน ๆ มี ขอบ กลม รอบ นั้น.
      กะด้ง มอน (17:20.1)
               คือ กะด้ง เช่นว่าแต่ มันโต กลม กว่าง ศักสี่ ศอก นั้น.
กะดังงา (17:21)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง สูง ประมาณ แปด วา, เก้า วา, มี ดอก เปน กลีบ ยาว ๆ ศี เหลือง กลิ่น หอม ดี.
      กะดังงา จีน (17:21.1)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ต้น มัน เปน เครือ เลื้อย มี ดอก หอม นั้น.
กะดางลาง (17:22)
         อาการ ที่ คน ใจ แขง กะด้าง มัก พูด คำ ตะหลก ขะนอง นั้น,
กะด้าง (17:23)
         ใจ คน หฤๅ เข้า ของ สิ่ง ใด ๆ ที่ แขง ไม่ อ่อน น้อม นั้น.
      กะด้าง กะเดื่อง (17:23.1)
               กะด้าง คือ แขง, แต่ กะเดื่อง เปน ครก เขา ถีบ สาก ด้วย ตีน, ให้ มัน ตำ ลง นั้น.
กะดิ่ง (17:24)
         ของ ทำ ด้วย ทอง เหลือง รูป สูง ๆ เหมือน ระฆัง, มี ลูก เหล็ก แขวน ข้าง ใน สั่น เสียง ดัง.
กะดึง (17:25)
         ของ ทำ ด้วย ทอง เหลือง รูป เหมือน ระฆัง, มี ลูกเหล็ก แขวน ข้าง ใน ทำ ไว้ สำหรับ แขวน ที่ โบศ แล เจดี บ้าง.
กะดุ้ง กะดิ้ง (17:26)
         ของ สิ่ง ใด ๆ ที่ คด ไป คด มา เหมือน งู เลื้อย, ว่า ของ คด กะดุ้ง กะดิ้ง.
กะโดง (17:27)
         ของ ที่ ตั้ง อยู่ บน หลัง ปลา ทั้ง ปวงที สูง ขึ้น ไป นั้น, หฤๅ เสา ที่ ปัก อยู่ กลาง เรือ ตะเภา แล กำปั่น, เปน ต้น ว่า เสา กะโดง.
กะดอง (17:28)
         ของ ที่ เปน กะดูก แขง หุ้ม อยู่ นอก เนื้อ เหมือน อย่าง เต่า แล ปู เปน ต้น นั้น.
      กะดอง หีริ์ (17:28.1)
               คือ รูป อะไวยะวะ ที่ ลับ แห่ง หญิง นั้น.
กะเดื่อง (17:29)
         ทำ ด้วย ไม้ เปน คัน ยาว ข้าง ปลาย มี สาก เหมือน สาก ตำ เข้า, เมื่อ เยียบ ข้าง หาง ลง หัว มัน กะดก ขึ้น.
      กะเดื่อง กะดอน (17:29.1)
               กะเดื่อง ว่า แล้ว, แต่ กะดอน คือ ไม้ หฤๅ ก้อน ดิน เปน ต้น ที่ คน ทิ้ง ลง ถูก พื้น* แล้ว มัน กระเด็น ขึ้น นั้น.
กะดาด (17:30)
         ของทำ ด้วย เปลือกไม้ บ้าง ทำ ด้วย ฟาง เข้า บ้าง ทำ ด้วย ผ้า ขี้ริ้ว บ้าง, สำหรับ เขียน หนังสือ แลใช้ ห่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง.

--- Page 18 ---
กะโดด (18:1)
         คน หฤๅ สัตว โจน ลง ใน น้ำ, หฤๅ โจน ลง จาก เรือน, หฤๅ โจน ข้าม ท้อง ร่อง เปน ต้น นั้น, ว่า กะโดด.
กะเดียด (18:2)
         ผู้ หญิง ไป ตลาด หฤๅ ไป ไหน ๆ, เอา กะจาด หฤๅ กะ โล่ใส่เข้า ที่ บั้น เอว, แล้ว เดิน ไป, ว่า กะเดียด.
กะดาน (18:3)
         ไม้ ที่ เขา เอา มา เลื่อย ออก เปน แผ่น ๆ หนา บ้าง บาง บ้าง, สำหรับ ใช้ ปู พื้น บ้าง, ทำ ฝา บ้าง, ใช้ การ อื่น บ้าง.
      กะดาน หก (18:3.1)
               คือ กะดาน เขา ทำ เปน กล ให้ คน พลัด ตก นั้น.
      กะดาน พิง (18:3.2)
               คือ กะดาน สำหรับ พิง หลัง นั่ง นั้น.
      กะดาน ชะนวน (18:3.3)
               คือ กะดาน เขา ลง รัก สมุก สำหรับ เขียน หนัง สือ เปน ต้น นั้น.
กะเด็น (18:4)
         น้ำ หฤๅ ของ สิ่ง ใด ๆ ตก ลง ถึง พื้น แล้ว กลับ กะเซ็น ไป หฤๅ กะดอน ไป นั้น.
กะโดน (18:5)
         ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง ขึ้น อยู่ ใน ป่า ข้าง เหนือ, ลูก กลมๆ โต เท่า กับ ผล มะขวิด, เปลือก มัน ใช้ รอง หลัง ช้าง.
กะดอน (18:6)
         ของ สิ่ง ใด ๆ ตก ลง ถึง พื้น แล้ว, หฤๅ ของ สิ่ง ใด ที่ ตี ต่อย เข้า ไป, แล้ว กลับ กะท้อน ขึ้น, หฤๅ ถอย ออก มา.
กะดิบ (18:7)
         คน หฤๅ สัตว หฤๅ น้ำ ไหล ขึ้น ไหล ลง ช้า ๆ, เหมือน อย่าง ตัว หนอน เดิน นั้น.
กะดุบ (18:8)
         ตัว สัตว เล็ก ๆ มี หนู เปน ต้น อยู่ ใต้ เสื่อ, หฤๅ ใต้ ผ้า วิ่ง ไป นูน ๆ นั้น, ว่า กะดุบ ๆ.
กะดุม (18:9)
         ของ สำหรับ ติดเสื้อ, ทำ ด้วย ทอง คำ บ้าง ทอง เหลือง บ้าง ผ้า บ้าง ของ สิ่ง อื่น บ้าง.
      กะดูมภี (18:9.1)
               ฯ ว่า คน เจ้า ทรัพย์, หฤๅ คน มั่งมี ทรัพย์ มาก นั้น.
      กะดอม (18:9.2)
               ผ้า อย่าง หนึ่ง ต้น เปน เถา ใบ คาย ๆ. ผล มัน เปน เหลี่ยม ๆ, รศ ขม นัก, ใช้ ทำ ยา บ้าง แกง กิน บ้าง.
กะด้วม กะเดี้ยม (18:10)
         คน หฤๅ สัตว ที่ อ้วน หนัก เดีร ไม่ ใคร่ ไหว, ว่า เดีร กะด้วม กะเดี้ยม*.
กะแด่ว (18:11)
         คือ อาการ ที่ ทารก อ่อน ๆ นอน หงาย ดิ้น ขวัก ไขว่ อยู่, หฤๅ สัตว ติด บ่วง ติด แร้ว ดิ้น อยู่ นั้น.
กะเดาะ (18:12)
         เสียง คน ทำ ให้ เสียง ใน ปาก ดัง อย่าง นั้น.
กะแต (18:13)
         สัตว สี่ ท้าว* เท่า กัน กับ หนู หน้า เสี้ยม ๆ ปาก แหลม, กิน ผลไม้ อยู่ ใน สวน.
กะโต (18:14)
         ฯ แปล ว่า กะทำ.
กะตัก (18:15)
         เหล็ก เหลม ยาว ประมาณ เท่า เม็ด เข้า เปลือก, ฝัง เข้า ไว้ ที่ ปลาย ไม้ รวก, ยาว สาม ศอก สำหรับ แทง งัว ให้ เดิน.
กะตาก (18:16)
         ไก่ ตัว ผู้ หฤๅ ไก่ ตัว เมีย มัน ตก ใจ ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง, หฤๅ มัน ไข่ แล้ว มัน ร้อง เสียง อย่าง นั้น.
กะติก (18:17)
         ของ ทำ ด้วย ดิน เหมือน กะปุก เล็ก ๆ, สำหรับ ใส่* ของ เล็ก น้อย มา แต่ เมือง จีน บ้าง, เมือง ยวญ บ้าง.
กะโตก กะตาก (18:18)
         เปน เสียง ไก่ ตัว ผู้ มัน กะโตก, ไก่ ตัว เมีย มัน ร้อง กะตาก ๆ นั้น.
กะตุก (18:19)
         คน เล่น ว่าว เอา มือ กะทก ป่าน ให้ ว่าว มัน ขึ้น.
      กะตุก กะติก (18:19.1)
               คือ ห่อ ของ เล็ก น้อย ห้อย โตง เตง อยู่ นั้น.
กะตัง มุต (18:20)
         น้ำ ปะศาวะ มัน ติด อยู่ ที่ ม่อ มูต เหมือน เกลือ นั้น.
      กะตัง บาย (18:20.1)
               ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ไม่ สู้ โต, ขึ้น อยู่ ใน สวน, ใบ อ่อน กิน กับ เข้า ได้.
กะตึง กะแตง (18:21)
         คน ทำ การ สิ่ง ใด เร็ง รีบ ไม่ ให้ เนิ่น ช้า นั้น, คือ ทำ การ ด่วน ๆ.
กะตุ้ง กะติ้ง (18:22)
         คือ คน เล่น เนื้อ เล่น ตัว ทำ กะบิด กะบวน ต่าง ๆ, ว่า ทำ กะตุ้ง กะติ้ง นั้น.
กะโตง กะเตง (18:23)
         ของ ที่ ผูก แขวน ไว้ หลาย สิ่ง, หฤๅ เรือ น้อย ที่ ผูก ห้อย ท้าย เรือ ใหญ่ หัน ไป หัน มา, ว่า กะ โตง กะ เตง.
กะต้อง กะแต้ง (18:24)
         คน เมา เล่า เดิร เซ ไป ซวน มา, ว่า เดิร กะ ต้อง กะ แต้ง.
กะเตื้อง (18:25)
         คือ พะยุง ยก อะ ไร ๆ เผยอ ขึ้น นั้น.
กะ ตุด (18:26)
         ของ ทำ ด้วย ตะกั่ว บ้าง, ทอง แดง บ้าง ทอง คำ บ้าง, แผ่ เปน แผ่น บาง ๆ, แล้ว ลง เลข ยัญ, ผูก กัน ไภย.
กะตอด ๆ (18:27)
         คน โกรธ บ่น ว่า เล็ก ๆ น้อย นั้น ว่า บ่น กะ ตอด ๆ.
กะตัญู (18:28)
         ฯ ว่า คน ที่ รู้ จัก คุณ ผู้ อื่น ที่ เขา ได้ กระทำ คุณ แก่ ตน นั้น, ว่า คน มี กะตัญู.
กะตุน (18:29)
         สัตว สี ท้าว ตัว มัน เท่า หนู ใหญ่ ๆ มัน ขุด รู อยู่ใต้ ดิน กิน ราก ไม้.
กะตุ้น (18:30)
         การ คน ที่ ช่วย ยก ของ กะเตื้อง ขึ้น, หฤๅ คน ที่ ช่วย ตัก เตือง เรื่อง ความ สิ่ง ใด ๆ, ว่า ช่วย กะตุ้น.
กะเต็น (18:31)
         นก หย่าง หนึ่ง ตัว เท่า กับ นก แก้ว เล็ก ๆ, ปาก ศี เหลือง ขน เขียว กิน ปลา ดิบ.

--- Page 19 ---
กะเต้น (19:1)
         สัตว สี่ ท้าว ตัว ขาว บ้าง ด่าง บ้าง คล้าย กับ หนู ภุก แต่ ไม่ มี หาง.
กะตอน (19:2)
         คน โกรธ ว่า เล็ก ๆ น้อย ไป ไม่ ใคร่ จะ อยุด, @ ว่า บัน กะตอน ๆ.
กะต่อน (19:3)
         คน หฤๅ สัตว์ อายุ แก่ แล้ว แต่ รูป ร่าง ต่ำ เตี้ย เล็ก กว่า ธรรมดา, ว่า กะต่อม.
กะต้วม กะเตี้ยม (19:4)
         คน หฤๅ สัตว ที่ อ้วน หนัก จน เดิน ไม่ ใคร่ จะ ไหว, ว่า เดิน กะต้วม กะเตี้ยม.
กะต่าย (19:5)
         สัตว สี่ ท้าว ตัว เท่า กับ แมว, หู มัน ยาว กิน หญ้า. อนึ่ง ของ ทำ ด้วย ไม้ เหมือน รูป กะต่าย, สำหรับ ขูด มะพร้าว.
      กะต่าย ป่า (19:5.1)
               สัตว สี่ ท้าว หู มัน ยาว ๆ ขน สี เทา ๆ, กิน หญ้า อยู่ ที่ ทุ่ง แล ป่า.
      กะต่าย เทศ (19:5.2)
               สัตว สี่ ท้าว หู ยาว ๆ, ขน ศี ขาว บ้าง ด่าง บ้าง, กิน หญ้า แล ผล ผัก, มา แต่ เมือง เทศ.
      กะต่าย ม่อ (19:5.3)
               สัตว์ สี่ ท้าว, หู ยาว ๆ, ขน มัน ดำ, ตัว เท่า แม้ว โต ๆ อยู่ ใน ป่า.
      กะต่าย (19:5.4)
               ของ* ขูด มะพร้าว, เอา ไม้ มา ทำ รูป เหมือน กะต่าย แล้ว เอา เหล็ก มา ทำ ฟัน เหมือน เลื่อย ตอก เข้า ไป ใน ไม้ สำหรับ ขูด มะพร้าว.
      กะต่าย แสน หก (19:5.5)
               สัตว สี่ ท้าว หู ยาว ๆ, แต่ ว่า เมื่อ มัน วิ่ง ไป นั้น มัน กลับ หัน หก หลัง เรว นัก.
กะแต่ว ๆ (19:6)
         คน ไป ทวง เงิน, หฤๅ เข้า ของ สิ่ง ใด แต่ ลูก นี่, เวียน ไป เวียน มา หลาย ครั้ง หลาย หน, ว่า ทวง กะแต่ว ๆ
กะต้อย ตีวิด (19:7)
         นก อย่าง หนึ่ง ตัว เท่า กับ เปด น้ำ, ขน ที่ อก นั้น ขาว ๆ, มัน นอน ที่ ดิน, เอา ตีน ชี้ ฟ้า, จับ ต้น ไม้ ไม่ ได้ เพราะ นิ้ว ก้อย ตีน มัน ไม่ มี, กิน หอย กิน ปลา มัน อาไศรย อยู่ ตาม ชาย หาด ข้าง เหนือ มาก.
กะตั้ว (19:8)
         นก อย่าง หนึ่ง ตัว ขาว, เท่า กับ เหยี่ยว, ปาก เหมือน นก แก้ว, พูด ได้ เหมือน คน, มา แต่ เมือง แขก.
กะเตาะ กะแตะ (19:9)
         เด็ก ๆ พึ่ง สอน อย้าง สอน เดิน, ว่า เดิร กะ เตาะ กะแตะ.
กะตร้า (19:10)
         ของ สาน ด้วย ตอก ห่าง ๆ เปน ช่อง ๆ เล็ก บ้าง ใหญ่ บ้าง, สำหรับ ใส่ ของ อยาบ ๆ หฤๅ ล้าง ปลา.
กะไตร (19:11)
         ของ ทำ ด้วย เหล็ก มี ขา สอง อัน สำหรับ หนีบ หมาก, แล ตัด ผ้า เปน ต้น.
กะตรก กะตรำ (19:12)
         ความ ลำบาก มาก, คือ ทำ การ กรำ แดด กรำ ฝน.
กะแตรง (19:13)
         ของ สาน ด้วย ตอก ทำ รูป กลมๆ เหมือน กะด้ง มี รู ห่าง ๆ สำหรับ ร่อน เข้า สาน.
กะตรน (19:14)
         ของ ที่ เขา เอา ไม้ ไผ่ มา ทำ เปน ซี่ ๆ, แล้ว ให้ กลาง โป่ง, ที่ กลาง มี ปาก ช่อง มี ฟัน สำหรับ สอย ผล ไม้.
กะตร้อ (19:15)
         ของ สาน ด้วย หวาย ทำ รูป กลม ๆ โต เท่า ผล มะขวิด สำหรับ โยน ให้ เพื่อน กัน ปะเตะ ไป ปะเตะ มา เล่น.
กะถา (19:16)
         ฯ ถ้อย คำ หฤๅ กล่าว.
กะถิตา (19:17)
         ฯ คน กล่าว ถ้อย คำ
กะถัง (19:18)
          ฯ ด้วย ประการ ดัง ฤๅ. อนึ่ง ว่า อย่างไร.
กะถาง (19:19)
         ของ ทำ ด้วย ดิน เปน เหลี่ยม บ้าง กลม บ้าง, เคลือบ ศี ต่าง ๆ, สำรับ ปลูก ต้น ไม้ บ้าง ใส่ ของ ใช้ บ้าง.
กะถด (19:20)
         ขยับ ไป, หฤๅ เลื่อน ไป, ถอย ไป จาก ที่ นั้น.
กะถัด (19:21)
         คือ ขะยับ ขะเยื่อน ไป นั้น.
กะถิน (19:22)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ต้น มี หนาม บ้าง ไม่ มี บ้าง ใบ เล็ก ๆ ดอก เหลือง บ้าง ขาว บ้าง กลิ่น หอม.
กะโถน (19:23)
         ของ ทำ ด้วย ทอง คำ บ้าง, ทอง เหลือง บ้าง, ทอง แดง บ้าง, เงิน บ้าง, ตะกั่ว บ้าง ดิน บ้าง, เคลือบ ศี ต่าง ๆ สำหรับ บ้วน น้ำลาย เปน ต้น.
กะทอ (19:24)
         ของ สำหรับ ใส่ ผ้า นุ่ง ห่ม, เปน ของ ไพร่ สาน ด้วย ตอก, เปน ตา กรวย, แล้ว ตรุ ด้วย ใบ ไม้, กัน ฝน.
กะทา (19:25)
         ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง ตัว ลาย จุด ๆ งาม โต เท่า ไก่ ย่อมๆ, ขันได้, อยู่ ตาม ชาย ทุ่ง ชาย ป่า, กิน ลูก หญ้า แล ตักแตน.
กะทิ (19:26)
         ของกิน, เขา เอา มะพร้าว มา ขูด ออก, แล้ว บิด เอา น้ำ ที่ ไหล ออก จาก เยื่อ มะพร้าว นั้น, น้ำ นั้น เรียก กะทิ.
กะทือ (19:27)
         เปน ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง มี หัว อยู่ ไต้ ดิน หัว มัน กิน ได้.
กะทู้ (19:28)
         ต้น ความ หฤๅ ข้อ ความ หลัก ความ หฤๅ หลัก รั้ว เสา รั้ว.
      กะทู้ ความ ต้น ความ ข้อ ความ เค้า ความ หลัก ความ (19:28.1)
               
(19:29)
         
กะไท (19:30)
         การ ท คน ฝัด เข้า แล้ว กะแทะ ให้ เข้า สาร ไป อยู่ ข้าง หนึ่ง เข้า เปลือก ไป อยู่ ข้าง หนึ่ง* นั้น.

--- Page 20 ---
กะทำ (20:1)
         การ จัด แจง การ งาน ทั้ง ปวง มี สร้าง บ้าน สร้าง เมือง, เปน ต้น
กะทะ (20:2)
         ของ ทำ ด้วย เหล็ก บ้าง ทอง เหลือง บ้าง ทอง แดง บ้าง ทำ ด้วย ดิน บ้าง, รูป แบน ๆ เหมือน อ่าง มี หู.
กะทก (20:3)
         การ ที่ คน ผูก เชือก เปน เงื่อน สำหรับ กะชาก. อนึ่ง เอา แป้ง ใส่ กะด้ง แล้ว ยก กะ แทก ให้ แป้ง หยาบ ตก ไป นั้น.
กะทกรก (20:4)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ เล็ก อย่าง หนึ่ง เขา ทำ อยา ได้.
กะแทก (20:5)
         การ ที่ โดน กัน เหมือนเรือ กำลัง แล่น โดนตอ โดนตลิ่ง หฤๅ ควาย งัว แพะ เอา หัว โดน กัน เข้า แรง ๆ นั้น.
กะทิกริก (20:6)
         คือ หญิง รุ่น สาว ยัง ติด กิริยา เด็ก อยู่ นั้น, ว่า เปน สาว กะ ทิก ริก.
กะโทก (20:7)
         ชื่อ ผ้า นุ่ง ของ พวก มอร ผู้ หญิง ก็ ว่า. ซื่อ บ้าน ข้าง เหนือ ก็ มี บ้าง.
กะทอก (20:8)
         คน เอา น้ำ ใส่ ใน กะบอก ฉีด แล้ว กะแทก ขึ้น กะ แทก ลง, ว่า กะ ทอก.
กะทอก หลอก หลอน (20:9)
         คือ เขา พูด ถาม ความ ด้วย คำ ขู่ แล พูด ฬ่อ ลวง นั้น.
กะทง (20:10)
         ของ ทำ ด้วย ใบ ตอง สำหรับ ใส่ ของ บ้าง. อนึ่ง ที่ นา เขา ทำ เปน อัน ๆ บ้าง ผ้า จีวรเขา ตัด เปน ท่อน ๆ บ้าง, ว่า กะทง.
กะทง ความ (20:11)
         คือ ใจ ความ ข้อ หนึ่ง นั้น.
กะทงเจิม (20:12)
         ของ ทำ ด้วย ใบ ตอง บ้าง กะ ดาด บ้าง, กาบ พลับ พลึง บ้าง, เอา ใบ ตอง หฤๅ กะดาด ภับ แหลม ๆ, แล้ว เย็บ กลัด ที่ ปาก สำ หรับ ให้ ดู งาม ว่า กะทง เจิม.
กะทด กะทัน (20:13)
         ต้น ไม้ มัน คด ไป คด มา นั้น,
กะทง นา (20:14)
         ที่ ท้อง นา คน เอา ดิน ทำ เปน คัน. ๆ สี่ เหลี่ยม บ้าง ยาว บ้าง สำหรับ ขัง น้ำ ไว้.
กะทง ผ้า (20:15)
         การ ที่ คน เอา ผ้า, หฤๅ แพร มา ตัด เปน ท่อน ๆ แล้ว, เย็บ ติด ต่อ กัน เข้า เหมือน กะ ทงนา.
กะทง เลว (20:16)
         ของ ที่ เขา เอา ใบ ตอง, หฤๅ กะดาด, หฤๅ กาบ พลับ พลึง มา ตัด เย็บ เปน กะทง ไม่ ได้ เจิม ปาก.
กะทง แถลง (20:17)
         คือ การ คัด ยก ข้อ ใจ ความ ขึ้น เสนอ นั้น.
กะทั่ง (20:18)
         ถึง ตัว, หฤๅ ถึง บ้าน, ถึง เมือง, ถึง ท่า ถึง ที, ว่า กะทั่ง.
กะทั่ง ติด (20:19)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง เรียก ต้น เถา มวก บ้าง
กะทิง (20:20)
         สัตว สี่ ท้าว ตัว โต เท่า ควาย, มี เขา เหมือน งัว อยู่ ป่า มัน กิน หญ้า. อนึ่ง ชื่อ ปลา อย่าง หนึ่ง ว่า ปลา กะทิง.
กะทึง (20:21)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ใบ โต เท่า ฝ่า มือ, ดอก เหมือน สาระ ภี, กลิ่น* หอม ผล กลม ๆ.
กะทุง หมาบ้า (20:22)
         เปนชื่อ เถาวันอย่าง หนึ่ง, มี ดอก เปน ช่อ ไม่ หอม.
      กะทุง (20:22.1)
               นก อย่าง หนึ่ง ตัว โต เท่า ห่าน ใหญ่ ๆ, ชอบ ใจ ลง. ลอย เล่น ใน น้ำ กิน ปลา, เรียก นก กะทุง ลอย แพ นั้น.
กะท่อน กะแท่น (20:23)
         คือ ของ เปน ท่อน เล็ก ท่อน น้อย นั้น.
กะทุ้ง (20:24)
         การ ที่ คน ทำ ราก ตึก เอา อิฐ ใส่ ใน ที่ ขุด ไว้, แล้ว เอา ไม้ ตำ ให้ แน่น. อนึ่ง เรือ ดั้ง เขา เอา ไม้ เสร้า ตำลง ที่ กะดาน นั้น.
กะท้อน (20:25)
         สิ่ง ของ ใด ๆ ตก ลง ถึง พื้น, แล้ว กลับ กะดอน ลอย ขึ้น ไป อีก, หฤๅ คน ผ่า ไม้ ตี ลิ่ม ลง ไป กลับ กะดอน ออก มา นั้น. อนึ่ง คือ ต้น ไม้ มี ผล เท่า ลูก มังคุด, เมล็ด ใน คล้าย กับ มังคุด, รศ เปรี้ยว กิน ดี.
กะทบ (20:26)
         สิ่ง ของ ใด ๆ มา กะแทก ถูก กัน เข้า. อนึ่ง เรื่อง ความ สิ่ง ใด ๆ เขา ให้ ซัด ทอด มา ถึง ตัว นั้น.
กะทบกะทั่ง (20:27)
         คือ โดน กัน เข้า, กะทั่ง คือ ถึง กัน เข้า.
กะทืบ (20:28)
         คน หฤๅ สัตว ยก ท้าว ขึ้น กะแทก ลง ไป หนัก ๆ นั้น.
กะทบ กะเทียบ (20:29)
         คือ เปรียบ ปราย ด้วย วาจา ต่าง ๆ ให้ เขา เคือง ใจ นั้น.
กะทืบ ยอบ (20:30)
         ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง, ใบ เล็ก, สูง ค่า นิ้ว มือ, มัน งอก ขึ้น หน้า ฝน คน กะทืบ ถูก เข้า แล้ว, ใบ ก้าน ยอบ เหี่ยว ลง.
กะท้อน ราก (20:31)
         คือ ขย้อน ราก ขย้อน อาเจียน นั้น.
กะเทียบ คน เอา สิ่ง ของ ใด ๆ มา เคียง เปรียบ เทียบ กันเข้า (20:32)
         หฤๅ พูด จา ว่า กล่าว เสียด สี ด้วย ถ้อย คำ นั้น.
กะท้อน ออก (20:33)
         คือ ขย้อน ออก นั้น.
กะทุ่ม (20:34)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ขึ้น อยู่ ตาม ชาย ทุ่ง ชาย ป่า ใบ เล็กๆ, ดอก คล้าย กะถิน เทศ, กลิ่น หอม. อนึ่ง คน ว่าย น้ำ เอา ตีน กะทุ่มไป นั้น.
      กะทุ่ม ขี้ หมู (20:34.1)
               ต้น กะทุ่ม ที่ มัน อยู่ ชาย ทุ่ง ชาย ป่า, แต่ เปน พรร ดอก ใหญ่.
      กะทุ่ม นา (20:34.2)
               ต้น กะทุ่ม ที่ ขึ้น อยู่ ตาม คัน นา นั้น.

--- Page 21 ---
      กะทุ่ม น้ำ (21:34.3)
               คน ว่าย น้ำ เอา ตีน กะทุ่ม ลง ใน น้ำ, เขา เอา มือ ทำ ให้ น้ำ ฟุ้ง ขึ้น ถูก กัน บ้าง นั้น.
กะท่อม (21:1)
         เรือน เล็ก ๆ สำหรับ คน ยาก คน จน อยู่ นั้น, เรียก กะ ท่อม. อนึ่ง ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ใบ เหมือน กะทุ่ม ใบ มัน กิน แก้ เงี่ยน ฝิ่น ได้.
กะท้อม กะแท้ม (21:2)
         การ โกน จุด, หฤๅ การ บวช นาค, หฤๅ การ บ่าว สาว, จัด แจง บ้าง เล็ก น้อย ไม่ ทำ มาก นั้น, ว่า ทำ การ กะท้อม กะแท้ม.
กะเทียม (21:3)
         ผัก อย่าง หนึ่ง มี หัว เปน กลีบ ๆ อยู่ ใต้ ดิน, ศี ขาวๆ กลิ่น เผ็ด ร้อน กิน ดี.
กะเทื้อม (21:4)
         เรือ ใหญ่ หฤๅ ของ ใหญ่ เรา ยืน โห่ม ให้ สะเทือน ได้.
กะเทย (21:5)
         คน ไม่ เปน เภษ ชาย, ไม่ เปน เภษ หญิง, มี แต่ ทาง ปัศสาวะ
กะทาย (21:6)
         ของ สาน ด้วย ไม้ เปน กะบุง เล็ก ๆ ทำ เชี่ยน หมาก บ้าง ใส่ หลอด ด่าย บ้าง.
กะเทาะ (21:7)
         สิ่ง ของ ใด ๆ, หฤๅ เปลือก ไม้ ต่าง ๆ, ที่ เกา นาน แล้ว ก็ หลุด ล่อน ออก จาก ต้น นั้น.
กะนี้ (21:8)
         ความ เหมือน กัน กับ อย่าง นี้, เช่น นี้.
กะน่อง กะแน่ง (21:9)
         คน เจ้า นี่ ลูก นี่ ต่าง คน ต่าง ติด เข้า ของ เงิน ทอง กัน, หฤๅ คน ติด โซร่ ติด ตรวน เปนต้น.
กะนิโย (21:10)
         ฯ ว่า น้อง น้อย.
กะไนย (21:11)
         นก อย่าง หนึ่ง ชื่อ อย่าง นั้น บ้าง, เปน ชื่อ บ้าน ชื่อ บาง กะไน มี บ้าง.
กะหนก (21:12)
         เปน ลาย เขียน ที่ ตู้ เปน ต้น ดู เหมือน เปลว ไฟ นั้น.
กะหนาว (21:13)
         ชื่อ บ้าน ชื่อ คลอง. อนึ่ง ต้น หญ้า ใหญ่ ๆ เปน กอ เรียก กอ กะหนาก.
กะนิฐ (21:14)
         ฯ ว่า น้อง น้อย.
กะนิโฐ (21:15)
         ฯ ว่า น้อง น้อย.
กะนั้น (21:16)
         อย่างนั้น, เช่นนั้น, ดั่งนั้น.
กะหนาบ (21:17)
         สิ่ง ของ ใด ๆ, หฤๅ เพลา ใบ แตก หัก, หฤๅ เดาะ ค้าน, คน เอา ไม้ อืน มา ทา สอง ข้าง แล้ว ผูก รัด ให้ มั่นคง นั้น.
กะหนอบ (21:18)
         ว่า นิ่ง เสีย คำ มอญ, เปน ภาษา มอญ.
กะนุ่ม กะนิ่ม (21:19)
         สิ่ง ของ ที่ อ่อน ๆ มี ไข่ จันละเม็ด เปน ต้น, หฤๅ คน อ้วน นัก เนื้อ อ่อน เดิร ไม่ ใคร่ ไหว นั้น.
กะหนอ กะแหน (21:20)
         เด็ก ๆ พึ่ง สอน พูด เสียง มัน ดัง อย่าง นั้น, ว่า พูด กะหนอ กะแหน.
กะแหนะ (21:21)
         คือ การ แตะ ติด เข้า เหมือน เขา ปั้น ขี้ รักศ เข้า นั้น.
กะบ้า (21:22)
         ของ ทำ ด้วย งา ช้าง บ้าง, ด้วย อก เต่า บ้าง, ด้วย ไม้ บ้าง, แบน เปน วง กลม สำหรับ เล่น กรุด สงกราน.
กะบิ (21:23)
         คือ ที่ ริม ตลิ่ง มี หญ้า เน่า ปน กับ โคลน อยู่ เปน ชาย หาด ลาด ออก มา นั้น.
กะบู้ กะบี้ (21:24)
         ของ ที่ ไม่ เกลี้ยง ไม่ เสมอ เหมือน อย่าง ไข่ ตะหนุ เปน ต้น นั้น.
กะบี่ (21:25)
         เปน อาวุทธ์ อย่าง หนึ่ง มา แต่ เมือง นอก รูป เหมือน ดาบ แต่ ด้ำ มี ห่วง ให้ ถือ มั่น สำหรับ พวก นาย ทะหาร ถือ.
กะบือ (21:26)
         เปน ชื่อ ควาย แต่ เปน ภาษา เขมน.
กะเบา (21:27)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ผล เท่า ส้มโอ, เม็ด กิน เมา มี อยู่ ตาม ริม น้ำ ป่า เหนือ. อนึ่ง เปน ชื่อ อาวุทธ์ มา แต่ เมือง เทศ.
กะบก (21:28)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ต้น โต, ผล แบน ๆ เท่า ลูก สะบ้า, เม็ด ใน กิน มัน เหมือน ถั่ว, มี อยู่ ใน ป่า ฝ่าย เหนือ นั้น.
กะบะ (21:29)
         ของ ทำ ด้วย ไม้ เปน สี่ เหลี่ยม บ้าง รี ๆ บ้าง, สำหรับ ใส่ กับเข้า เปน ของ คน จน ใช้.
กะบัก กะบอม (21:30)
         คน หฤๅ สัตว ต้อง ประหาร เจ็บ ช้ำ เหลือ กำลัง ว่า ตี เจ็บ กะบัก กะบอม.
กะบาก (21:31)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง เปน ไม้ ใหญ่.
กะแบก (21:32)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง เปน ไม้ ใหญ่ สำหรับ เลือย ทำ กะ ดาน พื้น เรือน ดอก เปน ศี ม่วง งาม.
กะบอก ตา (21:33)
         คือ ขุม ที่ หน่วย ตา อาไศรย อยู่ นั้น.
      กะบอก (21:33.1)
               ทำ ด้วย ไม้ ไผ่ บ้าง, ด้วย ตะกั่ว* บ้าง, ด้วย เหล็ก วิลาศ บ้าง, สำหรับ ตัก น้ำ กิน นั้น.
      กะบอก ฉีด (21:33.2)
               คือ ปล้อง ไม้ เขา ตัด ให้ กลวง ข้าง หนึ่ง ๆ มี ข้อ, เจาะ ให้ หลาย รู เอา ผ้า พัน ไม้ ชัก สูบ น้ำ เข้า, แล้ว กด เข้า ให้ น้ำ ออก ปริด ๆ
กะบัง (21:34)
         (dummy head added to facilitate searching).
      กะบัง หน้า (21:34.1)
               ของ ทำ ด้วย ทอง คำ บ้าง, ทำ ด้วย ของ อื่น* เปน เครื่อง* กระหนก ปิด ทอง บ้าง, สำหรับ* ใส่ หน้า. อนึ่ง เปน เครื่อง เขียน ศี ขาว, ว่า ดิน สอ กะบัง.
      กะบัง หมวก (21:34.2)
               คือ ของ เขา ทำ ไว้ ที่ ตรง หน้า ที่ หมวก สำหรับ บัง แดด นั้น.

--- Page 22 ---
      กะบัง น้ำ (22:34.3)
               คน เอา ดิน ปิด เปน ทำนบ กั้น น้ำ ไว้, ฤๅ คน เอา ไม้ ซี่ กลม ๆ มา ถัก เปน เฝือก ปิด ห้วย หนอง คลอง บึง บาง เพื่อ จะ จับ ปลา นั้น.
      กะบัง หอก (22:34.4)
               ของ ทำ ด้วย เหล็ก บ้าง ทอง เหลือง บ้าง ทอง แดง บ้าง, เปน รูป แบน ๆ สี่ เหลี่ยม สำหรับ ใส่ ที่ ต้น หอก.
กะบ่าง (22:1)
         สัตว สี่ ท้าว อยู่ บน ต้น ไม้ ใน ดง ตัว คล้าย กับ กะรอก, เมื่อ มัน จะ กะโดด ไป นั้น, มัน แผ่ หนัง ข้าง ๆ ออก บิน ไป ได้ เหมือน นก.
กะบิ้ง (22:2)
         ของ เปน แผ่น ๆ เล็ก ๆ, หฤๅ นา กะทง เล็ก.
กะบึง กะบอน (22:3)
         คน ที่ ใจ น้อย มัก โกรธ ง่าย ๆ ไม้ ใคร่ จะ พูดจา ว่า ทำ กะบึง กะบอน.
กะบุง (22:4)
         ของ สาน ด้วย ไม้, ก้น เปน สี่ เหลี่ยม, ปาก กลม เท่า ถัง บ้าง โต กว่า ถัง บ้าง, ใช้ ใส่ เข้า ของ ต่าง ๆ
กะเบ็ง (22:5)
         คน หฤๅ สัตว อัด อั้น ลม ไว้ ใน ท้อง, หฤๅ กะเบ็ง ร้อง ด้วย เสียง อัน ดัง, ว่า กะเบ็ง ท้อง ไว้
กะแบง มาน (22:6)
         การ คน ห่ม ผ้า ให้ ชาย มัน ไขว้ กัน ไป คน ละข้าง แล้ว ผูก ไว้.
กะบอง (22:7)
         ของ คน ทำ ด้วย ไม้ เปน เหลี่ยน บ้าง, กลม บ้าง, สั้น บ้าง, ยาว บ้าง, สำหรับ ทุบ ตี กัน
กะเบื้อง (22:8)
         ของ ทำ ด้วย ดิน สำหรับ มุง หลังคา, หฤๅ ถ้วย ชาม ม่อ ไห โอ่ง อ่าง ทั้ง ปวง ที่ แตก ออก เรี่ย ราย อยู่ ว่า กะเบื้อง.
      กะเบื้อง เคลือบ (22:8.1)
               คือ กะเบื้อง เดิม เปน ดิน เปล่า, แล้ว เขา ทา ศี ต่าง ๆ เผา ให้ สุก สำหรับ มุง หลังคา นั้น.
กะบถ (22:9)
         การ ที่ คน คิด ปะทุศ ร้าย ไม่ ชื่อ ตรง ต่อ พระ มหา กระษัตร.
กะบัด (22:10)
         คน กู้ ยืม เข้า ของ เงิน นอง ผู้ ใด ไป, แล้ว โกง ฉ้อ เอา ว่า ใช้ ให้ แล้ว บ้าง, หฤๅ ปัติเศศ ว่า ไม่ ติด ค้าง ตัว บ้าง.
กะบุด กะบิด (22:11)
         คือ อาการ ที่ เขา ทำ ปาก มุบหมิบ นั้น.
กะบิด (22:12)
         การ ที่ คน มุง หลังคา, หฤๅ ฉลุน เชือก ฉลุน ป่าน บิด ให้ เปน เกลียว นั้น.
      กะบิด กะบวน (22:12.1)
               กะบิด เปน คำ สร้อย, แต่ กะบวน นั้น คือ อาการ ที่ หญิง เปน ต้น เขา ควัก ค้อน แล ปัด มือ ชาย นั้น.
กะเบียด (22:13)
         เหมือน นิ้ว หนึ่ง แบ่ง เปน สี่ ส่วน ส่วน อัน หนึ่ง นั้น เรียก กะเบียด ใหญ่, แบ่ง เปน แปด ส่วน ว่า กะเบียด เล็ก.
      กะเบียด กะเสียน (22:13.1)
               กะเบียด ว่า แล้ว, กะเสียน ของ เปน เศศ เล็ก น้อย.
กะบัน (22:14)
         ทำ ด้วย เหล็ก บ้าง ทอง เหลือง บ้าง, กลม ๆ เท่า ด้ำ ภาย เปน รู กลวง สำหรับ กะบัน มาก.
กะ บาน ศีศะ (22:15)
         คือ กะดูก ตรง ขม่อม นั้น.
      กะบาน (22:15.1)
               ทำ ด้วย กาบ กล้วย หฤๅ สิ่ง อื่น* บ้าง, เปน สาม เหลี่ยม บ้าง สี่ เหลี่ยม บ้าง, แล้ว เอา ของ กินใส่ ใน นั้น สำหรับ เส้น ผี
กะบิละไม้ (22:16)
         คือ พันละไม้ ต่าง ๆ แล ไม้ เปน อย่าง ๆ นั้น.
กะบิละพัศ์ ดุ (22:17)
         ชื่อ เมือง ๆ หนึ่ง อยู่ ทิศ ตวัน ตก ใน แว่น แคว้น ฮินดู สะถาน นั้น.
กะบินละ ว่าน (22:18)
         คือ พันละว่าน ต่าง ๆ มี ว่าน น้ำ เปน ต้น.
กะบูน (22:19)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ผล โต เท่า ลูก ซ่มโอ, เม็ด ใน เปน กลีบ ๆ กิน ฝาด, ต้น ใช้ เปน ฟืน อยู่ ชาย ทะเล.
กะเบน (22:20)
         เปน ปลา อย่าง หนิง อยู่ น้ำ เค็ม บ้าง น้ำ จืด บ้าง, สัน หลัง คาย เปน เม็ด ๆ มี เงี่ยง แหลม ตัว แปน ๆ
กะบ่อน กะแบ่น (22:21)
         สัตว เดียรฉาน หฤๅ สิ่ง ใด ๆ, ตัว ด่าง บ้าง ดำ บ้าง แห่ง ละ เล็ก ละ น้อย. อนึ่ง การ ที่ ทำ หา ถี่ ถ้วน ไม่.
กะบวน ทับ (22:22)
         คือ อาการ ที่ เขา จัด พลโยธา ที่ จะ ยก ไป รบ ศึก ให้ ไป ตา ตำแหน่ง นั้น.
      กะบวน (22:22.1)
               คน ทำ อุบาย ต่าง ๆ คือ เขา ให้ เข้า ของ สิ่ง ใด ๆ ใน ใจ นั้น อยาก ได้ แต่ ปาก นั้น ว่า ไม่ เอา, ว่า ทำ กะบวน.
      กะบวน แห่ (22:22.2)
               คือ อาการ ที่ เขา จัด พวก คน แห่ ให้ เดิน ไป ตาม ตำแหน่ง นั้น.
กะเบียน (22:23)
         ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง มี อยู่ ตาม ริม คลอง ข้าง เหนือ, ผล คล้าย กับ กะเบา, เม็ด กิน เมา.
กะบวน รำ (22:24)
         คือ อาการ กิริยา ที่ เขา เดิน ฟ้อน นั้น.
กะบุบ ๆ (22:25)
         ปลา กะดี่, หฤๅ สะลิด, มัน ว่าย อยู่ เสมอ หลัง น้ำ อ้า ปาก ทำ ขมุบ ๆ.
กะบอม (22:26)
         การ ที่ คน ดุร้าย ตี สัตว หฤๅ คน เจ็บ ปวด แทบถึงตาย.
กะบาย (22:27)
         ของ เขา สาน ด้วย เส้น ตอก รูป คล้าย ครุ นั้น
กะแม่ว (22:28)
         คน หฤๅ สัตว วิ่ง จน หอบ หาย ใจ แขม่ว นั้น.
กะบอย (22:29)
         คน ทำ การ สิ่ง ใด ๆ ช้า นัก, หฤๅ กิน ของ สิ่ง ใด ๆ ช้า นัก นั้น.
กะบวย (22:30)
         ของ ทำ ด้วย กะลา มะพร้าว บ้าง เหล็ก วิลาศ บ้าง, ทอง เหลือง บ้าง สำหรับ ตัก น้ำ กิน.
กะเบือ (22:31)
         ครก สำหรับ ตำ น้ำ พริก เรียก ครก กะเบือ.

--- Page 23 ---
กะเบ้อ กะบัง (23:1)
         คน หฤๅ สัตว มี ความ ตก ใจ กลัว ทำ หน้า ตา ตื่น.
      กะแบะ (23:1.1)
               ที่ นา หฤๅ ของ สิ่ง ใด เล็ก ๆ แคบ ๆ เปน แผ่น ๆ นั้น.
กะป้อ กะแป้ (23:2)
         คน กำลัง น้อย ทำ การ ไม่ แขง ไม่ แรง อ้อแอ้, ว่า คน กะป้อ กะแป้.
กะปิยะการก (23:3)
         ฯ ว่า กะทำ ให้ ควร แก พระ สงค์.
กะปิ (23:4)
         ของ คน เอา กุ้ง ตัว เล็ก ๆ มา คลุก เข้า กัป เกลือ แล้ว ทำ ให้ ละเอียด สำหรับ แกง บ้าง ตา น้ำ พริก บ้าง.
      กะปิ กะปูด (23:4.1)
               กะปิ ว่า แล้ว, แต่ กะปูด เปน คำ สร้อย.
กะโปกะเป (23:5)
         คน พูด จา ไม่ แน่ ไม่ นอน, นัด หมาย กัน, แล้ว ก็ พูด กลับ ไป กลับ มา ว่า, พูด กะโป กะเป.
กะเป๋า (23:6)
         ของ ทำ ด้วย หนัง บ้าง, ผ้า บ้าง, แพร บ้าง, สำหรับ ใส่ ยา แดง บ้าง, ติด ไว้ ที่ เสื้อ ติด กังเกง บ้าง.
กะปรก กะปรำ (23:7)
         คือ กะตรก กะตรำ การ ที่ คน ตก ต่ำ ลำบาก นัก นั้น.
กะปุก (23:8)
         ของ ทำ ด้วย ดิน แล ตะกั่ว แล ทอง เหลือง บ้าง, สำหรับ ใส่ ขมิ้น, ใส่ น้ำมัน, ใส่ มึก บ้าง.
      กะปุก มึก (23:8.1)
               ของ ทำ ด้วย ตะกั่ว บ้าง ทอง เหลือง บ้าง แก้ว บ้าง, หิน บ้าง เปน เหลี่ยม บ้าง กลม บ้าง, สำหรับ ใส่ มึก.
กะโปก (23:9)
         คือ อัณทะ แปล ว่า ลูก ไข่ เปน ที่ ลับ ของ ชาย นั้น.
กะโปรง (23:10)
         ของ สาน ด้วย ตอก เปน ตา ห่าง ๆ บ้าง, เย็บ ด้วย กาบ หมาก บ้าง, สำหรับ ใส่ ของ ต่าง ๆ
กะปอด (23:11)
         คน มัก บ่น จู้ จี้ เล็ก น้อย, ว่า บ่น กะปอด ๆ
      กะปอดกะแปด (23:11.1)
               คน มัก บ่น เล็ก ๆ น้อย ๆ, หฤๅ ผัก ที่ เก็บ มา ไว้ เหียว แห้ง ไป, ว่า แห้ง* กะปอด กะแปด
กะปริบ กะปรอย (23:12)
         คือ การ ไม่ สะดวก ไม่ คล่อง ออก ที ละ น้อย ๆ เหมือน คน เปน หนิ้ว เบา นั้น.
กะปริบๆ (23:13)
         คือ พริบ ตา ลง ๆ นั้น.
กะป้วนกะเบี้ยน (23:14)
         คำ ที่ คน พูด จา เรื่อง ความ สิ่ง ใด ๆ, กลับ ไป กลับ มา ไม่ ยั่งยิน นั้น.
กะปู่ม กะปิ่ม (23:15)
         ของ มาก หลาย เหมือน ยอก ภูเขา ที่ แล เหน แต่ ไกล, หฤๅ ยอด ประสาท แล เจดีย์ แต่ เหน ไกล หลาย ยอด นั้น.
กะปุก กะปุย (23:16)
         ขน สัตว ที่ มี มาก เหมือน หมา จู, หฤๅ คน ที่ นุ่ง ผ้า ห่ม ผ้า รุงรังไม่เรียบร้อย นั้น.
กะปุย (23:17)
         ความ เหมือน กัน กบ กะปุกกะปุย นั้น.
      กะเปาะ (23:17.1)
               ที่ สำหรับ ใส่ พลอย ที่ วง แหวน นั้น.
      กะเปาะเหลาะ (23:17.2)
               คือ ที่ ท้อง เปน ต้น ที่ มัน ปอด ป่อง พอง อยู่ นั้น.
      กะเปาะแหวน (23:17.3)
               คือ ที่ สำหรับ ใส่ หัว พลอย ที่ วง แหวน นั้น.
กะผาก (23:18)
         สิ่ง ของ ที่ ตวง ด้วย สัด, หฤๅ ด้วย ถัง ด้วย กาะเภาะ แบ่ง เปน แปด ส่วน, แล้ว ส่วน หนึ่ง นั้น, เรียก กะผาก.
กะผีก (23:19)
         สิ่ง ของ ที่ ดวง ด้วย สัด หฤๅ ถัง หฤๅ กะเภาะ หฤๅ ทะนาน แบ่ง เปน สี่ ส่วน, แล้ว ส่วน หนึ่ง นั้น, เรียก ว่า กะผีก.
กะแผง (23:20)
         ของ ที่ คน เอา ไม้ ไผ่ มา สาน เปน แผ่น ๆ, เล็ก บ้าง โต บ้าง นั้น.
กะผม (23:21)
         ว่า ข้าพเจ้า ก็ ได้, ฉัน ก็ ได้, ดี ฉัน ก็ ได้. คน จะ พูด กับ ขุน นาง หฤๅ คน ที่ นับ ถือ แต่ มิ ใช่ จ้าว, แล ตัว จะ กล่าว อ้าง ถึง ตัว ว่า ข้า ว่า เรา นั้น ต้อง ว่า กะผม.
กะโผลกกะเผลก (23:22)
         คือ อาการ ที่ คน พิการ เดิร ขา ขะโยก ขะเยก กะ พล่อง กะแพลง นั้น.
กะพี้ (23:23)
         เนื้อ ไม้ ที่ อยู่ ใน เปลือก หุ้ม แก่น อยู่ นั้น. อนึ่ง ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ชื่อ ไม้ กะพี้.
กะโพก (23:24)
         เปน อะไวยะวะ คือ อาการ ใน ตัว ที่ ก้น นั้น.
กะพอกเล่า (23:25)
         ที่ คน นั่ง กิน เล่า ล้อม กัน กิน อยู่ รอบ นั้น.
กะพกกะเพ้อ (23:26)
         อาการ ที่ คน เสีย สะติ พูด ละล้ำ ละลัก นั้น.
กะพือ (23:27)
         ผ้า ตาก ไว้ ลม พัด ให้ สะบัด ไป, หฤๅ นก ทั้ง ปวง ยก ปีก ทั้ง สอง ขึ้น ทำ กวัก ๆ ลง นั้น.
กะพักกะเพิ่น (23:28)
         คือ ที่ ภูเขา หิน มัน เปน ชะงัก ชะง่อน นั้น. อนึ่ง ของ เรี่ย ราย กะจัก กะจาย อยู่.
กะเภาะหมู (23:29)
         ของ ที่ อยู่ ใน ท้อง หมู อย่าง หนึ่ง, เปน ที่ รับ อาหาร, หฤๅ เปน ที่ มูด อยู่ นั้น.
กะพง (23:30)
         ชื่อ ปลา อย่าง หนึ่ง อยู่ ใน ทะเล ตัว โต. อนึ่ง สิ่ง ของ ที่ ภอ ควร ภอ ดี, ว่า กะผง ดี กำลัง ดี นั้น.
      กะพง ไข่ (23:30.1)
               คือ เวลา กำลัง ไข่ นั้น.
      กะพงโสม (23:30.2)
               เปน ชื่อ เกาะ แห่ง หนึ่ง อยู่ แขวง เมือง จันทบูรีย์.
กะพังโหม (23:31)
         ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง มัน เปน เถา ใบ ยาว ๆ, กลิ่น เหม็น เขา ใช้ ทำ อยา.
กะเพิน (23:32)
         คือ ที่ ภู เขา หิน เปน กะพัก เพิง อยู่ นั้น.
กะพั้ง (23:33)
         คือ ห้วง ที่ ขัง น้ำ ไว้ เปน ตอน ๆ นั้น, ว่า กะพั้ง น้ำ, กะพั้ง สีลา, คือ ห้วง น้ำ ใน หุบ หิน นั้น.

--- Page 24 ---
กะพุ้ง (24:1)
         ม่อ ไห แล เครื่อง ภาชน์ ไช้ สรอย สิ่งใด, ที่ กลาง มัน กว้าง กว่า ที่ อื่น นั้น.
กะพวง (24:2)
         ชื่อ บ้าน แห่ง หนึ่ง มี อยู่ ที่ เมือง เหนือ แขวง เมือง พิศ ณุ โลกย์.
กะเพิ้ง (24:3)
         โพรง หฤๅ ถ้ำ ที่ ปาก ช่อง นั้น แคบ, ข้าง ใน นั้น กว้าง ที กว้าง นั้น แล, ว่า กะเพิ้ง.
กะพร่าง (24:4)
         คือ หน่วย ตา พร่าง พราย ไป แล ไม่ เหน สนัด ชัด นั้น.
กะพล่องกะแพล่ง (24:5)
         คือ อาการ ไม่ มัน คง ง่อน แง่น นั้น.
กะพด (24:6)
         ไม้ รวก ลำ เล็ก ๆ เอา มา ผูก สาย ไว้ ที่ ปลาย สำหรับ ไล่ งัว ไล่ ควาย.
กะพัด (24:7)
         คน หฤๅ สัตว ไล่ สิ่ง ใด ๆ ไป ก้าว สะกัด ข้าง หน้า ข้าง หลัง ไม่ อยุด, ว่า ไล่ กะพัด.
กะเพิด (24:8)
         คน โกรธ ร้อง ตวาด ด้วย เสีงดัง. ว่า กะเพิด.
กะพรูดกะพราด (24:9)
         คือ คน บ้วนน้ำ ออก จาก ปาก อยด เรี่ยราด ไป นั้น.
กะพั้น (24:10)
         โรค อย่าง หนึ่ง เมื่อ มัน บัง เกิด เปน แก่ ทารก, หฤๅ สัตว แล้ว, มัน ให้ ชัก มือ กำ ตืน กำ แลบ ลิ่น ปลิ้น ตา.
กะพุน (24:11)
         สัตว อย่าง หนึ่ง อยู่ ที่ น้ำ เค็ม, ตัว กลม ๆ เหมือน ใบ บัว ตัว โต เท่า จาน เล็ก บ้าง จาน ใหญ่ บ้าง มี ตีน เหมือน สาร่าย.
กะโพน (24:12)
         คือ ตะโพน อยู่ ใน เครื่อง บภาษ อย่าง หนึ่ง เขา หุ้ม ด้วย หนัง, ตี มัน ดัง ปิง ปืด ๆ นั้น.
กะพาบน้ำ (24:13)
         สัตว อย่าง หนึ่ง ตัว โต เท่า จาน ใหญ่, รูป คล้าย กับ เต่า, แต่ มี เชิง รอบ ที่ กะดอง, อยู่ โพรง ใน น้ำ กิน ดี.
กะพริบ (24:14)
         คือ อาการ ที่ คน ทำ เปลือก ตา ปริบ ๆ ลง นั้น.
กะเพื่อม (24:15)
         น้ำ ใน ภาชนะ ตุ่ม ไห, หฤๅ ใน คลอง แล แม่น้ำ ที่ สะ เทือน ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง มี ลม เปน ต้น นั้น.
กะพรุ่ม (24:16)
         คือ ของ มาก มั่ว สุม กัน อยู่ นั้น.
กะเพ้อกะพก (24:17)
         คน ป่วย ไข้ หฤๅ นอน หลับ อยู่ ลุก ถะลึ่ง ขึ้น แล้ว หลง ละเมอ พูดไป ต่าง ๆ, แต่ หา รู้ ศึก ตัว ไม่, ว่า กะเพ้อ กะพก.
      กะเพ้อกะพำ (24:17.1)
               คน บ่น วุ่นวาย ด้วย ไม่ สะบาย รำคาน ใจ นั้น.
กะเภาะ (24:18)
         ของ สำหรับ รับ อาหาร ใหม่ สันถาน เหมือน อย่าง ถุง, ย่อม มี อยู่ ใน ท้อง คน แล สัตว ทั้ง ปวง.
      กะเภาะ ขี้ (24:18.1)
               คือ ของ ที่ ขี้ มัน อยู่ ใน ท้อง คน หฤๅ สัตว นั้น.
      กะเภาะ น้ำ (24:18.2)
               คือ ของ ที่ น้ำ มัน อยู่ ใน ท้อง นั้น.
      กะเภาะ เยี่ยว (24:18.3)
               ของ สำหรับ รับ น้ำ ปัศสาวะ ที่ กรอง จาก อาหาร ทั้ง ปวง นั้น, สันถาน เหมือน ถุง อยู่ ใน ท้อง นั้น.
      กะเภาะ อาหาร (24:18.4)
               ของ สำหรับ รัป อาหาร ใหม่ มี อยู่ ใน ท้อง สัตว แล มนุษ ทั้ง ปวง.
      กะเภาะ สาน (24:18.5)
               ของ สาร ด้วย ตอก รูป เหมือน โพล่, สำหรับ ใช้ ตวง เข้า เปน ต้น.
กะพ้อ (24:19)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ลำ ต้น โต เท่า แขน ใบ คล้าย ใบ ตาล ใช้ ห่อ ไต้ ก็ ได้.
กะเพรา (24:20)
         ผัก อย่าง หนึ่ง ต้น เล็ก ๆ, ใบ กลิ่น หอม, ใช้ แกง กิน บ้าง ทำ ยา บ้าง.
กะพลุกกะพล่าน (24:21)
         คือ คนมาก เที่ยว ไป ข้าง โน้น บ้าง ข้าง นี้ บ้าง, ปนละวน กัน อยู่ นั้น.
กะพล่องกะแพล่ง (24:22)
         คน พึ่ง* หัด ทำ การ ทั้ง ปวง ยัง ไม่ ชำนาน, หฤๅ พึง สอน เรียน หนังสือ ยัง ไม่ ชำนาน, ว่า กะพล่อง กะแพล่ง.
กะฟัดกะเฟียด (24:23)
         คน ที่ โกรธ มาก มัก ทำ อาการ ต่าง ๆ คือ กะทบ กะแทก สิ่ง ของ ต่าง ๆ, หฤๅ ทำ จมูก ฟูดฟาด นั้น.
กะฟูดกะฟาด (24:24)
         ช้าง หฤๅ ควาย มัน หาย ใจ ดัง อย่าง นั้น.
กะแฟ้ม (24:25)
         ของ สาน ด้วย หวาย บ้าง ตอก บ้าง, รูป แบน ๆ มี หู สอง ข้าง สำ หรับ ใส่ ผัก ใส่ ปลา.
กะภัก (24:26)
         ชายหาด หฤๅ ริมตลิ่ง ที่ มัน ฦก เปน ชั้น ๆ ลงไป ว่า กะภัก.
กะโภก (24:27)
         ที่ สุด บั้นเอว ลง ไป ทั้ง สอง ข้าง นั้น, ว่า กะ โภก.
กะเหม่า (24:28)
         ของ ศี ดำ ที่ เกิด ด้วย ควัน ใต้ ควัน เทียน หฤๅ ควัน ตะ เกียง นั้น.
      กะเหม่าเหล็ก (24:28.1)
               คือ กะเทาะเหล็ก ที่ ตี มัน กะเดน ออก จาก ก้อน เหล็ก ใหญ่ นั้น.
กะมุกกะมอม (24:29)
         คน ทำ การ งาน เปื้อน โคลน เปื้อน ตม, หฤๅ สิ่ง ของ ใด ๆ ที่ กะดำกะด่าง, ว่า กะมุก กะมอม,
กะเหม่น (24:30)
         คือ อาการ ที่ มัน เปน ริ่ว ๆ ที่ กาย คน บาง นั้น.
กะมัง (24:31)
         ชร้อย, ดี ร้าย, ความ คะเน ยัง หา แน่ ไม่. อนึ่ง ชื่อ* บ้าน มี อยู่ ที่ เมือง เหนือ, ว่า กะมัง.
กะหมอง (24:32)
         สิ่ง ที่ เปน ข้น ๆ อยู่ ใน หัว, เปน คำ ตลาด.
กะหมวด (24:33)
         กอ หญ้า หฤๅ มวย ผม หฤๅ ชายผ้า เขา ผูก ขาด เข้าไว้, ว่า กะหมวด หญ้า เปน ต้น.

--- Page 25 ---
กะเหมง (25:1)
         คน ฟั่น เชือก, หฤๅ ฟั่น ด้าย ทำ ให้ บิด เปน เกลียว เข้า ตึง หนัก, นั้น.
กะหมุท (25:2)
         ดอก ไม้ อย่าง หนึ่ง ขึ้น อยู่ ใน น้ำ ใน โคลน คล้าย กับ ดอก บัว.
กะโหมด (25:3)
         คือ ที่ มัน เปน ขึ้น สอง ปุ่ม ที่ หัว ช้าง. อย่าง หนึ่ง เปน ชื่อ ที่ ใน ป่า เช่น นั้น บ้าง.
กะหมุดกะหมิด (25:4)
         เชือก ที่ สั้น ชัก มา ผูก ถึง กัน หวิด ๆ, ว่า กะ หมุด กะ หมิด.
กะมล หฤๅไทย (25:5)
         คือ เนื้อ หัวใจ.
กะม้วนกะเมี้ยน (25:6)
         คน มี สิ่ง ของ อัน ใด เก็บ ซุก ซ่อน ไม่ หยาก ให้ คน อื่น รู้ เหน, ว่า กะม้วนกะเมี้ยน ไว้.
กะหมุบกะหมิบ (25:7)
         คือ อาการ ที่ มัน เกิด ที่ ทวาร ดุบดิบ นั้น.
กะมอมกะแมม (25:8)
         ผ้า หฤๅ สิ่ง ของ ใด ๆ เปื้อน กะดำ กะด่าง.
กะหม่อม (25:9)
         ที่ บน กลาง หัว,
กะแหม่ว (25:10)
         คน หฤๅ สัตว อัด ใจ ทำ ท้อง ให้ เล็ก เข้า, ว่า ท้อง กะ แหม่ว.
กะเหมอกะหมก (25:11)
         กีริยา คน หฤๅ สัตว มัว นอน อยู่ ตก ใจ, แล้ว ตื่น ขึ้น ไม่ รู้ จัก เหนือ จัก ไต้.
กะยาคู (25:12)
         คือ เข้า ยา คู
กะยาจก (25:13)
         คน ฃอ ทาน.
กะยาสาท (25:14)
         ของ หวาน เขา ทำ เมื่อ สาท, เขา ใส่ น้ำ พึ่ง แล ถั่ว งา เปน ต้น รคน กัน นั้น
กะยาหาร (25:15)
         แต่ บัน ดา ของ กิน ทั้ง ปวง หมด, เรียก อย่าง นั้น.
กะยู่ กะยี่ (25:16)
         ของ ช้ำ ชอก เหมือน อย่าง ผ้า ใหม่ ๆ เอามาขยำ เสีย ให้ ยับ, ว่า ผ้า กะยู่กะยี่
กะหยักกะหย่อน (25:17)
         คือ ทำ การ เปน ต้น ไม่ รู้ แล้ว, ทำ แล้ว อยุด, แล้ว ทำ ไป อีก นั้น.
กะหยาก กะหยะ (25:18)
         หยาก เยื่อ ฝุ่น ฝอย ที่ กวาด กอง เข้า ไว้ นั้น.
กะหยิก ๆ (25:19)
         คือ อยัก รั้ง หฤๅ เหนบ ผ้า เปน ต้น ว่า เช่น นั้น.
กะยุ่งกะยง (25:20)
         ด้ายไหม, หฤๅ ป่าน มัน ขาด ยุ่ง ไป ยุ่ง มา นั้น.
กะเหย่ง (25:21)
         คน หฤๅ สัตว เอา ที่ สุด ท้าว จด ลง กับ พื้น, แล้ว ยก ส้น ยืน ขึ้น, ว่า ยืน กะเหย่ง.
กะแหยง (25:22)
         ปลา อย่าง หนึ่ง ไม่ มี เกล็ด มี เงี่ยง แหลม สอง อัน, อยู่ ที่ ฅอ.
กะโหยง (25:23)
         คน หฤๅ สัตว ตก ใจ วิ่ง กะ โดด ๆ ไป นั้น. กะโหยง กะเหยง, อาการ คน หฤๅ สัตว เต้น โดด ขึ้น โดด ลง.
กะย่องกะแย่ง (25:24)
         คน ติด กรวน หฤๅ คน ขา เสีย, ว่า เดิร กะย่อง กะแย่ง.
กะหยัด กะเหยี่ย (25:25)
         จะ ทำ การ สิ่ง ใด ๆ หฤๅ จะ กิน อาหาร ทั้ง ปวง ค่อย แบ่ง ทำ, หฤๅ แบ่ง กิน ที่ ละ น้อย ๆ ว่า กะหยัด กะเหยี่ย.
กะยืดกะยาด (25:26)
         คน ขัก ตังเม หฤๅ เด็ก ๆ ขี้มูก ไหล ออก มา, ว่า ออก กะยืดกะยาด.
กะหยุบ (25:27)
         นก อย่าง หนึ่ง ทำ หาง กะ ดก ๆ ว่า กะ หยุบ.
กะหยิ่ม (25:28)
         คือ ได้ ข่าว ว่า จะได้ อัน ใด ๆ แล ดี ใจ คอย จ้อง จะเอา นั้น
กะหยุมกะหยิม (25:29)
         คำ ที่ คน ขี้ บ่น มัก บ่น เล็ก บ่น น้อย จู้ จี้.
กะย่อกะแย่ (25:30)
         คน หฤๅ สัตว ทำ การ ทำ งาน อ้อ แอ้ ไม่ แขง แรง, ว่า ทำ กะย่อกะแย่.
กะไร (25:31)
         อย่างไร, ทำไม, อะไร
กะระพฤกษ์ (25:32)
         คำ เรียก ต้น ไม้ กามพฤาษ์ เช่น นั้น บ้าง
กะโร (25:33)
         ฯ ว่า กะทำ.
กะระณีเหตุ (25:34)
         คือ เหตุ เดิม เกิด ก่อ ความ.
กะระ (25:35)
         ฯ ว่า กะทำ
กะระกฎ (25:36)
         เปน ชื่อ ราชี อัน หนึ่ง* ใน สิบ สอง ราษี นั้น.
กะรอก (25:37)
         สัตว อย่าง หนึ่ง โต เท่า หนู สี่ ท้าว หาง เปน พวง อยู่ บน ต้น ไม้ ใน ป่า บ้าง ใน สวน บ้าง, กิน ผลไม้.
กะโหรก กะเหรก (25:38)
         คือ ที่ เปน ดอน หฤๅ แห้ง อยู่ นั้น.
กะริงสุ (25:39)
         ฯ ว่า กระทำ แล้ว.
กะรุงกะรัง (25:40)
         คน เอา สิ่ง ของ แขวน ไว้ ใน เรือน หฤๅ ที่ ใด ๆ มาก. ว่า รก.
กะรุ้งกะริ้ง (25:41)
         ผ้านุ่ง หฤๅ ผ้าห่ม ขาด เปน ริ้ว เปน แร่ง, ว่า ขาด.
กะร้องกะแร้ง (25:42)
         ความ เหมือน กัน. กับ กะรุ้ง กริ้ง.
กะเหรี่ยง (25:43)
         คน ชาวป่า ไว้ ผม เปน จอม นุ่ง ผ้า ห่ม ผ้า คล้าย กับ มอญ.
กะหรีศ (25:44)
         ฯ ว่า นับ ไกล ๗ เส้น. อนึ่ง เปน อุจจาระ.
กะหร่อง (25:45)
         คือ รูป ผอม ไม่ อ้วน นั้น, ว่า ผอม กะหร่อง มี รูป สุ นัข เปน ต้น.
กะหรอด (25:46)
         นก อย่าง หนึ่ง ตัว เล็ก ๆ ช่าง พูด ตาม ภาษา นก, กิน ผลไม้.
กะรุกุกะ (25:47)
         คือ ของ ครุคระ สุรุ สุหระ อยู่ นั้น.

--- Page 26 ---
กรรุณา (26:1)
         การ เอน ดุ ช่วย สง เคราะห์ คน แล สัตว ที่ ต้อง ไภย ได้ ทุกข์ คือ จะ ให้ กลับ ได้ ความ ศุข เอย็น ใจ.
กะหรอน (26:2)
         สิ่ง ของ ที่ ศี แดง เหมือน อย่าง หงอน ไก่.
กะเรียญ (26:3)
         นก อย่าง หนึ่ง ตัว โต สูง เท่า นก กะตรุม ฅอ แดง งาม, เสียง ดัง กิน หอย ปู
กะรุบกุบกับ (26:4)
         คือ ที่ ล่ม ๆ ดอน ๆ อยู่ นั้น.
      กะหรุบกะหริบ (26:4.1)
               คน ทำ การ หฤๅ พูด จา กิน อยู่ ลับ นอน ว้อง ไว้ แล้ว เร็ว, ว่า กะหรุบ กะหริบ.
กะหรม (26:5)
         คือ การ บ่น ร่ำ พร่ำ พรู อึง อยู่ ไม่ ร้ อยุด นั้น.
กะเรี่ยกะราด (26:6)
         คน ตัก น้ำ หฤๅ ทำ การ สิง ใด ๆ หก เรี่ย ราด ไป หลาย แห่ง ว่า กะเรี่ย กะราด.
กะเราะกะแระ (26:7)
         ผล ไม้ ใน สวน หฤๅ สิ่ง ของ ใด ๆ ใน ท้อง ตลาด มี บ้าง เล็ก น้อย ไม่ มาก, ว่า มี กะเราะ กะแระ.
กะลอแต (26:8)
         คือ ต่อ แหล โก หก ปด เล็ก ปด น้อย นั้น.
กะลา (26:9)
         สิ่ง ที่ แขง อยู่ ใน ผล มะพร้าว. อนึ่ง ผัก อย่าง หนึง ต้น เท่า ด้ำ ภาย ใบ เหมือน ฃ่า, ปลูก ไว้ สำหรับ กิน หน่อ.
กะลา มะพร้าว (26:10)
         สิ่ง ที่ แขง อยู่ ใน ผล มะพร้าว ที่ ต้อย ออก เปน สอง ซีก แล้ว ขูด เนื้อ เสีย หมด.
กลาปาวะสาน (26:11)
         ฯ คือ กาล เปน ที่ สุด แห่ง กล์ป นั้น.
กะลา ซอ (26:12)
         คือ กะ ลา มะพร้าว ที่ รูป มัน เปน สาม เส้า สำหรับ ใช้ ทำ ซอ, เปน เครื่อง มะโหรี นั้น.
กะหลา ป๋า (26:13)
         เปน ชื่อ เกาะ อัน หนึ่ง ที่ ขึ้น แก่ เมือง วิลันดา นั้น.
กะลา ศี (26:14)
         คน สำหรับ ใช้ การ ใน กำปั่น.
กะลาบาทว์ (26:15)
         คือ ของ เปน ลูก ไฟ ใหญ่ เท่า บาตร ตก ลง จาก อา กาษ ใน เพลา กลาง คือ นั้น.
กะลาโหม (26:16)
         เจ้า พยา ผู้ เปน อธิบดี กำกับ ฝ่าย ทะหาร ปาก ใต้ นั้น
กะลา หัว (26:17)
         คือ กะดูก กะบาน หัว นั้น.
กะลียุค (26:18)
         คือ คราว ที่ ประกอบ ด้วย โทษ ต่าง ๆ เหมือน ทุก วัน นี้ อายุ มะนุษ ต่ำ กว่า ร้อย ปี นั้น.
กะไหล่ (26:19)
         เครื่อง ภาชนะ ที่ ทำ ด้วย ทอง เหลือง ทอง แดง, แล้ว แช่ เงิน บ้าง ทอง บ้าง, ให้ ติด อยู่ ภาย นอก ดู เหมือน เงิน แล ทอง นั้น ว่า ของ กะไหล่
กะโล่ (26:20)
         ของ สาน ด้วยตอก เท่า จานใหญ่ บ้าง เล็ก กว่า บ้าง สำหรับ ใส่ ของ กิน เปน ต้น นั้น.
กะลุมภุก (26:21)
         คือ ใม้ เขา เจาะ ใส่ ดั้ม สำหรับ ทุบ ให้ หนัก นั้น.
กะสำภัก (26:22)
         แก่น ไม้ หอม อย่าง หนึ่ง, เกิด ใน ต้น ไม้ ที่ ไม่ เคย มี. แก่น, ใช้ ทำ อยา บ้าง เผา ไฟ หอม.
กะลำภอก (26:23)
         คือ รูป ชะดา เขา พัน ด้วย ผ้า ขาว สำหรับ ใส่ หัว คน ทำ เปน เทวดา นั้น
กะหล่ำ (26:24)
         ผัก อย่าง หนึ่ง ต้น เหมือน ผัก กาษ, ยอด มัน ห่อ กัน เข้า เปน ปลี แล้ว, ต้ม กับ หมู กิน ดี.
      กะหล่ำ ปลี (26:24.1)
               คือ ต้น ผัก เล็ก ๆ มี ปลี, เจ้ก แอง กับ หมู
กะโหลก (26:25)
         ของ ทำ ด้วย กลา มะพร้าว สำหรับ ใช้ ตัก น้ำ กิน.
กะลุกกะลิก (26:26)
         คือ อาการ กรุบกะริบ นั้น.
กะลิง (26:27)
         นก อย่าง หนึ่ง ตัว เขียว ๆ เหมือน นก แก้ว, แต่ ปาก มัน ดำ
กะลิงปิง (26:28)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ ผัก อย่าง หนึ่ง ผล มี รศ เปรี้ยว.
กะลึงคะรัง (26:29)
         ฯ ว่า ท่อน ไม้. อนึ่ง ชื่อ เมือง แต่ โบราณ.
กะล่อยกะหลิบ (26:30)
         คือ อาการ ที่ ทำ การ เปน ต้น แล้ว เว็ว นั้น
กะลึงคะราช (26:31)
         ฯ เมือง อัน หนึ่ง ชื่อ อย่าง นั้น.
กะละแม (26:32)
         เปน ชื่อ ขนม หวาน อย่าง หนึ่ง, เขา กวน ด้วย แป้ง กับ น้ำ ตาน กับ กะทิ นั้น.
กะละลัง (26:33)
         ฯ ว่า เปลือก ตม.
กะละเม็ด (26:34)
         เหมือน ไก หฤๅ จักร เปน ต้น ว่า เขา ทำ เปน กะละเม็ด
กัลยาณะ (26:35)
         ฯ ว่า ดี, ว่า งาม, ว่า กุศล.
กะล่อกะแล่ (26:36)
         คือ คำ ไม่ ชัด นั้น.
กะเล่อ กะล่า (26:37)
         อาการ ตื่น ตก ใจ กลัว ไม่ รู้ จัก จะ ไป ข้าง ไหน.
กะโหลก หัว ผี (26:38)
         คือ กะดู หัว คน ตาย
กะเหว่า (26:39)
         นก อย่าง หนึ่ง ตัว ดำ บ้าง ตัว ลาย บ้าง เสียง มัน เพราะ กิน ผล ไม้.
กะไว้ (26:40)
         คือ หมาย ลง ไว้ ด้วย น้ำ ดำ หฤๅ คม มีด เปน ต้น นั้น.
กะวูดกะวาด (26:41)
         คน จะ ทำ การ ลิง ใด ก็ เร่ง รีบ ทำ เร็ว ๆ ไม่ ช้า, ว่า กะวูด กะวาด.
กะหมีกะมัน (26:42)
         คือ อาการ ด่วน นั้น
กะวนกะวาย (26:43)
         อาการ คน หฤๅ สัตว์ เจ็บ ไข้ ไม่ สบาย หฤๅ อยาก เข้า อยาก น้ำ ให้ กะสับกะส่าย นั้น
กะวาน (26:44)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ใบ หอม เม็ด ก็ หอม, ใช้ ทำ อยา บ้าง ทำ เครื่อง แกง บ้าง, มา แต่ เมือง เขมร.

--- Page 27 ---
กะวิ ชาติ (27:1)
         ฯ ว่า ชาติ นัก ปราช.
กะเวน (27:2)
         การ คน เที่ยง ตรวจ ตรา ระวัง ระไว เหตุ ใน ทาง น้ำ ทาง บก. อนึ่ง คน ต้อง โทษ หลวง ให้ ภา ไป ร้อง สำแดง โทษ ของ ตัว ให้ เขา รู้ นั้น
กะวี่กะวาด (27:3)
         คือ ด่วน ๆ เร็ว ๆ นั้น
กะแวน (27:4)
         นก อย่าง หนึ่ง ตัว ดำ ไๆ, เท่า นก เอี้ยง, มี หาง ยาว เปน บวง ลง ไป สอง เส่น นั้น
กะเว้ากะแหว่ง (27:5)
         อาการ ที่ คน ทำ มือ ไว ใจ เรว ลัก เล็ก ลัก น้อย นั้น.
กะเวยกะวาย (27:6)
         อาการ ฅน ตก ใจ ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง, แล้ว ร้อง กะเวยกะวาย ขึ้น นั้น
กะษา (27:7)
         นก อยาง หนึ่ง ตัว โต, ขน ศี นวล สำหรับ ใช้ ทำ พัด, มัน กิน ปลา ดิบ อยู่ ตาม ทุ่ง นา
กะสิกรรม (27:8)
         ฯ การ ไถ นา แล การ ทำ นา นั้น.
กะสือ (27:9)
         คน ผู้ หญิง ที่ ผี ปีสาข เข้า สิง อยู่ ใน ตัว, แล้ว ผี นั้น มัน ภา คน ไป เที่ยว กิน ของ โสกโครก.
กะกละ (27:10)
         ความ เหมือน กะสืก นั้น.
กะแสร (27:11)
         บาง ความ หฤๅ สาย น้ำ ไหล.
      กะแสร ความ (27:11.1)
               คือ เรื่อง ความ นั้น
      กะแสร แง่ เงือน (27:11.2)
               คือ เรื่อง ถ้อย ความ ต่าง ๆ นั้น.
      กะแสร พระ ตำหริ (27:11.3)
               คือ เรื่อง พระ ราช ดำหริ คือ ขุน หลวง คิด
      กะแสร น้ำ (27:11.4)
               คือ สาย น้ำ เชียว นั้น.
กะไสย (27:12)
         โรค จำ พวก หนึ่ง มี หลาย อย่าง มี กะไสย กล่อน เปน ต้น.
      กะไสย โรคย์ (27:12.1)
               คือ โรค จำ พวก หนึ่ง นั้น
      กะไสย ลม (27:12.2)
               โรค ลม อย่าง หนึ่ง
กะเสรา (27:13)
         เสียง คน ป่วย เปน โรค ใด ๆ, หฤๅ เปน ไข้ ลง ราก พูด เสียง ไม่ ออก นั้น
กะสิก ๆ (27:14)
         เสียง คน ร้อง ไห้ สะอื้น นั้น.
กะสัง (27:15)
         ผัก อย่าง หนึ่ง ต้น เปน เถา เลื้อย อยู่ กับ ดิน, ใบ มัน กลม เล็ก ๆ, กลิ่น หอม, กิน ดิ
กะสงกะสิง (27:16)
         คน จอง หอง คิด หยิ่ง ใน ใจ นั้น กรุ้ง กริ่ง, กริ่ม ใจ ดี ใจ
กะแสง (27:17)
         เสียง ดัง เพราะ แจ้ว นั้น.
กะษัตร (27:18)
         ฯ เปน สับ ท แผลง แปล ว่า คน เปน ใหญ่ ใน เขตร แดน.
กะษิตธิราช (27:19)
         ฯ คือ คน เปน พระยา ใหญ่ ยิ่ง นั้น.
กะษัตรี (27:20)
         ฯ เปน นาง กระษัตร.
กะเสือกกะสน (27:21)
         อาการ ที่ คน ต้อง ไภย ได้ ทุกข์ หฤๅ ร้อน รน ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง ต้อง วิ่ง ไป วิ่ง มา.
กะสูดกะสีด (27:22)
         อาการ คน โศกเศร้า ด้วย เหตุ สิ่ง หนึ่ง สิ่ง ใด หฤๅ กิน ของ ที่ เผ็ด ร้อน จน น้ำ มูก นำตา ไหล ออก มา, แล้ว กลับ สูด เข้า ไป นั้น.
กะสัน (27:23)
         คน โศรก เศร้า ด้วย พร้ด พราก จาก ลูก หฤๅ เมีย อัน เปน ที่ รักษ เปน ต้น นั้น.
กะเสตร (27:24)
         ฯ ว่า ดวง ชะตา คน ได้ เทวดา เปน กะเสตร ว่า ดี มี คุณ จะ ได้ ยศ ศักดิ์
กะสิน (27:25)
         ฯ คือ ของ ที่ ภิกขุ ประกอป ด้วย ความ เพียร กระทำ ปริ กรรม ซึ่ง กรรมฐาน นั้น.
กะสุน (27:26)
         ของ ทำ ด้วย ไม้ มี สาย มี รัง สำหรับ ใส่ ลูก ยิง สัตว ต่าง ๆ.
กะเสน กะสาย (27:27)
         คือ เชื้อ สาย เปน ญาติ ห่าง ๆ ไกล หลาย ชั่ว ญาติ.
กะสวน แบบ (27:28)
         ของ ทำ ไว้ เปน แบบ แผน สำหรับ จะ ทำ การ เรือน แล การ อืน ทั้ง ปวง นั้น.
กะเสียร (27:29)
         สิ่ง ของ ที่ จะ ใส่ ลง ใน ช่อง ใน รู ถ้า ไม่ หลวม ไม่ คับ ภอ ดี กัน ลง ไป, ว่า กะเสียน
เกสียรสมุท (27:30)
         คือ กระแส ใน มหา สมุท นั้น.
กะสับ กะส่าย (27:31)
         กะวน กะวาย, อาการ คน ป่วยไข้ หนัก เมื่อ จะ ไกล้ ตาย นั้น ทุรน ทุราย, ผุด ลุก ผุด นั่ง.
กะสาบๆ (27:32)
         เสียง คน พูด ไม่ ใครา จะ ออก ดัง เหมือน เสียง เปด ตัว ผู้
กะสปะ (27:33)
         ฯ ว่า คน เปน กะสปะ โคต. อย่าง หนึ่ง เปน ชื่อ คน บ้าง
กะสอบ (27:34)
         ของ สาน ด้วย ต้น กะจูด เหมือน กับ เสื่อ สำหรับ ใส่ น้ำ ตานทราย บ้าง, สิ่ง ของ อื่น ต่าง ๆ บ้าง
เกษม (27:35)
         ฯ คือ บรมศุข สนุก สนาน นั้น.
      เกษมสันต์ (27:35.1)
               ฯ คือ บรมศุข เอย็น ใจ นั้น.
      เกษมศี (27:35.2)
               ฯ เปน คำ สร้อย แก่ เกษม สันต์.
กะสาย (27:36)
         น้ำ ท่า หฤๅ น้ำ ดอกไม้ หฤๅ น้ำ สุรา หฤๅ น้ำ สิ่ง อื่น ต่าง ๆ ที่ สำหรับ แซก ละลาย อยา นั้น.
กะสม (27:37)
         ไม้ ที่ สำหรับ ม้วน ผ้า ใน กึ่ ธอ หูก นั้น.
กะส่าว (27:38)
         เสียง คน พูด ไม่ ออก เหมือน อย่าง คน ป่วย เปน โรค ลง ราก นั้น.

--- Page 28 ---
กะสวย (28:1)
         ของ ทำ ด้วย ไม้ กล้าย กับ เรือ สำหรับ ใส่ หลอด ด้วย พุ่ง ไป พุ่ง มา เมื่อ ธอ ผ้า นั้น.
กะเสาะกะแสะ (28:2)
         อาการ เด็ก หฤๅ ผู้ ใหญ็ เปน ไข้ หวัด ไข้ ไอ เล็ก น้อย แต่ ไม่ สู้ เจ็บ มาก นั้น.
กะหาปะนะ (28:3)
         ฯ เปน สับท์ แปล ทับ ตัว ว่า กะหาปะนะ, บาง ที ว่า เงิน ตำลึง หนึ่ง, แต่ พิเคราะ เหน ว่า จะ เปน เงิน เรียน.
กะแห (28:4)
         ปลา อย่าง หนึ่ง ตัว เล็ก ๆ หาง แดง อยู่ ที่ น้ำ จืด นั้น.
กะหำ (28:5)
         ของ ที่ ลับ ชาย เปน เม็ด กลม ๆ สอง เม็ด เหมือน ไข่ นั้น.
กะหาง (28:6)
         คน ผู้ ชาย ที่ มี ผี ปีสาจ เข้า สิง อยู่ เอา กะด้ง ทำ ปีก เอา สาก ทำ หาง, บิน ไป เที่ยว กิน ของ โสกโครก.
กะหัฐ (28:7)
         ฯ คือ คน ไม่ ได้ บวช เปน ฆะราวาศ อยู่.
กะหืดกะหอย (28:8)
         อาการ คน หฤๅ สัตว ทำ การ หนัก หฤๅ วิ่ง เหนื่อย เต็ม กำลัง, แล้ว อยุด ลง หาย ใจ หอบ เหมือน จับ หืด นั้น.
กะหัม (28:9)
         เขา เรียก ของ ที่ ลับ แห่ง ชาย ว่า กะหัม บ้าง.
กะหึม (28:10)
         เสียง คน หฤๅ สัตว ต่าง ๆ มี ช้าง เปน ต้น กระทำ ให้ เสียง ดัง ก้อง อยู่ ใน ฅอ นั้น.
      กะหึม ครึม คร่ำ (28:10.1)
               คือ คน หฤๅ สัตว ทำ เสียง ขู่ คำราม อยู่ นั้น.
กะหาย (28:11)
         ระหาย, คน หฤๅ สัตว ให้ อยาก น้ำ เปน กำลัง กิน บ่อย ๆ.
กะโหย หิว (28:12)
         ระหวย หิว, ใจ คน หฤๅ สัตว ให้ อยาก เข้า อยาก น้ำ หฤๅ อยาก อาหาร ทั้ง ปวง ให้ หิว อ่อน ถอย กำลัง ลง นั้น.
กะเฬวะระ (28:13)
          ฯ ว่า ซาก ศภ คน หฤๅ สัตว ที่ ตาย แล้ว นั้น.
      กะเฬวะราก (28:13.1)
               ซากศภ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า รูป กาย คน ตาย
กะฬ่อ กะแฬ่ (28:14)
         เสียง คน ที่ จะ ใกล้ ตาย พูด อยู่ ใน ฅอ อ้อแอ้ เสียง ไม่ ชัด นั้น.
กะแอ (28:15)
         ลูก ควาย เล็ก ๆ หฤๅ ทารก ที่ พึ่ง คลอด ใหม่ ๆ นั้น.
กะอักกะอาย (28:16)
         ผะอำผะอาก, คน ทำ ผิด ไว้ มี ความ กลัว หฤๅ ความ อาย พูด ไม่ ใคร่ จะ ออก นั้น.
กะอืดกะออด (28:17)
         บ่น ออดแอด, อาการ คน มัก บ่น เล็ก ๆ น้อย ๆ จู้ จี้ ว่า บ่น กะอืด กะออด.
กะออดกะแอด (28:18)
         บ่น ปอดแปด, คำ คน เจ็บ ไข้ เล็ก น้อย ไม่ สะบาย แล้ว มัก บ่น ออดแอด นั้น.
กะออม (28:19)
         ม่อ ฅอ ยาว สำหรับ ตัก น้ำ ทำ ด้วย ดิน นั้น.
กะแอม (28:20)
         คือ เสียง เขา กระทำ ให้ ดัง ใน ฅอ เมื่อ เสมหะ มัน ติด นั้น.
กะอ้อม กะแอ้ม (28:21)
         กะอ้อกะแอ้, อาการ ที่ อ้าย ผู้ ร้าย ทำ ความ ชั่ว ไว้, ครั้ง กระลาการ เขา ซัก ถาม พูด ไม่ ใคร่ ออก ทำ อ้อมแอ้ม ไป.
กก (28:22)
         ต้น หญ้า อย่าง หนึ่ง ต้น เปน สาม เหลียม, มัก ขึ้น อยู่ ที่ ทุ่ง นา สำหรัป ใช้ สาน เสื่อ เปน ต้น.
      กก ลังกา (28:22.1)
               ต้น หญ้า อย่าง หนึ่ง ต้น กลม ๆ, สำหรับ ใช้ สาน เสื่อ บ้าง, ทำ อยา บ้าง.
กกนอน (28:23)
         อาการ คน หฤๅ สัตว ไป ปลอบ ให้ ลูก นอน, แล้ว ตัว ก็ นอน อยู่ ด้วย.
กกไม้ (28:24)
         โคน ไม้ ทั้ง ปวง, เปน คำ ชาว เหนือ.
กก ขา (28:25)
         คือ ต้น ขา.
กัก (28:26)
         การ ที่ ชาว ด่าน ขนอน หฤๅ ที่ ใด ๆ เขา ห้าม ปราม ผู้ คน ไว้ มิให้ ไป มา นั้น.
      กักกัน (28:26.1)
               ขัง กัน, การ ที่ คน พวก นี้ มัน กัก พวก นั้น ไว้ ไม่ ให้ ไป, หฤๅ เขา กัน คน ทั้ง ปวง ไว้ หมด.
      กักขัง (28:26.2)
               การ ที่ ทำมรง ผู้คุม มัน เอา คน โทษ ใส่ไว้ ใน คุก ใน ตะราง หฤๅ ทิม ไม่ ให้ ไป ไหน ได้ นั้น.
      กัก ของ (28:26.3)
               การ ที่ สินค้า หฤๅ เข้า ของ สิ่ง ใด ยัง หา ได้ ราคา ไม่, เขา กด ใว้ กอ่น ยัง ไม่ ขาย นั้น.
      กัก คน (28:26.4)
               ขัง คน, การ ที่ เกน คน มา ไว้ หลาย ร้อย หลาย พัน แล้ว กด ไว้ ไม่ ปล่อย ให้ เป นั้น.
      กัก แจ (28:26.5)
               ขัง แจ, การ ที่ คน หฤๅ สัตว กัก ไว้ แล้ว, คอย วะวัง ไม่ ให้ คลอด ไป ไหน ได้ เลย.
กักขะละ (28:27)
         ฯ ว่า หยาบ ข้า, ว่า กะด้าง.
กัก ด่าน (28:28)
         การ ที่ ตั้ง ด่าน ไว้ คอย กัก ผู้ คน มิ ให้ หนี ไป ได้ นั้น.
      กัก ตัว ไว้ (28:28.1)
               ขัง ตัว ไว้, การ ที เขา จับ ตัว คุม ไว้ มิให้ หลีก หนี หาย ไป ได้.
      กัก แพ ไว้ (28:28.2)
               ขัง แพไว้, การ ที่ แพ ซุง หฤๅ แพ เสา แพ ไม้ ไผ่ ล่อง มา เขา ห้าม ไว้ ไม่ ให้ ไป นั้น.
      กักเรือ (28:28.3)
               ขังเรือ, การ ที่ เขา ห้าม ไม่.ให้ เรือ เล็ก เรือ ใหญ่ ทั้ง ปวง, ที่ ล่อง ลง มา หฤๅ ขึ้น ไป นั้น.
      กักไว้ (28:28.4)
               การ ที่ ห้าม คน หฤๅ ห้าม แต่ บันดา สิ่ง ของ ทั้ง ปวง มิให้ ซื้อ ขาย หฤๅ เข้า ออก ไป มา นั้น.
กั๊ก (28:29)
         เส้น ดำ ที่ เขา ทำ ไว้ เปน สี่ แพร่ง เหมือน ตีน กา สำหรับ เล่น ถั่ว หฤๅ โป นั้น.

--- Page 29 ---
กาก (29:1)
         สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, เช่น อย่าง มพร้าว, หฤๅ เข้า สาร, แล แป้ง เปน ต้น, เขา คั้น เอา กะทิ เสีย แล้ว หฤๅ เก็บ เอา เข้า สาร เสีย แล้ว สิ่ง ที่ เหลือ จาก นั้น ว่า กาก
      กากขยาก (29:1.1)
               สิ่ง ของ ที่ หยาบ เช่น อย่าง ฝุ่น ฝอย, หฤๅ ผ้า เนื้อ หยาบ, หฤๅ คน แล สัตว ที่ เนื้อ หยาบ.
      กาก เข้า (29:1.2)
               เข้า เปลือก ปน อยู่ ด้วย เข้า สาร เล็ก น้อย เข้า เปลือก นั้น ว่า กาก เข้า.
      กาก มะพร้าว (29:1.3)
               มะพร้าว ที่ ขูด ออก คั้น เอา มัน เสีย สิ้น แล้ว, ที่ เยื้อ ยัง เหลือ อยู่ นั้น.
      กาก ร่าง (29:1.4)
               คือ หนังสือ ที่ เขียน ระ ๆ ลง ไว้ ยัง ไม่ เรียบ เรียง ดี นั้น.
กิก (29:2)
         เลียง ของ ทั้ง ปวง เช่น เครื่อง แก้ว เปน ต้น กะทบ กัน, ว่า เสียง ดัก กิก.
กีก (29:3)
         คน ดี ใจ หัวเราะ เสียง ดัง กีก ๆ มี บ้าง.
กึก (29:4)
         เสียง เหมือน หนึ่ง ถ่อ หฤๅ หลัก ปัก ลง ไป ใน น้ำ, ถูก ฅอ หฤๅ ขอน ไม้ แล้ว กะท้ง ฟัง ดู เสียง ๆ นั้น ว่า ดัง กึก.
กึกกัก (29:5)
         คือ เสียง เช่น คน ถือ ไม้ ท้าว เดิร มา เสียง ดัง กึกกัก นั้น.
      กึกก้อง (29:5.1)
               เสียง ปืน, หฤๅ เสีง ฟ้า ร้อง, หฤๅ ข่าว ดี ข่าว ร้อย, ที่ เล่า ฦๅ กัน หนัก นั้น.
กุก (29:6)
         เสียง เฆาะ ปะ ตู, หฤๅ เสียง เดิร ใน ห้อง, หฤๅ ไก่ ตัว ผู้ เรียก ไก่ ตัว เมีย นั้น.
กุกกัก (29:7)
         ความ คล้าย กับ กึกกัก นั้น.
กูก (29:8)
         เสียง นก อย่าง หนึ่ง ชื่อ นก เค้า, มัน มัก ร้อง ใน เพลา กลาง คืน เสียง ดัง อย่าง นั้น.
เกก (29:9)
         ไม้ ที่ ปัก ไม่ ตรง, หฤๅ ถือ ท้าย เรือ ไม่ ตรง, หฤๅ คน พูด ไม่ ตรง พูด ไม่ เข้า เพื้อน ว่า เกก.
เก็กมะเหรก (29:10)
         คือ คำ พูด ผิด ขวาง ไป, เขา เข้า ใจ ว่า ถูก นั้น.
แกก (29:11)
         เสียง ลูก นก แก้ว เล็ก ๆ, มัน ร้อง ดัง แกก ๆ นั้น.
โกก (29:12)
         คอม, ของ ทำ ด้วย ไม้ งอ ๆ สำหรับ ใส่ ฅอ ควาย งัว คราด นา ไถ นา ลาก เลื่อน.
กอก (29:13)
         คน เอา ม่อ กะปุก หฤๅ เขา งัว มา ทำ เปน เครื่อง ให้ ดูด เลือก ออก บ้าง, ดูด ลม ออก บ้าง ว่ากอก.
      กอก นม (29:13.1)
               คือ ดูด น้ำ นม ร่ำ ไป นั้น.
      กอก เลือด (29:13.2)
               การ ที่ ดูด เลือด คน เอา เครื่อง กอก ดูด เลือดให้ ออก.
      กอก ลม (29:13.3)
               การ ที่ คน เอา เครื่อง กอก ให้ ดูด ลม ออก.
เกือก (29:14)
         ของ ทำ ด้วย หนัง ทำ ด้วย สิ่ง อื่น บ้าง สำหรับ ใส่ ตีน.
      เกือก คู่ หนึ่ง (29:14.1)
               คือ เกือก มี ทั้ง สอง ข้าง นั้น.
กง (29:15)
         ทำ ด้วย ไม้ รูป งอน ๆ สำหรับ ติด ลง ที่ ท้อง เรือ, หฤๅ ที่ จักร์ เกียน จักร์ รถ บ้าง, ว่า กง จักร์.
      กงกาง (29:15.1)
               ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ขึ้น อยู่ ตาม ชาย ทะเล, มี ราก เกะกะ อยู่ บน ดิน ใช้ ทำ ฟืน บ้าง ทำ ฟัน สี บ้าง.
      กงเกง (29:15.2)
               ของ ที่ เอา ผ้า มา ตัด เอย็บ เปน รูป ขา สอง ข้าง สำหรับ นุ่ง ตาม ทำ เนียม จีน แขก ฝรั่ง อังกฤษ วิลันดา นั้น.
      กง เกียน (29:15.3)
               ของ ทำ ด้วย ไม้ เปน วง กลม รอบ เปน ขา เกียน นั้น.
      กง จักร์ (29:15.4)
               ของ เปน วง กลม มี จักร์ รอบ เหมือน ตรา เงิน บาท.
      กง รถ (29:15.5)
               ของ ทำ ด้วย ไม้ บ้าง ด้วย เหล็ก บ้าง เปน วง กลม รอบ ที่ เปน ขา รถ นั้น.
      กง เรือ (29:15.6)
               ของ ทำ ด้วย ไม้ เปน รูป งอน ๆ สำหรับ ติด ลง ที่ ท้อง เรือ ให้ มั่น คง.
      กงศี (29:15.7)
               โรง หวย หฤๅ โรง โป หฤๅ โรง น้ำ ตาน ทราย เปน ต้น, ที่ เปน ของ หลวง, จีน ว่า เปน ของ กงศี.
      กงสุล (29:15.8)
               เปน ชื่อ ตำแหน่ง ขุนนาง ว่า ฝ่าย ชาว นอก ประเทษ.
      กง พัด (29:15.9)
               ของ ทำ ด้วย ไม้ ยาว ประมาณ สอก หนึ่ง เจาะ รู หัว ท้าย ใส่ ไม้ ขวาง สำหรับ พัด ด้าย. อนึ่ง เสา ที่ เจาะ รู ใส่ ไม้ ขวาง ฝัง ดิน ประสงค์ จะ มิ ให้ ซุด นั้น.
ก่ง (29:16)
         ของ ที่ มี สาย เหมือน อย่าง กะสุน แล เก้าทัน เปน ต้น, เมื่อ มัน ลด อยู่ นั้น หา เรียก ว่า ก่ง ไม่, ครั้น โน้ม ลง แล้ว เหนี่ยว สาย ขึ้น ผูก ไว้ ตึง ว่า ก่ง.
      ก่ง กระสุน (29:16.1)
               กะสุน นั้น ทำ ด้วย ไม้, มี สาย สำหรับ ยิง เมื่อ ก่ง ลง แล้ว ขึ้น สาย ให้ ตึง ไว้.
      ก่ง เก้า ทัน (29:16.2)
               ความ เหมือน กัน กับ ก่ง กะสุน.
      ก่ง ทุน (29:16.3)
               เงิน ที่ พ่อ แม่ หญิง จะ เอา เปน ทุน ให้ มาก จึ่ง จะ ให้ ลูก สาว นั้น ว่า ก่ง ทุน.
      ก่ง ธนู (29:16.4)
               ความ เหมือน กัน กับ ก่ง กะสุน. อนึ่ง เปน ชื่อ บ้าน อยู่ ใน แขวง กรุง เก่า.
      ก่ง น่าไม้ (29:16.5)
               ความ เหมือน กัน กับ ก่ง กะสุน.
      ก่ง แร้ว (29:16.6)
               การ ที่ คน น้อม คัน แร้ว ลง เอา สาย ขัด ไว้, แล้ว ทำ เปน บ่วง ดัก นก.

--- Page 30 ---
      ก่ง สิน (30:16.7)
               ความ เหมือน กัน กับ ก่ง กะสุน. อนึ่ง เปน ชื่อ ตำแหน่ง ขุนนาง ว่า ก่ง สิน.
      ก่งษร (30:16.8)
               ความ เหมือน กัน กับ ก่ง กะสุน. อนึ่ง เปน ชื่อ ตำแหน่ง ขุนนาง บ้าง.
กั๋ง (30:1)
         คือ เสียง ดัง กั๋ง มี บ้าง.
กัง (30:2)
         เสียง คน ยิง ปืน หฤๅ เสียง ควาย งัว ชน กัน ว่า ดัง เสียง กัง.
กังกึง (30:3)
         เปน เสียง ดัง กังกึง เหมือน เสียง คน เฆาะ เรือ เปน ต้น.
กังเกง (30:4)
         ความ เหมือน กับ กงเกง คือ ผ้า ที่ ตัด เย็บ นุ่ง ตาม ทำ เนียม เจ็ก แขก ฝรั่ง.
กังเกียง (30:5)
         รู รอด หฤๅ รู ไม้ อื่น จะ เอา รอด แล ไม้ อื่น ใส่ เข้า ใน รู นั้น, ยัง มิ ได้ ด้วย เหลี่ยม มัน ขัด กัน อยู่, ว่า กัง เกียง.
กังขา (30:6)
         ฯ ว่า ความ สงไสย.
กังวล (30:7)
         ธุระ ทั้ง ปวง ต่าง ๆ ว่า กังวล.
กังวาน (30:8)
         คือ เสียง คน หฤๅ เสียง ระฆัง ที่ ดัง ก้อง ครวน อยู่ นั้น.
กังสะฎาร (30:9)
         ระฆัง วง เดือน, สำหรับ พวก พระสงฆ์ ตี สัญา กัน.
กังหัน (30:10)
         คือ ตัว จังหัน ที่ หมุน ไป เพราะ ลม นั้น.
กั้ง (30:11)
         สัตว อย่าง หนึ่ง ตัว เหมือน กุ้ง เล็ก ๆ, แต่ ก้าม นั้น ข้าง หนึ่ง โต ข้าง หนึ่ง เล็ก.
กั้งกือ (30:12)
         เปน ชื่อ สัตว มี ท้าว มาก จำพวก หนึ่ง ตัว เท้า ดินสอ ไม้ สี มัน เหลื่อม ๆ, ยาว ประมาณ สัก หก นิ้ว.
กาง (30:13)
         การ ที่ คน ยก แขน ทั้ง สอง ขึ้น เหยีด ออก ไป, หฤๅ แยก ขา ทั้ง สอง ออก ไว้, หฤๅ คลี่ใบ ออก ไว้ เปน ต้น.
      กาง กร (30:13.1)
               คือ กาง มือ ออก ทั้ง สอง ข้าง.
      กาง กั้น (30:13.2)
               อา การ ที่ คน ยก แขน ทั้ง สอง ขึ้น, แล้ว เหยียด ออก ห้าม ไว้. อนึ่ง พูด ป้อง กัน ด้วย วาจา, ว่า พูด กาง กั้น.
      กาง เกียง (30:13.3)
               คือ ของ เยื้อง กัน ไม่ ตรง กัน.
      กาง ขา (30:13.4)
               คน หฤๅ สัตว แยก ขา ทั้ง สอง ออก ไป ให้ ห่าง กัน.
      กาง กรด (30:13.5)
               กั้น กรด, คือ กาง ร่ม คัน ยาว ที่ กั้น จ้าว นั้น.
      กาง เขน (30:13.6)
               ชื่อ ไม้ อย่าง หนึ่ง คน ทำ ให้ ตั้ง ขึ้น อัน หนึ่ง ขวาง อัน หนึ่ง อย่าง ตีน ครุ. อนึ่ง เปน ชือ นก กาง เขน.
      กาง แขน (30:13.7)
               อา การ ที่ คน ยก แขน ทั้ง สอง ข้าง ออก ไว้.
      กาง ใบ (30:13.8)
               การ ที่ คน คลี่ ใบ กำปั่น หฤๅ ใบ ตะเภา ออก ไว้.
      กาง ปีก (30:13.9)
               สัตว ที่ มี ปีก ยก ปีก ทั้ง สอง ขึ้น แผ่ ออก ไป.
      กาง มุ้ง (30:13.10)
               การ ที่ คน ผูก มุ้ง ขึ้น แล้ว ขึง ออก ไป.
      กาง ร่ม (30:13.11)
               คือ ทำ ร่ม ที่ หุบ ให้ มัน แผ่ ออก บัง ฝน แล แดด นั้น.
      กาง หู (30:13.12)
               งัว ควาย หฤๅ ช้างม้ามัน ยกหู แผ่ ออกคอย ฟัง เสียง ใด ๆ.
ก้าง (30:14)
         กะดูก ปลา ทั้ง ปวง ว่า ก้าง
      ก้าง ปลา ขาว (30:14.1)
               ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง กิ่ง เปน หนาม ต้น ไม่ สู่ โต, สำ หรับ ใช้ ทำ ยา.
      ก้าง ปลา แดง (30:14.2)
               ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ต้น เปน เครือ ยอด ก่อน ศี แดง, ใช้ ทำ ยา ได้.
กิง (30:15)
         ฯ ว่า ดัง หฤๅ อัน ใด, อะไร, อย่าง ไร.
กิงกะระณา (30:16)
         ฯ ว่า เหตุ ดัง หฤๅ เหตุ อัน ใด เหตุ อะไร เหตุ อย่างไร
กิงบุริโส (30:17)
         ฯ ว่า ชาย ดัง หฤๅ ความ เหมือน กัน กับ กิง
กิ่ง (30:18)
         แขนง, สิ่ง ที่ แตก งอก ออก จาก ต้น ไม้ ทั้ง ปวง. อนึ่ง งา ช้าง ทั้ง ปวง ที่ มี อัน หนึ่ง สอง อัน ว่า กิ่ง หนึ่ง สอง กิ่ง
      กิ่ง ก้าน (30:18.1)
               คือ กิ่ง ที่ แตก ออก จาก ก้าน. อนึ่ง ทั้ง กิ่ง ทั้ง ก้าน เรียก รวบ เข้า ด้วย กัน ว่า กิ่ง ก้าน.
      กิ่ง ค่าคบ (30:18.2)
               กิ่ง ชั้น ต้น แรก ถึง ที่ ต้น ไม้ ทั้ง ปวง.
      กิ่ง เมือง (30:18.3)
               คือ เมือง นั้น เปน เมือง ขึ้น กับ เมือง หลวง.
      กิ่ง ไม้ (30:18.4)
               สิ่ง ที่ กิ่ง แตก งอก ออก จาก ต้น ไม้ ทั้ง ปวง
      กิ่ง ตะเกียง (30:18.5)
               คือ เมือง ขึ้น กับ เมือง หลวง นั้น.
      กิ่ง ยอด (30:18.6)
               กิ่ง ที่ แตก งอก ออก จาก ยอด ไม้ ทั้ง ปวง.
      กิ่ง ษาขา (30:18.7)
               กิ่ง ต้น ไม้ ทั้ง ปวง ที่ มี กิ่ง ยาว ใหญ่ นั้น.
      กิ่ง รุงรัง (30:18.8)
               ต้น ไม้ ทั้ง ปวง ที่ มี กิ่ง รก เกะกะ มาก นั้น.
กิ้งกือ (30:19)
         กังกือ, สัตว อย่าง หนึ่ง ตัว เท่า นิ้ว มือ บ้าง เล็ก กว่า นิ้ว มือ บ้าง, มี ตีน มาก ประมาณ สัก ร้อย หนึ่ง.
กิ้งก่า (30:20)
         สัตว อย่าง หนึ่ง ตัว เล็ก ๆ เท่า จิ้ง เหลน, สี่ ตีน ฅอ แดง ถ้า เหน สิ่ง ใด ทำ หัว ผงก ๆ.
กึง (30:21)
         เสียง ที่ คน กะทุ้ง พื้น ตึก หฤๅ สิ่ง ใด ๆ เสียง ดัง อย่าง นั้น.
กึงกัง (30:22)
         เสียง ที่ คน ทำ ตะเภา หฤๅ ต่อ กำปั่น ดัง อย่าง นั้น.
กึ่ง (30:23)
         สิ่ง ที่ เปน ท่ำ กลาง หฤๅ ครึ่ง หนึ่ง ว่า กึ่ง
      กึ่ง กลาง (30:23.1)
               ท่ำกลาง, ของ ที่ วัด ไป ถึง กลาง แล้ว ได้ ครึ่ง หนึ่ง นั้น.
      กึ่ง กัน (30:23.2)
               ครึ่ง กัน, ของ ที่ วัด ข้าง นี้ ไป ก็ เท่า กัน, ที่ วัด ข้าง โน้น มา ก็ เท่า กัน นั้น.
      กึ่ง เดือน (30:23.3)
               ครึ่ง เดือน, นับ แต่ วัน ขึ้น หนึ่ง ไป ถึง กลาง เดือน.
      กึ่ง ปี (30:23.4)
               ครึ่งปี, นับ แต่ เดือน ต้น ปี ไป ถึง กลาง ปี.
      กึ่ง โมง (30:23.5)
               กลาง โมง หฤๅ ครึ่ง โมง.
      กึ่ง วัน (30:23.6)
               กลาง วัน หฤๅ ครึ่ง วัน.
      กึ่ง ทาง (30:23.7)
               กลาง ทาง หฤๅ ครึ่ง ทาง

--- Page 31 ---
      กึ่ง อายุ (31:23.8)
               คน กำหนด อายุ แปดสิบปี เปน ไขย, ถึง จะยิ่ง ขึ้น ก็ ไม่ มาก จะอย่อน ลง มา ก็ ไม่ มาก, ถ้า ได้ สี่ สิบ ว่า กึ่ง อายุ.
      กึ่ง หนึ่ง (31:23.9)
               คือ ครึ่ง หนึ่ง.
กุง (31:1)
         เสียง คน กะทุ้ง ท้อง เรือ, หฤๅ กะทุ้ง กะดาน ดัง อย่าง นั้น.
กุ้ง (31:2)
         สัตว อย่าง หนึ่ง อยู่ ใน น้ำ ตัว เล็ก บ้าง โต บ้าง, มี กรี แหลม ยาว อยู่ หัว เปลือก อยู่ นอก เนื้อ กิน ดี.
      กุ้ง ก้าม กราม (31:2.1)
               สัตว อยู่ ใน น้ำ ตีน หลาย อัน, มีเปลือก อยู่ นอก เนื้อ, มี ก้าม ศี เขิยว เปน หนาม, โต เท่า นิ้ว มือ สอง อัน กินดี.
      กุ้ง เค็ม (31:2.2)
               กุ้ง ตัว เล็ก ๆ เอา เกลือ ใส่ ต้ม ด้วย กัน ให้ เค็ม.
      กุ้ง เคย (31:2.3)
               กุ้ง ตัว เล็ก ๆ ที่ สำหรับ ทำ กะปิ นั้น.
      กุ้ง ซ่ม (31:2.4)
               กุ้ง อย่าง หนึ่ง ตัว เล็ก ๆ ที่ ใส่ เกลือ แล้ว, ใส่ เข้าสุก ด้วย, ดอง หมัก ให้ เปรี้ยว นั้น.
      กุ้ง ตะกาษ (31:2.5)
               กุ้ง อย่าง หนึ่ง ตัว เล็ก ๆ, เปลือก แขง มี อยู่ ตาม นา ตาม คลอง โดย มาก.
      กุ้ง ตะเข็บ (31:2.6)
               กุ้ง อย่าง หนึ่ง ตัว เล็กๆ แบน ๆ เหมือน ตะเข็บ เสื้อ.
      กุ้ง นาง (31:2.7)
               กุ้ง อย่าง หนึ่ง ตัว โต เท่า ด้ำ ภาย, ดู เหมือน จะ เปน กุ้ง สาว ๆ.
      กุ้ง นิ่ม (31:2.8)
               กุ้ง ทั้ง ปวง ที่ ลอก คราบ ใหม่ ๆ เปลือก ยัง อ่อน นุ่ม นิ่ม อยู่ นั้น.
      กุ้ง ฝอย (31:2.9)
               กุ้ง ตัว เล็ก ๆ แล ดู เปน ฝอย อยู่ นั้น.
      กุ้ง ป่น (31:2.10)
               กุ้ง ที่ เขา ตำ ให้ ละเอียด เปน ผง นั้น.
      กุ้ง ฟัด (31:2.11)
               กุ้ง แห้ง ที่ เขา ฟัด ให้ เปลือก ออก เสีย ให้ หมด ยัง เหลือ แต่ เนื้อ นั้น.
      กุ้ง ย่าง (31:2.12)
               กุ้ง ที่ เขา เสียบ ไม้ ย่าง ไฟ ให้ สุก นั้น.
      กุ้ง ยิง (31:2.13)
               ฝี หัว เล็ก ๆ มัน ขึ้น ที่ ขอบ ตา นั้น.
      กุ้ง แห้ง (31:2.14)
               กุ้ง ที่ เขา ต้ม แล้ว ตาก แดด ให้ แห่ง นั้น.
เก๋ง (31:3)
         ตึก หฤๅ ศาล จ้าว ที่ หลัง คา นั้น ทำ เปน เครือ กระหนก งอน งอน นั้น.
เก่งพั้ง (31:4)
         ทำ ด้วย ไม้ เปน หลัง คา เล็ก บ้าง โต บ้าง ใส่ ที่ เรือ สำปั้น เปน ต้น.
เก็ง (31:5)
         ผ้า เล็ก เย็บ ติด แซก เข้า ที่ รักแร้ เสื้อ บ้าง ที่ บั้นเอว เสื้อ บ้าง ประสงค์ จะให้ หลวม.
เก่ง (31:6)
         คน ที่ มี ฝี มือ เข้ม เขง กล้า หาร, หฤๅ คน ที่ มี วิชา ต่าง ๆ ฉลาด กว่า คน อื่น ว่า คน เก่ง.
      เก่ง กาจ (31:6.1)
               การ ที่ คน หฤๅ สัตว ดุ ร้าย มี ฝี มือ เข้ม แขง กล้า หาร ไม่ กลัว ใคร.
      เก่ง เต็ม ที (31:6.2)
               คือ เก่ง นัก, กาจ ฉะกัน นัก.
เก้งก้าง (31:7)
         อาการ คน หฤๅ สัตว ที่ สูง ใหญ่ ไม่ รู้ จัก ทำ การ อะไร ไม ถูก ยืน เกะกะ กีด ขวาง คน อื่น.
แกง (31:8)
         กับ เข้า ที่ คน เอา พริก กะปิ หัว หอม กะเทียม ตำ ลง ด้วย กัน ให้ ละเอียด, แล้ว ละลาย น้ำ เอา ผัก หฤๅ ปลา ใส่ ด้วย กัน ตั้ง ไฟ ให้ สุก.
      แกง กะทิ (31:8.1)
               เขา เอา มะพร้าว ขูด ออก แล้ว เอา น้ำ ใส่ บิด เอา แต่ กะทิ แล้ว เอา เครื่อง แกง ใส่ ลง ตั้ง ไฟ ให้ สุก.
      แกง กะทือ (31:8.2)
               เขา เอา เครื่อง แกง มี พริง เปน ต้น, ตำ ให้ ละเอียด ปรุง ใส่ ใน ม่อ แกง แล้ว เอา หัว กะทือ กับ ปลา ไหล ใส่ ด้วย ตั้ง ไฟ ให้ สุก กิน กับ เข้า.
      แกง ไก่ (31:8.3)
               เขา เอา เครื่อง แกง ปรุง ตำ ให้ ละเอียด ละลาย น้ำ ใส่ ใน ม่อ แล้ว ตั้ง ไฟ เอา เนื้อ ไก่ ใส่ ใน ม่อ นั้น.
      แกง ขั้ว (31:8.4)
               เขา เอา กะทิ หฤๅ น้ำ มัน หมู ใส่ ใน ม่อ หฤๅ กะทะ แล้ว เอา เครื่อง แกง ตำ ใส่ ลง เอา เนื้อ ปลา หฤๅ เปด ไก่ ใส่ ลง ใน นั้น ขั้ว ให้ สุก
      แกง ซ่ม (31:8.5)
               เขา เอา เครื่อง ปรุง มี พริก เปน ต้น, ตำ ละลาย ทำ น้ำ แกง แล้ว, เอา ผัก ปลา ใส่ ลง แล้ว เอา น้ำ ซ่มขาม ใส่ ลง ด้วย, แล้ว ตั้ง ไฟ ให้ สุก.
      แกง ต้ม โคล้ง (31:8.6)
               เขา เอา หัว ปลา แห้ง แกง กับ ผัก บุ้ง, ใส่ ใบ มะฃาม อ่อน บ้าง, ซ่ม มะฃาม บ้าง, รศ เปรี้ยว ๆ เค็ม ๆ.
      แกง ต้ม ซ่ม (31:8.7)
               เขา เอา เนื้อ ปลา ใส่ ลง ใน น้ำ แกง เครื่อง ปรุง แล้ว, ใส่ น้ำ ตาน ด้วย, ใส่ ซ่ม ด้วย, ภอ ควร รศ เปรียว ๆ หนาว ๆ.
      แกง ถั่ว (31:8.8)
               เขา เอา ถั่ว หั่น ใส่ ลง ใน น้ำ แกง เครื่อง ปรุง, แล้ว ใส่ปลา สด ลง ด้วย ตั้ง ไฟ ให้ สุก.
      แกง นก (31:8.9)
               เขา เอา เนื้อ นก หั่น ใส่ ลง ใน น้ำ แกง เครื่อง ปรุง แล้ว เอา ผัก ใส่ ด้วย ภอ ควร ตั้ง ไฟ ให้ สุก
      แกง เนื้อ (31:8.10)
               เขา เอา เนื้อ สมัน หฤๅ เนื้อ ควาย เปน ต้น, หั่น ใส่ ใน น้ำ แกง, แล้ว ใส่ ผัก บ้าง ตั้ง ไฟ ให้ สุก.
      แกง เต่า (31:8.11)
               เขา เอา เนื้อ เต่า ใส่ ลง ใน ม่อ แกง เครื่อง ปรุง นั้น ตั้ง ไฟ ให้ สุก.
      แกง แตง กวา (31:8.12)
               เขา เอา แตง กวา หั่น ใส่ ใน ม่อ แกง เครื่อง ปรุง นั้น ตั้ง ไฟ ให้ สุก.

--- Page 32 ---
      แกง ต้ม เค็ม (32:8.13)
               เขา เอา เนื้อ ปลา หฤๅ หมู เปด ไก่ เปน ต้น ต้ม ด้วย น้ำ ปลา ให้ สุก เค็ม ภอ ดี นั้น.
      แกง ต้ม ขิง (32:8.14)
               เขา เอา เนื้อ ปลา มี ปลา หมอ เปน ต้น ใส่ ลง ใน ม่อ แกง เครื่อง ปรุง, แล้ว เอา ขิง ใส่ ลง ด้วย.
      แกง ปลา (32:8.15)
               เขา เอา ปลา สด หั่น ใส่ ลง ใน น้ำ แกง แล้ว ใส่ ผัก บ้าง ใส่ ซ่ม บ้าง ตั้ง ไฟ ให้ สุก.
      แกง หมู (32:8.16)
               เขา เอา หมู หั่น ใส่ ลง ใน น้ำ แกง, แล้ว ใส่ ผัก ต่าง ๆ ตาม ชอบ ใจ ผัด ให้ สุก.
      แกง เปด (32:8.17)
               เขา เอา เปด มา หั่น ใส่ ลง ใน น้ำ แกง แล้ว ปรุง เครื่อง ต่าง ใส่ ๆ ตาม ขอบ ใจ, ผัด ให้ สุก.
      แกง บวน (32:8.18)
               เขา เอา ตับ หมู หฤๅ เนื้อ อื่น บ้าง หั่น ใส่ ลง ใน น้ำ แกง, แล้ว เอา เครื่อง ปรุง ใส่ ใน แกง นั้น ใส่ น้ำ ตาน ด้วย.
      แกง อยา (32:8.19)
               เขา เอา พริก ขิง ดีปลี กะทือ ไพล เปน เครื่อง ที่ เขา ใช้ ทำ น้ำ ยา มา แกง, แล้ว เอา ปลา ใส่ บ้าง เล็ก น้อย.
      แกง ร้อน (32:8.20)
               เขา เอา หมู เปด ไก่ ปลิง ทะเล ปลา หมึก วุ้น เส้น เต้าหู้ กุช่าย ผักกาด กุ้ง ใส่ ลง ด้วย กัน, แล้ว เอา เครื่อง ใส่ ด้วย ต้ม ให้ สุก กิน ร้อน ๆ.
      แกง เลียง (32:8.21)
               เขา เอา ปลา อย้าง กะปี เกลือ หัว หอม, ตำ ละลาย น้ำ เปน น้ำ แกง, แล้ว ตั้ง ไฟ ให้ ร้อน ใส่ ผัก ตาม ชอบ ใจ.
      แกง ฉู่ฉี่ (32:8.22)
               เขา เอา กะทิ หฤๅ น้ำ มัน ใส่ ใน กะทะ เอา เครื่อง แกง ใส่ ลง ไป ใน นั้น, แล้ว เอา ปลา สด หฤๅ หมู ใส ลง ขั้ว ให้ ลุก.
      แกง อ่อม (32:8.23)
               เขา เอา กะทิ ใส่ ลง ใน มอ แกง, แล้ว เอา เครื่องแกง ปรุง ตำ ใส่ ลง. แล้ว เอา ปลาดุก หั่น ใส่ ลง, แล้ว เอา มะระ ใส่ ลง ด้วย.
แก่ง (32:1)
         (dummy head added to facilitate searching).
      แก่ง หิน (32:1.1)
               ราก ภู เขา อยั่ง ลง มา ถึง คลอง หฤๅ แม่ น้ำ, แล้ว ขวาง น้ำ อยู่ ตาม ทาง ปลาย น้ำ, เรือ แพ มัก ติด ว่า แก่ง.
      แก่ง เกาะ (32:1.2)
               แก่ง นั้น คือ หิน อยู่ ใน คลอง น้ำ กั้น น้ำ อยู่ บ้าง น้ำ ไหล ลง ได้ บ้าง, เกาะ นั้น เกิด กลาง น้ำ.
      แก่ง คอย (32:1.3)
               หิน ราก ภู เขา แห่ง หนึ่ง อยั่ง ลง มา เปน เกาะ ขวาง น้ำอยู่ ปลาย น้ำ, แควปะสัก แขวง เมือง สะระบูรีย์ ชื่อ แก่งคอย.
      แก่ง แย่ง (32:1.4)
               คือ เหน ความ ไป คละอย่าง หา เหน ลง หร้อม กัน ไม่ ปฤก ษา ไม่ ตก ลง กัน, ว่า แก่ง แย่ง.
แก้ง (32:2)
         (dummy head added to facilitate searching).
      แก้ง ก้น (32:2.1)
               คน ถ่าย อุจจาระ, แล้ว เอา ไม้ หฤๅ สิ่ง ใด เช็ด อุจจาระ ที่ ก้น นั้น.
      แก้ง ขี้ (32:2.2)
               คน ขี้ ออก มา แล้ว เอา ไม้ หฤๅ สิ่ง ใด ๆ ขูด ขี้ เสีย ให้ หมด.
โกง (32:3)
         ต้น ไม้ หฤๅ สิ่ง ของ ใด คด โอน ไม่ ตรง. อนึ่ง คน คด ใน กาย คด ใน วาจา คน ใน ใจ, ว่า โกง.
      โกง โก้ (32:3.1)
               อาการ คน หฤๅ สัตว ที่ นอน หฤๅ นั่ง คด โค้ง อย่. อนึ่ง ต้น ไม้ ที่ โค่น ลง แล้ว รากโคน ขึ้นมา คด อยู่ บนดิน ว่าโกง โก้.
      โกง เกง (32:3.2)
               อาการ ต้น ไม้ ที่ กิง ก้าน คด ข้อม เกะกะ อยู่. อนึ่ง คน ที่ โกก เกก คด ใน กาย วาจา ใจ นั้น.
      โกง กาง (32:3.3)
               ต้น ไม่ อย่าง หนึ่ง มัก อยู่ ตาม ชาย ทะเล, ราก โคน ขึ้น อยู่ เกะกะ อยู่ บน ดิน, ใช้ ทำ ฟัน สี ทำ ฟืน.
โก้ง เก้ง (32:4)
         รูป คน หฤๅ สัตว สูง เกะกะ เกิน ประมาณ, ว่า โก้งเก้ง.
โก้ง โคง (32:5)
         อาการ คน หฤๅ สัตว เอา หัว ฟุบ ลง, แล้ว ยก ก้น ขึ้น ให้ โด่ง
กอง (32:6)
         การ ที่ วาง เข้า ของ ซับ ซอ้น กัน มาก จน สูง มูน ขึ้น ไป เปน กอง อยู่. อนึ่ง หมู่ คน อยู่ มาก เปน ต้น.
      กอง การ กุศล (32:6.1)
               การ ที่ คน ชัก ชวน กัน กระทำ การ ดี การ ชอบ ด้วย กาย, หฤๅ วา จา, หฤๅ น้ำ ใจ, สั่ง สม ไว้ มาก.
      กอง ก่าย (32:6.2)
               สิ่ง ของ ใด ๆ ที่ วาง ก่าย ซ้อน สลับ กัน ขึ้น ไป หลาย ชั้น เปน กอง อยู่ นั้น.
      กอง เข้า (32:6.3)
               เข้า ที่ เขา มา ลอม ไว้ เปน กอง ๆ นั้น.
      กอง โจร (32:6.4)
               พวก ขะโมย มัน คบ หา ชัก ชวน กัน มา ซ่อง สุม เปน กอง ๆ อยู่ นั้น.
      กอง จับ (32:6.5)
               คน ซ่อง สุม กัน เปน กอง ๆ, คอย จับ คน.
      กอง ช้าง (32:6.6)
               คน พวก กรม ช้าง ควบ คุม กัน เปน กอง ๆ สำหรับ เลี้ยง ช้าง หฤๅ สำหรับ จับ ช้าง.
      กอง ซุ่ม (32:6.7)
               คน ที่ คบ คิด กัน ซุ่ม ซ่อน อยู่ เปน กอง ๆ นั้น.
      กอง ใหญ่ (32:6.8)
               สิ่ง ของ ใด ๆ กอง ไว้ เปน อัน มาก, ว่า กอง ใหญ่.
      กอง ตะเวน (32:6.9)
               พวก ที่ สำหรับ คอย เที่ยว ดู แล ใน ทาง บก ทาง น้ำ, มิ ให้ คน ร้าย แปลก ปลอม เข้า มา ได้.
      กอง ทับ (32:6.10)
               คน ที่ ไป ทับ ควบ คุม กัน ไป เปน หมู่ ๆ นั้น.
      กอง นา (32:6.11)
               ฝูง คน เปน พวก ๆ สำ หรับ ทำ นา ของ เจ้า หฤๅ ขุน นาง นั้น.
      กอง น่า (32:6.12)
               ฝูง คน เปน พวก ๆ ที่ ไป น่า กอ่น ทับ หฤๅ พวก แห่ นั้น.

--- Page 33 ---
      กอง นอก (33:6.13)
               พวก กอง ที่ ตั้ง ให้ อยู่ นอก บ้าน นอก เมือง, สำหรับ เปน พวก สว่ย ต่าง ๆ นั้น.
      กอง หนุน (33:6.14)
               คือ กอง คน พล ไพร่ เขา ตั้ง ไว้ ให้ เข้า ช่วย เมื่อ กอง น่า ธ่อ ถอย ลง.
      กอง ไฟ (33:6.15)
               ไฟ ที่ คน ติด ลุม ไว้ เปน กอง นั้น.
      กอง ฟาง (33:6.16)
               คือ ลอม ฟาง ที่ คน ทำ ไว้ เปน กอง ใหญ่ ๆ นั้น
      กอง ม้า (33:6.17)
               พวก คน ที จ้าว แล ขุน นาง ตั้ง ไว้ เปน กอง ๆ สำ หรับ เลี้ยง ม้า.
      กอง เรือ (33:6.18)
               คน พวก หนึ่ง ที่ ตั้ง ไว้ สำหรับ รัก ษา เรือ, หฤๅ สำ หรับ ทำ เรือ.
      กอง ไล่ (33:6.19)
               คน พวก หนึ่ง, ที่ ตั้ง ไว้ สำหรับ ไล่ จับ อ้าย พวก คน ร้าย.
      กอง หลัง (33:6.20)
               คือ ฝูง คน ที่ เขา เกน ให้ อยู่ เบื้อง หลัง นั้น.
      กอง ลาว (33:6.21)
               พวก ลาว ที่ ตั้ง ให้ ควบ คุม กัน อยู่ เปน กอง ๆ นั้น.
      กอง อาษาจาม (33:6.22)
               แขก พวก หนึ่ง ตั้ง ไว้ เปน กอง ตะเวน ฝ่ายทะเล.
ก่อง (33:1)
         ของ สาน ด้วย ไม้, รูป เหมือน สมุก, สำหรับ ใส่ เข้า เหนียว หฤๅ อยา สูบ.
ก้อง (33:2)
         เสียง ฟ้า ร้อง, หฤๅ เสียง ปืน ที่ ยิง ใน ดง, หฤๅ เสียง คน ที่ ก้ม หน้า ลง ไป ร้อง ใน ตุ่ม เปน ต้น.
      ก้อง กึก (33:2.1)
               คือ เสียง กึก ก้อง นั้น.
      ก้อง แก้ง (33:2.2)
               อาการ คน เมา เล่า ทำ เดิร เซ ไป ซวน มา นุ่ง ผ้า ห่ม ผ้า ไม่ เปน ปรกติ.
      ก้อง กังวาน (33:2.3)
               คือ เสียง ที่ ดัง มี กระแสง เหมือน เสียงฆ้อง ใหญ่ นั้น.
      ก้อง ดง (33:2.4)
               เสียง คน กู่ เรียก กัน หฤๅ เสียง ปืน ที่ ดัง ก้อง สนั่น ไป ใน ดง นั้น.
      ก้อง สนั่น (33:2.5)
               เสียง ที่ ดัง ก้อง สนั่น ลั่น ไป เหมือน เสียง ปืน นั้น.
เกี่ยง (33:3)
         การ ที่ คน ผู้ จ้าง กับ ลูก จ้าง, หฤๅ คน ขาย กับ คน ซื้อ เปน ต้น, ฝ่าย ผู้ จ้าง กับ ผู้ ขาย จะ ให้ แต่ น้อย, ลูก จ้าง กับ ผู้ ซื้อ จะ เอา ให้ มาก ว่า เกี่ยง.
      เกี่ยง จะ เอา (33:3.1)
               คน โลภ มัก พูดจา กระเบียด กระเสิยน เกี่ยง จะ เอา ฝ่าย เดียว.
      เกี่ยง ไม่ ให้ (33:3.2)
               คน ตะหนี่ เปน นี่ เขา, แล้ว ก็ พูดจา เกี่ยง จะ มิให้ เขา ฝ่าย เดียว.
      เกี่ยง เลี่ยง (33:3.3)
               พูด กัน จะ จ้าง ทำ การ, คน หนึ่ง ว่า จะ ให้ ค่า จ้าง น้อย, คน ลูก จ้าง จะ เอา ให้ มาก, ว่า เกี่ยง เลี่ยง.
เกื้อง (33:4)
         ชื่อ คน อย่าง นี้ ก็ มี บ้าง.
เกิ้ง (33:5)
         เปน ชื่อ คน อย่าง นั้น.
กด (33:6)
         ข่ม, คน ปัก หลัก, หฤๅ แทง ปลา ไหล กด ลง ไป ให้ แน่น ว่า กด.
      กด (33:6.1)
               ข่มขี่, ข่ม ฅอ สัตว หฤๅ คน ลง แล้ว ขึ้น ขี่ ฅอ หฤๅ ขี่ หลัง.
      กด ฅอ (33:6.2)
               ข่ม ฅอ คน หฤๅ ฅอ สัตว ลง ไว้.
      กด ความ (33:6.3)
               การ ที่ คน เปน ความ กัน, ตระลาการ กด นิ่ง ไว้ หา ชำระ ให้ ไม่, ว่า กด ความ.
      กด จม น้ำ (33:6.4)
               คน หฤๅ สัตว อยู่ ใน น้ำ เขา ทำ ให้ จม ลง ใน น้ำ, ว่า กด จม น้ำ.
      กด ประกาษ (33:6.5)
               หนังสือ ที่ พระ มะหา กระษัตร สั่งให้ แจก หนังสือ หมาย ประกาษ ให้ รู้ ทั่ว กัน.
      กด เพลืง (33:6.6)
               นก ใหญ่ จำ พวก หนึ่ง ชื่อ นก กฎ เพลืง เพราะ แค่ง ขา มัน แดง.
      กด หมาย (33:6.7)
               คำ บัญัติ ที่ พระ มหา กษัตร แต่ กอ่น ตั้ง ไว้, หฤๅ เปน ข้อ บัญัติ ที่ สมเดจ์ บรม กระษัตร ตั้ง ขึ้น ใหม่ ว่า กฎหมาย.
      กด ลง (33:6.8)
               คือ ข่ม ลง.
      กด ไว้ (33:6.9)
               ข่ม ไว้, คน ปัก หลัก, หฤๅ จับ คน แล สัตว, หฤๅ ของ สิ่ง ใด ๆ, ข่ม ลง ไว้ ไม่ วาง.
กัด (33:7)
         ขบ, เอา ของ ใส่ ใน ปาก เอา ฟัน คาบ ลง ไว้ ครึ่ง หนึ่ง อยู่ ที่ มือ บ้าง.
      กัด กัน (33:7.1)
               ขบ กัน, ปลา กัด แล หมา หฤๅ สัตว อื่น ๆ ต่าง ตัว ต่าง กัด.
      กัด กิน (33:7.2)
               ขบ กิน, อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว. กัด ขนม หฤๅ ของ กิน อื่น ๆ, แล้ว เคี้ยว กิน.
      กัด ขนม (33:7.3)
               อาการ คน หฤๅ สัตว เอา ขนม ไป กัด กิน, ว่ากัด ขนม.
      กัด ขบ (33:7.4)
               ขบ กัด, อา การ ที่ คน หฤๅ สัตว เอา ลูก บัว แล เม็ด มะ ขาม หฤๅ มะม่วง ขบ เผาะ เปน ต้น กัด ขบ ให้ แตก.
      กัด ฅอ (33:7.5)
               อาการ ที่ เสือ หฤๅ แมว เปน ต้น, เหน เนื้อ หฤๅ หนู, แล้ว กะโดด ฉวย ฅอ กัด นั้น.
      กัด เคี้ยว (33:7.6)
               ขบ เคี้ยว, อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว กัด ขนม หฤๅ อาการ. ใด ๆ แล้ว เคี้ยว กิน.
กัจฉะปะ (33:8)
         ฯ ว่า เต่า เปน สัตว สี่ ท้าว กะดอง, ตัว มัน มี เกล็ด.
กัตวา (33:9)
         ฯ ว่า กระทำ แล้ว.
กัตเวธี (33:10)
         ฯ แปล ว่า กระทำ คุณ ที่ ท่าน กะทำ แก่ ตัว ให้ ปรากด.
กัด ทึ้ง (33:11)
         อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว กัด ของ กิน แล้ว ทึ้ง ออก มา.
กัด ฟัด (33:12)
         หมา มัน กัด งู ได้ แล้ว, มัน ฟัด สบัด มา ว่า กัด ฟัด.
กัด ฟัน (33:13)
         คือ ทำ สี้ ฟัน เบื้อง บน ให้ มัน กด ลง กับ ฟัน เบื้อง ต่ำ นั้น

--- Page 34 ---
กัศสิรัง (34:1)
         ฯ ว่า น้ำ นม.
กาจ (34:2)
         ฯ ดุ ร้าย.
กาศร (34:3)
         คำ เขมน, ไทย ว่า ควาย.
กิดิ์ (34:4)
         ฯ ว่า ขาว.
กิจ (34:5)
         ฯ ธุระ หฤๅ การ งาน ทั้ง ปวง.
กิจกัม (34:6)
         กิจกรรม,ฯ คือ กิจ ที่ กระทำ
กิดติคุณ (34:7)
         ฯ ข่าว ที่ เล่า ฦๅ สรรเสิญ ซึ่ง ความ ดี นั้น.
กิจ กังวล (34:8)
         ฯ กิจ ธุระ ต้อง วน เวียน อยู่.
กิดติยศ (34:9)
         ฯ ว่า ข่าว ที่ เขา เล่า ฦๅ กล่าว ถึง ยศ ว่า, ท่าน ผู้ นั้น มี ยศ ศักดิ์ มาก.
กิจานุกิจ (34:10)
         ฯ คือ กิจ น้อย กิจ ใหญ่.
กิดติศรรบท์ (34:11)
         ฯ ว่า เสียง ที่ เขา เล่า ฦๅ ข่าว ดี หฤๅ ข่าว ร้าย นั้น.
กิษฎิกา (34:12)
         คือ พระราช กำหนฎ กฎหมาย.
กีด (34:13)
         คน หฤๅ เข้า ของ สิ่ง ใด ๆ วาง ขวาง เกะ กะ อยู่ ว่า กีด.
      กีด กัน (34:13.1)
               คือ กั้น กาง ขัด ไว้.
      กีด ขวาง (34:13.2)
               การ ที่ คน หฤๅ สัตว หฤๅ เข้า ฃอง สิ่ง ใด ๆ วาง ขวาง อยู่ นั้น.
      กิด ทาง (34:13.3)
               เข้า ฃอง สิ่ง ใด ๆ วาง เกะกะ ขวาง ทาง อยู่.
      กีด หน้า ขวาง ตา (34:13.4)
               การ ที่ มี ฃอง สิ่ง ใด ๆ วาง เกะกะ ขวาง หน้า อยู่ บ้าง, ดู ขวาง ตา อยู่ บ้าง.
กุด (34:14)
         ตัด, คน หฤๅ สัตว มือ ด้วน ตีน ด้วน หฤๅ อะไวยวะ อัน ใด อัน หนึ่ง ฃาด ด้วน ไป ว่า กุด, คำ เหนือ.
กุด ดี (34:15)
         ฯ ว่า เรือน เล็ก ๆ หฤๅ ดึก เล็ก ๆ สำหรับ เปน ที่ อยู่ ฃอง พวก พระสงฆ์.
กุด ด้วน (34:16)
         ตัด ด้วน, มือ หฤๅ ตีน หฤๅ อะไวยวะ อัน ใด อัน หนึ่ง ด้วน ฃาด ไป นั้น.
กุดถัง (34:17)
         ขี้ เรื้อน, โรค หย่าง หนึ่ง ย่อม กัด อะไวยวะ น้อย ใหญ่ มี มือ แล ท้าว เปน ต้น, ให้ เหี้ยน ไป.
กุด นิ้ว (34:18)
         คือ นิ้ว ด้วนง
กุฎฐิ (34:19)
         ฯ ว่า โรค เรื้อน.
กุศราช (34:20)
         เปน ชื่อ พระญา, มี ใน หนังสือ แต่ ก่อน.
กูด (34:21)
         ผัก หย่าง หนึ่ง, ต้น สูง ศัก สอก หนึ่ง อยู่ ท้อง ร่อง ลวน.
เกด (34:22)
         ต้น ไม้ หย่าง หนึ่ง ลำ ต้น แล กิ่ง เปน หนาม, ผล สุก กิน หอม หวาน, กิ่ง @น มัน ใช้ ทำ ไม้ ท้าว ได้ มี อยู่ ใน ป่า.
เกตุ มาลา (34:23)
         ฯ คือ พระ โมลี, คือ จอม ผม, จอม จุก ผม.
เกศ (34:24)
         ชื่อ คน อย่าง นี้ ก็ มี บ้าง.
เกษ เกล้า (34:25)
         ผม ที่ คน ทำ เปน จอม ไว้ บน หัว นั้น.
เกษ กรรณ์ (34:26)
         ฯ ว่า ผม แล หู.
โกฎ (34:27)
         ฃอง ทำ ด้วย ทอง คำ บ้าง, ทำ ด้วย ไม้ ปิด ทอง บ้าง, รูป คล้าย โถ, มี ฝา ปิด เหมือน มงกุฏ, สำหรับ ใส่ ศภ คน ผู้ เปน ใหญ่.
โกฏิ (34:28)
         คือ นับ สิบ ล้าน ว่า เปน โกฎิ หนึ่ง.
โกฎ ก้าน พร้าว (34:29)
         เครื่อง หอม หย่าง หนึ่ง, รศ เผ็ด สำหรับ ใช้ ทำ ยา, มา แต่ เมือง เทศ.
      โกฎ เขมา (34:29.1)
               เครื่อง เทศ หย่าง หนึ่ง, กลิ่น หอม สำหรับ ใช้ ทำ ยา.
      โกฎ จุฬาลำภา (34:29.2)
               เครื่อง เทศ หย่าง หนึ่ง, กลิ่น หอม สำหรับ ใช้ ทำ ยา.
      โกฎ เชียง (34:29.3)
               เครื่อง เทศ หย่าง หนึ่ง, กลิ่น หอม สำหรับ ใช้ ทำ ยา
      โกฎ พุงปลา (34:29.4)
               เครื่อง หอม. อย่าง หนึ่ง, มี ที่ ป่า เมือง นี้ บ้าง, เปน ก้อน ๆ คล้าย ๆ พุง ปลา, ใช้ ทำ ยา.
      โกฎ สอ (34:29.5)
               เครื่อง เทศ หย่าง หนึ่ง, กลิ่น หอม สำหรับ ทำ เครื่อง แกง บ้าง, ทำ ยา บ้าง.
      โกฎ หัว บัว (34:29.6)
               เครื่อง เทศ หย่าง หนึ่ง, กลิ่น หอม สำหรับ ใส่ เครื่อง แกง บ้าง, ทำ ยา บ้าง.
      โกฎ พระธาตุ (34:29.7)
               คือ ฃอง เปน รูป ทรง สูง สำหรับ ใส่ พระธาตุ.
โกฎกะดูก (34:30)
         เครื่อง เทศ หย่าง หนึ่ง, กลิ่น หอม สำหรับ ทำ เครื่อง ยา.
กอด (34:31)
         รัด, การ ที่ คน เอา มือ ขวา หๅๅ มือ ซ้าย รวบ รัด ผู้ อื่น เข้าไว้.
      กอด กัน (34:31.1)
               คน สอง คน ต่าง คน ต่าง เอา มือ รวบ รัด กัน เข้า ไว้.
      กอด ก่าย (34:31.2)
               คน เอา มือ กอด รวบ รัด กัน เข้า ไว้ แล้ว เอา ท้าว ภาด ด้วย.
      กอด ขา (34:31.3)
               คน เอา มือ รัด ขา กอด เข้า ไว้.
      กอด ฅอ (34:31.4)
               รัด ฅอ, คน เอา มือ กอด ฅอ เข้า ไว้.
      กอด จูบ (34:31.5)
               คน เอา มือ ทั้ง สอง ประ คอง กอด ไว้, แล้ว เอา จมูก จด เข้า ที่ แก้ม หฤๅ ที่ อื่น สูด ลม เข้า ไป.
      กอด ที (34:31.6)
               คำ ชาย พูด กับ หญิง.
      กอด หนิด (34:31.7)
               คำ ชาย พูด กับ หญิง หฤๅ แม่ ว่า กับ ลูก เปน ต้น.
      กอด รัด (34:31.8)
               คือ รัด รวบ กอด เข้า ไว้.
      กอด ลูก (34:31.9)
               แม่ เอา มือ กอด ลูก ประ คอง ไว้.

--- Page 35 ---
      กอด ไว้ (35:31.10)
               กอด ไม่ ให้ ไป ไหน.
      กอด เอว (35:31.11)
               รัด เอว, คน เอา มือ ทั้ง สอง ประ คอง กอด บั้น เอว รัด ไว้.
กวด (35:1)
         การ ที่ คน ฟั่น เชือก หฤๅ ฟั่น ด้าย เอา มือ หฤๅ ลูก ไม้ ที่ มี ยาง ถู ไป ถู มา ให้ เปน เกลียว แขง.
      กวด เก่ง (35:1.1)
               คน ที่ ดุ ร้าย ยิ่ง กว่า คน อื่น, หฤๅ คน ที่ ทำ ชั่ว ยิ่ง กว่า คน อื่น.
      กวด ขัน (35:1.2)
               ความ ที่ แขง หนัก ยิ่ง กว่า เก่า, หฤๅ การ ที่ ตรวด ตรา หนัก ยิ่ง กว่า เก่า, หฤๅ การ ที่ คอย ระวัง หนัก ยิ่ง กว่า เก่า.
      กวด เชือก (35:1.3)
               การ ที่ คน ฟั่น เชือก แล้ว รู่ ให้ เขมง.
      กวด ให้ เขมง (35:1.4)
               การ ที่ คน ฟั่น เชือก รู้ ให้ เข้า เกลียว แขง.
เกียด (35:2)
         ไม้ หลัก ที่ เขา ปัก ไว้ กลาง ลาน สำหรับ เปน ที่ ผูก งัว ผูก ความ นวด เข้า, ว่า เสา เกียด.
เกียจ กัน (35:3)
         เจ้า หมู่ นาย หมวด สมุห์ บาญชีย์, พวก ลูก หมู่กลู หมวด, จะ ได้ เปน ที่ ขุน หมื่น ก็ คัด ง้าง กัน เสีย.
เกียจ คร้าน (35:4)
         ไม่ หมัน, อา การ ที่ คน ไม่ มี อุษาห์ ความ เพียร, ไม่ หยาก ทำ การ งาน, หฤๅ ไม่ เล่า เรียญ วิชา ต่าง ๆ.
เกิยดติยศ (35:5)
         ยศ ศักดิ์ แห่ง คน มี วาศนา มาก.
เกิด (35:6)
         มี ขึ้น, เปน ขึ้น, คน หฤๅ สัตว ที่ เอา กำเนิด ขึ้น, ว่า เกิด.
      เกิด ก่อน (35:6.1)
               คือ มี ก่อน เปน ก่อน.
      เกิด เข้า แพง (35:6.2)
               เข้า มี น้อย, เขา ฃาย ราคา แพง.
      เกิด ขึ้น (35:6.3)
               คือ ปั ติสนธิ์ มี ขึ้น, เปน ขึ้น,
      เกิด ความ (35:6.4)
               มี ความ ขึ้น, หฤๅ มี เหตุ ขึ้น.
      เกิด โง่ นัก (35:6.5)
               เขลา มาก, คือ ไม่ รู้ จัก ผิด ชอบ สิ่ง ใด.
      เกิด จับ ไข้ (35:6.6)
               มี จับ ไข้.
      เกิด ฉาว ขึ้น (35:6.7)
               มี ความ อึ้ อึงขึ้น ผู้ อื่น รู้ แพร่ง พราย ไป.
      เกิด ชาติ เดียว (35:6.8)
               มี แต่ ชาติ เดียร, ไม่ เกิด ต่อ ไป อีก.
      เกิด ซบ เซา (35:6.9)
               มี ความ ซบ เซา คือ เกิด ง่วง เหงา หาว นอน.
      เกิด ใน ใจ (35:6.10)
               ธรรม ที่ มี ขึ้น ใน ใจ หฤๅ เปน ขึ้น ใน ใจ, คือ เหน ด้วย ตา ฃอง ใจ
      เกิด บุญ (35:6.11)
               มี เครือง ชำระ ใจ ให้ ผ่อง ใส, หฤๅ เปน เหตุ จัก ทำ ให้ ใจ ขาว.
      เกิด บาป (35:6.12)
               มี กรรม ที ทำ ให้ ใจ เซ่า หมอง, หฤๅ เปน กรรม อัน จะ ยัง สัตว ให้ ถึง ซึ่ง นรก.
      เกิด (35:6.13)
                เปน, มี เปน, หฤๅ มี มี, หฤๅ เกิด เปน หย่าง นั้น หย่าง นี้.
      เกิด ผล (35:6.14)
               มี ผล, หฤๅ เปน ผล, หฤๅ มี ลูก, หฤๅ เปน ลูก, ว่า ออก ผล ออก ลูก.
      เกิด ฝน (35:6.15)
               มี ฝน ตก, หฤๅ เปน ฝน ตก.
      เกิด เพียร (35:6.16)
               คน มี ความ เพียร, หฤๅ เปน ความ เพียร ฃอง คน.
      เกิด ไฟ (35:6.17)
               มี ไฟ ไหม้ ขึ้น, หฤๅ เปน ไฟ ลุก ขึ้น.
      เกิด โภย (35:6.18)
               มี ไภย สิ่ง ใด สิ่ง หนึ่ง มา ถึง หฤๅ เปน ไภย ต่าง ๆ.
      เกิด มา (35:6.19)
               มี มา แต่ อื่น, หฤๅ เปน มา แต่ ไหน,
      เกิด หยุก หยิก (35:6.20)
               มี ความ หยุก หยิก หฤๅ เปน ความ หยุก หยิก.
      เกิด โรค (35:6.21)
               คือ เกิด พญาชิ ขึ้น ใน กาย.
      เกิด ลูก (35:6.22)
               มี ลูก, หฤๅ ต้น ไม้ ทั้ง ปวง มี ลูก, หฤๅ เปน ลูก.
      เกิด สงไสย (35:6.23)
               มี ความ สงไสย ขึ้น ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง.
      เกิด หึงหวง (35:6.24)
               ผัว เมีย อยู่ ด้วย กัน, ถ้า ผัว มี เมีย อื่น, หฤๅ เมีย นอก ใจ ผัว มี ความ หึง หวง กัน ขึ้น.
      เกิด เหตุ (35:6.25)
               คือ เกิด การ อัน ใด อัน หนึ่ง ขึ้น.
กน (35:7)
         คือ ต้น แม่ อักษร อย่าง หนึ่ง, ว่า กน กัน กาน.
กล (35:8)
         การ เล่น อย่าง หนึ่ง เปน การ ซ่อน บัง มิ ให้ เหน, คือ ทำ ใบ ไม้ ให้ เปน ปลา, ทำ น้ำ ท่า ให้ เปน เหล้า เปน ต้น.
      กล ลวง (35:8.1)
               คือ อุบาย อย่าง กระลาการ เมื่อ ชำระ ความ นักโทษ นั้น ว่า, เอง รับ เสีย ตาม จริง แล้ว กู จะ ช่วย, ฝ่าย นักโทษ สำคัญ ว่า จริง, ก็ สารภาพ ให้ การ รับ ตาม จริง, ฝ่าย กระ- ลาการ ก็ หา ช่วย ไม่.
      กล เล่น (35:8.2)
               เปน การ เล่น ซ่อน ความคิด แล วิชา ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง เล่น กล, หฤๅ ดอก ไม้ กล เปน ต้น.
      กล ไกย (35:8.3)
               เปน ของ ซ่อน บัง ไม่ อยาก ให้ ผู้ ใด รู้ เหน, เหมือน อย่าง จักร์ นาระกา, หฤๅ ไก ปืน, หฤๅ กุญแจ นั้น.
      กล ความ (35:8.4)
               คือ ความ ซ่อน บัง ไม่ อยาก ให้ คน อื่น รู้ เหน, แล้ว คิด กระทำ ให้ ความ ชะนะ ด้วย อุบาย ต่าง ๆ นั้น.
      กล ซ้อนกล (35:8.5)
               คือ การ ซ้อน ความ คิด, เหมือน อย่าง เรื่อง สาม ก๊ก, เดิม ซ่นกวน คิด ฆ่า ขงเบ้ง ๆ รู้ท่า แล้ว คิด ทำ ร้าย ซ้อน ความ คิด ซุ่นกวน ได้.
      กล ใด (35:8.6)
               อย่างไร, ไฉน.
      กล มารยา (35:8.7)
               คือ กลอุบาย แยบคาย.
      กล เล่ห์* (35:8.8)
               คือ อุบาย ซ่อน ความ คิด ต่าง ๆ, ถ้า จะ บอก ก็ บอก เปน ปฤษนา, หา บอก ตรง ๆ ไม่.

--- Page 36 ---
      กล ศึก (36:8.9)
               เปน อุบาย แห่ง แม่ ทับ แล นาย ทะหาร คิด หา อุบาย ฬ่อ ลวง เอา ไชย ชำนะ กัน ใน เชิง รบ.
      กล หก (36:8.10)
               คือ กล ที่ ทำ คด งอ ไป คด โกง.
      กล อุบาย (36:8.11)
               การ ซ่อน ความ คิด, หา เหตุ ซึ่ง จะ เข้า ไป ใกล้.
ก่น (36:1)
         การ ที่ คน ขุด ราก ไม้ หฤๅ ราก หญ้า ให้ ขึ้น จาก ดิน จน สิ้น เชิง. อนึ่ง คำ ด่า กัน ขุด ลง ไป ถึง โคตร เค้า เถ้า แก่.
      ก่น โคน (36:1.1)
               การ ที่ ขุด จน ต้น ไม้ ล้ม.
      ก่น โคตร์ พ่อ โคตร์ แม่ (36:1.2)
               คือ ความ ที่ กล่าว เปน คำ อยาบ นัก, เปน ต้น ว่า ชก โคตร์ พ่อ โคตร์ แม่ มึง.
      ก่น เง่า (36:1.3)
               การ ที่ ขุด เง่า เผือก มัน ทั้ง ปวง นั้น.
      ก่น ที่ (36:1.4)
               การ ที่ ขุด พื้น ที่ ดิน ด้วย จอบ นั้น.
      ก่น ราก (36:1.5)
               การ ที่ ขุด ราก ไม้ ทั้ง ปวง.
      ก่น ไร่ (36:1.6)
               การ ที่ ขุด พื้น ที่ ไว้ ใน ไร่.
ก้น (36:2)
         อะไวยวะ ที่ สำหรับ นั่ง ที่ เปน ตะโพก.
      ก้น ม่อ (36:2.1)
               คือ ที่ พื้น ม่อ ที่ มัน ตั้ง ลง กับ พื้น นั้น.
      ก้น กบ (36:2.2)
               อะไวยะวะ ที่ สุด กะดูก สัน หลัง ข้าง ล่าง นั้น.
      ก้น ถุง (36:2.3)
               คือ ที่ สุด ถุง ข้าง ล่าง นั้น.
กัน (36:3)
         การ ที่ คน ทำ รั้ว ไว้ มิ ให้ คน แล สัตว เข้า ได้, หฤๅ คน จัด แจง รักษา ตัว ไว้ เปน นั้น.
      กัน แล กัน (36:3.1)
               คือ เขา แล เรา, อื่น แล อื่น.
กันชา (36:4)
         ต้น ฝัก อย่าง หนึ่ง ใบ เล็ก ๆ, สูบ เมา คล้าย ฝิ่น, ถ้า เมา แล้ว มัน ให้ มัก หัว เราะ มัก กลัว สิ่ง ทั้ง ปวง ด้วย.
กันเจียก (36:5)
         คือ กะบัง หน้า คน ใส่ ไว้ ที่ หน้า ผาก ตลอด ลง ไป ถึง หู ซ้าย ขวา เมื่อ แต่ง ตัว เล่น ละคอน นั้น.
กันดา (36:6)
          ฯ วา นาง, ราชาศรรบท์.
กันชิง (36:7)
         คือ ใบ ไม้ กะชิง คล้าย กับ กะแชง ทำ เปน ร่ม กัน แดด กัน ฝน เปน ต้น นั้น.
กัน แดด (36:8)
         การ ที่ คน ทำ ร่ม ทำ หลังคา ขึ้น ไว้, มีให้ แสงแดด ส่อง ถูก ได้.
กันดาร (36:9)
         ทาง ไกล ไป ลำบาก ไม่ มี น้ำ กิน, ไม่ มี ที่ อาไศรย, แล้ว กลัว โจร แล สัตว ร้าย ด้วย, ว่า กันดาร.
กรรณ์ (36:10)
          ฯ ว่า หู, ของ ที่ เปน ใบ งอก ออก จาก หัว, ทั้ง ข้าง ซ้าย ข้าง ขวา, มี รู สำหรับ รีบ เสียง นั้น.
กรรฐ์ (36:11)
         ฯ ว่า ฅอ ว่า แก้ม.
กัลป์ (36:12)
         ฯ กำหนฎ สิ้น แผ่นดิน, หฤๅ กาหนฎ รว่าง กาล ที่ กำหนฎ ไว้ หฤๅ กำหนฎ ที่ จะ เกิด เข้า แพง, จะ เกิด ฆ่า ฟัน กัน หนัก.
กัน ตัว (36:13)
         คือ ป้อง กัน ตัว ด้วย โล่ เขน เปน ต้น เพื่อ จะ ไม่ ให้ ถูก อาวุทธ นั้น.
กันเตรา (36:14)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง แก่น ทำ เสา ทน หนัก, ใช้ ทำ อยา แก้ โรค บ้าง, มี อยู่ ใน ป่า.
กันถัศ (36:15)
         ชื่อ ม้า ทรง ของ สมเด็จ พระ สีฐรรดถ. อนึ่ง เขา ตั้ง ชื่อ คน ชื่อ ขุน ศีกันถัศ เพราะ เปน พะนักงาน ฝ่าย กรมม้า.
กันบิด (36:16)
         มีด โกน ผม, เปน ราชาศรรบท์.
กันไภย (36:17)
         ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง มี อยู่ ใน ป่า เหนือ. อนึ่ง คน คอย รักษา ตัว ด้วย เกราะ นวม เปน, ต้น ไม่ ให้ ความ กลัว หฤๅ อัน ตะราย มา ถึง นั้น.
กัลยา (36:18)
         ฯ ว่า งาม, ดี, กุศล, ว่า บุคล พึ่ง นับ.
กันไร (36:19)
         การ ที่ คน เอา มีด โกน กันไร ผม ให้ เรียบ.
กัณหา (36:20)
         ฯ ชื่อ นาง กุมารี คน หนึ่ง มี อยู่ใน เรื่อง นิทาน แต่ ก่อน.
กัณหัง (36:21)
         ฯ ว่า ดำ.
กัณโห (36:22)
         ฯ ว่า ดำ.
กันสาด (36:23)
         คือ หลังคา เปน อัน ๆ เขา บัง กัน ฝน สาด นั้น.
กันแสง (36:24)
         ร้อง, หฟๅ ร้อง ไห้, เปน ภาษา เขมน.
กั่น (36:25)
         ของ ที่ คน ทำ แหลม ๆ ไว้ ที่ ต้น มือ หฤๅ พร้า แล หอก ดาบ ทั้ง ปวง เปน ที่ สำหรับ จะ ใส่ เข้า ใน ด่ำ.
กั่น ตวัก (36:26)
         ของ ที่ คน เอา ไม้ หยัก ทำ คด ๆ สำหรับ ผูก กับ ใบ จ่า.
กั้น (36:27)
         การ ที่ คน กาง แขน ออก ขวาง ประตู, หฤๅ หน ทาง ไว้, หฤๅ ทำ รั้ว ก่อ กำแพง ล้อม ไว้ มี ให้ คน เดิร ไบ มา ได้.
      กั้น กาง (36:27.1)
               อาการ ที่ คน กาง แขน ออก ขวาง ทาง ไว้, หฤๅ เอา เรียว หนาม สะ ไว้ มิ ให้ คน แล สัตว ไป มา ได้.
      กั้น หน้า (36:27.2)
               คน หฤๅ สัตว หฤๅ ภูเขา แล แม่น้ำ เปน ต้น ขวาง หน้า อยู่ ไป มิ ได้, ว่า ขวาง หน้า อยู่.
      กั้น ม่าน (36:27.3)
               การ ที่ คน ผูก ม่าน บัง ไว้.
      กั้น รั้ว (36:27.4)
               คั่น รั้ว, การ ที่ คน ทำ รั้ว กั้น ไว้ มิ ให้ คน เข้า ออก ไป มา ได้ นั้น.
      กั้น ห้อง (36:27.5)
               คั่น ห้อง, การ ที่ คน ทำ ฝา คั่น เปน ห้อง ๆ ไว้ นั้น.
การ (36:28)
          ฯ สิ่ง ทั้ง ปวง ที่ จะ กระทำ. อนึ่ง คน เอา มีด หฤๅ ขวาน บาก ต้น ไม้ เข้า ให้ รอบ ต้น เพื่อ จะ ให้ มัน ตาย.

--- Page 37 ---
      การ งาน (37:28.1)
               คือ กิจการ ทั้ง ปวง นั้น.
กาญจนะ (37:1)
          ฯ ว่า ทอง คำ,
การ สมโพทธ์ (37:2)
         คือ การ ที่ มี งาน โฃน หนัง เปน ต้น, เพื่อ ของ สิ่ง นั้น คล้าย กับ ฉลอง แล ทำ ขวัน.
กาญจะนะ บูรีย์ (37:3)
         ชื่อ หัว เมือง อัน หนึ่ง มี อยู่ ฝ่าย ทิศตวัน ตก, ขึ้น กับ กรุงเทพ.
การ บ่าว สาว (37:4)
         คือ งาน การ ที่ ชาย หนุ่ม กับ หญิง สาว ทำ แรก จะ อยู่ เปน ผัว เมีย กัน.
การ พลู (37:5)
         ดอกไม้ หย่าง หนึ่ง, ใช้ เปน เครื่อง เผ็ด, กลิ่น หอม, ใช้ เปน เครื่อง ยา บ้าง, ปรุง ขนม บ้าง, มา แต่ เมือง เทศ.
การ ฉลอง (37:6)
         คือ การ งาน ที่ เขา ทำ มี โขน ละคอน เปน ต้น, บูชา เพื่อ ฃอง สิ่ง นั้น.
การ เลี้ยง (37:7)
         คือ กิจ ที่ จัด แจง ให้ เขา กิน นั้น.
กาล (37:8)
         ฯ เวลา ค่ำ หฤๅ เวลา เอย็น เวลา เช้า. อนึ่ง ว่า ตาย เปน ต้น.
การ เลี้ยง โตะ (37:9)
         คือ เอา ของ กิน วาง บน โตะ แล้ว กิน ด้วย กัน นั้น.
การ วิวาห มงคล (37:10)
         งาน บ่าว สาว, คือ หญิง กับ ชาย แรก อยู่ กิน เปน ผัว เมีย กัน.
การ รบ (37:11)
         คือ การ ศึก สงคราม.
การ ศภ (37:12)
         ทำ งาน การ ต่าง ๆ ที่ สำหรับ จะ ฝั่ง ศภ หฤๅ เผา ศภ คน ตาย.
การ อาวะหะ มงคล (37:13)
         คือ การ งาน บ่าว สาว ตาม ทำ เนียม จีน, คือ นำ หญิง ไป สู่ สะกูล ชาย ถ้า นำ ชาย ไป อยู่ กับ หญิง ว่า วิวาหะ มง คล.
การ สยุมพร (37:14)
         คือ การ งาน ใหญ่ ทั้ง ปวง มี แห่ พยุบาตรา เปน ต้น.
กาฬ (37:15)
         ฯ ว่า ศี ดำ.
การ บรม ศภ (37:16)
         คือ การ ชัก พระ ศภ ขุน หลวง เข้า พระ เมรุ, มี งาน สมโภช แล้ว, เผา เสีย นั้น.
ก้าน* (37:17)
         สิ่ง ที่ เปน สัน อยู่ ใน กลาง ใบ ไม้ ตะลอด ไป ถึง กิ่ง นั้น.
      ก้าน กิ่ง (37:17.1)
               คือ มัน อยู่ ชิด กับ ใบ, กิ่ง คือ มัน อยู่ ถัด ก้าน เข้า ไป.
      ก้าน กล้วย (37:17.2)
               ฃอง ที่ เปน สัน กลม ๆ อยู่ กลางใบ ตอง กล้วย นั้น.
      ก้าน ฅอ (37:17.3)
               เอ็น ใหญ่ ที่ เปน สัน กลม ๆ อยู่ ตาม ฅอ นั้น.
      ก้าน ตอง (37:17.4)
               ก้าน กล้วย หฤๅ สิ่ง ฃอง ที่ เขา ทำ ให้ กลม ๆ เหมือน ก้าน กล้วย นั้น.
      ก้าน มะพร้าว (37:17.5)
               สิ่ง ที่ เปน สัน แขง อยู่ กลาง ใบ มะพร้าว นั้น. ว่า ทาง มะพร้าว ก็ ได้.
      ก้าน ลาน (37:17.6)
               คือ ดูก ลาน ที่ แขง อยู่ กลาง ใบ มัน นั้น.
กิน (37:18)
         บริโภค, อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว เอา สิ่ง ฃอง ที่ เปน อาหาร ใส่ ใน ปาก แล้ว เคี้ยว กลืน ลง ไป ตาม ลำ ฅอ.
      กิน กำไร (37:18.1)
               คือ เอา ทรัพย์ ที่ เปน เศศ ออก จาก ทุน นั้น.
      กิน กับ (37:18.2)
               คน รับ ประทาน กับ, คือ ฃอง กิน กับ เข้า.
      กิน งาน (37:18.3)
               คน ไป ช่วย เขา ทำ งาน โกน จุก, หฤๅ งาน บ่าว สาว แล้ว กิน ฃอง เลี้ยง ที่ งาน นั้น, ว่า กิน งาน.
      กิน ใจ (37:18.4)
               การ นึก มี ความ สงไสย อยู่ ใน ใจ, ว่า ผู้ นี้ จะ ลัก เอา ฃอง ข้า ไป ดอก กระมัง.
      กิน ช้อน (37:18.5)
               การ ที่ คน เอา ช้อน ตัก ฃอง ต่าง ๆ กิน นั้น.
      กิน ซ่อม (37:18.6)
               การ ที่ คน เอา ซ่อม แทง ฃอง ต่าง ๆ กิน นั้น.
      กิน ดี (37:18.7)
               ฃอง สิ่ง ใด ๆ กิน อะหร่อย, หฤๅ กิน ไม่ แสลง, ว่า กิน ดี.
      กิน ดอก (37:18.8)
               คือ เอา เงิน ค่า ปว่ย การ แก่ ผู้ กู้ เงิน วัน ละ เท่า นั้น เท่า นี้ นั้น.
      กิน ดิบ (37:18.9)
               ฃอง สิ่ง ใด ๆ กิน เสีย แต่ ยัง ไม่ สุก. อนึ่ง เปน ชื่อ กล้วย หย่าง หนึ่ง กิน ดิบ ดี.
      กิน ถอย (37:18.10)
               กิน อาหาร ลด ลง กว่า แต่ ก่อน.
      กิน ทิพ (37:18.11)
               คือ อาการ เทวะดา แต่ นึก ว่า จะ กิน ก็ อิ่ม, หฤๅ อิ่ม ไป ด้วย กำลัง ปิติ เหมือน หย่าง พรหม นั้น.
      กิน แหนง (37:18.12)
               ความ* สงไสย แคลง ใจ อยู่ เปน ต้น, ว่า คน นี้ จะ ลัก ฃอง เรา ไป ดอก กระมัง.
      กินนะรี (37:18.13)
               เปน สัตว ตัว เมีย หย่าง หนึ่ง รูป เปน มนุษ ท้าว เหมือน ท้าว นก มี หาง เหมือน ไก่.
      กินนร (37:18.14)
               สัตว ตัว ผู้ หย่าง หนึ่ง เหมือน คน, ตีน เหมือน ตีน นก, รูป งาม, มี หาง เหมือน ไก่
      กินนะเรศร์ (37:18.15)
               คือ กินนร ชาย เปน ใหญ่.
      กิน ฟอน (37:18.16)
               หนอน กิน เนื้อ สัตว ที่ เน่า ปรุ ทั่วไป ว่า. อนึ่ง เหมือน รอก มัน กัด ผล ไม้ ลง มาก ว่า ฟอน กิน.
      กิน เมือง (37:18.17)
               ครอง เมือง, คน ที่ ได้ เปน เจ้า เมือง, ว่า กิน เมือง.
      กิน ยืด (37:18.18)
               การ ที่ คน จัด แจง ฃอง กิน ไว้ กิน ได้ นาน หลาย วัน หลาย เดีอน นั้น
      กิน เอย็น (37:18.19)
               คือ กิน อาหาร เพลา เอย็น หนึ่ง กิน ฃอง ที่ เอย็น.
      กิน เรา (37:18.20)
               เรา เล่น การ ผะนัน มี ถั่ว แล โป เปน ต้น ถ้า เสีย เขา ไป ว่า กิน เรา.

--- Page 38 ---
      กิน รุก (38:18.21)
               คน เล่น หมาก รุก กัน, ถ้า ข้าง นี้ รุก เข้า ไป, ข้าง นั้น กิน เสีย, ว่า กิน รุก.
      กิน แรง (38:18.22)
               การ ที่ คน เลี้ยง ลูก ไว้ ใหญ่ ขึ้น แล้ว, ได้ อาไศรย ใช้ สอย ทำ การ งาน หา ทรัพย์ มา เลี้ยง ได้.
      กิน รวย (38:18.23)
               มี ฃอง กิน มาก หลาย.
      กิน ลนลาน (38:18.24)
               อา การ ที่ กิน เร็ว ลุก ลน.
      กิน ละโมบ (38:18.25)
               กิน อาหาร โลภ เกิน ประมาณ.
      กิน เหลือ (38:18.26)
               คือ กิน อิ่ม แล้ว ของ ยัง อยู่.
      กิน สินจ้าง (38:18.27)
               กิน ของ ที่ อุษ่าห์ ทำ การ จ้าง ได้ นั้น.
      กิน สินบน (38:18.28)
               กิน ของ ที่ ตัว ส่อ เสียด รับ สิบ บน เขา นั้น.
      กิน สินสอด (38:18.29)
               กิน ของ ที่ เขา เอา มา ให้ เปน ค่า เครื่อง เรือน หฤๅ เปน ค่า เลี้ยง คน, เมื่อ มี งาน บ่าว สาว นั้น.
กุน (38:1)
         ชื่อ ปี ที่ สุด ตาม ทำเนียม ไท ว่า ปี หมู.
กุญแจ (38:2)
         ของ ทำ ด้วย เหล็ก บ้าง ด้วย ทอง เหลือง บ้าง มี จำปา มี ใก อยู่ ภายใน มี ลูก ไข สำหรับ ใส่ ประตู.
กุญชร (38:3)
         ฯ ว่า ช้าง.
กุนทล (38:4)
         ฯ ว่า ตุ้ม หู หฤๅ เครื่อง ประดับ หู, ไท ว่า จอร หู.
กุ่น (38:5)
         ควัน ไฟ ขึ้น น้อย ๆ, ว่า ควัน กุ่น.
กูน กอง (38:6)
         คือ กอง เพลิง ก่อ ให้ ลุก เปน เปลว บูชายัญ นั้น.
กูล (38:7)
         ฯ ว่า กระกูล. อนึ่ง กอง เพลิง พิทธี.
เกน (38:8)
         คำ บังคับ สั่ง ให้ ทำ การ ต่าง ๆ คือ ไป ทับ เปน ต้น
      เกน กัน (38:8.1)
               บังคับ สั่ง ว่า ให้ คน นี้ ไป เมือง ฝ่าย ใต้, คน นั้น จง ไป เมือง ฝ่าย เหนือ เปน ต้น.
      เกน ชะตา (38:8.2)
               คำ โหร ผู้ ทาย เขา พูด ว่า ใน เกน ดวง ชะตา ของ ผู้ นั้น ตก ถึง ที่ นั้น เคราะห์ ดี มา ถึง นี่ เคราะห์ ร้าย.
      เกนทับ (38:8.3)
               คำ บังคับ สั่ง ว่า ให้ เกน คน ไป ทับ นาย กอง คุม ไพร่ ยก ไป.
      เกน ฝน (38:8.4)
               คำ โหร ทำนาย ว่า เกน ฝน ปี นี้ จะ ตก ใน ชม ภู ทะวีป เท่า นั้น ตก ใน มหา สมุท เท่า นั้น กต หิมพานต์ เท่า นั้น.
      เกน ราชการ (38:8.5)
               สั่ง ว่า ให้ ข้า ราชการ กรม นั้น ไป กระทำ การ ที่ นั่น. ถ้า ผู้ ใด ขาด จะ เอา ตัว เปน โทษ.
      เกน แห่ (38:8.6)
               สั่ง ว่า กรม นั้น จะ เกน เอา ตัว ขุน หมื่น เท่า ๆ นั้น แต่ง ตัว นุ่ง ห่ม อย่าง นั้น จะ แห่ สิ่ง นั้น ๆ เพลา นั้น ให้ พร้อม
      เกน หัด (38:8.7)
               บังคับ พวก ปืน แดง สำหรับ เข้า กระบวน แห่ ตาม เสดจ์ พระ มหา กระษัตร.
เก่น (38:9)
         การ ที่ คน เดิร ทาง ไกล เกิน กำหนด, หฤๅ ทำ การ มาก เกิน ประมาณ เปน ต้น.
      เก่น ไป ภอ (38:9.1)
               คน หลง ทาง ไป ไกล นัก, ว่า เก่น ไป ภอ.
แกน (38:10)
         ผล ไม้ ทั้ง ปวง ที่ เสีย ไป ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง ข้าง ใน นั้น แขง เปน แกน อยู่. อนึ่ง คน ที่ จน ลง เตม ที ว่า แกน.
      แกน ใน (38:10.1)
               สิ่ง ที่ เปน แขง อยู่ ภาย ใน, เหมือน คน ก่อ อิฐ จะ ทำ เสา หฤๅ ทำ สิ่ง ใด ๆ, เอา ไม้ แกน แขง ไว้ ภาย ใน.
      แกน ไม้ (38:10.2)
               สิ่ง ของ ใด ๆ เอา ไม้ ใส่ ไว้ กลาง ประสงค์ จะ ให้ แขง.
      แกน เหล็ก (38:10.3)
               ของ สิ่ง ใด ๆ เอา เหล็ก ใส่ ไว้ ภายใน ด้วย ประสงค์ จะให้ แขง แรง.
แก่น (38:11)
         ไม้ ที่ แขง อยู่ ถัด กะภี้ เข้า ไป นั้น. อนึ่ง คน ที่ เก่ง กาจ แขง แรง.
      แก่น จันทน์ (38:11.1)
               ไม้ จันทน์ หอม เนื้อ ที่ อยู่ ภาย ใน กะภี้ นั้น.
      แก่น ไม้ (38:11.2)
               สิ่ง ที่ แขง อยู่ ถัด กะภี้ เข้า ไป ภาย ใน นั้น.
      แก่น สาร (38:11.3)
               สิ่ง สรรพ์ ทั้ง ปวง ที่ ยั่ง ยืน ทน อยู่ ได้ นาน, หฤๅ โอ- วาท คำ สั่ง สอน อัน ใด, ที่ เปน ประโยชณ์ ไป นาน.
โกน (38:12)
         การ ที่ ตัด ผม หฤๅ ตัด หนวด ให้ ชิด หนัง แล้ว ขูด เกลา ให้ เกลี้ยง นั้น.
      โกน จุก (38:12.1)
               คือ เอา มีด โกน ตัด ผม จุก เด็ก ออก นั้น.
      โกญจา (38:12.2)
               ฯ ว่า นก กะเรียน เปน นก ใหญ่ ตัว โต เท่า นก ตะกรุม, ขน ฅอ แดง ๆ, ร้อง เสียง ดัง, บิน สูง กว่า นก ทั้ง ปวง.
      โกน หนวด (38:12.3)
               ปลง หนวด, คือ เอา มีด โกน ขอด ตัด ขน ที่ ริม สี ปาก เปน ต้น.
      โกญจะนาท (38:12.4)
               ฯ บัน ฦๅ เสียง ดัง เหมือน เสียง นก กะเรียน ร้อง นั้น.
      โกน ผม (38:12.5)
               คน เอา มีด เหล็ก บ้าง, มีด ทอง บ้าง, ตัด ผม ให้ ซิด หนัง หัว.
      โกน หัว (38:12.6)
               คือ โกน ผม ออก จาก หัว.
กร (38:13)
         ฯ ว่า มือ, มี ใน ราชา ศรรบท์. คน ชื่อ กอน มี บ้าง.
      กร ประสาน (38:13.1)
               คือ ประสาน มือ.
      กร (38:13.2)
               ฯ ว่า มือ.
      กร ค่อน ทรวง (38:13.3)
               คือ เอา มือ ตี อก.
ก่อน (38:14)
         คน เดิร ทาง ด้วย กัน หลาย คน ๆ ที่ เดิร หน้า นั้น, เดิร ก่อน. หฤๅ ของ ที่ มี อยู่ แล้ว ว่า มี ก่อน .
      ก่อน เก่า (38:14.1)
               สิ่ง ของ ที่ มี อยู่ แต่ เดิม จน เก่า
      ก่อน นม นาน (38:14.2)
               สิ่ง ของ ที่ มี อยู่ ก่อน นม นาน แล้ว.

--- Page 39 ---
      ก่อน เวลา ตาย (39:14.3)
               คือ เวลา ก่อน วัน ที่ ตัว ตาย.
ก้อน (39:1)
         สิ่ง ของ ที่ เปน รูป เหมือน ลูก ซ่ม บ้าง, เหมือน ผล มะพร้าว บ้าง.
      ก้อน กลม (39:1.1)
               ลันถาน ทั้ง ปวง ที่ กลม. เหมือน ผล ซ่ม เกลี้ยง, หฤๅ ลูก ปืน ใหญ่ เปน ต้น.
      ก้อน เข้า (39:1.2)
               เข้า สุก ที่ คน เอา มา ปั้น มี สันถาน เหมือน ไข่ ไก่, หฤๅ ไข่ เปด เปน ต้น.
      ก้อน เซ่า (39:1.3)
               คือ ก้อน อิฐ ที่ เขา วาง เข้า สาม ก้อน ตั้ง ม่อ หง เข้า ต้ม แกง เปน ต้น.
      ก้อน ใหญ่ (39:1.4)
               สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ มี สันถาน กลม เท่า ผล มะพร้าว หฤๅ เท่า บาด เปน ต้น.
      ก้อน ดิน (39:1.5)
               คือ ดิน ที่ มัน แห้ง เปน แท่ง ๆ ท่อน ๆ นั้น.
      ก้อน หิน (39:1.6)
               สิลา ที่ มี สันถาน เปน ก้อน กลม บ้าง, เปน เลี้ยม บ้าง.
กวน (39:2)
         คน, การ ที่ คน ทำ อยา มี หลาย สิ่ง ประสม ใส่ ลง ด้วย กัน, แล้ว เอา ไม้ คน ไป.
      กวน กัน (39:2.1)
               รบ กัน, การ ที่ คน หฤๅ สัตว ที่ อยู่ ด้วย กัน มาก แล้ว วิวาน รบ กัน ขึ้น
      กวน ขนม (39:2.2)
               คน ขนม, การ ที่ คน เอา แป้ง ละลาย ใส่ กะทะ ลง แล้ว ใส่ กะทิ ใส่ น้ำ ตาน ด้วย แล้ว เอา ภาย คน ไป.
      กวน คน (39:2.3)
               สัตว ร้าย ต่าง ๆ มา เบียด เบียน คน, ว่า รบ กวน.
      กวน ใจ (39:2.4)
               คือ รบ ร้อง ฃอ สิ่ง ฃอง ต่าง ๆ เปน ต้น.
      กวน เพื่อน (39:2.5)
               เบีดย เบียน เพื่อน, คน หฤๅ สัตว ที่ เปน เพื่อน กัน แล รบ กวน กัน ขึ้น.
      กวน อยา (39:2.6)
               คน อยา, เอา อย่า ใส่ ลง ใน ถ้วย แล้ว คน ไป.
      กวน น้ำตาน (39:2.7)
               คน น้ำ ตาน, การ ที่ คน เอา ไม้ หฤๅ สิ่ง ใด ๆ คน ไป ใน น้ำ ตาน.
เกียน (39:3)
         ของ ที่ คน เอา ไม้ มา ทำ เปน ขา มี กง มี กำ, เหมือน จักรฺ รถ เทียม ด้วย ควาย บ้าง, ด้วย งัว บ้าง, ให้ ลาก ไป. อนึ่ง เข้า แปด สิบ สัด หฤๅ ร้อย ถัง.
      เกียน กะแทะ (39:3.1)
               เปน เกียน อย่าง เล็ก สำหรับ เทียม ด้วย งัว.
      เกียน สาลี (39:3.2)
               เกียน น้อย ๆ มี ลูก ฬ้อ สำหรับ ลาก ไม้.
      เกียน ฬ้อ (39:3.3)
               เกียน เล็ก ๆ สำหรับ เด็ก ๆ ลาก เล่น.
เกวียน (39:4)
         ความ เหมือน เกียน, โบราณ เขา ใส่ ตัว, ว, ด้วย แต่ ทุก วัน หา ได้ ใช้ เช่น นั้น ไม่
เกิน (39:5)
         พ้น, การ ที่ เหลือ เศศ ออก จาก กำหนด.
      เกิน กำหนฎ (39:5.1)
               คน สัญา นัด กัน ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง, ถ้า พ้น จาก สัญา ที่ นัด กัน ไว้ แล้ว, ว่า เกิน กำหนฎ.
      เกิน แกง (39:5.2)
               ของ ที่ ควร จะ แกง กิน ได้, เหมือน อย่าง น้ำ เต้า ถ้า แก่ นัก เกิน ขนาด แล้ว, ว่า เกิน แกง. อนึ่ง ของ หฤๅ การ ที่ ไม่ สม ควร นั้น ว่า เกิน แกง, เปน คำ เปรียบ.
      เกิน การ (39:5.3)
               เหลือ การ, พ้น กำหนฎ เวลา การ งาน.
      เกิน กิน (39:5.4)
               เหลือ กิน. อนึ่ง ผัก หฤๅ ผล ไม้ ควร จะ กิน ได้ เมื่อ อ่อน ๆ, ถ้า รักษา ไว้ จน แก่ กิน ไม่ได้, ว่า เกิน กิน.
      เกิน ขนาด (39:5.5)
               เหลือ ขนาด, สิ่ง ของ ที่ ใหญ่ หฤๅ ยาว กว่า ขนาด.
      เกิน ขนบ (39:5.6)
               เกิน ทำ เนียม. อนึ่ง เกิน กลีบ ผ้า ที่ จีบ ไว้ เปน ชั้น ชั้น นั้น.
      เกิด คน (39:5.7)
               เหลือ คน, สูง กว่า คน ทั้ง ปวง, หฤๅ ดี กว่า คน ทั้ง ปวง, หฤๅ ชั่ว กว่า คน ทั้ง ปวง.
      เกิน งาม (39:5.8)
               เหลือ งาม, คน หฤๅ สัตว แต่ง ตัว เกิน ประมาณ นั้น.
      เกิน ดี (39:5.9)
               การ คน ทำ จะให้ ดี. ครั้ง ทำ ไป ๆ มัน เสีย ไป.
      เกิน ตัว (39:5.10)
               คือ เล่น เบี้ย กัน, เขา เสีย เงิน เกิน เงิน ของ ตัว ที่ มี ไป นั้น. อย่าง หนึ่ง พูด อวด ตัว เปล่า ๆ.
      เกิน ทาง (39:5.11)
               เลย ทาง, คน เดิร หลง พ้น ทาง ไป.
      เกิน หน้า (39:5.12)
               การ ที่ คน หน้า ไพร่ เอา ของ ท่าน ผู้ ดี ไป แต่ง ตัว เอง.
      เกิน นาย (39:5.13)
               เลย นาย, การ ที่ คน ที่ เปน บ่าว จะ พูด จา หฤๅ ทำ การ สิ่ง ใด ๆ ล่วง เกิน ถ้อย คำ ที่ นาย สั่ง.
กบ (39:6)
         สัตว อย่าง หนึ่ง สี่ ท่าว ขา ยาว ตัว เท่า ฝ่า มือ, อยู่ รู้ ริม น้ำ, ตาม ท้อง นา, ถ้า ฝน ตก ร้อง เสียง ดัง, กิน ได้. อนึ่ง, กบ, คือ เต็ม เปียม. อนึ่ง เครื่อง สำหรับ ช่าง ไม้ อย่าง หนึ่ง.
      กบ แก้ม (39:6.1)
               เต็ม แก้ม, การ ที่ คน เอา ของ กิน ใส่ เต็ม ปาก.
      กบ เจา (39:6.2)
               ชื่อ บ้าน แห่ง หนึ่ง อยู่ ใน แขวง กรุง เก่า.
      กบ แจะ (39:6.3)
               ชื่อ บ้าน แห่ง หนึ่ง มี อยู่ ใน แขวง เมือง ประจิม.
      กบ จาน (39:6.4)
               สิ่ง ของ ใด ๆ ใส่ เต็ม จาม, ว่า กบ จาน.
      กบ ดาน (39:6.5)
               จร เข้ หฤๅ สัตว อื่น แต่ บันดา อยู่ ใน น้ำ, ลง ไป นาน ประกับ อยู่ ที่ พืน ดิน ข้าง ล่าง ว่า กบ ดาน.
      กบ บัว (39:6.6)
               คือ ของ เต็ม ล้ร มาต เรือ. อนึ่ง เปน เครื่อง มือ ช่าง ไม้ ไส ลอก บัว นั้น.
      กบ ทะวาย (39:6.7)
               เปน ชื่อ เครื่อง มือ ทำ ทอง อย่าง หนึ่ง นั้น.
      กบ รู (39:6.8)
               เต็ม รู, สิ่ง ของ ที่ ยัด เฃ้า ใน รู เต็ม นั้น.
      กบ เรือ (39:6.9)
               คือ เต็ม เรือ.

--- Page 40 ---
กับ (40:1)
         คือ ของ ที่ กิน ด้วย เข้า, หฤๅ คน ไป มา ด้วย กัน. อย่าง หนึ่ง เปน เครื่อง สำหรับ ดัก สัตว.
      กับเข้า (40:1.1)
               คือ ของ ทั้ง ปวง ที่ สำหรับ กิน ด้วย เข้า.
      กับด้วย (40:1.2)
               กิน ด้วย กัน หฤๅ นอน ด้วย กัน นั่ง ด้วย กัน หฤๅ ยืน ด้วย กัน.
      กับดัก หนู (40:1.3)
               เปน เครื่อง เขา ทำ ด้วย ไม้ ไผ่ สำหรับ ดัก หนู.
      กับตัว (40:1.4)
               ของ ที่ อยู่ ด้วย ตัว.
      กับทั้ง (40:1.5)
               สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ด้วย.
กลัป (40:2)
         กำหนฎ สิ้น โลกย์, หฤๅ กำหนฎ รว่าง โลกย์. อย่าง หนึ่ง แปล ว่า ส่วน แบ่ง กาล แห่ง โลกย์ เปน สี่ ส่วน เท่าๆ กัน, ส่วน อัน หนึ่ง เรียก ว่า กลัป หนึ่ง.
กับ ปัฐีติ (40:3)
         ฯ ว่า ตั้ง อยู่ สิ้น กลัป.
กับปะรุกโข (40:4)
         ฯ ว่า ไม่ กัปพฤกษ์, คือ ไม้ ให้ สำเร็ทธิ์ ประโยชน์, แก่ คน ที่ ไป ถึง นึก ปราถนา นั้น.
กับปิยะการก (40:5)
         วัยยาวัจจา กร, ฯ ว่า ผู้ ที่ จัด แจง กระทำ สำ เร็ทธิ์ ให้ ควร แก่ สงฆ์.
กับปิยะ (40:6)
         ฯ ว่า ควร แล้ว.
กับปะพฤกษ์ (40:7)
         กัมปะพฤกษ์, ต้น พุ่ม ที่ เขา เอา เงิน บ้าง, ทอง บ้าง, เสียบ แล้ว ทิ้ง ทาน แก่ คน ทั้ง ปวง.
กาบ (40:8)
         เปลือก หุ้ม อยู่ ที่ ต้น กล้วย, หฤๅ ต้น อ้อย, หน่อ ไม้ ไผ่ อ่อน.
      กาบ กอ (40:8.1)
               เปลือก หุ้ม อยู่ ที่ กอ เข้า หฤๅ กอ แฝก กอ แฃม กอ ตะไคร้ เปน ต้น.
      กาบ กล้วย (40:8.2)
               เปลือก หุ้ม อยู่ ที่ ต้น กล้วย นั้น.
      กาบ ปลี (40:8.3)
               เปลือก หุ้ม ห่อ อยู่ ที่ ปลี กล้วย, หฤๅ ปลี กล่ำ เปน ต้น.
      กาบ ไผ่ (40:8.4)
               เปลือก หุ้ม ห่อ อยู่ ที่ หน่อ ไม้ ไผ่ นั้น
      กาบ พรหมษร (40:8.5)
               ของ ทำ เปน กาบ เหมือน ษร พรหม หุ้ม ปลาย เสา โบศ แล เสา วิหาร งาม นัก.
      กาบ หมาก (40:8.6)
               คือ เปลือก ที่ มัน หุ้ม หจัน หมาก.
      กาบ หอย (40:8.7)
               เปลือก หอย อย่าง หนึ่ง เปน สอง อัน ประกบ กัน เหมือน อย่าง หอย กาบ, หฤๅ หอย แมง ภู นั้น.
      กาบ อ้อย (40:8.8)
               เปลือก ที่ หุ้ม ห่อ ต้น อ้อย อยู่ นั้น.
      กาบ อ้อ (40:8.9)
               เปลือก ที่ ห่อ หุ้ม ต้น อ้อ อยู่ นั้น.
      กาบ หยวก (40:8.10)
               เปลือก ที่ ห่อ หุ้ม หยวก กล้วย อยู่ นั้น.
กาพย์ (40:9)
         ฯ ชื่อ บท บังคับ กลอน เพลง อย่าง หนึ่ง.
      กาพยะ สารัฐ วีลาศนี (40:9.1)
               ฯ ชื่อ กลอน เพลง อีก อย่าง หนึ่ง.
กีบ (40:10)
         ตีน เนื้อ หฤๅ ตีน งัว ตีน ควาย ตีน แภะ เปน ต้น, ที่ เปน กลีป แขง อยู่ สอง อัน นั้น.
      กีบ กวาง (40:10.1)
               สิ่ง ที่ เปน กลีบ แขง อยู่ ที่ ตีน กวาง นั้น.
      กีบ ควาย (40:10.2)
               สิ่ง ที่ เปน กลีบ แขง อยู่ ที่ ตีน ควาย นั้น.
      กีบ งัว (40:10.3)
               สิ่ง ที่ เปน กลีบ แขง อยู่ ที่ ตีน งัว นั้น.
      กีบ เนื้อ (40:10.4)
               สิ่ง ที่ เปน กลีบ แขง อยู่ ที่ ตีน เนื้อ นั้น.
      กีบ ม้า (40:10.5)
               สิ่ง ที่ เปน กลีบ แขง อยู่ ที่ ตีน ม้า นั้น.
      กีบ หมู (40:10.6)
               สิ่ง ที่ เปน กลีบ แขง อยู่ ที่ ตีน หมู นั้น. อนึ่ง ไม้ สำ หรับ ดำ นา ยาว, สาม ศอก ข้าง ปลาย ทำ สาม ง่าม เหมือน กีบ หมู เขา หมัก เรียก ว่า ไม้ สัก รุ้ม ดำ นา.
      กีบ แรด (40:10.7)
               สิ่ง ที่ เปน กลีบ อยู่ ที่ ตีน แรด นั้น. อนึ่ง ว่าน อย่าง หนึ่ง มี หัว กุกะ เหมือน กีบ แรด, เขา ใช้ ทำ อยา, มี อยู่ ใน ป่า.
กุบ (40:11)
         เสียง อย่าง หนึ่ง สังเกด ฟัง ดู ดัง อย่าง นั้น.
      กุบกับ (40:11.1)
               ม้า หฤๅ คน ที่ใส่ เกือก เดิร ตาม ถนน เสียง ดัง อย่าง นั้น.
กุบปะติ (40:12)
         ฯ ว่า กำเรีบ, เหมือน น้ำ เปน คลื่น กำเรีบ เพราะ ลม.
กูบ (40:13)
         ของ ทำ ด้วย ไม้, สาน ด้วย ตอก, รูป คล้าย ๆ ปะทุนเรือ, สำ หรับ ใส่ บน หลัง ช้าง. อนึ่ง เปน ชื่อ บ้าน.
      กูบช้าง (40:13.1)
               ของ สาน ด้วย ตอก รูป เหมือน ปะทุน เรือ, สำหรับ ใส่ บน หลัง ช้าง บัน ทุก ของ คน นั่ง ใน นั้น ด้วย.
เก็บ (40:14)
         คน เอา สิ่ง ของ เข้า ไว้ ใน หีบ หฤๅ ใน ตู้ ใน เรือน ใน บ้าน, แล้ว รักษาไว้.
      เก็บกองไว้ (40:14.1)
               คน เอา สิ่ง ของ วาง มูน ไว้ ด้วย กัน, แล้ว รักษา ไว้.
      เก็บเข้าไว้ (40:14.2)
               เข้า เปลือก หฤๅ เข้า สาร เอา ใส่ ไว้ ใน ยุ้ง ใน ฉาง.
      เก็บประสมไว้ (40:14.3)
               เอา ของ มา เก็บ ประสมไว้.
      เก็บผม (40:14.4)
               คือ กัน ไร ผม ให้ มัน เปน รอย วง อยู่ ที่ หัว.
      เก็บรวบ รวม ไว้ (40:14.5)
               คือ เอา ของ มา รวบ รวม ไว้.
      เก็บหอม (40:14.6)
               รอม ริบ ไว้, เอา ของ มา รักษา เก็บ ไว้.
กอบ (40:15)
         คน เอา ฝ่า มือ สอง ข้าง ทำ ให้ ชิด กัน เข้า ยก เอา สิ่ง ของ เล็ก ขึ้น คือ กอบ เข้า สาร เปน ต้น นั้น.
      กอบ หนึ่ง (40:15.1)
               คน เอา ฝ่า มือ สอง ข้าง กอบ เอา ที เดียว, หมด นั้น.
      กอบ กำ (40:15.2)
               คือ กอบ แล้ว กำ ด้วย มือ นั้น.
      กอบ โกย (40:15.3)
               คน เอา มือ สอง ข้าง กอบ แล้ว โกย ด้วย.
      กอบ เดียว (40:15.4)
               คน เอา ฝ่า มือ ทั้งสอง ข้าง กอบ เอา ที หนึ่ง.

--- Page 41 ---
      กอบ มือ (41:15.5)
               คน กอบ ด้วย มือ.
เกือบ (41:1)
         ใกล้, คน เดิร ทาง ใกล้ จะ ถึง, หฤๅ คน ทำ การ เกือบ จะ แล้ว เปน ต้น.
      เกือบ ใกล้ (41:1.1)
               คน เดิร ทาง ยัง หน่อย หนึ่ง จะ ถึง.
      เกือบ เกิน (41:1.2)
               ใกล้ เกิน, คน เดิร ทาง หฤๅ คน ทำ การ สิ่ง ใด ๆ ยัง อีก หน่อย หนึ่ง จะ พ้น กำหนฎ.
      เกือบ เข้า มา (41:1.3)
               จวน เข้า มา, คน ไป ยัง ประเทษ อื่น ใกล้ จะ เข้า มา เปน ต้น.
      เกือบ ค่ำ แล้ว (41:1.4)
               ใกล้ ค่ำ แล้ว, เวลา จวน ค่ำ แล้ว.
      เกือบ เงียบ แล้ว (41:1.5)
               จวน เงียบ แล้ว, คือ แต่ ก่อน นั้น เกิด วุ่น วาย ภาย หลัง ก็ ใกล้ สงบ ลง.
      เกือบ จะได้ (41:1.6)
               แทบ จะ ได้, คน ใกล้ จะได้ สิ่ง ใด ๆ.
      เกือบ ฉาว (41:1.7)
               แทบ ฉาว, ความ แทบ จะ วุ่น วาย ขึ้น.
      เกือบ ชวด เล่น (41:1.8)
               แทบ ชวด เล่น, งาน แทบ ไม่ ได้ เล่น.
      เกือบ ดักดาน (41:1.9)
               แทบ ดักตาน, คือ จวน จะ ฉิบหาย.
      เกือบ ตี กัน (41:1.10)
               แทบ จะ ตี กัน ขึ้น.
      เกือบ ตาย (41:1.11)
               แทบ ตาย, หฤๅ ใกล้ ตาย, หฤๅ จวน ตาย.
ก้ม (41:2)
         น้อม, อา การ น้อม กาย ลง เบื้อง ต่ำ.
      ก้มเกษ (41:2.1)
               น้อม หัว ลง.
      ก้มเกล้า (41:2.2)
               ความ เหมือน กัน.
      ก้มกาย (41:2.3)
               น้อม ตัว เบื้อง ต่ำ.
      ก้มกราน (41:2.4)
               น้อม ตัว ลง เบื้อง ต่ำ แล้ว เอา มือ แล ท้าว กราน ไป.
      ก้มกราบ (41:2.5)
               ทำตัว ให้ น้อมลง, แล้ว ซบหน้าที่ มือ ทั้งสองเหนือ พื้น.
      ก้มตัว (41:2.6)
               น้อม ตัว ลง.
      ก้มหน้า (41:2.7)
               น้อม หน้า ลง เบื้อง ต่ำ.
      ก้มลง (41:2.8)
               น้อม ตัว ลง
      ก้มหลัง (41:2.9)
               น้อม หลัง ลง.
      ก้มหัว (41:2.10)
               น้อม หัว ลง.
      ก้มองค์ (41:2.11)
               น้อม ตัว ลง.
กัม (41:3)
         ผัก หลาย ต้น ผูก มัด เข้า ด้วย กัน, หฤๅ ปลา แห้ง ปลา ย่าง หลาย ตัว ผูก มัด เข้า ด้วย กัน.
กัมนน (41:4)
         ของ คำนับ เหมือน อย่าง จะ ทำ การ งาน มะโหรี, ปี ภาทย์ เปน ต้น, ต้อง เอา เงิน ติด เทียน ตั้ง คำนับ สลึง หนึ่ง ก่อน.
      กัมนัน (41:4.1)
               คน ที่ เปน ผู้ ใหญ่ บ้าน เปน ที่ คำนับ แก่ ลูก บ้าน, หฤๅ สิ่ง ของ ใด ๆ ที่ จะ เอา ไป เปน คำนับ.
กั้มเกิน (41:5)
         เอา ไม้ สอง อัน เคียง กัน เข้า, ไม้ อัน ที่ ยาว นั้น, ว่า กั้ม เกิน.
กามกวม (41:6)
         ช้าง พลาย ไม่ มี งา. อนึ่ง นก อย่าง หนึ่ง ตัว เขียว ปาก แดง กิน ปลา.
กามะคุณ (41:7)
         ใจ ที่ อยาก ได้ ซึ่ง รูป, เสียง, กลิ่น, รศ, โผฐัพะ เปน ต้น.
กามพฤกษ์ (41:8)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ว่า มัน ให้ ผล สำเรทธิ์ เปน ของ ต่าง ๆ แก่ คน แล สัตว ทั้ง ปวง ได้.
กามะราค (41:9)
         ใจ ที่ เสียบ แทง อยู่ ด้วย ความ อยาก ได้.
กามะวิตก (41:10)
         คือ คิด รำ พึ่ง ใน ความ ใคร่ เอา กิเลศ เปน ต้น.
กามะ (41:11)
         ฯ ว่า ความ ปราถนา, หฤๅ ความ อยาก ได้, ความ ใคร่.
กามะกิเลศ (41:12)
         ฯ เสร้า หมอง ด้วย ความ ปราถนา, หฤๅ ปราถนา ของ ที่ เสร้า หมอง.
กามะตัณหา (41:13)
         ฯ ใจ ที่ อยาก ได้ วีญาณ กะทรัพย์ แล อะวิญาณ กะ ทรัพย์, คือ ช้าง ม้า โค กระบือ แล เงิน ทอง เปน ต้น.
กามะภพ (41:14)
         ฯ คือ ที่ เปน ที่ เกิด แห่ง สัตว ที่ มาก เตม ด้วย รักษ ใคร่ ใน ความ กำหนัด ใน กิเลศ.
ก้าม (41:15)
         ตีน ปู หฤๅ กุ้ง ที่ มัน เปน ง่าม อยู่ สองอัน สำหรับ คีบ นีบ เก็บ อาหาร ใส่ ปาก นั้น.
      ก้ามกั้ง (41:15.1)
               ตีน กั้ง เปน สัต เล็ก ๆ คล้าย ๆ กุ้ง, ที่ ตีน มัน นั้น เปน สอง ง่าม ใหญ่ สำหรับ เก็บ อาหาร กิน.
      ก้าม กุ้ง (41:15.2)
               คือ ก้าม ของ กุ้ง เปน สอง ง่าม สำหรับ หา กิน. อนึ่ง เปน ผัก อย่าง หนึ่ง ขึ้น อยู่ ใน น้ำ ต้น แดง.
      ก้ามปู (41:15.3)
               ก้าม ของ ปู สำหรับ หา กิน. อนึ่ง มะพร้าว ห้าว ที่ เปลือก ยัง ไม่ แห้ง ศี เยื่อ เหมือน ก้าม ปู.
      ก้ามเบี้ยว (41:15.4)
               ก้าม ของ เบี้ยว สำหรับ หา กิน.
กี่ม (41:16)
         ชือ คน อย่าง นี้ ก็ มี บ้าง.
กุม (41:17)
         คน เอา มือ จับ นิ่ง ไว้.
      กุมกร (41:17.1)
               คน เอา มือ จับ มือ นิ่ง ไว้.
กุมพันท์ (41:18)
         เปน ชื่อ ยัก พวก หนึ่ง.
กุม ภะราศี (41:19)
         เปน ชื่อ ราษี, หนึ่ง อยู่ ใน สิบ สอง ราษี ใน อากาษ ฟ้า นั้น.
กุม มือ (41:20)
         เอา มือ จับ นิ่ง ไว้.
กุมภา (41:21)
         ฯ ว่า จรเข้.
      กุมภี (41:21.1)
               ฯ จรเข้.
กุมโภ (41:22)
         ฯ ว่า มอ.
กุ่ม (41:23)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ดอก แล ใบ กิน ได้, เปลือก ใช้ ทำ อยา ได้.

--- Page 42 ---
      กุ่ม ดอง (42:23.1)
               ใบ กุ่ม อ่อน ๆ เก็บ เอา มา แช่ น้ำ ใส่ เกลือ บ้าง ใส่ น้ำ ซาว เข้า บ้าง กิน เปรี้ยว ๆ เค็ม ๆ.
      กุ่ม น้ำ (42:23.2)
               ต้น กุ่ม อย่าง หนึ่ง ขึ้น อยู่ ตาม ริม น้ำ ใบ ยาว ๆ, ดอง กิน ได้
      กุ่ม บก (42:23.3)
               ต้น กุ่ม อย่าง หนึ่ง ขึ้น อยู่ บน บก ตาม ป่า ดอน, ใบ กลม ๆ ลูก สุก กิน ได้.
แกม (42:1)
         ปน, สิ่ง ของ ทั้ง ปวง เดิม มี สิ่ง เดียว ล้วน, มา ภาย หลัง มี ของ สิ่ง อื่น ปน บ้าง เล็ก น้อย.
      แกม กุก (42:1.1)
               นก เขา มัน ขัน, ถ้า มี เสียง กุก แกม เข้า ด้วย.
      แกม กล (42:1.2)
               คือ ทำ ใจ ซื่อ ปน กับ อุบาย.
      แกม กัน (42:1.3)
               สิ่ง ของ ทั้ง ปวง เดิม มี สิ่ง เดียว, ครั้น มา ภาย หลัง มี ของ สิ่ง อื่น ระคน ปน กัน อยู่.
      แกม แซม (42:1.4)
               แซก แซม, เดิม ของ สิ่ง เดียว, มา ภาย หลัง มี ของ อื่น เข้า แซก แซม แกม อยู่ ด้วย.
      แกม ดอก (42:1.5)
               ต้น ไม้ ทั้ง ปวง มี ดอก ปะ ปน แกม คัน อยู่.
      แกม ใบ (42:1.6)
               ต้น ไม้ ทั้ง ปวง มี ใบ ปะ ปน แกม กัน อยู่.
      แกม ผล (42:1.7)
               ไม้ ทั้ง ปวง มี ผล ปะ ปน แกม กัน อยู่.
      แกม ลูก (42:1.8)
               ไม้ ทั้ง ปวง มี ลูก แกม อยู่ ด้วย.
แก้ม (42:2)
         เนื้อ ที่ กะพุ้ง ปาก ทั้ง สอง ข้าง.
      แก้ม ขวา (42:2.1)
               เนื้อ ที่ กะพุ้ง ปาก ข้าง ขวา.
      แก้ม คน (42:2.2)
               เนื้อ ที่ กะพุ้ง ปาก คน.
      แก้ม ซ้าย (42:2.3)
               เนื้อ ที่ กะพุ้ง ปาก เบื้อง ซ้าย.
      แก้ม เรือ (42:2.4)
               เนื้อ ไม้ ที่ กะพุ้ง แก้ม เรือ.
กอม (42:3)
         โกง, ฃา คน หฤๅ ฃา สัตว ที่ โกง อยู่ ไม้ ตรง นั้น, ว่า ฃา กอม.
ก่อม ก้อ (42:4)
         คน หฤๅ สัตว หฤๅ สิ่ง ใด ๆ ที่ ต่ำ ๆ เตี้ย ๆ ทั้ง นั้น
เกย (42:5)
         ของ ที่ เขา ทำ ไว้ สำหรับ กระษัตร เสดจ์ ขึ้น ช้าง ขึ้น ม้า ขึ้น รถ. อนึ่ง คน เขน เรือ เลย ขึ้น บน แห้ง.
      เกย แก่ง (42:5.1)
               ค้าง แก่ง, คน ล่อง เรือ หฤๅ แพ ลง มา เกย แก่ง ขึ้น ไป ค้าง อยู่.
      เกย กอด (42:5.2)
               ฅน สอง คน นอน ด้วย กัน เอา หัว เกย ขึ้น แล้ว เอา มือ กอด ด้วย.
      เกย เกาะ (42:5.3)
               ค้าง เกาะ, คน แล่น เรือ, หฤๅ คน แจว เรือ เกย ขิ้น ไป บน เกาะ.
      เกย โฃด (42:5.4)
               ค้าง โฃด, คน ล่อง เรือ หฤๅ ล่อง แพ เลย ขึ้น ไป บน โฃด.
      เกย ชะลา (42:5.5)
               คือ เกย ทา ไว้ ที่ มี ชาน.
      เกย ขอน (42:5.6)
               คน เข็น เรือ หฤๅ เขน ไม้ เลย ขึ้น ค้าง อยู่ บน ขอน.
      เกยไชย์ (42:5.7)
               เปน ที่ ตำบล หนึ่ง อยู่ ฝ่าย เหนือ ชื่อ อย่าง นั้น
      เกย ช้าง (42:5.8)
               ที่ มี พื้น สูง สำหรับ พระ มหา กระษัตร์ เสดจ์ ทรง ช้าง.
      เกย ม้า (42:5.9)
               ที่ มี พื้น สำหรับ เสดจ์ ทรง ม้า.
      เกย มาศ (42:5.10)
               ที่ มี พื้น สำหรับ ทรง ช้าง ทรง ม้า ทรง รถ, แต่แล้ว ไป ด้วย ทอง.
      เกย รถ (42:5.11)
               ที่ สำหรับ ขึ้น รถ.
      เกย เลน (42:5.12)
               คน เขน เรือ หฤๅ ไม้ ให้ เลย ฃึ้น ไป บน เลน.
      เกย หาด (42:5.13)
               คือ เรือ เสย ฃึ้น บน หาด ทราย นั้น.
      เกย แห้ง (42:5.14)
               คน เขน เรือ หฤๅ แพ ให้ เลย ฃึ้น ไป บน แห้ง.
กายะสิทธิ์ (42:6)
         คือ ปรอด ที่ แขง เขา ฆ่า มัน ตาย แล้ว มี ฤทธิ์ ต่าง ๆ
กาย (42:7)
         ตัว คน หฤๅ ตัว สัตว ทั้ง ปวง.
      กาย กรรม (42:7.1)
               คือ การ ที่ คน กะทำ ด้วย มือ เปน ต้น.
ก่าย (42:8)
         อาการ ที่ คน เอา มือ พาด บน หน้า ผาก, หฤๅ พาด บน หมอน, หฤๅ เอา ท้าว พาด บน ผะนัก, แล เก้าอี้
กาย กอด (42:9)
         คือ เอา มือ หฤๅ ท้าว พาด ไป, แล้ว กอด ด้วย.
กาว (42:10)
         ฃอง มา แต่ เมือง จีน แท่ง เท่า นิ้ว มือ เปน สี่ เหลี่ยม, ศี เหมือน เอน เฃี้ยว ฃึ้น บน ไฟ เหนียว เปน ยาง.
ก้าว (42:11)
         คน หฤๅ สัตว ยก ท้าว ฃึ้น แล้ว ย่าง ไป เหยียบ ลง. อนึ่ง คน แล่น เรือ ทวน ลม ฃึ้น ไป ต้อง แล่น ตัด ไป ฝ่าก ข้าง โน้น, ตัด มา ฝ่าก ฃ้าง นี้ นั้น.
      ก้าว ฃึ้น (42:11.1)
               คน หฤๅ สัตว ยก ท้าว ย่าง ฃึ้น บน บัน ได, หฤๅ บน เรือน แล้ว เหยียบ ลง เปน ต้น.
      ก้าว ย่าง (42:11.2)
               คือ ยก ท้าว ฃึ้น เอา มัน ไป ว่าง ต่อ ๆ ไป นั้น.
ก้าว ลง (42:12)
         คน หฤๅ สัตว ยก ท้าว ฃึ้น ย่าง เหยียบ ลง จาก เรือน หฤๅ จาก โรง เปน ต้น.
กิ่ว (42:13)
         คอด, ฃอง สิ่ง ใด ๆ ไม่ เท่า กัน, ที่ ต้น เล็ก, หฤๅ กลาง เล็ก, หฤๅ ปลาย เล็ก, ที่ เล็ก นั้นว่า กิ่ว.
      กิ่ว กลาง (42:13.1)
               คอด กลาง, คน ทำ ของ สิ่ง ใด ที่ กลาง เล็ก ทั้งสอง ฃ้าง ใหญ่ เหมือน ฅอ สาก.
      กิ่ว คอด (42:13.2)
               คอด กิ่ว, ฃอง สิ่ง ใด ไม่ เท่า กัน เล็ก ที่ ต้น บ้าง, เล็ก ที่ กลาง บ้าง เล็ก ที่ ปลาย บ้าง.
      กิ่ว ต้น (42:13.3)
               ดอด ต้น, ฃอง สิ่ง ใด ๆ เล็ก คอด อยู่ ฃ้าง ต้น.
      กิ่ง ปลาย (42:13.4)
               คอด ปลาย, ฃอง สิ่ง ใด ๆ คอด ฃ้าง ปลาย

--- Page 43 ---
กิ๋ว ๆ (43:1)
         เปน คำ เยาะ เย้ย. อนึ่ง เปน คำ เจ็ก มัน เรียก เปด ให้ มัน มา กิน เยื่อ บ้าง.
กุ๋ย ๆ (43:2)
         เปน คำ เยาะ เย้ย เหมือน กัน.
แกว (43:3)
         คน ชาติ อย่าง หนึ่ง, เหมือน แม่ เปน ลาว พ่อ เปน ญวน.
แก้ว (43:4)
         ฃอง ทำ ด้วย หิน บ้าง, ทำ ด้วย สิ่ง อื่น บ้าง มี ศี ต่าง ๆ ใส สว่าง แล เปน เงา เอา มา แต่ เมือง เทศ.
      แก้ว แกลบ (43:4.1)
               คือ ฃอง เปน เหมือน แกลบ มัน ปน อยู่ กับ ดิน เหนียว นั้น.
      แก้ว ก้าว เนาวรัตณ์ (43:4.2)
               แก้ว ก้าว ประการ, มี เพชร์ เปน ต้น.
      แก้ว ตา (43:4.3)
               สิ่ง ที่ เปน วง แวว อยู่ ใน หน่วย ตา เหน เปน เงา อยู่ ใน กลาง ตา นั้น.
      แก้ว ประพาฬ (43:4.4)
               คือ แก้ว ศี แดง อ่อน.
      แก้ว ไพรทูรย์ (43:4.5)
               คือ แก้ว ศี เหมือน ใบ เฃ้า กล้า อ่อน.
      แก้ว พฦก (43:4.6)
               แก้ว ศี เหมือน น้ำ.
      แก้ว มณี (43:4.7)
               แก้ว ชาติ สิลา.
      แก้ว มรกฎ (43:4.8)
               แก้ว ศี เฃียว.
      แก้ว มุคดา (43:4.9)
               แก้ว ศี เหมือน มุค หอย.
      แก้ว วิเชียร (43:4.10)
               คือ เพชร์
      แก้ว แหวน (43:4.11)
               เขา เรียก ติด กัน สอง สิ่ง ที่ เดียว.
      แก้ว อินทนิล (43:4.12)
               แก้ว ศี เหมือน ดอก ไม้ อินทนิล คือ ศี ม่วง อ่อน.
      แก้ว หิน (43:4.13)
               คือ แก้ว มะนี.
      แก้ว หู (43:4.14)
               คือ โสตร ประสาท รูป เปน วง อยู่ ใน รู หู นั้น.
โกย (43:5)
         การ ที่ คน เอา มือ คุ้ย สิ่ง ฃอง ใด ๆ ใส่ ใน กะบุง หฤๅ ภาชน์ ใด ๆ ที่ ตะแคง อย่ นั้น.
      โกย กอง (43:5.1)
               คือ คุ้ย ฃึ้น แล้ว เอา กอง ไว้.
โกย แกลบ (43:6)
         คน คุ้ย แกลบ ใส่ กะบุง ที่ ตะแคง อยู่ นั้น. โกย กอบ, คือ คน คุ้ย แล้ว กอบ ขึ้น. โกย ทราย, เอา มือ คุ้ย ทราย ใส่ ตะกร้า ที่ ตะแคง อยู่ นั้น. โกย เอา, ฅือ เอา มือ ทั้งสอง ประคอง คุ้ย เอา ฃอง มี เฃ้า เปน ต้น.
ก้อย (43:7)
         คือ นิ้ว มือ ที่ เล็ก ยิ่ง กว่า นิ้ว ทั้ง ปวง นั้น.
กวย (43:8)
         คือ คน พวก หนึ่ง คล้าย กับ ข่า.
เกี่ยว (43:9)
         การ ที่ คน เอา ฃอ เกี่ยว ฃอง สิ่ง ใด ๆ ไว้.
      เกี่ยว กัน (43:9.1)
               เหมือน ลูก โซร่ ที่ มัน ติด ๆ กัน นั้น.
      เกี่ยว เข้า (43:9.2)
               การ ที่ คน เอา เคียว งอ ๆ มี คม เกี่ยว เอา ต้น เข้า, แล้ว ตัด ให้ ฃาด ออก ไป แล้ว มัด เปน กำ ๆ.
      เกี่ยว กระหวัด (43:9.3)
               คือ ผูก เกี้ยว พัน เข้า แล้ว กระหวัด รัด เข้า ไว้ นั้น.
      เกี่ยว ค่อง (43:9.4)
               การ ที่ คน ติด พัน เข้า ฃอง เงิน ทอง กัน, หฤๅ เปน ความ อัน ใด อัน หนึ่ง ติด พันธ์ กัน อยู่.
      เกี่ยว ดอง (43:9.5)
               พ่อ แม่ ข้าง ผู้ ชาย กับ พ่อ แม่ ฃ้าง ผู้ หญิง ที่ อยู่ กิน เปน ผัว เมีย กัน นั้น, ว่า เกี่ยว ดอง กัน.
เกี้ยว (43:10)
         การ ที่ ผู้ ชาย พูด จา กับ หญิง ด้วย คำ ดี, ด้วย ปราถนา อยาก ได้ เปน ผัว เมีย กัน.
      เกี้ยว กระหวัด (43:10.1)
               การ ที่ เถา วัล พันท์ ไม้, หฤๅ งู มัน รัด สัตว.
      เกี้ยว เลี้ยว (43:10.2)
               คือ พูด แพะ โลม โดย การ สังวาศ นั้น.
      เกี้ยว ผู้ หญิง (43:10.3)
               ผู้ ชาย รักษ ผู้ หญิง คิด อุบาย พูด จา ด้วย คำ ดี ต่างๆ ประสงค์ จะ ให้ ผู้ หญิง รักษ.
      เกี้ยว พาร (43:10.4)
               ความ เหมือน กัน กับ เกี้ยว, แต่ พาร เปน คำ สร้อย.
เกื้อ (43:11)
         (dummy head added to facilitate searching).
      เกื้อ กูล (43:11.1)
               การ ที่ ช่วย อุด หนุน เหมือน คน ขัด สน แล้ว มี ผู้ เมตา ให้ เงิน ไป ทำ ทุน.
      เกื้อ หนุน (43:11.2)
               ความ เมือน กัน.
เก้อ (43:12)
         อาการ ที่ คน บัง เกิด ความ อาย เพราะ ที่ ตัว ทำ ความ ชั่ว ต่าง ๆ ที่ ไม่ อยาก ให้ ผู้ อื่น รู้.
      เก้อ เขิน (43:12.1)
               คือ บัง เกิด ความ อาย แล้ว ต้อง เมิน หน้า เสีย ไม่ ดู หน้า ใคร ได้.
      เก้อ ขวย (43:12.2)
               ความ เหมือน กัน.
      เก้อ อาย (43:12.3)
               คือ อาการ ที่ ขวย อาย, คือ เขา ส่ง ฃอง ให้ ตัว เอื้อม มือ ไป รับ, เขา ไม่ ส่ง ให้ ตัว ๆ ไม่ ได้ ก็ ขวย อาย ไป นั้น.
กะกะ (43:13)
         อาการ ที่ คน โหยก เหยก ประพฤษดิ์ ไม่ เรียบ ร้อย, หฤๅ คน ทำ การ รื้อ เรือน ไม้ เขะขะ อยู่ ไม่ เรียบ ร้อย.
แกะ (43:14)
         การ ที่ คน เอา สิ่ง ใด ๆ มา แล้ว เอา มีด แกะ เปน รูป ต่าง ๆ หฤๅ เอา เล็บ แกะ ดิน เหนียว เปน ต้น. อนึ่ง เปน ชื่อ สัตว สี่ ท้าว ตัว มัน คล้าย กับ แพะ นั้น.
      แกะ เกา (43:14.1)
               อาการ ที่ คน เอา เล็บ แกะ เกา ที่ ตัว เช่น คน ออก ผี ดาด, หฤๅ เปน บาด แผล อื่น ๆ ครั้น ค่อย หาย ตก เสก็ด แล้ว เอา เล็บ แกะ เกา นั้น.
      แกะ กิน (43:14.2)
               คือ การ ที่ คน เอา เล็บ แกะ ของ, มี น้ำ ตาน ม่อ เปน ต้น แล้ว กิน นั้น.
      แกะ ดอกไม้ (43:14.3)
               คือ การ ที่ คน เอา สิ่ง ของ ใด ๆ มา แกะ ด้วย เครื่อง มือ ให้ เปน ดอก ไม้. อนึ่ง เอา มือ แกะ ดอก ไม้ นั้น.

--- Page 44 ---
      แกะ และ (44:14.4)
               การ ที่ อน เอา ขวาน ถาก ไม้ ใหญ่ ที่ ละ เล็ก ละ น้อย.
เกาะ (44:1)
         ทวีป, แผ่นดิน หฤๅ ภูเขา อยู่ กลาง น้ำ.
      เกาะ กุม (44:1.1)
               อาการ ที่ คน เปน ใหญ่ ใช้ ให้ คน ไป เอา ตัว ผู้ ที่ ต้อง คะดี มา ไว้.
      เกาะ ขาม (44:1.2)
               เปน ชื่อ เกาะ อัน หนึ่ง มี อยู่ ใน อ่าว ทเล ไทย.
      เกาะโดด (44:1.3)
               ชื่อ เกาะ อัน หนึ่ง มี อยู่ ใน ทเล น้ำ เค็ม.
      เกาะ ตัว ไว้ (44:1.4)
               กุม ตัว ไว้, การ ที่ คน เปน นาย ทำมรง หฤๅ ผู้ คุม, กัก ตัว คน ไว้ ไม่ ให้ ไป.
      เกาะ บาง นาง อิน (44:1.5)
               ชื่อ เกาะอัน หนึ่ง อยู่ ใน แม่ น้ำ แขวง กรุง เก่า.
      เกาะ พระ (44:1.6)
               ชื่อ เกาะ อัน หนึ่ง มี อยู่ ใน แม่ น้ำ ใกล้ กรุง เก่า.
      เกาะ มหาพราหม (44:1.7)
               ชื่อ เกาะอัน หนึ่ง มี อยู่ ใน แม่ น้ำ แขวง กรุง เก่า.
      เกาะ หมาก (44:1.8)
               ชื่อ เกาะ อัน หนึ่ง มิ อยู่ ไน อ่าว ทเล ตวัน ตก.
      เกาะ เรียน (44:1.9)
               ชื่อ เกาะ อัน หนึ่ง มี อยู่ ใน แม่ น้ำ ใกล้ กรุง เก่า
      เกาะ ศีชัง (44:1.10)
               ชื่อ เกาะ อัน หนึ่ง มี อยู่ ใน อ่าว ทเล ไท, ใกล้ ปาก น้ำ เจ้า พระยา นั้น.
      เกาะ ลังกา (44:1.11)
               ชื่อ เกาะ อัน หนึ่ง อยู่ ตรง อ่าว มังกะลา ออก ไป.
      เกาะ เสม็ด* (44:1.12)
               ชื่อ เกาะ อัน หนึ่ง มี อยู่* ใน อ่าว ทเล ตวัน ออก.
กอ (44:2)
         ต้อ ไม้ หฤๅ ต้น ผัก ต้น หญ้า ทั้ง ปวง เดิม เปน ต้น เดียว แล้ว งอก ขึ้น มาก มั่ว สุม กัน อยู่ นั้น.
      กอ กล้วย (44:2.1)
               ต้น กล้วย เดิม ต้น เดียว, แล้ว แตก หน่อ งอก ขึ้น มาก มั่ว สุม กัน อยู่ นั้น.
      กอ กล้าย (44:2.2)
               ต้น กล้าย แตก หน่อ งอก ติด กัน มั่ว สุม อยู่.
      กอ เข้า (44:2.3)
               ต้น เข้า แตก หน่อ งอก ต่อ ๆ ติด กัน ออก ไป หลาย ต้น.
      กอ ข่า (44:2.4)
               ต้น ข่า งอก ขึ้น หลาย ต้น เปน หมู่ อยู่ นั้น.
      กอ ขิง (44:2.5)
               ต้น ขิง แตก หน่อ งอก ขึ้น หลาย ต้น เปน หมู่ อยู่.
      กอ แขม (44:2.6)
               ต้น แขม แตก หน่อ งอก ออก ไป หลาย ต้น เปน หมู่ อยู่
      กอ ตะไคร้ (44:2.7)
               ต้น ตะไคร้ แตก หน่อ งอก ขึ้น มั่ว สุม เปน หมู่ อยู่.
      กอ จาก (44:2.8)
               ต้น จาก งอก ขึ้น เปน หมู่ -อยู่.
      กอ หญ้า (44:2.9)
               ต้น หญ้า งอก ขึ้น เปน หมู่.
      กอ ดอกไม้ (44:2.10)
               ต้น ดอก ไม้ ทั้งบวง งอก ขึ้น ติด กัน เปน หมู่ อยู่.
      กอ เตย (44:2.11)
               ต้น เตย แตก หน่อ ขึ้น มั่ว สุม เปน หมู่ อยู่ นั้น.
      กอ ไผ่ (44:2.12)
               ต้น ไผ่ แตก หน่อ งอก ขึ้น มั่ว สุม เปน หมู่ อยู่.
      กอ แฝก (44:2.13)
               ต้น แฝก งอก ขึ้น เปน หมู่ อยู่.
ก่อ (44:3)
         คน เอา อิฐ วาง ลง เอา ปูน ใบ สอ ใส่, แล้ว เอา อิฐ ซ้อน ๆ ต่อ กัน ขึ้น ไป. อนึ่ง ติด ไฟ ก่อ ขึ้น ใน เตา.
      ก่อ กรรม (44:3.1)
               สร้าง กรรม, คน หฤๅ สัตว พึ่ง แรก ทำ กรรม ก่อนทีเดียว.
      ก่อ กำแพง (44:3.2)
               คน เอา อิฐ มา ซ้อน ๆ กัน ขึ้น ไป ทำ กำแพง นั้น.
      ก่อ ก้น (44:3.3)
               การ ที่ คน จะ สาน สิ่ง ใด ๆ มี สมุก เปน ต้น แรก จับ สาน ขึ้น นั้น.
      ก่อ การ (44:3.4)
               คน พึ่ง แรก จับ ทำ การ ทั้ง ปวง.
      ก่อ ความ (44:3.5)
               เหตุ การ แรก ที่ ให้ เกิด ความ นั้น.
      ก่อ ตึก (44:3.6)
               การ ที่ คน เอา อิฐ มา ซ้อน ๆ ต่อ ขึ้น เปน ฝา ผนัง ทำ ตึก.
      ก่อ ไฟ (44:3.7)
               ติด ไฟ, คน เอา ลม ปาก เป่า ไฟ ที่ ชุด หฤๅ เป่า ไฟ ที่ กอง ให้ ลุก ขึ้น.
      ก่อ สร้าง (44:3.8)
               การ ที่ คน จะสร้าง สิ่งใดๆแล การ ที่ แรก จับ ทำ เข้า นั้น.
      ก่อ เหตุ (44:3.9)
               การ ใด ๆ ที่ ทำ เปน ต้น เดิม เหตุ นั้น.
      ก่อ อิฐ (44:3.10)
               คน เอาอิฐ มาวาง ซ้อน ๆ ต่อ กัน ขึ้นไป ใส่ ปูน ใบ สอ ด้วย.
ก้อร่อ (44:4)
         คือ ปัตะก้อ เหมือน คนได้ ชะนะ แล พูด จา จ้อ อยู่ นั้น.
ก็ ดี* (44:5)
         เปน คำ พูด ถึง ของ สอง สิ่ง เปน ต้น ว่า นั่น ก ดี นั่น ก็ ดี นั้น, ว่า นั่น ด้วย นั่น ด้วย ก็ ได้.
กรรม (44:6)
         คือ การ ที่ บุคล กระทำ ดี หฤๅ กระทำ ชั่ว นั้น แล.
      กรรม กร (44:6.1)
               การ ดี แล การ ชั่ว ที่ บุคล กาะทำ นั้น.
      กรรมฐาน (44:6.2)
               การ ที่ บุคล มี เพียร ยัง ปัญา พิจารณา ซึ่ง นาม แล รูป เหน จริง ว่า ไม่ เที่ยง ไช่ ตน.
      กรรมบถ (44:6.3)
               คือ บุญ แล บาป เกิด ขึ้น เพราะ กาย สาม, คือ ฆ่า สัตว ลัก ทรัพย์ ผิด ประเวณีย์, เพราะ วาจา สี่ คือ ตลก เล่น ด่า ปด ส่อ เสียด, เพราะ ใจ สาม คือ โลภ พยาบาท เห่น ผิด ว่า ถูก.
กรร เกษ (44:7)
         การ ที่ คน เอา มีด โกน กรร หน้า กรร ไร ผม ที่ เด็ก ไว้ ผม จุก นั้น.
กรรจ์ (44:8)
         การ ที่ คน ช่วย รักษา มิ ให้ เกิด อันตราย.
กรรณ์ (44:9)
         ฯ ว่า หู.
กรรฐ (44:10)
         ฯ ว่า ฅอ
กรรผม (44:11)
         การ ที่ คน เอา มีด โกน กรร ผม ให้ เสมอ กัน.
กรรไร (44:12)
         การ ที่ คน เอา มีด โกน กรร ไร ผม ให้ เสมอ กัน.
กรร แสง (44:13)
         คำ เขมน, ภาษา ไท ว่า ร้อง ไห้.
กรีธา (44:14)
         การ ตระ เตรียม พล ทหาร นั้น.

--- Page 45 ---
      กรีธา พล (45:14.1)
               ความ เหมือน ที่ ว่า แล้ว.
      กรีธา ทับ (45:14.2)
               คือ ตระ เตรียม กอง ทับ.
กรี (45:1)
         อาวุทธ์ อย่าง หนึ่ง เปน สาม ง่าม ติด กัน ปลาย แหลม เหมือน หอก.
กรี กุ้ง (45:2)
         คือ ที่ มัน เปน ปลาย แหลม อยู่ ที่ หัว กุ้ง นั้น.
กรีดา (45:3)
         ฯ ว่า กระทำ.
กรี ทูต (45:4)
         คือ คน เปน ทูต ที่ สาม นั้น.
กรุ (45:5)
         เปน ที่ เขา ขุด ทำ ไว้ ใต้ ดิน สันถาน เหมือน หีบ ใหญ่ สำหรับ ไว้ ของ. อนึ่ง ที่ หย่าง หนึ่ง เอา กระดาน บาง ๆ กรุ ขึ้น ไป เหมือน ฝา ฉาง เข้า.
      กรุ ฝา (45:5.1)
               คือ เอา ใบ จาก บุ เข้า ทำ เปน ฝา, หฤๅ กระดาน ทำ เปน ฝา นั้น.
กรู (45:6)
         พรู คน มาก วิ่ง เข้า ไป พร้อม กัน, ว่า กรู เข้า ไป
      กรู กัน (45:6.1)
               คือ คน มาก พรู เข้า มา พร้อม กัน นั้น.
กรู (45:7)
         เพลา เช้า มืด แรก สว่าง นั้น.
กร่ไป (45:8)
         คือ เที่ยว เร่ ไป.
แกร (45:9)
         ฃอง เขา ทำ ด้วย ทอง เหลือง เปน คัน ยาว ข้าง ปาก บาน. เหมือน ดอก ลำโพง เป่า ดัง เปน ฃอง สำหรับ ราชการ หลวง.
      แกร งอน (45:9.1)
               คือ ฃอง เปน รูป งอน เหมือน เฃา งัว มี รู สำหรับ เป่า เปน เครื่อง สูง ใน ราชการ นั้น.
ไกร (45:10)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง มี ราก คล้าย กับ ต้น ไทร ใบ อ่อน กิน ได้. อนึ่ง เปน ผ้า นุ่ง ห่ม พระสงฆ์ พร้อม สาม ผืน.
      ไกร ษร (45:10.1)
               สิงหราช, ฯ สัตว หย่าง หนึ่ง คือ ราชสีห์ หฤๅ สิงห์ โต เปน ลัตว ร้าย, เสียง ดัง เหมือน เสียง ฟ้า.
      ไกร ลาศ (45:10.2)
               ฯ ภู เขา แห่ง หนึ่ง ศี ขาว เหมือน เงิน, ว่า อยู่ เนิน เขา หิมภาน คน ไม่ ได้ เหน มี ใน หนังสือ.
โกรธา (45:11)
         ฯ ว่า ใจ โกรธ.
กรำ (45:12)
         การ งาน ที่ คน หฤๅ สัตว เขา ใช้ ให้ ทำ การ ตาก แดด ตาก ลม ตาก ฝน ตาก น้ำ ค้าง. อนึ่ง ฃอง ที่ ทน อยู่ กลาง ฝน กลาง แดด กลาง น้ำ ค้าง.
      กรำ กราก (45:12.1)
               คือ ให้ อยู่ ร่ำ ไป ใน ที่ ทำ การ เปน ต้น.
กร่ำ (45:13)
         ที่ คน เอา ไม้ ปัก ใน น้ำ มาก ๆ, แล้ว เอา ต้น ผัก ปลูก ไว้ ให้ ปลา อาไศรย. อนึ่ง คน หวด หญ้า นา แล้ว หวด ซ้ำ ตัด ตอ ให้ ต่ำ ลง.
      กร่ำ หญ้า (45:13.1)
               คือ ฟัน หวด ตอ หญ้า ที่ ฟัน ไว้ ที หนึ่ง แล้ว นั้น.
กระ (45:14)
         สัตว หย่าง หนึ่ง ตัว เหมือน เต่า เขา เอา กระดอง ทำ เครื่อง ใช้ สอย ต่าง ๆ, ศี เหลื่อม ลาย ดำ เหลือง ต่าง ๆ.
กระกฎ (45:15)
         ฯ เปน ชื่อ ราษี ใน สิบ สอง ราษี นั้น.
กระกูล (45:16)
         โคตร์, เชื้อ สาย, วงษ์, เผ่า พันธุ, เครือ ญาติ, ว่า ประยูรรวงษ.
กระเจา (45:17)
         ปอ หย่อง หนึ่ง ต้น ไม่ สู่ โต นัก, เขา เอา เม็ด หว่าน ปลูก เหมือน เข้า มี อยู่ ตาม ทุ่ง นา แขวง กรึง เก่า
กระจก (45:18)
         ฃอง ทำ ด้วย แก้ว เกลือก ปะหรอด สำหรับ ดู เงา.
กระจัด กระจาย (45:19)
         คือ พรัด พราย ไป.
กระจุก กระจิก (45:20)
         เข้า ฃอง ทั้ง ปวง สิ่ง ละ อัน พัน ละ น้อย.
กระจอก (45:21)
         คน หฤๅ สัตว ฃา ลีบ ฃา เสีย เดิร โขยก ๆ, ว่า กระจอก.
กระจง (45:22)
         สัตว หย่าง หนึ่ง สี่ ตีน รูป เหมือน อีเก้ง, ตัว เท่า แมว, กิน ผัก กิน หญ้า อยู่ ป่า.
กระจัง (45:23)
         ฃอง ที่ ช่าง สลัก เอา ไม้ ทำ รูป คล้าย ใบ โพธิ์, ต้น โต ปลาย เรียว แล้ว สลัก เปน ลาย กระหนก ประดับ ธรรม์ มาศ เปน ต้น.
กระจ่าง (45:24)
         กระจก ที่ ใส สว่าง, ไม่ มัว หมอง, หฤๅ ท้อง ฟ้า ไม่ มี เมฆ ปิด บัง ดวง อาทิตย์ ดวง จันทร์ หมด ราศี.
กระเจิง (45:25)
         อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว เที่ยว ไป ใน ที่ ไม่ เคย ไป, เซอะ ซะ ไป ข้าง โน้น บ้าง, ขา‍้ง นี้ บ้าง, เพราะ ไม่ รู้ แห่ง.
กระจัด กระจาย (45:26)
         คือ พรัด พราก จาก กัน เรี่ย ราย ไป.
กระจาด (45:27)
         ของ สาน ด้วย ไม้ รูป แบน ๆ สำหรับ จ่าย ตลาด. อนึ่ง สาน เปน ตา โต ๆ หก มุม ปากเปน กระจัง ใส่ ขนม ทำบุญ,
กระจูด (45:28)
         ต้น หญ้า หย่าง หนึ่ง ขึ้น อยู่ ที่ ทุ่ง นา สำหรับ สาน เสื่อ สาน กระสอบ.
กระจ้อน (45:29)
         สัตว อย่าง หนึ่ง ตัว เหมือน กะรอก, หาง เปน พวง, สี่ ตีน, อยู่ บน ต้น ไม้, กิน ลูก ไม้.
กระจับ (45:30)
         ผัก อย่าง หนึ่ง ขึ้น อยู่ ใน น้ำ, ผล เหมือน หัว ควาย, ต้ม กิน ดี.
กระจับปี (45:31)
         เครื่อง มะโหรี อย่าง หนึ่ง, รูป แบบ เปน วง กลม มี คัน มี นม มี สาย สี่ เส้น.
กระจาบ (45:32)
         นก อย่าง หนึ่ง ตัว เท่า นก กะจอก, อยู่ ทุ่ง นา ทำ รัง อาไศรย ดี กว่า นก ทั้ง ปวง.
กระจิบ (45:33)
         นก อย่าง หนึ่ง ตัว เล็ก ๆ ร้อง เสียง จิบ ๆ, กิน หนอน.

--- Page 46 ---
กระจุบ (46:1)
         ฃอง เขา ทำ ด้วย ดิน บ้าง ทำ ด้วย สิ่ง อืน บ้าง, เปน สาม ฃา มี รู อยู่ กลาง สำหรับ ตาม ตะเกียง.
กระเจียบ (46:2)
         ผัก อย่าง หนึ่ง ต้น ไม่ สู่ โต ใบ แฉก ๆ ลูก กิน เปริ้ยว อนึ่ง ลูก ไก่ เล็ก ๆ มัน ร้อง เจียบ ๆ ว่า ลูก กะเจียบ.
กระโจม (46:3)
         อาการ คน หฤๅ สัตว กะโดด เข้า จับ กัน. อนึ่ง คน เอา ไม้ ไผ่ มา ผูก เปน โครง เหมือน สุ่ม, แล้ว เอา ผ้า คลุม, เข้า อยู่ ใน นั้น ให้ เหื้อ ออก.
กระจาย (46:4)
         เข้า ฃอง ที่ สุม ไว้ แล้ว เกลี่ย แผ่ ออก ไป, หฤๅ ผม ที่ เกล้า ไว้ ขยาย แผ่ ออก ไป.
กระจุย (46:5)
         การ ที่ คน หฤๅ สัตว ประชุม กัน อยู่, แล้ว มี ผู้ มา ไล่ ให้ วิ่ง แตก กัน ไป. อนึ่ง เช่น นุ่น ที่ ถูก ลม แล ปลีว ออก จาก ที่.
(46:6)
         
กระเจียว (46:7)
         ผัก อย่าง หนึ่ง ต้น ใบ เช่น ขมิ่น, ขึ้น อยู่ กลาง ทุ่ง กลาง ป่า ข้าง เมือง เหนือ, ดอก มัน กิน ได้
กระเจอะ กระเจิง (46:8)
         อาการ ที่ คน เที่ยว เข้า ไป ข้าง โน้น บ้าง, มา ข้าง นี้ บ้าง ด้วย ยัง ไม่ รู้ แห่ง.
กระแจะ (46:9)
         เครื่อง ปรุง กลิ่น หอม นัก สำหรับ อบ ผ้า นุ่ง ห่ม บ้าง, สำหรับ ทา ตัว บ้าง.
กระเจาะ (46:10)
         ของ ทำ ด้วย เหล็ก รูป เช่น เสียม เล็ก ๆ สำหรับ ขุด ดิน, เปน คำ เหนือ. อนึ่ง ตา คน เสีย เปน ต้อ นั้น.
กระฉอก (46:11)
         อาการ ทิ่ น้ำ ใน ขัน หฤๅ น้ำ ใน แม่ น้ำ กระฉ่อน ขึ้น ด้วย กำลัง ลม เปน ต้น.
กระฉีด (46:12)
         อาการ ที่ น้ำ ใน โคลน คน เหยียบ ลง กระฉูด ขึ้น มา.
กระฉูด (46:13)
         อาการ ที่ น้ำ ใน กระบอก, หฤๅ น้ำ ใน โคลน ที่ กด เข้า หฤๅ เหยียบ ลง น้ำ ปรีด ขึ้น มา เปน ต้น นั้น.
กระฉาน (46:14)
         คือ การ ที่ ระลอก ซัด มา กะทบ เรือ หฤๅ ฝั่ง ดัง ฉาดฉาน นั้น.
กระฉ่อน (46:15)
         อาการ ที่ น้ำ ใน แม่ น้ำ หฤๅ น้ำ ใน ภาชนะ กระฉอก นั้น กะเพื่อม ด้วย กำลัง ลม ประหาร.
กระชุ (46:16)
         ของ สาน ด้วย ไม้ ไผ่ คล้าย ๆ รูป กะสอบ สำหรับ ใส่ หนุ่น บ้าง ใส่ ฝ้าย บ้าง.
กระเช้า (46:17)
         ของ สาน ด้วย ไม้ ไผ่ คล้าย ๆ กับ กะบุง เล็ก ๆ.
กระชะ (46:18)
         ของ สาน ด้วย ไม้ บ้าง ด้วย หวาย บ้าง รูป แบน ๆ เช่น แฟ้ม มี หู อยู่ ที่ ปาก สอง ข้าง.
กระชาก (46:19)
         อาการ ที่ คน จะ ชัก ชุด สิ่ง ใด เหนี่ยว กะชาก มา ด้วย กำลัง แรง.
กระโชก (46:20)
         อา การ ที่ คน ขู่ ตะ คอก ด้วย วาจา เพราะ โกรธ, บาง ที ทำ หยอก เล่น, เพื่อ จะ ให้ ตก ใจ.
กระชัง (46:21)
         ฃอง ทำ ด้วย ไม้ เปน สี่ เหลี่ยม แบน ๆ เช่น ขยาบ, มุ่ง ด้วย จาก ผูก ไว้ ตาม น่า แพ กัน แดด.
กระแชง (46:22)
         ฃอง คน เอา ใบ จาก บ้าง, ใบ เตย บ้าง, มา เย็บ ต่อ ติด กัน เข้า, เปน แผ่น โต สำหรับ บัง แดด ฝน.
กระเชียง (46:23)
         ฃอง คน ทำ ด้วย ไม้ รูป คล้าย กับ แจว, สำหรับ ตี ภุ้ย ลง ใน น้ำ ให้ เรือ แล่น ไป
กระชด กระช้อย (46:24)
         อาการ ที่ หญิง สาว ที่ จะริด งอน ทำ เปน พูด ไม่ ใคร่ ชัด แล้ว ทำ ฅอ อ่อน ไป อ่อน มา.
กระชั้น (46:25)
         คือ ชิด ใกล้ ฆ่า ศึก หฤๅ เรือ ที่ เขา ติด ตาม รุก เข้า มา ใกล้.
กระชุ่น (46:26)
         อาการ ที่ เดิร เอา ตีน ดุน เข้า, หฤๅ เอา มือ ดุน กระทัง เข้า ให้ เขา รู้ ตัว.
กระชับ (46:27)
         คือ ไม่ ลื่น คน ขึ้น ต้น ไม้ ถ้า ตีน มือ ไม่ ลื่น ไม่ พลาด จาก ต้น ไม้ ว่า กระชับ.
กระชาย (46:28)
         ผัก อย่าง หนึ่ง ต้น แดง ๆ สูง ค่า สอก, มี หัว อยู่ ใต้ ดิน กลิ่น หอม, แกง กิน ดี, ทำ อยา ก็ ได้.
กระเชอ (46:29)
         ฃอง สาน ด้วย ไม้ ไผ่ เช่น กะบุง มี หู ร้อย เชือก สำหรับ หาบ หิ้ว ได้.
กระแซ (46:30)
         คน ชาติ หนึ่ง พูด คล้าย ผม่า, นุ่งห่ม ไว้ ผม แต่ง ตัว เหมือน ผม่า.
กระซิก (46:31)
         เสียง คน ร้อง ไห้ เบา ๆ, ว่า ร้อง กระ ซิก ๆ
กระซุก กระซิก (46:32)
         คือ แซก ปะปน กัน คอ ก่อ ตึก หฤๅ ปลูก เรือน ปลูก ต้น ไม้ ไม่ เปน ระยะ ไม่ เปน แถว เยียด ยัด กัน อยู่.
กระซอก กระแซก (46:33)
         ที่ ถนน หน ทาง เปน ตรอก แวะ ออก จาก ทาง ใหญ่ หลาย แห่ง หลาย ตำบล,
กระซุง (46:34)
         คน เจ้า ผะนักงาน คน เจ้า กระทรวง.
กระทรวง (46:35)
         การ ผะนัก งาน การ ตำแหน่ง.
กระซูด กระซีด (46:36)
         เสียง คน ร้อง ไห้ พลาง สั่ง ขี้ มูก พลาง.
กระเซ็น (46:37)
         อาการ ที่ ฝน ตก หฤๅ น้ำ หยด ลง ถึง พื้น แตก กระเดน ไป.
กระซิบ (46:38)
         เสียง คน พูด เบา ๆ เสียง กระสาบ ๆ.
กระซุบ กระซิบ (46:39)
         เสียง คน สอง คน พูด กัน เบา ๆ เสียง กระสาบ ๆ.
กระเซอ (46:40)
         อาการ ที่ คน ไม่ ใคร่ จะ รู้ จัก ขนบ ทำเนียม จะ พูดจา การ งาน สิ่ง ใด เช่น คน ละเมอ พูด.
กระดี (46:41)
         เรือน เปน ที่ อยู่ ของ พวก พระสงฆ์ ทั้ง ปวง.
กระดี่ (46:42)
         เปน ชื่อ ปลา ตัว แบน เล็ก ๆ อย่าง หนึ่ง.

--- Page 47 ---
กระได (47:1)
         ของ ทำ ด้วย ไม้ เปน คัน ๆ บ้าง, ก่อ ด้วย อิฐ เปน คั่น ๆ แล้ว ถือ ปูน สำหรับ ขึ้น ลง.
กระเด้า (47:2)
         อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว ทำ บั้น เอว ยัก ไป ยัก มา ข้าง หน้า ข้าง หลัง กระโดก ๆ.
กระดำ กระด่าง (47:3)
         ของ สิ่ง ใด ๆ ศี ดำ บ้าง ด่าง บ้าง เขียว บ้าง แดง บ้าง ปะปน กัน อยู่ นั้น.
กระดก (47:4)
         อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว หฤๅ สิ่ง ของ ใด ๆ ทำ หัว ยก ขึ้น ก้ม ลง บ่อย ๆ, เหมือน กิ้ง ก่า นั้น.
กระดาก (47:5)
         อาการ ที่ ฅน ทำ ความ ผิด เล็ก น้อย, แล้ว คน อื่น ถาม ถึง ความ นั้น, ผู้ นั้น คิอ อาย ใน ใจ พูด ไม่ เต็ม ปาก.
กระดิก (47:6)
         อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว ทำ ให้ มือ แล ท้าว, หฤๅ หาง ให้ แกว่ง ไป แกว่ง มา ไหว ๆ
กระดึก กระดื (47:7)
         คือ ใจ คน แก่ มี อายุ มาก เมื่อ เหน หญิง สาว ๆ มี ใจ คิด รักษ อย่าก ใคร่ ได้ เปน เมีย, ว่า กระดึก กระดือ.
กระดุก (47:8)
         อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว ที่ ยัง อยู่ ใน ครรภ มัน ดิ้น อยู่ ใน ท้อง เปน ต้น.
กระดุก กระดิก (47:9)
         อาการ คน หฤๅ สัตว ทำ มือ แล ท้าว เปน ต้น ให้ หวั่น ไหว ไป มา.
กระดูก (47:10)
         ฃอง สิ่ง ที่ เปน ท่อน ๆ แฃง เปน โพรง มี สมอง อยู่ ภาย ใน กาย แห่ง สัตว แล มนุษ ทั้ง ปวง.
กระดูก งู (47:11)
         ไม้ เฃา ทำ เปน สัน ยาว อยู่ กลาง ท้อง เรื่อ นั้น. อนึ่ง สิ่ง ที่ เปน ท่อน ๆ แขง อยู่ ใน ตัว งู นั้น.
กระโดถ (47:12)
         อาการ ที่ คน ตำ เฃ้า หฤๅ แจว เรือ ทำ ผัว ผงก ขึ้น ผงก ลง.
กระดอก (47:13)
         อาการ คน ถ่อ เรือ หฤๅ คน ภาย เรือ ทำ หัว ผงก ขึ้น ผะ งก ลง.
กระเดือก (47:14)
         อาการ คน หฤๅ สัตว กลืน เข้า, กลืน น้ำ, แล น้ำ ลาย หฤๅ อาหาร ทั้ง ปวง มิ ใคร่ จะ ลง นั้น.
กระด้ง (47:15)
         ฃอง เครื่อง ฝัด, สาน ด้วย ตอก เปน แผ่น ๆ, มี ขอบ เปน วง กลมรอบ.
กระดังงา (47:16)
         ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง โต ประมาณ ห้า กำ หก กำ, ดอก ศี เหลือง เปน กลีบ ยาว ๆ กลิ่น หอม.
กระดางลาง (47:17)
         อาการ คน กระด้าง มัก พูด จา ตลก ขะนอง กล่าว คำ ไม่ มี ประโยชณ์.
กระด้าง (47:18)
         สิ่ง ที่ แขง หฤๅ คน ไจ แขง ถือ ตัว มิ ใคร่ จะ อ่อน น้อม ต่อ ท่าน ผู้ มี คุณ.
กระดิ่ง (47:19)
         ของ เฃา หล่อ ด้วย ทอง เหลือง รูป สูง ๆ คล้าย ระฆัง, มี ลูก เหล็ก แขวน ข้าง ใน สั่น ดัง กริ๋ง ๆ.
กระดึง (47:20)
         ฃอง เขา หล่อ ด้วย ทอง เหลือง รูป คล้าย ระฆัง มี ลูก เหล็ก แขวน ข้าง ใน มี ใน โพ ห้อย ลม พัด เสียง ดัง.
กระดอง (47:21)
         สิ่ง ที่ เปน กระดูก แขง ห่อ หุ้ม อยู่ นอก กาย สัตว เช่น เต่า แล ปู เปน ต้น.
กระดอง หีริ์ (47:22)
         คือ รูป อะไวยะวะ ที่ ลับ แห่ง หญิง.
กระเดื่อง (47:23)
         ฃอง ทำ ด้วย ไม้ เปน คัน ยาว ข้าง ปลาย มี สาก เช่น สาก ตำ เข้า, เหยียบ ข้าง ต้น ลง แล้ว ปลาย กระดก ขึ้น.
กระดองกระ (47:24)
         คือ กะดูก รูป สัตว สี่ ท้าว มัน อยู่ ใน น้ำ, รูป เหมือน เต่า แต่ ร่าง กระดูก มัน มี ลาย นั้น.
กระดอง เต่า (47:25)
         สิ่ง ที่ เปน กระดูก แขง ห่อ หุ้ม อยู่ ภาย นอก เนื้อ เต่า.
กระดอง ตะภาบ น้ำ (47:26)
         คือ กระดูก รูป สัตว คล้าย กับ เต่า นั้น, ตัว มัน โต กว่า เต่า มัน เปน สัตว น้ำ.
กระดอง ปู (47:27)
         สิ่ง ที่ มัน เปน กระดูก แขง ครอบ อยู่ บน หลัง ปู ทั้ง ปวง นั้น.
กระดาศ (47:28)
         สิ่ง ที่ ทำ ด้วย เปลือก ไม้ บ้าง ทำ ด้วย ฟาง บ้าง ทำ ด้วย สำลี บ้าง, สำหรับ เขียน หนังสือ เปน ต้น.
กระโดด (47:29)
         อาการ คน หฤๅ สัตว โจน ลง ใน น้ำ หฤๅ โจน ลง ใน เรือ หฤๅ โจน ค่าม ท้อง ร่อง เปน ต้น
กระเดียด (47:30)
         อาการ ผู้ หญิง ไป ตลาด หฤๅ ไป ไหน เอา กะจาด หฤๅ กะโล่ ใส่ ที่ บั้น เอว เดิร ไป.
กระเดิด (47:31)
         คือ เริด ขึ้น กะดาน ที่ ตรึง ตี ตะปู ไว้, แล้ว กะดาน นั้น เผยอ ขึ้น.
กระดาร (47:32)
         คือ ไม้ จริง เปน แม่น ๆ เขา เอา ไม้ ขอน ศัก มา เลื่อย เปน แผ่น บาง บ้าง หนา บ้าง
กระดาร หมากรุก (47:33)
         กระดาร สี่ เหลี่ยม ทำ เปน ตา เล็ก ๆ สำหรับ วาง ตัว หมากรุก เล่น กัน
กระเด็น (47:34)
         การ ที่ น้ำ หฤๅ สิ่ง ของ ใด ๆ ตก ลง ถึง พื้น แล้ว กลับ กระเซ็น หฤๅ กระดอน ไป.
กระโดน (47:35)
         ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง มี อยู่ ตาม ป่า เมือง เหนือ, ลูก กลม เท่า ผล ชมภู, เปลือก มัน ใช้ รอง หลัง ช้าง ตาง หนัง.
กระดอน (47:36)
         การ ที่ ของ สิ่ง ใด ๆ ตก ลง ถึง พื้น กะท้อน ขึ้น, หฤๅ ของ สิ่ง ใด ที่ ต่อย เข้า ไป แล้ว กลับ ถอย หลัง ออก มา.
กระดวน (47:37)
         สิ่ง ของ ที่ เปน โพรง เอา ไม้ อุด เข้า ไป, ว่า กระดวน.
กระดิบ (47:38)
         อาการ ที่ น้ำ ไหล ขึ้น ช้า ๆ หฤๅ สัตว ที่ ค่อย คลาน ช้า ๆ, เช่น อย่าง หนอน เปน ต้น.

--- Page 48 ---
กระดุบ (48:1)
         อาการ ที่ ลุก ช้าง หฤๅ ลูก งัว วิ่ง กลาง ทุ่ง, หฤๅ หนู วิ่ง อยู่ ใต้ เสื้อ ใต้ ผ้า นูน ๆ ไป เหมือน ลูก คลื่น.
กระดุม (48:2)
         ของ สำหรับ ติด กับ เสื้อ ทำ, ด้วย ทอง คำ บ้าง ทอง เหลือง บ้าง ทำ ด้วย สิ่ง อื่น บ้าง.
กระดอม (48:3)
         ชื่อ ผัก อย่าง หนึ่ง ต้น เปน, เถา ใบ มัน คาย ๆ, ผล เปน เหลี่ยม, รศ ขม, ทำ อยา ก็ ได้, แกง กิน ก็ ดี.
กระด้วม กระเดี้ยม (48:4)
         อาการ คน หฤๅ สัตว ที่ อ้วน หนัก จน เดิร ไม่ ใคร่ ไหว ทำ อาการ เช่น เด็ก เล็ก ๆ นั้น.
กระแด่ว (48:5)
         อาการ ที่ ทารก อ่อน ๆ นอน อยู่ ใน เบาะ ดิ้น ขวัก ไขว่, หฤๅ สัตว ที่ ติด แร้ว ดิ้น รน ขวัก ไขว่.
กระแดะ (48:6)
         ของ เขา ทำ ด้วย เขา กวาง, สันถาน คล้าย กับ ค้อน เล็ก ๆ, สำหรับ เคาะ สิว สลัก ของ, เปน เครื่อง ทำ ทอง.
กระเดาะ (48:7)
         เสียง คน ทำ ปาก ให้ ดัง เดาะ ๆ, ว่า กระเดาะ ปาก.
กระดอ (48:8)
         ของ ที่ ลับ ของ คน แล สัตว ทั้ง ปวง, ที่ มัน เปน ตัว ผู้ เปน ชาย นั้น.
กระติ (48:9)
         เรือน เปน ที่ อยู่ ของ พระสงฆ์ ทั้ง ปวง ทำ เปน เรือน โต, ฝา กระดาร บ้าง ฝา จาก บ้าง.
กระแต (48:10)
         สัตว อย่าง หนึ่ง มี สี่ ท้าว คล้าย กับ กะรอก, หน้า เสี้ยม ปาก แหลม เหมือน หนู อยู่ ใน สวน กิน ผล ไม้.
กระตัก (48:11)
         ของ ที่ เขา เอา เหล็ก แหลม ฝัง ที่ ปลาย ไม้ ให้ ยื่น ออก เท่า เม็ด เข้า, แต่ ด้ำ มัน ยาว สาม ศอก สำหรับ แทง งัว.
กระตาก (48:12)
         ไก่ ตัว ผู้ หฤๅ ไก่ ตัว เมีย มัน ไข่ แล้ว, หฤๅ มัน ตก ใจ ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง มัน ร้อง เสียง อย่าง นั้น.
กระติก (48:13)
         ของ ทำ ด้วย ดิน รูป เหมือน ขวด สำหรับ ใส่ สิ่ง ฃอง กะ จุก กะจิก เล็ก น้อย มา แต่ เมือง จีน บ้าง เมือง ญวน บ้าง.
กระตุก (48:14)
         อาการ คน เล่น ว่าว เอา มือ กะทก ป่าน ให้ ว่าว มัน ขึ้น ไป.
กระตังบาย (48:15)
         ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง พนึ่ง ต้น ไม่ สู้ โต ขึ้น อยู่ ตาม สวน ใบ อ่อน กิน กับ เข้า ได้.
กระตุ่ง กระติ่ง (48:16)
         การ ที่ ผล ไม้ ติด ห้อย อยู่ บน ต้น มาก, หฤๅ สิ่ง ของ เล็ก น้อย ผูก แขวน ไว้ บน เรือน มาก.
กระต่อง กระแต่ง (48:17)
         สิ่ง ของ ที่ ผูก แขวน ห้อย เรียง ราย อยู่ มาก.
กระเตื้อง (48:18)
         อาการ ที่ สิ่ง ของ อัน จม อยู่ ใน น้ำ หฤๅ ใน ดิน ยก เผยอ ฃึ้น ได้, หฤๅ คน ป่วย หนัก คอย บัน เทา ขึ้น.
กระตุด (48:19)
         ของ ทำ ด้วย ตะกั่ว บ้าง เงิน บ้าง ทอง แดง บ้าง ทอง คำ บ้าง, ลง เลกยัญ เปน เครื่องสำหรับ ปอ้ง กัน อัน ตราย ต่างๆ
กระตอด (48:20)
         เสียง ผู้ หญิง ใจ ร้าย ปาก กล้า บ่น คำ หยาบ ตัด ภ้อ ต่าง ๆ, ว่า บ่น กระตอด ๆ.
กระตุ้น (48:21)
         สิ่ง ของ ที่ ยก ขึ้น ไม่ ไหว, เขา ช่วย ผะยุง ให้ กระเตื้อง บ้าง, หฤๅ คน ช่วย ว่า กล่าว ตัก เตือน ด้วย ธุระ อัน ใด อัน หนึ่ง, ว่า กระตุ้น.
กระเต็น (48:22)
         นก อย่าง หนึ่ง ตัว เท่า นก กะลีง, ขน เฃียว ปาก เหลือง, อยู่ ทุ่ง นา ตาม หนอง น้ำ, กิน ปลา.
กระเต้น (48:23)
         สัตว อย่าง หนึ่ง ตัว เท่า กับ ตุ่น คล้าย กับ หนู พุก, ขาว บ้าง ด่าง บ้าง, แต่ ไม่ มี หาง, กิน หญ้า.
กระตอน (48:24)
         คน ปาก ร้าย ใจ โกรธ, แล้ว ย่อม กล่าว คำ ตัด ภ้อ ต่าง ๆ, ว่า บ่น กระตอน.
กระต้วม กระเติ้ยม (48:25)
         คน หฤๅ สัตว ที่ อ้วน ภี่ หนัก, เนื้อ หนัก ตัว, เดิร ไม่ ใคร่ ไหว, ว่า เดิร กระต้วม กระเตี้ม.
กระต่าย (48:26)
         สัตว สี ท้าว อย่าง หนึ่ง หู ยาว ๆ, ตัว ขาว บ้าง ด่าง บ้าง. อนึ่ง ไม้ รูป คล้าย กระต่าย เอา เหล็ก ใส่ เข้า สำหรับ ขูด มะพร้าว.
กระแตว (48:27)
         อาการ สัตว ติด บ่วง ติด แร้ว ดิ้น รน หนัก, หฤๅ คน ที่ ต้อง โทษ ดิ้น รน อยาก จะ ใคร่ ออก.
กระต่อย (48:28)
         พลู อย่าง หนึ่ง มี อยู่ ใน ป่า ใน ดง, ใบ โต กว่า พลู สวน, รศ เผ็ด กล้า.
กระตั้ว (48:29)
         นก อย่าง หนึ่ง ตัว ขาว เท่า กับ เหยียว, ปาก เหมือน นก แก้ว แต่ ศี ดำ, พูด ภาษา คน ได้.
กระเตาะ กระแตะ (48:30)
         อาการ เด็ก ๆ พึง สอน อย่าง สอน เดิร, ว่า เดิร กระเตาะ กระแตะ.
กระเตาะแหลม (48:31)
         ไก่ ตัว ผู้ ที่ รุ่น หนุ่ม เดือย งอก ขึ้น พึง จะ ลอก แหลม ใหม่ ๆ.
กระถาง (48:32)
         ของ ทำ ด้วย ดิน เปน เหลี่ยม บ้าง กลม บ้าง รี บ้าง, เคลือบ ศี ต่าง ๆ, สำหรับ ปลูก ต้น ไม้ บ้าง ใส่ สิ่ง อื่น บ้าง.
กระถิน (48:33)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ใบ เล็ก ดอก ศี เหลือง บ้าง ศี นวน บ้าง. กลิ่น หอม. อนึ่ง ผ้า ที่ เข้า ทอด ไว้ ท่ำ กลาง สงฆ์.
กระโถน (48:34)
         ภาชน์ อย่าง หนึ่ง ทำ ด้วย ดิน บ้าง, ทำ ด้วย ตะกั่ว บ้าง, ทำ ด้วย เงิน บ้าง ทอง เหลือง บ้าง, สำหรับ บ่วน น้ำลาย.
กระทา (48:35)
         นก อย่าง หนึ่ง ตัว ลาย จุด กระ ๆ, โต เท่า ไก่ รุ่น ๆ, ขัน เสียง เพราะ, อยู่ ตาม ชาย ทุ่ง ชาย ป่า, กิน ลูก หญ้า.

--- Page 49 ---
กระทิ (49:1)
         น้ำ ใน เนื้อ มะพร้าว นั้น, ที่ ขูด แล้ว บิด ออก นั้น.
กระทือ (49:2)
         ผัก อย่าง หนึ่ง มี หัว อยู่ ใต้ ดิน, รศ เผ็ด ทำ อยา ก็ ได้, ต้ม กิน ได้, แกง ปลา ไหล กิน ก็ ดี.
กระทู้ (49:3)
         ต้น ความ, หฤๅ หลัก ความ, หฤๅ ข้อ ความ, หฤๅ ใจ ความ, หฤๅ เสา รั้ว, หฤๅ ต้น เหตุ.
กระเท (49:4)
         อาการ ที่ คน อู้ม เด็ก เที่ยว เร่ ไป นั้น เปน ต้น.
กระไท (49:5)
         คน ฝัด เข้า, แล้ว กะแทะ ให้ เข้า สาน ไป อยู่ ข้าง หนึ่ง, ให้ เข้า เปลือก ไป อยู่ ข้าง หนึ่ง, ว่า กระไท เข้า.
กระทำ (49:6)
         การ ที่ คน จัด แจง การ งาน หั้งปวง สร้าง บ้าน สร้าง เรือน เปน ต้น.
กระทะ (49:7)
         เครื่อง ภาชน์ ทำ ด้วย เหล็ก บ้าง, ทอง เหลือง บ้าง, ทอง แดง บ้าง, ดิน บ้าง, รูป แบน ๆ มี หู ที่ ปาก.
กระทก (49:8)
         การ ที่ ฅน ผูก เชือก ไว้ สำหรับ กะตุก. อนึ่ง เขา เอา แป้ง ใส่ กะด้ง แล้ว กะแทก ให้ แป้ง หยาบ ตก ไป ข้าง หนึ่ง.
กระทิกริก (49:9)
         ผู้ หญิง รุ่น สาว ขึ้น, ว่า สาว กระทิกริก.
กระแทก (49:10)
         การ ที่ เรือ แพ กำลัง แล่น โดน ตอ โดน ตลิ่ง เข้า, หฤๅ วัว ควาย เอา หัว โดน กัน เข้า หนัก ๆ, หฤๅ เอา เสา หยอน ลง ใน หลุม.
กระทอก (49:11)
         การ ที่ เอา น้ำ ใส่ กระบอก ฉีด แล้ว กระแทก ขึ้น กระแทก ลง.
กระทง (49:12)
         ของ ทำ ด้วย ใบ ตอง, รูป เหมือน จาน ชา สำหรับ ใส่ ของ กิน, หฤๅ ที่ นา เขา ทำ เปน อัน ๆ, หฤๅ ผ้า จีวร เขา ตัด เปน ท่อน ๆ.
กระทง เจิม (49:13)
         ของ เขา ทำ ด้วย ใบ ตอง บ้าง, ด้วย กะดอด บ้าง, กาบ พลับพลึง บ้าง, เอา มา ม้วน แล้ว ติด ลง ที่ มอบ ปาก.
กระทง เรือ (49:14)
         ไม้ ขวาง ใน เรือ มี ลิ้น ที่ สำหรับ ปิด กระดาน พื้น.
กระทง แสลง (49:15)
         คือ ใจ ความ ที่ กระลาการ คัด ขึ้น เปน ข้อ ๆ นั้น.
กระทงเหว (49:16)
         ปลา อย่าง หนึ่ง ตัว เล็ก ๆ, ปาก ยาว แหลม ๆ.
กระทั่ง (49:17)
         ไป ถึง, หฤๅ ถึง กำหนด, ว่า กระทั่ง เข้า.
กระทั่ง ติด (49:18)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ยาง เหนียว เหมือน กาว.
กระทั่ง ตัว (49:19)
         ไป ถึง ตัว, หฤๅ เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง ถึง ตัว.
กระทิง (49:20)
         สัตว อย่าง หนึ่ง รูปร่าง เหมือน วัว, เขา เหมือน วัว ตัว โต กว่า วัว, อยู่ ป่า.
กระทึง (49:21)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ใบ เท่า ฝ่า มือ, ดอก เหมือน ดอก สาระ ภี, ผล กลม ๆ เท่า ลูก กะสุน.
กระทุง (49:22)
         นก อย่าง หนึ่ง ตัว เท่า ห่าน, ขน ขาว มัว, ชอบ ลง ลอย เล่น ใน น้ำ กิน ปลา
กระทุง หมา บ้า (49:23)
         เถา วัน อย่าง หนึ่ง, ใบ กลม ๆ เท่า ฝ่า มือ, ใช้ ทำ อยา, ว่า เถา กระทุง หมา บ้า.
กระทุง ลาย (49:24)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ขึ้น อยู่ ใน ป่า ลูก มัน ทำ น้ำมันได้.
กระทุ้ง (49:25)
         การ ที่ คน ทำ ราก ตึก เอา อิฐ หัก ใส่ เอา ไม้ พลอง ตำ กะ แทก ลง ไป, หฤๅ เรือ ดั้ง เขา เอา ไม้ เสร้า กะแทก ลง ไป.
กระทด กระทัน (49:26)
         ต้น ไม้ ที่ ลำต้น คด โกง ไป มา เปนต้น นั้น.
กระทาด (49:27)
         เถา อย่าง หนึ่ง หัว เช่น มัน, กิน ได้, ขึ้น อยู่ ใน ป่า เถา, เปน หนาม.
กระท่อน กระแท่น (49:28)
         คือ ของ ยาว แล ขาด หวิ้น เปน ท่อน ๆ ไป นั้น
กระเทือน (49:29)
         การ ที่ ไหว หวั่น เมื่อ คน เดิร หนัก เรือน ไหว, หฤๅ เรือ ที่ คน ห่ม หนัก ๆ ไหว ไป ทั้ง ลำ.
กระทบ (49:30)
         อาการ ที่ เรือ แพ หฤๅ สิ่ง ของ ใด มา กะแทก กัน เข้า, หฤๅ ถ้อย ความ เขา ซัด ทอด มา ถึง.
กระทืบ (49:31)
         อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว ยก ท้าว ขึ้น แล้ว กะแทก ลง หนัก ๆ นั้น.
กระทบ กระเทียบ (49:32)
         คำที่ คน พูดจา เสียด สี เปรีย เทียบ ด้วย วา จา นั้น.
กระทั่ม (49:33)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ดอก ใบ คล้าย กับ กระทุ่ม, ขึ้น อยู่ กลาง ทุ่ง.
กระทุ่ม (49:34)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ใบ เล็ก ดอก คล้าย ดอก ตะกู, กลิ่น หอม, ขึ้น อยู่ ชาย ป่า. อนึ่ง คน ว่าย น้ำ เอา ตีน กะทุ่ม ลง.
กระทอม (49:35)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ใบ คล้าย กระทุ่ม, กิน เมา คล้าย ฝิ่น. อนึ่ง เรือน เตี้ย ๆ เล็ก ๆ สำหรับ คน จร อาไศรย
กระท้อม กระแท้ม (49:36)
         การ ไม่ มาก นัก เช่น การ โกน จุก หฤๅ การบวช นาค การ บ่าว สาว จัด แจง ทำ ตาม ทำ เนียม บ้าง เล็ก น้อย.
กระเทียม (49:37)
         คือ ต้น ผัก หัว มัน เปน กลีบ ๆ, มี รศ เผ็ด ร้อน นัก.
กระเทื้อม (49:38)
         สะเทื้อน, สะท้าน, หฤๅ หวันไหว, เช่น ช้าง มัน ค่อย เดิร ไป เปน ปรกติ ว่า เดิร ไม่ กระเทื้อม.
กระเทย (49:39)
         คน หฤๅ สัตว ไม่ เปน เพษ ชาย ไม่ เปน เพษ หญิง, มี แต่ ทาง ปัศสาวะ.
กระทาย (49:40)
         ของ สาน ด้วย ไม้ เท่า กระบุง เล็ก ๆ เขา ทพ เชี่ยน หมาก บ้าง ใส่ หลอด ด้าย บ้าง.
กระเทาะ (49:41)
         สิ่ง ของ ได ๆ หฤๅ เปลีอก ไม้ ที่ มัน เก่า แก่ นาน แล้ว ก็ หลุด ล่อน ตก ลง จาก ต้น นั้น.

--- Page 50 ---
กระทอ (50:1)
         ของ สาน ด้วย ไม้ เปน ตา กรวย, ข้าง ใน กรุ ด้วย ใบ ไม้, มี หู รูด, รูป แบน ๆ, สำหรับ ใส่ ผ้า.
กระทรวง (50:2)
         ตำแหน่ง, หฤๅ ตาม ที่, หฤๅ ตาม ผะนัก งาน.
กระหนอ กระแหน (50:3)
         คำ เด็ก ๆ พึง สอน พูด ๆ ยัง ไม่ ชัด, ว่า พูด กระหนอ กระแหน. ใด
กระหนี่ (50:4)
         ตระหนี่, ความ หวง เข้า ของ, ไม่ ปราถนา จะ ให้ แก่ ผู้
กระไน (50:5)
         นก อย่าง หนึ่ง ปาก มัน คม แขง, เจาะ ไม้ ได้ เช่น สิ่ว. อนึ่ง เปน ชื่อ บ้าน แห่ง หนึ่ง ชื่อ บาง ตะในย, หฤๅ กระไน.
กระหนก (50:6)
         เปน ชื่อ ลาย เขียน อย่าง หนึง เขา มัก เขียน เปน ลาย รด น้ำ ปิด ทอง ไว้ ที่ ตู้ บ้าง
กระหนัก (50:7)
         ความ รู้ แจ้ง, หฤๅ รู้ แน่, รู้ แท้, รู้ ประจัก, รู้ ชัด, รู้ ตลอด นั้น.
กระหนุง กระหนีง (50:8)
         อาการ ทารก เล็ก ๆ อ้อน บิดา มารดา, ด้วย คำ ต่าง ๆ นั้น.
กระนั้น (50:9)
         ความ เหน ด้วย กัน, อย่าง นั้น เช่น นั้น.
กระหนาบ (50:10)
         การ ที่ ทาบ เข้า ฝา เรือน, หฤๅ ของ สิ่ง ใด ๆ อ่อน ไป เอา ไม้ อื่น ทาบ เข้า สอง ข้าง, แล้ว ผูก ไว้ หฤๅ ตรึง ไว้
กระหนอบ (50:11)
         นิ่ง เสีย, หฤๅ อย่า อึง ไป, ภาษา มอญ.
กระเหนาะ กระแหนะ (50:12)
         คำ ที่ คน พูด ไม่ ชัด เหมือน แขก มลายู.
กระบ้า (50:13)
         ของ ที่ เขา เอา ไม้ หฤๅ อก เต่า หฤๅ งา ช้าง ทำ เปน ลูก ล้อ กลม ๆ
กระบี่ (50:14)
         อาวุทธ์ อย่าง หนึ่ง กล้าย กับ ดาบ คม ดี มี กง มือ ด้วย.
กระบือ (50:15)
         เปน ชื่อ บ้าน แห่ง หนึ่ง อยู่ ใน แขวง เมือง ประทุมธานี. อนึ่ง เปน ชื่อ ควาย.
กระบู้ กระบี้ (50:16)
         สิ่ง ของ รูป พรรณ มี ตลับ แล เครื่อง กิน เปน ต้น ยับ บู้ บี้ ไป.
กระเบา (50:17)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ผล เท่า ลูก ซ่ม โอ ย่อม ๆ, เม็ด ใน กิน เมา. อนึ่ง เปน เครื่อง อาวุทธ์ อย่าง หนึ่ง คน สอง ข้าง.
กระบะ (50:18)
         ภาชน์ อย่าง หนึ่ง ทำ ด้วย ไม้ เปน สี่ เหลี่ยม หำหรับ ใส่ กับ เข้า กิน
กระบะ เดชะ (50:19)
         คือ อาการ ที่ มี บุญ มาก ขึง ปึ่ง อยู่ เปน สง่า นั้น, ว่า ประกอบ ด้วย กระบะ เดชะ มาก.
กระบก (50:20)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ผล แบน ๆ เท่า ลูก สะบ้า, เม็ด ใน กิน ดี มัน เหมือน ถั่ว, มิ อยู่ ใน ป่า.
กระบาก (50:21)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง เปน ไม้ ใหญ่ ขึ้น อยู่ ใน ป่า.
กระแบก (50:22)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ดอก เปน ศี ม่วง เหมือน ดอก อิน ทะ นิล งาม, ต้น โต, เขา เลื่อย ทำ กระดาน พื้น เรือน บ้าง.
กระบอก (50:23)
         ของ ทำ ด้วย ไม้ ไผ่ บ้าง, ทำ ด้วย ตะกัว บ้าง, เหล็ก วิ. ลาด บ้าง, สำหรับ ตัก น้ำ กิน.
กระบัง (50:24)
         เปน ของ อย่าง หนึ่ง ศี ของ เหมือน ฝุน. อนึ่ง ทำ เปน รูป แบน ๆ เขา ใส่ ที่ ต้น หอก บ้าง ที่ ดาบ บ้าง.
      กระบัง หน้า (50:24.1)
               เครื่อง ประดับ อย่าง หนึ่ง ทำ ด้วย ทอง คำ บ้าง, ทำ ด้วย สิ่ง อื่น บ้าง, เปน ลวด ลาย ต่าง ๆ สำหรับ ใส่ ที่ หน้า ผาก
      กระบัง หอก (50:24.2)
               ทำ ด้วย เหล็ก บ้าง ด้อย ทอง เหลือง บ้าง, เปน รูป แบน ๆ, คร่ำ เงิน บ้าง คร่ำ ทอง บ้าง, ใส่ ที่ ต้น หอก.
กระบ่าง (50:25)
         สัตว สี่ ท้าว อย่าง หนึ่ง อยู่ บน ต้น ไม้ ใน ดง, รูป คล้าย คล้าย กะรอก เมื่อ มัน กระโดด ไป นั้น, แผ่ หนัง ท้อง แบน เปน ปีก ออก สอง ข้าง บิน ได้.
กระบิ้ง (50:26)
         ท้อง นา เปน กระทง เล็ก ๆ, ว่า นา กระบิ้ง.
กระบึง (50:27)
         คน ทำ การ งาน สิ่ง ใด ๆ หฤๅ เดิร ทาง ไม่ อยุด ทำ ร่ำ ไป เดิร ร่ำ ไป, ว่า กระบึง ไป.
      กระบึง กระบอน (50:27.1)
               อาการ ที่ คน ใจ น้อย มัก โกรธ มิ ใคร่ จะ พูด จา กับ คน ที่ มา พูด จา ด้วย นั้น, ว่า กระบึง กระบอน.
กระบุง (50:28)
         ของ ที่ คน สาน ด้วย เส้น ตอก, รูป คล้าย ๆ กระเช้า, สำหรับ ใส่ เข้า ของ ต่าง ๆ.
กระเบง (50:29)
         อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว อัด อั้น ลม ไว้, แล้ว เบ่ง ท้อง ให้ แขง ขึ้น, หฤๅ ตะเบง ร้อง ไห้ เสียง ดัง ขึ้น ไป นั้น.
กระแบงมาร (50:30)
         อาการ ที่ คน ห่ม ผ้า เฉียง บ่า ทำ ให้ ชาย ใคว่ กัน ไป ข้าง ละ ชาย, แล้ว เอา ชาย ตลบ มา ผูก ไว้ ข้าง หน้า นั้น.
กระบอง (50:31)
         ของ ทำ ด้วย ไม้ เปน เหลี่ยม บ้าง กลม บ้าง, ยาว บ้าง สั้น บ้าง สำหรับ ตี คน แล สัตว.
กระเบื้อง (50:32)
         ของ ทำ ด้วย ดิน เปน แผ่น แบน ๆ, สำหรับ มุง หลัง คา, หฤๅ เปน แผ่น ใหญ่ ๆ สำหรับ ปู พื้น บ้าง, หฤๅ ภาชนะ ที่ ทำ ด้วย ดิน แล้ว มัน แตก ออก ไป นั้น.
      กระเบื้อง เกลด (50:32.1)
               ของ ทำ ด้วย ดิน เปน แผ่น แบน ๆ หาง ทำ แลม เมื่อ มุง แล้ว ดู เปน เกล็ด, คล้าย เกล็ด ลิ้น นั้น.
      กระเบื้อง เคลือบ (50:32.2)
               ของ ทำ ด้วย ดิน เปน แผ่น ๆ แล้ว เคลือบ ศี ต่าง ๆ.
      กระเบื้อง จีน (50:32.3)
               เปน ของ สำหรับ ปู พื้น, เรียก อย่าง นั้น เพราะ เอา มา แต่ เมือง จีน.

--- Page 51 ---
      กระเบื้อง ชาม (51:32.4)
               เปน กระเบื้อง แตก จาก ชาม.
      กระเบื้อง โปร่ง (51:32.5)
               ของ ทำ ด้วย ดิน เปน แผ่น สี่ เหลี่ยม บ้าง, กลม กลม บ้าง, แล้ว ทะลุ ปรุ โปร่ง เปน ลวด ลาย ต่าง ๆ.
      กระเบื้อง ฝน อยา (51:32.6)
               ของ ทำ ด้วย ดิน เหมือน จาน เล็ก ๆ สำหรับ ฝน อยา แก้ โรค.
กระบถ (51:1)
         การ ที่ ราษฎร ชาว เมือง หฤๅ ข้า ราชการ คิด ประทุษร้าย ไม่ ซื่อ ตรง ต่อ พระ มหา กระษัตร.
กระบัด (51:2)
         การ ที่ คน ฉ้อ ทรรพย์ ผู้ อื่น, ว่า กระบัด สีน ท่าน.
กระบิด (51:3)
         การ ที่ คน เอา ผ้า หฤๅ เชือก บิด ๆ เข้า, หฤๅ คน มุง หลังคา บิด ตอก นั้น.
กระเบียด (51:4)
         นิ้ว หนึ่ง แบ่ง เปน สี่ ส่วน เอา แต่ ส่วน หนึ่ง, ว่า กระ- เบียด หนึ่ง.
      กระเบียด กระเสียน (51:4.1)
               การ ที่ คน พูด จา เสียด สี ด้วย ถ้อย คำ ต่าง ๆ หฤๅ กด ขี่ เบียด เบียน.
กระบัน (51:5)
         ของ ทำ ด้วย เหล็ก บ้าง, ทอง เหลือง บ้าง, รูป กลม ๆ, โต เท่า ด้ำ ภาย, ข้าง ใน กลวง เปน รูป ยาว คืบ เศศ.
กระบาน (51:6)
         ของ ทำ ด้วย กาบ หยวก หฤๅ สิ่ง อื่น เปน สาม เหลี่ยม บ้าง สี่ เหลี่ยม บ้าง, ใส่ ฃอง กิน ต่าง ๆ เส้น ผี.
      กระบาน บ้าน (51:6.1)
               ที่ ลาน บ้าน เปน ที่ ดิน ราบ เสมอ, ไป ไม่ เปน ร่อง เปน คู.
      กระบาน หัว (51:6.2)
               ที่ หัว ข้าง บน ทั้ง หมด, คำ เขมน.
กระบิล (51:7)
         เปน ชื่อ เมือง ฝ่าย ทิศ ตวัน ออก เมือง หนึ่ง.
กระบูน (51:8)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง มี อยู่ ตาม ชาย ทเล, ผล กลม ๆ โต เท่า ผล ส้ม โอ รศ ฝาด ทำ ยา ได้ ต้น มัน ใช้ ทำ ฟืน.
กระเบน (51:9)
         ปลา อย่าง หนึ่ง อยู่ น้ำ เค็ม บ้าง น้ำ จืด บ้าง, ตัว เท่า จาน แบน ใหญ่ หลัง คม คาย เปน เม็ด.
      กระเบน นก (51:9.1)
               ปลา อยู่ น้ำ เค็ม ตัว แบน ๆ, มี เงี่ยง แหลม, มี เชิง สอง ข้าง, เปน ปีก บิน บน น้ำ ได้.
      กระเบน หาง (51:9.2)
               ที่ โคน หาง แห่ง นก แล เป็ด ไก่ ทั้ง ปวง.
กระบ่อน กระแบ่น (51:10)
         คน ถาก หญ้า แห่ง ละ เล็ก ละ น้อย, หฤๅ หนู กัด สิ่ง ฃอง มี ผ้า เปน ต้น ที่ โน่น หน่อย ที่ นี่ หน่อย, ว่า กัด กระ- บ่อน กระแบ่น.
กระบวน (51:11)
         อาการ เด็ก ๆ เขา ให้ ของ กิน, ใน ใจ นั้น อยาก จะ เอา, แต่ ปาก ว่า ไม่ เอา เพราะ อาย อยู่.
กระเบียน (51:12)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ผล คล้าย กับ กระเบา, เม็ด ใน กิน เมา, มี อยู่ ตาม ริม น้ำ, ป่า ฝ่าย เหนือ.
กระบุบ (51:13)
         อาการ ปลา กระดี่ หฤๅ สลิด เมื่อ* มัน ลอย อยู่ เสมอ น้ำ, มัน อ้า ปาก ทำ ขมุบ ๆ, หฤๅ สิ่ง ของ ที่ บาง กด บุบ ๆ.
กระบอม (51:14)
         ตี ร่ำ ไป, หฤๅ ทุบ ร่ำ ไป, ว่า ตี กระบอม.
กระบาย (51:15)
         ของ สาน ด้วย ตอก คล้าย ๆ กระบุง, สำหรับ ซาว เข้า บ้าง ใส่ เข้า สุก บ้าง.
กระบอย (51:16)
         คน ทำ การ งาน ทั้ง ปวง ช้า ๆ, หฤๅ ไป ไหน ช้า ว่า เดิร กระบอย.
กระบวย (51:17)
         ของ ทำ ด้วย กะลา มะพร้าว บ้าง, ทำ ด้วย ทอง เหลือง บ้าง, มี ด้ำ มี คัน, สำหรับ ตัก น้ำ.
กระเบือ (51:18)
         คือ เข้า สาน ที่ เขา เอา มา ใส่ ชาม แช่ น้ำ ไว้ ด้วย ประ- สงค์ จะ ตำ ใน เครื่อง แกง เพื่อ จะ ให้ น้ำ แกง คุ่น.
กระเบ้อ กระบง (51:19)
         อาการ คน โง่ ที่ ไม่ รู้ จัก ภาษา, เข้า ไป ใน ที่ ประ- ชุม คน มาก, หฤๅ ใน พระราชวัง มี ความ กลัว ทำ กะเล่อ กล่า.
กระแบะ (51:20)
         คือ ผ้า ท่อน เล็ก ๆ น้อย ๆ ค่า คืบ ค่า ศอก, หฤๅ เสื่อ ท่อน เล็ก ท่อน น้อย เปน ต้น นั้น.
กระเป๋า (51:21)
         ของ ทำ ด้วย หนัง บ้าง ทำ ด้วย ผ้า บ้าง, รูป คล้าย ๆ กับ ถุง สำหรับ ใส่ ยา แดง, ผูก ไว้ ที่ กล้อง สูบ ยา.
กระปุก (51:22)
         ของ ทำ ด้วย ดิน บ้าง, ด้วย ตะกั่ว บ้าง ทอง เหลือง บ้าง, ด้วย แก้ว บ้าง สำหรับ ใส่ ขมิ่น บ้าง ใส่ หมึก บ้าง.
กระเปาะ (51:23)
         ของ ที่ คน ทำ แหวน หฤๅ ทำ เครื่อง ประดับ ต่าง ๆ เอา ทอง มา ทำ เปน วง เข้า, แล้ว ตั้ง ติด เปน ที่ ใส่ พลอย.
กระผาก (51:24)
         สิ่ง ของ ที่ ตวง มา ถัง หนึ่ง, หฤๅ สัด หนึ่ง, หฤๅ กะเภาะ หนึ่ง, แล้ว แบ่ง เปน แปด ส่วน เอา แต่ ส่วน หนึ่ง, ว่า กระผาก หนึ่ง.
กระผีก (51:25)
         ของ ที่ ตวง ด้วย ถัง หฤๅ ด้วย สัด ด้วย กะเภาะ แล้ว แบ่ง เปน สี่ ส่วน. ส่วน หนึ่ง นั้น ว่า กระผีก หนึ่ง.
กระพี้* (51:26)
         เนื้อ ไม้ ทั้ง ปวง ที่ ถัด เปลือก เข้า ไป, นอก แก่น ออก มา, เปน เนื้อ ศี ขาว ๆ อยู่ นั้น.
กระพือ (51:27)
         การ ที่ คน ทำ ให้ ลม เกิด ขึ้น ด้วย พัด เปน ต้น.
กระพอก (51:28)
         ที่ ๆ คน กิน เล่า นั่ง ล้อม กัน กิน เปน พวก อยู่ นั้น.
กระเพิก (51:29)
         พื้น ที่ ฝี เปน หนอง, แล้ว หนอง มัน กัด เนื้อ เปน กะพุ้ง เข้า ไป, หฤๅ น้ำ เซาะ ตลิ่ง เปน โพลง เข้า ไป.
กระพง (51:30)
         ปลา อย่าง หนึ่ง ตัว โต, มี เกล็ด โคน หาง กิ่ว, หฤๅ สิ่ง ของ ใด ๆ เมื่อ กำลัง มี ชุม อยู่ นั้น.
กระพง กิน (51:31)
         คือ กำลัง กิน อยู่
กระพง ทำ (51:32)
         คือ กำลัง ทำ อยู่.

--- Page 52 ---
กระพง (52:1)
         หอย อย่าง หนึ่ง ชื่อ มัน อย่าง นั้น,.
กระพั้ง (52:2)
         ที่ ๆ ขัง น้ำ อยู่ คล้าย บ่อ นั้น.
กระพวง (52:3)
         บ้าน แห่ง หนึ่ง อยู่ เมือง เหนือ แขวง เมือง พิศณุโลกย์.
กระพด (52:4)
         ของ ทำ ด้วย ไม้ รวก ลำ เล็ก ๆ ยาว ประมาณ สอง ศอก เศศ, ข้าง ปลาย มี สาย เชือก สำหรับ ตี ควาย.
กระพัด (52:5)
         คน หฤๅ สัตว ไล่ สิ่ง ใด ๆ ไป ไม่ อยุด เลย, ว่า ไล่ กระพัด ไป.
กระเพิด (52:6)
         เสียง ที่ คน ร้อง ตวาด ด้วย เสียง ดัง.
กระเพิ่น (52:7)
         อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว ต่าง คน ต่าง วิ่ง หนี เขา กระจัด พรัด พราย กัน ไป.
กระพุ่ม (52:8)
         คือ ฃอง มาก ประชุม กัน เปน จอม แหลม ขึ้น ไป นั้น มี กระพุ่ม มือ เปน ต้น.
กระภุ้ง (52:9)
         ม่อ ไห แล เครื่อง ภาชนะ ใช้ สอย สิ่ง ใด ๆ ที่ กลาง กำลัง กว้าง แห่ง ม่อ แล ไห นั้น, ว่า กระพุ้ง.
      กระภุ้ง แก้ม (52:9.1)
               ที่ ข้าง ๆ แก้ม ทั้ง สอง ข้าง นั้น กว้าง, ว่า กระภุ้ง แก้ม.
กระเภาะ (52:10)
         สิ่ง ที่ สำหรับ รับ อาหาร ใหม่ ย่อม มี อยู่ ใน กาย คน แล สัตว สันถาน เหมือน ถุง. อนึ่ง สิ่ง ที่ ตวง เข้า.
กระเหม่า (52:11)
         ของ สี ดำ ทำ ด้วย ควัน ไต้ ควัน เทียร หฤๅ ควัน ตะเกียง เปน ต้น.
กระหมุด (52:12)
         ดอก ไม้ อย่าง หนึ่ง* สันถาน เหมือน บัว หลวง, ก้าน ไม่ มี หนาม, เกิด ใน น้ำ.
กระหมุก (52:13)
         ของ ที่ เขา เอา ใบ ตอง แห้ง บ้าง หญ้า คา บ้าง เผา ไฟ ให้ ไหม้, แล้ว ประสม ขี้ รัก สำหรับ ลง ตู้ เปน ต้น.
กระมัง (52:14)
         เปน ชื่อ บ้าน แห่ง หนึ่ง มี อยู่ ใน แขวง เมือง พิจิด. อนึ่ง เปน ความ สง ไส ยัง ไม่ รู้ แน่, ว่า ไม่ จริง กระมัง.
กระหมวด (52:15)
         กอ หญ้า หฤๅ เชือก หฤๅ มวย ผม ถ้า ผูก ข้าง ปลาย เข้า ไว้, ว่า กระหมวด.
กระเหม็ด กระแหม่ (52:16)
         คือ ความ ขยัก ขะเหยี่ย ของ ไว้ กลัว มัน จะ หมด เสีย นั้น.
กระมล (52:17)
         ฯ ดอก บัว, ดวงใจ.
กระเหม่น (52:18)
         คือ อาการ ที่ มัน เกิด ริ่ว ๆ อยิบ ๆ เพราะ ลม ใน กาย นั้น.
กระหมับ (52:19)
         ที่ เหนือ ที่ สุด หาง คิ้ว ทั้งสอง ข้าง.
กระมล หฤไทย์ (52:20)
         คือ เนื้อ เปน ที่ อยู่ แห่ง จิตร นั้น.
กระหมิบ (52:21)
         เมื่อ ถ่าย อุจาระ หฤๅ ปัศสาวะ ขณะ เมื่อ ยัง ไหล อยู่ นั้น ทำ ปาก ช่อง ทะวาร ให้ มัน บีบ เข้า ให้ มัน อยุด.
กระหมุบ (52:22)
         เส้น เทพจร ที่ เต้น อยู่, หฤๅ ขม่อม เด็ก อ่อน ๆ ที่ เต้น อยู่ หฤๅ หัว ใจ คน แล สัตว ทั้ง ปวง กระดุบ ๆ นั้น
กระแหมบ (52:23)
         คือ อาการ ที่ ทำ ท้อง ให้ มัน ยอบ เล็ก เข้า.
กระหม่อม (52:24)
         ที่ ๆ กลาง กระบาล หัว.
      กระหม่อม ฉัน (52:24.1)
               เปน คำ คน ไพร่ พูด กับ จ้าว เปน ต้น ว่า ถึง ตัว ว่า เช่น นั้น.
กระแหม่ว (52:25)
         คน หฤๅ สัตว ขะแมบ ให้ ท้อง แห้ง เข้า, ว่า กระแหม่ว.
กระยาคู (52:26)
         เขา ทำ ด้วย ต้น เข้า อ่อน ที่ ยัง เปน น้ำ นม อยู่, เอา มา โขลก ทั้ง เม็ด ทั้ง ใบ, แล้ว กรอง บิด เอา น้ำ เข้า อ่อน ต้ม กับ น้ำ ตาน กรวด.
กระยาจก (52:27)
         ฯ เปน ศับท์ แผลง ว่า คน เที่ยว ขอ กิน.
กระยา ดอก เบี้ย (52:28)
         เงิน ค่า ป่วย การ ที่ คน ขาย ตัว หฤๅ กู้ เงิน หฤๅ จำนำ ทรรพย์ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ไว้ เขา ได้ ส่ง เงิน ดอก เบี้ย ให้ เปน ค่า ป่วย การ.
กระยาสาท (52:29)
         คือ ขนม เขา ทำ เมื่อ สาท สำหรับ ทุก ปี นั้น, คือ เขา ทำ เมื่อ เดือน สิบ สิ้น เดือน นั้น.
กระยาหาร (52:30)
         สาระพัด ของ กิน ทั้ง ปวง.
กระหยก (52:31)
         คน หฤๅ สัตว ขา หัก เดิร ไม่ ปรกติ, ว่า เดิร กระหยก.
กระหยัก (52:32)
         การ ที่ คน หาย ใจ ไม่ เสมอ, หฤๅ ทำ การ ไม่ เสมอ, หฤๅ คน ชัก สูบ ไม่ เสมอ, เปน ต้น.
กระหยาก (52:33)
         สิ่ง ของ ที่ เหลือ เศศ เล็ก ๆ น้อย ๆ เปน หยาก เยื่อ ฝุ่น ฝอย.
กระหยิก (52:34)
         คน หฤๅ สัตว เปน ต้น เกา หัว หู เนื้อ ตัว เหมือน ลิง แล สุนักข์ นั้น.
กระเหยก (52:35)
         อาการ ที่* คน หฤๅ สัตว ขา ลีบ หฤๅ ขา หัก เดิร กระโหยก ๆ
กระแหยก (52:36)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, กิน ลง ท้อง สำหรับ ใช้ ทำ อยา.
กระโหยก (52:37)
         อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว ขา หัก หฤๅ ตีน เจ็บ เดิร กระ- เหยก ๆ.
กระหยอก (52:38)
         อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว กิน อาหาร ไม่ เคี้ยว กลืน ทั้ง ก้อน หฤๅ นก ที่ มัน กลืน ปลา ทั้ง ตัว.
กระเหย่ง (52:39)
         คือ ทำ ให้ ปลาย ท้าว มัน ปัก ลง นั้น, ว่า ท้าว กระเหย่ง.
กระหยับ (52:40)
         อาการ* ที่ เอา สิ่ง ของ ที่ นี่ ยก เลื่อน ไป ไว้ ที่ อื่น, หฤๅ เดิม ตั้ง บ้าน อยู่ ที่ นี่ แล้ว เลื่อน ไป อยู่ ที่ โน่น.
กระแหยง (52:41)
         เปน ชื่อ ปลา อย่าง หนึ่ง มัน มี เงี่ยง, มัน อยู่ ที่ น้ำ จืตร.
กระหยิบ (52:42)
         อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว กะพริบ ตา บ่อย ๆ.
กระหยุบ (52:43)
         นก อย่าง หนึ่ง ทำ หาง กระดก ๆ, หฤๅ สัตว ตัว ผู้ กับ ตัว เมีย มัน สัด กัน.
กระยิ้ม กระย่อง (52:44)
         อาการ ที่ ผู้ ชาย กับ ผู้ หญิง ที่ รักษ กัน มา ภบ ปะ กัน เข้า, แล้ว ทำ เปน หัว เราะ พลาง ยิ้ม พลาง เพราะ ดี ใจ เปน ต้น.

--- Page 53 ---
กระรอก (53:1)
         สัตว สี่ ท้าว อย่าง หนึ่ง รูป ร่าง คล้าย กะแต, หาง ดก เปน พวง, มัน อยู่ บน ต้น ไม้, กิน ลูก ไม้.
กระเหรี่ยง (53:2)
         คน อย่าง หนึ่ง อยู่ ใน ป่า ไว้ ผม นุ่ง ผ้า ห่ม ผ้า คล้าย กับ มอญ, อาไศรย หา กิน อยู่ ตาม ซอก หว้ย ธาร เขา.
กระหรอด (53:3)
         นก หย่าง หนึ่ง ตัว ไม่ สู้ โต, ขน ศี นวล ๆ, ชั่ง พูด ตาม ภาษา นก, กิน ผลไม้.
กระเรียญ (53:4)
         นก หย่าง หนึ่ง ตัว โต สูง เท่า นก ตะกรุม, ฅอ แดง, รอ้ง เสียง ดัง, อาไศรย อยู่ ตาม ทอ้ง ทุ่ง, กิน ปลา.
กระลาการ (53:5)
         คน เปน ผู้ ชำระ ความ ทั้ง ปวง.
กระลาศี (53:6)
         คน ลูก เรือ สำหรับ ใช้ การ งาน เบ็ดเสร็จ ใน กำปั่น.
กระลาโหม (53:7)
         คน เปน นาย ใหญ่, ได้ ว่า กล่าว ฝ่าย พวก ทหาร ทั้ง ปวง หมด, ว่า ราช การ ฝ่าย ใต้.
กระลี (53:8)
         โทษ ที่ คน กระทำ ชั่ว ต่าง ๆ, คือ ผู้ ชาย ต่อ ผู้ ชาย เสพ อะ สะธรรม กัน. หฤๅ ชาย ข่ม ขืน หญิง เด็ก ที่ ยัง ไม่ ควร การ.
กระลำพอก (53:9)
         เปน ของ รูป เหมือน ชะดา, แต่ เขา พัน หุ้ม ดว้ย ผ้า ขาว, เขา ใส่ หัว เมื่อ เกน แห่ เปน เทวดา.
กระลิง (53:10)
         นก หย่าง หนึ่ง ตัว เขียว เหมือน นกแก้ว, แต่ ปาก มัน ดำ.
กระลิงปิง (53:11)
         ต้น ไม้ หย่าง หนึ่ง ผล ออก ตาม ลำ ต้น ลำ กิ่ง, เปน พวง ๆ, ลูก ยาว ค่า นิ้ว มือ, รศ เปรี้ยว.
กระลุมภุก (53:12)
         คือ ไม้ ค้อน ใหญ่.
กระลุ่ม (53:13)
         ของ ทำ ดว้ย หวาย คล้าย รูป ภาน, แล้ว ลง รัก ลอ่ง ชาต สำหรับ ใส่ กับ เข้า, เปน เครื่อง พระสงฆ์ ใช้.
กระลิง (53:14)
         เปน ชื่อ นก หย่าง หนึ่ง ศี ขน มัน เขียว คล้าย นก แก้ว.
กระเล่อ กระล่า (53:15)
         อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว ทำ หน้า ตื่น ตกใจ กลัว, ไม่ รู้ ว่า จะ หนี ไป ข้าง ไหน.
กระหลบ (53:16)
         อาการ ที่ ควัน กลุ้ม อบ ไป ทั้ง เรือน. หฤๅ กลิ่น หอม ฟุ้ง อบ ไป ทั้ง เรือน, ว่า ฟุ้ง กระหลบ ไป
กระหลบ กระแลง (53:17)
         คือ อาการ ที่ รู้ หลบ รู้ หลีก นั้น.
กระวี (53:18)
         ว่า นักปราช, หฤๅ คน มี ปัญา.
กระวี วงษ์ (53:19)
         ชื่อ พระสงฆ์ ที่ เปน ราชาคณะ องค์ หนึ่ง.
กระเหว่า (53:20)
         นก อย่าง หนึ่ง ตัว ดำ บ้าง, ลาย บ้าง, ตา แดง, เสียง ดัง เหมือน ชื่อ มัน, เสียง เพราะ, กิน ผลไม้.
กระวอก กระแวก (53:21)
         คือ อาการ ที่ โว้ เว้ เฉโก วุ่นวาย ไม่ ปรกติ นั้น.
กระหวัด (53:22)
         อาการ ที่ คน กอด รวบ รัด เข้า ไว้, หฤๅ งู เอา หาง รวบ รัด สัตว ต่าง ๆ, หฤๅ ใจ หวน คิด ถึง สิ่ง ใด ๆ.
กระวน กระวาย (53:23)
         อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว รอ้น กลุ้ม ไม่ สบาย ใจ, หฤๅ ปว่ย ไข้ หนัก ให้ กระสับ กะส่าย ดว้ย กำลัง รอ้น.
กระวาน (53:24)
         ต้น อย่าง หนึ่ง ผล กลม ๆ, ศี ขาว มี เม็ด ใน, กลิ่น หอม รศ เผ็ด, ใช้ ทำ ยา, มา แต่ เมือง เขมร.
กระเวน (53:25)
         คน เดิร ยาม เที่ยว ไป ข้าง โน้น ข้าง นี้, หฤๅ คน ที่ เที่ยว ตาม ทาง น้ำ, ทาง บก คอย ระวัง ฆ่าศึก.
กระแวน (53:26)
         นก หย่าง หนึ่ง ตัว ดำ, ตัว โต เท่า นก เอี้ยง, มี ขน หาง คล้าย กับ บว่ง, ยาว อยู่ สอง เส้น.
กระเวย กระวาย (53:27)
         อาการ ที่ คน นอนหลับ อยู่ ตกใจ ตื่น รอ้ง เสียง อื้อ อึง เปน ต้น.
กระสา (53:28)
         นก อย่าง หนึ่ง ตัว ไม่ สู้ โต นัก, ฅอ ยาว, ไข่ เท่า ไข่ เป็ด, กิน ดี, ขน ปีก ใช้ ทำ พัด ได้, มัน กิน ปลา.
กระสือ (53:29)
         คือ คน ผู้ หญิง มัน มี ผี กระสือ มา สิง อยู่ ใน ตัว มัน, แล้ว เพลา กลาง คืน มัน เที่ยว ไป กิน อาจม เปน ต้น.
กระแสร์ (53:30)
         ทาง ความ, หฤๅ ทาง น้ำ ไหล, หฤๅ เรื่อง ความ.
กระแสร์ ความ (53:31)
         ทาง ความ, แนว ความ, เรื่อง ความ.
กระแสร์ น้ำ (53:32)
         ทาง น้ำ ไหล, หฤๅ แนว น้ำ ไหล, หฤๅ สาย น้ำ.
กระไส (53:33)
         ชื่อ โรค ใน กาย จำ พวก หนึ่ง.
กระไส โรค (53:34)
         ชื่อ โรค ใน ตัว อย่าง หนึ่ง, คือ กล่อน เส้น.
กระไส กล่อน (53:35)
         ชื่อ โรค จำ พวก หนึ่ง, มัน ให้ ลง ฝัก ให้ ไอ, ให้ เปน อาการ ต่าง ๆ.
กระเสร่า (53:36)
         เสียง คน พูด ไม่ ใค่ร จะ ออก, ได้ ยิน กระสาบ ๆ.
กระเสือก กระสน (53:37)
         อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว วิ่ง ไป วิ่ง มา ข้าง โน้น ข้าง นี้.
กระสัง (53:38)
         ผัก อย่าง หนึ่ง, ต้น เปน เถา, ใบ กลม ๆ เล็ก ๆ, กลิ่น หอม, มัก ขึ้น อยู่ ใน พุ่ม ไม้ แล จอม ปลวก ตาม ชาย ทุ่ง.
กระแสง (53:39)
         เสียง เพราะ หฤๅ เสียง แจ้ว มี กังวาน.
กระโสง (53:40)
         ปลา อย่าง หนึ่ง รูป คล้าย ปลาชอ่น, หัว แหลม ตัว ลาย ๆ.
กระษัตริย์ (53:41)
         ท่าน ที่ ได้ ราชา ภิเศก เปน ใหญ่ กว่า คน ทั้ง ปวง แล้ว.
กระษัตรา (53:42)
         เปน กระษัตริย์ หลาย องค์ ดว้ย กัน, หฤๅ องค์ เดียว.
กระสูต (53:43)
         อาการ ที่ คน รอ้งไห้ พลาง สั่ง* ขี้ มูก พลาง.

--- Page 54 ---
กระสัน (54:1)
         อาการ ที่ คน โศก เส้รา เปน ทุกข์ คิด ถึง เมีย, หฤๅ ผู้หญิง อัน เปน ที่ รักษ.
กระสิน (54:2)
         คน ผู้ มี เพียร กระทำ ดวง กระสิน, คือ เอา ดิน ศี แดง มา ทำ เปน วง กลม. ตั้ง ใจ ผูก จิตร ไว้ ที่ นั่น เปน ต้น. อนึ่ง ว่า ไถ.
กระสุน (54:3)
         ของ สำหรับ ยิง นก ยิง กา ยิง รอก เปน ต้น, ทำ ดว้ย ไม้ มี สาย มี รัง สำหรับ ใส่ ลูก.
กระเส็น กระสาย (54:4)
         พี่ นอ้ง ห่าง ๆ เปน เครือ ญาติ กิ่ง ญาติ.
กระสวนแบบ (54:5)
         เปน เครื่อง แบบ อย่าง, ที่ สำหรับ วัด สิ่ง ของ ใด ๆ.
กระเสียน (54:6)
         สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ใส่ ลง ใน ชอ่ง ใน รู, ถ้า ไม่ คับ, ไม่ หลวม ภอ ครื กัน ลง ไป ภอ ดี.
กระสับ กระส่าย (54:7)
         อาการ คน ปว่ย เปน ไข้ หนัก, เมื่อ ไข้ หนัก นั้น ให้ ทุรน ทุราย ผุด ลุก ผุด นั่ง.
กระสาบ (54:8)
         เสียง คน หฤๅ สัตว รอ้ง ไม่ ออก, เสียง เหมือน เป็ด ตัวผู้, อนึ่ง ชื่อ นับ ตาม มคธ.
กระสอบ (54:9)
         ของ สาน ดว้ย ต้น กระจูด, สำหรับ ใส่ น้ำ ตาน ทราย บ้าง, ใส่ พริกไทย บ้าง, เข้า สาน บ้าง.
กระสม (54:10)
         ไม้ ที่ สำหรับ มว้น ผ้า ใน กี่ ธอ หูก.
กระเษม (54:11)
         ความ สบาย, หฤๅ ความ ศุข, ความ เย็น ใจ, ความ สิ้น จาก โทษ.
กระสาย (54:12)
         คน จะ กิน ยา เอา สุรา เจือ ลง บ้าง, หฤๅ เอา สิ่ง อื่น แซก ลง บ้าง, ว่า กระสาย ยา.
กระสร่าว (54:13)
         เสียง กระสาบ ๆ เบา ๆ.
กระสวย (54:14)
         เครื่อง หูก สำหรับ ใส่ หลอด ด้าย ธอ ผ้า, ทำ ดว้ย ไม้, หัว ท้าย งอน ๆ, พุ่ง ไป พุ่ง มา.
กระเสียว (54:15)
         ความ เหมือน อย่าง ชาย หนุ่ม หญิง สาว, นั่ง พูด กัน อยู่ ใน ที่ สอง ต่อ สอง หยาก รว่ม เปน ผัว เมีย กัน ว่า, กระเสียว อยู่.
กระเสาะ กระแสะ (54:16)
         อาการ คน เปน ไข้ หวัด ไข้ ไอ, เจ็บ ปว่ย บ้าง เล็ก นอ้ย.
กระหาปะณะ (54:17)
          ฯ ว่า เงิน เหรียญ. อนึ่ง เปน ชื่อ การ นับ สิ่ง ของ ตาม ทำเนียม มคธ.
กระแห (54:18)
         เปน ปลา หย่าง หนึ่ง, ตัว เล็ก, อยู่ น้ำ จืด, กิน ได้.
กระหำ (54:19)
         เปน ของ ที่ ลับ ของ คน ชาย, แล สัตว ผู้ ทั้ง ปวง.
กระหาง (54:20)
         คน ผู้ ชาย ที่ ผี โศกโครก เข้า สีง อยู่ ใน กาย, แล้ว เอา กระด้ง ทำ ปีก เอา สาก ทำ หาง เที่ยว กิน ของ โศกโครก.
กระหัฐ (54:21)
         คน ถือ เพศ ฆะราวาษ ชาว บ้าน ทั้ง ปวง*, ที่ ไม่ ได้ บวช เปน พระสงฆ์.
กระหืด กระหอบ (54:22)
         อาการ คน หฤๅ สัตว ที่ วิ่ง หนี เขามา กำลัง เหนื่อย*, ไห ใจ หอบ เหมือน จับ หืด.
กระหึม (54:23)
         เสียง คน หฤๅ สัตว, คุก คำราม ทำ เสียง ฮื่อ ๆ.
กระหึม ครึม ครำ (54:24)
         คือ เสียง คน ที่ ดุ, หฤๅ สัตว ร้าย มัน โกรธ มัน ขู่ กระหึม อยู่ นั้น.
กระเหิม (54:25)
         คน หฤๅ สัตว ทำ สิ่ง ใด ๆ เคย ได้, หฤๅ เคย ชะณะ ได้ ที ได้ ใจ มี ใจ กระเหิม.
กระหึม พึมพำ (54:26)
         คือ เสียง ขู่ คำราม* งึมงำ นั้น.
กระหาย (54:27)
         อาการ คน หฤๅ สัตว ที่ รอ้น รน หยาก น้ำ บ่อย ๆ เปน กำ ลัง นั้น, ว่า กระหาย น้ำ นัก.
กระออด กระแอด (54:28)
         อาการ คน เจ็บ ไข้ บ้าง เล็ก นอ้ย ไม่ สู้ สบาย, มัก บ่น* ออด ๆ แอด ๆ.
กระอัก กระอาย (54:29)
         อาการ คน ทำ ความ ชั่ว ความ ผิด ไว้, ครั้น เขา ซัก ถาม, มี ความ กลัว บ้าง, อาย บ้าง, พูด อิด เอื้อน นั้น.
กระแอม (54:30)
         คน ทำ เสียง คล้าย ๆ กับ ไอ.
กระออม (54:31)
         เครื่อง สำหรับ ตัก น้ำ ทำ ดว้ย หนัง บ้าง, ทำ ดว้ย ดิน บ้าง, รูป คล้าย ๆ ม่อ ขะนน, แต่ ฅอ มัน ยาว.
กระเอว (54:32)
         ที่ ท่ำ กลาง ตัว.
กระเอื้อย (54:33)
         สัตว อย่าง หนึ่ง รูป ร่าง เหมือน อีเหน, กิน ผลไม้, อยู่ ตาม ป่า ตาม สวน.
กรัก* (54:34)
         แก่น ขนุน ที่ สำหรับ ต้ม ย้อม ผ้า พระสงฆ์.
กรักขี* (54:35)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ใช้ เปน ยา ได้.
กราก (54:36)
         การ คน หฤๅ สัตว เขา เอา มา ผูก มา จำ ไว้ ให้ อด เข้า อด น้ำ. อนึ่ง เปน เสียง ที่ ดัง อย่าง นั้น.
กราก แกรก (54:37)
         คือ เสียง นก กระสา เปน ต้น.
กรากกรำ (54:38)
         การ คน ใช้ ให้ คน หฤๅ สัตว ทำ การ ไม่ ใค่ร ได้ อยุด ได้ อย่อน, ทำ ตาก แดด ตาก ฝน, ว่า ใช้ กราก ตรำ.
กรากโกรก (54:39)
         เสียง เขา ฉีก ผ้า แล โกรก น้ำ เปน ต้น.
กริก (54:40)
         เสียง อย่าง หนึ่ง, คือ คน ทำ ให้ ถว้ย แก้ว, หฤๅ สิ่ง ของ ใด ๆ กระทบ กัน ดัง เสียง อย่าง นั้น.
โกรกไม้ (54:41)
         การ เอา ไม้ กะดาน บาง ๆ มา, เอา เลื่อย ๆ ให้ มัน ออก เปน สอง ภาค นั้น.

--- Page 55 ---
กรุก (55:1)
         เสียง คน หฤๅ สัตว เดิร บน เรือน, ดั่ง เสียง อย่าง นั้น.
แกรก (55:2)
         เสียง คน หฤๅ สัตว เดิร ใน ป่า หญ้า รก ๆ ดัง เสียง อย่าง นั้น.
      แกรก กราก (55:2.1)
               ความ เช่น ว่า แล้ว.
โกรก (55:3)
         คน ตัก น้ำ เท ลง ไม่ ขาด สาย, หฤๅ คน ลง ทอ้ง เหมือน เท น้ำ. อนึ่ง ตลิ่ง ที่ เปน ท่า ชัน ฦก ลง ไป.
โกรกกราก (55:4)
         เปน เครื่อง มือ สำหรับ เจาะ ไม้ คล้าย ๆ สว่าน.
โกรกเกรก (55:5)
         คือ ที่ แห้ง เกราะ ไม่ เปียก ชุ่ม นั้น.
กรอก (55:6)
         ทาง ที่ แวะ ออก จาก ทาง ใหญ่ เปน ทาง แคบ เล็ก ๆ, หฤๅ เด็ก ไม่ กิน ยา, ตอ้ง ใส่ ถว้ย เท ลง ใน ปาก.
กรอกแกรก (55:7)
         คือ ดัง กรอก แกรก เหมือน เสียง ใน หู, เมื่อ มัน มี ขี้ หู คลอน อยู่ นั้น.
กรอกยา (55:8)
         คือ ขืน เอา ยา เท ลง ใน ปาก เด็ก ๆ ข่ม ขืน ให้ มัน กลืน นั้น
เกรียก (55:9)
         การ คน เล่น เบี้ย อย่าง หนึ่ง, หฤๅ คน เอา ไม้ ใผ่ มา ผ่า ออก เปน ซีก เล็ก ๆ.
เกรียก หนึ่ง (55:10)
         คือ ที่ ยาว เขา วัด ดว้ย หัว นิ้ว มือ, กับ นิ้ว ชี้ นั้น.
เกรียก ไม้ (55:11)
         การ ที่ คน เอา มีด ผ่า ไม้ ออก เปน ซีก เล็ก ๆ.
กรง (55:12)
         ว่า ตรง ก็ ได้, คือ ของ ซื่อ ไม่ คด นั้น.
กรงนก (55:13)
         ของ ที่ เขา ทำ สำหรับ ขัง นก นั้น.
กรงหน้า (55:14)
         คือ ตรง หน้า, หฤๅ จำเภาะ หน้า.
กรัง (55:15)
         สิ่ง ของ ที่ ติด กาว, หฤๅ ยาง ไม้, หฤๅ บอระมาณ แห้ง ติด ครุคระ อยู่ นั้น.
กรังกรึง (55:16)
         เหมือน เสียง ดัง เมื่อ สั่น* กะดึง นั้น.
กราง (55:17)
         การ ที่ คน เอา บุ้ง หฤๅ ตะใบ, หฤๅ หนัง กระเบน ถู ไป ถู มา.
กร่าง (55:18)
         ต้นไม้* อย่าง หนึ่ง ใบ เท่า ฝ่า มือ, ผล คล้าย กับ มะเดื่อ, กิน ไม่ ได้. อนึ่ง บ้าน ชื่อ อย่าง นั้น ก็ มี บ้าง.
กร่าง กริ่ง (55:19)
         คือ เสียง ลูก พรวน แล กระดึง ดัง นั้น.
กริ่ง (55:20)
         ความ สงไสย. อนึ่ง เสียง กระดึง หฤๅ เสียง ลูก พรวน มัน ดัง, อย่าง นั้น.
กริ่งเกรง (55:21)
         คือ ใจ ฉงน แล พรั่น ใจ.
กริ่งใจ (55:22)
         ความ ที่ คน คิด สงไสย ดว้ย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง.
กรึง (55:23)
         คน เอา เหล็ก ตะปู หฤๅ หมุด ตี ลง ที่ ไม้, หฤๅ สิ่ง ใด ๆ ให้ มั่น คง, ว่า ตรึง ก็ ได้.
      กรึง กราด (55:23.1)
               คือ กรึง ตับปู เปน ต้น ตอก ลง แน่น นัก.
กรุง (55:24)
         เมือง หลวง, หฤๅ เมือง ใหญ่, มี กำแพง.
      กรุง ไกร (55:24.1)
               คือ เมือง หลวง ใหญ่ ยิ่ง.
      กรุง เทพ ทวาราวะดี (55:24.2)
               ชื่อ เมือง บางกอก, แต่ ยัง หา สิ้น สอ้ย ชื่อ ไม่.
      กรุง พาลี (55:24.3)
               เปน ชื่อ เทวดา ผู้ รักษา ภูม ลำเนา บ้าน เมือง องค์ หนึ่ง.
      กรุง เก่า (55:24.4)
               คือ เมือง หลวง แต่ กอ่น.
      กรุง ศรี (55:24.5)
               คือ เมือง หลวง อัน มี ศิรี.
      กรุง ศี อยุทธยา (55:24.6)
               คือ ชื่อ กรุง เก่า นั้น.
กรุงกรัง (55:25)
         เสียง กระบอก กระทบ กัน, หฤๅ เสียง สิ่ง ใด ๆ มัน ดัง อย่าง นั้น.
กรุงเขมา (55:26)
         ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ใบ เหมือน ใบ หมัน, กลิ่น เหมือน คนธีสอ, สำหรับ ใช้ ทำ ยา.
กรุ้งกริ่ง (55:27)
         คือ กิริยา ที่ คน ไม่ มั่ง มี, คอ่น แต่ง ตัว ดว้ย ผ้า นุ่ง ห่ม เปน ต้น, อวด เขา นั้น.
เกรง (55:28)
         คือ ความ คิด กลัว บ้าง เล็ก นอ้ย.
      เกรง กริ่ง (55:28.1)
               คือ ความ พรั่น แล ฉงน ใน ใจ นั้น.
      เกรง กลัว (55:28.2)
               ใจ คิด กลัว ไภย ต่าง ๆ บ้าง เล็ก นอ้ย.
      เกรง ขาม (55:28.3)
               ใจ คิด ครั่น คร้าม กลัว อยู่ บ้าง.
      เกรง ใจ (55:28.4)
               คน จะ ทำ การ สิ่ง ใด, หฤๅ จะ พูด จา สิ่ง ใด คอย รักษา ใจ ผู้ อื่น, เพราะ กลัว เขา จะ โกรธ.
      เกรง ยำ (55:28.5)
               เกรง ว่า แล้ว, แต่ ยำ เปน คำ สร้อย, หฤๅ อาการ ที่ ใจ. ยำเกรง นั้น.
แกร่ง (55:29)
         เข้า เปลือก ที่ ไม่ มี ลีบ ปน, หฤๅ ที่ ดิน ที่ เปน กรวด เปน ทราย แขง.
      แกร่ง กรับ (55:29.1)
               คือ อาการ ที่ สวย แห้ง แขง อยู่ นั้น เอง.
โกรง (55:30)
         เสียง ที่ คน ตี โกร่ง พร้อม กัน มัน ดัง อย่าง นั้น.
โกรงกราง (55:31)
         เสียง เหมือน ที่ เขา เท ใบ ไม้ เปน ต้น, หฤๅ เสียง ใบ ตาล ที่* มัน แห้ง หอ้ย อยู่ ลม ภัด ถูก มัน ดัง เช่น นั้น.
โกรงเกรง (55:32)
         เย่า เรือน, หฤๅ ศาลา ที่ เก่า แก่ คร่ำ คร่า หัก พัง ไป บ้าง, หลัง คา ยับ ไป บ้าง.
โกร่ง (55:33)
         เครื่อง ภาชนะ สำหรับ ใช้ ใส่ หัว, เบี้ย ทำ ดว้ย ตะกั่ว บ้าง, ทอง เหลือง บ้าง. อนึ่ง ไม้ ไผ่ ที่ ตี สำหรับ เมื่อ เล่น หนัง.
กรอง (55:34)
         การ คน เอา ผ้า ขึง ลง ที่ สิ่ง ของ ใด ๆ แล้ว, เท น้ำ ลง ไป ให้ น้ำ นั้น บริสุทธิ์. อนึ่ง ผ้า ที่ เขา ทำ เปน ดอก ต่าง ๆ แต่ พื้น โปร่ง.
      กรอง กรึก (55:34.1)
               คน คิด นึก ไป ต่าง ๆ ดว้ย ปัญา อัน เลอียด ว่า, สิ่ง นี้ หฤๅ คำ นี้ จะ จริง หฤๅ ไม่ จริง หนอ.

--- Page 56 ---
      กรอง ความ (56:34.2)
               คน คิด ใน ใจ ว่า ความ ข้อ นี้ จะ จริง ดั่ง นั้น, หฤๅ ประ- การ ใด ทำ ไฉน หนอ จะ รู้ แน่.
      กรอง คา (56:34.3)
               คือ ถัก ต้น คา เข้า เปน ตับ เหมือน จาก.
      กรอง ทอง (56:34.4)
               เอา ไหม ทอง มา ทำ เปน ผ้า ห่ม ปัก กรอง เปน ดอก เปน ใบ ให้ ดู งาม ต่าง ๆ, ว่า ผ้า กรอง ทอง.
      กรอง น้ำ (56:34.5)
               การ เอา ผ้า ผูก ลง ที่ ปาก ม่อ, หฤๅ ปาก ภาชนะ สิ่ง ใด ๆ, หฤๅ เอา หิน มา เจาะ ทำ เปน บ่อ ลง ไป, แล้ว เอา น้ำ เท ลง ไป.
      กรอง ปัก (56:34.6)
               คือ ทำ เปน รู ๆ, แล้ว ปัก เปน ดวง ดอก ต่าง ๆ.
กร่อง (56:1)
         การ คน เฝ้า บ้าน เฝ้า เรือน, หฤๅ เฝ้า สิ่ง ของ ใด ๆ, สู้ อด ทน อยู่ แต่ ผู้ เดียว, ว่า เฝ้า กร่อง.
กร่องแก่รง (56:2)
         บ้าน เมือง, หฤๅ วัด วา อาราม, แต่ เดิม นั้น มั่งคั่ง มี ผู้ คน อยู่ แน่น หนา, มา ภาย หลัง ก็ รว่ง โรย ไป มี บ้าน เรือน อยู่ นอ้ย ว่า กร่อง แกร่ง.
เกรียงไกร (56:3)
         คน มี ฤทธิ์ มาก, มี อำนาทมาก, หฤๅ แกล้ว ก้ลา, ว่า เกรียง ไกร.
กรวด น้ำ (56:4)
         คือ ริน น้ำ ลง, แล้ว อุทิศ สว่น บุญ, แผ่ สว่น บุญ, ให้ สว่น บุญ แก่ ผู้ อื่น นั้น, ให้ สำเรทธิ เหมือน น้ำ ไหล ลง ที่ ลุ่ม.
กรด (56:5)
         ร่ม ใหญ่ สำหรับ กั้น แดด กั้น ฝน, ที่ เจ้า ใช้ นั้น. อนึ่ง อาวุทธิ์ มี มีด เปน ต้น, หฤๅ น้ำ หฤๅ ลม คม กล้า ดุจ มีด โกน.
กรัด (56:6)
         คือ ตรัส เปน คำ สูง สำหรับ คน มี บุญ มาก.
กราด (56:7)
         เครื่อง สำหรับ กวาด ทำ ดว้ย ก้าน ทาง มะพร้าว เปน ต้น, อนึ่ง ลิ่ม สำหรับ จีม หมวก แจว, หฤๅ สิ่ง อื่น ประสงค์ จะ ให้ แน่น ให้ คับ.
กราดเกรี้ยว (56:8)
         คือ ความ โกรธ ร้าย.
กริช (56:9)
         อาวุธ อย่าง หนึ่ง, คม สอง ข้าง คด ไป คด มา, ยาว ประมาณ ศอก เศศ, เปน อาวุธ สำหรับ แทง, มา แต่ เมือง แขก.
กฤษฎีกา (56:10)
         ฯ คือ ราช กำหนฎ.
กฤษฎางค์ (56:11)
         ฯ กระทำ.
กฤติศรรบท์ (56:12)
         เสียง สรรเสิญ คุณ.
กฤษนา (56:13)
         เครื่อง หอม ที่ บังเกิด แต่ แก่น ไม้ สำหรับ ใช้ ทำ ยา บ้าง, ทำ แป้ง หอม บ้าง.
กรีดกราย (56:14)
         คือ อาการ กิริยา คน, ที่ ทำ ผู้ ดี, เขา คอ่ย จีบ จับ ลำ ดับ วาง นั้น.
กรุด (56:15)
         วัน สิ้น ปี ตาม ทำเนียม ไทย ตั้ง พิทธี, แล้ว แต่ง ตัว นุ่ง ผ้า ใหม่ ห่ม ผ้า ใหม่ เล่น การ มะโหระศบ ต่าง ๆ.
กรีดกราด (56:16)
         คือ เสียง รอ้ง, หวีด หวาด นั้น.
กรีด (56:17)
         การ เอา ไม้, หฤๅ มีด ขีด ไป ที่ พ่น นั้น.
กรูด (56:18)
         เสียง คน ขูด มะพร้าว, หฤๅ เสียง หนู กัด ไม้ ดัง อย่าง นั้น. อนึ่ง ชื่อ ผัก ก็ มี บ้าง, ชื่อ บ้าน ก็ มี บ้าง.
กริติการ (56:19)
         คือ กระทำ ความ สัญา กำหนฎ นั้น.
เกร็ด (56:20)
         ชื่อ บ้าน แห่ง หนึ่ง, เปน คลอง สำหรับ ลัต จาก ทาง ออ้ม, อยู่ ใน แขวง นนท์บูรีย์, ว่า ปากเกร็ด,
เกร็ดเกร่ (56:21)
         อาการ เที่ยว เร่ ร่าย ไป.
โกรธ (56:22)
         อาการ คน หฤๅ สัตว ได้ ฟัง ได้ เหน ซึ่ง สิ่ง ที่ ไม่ ชอบ ใจ, ขัด ใจ ให้ บังเกิด ใจ ชั่ว มัว หมอง ไป.
กฤษดารชลี (56:23)
         อาการ กระทำ กระภุ่ม นิ้ว มือ รุ่ง เรือง นั้น.
กรอด (56:24)
         เสียง มอด กัด ไม้, หฤๅ เสียง คางคก เข่น เขี้ยว, หฤๅ คน นอน หลับ ละเมอ เคี้ยว ฟัน, เสียง ดัง อย่าง นั้น.
เกรียดคร้าน (56:25)
         ความ ไม่ อยาก ทำ การ งาน นั้น, ความ ที่ ไม่ หมั่น.
กรวด (56:26)
         กอ้น หิน เล็ก ๆ, เท่า หัว แม่ มือ แม่ ตีน, หฤๅ เท่า เม็ด ถั่ว เขียว ถั่ว ดำ. อนึ่ง สิ่ง ของ ที่ นับ, แล้ว นับ สอบ ดู อีก ที.
เกรียติยศ (56:27)
         คือ กล่าว สรรเสิญ ยศ.
กรวดกรา (56:28)
         ผู้ คน ช้าง ม้า โค กระบือ, หฤๅ ทรัพย์ สิ่ง ของ ใด ๆ, เขา บอก มา ว่า เท่า นั้น เท่า นี้, เรา กลับ นับ สอบ ดู อีก ที.
เกรียดกัน (56:29)
         คือ เกียจ กัน, ความ ที่ รังเกียด* กัน นั้น.
กรน (56:30)
         อาการ คน, หฤๅ สัตว เมื่อ นอน หลับ, แล้ว หาย ใจ ดัง ครอก ๆ
กรนคราง (56:31)
         คือ เสียง เมื่อ หลับ แล้ว ที่ จมูก ดัง ครอก ๆ, แล้ว ทำ เสียง ฮื ๆ นั้น.
กรัน (56:32)
         กล้วย อย่าง หนึ่ง, ต้น ไม่ สู้ โต นัก, มี อยู่ ตาม สวน ชื่อ อย่าง นั้น. อนึ่ง สัตว หฤๅ ต้นไม้ แคระ อยู่ ไม่ โต ขึ้น ได้. อนึ่ง ม่อ น้ำ, ชื่อ ม่อ กรัน.
กราน (56:33)
         อาการ คน จะ ล้ม เอา มือ ท้าว ไว้. อนึ่ง ต้น ไม้, หฤๅ เรือน, หฤๅ สิ่ง ใด ๆ, ซวด เซ จวน จะ ล้ม เอา ไม้ ค้ำ จุน ไว้.
กราน ไว้ (56:34)
         การ ที่ เอา ใม้ ค้ำ ลง, ข้าง หน้า เรือ เมื่อ จะ หยุด นั้น.
กร้าน (56:35)
         ความ ที่ คน, หฤๅ ผล ไม้ ทั้ง ปวง, ที่ ถูก แดด ถูก ลม ศี คล้าม แก่ ไม่ ผอ่ง ใส.

--- Page 57 ---
กรุ่น (57:1)
         คน ติด ไฟ สุม ไว้ ควัน ขึ้น ฉิว ๆ, หฤๅ ดอก ไม้, แล สิ่ง ของ ใด ๆ ส่ง กลิ่น ฉุย ๆ, ว่า หอม กรุ่น, ไฟ กรุ่น.
โกรน (57:2)
         อาการ ต้น ไม้ ที่ แก่ ใบ ก้าน รว่ง หล่น ไป หมด ยัง เหลือ อยู่ แต่ กิ่ง เกะกะ.
โกรน เกรน (57:3)
         คือ ไม้ เปน ต้น ไม่ งาม, มี กิ่ง ก้าน โหรง เหรง นั้น.
โกร๋น (57:4)
         อาการ คน หฤๅ สัตว เจ็บ ไข้ อยู่ ช้า นาน จน ผม แล ฃน นั้น หล่น รว่ง ไป, หฤๅ ต้น ไม้ ที่ ใบ หล่น รว่ง ไป.
โกร๋น เก๋รน (57:5)
         โก๋รน ว่า แล้ว, แต่ เก๋รน เปน คำ สร้อย.
กร่อน (57:6)
         เสา เรือน* หฤๅ ไม้, หฤๅ สิ่ง ของ ใด ๆ, ที่ ปัก อยู่ ใน น้ำ ใน บก, ครั้น ผุ คร่ำ คอด เล็ก เข้า ไป, ว่า กร่อน ไป.
กร่อน แก่รน (57:7)
         เหมือน ตลิ่ง ฝั่ง น้ำ มัน เซาะ ดิน รว่ง ลง กี่ว คอด เข้า ไป.
กรวน (57:8)
         เครื่อง สำหรับ จำ คน, เขา เอา เหล็ก มา ทำ เปน หว่ง ๆ, เชื่อม ติด กัน เข้า กับ วง แหวน ที่ สำหรับ ใส่ ตีน.
เกรียน (57:9)
         ตอ ไม้ ตอ หญ้า, ที่ เขา ฟัน ให้ สั้น ๆ เสมอ อยู่ กับ พื้น, หฤๅ เครื่อง ใช้ สอย ทั้ง ปวง ที่ สึก เหี้ยน เข้า ไป, หฤๅ ปลาย. เข้า ว่า เข้า ปลาย เกรียน.
เกรียน โก๋รน (57:10)
         คือ เหี้ยน โก๋รน โหรง เหรง นั้น, เหมือน ใบ ไม้ หล่น อยู่ แต่ ใบ เล็ก ๆ.
เกิ่รน (57:11)
         การ ที่ คน รู้ เหตุ การ สิ่ง ใด, ก็ รอ้ง บอก กล่าว ให้ เพื่อน บ้าน ใก้ล เคียง รู้ ดว้ย.
เกริ่น กัน (57:12)
         คือ รอ้ง เรียก เพื่อน กัน ไกล ๆ, ใน ป่า เปน ต้น.
เกริ่น กร่าย (57:13)
         ความ เหมือน กัน.
กรบ (57:14)
         เครื่อง สำหรับ แทง ปลา อย่าง หนึ่ง, ยาว ประมาณ สอง ศอก เศศ, ปลาย เปน เหล็ก แหลม, มี ด้ำ รวบ กัน เข้า.
กรับ (57:15)
         เครื่อง สำหรับ เล่น ละคอน, หฤๅ ขับ เสภา, มี คน หลาย คน ถือ ไม้ คน ละ สอง อัน ตี พร้อม กัน, แล้ว รอ้ง พร้อม ดว้ย ไม้ นั้น.
กรับ ฟัง (57:16)
         อาการ คน หฤๅ สัตว เงี่ย หู ลง ตั้ง ใจ คอย ฟัง.
กรับ แห้ง (57:17)
         คือ แห้ง ตรา ติด อยู่ นั้น, เหมือน หนึ่ง กาว ติด ชาม, ว่า กรับ แห้ง.
กรับ หู (57:18)
         อาการ คน หฤๅ สัตว เงี่ย หู คอย ฟัง.
กรับ อังโล่ (57:19)
         คือ กะเบื้อง มี รูป เปน รู สำหรับ รอง ถ่าน ใน อัง โล่.
กราบ (57:20)
         อาการ คน นั่ง หย่อง ยอง, แล้ว ยก มือ ทั้ง สอง ประนม ขึ้น ไห้ว, แล้ว วาง ลง ที่ พื้น, แล้ว จึ่ง ก้ม หน้า ซบ หัว ลง.
กราบเรือ (57:21)
         คือ ไม้ กะดาน ยาว, เขา ติด ซอ้น ต่อ ขึ้น บน ลำมาด เรือ นั้น ให้ สูง ขึ้น.
กราบพระ (57:22)
         เรื่อง ความ เหมือน กัน, แต่ ไป ซบ หน้า ลง แก่ พระ.
กราบทูล (57:23)
         คือ คำ พูด กับ เจ้า เปน ต้น.
กราบลา (57:24)
         อาการ คน จะ ไป ไกล, แล กราบ ลง, แล้ว ลา ไป นั้น.
กราบท้าว (57:25)
         คือ กราบ ลง ที่ ตีน.
กราบไห้ว (57:26)
         คือ กราบ ลง, แล้ว ประนม มือ ไว้ นั้น.
กราบ กราน (57:27)
         กราบ ลง, แล้ว เอา มือ ท้าว กราน ขึ้น.
กราบเรียน (57:28)
         กราบ ลง แล้ว, แจ้ง เรื่อง เนื้อ ความ นั้น.
กราบลง (57:29)
         คือ กราบ ซบ หน้า ลง.
กริบ (57:30)
         เส้น ผม, หฤๅ ขน, หฤๅ ใบ ไม้, เมื่อ มัน ยาว ขึ้น มา แล้ว, คอ่ย เอา ตะไกร นีบ ปลาย เสีย บ้าง เล็ก นอ้ย, ว่า กริบ.
กรุบ (57:31)
         กะลา มะพร้าว, ที่ ยัง ออ่น เคี้ยว ดัง กรุบ ๆ, ว่า กรุบ มะ พร้าว, ว่า เสียง กรุบ ๆ ดัง นั้น.
กรุบมะพร้าว (57:32)
         กะลามะพร้าว ที่ ยัง ออ่น กรุบ ๆ นั้น เอง.
กรอบ (57:33)
         เสียง คน เหยียบ ใบ ไม้ แห้ง, หฤๅ เคี้ยว ของ ที่ กรอบ ๆ เสียง มัน ดัง อย่าง นั้น.
กรอบกระจก (57:34)
         ไม้ ที่ ทำ เปน วง ขอบ รอบ กระจก นั้น.
กรอบฝา (57:35)
         ไม้ ที่ ทำ เปน ขอบ รอบ ฝา เรือน นั้น.
กริบกรอบ (57:36)
         คือ เสียง คน เหยียบ ใบ ไม้ แห้ง, มัน ดัง เช่น นั้น.
กรอบแกรบ (57:37)
         แห้ง หฤๅ จน นัก นั้น.
กรวบ (57:38)
         เสียง คน ซอ้ม เข้า, หฤๅ กิน เข้า, เคี่ยว ถูก กอ้น กรวด เสียง มัน ดัง อย่าง นั้น.
เกรียบ (57:39)
         เสียง คน เดิร บน เรือน, ฟาก ไม้ ไผ่, เสียง มัน ยอ่ม ดัง อย่าง นั้น.
เกรียบกรอบ (57:40)
         คือ เสียง เหยียบ ไม้ แห้ง เล็ก ๆ ดัง เช่น นั้น.
กรม (57:41)
         การ หฤๅ พนักงาน. อนึ่ง ฝี หฤๅ บาด แผล กลัด หนอง เข้า, ว่า กรม หนอง อยู่.
กรมใจ (57:42)
         คือ ความ เจ็บ ช้ำ* ระกำใจ นั้น.
กรมการ (57:43)
         การ ที่ ขุนนาง หัว เมือง ทั้ง ปวง, ที่ เปน พนักงาน ได้ ชำระ ว่า ความ ของ ราษฎร.
กรมหนอง (57:44)
         คือ หัว ฝี ที่ มัน กำลัง กลัด หนอง นั้น.
กรมท่า (57:45)
         ขุนนาง ผู้ ใหญ่ ผู้ นอ้ย, ที่ เปน พนักงาน เจ้า ท่า ได้ ว่า ข้าง ตะเภา, แล กำปั่น.

--- Page 58 ---
กรมพระ (58:1)
         เปน พระนาม เจ้า มี บุญ มาก, เปน ที่ กรมพระ.
กรมทันฑ์ (58:2)
         หนังสือ ที่ เขา กู้ เงิน, หฤๅ ขาย ตัว แล้ว สัญา ท้า ทาย กัน ตาม แบบ ทำเนียม เมือง.
กรมะหลวง (58:3)
         เปน พระนาม เจ้า ลำดับ ถัด ลง มา. เปน พนักงาน ใหญ่.
กรมะขุน (58:4)
         เปน พระนาม เจ้า. ที่ สาม ลง มา.
กรมะหมื่น (58:5)
         เปน พระนาม เจ้า ที่ สี่ ตาม ลำดัพ ยศถา นาศักดิ์.
กรมนา (58:6)
         ขุนนาง ผู้ ใหญ่ คน หนึ่ง, แล ข้า ราช การ ใน พวก นั้น, ได้ บังคับ บันชา ว่า กล่าว ฝ่าย การ นา.
กรมใน (58:7)
         พวก ผู้ หญิง ที่ ทำ ราช การ, ได้ บังคับ ว่า กล่าว ราช การ ฝ่าย ใน.
กรมะช้าง (58:8)
         คือ คน พลไพ่ร ใน กระทรวง ว่า, ฝ่าย ช้าง ทั้ง สิ้น.
กรมเมือง (58:9)
         ขุนนาง ผู้ ใหญ่ คน หนึ่ง, กับ ข้า ราช การ ใน พวก นั้น, ได้ บังคับ ว่า กล่าว อ้าย ผู้ร้าย ฉก ลัก ฆ่า ฟัน กัน ตาย.
กรมะม้า (58:10)
         คือ บันดา คน ได้ ว่า ใน กระทรวง ราช การ ม้า.
กรมวัง (58:11)
         ขุนนาง ผู้ ใหญ่, กับ ข้า ราช การ พวก นั้น, ได้ ว่า กล่าว ฝ่าย ภาย ใน พระ ราช วัง.
กรม กรอม (58:12)
         คือ ความ ช้ำ ใจ, เส้รา ใจ, เหมือน คน ได้ เปน ผัว เมีย กัน ไหม่ ๆ, แล เขา พราก เสีย จาก กัน นั้น.
กรัม (58:13)
         อาการ คน สู้ อด ทน ทำ การ งาน ตาก แดด ตาก ฝน.
กรั่ม (58:14)
         การ ที่ คน เอา ไม้ ปัก ๆ ใน น้ำ มาก ปลูก ผัก ให้ ปลา อาไศรย. อนึ่ง ไม้ เท่า นอ่ง เท่า ขา เขา ปัก ที่ หมาย รอ่ง น้ำ ที่ ทะเล.
      กรั่ม หญ้า (58:14.1)
               การ ที่ คน ชาว* นา เอา พร้าหวด ตัด ตอ หญ้า ที่ ตัด แล้ว ยาว อยู่ นั้น, ให้ มัน สั้น ต่ำ ลง ใต้ น้ำ.
กราม (58:15)
         ฟัน ซี่ ใหญ่, ที่ อยู่ ต้น ขาตะไกร นั้น.
      กราม ช้าง (58:15.1)
               ฟัน ซี่ ใหญ่, ที่ อยู่ ต้น ขาตะไกร ของ ช้าง นั้น.
      กราม แรด (58:15.2)
               ฟัน ซี่ ใหญ่ ของ แรด.
กริม (58:16)
         ปลา อย่าง หนึ่ง ตัว เล็ก ๆ, เหมือน ปลา กัด.
กริ่ม (58:17)
         คน ดี ใจ, หฤๅ คน บ้า หย่าง หนึ่ง มัน ยิ้ม อยู่ เสมอ.
      กริ่ม ใจ (58:17.1)
               คือ ขะยิ่ม ใน ใจ ว่า คง จะ ได้ เปน ต้น.
กรุ่ม (58:18)
         อาการ นกเขา, ที่ ใจ สบาย มัน ขัน อยู่ เสมอ, หฤๅ อาการ คน ติด ไฟ ไว้ ให้ มี ควัน อยู่ เสมอ.
โกรมกราม (58:19)
         คือ อาการ ที่ นุ่ง ห่ม ผ้า, มัน เลื้อย เฟือย ลง ถึง ส้น ท้าว นั้น.
กรอม (58:20)
         อาการ แห่ง ใจ คน หฤๅ สัตว ที่ ตอ้ง ไภย ได้ ทุกข์, หฤๅ เขา กัก ขัง ไว้ เปน ทุกข์ ไม่ สะบาย ใจ.
      กรอม กรม (58:20.1)
               ความ เหมือน, กรม กรอม.
      กรอม ใจ (58:20.2)
               ความ ไม่ สะบาย ใจ.
กร่อม (58:21)
         ความ ว่า คน ตั้ง ม่อ น้ำ ไว้ บน เตาไฟ*, แล้ว เอา ของ อื่น มี เข้า สาร เปน ต้น เท รวม ลง นั้น.
กร่อม แกร่ม (58:22)
         เรือ ใหญ่ ยาว ดว้ย, ถ้า มี คน ภาย นอ้ย สี่ ห้า คน, หฤๅ คน เคย มา ทำ การ มาก, ถ้า มา ทำ นอ้ย, ว่า ทำ กร่อมแกร่ม.
กรวม (58:23)
         ของ ใหญ่ ครอบ ของ เล็ก ลง ไว้.
      กรวม ข้อ (58:23.1)
               การ ที่ ความ หลาย ข้อ ถาม รวบ กัน เข้า เปน ข้อ เดียว.
      กรวม ความ (58:23.2)
               การ ที่ เอา ความ หลาย สิ่ง, ถาม รวบ กัน เข้า เปน สิ่ง เดียว.
      กรวม ตอ (58:23.3)
               การ ที่ คน ปลูก เรือน, หฤๅ ทำ การ สิ่ง ใด ๆ คร่อม ตอ ลง ไว้.
      กรวม ที่ (58:23.4)
               การ ที่ คน สร้าง บ้าน สร้าง เรือน ครอบ ที่ ลง.
      กรวม ทาง (58:23.5)
               การ ที่ คน ปลูก เรือน, หฤๅ ทำ การ สิ่ง ใด ๆ คร่อม ทาง ลง ไว้.
กร้วม (58:24)
         เสียง เช่น คน เคี้ยว หมาก แขง, หฤๅ คน เคี้ยว แต่ง กวา, เสียง มัน ดัง อย่าง นั้น.
เกรียม (58:25)
         ความ คน ปิ้ง ปลา, หฤๅ ปิ้ง ขนม จน ศี เหลือง, เกือบ จะ ไหม้ ปี้ง เกรียม ไป แล้ว.
      เกรียม กรอบ (58:25.1)
               คือ ของ ที่ อย้าง ไว้ บน ไฟ, มัน เปราะ จับ เข้า มัน เผาะ ไป นั้น.
      เกรียม กอง ทับ (58:25.2)
               การ ที่ นาย ทหาร จัด แจง พวก ทหาร, คอย แม่ ทับ อยู่ พร้อม กัน.
      เกรียม กรม (58:25.3)
               คือ ใจ รอ้น รน เจ็บ ช้ำ ระกำใจ นั้น.
      เกรียม การ (58:25.4)
               ความ คน จัด แจง การ คอย ท่า อยู่ พร้อม เสร็จ.
      เกรียม ตัว (58:25.5)
               คือ จัด แจง ตัว ไว้, เพื่อ การ ต่าง ๆ นั้น.
กราย (58:26)
         อาการ คน เดิร เฉียด ไป มา เบื้อง ซ้าย เบื้อง ขวา.
      กราย กร (58:26.1)
               อาการ คน เดิร แกว่ง มือ ไป มา เบื้อง หน้า เบื้อง หลัง.
      กราย กรีด (58:26.2)
               อาการ ไก่ ตัว ผู้ เหน ไก่ ตัว เมีย, แล้ว กรีด ปีก, พอง ขน เดิร วง รอบ ตัว เมีย.
      กราย แขน (58:26.3)
               คน เดิร ซัด แขน ไป มา, ข้าง หน้า ข้าง หลัง, ว่า เดิร กรายแขน.

--- Page 59 ---
กราว (59:1)
         สัตว อย่าง หนึ่ง, มี กระดอง แขง หุ้ม* อยู่ นอก เนื้อ, เหมือน เต่า อยู่ ใน น้ำ กิน ดี. อนึ่ง เปน ชื่อ เพลง ปี่ภาษ อย่าง หนึ่ง.
กราว เกรียว (59:2)
         เสียง คน หฤๅ เสียง สัตว อื่อ อึง เปน อัน มาก พร้อม กัน.
กราว เขน (59:3)
         เปน ชื่อ เพลง ปี่ภาษ อย่าง หนึ่ง, สำหรับ ยก พล ให้ ทหาร เดิร.
กราว ใน (59:4)
         เปน ชื่อ เพลง ปี่ ภาษ อย่าง หนึ่ง.
กราว นอก (59:5)
         ชื่อ เพลง ปี่ ภาษ อย่าง หนึ่ง.
กร้าว (59:6)
         เสียง ที่ เอา ไม้ ตำ ลง ใน กรวด, มัน ดัง อย่าง นั้น, ว่า เสียง กร้าว.
กริว (59:7)
         เต่า อย่าง หนึ่ง ตัว โต เหมือน จันละเม็ด, ไข่ มัน ออ่น นุ่ม นิ่ม, กิน ดี.
กริ้ว (59:8)
         ความ ท่าน ผู้ เปน ใหญ่ มี จ้าว เปน ต้น โกรธ.
      กริ้ว โกรธ (59:8.1)
               ใจ ชั่ว ใจ ขุ่น มัว, ใจ โทโส บังเกิด.
      กริ้ว กราษ (59:8.2)
               ใจ โกรธ แขง แรง.
กรุย (59:9)
         การ ที่ คน จะ ขุด คลอง, หฤๅ ตัด ทาง จะ ตั้ง บ้าน ตั้ง เมือง เอา ไม้ หลัก ปัก ลง ไว้ เปน สำคัญ.
      กรุย กราย (59:9.1)
               อาการ คน นุ่ง ผ้า ห่ม ผ้า ปก กรอม ลง มา ถึง ท้าว, แล้ว เดิร ไป เดิร มา.
      กรุย ที่ (59:9.2)
               อาการ คน จะ จับ ที่ ไร่ ที่ นา, หฤๅ ที่ บ้าน ที่ สวน, เอา ไม้ หลัก ปัก ไว้ เปน สำคัญ.
      กรุย ทาง (59:9.3)
               การ ที่ คน จะ ทำ ทาง เอา ไม้ ปัก เปน แถว ไป ให้ รู้.
      กรุย ปราน (59:9.4)
               เปน ชื่อ บ้าน แห่ง หนึ่ง, อยู่ ฝ่าย ใต้ ชื่อ อย่าง นั้น.
      กรุย ไว้ (59:9.5)
               คือ การ ที่ ทำ สำคัญ ไว้ ให้ รู้, เหมือน ใน แม่ น้ำ มี ตอ อยู่ ใต้ น้ำ, เขา เอา ไม้ ปัก ลง ไว้ เปน สำคัญ, ให้ รู้ นั้น.
แกร่ว (59:10)
         อาการ คน ติด โทษ, หฤๅ ตอ้ง เฝ้า เรือน จะ ไป ไหน มิ ได้, ว่า ติด แกร่ว.
กร่อย (59:11)
          ความ ที่ น้ำ ไม่ สู้ จืด สนิด, ปน น้ำ เค็ม บ้าง เล็ก นอ้ย.
กรวย (59:12)
         การ ที่ คน เอา ใบ ตอง มา มว้น ทำ เปน ก้น แหลม ๆ, ปาก กว้าง ๆ. อนึ่ง เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ลูกคล้าย ลูก สาระภี.
      กรวย ซอง (59:12.1)
               การ ที่ เอา ใบตอง มา กลัด เปน กรวย เข้า, แล้ว ทำ ซอง ใส่ พูล ใส่ ดอก ไม้.
      กรวย ปลา (59:12.2)
               การ ที่ คน เอา แหลน แทง ปลา, ใน กอ ไม้ กอ หญ้า.
      กรวย อุปัชฌา (59:12.3)
               สิ่ง ที่ คน เอา ใบ ตอง, หฤๅ ดอก ไม้ ทำ เปน กรวย, แล้ว เอา หมาก พลู ดอก ไม้ ใส่ ใน นั้น, สำหรับ ถวาย อุปัฌชา.
เกรียว (59:13)
         เสียง ที่ คน หฤๅ สัตว รอ้ง เสียง เพรียก ขึ้น พร้อม กัน.
      เกรียว กราว (59:13.1)
               เสียง ที่ คน หฤๅ สัตว รอ้ง เสียง เพรียก ขึ้น พร้อม กัน.
      เกรียว กรู (59:13.2)
               อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว วิ่ง ไป พร้อม กัน, แล้ว รอ้ง ขึ้น พร้อม กัน ดว้ย.
เกรี้ยว กราด (59:14)
         ความ ที่ คน ดุ ร้าย ด่า ว่า แขง แรง นัก.
เกรี้ยว โกรธ (59:15)
         ความ ที่ เจ้า นาย บังเกิด ความ โกรธ.
เกรอะ (59:16)
         อาการ ที่ น้ำ ตัก ใส่ ตุ่ม, หฤๅ ใส่ ภาชนะ สิ่ง ใด ไว้, สิ่ง ที่ มัน นอน ลง ไป อยู่ ข้าง ล่าง, เปน ขี้ ตะกอน อยู่ นั้น,
      เกรอะ กรอง (59:16.1)
               อาการ ที่ น้ำ แป้ง, หฤๅ สิ่ง ใด ๆ กรอง แล้ว มัน เกรอะ ลง ไป อยู่ ข้าง ล่าง.
เกราะ (59:17)
         อาการ ที่ ไม้ หฤๅ สิ่ง ใด ๆ มี ฟืน เปน ต้น, แห้ง โสก ที เดียว. อนึ่ง เสื้อ ทำ ดว้ย เหล็ก, หฤๅ ทอง แดง สำหรับ กัน อาวุทธ ว่า เสื้อ* เกราะ.
      เกราะ นวม (59:17.1)
               คือ เสื้อ เกราะนวม นั้น, คือ รูป เบาะ เล็ก ๆ นั้น.
      เกราะ แห้ง (59:17.2)
               อาการ ที่ ของ สิ่ง ใด ๆ แห้ง ที่ สุด.
กรอ (59:18)
         อาการ ที่ ผู้ ชาย หนุ่ม ๆ แต่ง ตัว, แล้ว ชวน เพื่อน กัน เที่ยว เกี้ยว ผู้ หญิง.
กรอ ด้าย (59:19)
         อาการ ที่ คน ผัด หลอด เอา ด้าย ใส่ หลอด.
กรอ ผู้ หญิง (59:20)
         อาการ ที่ พวก หนุ่ม ๆ, เจ้า ชู้ เที่ยว เกี่ยว ผู้ หญิง.
กร้อ (59:21)
         อาการ ไก่ ตัว ผู้ หนุ่ม ๆ, หฤๅ พวก ผู้ ชาย หนุ่ม, ที่ รื่น เริง ไม่ กลัว ใคร.
กร้อร่อ (59:22)
         อาการ ความ เหมือน กัน กับ กร้อ.
กล้า (59:23)
         ความ ที่ คน หฤๅ สัตว อาท หาร ไม่ กลัว อะไร.
      กล้า แขง (59:23.1)
               ความ ที่ คน หฤๅ สัตว ใจ แขง ไม่ กลัว อะไร
      กล้า ปาก (59:23.2)
               ความ ที่ คน พูด จา ห้าว หาร ไม่ กลัว ใคร.
      กล้า มือ (59:23.3)
               อาการ ที่ คน มวย ดี, ชก ตอ่ย ไม้ มือ ไม่ กลัว ใคร.
      กล้า หาร (59:23.4)
               ความ ที่ คน ใจ กล้า ไม่ กลัว ใคร.
      กล้า ฮึก (59:23.5)
               อาการ ที่ คน ไม่ กลัว ใคร ปาก พูด มาก โอ้ อวด ตัว ดว้ย.
กลี่ (59:24)
         สิ่ง ที่ คน ต่อ ดว้ย ไม้, รูป เหมือน หีบ, แต่ เล็ก ๆ สำหรับ ใส่ หมาก พลู บู้ หรี่.
      กลี่ หมาก (59:24.1)
               สิ่ง ที่ คน ทำ ดว้ย ไม้ บ้าง, ดว้ย ทอง เหลือง บ้าง, เหมือน หีบ เล็ก สำหรับ ใส่ หมาก กิน.
      กลี่ หีบ (59:24.2)
               สิ่ง ที่ คน ทำ ดว้ย ไม้ บ้าง, ดว้ย ทอง เหลือง บ้าง, ทอง คำ บ้าง, มี ลิ้น เบื้อง บน สำหรับ ใส่ หมาก พลู บู้ หรี่.

--- Page 60 ---
แกล (60:1)
         สิ่ง ที่ ชอ่ง น่าต่าง ที่ พระ มะหาประสาท, หฤๅ ที่ พระ มะหา มนเทียร, ว่า พระแกล เปน คำ สูง.
ไกล (60:2)
         อาการ ที่ บ้าน เมือง หฤๅ สิ่ง ของ ใด ๆ, มี อยู่ ห่าง ๆ อยู่ ใน ที่ มิ ได้ ใก้ล.
      ไกล กัน (60:2.1)
               ความ ที่ คือ คน หฤๅ ของ อยู่ ห่าง กัน มาก.
      ไกล ตา (60:2.2)
               คือ ความ ที่ แล ไป ไม่ เหน ของ ชัด นั้น.
ไกล่ เกลี่ย (60:3)
         การ ที่ ทำ กอง เข้า หฤๅ กอง ทราย สูง บ้าง ต่ำ บ้าง, กวาด ให้ เสมอ กัน. อนึ่ง คน โกรธ กัน เรา ว่า ทั้ง สอง ฝ่าย, ให้ ดี กัน.
ใก้ล (60:4)
         อาการ บ้าน เมือง หฤๅ สิ่ง ของ ใด ๆ อยู่ ใน ที่ ไม่ ไกล.
      ใก้ล เคียง (60:4.1)
               คือ อาการ อยู่ เคียง ชิด ติด กัน, เรือน ใก้ล เคียง กัน.
เกลา (60:5)
         การ ทำ ไม้ ไผ่, หฤๅ ไม้ ใด ๆ เอา มีด ลิด ข้อ ทำ ให้ เกลี้ยง.
      เกลา ไม้ (60:5.1)
               การ ที่ คน เอา มีด ลิด ไม้ ทำ ให้ เกลี้ยง.
      เกลา เกลี้ยง (60:5.2)
               การ ทำ ไม้ ไผ่, หฤๅ ไม้ หมาก เอา มีด เกลา ทำ ให้ เกลี้ยง.
เกล้า (60:6)
         การ ที่ ทำ ผม จุก หฤๅ ผม มวย, ที่ คน ผูก เข้า ไว้ กลม.
      เกล้า จุก (60:6.1)
               ผม จุก เหมือน เด็ก ๆ, ไท กระหมวด มุ่น ผูก เข้า ไว้.
      เกล้า ผม (60:6.2)
               การ ที่ คน กระหมวด ผม ผูก เข้า ไว้ บน ศีศะ.
      เกล้า กระหมอม (60:6.3)
               คำ คน ตำ* พูด ทูล จ้าว ว่า ถึง ตัว, ว่า หย่าง นั้น.
      เกล้า มวย (60:6.4)
               การ ที่ คน กระหมวด ผม ผูก ไว้ ข้าง หลัง เหมือน กำมือ.
กล่ำ (60:7)
         อาการ ที่ หนัก เฟื้อง หนึ่ง, แบ่ง เปน สี่ สว่น.
กล่อม หนึ่ง (60:8)
         คือ หนัก แปด สว่น, เปน เฟื้อง.
กล้ำ (60:9)
         อาการ ที่ เนื้อ มะพร้าว ใน กะลา นั้น, หฤๅ คน เล็ม น่า ผ้า นั้น, หฤๅ คน, แล สัตว เดิร ไป มา มาก นั้น.
      กล้ำ กลืน (60:9.1)
               อาการ ที่ คือ อุษ่าห์ ขืน กลืน.
      กล้ำ กลาย (60:9.2)
               อาการ ที่ คน, แล สัตว เข้า ไป หลาย ครั้ง หลาย หน, ว่า หา มี ผู้ ใด เดิร กล้ำ กลาย มา ข้าง นี้ ไม่.
      กล้ำ น่า ผ้า (60:9.3)
               การ ที่ คน เล็ม น่า ผ้า.
      กล้ำ มะพร้าว (60:9.4)
               อาการ เนื้อ ใน มะพร้าว ห้าว ที่ หนา, แล บ้าง นั้น, ว่า มะพร้าว กล้ำ หนา.
กลัก (60:10)
         สิ่ง ที่ คน ทำ ดว้ย ปล้อง ไม้ ไผ่ บ้าง, ดว้ย ตะกั่ว บ้าง, เหล็ก วิลาศ บ้าง, เปน ตัว เปน ฝา ปิด เปิด ได้.
      กลัก ตรา (60:10.1)
               สิ่ง ของ ที่ คน ทำ ดว้ย ปล้อง ไม้ ไผ่, ดว้ย ไม้ จริง, สำ หรับ ใส่ ตรา.
      กลัก พริก (60:10.2)
               สิ่ง ที่ เปน เครื่อง สำหรับ ใส่ พริก, ทำ ดว้ย ปล้อง ไม้ ไผ่, เปน ตัว เปน ฝา, สั้น บ้าง ยาว บ้าง, เปน ตัว เปน ฝา, ปิด เปิด ได้.
      กลัก เหล็ก ไฟ (60:10.3)
               สิ่ง ที่ เปน กลัก สำหรับ ใส่ เหล็ก ไฟ.
กลาก (60:11)
         อาการ โรคย์ อย่าง หนึ่ง, เปน ตาม ผิว หนัง เปน เม็ด ๆ, เปน วง กลม คัน ดว้ย.
กลุก กลัก (60:12)
         อาการ คือ คน หลาย คน อยู่ ใน ที่ คับ แคบ เหมือน คุก แล ตร้าง* เปน ต้น นั้น.
กลอก (60:13)
         การ ที่ ทำ สิ่ง ของ กลม ๆ, เอา ใส่ ฝ่า มือ ให้ กลิ้ง กลับ ไป กลับ มา ว่า กลอก ไป กลอก มา.
กลอก แกลก (60:14)
         อาการ ที่ เรือ เล็ก ๆ, ถูก คลื่น ใหญ่, โคลง เคลง ไป มา ว่า เรือ กลอก แกลก นัก.
กลอก กลิ้ง (60:15)
         การ ที่ ทำ ของ กลม ๆ, เอา ใส่ ฝ่า มือ, หฤๅ ภาชนะ สิ่ง ใด ๆ, ให้ กลิ้ง กลอก ไป มา.
กลอก กลับ (60:16)
         การ ที่ ทำ สิ่ง ของ ใด ๆ, ทำ ให้ กลิ้ง กลับ ไป กลับ มา, ว่า พูด กลอก กลับ ไม่ ยั่ง ยืน.
กลอกตา (60:17)
         อาการ ที่ คน, หฤๅ สัตว ทำ ตา ให้ กลอก กลับ ไป มา.
กลอก หน้า (60:18)
         อาการ ที่ คน ทำ ให้ หน้า ส่าย กลอก ไป กลอก มา.
กลอก หัว (60:19)
         อาการ ที่ คน, หฤๅ สัตว ทำ ให้ หัว โคลง กลอก ไป มา,
เกลือก (60:20)
         อาการ ที่ เด็ก ๆ, รอ้งไห้ ทอด ตัว ลง ที่ พื้น กลิ้ง เสือก ไป มา, ว่า มัน เกลือก ไป มา.
เกลือก กลิ้ง (60:21)
         อาการ ที่ คน, หฤๅ สัตว ทอด ตัว ลง กับ พื้น, แล้ว ให้ ตัว กลิ้ง เสือก กลับ ไป กลับ มา.
เกลือก กลั้ว (60:22)
         อาการ ที่ กลิ้ง เกลือก อยู่ กับ ที่ ไม่ สอาจ เปน ต้น.
เกลือก จะ (60:23)
          เปน, ความ ที่ เหน จะ เปน หย่าง นั้น, หฤๅ ถ้า จะ เปน หย่าง นั้น, แม้น จะ เปน หย่าง นั้น.
เกลือก ฝุ้น (60:24)
         การ ที่ ทอด ตัว ลง กลิ้ง ไป กลิ้ง มา ที่ ฝุ้น ว่า คลุกฝุ้น.
เกลือก ว่า (60:25)
         ความ ที่ ถ้า ว่า, แม้น ว่า, หฤๅ ว่า, ว่า, เพื่อ ว่า, เผื่อ ว่า,
กลาง (60:26)
         อาการ สิ่ง ของ ใด ๆ มี ริม อยู่ รอบ เท่า กัน ใน สูญ ไส้ ที่ กึ่ง นั้น.
      กลาง กอง (60:26.1)
               อาการ ที่ สิ่ง ของ ใด ๆ กอง ไว้ ดว้ย กัน มาก, สิ่ง ใด ที่ อยู่ ใน ท่ำ กลาง.
      กลาง เก่า กลาง ใหม่ (60:26.2)
               อาการ ที่ คือ ของ มี ผ้า เปน ต้น, มัน เปน กึ่ง กัน, ใหม่ กับ เก่า นั้น.

--- Page 61 ---
      กลาง คอก (61:26.3)
               อาการ ที่ สัตว ที่ ขัง ไว้ ใน คอก ตัว ใด อยู่ ใน ท่ำ กลาง
      กลาง คัน (61:26.4)
               อาการ ที่ กึ่ง คันนา, หฤๅ กึ่ง คัน กระสุน.
      กลาง แจ้ง (61:26.5)
               อาการ ที่ สิ่ง ของ ใด ๆ, อยู่ กลาง แดด ไม่ มี ร่ม.
      กลาง แดด (61:26.6)
               อาการ ที่ สิ่ง ของ ใด ๆ, ไม่ ได้ อยู่ ใน ร่ม อยู่ ที่ แดด.
      กลาง ดง (61:26.7)
               อาการ ที่ ประเทศ ที่ กึ่ง ดง, หฤๅ กลิ้ง กลาง ดง.
      กลาง เดือน (61:26.8)
               ความ ที่ สิบห้าวัน, หฤๅ กึ่งเดือน, ว่า เพงกลางเดือน.
      กลางวัน (61:26.9)
               อาการ สว่นที่ กึ่งวัน, หฤๅ เพลาเที่ยง นั้น นอน กลางวัน.
      กลาง หาว (61:26.10)
               อาการ ที่ ท่ำ กลาง อากาษ นั้น.
กลิ้ง (61:1)
         อาการ ที่ คน นอน ทำ ตัว ให้ พลิก กลับ ไป ข้าง โน้น ข้าง นี้, หฤๅ เอา ของ กลม ๆ, วาง บน ที่ สูง, ให้ มัน กลิ้ง ลง มา.
      กลิ้ง กลอก (61:1.1)
               อาการ ที่ ลูก คลื่น ใหญ่ มา ใต้ น้ำ, เมื่อ เรือ เล็ก ๆ, มัน เอียง ไป มา นั้น.
      กลิ้ง เกลือก (61:1.2)
               อาการ ที่ คน, หฤๅ สัตว ทอด ตัว ลง กับ พื้น, แล้ว ทำ ตัว ให้ เสือก กลับ ไป กลับ มา.
      กลิ้ง กลาด (61:1.3)
               ความ ที่ คือ ของ ตก ลง ดาดาด ไป นั้น.
      กลิ้ง กลด (61:1.4)
               สิ่ง ที่ เครื่อง สูง อย่าง หนึ่ง สำหรับ ใน เครื่อง แห่.
      กลิ้ง ไป กลิ้ง มา (61:1.5)
               อาการ คือ ล้อ ไป ล้อ มา, หฤๅ หมุน ไป หมุน มา.
      กลิ้ง ขอน (61:1.6)
               อาการ ที่ ขอน ไม้ ทั้ง ปวง, ยก ไม่ ไหว ผลัก ให้ มัน หมุน ไป.
กลึง (61:2)
         การ ที่ คน เอา ไม้ มา ใส่ ใน พร้ามอน, แล้ว ให้ คน ชัก เชือก ให้ มัน หมุน, แล้ว เอา เหล็ก เครื่อง กลึง คอย แทง.
แกล้ง (61:3)
         ความ ที่ คน ตั้ง ใจ ทำ สรรพ การ ทุก อย่าง, หฤๅ กล่าว ถอ้ย คำ ทั้ง สิ้น.
      แกล้ง กัก (61:3.1)
               ความ ที่ คน ตั้ง ใจ ปิด ขัง คน, หฤๅ สัตว ไม่ ให้ ไป ได้
      แกล้ง กดขี่ (61:3.2)
               ความ ที่ คน ตั้ง ใจ ข่มเหง คน ต่ำ ศักดิ, ให้ อยู่ ใน อำนาท.
      แกล้ง ทำ (61:3.3)
               ความ ที่ คน ตั้ง ใจ ทำ การ ต่าง ๆ.
      แกล้ง ว่า (61:3.4)
               ความ ที่ คน ตั้ง ใจ ว่า กล่าว ผู้ อื่น.
กลอง (61:4)
         สิ่ง ที่ คน เอา ไม้ โต ๆ, มา ตัด ออก สั้น* ๆ, แล้ว ทำ ให้ กลวง ใน เอา หนัง ขึง ปิด น่า สอง ข้าง ไว้ ตี ดัง ตุม ๆ.
      กลอง แขก (61:4.1)
               สิ่ง ที่ คน เอา ไม้ โต ๆ, มา ตัด ออก เปน ทอ่น ยาว ๆ, แล้ว ทำ ให้ กลวง ใน, เอา หนัง ขึง ปิด สอง ข้าง ตี นำเสด์จ.
      กลอง โขน (61:4.2)
               กลอง สำหรับ ตี เมื่อ เล่น โขน.
      กลอง ไชยเภรี (61:4.3)
               กลอง สำหรับ ตี เมื่อ ออก รบ ฆ่าศึก.
      กลอง หนัง (61:4.4)
               สิ่ง คือ กลอง สำหรับ ตี เมื่อ เล่น หนัง.
      กลอง ละคอน (61:4.5)
               คือ กลอง สำหรับ ตี เมื่อ เล่น ละคอน.
      กลอง หุ่น (61:4.6)
               คือ กลอง สำหรับ ตี เมื่อ เล่น หุ่น.
กล่อง (61:5)
         สิ่ง ของ เปน เครื่อง ภาชนะ สำหรับ ใส่ ของ รูป เหมือน สมุก, ทาชาด เขียน เปน ลาย กำมะลอ มา แต่ พะม่า เปน ต้น.
      กล่อง เขม (61:5.1)
               เปน สิ่ง ของ สำหรับ ใส่ เขม ทำ ดว้ย ไม้ บ้าง, ดว้ย ทอง เหลือง บ้าง, ทอง แดง บ้าง, มี ฝา ปิด คล้าย กลัก.
      กล่อง ดินสอ (61:5.2)
               เปน สิ่ง ของ สำหรับ ใส่ ดินสอ, ทำ ดว้ย ไม้ บ้าง, ทอง เหลือง บ้าง, ทอง แดง บ้าง.
      กล่อง หมาก (61:5.3)
               เปน สิ่ง เหมือน กลัก, เขา ทำ สำหรับ ใส่ หมาก.
กล้อง (61:6)
         เปน สิ่ง ของ สำหรับ สอ่ง ดู ของ ไกล ให้ เหน ใก้ล, ข้าง หนึ่ง ดู ของ ใก้ล เหน เปน ไกล. อนึ่ง ของ สำหรับ สูบยา บ้าง, สูบฝิ่น บ้าง.
      กล้อง เป่า (61:6.1)
               เปน สิ่ง ของ เครื่อง สำหรับ เป่านก บ้าง, เป่าปลา บ้าง, ทำ ดว้ย ไม้ จริง บ้าง, ไม้ รวก บ้าง, ไม้ ซาง บ้าง มี ลูกแหลม ๆ.
      กล้อง ยาแดง (61:6.2)
               เปน สิ่ง ของ สำหรับ สูบยา แดง, ทำ ดว้ย ไม้ ไผ่ ลำ เล็ก เลือก เอา ที่ งาม ดี, มา แต่ เมือง จีน บ้าง, เมือง นี้ บ้าง.
      กล้อง ยานัด (61:6.3)
               เปน สิ่ง ของ ทำ ดว้ย กะดูก ปีก นก บ้าง, ทำ ดว้ย หลอด บ้าง, สำหรับ ใส่ ยานัด เป่า เข้า ไป ใน จมูก.
      กล้อง สูบฝิ่น (61:6.4)
               เปน สิ่ง ของ ทำ ดว้ย ไม้ สำหรับ สูบฝิ่น.
      กล้อง สอ่ง (61:6.5)
               เปน กล้อง ทำ ดว้ย ไม้, เอา แว่น แก้ว กะจก ใส่ ไว้ ใน สำหรับ สร่อง ดู ของ ใก้ล แล ไกล นั้น.
กลวง (61:7)
         อาการ ปล้อง ไม้ ไผ่ ที่ เปน รู อยู่ ภาย ใน เปน ต้น นั้น, ของ ไม่ ตัน, ว่า กลวง.
      กลวง ตลอด (61:7.1)
               อาการ สิ่ง ที่ เปนชอ่ง รู ตลอด ไป, ว่า ไม่ ตัน ตลอด.
      กลวง (61:7.2)
                เปน ชอ่ง, อาการ ที่ เหมือน อย่าง ชอ่ง ภูเขา กลวง เปน ถ้ำ ตลอด ไป เปน ต้น.
      กลวง (61:7.3)
                เปน รู, อาการ ที่ สัตว มี หนู เปน ต้น ขุด รู ลง ไป ใน ดิน.
เกลียง (61:8)
         เปน สิ่ง ของ คือ เครื่อง สำหรับ ถือ ปูน บ้าง, สำหรับ ฟั่น เทียร บ้าง, ทำ ดว้ย เหล็ก บ้าง ไม้ บ้าง.
      เกลียง ถือปูน (61:8.1)
               เปน สิ่ง ของ ที่ ขัด ถู พื้น ปูน ให้ เกลี้ยง นั้น.
      เกลียง ฟั่นเทียร (61:8.2)
               สิ่ง ที่ เปน เครื่อง สำหรับ ฟั่น เทียร, ทำ ดว้ย ไม้ คล้าย กับ มือ คน.

--- Page 62 ---
เกลี้ยง (62:1)
         อาการ กะดาน ที่ ไส กบ แล้ว ขัด ให้ ดี, หฤๅ คน หัวล้าน ไม่ มี ผม เปน ต้น, ว่า หัว เกลี้ยง.
      เกลี้ยง เกลา (62:1.1)
               อาการ ไม้ ทั้ง ปวง มี ไม้ ไผ่ เปน ต้น, คน เอา มีด พ้รา ทำ ข้อ เสีย ให้ เกลี้ยง.
      เกลี้ยง กลม (62:1.2)
               อาการ ที่ ผล มะนาว, หฤๅ ซ่ม เกลี้ยง หฤๅ ลูก ปืน มี สันฐาน อย่าง นั้น.
กลัด (62:2)
         การ ที่ คน เอา ไม้ มา เหลา เล็ก ๆ เสี้ยม ปลาย แหลม ๆ, หฤๅ เอา เขม บ้าง แทง ขัด ไว้ ที่ ผ้า หฤๅ ใบ ตอง.
      กลัด กลุ้ม (62:2.1)
               ความ ที่ คน หฤๅ สัตว ที่ ได้ ทุกข์ เวทนา เพราะ ถูก ปืน, หฤๅ ไฟ ไหม้, และ งู ตอด, พิศ มัน กลุ้ม ขัด ใจ อยู่.
      กลัด หนอง (62:2.2)
               อาการ ที่ บาด แผล, หฤๅ ฝี ที่ แตก หนอง แล้ว, ครั้น ปาก แผล หาย ติด กัน เข้า เปน หนอง ใน อีก.
      กลัด มัน (62:2.3)
               อาการ คือ ของ ที่ มัน มี มันมาก มันออก ไม่ ได้ ขัง อยู่ นั้น.
      กลัด อก กลัด ใจ (62:2.4)
               ความ ที่ คน เปน หวัด คัด ตมูก หายใจ ไม่ ใค่ร ออก, หฤๅ เมื่อ จะ ใก้ล ตาย หายใจ ไม่ ออก.
กลาด (62:3)
         อาการ ที่ เข้า ของ วาง ไว้ เรียง ราย ไป, หฤๅ ผลไม้ หล่น ดาศ ไป, หฤๅ ดวง ดาว ใน อากาษ ขึ้น ดาศ ไป.
      กลาด เกลื่อน (62:3.1)
               อาการ ความ เหมือน กัน กับ เรียง ราย, หฤๅ ผล ไม่ หล่น ลง กลาด เกลื่อน.
      กลาด กลุ้ม (62:3.2)
               อาการ คือ ของ มี ดอกไม้, หฤๅ ผลไม้ เปน ต้น, มัน หล่น ลง เตม ไป ที่ พื้น นั้น.
เกล็ด (62:4)
         สิ่ง ที่ แขง ซอ้น ลำดัพ กัน เปน ชั้น ๆ, ติด อยู่ ที่ หนัง ปลา หลาย อย่าง, และ หนัง งู หฤๅ กะดอง เต่า.
      เกล็ด กะดี่ (62:4.1)
               สิ่ง ที่ เปน เกล็ด ปลา อย่าง หนึ่ง ตัว เล็ก ๆ, คล้าย ปลา สลิด. อนึ่ง โรค ที่ ขึ้น ใน หน่วยตา เด็ก เปน เกล็ด ขาว ๆ.
      เกล็ด เข้า เปลือก (62:4.2)
               การ ที่ นก, หฤๅ หนู เอา ปาก กัด ให้ เปลือก เข้า แตก ออก จาก เม็ด.
      เกล็ด ปลา (62:4.3)
               การ ที่ เกล็ด อัน ติด อยู่ ที่ ตัว ปลา นั้น.
      เกล็ด ฝี (62:4.4)
               อาการ คือ สะเก็ต ฝี นั้น.
      เกล็ด พิมเสน (62:4.5)
               สิ่ง ที่ พิมเสน เปน เกล็ด แบน เล็ก ๆ นั้น. อนึ่ง แพ่ร เปน ดอก กลม ๆ เล็ก ๆ นั้น.
      เกล็ด แรด (62:4.6)
               อาการ ที่ หนัง แรด แตก ระแหง เปน เกล็ด ๆ อยู่ นั้น. อนึ่ง เปน ชื่อ ฝีดาศ อย่าง หนึ่ง.
      เกล็ด หอย (62:4.7)
               เปน สิ่ง คือ ต้น หญ้า อย่าง หนึ่ง ใบ เล็ก ๆ, เปน เถา สำหรับ ทำ ยา.
เกลียด (62:5)
         ความ ที่ คน เหน สิ่ง ของ ที่ โศกโครก, หฤๅ เหน ซาก ผี ที่ เปื่อย เน่า เหม็น ไม่ อย่าก จับ, ให้ ขยะแขยง.
      เกลียด ชัง (62:5.1)
               ความ ที่ คน เหน ขี้ เยี่ยว เกลียด ไม่ จับ ตอ้ง ได้, ไม่ รักษ, ว่า น่า เกลียด น่า ชัง.
      เกลียด น้ำ หน้า (62:5.2)
               ความ ที่ คน ไม่ ชอบ กัน, เหน หน้า กัน เข้า แล้ว, ให้ น่า เกลียด นั้น,
กล่น (62:6)
         (dummy head added to facilitate searching).
      กล่น กลาด (62:6.1)
               อาการ คือ หล่น ลง เตม ไป ที่ พื้น นั้น.
      กล่น เกลื่อน (62:6.2)
               อาการ สิ่ง ของ ใด มี มาก หลาย ตั้ง เรี่ยราย กัน ไป.
กลั่น (62:7)
         การ ที่ คน ต้ม เหล้า, หฤๅ กลั่น น้ำ ดอกไม้ เอา เชื้อ ใส่ ลง ใน ม่อ แล้ว, เอา หวด ช้อน ปากม่อ เอา กะทะ ปิด บน รอง, เอา เหื่อ.
      กลั่น ชี่ (62:7.1)
               การ ที่ เอา กะลา ใส่ ใน ม่อ แล้ว ตั้ง ไฟ ให้ เปน ควัน เอา เหล็ก ปิด เบื้อง บน เอา เหื่อ ควัน นั้น.
      กลั่น น้ำ ดอก ไม้ (62:7.2)
               การ ที่ คน เอา ดอก ไม้ ใส่ ม่อ ลง แล้ว, เอา หวดซ้อน บน ปากม่อ, เอา กะทะซ้อน บนหอด ตั้ง ไฟ ให้ ร้อน, รอง เอา เหื่อ อาย ที่ หยด ลง นั้น.
      กลั่น น้ำมัน (62:7.3)
               การ ที่ ทำ เช่น ว่า นั้น แต่ ว่า เอา น้ำมัน.
      กลั่น เหล้า (62:7.4)
               การ ที่ ต้ม เหล้า นั้น เอง.
กลั้น (62:8)
         ความ ที่ คน หฤๅ สัตว อัด อั้น ลม ไว้ ไม่ หาย ใจ. หฤๅ คน ที่ จะ ถ่าย อุจจาระ ปัศศาวะ อั้น ไว้.
      กลั้น ขี้ (62:8.1)
               ความ คน ปวด ท้อง จะ ถ่าย อุจจาระ ปัศศาวะ กลั้น ไว้.
      กลั้น ใจ (62:8.2)
               ความ ที่ คน หฤๅ สัตว อัด ใจ ไว้ ไม่ หาย ใจ.
      กลั้น ความ โสก (62:8.3)
               อาการ ที่ คน โสก เส้า ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง, สู้ อด ทน ไว้.
      กลั้น น้ำ ตา (62:8.4)
               ความ ที่ คน โสกเส้า น้ำ ตา จะ ไหล ออก, มา สู้ อด กลั้น ไว้ ได้.
      กลั้น พยาบาท (62:8.5)
               ความ ที่ คน โกรธ คิด จะ ทำ อันตราย แก่ ผู้ อื่น ต่าง ๆ, แล้ว ผู้ นั้น อด ใจ ไว้ ได้.
กลิ่น (62:9)
         อาการ ที่ ของ ไม่ มี รูป เกิด แต่ ดอก ไม้ ต่าง ๆ บ้าง, เกิด แต่ ของ ดี บ้าง ของ ชั่ว บ้าง, เมื่อ มัน ฟุ้ง มา รู้ ดว้ย จมูก.
      กลิ่น ชั่ว (62:9.1)
               ความ ที่ กลิ่น ไม่ ดี เกิด แต่ ของ โศกโครก.
      กลิ่น ดี (62:9.2)
               ความ ที่ กลิ่น เกิด แต่ ดอกไม้ หอม ชื่น ใจ.
      กลิ่น เหมน (62:9.3)
               ความ ที่ กลิ่น เกิด แต่ ของ ชั่ว ของ โศกโครก ไม่ หอม.

--- Page 63 ---
      กลิ่น หอม (63:9.4)
               ความ ที่ กลิ่น ดี เกิด แต่ ดอกไม้, หฤๅ กฤษนา กะลำ ภัก เปน ต้น.
กลืน (63:1)
         อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว เอา อาหาร ต่าง ๆ, มี เข้า แล น้ำ เปน ต้น ใส่ ใน ปาก, แล้ว กะเดือก ลง ไป ใน ฅอ ว่า กลืน ลง.
      กลืน เข้า (63:1.1)
               อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว เอา เข้า ใส่ ลง ใน ปาก, แล้ว กะเดือก เข้า ไป ใน ฅอ.
      กลืน แค้น (63:1.2)
               อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว เอา ของ กิน ใส่ เข้า ไป ใน ปาก, แล้ว กลืน ไม่ ใค่ร จะ เข้า ติด ฅอ อยู่.
      กลืน คล่อง ฅอ (63:1.3)
               อาการ ที่ คน เอา ของ กิน ใส่ ใน ปาก กลืน ง่าย, กลืน สะบาย เหมือน กลืน เม็ด มังคุด เปน ต้น.
      กลืน ติดฅอ (63:1.4)
               อาการ ที่ คน เอา ของ ใส่ ใน ปาก, แล้ว กลืน ไม่ เข้า กลืน แค้น ฅอ.
      กลืน ไม่ ลงฅอ (63:1.5)
               อาการ ที่ คือ ของ เฝื่อน ฝาด, คน ไม่ อาจ กลืน เข้า ไป ได้.
โกลน (63:2)
         การ ที่ คน แรก ทำ สิ่ง ของ เปน รูป ใหม่ ๆ, แต่ ยัง ไม่ แล้ว เหมือน เรือ หฤๅ ภาย แจว คน พึ่ง ทำ ยัง ค้าง อยู่.
      โกลน ม้า (63:2.1)
               สิ่ง ที่ เปน เหล็ก ที่ สำหรับ ตีน เหยียบ ข้าง ม้า สองอัน นั้น.
      โกลน ไม้ (63:2.2)
               การ ที่ คน เอา ไม้ มา ถาก ทำ เปน รูป สิ่ง ของ ต่าง ๆ, แต่ ยัง ไม่ ให้ แล้ว.
      โกลน ไว้ (63:2.3)
               การ ที่ คน ทำ สิ่ง ของ ใด ๆ, แต่ ภอ เปน เลา ๆ รูป ไว้ ยัง ไม่ แล้ว.
      โกลน เรือ (63:2.4)
               การ ที่ คน ตัดไม้ ถาก ทำ เปน รูป เรือ ไว้, แต่ ยัง ไม่ แล้ว.
กลอน (63:3)
         สิ่ง ที่ เปน ไม้ บน หลังคา, ที่ สำหรับ ผูก ตอก มุง จาก, หฤๅ มุงกระเบื้อง มุงแฝก. อนึ่ง เปน ชื่อ ไม้ สลัก ที่ สำหรับ ใส่ ประตู.
      กลอน กาพย์ (63:3.1)
               เปน ชื่อ สิ่ง ที่ คน คิด แต่ง หนังสือ ให้ ถอ้ย คำ สำ ผัศ กัน ตาม บท บังคับ อักษร.
      กลอน ประตู (63:3.2)
               สิ่ง ของ คือ ไม้ หฤๅ เหล็ก, เขา ทำใส่ไว้ ที่ บาน ประตู ใส่ ขัด ไว้, เพื่อ จะ ไม่ ให้ เปิด ได้ นั้น.
      กลอน เพลง (63:3.3)
               ความ ที่ คน แต่ง หนังสือ เปนคำ เพลง ให้ คำ จอง ฟัด กัน ตาม บังคับ.
      กลอน เรือน (63:3.4)
               สิ่ง ของ คือ ไม้ ที่ สำหรับ ติด ระแนง บน เรือน, หฤๅ สำหรับ ผูก ตอก มุง หลังคา.
      กลอน ฃอ (63:3.5)
               เปน ชื่อ สิ่ง ของ คือ ไม้ กลอน ที่ เขา จะ วาง ไม้ ระ แนง, เขา อยัก ๆ ไว้ นั้น.
กล่อน (63:4)
         เปน ชื่อ อาการ โรค อย่าง หนึ่ง, มัน มัก ให้ ปัศสาวะ เหลือง ให้ เจ็บ หลัง เปน กำลัง.
      กล่อน น้ำ (63:4.1)
               เปน ชื่อ อาการ โรค อย่าง หนึ่ง, เมื่อ ลง อาบ น้ำ มัก ให้ ปวด ทอ้ง เยี่ยว.
      กล่อน ลงฝัก (63:4.2)
               เปน ชื่อ อาการ โรค อย่าง หนึ่ง, มัน ลง ที่ ฝัก มัก ทำ ให้ อันทะ ใหญ่.
      กล่อน ลม (63:4.3)
               เปน ชื่อ อาการ โรค อย่าง หนึ่ง, มัก ให้ เปน ลม มือ ท้าว เย็น เปน เหน็บ ไป.
      กล่อน เส้น (63:4.4)
               อาการ โรค อย่าง หนึ่ง, มัก ทำ ให้ เส้น ตึง เจ็บ หลัง เปน กำลัง.
      กล่อน แห้ง (63:4.5)
               อาการ โรค อย่าง หนึ่ง, มัก ให้ ไอ ผอม แห้ง ไป.
กล้อน (63:5)
         อาการ ไก่อู ที่ เขา เลี้ยง ไว้ ให้ มัน ชนกัน, จน ขน หัว ไม่ มี.
เกลื่อน (63:6)
         อาการ เข้า ของ ต่าง ๆ, ทิ้ง อยู่ มาก หลาย เรียงราย กัน ไป.
      เกลื่อน กลาด (63:6.1)
               อาการ ที่ เข้า ของ หลาย สิ่ง ตั้ง เรียง ราย กัน ออก ไป เปน อัน มาก.
      เกลื่อน กล่น (63:6.2)
               อาการ ที่ เข้า ของ, หฤๅ ผู้ คน มาก ความ นอก นั้น เหมือน กัน.
      เกลื่อน กลบ (63:6.3)
               การ ที่ คน หว่าน เม็ด เข้า, หฤๅ เม็ด ผัก ลง ใน ดิน, แล้ว เกลี่ย ดิน กลบ เสีย นั้น.
      เกลื่อน ที่ (63:6.4)
               การ ทำ ที่ บ้าน ที่ เรือน สูง บ้าง ต่ำ บ้าง, ไม่ เสมอ กัน คือ เอา จอบ ฟัน ดิน เกลี่ย ให้ เสมอ กัน.
      เกลื่อน ฝี (63:6.5)
               การ ที่ ทำ ฝี ที่ พึ่ง ตั้ง หัว ขึ้น ใหม่ พอกยา ให้ ยุบ หาย ไป.
      เกลื่อน หาย (63:6.6)
               อาการ ที่ เมฆ ตั้งขึ้น มา, แล้ว ลมพัด ให้ ปลิว หาย ไป.
เกลื้อน (63:7)
         เปน ชื่อ อาการ โรค อย่าง หนึ่ง ขึ้น ตาม ผิวหนัง, ที่ ตัว เปน ดอก ขาว ๆ.
      เกลื้อน คางคก (63:7.1)
               อาการ ที่ โรค มัน ขึ้น ตาม ผิวหนัง เปน เม็ด ๆ, เหมือน หนัง คางคก.
กลบ (63:8)
         การ ที่ คน ฝัง ศภ, หฤๅ คน ขุด หลุม, แล้ว เอา ดิน ใส่ ลง ไม่ ให้ เหน ศภ หฤๅ ให้ เตม หลุม เปน ต้น.
      กลบ เกลื่อน (63:8.1)
               ความ ที่ คน ทำ ความ ผิด สิ่ง ใด ไว้, แล้ว ชัก เอา ความ โน้น มา พูด นี่ มา พูด เกลี่ย ไกล่ เสีย มิ ให้ เกิด ความ ได้.
      กลบ เกลี่ย (63:8.2)
               การ ที่ เขา เอา ดิน ตลบ ลง บน พืชนะ* ที่ ปลูก ลง ใน พื้น ดิน, แล้ว เขี่ย เอา ดิน ปิด ปก ลง ให้ ทั่ว นั้น.

--- Page 64 ---
      กลบ ความ (64:8.3)
               ความ ที่ คน ทำ ความ ไว้, แล้ว กลบ เกลื่อน เสีย มิ ให้ เกิด ขึ้น ได้.
      กลบ ดิน (64:8.4)
               การ ที่ คน ขุด บ่อ หฤๅ ขุด หลุม, แล้ว เอา ดิน ถม ดง ให้ เต็ม.
      กลบ ที่ (64:8.5)
               การ ทำ ที่ สวน หฤๅ ที่ นา ขุด ขึ้น ไว้, หฤๅ ไถ ขึ้น ไว้ แล้ว กลับ กลบ ลง เสีย.
      กลบ รอย (64:8.6)
               การ ทำ ซึ่ง รอย ตีน หฤๅ รอย สิ่ง ใด ๆ, เกลี่ย ทำ เสีย ให้ หาย รอย,
      กลบ ลบ กัน (64:8.7)
               ความ ที่ คน สอง คน ต่าง คน ต่าง ด่า ต่าง คน ต่าง ตี กัน, โทษ ของ คน ทั้ง สอง นั้น ภอ ลบ ล้าง กัน.
      กลบ เสีย (64:8.8)
               การ ทำ คือ ปก ปิด, แล้ว เกลี่ย ดิน ลง เสีย นั้น.
กลับ (64:1)
         อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว ไป สู่ ที่ อื่น, แล้ว คืน มา ยัง ที่ เดิม. อนึ่ง เดิม นอน ตะแคง อยู่ เบื้อง ทราย, แล้ว พลิก มา เบื้องขวา.
      กลับ กลาย (64:1.1)
               อาการ คือ ความ พูด ไว้ อย่าง นี้, แล้ว ทำ เสีย อย่าง อื่น.
      กลับ คำ (64:1.2)
               ความ ที่ คน พูด อย่าง นี้ สัญา กัน อย่าง นี้, แล้ว ภาย หลัง ยัก พูด เสีย อย่าง อื่น.
      กลับ คืน (64:1.3)
               ความ ที่ คือ เอา ของ ที่ ให้ เขา แล้ว, เอา มา เปน ของ ตัว อีก นั้น.
      กลับ กลอก (64:1.4)
               ความ คือ พูด คำ ไม่ แน่ ไม่ นอน เปน คำ เลาะและ นั้น.
      กลับ ถอ้ย คืน คำ (64:1.5)
               ความ ที่ เดิม รับ ถอ้ย รับ คำ กัน แล้ว, ครั้น มา ภายหลัง กลับ คำ เสีย หา รับ ไม่.
      กลับ ใจ (64:1.6)
               ความ ที่ ตั้งใจ เสีย* อย่าง อื่น, ใจ ไม่ ตั้ง อยู่ อย่าง เดิม นั้น.
      กลับ ดี (64:1.7)
               ความ ที่ เปน ชั่ว, แล้ว กลับ เปน ดี.
กลีบ (64:2)
         สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ซอ้น หฤๅ เรียง กัน เปน ชัน ๆ, เหมือน อย่าง กลีบ ซ่ม แล ดอกไม้ เปน ต้น.
      กลีบ กะดาษ (64:2.1)
               อาการ คือ ของ เปน ขนบ เหมือน สมุท ไทย, เรียก กลีบ กะดาษ ก็ ได้.
      กลีบ ซ่ม (64:2.2)
               อาการ ที่ ผล ซ่ม ทั้ง ปวง ที่ เนื้อ ใน นั้น มี ผิว หุ้ม, แล้ว ซอ้น กัน อยู่ เปน กลีบ นั้น.
      กลีบ เมฆ (64:2.3)
               อาการ ที่ เมฆ ที่ ตั้ง ขึ้น แล้ว, แล ดู ซอ้น กัน เปน ชั้น ๆ นั้น.
      กลีบ เสื้อ (64:2.4)
               สิ่ง คือ กะเป๋า เสื้อ ที่ เย็บ ติด กัน เปน ชั้น ๆ นั้น.
      กลีบ หู (64:2.5)
               อาการ คือ ใบ หู ที่ เปน กลีบ อยู่ นั้น.
แกลบ (64:3)
         เปลือก เข้า ที่ เขา สี แตก ออก จาก เม็ด เข้า นั้น.
      แกลบ เข้า จ้าว (64:3.1)
               สิ่ง คือ เปลือก เข้า จ้าว นั้น เอง.
      แกลบ เข้า เหนี่ยว (64:3.2)
               เปน สิ่ง คือ เปลือก เข้า เหนี่ยว นั้น เอง.
      แกลบ เข้า โภช (64:3.3)
               เปน สิ่ง คือ เปลือก ที่ แตก ออก จาก เม็ด เข้า โภช นั้น เอง.
      แกลบ เข้า ลีบ (64:3.4)
               สิ่ง ของ คือ เปลือก เข้า ลีบ ที่ ไม่ มี เม็ด ใน นั้น.
      แกลบ เข้า เม่า (64:3.5)
               สิ่ง ของ คือ เปลือก เข้าเม่า ที่ แตก ออก จาก เม็ด นั้น.
กลม (64:4)
         อาการ ที่ สิ่ง ของ ที่ ไม่ แบน, ไม่ เปน เหลี่ยม, ไม่ รี มี สัน ถาน เหมือน ลูก ปืน, และ ผล มะนาว เปน ต้น.
      กลม กล่อม (64:4.1)
               อาการ ที่ สิ่ง ของ ใด ๆ, คน ถาก กล่อม ให้ กลม เหมือน อย่าง เสา ไส กบ.
      กลม กลอก (64:4.2)
               อาการ ที่ ทำ ลูก มะนาว หฤๅ ลูก กระสุร คน เอา ใส่ ใน ฝ่า มือ ให้ กลิ้ง กลอก ไป มา.
      กลม เกลี้ยง (64:4.3)
               อาการ สิ่ง ของ ที่ กลม เหมือน อย่าง ลูก มะนาว เปน ต้น, แล้ว เกลี้ยง ดว้ย ไม่ มี ขน.
      กลม เกลียว (64:4.4)
               อาการ คือ เกลียว เชือก ที่ เขา ฟั่น เขมง กลม ดี นั้น. อย่าง หนึ่ง คน ไม่ แก่ง แย่ง ทำ การ ดี ไป ดว้ย กัน.
กลั่ม (64:5)
         ความ ที่ เงิน, หฤๅ สิ่ง ของ ใด ๆ หนัก เฟื้อง หนึ่ง, แบ่ง ออก เปน สี่ สว่น ๆ หนึ่ง นั้น เปน กลั่ม.
กลั้ม (64:6)
         อาการ เนื้อ มะพร้าว ที่ ติด กะลา อยู่ นั้น, หฤๅ เล่ม น่า ผ้า.
กลุ่ม (64:7)
         การ ที่ คน เอา ด้าย หฤๅ ป่าน มา มว้น เปน กอ้น ๆ. อนึ่ง คน หฤๅ สัตว เดิร ไป เปน หมู่* ๆ.
      กลุ่ม หนึ่ง (64:7.1)
               อาการ ของ เขา กำ แล้ว เอา เชือก ผูก ทำ ไว้ เปน ที่ ๆ นั้น.
      กลุ่ม กอ้น (64:7.2)
               การ ทำ ผ้า หฤๅ สิ่ง ของ ใด ๆ, มว้น เข้า เปน กอ้น ๆ.
      กลุ่ม ด้าย (64:7.3)
               สิ่ง ที่ คน เอา ด้าย มา มว้น เข้า เปน กลุ่ม ๆ.
      กลุ่ม ป่าน (64:7.4)
               สิ่ง ที่ คน เอา ป่าน มา ทำ เปน กลุ่ม ๆ.
      กลุ่ม พลู (64:7.5)
               การ ที่ คน เอา พลู มา ห่อ ใบตอง ทำ เปน กลุ่ม ๆ.
กลุ้ม (64:8)
         (dummy head added to facilitate searching).
      กลุ้ม กลัด (64:8.1)
               อาการ ที่ คน เปน ไข้ หนัก, พิศม์ มัน กลุ้ม อยู่ ใน ใจ, หฤๅ คน โกรธ มุ่น หมก อยู่ ใน ใจ.
      กลุ้ม กลั้ม ใจ (64:8.2)
               อาการ ที่ คน ไม่ สะบาย ใน ใจ, ให้ รอ้น รน เหมือน จะ คลั่ง เปน บ้า ไป, คือ ใจ โกรธ งุ่น ง่าน.
      กลุ้มใจ (64:8.3)
               ความ เหมือน กัน ทั้ง สิ้น, คือ อาการ ที่ งุ่นง่าน ใจ นั้น เอง.

--- Page 65 ---
      กลุ้ม พิศ (65:8.4)
               อาการ ที่ คน งูกัด, หฤๅ ไฟ ลวก, พิศ มัน กลุ้ม อยู่ ใน ใจ, หฤๅ อาการ แห่ง ยา พิศ นั้น.
      กลุ้มรุม (65:8.5)
               การ ที่ คน หฤๅ สัตว วิวาท กัน, ฝ่าย ข้าง พวก มาก ลง มือ พร้อม กัน ชว่ย กัน ตี ข้าง ผู้ นอ้ย.
      กลุ้ม อก (65:8.6)
               ความ คือ จิตร ใจ รำคาน วุ่น วาย นั้น, ใจ ไม่ ปรกติ ราว กะจะ เปน บ้า.
แกล้ม (65:1)
         การ ที่ คน ยก ไม้ ซุง ขึ้น วาง บน ม้า, แล้ว เอา ไม้ หนุน ข้าง ๆ ประสงค์ จะ มิ ให้ โคลง ไป ได้.
      แกล้ม เหล้า (65:1.1)
               สิ่ง ที่ เปน ของ กิน ทั้ง ปวง เปน ต้น, คือ เนื้อ พล่า ปลา ต้ม ยำ, ที่ สำหรับ กิน กับ เหล้า นั้น.
กล่อม (65:2)
         อาการ ที่ คน รอ้ง เพลง ให้ เด็ก นอน, หฤๅ คน ถาก เสา ให้ กลม งาม.
      กล่อม เกลี้ยง (65:2.1)
               ความ คือ กล่อม ดว้ย เสียง เพราะ จับ ใจ นั้น. อนึ่ง อาการ ที่ คน ถาก เสา กล่อม ให้ เกลี้ยง นั้น.
      กล่อม กลม (65:2.2)
               การ ที่ คน ถาก ไม้ หฤๅ ถาก เสา ให้ เกลี้ยง กลม งาม.
      กล่อม หนึ่ง (65:2.3)
               ความ คือ หนัก สอง กล่อม เปน กล่ำ หนึ่ง.
      กล่อม ช้าง (65:2.4)
               ความ คือ ช้าง ดี ที่ เปน มงคล ได้ มา ใหม่, แล้ว เขา รอ้ง เพลง กล่อม ให้ ช้าง ฟัง.
      กล่อม ลูก (65:2.5)
               ความ ที่ คน ขับ เพลง กล่อม ให้ ลูก ออ่น หลับ.
      กล่อม เสา (65:2.6)
               การ ที่ คน ถาก เสา ให้ กลม งาม.
      กล่อม ห่อ (65:2.7)
               เสียง ขับ ที่ คน แต่ง ขันหมาก ทำ งาร บ่าวสาว ให้ คน รอ้ง เพลง เล่น มะโหรี ที่ ห่อ ใหม่ นั้น.
กล้อม แกล้ม (65:3)
         อาการ ที่ คน แก่ เคี้ยว เข้า ปลา อาหาร ไม่ สนัด, เพราะ ฟัน หัก. อนึ่ง คือ อะลุ่ม อล่วย.
เกลี่ยม (65:4)
         ความ เปน ชื่อ คน อย่าง นั้น ก็ มี บ้าง.
กลาย (65:5)
         อาการ ที่ เดิม เปน ของ อย่าง นี้, แล้ว กลับ เปน ของ อย่าง อื่น, เหมือน ตัว หนอน กลับ เปน แมงวัน.
      กลาย กลับ (65:5.1)
               อาการ ที่ ของ สิ่ง ใด ๆ, ไม่ ยั่ง ยืน ยอ่ม แปร ไป ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง ตัว น้ำ กลับ เปน ยุง เปน ต้น.
      กลาย เภท (65:5.2)
               ความ ที่ เดิม เปน เภท คราวาษ, ภายหลัง กลับ เปน ภิกขุ, หฤๅ เดิม เปน แขก กลับ เปน ไทย.
กล้าย (65:6)
         สิ่ง ที่ เปน ต้น อย่าง หนึ่ง, ใบ ก้าน ต้น ลำ เหมือน กล้วย, แต่ ลูก ยาว หย่อน ศอก ศัก นอ้ย กิน ดี เหมือน กล้วย.
กล่าว (65:7)
         เสียง ที่ เปน คำ พูด กัน, คือ อาการ ที่ พูดจา ต่าง ๆ นั้น เอง.
      กล่าว ขวัน (65:7.1)
               ความ ที่ คน พูด จา ติเตียน กัน ต่าง ๆ, พูด ลับหลัง คือ พูด นินทา กัน นั้น เอง.
      กล่าว คำ (65:7.2)
               ความ ที่ กล่าว ถอ้ยคำ ที่ พูด นั้น เอง, คือ พูด คำ ต่าง ๆ เปน ต้น นั้น.
      กล่าว จริง (65:7.3)
               ความ ที่ พูด ไม่ ปด, คือ คำ สัจ, ไม่ กล่าว คำ ให้ คลาด ให้ ผิด นั้น เอง.
      กล่าว ดี (65:7.4)
               ความ ที่ พูด ไม่ มี ชั่ว, คือ พูด เพราะ เปนคำ สุภาสิต นั้น เอง
      กล่าว ตอบ (65:7.5)
               ความ ที่ พูด โต้ ตอบ, เหมือน เขา ถาม มา, เรา บอก แล้ว กลับ ถาม เขา บ้าง.
      กล่าว ตาม (65:7.6)
               ความ ที่ ว่า ไร ว่า ตาม กัน, คือ พูด ตาม เรื่อง ราว, หฤๅ ตาม ความ นั้น เอง.
      กล่าว ถูก (65:7.7)
               ความ ที่ คน พูด ไม่ ผิด, คือ กล่าว ดี กล่าว ชอบ นั้น.
      กล่าว ถึง (65:7.8)
               ความ ที่ คน พูด ถึง สิ่ง ใด ๆ, คือ กล่าว ถึง เหตุ ผล ต่าง ๆ นั้น.
      กล่าว เถียง (65:7.9)
               เสียง ที่ คน พูด แก่ง แย่ง ไม่ ตก ลง กัน, คือ พูด เถียง กัน นั้น.
      กล่าว ธรรม (65:7.10)
               คือ ว่า กล่าว ถอ้ย คำ ปราศจาก วะจี ทุจริต ทั้ง สี่ นั้น, คือ แสดง ธรรม นั้น เอง.
      กล่าว โทษ (65:7.11)
               ความ ที่ คือ พูด ว่า คน นั้น กะทำ ผิด อย่าง นั้น ๆ, คือ การ ที่ ฟอ้ง รอ้ง หา ความ กัน นั้น.
      กล่าว มุสา (65:7.12)
               ความ ที่ คน พูด ปด ฬ่อ ลวง, คือ พูด ปิด บัง, พูด อำ- พราง* นั้น.
      กล่าว หยาบ ช้า (65:7.13)
               ความ ที่ คน พูด หยาบ ช้า เผ็ด รอ้น, คือ กล่าว พรุสวาท นั้น.
กล้าว (65:8)
         การ ที่ คน กระหมวด ผม ผูก ให้ เปน จุก เปน มวย.
แกล้ว (65:9)
         ความ ที่ กล้า, คือ อาการ ที่ อาจหาร ไม่ กลัว นั้น.
      แกล้ว กล้า (65:9.1)
               อาการ ที่ คน ไม่ กลัว สิ่งใด, คือ การ ที่ องอาท เหมือน นาย ทหาร เปน ต้น นั้น.
กลอย (65:10)
         สิ่ง ของ อย่าง หนึ่ง ต้น เปน เถา มี หนาม, หัว อยู่ ใต้ ดิน, กิน ได้.
      กลอย แก่ (65:10.1)
               อาการ ที่ คน แก่ แล้ว, แต่ง ตัว นุ่ง ผ้า ห่ม ผ้า เหมือน คน หนุ่ม ๆ.
      กลอย ใจ (65:10.2)
               ความ ที่ หน้า รักษ หน้า ชม.
      กลอย ตา (65:10.3)
               ความ ที่ ทำ เปน ขวัน ตา, คือ ตา ดู เล่น สบาย ใจ.

--- Page 66 ---
      กลอย สวาศ (66:10.4)
               ความ ที่ ซาม รักษ ซาม เชย.
กล้วย (66:1)
         สิ่ง ของ ที่ ต้น เปนกาบ ๆ, ใบ ยาวใหญ่, ตกเครือ เปน ปลี, ลูก ยาว ๆ สุก กิน หวาน ดี.
      กล้วย กุ (66:1.1)
               สิ่ง ที่ ต้น ใบ เหมือน กัน, ลูก สั้น ๆ กลม ๆ สุก กิน หวาน ดี.
      กล้วย กรัน (66:1.2)
               เปน กล้วย อย่าง หนึ่ง, เครือ ไม่ สู้ โต ลูก เล็ก ๆ, คล้าย ๆ กล้วย น้ำนม ราช สีห์ สุก กิน หวาน.
      กล้วย ไข่ (66:1.3)
               กล้วย อย่าง หนึ่ง ต้น ใบ ตก เครือ เหมือน กัน, ลูก สุก นั้น เปลือก บาง, กิน หวาน ดี.
      กล้วย เขียว ไข่กา (66:1.4)
               กล้วย อย่าง หนึ่ง ต้นใบ ลูก เหมือน กล้วย หัก มุก, เมื่อ ดิบ* ศี ขาว.
      กล้วย ครั่ง (66:1.5)
               กล้วย อย่าง หนึ่ง, ผล นั้น ศี แดง เหมือน น้ำ ครั่ง สุก กิน ดี.
      กล้วย คอ่ม (66:1.6)
               กล้วย อย่าง หนึ่ง, ต้น สูง ประมาณ ศอก หนึ่ง, ก็ ตก เครือ ๆ นั้น ตั้ง ดิน.
      กล้วย งาช้าง (66:1.7)
               กล้วย อย่าง หนึ่ง, ผล นั้น งอน ๆ คล้าย งาช้าง.
      กล้วย จังนวล (66:1.8)
               กล้วย อย่าง หนึ่ง, แต่ ผล นั้น คล้าย กล้วย ไข่ สุก กิน ดี.
      กล้วย ซ่ม (66:1.9)
               กล้วย อย่าง หนึ่ง, ผล นั้น เหมือน กล้วย หักมุก, เมื่อ สุก นั้น รศ เปรี้ยว ศัก นอ้ย.
      กล้วย ตะนี (66:1.10)
               กล้วย อย่าง หนึ่ง, ต้น ผล นั้น มี เม็ด มาก ปลูก* ไว้ สำ หรับ ใช้ ใบ นั้น.
      กล้วย ตีบ หนัง (66:1.11)
               กล้วย อย่าง หนึ่ง, ผล นั้น คล้าย กล้วย หักมุก เปลือก เหนี่ยว.
      กล้วย ตีบ หอม (66:1.12)
               กล้วย อย่าง หนึ่ง, ผล นั้น คล้าย กล้วย หักมุก สุก กลิ่น หอม,
      กล้วย น้ำ (66:1.13)
               กล้วย อย่าง หนึ่ง, ชอบ ที่ ริม น้ำ สุก รศ หวาน เย็น.
      กล้วย น้ำนม ราชสีห์ (66:1.14)
               กล้วย อย่าง หนึ่ง, ผล นั้น สุก กลิ่น หอม กิน หวาน ดี นัก.
      กล้วย น้ำ ละว้า. กล้วย อย่าง หนึ่ง ผล สุก กิน หวาน (66:1.15)
               เดิม ได้ มา แต่ ไร่ พวก ละว้า.
      กล้วย ดอกบัว (66:1.16)
               กล้วย อย่าง หนึ่ง ต้น ใบ เล็ก ๆ, มี ปลี ตก ปลาย ยอด คล้าย ดอก บัว.
      กล้วย น้ำ เชิงลาย (66:1.17)
               กล้วย อย่าง หนึ่ง มี อยู่ แถบ เมือง เหนือ, เมื่อ สุก นั้น กิน หอม หวาน เย็น ดี นัก.
      กล้วย น้ำ กาบดำ (66:1.18)
               คือ กล้วย น้ำ นั้น เอง, แต่ กาบ มัน ดำ ผลใหญ่.
      กล้วย พระ (66:1.19)
               กล้วย อย่าง หนึ่ง ต้น ใบ คล้าย กล้วย ตะนี, แต่ โคน ต้น นั้น ใหญ่ กว่า กล้วย ทั้ง ปวง.
      กล้วย มะลิออ่ง* (66:1.20)
               กล้วย อย่าง หนึ่ง ต้น ใบ เหมือน กล้วย น้ำละว้า, แต่ ลูก ขาว ผอ่ง เปน นวล.
      กล้วย หักมุก (66:1.21)
               กล้วย อย่าง หนึ่ง, ผล ต้น ใบ เหมือน กล้วย* เขียว ไข่กา, เมื่อ สุก ปิง ไฟ กิน ดี.
      กล้วย หอม (66:1.22)
               กล้วย อย่าง หนึ่ง ต้น ใบ คล้าย กัน, ผล โต ยาว ดว้ย สุก, กิน หอม หวาน ดี.
      กล้วย หอม เขียว (66:1.23)
               กล้วย อย่าง หนึ่ง, เมื่อ สุก นั้น เปลือก เขียว กิน หอม หวาน.
      กล้วย หอม ดง (66:1.24)
               กล้วย อย่าง หนึ่ง, เมื่อ สุก นั้น ศี เหลือง เรื่อ ๆ, กิน หวาน เย็น เดิม เอา มา แต่ ดง.
      กล้วย หอม ทอง (66:1.25)
               กล้วย อย่าง หนึ่ง, เมื่อ สุก เหลือง งาม เหมือน ทอง, กิน หวาน หอม ดี.
      กล้วย หอม ว้า (66:1.26)
               กล้วย อย่าง หนึ่ง ผล นั้น, เมื่อ สุก ศี เหลือง กระ- คล้าย หอมดง กิน หวาน ดี.
      กล้วย เล็บ มือ นาง (66:1.27)
               กล้วย อย่าง หนึ่ง ผล นั้น คล้าย กล้วยน้ำ, แต่ ยาว ๆ คล้าย กับ นิ้ว มือ.
เกลียว (66:2)
         อาการ เหมือน อย่าง เชือก เส้น หนึ่ง มี สอง เกลียว บ้าง, สาม เกลียว บ้าง สี่ เกลียว บ้าง, ที่ บิด ๆ พัน กัน นั้น.
      เกลียว กลม (66:2.1)
               ความ เหมือน กลม เกลียว ว่า แล้ว.
      เกลียว ข้าง (66:2.2)
               อาการ เอ็น ที่ เปน เกลียว อยู่ ตาม สีข้าง ทั้ง สอง นั้น.
      เกลียว เชือก (66:2.3)
               อาการ แห่ง เชือก ที่ คน ฟั่น บิด เปน เกลียว อยู่ นั้น.
      เกลียว หลัง (66:2.4)
               อาการ แห่ง เอ็น ที่ เปน เกลียว อยู่ ข้างหลัง คน นั้น.
เกลี่ย (66:3)
         การ ทำ ซึ่ง กอง เข้า หฤๅ กอง ทราย กอง ดิน, ที่ สูง บ้าง ต่ำ บ้าง, ไม่ เสมอ กัน คุ้ย กวาด ลง ให้ เสมอ กัน.
      เกลี่ย ไก่ล (66:3.1)
               ความ ที่ คน สอง ฝ่าย วิวาท โกรธ กัน อยู่, เรา พูด จา ว่า กล่าว ให้ ดี กัน. อนึ่ง กอง ดิน หฤๅ กอง ทราย เกลี่ย ให้ เสมอ กัน.
      เกลี่ย เข้า (66:3.2)
               การ ทำ ซึ่ง กอง เข้า ที่ สูง มูน อยู่ นั้น, เรา เกลี่ย ให้ ราบ เสมอ กัน.

--- Page 67 ---
      เกลี่ย ความ (67:3.3)
               ความ ที่ คน สอง ฝ่าย วิวาท เปน ความ กัน อยู่, เรา พูด จา เกลี่ย ไก่ล ให้ เลิก แล้ว กัน เสีย.
      เกลี่ย ดิน (67:3.4)
               การ ที่ ทำ ดิน ที่ ไม่ เสมอ กัน สูง บ้าง, ต่ำ บ้าง, เรา เกลี่ย ลง ให้ เสมอ กัน.
เกลี้ย กล่อม (67:1)
         ความ พูด เหมือน พวก ซอ่ง, ตั้ง บ้าน อยู่ ตาม ป่า ตาม ดง, ผู้ ใด หนี จะ ไป อื่น พูด เล้า โลม ไว้ ได้.
เกลือ (67:2)
         สิ่ง ของ เปน กอ้น เล็ก ๆ, ศี ขาว รศ เค็ม, ทำ ดว้ย น้ำ เค็ม บ้าง, หุง ดว้ย น้ำ ด่าง บ้าง.
      เกลือ ด่าง (67:2.1)
               เปน เกลือ ที่ เขา หุง ดว้ย น้ำ ด่าง, มา แต่ เมือง นคร ชราเสมา* บ้าง, มา แต่ เมือง ลาว บ้าง.
      เกลือ ทะเล (67:2.2)
               เปน เกลือ ที่ ทำ ดว้ย น้ำ เค็ม ทะเล นั้น.
      เกลือ สินเทา (67:2.3)
               เปน เกลือ ที่ หุง ดว้ย ด่าง นั้น เอง.
เกลอ (67:3)
         ความ คือ คน ที่ เปน เพื่อน รักษ กัน, แต่ มัน ยอ่ม สบถ กัน ดว้ย น้ำ เหล้า,
      เกลอ กัน (67:3.1)
               ความ คือ คน สอง คน หฤๅ สาม คน, เปน เพื่อน รักษ กัน ต่าง คน ต่าง สาบาน กัน ดว้ย น้ำ เหล้า.
      เกลอ น้ำสบถ (67:3.2)
               เรื่อง ความ เหมือน กัน กับ เกลอ กัน, คือ สะหาย ที่ สะบถ ว่า จะ ซื่อ สัจ ต่อ กัน.
กลัว (67:4)
         ความ ที่ คน หฤๅ สัตว ไม่ กล้า, ใจ ขลาด, คือ ความ ครั้น คร้าม พรั่น พรึง นั้น เอง.
      กลัว เกรง (67:4.1)
               คือ ความ สดุ้ง ตกใจ, แล ความ ยำเกรง นั้น.
      กลัว กัน ไย (67:4.2)
               ความ คือ คน ที่ มี ยศศักดิ์, แล วาศนา เสมอ กัน, เมื่อ โกรธ กัน, แล มัก พูด ว่า กลัว กัน ไย, หฤๅ กลัว ทำไม.
      กลัว งกไป (67:4.3)
               ความ ที่ คน หฤๅ สัตว กลัว จน ตัว สั่น.
      กลัว ชก กัน (67:4.4)
               ความ ที่ กลัว จะ วิวาท ต่อ กัน.
      กลัว ยาก (67:4.5)
               ความ ที่ คน กลัว จะ ตอ้ง ลำบาก เปน ทาษ เขา.
      กลัว ตาย (67:4.6)
               ความ ที่ คน หฤๅ สัตว กลัว จะ ตอ้ง สิ้น จาก ความ เปน.
      กลัว ปาก (67:4.7)
               ความ ที่ คน วิวาท เถียง กัน สู้ คารม เขา ไม่ ไหว, เพราะ กลัว ถอ้ย คำ เขา.
      กลัว ผี (67:4.8)
               ความ ที่ คน กลัว ผู้ ที่ ตาย ไป แล้ว, เพราะ เขา ถือ ว่า, จิตร วิญาณ ผู้ ตาย นั้น ไป บังเกิด เปน ผีหลอก หลอน ได้ ต่าง ๆ.
      กลัว ห่า (67:4.9)
               ความ ที่ คน กลัว ผี ปิสาจ จะ มา ทำ อันตราย ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง โรค ลงราก เปน ต้น.
กลั้ว (67:5)
         ความ คือ กลิ้ง เกลือก อยู่ ใน โคลน เปน ต้น.
      กลั้ว เกลือก (67:5.1)
               ความ คือ ระคน ปน กัน.
กล้อ แก้ล (67:6)
         อาการ คือ เรือ เล็ก ขี่ ได้ คน เดียว, ภอ เพียบ ภาย ไป ได้, แต่ มัน กลอก แกลก นั้น.
กว่า (67:7)
         ความ ที่ เดิม ของ นั้น มี อยู่ สิ่ง เดียว, แล้ว กลับ มี ยิ่ง เกิน นั้น ขึ้น ไป, ว่า มาก กว่า นั้น อีก.
      กว่า นี้ (67:7.1)
               ความ ที่ สิ่ง ของ มี มาก เกิน นี้ ขึ้น ไป.
      กว่า นั้น (67:7.2)
               คือ ของ มาก กว่า ที่ เขา นับ นั้น.
ไกว (67:8)
         อาการ คน จับ ที่ เปล, หฤๅ ของ สิ่ง ใด ที่ หอ้ย อยู่ ผลัก ให้ แกว่ง ไป แกว่ง มา.
      ไกว ชิงช้า (67:8.1)
               การ ที่ คน จับ เชือก ชิงช้า ชัก ให้ แกว่ง ไป แกว่ง มา.
      ไกว เปล (67:8.2)
               การ ที่ คน ผลัก เปล ให้ แกว่ง ไป แกว่ง มา.
      ไกว ลูก (67:8.3)
               การ ที่ คน ให้ ลูก นอน ใน อู่ หฤๅ เปล, แล้ว ผลัก ให้ ไกว ไป ไกว มา.
กวัก (67:9)
         อาการ ที่ คน ยก มือ ขึ้น ทำ, เหมือน นก บิน รอ้ง เรียก ให้ กัน มา, ดว้ย สำคัญ อย่าง นั้น.
      กวัก ไกว (67:9.1)
               อาการ คือ ใบไม้ ที่ ติด อยู่ กับ ก้าน, ครั้น ถูก ลม ภัด, ก็ สบัด กวัก ไกว ไป มา นั้น.
      กวัก มือ (67:9.2)
               อาการ ที่ คน เอา มือ กวัก ๆ เรียก กัน.
กวาง (67:10)
         สัตว สี่ ตีน อย่าง หนึ่ง, รูป คล้าย กับ สมัน, มี เขา แตก เปน กิ่ง เกะกะ, กิน หญ้า อยู่ ตาม ชาย ทุ่ง ชาย ป่า.
      กวาง ทอง (67:10.1)
               คือ กวาง ขน นั้น มี ศี เหลือง เหมือน ศี ทอง.
กว้าง (67:11)
         ความ ที่ แม่ น้ำ, หฤๅ หว้ย หนอง คลอง บึง บาง เปน ต้น, ที่ ไม่ แคบ นั้น.
      กว้าง ขวาง (67:11.1)
               คือ การ ที่ วัด ขวาง ไป ตาม กว้าง นั้น เอง.
แกว่ง (67:12)
         การ ทำ คือ ไกว ไป ไกว มา นั้น.
      แกว่ง ไป (67:12.1)
               ความ คล้าย กัน คือ ไกว ไป, หฤๅ หัน เห ไป มา นั้น.
      แกว่ง ไกว (67:12.2)
               อาการ คือ ไป ข้าง โน้น, แล้ว มา ข้างนี้ เหมือน ลูก ตุ้ม นาระกา นั้น.
      แกว่ง มา (67:12.3)
               การ ที่ ไกว มา หฤๅ หัน มา นั้น.
      แกว่ง หา (67:12.4)
               ความ คล้าย กับ เที่ยว หา, หฤๅ หัน หา นั้น.
กวัด (67:13)
         ความ คล้าย กัน กับ แกว่ง. อนึ่ง เหมือน อย่าง ใบไม้ ตอ้ง ลม นั้น.
      กวัด แกว่ง (67:13.1)
               อาการ เหมือน อย่าง คน รำดาบ รำ กระบี่, ทำ ให้ มัน ผัด ผัน ไป นั้น.

--- Page 68 ---
กวาด (68:1)
         การ ที่ คน ปัด ที่ บ้าน ที่ เรือน ดว้ย กราด, หฤๅ ยุง ปัด ไม่ ให้ มี หยาก เยื่อ แล ผง เปน ต้น.
      กวาด คน (68:1.1)
               ความ ที่ เหมือน อย่าง มี ราช การ ทับ ศึก เกิด ขึ้น, แล้ว ให้ เกน คน ไล่ เข้า มา ให้ หมด.
      กวาด ครัว (68:1.2)
               ความ เหมือน นาย ทับ ใหญ่ ยกพล ไป ทำ สงคราม ได้ ไชย ชำนะ, แล้ว ให้ ไล่ ครัว อพยบ เข้า มา.
      กวาด ตอ้น (68:1.3)
               การ ที่ กวาด ผู้ คน ครอบ ครัว ไล่ ลง มา, คือ การ ที่ ไล่ ตอ้น กวาด ไป นั้น เอง.
      กวาด แผ้ว (68:1.4)
               การ ทำ คือ กวาด ปัด ที่ ไม่ ให้ มี ผง, แล อยากเยื่อ นั้น.
      กวาด ผง (68:1.5)
               การ ที่ คน เอา กราด, หฤๅ สิ่ง ใด ๆ ปัด ผง เสีย.
กว้าน (68:2)
         สิ่ง ที่ เปน เครื่อง สำหรับ ถอน สมอ, แล ชัก ใบ ขึ้น ทำ ดว้ย ไม้* บ้าง เหล็ก บ้าง.
      กว้าน ใบ (68:2.1)
               การ ที่ คน เดิร กว้าน ชัก ใบ ขึ้น เหมือน สำเภา จีน.
      กว้าน สมอ (68:2.2)
               การ ที่ คน เดิร กว้าน ถอน สมอ ขึ้น.
เกวียน (68:3)
         ความ เปน ชื่อ แห่ง การ นับ, คือ แปด สิบ สัด. อนึ่ง เปน เครื่อง ใช้ มี งอน มี ขา สำหรับ บันทุก เข้า เปน ต้น.
ขา (68:4)
         อาการ แห่ง คน มี สอง ขา, สัตว มี สอง ขา บ้าง, สี่ ขา บ้าง, คือ ตั้ง แต่ ที่ สุด เอว ลง ไป ถึง เข่า.
      ขา กาง (68:4.1)
               อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว, แยก ขา กว้าง ถ่าง ออก ไป ทั้ง สอง ขา.
      ขา กอม (68:4.2)
               อาการ แห่ง คน หฤๅ สัตว, ถ้า ขา โกง คอ้ม ไม่ ตรง,
      ขา ขอด (68:4.3)
               อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว ขา ไม่ ดี, กิ้ว มี สันถาน เหมือน คอ สาก.
      ขา คีม (68:4.4)
               สิ่ง ที่ ทำ ดว้ย เหล็ก มี สันถาน กลม ๆ, ยาว อยู่ สอง อัน สำหรับ มือ จับ.
      ขา ขะจอก (68:4.5)
               อาการ แห่ง คน หฤๅ สัตว ขาหัก เดิร โขยก ๆ.
      ขา เฉ (68:4.6)
               อาการ แห่ง คน หฤๅ สัตว ขา ไม่ ตรง ตาม ปรกติ.
      ขา ฉิ้ง (68:4.7)
               อาการ แห่ง คน หฤๅ สัตว ขา มัน งอ เหยียด ไม่ ออก.
      ขา ดวน (68:4.8)
               อาการ แห่ง คน หฤๅ สัตว ขา กุด ขา ขาด.
      ขา ตะไกร (68:4.9)
               ว่า สิ่ง คือ ขา ตะไกร, เหล็ก ที่ เขา ทำ สำหรับ หนิบ หมาก นั้น. อย่าง หนึ่ง อาการ ที่ กะดูก คาง คน* ก็ เรียก ขาตะไกร.
      ขา ทะติ (68:4.10)
               ความ ว่า เคี้ยว กิน, กัด กิน.
      ขา นาง (68:4.11)
               ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, แล กิ่ง เปลา งาม นัก มี อยู่ ตาม แนว ป่า ฝ่าย เหนือ.
      ขา บุญ (68:4.12)
               ความ ที่ เปน คน มี ใจ ฝัก ฝ่าย อยู่ ข้าง การ บุญ.
      ขา บาป (68:4.13)
               ความ เปน คน ที่ มี ใจ ตก อยู่ ฝ่าย การ บาป.
      ขา มา (68:4.14)
               ความ ที่ คน ไป ยัง ประเทศ ใด ๆ, ฝ่าย เมื่อ กลับ มา นั้น.
      ขา เรา (68:4.15)
               ความ ที่ คน หฤๅ สัตว หฤๅ สิ่ง ของใด ๆ, ตก* อยู่ ฝ่าย เรา.
      ขา รอม (68:4.16)
               อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว ขา ไม่ กาง หุบ เข้า ไว้.
      ขา ล้า (68:4.17)
               อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว, เดิร ทาง ไกล เกิน กำลัง จน ขา ก้าว ไม่ ออก.
      ขา ลาก (68:4.18)
               อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว ขาหัก, หฤๅ กระโภก คลาด เดิร ลาก ขา ไป.
      ขา ลง (68:4.19)
               ความ ที่ คน ขึ้น ไป บนภูเขา, หฤๅ ต้นไม้ หฤๅ ขึ้น ไป ข้าง ปลาย น้ำ เมื่อ กลับ ลง มา นั้น.
      ขา ล่าง (68:4.20)
               ความ ที่ คน ที่ อยู่ ข้าง ล่าง.
      ขา วัด (68:4.21)
               ความ พวก ที่ อยู่ ฝ่าย วัด นั้น.
ข่า (68:5)
         ความ ที่ คน ชาติ หนึ่ง คล้าย กับ กะเหรี่ยง, นุ่ง ผ้า แคบ ขัด เตียว. อนึ่ง เปน ชื่อ ผัก เครื่อง แกง อย่าง หนึ่ง รศ เผ็ด.
      ข่า ตาแดง (68:5.1)
               เปน ผัก สำหรับ ใส่ เครื่อง แกง อย่าง หนึ่ง, เปน หัว ใน ดิน คล้าย กับ ขิง, แต่ ที่ หน่อ มัน งอก ขึ้น นั้น ศี แดง.
      ข่า ต้น (68:5.2)
               เปน ไม้ อย่าง หนึ่ง, กลิ่น หอม คล้าย ข่า สำหรับ ใช้ ทำ ยา เอา มา แต่ ป่า.
      ข่า ลิง (68:5.3)
               เปน ต้น ข่า อย่าง หนึ่ง ต้น เล็ก ๆ หัว เล็ก ๆ, ขึ้น อยู่ ตาม ดง ยาง แกง กิน ได้ เหมือน ข่า ใน สวน.
      ข่า หลวง (68:5.4)
               เปน ต้น ใบ คล้าย กับ เร่ว, หัว ก็ เหมือน กัน กับ ข่า ตา แดง, แต่ ที่ งอก มัน นั้น ศี ขาว หัว ใหญ่.
ข้า (68:6)
         ความ ที่ เปน คำ กล่าว อ้าง ถึง ตัว เอง, เหมือน อย่าง เรา หฤๅ กู เปน ต้น. อนึ่ง คน ที่ เขา ชว่ย มา ดว้ย เงิน.
      ข้า เจ้า (68:6.1)
               ความ ที่ เปน คำ พูด ถอ่ม ตัว, เหมือน ว่า เรา เปน ข้า ของ เจ้า.
      ข้า ใช้ (68:6.2)
               คือ คน ทาษ ชาย หญิง สำหรับ ใช้ สรวย.
      ข้า ต้น เรือน (68:6.3)
               ความ ที่ เปน บ่าว ที่ ซื่อ ตรง ต่อ นาย ๆ, ไว้ ใจ ได้ ใช้ ให้ เข้า ใน ออก นอก, เก็บ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง รักษา ไว้ ใน เรือน.
      ข้า ไทย (68:6.4)
               เปน คำ พูด เปน สร้อย คล่อง ปาก ว่า เช่น นั้น.
      ข้า ตัว (68:6.5)
               ความ คือ เงิน มาก นอ้ย เท่า ใด ก็ ดี, เงิน ที่ ชว่ย นั้น และ.
      ข้า ทาษ (68:6.6)
               คือ ที่ เปน บ่าว ชายหญิง, ที่ เขา ชว่ย มา ดว้ย เงิน สำหรับ ใช้ การ งาน ทั้ง ปวง.

--- Page 69 ---
      ข้าศึก (69:6.7)
               คือ คน เปนศัตรู กัน จะ ทำ การ สงคราม กัน, จะ รบ พุ่ง กัน.
      ข้า ผูกดอก (69:6.8)
               คือ ผู้ ที่ เปน ทาษ ชาย หญิง, ที่ เขา ชว่ย มา ดว้ย เงิน แล้ว. ทาษ ไม่ ยอม รับ ใช้ การ งาน, ฃอ ผูก ดอก หา เงิน ค่า ปว่ย การ ให้ ตาม ทำเนียม.
      ข้าเฝ้า (69:6.9)
               คือ ข้า ราช การ สำหรับ อยู่* ดู แล ตาม ตำแหน่ง นั้น.
      ข้า น้ำเงิน (69:6.10)
               คือ เปน ทาษ ชาย หญิง ที่ เขา ชว่ย มา ดว้ย เงิน นั้น.
      ข้า ราชการ (69:6.11)
               คือ คน เปน มหาดเล็ก หลวง เปน ต้น, คือ เปน ผู้ ทำ การ ของ กระษัตรีย์.
      ข้าพเจ้า (69:6.12)
               ความ ที่ เปน คำ กล่าว ถอ่ม ตัว ว่า, เรา เปนข้า ของ เจ้า, เพราะ เขา พูด สั้น ๆ.
      ข้า พระพุทธิเจ้า (69:6.13)
               คือ เปน คำ กล่าว ยก ยอ มะหา กระษัตริย์, คือ ถอ่ม ตัว ว่า เรา เปนข้า ของ ท่าน ผู้ รู้ ประเสิฐ.
      ข้าพระ โยมสงฆ์ (69:6.14)
               คือ คน ที่ ท่าน ชว่ย มา ให้ รักษา พระพุทธ รูป, และ เปน คน รับ ใช้ สงเคราะห์ แก่ สงฆ์.
      ข้าหลวง (69:6.15)
               ความ ที่ เปน ข้า ใหญ่ อย่าง พวก ผู้ หญิง, ที่ สำหรับ ใช้ สอย ใน พระ ราชวัง, แล หญิง ข้า เจ้า, หฤๅ คน ที่ ถือ ทอ้ง ตรา ไป หัว เมือง.
      ข้า หลวง ใหญ่ (69:6.16)
               คือ คน ที่ มิ ได้ เปน ข้าเจ้า ต่างกรม, หากรม มิ ได้, และ เปน ข้า ราชการ ใน หลวง ที เดียว.
      ข้า หลวง เดิม (69:6.17)
               คือ คน ที่ ได้ เปน ข้า เจ้า มา แต่ เดิม, ครั้น มา ภายหลัง เจ้า นั้น, ได้ เปน ขุนหลวง ข้า เก่า นั้น ว่า ข้าหลวง เดิม.
      ข้า หลวง นอ้ย (69:6.18)
               คือ คน ที่ เปน เจ้า ต่าง กรม หา กรม มิ ได้, ไม่ ได้ ทำ ราชการ รับ พระราชทาน เบี้ยหวัด ใน หลวง,
      ข้าหลวง เรือน นอก (69:6.19)
               คือ ความ ที่ พวก ผู้หญิง ที่ ถวาย ตัว เปน ข้า เจ้า ฝ่าย ใน, แต่ หา ได้ รับ ราช การ อยู่ ข้าง ใน ไม่, ตั้ง เรือน อยู่ นอก.
ขีณาสพ (69:1)
         ความ ที่ บุคล มี โทษ, คือ ความ ชั่ว ที่ ยอ่ม บังเกิด อยู่ ใน ใจ นั้น สิ้น แล้ว.
ขี่ (69:2)
         การ ที่ คน ขึ้น นั่ง บน หลัง ควาย, หลัง วัว หลัง ช้าง หลัง ม้า, ฤๅ นั่ง บน เกียน, บน รถ, บน เรือ, เปน ต้น.
      ขี่ กัน (69:2.1)
               การ ที่ คน สอง คน ผลัด เปลี่ยน กัน ขี่,
      ขี่ เกียน (69:2.2)
               คือ ขึ้น นั่ง ไป บน เกียน.
      ขี่ ขา (69:2.3)
               อนึ่ง เปน คำ นักเลง เล่น โป้, ถ้า เขา จะ ถาม กัน ว่า นัก เลง มี ขี่ คน ก็ ว่า ขี่ ขา.
      ขี่ ขอน (69:2.4)
               เปน ความ สอง อย่าง, คือ เขา ถาม ว่า, ของ ที่ ไม่ เปน คู่ นั้น เท่าไร. อนึ่ง การ ที่ คน ขึ้น นั่ง อยู่ บน ฃอน.
      ขี่ คุ้ง (69:2.5)
               เปน คำ ถาม แม่ น้ำ หฤๅ ลำ คลอง ที่ ข้าง หน้า ยัง มี อีก ขี่ คด.
      ขี่ จบ (69:2.6)
               ความ ถาม ถึง พระสงฆ์ สวด พระธรรม, ฤๅ คน สร้าง หนังสือ พระไตร ปิฎก, ถาม กัน ว่า, สำเร็ท แล้ว ไป ขี่ หน.
      ขี่ ชาติ (69:2.7)
               เปน คำ ถาม กัน ว่า, เกิด มา ขี่ ครั้ง ขี่ หน แล้ว.
      ขี่ น้ำ (69:2.8)
               ถาม ถึง น้ำ ขึ้น ว่า วัน หนึ่ง น้ำ ขึ้น ขี่ หน, ฤๅ ถาม ถึง ทาง ที่ จะ ไป นั้น ว่า น้ำ ขึ้น ขี่ คราว จึง จะ ขึ้น ไป ถึง.
ขี้ (69:3)
         เปน สว่น อาการ แห่ง ของ กิน ทั้ง ปวง, แต่ บรรดา ที่ ตก เข้า ไป อยู่ ใน ทอ้ง คน, หฤๅ ทอ้ง สัตว, แล้ว กลับออก ตาม ทะวาร หนัก มี กลิ่น เหมน. อนึ่ง เปน คำ ใช้ ใน ความ ว่า, มัก เปน อย่าง นี้, มัก เปน อย่าง นั้น.
      ขี้ กา (69:3.1)
               เปน เถา อย่าง หนึ่ง, ต้น เปน เถา ลูก กลม ๆ, เท่า กับ ผล หมาก สูง* ใหญ่ ๆ, รศ ขม กิน ไม่ ได้ ใช้ ทำ ยา.
      ขี้ เกียจ (69:3.2)
               เปน ความ ไม่ อยาก ทำ การ งาร, มัก นอน เปล่า ๆ, นั่ง เปล่า ๆ, ฤๅ เที่ยว เปล่า ๆ, เล่น เปล่า ๆ,
      ขี้ โกรธ (69:3.3)
               ความ คือ มัก โกรธ, ความ ที่ โกรธ ง่าย, หฤๅ ใจ นอ้ย นั้น เอง.
      ขี้ กบ (69:3.4)
               คือ ไม้ ที่ เปน เสก็ด บาง ๆ, ออก มา จาก ไส กบ นั้น, อนึ่ง อาหาร ที่ ออก มา จาก ทอ้ง กบ นั้น.
      ขี้ ขอ (69:3.5)
               อาการ คน มัก ขอ, เหน สิ่ง ใด, ขอ สิ่ง นั้น, เหมือน อย่าง คน ขอ ทาน, เฃา ให้ สิ่ง นี้ แล้ว, ขอ สิ่ง อื่น ต่อ ไป.
      ขี้ ข้า (69:3.6)
               เปน ชื่อ คน ที่ เปน ทาษ เขา ร่ำ ไป, ไม่ มี สติ ความ คิด ที่ จะ ให้ พ้น จาก ทาษ เขา ได้.
      ขี้ เค้า (69:3.7)
               เปน คำ ที่ เขา ด่า กัน, ความ คล้าย ๆ กัน กับ ว่า, มึง เปน ข้า เขา มา แต่ เดิม.
      ขี้ คุก (69:3.8)
               เปน คำ ด่า ประจาน เหมือน หนึ่ง ว่า, เอง เปน คน ติด คุก มา นาน.
      ขี้ ครั่ง (69:3.9)
               คือ ครั่ง ที่ เขา ต้ม เอา น้ำ เปน ศี แดง, เหมือน น้ำ ฝาง, ยอ้ม ด้าย, ยอ้ม ไหม เสีย แล้ว, กาก ที่ เหลือ อยู่ นั้น ว่า ขี่ครั่ง.
      ขี้ ครอก (69:3.10)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ เล็ก อย่าง หนึ่ง. อย่าง หนึ่ง เปน คำ เขา ด่า คน ทาษ เปน ต้น ว่า, อ้าย ขี้ครอก คือ เกิด เปน ลูกครอก.
      ขี้ คร้าน (69:3.11)
               ความ ที่ คน ขี เกียจ ไม่ อยาก ทำ การ งาน สิ่ง ใด เลย,

--- Page 70 ---
      ขี้จ่าย (70:3.12)
               ความ ที่ คน ใช้ เงิน ทอง มาก อยาก ซื้อ ของ สิ่ง นี้ สิ่ง นั้น ต่าง ๆ.
      ขี้ ฉ้อ (70:3.13)
               ความ ที่ คน โลภ อยาก ได้ ของ เขา มา เปน ของ ตัว, คือ ไป กู้ ยืม เข้า ของ เงิน ทอง เขา มา แล้ว, กลับ โกง เอา หา ให้ คืน เจ้า ของ ไม่.
      ขี้ ตัง (70:3.14)
               ความ ที่ คน ใจ ตระหนี่ เหนี่ยว, เหมือน ยาง ไม้, ไม่ ใค่ร ให้ สิ่ง ของ แก่ ผู้ ใด เลย, คือ ความ หวง แหน มาก.
      ขี้ตะกอน (70:3.15)
               อาการ น้ำ ที่ มัน กรอง ลง อยู่ ที่ ก้น ภาชนะ สำหรับ ขัง น้ำ นั้น.
      ขี้ ตืด (70:3.16)
               ความ ที่ คน ใจ ตระหนี่ เหนี่ยว ความ เหมือน กัน กับ ขี่ ตัง.
      ขี้ ตะกรัน (70:3.17)
               เปน สิ่ง คือ ไส้ ตะเกียง, ที่ ไฟ ไหม้ อยู่ นาน, แล มัน เปน ถ่าน ไม่ ใค่ร ดูด น้ำ มัน นั้น.
      ขี้ ตะกั่ว (70:3.18)
                คือ มลทิน สนิม มัน เกิด ขึ้น ที่ ตากั่ว นั้น.
      ขี้ ถอ่ย (70:3.19)
               เปน คำ ด่า, เหมือน อย่าง ว่า, คน ชั่ว ไม่ ดี.
      ขี้ ตะนี่ (70:3.20)
               คือ ความ หวง ของ ไม่ ใค่ร ให้ แก่ ใคร นั้น.
      ขี้เท็จ (70:3.21)
               ความ ที่ คน พูด ไม่ จริง, โกหก, ตอแหล.
      ขี้เท่อ (70:3.22)
               ความ ที่ มีด พร้า สิ่ว ฃวาน ดาบ กระบี่, หฤๅ เครื่อง ใช้ ทั้ง ปวง ที่ ทู่* ไม่ คม.
      ขี้หนอน (70:3.23)
               ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, มี อยู่ ตาม สวน สำหรับ ใช้ ทำยา.
      ขี้เบี้ย (70:3.24)
               ความ ที่ เบี้ย ที่ เอา ไป ขาย ส่ง เขา, ครบ บาท แล้ว, ตอ้ง เสีย ปลาย เบี้ย ให้ กับ เจ้า ของ เงิน บาท ๆ ละ สอง ไภ นั้น.
      ขี้ปด (70:3.25)
               ความ* ที่ คน มัก พูด ไม่ จริง โกหก ตอแหล.
      ขี้ผึ้ง (70:3.26)
               เปน สิ่ง ของ ที่ เขา ทำ ดว้ย ขี ผึ้ง ศี เหลือง ๆ, สำหรับ ฟั่น เทียน จุด ไฟ.
      ขี้เมา (70:3.27)
               ความ ที่ คน อยาก กิน เหล้า เมา ร่ำ ไป, ฤๅ คน ที่ เมา อยู่ ดว้ย ลาภ, แล ยศ, ฤๅ เมา ดว้ย ชีวิตร, แล ไวย เปน ต้น.
      ขี้มูก (70:3.28)
               คือ สิ่ง ที่ เปน น้ำ ข้น ๆ ไหล ออก มา จาก รู จมูก.
      ขี้เหร่ (70:3.29)
               ความ ที่ คน หฤๅ สัตว หฤๅ สาระพัด สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ ไม่ สู้ ดี ไม่ งาม.
      ขี้ รังแค (70:3.30)
               คือ มลทิน ที่ หัว, เมื่อ โกน ผม ออก แล้ว, มัน เปน ขี้ไคล อยู่ นั้น.
      ขี้เรื้อน (70:3.31)
               อาการ ที่ เปน โรค อย่าง หนึ่ง, ถ้า บังเกิด ขึ้น แล้ว, ให้ ผิว เนื้อ ตาม หน้า, แล ใบ หู, หน้า เหมือน ผิว มะกรูด.
      ขี้ ริ้ว (70:3.32)
               อาการ ที่ คน รูป ไม่ งาม, ใจ ไม่ ดี, หฤๅ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ไม่ ดี, ไม่ งาม.
      ขี้ สนิม (70:3.33)
               เปน สิ่ง คือ มลทิน ที่ มัน เกิด ขึ้น ที่ เหล็ก เปน ต้น.
      ขี้ หึง (70:3.34)
               ความ ที่ คน ผู้ ชาย ฤๅ ผู้ หญิง ที่ มัก หวง เมีย หวง ผัว, เพราะ กลัว ว่า จะ ไป คบ ชู้ ด้วย ชาย อื่น, ฤๅ หญิง อื่น.
      ขี้ อวด (70:3.35)
               ความ ที่ คน ที่ มัก พูด โอ้ อวด สิ่ง ของ ๆ ตัว, ฤๅ สรรเสิญ ตัว เอง.
ขื่อ (70:1)
         คือ ไม้ ขวาง ที่ ใส่ ใน ที่ สุด ปลาย เสา เรือน ทั้ง ปวง, ฤๅ ที่ เขา ทำ ด้วย ไม้ สำหรับ จำ คน, ฤๅ เนื้อ ที่ ขวาง อยู่ ใน จมูก.
      ขื่อ คัด (70:1.1)
               คือ ไม้ ขื่อ เขา ทำ ไว้ รับ ดั้ง, ฤๅ เสา สั้น ๆ นั้น.
      ขื่อ จำ คน (70:1.2)
               เปน ไม้ เขา เอา มา เจาะ ให้ เปน รู สำหรับ จำ ใส่ มือ ใส่ ตีน มิ ให้ หนี ได้.
      ขื่อ ตีน (70:1.3)
               เปน ขื่อ สำหรับ ใส่ ตีน คน.
      ขื่อ จมูก (70:1.4)
               คือ เนื้อ ที่ ขวาง อยู่ ใน รู จมูก นั้น.
      ขื่อ น่า ด้าน (70:1.5)
               คือ กำแพง เมือง ที่ ขวาง อยู่ ข้าง น่า นั้น.
      ขื่อ มือ (70:1.6)
               คือ ขื่อ ที่ สำหรับ ใส่ มือ คน.
      ขื่อ มุก (70:1.7)
               คือ กระดูก คั่น อยู่ ที่ ปาก หอยมุก นั้น.
ขู่ (70:2)
         เสียง ที่ คน ร้อง ตวาด ด้วย ประสงค์ จะ ให้ ผู้ อื่น กลัว.
      ขู่ คำราม (70:2.1)
               เปน เสียง เหมือน อย่าง แมว หวง ของ กิน ๆ พลาง คำราม พลาง.
      ขู่ ตะคอก (70:2.2)
               อาการ ของ คน โกรธ ร้อง ตวาด กระโชก ออก ไป ด้วย เสียง ดัง.
      ขู่รู่ (70:2.3)
               ความ เปน เหมือน กัน กับ ขู่ ตะคอก.
เขมา (70:3)
         เปน ชื่อ วัด แห่ง หนึ่ง อยู่ ใน แขวง นนทบูรี.
เขมัง (70:4)
         เปน ความ ว่า สิ้น ไป จาก โทษ.
เฃฬะ (70:5)
         ว่า น้ำลาย.
แข (70:6)
         ว่า ดวง จันทร์.
ไข (70:7)
         การ ที่ เอา ลูก กุญแจ เสือก เข้า ไป ตาม รู กด ให้ ออก มา, ฤๅ ทำ ท่อ เปิด ให้ น้ำ ไหล เข้า ไป ใน บ่อ แล สระ เปน ต้น.
      ไขยะ (70:7.1)
               แปล ว่า ลิ้น ไป.
      ไข กุญแจ (70:7.2)
               การ ที่ คน เอา ลูก กุญแจ เสือก กด เข้า ไป ให้ จำ ปา หุบ เข้า แล้ว ถอย ออก ไป.
      ไข น้ำ (70:7.3)
               การ ที่ คน เปิด ให้ น้ำ ไหล เข้า ไป ใน ที่ ต่าง ๆ.
      ไข สือ (70:7.4)
               ความ ที่ คน รู้ เรื่อง ความ แล้ว, แกล้ง ถาม ทำ เปน ไม่ รู้.

--- Page 71 ---
      ไขหู (71:7.5)
               ความ ที่ คน ได้ ยิน เขา เรียก แล้ว, ทำ อาการ เหมือน มิ ได้ ยิน.
ไข่ (71:1)
         เปน สิ่ง ที่ มี สันถาน กลม บ้าง, รี บ้าง, มี เปลือก หุ้ม ห่อ อยู่ ภาย นอก, ภาย ใน มี ไข่ ขาว ไข่ แดง, ออก จาก ท้อง ไก่ เปน ต้น.
      ไข่ ไก่ (71:1.1)
               เปน สิ่ง ที่ มี สันถาน กลม ๆ เปน ไข่ ออก จาก ท้อง ไก่, กิน ดี.
      ไข่ กริว (71:1.2)
               เปน ไข่ มี เปลือก หุ้ม มี ไข่ แดง ออก จาก ท้อง กริว.
      ไข่ กราว (71:1.3)
               เปน ไข่ ที่ ออก มา จาก ท้อง กราว.
      ไข่ เข้า (71:1.4)
               คือ ไข่ เป็ด ฤๅ ไข่ ไก่ ฟัก ไม่ เปน ตัว, ครั้น ต้ม ขึ้น สุก แล้ว ก็ แขง เหมือน เข้า เย็น.
      ไข่ ขาว (71:1.5)
               คือ เนื้อ ไข่ ที่ มัน ไม่ แดง นั้น.
      ไข่ ขวัน (71:1.6)
               เปน ไข่ ที่ เขา ใส่ ยอด ใบศรี, เมื่อ จะ ทำ ขวัน จุก, ฤๅ ทำ ขวัน นาค นั้น. อนึ่ง ไข่ งู ที่ อยู่ บน ยอด กลาง กอง ไข่.
      ไข่ ขัง (71:1.7)
               คือ ไข่ แมงวัน.
      ไข่ แดง (71:1.8)
               คือ ไข่ ที่ มัน ไม่ ขาว มัน แดง เปน อยู่ กลาง นั้น.
      ไข่ จันละเม็ด (71:1.9)
               คือ ไข่ นุ่ม นิ่ม ที่ ออก มา จาก ท้อง จันละเม็ด ทั้ง ปวง.
      ไข่ดัน (71:1.10)
               คือ สิ่ง ที่ มัน เปน เม็ด ๆ, อยู่ ที่ ขา ทั้ง สอง ข้าง, เพราะ เอ็น หฤๅ เส้น นั้น.
      ไข่ พอก (71:1.11)
               เปน ไข่ เป็ด ฤๅ ไข่ ไก่ ไข่ นก, ที่ เขา แช่ น้ำ เกลือ แล้ว เอา ดิน กับ เถ้า คลุก กัน เข้า แล้ว พอก ไว้.
      ไข่ เจียว (71:1.12)
               การ ที่ เอา ไข่ เป็ด, ฤๅ ไข่ ไก่ มา ตอ่ย ออก แล้ว, กวน ให้ ไข่ ขาว กับ ไข่ แดง ระคน กัน แล้ว, เท ลง ใน กะทะ รอ้น ๆ, ตั้ง ไฟ ให้ แห้ง แล้ว เลิก ขึ้น.
ไข้ (71:2)
         อาการ ที่ คน เจ็บ ปว่ย, ให้ ปวด หัว ตัว รอ้น, กิน เข้า ไม่ ได้, ให้ เภ้อ คลั่ง ไป บ้าง, ให้ จับ เปน เวลา บ้าง.
      ไข้ กำเดา (71:2.1)
               อาการ ไข้ บังเกิด เพื่อ รอ้น ภาย ใน.
      ไข้ จับ (71:2.2)
               อาการ ไข้ มัน จับ เปน เวลา, เมื่อ จับ นั้น มัน ให้ หนาว ตัว สั่น เหมือน ลูก นก, บาง ที มัน ให้ รอ้น เปน กำลัง.
      ไข้ เหนือ (71:2.3)
               อาการ ไข้ อย่าง หนึ่ง, มัน ให้ จับ เชื่อม ซึม ไป ใน ตา เหลือง ดว้ย.
      ไข้ ป่า (71:2.4)
               อาการ ไข้ อย่าง หนึ่ง, เจ็บ เพราะ ถูก ตอ้ง อาย พิศ ดิน, ฤๅ อาย พิศ แร่, แล ว่าน ยา ใน ป่า ใน ดง.
      ไข้ พิศ (71:2.5)
               อาการ ไข้ อย่าง หนึ่ง พิศ กล้า, ให้ จับ เชื่อม* ซึม ไป ไม่ มี เวลา ส่าง, ดู เหมือน เยา เรือน หมุน ไป, ไม่ รู้ ว่า กลาง วัน กลาง คืน.
      ไข้ ลากสาด (71:2.6)
               อาการ ไข้ อย่าง หนึ่ง, อาการ คล้าย กัน ที่ ว่า แล้ว.
      ไข้ หวัด ไข้ อาย (71:2.7)
               คือ อาการ ปว่ย ให้ ไอ, มี น้ำ มูก ใน จมูก มาก เสลษ ใน ฅอ ก็ เกิด มาก.
      ไข้ ลงราก (71:2.8)
               อาการ ไข้ อย่าง หนึ่ง, มัน ทำ อาการ ให้ ลง ให้ ราก ตะคริว ชัก หิว ออ่น สิ้น กำลัง, ให้ จุก เสียด ตาม ชาย โครง.
      ไข้ สันนิบาด (71:2.9)
               เพราะ อาการ ไข้ นั้น พิศ มัน เข้า ประชุม พร้อม กัน,
      ไข้ อีดำ อีแดง (71:2.10)
               อาการ ไข้ อย่าง หนึ่ง, ตัว คน ไข้ ยอ่ม ผุด ขึ้น เปน เม็ด แดง ๆ, แต่ อาการ อื่น ก็ คล้าย กัน.
      ไข้ สบัด รอ้น สบัด หนาว (71:2.11)
               คือ อาการ ไข้ ที่ มัน ให้ รอ้น บัด เดี๋ยว กลับ หนาว ๆ บัด เดี๋ยว กลับ รอ้น.
      ไข้ ธรพิศ (71:2.12)
               คือ ไข้ ฝี ดาษ นั่น เอง.
      ไข้ สั่น (71:2.13)
               คือ ไข้ จับ สท้าน.
      ไข้ ใจ (71:2.14)
               ความ ที่ คน เจ็บ ไป, เพราะ เปน ทุกข์ เสีย ใจ ดว้ย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง.
      ไข้ เส้น (71:2.15)
               คือ ไข้ ปว่ย เพราะ เส้น วิการ.
      ไข้ มารยา (71:2.16)
               ความ ที่ คน ไม่ เจ็บ, แกล้ง ทำ เปน เจ็บ, ฤๅ เจ็บ หนีด หน่อย, ทำ อาการ เหมือน เจ็บ มาก.
      ไข้ ซึม (71:2.17)
               คือ อาการ ไข้ มัน ให้ เชื่อม มืน.
โขมะพัศ (71:3)
         ฯ ว่า เปน ผ้า อย่าง หนึ่ง, เนื้อ เลอียด เขา ทำ ดว้ย ไย บัว.
เขา (71:4)
         ความ ที่ เปน คำ กล่าว อ้าง ถึง ผู้ อื่น, เหมือน อย่าง ว่า ชั่งเขา, อนึ่ง เปน เขา สัตว ทั้ง ปวง มี ควาย เปน ต้น, ฤๅ ภูเขา ทั้ง ปวง.
      เขา กระบือ (71:4.1)
               คือ เขา ที่ งอก ขึ้น มา แต่ หัว ควาย สอง อัน ปลาย แหลม อยู่ นั้น.
      เขา กวาง (71:4.2)
               คือ เขา ที่ งอก ขึ้น มา จาก หัว กวาง, เปน กิ่ง เกะกะ อยู่ นั้น.
      เขาเขิน (71:4.3)
               คือ ภูเขา เปน เนิน ขึ้น นั้น.
      เขา ควาย (71:4.4)
               คือ เขา สอง อัน, งอก ขึ้น จาก หัว ควาย นั้น.
      เขา ตำแย (71:4.5)
               คือ อาการ เขา เนื้อ ที่ งอก ขึ้น มา ยัง ออ่น ๆ, เปน ขน อยู่ นั้น.
      เขา เนื้อ (71:4.6)
               คือ อาการ เขา ที่ งอก ขึ้น มา จาก หัว เนื้อ นั้น.

--- Page 72 ---
เข่า (72:1)
         อาการ สิ่ง* ที่ สุด ขา กับ แข้ง ต่อ กัน สำหรับ คู้ เข้า ฤๅ เหยียด ออก.
เข้า (72:2)
         คือ สิ่ง ของ อย่าง หนึ่ง เปน เม็ด, เกิด แต่ ต้น เหมือน กอ หญ้า ที่ ทุ่ง นา, สำหรับ เปน อาหาร เลี้ยง ชีวิตร คน แล สัตว ทั้ง ปวง. อนึ่ง ความ ที่ ไป ข้าง ใน ว่า เข้า ไป เข้า ใน.
      เข้า เกรียบ (72:2.1)
               คือ ของ กิน อย่าง หนึ่ง ทำ ดว้ย เข้า เหนี่ยว เปน แผ่น กลม ๆ สำหรับ ปิ้ง* ไฟ กิน.
      เข้า เกรียม (72:2.2)
               คือ เข้า ที่ เกรียม ไหม้ ติด ก้น ม่อ, ฤๅ ก้น กะทะ อยู่ นั้น.
      เข้า กล้า (72:2.3)
               คือ เม็ด เข้า เปลือก ที่ เขา ทำ ให้ งอก แล้ว, หว่าน ลง ใน ดิน เปน ขึ้น งาม.
      เข้า กัน (72:2.4)
               คือ ความ ที่ ศริ รวม กัน รวบ กัน ประสม กัน บันจบ กัน ประมวน กัน.
      เข้า กล้อง (72:2.5)
               คือ เข้า สาน ที่ ยัง ไม่ ได้ ซอ้ม นั้น, คือ เข้า ที่ พึ่ง แตก ออก จาก เปลือก นั้น เอง.
      เข้า แขก (72:2.6)
               คือ เข้า เปียก ที่ เขา ใส่ ไว้* ใน ภาชนะ, แล้ว จึ่ง เคี่ยว กะทิ ให้ ข้น แล้ว ใส่ ใน เบื้อง บน.
      เข้า ของ (72:2.7)
               คือ สาระพัด สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ทุก อย่าง.
      เข้า ข้อ (72:2.8)
               อาการ โรค อย่าง หนึ่ง มัน ให้ เมื่อย* ขัด อยู่ ใน ข้อ.
      เข้า ใจ (72:2.9)
               ลักษณะ ที่ คน ได้ ฟัง ความ สิ่ง ใด ๆ, รู้ ประจัก แจ้ง.
      เข้า จ้าว (72:2.10)
               คือ เข้า กระด้าง ที่ ชาวบ้าน* ชาวเมือง* เขา กิน ทุกวัน ๆ.
      เข้า ดิบ (72:2.11)
               คือ เข้า ที่ อยู่ กับ ต้น ยัง ไม่ สุก, หฤๅ เข้า ที่ หุง ยัง ไม่ สุก นั้น.
      เข้า ตู (72:2.12)
               คือ เข้า ตาก ที่ เขา ขั้ว ให้ สุก, แล้ว ตำ ให้ เลอียด เปน ผง, แล้ว ใส่ มะพร้าว ใส่ น้ำ ตาน ดว้ย.
      เข้า ตอก (72:2.13)
               คือ อาการ ที่ เอา เข้า เหนี่ยว ทั้ง เปลือก ใส่ ม่อ ตั้ง ไฟ ขั้ว ให้ แตก ออก จาก เปลือก แล้ว.
      เข้า ตัง (72:2.14)
               คือ เข้า สุก ที่ เกรียม ติด ก้น ม่อ ก้น กะทะ อยู่ นั้น.
      เข้า ต้ม (72:2.15)
               คือ สิ่ง ที่ เอา เข้า สาน ใส่ ม่อ ลง แล้ว, ตั้ง บน เตา ไฟ ต้ม ให้ สุก เปน น้ำ เหลว. อนึ่ง เอา เข้า เหนี่ยว ห่อ ใบ ตอง ต้ม ให้ สุก.
      เข้า นก (72:2.16)
               คือ เข้า อย่าง หนึ่ง คล้าย กับ เข้า ละมาน, คน ไม่ ได้ หว่าน มัน ขึ้น เอง เม็ด เหมือน เข้า ละมาน.
      เข้า หนัก (72:2.17)
               คือ เข้า ที่ ออก รวง เช้า, ยอ่ม ออก ภาย หลัง เข้า เบา.
      เข้า เหนี่ยว (72:2.18)
               คือ เข้า ที่ หุง, ฤๅ หนึ้ง สุก แล้ว ยอ่ม ออ่น เปน ยาง เหนี่ยว.
      เข้า เนื้อ เข้า ใจ (72:2.19)
               คือ รู้ ความ ชัด ดี ใน ใจ นั้น.
      เข้า เบา (72:2.20)
               คือ เข้า อย่าง หนึ่ง ออก รวง เร็ว ยอ่ม ออก กอ่น เข้า หนัก.
      เข้า บิณท์ (72:2.21)
               คือ กอ้น เข้า อย่าง หนึ่ง ที่ เขา ปั้น ใส่ กรวย แล้ว, วาง ลง ใน พาน แล้ว, เอา ขนม ผลไม้ ต่าง ใส่ ไป บูชา พุทธ์รูป.
      เข้า บันทม (72:2.22)
               คือ เข้า นอน, แต่ คำ สูง ว่า เช่น นั้น.
      เข้า เปลือก (72:2.23)
               คือ เข้า ที่ ยัง อยู่ ทั้ง เปลือก นั้น.
      เข้า เฝ้า (72:2.24)
               คือ เข้า ไป หา ขุนหลวง นั่ง อยู่, เหมือน อย่าง การ ที่ ข้า ราช การ เข้า เฝ้า พระ มหา กระษัตริย์ นั้น.
      เข้า เปียก (72:2.25)
               คือ เข้า ถูก น้ำ ชุ่ม อยู่. อย่าง หนึ่ง เขา หุง เข้า ไว้ น้ำ ให้ มาก เข้า เปียก อยู่ นั้น.
      เข้า พอ้ง (72:2.26)
               คือ เข้า อย่าง หนึ่ง เอา เข้า เม่า, หฤๅ เข้า ตาก ขั้ว ให้ พอ้ง ขึ้น แล้ว เอา น้ำ ตาน ใส่ ดว้ย ทำ เปน อัน ๆ.
      เข้า โพช (72:2.27)
               คือ เข้า อย่าง หนึ่ง, เปน ดอก ใหญ่ คล้าย ปลี กล้วย, ออก ตาม ลำ ต้น เม็ด ใน กลม ๆ.
      เข้า ฟ่าง (72:2.28)
               คือ เข้า อย่าง หนึ่ง เปน ต้น สูง ๆ, มี รวง คล้าย รวง เข้า, เม็ด กลม ๆ เล็ก ๆ.
      เข้า ฟอ่น (72:2.29)
               คือ เข้า ทั้ง รวง ที่ เขา เกี่ยว แล้ว, มัด ทำ เปน ฟอ่น ใหญ่ ๆ นั้น.
      เข้า ไม้ (72:2.30)
               คือ เอา ไม้ ใส่ เข้า ที่ แผล, เอา ไม้ เก่า ออก เสีย นั้น, เหมือน อย่าง เข้า ไม้ เรือ เปน ต้น.
      เข้า เม่า (72:2.31)
               คือ เข้า ที่ ยัง สด ๆ อยู่*, เขา ขั้ว ให้ สุก แล้ว, ใส่ ครก ลง ตำ ให้ แบน ๆ.
      เข้า มะธุปายาศ (72:2.32)
               คือ เข้า เปียก หวาน.
      เข้า หมาก (72:2.33)
               คือ เอา เข้า เหนี่ยว หนึ้ง ขึ้น ให้ สุก แล้ว, เอา แป้ง เชื้อ ใส่ คลุก เข้า ดว้ย กัน แล้ว, มัก ไว้ หว่าน หนัก.
      เข้า มัน (72:2.34)
               คือ เข้า ที่ หุง ดว้ย น้ำ กะทิ ให้ สุก, เม็ด เข้า เปน มัน อยู่.
      เข้า รีด (72:2.35)
               คือ คน ชาติ ใด ภาษา ใด ไป เชื่อ ถือ ตาม สาศนา อื่น จาก คำ สั่ง สอน ที่ ตัว เคย ถือ.
      เข้า ลีบ (72:2.36)
               คือ เข้า ที่ มี แต่ เปลือก ลีบ อยู่ หา มี เม็ด เข้าสาน อยู่ ใน ไม่.
      เข้า สุก (72:2.37)
               คือ เข้า ที่ เขา หุง ขึ้น สุก แล้ว.
      เข้า ละมาน (72:2.38)
               คือ ต้น หญ้า มิ ใช่ เข้า, แต่ มัน คล้าย กับ ต้น เข้า นั้น.

--- Page 73 ---
      เข้า หลาม (73:2.39)
               คือ เข้า ที่ เขา ใส่ ลง ใน กระบอก ไม้ ใผ่, แล้ว ใส่ ใน ไฟ ให้ สุก, คือ เข้า ที่ หุง ดว้ย กะบอก ไม้,
      เข้า สาลี (73:2.40)
               คือ เข้า อย่าง หนึ่ง ไม่ มี เปลือก หุ้ม, เปน เข้า สาน มา แต่ เดิม, มา แต่ เมือง นอก.
      เข้า สาน (73:2.41)
               คือ เข้า ที่ เขา เอา เปลือก ออก หมด, ยัง แต่ แก่น นั้น.
      เข้า เสวย (73:2.42)
               คือ เข้า ที่ เขา หุง สุก แล้ว, รินน้ำ เช็ด เสีย ให้ แห้ง นั้น.
      เข้า หางม้า (73:2.43)
               คือ เข้า อย่าง หนึ่ง, เปน เข้า เบา, เมื่อ ออก รวง นั้น งาม คล้าย กับ หาง ม้า.
      เข้า อก (73:2.44)
               คือ ของ เข้า ใน อก.
      เข้า ออก (73:2.45)
               คือ เข้า ไป, แล้ว ออก มา นั้น.
ขำ (73:1)
         คือ ของ อย่าง หนึ่ง, เปน เม็ด เล็ก ๆ, คล้าย กับ แหน, ศี เขียว ลอย อยู่ ใน น้ำ. อนึ่ง ของ ใด ๆ ยิ่ง พิศ ยิ่ง งาม.
      ขำ งาม (73:1.1)
               คือ คน ฤๅ สิ่ง ของ ใด ๆ ยิ่ง ดู ยิ่ง งาม.
ขะ (73:2)
         คือ เปน คำ รับ อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง เออ ฤๅ เจ้า ขะ นั้น.
      ขะจี (73:2.1)
               คือ ศี เขียว สด.
      ขะจัด (73:2.2)
               คือ กำจัด เสีย.
      ขะจอก (73:2.3)
               คือ คน ฤๅ สัตว ขาหัก เปน งอ่ย เดิร เขยก, คือ คน ขา โขยก นั้น เอง.
      ขะจัด ขะจาย (73:2.4)
               คือ กระจัด กระจาย ไป, เหมือน กระจัด พรัด พราย นั้น.
      ขะจอร (73:2.5)
               คือ ข่าว ที่ เขา เล่า ฦๅ กัน ฟุ้ง เฟื่อง ตลอด ไป.
      ขะจัด พรัด พราย (73:2.6)
               ความ เหมือน กัน.
      ขณะ (73:2.7)
               คือ เมื่อ, ครั้ง, คราว, ว่า บัด นั้น, ทัน ใด นั้น.
      ขะเน (73:2.8)
               คือ การ ประมาณ, เดา, คาด คิด, เหน จะ เปน อย่าง นั้น, เปน แต่ เดา* ประมาณ.
ขนาก (73:3)
         คือ กอ หญ้า อย่าง หนึ่ง, ขึ้น อยู่ กลาง ทุ่ง, คล้าย กัน กับ แฝก.
ขนง (73:4)
         ว่า คิ้ว. อนึ่ง หนัง งัว หนัง ควาย หนัง แรด, ที่ เขา เผา ไฟ แล้ว ขูด ต้ม แช่ น้ำ, แล้ว เอา มา หั่น ยำ กิน.
ขนาง (73:5)
         คือ ความ นึก แหนง ใจ กัน.
ขะนึง (73:6)
         คือ ความ คิด ถึง, หฤๅ ระฦก ถึง.
เขนง (73:7)
         คือ ของ ทำ ดว้ย เขา งัว บ้าง, ทำ ดว้ย ไม้ บ้าง, สำหรับ ใส่ ดิน ปืน คาด เอว.
แขนง (73:8)
         คือ กิ่ง เล็ก ๆ, ที่ แตก ออก จาก ต้น ไม้, แล กิ่ง ไม้ ลำไม้ ทั้ง ปวง, เหมือน อย่าง แขนง ไผ่ นั้น.
      แขนง ไผ่ (73:8.1)
               คือ กิ่ง เล็ก ๆ, ที่ แตก ออก จาก ต้น ไผ่, แล กิ่ง ไผ่ นั้น.
      แขนง ไม้ (73:8.2)
               คือ กิ่ง เล็ก ๆ, ที่ แตก ออก จาก ต้น ไม้, แล กิ่ง ไม้ ทั้ง ปวง.
      แขนง ยา (73:8.3)
               คือ กิ่ง ที่ แตก ออก จาก ต้น ยา นั้น เอง.
ขนด (73:9)
         คือ ที่ โคน หาง สัตว ทั้ง ปวง, เหมือน อย่าง ขนด หาง งู เปน ต้น นั้น.
ขนัด (73:10)
         คือ ของ ที่ คั่น กัน เปน ชั้น ๆ, ฤๅ เปน พวก ๆ, ฤๅ เปน ตอน ๆ.
      ขนัด ดาบ (73:10.1)
               คือ คน ที่ ถือ ดาบ อยู่ ตาม พวก, ถือ ดาบ เปน ชั้น ชั้น, เปน พวก ๆ, เปน ตอน ๆ, เหมือน กระบวน แห่.
      ขนัด สวน (73:10.2)
               คือ สวน เส้น หนึ่ง, บาง ที มี สี่ ขนัต บ้าง, ห้า ขนัด บ้าง, ขนัด หนึ่ง นั้น, คือ มี ถนน ขวาง คั่น เปน ตอน ๆ.
      ฃนัด หอก (73:10.3)
               คือ คน ที่ ถือ หอก อยู่ ตาม หอก, คั่น ก้น อยู่ เปน ชั้น ๆ, เปน ตอน ๆ.
      ขะนัด (73:10.4)
               คือ ไม้ สอง อัน แบน ๆ, ที่ เขา ใส่ ขวาง ไว้ ใน ด้าย ที่ จะ ธอ หูก นั้น.
ขนาด (73:11)
         คือ การ เปน ที่ กำหนฎ ไว้ ว่า, เท่า นั้น, เท่า นี้, ฤๅ อย่าง นั้น, อย่าง นี้.
      ขนาด กลาง (73:11.1)
               คือ ของ ที่ กำหนฎ สังเกด ไว้ เปน อย่าง กลาง.
      ขนาด ใหญ่ (73:11.2)
               คือ สิ่ง ฃอง ที่ เปน อย่าง ใหญ่.
      ขนาด เล็ก (73:11.3)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เปน อย่าง เล็ก.
      ขนาด หลวง (73:11.4)
               คือ ของ อัน ใด ที่ มี พิกัด ใน หลวง. มี ไม้ วา เปน ต้น เช่น ว่า นั้น, คือ อย่าง ใหญ่ นั้น เอง.
ขะเน๊ด (73:12)
         คือ เส้น เชือก ที่ เขา ทอด ลง ไว้ สำรับ วาง กำ เข้า, ฤๅ สิ่ง ที่ เขา ขีด ขวาง ลง ไว้ ที่ แผ่นดิน เปน ที่ กำหนฎ.
ขะนน (73:13)
         คือ หม้อ* โต ๆ ประมาณ เท่า บาต, สำรับ ใช้ ตัก น้ำ แล ต้ม อยา.
ขนัน (73:14)
         คือ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, คล้าย กับ ขนุน, ชื่อ อย่าง นั้น. อนึ่ง การ ทำ เมื่อ ทารก ที่ ตาย มา แต่ ใน ทอ้ง, เขา ใส่ ใน ม่อ ทำ เลข ยัญ ปิด ปาก ม่อ ด้วย, เพื่อ จะ กัน มิ ให้ หลอก.
ขนาน (73:15)
         คือ ต้น ใม้ อย่าง หนึ่ง มัน ชื่อ อย่าง นั้น. อนึ่ง ความ ที่ เครื่อง อยา หลาย สิ่ง* ประสม กัน เข้า, เปน อยา อย่าง หนึ่ง.

--- Page 74 ---
ขะนาน (74:1)
         ทะนาน ว่า ได้, คือ เครื่อง ตวง อย่าง หนึ่ง, ทำ ด้วย กะลา มะพร้าว, สำรับ ใช้ ตวง เข้า, ตวง น้ำมัน เปน ต้น.
ขนุน (74:2)
         คือ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ต้น โต บ้าง, เล็ก บ้าง, ผล เปน หนาม, ภาย ใน มี ซัง, มี ยวง ศี เหลือง, กิน หวาน รศ ดี.
      ขนุน หนัง (74:2.1)
               คือ ขนุน นั้น ที่ กล่าว แล้ว นั้น เอง, เหตุ ที่ ต่าง กัน นั้น, แต่ ที่ สุก แล้ว เนื้อ ยัง แขง อยู่ หา เหลว ไม่.
      ขนุน ลมุด (74:2.2)
               คือ ขนุน นั้น เอง, ถ้า มัน สุก แล้ว เนื้อ ที่ ยวง นั้น ก็ อ่อน เปียก เหลว, รศ หวาน ดี ต่าง กัน.
      ขนุน สัมลอ (74:2.3)
               คือ ขนุน อย่าง หนึ่ง, ต้น โต บ้าง, เล็ก บ้าง, ใบ เหมือน สาเก, ลูก เหมือน สาเก, เม็ด ใน, ต้ม กิน ดี.
ขแนน (74:3)
         คือ สิ่ง ฃอง ที่ สำหรับ กำหนฎ นับ ของ ทั้ง ปวง, คือ นับ สิบ ลง ที ไร เอา ไม้ ติ้ว ฤๅ สิ่ง อื่น ใส่ ไว้ เปน สำคัญ.
ขนอน (74:4)
         คือ ด่าน ที่ ท่าน ตั้ง ไว้ ให้ สำหรับ ดู แล สิ่ง ของ ตอ้ง ห้าม, แล ผู้ คน แปลก ปลอม.
ขนบ (74:5)
         สิ่ง ที่ เปน เหมือน อย่าง ผ้า, ที่ คน พับ ฤๅ จีบ ไว้ เปน กลีบ ๆ, เปน ชั้น ๆ, เรียง กัน อยู่.
      ขนบ ธรรมเนียม (74:5.1)
               คือ แบบ อย่าง สาระพัด การ งาน ทั้ง ปวง.
ขนาบ (74:6)
         การ ทำ เหมือน พื้น เรือน ไม่ เสมอ, แล้ว เอา ไม้ ผูก กด ลง ให้ เสมอ กัน. อนึ่ง ทับ ฆ่าศึก อยู่ สอง ข้าง, ทับ เรา อยู่ กลาง, ว่า ทับ ขนาบ.
ขนอบ (74:7)
         คือ นิ่ง เสีย, ภาษา มอน, แต่ ไท เอา มา พูด บ้าง.
ขนม (74:8)
         คือ เปน ชื่อ แห่ง ของ หวาน ทั้ง ปวง ต่าง ๆ, ที่ ไม่ หวาน ก็ มี บ้าง.
      ขนม โก๋ (74:8.1)
               คือ ขนม อย่าง หนึ่ง, เปน ของ ๆ จีน, คือ เอา เข้า ตาก เข้า เหนียว, ขั้ว ให้ สุก แล้ว, จึ่ง โม่ ให้ เลอียด, คลุก กับ น้ำตาน.
      ขนม กะละแม (74:8.2)
               คือ ขนม อย่าง หนึ่ง, เปน ของ ไท, เขา เอา แป้ง เข้า เหนียว มาละลาย น้ำกะทิ กับ น้ำตาน, กวน ให้ แห้ง เหนียว.
      ขนม กง (74:8.3)
               คือ ขนม อย่าง หนึ่ง, ทำ ดว้ย แป้ง ถั่ว, คลุก เข้า กับ น้ำตาน แล้ว, ปั้นเปนรูป มี สันถาน ดั่งกงเกียน, มี ฝอยคลุม ดว้ย.
      ขนม กล้วย (74:8.4)
               คือ ขนม อย่าง หนึ่ง, เอา กล้วย ไข่ ที่ สุก มา ปอก ออก แล้ว, ชุบ แป้ง กับ น้ำตาน, ทอด ลง ใน น้ำ มัน.
      ขนม ครก (74:8.5)
               คือ ขนม อย่าง หนึ่ง, เอา เข้า สาน มา โม่ ให้ เลอียด เปน แป้ง เหลว แล้ว, หยอด ลง ใน กระเบื้อง ที่ เปน บ่อ ๆ, เหมือน อย่าง ครก.
      ขนม จ้าง (74:8.6)
               คือ ขนม อย่าง หนึ่ง, เปน ของ จีน, เอา เข้า สาน เข้า เหนียว มา ห่อ ใบ ไผ่ แล้ว, ต้ม น้ำ ด่าง ให้ สุก แล้ว.
      ขนม เข่ง (74:8.7)
               คือ ขนม เขา ทำ ดว้ย แป้ง กับ น้ำตาน ระคน กัน เข้า, แล้ว ใบ ตอง รอง ใน เข่ง ตั้ง ใน กะทะ นื้ง* บน เตา* ไฟ สุก นั้น.
      ขนม จีน (74:8.8)
               คือ ขนม อย่าง หนึ่ง, เอา แป้ง เข้า ที่ หมัก ไว้ ให้ ยุ่ย มา ยี ทำ เปน แป้ง ข้น ๆ, ใส่ น่า แว่น บีบ ให้ เปน เส้น ๆ ลง ใน น้ำ รอ้น.
      ขนม ดอกดิน (74:8.9)
               คือ ขนม อย่าง หนึ่ง, เอา ดอก ดิน มา ใส่ ใน แป้ง แล้ว, ใส่ น้ำตาน ดว้ย, ห่อ ใบ ตอง นึ่ง ให้ สุก.
      ขนม ดว้ง (74:8.10)
               คือ ขนม อย่าง หนึ่ง, เอา แป้ง ขยำ ให้ เหนียว แล้ว, คลึง ลง ที่ กระดาน ให้ เหมือน ตัว ดว้ง, แล้ว นึ่ง ให้ สุก.
      ขนม เต่า (74:8.11)
               คือ ขนม* อย่าง หนึ่ง, เอา แป้ง ศี แดง ปั้น เปน รูป เต่า, ใส่ ไส้ ถั่ว หวาน แล้ว นึ่ง ให้ สุก.
      ขนม ตะไล (74:8.12)
               คือ ขนม อย่าง หนึ่ง, เอา แป้ง กับ น้ำตาน ละลาย ให้ เหลว แล้ว, หยอด ใส่ ถว้ย, นึ่ง ให้ สุก, ใส่ กะทิ ดว้ย.
      ขนม ตบตี (74:8.13)
               คือ ขนม อย่าง หนึ่ง, เอา แป้ง มา ขั้ว ให้ สุก แล้ว, คลุก เข้า กับ น้ำตาน ให้ หวาน แล้ว, ตีภิมพ์ ทำ เปน รูป ต่าง ๆ.
      ขนม ต้ม (74:8.14)
               คือ ขนม อย่าง หนึ่ง, เอา แป้ง มา ขยำ ให้ เหนียว ดี แล้ว, ปั้น ลูก แล้ว เอา น้ำตาน ใส่ ข้าง ใน, ต้ม ให้ สุก, คลุก มะพร้าว.
      ขนม ถว้ย (74:8.15)
               คือ ฃนม อย่าง หนึ่ง, เอา แป้ง ละลาย กับ น้ำตาน แล้ว, ใส่ เชื้อ ลง ดว้ย, หยอด ใส่ ถว้ย นึ่ง ให้ ฟู สุก.
      ขนม ทอง (74:8.16)
               คือ ขนม อย่าง หนึ่ง, เอา แป้ง มา ปั้น เปน วง กลม ๆ, ทอด น้ำมัน ให้ สุก แล้ว เอา น้ำตาน หยอด น่า.
      ขนม ทอง มว้น (74:8.17)
               คือ ขนม เขา เอา แป้ง กับ น้ำตาน กับ ไข่ ระคน ปน เฃ้า ดว้ย กัน แล้ว, เอา ทำ เปน แผ่น ปิ้ง* ให้ สุก นั้น.
      ขนม เบื้อง (74:8.18)
               คือ ขนม อย่าง หนึ่ง, เอา แป้ง ละลาย ให้ เหลว แล้ว, ละเลง ลง ใน กระเบื้อง ใส่ น่า กุ้ง บ้าง, น่า หวาน บ้าง, แล้ว แสะ ออก เปน แผ่น.
      ขนม เปียก (74:8.19)
               คือ ขนม อย่าง หนึ่ง, เอา แป้ง ละลาย กับ น้ำ กะทิ ใส่ ลง ใน กะทะ ใส่ น้ำตาน ดว้ย แล้ว, กวน ให้ สุก แขง กินหวาน.
      ขนม เปียกปูน (74:8.20)
               คือ ขนม อย่าง หนึ่ง, เอา แป้ง ละลาย ให้ เหลว แล้ว ใส่ น้ำปูนใส บ้าง, กวน ให้ ข้นแล้ว ใส่ น้ำตาน บ้างกินหวาน.

--- Page 75 ---
      ขนม ปิ้ง (75:8.21)
               คือ ขนม อย่าง หนึ่ง, เอา เข้า เหนียว นึ่ง ให้ สุก แล้ว, มูล กะทิ ห่อ ใบ ตอง ใส่ ตับ ปิ้ง ไฟ ให้ เกรียม.
      ขนม ปัง (75:8.22)
               คือ ขนม ที่ ทำ ดว้ย แป้ง เข้า สาลี, ออ่น บ้าง, แขง บ้าง, เปน ขนม แห่ง พวก ชาว* อะเมริกา.
      ขนม เปีย (75:8.23)
               คือ ขนม ทำ ดว้ย แป้ง จีน, ปั้น เปน อัน แบน ๆ เท่า ลูก สะบ้า ฝัก, ใส่ ไส้ หมู บ้าง, ไส้ ถั่ว บ้าง, ผิง ใส่ ไฟ ข้าง ล่าง ข้าง บน.
      ขนม โปร่ง (75:8.24)
               คือ ขนม ทำ ดว้ย แป้ง กับ น้ำตาน ทราย, ข้าง ใน โปร่ง กิน หวาน ดี.
      ขนม ผิง (75:8.25)
               คือ ขนม ทำ ดว้ย แป้ง ประสม กับ น้ำตาน ทราย ใส่ ไข่ ดว้ย, เมื่อ ผิง นั้น ใส่ ม่อ ลง ใส่ ไฟ ข้าง ล่าง ข้าง บน.
      ขนม ฝารั่ง (75:8.26)
               คือ ขนม พวก ฝารั่ง เขา ทำ ดว้ย ไข่ กับ น้ำตาน ทราย, แล้ว อัง ไฟ จน สุก.
      ขนม ฝอย (75:8.27)
               คือ ขนม ทำ ดว้ย แป้ง ถั่ว, ปั้น เปน วง เหมือน กง เกียน แล้ว, ชุบ แป้ง ทอด น้ำมัน โรย ฝอย ทำ กระโจม คลุน บน.
      ขนม ตาน (75:8.28)
               คือ เอา ลูก ตาล สุก มา ยี เอา แต่ เนื้อ, เคล้า เข้า กับ แป้ง ใส่ มะพร้าว ใส่ น้ำตาน แล้ว, ห่อ ใบ ตอง นึ่ง ให้ สุก.
      ขนม ลูกโคน (75:8.29)
               คือ ขนม ทำ ดว้ย แป้ง ปั้น เปน ลูก กลม ๆ, เอา ถั่ว งา กับ น้ำตาน ใส่ ไส้ แล้ว, ใส่ กะทะ ทอด น้ำมัน ให้ สุก.
      ขนม ใส่ ไส้ (75:8.30)
               คือ เอา แป้ง มา ขยำ เข้า ให้ เหนียว, เอา มะพร้าว กับ น้ำตาน ใส่ ไส้ ห่อ ใบ ตอง, เหมือน ห่อมก นึ่ง ให้ สุก.
      ขนม สอ้นลูก (75:8.31)
               คือ เอา แป้ง ละลาย กับ น้ำตาน, กวน ให้ ข้น แล้ว, เอา แป้ง ทำ เปน ลูก กลม ใส่ ซอ่น ไว้ ใน นั้น.
      ขนม สามเกลอ* (75:8.32)
               คือ เอา แป้ง ปั้น เปน ลูก กลม ๆ, ใส่ ไส้ ถั่ว ไส้ งา กับ น้ำตาน ทำ เปน สาม ลูก ติด กัน แล้ว, ทอด น้ำมัน.
      ขนม หูหีบ (75:8.33)
               คือ เอา แป้ง ปั้น เปน รูบ เหมือน หูหีบ แล้ว, ทอด น้ำมัน ให้ สุก ฉาบ น้ำตาน ให้ แห้ง.
      ขนม หิน ฝนทอง (75:8.34)
               คือ เอา แป้ง ขั้ว ให้ สุก แล้ว, คลุก เข้า กับ น้ำตาน, ปั้น เปน สี่ เหลี่ยม* เหมือน หิน ฝน ทอง.
เขนย (75:1)
         คือ หมอน, คำ เขมร.
ขบถ (75:2)
         คือ แปล ว่า, โทษ ษะบถ โทษ กระบถ, คือ คิด จะ ทำ ร้าย เจ้า ชีวิตร.
ขนาย (75:3)
         คือ งา ที่ ออก จาก ปาก ช้าง ตัว เมีย.
เขบ็ด ขบวน (75:4)
         คือ อาการ ที่ คน ทำ เยื้อง กราย รำ ฟ้อน เปน ต้น.
ขะมาโทษ (75:5)
         ว่า ฃอ ให้ อด โทษ.
ขมี ขมัน (75:6)
         อาการ ที่ เร็ว ๆ, ดว่น ๆ, ไว ๆ, พลัน ๆ,
เขม่า (75:7)
         คือ สิ่ง ของ ที่ มี ศี ดำ, เหมือน อย่าง ควัน ไต้, แล ควัน เทียน, ที่ เขา ขูด เอา มา ใช้ ทา สิ่ง ของ ให้ ดำ.
ขมุก ขมัว (75:8)
         คือ เวลา โพ้ล เพ้ล มืด ลง ใหม่ ๆ, คือ เวลา พลบ ค่ำ นั้น เอง.
เขม็ง (75:9)
         การ ฟัน เชือก, ฤๅ ป่าน, ฤๅ ด้าย, เปน* ต้น, กวด ให้ บิด เปน เกลียว แขง.
เขม็ดแขม่ (75:10)
         คือ ของ นอ้ย เต็ม ที ใช้ ไม่ ใค่ร จะ ภอ การ คน หวง ไว้
ขมิ้น (75:11)
         คือ ของ อย่าง หนึ่ง, เปน หัว เง่า อยู่ ใน ดิน ศี เหลือง, สำหรับ ใช้ ทา ตัว แล ยอ้ม ผ้า.
เขมร (75:12)
         คือ คน จำพวก หนึ่ง, เดิม เปน ชาว* เมือง กัมพูชา.
      เขมร เถ่นเท (75:12.1)
               คือ คน ภาษา เขมร, เถ่นเท่ เปน สร้อย คำ, ไม่ มี ความ.
โขมง (75:13)
         อาการ คน เรียก ควัน ไฟ, ที่ พลุ่ง ขึ้น พร้อม กัน มาก หนัก.
      โขมด (75:13.1)
               คือ ที่ ศีศะ ช้าง มัน สูง ขึ้น เปน ปุ่ม อยู่ สอง ข้าง นั้น, อย่าง หนึ่ง เปน ที่ ป่า แต่ ทุ่ง นา เรียก บาง โขมด.
โขมดยา (75:14)
         คือ ที่ หัว เรือ มัน เปน แหลม สูง อยู่ กลาง สอง ข้าง มัน ต่ำ นั้น.
ขมอง (75:15)
         คือ สิ่ง ที่ อยู่ ใน หัว ข้น ๆ ศี ขาว ๆ, คือ เยื่อ ใน กระ- ดูก นั้น.
ขมวด (75:16)
         คือ ผูก ยอด หญ้า ฤๅ เข้า กล้า เปน ต้น, คือ ผูก กระบิด เข้า ไว้ เปน หมวด ๆ นั้น เอง.
ขเม่น (75:17)
         คือ คน ฤๅ สัตว แล ดู สิ่ง ของ ใด ๆ เพ่ง ตา ดู ไม่*ใคร่ จะ กพริบ.
ขมวน (75:18)
         คือ ตัว สัตว เล็ก ๆ มัน เกิด อยู่ ใน เนื้อ ปลา ที่ ผุ รา เปน ต้น.
ขมับ (75:19)
         อาการ ที่ สด หาง คิ้ว นั้น.
ขมวด หญ้า (75:20)
         ความ คือ ผูก หญ้า ไว้ เปน สำคัญ นั้น เอง.
ขมิบ (75:21)
         อาการ ที่ คน ฤๅ สัตว, เมื่อ ถ่าย อุจจาระ แล ปัศสาวะ, แขมบ ทำ ปาก ทวาร ให้ มัน บีบ เข้า ให้ มัน อยุด.
ขมวด ผม (75:22)
         คือ พัน ผูก ผม เปน ปม ไว้ ที่ หัว.
ขมุบ (75:23)
         อาการ ที่ ขม่อม เด็ก อ่อน เมื่อ ยัง เปน ทารก อยู่ นั้น กด ลง อ่อน อยุบ ๆ.

--- Page 76 ---
แขมบ (76:1)
         คือ อาการ ที่ คน ทำ ให้ ท้อง เล็ก เฃ้า นั้น, คือ แขม่ว ท้อง นั้น เอง.
ขะมัม (76:2)
         คือ คน นั่ง อยู่ บน เก้าอี้, ฤๅ นั่ง อยู่ บน เตียง, แล ตั่ง ล้ม คว่ำ หน้า ลง ไป.
ขมั่ม (76:3)
         อาการ เหมือน อย่าง หมา ขยั้ม กิน เฃ้า เปน ต้น.
ขมอม ขะแมม (76:4)
         คือ สิ่ง ของ ใด ๆ มี ผ้า เปน ต้น, เปื้อน กดำกด่าง.
ขโมย (76:5)
         คือ คน ลัก เอา ซึ่ง ทรัพย สิ่ง ของ ที่ เจ้า ของ เขา ไม่ ให้ นั้น.
ขม่อม (76:6)
         อาการ ที่ ตรง กลาง กระบาล หัว คน, แล หัว สัตว ทั้ง ปวง นั้น.
ขยี่ (76:7)
         อาการ ที่ คน แล สัตว, เอา มือ ฤๅ ท้าว กด สิ่ง ของ ใด ๆ ถู ไป มา ให้ ละเอียด.
เขย่า (76:8)
         คือ คน ล้าง ของ สิ่ง ใด ๆ, ฤๅ ปลา สด ที่ ตัด เปน ชิ้น ๆ แล้ว ใส่ ใน ตะกร้า ทำ ขย่อน ๆ ล้าง ใน น้ำ.
ขยำ (76:9)
         อาการ ที่ คน ที่ เปน หมอ นวด เอา มือ กำ ๆ แล้ว, บีบ ๆ ตาม มือ แล ท้าว เปน ต้น.
ขยะแขยง (76:10)
         ความ ที่ คน เหน สิ่ง ของ ใด, ที่ หน้า เกลียด, เปน ของ โสกโครก, ให้ บังเกิด ขน ลุก ขน พอง.
ขยาก (76:11)
         คือ อยาก เยื่อ มี ฝอย ขี้ กบ เปน ต้น.
โขยก (76:12)
         อาการ ที่ คน ฤๅ สัตว ขา กระจอก, เมื่อ เดิร ท้าว ข้าง หนึ่ง เหยียบ เบา, ข้าง หนึ่ง เหยียบ หนัก, กะเผลก ๆ.
ขยัก (76:13)
         ความ ที่ คน ทำ การ ไม่ รู้ แล้ว, อยุด ๆ อย่อน ๆ, หฤๅ คน หยัก ไม้ เปน ข้อ.
ขยัก ขย่อน (76:14)
         คือ การ ที่ คน ทำ อยุด ๆ อย่อน ๆ ไม่ ใค่ร แล้ว.
ขยิก (76:15)
         อาการ ที่ นั่ง นอน ไม่ เปน ปรกติ, ขยับ ไป ขยับ มา, ฤๅ คน ตัก เตือน ดว้ย ธุระ สิ่ง ใด ๆ หลาย ครั้ง.
ขยุก ขยิก (76:16)
         อาการ ที่ คน นอน ไม่ อยู่ ศุข, ขยับ ไป ขยับ มา.
ขะยุก (76:17)
         ความ เปน เหมือน ซน ไฟ, คือ ฟืน ที่ จ่อ จด ไว้ ปาก ชอ่ง แล้ว ซุก ๆ เข้า ไป.
เขยก (76:18)
         อาการ ที่ คน แล สัตว, ขา เจ็บ เดิน ไม่ เสมอ, ฤๅ เดิน โขยก ๆ ว่า เดิน โขยก เขยก.
แขยก (76:19)
         คือ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, สำหรับ ใช้ ทำ ยา, กิน ลง, ถ้า แช่ ใน น้ำ เบื่อ ปลา ตาย.
ขยอก (76:20)
         อาการ ที่ คน แล สัตว, กลืน ของ ที่ เปน กอ้น ๆ, กลืน ไม่ ใค่ร เข้า ไป, แต่ ทว่า ภอ กระเดือก ลง ไป ได้.
เขย่ง (76:21)
         อาการ ที่ คน ยืน, เอา ปลาย ตีน* ที่ สุด จต ลง กับ พื้น แล้ว, ยก ซ่น ตีน ทำ ให้ สูง ขึ้น, ว่า ยืน เขย่ง.
แขยง ขน (76:22)
         อาการ ที่ คน เหน ของ ที่ หน้า เกลียด, สดุ้ง ขน พอง สยอง เกล้า.
แขย่ง (76:23)
         อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว, ขึ้น บน ต้น ไม้, แล ที่ สูง ๆ ชัน ดว้ย, ขึ้น ไม่ ใค่ร ได้, ว่า ปีน แขย่ง.
ฃย่อง แขย่ง (76:24)
         อาการ เหมือน คน ติด กรวน, เดีน ไม่ คล่อง ตาม ปรกติ.
โขยง (76:25)
         อาการ ที่ คน ฤๅ สัตว, เมื่อ เดีน ไป นั้น ตก ใจ กลัว สิ่ง ใด สิ่ง หนึ่ง กระโดด ไป.
ฃยด (76:26)
         อาการ ที่ คน ฤๅ สัตว, ฤๅ สิ่ง ของ ใด ๆ, ขยับ เลื่อน ไป จาก ที่ แล้ว.
ขยัด (76:27)
         ความ ที่ จะ กิน ของ สิ่ง ใด ๆ, ฤๅ จะ ให้ สิ่ง ของ แก่ ผู้ ใด ขยับ แบ่ง ไว้ บ้าง.
ขยาด (76:28)
         ความ ที่ คน เคย เห็น เสือ, ฤๅ สัตว ร้าย ใน ที่ ใด ๆ, แล้ว ภาย หลัง มิ อาจ ไป สู่ ที่ นั้น ได้, ให้ ครั่น คร้าม ใน ใจ.
ขยัน (76:29)
         ความ ที่ คน ไม่ ขี้ เกียจ, อุษ่าห์ หมั่น ทำ สารพัศ การ งาร ทั้ง ปวง, คือ ความ เพียร นั้น เอง.
ขยั้น (76:30)
         ใจ ความ เหมือน กัน กับ ขยาด, คือ ความ ครั่น คร้าม นั้น เอง.
ขย่อน (76:31)
         คือ น้ำ ใน แม่ น้ำ, ฤๅ ใน ม่อ, ใน ไห, เปน คลื่น กระ- เพื่อม, ฤๅ กระฉ่อน หนัก.
ขย้อน (76:32)
         อาการ ที่ คน ราก ออก มา บ้าง แล้ว, ยัง ให้ คลื่น เหียน ทำ อาการ ดุจ ราก อีก.
ขะเยื่อน (76:33)
         คือ ของ สิ่ง ใด ๆ สะเทือน ฤๅ เคลื่อน จาก ที่.
เขยิน (76:34)
         คือ อาการ ที่ ฟัน คน ตั้ง อยู่ ไม่ ปรกติ มัน ยื่น ออก มา นั้น.
ขยับ (76:35)
         คือ สิ่ง ของ ใด ๆ, เดิม กะลง ไว้ เพียง นี้ แล้ว เลื่อน ไป จาก ที่ นั้น อีก น่อย หนึ่ง.
      ขยับ หู (76:35.1)
               คือ ทำ หู ให้ ใกล้ เข้า นั้น.
ขยาบ (76:36)
         คือ ทำ ด้วย ไม้ กว้าง ยาว ประมาณ สี่ ศอก ห้า ศอก, มุง จาก ปู กะแชง, สำรับ กัน แดด กัน* ฝน ที่ เรือ.
ขยับ ตา (76:37)
         คือ ทำ ตา ให้ ใกล้ เข้า นั้น, คือ กพริบ ตา นั้น เอง.

--- Page 77 ---
ขยิบ (77:1)
         อาการ ที่ คน ฤๅ สัตว กพริบ ตา, คือ ความ ที่ ขยับ ตา บ่อย ๆ นั้น เอง.
ขยับ ขยาย (77:2)
         คือ การ ที่ ถอย ให้ ห่าง ออก ให้ พ้น น่อย หนึ่ง นั้น, ความ ที่ เคลื่อน คลาย ออก เปน ต้น.
ขยับ ขยด (77:3)
         คือ อาการ ทำ ตัว ให้ เลื่อน ถด เข้า, ฤๅ ออก นั้น.
ขยุบ (77:4)
         อาการ ที่ นก อย่าง หนึ่ง, ชื่อ นก กะเด้า ดิน มัน ทำ หาง กะดก ๆ.
ขยับ มือ (77:5)
         คือ ยก มือ เข้า ฤๅ ถอย ออก น่อย หนึ่ง นั้น.
ขยัม (77:6)
         อาการ ที่ เหมือน คน เอา แป้ง มา จะ ทำ ขนม, เอา มือ กำ บีบ เข้า แล้ว, คลาย ออก, แล้ว กำ เข้า อีก หลาย ครั้ง หลาย หน.
      ขยับเขยื่อน (77:6.1)
               คือ ทำ ตัว ให้ เข้า ฤๅ เลื่อน ออก นั้น.
ขยั้ม (77:7)
         อาการ เหมือน อย่าง หมา ชิง กัน กิน เข้า เปน ต้น, คือ ขมัม กิน เหมือน อย่าง หมา นั้น เอง.
      ฃยิ่ม (77:7.1)
               ความ ที่ คน ดี ใจ หนัก, เพราะ หมาย ว่า ตัว จะ ได้ ของ สิ่ง นั้น สิ่ง นี้, คือ ความ ที่ กริ่ม ใจ นั้น เอง.
      ขยิ้ม ขย่อง (77:7.2)
               ความ ที่ คน ดี ใจ หนัก, ยิ้ม พลาง หัว เราะ พลาง, เหมือน อย่าง ความ ที่ รื่น เรีง บันเทิง ใจ เปน ต้น.
      ขยุม (77:7.3)
               อาการ ที่ คน ภาย เรือ ไล่ จ้ำ ถี่ ไป ไม่ ใคร่ อยุด, คือ อา การ ที่ ภาย สุ่ม ไป ไม่ ถอน ยาว นั้น เอง.
      ขยุ่ม (77:7.4)
               อาการ ที่ คน เอา มือ หยิบ ของ สิ่ง ใด ๆ ไป เต็ม กำมือ.
ขยาย (77:8)
         คือ ของ ที่ ห่อ ไว้, ฤๅ มัด ผูก ไว้ แล้ว, แก้ ให้ คลาย ออก, คือ ความ ที่ ทำ ให้ เคลื่อน ออก เปน ต้น.
      ขยาย ผ้า (77:8.1)
               อาการ ที่ ผ้า นุ่ง, ฤๅ ผ้า ห่ม, เรา แก้ ให้ คลาย ขยาย ออก น่อย หนึ่ง.
      ขยาย ผม (77:8.2)
               อาการ ที่ ผม จุก, ฤๅ ผม มวย, เกล้า ผูก ไว้ เรา แก้ ขยาย ออก ไป.
      ขยาย พล (77:8.3)
               คือ พวก พล กอง ทับ, ตั้ง ประชุม พร้อม กัน อยู่, แล้ว ขยาย ออก จาก ที่.
ขยุย (77:9)
         อาการ ที่ คน ทำ การ งาน สิ่ง ใด ๆ, เพิลน ไป มิ ใค่ร อยุด
ขะเยอ (77:10)
         อาการ ที่ คน ฤๅ สัตว, ถูก ตอ้ง สิ่ง ของ ที่ คัน หนัก, ตอ้ง เกา ร่ำ* ไป.
      ขะเย่อ แขย่ง (77:10.1)
               คือ อาการ อยาก ได้ ของ เปน ต้น, ความ ที่ ดิ้น รน กระสับ กระส่าย.
ขะแย๊ะ (77:11)
         การ ที่ คน ตำแป้ง, ทำ ให้ สาก กระทบ เข้า กับ ฃ้างครก, ฤๅ คน ยืน เบียด กัน, ยัก ไหล่ กะทบ กัน เฃ้า.
แขวะ (77:12)
         การ ที่ คน สลัก หนัง เปน รูป ภาพ ต่าง ๆ, ขุด เอา เนื้อ หนัง ฃ้าง ใน นั้น ออก เสีย, เอา แต่ เส้น ไว้, นั้น เปน ต้น.
ฃัก ๆ (77:13)
         คือ เสียง ดัง เมื่อ หัวเราะ นั้น, คือ ความ ที่ หัว เราะ ร่า ๆ นั้น เอง.
ขาก (77:14)
         อาการ ที่ คน ทำ ให้ เสลศ, ฤๅ น้ำ ลาย เหนียว, เคลื่อน ออก มา จาก ลำ ฅอ แล้ว, ถ่ม เสีย.
      ขาก น้ำลาย (77:14.1)
               อาการ ที่ คน ทำ ให้ น้ำ ลาย เคลื่อน ออก จาก ลำ ฅอ, เสียง มัน ดัง อย่าง นั้น, แล้ว ถ่ม เสีย.
      ขาก เลือด (77:14.2)
               อาการ คือ ทำ เลือด ให้ กระเดน ออก จาก ปาก นั้น, เหมือน อย่าง คน ถ่ม โลหิต เสีย จาก ปาก นั้น.
      ขาก เสลศ (77:14.3)
               อาการ ที่ คน ทำ ให้ เสลศ ออก มา จาก ลำ ฅอ, เสียง มัน ดัง อย่าง นั้น.
ฃิก (77:15)
         คือ เสียง คน ดี ใจ หัวเราะ, เสียง ดัง อย่าง นั้น, เหมือน อย่าง คน หัวเราะ ริก เปน ต้น นั้น.
ฃุก ๆ (77:16)
         คือ คน ไอ เสียง ดัง อย่าง นั้น, เหมือน อย่าง คน ไอ เสียง โฃก ๆ นั้น เอง.
ฃุกฃัก (77:17)
         คือ อาการ ที่ ด่วน ๆ นั้น, คือ ความ ที่ คน ค้น หา สิ่ง ฃอง เสียง กรุก กรัก เปน ต้น.
ฃุกค่ำ ฃุกคืน (77:18)
         ความ คือ เหตุ การ ที่ เกิด ฃึ้น ใน ปัจจุบัน เวลา ค่ำ บ้าง, เวลา กลาง คืน บ้าง.
เฃก หัว (77:19)
         อาการ ที่ คน เอา มือ ชก หัว กัน, เสียง มัน ดัง อย่าง นั้น, คือ โฃก หัว นั้น เอง.
      เขก โฃก (77:19.1)
               คือ เสียง ที่ ชก กัน นั้น เอง.
แฃก (77:20)
         คือ คน ชาติ หนึ่ง, รูป ร่าง ดำ ๆ, ผม หยิก ๆ, เปน ชาว เมือง สุรัศ เปน ต้น. อนึ่ง คน ที่ อยู่ ต่าง บ้าน ต่าง เมือง ไป สู่ มา หา กัน.
      แฃก คุลา (77:20.1)
               คือ คน แฃก ภาษา หนึ่ง, รูป มัน เล็ก ๆ ผิว ดำ, เหมือน คน กลา สี.
      แฃก ตานี (77:20.2)
               คือ คน อย่าง หนึ่ง, อยู่ ที่ เมือง ตานี.
      แฃก จาม (77:20.3)
               คือ คน แฃก จำพวก หนึ่ง, รูป มัน ใหญ่ กว่า แฃก กลาสี.
      แฃก ตะรังตะนู (77:20.4)
               คือ คน แขก ชาติ หนึ่ง, อยู่ ที่ เมือง ตะรัง ตะนู.

--- Page 78 ---
      แฃก เทษ (78:20.5)
               คือ คน แฃก ที่ มา แต่ เมือง เทษ นั้น.
      แฃก เต้า (78:20.6)
               คือ นก อย่าง หนึ่ง, รูป เหมือน นกแก้ว, พูด ได้ คล้าย คน.
      แฃก มา หา (78:20.7)
               คือ คน ต่าง บ้าน ต่าง เรือน, ฤๅ ต่าง เมือง, ไป สู่ มา หา กัน.
      แฃก มะลายู (78:20.8)
               คือ คน ที่ เปน แฃก ชาติ มะลายู นั้น.
      แฃก เมือง (78:20.9)
               คือ พวก แฃก ฝรั่ง*, อังกฤษ, ยวญ, พะม่า, มอญ, เปน ต้น, แต่ บันดา เปน คน ต่าง เมือง เฃ้า มา นั้น.
โฃก (78:1)
         อาการ ที่ คน ทำ มือ งอ เฃ้า ชก ลง ที่ หัว กัน, เสียง มัน ดัง อย่าง นั้น.
      โฃก หัว (78:1.1)
               อาการ ที่ คน เอา มือ ต่อย ลง ที่ หัว, เสียง มัน ดัง โฃก.
ฃอกรั้ว (78:2)
         คือ ที่ ตาม ริม ๆ แนว ฃอบ รั้ว นั้น.
ฃง จู๊ (78:3)
         คือ เปน ชื่อ จีน มี สติ ปัญา คน หนึ่ง, ใน เมือง จีนะประเทษ.
ฃัง (78:4)
         การ ที่ คน เอา วัว ควาย, ฤๅ แพะ แกะ, ใส่ ไว้ ใน คอก ปิด ปะตู ไว้ นั้น เปน ต้น. อนึ่ง น้ำ ใน บ่อ แล สระ ห้วย หนอง ปิด กัน ไว้ มิ ให้ ไหล ล้น เข้า ออก ได้.
      ขัง ไก่ (78:4.1)
               การ ที่ คน เอา ไก่ ใส่ เล้า, ใส่ กรง ปิด ปะตู ขัง ไว้.
      ขัง คน (78:4.2)
               การ ที่ เอา คน ใส่ ไว้ ใน คุก, ใน ทิม, ฤๅ ตึก ปิด ปะตู ขัง ไว้.
      ขัง นก (78:4.3)
               การ ที่ คน เอา นก ขัง ไว้ ใน กรง, ปิด ปะตู เสีย มิ ให้ ไป ได้.
      ขัง น้ำ (78:4.4)
               การ ที่ คน ปิด ทำนบ ขัง น้ำ ไว้, มิ ให้ ไหล เข้า, ไหล ออก ได้.
ขั้ง (78:5)
         อาการ ที่ คน ฤๅ สัตว มา รอ กัน อยู่ ที่ ปะตู, ฤๅ ที่ ไหน ๆ ออก ไม่ ใคร่ ได้, เพราะ คับ คั่ง กัน หนัก.
ข่าง (78:6)
         คือ ไม้ เขา ทำ เปน ลูก, เท่า ลูก หมาก, ทิ้ง ลง มัน หมุน ไป.
ข้าง (78:7)
         คือ เบื้อง ขวา, ฤๅ เบื้อง ซ้าย นั้น. อนึ่ง เปน สัตว อย่าง หนึ่ง รูป คล้าย กับ ลิง อยู่ บน ต้น ไม้.
      ข้าง ขึ้น (78:7.1)
               คือ เวลา วัน เมื่อ พระจันทร์ จำเริญ ขึ้น, จน ถึง วัน สิบห้า ค่ำ, เดือน เพญ นั้น.
      ข้าง ขวา (78:7.2)
               คือ ประเทศ เบื้อง ขวา, ว่า ที่ ฃ้าง ขวา มือ.
      ฃ้าง ซ้าย (78:7.3)
               คือ ประเทศ ที่ เบื้อง ซ้าย, ว่า ที่ ฃ้าง ซ้าย มือ.
      ข้าง ใต้ (78:7.4)
               คือ ประเทศ ที่ อยู่ ฝ่าย ใต้ นั้น.
      ฃ้าง ต้น (78:7.5)
               คือ เบื้อง ต้น ฝ่าย ต้น.
      ข้าง ท้าย (78:7.6)
               คือ สวน ลำ เรือ ทั้ง ปวง, ฤๅ รถ, แล เกียน เปน ต้น, ที่ ฃ้าง เบื้อง หลัง นั้น.
      ฃ้าง น่า (78:7.7)
               คือ ฃอง สิ่ง ใด ๆ ที่ อยู่ เบื้อง น่า นั้น, ฤๅ การ ที่* จะ มี ใน เบื้อง น่า นั้น.
      ฃ้าง ไหน (78:7.8)
               คือ เบื้อง ไหน ที่ ไหน.
      ฃ้าง เหนือ (78:7.9)
               คือ ฃ้าง ทิศ เหนือ, ฤๅ ฝ่าย เหนือ.
      ฃ้าง บน (78:7.10)
               คือ ทิศ เบื้อง บน, ฤๅ จะ ฃึ้น ไป ยัง ยอด ภู เฃา เปน ต้น.
      ฃ้าง แรม (78:7.11)
               คือ เวลา วัน แรม ค่ำ หนึ่ง, จน ถึง วัน สิบห้า ค่ำ สิ้น* เดือน นั้น.
      ฃ้าง หลัง (78:7.12)
               คือ ประเทษ ที่ อยู่ ฝ่าย หลัง, ฤๅ สิ่ง ที่ จะ มา ภาย หลัง* นั้น.
      ฃ้าง ล่าง (78:7.13)
               คือ ประเทษ เบื้อง ต่ำ, ฤๅ สิ่ง ฃอง ที่ อยู่ ฝ่าย ใต้ นั้น, คือ เบื้อง ล่าง นั้น เอง.
ฃิง (78:8)
         คือ ผัก อย่าง หนึ่ง, มี หัว เง่า อยู่ ใน ดิน, รศ เผ็ด ร้อน, กิน ดี ทำ ยา ก็ ได้.
      ฃิง แง่ง (78:8.1)
               คือ เง่า ฃิง, ที่ มัน แตก งอก เปน แง่ง ๆ, ต่อ กัน ออก ไป นั้น.
      ฃิง ดอง (78:8.2)
               คือ เง่า ขิง สด ที่ เขา เอา มา ดอง กิน นั้น.
      ฃิง สด (78:8.3)
               เง่า ฃิง ที่ ฃุด ฃึ้น มา ใหม่ ๆ ยัง ไม่ แห้ง นั้น.
      ฃิง แห้ง (78:8.4)
               ฃิง อย่าง หนึ่ง เอา มา แต่ ป่า, หัว มัน แห้ง มา แต่ เดิม, ฤๅ ฃิง สด เอา มา ตาก แดด ไห้ แห้ง.
ฃึง (78:9)
         การ ที่ คน เอา ผ้า คลี่ ออก ทำ ให้ ตึง, ฤๅ เอา เชือก แล ป่าน คลี่ ออก ทำ ให้ ตึง. อนึ่ง คน ที่ เมา ยศ ไม่ ใคร่ จะ พูด ถือ* ตัว.
      ฃึง ฃัง (78:9.1)
               คือ อาการ ที่ ปึ่ง ชา, ไม่ ใคร่ พูจา ไว้ ยศ ฃอง ตัว นั้น.
      ฃึง จอ (78:9.2)
               คือ การ ที่ คน เอา ผ้า คลี่ออก แล้ว, ฃึง ทำ ให้ ตึง ทั้ง สี่ ด้าน สำรับ เล่น หนัง เพลา กลาง คืน.
      ฃึง เชือก (78:9.3)
               คือ การ ที่ คน เอา เชือก คลี่ออก แล้ว ชัก ให้ ตึง แล้ว, ผูก ไว้ มิ ให้ หย่อน ได้.
      ฃึง อูด (78:9.4)
               การ ที่ คน เอา เชือก สอง เส้น, ผูก เฃ้า ที่ หัว ว่าว คุลา แล้ว, ฃึง ให้ ตึง ปิด กระดาด ด้วย, ครั้น เมื่อ ลม พัด กะทบ ดัง อูด ๆ.
ฃึ้ง เคียด (78:10)
         คือ อาการ คน มี ใจ โกรธ, ทำ หน้า บึ้ง แล้ว, บ่น ตัด ภอ ไป ต่าง ๆ.

--- Page 79 ---
ฃึ้ง โกรธ (79:1)
         คือ ความ ที่ คน ฃัด เคือง ใจ โกรธ.
เฃ่ง (79:2)
         สิ่ง ที่ สาน ด้วย ไม้ ไผ่, เล็ก บ้าง ใหญ่ บ้าง, กลม บ้าง, แบน บ้าง, สำรับ ใส่ ผัก ใส่ ปลา, ใส่ พลู, ใส่ เบี้ย เปน ต้น. เฃ่งเบี้ย, เฃ่งฃนม, เฃ่ง ปลา, เฃ่ง ผัก, เฃ่งพลู, เข่ง เหล็ก ไฟ.
แฃง (79:3)
         อาการ สิ่ง ฃอง ทั้ง ปวง ที่ กระด้าง, ไม่ อ่อน, เหมือน อย่าง เหล็ก, แล เพชร์, แล แก้ว, ฤๅ หิน เปน ต้น.
      แฃง กระด้าง (79:3.1)
               คือ แฃง เพราะ น้ำ มี ชุ่ม หนิด น่อย, เหมือน เฃ้า สุก ที่ เขา หุง สวย เปน ต้น นั้น.
      แฃง ใจ (79:3.2)
               ความ ที่ คน ใจ ครั่น คร้าม กลัว แต่ สิ่ง ใด ๆ แล้ว, ฃืน ใจ ทำ อาการ เหมือน ไม่ กลัว.
      แฃง ฃัน (79:3.3)
               คือ คน ทำ การงาน ทั้ง ปวง แฃง แรง. อนึ่ง รบ ทับ รบ ศึก เฃ้ม แฃง กล้า ทั้ง ปาก ทั้ง ใจ.
      แฃง มือ (79:3.4)
               การ ที่ คน ทำ สาระพัด การงาน ทั้ง ปวง รวด เร็ว, แฃง แรง.
      แฃง เมือง (79:3.5)
               อาการ ที่ เจ้า เมือง ใด ๆ, แต่ ก่อน เคย ไป คำนับ ฃึ้น อยู่ กับ เมือง อื่น. ครั้น มา ภาย หลัง ตั้ง ตัว เปน ใหญ่ หา ไป คำนับ ไม่.
      แฃง ฃ้อ (79:3.6)
               อาการ คน ทำ การ สิ่งใด ๆ, ไม่ อ่อน ฃ้อ ทำ ให้ ฃ้อ แฃง.
      แฃง แรง (79:3.7)
               อาการ ที่ คน ฤๅ สัตว, แฃง มี กำลัง มาก.
      แฃง ฤทธิ์ (79:3.8)
               อาการ คน ที่ มี ฤทธิ์ เดช เฃ้ม แฃง.
      แฃง ศึก (79:3.9)
               การ ที่ ทหาร ที่ ทำ สงคราม, รบทับ รบศึก เฃ้ม แฃง.
แฃ่ง (79:4)
         การ ที่ เรือ พาย, ฤๅ เรือ แจว, สอง ลำ ฃัน ผะนัน กัน, จะ เอา ไชย ชำนะ, สัญา กัน ว่า, ถ้า เรือ ลำ ใด ไป ถึง ที่ ก่อน, เปน ฉะนะ.
      แฃ่ง บุญ (79:4.1)
               คือ ความ ที่ คน เหน เฃา มี วาศนา ยิ่ง กว่า ตัว, แล้ว คิด หา อุบาย, จะ ให้ มี วาศนา ยิ่ง กว่า เฃา บ้าง.
      แฃ่ง วาศนา (79:4.2)
               ความ เหมือน กัน กับ แฃ่ง บุญ, แต่ บุญ นั้น คือ สิ่ง ที่ ชำระ ใจ ให้ ผ่อง.
      แฃ่ง เรือ (79:4.3)
               คือ เรือ สอง ลำ ภาย แฃ่ง เอา ไชย ชำนะ กัน.
      แฃ่ง ฤทธิ์ (79:4.4)
               คือ ความ ที่ คน เหน เฃา มี ฤทธิ์ ยิ่ง กว่า ตัว, แล้ว ตัว สำแดง ฤทธิ์ จะ ให้ ยิ่ง กว่า เฃา.
แฃ้ง (79:5)
         คือ อะไวยะวะ แห่ง คน, แล สัตว ที่ อยู่ ถัด เฃ่า ลง ไป นั้น.
      แฃ้ง ฃวา (79:5.1)
               คือ แฃ้ง เบื้อง ฃวา, แห่ง คน แล สัตว ทั้ง ปวง.
      แฃ้ง ซ้าย (79:5.2)
               คือ แฃ้ง เบื้อง ซ้าย, แห่ง คน แล สัตว ทั้ง ปวง.
โฃง (79:6)
         เปน ชื่อ* แม่ น้ำ แห่ง หนึ่ง, มี อยู่ ใน แว่น แคว้น เวียง จัน. อนึ่ง เปน ชื่อ แห่ง กลิ่น ซาก สพ ที่ ตาย แห้ง นั้น, ว่า เหม็น.
โฃ่ง (79:7)
         คือ หอย อย่าง หนึ่ง, ตัว โต เท่า กำปั้น*, อยู่ ตาม ทุ่ง นา, ต้ม กิน ได้, ชื่อ หอย.
ฃอง (79:8)
         คือ สิ่ง ทั้ง ปวง เปน ต้น ว่า, ทรัพย์ ที่ มี ลม หาย ใจ ก็ ดี, ฤๅ ที่ ไม่ มี ลม หาย ใจ ก็ ดี.
      ฃอง กลาง (79:8.1)
               คือ ฃอง เปน ส่วน กลาง, ไม่ เปน ฃอง ผู้ ใด ฃาด นั้น, เหมือน เรือน พวก ครู อะเมริกัน.
      ฃอง กำนัล (79:8.2)
               คือ ฃอง ที่ เฃา ให้ โดย คำนับ รักษ ใคร่ นั้น.
      ฃอง กิน (79:8.3)
               ฃอง ฃ้า.
      ฃอง ฃำ (79:8.4)
               คือ ฃอง ที่ จะ ต้อง ปิด บัง, ไม่ ควร จะ ให้ ผู้ อื่น รู้. เหมือน อย่าง ฃอง ฃะโมย เปน ต้น นั้น.
      ฃอง ใช้ สอย (79:8.5)
               คือ เครื่อง สำรับ การ ต่าง ๆ.
      ฃอง นาน (79:8.6)
               คือ สิ่ง ฃอง ทั้ง ปวง ที่ มี อยู่ แต่ โบราณ.
      ฃอง บาป (79:8.7)
               คือ สิ่ง ฃอง ทั้ง ปวง ที่ ไม่ เปน บุญ, เปน ฃอง ลามก.
      ฃอง ผิด (79:8.8)
               คือ สิ่ง ฃอง ทั้ง ปวง ที่ เปน ฃอง ไม่ ชอบ.
      ฃอง ฝาก (79:8.9)
               คือ สิ่ง ฃอง ทั้ง ปวง ที่ ให้ เฃา ช่วย รักษา ไว้, แล้ว จะ กลับ คืน เอา ไป.
      ฃอง พาล (79:8.10)
               คือ สิ่ง ฃอง ทั้ง ปวง เปน ฃอง แห่ง คน พาล. เหมือน อย่าง ฃอง ฃะโมย นั้น.
      ฃอง หลวง (79:8.11)
               คือ สิ่ง ที่ เปน ฃอง มหา กระษัตร, คือ ฃอง ใหญ่ นั้น เอง.
      ฃอง เล่น (79:8.12)
               คือ สิ่ง ฃอง ทั้ง ปวง ที่ เปน ฃอง สำรับ เล่น, ว่า เหมือน ตุ๊กตา* เปน ต้น.
      ของ สงฆ์ (79:8.13)
               คือ สิ่ง ฃอง ทั้ง ปวง ที่ เปน ของ ส่วน กลาง, ใน พวก ภิกขุ สงฆ์.
ข้อง (79:9)
         สิ่ง ที่ คน สาน ด้วย ตอก, รูป คล้าย ๆ ม่อ น้ำ, สำรับ ใส่ ปลา.
      ข้อง เกี่ยว (79:9.1)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ติด ค้าง กัน อยู่, เหมือน อย่าง ลูก นี่ กับ เจ้า นี่ นั้น.
      ข้อง ขัด (79:9.2)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ติด พันท์ เกี่ยว ข้อง* กัน อยู่, คือ ความ ไม่ สดวก นั้น เอง.
      ข้อง อ้อย (79:9.3)
               การ พนัน อย่าง หนึ่ง, คือ เอา อ้อย ทั้ง ลำ มา เอา มีด บาก เข้า ไว้ กลาง ลำ, แล้ว ขเน ดู ว่า ข้าง ไหน จะ ยาว, ถ้า นักเลง คน ใด ขะเน ถูก ก็ ฉะ ชะ*.

--- Page 80 ---
ขวง (80:1)
         คือ ผัก อย่าง หนึ่ง, ขึ้น อยู่ ตาม ทุ่ง นา ใบ เล็ก ๆ, แกง กิน ขม ๆ.
เขียง (80:2)
         คือ ไม้ ที่ เขา สำรับ รอง ทำ ปลา, ฤๅ หั่น ผัก แล ผ่า ฟืน.
      เขียง ขับ นก (80:2.1)
               สิ่ง ที่ คน เอา เสา สูง ๆ มา ปัก ขึ้น สี่ เสา แล้ว, เอา ไม้ พาด ทำ เปน พื้น ร้าน สำรับ ขับ นก.
เขื่อง (80:3)
         คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ไม่ สู้ เล็ก นัก, ไม่ สู้ ใหญ่ นัก, เปน ของ ขนาด กลาง, ฤๅ พาน จะ เตีบ ศัก น้อย.
ขด (80:4)
         คือ สิ่ง ของ ใด ๆ ที่ โค้ง เข้า เปน วง กลม ๆ.
      ขด งอ (80:4.1)
               คือ ขดคู้ เหมือน วง เบ็ด เปน ต้น.
ขัด (80:5)
         คือ คน ปิด ปะตู แล้ว เอา ไม้ ขัด ขวาง ไว้. ฤๅ คน หนึ่ง จะ ไป คน หนึ่ง ไม่ ให้ ไป เปน ต้น.
      ขัด ขืน (80:5.1)
               คือ ความ ที่ ไม่ ยอม กัน ลง นั้น.
      ขัด ขวาง (80:5.2)
               ความ ที่ คน ปิด ประตู แล้ว, เอา ไม้ ขัด ขวาง เข้า ไว้, ฤๅ คน หนึ่ง จะ ไป, คน หนึ่ง ไม่ ให้ ไป.
      ขัด ข้อง (80:5.3)
               คือ ถ้อย ความ ใด ๆ, ตระลาการ จะ เอา มา ชำระ ว่า กล่าว ให้ สำเร็จ แก่ กัน, มี ผู้ ขัด ไว้ มิ ส่ง มา.
      ขัด เงิน (80:5.4)
               คือ เงิน ไม่ มี จะ ใช้, ฤๅ เอา เงิน มา สี ให้ มัน ขาว นั้น.
      ขัด เคือง (80:5.5)
               คือ คน มี ความ โกรธ ขัด เคือง ใน ใจ.
      ขัด แค้น (80:5.6)
               คือ ความ ที่ ขัด ใจ แล คับ ใจ นั้น.
      ขัด ใจ (80:5.7)
               คือ คน ทำ ไม่ ดี ให้ ขัด อยู่ ใน ใจ, คือ ความ ที่ ไม่ คล่อง ใจ นั้น เอง.
      ขัด รับ สั่ง (80:5.8)
               คือ เจ้า ฤๅ พระ มหา กระษัตรีย์ รับ สั่ง ให้ หา, ตัว ขัด ขืน ไม่ ไป.
      ขัด เบา (80:5.9)
               คือ ถ่าย ปะสาวะ ไม่ ใคร่ ออก นั้น.
      ขัด สี (80:5.10)
               คือ ถู ถา ไป เหมือน เขา ทำ เมื่อ ล้าง พื้น เรือน.
      ขัด สน (80:5.11)
               คือ คน ที่ ไม่ มี ทรัพย์ สิ่ง ของ ใด ๆ, ฤๅ จะ นึก เอา สิ่ง ของ ใด ๆ ก็ มิ ได้ สมลุ ดัง ปราถนา.
      ขัดติยวงษ (80:5.12)
               คือ เชื้อ วงษ คน เปน กระษัตรีย์.
      ขัดลม (80:5.13)
               ความ ที่ คน จะ แล่น ตเภา, ฤๅ แล่น กำปั่น, ลม ไม่ มี.
ขาด (80:6)
         คือ ของ สิ่ง ใด ๆ นับ ไว้ ครบ ท่วน จำนวน แล้ว, หาย ไป, ฤๅ เชือก เส้น เดียว ทำ ให้ ขาด ออก เปน สอง ท่อน.
      ขาด กัน (80:6.1)
               คือ ขาด จาก กัน, เหมือน เส้น เชือก, แล ป่าน เปน ต้น, ที่ ออก จาก กัน เปน สอง ท่อน นั้น.
      ขาด คำ (80:6.2)
               คือ คน พูด ถึง สิ่ง ใด ๆ, ภอ สิ้น คำ ลง.
      ขาด ค่า (80:6.3)
               คือ ตี ราคา ของ ทั้ง ปวง, หัว พลอย แหวน เปน ต้น.
      ขาด ใจ (80:6.4)
               คือ คน ใกล้ ตาย สิ้น ลม หาย ใจ ลง เมื่อ ใด.
      ขาด แคลน (80:6.5)
               คือ ของ สิ่ง ใด หมด ลง บ้าง นั้น, คือ ผู้ ดี ตก ยาก นั้น เอง.
      ขาด ทุน (80:6.6)
               การ ที่ คล เปน พ่อค้า ลง ทุน* ซื้อ ของ สิน ค้า มาก, เอา ไป ขาย ได้ น้อย, ไม่ เท่า ทุน*
      ขาด ไมตรี (80:6.7)
               ความ ที่ คน แต่ ก่อน เคย รักษ ใคร่ เมตา กัน. ครั้น มา ภาย หลัง โกรธ กัน ชัง กัน ขาด จาก เมตา กัน.
ขีด (80:7)
         การ ที่ คน เอา มีด ฤๅ ดิน สอ, ขีด หมาย ลง ไว้ ภอ เปน ที่ กำหนด.
      ขีด แก่ง ใด (80:7.1)
               การ ที่ คน ทำ หนังสือ สาร กรม ธรรม์, กู้ เงิน กัน, ฤๅ ขาย ตัว เปน ทาษ, ใน ที่ สุด ท้าย สาร กรมธรรม์ นั้น, ขีด ขวาง ลง ไว้ เปน สำคัญ.
ขุด (80:8)
         การ ที่ คน เอา จอบ, แล เสียม ฤๅ มีด, เจาะ ลง ใน แผ่น ดิน, ฤๅ เจาะ คุ้ย ราก เง่า สิ่ง ใด ๆ, ฤๅ เผือก มัน เปน ต้น.
      ขุด คลอง (80:8.1)
               คือ การ ขุด ที่ พื้นดิน ให้ เปน คลอง เล็ก, ฤๅ ใหญ่ นั้น.
      ขุด ดิน (80:8.2)
               การ ที่ เอา จอบเสียม ฤๅ มีด เจาะ คุ้ย ลง ไป ใน แผ่นดิน.
      ขุด หลุม (80:8.3)
               การ ที่ คน เอา จอบ เสียม, ฤๅ สิ่ง* ใด ๆ, ขุด ลง ใน แผ่นดิน, ให้ เปน หลุม เปน บ่อ.
ขูด (80:9)
         การ ที่ คน เอา กะต่าย, ทำ ให้ เนื้อ มะพร้าว, ออก จาก กะ ลา, ฤๅ ปั้น รูป สิ่ง ใด ๆ, เอา ไม้ ขูด ทำ ให้ เกลี้ยง*.
      ขูด ผิว (80:9.1)
               คือ การ ที่ ขูด แต่ ชั้น นอก, เหมือน ผิว ไม้ ไผ่ เปน ต้น.
      ขูด มะพร้าว (80:9.2)
               การ ที่ คน เอา มะพร้าว, ขูด ลง ที่ กะต่าย, ฤๅ เอา กะต่าย, ขูด ลง ที่ มะพร้าว.
      ขูด ขัด (80:9.3)
               คือ การ ที่ ขูด เหมือน จะ ยา เรือ, ขูด เอา ชัน เก่า ออก แล้ว, สี ถู ด้วย นั้น.
เขตร (80:10)
         คือ แว่น แคว้น, แล แดน, แล แขวง, แล จังหวัด, แล ที่ นา.
      เขตรขันท์ (80:10.1)
               คือ ที่ เขตร แดน เปน แว่น แคว้น ๆ ละ ส่วน นั้น.
      เขตร์ แดน (80:10.2)
               คือ ที่ กำหนด แว่น แคว้น.
เข็ด (80:11)
         ความ ที่ คน ทำ ความ ชั่ว สิ่ง ใด ๆ, แล้ว เปน โทษ. ครั้น มา ภาย หลัง ก็ หลาบ จำ, ไม่ ทำ ต่อ ไป อีก.
      เข็ด ขยาด (80:11.1)
               คือ ความ ที่ เข็ด ระอา เข้า, เหมือน คน ที่ เขา ใช้ หนัก โดย พละ การ, ออก ระอา เต็ม ที นั้น.

--- Page 81 ---
      เข็ด ฟัน (81:11.2)
               การ ที่ คน กิน ซ่ม ทั้ง ปวง, ฤๅ กิน สิ่ง ของ ที่ เปรี้ยว หนัก, ดู เหมือน ฟัน อ่อน ไป, เคี้ยว อะไร ไม่ ได้, ให้ แขยง ขน.
      เข็ด ขาม (81:11.3)
               คือ ความ ที่ เข็ด เข้า, คือ ความ ครั่น คร้าม นั้น เอง.
      เข็ด หลาบ (81:11.4)
               ความ ที่ คน ทำ ความ ชั่ว ต้อง เปน โทษ. ครั้น มา ภาย หลัง กลัว เกรง หนัก ไม่ ทำ ดัง นั้น ต่อ ไป เลย.
      เข็ด ปาก (81:11.5)
               คือ ความ ที่ ถูก ถ้อย คำ เขา ว่า กล่าว ด้วย โทโส เปน ต้น, กลัว ปาก ระอา ปาก เขา นั้น.
      เข็ด มือ (81:11.6)
               คือ ขยาด มือ, ระอา มือ, กลัว มือ, ผู้ อื่น ที่ เขา เคย ทุบ ตี* นั้น.
โขด (81:1)
         คือ ที่ ดิน ดาน ที่ แขง, เหมือน อย่าง สิลา แลง งอก ขึ้น ใน แม่ น้ำ, แล ลำธาร เปน จอม สูง ขึ้น พ้น น้ำ บ้าง, ใต้ น้ำ บ้าง.
      โขด เขีน (81:1.1)
               คือ ที่ ดิน ฤๅ ทราย ที่ มัน เกิด งอก ใน ทะเล เปน เนิน สูง ขึ้น น่อย ๆ นั้น.
      โขด ทราย (81:1.2)
               คือ ที่ ทราย เกิด เปน เนิน สูง ขึ้น น่อย ๆ ใน ทะเล นั้น.
ขอด (81:2)
         คือ การ ที่ คน เอา ของ สิ่ง ใด ๆ, ใส่ ที่ ชาย ผ้า ม้วน ผูก เข้า ไว้, ฤๅ คน วิด น้ำ เรือ เกือบ จะ แห้ง นั้น, ฤๅ หาง แมว ที่ งอ หงิก อยู่ นั้น.
      ขอด เข้า (81:2.1)
               การ ที่ คน เอา มือ กวาด ๆ เข้า สุก, ที่ ติด ก้น ม่อ เข้า อยู่ นั้น. อนึ่ง คน เอา เข้า ห่อ ชาย ผ้า ผูก ไว้.
      ขอด เงิน (81:2.2)
               การ ที่ คน เอา เงิน ห่อ ชาย ผ้า ผูก ไว้.
      ขอด น้ำ (81:2.3)
               การ ที่ คน วิด น้ำ ใน ท้อง เรือ, ฤๅ ใน ตุ่ม เกือบ แห้ง แล้ว, เอา กะลา, ฤๅ ขัน, ลง ขอด ที่* ละ น้อย ๆ.
      ขอด ม่อ (81:2.4)
               การ ที่ คน เอา มือ ลง ขูด, กวาด ใน ม่อ.
      ขอด โอ่ง (81:2.5)
               การ ที่ คน เอา ขัน, ฤๅ สิ่ง ใด ๆ, ขอด ใน โอ่ง.
ขวด (81:3)
         สิ่ง ที่ คน ทำ ด้วย ดิน บ้าง, ทำ ด้วย แก้ว บ้าง, เปน รูป กลม ๆ บ้าง, เปน เหลี่ยม บ้าง, มี ฅอ ยาว บ้าง ปาก กว้าง บ้าง.
      ขวด แก้ว (81:3.1)
               คือ ขวด เหลี่ยม, ฤๅ ขวด กลม, ขวด ปาก กว้าง, ที่ ทำ ด้วย แก้ว ศี ต่าง* ๆ.
      ขวด จะระไน (81:3.2)
               คือ ขวด ทำ ด้วย แก้ว แล้ว, จะระไน ทำ เปน ดอก ไม้, เปน เฟือง, เปน เกล็ด, เปน กลีบ ต่าง ๆ.
      ขวด ดิน (81:3.3)
               คือ รูป ขวด ที่ เขา ทำ ด้วย ดิน นั้น.
      ขวด เล่า (81:3.4)
               คือ ขวด ที่ สำรับ ใส่ เล่า นั้น.
เขียด (81:4)
         คือ สัตว สี่ ท้าว อย่าง หนึ่ง, รูป คล้าย ๆ กบ, ตัว ลาย ศี เขียว ๆ, อยู่ ใน น้ำ ตาม ท้อง นา.
ขน (81:5)
         คือ สิ่ง ที่ เปน เส้น ๆ, เล็ก บ้าง, ใหญ่ บ้าง, กลม บ้าง, แบน บ้าง, ย่อม ขึ้น ที่ ตัว คน, แล สัตว ทั้ง ปวง.
      ขน แกะ (81:5.1)
               คือ ขน มัน มี อยู่ ที่ ตัว แกะ นั้น.
      ขน คิ้ว (81:5.2)
               คือ ขน ศี ดำ ขึ้น อยู่ ที่ คิ้ว นั้น.
      ขน ของ (81:5.3)
               คือ การ ที่ นำ เอา ของ อัน ใด ๆ แบก, ฤๅ หาบ หาม ไป, แล กลับ มา เอา ไป อีก หลาย เที่ยว นั้น.
      ขน จมูก (81:5.4)
               คือ ขน ที่ ขึ้น อยู่ ใน รู จมูก, แห่ง คน, แล สัตว ทั้ง ปวง นั้น.
      ขน ชัน (81:5.5)
               คือ เส้น ขน มัน ตั้ง ขึ้น, เมื่อ สดุ้ง ตก ใจ กลัว ฤๅ เมื่อ หนาว เปน ต้น นั้น.
      ขน ตา (81:5.6)
               คือ ขน ที่ งอก อยู่ ตาม ริม ๆ, ตา แห่ง คน ทั้ง ปวง นั้น.
      ขน ระบัด (81:5.7)
               คือ ขน นก เปน ต้น, เมื่อ มัน ผลัด ขน ใหม่, แล ขน ขึ้น ใหม่ ยัง อ่อน อยู่ นั้น.
      ขน นก (81:5.8)
               คือ ขน มัน มี ที่ ตัว นก นั้น.
      ขน หนักแร้ (81:5.9)
               คือ ขน ที่ ขึ้น ใน หนักแร้ แห่ง คน ทั้ง ปวง นั้น.
      ขน ลุก (81:5.10)
               คือ ขน ชัน ตั้ง กรง ขึ้น, เมื่อ ขณะ เขา ตกใจ กลัว เปน ต้น นั้น.
ขัน (81:6)
         คือ สิ่ง ของ ที่ ทำ ด้วย ทอง เหลือง, คล้าย กับ โอ*, สำรับ ใช้ ตัก น้ำ. อนึ่ง ไก่ ที่ มัน มัก ทำ เสียง ดัง เมื่อ เพลา เช้า มืด, ฤๅ คน ที่ มัก กล่าว คำ ฤๅ ทำ คนอง เล่น น่า หัว เราะ.
ขันตี (81:7)
         คือ ความ ที่ อด ทน ซึ่ง ศุข, ทุกข, อุเบกขา ได้ ด้วย ใจ.
ขันทา (81:8)
         คือ กอง ขัน ทั้งห้า, คือ รูป ขันท์, เวทนา ขันท์, สัญา ขันท์, สังขาระขันท์, วิญาณขันท์.
ขันที (81:9)
         คือ คน ที่ ไม่ เปน ผู้ หญิง, ไม่ เปน ผู้ ชาย, เปน กะเทย, สำรับ ใช้ สอย ราชการ ภาย ใน พะราชวัง.
      ขัน สาคร (81:9.1)
               คือ ขัน ใหญ่, คน ลง อาบ น้ำ ได้ นั้น.
ขัน ทศกร (81:10)
         สิ่ง ของ อย่าง หนึ่ง, รศ หวาน เหมือน น้ำตาล กรวด เกิด แต่ น้ำ ค้าง, สำหรับ ใช้ ทำ ยา, มี อยู่ ตาม ป่า ฝ่าย เหนือ.
ขัน ผะนัน (81:11)
         คือ การ ที่ ต่าง คน ต่าง ว่า, นก หฤๅ ไก่ ของ ตัว ดี, พูด จา ท้า ทาย, จะ เล่น พะนัน กัน นั้น.
ขัน ธาวาโร (81:12)
         ฯ ว่า ค่าย ลอ้ม, ทอ่น ไม้ เปน ต้น.
ขัน ทอง พะบาด (81:13)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ ยา อย่าง หนึ่ง, มี ใน ป่า ย่าย* เหนือ นั้น.
ขันธสิมา (81:14)
         คือ ที่ เปน สว่น แดน.

--- Page 82 ---
ขัน หมาก (82:1)
         คือ การ ที่ เอา หมาก พลู, กับ ของ กิน หลาย อย่าง, ใส่ ขัน, ใส่ โตะ*, ใส่ ตะลุ่ม, ไป คำนับ กัน ตาม ทำเนียม, งาน บ่าว สาว.
ขาน (82:2)
         คือ คน หนึ่ง รอ้ง เรียก, แล้ว ผู้ หนึ่ง รับ ตอบ คำ นั้น, คือ คำ รับ นั้น เอง.
      ขาน ไข (82:2.1)
               คือ ขาน แล้ว บอก ความ นั้น.
      ขาน นาค (82:2.2)
               คือ เสียง คน เมื่อ บอช* เปน ภิกขุ นั้น, ครั้น คู่ สวด ๆ, ถาม ตาม ภาษา มคธ แล้ว, นาค คือ ผู้ ที่ บวช นั้น, ก็ ขาน ตอบ ตาม ภาษา มคธ.
      ขาน ยาม (82:2.3)
               คือ เสียง พวก นักโทษ, ที่ ตอ้ง เวน จำ อยู่ ใน คุก, ครั้น ถึง ยาม แล้ว, ผู้ ตรวด อ่าน ตรวด เรียก ถึง ชื่อ นัก โทษ, ๆ ตอ้ง ขาน รับ ตอบ เขา ทุก ยาม.
      ขาน รับ (82:2.4)
               คือ เสียง คน ที่ ขาน ตอบ เขา นั้น.
ขึ้น (82:3)
         คือ อาการ ที่ ไป ใน เบื้อง บน, หฤๅ น้ำ ที่ ไหล กลับ ไป เบื้อง บน มาก ขึ้น.
      ขึ้น ชื่อ (82:3.1)
               คือ ความ ที่ คน พูด จา ออก ชื่อ ถึง ผู้ ใด ผู้ หนึ่ง บอ่ย ๆ, หฤๅ กล่าว ว่า ขึ้น ชื่อ ว่า คน นั้น เรา ไม่ นับ ถือ เลย, ดว้ย เขา เปน คน โกง.
      ขึ้น ต้น ไม้ (82:3.2)
               การ ที่ คน หฤๅ สัตว ปีน* ขึ้น ไป บน ต้นไม้.
      ขึ้น ใจ (82:3.3)
               ความ ที่ คน เล่า หนังสือ, ฤๅ ตำหรับ ตำรา สิ่ง ใด ๆ, จำ ได้ คล่อง ชำนิ ชำนาน ใน ใจ หนัก.
      ขึ้น ที่ (82:3.4)
               อาการ เหมือน อย่าง พระ มหา กระษัตรีย์ เสดจ์ ขึ้น บน ที่.
      ขึ้น เรือน (82:3.5)
               คือ การ ที่ ยก ท้าว ก้าว วาง ลง บันได ไป บน เรือน นั้น.
ขืน (82:4)
         ความ ที่ ใจ นั้น ไม่ อยาก* กิน, ตอ้ง จำ กิน, เหมือน เด็ก ๆ เขา ข่ม ให้ กิน ยา ที่ ขม ๆ เปน ต้น.
      ขืน กิน (82:4.1)
               คือ การ ที่ จำ เปน กิน นั้น.
      ขืน ใจ (82:4.2)
               คือ ความ ที่ ใจ ไม่ อยาก* ไป, ไม่ อยาก* ทำ, ไม่ อยาก* อยู่, เขา ข่ม ให้ ตอ้ง จำ ใจ ไป, จำใจ ทำ, จำใจ อยู่.
      ขืน คว่ำ จำหงาย (82:4.3)
               คือ การ ที่ สอง คน ปล้ำ กัน, ล้ม คว่ำ ล้ม หงาย.
      ขืน ทำ (82:4.4)
               การ ที่ ใจ ไม่ อยาก* ทำ สิ่ง ใด ๆ เลย, เขา ข่ม ให้ แต่ ตอ้ง จำใจ ทำ.
      ขืน รู้ (82:4.5)
               คือ ความ ที่ ชิง รู้, แข่ง รู้, สู่ รู้, เหมือน อย่าง คน โง่ อวด รู้ นั้น.
      ขืน เรือ (82:4.6)
               การ เหมือน หนึ่ง เรือ เอียง ไป แคม ข้าง โน้น, เรา นั่ง ถว่ง ให้ เอียง กลับ มา แคม ข้าง นี้.
      ขืน ให้ ทำ (82:4.7)
               คือ การ ที่ ข่ม ขี่ ให้ ทำ การ อัน ใด เปน ต้น.
ขื่น (82:5)
         คือ รศ ขม เจือ กัน กับ รศ ฝาด, เหมือน อย่าง รศ แห่ง มะเขือ ขื่น เปน ต้น.
      ขื่น ขม (82:5.1)
               คือ รศ ผลไม้ มี ผล แห่ง มะเขือ ขื่น เปน ต้น.
ขุน (82:6)
         คือ การ เลี้ยง, หฤๅ ไห้ กิน นั้น เอง.
      ขุน นาง (82:6.1)
               คือ การ ที่ ข้า ราชการ ผู้ ใหญ่ ผู้ นอ้ย ทั้ง ปวง ที่ ท่าน ได้ เลี้ยง นาง ไว้ นั้น, คือ ความ ที่ รักษา นาง ไว้ นั้น เอง.
      ขุนนน (82:6.2)
               เปน ชื่อ บาง แห่ง หนึ่ง มี อยู่ ใน แขวง กรุง เทพ.
      ขุนเนน (82:6.3)
               เปน ชื่อ คน อย่าง นี้ มี อยู่ บ้าง.
      ขุน บาล (82:6.4)
               เปน ชื่อ คน ผู้ ทำ เงิน ค่า เล่า เก็บ ถวาย ใน หลวง คน หนึ่ง, คือ เปน ผู้ รักษา บอ่น ฝ่าย จีน.
      ขุน ทอง (82:6.5)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, ตัว ดำ คล้าย นก เอี้ยง พูด ได้ คล้าย คน, ชื่อ คน อย่าง นี้ ก็ มี บ้าง.
      ขุน หมา (82:6.6)
               การ ที่ คน เอา สิ่ง ของ ให้ หมา กิน, ความ ที่ เลี้ยง หมา นั้น เอง.
      ขุน หมู (82:6.7)
               การ ที่ คน เอา สิ่ง ของ ให้ หมู กิน แล้ว เลี้ยง ไว้, คือ ความ ที่ เลี้ยง หมู นั้น เอง.
      ขุน เมือง (82:6.8)
               ความ ที่ เปน คน ผู้ รักษา หัว เมือง เล็ก นอ้ย ทั้ง ปวง, อนึ่ง ชื่อ บ้าน อย่าง นั้น ก็ มี บ้าง.
      ขุน หมื่น (82:6.9)
               ความ ที่ เปน ชื่อ แห่ง พวก ข้า ราชการ เล็ก นอ้ย ทั้ง ปวง, ยอ่ม มี อยู่ ทุก หมวด ทุก กรม.
      ขุน หลวง (82:6.10)
               คือ พระ มหา กระษัตรีย์ อัน ปก เกล้า ไพ่ร ฟ้า ข้า แผ่น ดิน ทั้ง ปวง, คือ ความ ที่ ท่าน เปน ผู้ เลี้ยง เปน ผู้ รักษา ใหญ่.
ขุ่น (82:7)
         คือ อาการ น้ำ ที่ ไม่ ไสย, หฤๅ น้ำ ใจ, แล พื้น อากาษ ที่ ไม่ ผอ่ง ใส เปน ต้น, คือ ความ ที่ หม่น หมอง นั้น.
      ขุ่น ข้น (82:7.1)
               คือ อาการ น้ำ อัน ระคน ปน อยู่ ดว้ย ตม เปน ต้น, ที่ ไม่ ผอ่ง ใส นั้น.
      ขุ่น เคือง (82:7.2)
               คือ ความ ที่ ใจ ไม่ ผอ่ง ใส, ยอ่ม โกรธ ขัด เคือง อยู่ ดว้ย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง.
      ขุ่น แค้น (82:7.3)
               ความ ที่ คน มี ใจ ไม่ ผอ่ง ใส, ยอ่ม โกรธ เคือง แค้น อยู่ ดว้ย เหตุ สิ่ง ใด สิ่ง หนึ่ง.
      ขุ่น หมอง (82:7.4)
               ความ ที่ ใจ ไม่ ผอ่ง ใส, ไม่ สะบาย หฤๅ สิ่ง ใด ๆ ที่ ไม่ ผอ่ง แผ้ว บริสุทธิ.

--- Page 83 ---
      ขุ่น มัว (83:7.5)
               อาการ น้ำ ที่ ไม่ ใส, หฤๅ สิ่ง ใด ๆ ที่ เส้รา หมอง เหมือน ทอ้ง ฟ้า เปน พยับ ฝน คลุ้ม อยู่ นั้น.
      ขุ่น ขิ้น* (83:7.6)
               ความ* ที่ คน ไม่ สบาย ใจ, คิด รำคาน ดว้ย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง บ้าง เล็ก นอ้ย.
เขน (83:1)
         คือ เครื่อง รบ อย่าง หนึ่ง สำหรับ ปอ้ง กัน อาวุทธ.
เข็น (83:2)
         คือ การ ที่ เสือก เรือ ไป บน บก, บน เลน, เมื่อ น้ำ แห้ง นั้น, หฤๅ เสือก ไม้, แล เลื่อน ล้อ เกียน เปน ต้น ไป บน แห้ง.
      เข็น เกียน (83:2.1)
               การ ที่ คน เอา ควาย, วัว เทียม เกียน เข้า แล้ว ให้ มัน ลาก ไป.
      เข็นใจ (83:2.2)
               คือ คน ที่ ยาก จน ลำบาก ใจ หนัก, เปรียบ เหมือน ลาก เขน ใจ ไป.
      เข็น ไม้ (83:2.3)
               การ ที่ คน เอา ไม้ เสือก ไป บน แห้ง บน โคลน บน เลน.
      เข็น เรือ (83:2.4)
               การ ที่ คน เสือก เรือ ดัน ไป บน บก บน แห้ง.
เข่น (83:3)
         คือ การ ที่ ทำ มีด พร้า จอบ เสียม, แล เครื่อง เหล็ก ทั้ง ปวง, สึก เหี้ยน คอด เข้า ไป แล้ว, เอา เผา ไฟ ตี ให้ ดี, เหมือน ของใหม่.
      เข่น เคี่ยว (83:3.1)
               อาการ ที่ คน หฤๅ สัตว, ครั้น โกรธ ขึ้น มา แล้ว, มัก ทำ ขบ เคี่ยว เคี้ยว ฟัน.
      เข่น ฆ่า (83:3.2)
               อาการ คน ที่ ประกอบ ไป ดว้ย ความ โกรธ แล้ว, เอา คน แล สัตว ฆ่า เสีย, แล้ว ขบ เคี่ยว เคี้ยว ฟัน ดว้ย.
      เข่น มีด (83:3.3)
               การ ที่ มีด เรา ใช้ บิ่น ออก ไป, หฤๅ เก่า ศึก คอด ไป แล้ว, เอา ไป ตี ที่ ตรง บิ่น แล คอด นั้น, ให้ ดี ขึ้น.
แขน (83:4)
         คือ อะไวยะวะ ทั้ง สอง ซ้าย ขวา, ที่ เปน ทอ่น กลม ๆ, เล๊ก ๆ, ยาว ออก มา จาก กาย, มี ฝ่ามือ* นั้น.
      แขนกุด (83:4.1)
               คือ อาการ ที่ แขน ดว้น, ไม่ มี ฝ่ามือ* บ้าง, ไม่ มี ศอก บ้าง.
      แขนคอก (83:4.2)
               อาการ คือ แขน งอ อยู่ เอยียด ออก ไม่ ได้ นั้น.
      แขน ดว้น (83:4.3)
               คือ อาการ แขน กุด เหมือน ความ ว่า แล้ว.
แข้น (83:5)
         คือ ความ ที่ แป้ง, หฤๅ สิ่ง ของ ใด ๆ, ละลาย น้ำ ให้ เปียก นอ้ย ๆ ไม่ เหลว นัก.
      แข้น ฃอ (83:5.1)
               คือ ความ ที่ ขืน ฃอ ของ อัน ใด ๆ นั้น หฤๅ รบ ฃอ.
      แข้น ให้ (83:5.2)
               ความ ที่ คน เอา สิ่ง ของ ให้ เขา ๆ ไม่ เอา, แล้ว ขืน ออ้น* วอน ให้ เขา.
      แข้น ทำ (83:5.3)
               คือ ความ ที่ ขืน ทำ นั่น เอง.
      แข้น ไค้ (83:5.4)
               คือ ความ ที่ คน ฃอ ของ เขา ๆ ไม่ ยอม ให้, แล้ว กลับ ออ้น* วอน ฃอ เขา รำ ไป จน ได้.
โขน (83:6)
         เปน ชื่อ การ เล่น อย่าง หนึ่ง, คล้าย กับ ละคอน, แต่ หา ได้ รอ้ง เอง ไม่, มี คน อื่น สำหรับ เจรจา แทน ตัว.
      โขน เรือ (83:6.1)
               คือ ไม้ ที่ เขา ต่อ หัว ต่อ ท้าย เรือ ยาว นั้น.
ขอน (83:7)
         คือ ต้น ไม้ โต ๆ ที่ เขา ตัด ให้ ล้ม ลง แล้ว บั่น ออก เปน ทอ่น ๆ นั้น.
      ขอนดอก (83:7.1)
               คือ ของ หอม อย่าง หนึ่ง, บังเกิด แต่ ไม้ ผุ, เผา ไฟ มี กลิ่น หอม, สำหรับ ใช้ ทำ ยา, ราคา แพง.
      ขอน ไม้ (83:7.2)
               คือ ไม้ โต ใหญ่ เหมือน ไม้ ซุง ที่ เขา ตัด ออก เปน ทอ่น นอ้ย แล ทอ่น ใหญ่.
      ขอน ศัก (83:7.3)
               คือ ไม้ ศัก ที่ เขา ตัด ออก เปน ทอ่น, ที่ เขา เรียก ว่า ซุง นั้น.
ขอ้น (83:8)
         คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ ตวง ดว้ย ถัง, หฤๅ สัด, แล้ว แบ่ง ออก เปน สี่ สว่น, ยก เสีย สว่น หนึ่ง, เอา สาม สว่น นั้น ใส่ ใน ถัง แล สัด, ก็ ที่ ยัง ไม่ เต็ม หน่อย นั้น ว่า ขอ่น.
      ขอ้น ทาง (83:8.1)
               คือ เกือบ จะ สิ้น สุด ทาง สี่ สว่น ยัง สัก สว่น หนึ่ง.
      ขอ้น ว่า (83:8.2)
               ความ ที่ คน มัก พูด จา ติเตียน ว่า กล่าว ผู้ อื่น, ดว้ย เหตุ ต่าง ๆ นั้น.
ขว่น (83:9)
         การ ที่ คน แล สัตว, เอา เล็บ มือ, หฤๅ เล็บ ตีน, งอ เข้า เกา ตะกาย เอา, เหมือน อย่าง แมว ลอง เล็บ.
เขียน (83:10)
         การ ที่ คน เอา ดินสอ, หฤๅ ภูกัน, แล ปากไก่, ขีด ให้ เปน รูปภาพ, หฤๅ เปน ตัว หนังสือ, เรื่อง ความ ต่าง ๆ.
      เขียน ฉาก (83:10.1)
               คือ การ ที่ เขียน รูป สาระพัด ต่าง ๆ, ลง ที่ พื้น ผ้า, ฤๅ พื้น กระดาษ, ที่ ทำ ขึง ไว้ ที่ ไม้ โครง นั้น.
      เขียน หนังสือ (83:10.2)
               การ ที่ คน เอา ดินสอ, หฤๅ ปากไก่, ขีด ไป มา, ให้ เปน หนังสือ เรื่อง ราว ต่าง ๆ.
      เขียน รูป ภาพ (83:10.3)
               การ ที่ คน เอา ภูกัน, แล ดินสอ, เขียน เปน รูป ภาบ ต่าง ๆ, เขียน เปน ลาย เส้น เดียว บ้าง, ลาย ระบาย บ้าง.
เขี่ยน (83:11)
         การ ที่ คน หฤๅ สัตว, เอา เล็บ ขว่น ตะกาย เอา, เหมือน แมว ลอง เล็บ เปน คำ ข้าว เหนือ พูด.
เขี้ยน (83:12)
         อาการ เหมือน คน นักโทษ, เขา เอา ฅอ ใส่ คา แล้ว, เอา เชือก ผูก ท้าว, ผูก เอว, ชัก ให้ ตึง, ผูก ไว้ กับ หลัก, แล้ว ตี ดว้ย หวาย.
เขื่อน (83:13)
         การ ที่ คน เอา ไม้ มา เลื่อย จัก ออก เปน ซิก ๆ, แล้ว ปัก เรียง กัน ไป ใน ดิน เปน แถว* ๆ มาก, ประสงค์ จะ ไม่ ให้ ตลิ่ง พัง.

--- Page 84 ---
      เขื่อน ขันท์ (84:13.1)
               คือ เปน ชื่อ หัวเมือง อัน หนึ่ง, คือ เมือง ปากลัด นั้น.
      เขื่อน ลั่น ขั้น ยาว (84:13.2)
               คือ เปน ชื่อ หน ทาง แห่ง หนึ่ง, เปน ทาง ที่ จะ ไป ยัง เมือง นครราชเสมา.
      เขื่อน เพชร์ (84:13.3)
               คือ เปน ชื่อ ขุนนาง คน หนึ่ง, ฝ่าย พระ บวรราชวัง, อนึ่ง เปน ชื่อ ที่ ลอ้ม พระ บวราชวัง*.
เขิน (84:1)
         คือ ประเทศ เปน ที่ สูง ที่ ดอน, เหมือน ปลาย น้ำ, ที่ ไหล ลง มา แต่ ภูเขา เปน ต้น, หฤๅ ปลาย หว้ย ปลาย คลอง ที่ ตอน นั้น.
      เขิน ขวย (84:1.1)
               ความ ที่ คน กระทำ ความ ชั่ว ที่ หน้า อาย, ถ้า แล มี ผู้ รู้ ซึ่ง เหตุ อัน นั้น เข้า แล้ว, ผู้ นั้น มี ความ อาย, ความ* เก้อ ใน ใจ หนัก.
      เขิน เติ่นเต่อ (84:1.2)
               คือ เปน คับ แคบ เหมือน ผ้า, หฤๅ เสื้อ, ที่ ห่ม ลง, หฤๅ นุ่ง, มัน พ้น หัว เข่า ขึ้น ไป นั้น.
ขบ (84:2)
         การ ที่ คน ฤๅ สัตว, เอา ลูก ไม้, แล สิ่ง ของ ใส่ เข้า ไป ใน ปาก แล้ว, เอา ฟัน เบื้อง ต่ำ, เบื้อง บน นั้น, กด ลง ให้ แตก.
      ขบ เคี่ยว (84:2.1)
               อาการ ที่ สัตว ทั้ง ปวง, มัน เอา เคี่ยว กด กัน ลง ไว้.
      ขบ ฟัน (84:2.2)
               คือ อาการ ที่ คน แล สัตว, เอา ฟัน เบื้อง ต่ำ, แล ฟัน เบื้อง บน, กัด กด กัน ลง ไว้.
      ขบ เอา (84:2.3)
               การ ที่ คือ กัด เอา, ตอด เอา นั้น เอง.
ขับ (84:3)
         การ ที่ คน ทำ ความ ชั่ว, ทำ ไม่ ดี, เรา ไล่ ให้ มัน ไป เสีย จาก บ้าน.
      ขับ ขัน (84:3.1)
               คือ อาการ ที่ หน้า โขน, เฃา ปั้น ให้ มัน ขบ ฟัน, ดู หน้า หัวเราะ ดว้ย.
      ขับ เคี่ยว (84:3.2)
               คือ การ ที่ คน เร่ง รัด, ทำ การ ทั้ง กลางวัน กลางคืน, เร่ง รัด จัก ให้ แล้ว เร็ว ๆ
      ขับ ผี (84:3.3)
               คือ ความ ที่ ผี ปิสาจ, ที่ สิง อยู่ ใน ตัว คน, แล้ว ไล่ ให้ มัน ออก เสีย, ดว้ย เวช มนต์, อัน ใด อัน หนึ่ง.
      ขับ เพลง (84:3.4)
               คือ ความ ที่ รอ้ง เรื่อง เพลง ต่าง ๆ เหมือน รอ้ง เพลง ปรบ ไก่ เปน ต้น.
      ขับ พล (84:3.5)
               คือ การ ที่ นาย ทหาร, แล แม่ ทับ, ไล่ พวก พล ให้ ยก ไป, คือ ตอ้น พล นั้น เอง.
      ขับ ม้า (84:3.6)
               คือ การ ที่ ขี่ ม้า หฤๅ เดิน ไล่ ม้า ให้ มัน ไป นั้น.
      ขับ ไล่ (84:3.7)
               ความ ที่ คน ทำ ความ ชั่ว มาก, แล้ว เขา ไม่ ยอม ให้ อยู่ ใน บ้าน ใน เรือน, เขา ให้ ไป เสีย.
      ขับ รำ (84:3.8)
               คือ การ ที่ รอ้ง เพลง ขับ แล รำฟอ้น นั้น.
      ขับ เสภา (84:3.9)
               คือ เสียง ที่ คน กล่าว คำ สรรเสิญ, ถึง เรื่อง แต่ ลว้น ชม ว่า งาม, เหมือน อย่าง เรื่อง พิม กับ เณร แก้ว เปน ต้น.
      ขับ รอ้ง (84:3.10)
               คือ เสียง ที่ ทำ เพลง ขับ แล้ว รอ้ง ละคอน ดว้ย นั้น.
ขาบ (84:4)
         คือ ความ ที่ เปน ชื่อ แห่ง ศี อย่าง หนึ่ง, ดำ กับ เหลือง เจือ กัน, คือ ศี ตะขาบ นั้น เอง.
ขิบปัง (84:5)
         ฯ ว่า อาการ ที่ เร็ว ฤๅ พลัน นั้น เอง.
เขป (84:6)
         เปน ศรับท์ ว่า ย่อ.
ขอบ (84:7)
         สิ่ง ที่ ริม ปาก รอบ นอก, แห่ง เครื่อง ใช้, มี กระด้ง กระบุง เปน ต้น.
      ขอบ เขตร (84:7.1)
               ประเทศ ที่ หัว เมือง, ที่ สุด แดน แห่ง เมือง หลวง ทั้ง ปวง, หฤๅ ที่ สุด แว่น แคว้น นา, แห่ง คน ทั้ง ปวง, นั้น.
      ขอบ ขันทเสมา (84:7.2)
               คือ กำแพง, ที่ เปน ใบ เสมา ลอ้ม รอบ เมือง ใหญ่ ทั้ง ปวง, ฤๅ ประเทศ ที่ สุด แดน แห่ง เมือง ใหญ่.
      ขอบ คุณ (84:7.3)
               คือ ความ ที่ คิด ถึง คุณ เขา แล้ว, โถม นา คุณ เขา นั้น.
      ขอบใจ (84:7.4)
               เปน คำ ยก ยอ ผู้ อื่น ว่า มี ใจ อารีย์ รอบ.
      ขอบ ฟ้า (84:7.5)
               คือ ประเทศ ที่ สุด ตีน ฟ้า, สุด ตา เรา แล เหน นั้น.
      ขอบ จักระวาฬ (84:7.6)
               คือ ประเทศ ที่ โดย รอบ จักระวาฬ ทั้ง ปวง.
ขวบ (84:8)
         คือ คำ เปน ที่ กำหนด ปี, กำหนด เดือน, กำหนด วัน, เหมือน คน เกิด มา ภอ ครบ ปี หนึ่ง เปน ต้น, ว่า ได้ ขวบ หนึ่ง.
      ขวบ ปี (84:8.1)
               คือ การ ตั้ง แต่ เดือน ห้า นี้ จน ถึง เดือน ห้า อีก นั้น เปน สิบ สอง เดือน.
      ขวบ อาทิตย์ (84:8.2)
               คือ แต่ เวลา วัน อาทิตย์ นี้, ไป ถึง วัน อาทิตย์ หน้า นั้น.
ขม (84:9)
         เปน รศ อย่าง หนึ่ง, มี รศ แห่ง สะเดา, แล บระเพ็ช เปน ต้น.
      ขม เฝือน (84:9.1)
               คือ รศ ขม ฝาด, เหมือน รศ เปลือก ไม่ สเดา เปน ต้น.
ข่ม (84:10)
         การ ที่ คน กด ผู้ อื่น ลง ให้ ต่ำ* กว่า ตน, ฤๅ กล่าว คำ กด ทับ คำ แห่ง ผู้ อื่น. อนึ่ง เมื่อ หญิง จวน จะ คลอด ลูก เขา ชว่ย กด ส่ง ให้ ออก ไป.
      ข่ม ขี่ (84:10.1)
               ความ ที่ คน พูด จา กด ขี่ ผู้ อื่น, ให้ อยู่ ใน อำนาท ตน, หฤๅ ทำ กด ขี่ คน อื่น, แล สัตว อื่น, ให้ ตั้ง อยู่ ใน อำนาท ตน.
      ข่ม ขืน (84:10.2)
               อาการ ที่ ผู้ หญิง ไม่ ยอม เปน เมีย, กด ขี่ เอา เปน เมีย จง ได้, หฤๅ สิ่ง ใด ๆ เขา ไม่ ยอม ให้, เรา ข่มเหง เอา จน ได้.
      ข่ม นาม (84:10.3)
               ความ เปน ธรรมเนียม อย่าง หนึ่ง, คือ เขา ทำ รูป หุ่น ต่าง ตัว ศัตรู, แล้ว ลง ชื่อ ศัตรู ทั้ง ปี เดือน วัน คืน, แล เลข

--- Page 85 ---
      ข่ม เหง (85:10.4)
               การ ที่ คน ทำ กด ขี่ ผู้ อื่น ให้ อยู่ ใน อำนาท ตัว.
ขัม (85:1)
         อาการ ที่ งาม พิศ, ยิ่ง ดู ยิ่ง* งาม. อนึ่ง สิ่ง ที่ เปน เม็ด กลม ๆ เขียว ๆ ลอย อยู่ ใน น้ำ, ชื่อ ว่า ขำ ด้วย.
ขาม (85:2)
         คือ ความ ที่ เกรง ใจ, แล ความ กลัว น้อย ๆ คือ ความ ที่ ครั้น คร้าม นั้น เอง.
ข้าม (85:3)
         ความ ที่ คน อยู่ ฟาก ข้าง นี้, ล่วง ไป ฟาก ข้าง โน้น. ฤๅ สิ่ง ใด ๆ ขวาง ทาง อยู่, เรา ยก ท้าว ข้าม ของ สิ่ง นั้น ไป.
ข้าม ฟาก (85:4)
         ความ ที่ คน อยู่ ฟาก ข้าง นี้, ไป ยัง ฝั่ง ฟาก ข้าง โน้น.
ข้าม หัว (85:5)
         คือ การ ที่ คน เอา ของ อัน ใด, ฤๅ มือ เปน ต้น, ยก ขึ้น ให้ ไป เหนือ หัว คน เปน ต้น.
ขุม (85:6)
         สิ่ง ที่ คน ขุด ลง ใน แผ่น ดิน, ฦก ประมาณ คืบ หนึ่ง บ้าง, เปน หลุม ๆ, คือ บ่อ เล็ก ตื้น ๆ นั้น.
ขุม ขัง (85:7)
         อาการ ที่ คน ฤๅ สัตว, ที่ ต้อง กัก ขัง ไว้ เหมือน อย่าง คน อยู่ ใน คุก, ฤๅ ปลา อยู่ ใน บ่อ, ฤๅ นก อยู่ ใน กรง นั้น.
ขุม ถ่าน เพลิง (85:8)
         คือ หลุม ที่ เตม ไป ด้วย ถ่าน เพลิง นั้น, คือ บ่อ ถ่าน ไฟ นั้น เอง.
ขุม ทอง (85:9)
         คือ หลุม ที่ เขา ขุด ลง แล้ว เอา ทอง ใส่ ลง ฝัง ไว้ นั้น.
ขุม นรก (85:10)
         คือ* หลุม ที่ ไม่ มี ความ ศุข, แต่ ล้วน ประกอบ ไป ด้วย ความ ทุกข นั้น.
เขม (85:11)
         สิ่ง ที่ ทำ ด้วย เหล็ก, ปลาย แหลม ๆ, แล้ว เจาะ ก้น สำรับ ร้อย ด้าย เย็บ ผ้า บ้าง, สิ่ง ของ อื่น ๆ บ้าง, ฤๅ ไม้ ที่ สำรับ ทำ ราก ตึก เปน ต้น. อนึ่ง เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง มี ดอก ขาว ๆ บ้าง, แดง บ้าง.
      เขม กลัด (85:11.1)
               สิ่ง ของ สำรับ กลัด ผ้า, ทำ ด้วย ทอง เหลือง บ้าง, เหล็ก บ้าง, ปลาย แหลม เหมือน เขม เย็บ ผ้า.
      เขม ขัด (85:11.2)
               เปน เครื่อง สำรับ คาด เอว, ทำ ด้วย ทอง คำ, ถัก เปน สาย แบน ๆ, มี ที่ สำรับ ขัด ด้วย เขม ให้ แน่น.
      เขม ขาว (85:11.3)
               คือ ต้น เขม อย่าง หนึ่ง, ดอก ศี ขาว.
      เขม แดง (85:11.4)
               คือ ต้น เขม อย่าง หนึ่ง, ดอก ศี แดง.
      เขม เดิร เรือ (85:11.5)
               คือ เปน เขม ที่ เขา ทำ ด้วย แม่ เหล็ก, สำรับ ใช้ เดิร เรือ, ให้ รู้ สังเกด ได้ ว่า, ทิศ เหนือ ทิศ ใต้ เปน ต้น.
      เขม ตเภา (85:11.6)
               คือ เหล็ก เขา ทำ เหมือม ลูก ษร, ใส่ ไว้ บน หลัก, ปลาย มัน ตั้ง อยู่ ตรง ทิศ อุดร เปน นิจ นั้น.
      เขม เย็บ ผ้า (85:11.7)
               คือ เขม ที่ ทำ ด้วย เหล็ก, สำรับ เย็บ ผ้า นั้น.
      เขม ราก ตึก (85:11.8)
               คือ ไม้ ทอง หลาง บ้าง, ไม้ อื่น ๆ บ้าง ยาว ประมาณ สอง ศอก, สาม ศอก, เสี้ยม ให้ แหลม ทำ เปน ราก ตึก.
เข้ม (85:12)
         คือ ความ ที่ เหล้า กล้า แรง นัก, ฤๅ น้ำ ผึ้ง, น้ำ อ้อย, น้ำ ตาล, ที่ มี รศ หวาน กล้า แรง หนัก นั้น.
      เข้ม แขง (85:12.1)
               อาการ ที่ คน, ฤๅ สัตว, ประกอบ ไป ด้วย กำลัง กล้า หาญ แขง แรง นัก.
      เข้ม ขัน (85:12.2)
               อาการ เปน ของ ดู ขบ ขัน แขง แรง, เหมือน หน้า ยัก เปน ต้น.
      เข้ม ขาบ (85:12.3)
               คือ ผ้า อย่าง หนึ่ง, ทอ ด้วย ไหม ทอง, เปน ดอก ดวง ต่าง ๆ, งาม วิเสศ หนัก, มา แต่ เมือง เทษ.
      เข้ม งวด (85:12.4)
               อาการ ที่ น้ำ ผึ้ง, ฤๅ น้ำ อ้อย ที่ เขา ใส่ ใน กะทะ แล้ว, ตั้ง ไฟ เขี้ยว ให้ งวด ยุบ ลง ไป, จน รศ นั้น แรง กล้า.
แขม (85:13)
         เปน ต้น หญ้า อย่าง หนึ่ง, กอ กาบ ใบ ก้าน คล้าย กัน กับ อ้อย, มัน มัก ขึ้น อยู่ ตาม ชาย ทุ่ง ชาย ป่า.
      แขม เชือน (85:13.1)
               เปน ชื่อ แขม อย่าง หนึ่ง, มัน มัก ขึ้น อยู่ ชาย ทุ่ง, ต้น เล็ก ๆ, ดอก ศี ขาว งาม, ใช้ ทำ หลอด.
      แขม เลา (85:13.2)
               เปน แขม อย่าง หนึ่ง, ดอก เปน ภู่, เหมือน แซ่, ศี เลา งาม ด้วย.
โขมพัดถ (85:14)
         ฯ คือ ผ้า เนื้อ ดี อย่าง หนึ่ง, ได้ ยิน ว่า เขา ทอ ด้วย ใย บัว.
ขอม (85:15)
         คือ เปน ชื่อ พวก เขมร ใน แว่น แคว้น กัมพูชา. อนึ่ง คือ หนังสือ ขอม, เปน ชื่อ หนังสือ เขมร นั้น.
ข้อม (85:16)
         อาการ ที่ คน ฤๅ สัตว แล ต้น ไม้, ที่ ต่ำ เตี้ย, เล็ก กว่า ธรรมดา นั้น, คือ ความ ที่ เตี้ย ๆ นั้น เอง.
เขย (85:17)
         คือ ความ ที่ ผู้ ชาย มา เปน ผัว ของ ลูก สาว, ฤๅ หลาน สาว, แล พี่ สาว เปน ต้น, คือ ลูก เขย เปน ต้น นั้น เอง.
      เขย ข้า (85:17.1)
               คือ ผู้ ชาย ที่ มา เปน ผัว ของ หญิง ทาษี เขา, คือ ผัว ของ ข้า หญิง นั้น เอง.
ขาย (85:18)
         คือ อาการ ที่ พ่อ ค้า แล นาย เรือ, ที่ มี เข้า ของ แล สินค้า มาก ตั้ง ไว้, ผู้ ซื้อ มา เอา ไป, แล้ว เขา คิด ราคา ให้ ตาม สัญ ญา กัน, นั้น เปน ต้น.
      ขาย ของ (85:18.1)
               คือ การ ที่ ลูก ค้า ทั้ง ปวง, ที่ เขา ขาย ของ ต่าง นั้น.
      ขาย หน้า (85:18.2)
               คือ ความ ที่ คน กระทำ ความ ชั่ว, ที่ น่า อาย ต่าง ๆ นั้น, คือ ความ ที่ อด สู, ฤๅ บัด ษี ใจ นั้น เอง.

--- Page 86 ---
      ขาย ปลีก (86:18.3)
               คือ การ ที่ แยก ของ ออก จาก ของ มาก, ขาย เปน ส่วน น้อย ๆ นั้น.
      ขาย ฝ่า ท้าว (86:18.4)
               คือ ความ ที่ ลูก หลาน, ฤๅ บ่าว ทาษ, ของ ท่าน ผู้ มี วาศนา ไป ทำ ความ ชั่ว ที่ น่า อาย, ให้ อาย นั้น มา ถึง ท่าน.
      ขาย หู (86:18.5)
               คือ อาการ ที่ ทำ ไม่ ได้ ยิน, เมื่อ เขา ร้อง เรียก ทำ เปน ไม่ ได้ ยิน นั้น.
      ขาย* ฝ่า พระบาท (86:18.6)
               คือ ความ ที่ อาย ฝ่า ตีน, ด้วย กล่าว ถึง ท่าน ผู้ มี วาศนา มาก, ไม่ อาจ พูด ถึง หน้า.
ข่าย (86:1)
         เปน ชื่อ เครื่อง สำรับ ดัก นก, ฤๅ ดัก ปลา, ทำ ด้วย ด้าย บ้าง ป่าน บ้าง, เปน ตา ชุน เหมือน ร่าง แห.
      ข่าย ดัก นก (86:1.1)
               เปน สิ่ง สำรับ ดัก นก เปน ตา ชุน เหมือน ร่าง แห มี คัน มี หู รูด.
ขาว (86:2)
         เปน ศี สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ บริสุทธิ์ ผ่อง, เหมือน อย่าง หีมมะ, ฤๅ ขน นก ยาง เปน ต้น.
      ขาว ซีด (86:2.1)
               คือ ศี ขาว ยิ่ง หนัก, ขาว โศก, เหมือน อย่าง คน ขาว ที่ ป่วย เปน ไข้ อยู่ นั้น.
ข่าว (86:3)
         เปน เรื่อง ความ สิ่ง ใด ๆ, ที่ เขา พูจา* เล่า ฦๅ กัน ต่อ ๆ มา นั้น, คือ ความ ที่ ได้ ยิน ระแคะ รคาย นั้น เอง.
      ข่าว สาศน (86:3.1)
               คือ เรื่อง ความ สิ่ง ใด ๆ, มี มา ใน หนังสือ บอก, ที่ เขา ส่ง ต่อ ๆ กัน มา นั้น. อนึ่ง ระแคะ รคาย ใน สาศน.
ขุย (86:4)
         อาการ ที่ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เปน มูล เมด เล็ก ๆ, เหมือน อย่าง ขุย ตุ่น แล ขุย หนู ฤๅ ขุย มด, ขุด รู ลง ไป ใน ดิน แล้ว เอา มูล ดิน ขึ้น มา ไว้ ที่ ปาก รู นั้น.
      ขุย ตุ่น (86:4.1)
               คือ อาการ แห่ง มูล ดิน, ที่ ตุ่น มัน ขุด รู ลง ไป ใน ดิน, แล้ว มัน ขน เอา ดิน ขึ้น มา ไว้ ที่ ปาก รู นั้น.
      ขุย หนู (86:4.2)
               คือ อาการ แห่ง มูล ดิน, ที่ หนู มัน ขุด รู ลง ไป แล้ว ขน เอา มูล ดิน นั้น ขึ้น มา ไว้ ที่ ปาก รู.
      ขุย ไผ่ (86:4.3)
               คือ อาการ แห่ง ไม้ ไผ่, ที่ ออก ผล เปน เม็ด เล็ก ๆ, เหมือน อย่าง เม็ด เข้า สาร นั้น, คือ เม็ด ผล ไม้ ไผ่ นั้น เอง.
      ขุย มด (86:4.4)
               คือ อาการ แห่ง มูล ดิน เปน เม็ด เล็ก ๆ, ที่ มด มัน ขุด รู ลง ไป ใน ดิน นั้น, แล้ว ขน ขึ้น มา กอง ไว้ ที่ ปาก รู.
ข่อย (86:5)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ใบ คาย เหมือน ใบ ลิ้น เสือ, เปลือก มัน เอา มา ใช้ ทำ กะดาด.
ข้อย (86:6)
         คือ อาการ ที่ จะ จับ ต้อง สิ่ง ของ ใด ๆ, ก็ จับ แต่ เบา ๆ, ไม่ จับ ให้ หนัก.
ขวย (86:7)
         คือ ความ ที่ ให้ คิด อาย อยู่ ใน ใจ, เหมือน แต่ ก่อน ตัว เคย ประพฤษดิ์ ดี, ครั้น มา ภาย หลัง ตัว ทำ ความ ชั่ว ก็ นึก อาย.
      ขวย กะ ใจ (86:7.1)
               ความ ที่ ตัว คน ทำ ชั่ว ที่ น่า อาย, กลัว คน อื่น จะ ล่วง รู้, ให้ คิด อาย อยู่ ใน ใจ, คือ อดสู ใน ใจ นั้น เอง.
      ขวย เขิน (86:7.2)
               ความ เหมือน กัน กับ ขวย กะ ใจ, คือ คิด กะดาก ใจ นั้น เอง.
เขียว (86:8)
         เปน ศี อย่าง หนึ่ง, ศี เหมือน ใบ ไม้ สด ทั้ง ปวง, ฤๅ เหมือน อย่าง ศี คราม เปน ต้น, ใช้ ได้ สอง อย่าง เช่น นั้น.
      เขียว แก่ (86:8.1)
               คือ ศี เขียว เหมือน อย่าง ใบ ไม้ แก่ ทั้ง ปวง.
      เขียว ขี้ ทอง (86:8.2)
               คือ ศี เขียว เจือ ศี เหลือง นั้น, คือ เขียว ที่ เกิด แต่ สนิม ทอง แดง นั้น เอง.
      เขียว ตอง (86:8.3)
               คือ ศี เหมือน อย่าง ใบ ตอง กล้วย.
      เขียว คราม (86:8.4)
               คือ ศี เขียว เหมือน ศี คราม นั้น เอง.
      เขียว มะพูด (86:8.5)
               คือ ศี เขียว เหมือน ย้อม ด้วย เปลือกมะพูด.
      เขียว หิน (86:8.6)
               คือ ของ ศี เขียว เขา เอา มา แต่ จีน ประเทศ, คือ ศี เขียว ที่ เกิด แต่ หิน นั้น เอง.
      เขียว อ่อน (86:8.7)
               คือ ศี เขียว เหมือน อย่าง ใบ ไม้ อ่อน ๆ.
เขี้ยว (86:9)
         การ ที่ เอา น้ำ อ้อย, ฤๅ น้ำ ตาน, เปน ต้น, ใส่ ใน กะทะ, แล ม่อ, ต้ม ร่ำ ไป ให้ งวด. อนึ่ง เปน ชื่อ เขี้ยว สัตว ต่าง ๆ.
      เขี้ยว เข็น (86:9.1)
               ความ ที่ คน แกล้ง ว่า, แกล้ง ด่า, ถะเลาะ กัน ร่ำ ไป, ฤๅ แกล้ง ใช้ ตรากตรำ ให้ ทนทาน มิ ได้.
      เขี้ยว ขับ (86:9.2)
               คือ การ ที่ คน แกล้ง เบียดเบียล ร่ำ ไป, แล้ว ขับ ให้ ไป เสีย นั้น.
      เขี้ยว น้ำตาน (86:9.3)
               คือ การ ที่ เอา น้ำตาน ใส่ ม่อ, ฤๅ กะทะ ลง แล้ว, ตั้ง บน เตา เขี้ยว ไป ให้ งวด, คือ ต้ม น้ำตาน ให้ งวด.
      เขี้ยว น้ำ อ้อย (86:9.4)
               การ ที่ คน เอา น้ำ อ้อย ใส่ กะทะ ตั้ง ไฟ, เขี้ยว* ร่ำ ไป กว่า จะ ได้ การ.
เขี่ย (86:10)
         การ ที่ คุ้ย ออก มา, ฤๅ เรา เอา ไม้ คุ้ย ให้ มา หา เรา.
      เขี่ย ไต้ (86:10.1)
               การ ที่ เอา ไม้ คุ้ย เขี่ย ไต้ นั้น ขึ้น.
      เขี่ย ผง (86:10.2)
               การ ที่ เอา ไม้ เขี่ย ผง ขึ้น เสีย.
      เขี่ย ไฟ (86:10.3)
               การ ที่ เอา ไม้, ฤๅ คีม, เขี่ย ไฟ ออก จาก เตา.
เขือ (86:11)
         เปน ชื่อ ปลา อย่าง หนึ่ง, ตัว เล็ก รูป คล้าย กับ ปลา ตีน, อยู่ ใน โคลน. อนึ่ง เปน ผล ผัก อย่าง หนึ่ง.
เขอะ (86:12)
         เปน ชื่อ คน โง่ โฉด เขลา ไม่ ใคร่ รู้ อะไร.

--- Page 87 ---
ขั้ว (87:1)
         การ ที่ คน เอา กะทะ, ฤๅ กะ เบื้อง ตั้ง ไฟ ขึ้น ให้ ร้อน แล้ว, เอา เมล็ด กาแฝ่, ฤๅ สิ่ง ใด ๆ, ใส่ ลง คน ๆ ไป ให้ สุก.
      ขั้ว เข้า (87:1.1)
               การ ที่ เอา เข้า ใส่ ลง ใน กะทะ ร้อน ๆ, คน กลับ ไป กลับ มา ให้ สุก.
      ขั้ว ถั่ว (87:1.2)
               คือ การ ที่ เอา เมล็ด ถั่ว ใส่ ลง ใน กะทะ ร้อน ๆ, ทำ ให้ สุก นั้น.
      ขั้ว ลูก ไม้ (87:1.3)
               การ ที่ เอา ลูก ไม้ ใส่ ลง ใน กะทะ, ฤๅ กระเบื้อง, คน กลับ ไป กลับ มา ให้ สุก. อนึ่ง เปน ก้าน ที่ ต่อ แห่ง ลูก ไม้ นั้น.
      ขั้ว แห้ง (87:1.4)
               คือ การ ที่ ขั้ว ของ ที่ เปียก ให้ มัน แห้ง นั้น. อย่าง หนึ่ง พูด ถึง คน ภาย เรือ, ไม่ ให้ อยุด ย่อน นั้น.
ขอ (87:2)
         เปน ชื่อ ของ ทำ ด้วย เหล็ก, สันถาน คล้าย กับ* ปาก นก ยาว ๆ, สำรับ เกี่ยว หัว ช้าง, ฤๅ สิ่ง ใด ๆ. อนึ่ง เปน คำ กล่าว* ว่า ของ นี้ ท่าน จง ให้ เรา.
      ขอ เดชะ (87:2.1)
               ว่า ขอ เอา พระ เดช เปน ที่ พึ่ง, เปน คำ หลวง.
      ขอ ทาน (87:2.2)
               การ ที่ คน ฃอ เข้า ปลา อาหาร เขา กิน โดย จน, ฝ่าย ผู้ ให้ ก็ ให้ ด้วย เมตา.
      ขอ โทษ (87:2.3)
               ความ ที่ คน ได้ ทำ ความ ผิด แล้ว, ครั้น รู้ ศึก ตัว กลัว ผิด, จึ่ง อ้อนวอน ขอ ให้ เขา ยก โทษ.
      ขอ เกี่ยว (87:2.4)
               การ ที่ คน เอา เหล็ก บ้าง, ไม้ บ้าง, ทำ เปน ขอ งอ ๆ, สำรับ เกี่ยว ชัก สิ่ง ของ ต่าง ๆ.
      ขอ ยืม (87:2.5)
               คือ ความ ที่ ตัว จะ ต้อง* การ สิ่ง ของ ใด ๆ ใช้ สอย, ของ ตัว หา มี ไม่, จึ่ง ไป เอา ของ ผู้ อื่น มา ใช้ ก่อน, แล้ว จึ่ง ส่ง คืน เจ้า ของ ดั่ง เก่า.
      ขอ สะมา (87:2.6)
               คือ ความ ที่ คน ทำ ผิด แล้ว, มา ฃอ ให้ เขา อด โทษ ของ ตน นั้น.
      ขอ อะไภย (87:2.7)
               คือ ความ ที่ คน ได้ ทำ ความ ผิด ใป แล้ว, มา ฃอ ให้ เขา อด โทษ, อย่า ให้ มี ความ กลัว.
      ขอ สู่ (87:2.8)
               คือ ความ ที่ ไป หา สู่ แล้ว, ฃอ ของ อัน ใด ๆ นั้น.
      ขอ ง้าว (87:2.9)
               เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ ทำ ด้วย เหล็ก เปน รูป ขอ แล้ว, มี ด้ำ ยาว ประมาณ สาม สอก, ข้าง ปลาย เปน รูป ดาบ สำรับ ขี่ ช้าง.
      ขอ ช้าง (87:2.10)
               เปน ชื่อ ของ ทำ ด้วย เหล็ก, เปน รูป เหมือน จะงอย ปาก นก, มี ด้ำ ยาว ประมาณ สอง ศอก เสศ, เปน ขอ สำรับ เกี่ยว ช้าง.*
      ขอ รับ (87:2.11)
               คือ ความ ที่ ขอ แล้ว รับ เอา, คือ จัก ขอ รับ เอา ตาม ความ ที่ เปน มา นั้น เอง, เปน คำ ตอบ ท่าน ผู้ ดี.
ข้อ (87:3)
         คือ สิ่ง ของ ที่ คั่น* อยู่ ที่ ลำ ไม้ ไผ่ เปน ปล้อง นั้น, ฤๅ ที่ ต่อ ใน อะไวยะวะ แห่ง กาย นั้น, ฤๅ ที่ สิ้น แห่ง ใจ ความ.
      ข้อ ขัด (87:3.1)
               คือ ข้อ ความ ที่ ขัด ขวาง ไว้.
      ข้อ ความ (87:3.2)
               คือ ที่ คั่น แห่ง ใจ ความ นั้น เอง, คือ เนื้อ ความ นั้น.
      ข้อ คะดี (87:3.3)
               คือ ข้อ ความ ทั้ง ปวง นั้น.
      ข้อ ตีน (87:3.4)
               คือ ที่ ต่อ แห่ง ตีน กับ น่อง นั้น, คือ ที่ ต่อ แห่ง เท้า นั้น เอง.
      ข้อ เท้า (87:3.5)
               ความ เหมือน กัน กับ ข้อ ตีน, คือ ที่ ต่อ แห่ง เท้า ทั้ง ปวง นั้น เอง.
      ข้อ มือ (87:3.6)
               คือ อาการ ที่ ต่อ แห่ง มือ, กับ ที่ สุด ปลาย แขน นั้น.
      ข้อ ไม้ (87:3.7)
               คือ อาการ ที่ ลำ ไม้ ไผ่, มัน ควั่น เปน ปล้อง ๆ อยู่ นั้น, คือ ที่ ต่อ แห่ง ไม้ นั้น เอง.
      ข้อ มั่นคง (87:3.8)
               คือ ข้อ ความ ที่ พูด จา สัญญา กัน มิ ให้ กลับ กลอก.
      ข้อ ลับ (87:3.9)
               คือ ข้อ ความ ที่ ฦก ลับ, เหมือน อย่าง ความ ขำ เปน ต้น นั้น.
ขลา (87:4)
         คำ เขมร ว่า เสือ.
ขรัว (87:5)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ขรัว เจ้า วัด (87:5.1)
               คือ คน บวช จน อายุ แก่, แล้ว เปน สมภาร ด้วย.
      ขรัว ยาย (87:5.2)
               คือ หญิง แก่ ที่ มี วาศนา, เปน ข้า ราชการ นั้น, คือ ท่าน ยาย ที่ เปน ที่ คำนับ นั้น เอง.
เขลา (87:6)
         คือ ความ โง่, ความ ไม่ รู้, ฤๅ มัก หลง ลืม, คือ ความ ที่ รู้ น้อย, รู้ ไม่ ทัน คน นั้น เอง.
โขลกเขลก (87:7)
         คือ ของ หลวม โพลกเพลก นั้น.
ขลัง (87:8)
         คน ทำ การ สิ่ง ใด ๆ สำเร็ทธิ์ ด้วย มนตร์, ฤๅ คาถา, แล วิชา การ ต่าง ๆ, คือ ประสิทธิ์ นั้น เอง.
ขลุกขลัก (87:9)
         คือ ของ หลวม ขลุกขลัก, เหมือน น้ำ มพร้าวห้าว เปน ต้น.
โขลง (87:10)
         คือ เปน ชื่อ พวก ช้าง, ที่ เขา ทอด ไว้ ใน ป่า เปน ฝูง ๆ, สำรับ ฬ่อ ช้าง เถื่อน, คือ หมู ช้าง นั้น เอง.
      โขลง ช้าง (87:10.1)
               คือ ฝูง ช้าง มาก นั้น.
โขล้ง (87:11)
         คือ อาการ ต้น เข้า ใน นา ที่ ออก รวง พร้อม กัน แล้ว.
ขลาด (87:12)
         ความ ที่ คน, ฤๅ สัตว ใจ ไม่ กล้า, มัก กลัว เหตุ ต่าง ๆ, คือ คน ที่ มัก ครั่น คร้าม นั้น เอง.
โขลน (87:13)
         คือ เปน ชื่อ คน ผู้ หญิง สำรับ ทำ ราชการ ภาย ใน พระราช วัง, ห้าม ผู้ คน เหมือน ตำรวจ ผู้ ชาย.

--- Page 88 ---
ขลู่ (88:1)
         คือ เปน ชื่อ ต้น ไม้ เล็ก ๆ อย่าง หนึ่ง, มัก ขึ้น อยู่ ตาม ดอน กลาง ทุ่ง ใบ หอม ๆ.
ขลิบ (88:2)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ขลิบ ทอง (88:2.1)
               คือ ผ้า ศี แดง เปน ต้น, เขา เอา ทอง เลี่ยม ไว้ ที่ ริม รอบ นั้น.
      ขลิบ ริม (88:2.2)
               คือ การ เลี่ยม ที่ ริม, เหมือน ผ้า สำหรับ ห่ม นอน เขา เอา แพร ศรี ต่าง ๆ เย็บ เข้า ที่ ริม รอบ นั้น.
ขลุบ (88:3)
         เปน ชื่อ ของ อย่าง หนึ่ง, ทำ ด้วย ไม้ แก่น, เปน ภู ๆ, สำ หรับ กลิ้ง ทับ ญ่า.
ขลุ่ย* (88:4)
         เครื่อง* เป่า หย่าง หนึ่ง ทำ ด้วย ไม้ รวก, เจาะ เปน รู ๆ, เป่า เหมือน ปี่, เข้า กับ มะ โหรี.
ขวา (88:5)
         อาการ ที่ คน, ถ้า นั่ง บ่าย หน้า ไป ทิศ ตวัน ออก, มือ ข้าง ทิศ ไต้ นั้น ว่า มือ ขวา, คือ ทักษิณ นั้น เอง.
ไขว่ (88:6)
         การ ที่ คน เอา ไม้ ตอก มา ไขว่ ไป ข้าง โน้น ข้าง นี้, สาน เปน ฉะลอม.
      ไขว่ ขา (88:6.1)
               คือ อาการ ที่ ทำ ขา ข้าง หนึ่ง, ให้ มัน ภาด ไป บน ขา ข้าง หนึ่ง นั้น.
ไขว้เขว (88:7)
         การ ที่ คน เปน นี่ เขา หลาย ราย, ไป ยืม เอา ของ คน นี้, ใช้ ให้ คน โน้น แล้ว เอา ของ คน โน้น มา ใช้ ให้ คน นี้.
ขวักไขว่ (88:8)
         คือ การ ที่ ปลิว สบัด, เหมือน ปลาย ทง ที่ ต้อง ลม นั้น.
ขวาก (88:9)
         สิ่ง ที่ คน เอา ไม้ มา เสี้ยม ให้ แหลม แล้ว ปัก ไว้ เพื่อ จะ ให้ ป้อง กัน ศัตรู.
      ขวาก หนาม (88:9.1)
               ขวาก คือ ไม้ เขา เสี้ยม ให้ มัน แหลม, ปัก ไว้ สำ หรับ ดัก สัตว, หนาม นั้น คือ มัน ติด อยู่ แหลม ๆ ที่ ต้น ไม้ นั้น.
      ขวาก เหลก (88:9.2)
               คือ เหลก แหลม, ปัก ไว้ เช่น ว่า นั้น.
ขวาง (88:10)
         การ ที่ คน เอา เรือ ขวาง* คลอง ไว้, ฤๅ เอา ไม้ กั้น หน ทาง ไว้, คือ ความ ที่ ไม่ รี ไป ตาม ยาว นั้น เอง.
      ขวาง หน้า (88:10.1)
               เปน อาการ ของ สิ่ง ใด ๆ, กั้น อยู่ ใน เบื้อง หน้า.
      ขวาง เรือ (88:10.2)
               การ ที่ คน เอา เรือ จอด, ให้ ขวาง คลอง, ฤๅ แม่ น้ำ.
      ขวาง ลิ่ม (88:10.3)
               คือ อาการ ทอง ที่ เขา ฝน ขิด* ลง ที่ หิน มัน มิ ใช้ ทอง ดี, ศี มัน เปน ทอง แดง นั้น.
แขวง (88:11)
         คือ ความ ที่ กำหนด เขตร แดน เพียง นั้น เพียง นี้. อนึ่ง คน ที่ เปน ผู้ ใหญ่ บ้าน, สำหรับ ได้ ชำระ ความ ชาว บ้าน.
      แขวง จังวัด (88:11.1)
               คือ เปน ชื่อ ที่ ตำบล แห่ง* หนึ่ง ๆ, อยู่ ใน แว่น แคว้น กรุง เทพ เปน ต้น นั้น.
      แขวง ตัด ไม้ (88:11.2)
               คือ เปน ชื่อ คน ที่ สำหรับ ไป เที่ยว ตัด ไม้, มา ทำ ราชการ หลวง.
ขวาด (88:12)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ใบ เล็ก, ขึ้น อยู่ ใน ป่า ตาม ชาย ทะเล, สำหรับ ใช้ ทำ ค้าง พลู.
ขวนขวาย (88:13)
         คือ การ ที่ เที่ยว แสวง หา สิ่ง นั้น สิ่ง นี้, คือ ความ ที่ เสาะ หา นั้น เอง.
ขวัน (88:14)
         คือ ผม ที่ เวียน เปน ก้น หอย อยู่ ที่หัว. อนึ่ง เปน ความ จำ เรีญ, คือ สวัศดิ มงคล นั้น เอง.
      ขวัน เข้า (88:14.1)
               คือ สิ่ง ของ ที่ เขา จัดแจง ตั้ง คำนับ ครู พวก หมอ ไทย, เมื่อ จะ รักษา คน ไข้ นั้น.
      ขวัน ตา (88:14.2)
               คือ ความ ที่ คน ได้ ชม เชย สิ่ง ของ ใด ๆ, งาม นัก, ไม่ เคย เหน เปน ที่ จำเริญ ตา, คือ ความ จำเริญ แก่ จักษุ นั้น.
      ขวัน บิน (88:14.3)
               คือ อาการ ที่ คน สะ ดุ้ง* ตกใจ กลัว, เพราะ เขา ตวาด ฤๅ โห่ ร้อง นั้น.
      ขวัน เมือง (88:14.4)
               คือ เปน ชื่อ ของ สิ่ง ใด ๆ ถ้า มี อยู่ แล้ว, เปน เหตุ ที่ จะ ยัง เมือง ให้ จำ เริญ นั้น.
      ขวัน อ่อน (88:14.5)
               อาการ แห่ง จิตร์ เหมือน อย่าง ทารก มัน มัก สดุ้ง ตก ใจ นั้น, ว่า ขวัน มัน อ่อน.
      ขวัน หาย (88:14.6)
               คือ ความ ที่ สดุ้ง ตก ใจ นั้น เอง, คือ ความ ที่ จำเริญ ใจ นั้น หาย ไป เสีย.
ขวั้น (88:15)
         คือ อาการ ที่ ต่อ แห่ง ลูก ไม้, แล ใบ ไม้, ที่ ตีด อยู่ กับ กิ่ง นั้น. อนึ่ง อ้อย ที่ คน เอา มีด ตัด รอบ ทำ ข้อ ๆ นั้น ด้วย.
ขวาน (88:16)
         เปน ชื่อ ของ ทำ ด้วย เหล็ก, รูป แบน ๆ, มี คม มี ด้ำ, สำ หรับ ใช้ ถาก ไม้, ผ่า ไม้, ดัด ไม้ นั้น.
      ขวาน ถาก (88:16.1)
               คือ เปน ชื่อ เหลก มี คม, เขา ทำ สำหรับ ถาก ไม้ นั้น.
      ขวาน โยน (88:16.2)
               คือ เปน ชื่อ ขวาน พะลู, มี รู บ้อง สำหรับ ใส่ ดั้ม, ยาว เหมือน ดั้ม ภาย, สำ หรับ ถาก เสา เปน ต้น.
      ขวาน หมู (88:16.3)
               คือ เปน ชื่อ ขวาน ผ่า ฟืน เปน ต้น.
      ขวาน เงาะ (88:16.4)
               คือ เปน ชื่อ ขวาน รูป งอ ๆ, เหมือน เขา แพะ นั้น.
      ขวาน ปะลู (88:16.5)
                คือ เปน ชื่อ ขวาน มี บ้อง รู สำ หรับ ใส่ ใม้ ดั้ม, เอา ไว้ ถาก ไม้ นั้น, คือ ว่า ขวาน ให้ มี กำ ลัง นั้น เอง.
แขวน (88:17)
         คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ เขา ผูก ฤๅ เกี่ยว ห้อย ไว้ นั้น.

--- Page 89 ---
ขวิด (89:1)
         อาการ ที่ เอา เขา วัด เหวี่ยง, ซึ่ง กัน และ* กัน. เหมือน อย่าง ควาย นั้น.
ขวับ (89:2)
         เปน เสียง ไม้, ฤๅ หวาย, ที่ เขา เฆี่ยน คน มัน ดัง หย่าง นั้น.
ขวิบ (89:3)
         เปน เสียง ไม้ เรียว, ที่ เขา หวด มัน ดัง หย่าง นั้น.
แขวะ (89:4)
         การ ที่ เอา มีด แหวะ ควัก ออก เสีย เปน ช่อง ๆ.
      แขวะ ควัก (89:4.1)
               คือ การ ที่ เอา มีด เปน ต้น, แสะ ลง แล้ว เอา มือ คุ้ย ออก นั้น.
(89:5)
         
คา (89:6)
         เปน ชื่อ ของ ทำ ด้วยไม้, สำ หรับ ใส่ ฅอ จำ พวก นัก โทษ, อนึ่ง เปน ชื่อ ต้น หญ้า, ที่ เขา สำหรับ ใช้ มุง เรือน. อนึ่ง ของ ใส่ ถ้วย ชาม ค้าง อยู่ นาน.
      คา ก่า (89:6.1)
               คือ การ ที่ คน ทำ สาระพัด การ ทั้ง ปวง ยัง ค้าง อยู่, ฤๅ พูด จา ถ้อย ความ สิ่ง ใด ๆ ยัง ค้าง อยู่ หา สำเร็จ ไม่.
      คา ของ (89:6.2)
               ความ ที่ ของ สิ่ง ใด ๆ, ใส่ ถ้อย, ฤๅ ภาชนะ ค้าง ไว้ คือ ความ ที่ ใส่ ของ คา ไว้ นั้น เอง.
      คาขื่อ (89:6.3)
               เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทำ ด้วย ไม้, สำหรับ ใส่ ฅอ, ใส่ เท้า พวก นักโทษ.
      คามา (89:6.4)
                ฯ ว่า บ้าน.
      คาพะยุด (89:6.5)
               ฯ เปน สับท แผลง, แปร ว่า ที่ ร้อย เส้น หนึ่ง นั้น.
      คามะวาศี (89:6.6)
               ฯ ว่า คน อยู่ ใน บ้าน.
      คาระวะ (89:6.7)
               คำรพ, นับถือ, คือ การ คำนับ นั้น เอง.
      คาราคาก่า (89:6.8)
               การ ที่ ทำ ของ สิ่งใด ๆ, ไม่ แล้ว ค้าง อยู่, คือ ความ ที่ ไม่ รู้ แล้ว นั้น เอง.
      คารม (89:6.9)
               ความ* ที่ คน ปาก กล้า, พูดจา ได้ มาก, ไม่ กลัว ใคร, ถะเลาะ เถียง กัน ไม่* แพ้ ใคร, คือ คน ปาก จัด, ปาก แขง นั้น เอง.
      คาโว (89:6.10)
               ฯ ว่า วัว.
      คา รา (89:6.11)
               คือ การ ที่ ภาชนะ คา ของ อยู่ นั้น, คือ ความ ที่ ค้าง อยู่ จน รา นั้น เอง.
      คาวี (89:6.12)
               ฯ ว่า แม่ โค.
ค่า (89:7)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ค่า กิน (89:7.1)
               คือ ทรัพย์ เปน ค่า ของ กิน.
      ค่า เช่า (89:7.2)
               คือ ทรัพย์ เขา ให้ เมื่อ เช่า เรือ ไป เปน ต้น.
      ค่า ตัว (89:7.3)
               คือ ทรัพย์ เปน ราคา ตัว คน นั้น, คือ เงิน ราคา คน นั้น เอง.
      ค่า เชิงเดิน (89:7.4)
               คือ ทรัพย์ เฃา ให้ แก่* ผู้ ที่ ช่วย เดิน ไป หา คน โน้น, คน นี้, ให้ ช่วย ว่า เนื้อ ความ แล้ว นั้น.
      ค่า ธรรมเนียม (89:7.5)
               คือ ทรัพย์ ที่ ต้อง เสีย ให้ ท่าน, ตาม พย่าง, มี ค่า วิชา* เปน ต้น นั้น.
      ค่า จ้าง (89:7.6)
               คือ ทรัพย์ ที่ เขา ให้ เมื่อ จ้าง, มา ทำ การ แล้ว นั้น.
ค้า (89:8)
         คือ การ ที่ ขาย ฃอง ทุก สิ่ง, คือ การ ที่ ซื่อ ฃาย นั้น เอง,
      ค้า ฃาย (89:8.1)
               คือ การ ที่ เอา ของ สิ่ง ใด ๆ ไป ฃาย นั้น.
      ค้า กำปั่น (89:8.2)
               คือ การ ที่ เอา ของ บัน ทุก ลง ใน เรือ* กำปั่น แล้ว, เอา ไป ฃาย นั้น.
      ค้า ตะเภา (89:8.3)
               คือ การ ที่ เอา ของ บัน ทุก ลง ใน สำเภา, แล้ว เอา ไป ฃาย นั้น.
คี่ (89:9)
         คือ เปน ชื่อ อาจม แห่ง คน, แล สัตว ทั้ง ปวง. อนึ่ง แปล ว่า มัก เปน อย่าง นี้ อย่าง นั้น.
      คี่ กา (89:9.1)
               ต้น หย่าง หนึ่ง, เปน เถา เลื้อย ไป, ลูก กลม ๆ, กิน ฃม, ใช้ ทำ ยา. อนึ่ง คือ คี่ แห่ง กา นั้น ด้วย.
      คี่ กบ (89:9.2)
               คือ ไม้ ที่ ไส กบ เปน เสก็ด ยาว ๆ นั้น. อนึ่ง คือ คี่ ของ กบ นั้น ด้วย.
      คี่ ฃอ (89:9.3)
               อาการ ที่ คน มัก ฃอ สิ่ง ของ เล๊ก ๆ น้อย ๆ นั้น
      คี่ ขลาด (89:9.4)
               ความ ที่ คน มัก กลัว ผี, กลัว* เสือ, กลัว สาระพัด ไภย ต่าง ๆ, ไม่ กล้า นั้น, คือ ความ ที่ ไม่ องอาท นั้น เอง.
      คี่ เค้า (89:9.5)
               ความ เปน คำ ด่า คน ผู้ อื่น, ที่ เปน คน ไม่ ดี.
      คี่ ไคล (89:9.6)
               คือ เปน ชื่อ สิ่ง ที่ ติด ตัว ดำ เปน คราบ ๆ อยู่ นั้น.
      คี่ คุก (89:9.7)
               เปน คำ ด่า ถึง คน ไม่ ดี, ที่ ติด คุก อยู่ นั้น.
      คี่ ตา (89:9.8)
               คือ เปน ชื่อ ของ โศกโครก, ที่ ออก จาก ตา นั้น.
      คี่ เต่า (89:9.9)
               คือ สิ่ง ของ ที่ โศกโครก, กลิ่น เหมน, เกิด ขึ้น ที่ รัก แร้ นั้น. อนึ่ง คือ มูล แห่ง เต่า นั้น เอง.
      คี่ ตะกอน (89:9.10)
               คือ โกลน ที่ เกิด ขึ้น ใน ตุ่ม น้ำ, ฤๅ ใน ม่อ น้ำ, เปน ต้น นั้น, คือ ละออง ที่ เกรอะ เปน เลน อยู่ นั้น.
      คี่ ตะกั่ว (89:9.11)
               คือ ของ โศกโครก, ที่ เปน มนทิน อยู่ ใน ตะกั่ว นั้น.
      คี่ ตะหนี่ (89:9.12)
               คือ ความ ที่ คน ไม่ อยาก ให้ ของ ๆ ตัว, แก่ ผู้ อื่น นั้น, คือ ความ ที่ หวง สิ่ง ของ ต่าง ๆ นั้น เอง.
      คี่ หนี (89:9.13)
               อาการ ที่ คน ฤๅ สัตว, ที่ มัก หลบ หนี บ่อย ๆ นั้น.
      คี่ นี่ (89:9.14)
               อาการ ที่ คน มัก เปน นี่ เขา มาก นั้น.
      คี่ เท๊จ (89:9.15)
               ความ ที่ คน พูด ไม่ จิง, มัก* ปด บ่อย ๆ, คือ ความ ที่ มัก พูด สับ ปลับ นั้น เอง.

--- Page 90 ---
      คี่ บิด (90:9.16)
               ความ เปน คน ใช้ การ มัก บิด พลิ้ว แช เชือน ไป, คือ ความ ที่ มัก พูด แช เชือน นั้น เอง.
      คี่ ปด (90:9.17)
               ความ เปน คน พูด ไม่ จิง, พูด โกหก, คือ ความ ที่ กล่าว คำ เท๊จ, คำ มุสา นั้น เอง.
      คี่ ฝิ่น (90:9.18)
               ความ ที่ เปน คน สูบ ฝิ่น จน ติด เงี่ยน หนัก, ต้อง สูบ คี่ ฝิ่น นั้น. อนึ่ง สิ่ง ที่ คน เอา ฝิ่น มา สูบ แล้ว, ที่ ติด อยู่ ใน ลำ กล้อง นั้น ด้วย.
      คี่ มือ (90:9.19)
               คือ สิ่ง ของ ที่ มือ จับ ต้อง เปน มนทิน, เปน ไคล เปื้อน นั้น.
      คี่ เมา (90:9.20)
               อาการ เปน คน ที่ มัก กิน เล่า, เมา มัว อยู่ เปน นิจ นั้น.
      คี่ มูก (90:9.21)
               คือ สิ่ง ที่ เปน น้ำ ข้น ๆ, ไหล ออก มา จาก จะมูก นั้น.
      คี่ แมงวัน (90:9.22)
               คือ สิ่ง ที่ เปน เม็ด ๆ, ดำ ๆ, ราย ๆ ไป ตาม ตัว นั้น, คือ ความ ที่ ตกกระ นั้น เอง.
      คี่ มด (90:9.23)
               คือ สิ่ง ที่ เปน เม็ด ๆ, ดำ ๆ, ติด อยู่ ตาม ผลใม้ ทั้ง ปวง. อนึ่ง ขุย มด, ที่ ขุด ขึ้น มา จาก ดิน นั้น.
      คี่ เหล็ก (90:9.24)
               เปน ต้น ไม้ หย่าง หนึ่ง, ใบ เล็ก ๆ, รศ ขม, สำรับ ใช้ ทำ ยา, แกง กิน ก็ ได้. อนึ่ง สิ่ง ที่ กะเถาะ จาก สนีม เหล็ก นั้น.
      คี่ เลื่อย (90:9.25)
               คือ สิ่ง ที่ เปน ขุย ตก ออก มา จาก คลอง เลื่อย นั้น.
      คี่ เหร่ (90:9.26)
               อาการ แห่ง คน, ฤๅ สัตว, ฤๅ สิ่ง ของ ใด ๆ, ที่ รูป ไม่ ดี, ไม่ งาม นั้น, คือ ของ เลว ของ ซาม นั้น เอง.
      คี่ เรื้อน (90:9.27)
               อาการ เปน โรค หย่าง หนึ่ง, กระทำ ให้ ผิว หนัง นั้น หนา, เหมือน ผิว มะกรูด, แล้ว ให้ เปื่อย เน่า ลาม ไป.
      คี่ ริ้ว (90:9.28)
               คือ อาการ สิ่ง ของ, ฤๅ ผ้า เก่า คร่ำคร่า ขาด แล้ว นั้น.
      คี่ รังแค (90:9.29)
               คือ สิ่ง ที่ เปน ละออง*, ติด อยู่ ตาม ผิว หนัง บน หัว นั้น.
      คี่ หู (90:9.30)
               คือ สิ่ง โศกโครก ที่ เกิด เปน ขุย ขึ้น ใน รู หู นั้น, คือ มูล ที่ เกิด ขึ้น ใน ช่อง โสต นั้น เอง.
      คี่ ฟัน (90:9.31)
               คือ สิ่ง โศกโครก ที่ เกิด ขึ้น ใน ปาก, ติด เปน ไข อยู่ ที่ ตาม ฟัน นั้น, คือ เครื่อง อะ สุจิ ที่ ติด อยู่ กับ ทนต์.
      คี่ สนิม (90:9.32)
               คือ สิ่ง ที่ เกิด เปน ฝ้า ขึ้น แต่ เหล็ก, แล ทอง เหลือง, ทอง แดง นั้น, คือ* มูล มลทิน แห่ง เหล็ก นั้น.
คิลา (90:1)
         ฯ เปน สับท์ แปล ว่า ความ ไข้.
คีรี (90:2)
         ฯ เปน สับท์ แปล ว่า ภูเขา
      คีรินทร์ (90:2.1)
               ฯ ว่า เขา หลวง, คือ ภูเขา ใหญ่ ทั้ง ปวง นั้น เอง.
คือ (90:3)
         เปน ความ ว่า, เปน สิ่ง นั้น, คือ คน นั้น, ม่อว่า.
คุ (90:4)
         คือ อาการ ที่ ไฟ ไหม้ ไม้ ต้น ใหญ่ ๆ มัน ฟอน ระอุ อยู่ นั้น, คือ ระอุ.
คุคะ (90:5)
         เปน ชื่อ เถา อย่าง หนึ่ง, เปน เง่า มี หัว โต ๆ, กลิ่ง* อยู่ ตาม ป่า ตาม ดง, สำรับ ทำ ยา.
คุลิก่า (90:6)
         เปน สิ่ง ของ อย่าง หนึ่ง, มา แต่ เมือง เทษ, ราคา แพง, สำรับ ใช้ ทำ ยา.
คุลา (90:7)
         คือ คน ชาติ หนึ่ง, ตัว มัน ดำ, ฟัน มัน ขาว, คล้าย กับ กลา ศี. อย่าง หนึ่ง เปน ชื่อ ว่าว, มี ขา กบ คน ชัก มัน ทำ เสียง ดัง.
คุลีการ (90:8)
         อาการ ทำ ยา ที่ เลอียด เปน ผง, ละลาย ประสม กวน รคน ปน กัน เข้า นั้น.
คุรี (90:9)
         ว่า ไกล.
คู (90:10)
         สิ่ง* ที่ ขุด เปน คลอง รอบ บ้าน, ฤๅ รอบ เมือง นั้น, คือ ลำ กโดง นั้น เอง.
      คู ค่าย (90:10.1)
               คือ สิ่ง ที่ ขุด เปน คลอง ฦก, รอบ ค่าย นั้น, คือ สนาม เพลาะ นั้น เอง.
      คู น้ำ (90:10.2)
               คือ คลอง เขา ขุด รอบ เมือง มี น้ำ อยู่ นั้น, คือ ลำ กโดง น้ำ นั้น เอง.
      คู บ้าน (90:10.3)
               คือ สิ่ง ที่ เขา ขุด เปน คลอง, ล้อม รอบ บ้าน นั้น, คือ ลำ กโดง รอบ บ้าน นั้น เอง.
      คู เมือง (90:10.4)
               คือ สิ่ง ที่ เขา ขุด เปน คลอง ฦก, ล้อม รอบ เมือง.
คู (90:11)
         อาการ เหมือน นก เขา สอง ตัว โกรธ กัน, ก่ง ฅอ เข้า ร้อง ตรง กัน, จะ ชน กัน นั้น.
      คู กรุ่ม (90:11.1)
               คือ เสียง คู รุ่ม ร่ำ ไป, เมื่อ นก เขา มัน กล้า หนัก นั้น.
      คู ขัน (90:11.2)
               อาการ เหมือน นก เขา, ก่ง ฅอ ขัน ตาม ภาษา นก นั้น.
คูหา (90:12)
         ฯ ว่า ถ้ำ ที่ เปน โพรง ฦก เข้า ไป, ใน ภู เขา ทั้ง ปวง นั้น.
คู่ (90:13)
         คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เปน สอง, ฤๅ เปน สี่, เปน หก, เปน แปด, เปน สิบ, เปน ต้น คือ มิ ใช่ สิ่ง ที่ เปน ขอน นั้น เอง.
      คู่ กัน (90:13.1)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เปน สอง สิ่ง สอง คน.
      คู่ ขี้ (90:13.2)
               คือ ของ สอง อัน เรียก ว่า คู่, ถ้า อัน เดียว เรียก ขี้.
      คู่ ขอน (90:13.3)
               คือ ผล ไม้ สาม ผล, ฤๅ ห้า ผล เปน ต้น.
      คู่ บ้าน (90:13.4)
               ความ ที่ สิ่ง ของ ใด ๆ ที่ มี เปน คู่ กัน มา กับ บ้าน นั้น. คือ ความ ที่ ของ บังเกิด พร้อม กัน มา กับ บ้าน นั้น.
      คู่ เมือง (90:13.5)
               ความ ที่ สรรพ สิ่ง ของ ใด ๆ ที่ บัง เกิด เปน คู่ กัน มา กับ เมือง นั้น.
      คู่ ขัน (90:13.6)
               ความ ที่ สิ่ง ของ ใด ๆ ที่ มี มา เปน คู่, สำรับ ท้า เล่น พนัน กัน นั้น.

--- Page 91 ---
      คู่ ชีวิตร (91:13.7)
               ความ ที่ สิ่ง ของ ใด ๆ ที่ มี ไว้ เปน เพื่อน ชีวิตร นั้น.
      คู่ มือ (91:13.8)
               ความ ที่ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ มี ไว้ สำรับ กัน กับ มือ นั้น.
      คู่ เคียง (91:13.9)
               ความ คือ เดิน เรียง* หน้า เสมอ กัน ไป พร้อม กัน นั้น.
      คู่ เล่น (91:13.10)
               การ คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ มี ไว้ สำรับ เปน คู่ เล่น กัน นั้น.
      คู่ หนึ่ง (91:13.11)
               ความ คือ ของ สอง อัน เปน ต้น นั้น.
      คู่ สร้าง (91:13.12)
               การ คือ สิ่ง ที่ สร้าง มา ด้วย กัน, ฤๅ สร้าง เปน คู่ กัน มา นั้น.
      คู่ หาม (91:13.13)
               อาการ คือ ของ มี ข้าง ละขอน เปน สอง ข้าง, เหมือน เสา สอง เสา, ที่ มัน จะ เข้า รู รอด อัน เดียว กัน นั้น.
คู้ (91:1)
         อาการ คลอง ฤๅ แม่ น้ำ ที่ คด ค้อม อ้อม วง ไป เปน ต้น นั้น.
      คู้ เข้า (91:1.1)
               อาการ คือ ขา, ฤๅ แขน, ฤๅ ไม้ เปน ต้น, เดิม นั้น เอยียด อยู่ แล้ว โค้ง เข้า นั้น.
เคจร (91:2)
         ความ คือ เที่ยว ไป ใน ป่า.
เคหา (91:3)
         ฯ ว่า เรือน แล ที่ อา ไศรย.
เคเห (91:4)
         ฯ ว่า ใน เรือน.
เคหัง (91:5)
         ฯ ว่า ซึ่ง เรือน.
เค้ (91:6)
         อาการ แห่ง คน ฤๅ ต้น ไม้, ที่ ล้ม ลง ขวาง หน ทาง, ฤๅ ห้วย คลอง อยู่ นั้น, คือ ความ ที่ ล้ม ขวาง อยู่ นั้น เอง.
      เค้ เก้ (91:6.1)
               อาการ แห่ง คน ฤๅ สัตว, ฤๅ ต้น ไม้ เปน ต้น ล้ม ขวาง อยู่ นั้น.
แค (91:7)
         เปน ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ต้น ไม่ สู้ โต นัก, ใบ เล็ก ๆ ดอก ศี ขาว ศี แดง แกง กิน ได้.
      แค แกร (91:7.1)
               เปน ต้น ไม้ หย่าง หนึ่ง, ต้น โต, ดอก ศี ขาว บาน เหมือน แกร, ต้ม กิน ดี.
      แค แดง (91:7.2)
               เปน ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ต้น ไม่ สู้ โต นัก, ใบ เล็ก ๆ, ดอก ศี แดง, แกง กิน ได้.
      แค ป่า (91:7.3)
               เปน ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, มัก ขึ้น อยู่ ตาม ริม คลอง, ริม น้ำ, ดอก ศี ขาว, เหมือน แค แกร.
      แค ฝอย (91:7.4)
               คือ แค แกร นั้น เอง.
แค่ (91:8)
         ความ เพียง นี้, ค่า นี้, เท่า กัน, เปน คำ เหนือ.
      แค่ กัน (91:8.1)
               ความ ที่ เท่า กัน, เสมอ กัน, เพียง กัน, ค่า กัน นั้น.
      แค่ นี้ (91:8.2)
               ความ เท่า นี้, เพียง นี้, เสมอ นี้, ค่า นี้.
      แค่ นั้น (91:8.3)
               ความ ที่ เท่า นั้น, เพียง นั้น, เสมอ นั้น, ค่า นั้น.
      แค่ โน้น (91:8.4)
               ความ คือ เท่า โน้น, เพียง โน้น, เสมอ โน้น, ค่า โน้น.
ไค (91:9)
         สิ่ง ที่ เปน คราบ ติด อยู่ ที่ ตัว คน ฤๅ ต้น ไม้ ฤๅ สิ่ง ใด ๆ.
ใค (91:10)
         คือ ผู้ ใด, ใคร, คน ไหน.
ใค้ (91:11)
         คือ เอา ไม้ ฤๅ มีด ฤๅ สิ่ง ใด ๆ แทง ลง ไป ใน ดิน ฤๅ ที่ ใด ๆ แล้ว คัด ขึ้น คือ งัด ขึ้น นั้น เอง.
โค (91:12)
         ฯ ว่า งัว, เหมือน อุสุภราช เปน ต้น นั้น.
      โค บาล (91:12.1)
               ฯ ว่า คน รักษา งัว, เลี้ยง งัว, คือ คน เลี้ยง โค นั้น เอง.
      โค ไมย (91:12.2)
               ฯ ว่า ขี้งัว, มูล โค.
      โค มูต (91:12.3)
               ฯ ว่า เยี่ยว งัว, คือ มูต โค นั้น เอง.
โคดม (91:13)
         ฯ ว่า อุดม ยิ่ง, เหมือน อย่าง พระ โคดม เปน ต้น นั้น.
โค ตะ โม (91:14)
         ฯ ว่า อุดม, ว่า สูง สุด, คือ กระกูล อัน ยิ่ง อัน อุดม นั้น เอง, เหมือน พระ โคดม เปน ต้น.
โครพ (91:15)
         คือ คาระวะ แปล ว่า, คำรพย์. เหมือน อย่าง คำนับ นั้น เอง.
โค ปะ กะ (91:16)
         ฯ ว่า ข้อ ท้าว ฤๅ ข้อ ตีน.
โคราชเสมา (91:17)
         เปน ชื่อ เมือง อยู่ ฝ่าย ทิศ ตวัน ออก เฉียง เหนือ คือ เมือง นคร ราชเสมา นั้น เอง.
เคารพ (91:18)
         ความ นับถือ, ฤๅ คำนับ, ฤๅ คำรพภ์, เหมือน อย่าง คาระวะ เปน ต้น.
เค้า (91:19)
         ความ ที่ เปน ต้น เหตุ, ต้น ความ, เดิม เหตุ, เดิม ความ, เหมือน เค้า มูล เปน ต้น นั้น.
      เค้า เงื่อน (91:19.1)
               ความ ที่ เปน ต้น เหตุ, เดิม เหตุ, ของ เดิม, ความ เดิม.
      เค้า เงิน (91:19.2)
               ความ ที่ เงิน เดิม นั้น มี อยู่ มาก น้อย เท่า ใด, เงิน นั้น ว่า เค้า เงิน.
      เค้า เดิม (91:19.3)
               ความ ที่ เปน เหตุ เดิม, ฤๅ ความ เดิม.
      เค้า โมง (91:19.4)
               คือ เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง ตัว เล็ก ๆ, ขน เขียว เหมือน นก แก้ว, แต่ ปาก ศี ดำ.
      เค้า มูล (91:19.5)
               ความ คือ เหตุ เดิม ฤๅ ความ เดิม นั้น เอง.
      เค้า แมว (91:19.6)
               คือ เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, หน้า ตา เหมือน แมว, ขน ลาย ๆ, กิน หนู เปน อาหาร.
คำ (91:20)
         ความ คือ วาจา ที่ คน กล่าว ต่าง นั้น. อนึ่ง อาหาร ที่ เคี้ยว กิน ที ละ ก้อน* ๆ นั้น.
      คำ กลาง (91:20.1)
               คือ คน สอง ฝ่าย วิวาท กัน ด้วย เงิน ติด กัน ผู้ เจ้า นี่ ว่า จะ เอา สิบ บาตร, ผู้ ลูก นี่ จะให้* แต่ ห้า บาตร, ผู้ ว่า เปน คำ กลาง นั้น ว่า, เอา แต่ แปต บาตร เถิด.

--- Page 92 ---
      คำ กล่าว (92:20.2)
               คือ วาจา ที่ คน พูด กัน ต่าง ๆ นั้น เอง.
      คำ โจทย์ (92:20.3)
               คือ คำ ผู้ ฟ้อง หา ความ กล่าว โทษ* กัน นั้น, คือ คำ ท้วง คำ ถาม นั้น เอง.
      คำ ฉันท์ (92:20.4)
               คือ วาจา ที่ คน อ่าน หนังสือ กลอน กำหนฎ ตาม อักษร นั้น เอง.
      คำ ต่ำ (92:20.5)
               คือ คำ ขี้ริ้ว คำอยาบ คำชั่ว นั้น เปน ต้น ว่า อ้าย สุนัข เหมือน อย่าง คำ ไพร่ นั้น เอง.
      คำ นึง (92:20.6)
               คือ ความ ที่ คิด ตรึก ตรอง ไป ต่าง ๆ นั้น, เหมือน อย่าง วิตก วิจารณ์ เปน ต้น นั้น.
      คำ ตอบ (92:20.7)
               คือ วิสัชนา แล คำ กล่าว* แก้, คำ สำแดง ความ ใน คำ ถาม นั้น, เหมือน อย่าง กล่าว คำ โต้ แย้ง.
      คำนับ (92:20.8)
               การ ที่ กระ ทำ คำรพ, นบ นอบ นับถือ นั้น เอง, คือ ความ ที่ ยำ เกรง นั้น.
      คำ บอก เล่า (92:20.9)
               คือ คำ บอก กัน ต่อ ๆ ไป, ด้วย ความ ต่าง ๆ นั้น.
      คำ พราง (92:20.10)
               ความ ที่ พูด ปด, พูด ไม่ จริง, พูด โกหก, พูด ตอแหล* นั้น เอง.
      คำ เปรียบ (92:20.11)
               คือ คำ อุประมา, เหมือน อย่าง คำ เทียบ, อุประ- ไมย เปน ต้น นั้น.
      คำภีร์ (92:20.12)
               ฯ ว่า ฦก ซึ้ง, หฤๅ หนังสือ กำหนฎ มัด หนึ่ง.
      คำ จำเลย (92:20.13)
               คือ คำ ผู้ ต้อง ฟ้อง มา ให้ การ แก้ คำ ฟ้อง เขา นั้น, คือ คำ เฉลย นั้น เอง.
      คำ หยาบ (92:20.14)
               คือ คำ ด่า* เปน ต้น ว่า อ้าย ถ่อย.
      คำ รน (92:20.15)
               คือ เสียง ร้อง คุก คาม, คำราม นั้น เอง, เหมือน อย่าง เสียง ฟ้าร้อง เปน ต้น.
      คำรพภ์ (92:20.16)
               คือ การ ที่ นับถือ ยำ เกรง นั้น, แล การ คำนับ, เหมือน อย่าง คาระวะ เปน ต้น นั้น.
      คำราม (92:20.17)
               ความ เหมือน หมา หฤๅ แมว นั้น โกรธ กัน มัน ย่อม ทำ เสียง ดัง ฮื ๆ อย่าง นั้น, เหมือน อย่าง คำรน ร้อง.
      คำลึก (92:20.18)
               ความ ที่ คน พูดจา เรื่อง ความ, ที่ แอบ แฝง ลี้ ลับ, ผู้ ใด มิ ใคร่ อาจ จะ ล่วง รู้, หฤๅ เปน คำ แผลง นั้น.
      คำ สั่ง (92:20.19)
               คือ ความ ที่ คน กล่าว คำ ว่า, จง ทำ สิ่ง นั้น, จง ไป บอก คน นั้น, ท่าน อย่า ทำ ดั่ง นี้ ไม่ ควร.
      คำสูง (92:20.20)
               คือ ราชาศรรบท์, ที่ เปน คำ ทูล พระ มหา กระษัตร นั้น.
      คำ สัจ (92:20.21)
               คือ คำ จริง, ไม่ เปน คำ เท็จ, ไม่ พูด กลับ กลอก.
      คำ สอน (92:20.22)
               คือ ความ ที่ บอก กล่าว ให้ เล่า เรียญ สรรพ วิชา การ ว่า, ทำ อย่าง นี้ ดี, ทำ อย่าง นี้ ไม่ ดี เปน ต้น.
ค่ำ (92:1)
         คือ เวลา พลบ มืด แล้ว นั้น, คือ เวลา กลาง คืน นั้น เอง.
      ค่ำ คืน (92:1.1)
               คือ กาล ตั้ง แต่ เวลา มืด ค่ำ ลง แล้ว นั้น, คือ เวลา ราษตรี นั้น เอง.
      ค่ำ หนึ่ง (92:1.2)
               คือ วัน ที่ หนึ่ง ข้าง ขึ้น หฤๅ วัน ที่ หนึ่ง ข้าง แรม นั้น, หฤๅ คืน หนึ่ง นั้น เอง.
      ค่ำ เย็น (92:1.3)
               คือ เวลา ใกล้ พลบ ลง นั้น, คือ เพลา เย็น จวน ค่ำ นั้น เอง.
      ค่ำ มืด (92:1.4)
               คือ เพลา พลบ ค่ำ มืด สิ้น แสง ตวัน แล้ว, คือ เวลา กลาง คืน นั้น เอง.
      ค่ำ สนทยา (92:1.5)
               คือ เวลา โพ้ เพล้ ฉมุก ฉมัว นั้น.
ค้ำ (92:2)
         ความ ที่ เรือน จะ ซุด หฤๅ ต้น ไม้ หฤๅ สิ่ง ของ ใด ๆ, เอน จวน จะ ล้ม ลง, เอา ไม้ ง้าม หฤๅ สิ่ง ใด ๆ จุน กราน รับ ไว้.
      ค้ำ ฅอ (92:2.1)
               คือ การ ที่ เอา ไม้ ใส่ เข้า ที่ ฅอ แล้ว เสือก ไป นั้น.
      ค้ำ จุน (92:2.2)
               ความ ที่ สิ่ง ของ ใด ๆ ซุด ลง, หฤๅ เอน ชาย จวน จะ ล้ม เอา ไม้ ค้ำ รับ รอง ไว้, คือ ความ ที่ รับ จุน ไว้ นั้น เอง.
      ค้ำ ส่ง เสีย (92:2.3)
               คือ การ ที่ เอา ไม้ ใส่ ถิ้ม เข้า แล้ว เสือก ไป นั้น.
      ค้ำ ชู (92:2.4)
               การ ที่ คน จะ ยก เสา ตั้ง ขึ้น. หฤๅ ของ สิ่ง ใด ๆ เอา ไม้ ค้ำ ชู ยก ขึ้น ไว้, คือ ความ ที่ รับ ชู ไว้ นั้น เอง.
คะ (92:3)
         คำ ที่ คน พูด จา รับ คำ กัน, เหมือน อย่าง เออ นั้น.
คะจร (92:4)
         คือ ข่าว แล เรือง ความ สิ่ง ใด ๆ, ที่ เขา พูด จา เล่า ฦๅ ต่อ ๆ ไป นั้น.
      คะชา ธาร (92:4.1)
               ฯ คือ ช้าง สำหรับ กระษัตริย์ ขี่ นั้น คือ ช้าง พระ ที่ นั่ง นั้น เอง.
      คะ ชา ภรณ์ (92:4.2)
               ฯ คือ เครื่อง ประดับ เครื่อง ตก แต่ง ของ ช้าง.
      คะ ชินทร์ (92:4.3)
               ฯ เปน สับท์ แปล ว่า ช้าง เปน ใหญ่, ว่า พญา ช้าง ก็ ได้.
      คะ เชนทร์ (92:4.4)
               ฯ ว่า ช้าง ที่ เปน นาย ฝูง ช้าง ทั้ง ปวง.
คชศีห์ (92:5)
         ฯ เปน ชื่อ สัตว สี่ ท้าว, รูป เหมือน ราชสีห์, แต่ มี งวง น่อย หนึ่ง.
คะดี (92:6)
         ข้อ ความ ทั้ง ปวง, ฤๅ เปน เหตุ ต่าง ๆ นั้น.
      คะดี โลกย์ (92:6.1)
               คือ สรรพ การงาน, แล ข้อ ประฏิบัติ แห่ง โลกย์ ทั้ง ปวง เปน* ต้น นั้น.

--- Page 93 ---
คะติ (93:1)
         ฯ ว่า ไป, เหมือน อย่าง อสุคะติ, ฤๅ ทุคะติ, ไป ดี, ไป ชั่ว, เปน ต้น นั้น.
คะดี ธรรม (93:2)
         คือ ข้อ ความ ที่ เปน ฝ่าย ธรรม, มี ศิล ห้า เปน ต้น, คือ ความ ที่ เปน ไป ตาม ธรรม นั้น เอง.
คะณา (93:3)
         ฯ คือ อาการ เปน หมู่, เปน พวก, คือ คน ฤๅ สัตว, มา ประชุม พร้อม กัน อยู่ เปน หมู่ นั้น.
      คะณา ญาติ (93:3.1)
               ฯ แปล ว่า หมู่ แห่ง ญาติ, คือ พวก ญาติ ทั้ง ปวง นั้น เอง.
      คะณิกา (93:3.2)
               ฯ คือ เปน หญิง เจ้า หมู่, ฤๅ หญิง เปน ใหญ่ ใน หมู่ นั้น.
      คะณา นาง (93:3.3)
               คือ หมู่ นาง หญิง เหมือน อย่าง ฝูง นาง นารี นั้น เอง.
คะณะ (93:4)
         คือ การ ที่ พวก พระสงฆ์, ที่ ตั้ง อยู่ เปน พวก ๆ, เปน หมู่ ๆ นั้น.
      คะณา นก (93:4.1)
               คือ หมู่ นก, ฝูง นก, พวก นก, เล่า นก.
      คะณะณา (93:4.2)
               คือ ว่า การ นับ ตั้ง แต่ ๑ เปน ต้น ไป.
คะนอง (93:5)
         คือ อาการ ที่ คน ฤๅ สัตว รื่น เริง บันเทิง ใจ, วิ่ง เต้น โลด โผน ไป มา ต่าง ๆ นั้น, คือ ลำพอง นั้น เอง.
คะนน (93:6)
         เปน ชื่อ ม่อ สำรับ ตัก น้ำ, ทำ ด้วย ดิน โต ประ มาณ เท่า บาตร พระสงฆ์, หนึ่ง คือ ม่อ กละ ออม นั้น เอง.
คะนาน (93:7)
         เปน สิ่ง ของ สำรับ ตวง, ทำ ด้วย กะลา มะ พร้าว บ้าง, ทำ ด้วย ทอง เหลือง บ้าง.
คะแนน (93:8)
         เปน ของ สำหรับ กำหนฎ เมื่อ นับ สิ่ง ของ, คือ ให้ รู้ ว่า สิบ, ว่า ร้อย, ว่า พัน เปน ต้น.
คะ เน (93:9)
         คือ การ ประมาณ, การ คาด, การ เดา, เหมือน อย่าง คำ ว่า เหน จะ เปน นั้น เอง.
คะน่ำ คะเน (93:10)
         คะน่ำ เปน คำ สร้อย, แต่ คะเน นั้น เปน การ ที่ คน คาด การ กำหนฎ เอา โดย ใจ ใน ใจ ว่า จะ เปน เช่น นั้น.
คะนะนา (93:11)
         คือ การ นับ ให้ รู้ ว่า ร้อย, ว่า พัน, ว่า หมื่น, ว่า แสน เปน ต้น.
คะมำ (93:12)
         คือ อาการ ที่ หน้า ขว้ำ ล้ม ลง นั้น.
คะ มะ นา การ (93:13)
         ฯ ว่า ไป คือ อาการ ที่ ไป นั้น เอง.
      คะม่ำ (93:13.1)
               คือ อาการ เอา ปาก ฮุบ เอา ๆ, เหมือน สุนัข มัน ชิง กัน กิน เข้า นั้น.
คะรุ (93:14)
         ฯ ว่า หนัก, ช้า, เหมือน อย่าง ครุ กรรม, ครุ โทษ นั้น เอง.
      คะรุวนา (93:14.1)
               เปน คำ โลกย์ พูด ว่า, อุปะมา ฉัน ใด, คือ ดุจ ดั่ง นั้น เอง.
      คะรุ กรรม (93:14.2)
               คราม ที่ กระทำ การ หนัก, ฤๅ กระทำ การ หยาบ, เหมือน คน ฆ่า บิดา มารดา เปน ต้น.
      คะรุ ภัณฑ์ (93:14.3)
               เปน เครื่อง ใช้ สอย ที่ หนัก, ฤๅ เครื่อง ใช้ ที่ หยาบ, คือ โอ่ง อ่าง ไห เปน ต้น.
คะราวาศ (93:15)
         คือ คน ที่ ถือ เพษ คฤหัฐ, อยู่ บ้าน อยู่ เรือน บริโภค กาม คุณ, ไม่ ได้ ออก บวช นั้น เหมือน อย่าง คฤหัฐ นั้น.
คฤหา (93:16)
         ฯ คือ เคหา แปล ว่า เรือน, เปน คำ แผลง ว่า คฤหา.
คะระหา (93:17)
         เปน คำ ติ เตียน, พูด ประจาร ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง คำ กล่าว ขวัน เปน ต้น นั้น.
      คะระหา นินทา (93:17.1)
               คือ ความ ติเตียน, แล นินทา ว่า, คน นั้น กะทำ ความ ชั่ว ร้าย นั้น.
คะวี่ คะวาด (93:18)
         คือ การ เร็ว การ ด่วน, เหมือน อย่าง จะ ทำ การ สิ่ง ใด ๆ, ฤๅ จะ ไป จะ มา, ก็ ย่อม ทำ เร็ว, จะ ไป มา ก็ ด่วน ๆ.
คะหะ บดี (93:19)
         แปล ว่า ชาย เปน ใหญ่ ใน เรือน, มิ ใช่ คน เปน ขุน นาง เปน แต่ คน มั่ง มี.
คะอักคะอาย (93:20)
         อาการ ที่ คน พิรุทธ์, พูดจา ไม่ เต็ม ปาก, เหมือน คน ทำ ความ ชั่ว ต่าง ๆ ไว้, ผู้ อื่น รู้ แล้ว ถาม บอก อุบอิบ ไป
คฤหัฐ (93:21)
         คือ คน ทั้ง ปวง ที่ ไม่ ได้ ถือ บวช, เหมือน พระ สงฆ์ นั้น.
คะแอม (93:22)
         คือ อาการ ที่ คน ทำ เสียง คล้าย กัน กับ ไอ, เหมือน เสลด ติด ฅอ แล้ว, ทำ ให้ เสลด น่น* เคลื่อน ออก คะศะ, นั้น.
คัก (93:23)
         อาการ เปน ความ ร่า เริง ไม่ กลัว* ใคร, คือ คน ฤๅ สัตว มี ใจ เหิมฮึก เหน ฆ่า ศึก แล้ว ดี ใจ, จะ ใคร่ รบ นั้น.
      คัก ๆ (93:23.1)
               เปน เสียง หัว เราะ* ดัง เช่น นั้น มี บ้าง.
คึก (93:24)
         ความ เหมือน กัน กับ คัก. อนึ่ง เปน เสียง คน, ฤๅ สัตว ตื่น ตก ใจ, ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง.
      คึก คัก (93:24.1)
               อาการ* เปน เสียง คน มาก เดิน เข้า ออก, ที่ ประตู เมือง ดัง เช่น นั้น มี บ้าง.
คาก ๆ (93:25)
         เปน เสียง คน หัว เราะ ดัง เช่น นั้น มิ บ้าง.
คุก (93:26)
         เปน ชื่อ ที่ โรง ใหญ่, สำหรับ* ขัง พวก นักโทษ ไว้, มิ ให้ หนี ไป ได้. อนึ่ง เปน ยุ้ง ที่ สำรับ ใส่ เข้า เปลือก นั้น.
      คุก เข่า (93:26.1)
               อาการ ที่ คน, ฤๅ สัตว, ย่อ ตัว ลง แล้ว, กระทำ ให้ เข่า ทั้ง สอง นั้น, ตั้ง ลง กับ พื้น.
      คุก เข้า (93:26.2)
               คือ ยุ้ง ฉาง, ที่ สำรับ ใส่ เข้า เปลือก ไว้ นั้น.

--- Page 94 ---
      คุก คลาน (94:26.3)
               คือ อาการ ที่ ทำ เข่า ทั้ง สอง, ให้ ตั้ง ลง เหนือ พื้น แล้ว, เอา มือ ท้าว ลง ทั้ง สอง ข้าง, ยก เท้า ไป นั้น.
      คุก คาม (94:26.4)
               เปน เสียง ที่ คน ฤๅ สัตว โกรธ, ตวาด ขู่ คำราม นั้น.
โคก (94:1)
         เปน ชื่อ ที่ ดอน, ฤๅ ที่ สูง, คือ คน ขน เอา ดิน มา ภูน ขึ้น, ให้ เปน เนิน สูง นั้น.
      โคก กะสุร (94:1.1)
               คือ เปน ชื่อ ของ อย่าง หนึ่ง, ต้น เปน เถา เลื้อย อยู่ ตาม ดิน, ลูก เปน หนาม ใช้* ทำ ยา.
      โคก กะออม (94:1.2)
               คือ เปน ชื่อ* ของ อย่าง หนึ่ง, ต้น เปน เถา เลื้อย ไป, ใบ เปน แฉก ๆ ใช้ ทำ ยา.
      โคก ขาม (94:1.3)
               เปน ชื่อ บ้าน แห่ง* หนึ่ง, ชื่อ อย่าง นี้, มี อยู่ ใน แขวง หัว เมือง ท่า จีน.
      โคก คลี (94:1.4)
               เปน ชื่อ ที่ แห่ง หนึ่ง, มี อยู่ ใน แขวง หัว เมือง สุพรรณบุรีย์.
      โคก นา (94:1.5)
               คือ ที่ สูง, ที่ ดอน, เปน เนิน อยู่ ที่ ท้อง นา นั้น.
      โคก บ้าน (94:1.6)
               คือ ที่ ดอน, เปน เนิล, สูง กว่า ที่ อื่น, สำรับ เปน ที่ คน ทั้ง หลาย ได้ อาไศรย ปลูก เรือน.
      โคก มะนาว (94:1.7)
               เปน ชื่อ บ้าน แห่ง หนึ่ง, เปน ที่ สำรับ จอด เรือ ขึ้น นมัศการ พระ พุทธ บาท, อยู่ ใน แขวง กรุง เก่า.
      โคก วัด (94:1.8)
               คือ ที่ ดอน,* เปน เนิล สูง อยู่ ตาม วัด เก่า ๆ, ครั้ง บ้าน เมือง ดี นั้น.
      โคก สลุด (94:1.9)
               เปน ชื่อ บ้าน แห่ง หนึ่ง, มี อยู่ ใน แขวง เมือง เหนือ, ชื่อ อย่าง นั้น.
คอก (94:2)
         คือ อาการ ที่ ล้อม สำรับ ขัง วัว, ควาย, แพะ, แกะ, หมู ทั้ง ปวง. อนึ่ง คน แขน เสีย งอ อยู่ เหยียด ไม่ ตรง นั้น.
      คอก แกะ (94:2.1)
               คือ ที่ ล้อม, ทำ ด้วย ไม้ เหมือน เล้า หมู, สำรับ ขัง แกะ ไว้.
      คอก ควาย (94:2.2)
               คือ ที่ ล้อม, ทำ ด้วย ไม้, เปน ที่ เขื่อน วง รอบ, มี ปะตู เข้า ออก, สำรับ ขัง ควาย ไว้.
      คอก วัว (94:2.3)
               คือ ที่ ล้อม ทำ ด้วย ไม้, เหมือน คอก ควาย, สำรับ เปน ที่ ขัง วัว ไว้.
      คอก หมู (94:2.4)
               เปน ที่ ทำ ด้วย ไม้, เปน เล้า ล้อม รอบ, สำรับ ขัง ฝูง หมู ไว้ นั้น.
คง (94:3)
         คือ อาการ ที่ เปน ของ ยั่ง ยืน, ตั้ง มั่น อยู่ กับ ที่, มิ ได้ ยัก ย้าย ไป อย่าง อื่น, ฤๅ คำ ยั่ง ยืน, มิได้ แปรปรวน.
      คง กะพัน (94:3.1)
               อาการ ที่ คน ฟัน ไม่ เข้า, แทง ไม่ เข้า, ตี ไม่ แตก*, เหมือน อย่าง คน ชาตรี นั้น เอง.
คงคา (94:4)
         คือ แม่ น้ำ ทั้ง ปวง, เหมือน อย่าง แม่ น้ำ คงคา แล อะจิระ วะดี เปน ต้น.
คง จะ (94:5)
         ความ คือ จะ ทำ เปน แน่, ฤๅ จะ ได้ เปน แน่, จะ ไป เปน แน่ เปน ต้น นั้น.
คง ได้ (94:6)
         ความ คือ ได้ เปน แท้, ได้ เปน แน่ นั้น.
คง ที่ (94:7)
         อาการ ที่ สิ่ง ของ ยั่งยืน อยู่ กับ ที่, มิได้ แปรปรวน, กลับ กลาย เปน อื่น นั้น, คือ ธรรม นั้น เอง.
คง อยู่ (94:8)
         ความ ที่ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ตั้ง มั่ง, มิ ได้ กลับ กลาย ไป เปน อื่น นั้น, คือ ธรรม นั้น เอง.
คังคก (94:9)
         เปน สัตว อย่าง หนึ่ง, สี่ ตีน ตัว เล็ก ๆ, ดำ ๆ, คล้าย กบ กิน ไม่ ได้.
คั่ง (94:10)
         คือ อาการ ที่ คน ฤๅ สัตว เดิร มา จะ ออก จาก ปะตู, ยัง ออก มิ ได้, ต้อง ยุด รอ กัน อยู่, คือ ประดัง กัน นั้น เอง.
      คั่ง กัน (94:10.1)
               คือ อาการ ที่ จะ ออก ปะตู, ฤๅ ออก จาก ที่ ใด ที่ หนึ่ง, ยัง ออก มิ ได้, ต้อง อยุด รอ ติด กัน อยู่ นั้น.
      คั่ง แค้น (94:10.2)
               คือ อาการ ที่ เมื่อ ลม มัน อั้น อยู่ ใน รู จมูก, ขณะ เมื่อ มี ความ โทมนัศ ขัด แค้น นั้น.
      คั่ง คับ (94:10.3)
               อาการ ที่ คน ฤๅ สัตว มาก มาย หนัก ต้อง เบียด เสียด เยียดยัด กัน อยู่.
คาง (94:11)
         อาการ คือ อะไวยวะ ที่ สุด ขา ตะไกร ไต้ ปาก นั้น. อนึ่ง ต้น ไม้ ใบ เล็ก ๆ คล้าย ใบ มะขาม ชื่อ อย่าง นั้น.
      คาง เบือน (94:11.1)
               เปน ชื่อ ปลา อย่าง หนึ่ง ตัว ยาว ๆ ไม่ มี เกล็ด, คาง มัน ยื่น ยาว กว่า ปาก เบื้อง บน.
      คาง ทุม (94:11.2)
               อาการ โรค อย่าง หนึ่ง, มัน ย่อม บังเกิด ที่ คาง แล้ว, กระทำ ให้ คาง นั้น บวม อูม ขึ้น.
      คาง หมู (94:11.3)
               คือ อาการ คาง ของ หมู นั้น เอง. อนึ่ง ประเทศ ที่ ใด ๆ มี สันถาน เหมือน คาง หมู, ก็ เรียก อย่าง นั้น.
ค่าง (94:12)
         คือ สัตว อย่าง หนึ่ง รูป ร่าง คล้าย ลิง, แต่ โต กว่า ลิง น่อย หนึ่ง. อนึ่ง ที่ อะไวยะวะ เบื่อง ซ้าย ขวา ก็ เรียก อย่าง นั้น.
ค้าง (94:13)
         การ ที่ คน ทิ้ง สิ่ง ใด ๆ ขึ้น* ไป บน ที่ สูง เกี่ยว ค่อง อยู่, ฤๅ คน ติด ทรัพย สิ่ง ของ ทอง เงิน กัน อยู่, ฤๅ ทำ การ สิ่ง ใด ๆ ไม่ แล้ว นั้น.
      ค้าง คราว (94:13.1)
               ความ คือ การ ที่ เปน คราว วาระ เขา ไป, เปน ต้น, ตัว ไม่ ไป เปน ต้น นั้น.

--- Page 95 ---
      ค้าง เกิน (95:13.2)
               ความ คือ ทรัพย สิ่ง ของ เกี่ยว ค่อง ติด พัน เกิน กัน อยู่ นั้น.
      ค้าง คืน (95:13.3)
               ความ คือ แรม คืน อยู่, เหมือน คน ไป ธุระ อัน ใด กลับ ไม่ ทัน ใน วัน นั้น, ไป อยู่ คืน หนึ่ง เปน ต้น ว่า ไป.
      ค้าง คาว (95:13.4)
               เปน ชื่อ สัตว อย่าง หนึ่ง, หน้า มัน เหมือน หมา ผอม, ตา สว่าง กลาง คืน, มี ปีก บิน ได้, กิน ผลไม้.
      ค้าง มรสุม (95:13.5)
               คือ ค้าง ระดู ลม อยู่ สิ้น* ระดู หนึ่ง.
      ค้าง น้ำ (95:13.6)
               คือ การ ที่ คน ไป ไม่ ทัน น้ำ, เหมือน จะ ขึ้น ไป กรุง เก่า, เมื่อ เวลา น้ำ ขึ้น, ไป ไม่ ทัน, น้ำ ลง เสีย นั้น.
      ค้าง แห้ง (95:13.7)
               คือ ความ ที่ เรือ ขึ้น ติด อยู่ ที่ ไม่ มี น้ำ นั้น.
คุ้ง (95:1)
         คือ ฝั่ง ฟาก ทาง ข้าง คด ข้าง อ้อม แห่ง แม่ น้ำ, แล ห้วย คลอง ทั้ง ปวง นั้น.
      คุ้ง หน้า (95:1.1)
               คือ อาการ ที่ ตลิ่ง คด, ตลิ่ง อ้อม, ที่ อยู่ ใน เบื้อง* หน้า นั้น.
      คุ้ง น้ำ (95:1.2)
                คือ ที่ ฝั่ง คด ฝั่ง อ้อม, แห่ง แม่ น้ำ แล คลอง ทั้ง ปวง นั้น.
      คุ้ง นี้ (95:1.3)
               คือ ฝั่ง อ้อม นี้, ฦๅ ตลิ่ง อ้อม นี้.
      คุ้ง โน้น (95:1.4)
               คือ ตลิ่ง คด ข้าง โน้น, ฤๅ ตลิ่ง อ้อม ข้าง โน้น.
คึ่งเคียด (95:2)
         คือ ความ ขัด ใจ น่อย ๆ ไม่ โกรธ นัก นั้น.
      คึ่ง โกรธ (95:2.1)
               คือ ความ เคือง แล โกรธ กล้า นั้น.
แค่ง (95:3)
         คือ อะไวยวะ ที่ เปน ท่อน เบื้อง ต่ำ, ต่อ ขา ลง ไป จน ถึง ข้อ ตีน นั้น.
โค่ง (95:4)
         เปน ชื่อ ของ ใหญ่ ทั้ง ปวง, คือ คน . * ฤๅ สัตว, ฤๅ สิ่ง ของ ใด ๆ ที่ เติบ โต นั้น.
โค้ง (95:5)
         เปน ชื่อ* ของ ที่ อ้อม ค้อม ทั้ง ปวง, คือ คน ดัด ไม้ โค้ง เข้า ทำ ปะทุน เรือ เปน ต้น, ฤๅ หน ทาง, แล ลำ น้ำ ที่ อ้อม ค้อม ไป มา เปน ต้น นั้น.
      โค้ง เค้ง (95:5.1)
               เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ คด ไป คด มา, เหมือน อย่าง คน วาง ของ ไว้ ไม่ ราบ, ไม่ ตรง, สูง ๆ, ต่ำ ๆ, โกง ไป โกง มา นั้น เอง.
ค่อง (95:6)
         เปน ชื่อ สิ่ง ของ สำหรับ ใส่ ปลา, ทำ ด้วย ไม้ บ้าง, ทำ ด้วย หวาย บ้าง, เปน รูป กลม ๆ, ฅอ ค่อม ๆ, ปาก แบะ ๆ.
      ค่อง เกี่ยว (95:6.1)
               ความ คือ สิ่ง ของ ที่ ติด ห้อย อยู่ บน ที่ สูง นั้น. อนึ่ง* พูด เปน คำ เปรียบ, เหมือน คน ติด ค้าง เข้า ของ กัน อยู่ นั้น.
      ค่อง ขัด (95:6.2)
               ค่อง คือ ติด อยู่. ขัด นั้น คือ ไม่ สดวก, เหมือน คน จะ ไป เปน ต้น, ติด อยู่, ว่า เช่น นั้น.
      ค่อง อยู่ (95:6.3)
               อาการ คือ สิ่ง ของ ใด ๆ, ที่ ลอย มา ค้าง ติด อยู่ นั้น.
      ค่อง อ้อย (95:6.4)
               เปน ชื่อ การ เล่น พะนัน กัน ด้วย* อ้อย อย่าง หนึ่ง.
ค้อง (95:7)
         เปน ชื่อ เครื่อง ประโคม, มี ฆ้อง วง เปน ต้น, ฤๅ ฆ้อง โหม่ง.
      ค้อง สามย่าน (95:7.1)
               เปน ชื่อ ต้น อย่าง หนึ่ง, ใบ หนา จัก ๆ, สำรับ ใช้ ทำ ยา, ดอก เล็ก ๆ, ศี เหลือง ๆ.
      ค้อง กะแต (95:7.2)
               เปน ชื่อ ฆ้อง อย่าง* หนึ่ง, เหมือน อย่าง ฆ้อง ตะ- เวน นั้น.
ควง (95:8)
         คือ ของ ที่ สำรับ ใช้ อัด หนังสือ*. อนึ่ง คือ อาการ กระทำ ให้ หมุน ไป โดย รอบ, เหมือน ปัน ฝ้าย นั้น.
      ควง กระบอง (95:8.1)
               คือ การ ที่ คน เอา ไม้ กระบอง ยาว ประมาณ สี่ ศอก, แกว่ง ให้ หมุน เหมือน จังหัน นั้น.
      ควง ตี หนังสือ* (95:8.2)
               เปน ชื่อ เครื่อง สำรับ ตี หนังสือ อย่าง หนึ่ง, มี ควง สำหรับ หัน ได้.
      ควง ไม้ (95:8.3)
               คือ เปน ชื่อ* ที่ ปริมณฑล, เปน ร่ม กลม โดย รอบ แห่ง ต้น ไม้ ทั้ง ปวง นั้น.
      ควง มหาโพธิ์ (95:8.4)
               คือ เปน ชื่อ ปริมณฑล แห่ง ไม้ มหาโพธิ์, ที่ เปน กิ่ง ทอด ออก ไป โดย รอบ นั้น.
      ควง เหล็ก (95:8.5)
               คือ เปน ชื่อ ควง ทำ ด้วย เหล็ก, เหมือน ที่ หมอ หัน อัด กระดาด หนังสือ พิมพ์ นั้น.
เคียง (95:9)
         คือ เปน ชื่อ อาการ ใกล้, เหมือน อย่าง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ตั้ง ไว้, ฤๅ วาง ไว้ ใกล้ ๆ ริม ๆ กัน นั้น.
      เคียง กัน (95:9.1)
               คือ เปน ชื่อ อาการ ใกล้* กัน, เหมือน อย่าง คน ฤๅ สัตว ยืน อยู่ ใกล้ ๆ กัน เปน ต้น นั้น.
      เคียง ข้าง (95:9.2)
               คือ อาการ ที่ อยู่ ข้าง ๆ ฤๅ ริม ข้าง ๆ นั้น เอง.
      เคียง คู่ (95:9.3)
               คือ อาการ ที่ อยู่ ใกล้ ๆ กัน, เหมือน อย่าง สิ่ง ของ ที่ เปน คู่ เคียง กัน อยู่ นั้น.
      เคียง เรียง (95:9.4)
               คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ วาง ไว้ ใกล้ กัน ต่อ ๆ ออก ไป นั้น.
เคือง (95:10)
         คือ ความ ที่ เจ็บ เหมือน อย่าง ผง เข้า ตา, ฤๅ หนาม เสี้ยน เล็ก ๆ, ที่ ยอก ติด อยู่ ใน ผิว เนื้อ นั้น.
      เคือง กัน (95:10.1)
               โกรธ กัน, คือ ความ เจ็บ ใจ น้อย ๆ, เหมือน อย่าง คน ขัด ใจ ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง เล็ก น้อย นั้น, คือ ความ ที่ ไม่ ชอบ กัน นั้น เอง.
      เคือง ใจ (95:10.2)
               ขัด ใจ, คือ คน ขัด ใจ โกรธ กัน บ้าง เล็ก น้อย, เหมือน อย่าง หมอง ใจ กัน นั้น.

--- Page 96 ---
      เคือง พระไทย (96:10.3)
               คือ เคือง ใจ, ฤๅ เจ็บ ใจ นั้น เอง, แต่ พูด เปน คำ ใน.
      เคือง ขุ่น (96:10.4)
               คือ ความ โกรธ ที่ บังเกิด ขุ่น เคือง อยู่ ใน ใจ นั้น.
      เคือง แค้น (96:10.5)
               คือ ความ ที่ ใจ โกรธ หน่อย ๆ คับ แค้น ใจ นั้น.
      เคือง ตา (96:10.6)
               คือ ความ ที่ เจ็บ ใน ตา, เมื่อ ผง เข้า ไป อยู่ นั้น, ฤๅ เจ็บ ตา แดง เปน ต้น.
คด (96:1)
         คือ อาการ ที่ ไม่ ตรง นั้น, เหมือน อย่าง ไม้ คด บ้าง, คน คด บ้าง, คลอง คด บ้าง, คือ โกง นั้น เอง.
      คด โกง (96:1.1)
               คือ อาการ สิ่ง ของ ที่ ไม่ ซื่อ, ไม่ ตรง นั้น เอง, เหมือน ไม้ ที่ โกง ไป โกง มา, ฤๅ คน โกง โกหก ตอแหล นั้น.
      คด ข้อ (96:1.2)
               คือ อาการ ของ ไม้, ฤๅ คน มัน คด, มัน โกง อยู่ ที่ ข้อ นั้น.
      คด เข้า (96:1.3)
               คือ การ กระทำ ให้ เข้า สุก ออก จาก ม่อ, ฤๅ ออก จาก ครก นั้น.
      คด ค้อม (96:1.4)
               คือ อาการ สิ่ง ที่ ตน น้อม ลง เบื้อง ต่ำ, เหมือน คน หลัง โกง, มี ตัว น้อม ลง เบื้อง หน้า เปน ต้น นั้น.
      คด เคี้ยว (96:1.5)
               คด นั้น ว่า แล้ว, แต่ เคี้ยว นั้น เปน คำ สร้อย.
      คชสาร (96:1.6)
               เปน ชื่อ แห่ง ช้าง ทั้ง ปวง นั้น เอง, เปน คำ แผลง.
      คชส่าน (96:1.7)
               เปน ชื่อ* แตงโม, ที่ มี ศี อัน เหลือง นั้น, กิน หวาน ดี มี รศ ชื่น ใจ.
      คชสีห์ (96:1.8)
               เปน ชื่อ สัตว อย่าง หนึ่ง สี่ เท้า, โต เท่า กับ งัว, ขน ลาย ศี ต่าง ๆ, มี งวง มี งา เหมือน ช้าง, มี กำลัง มาก, อยู่ ป่า สูง.
คัด (96:2)
         เปน การ กระทำ อย่าง หนึ่ง, คือ ง้าง ให้ ฝา ออก จาก ที่ บ้าง, ง้าง ไม้, ง้าง เสา, ขึ้น จาก ที่ บ้าง.
      คัด ค้าว (96:2.1)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ดอก หอม, ต้น มี หนาม.
      คัด ง้าง (96:2.2)
               คือ การ ที่ เอา ไม้ พลอง คัด ฝา, ฤๅ คัด ไม้ คัด เสา, แล้ว ง้าง ออก จาก ที่ นั้น.
      คัด ค้าน (96:2.3)
               คือ ความ ที่ ติด ใจ ให้ ยก เสีย, เหมือน อย่าง ค้าน พญาณ ว่า. เปน คน ชั่ว นั้น.
      คัด* จมูก (96:2.4)
               อาการ ที่ หาย ใจ ทาง จมูก ไม่ สดวก, เหมือน คน เปน หวัด หายใจ ไม่ ใคร่ ออก นั้น.
      คัด ฉาก (96:2.5)
               คือ การ ที่ คน ถือ ท้าย เรือ, ไม่ ภาย เลย, เอา ภาย ลง แช่ ไว้, คอย แต่ คัด กับ วาด นั้น.
      คัด ท้าย (96:2.6)
               คือ การ ที่ คัด ท้าย เรือ ด้วย ภาย ใน น้ำ นั้น เอง.
      คัด ไม้ (96:2.7)
               คือ การ ที่ เอา พอง คัด ไม้ เสา, ไม้ ซุง, ให้ เคลื่อน คลาด ออก จาก ที่ นั้น.
      คัด ไว้ (96:2.8)
               เปน คำ ว่า, ให้ คัด ท้าย เรือ ไว้, คือ ความ ที่ ให้ งัด ไว้ นั้น เอง.
      คัด ออก (96:2.9)
               คือ การ ที่ เอา ภาย ภุ้ย น้ำ ทำ ให้ หัว เรือ ออก ไป, คือ การ ที่ ให้ งัด ออก นั้น เอง.
คาด (96:3)
         เปน ชื่อ การ กระทำ อย่าง หนึ่ง, คือ เอา เชือก รัด ลง บ้าง, เอา ด้าย รัด ลง บ้าง, เรียก อย่าง นั้น เอง.
      คาด การ (96:3.1)
               เปน การ คะเน, การ ประมาณ, คือ คิด ว่า, การ นี้ เหน จะ เปน อย่าง นั้น อย่าง นี้ เปน ต้น*.
      คาด กาล (96:3.2)
               คะเต* เวลา, คือ ความ ที่ คิด ประมาณ, คิด คะเน เวลา เปน ต้น.
      คาด ใจ (96:3.3)
               ประมาณ ใจ, ความ ที่ คิด คะเน ใน ใจ ว่า, กระทำ อย่าง นี้ ที จะ ได้, กระทำ อย่าง นี้ เหน จะ ไม่ ได้ เปน ต้น.
      คาด เชือก (96:3.4)
               คือ การ ที่ เอา เชือก คาด ผูก รัด เข้า ที่ มือ, เหมือน อย่าง คน จะ ชก มวย* เปน ต้น นั้น.
      คาด เตี่ยว (96:3.5)
               คือ การ ที่ เอา ผ้า แคบ ๆ แต่ ยาว, คาด พันท์ รอบ บั้นเอล, แล ชาย ผ้า ที่ ยาว นั้น ลอด ลง ที่ หว่าง ขา, ห่อ ลูก ที่ ลับ แล้ว โจง ขึ้น ไป เหน็บ ไว้ กับ ผ้า ที่ เอว ข้าง หลัง.
      คาด หน้า (96:3.6)
               คือ ความ ที่ คน คะเน นึก* ใน ใจ ว่า, หน้า คน นี้ เหน จะ ฉลาด, หน้า คน นี้ เหน จะ โง่.
      คาด โทษ (96:3.7)
               คือ ความ กำหนฎ ไว้ ว่า, จะ ลง โทษ, มี จำ แล ตี เปน ต้น นั้น.
      คาด พุง (96:3.8)
               คือ การ ที่ เอา ผ้า นุ่ง ฤๅ ผ้า ห่ม, พันท์ เข้า ที่ พุง นั้น.
      คาด ราคา (96:3.9)
               คือ ความ ที่ ประมาณ กำหนฎ ราคา ของ ต่าง ๆ ว่า, เหน จะ เปน ราคา เท่า นี้ เท่า นั้น.
      คาด หมาย (96:3.10)
               คะเน หมา, คือ ความ ที่ คน เหน ของ สิ่ง ใด ๆ, คิด คาด หมาย ตา ไว้ ว่า, เท่า นั้น เท่า นี้ เปน ต้น.
      คาด รัตะคด (96:3.11)
               รัด กายะ พันท์, คือ การ ที่ พวก พระสงฆ์, เอา ผ้า แพร ยาว ๆ, ทบ คาด รัด ไว้ ที่ เอว บ้าง ที่ อก บ้าง.
      คาด เวลา (96:3.12)
               ประมาณ กาล, คือ* ความ ที่ นึก ประมาณ เวลา, เหมือน คน ไม่ เหน นาระกา, ก็ คาด ดู ว่า เวลา นี้ เหน จะ เท่า นั้น เท่า นี้.

--- Page 97 ---
      คาด อก (97:3.13)
               รัด อก, คือ การ ที่ เอา ผ้า, ฤๅ เชือก*, รัด ผูก ไว้ ที่ อก, เหมือน พระ สงฆ์ ทั้ง ปวง, เอา รัด ประคด คาด ผูก ไว้ ที่ อก นั้น.
      คาด เอว (97:3.14)
               รัด เอว, คือ การ ที่ เอา ผ้า ผูก ไว้ ที่ เอว, เหมือน* พวก พระ สงฆ์, แล พวก ตำรวจ เอา ราดประคด ผูก ไว้ ที่ เอว นั้น.
คิด (97:1)
         นึก, คือ ความ* ที่ นึก ตรึก ตรอง ไป ใน อารมณ์ ต่าง นั้น, คือ คือ ความ วิตก* ที่ วิจารณ์ นั้น เอง.
      คิด กัน (97:1.1)
               หาฤๅ กัน, คือ ความ ที่ คน สอง คน, ฤๅ สาม คน เปน ต้น, จะ ทำ การ สิ่ง ใด ๆ, ย่อม คิด อ่าน ปฤกษา กัน นั้น.
      คิด การ (97:1.2)
               ตรึก ตรอง การ, คือ ความ ที่ คน จะ กระทำ สิ่ง ใด ๆ ต้อง คิด ก่อน ว่า, กระ ทำ อย่าง นี้ ควร, ทำ อย่าง นี้ ไม่ ควร.
      คิด กระบถ (97:1.3)
               นึก ประธุษร้าย พระเจ้า แผ่นดิน, คือ การ ที่ บุคล ประธุษร้าย ต่อ พระ มหา กระษัตริย์ นั้น.
      คิด คด (97:1.4)
               คิด ทระยศ, คือ ความ ที่ คน คิด ไม่ ตรง, คือ ความ ที่ ตรึกตรอง จะ โกง นั้น เอง.
      คิด งาน (97:1.5)
               คิด การ, คือ ความ ที่ คน คิด ทำ การ ทั้ง ปวง ต่าง ๆ.
      คิด ดู (97:1.6)
               นึกดู, คือ ความ ที่ คิด ตรึกตรอง แล้ว, พิจารณา ดู ด้วย, เหมือน อย่าง พวก โหร เปน ต้น นั้น.
      คิด ตรึกตรอง (97:1.7)
               คือ ความ ที่ คิด วิตก, วิจารณ์ ไป ใน อารมณ์ ต่าง ๆ นั้น.
      คิด ถึง (97:1.8)
               คือ ความ คิด ไป ถึง คน เปน ต้น.
      คิด ใน ใจ (97:1.9)
               คือ ความ ที่ คน คิด นึก ตรึกตรอง อยู่ แต่ ใน ใจ นั้น.
      คิด รักษ์ (97:1.10)
               คือ ความ ที่ นึก รักษ ใน ใจ เหมือน อย่าง ชาย หนุ่ม, เหน หญิง สาว ให้ คิด รัก อยู่ ใน ใจ เปน ต้น นั้น.
      คิด ร้าย (97:1.11)
               คือ ความ ที่ คิด จะ กระทำ ประทุษฐร้าย.
      คิด ฦก (97:1.12)
               คือ ความ ที่ คน คิด เรื่อง ความ ที่ ลับ ฦก, ที่ ผู้ อื่น คิด มิใคร่ เหน นั้น, คือ คิด ไม่ ตื้น นั้น เอง.
      คิด โลภ (97:1.13)
               คิด มักมาก*, คือ ใจ ที่ คิด อยาก จะ ได้ เกิน ประมาณ, เหมือน อย่าง คน เหน ของ ผู้ อื่น คิด ว่า, ทำ ฉันใด จึ่ง จะ ได้ มา เปน ของ ๆ เรา.
      คิด หลง (97:1.14)
               คิด ผิด, สัญา วิปะลาศ, คือ ใจ ที่ คิด หลง ผิด ไป ต่าง ๆ เปน ต้น ว่า, รูป ธรรม, ฦๅ นาม ธรรม นั้น เที่ยง. ไม่ แปร ปรวน, ไม่ เปน ทุกข์ เปน ตัว เรา, ฤๅ เปน ของ ๆ เรา.
      คิด ว่า (97:1.15)
               คือ ใจ ที่ นึก ว่า, เรา จะ ว่า อย่าง นี่, เรา จะ กล่าว อย่าง นี้, ฤๅ ใจ ที่ คิด จะ ทำ อย่าง นี้, อย่าง นั้น เปน ต้น.
      คิด ให้ (97:1.16)
               ความ ที่ ช่วย เขา คิด, ฤๅ คิด จะ ให้ ของ แก่ ผู้ อื่น.
      คิด เสีย ใจ (97:1.17)
               คือ ความ ที่ ใจ ไม่ สะบาย, เหมือน อย่าง สิ่ง ของ อัน ใด เปน ที่ รักษ, พราก ไป จาก ตัว เปน ต้น. อนึ่ง ความ ที่ คิด ละอาย ใจ นั้น.
      คิด ออก (97:1.18)
               คือ ความ ที่ คิด ข้อ ความ อัน ใด ที่ ฦก เหน ได้ นั้น, คือ ความ ที่ ระฦก ขึ้น ได้ นั้น เอง.
      คิด อดสู (97:1.19)
               คือ ความ* ที่ คิด อาย ใน ใจ นั้น เอง, เหมือน อย่าง คน กระ ทำ ความ ชั่ว ไว้, แล้ว มี คน อื่น รู้ เข้า ก็ อาย ใน ใจ.
      คิด อ่าน (97:1.20)
               คือ ความ ที่ คิด แล้ว อ่าน หนังสือ ไป. อย่าง หนึ่ง เปน คำ ว่า ช่วย กัน คิด อ่าน นั้น.
      คิด อาย (97:1.21)
               นึก บัดศี, คือ ความ อดสู ใน ใจ นั้น เอง, คือ ความ ที่ ตรึกตรอง แล้ว, นึก บัดศี ใจ นั้น.
คุด (97:2)
         คือ อาการ สิ่ง ที่ งอก อยู่ ใต้ ดิน, ไม่ ขึ้น มา พ้น ดิน ได้. อนึ่ง คน ฤๅ สัตว นอน ขด งอ อยู่, ไม่ เอยียด ตีน เอยียด มือ นั้น.
      คุด คู้ (97:2.1)
               คด งอ, คือ การ ที่ ขด โค้ง เข้า, เหมือน* คน นอน คุดคู้ งอ ตัว อยู่, ฤๅ ทารก ที่ อยู่ ใน ครรภ์ นั้น.
คุดตะ (97:3)
         ฯ สำรวม, คือ การ รักษา, เหมือน อย่าง คน นาย เรือ, ฤๅ คน รักษา เปน ต้น นั้น.
คูธ (97:4)
         คือ ขี้ แห้ง คน, แล สัตว ทั้ง ปวง, คือ แต่ บันดา ของ กิน ที่ ตก เข้า ไป อยู่ ใน ท้อง แล้ว, กลับ ออก มา ตาม ทาง รู ก้น นั้น.
      คูธ นรก (97:4.1)
               เปน ชื่อ ขุม นรก ที่ เต็ม ด้วย อาจม นั้น.
โคตร (97:5)
         คือ เปน ชื่อ เผ่าพันธุ์, แห่ง ปู่ ย่า ตา ยาย ของ คน ทั้ง หลาย ที่ บังเกิด ต่อ ๆ กัน ลง มา นั้น. อนึ่ง คือ แซ่ ฤๅ กระกูล นั้น.
      โคตร เดียว กัน (97:5.1)
               ความ คือ เปน วงษ อัน เดียว กัน, ฤๅ เชื้อ สาย เดียว กัน, ตระ* กูล เดียว กัน, เผ่า พันธุ เดียว กัน, แซ่ เดียว กัน นั้น.
      โคตร เค้า เถ้า แก่ (97:5.2)
               เปน คำ ด่า กัน ถึง พ่อ แม่ เปน ต้น นั้น, คือ ความ กล่าว ถึง ปู่ ญ่า ตา ยาย ใน เดิม นั้น.
      โคตร พ่อ (97:5.3)
               กระ กูล บิดา, คือ เผ่า พันธุ เชื้อ สาย ฝ่าย บิดา, คือ แซ่ ฝ่าย ข้าง พ่อ นั้น เอง.
      โคตร แม่ (97:5.4)
               คือ เปน วงษ, กระ กูล ข้าง มารดา, คือ แซ่ มาร ดา นั้น เอง.
      โคตร ญาติกา (97:5.5)
               คือ เผ่า พันธุ พวก พี่ น้อง อัน บัง เกิด สืบ ต่อ กัน มา นั้น, คือ วงษ พี่ วงษ น้อง นั้น เอง.

--- Page 98 ---
คอด (98:1)
         (dummy head added to facilitate searching).
      คอด กิ่ว (98:1.1)
               คือ อาการ สิ่ง ของ ที่ กิ่ว เล็ก อยู่ ใน ท่ำ กลาง, เหมือน อย่าง ฅอ สาก เปน ต้น นั้น.
      คอด กลาง (98:1.2)
               กิ่ว กลาง, คือ อาการ สิ่ง ของ ที่ เล็ก คอด อยู่ ที่ กลาง นั้น เอง.
      คอด กิ่ว (98:1.3)
               กิ่ว คอด, คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ โต ไม่ เสมอ กัน, เล็ก ที่ ต้น บ้าง, ที่ กลาง บ้าง, ที่ ปลาย บ้าง นั้น.
เคียด (98:2)
         คือ ความ ที่ โกรธ แล้ว. ว่า กล่าว เสียบ แทง ตัด ภ้อ ต่าง ๆ นั้น, คือ ปริภาษ สำแดง ไภย นั้น เอง.
      เคียด ขึ้ง (98:2.1)
               คือ ความ โกรธ เคือง ใจ น้อย ๆ นั้น.
คน (98:3)
         ชน, บุคล, คือ มนุษ ชาย หญิง* ทั้ง ปวง นั้น เอง, หา ใช่ สัตว เดียรฉาน ไม่ ดอก.
      คน แก่ (98:3.1)
               มนุษ แก่, คือ คน ที่ เกิด มา นาน, มี อายุศม์ มาก, จน ผม หงอก ฟัน หัก เปน ต้น นั้น, คือ คน ชรา นั้น เอง.
      คน เก่า (98:3.2)
               คือ คน ที่ เคย อยู่ มา แต่ ก่อน, ฤๅ อยู่ มา นาน, หา ได้ มา อยู่ ใหม่ ไม่, คือ คน แรก คน เดิม นั้น เอง.
      คน กาก (98:3.3)
               คือ คน โง่, คน ไม่ ดี, คน ดี หมด แล้ว, ไม่ มี ใคร ปราถนา, เหมือน อย่าง กาก มพร้าว แล กาก ปลาร้า เปน ต้น.
      คน เก่ง (98:3.4)
               พวก หัว ไม้, คือ คน ดุ ร้าย มี ฝี มือ เข้ม แขง กล้า หาร ไม่ กลัว ใคร, มัก ประพฤษดิ์ เปน หัว ไม้ เที่ยว ชก ตี กัน เปน ต้น.
      คน โกง (98:3.5)
               คือ อาการ คน โกหก, คน ไม่ ตรง, คน คด, คน ตอ แหล, คน ปด, คน พูด ไม่ จริง, คน ชั่ว ไม่ ดี.
      คน เกียจ คร้าน (98:3.6)
               คน ขี่ เกียจ, คือ ความ คน ไม่ อุษาห, ไม่ หมั่น, ไม่ มี ความ เพียร ที่ จะ ทำ การ งาน, แล เล่า* เรียน วิชา ต่าง ๆ นั้น.
      คน การ (98:3.7)
               คือ เปน ชื่อ คน สำหรับ ทำ การ งาน ทั้ง ปวง นั้น, คือ คน ผู้ กระ ทำ, เหมือน อย่าง นาย งาน นั้น.
      คน แกน (98:3.8)
               คน ขัด สน, คือ ความ ที่ เปน คน จน เต็ม ที, เปรียบ เหมือน อย่าง ผลไม้ ที่ แกน นั้น, เพราะ มัน หา ใคร่ จะ มี น้ำ มี เนื้อ ไม่.
      คน เก้อ (98:3.9)
               คือ อาการ คน ที่ คิด อาย อด สู ใน ใจ. เหมือน อย่าง คน ทำ การ ชั่ว ต่าง ๆ ไว้, มี คน รู้ ความ นั้น ก็ คิด อาย.
      คน เกะ กะ (98:3.10)
               คือ ความ ที่ เปน คล พาล ดุ ร้าย, เหมือน คน กีน เหล้า แล้ว มัก ถะ เลาะ วิ วาท ตี ด่า กัน กับ เพื่อน บ้าน, ฤๅ พี่ น้อง นั้น.
      คน กลาง (98:3.11)
               คือ คน หญิง ที่ มี ผัว แล้ว เปน ชู้ กับ ชาย อื่น, หญิง นั้น ว่า เปน คน กลาง, เพราะ ตก อยู่ กลาง ตระ ลา การ.
      คน ขำ (98:3.12)
               คือ อา การ ที่ คน หลบ ลี้* หนี เขา ไป, ต้อง ซ่อน ตัว อยู่. อนึ่ง เปน คน งาม พิศ, คือ ยิ่ง ดู ยิ่ง เหน งาม นั้น.
      คน ไข้ (98:3.13)
               คือ คน ป่วย เปน โรค ต่าง ๆ นั้น, คือ คน เจ็บ นั้น เอง.
      คน แขง (98:3.14)
               คือ คน ที่ แขง แรง มี กำลัง มาก นั้น, คือ คน ที่ ไม่ อ่อน ไม่ ขลาด นั้น เอง.
      คน ขัด (98:3.15)
               คน เข็น ใจ, คือ ความ ที่ เปน คน จน นั้น เอง, เหมือน จะ ปราถนา สิ่ง ใด, ก็ ขัด ค่อง ไป, หา ได้ สม ดั่ง ปราถนา ไม่.
      คน ขัน (98:3.16)
               ๆ คน ตลก, คือ คน จำ อวด นั้น เอง, เหมือน อย่าง คน ขะนอง เล่น ขัน ๆ นั้น, ฤๅ คน หัว ล้าน เปน ต้น ที่ คน ทั้ง ปวง ได้ เหน แล้ว หน้า หัว เราะ, อด ยิ้ม แย้ม ไม่ ได้, เหมือน คน ตลก นั้น.
      คน คุม (98:3.17)
               พวก ทำ มะรง, คือ คน ที่ คอย เฝ้า ระวัง มิ ให้ หนี ไป ได้, เหมือน ผู้ คุม ที่ คอย ระวัง รักษา พวก คน โทษ อยู่ นั้น.
      คน โง่ (98:3.18)
               คน โฉด, คือ คน ไม่ ฉลาด, ไม่ มี ปัญา นั้น เอง, ฤๅ คน ที่ ไม่ รู้ รอบ นั้น.
      คน งอน (98:3.19)
               คน ดัด จริต, คือ คน ที่ จริต กิริยา ไม่ ซื่อ, เหมือน หญิง แสน งอน, เล่น ตัว, ทำ จริต ดีด ดิ้น ไป ต่าง ๆ นั้น.
      คน เง๊อ (98:3.20)
               คน เค๊อ, คือ คน โง่, คน เค๊อ, ไม่ รู้ จัก การ งาน สิ่ง* ใด, คล้าย ๆ กับ บ้า นั้น, คือ คน เช๊อ นั้น เอง,
      คน จน (98:3.21)
               คน เข็น ใจ, คือ คน ไม่ มี ทรัพย์ สิ่ง ของ ทอง เงิน, ทำ มา หา กิน ภอ เลี้ยง ชีวิตร ไป เท่า นั้น.
      คน จร (98:3.22)
               คน เที่ยว, คือ คน เที่ยว ไป มา แต่ อื่น ไม่ มี บ้าน เรือน นั้น, คือ คน เดิร ทาง นั้น เอง.
      คน เฉา (98:3.23)
               คน โง่, คือ คน โฉด, คน โง่, คน ปัญา น้อย, คน ไม่ ฉลาด, คน ไม่ มี สติ นั้น.
      คน เซ็อ (98:3.24)
               คน เค๊อ, คือ คน โง่ ซุ่ม ซ่าม ไม่ รู้ จัก ประ มาณ นั้น, เหมือน คน บ้า กันชา, ฤๅ บ้า ลำ โพง เปน ต้น.
      คน ซอ (98:3.25)
               คือ คน ที่ สำรับ สี ซอ นั้น, เหมือน อย่าง พวก มโหรี เปน ต้น.
      คน ดื้ (98:3.26)
               คน สอน ยาก, คือ คน ว่า ยาก, สอน ยาก, ใช้ ยาก, จะ ว่า กล่าว ประ การ ใด มัน ไม่ ทำ ตาม.

--- Page 99 ---
      คน ดุ (99:3.27)
               คน ร้าย, คือ คน โท โส มาก, โกรธ ง่าย ร้าย กาจ มัก ทุบ ตี ผู้ อื่น เปน ต้น.
      คน ต่ำ (99:3.28)
               คน เตี้ย, คือ คน เตี้ย, คน ไม่ สูง, คน ค่อม นั้น, คือ คน กะ ต่อม นั้น เอง.
      คน เถ้า (99:3.29)
               คน คร่ำ คร่า, คือ คน แก่, คน ชรา, คน มี อายุศม์ มาก นั้น.
      คนทา (99:3.30)
               เปน ชื่อ ไม้ อย่าง หนึ่ง, ต้น เปน หนาม, มี อยู่ ใน ป่า, สำหรับ ทำ ไม้ สี ฟัน, ราก ใช้ ทำ ยา แก้ ไข้ ด้วย.
      คนที (99:3.31)
               เปน ชื่อ เต้า น้ำ คือ ม่อ สำหรับ ใส่ น้ำ ใช้, ทำ ด้วย ทอง คำ บ้าง, ทอง เหลือง บ้าง, ทอง แดง บ้าง, รูป กลม ๆ ฅอ ยาว ๆ คล้าย* ขวด.
      คนที เขมา (99:3.32)
               เปน ชื่อ ไม้ อย่าง หนึ่ง, ต้น ไม่ สู้ โต นัก, สำหรับ ใช้ ทำ ยา, กลิ่น มัน คล้าย กับ คน ที สอ.
      คนที สอ (99:3.33)
               เปน ชื่อ ไม้ อย่าง หนึ่ง, ต้น ไม่ สู้ โต นัก, สำรับ ใช้ ทำ ยา, ที่ หลัง ใบ นั้น ศี ขาว, ใส่ แกง ยา กิน ดี.
      คนโท (99:3.34)
               เครื่อง สำรับ ใส่ น้ำ, ที่ ขุนนาง ใช้ เปน เครื่อง ยศ, ทำ ด้วย ทอง คำ บ้าง, เหล็ก บ้าง, ฅอ ยาว คล้าย ๆ กับ ขวด.
      คน ธรรพ (99:3.35)
               คือ คน อย่าง หนึ่ง, นับ เข้า ใน พวก เทวดา, มี ฤทธิ์ สำเร็ทธิ์ ด้วย วิชา เหาะ ได้.
      คน ทรง (99:3.36)
               คน ที่ จ้าว ผี สิง, คือ คน ที่ ถือ ผี มัก เชิญ จ้าว ผี ให้ เข้า ทรง สิง อยู่ ใน ตัว, คน ทั้ง ปวง* ย่อม นับ ถือ, ว่า เปน ผู้ รู้ สาระพัด.
      คน นำ (99:3.37)
               คือ คน ที่* สำรับ นำ ทาง, เหมือน อย่าง คน หนึ่ง ไม่ รู้ แห่ง หน ทาง, แล้ว ให้ คน อื่น ช่วย ภา ไป.
      คน ใน (99:3.38)
               คือ คน สำรับ อยู่ ภาย ใน, เหมือน อย่าง คน ภาย ใน พระราชวัง, ฤๅ คน ที่ อยู่ ภาย ใน เรือน นั้น.
      คน นอก (99:3.39)
               คือ คน ที่ อยู่ ภาย นอก, เหมือน อย่าง คน ที่ อยู่ ภาย นอก พระราช วัง, ฤๅ คน นอก บ้าน นอก เมือง นั้น.
      คน บ้า (99:3.40)
               คน คลั่ง, คือ คน ที่ เสีย จริตร, เคลิ้ม สติ ลืม ตัว ไป, สิ้น จาก ความ กลัว, ความ อาย เปน ต้น, คือ คน ปมาท นั้น เอง.
      คน ใบ้ (99:3.41)
               คือ คน ที่ พูด ไม่ ออก, พูด ไม่ ได้ นั้น.
      คน บวช (99:3.42)
               คือ พวก พระสงฆ, สามเณร, ที่ นุ่ง ห่ม ผ้า เหลือง อา ไศรย อยู่ ใน วัด นั้น, คือ คน เว้น บาบ ทั่ว นั้น เอง.
      คน ปอบ (99:3.43)
               คน ชะมบ, คือ คน ลาว ที่ เลี้ยง ผี ไว้ แล้ว ย่อม ทำ อัน ตราย ต่าง ๆ แก่ คน ทั้ง ปวง*.
      คน พวง (99:3.44)
               คือ คน โทษ เขา ใส่ โซร่ ฅอ สอง คน ติจ กัน นั้น.
      คน พาล (99:3.45)
               คน โกง, คือ คน ปัญา อ่อน เหมือน เด็ก ๆ, ย่อม ประพฤษดิ์ การ ทุจริต ต่าง ๆ.
      คน เพียร* (99:3.46)
               คน พยา ยาม, คือ คน หมั่น, อุษาห กระทำ การ ต่าง ๆ, มี เล่า เรียน* เปน ต้น, คือ คน ไม่ เกิยจ คร้าน นั้น เอง.
      คน ฟู (99:3.47)
               คน รวย, คือ คน มั่ง มี, เหมือน อย่าง คน ที่ บริบูรณ* ไป ด้วย ทรัพย สิน เงิน ทอง มาก.
      คน มี (99:3.48)
               ผู้ มั่ง คั่ง, คือ คน ที่ มี ทรัพย สิ่ง ของ ทอง เงิน มาก นั้น, คือ คน ประกอป ไป ด้วย ทรัพย นั้น เอง.
      คน เมาะ (99:3.49)
               คน น่า เอน ดู, คือ คน รูป งาม, รูป ดี, รูป สอาด, รูป สวย นั้น เอง.
      คน หยิ่ง (99:3.50)
               คน ยก ตน ข่ม ท่าน, คือ คน ที่ ถือ ตัว จอง หอง นั้น. เหมือน แต่ ก่อน ตัว เปน คน จน, ครั้น มา ภาย หลัง ค่อย มั่ง มี ขึ้น ก็ จอง หอง นัก.
      คน รวย (99:3.51)
               คน มั่ง คั่ง, คือ คน มั่ง มี, บริบูรณ* ไป ด้วย ทรัพย สิ่ง ของ ทอง เงิน ทั้ง ปวง* นั้น เอง.
      คน ลอย (99:3.52)
               คน ไม่ มี หลัก, คือ คน ที่ ไม่ มี เจ้า ขุน มุล นาย, เที่ยว อาไศรย อยู่ ตาม พวก พอง เพื่อน ฝูง นั้น, คน ไม่ มี เรือน.
      คน ไวย (99:3.53)
               คน ประเปรียว, คือ คน ที่ ไม่ ช้า, จะ ทำ การ งาร ทั้ง ปวง* สาระพัด เรว ทุก อย่าง.
      คน สวย (99:3.54)
               คน สำอาง, คือ คน งาม, คน รูป ดี, คนสอาด นั้น, คือ คน ไม่ เลอะ เทอะ นั้น.
      คน เสีย (99:3.55)
               คน ละดี, คือ คน ที่ ทำ ความ ชั่ว ไป ต่าง ๆ นั้น, เหมือน แต่ ก่อน ตัว เคย ดี, ครั้น มา ภาย หลัง ก็ ทำ ชั่ว ไป ต่าง ๆ.
      คน โหด (99:3.56)
               คน ไม่ เอื้อ เฟื้อ, คือ คน ไม่ มี น้ำ ใจ ดี, เหมือน คน ใจ ชั่ว, ใจ ไม่ โอบ อ้อม อารี, รัก ญาติ พี่ น้อง เปน ต้น นั้น.
ค่น ขุ่น (99:1)
         คือ น้ำ ที่ มี อยู่ น้อย ใน ก้น ภาชนะ* น้ำ มี ขี้ ตะกอน ผง อยู่ ใน นั้น.
ค้น (99:2)
         สืบ เสาะ, คือ การ เที่ยว หา ดู ใน ที่ นี่ ที่ โน่น, เหมือน อย่าง เข้า ของ สิ่ง ใด หาย, ไป เที่ยว เปิด ดู ใน ห้อง เล็ก ห้อง น้อย เปน ต้น.

--- Page 100 ---
      ค้น กรุก (100:2.1)
               คือ การ ที่ คน เที่ยว เปิด หา สิ่ง ของ ทั้ง ปวง* ที่ หาย ไป เสียง* ดัง กรุก ๆ นั้น เอง.
      ค้น ของ (100:2.2)
               คือ การ หา ของ ที่ ต้อง การ, มัน ปน อยู่ กับ ของ อื่น. เหมือน ชาว ด่าน ค้น สิ่ง ของ ต้อง ห้าม นั้น.
      ค้น คว้า (100:2.3)
               คือ การ ที่ คน เอา มือ จ้วง ลง ไป, หา สิ่ง ของ ที่ ตก ลง ใน เบื้อง ต่ำ, เหมือน ของ ตก น้ำ มือ คว้า ตาม ไป ดู นั้น.
      ค้น ดู (100:2.4)
               คือ การ ที่ เที่ยว เปิด มอง ดู ทุก หน ทุก แห่ง นั้น เอง. เหมือน อย่าง แสวง หา ดู เปน ต้น.
      ค้น ด้าย (100:2.5)
               คือ การ ที่ เขา ทำ ด้าย ให้ มัน ยาว, จะ ธอ ผ้า ติด กัน หลาย ผืน นั้น.
      ค้น หา (100:2.6)
               เสาะ หา, คือ การ ที่ เที่ยว หา ดู ข้างโน้น ข้าง นี้, เหมือน อย่าง* สืบ หา สิ่ง ของ เปน ต้น นั้น.
      ค้น หูก (100:2.7)
               คือ การ ที่ เอา ด้าย ทำ วง ไป, วง มา, ให้ ยาว สำรับ ธอ ผ้า นั้น.
คัน (100:1)
         อาการ ที่ คน ถูก ตำแย, ฤๅ เตารั้ง มัน ให้ คัน, ต้อง เอา มือ เกา นั้น. อนึ่ง ไม้ ที่ ทำ เปน ด้ำ ใส่ ร่ม เปน ต้น นั้น.
      คัน ฉัตร (100:1.1)
               คือ ไม้ ยาว ๆ ที่ เอา มา ทำ คัน, สำรับ ทรง ฉัตร ไว้, เหมือน อย่าง ไม้ คัน ร่ม นั้น.
      คัน ชั่ง (100:1.2)
               คือ ไม้ ที่ ทำ เปน คัน ยาว ๆ, มี ที่ กำหนด, สำรับ ชั่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง*, เหมือน อย่าง เต็ง นั้น.
      คัน ซอ (100:1.3)
               คือ ไม้ กลม เท่า ดั้ม ภาย, เขา ใส่ เข้า กับ ตัว ซอ เปน เครื่อง มโหรี นั้น.
      คันทะ (100:1.4)
               ฯ ว่า กลิ่น ทั้ง ปวง* มี กลิ่น เหมน, แล กลิ่น หอม เปน ต้น.
      คัน ทรง (100:1.5)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ใช้ ทำ ยา.
      คันฑธุระ (100:1.6)
               ฯ คือ ธุระ ฟั่น เฝือ, เหมือน อย่าง เริยญ* หนังสือ ไตรย ปิฎก นั้น.
      คันทมาลา (100:1.7)
               เปน ชื่อ ฝี ขึ้น เปน เม็ด ที่ ลำ ฅอ นั้น.
      คัน นา (100:1.8)
               คือ สิ่ง ที่ ทำ เปน คัน ขัง น้ำ ไว้ ใน นา นั้น.
      คันทรศ (100:1.9)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, มี กลิ่น แล รศ หอม ด้วย ดอก.
      คัน ธนู (100:1.10)
               คือ เปน ชื่อ ไม้ ที่ เอา มา ทำ เปน คัน ธนู, สำรับ ยิง สัตว ทั้ง ปวง* นั้น.
      คัน เบ็ด (100:1.11)
               คือ เปน ชื่อ, ปลาย ไม้ รวก บ้าง, ไม้ อื่น บ้าง, ทำ ให้ ปลาย เรียว เล็ก ๆ, สำรับ ผูก สาย เบ็ด ตก ปลา.
      คัน โพง (100:1.12)
               คือ เปน ชื่อ ไม้ ยาว ๆ ทำ เปน ด้ำ สำรับ ผูก ถัง โพง น้ำ, เหมือน อย่าง ที่ โรง เล่า นั้น.
      คัน ตัว (100:1.13)
               คือ อาการ ที่ ให้ คัน ตาม ตัว, เหมือน ถูก ตำแย, ฤๅ เตา รั้ง เปน ต้น นั้น.
      คัน ไถ (100:1.14)
               คือ งอน ไถ นั้น.
      คัน หลัง (100:1.15)
               คือ อาการ มัน ให้ คัน ที่ หลัง, เหมือน อย่าง ถูก หมา มุ้ย, ต้อง เอา มือ เกา จึ่ง หาย คัน นั้น.
      คัน* ร่ม (100:1.16)
               คือ ด้ำ ร่ม ที่ สำรับ ถือ, เหมือน อย่าง คัน ฉัตร เปน ต้น.
      คัน หิด (100:1.17)
               คือ การ ที่ คน เปน หิด, มัน ให้ คัน นัก, เหมือน หนึ่ง ถูก หมา มุ้ย แล ตำแย นั้น.
      คัน แร้ว (100:1.18)
               , คือ ไม้ ก่ง เปน แร้ว, ผูก บ่วง ไว้ ที่ ปลาย สำรับ ดัก นก กา นั้น.
      คัน หัว (100:1.19)
               คือ อาการ ที่ มัน ให้ คัน ที่ หัว, เหมือน* อย่าง หัว มี เหา เปน ต้น.
คั่น (100:2)
         คือ อาการ สิ่ง ที่ กั้น, ที่ ขีด ขวาง ไว้ ให้ รู้ เปน สำคัญ, เหมือน คน อ่าน หนังสือ ยัง ไม่ จบ, จะ ต้อง อยุด, จึ่ง เอา สิ่ง ของ คั่น ไว้ ให้ รู้ เปน สำคัญ.
      คั่น กะได (100:2.1)
               คือ ไม้ ที่ เอา มา ทำ ลูก กะได เปน คั่น ๆ สำรับ ก้าว ขึ้น, ก้าว ลง นั้น เอง.
      คั่น กลาง (100:2.2)
               กั้น กลาง, คือ สิ่ง ที่ คั่น ไว้ ท่ำ กลาง นั้น, ฤๅ* ลูก กะได ที่ อยู่ กลาง เปน ต้น, คือ ความ ที่ คั่น ลง ไว้ กาง นั้น เอง, เหมือน อย่าง ทำนบ เปน ต้น.
      คั่น ตะไกร (100:2.3)
               คือ อาการ* ที่ คน ตัด ผม ด้วย ตะไกร, เปน คั่น อยู่ นั้น.
      คั่น น่า ผ้า (100:2.4)
               คือ อาการ ที่ เอา ด้าย ฤๅ ไหม, พุ่ง ขวาง เปน ริ้ว, ทาง อยู่ ที่ ชาย ผ้า นั้น.
      คั่น ไว้ (100:2.5)
               คือ สิ่ง ของ ที่ คั่น ลง ไว้, ภอ ให้ รู้ เปน สำคัญ นั้น, เหมือน อย่าง ปิด ทำนบ เปน ต้น.
      คั่น ห้อง (100:2.6)
               คือ กั้น ห้อง ที่ เรือน เปน ต้น, ลาง ที กั้น ด้วย ม่าน ผ้า, ลาง ที กั้น ด้วย ฝา กะดาน บ้าง, ฝา จาก บ้าง.
คั้น (100:3)
         ขยำ, คือ การ ที่ บีบ เข้า แล้ว, ขยำ ให้ หนัก ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คั้น กะทิ เปน ต้น.
      คั้น กะทิ (100:3.1)
               คือ การ ที่ เอา มือ กำ เข้า ที่ มะพร้าว ขูด แล้ว นั้น, บีบ คั้น เอา น้ำ กะทิ, ที่ ไหล ออก จาก เหยื้อ มะพร้าว นั้น.
      คั้น คอ (100:3.2)
               บีบ ฅอ, คือ การ ที่ เอา มือ บีบ เข้า ที่ ฅอ แล้ว, ขยำ ไป หนัก ๆ นั้น, เหมือน หมอ นวด เปน ต้น.
      คั้น น้ำ ซ่ม (100:3.3)
               บีบ น้ำ ซ่ม, คือ การ ที่ คน บีบ ซ่ม ทั้ง ปวง, คั้น เอา น้ำ นั้น, คือ ขยำ น้ำ ซ่ม ต่าง นั้น เอง.

--- Page 101 ---
คาน (101:1)
         คือ สิ่ง ที่ ทำ ด้วย ไม้ ต่าง ๆ, ยาว ประมาณ สาม สอกเสศ, สำรับ ใช้ หาบ ของ ต่าง ๆ,
      คาน กัน (101:1.1)
               คือ สิ่ง ของ กีด กัน อยู่, เหมือน คน ลง จาก ที่ สูง, แล ข้าง ล่าง นั้น, มี อัน ใด รับ อยู่ นั้น
      คาน หาบ (101:1.2)
               คือ คาน ที่ สำรับ ใช้ หาบ ของ ทั้ง ปวง นั้น.
      คาน เรือ (101:1.3)
               คือ ไม้ ยาว ที่ ภาด ขึ้น ไว้ บน ปลาย เสา เตา ม่อ, สำรับ รับ เรือ นั้น.
      คาน หาม (101:1.4)
               คือ ไม้ ที่ สำรับ เขา หาม เสลี่ยง, ฤๅ หาม วอ เปน ต้น นั้น.
ค้าน (101:2)
         คำ ที่ สงไสย ติด ใจ ค้าน เสีย ไม่ เอา, ฤๅ ไม้ ที่ บุบ เดาะ เปน ต้น นั้น.
      ค้าน เสีย (101:2.1)
               คือ คำ ที่ ติ คน พะยาน ว่า, คน นั้น เปน คน ไม่ ดี, ทำ ชั่ว อย่าง นั้น ๆ, ติด ใจ อยู่ ไม่ เอา นั้น.
คืน (101:3)
         คือ สิ่ง ของ ที่ เขา ส่ง มา ให้ แล้ว, กลับ เอา ของ นั้น ส่ง กลับ ไป เสีย หา รับ ไว้ ไม่, ฤๅ ผลไม้ ที่ แก่ แล้ว กลาย ไป.
      คืน คำ (101:3.1)
               คือ คำ ที่ แรก เดิม ว่า จะ ให้, แล้ว ว่า เสีย ใหม่, ว่า ไม่ ให้ คือ กลับ คืน คำ เสีย นั้น เอง.
      คืน กลับ (101:3.2)
               คือ คน ไป ยัง ที่ อื่น แล้ว คืน กลับ มา, ฤๅ หมาก ที่ น่า ดี แล้ว, กลับ กลาย เสีย ไป นั้น.
      คืน มา (101:3.3)
               คือ การ ที่ ไป แล้ว กลับ มา นั้น.
      คืน หนึ่ง (101:3.4)
               คือ ค่ำ ลง คืน เดียว นั้น, เหมือน หนึ่ง* ราษตรี เดียว.
      คืน วาน นี้ (101:3.5)
               คำ อ้าง ว่า, คืน ใน วัน ก่อน วัน นี้, วัน หนึ่ง นั้น.
      คืน เอา (101:3.6)
               คือ การ ที่ ให้ ของ อัน ใด แก่ เขา แล้ว, ผ่าย หลัง กลับ เอา ของ นั้น มา เสีย.
คุณ (101:4)
         ความ ที่ เขา มี คุณ แก่ ตัว, คือ เขา ได้ ช่วย สงเคราห์ ต่าง ต่าง, เหมือน อย่าง บิดา, มารดา เปน ต้น.
      คุณ พ่อ คุณ แม่ (101:4.1)
               คือ การ ที่ พ่อ แม่ อุปถัมภ์, ให้ อาบ น้ำ ป้อน เข้า เปน ต้น นั้น, ว่า การ นั้น เปน คุณ ของ พ่อ แม่.
      คุณ ท่าน (101:4.2)
               คือ คุณ ของ ท่าน ที่ ได้ ทำ ไว้ แก่ เรา นั้น, เหมือน อย่าง ท่าน ที่ มี อุปะการะ เปน ชั้น ๆ นั้น.
คุ้น (101:5)
         คือ ความ ที่ คน ชอบ สนิท กัน รู้ จัก กัน มา นาน นั้น, ฤๅ สัตว ของ เลี้ยง* ทั้ง ปวง ที่ ชอบ กับ เจ้า ของ นั้น ด้วย.
      คุ้น กัน (101:5.1)
               เคย กัน, คือ คน ทั้ง สอง ฝ่าย ชอบ กัน สนิท นั้น เอง, เหมือน อย่าง* คน เกย อยู่ เคย* กิน มา ด้วย กัน* เปน ต้น.
      คุ้น เคย (101:5.2)
               ชอบ กัน, คือ ความ ที่ รู้จักได้ เคย คุ้น เคย กัน มา นาน นั้น, เหมือน อย่าง เพื่อน บ้าน เก่า ก่อน เปน ต้น.
คูน (101:6)
         เปน ชื่อ ผัก อย่าง หนึ่ง, ต้น ใบ คล้าย ๆ กับ กะดาด แกง กิน ดี. อนึ่ง เปน ต้น ไม้ ฝัก ยาว ๆ ใช้ ทำ อยา.
      คูณ หาญ (101:6.1)
               คือ วิธี ทำ เลข คิด สีนค้า เปน ต้น, คูณ นั้น คือ ทำ หนึ่ง ให้ เปน สอง เปน ต้น, หาญ คือ เอา เลข เขียน ข้าง ใต้ แล้ว, หา เลข ลับ ทำ ให้ ขาด ตัว.
แคน (101:7)
         เปน เครื่อง เป่า อย่าง หนึ่ง, มี ลิ้น ทำ ด้วย ทอง เหลือง, เปน ของ พวก ลาว เป่า เล่น.
แค่น (101:8)
         คือ อาการ ของ ไม่ สู้ เปียก นัก, เหมือน คน เอา น้ำ ใส่ ลง ใน แป้ง* ไม่ ให้ เปียก นัก ภอ ปั้น ได้.
      แค่น ทำ (101:8.1)
               ง้อ ทำ, คือ กาน ที่ ขืน ทำ, เหมือน อย่าง คน ฃอ จ้าง เขา ทำ การ สิ่ง ใด ๆ เขา ไม่ ให้ ทำ, แล้ว ขืน อ้อน วอน เขา ทำ.
      แค่น ว่า (101:8.2)
               ง้อ ว่า, คือ ความ ที่ คน ขืน ว่า ขืน พูด รำ ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน ง้อ พูด กับ เขา เปน ต้น.
      แค่น ให้ (101:8.3)
               ฃอง ง้อ ให้, คือ สิ่ง ของ ที่ เขา ไม่ เอา แล้ว, เรา ขืน ให้ เขา, เหมือน อย่าง คน ง้อ ให้ เขา เปน ต้น.
แค้น (101:9)
         คือ ความ คับ แค้น, ที่ บังเกิด ขึ้น ใน ใจ, ฦๅ คน กิน ของ สิ่ง ใด ๆ, ติด ฅอ กลืน ไม่ ลง นั้น.
      แค้น ขุ่น (101:9.1)
               คือ ใจ เคือง ขัด เพราะ คิด ถึง การ ที่ เขา ทำ ข่มเหง เปน ต้น.
      แค้น เคือง (101:9.2)
               ขัด เคือง, คือ ความ โทมนัศ ขัด แค้น อยู่ ใน ใจ, มัน ให้ เคือง เหมือน หนาม ยอก อยู่ ใน นั้น.
      แค้น ฅอ (101:9.3)
               ขัด คอ, อาการ ที่ คน ฤๅ สัตว, กิน ของ สิ่ง ใด, ติด ฅอ กลืน ไม่ ลง นั้น, เหมือน อย่าง ขวาง ฅอ เปน ต้น.
      แค้น ใจ (101:9.4)
               ขัด ใจ, คือ ความ เจ็บ ใจ, ฤๅ ความ โกรธ คับ แค้น อยู่ ใน ใจ นั้น.
      แค้น น้ำ (101:9.5)
               ขัด น้ำ, คือ คน หุง เข้า ใส่ น้ำ น้อย เข้า ยัง ไม่ ทัน สุก, น้ำ แห้ง เสีย หมด นั้น.
โคน (101:10)
         คือ สิ่ง ของ ที่ อยู่ เบื้อง ต้น, เหมือน อย่าง ต้น ไม้, ฤๅ ต้น เสา, ที่ อยู่ ริม ดิน นั้น เอง.
      โคน ขา (101:10.1)
               กก ขา, คือ อาการ ที่ ต้น ขา, ต่อ กัน กับ ตโภก นั้น.
      โคน ต้น (101:10.2)
               กก ต้น, คือ ที่ เบื้อง ต้น แห่ง โคน ไม้ ทั้ง ปวง นั้น.
      โคน ไม้ (101:10.3)
               กก ไม้, คือ ที่ ต้น แห่ง ไม้ ที่ อยู่ ต่อ กัน กับ ดิน นั้น.
โค่น (101:11)
         ล้ม, คือ อาการ ที่ ต้น ไม้ ทั้ง ปวง ล้ม ลง, ด้วย กำลัง ลม ประหาร, ฤๅ ด้วย เหตุ อื่น ต่าง ๆ นั้น.

--- Page 102 ---
      โค่น ต้น (102:11.1)
               คือ อาการ ที่ กระทำ ต้น ไม้ ให้ ล้ม ลง นั้น, เหมือน อย่าง คน ตัด ต้น ไม้ เปน ต้น.
      โค่น หัก (102:11.2)
               คือ อาการ ที่ ต้น ไม้ ถูก ลม พยุห์, มัน ถอน ราก ขึ้น ล้ม ลง นั้น, เหมือน อย่าง ฟัน หัก เปน ต้น.
คอน (102:1)
         คือ การ ที่ คน เอา สิ่ง ของ ใส่ ไว้ ที่ คาน ข้าง เดียว, แล้ว วาง บน บ่า เดิน ไป. อนึ่ง คน นั่ง ท้าย เรือ ข้าง เดียว, แล้ว ภาย ไป นั้น.
      คอน นก (102:1.1)
               คือ ไม้ ที่ เขา ทำ ไว้ สำรับ ให้ นก จับ ที่ ใน กรง นั้น. อนึ่ง คน เอา ไม้ ยาว ๆ ยื่น ขึ้น ไป ให้ นก จับ ลง มา นั้น.
      คอน เรือ (102:1.2)
               ภาย ท้าย เรือ, คือ การ ที่ คน ลง นั่ง ที่ ท้าย เรือ แล้ว ก็ ภาย ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน ภาย ท้าย คน เดียว เปน ต้น.
      คอน หาบ (102:1.3)
               หาบ คอน, คือ การ ที่ คน เอา คาน คอน สิ่ง ของ ไป ข้าง เดียว บ้าง, แล้ว หาบ ไป สอง ข้าง บ้าง นั้น.
ค่อน (102:2)
         คือ อาการ ของ ที่ กว่า ครึ่ง ไป น่อย หนึ่ง, เหมือน อย่าง สิ่ง ของ แบ่ง ออก เปน สี่ ส่วน, ยก เสีย ส่วน หนึ่ง, เอา แต่ สาม ส่วน.
      ค่อน กะบุง (102:2.1)
               คือ สิ่ง ของ กว่า ครึ่ง กะบุง ไป น่อย หนึ่ง, เหมือน ตวง เปน สี่ ส่วน, เอา แต่ สาม ส่วน, ยก เสีย ส่วน หนึ่ง.
      ค่อน ขอด (102:2.2)
               คือ คำ ที่ คน แส้ง ว่า กล่าว ติ ฉิน นินทา, ด้วย คำ มิ ควน จะ ว่า, ก็ ยก ขึ้น ว่า กัน นั้น.
      ค่อน ทรวง (102:2.3)
               คือ การ ที่ เอา มือ ทุบ เข้า ที่ ทรวง อก นั้น, คือ ความ ตี อก ชก ใจ นั้น เอง.
      ค่อน ว่า (102:2.4)
               คือ คำ คน ที่ มัก ว่า กล่าว ติ เตียน ผู้ อื่น, ด้วย เหตุ ต่าง ๆ, ให้ ยิ่ง ไป กว่า เหตุ นั้น.
      ค่อน ลง (102:2.5)
               คือ ฟัน ต้น ไม้ ใหญ่ ให้ มัน ล้ม ลง นั้น, เหมือน อย่าง คน โค่น ต้น ไม้ ลง เปน ต้น.
      ค่อน หาบ (102:2.6)
               คือ สิ่ง ของ หนัก กว่า ครึ่ง หาบ น่อย หนึ่ง, เหมือน แบ่ง สี่ ส่วน, เอา สาม ส่วน, ยก เสีย ส่วน หนึ่ง.
      ค่อน อก (102:2.7)
               ตี อก, คือ การ ที่ เอา มือ ทุบ เข้า ที่ อก, เหมือน อย่าง คน เปน ทุกข์ เสีย ใจ ด้วย เหตุ ใด ๆ, แล้ว เอา มือ ทุบ เข้า ที่ อก นั้น.
ค้อน (102:3)
         คือ อาการ คน โกรธ, ทำ หน้า คว่ำ ลง แล้ว เพ่ง ดู. อนึ่ง เปน เครื่อง มือ สำรับ ตี เหล็ก ตี ทอง, ทำ ด้วย เหล็ก บ้าง, ทอง บ้าง.
      ค้อน กลอง (102:3.1)
               คือ เปน ชื่อ ต้น ผัก, เปน เครื่อง สำรับ ใช้ ทำ ยา, ต้น เล็ก ๆ เปน เหลี่ยม ๆ ดอก กลม ๆ, มัน มัก ขึ้น อยู่ ตาม ท้อง นา.
      ค้อน ควัก (102:3.2)
               คือ อาการ แห่ง หญิง ที่ เปน คน งอน, ทำ อาการ เหมือน โกรธ, คว่ำ หน้า ลง แล้ว เพ่ง ตา แล ดู, เหมือน จะ ควัก เอา ด้วย ไนตา นั้น.
      ค้อน ชำเลือง (102:3.3)
               คือ อาการ ที่ ก้ม หน้า ทำ ตา คว่ำ ลง, แล้ว เหลือบ ชะม้อย ดู นั้น.
      ค้อน ติง (102:3.4)
               คือ ความ ที่ ยัง ไม่ เหน พร้อม กัน, เหมือน ปฤกษา ความ สิ่ง ใด ๆ, ต่าง คน ต่าง เหน, แล้ว ทัก ท้วง ต่าง ๆ กัน ไป.
      ค้อน ไม้ (102:3.5)
               คือ ไม้ ค้อน เขา ทำ ด้วย ไม้, เขา เอา ไม้ จริง มา ทำ เท่า แขน ยาว สัก คืบ เสศ, สำรับ ทุบ สิ่ว เจาะ ไม้ เปน ต้น.
      ค้อน เหล็ก (102:3.6)
               คือ ค้อน ทำ ด้วย เหล็ก, สำรับ เปน เครื่อง มือ ตี เหล็ก ตี ทอง เปน ต้น นั้น.
      ค้อน หอย (102:3.7)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง*, ขน มัน สี ขาว, จงอย ปาก มัน งุ้ม ลง ข้าง ล่าง, สำรับ ควัก หอย กิน.
ควร (102:4)
         คือ การ ภอ ดี, ภอ สม, ภอ ควร นั้น, เหมือน อย่าง คน รู้ ประมาณ เปน ต้น.
      ควร กัน (102:4.1)
               คือ ความ ที่ ภอ ดี, ภอ เมาะ, ภอ งาม, ภอ สม, ภอ- ควร กัน ทั้ง สอง ฝ่าย นั้น.
      ควร การ (102:4.2)
               คือ การ ที่ สม กับ การ, เหมือน รวง เข้า เปลือก ที่ ออก มา สุก ดี แล้ว, ควร จะ เกี่ยว นั้น.
      ควร ด้วย (102:4.3)
               คือ ความ ที่ เหน สม ควร ด้วย กัน นั้น.
      ควร อยู่ (102:4.4)
               คือ การ ที่ เหน สม ควร อยู่ แล้ว, คือ ความ ที่ เหน ภอ อยู่ แล้ว เปน ต้น นั้น.
เคียน (102:5)
         (dummy head added to facilitate searching).
      เคียน พุง (102:5.1)
               คาด พุง, คือ การ ที่ คน เอา ผ้า พันท์ ไว้ ที่ พุง นั้น, เหมือน พระ สงฆ คาด รัดตะคด เปน ต้น.
      เคียน หัว (102:5.2)
               โพก หัว, คือ การ ที่ คน เอา ผ้า ฤๅ สิ่ง ใด ๆ พันท์ ไว้ ที่ หัว นั้น, คือ ผูก รัด ที่ ศีศะ นั้น เอง.
      เคียน อก (102:5.3)
               คาด อก, คือ การ ที่ คน เอา ผ้า พันท์ผูกไว้ ที่ อก นั้น, เหมือน พระ สงฆ คาด รัด ตะคด อก เปน ต้น.
      เคียน เอว (102:5.4)
               คาด เอว, คือ การ ที่ คน เอา รัดตะคด พันท์ ไว้ ที่ เอว นั้น, เหมือน อย่าง พระ สงฆ คาด รัดตะคด เอว เปน ต้น.

--- Page 103 ---
เคี่ยน (103:1)
         คือ การ ที่ เอา คน ใส่ คา เข้า แล้ว, ผูก เท้า, ผูก เอว, ตี ด้วย หวาย นั้น, คือ ลง พระ ราชอาญา นั้น เอง.
คบ (103:2)
         คือ ความ ที่ รักษ กัน ชอบ กัน, เปน เพื่อน ฝูง กัน. อนึ่ง เปน เครื่อง สำรับ จุด ไฟ, ทำ ด้วย ไม้ บ้าง, ทำ ด้วย หญ้า บ้าง.
      คบ กัน (103:2.1)
               สมาคม กัน, คือ การ ที่ เปน เพื่อน ฝูง ผูก รักษ กัน นั้น, เหมือน คน เปน เกลอ กัน, สบด กัน ด้วย น้ำ เล่า นั้น.
      คบ ค้า (103:2.2)
               นับ ถือ, คือ ความ ที่ ผูก สมัค รักษใคร่ กัน เปน เพื่อน ฝูง แล้ว, ก็ ชวน กัน ไป เที่ยว ค้า ขาย นั้น.
      คบ พาล (103:2.3)
               เสพย์ พาล, คือ การ คบ คน ที่ มี ปัญญา อ่อน เหมือน เด็ก ๆ, มัก กระทำ ทุจริต* ต่าง ๆ นั้น, ไม่ เหน ว่า นาม แล รูป ไม่ เที่ยง, เปน ทุกข, ใช่ ตน.
      คบ เพื่อน (103:2.4)
               เสพย์ เพื่อน, คือ การ คบ คน ที่ รักษ กัน เปน เพื่อน ฝูง นั้น, เหมือน อย่าง พวก นักเลง เปน ต้น.
      คบ เพลิง (103:2.5)
               ประที ด้ำ, คือ เครื่อง สำรับ จุด ไฟ, เหมือน คน เอา หญ้า* บ้าง, เอา ไม้ บ้าง, มา มัด เปน คบ สำรับ จุด ไฟ นั้น.
      คบ ไฟ (103:2.6)
               คือ เครื่อง ที่ สำรับ จุด ไฟ, ทำ ด้วย หญ้า บ้าง, ทำ ด้วย ไม้ บ้าง, ใช้ เหมือน อย่าง ไต้ นั้น.
      คบ หญ้า (103:2.7)
               คือ คบ ที่ สำรับ จุด ไฟ, อัน บุคล กระทำ ด้วย หญ้า นั้น, เหมือน อย่าง คบ ไฟ ตี ผึ้ง เปน ต้น.
      คบ ไม้ (103:2.8)
               กิ่ง ไม้, คือ กิ่ง ไม้ ที่ ขึ้น ไป แรก ถึง นั้น เอง, เหมือน อย่าง กิ่ง สาขา เปน ต้น นั้น.
คับ (103:3)
         ครึดครื, คือ ช่อง แล รู ที่ เล็ก แคบ, เอา สิ่ง ของ ใด ๆ ใส่ เข้า ไป มิ ใคร่ ได้ นั้น, เหมือน อย่าง ช่อง ที่ ครึดครือ นั้น.
      คับ กัน (103:3.1)
               ครึดครื กัน, คือ ประตู เล็ก ๆ, ฤๅ รู เล็ก ๆ, ช่อง แคบ ๆ, คน แล สัตว จะ เข้า ไป พร้อม กัน ไม่ ได้ เพราะ คับ.
      คับ ขัน (103:3.2)
               เข็มแขง, คือ เรื่อง ราว ที่ ท่าน ผู้ ใหญ่ ห้าม ปราม แขง แรง นั้น. อนึ่ง เหมือน ลูก บวบ, เอา เชือก ผูก เข้า แล้ว, เอา ไม้ ขัน ชะเนาะ ลง ไป ให้ แน่น.
      คับ แค (103:3.3)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, รูป ร่าง คล้าย ๆ เป็ด น้ำ, อาไศรย อยู่ ตาม ทุง นา.
      คับ คั่ง (103:3.4)
               คับ แคบ, คือ ความ ที่ คับ กัน หนัก, คั่ง อยู่ ยัง ออก ไป มิ ได้, เหมือน อย่าง ควาย งัว มาก, มา คั่ง กัน อยู่ ที่ ปะตู คอก ยัง ออก ไม่ ได้ นั้น.
      คับ แค้น (103:3.5)
               เดือด ร้อน, คือ ความ ลำบาก ยาก ใจ นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ ยาก จน เต็ม ที่, ทำ มา หา ไม่ ใคร่ ภอ เลี้ยง* ชีวิตร.
      คับ แคบ (103:3.6)
               แคบ คับ, คือ อาการ ที่ เล็ก, ต้อง เบียดเสีบด เยียด ยัด กัน หนัก, เหมือน อย่าง บ้าน เรือน เล็ก, ฤๅ ทาง เล็ก, ต้อง ยัด เยียด กัน อยู่.
      คับ* โครง (103:3.7)
               คับ อก, คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ คับ อยู่ ใน โครง นั้น, เหมือน อย่าง จาว มร้าว ใหญ่, ที่ เต็ม อยู่ใน ผล มะพร้าว นั้น.
      คับ ใจ (103:3.8)
               อ้นอั้น ตัน ใจ, คือ ความ ที่ ไม่ กว้าง ขวาง ใน ใจ, ไม่ สบาย ใน ใจ, เหมือน อย่าง คน ที่ เปน ทาษ เขา, ต้อง อยู่ ใน อำนาท ใน บังคับ ของ นาย นั้น เอง.
      คับ อก (103:3.9)
               คับ โครง, คือ ความ ไม่ สบาย ใจ, ความ ลำบาก ใน ใจ, ความ คับ แค้น อยู่ ใน อก ใน ใจ นั้น.
      คัพภินี (103:3.10)
               ฯ ว่า หญิง มี ครรภ์, หญิง มี ท้อง ลูก, เหมือน อย่าง หญิง ที่ สัตว บัติสัณธิ เปน ต้น.
      คับโภ (103:3.11)
               ฯ ตั้ง ครรภ์, คือ มี ครรภ์, สัตว ปัดติสนธิ, ท้อง ลูก, เหมือน อย่าง คน, แล สัตว ทั้ง ปวง มี ท้อง ลูก นั้น.
คาบ (103:4)
         อม, คือ การ ที่ เอา ของ สิ่ง ใด ๆ, ใส่ ใน ปาก แล้ว, กัด ของ สิ่ง นั้น ไว้, เหมือน หมา คาบ เอา สิ่ง ของ ได้ แล้ว วิ่ง ไป.
      คาบ ชุด (103:4.1)
               อม ชุด, คือ การ ที่ เครื่อง ปืน ที่ เขา ทำ เปน ปาก นก ไว้ สำรับ คาบ ชุด นั้น, เหมือน อย่าง คาบ สิลา เปน ต้น.
      คาป สิลา (103:4.2)
               คือ การ เครื่อง ปืน, ที่ เขา ทำ เปน ปาก นก ไว้, สำรับ คาบ หิน นั้น.
      คาบ ไว้ (103:4.3)
               คือ การ ที่ คน เอา ของ ใส่ เข้า ที่ ปาก, เอา ฟัน กัด ไว้ คา ปาก อยู่.
      คาบ หิน (103:4.4)
               คือ อาการ ที่ คน ฤๅ สัตว, เอา ปาก อม คาบ ก้อน หิน ไว้ นั้น. อนึ่ง นก เครื่อง ปืน, ที่ เขา ทำ ไว้ สำรับ คาบ หิน นั้น.
คีบ (103:5)
         หนีบ, คือ การ ที่ กระทำ, เอา คีม, ฤๅ ตะเกียบ, ฤๅ ตะไกร เปน ต้น, หนีบ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง นั้น.
คืบ (103:6)
         คือ อาการ วัด กำหนฎ, ตั้ง แต่ ที่ สุด หัว แม่ มือ จน ถึง ที่สุด นิ้ว กลาง นั้น.
แคบ (103:7)
         คือ สิ่ง ของ ที่ ไม่ กว้าง นั้น, เหมือน อย่าง ห้วย, หนอง, คลอง, บึง, บาง, ฤๅ แม่ น้ำ เปน ต้น, ที่ ไม่ กว้าง นั้น.
      แคบ คับ (103:7.1)
               คือ รู ไม้ เปน ต้น, ที่ มัน ไม่ กว้าง, เอา ไม้ ที่ ใหญ่ ไส่ เข้า ไม่ได้ นั้น.

--- Page 104 ---
ควบ (104:1)
         คือ การ ที่ คน ขี่ ม้า, กระทำ ให้ วิ่ง ไป ด้วย กำลัง เร็ว นั้น, อนึ่ง คน เอา ด้าย ฤๅ ไหม หลาย เส้น, ทำ ให้ เปน เส้น เดียว.
      ควบ คุม (104:1.1)
               ควบ คือ ขี่ ม้า ขับ ให้ มัน วิ่ง เต็ม ที, คุม นั้น คือ คอย ระวัง ไม่ ให้ หนี ไป ได้.
      ควบ ด้าย (104:1.2)
               คือ การ ทำ ด้าย หลาย เส้น, เอา มา ควบ กัน เข้า ทำ เปน เส้น เดียว นั้น.
      ควบ เกลียว (104:1.3)
               การ ทำ คือ รวบ เอา เกลียว เชือก เปน ต้น, เข้า ไว้ เปน อัน เดียร นั้น.
      ควบ ม้า (104:1.4)
               คือ การ ที่ คน ขี่ ม้า ควบ ให้ มัน วิ่ง ไป เร็ว นั้น.
      ควบ เข้า (104:1.5)
               คือ รวบ เชือก หลาย เส้น เข้า ไว้ เปน อัน เดียว นั้น.
      ควบ ไหม (104:1.6)
               การ ทำ คือ คน เอา ไหม หลาย เส้น, มา ควบ กัน เข้า, กระทำ เปน เส้น เดียว นั้น.
      ควบ ห้อ (104:1.7)
               คือ คน ขี่ ม้า ตี ให้ มัน วิ่ง เร็ว จี๋ นั้น.
คม (104:2)
         คือ อาการ อาวุธ ต่าง ๆ, มี กระบี่ เปน ต้น, อัน คน กระทำ ให้ บาง เฉียบ แหลม, อาจ ตัด สิ่ง ของ ต่าง ๆ ให้ ขาด ได้ นั้น.
      คม คาย (104:2.1)
               คือ สิ่ง ที่ คม คาย, เหมือน อย่าง หญ้า คม บาง เปน ต้น. อนึ่ง คำ คน ที่ พูด จา ฉลาด เฉียบ แหลม นั้น.
      คม สัน (104:2.2)
               คือ อาวุธ ที่ มี คม ทั้ง สอง ข้าง, เหมือน อย่าง กั้น หยั่น เปน ต้น. อนึ่ง คำ ที่ คน พูดจา ฉลาด หลัก แหลม นั้น.
คาม (104:3)
         ฯ ว่า บ้าน.
ค่าม (104:4)
         การ คือ ยก เท้า ก้าว ล่วง เกิน ที่ นั้น ไป. อย่าง หนึ่ง ข้าม แม่ น้ำ เช่น ว่า แล้ว.
      ค่าม ฟาก (104:4.1)
               การ คือ ลง เรือ ฤๅ ลง ว่าย น้ำ, ไป สู่ ฟาก ฝั่ง ข้าง โน้น นั้น.
      ค่าม น้ำ (104:4.2)
               การ คือ ไป เรือ ฤๅ ว่าย น้ำ ไป สู่ ฝั่ง ฟก ข้าง โน้น นั้น.
      ค่าม เรือ (104:4.3)
               การ คือ ข้าม แม่ น้ำ ไป ฟาก ข้าง โน้น ด้วย เรือ นั้น.
      ค่าม ส่ง (104:4.4)
               การ คือ ให้ คน ลง เรือ แล้ว, ภา ไป ให้ ขึ้น ฝั่ง ฟาก ข้าง โน้น นั้น.
คิมหันต์ (104:5)
         ฯ แปล ว่า รดู ร้อน, คือ กำหนฎ ตั้ง แต่ เดือน สี่ แรม ค่ำ หนึ่ง ไป, จน ถึง เดือน แปด เพ็ง นั้น.
คีม (104:6)
         เปน ชื่อ เครื่อง มือ ทำ ด้วย เหล็ก, มี ขา สอง ข้าง อัน มี ปาก คีบ สำรับ จับ เหล็ก ร้อน ๆ, แล สิ่ง ของ ร้อน ๆ นั้น.
      คีม ใหญ่ (104:6.1)
               คือ เครื่อง มือ ใหญ่, ทำ ด้วย เหล็ก มี ขา มี ปาก คีบ, สำรับ* จับ เหล็ก ร้อน ๆ, เมื่อ ตี เหล็ก นั้น,
      คีม คีบ ไฟ (104:6.2)
               คือ คีม ที่ ทำ ไว้ สำรับ ใช้ คีบ ไฟ นั้น.
คุม (104:7)
         คือ การ ที่ คอย ระวัง คน, ฤๅ คอย ระวัง ของ มี ให้ หนี หาย ไป ได้ นั้น.
      คุม กัน (104:7.1)
               คือ การ ที่ คน สอง คน, ต่าง คน ต่าง คอย ระวัง กัน เพราะ กลัว ว่า, ข้าง หนึ่ง จะ หนี ไป พูด จา กับ คน อื่น, เหมือน คู่ ความ กัน นั้น.
      คุม เข้า (104:7.2)
                การ คือ เอา ของ รวบ รวม เข้า ด้วย กัน, เหมือน ช่าง เหล็ก, เก็บ เหล็ก เล็ก น้อย, ตี ประสม กัน เข้า เปน อัน เดียว นั้น.
      คุม ของ (104:7.3)
               คอย ระวัง ของ, การ คือ คน ที่ คอย คอย ระวัง ทรัพย์ สิ่ง ของ นั้น, เหมือน นาย กำปั่น จ้าง เขา บันทุก ของ, ต้อง ให้ คน คุม ไป ด้วย.
      คุม คน (104:7.4)
               คอย ระวัง คน, การ คือ คน ที่ คอย ระวัง คน, เหมือน อย่าง พวก ผู้ คุม, คอย ระวัง พวก นักโทษ, เพราะ กลัว มัน จะ หนี นั้น.
      คุม ตัว (104:7.5)
               คือ การ ที่ คอย ระวัง ตัว คน ไว้ นั้น.
      คุม เท่า วัน นี่ (104:7.6)
               คือ เวลา ที่ มา จน ถึง วัน นี้, ฤๅ ครั้ง นี้, คราว นี้, ปี นี้ เปน ต้น, คือ จน ตราบเท่า วัน นี้ นั้น เอง.
      คุม พวก (104:7.7)
               การ คือ คน คอย ระวัง พวก พ้อง, เหมือน อย่าง คน ภา พวก พ้อง มา แล้ว, ต้อง คอย ระวัง รักษา กัน.
      คุม พล (104:7.8)
               คือ การ ที่ คน คอย ระวัง รักษา คน, ที่ สำรับ ได้ อาไศยร เปน กำลัง, เหมือน อย่าง พวก ทหาร เปน ต้น นั้น.
คุ่ม (104:8)
         ความ คือ สิ่ง ของ ที่ มี อาการ น้อม ลง น่อย หนึ่ง นั้น, เหมือน นก อย่าง หนึ่ง ตัว เล็ก ๆ, หลัง คุ่ม ๆ, คล้าย ๆ นก เขา, เรีก นก คุ่ม.
คุ้ม (104:9)
         คือ การ ที่ ช่วย ป้อง กัน รักษา นั้น, เมือน อย่าง คน ไพร่ หลวง, มี ตรา ภูม คุ้ม ห้าม เปน ต้น.
      คุ้ม ครอง (104:9.1)
               คือ การ ที่ ป้อง กัน รักษา, ไม่ ให้ มี ใคร เบียด เบียล ได้ นั้น, เหมือน อย่าง พระ มหา กระษัตริย์, รักษา ราษฎร ไว้ เปน ต้น.
      คุ้ม เพื่อน (104:9.2)
               การ คือ คน ที่ ภา เพื่อน ฝูง ไป มาก แล้ว, ก็ คอย ระวัง รักษา กัน นั้น, เหมือน อย่าง พวก หัว ไม้ เปน ต้น.
      คุ้ม ห้าม (104:9.3)
               คือ หนังสือ ปิด ตรา หลวง, ห้าม ไม่ ให้ เก็บ เงิน ค่า ธรรมเนียม, ราคา เพียง สี่ บาท ลง มา นั้น.

--- Page 105 ---
เค็ม (105:1)
         คือ รศ สิ่ง ของ ที่ มี รศ เหมือน เกลือ เปน ต้น, ฤๅ เหมือน อย่าง น้ำ ใน ทะเล นั้น.
เค่ม (105:2)
         คือ เปน รศ กล้า เหมือน อย่าง สุรา เค่ม เปน ต้น นั้น.
แคม (105:3)
         คือ อาการ ที่ ริม ๆ นั้น, เหมือน อย่าง กราบ เรือ นั้น, ว่า แคม เรือ, ฤๅ ริม ท้อง ร่อง, ว่า แคม ร่อง.
      แคม ร่อง (105:3.1)
               คือ ที่ ริม ๆ ท้อง ร่อง ทั้ง สอง ข้าง นั้น, เหมือน อย่าง ตาม ริม คู เปน ต้น นั้น.
      แคม เรือ (105:3.2)
               คือ ที่ ริม ๆ กราบ เรือ ทั้ง สอง ข้าง นั้น.
โคม (105:4)
         คือ ประทีป เครื่อง สำรับ จุด ไฟ ตาม ใน นั้น ให้ แสง สว่าง, ทำ ด้วย แก้ว บ้าง, ทำ ด้วย เกล็ด ปลา บ้าง.
      โคม แก้ว (105:4.1)
               ประทีป แก้ว, คือ โคม ทำ ด้วย แก้ว, สำรับ จุด ไฟ ตาม ใน นั้น ให้ สว่าง.
      โคม เกล็ด (105:4.2)
               คือ โคม สำรับ ตาม ไฟ ให้ แสง สว่าง, ทำ ด้วย แก้ว จาระไน เปน เกล็ด บ้าง, ทำ ด้วย เกล็ด ปลา ใหญ่ บ้าง.
      โคม แขวน (105:4.3)
               คือ โคม ห้อย ที่ สำรับ จุด ไฟ, แขวน ไว้ ให้ แสง สว่าง นั้น, เหมือน อย่าง โคม หวด เปน ต้น.
      โคม ตั้ง (105:4.4)
               คือ โคม มี เชิง ที่ สำรับ ตาม ไฟ ตั้ง ไว้ ให้ สว่าง, มี เชิง เหมือน เชิง เทียน, ทำ ด้วย ทอง แดง บ้าง, ทอง เหลืองบ้าง.
      โคม ลอย (105:4.5)
               คือ ประทีป เครื่อง สำรับ จุด ไฟ ใน นั้น ให้ สว่าง, แล้ว ควัน ไฝ ก็ กลุ้ม อบ อยู่ ใน นั้น, ภา โคม ให้ ลอย ขึ้น ไป ได้, บน อากาษ.
      โคม เวียน (105:4.6)
               คือ โคม* ที่ หมุน ไป ทำ ด้วย กะดาด, มี จักร์ มี ไกย อยู่ ใน นั้น, ครั้น จุด ไฟ เข้า ใน นั้น, ควัน กระทบ จักร์, โคม ก็ หมุน เวียน ไป ตาม จักร์ นั้น.
      โคม ม่อ (105:4.7)
               คือ โคม ทำ ด้วย แก้ว, รูป เหมือน ม่อ, สำรับ ตาม ไฟ ให้ สว่าง, มา แต่ เมือง นอก.
      โคม หวด (105:4.8)
               คือ โคม ทำ ด้วย แก้ว, รูป คล้าย ๆ หวด น้ำ ตาน ทราย, สำรับ ตาม ไฟ ให้ สว่าง นั้น.
คอม (105:5)
         เปน ชื่อ เครื่อง ใช้ สำรับ ใส่ ที่ ฅอ ควาย, เมื่อ จะลาก เลื่อน ฤๅ ไถ นา เปน ต้น, ทำ ด้วย ไม้ โกง ๆ, คำ เหนือ, คำ ไต้ เรียก โกก.
ค่อม (105:6)
         คือ อาการ สิ่ง ของ ที่ เตี้ย ๆ เล็ก, กว่า ธรรมดา, เหมือน คน ฤๅ สัตว ทั้ง ปวง ที่ มี อายุ มาก, แต่ เตี้ย ๆ เล็ก ๆ, กว่า ธรรมดา นั้น.
ค้อม (105:7)
         คือ อาการ สิ่ง ของ ที่ น้อม ลง ก่ง อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง คน ก่ง แร้ว ฤๅ ก่ง ธะนู เปน ต้น นั้น.
เคี่ยม (105:8)
         เปน ชื่อ* เครื่อง มือ เหล็ก, เขา ทำ เปน คั่น ๆ คล้าย ฟัน เลื่อย, สำรับ แทง ไส้ ไม้ นั้น.
เคย (105:9)
         คุ้น, คือ การ ที่ ได้ กิน แล้ว แต่ ก่อน, ฦๅ ได้ ทำ แล้ว แต่ ก่อน, ฤๅ ได้ พูดจา คุ้น เคย กัน มา แต่ ก่อน นั้น.
      เคย กุ้ง (105:9.1)
               กะปิ กุ้ง, คือ กุ้ง ตัว เล็ก ๆ, ที่ สำรับ ทำ กะปิ นั้น, เหมือน อย่าง เคย ตา ดำ เปน ต้น.
      เคย กัน (105:9.2)
               คุ้น กัน, ความ คือ คน ที่ ได้ รู้ จัก คุ้น เคย กัน มา แต่ ก่อน นั้น, เหมือน อย่าง เพื่อน กัน เปน ต้น.
      เคย กิน (105:9.3)
               ความ คือ ของ ทั้ง ปวง, ที่ ได้ กิน มา แล้ว แต่ ก่อน ๆ นั้น เอง.
      เคย ไป (105:9.4)
               คือ ความ ที่ อัน คน ได้ ไป แล้ว แต่ก่อน ๆ นั้น, เหมือน อย่าง ที่ อัน ตน ได้ ไป แล้ว เนือง ๆ นั้น.
      เคย คุ้น (105:9.5)
               คือ การ ที่ ได้ ทำ, ฤๅ ได้ ไป หลาย หน แล้ว เปน ต้น, คุ้น นั้น คือ การ ที่ ไป มา บ่อย ๆ ชอบ กัน นั้น.
      เคย ตัว (105:9.6)
               คือ ความ ที่ ตัว คน นั้น ได้ กิน บ่อย ๆ เปน ต้น, ฤๅ คน ได้ ทำ มา แล้ว เนือง ๆ นั้น เอง.
      เคย อยู่ (105:9.7)
               คือ ความ ที่ คน ได้ เคย อาไศรย อยู่ มา แต่ ก่อน แล้ว, เหมือน อย่าง บ้าน เมือง ที่ เคย ได้ อยู่ แล้ว นั้น.
      เคย ใจ (105:9.8)
               คือ ความ ที่ ใจ คน ได้ คิด อ่าน มา แต่ ก่อน มาก แล้ว นั้น.
คาย (105:10)
         คืน, คือ อาการ ที่ เอา สิ่ง ของ ใด ๆ อม ไว้ ใน ปาก แล้ว, กลับ เอา ของ นั้น ออก เสีย จาก ปาก เปน ต้น.
      คาย ก้าง (105:10.1)
               คือ อาการ ที่ คน ฤๅ สัดว เอา ก้าง ออก เสีย จาก ปาก นั้น, คือ กลับ เอา ก้าง ออก มา นั้น เอง.
      คาย คม (105:10.2)
               คือ สิ่ง ของ ที่ ระคาย เหมือน คาย อ้อย, ฤๅ คาย ไม้ ไผ่ เปน ต้น นั้น, แต่ คม นั้น เหมือน มิด ที่ คม นั้น เอง.
      คาย ฅอ (105:10.3)
               คือ อาการ ที่ เปน ให้ คัน คาย อยู่ ใน ฅอ เหมือน อย่าง หวัด ลง ฅอ, ฤๅ ซาง ขึ้น ใน ฅอ เด็ก ๆ นั้น,
      คาย คัน (105:10.4)
               คือ ความ ที่ คาย คัน ตัว, เหมือน ยุง ฤๅ เรือด มัน กัด นั้น, เหมือน อย่าง คน บุก หญ้า รก เปน ต้น.
      คาย ชาน หมาก (105:10.5)
               คือ การ ที่ เอา ชาน หมาก ออก เสีย จาก ปาก เหมือน พวก ไทย กิน หมาก ดิบ, แล้ว คาย ชาน ออก เสีย.
ค่าย (105:11)
         คือ สิ่ง ที่ อัน บุคล ล้อม รอบ ด้วย ไม้, แล้ว ขุด ดิน ถม เปน เชิงเทิล, เหมือน อย่าง เมือง น้อย ๆ นั้น.

--- Page 106 ---
      ค่าย คู (106:11.1)
               คือ ที่ เขา เอา ท่อน ไม้ มา ปัก ลง วง ล้อม รอบ, เพื่อ จะ กัน ฆ่า ศึก นั้น, คู นั้น คือ คลอง เขา ขุด ล้อม เมือง เปน ต้น นั้น.
คาว (106:1)
         คือ กลิ่น ที่ เหม็น เหมือน ปลา สด, ฤๅ เนื้อ สด เปน ต้น นั้น.
      คาว ปลา (106:1.1)
               คือ กลิ่น เหม็น คาว, ที่ บัง เกิด แต่ ปลา ทั้ง ปวง นั้น.
คิ้ว (106:2)
         คือ ส่วน อาการ ที่ หน้า, มี ขน ดำ ขึ้น* เปน แถว อยู่ บน ขอบ ตา ทั้ง สอง ข้าง นั้น, เหมือน อย่าง คิ้ว คน เปน ต้น.
      คิ้ว น่า ต่าง (106:2.1)
               คือ ไม้ ที่ มี อาการ เปน ลวด อยู่ ที่ น่า ต่าง นั้น เอง, เหมือน อย่าง ไม้ คิ้ว เปน ต้น.
คุย (106:3)
         คือ คำ ที่ พูด มาก นั้น. อนึ่ง เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, สำรับ ใช้ ย้อม ผ้า แดง.
คุยหะ (106:4)
         ฯ ของ ที่ บุคล พึง ซ่อน, คือ ที่ ลับ ของ ผู้ ชาย นั้น.
คุ้ย (106:5)
         คือ การ ที่ เขี่ย ให้ สิ่ง ของ ที่ จม อยู่ ใน ที่ ใด ๆ, ให้ ขึ้น จาก ที่, เหมือน อย่าง แม่ ไก่ คุ้ย เขี่ย หา กิน เปน ต้น นั้น.
      คุ้ย เขี่ย (106:5.1)
               คือ การ ที่ เอา มือ ฤๅ ไม้ เปน ต้น., ทิ่ม ลง ใน ดิน เปน ต้น, แล้ว คัด ขึ้น นั้น.
คอย (106:6)
         คือ อาการ อยุด รอ ถ้า อยู่ นั้น, เหมือน เขา สั่ง กัน ว่า, ถ้า ท่าน มา ไม่ ภบ เรา, ให้ คอย อยู่ ที่ นี่ เถิด.
      คอย ดู (106:6.1)
               อยุด ดู, คือ อาการ ที่ คน อยุด คอย แล ดู นั้น, เหมือน พวก ชาว ด่าน ฤๅ นาย ปะตู, คอย ดู ผู้ คน เข้า ออก นั้น.
      คอย ถ้า (106:6.2)
               รอ ถ้า, คือ อาการ ที่ คน อยุด รอ ถ้า อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง คน อยุด คอย กัน เปน ต้น.
      คอย ฟัง* (106:6.3)
               รอ ฟัง, คือ* คน อยุด คอย ฟัง ข่าว ต่าง ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คน อยุด ฟัง เปน ต้น.
      คอย อยู่ (106:6.4)
               อยุด อยู่, คือ ความ ที่ คน อยุด คอย อยู่ ยัง ไม่ ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน ภัก อยู่ เปน ต้น.
      คอย ระวัง (106:6.5)
               รอ เฝ้า, การ คือ คน คอย เฝ้า รักษา อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง รอ อยู่ รักษา เปน ต้น.
      คอย หา (106:6.6)
               รอ หา, ความ คือ คน อยุด คอย หา นั้น, เหมือน อย่าง อยุด แสวง หา เปน ต้น.
ค่อย (106:7)
         คือ การ กระทำ เบา ๆ, ฤๅ ช้า ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ ไม่ กระทำ หนัก ๆ เปน ต้น.
      ค่อย ทำ ค่อย ไป (106:7.1)
               คือ การ ที่ ค่อย ทำ การ งาน ช้า ๆ ไม่ เร่ง รีบ นั้น, เหมือน อย่าง คน ทำ การ ไม่ เร่ง รัด เปน ต้น.
      ค่อย ๆ ไป (106:7.2)
               การ คือ ไป ช้า ๆ, ฤๅ รั้ง รอ อยู่ ยัง ไม่ ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน เดิน ทาง ตาม สบาย นั้น เอง.
      ค่อย ยัง ชั่ว (106:7.3)
               คือ อาการ โรค คลาย ลง, บันเทา ลง, ว่า ค่อย ยัง ชั่ว.
      ค่อย ๆ เดิน (106:7.4)
               คือ อาการ เดิน เบา, ฤๅ เดิน ช้า ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คน ไม่ รีบ เดิน เปน ต้น.
      ค่อย ล่า (106:7.5)
               คือ อาการ ที่ ค่อย เลื่อน กอง ทับ ถอย ไป นั้น, เหมือน อย่าง แม่ ทับ ถอย ทับ ไม่ เร็ว เปน ต้น.
ควยห์ (106:8)
         คือ ที่ ลับ ของ ผู้ ชาย นั้น, ครั้น จะ เรียก ตรง ว่า ควยห์, เขา ถือ ว่า เปน คำ อยาบ.
เคียว (106:9)
         คือ ของ สำรับ ใช้ เกี่ยว เข้า เกี่ยว หญ้า เปน ต้น, ทำ ด้วย เหล็ก รูป งอ ๆ, คล้าย ๆ กับ รวง เข้า.
      เคียว สับะโล่ (106:9.1)
               คือ เคียว ด้ำ เขา ทำ แล้ว ไป ด้วย เหล็ก.
เคี่ยว (106:10)
         คือ ฟัน ที่ งอก ขึ้น มา แหลม กว่า ฟัน ทั้ง ปวง, เหมือน อย่าง เคี่ยว หมู, แล เคี่ยว เสือ เปน ต้น.
      เคี่ยว หมา (106:10.1)
               คือ เคี่ยว ของ หมา ที่ ยาว อยู่ สี่ อัน นั้น. อนึ่ง เปน ชื่อ เครื่อง กลึง ทำ ด้วย เหล็ก, มี สันฐาน คล้าย เคี่ยว หมา.
เคี้ยว (106:11)
         คือ อาการ ที่ ทำ ฟัน ข้าง ล่าง กับ ข้าง บน ให้ กระทบ กัน, บด ของ กิน ทั้ง ปวง ให้ ย่อย ไป นั้น.
      เคี้ยว กิน (106:11.1)
               คือ อาการ ที่ เคี้ยว อาหาร ทั้ง ปวง ให้ แหลก ย่อย, แล้ว กลืน กิน เข้า ไป ใน ท้อง นั้น.
      เคี้ยว ฟัน (106:11.2)
               คือ อาการ ที่ คน นอน หลับ แล้ว, เคี้ยว ฟัน ดัง กรอด ๆ นั้น.
      เคี้ยว เอื้อง (106:11.3)
               บด เอื้อง, คือ อาการ ที่ ทำ, เหมือน อย่าง ควาย งัว, แพะ แกะ เปน ต้น, มัน กิน หญ้า กลืน เข้า ไป ใน ท้อง, ยัง อยาบ อยู่, ครั้น มัน นอน, มัน ผ่อน เอา ออก มา เคี้อว บด ให้ ป่น แล้ว. กลืน เข้า ไป ใหม่.
เค๊อ (106:12)
         คือ ความ ที่ คน โง่ ซุ่มซ่าม ไม่ รู้จัก อะไร นั้น, เหมือน อย่าง คน เซอะซะ เปน ต้น.
      เค๊อะคะ (106:12.1)
               คือ อาการ คน ที่ มี ปัญญา น้อย, จะ คิด อ่าน, ฤๅ พูด จา เปน ต้น, ไม่ ใคร่ ตรง ความ เข้า นั้น.
คั่ว (106:13)
         คือ ควั่น ที่ ติด อยู่ กับ ดอก ไม้, แล ผลไม้ ทั้ง ปวง นั้น. อนึ่ง การ ที่ เอา สิ่ง ของ ใส่ ลง ใน ภาชน์ะ ร้อน ๆ ทำ ให้ สุก นั้น.
แคะ (106:14)
         คือ การ ที่ เอา มีด ฤๅ ไม้ ปาก เป็ด, แซะ ให้ เนื้อ มะพร้าว ล่อน ออก จาก กะลา เปน ต้น นั้น.

--- Page 107 ---
      แคะ กิน (107:14.1)
               คือ การ ที่ แสะ คัด เอา เนื้อ มะพร้าว กิน เปน ต้น นั้น, เหมือน อย่าง คน แคะ น้ำ ตาล ม่อ กิน เปน ต้น.
เค๊าะ (107:1)
         คือ การ ที่ คน เอา ไม้ ตี เข้า ที่ ระฆัง, ฤๅ ที่ เกลาะ เบา ๆ, เปน ต้น นั้น.
      เค๊าะ แคะ (107:1.1)
               คือ การ ที่ คน เอา มือ ฤๅ ไม้ เปน ต้น, ตี ต่อย เข้า ที่ ใด ๆ นั้น, แคะ นั้น อธิบาย แล้ว.
      เค๊าะ กัน (107:1.2)
               คือ การ ที่ เอา มือ ฤๅ ไม้, โขก เข้า ที่ ตัว กัน นั้น.
      เค๊าะ ตะปู (107:1.3)
               คือ การ ที่ เอา ค้อน เหล็ก เปน ต้น, ต่อย เข้า ที่ หัว ตะปู นั้น, เหมือน อย่าง คน ตี ตะปู เปน ต้น.
      เค๊าะ ผง (107:1.4)
               คือ การ ที่ คน เอา มือ ฤๅ ไม้ เปน ต้น, ทุบ ฟาด เข้า ที่ ฟูก เปน ต้น ทำ ให้ ผง ออก นั้น.
คอ (107:2)
         คือ อะไวยะวะ กลม ๆ, เปน ที่ สำรับ กลืน กิน ซึ่ง อาหาร ทั้ง ปวง ใน ที่ ระหว่าง ตัว กับ หัว ต่อ กัน นั้น.
      คอ คุ้ง (107:2.1)
               คือ ที่ ท้อง คุ้ง กับ หัว แหลม แห่ง แม่ น้ำ, แล ลำ คลอง ทั้ง ปวง ต่อ กัน นั้น.
      คอ ซอง (107:2.2)
               คือ ที่ ฅอ แคบ แห่ง เรือ ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน อย่าง ที่ ฅอ แห่ง เรือ กุและ เปน ต้น.
      คอ แหลม (107:2.3)
               คือ ที่ หัว แหลม กับ ท้อง คุ้ง ต่อ กัน นั้น, เหมือน อย่าง บาง ฅอ แหลม เปน ต้น.
      คอ เรือ (107:2.4)
               คือ ที่ ฅอ แห่ง เรือ ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน อย่าง ฅอ ซอง เปน ต้น.
      คอ หอย (107:2.5)
               คือ สิ่ง ที่ เปน ลูก กลม ๆ ติด อยู่ ที่ ลำ ฅอ นั้น.
ครรภ์ (107:3)
         ฯ ว่า ที่ เปน ห้อง, คือ ท้อง ลูก นั้น, เหมือน อย่าง อิษัตรี, มี ครรภ์ เปน ต้น.
ครา (107:4)
         คือ กาล ที่ เปน คราว, ฤๅ ครั้ง นั้น, เหมือน อย่าง คำ ว่า, ครา นั้น จึ่ง โฉม เจ้า หมื่น ไว เปน ต้น.
      ครา นี้ (107:4.1)
               คือ การ ที่ เปน คราว นี้, ฤๅ ครั้ง นี้ นั้น.
      ครา นั้น (107:4.2)
               ความ เหมือน กัน กับ คราว นั้น, ครั้ง นั้น.
คร่า (107:5)
         คือ การ ที่ ฉุด, ฤๅ ลาก เนี่ยว นั้น, เหมือน อย่าง คน ฉุด คร่า กัน ไป เปน ต้น.
      คร่า ไป (107:5.1)
               คือ การ ที่ ฉุด ไป, ลาก ไป, เหนี่ยว ไป, เหมือน อย่าง
      คร่า มา (107:5.2)
               คือ การ ที่ ฉุด มา, ลาก มา, เหนี่ยว มา นั้น.
      คร่า ยื้อ (107:5.3)
               คือ การ ที่ ฉุด ลาก แล้ว, ยื้อ ชัก ไป นั้น, เหมือน อย่าง ยื้อ คร่า กัน เปน ต้น.
ครื (107:6)
         ความ เหมือน อย่าง, คือ, เปน, ฤๅ ช่อง, แล หน ทาง, แล คลอง ที่ ภอ จุ ภอ ดี, ไม่ คับ ไม่ หลวม นั้น.
      ครื ใคร (107:6.1)
               ความ เหมือน ว่า, เปน ผู้ ใด, เปน คน ไหน, เปน ใค.
      ครือ ท้อง เรือ (107:6.2)
               คือ การ ที่ รู่ ระ ท้อง เรือ นั้น, เหนือน อย่าง คน ค้ำ เรือ นั้น.
      ครือ ว่า (107:6.3)
               คือ ว่า, ความ เหมือน อย่าง ครื สิ่ง นั้น, เปน สิ่ง นั้น, คือ สิ่ง นั้น.
ครุ (107:7)
         ฯ ความ คือ หนัก, แล ช้า. อนึ่ง เปน ชื่อ เครื่อง ตัก น้ำ, สาน ด้วย ไม้ ยา ชัน, คล้าย ๆ ถัง.
      ครุ ภัณฑ์ (107:7.1)
               ฯ ความ คือ ของ หนัก, ที่ ไม่ ติด เนื่อง ด้วย กาย, เหมือน อย่าง เตียง ตั่ง, ที่ นั่ง ที่ นอน เปน ต้น.
ครู (107:8)
         คือ บุคล ที่ ควร จะ เคารพ, เหมือน คน ที่ ได้ ช่วย สั่ง สอน สรรพ วิชา ต่าง ๆ นั้น.
      ครู บา (107:8.1)
               คือ อาจาริย์ ที่ ท่าน ได้ สั่ง สอน, ใน การ สาศนา เปน ต้น, เหมือน พระ สงฆ์ ที่ บวช เปน ผู้ เฒ่า นั้น.
      ครู อาจาริย์ (107:8.2)
               คือ คน ผู้ เปน ครู เช่น ว่า, แล เปน อาจาริย์ เปน ที่ อาไศรย แห่ง พวก สิษ, ผู้ เล่า เรียน วิชา ต่าง ๆ นั้น.
ครู่ (107:9)
         คือ กาล ประมาณ ศัก สิบ นาที, ฤๅ สิบ ห้า นาที เท่า นั้น.
      ครู่ เดียว (107:9.1)
               คือ เวลา ศัก ยี่ สิบ นาที เท่า นั้น.
      ครู่ หนัก (107:9.2)
               คือ เวลา สัก ยี่ สิบ ห้า นาที, ฤๅ สาม สิบ นาที นั้น.
แคร่ (107:10)
         เปน ชื่อ เครื่อง สำรับ หาม พวก ขุนนาง ผู้ ใหญ่ นั้น. อนึ่ง เครื่อง ทำ ด้วย ไม้, สำรับ ใส่ ที่ หัว เรือ, ท้าย เรือ นั้น.
      แคร่ เรือ (107:10.1)
               เปน ชื่อ แคร่ ทำ ด้วย ไม้, สำรับ ไส่ ที่ ตอน หัว, ตอน ท้าย แห่ง เรือ ทั้ง ปวง นั้น.
      แคร่ หาม (107:10.2)
               เปน ชื่อ แคร่ ที่ ทำ ด้วย ไม้ ต่าง ๆ, สำรับ หาม พวก ขุนนาง นั้น.
ใคร (107:11)
         เปน คำ ถาม, เหมือน อย่าง ว่า ผู้ ใด, คน ไหน, คน ไร, ไค, เปน ต้น* นั้น.
      ใคร ทำ (107:11.1)
               เปน คำ ถาม ว่า ผู้ ใด ทำ, คน ไหน ทำ, คน ไร ทำ นั้น.
      ใคร มา (107:11.2)
               เปน คำ ถาม ว่า ผู้ ใด มา.
      ใคร ว่า (107:11.3)
               เปน คำ ถาม ว่า ผู้ ใด ว่า,
ใคร่ (107:12)
         เปน ความ คล้าย ๆ กัน กับ อยาก, ฤๅ รักษ นั้น.
      ใคร่ ครวน (107:12.1)
               ไกร่ กรอง, ความ เปน คล้าย ๆ กัน กับ คิด ตรึก ตรอง ดู, เขา มัก พูด กัน ว่า, เจ้า ใคร่ ครวน ดู, จะ ทำ ได้ ก็ ทำ เถิด.

--- Page 108 ---
      ใคร่ ความ (108:12.2)
               พิเคราะห์ ความ, เปน ความ ที่ พิจารณา ดู ตาม ข้อ ความ นั้น, เขา มัก พูด กัน ว่า, เจ้า จง ใคร่ ความ ดู เถิด.
      ใคร่ ได้ (108:12.3)
               ปราถนา จะ ได้, คือ ความ ที่ อยาก ได้ นั้น, เขา มัก พูด กัน ว่า, ของ อย่าง นี้ ข้า อยาก ใคร่ ได้ หนัก.
      ใคร่ ทำ (108:12.4)
               ความ ที่ อยาก ทำ ฤๅ รักษ ทำ นั้น, เขา มัก พูด กัน ว่า, ข้า อยาก จะ ใคร่ ทำ หนัก.
ใคร้ (108:1)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ใคร้ เครือ (108:1.1)
               เปน ชื่อ ต้น อย่าง หนึ่ง, ต้ม เปน เถา ไม่ สู้ โต นัก, มัก มี อยู่ ตาม ป่า ตาม ดง นั้น.
      ใคร้ น้ำ (108:1.2)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ใบ เล็ก ๆ ยาว, มัก ขึ้น อยู่ ตาม ชาย หาด ริม น้ำ ฝ่าย เหนือ.
      ใคร้ หาง นาค (108:1.3)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ใบ เล็ก ๆ คล้าย ๆ ใบ ส้ม ป่อย, มัก ขึ้น ตาม ริม คลอง.
      ใคร้ หาง สิงห์ (108:1.4)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ไม่ สู้ โต ใบ เล็ก ๆ, มัก ขึ้น อยู่ ตาม หาด ทราย ฝ่าย เหนือ.
เครา (108:2)
         เปน ชื่อ หนวด ที่ ขึ้น อยู่ ตาม แก้ม, ตาม คาง, เหมือน อย่าง ข้าง, แล ชะนี, แล คน เปน ต้น นั้น.
เคร่า (108:3)
         คือ การ ที่ เดิร ทาง รอ ๆ ถ้า กัน ไป, ฤๅ เดิน ช้า ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คน เดิน รอ ท่า กัน เปน ต้น.
คร่ำ (108:4)
         คือ อาการ ช่าง อย่าง หนึ่ง, เหมือน คน เอา เงิน บ้าง, ทอง บ้าง, ตอก ลง ไป ที่ มีด บ้าง, ของ อื่น บ้าง, ให้ ติด เปน รูป ต่าง ๆ นั้น.
      คร่ำ เงิน (108:4.1)
               คือ การ ช่าง ที่ คน เอา เงิน ตอก ลง ไป, ที่ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, มี มีด, แล ตไกร เปน ต้น, ให้ ติด เปน ลวด ลาย แล รูป สัตว ต่าง ๆ.
      คร่ำ มีด (108:4.2)
               คือ การ ที่ คล เอา เงิน แล ทอง, ทำ เปน ลวด ลาย ต่าง ๆ, คร่ำ ให้ ติด ลง ไป ที่ มีด นั้น.
      คร่ำ คร่า (108:4.3)
               คือ อาการ ที่ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ เก่า แก่ ผุะ คร่ำ อยู่ นั้น เอง. เหมือน อย่าง โบถ วัด ร้าง เปน ต้น.
      คร่ำ ครวน (108:4.4)
               คือ อาการ ที่ คน ประกอป ไป ด้วย ความ ทุกข์, แล้ว บ่น ร่ำ ไร ไป ด้วย เหตุ ต่าง ๆ นั้น เอง.
      คร่ำ เครื่อ (108:4.5)
               คือ อาการ ที่ เจ็บ ป่วย ไม่ รู้ หาย, เปน เรื่อย ๆ อยู่ นั้น.
คระ (108:5)
         คือ เปลือก ไม้ ที่ เปน คราบ ไคร กรุ กระ อยู่ นั้น.
      คระ หา (108:5.1)
               นินทา, คือ ความ ที่ เขา ตำนิ ติ ว่า, คน ผู้ นั้น, เปน คน ทำ การ ชั่ว ลามก ต่าง ๆ นั้น.
      คระ ครุ (108:5.2)
               คือ อาการ ที่ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ ไม่ เกลี้ยง เกลา, รุง รัง อยู่ นั้น.
ครก (108:6)
         คือ เครื่อง สำรับ ตำ, แล โขลก สิ่ง ทั้ง ปวง, ทำ ด้วย ไม้ บ้าง, หิน บ้าง, เหล็ก บ้าง.
      ครก กระเบือ (108:6.1)
               คือ ครก ทำ ด้วย ดิน, สำรับ ตำ พริก นั้น.
      ครก ตำ เข้า (108:6.2)
               คือ ครก ที่ สำรับ ตำ เข้า, ทำ ด้วย ไม้ โต ๆ, รูป คล้าย ๆ กลอง นั้น.
      ครก ตำยา (108:6.3)
               คือ เปน ชื่อ สิ่ง ที่ สำรับ ตำยา, ทำ ด้วย ไม้ บ้าง, ทำ ด้วย หิน บ้าง, ด้วย เหล็ก บ้าง นั่น เอง.
คราก แครก (108:7)
         คือ การ แห่ง สิ่ง ของ ที่ แตก แยก ออก จาก กัน. เหมือน อย่าง ผ้า ที่ แครก ออก ไป นั้น.
ครึก (108:8)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ครึก ครื้น (108:8.1)
               คือ เสียง ที่ กึก ก้อง, เปน ที่ รื่น เริง, เหมือน งาร มโหรี นั้น.
      ครึก โครม (108:8.2)
               คือ การ ทั้ง ปวง ที่ มี เสียง กึก ก้อง, เปน ที่ ยัง จิตร ให้ รื่น เริง, เหมือน งาร มโหรสพ นั้น.
แครก (108:9)
         คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ คราก ออก ไป นั้น.
โครก (108:10)
         คือ เสียง อย่าง หนึ่ง, เหมือน หนึ่ง คน ท้อง ไม่ สบาย, เสียง ลั่น ดัง โครก ๆ เปน ต้น นั้น.
      โครก คราก (108:10.1)
               โครก นั้น ว่า แล้ว, แต่ คราก นั้น เหมือน ที่ ก่อ ด้วย อิฐ มัน แยก ออก นั้น.
ครอก (108:11)
         เปน เสียง อย่าง หนึ่ง, คือ คน, ฤๅ สัตว, นอน โกรน ดัง ครอก ๆ. อนึ่ง คือ ลูก ทาษ ที่ เกิด ใน เรือน เบี้ย นั้น.
      ครอก ใหญ่ (108:11.1)
               คือ ลูก แห่ง สัตว ทั้ง ปวง, ที่ ตก พร้อม กัน มาก นั้น. เหมือน อย่าง ปลา ชัก ครอก เปน ต้น.
      ครอก น้อย (108:11.2)
               คือ ลูก แห่ง สัตว ทั้ง ปวง ที่ ตก พร้อม กัน น้อย นั้น. เหมือน อย่าง สัตว ที่ มี ลูก คราว ละ สอง ตัว สาม ตัว.
ครัง เครา (108:12)
         คือ ขน ที่ มัน ขึ้น ที่ แก้ม คาง เส้น ยาว ๆ, เขา ร้อง เรียก ว่า หนวด เครา บ้าง.
ครั่ง (108:13)
         ของ ศรี แดง อย่าง หนึ่ง, สำรับ ย้อม ผ้า, คือ เกิด แต่ สัตว ตัว เล็ก ๆ, มัน ทำ รัง ติด อยู่ ที่ กิ่ง ไม้ ฝ่าย เหนือ.
ครั้ง (108:14)
         ความ คือ คราว นั่น เอง, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, ครั้ง หนึ่ง เรา ได้ เหน การ อัษจรรย์ เปน ต้น.
      ครั้ง ก่อน (108:14.1)
               คือ เวลา คราว ก่อน นั้น เอง, ฤๅ เมื่อ ก่อน, เวลา ก่อน, หน ก่อน, ปาง ก่อน.

--- Page 109 ---
      ครั้ง นี้ (109:14.2)
               คือ กาล คราว นี้ นั้น เอง, ฤๅ บัด นี้, หน นี้, เที่ยว นี้, มอระสุม นี้.
      ครั้ง นั้น (109:14.3)
               คือ กาล คราว นั้น, ฤๅ ที่ นั้น, ขณะ นั้น, เมื่อ นั้น, ครา นั้น.
      ครั้ง เมื่อ (109:14.4)
               คือ คราว เมื่อ นั้น เอง, ฤๅ หน เมื่อ, ที่ เมื่อ, ปาง เมื่อ.
      ครั้ง หลัง (109:14.5)
               คือ กาล คราว หลัง, ที หลัง นั้น เอง, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, คราว หลัง เรา จะ ไป ด้วย.
คราง (109:1)
         เปน เสียง ร้อง อย่าง หนึ่ง, คือ คน ต้อง ไภย ได้ ทุกข์, ฤๅ เจ็บ ไข้ ประการ ใด, ก็ ร้อง คราง อือ ๆ นั้น.
      คราง ครวญ (109:1.1)
               คือ เสียง คน ป่วย ไข้ หนัก, แล ร้อง คราง เสียง ฮือ ๆ, แล ร้อง เรื่อย ไป ไม่ ใคร่ จะ อยุด นั้น.
      คราง โอย (109:1.2)
               คือ ร้อง คราง เสียง ดัง โอย ๆ นั้น เอง, เหมือน คน ต้อง เฆี่ยน เสียง มัน ดัง อย่าง นั้น.
ครึง (109:2)
         กึ่ง, คือ เปน ส่วน ของ กึ่ง หนึ่ง นั้น, เหมือน คน ตัก น้ำ ใส่ ตุ่ม ถึง กึ่ง กลาง นั้น.
      ครึ่ง กลาง (109:2.1)
               กิ่ง กลาง, คือ ส่วน ของ มี ครึ่ง หนึ่ง แล กึ่ง ทาง เปน ต้น นั้น.
      ครึ่ง โกรธ (109:2.2)
               คือ ความ ที่ โกรธ เคียด นั้น.
เครง (109:3)
         เปน เสียง อย่าง หนึ่ง, ย่อม ดัง อย่าง นั้น, เหมือน ไม้ ล้ม เปน ต้น.
เคร่ง (109:4)
         คือ อาการ สิ่ง ที่ ตึง, ที่ ไม่ ย่อน นั้น เอง, เหมือน คน บวช ประฏิบัติ ตาม พระ สาศนา, หา หย่อน ไม่ นั้น.
      เคร่ง ครัด (109:4.1)
               คือ สิ่ง ที่ ตึง ไม่ เหี่ยว, ไม่ ยุบ ลง นั้น, ความ เหมือน กัน กับ เคร่ง นั้น. อนึ่ง คือ สิ่ง ที่ บวม ไม่ หย่อน นั้น.
แครง (109:5)
         เปน ชื่อ ของ สำรับ ตัก น้ำ อย่าง หนึ่ง*, สาน ด้วย ไม้ รูป กลม ๆ มี ด้ำ ยาว, แล้ว ยา ชัน ด้วย.
โครง (109:6)
         สี ข้าง, คือ อาการ กะดูก อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง ที่ มี อยู่ ตาม ข้าง ๆ แห่ง คน, แล สัตว ทั้ง หลาย นั้น.
      โครง เรือน (109:6.1)
               คือ อาการ แห่ง เรือน ทั้ง ปวง, ที่ ยก ขึ้น ติด กลอน แล้ว, แต่ ยัง ไม่ ได้ มุง นั้น, เพราะ กลอน ทั้ง สอง ข้าง ดู เหมือน สี้โครง.
โคร่ง (109:7)
         คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ โต แล้ว ผอม ด้วย นั้น, เหมือน อย่าง เขา เรียก เสือ ใหญ่ ว่า, เสือ โคร่ง เปน ต้น.
      โคร่ง คร่าง (109:7.1)
               คือ อาการ สิ่ง ของ ที่ โต ที่ หลวม นั้น, เหมือน อย่าง เสื้อ ครุย ที่ หลวม เปน ต้น.
ครอง (109:8)
         เสวย, คือ การ ที่ รักษา ดี ๆ นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, ครอง ราช สมบัติ, ครอง ผ้า, ปก ครอง กัน.
      ครอง กะถิน (109:8.1)
               คือ ความ ที่ พระ สงฆ์ รับ ผ้า กะถิน แล้ว, รักษา ไว้ นั้น.
      ครอง บ้าน (109:8.2)
               คือ การ ที่ คน เปน กำนัน, ได้ รักษา บ้าน ไว้, เหมือน อย่าง นาย แขวง, นาย อำเภอ นั้น.
      ครอง เมือง (109:8.3)
               คือ อาการ ที่ คน ผู้ รักษา เมือง นั้น, เหมือน อย่าง เจ้า เมือง, ที่ หัว เมือง ทั้ง ปวง นั้น.
      ครอง ราช สมบัติ (109:8.4)
               คือ การ ที่ ได้ รักษา ราช สมบัติ, เหมือน พระ มหา กระษัตริย์ ทั้ง ปวง นั้น.
คร่อง (109:9)
         คือ อาการ ที่ ผอม, ที่ หิว นั้น.
      คร่อง แคร่ง (109:9.1)
               คือ อาการ ที่ หิว นั้น, เหมือน อย่าง คน เดิน ทาง สิ้น กำลัง แล้ว, เขา เล้า โลม ว่า, อุษ่าห์ คร่อง แคร่ง ไป หน่อย เถิด.
เครื่อง (109:10)
         คือ สิ่ง ของ ต่าง ๆ ที่ สำรับ ใช้ สอย ทั้ง ปวง นั้น. อนึ่ง เปน ของ ทำ ด้วย ตะกั่ว บ้าง, ทอง แดง บ้าง, ลง เลกข์ ยัญ ต่าง ๆ, แล้ว ผูก ไว้ สำรับ กัน อันตราย นั้น.
      เครื่อง แกง (109:10.1)
               คือ สิ่ง ของ ที่ สำรับ ใช้ แกง กิน นั้น, เหมือน อย่าง พริก, กะปิ, หอม, กะเทียม, ข่า เปน ต้น.
      เครื่อง กิน (109:10.2)
               คือ เครื่อง ที่ สำรับ ใส่ ของ กิน, เหมือน อย่าง ถาด เชี่ยน หมาก นั้น, ฤๅ ของ กิน ทั้ง ปวง ด้วย นั้น.
      เครื่อง กระยา บวช (109:10.3)
               คือ เปน ชื่อ ของ กิน อัน เว้น จาก โทษ, มี ถั่ว งา เปน ต้น, ไม่ มี เนื้อ, ไม่ มี ปลา, เปน ของ เว้น จาก โทษ นั้น.
      เครื่อง เขียน (109:10.4)
               เปน สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ สำรับ ใช้ สอย ใน การ เขียน ทั้ง ปวง, มี หมึก, แล ชาด, รง, หอระดาน เปน ต้น.
      เครื่อง เงิน (109:10.5)
               คือ เครื่อง ใช้ ทั้ง ปวง ที่ ทำ ด้วย เงิน นั้น, เหมือน อย่าง โต๊ะ ทำ ด้วย เงิน, พาน ทำ ด้วย เงิน เปน ต้น.
      เครื่อง จ้าว (109:10.6)
               คือ เครื่อง ทั้ง ปวง ที่ สำรับ จ้าว ใช้, เหมือน อย่าง พระ เต้า น้ำ, พาน พระ ศี เปน ต้น นั้น.
      เครื่อง ชา (109:10.7)
               คือ เครื่อง ที่ สำรับ ใส่ น้ำ ชา, เหมือน อย่าง ปั้น ชา ถ้วย ชา, แล ถาด น้ำ ร้อน เปน ต้น นั้น.
      เครื่อง ใช้ (109:10.8)
               คือ เครื่อง ภาชนะ ทั้ง ปวง ที่ สำรับ ใช้ สอย นั้น เอง. เหมืออ อย่าง โต๊ะ โตก เปน ต้น นั้น.

--- Page 110 ---
      เครื่อง ช้าง (110:10.9)
               คือ เครื่อง ทั้ง ปวง ที่ สำรับ แต่ง ช้าง นั้น, เหมือน อย่าง กูบ แล อ่าน เปน ต้น.
      เครื่อง แต่ง (110:10.10)
               คือ เครื่อง สำรับ แต่ง ตัว ทั้ง ปวง นั้น.
      เครื่อง ถม (110:10.11)
               คือ เครื่อง ภาชนะ ทั้ง ปวง, ทำ ด้วย เงิน บ้าง, ทอง บ้าง, แล้ว ถม ยา ศี ต่าง ๆ นั้น.
      เครื่อง ใน (110:10.12)
               คือ ตับ ไต ไส้ พุง แล หัว ใจ เปน ต้น, ที่ มัน อยู่ ใน กาย คน ฤๅ สัตว นั้น.
      เครื่อง ทรง (110:10.13)
               คือ สิ่ง ทั้ง ปวง, ที่ เปน เครื่อง สำรับ พระ มหา กระ- ษัตริย์ ทรง นั้น.
      เครื่อง บูชา (110:10.14)
               คือ ของ เปน เครื่อง พลี นั้น.
      เครื่อง บน (110:10.15)
               คือ เครื่อง เรือน ทั้ง ปวง ที่ อยู่ เบื้อง บน นั้น, เหมือน อย่าง ขื่อ แล แป, ฤๅ อก ไก่ เปน ต้น นั้น.
      เครื่อง มือ (110:10.16)
               คือ เครื่อง ที่ สำรับ ใช้ ด้วย มือ นั้น, เหมือน อย่าง สิ่ว, ขวาน กบ เลื่อย เปน ต้น.
      เครื่อง มะโหรี (110:10.17)
               คือ เครื่อง ทำ เพลง มะโหรี, มี กระจับปี่, สี ซอ เปน ต้น นั้น.
      เครื่อง ยศ (110:10.18)
               คือ สิ่ง ของ ที่ สำรับ คน มี ยศ มี วาศนา ใช้ สรอย, เหมือน อย่าง คนโท แล พาน พระ ศี เปน ต้น.
      เครื่อง ราง (110:10.19)
               คือ สิ่ง ของ หลาย อย่าง พวก ไทย ถือ ว่า, ป้อง กัน อันตราย ได้, อยู่ คง ด้วย, เหมือน ไข่ หิน เปน ต้น.
      เครื่อง เสวย (110:10.20)
               คือ ของ คาว หวาน ที่ จ้าว กิน นั้น, คือ เครื่อง ที่ ท่าน ผู้ เปน อิศระ เสพย์ เปน ต้น นั้น เอง.
      เครื่อง สรง (110:10.21)
               คือ เครื่อง ที่ สำรับ จ้าว นาย, ฤๅ พระ มหา กระ- ษัตริย์ อาบ น้ำ นั้น.
      เครื่อง สูง (110:10.22)
               คือ มยุระฉัตร, พัด โบก, จ่า มร, อภิรุม ชุมสาย เปน ต้น, เปน ของ สำรับ พระ มหา กระษัตริย์ นั้น.
      เครื่อง สด (110:10.23)
               คือ เครื่อง เขา ทำ ด้วย ของ สด มี อยวก เปน ต้น, สำรับ การ โกน จุก, แล การ เผา สพ เปน ต้น.
      เครื่อง สรรพาวุธ (110:10.24)
               เปน เครื่อง สำรับ รบ, คือ ปืน, หอก, ดาบ, ง้าว, ทวน, กระบี่, กั้นหยั่น, เปน ต้น.
      เครื่อง หอ (110:10.25)
               คือ สิ่ง ของ ที่ เขา ผัว เมีย แรก อยู่ ด้วย กัน, มี ที่ นอน แล มุ้ง เปน ต้น นั้น.
ครัด (110:1)
         คัด, คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เปล่ง ปลั่ง, มิ ได้ เหี่ยว แห้ง นั้น, เหมือน ผล กล้วย ที่ แก่ จัด เปน ต้น.
      ครัด เคร่ง (110:1.1)
               คือ สิ่ง ของ ฤๅ การ ประพฤษดิ์, มั่นคง เสมอ มิ ได้ อย่อน ลง, เหมือน คน บวช ประพฤษดิ์ เสมอ, เปน ธรรม ยุติกา นั้น.
      ครัด ตึง (110:1.2)
               คัด ตึง คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ คัด เต่ง เสมอ อยู่ นั้น, เหมือน หญิง รุ่น สาว ที่ มี ถัน ทั้ง คู่ เต่ง ตึง อยู่ นั้น.
คราด (110:2)
         คือ ของ สำรับ ชัก หญ้า ที่ นา ที่ สวน นั้น, คน เอา ไม้ มา เจาะ ใส่ ลูก ห่าง ๆ คล้าย ๆ หวี.
      คราด นา (110:2.1)
               คือ ของ ทำ ด้วย ไม้ มี ลูก ห่าง ๆ คล้าย กับ หวี, มี คัน สอง อัน เทียม ด้วย ควาย, คราด หญ้า ที่ ท้อง นา นั้น.
ครึด (110:3)
         เปน เสียง ดัง อย่าง นั้น, เหมือน อย่าง ของ ที่ ฝืด แล้ว คับ ด้วย, กด เข้า ไป มัน ดัง อย่าง นั้น.
      ครึด ครื (110:3.1)
               คือ เสียง ที่ ขู่ คำราม นั้น. อนึ่ง คือ การ ที่ ฝืด เคือง ภอ เข็น ไป ได้, เหมือน เข็น เรือ ที่ น้ำ ตื่น ภอ ครื ไป นั้น.
ครืด (110:4)
         คือ เสียง มัน ดัง อย่าง นั้น, เหมือน เข็น เรือ บน บก เปน ต้น. อนึ่ง ดอก ไม้ ฤๅ ถ่าน ไฟ ที่ แดง ดาศ ทั่วไป นั้น.
ครุทธ์ (110:5)
         คือ สัตว อย่าง หนึ่ง นับ เข้า ใน พวก นก, มี ฤทธิ์ มาก, ปาก เหมือน นก แก้ว.
ครูด (110:6)
         คือ การ ที่ ขูด นั้น, เหมือน คน แจว เรือ ไป ตาม คลอง, ตอ ฤๅ ไม้ มัน ขูด เอา เรือ นั้น.
      ครูด คราด (110:6.1)
               เปน เสียง ดัง เช่น นั้น, เมื่อ เขา ขูด เรือ เปน ต้น.
เครียด (110:7)
         คือ การ ที่ ตึง เคร่ง นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ ขาย ของ แพง ไม่ หย่อน ราคา ลง เลย.
ครัน (110:8)
         ความ เหมือน เมื่อ, เหมือน อย่าง คำ ว่า, ครั้น ถึง น้อม เศียร บังคม บาท เปน ต้น.
ครรภ์ (110:9)
         ฯ คือ ห้อง ทั้ง ปวง, ฤๅ หญิง มี ท้อง ลูก นั้น.
ครั่น (110:10)
         คือ คน กระทำ เสียง ให้ โอด ครวญ, ฤๅ คน ที่ ไม่ สบาย ให้ ตึง ตัว เหมือน ไข้ จับ นั้น.
      ครั่น คร้าม (110:10.1)
               คือ ความ ประพรั่น กลัว ไภย นั้น, คือ ความ พรั่น พรึง นั้น เอง.
      ครั่น ตัว (110:10.2)
               คือ ความ ป่วย ลง เมื่อ เกือบ จะ จับ ไข้ นั้น.
ครั้น (110:11)
         ความ เหมือน อย่าง เมื่อ, ถ้า, แม้น, และ, เหมือน เขา มัก พูด กัน ว่า, ครั้น มา ถึง เปน ต้น.
คร้าน (110:12)
         ขี้ เกียจ, คือ ความ ขี้ เกียจ นั้น, เหมือน คน เกียจ คร้าน ไม่ หมั่น, ไม่ อุษ่าห์, ไม่ มี เพียร เปน ต้น.

--- Page 111 ---
      คร้าน กาย (111:12.1)
               คือ ความ เกียจ คร้าน, ที่ บังเกิด ขึ้น ใน กาย นั้น, เหมือน คน ครั่น ตัว ไม่ อยาก ทำ สิ่ง ใด เลย.
ครึน (111:1)
         คือ เครื่อง ทำ เปน บ่วง ไว้, สำรับ ดัก นก ดัก ไก่ เปน ต้น.
ครืน (111:2)
         เปน เสียง ดัง อย่าง นั้น, เหมือน อย่าง เสียง ฟ้า ร้อง ลั่น, ฤๅ เสียง ปืน เปน ต้น.
ครื้น (111:3)
         ครึ้ม, คือ ที่ ร่ม รื่น, ฤๅ เสียง กึก ก้อง อัน เปน ที่ สนุกนิ์ สบาย นั้น, เหมือน สวน ร่ม รื่น ไป ด้วย ต้น ผลไม้, ฤๅ บ้าน เรือน กึก ก้อง ไป ด้วย เสียง มะโหรี เปน ต้น.
      ครื้น เครง (111:3.1)
               คือ เสียง คน เล่น การ มะโหรสพ มี งาน โขน เปน ต้น.
ครุ่น (111:4)
         คือ การ ที่ ค่อย เดิน ค่อย ไป, ค่อย ทำ, ค่อย ได้ ช้า ๆ, เสมอ ไป ไม่ อยุด ไม่ หย่อน นั้น.
      ครุ่น ๆ ไป (111:4.1)
               คือ ค่อย ๆ ไป นั้น, ฤๅ ไฟ ติด อยู่ ที่ กอง แกลบ เปน ต้น, มี ควัน กรุ่น ๆ อยู่ นั้น.
ครวญ (111:5)
         คือ เสียง ที่ ครั่น โอด, ฤๅ เสียง ที่ เปน กังวาน, เหมือน เสียง ฆ้อง เสียง ระฆัง, ที่ ครั่น อยู่ นั้น.
      ครวญ คร่ำ (111:5.1)
               คือ เสียง ที่ ร้อง ร่ำไร ถึง ของ ต่าง ๆ นั้น, เหมือน หญิง ที่ พรัดพราก จาก ลูก ผัว แล้ว, ร่ำไร คิด ถึง กัน นั้น.
      ครวญ คราง (111:5.2)
               คือ เสียง คราง แล้ว ร่ำไร ไป ต่าง ๆ ด้วย, เหมือน คน ที่ ได้ ทน ทุกข เวทนา เปน ต้น นั้น,
      ครวญ ถึง (111:5.3)
               คือ คน ร่ำไร ถึง สิ่ง ของ ต่าง ๆ, ที่ ตัว เคย รักษ, เคย ชอบ ใจ เปน ต้น.
      ครวญ หา (111:5.4)
               คือ คน บ่น ร่ำไร หา สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ ตัว คิด ถึง นั้น.
      ครวญ ไห้ (111:5.5)
               คือ คน ร้องไห้ มี เสียง ร่ำไร, บ่น ถึง สิ่ง ของ ที่ ตัว คิด ถึง นั้น เอง.
ครบ (111:6)
         ท่วน, คือ สิ่ง ที่ ท่วน ไม่ ขาด ไม่ เหลือ นั้น.
      ครบ กัน (111:6.1)
               ท่วน กัน, คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ มี ท่วน กัน ทุก ตัว คน, ไม่ ขาด ไม่ เหลือ นั้น.
      ครบ ครัน (111:6.2)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง มี ครบ ท่วน บริบูรณ, ไม่ ขาด ไม่ เหลือ นั้น.
      ครบ จำนวน (111:6.3)
               ท่วน จำนวน, คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง มี อยู่ ครบ ท่วน, ตาม ที่ ได้ กำหนฎ นับ ไว้ นั้น.
      ครบ ท่วน (111:6.4)
               คือ สิ่ง ของ ที่ ครบ บริบูรณ ไม่ ขาต ไม่ เหลือ นั้น.
      ครบ บริบูรณ (111:6.5)
               คือ ท่วน เต็ม ดี.
คราบ (111:7)
         หนัง กำพร้า, คือ สิ่ง ทั้ง ปวง เปน ผิว ห่อ หุ้ม อยู่ ภาย นอก นั้น.
      คราบ งู (111:7.1)
               คือ ผิว หนัง แห่ง งู ทั้ง ปวง, ที่ ลอก ออก จาก ตัว งู นั้น.
      คราบ ปู (111:7.2)
               คือ กะดอง รูป ปู, ที่ มัน เปลี่ยน เสีย ใหม่ นั้น.
      คราบ น้ำ (111:7.3)
               คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ถูก ฝน, ฤๅ น้ำ ท่วม, ครั้น ฝน แล้ง น้ำ ลด แห้ง ลง แล้ว, ก็ เปน คราบ ติด ดำ อยู่.
      คราบ แมลง ป่อง (111:7.4)
               คือ รูป เก่า ที่ แมลง ป่อง มัน ลอก เสีย นั้น.
ครีบ (111:8)
         คือ อาการ สิ่ง ที่ เปน แฉก ๆ เล็ก ๆ, อยู่ ตาม ริม ๆ ใบ ไม้, ฤๅ ตาม สัน ปลา ทั้ง ปวง นั้น.
      ครีบ ใบ ไม้ (111:8.1)
               คือ อาการ สิ่ง ที่ เปน แฉก ๆ, อยู่ ตาม ริม ๆ ใบ ไม้ ทั้ง ปวง นั้น.
      ครีบ ปลา (111:8.2)
               คือ อาการ สิ่ง ที่ เปน แฉก ๆ อยู่ ตาม สันหลัง, ฤๅ ตาม ท้อง แห่ง ปลา ทั้ง ปวง นั้น.
ครอบ (111:9)
         เปน เครื่อง สำรับ ใส่ น้ำ มนต์ร โกน จุก ทำ ด้วย สำริทธิ์, อนึ่ง เปน ต้น อย่าง หนึ่ง ดอก เหลือง งาม ใช้ ทำ ยา.
      ครอบ ครอง (111:9.1)
               คือ การ ที่ ป้อง กัน รักษา ไว้, เหมือน อย่าง มหา กระษัตริย์, ได้ เสวย ราชสมบัติ เปน ต้น นั้น.
      ครอบ ครัว (111:9.2)
               ความ คือ ลูก เมีย หมด ด้วย กัน ทั้ง เรือน, ที่ ผัว ได้ ปก ครอง รักษา ไว้ นั้น.
      ครอบ งำ (111:9.3)
               คือ การ ที่ ปก คลุม ไว้ นั้น, เหมือน คน เอา ขัน เล็ก, ครอบ งำ ขัน ใหญ่ ลง ไว้ เปน ต้น.
      ครอบ จักระวาฬ (111:9.4)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, มัน ชื่อ อย่าง นั้น, สำรับ ใช้ ทำ ยา.
      ครอบ ตลับ (111:9.5)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อีก อย่าง หนึ่ง, คล้าย ๆ กัน กับ ครอบ จักระวาฬ, แต่ ลูก มัน คล้าย ตลับ.
      ครอบ หัว (111:9.6)
               สวม หัว, คือ กาว ที่ คน เอา ของ สิ่ง ใด ๆ ครอบ หัว ไว้, เหมือน คน ใส่ หมวก เปน ต้น นั้น.
ครั่ม (111:10)
         กร่อน, คือ ของ สิ่ง ใด ๆ ที่ ถูก น้ำ ถูก ฝน ผุ ครั่มคร่า ไป, เหมือน ไม้ ฤๅ เสา, ที่ ปัก อยู่ ใน ดิน เปน ต้น.
คราม (111:11)
         คือ ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง, ปลูก ไว้ สำรับ ย้อม ผ้า, ให้ ศี เขียว เหมือน ดอก ผัก ตบ เปน ต้น.
      คราม จีน (111:11.1)
               เปน ชื่อ คราม ที่ เขา ทำ เปน ก้อน ๆ ศี เขียว, เหมือน ดอก ผัก ตบ, มา แต่ เมือง จีน.
      คราม ไทย (111:11.2)
               คือ คราม ที่ เขา ปลูก ไว้ ใช้ ที่ เมือง ไทย นี้ เอง.
      คราม น้ำ (111:11.3)
               คือ คราม อย่าง หนึ่ง, มัน มัก ขึ้น อยู่ ริม น้ำ, ตาม คลอง ใน สวน.

--- Page 112 ---
คร้าม (112:1)
         พรั่น, คือ ความ ที่ นึก เกรง อยู่ ใน ใจ บ้าง เล็ก น้อย นั้น, เหมือน คน ที่ นึก กลัว ผี บ้าง หนีด หน่อย.
      คร้าม กัน (112:1.1)
               เกรง กัน, ขาม กัน, คือ ความ ที่ ต่าง คน ต่าง กลัว กัน บ้าง เล็ก น้อย นั้น.
      คร้าม ครัน (112:1.2)
               มาก มาย, คือ ความ ที่ มี ของ มาก เกิน ประมาณ, เหมือน อย่าง คน มี ทรัพย สิ่ง ของ มาก เหลือ ใช้ นั้น.
      คร้าม ใจ (112:1.3)
               พรั่น ใจ, คือ ความ ที่ นึก กลัว ใจ คน อื่น นั้น, ฤๅ ใจ ของ ตัว คิด กลัว อยู่ บ้าง เล็ก น้อย.
      คร้าม มือ (112:1.4)
               เข็ด มือ, ขยาด มือ, ระอา มือ, คือ ความ ที่ นึก กลัว ฝี มือ กัน นั้น, ฤๅ คน ที่ เคย ชก ต่อย, ย่อม เกรง ฝีมือ กัน เปน ต้น.
ครึม (112:2)
         ร่ม รื่น, คือ ที่ ร่ม ไม้ ใหญ่ ทั้ง ปวง, เหมือน อย่าง ที่ ร่ม ไม้ ใน ดง สูง เปน ต้น. อนึ่ง เสียง ที่ ย่อม ดัง อย่าง นั้น ก็ มี.
      ครึม ครำ (112:2.1)
               คือ อาการ ที่ คน กระทำ การ นิ่ง ๆ, ดู เหมือน อย่าง คน บ้า นั้น.
      ครึม เครือ (112:2.2)
               คือ ต้น ไม้ แล เครือ เขา, ขึ้น พันท์ รก เปน ซุ้ม เซิง อยู่ นั้น.
      ครึ่ม คราง (112:2.3)
               คือ เสียง อย่าง หนึ่ง, เหมือน เสียง แห่ง นก พิราบ เปน ต้น.
ครึ้ม (112:3)
         คือ เสียง ดัง อย่าง หนึ่ง, เหมือน เสียง แห่ง มโหรี เปน ต้น นั้น.
ครุ่ม (112:4)
         คือ เสียง ดัง อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง เสียง แห่ง กลอง ชะนะ เปน ต้น นั้น.
โครม (112:5)
         คือ เปน เสียง อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง เสียง กะทุ้ง เซ่า เปน ต้น นั้น.
      โครม คราม (112:5.1)
               เปน เสียง ดัง เมื่อ คน เดิน ที่ พื้น ฟาก, ฤๅ เดิน ลุย น้ำ เปน ต้น.
คร่อม (112:6)
         คือ การ ครอบ สิ่ง ของ อื่น ไว้ นั้น, เหมือน คน ปลูก ตะ พาน คร่อม คลอง, ฤๅ ขี่ คร่อม หลัง งัว ควาย เปน ต้น.
      คร่อม กัน (112:6.1)
               คือ อาการ ที่ คน ยืน แล ทำ ตัว ให้ คร่อม ผู้ อื่น ไว้.
      คร่อม หลัง (112:6.2)
               คือ อาการ ที่ แยก ขา ออก แล้ว คร่อม ลง บน หลัง, เหมือน อย่าง คน ขี่ ช้าง ขี่ ม้า, ขี่ งัว ขี่ ควาย เปน ต้น.
คราว (112:7)
         คือ เปน ความ เหมือน ครั้ง, ฤๅ ที หนึ่ง, หน หนึ่ง นั้น.
      คราว กัน (112:7.1)
               ความ คือ ครั้ง เดียว กัน นั้น, เหมือน อย่าง คน ฤๅ สัตว เกิด ครั้ง เดียว กัน นั้น.
      คราว ก่อน (112:7.2)
               ความ คือ ครั้ง ก่อน, ฤๅ ที ก่อน, หน ก่อน นั้น, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, เรา มา คราว ก่อน ที หนึ่ง.
      คราว น่า (112:7.3)
               ความ คือ ครั้ง น่า, ฤๅ ที น่า นั้น, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, คราว น่า เถิด เรา จะ ให้.
      คราว นี้ (112:7.4)
               ความ คือ ครั้ง นี้, ฤๅ ที นี้, หน นี้ นั้น, เหมือน อย่าง เขา มัก พูด กัน ว่า, คราว นี้ เรา จะ ไป ด้วย.
      คราว นั้น (112:7.5)
               ความ คือ ครั้ง นั้น, ฤๅ เมื่อ นั้น, ขณะ นั้น, ที นั้น, หน นั้น.
      คราว โน้น (112:7.6)
               ความ คือ ครั้ง โน้น, ฤๅ เมื่อ โน้น, ขณะ โน้น, ที โน้น, หน โน้น นั้น.
      คราว หลัง (112:7.7)
               ความ คือ ครั้ง หลัง, ฤๅ ที หลัง, ภาย หลัง, หน หลัง นั้น เอง.
คร่าว (112:8)
         คือ อาการ ที่ ค่อย ๆ เดิน, ฤๅ ค่อย ทำ ช้า ๆ เสมอ ไป นั้น.
ครุย (112:9)
         เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ เปน ชาย ยาว ออก มา เปน เส้น ๆ นั้น, เหมือน อย่าง ชาย ผ้า ครุย, ฤๅ ชาย ผ้า ส่าน เปน ต้น.
      ครุย ผ้า (112:9.1)
               เปน เครื่อง ที่ ชาย ผ้า, เขา ทำ ให้ ยาว ออก มา ฟั่น เปน เส้น นั้น, เหมือน อย่าง ชาย ผ้า ครุย เปน ต้น.
ครุย เสื้อ (112:10)
         เปน ชื่อ เสื้อ อย่าง ใหญ่, ที่ มี ชาย ยาว เฟื้อย กรอม ลง ไป, เหมือน อย่าง เสื้อ ยี่ ปุ่น นั้น.
เครือ (112:11)
         เถา, คือ อาการ แห่ง ต้น ไม้ ทั้ง ปวง, ที่ เปน เถา เลื้อย ไป นั้น, เหมือน อย่าง เถา กระดังงา จีน, ฤๅ เถา องุ่น เปน ต้น.
      เครือ กล้วย (112:11.1)
               คือ อาการ แห่ง กล้วย, ที่ เปน งวง ยื่น ออก ไป, มี หวี ติด อยู่, เหมือน อย่าง กล้วย ทั้ง ปวง นั้น.
      เครือ เขา (112:11.2)
               เปน ชื่อ เถา วัล ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน อย่าง เถา ญ่า นาง เปน ต้น.
      เครือ ญาติ (112:11.3)
               คือ วงษ พี่ น้อง ที่ เปน เชื้อ สาย ต่อ ๆ กัน* ออก ไป นั้น, เหมือน อย่าง ลูก หลาน เหลน เปน ต้น.
      เครือ วัล (112:11.4)
               คือ เถา วัน ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน อย่าง เถา วัน แดง, แล เถา อบเชย เปน ต้น.
      เครือ เสียง (112:11.5)
               คือ เสียง ที่ แห้ง แหบ ไป นั้น, เหมือน อย่าง เสียง คน เปน หวัด เปน ต้น.
เครอะคระ (112:12)
         คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ไม่ เกลี้ยง, ครุคระ อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง ต้น ไม้ ใหญ่, ที่ มี เปลือก ครุคระ.

--- Page 113 ---
ครัว (113:1)
         เปน ชื่อ ห้อง ที่ เขา ทำ ไว้ สำรับ หุง เข้า ต้ม แกง นั้น. อนึ่ง คือ คน ที่ อยู่ ด้วย กัน ทั้ง เรือน, เหมือน ผัว เมีย พ่อ ลูก นั้น.
      ครัว ไฟ (113:1.1)
               เปน ชื่อ ห้อง ที่ เขา ทำ ไว้ สำรับ ติด ไฟ หุง เข้า เปน ต้น.
      ครัว มอญ (113:1.2)
               คือ ความ ที่ พอก มอญ, ที่ มี อยู่ พร้อม กัน ทั้ง ผัว ทั้ง เมีย, ทั้ง พ่อ ทั้ง ลูก, เรียก ว่า ครัว มอญ.
แคระ (113:2)
         คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ เล็ก ยิ่ง กว่า เพื่อน, เหมือน อย่าง สิ่ง ของ ที่ เคย โต, แต่ มัน กลับ เล็ก ไป นั้น.
      แคระ (113:2.1)
               จ้อน, ความ เหมือน* กัน กับ แคระ, คือ ของ ที่ เคย โต ตาม ธรรมดา, แต่ มัน ไม่ โต นั้น.
      แคระ น้ำ นม (113:2.2)
               คือ เด็ก ที่ รูป มัน จ้อน, เล็ก ไม่ สม อายุ นั้น, คือ จ้อน เล็ก เพราะ มัน อด นม นั้น เอง.
เคราะห์ (113:3)
         ความ คือ ถือ เอา ซึ่ง เหตุ ต่าง ๆ นั้น, เหมือน คน ต้อง ไภย ได้ ทุกข์, ว่า เคราะห์ ร้าย, ที่ ได้ ลาภ ว่า เคราะห์ ดี.
      เคราะห์ ดี (113:3.1)
               คือ ความ ที่ ถือ เอา ซึ่ง เหตุ อัน ดี นั้น, เหมือน อย่าง คน มี ลาภ, ได้ แก้ว แหวน เงิน ทอง, ฤๅ พ้น จาก ไภย เปน ต้น.
      เคราะห์ ร้าย (113:3.2)
               คือ ความ ที่ ถือ เอา ซึ่ง เหตุ ร้าย นั้น, เหมือน คน ที่ เสื่อม จาก ลาภ จาก ยศ เปน ต้น นั้น.
      เคราะห์ โศรก (113:3.3)
               เปน คำ พูด ว่า เคราะห์ ร้าย, แล มี ความ โศรก ด้วย นั้น.
      เคราะห์ หาม ยาม ร้าย (113:3.4)
               คือ ความ ที่ เสื่อม จาก ลาภ, จาก ยศ, แล ต้อง ไภย ได้ ทุกข์ ต่าง ๆ นั้น.
คร่อแคร่ (113:4)
         คือ การ ที่ รอ ท่า นั้น, เหมือน อย่าง คน เปน ไข้ หนัก เกือบ จะ ตาย แล้ว, ยัง รอ ท่า ให้ รักษา นั้น.
ครรภ์ (113:5)
         คือ ห้อง ใน ท้อง อัน เปน ที่ เกิด แห่ง ทารก ทั้ง ปวง, เหมือน คน ที่ มิ ท้อง ลูก นั้น.
คือ (113:6)
         ความ ว่า เปน, เหมือน, เขา ย่อม พูด กัน ว่า, คือ สิ่ง นั้น, เปน คน นั้น, เหมือน อย่าง นั้น.
คลา (113:7)
         (dummy head added to facilitate searching).
      คลา คลาศ (113:7.1)
               คือ เดิน เลื่อน เคลื่อน ไป, เหมือน อย่าง เดิน แคล้ว คลาศ กัน ไป เปน ต้น.
      คลา ไคล (113:7.2)
               คือ การ ที่ ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน เดิน ทาง เปน ต้น นั้น.
คล้า (113:8)
         คือ ต้น อย่าง หนึ่ง, มัก ขึ้น อยู่ ที่ ดิน เปียก, ดอก มัน ขาว ๆ, สำรับ ใช้ สาน เสื่อ บ้าง, ทำ ยา บ้าง.
คลี (113:9)
         เปน เครื่อง เล่น อย่าง หนึ่ง, เปน ลูก กลม ๆ เท่า กับ ผล ซ่ม เกลี้ยง, สำรับ ตี เดาะ เล่น บน หลัง ม้า.
คลี่ (113:10)
         คลาย, คือ อาการ ที่ กระทำ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ม้วน อยู่ นั้น, ให้ คลาย คลี่ ออก ไป, เหมือน คน คลี่ ผ้า ออก จาก ไม้ เปน ต้น.
      คลี่ กลีบ (113:10.1)
               ขยาย กลีบ, คือ อาการ ที่ คลาย แบ กลีบ ออก นั้น, เหมือน อย่าง กลีบ ดอก ไม้ ที่ บาน เปน ต้น.
      คลี่ ขยาย (113:10.2)
               คือ อาการ ที่ เคลื่อน ออก, แล คลาย ออก, เหมือน ดอก ไม้ ที่ แก่ แล จะ เบิก บาน นั้น.
      คลี่ (113:10.3)
               คลาย, คือ อาการ สิ่ง ของ ที่ ม้วน อยู่ นั้น, กระทำ ให้ มัน คลาย คลี่ ออก ไป, เหมือน ใบ ไม้ ที่ ม้วน อยู่ ทำ ให้ คลี่ ออก.
      คลี่ใบ (113:10.4)
               คือ อาการ ใบ เรือ, ฦๅ ใบ ไม้, ที่ ม้วน อยู่ นั้น, กระทำ ให้ มัน คลี่ ออก นั้น.
      คลี่ ผ้า (113:10.5)
               คลาย ผ้า, คือ อาการ ทำ ผ้า ที่ มัน ม้วน อยู่ นั้น, ให้ มัน คลี่ ออก ไป เปน ต้น นั้น.
      คลี่ ออก (113:10.6)
               คลาย ออก, คือ การ ที่ คน ทำ ให้ ผ้า ใบ เปน ต้น, ให้ มัน คลาย ขยาย แบ แผ่ ออก นั้น.
แคล คลอ (113:11)
         คือ การ ทำ น้ำ ตา ที่ มัน ออก ฬ่อ ๆ อยู่ ที่ ริม ขอบ ตา นั้น, เหมือน อย่าง น้ำ ตา ฬ่อ หน่วย เปน ต้น.
ไคล (113:12)
         คือ การ ที่ เอา มือ กด ลง แล้ว, คลึง ไป คลึง มา, เหมือน อย่าง พวก หมอ นวด ทั้ง ปวง นั้น.
      ไคลคลา (113:12.1)
               คือ อาการ ที่ เดิน ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน เดิน ทาง เปน ทาง ไป เปน ต้น.
      ไคล งอก บน หิน (113:12.2)
               คือ ตะไคร่ น้ำ ที่ มัน เกิด ขึ้น บน หิน, เพราะ มัน แช่ น้ำ, ฤๅ กรำ ฝน อยู่ นั้น.
      ไคล น้ำ (113:12.3)
               คือ ตะไคร่ น้ำ นั้น, เหมือน ของ อัน ใด มี ไม้ เปน ต้น, จม แช่ น้ำ อยู่ ช้า นาน, มัน เกิด ตะไคร่ ขึ่น ที่ ไม้ นั้น, ลาง ที เปน ปอย เส้น ยาว ๆ บ้าง.
ไคล้ คลึง (113:13)
         คือ ลักษณะ สิ่ง ที่ คล้าย กัน, เหมือน กัน, แม้น กัน, เท่า กัน, เสมอ กัน นั้น.
เคล้า (113:14)
         คุลีการ, คือ การ ที่ กระทำ ให้ สิง ทั้ง ปวง, คลุก ระคน ปน กัน, เหมือน อย่าง คน เอา เชื้อ คลุก ลง ใน แป้ง นั้น.
      เคล้า คลุก (113:14.1)
               คือ อาการ ที่ คน อยู่ ใกล้ ชิด กัน, คลุกคลี ก้น อยู่ ไม่ ใคร่ ออก ห่าง กัน นั้น.
      เคล้าคลึง (113:14.2)
               คือ การ ที่ นั่ง, ฤๅ นอน อยู่ ด้วย กัน, มิ ใคร่ จาก กัน ไป ได้, เหมือน อย่าง ผัว เมีย อยู่ ด้วย กัน ใหม่ ๆ นั้น.
      เคล้า ทั่ว (113:14.3)
               คือ การ คลุก ให้ ทั่ว นั้น, เหมือน คน เอา เชื้อ ขนม ใส่ ลง ใน แป้ง, แล้ว คลุก ให้ ทั่ว นั้น.

--- Page 114 ---
คลำ (114:1)
         งม, คือ การ ที่ คน เอา มือ จับ สิ่ง ของ, แล้ว ลูบ ไป ลูบ มา, เหมือน คน เที่ยว คลำ หา สิ่ง ของ, ใน ที่ มืด นั้น.
      คลำ ไคล้ (114:1.1)
               คือ การ ที่ เอา มือ จับ แล้ว ขยำ เบา ๆ คลึง ไป คลึง มา, เหมือน หมอ นวด ทั้ง ปวง นั้น.
      คลำ เคล้น (114:1.2)
               คือ เอา มือ จับ แล้ว เน้น เบา ๆ บีบ ไป บีบ มา.
      คลำ ดู (114:1.3)
               งม ดู, คือ การ ที่ เอา มือ จับ ต้อง ลูบ คลำ ดู ให้ รู้ ว่า, เปน สิ่ง นี้ สิ่ง นั้น.
      คลำ หา (114:1.4)
               งม หา, คือ การ ที่ คน เอา มือ เที่ยว คลำ หา สิ่ง ของ, เหมือน อย่าง คน เที่ยว คลำ หา สิ่ง ของ ใน ที่ มืด นั้น.
คล่ำ (114:2)
         คลุ่ม, คือ อาการ ที่ คน ฤๅ สัตว เดิน ไป เดิน มา, สรรพสน กัน อยู่ มาก มาย นั้น.
คล้ำ (114:3)
         หมอง, คือ สี สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, เมื่อ ผ่อง ใส บริสุทธิ์ อยู่ นั้น, ครั้น สี มัว หมอง ดำ ลง น่อย หนึ่ง นั้น ว่า คล้ำ.
      คล้ำ มัว (114:3.1)
               คือ สิ่ง ที่ สี เศร้า หมอง ลง น่อย หนึ่ง, เหมือน คน เคย สบาย, ครั้น ทุกข์ มา ถึง ก็ เศร้า หมอง ลง นั้น.
คละ (114:4)
         กลั่ว, คือ การ ที่ ปะ บน ระคน กัน นั้น, เหมือน อย่าง คน เอา ผลไม้ ทั้ง ปวง ที่ เล็ก บ้าง โต บ้าง ปน กัน.
      คละ กัน (114:4.1)
               กลั่ว กัน, คือ ปน กัน นั้น, เหมือน อย่าง คน เอา ของ หลาย สิ่ง เข้า คละ ปะ ปน กัน นั้น.
      คละ ปน (114:4.2)
               กลั่ว ปน, คือ การ ที่ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ เข้า คละ ระคน ปะ ปน กัน อยู่ นั้น.
      คละ ระคน (114:4.3)
               กลั่ว ระคน, คือ การ ที่ ทรัพย์ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ คละ ระคน ปน กัน อยู่.
คลัก (114:5)
         คือ อาการ ที่ สัตว ทั้ง ปวง ตก อยู่ ใน บ่อ, ยัด เยียด กัน หนัก, ผุด ขึ้น หาย ใจ เสียง คลัก ๆ อยู่ นั้น.
คลุก (114:6)
         เคล้า, คือ การ ที่ ทำ, เอา ของ หลาย สิ่ง เคล้า เข้า ด้วย กัน, แล้ว คน ให้ ทั่ว, เหมือน อย่าง เอา เข้าเม่า คลุก กับ มะพร้าว.
      คลุก กัน (114:6.1)
               เคล้า กัน, คือ การ ทำ, เอา ของ หลาย สิ่ง เคล้า ประ- สม เข้า ด้วย กัน, แล้ว คน ให้ ทั่ว นั้น.
      คลุก เข้า (114:6.2)
               ระคน เข้า, คือ การ ที่ คน เอา เข้า เคล้า เข้า ด้วย กัน กับ สิ่ง อื่น แล้ว, ขยำ ไป ให้ ทั่ว, เหมือน เขา เอา เข้า คลุก ไข่ เปน ต้น.
      คลุก คลี (114:6.3)
               คลุก* คลัก, คือ การ ที่ ปล้ำ กัน หนัก, ฤๅ ตี กัน ตลุม บอน ไป นั้น, เหมือน อย่าง หมา กัด กัน เปน ต้น.
      คลุก เคล้า (114:6.4)
               เคล้า คลุก, คือ การ ที่ คน ทำ, เหมือน อย่าง คลุก กะปิ เปน ต้น นั้น.
      คลุก ฝุ่น (114:6.5)
               เคล้า ฝุ่น, คือ อาการ ที่ เอา สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ไป เคล้า กัน กับ ฝุ่น นั้น, เหมือน ม้า ลง เกลือก ฝุ่น เปน ต้น.
      คลุก ยา (114:6.6)
               เคล้า ยา, คือ การ ที่ เอา ยา คุลีการ คลุก กัน เข้า นั้น, เหมือน อย่าง หมอ เคล้า ยา เปน ต้น.
โคลก เคลก (114:7)
         โผลก เผลก, คือ อาการ ที่ หลวม นั้น, เหมือน อย่าง หลัก แจว, ฤๅ กลอน ปะตู ที่ หลวม นั้น.
คลอก (114:8)
         ลวก, คือ การ ที่ เอา ไฟ เผา ลวก เสีย นั้น, เหมือน อย่าง คน เอา ไฟ เผา ป่า, ฤๅ เอา ดิน ปืน คลอก เผา เสีย นั้น.
      คลอก ทุ่ง (114:8.1)
               เผา ทุ่ง, คือ การ ที่ คน เอา ไฟ จุด, เผา คลอก ทุ่ง เสีย นั้น.
      คลอก ป่า (114:8.2)
               เผา ป่า, คือ การ ที่ คน เอา ไฟ จุด, เผา คลอก ป่า เสีย นั้น.
      คลอก ไฟ (114:8.3)
               เผา ไฟ, คือ การ ที่ เอา สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, เผา คลอก เสีย ด้วย ไฟ นั้น.
คลัง (114:9)
         ตรุ, คือ เรือน เปน ที่ สำรับ ไว้ พระ ราช ทรัพย์ ของ หลวง, อนึ่ง สัตว ที่ เขา เอา เชือก ใส่ กระบอก แล้ว, ผูก ติด อยู่ กับ หลัง นั้น.
      คลัง เงิน (114:9.1)
               ตรุ เงิน, คือ ตึก ใน พระ บรมราชวัง, อัน เปน ที่ สำรับ เก็บ เงิน หลวง ไว้ นั้น.
      คลัง ทอง (114:9.2)
               ตรุ ทอง, คือ ตึก ใน พระ บรมราชวัง, อัน เปน ที่ สำรับ เก็บ ทอง หลวง รักษา ไว้ นั้น.
      คลัง ใน ขวา (114:9.3)
               คือ คลัง ใน พระ ราชวัง, พนักงาน ตำแหน่ง เบื้อง ขวา.
      คลัง ใน ซ้าย (114:9.4)
               คือ คลัง ใน พระ ราชวัง, พนักงาน ตำแหน่ง เบื้อง ซ้าย.
      คลัง พิมาน อากาษ (114:9.5)
               คือ คลัง หลวง สำรับ ไว้ เครื่อง แก้ว, มี โคม แก้ว เปน ต้น.
      คลัง มหา สมบัติ (114:9.6)
               คือ คลัง หลวง, เปน ที่ สำรับ ไว้ เงิน ไว้ ทอง ทั้ง ปวง.
      คลัง เชือก (114:9.7)
               คือ คลัง หลวง, เปน ที่ สำรับ ไว้ เชือก ทั้ง ปวง.
      คลัง สินค้า (114:9.8)
               คือ คลัง* หลวง, เปน ที่ สำรับ ไว้ สินค้า ทั้ง ปวง, มี น้ำ ตาล ทราย เปน ต้น.
      คลัง สรรพยุทธ์ (114:9.9)
               คือ คลัง หลวง, เปน ที่ สำรับ ไว้ เครื่อง รบ ทั้ง ปวง.

--- Page 115 ---
      คลัง ศุภรัต (115:9.10)
               คือ คลัง หลวง, เปน ที่ สำรับ ย้อม ผ้า เหลือง.
      คลัง ราชการ (115:9.11)
               คือ คลัง หลวง, เปน ที่ สำรับ ไว้ ของ หลวง ต่าง ๆ, มี เสื่อ แล น้ำมัน เปน ต้น.
      คลัง (115:9.12)
               วิเศส, คือ คลัง ใน พระ ราชวัง, สำรับ ไว้ ของ หลวง.
คลั่ง (115:1)
         เพ้อเจ้อ, คือ ความ ที่ ใจ กำเริบ ไป ไม่ เปน ปรกติ นั้น, เหมือน อย่าง คน เปน บ้า, บ่น เพ้อเจ้อ ไป ต่าง ๆ นั้น.
      คลั่งไคล้ (115:1.1)
               ไหลหลง, คือ ใจ ที่ กำเริบ ไป ไม่ เปน ปรกติ, เหมือน อย่าง คน เคลิ้ม สติ บ่น เพ้อ ไป ต่าง ๆ นั้น.
      คลั่งคลุ้ม (115:1.2)
               เพ้อ คลุ้ม, คือ ความ ที่ ใจ กำเริบ, ให้ มืดมัว ไป ต่าง ๆ, บัด เดี๋ยว คลุ้ม ดี, บัด เดี๋ยว คลุ้ม ร้าย นั้น.
คลาง แคลง (115:2)
         คือ ความ ที่ สงไสย ใน ใจ, ความ ไม่ แน่ ใน ใจ นั้น, เหมือน คน หลง, ปะ ทาง สอง แพร่ง เหมือน กัน.
คลิ้งโคลง (115:3)
         เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, ตัว มัน เท่า นก เอี้ยง, มัน มี ขน ขาว บ้าง ดำ บ้าง, มัน เที่ยว อยู่ ตาม บ้าน.
คลึง (115:4)
         คือ การ ที่ กระทำ ให้ สิ่ง ของ กลับ กลอก ไป มา, เหมือน อย่าง คน ฟั่น เทียน เปน ต้น นั้น.
      คลึง ไคล้ (115:4.1)
               คือ การ ที่ กระทำ เอา มือ คลึง ไป, เหมือน อย่าง หมอ นวด นั้น.
      คลึง เคล้า (115:4.2)
               คือ การ ที่ คน รักษ กัน เข้า เคล้า กัน อยู่, มิ ใคร่ จะ ห่าง ออก จาก กัน, เหมือน ผัว เมีย ที่ รัก กัน นั้น.
      คลึง เคล้น (115:4.3)
               คือ การ ที่ คลึง ไป คลึง มา, เหมือน อย่าง หมอ นวด เปน ต้น.
      คลึง เทียน (115:4.4)
               ฟั่น เทียน, การ คือ ที่ คน ฟั่น เทียน แล้ว, เอา น้ำ ชุบ เข้า แล้ว, เอา ฝ่า มือ ภาด ลง บน เล่ม เทียน, เสือก ไป เสือก มา นั้น.
คลุ้ง (115:5)
         คือ กลิ่น เหมน อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง กลิ่น ปลา ร้า ที่ เสีย, ฤๅ กลิ่น กะปิ ที่ เสีย เปน ต้น นั้น.
      คลุ้ง (115:5.1)
               เน่า, คือ กลิ่น ของ เน่า มี ปลา เน่า เปน ต้น, มัน เหมน หนัก, เหมือน กลิ่น ปลา เน่า ที่ เจ็ก มัน รด พลู นั้น.
แคลง (115:6)
         กินแหนง, สงไสย, คือ ความ ไม่ แน่ ใจ, ฤๅ ความ สง ไสย ใน ใจ นั้น, เหมือน เรา ได้ ยิน ข่าว สิ่ง ใด ๆ, แต่ เรา ไม่ เชื่อ นั้น.
      แคลง ใจ (115:6.1)
               กริ่ง ใจ, คือ ความ ที่ ไม่ แน่ ใจ, ฤๅ ความ สงไสย ใน ใจ นั้น.
      แคลง อยู่ (115:6.2)
               เคลือบ เคลิ้ม อยู่, คือ ความ ยัง สงไสย ใจ อยู่, ยัง ไม่ แน่ ใน ใจ นั้น.
      แคลง ระแวง (115:6.3)
               คือ คิด สนเท่ ใน ใจ ว่า, จะ เปน อย่าง นั้น จริง ดอก กระมัง.
โคลง (115:7)
         กลอก, อาการ คือ สิ่ง ทั้ง ปวง ที่ เอียง ไป เอียง มา, เหมือน อย่าง เรือ ที่ โคลง ไป โคลง มา เปน ต้น นั้น.
      โคลง กาพย์ (115:7.1)
               คือ ความ ที่ การ แต่ง หนังสือ เปน กลอน, ให้ ถูก ต้อง เอก โท, ตาม บท บังคับ นั้น.
      โคลง เคลง (115:7.2)
               อาการ คือ สิ่ง ทั้ง ปวง, ที่ โคลง ไป โคลง มา, เหมือน อย่าง เรือ ที่ ถูก คลื่น เปน ต้น นั้น.
      โคลง ฉันท์ (115:7.3)
               คือ หนังสื เปน บท โคลง, แล บท คำฉัน นั้น.
      โคลง เรือ (115:7.4)
               กลอก เรือ, การ คือ คน กระทำ ให้ เรือ โคลง ไป โคลง มา นั้น.
      โคลง หัว (115:7.5)
               กลอก หัว, การ คือ คน ฤๅ สัตว, กระทำ หัว ให้ โคลง กลอก ไป กลอก มา นั้น.
โคล่ง (115:8)
         คือ อาการ ต้น เข้า ใน นา, ที่ ออก รวง ตาก ดอก พร้อม กัน นั้น.
คลอง (115:9)
         บาง, ห้วย, คือ ลำ น้ำ เล็ก ๆ, ที่ แยก ออก จาก แม่ น้ำ, เหมือน อย่าง คลอง บาง ลวง เปน ต้น.
      คลอง กว้าง (115:9.1)
               บาง กว้าง, ความ คือ ลำ คลอง ทั้ง ปวง ที่ มัน กว้าง, เหมือน อย่าง คลอง บางกอก น้อย นั้น.
      คลอง ขุด (115:9.2)
               คือ ชื่อ คลอง ทั้ง ปวง, ที่ เขา ขุล ทำ ลง ใหม่ ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คลอง ขุด ตะพาน หัน นั้น.
      คลอง จมูก (115:9.3)
               รู จมูก, เปน ชื่อ รู จมูก แห่ง คน, แล สัตว ทั้ง ปวง นั้น.
      คลอง จักขุ (115:9.4)
               คลอง เนตร์, คลอง ใน ตา, คือ สิ่ง อาการ ที่ ตา เหน ฤๅ เหน ด้วย ตา, เปน คลอง เปน ทาง ไป นั้น.
      คลอง น้ำ (115:9.5)
               คือ ที่ ๆ เขา ขุด ดิน ฦก เปน ร่อง, ใหญ่ กว้าง สาม วา เปน ต้น, ให้ น้ำ ไหล ได้ นั้น.
      คลอง ธรรม (115:9.6)
               คือ กาว ที่ ประพฤทธิ์ ตาม ทาง ชอบ นั้น, เหมือน ผู้ พิภาคษา ตัด สีน ความ ตาม ตรง นั้น.
      คลอง ตา (115:9.7)
               คือ ตาม ทาง ที่ ๆ ตา อาจ เหน ได้ นั้น.
      คลอง พระ เนตร์ (115:9.8)
               คือ ตาม ทาง ที่ ตา แล เหน นั้น, เหมือน แล เหน เท่า ไร, นั่น และ ว่า คลอง ตา.
      คลอง บึง บาง (115:9.9)
               เปน ชื่อ ลำ คลอง, ที่ เข้า ไป ตาม ป่า ตาม ดง นั้น.
      คลอง เล็ก (115:9.10)
               เปน ชื่อ ลำ คลอง แคบ ๆ, ที่ แวะ ออก จาก คลอง ใหญ่ นั้น.

--- Page 116 ---
      คลอง หลอด (116:9.11)
               เปน ชื่อ คลอง เล็ก ๆ, เปรียบ เหมือน ลำ หลอด, เหมือน คลอง ใน เมือง เปน ต้น.
      คลอง หลวง (116:9.12)
               เปน ชื่อ คลอง ใหญ่, เพราะ หลวง นั้น ว่า ใหญ่.
คล่อง (116:1)
         สดวก, คือ การ ที่ ไม่ มี สิ่ง ใด ขัด ขวาง นั้น, เหมือน เรา จะ ไป ไหน ๆ, ไม่ มี ผู้ ใด ห้าม ปราม นั้น.
      คล่องแคล่ว (116:1.1)
               สดวก ดาย, การ คือ ไม่ ขัด ข้อง นั้น, เหมือน คน สึกษา วิชา การ สิ่ง ใด ๆ, ได้ เร็ว ไม่ ขัด ขวาง นั้น.
      คล่อง ฅอ (116:1.2)
               สดวก ฅอ, คือ ความ ไม่ คับ แค้น ไม่ ฝืด ฅอ นั้น, เหมือน* จะ กลืน สิ่ง ใด ๆ, ไม่ ฝืด ฅอ ไม่ ไม่ ติด ฅอ นั้น.*
      คล่อง ใจ (116:1.3)
               คือ การ ไม่ ขัด ใจ ไม่ เคือง ใจ นั้น, เหมือน คน จะ ทำ สิ่ง ใด ๆ, ไม่ มี ผู้ ขัด ให้ เคือง ใจ.
      คล่อง สดวก (116:1.4)
               คือ ไม่ ติด ค่อง อัน ใด, มี ไป เรื่อย เฉื่อย ไป เปน ต้น.
      คล่อง อก (116:1.5)
               คือ การ ที่ ไม่ ขัด ขวาง ใน อก นั้น.
คล้อง (116:2)
         คือ การ ที่ เอา บ่วง ทำ ให้ มัน เข้า ติด อยู่ ที่ ฅอ, ฤๅ ที่ เท้า แห่ง สัตว นั้น.
      คล้อง กัน (116:2.1)
               จอง กัน, คือ ความ ที่ คน ร้อง เปลง, ฤๅ แต่ง หนัง สือ, กลอน นั้น จอง ฟัด เกี่ยว พาด กัน ไป นั้น.
      คล้อง จอง (116:2.2)
               คือ ความ ที่ คน ขับ เสภา, ฤๅ ร้อง เพลง เปน ต้น, ให้ กลอน นั้น เกี่ยว พาด กระทบ กัน ไป นั้น.
      คล้อง ฅอ (116:2.3)
               คือ การ ที่ คน เอา ผ้า ผูก ฅอ ฤๅ เอา ห้อย ฅอ, ทำ ให้ ชาย ผ้า ห้อย ลง มา ทั้ง สอง ชาย นั้น.
      คล้อง เชือก (116:2.4)
               คือ การ ที่ คน กระทำ คล้อง ด้วย เชือก นั้น.
      คล้อง ช้าง (116:2.5)
               คือ การ ที่ คน เอา เชือก บาศ, ซัด ไป ให้ ติด เท้า ช้าง นั้น.
      คล้อง บ่วง (116:2.6)
               คือ การ ที่ คน คล้อง สิ่ง ทั้ง ปวง ด้วย บ่วง นั้น.
คลาด (116:3)
         เคลื่อน, คือ การ ที่ พลัด ออก จาก ก้น นั้น, เหมือน อย่าง คน ล้ม ลง, ข้อ เคลื่อน ออก จาก กัน เปน ต้น.
      คลาด กัน (116:3.1)
               แคล้ว กัน, คือ การ ที่ เคลื่อน ออก จาก กัน, ฤๅ ตาม กัน ไม่ ทัน นั้น, เหมือน คน เดิน ทาง ตาม กัน ไม่ ทัน.
      คลาด คลา (116:3.2)
               คือ การ ไป ไม่ ทัน กัน ล้า อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง แคล้ว คลาด เปน ต้น.
      คลาด เคลื่อน (116:3.3)
               เคลื่อน คลาด, คือ ความ ที่ ของ สิ่ง ใด ๆ, พลัด ออก จาก ก้น, ฤๅ เลื่อน ออก จาก กัน นั้น.
      คลาด แคล้ว (116:3.4)
               แคล้ว คลาด, ความ คือ ไป หา กัน ไม่ ภบ, ต่าง คน ต่าง ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน เดิน ทาง แคล้ว กัน นั้น.
      คลาด ที่ (116:3.5)
               เคลื่อน ที่, คือ การ ที่ เลื่อน ฤๅ เคลื่อน ไป จาก ที่ นั้น.
      คลาด นัด (116:3.6)
               เคลื่อน นัด, ความ ที่ ผิด นัด กัน นั้น, เหมือน คน นัด กัน ไว้ ว่า, เรา จะ มา เช้า ก็ หา มา ไม่.
      คลาด เวลา (116:3.7)
               ผิด เวลา, คือ ความ ที่ เคลื่อน เวลา ฤๅ พ้น เวลา นั้น.
เคล็ด (116:4)
         แพลง, อาการ คือ ข้อ มือ ฤๅ ข้อ ตีน มัน แพลง ไป, เจ็บ บ้าง เล็ก น้อย นั้น.
      เคล็ด แคลง (116:4.1)
               อาการ คือ มือ แล เท้า พลิก แพลง เจ็บ บ้าง เล็ก น้อย, เหมือน คน ที่ พลาด ล้ม ลง นั้น.
      เคล็ด คลาด (116:4.2)
               อาการ คือ มือ ฤๅ เท้า แพลง ไป แล เจ็บ, คลาด นั้น คือ กะดูก เคลื่อน ออก จาก ที่ มัน นั้น.
คลอด (116:5)
         คือ การ ที่ เคลื่อน ออก นั้น เอง, เหมือน ผู้ หญิง ออก ลูก นั้น.
      คลอด บุตร (116:5.1)
               คือ อาการ ที่ หญิง ออก ลูก นั้น เอง. คลอด ลูก, คือ อาการ ที่ ออก ลูก นั้น.
คลาน (116:6)
         คือ อาการ ที่ คน คุก เข่า ลง แล้ว, เอา มือ ท้าว เดิน ไป, เหมือน อย่าง เด็ก ๆ, ที่ ยัง เดิน ไม่ ได้ เปน ต้น นั้น.
      คลาน ขยาย (116:6.1)
               คือ อาการ ที่ คลาน ถอย ออก จาก ที่, เหมือน อย่าง พวก ขุนนาง ออก จวก ที่ เฝ้า นั้น.
      คลาน ไป (116:6.2)
               คือ อาการ ที่ คุก เข่า ลง แล้ว, เอา มือ ท้าว ไป, เหมือน อย่าง ทารก เล็ก ๆ นั้น.
      คลาน มา (116:6.3)
               คือ อาการ ที่ คุก เข่า ลง แล้ว, เอา มือ ท้าว เดิน มา นั้น.
คลื่น (116:7)
         ละลอก, คือ ลม พัด ให้ น้ำ ใน ทะเล, ฤๅ แม่ น้ำ เปน ลูก ๆ, สูง ๆ, ต่ำ ๆ นั้น.
      คลื่น ระลอก (116:7.1)
               คือ อาการ ที่ ลม พัด ทำ ให้ น้ำ ใน แม่ น้ำ, เปน คลื่น แตก ขาว นั้น.
      คลื่น ลม (116:7.2)
               ระลอก ลม, คือ อาการ ที่ น้ำ เปน คลื่น ดว้ย ลม นั้น, เหมือน อย่าง คลื่น ใน ทอ้ง ทะเล เปน ต้น.
      คลื่น ไส้ (116:7.3)
               เหียน ราก, คือ อาการ ที่ ลำไส้ ใน ทอ้ง นั้น, มัน ให้ เปน ดั่ง ลูก คลื่น นั้น.
      คลื่น เหียน (116:7.4)
               อาเจียน, คือ อาการ ที่ ตาม ลำไส้ ใน ทอ้ง นั้น, มัน มี อาการ เปน คลื่น ๆ, แล้ว เหียน ราก ดว้ย นั้น.
เคล้น (116:8)
         คือ การ ที่ เอา มือ จับ กำ เข้า แล้ว, ก็ บีบ คั้น เข้า หนัก ๆ นั้น, เหมือน อย่าง หมอ นวด เปน ต้น.

--- Page 117 ---
      เคล้น ไคล (117:8.1)
               คือ การ ที่ บีบ เข้า หนัก ๆ, แล้ว คลิง ไป คลิง มา นั้น.
แคลน* (117:1)
         คือ อาการ ที่ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ เล็ก กว่า ธรรมดา นั้น, เหมือน หย่าง ลูก แคลน เปน ต้น.
      แคลน ขัด (117:1.1)
               คือ ความ ที่ ขัดสน ดว้ย ทรัพย์ จะ ซื้อ กิน นั้น.
      แคลน ขาด (117:1.2)
               ความ คือ ทรัพย์ สิ่ง ของ ทอง เงิน ทั้ง ปวง หมด สิ้น ลง บ้าง เล็ก นอ้ย นั้น.
      แคลน คลอน (117:1.3)
               คือ ขัด แล โยก คลอน ไม่ มัน คง นั้น.
โคลน (117:2)
         เลน, คือ ดิน เปียก, ที่ เปน เลน อยู่ ตาม ชาย คลอง, ฤๅ ชาย ทะเล นั้น.
      โคลน ตม (117:2.1)
               เลนด์ ตม, คือ ดิน เลน ที่ เปน น้ำ ข้น ๆ นั้น.
      โคลน เลน (117:2.2)
               คือ อาการ ดิน โคลน ตาม ชาย เลน ที่ แม่ น้ำ, ฤๅ ที่ ทะเล นั้น.
คลอน (117:3)
         โยก, คือ อาการ สิ่ง ทั้ง ปวง ที่ ไม่ แน่น โยก ได้ นั้น, ฤๅ มะพร้าว ห้าว ที่ มี น้ำ คลอน อยู่ นั้น.
      คลอน ขลุก ๆ (117:3.1)
               คือ อาการ สิ่ง ทั้ง ปวง ที่ มี เสียง, เมื่อ คลอน ยอ่ม ดัง ขลุก ๆ อยู่ ใน นั้น.
      คลอน เคลื่อน (117:3.2)
               คือ อาการ งอ่นแง่น แล คลาดเคลื่อน ออก นั้น, เหมือน อย่าง ฟัน คลอน เคลื่อน ออก มา.
      คลอน แคลน (117:3.3)
               ไม่ มั่น คง, คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ที่ ไม่ มั่น คง, โยก ไป โยก มา ได้, ฤๅ คน พูด ไม่ มั่น คง เปน ต้น นั้น.
      คลอน โยก (117:3.4)
               คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ คลอน แล้ว โยก ได้ ดว้ย, เหมือน ฟัน ที่ เกือบ หลุด เปน ต้น.
เคลื่อน (117:4)
         คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เลื่อน ออก จาก ที่ นั้น, เหมือน อย่าง เลือน เรือ เปน ต้น.
      เคลื่อน ลง (117:4.1)
               คือ คล้อย ลง นั้น, เหมือน อย่าง น้ำ ลด เปน ต้น นั้น,
      เคลื่อน คลาด (117:4.2)
               คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เลื่อน ออก จาก กัน นั้น, เหมือน ที่ ต่อ คลาด ออก จาก กัน.
      เคลื่อน ขะเยื่อน (117:4.3)
               คือ อาการ ที่ ยอบ ยุบ ถอย ลง เหมือน น้ำ ขึ้น เตม ที่ แล้ว ยุบ ถอย ลด ลง นั้น.
      เคลื่อน คลาย (117:4.4)
               คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ถอย จาก ที่ เหมือน คน เจ็บ หนัก คอ่ย ทุเลา ขึ้น เปน ต้น นั้น.
      เคลื่อน เลื่อน (117:4.5)
               ความ ว่า คล้อย ลด ลง นั้น.
      เคลื่อน คลา (117:4.6)
               คือ การ ที่ ถอย ไป จาก ที่ นั้น, เหมือน นาย ทับ เคลื่อน พล ไป จาก ที่ เปน ต้น.
      เคลื่อน ที่ (117:4.7)
               คลาด ที่, ความ คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ถอย พ้น ไป จาก ที่ นั้น, เหมือน อย่าง เลื่อน ไป จาก ที่ นั้น.
คลัม (117:5)
         คือ การ ที่ คน เอา มือ เที่ยว ลูบ หา ของ ใน ที่ มืด ๆ เปน ต้น.
      คลั่ม (117:5.1)
               คือ อาการ คน ฤๅ สัตว ที่ เดิร เข้า ออก ลับ สน กัน มาก นั้น, เหมือน อย่าง ที่ ประชุม เปน ต้น.
      คลั้ม (117:5.2)
               คือ วัณณะ สิ่ง ที่ หมอง มัว ไป กว่า แต่ กอ่น, เหมือน คน ขาว ครั้น ตาก แดด ตาก ลม ก็ ดำ มัว ลง.
คล่าม (117:6)
         คือ อาการ ที่ ผู้ คน มาก เดิร เข้า ออก สับสน กัน นั้น.
คล้าม (117:7)
         คือ สี สิ่ง ของ ทั้ง ปวง เดิม นั้น ผอ่งใส่, ภาย หลัง ก็ มัว หมอง คล้าม ลง.
      คล้าม ดำ (117:7.1)
               มัว หมอง คือ สี่ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง แต่ กอ่น ผอ่งใส, ครั้น มา ภาย หลัง มัว หมอง ดำ ลง นอ้ย หนึ่ง.
      คล้าม มัว (117:7.2)
               มัว หมอง, อาการ คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง แต่ กอ่น ขาว ผอ่ง, ครั้น มา ภาย หลัง หมอง มัว ลง นั้น
คลุม (117:8)
         คือ การ ปก ปิด นั้น, เหมือน อย่าง คน เอา ผ้า คลุม หัว, ฤๅ คลุม ใบ ศรี เปน ต้น นั้น.
      คลุม จีวร (117:8.1)
               คือ การ ที่ เอา ผ้า จีวร ห่ม ปก ปิด ตัว, เหมือน พวก พระสงฆ์ ห่ม ผ้า ไป เที่ยว บิณฑบาด เช้า ๆ.
      คลุม ใบ ศรี (117:8.2)
               คือ การ ที่ คน เอา ผ้า อย่าง ดี ปก ปิด หุ้ม ใบ ศรี นั้น.
      คลุม ปะทม (117:8.3)
               คือ การ ที่ เอา ผ้า ผืน ใหญ่ ที่ สำรับ จ้าว ห่ม นอน, เปน คำ หลวง เรียก ว่า คลุม ปทม.
      คลุม โปง (117:8.4)
               คือ การ ที่ คน เอา ผ้า ห่ม คลุม ทั้ง ตัว, เหมือน คน เอา ผ้า คลุม หัว ตลอด ตีน นอน ขึง อยู่ นั้น.
      คลุม ผ้า (117:8.5)
               คือ การ ที่ เอา ผ้า ปก ปิด สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ไว้, เหมือน คน เอา ผ้า ห่ม คลุม ตัว ไว้ นั้น.
      คลุม หัว (117:8.6)
               โพก หัว, คือ การ ที่ คน เอา ผ้า คลุม ปก ไว้ บน หัว นั้น, เหมือน อย่าง ปก เกล้า ปก กะมอ่ม เปน ต้น.
      คลุ่ม (117:8.7)
               คือ* อาการ แห่ง ภาชนะ ใช้ สอย ทั้ง ปวง ที่ ไม่ แบน แบะ นั้น, มี รูบ เหมือน ชาม สำหรับ ล้าง มือ เปน ต้น.
คลุ้ม (117:9)
         มืด มัว คือ กาล ที่ มืด มัว เปน ต้น, เหมือน อย่าง เมฆ ตั้ง มืด ขึ้น มา เมื่อ ฝน จะ ตก นั้น.
      คลุ้ม คลั่ง (117:9.1)
               คือ อาการ ที่ ให้ ใจ มืด มัว ไป, เหมือน อย่าง คน คลั่ง เปน บ้า นั้น.
      คลุ้ม ดี คลุ้ม ร้าย (117:9.2)
               คือ อาการ ที่ คน จริต เสีย, ไม่ เปน ปรกะติ, บัด เดี๋ยว ดี, บัด เดี๋ยว โกรธ นั้น.

--- Page 118 ---
      คลุ้ม ฝน (118:9.3)
               มืด ฝน, คือ กาล ที่ มืด มัว เมื่อ ฝน จะ ใก้ล ตก นั้น.
      คลุ้ม หมอก (118:9.4)
               มัว หมอก, คือ การ ที่ มืด มัว เปน หมอก อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง ระดูหนาว เปน ต้น.
      คลุ้ม มืด (118:9.5)
               มัว มืด, คือ อาการ ที่ มืด มัว เมื่อ เวลา ที่ เมฆ ฝน ตั้ง มา นั้น.
      คลุ้ม มัว (118:9.6)
               มืดมัว, คือ อาการ ที่ มืด มัว นั้น, เหมือน อย่าง เวลา ที่ ฝน ตั้ง มา นั้น เปน ต้น.
คลู่ม คล่าม (118:1)
         พลุม พลาม, คือ อาการ ใจ ที่ ไม่ สบาย, คล้าย ๆ กับ ใจ ที่ เกือบ จะ เปน บ้า นั้น.
เคลิ้ม (118:2)
         เผลอ, คือ อาการ ใจ ที่ หลง ลืม สะติ ไป บ้าง, ยัง มี สะติ จำ ได้ บ้าง, เหมือน คน นอน เกือบ หลับ นั้น.
      เคลิ้ม ตื่น (118:2.1)
               คือ มอ่ย ผอ่ย ไป เกือบ จะ หลับ แล้ว กลับ ตื่น ขึ้น อีก นั้น.
      เคลิ้ม มอ่ย (118:2.2)
               คือ ความ ที่ ลืม ตัว ไป บ้าง, ยัง ตื่น อยู่ บ้าง, เหมือน คน นอน มอ่ย ไป เกือบ จะ หลับ นั้น.
      เคลิ้ม หลับ (118:2.3)
               กือ ความ ที่ ลืม ตัว มอ่ย หลับ ไป นั้น.
      เคลิ้ม สะติ (118:2.4)
               คือ ความ ที่ คน ลืม สะติ, เหมือน อย่าง คน ที่ นอน มอ่ย หลับ ไป นั้น.
คลับ (118:3)
         เปน คำ สำหรับ ตั้ง ชื่อ คน เรียก อย่าง นั้น.
      คลับ คลาย คลับ คลา (118:3.1)
               คือ ความ ที่ จำ ได้ บ้าง, หลง ลืม ไป บ้าง, เหมือน คน คิด ถึง ความ เก่า แก่ แต่ เปน เด็ก ๆ นั้น.
เคลือบ (118:4)
         คือ การ ที่ ทำ ดว้ย น้ำ ยา แล้ว สุม ไฟ ทำ ให้ เปน ศี ต่าง ๆ, เหมือน เจ็ก ทำ เคลือบ ถวย ชาม เปน ต้น.
      เคลือบ แคลง (118:4.1)
               คือ ความ สงไสย ใน ใจ นั้น.
      เคลือบ ศี (118:4.2)
               คือ การ ทำ ของ ให้ เปน ศี เขียว เปน ต้น, เหมือน เขา ทำ กะเบื้อง ดิน ให้ มี ศี เขียว เปน ต้น นั้น.
      เคลือบ เคลิ้ม (118:4.3)
               สงไสย, คือ ความ หลง ลืม นั้น เอง, เหมือนคน ได้ ยิน ได้ ฟัง เรื่อง ความ สิ่ง ใด จำ ไม่ ใค่ร ได้.
      เคลือบ ดีบุก (118:4.4)
               คือ การ ทำ ของ ให้ เปน ศี ดีบุก, คือ ความ ที่ ไกล่ ดว้ย ดีบุก นั้น.
      เคลือบ ทอง (118:4.5)
               ไกล่ ทอง, คือ การ ที่ เขา ทำ ของ ให้ มี ศี เหมือน สี ทอง คำ นั้น, คือ ความ ที่ ไกล่ ดว้ย ทอง นั้น.
      เคลือบ แฝง (118:4.6)
               คือ ความ ที่ มัน แอบ แฝง กัน อยู่ นั้น.
      เคลือบ อาบ (118:4.7)
               ไกล่, คือ การ กะไหล่ ทอง เหลือง, ทอง แดง ดว้ย เงิน, ฤๅ ทอง คำ นั้น.
คลาย (118:5)
         เคลื่อน, คือ การ ที่ ถอย หย่อน ออก ไป, เหนือน อย่าง ไข้ หนัก, คอ่ย บันเทา ลง เปน ต้น.
      คลาย กลับ (118:5.1)
               คือ อาการ ถอย หย่อน ออก ไป, เหมือน เชือก ที่ มว้น ไว้ แล้ว, ก็ คลี่ คลาย ออก ไป.
      คลาย กลิ่น (118:5.2)
               คือ อาการ กลิ่น ที่ คลาย ถอย ลง นั้น, เหมือน ดอก ไม้ เดิม นั้น กลิ่น หอม หนัก, ภาย หลัง ก็ หาย กลิ่น ลง.
      คลาย เกลียว (118:5.3)
               คือ อาการ เชือก ที่ ฟั่น ไว้ เขมง แล้ว, เกลียว นั้น คลาย ออก ไป.
      คลาย คลี่ (118:5.4)
               คือ อาการ คลี่ คลาย ขยาย ออก ไป, เหมือน อย่าง ยอด ตอง ออ่น, คลาย คลี่ ใบ ออก ไป นั้น.
      คลาย เคลื่อน (118:5.5)
               คือ คอ่ย เลื่อน ลับ ไป, เหมือน อย่าง คอ่ย บัน เทา ทุเลา ลง นั้น.
      คลาย ใจ (118:5.6)
               คือ ความ ที่ ใจ คอ่ย มี ทุกข์ นอ้ย ลง ๆ นั้น, คือ คอ่ย เบา ใจ ลง นั้น.
      คลาย ทุกข์ (118:5.7)
               คือ ความ ทุกข์ คอ่ย สิ้น ไป, เหมือน การ ที่ มี พระ บรม ราช โองการ โปรด ให้ ทำ การ จ้าง กับ พวก หมอ นี้, ความ ทุกข์ คอ่ย นอ้ย ลง.
      คลาย ไป (118:5.8)
               คือ บันเทา เบา ไป, ทุเลา ไป, เหมือน อย่าง เสื่อม ไป เปน ต้น.
      คลาย รศ (118:5.9)
               คือ ความ ที่ รศ ของ กิน ทั้ง ปวง คล้าย ถอย ลง นั้น.
      คลาย หอม (118:5.10)
               ความ คือ กลิ่น ทั้ง ปวง ที่ หอม นั้น, กลับ กลาย เสื้อม ลง นั้น.
      คลาย ออก (118:5.11)
               คือ การ ที่ สิ่ง ทั้ง ปวง ที่ มว้น เข้า ไว้ แล้ว กลับ คลาย ออก นั้น.
คล้าย (118:6)
         คือ ความ ที่ เหมือน, ฤๅ แม้น นั้น, เหมือน อย่าง ของ สอง สิ่ง เหมือน ๆ กัน เปน ต้น.
      คล้าย กัน (118:6.1)
               คือ อาการ ที่ เหมือน กัน, ฤๅ แม้น กัน นั้น, เหมือน อย่าง พี่ น้อง รูป ร่าง แทบ จะ เหมือน กัน.
      คล้าย กับ (118:6.2)
               คือ อาการ ที่ เหมือน ด้วย นั้น, เหมือน อย่าง ของ สิ่ง นี้, เหมือน กับ สิ่ง นั้น.
      คล้าย คลึง (118:6.3)
               คือ อาการ ที่ สิ่ง ของ เหมือน ๆ กัน นั้น, คือ ความ ที่ ละม้าย แม้น เหมือน กัน นั้น เอง.
      คล้าย คน (118:6.4)
               คือ อาการ สิ่ง ที่ มี รูป เหมือน คน, เหมือน อย่าง ฉะนี เปน ต้น นั้น.

--- Page 119 ---
      คล้าย เหมือน (119:6.5)
               คือ สิ่ง ของ ที่ เหมือน ๆ กัน นั้น, คือ ละม้าย คล้าย คลึง กัน* นั้น เอง.
แคล้ว (119:1)
         คือ ความ ที่ คลาด กัน ไป, คลาด กัน มา, เหมือน อย่าง คน สอง คน, คน หนึ่ง ไป ข้าง โน้น, คน หนึ่ง มา ข้าง นี้, ไม่ ภบ กัน นั้น.
      แคล้ว กัน (119:1.1)
               คือ ความ ที่ คลาด กัน, ไม่ ภบ กัน, ฤๅ ต่าง คน ต่าง ไป นั้น.
      แคล้ว คลาด (119:1.2)
               คือ ความ ที่ ต่าง คน ต่าง ไป, ต่าง คน ต่าง มา, ไม่ ภบ ไม่ ปะ กัน นั้น.
คล้อย (119:2)
         คือ อาการ ที่ ลด ลง ตาม, หัน ตาม, ยอม ตาม, อ่อน ตาม นั้น, เหมือน อย่าง ว่า ไร ว่า ตาม กัน นั้น.
      คล้อย ตาม (119:2.1)
               ความ คือ หัน ไป ตาม กัน นั้น, เหมือน อย่าง คน ว่า ไร ว่า ตาม กัน, ไม่ ขัด ไม่ ขวาง กัน.
      คล้อย นม (119:2.2)
               คือ อาการ* แห่ง หญิง ที่ มี ลูก แล้ว, นม นั้น คล้อย ลด ลง นั้น.
      คล้อย หา (119:2.3)
               คือ ความ ที่ ต่าง คน ต่าง อ่อน หา กัน, พูด จา ไม่ ขัด ขวาง กัน นั้น.
เคลี้ย (119:3)
         คือ การ ที่ เคล้า คลึง นั้น, เหมือน อย่าง ผัว เมีย อยู่ ดว้ย กัน ใหม่ ๆ นั้น.
      เคลี้ย เคล้า (119:3.1)
               คือ อาการ ที่ คน สอง คน นั่ง ชิด เคียง กัน จับ ตอ้ง กอด, รัด กัน อยู่ นั้น.
เคละคละ (119:4)
         คือ ที่ เบื้อน เลอะ เทอะ ดว้ย โคลน เลน เปน ต้น.
คลอ (119:5)
         คือ อาการ รอ ฬอ กัน อยู่ นั้น, เหมือน คน ที่ รักษ กัน, เดิน ตาม กัน ไป, ตาม กัน มา นั้น.
      คลอ กัน (119:5.1)
               เคล้า กัน, คือ อาการ คน ที่ รักษ กัน, เดิน ตาม กัน ไป, ตาม กัน มา นั้น.
      คลอ แคล (119:5.2)
               คือ อาการ ที่ คน สอง คน, เดิน ชิด ประคอง จุง กัน ไป, ดว้ย กลัว กัน จะ ล้ม ลง นั้น.
      คลอ น้ำตา (119:5.3)
               น้ำตา ฬอ หน่วย, คือ อาการ ที่ น้ำ ตา ออก มา ฬอ ๆ, ปริ่ม ๆ, อยู่ ริม ขอบตา นั้น, เหมือน คน เกือบ จะ รอ้งไห้ เปน ต้น
      คลอ ไหล (119:5.4)
               อาการ คือ น้ำ ตา ออก มา ฬอ ลัง อยู่ ที่ ขอบตา, เมื่อ แสบ ตา เปน ต้น นั้น.
      คล่อ (119:5.5)
               ความ คือ ชื่อ บ้าน อัน หนึ่ง, มี อยู่ ใน แขวง กรุง เก่า.
เคล็ด (119:6)
         แพลง, คือ อาการ ที่ ต่อ, ตาม ข้อ กระดูก, เคลื่อน บ้าง เล็ก นอ้ย, เหมือน พลาด ล้ม ลง, ข้อ มือ, ข้อ ท้าว, เคล็ด ไป.
คว้า (119:7)
         คือ อาการ ที่ เอา มือ จว้ง จะ ฉวย เอา นั้น, เหมือน ของ ตก เอา มือ ลง คว้า เอา.
      คว้า เย่อ (119:7.1)
               ฉวย เย่อ, คือ การ ที่ เอา มือ ผวา กวาด ฉวย เอา ฃอง อัน ใด ๆ, แล้ว ดึง ชัก ไว้ นั้น.
      คว้า ว่าว (119:7.2)
               คือ การ ที่ เอา มือ จับ สาย ป่าน เหนียว, ให้ ว่าว ที่ ชัก นั้น มัน คว้า ไป.
      คว้า หา (119:7.3)
               คือ การ ที่ คน เอา มือ เที่ยว คว้า หา สิ่ง ของ ทั้ง ปวง นั้น
แคว (119:8)
         คือ อาการ แห่ง ทาง น้ำ ที่ แตก แยก กัน เปน ทาง ๆ ไป นั้น, เหมือน อย่าง ปาก แพรก เปน ต้น.
      แคว ไหญ่ (119:8.1)
               แพรก ใหญ่, คือ อาการ แห่ง ทาง แม่ น้ำ ใหญ่ ที่ แวะ ออก นั้น, เหมือน เขา พูด กัน ว่า แคว นี้, แคว นั้น.
      แคว ท่าเรือ (119:8.2)
               คือ ทาง แยก ไป ทาง ท่าเรือ นั้น.
      แคว นอ้ย (119:8.3)
               แพรก นอ้ย, คือ ทาง แยก ไป ทาง แม่ น้ำ นอ้ย นั้น.
      แคว ไหน (119:8.4)
               คือ ว่า ทาง ไหน, เหมือน เฃา ถาม กัน ว่า จะ ไปแคว ไหน เปน ต้น.
      แคว ป่าศัก (119:8.5)
               คือ ทาง ที่ แยก ไป แคว ป่าศัก นั้น, คือ ทาง ที่ ไป พระ พุทธบาท นั้น.
      แคว พิศณุโลกย์ (119:8.6)
               คือ ทาง ที่ แยก ไป พิศณุโลกย์ นั้น.
      แคว ระแหง (119:8.7)
               คือ ทาง ที่ แยก ไป ทาง ระแหง นั้น.
      แคว สวรรคโลกย์ (119:8.8)
               คือ ทาง แยก ไป สวรรคโลกย์ นั้น.
      แคว ศุโขไทย (119:8.9)
               คือ ทาง แยก ไป ศุโขไทย นั้น.
ไคว่ (119:9)
         คือ การ กระทำ เอา ของ สิ่ง นี้, ไค่ว ไป ข้าง โน้น, เอา ของ สิ่ง โน้น, ไค่ว มา ข้าง นี้ นั้น.
      ไค่ว เขว (119:9.1)
               คือ การ ที่ เอา ของ คน นี้ ไป ให้ คน นั้น.
คว่ำ (119:10)
         คือ การ กระทำ เอา ของ ที่ หงาย อยู่ นั้น, พลิก ลง ข้าง ล่าง, เหมือน คน นอน หงาย, แล้ว กลับ นอน คว่ำ ลง นั้น.
      คว่ำ กะลา (119:10.1)
               คือ การ ที่ เอา กะลา ที่ หงาย นั้น กลับ คว่ำ ลง นั้น.
      คว่ำ ขนน (119:10.2)
               คือ การ ที่ เอา ขะนน ใส่ น้ำ หงาย อยู่ นั้น กลับ คว่ำ ลง
      คว่ำ จาน (119:10.3)
               คือ การ ที่ เอา จาน ที่ หงาย อยู่ นั้น คว่ำ ลง.
      คว่ำ ถว้ย (119:10.4)
               คือ การ ที่ เอา ถว้ย* ที่ หงาย อยู่ นั้น คว่ำ ลง.
      คว่ำ หน้า (119:10.5)
               ก้ม หน้า, คือ อาการ ทำ หน้า ลง เบื้อง ต่ำ นั้น, เหมือช ผู้ ที่ ก้ม หน้า อยู่ เปน ต้น.
      คว่ำ มือ (119:10.6)
               คือ คน พลิก มือ คว่ำ ลง นั้น.
      คว่ำ ลง (119:10.7)
               คือ การ ที่ ทำ ของ ให้ มี หน้า ลง เบื้อง ต่ำ นั้น.

--- Page 120 ---
      คว่ำ โอ่ง (120:10.8)
               คือ การ ที่ เอา โอ่ง คว่ำ ลง นั้น.
ควัก (120:1)
         ลว้ง, คือ การ ที่ ลว้ง เอา สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ขึ้น มา นั้น, เหมือน คน เอา มือ ลว้ง เอา น้ำตาน เปน ต้น.
      ควัก* กิน (120:1.1)
               ลว้ง กิน, คือ การ ที่ ควัก ของ กิน ขึ้น มา กิน นั้น, เหมือน คน ควัก เอา น้ำตาน ใน ม่อ กิน นั้น.
      ควัก โคลน (120:1.2)
               คือ การ ที่ คน ลว้ง เอา โคลน ขึ้น มา นั้น.
      ควัก คอ้น (120:1.3)
               คอ้น ควัก, คือ อาการ ที่ คน เพ่ง ดู ไม่ ใค่ร จะ กะ พริบ, ดว้ย ช้ำเลือง ตา นั้น.
      ควัก* ตา (120:1.4)
               คือ การ ที่ ลว้ง เอา หน่วย ตา ออก เสีย นั้น.
      ควัก ลว้ง (120:1.5)
               คือ การ ที่ ทำ มือ ให้ แบ ออก แล้ว, เสือก ถิ้ม ลง จับ เอา ของ ที่ เปียก ค่น ขึ้น มา จาก ม่อ เปน ต้น นั้น.
      ควัก หู (120:1.6)
               แคะหู, คือ การ ที่ คน ลว้ง ควัก เอา ขี้หู ออก มา นั้น.
ควาก (120:2)
         เคิวก, คือ อาการ ที่ รู กว้าง นั้น. อนึ่ง เสียง ที่ ดัง อย่าง นั้น ก็ มี บ้าง.
แควก (120:3)
         ขวะ, คือ อาการ ที่ รู ทั้ง ปวง ที่ มัน ฉีก กว้าง ออก ไป นั้น, อนึ่ง เปน เสียง ดัง อย่าง นั้น, เหมือน เสียง ฉีก ผ้า เปน ต้น.
      แควก (120:3.1)
               กว้าง, คือ อาการ ที่ รู ทั้ง ปวง ที่ มัน ฉีก กว้าง ออก ไป นั้น. อนึ่ง เปน เสียง เหมือน อย่าง เสียง ฉีก ผ้า เปน ต้น.
คว่าง (120:4)
         คือ การ ที่ คน เอา ไม้ คอ้น ฤๅ กอ้น ดิน ปา ไป นั้น.
      คว่าง กัน (120:4.1)
               เควี่ยง กัน, ปา กัน, ลิว กัน, คือ การ ที่ คน สอง คน เอา ไม้ คอ้น แล กอ้น ดิน คว่าง ทิ้ง ซึ่ง กัน แล กัน นั้น.
      คว่าง กอ้น ดิน (120:4.2)
               ลิว กอ่น ดิน, ปา ก้อน ดิน, คือ คน คว่าง สิ่ง ทั้ง ปวง ดว้ย กอ้น ดิน นั้น.
      คว่าง คอ้น (120:4.3)
               คือ การ ที่ เอา คอ้น คว่าง ไป นั้น. อนึ่ง เปน ชื่อ งู อย่าง หนึ่ง.
      คว่าง* งู ไม่ พ้น ฅอ (120:4.4)
               คือ คำ ที่ เขา พูด เปน ความ เปรียบ ถึง ลูก ไม่ ดี, เหมือน ลูก ชั่ว แล้ว ถึง จะ ทิ้ง คว่าง เสีย, ก็ หา ไป จาก พ่อ แม่ ไม่.
      คว่าง เหลว (120:4.5)
               คือ อาการ ตะกั่ว, ทอง แดง ทอง เหลือง เปน ต้น, ละลาย เปน น้ำ เหล้ว นั้น.
คว้าง (120:5)
         คือ อาการ แห่ง สิ่ง ที่ หมุน ช้า ๆ, เหมือน จังหัน ตอ้ง ลม ออ่น ๆ หมุน ช้า ๆ นั้น.
      คว้าง แคว้ง (120:5.1)
               คือ ความ ที่ วน เวียน นั้น เอง, เหมือน คน เที่ยว วน เวียน ไป มา นั้น.
      คว้าง หมุน (120:5.2)
               คือ อาการ ที่ หมุน ช้า ๆ, เหมือน อย่าง จังหัน ตอ้ง ลม ออ่น เปน ต้น.
      คว้าง หัน (120:5.3)
               คือ อาการ ที่ หัน ไป, หัน มา นั้น, เหมือน เรือ ทอด สมอ ข้าง เดียว, มัน ยอ่ม หัน ไป, หัน มา นั้น.
แคว้ง คว้าง (120:6)
         คือ การ ที่ วน ไป วน มา นั้น, เหมือน คน ที่ ไม่ มี บ้าน เรือน, ย่อม เที่ยว ไป, เที่ยว มา นั้น.
เควี่ยง (120:7)
         คือ การ ที่ คว่าง นั้น, แต่ เปน คำ พวก ชาว เหนือ.
ควาด (120:8)
         คือ ความ ที่ ทำ อาการ เหมือน กวาด ไป เผิน ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คน ควาด เคราะห์ เปน ต้น.
      ควาด เข้า เปลือก (120:8.1)
               เข้า สาน, คือ การ ที่ เอา เข้า เปลือก, เข้า สาน, กวาด ไป ตาม ตัว คน ไข้ นั้น.
      ควาด เนื้อ ควาด ตัว (120:8.2)
               คือ การ ที่ เอา สิ่ง ของ ใด ๆ, กวาด ไป ตาม ตัว นั้น, เหมือน หมอ ปัด พิศม์ ตี แสลง เปน ต้น.
ควัน (120:9)
         คือ สิ่ง ที่ เกิด แต่ เปลว ไฟ, ดู เหมือน หมอก นั้น.
      ควัน ไฟ (120:9.1)
               คือ สิ่ง ที่ บังเกิด จาก เปลว ไฟ นั้น, ศี ขาว บ้าง, ดำ บ้าง, ดู เหมือน หมอก เปน ต้น.
      ควัน กลุ้ม (120:9.2)
               คือ อาการ แห่ง ควัน ที่ เข้า ประชุม กัน มาก นั้น, เหมือน อย่าง ควัน ที่ เต่า หล่อ เปน ต้น.
      ควัน โขมง (120:9.3)
               คือ อาการ แห่ง ควัน ที่ เข้า ประชุม กัน มาก, แล้ว พลุง ขึ้น นั้น.
      ควัน บท (120:9.4)
               คือ อาการ แห่ง ควัน ที่ เปน หมอก มัว ไป, ดู เหมือน แดด บด นั้น.
ควั่น (120:10)
         คือ อาการ ที่ ต่อ แห่ง ขั้ว ผลไม้ ทั้ง ปวง, แล ดอก ไม้ ทั้ง ปวง, อนึ่ง คือ การ ที่ เอา มีด ตัด รอบ นั้น.
      ควั่น อ้อย (120:10.1)
               คือ อาการ ที่ เอา มีด ควั่น ที่ ลำ อ้อย นั้น, คือ ตัด รอบ ซึ่ง ลำ อ้อย นั้น.
ควาน (120:11)
         คือ การ ที่ เอา มือ ฤๅ ไม้ ลง ค้น หา สิ่ง ของ ใน ตุ่ม, ฤๅ ใน ถัง เปน ต้น. อนึ่ง คือ คน สำรับ เลี้ยง ช้าง เลี้ยง ม้า เปน ต้น.
      ควาน แกะ (120:11.1)
               คือ คน ที่ สำรับ เลี้ยง แกะ นั้น.
      ควาน ช้าง (120:11.2)
               คือ คน ที่ สำรับ เลี้ยง ช้าง นั้น. อนึ่ง คือ คน ที่ ขี่ ท้าย ช้าง นั้น.
      ควาน ม้า (120:11.3)
               คือ คน ที่ สำรับ เลี้ยง ม้า. อนึ่ง คือ ผม ที่ หัว ม้า นั้น.
คว้าน (120:12)
         คือ อาการ ที่ คน เอา มีด ฤๅ ไม้, แทง เข้า ไป ใน ลูก ไม้, แล้ว คว้าน เอา เนื้อ ออก มา นั้น.

--- Page 121 ---
      คว้าน ไส้ (121:12.1)
               คือ การ ที่ คน เอา มีด ฤๅ ไม้, แทง เข้า ไป ใน ท้อง แล้ว คน ล้วง เอา ไส้ ออก มา นั้น.
      คว้าน หา (121:12.2)
               คือ การ ที่ ค้น หา จะ เอา ของ อัน ใด นั้น, เขา เอา มีด ฤๅ ไม้, สอด แทง ลง แกว่ง หา ของ นั้น.
แคว้น (121:1)
         คือ เขตร์ แดน ฤๅ จังหวัด นั้น, เหมือน อย่าง คำ ว่า, ใน แคว้น แว่น ของ เรา.
ความ (121:2)
         คดี, คือ เรื่อง ราว ข้อ คดี ต่าง ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คำ ว่า เรา เปน ความ กัน อยู่.*
      ความ เก่า (121:2.1)
               คดี เก่า, คือ เรื่อง ราว ที่ มี มา เก่า แก่ นั้น, เหมือน ความ ปะรำปะรา เปน ต้น.
      ความ ขำ (121:2.2)
               คือ ความ ที่ ต้อง ปิด บัง ไว้ มิ ให้ คน อื่น ล่วง รู้ นั้น, เหมือน ความ ผู้ ร้าย ฤๅ ความ น่า อาย เปน ต้น.
      ความ เข็น ใจ (121:2.3)
               ความ ลำบาก ใจ, คือ ความ คับ แค้น ความ ยาก ใจ นั้น, เปรียบ เหมือน ต้อง เข็น เรือ บน แห้ง นั้น.
      ความ แค้น (121:2.4)
               ความ ฝืด เคือง, คือ ความ โกรธ ที่ ให้ คับ อยู่ ใน ใจ นั้น, เหมือน อย่าง คน กิน เข้า แค้น ฅอ นั้น.
      ความ โง่ (121:2.5)
               ความ เขลา, คือ ความ ที่ ไม่ รู้, แล ความ ที่ ไม่ รู้ เท่า ทัน คน ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน อย่าง อวิชา เปน ต้น.
      ความ จำ (121:2.6)
                เปน, ความ จำ มี, คือ ความ ที่ ใจ ไม่ อยาก เปน ก็ ต้อง เปน, ไม่ อยาก ทำ ก็ ต้อง ทำ นั้น.
      ความ ฉิบหาย (121:2.7)
               ความ ไม่ เปน มงคล, คือ ความ ไม่ จำเริญ, มัก ให้ เสีย เข้า ของ เงิน ทอง เปน ต้น, จน กระทั่ง ถึง ชิวิตร.
      ความ เดือด (121:2.8)
               ความ พิโรธ, คือ ความ โกรธ ให้ ร้อน ใจ, เหมือน อย่าง ม่อ เข้า เดือด นั้น.
      ความ ตาย (121:2.9)
               ความ มรณะ, ความ ไม่ เปน ต่อไป, คือ สิ้น ชิวิตร นั้น, เหมือน อย่าง บุคล ขาด ชีวิตร เปน ต้น.
      ความ ทุกข์ (121:2.10)
               ความ ยาก, คือ ความ ไม่ มี ศุข, ความ ชั่ว, ฤๅ ความ ไม่ สบาย นั้น เอง.
      ความ เที่ยง (121:2.11)
               ความ ยั่งยืน, ความ ตรง, คือ ความ ไม่ แปรปรวน, ความ ยั่งยืน อยู่ คง ที่, เหมือน ความ ตาย นั้น.
      ความ ผิด (121:2.12)
               ความ ไม่ ชอบ, คือ ความ ที่ ไม่ ทูก, ความ ไม่ ชอบ เหมือน พวก มิจฉาทิฐิ เปน ต้น.
      ความ ฝัน (121:2.13)
               ความ สุบิน, คือ ความ ที่ คน นอน หลับ, แล้ว เหน สิ่ง ของ ต่าง ๆ ด้วย ตา ของ ใจ นั้น.
      ความ เพียร (121:2.14)
               ความ พยายาม, ความ อุษ่าห์, ความ หมั่น, คือ ไม่ เกียจ คร้าน นั้น, เหมือน อย่าง คน ขยัน เปน ต้น.
      ความ เมา (121:2.15)
               ความ ปมาท, คือ ความ ที่ มัว มึน ไป, เหมือน คน กิน เล่า เมา ไป นั้น, ไม่ เหน ว่า รูป ธรรม, นาม ธรรม นี้ ไม่ เที่ยง, เปน ทุกฃ์, ใช่ ตน.
      ความ เย็น ใจ (121:2.16)
               ความ ศุข ใจ, คือ ความ ไม่ ร้อน ใจ, ความ สำราญ ใจ, ความ สบาย ใจ, เหมือน ที่ ไม่ มี บาป ติด ใน ใจ นั้น.
      ความ เยาะ เย้ย (121:2.17)
               คือ* ความ ที่ ว่า กล่าว ประจาน ให้ ได้ ความ เจ็บ อาย ต่าง ๆ นั้น.
      ความ รู้ (121:2.18)
               คือ ความ ที่ รู้ วิชา การ ต่าง ๆ นั้น.
      ความ รักษ (121:2.19)
               ความ กรุณา, ความ ปรานี, ความ เอนดู, คือ ความ ที่ ไม่ ชัง นั้น, เหมือน อย่าง คน เมตาใน บุตร ภรรยา เปน ต้น.
      ความ ร้อนรน (121:2.20)
               ความ ทุรนทุ ราย, ความ กระวนกระวาย, กระสับ กระส่าย, คือ ความ ไม่ เย็นในใจ, เหมือนคนเมื่อ ใกล่ ตาย นั้น.
      ความ เรียบร้อย (121:2.21)
               คือ ความ ประพฤทธิ์ เสมอ, ความ ปรกติ นั้น, เหมือน คน ดี, คน ไม่ เกะกะ นั้น.
      ความ เลื่อน ลอย (121:2.22)
               ความ ไม่ มี หลัก, คือ ความ พูด ไม่ มี หลัก, พูด ไม่ มี ที่ อ้าง, เหมือน ของ ที่ เลื่อน ลอย อยู่ นั้น.
      ความ เหลว ไหล (121:2.23)
               ความ ไม่ แน่ นอน, คือ ความ ที่ ไม่ มั่นคง, ความ ไม่ ยั่งยืน, ความ ไม่ แขงแรง, ย่อม เหลว ไหล ไป เหมือน น้ำ.
      ความ วิวาท* (121:2.24)
               คือ ความ ถะเลาะ ทุ่งเถียง กัน ต่าง ๆ นั้น, เหมือน คน หนึ่ง เหน อย่าง นี้, อีก คน หนึ่ง เหน ไป อย่าง อื่น ไม่ ตก ลง กัน นั้น.
      ความ วุ่นวาย (121:2.25)
               คือ ความ ไม่ ปรกติ, ไม่ ราบคาบ, เหมือน เมือง สอง เมือง ทำ สงคราม แก่ กัน, รบ กัน อยู่ เปน ต้น.
      ความ สุภาพ (121:2.26)
               คือ ความ ที่ เปน สัปปุรุส นั้น, เหมืยน อย่าง คน มี ศีล เปน ต้น.
      ความ สูรู้ (121:2.27)
               คือ ความ ที่ ตัว เปน คน โง่ แล้ว, แต่ ไว้ ตัว เปน คน รู้, เหมือน คน อวด รู้ นั้น.
      ความ ศร้า หมอง (121:2.28)
               ความ ไม่ บริ สุทธิ์, คือ ความ ไม่ ผ่องใส ใน ใจ นั้น, เหมือน คน ได้ ทำ ความ บาป ความ ชั่ว ไว้ ต่าง ๆ นั้น.
      ความ ศุข (121:2.29)
               ความ นิราศ ไภย, ความ สำราญ ใจ, ความ สบาย ใจ, คือ ความ ไม่ มี ทุกค์ นั้น.

--- Page 122 ---
      ความ หึง หวง (122:2.30)
               คือ ความ ที่ คน หวง หึง นั้น, เหมือน ผัว ไม่ อยาก ให้ เมีย มี ผัว อื่น เปน ต้น.
      ความ อาไลย (122:2.31)
               ความ เสียดาย, ความ รักษ, คือ ความ คิด ถึง เหมือน ผัว เมีย ที่ รักษ จาก กัน ไป นั้น.
      ความ อดสู (122:2.32)
               ความ บัดศี, คือ ความ อับปยด, ความ อาย, ความ ขาย หน้า, เหมือน คน ได้ ทำ ความ ชั่ว ไว้ ต่าง ๆ นั้น.
      ความ อาจ หาญ (122:2.33)
               ความ องอาจ, คือ ความ กล้า ไม่ กลัว, เหมือน อย่าง นาย ทหาร ที่ เปน แม่ ทับ หลวง นั้น.
      ความ โอ้ อวด (122:2.34)
               คือ ความ ที่ คน พูด ยก ตน ข่ม ท่าน, สรรเสิญ ตัว เอง, มัก พูด ชม ของ ๆ ตัว เอง.
      ความ อำ พราง (122:2.35)
               คือ ความ ที่ ไม่ บอก ตาม จริง, พูด ปิด บัง ความ ไว้, คือ พูด ปด นั้น เอง.
      ความ เอนดู (122:2.36)
               ความ เมตา, ความ กรุณา, ความ ปรานี, คือ ความ รักษ นั้น, เหมือน พ่อ แม่ รักษ ลูก เปน ต้น นั้น.
      ความ อาย (122:2.37)
               ความ ขาย หน้า, คือ ความ อัปยศ อดสู นั้น, เหมือน หญิง ไม่ ดี, ย่อม กระทำ ความ ชั่ว ต่าง ๆ.
ควาย (122:1)
         กระบือ, กาศร, เปน ชื่อ สัตว อย่าง หนึ่ง, ตัว ดำ บ้าง, เผือก บ้าง, มี เขา ยาว สอง ข้าง ปลาย แหลม สำรับ ใช้ ทำ นา.
      ควาย ดำ (122:1.1)
               กระบือ ดำ, คือ ชาติ ควาย ที่ สี ตัว มัน ดำ นั้น, สำรับ ใช้ เข็นเ กวียน บ้าง, ใช้ ทำ ไร่ ทำ นา บ้าง.
      ควาย ถึก (122:1.2)
               คือ ควาย ที่ อ้วน สูง ใหญ่ นั้น, เหมือน อย่าง ควาย ปละ เปน ต้น.
      ควาย เถื่อน (122:1.3)
               คือ ควาย ที่ อยู่ ใน ป่า นั้น เอง.
      ควาย ปละ (122:1.4)
               คือ ลูก ควาย บ้าน, แต่ มัน หนี ออก ไป อยู่ ใน ป่า, มัน ดุะ ร้าย ไม่ ให้ ใคร จับ มัน นั้น.
      ควาย เปลียว (122:1.5)
               คือ ควาย หนุ่ม ที่ ยัง ไม่ ได้ ตอน, ฅอ อูม โต อยู่ นั้น.
      ควาย เผือก (122:1.6)
               คือ ชาติ ควาย สี แดง นั้น, สำรับ คน ใช้ การ งาน ต่าง ๆ.
      ควาย เพริด (122:1.7)
               คือ ควาย มัน พลัด ออก ไป จาก ฝูง นั้น, เหมือน ควาย ที่ เขา ปล่อย ทอต ไว้ นั้น.
      ควาย หม่อ (122:1.8)
               คือ ลูก ควาย เล็ก ๆ นั้น.
แควะ (122:2)
         เจาะ, คือ การ ที่ เอา มีด ฤๅ สิ่ว*, เจาะ คว้าน แหวะ ออก ไป นั้น.
      แควะ คว้าน (122:2.1)
               แหวะ คว้าน, คือ การ ที่ เจาะ แล้ว แหวะ ออก ให้ กว้าง นั้น.
      แควะ ข้อ ความ (122:2.2)
               แหวะ ข้อ ความ, คือ การ ที่ เจาะ แหวะ ยก เอา ข้อ ควาน เปน แห่ง ๆ นั้น.
      แควะ รู (122:2.3)
               แหวะ รู, คือ การ ที่ เจาะ แหวะ ออก, แล้ว กระทำ ให้ เปน รู นั้น.
(122:3)
         
ฅอ (122:4)
         กรรฐ, สอ, คือ อาการ ที่ ระหว่าง หัว, กับ ตัว ต่อ กัน นั้น, เปน ที่ สำรับ กลืน อาหาร ทั้ง ปวง ลง ไป ใน ท้อง นั้น.
      ฅอ หอย (122:4.1)
               คือ อาการ สิ่ง ที่ เปน หน่วย กลม ๆ, ติด อยู่ ที่ กลาง ลำ ฅอ นั้น.
(122:5)
         
ฆ่า (122:6)
         ประหาร, คือ การ ที่ กระทำ ซึ่ง คน, แล สัตว ให้ ตาย นั้น, เหมือน อย่าง เพชฆาฎ ฟัน นักโทษ ให้ ตาย นั้น.
      ฆ่า ไก่ (122:6.1)
               คือ การ ที่ คน เอา มีด เชือด ฅอ ไก่ ให้ ตาย นั้น.
      ฆ่า กิน (122:6.2)
               ประหาร กิน, คือ การ ที่ คน ฆ่า สัตว ทั้ง ปวง กิน นั้น, เหมือน อย่าง พวก เจ็ก ฆ่า หมู ฆ่า ไก่ กิน เปน ต้น.
      ฆ่า โจร (122:6.3)
               ประหาร โจร, คือ* การ ที่ คน ฆ่า พวก ขะโมยเสีย นั้น, เหมือน อย่าง พวก เพชฆาฎ ฆ่า อ้าย ผู้ร้าย เปน ต้น.
      ฆ่า ช้าง (122:6.4)
               ประหาร ช้าง, คือ การ ที่ คน ยัง ช้าง ให้ ตาย นั้น, เหมือน อย่าง พราน ช้าง เปน ต้น นั้น.
      ฆ่า คน (122:6.5)
               ประหาร คน, คือ การ ที่ ยัง คน ให้ ตาย นั้น, เหมือน คน ทำ ความ ผิด โทษ ถึง ตาย, ครั้น พิจารณา เปน สัจ แล้ว ฆ่า เสีย นั้น.
      ฆ่า ให้ ตาย (122:6.6)
               คือ การ ที่ ฆ่า คน ฤๅ สัตว ให้ ตาย นั้น.
      ฆ่า เนื้อ (122:6.7)
               ประหาร เนื้อ, คือ การ ที่ คน ยัง เนื้อ ให้ ตาย นั้น เอง, เหมือน อย่าง การ ที่ พวก พราน แทง เนื้อ เปน ต้น.
      ฆ่า สัตว (122:6.8)
               ประหาร สัตว, คือ การ ที่ คน ยัง ชีวิตร แห่ง สัตว ให้ ตก ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน กระทำ ปานาติปาต เปน ต้น.*
      ฆ่า ฟัน (122:6.9)
               คือ อาการ ที่ ทำ สัตว ให้ ตาย ด้วย ประการ ใด ๆ นั้น, ว่า ฆ่า, แต่ ฟัน นั้น คือ เอา เครื่อง อาวุธ ประหาร หวด ลง นั้น.
โฆรัง (122:7)
         ฯ ว่า สิ่ง ที่ น่า กลัว นั้น เอง.
โฆสา (122:8)
         ฯ ว่า เสียง กึก ก้อง, แล เสียง ร้อง ป่าว นั้น.
ฆะโณ (122:9)
         ฯ ว่า สิ่ง ที่ เปป แท่ง นั้น, เหมือน อย่าง สิลา ทั้ง แท่ง เปน ต้น.
ฆ้อง (122:10)
         คือ สิ่ง ของ สำรับ ตี, เสียง มัน ดัง คล้าย ระฆัง, เขา ทำ เปน รูป กลม ๆ โต เท่า ตะแกรง, มี ปุ่ม อยู่ ที่ กลาง.

--- Page 123 ---
      ฆ้อง กะแต (123:10.1)
               คือ สิ่ง ของ สำรับ ตี ตะเวน ดัง จองหง่อง ๆ, ทำ ด้วย ทอง เหลือง, โต เท่า จาน ขนาด กลาง, มี ปุ่ม ดั่ง ฆ้อง.
      ฆ้อง ไชย (123:10.2)
               คือ ฆ้อง เขา ตี เมื่อ ชะนะ ฆ่าศึก นั้น.
      ฆ้อง บาง (123:10.3)
               คือ มะโหระทึก นั้น, ทำ ด้วย ทอง เหลือง, รูป คล้าย กะบุง, มา จาก ลาว สำรับ ตี ประโคม ยาม.
      ฆ้อง เหม่ง (123:10.4)
               คือ สิ่ง ฃอง สำรับ ตี ประโคม สพ, เสียง มัน ดัง เหม่ง ๆ, เขา ทำ ด้วย ทอง เหลือง, เท่า จาน กลาง มี ปุ่ม.
      ฆ้อง โหม่ง (123:10.5)
               คือ ฆ้อง สำรับ ตี ประโคม เมื่อ ยก ทับ, ฤๅ โกน จุก เปน ต้น, เสียง ดัง โหมง ๆ.
      ฆ้อง ยาม (123:10.6)
               คือ ฆ้อง ที่ สำรับ ตี กำหนฎ ทุ่ม ยาม นั้น.
      ฆ้อง วง (123:10.7)
               คือ ฆ้อง อย่าง หนึ่ง หลาย ลูก, ทำ ร้าน ฆ้อง นั้น เปน วง เข้า แล้ว. จึ่ง เอา ลูก ฆ้อง ขึ้น บน นั้น.
ฆ้องสามย่าน (123:1)
         เปน ชื่อ ต้น เล็ก ๆ อย่าง หนึ่ง, ใบ มัน หนา เปน แฉก ๆ, เขา ทำ อยา ได้.
ฆาฎ เวร (123:2)
         คือ ใจ คิด มุ่ง หมาย ไว้ ว่า, ไป ชาติ น่า เรา จะ ฆ่า ท่าน ให้ จง ได้.
      เฆี่ยน ขา (123:2.1)
               ตี ขา, คือ การ ที่ ตี ที่ ขา นั้น.
      เฆี่ยน ขับ (123:2.2)
               คือ ลง โทษ เอา คน ผูก เข้า ที่ หลัก ตี ดว้ย หวาย, แล ถอด ออก ขับ ไล่ เสีย นั้น.
      เฆี่ยน ดว้ย หวาย (123:2.3)
               คือ การ ที่ เอา หวาย ตี หวด ลง ที่ หลัง นั้น.
เฆี่ยน (123:3)
         ตี, คือ การ ที่ เอา นักโทษ ใส่ คา เข้า แล้ว, ผูก เท้า ผูก เอว เฆี่ยน ด้วย วาย นั้น.
      เฆี่ยน ตี (123:3.1)
               การ ที่ เฆี่ยน นั้น, คือ เอา นักโทษ ใส่ คา เข้า แล้ว, ผูก ท้าว ผูก เอว, เฆี่ยน ดว้ย หวาย. การ ที่ ตี นั้น, ไม่ ใส่คา, ไม่ ผูก ท้าว ผูก เอว, ยึด ลง ตี ดว้ย ไม้ บ้าง, ตี ดว้ย หวาย บ้าง.
      เฆี่ยน หลัง (123:3.2)
               คือ การ ที่ เฆี่ยน ลง ที่ หลัง นั้น.
(123:4)
         
งา (123:5)
         คือ ของ เปน ต้น อย่าง หนึ่ง, ไม่ สู้ โต นัก, คล้าย กับ ผัก, มี ฝัก เปน เม็ด เล็ก ๆ, ดำ ๆ, ใช้ ทำ น้ำมัน บ้าง, กิน บ้าง, อนึ่ง เปน ของ เกิด แต่ ช้าง บ้าง.
      งา ช้าง (123:5.1)
               คือ อาการ แห่ง เคียว ที่ ออก จาก ปาก ช้าง นั้น., เหมือน ช้าง ทั้ง ปวง ที่ มี งา ยื่น ออก มา จาก ปาก ทั้ง สอง ข้าง นั้น.
      งา ไซ (123:5.2)
               คือ สิ่ง ที่ เอา ไม้ เขา ทำ เปน สี้ เล็ก ๆ, แล้ว ถัก ผูก เข้า ไว้ กับ ตัว ไซ กัน ปลา ไว้ ไม่ ให้ มัน ออก ได้ นั้น.
      งา แซง (123:5.3)
               คือ เปน ของ อย่าง หนึ่ง เหมือน งา ลอบ, ได้ ยิน เขา ว่า เปน ของ กาย สิทธิ์.
      งา งอน (123:5.4)
               คือ งา ช้าง ที่ ชอ้ย ขึ้น เบื้อง บน นั้น.
      งา ต้น (123:5.5)
               คือ งา ที่ เปน ต้น มี เม็ด เล็ก ๆ, ดำ ๆ, ใช้ ทำ น้ำมัน ก็ ได้, กิน กับ เข้า เหนียว ก็ ได้ นั้น.
      งา รี (123:5.6)
               คือ งา ช้าง* ที่ มัน ยาว นั้น.
      งา เม็ด (123:5.7)
               คือ งา ที่ เปน เม็ด ตำ ๆ, สำหรับ ใช้ ทำ น้ำมัน ดิบ บ้าง, กิน บ้าง นั้น.
      งา ลัน (123:5.8)
               คือ สิ่ง ที่ เอา ไม้ มา สาน เปน งา แล้ว, ใส่ ใน ลัน, สำหรับ ตัก ปลา ไหล นั้น
      งา ลอบ (123:5.9)
               คือ สิ่ง ของ ทำ ดว้ย ไม้ ไผ่ เปน อัน เล็ก ๆ คล้าย ๆ, งา ช้าง, แล้ว ใส่ ใน ลอบ สำหรับ ดัก ปลา ต่าง ๆ.
ง่า (123:6)
         เงื้อ, คือ อาการ ที่ คน ถือ มีด* ฤๅ ถือ ไม้, แล้ว ยก ขึ้น เงื้อ ไว้ นั้น.
      ง่า เงย (123:6.1)
               คือ เงื้อ ขึ้น แล้ว ทำ หน้า หงาย ขึ้น นั้น.
      ง่า เงื้อ (123:6.2)
               คือ อาการ ที่ ถือ สิ่ง ของ ใด ๆ, แล้ว ยก ขึ้น เงื้อ ไว้ นั้น.
      ง่า ง้าง (123:6.3)
               คือ อาการ ที่ เงื้อ ขึ้น แล ง้าง ไว้.
      ง่า มิด (123:6.4)
               คือ อาการ ที่ คน ถือ มีด แล้ว ยก ขึ้น ง่า ไว้ นั้น.
ง้า (123:7)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ง้า เงื้อ (123:7.1)
               คือ อาการ ที่ คน ถือ สิ่ง ของ ใด ๆ, แล้ว ยก ขึ้น สูง เต็ม แล้ เงื้อ ไว้ นั้น.
      ง้า มือ (123:7.2)
               เงื้อ มือ, คือ อาการ ที่ คน ยก มือ ขึ้น สูง เต็ม แล้, แล้ว เงื้อ ไว้ นั้น.
งู (123:8)
         ทีฆชาติ์, อสรพิศม์, เถาวัล, เปน สัตว อย่าง หนึ่ง, ไม่ มี เท้า ตัว ยาว เหมือน ปลา ไหล, เลื้อย ไป ดว้ย ทอ้ง, มี พิศม์ กัด ตาย บ้าง ไม่ ตาย บ้าง.
      งู ก้นขบ (123:8.1)
               คือ สัตว อย่าง หนึ่ง, ตัว กลม ๆ, เปน ปล้อง ดำปล้อง ขาว, ยาว เท่า ปลา ไหล ก้น มัน กัด ได้.
      งู ก้านพร้าว (123:8.2)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, ตาม ลำตัว นั้น เปน ลาย ขีด ไป, เหมือน ก้าน ทาง มะพร้าว นั้น.
      งู กระด้าง (123:8.3)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, ตัว มัน แขง กระด้าง ดั่ง ทอ่น ไม้, มี พิศม์ มาก กัด ตาย.
      งู เขียว หางไห้ม (123:8.4)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, ตัว ใม่ สู้ โต, ศีเขียว สด, หาง นั้น แดง เหมือน ไฟ ไห้ม กัด ไม่ ตาย.
      งู เขียว เรือน (123:8.5)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, ตัว ศี เขียว, มัก อาไศรย อยู่ ตาม เรือน, กิน หนู กัด ไม่ ตาย.

--- Page 124 ---
      งู คว่าง ฆอ้น (124:8.6)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, ตัว สั้น, มัน ยอ่ม โยน ทิ้ง ตัว เหมือน คว่าง ไป ดว้ย ฆอ้น นั้น.
      งู งวงช้าง (124:8.7)
               เปน งู ตัว มัน โต เท่า งวงช้าง หนัง มัน เปน หนาม หรุ หระ มัน อยู่ ใน น้ำ.
      งู งอด (124:8.8)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, ตัว เล็ก ๆ สั้น, ศี เลื่อม ๆ มี พิศม์ กัด ตาย.
      งู เงี้ยว (124:8.9)
               งู ว่า แล้ว, แต่ เงี้ยว นั้น เปน คำ สร้อย, เปน โบราณ, เปน ภาษา เสื่อม เสีย แล้ว.
      งู จงอาง (124:8.10)
               เปน ชื่อ งู อย่าง หนึ่ง, เปน งู ใหญ่ มี พิศม์ กล้า หนัก, กัด ตาย มัก อยู่ ตาม ชาย ป่า ชาย ดง.
      งู ดิน (124:8.11)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง ตัว เล็ก ๆ, ดำ ๆ, คล้าย ๆ ปลีง, มัก อาไสย อยู่ ใน ดิน.
      งู ไทร (124:8.12)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, ตัว ยอ่ม ๆ, มัก อาไสย อยู่ ใน น้ำ, ใน โคลน, กิน ปลา กิบ กัด ไม่ ตาย.
      งู ทับทา (124:8.13)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, ตัว โต ยาว ดว้ย, ลาย เปน ปล่อง ดำ, ปล่อง ขาว, มี พิศม์ กล้า หนัก กัด ตาย.
      งู ทับสมิงคลา (124:8.14)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, ตัว โต ยาว ดว้ย, เปน สาม เหลี่ยม, ปล่อง ดำ ปล่อง เหลือง, พิศม์ มาก กัด ตาย.
      งู ปลา (124:8.15)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, ตัว ยอ่ม ๆ, มัก อยู่ ในน้ำ, ในโคลน, กัด ไม่ ตาย, มัก สมจร กับ งู ต่าง ๆ, ถ้า ทอ้ง ไข่ กัด ตาย.
      งู ปาก กว้าง (124:8.16)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, ตัว ยอ่ม ๆ, มัก อยู่ ใน น้ำ, ใน โคลน, ปาก มัน กว้าง พิศม์ นอ้ย กัด ไม่ ตาย.
      งู ปลิง (124:8.17)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, ตัว ยอ่ม ๆ, ดำ ๆ, คล้าย ๆ กับปลิง.
      งู แม่ตะงาว (124:8.18)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, ตัว โต ลาย คล้าย งู หลาม, พิศม์ กล้า กัด ตาย.
      งู แม่ นางอาย (124:8.19)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, มัน เหน คน แล้ว ทำ อาการ เหมือน อาย, มี พิศ กล้า กัด ตาย.
      งู ลายสอ (124:8.20)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, ตัว ไม่ สู้* โต, ลาย ขาว พิศ นอ้ย กัด ไม่ ตาย.
      งู ลายสาย (124:8.21)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, ตัว เล็ก ๆ, ฅอ แดง พิศ นอ้ย กัด ไม่ ตาย.
      งู หลาม (124:8.22)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, ตัว โต ยาว ดว้ย, ลาย เหมือน งู เหลือม, มัก กิน ไก่ พิศม์ นอ้ย กัด ไม่ ตาย.
      งู เหลือม (124:8.23)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, ตัว โต ยาว ดว้ย, ลาย คล้าย งู หลาม, มัก กิน เนื้อ สัตว ดิบ พิศ นอ้ย กัด ไม่ ตาย.
      งู เหลือม อ้อ (124:8.24)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, ตัว ยอ่ม ๆ, ลาย ปล้อง ดำ, ปล้อง ขาว, มัก อยู่ ตาม ป่า อ้อ กลาง ทุ่ง นั้น.
      งู แสง อาทิตย์ (124:8.25)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, ตัว โต ศี เลื่อม เหลือง, พิศ กล้า กัด ตาย.
      งู สามเหลี่ยม (124:8.26)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, ตัว โต เปน สาม เหลี่ยม, ลาย ปล้อง ดำ ปล้อง ขาว พิศ กล้า กัด ตาย.
      งู สมิงลัง (124:8.27)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, ตัว ไม่ สู้ โต, หาง แบน ๆ, เหมือน ชาย ธง, อยู่ น้ำ เค็ม, พิศ กล้า กัด ตาย.
      งู สายม่าน (124:8.28)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, ตัว เขียว เล็ก ๆ, เท่า นิ้ว มือ ยาว เหมือน สาย ม่าน, พิศ นอ้ย กัด ไม่ ตาย.
      งู เห่า (124:8.29)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, ตัว โต ดำ เลื่อม ๆ, มัก อยู่ กลาง ทุ่ง, พิศ กล้า กัด คน ตาย.
      งู เห่าดง (124:8.30)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, ตัว โต ดำ พิศ กล้า หนัก, กัด คน ตาย, มัน อาไศรย อยู่ ใน ดง.
      งู เห่า ตาลาน (124:8.31)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, ตัว โต ยาว พิศ นอ้ย, กัด ไม่ ตาย, ถ้า เหน คน มัน รีบ หนี ตะลีตาลาน.
      งู เห่าปี่แก้ว (124:8.32)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, ตัว เล็ก ๆ ศี เลื่อม ๆ, เหมือน แสง แก้ว, พิศ กล้า กัด ตาย.
      งู เห่าไฟ (124:8.33)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, ตัว โต ยาว, พิศ มาก รอ้น เหมือน ไฟ, ถ้า เลื้อย ไป ถูก ย่า ตาย ดุจ จะ ถูก ไฟ ก็ เหมือน กัน.
      งู เห่าม่อ (124:8.34)
               เปน งู อย่าง หนึ่ง, ตัว โต ดำ เหมือน ศี ม่อ, มี พิศ มาก กัด คน ตาย.
หงูหงี (124:1)
         คือ เปน เสียง คน พูด ไม่ ชัด, ดว้ย จมูก บี้ วิกล นั้น.
งู่งี่ (124:2)
         คือ เสียง อย่าง หนึ่ง, พูด ไม่ ดัง, ไม่ เพราะ, เหมือน อย่าง เสียง คน จมูก บี้ นั้น.
เง้ ลง เต็ม แรง (124:3)
         คือ เงื้อ ขึ้น สุด ไหล่, แล้ว หวด ฟาด ลง นั้น.
แง (124:4)
         คือ ต้น อย่าง หนึ่ง, เม็ด คล้าย ๆ งา นั้น. อนึ่ง เปน ภาชะนะ สำหรับ ใส่ เหล้า ทำ ดว้ย ดิน.
แหง (124:5)
         ไป, คือ อาการ ที่ ทำ หน้า เค็อ ไป, หน้า จืด ไป นั้น เหมือน อย่าง คน เก้อ เปน ต้น.
แง่ (124:6)
         คือ มุม ที่ เปน เหลี่ยม นั้น, เหมือน อย่าง มุม ทั้ง ปวง มี มุม หิน เปน ต้น.
      แง่ งอน (124:6.1)
               คือ อาการ ที่ หญิง คอย หา เหตุ, หยิบ ผิด เพื่อน กัน เปน ต้น นั้น, เหมือน แง่ หิน ที่ งอน คอย รับ กะทบ เปน ต้น.

--- Page 125 ---
      แง่ ทราย (125:6.2)
               เปน ชื่อ เรือ อย่าง หนึ่ง, ใน พวก เรือ รบ ศึก นั้น.
      แง่ หิน (125:6.3)
               คือ มุม หิน, ฤๅ เหลี่ยม หิน นั้น, เหมือน อย่าง แง่ หิน เหล็ก ไฟ เปน ต้น.
      แง่ หัว (125:6.4)
               คือ มุม ๆ ที่ หัว* คน ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน อย่าง แง่ ศีศะ เปน ต้น นั้น.
      แง่ หัว ตลิ่ง (125:6.5)
               เปน ที่ ตาม มุม ๆ ตลิ่ง ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน* อย่าง หัว แง่ ปาก คลอง เปน ต้น.
ใง้ (125:1)
         คือ การ ที่ คัด ขึ้น นั้น, เหมือน คน เอา เสียม ฤๅ มีด แทง ลง ไป ใน ที่ ใด ๆ แล้ว คัด ขึ้น.
      ใง้ ดิน (125:1.1)
               คือ การ ที่ คน เอา มีด, ฤๅ ไม้, ฤๅ สิ่ง ใด ๆ, แทง ลง ใน ดิน แล้ว คัด ขึ้น นั้น.
      ใง้ หิน (125:1.2)
               คือ การ ที่ คน เอา มีด, ฤๅ ไม้, แทง ลง ตาม ซอก หิน แล้ว, งัด ขึ้น นั้น.
โงเง (125:2)
         คือ อาการ ที่ คน เมา, ฤๅ คน มัว นอน, ลุก ขึ้น นั่ง แล้ว โงก เงก อยู่ นั้น.
      โง่ (125:2.1)
               โฉด เฉา, คือ ความ ที่ ไม่ ฉลาด, มี ปัญา นอ้ย ไม่ สู้ รู้ อะไร นั้น, เหมือน คน บ้า, ที่ ไม่ รู้ จัก อะไร, ฤๅ เด็ก ๆ อายุศม์ สาม ขอบ เปน ต้น.
      โง่เง่า (125:2.2)
               เยาว์ ปัญา, หนุ่ม ความ, คือ ความ ที่ คน ไม่ สู้ รู้ จัก อะไร นั้น, เหมือน คน เคอะ คน บ้า เปน ต้น นั้น.
เงา (125:3)
         ฉาย, คือ อาการ แห่ง รูปสิ่งใด ๆ ไป ปรากฎ อยู่ใน ที่ อื่น, เหมือน กัน นั้น, เหมือน เงา ใน กระจก ฤๅ เงา กลาง แดด เปน ต้น นั้น.
      เงา ไม้ (125:3.1)
               คือ ร่ม ไม้, เมื่อ เวลา แดด สอ่ง ต้น ไม้ มี เงา ฤๅ รูป ต้น ไม้ มี ใน น้ำ นั้น.
      เงา กระจก (125:3.2)
               เปน รูป สิ่ง ของ ใด ๆ, ที่ เข้า ไป ปรากฎ อยู่ ใน กระจก ที่ สอ่ง นั้น.
      เงา รูป (125:3.3)
               คือ เงา เกิด ขึ้น เพราะ รูป สิ่ง สรรพ ต่าง ๆ นั้น.
เง่า (125:4)
         โคน, หัว, คือ โคน ต้น ไม้ ทั้ง ปวง, ที่ ต่อ กัน กับ ราก นั้น, เหมือน หัว กล้วย เปน ต้น.
      เง่า โคน (125:4.1)
               คือ โคน ไม้ ทั้ง ปวง, ที่ จม ลง ไป อยู่ ใน ดิน, เหมือน เง่า เผือก มัน ทั้ง ปวง ที่ ต่อ กัน กับ หัว นั้น.
      เง่า โง่ (125:4.2)
               คือ ความ ที่ คน ปัญา เขลา, ไม่ สู้ รู้ กิจการ อัน ใด นัก นั้น, เหมือน อย่าง คน ปัญา นอ้ย นั้น.
      เง่า หัว (125:4.3)
               คือ หัว มัน ทั้ง ปวง, ที่ ติด ต่อ กัน กับ เง่า นั้น.
เง้า (125:5)
         คือ อาการ แห่ง สิ่ง ที่ หัก งอ นั้น, เหมือน อย่าง อาการ คน ที่ โกรธ แล้ว, ชัก หน้า งอ เข้า นั้น.
      เง้า งอด (125:5.1)
               คือ อาการ ที่ คน เคือง ใจ, ทำ หน้าเง้า เข้า ดว้ย โทโส นั้น.
เหงา (125:6)
         คือ ความ ที่ โศก เศ้รา, ไม่ สะบาย นั่ง นิ่ง* อยู่ คน เดียว, เหมือน คน เปน โทษ ที่ เขา เกาะ ไว้ นั้น.
งำ (125:7)
         งวม, คือ อาการ ที่ ครอบ, ฤๅ ปก ปิด ไว้ นั้น, เหมือน อย่าง คำ ว่า, ครอบ งำ เปน ต้น.
      งำ ครอบ (125:7.1)
               คือ เอา ฝาชี เปน ต้น งวม ลง นั้น.
      งำ ปิด (125:7.2)
               คือ ครอบ ปิด ลง ไว้ นั้น.
      งำ เมือง (125:7.3)
                เปน ชื่อ ขุนนาง ใน กรม นคร บาล คน หนึ่ง, สำรับ ชำระ ความ นคร บาล มี โจร เปน ต้น.
      ง่ำ ๆ (125:7.4)
               เปน อาการ เสียง สุนัข, มัน ขะย่ำ ของ กิน พลาง กะทำ เสียง พลาง นั้น.
ง้ำ (125:8)
         คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ โอน นอ้ม มา เบื้อง หน้า, เหมือน คน นั่ง ก้ม หน้า อยู่ เปน ต้น.
      ง้ำ เงื้อม (125:8.1)
               คือ อาการ ของ มี ภูเขา เปน ต้น, ที่ มัน สูง ยื่น ออก มา ข้าง หน้า นั้น, เหมือน อย่าง เงื้อม ผา เปน ต้น.
      ง้ำ หน้า (125:8.2)
               คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ เอน เงื้อม มา ข้าง หน้า, เหมือน คน นั่ง ฅอ งุ้ม มา ข้าง หน้า เปน ต้น นั้น.
      ง้ำ ไป (125:8.3)
               คือ อาการ ที่ โอน เงื้อม ออก ไป นั้น, เหมือน อย่าง เพิง ผา เปน ต้น.
งก (125:9)
         งัก, คือ อาการ ที่ สั่น, ฤๅ หวั่น ไหว นั้น, เหมือน อย่าง คน หนาว หนัก, ฤๅ เปน ไข้ จับ สั่น เปน ต้น นั้น.
      งก งัน (125:9.1)
               คือ อาการ ที่ คน หนาว หนัก, ฤๅ คน ตก ใจ กลัว ตัวสั่น นั้น, เหมือน คน เปน ไข้ จับ สั่น เปน ต้น.
      งก เงิ่น (125:9.2)
               คือ อาการ ที่ คน ตัว สั่น, เหมือน อย่าง คน แก่ เต็มที, จน ลุก นั่ง มิ ไค่ร จะ ไหว นั้น.
หงก ๆ (125:10)
         คือ อาการ สั่น กะดก ๆ, เหมือน คน แก่ เดิน ตัว สั่น กะดก ๆ, นั้น.
งัก ๆ (125:11)
         คือ อาการ ที่ สั่น กะทก ๆ, เหมือน อย่าง คน ชัก เมื่อ ใก้ล จะ ขาด ใจ ตาย นั้น.
งัก สั่น (125:12)
         คือ อาการ คน ที่ หนาว จน คาง สั่น กะทบ กัน งัก ๆ นั้น.
หงัก (125:13)
         คือ เสียง ดัง เช่น นั้น มี บ้าง, เหมือน ทิ้ง ฤๅ แทง ถูก อัน ใด เข้า, ว่า เสียง ดัง หงัก ก็ มี บ้าง.

--- Page 126 ---
หงิก (126:1)
         คือ อาการ แห่ง สิ่ง ทั้ง ปวง, ที่ มัน คด ฤๅ งอ, เหมือน อย่าง แมว หาง ขอด เปน ต้น.
      หงิก งอ (126:1.1)
               คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ มัน งอ หงิก อยู่, เหมือน อย่าง คน มือ หงิก เปน ต้น.
เงก เต็ม ที (126:2)
         คือ ยับ เต็ม ที ฤๅ เสีย เตม ที นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ หาวนอน งว่ง โงก อยู่ นั้น.
โงก (126:3)
         คือ อาการ แห่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ โยก ไป โยก มา, เหมือน คน หาวนอน* นั่ง โงก อยู่ เปน ต้น นั้น.
      โงก เงก (126:3.1)
               คือ อาการ ที่ คน หาวนอน เต็ม ที นั่ง โยก เยก อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง คน งว่ง นอน นั้น.
โหงก (126:4)
         เปน เสียง ดัง โหงก ๆ, คือ เอา มือ งอ เข้า ชก ลง ที่ หัว คน มัน ดัง เช่น นั้น.
งอก (126:5)
         คือ อาการ แห่ง เม็ด ผลไม้ ทั้ง ปวง ที่ แตก งอก เปน ต้น ขึ้น นั้น, ฤๅ ที่ ชาย หาด อัน จำเริญ ขึ้น เปน ต้น.
      งอก ขึ้น (126:5.1)
               คือ อาการ ที่ หน่อ มัน แทง ขึ้น จาก เม็ด พืชน์ เปน ต้น นั้น, เหมือน อย่าง ถั่ว งอก เปน ต้น.
      งอก ง้ำ (126:5.2)
               งอก ออก ไป, คือ อาการ ภูเขา สูง ชัน, ที่ งอก เงื้อม ออก มา เปน ต้น นั้น, เหมือน อย่าง เงื้อม ผา เปน ต้น.
      งอก เงื้อม (126:5.3)
               ง้ำ, คือ อาการ แห่ง ภูเขา, ฤๅ ตลิ่ง ที่ งอก สูง ฉะโงก ง้ำ ออก มา นั้น, เหมือน อย่าง เพิง ผา แล ตลิ่ง ชั้น เปน ต้น.*
      งอก หน่อ (126:5.4)
               คือ อาการ แห่ง สิ่ง ที่ เปน ต้น ออ่น ๆ, พึง งอก ออก จาก ต้ม เดิม, เหมือน หน่อ กล้วย หน่อ ไม้ ใผ่ เปน ต้น.
หงอก (126:6)
         ขาว, คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ มี ศี ขาว นั้น, เหมือน อย่าง ผม ศี ขาว, ฤๅ ดอก แขม ดอก เลา เปน ต้น.
      หงอก ขาว (126:6.1)
               คือ อาการ แห่ง สิ่ง ที่ ดำ แล้ว กลับ ขาว ไป, เหมือน อย่าง ผม หงอก เปน ต้น นั้น.
      หงอก ราย ๆ (126:6.2)
               คือ อาการ แห่ง ผม หงอก ยัง ไม่ หมด, ยัง มี ผม ดำ อยู่ บ้าง นั้น.
เงือก (126:7)
         เปน สัตว อย่าง หนึ่ง, ตัว มัน คล้าย ๆ งู, หน้า เหมือน คน, อยู่ ใน น้ำ กัด คน ตาย.
      เงือก งู (126:7.1)
               เปน สัตว อย่าง หนึ่ง, คล้าย งู, มี พิศ มาก, มัน กัด เข้า แล้ว สูบ กิน เลือด, อยู่ ใน น้ำ.
      เงือก น้ำ (126:7.2)
               คือ เงือก เปน สัตว อย่าง หนึ่ง, ตัว เหมือน ปลา บ้าง, เหมือน งู บ้าง, หน้า เมือน คน ผม ยาว อยู่ ใน น้ำ.
เหงือก (126:8)
         คือ อาการ อย่าง หนึ่ง อยู่ ใน ปาก, ที่ สำหรับ ฟัน ข้าง ล่าง ข้าง บน ติด ตั้ง อยู่ นั้น.
งง (126:9)
         วิง, เวียน, คือ อาการ ที่ ให้ เคลือบ เคลิม มัว มึน ไป, เหมือน อย่าง คน หลง ลืม นั้น.
      งง งวย (126:9.1)
               งวย งง, คือ อาการ ที่ เคลือบ เคลิ้ม หลง ลืม นั้น, เหมือน อย่าง คน เสีย สะติ นั้น.
งัง ๆ (126:10)
         คือ อาการ หงก ๆ นั้น, เหมือน เดิร มา หงก ๆ, เขา พูด ว่า เดิร งัง ๆ มา โน่น แล้ว.
หงั่ง (126:11)
         คือ เสียง อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง เสียง ระฆัง เปน ต้น นั้น
งั่ง (126:12)
         เปน ของ อย่าง หนึ่ง, เขา หล่อ ดว้ย ทอง เหลือง เปน รูป คน บ้าง, รูป สัตว บ้าง, ว่า ทำ ไว้ เพื่อ จะ ทำ ให้ มัน เปน ทอง คำ นั้น.
ง้าง (126:13)
         งัด, คือ การ ที่ เหนี่ยว ออก, เย่อ ออก, คัด ออก นั้น, เหมือน คน เอา มือ ง้าง กำไล ออก จาก ข้อ มือ เปน ต้น.
      ง้าง กัน (126:13.1)
               คือ การ ที่ ขัด ขืน ข้อ ความ เหน ต่าง ๆ, ไม่ ตก ลง เหน ด้วย กัน, เหมือน อย่าง คน พูด ขัด กัน นั้น.
หง่าง (126:14)
         คือ เสียง อย่าง หนึ่ง มัน ย่อม ดัง อย่าง นั้น, เหมือน อย่าง เสียง ระฆัง เปน ต้น.
      หง่าง เหง่ง (126:14.1)
               เปน เสียง ระฆัง ใหญ่, คน ตี ด้วย ไม้ ค้อน, มัน ดัง เช่น นั้น บ้าง.
หงิ่ง (126:15)
         เปน เสียง อย่าง หนึ่ง, มัน ย่อม ดัง อย่าง นั้น เอง, เหมือน เสียง คน ร้องไห้ เบา ๆ เปน ต้น.
แง่ง (126:16)
         เปน อาการ สิ่ง ที่ งอก แตก ออก จาก หัว ใหญ่ นั้น, เหมือน อย่าง แง่ง ขิง ฤๅ แง่ง ขะมิ่น เปน ต้น.
      แง่ง ๆ (126:16.1)
               เปน เสียง สุนัข มัน ร้อง ขู่, จะ กัด เอา คน, ฤๅ เพื่อน สุนัข กัน นั้น.
แหง่ง เหง่ง (126:17)
         เปน เสียง อย่าง หนึ่ง, มัน ย่อม ดัง อย่าง นั้น, เหมือน อย่าง เสียง กังษะดาร, แล ระฆัง วง เดือน นั้น.
โงง (126:18)
         คือ โทงเทง เหมือน เรือ สำเภา ลำ เปล่า, มัน ลอย เทิ่ง อยู่ โคลงเคลง, เมื่อ ยัง ไม่ ได้ บันทุก อับเฉา นั้น.
      โงงเงง (126:18.1)
               คือ อาการ แห่ง สิ่ง ที่ โอน เอน ไป มา นั้น, เหมือน คน ไข้ ใม่ มี แรง. แล ลุก ยืน ขึ้น นั้น.
โหง่งเหง่ง (126:19)
         คือ เสียง ฆ้อง เล็ก ๆ, เมื่อ เขา ตี ลง มัน ดัง เสียง เช่น นั้น บ้าง.

--- Page 127 ---
โง้ง (127:1)
         คือ เปน สิ่ง ที่ ยาว แล้ว โง้ง งุ้ม ลง ด้วย, เหมือน อย่าง เขา วัว เขา ควาย ที่* ยาว ๆ, ฤๅ จมูก ยาว ๆ, ฤๅ เขี้ยว หมู ยาว ๆ เปน ต้น นั้น.
      โงงเงง (127:1.1)
               คือ อาการ ที่ เสา กะโดง ปัก อยู่ ที่ ลำ เรือ ใน น้ำ, มัน โงนเงน เอน ไป มา นั้น.
ง่อง (127:2)
         คือ ความ ที่ โง่ ไม่ ใคร่ จะ รู้ ประมาณ, คล้าย คน บ้า, คน เคอะ นั้น, เหมือน อย่าง คน โฉด เขลา นั้น.
หง่อง (127:3)
         คือ เสียง อย่าง หนึ่ง, มัน ย่อม ดัง อย่าง นั้น, เหมือน เสียง ฆ้อง กะแต เปน ต้น.
งวง (127:4)
         คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เปน งวง ห้อย ลง มา, เหมือน อย่าง งวง ช้าง เปน ต้น นั้น.
      งวง กา (127:4.1)
               คือ สิ่ง ที่ เขา ทำ ติด กับ ตัว กา น้ำ, สำรับ ถือ นั้น.
      งวง กล้วย (127:4.2)
               คือ สิ่ง ที่ เปน งวง ห้อย ลง มา จาก ต้น กล้วย, เปน เครือ มี หวี ติด อยู่ ด้วย นั้น.
      งวงครุ (127:4.3)
               คือ ไม้ ที่ เขา ทำ ติด ไว้ กับตัว ครุ, สำรับ จับ ถือ ตัก น้ำ นั้น.
      งวง คชสีห์ (127:4.4)
               คือ อาการ ที่ เปน งวง แห่ง คชสีห์, ที่ ห้อย ลง มา เหมือน งวง ช้าง นั้น.
      งวง ช้าง (127:4.5)
               คือ อาการ สิ่ง ที่ ห้อย เปน งวง ลง มา, จาก หัว ช้าง ทั้ง ปวง, เหมือน อย่าง เครือ กล้วย นั้น.
      งวง ตาล (127:4.6)
               คือ สิ่ง ที่ ห้อย เปน งวง ออก มา, จาก ยอด ตาล ทั้ง ปวง, เหมือน งวง กล้วย เปน ต้น.
ง่วง (127:5)
         คือ อาการ ที่ หาว นอน มาก เกือบ จะ หลับ นั้น, เหมือน คน อด นอน มา หลาย คืน นั้น.
      ง่วง งุย (127:5.1)
               คือ อาการ คน ที่ เงื่อง งุน, ไม่ ว่อง ไว หง่อย ๆ นั้น.
      ง่วง เหงา (127:5.2)
               คือ อาการ ที่ คน หาว นอน มาก แล้ว, ซึม เซา มิใคร่ พูด จา กับ ผู้ ใด นั้น, เหมือน อย่าง คน ซึ่ง มี ความ ทุกข นั้น.
      ง่วง งุน (127:5.3)
               ง่วง งง, คือ อาการ คน ที่ มัก หง่อย ๆ เงื่อง ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คน มัว นอน เปน ต้น.
เงี่ยง (127:6)
         คือ อาการ ที่ เปน แหลม ๆ ออก มา, เหมือน อย่าง เงี่ยง ปลา เงี่ยง เบ็ด, เงี่ยง ชะนัก เปน ต้น.*
      เงี่ยง งา (127:6.1)
               คือ สิ่ง ที่ มัน เปน กะดูก แขง อยู่ ที่ ริม หู ปลา, มัน แหลม แทง คน ได้, แต่ งา นั้น คือ งา ช้าง เปน ต้น.*
      เงี่ยง กะเบน (127:6.2)
               คือ อาการ แห่ง สิ่ง ที่ เปน เงี่ยง แหลม ติด อยู่ ที่ ตัว ปลา กะเบน นั้น.
      เงี่ยง ชะนัก (127:6.3)
               คือ สิ่ง ที่ เปน เงี่ยง งอน ติด อยู่ กับ ตัว ชะนัก นั้น, เหมือน อย่าง เงี่ยง ลูก สร นั้น.
      เงี่ยง เบ็ด (127:6.4)
               คือ สิ่ง ที่ อยัก เปน เงี่ยง, ติด อยู่ กับ ตัว เบ็ด นั้น.
      เงี่ยง ปลา (127:6.5)
               คือ อาการ แห่ง เงี่ยง ที่ ติด อยู่ กับ ตัว ปลา, เหมือน อย่าง ปลา ดุก เปน ต้น นั้น.
      เงี่ยง สมอ (127:6.6)
               คือ เงี่ยง สอง ข้าง ที่ ติด อยู่ กับ สมอ นั้น, เหมือน อย่าง โยทะกา เปน ต้น.
เงื่อง (127:7)
         คือ อาการ ที่ ทำ การ ไม่ เร็ว, เหมือน คน ทำ การ ช้า ๆ.
      เงื่อง งง (127:7.1)
               คือ อาการ ที่ หง่อย, แล ให้ ฉงน ใน ที่ จะ ทำ การ งาน ทั้ง ปวง นั้น.
      เงื่อง หง่อย (127:7.2)
               คือ อาการ ที่ ไม่ ว่องไว, ไม่ ประเปรียว, เหมือน คน ทำ การ ช้า ๆ นั้น.
      เงื่อง งุย (127:7.3)
               คือ อาการ ที่ คน ง่วง หง่อย ไม่ ว่อง ไว นั้น.
      เงื่อง ช้า (127:7.4)
               ไม่ ว่อง ไว, คือ อาการ ที่ หง่อย ๆ ไม่ รวดเร็ว นั้น.
(127:8)
         
งด (127:9)
         สงบ, ยั้ง, รอ, คือ อยุด ไว้ นั้น, เหมือน คน ทำการ งาน ทั้ง ปวง ยัง ไม่ แล้ว อยุด ไว้ ก่อน นั้น.
      งด การ (127:9.1)
               สงบ การ, คือ อยุด การ ไว้ นั้น, เหมือน อย่าง วัน ซะบาโต เปน ต้น.
      งด ก่อน (127:9.2)
               สงบ ก่อน, คือ ความ ที่ อยุด การ ไว้ ก่อน นั้น, เหมือน อย่าง ยั้ง ไว้ ก่อน นั้น.
      งด งาม (127:9.3)
               เหมาะเหมง, คือ สิ่ง ทั้ง ปวง ที่ ไม่ มี สิ่ง ใด จาม เสมอ เหมือน นั้น.
      งด ที (127:9.4)
               ยั้ง ที, คือ ความ ที่ อยุด การ ไว้ ที หนึ่ง ฤๅ ครั้ง หนึ่ง นั้น.
      งด โทษ (127:9.5)
               คือ อยุด รงับ โทษ ไว้ ก่อน, ยัง ไม่ ลง อาชา นั้น.
      งดไว้ (127:9.6)
               รอไว้, คือ อยุดไว้ นั้น, เหมือน คน ทำการ แล้ว อยุดไว้ นั้น.
      งด ให้ (127:9.7)
               คือ อยุด ยั้ง ให้ ยัง ไม่ ทำ เปน ต้น นั้น.
งัด (127:10)
         คือ การ ที่ คัด ออก นั้น, เหมือน คน เอา เสียม คัด อิฐ, ฤๅ สิลา ขึ้น นั้น.
      งัด ขึ้น (127:10.1)
               คือ การ ที่ คัด ขึ้น, เหมือน เขา จะ ทำ แผ่น หิน ใหญ่ ให้ มัน ขึ้น จาก ที่ เปน ต้น.
หงุด หงิด (127:11)
         คือ ความ ที่ คน ใจ น้อย, เหมือน คน มัก โกรธ ง่าย ๆ นั้น.
หงุด นอน (127:12)
         คือ อาการ คน ที่ ขี้เซา นั้น, มัก นอน หลับ ร่ำ ไป, มิใคร่ ตื่น เปน ต้น.

--- Page 128 ---
หงอด (128:1)
         คือ อาการ ที่ คน ฤๅ สัตว เจ็บ ผอม ไม่ ใคร่ หาย, มัน ย่อม คราง เสียง ดัง หงอด ๆ เปน ต้น นั้น.
      หงอด แหงด (128:1.1)
               คือ อาการ ที่ ออด แอด, เหมือน คน ป่วย หนัก, พูด จา เสียง ไม่ ดัง เปน เสียง ออด แอด นั้น.
งวด (128:2)
         คือ อาการ น้ำ ทั้ง ปวง ที่ เคี่ยว ให้ มัน ยุบ ลง นั้น, ประการ หนึ่ง เปน การ กำหนฎ นั้น.
      งวด ลง (128:2.1)
               คือ อาการ ที่ น้ำ เดิม มาก อยู่, นาน มา ภาย หลัง ซุด ยุบ ยอบ น้อย ลง นั้น, เหมือน อย่าง น้ำ ลด งวด ลง เปน ต้น.
      งวด หนึ่ง (128:2.2)
               คราว หนึ่ง, คือ การ เปน ที่ กำหนฎ, เหมือน คน ส่ง เงิน หลวง ครั้ง หนึ่ง, เขา ว่า ส่ง ได้ งวด หนึ่ง.
เงือด (128:3)
         เงื้อ, คือ อาการ ที่ คน ยก สิ่ง ทั้ง ปวง ขึ้น ยั้ง ไว้, เหมือน คน ยก มือ ขึ้น ง่า ไว้ นั้น.
      เงือด งด (128:3.1)
               คือ อาการ ที่ คน ยก สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ขึ้น แล้ว, อยุด ยั้ง ไว้ นั้น.
      เงือด อยุด (128:3.2)
               คือ อาการ ที่ งด อยุด ไว้ นั้น.
      เงือดเงื้อ (128:3.3)
               คือ อาการ ที่ คน ยก สิ่ง ของ ขึ้น ง่า ไว้, เหมือน คน ถือ ดาบ เงื้อ อยู่ นั้น.
งัน (128:4)
         คือ อาการ ตก ตลึง สิ้น สติ ยืน นิ่ง อยู่, เหมือน คน ตกใจ พูด ไม่ ออก นั้น.
      งัน งก (128:4.1)
               คือ อาการ สั่น กะดก กะดัน นั้น, าหมือน อย่าง คน ตก ใจ กลัว ตัว สั่น อยู่ นั้น.
งาน (128:5)
         คือ การ ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน อย่าง คน ทำ การ, มี โกน จุก แล บวช นาค, บ่าว สาว เปน ต้น.*
      งาน การ (128:5.1)
               คือ สรรพ การ งาน ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน คน ทำ ไร่ ไถ นา เปน ต้น นั้น.
      งาน บ่าว สาว (128:5.2)
               คือ การ ที่ ชาย หนุม หญิง สาว, เขา แรก ทำ วิวาห มงคล, อยู่ เปน ผัว เมีย กัน นั้น.
      งาน ปี (128:5.3)
               คือ กิจการ ที่ คน ทำ ปี ละ หน, เหมือน การ ที่ พวก หมอ, ฤๅ พวก มะโหรี ปีภาทย์, ถึง สุด ปี เขา ไหว้ ครู ที หนึ่ง นั้น.
      งาน ราษ (128:5.4)
               คือ การ งาน ของ ชาว เมือง ทั้ง ปวง นั้น.
      งาน เมือง (128:5.5)
               คือ การ ลัทธี ต่าง ๆ, มี แรก นา แล ถีบ ชิงช้า เปน ต้น สำรับ เมือง นั้น.
      งาน หลวง (128:5.6)
               คือ การ ใหญ่, เปน การ ของ พระ มหา กระษัตริย์, เหมือน งาน พระ บรมสพ เปน ต้น.
      งาน พระ สพ (128:5.7)
               คือ การ ใหญ่ เขา ทำ เมื่อ ชัก พระ สพ ของ หลวง เปน ต้น นั้น.
ง่าน (128:6)
         คือ ความ โกรธ มาก นั้น, เหมือน คน จะ เอา สิ่ง ใด ไม่ สม ความ คิด, ก็ โกรธ งุ่น ง่าน ใจ.
      ง่าน โกรธ (128:6.1)
               คือ ความ โกรธ งุ่น ง่าน ไป นั้น.
      ง่าน ใจ (128:6.2)
               คือ ใจ งุ่น ง่าน เพราะ โกรธ เคือง ใจ ไม่ สบาย, ให้ บ่น ไป ต่าง ๆ นั้น.
      ง่าน เต็ม ที (128:6.3)
               คือ ความ ที่ บ่น ด้วย คำ ต่าง ๆ, เพราะ เคือง ใจ เต็ม ที นั้น.
งุ่น ง่าน (128:7)
         คือ ความ ที่ โกรธ วุ่นวาย เปน ต้น.
แง่น ๆ (128:8)
         คือ ความ โกรธ เหมือน จะ โดด เข้า กัด เอา อย่าง หมา นั้น.
แหงน (128:9)
         เงย, คือ อาการ ที่ หงาย หน้า แล ดู ไป ใน เบื้อง บน นั้น, เหมือน คน หงาย หน้า ขึ้น ดู ดวง ดาว ใน อากาษ นั้น.
      แหงน ฅอ (128:9.1)
               เงย ฅอ, คือ อาการ ที่ หงาย ฅอ ขึ้น เบื้อง บน นั้น.
      แหงน หงาย (128:9.2)
               เงย หงาย, คือ อาการ ที่ หงาย หน้า แหงน ขึ้น ดู ใน เบื้อง บน นั้น.
      แหงน ฉะแง้ (128:9.3)
               เงย ฉะแง้, คือ อาการ ที่ เงย หน้า ฉะเงื้อ คอย หา นั้น, เหมือน อย่าง กระทำ ซึ่ง ฅอ ใน เบื้อง บน นั้น.
      แหงน ดู (128:9.4)
               คือ อาการ ที่ หงาย หน้า ขึ้น ดู นั้น, เหมือน อย่าง คน แหงน หน้า ดู ท้อง ฟ้า นั้น.
      แหงน หน้า (128:9.5)
               คือ อากาว ที่ หงาย หน้า ขึ้น นั้น, เหมือน อย่าง คน แหงน หน้า ดู อากาษ เปน ต้น.
โงน (128:10)
         โอน, คือ อาการ ที่ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ ตั้ง ขึ้น ไป สูง โงกเงก อยู่ นั้น, เหมือน ตาล ดวด ถูก พายุห์ เปน ต้น.
      โงน เงน (128:10.1)
               โอน เอน, คือ อาการ สิ่ง ทั้ง ปวง ที่ ตั้ง ขึ้น ไป สูง โดก เดก อยู่, เหมือน อย่าง เสา กะโดง เปน ต้น.
งอน (128:11)
         คือ อาการ สิ่ง ที่ โอน ๆ, เหมือน งา ช้าง เปน ต้น นั้น.
      งอน ชด (128:11.1)
               อาการ เหมือน มือ เมื่อ คน รำ ลคอน อ่อน ช้อย* นั้น.
      งอน ช้อย (128:11.2)
               คือ อาการ แห่ง มือ เปน ต้น, ที่ มัน อ่อน ช้อย ขึ้น.
      งอน ไถ (128:11.3)
               คือ ไถ ที่ มี ปลาย งอน ขึ้น, เหมือน อย่าง งอน รถ เปน ต้น นั้น.
      งอน พูด (128:11.4)
               คือ ความ ที่ พูด อ้อมค้อม ไป, พูด ไม่ ตรง นั้น, เหมือน อย่าง คน ดัด จริต พูด เปน ต้น.
      งอน รถ (128:11.5)
               คือ อาการ แห่ง รถ ที่ มี งอน อยู่ เบื้อง น่า, เปน ที่ สำรับ ใส่ ธง นั้น.

--- Page 129 ---
ง่อน แง่น (129:1)
         ง๊อกแง๊ก, คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ไม่ มั่นคง นั้น, เหมือน อย่าง ไม้ หลัก ปัก ขี้ ควาย, ฤๅ เด็ก พึ่ง ชัน ฅอ นั้น.
หงอน (129:2)
         คือ อาการ แห่ง สิ่ง ที่ เปน สัน อยู่ บน ศีศะ, เหมือน อย่าง หงอน ไก่, แล หงอน นก ยูง เปน ต้น นั้น.
      หงอน ไก่ (129:2.1)
               คือ อาการ สิ่ง ที่ เปน สัน แฉก ๆ อยู่, บน หัว ไก่ ทั้ง ปวง นั้น. อนึ่ง เปน ชื่* ต้น อย่าง หนึ่ง, ดอก มัน เหมือน กับ หงอน ไก่.
      หงอน ชะบา (129:2.2)
               คือ อาการ หงอน ไก่ แจ้ มัน แบน บาง, สี แดง เหมือน ดอก ชะบา นั้น.
      หงอน นก (129:2.3)
               คือ สิ่ง ที่ เปน สัน อยู่ บน หัว นก นั้น, เหมือน หงอน นก อี โก้ง เปน ต้น.
      หงอน หิน (129:2.4)
               คือ อาการ หงอน ไก่, ที่ มัน เปน ตุ่ม แน่น อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง หงอน ไก่ อู เปน ต้น.
      หงอน มีด (129:2.5)
               คือ เหล็ก ที่ เขา ทำ เปน หงอน ติด อยู่ กับ ปลาย มีด นั้น, เหมือน อย่าง มีด หงอน เปน ต้น.
      หงอน ไก่ ต้น (129:2.6)
               คือ ต้น อย่าง หนึ่ง, เรืยก ต้น หงอน ไก่, เพราะ ดอก มัน เหมือน หงอน ไก่ นั้น.
ง่วน (129:3)
         คือ การ ที่ ทำ ร่ำ ไป, ทำ เสมอ ไป, ไม่ อยุด ไม่ อย่อน นั้น.
ง้วน (129:4)
         คือ สิ่ง ที่ เปน ละออง ละเอียด, บังเกิด แต่ เกษร ดอก ไม้, ที่ แมลง ผึ้ง เอา ไป ใส่ ไว้ ใน รวง นั้น.
      งั้วน ดิน (129:4.1)
               คือ สิ่ง ที่ ละเอียด มี กลิ่น หอม, บังเกิด แต่ รศ แห่ง แผ่นดิน นั้น.
      ง้วน ผึ้ง (129:4.2)
               คือ ละออง เกษร ดอก ไม้,* ที่ อยู่ ใน รวง ผึ้ง นั้น.
หงวน (129:5)
         คือ ชื่อ คน หย่าง นั้น ก็ มี บ้าง.
เงิ่ยน* (129:6)
         กระหาย, คือ ความ ที่ อยาก มี กำลัง มาก, เหมือน คน ติด ฝิ่น อยาก สูบ ฝิ่น, ฤๅ ชาย หนุ่ม อยาก มี เมีย เปน ต้น.
      เงี่ยน กัญชา (129:6.1)
               คือ ความ ที่ คน อยาก สูบ กัญชา เปน กำลัง นั้น, เหมือน อย่าง พวก นักเลง กันชา เปน ต้น.
      เงี่ยน ฝิ่น (129:6.2)
               คือ ความ อยาก ฝิ่น เปน กำลัง นั้น, เหมือน อย่าง พวก สูบ ฝิ่น เปน ต้น นั้น.
      เงี่ยน ยา (129:6.3)
               คือ ความ กระหาย อยาก ยา, เหมือน กระหาย อยาก น้ำ นั้น.
      เงี่ยน เหล่า (129:6.4)
               คือ ความ อยาก แห่ง นักเลง เหล่า, ที่ อยาก เหล้า เปน กำลัง นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ เคย เสพ สุรา เปน ต้น.
เงื่อน (129:7)
         คือ อาการ ที่ ผูก ฤๅ ที่ ต่อ แห่ง ด้วย, แล ไหม ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน อย่าง ที่ ต่อ ด้าย แล ไหม เปน ต้น.
      เงื่อน กะทก (129:7.1)
               คือ อาการ ที่ ผูก, ฤๅ ต่อ, ทำ ให้ กะทก หลุด ออก จาก กัน ได้ เปน ต้น นั้น.
      เงื่อน ด้าย (129:7.2)
               คือ ที่ ผูก, ที่ ฅอ, แห่ง ด้าย ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน อย่าง ผูก ต่อ ด้าย ทำ ให้ ต่อ ติด กัน นั้น.
      เงื่อน ป่าน (129:7.3)
               คือ ที่ผูก, ที่ต่อ, เปน หัวเงื่อน, แห่ง ป่าน ทั้ง ปวง นั้น.
      เงื่อน ไหม (129:7.4)
               คือ ที่ ผูก, ที่ ต่อ, ทำ เปน หัว เงื่อน, แห่ง ไหม ทั้ง ปวง นั้น.
เงิน (129:8)
         หิรัญ, คือ ของ ศี ขาว ๆ, เหมือน ตะกั่ว เกิด จาก แร่, ทำ รูป กลม ๆ เปน เงิน บาท บ้าง, เปน เหรียญ บ้าง.
      เงิน แดง (129:8.1)
               เปน ชื่อ เงิน ปลอม, ที่ เขา เอา ทอง แดง ไว้ ข้าง ใน, เอา เงิน ดี หุ้ม ไว้ นอก นั้น.
      เงิน ตะกั่ว (129:8.2)
               คือ เงินปลอม, ที่ เขา ทำ เปน รูปเงิน ดว้ย ตะกั่ว นั้น.
      เงิน ตาย (129:8.3)
               คือ เงิน แท่ง, ฤๅ เงิน แผ่น, ที่ เขา ยัง ไม่ ได้ ทำ เปน รูป บาท, รูป สลึง เปน ต้น นั้น,
      เงิน ตรา (129:8.4)
               คือ เงิน ที่ มี ตรา, เหมือน เงิน บาตร ของ ชาว ไท นั้น.
      เงิน น้ำหก (129:8.5)
               คือ เงินไม่ บริสุทธิ, ยัง มี ทอง แดง ปน ติด อยู่ บ้าง, เหมือน อย่าง เงิน ลาว เปน ต้น นั้น.
      เงิน ใบ (129:8.6)
               คือ เงิน ที่ เขา ตี แผ่ บาง, เหมือน ทอง ใบ นั้น.
      เงิน แผ่น (129:8.7)
               คือ เงิน เขา แผ่ ไว้ เปน แผ่น บาง นั้น, เหมือน อย่าง เงิน เหรียญ เปน ต้น.
      เงิน บาท (129:8.8)
               คือ เงิน ที่ ทำ เปน รูป โต ๆ หนัก สี่ สลึง นั้น.
      เงิน ปลีก (129:8.9)
               คือ เงิน เฟื้อง, เงิน สลึง, ที่ ปลีก ออก ไป จาก เงิน บาท นั้น.
      เงิน เฟื้อง (129:8.10)
               คือ เงิน กอ้น เล็ก ๆ, ที่ หนัก แปด เฟื้อง, เปน บาท หนึ่ง นั้น.
      เงิน สลึง (129:8.11)
               คือ เงิน กอ้น ยอ่ม ๆ, หนัก สอง เฟื้อง, เปน สลึง, หนัก สี่ สลึง เปน บาท นั้น.
      เงิน เหรียญ (129:8.12)
               คือ เงิน ที่ เขา ทำ เปน แผ่น ๆ, มา แต่ เมือง นอก หนัก เจ๊ด สลึง นั้น.
งบ (129:9)
         แว่น, เปน ชื่อ สิ่ง ทั้ง ปวง, ที่ เขา ทำ เปน แผ่น กลม ๆ, เหมือน อย่าง งบ น้ำออ้ย เปน ต้น นั้น.
      งบ น้ำออ้ย (129:9.1)
               คือ ชื่อ น้ำออ้ย ที่ เขา เคี่ยว หยอด เปน งบ ๆ นั้น.

--- Page 130 ---
      งบ หนึ่ง (130:9.2)
               คือ งบ เดียว ไม่ มี มาก, ฤๅ แว่น เดียว นั้น.
      งบ บาญชี (130:9.3)
               คือ ชื่อ บาญชี ทั้ง ปวง ที่ เขา รวบ รวม ติด กัน เข้า ทำ เปน แผ่น เดียว นั้น.
งับ (130:1)
         คือ การ ที่ ฮุบ เอา ดว้ย ปาก, เหมือน อย่าง หมา กัด แมลง วัน เปน ต้น นั้น.
      งับ กิน (130:1.1)
               คือ งับ ของ ทั้ง ปวง ดว้ย ปาก, แล้ว กิน เข้า ไป นั้น, เหมือน อย่าง ฮุบ กิน นั้น
      งับ แง (130:1.2)
               คือ อาการ บาน ประตู, ฤๅ หน้าต่าง, ที่ เขา เปิด ไม่กว่าง นัก, ไม่ แคบ นัก, เหมือน อย่าง หับ ไว้ เปน ต้น.
      งับ งาบ (130:1.3)
               คือ ปาก คน ฤๅ สัตว ที่ ทำ อ้า ขึ้น แล หุบ ลง นั้น, เหมือน อย่าง หาวนอน เปน ต้น.
      งับ ประตู (130:1.4)
               หับ ประตู, คือ การ ผลัก บาน ประตู ให้ มัน หุบ เข้า นอ่ย หนึ่ง นั้น, เหมือน อย่าง หับ ประตู นั้น.
      งับ เอา (130:1.5)
               คือ การ ที่ ฮุบ กัด เอา สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, เหมือน อย่าง หมา มัน ตอด เอา นั้น.
งาบ (130:2)
         คือ อาการ ที่ อ้า ปาก ขึ้น กว้าง แล้ว หุบ ลง, เหมือน อย่าง อ้า ปาก ขึ้น หาวนอน นั้น.
งีบ (130:3)
         มอ่ย, คือ ความ ที่ นอน มอ่ย ไป บัด เดี๋ยว หนึ่ง นั้น, เหมือน อย่าง ลีง หลับ เปน ต้น.
      งีบ นอน (130:3.1)
               คือ อาการ ที่ คน นอน มอ่ย หลับ ไป บัด เดี๋ยว นั้น, เหมือน อย่าง หลับ ลีง เปน ต้น.
งุบ งิบ (130:4)
         คือ คำ คน พูด ซอ่น แต่ เบา ๆ, กลัว ผู้ อื่น จะ ได้ ยิน นั้น, เหมือน พูด ซุบ ซิบ กัน เปน ต้น.
หงุบ (130:5)
         คือ อาการ ที่ คน นั่ง อยู่ แล้ว โงก หงับ ไป, เหมือน อย่าง คน หาว นอน นั่ง อยู่โงก หงุบ ไป นั้น.
      หงุบ หงับ (130:5.1)
               คือ อาการ แห่ง คน พูด จา ดัง ๆ อย่าง นั้น อย่าง นี้ ไม่ ใค่ร อยุด นั้น, เหมือน อย่าง คน เสพ สุรา หัว งอก แงก.
งูบ (130:6)
         คือ การ ที่ คน หาวนอน, นั่ง อยู่ แล้ว โงก งูบ ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน มัว นอน เปน ต้น.
      งูบ หงุบ (130:6.1)
               คือ อาการ ทำ หัว นอ้ม ลง, แล้ว ซบ อยู่, เหมือน อย่าง คน เมา เล่า เต็ม ที ตั้ง ตัว ไม่ ตรง เปน ต้น.
แงบ (130:7)
         คือ การ ที่ หิว ออ่น สิ้น กำลัง, ลง นอนแบบ อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง ออ่น ระหวย ไป นั้น.
งอบ (130:8)
         คือ เปน สิ่ง ของ สาน ดว้ย ไม้, เย็บ ตรุ ดว้ย ใบ ลาน, สำรับ ใส่ กัน แดด กัน ฝน, เหมือน หมวก นั้น.
เงียบ (130:9)
         สงัด, คือ ความ ที่ ไม่ มี เสียง อื้อ อึง สงัด อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง ที่ วิเวก เปน ต้น.
      เงียบ เหงา (130:9.1)
               คือ ความ ที่ สงัด, เสียง เงียบ, คน เซา อยู่, เหมือน อย่าง ที่ ปราศ จาก เสียง อื้อ อึง สลด ใจ อยู่ นั้น.
      เงียบ เซียบ (130:9.2)
               คือ ความ ที่ ไม่ มี เสียง สิ่ง ใด อื้อ อึง, สงัด เงียบ อยู่, เหมือน บ้าน ร้าง ไม่ มี คน เปน ต้น.
      เงียบ ไป (130:9.3)
               คือ ความ ที่ สงบ สงัด ไป นั้น, เหมือน อย่าง ความ ฉาว ขึ้น แล้ว กลับ หาย ไป นั้น.
      เงียบ อยู่ (130:9.4)
               คือ สงบ อยู่, เหมือน อย่าง ความ ที่ นิ่ง อยู่ เปน ต้น,
      เงียบ สงัด (130:9.5)
               คือ ความ ที่ สงัด เงียบ, ไม่ ได้ ยิน เสียง สิ่ง ใด ๆ นั้น, เหมือน อย่าง เข้า ใน ดง ชัด เปน ต้น.
      เงียบ เสียง (130:9.6)
               คือ ความ ไม่ มี เสียง อื้อ อึง นั้น, เหมือน อย่าง บ้าน ที่ ไม่ มี คน อยู่ เปน ต้น.
เงิบ ๆ (130:10)
         อาการ เหมือน อย่าง คน, ฤๅ สัตว ที่ เดิร ช้า ๆ เนิบ ๆ อยู่ เปน ต้น นั้น.
งม (130:11)
         คือ การ ที่ คน ลง ใน น้ำ, เอา มือ เที่ยว คลำ จับ หอย จับ ปู ใน โคลน ใน ทราย นั้น.
      งม กุ้ง (130:11.1)
               คือ การ ที่ คน ลง ใน น้ำ เอา มือ เที่ยว ไล่ คลำ จับ กุ้ง ใน โคลน นั้น.
      งม งาย (130:11.2)
               คือ อาการ ที่ ไม่ ใค่ร แล เหน, เหมือน ตา มัว, คลำ หา ของ ข้าง โน้น ข้าง นี้ นั้น.
      งม เงอะ (130:11.3)
               คือ ความ โง่ เคอะ ไม่ รู้ จัก อะไร, เหมือน อย่าง คน เที่ยว งม หา ของ ไม่ รู้ ว่า อยู่ ที่ ไหน เปน ต้น.
      งม ปลา (130:11.4)
               คือ การ ที่ คน เที่ยว คลำ จับ ปลา, ใน น้ำ ในโคลน นั้น, เหมือน อย่าง พวก ชาว ปะโมง เปน ต้น.
      งม หอย (130:11.5)
               คือ การ ที่ คน เที่ยว คลำ หา หอย ใน น้ำ ใน โคลน นั้น, เหมือน อย่าง พวก ชาว ป่า ดอน นั้น.
งั้ม (130:12)
         เงื้อม, คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เอน ล้ม มา เบื้อง หน้า, เหมือน อย่าง คน นั่ง ก้ม หน้า อยู่ นั้น.
      งั้ม หน้า (130:12.1)
               คือ อาการ แห่ง สิ่ง ทั้ง ปวง ที่ เอน คว่ำ มา ข้าง หน้า, ฤๅ คน ที่ นั่ง ทำ หน้า คว่ำ อยู่ นั้น.
งาม (130:13)
         สวย, ดี, หมด จด, คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ดู เมาะ ตา, ดู หน้า รักษ, หน้า ชม, ดู ดี สอาด ตา นั้น.
      งาม ขำ (130:13.1)
               คือ อาการ ที่ งาม เมื่อ พิศ, ยิ่ง ดู, ยิ่ง งาม นั้น.

--- Page 131 ---
      งาม งอน (131:13.2)
               คือ อาการ ที่ คน รูป งาม แล้ว, จริต นั้น งอน ดว้ย, เหมือน หญิง รูป งาม แล้ว เล่น ตัว ดว้ย นั้น.
      งาม ใจ (131:13.3)
               คือ การ อัน ใด ที่ ได้ สม ความ ปราถนา, ว่า การ นั้น งาม ใจ เมาะ ใจ.
      งาม จริง (131:13.4)
               คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ งาม แท้ ๆ, งาม จริง ๆ นั้น, เหมือน อย่าง เบญจะกัลยาณี นั้น.
      งาม ดี (131:13.5)
               คือ ความ ที่ งาม ไม่ มี ชั่ว, งาม พร้อม นั้น, เหมือน อย่าง กัลยาณะชน เปน ต้น.
      งาม ทรง (131:13.6)
               คือ อาการ ที่ ทรง สันฐาน รูป งาม, ไม่ สูง นัก, ไม่ ต่ำ นัก, ไม่ ดำ นัก, ไม่ ขาว นัก นั้น.
      งาม หน้า (131:13.7)
               คือ ความ ที่ ของ ฤๅ ลูก เมีย ที่ ดี ชู หน้า คน นั้น.
      งาม ผาด (131:13.8)
               คือ อาการ ที่ รูป คน งาม, เมื่อ ดู ผ่าน หน้า ไป บัด เดี๋ยว ดู งาม, ครั้น ดู เพ่ง พินิด เข้า นาน ไม่ สู้ งาม.
      งาม พิศ (131:13.9)
               คือ รูป คน งาม เพราะ เพ่ง พิศ เข้า นั้น, เหมือน อย่าง ของ ที่ ยิ่ง ดู, ก็ ยิ่ง งาม เปน ต้น นั้น.
      งาม พริ้ง (131:13.10)
               คือ รูป คน งาม เฉิด ฉาย.
      งาม เมาะ (131:13.11)
               คือ อาการ คน งาม ดี, เหมือน หญิง งาม ภอ สม รูป นั้น, เหมือน อย่าง งาม ภอ ดี ภอ ควร นั้น.
      งาม ล้ำ (131:13.12)
               คือ อาการ ที่ งาม ยิ่ง, งาม ลว่ง สิ่ง ทั้ง ปวง, งาม เกิน ของ ทั้ง ปวง, งาม พ้น ของ ทั้ง ปวง นั้น.
      งาม เหลือ (131:13.13)
               คือ อาการ ที่ งาม ยิ่ง กว่า สิ่ง ทั้ง ปวง หมด, งาม ล้น เหลือ กว่า ของ ทั้ง ปวง หมด นั้น.
      งาม เลิศ (131:13.14)
               คือ อาการ ที่ งาม หา สิ่ง เสมอ เหมือน มิได้ นั้น, เหมือน อย่าง งาม ประเสริฐ เปน ต้น.
      งาม สวย (131:13.15)
               คือ งาม สอาด ตา ดู หมด จด นั้น, เหมือน อย่าง งาม เสงี่ยม เปน ต้น.
ง่าม (131:1)
         คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เปน สอง ขา, เหมือน อย่าง ง่าม ถ่อ, ฤๅ ง่าม ไม้ เปน ต้น นั้น.
      ง่าม ก้น (131:1.1)
               คือ อาการ แห่ง กะโพก, ที่ ต่อ กับ ต้นขา ทั้ง สองข้าง, อัน เปน สอง ง่าม อยู่ นั้น.
      ง่าม ตีน (131:1.2)
               คือ ระวาง นิ้ว ตีน นั้น, เหมือน ง่าม มือ เปน ต้น.
      ง่าม ถ่อ (131:1.3)
               คือ อาการ แห่ง เหล็ก เขา ทำ เปน สอง ง่าม, ใส่ ไว้ ใน ลำ ถ่อ, สำรับ ถ่อ เรือ นั้น, เหมือน ถ่อ ง่าม เปน ต้น.
      ง่าม มือ (131:1.4)
               คือ อาการ ระวาง นิ้วมือ นั้น, เหมือน ง่ามตีน เปน ต้น.
      ง่าม ไม้ (131:1.5)
               คือ อาการ แห่ง ไม้ ที่ แตก กิ่ง เปน สอง ง่าม นั้น, เหมือน อย่าง ค่า คบ ไม้ เปน นั้น.
หงิม (131:2)
         เสงี่ยม, คือ กิริยา คน นิ่ง เฉย ๆ, ไม่ ใค่ร พูด ใค่ร จา นั้น, เหมือน อย่าง หญิง พรหมจารีย์ เปน ต้น.
      หงิม เหงา (131:2.1)
               คือ อาการ คน ไม่ ใค่ร พูด จา นิ่ง งว่ง อยู่ นั้น.
งึม (131:3)
         (dummy head added to facilitate searching).
      งึม ๆ (131:3.1)
               คือ เปน เสียง อย่าง หนึ่ง, มัน ยอ่ม ดัง อย่าง นั้น, เหมือน อย่าง เสียง คน พูด เบา ๆ บ่น เบา ๆ นั้น.
      งึม งำ (131:3.2)
               เปน เสียง ที่ คน พูด เบา ๆ, ฤๅ บ่น เบา ๆ นั้น, มัน ยอ่ม ดัง อย่าง นั้น.
งุม งำ (131:4)
         เปน เสียง คน พูด กัน เบา ๆ, มัน ดัง อย่าง นั้น, เหมือน อย่าง คน บ่น พึมพำ เปน ต้น.
      งุ่ม ง่าม (131:4.1)
               คือ อาการ ที่ คน ตา มืด เที่ยว คลำ หา ของ, เหมือน ปู ต่าย, เหมือน อย่าง คน ซุ่ม* ซ่าม นั้น.
งุ้ม (131:5)
         คุ่ม, คือ อาการ แห่ง สิ่ง ที่ งอ ลง ข้าง ล่าง, เหมือน คน หงิก หัว แม่ ตีน ลง นั้น.
      งุ้ม ฅอ (131:5.1)
               คือ อาการ ที่ ก้ม ฅอ ลง เบื้อง ต่ำ นั้น, เหมือน อย่าง คน ฅอ ง้ำ เปน ต้น.
      งุ้ม ลง (131:5.2)
               คือ คุ่ม ลง นั้น, เหมือน อย่าง คน หลัง คุ่ม เปน ต้น.
งู่ม ง่าม (131:6)
         คือ อาการ แห่ง คน ซุ่มซ่าม, ไม่ รู้ จัก อะไร นั้น, เหมือน อย่าง คน กิริยา ชั่ว เปน ต้น.
แง้ม (131:7)
         คือ ริม ข้าง ๆ, ฤๅ ริม ๆ นั้น, เหมือน อย่าง ที่ แง้ม ปะตู เปน ต้น.
      แง้ม ก้น (131:7.1)
               คือ ที่ ริม นั้น ว่า แง้ม, เหมือน ของ อยู่ ริม ก้น ข้าง โน้น กับ ริม ก้น ข้าง นี้ ว่า อยู่ แง้ม ก้น.
      แง้ม ข้าง บน (131:7.2)
               คือ ริม ข้าง ๆ บน นั้น, เหมือน อย่าง แง้ม คลอง ข้าง บน, แง้ม คลอง ข้าง ล่าง นั้น.
      แง้ม ปะตู (131:7.3)
               คือ ริม ข้าง ปะตู เปน ต้น.
      แง้ม ข้าง ล่าง (131:7.4)
               คือ ที่ ริม ข้าง ๆ ล่าง, ฤๅ แถบ ข้าง ล่าง นั้น, เหมือน อย่าง แง้ม ฝัง ข้าง ล่าง เปน ต้น.
      แง้ม คลอง (131:7.5)
               คือ ตาม ข้าง ๆ คลอง, ฤๅ ตาม ริม ๆ คลอง นั้น,
      แง้ม ทาง (131:7.6)
               คือ ข้าง ๆ ทาง, ฤๅ ริม ๆ ทาง นั้น.
งอม (131:8)
         คือ อาการ แห่ง ผลไม้ สุก หลาย วัน, เกือบ จะ เน่า นั้น, เหมือน อย่าง กล้วย* งอม เปน ต้น.
      งอม แงม (131:8.1)
               คือ อาการ คน ชะรา เถ้า นัก, ไป ไกล ไม่ ได้ นั้น.

--- Page 132 ---
      งอม หล่น (132:8.2)
               คือ ผลไม้ ที่ สุก นัก เกือบ จะ เกิน นั้น, แล ตก ลง จาก ต้น.
      งอม สุก (132:8.3)
               คือ อาการ ผลไม้ ทั้ง ปวง ที่ สุก จน งอม นั้น, เหมือน อย่าง ผล มะมว่ง สุก งอม เปน ต้น.
งอ้ม (132:1)
         ก้ม, คอ้ม, คือ อาการ สิ่ง ที่ ขดโค้ง อยู่, เหมือน อย่าง คน แก่ หลัง ขดง อ้ม ลง นั้น.
      งอ้ม ลง (132:1.1)
               ก้ม ลง, คือ อาการ สิ่ง ที่ งุ้ม ลง, เหมือน คน หลัง ขด งอ้ม ลง นั้น.
หง่อม (132:2)
         คือ อาการ แห่ง คน แก่ เต็ม ที่, เกือบ ใก้ล ตาย นั้น, เหมือน อย่าง คน อายุ ๙ ๐ ปี เศศ นั้น.
      หง่อม แหง่ม (132:2.1)
               คือ ความ ที่ คน แก่ อยู่ ดว้ย กัน สอง สาม คน นั้น, เหมือน อย่าง ยาย กับ ตา เปน ต้น.
งวม (132:3)
         ครอบ งำ, คือ การ ที่ ปิด ครอบ ลง ไว้ นั้น, เหมือน คน เอา ชาม ใหญ่ ครอบ ถว้ย เล็ก ลง เปน ต้น.
      งวม กัน (132:3.1)
               คือ การ ที่ เอา สิ่ง ของ ครอบ กัน ลง ไว้ นั้น, เหมือน อย่าง คน เอา ของ เล็ก ครอบ ของ ใหญ่ ไว้ เปน ต้น.
      งวม ลง (132:3.2)
               คือ การ ที่ เอา ของ ใหญ่ ครอบ ของ เล็ก ลง ไว้ นั้น.
      งวม ไว้ (132:3.3)
               คือ การ ที่ ครอบ ไว้, ปิด ไว้, เหมือน คน เอา ชาม ใหญ่, ครอบ ของ เล็ก ๆ ลง ไว้ เปน ต้น.
      งวม หัว (132:3.4)
               ครอบ หัว, คือ เอา นิ้ว มือ ทั้ง ห้า นิ้ว กาง ออก จับ กรวม หัว ลง นั้น.
เงื้อม (132:4)
         ง้ำ คือ อาการ สิ่ง ของ ที่ สูง งอก ง้ำ ออก มา, เหมือน อย่าง น่า ตลิ่ง สูง, ฤๅ ภูเขา ชัน เปน ต้น.
      เงื้อม เขา (132:4.1)
               คือ อาการ ภูเขา ที่ เปน หน้า ผา ฉะโงก เงื้อม ออก มา นั้น.
      เงื้อม ง้ำ (132:4.2)
               คือ อาการ ที่ เพิง ผา งอก ชะโงก ออก มา มาก นั้น.
      เงื้อม ดอย (132:4.3)
               คือ เพิงผา นั้น เอง, เหมือน อย่าง เงื้อม เขา เปน ต้น.
      เงื้อม ผา (132:4.4)
               คือ อาการ หน้า ภูเขา, ที่ เปน ตะเพิง งอก เงื้อม ออก มา นั้น.
      เงื้อม หิน (132:4.5)
               คือ เพิง ผา เช่น ว่า แล้ว นั้น.
      เงื้อม มือ (132:4.6)
               คือ อาการ แห่ง ฝ่า มือ ที่ ทำ เปน เงื้อม อยู่, เหมือน อย่าง เงื้อม ภูเขา นั้น.
      เงื้อม หรรตถ (132:4.7)
               คือ อาการ แห่ง เงื้อม มือ นั้น.
เงย (132:5)
         แหงน, คือ อาการ ที่ ยก หน้า ขึ้น ใน เบื้อง บน นั้น, เหมือน คน นั่ง ก้ม หน้า อยู่, แล้ว เงย หน้า ขึ้น เปน ต้น.
      เงย ขึ้น (132:5.1)
               คือ อาการ ที่ ยก หน้า แหงน ขึ้น นั้น, เหมือน อย่าง แหงน ดู ดาว ใน ท้อง ฟ้า เปน ต้น.
      เงย คาง (132:5.2)
               คือ อาการ ที่ ยก คาง ฤๅ แหงน คาง ขึ้น เบื้อง บน นั้น เหมือน อย่าง แหงน หน้า ขึ้น เปน ต้น.
เงย (132:6)
         แหงน, คือ อาการ ที่ ยก หน้า ขึ้น ใน เบื้อง* บน นั้น, เหมือน คน นั่ง ก้ม หน้า อยู่ แล้ว เงย หน้า ขึ้น เปน ต้น.
      เงย ขึ้น (132:6.1)
               คือ อาการ ที่ ยก หน้า แหงน ขึ้น นั้น, เหมือน อย่าง แหงน ดู ดาว ใน ทอ้ง ฟ้า เปน ต้น.
      เงย คาง (132:6.2)
               คือ อาการ ที่ ยก คาง ขึ้น เบื้อง บน, ฤๅ แหงน คาง ขึ้น นั้น, เหมือน อย่าง แหงน หน้า ขึ้น เปน ต้น.
      เงย แหงน (132:6.3)
               คือ* อาการ ที่ ยก หน้า แหงน ขึ้น นั้น, เหมือน อย่าง โหร แหงน ดู ฤกษ บน เปน ต้น.
      เงย หงาย (132:6.4)
               คือ อาการ ที่ ทำ หน้า ให้ มัน แหงน หงาย ดู เบือง บน นั้น, เหมือน อย่าง แหงน ดู พระจันทร เปน ต้น.
      เงย หน้า (132:6.5)
               คือ อาการ ที่ ยก หน้า ขึ้น, ฤๅ แหงน หน้า ขึ้น นั้น, เหมือน อย่าง หงาย หน้า ขึ้น เปน ต้น.
      เงย ภักตร (132:6.6)
               คือ อาการ ที่ เงย หน้า ขึ้น นั้น, เหมือน อย่าง แหงน หน้า ดู ทอ้ง ฟ้า เปน ต้น นั้น.
      เงย เสิยร (132:6.7)
               คือ อาการ ยก ศีศะ ขึ้น, ฤๅ ยก หัว ขึ้น นั้น.
งาย (132:7)
         คือ เพลา เช้า ประมาณ สาม ชั่วโมง, สี่ ชั่ว โมง นั้น.
      งาย แก่ (132:7.1)
               คือ เพลา สาย ๆ ประมาณ สี่ โมง เศศ นั้น, เหมือน อย่าง คำ ว่า เที่ยง สาย งาย แก่ เปน ต้น.
      งาย เช้า (132:7.2)
               คือ เพลา กิน เข้า เช้า แล้ว นั้น.
      งาย แล้ว (132:7.3)
               คือ เพลา สาย แล้ว, เหมือน อย่าง เพลา บาย นั้น.
ง่าย (132:8)
         สดวก ดาย, คือ ความ ที่ ไม่ ยาก, ไม่ ลำบาก, ทำ สดวก นั้น, เหมือน อย่าง ไม่ ยาก ใจ เปน ต้น นั้น.
      ง่าย กว่า (132:8.1)
               คือ การ ที่ ทำ ของ สิ่ง นี้, สดวก กว่า สิ่ง นั้น, เหมือน คน ทำ อย่าง นี้, สดวก กว่า อย่าง นั้น.
      ง่าย ใจ (132:8.2)
               คือ การ ที่ ทำ ได้ โดย สดวก, ฤๅ เอา ได้ โดย สดวก เปน ต้น นั้น.
      ง่าย ดอก (132:8.3)
               คือ ความ ที่ สดวก ดอก, เหมือน อย่าง ความ ที่ ไม่ ลำบาก เปน ต้น นั้น.

--- Page 133 ---
      ง่าย แท้ (133:8.4)
               คือ ความ ง่าย จริง, ไม่ ยาก จริง, ไม่ ลำบาก เลย.
      ง่าย นัก (133:8.5)
               คือ ความ สดวก นัก, เหมือน คน ทำ การ สิ่ง ใด ไม่ ยาก ไม่ ลำบาก เลย.
หงาย (133:1)
         คือ สิ่ง ทั้ง ปวง ที่ คว่า อยู่ แล้ว, พลิก กลับ ขึ้น เบื้อง บน, เหมือน จาน คว่ำ อยู่, กลับ พลิก ขึ้น นั้น.
      หงาย ขึ้น (133:1.1)
               คือ การ ที่ พลิก กลับ ขึ้น นั้น เอง, เหมือน เรือ เดิม คว่ำ อยู่, แล้ว พลิก กลับ หงาย ขึ้น นั้น.
      หงาย เงย (133:1.2)
               คือ อาการ ที่ ทำ หน้า ให้ มัน แล ดู เบื้อง บน นั้น.
      หงาย แหงน (133:1.3)
               คือ อาการ ที่ กลับ หน้า ขึ้น เบื้อง บน, แล้ว ดู ท้อง ฟ้า เปน ต้น.
      หงาย ท้อง (133:1.4)
               คือ อาการ ที่ ทำ ให้ ท้อง ขึ้น อยู่ เบื้อง บน นั้น.
      หงาย หน้า (133:1.5)
               คือ อาการ ที่ คน กลับ หน้า ไว้ เบื้อง บน นั้น, เหมือน คน ไม่ คว่ำ หน้า เปน ต้น.
      หงาย นอน (133:1.6)
               คือ อาการ ที่ นอน หงาย, เหมือน คน ไม่ นอน คว่ำ นั้น,
ง่าว (133:2)
         หัว, เปน ชื่อ โคน ต้น ไม้ ที่ ตั้ง อยู่ ไน ดิน นั้น, เหมือน ง่าว กล้วย เปน ต้น.
หง่าว (133:3)
         เปน เสียง แมว มัน ร้อง, ฤๅ เสียง ว่าว อย่าง หนึ่ง, มัน ดัง อย่าง นั้น.
      ง้าว (133:3.1)
               เปน ชื่อ อาวุธ อย่าง หนึ่ง, เหมือน ดาบ มี ด้าม ยาว ประ- มาณ สัก สาม สอก.
      ง้าว ต้น (133:3.2)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, มี หนาม เหมือน ต้น งิ้ว, ลูก มัน ทำ หนุ่น ได้, ขึ้น อยู่ ตาม ป่า.
งิ้ว (133:4)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ดอก ศี แดง ลูก มัน ใช้ ทำ หนุ่น, มี หนาม เหมือน ต้น ง้าว, มี อยู่ ฝ่าย เหนือ นั้น.
      งิ้ว เจ็ก (133:4.1)
               เปน ชื่อ ลคอน เจ็ก นั้น, มัน แต่ง ตัว ใส่ เสื้อ งาม, แล้ว เล่น เรื่อง ต่าง ๆ.
      งิ้ว ต้น (133:4.2)
               คือ ต้น งิ้ว นั้น, เหมือน อย่าง ไม้ งิ้ว, ที่ ขึ้น อยู่ตาม แนว น้ำ ฝ่าย เหนือ นั้น.
งุย (133:5)
         งว่ง, คือ กิริยา ที่ งว่งช้าไป, เหมือน คน หาว นอน มาก เปน ต้น.
      งุย งง (133:5.1)
               คือ อาการ ก้ม หน้า หงุด ไป แล้ว ฉงน ใจ ดว้ย, เหมือน อาการ ที่ งว่ง นอน นั้น.
      งุย งว่ง (133:5.2)
               คือ ทำ อาการ ช้า ๆ, เพราะ งว่ง นอน นั้น, เหมือน อย่าง คน มัว นอน เปน ต้น.
      งุย งม (133:5.3)
               คือ อาการ ที่ ก้ม หน้า หงุด ไป, แล เซอะ เซิง ดว้ย.
แหง่ว (133:6)
         คือ เสียง มัน ดัง อย่าง นั้น, เหมือน อย่าง เสียง แมวรอ้ง.
งอ่ย (133:7)
         เปลี้ย, เพลีย, คือ อาการ คน เสีย ขา, เสีย แขน, ไม่ มี กำ ลัง เดิร ไม่ ได้, เหมือน คน แขน ลีบ ขา ลีบ นั้น.
      งอ่ย เปลี้ย (133:7.1)
               คือ อาการ แห่ง คน เสีย แข้ง, เสีย ขา เปลี้ย เปน งอ่ย ไป, เดิร ไม่ ใค่ร ได้ นั้น.
      งอ่ย เพลีย (133:7.2)
               คือ อาการ แห่ง คน, ฤๅ สัตว, เปน งอ่ย เพลียไป, เดิร ไม่ ไหว นั้น.
หงอย (133:8)
         หเงา, คือ อาการ ที่ เศร้า โศก เหงา ไป, เหมือน ไก่ เถื่อน เขา จับ เอา มา ขัง ไว้ เปน ต้น.
      หงอย ก๋อย (133:8.1)
               หงอย ว่า แล้ว, แต่ ก๋อย นั้น เปน คำ สร้อย, อาการ เหมือน อย่าง ไก่ เจ็บ เปน ต้น นั้น.
      หงอย (133:8.2)
               เงื่อง, คือ อาการ ที่ ไม่ เร็ว, เงื่อง ช้า, เหมือน อย่าง คน ทำ การ งาน สิ่ง ใด, ทำ ช้า ไม่ ว่อง ไว เลย.
      หงอย ง่วง (133:8.3)
               คือ อาการ ที่ ช้า ไม่ ว่อง ไว, เหมือน อย่าง คน หาว นอน ง่วง อยู่ นั้น.
งวย งง (133:9)
         คือ อาการ ที่ เคลือบ เคลิ้ม หลง ลืม สะติ นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ สิ้น สติ เปน ต้น.
เงี่ย (133:10)
         คือ อาการ ที่ เอียง ลง, ฤๅ ตะแคง ลง นั้น, เหมือน อย่าง คน เอียง หู ลง คอย ฟัง เปน ต้น.
      เงี่ย ฟัง (133:10.1)
               คือ อาการ ที่ เอียง หู ลง คอย ฟัง เสียง ทั้ง ปวง, เหมือน อย่าง คน ฟัง เทศนา เปน ต้น.
      เงี่ย ลง (133:10.2)
               คือ อาการ ที่ เอียง ลง, เอน ลง, เหมือน อย่าง คน เอียง หู ลง คอย ฟัง ความ เปน ต้น.
      เงี่ย โสตร (133:10.3)
               คือ อาการ ที่ เงี่ย หู ลง คอย ฟัง เหตุ ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน เงี่ย โสตร์ คอย สดับ ฟัง เปน ต้น.
      เงี่ย หู (133:10.4)
               คือ อาการ ที่ ตะแคง หู ลง คอย ฟัง ความ นั้น, เหมือน อย่าง ช้าง กรับ หู เปน ต้น.
เงื้อ (133:11)
         ง่า, คือ อาการ ที่ ยก ขึ้น ง่า ไว้, เหมือน คน ยก ดาบ ขึ้น จะ คอย ฟัน เปน ต้น นั้น.
      เงื้อ ง่า (133:11.1)
               คือ อาการ ที่ ยก อาวุทธ์ ทั้ง ปวง ขึ้น ง่า ไว้ นั้น, เหมือน อย่าง คน คอย แทง ปลา เปน ต้น.
      เงื้อ ฟัน (133:11.2)
               คือ อาการ ที่ ง่า ขึ้น จะ ฟัน นั้น, เหมือน อย่าง พวก นาย เพ็ชฆาฏ ฆ่า คน เปน ต้น.

--- Page 134 ---
เงอะงะ (134:1)
         เคอะคะ, คือ อาการ ที่ โง่ เคอะคะ ไม่ รู้จัก* อะไร, เหมือน อย่างคน บ้า เปน ต้น.
งัว (134:2)
         โค, เปน ชื่อ สัตว อย่าง หนึ่ง, สี่ เท้า มี เขา สอง อัน งุ้ม ไป ข้าง หน้า, ตัว ย่อม กับ ควาย สัก น่อย สำรับ ใช้ ไถ นา.
      งัว กะทิง (134:2.1)
               เปน ชื่อ งัว ป่า ตัว มัน โต กว่า ควาย นั้น.
      งัว เงีย (134:2.2)
               คือ อาการ ที่ คน แรก ตื่น นอน ขึ้น ยัง ง่วง อยู่ นั้น.
      งัว เถลิง (134:2.3)
               เปน ชื่อ งัว หนุ่ม ที่ มี กำลัง มาก. อนึ่ง เปน ชื่อ ต้น ไม้, สำรับ ใช้ แก่น ย้อม ผ้า.
      งัว ถึก (134:2.4)
               เปน ชื่อ งัว หนุ่ม อ้วน ใหญ่ มี กำลัง มาก นั้น.
      งัว เพลาะ (134:2.5)
               เปน ชื่อ งัว ใหญ่ ที่ สำรับ อยู่ ใน ป่า นั้น.
      งัว เลีย (134:2.6)
               คือ อาการ แห่ง รอย ที่ ผม คน, มัน เวียน เหมือน ผม ขวัน นั้น.
      งัว อุสุภราช (134:2.7)
               คือ งัว ตัว ผู้ เปน นาย ฝูง, เหมือน งัว ที่ มี ลักษณ น่า แด่น สี่ เท้า ด่าง หาง ดอก นั้น.
งั่ว (134:3)
         เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, ตัว คล้าย นก กาน้ำ, ฅอ ยาว กิน ปลา ดิบ เปน อาหาร.
เงะ หัว ขึ้น (134:4)
         คือ งัด เผยอ หัว ขึ้น น้อย ๆ.
แงะ (134:5)
         คือ การ ที่ คัด ขึ้น หน่อย หนึ่ง, ฤๅ แวะ ออก หน่อย หนึ่ง, เหมือน คน คัด หัว เรือ ให้ แวะ ออก นั้น.
      แงะ งาม (134:5.1)
               แงะ เปน คำ สร้อย, งาม นั้น ว่า แล้ว.
เงาะ (134:6)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ผล เหมือน ดอก คำ, รศ เปรี้ยว เจือ หวาน. อนึ่ง เปน ชื่อ คน ดำ ผม หยิก ด้วย.
      เงาะ แงะ (134:6.1)
               คือ อาการ ที่ คน ทะเลาะ เถียง กัน ตะเกาะ ตะแกะ, เหมือน อย่าง คน ใจ น้อย โกรธ ง่าย ๆ นั้น.
งอ (134:7)
         ขด, คือ อาการ แห่ง สิ่ง งที่ ไม่ ตรง, มัน ย่อม เปน ขด อยู่, เหมือน อย่าง หมา หาง งอ เปน ต้น นั้น.
      งอ ก่อ (134:7.1)
               คือ อาการ ที่ คน นาว, เอยียด ตีน ไม่ ใคร่ ได้ นั้น.
      งอ เข่า (134:7.2)
               คือ อาการ ที่ คู้ เข่า เข้า มา, เหมือน คน งอ หัว เข่า เข้า มา เปน ต้น นั้น.
      งอ ขิง (134:7.3)
               คือ อาการ ที่ งอ เหมือน หัว ขิง นั้น, เหมือน อย่าง แง่ง ขิง เปน ต้น.
      งอ แง (134:7.4)
               วอแว, คือ อาการ คน ที่ มัก พูด ปด, ไม่ สู้ จริง นั้น, มัก พูด เปน สำนวน.
      งอ แฉ่ง (134:7.5)
               คือ อาการ ที่ หัวเราะ งอ เฉย อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ หัวเราะ หนัก เปน ต้น.
      งอ หาง (134:7.6)
               คือ อาการ ที่ ทำ หาง ให้ งอ เข้า, เหมือน อย่าง แมลง ป่อง เปน ต้น นั้น.
ง้อ (134:8)
         คือ อาการ ที่ ไม่ มานะ, ไม่ ถือ ตัว ไม่ โกรธ ตอบ, เหมือน เขา โกรธ ไม่ พูด ด้วย, ก็ ไป อ้อนวอน พูด กับ เขา นั้น.
      ง้อ เขา (134:8.1)
               วิงวอน เขา, คือ อาการ ที่ ไป ฃอ ง้อ พูด กับ คน ที่ โกรธ กัน กับ ตัว นั้น.
      ง้อ งอน (134:8.2)
               อ้อนวอน, คือ อาการ ที่ ไม่ ถือ ความ โกรธ, เหมือน คน อื่น เขา โกรธ ตัว แล้ว, ต้อง ไป ฃอ ง้อ พูด ด้วย เขา นั้น.
งรรม์ (134:9)
         คือ อาการ ที่ ตก ตลึง แขง อยู่, ฤๅ คน หัวเราะ งอ ๆ อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง คน สิ้น สติ เปน ต้น นั้น.
(134:10)
         
จาฤก (134:11)
         เขียน, กระเสียน, คือ การ ที่ จาร ตัว อักษร ลง ที่ ใบ ลาน เปน ต้น นั้น, เหมือน อย่าง คน เขียน หนังสือ ลง ใน แผ่น สิลา เปน ต้น.
จ่า (134:12)
         ตวัก, เปน เครื่อง ใช้ อย่าง หนึ่ง, ทำ ต้วย กะลา มะพร้าว, เปน ใบ ด้ำ ทำ ด้วย ไม้, คล้าย ๆ ทับพี สำรับ ตัก เข้า ตัก แกง.
      จ่า โขลน (134:12.1)
               เปน ชื่อ ของ หญิง พวก หนึ่ง, สำรับ ได้ รับ ใช้ สอย ราช การ ฝ่าย ใน ตาม ตำแหน่ง.
      จ่า บ้าน (134:12.2)
               เปน ชื่อ คน ที่ เปน ใหญ่ อยู่ ใน บ้าน, เหมือน อย่าง กำนัน เปน ต้น นั้น.
      จ่า ฝูง (134:12.3)
               เปน ชื่อ คน ฤๅ สัตว, ที่ เปน ใหญ่ อยู่ ใน ฝูง, ใน พวก, ใน หมู่ นั้น, เหมือน อย่าง นาย ฝูง เปน ต้น.
      จ่า เมือง (134:12.4)
               เปน ชื่อ คน ที่ เปน ใหญ่ ใน หัว เมือง, เหมือน อย่าง ตระลาการ ที่ ได้ ชำระ ความ ผู้ ร้าย เปน ต้น.
      จ่ามร (134:12.5)
               เปน ชื่อ เครื่อง สูง สำรับ แห่, รูป เหมือน อย่าง ตาละ- ปัด แฉก, พระ ราชาคะณะ ทั้ง ปวง นั้น.
      จ่า ยวต (134:12.6)
               เปน ชื่อ ตั้ง นาย มหาดเล็ก ใน หลวง คน หนึ่ง มี บ้าง.
      จ่า เรศ (134:12.7)
               เปน ชื่อ ขุน นาง คน หนึ่ง, เปน นาย พวก มหาดเล็ก หลวง.
      จ่า ยง (134:12.8)
               เปน ชื่อ ตั้ง นาย มหาดเล็ก ใน หลวง คน หนึ่ง.
      จ่า รงค์ (134:12.9)
               เปน ชื่อ ขุนนาง คน หนึ่ง, เปน นาย พวก มหาดเล็ก หลวง.

--- Page 135 ---
      จ่า สรวิชิต (135:12.10)
               เปน ชื่อ ขุนนาง คน หนึ่ง, เปน นาย พวก มหาดเล็ก หลวง เหมือน กัน.
      จ่า ศาล (135:12.11)
               เปน ชื่อ แห่ง ขุนนาง คน หนึ่ง, เปน ตระลาการ สำรับ รับ ฟอ้ง ของ ราษฎร, อยู่ ณะสาล หลวง.
      จ่า รวัก (135:12.12)
               เปน ชื่อ ของ สำรับ ตัก เข้า, ตัก แกง, ทำ ดว้ย กะลา มะพร้าว, มี ด้ำ มี ใบ, คล้าย ๆ ทับภี.
      จ่า สูตร (135:12.13)
               คือ ข้อ จดหมาย สูตร ทั้ง หลาย, มี พรหม ชาละสูตร เปน ต้น.
จ้า (135:1)
         เปน กระแส เสียง แจ้ว, เหมือน อย่าง เสียง จักระจัน เปน ต้น นั้น. อนึ่ง เปน ศี แดง เค่ม ดว้ย.
      จ๋า (135:1.1)
               ขา, เปน คำ ขาน ตอบ, เหมือน อย่าง ฃอรับ เปน ต้น นั้น.
จาฤก (135:2)
         เปน ชื่อ การ เขียน, ฤๅ จดหมาย นั้น, เหมือน อย่าง จาร อักษร ลง ไว้ ใน แผ่น สิลา เปน ต้น* นั้น.
      จารีต (135:2.1)
               คือ ประเวณีย์, ฤๅ ประพฤษดิ์ ตาม นั้น, เหมือน อย่าง ธรรมเนียม เปน ต้น นั้น.
จีรัง (135:3)
         ว่า เวลา นาน, เหมือน อย่าง ของ บูราณ นั้น.
      จีรถี ติกาล (135:3.1)
               ว่า ตั้ง อยู่ สิ้นเวลา นาน นั้น, ฤๅ เวลา ตั้ง อยู่นาน นั้น.
      จีวร (135:3.2)
               คือ ผืน ผ้า ที่ เขา เย็บ ติด ต่อ กัน เปน ผืน ใหญ่, สำรับ พวก พระสงฆ ห่ม นั้น.
จี (135:4)
         ปิ้ง, ย่าง, คือ การ ที่ ปิ้ง เหนือ ถาน ไฟ, เหมือน อย่าง ปิ้ง ปลา, ฤๅ ปิ้ง ขนม เปน ต้น นั้น.
      จี่ (135:4.1)
               ปลา, คือ การ ปิ้ง ปลา ให้ สุก เหนือ ถาน ไฟ นั้น, เหมือน อย่าง คน ย่าง ปลา เปน ต้น นั้น.
      จี่ แป้ง (135:4.2)
               คือ การ ที่ เอา แป้ง ทำ เปน แผ่น แบน ๆ, แล้ว ปิ้ง ให้ สุก นั้น, เหมือน อย่าง แป้ง จี่ เปน ต้น.
จี้ (135:5)
         เปน ชื่อ เครื่อง ประดับ ฅอ สำรับ แต่ง ตัว เด็ก ๆ อย่าง หนึ่ง, ทำ ดว้ย ทอง คำ. อนึ่ง เอา นิ้ว มือ นิ้ว เดียว ถิ้ม เข้า ที่ ศีข้าง คน อื่น เล่น ดว้ย.
      จี้ กุดั่น (135:5.1)
               เปน ชื่อ จี้ ทำ ดว้ย ทอง คำ, แล้ว สลัก ดุน เปน ลาย กุดั่น นั้น.
      จี๋ (135:5.2)
               คือ อาการ ที่ วิ่ง เร็ว ฉิว ไป นั้น, เขา ว่า คน นั้น วิ่ง จี๋ ไป.
จุ (135:6)
         เปน ชื่อ สิ่ง ทั้ง ปวง ที่ ไว้ ของ ได้ มาก, ฤๅ ใส่ ฃอง ได้ มาก, มี เรือ เปน ต้น.
จุลจักร (135:7)
         คือ พระญา จักรพรรดิ อย่าง นอ้ย.
จุไร (135:8)
         เปน ชื่อ ไรจุก ที่ หัว ผู้ หญิง ไท ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน อย่าง หัว ไรจุก เปน ต้น.
จุละวิจุล (135:9)
         คือ แหลก ละเอียด เปน ผง ออก ไป นั้น, เหมือน อย่าง แป้ง ทั้ง ปวง เปน ต้น.
จุเร็ด (135:10)
         เปน ชื่อ เครื่อง ประดับ ใส่ หัว ตาม ธรรมเนียม พวก แขก อย่าง หนึ่ง.
จุลศักราช (135:11)
         คือ ศักราช สำรับ กระษัตริย์ ใช้ สรอย, โดย ปี เดือน วัน คืน นั้น.
จุณะศี (135:12)
         เปน ชื่อ ของ อย่าง หนึ่ง เปน กอ้น ศี เขียว, เกิด แต่ สนิม ทอง แดง สำรับ ใช้ ทำ ยา.
จุณ แก่น จันทน์ (135:13)
         เปน ชื่อ ผง แห่ง แก่น จันท์, ที่ เขา ทำ ออก ละเอียด นั้น.
จุฬามณี ว่า (135:14)
         เปน ชื่อ ปิ่น แก้ว สำรับ ประดับ มวย ผม. อนึ่ง เปน ชื่อ เจดีย์ ใน ตาวดึงษ์ สวรรค์.
จุ ปาก (135:15)
         คือ ภอ เตม ปาก ไม่ เหลือ ไม่ ล้น ปาก นั้น. อนึ่ง เปน เสียง ทำ ดว้ย ปาก มัน ดัง อย่าง นั้น.
จุหล่า (135:16)
         เปน ชื่อ พระยา แขก เทษ คน หนึ่ง. อย่าง หนึ่ง เปน ชื่อ ว่าว, ว่า ว่าว จุหล่า.
จุละ (135:17)
         เปน ชื่อ ของ เล็ก, ของ นอ้ย, ของ ละเอียด เปน ผง, เหมือน อย่าง จุลขี้เหล็ก นั้น.
จุลาจล (135:18)
         คือ อาการ ที่ เกิด ฆ่าศึก ขึ้น กลาง เมือง เปน ต้น.
จุติ (135:19)
         คือ ความ ตาย นั้น, เหมือน อย่าง เทวดา ตาย จาก สวรรค์ เปน ต้น นั้น.
จุละวักค์ (135:20)
         คือ พวก อย่าง นอ้ย, หมู่ อย่าง นอ้ย.
จุลพน (135:21)
         เปน ชื่อ ป่า นอ้ย, เปน ชื่อ กัน มหาชาติ สำรับ พระเทศ อย่าง หนึ่ง.
จู (135:22)
         เปน ชื่อ คน อย่าง นั้น บ้าง, เปน ชื่อ หมาตัว เล็ก ๆ ขน ยาว ๆ อย่าง หนึ่ง เขา เริยก หมา จู.
จู่ (135:23)
         คือ การ ที่ นิ่ง ไป นิ่ง มา เร็ว ๆ นั้น, เหมือน คน ซุ่ม อยู่ คอย จับ คน, เมื่อ เหน ได้ ที ตรง ก็ ถึง ตัว.
      จู่ โจม (135:23.1)
               เปน ชื่อ วิ่ง โถม เข้า, เหมือน กอง ทับ, ต่อ กอง ทับ, ได้ ที วิ่ง ลู่ โถม เขา รบ กัน นั้น.
      จู่ เข้า (135:23.2)
               คือ การ ที่ รีบ นิ่ง ๆ เข้า ไป ถึง นั้น, เหมือน คน นิ่ง รีบ ตรง เดิร เข้า ไป เปน ต้น.

--- Page 136 ---
      จู่ จับ (136:23.3)
               คือ การ รีบ เข้า จับ กุม เอา, เหมือน อย่าง คน คอย จับ ผู้ ร้าย เปน ต้น.
      จู่ ลู่ (136:23.4)
               คือ การ ที่ คน เดิร รีบ ลู่ ตรง เข้า ไป ถึง นั้น, เหมือน อย่าง ถลัน เข้า ไป ถึง เปน ต้น.
จู้ จี้ (136:1)
         คือ อาการ ที่ คน มัก บ่น, มัก ว่า เหตุ การ ต่าง ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ มัก อยุก อยิก นั้น.
จู้ บี้ จู้ บัด (136:2)
         คือ กิริยา หญิง ที่ หมัก พูด กะทบ กะเทียบ อย่าง นั้น อย่าง นี้ ลุกลี้ ลุกลน นั้น.
เจดีย์ (136:3)
         เปน ชื่อ สิ่ง เปน ที่ บูชา ที่ เขา ทำ เปน จอม สูง ขึ้น ไป, มี ยอด แหลม สำรับ บันจุ พระธาตุ.
      เจติยัง (136:3.1)
               ว่า เจดีย์ เปน ที่ บูชา, ที่ สำรับ บันจุ พระธาตุ, มี ยอด เหมือน มหาปราสาท.
      เจโต (136:3.2)
               คือ ว่า จิตร ใจ ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน อย่าง ใจ ที่ สำรับ ครอง รักษา ร่าง กาย ทั้ง ปวง.
      เจตนา (136:3.3)
               คือ ความ คิด ใน ใจ, เหมือน อย่าง คน คิด ว่า, ของ สิ่ง นี้ เรา จะ ให้ แก่ คน นั้น.
      เจตสิก (136:3.4)
               เปน ชื่อ ความ คิด ที่ สำรับ ประกอบ ใน ใจ นั้น, เหมือน อย่าง ใจ โลภ, ใจ โกรธ เปน ต้น.
      เจ่สัว (136:3.5)
               เปน คำ ภาษา จีน เรียก พวก จีน ที่ เปน ขุนนาง ทำ ราช การ ใน เมือง ไทย.
      เจรจา (136:3.6)
               สนทนา, คือ พูด, ปราไส, กล่าว คำ นั้น, เหมือน อย่าง คน พูด จา ปฤกษา กัน เปน ต้น,.
แจ (136:4)
         คือ การ ที่ คอย ระวัง หนัก, ฤๅ คอย คุม หนัก นั้น, เหมือน คน ติด ตาม ไม่ ให้ คลาด เลย.
      แจ จัน (136:4.1)
               เปน ชื่อ คน มาก เบียดเสียด เยียดยัด กัน หนัก นั้น, เหมือน อย่าง ออก จาก ปะตู เมื่อ วัน ถือ น้ำ.
      แจ หู (136:4.2)
               แซ่ หู, คือ เสียง อื้อ อึง อยู่ ริม หู มาก หนัก นั้น, เหมือน อย่าง เสียง จักรจั่น ใน ดง เปน ต้น.
      แจ๋ (136:4.3)
               เปน ชื่อ ศี ของ ที่ มัน แดง นัก เหมือน ศี ชาด เปน ต้น.
      แจ้ (136:4.4)
               คือ อาการ ต้นไม้ เตี้ย ๆ, ที่ มี กิ่ง ทอด แผ่ ไป, เหมือน ไม้ กลาง ทุ่ง นั้น. อนึ่ง เปน ชื่อ ไก่ ขนแดง งาม หงอน ใหญ่ ดว้ย.
ไจ่ ๆ (136:5)
         คือ เสียง แห่ง คำ ที่ คนพูด อยู่ แจ้ว ๆ, ว่า เสียง ไจ่ ๆ อยู่.
ใจ (136:6)
         คือ จิตร, ที่ สำรับ คิด ตรึก ตรอง เหตุ ผล ต่าง นั้น, คือ วิญาณ นั้น.
      ใจ เกียจ (136:6.1)
               คือ อาการ ใจ คร้าน, ไม่ อยาก ทำ การ งาน ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน อย่าง คน ขี้เกียจ เปน ต้น.
      ใจ เก้อ (136:6.2)
               เปน ชื่อ ใจ อดสู, ให้ คิด กะดาก, บัดศีใจ, เหมือน คน ทำ ความ ชั่ว หน้า อาย ไว้ มี ผู้ รู้ เข้า นั้น.
      ใจ กระด้าง (136:6.3)
               เปน ชื่อ ใจ ไม่ ออ่น, ใจ แขง เหมือน อย่าง หิน นั้น.
      ใจโกรธ (136:6.4)
               เปน ชื่อ ใจ ที่ โทโส บังเกิด แล้ว มักทำ ความชั่ว ต่าง ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คน ไม่ มี เมตา.
      ใจ กว้างขวาง (136:6.5)
               เปน ชื่อ ใจ ไม่ คับแคบ, เหมือน คนใจ โอบ ออ้ม อารี นั้น.
      ใจ แขง (136:6.6)
               เปน ชื่อ ใจ ไม่ ออ่น, ใจ กระด้าง นั้น, เหมือน อย่าง คน ใจ เพ็ชร์ เปน ต้น.
      ใจ ขัด เคือง (136:6.7)
               คือ ใจ โกรธ, เหมือน อย่าง คน ที่ ขัด เคือง โกรธ อยู่ ใน ใจ นั้น.
      ใจ แค้น (136:6.8)
               คือ ความ แค้น อยู่ ใน ใจ นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ เขา ด่า ว่า เสียด แทง เปน ต้น.
      ใจ ความ (136:6.9)
               คือ ความ ที่ เปน ข้อ สำคัญ นั้น, เหมือน อย่าง ข้อ ความ เปน ต้น นั้น.
      ใจ โง่ (136:6.10)
               คือ ใจ ไม่ รู้, เหมือน คน ไม่ เข้า ใจ, ไม่ รู้ จัก สิ่ง ใด เลย.
      ใจ โฉด เฉา (136:6.11)
               เยา ปัญญา, คือ ความ โง่, ความ ไม่ รู้ บังเกิด อยู่ ใน ใจ นั้น, เหมือน อย่าง คน เขลา, ไม่ มี ปัญา นั้น.
      ใจ ฉุน เฉียว (136:6.12)
               คือ คน ใจ นอ้ย, ใจ หงุด หงิด, โกรธ ง่าย, โกรธ เร็ว, เหมือน อย่าง ใจ เตียวหุย นั้น.
      ใจ เฉื่อย (136:6.13)
               คือ ใจ เรื่อย ๆ จะไป ฤๅ มา คอ่ย ๆ ช้า ๆ ไม่ รวด ไม่ เรว เปน ต้น นั้น.
      ใจ ช้า (136:6.14)
               คือ ใจ ไม่ เร็ว, ใจ เฉื่อย, เหมือน คน จะ ทำ การ งาน สิ่ง ใด คอ่ย ทำ ช้า ๆ.
      ใจ ชัง (136:6.15)
               คือ ใจ ไม่ รักษ นั้น, เหมือน คน เหน สิ่ง ของ ที่ ไม่ หน้า รักษ ฤๅ เหน ฆ่าศึก เปน ต้น.
      ใจ ชั่ว (136:6.16)
               คือ ใจ ไม่ ดี, เหมือน อย่าง คน ใจ เหี้ยม เกรียม, ไม่ โอบ ออ้ม อารีย์ พี่ นอ้ง เพื่อน ฝูง เปน ต้น.
      ใจ ซบ เซา (136:6.17)
               คือ ใจ ไม่ สะบาย, มัก ให้ งว่ง เหงา หาวนอน นั้น.
      ใจ ใหญ่ (136:6.18)
               คือ ใจ โต, ใจ ไม่ เล็ก นอ้ย, เหมือน คน ทำ การ ทั้ง ปวง ก็ คิด ทำ การ ใหญ่ เปน ต้น,
      ใจ ดี (136:6.19)
               คือ ไจ ไม่ ชั่ว, ใจ เมตา ปรานี, ใจ โอบ ออ้ม อารีย์ นั้น.

--- Page 137 ---
      ใจ ดื้อ (137:6.20)
               คือ ใจ ไม่ ง่าย, ใจ สอน ยาก, ใจ แขง ดึง ไป นั้น.
      ใจ ดุ (137:6.21)
               คือ ใจ ไม่ ดี ร้าย กาษ หยาบ ช้า, เหมือน อย่าง เสือ, ฤๅ ขะโมย เปน ต้น.
      ใจ เดา (137:6.22)
               คือ ใจ คาด ขะเน, ฤๅ ประมาณ นึก เอา ตาม ใจ นั้น.
      ใจ ดำ (137:6.23)
               เปน ชื่อ ใจ ไม่ ผอ่ง ใส, ใจ ไม่ บริสุทธิ, เหมือน คน ใจ ชั่ว, ใจ ไม่ โอบ ออ้ม อารีย์ นั้น.
      ใจ เดือด (137:6.24)
               เปน ชื่อ ใจ โกรธ พลุ่ง พล่าน, เหมือน น้ำ ต้ม ใน ม่อ อัน เดือด พล่าน อยู่ นั้น.
      ใจ เดียว (137:6.25)
               เปน ชื่อ ใจ ไม่ เปน สอง, เหมือน หญิง ตั้ง ใจ เปน หนึ่ง ว่า, จะ มี ผัว แต่ คน เดียว เปน ต้น นั้น.
      ใจ ถอ่ย (137:6.26)
               คือ ใจ ชั่ว, ใจ ไม่ ดี, เหมือน คน โกง, ใจ มัน มัก คิด พูด โกหก ตอแหล เปน ต้น.
      ใจ ทุจริต (137:6.27)
               คือ ใจ ที่ คิด ประพฤษดิ์ การ ชั่ว ต่าง ๆ นั้น, เหมือน อย่าง ใจ ขะโมย เปน ต้น.
      ใจ เที่ยง ธรรม (137:6.28)
               เปน ชื่อ ใจ ตรง, ใจ สัจ ซื่อ, ใจ บุญ นั้น, เหมือน อย่าง สิษ พระเยซู แท้ ๆ นั้น.
      ใจ ทรงธรรม (137:6.29)
               คือ ใจ ตั้ง อยู่ ใน ความ สัจซื่อ, ใจตรง, ใจ บุญ นั้น,.
      ใจ นอ้ย (137:6.30)
               คือ ใจ ไม่ ใหญ่, ไม่ กว้าง ขวาง, เหมือน คน ใจ ฉุน เฉียว, มัก โกรธ ง่าย ๆ นั้น.
      ใจ เบา (137:6.31)
               คือ ใจ ไม่ หนัก แน่น, เหมือน คน ไม่ มี สะติ ตรึก ตรอง, ได้ ยิน ได้ ฟัง เหตุ ผล อย่าง ไร ก็ เชื่อ เอา ตาม นั้น.
      ใจ บุญ (137:6.32)
               เปน ชื่อ ใจ ที่ ไม่ ติด ดว้ย บาป, ใจ ที่ ชำระ ผอ่ง บริสุทธิ แล้ว, เหมือน คน กอป ดว้ย เมตา กรรุณา มุทุตา นั้น.
      ใจ บาป (137:6.33)
               คือ ใจ ที่ ไม่ เปน บุญ, ใจ ติด อยู่ ดว้ย ของ ชั่ว, เหมือน คน ใจ ไม่ มี เมตา กรรุณา เปน ต้น.
      ใจ ปอง (137:6.34)
               คือ ใจ คิด หมาย ไว้,. คิดอยาก ได้, คิด อยาก ทำ, เหมือน คน นึก ว่า, ทำไม หนอ จะ ได้.
      ใจ พาล (137:6.35)
               คือ ใจ โง่ ไม่ มี ปัญา, ไม่ รู้ จัก ผิด, ไม่ รู้ จัก ชอบ, เหมือน เด็ก ออ่น ๆ นั้น.
      ใจ พุ้ง ซาน (137:6.36)
               คือ ใจ ไม่ สงบ, ใจ ไม่ ปรกติ, ใจ เผลอ ลอย ไป, เหมือน คน เปน บ้า นั้น.
      ใจ มัว เมา (137:6.37)
               คือ ใจ ที่ คลุ้ม มืด ไป, เหมือน อย่าง คน เมา เหล้า, ฤๅ เมา ฝิ่น เปน ต้น นั้น.
      ใจ เย็น (137:6.38)
               คือ ใจ ไม่ รีบ รอ้น มัก นอน ใจ เฉื่อย แฉะ
      ใจ รักษ (137:6.39)
               คือ ใจ ไม่ ชัง, ใจ เมตา, เหมือน อย่าง บิดา มารดา, เอนดู ลูก หลาน เปน ต้น นั้น.
      ใจ รอ้น (137:6.40)
               คือ ใจ ไม่ เฉื่อย จะ ทำ การ อัน ใด, ฤๅ จะ ไป ไหน เปน ต้น รีบ เร่ง เร็ว ๆ นั้น.
      ใจ ร้าย (137:6.41)
               คือ ใจ ดุ, ใจ พยาบาท, เหมือน คน โกรธ ขึ้น มา แล้ว มัก ตี ด่า ทำ โทษ ต่าง ๆ นั้น.
      ใจ หลง (137:6.42)
               คือ ใจ มี สะติ นอ้ย, มัก เพลิด เพลิน ไป ดว้ย ความ รักษ เปน ต้น.
      ใจ เลิศ (137:6.43)
               คือ ใจ ดี ที่ สุด, ใจ ไม่ มี บาป ติด, ใจ ไม่ เจือ ดว้ย ของ ชั่ว, เหมือน ใจ ท่าน ผู้ ประเสิฐ นั้น.
      ใจ ลอย (137:6.44)
               คือ ใจ เผลอ ไป, ไม่ ใค่ร จะ กำหนฎ สิ่ง ไร ได้ นั้น, เหมือน อย่าง คน เสีย สติ เปน บ้า นั้น.
      ใจ หวั่น ไหว (137:6.45)
               ใจ ฟุ้ง ซ่าน, คือ ใจ ไม่ ตั้ง มั่น, ใจ ไม่ ยั่ง ยืน, เหมือนใจ คน ที่ ไหว ไป ตาม โลกย์ ธรรม ทั้ง แปด นั้น.
      ใจ เสร้า หมอง (137:6.46)
               คือ ใจ ไม่ ผอ่ง ใส, ใจ ขุ่น มัว, เหมือน ใจ คน อัน ประกอบ ดว้ย ความ โลภ ความ โกรธ ความ หลง นั้น.
      ใจ สูง (137:6.47)
               คือ ใจ ไม่ ต่ำ, ใจ จองหอง ไม่ รู้ จัก ประมาณ, เหมือน คน จน อยาก ตั้ง ตัว เปน จ้าว นั้น.
      ใจ หาย (137:6.48)
               คือ ใจ ไม่ ตั้ง อยู่ กับ ตัว, เหมือน อย่าง ตกใจ กลัว ซึ่ง ไภย อัน ใด อัน หนึ่ง, มี ราชไภย เปน ต้น.
      ใจฬ่อ ลวง (137:6.49)
               คือ ใจ โกง, ใจ ไม่ ตรง, เหมือน อย่าง คน คิด หลอก หลอน, จะ เอา ทรัพย์ เขา เปน ต้น.
      ใจ อดสู (137:6.50)
               คือ ใจ ที่ คิด อาย, ใจ คิด อัปะหยด, เหมือน คน ทำ ความ ชั่ว หน้า อาย ไว้ มี คน รู้ นั้น.
      ใจ รกรรม (137:6.51)
               คือ ใจ กรอม, เหมือน คน ตอ้ง ทุกข์ ใหญ่ เปน โทษ หลวง, แล คิด จะ ให้ พ้น โทษ นั้น.
      ใจ อิดโรย (137:6.52)
               คือ ใจ ระหวย ออ่น หิว สิ้น กำลัง ลง, เหมือน คน เดิร ทาง ไกล เหน็ด เหนื่อย นั้น.
โจ๋ (137:1)
         เปน เสียง อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง เสียง ม้า หอน เปน ต้น.
โจโฉ (137:2)
         เปน ชื่อ จีน เจ้า เมือง คน หนึ่ง, เรื่อง ความ แจ้ง อยู่ ใน เรื่อง สามก๊ก นั้น.
โจ้เจ้ ใจ (137:3)
         คือ ใจ โลเล, ไม่ มั่น ไม่ คง นั้น.
โจผี (137:4)
         เปน ชื่อ เจ๊ก เจ้าเมือง คน หนึ่ง, เปน ลูก ชาย โจโฉ, เรื่อง ความ แจ้ง อยู่ ใน สามก๊ก นั้น แล้ว.

--- Page 138 ---
เจ่า (138:1)
         คือ การ ที่ นั่ง นิ่ง อยู่, เหมือน อย่าง นก ยาง คอย จับ เจ่า กิน ปลา เปน ต้น นั้น.
      เจ่า เหงา (138:1.1)
               คือ ใจ เศร้า, เหมือน นก ใน ป่า ที่ คน จับ มา ขัง ไว้ ใน กรง นั้น.
      เจ่า จุก (138:1.2)
               คือ อาการ ที่ เศร้า ใจ, แล นั่ง เปนทุกข์ จุก เจ่า อยู่ นั้น.
      เจ่า จับ (138:1.3)
               คือ นก มัน จับ เจ่า อยู่ ที่ กิ่ง ไม้ เปน ต้น.
เจ้า (138:2)
         คือ เปน คำ ยก ยอ คน อื่น, เหมือน อย่าง เรียก ว่า, ท่านเปน เจ้า ของ ข้า เหมือน กัน.
      เจ้า กระทรวง (138:2.1)
               เปน ชื่อ เจ้า พนักงาน, เจ้า ของ, เจ้า ตำ แหน่ง นั้น.
      เจ้า การ (138:2.2)
               คือ เจ้าของ การงาน ทั้ง ปวง ที่ เขา กระทำ นั้น, เหมือน อย่าง เจ้า กรม, เจ้า งาน เปน ต้น.
      เจ้า กรรม (138:2.3)
               คือ เจ้า ของ กรรม, เจ้า ของ เวร ที่ ตน ได้ กระทำ ไว้ นั้น.
      เจ้า ข้า (138:2.4)
               เปน ชื่อ คำ ยก ยอ เรียก คน อื่น, เหมือน อย่าง เรียก ว่า, ท่าน เปน เจ้า ของ ข้า เหมือน กัน.
      เจ้า ของ (138:2.5)
               เปน ชื่อ คำ กล่าว อ้าง ว่า, คนนี้ เปนเจ้า แห่ง ของ นั้น.
      เจ้า คุณ (138:2.6)
               เปน ชื่อ คำ เรียก ท่าน ผู้ ใหญ่ ว่า, ท่าน เปน เจ้า ของ แห่ง คุณ.
      เจ้า คะณะ (138:2.7)
               เปน ชื่อ เจ้า ของ หมู่, เจ้า ของ พวก, เหมือน อย่าง พระสงฆ ที่ เปน นาย หมวด นั้น.
      เจ้า เงิน (138:2.8)
               เปน ชื่อ เจ้า ของ แห่ง เงิน, ฤๅ นายเงิน นั้น, เหมือน อย่าง นาย ของ ทาษ เปน ต้น.
      เจ้า จำนำ (138:2.9)
               เปน ชื่อ เจ้า ของ สำรับ รับ สินค้า ซื้อ ขาย กัน นั้น.
      เจ้า จำนวน (138:2.10)
               เปน ชื่อ เจ้า กระทรวง, เจ้า พนักงาน นั้น, เหมือน เจ้า ตลาศ ที่ เปน นาย ใหญ่ นั้น.
      เจ้า ชีวิตร (138:2.11)
               คือ มหา กระษัตริย์, ที่ เปน เจ้า ของ ชีวิตร แห่ง ราษฎร, ที่ อยู่ ใน แว่น แคว้น ท่าน นั้น.
      เจ้า ที่ (138:2.12)
               เปน ชื่อ เจ้า ของ ที่, เหมือน อย่าง ภูม เจ้า ที่ เปน ต้น.
      เจ้า ไทย (138:2.13)
               เปน ชื่อ พวก พระสงฆ ทั้ง ปวง นั้น.
      เจ้า จอม (138:2.14)
               เบน ชื่อ นาง ตั้ง อยู่ ใน ที่ สูง, เหมือน อย่าง นาง ฝ่าย ใน, ที่ เปน จอม นาง ทั้ง ปวง นั้น.
      เจ้า นี่ (138:2.15)
               เจ้า สิน, เปน ชื่อ คน เปน แม่ เจ้า นี่, เหมือน อย่าง นาย เงิน เปน ต้น นั้น.
      เจ้า เณร (138:2.16)
               คือ เจ้า สามะเณร ที่ บวช ถือ ศีล สิบ ประการ นั้น.
      เจ้า นาย (138:2.17)
               คือ พระหน่อ ของ จ้าว ที่ เปน นาย แห่ง ไพ่ร ทั้ง ปวง นั้น.
      เจ้า บ่าว (138:2.18)
               เปน ชื่อ ชาย หนุ่ม ที่ ยัง ไม่ มี เมีย นั้น.
      เจ้า เบี้ย นายเงิน (138:2.19)
               เปน ชื่อ คน ที่ เปน เจ้า ของ ทาษ นั้น, เหมือน อย่าง นาย แห่ง ทาษ ที่ ไถ่ มา เปน ต้น นั้น.
      เจ้า ประคุณ (138:2.20)
               เปน ชื่อ คำ เรียก ท่าน ผู้ ใหญ่ ว่า, ท่าน เปน เจ้า ประกอป ดว้ย คุณ นั้น.
      เจ้า ทรัพย์ (138:2.21)
                เปน ชื่อ คน เจ้า ของ ทรัพย์ ทั้ง ปวง นั้น.
      เจ้า พนักงาน (138:2.22)
               เปน ชื่อ เจ้า ของ สำรับ การ ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน อย่าง เจ้า พนักงาน คลัง เปน ต้น.
      เจ้า พระยา (138:2.23)
               เปน ชื่อ ขุนนางใหญ่, เหมือน อัคคะมหาเสนา สอง, จตุษดม สี่, มล ตรี แปด, เปน ต้น.
      เจ้า หมู่ (138:2.24)
               เปน เจ้า ของ หมู่, เจ้า ของ พวก, เหมือน อย่าง นาย หมวด, นาย กอง เปน ต้น.
      เจ้า เมือง (138:2.25)
               เปน เจ้า ของ หัว เมือง ทั้ง ปวง, เหมือน อย่าง เจ้า เมือง นคร ศรี ธรรม ราช เปน ต้น.
      เจ้า เล่ห์ (138:2.26)
               เจ้า กล, คือ คน เจ้า กล มารยา เปน ต้น, เหมือน อย่าง คน เจ้า กระบวน นั้น.
      เจ้า เล่ห์ (138:2.27)
               เจ้า กล, ความ เช่น ว่า แล้ว, คือ คน เจ้า มารยา สาไถย เปน ต้น นั้น.
      เจ้า วัด (138:2.28)
               คือ เจ้า ของ วัด ทั้ง ปวง, เหมือน พระสงฆ ที่ เปน สม ภาร นั้น. อนึ่ง ผู้ ที่ สร้าง วัด นั้น ดว้ย*.
      เจ้า สำนวน (138:2.29)
               คือ ถอ้ย คำ ที่ คน พูด ดว้ย ฉลาด แยบ ยล กัละ เม์ด, เหมือน เขา ถาม ว่า เจ็บ มาก อยู่ ฤๅ, บอก บิด ว่า เจ็บ คน เดียว เปน ต้น.
      เจ้า สาว (138:2.30)
               เปน ชื่อ หญิง สาว ทั้ง ปวง ที่ จะ อยู่ กับ ผัว, เหมือน เขา แต่ง ขันหมาก งาน บ่าว สาว นั้น.
      เจ้า อาราม (138:2.31)
               เปน ชื่อ เจ้า ของ อาราม, เหมือน อย่าง สมภาน เจ้า วัด นั้น.
      เจ้า อาวาษ (138:2.32)
               เจ้า อาทิการ, เปน ชื่อ เจ้า ของ ที่ อยู่, คือ พระสงฆ ที่ เปน สมภาร เจ้า วัด นั้น.
จำ (138:3)
         หมาย, คือ ความ ที่ กำหนฎ ไว้ ได้ ใน ใจ, เหมือน คน หัด ปรื วิชา การ สิ่ง ใด จำ ไว้ ได้. อนึ่ง การ ที่ เอา ตรวน ใส่ คน จำ ไว้ นั้น ดว้ย.

--- Page 139 ---
      จำ กระทำ (139:3.1)
               ตอ้ง กระทำ, เปน ชื่อ การ ที่ ไม่ อยาก ทำ ก็ ตอ้ง ทำ, เหมือน นาย ใช้ บ่าว ให้ ทำ การ, ถึง มัน ไม่ อยาก ทำ ก็ ตอ้ง ทำ.
      จำ คำ (139:3.2)
               คือ ความ ที่ กำหนฎ คำ ไว้ ได้ ใน ใจ นั้น, เหมือน อย่าง สิษ ครู สอน คำ ไร ก็ กำหนฎ จำ คำ นั้น ไว้.
      จำเจ (139:3.3)
               คือ ความ ที่ เจน ใจ ชำนาน ใจ.
      จำ ใจ (139:3.4)
               เปน ชื่อ ไม่ ภอ ใจ จะ ทำ เปน ต้น, แล ขัด อาญา ไม่ ได้ ตอ้ง ทำ นั้น.
      จำ จอง (139:3.5)
               คือ การ ผูก ไว้ ดว้ย โซ่ร, ดว้ย ตรวน, เหมือน ผู้ คุม จำ พวก นักโทษ, ดว้ย ขื่อ คา โซ่ร ตรวน นั้น.
      จำ ได้ (139:3.6)
               คือ ความ กำหนฎ ได้ ใน ใจ, ระฦก ได้, เหมือน อย่าง คน ไม่ หลง ลืม สิ่ง ของ ทั้ง ปวง นั้น.
      จำ โซ่ร (139:3.7)
               คือ เอา เหลก วง ใส่ เข้า ที่ ค่อ ตีน ทั้ง สอง ข้าง, แล้ว เอา โซ่ร ตรวน ใส่ รอ้ย ล่าม ไว้ นั้น.
      จำ เดิม (139:3.8)
               ปะถม, คือ ความ แต่ แรก, เขา มัก พูด กัน ว่า, ตั้ง แต่ แรก ตั้ง โลกย์ มา.
      จำ ตาย (139:3.9)
               คือ ความ ที่ ไม่ อยาก ตาย ก็ ตอ้ง ตาย, เหมือน พวก นัก โทษ ๆ ถึง ตาย, ตัว ไม่ อยาก ตาย ก็ ตอ้ง ตาย.
      จำ ถี่ ถว้น (139:3.10)
               คือ ความ ที่ จำ ไว้ ได้ ถี่ ถว้น ทุก สิ่ง, เหมือน คน จำ ความ ได้ ทุก สิ่ง, ไม่ หลง ไม่ ลืม เลย.
      จำ ทำ (139:3.11)
               คือ การ ที่ ไม่ อยาก ทำ ก็ ตอ้ง ทำ, เหมือน ไม่ อยาก ทำ ความ ชั่ว, เขา ใช้ ให้ ทำ ก็ ตอ้ง ทำ นั้น.
      จำ หน้า (139:3.12)
               คือ ความ ที่ กำหนฎ หมาย หน้า ไว้, เหมือน คน รู้ จัก กัน ใหม่, สังเกต จำ หน้า กัน ไว้ นั้น.
จำนำ (139:1)
         คือ การ ที่ เอา ของ ประจำ ให้ ไว้, แล้ว เอา เงิน ไป ฃอ ส่ง ดอก เบี้ย. อนึ่ง เขา มา เกาะ ไม่ ภบ เอา คน อื่น ไป แทน ตัว.
จำแนก (139:2)
         จำน่าย, คือ การ ที่ แจก จ่าย นั้น, เหมือน อย่าง คน แจก ทาน แก่ ยาจก เปน ต้น นั้น.
จำนง (139:3)
         จง ใจ, คือ ความ ที่ ตั้ง ใจ นั้น, เหมือน อย่าง คน มี ของ ตั้ง ใจ จำเภาะ จะ ให้ แก่ คน นั้น.
จำโนฎ (139:4)
         โจทนา, คือ คำ ที่ โจท, คำ ถาม นั้น, เหมือน หนึ่ง คน ถาม ว่า, ธรรม อัน ใด ที่ เปน ประโยชน์ ชั่ว นี้ แล ชั่ว หน้า.
จำนน (139:5)
         ปราไชย์, คือ ความ ที่ แพ้ เขา, แล สู้ เขา ไม่ ได้ นั้น, เหมือน หนึ่ง คน เล่น การ พะนัน แพ้ เขา เปน ต้น นั้น.
จำนันจา (139:6)
         เจรจา, คือ ความ ที่ กล่าว คำ, ฤๅ สั่ง สนทะนา กัน, เหมือน แขก มา หา เปน ต้น นั้น.
จำเนียร กาล (139:7)
         คือ เวลา เนิ่น นาน มา แล้ว, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, ครั้น อยู่ นาน มา จึ่ง เปน อย่าง นั้น.
จำนวน (139:8)
         คือ ความ ที่ เปน เค้า, ฤๅ เจ้า ของ, ฤๅ กระทรวง นั้น, เหมือน คน ที่ เปน เจ้า ตลาศ ใหญ่ เปน ต้น.
จำหน่าย (139:9)
         คือ การ ที่ จ่าย แจก สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, เหมือน หนึ่ง คน แจก ทาน เปน ต้น นั้น.
จำแบ (139:10)
         คือ อาการ แห่ง ปลา ชอ่น ตัว เล็ก ๆ, ที่ เขา ผ่า หลัง ออก แล้ว, ใส่ เกลือ ตาก แดด เหมือน แบ มือ นั้น.
จำบาก (139:11)
         เปน ชื่อ เมือง อัน หนึ่ง, ยอ่ม มี อยู่ ใน นิทาน แต่ โบ ราณ นั้น.
จำบ่ม (139:12)
         คือ อาการ แห่ง ผลไม้ ที่ เพสลาศ, บ่ม ไม่ ใค่ร จะ สุก นั้น, เหมือน กล้อย ไม่ สู้ แก่, ไม่ บ่ม ตอ้ง จำบ่ม นั้น.
จำปา (139:13)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, ต้น ไม้ สู้ โต นัก, ดอก เปน กลีบ ๆ, ศี เหลือง กลิ่น หอม ดว้ย.
จำปาดะ (139:14)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ ใหญ่ อย่าง หนึ่ง, ลูก เหมือน ลูก ขมุน, กิน รศ หวาน คล้าย กับ ขมุน.
จำปี (139:15)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, ไม่ สู้ โต นัก, ดอก เหมือน ดอก จำปา, ศี ขาว กลิ่น หอม ดี หนัก.
จำไป (139:16)
         คือ ความ ที่ ไม่ อยาก ไป ก็ ตอ้ง ไป, เหมือน อย่าง คน จะ ไป ส่ง ทุกข์ ที่ เว็จ นั้น.
จำเปน (139:17)
         คือ ความ ที่ ไม่ ชอบ ใจ จะ เปน ก็ ตอ้ง เปน, เพราะ ขัด ไม่ ได้ ดว้ย กลัว ไภย.
จำพวก (139:18)
         คือ ความ เปน คน หมู่ นั้น, คน พรรค์ นั้น, เหมือนเขา พูด กัน ว่า, คน จำพวก นี้ เรา ไม่ คบ.
จำเพาะ (139:19)
         คือ ความ ที่ ตั้ง ใจ อุทิศ ต่อ คน นี้, คน นั้น, เหมือน เรา มี ของ ตั้ง ใจ จำเพาะ จะ ให้ แก่ คน นั้น.
จำ มา (139:20)
         ตอ้ง มา, คือ ความ ที่ ไม่ อยาก มา ก็ ตอ้ง มา, เหมือน บ่าว ที่ นาย สั่ง ให้ มา, ก็ ตอ้ง จำ มา เปน ต้น.
จำรัศ (139:21)
         คือ อาการ ที่ กระจ่าง แจ้ง, ฤๅ แจ่ม ใส, เหมือน อย่าง อาทิตย์ เปล่ง รัศมี กระจ่าง แจ้ง หมด มลทิน.
จำรูน (139:22)
         คือ อาการ ที่ รุ่ง เรือง, ฤๅ แสง สว่าง, เหมือน อย่าง สว่าง ดว้ย แสง แก้ว, ฤๅ แสง โคม เปน ต้น.

--- Page 140 ---
จำเริญ (140:1)
         คือ อาการ ที่ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ บริบูรรณ์ มาก ขึ้น, ฤๅ ทวี ขึ้น, เหมือน คน มี อายุศม์ มาก ขึ้น นั้น.
จำหลัก (140:2)
         คือ การ ที่ เจาะ ขุด ทำ เปน ลวด ลาย แล ดอก ไม้ ต่าง ๆ, ที่ ไม้ แล หิน เปน ต้น นั้น.
จำแลง (140:3)
         คือ การ ที่ แปลง เบลี่ยน กาย เปน รูป ต่าง ๆ ได้, เหมือน ซาตาน แปลง รูป เปน งู เปน ต้น นั้น.
จำลอง (140:4)
         คือ การ ที่ ทำ รูป ถ่าย แบบ อย่าง ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง คน ลอก หนังสือ จาก ฉบับ นั้น.
จำเลย (140:5)
         เฉลย, เปน ชื่อ คน ผู้ ที่ กล่าว แก้ ข้อ ความ ต่าง ๆ, เหมือน โจทย์ ฟอ้ง หา, จำเลย ให้ การ แก้ นั้น.
จำหล่อ (140:6)
         คือ สิ่ง ที่ เขา เอา ไม้ ปัก ทำ เปน รั้ว ขวาง ทาง, แต่ ทำ ให้ เหลื่อม กัน นั้น.
จำ ว่า (140:7)
         คือ การ ที่ ตอ้ง ว่า, เหมือน ตระลาการ ถึง ไม่ อย่าก ว่า, ก็ ตอ้ง ว่า เปน ต้น นั้น.
จำ ไว้ ทรง ไว้ (140:8)
         คือ การ ที่ กำหนฎ ไว้ ใน ใจ มิ ให้ หลง ลืม นั้น, อนึ่ง คือ การ ที่ เอา คน ใส่ โซ่ร ตรวน ขัง ไว้ นั้น ดว้ย.
จำวัด (140:9)
         นอน หลับ, คือ อาการ ที่ นอน หลับ นั้น, แต่ เปน คำ พวก พระสงฆ พูด กัน ตาม วัด.
จำวรรษา (140:10)
         จำฝน, คือ เวลา ที่ ตอ้ง ประจำ อยู่ ใน วัด สิ้น สาม เมื่อ ระดูฝน, คือ ตั้ง แต่ เดือนแปด, แรม ค่ำ หนึ่ง จน เดือน ๑๑ เพง.
จำศิล (140:11)
         ทรง ศิล, คือ การ ที่ รักษา ศิล ห้า, ศิล แปด, ศิลสิบ, เหมือน อย่าง พวก อุบาสก, อุบาสิกา เปน ต้น.
จ้ำ (140:12)
         คือ การ ที่ เร่ง ให้ ทำ การ เร็ว ๆ, เหมือน คน แข่ง เรือ กัน ภาย จ้ำ ถี่ ลง นั้น.
      จ้ำม่ำ (140:12.1)
               คือ อาการ รูป คน อว้น โต ล่ำสัน ต่ำ เตี้ย มักคัก อยู่, ว่า รูป ร่าง มัน จ้ำม่ำ.
จะ (140:13)
         คือ อาการ ที่ เกือบ, พึง, แทบ, ใก้ล, จวน, เจียน, เหมือน คำ พูด กัน ว่า, จะ ไป, คือ เกือบ ไป เปน ต้น นั้น.
จะกละ (140:14)
         คือ ความ ที่ ผู้ หญิง ที่ ผี โศกโครก เข้า สิง ใน ตัว มัน ภา เที่ยว ไป กิน ขี้ เปน ต้น.
จระเข้ (140:15)
         กุมพี, ลูกน้ำ, คือ สัตว อย่าง หนึ่ง สี่ท้าว, ตัว เปน เกล็ด คล้าย เหี้ย, อยู่ ใน น้ำ มัก กัด คน แล สัตว ต่าง ๆ.
จะกวด (140:16)
         คือ สัตว สี่ ท้าว, ตัว ยาว, หาง ยาว, คล้าย จระเข้, อยู่ ใน น้ำ ก็ ได้, บก ก็ ได้ บ้าง, เรียก จะกวด.
      จะ ใค่ร (140:16.1)
               คือ ความ ที่ ใจ ปราถนา อยาก ได้, อยาก มี นั้น, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, ข้า อยาก จะ ใค่ร ได้.
จะแจ้ง (140:17)
         คือ แจ่ม แจ้ง, เหมือน พระ จันทร เมื่อ วัน ระดู เหมัน วันเพง ปราศจาก เมฆ หมอก แจ่ม กระจ่าง อย่ นั้น.
จะรัศ (140:18)
         คือ แสง สว่าง, ฤๅ รุ่ง เรือง นั้น, เหมือน อย่าง พระอา ทิตย์ จำรัศ ดวง นั้น.
จะรุง ใจ (140:19)
         คือ ความ ที่ ชืน ใจ นั้น, ความ เหมือน อย่าง รื่น เริง บันเทิง ใจ นั้น.
จะละ (140:20)
         คือ จะ ทิ้ง เลีย, จะ สละ เสีย, เหมือน อย่าง การ ที่ คน จัก สละ เสีย นั้น.
จะละหวั่น (140:21)
         คือ เสียง อึง คะนึง วุ่น วาย, ว่า อึง เปน จะละหวั่น อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง อาการ หวั่น ไหว นั้น.
จะริต (140:22)
         คือ ใจ ประพฤษดิ์ ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง ประพฤษดิ์ ดี, ประพฤษดิ์ ชั่ว นั้น.
จะระติ (140:23)
         ว่า คือ เที่ยว ไป.
จะรัญยา (140:24)
         เปน สับท์ แปล ว่า ประพฤษดิ.
จมูก (140:25)
         คือ อาการ เนื้อ ที่ หน้า นูน สูง ขึ้น, มี รู สอง รู สำรับหาย ใจ เข้า, หายใจ ออก นั้น.
จะระนำ (140:26)
         เปน ชื่อ ซุ้ม ประตู มี ยอด อย่าง หนึ่ง เปน ชั้น ๆ, ท่าน มัก ทำ ไว้ ที่ ประตู โบฎ เปน ต้น.
จะระดล (140:27)
         คือ เที่ยว ไป ถึง.
จะระไนย์ (140:28)
         คือ การ ทำ ให้ ของ สึก เปน เหลี่ยม เกลี้ยง งาม ดี, ดว้ย หันจักร นั้น, เหมือน อย่าง การ จะระไน หัว แหวน.
จะระลี (140:29)
         คือ การ เที่ยว ไป, เหมือน* อย่าง อาการ ดำเนิน ไป นั้น
เจริญ (140:30)
         คือ ใหญ่ ขึ้น, มาก ขึ้น, ทวี ขึ้น, เหมือน อย่าง อาการ ที่ เจริญ ไวย ใหญ่ ขึ้น นั้น.
(140:31)
         
จก (140:32)
         คือ การ ที่ ควัก, เหมือน อย่าง คน ควัก ดิน ดว้ย มือ, ฤๅ ขุด ดิน ตื่น ๆ ดว้ย จอบ นั้น.
จัก (140:33)
         คือ การ เกรียก ไม้, กระทำ ให้ เปน ซีก เล็ก ๆ, เหมือน อย่าง คน จัก ตอก, จัก หวาย เปน ต้น นั้น.
      จักร์ (140:33.1)
               เปน ชื่อ ของ อย่าง หนึ่ง มี สันถาน ดัง ตรา เงิน, แล กง รถ, มี ฤทธิ์ มาก, เหมือน อย่าง พระยา จักรพรรดิ.

--- Page 141 ---
      จักรี (141:33.2)
               คือ ตำแหน่ง ที่ ขุนนาง ใหญ่ คน หนึ่ง, เปน ที่ อัคคะมหา เสนา บดี ชื่อ อย่าง นั้น.
      จักระแหล่น (141:33.3)
               เปน อาการ ที่ เฉียด เกือบ จะ ถูก นั้น.
      จักระราศี (141:33.4)
               คือ ราศี แห่ง ดาว ฤกษ์ ทั้ง ปวง, มี สันถาน คล้าย กงจักร์
      จักระดิ์ จักระเดียม (141:33.5)
               คือ อาการ ที่ กลั้น หัวเราะ ไม่ ได้, เมื่อ คน เอา นิ้ว จี้ เข้า ที่ รักแร่ เปน ต้น.
      จักระจั่น (141:33.6)
               เปน ชื่อ สัตว ตัว เล็ก ๆ เท่า เลื่อบ, มั่น มัก อยู่ ใน ป่า ใหญ่ รอ้ง เสียง ดัง เพราะ นั้น.
      จักระพรรติ* (141:33.7)
               เปน ชื่อ แห่ง กระษัตริย์ ใน โลกย์, มี ฤทธิ มาก ดว้ย อานุภาพ แห่ง จักร์ แก้ว.
      จักระพงษ์ (141:33.8)
               เปน ชื่อ วงษ พระยา จักรพรรติ์, ว่า มี แต่ กอ่น, แล จะ มี เมื่อ ผ่าย หน้า บ้าง.
      จักระปาณี (141:33.9)
               เปน ชื่อ ขุนนาง คน หนึ่ง, อยู่ ใน กรม ลูกขุน.
      จักภรค (141:33.10)
               เปน ชื่อ กงจักร คม หนัก ยิง กว่า มิดโกน, สำรับ ผัด ผัน อยู่ บน หัว เปรด ฤๅ สัตว ใน นรก นั้น.
      จักระวัดิ (141:33.11)
               เปน ชื่อ แห่ง พระยา จักรพรรติ, อัน ประกอบ ไป ดว้ย จักร แก้ว เปน ต้น นั้น.
      จักราวุทธ (141:33.12)
               ความ คือ กงจักร เปน อาวุทธ, เขา เรียก เปน คำ สับท์ ติด กัน เข้า เปน สอง สับท์ นั้น.
      จักระวาฬ (141:33.13)
               เปน ชื่อ ภูเขา ที่ ลอ้ม รอบ โลกย์ นี้ เอง, ที่ เรียก ว่า, เขา จักรวาฬ นั้น.
      จักระจี้ (141:33.14)
               คือ อาการ ที่ ดี้เดียม, เมื่อ คน จี้ เข้า ที่ เอว ฤๅ รักแร่ นั้น.
      จักระพาฬ (141:33.15)
               คือ จักระวาฬ อัน หนึ่ง, ใน หนังสือ ว่า, มี เขา สุเมรุ หนึ่ง, ทวิป ใหญ่ ๔ มหาสมุท ๔ ทวิป นอ้ย สอง พัน.
      จักขุ (141:33.16)
               ฯ ว่า ตา แห่ง คน แล สัตว ทั้ง ปวง นั้น.
      จัก ตอก (141:33.17)
               คือ การ ที่ คน เอา ไม้ ใผ่ บ้าง, ก้าน ลาน บ้าง, มา จัก ออก เปน ตอก สำรับ มุง เรือน เปน ต้น.
      จัก ไป (141:33.18)
               คือ จะ ไป, ฤๅ เกือบ ไป, ใก้ล ไป นั้น.
      จัก ผ่า (141:33.19)
               คือ การ ที่ จัก ตอก บ้าง, ผ่า ไม้, ผ่า หวาย บ้าง นั้น, เหมือน อย่าง การ จัก การ ผ่า นั้น.
      จักษุ (141:33.20)
               เปน คำ แผลง, คือ ไนย ตา แห่ง คน, แล สัตว ทั้ง ปวง นั้น.
จาก (141:1)
         เปน ชื่อ ต้น อย่าง หนึ่ง, ขึ้น อยู่ ใน โคลน ตาม ริม แม่น้ำ ริม คลอง, ลูก กิน ได้, ใบ สำรับ มุง หลังคา.
      จาก กัน (141:1.1)
               พลัด กัน, คือ การ ที่ พรัด พราก, ต่าง คน ต่าง ไป, เหมือน อย่าง ผัว เมีย อย่า กัน เปน ต้น นั้น.
      จาก ที่ (141:1.2)
               คือ อาการ ออก ไป พ้น ที่ อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง อาการ ที่ ไป จาก บ้าน เปน ต้น.
      จาก บ้าน (141:1.3)
               คือ ความ ออก ไป พ้น บ้าน นั้น, เหมือน อย่าง ความ ที่ พลัด บ้าน เมือง มา นั้น.
      จาก ไป (141:1.4)
               คือ อาการ ที่ ออก จาก กัน ไป นั้น, เหมือน อย่าง พรัด พราก กัน ไป เปน ต้น.
      จาก พราก (141:1.5)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, อยู่ ใน ป่า สูง เสียง มัน เพราะ.
จิก (141:2)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, ดอก เปน พวง ยาว ๆ, ขึ้น อยู่ ตาม ทุ่ง นา บ้าง, ตาม คลอง บ้าง.
      จิก กิน (141:2.1)
               คือ อาการ ที่ สับ กิน ดว้ย ปาก, เหมือน อย่าง นก กาไก่ ทั้ง ปวง จิก กิน ดว้ย ปาก นั้น.
      จิกนา (141:2.2)
               เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, ต้น ไม่ สู้ โต นัก, ดอก เปน ภู่ พวง หอ้ย งาม นัก, ขึ้น อยู่ ตาม ลำธาร ที่ ทุ่ง นา.
      จิก สวน (141:2.3)
               เปน ชื่อ ต้น จิก ที่ ขึ้น อยู่ ตาม ริม คลอง ใน สวน นั้น.
จุก (141:3)
         เปน ชื่อ ผม เด็ก ๆ ที่ เกล้า ไว้ บน กระหม่อม นั้น. อนึ่ง เปน ชื่อ โรค ที่ บังเกิด แน่น อยู่ ใน อก, ฤๅ สิ่ง ที่ อุด ขวด ไว้ เปน ต้น.
      จุกกะโรหินี (141:3.1)
               เปน ชื่อ ต้นไม้ เปน อยา อย่าง หนึ่ง, มี อยู่ ป่าใต้ นั้น.
      จุกกะผาม ม้าม ยอ้ย (141:3.2)
               เปน ชื่อ โรค ใน กาย อย่าง หนึ่ง, เปน ที่ ม้าม มัน ให้ ยอ้ย หอ้ย ลง นั้น.
      จุก ขวด (141:3.3)
               เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ สำรับ อุด ขวด ทั้ง ปวง ทำ ดว้ย แก้ว บ้าง, ทำ ดว้ย ไม้ ต่าง ๆ บ้าง นั้น.
      จุกจิก (141:3.4)
               คือ ความ จู้ จี้, บ่น เล็ก, บ่น นอ้ย, เหมือน อย่าง คน รบ กวน ว่า อย่าง นี้ แล้ว ว่า อื่น ต่อ ไป อีก.
      จุก ผม (141:3.5)
               เปน ชื่อ ผม บน หัว, ที่ เกล้า ทำ เปน จุก ไว้, เหมือน เด็ก ลูก ไทย ที่ ไว้ จุก นั้น.
      จุก เสียด (141:3.6)
               เปน ชื่อ โรค เสียด แทง แน่น อยู่ ใน ทอ้ง นั้น, เหมือน คน ปว่ย เปน โรค ลง ราก เปน ต้น นั้น.
      จุก อก (141:3.7)
               เปน ชื่อ โรค ลม ให้ แน่น อยู่ ใน อก นั้น, เหมือน อย่าง อาการ โรค ให้ จุก เสียด เปน ต้น.
เจ๊ก (141:4)
         จีน, เปน ชื่อ คน ที่ ไว้ ผม เปน หาง เปีย, ใส่ เสื้อ, ใส่ ก เกง, มา แต่ เมือง จีน นั้น.

--- Page 142 ---
แจก (142:1)
         ปั่น, จำแนก, คือ การ แบ่ง ปัน จ่าย นั้น, เหมือน อย่าง หมอ แจก ยา ให้ คน เจ็บ นั้น.
      แจก กัน (142:1.1)
               จำแนก กัน, คือ การ แจก สิ่ง ของ ให้ กัน นั้น, เหมือน อย่าง คน ให้ ทาน เปน ต้น.
      แจก ขนม (142:1.2)
               จ่าย ขนม, คือ การ ที่ เอา ขนม แจก ให้ ทาน นั้น, เหมือน อย่าง คน แจก ทาน เปน ต้น.
      แจก ของ (142:1.3)
               จ่าย ของ, คือ การ เอา ของ แจก ให้ ทาน นั้น, เหมือน อย่าง จำนาย ของ เปน ต้น.
      แจก จ่าย (142:1.4)
               แจก จำน่าย, คือ เอา ของ จ่าย แจก กัน ไป, เหมือน อย่าง คน จ่าย ของ หลวง ให้ พวก กอง ทับ นั้น.
      แจก ให้ (142:1.5)
               จำน่ายให้, คือ เอา ของ แยก ออก ให้ ไป, ตั้ง แต่ สอง แหง ขึ้น ไป นั้น.
โจก (142:2)
         คือ อาการ ที่ คน ฤๅ สัตว ที่ เปน ใหญ่ กว่า เพื่อน, ชะบะ ใน พวก ใน ฝูง, เหมือน ไก่ ที่ เปน ใหญ่ ใน ฝูง นั้น.
      โจกเจก (142:2.1)
               คือ ความ ที่ คน พูด กัน อื้อ อึง ไม่ มี คุณ, ไม่ มี ประ- โยชน์ สิ่ง ใด นั้น, เหมือน อย่าง กล่าว เดียรฉาน กะถา เปน ต้น นั้น.
จอก (142:3)
         เปน ชื่อ ต้น อย่าง หนึ่ง, เกิด ขึ้น ใน น้ำ ใบ เขียว ๆ ลอย ไป ลอย มา ตาม น้ำ. อนึ่ง ขัน เล็ก ๆ นั้น ดว้ย.
      จอก กะหรอก (142:3.1)
               คือ อาการ ที่ ใจ คิด จองหอง, เย่อ หยิ่ง, เหมือน อย่าง ลูก ครอก ไว้ ตัว เปน ขุนนาง เปน ต้น,
      จอก แก้ว (142:3.2)
               เปน ชื่อ รูป ถว้ย แก้ว, คือ ขัน แก้ว ยอ่ม ๆ นั้น.
      จอก ถม (142:3.3)
               เปน ชื่อ จอก เล็ก ๆ สำรับ ใช้ ตัก น้ำ ทำ ดว้ย เงิน บ้าง, ทอง บ้าง, แล้ว ถม ยา ศี เขียว ศี แดง ต่าง ๆ.
      จอก แหน (142:3.4)
               เปน ชื่อ ต้น ผัก เล็ก ๆ ที่ มัน ลอย อยู่ บน น้ำ, แหน นั้น ต้น มัน หนิด เท่า เม็ด งา นั้น เกิด ที่ หลัง น้ำ.
      จอก ลอย (142:3.5)
               เปน ชื่อ จอก เล็ก ๆ, ทำ ดว้ย ทอง เหลือง บ้าง, เงิน บ้าง, ทอง คำ บ้าง, สำรับ ลอย ใน ขัน ใหญ่.
      จอก หูหนู (142:3.6)
               เปน ชื่อ ต้น จอก อย่าง หนึ่ง, ใบ กลม ๆ, เล็ก ๆ, เกิด ขึ้น ใน น้ำ มัก มี อยู่ ตาม บึง แล ทุ่ง นา.
จง* (142:4)
         คือ ความ ให้, เหมือน อย่าง คำ เขา พูด กัน ว่า, ท่าน จง กระ- ทำ, จง ไป, จง ให้, เปน ต้น นั้น.
      จง กระทำ (142:4.1)
               คือ ความ บังคับ ให้ กระทำ, เหมือน นาย บังคับ บ่าว ว่า, จง กระทำ อย่าง นี้, จง กระทำ เท่า นี้ เปน ต้น.
      จงกรม (142:4.2)
               คือ การ ที่ เดิร* กลับ, กลับ มา, เหมือน ฝรั่ง เดิร ยาม เปน ต้น, เปน ธรรมเนียม* ใน พุทธ สาศนา.
      จงกล (142:4.3)
               เปน ชื่อ เครื่อง สำรับ ใช้ ปัก ทูบเทียน บวช นาค. ทำ ด้วย เหล็ก, เปน สาม กิ่ง ที่ ปัก เทียน นั้น, ทำ เหมือน ดอก จงกล.
      จงกอป (142:4.4)
               เปน ทัรพย์ ค่า ธรรมเนียม ปาก เรือ เปน ต้น.
      จงกละณี (142:4.5)
               เปน ชื่อ* ผัก อย่าง หนึ่ง, เกิด ขึ้น ใน น้ำ ตาม ท้อง ทุ่ง, ต้น ใบ ดอก เหมือน บัว เผื่อน, กลิ่น หอม ดี หนัก.
      จง ใจ (142:4.6)
               เปน ความ ที่ บังคับ ให้ ใจ, ตั้ง ใจ, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, จง ใจ จำเริญ, จง ใจ จำเภาะ เปน ต้น.
      จง ดี (142:4.7)
               คือ คำ ว่า ให้ ดี นั้น, เหมือน เขา พูด เตือน สติ กัน ว่า, ท่าน ระวัง ตัว จง ดี, ท่าน ไป จง ดี เปน ต้น.
      จง ได้ (142:4.8)
               คือ ความ ว่า ให้ ได้ นั้น, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, ท่าน ไป ให้ จง ได้.
      จง ไป (142:4.9)
               คือ คำ บังคับ ให้ ไป นั้น, เหมือน เขา พูด บังคับ วา, จง ไป ใน วัน นี้ เปน ต้น.
      จง ผลาญ (142:4.10)
               คือ บังคับ ให้ ผลาญ นั้น, เหมือน คน ที่ เปน เวร สั่ง กัน ว่า, เอง จง ผลาญ มัน ให้ ฉิบหาย.
      จง ฟัง (142:4.11)
               คือ คำ บังคับ ให้ ฟัง นั้น, เหมือน เขา สั่ง กัน ว่า, ถ้า ครู สั่ง สอน อย่าง ไร, จง ฟัง คำ ครู เถิด.
      จง มา (142:4.12)
               คือ คำ บังคับ ให้ มา นั้น, เหมือน เขา สั่ง กัน ว่า, เจ้า ไป แล้ว จง มา หา เรา เปน ต้น นั้น.
      จง มี (142:4.13)
               คือ คำ บังคับ ให้ มี นั้น, เหมือน อย่าง เขา ให้ พร กัน ว่า, พร ที่ เรา ให้ นี้ จง มี แก่ ท่าน เถิด.
      จง อยู่ (142:4.14)
               คือ คำ บังคับ ให้ อยู่ นั้น, เหมือน คน นัด กัน ว่า, เจ้า จง อยู่ ที่ นี่ เถิด.
      จง รักษ ภักดี (142:4.15)
               คือ คำ บังคับ ให้ มี ใจ รักษ ตอบ นั้น, เหมือน สิษ มี ใจ จง รักษ ตอบ ครู เปน ต้น นั้น.
จัง (142:5)
         ตรง, คือ การ ตรง, ไม่ พลาด นั้น, เหมือน คน ยิง ป้าว, ถ้า ถูก ตรง ดำ สำคัญ ไม่ พลาด นั้น ว่า, ยิง ถูก จัง.
      จังกา (142:5.1)
               ตั้ง ถ้า, คือ อาการ ตั้ง ของ มี อาวุธ ปืน เปน ต้น, ตั้ง ท่า ไว้ จะ ยิง รบ ฆ่าศึค นั้น.
      จังกะมะติ (142:5.2)
               ฯ ว่า จงกรม เปน การ ที่ เดิร กลับ ไป กลับ มา, เหมือน อย่าง เดิร ยาม นั้น.

--- Page 143 ---
      จังกูด (143:5.3)
               เปน ชื่อ เครื่อง ที่ สำรับ ถือ ท้าย เรือ, เหมือน หางเสือ นั้น, ทำ ดว้ย ไม้ เปน ใบ ใหญ่ มี ด้ำ ยาว คล้าย ๆ ภาย.
      จัง เข้า (143:5.4)
               คือ ความ ที่ ตรง เข้า นั้น, เหมือน อย่าง คน พูด จา ถูก ใจ ความ ไม่ พลั้ง พลาด เปน ต้น นั้น.
      จังงัง (143:5.5)
               ฉะงัก อยู่, คือ อาการ ที่ ตก ตลึง นิง อยู่, เหมือน อย่าง คน เสือ ไล่ ตกใจ สิ้น สติ ตัว แขง นิ่ง อยู่ เปน ต้น นั้น.
      จังทาน (143:5.6)
               อิจษา, คือ ความ รังแก, ริษยา, เหมือนอย่าง คน ใจชั่ว, เหน เขาได้ ดี แล้ว, ไม่อยาก ให้ ดีกว่า ตัว, ยอ่ม ทำ อันตรายเขา.
      จังมัง (143:5.7)
               เปน ชื่อ ไม้ ทำ เปน เสา สี่ เสา เสียบ ไว้ ที่ มุม กะบุง กะกร้า ทั้ง สี่ มุม, เพื่อ ประสงค์ จะ ให้ มัน แขง นั้น.
      จังหรีด (143:5.8)
               เปน ชื่อ สัตว อย่าง หนึ่ง ตัว เล็ก ๆ เท่า แมงคาชอน, รอ้ง เสียง ดัง เพราะ เหมือน จักระจั่น, อยู่ รู
      จังไร (143:5.9)
               อัปมงคล, เปน ชื่อ ความ อัปรี, ความ ไม่ ดี, ความ ไม่ เปน มงคล, ไม่ จำเริญ, เหมือน คน ที่ ตอ้ง ไภย ได้ ทุกข์ นั้น.
      จังวาง (143:5.10)
               เปน ชื่อ คน ที่ เปน นาย ใหญ่ กว่า นาย ทั้ง ปวง ใน กรม. นั้น ๆ, เหมือน จางวาง ใน หลวง ได้ บังคับ เจ้ากรม ปลัดกรม.
      จังหัน (143:5.11)
               เปน ชื่อ ของ อย่าง หนึ่ง ทำ ดว้ย ไม้, ถูก ลม พัด หมุน ยิ่ง นัก. อนึ่ง พวก พระสงฆ์ เรียก เข้า สุก อย่าง นั้น ดว้ย.
จั่ง (143:1)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, คล้าย กัน กับ มะพ้ราว, เส้น ที่ กาบ นั้น สำรับ ฟั่น สาย สมอ ตะเภา ดว้ย.
จาง (143:2)
         ไส, คือ การ ที่ เอา น้ำ เติม สิ่ง ของ ที่ ข้น นั้น, ให้ เหลว ใส ออก ไป, เหมือน น้ำ ผึ้ง, น้ำ ออ้ย, น้ำ ตาล, ที่ ข้น นั้น เติม น้ำ ให้ ใส เปน ต้น.
      จาง จืด (143:2.1)
               คือ การ ที่ เอา น้ำ เติม สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เค็ม ฤๅ ขม เปน ต้น นั้น ให้ ใส จาง จืด ออก ไป เหมือน น้ำ ท่า เปน ต้น.
      จาง ใส (143:2.2)
               เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ขุ่น ข้น อยู่ นั้น, เอา น้ำ เติม ให้ ใส จาง ออก ไป นั้น.
      จาง สว่าง (143:2.3)
               เปน ชื่อ เมฆ ฝน ตั้ง มืด มา แล้ว, ลม พัด ให้ สว่าง จาง ใส ออก ไป นั้น.
จ้าง (143:3)
         เปน ชื่อ ไห้ เขา ทำ การ งาน ทั้ง ปวง ให้ เรา แล้ว, เรา จึ่ง คิด ค่า เหนื่อย แรง ให้ ตอบ แทน แก่ เขา นั้น.*
      จ้าง เขา (143:3.1)
               คือ ว่า จ้าง คน ทั้ง ปวง มา ใช้ การ ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง ลูก จ้าง ทั้ง ปวง นั้น.
      จ้าง ทำ การ (143:3.2)
               เปน ชื่อ การ คน ทั้ง ปวง ที่ มา รับ ทำ การ, ครั้น ครบ เดือน แล้ว, ก็ คิด เงิน ค่า จ้าง ให้ นั้น.
      จ้าง บ่าย (143:3.3)
               จ้าง ว่าแล้ว, แต่ บ่าย เปน คำ สร้อย พลอย ติดปาก นั้น.
จิง (143:4)
         แท้, เปน ชื่อ คำ ที่ ไม่ ปด, เหมือน อย่าง คน พูด ตรง ๆ, ถ้า เหน ก็ ว่า เหน, รู้ ก็ ว่า รู้, ไม่ อำ พราง นั้น.
จิงจ้อ (143:5)
         เปน ชื่อ ต้นเถาวัน อย่าง หนึ่ง, มันขึ้น อยู่ตาม ทุ่งนา นั้น.
จริง (143:6)
         คือ ข้อ ความ ทั้ง ปวง, เหมือน กัน กับ จิง นั้น.
      จริง จัง (143:6.1)
               จิง ตรง, คือ คำ แน่ นอน นั้น, เหมือน อย่าง คำ ที่ ไม่ กลับ กลอก เปน ต้น.
จิ้งจก (143:7)
         เปน ชื่อ สัตว อย่าง หนึ่ง สี่ ตีน คล้าย ๆ ตุกแก, แต่ ตัว มัน เล็ก กว่า ตุกแก, ยอ่ม อาไศรย อยู่ ตาม ฝา เรือน.
จิ้งจอก (143:8)
         เปน ชื่อ หมา อย่าง หนึ่ง, เหมือน หมา จู อยู่ ใน ป่า, เห่า เสียง ดัง กิน เนื้อ ดิบ เดร เสือ เปน ต้น.
จิ้งเหลน (143:9)
         เปน ชื่อ สัตว สี่ ตีน อย่าง หนึ่ง, คล้าย กิ้งก่า, ตัวเปน เกล็ด เหมือน งู, อยู่ ตาม ใต้ ถุน.
จึ่ง (143:10)
         คือ ก็ นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด ว่า, ครั้น ถึง จึ่ง ไห้ว พระ บิดา เปน ต้น นั้น.
      จึ่ง กระทำ (143:10.1)
               คือ ความ ก็ กระทำ นั้น, เหมือน อย่าง เขา กล่าว ว่า, ครั้น ถึง จึ่ง กระทำ คำนับ ท่าน.
      จึ่ง เข้า มา (143:10.2)
               คือ ก็ เข้า มา นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด ว่า, ท่าน ให้ หา, เรา จึ่ง เข้า มา.
      จึ่ง ว่า (143:10.3)
               คือ ก็ ว่า, ตอ้ง ว่า นั้น, เหมือน อย่าง คำ พูด ว่า, เจ้า ทำ ผิด เรา จึ่ง ว่า, เรา ก็ ว่า, เรา ตอ้ง ว่า.
      จึ่ง ให้ (143:10.4)
               คือ ก็ ให้ ฤๅ ตอ้ง ให้ นั้น, เหมือน อย่าง พูด กัน ว่า, ท่าน มา ฃอ เรา ก็ ให้, เรา ตอ้ง ให้.
      จึ่ง เอา (143:10.5)
               คือ ก็ เอา, ฤๅ ตอ้ง เอา นั้น, เหมือน เขา พูด ว่า, ท่าน ให้, เรา ก็ เอา, เรา ตอ้ง เอา นั้น.
จูง (143:11)
         เปน ชื่อ การ ที่ คน เอา มือ ของ ตัว จับ มือ คน อื่น แล้ว ภา ไป, ฤๅ นำ ไป เปน ต้น นั้น.
      จูง คน (143:11.1)
               คือ การ ที่ เรา เอา มือ จับ คน ตาบอด แล้ว, จูง นำ หน้า ภา ไป นั้น.
      จูง ควาย (143:11.2)
               เปน ชื่อ การ ที่ เรา เอา มือ จับ เชือก ที่ ผูก ควาย แล้ว, จูง นำ หน้า ไป นั้น.

--- Page 144 ---
      จูง งัว (144:11.3)
               เปน ชื่อ การ ที่ คน จูง เอา งัว ใป, เหมือน อย่าง คน พวก เลี้ยง งัว นั้น.
      จูง แพะ (144:11.4)
               เปน ชื่อ การ ที่ คน จูง เอา แพะ ไป ให้ กิน หญ้า, เหมือน คน เลี้ยง แพะ นั้น.
      จูง ม้า (144:11.5)
               เปน ชื่อ การ ที่ คน จับ บังเหียน จูง เอา ม้า ไป, เหมือน อย่าง คน เลี้ยง ม้า เปน ต้น นั้น.
      จูง มือ (144:11.6)
               เปน ชื่อ การ ที่ คน จับ มือ คน อื่น แล้ว จูง ใป นั้น, เหมือน อย่าง อุ้ม ลูก จูง หลาน เปน ต้น.
แจง (144:1)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, ใบ ยาว ๆ ใช้ ทำ ยา. อนึ่ง คน เอา เบี้ย มา แบ่ง ให้ เท่า ๆ กัน.
      แจง เบี้ย (144:1.1)
               คือ การ ที่ เอา เบี้ย มา แบ่ง ออก เปน กอง ๆ, กอง ละ สี่ เบี้ย บ้าง, แปด เบี้ย บ้าง, เหมือน คน เล่น กำตัด เล่น ถั่ว เปน ต้น.
แจ้ง (144:2)
         รุ่ง, เปน ชื่อ กาล ที่ ไม่ มืด ไม่ มัว แจ่ม ใส สว่าง, เหมือน เวลา กลาง วัน นั้น. อนึ่ง คือ รู้ ความ ชัด นั้น ดว้ย.
      แจ้ง กระจ่าง (144:2.1)
               คือ อาการ ที่ สว่าง, ไม่ มี ที่ มืด มัว นั้น, เหมือน ดวง อาทิตย์ เมื่อ เวลา เที่ยง, ฤๅ รู้ แท้ ใน ใจ ไม่ สงไสย,
      แจ้ง ข่าว (144:2.2)
               ทราบ ข่าว, คือ ความ รู้ ข่าว นั้น แจ้ง สว่าง มาแล้ว, เหมือน อย่าง คน ได้ รู้ ข่าว ชัด นั้น.
      แจ้ง ความ (144:2.3)
               ทราบ ความ, คือ รู้ เรื่อง ความ นั้น แจ้ง กระจ่าง แลั้ว, เหมือน อย่าง คน รู้ ความ ชัด นั้น.
      แจ้ง ใจ (144:2.4)
               ทราบ ใน ใจ, คือ รู้ สว่าง ใจ, เหมือน คน รู้ ธรรม แจ้ง อยู่ ใน ใจ นั้น.
      แจ้ง ชัด (144:2.5)
               ทราบ ชัด, คือ รู้ ความ สว่างชัด มิ ได้ มืด มัว, เหมือน หนึ่ง รู้ ความ ชัด, ไม่ มี สงไสย นั้น.
      แจ้ง ประจักษ์ (144:2.6)
               ทราบ ประจักษ์, คือ รู้ ประจัก, รู้ แท้, เหมือน อย่าง คน ที่ เหน ดว้ย ตา, ได้ ยิน กับ หู.
      แจ้ง สว่าง (144:2.7)
               กระจ่าง แจ้ง, คือ ความ ที่ สว่าง แจ้ง แล้ว, เหมือน อย่าง อาทิตย์ ขึ้น มา ประมาณ สัก โมง เศศ นั้น.
โจง กระเบน (144:3)
         ถก เขมร, คือ ม้วน เอา ชาย ผ้า ทั้ง สอง ชาย ข้าง หน้า ไป เหน็บ ไว้ ที่ เอว ข้าง หลัง, เหมือน อย่าง พวก หญิง คน ไทย นุ่ง ผ้า นั้น.
      โจ่ง (144:3.1)
               จะ แจ้ง, คือ ความ ที่ ปก ปิด นั้น เขา รู้ มาก แล้ว. อนึ่ง คือ เสียง ดัง อย่าง นั้น, เหมือน เสียง กลอง แขก.
จอง (144:4)
         ผูก, คือ การ ที่ หมาย ไว้, จำ ไว้, กำหนฎ ไว้, เหมือน อย่าง คน ไป จับ จอง ที่ ไร่, ที่ นา, อัน ว่าง เปล่า ไม่ มี เจ้า ของ.
      จอง กัน (144:4.1)
               ผูก กัน, คือ บท กลอน ที่ รับ กัน, เหมือน คำ ว่า ยะโฮ. วา, มี ฤทธา เปน ต้น นั้น.
      จอง จำ (144:4.2)
               ผูก จำ, คือ การ ที่ เอา นัก โทษ ใส่ ขื่อ คา โซ่ ตรวน จำ ไว้ นั้น, เหมือน อย่าง การ พวก ทำมรง เปน ต้น นั้น.
      จอง กรรม (144:4.3)
               คือ การ ที่ ผูก เวร ไว้, คง จะ ตอบ แทน กัน นั้น, เหมือน อย่าง ผูก กรรม จอง เวร นั้น.
      จอง เวร (144:4.4)
               ผูก เวร, คือ ใจ โกรธ ผูก เวร กัน, เหมือน คน ที่ เขา ทำ โทษ ตัว แล้ว คิด ผูก เวร ว่า, ชาติ นี้ กู ทำ ร้าย มึง ไม่ ได้, ไป ชาติ หน้า ให้ กู ฆ่า มึง เสีย.
      จอง เปรียง (144:4.5)
               เปน ชื่อ ราช พิธี อัน หนึ่ง, เปน พิธี ตามโคม.
      จอง หอง (144:4.6)
               คือ ใจ ที่ มานะ ถือ ตัว นัก, เหมือน อย่าง คน เขนใจ เหน ท่าน ที่ มี วาศนา มาก ว่า, กู ก็ ดี เหมือน กัน.
      จอง ที่ (144:4.7)
               ผูก ที่, คือ การ ที่ แรก ปัก ไม้ หมายกรุย เอา ที่ เปล่า นั้น,. ทำ นา ฤๅ สวน เปน ต้น.
      จอง งอ่ง (144:4.8)
               คือ อาการ คน ที่ นั่ง เจ่า เปน ทุกข์ อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ เขา เกาะ มา นั่ง อยู่ เปน ต้น.
      จอง ฟัด (144:4.9)
               ผูก ฟัด, คือ บท กลอน ที่ รับ กัน เช่น ว่า แล้ว นั้น, เหมือน อย่าง บท กลอน ที่ สัม ผัศ กัน นั้น.
จอ้ง (144:5)
         มุ่ง, คือ อาการ คน ที่ คอย ขยับ จะ ทำ ร้าย เขา นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ ถือ หอก จอ้ง อยู่ จะ คอย แทง กัน เปน ต้น.
      จอ้ง กัน (144:5.1)
               มุ่ง กัน, คือ อาการ ที่ คน สอง คน, ต่าง คน ต่าง ถือ อาวุทธ, เงื้อ คอย จอ้ง กัน อยู่ นั้น.
      จอ้ง คอย (144:5.2)
               มุ่ง คอย, คือ อาการ ที่ คน ฤๅ สัตว, แอบ คอย จอ้ง จะ ทำร้าย เขา, เหมือน เสือ คอย จอ้ง จะ ตะครุบ จับ สัตว นั้น.
      จอ้ง จด (144:5.3)
               มุ่ง จด, คือ อาการ ที่ คน คอ่ย ๆ ยก ท้าว จด ที่ พื้น เดิร ไป, เหมือน อย่าง คน ติน เจ็บ เดิร เปน ต้น นั้น.
จวง จันท์น (144:6)
         คือ เครื่อง หอม อัน แล้ว ไป ดว้ย แก่น จันทน์, เหมือน อย่าง แป้ง หอม อัน เจือ ไป ดว้ย จันทน์.
จว้ง (144:7)
         คือ อาการ ที่ คน ยก แขน ทั้ง สอง คอย จว้ง, เหมือน อย่าง พวก ผี ภาย ๆ เรือ พระ ที่นั่ง เปน ต้น นั้น.
      จว้ง แขน (144:7.1)
               คือ อาการ ที่ เอา แขน ทั้ง สอง จว้ง ภาย, เหมือน อย่าง คน ภาย เรือ เปน ต้น นั้น.

--- Page 145 ---
      จว้ง คว้า (145:7.2)
               คือ การ ที่ เอา มือ เอื้อม คว้า สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ พลัด ตก, เหมือน อย่าง คน เอา มือ จว้ง คว้า เอา ของ ที่ ตก น้ำ นั้น.
      จว้ง จาบ (145:7.3)
               คือ ความ ที่ ว่า กล่าว ลว่ง เกิน, เหมือน อย่าง เด็ก กล่าว คำ อยาบ ช้า เกิน ผู้ ใหญ่ นั้น.
      จว้ง ภาย (145:7.4)
               คือ อาการ ที่ คน เอา ภาย เอื้อม ลง ไป ใน น้ำ, เหมือน อย่าง คน ภาย เรือ แข่ง กัน นั้น.
      จว้ง มือ (145:7.5)
               คือ อาการ ที่ เอา มือ เอื้อม คว้า, เหมือน อย่าง ลว้งมือ ลง งม หา ของ ใน น้ำ นั้น.
      จว้ง น้ำ (145:7.6)
               คือ อาการ ที่ เอา ขัน เปน ต้น, เอื้อม ลง ตัก เอา น้ำ ใน แม่ น้ำ เปน ต้น นั้น.
เจิ่ง (145:1)
         คือ อาการ ที่ น้ำ ทว่ม มาก หนัก, เหมือน อย่าง น้ำ เดือน สิบ สอง, ยอ่ม ทว่ม เจิ่ง ดาศ ทั่ว ไป นั้น.
จด (145:2)
         ถึง, เนื่อง, ต่อ, คือ การ ที่ เอา สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ให้ ต่อ ติดถึง กัน, ฤๅ เอา ของ กด ลง ที่ พื้น เหมือน ดินสอ, จด ลง ที่ สมุท เขียน หนังสือ.
      จด กัน (145:2.1)
               ต่อ กัน, ติด กัน, เนื่อง กัน, คือ การ ที่ เอา ของ ว่าง ลง ต่อ ๆ ให้ ติด ๆ กัน ไป, เหมือน อย่าง คน จอด เรือ ผูก ให้ จด ติด กัน ไป.
      จด จอ้ง (145:2.2)
               คือ อาการ ที่ คน คอย ถือ ไม้ จด จอ้ง ไป, เหมือน อย่าง คน แก่ ถือ ไม้ ท้าว คอ่ย จด คอ่ย จอ้ง ไป เปน ต้น.
      จด บาญชี (145:2.3)
               เขียน บาญชี, คือ การ ที่ เอา ดินสอ, ฤๅ ปากไก่, จด ลง ที่ สมุด แล้ว เขียน บาญชี, เหมือน เสมียน ทำ บาญชี.
      จด หมาย (145:2.4)
               เขียน หมาย, คือ การ ที่ จด บาญชี หมาย ไว้, จำ ไว้, กำหนฎ ไว้, เหมือน อย่าง จด หมาย ทรัพย์ สิ่ง ของ ทำ บาญชี ไว้.
      จด สามะโนครัว (145:2.5)
               เขียน สามะโนครัว, คือ การ ที่ จด เอา ชื่อ คน ทั้ง หญิง ทั้ง ชาย ไว้ ใน บาญชี ทุก ครัว ๆ นั้น.
จัด (145:3)
         กระเกรียม, คือ การ ที่ จัด แจง สิ่ง ของ ไว้ ตาม ควร. อนึ่ง ผลไม้ ทั้ง ปวง ที่ แก่ เต็ม ที นั้น ว่า แก่ จัด, ม่อ จัดไฟ เปน ต้น.
      จัด กัน (145:3.1)
               เกรียม กัน, คือ การ ที่ จัด ซึ่ง กัน แล กัน นั้น, เหมือน นาย ทับ นาย กอง จัด กัน ว่า, คน พวก นี้ ไป ทาง นี้ เปน ต้น.
      จัด แจง (145:3.2)
               กระเกรียม, คือ การ ที่ จัด แจง ทรัพย์ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, เหมือน คน จัด แจง สิ่ง ของ จะ ไป กำปัน เปน ต้น นั้น.
      จัด ซื้อ (145:3.3)
               เกรียม ซื้อ, คือ การ ที่ คน เที่ยว เลือก ซื้อ สินค้า ตาม ชอบ ใจ, เหมือน อย่าง นาย กำปัน ทั้ง ปวง นั้น.
      จัดตุ (145:3.4)
               ฯ ว่า สี่ นั้น, เหมือน อย่าง คน สี่ คน เปน ต้น.
      จัดตุระภักตร (145:3.5)
               ฯ เปน คำ ว่า หน้า สี่, ใน หนังสือ ว่า ท้าว มหา พรหม, มี หน้า สี่ ใน หัว เดียว นั้น.
      จัดตุราริยสัจ (145:3.6)
               ฯ ว่า ของ จริง ที่ ประเสิฐ นั้น, มี สี่ อย่าง, คือ ความ เกิด, ความ แก่, ความไข้, ความ ตาย นั้น, เปน ทุกข์ แท้.
      จัดตุมรรคญาณ (145:3.7)
               ฯ ว่า มรรคญาณ สี่, คือ โสดามรรค, สะกิธา คามิมรรค, อะนาคามิมรรค, อะระหัตะมรรค นั้น.
      จัดตุราบาย (145:3.8)
               ฯ ว่า กำเนิฎ อัน ประกอบ ดว้ย ทุกข์, ไม่ มี สบาย นั้น สี่ อย่าง, คือ นรก, เปรต, อะสุระกาย, สัตว เดิยระฉาน.
      จัดตุโลคบาล (145:3.9)
               ฯ ว่า เทวดา เปน ผู้ รักษา โลกย์ มี สี่ องค์.
      จัดตุระมุกข์ (145:3.10)
               ฯ ว่า สิ่ง ของ ที่ เปน สี่ น่า, เหมือน อย่าง พระ มหาปราสาท เปน สี่ มุกข์ เปน ต้น นั้น.
      จัดตุพรหม วิหาร (145:3.11)
               ฯ ว่า วิหาระธรรม สี่, คือ เมตา, กรรุณา, ปมุทิตา, อุเบกขา เปน ต้น.
      จัดตุรงค์ (145:3.12)
               ฯ ว่า ของ ประกอป ไป ดว้ย องค์ สี่ อย่าง.
      จัดตุรงค์ สันนิบาต (145:3.13)
               ฯ ว่า ประชุม พร้อม ดว้ย องค์ สี่.
      จัดตุรัส (145:3.14)
               ฯ ว่า สี่ เหลี่ยม, เหมือน อย่าง อันนา เปน ต้น, ฤๅ คือ ของ กว้าง แล ยาว เท่า กัน นั้น.
      จัดตุษดม (145:3.15)
               ฯ ว่า คน เปน เสนาบดี สี่ ตำแหน่ง, คือ กรม เมือง, เจ้า พระยา ยมราช, กรมวัง, เจ้า พระยา ธรมา, กรมท่า, เจ้า พระยา พระคลัง, กรมนา, เจ้า พระยา พลเทพ.
      จัดตะวา (145:3.16)
               ฯ ว่า สี่ นั้น.
      จัดตะวาศก (145:3.17)
               คือ นับ ปี แต่ หนึ่ง ถึง ที่ สี่ นั้น.
      จัดตุบาท (145:3.18)
               ฯ ว่า สี่ ท้าว, เหมือน อย่าง สัตว สี่ ท้าว ทั้ง ปวง สิ้น ทุก จำพวก นั้น.
      จัดตุปัจไจย (145:3.19)
               ฯ ว่า ของ สี่ สิ่ง, คือ ผ้า, แล เข้า, แล ที่, แล อยา, เรียก ว่า ปัจไจย, เพราะ เปน เครื่อง บริโภค แห่ง สมณ.
      จัด เลือก (145:3.20)
               คือ การ ที่ จัด เลือก สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, เหมือน อย่าง คน เลือก ของ, ๆ ดี ไว้ ตาม ดี, ที่ ชั่ว ไว้ ตาม ชั่ว นั้น.
      จัด ไว้ (145:3.21)
               คือ การ ที่ เลือก ไว้, ฤๅ เรียบ เรียง ไว้, เปน แห่ง ๆ นั้น.
      จัด สัน (145:3.22)
               เลือก สัน, คือ การ ที่ จัด เลือก สัน เอา ตาม ใจ, เหมือน อย่าง การ ไล่ ให้ แปล หนังสือ, ดว้ย ประสงค์ จะ จัด สัน หา คน ฉลาด.

--- Page 146 ---
      จัด หา (146:3.23)
               เลือก หา, คือ การ ที่ จัด แจง หา, เหมือน อย่าง คน อยาก ได้ ของ สิ่ง ใด, ก็ จัด เลือก หา ของ สิ่ง นั้น เปน ต้น.
      จัด เอา (146:3.24)
               เลือก เอา, คือ การ ที่ อยิบ เอา ของ วาง ไว้ ตาม ชอบ ใจ, ฤๅ จัด เลือก เอา คน ไว้ ตาม ชอบ ใจ นั้น.
จาด (146:1)
         เปน ชื่อ คน อย่าง นั้น ก็ มี บ้าง, เหมือน เขา เรียก กัน ว่า, นาง จาด เปน ต้น.
      จาด จ้าน (146:1.1)
               คือ อาการ แห่ง หญิง เปน คน อยาบ, มัก กล่าว คำ ประสำหาว, มัก ภอใจ ทะเลาะ เพื่อน บ้าน เปน ต้น นั้น.
จิตร (146:2)
         คือ ใจ นั้น, เหมือน อย่าง วิญาณ, คือ ใจ ที่ รู้ วิเสฐ รู้ แปลก ๆ รู้ ต่าง ๆ นั้น.
      จิตราภรณ (146:2.1)
               เปน ชื่อ พระเจ้า หลาน เธอ องค์ หนึ่ง.
จี๋ด (146:3)
         คือ สิ่ง อัน เล็ก ที่ สุด, เหมือน อย่าง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่เล็ก ยิ่ง กว่า เพื่อน ทั้ง ปวง หมด นั้น.
      จีดจิ๋ต (146:3.1)
               คือ ชื่อ สิ่ง ของ ที่ มัน เล็ก ๆ มี เขม เปน ต้น.
จืด (146:4)
         คือ รศ ที่ ไม่เปรี้ยว ไม่เค็ม, เหมือน อย่าง รศน้ำ ท่า เปน ต้น.
      จืด ชืด (146:4.1)
               คือ รศ ของ กิน ที่ จืด, มี แตงโม ที่ มัน ไม่ หวาน นั้น เปน ต้น.
      จืด จ้าง (146:4.2)
               คือ รศ สิ่ง ของ ที่ ไม่ ค่น แล้ว จืด จ้าง ไส, เหมือน อย่าง รศ น้ำ ท่า เปน ต้น นั้น.
จุด (146:5)
         คือ การ ที่ เอา ไฟ ไป ใส่ ให้ ติด เข้า ที่ ไต้, ฤๅ ธูป เทียน นั้น, อนึ่ง เอา ดินสอ เขียน เปน วง กลม ๆ ฤๅ เอา เล็บ ยิก ลง ที่ หลัง นั้น.
      จุด ชุด (146:5.1)
               คือ การ ที่ เอา ไฟ จ่อ เข้า ที่ ชุด ให้ มัน ติด ขึ้น นั้น.
      จุด ไต้ (146:5.2)
               คือ การ ที่ เอา ไฟ ให้ ติด เข้า ที่ ไต้, เหมือน อย่าง คน เอา ไต้ ไป จุด ไฟ มา นั้น.
      จุด ทุ่ง (146:5.3)
               เผา ทุ่ง, คือ การ ที่ เอา ไฟ ไป เผา ที่ ทุ่งนา ให้ ไห้ม นั้น, เหมือน คน เผา ทุ่ง เมื่อ ระดู แล้ง เปน ต้น.
      จุด เทียร (146:5.4)
               ตาม เทียร, คือ การ ที่ เอา ไฟ ไห้ ไห้ม ที่ เทียร, ฤๅ เอา เทียร ไป จุด ไฟ มา นั้น.
      จุด ธูป (146:5.5)
               คือ การ ที่ เอา ไฟ มา จุด ที่ ธูป นั้น, ฤๅ เอา ธูป ไป จุด ไฟ เปน ต้น.
      จุด ป่า (146:5.6)
               คลอก ป่า, เผา ป่า, เหมือน อย่าง คน เผา ป่า นั้น.
      จุด ฝี (146:5.7)
               คือ การ ที่ เอา ยา จ่อ เข้า ที่ หัว ฝี นั้น, เหมือน อย่าง คน จุด ฝี ดาศ เปน ต้น.
      จุด ไฟ (146:5.8)
               เผาไฟ, คือ การ ที่ เอา ไฟ จุด เข้า ที่* สิง ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน อย่าง คน คลอก ทุ่ง เปน ต้น นั้น.
      จุด ยา (146:5.9)
               เผา ดว้ย ยา, คือ การ ที่ เอา ยา ไป จุด เข้า ที่ ฝี ฤๅ ที่ แผล, เหมือน อย่าง หมอ เอา ยา จุด ฝี ดาศ นั้น.
      จุด หลัง (146:5.10)
               คือ การ ที่ เอา เล็บ กด ลง ที่ หลัง, เหมือน อย่าง คน หลัง เปน ตุ่ม คัน เอา เล็บ จุด ลง ที่ หลัง นั้น.
      จุด สูญ (146:5.11)
               คือ การ ที่ เอา ดินสอ, ฤๅ ปากไก่ เขียน จุด ลง เปน วง กลม ๆ, เหมือน อย่าง นิคหิต ดัง นี้.
เจ็ด (146:6)
         คือ หนึ่ง ๆ เจ็ด หน นั้น, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, ๗ สิ่ง ฤๅ ๗ หน เปน ต้น นั้น.
เจ็ตบุตร์ (146:7)
         เปน ชื่อ คน ผู้ หนึ่ง, มีใน หนังสือ เทศนา เรื่อง หนัง, ชื่อ เรื่อง มหาชาติ.
เจษดา (146:8)
         คือ พี่ ชาย นั้น.
เจตนา (146:9)
         คือ ใจ นึก จำเภาะ, เหมือน อย่าง คน มี ทรัพย์สิ่ง ของ คิด จำเพาะ ว่า, ของ สิ่ง นี้ เรา จะ ให้ แก่ คน นั้น.
เจตรมาศ (146:10)
         ฯ แปล ว่า เดือนห้า, เปน เดือน ต้นปี ตาม ธรรมเนียม ไทย เปน ต้น นั้น.
เจดตะภูต (146:11)
         เหมือน อย่าง มหาภูตรูป เปน ต้น.
โจทย์ (146:12)
         คือ คำ คน โจท ทาย กัน, เหมือน อย่าง ว่า, เบี้ย ๘๐๐ ต่อ เฟื้อง, ๑๐๐๐๐๐๐* หนึ่ง จะ เปน เงิน เท่าไร นั้น.
      โจทย์ กัน (146:12.1)
               คือ คำ ที่พูดจาไต่ถาม กัน, ถึง เรื่องความ ต่าง ๆ นั้น, เหมือน โจท กัน ว่า, ของ ที่ เปน หนึ่ง นั้น, ได้ แก่ ธรรม สิ่ง ใด.
      โจท จ้าว (146:12.2)
               คือ อาการ ที่ ร่าย จ้าว นั้น, เหมือน อย่าง คน เดิมเปน ข้า อยู่ จ้าว นี้, ภาย หลัง ร่าย ย้าย ไป อยู่ จ้าว โน้น.
      โจทนา (146:12.3)
               เปน ชื่อ คำ ทัก นั้น, เหมือน อย่าง คน โจทนา ว่า, ของ สิ่ง นี้ เดิม เปน ของ เรา กอ่น เปน ต้น.
      โจท นาย (146:12.4)
               คือ การ ที่ คน ร่าย นาย นั้น, เหมือน แต่ กอ่น ตัวเคย อยู่ กับ นาย คน นี้, แล้ว ไป อยู่ กับ นาย อื่น เล่า.
      โจทย์ ว่า (146:12.5)
               คือ คำ ที่ คน โจทย์ ว่า ความ กัน นั้น, เหมือน หนึ่งโจท ว่า ความ กับ จำเลย. อนึ่ง คือ คำ ที่ พูด โจท ทาย กัน นั้น.
จอด (146:13)
         อยุด, ปะทับ, คือ การ ที่ อยุด ภัก อยู่ ที่ ท่า ฤๅ ตาม ทาง, เหมือน คน เอา เรือ แพ ผูก จอด ไว้ ที่ ท่า นั้น.
      จอด ท่า (146:13.1)
               อยุด ท่า, ปะทับ ท่า, คือ จอด ไว้ ที่ ท่า, เหมือน อย่าง พวก บ้าน ท่า เรือ, ฤๅ ท่า เกียน เปน ต้น นั้น.

--- Page 147 ---
      จอด แพ (147:13.2)
               คือ อาการ ที่ เอา แพ จอด ไว้, เหมือน อย่าง แพ ที่เขา จอด ขาย ของ ทั้ง ปวง นั้น.
      จอด เรือ (147:13.3)
               คือ อาการ ที่ เอา เรือ จอด ไว้, เหมือน อย่าง เรือ ทั้ง ปวง, ที่ เขา ผูก ไว้ ตาม น่า ท่า นั้น, ฤๅ กำปั่น ที่ ทอด อยู่ เปน ต้น.
เจียด (147:1)
         เปน ชื่อ ภาชนะ อย่าง หนึ่ง, เปน เครื่อง ยศ สำรับ ขุนนาง ใช้ สอย, รูป คล้าย กับ ต ลุ่ม มี ฝา ปิด มี ผ้า หุ้ม.
      เจียด กระบี่ (147:1.1)
               เปน ชื่อ เจียด แล กระบี่, สำรับ เปน เครื่อง ยศ, ที่ ได้ รับ พระ ราช ทาน ใน หลวง นั้น.
      เจียด เงิน (147:1.2)
               เปน ชื่อ เจียด ที่ ทำ ดว้ย เงิน, สำรับ ใช้ สอย เปน เครื่อง ยศ นั้น.
      เจียด ซื้อ (147:1.3)
               คือ ความ ที่ ฃอ ซื้อ บ้าง หนีด หนอ่ย, เหมือน อยาง ฃอ เจียด ยา เปน ต้น นั้น.
      เจียด ทอง (147:1.4)
               เปน ชื่อ เจียด ที่ ทำ ดว้ย ทอง, สำรับ เจ้า นาย ใช้ สอย เปน เครื่อง ยศ นั้น.
      เจียด ยา (147:1.5)
               คือ การ ที่ ซื้อ ยา นั้น, เหมือน อย่าง คน มา ซื้อ ยา คินิน เปน ต้น.
จน (147:2)
         ขัดสน, กันดาร, คือ ความ ที่ ขัด แคลน ไม่ มี ทรัพย์ สิน เงิน ทอง, เหมือน อย่าง คน เที่ยว ฃอ ทาน เลี้ยง ชีวิตร เปน ต้น.
      จน กันดาร (147:2.1)
               คือ ความ ที่ คน ขัดสน เต็ม ที, โดย ที่ สุด แต่ ชั้น น้ำ ก็ หา กิน ยาก, เหมือน คน จน ไป ใน ทะเล ทราย นั้น.
      จน ข้อ ความ (147:2.2)
               คือ คำ ที่ เขา ถาม แก้ ข้อ ความ ไม่ ได้, เหมือน คน สิ้น ปัญา, สิ้น ความ คิด นั้น.
      จน อุดม ขึ้น (147:2.3)
               คือ ความ ที่ จน รวย ขึ้น, ฤๅ จน มั่งมี ขึ้น นั้น.
      จน ใจ (147:2.4)
               คือ ความ ที่ ขัดสน จน นั้น, เหมือน อย่าง คน มี วาศนา ว่า กล่าว บังคับ, ผู้ นอ้ย ไม่ ขัด ขืน ได้ เปน ต้น.
      จน ได้ (147:2.5)
               คือ ความ ที่ ฃอ เอา จนได้, ฤๅ เพียรเอา จนได้ เปน ต้น นั้น.
      จน นัก (147:2.6)
               คือ ความ ที่ คน ขัดสน จน เต็ม ที, ไม่ มี เงิน ทอง ใช้ สอย นั้น, เหมือน อย่าง พวก ยาจก เปน ต้น.
      จน ถึง (147:2.7)
               คือ ความ ที่ อุษ่าห ไป จน ถึง ไม่ อยุด เสีย เปน ต้น นั้น.
      จน อยู่ (147:2.8)
               คือ ความ ที่ คน นิ่ง จน อยู่, เหมือน คน สิ้น ความ คิด, ไม่ รู้ ที่ จะ ทำ สิ่ง อัน ใด เลี้ยง ชีพ เปน ต้น นั้น.
      จน สิ้น (147:2.9)
               จน หมด, คือ ความ ที่ กิน จน สิ้น เปน ต้น, เหมือน อย่าง บริจาค จน สิ้น ตัว นั้น.
จัน (147:3)
         เปน ชื่อ ตน ไม้ อย่าง หนึ่ง, ลูก กลม บ้าง, แป้น บ้าง, เมื่อ สุก นั้น ศี เหลือง, กลิ่น หอม ดว้ย, กิน ได้.
      จัน ขาว (147:3.1)
               เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, มา แต่ เมือง เทษ, ศี ขาว, แก่น มัน กลิ่น หอม ดี หนัก, ใช้ ทำ ยา.
      จัน คันนา (147:3.2)
               จันทนา, เปน ชื่อ ไม้ จันท์ อย่าง หนึ่ง, คล้าย ๆ จัน ขาว, กลิ่น ไม่ สู้ หอม, เกิด ที่ เมือง ไทย นี้, ใช้ ทำ ยา.
      จัน แดง (147:3.3)
               เปน ชื่อ ไม้ จันท์ อย่าง หนึ่ง, แก่น ศี แดง, กลิ่น ไม่ สู หอม, เกิด ที่ เมือง ไทย นี้ ใช้ ทำ ยา.
จันทบูรี (147:4)
         เปนชื่อเมือง ฝ่ายใต้ เมืองหนึง นั้น อยู่ฝัง ตวันออกทะเล.
จันทิมา (147:5)
         ฯ คือ ดวง สิ่ง ของ ที่ เหมือน ด้วย ดวง จัน นั้น.
จันทรา (147:6)
         ฯ คือ ดวง จันทร์ ทิ เปน ดวง เดือน ใน ท้อง ฟ้า นั้น.
จันโท (147:7)
         ฯ ว่า จันทร์ ที่ บน อากาษ นั้น, เปน ดวง เดือน บน ท้อง ฟ้า นั้น.
จันละเม็ด (147:8)
         เปน ชื่อ ปลา น้ำ เค็ม อย่าง หนึ่ง, ฤๅ เต่า อย่าง หนึ่ง, มัน อยู่ หาด ทราย ตาม ทะเล นั้น.
จันทน์ (147:9)
         เปน ชื่อ ไม้ จันทน์ ทั้ง ปวง นั้น, เหมือ อย่าง จันทน์ เทศ เปน ต้น.
จัณฑาล (147:10)
         คือ คน ดุ ร้าย ต่ำ ชาติ ลามก, แต่ จะ นุ่ง ผ้า ก็ พัน ไว้ แต่ ที่ เอย แล ที่ ลับ เท่า นั้น.
จันทร์ (147:11)
         คือ ดวง จันทร์ ที่ ส่อง แสง สว่าง บน อากาษ นั้น.
จันทร์อังฆาฎ (147:12)
         คือ อาการ แห่ง ดวง จันทร์ เมื่อ ราหู จับ, ฤๅ เงา แผ่นดิน บัง นั้น.
จัน ทัง (147:13)
         เปน ชื่อ ดวง จันทร์ ที่ ส่อง แสง บน ฟ้า นั้น, แต่ เปน คำ แจก ที่ สอง ว่า, ซึ่ง พระ จันทร์ ดวง หนึ่ง.
จัน เทษ (147:14)
         เปน ชื่อ ไม้ จันทน์ ที่ มา แต่ เมือง เทษ นั้น, เปน จันทน์ ที่ หอม นั้น เอง.
จัณฑาล (147:15)
         เปน ชื่อ คน จน ที่ ดุ ร้าย เที่ยว ฃอ ทาน เลี้ยง ชีวิตร นั้น, เหมือน อย่าง คน จัณฑาล เปน ต้น.
จันอับ (147:16)
         เปน ชื่อ ของ หวาน ของ เจ๊ก, มัน ใส่ ของ หลาย สิ่ง, มี ชิ้น ฟัก แล ถั่ว ยิสง เปน ต้น, ปน กัน เขา ขาย นั้น.
จั่น (147:17)
         เปน ชื่อ ทะลาย ดอก หมาก, แล ดอก มะพร้าว ทั้ง ปวง, ที่ ยัง ตุม หุ้ม ห่อ อยู่ นั้น. อนึ่ง เปน เครื่อง* สำรับ ดัก สัตว ต่าง ๆ.
      จั่น ดัก หนู (147:17.1)
               เปน ชื่อ เครื่อง สำรับ ดัก หนู อย่าง หนึ่ง, ทำ ด้วย ไม้ คล้าย ๆ กลี่, มี ไก มี ฝา ปิด, ให้ หนู ติด อยู่ ใน นั้น.

--- Page 148 ---
      จั่น ดัก ปลา (148:17.2)
               เปน ชื่อ จัน สำรับ ดัก ปลา, ทำ ด้วย ไม้ คล้าย ๆ ลอบ, มี ไก, มี งา, สำรับ ให้ ปลา ติด อยู่ ใน นั้น.
      จั่น ดัก เสือ (148:17.3)
               เปน ชื่อ จั่น สำรับ ดัก เสือ, ทำ ด้วย ไม้ คล้าย ๆ เล้า หมู, มี ไก มี ฝา ปิด, ให้ เสือ ติด อยู่ ใน นั้น.
      จั่น มะพร้าว (148:17.4)
               เปน ชื่อ ของ ดอก มะพร้าว, ที่ หุ้ม ห่อ ลูก อ่อน ๆ ไว้, เมื่อ ยัง ไม่ แตก ออก มา นั้น.
      จั่น หมาก (148:17.5)
               เปน ชื่อ อัน หมาก ที่ เปน ดอก, มี กาบ เขียง หุ้ม ห่อ ลูก อ่อน ๆ ไว้, เมื่อ ยัง ไม่ แตก ออก มา นั้น เอง.
      จั่น ห้าว (148:17.6)
               เปน ชื่อ เครื่อง ดัก อย่าง หนึ่ง, มี คัน มี สาย สำรับ ใส่ ลูก นั้น.
จาน (148:1)
         เปน ชื่อ เครื่อง ภาชน์ ทำ ด้วย ดิน, เปน รูป แบน ๆ, แล้ว เขียน เปน ลวด ลาย เคลือบ ศี ต่าง ๆ, สำรับ ใส่ ผัก ใส่ ปลา เปน ต้น นั้น.
      จาน ใหญ่ (148:1.1)
               เปน ชื่อ จาน โต ๆ, ที่ สำรับ ใส่ เข้า, ใส่ ขนม, เหมือน อย่าง จาน ที่ สำรับ กิน โตะ นั้น.
      จาน น้ำ (148:1.2)
               คือ การ ที่ เอา น้ำ ใส่ ลง ใน เข้า สวย, แล้ว กิน เหมือน อย่าง เข้า ต้ม นั้น. อนึ่ง จาน ที่ สำรับ ใส่ น้ำ นั้น.
      จาน หนังสือ (148:1.3)
               เปน ชื่อ การ ที่ เขียน หนังสือ ด้วย เหล็ก, ใน ใบ ลาน, เหมือน อย่าง หนังสือ คัมภีร์ ตาม ธรรมเนียม ไท นั้น.
จ้าน (148:2)
         จัด, คือ ความ ที่ คน ปาก ร้าย, ปาก จัด, เหมือน หญิง เจ้า คารม, ปาก กล้า, มัก แช่ง ด่า ว่า คน ต่าง ๆ
จินดา (148:3)
         นึก, คือ ความ ที่ คิด ใน ใจ, เหมือน อย่าง คน ตรึก ตรอง ว่า, เรา จะ ทำ อย่าง นี้, ฤๅ อย่าง นั้น เปน ต้น. อนึ่ง เปน ชื่อ หัว แหวน.
      จินดามะณี (148:3.1)
               เปน ชื่อ หนังสือ, ว่า ด้วย บังคับ อักษร, ลง ไม้ เอก ไม้ โท เปน ต้น นั้น.
จินตะนาการ (148:4)
         ฯ คือ อาการ ที่ คิด ใน ใจ ต่าง ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คน ตรึกตรอง เปน ต้น.
จินเตตะวา (148:5)
         ฯ คือ คิด ตรึกตรอง ใน ใจ แล้ว, เหมือน อย่าง คน คิด การ ต่าง ๆ นั้น.
จีน (148:6)
         เจ๊ก คือ เปน พวก เจ๊ก ทั้ง ปวง นั้น เอง, เหมือน อย่าง พวก เจ๊ก ที่ เข้า มา อยู่ ใน เมือง ไท นี้.
      จีน แส (148:6.1)
               คือ เจ๊ก ที่ เปน หมอ ยา นั้น, เหมือน อย่าง เจ๊ก ที่ มี วิชา ต่าง ๆ เปน ต้น.
      จีน ห้อ (148:6.2)
               เปน พวก เจ๊ก ที่ ไว้ ผม มวย, มัน ไม่ ไว้ หาง เปีย นั้น.
จุน (148:7)
         ค้ำ, คือ การ ที่ ค้ำ ชู รับ ไว้ นั้น, เหมือน เรือน ซุด, ฤๅ ต้น ไม้ เอน นั้น, ต้อง เอา ไม้ จุน ไว้ ไม่ ให้ ซุด เซ ไป ได้.
      จุน ไว้ (148:7.1)
               คือ การ ค้ำ ไว้ มิ ให้ ล้ม ลง ซุด ลง นั้น, เหมือน อย่าง เอา ตะม่อ ค้ำ ไว้ เปน ต้น.
      จุล (148:7.2)
               เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เลอียด, เหมือน อย่าง แป้ง เปน ต้น นั้น.
      จุน ค้ำ (148:7.3)
               คือ การ ที่ คน เอา ไม้ ค้ำ จุน สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ไว้, ด้วย ประสงค์ จะ มิ ให้ ซุด เซ ไป ได้ นั้น.
      จุน ตะม่อ (148:7.4)
               ค้ำ ตะม่อ, คือ การ ที่ จุน ดว้ย เสา ตะม่อ, เหมือน อย่าง คน เอา เสา ตะม่อ ค้ำ เรือน ที่ ใต้ ถุน นั้น.
      จุล แก่นจันท์ (148:7.5)
               คือ สิ่ง ที่ เลอียด เปน จุล, เหมือน อย่าง แป้ง, เกิด แต่ แก่นจันท์น นั้น.
      จุล ขี้เหล็ก (148:7.6)
               เปน ชื่อ สิ่ง ที่ เลอียด เปน จุล ศี เหลือง, เหมือน อย่าง ขะมิ่น ผง, บังเกิด แต่ แก่น ขี้เหล็ก.
      จุ่น (148:7.7)
               เปน ชื่อ แห่ง ลิง อย่าง หนึ่ง ตัว เล็ก ๆ หาง สั้น ๆ. อนึ่ง เปน อาการ สะดือ คน ทั้ง ปวง ที โป่ง พอง อยู่ นั้น.
      จุ่นจู๋ (148:7.8)
               คือ คำ พูด ถึง ที่ ลับ เด็ก เล็ก ๆ นั้น.
เจน (148:8)
         คือ อาการ ที่ ชำนาญ รู้ แท้, เหมือน อย่าง คน เคย ทำ การ งาน ทั้ง ปวง, ที่ ตัว เคย ทำ บอ่ย ๆ นั้น.
      เจน การ (148:8.1)
               คือ ความ ที่ ชำนาน ใน การ งาน ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน อย่าง คน เคย ทำ การ ต่าง ๆ เปน ต้น.
      เจน ครบ (148:8.2)
               คือ การ ที่ รู้ แท้ เคย ทำ ครบ สิ้น ทุก สิ่ง ทุก ประ- การ, เหมือน คน สาระพัด ช่าง นั้น.
      เจรจา (148:8.3)
               คือ กล่าว คำ พรรณาถึง เรื่อง ความ มาก, เหมือน เขา พูด แทน โขน ฤๅ หนัง นั้น.
      เจน จบ (148:8.4)
               คือ ความ ที่ คน รู้ การ ทั้ง ปวง ชัด เจน จบ หมด ทุก สิ่ง ทุก ประการ.
      เจรจา ปราไสย (148:8.5)
               คือ ความ ที่ พูด จา ดว้ย ความ ปรานี, เปน ต้น ว่า กุศมอนิง นั้น.
      เจน ใจ (148:8.6)
               คือ ความ ที่ คน รู้ ชัด เจน อยู่ ใน ใจ, เหมือน ทาง ที่ คน เคย เดิร ไป มา บอ่ย ๆ นั้น.
      เจน ชัด (148:8.7)
               คือ ความ ที่ คน เคย ทำ เจน ชัด อยู่ ใน ใจ, เหมือน คน ไม่ มี ความ สงไสย เคลือบ แคลง เลย.

--- Page 149 ---
      เจน ตา (149:8.8)
               คือ การ ที่ คน ได้ เคย ถบ, เคย เหน มา มาก, จน เจน ตา, เหมือน คน ที่ เคย เหน กัน ทุก วัน นั้น.
โจร (149:1)
         ขะโมย, ผู้ ร้าย, คือ อาการ ที่ ลัก เอา ทรัพย์ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง เขา ไป นั้น, เหมือน อย่าง พวก ผู้ ร้าย เปน ต้น.
      โจร ผู้ ร้าย (149:1.1)
               คือ อาการ ที่ คน ชัว ที่ ขะโมย ลัก เอา สิ่ง ของ ทั้ง ปวง เขา ไป นั้น.
โจน (149:2)
         โผน, คือ อาการ ที่ กระโดด, เหมือน อย่าง คน กระโดด ข้าม ทอ้ง รอ่ง, ฤๅ กระโดด ลง ใน น้ำ, เหมือน กบ เปน ต้น นั้น.
      โจน จาก เรือน (149:2.1)
               คือ อาการ ที่ กระโดด ลง มา จาก เรือน, เหมือน อย่าง หมา โจน เรือน เปน ต้น.
      โจน น้ำ (149:2.2)
               โลด โผน ลง น้ำ, คือ อาการ ที่ กระโดด ลง ใน น้ำ, เหมือน อย่าง กบ, ฤๅ เขียด เปน ต้น นั้น.
      โจน ลง เรือ (149:2.3)
               คือ อาการ ที่ กระโดด ลง ใน เรือ, เหมือน คน โจน ลง ใน เรือ เพราะ อยาก ไป เร็ว นั้น.
      โจน โผน (149:2.4)
               โจน นั้น ว่า แล้ว, แต่ โผน นั้น คือ โดด โลด เข้า จับ เอา ตัว เปน ต้น นั้น.
จอน (149:3)
         เปน ชื่อ เครื่อง สำรับ ประดับ ที่ หู, ทำ ด้วย ทอง คำ เปน กระหนก ประดับ พลอย งาม นัก.
      จร จาก ที่ (149:3.1)
               คือ อาการ เที่ยว ไป จาก ที่, เหมือน อย่าง ลูกค้า ต่าง ประเทศ, ครั้น ขาย ของ หมด แล้ว, ก็ เที่ยว ไป จาก ที่.
      จอน หู (149:3.2)
               เปน ชื่อ จอน ที่ ไส่ หู ทำ ด้วย ทอง, เปน กระหนก ลวด ลาย ต่าง ๆ, เหมือน ที่ ใส่ กับ มงกุฏ, ฤๅ กระบัง หน้า นั้น.
จ้อน (149:4)
         คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ แคระ อยู่ ไม่ โต ขึ้น ได้ นั้น, เหมือนคน แลสัตว, ฤๅต้นไม้, ที่ ควรจะโตแล้ว, ยังเล็กอยู่ นั้น.
      จ้อน น้ำ นม (149:4.1)
               คือ อาการ ทารก ที่ @ อยู่ ไม่ ใคร่ ใหญ่ ขึ้น นั้น.
      จ้อน ไป (149:4.2)
               คือ แคระ ไป เกร็ง ไป, เหมือน อย่าง ต้น ไม้ ที่ ปลูก ไว้, ไม่ จำเริญ ขึ้น ได้ นั้น.
จวน (149:5)
         เจียน, เกือบ, คือ อาการ ที่ เกือบ, ฤๅ ใกล้, ฤๅ แทบ นั้น, เหมือน เขา มัก พูด กัน ว่า, แก่ จวน จะ ตาย, ฤๅ เข้า ป่า จวน ค่ำ เปน ต้น.
      จวน การ (149:5.1)
               ใกล้ การ, คือ ความ ที การ นั้น จวน เข้า แล้ว นั้น, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, จวน งาน จวน การ เปน ต้น.
      จวน เข้า มา (149:5.2)
               คือ ความ ที่ เกือบ จะ เข้า มา, ฤๅ ใกล้ จะ เข้า มา, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, กำปั่น จวน จะ เข้า มา เปน ต้น นั้น.
      จวน ค่ำ (149:5.3)
               ใกล้ ค่ำ, คือ กาล เกือบ ค่ำ, ฤๅ ใกล้ ค่ำ นั้น, เหมือน เขา พูด กัน ว่า เข้า ป่า จวน ค่ำ เปน ต้น.
      จวน จะ (149:5.4)
               คือ เวลา ที่ เกือบ จะได้, ฤๅ เกือบ จะ เสีย, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, จวน จะ ได้ ตัว อยู่* แล้ว เปน ต้น.
      จวน เจียน (149:5.5)
               หวุด หวิด, คือ ความ ที่ เกือบ ใกล้ นั้น, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, การ นี้ จวน เจียน เต็ม ที เปน ต้น.
      จวน ได้ (149:5.6)
               คือ ความ ที่ เกือบ ได้, ฤๅ ใกล้ ได้ นั้น, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, ของ ที่ หาย ไป นั้น จวน ได้ แล้ว.
      จวน ตาย (149:5.7)
               ใกล้ ตาย, คือ กาล ที่ เกือบ ตาย, ฤๅ แทบ ตาย นั้น, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, คน นั้น เจ็บ จวน ตาย เปน ต้น.
      จวน ถึง (149:5.8)
               เจียน ถึง, แทบ ถึง, คือ เวลา ที่ เกือบ ถึง, ฤๅ ใกล้ ถึง นั้น, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, ความ ตาย นั้น จวน ถึง แล้ว.
      จวน เสีย (149:5.9)
               คือ ความ ที่ เกือบ เสีย, ฤๅ ใกล้ เสีย นั้น, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, เมือง นั้น จวน จะ เสีย แล้ว.
      จวน อยู่ แล้ว (149:5.10)
               คือ ความ ที่ ใกล้ อยู่ แล้ว, เกือบ อยู่ แล้ว, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, ความ ตาย นั้น จวน อยู่ แล้ว.
เจียน (149:6)
         จวน, คือ ความ ที่ แทบ, ฤๅ เกือบ นั้น เหมือน เขา พูด กัน ว่า, เรา เจ็บ เจียน ตาย. อนึ่ง คือ เอา มีด ตัด ผ้า ไป ตาม เส้น ที่ ขีด ลง ไว้ นั้น.
      เจียน ได้ (149:6.1)
               แทบ ได้, คือ ความ ที่ จวน ได้, ฤๅ เกือบ ได้ นั้น, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, วัน นี้ เจียน ได้ ตัว เปน ต้น.
      เจียน ตัด (149:6.2)
               คือ การ ที่ อา มีด ตัด สิ่ง ของ ต่าง ๆ, เจียน ไป ตาม แบบ นั้น, เหมือน คน ตัด เสื้อ, เจียน หนังสือ เปน ต้น.
      เจียน ตาย (149:6.3)
               แทบ ตาย, คือ ความ ที่ จวน ตาย, ใกล้ ตาย, เกือบ ตาย นั้น, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, คราว นี้ เรา เจียน ตาย เปน ต้น.
      เจียน ผ้า (149:6.4)
               คือ การ ที่ คน ตัด ผ้า ด้วย มีด, ฤๅ ตะไกร, เหมือน อย่าง ช่าง เย็บ ผ้า เย็บ เสื้อ, เจียน ผ้า เจียน เสื้อ ด้วย มีด นั้น.
      เจียน พลู (149:6.5)
               คือ การ ที่ ตัด ใบ พลู ด้วย มีด เล็ก ๆ เลื่อย ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ จิบ พลู เขา ทำ เปน ต้น
      เจียน เสีย (149:6.6)
               แทบ เสีย, คือ ความ ที่ จวน เสีย, ใกล้ เสีย, เกือบ เสีย นั้น, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, ครั้ง นี้ เกือบ เสีย เงิน เปน ต้น นั้น.
เจิน (149:7)
         เตลิด, คือ ความ ที่ เที่ยว เลย ไป, ฤๅ เกิน ไป, เหมือน อย่าง คน ไม่ มี บ้าน เรือน, เที่ยว ละเลิง เลย ต่อ ๆ ไป นั้น

--- Page 150 ---
      เจิ่น เที่ยว (150:7.1)
               คือ ความ ที่ เที่ยว เตลิด เปิด เปิง ไป, เหมือน อย่าง คน หนี พ่อ แม่ เที่ยว เลย ต่อ ๆ ไป นั้น.
      เจิ่น ไป (150:7.2)
               เตลิด ไป, คือ อาการ ที่ เที่กว เลย ต่อ ไป, เหมือน อย่าง คน หนี พ่อ แม่, ฤๅ หนี จ้าว นาย เลย ต่อ ๆ ไป, ไม่ กลับ มา เปน ต้น.
จบ (150:1)
         คือ อาการ ที่ สำเร็ทธิ์, ฤๅ แล้ว, ฤๅ สิ้น เรื่อง ราว, ฦๅ ที่ สุด ความ, เหมือน อย่าง คน อ่าน หนังสือ, สิ้น เรื่อง อยุด ลง เปน ต้น.
      จบ กัน (150:1.1)
               คือ อาการ ที่ สิ่น เนื้อ ความ อยุด ลง ครั้ง หนึ่ง, เหมือน อย่าง พระ สงฆ์ เทษนา จบ ลง กัณฑ์ หนึ่ง นั้น.
      จบ ข้อ (150:1.2)
               คือ อาการ ที่ สิ้น ข้อ ลง, ฤๅ หมด ข้อ, เหมือน อย่าง คน อ่าน หนังสือ เรื่อง ราว ต่าง ๆ, สิ้น ข้อ ลง นั้น.
      จบ คำ (150:1.3)
               คือ อาการ สิ้น คำ ที่ พูด นั้น, เหมือน อย่าง คน พูด ถึง เรื่อง ความ ต่าง ๆ จบ สิ้น คำ ลง นั้น.
      จป คัมภีร์ (150:1.4)
               คือ ความ ที่ สิ้น ทั้ง คัมภีร์ นั้น, เหมือน อย่าง คน เล่า เรียน หนังสือ จบ สิ้น หมด ทั้ง คัมภีร์ เปน ต้น.
      จบ บท (150:1.5)
               คือ ความ ที่ อ่าน หนังสือ, ฤๅ ร้อง เพลง สิ้น บท จบ ลง นั้น, เหมือน อย่าง คน สวด หนังสือ จบ ลง นั้น.
      จบ เพลง (150:1.6)
               คือ การ ที่ ร้อง เพลง จบ สิ้น ลง นั้น, ฤๅ คน ที่ แต่ง กลอน เพลง จบ ลง นั้น.
      จบ เรื่อง (150:1.7)
               คือ ความ ที่ จบ สิ้น เรื่อง ราว ลง, เหมือน อย่าง คน อ่าน เรื่อง ราว สิ้น ลง แล้ว นั้น.
      จบ ลง (150:1.8)
               คือ ความ ที่ สิ้น ลง เพียง นั้น, เหมือน อย่าง เทษนา, ฤๅ อ่าน หนังสือ จบ สิ้น ลง นั้น.
      จบ เล่ม (150:1.9)
               คือ ความ ที่ คน อ่าน หนังสือ จบ เล่ม สมุด ลง นั้น, เหมือน อย่าง คน อ่าน หนังสือ สิ้น เล่ม ลง.
      จบ พระ หัตถ์ (150:1.10)
               การ ที่ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ พระ มหา กระษัตริย์, จบ พระ หัตถ์ อวย เปน ทาน นั้น.
      จบ ศีศะ (150:1.11)
               คือ การ ที่ เอา มือ ยก ขึ้น ทำ เหมือน จะ ไหว้ ที่ หัว นั้น.
      จบ หัว (150:1.12)
               คือ การ ที่ เอา สิ่ง ของ วาง เหนือ หัว, เหมือน อย่าง คน เอา ไทยธรรม, จบ เหนือ หัว แล้ว ให้ เปน ทาน นั้น.
      จบ แล้ว (150:1.13)
               คือ สิ้น เรื่อง ลง ไม่ มี ต่อ ไป อีก นั้น, เหมือน อย่าง สำเร็ทธ์ แล้ว เปน ต้น นั้น.
จับ (150:2)
         กุม, คือ การ ที่ เอา มือ ถือ มีด พร้า, ฤๅ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ไว้, ฤๅ จับ ถือ ผู้คน มิ ให้ หนี ได้, เหมือน จับ ผู้ ร้าย เปน ต้น นั้น.
      จับ กัน (150:2.1)
               คือ การ ที่ คอย จับ ซึ่ง กัน แล กัน, เหมือน อย่าง คน คอย จับ คน สูบ ฝิ่น, ฤๅ จับ สัก เปน ต้น.
      จับ กุม (150:2.2)
               คือ การ จับ แล้ว ยึด เอา ตัว ไว้, เหมือน อย่าง คน จับ ผู้ร้าย เปน ต้น นั้น.
      จับ ไข้ (150:2.3)
               คือ ความ ที่ คน ป่วย เปน ไข้ จับ ตาม ธรรมดา, เหมือน อย่าง คน เปน ไข้ จับ สั่น, มัน จับ ทุก วัน บ้าง, เว้น บ้าง.
      จับ คน (150:2.4)
               คือ การ ที่ ผู้ ตั้ง กอง คอย จับ คน, เหมือน อย่าง เขา วาง คน ไว้, คอย จับ ขโมย เปน ต้น นั้น.
      จับ ใจ (150:2.5)
               คือ เสียง ไพเราะ เปน ที่ ชอบ ใจ นัก นั้น, เหมือน อย่าง เสียง เพลง มะโหรี เปน ต้น.
      จับ เดิม (150:2.6)
               คือ ความ ที่ ตั้ง แต่ แรก ต้น นั้น, เหมือน อย่าง ตั้ง ปถมกัล์ป นั้น.
      จับปิ้ง (150:2.7)
               เปน ชื่อ ของ สำรับ ผูก บั้นเอว เด็ก, ปิด บัง ที่ ลับ ของ เด็ก ผู้ หญิง, ทำ ด้วย เงิน บ้าง, ทอง บ้าง, เหมือน เด็ก ไท นั้น.
      จับ ปลา (150:2.8)
               คือ การ ที่ เอา มือ ถือ ยืด ตัว ปลา ไว้, เหมือน อย่าง คน งม กุ้ง งม ปลา เปน ต้น.
      จับ มือ ถือ แขน (150:2.9)
               เปน คำ คน พูด เมื่อ เขา ว่า, ตัว ลัก ขะโมย ของ เขา, พูด แก่ ตัว ว่า, จับ มือ ถือ แขน ข้า ได้ ฤๅ.
      จับ ยาม (150:2.10)
               คือ การ ของ พวก หมอ ดู, เหมือน เขา ให้ ดู ของ หาย ว่า, จะ ได้ ฤๅ ไม่, หมอ จึ่ง จับ นิ้ว มือ นับ ตาม ยาม นั้น.
      จับ หืด (150:2.11)
               เปน ชื่อ โรค อย่าง หนึ่ง, มัน ให้ หอบ เปน กำลัง, ราว กะ ว่า จะ ขาด ใจ ตาย เปน ต้น.
      จับ เอา (150:2.12)
               คือ การ ที่ ถือยึด ไว้ เปน ต้น นั้น, เหมือน อย่าง คน จับ ต้อง แล้ว เอา ไป ด้วย นั้น.
จาบ จ้วง (150:3)
         คือ ความ ที่ ดู หมิ่น พูด จา ล่วง เกิน, เหมือน อย่าง บ่าว ด่า นาย เปน ต้น นั้น.
จิบ (150:4)
         ชิม, ลิ้ม, คือ อาการ ที่ กิน น้ำ ด้วย ปาก หนิด หน่อย ภอ รู้ รศ, เหมือน อย่าง คน ค่อย ๆ กิน น้ำ ร้อน ที ละ จิบ ๆ นั้น.
      จิบ ดู (150:4.1)
               ลิ้ม ดู, คือ อาการ ที่ ชิม ดู หนีดหน่อย ภอ รู้ รศ, เหมือน อย่าง คน ชิม แกง ฤๅ ชิม ยา เปน ต้น.
      จิบ เอา (150:4.2)
               คือ การ ที่ เอา ของ เปน น้ำ เหมือน น้ำ นมโค เปน ต้น, ใส่ เข้า ที่ ปาก ลิ้ม ดู หนิดหน่อย นั้น.

--- Page 151 ---
      จีบ (151:4.3)
               คือ การ ที่ เอา มือ ทำ ผ้า ให้ พับ ไป พับ มา เล็ก ๆ, ฤๅ ทำ พลู ให้ ม้วน กลม ๆ เล็ก ๆ, เหมือน คน จีบ ผ้า, ฤๅ จีบ พลู เปน ต้น นั้น.
      จีบ ขนม (151:4.4)
               คือ การ ที่ เอา แป้ง ปั้น แล้ว จีบ ทำ เปน ขนม เคม มัน, เหมือน อย่าง ขนม จีบ ที่ เขา ทำ นั้น.
      จีบ ผ้า (151:4.5)
               คือ การ ที่ เอา ผ้า มา จีบ พับ ไป พับ มา, เหมือน อย่าง พวก พระ สงฆ์ จีบ ผ้า สบง ฤๅ จีวร เปน ต้น.
      จีบ ปาก (151:4.6)
               คือ อาการ ที่ คน ทำ ปาก จีบ ห่อ* เข้า แล้ว, ดัด จริต พูด ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง หญิง แสนงอน เปน ต้น นั้น.
      จีบ พลู (151:4.7)
               คือ การ ที่ เอา พลู มา พัน จีบ เข้า, สำรับ กิน กับ หมาก, เหมือน อย่าง พวก ไท กิน ทุก คน ๆ นั้น.
จุบ (151:1)
         ดูด, คือ การ ที่ จุบ เอา ด้วย ปาก, เหมือน อย่าง ธรรมเนียม พวก หมออะเมริกา, เมื่อ จะไป จากกัน, มัก จุบกันด้วยปาก นั้น.
      จุบ แจง (151:1.1)
               เปน ชื่อ หอย อย่าง หนึ่ง ตัว เท่า นิ้ว มือ, ยาว ค่า องคุลี, อยู่ ตาม ป่า แสม ริม ชาย ทะเล, แกง กิน ดี นัก.
      จุบ จับ (151:1.2)
               เปน เสียง คน กิน เข้า ดัง ที่ ปาก จุบจับ บ้าง.
      จุบ จิบ (151:1.3)
               คือ อาการ ที่ กิน ของ, มี เสียง ปาก ดัง จุบจิบ มี บ้าง, เหมือน อย่าง คน มัก กิน ของ เล็ก น้อย นั้น.
      จุบ หอย (151:1.4)
               คือ อาการ ที่ กิน หอย ขม ฤๅ หอย จุบแจง ที่ เขา แกง แล้ว, เมื่อ กิน นั้น เอา ปาก ดูด กะแทก แรง นั้น.
จูบ (151:2)
         คือ อาการ ที่ เอา จมูก จด เข้า ที่ แก้ม, ฤๅ ที่ นม, แล้ว สูด ลม เข้า ไป แรง ๆ, เหมือน อย่าง ชาย หนุ่ม หญิง สาว เคล้า คลึง ก้น นั้น.
      จูบ กอด (151:2.1)
               คือ การ ที่ เอา จมูก ให้ ถูก ที่ แก้ม แล้ว สูด ลม เข้า ไป, แล มือ ก็ รวบ รัด เอา ตัว เขา เข้า ด้วย นั้น.
      จูบ แก้ม (151:2.2)
               คือ อาการ ที่ เอา จมูก กด เข้า ที่ แก้ม, สูด ลม เข้า ไป, เหมือน ผัว เมีย อยอก กัน เปน ต้น.
เจ็บ (151:3)
         ป่วย, ปวด, คือ ความ ที่ ป่วย ปวด ที่ เนื้อ ตัว, เหมือน อย่าง ตะขาบ กัด งู กัด, ฤๅ ต้อง ทุบ ตี แล เปน โรค ต่าง ๆ เปน ต้น.
      เจ็บ ไข้ (151:3.1)
               ป่วย ไข้, คือ อาการ ที่ คน เปน โรค ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง คน เปน ไข้ พิศม์, ฤๅ ไข้ จับ เปน ต้น.
      เจ็บ แค้น (151:3.2)
               เคือง แค้น, คือ ความ ที่ โกรธ ขัด เคือง ใน ใจ นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ เปน สัตรู ชิง เอา ลูก เมีย ไป ได้, ฤๅ เมีย มี ชู้ เปน ต้น.
      เจ็บ ใจ (151:3.3)
               เคือง ใจ, ระกำ ใจ, คือ ความ ที่ โกรธ คัด แค้น ใจ, เหมือน อย่าง หญิง ขี้ หึงษ์, เมื่อ ผัว ทำ นอก ใจ มี เมีย น้อย, แล้ว เขา ทิ้ง ให้ ตัว ร้าง อยู่ นั้น.
      เจ็บ จำ (151:3.4)
               คือ การ ที่ ได้ ความ เจ็บ ใจ แล้ว ก็ จำ ไว้, เหมือน คน ถูก เขา ยืม เอา ของ ไป แล้ว, กลับ ฉ้อ เอา เสีย ด้วย ต้อง จำ ไว้ นั้น.
      เจ็บ จิตร (151:3.5)
               ช้ำ ใจ, แค้น ใจ, อก กรม, คือ ความ เจ็บ ใจ นั้น, เหมือน ชาย ที่ เมีย มี ชู้, ฤๅ หญิง ที่ ผัว มี เมีย น้อย, ฤๅ เขา ด่า ว่า เสียบ แทง ด้วย คำ อยาบ, จะ โต้ ตอบ เขา มิ ได้ นั้น.
      เจ็บ ช้ำ (151:3.6)
               บอบ ช้ำ, คือ ความ เจ็บ ช้ำ อยู่ ใน ใจ, ฤๅ บาด แผล ที่ ช้ำ เจ็บ เพราะ ถูก ทุบ ตี, เหมือน คน ที่ ต้อง ด่า ว่า, ฤๅ ต้อง ทุบ ถอง โบย ตี เปน ต้น นั้น.
      เจ็บ ปวด (151:3.7)
               คือ ความ ปวด เจ็บ เปน กำลัง, เหมือน อย่าง คน เปน ฝี ยัง ไม่ แตก หนอง, ฤๅ เปน ต้อ ใน ลูก ตา นั้น.
      เจ็บ ป่วย (151:3.8)
               ป่วย ไข้, คือ ควาย ป่วย เจ็บ เปน โรค ต่าง ๆ, เหมือน คน ป่วย เปน ไข้ พิศม์, ฤๅ เปน พยาทธิ์, ขี้เรื้อน, กุษฐัง นั้น.
      เจ็บ แผล (151:3.9)
               ปวด แผล, คือ ความ เจ็บ ที่ เปน แผล นั้น, เหมือน อย่าง คน เจ็บ ที่ แผล ยิ่ง นัก, เพราะ เปน ตะมอย, ฤๅ ถูก ฟัน แทง นั้น.
      เจ็บ ฝี (151:3.10)
               ปวด ฝี, คือ ความ เจ็บ เปน ฝี นั้น, เหมือน อย่าง คน เปน ฝี ต่าง ๆ, เจ็บ ปวด เหลือ กำลัง นั้น.
      เจ็ป มือ (151:3.11)
               ปวด มือ, คือ ความ เจ็บ ที่ มือ นั้น, เหมือน คน มือ เจ็บ เปน ตะมอย, ฤๅ เปน บาด แผล ต่าง ๆ นั้น.
      เจ็บ อก (151:3.12)
               กรม อก, คือ ความ เจ็บ ที่ อก นั้น, เหมือน อย่าง คน เปน ฝี ใน ทรวง อก, ฤๅ เขา พูด แดก ดัน ให้ เจ็บ อก นั้น.
จอบ (151:4)
         เปน ชื่อ เครื่อง ใช้ อย่าง หนึ่ง, สำรับ ถาก หญ้า ฟัน ดิน, เขา ทำ ด้วย เหล็ก, เหมือน ชาว สวน, ชาว นา ใช้ ฟัน ดิน ถาก หญ้า นั้น.
      จอบ เสียม (151:4.1)
               จอบ นั้น รูป มัน โต กว่า เสียม, เสียม นั้น รูป มัน เล็ก, แต่ รูป มัน คล้าย ๆ กัน.
      จอบ จีน (151:4.2)
               เปน ชื่อ เครื่อง สำรับ ใช้ ฟัน ดิน ถาก หญ้า, ทำ ด้วย เหล็ก, มี ด้ำ คล้าย ขวาน ปะลู, เปน ของ พวก เจ็ก ใช้.
      จอบ มือ (151:4.3)
               คือ จอบ มี ดั้ม ยาว สำรับ ขุด ด้วย มือ นั้น.
      จอบ สวน (151:4.4)
               จอบ ไท, คือ จอบ สำรับ ใช้ ทำ สวน, เหมือน อย่าง พวก ชาว สวน ใช้ ฟัน ดิน ลอก ท้อง ร่อง เปน ต้น.

--- Page 152 ---
      จอบ หัว (152:4.5)
               คือ จอบ เขา เอา ไม้ ใส่ เปน หัว, คล้าย จอบ จีน นั้น.
จวบ (152:1)
         (dummy head added to facilitate searching).
      จวบ จวน (152:1.1)
               คือ ความ ที่ เที่ยว หา กัน, ภอ ภบ ก็ ภอ ถึง ตัว เข้า พร้อม กัน นั้น, เหมือน คน เดิร ไป สวน ก้น เข้า กลาง ทาง.
      จวบ ภบ (152:1.2)
               คือ ความ ที่ เกือบ จะ ภบ กัน นั้น, เหมือน คน เที่ยว ตาม หา สิ่ง ของ ใกล้ จะ ภบ เปน ต้น นั้น.
เจียบ (152:2)
         เปน เสียง อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง เสียง ลูก ไก่ นั้น, เขา มัก พูด กัน ว่า, ลูก ไก่ มัน ร้อง เจียบ ๆ.
จม (152:3)
         มิด ลง, คือ ของ ตก ลง ใน น้ำ มัน ลง ไป อยู่ เบื้อง ต่ำ นั้น, เหมือน คน เอา ค้อน หิน ฤๅ เหล็ก, แล ทอง แดง เปน ต้น, ทิ้ง ลง ไป ใน น้ำ นั้น.
      จม กั่น (152:3.1)
               มิด กั่น, คือ อาการ ของ ที่ หยัก เปน กั่น, กด ให้ จม เข้า ไป ใน รู, เหมือน คน เอา กั่น มีด, กด ให้ จม เข้า ไป ใน ด้ำ มีด นั้น.
      จม โคน (152:3.2)
               มิด โคน, คือ การ ที่ เอา ของ แหลม ๆ กด จม เข้า ไป ถึง โคน, เหมือน คน เอา หอก แทง สัตว จม ถึง โคน นั้น.
      จม เงี่ยง (152:3.3)
               มิด เงี่ยง, คือ การ ที่ เอา ของ มี เงี่ยง กด จม มิด เข้า ไป, เหมือน คน เอา ชะนัก แทง จรเข้ จม เงี่ยง เข้า ไป. เปน ต้น นั้น.
      จม ดิน (152:3.4)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ จม อยู่ ใน ดิน, เหมือน คน เอา สพ ลง ฝัง ไว้ ใน ดิน เปน ต้น.
      จม น้ำ (152:3.5)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ จม อยู่ ใน น้ำ, เหมือน คน ที่ ว่าย น้ำ ไม่ เปน, เมื่อ ตก น้ำ ย่อม จม ลง ไป นั้น.
      จม นอน อยู่ ในใจ (152:3.6)
               คือ สิ่ง ของ ที่ มัน นอน จม อยู่ ในใจ, เหมือน อย่าง ตัณหา นุไสย เปน ต้น นั้น.
      จม ไป (152:3.7)
               คือ ของ หนัก, น้ำ ไม่ อาจ ทรง ไว้ ได้, ของ มั้น* ตก ลง ใน น้ำ มิด ลง ไป สู่ พื้น ดิน นั้น.
      จม เปรอะ (152:3.8)
               คือ เปรอะ ปรึง เหมือน คน โรก เจ็บ ตา, มี ขี้ ตา ติด อยู่ ที่ ตา มาก, ว่า ขี้ ตา จม เปรอะ.
      จม มิด (152:3.9)
               ดำ มิด, คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ จม มิด ลง ไป ใน น้ำ, เหมือน อย่าง คน ดำ มิด ลง ไป ใน น้ำ นั้น.
จั้ม (152:4)
         คือ อาการ ที่ กระทำ เร็ว, เหมือน อย่าง คน แข่ง เรือ, ภาย จั้ม ถี่ ๆ หนัก นั้น,
จาม (152:5)
         คือ เสียง อย่าง หนึ่ง, เปน เสียง ดัง พลุ่ง ออก มา จาก ปาก, จาก จมูก, คล้าย กัน กับ ไอ นั้น.
จามจุรี (152:6)
         เปน ชื่อ สัตว อย่าง หนึ่ง สี่เท้า, ขนมัน เส้น เล็ก เลอียด นัก ศี ขาว ๆ.
จามมะรี (152:7)
         เปน สับท แปล ว่า ตัว จามจุรี, ที่ มัน มี เส้น ขน เล็ก เลอียด นัก นั้น.
จาม ด้วย มีด (152:8)
         คือ อาการ ที่ ฟัน ลง ด้วย มีด, เหมือน อย่าง คน ผ่า มะพร้าว อ่อน, ฤๅ ผ่า ฟืน เปน ต้น นั้น.
จาม หัว ลง (152:9)
         คือ การ ที่* เอา มีด ฤๅ ไม้* ผ่า หัว ลง ไป, เหมือน อย่าง คน ทุบ ปลา, ทุบ หมู เปน ต้น นั้น.
จิ่ม (152:10)
         คือ การ ที่ ใส่ จด เข้า ไป หนิด ๆ หนึ่ง, เหมือน อย่าง คน ใส ดาน ประตู กด เข้า ไว้ สัก ครึ่ง กะเบียด นั้น.
จิ้ม (152:11)
         คือ การ ที่ จุ่ม ลง ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน เอา มือ จุ่ม ลง ไป ใน น้ำ, ฤๅ เอา ปาก ไก่ จิ้ม ลง ใน น้ำ หมึก นั้น.
      จิ้ม เข้า (152:11.1)
               คือ เอา นิ้ว มือ ถิ้ม ลง ไป ใน ของ อัน ใด ๆ นั้น.
      จิ้ม ดูด (152:11.2)
               คือ เอา นิ้ว มือ จุ่ม ลง ใน ของ เหลว, แล้ว เอา ใส่ เข้า ใน ปาก ดูด เข้า ไป เปน ต้น*.
      จิ้ม น้ำ พริก (152:11.3)
               คือ การ ที่ เอา กับเข้า จิ้ม ลง ใน น้ำ พริก นั้น, เหมือน พวก ไท เอา ผัก ต้ม จิ้ม น้ำ พริก กิน กับ เข้า นั้น.
      จิ้ม น้ำ หมึก (152:11.4)
               คือ การ ที่ คน เอา ปาก ไก่, จิ้ม ลง ใน น้ำ หมึก, เขียน หนังสือ เปน ต้น นั้น.
      จิ้ม ฟัน (152:11.5)
               แยง ฟัน, คือ การ ที่ คน เอา ไม้ เล็ก ๆ จิ้ม ตาม ระหว่าง* สี้ ฟัน นั้น.
      จิ้ม ลิ้ม (152:11.6)
               คือ การ ที่ เอา นิ้ว มือ ใส่ ให้ ถูก ของ หนิดหน่อย แล้ว, เอา จด เข้า ที่ ลิ้น นั้น.
จุม พิตร์ (152:12)
         คือ การ ที่ กอด จูบ เคล้า คลึง กัน, เหมือน อย่าง ผัว เมีย ร่วม สมัค สังวาค* นั้น.
จุ่ม (152:13)
         คือ การ ที่ คน เอา สิ่ง ของ ทั้ง ปวง จุ่ม ลง ไป ใน น้ำ, เหมือน คน เอา ผ้า ชุบ ลง ใน น้ำ, ฤๅ เอา หัว จุ่ม ลง ใน น้ำ นั้น.
      จุ่ม น้ำ (152:13.1)
               ดำ น้ำ, คือ การ ที่ เอา ของ จุ่ม ลง ไป ใน น้ำ, เหมือน อย่าง คน จุ่ม ตัว ลง ใน น้ำ เปน ต้น นั้น.
      จุ่ม มือ (152:13.2)
               ชุบ มือ, คือ การ ที่ เอา มือ จุ่ม ลง ใน น้ำ ฤๅ ใน ชาม, เหมือน อย่าง คน ล้าง มือ เปน ต้น นั้น.
      จุ่ม ตัว (152:13.3)
               ชุบ ตัว, คือ การ ที่ เอา ตัว จุ่ม ลง ใน น้ำ, เหมือน อย่าง คน ที่ เขา อาบ น้ำ นั้น.

--- Page 153 ---
      จุ่ม ลง (153:13.4)
               ดำ ลง, คือ การ ที่ เอา ของ ทั้ง ปวง, จุ่ม ลง ไป ใน ที่ ใด ๆ นั้น.
      จุ่ม หัว (153:13.5)
               ดำ หัว, คือ เอา หัว จม ลง ไป ใน น้ำ, เหมือน อย่าง คน อาบ น้ำ ดำ หัว เปน ต้น นั้น.
จุ้ม (153:1)
         คือ เอา สิ่ง ของ จุ้ม ลง ไป ใน ของ สิ่ง ใด ๆ, เหมือน อย่าง คน เอา ผัก ต้ม จิ้ม น้ำ พริก กิน นั้น.
แจ่ม (153:2)
         แจ้ง, ไส, สว่าง, คือ อาการ ที่ ไม่ มืด มัว ไส กระจ่าง อย่*, เหมือน ดวง อาทิตย์ อัน ปราศจาก เมฆ หมอก ทั้ง ปวง, ไม่ มี มลทิน นั้น.
      แจ่ม กระจ่าง (153:2.1)
               ไส สว่าง, คือ อาการ ที่ กระจ่าง แจ่ม ไส บริสุทธิ์ เปน อัน ดี, เมือน กระจก, ฤๅ เครื่อง แก้ว, ที่ เขา เช็ด สอาด ดี นั้น.
      แจ่ม ใจ (153:2.2)
               แจ้ง ใจ, คือ ความ ที่ สว่าง ใน ใจ, เหมือน คน พิจารณา ธรรม อัน ใด, ๆ ย่อม เหน แจ้ง แจ่ม ใส อยู่ ในใจ นั้น.
      แจ่ม จำรัส (153:2.3)
               รุ่ง เรือง, คือ อาการ แห่ง รัศมี แจ่ม ไส, เหมือน แสง อาทิตย์, ที่ ไส สว่าง เปน อัน ดี นั้น.
      แจ่ม แจ้ง (153:2.4)
               ไพโรจ, คือ อาการ ที่ สว่าง แจ้ง มิ ได้ มืด มัว, เหมือน อย่าง เพลา สอง โมง เช้า เปน ต้น.
      แจ่ม จันทร์ (153:2.5)
               คือ อาการ ที่ สว่าง ด้วย แสง จันทร์, เหมือน เมื่อ วัน เพ็ญ กลาง เดือน นั้น.
      แจ่ม แจ้ง (153:2.6)
               รุ่ง เรือง, คือ อาการ ที่ แจ่ม แจ้ง ใส, มิ ได้ มืด มัว นั้น, เหมือน อย่าง เพลา กลาง วัน เปน ต้น.
      แจ่ม ไส (153:2.7)
               กระจ่าง, คือ อาการ ที่ ไส สว่าง เปน อัน ดี, เหมือน อย่าง คน ล้าง เช็ด ถ้วย แก้ว, ให้ ไส สอาจ เปน อัน ดี นั้น.
โจม (153:3)
         โถม, โลด, โผน, คือ กา.* ระโดด* เข้า จับ กุม, ฤๅ กระ- โดด โจน เข้า รบ พุ่ง, เหมือน เสือ กระโดด เข้า จับ สัตว เปน ต้น นั้น.
      โจม กลาง (153:3.1)
               คือ การ ที่ กระโจม ลง ใน ท่ำกลาง, เหมือน อย่าง คน กิน เข้า ต้ม, มัก โจม ตัก ลง ที่ กลาง ๆ นั้น.
      โจม จับ (153:3.2)
               โถม จับ, คือ การ ที่ กระโจม เข้า จับ, เหมือน อย่าง แมว กระโดด เข้า ตะครุบ หนู เปน ต้น.
      โจม โจน (153:3.3)
               โลด โจน, คือ อาการ ที่ โดด ขึ้น แล้ว ทำ ให้ ตัว พ้น จาก ที่ ยืน, ลอย ไป สู่ ที่ อื่น นั้น.
      โจม ตี (153:3.4)
               โดด ตี, คือ อาการ ที่ กระโดด เข้า ตี เอา, เหมือน อย่าง แม่ ทับ ซุ่ม ทหาร ไว้, ครั้น เหน ฆ่า ศึก มา ก็ โดด โจม ตี เอา ฆ่า ศึก นั้น.
      โจม ทับ (153:3.5)
               คือ อาการ ที่ กระโจม เข้า ตี ทับ, เหมือน พวก ทหาร, ยก ถลึ้ง ออก ตี ทับ ฆ่า ศึก ให้ แตก ฉาน นั้น.
      โจม ฟัน (153:3.6)
               กระโดด ฟัน, คือ อาการ ที่ กระโจม เข้า ฟัน เอา, เหมือน ฆ่า ศึก ซุ่ม อยู่ คอย ทำ ร้าย, เหน ได้ ที ก็ กระโจม โจน เข้า ฟัน เอา.
      โจม รบ (153:3.7)
               โถม รบ, คือ อาการ ที่ กระโจม เข้า รบ, เหมือน นาย ทับ ซุ่ม ทหาร ไว้, เหน ได้ ท่วง ที ก็ กระโจม เข้า รบ นั้น.
จอม (153:4)
         ยอด, คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ มี ยอด เปน จอม สูง ขึ้น ไป, เหมือน อย่าง จอม เขา, ฤๅ จอม เกล้า, จอม ปลวก เปน ต้น.
      จอม เกล้า (153:4.1)
               คือ อาการ แห่ง มงกุฏ ที่ มี ยอด เปน จอม สูง ขึ้น ไป, เปน เครื่อง สำรับ ประดับ บน ศีศะ นั้น.
      จอม เกษ (153:4.2)
               คือ อาการ แห่ง เครื่อง ประดับ ทั้ง ปวง, ที่ สำรับ ใส่ บน ศีศะ เหมือน อย่าง เกี้ยว, ฤๅ ชะฎา เปน ต้น.
      จอม กระษัตริย์ (153:4.3)
               คือ กระษัตริย์ ที่ เปน ยอด กระษัตริย์, เปน กระษัตริย์ อัน สูง, เหมือน ด้วย บรมจักรพรรติ นั้น.
      จอม เขา (153:4.4)
               คือ อาการ แห่ง ยอด เขา, ที่ สูง เปน จอม ขึ้น ไป, เหมือน อย่าง จอม ปลวก เปน ต้น นั้น,
      จอม ขวัน (153:4.5)
               คือ ของ ที่ มี ยอด สำรับ ประดับ อยู่ บน ขวัน, เหมือน ชฏา เปน ต้น, ฤๅ ยอด แห่ง ความ จำเริญ นั้น เอง.
      จอม จักร์ (153:4.6)
               คือ ยอด จักร์, เหมือน อย่าง พระยา มหา จักรพรรติ เปน ต้น นั้น.
      จอม ไตร (153:4.7)
               คือ สิ่ง ที่ มี ยอด สาม, ฤๅ สาม ยอด, เหมือน อย่าง รัตณไตร เปน ต้น นั้น.
      จอม ทอง (153:4.8)
               เปน ชื่อ ยอด แห่ง กอง ทอง ทั้ง ปวง, เหมือน คน เอา ทอง มา กอง ให้ สูง เปน จอม ขึ้น ไป นั้น. อนึ่ง เปน ชื่อ วัด ใน หลวง ด้วย.
      จอม นาง (153:4.9)
               คือ นาง ที่ เปน จอม อยู่ ใน พระ ราชวัง นั้น, เหมือน อย่าง นาง กระษัตริย์, นาง พระยา เปน ต้น.
      จอม ปราสาท (153:4.10)
               คือ อาการ แห่ง ยอด ปราสาท เปน จอม สูง ขึ้น ไป, เหมือน อย่าง ยอด พระ มหา ปราสาท นี้ เปน ต้น.

--- Page 154 ---
      จอม ปลวก (154:4.11)
               คือ ดิน ปลวก ที่ สูง เปน จอม ขึ้น ไป, เหมือน อย่าง หัว ปลวก ทั้ง ปวง นั้น.
      จอม ภพ (154:4.12)
               คือ ยอด พิภพ มั้น* เอง, เหมือน อย่าง พระเจ้า แผ่น ดิน เปน ต้น นั้น.
      จอม มารดา (154:4.13)
               คือ มารดา ที่ เปน จอม, เปน ใหญ่, เหมือน อย่าง มารดา ของ พระองค์ เจ้า เปน ต้น นั้น.
      จอม ราช (154:4.14)
               คือ ยอด พระยา, เหมือน อย่าง พระ มหา กระษัตริย์ เปน ต้น.
      จอม โลกย์ (154:4.15)
               คือ ของ ที่ เปน ยอด ใน โลกย์, เหมือน อย่าง พระ รัตนไตร, ฤๅ คน ที่ ดี กว่า คน ทั้ง ปวง เปน ต้น.
จอม (154:1)
         เปน ชื่อ ปลา อย่าง หนึ่ง ตัว เล็ก ๆ, เขา ใส่ เกลือ ใส่ เข้า ขั้ว, ยัด ใส่ ไห ไว้ กิน กับ เข้า.
      จอม ลง (154:1.1)
               คือ การ ที่ ใส่ ลง รวม พร้อม กัน, เหมือน ตั้ง ม่อ แกง ไว้ บน เตา ไฟ แล้ว, เอา ผัก ใส่ รวม ลง นั้น.
เจียม (154:2)
         เปน ชื่อ แห่ง สัตว ใน พวก แกะ. อนึ่ง เครื่อง ลาด ศี แดง ที่ เขา ทำ ด้วย ขน แกะ. อนึ่ง การ ที่ ถ่อม ใจ ลง นั้น.
      เจียม กาย (154:2.1)
               ถ่อม กาย, คือ การ ที่ ถ่อม ตัว ลง ไม่ ถือ อหังการ ว่า, ตัว เรา ก็ เปน คน ดี คน หนึ่ง นั้น.
      เจียม ใจ (154:2.2)
               คือ ความ ที่ ถ่อม ใจ ลง, เหมือน อย่าง คน ที่ ไม่ ถือ ตัว เปน ต้น.
      เจียม ตัว (154:2.3)
               คือ ความ ที่ ถ่อม ตัว ลง นั้น, เหมือน อย่าง ท่าน ที่ เกิด ใน กระกูล อัน สูง, แล ถ่อม ตัว ลง นั้น.
      เจียม วาจา (154:2.4)
               คือ ความ ที่ ถ่อม ถ้อย คำ, ไม่ พูด คำ อยาบ, พูด ต่ำ ตัว, เหมือน อย่าง คน สุภาพ เปน ต้น.
เจี่ยม เจี้ยม (154:3)
         คือ ลักษณ แห่ง หญิง, ที่ มี หน้า ขาว งาม ด้วย, เหมือน นาง งิ้ว ที่ เขา เขียน ไว้ ใน กระจก นั้น.
เจิม (154:4)
         เฉลิม, คือ การ ที่ เอา แป้ง หอม น้ำมัน หอม, แต้ม ที่ หน้า ผาก บ้าง, ที่ อก บ้าง, เมื่อ เขา ทำ ขวัน นาค เปน ต้น นั้น.
      เจิม กระแจะ (154:4.1)
               คือ การ ที่ เอา กระแจะ เจิม ตาม หน้า ตาม อก, เหมือน อย่าง เขา ทำ ขวัน นั้น.
      เจิม ขวัน (154:4.2)
               คือ การ ที่ เฉลิม เติม แต้ม เข้า ที่ ขวัน ที่ ผม เวียน วน อยู่ บน หัว นั้น.
      เจิม จวง จันทน์ (154:4.3)
               คือ การ ที่ เฉลิม ด้วย จุล แก่น จันทน์ นั้น, เหมือน อย่าง ที่ จุด เจิม ด้วย จวง จันทน์ เปน ต้น นั้น.
      เจิม จิ้ม (154:4.4)
               คือ การ ที่ เฉลิม จด เข้า นั้น, เหมือน อย่าง กระทำ จุด เจิม ทำ ขวัน เปน ต้น.
      เจิม เฉลิม (154:4.5)
               คือ เจิม เช่น ว่า, เฉลิม คือ ให้ มี ศิริ มงคล, แล เชิด ชู เกรียดิยศ* นั้น.
      เจิม หน้า (154:4.6)
               คือ การ ที่ เอา แป้ง, ฤๅ กระแจะ, จุด เจิม ที่ หน้า, เหมือน อย่าง เขา ทำ ขวัน กัน นั้น.
      เจิม แป้ง (154:4.7)
               คือ การ ที่ เอา แป้ง, จุด เจิม ตาม หน้า ตาม ตัว, เหมือน อย่าง เขา ไหว้ ครู เปน ต้น.
จ่าย (154:5)
         จำหน่าย, คือ การ ที่ จำหน่าย, เหมือน อย่าง จำหน่าย ของ ต่าง ๆ, ฤๅ จ่าย คน จ่าย ตลาด เปน ต้น.
      จ่าย ของ (154:5.1)
               คือ การ ที่ เอา ของ จำหน่าย, เหมือน อย่าง เจ้า พนัก งาน จ่าย ของ หลวง ไป เปน ต้น.
      จ่าย คน (154:5.2)
               คือ การ ที่ เอา คน จำหน่าย, เหมือน อย่าง จ่าย ไพร่ หลวง ไป ทำการ เปน ต้น.
      จ่าย เงิน (154:5.3)
               คือ การ ที่ เอา เงิน จำหน่าย, เหมือน อย่าง นาย คลัง จ่าย เงิน หลวง ตาม รับ สั่ง เปน ต้น.
      จ่าย แจก (154:5.4)
               คือ การ ที่ จำแนก แจก จ่าย ไป, เหมือน อย่าง แจก เบี้ย วรรษ ใน หลวง เปน ต้น นั้น.
      จ่าย ตลาด (154:5.5)
               คือ การ ที่ จ่าย ซื้อ ของ มา จาก ท้อง ตลาด, เหมือน อย่าง คน ครัว จ่าย กับ เข้า ที่ ตลาด เปน ต้น.
      จ่าย สินค้า (154:5.6)
               คือ การ ที่ จำหน่าย สินค้า ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง นาย กำปั่น จ่าย ซื้อ สินค้า นั้น.
จาว (154:6)
         เปน ชื่อ ของ ที่ เกิด ขึ้น แต่ ภาย ใน ผลไม้ ต่าง ๆ, เมื่อ แตก งอก ขึ้น, เหมือน อย่าง จาว ตาล เปน ต้น.
      จาว ตาล (154:6.1)
               คือ จาว ที่ ม* เกิด ขึ้น ใน เมล็ด ตาล, เหมือน อย่าง จาว ตาล ทั้ง ปวง ที่ เขา เชื่อม น้ำ ตาล นั้น.
      จาว มะพร้าว (154:6.2)
               คือ จาว ที่ บังเกิด ขึ้น ใน ผล มะพร้าว ทั้ง ปวง นั้น, เมื่อ มัน แตก งอก ขึ้น เปน ต้น.
      จาว หมาก (154:6.3)
               คือ จาว ที่ บังเกิด ขึ้น ใน ผล หมาก ทั้ง ปวง, เมื่อ มัน แตก งอก ขึ้น เปน ต้น นั้น.
      จ้าว (154:6.4)
               เปน ชื่อ พระหน่อ ที่ บังเกิด แต่ ราช กระกูล, เหมือน อย่าง พระองค์ เจ้า นั้น.
      จ้าว เข้า (154:6.5)
               คือ อาการ ที่ ผี จ้าว มา เข้า สิง ใน ตัว คน ๆ นั้น, ทำ กิริยา แล พูด จา เหมือน จ้าว.

--- Page 155 ---
      จ้าว จอม (155:6.6)
               คือ คน เปน จ้าว ยอด นั้น, เหมือน อย่าง เจ้า จอม ใน พระ บรมมหา ราชวัง เปน ต้น.
      จ้าว ลูก เธอ (155:6.7)
               คือ จ้าว เปน ลูก หลวง, ลูก จ้าว อื่น นอก จาก วัง หลวง วัง น่า, เรียก จ้าว ลูก เธอ ไม่ ได้.
จิ๋ว (155:1)
         คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เล็ก ๆ จ้อย ๆ, เหมือน อย่าง ลูก เด็ก ๆ, อายุ ได้ ขวบ หนึ่ง, สอง ขวบ นั้น.
จุ้ย (155:2)
         เปน ชื่อ ของ คน อย่าง นั้น ก็ มี บ้าง.
แจว (155:3)
         เปน ชื่อ เครื่อง สำรับ ใช้ ใน การ เรือ, มี ใบ มี ด้ำ คล้าย ๆ ภาย. อนึ่ง เปน การ สำรับ ทำ ให้ เรือ แล่น.
      แจว ท้าย (155:3.1)
               คือ แจว ที่ สำรับ อยู่ ข้าง ท้าย, ฤๅ ลง ข้าง ท้าย เรือ แล้ว แจว ไป นั้น.
      แจว เรือ (155:3.2)
               คือ การ ลง เรือ แล้ว แจว ไป ให้ เรือ เดิน, เหมือน อย่าง คน แจว เรือ ไป เมือง กรุง เปน ต้น.
      แจว หัว (155:3.3)
               เปน ชื่อ แจว ที่ สำรับ อยู่ หัว เรือ. อนึ่ง เปน การ คน ที่ ยืน แจว ไป ฝ่าย หัว เรือ นั้น.
แจ้ว (155:4)
         กระแสง, เปน ชื่อ เสียง ทั้ง ปวง ที่ เปน กระแสง, เหมือน อย่าง เสียง จักระจั่น แล เรไร, ฤๅ เสียง คน ที่ เพราะ เปน ต้น.
      แจ้ว จับ ใจ (155:4.1)
               คือ กระแสง เสียง เพราะ, เหมือน เข้า ไป จับ เอา ใจ นั้น.
      แจ้ว เจื้อย (155:4.2)
               คือ กระแสง เสียง ไพเราะ, เหมือน อย่าง เสียง หญิง ที่ อ่อน หวาน ร้อง เพลง นั้น.
      แจ้ว เสียง (155:4.3)
               คือ เสียง เพราะ เปน กระแสง, เหมือน อย่าง เสียง จักกระจั่น เปน ต้น.
จ้อย (155:5)
         คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เล็ก ๆ ย่อม ๆ, เหมือน อย่าง เด็ก ๆ, อายุ ขวบ หนึ่ง สอง ขวบ เปน ต้น.
      จ้อย ร่อย (155:5.1)
               คือ คน ฤๅ สัตว, แก่ แล้ว เคย โต, แต่ มัน ไม่ โต สม อายุ, มัน จ้อย อยู่ นั้น.
จ๋อย (155:6)
         หงอย, คือ อาการ ที่ ใจ ไม่ สบาย เหงา อยู่, เหมือน อย่าง คน พรัด พราก จาก ลูก เมีย, อัน เปน ที่ รักษ์ นั้น.
เจียว (155:7)
         ทอด, คือ การ ที่ ขั้ว ฤๅ ผัด ของ กิน, เหมือน อย่าง คน ต่อย ไข่ ใส่ กะทะ ทำ ให้ สุก, ฤๅ ผัด หมู ให้ เปน น้ำมัน.
      เจียว ไข่ (155:7.1)
               ทอด ไข่, คือ การ ที่ เอา ไข่ ต่อย ใส่ กะทะ ลง แล้ว, กลอก ไป ให้ สุก เปน แผ่น ๆ นั้น.
      เจียว น้ำ มัน (155:7.2)
               คือ การ ที่ เอา หมู มา หั่น ออก เปน ชิ้น ๆ, แล้ว ใส่ ลง ใน กะทะ ผัด เจียว ให้ เปน น้ำ มัน.
เจี๋ยว (155:8)
         เปน ชื่อ ผู้หญิง อย่าง นี้ ก็ มี บ้าง เหมือน เขา เรียก กัน ว่า. นาง เจี๋ยว นั้น.
เจื้อย (155:9)
         คือ การ ที่ คล่อง แคล่ว ไม่ ฝืด เคือง, เหมือน อย่าง เรือ ล่อง น้ำ เปน ต้น.
      เจื้อย แจ้ว (155:9.1)
               คือ กระแส เสียง คล่อง แคล่ว ไม่ มี แหบ เครือ, เหมือน* อย่าง เสียง จักระจั่น เปน ต้น.
เจือ (155:10)
         ระคน, คละ, คือ การ ที่ เอา ของ สิ่ง ใด ๆ, สิ่ง ละ อัน พรรค์ ละ น้อย, ใส่ ระ คน ลง กับ ของ อื่น, เหมือน เอา เชื้อ ขนม เจือ ลง ใน แป้ง นั้น.
      เจือ กัน (155:10.1)
               ระคน กัน, คละ กัน, คือ อาการ ที่ เอา สิ่ง ของ ใด ๆ, สิ่ง ละ เล็ก ละ น้อย ใส่ เจือ กัน ลง, เหมือน อย่าง คน เอา เหล้า เจือ ลง ใน ยา เปน ต้น.
      เจือ จาน (155:10.2)
               คือ การ ที่ เอา น้ำ จาน ใส่ ลง ใน สิ่ง ของ ต่าง ๆ นั้น, เหมือน คน เอา น้ำ จาน เจือ ลง ใน เหล้า, ใน เข้า เปน ต้น.
      เจือ ดว้ย (155:10.3)
               ระคน ดว้ย, คละ ดว้ย, คือ การ ที่ คน เอา ของ สิ่ง ใด ๆ, ใส่ เจือ ดว้ย ของ ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง รศ แกง ทั้ง ปวง ยอ่ม เจือ ดว้ย เกลือ.
      เจือ ทั่ว (155:10.4)
               ปน ทั่ว, คุลี การ ทั่ว, คือ การ ที่ คน เอา ของ ใส่ เจือ ลง ทั่ว ไป, เหมือน อย่าง ทำ ขนม หวาน, ตอ้ง เอา น้ำตาน เจือ ลง ทั่ว ไป ทุก สิ่ง นั้น.
เจอ (155:11)
         คือ การ ที่ ภอ ภบ, ก็ ภอ กระทั่ง ตัว, เหมือน คน เที่ยว ตาม หา กัน, ภอ แล เหน ก็ ภอ ถึง ตัว นั้น.
      เจอะ (155:11.1)
               คือ อาการ ที่ จวบ กัน เข้า, เหมือน คน เดิน ไป แต่ ทาง นี้, ผู้ หนึ่ง เดิน มา แต่ ทาง โน้น, กระทั่ง ถึง ใก้ล ชิด กัน เข้า ต่อ หน้า กัน นั้น.
      เจอ กัน (155:11.2)
               ปะจวบ กัน, คือ อาการ ที่ ภบ ปะกัน เข้า, เหมือน อย่าง คน ไป หา กัน, ภอ เหน กัน, ก็ ภอ ถึง ตัว กัน เปน ต้น.
      เจอ เข้า (155:11.3)
               ประสบ เข้า, คือ อาการ ที่ ภบ เข้า นั้น, เหมือน อย่าง คน เที่ยว หา ของ สิ่ง ใด ๆ, ภอ ไป ภบ เข้า นั้น.
      เจอ ตัว (155:11.4)
               ประสบ ตัว, คือ อาการ ที่ ภบ ตัว, ฤๅ ถึง ตัว, เหมือน อย่าง คน เที่ยว หา ตัว กัน, ไป ภบ ตัว, ฤๅ ถึง ตัว นั้น.
      เจอะ กัน (155:11.5)
               ประสบ กัน, คือ อาการ ที่ ต่าง คน ต่าง มา ประจวบ กัน เข้าใก้ล นั้น, เหมือน อย่าง คน นี้ ไป, คน โน้น มา ปะกัน เข้า นั้น.

--- Page 156 ---
เจ่อ (156:1)
         คือ อาการ ที่ ริม ศีปาก บวม ขึ้น, เหมือน อย่าง คน ตอ้ง ตบ ปาก, ๆ บวม เจ่อ ขึ้น นั้น.
      เจ้อ (156:1.1)
               มี คำ ว่า ประเจิด ประเจ้อ, คือ การ ที่ ไม่ ซอ่น บัง ตั้ง อวด ให้ คน เหน นั้น.
      เจ่อ เจ๊อ (156:1.2)
               สอพลอ, คือ ความ ที่ พูด ไม่ รู้ จัก ประมาณ, พูด ย้ำ เหยอ, เหมือน คน พูด มาก ใน ที่ ประชุม เขา ไม่ นับ ถือ.
จั่ว (156:2)
         คือ ของ เปน สาม มุม, ทำ ดว้ย ไม้ ไผ่ บ้าง, ไม้ จริง บ้าง, สำ- รับ ปิด ช่อง ที่ หลังคา ตรง ใบ ดัง* นั้น.
      จั่ว* โรง (156:2.1)
               เปน จั่ว สำรับ ปิด ช่อง ที่ หลังคา โรง ตรง เสา ดัง* นั้น, เหมือน อย่าง จั่ว โรง นา เปน ต้น.
      จั่ว เรือน (156:2.2)
               เปน จั่ว สำรับ ปิด ชอ่ง ที่ หลังคา เรือน ตรง ใบ ดัง* นั้น, เหมือน อย่าง จั่ว เรือน ทั้ง ปวง เปน ต้น.
แจะ (156:3)
         เปน อาการ แห่ง เสียง อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง คน เคี้ยว เข้า มัน ยอม ดัง แจะ ๆ นั้น.
เจาะ (156:4)
         คือ การ กระทำ ให้ เปน ชอ่ง เปน รู ลง ไป ที่ ไม้ บ้าง, หิน บ้าง, เหมือน คน เจาะ ไม้ ดว้ย สิ่ว เปน ต้น.
      เจาะ กัน (156:4.1)
               เปน ชื่อ แห่ง การ เล่น, เหมือน อย่าง เด็ก ๆ มัน เล่น จอง เต, ฤๅ เล่น โยน น้ำ, ถ้า อิฐ ฤๅ เบี้ย ที่ ทิ้ง เข้า ไป ที่ หลุม, ฤๅ ที่ หลัก นั้น, เสมอ กัน, ว่า เจาะ กัน.
      เจาะ ใม้ (156:4.2)
               ไช ไม้, คือ การ ที่ เอา สิ่ว*, ฤๅ เหล็ก หมาด เจาะ ลง ที่ ไม้, เหมือน อย่าง คน เจาะ ไม้, เจาะ เสา เปน ต้น นั้น.
      เจาะ รู (156:4.3)
               ขุด รู, ไช รู, คือ การ ที่ ทำ ให้ เปน รู ลง ไป, เหมือน คน เอา สว่าน, ฤๅ เหล็ก หมาด, ไช ไม้ ให้ เปน รู นั้น.
      เจาะ เสา (156:4.4)
               คือ การ ที่ ทำ ให้ เปน รู เปน ชอ่ง ลง ที่ เสา, เหมือน คน เอา สิ่ว เจาะ เสา, เมื่อ จะ ปลูก เรือน นั้น.
      เจาะ หู (156:4.5)
               แทง หู, คือ การ ที่ ทำ หู ให้ เปน รู เปน ชอ่ง, เหมือน อย่าง คน เอา เข็ม เจาะ หู สำรับ ใส่ กานพลู.
จอ (156:5)
         เปน ชื่อ สิ่ง ของ สำรับ เล่น หนัง อย่าง หนึ่ง, เอา ผ้า ขาว บาง มา เย็บ ติด กัน เปน ผืน ใหญ่ แล้ว ขึง ขึ้น สำรับ เล่น หนัง.
      จอ หนัง (156:5.1)
               เปน ชื่อ จอ ที่ สำรับ เล่น หนัง นั้น, ทำ ดว้ย ผ้า ขาว ขึง ขึ้น เหมือน ม่าน นั้น.
จ่อ (156:6)
         (dummy head added to facilitate searching).
      จ่อ ร่อ (156:6.1)
               คือ อาการ ที่ รอ จอ้ง อยู่*, เหมือน อย่าง คน ยัด ปืน, เอา ไม้ กะทุ้ง จ้อง จ่อ คอย อยู่ ที่ ปาก กระบอก เปน ต้น.
      จ่อ กัน (156:6.2)
               จอ้ง กัน, ร่อ กัน, คือ อาการ ที่ ร่อ จอ้ง กัน อยู่* ใก้ล ๆ เหมือน คน มวย สอง คน, ตั้ง ท่า คอย ที จ่อ ร่อ กัน อยู่ นั้น
      จ่อ เข้า มา (156:6.3)
               ร่อ เข้า มา, คือ อาการ ที่ พึง จ่อ เข้า มา, เหมือน ตะเภา, ฤๅ กำปั่น, พึง จะ แล่น จ่อ เข้า มา ใน ปาก อ่าว นั้น.
      จ่อ ปาก (156:6.4)
               ร่อ ปาก, คือ อาการ ที่ เอา ของ กิน ร่อ ไว้ ที่ ริม ปาก, เหมือน คน จะ ปอ้น เข้า แล ของ กิน เด็ก ๆ เปน ต้น นั้น.
      จ่อ ร่อ (156:6.5)
               คือ อาการ ที่ คอย ทว่ง ที จ่อ ร่อ กัน อยู่, เหมือน แม่ ทับ ทั้ง สอง ฝ่าย, ตั้ง ค่าย ประชิด จ่อ ร่อ กัน อยู่ ใก้ล ๆ
      จ่อ รู (156:6.6)
               คือ อาการ จ่อ ไว้ ที่ ปาก รู, เหมือน คน จะ แยง หนู, ฤๅ จะ ชัก ปูทะเล เปน ต้น, ยอ่ม เอา ไม้ ฤๅ มือ จ่อ ไว้ ปาก รู
จ้อ (156:7)
         คือ สำเนียง ที่ คน พูด ไม่ อยุด, ได้ ยิน เสียง เสมอ, เหมือน อย่าง คน ช่าง พูด นั้น.
จ๋อ (156:8)
         เปน ชื่อ ลิง ที่ เขา เลี้ยง ไว้ นั้น, ว่า อ้าย จ๋อ มี บ้าง.
จรร (156:9)
         คือ อาการ ที่ เที่ยว ไป, เหมือน อย่าง คน ไป เที่ยว เล่น นั้น,
จรรไน (156:10)
         คือ การ ที่ กระทำ แก้ว, แล เพ็ชร์พลอย, ให้ เปน เกล็ด, เปน เหลี่ยม, เหมือน จรไน ขวด แก้ว แล หัว แหวน เปน ต้น.
(156:11)
         
ฉา (156:12)
         เปน สำเนียง คำ ออก ปาก, เหมือน อย่าง คน เหน ของดี เปน ของ ปลาด, ก็ ออก ปาก ชม ว่า ฉา, ดี จริง.
ฉาต้า (156:13)
         เปน สำเนียง คำ ประชด, ถึง คน ผู้ อวด, เหมือน อย่าง มี ผู้ มา กล่าว อวด ว่า, เรา ดี กว่า เจ้า, ฝ่าย ผู้ ได้ ฟัง มัก ว่า ฉาต้า, เปน ต้น.
ฉาเทติ (156:14)
         ฯ ว่า ปก ปิด, เหมือน อย่าง คน เอา สิ่ง ของ มี ผ้า เปน ต้น, ปก ปิด ของ ต่าง ๆ ไว้.
ฉายา (156:15)
         ฯ ว่า เงา ต่าง ๆ เหมือน อย่าง เงา ที่ ร่ม ต้นไม้, ฤๅ เงา ใน กระจก เปน ต้น.
ฉ่า (156:16)
         เปน เสียง อย่าง หนึ่ง, มัน ยอ่ม ดัง อย่าง นั้น, เหมือน อย่าง ลม พัด เมื่อ ระดู หนาว เปน ต้น นั้น.
      ฉ่า ฉาว (156:16.1)
               คือ เสียง ถะเลาะ วิวาท กัน มาก, เปรียบ เหมือน อย่าง เสียง ลม พัด เปน ต้น.
ฉิ (156:17)
         เปน เสียง คำ กล่าว ชม ก็ ได้, กล่าว ติ ก็ ได้, กล่าว ชม ว่า ฉิ นี่ งาม จริง หนอ, กล่าว ติ ว่า ฉิ ถอ่ย จริง หนอ เปน ต้น.
      ฉี ๆ (156:17.1)
               เปน คำ ออก ปาก ชม ของ ดี ต่าง ๆ, ฤๅ เปน คำ ออก ปาก ถึง คำ ที่ ขัด เคือง ใน ใจ หนัก ว่า ฉิ ๆ ทำ ได้.

--- Page 157 ---
ฉิต้า (157:1)
         เปน คำ ว่า กับ คน พูด อวด อ้าง อัน ใด ๆ, ว่า ฉีต้า เพราะ ใจ เขา ไม่ เชื่อ.
      ฉี่ (157:1.1)
               เปน เสียง น้ำ ที่ ยด ลง ถูก ไฟ ดัง เช่น นั้น.
      ฉี้ (157:1.2)
               เปน ชื่อ น้ำ ศี ดำ ๆ, เหมือน น้ำ มัน ดิน ที่ บังเกิด จาก อาย ควัน ต่าง ๆ นั้น.
ฉุ (157:2)
         เปน ชื่อ อาการ แห่ง สิ่ง ที่ บวม, เหมือน อย่าง ปลา เน่า ทอ้ง ชื้น เปน ต้น นั้น.
      ฉุลุ (157:2.1)
               ความ เหมือน กัน กับ ฉุ นั้น, เขา มัก พูด กัน ว่า คน นั้น บวม ฉุลุ อยู่.
      ฉู่ (157:2.2)
               เปน เสียง อย่าง หนึ่ง, มัน ยอ่ม ดัง อย่าง นั้น, เหมือน อย่าง เสียง ยุง ชุม เปน ต้น.
      ฉู่ฉี (157:2.3)
               เปน ชื่อ ของ กับ เข้า สิ่ง หนึ่ง, เขา ทำ ดว้ย เนื้อ ปลาสด ก็ ได้, เนื้อ หมู ก็ ได้, เอา ขึ้น ใส่ กะทะ ผัด มัน ดัง ฉู่ฉี่ นั้น.
เฉ (157:3)
         คือ อาการ ที่ ไม่ ตรง นั่น, เหมือน อย่าง คน ถือ ท้าย เรือ, ทำ เห ไป เห มา เปน ต้น.
      เฉโก (157:3.1)
               ฯ ว่า ฉลาด, ไม่ เปน คน โง่, เหมือน อย่าง คน ที่ มี ปัญา รู้ ทั่ว นั้น.
      เฉ เข้า (157:3.2)
               คือ อาการ ที่ เห หัน เข้า มา นั้น, เหมือน กำปั่น ทอด อยู่, ครั้น ลม พัด เข้า, กำปั่น ก็ เฉ หัน เข้า มา.
      เฉไฉ (157:3.3)
               คือ อาการ ที่ เดิน ไม่ ตรง ทาง นั้น, เหมือน อย่าง คน เมา เหล้า, เดิน เฉ ไป, ไฉ มา เปน ต้น นั้น.
      เฉ ออก (157:3.4)
               คือ อาการ ที่ เห หัน ออก นั้น, เหมือน คน แล่น ใบ เสียด, เข้า ยอ่ม หัน หัว เรือ ให้ เฉ ออก ไป นั้น.
แฉ แหล (157:4)
         คือ อาการ ที่ แผ แหล, เหมือน ของ ที่ ควร จะ งอน, คน ทำ ไม่ งอน ขึ้น ได้, มัน ดาดไผล อยู่, เหมือน หัว เรือ เปน ต้น.
      แฉ่ (157:4.1)
               เปน เสียง อย่าง หนึ่ง, มัน อย่าง นั้น เหมือน อย่าง เสียง ฝน ตก นอ้ย ๆ เปน ต้น.
      แฉ้ (157:4.2)
               คือ การ ที่ เอา สิ่ง ของ ต่าง ๆ, จม ลง ไว้ ใน น้ำ นั้น, เหมือน อย่าง คน เอา เข้า จม ลง ไว้ ใน น้ำ เปน ต้น.
โฉ (157:5)
         เปน ชื่อ กลิ่น ที่ เหม็น ฟุ้ง นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, กลิ่น เหม็น โฉ เปน ต้น.
      โฉ่ (157:5.1)
               เปน อาการ เสียง อย่าง หนึ่ง, มัน ดัง อย่าง นั้น, เหมือน อย่าง แมงวัน ตอม มาก ๆ, มัน บิน ขึ้น พร้อม กัน.
เฉา (157:6)
         คือ ความ ที่ โง่ ฤๅ ไม่ ใค่ร รู้, เหมือน อย่าง คน จะ เล่า เรียน, ฤๅ จะ หัต ปฤๅ วิชา การ สิ่ง ใด, จำ ไม่ ใค่ร ได้ นั้น.
      เฉาโฉด (157:6.1)
               เปน ชื่อ ความ โง่ เง่า, ไม่ ใค่ร จะ รู้ เท่า ทัน คน, เหมือน อย่าง เจียว ยี่ ไม่ รู้ กล ขงเบ้ง เปน ต้น.
ฉำฉา (157:7)
         เปน ชื่อ ไม้ อย่าง หนึ่ง มา แต่ เมือง จีน บ้าง, เมือง อังกริศ บ้าง, เหมือน ที่ เขา ต่อ หีบ นั้น.
      ฉำเฉอะ (157:7.1)
               คือ อาการ ที่ เปียก เปน น้ำ, เปน โคลน ฉำแฉะ, เหมือน อย่าง ที่ ทุ่ง นา เมื่อ ระดู ฝน นั้น.
      ฉำแฉะ (157:7.2)
               เปรอะ ประ, คือ อาการ ที่ เปียก เปน น้ำ ฉำเฉอะ, เหมือน อย่าง ฝน ตก ชุก เปน ต้น.
ฉ่ำ (157:8)
         คือ รศ ของ หวาน ที่ มี น้ำ มาก, เหมือน อย่าง เข้า หมาก, ฤๅ แตงโม เปน ต้น. อนึ่ง ทอ้ง นา ที่ มี น้ำ มาก นั้น ด้วย.
      ฉ่ำ เฉื่อย (157:8.1)
               เปน รศ ของ หวาน ที่ มี น้ำ มาก, กลืน คล่อง ฅอ, เหมือน อย่าง น้ำ วุ้น เปน ต้น. อนึ่ง คือ เสียง หวาน เสียง เพราะ นั้น ดว้ย.
      ฉ้ำ ใจ (157:8.2)
               คือ ความ ชื่น ใจ, สะบาย ใจ, เหมือน อย่าง คน ได้ กิน แตงโม เมื่อ เพลา ระหาย น้ำ เปน ต้น.
      ฉ้ำ หู (157:8.3)
               คือ เสียง ที่ เสนาะ หู, มี เสียง หีบ เพลง เล็ก เปน ต้น, มัน ดัง เฉื่อย เอย็น หู นั้น.
ฉะ (157:9)
         ฟัน, ตัด, คือ การ ที่ ฟัน สิ่ง ของ ต่าง ๆ ดว้ย ดาบ, เหมือน อย่าง คน ตัด กล้วย, ตัด ออ้ย เปน ต้น นั้น.
ฉะกามาพจร (157:10)
         ฯ คือ สวรรค์ หก ชั้น, เทพยดา ยัง ประพฤษดิ ใน กามคุณ อยู่ นั้น.
ฉะกรรจ์ (157:11)
         คือ ความ ที่ ใจ เหี้ยม เกรียม, เหมือน อย่าง นายทหาร เปน ต้น, ฤๅ ความ มหัน ตะโทษ ป้ลน สะดม นั้น.
ฉะกาจ (157:12)
         คือ ความ ที่ ใจ ดุร้าย, อยาบช้า, เหมือน อย่าง พวก โจร, แล นาย เพ็ชูฆาฎ เปน ต้น.
ฉะแง้ (157:13)
         คือ อาการ ที่ ฉะเง้อ ฅอ คอย ท่า, เหมือน อย่าง คน กระ- สัน ถึง มาตุคาม, คอย ฉะแง้ แล หา เปน ต้น นั้น.
ฉะง้ำ (157:14)
         คือ อาการ ที่ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ฉะโงก เงื้อม ออก มา, เหมือน อย่าง เงื้อม ผา, แล ตลิ่ง ชัน เปน ต้น.
ฉะงัก (157:15)
         คือ อาการ ที่ ชัน เปน ชั้น ๆ, เหมือน อย่าง ภูเขา ขาด, ฤๅ ตลิ่ง ชัน เปน ต้น. อนึ่ง คน เดิน ไป ถึง ตอ้ง อยุด ฉะงัก อยู่,
ฉะโงก (157:16)
         คือ อาการ เปน ที่ ฉะเงื้อม, เหมือน อย่าง น่า ผา, ที่ งอก ง้ำ ออก มา, ฤๅ คน ที่ ฉะโงก น่า ต่าง ออก ไป นั้น.
ฉะงอก (157:17)
         คือ ที่ ภูเขา หิน, มี หิน กอ้น เงื้อม งอก ออก มา นั้น.

--- Page 158 ---
ฉงน (158:1)
         คือ ความ สงไสย สนเท่ห์, เหมือน คน ไป ใน หน ทาง ที่ ไม่ เคย เดิน, ครั้น ถึง ทาง แยก ก็ สงไสย แคลง ใจ.
ฉะงอ่น (158:2)
         คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ งอก เปน ปุ่ม, เปน กอ้น ยื่น ยอ้ย ออก ไป, เหมือน อย่าง ฉะงอ่น เขา เปน ต้น.
ฉะงู้ม (158:3)
         คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ มี ปลาย หงิก งอ้ม ลง, มี สันถาน เหมือน อย่าง ปาก นก แก้ว เปน ต้น.
ฉะเงื้อม (158:4)
         คือ ที่ ภูเขา เปน ต้น, ที่ กอ้น หิน มัน งอก ง้ำ ออก มา นั้น.
ฉะเง้อ (158:5)
         คือ อาการ ที่ ชู ฅอ ขึ้น, เหมือน อย่าง คน ยื่น ฅอ ฉะ เงื้อ ดู มวย เปน ต้น, ฤๅ ห่าน ที่ มัน* ชู ฅอ ขึ้น นั้น.
ฉะฉ่าฉะ (158:6)
         เปน สำเนียง คำ คน ร้อง, เมื่อ เล่น เพลง ปรบไก่ นั้น.
ฉะโด (158:7)
         เปน ชื่อ* ปลา อย่าง หนึ่ง, รูป เหมือน ปลาชอ่น, ลาย เหมือน ปลา แมงภู่, ทำ ปลาแห้ง ดี.
ฉะฉ่ำ เฉื่อย (158:8)
         คือ เวลา เมื่อ ค่ำ น้ำค้าง ตก ลง เอย็น ยะเยือก, ลม ภัด เรื่อย ๆ นั้น.
ฉะฉาน (158:9)
         คือ อาการ ที่ คลื่น เกิด ขึ้น กะทบ ฝั่ง, ดัง ฉะฉาน นั้น, เหมือน อย่าง คลื่น กระทบ ฝั่ง เปน ต้น.
ฉะนี (158:10)
         เปน ชื่อ สัตว อย่าง หนึ่ง ตัว คล้าย ค่าง, มัน หอ้ย โหน อยู่ ตาม ทอ้งไม้, อยู่ ใน ดง สูง.
ไฉน (158:11)
         คือ คำ ว่า, อย่าง ไร, ทำไม, เหมือน เขา ทำ คำ เพลง ว่า, ไฉน เรา ท่าน จะ พ้น วิญาณ เปน ต้น.
ฉะนะ (158:12)
         คือ การ ที่ ไม่ แพ้, ฤๅ กระทำ ให้ คน อื่น สู้ ไม่ ได้, เหมือน อย่าง นาย ทหาร ที่ เข้ม แข้ง ฉะนะ ศึก นั้น.
ฉะนัก (158:13)
         เปน ชื่อ* อาวุทธ อย่าง หนึ่ง, เปน เหล็ก แหลม, มี เงี่ยง เหมือน ลูก สร สำรับ แทง จรเข้.
ฉนาก (158:14)
         เปน ชื่อ ปลา อย่าง หนึ่ง, คล้าย ๆ ฉะลาม, มี กระดูก เปน งวง ยื่น ออก ไป จาก ปาก กิน ดี.
ฉะนาง (158:15)
         เปน ชื่อ เครื่อง สำรับ ชอ้น กุ้ง ช้อน ปลา, สาน ดว้ย ไม้ ทำ ให้ ปาก กว้าง ก้น แคบ นั้น.
ฉะนิจ (158:16)
         คือ แบบ, ฤๅ อย่าง, ฤๅ ขนาด, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, คน ฉะนิด นั้น เปน ต้น.
โฉนฎ (158:17)
         คือ หนังสือ ปิด ตรา, ที่ สำรับ จะ ให้ คน ทั้ง ปวง รู้ สำคัญ แน่, เหมือน น่า โฉนฎ สวน นั้น.
ฉะนี้ (158:18)
         ความ คือ อย่าง นี้, ดัง นี้, เช่น นี้, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, ท่าน ทำ ฉะนี้ เจิยว, ฤๅ เหตุฉะนี้ เปน ต้น.
ฉะนั้น (158:19)
         ความ คือ อย่าง นั้น, ดัง นั้น, เช่น นั้น, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, เหตุฉะ นั้น, เพราะ ฉะนั้น.
ฉะนวน (158:20)
         คือ รู เล็ก ๆ, ที่ ลำ กล้อง ปืญ นั้น, เปน รู สำรับ ใส่ ดินหู, แล้ว เอา ไฟ จุด ให้ แล่น เข้า ไป ใน ลำ กล้อง.
ฉนวน (158:21)
         เปน ทาง ที่ สำรับ พระ มหา กระษัตริย์, ฤๅ เจ้า ฝ่าย ใน เสด็จ ขึ้น ลง, เหมือน ฉนวน น้ำ ประจำ ท่า เปน ต้น นั้น.
เฉนียน (158:22)
         เปน ชื่อ ขอบ สระ, ฤๅ ริม ฝั่ง สระ เปน ต้น นั้น.
ฉะเนาะ (158:23)
         คือ ไม้ สั้น ๆ, ที่ สำรับ บิด เชือก ขัน ให้ ตึง, เหมือน อย่าง เขา มัด บวบ ไม้ ใผ่ เปน ต้น นั้น.
ฉะบา (158:24)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, ดอก คล้าย ๆ ดอก พุดตาน, ศี แดง บ้าง, ศี นวน บ้าง, ดู งาม.
ฉะบัง (158:25)
         เปน ชื่อ บท อย่าง หนึ่ง, มี อยู่ ใน หนังสือ สวด, เหมือน หนังสือ ปถม กกา* เปน ต้น.
ฉะบบ (158:26)
         เปน ชื่อ หนังสือ บาญชี, ที่ สำรับ จดหมาย ราย วัน, ราย เดือน, เหมือน บาญชี เสมียน รับ ฟอ้ง จดหมาย ไว้ นั้น.
ฉะบับ (158:27)
         เปน ชื่อ แบบ อย่าง นั้น, เหมือน คน จะ หัด เขียน หนัง สือ, ตอ้ง ดู ฉะบับ เดิม เปน อย่าง กอ่น นั้น.
ฉะเภาะ (158:28)
         คือ จำเภาะ นั้น, เหมือน เขา สั่ง กัน ว่า, ของ นี้ อย่า ให้ คน อื่น, จำเภาะ แก่ คน นั้น.
ฉะมา (158:29)
         ฯ ว่า แผ่นดิน.
ฉะมุนาด (158:30)
         เปน ชื่อ เครือ เถาวัน อย่าง หนึ่ง*, ใบ คล้าย ใบ มน ทา, เรียก ว่า, ฉะมุนาด.
ฉมวก (158:31)
         เปน ชื่อ เครื่อง สำรับ แทง ปลา, ทำ ดว้ย เหล็ก, เปน สาม ขา, ปลาย แหลม, มี เงี่ยง มี ด้ำ ยาว.
ฉมัง (158:32)
         ฉมวย, เปน ชื่อ การ สัก สิทธิ, ฤๅ เหน ประจักข์, เหมือน คน จะ ทำ การ สิ่ง ใด ๆ, ได้ เหน ประจักข์ สำเร็ทธิ การ เร็ว นั้น.
ฉะมด (158:33)
         เปน ชื่อ สัตว อย่าง หนึ่ง รูป คล้าย ๆ แมว, ตัว ลาย ๆ, หาง เปน ปล้อง ๆ, อยู่ ตาม ชาย ป่า.
ฉะมัน (158:34)
         เปน ชื่อ สัตว อย่าง หนึ่ง, รูป เหมือน กวาง, บน หัว มัน มี เขา เปน กิ่ง ๆ, เนื้อ มัน กิน ดี, อยู่ ตาม ชาย ทุ่ง ชาย ป่า.
ฉะมบ (158:35)
         เปน ชื่อ คน มี ผี กะสือ, ผี ตะกละ เข้า สิง อยู่ ใน ตัว, มัน ยอ่ม ยาก กิน สิ่ง ของ ที่ โศกโครก เปน ต้น.
ฉะม้าย (158:36)
         คือ อาการ ที่ ไม่ แล ดู ตรง ๆ, ทำ ชาย แต่ หาง ตา ดู, เหมือน สาว หนุ่ม เปน ชู้ คอย ชำเลือง แล ดู กัน นั้น.

--- Page 159 ---
ฉะม้อย (159:1)
         คือ อาการ ที่ ฉะม้าย ดู แต่ หาง ตา นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ เปน ชู้ สาว, คอย ชำเลือง เล่น ตา กัน นั้น.
ฉมวย (159:2)
         ฉมัง, คือ การ ประสิทธิ์, ประสาทธ์, ประจักษ์, เหมือน คน ตก เบ็ด ได้ ปลา มาก เปน ต้น นั้น.
ฉะรอย (159:3)
         คือ ความ ขะเน, ความ เดา, ความ ประมาณ, คาด การ, เหมือน เขา ว่า เหน จะ เปน อย่าง นั้น ดอก กระมัง.
ฉะลา (159:4)
         คือ ที่ มี ชาน โดย รอบ นั้น, เหมือน อย่าง พระ ตำหนัก, มี ฉะลา รอบ เปน ต้น นั้น.
ฉะล่า (159:5)
         เปน ชื่อ เรือ อย่าง หนึ่ง, ลำ ยาว ๆ เหมือน กาบ กล้วย, อนึ่ง เปน คน ใจ กล้า ไม่ กลัว ใคร.
ฉะลุ (159:6)
         เปน ชื่อ การ ช่าง สลัก, เหมือน อย่าง ช่าง, ทำ สลัก เปน ลวด ลาย ต่าง ๆ นั้น.
ฉลู (159:7)
         คือ ชื่อ ปี ที่ สอง นั้น, เหมือน เขา ถาม กัน ว่า, เจ้า ปี ไร, เรา ปี ฉลู เปน ต้น.
เฉลา (159:8)
         เปน ชื่อ งาม นั้น, เหมือน เขา กล่าว สรร เสิญ ถึง หญิง งาม ว่า, โฉม เฉลา เยาว ยอด เสนหา เปน ต้น.
ฉลัก (159:9)
         เปน ชื่อ การ ช่าง สลัก นั้น, เหมือน อย่าง ช่าง สลัก เปน กระ หนก ลวด ลาย ต่าง ๆ นั้น.
ฉลาก (159:10)
         คือ การ เขียน หนัง สือ จด หมาย ลง ไว้ ที่ ไม้, หรื ที่ ผ้า เปน ต้น, เหมือน เขียน ฉลาก ปัก ไว้ ที่ น่า ที่ เปน ต้น นั้น.
ฉลีก (159:11)
         คือ อาการ ที่ มัน เสี้ยว ฉลีก ออก ไป จาก แนว เดิม นั้น, เหมือน อย่าง คน ผ่า ไม้ เสี้ยว ฉลีก ไม่ ไป ตาม แนว เปน ต้น.
ฉลุก ฉลวย (159:12)
         คือ อาการ ขุก ไป ขุก มา, หรื การ ปัจุบัน นั้น, เหมือน คน จน ไม่ ได้ ตระเตรียม, นึก จะ ไป ไหน ก็ ไป ใน ทัน ใด นั้น.
โฉลก (159:13)
         เปน ชื่อ ตำรา พวก หมอ ดู เขา แต่ง ไว้ เปน กลอน, เหมือน อย่าง ตำรา หนึ่ง ว่า, เศศ ๑ พึง พิศ ดัง ใบ พลู พิศ ดู รู แคบ ไม่ หน่าย แหนง นั้น.
ฉลาง (159:14)
         ถลาง, เปน ชื่อ หัว เมือง แห่ง หนึ่ง อยู่* ฝ่าย ใต้, ขึ้น อยู่ กรุง เทพมหา นคร.
ฉลุง (159:15)
         ถลุง, เปน ชื่อ การ ถลุง นั้น, เหมือน อย่าง คน เอา แร่ เหล็ก, แร่ ทอง แดง. มา สูบ ให้ ละลาย เปน เหล็ก, เปน ทอง แดง นั้น
โฉลง (159:16)
         เปน* ชื่อ บ้าน แห่ง หนึ่ง อยู่ กลาง ทุ่ง, เปน บ้าน ทำนา, ทำ ปลา, แขวง เมือง สมุทปราการ.
ฉลอง (159:17)
         เปน ชื่อ การ สมโพช, เหมือน อย่าง ฉลอง วัด, ฉลอง พระ, ฉลอง หนังสือ, เปน ต้น.
      ฉลอง พระบาท (159:17.1)
               เปน ชื่อ เกือก สำรับ เจ้า ใส่, เปน คำ หลวง เรียก อย่าง นั้น.
เฉลียง (159:18)
         คือ ที่ ระเบียง ด้าน หนึ่ง บ้าง, สอง ด้าน บ้าง, สาม ด้าน บ้าง, สี่ ด้าน บ้าง, เหมือน โรงธรรม นั้น.
แฉลบ (159:19)
         คือ อาการ ว่าว ที่ ไม่ ถูก ลม ตรง ๆ, แล ตะ แคง พุ่ง ลง มา. อย่าง หนึ่ง ปลา มัน ว่าย น้ำ ทำ ตัว แบน ฉูด ไป นั้น.
ฉลาด (159:20)
         คือ ความ ที่ ไม่ โง่, เหมือน คน มี ปัญา มาก, รู้ ทั่ว ใน สรรพ วิชา การ ทั้ง ปวง, เหมือน ช่าง นาระกา เปน ต้น.
ฉลอง* พระเนตร (159:21)
         คือ แว่น ใส่ ตา เจ้า, เปน คำ หลวง เรียก.
ฉะลูด (159:22)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปลือก มัน หอม, ขึ้น อยู่ ตาม ป่า ใช้ ทำ ธูป จุด ไฟ.
ฉลอง พระหัตถ (159:23)
         คือ สร้อม, หฤๅ ช้อน, ที่ สำรับ มือ จ้าว นั้น. เปน คำ หลวง
ฉลาม (159:24)
         เปน ชื่อ ปลา ทะเล อย่าง หนึ่ง, ตัว เล็ก บ้าง, ใหญ่ บ้าง, หนัง เปน ทราย, คล้าย หนัง กะเบน, กิน ดี.
ฉลอง พระโอฐ (159:25)
         คือ สร้อม, แล ช้อน, ที่ จ้าว แทง แล ตัก ของ ใส่ ปาก นั้น, เปน คำ หลวง.
ฉลอม (159:26)
         เปน ชื่อ เรือ อย่าง หนึ่ง, คือ เรือ หัว ประสม, หรื เรือ หัว ตักกะแตน, ที่ ชาวทะเล มัน ไช้ นั้น.
ฉลุน (159:27)
         คือ การ ที่ เอา เชือก กลีบ มา บิด เข้า ให้ กลม ๆ, เพื่อ จะ ฟั่น เข้า เปน เกลียว เส้น เชือก ใหญ่ นั้น.
แฉล้ม (159:28)
         คือ ลักษณะ แห่ง หน้า คน, ไม่ หนา อ้วน พี, หน้า บาง แช่ม ช้อย ดู งาม นั้น.
เฉลิม (159:29)
         คือ การ ที่ เจิม นั้น, เหมือน อย่าง เขา ทำขวัน, ประ- สงค์ จะ ให้ เปน มงคล, เอา แป้ง หอม, น้ำมัน หอม, เจิม ที่ หน้า, ที่ อก นั้น.
      เฉลิม พระเกียรติ์ (159:29.1)
               เปน ชื่อ วัด แห่ง หนึ่ง, อยู่ ใน แขวง นนท์ บูรี นั้น.
เฉลย (159:30)
         คือ คำ จำเลย นั้น, เหมือน อย่าง ผู้ ที่ ต้อง กล่าว แก้, คำ ที่ เขา โจท ถาม นั้น.

--- Page 160 ---
      เฉลย ไข (160:30.1)
               เปน ชื่อ คำ กล่าว แก้ นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ แก้ ปริษนา เปน ต้น.
ฉลาย (160:1)
         เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ แตก ร้าว ทำลาย ไป, เหมือน อย่าง หัว แหวน เพชร, ที่ แตก ร้าว เปน ต้น.
เฉลว (160:2)
         เปน เครื่อง สำรับ กัน วิชา อาคม ต่าง ๆ, สาน ด้วย ไม้ เปน ตา ตราง, เหมือน เขา ปัก ไว้ ที่ ด่าน เปน ต้น.
ฉลวย (160:3)
         คือ อาการ แห่ง สิ่ง ที่ เปน เส้น ยาว ๆ, ไม่ หยีก, ไม่ งอ, เหมือน เส้น ผม ฉลวย ตรง ๆ, ไม่ หยิก ไม่ งอ นั้น.
เฉลียว (160:4)
         คือ ความ ที่ ระฦก ขึ้น ได้, ฤๅ คิด ขึ้น ได้, เหมือน อย่าง คน ฉลาด นั่ง อยู่, แล้ว คิด เฉลียว ใจ ถึง เหตุ ต่าง ๆ นั้น.
เฉลี่ย (160:5)
         คือ การ ที่ แบ่ง ปัน แจก จ่าย ให้ ทั่ว กัน, เหมือน เขา เกน ราชการ, กลม มา ด้วย กัน ทั้ง* กรม, แล้ว จึ่ง แบ่ง เฉลี่ย ให้ ทั่ว กัน นั้น.
เฉลาะ (160:6)
         คือ ความ ที่ ช่าง พูด, กล่าว คำ ดี ต่าง ๆ, ประสงค์ จะ ให้ เขา รัก, เหมือน ลูก เล็ก พูด เฉลาะ แม่ ควย ตำ ค่าง ๆ.
ฉะเลาะ (160:7)
         คือ ความ ที่ คน วิวาท, เถียง กัน, ด้วย เรื่อง ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง คน ทังปวง, ด่า ว่า ประจาน กัน นั้น.
ฉะลอ (160:8)
         คือ การ ที่ เลื่อน ลาก สิ่ง ของ ไป จาก ที่, เหมือน เขา ขุด ต้น ไม้, ฤๅ สาลา, ฉะลอ ให้ เลื่อน ไป จาก ที่ เปน ต้น นั้น.
ฉะวา (160:9)
         เปน ชื่อ แขก ชาติ หนึ่ง, เหมือน อย่าง พวก แขก มลา- ยู เปน ต้น.
ฉวี (160:10)
         ฯ ว่า ผิว นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน เปน คำ สูง ว่า, ดู ฉวี วรรณ ผ่อง ใส งาม นัก.
แฉว (160:11)
         คือ อา การ แห่ง ทาง แวะ, ทาง แยก นั้น, เหมือน ทาง ฤๅ ลำ คลอง, ที่ แวะ ออก จาก ทาง หลวง, แล แม่ น้ำ ใหญ่ เปน ต้น นั้น.
ฉะวาก (160:12)
         คือ ประ เทศ ที่ อัน เปน อ่าว, เปน หุบ เข้า ไป, เหมือน เหมือน อย่าง ปาก อ่าว ทเล, ฤๅ หุบ ทุ่ง, แล ป่า ไม้ ที่ เปน วุ้ง เวิ้ง ฉะวาก เข้า ไป นั้น.
ฉวาง (160:13)
         เปน ชื่อ แห่ง กระบวน ตำรา เลข อย่าง หนึ่ง, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, เลข เรา ได้ เริยญ ถึง ฉวาง.
ฉแวง (160:14)
         เปน ชื่อ ปลา อย่าง หนึ่ง, ไม่ มี เกล็ด เหมือน ปลา เทโพ, เนื้อ มัน เกง กิน อร่อย.
เฉวิยง เวี้ย (160:15)
         คือ การ แต่ง ตัว อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง พวก พราหมณ, ใส่ สังวาร ตภาย แล่ง นั้น.
ฉเอม (160:16)
         เปน ชื่อ เครือ เถา อย่าง หนึ่ง, ไส้ ใน ศี เหลือง รศ หวาน, เขา เอา มา แต่ เมือง เทษ ทำ อยา ได้ นั้น.
ฉวัด เฉวิยน (160:17)
         คือ อา การ ที่ เวียน* รอบ ไป มา, เหมือน สาย ฟ้า แลบ เปน ต้น นั้น.
ฉอ้อน (160:18)
         คือ อา การ รูป คน เอว บาง ร่าง น้อย, อ้อน แอ้น, แล พูด เพราะ ถ้อย* คำ อ่อน หวาน นั้น.
ฉก (160:19)
         ลัก, ขโมย, คือ อา การ ที่ ฉวย เอา ไป นั้น, เหมือน อย่าง พวก ขโมย วิ่ง ราว, ฉก ได้ ของ แล้ว, วิ่ง หนี ไป นั้น.
      ฉก ฉวย (160:19.1)
               คือ อา การ ที่ ฉวย ฉก เอา ทรัพย สิ่ง ของ เขา ไป, เหมือน อย่าง ขโมย วิ่ง ราว นั้น เอง.
      ฉก ชิง (160:19.2)
               คือ การ ที่ ชิง เอา ของ เขา ไป, เหมือน อย่าง อ้าย พวก คน พวง, เที่ยว แย่ง เขา ตาม ตลาด เปน ต้น.
      ฉก ตวัก (160:19.3)
               คือ อา การ ที่ งู ทั้ง ปวง* ที่ มัน ยก หัว ชู ขึ้น, แล้ว แผ่ แม่ เบี้ย แบน ออก ไป, เหมือน ตวัก จะคอย สับ นั้น.
      ฉก ลัก (160:19.4)
               คือ อา การ ที่ เที่ยว ขโมย ฉก เอา ของ เขา ไป, เหมือน อย่าง ขโมย เที่ยว ล้วง ลัก เขา นั้น.
ฉาก (160:20)
         คือ สิ่ง ที่ เขียน เปน รูป ภาพ ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง ใน กระจก เปน ต้น. อนึ่ง เปน เครื่อง มือ งอ ๆ สำรับ พวก ช่าง ไม้.
      ฉาก เขียน (160:20.1)
               คือ สิ่ง ของ ที่ ทำ เปน บาน ๆ, แล้ว ปิด กระ- ดาด สำรับ เขียน รูป ภาพ เปน เรื่อง ราว ต่าง ๆ.
ฉีก (160:21)
         คือ การ ที่ ขาด, ที่ แหก ออก ไป, เหมือน อย่าง ผ้า แล กระ- ดาด ขาด ฉีก ไป เปน ต้น นั้น.
      ฉีก ขาด (160:21.1)
               คือ การ ที่ เอา มือ ทั้งสอง จับ ผ้า เปน ต้น, แล้ว ทำ ให้ มัน แครก ออก เปน สอง ภาค นั้น.
      ฉีก จีวร (160:21.2)
               คือ การ ที่ ฉีก ผ้า ออก ทำ จีวร, เหมือน อย่าง ผ้า ที่ พระสงฆ ทั้ง ปวง* ห่ม นั้น.
      ฉีก ผ้า (160:21.3)
               คือ การ ที่ เอา ผ้า มา ฉีก ออก เปน ท่อน ๆ, เหมือน อย่าง คน ฉีก ผ้า ขาย ตาม แพ นั้น,
      ฉีก เสื้อ (160:21.4)
               คือ การ ที่ ฉีก เสื้อ เสีย ให้ ขาด, เหมือน คน เปน ทุข นัก, ต้อง ฉีก เสื้อ เสีย จาก ตัว.
      ฉีก แหก (160:21.5)
               คือ อาการ ทำ ให้ แหก แล้ว, ฉีก* ออก ไป ด้วย, เหมือน อย่าง คน แหก ทุเรียน แล้ว, ฉีก ออก นั้น.

--- Page 161 ---
      ฉีก อก (161:21.6)
               คือ ทำ แหก ออก ที่ อก, เหมือน อย่าง คน เย็บ เสื้อ* แล้ว, ฉีก ออก ไป ที่ อก นั้น
      ฉุก ใจ (161:21.7)
               คือ ความ ลำบาก ใจ, เหมือน* อย่าง คน ได้ ความ คับ แค้น ใน ใจ เปน ต้น นั้น.
ฉุกเฉิน (161:1)
         คือ อาการ ได้ ความ ลำ บาก, ความ ระหกระเหิน, เหมือน อย่าง คน บ้าน แตก, เมือง แตก เปน ต้น นั้น.
      ฉุก ละหุก (161:1.1)
               คือ ความ วุ่นวาย ใน ใจ, เหมือน อย่าง หญิง ที่ ชาย ร้าง ไว้, ให้ เปน ม่าย อยู่ เปน ต้น นั้น.
เฉก (161:2)
         คือ ความ ว่า เหมือน, ฤๅ แม้น, ฤๅ คล้าย กัน นั้น, เหมือน อย่าง เขา เปรียบ ด้วย นก ยาง ว่า, ขาว เฉก ฝ้าย.
      เฉก ศี (161:2.1)
               คือ ความ ที่ ศี เหมือน กัน, ศี คล้าย กัน, เหมือน* เขา เปรียบ ความ ว่า, เฉก ศี มะ ณี ฉาย เปน ต้น นั้น.
แฉก (161:3)
         คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เปน แฉก ๆ, เหมือน อย่าง ตาละกั่ด แฉก, ฤๅ ง่าม มือ เปน ต้น นั้น.
      แฉก ใบ ตาล (161:3.1)
               คือ อาการ ใบ ตาล ที่ เปน แฉก ๆ, เหมือน ใบ ตาล ทั้ง ปวง นั้น.
      แฉก ใบ มะละกอ (161:3.2)
               คือ อาการ แห่ง ใบ มะละกอ ที่ เปน แฉก ๆ, เหมือน อย่าง ใบ มะละกอ ทั้ง ปวง นั้น.
ฉอก (161:4)
         คือ อาการ แห่ง สิ่ง ทั้ง ปวง, ที่ เปน ง่าม ฉอก เข้า ไป, เหมือน อย่าง หน้า ผาก ง่าม ถ่อ เปน ต้น นั้น.
เฉิก (161:5)
         คือ อาการ ที่ เถลิก นั้น, เหมือน อย่าง คน หน้า ผาก ใหญ่ ผม บาง ล้าน เปน ง่าม ถ่อ หน่อย ๆ นั้น.
ฉาง (161:6)
         ยุ้ง, ตรุ, เปน ชื่อ ยุ้ง ใหญ่, สำรับ ไว้ ฃอง มี เข้า เปน ต้น, เหมือน อย่าง ฉาง ใหญ่ ที่ สำรับ ไว้ เข้า หลวง นั้น.
      ฉาง เกลือ (161:6.1)
               คือ ฉาง ที่ สำรับ ไว้ เกลือ, เหมือน อย่าง ฉาง หลวง นั้น.
      ฉาง เข้า (161:6.2)
               คือ ฉาง ที่ สำรับ ไว้ เข้า เปลือก, เหมือน อย่าง ฉาง หลวง นั้น.
      ฉาง เนื้อ (161:6.3)
               คือ ฉาง ที่ สำรับ ใส่ เนื้อ ไว้ นั้น, เหมือน อย่าง ฉาง หลวง เปน ต้น*.
      ฉาง ปลา (161:6.4)
               คือ ฉาง ที่ สำรับ ไว้ ปลา แห้ง, เหมือน อย่าง ฉาง หลวง นั้น
      ฉาง ฝาง (161:6.5)
               คือ ฉาง ที่ สำรับ ไว้ ฝาง นั้น, เหมือน อย่าง ฉาง หลวง นั้น.
      ฉาง พริก ไท (161:6.6)
               คือ ฉาง ที่ สำรับ ไว้ พริก ไท, เหมือน อย่าง ฉาง หลวง เปน ต้น.
ฉ่าง (161:7)
         เปน เสียง ดัง อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง เสียง ม้าฬ่อ เปน ต้น. อนึ่ง เปน การ กำ เบี้ย เสี่ยงทาย กัน.
ฉิ่ง (161:8)
         เปน ชื่อ เครื่อง สำรับ มะโหรี อย่าง หนึ่ง, ทำ ด้วย ทอง เหลือง รูป คล้าย ฝาละมี เสียง มัน ดัง ฉิ่ง ๆ.
ฉิ้ง (161:9)
         คือ อาการ แห่ง แขน คอก ฃา เฉ, เหมือน อย่าง คน พิการ ฃา หัก แขน หัก เปน ต้น.
เฉ่ง (161:10)
         คือ การ เปน ธรรมเนียม จีน ที่ เขา ชำระ เงิน ได้ เสีย กัน ครั้ง หนึ่ง ๆ, เหมือน อย่าง นักเลง เล่น โป เปน ต้น.
      เฉ่ง กัน (161:10.1)
               คือ เลิก ยุด ชำระ เงิน ให้ ผู้ ได้ ผู้ เสีย ชำระ กัน เปน คราว ๆ, เหมือน นักเลง* เล่น โป เปน ต้น.
      เฉ่ง เงิน (161:10.2)
               คือ การ อยุด ควัก เงิน ออก ชำระ กัน,. เหมือน อย่าง พวก จีน เอา เงิน ออก ชำระ แจก ให้ ลูก จ้าง เปน ต้น* นั้น.
      เฉ่ง แล้ว (161:10.3)
               คือ การ อยุด เอา เงิน ชำระ ให้ กัน แล้ว นั้น, เหมือน อย่าง พวก พะ หัว ชำระ เงิน ให้ ผู้ ได้ ผู้ เสีย นั้น.
แฉ่ง (161:11)
         เปน เสียง ดัง อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง เสียง ม้า ฬ่อ มัน ดัง แฉ่ง ๆ. อนึ่ง คือ อาการ ที่ ยิ่ม แย้ม นั้น.
แฉ้ง (161:12)
         เปน ความ โกรธ แล้ว ด่า ว่า ต่าง ๆ, เหมือน คน ใจ บาป มัก แช่ง ว่า, ให้ มัน ฉิบหาย ตาย โหง เปน ต้น.
โฉงเฉง (161:13)
         คือ ลักศณ คน ไม่ ดี เที่ยว เกะกะ, เหมือน อย่าง คน พาล, คบ เพื่อน เที่ยว กิน เล่า เปน หัว ไม้ นั้น.
โฉ่ง (161:14)
         เปน เสียง ดัง อย่าง หนึ่ง, เหมือน เสียง คน ติด กรวน มาก เดิน ไป เปน ต้น.
ฉ่อง (161:15)
         คือ อาการ สิ่ง ของ ที่ ปัก ไว้, ไม่ เรียบ เรียง เปน แถว กัน, เหมือน คน ปลูก เรือน, ทำ ให้ ตีน เสา เข้า ๆ ออก ๆ นั้น.
ฉ้อง (161:16)
         คือ อาการ ของ ทั้ง ปวง ที่ ถะลุ เปน รู เปน ทาง ไป, เหมือน อย่าง ปะตู น่า ต่าง เปน ต้น นั้น.
ฉ้วง (161:17)
         คือ อาการ สิ่ง ของ ที่ เปน ตอน ๆ เปน ระยะ, เหมือน อย่าง ใบ ตอง กล้วย, เขา มัก พูด กัน ว่า ตอง นี้ ช่วง ยาว.
เฉียง (161:18)
         คือ อาการ ที่ คน เอา ผ้าห่ม ไว้ เหนือ บ่า ข้างเดียว, เอา ชาย ผ้า สอด มา ใต้ รักแร้ แล้ว, เอา ไว้ เหนือ บ่า ข้าง เดียว กัน.
      เฉียง ใต้ (161:18.1)
               คือ ทิศ ฝ่าย ใต้ นั้น, เหมือน อย่าง ทิศ หอระดี, อัน อยู่ ใน ระว่าง ทักษิณ กับ ปัจจิม ต่อ กัน นั้น.

--- Page 162 ---
      เฉียง เหนือ (162:18.2)
               คือ ทิศ เฉียง ข้าง เหนือ, เหมือน อย่าง ทิศ อิสาร, อัน อยู่ ใน ระว่าง อุดร กับ บูรพา ต่อ กัน นั้น.
      เฉียง บ่า (162:18.3)
               คือ การ ที่ คน เอา ชาย ผ้า ห่ม ไว้ เหนือ บ่า ข้าง หนึ่ง, แล้ว เอา ชาย ผ้า ข้าง หนึ่ง, สอด มา ใต้ รักแร้, แล้ว เอา ไว้ เหนือ บ่า ข้าง* เดียว กัน นั้น.
เฉื้อง (162:1)
         คือ อาการ แห่ง สัตว ที่ ไม่ เปรียว, ไม่ กลัว, เหมือน อย่าง ไก่ เตี่ย* ที่ เขา เลี้ยง ต้อย ไว้ ให้ เฉื้อง นั้น.
ฉัตร (162:2)
         เปน ชื่อ ของ อย่าง หนึ่ง, เขา ทำ เปน ชั้น ๆ, ชั้น ต้น นั้น ใหญ่, ชั้น กลาง กับ ชั้น ปลาย เล็ก, เปน ลำดับ กัน ฃึ้น ไป.
      ฉัตร กะดาด (162:2.1)
               คือ ฉัตร เปน ชั้น ๆ ที่ ทำ ด้วย ไม้, แล้ว ตัด กะดาด ปิด ด้วย, เหมือน ฉัตร ที่ เขา มี เทษ มหาชาติ นั้น.
      ฉัตร เงิน (162:2.2)
               เปน ชื่อ ฉัตร ที่ เขา ทำ ด้วย เงิน, ฤๅ ทำ ด้วย สิ่ง ของ เหมือน เงิน, เหมือน อย่าง ฉัตร ใหญ่ ที่ พระ เมรุ นั้น.
      ฉัตร ทอง (162:2.3)
               เปน ชื่อ ฉัตร ที่ ทำ ด้วย ทอง, ฤๅ ทำ ด้วย สิ่ง ของ เหมือน ทอง, เหมือน อย่าง ฉัตร ใหญ่ ใน พระ เมรุ นั้น.
      ฉัตร ธง (162:2.4)
               เปน ชื่อ ของ เขา ทำ ด้วย ไม้ เปน วง กลม ๆ, คล้าย ร่ม, เล็ก ใหญ่ เปน เถา กัน ใส่ ไม้ คัน, เอา ผ้า ทำ ระบาย ลง มา, ธง นั้น เขา ทำ ด้วย ผ้า, เปน สาม มุม บ้าง, สี่ มุม บ้าง, มี เสา ปัก ขึ้น ไว้.
      ฉัตร นาก (162:2.5)
               เปน ชื่อ ฉัตร ที่ ทำ ด้วย นาก, ฤๅ สิ่ง ของ ที่ เหมือน นาก, เหมือน อย่าง ฉัตร นาก ที่ ใน พระ เมรุ นั้น.
      ฉัชวาล (162:2.6)
               ฯ แปล ว่า รุ่ง* เรือง โชต ช่วง สว่าง แสง, เหมือน อย่าง ดาม ประทีบ แก้ว มาก ๆ นั้น.
      ฉัตร เบญจรงค์ (162:2.7)
               เปน ชื่อ ฉัตร ราย ทาง, ที่ เขา เขียน ด้วย เครื่อง เขียน ศี ต่าง ๆ, มี รง เปน ต้น นั้น.
      ฉัตทันต์ (162:2.8)
               เปน ชื่อ สระ ใหญ่ สระ หนึ่ง, ว่า มี อยู่ ใน ป่า หิม พานต์, ฝูง ช้าง อยู่ ที่ สระ นั้น เรียก ว่า, ช้าง ฉัตทันต์.
      ฉัตร (162:2.9)
               เปน ชื่อ ร่ม ต่าง ๆ, แล ฉัตร ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง ฉัตร เบญจรงค์, แล ฉัตร กะดาด เปน ต้น.
ฉัฐะมะ (162:3)
         ฯ ว่า นับ เปน ที่ หก, เปน คำ สับท์ นั้น.
ฉาด (162:4)
         คือ อาการ แห่ง ศี แดง เหมือน อย่าง ดอก ทับทิม, แล ดอก ชะบา เปน ต้น, เขา ย่อม ว่า ศี แดง ฉาด.
      ฉาดฉาน (162:4.1)
               คือ ความ ที่ พูด เสียง ดัง ห้าว หาร, เหมือน อย่าง คน ปาก กล้า, พูดจา ไม่ กลัว ไคร นั้น.
ฉีด (162:5)
         เปน อาการ แห่ง น้ำ ที่ ฉูด ออก มา จาก ลำ กล้อง, เหมือน อย่าง น้ำ ใน กะบอก ฉีด เปน ต้น นั้น.
      ฉีด น้ำ (162:5.1)
               คือ การ ที่ เอา น้ำ ฉีด ชำระ แผล, เหมือน อย่าง หมอ เอา ยา ใส่ กะบอก ฉีด ชะ บาด แผล เปน ต้น.
      ฉีด หมา (162:5.2)
               คือ การ ที่ ทำ เสียง ดัง ฉีด ๆ ยุ หมา, เหมือน อย่าง คน ฉีด หมา ให้ ไล้ เนื้อ เปน ต้น.
      ฉีด ไหล (162:5.3)
               คือ อาการ ที่ ไหล ฉีด ออก มา, เหมือน อย่าง น้ำ มูต ไหล ออก ตาม องคชาติ์ เปน ต้น นั้น.
ฉุด (162:6)
         คือ การ ที่ ชัก ลาก ขึ้น มา, เหมือน อย่าง คน ฉุด สาย สมอ, ฤๅ ฉุด ผู้ คน เปน ต้น.
      ฉุด คร่า (162:6.1)
               ยื้อ คร่า, คือ การ ที่ ฉุด ลาก เอา มา, เหมือน อย่าง คน เจ้า นี่, ฉุด ลาก ลูก นี่ ที่ มัน หนี นั้น.
      ฉุด ลาก (162:6.2)
               คือ การ ที่ ฉุด คร่า ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน ลาก ไม้, ฤๅ ฉุด ลาก บ่าว ทาษ เปน ต้น.
ฉูด (162:7)
         คือ อาการ ที่ ไป เร็ว, เหมือน อย่าง งู เลื้อย ฉูด ไป เปน ต้น, ฤๅ คน ลง ท้อง เปน ต้น นั้น.
      ฉูด ฉีด (162:7.1)
               คือ อาการ ที่ น้ำ พุ่ง ออก ไป เร็ว แรง นัก ว่า ฉูด, ฉีด นั้น คือ ปรีด เหมือน น้ำ, คน ทำ ให้ มัน พุ่ง ออก จาก รู เล็ก ๆ แรง นัก นั้น.
      ฉูด ไหล (162:7.2)
               คือ อาการ แห่ง สิ่ง ที่ เปน น้ำ ไหล ฉูด ออก ไป, เหมือน อย่าง คน ลง ท้อง นั้น.
เฉด (162:8)
         เปน คำ สำรับ ไล่ หมา ให้ หนี ไป, เหมือน อย่าง คน เหน หมา เดิน มา, แล้ว ร้อง ตวาด ว่า เฉด.
โฉด (162:9)
         คือ ความ ที่ โง่ ไม่ มี ปัญญา, ไม่ ฉลาด, เหมือน คน ไม่ มี สติปัญญา, ไม่ รู้ จัก อะไร นั้น.
      โฉด เขลา (162:9.1)
               คือ ความ โง่ เง่า, เหมือน คน ปัญญา น้อย, จะ เล่า เรียน หัดปรือ วิชา สิ่ง ใด ไม่ ใคร่ ได้ นั้น.
      โฉด เฉา (162:9.2)
               คือ ความ ที่ ไม่ ใคร่ รู้จัก อะไร, เปน คน ปัญญา น้อย นั้น.
      โฉด นัก (162:9.3)
               เขลา นัก, คือ ความ โง่ นัก, เหมือน คน เคอะ ไม่ สู้ รู้ จัก อะไร นั้น.
ฉอด (162:10)
         คือ เสียง ดัง อย่าง นั้น, เหมือน คน ปาก ช่าง พูด, แล้ว พูด จัด ด้วย นั้น.
      ฉอด พูด (162:10.1)
               คือ เสียง คน พูด ดัง แรง ถี่ ๆ ด้วย, ว่า พูด ฉอด ไป.

--- Page 163 ---
เฉียด (163:1)
         คือ ใกล้ ๆ เคียง ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คน คว่าง หวิด ๆ เกือบ จะ ถูก นั้น.
      เฉียด ชิด (163:1.1)
               คือ เสียด สี ไป ชิด, เหมือน คน ยิง กะสุน ฤๅ ปืน, ลูก มัน เช็ด สี ไป กับ ของ ที่ หมาย นั้น.
      เฉียด ไป (163:1.2)
               หวิด ไป, คือ อาการ ที่ ใกล้ ๆ เข้า ไป, ริม ๆ เข้า ไป, เหมือน อย่าง เดิน เช็ด สี ไป เกือบ โดน กัน นั้น.
      เฉียด มา (163:1.3)
               จักแม่น มา, คือ อาการ ที่ ใกล้ เข้า มา, ฤๅ หวิด เข้า มา, เช็ด สี มา, เหมือน อย่าง คน แล่น เรือ หวิด มา, ฤๅ เดิน เฉียด มา นั้น.
เฉิด (163:2)
         คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ สูง ระหง งาม, เหมือน อย่าง คัน ฉัตร เปน ต้น นั้น.
      เฉิด โฉม (163:2.1)
               คือ อาการ แห่ง ของ ที่ มี รูป ทรง สูง ระหง งาม, เหมือน อย่าง คน งาม สูง ระวาด ระไว เปน ต้น.
      เฉิด ฉาย (163:2.2)
               คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ที่ มี เงา งาม, เหมือน อย่าง รูป นาง งิ้ว, ที่ เขียน ไว้ ใน กระจก ฉาก เปน ต้น.
ฉัน (163:3)
         ข้า, คือ ความ ว่า ดีฉัน นั้น. อนึ่ง เปน คำ พวก พระ สงฆ์ พูด ว่า กิน, เหมือน กิน เข้า ว่า, ฉัน จังหัน.
      ฉัน จังหัน (163:3.1)
               คือ ความ ว่า กิน เข้า นั้น, เปน คำ พวก พระ สงฆ์ ใช้ พูด จา กัน.
      ฉัน เช้า (163:3.2)
               คือ ความ ที่ กิน ใน เพลา เช้า นั้น, เหมือน อย่าง ฉัน เช้า, เอย็น สวด มนต์ เปน ต้น.
      ฉัน ใด (163:3.3)
               ไฉน, คือ ความ ว่า อย่าง ไร, เหมือน อย่าง เขา พูด ว่า, จะ เท็จ จริง ฉันใด ไม่ แจ้ง.
      ฉันทสาตร (163:3.4)
               เปน ชื่อ บท คะณะ ฉัน อย่าง หนึ่ง
      ฉันทา (163:3.5)
               ฯ ความ ชอบ ใจ, ความ ภอ ใจ, คือ อาการ แห่ง ใจ ที่ ทำ ด้วย รักษ, ทำ ด้วย อยาก ได้, เหมือน ผู้ พิพาคษา, ตัด สิน ความ เหน แก่ หน้า กัน บ้าง, เหน แก่ สิน จ้าง สิน บน บ้าง.
      ฉัน เที่ยง (163:3.6)
               คือ อาการ ที่ กิน เมื่อ เพลา เที่ยง, เหมือน อย่าง พวก พระ สงฆ์, ฉัน เพล เปน ต้น นั้น.
      ฉัน นั้น (163:3.7)
               คือ ความ เปน อย่าง นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด เปน คำ เปรียป ว่า, มี อุปมา ฉันใด. อุปไมย ฉันนั้น.
      ฉัน เพล (163:3.8)
               คือ ความ ที่ กิน เมื่อ เพลา ใกล้ เที่ยง, เหมือน อย่าง พวก พระ สงฆ์ กิน เพล ตาม ธรรมเนียม นั้น.
      ฉัน เภสัช (163:3.9)
               คือ ความ ที่ กิน หมาก, ฤๅ กิน ยา แก้ โรค ต่าง ๆ, เปน คำ พวก พระ สงฆ์ พูด.
      ฉัน ยา (163:3.10)
               คือ กิน ยา สูบ, ฤๅ ยา แก้ ไข้ นั้น, พวก พระ สงฆ์ พูด ดั่ง นั้น.
      ฉัน เอง (163:3.11)
               ข้า เอง, คือ ความ ว่า ข้าเจ้า, ฤๅ ข้าพเจ้า, พวก ชาว บ้าน นอก พูด อย่าง นั้น.
ฉาน (163:4)
         เปน เสียง อย่าง หนึ่ง, เหมือน ท่าน ที่ มี วาศนา มาก, พูด เสียง ดัง ห้าว หาร ไม่ กลัว ใคร.
      ฉาน ฉ่า (163:4.1)
               เปน เสียง อย่าง หนึ่ง, เหมือน เสียง คลื่น ใหญ่ ใน ท้อง ทะ เล เปน ต้น
ฉินทภาคย์ (163:5)
         เปน คำ ที่ ตัด กัน ขาด, เหมือน อย่าง กระษัตริย์ สอง พระ นคร ขาด จาก ไมตรี กัน.
ฉุน (163:6)
         คือ ความ ที่ กลิ่น, แล รศ ทั้ง ปวง ที่ เผ็ด ร้อน ร้าย กาจ กล้า, เหมือน ยา บู้หรี่ ที่ ฉุน, ฤๅ อัมโมเนีย เปน ต้น.
      ฉุน เฉียว (163:6.1)
               คือ อาการ แห่ง คน ใจ น้อย ดุ ร้าย โกรธ เร็ว นั้น, อนึ่ง เปน อย่า บุหรี่ ที่ ฉุน กล้า นั้น.
เฉี้ยน (163:7)
         เปน ชื่อ เครื่อง สำรับ ใส่ หมาก พลู กิน, สาน ด้วย ไม้ ไผ่ เปน กะทาย เล็ก ๆ, เปน ถาด เล็ก ๆ นั้น.
      เฉี้ยน หมาก (163:7.1)
               เปน ชื่อ เฉี้ยน ที่ สำรับ ใส่ หมาก กิน นั้น, เหมือน อย่าง เฉี่ยน หมาก พวก ไท นั้น.
ฉับ (163:8)
         เปน ชื่อ อาการ ที่ เร็ว นั้น. อนึ่ง เปน เสียง ที่ ดัง เหมือน อย่าง นก ปืน ลั่น เปน ต้น นั้น.
      ฉับ เฉียว (163:8.1)
               ว่อง ไว, คือ การ เร็ว นั้น, เหมือน อย่าง คน ขี่ ม้า วิ่ง ไป วิ่ง มา เปน ต้น.
      ฉับ พลัน (163:8.2)
               รวดเร็ว, คือ การ เร็ว นัก, เหมือน คน รีบ ไป รีบ มา เปน ต้น นั้น.
      ฉับ ไว (163:8.3)
               คือ อาการ ที่ เร็ว ไว นั้น, เหมือน อย่าง คน วิ่ง ไป วิ่ง มา เปน ต้น นั้น.
ฉาบ (163:9)
         เปน ชื่อ เครื่อง ปี่พาด อย่าง หนึ่ง, รูป แบน ๆ เหมือน ฝา ละมี ใหญ่, เสียง ดัง เหมือน ม้า ฬ่อ.
      ฉาบ ฉวย (163:9.1)
               คือ อาการ ที่ เดิน แฉลบ ฉวย เอา ไป เร็ว ๆ, เปรียบ เหมือน อย่าง นก กา มัน บิน มา ฉาบ ฉวย เอา ไป นั้น.
      ฉาบ เฉี่ยว (163:9.2)
               คือ อาการ ที่ บิน ฉาบ ลง มา แล้ว เฉี่ยว เอา ไป, เหมือน เหญี่ยว บิน ฉาบ ลง มา, เฉี่ยว เอา ชิ้น ปลา ชิ้น เนื้อ เปน ต้น.
      ฉาบ หน้า (163:9.3)
               คือ การ ที่ เอา ยา, ฤๅ น้ำ มัน, ค่อย ๆ ทา ตาม ผิว น้า, เหมือน คน เปน ฝีดาษ หนา ต้อง เอา น้ำมัน ฉาบ หน้า นั้น.

--- Page 164 ---
      ฉาบ น้ำ ตาล (164:9.4)
               คือ การ ที่ เอา ของ กิน ลง เชื่อม ใน น้ำ ตาล, เหมือน อย่าง คน เอา จาว ตาล* ฉาบ น้ำ ตาล ทราย เปน ต้น.
      ฉาบ บิน (164:9.5)
               คือ อาการ ที่ บิน ฉาบ ลง มา, เหมือน อย่าง นก กะลิง, แล นก แก้ว, บิน ฉาบ ลง มา เอา รวง เข้า เปน ต้น.
      ฉาบ ปูน (164:9.6)
               คือ การ ที่ เอา ปูน เหลว ๆ ลูบ ทา เข้า ที่ ฝา ผนัง ให้ มัน ขาว ใหม่ ออก ไป นั้น.
      ฉาบ ร่อน (164:9.7)
               คือ อาการ ที่ บิน ร่อน เปน วง อยู่ แล้ว ฉาบ ลง มา, เหมือน อย่าง เหยี่ยว บิน ร่อน อยู่, เหน เหยื่อ ฉาบ ลง มา นั้น.
ฉิบ (164:1)
         เปน ชื่อ เงี่ยบ* หาย ไป นั้น, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, ของ เรา ขโมย ลัก เอา ไป ฉิบ,
      ฉิบหาย (164:1.1)
               เปน ชื่อ ความ วิบัด ไป ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง คน ที่ เคย มั่งมี ทรัพย์, ภาย หลัง ก็ วิ บัต เสื่อม สูญ สิ้น ไป เปน ต้น.
ฉุบ (164:2)
         คือ เสียง อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง เสียง ที่ คน เอา กะดัก แทง งัว เปน ต้น.
      ฉุบ เข้า ไป (164:2.1)
               คือ อาการ แห่ง เครื่อง เหล็ก เปน ต้น ที่ มัน คม, คน เอา ถิ้ม เข้า ที่ ตัว คน เปน ต้น, มัน เข้า ไป เร็ว นั้น.
โฉบ (164:3)
         คือ อาการ บิน ลง มา ฉวย เอา นั้น, เหมือน อย่าง เหยี่ยว เหน ลูก ไก่, บิน โฉบ ลง มา เอา ไป นั้น.
      โฉบ ฉวย (164:3.1)
               คือ อาการ ที่ โฉบ ลง มา ฉวย เอา นั้น, เหมือน อย่าง เหยี่ยว* โฉบ ฉวย เอา ชิ้น เนื้อ เปน ต้น นั้น.
      โฉบ เฉี่ยว (164:3.2)
               คือ อาการ ที่ โฉบ ลง มา เฉี่ยว เอา ไป นั้น, เหมือน อย่าง นก กะลิง บิน โฉบ ลง มา, เฉี่ยว เอา ดอก เข้า โภช นั้น.
      โฉบ บีน (164:3.3)
               คือ อาการ ที่ โฉบ ลง มา แล้ว บิน ไป นั้น, เหมือน อย่าง นก ออก โฉบ ฉวย ได้ ปลา แล้ว บิน ไป นั้น.
เฉียบ (164:4)
         คือ อาการ สิ่ง ของ ที่ คม สนิท, เหมือน อย่าง มีด โกน, ฤๅ มีด ผ่า บาด แผล เปน ต้น.
      เฉียบ แหลม (164:4.1)
               คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ที่ ปลาย แหลม, เหมือน อย่าง มีด ที่ สำรับ เจาะ ดา คน ตา เจ็บ นั้น.
เฉิบ (164:5)
         คือ อาการ แห่ง คน ขึ้น นั่ง อยู่ บน เดียง, แล้ว* รำ ลอย หน้า ด้วย, เหมือน อย่าง พวก ละคอน นั้น, เขา พูด ว่า ขึ้น นั่ง ลอย หน้า รำ เฉิบ อยู่ บน เตียง นั้น.
ฉัมฉา (164:6)
         เปน ชื่อ ไม้ อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง ที่ เขา ด่อ* หีบ มา แต่ เมือง จีน เปน ต้น นั้น.
ฉัมแฉะ (164:7)
         คือ อาการ แห่ง สิ่ง ที่ เปียก ชุ่ม ไป ด้วย น้ำ, เหมือน อย่าง ที่ สวน เมื่อ ฝน ตก พรำ ๆ นั้น.
ฉิม (164:8)
         เปน ชื่อ พวก เด็ก ๆ, เหมือน อย่าง เขา เหน เด็ก ๆ ที่ ยัง ไม่ รู้ จัก ชื่อ นั้น, เขา มัก ถาม ว่า เจ้า ฉิม ชื่อ ไร.
ฉุ้ม (164:9)
         คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ที่ เปียก ฉุ้ม ไป ด้วย น้ำ, เหมือน อย่าง ผ้า ชุบ น้ำ เปน ต้น*.
      ฉุ้ม ชื่น (164:9.1)
               คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ที่ เปียก ชุ้ม อยู่ ด้วย น้ำ พรม, เหมือน อย่าง ดอก ไม้ ใบ ไม้, ที่ ต้อง* น้ำ ค้าง พรม นั้น.
แฉ้ม (164:10)
         คือ ลักษณ ที่ ไม่ เศร้า หกอง*, ใจ สะบาย, เหมือน อย่าง คน ไม่ มี ทุกข์ สะบาย ใจ, ตื่น นอน ขึ้น ไม่ โกรธ นั้น.
      แฉ้มช้อย (164:10.1)
               คือ ลักษณ คน ที่ ใจ ดี, แล้ว รูป งาม ด้วย, พูด ช้า ๆ, เหมือน อย่าง ผู้หญิง ที่ รูป งาม ใจ ดี พูด ช้า ๆ นั้น.
      โฉม (164:10.2)
               ลักขณะ, คือ อาการ แห่ง รูป ทรง, ฤๅ ลักขณะ นั้น, ถ้า เขา จะ พูด ถึง คน รูป งาม, เขา มัก ว่า โฉม เอย โฉม เฉิด เปน ต้น.
      โฉม เจ้า (164:10.3)
               ลักขณะ เจ้า, อาการ เจ้า, คือ ความ ว่า รูป เจ้า นั้น, เหมือน อย่าง เขา ร้อง สรรเสิญ คน รูป งาม ว่า, โฉม เจ้า ไกร ทอง พงษา เปน ต้น.
      โฉม งาม (164:10.4)
               ลักขณะ งาม, กิริยา ดี, คือ ว่า รูป งาม นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด ว่า, เจ้า โฉม งาม เปน ต้น*.
      โฉมเฉลา (164:10.5)
               คือ ว่า รูป สวย นั้น, เหมือน อย่าง เขา ร้อง ละคอน ว่า, โฉมเฉลา เยาวะ ยอต เสนหา.
      โฉม เฉิด (164:10.6)
               คือ ความ ว่า รูป สูง ระหง งาม นั้น, เหมือน อย่าง เขา ร้อง ว่า, โฉม เอย โฉม เฉิด เปน เมีย พี่ เทิด อย่า กลัว ยาก.
      โฉม ฉิน (164:10.7)
               คือ กล่าว สรรเสิญ รูป นั้น, เหมือน เขา ว่า, โฉม เอ่ย โฉม ฉิน, เปน นก เปน กา พี่ จะ ภา เจ้า บิน เปน ต้น* นั้น.
      โฉม ฉาย (164:10.8)
               ลักษณะ ร่าง กาย, คือ รูป เงา งาม, เหมือน อย่าง รูป เขียน ใน กระจก ฉาก เปน ต้น* นั้น.
      โฉมตรู (164:10.9)
               คือ กล่าว คำ สรรเสิญ ถึง รูป งาม นั้น.
      โฉม นาง (164:10.10)
               อาการ ของ นาง, คือ เปน คำ กล่าว ชม เชย ถึง รูป นาง, เหมือน อย่าง เขา ว่า, โฉม นาง แน่ง น้อย ช้อย ชด.
      โฉม ยง (164:10.11)
               ลักษณะ ยิ่ง, คือ เปน คำ กล่าว สรรเสิญ ถึง รูป ว่า งาม ยิ่ง นั้น, เหมือน เขา ร้อง ว่า, โฉม ยง เจ้า ก็ ทรง ซึ่ง ครรภ แก่ เปน ต้น.

--- Page 165 ---
เฉื้อม (165:1)
         มึน, คือ อาการ ที่ หลับ ตา ซึม อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง คน สูป ฝิ่น เมา หลับ ตา นอน นิ่ง อยู่ เปน ต้น.
      เฉื้อมมึน (165:1.1)
               คือ อาการ ที่ หลับ ตา ซึม มึน อยู่, เหมือน อย่าง คน เจ็บ เปน ไข้ พิศม์ นอน ซึม นิ่ง อยู่ นั้น.
      เฉย (165:1.2)
               หงิม, คือ อาการ ที่ นิ่ง ๆ อยู่ นั้น, เหมือน คน นั่ง นิ่ง ๆ อยู่ ไม่ พูด จา เปน ต้น.
      เฉย นิ่ง (165:1.3)
               คือ อาการ* ที่ นิ่ง เฉย อยู่, เหมือน อย่าง คน ที่ ไม่ รู้ จัก กัน เปน ต้น นั้น.
      เฉย เมย (165:1.4)
               คือ การ ที่ นิ่ง ๆ ไม่ พูด, เหมือน อย่าง คน ที่ ไม่ ชอบ, ไม่ คุ้น เคย กัน เปน ต้น นั้น.
      เฉยมเหรย (165:1.5)
               คือ อาการ เฉย ทำ ไม่ รู้ ไม่ เหน เลีย, เหมือน คน ทำ หน้า เงย เลย ไป ไม่ แล ดู อะไร ๆ นั้น.
      ฉาย (165:1.6)
               เปน ชื่อ เงา นั้น. อนึ่ง เปน การ กระทำ, เหมือน อย่าง คน เอา จอบ เกลี่ย ดิน เกลี่ย ทราย เปน ต้น นั้น.
      ฉาย ดิน (165:1.7)
               คือ การ ที่ เอา จอบ เกลี่ย ดิน ให้ เสมอ กัน, เหมือน อย่าง ชาว สวน ฉาย ดิน บน อก ร่อง นั้น.
      ฉาย ที่ (165:1.8)
               คือ การ ที่ คน เอา จอบ ฤๅ เสียม, เกลี่ย ให้ ที่ เสมอ กัน นั้น.
      ฉายเฉิด (165:1.9)
               เปน ชื่อ รูป คน ชาย หญิง ที่ มี ซวด ทรง งาม รหง นั้น.
      ฉาว (165:1.10)
               วุ่นวาย, เอิกเกริก, คือ การ ที่ เกิด ความ วุ่น วาย ขึ้น นั้น, เหมือน อย่าง คน ปิด บัง ความ ชั่ว ไว้, ภาย หลัง มี คน รู้ ฉาว มาก ไป.
      ฉาว ฉ่า (165:1.11)
               อึง มี่, กึก ก้อง, คือ ความ ที่ เสียง อื้อ อึง, เหมือน อย่าง เสียง คน แข่ง เรือ มาก ๆ ใน แม่ น้ำ นั้น.
ฉิว (165:2)
         เฉื่อย, คือ อาการ ที่ ลม พัด เรื่อย* ๆ นั้น. อนึ่ง เปน ใจ ฉุน เฉียว โกรธ เร็ว, เหมือน ดิน ประสิว ถูก ไฟ เปน ต้น.
      ฉิว เฉื่อย (165:2.1)
               ระ รี่ เรื่อย, คือ การ ที่ ลม พัด เรื่อย ๆ, เหมือน อย่าง เรือ แล่น ใบ ตาม ลม เปน ต้น นั้น.
ฉุย (165:3)
         ฟุ้ง, ขจอร, คือ อาการ แห่ง กลิ่น ทั้ง ปวง ที่ ฟุ้ง ไป ตาม ลม, เหมือน อย่าง กลิ่น ดอก ไม้ ที่ หอม ฉุย ไป ตาม ลม นั้น.
      ฉุย กลิ่น (165:3.1)
               กลิ่น ฟุ่ง, กลิ่น ขจอร, คือ อาการ แห่ง กลิ่น ทั้ง ปวง ที่ ฟุ้ง ฉุย ไป ตาม ลม, เหมือน อย่าง กิ่ลน ดอก ไม้ เปน ต้น.
      ฉุย แฉก (165:3.2)
               พรัด พราย, กะ จุย กะ จาย, คือ การ ทำ กระ จัด กระ- จาย ไป, เหมือน แม่ เรือน เปน นักเลง ส่าย ทัรพย์ ให้ ฉิบ หาย เสีย นั้น.
      ฉุย ฉาย (165:3.3)
               สำ รวย, กรีด กราย, โอ่ โถง, เปน ชื่อ* คำ เพลง อย่าง หนึ่ง เขา ร้อง ส่ง ปี่พาด. อนึ่ง อาการ ที่ นุ่ง ห่ม กรีด กราย, เหมือน คน เจ้า ชู้ เปน ต้น นั้น.
ฉุ้ย (165:4)
         คือ เอา มือ ทำ อาการ คล้าย ๆ กับ ชี้ ถิ้ม ตัม นั้น. อนึ่ง คน พูด แต่ ภอ ให้ พ้น ตัว, เหมือน พูด แล้ว ทิ้ง เสีย นั้น.
      ฉุ้ย แช (165:4.1)
               คือ ความ ที่ เชือน แช, เหมือน อย่าง คน เดิน ไม่ ตรง ทาง นั้น.
ฉวย (165:5)
         อยิบ, คว้า, คือ การ ที่ อยิบ เอา เร็ว ๆ, เหมือน อย่าง ขะโมย วิ่ง ราว เปน ต้น.
      ฉวย กิน (165:5.1)
               คว้า กิน, เหนบ แหนบ กิน, คือ อาการ ที่ อยิบ กิน เรว ๆ, เหมือน อย่าง เด็ก ๆ ขะโมย ของ กิน เปน ต้น
      ฉวย คว้า (165:5.2)
               คว้า หยิบ, คือ การ ที่ คว้า มือ ลง ฉวย เอา นั้น, เหมือน อย่าง ของ พลัด ตก จ้วง มือ ลง ฉวย เอา เปน ต้น นั้น.
      ฉวย ฉก (165:5.3)
               ลัก ฉก, คือ การ ที่ เอา มือ คว้า จับ เอา ของ อัน ใด, ที่ เจ้า ของ ไม่ ได้ ให้, ลัก เอา ของ นั้น ไป.
      ฉวย ฉุด (165:5.4)
               คือ การ ที่ ฉวย ได้ แล้ว ฉุด เอา ไป, เหมือน อย่าง คน จับ บ่าว ที่ มัน หนี นั้น, ฉวย ได้ แล้ว ฉุด เอา ไป.
      ฉวย ฉาบ (165:5.5)
               คือ การ ที่ เอา มือ ทำ เช่น ว่า, ฉาบ นั้น คือ โฉบ ถา ลง แล้ว บิน ขึ้น นั้น.
      ฉวย ได้ (165:5.6)
               คือ การ ที่ จับ ตัว ได้ นั้น, เหมือน อย่าง คน หนี เขา เที่ยว ตาม ฉวย ตัว ได้. อนึ่ง ของ ตก ฉวย ไว้ ได้.
      ฉวย ตัว (165:5.7)
               คว้า ตัว ได้, คือ การ ที่ จับ ตัว นั้น, เหมือน อย่าง คน ไล่ จับ ไก่, ฉวย ตัว ได้ เปน ต้น.
      ฉวย ผิด (165:5.8)
               คว้า ผิด, คือ การ ที่ ฉวย ไม่ ถูก นั้น, เหมือน อย่าง คน ไล่ คว้า ไม่ ได้ นั้น.
      ฉวย ฟัด (165:5.9)
               จับ ฟัด, จับ สบัด, คือ อาการ ที่ ฉวย ได้ แล้ว ฟัด ไป, เหมือน อย่าง หมา กัด งู ได้, สบัด ไป นั้น.
      ฉวย มือ (165:5.10)
               คว้า มือ, คือ อา การ ที่ คว้า จับ เอา มือ, เหมือน อย่าง ธรรมเนียม พวก อังกฤษ จับ มือ สั่น ๆ คำนับ กัน นั้น.
      ฉวย ไม้ (165:5.11)
               คว้า ไม้, หยิบ เอา ไม้, คือ การ ที่ คว้า จับ เอา ไม้, เหมือน อย่าง คน ฉวย ไม้ ไล่ ตี เด็ก ๆ เปน ต้น นั้น.
      ฉวย มีด (165:5.12)
               ถือ มีด, คือ อา การ ที่ คว้า จับ เอา มีด, เหมือน อย่าง คน ฉวย เอา มีด ไป ตัด ไม้ เปน ต้น นั้น.
      ฉวย หมวก (165:5.13)
               จับ เอา หมวก, คือ การ ที่ คน หยิบ เอา หมวก เร็ว ๆ, เหมือน อย่าง คน จะ รีบ ไป เปน ต้น นั้น.

--- Page 166 ---
      ฉวย ยื้อ (166:5.14)
               ๆ แย่ง, คือ อาการ ที่ ฉวย ได้ แล้ว คร่า มา, เหมือน อย่าง เจ้า นี่ กับ ลูก นี่ ยื้อ คร่า กัน นั้น.
      ฉวย แย่ง (166:5.15)
               ฉก ชิง, ยื้อ แย่ง, คือ อาการ ที่ ฉวย ได้ แล้ว แย่ง เอา ไป, เหมือน อย่าง คน พวง แย่ง ตลาด นั้น.
      ฉวย ไหล่ (166:5.16)
               ถือ บ่า, คือ อาการ ที่ เอา มือ คว้า จับ เอา ไหล่, เหมือน อย่าง คน กอด ฅอ กัน เดิน เปน ต้น.
      ฉวย ลัก (166:5.17)
               ฉก ชิง, คือ การ ที่ ฉวย ได้ สิ่ง ของ แล้ว ลัก เอา ไป, เหมือน อย่าง ขะโมย ล้วง ลัก เปน ต้น.
      ฉวย หลัก (166:5.18)
               จับ หลัก, ยึด หลัก, คือ อาการ ที่ คว้า จับ เอา หลัก, เหมือน อย่าง คน ว่าย น้ำ มา เต็ม เหนื่อย แล้ว ฉวย เอา หลัก นั้น.
      ฉวย ลาก (166:5.19)
               ฉุด ลาก, ยื้อ คร่า, คือ การ ที่ ฉวย ได้ แล้ว ลาก ไป, เหมือน อย่าง คน ฉวย เชือก ลาก เรือ ไป เปน ต้น นั้น.
      ฉวย ลูก (166:5.20)
               อุ้ม เอา ลูก, คือ การ ที่ ฉวย ได้ ลูก แล้ว อุ้ม ไป, เหมือน* อย่าง คน คว้า ลูก ได้ แล้ว, ภา หนี ไภย ไป นั้น.
      ฉวย ไว้ (166:5.21)
               จับ ไว้, คว้า ไว้, คือ การ ที่ ฉวย ได้ แล้ว ยึด ไว้, เหมือน อย่าง คน เลี้ยง แกะ, ฉวย เชือก ที่ ผูก แกะ นั้น ยึด ไว้.
      ฉวย เอา (166:5.22)
               จับ เอา, คว้า เอา, คือ อาการ ที่ หยิบ เอา เร็ว ๆ, เหมือน อย่าง คน ฉวย เอา สิ่ง ของ ที่ ร้อน ๆ, ต้อง หยิบ เร็ว ๆ นั้น.
เฉียว ฉุน (166:1)
         ฉุน เฉียว, คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ, ที่ มี กลิ่น แล รศ แรง กล้า, เหมือน อย่าง อัมโมเนีย เปน ต้น.
เฉี่ยว (166:2)
         บิน แฉลบ ลง, คือ อาการ ที่ บิน โฉบ ลง มา นั้น, เหมือน อย่าง เหยี่ยว บิน โฉบ เฉี่ยว เอา ชิ้น เนื้อ เปน ต้น
      เฉี่ยว ฉาบ (166:2.1)
               บิน ฉาบ ลง, คือ อาการ ที่ บิน ฉาบ ลง มา, เฉี่ยว เอา สิ่ง ของ ไป, เหมือน อย่าง นก กะลิง เฉี่ยว เอา รวง เข้า นั้น.
      เฉี่ยว โฉบ (166:2.2)
               บิน โฉบ, ความ ว่า เหมือน กัน กับ เฉี่ยว ฉาบ นั้น, เหมือน อย่าง เหยี่ยว ที่ เฉี่ยว โฉบ เอา ชิ้น เนื้อ นั้น.
      เฉี่ยว ฉวย (166:2.3)
               ฉาบ ฉวย, คือ อาการ ที่ บิน เฉี่ยว ลง มา ฉวย เอา สิ่ง ของ ไป, เหมือน อย่าง เหยี่ยว เฉี่ยว เอา ลูก ไก่ ไป นั้น.
      เฉี่ยว ได้ (166:2.4)
               โฉบ ได้, คือ อาการ ที่ บิน เฉี่ยว ลง มา ได้ สิ่ง ของ ไป, เหมือน อย่าง เหยี่ยว เฉี่ยว ได้ ชิ้น เนื้อ เปน ต้น นั้น.
      เฉี่ยว บิน (166:2.5)
               ฉาบ บิน, โฉบ บิน, คือ อาการ ที่ เฉี่ยว ได้ แล้ว บิน ไป, เหมือน อย่าง นก แก้ว เฉี่ยว เอา ดอก เข้า โพช ไป นั้น.
      เฉี่ยว เอา (166:2.6)
               โฉบ เอา, คือ อาการ ที่* เฉี่ยว เอา ของ ต่าง ๆ, เหมือน เหยี่ยว เฉี่ยว เอา ลูก ไก่ ไป เปน ต้น.
เฉี้ยว (166:3)
         ไหล แรง, คือ อาการ แห่ง น้ำ ที่ ไหล ลง แรง, เหมือน อย่าง น้ำ เมื่อ เดือน สิบสอง เปน ต้น.
      เฉี้ยว ชาณ (166:3.1)
               กล้า หาร, ชำนาญ กล้า, คือ อาการ แห่ง คน ที่ มี ฤทธิ์ มี อำนาท มาก, เหมือน อย่าง โมเซ, ฤๅ เอลิยา เปน ต้น.
เฉื่อย (166:4)
         ช้า, คือ อาการ ที่ เรื่อย ๆ, เหมือน อย่าง ลม พัด เสมอ อ่อน ๆ นั้น.
      เฉื่อย ใจ (166:4.1)
               คือ อาการ แห่ง คน ใจ เรื่อย ๆ ใจ ช้า, เหมือน อย่าง ลม พัด อ่อน ๆ เปน ต้น นั้น.
      เฉื่อย ฉ่ำ (166:4.2)
               คือ ความ ที่ สะบาย ใจ, ฤๅ ใจ ระงับ, เหมือน อย่าง กระหาย น้ำ, ได้ กิน น้ำ ที่ เอย็น ใส นั้น.
      เฉื่อย ช้า (166:4.3)
               คือ ความ ที่ คน ใจ เย็น ใจ ช้า, เหมือน อย่าง ลม พัด อ่อน ๆ, ฤๅ น้ำ ไหล อ่อน ๆ เปน ต้น นั้น.
      เฉื่อย มะเหรื่อย (166:4.4)
               คือ อาการ คน ช้า เอื่อย เรื่อย, จะไป ข้าง ไหน ไม่ ว่อง ไว, เนือย ๆ อยู่ นั้น.
      เฉื่อย เย๊น (166:4.5)
               คือ อาการ ที่ ลม พัด เรื่อย ๆ, ลม พัด อ่อน ๆ, เปน ที่ เย็น ใจ นั้น.
      เฉื่อย เรื่อย (166:4.6)
               คือ การ ที่ เรื่อย ๆ เฉื่อย ๆ, เหมือน อย่าง ลม พัด อ่อน ๆ เสมอ เปน ต้น.
แฉะ (166:5)
         เฉอะ, เปน เสียง อย่าง หนึ่ง, เหมือน เสียง ตี เหล็ก ไฟ, อนึ่ง คือ ที่ เปียก, เหมือน ที่ ฝน ตก ชุก นั้น.
      แฉะ แบะ (166:5.1)
               แฉะมะแระ, คือ การ ที่ คน กระทำ เปียก เปรอะ, แล้ว นั่ง แบะ อยู่, เหมือน หญิง มัก ง่าย นั้น.
เฉาะ (166:6)
         เสี่ยง สับ, คือ การ ที่ มีด สับ สิ่ง ของ ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง คน เฉาะ ลูก ตาล ด้วย* มีด นั้น.
      เฉาะ ตาล (166:6.1)
               คือ การ ที่ คน เอา มีด ฦๅ พร้า, เฉาะ ลง ที่ ลูก ตาล นั้น.
      เฉาะ หมาก (166:6.2)
               คือ การ ที่ คน เอา มีด ฤๅ พร้า สับ ลง ที่ ลูก หมาก, เหมือน คน เฉาะ หมาก ตาก นั้น.
      เฉาะเลาะ (166:6.3)
               คือ ถ้อย คำ ที่ คน ฉลาด พูด ต่าง ๆ, เปน ต้น ว่า แม่ จ๋า พ่อ จ๋า, ฉัน ไป ด้วย จ๋า เปน ต้น, เหมือน เด็ก ช่าง พูด นั้น.
ฉ้อ (166:7)
         กระบัด, คือ ความ ที่ เบียด บัง เอา ทรัพย์ ของ ผู้ อื่น ไว้ นั้น, เหมือน อย่าง เสมียน ฉ้อ นาย เรือน เปน ต้น.

--- Page 167 ---
      ฉ้อ กระบัด (167:7.1)
               คือ ความ ที่ ฉ้อ กระบัด เอา ทรัพย์ ของ เขา, เหมือน ยืม เอา ของ เขา ไป, ฤๅ ของ เขา ฝาก ไว้, แล เอา เสีย นั้น.
      ฉ้อฉน (167:7.2)
               คือ ความ ที่ ปิด บัง เอา ทรัพย์ สิ่ง ของ ทอง เงิน แห่ง เขา ไว้, ครั้น เจ้า ของ จะ เอา ก็ เถียง ว่า ให้ แล้ว.
      ฉกามาพจร (167:7.3)
               คือ ชั้น สวรรค์ หก ชั้น, มี จาตุมหาราช, แล ดาวดึงษ์, แล ชั้น ยามา, แล ชั้น ดุสิด, ชั้น นิมมานรดิศ, ชั้น ปะระนิมิศวัษดี นั้น.
      ฉ้อ* ได้ (167:7.4)
               คือ ความ ที่ ฉ้อ เขา ไว้ ได้, เหมือน คน ยืม ของ เขา ไป, ครั้น เจ้า ของ หลง ลืม ก็ บัง ไว้ หา ให้ เจ้า ของ ไม่.
      ฉ้อ ม่วง (167:7.5)
               คือ เปน ชื่อ ดอก ไม้ ไฟ อย่าง หนึ่ง, เหมือน ดอก ไม้ เทียน, เมื่อ จุด ไฟ นั้น ลุก รุ่ง เรือง, เปน ประกาย เหมือน ตี เหล็ก ไฟ นั้น.
      ฉ้อ ลัก (167:7.6)
               คือ การ ที่ ฉ้อ เช่น ว่า, ลัก นั้น คือ ขะโมย เอา นั้น, เหมือน ฉ้อ เอา ของ เขา ไว้ นั้น.
      ฉ้อ ไว้ (167:7.7)
               คือ ความ ที่ ฉ้อ เอา ของ ๆ เขา ไว้, เหมือน อย่าง เล่น โป เปน ต้น, เขา ได้ เถียง ว่า เขา ไม่ ได้ นั้น.
      ฉ้อ เอา (167:7.8)
               คือ การ ที่ ฉ้อ เอา ของ เขา ไว้, เหมือน คน ไป กู้ ยืม เอา ของ เขา มา, ครั้น เจา* ของ ตัก เตือน ก็ เถียง เอา หา ให้ เขา ไม่.
      ฉพัรรณรังศรี (167:7.9)
               คือ อาการ แห่ง รัศมี หก อย่าง, คือ ศรี เขียว ขาว, เหลือง, แดง, หง สบาท, เหลื้อม ประภัษร.
(167:1)
         
ชา (167:2)
         คือ อาการ ที่ เปน เหน็บ ชา, เหมือน คน นั่ง นาน ไม่ ได้ เปลี่ยน ท่า, มัก ชา เปน เหน็บ อยู่ นั้น. อนึ่ง เปน ชื่อ ใบ ไม้ มา แต่ เมือง จีน.
      ชา จีน (167:2.1)
               คือ ใบ ชา ที่ เขา เอา มา แต่ เมือง จีน นั้น.
      ชา ดี (167:2.2)
               คือ ใบชา อย่าง ดี, ที่ มา แต่ เมือง จีน, สำรับ ใส่ ใน น้ำ ร้อน กิน ให้ สบาย ใจ นั้น.
      ชา เลว (167:2.3)
               คือ ใบ ชา ไม่ สู้ ดี, กิน แต่ ภอ แก้ อยาก น้ำ, เหมือน อย่าง ที่ พวก เจ๊ก ตี เหล็ก มัน กิน นั้น.
      ชาตะรู ประชะตะ (167:2.4)
                ฯ ว่า เงิน ทอง หรื รูป สิ่ง ใด ๆ ที่ เขา ใช้ ต่าง เงิน ทอง, เหมือน อย่าง ปี้ แปะ, สะกา เปน ต้น.
      ชาตรี (167:2.5)
               คือ กำเนิด, บัง เกิด, เหมือน คำ เรียก ว่า ละ คอน* ชาตรี มัน เปน ชาติ กำเนิด บัง เกิด ก่อน.
      ชานาติ (167:2.6)
               ฯ ความ ที่ รู้, เหมือน อย่าง รู้ ซึ่ง เหตุ การ ทั้ง ปวง นั้น.
      ชานุ (167:2.7)
                ฯ ว่า เข่า, เหมือน อย่าง เข่า คน, แล เข่า สัตว ทั้ง ปวง เปน ต้น.
      ชามาตา (167:2.8)
               คือ น้อง ของ มารดา, เหมือน เขา เรียก ว่า, น้า, นั้น.
      ชา ยวน (167:2.9)
               คือ ใบ ชา เขา ปลูก ที่ เมือง ยวน นั้น.
      ชายา (167:2.10)
                ฯ ว่า เมีย, เหมือน อย่าง ผัว เมีย ทั้ง ปวง นั้น.
ช้า (167:3)
         คือ อาการ ที่ นาน, ไม่ เรว, เหมือน คน ทำ การ งาน ทั้ง ทั้ง* ปวง ช้า หนัก
      ช้า การ (167:3.1)
               คือ การ สรรพ ทุก สิ่ง คน ทำ ไม่ ใคร่ แล้ว, นาน แล้ว.
      ช้า เกลือ (167:3.2)
               คือ เปน ชื่อ ผัก อย่าง หนึ่ง, แกง เลียง กิน ดี, มี อยู่ ตาม ชาย หาด ทราย ฝ่าย เหนือ.
      ช้า กรูด (167:3.3)
               เปน ชื่อ ผัก อย่าง หนึ่ง, ต้น เล็ก ๆ, ใบ กลม ๆ, กลิ่น หอม กิน ดี, คือ ผัก กระสัง นั้น.
      ช้า คราม (167:3.4)
               เปน ชื่อ ผัก อย่าง หนึ่ง, ต้น ไม่ สู้ โต มี อยู่ ชาย ทะ เล, ใบ คล้าย ๆ กับ สน จีน, รศ เคม.
      ช้า แป้น (167:3.5)
               เปน ชื่อ ไม้ อย่าง หนึ่ง, ต้น ไม่ สู้ โต, มี อยู่ ข้าง เหนือ สำรับ ใช้ ทำ ยา.
      ช้า เลือด (167:3.6)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, อยู่ ใน ป่า เขา ทำ อยา ได้.
      ช้า พลู (167:3.7)
               เปน ชื่อ ผัก อย่าง หนึ่ง, ต้น ใบ คล้าย กับ พลู, สำ- รับ ใช้ แกง กิน บ้าง ทำ ยา บ้าง
      ช้า ลูด (167:3.8)
               เปน ชื่อ ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปลือก หอม, เขา เอา มา ทำ ธูป แล เครื่อง หอม ต่าง ๆ.
ชิ (167:4)
         คือ เปน เสียง ออก ปาก สรรเสิ่ญ บ้าง, ติเตียน บ้าง, เหมือน ได้ เหน ของ ดี ก็ ออก ปาก ว่า ชิ ๆ ดี จริง, ถ้า เหน ของ ชั่ว ก็ ออก ปาก ว่า ชิ ๆ ชั่ว จริง. อนึ่ง เปน ชื่อ ที่ ลับ ของ หญิง มอญ, เขา เรียก ว่า ชิ มอญ.
ชิโนรศ (167:5)
         แปล ว่า คน เปน โอรศ แห่ง พระเจ้า, คือ พระ สงฆ์ นั้น.
ชี (167:6)
         คือ เปน ชื่อ คน ถือ บวช อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง หลวง ชี ที่ นุ่ง ขาว ห่ม ขาว นั้น.
      ชี ต้น (167:6.1)
               เปน ชื่อ ของ คน ที่ ถือ บวช มา ตาม เดิม, เหมือน อย่าง พระ สงฆ์ นั้น, เขา ย่อม เรียก ว่า ชี ต้น.
      ชี บา (167:6.2)
               เปน ชื่อ แห่ง พวก ที่ ถือ บวช นั้น, เหมือน อย่าง พวก สมณ, ฤๅ พราหมณ เปน ต้น.

--- Page 168 ---
      ชี เปลือย (168:6.3)
               เปน ชื่อ คน นิ ครรฐ ถือ เพศ บวช อย่าง หนึ่ง ถือ ไม่ นุ่ง ผ้า ไม่ หม ผ้า นั้น.
      ชี พ่อ พราหมณ์ (168:6.4)
               เปน ชื่อ พวก พราหมณ์ ที่ ไว้ ตัว ว่า, เปน คน ถือ บวช นั้น.
      ชี สงฆ์ (168:6.5)
               เปน ชื่อ คน บวช เปน พระ สงฆ์ นั้น, เหมือน อย่าง พวก ภิกษุ สงฆ์ ทั้ง ปวง นั้น.
      ชี ลา (168:6.6)
               เปน ชื่อ ผัก อย่าง หนึ่ง กลิ่น หอม ดี หนัก, ผล เปน เม๊ด เล๊ก ๆ, ใช้ ใน แกง บ้าง, ทำ ยา บ้าง.
      ชี ล้อม (168:6.7)
               เปน ชื่อ ผัก หย่าง หนึ่ง กลิ่น หอม มัก ขึ้น อยู่ ใน น้ำ ใน โคลน, ใช้ กิน กับ เข้า บ้าง, ทำ ยา บ้าง.
      ชี ตา เหน (168:6.8)
               เปน ชื่อ วัด แห่ง หนึ่ง, มี อยู่ ใน แขวง กรุง เก้า.
      ชี สอื้น (168:6.9)
               เปน ชื่อ วัด แห่ง หนึ่ง, มี อยู่ ใน แขวง เมือง เพชร์ บูรี.
ชีวา (168:1)
         คือ ความ ที่ เปน อยู่, เหมือน อย่าง คน, ฤๅ สัตว์ ที่ ยัง ไม่ ตาย นั้น.
      ชีวา วาย (168:1.1)
               คือ ความ ที่ ชีวิตร ตาย ไป นั้น.
ชีวี (168:2)
         คือ ความ ที่ เปน อยู่, เหมือน อย่าง คน, แล สัตว ที่ ยัง มี ลม หายใจ เข้า ออก อยู่ นั้น.
ชีโว (168:3)
         คือ ความ เปน อยู่, เหมือน อย่าง คน แล สัตว ที่ ยัง ไม่ มรณะ นั้น.
ชีวะ (168:4)
         ฯ แปล ว่า ชิวิตร, ว่า เปน อยู่.
ชีวัง (168:5)
         คือ ความ ที่ เปน อยู่, เหมือน อย่าง คน แล สัตว ที่ ยัง ไม่ ตาย นั้น.
ชีวิตร (168:6)
         คือ ความ เปน อยู่, เหมือน อย่าง คน แล สัตว เมื่อ ยัง ไม่ ตาย นั้น, ชีวิตร เปรียบ เหมือน เกลือ ที่ รักษา ชิ้น เนื้อ อยู่ มิ ให้ เน่า ไป นั้น.
ชีพิตร (168:7)
         คือ ความ เปน อยู่, ความ เหมือน กัน กับ ชีวิตร นั้น.
ชีวิตรตักษัย ไป (168:8)
         อะธิบาย ว่า ชีวิตร สิ้น ไป, ตาย ไป, ประ- ไลย ไป, นั้น.
ชีวัน (168:9)
         คือ เปน อยู่, ความ เหมือน กัน กับ ชีวิตร นั้น.
ชี่ (168:10)
         เปน ชื่อ ของ ที่ เปน เหื่อ ดำ ๆ, อัน บัง เกิด แต่ อาย ควัน ไฟ, ดู คล้าย ๆ กับ น้ำ มัน ที่ ทา กำ ปั่น นั้น.
ชี้ (168:11)
         คือ อาการ ที่ คน กำ มือ เข้า แล้ว, เหยียด ออก ไว้ นิ้ว หนึ่ง สำรับ บอก การ งาน, หรื หน ทาง เปน ต้น.
      ชี้ ขาด (168:11.1)
               คือ อาการ ที่ เอา นิ้ว ชี้ ลง ที่ ข้อ ความแล้ว, พิภาคษา ตัด สิน ขาด, เหมือน พวก ลูก ขุน ศาล หลวง เปน ต้น นั้น.
      ชี้ แจง (168:11.2)
               คือ อาการ ที่ เอา นิ้ว มือ ชี้ แล้ว* แจง ไป ด้วย, เหน คน ที่ แจง เบี้ย แล้ว, ชี้ ตรวด ดู เบี้ย หนัก เบา นั้น.
      ชี้ ด่า (168:11.3)
               คือ อาการ ที่ ชี้ มือ แล้ว ด่า ด้วย, เหมือน อย่าง ที่ โกรธ แล้ว, ชี้ หน้า ด่า กัน นั้น.
      ชี้ ตัว (168:11.4)
               คือ อาการ ที่ ชี้ บอก ตัว ให้ เขา, เหมือน อย่าง คน สีน บน ชี้ ตัว บอก ให้ เขา นั้น.
      ชี้ หน้า (168:11.5)
               คือ อาการ ที่ เอา มือ ชี้ ที่ หน้า, เหมือน* คน โกรธ แล้ว, ชี้ หน้า ว่า ประจาร ต่าง ๆ.
      ชี้ นิ้ว (168:11.6)
               คือ เอา นิ้ว ชี้ ๆ ของ อัน ใด ๆ ให้ คน อื่น ดู นั้น.
      ชี้ บอก (168:11.7)
               คือ อาการ ที่ ชี้ มือ แล้ว, บอก ความ ตาม รู้ ด้วย, เหมือน คน ชี้ มือ บอก หน ทาง เปน ต้น.
      ชี้ มือ (168:11.8)
               คือ อาการ ที่ ชี้ ด้วย มือ, เหมือน อย่าง คน ยก มือ ชี้ บอก หน ทาง เปน ต้น.
      ชี้ ให้ (168:11.9)
               คือ อาการ ที่ ชี้ บอก ให้, เหมือน คน ชี้ ของ ให้ ของ สิ่ง นี้ ท่าน จง เอา ไป เถิด.
      ชี้ เอา (168:11.10)
               คือ ความ ที่ อยาก ได้ สิ่ง ใด, ก็ ชี้ เอา สิ่ง นั้น, เหมือน คน ชี้ มือ บอก เขา ว่า, สิ่ง นี้ เรา จะ เอา.
ชื่อ (168:12)
         นาม, เปน นาม แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, เปน ที่ สังเกด ได้ เหมือน ของ สิ่ง นี้ ชื่อ นี้, ของ สิ่ง นั้น ชื่อ นั้น.
      ชื่อ เก่า (168:12.1)
               เปน ชื่อ ก่อน, เหมือน คน มี ชื่อ ก่อน ชื่อ หนู, คือ ใหญ่ ขึ้น ผลัด ชื่อ มี มา เปน ต้น นั้น.
      ชื่อ ของ (168:12.2)
               เปน ชื่อ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, เหมือน อย่าง ของ สิ่ง นี้, ชื่อ อย่าง นี้, สิ่ง นั้น ชื่อ อย่าง นั้น.
      ชื่อ คน (168:12.3)
               เปน ชื่อ ของ คน อัน มี ชื่อ ต่าง ๆ, เหมือน คน นั้น ชื่อ อย่าง นั้น, คน นี้ ชื่ออย่าง นี้ เปน ต้น.
      ชื่อ เดิม (168:12.4)
               เปน ชื่อ แรก, เหมือน เมือง ธนบุรี นี้, แรก ชื่อ บางกอก.
      ชื่อ ตั้ง (168:12.5)
               เปน ชื่อ ตำแหน่ง ที่ ตั้ง นั้น, เหมือน อย่าง ขุนนาง ทั้ง ปวง, ที่ ท่าน ตั้ง ให้ ชื่อ นั้น ชื่อ นี้.
      ชื่อ เสียง (168:12.6)
               เปน เสียง ที่ เขา เรียก ชื่อ นั้น, เหมือน คน ที่ เปน คน ตี นั้น, เขา มัก พูด ให้ เสียง ออก ชื่อ บ่อย ๆ.
      ชื่อ สัตว (168:12.7)
               เปน ชื่อ แห่ง สัตว ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง ชื่อ ช้าง, ม้า, โค, กระบือ เปน ต้น.
ชื้อ (168:13)
         คือ อาการ ที่ ร่ม รื่น ไป ด้วย ต้น ไม้, แล้ว มี ลม พัด เย็น เฉื่อย, เหมือน อย่าง ร่ม ไทร ริม ชาย ทุ่ง นั้น.

--- Page 169 ---
ชุติ (169:1)
         ฯ คือ อาการ ที่ รุ่ง เรือง, ฤๅ สว่าง, เหมือน อย่าง แสง อาทิตย์ เปน ต้น นั้น.
ชุลี กร (169:2)
         คือ อาการ ที่ ประนม มือ นั้น, เหมือน อย่าง คน ยก มือ ประนม ฟัง ธรรม นั้น.
ชุลี หัตถ์ (169:3)
         ประนม หัตถ์, คือ อาการ ที่ ประนม กร นั้น, เหมือน อย่าง คน ฟัง ธรรม, ตั้ง ประนม มือ อยู่ นั้น.
ชู (169:4)
         เชิด, คือ การ ที่ ยก ขึ้น สูง ๆ, เหมือน อย่าง คน ยก แขน ชู ขึ้น เบื้อง บน เปน ต้น.
      ชู ขึ้น (169:4.1)
               เชิด ขึ้น, คือ อาการ ที่ ยก ขึ้น ให้ สูง นั้น, เหมือน อย่าง คน ชู ของ ต่าง ๆ ขึ้น นั้น.
      ชู แขน (169:4.2)
               คือ อาการ ที่ คน ยก แขน ขึ้น สูง ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คน ยก มือ ชู ขึ้น นั้น.
      ชู ฅอ (169:4.3)
               ยื่น ฅอ, คือ อาการ ที่ ยก ฅอ ขึ้น ชู ฉะเง้อ อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง หมา ว่าย น้ำ เปน ต้น.
      ชู ชก (169:4.4)
               เปน ชื่อ พราหมณ์ คน หนึ่ง, มี ใน หนังสือ เทษนา, อย่าง หนึ่ง กัน เทษ ชื่อ ว่า กัน ชูชก นั้น.
      ชู เชิด (169:4.5)
               คือ อาการ ที่ ยก ชู แล้ว เชิด ไป ด้วย, เหมือน อย่าง คน เล่น หนัง เปน ต้น นั้น.
      ชู ต้น (169:4.6)
               คือ* อาการ ที่ ตั้ง ต้น ชู ขึ้น ไว้, เหมือน อย่าง ต้น เข้า ที่ ล้ม ลู่ ไป ตาม น้ำ แล้ว, กลับ ชู ต้น ขึ้น ได้ นั้น.
      ชู ตีน (169:4.7)
               ยก ตีน, คือ อาการ ที่ ยก ตีน ขึ้น ไว้, เหมือน อย่าง นก กระต้อยติวิด นอน หงาย เอา ตีน ชี้ ฟ้า อยู่ นั้น.
      ชู หน้า (169:4.8)
               คือ อาการ ที่ ยก หน้า ชู ขึ้น ไว้, เหมือน อย่าง คน นั่ง อย* ดว้ย กัน มาก ยื่น น่า สลอน อยู่ นั้น.
      ชู มือ (169:4.9)
               คือ อาการ ที่ ยก มือ ชู ขึ้น ไว้, เหมือน อย่าง คน ยก มือ ชู ขึ้น สูง ๆ นั้น.
      ชู รูป (169:4.10)
               คือ อาการ แห่ง ของ ที่ รูป เล็ก, ดู เปน รูป ใหญ่, เหมือน อย่าง เอา ปลา กัด ใส่ ขวด กลม นั้น.
      ชู ไว้ (169:4.11)
               คือ เอา มือ จับ ของ อัน ใด ๆ แล้ว ยก ขึ้น, เหมือน คน ยก ชู ไม้ ขึ้น ไว้ นั้น.
      ชู ศรี (169:4.12)
               คือ การ ทำ ให้ ศรี ของ ต่าง ๆ นั้น งาม ขึ้น, เหมือน ผ้า ศรี ไม่ สู้ งาม, เอา ดอก คำ มา ย้อม ให้ งาม ขึ้น นั้น.
      ชู หัว (169:4.13)
               ยก หัว, คือ อาการ ที่ ยก หัว ชู ขึ้น, เหมือน อย่าง งู ฉก ตวัก เปน ต้น นั้น.
ชู้ (169:5)
         เปน ชื่อ การ ที่ ผู้หญิง กับ ผู้ชาย, ที่ ลอบ ลัก สมัคสังวาส เปน ผัว เมีย กัน นั้น.
      ชู้ ผัว (169:5.1)
               คือ ตัว ผู้ชาย ที่ ไป รักษ กับ หญิง นั้น, เหมือน อย่าง ชาย หนุ่ม ๆ, ที่ ติด พันท์ ผู้หญิง นั้น.
      ชู้ สาว (169:5.2)
               คือ ตัว ผู้หญิง ที่ ไป รักษ ใคร่ กัน* กับ ชาย นั้น, เหมือน อย่าง หญิง สาว ติด พันท์ ผู้ชาย เปน ต้น นั้น.
เช (169:6)
         ฯ เปน ชื่อ คน ร้าย, คน ต่ำ, หญิง ทาษี.
      เช ตวเน (169:6.1)
               ฯ ว่า เชตุพน, เปน ชื่อ วิหาร ใหญ่ แห่ง พระพุทธเจ้า.
แช (169:7)
         เชือน, คือ อาการ ที่ เชือน ไป เชือน มา, เหมือน อย่าง คน กิน เล่า เมา, เดีน ไม่ ตรง ทาง เปน ต้น นั้น.
      แช เชือน (169:7.1)
               คือ อาการ ที่ เดิน แวะ ไป แวะ มา, เหมือน คน ถือ ท้าย เรือ ไม่ ตรง เปน ต้น.
      แช ไป (169:7.2)
               คือ อาการ ที่ เชือน ไป, เหมือน คน ใช้, เรา สั่ง ให้ มัน ไป หา คน นี้, มัน แช ไป หา คน อื่น เปน ต้น.
      แช มา (169:7.3)
               คือ อาการ ที่ เชือน มา, เหมือน อย่าง คน เขา มี ธุระ ไป ที่ อื่น, แล้ว เชือน แวะ มา หา เรา เปน ต้น.
      แช แร แช แก่ (169:7.4)
               คือ อาการ แห่ง คน แช เชือน, เหมือน อย่าง คน เกียจ คร้าน, สั่ง ให้ ทำ การ, มัน เที่ยว แช เชือน ไป ไม่ ทำ นั้น.
แช่ (169:8)
         ดอง, คือ การ ที่ เอา ของ ต่าง ๆ, มี เข้า เปน ต้น, ใส่ ลง ไว้ ใน น้ำ นาน ๆ, เหมือน อย่าง คน แช่ เข้า นั้น.
      แช่ เข้า (169:8.1)
               คือ การ ที่ เอา เข้า ใส่ ลง ไว้ ใน น้ำ, เหมือน คน แช่ เข้า ทำ ขนม จีน, ฤๅ แช่ เข้า ปลูก ตก กล้า เปน ต้น.
      แช่ ของ (169:8.2)
               คือ การ ที่ เอา ของ ต่าง ๆ, ใส่ ลง ไว้ ใน น้ำ ต่าง ๆ, เหมือน คน เอา ของ แช่ ใน น้ำ กรด เปน ต้น.
      แช่ น้ำ (169:8.3)
               จุ่ม น้ำ, คือ การ ที่ เอา สิ่ง ของ แช่ ลง ไว้ ใน น้ำ, เหมือน อย่าง คน อาบ น้ำ, เอา ตัว จุ่ม ไว้ ใน น้ำ เปน ต้น.
      แช่ เบ้า (169:8.4)
               คือ การ ที่ เอา เงิน ฤๅ ทอง, แช่ ไว้ ใน เบ้า นั้น, เหมือน อย่าง คน หลอม ทอง ละลาย แล้ว แช่ เบ้า ไว้ นั้น.
      แช่ บ้อง (169:8.5)
               คือ การ ที่ คน เอา สิ่ง ของ แช่ ไว้ ใน บ้อง สิ่ว, บ้อง ขวาน เปน ต้น. อนึ่ง เปน การ เล่น ของ เด็ก ๆ, ที่ มัน ขี่ หลัง กัน นั้น, ว่า นั่ง แช่ บ้อง.
      แช่ ยา (169:8.6)
               ดอง ยา, คือ การ ที่ เอา ของ แช่ ไว้ ใน ยา, ฤๅ เอา ยา แช่ ลง ไว้ ใน น้ำ, เหมือน อย่าง คน ดอง ยา เปน ต้น นั้น.

--- Page 170 ---
      แช่ เล่า (170:8.7)
               ดอง เล่า, คือ การ ที่ เอา ของ ลง แช่ ไว้ ใน เล่า, เหมือน อย่าง คน เอา เล่า ดอง ยา เปน ต้น.
      แช่ ไว้ (170:8.8)
               ดอง ไว้, คือ การ ที่ คน เอา สิ่ง ของ ต่าง ๆ แช่ ลง ไว้ ใน น้ำ เปน ต้น, เหมือน คน ดอง ของ ไว้ นั้น.
      แช่ อิ่ม (170:8.9)
               คือ การ ที่ เอา ของ กิน แช่ ลง ไว้ ใน น้ำ ตาล, เหมือน อย่าง คน เอา ลูก มดัน เปน ต้น, แช่ ลง ไว้ ใน น้ำ ตาล ให้ อิ่ม ชุ่ม ซาบ ไป ด้วย น้ำ ตาล นั้น.
ไช (170:1)
         รวง, คือ การ ที่ เอา ไม้ แหลม, ฤๅ เหล็ก หมาด, แทง เจาะ สิ่ง ของ ต่าง ๆ, เหมือน ไช สว่าน เปน ต้น.
      ไชยขันท์ (170:1.1)
               เปน ชื่อ ตำแหน่ง ที่ ตั้ง ขุนนาง คน หนึ่ง, เปน มหาดเล็ก หลวง.
      ไชย ชะนะ (170:1.2)
               คือ การ ที่ ไม่ แพ้, เหมือน ทำ สงคราม ตี เมือง ได้ เปน ต้น นั้น.
      ไชยทัด (170:1.3)
               เปน ชื่อ พระยา องค์ หนึ่ง, มี อยู่ ใน หนังสือ เรื่องราว ปะรำ ปะรา.
      ไชยนาท (170:1.4)
               เปน ชื่อ หัว เมือง ฝ่าย เหนือ เมือง หนึ่ง, ชื่อ เช่น นั้น ขึ้น กรุง เทพ มหานคร ฯ.
      ไชยบาน (170:1.5)
               เปน ชื่อ สุรา, เหมือน อย่าง น้ำ เล่า อัน บุคล ดื่ม กิน เมื่อ ชะนะ ฆ่า ศึก นั้น.
      ไชยพฤกษ (170:1.6)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ดอก เปน พวง ศี กร้ำ กรุ่น งาม, ฝัก ยาว ๆ ใช้ ต้ม ยา.
      ไชยพร (170:1.7)
               เปน ชื่อ ตั้ง ขุนนาง คน หนึ่ง, ใน ตำแหน่ง ปลัด กรม พระ ตำรวจ.
      ไชยเภรี (170:1.8)
               เปน ชื่อ เรียก กลอง ใหญ่, เขา ตี เมื่อ รบ ศึก นั้น.
      ไชยภูษา (170:1.9)
               เปน ชื่อ ตั้ง ขุนนาง คน หนึ่ง, ใน ตำแหน่ง ปลัด กรม พระ ตำรวจ.
      ไชยภูม (170:1.10)
               คือ ที่ ดี, ถ้า ทำ ศึก สงคราม กัน, ผู้ ใด ได้ ที่ ดี เปน ที่ ไชยภูม, ว่า ผู้ นั้น คง ได้ ไชย ชะนะ.
      ไช ไม้ (170:1.11)
               เจาะ ไม้, คือ การ ที่ เอา เหล็ก แหลม ๆ, ไช ให้ เปน รู ลง ไป ที่ ไม้ นั้น.
      ไชยา (170:1.12)
               เปน ชื่อ เมือง อยู่ ฝ่าย ใต้ เมือง หนึ่ง, อยู่ ฝั่ง* ทเล ฝ่าย ตวัน ตก นั้น.
      ไชโย (170:1.13)
               ฯ แปล ว่า มี ไชย ชะนะ. อนึ่ง เปน ชื่อ ตำบล บ้าน แห่ง หนึ่ง, มี อยู่ ใน แขวง เมือง พรหม บุรี นั้น.
      ไช รู (170:1.14)
               เจาะ รู, คือ การ ที่ เอา เหล็ก หมาด, ฤๅ สว่าน, ไช ของ ให้ เปน รู ลง ไป นั้น.
      ไช สว่าน (170:1.15)
               เจาะ ด้วย สว่าน, คือ การ ที่ ได้ ไช สิ่ง ของ ด้วย สว่าน, เหมือน อย่าง คน เอา สว่าน ไช รู ปะ สัก เปน ต้น.
ใช่ (170:2)
         คือ เปน คำ ปัตติเศท ว่า, ไม่, ว่า มิ, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า ใช่ ตัว, ใช่ ตน, ใช่ ของ แห่ง ตน, ไม่ ใช่, มิ ใช่ นั้น.
      ใช่ กิจ (170:2.1)
               ไม่ ใช่ การ, คือ คราม ที่ มิ ใช่ กิจ, ไม่ ใช่ ธุระ, เหมือน เขา ว่า, ใช่ กิจ สมณะ เปน ต้น.
      ใช่ การ (170:2.2)
               คือ ความ ที่ ไม่ ใช่ การ, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, ใช่ การ ของ เรา, ฤๅ ไม่ ใช่ การ ของ เจ้า.
      ใช่ ธุระ (170:2.3)
               คือ ความ ที่ ไม่ เปน ธุระ, มิ ใช่ ธุระ, เหมือน เขา ว่า มิ. ใช่ ธุระ, ไม่ ใช่ ธุระ ของ เจ้า เปน ต้น นั้น.
      ใช่ ผล (170:2.4)
               คือ ความ ที่ ไม่ ใช่ ผล, เหมือน อย่าง คำ เขา พูด กัน ว่า, ใช้ ผล ใช่ ประโยชน์ ของ เรา เปน ต้น.
      ใช่ เหตุ (170:2.5)
               คือ ความ ที่ มิ ใช่ เหตุ, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า ใช่ เหตุ ใช่ ผล ของ เรา เปน ต้น.
ใช้ (170:3)
         ให้ กระทำ, คือ ความ ที่ บังคับ ให้ คน ทำ การ งาน ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง นาย บังคับ บ่าว ว่า, เอง จง ไป ทำ สิ่ง นี้ สิ่ง นั้น.
      ใช้ การ (170:3.1)
               จง กระทำ การ, คือ ความ ที่ ใช้ คน ให้ ทำ การ, เหมือน อย่าง นาย ใช้ บ่าว เปน ต้น.
      ใช้ งาน (170:3.2)
               ความ เหมือน กัน กับ ใช้ การ นั้น, เปน คำ บังคับ ว่า เจ้า จง ไป ทำ การ สิ่ง นั้น สิ่ง นี้.
      ใช้ เงิน (170:3.3)
               คือ ความ ที่ เอา เงิน ไป จำหน่าย ซื้อ สิ่ง ของ ต่าง ๆ นั้น, เพราะ เหมือน อย่าง ใช้ ให้ เงิน ไป ซื้อ เปน ต้น.
      ใช้ ทุน (170:3.4)
               หนุน ทุน, คือ การเอาของ เดิม ลง ทุน ซื้อ มา เท่า ไร, เขา เอา ของ ใหม่ ใช้ แทน ให้ เท่า นั้น เหมือน กัน.
      ใช้ นี่ (170:3.5)
               คือ การ ที่ เอา ทรัพย์ สิน เงิน ทอง, ไป กลับ ใช้ ให้ เขา, เพราะ เหตุ เปน นี่ เขา นั้น.
      ใช้ สิน (170:3.6)
               คือ การ ที่ ใช้ สิ่ง ของ ให้ แก่ เจ้า นี่ นั้น, เหมือน อย่าง คน เปน ทาษ, ใช้ เงิน ค่า ตัว ให้ แก่ นาย เงิน นั้น.
โชดึก ราชเสฐี (170:4)
         ฯ ว่า เปน ชื่อ ขุนนาง คน หนึ่ง, ใน ตำแหน่ง ปลัด กรม ท่า ซ้าย.
      โชติการาม (170:4.1)
               ฯ ว่า เปน ชื่อ วัด อัน หนึ่ง, อยู่ ใน แขวง กรุง เทพ มหา นคร ฯ ฝ่าย ใต้.

--- Page 171 ---
โชตนาการ (171:1)
         ฯ ว่า รุ่ง เรือง, เหมือน อย่าง กอง เพลิง ใหญ่ ที่ ลุก โพลง ขึ้น นั้น.
เชา (171:2)
         เปน ชื่อ พวก ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, เชา เรา ไป ไหน หมด เปน ต้น.
      เชา ชนบท (171:2.1)
               คือ คน อยู่ ใน ชน บท ประเทศ*, คือ มิ ใช่* เมือง หลวง, เปน แต่ หัว เมือง ที่ ขึ้น กับ เมือง หลวง นั้น.
      เชา ดง (171:2.2)
               คือ พวก คน ที่ อยู่ ใน ดง นั้น, เหมือน อย่าง พวก ข่า ดง เปน ต้น.
      เชา ดอน (171:2.3)
               คือ พวก ที่ เปน คน อยู่ ดอน, เหมือน อย่าง พวก เชา เหนือ, ที่ ตั้ง อยู่ บน ดอน พ้น ท่า น้ำ ขึ้น ไป ไกล ๆ นั้น.
      เชา นา (171:2.4)
               เปน ชื่อ พวก คน ที่ ทำ นา นั้น, เหมือน อย่าง พวก เชา ทุ่ง เปน ต้น นั้น.
      เชา บ้าน (171:2.5)
               เปน ชื่อ พวก เชา บ้าน, เหมือน อย่าง เชา บ้าน ทั้ง ปวง นั้น.
      เชา บ้าน นอก (171:2.6)
               เปน ชื่อ พวก บ้าน นอก เมือง หลวง, เหมือน คน เชา หัว เมือง ทั้ง ปวง นั้น.
      เชา ป่า (171:2.7)
               คือ พวก คน ป่า นั้น เอง, เหมือน อย่าง คน ที่ ตั้ง บ้าน เรือน อาไศรย อยู่ ใน ป่า นั้น.
      เชา ประโมง (171:2.8)
               คือ คน ชาย หญิง ที่ อยู่ ใน บ้าน เหล่า คน ล้วน มุ่ง แต่ จะ ฆ่า ปลา ทุก คน นั้น, ว่า เชา บ้าน ประโมง.
      เชา พล (171:2.9)
               คือ คน ที่ เปน โยทา หาร สำรับ ไป ทับ รบ ฆ่า ศึก นั้น.
      เชา แม (171:2.10)
               คือ หญิง ที่ อยู่ ใน พระ ราชวัง เปน ข้า ราชการ, ควร จะ เรียก ว่า แม่ นั้น.
      เชา เมือง (171:2.11)
               คือ พวก คน ใน เมือง นั้น เอง, เหมือน อย่าง คน ที่ อยู่ ตาม เมือง เปน ต้น.
      เชา ไร่ (171:2.12)
               คือ พวก คน ที่ ทำ ไร่ เหมือน อย่าง คน ที่ ล้ม ไม้ ใน ป่า ลง แล้ว, ทำ ที่ ปลูก เผือก มัน กล้วย อ้อย เปน ต้น นั้น.
      เชา เรา (171:2.13)
               คือ บันดา คน ที่ เปน พวก เพื่อน ของ เรา, เรียก กัน ว่า เชา เรา เปน ต้น.
      เชา วัง (171:2.14)
               คือ พวก ผู้หญิง ทั้ง ปวง, ที่ อยู่ ใน พระ ราชวัง นั้น, เหมือน* อย่าง พวก หญิง ใน พระ บรมมหาราช วัง นั้น.
      เชาสวรรค์ (171:2.15)
                คือ บันดา พวก เทวดา ที่ อยู่ ใน สวรรค์ นั้น, เหมือน อกง* พวก ทูต สวรรค์ เปน ต้น.
      เชา สวน (171:2.16)
               คือ คน ที่ ทำ สวน นั้น, เหมือน อย่าง คน เชา สวน, ทำ ร่อง ปลูก ต้น ผล ไม้ ต่าง นั้น.
เช่า (171:3)
         จ้าง, ความ คล้าย กัน กับ จ้าง, เหมือน อย่าง เรือ ของ เรา ไม่ มี, เรา เอา เรือ คน อื่น ไป ใช้, แล้ว ให้ เงิน ค่า เช่า ตาม สัญา นั้น.
      เช่า กำปั่น (171:3.1)
               คือ ความ ที่ เรา ไม่ มี กำปั่น, เช่า เขา บันทุก สิ่ง ของ ไป ค้า ขาย, ครั้น กลับ มา ให้ ค่า เช่า เขา ตาม สัญา.
      เช่า เกียน (171:3.2)
               จ้าง เกียน, คือ การ ที่ เช่า เกียน เขา บัน ทุก ของ ไป แล้ว ให้ ค่า เช่า เขา ตาม สัญา นั้น.
      เช่า ควาย (171:3.3)
               จ้าง ควาย, คือ การ ที่ ไม่ มี ควาย, แล้ว เช่า เอา ควาย เขา ไป นั้น.
      เช่า งัว (171:3.4)
               จ้าง งัว, คือ การ ที่ เช่า เอา งัว เขา ไป ไถนา เปน ต้น, เหมือน อย่าง คน ทำนา ไม่ มี งัว ต้อง เช่า เขา นั้น.
      เช่า ช้าง (171:3.5)
               จ้าง ช้าง, คือ การ ที่ เช่า เอา ช้าง เขา ไป ขี่ เปน ต้น, เหมือน อย่าง คน จ้าง ช้าง เขา นั้น.
      เช่า ตึก (171:3.6)
               คือ การ ที่ เช่า ตึก เขา ไว้ ของ เปน ต้น, เหมือน อย่าง พวก พ่อ ค้า ที่ ไม่ มี ตึก นั้น.
      เช่า ที่ (171:3.7)
               คือ การ ที่ เช่า ที่ เขา ต่อ กำปั่น เปน ต้น, เหมือน อย่าง คน ไม่ มี ที่ นั้น.
      เช่า นา (171:3.8)
               คือ การ ที่ เช่า นา เขา ทำนา เอา เม็ด เข้า เปน ต้น, เหมือน อย่าง คน ที่ ไม่ มี นา นั้น.
      เช่า โรง (171:3.9)
               คือ การ ที่ เช่า โรง เขา อาไศรย อยู่ เปน ต้น, เหมือน อย่าง คน ที่ ไม่ มี โรง นั้น.
      เช่า เรือ (171:3.10)
               จ้าง เรือ, คือ การ ที่ เช่า เรือ เขา ไป ค้า ขาย เปน ต้น, เหมือน อย่าง พวก ลูก ค้า ที่ ไม่ มี เรือ นั้น.
      เช่า สวน (171:3.11)
               ถือ สวน, คือ การ ที่ เช่า สวน เขา ปลูก ผัก เปน ต้น, เหมือน อย่าง พวก เจ๊ก ทำ สวน นั้น.
เช้า (171:4)
         (dummy head added to facilitate searching).
      เช้า รุ่ง (171:4.1)
               คือ เพลา ที่ อา ทิตย พึ่ง ขึ้น มา, เหมือน อย่าง เมื่อ เวลา เช้า โมง หนึ่ง สอง โมง เปน ต้น.
      เช้า ตรู่ (171:4.2)
               คือ เวลา เมื่อ แรก อาทิตย์ อุทัย ขึ้น มา ใหม่ ๆ ยัง ไม่ เหน แสง แดด นั้น.
      เช้า มืด (171:4.3)
               ใกล้ รุ่ง, คือ เวลา เมื่อ อา ทิตย์ เกือบ จะ ขึ้น มา แต่ ยัง มืด อยู่, เหมือน อย่าง เมื่อ เพลา สิบ เบ็ด ทุ่ม ตาม อย่าง ไทย นั้น.
      เช้า หัว ดึก (171:4.4)
               ใจ ความ เหมือน* กัน กับ เช้า มืด นั้น, เหมือน อย่าง เพลา ยิง ปืน เปน ต้น.

--- Page 172 ---
ชำ (172:1)
         คือ การ ที่ ตัด เอา กิ่ง ไม้ ที่ ตอน ออก ราก แล้ว นั้น, มา ชำ ไว้ ที่ ดิน เปียก ๆ, ด้วย ประสงค์ จะ ให้ ลัด แตก ใบ อ่อน.
      ชำ กิ่ง ไม้ (172:1.1)
               คือ การ ที่ เอา กิ่ง ไม้ ปัก ชำ ไว้ ที่ ดิน เปียก, ประ- สงค์ จะ ให้ ออก ราก ก่อน แล้ว, จึ่ง จะ ขุด เอา ไป ปลูก ต่อ ที หลัง.
      ชำนิ (172:1.2)
               เปน ชื่อ ขุน นาง คน หนึ่ง, เปน นาย พวก ช่าง นั้น.
      ชำนะ (172:1.3)
               คือ การ ไม่ แพ้, เหมือน แม่ ทับ ทำ ศึก สงคราม มี ไชย ชำนะ เปน ต้น นั้น.
      ชำนาน (172:1.4)
               คือ ความ ที่ รู้ ชัด เจน รู้ จริง ๆ, รู้ แท้, รู้ ไม่ มี ความ สง ไสย นั้น, เหมือน อย่าง นาย ช่าง สรรพการ ทั้ง ปวง.
      ชำ เรา (172:1.5)
               คือ การ ที่ ผู้ ชาย ข่ม ขืน ผู้ หญิง ด้วย พละ การ ตน เอง, จน ได้ สำเร็ทธิ์ ความ ปราถนา นั้น.
      ชำ ระ (172:1.6)
               คือ การ ที่ กระ ทำ ให้ ผ่อง, ทำ ให้ บริสุทธ์, ทำ ให้ หมด มลทิน, เหมือน อย่าง คน ล้าง ถ้วย แก้ว ให้ สอาจ เปน ต้น.
      ชำระ ความ (172:1.7)
               คือ การ พิจารณา ว่า ความ ให้ คน ผู้ เปน โจท แล จำเลย ทั้ง สอง ฝ่าย นั้น.
      ชำระ ตัว (172:1.8)
               คือ การ อาบ น้ำ แล ขัด สี ล้าง กาย ให้ หมดจด สอาจ นั้น, เหมือน อย่าง คน สงน้ำ เปน ต้น.
      ชำ แรก (172:1.9)
               คือ การ ที่ แซก ลง ไป ใน แผ่น ดิน, เหมือน พระยา นาด ชำ แรก แทรก หนี พระยา ครุธ ไป นั้น.
      ชำ รุทธ์ (172:1.10)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ แตก หัก ทำ ลาย อยู่ นั้น, เหมือน ตึก ที่ เก่า แก่ แตก ทำ ลาย เปน ต้น.
      ชำ รุท ซุต เซ (172:1.11)
               เหมือน ที่ เรือน ฤๅ โบถ วิหาร เก่า คร่ำ คร่า ประ- หลัก หัก พัง ซวด เซ เอน ไป นั้น.
      ชำ เลือง (172:1.12)
               คือ การ ที่ แล ดู ฉะม้อย ๆ, ดู ตาม หาง ตา, เหมือน หญิง สาว ดู ชาย หนุ่ม เปน ต้น.
ช่ำ (172:2)
         คือ ความ ชื่น, เย็น, สะบาย นั้น, เหมือน อย่าง คน เดิน ทาง มา กลาง แดด ได้ อาบ น้ำ นั้น.
      ช่ำ ใจ (172:2.1)
               คือ ความ ชื่น ใจ, ความ เย็น ใจ, ความ อิ่ม ใจ, ความ สะบาย ใจ, เหมือน คน อยาก น้ำ ได้ กิน แตง โม เปน ต้น นั้น.
ช้ำ (172:3)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ช้ำ กรม (172:3.1)
               คือ ความ ที่ ไม่ ผ่อง ใส, มัว หมอง, เหมือน อย่าง คน ที่ ต้อง ทุบ ถอง โบย ตี, ฟก ช้ำ ดำ เขียว เปน ต้น.
      ช้ำใจ (172:3.2)
               กรม ใจ, คือ ความ ที่ ไม่ ผ่อง ใส, ใจ เส้า หมอง, เหมือน คน ที่ ต้อง ด่า ว่า ด้วย คำ อยาบ, แล คำ เสียบ แทง เปน ต้น.
      ช้ำ หนอง (172:3.3)
               กรม หนอง, คือ ที่ แผล ฤๅ หัว ฝี ที่ มัน บวม ขึ้น มี น้ำ บุพโพ ค่น ปน กับ โลหิต เพราะ ถูก กะถบ เข้า เจ็บ ช้ำ นั้น.
      ช้ำ ชอก (172:3.4)
               คือ อาการ ที่ ต้อง ประการ ด้วย ไม้ ค้อม ก้อน ดิน แล้ว. บวม ขึ้น เปน ศี ดำ ๆ เขียว ๆ เปน ต้น.
      ช้ำ เลือด (172:3.5)
               คือ อาการ ที่ หัว ฝี เมื่อ มัน จะ ตั้ง หนอง มัน กะทบ อัน ใด ชอก ช้ำ มี ทั้ง หนอง ทั้ง เลือด อยู่ ใน หัว มัน นั้น.
      ช้ำ อก (172:3.6)
               กรม อก, คือ การ ที่ บัง เกิด ฟก ช้ำ ขึ้น ที่ อก, เหมือน อย่าง ฝี หัว ใหญ่ เปน ต้น.
ชะ (172:4)
         ชำระ ล้าง, คือ อาการ ที่ ชำระ หรื ล้าง นั้น, เหมือน อย่าง คน เจ็บ ล้า บาด แผล ด้วย น้ำ ชะ เปน ต้น.
ชะโงก (172:5)
         คือ อาการ ที่ งำ มา เบื้อง หน้า, เหมือน อย่าง หน้าผา ที่ เงื้อม อยู่ นั้น.
ชะเง้อ (172:6)
         คือ อาการ ที่ ยื่น ฅอ, ทรง คอ ขึ้น เบื้อง บน, ดู ของ ที่ อยู่ ลับ ตา แล ไม่ เหน นั้น, เหมือน อย่าง คน ชู ฅอ ขึ้น นั้น.
ชะเง้อ (172:7)
         คือ อาการ ที่ ชู ฅอ ขึ้น คอย ดู สิ่ง ของ ใด ๆ, เหมือน อย่าง คน กระ สัน เปน ทุกข์ ชะ เงอ ฅอ ดู ต้น ทาง.
ชะงอย ปาก (172:8)
         คือ อาการ ที่ สุด เบื้อง บน แห่ง ปาก นก ทั้ง ปวง, มี นก แก้ว เปน ต้น.
ชะดา (172:9)
         เปน ชื่อ เครื่อง ประดับ หัว อย่าง หนึ่ง, คล้าย ๆ กับ มงกุฏ, แต่ ยอด นั้น เอง น่อย หนึ่ง.
ชะ ดิน (172:10)
         เปน ชื่อ คน ถือ บวช อย่าง หนึ่ง, มี ชะ*, มี ผ้า โพก พันท์ ศีศะ, เหมือน พวก ฤๅษี นั้น.
ชะตา (172:11)
         คือ ลักษณะ ที่ บัง เกด* สำ แดง เหตุ ดี แล ชั่อ*, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, ชะตา ดี, ชะตา ชั่ว นั้น.
ชะนัก (172:12)
         คือ เครื่อง เหล็ก มี เงี่ยง ข้าง เดียว เขา ผูก ไว้ ใส่ ดั้ม ไม้ ใผ่ สำรับ พุ่ง แทง จรเข้ นั้น.
ชะนาง (172:13)
         คือ ของ เขา สาน ดัวย* ตอด เปน ช่อง, สองข้าง สูง สัก สอก คืบ, ข้าง กัน ปิด ข้าง หนึ่ง เปิด สำรับ รอง อง บน เกวียน นั้น.
ชะนิด (172:14)
         คือ เช่น, คือ อย่าง, เหมือน อย่าง คำ เขา พูด กัน ว่า, คน ชะนิด นี้ มี มาก เปน ต้น.

--- Page 173 ---
ชะนะกา (173:1)
         ฯ แปล ว่า ชน ยัง ลูก ให้ บัง เกิด, คือ บิดา นั้น.
ชะบา (173:2)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ ย่อม ๆ อย่าง หนึ่ง, มี ดอก ศรี แดง, ศรี แดง อ่อน บ้าง.
ชะ แผล (173:3)
         คือ การ ที่ คน เอา น้ำ รด ล้าง แผล เปน ฝี เปน ต้น.
ชะมด (173:4)
         เปน ชื่อ สัตว สี่ ท้าว อย่าง หนึ่ง, ตัว มัน เท่า แมว ที่ หว่าง ขา หลัง มัน มี ไคล หอม ทำ อยา ได้.
ชะมบ (173:5)
         คือ ไม้ ที่ เขา ปัก ไว้ หมาย ที่ จขุด* หลุม เสา จปลูก* เรือน นั้น.
ชะรา (173:6)
         คือ ควาน แก่ คร่ำ คร่า ลง นั้น, เหมือน อย่าง คน อายุ ๘๐ ปี เปน ต้น.
ชะรอย (173:7)
         คือ ความ คะเน เอา, คาด เอา, หมาย เอา, นึก เอา, เหน เอา ใน ใจ เปน ต้น.
ชะลา (173:8)
         แปล ว่า ชาน, เหมือน เรือน มี นอก ชาน มี แต่ พื้น ไม่ มี หลัง คา นั้น.
ชะลุ (173:9)
         คือ การ ที่ ช่าง เขียน เอา น้ำ เครื่อง เขียน แต้ม ลง ที่ พื้น ให้ มี ศรี งาม นั้น.
ชะเล (173:10)
         เปน ชื่อ น้ำ นั้น เอง. อนึ่ง คือ น้ำ ที่ แล ดู เปน ยับ ๆ อยู่ หลัง น้ำ นั้น.
ชะโลทร (173:11)
         คือ แม่น้ำ ทะเล นั้น, เหมือน อย่าง มหา สมุท ใหญ่ เปน ต้น.
ชะละ (173:12)
         เปน ชื่อ น้ำ ที่ แล เหน ยับ ๆ อยู่ เหนือ หลัง น้ำ นั้น.
ชะโลง (173:13)
         คือ ไม้ ลำ ที่ เขา ปัก ลง ใน ดิน มัน สูง ศัก สาม วา เศศ แล้ว เอา ฟาง เข้า ล้อม* ขึ้น ไป สูง นั้น.
ชะลูด (173:14)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปลือก หอม เขา ใช้ เปน เครื่อง อบ.
ชะโลม (173:15)
         คือ อาการ เอา น้ำ ลูบ ทา, เหมือน อย่าง คน ชะ โลม ยา นั้น.
      ชะโลม ทา (173:15.1)
               คือ การ ที่ เอา น้ำ รด ลูบ ไล้ ทา ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน ทา เครื่อง หอม เปน ต้น.
      ชะโลม (173:15.2)
               โทรม, คือ เอา น้ำ ฤๅ น้ำ มัน เปน ต้น รด ลง แล้ว ลูบ ลง, เหมือน เขา ชะโลม น้ำ มัน อย่าง* ที่ เรือ เปน ต้น.
ชะลอม (173:16)
         คือ เปน ชื่อ สิ่ง ของ สาน ด้วย ตอก เปน ตากรวย สำรับ ใส่ ของ ต่าง ๆ นั้น.
ชะเลย (173:17)
         คือ เปน ชื่อ คน ที่ เขา ตี ทับ จับ ได้ มา นั้น, เหมือน อย่าง ทาษ ชะเลย เปน ต้น.
ชะเลาะ (173:18)
         เปน ชื่อ ความ ที่ คน กล่าว วิวาท ทุ่ง เถียง กัน นั้น.
ชะลอ (173:19)
         ลาก เลื่อน, คือ การ ที่ ค่อย ๆ เลื่อน ลาก เอา สิ่ง ของ ที่ หนัก ไป จาก ที่, เหมือน อย่าง เลื่อน เรือน ไป จาก ที่ เปน ต้น.
ชะวา (173:20)
         เปน ชื่อ แห่ง พวก แขก อย่าง หนึ่ง คล้าย ๆ กัน กับ แขก มะลายู.
ชะวา ลา (173:21)
         เปน ตะเกียง อย่าง หนึ่ง, มี พวย สำรับ จุด ไฟ, ทำ ด้วย ทอง เหลือง.
ชะอุ่ม (173:22)
         คือ อาการ ที่ ศรี เขียว สด เปน พุ่ม อยู่, เหมือน อย่าง พุ่ม ไม้ แล ภู เขา ที่ แล เหน แต่ ไกล นั้น.
ชะ อื้อ (173:23)
         คือ ใบ ไม้ ที่ สด เขียว เปน ภุ่ม แน่น หนา, เอย็น ชื่อ ชะอุ่ม อยู่ นั้น, เหมือน ร่ม ไม้ ไทร เปน ต้น.
ชก (173:24)
         ต่อย, คือ การ ต่อย นั้น, เหมือน อย่าง คน มวย ชก กัน ใน สนาม นั้น.
      ชก กัน (173:24.1)
               คือ การ ที่ ต่อย กัน นั้น, เหมือน อย่าง คน ถะ เลาะ กัน กำหมัด เข้า ชก กัน นั้น.
      ชก ต่อย (173:24.2)
               ชก มวย, คือ การ ที่ กำ หมัต เข้า แน่น แล้ว ต่อย กัน, เหมือน คน วิวาท ชก ต่อย กัน ขึ้น นั้น.
      ชก มวย (173:24.3)
               คือ การ ที่ คน ต่อย มวย กัน นั้น, เหมือน อย่าง คน มวย ที่ ชก กัน ใน สนาม นั้น.
      ชก หัว (173:24.4)
               คือ คน กำมือ โขก ลง ที่ หัว นั้น, เหมือน อย่าง ครู โขก หัว ลูก สิษ เปน ต้น.
      ชก โคตร์ แม่ มึง (173:24.5)
               เปน คำ ด่า ถึง วงษ ฝ่าย ข้าง มารดา, เหมือน อย่าง ว่า, ชก พวก พ้อง ของ แม่ มึง นั้น.
ชัก (173:25)
         ลาก, คือ การ ลาก, ฤๅ ชุด, เย่อ นั้น, เหมือน อย่าง คน ชัก เชือก ชุด เรือ เปน ต้น.
      ชัก กลึง (173:25.1)
               คือ การ ที่ ชัก เชือก ให้ พะมอร หมุน กลับ ไป กลับ มา, เหมือน อย่าง กลึง เหล็ก แล ไม้ เปน ต้น นั้น.
      ชัก เข้า (173:25.2)
               คือ การ ที่ ชัก เข้า มา, ฉุด เข้า มา, ไม่ ได้ ชัก ออก ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน ฉุด สมอ เปน ต้น.
      ชัก ใจ (173:25.3)
               คือ อาการ ที่ หาย ใจ เมื่อ จะ สิ้น ใจ ตาย นั้น, เหมือน อย่าง มี ของ มา ชัก เอา ลม หายใจ ไป เปน ต้น.
      ชัก จูง (173:25.4)
               คือ อาการ ที่ ลาก เอา มือ จูง ไป นั้น. อนึ่ง เขา พูด เปน ความ เหมือน อย่าง ชัก ชวน นั้น.

--- Page 174 ---
      ชัก ฉลาก (174:25.5)
               คือ การ ที่ ชัก เอา ฉลาก ลาก ออก มา นั้น, เหมือน อย่าง พวก พระสงฆ จับ ฉลาก เปน ต้น.
      ชัก ชวน (174:25.6)
               คือ ความ ที่ พูด จา ชวน กัน, เปรียบ* เหมือน อย่าง ชัก ลาก เอา ตัว คน หนึ่ง ไป นั้น.
      ชัก หน้า ชัก ตา (174:25.7)
               คือ อาการ คน ที่ ทำ ตา ควัก คอ้น, ดว้ย เคือง ใจ ไม่ ชอบ ใจ นั้น.
      ชัก นำ (174:25.8)
               คือ อาการ ที่ ชัก เอา มือ แล้ว นำ ไป นั้น. อนึ่ง ใช้ เปน ความ เปรียบ เหมือน อย่าง พูด นำ ไป เปน ต้น.
      ชัก ผ้าป่า (174:25.9)
               คือ การ ที่ ชัก เอา ผ้า, ที่ เขา ทอด ทิ้ง ไว้ ที่ ป่า, เหมือน อย่าง ที่ เขา ทอด ผ้า ป่า ทุก วัน นี้.
      ชัก พระ (174:25.10)
               คือ การ ที่ ฉุด ลาก เชือก ที่ เขา ผูก ไว้ ที่ แพ้ ใส่ พระ นั้น, เหมือน อย่าง เขา ชัก พุทธ์ รูป ไป ไว้ ที่ วัด ต่าง ๆ นั้น,
      ชัก ภา (174:25.11)
               คือ ความ ที่ คน พูด จา ชวน กัน แล้ว, ก็ ภา กัน ไป นั้น เหมือน อย่าง คน ชัก ชวน ภา กัน ไป เที่ยว เปน ต้น.
      ชัก มา (174:25.12)
               คือ ความ ที่ ชัก ให้ เข้า มา นั้น, เหมือน อย่าง คน ชัก ชวน กัน เข้า มา เปน ต้น.
      ชัก ไม้ (174:25.13)
               คือ การ ที่ ลาก ไม้, ฤๅ ฉุด ไม้ นั้น, เหมือน อย่าง คน เข็น ไม้ แล ลาก ซุง เปน ต้น.
      ชัก เย่อ (174:25.14)
               คือ การ ที่ ชัก แล้ว เย่อ เอา มา นั้น. อนึ่ง เปน ชื่อ การ เล่น, คือ เขา ยึด บั้นเอว กัน ต่อ ๆ ก็ ชัก เย่อ กัน.
      ชัก ว่าว (174:25.15)
               คือ การ ที่ ชัก เอา สาย ป่าน ที่ ผูก ว่าว อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง เขา เล่น ว่าว นั้น.
      ชัก เศ้รา* (174:25.16)
               เปน ชื่อ แห่ง การ เล่น อย่าง หนึ่ง, คือ เล่น ชัก เย่อ กัน นั้น.
      ชัก สพ (174:25.17)
               คือ การ ที่ ชัก เอา สพ ไป เผา, เหมือน อย่างชัก พระ สพ แห่ ไป เปน ต้น.
      ชัก สูบ (174:25.18)
               คือ การ ที่ ชัก ลูก สูบ เสือก เข้า เสือก ออก ให้ ไฟ ลุก, เหมือน อย่าง พวก ตี เหล็ก เปน ต้น.
      ชัก หัว เบี้ย (174:25.19)
               คือ เปน การ แห่ง คน ที่ สำรับ เก็บ หัว เบี้ย ใน บ่อน นั่น, เพราะ เขา เอา ฃอ ชัก เอา เงิน ของ ผู้ ได้ ผู้ เสีย เข้า มา แล้ว, จัด แจง ชำระ ไป นั้น.
      ชัก ออก (174:25.20)
               คือ การ ที่ ฉุด ออก หรื ลาก ออก นั้น เหมือน อย่าง คน สูป ออก มา เปน ต้น.
ชุก (174:1)
         ชุม, คือ ความ ที่ ชุม หนัก, หรื มาก นัก, เหมือน อย่าง ฝน ตก ร่ำ ไป, เขา พูด กัน ว่า ฝน ตก ชุก.
      ชุก ชุม (174:1.1)
               คือ ความ ที่ ชุม หนัก ขึ้น, หรื มี มาก ขึ้น, เหมือน* คน สูป ฝิ่น มาก, เขา ว่า คน สูป ฝิ่น ชุก ชุม ขึ้น หนัก.
โชก (174:2)
         คือ การ ที่ สิ่ง ของ ที่ เปียก ชุ่ม ไป ด้วย น้ำ มาก, เหมือน ผ้า ชุบ น้ำ เปน ต้น. อนึ่ง คือ เวลา ดี เวลา ร้าย,
      โชก ไชย (174:2.1)
               คือ เปน ชื่อ แห่ง ฤกษ ยาม ที่ มี ไชย ชะ นะ นั้น, เหมือน อย่าง ตำ รา กล่าว ไว้ ว่า, โชก ไชย ตก แต่ เช้า ถึง เที่ยง,
      โชก โชน (174:2.2)
               เปน ชื่อ ความ เปียก ชุ่ม, เหมือน อย่าง ผ้า ชุบ น้ำ นั้น,
      โชก ดี (174:2.3)
               เปน ชื่อ เวลา ดี นั้น, เหมือน คำ ใน ตำ รา ว่า, โชก ดี ตก ตั้ง แต่ เช้า ถึง เที่ยง เปน ต้น.
      โชก ร้าย (174:2.4)
               เปน ชื่อ เวลา ร้าย เวลา ไม่ ดี นั้น เหมือน ใน ตำ รา ว่า, โชก ร้าย ตก แต่ บ่าย* ถึง เย็น,
ชอก ช้ำ (174:3)
         คือ การ ที่ ช้ำ ชอก นั้น, เหมือน อย่าง ผล ไม้ สุก ที่ ตก พัลด ลง มา จาก ต้น นั้น,
เชือก (174:4)
         ปอ, เปน ชื่อ ปอ ต่าง ๆ, เอา มา ฟั่น เปน สาม เกีลยว บ้าง สี่ เกีลยว บ้าง, เหมือน เชือก กำ ปั่น เปน ต้น
      เชือก เส้น (174:4.1)
               เปน ชื่อ เชือก ที่ เขา ฟั่น เปน เส้น* ยาว สอง วา สาม วา เปน ต้น
      เชือก กีลบ (174:4.2)
               เปน ชื่อ* ปอ ปืลอก ไม้ ที่ เขา ลอก เปน กีลบ ๆ มา นั้น,
      เชือก กล้วย (174:4.3)
               คือ การ ที่ เอา ปอ ก้ลวย มา ฟั่น เปน เชือก นั้น
      เชือก เกลียว (174:4.4)
               คือ เปน การ ที่ เอา ฟั่น เปน เกีลยว ๆ, ทำ เชือก ต่าง ๆ นั้น
      เชือก* เขา (174:4.5)
               เปน ชื่อ เถา วัน ต่าง ๆ, ที่ เอา ใช้ ต่าง เชือก นั้น, เหมือน อย่าง เถา วัน แดง เปน ต้น
      เชือก เขา หนัง (174:4.6)
               เปน ชื่อ* เถา วัน เปีรยง* นั้น, เหมือน อย่าง เถา วัน เปีรยง* ที่ ใช้ ทำ ยา เปน ต้น,
      เชือก เขา หัว ด้วน (174:4.7)
               เปน ชื่อ เถาวัน อย่าง หนึ่ง, ไม่ มี ใบ เหมือน อย่าง พญา ไร้ ใบ นั้น.
      เชือก คล้อง (174:4.8)
               เปน เชือก ที่ เขา ทำ เปน ห่วง มี หู ตูด, เหมือน เหมือน* เชือก คล้อง ช้าง นั้น.

--- Page 175 ---
      เชือก น้ำ มัน (175:4.9)
               เปน ชื่อ เชือก ที่ เขา ชุบ น้ำ มัน แล้ว, ทำ ให้ เปน สาม เกลียว บ้าง สี่ เกลียว บ้าง
      เชือก หนัง (175:4.10)
               เปน ชื่อ เส้น หนัง ที่ เขา ตัด หนัง เปน วง ยาว, แล้ว บิด กลม เช่น เส้น เชือก ปอ, โต เท่า นิ้ว มือ นั้น
      เชือก บ่วง (175:4.11)
               เปน เชือก ที่ เขา ทำ เปน บ่วง, เหมือน อย่าง บ่วง คล้อง นก แก้ว, หรื ครืน เปน ต้น
      เชือก หวาย (175:4.12)
               เปน ชื่อ เส้น หวาย ยาว เหมือน หวาย พะสะเดา นั้น
      เชือก บาศ (175:4.13)
               เปน ชื่อ เชือก ทำ เปน บว่ง, เหมือน อย่าง เชือก คล้อง ช้าง ทั้ง ปวง นั้น.
      เชือก พวน (175:4.14)
               เปน ชื่อ เชือก เส้น ใหญ่ เท่า แขน สำรับ ชัก ไม้ ซุง เปน ต้น นั้น.
      เชือก ปอ (175:4.15)
               เปน ชื่อ เปลือก ไม้ ที่ เอา มา ฟั่น เชือก เปน ต้น, เหมือน อย่าง ปอ แดง นั้น.
ชงค์ (175:1)
         เปน ชื่อ แข้ง, เมือน อย่าง แข้ง คน, แล แข้ง สัตว เปน ต้น นั้น.
      ชงโค (175:1.1)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง ต้น กาหลง แต่ ศี มัน แดง.
      ชงคา (175:1.2)
               แปล ว่า แข้ง ทั้ง หลาย, คือ แข้ง มาก หลาย นั้น.
      ชงโลง (175:1.3)
               เปน ชื่อ ของ สำหรับ วิด น้ำ ท้อง นา, ทำ ด้วย ไม้, รูป คล้าย กับ ฅอ เรือ หมู ตัด ออก สอง ท่อน นั้น.
ชัง (175:2)
         ไม่ รัก, โกรธ, คือ ความ ที่ ไม่ รัก นั้น, เหมือน คน ที่ เปน ฆ่าศึก สัตรู กัน เปน ต้น.
      ชัง กัน (175:2.1)
               คือ ความ ที่ ไม่ รักษ กัน นั้น, เหมือน คน ที่ เปน ศัตรู*, จอง เวร กัน นั้น.
      ชัง เกลียด (175:2.2)
               คือ ความ ที่ ไม่ รักษ แล้ว เกลียด ด้วย, เหมือน อย่าง คน ได้ เหน งู พิศม์ เหมือน กัน.
      ชัง น้ำ หน้า (175:2.3)
               คือ ความ ที่ เห็น หน้า กัน แล้ว ให้ นึก ชัง, เหมือน คน ที่ โกรธ กัน แล้ว เหน กัน นั้น.
      ชัง หนัก (175:2.4)
               โกรธ หนัก, คือ ความ ที่ ชัง ไม่ น้อย, เหมือน คน ชัง กัน มาก นั้น.
ชั่ง (175:3)
         ตราชู, คือ การ ที่ ยก ของ ขึ้น ชั่ง ดู จะ ให้ รู้ ว่า, หนัก เบา เท่า ไร เปน ต้น, เหมือน คน ชั่ง น้ำ ตาน ทราย นั้น.
      ชั่ง กัน ดู (175:3.1)
               คือ การ ที่ ยก ตรา ชู ขึ้น แล้ว, เอา ของ ใส่ สอง ข้าง ลอง ชั่ง กัน ดู, จะ ให้ รู้ ว่า ข้าง ไหน หนัก เบา นั้น.
      ชั่ง เขา (175:3.2)
               คือ ความ ที่ ทำเนา เขา, ตาม ที่* เขา, อย่า ลำภจ เขา เปน ต้น.
      ชั่ง ใจ ดู (175:3.3)
               คือ ความ เปริยบ เหมือน เอา ใจ ขึ้น ชั่ง ดู บน ตราชู, เหมือน คน คิด สอง ใจ ว่า, จะ ไป ดี ฤๅ จะ อยู่ ดี.
      ชั่ง จีน (175:3.4)
               คือ เปน ชั่ง อย่าง จีน, มี ลูก ตุ้ม เลื่อน เข้า เลื่อน ออก ตาม ที่ คั่น หมาย ไว้ ว่า, บาตร หนึ่ง เปน ต้น.
      ชั่ง เต็ง (175:3.5)
               คือ การ ที่ ชั่ง ของ ดู* ด้วย เต็ง, เหมือน คน จะ ซื้อ ทอง ขาย ทอง เปน ต้น.
      ชั่ง ตราชู (175:3.6)
               คือ การ ชั่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ด้วย ตราชู, เหมือน อย่าง ชั่ง เงิน ชั่ง ทอง ลอง ดู นั้น.
      ชั่ง ไทย์ (175:3.7)
               คือ เปน ตราชู คน ไทย, มี ลูก ตุ้ม ใส่ ลง ข้าง หนึ่ง, เอา ของ ใส่ ข้าง หนึ่ง, รู้ ว่า ของ หนัก ตาม ลูก ตุ้ม, มี บาตร เปน ต้น.
      ชั่ง หนึ่ง (175:3.8)
               คือ ชั่ง เดียว นั้น, เหมือน อย่าง เงิน แปด สิบ บาตร เปน ต้น นั้น.
      ชั่ง (175:3.9)
                เปน ไร, คือ ความ ว่า ตาม ที เขา, ตาม ที เปน ไร, ทำ เนา เปน ไร.
ชาง (175:4)
         คือ ความ ที่ คน รู้ จัก ทำ การ ต่าง ๆ, เหมือน* อย่าง การ ช่าง ทอง ช่าง ไม้ เปน ต้น.
      ช่าง ก่อ (175:4.1)
               คือ การ เช่น ก่อ อิฐ ทำ ฝา ผนัง เปน ต้น, เขา เปน คน รู้ จัก วาง อิฐ ดี นั้น.
      ช่าง แกะ (175:4.2)
               คือ การ แห่ง คน ที่ รู้ จัก ชำนาญ ใน การ ที่ จะ แกะ, ขุด สิ่ง ของ แกะ เปน รูป ต่าง ๆ นั้น.
      ช่าง กลึง (175:4.3)
               คือ การ ที่ คน รู้จัก กลึง ไม้, กลึง เล็ก เปน รูป ต่าง ต่าง, เหมือน อย่าง หัว เม็ด เปน ต้น.
      ช่าง เขียน (175:4.4)
               คือ การ ที่ คน เขียน ดี, เขียน ชำนาญ นั้น, เหมือน อย่าง ช่าง เขียน รูป ภาพ เปน ต้น.
      ช่าง เงิน (175:4.5)
               เปน ชื่อ แห่ง คน รู้* จัก ทำ รูป เงิน ชำนาญ นั้น. อนึ่ง คือ เอา เงิน ขึ้น ชั่ง ตราชู เปน ต้น.
      ช่าง ทอง (175:4.6)
               เปน คน ที่ รู้ จัก ทำ ทอง รูปพรรณ ต่าง ๆ, ฤๅ คน ที่ เอา ทอง ขึ้น ชั่ง บน เต็ง นั้น.
      ช่าง ปดิษฐ (175:4.7)
               เปน ชื่อ คน ที่ รู้ ทำ การ วิเศศ ต่าง ๆ, แล รู้ จัก แต่ง ตั้ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง นั้น.

--- Page 176 ---
      ช่าง ปั้น (176:4.8)
               เปน ชื่อ คน ที่ รู้ จัก ปั้น รูป ต่าง ๆ ดี เปน ต้น, เหมือน อย่าง คน ปั้น ช้าง, ปั้น ควาย ดี นั้น.
      ช่าง พูด (176:4.9)
               เปน ชื่อ เด็ก ที่ รู้ พูด ถ้อย คำ เหมือน คน ผู้ ใหญ่, ว่า มัน ช่าง พูด.
      ช่าง ไม้ (176:4.10)
               เปน คน รู้ จัก ทำ การ ไม้ ดี ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง คน ช่าง เรือน เปน ต้น.
      ช่าง เย็บ (176:4.11)
               เปน ชื่อ คน ชำนาณ ใน การ เย็บ ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง พวก จีน ไส้หอง ที่ สำรับ เย็บ ผ้า นั้น.
      ช่าง เรือ (176:4.12)
               เปน ชื่อ คน ชำนาญ ใน การ ทำ เรือ นั้น, เหมือน อย่าง พวก ทำ เรือ ขาย เปน ต้น.
      ช่าง เหล็ก (176:4.13)
               เปน ชื่อ คน ชำนาญ ใน การ ตี เหล็ก นั้น, เหมือน พวก ช่าง แสง เปน ต้น.
      ช่าง ลาง (176:4.14)
               เปน ชื่อ คน ที่ ชำนาญ ลาง ไม้, เหมือน อย่าง คน ที่ สำรับ ลาง เรือ เปน ต้น.
      ช่าง หล่อ (176:4.15)
               เปน ชื่อ คน ชำนาญ รู้ จัก ใน การ ที่ จะ หล่อ, สิ่ง ของ ทั้ง ปวง หมด นั้น.
      ช่าง สะดึง (176:4.16)
               เปน ชื่อ คน ที่ ชำนาญ ใน การ ปัก, การ กรอง เปน รูป ต่าง ๆ นั้น.
      ช่าง สนะ (176:4.17)
               เปน ชื่อ พวก เจ็ก ช่าง เย็บ ผ้า นั้น, เหมือน อย่าง พวก ไซหอง ช่าง เย็บ เปน ต้น.
ช้าง (176:1)
         คชสาร, หรรษดินทร์, เปน ชื่อ สัตว สี่ เท้า อย่าง หนึ่ง, ตัว โต สูง ใหญ่, มี งวง มี งา ด้วย, กิน หญ้า เปน อาหาร.
      ช้าง กระ (176:1.1)
               เปน ชื่อ ช้าง ที่ ตัว ลาย เปน จุด ๆ, กระ ไป ทั้ง ตัว, เหมือน เจ้าพระยา กระ นั้น.
      ช้าง กัน (176:1.2)
               เปน ชื่อ ช้าง ที่ สำรับ คอย ป้อง กัน, สัตรู ซ้าย ขวา, เหมือน อย่าง เรือ กัน นั้น.
      ช้าง กามกวม (176:1.3)
               เปน ชื่อ ช้าง พลาย แต่ หา มี งา ไม่, จึง เรียก ว่า กามกวม, เพราะ ว่า มี เภท คล้าย กัน กับ ช้าง พังค์.
      ช้าง โขลง (176:1.4)
               เปน ชื่อ ช้าง พังค์, เปน ช้าง ตัว เมีย, ที่ เขา ทอด ปล่อย ไว้ ตาม ทุ่ง ตาม ป่า, สำรับ เกลี้ย กล่อม ช้าง พลาย, คือ ช้าง ตัว ผู้.
      ช้าง ค่อม (176:1.5)
               เปน ชื่อ ช้าง เตี้ย ๆ ต่ำ ๆ, แต่ อายุ นั้น แก่ แล้ว, เหมือน อย่าง คน เตี้ย คน ค่อม นั้น.
      ช้าง ดำ (176:1.6)
               เปน ชื่อ ช้าง ที่ ตัว ศี ดำ, เหมือน อย่าง ช้าง ดำ ๆ ทั้ง ปวง นั้น.
      ช้าง ดั้ง (176:1.7)
               เปน ชื่อ ช้าง ที่ เดิน นำ หน้า, ฤๅ ช้าง ตาม หลัง, เมื่อ เดิน ตาม กระบวน แห่ นั้น, เหมือน เรือ ดัง* นั้น.
      ช้าง* เตี้ย (176:1.8)
               เปน ชื่อ ช้าง ค่อม นั้น, แต่ ว่า อายุ ช้าง นั้น แก่ แล้ว, เหมือน อย่าง คน ค่อม นั้น.
      ช้าง ต่อ (176:1.9)
               เปน ชื่อ ช้าง ที่ สำรับ ต่อ สู้ กับ ช้าง เถื่อน, ฤๅ ไป ต่อ เอา ช้าง เถื่อน ให้ ติด ต่อ มา นั้น.
      ช้าง เถื่อน (176:1.10)
               เปน ชื่อ ช้าง ป่า ช้าง ดง นั้น, เหมือน อย่าง ช้าง เถื่อน ติด โขลง เปน ต้น.
      ช้าง นำ (176:1.11)
               เปน ชื่อ ช้าง ที่ ภา หมู่ ช้าง ไป ใน เบื้อง น่า นั้น, เหมือน อย่าง ช้าง แห่ นำ น่า เปน ต้น นั้น.
      ช้าง น้ำ (176:1.12)
               เปน ชื่อ สัตว อย่าง หนึ่ง, ช้าง หัว เปน หัว ช้าง, ช้าง หาง เปน หาง ปลา อยู่ ใน น้ำ.
      ช้างเนียม (176:1.13)
               เปน ชื่อ ช้าง ที่ มี งา ตูม อยู่, เหมือน ปลีกล้วย นั้น, เหมือน อย่าง ช้าง เนียม ทั้ง ปวง นั้น.
      ช้าง น้าว (176:1.14)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, มี อยู่ ตาม ป่า ข้าง ฝ่าย เหนือ. อนึ่ง เรียก ต้น กระแจะ ก็ มี บ้าง.
      ช้าง เผือก (176:1.15)
               เปน ชื่อ ช้าง ศี ขาว นั้น, เหมือน อย่าง ช้าง เผือก ใน พระ บรม มหา ราชวัง เปน ต้น.
      ช้าง พังค์ (176:1.16)
               เปน ชื่อ ช้าง ตัว เมีย นั้น, เหมือน อย่าง ช้าง พังค์ ทั้ง ปวง นั้น.
      ช้าง พลาย (176:1.17)
               เปน ชื่อ ช้าง ตัว ผู้ ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน อย่าง พระ บรมไกรษร เปน ต้น.
      ช้าง สาร (176:1.18)
               เปน ชื่อ ช้าง ที่ เขา สาน ด้วย ตอก. อย่าง หนึ่ง ช้าง ที่ สูง ใหญ่ นั้น, เหมือน อย่าง คชสาร นั้น.
ชิง (176:2)
         แย่ง, คือ การ ที่ แย่ง สิ่ง ของ กัน, เหมือน อย่าง คน ชิง ฉลาก กัน เปน ต้น.
      ชิง กัน (176:2.1)
               คือ การ ที่ ต่าง คน ต่าง แย่ง กัน, เหมือน อย่าง คน ชิง ลูก ก้ปพกษ เปน ต้น นั้น.
      ชิง ของ (176:2.2)
               คือ การ ที่ คน แย่ง ทรัพย์สิ่ง ของ กัน, เหมือน อย่าง คน รับ ทาน เปน ต้น นั้น.
      ชิง ช้า (176:2.3)
               เปน ชื่อ ของ ที่ เอา เชือก ผูก ห้อย ลง มา แล้ว, ใส่ กระดาน สำรับ นั่ง แกว่ง ไป แกว่ง มา นั้น.
      ชิงช้าชาลี (176:2.4)
               เปน ชื่อ เถา อย่าง หนึ่ง, คล้าย ๆ บระเพ็ด, แต่ ไม่ มี หนาม, สำรับ ใช้ ทำ ยา.

--- Page 177 ---
      ชิง ชี่ (177:2.5)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ต้น ไม่ สู้ โต นัก, มี หนาม ด้วย, สำรับ ใช้ ต้ม ยา ไข้ เปน ต้น.
      ชิง ไชย (177:2.6)
               คือ การ ที่ คน ต่าง จะ ชิง เอา ชะนะ แก่ กัน, เหมือน อย่าง คน วิ่ง ชิง ทง เปน ต้น,
      ชิง ชัง (177:2.7)
               คือ การ ที่ แย่ง เอา ของ, แล เกลียด ไม่ ภอ ใจ วิสาสะ ชอบ ภอใจ จะ พูด ด้วย เปน ต้น นั้น.
      ชิง ช่วง (177:2.8)
               เปน ชื่อ การ เล่น อย่าง หนึ่ง, เด็ก ๆ หลาย คน มัน เอา ลูก ไม้ อัน ใด ทิ้ง ลง จม น้ำ, แล้ว ชิง กัน ใน น้ำ นั้น.
      ชิง เชิง (177:2.9)
               เปน ชื่อ เศศ ด้าย อย่าง หนึ่ง, ที่ ตัด ออก จาก เศศ ผ้า เศศ ฟืม นั้น.
      ชิง ชัน (177:2.10)
               เปน ชื่อ ไม้ อย่าง หนึ่ง, แก่น ศี แดง ลาย งาม, แขง เมือน แก่น ไม้ ประดู่.
      ชิง ดวง (177:2.11)
               เปน ชื่อ ลาย ที่ เขา เขียน ลง ที่ แผ่น งา ช้าง, แล้ว แล้ว แกะ ทำ ฝา พนัก เปน ต้น.
      ชิง แดน (177:2.12)
               คือ การ ที่ คน แย่ง เขตร, แย่ง แดน ชิง กัน นั้น, เหมือน อย่าง คน รุก ที่, รุก แดน กัน เปน ต้น.
      ชิง ที่ (177:2.13)
               คือ การ ที่ คน แย่ง ที่ ถานันดร กัน นั้น, เหมือน อย่าง คน รุก ที่ กัน เปน ต้น.
      ชิง ธง (177:2.14)
               คือ การ ที่ แย่ง ธง กัน เหมือน อย่าง คน วิ่ง งัว ชิง ทง กัน นั้น.
      ชิง ทรัพย์ (177:2.15)
               คือ การ ที่ คน แย่ง ทรัพย์ กัน, เหมือน อย่าง คน ชิง มรดก กัน เปน ต้น นั้น*.
      ชิง บ้าน (177:2.16)
               คือ การ ที่ แย่ง บ้าน กัน นั้น, เหมือน อย่าง คน แย่ง เรือน กัน เปน ต้น.
      ชิง ป่า (177:2.17)
               คือ การ ที่ แย่ง ป่า แย่ง ดง กัน นั้น, เหมือน อย่าง ชาว ป่า ชิง ป่า ชิง ดง กัน นั้น.
      ชิง เมือง (177:2.18)
               คือ การ ที่ แย่ง เมือง กัน, เหมือน อย่าง เมือง นี้ บก ทับ ไป ตี เมือง โน้น เปน ต้น.
ชิ่ง (177:1)
         คด, คอก, โกง, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ ไม่ ตรง, คด อยู่ หน่อย หนึ่ง, เหมือน อย่าง แขน คอก เปน ต้น นั้น.
แช่ง (177:2)
         ดา, คือ ความ คล้าย ๆ กับ ด่า, เหมือน ความ โกรธ เกิด ชื้น ใน ใจ, แล้ว ก็ แช่ง ว่า, มัน จง ตาย เปน ต้น.
      แช่ง ชัก ษา บาน (177:2.1)
               เปน ชื่อ แห่ง คำ สบด ที่ จะ ให้ คน ที่ เปน พะยาน นั้น สาบาน เปน ต้น.
      แช่ง ด่า (177:2.2)
               เปน คำ ที่ แช่ง แล้ว ด่า ดว้ย นั้น, เหมือน อย่าง คน โทโส มาก โกรธ ขึ้น แล้ว มัก แช่ง ด่า ต่าง ๆ
      แช่ง ตัว (177:2.3)
               คือ ความ ที่ คน ว่า ตัว เอง, ว่า ฃอ ให้ ตาย โหง ตาย ห่า, ให้ ผี จ้าว มา หัก ฅอ กู ไป เสีย เถิด.
      แช่ง สราบ (177:2.4)
               เปน ชื่อ แห่ง คำ ของ คน มี ฤทธิ์ ที่ กล่าว ให้ เปน ไป ได้ ตาม คำ, เหมือน ยะโฮวา แช่ง สาบ ฮาวา นั้น.
โชงกราน (177:3)
         เปน ชื่อ ของ สำรับ ติด ไฟ อย่าง หนึ่ง คล้าย กับ อั่ง โล่ ทำ ดว้ย ดิน สำรับ หุง เข้า.
      โชงโครง (177:3.1)
               เปน ชื่อ สิ่ง ที่ เกิด แต่ จัน มะพร้าว, เปน อัน เล็ก ที่ ลูก มะพร้าว ติด อยู่ นั้น.
ชอ่ง* (177:4)
         เปน ชื่อ คน พวก หนึ่ง เปน ชาว ดง, คล้าย ข่า มี* อยู่ ที่ เมือง จันทบูรี.
      ชอ่ง (177:4.1)
               รู, คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ใด ๆ, ที่ มัน ขาด ถลุ เปน* รู อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง ชอ่ง น่าต่าง เปน ต้น.
      ชอ่ง กว้าง (177:4.2)
               คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ที่ เปน ทาง กว้าง, เหมือน อย่าง ปะตู ใหญ่ เปน ต้น.
      ชอ่ง กรรณ์ (177:4.3)
               เปน ชื่อ ชอ่ง หู, เหมือน อย่าง รูหู นั้น.
      ชอ่ง เขา (177:4.4)
               คือ อาการ แห่ง หว่าง เขา, เหมือน อย่าง เขา ที่ ฃาด เปน ชอ่ง ไป นั้น.
      ชอ่ง คู (177:4.5)
               คือ คู ที่ เปน ชอ่ง ไป, เหมือน อย่าง คู บ้าน คู เมือง นั้น.
      ชอ่ง แคบ (177:4.6)
               คือ อาการ ชอ่ง ที่ ไม้ กว้าง, เหมือน อย่าง ลำหลอด, ฤๅ ลำ คลอง เล็ก ๆ เปน ต้น.
      ชอ่ง จมูก (177:4.7)
               คือ อาการ ที่ รู จมูก นั้น, เหมือน อย่าง คลอง จะมูก แห่ง คน แล สัตว ทั้ง ปวง เปน ต้น.
      ชอ่ง ปาก (177:4.8)
               คือ อาการ แห่ง รู ปาก นั้น, เหมือน อย่าง คลอง มุกข ประเทศ แห่ง คน แล สัตว ทั้ง ปวง เปน ต้น.
      ชอ่ง ปืน (177:4.9)
               คือ รู มี อยู่ ที่ ปอ้ม ทั้ง ปวง, เปน รู เล็ก บ้าง, ใหญ่ บ้าง นั้น, สำรับ ให้ ลูก ปืน ออก.
      ชอ่ง ฝา (177:4.10)
               เปน ชื่อ รู เล็ก ใหญ่ ที่ มี อยู่ ที่ ฝา นั้น, เหมือน อย่าง ชอ่ง ฝา ถลุ เปน ต้น.
      ชอ่ง รู (177:4.11)
               คือ อาการ แห่ง รู ที่ เปน ชอ่ง ไป, เหมือน อย่าง รู ลำ กล้อง เปน ต้น นั้น.
      ชอ่ง โอษฐ (177:4.12)
               คือ อาการ แห่ง ชอ่ง ที่ ปาก นั้น, เหมือน อย่าง มุกข ทวาร เปน ต้น.

--- Page 178 ---
      ชอ่ง โอกาษ (178:4.13)
               คือ อาการ แห่ง ชอ่ง ที่ เปน ชอ่ง ว่าง นั้น, เหมือน อย่าง ชอ่ง อากาษ เปล่า เปน ต้น.
      ชอ้ง (178:4.14)
               เปน ชื่อ กระบัง หน้า, ฤๅ ผม ที่ สำรับ ต่อ ผม, เหมือน อย่าง ชอ้ง พวก เจ๊ก ต่อ หาง เปีย เปน ต้น นั้น.
      ชอ้ง ผม (178:4.15)
               คือ เปน ชื่อ ผม ที่ สำรับ ต่อ ผม, เหมือน อย่าง ผม นาง ละคอน เปน ต้น นั้น.
ชว่ง (178:1)
         เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ เปน ดวง สว่าง, เหมือน อย่าง ลูก พลุ, ที่ สว่าง ใน อากาษ เปน ต้น นั้น.
      ชว่ง ไชย (178:1.1)
               เปน ชื่อ การ เด็ก เล่น อย่าง หนึ่ง, คือ เอา สิ่ง ใด ๆ มว้น เปน ลูก กลม ๆ แล้ว, โยน รับ กัน ต่อ ๆ ไป.
      ชว่ง ชิง (178:1.2)
               เปน คำ เขา พูด ว่า คน ชว่ง ชิง กัน, เหมือน รับ ลูก กามพฤกษ ต่าง ๆ แย่ง ชิง กัน* นั้น.
      ชว่ง โชต (178:1.3)
               เปน ชื่อ ของ ที่ เปน ดวง สว่าง, เหมือน อย่าง ดาว ปะกายพรึกษ, ฤๅ โคม ที่ เขา แขวน ไว้ ใน อากาศ นั้น.
      ชว่ง ตอง (178:1.4)
               เปน ชื่อ ใบตอง ที่ ติด อยู่ ตาม ก้าน ทั้ง สอง นั้น, เหมือน อย่าง ตอง ชว่ง สั้น ชว่ง ยาว เปน ต้น
      ชว่ง เมือง (178:1.5)
               เปน ชื่อ กิ่ง เมือง, ที่ เปน เมือง ขึ้น ของ หัว เมือง ต่อ ๆ มา นั้น.
      ชว่ง ยาว (178:1.6)
               เปน ชื่อ แห่ง ชว่ง ตอง, ฤๅ ของ อื่น ที่ ยาว ๆ, ติด อยู่ กับ ก้าน ทั้ง สอง นั้น.
      ชว่ง สั้น (178:1.7)
               เปน ชื่อ แห่ง ชว่ง ตอง, ฤๅ ของ อื่น ๆ, ที่ มี ระยะ สั้น ๆ นั้น, เหมือน อย่าง ลูก ตอง เล็ก ๆ เปน ต้น.
เชียง (178:2)
         เปน ชื่อ คน อย่าง นี้ ก็ มี บ้าง, เปน ชื่อ* เมือง พระยา ประเทศ ราช ก็ มี บ้าง, เหมือน อย่าง เชียงใหม่ เปน ต้น.
      เชียง เงิน (178:2.1)
               เปนชื่อเมือง ลาว แห่ง หนึ่ง, มี อยู่ ฝ่าย ข้าง เหนือ นั้น
      เชียง ทอง (178:2.2)
               เปน ชื่อ เมือง ลาว แห่ง หนึ่ง, มี อยู่ ฝ่าย เหนือ เหมือน กัน.
      เชียงตุง (178:2.3)
               เปน ชื่อ เมือง ลาว แห่ง หนึ่ง, อยู่ ฝ่าย เหนือ แต่ เมือง นั้น ตั้ง อยู่ บน ภูเขา. เมือง พระยา ประเทศ ราช.
      เชียง* ใหม่ (178:2.4)
               เปน ชื่อ เมือง ลาว แห่ง หนึ่ง, อยู่ ฝ่าย เหนือ เปน
      เชียง รุ้ง (178:2.5)
               เปน ชื่อ เมือง ลาว แห่ง หนึ่ง, อยู่ ฝ่าย เหนือ เปน เมือง ลาว เดิม, ชื่อ โชตน บุระ ราช ธานี นั้น
      เชียงราย (178:2.6)
               เปน ชื่อ เมือง ลาว แห่ง หนึ่ง, อยู่ ฝ่าย เหนือ เปน เมือง หลวง ลาว เดิม.
      เชียง แสน (178:2.7)
               เปน ชื่อ เมืองลาว แห่ง หนึ่ง, อยู่ฝ่าย เหนือ เหมือน กัน เปน เมือง ลาว เดิม.
เชื่อง (178:3)
         ไม่ เปรียว, กล้า, คือ การ ที่ คุ้น เคย ไม่ กลัว ไม่ หลีก หนี, เหมือน สัตว บ้าน มี ไก่ เปน ต้น, มัน คุ้น กับ คน นั้น.
เชิง (178:4)
         ที่ ตั้ง, เท้า, เปน ชื่อ ตีน สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ฤๅ ริม แห่ง ของ ทั้ง ปวง, เหมือน อย่าง เชิง ปลา กราย เปน ต้น.
      เชิง กำแพง (178:4.1)
               เปน ชื่อ ตีน กำแพง, เหมือน อย่าง กำแพง เมือง ทั้ง ปวง นั้น.
      ชิง กอบ (178:4.2)
               เปน ชื่อ ค่า ปาก เรือ ใหญ่, เหมือน อย่าง กำปั่น เปน. ต้น, เขา ยอ่ม พูด กัน ว่า, เสีย ข้า เชิงกอป คือ เสีย ค่าปากเรือ.
      เชิง กราน (178:4.3)
               เปน ชื่อ* ของ สำรับ ติด ไฟ, ปั้น ดว้ย ดิน, คล้าย กับ อังโล่ นั้น.
      เชิง กลอน (178:4.4)
               เปน ชื่อ ไม้ แบน ๆ เขา ติด ไว้ ที่ ตีน กลอน นั้น.
      เชิง เขา (178:4.5)
               เปน ชื่อ ตีน เขา นั้น, เหมือน อย่าง ที่ เนิน ตาม ตีน เขา ทั้ง ปวง เปน ต้น.
      เชิง ชาย (178:4.6)
               เปน ชื่อ ไม้ แบน ๆ ที่ ติด ไว้ บน เชิง กลอน, อัน เปน ที่ สุด ชาย คา นั้น. อนึ่ง เรียก ผ้า อย่าง หนึ่ง.
      เชิง ตระกร (178:4.7)
               เปน ชื่อ เตียง, ฤๅ ร้าน สำรับ เปน ที่ เผา สพ นั้น, เหมือน อย่าง ร้าน ม้า เปน ต้น.
      เชิง เทียร (178:4.8)
               เปน ชื่อ ตีน เทียร ที่ สำรับ ปัก เที่ยร นั้น, ทำ ดว้ย ทอง เหลือง บ้าง, ทำ ดว้ย แก้ว บ้าง.
      เชิงเทิล (178:4.9)
               เปน ชื่อ ดิน ที่ ถม เปน เนิล สูง ขึ้น ไป, ตาม เชิง กำ แพง ข้าง ใน นั้น.
      เชิง บาตร (178:4.10)
               เปน ชื่อ ตีน บาตร ที่ สำรับ รอง บาตร เปน วง กลม ๆ ทำ ดว้ย หวาย บ้าง, ไม้ บ้าง.
      เชิงปูม (178:4.11)
               เปน ชื่อ ผ้า ที่ เขา ทำ เปน ตีน ปูม รอบ นั้น, เหมือน อย่าง ผ้า เชิงปูม พวก ขุนนาง เปน ต้น.
      เชิง ชั้น (178:4.12)
               คือ ที่ ต้น แม่ บันใด ที่ มัน ตั้ง ลง กับ ดิน, ชั้น นั้น เหมือน ลูก บันใด ที่ มัน เปน หลั่น กัน ขึ้น ไป นั้น.
      เชิง เลน (178:4.13)
               เปน ชื่อ ตีนเลน, เหมือน อย่าง เลน ที่ ชาย ทะเล, ฤๅ สวน ตีนเลน นั้น.
ชด (178:5)
         ชอ้ย, ออ่น, เปน ชื่อ แห่ง สิ่ง ของ ที่ ออ่น อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง คน แขน ออ่น, ฤๅ ขา ออ่น นั้น ว่า, ขา ออ่น ชด.
      ชด งอน (178:5.1)
               เปน ชื่อ ของ ที่ มัน ชอ้ย ขึ้น ข้าง บน, เหมือน งอน เกียน, งอน รถ เปน ต้น นั้น.

--- Page 179 ---
      ชด ชอ้ย (179:5.2)
               คือ อาการ กิริยา คน, ที่ พูด จา ทำ เปน ฅอ ออ่น พับ ไป, พับ มา นั้น, เหมือน อย่าง หญิง งอน เปน ต้น.
      ชด ออ่น (179:5.3)
               คือ อาการ แขน คน ที่ ออ่น, เหมือน คน เปน คนฟ้อน รำ, มี ลำ แขน ทั้ง สอง โคง ขึ้น เหมือน งวง ครุ นั้น.
ชัด (179:1)
         คือ อาการ สิ่ง ที่ ตรง ความ, ฤๅ ถูก ความ ไม่ ผิด เพี้ยน, เหมือน อย่าง คน พูด ชัด, คำ ไหน ก็ คำ นั้น, มิ ได้ คลาด นั้น.
      ชัด ความ (179:1.1)
               คือ ความ ที่ แจ้ง ประจักข์, ความ กระจ่าง แจ้ง, ความ ไม่ เคลือบ แคลง นั้น, เหมือน อย่าง รู้ ชัด นั้น.
      ชัด เจน (179:1.2)
               คือ ความ ที่ ชำนาน, ฤๅ รู้ แท้ ไม่ เคลือบ แคลง นั้น, เหมือน อย่าง คน ชำนิ ชำนาญ ใน สรรพ การ ทั้ง ปวง.
      ชัด ชิด (179:1.3)
               คือ อาการ สิ่ง ที่ รก ทึบ หนา, แล ไม่ ใค่ร ตลอด ไป ได้, เหมือน ป่า ไม้ ที่ รก ทึบ นั้น.
ชาด (179:2)
         คือ ของ ที่ เปน ผง ศี แดง มา แต่ เมือง จีน นั้น, เหมือน อย่าง ชาด ที่ ทา ให้ ศี แดง เปน ต้น.
      ชาติ (179:2.1)
               แปล ว่า บังเกิด, ว่า เอา กำเนิด นั้น, เหมือน อย่าง สัตว โลกย์ ทั้ง ปวง ที่ บังเกิด ต่อ ๆ กัน นั้น.
      ชาติ ก่อน (179:2.2)
               คือ เวลา ที่ ได้ บังเกิด แล้ว ใน กอ่น นั้น, เหมือน อย่าง ชาติ ที่ ลว่ง ลับ มา แล้ว นั้น.
      ชาต กอ้น (179:2.3)
               คือ ชาต ที่ ยัง เปน กอ้น อยู่, เหมือน อย่าง กอ้น แร่ นั้น, สำรับ ใช้ ทำยา มา แต่ เมือง จีน.
      ชาติ ข้า (179:2.4)
               เปน คำ ด่า คน ที่ เกิด มา สำรับ เปน ข้า ให้ เขา ใช้ นั้น, ฤๅ เปน ข้า เขา อยู่ ทั้ง ชาติ นั้น.
      ชาติ คน พาล (179:2.5)
               คือ ความ ที่ เกิด มา เปน คน ปัญา ออ่น, เหมือน เด็ก ออ่น ๆ, เพราะ ไม่ รู้ จัก ประโยชน์ ตน ประโยชน์ ท่าน.
      ชาติ ชาย (179:2.6)
               คือ ความ ที่ เกิด มา เปน ผู้ ชาย นั้น, เหมือน อย่าง ความ ที่ เกิด มา เปน บุรุษ นั้น.
      ชาติ มนุษ (179:2.7)
               คือ เกิด เปน สัตว ใจ สูง, ฤๅ เอา กำเนิด เปน สัตว ใจ สูง, ฤๅ บัติสนธิ์ เปน สัตว ใจ สูง.
      ชาติ ชั่ว (179:2.8)
               ชาติ ไม่ ดี, คือ ความ ที่ เกิด เปน คน ไม่ ดี, ฤๅ เปน คน ชั่ว ทั้ง ชาติ นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ ไม่ กลับชั่ว เปนดี ได้ นั้น.
      ชาติ เดียว (179:2.9)
               คือ ความ ที่ เกิด หนเดียว, เขา ถือ อย่าง นั้น เหมือน อย่าง ถือ ว่า, ตาย แล้ว ก็ เปน อัน สูญ กัน เท่า นั้น.
      ชาติ หน้า (179:2.10)
               คือ กาล ที่ บังเกิด ต่อ ไป เบื้อง หน้า, เหมือน อย่าง เขา ถือ ว่า, ตาย แล้ว ก็ จะ บังเกิด ต่อ ไป เบื้อง หน้า อีก.
      ชาติ นี้ (179:2.11)
               คือ ความ ที่ บังเกิด มา คราว* นี้, เหมือน อย่าง เรา ท่าน ทั้ง หลาย ทุก วัน นี้.
      ชาติ โน้น (179:2.12)
               คือ ความ ที่* บังเกิด ใน ชาติ โน้น, เหมือน อย่าง ชาติ ที่ พ้น มา แล้ว นั้น.
      ชาติ หมา (179:2.13)
               คือ เปน คำ ด่า ว่า, เอง เกิด มา เปน หมา นั้น, ฤๅ จะ ว่า เปน หมา ทั้ง ชาติ ก็ ได้.
      ชาติ วานร (179:2.14)
               คือ เปน คำ ด่า ว่า เกิด มา เหมือน คน อยู่ บ้าง, คือ เกิด เปน ลิง นั้น.
      ชาติ สุนักข์ (179:2.15)
               เปน คำ ด่า ว่า, เกิด เปน สัตว ฟัง คำ เจ้า ของ, คือ เกิด เปน หมา นั้น.
      ชาติ หรคุณ (179:2.16)
               คือ เปน ชาติ กอ้น ที่ เปน ส้รวง ๆ เขา ทำ อยาได้, เจ๊ก เอา มา แต่ เมือง จีน ขาย นั้น.
      ชาติ หงษ์ (179:2.17)
               ว่า เกิด มา เปน หงษ์ นั้น, เหมือน อย่าง พระยา หงษ์ ทอง เปน ต้น.
ชิด (179:3)
         เคียง, คือ การ ที่ ไม่ ห่าง, ฤๅ ใก้ล กัน นั้น, เหมือน อย่าง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ติด กัน เปน ต้น นั้น.
      ชิด กัน (179:3.1)
               เคียง กัน, ริม กัน, คือ การ ที่ ไม่ ห่าง กัน, ฤๅ ใก้ล กัน เหมือน อย่าง เรือน ติด กัน เปน ต้น นั้น.
      ชิด ใก้ล (179:3.2)
               คือ ความ ที่ ไม่ ห่าง อยู่ ใก้ลชิด กัน นั้น, เหมือน อย่าง บ้าน ใก้ล เรือน เคียง เปน ต้น.
      ชิด เขา (179:3.3)
               คือ ความ ที่ ชิด เขา, เหมือน อย่าง ใก้ล เขา, ฤๅ แอบ ติด เขา เข้า ไป นั้น.
      ชิด ข้าง (179:3.4)
               เคียง ข้าง, ริม ข้าง, ใก้ล ข้าง, คือ การ ที่ แอบ ติด ข้าง เข้า ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน นั่ง ชิด อยู่ ข้าง ๆ นั้น.
      ชิด คลอง (179:3.5)
               คือ อาการ ที่ ชิด อยู่ กับ คลอง นั้น, เหมือน อย่าง ต้น ไม้ ใก้ล ตลิ่ง เปน ต้น นั้น.
      ชิดฅอ (179:3.6)
               คือ อาการ ที่ ติด อยู่ กับฅอ นั้น, เหมือนอย่าง ศีศะ เปน ต้น.
      ชิด เชื้อ (179:3.7)
               คือ ความ ที่ คน เปน เชื้อ สาย กัน โดย ประยุรวงษ, พง ญาติ นั้น, เหมือน อย่าง พี่ นอ้ง ที่ สนิจ เปน ต้น.
      ชิด สนิท (179:3.8)
               คือ ความ ที่ ชิด มิ ได้ ห่าง กัน เลย, เหมือน อย่าง พี่ นอ้ง ร่วม* บิดา มารดา เดียว กัน นั้น.
      ชิด องค์ (179:3.9)
               เคียง องค์, คือ การ ที่ อยู่ ใก้ล องค์ ท่าน ผู้ เปน ใหญ่, เหมือน อย่าง พระแสง สำรับ พระ มหา กระษัตริย์ นั้น.
ชืด (179:4)
         เปน ชื่อ รศ ที่ จืด, เหมือน อย่าง น้ำ ท่า เปน ต้น, ฤๅ ของ ที่ เย็น ชืด, เหมือน อย่าง คน ตาย เปน ต้น นั้น.

--- Page 180 ---
      ชืด จืด (180:4.1)
               เปน ชื่อ รศ ที่ จืด ชืด ชื้อ, เหมือน อย่าง แตง โม ออ่น เปน ต้น นั้น.
      ชืด ชื้ (180:4.2)
               เปน ชื่อ รศ ที่ จืด ชืด ชื้, เหมือน อย่าง ฟัก ต้ม เย็น ๆ เปน ต้น.
ชุด (180:1)
         เปน ชื่อ เครื่อง สำรับ ดัก ปลา, ทำ ดว้ย หวาย เปน ตา ห่าง ๆ, อนึ่ง เปน เครื่อง สำรับ จุด ไฟ.
      ชุด กระดาด (180:1.1)
               คือ เปน ของ สำรับ จุด ไฟ ทำ ดว้ย กระดาด, เหมือน อย่าง ชุด สำรับ ตี เหล็ก ไฟ เปน ต้น.
      ชุด ขด (180:1.2)
               คือ เปน ชุด ที่ ขด เปน วง ๆ นั้น, เหมือน อย่าง ชุด จุด ไฟ ของ พวก ขุนนาง เปน ต้น นั้น.
      ชุด จุด ไฟ (180:1.3)
               คือ เปน ของ สำรับ จุด ไฟ ทำ ดว้ย กะดาด บ้าง, ทำ ดว้ย เปลือก มะพร้าว บ้าง.
เชษฐา (180:2)
         ฯ ว่า พี่ ชาย นั้น, เปน ราชาศรรบท์, เหมือน อย่าง สมเด็จ พระ เชษฐา ธิราช นั้น.
เชตุพน (180:3)
         เปน ชื่อ ที่ อยู่ ของ พระ โคตม นั้น, เหมือน อย่าง วัด พระ เชตุพน เปน ต้น.
เช๊ด (180:4)
         ถู, คือ การ ที่ เอา ผ้า, ฤๅ สิ่ง ของ ใด ๆ, ถู เช็ด เสีย ให้ หมด จด สอาจ ดี นั้น.
เช๊ก หน้า (180:5)
         คือ การ ที่ เอา ผ้า เช๊ด ที่ หน้า, เหมือน อย่าง คน ล้าง หน้า แล้ว, เอา ผ้า ถู เช๊ด หน้า นั้น.
เช๊ด หน้า ๆ ต่าง (180:6)
         คือ ไม้ กรอบ ที่ เปน วง รอบ น่าต่าง นั้น, เหมือน อย่าง วง เช็ด น่า เปน ต้น.
เช๊ด ตัว (180:7)
         ถู ตัว, คือ เอา ผ้า เช็ด ที่ ตัว นั้น, เหมือน อย่าง คน อาบน้ำ แล้ว เอา ผ้า ถู ตัว เปน ต้น นั้น.
เช๊ด มือ (180:8)
         คือ การ ที่ เอา ผ้า เช็ด ที่ มือ นั้น, เหมือน อย่าง คนเอา ผ้า ถู มือ เปน ต้น.
เช็ด หัว (180:9)
         คือ การ ที่ เอา ผ้า เช็ด ที่ หัว นั้น, เหมือน อย่าง เอา ผ้า ถู ศีศะ เปน ต้น.
โชต (180:10)
         คือ อาการ ที่ ไฟ โพลง รุ่ง เรือง แสง สว่าง ขึ้น, เหมือน อย่าง แสง เพลิง โพลง ขึ้น นั้น.
      โชด ชว่ง (180:10.1)
               คือ สิ่ง ของ ที่ เปน ดวง สว่าง ลอย ขึ้น ไป, เหมือน อย่าง ลูก พลุ, ฤๅ โคม ลอย, แล ดวง ดาว เปน ต้น.
      โชดตนาการ (180:10.2)
               ฯ ว่า สิ่ง ของ ที่ ลุก รุ่ง เรือง สว่าง, เหมือน อย่าง ไฟ ไห้ม เปน ต้น นั้น.
ชวด (180:11)
         ไม่ ได้, มิ ได้, เปน ชื่อ ปี ที่ หนึ่ง นั้น. อนึ่ง สิ่ง ของ ที่ ไม่ มี นั้น ว่า ชวด, เหมือน เขา ว่า ชวด กิน เปน ต้น.
      ชวด กิน (180:11.1)
               ไม่ ได้ กิน, คือ ไม่ มี กิน นั้น, เหมือน อย่าง อาหาร ของ กิน ทั้ง ปวง หมด, เขา พูด ว่า ชวด กิน.
      ชวด ขอ (180:11.2)
               คือ ไม่ ได้ ฃอ นั้น, เหมือน อย่าง คน เคย ไป ฃอ แล้ว มี ผู้ ห้าม เสีย เปน ต้น.
      ชวด เดิร (180:11.3)
               คือ ความ ที่ เคย เดิน แล้ว เดิร ไม่ ได้ นั้น, เหมือน อย่าง แต่ กอ่น เคย เดิร ได้ แล้ว, เขา ห้าม เสีย เดิร ไม่ ได้ นั้น
      ชวด ทำ (180:11.4)
               ไม่ ได้ ทำ, คือ สิ่ง ของ ตัว เคย ทำ แล้ว, เขา ห้าม เสีย ไม่ ให้ ทำ นั้น.
      ชวด บวช (180:11.5)
               ไม่ ได้ บวช, คือ การ ที่ คน จะ บวช แล้ว, เขา ห้าม เสีย ไม่ ให้ บวช นั้น.
      ชวด เพียร (180:11.6)
               คือ การ ที่ คน เคย กระทำ ความเพียร ใน การ ต่าง ๆ แล้ว, เกิด อันตราย อัน ใด อัน หนึ่ง ขึ้น เพียร ไป ไม่ ได้.
      ชวด ฟัง (180:11.7)
               คือ ไม่ ได้ ฟัง นั้น, เหมือน อย่าง คน เคย ฟัง ธรรม, มา ภาย หลัง หู หนวก เสีย, ฟัง ไม่ ได้ เปน ต้น.
      ชวด มา (180:11.8)
               คือ ความ ที่ มา ไม่ ได้ นั้น, เหมือน อย่าง คน เคย มา แล้ว เขา ห้าม เสีย, ไม่ ให้ มา เปน ต้น นั้น.
      ชวด รู้ (180:11.9)
               คือ ความ ที่ รู้ ไม่ ได้ นั้น, เหมือน อย่าง คน เคย รู้ เรื่อง ความ แล้ว เขา ปิด เสีย, หา ให้ รู้ ไม่ เปน ต้น นั้น.
      ชวด หลับ (180:11.10)
               คือ ความ ที่ หลับ ไม่ ได้ นั้น, เหมือน อย่าง คน เคย นอน หลับ แล้ว ยุง กัด หนัก, หลับ หา ได้ ไม่ นั้น.
เชือด (180:12)
         ตัด, เถือ, ฝาน, แล่, คือ การ ที่ ฝาน สิ่ง ของ ต่าง ๆ ด้วย มีด, เหมือน อย่าง คน เชือต เนื้อ, เชือด ปลา เปน ต้น.
      เชือด คอ ตาย (180:12.1)
               คือ การ เชือดคอ ด้วย มีด, เหมือน อย่าง คน เชือด ฅอ ไก่ ด้วย มีด เปน ต้น นั้น.
      เชือด หนัง (180:12.2)
               เถือ หนัง, คือ การ เชือด ลง ที่ หนัง นั้น, เหมือน อย่าง คน ตัด หนัง, ทำ เชือก หนัง เปน ต้น นั้น.
      เชือด เนื้อ (180:12.3)
               เถือ เนื้อ, แล่ เนื้อ, คือ การ เอา มีด เชือด ลง ที่ เนื้อ นั้น, เหมือน อย่าง คน แล่ เนื้อ สัตว ต่าง ๆ เปน ต้น นั้น.
เชิด (180:13)
         คือ การ ที่ ยก ชู ขึ้น นั้น, เหมือน อย่าง คน เชิด หนัง, เชิด เชิด หุ่น เปน ต้น นั้น.
      เชิด ชู (180:13.1)
               ยก ย่อง, คือ การ ที่ ยก สิ่ง ของ ต่าง ๆ ชู ขึ้น นั้น เอง, ฤๅ พูด จา สรรเสริญ ยก ย่อง, ผู้ มี สติ ปัญญา เปน ต้น นั้น.

--- Page 181 ---
      เชิด หนัง (181:13.2)
               คือ การ ที่ เอา ตัว หนัง ยก ขึ้น เชิด นั้น, เหมือน อย่าง คน เอา หนัง สลัก เปน รูป ต่าง ๆ, สำรับ เชิด เล่น เพลา กลาง คืน เปน ต้น.
      เชิด เพลิง รำ (181:13.3)
               คือ การ ที่ คน เชิด หุ่น ให้ รำ ไป ตาม เพลง นั้น, เหมือน อย่าง คน เชิด หุ่น เปน ต้น.
      เชิด หุ่น (181:13.4)
               คือ การ ที่ คน ยก ตัว หุ่น ขึ้น เชิด ไป, เหมือน อย่าง พวก เล่น หุ่น นั้น,
ชน (181:1)
         โดน, คือ การ ที่ โดน กัน, เหมือน แพะ โดน กัน, ฤๅ เรือ โดน กัน, แล รถ โดน กัน เปน ต้น นั้น.
      ชน ไก่ (181:1.1)
               คือ การ ที่ คน เอา ไก่ ให้ ชน กัน นั้น, เหมือน อย่าง คน ตั้ง บ่อน ไก่ เปน ต้น.
      ชน กัน (181:1.2)
               โดน กัน, คือ การ ที่ โดน กัน นั้น, เหมือน อย่าง งัว ควาย แพะ แกะ ชน กัน เปน ต้น.
      ชน ช้าง (181:1.3)
               คือ การ ที่ ให้ ช้าง ชน กัน, เหมือน อย่าง กระษัตริย์ แต่ ป่าง ก่อน ทำ สงคราม กัน นั้น.
      ชล ธารา (181:1.4)
               คือ ธ่อ น้ำ, แต่ ว่า เปน คำ สับท์, ชล, แปล ว่า น้ำ, ธารา, แปล ว่า ธ่อ.
      ชน ทั้ง ปวง (181:1.5)
               คือ บันดา คน ทั้ง สิ้น, มิ ใช่ สัตว นั้น.
      ชนะนี (181:1.6)
               มารดา, แม่, เปน คน ยัง บุตร ให้ บังเกิด, คือ มารดา นั้น.
      ชนก (181:1.7)
               บิดา, พ่อ, คือ คน ยัง บุตร ให้ บังเกิด, คือ เปน บิดา นั้น.
      ชนบท (181:1.8)
               เปน ที่ คน เดิน ไป มา ด้วย ท้าว, เปน ที่ บ้าน นอก นั้น, เหมือน บ้าน ปลาย เขตร์ แดน นั้น.
      ชน ปลา (181:1.9)
               คือ การ ที่ คน เอา ปลา ใส่ ใน ขวด ให้ มัน กัด กัน ชน กัน, เหมือน นักเลง ปลา กัด เปน ต้น นั้น.
      ชน มายุ (181:1.10)
               เปน ชื่อ อายุ ตั้ง แต่ บังเกิด มา นั้น.
      ชล (181:1.11)
               เปน ชื่อ น้ำ ที่ แล เปนยับ ๆ อยู่ บน ลัง น้ำ, เหมือน อย่าง น้ำ ทะเล เปน ต้น นั้น.
      ชลนัทที (181:1.12)
               ฯ แปล ว่า แม่ น้ำ, เหมือน อย่าง แม่ น้ำ ใหญ่ ทั้ง ปวง นั้น.
      ชลไนย (181:1.13)
               ฯ คือ น้ำ ตา, เหมือน อย่าง ที่ คน ร้อง ไห้ ไหล ออก มา นั้น.
      ชลธาร (181:1.14)
               คือ เปน น้ำ ธาร, เหมือน* อย่าง น้ำ ตาม ท้อง ธาร เปน ต้น นั้น.
      ชลนา (181:1.15)
               ฯ เปน ชื่อ น้ำ ตา, เหมือน อย่าง คน ที่ ร้องไห้ แล้ว, น้ำ ตา ไหล ออก มา จาก ไนย ตา นั้น.
      ชลเนตร (181:1.16)
               เปน ชื่อ น้ำ ตา ที่ ไหล ออก มา, เหมือน อย่าง คน ร้องไห้ เปน ต้น นั้น.
      ชลมารค วิถี (181:1.17)
               เปน ชื่อ ทาง น้ำ, เหมือน อย่าง พระ มหา กระษัตริย์ เสด็จ ลง เรือ พระ ที่ นั่ง เสด็จ ไป นั้น.
ชัน (181:2)
         คือ ยาง ไม้, เหมือน อย่าง ไม้ เต็ง รัง, แล ไม้ ตะเคียน, อนึ่ง ขน แล ผม, ที่ ชู ตั้ง ขึ้น เปน ต้น นั้น.
      ชัน ขน (181:2.1)
               พอง ขน, คือ อาการ ที่ ขน ชัน ชู ขึ้น, เหมือน อย่าง แมว ตก ใจ กลัว หมา เปน ต้น นั้น.
      ชัน ฅอ (181:2.2)
               คือ อาการ ที่ ชู ฅอ ตั้ง ขึ้น, เหมือน อย่าง ทารก อ่อน ๆ ประมาณ สาม เดือน, ตั้ง ฅอ ชัน ขึ้น ได้ นั้น.
      ชัน ตะเคียน (181:2.3)
               คือ เปน ยาง ไม้ ตะเคีย, ต้น ตะเคียน เปน ต้น ไม้ ใหญ่ ใน ป่า, ยาง มัน ออก แขง เปน ก้อน นั้น.
      ชัน น้ำ (181:2.4)
               เปน ชื่อ ชัน ที่ เขา ขยำ คั้น กับ น้ำ, สำรับ ยา เรือ ใน น้ำ เปน ต้น นั้น.
      ชัน แนว (181:2.5)
               เปน ชื่อ ชัน ที่ สำรับ ยา แนว เรือ, เหมือน อย่าง ชัน ที่ คน ยา แนว เรือ เปน ต้น นั้น.
      ชันนสูทธ์ (181:2.6)
               คือ การ ที่ ทด ลอง, สอบ สวน ดู ให้ รู้ แน่ นั้น, เหมือน อย่าง ชันสูทธ์ บาด แผล เปน ต้น.
      ชัน ผง (181:2.7)
               เปน ชื่อ ชัน ที่ เขา ตำ ให้ ละเอียด เปน ผง นั้น.
      ชันเพชร์ (181:2.8)
               คือ ชัน ที่ เขา ประสม กับ อิฐ ประสงค จะ ให้ แขง นั้น.
      ชัน พรรษา (181:2.9)
               คือ อายุ ตั้ง แต่ บังเกิด มา นั้น.
      ชัน พอน (181:2.10)
               เปน ชื่อ ชัน สำรับ ยา พอน นั้น, เหมือน อย่าง ชัน ละลาย กับ น้ำ มัน ยาง, สำรับ ทา เรือ เปน ต้น.
      ชัน ยา เรือ (181:2.11)
               เปน ชื่อ ชัน ที่ สำรับ ยา เรือ, เหมือน อย่าง เรือ กำปัน เปน ต้น นั้น.
      ชัน หู (181:2.12)
               คือ อาการ ที่ หู ตั้ง ขึ้น, เหมือน หู กะต่าย เปน ต้น นั้น.
ชั้น (181:3)
         คือ สิ่ง ของ ที่ ซ้อน กัน เปน ลำดับ, เหมือน อย่าง อิฐ ที่ ก่อ กำแพง เปน ต้น.
      ชั้น กลาง (181:3.1)
               คือ ชั้น ที่ อยู่ กลาง, เหมือน อย่าง ชั้น ตู้ เปน ต้น.
      ชั้น เชิง (181:3.2)
               เปน ชื่อ ของ เหมือน ตีน บันได กับ คั่น นั้น. อย่าง หนึ่ง เปน ชื่อ อาการ กิริยา คน.
      ชั้น ต้น (181:3.3)
               คือ ชั้น เบื้อง ต้น, เหมือน อย่าง ชั้น ที่ หนึ่ง นั้น.
      ชั้น ใน (181:3.4)
               คือ ของ ที่ อยู่ ภาย ใน, เหมือน ผ้า นุ่ง ไว้ แล้ว, เอา นุ่ง ซ้อน ทับ เข้า อีก ชั้น หนึ่ง, ชั้น ก่อน ว่า ชั้น ใน.

--- Page 182 ---
      ชั้น บน (182:3.5)
               คือ ชั้น เบื้อง บน, เหมือน อย่าง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ อยู่ ชั้น ถัด ๆ ขึ้น ไป นั้น.
      ชั้น* ปลาย (182:3.6)
               คือ ชั้น เบื้อง ปลาย นั้น, เหมือน อย่าง บาย ศรี ชั้น ยอด นั้น.
      ชั้น ฟ้า (182:3.7)
               คือ ท้อง ฟ้า ที่ เหน เปน ชั้น อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง นภากาษ นั้น.
      ชั้น พรหม (182:3.8)
               คือ ชั้น ที่ พรหม อยู่, ฤๅ ชั้น ประเสริฐ นั้น, เหมือน อย่าง ชั้น สุทธาวาศ เปน ต้น.
      ชั้น ยอด (182:3.9)
               คือ ชั้นปลาย ที่ สุด, เหมือน อย่าง บายศรี ชั้น ยอด นั้น.
      ชั้น ล่าง (182:3.10)
               คือ ชั้น เบื้อง ต่ำ, ชั้น ผ่าย ใต้, เหมือน ชั้ว ที่ ทำ เปน ชั้น ๆ สำรับ ใส่ หนังสือ, ชั้น ต่ำ นั้น ว่า ล่าง.
      ชั้น สูง (182:3.11)
               คือ ชั้น ที่ สูง, เหมือน อย่าง หอ กลอง ชั้น ยอด เปน ต้น นั้น.
      ชั้น สุด (182:3.12)
               คือ ชั้น ที่* สุด นั้น, เหมือน อย่าง ชั้น ยอด เปน ต้น.
      ชั้น สวรรค์ (182:3.13)
               คือ ชั้น บน สวรรค์, ฤๅ ชั้น ยอด ดี นั้น, ฤๅ ชั้น อัน เลิด ก็ ว่า.
      ชั้น อินท์ (182:3.14)
               คือ ชั้น ที่ พระอินท์ อยู่ นั้น, เหมือน ชั้น ดาวดึงษ์ เปน ต้น.
ชาน (182:1)
         เปน ชื่อ พื้น ที่ ต่อ เรือน ออก มา ไม่ มี หลังคา นั้น, เหมือน อย่าง นอก ชาน เรือน เปน ต้น.
      ชาญ การ (182:1.1)
               คือ รู้ ชำนาญ ใน การ ต่าง ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คน สาระพัด ช่าง เปน ต้น นั้น.
      ชาญไชย (182:1.2)
               คือ ความ ที่ คน รู้ ใน การ ชะนะ ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง นาย ทหาร ที่ มี ฝีมือ เข้ม แขง เปน ต้น นั้น.
      ชาน นรงค์ (182:1.3)
               คือ ความ ที่ ฉลาด รู้ เท่า ใน การ รบ. อนึ่ง ผู้ คุม พระ กลาโหม ชื่อ อย่าง นั้น บ้าง.
      ชาน บ้าน (182:1.4)
               คือ พื้น แผ่น ดิน ที่ นอก รั้ว บ้าน ออก ไป, ประมาณ สาม วา สี่ วา นั้น, ว่า ที่ ชาน บ้าน.
      ชาน ผู้เบศร์ (182:1.5)
               เปน ชื่อ นาย เวน มหาดเล็ก, ใน พระ บวรราช วัง คน หนึ่ง.
      ชาน หมาก (182:1.6)
               คือ เยื่อ หมาก ที่ เขา อม ไว้ มัน จืด แล้ว, เขา คาย ออก เสีย นั้น.
      ชาน เมือง (182:1.7)
               คือ ที่ ต่อ กำแพง เมือง ออก ไป ประมาณ เส้น เศศ, อนึ่ง เหมือน ชาน พระ นคร นั้น.
      ชาน เรือน (182:1.8)
               คือ ที่ ใกล้ เรือน ประมาณ วา เศศ นั้น, เปน นอก ชาน นั้น เอง.
      ชาน อ้อย (182:1.9)
               คือ กาก อ้อย ที่ เขา เคี้ยว ดูด น้ำ กิน เสีย หมด แล้ว เขา คาย ออก มา นั้น.
ชิน (182:2)
         คือ ความ คุ้น เคย, เหมือน อย่าง คน เคย ไป มา หา สู่ กัน เนือง ๆ. อนึ่ง เปน ชื่อ ตะกั่ว นั้น.
      ชิน กัน (182:2.1)
               คือ ความ คุ้น กัน, เหมือน พวก ครู ที่ ได้ ไป มา บอก หนังสือ กับ พวก หมอ นาน หลาย ปี นั้น.
      ชิน ชิด (182:2.2)
               คือ ความ คุ้น สนิท กัน นั้น, เหมือน อย่าง สิษ กับ อาจาริย์ เปน ต้น.
      ชิน ธาตุ (182:2.3)
               คือ ดีบุก ดำ, เขา เรียก ว่า ตะกั่ว นม, เพราะ นัก เลง แปรธาตุ หล่อ หลอม เล่น นั้น.
      ชินราช (182:2.4)
               เปน ชื่อ พระพุทธ รูป องค์ หนึ่ง, มี อยู่ ใน เมือง พระ พิศณุโลกย์ ฝ่าย เหนือ นั้น.
      ชินสีห์ (182:2.5)
               เปน ชื่อ พระพุทธ รูป องค์ หนึ่ง, เดิม อยู่ เมือง พิศณุ โลกย์, แต่ เดี๋ยว นี้ เชิญ ลง มา ไว้ วัด บวร นิเวศ.
ชิ้น (182:3)
         อัน, คือ อาการ สิ่ง ของ ที่ ตัด ออก เปน อัน ๆ, เหมือน อย่าง ชิ้น ปลา ชิ้น เนื้อ เปน ต้น.
      ชิ้น เนื้อ (182:3.1)
               คือ เนื้อ ที่ หั่น ออก เปน ชิ้น ๆ, เหมือน อย่าง แกง เนื้อ เปน ต้น.
      ชิ้น ปลา (182:3.2)
               คือ ปลา ที่ หั่น ออก เปน ชิ้น ๆ, เหมือน อย่าง แกง ปลา เปน ต้น.
      ชิ้น หมู (182:3.3)
               คือ อาการ แห่ง หมู ที่ เขา หั่น ออก เปน ชิ้น ๆ นั้น.
ชื่น (182:4)
         คือ ความ เย็น ใจ สะบาย ใจ, เหมือน อย่าง คน หอบ หิว ระหาย น้ำ, ได้ กิน น้ำ เย็น ฤๅ แตง โม เปน ต้น นั้น.
      ชื่น ขึ้น (182:4.1)
               คือ ความ ที่ ค่อย สบาย* ใจ ขึ้น, เหมือน อย่าง คน ลำบาก* มา ใน หน ทาง ได้ อยุด* ภัก อาบ น้ำ ชำระ กาย ค่อย ชื่น ขึ้น นั้น.
      ชื่น ใจ (182:4.2)
               คือ ความ เย็น ใจ สะบาย ใจ, เหมือน อย่าง คน ได้ สิ่ง ของ ที่ ต้อง ใจ เปน ต้น นั้น.
      ชื่น ชม (182:4.3)
               คือ ความ ดี ใจ เย็น ใจ, เหมือน อย่าง คน ได้ ของ ชอบ ใจ แล้ว มี ความ ยินดี, กล่าว* คำ สรรเสิญ ชม เปน ต้น.
      ชื่น ชม ยินดี (182:4.4)
               คือ การ ที่ คน มี ใจ ปรีเปรม แล ดี ใจ, เหมือน ตี เมือง รบ ศึก ได้ ไชย ชะนะ นั้น.
      ชื่น แช่ม (182:4.5)
               คือ ความ สะบาย ใจ ความ ชื่น ใจ, เหมือน อย่าง ตื่น นอน ขึ้น ใหม่ ๆ นั้น.

--- Page 183 ---
      ชื่น ตา (183:4.6)
               คือ ความ จำเริญ ไนยตา นั้น, เหมือน อย่าง ได้ เหน สิ่ง ของ ที่ ดี ๆ เปน ต้น นั้น.
      ชื่น บาน (183:4.7)
               คือ อาการ ที่ โสมนัศ มี ใจ เบิก บาน นั้น, เหมือน อย่าง อาการ ที่ ยิ้ม แย้ม เปน ต้น นั้น.
      ชื่น สด (183:4.8)
               คือ อาการ สิ่ง ของ ที่ ไม่ เหี่ยว แห้ง, เหมือน อย่าง ใบ ไม้ ที่ ต้อง น้ำ ค้าง พรม สด ชื่น อยู่ นั้น.
      ชื่น อารมณ์ (183:4.9)
               คือ ความ ยินดี ความ สะบาย ใจ นั้น, เหมือน อย่าง ดม ดอก ไม้ อัน มี กลิ่น หอม นั้น.
ชื้น (183:1)
         คือ ของ ที่ แห้ง แล้ว กลับ ชื้น ออก มา, เหมือน อย่าง น้ำ ตาล ที่ แห้ง แล้ว กลับ เปียก ออก มา นั้น.
      ชื้น เฉอะ (183:1.1)
               คือ สิ่ง ของ ที่ แห้ง แล้ว, กลับ เปียก เฉอะ ออก มา, เหมือน อย่าง เนื้อ เค็ม ฤๅ ปลา เส็ม* เปน ต้น.
ชุน (183:2)
         เปน ชื่อ เครื่อง มือ สำรับ ควัก ถุง เปน ต้น, ทำ ด้วย งา ช้าง บ้าง ทำ ด้วย ไม้ บ้าง.
      ชุน ถุง (183:2.1)
               คือ การ ที่ เอา ด้าย ฤๅ ไหม, ใส่ ที่ ชุน แล้ว, ทำ เปน ถุง สำรับ ใส่ เงิน เปน ต้น.
      ชุน ปัก (183:2.2)
               คือ การ ที่ เอา ด้าย ฤๅ ไหม, ใส่ ที่ ชุน แล้ว, ปัก กรอง ทำ เปน ดอก ดวง ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง ผ้า กรอง นั้น.
      ชุน ผ้า (183:2.3)
               คือ อาการ ที่ เอา ผ้า ขาด ฤๅ ผ้า ถลุะ แล้ว, ชุน ให้ เปน ผ้า ดี เปน ต้น นั้น.
      ชุลมุน (183:2.4)
               คือ การ วุ่นวาย, เหมือน อย่าง ถะเลาะ วิวาท ชก ตี กัน วุ่นวาย เปน ต้น นั้น.
      ชุลเก (183:2.5)
               ความ เหมือน เหมือน กัน กับ ชุลมุล นั้น, เหมือน อย่าง คำ เขา ว่า วิวาท ชก ตี กัน ชุลมุน ชุลเก เปน ต้น นั้น.
      ชุน เสื้อ (183:2.6)
               คือ การ ที่ เอา เสื้อ ที่ เนื้อ เสื้อ ขาด, ชุน ให้ เปน เสื้อ ดี นั้น.
      ชุน แห (183:2.7)
               คือ การ ที่ เอา เครื่อง ชุน ๆ แห ผืน ย่อม ๆ, สำรับ ซัด ลง น้ำ, ให้ ปลา ติด ชัก ขึ้น เรือ แล้ว จับ เอา นั้น.
      ชุน อวน (183:2.8)
               คือ การ เอา เครื่อง สำรับ ชุน ๆ อวน, ผืน ใหญ่ ยาว สอง เส้น สาม เส้น, สำรับ วง ล้อม ฝูง ปลา ใน ทะเล นั้น.
เช่น (183:3)
         แบบ, อย่าง, คือ แบบ ฤๅ อย่าง นั้น, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, ทำ เช่น นี้ เรา ไม่ ชอบ ใจ เปน ต้น.
      เช่น กู (183:3.1)
               อย่าง กู, คือ ความ เหมือน อย่าง กู นี้, แต่ เปน คำ คน ผู้ ใหญ่ ว่า กับ ผู้ น้อย เปน ต้น.
      เช่น ข้า (183:3.2)
               คือ ความ เหมือน อย่าง ข้า นี้, เขา มัก กล่าว ว่า, เช่น ตัว ข้า นี้ ไม่ อยาก คบ เจ้า เลย.
      เช่น เจ้า (183:3.3)
               คือ ความ ว่า เหมือน อย่าง เจ้า นั้น.
      เช่น หน้า มึง (183:3.4)
               เปน คำ ว่า เหมือน อย่าง หน้า มึง นั้น. เหมือน อย่าง เขา ด่า กัน ว่า, เช่น หน้า มึง กู หา กลัว ไม่.
      เช่น นี้ (183:3.5)
               เปน คำ ว่า เหมือน อย่าง นี้ นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, เช่น นี้ เรา ไม่ อยาก ได้ เลย.
      เช่น นั้น (183:3.6)
               เปน คำ ว่า อย่าง นั้น นั่น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า มี แต่ เช่น นั้น แล. เช่น* เอง, คือ คำ ว่า เหมือน อย่าง เอง เปน ต้น, เปน คำ คน ผู้ ใหญ่ ว่า กับ เด็ก นั้น.
โชน (183:4)
         คือ อาการ ที่ วิ่ง เร็ว*, ฤๅ น้ำ ไหล แรง เปน ต้น, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, วิ่ง โชน ไป โน่น แล้ว. อนึ่ง น้ำ ไหล โชน ๆ.
ชอน (183:5)
         ไช, เลื้อย, คือ อาการ ที่ สิ่ง ของ ที่ เลื้อย ไช ไป ใต้ ดิน ใต้ ทราย, เหมือน อย่าง ราก ไม้, แล ปลา ไหล เปน ต้น นั้น.
      ชอน ไป (183:5.1)
               คือ อาการ ที่* เลื้อย ชอน ไป ใต้ ดิน, เหมือน อย่าง ราก ไม้, แล ไส้เดือน เปน ต้น นั้น.
      ชอน มา (183:5.2)
               คือ อาการ ที่ เลื้อย ชอน มา ใต้ ดิน, เหมือน อย่าง ราก ไม้, แล แมง คาชอน เปน ต้น นั้น.
ช่อน (183:6)
         เปน ชื่อ ปลา อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง ปลา ช.โด, แล ปลา กระสง เปน ต้น นั้น.
ชอ้น (183:7)
         เปน ชื่อ การ ที่ กระทำ บ้าง, เปน ชื่อ แห่ง สิ่ง ของ ที่ สำรับ จับ ปลา บ้าง, เปน ชื่อ ของ ที่ สำรับ ตัก ของ กิน บ้าง.
      ชอ้น กุ้ง (183:7.1)
               เปน ชื่อ การ อย่าง หนึ่ง, คือ เอา กะโล่ ฤๅ ฉะนาง ตัก กุ้ง ชอ้น ขึ้น มา เปน ต้น นั้น.
      ชอ้น เงิน (183:7.2)
               เปน ชื่อ ชอ้น ที่ เขา ทำ ดว้ย เงิน นั้น.
      ชอ้น ตะกั่ว (183:7.3)
               เปน ชื่อ ชอ้น ที่ เขา ทำ ดว้ย ตะกั่ว นั้น.
      ชอ้น ทอง (183:7.4)
               เปน ชื่อ ชอ้น ที่ เฃา ทำ ดว้ย ทอง นั้น.
      ชอ้น ถว้ย (183:7.5)
               เปน ชื่อ ชอ้น ที่ เขา ทำ ดว้ย กระเบื้อง ถว้ย, เหมือน อย่าง ชอ้น ที่ มา แต่ เมือง จีน นั้น.
      ชอ้น ปลา (183:7.6)
               เปน ชื่อ การ กระทำ อย่าง หนึ่ง, คือ เอา กะโล่, ฤๅ สวิง เที่ยว ตัก ปลา ใน น้ำ เปน ต้น.
      ชอ้น มุก (183:7.7)
               เปน ชื่อ ชอ้น ที่ เขา ทำ ดว้ย มุก, เหมือน อย่าง ชอ้น ที่ พวก พระสงฆ ใช้ เปน ต้น นั้น.

--- Page 184 ---
      ชอ้น หอย (184:7.8)
               เปน ชื่อ ชอ้น ที่ เขา ทำ ดว้ย เปลือก หอย นั้น.
ชวน (184:1)
         คือ ความ ที่ พูด ชัก ภา กัน ว่า, เจ้า ไป เที่ยว ดว้ย กัน ฤๅ เปน ต้น.
      ชวน กัน (184:1.1)
               คือ ความ ที่ พูด กัน ว่า, ท่าน มา อยู่ ดว้ย กัน กับ เรา เถิด เปน ต้น.
      ชวน กิน (184:1.2)
               คือ ความ ที่ ชวน กัน ว่า, เจ้า มา กิน ของ ดว้ย กัน กับ เรา เปน ต้น.
      ชวน ชัก (184:1.3)
               เปน คำ ว่า กล่าว แก่ กัน ว่า, ท่าน ไป ดว้ย กัน ฤๅ เปน ต้น นั้น.
      ชวน เที่ยว (184:1.4)
               เปน คำ ชวนกัน ว่า, ท่าน ไป เที่ยว เล่น ดว้ย กัน ฤๅ.
      ชวน นั่ง (184:1.5)
               เปน คำ ชวนกัน ว่า, ท่าน มา นั่ง เล่น ดว้ยกัน กอ่นเถิด.
      ชวน ไป (184:1.6)
               เปน คำ ชวน กัน เปน ต้น ว่า, เจ้า ไป ดว้ย กัน เถิด, อย่า อยู่ ที่ นี่ เลย.
      ชวน เล่น (184:1.7)
               เปน คำ ชวน กัน เปน ต้น ว่า, ท่าน มา เล่น ดว้ย กัน ที่ นี่ เถิด.
      ชวน หัว (184:1.8)
               เปน ความ ชวน กัน หัวเราะ เปน ต้น, เหมือน อย่าง คน พูด ตลก หัวเราะ กัน นั้น.
เชี่ยน (184:2)
         เปน ชื่อ ภาชน์ สำรับ ใส่ หมาก พลู กิน, เหมือน อย่าง กระ- บุง เล็ก ๆ เปน ต้น.
      เชี่ยน หมาก (184:2.1)
               เปน ชื่อ เครื่อง สำรับ ใส่ หมาก พลู กิน, ทำ ดว้ย ถาด ทอง เหลือง บ้าง, กระเช้า เล็ก ๆ บ้าง.
เชือน (184:3)
         คือ อาการ ที่ ไม่ ตรง นั้น, เหมือน คน ใช้ ที่ นาย สั่ง ว่า, เอง ทำ อย่าง นี้, มัน ไป ทำ อย่าง อื่น เปน ต้น.
      เชือน เฉย (184:3.1)
               คือ ความ ที่ เชือน ไป แล้ว เฉย เสีย นั้น, เหมือน อย่าง คำ ว่า, คน ใจ บาป เอ๋ย อย่า ได้ เชือน เฉย เปน ต้น.
      เชือน* ช้า (184:3.2)
               คือ อาการ แห่ง คน ที่ เชือน ไป, แล้ว ช้า อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ แช เชือน ไป นาน เปน ต้น.
      เชือน แช (184:3.3)
               คือ อาการ แห่ง คน ที่ เชือน ไป แช มา นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ เดิน ไม่ ตรง ทาง เปน ต้น.
เชิญ (184:4)
         เปน คำ บอก ให้ มา นั้น, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, เชิญ มา ข้าง นี้ เปน ต้น.
      เชิญ กิน โตะ (184:4.1)
               คือ บอก ให้ เขา เข้า มา กิน ของ ที่ บน โตะ นั้น, เหมือน อย่าง พวก อังกฤษ เชิญ ก้น มา กิน โตะ นั้น.
      เชิญ เข้า มา (184:4.2)
               คือ บอก ให้ เขา เข้า มา นั้น, เหมือน อย่าง เขา ร้อง เรียก กัน ว่า, เชิญ ท่าน เข้า มา นั้น.
      เชิญ เครื่อง (184:4.3)
               คือ การ ที่ เขา ยก ขึ้น, ฤๅ รับ เอา เครื่อง, มี ภาน พระศรี เปน ต้น, นำ ไป, เปน ของ หลวง นั้น.
      เชิญ เจ้า (184:4.4)
               คือ เปน คำ ที่ คน บอก เจ้า, ฤๅ เชิญ เจ้า ผี, ให้ เข้า สิง อยู่ ใน คน ทรง เปน ต้น นั้น.
      เชิญ เจ้า เบ่า (184:4.5)
               คือ ความ ที่ ไป บอก ให้ เจ้า เบ่า เขา เข้า มา นั้น, เหมือน อย่าง คน แต่ง งาน เบ่า สาว เปน ต้น นั้น.
      เชิญ ท่าน (184:4.6)
               เปน คำ ที่ คน บอก ให้ คน ผู้ ใหญ่ มา นั้น, เหมือน เขา มัก พูด กัน ว่า, เชิญ ท่าน มา ข้าง นี้ เปน ต้น.
      เชิญ บท (184:4.7)
               คือ ความ ที่ คน บอก ให้ เชิน เอา บท พระ อัยการ ออก มา เปน ต้น นั้น.
      เชิญ พระ สพ (184:4.8)
               คือ การ ที่ ชัก พระ สพ แห่ ไป, เหมือน อย่าง ชัก สพ พระ มหา กระษัตริย์ เปน ต้น นั้น.
      เชิญ พระ แสง (184:4.9)
               คือ การ ที่ เจ้า พนักงาน ข้า ราชการ, นำ เอา พระ แสง กระบี่ เปน ต้น ไป นั้น, กล่าว โดย คำนับ ว่า เชิญ พระ แสง.
      เชิญ เสด็จ (184:4.10)
               คือ ความ ที่ บอก ให้ พระองค์ เจ้า เสด็จ ไป นั้น, เหมือน อย่าง เชิญ เสด็จ พระเจ้า ลูก เธอ เปน ต้น.
ชีพ (184:5)
         เปน อยู่, คือ ชีวิตร, ฤๅ ความ ที่ เปน อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, สิ้น ชีพ ล่วง ไป แล้ว.
      ชีพ ม้วย (184:5.1)
               คือ ความ สิ้น ชีวิตร์, เหมือน อย่าง ความ ตาย นั้น.
      ชีพ ลาน (184:5.2)
               คือ สิ้น ชีวิตร ไป บร* โลกย์, เหมือน อย่าง ความ ดับ จิตร เปน ต้น
ชุบ (184:6)
         ย้อม, คือ การ จุ่ม ฤๅ ทำ ให้ เปียก เปน ต้น นั้น, เหมือน อย่าง คน เอา ผ้า จุ่ม น้ำ นั้น
      ชุบ คราม (184:6.1)
               ย้อม คราม คือ การ ที่ คน ย้อม คราม นั้น, เหมือน อย่าง คน เอา ผ้า ไป จุ่ม ลง ใน คราม เปน ต้น
      ชุบ น้ำ (184:6.2)
               จุ่ม น้ำ, คือ การ ที่ จุ่ม น้ำ นั้น, เหมือน อย่าง คน เอา สิ่ง ของ ต่าง ๆ, จุ่ม ลง ใน น้ำ เปน ต้น นั้น.
      ชุบ มีด (184:6.3)
               คือ การ ที่ เอา มีด เผา ไฟ แล้ว, จุ่ม ลง ใน น้ำ นั้น, เหมือน* อย่าง คน ชุบ พร้า ให้ กล้า เปน ต้น.
      ชุบ ตัว (184:6.4)
               คือ การ ที่ เอา ตัว จุ่ม ลง ใน น้ำ นั้น, เหมือน* อย่าง ใน เรื่อง นียาย ว่า, ตาย แล้ว ชุบ ให้ เปน ฃึ้น นั้น.
      ชุบ หนังสือ (184:6.5)
               คือ การ ที่ คน เขียน หนังสือ ด้วย น้ำ หมึก, ฤๅ หอรดาร เปน ต้น นั้น.

--- Page 185 ---
      ชุบ ผ้า (185:6.6)
               คือ การ ที่ เอา ผ้า จุ่ม ลง ใน น้ำ นั้น, เหมือน อย่าง คน เอา ผ้า ชุบ น้ำ อบ เปน ต้น.
      ชุบ มือ (185:6.7)
               คือ การ ที่ เอา มือ จุ่ม ลง ใน น้ำ ใน ภาชนะ, เมื่อ จะ เปิบ เข้า กิน, คือ ล้าง มือ ให้ หมด มลทิล นั้น.
      ชุบ หมึก (185:6.8)
               คือ การ ที่ เอา ปากไก่ จุ่ม ลง ใน น้ำ หมึก, เขียน หนังสือ นั้น.
      ชุบ รง (185:6.9)
               คือ การ ที่ เอา ปากไก่ จุ่ม ลง ใน ถ้วย รง, เขียน หนัง สือ นั้น.
      ชุบ เลี้ยง (185:6.10)
               คือ การ ตั้ง ขุนนาง ให้ เปน ใหญ่, ใน ตำแหน่ง ราช การ, แล้ว เขา ฉลอง ตรา รด น้ำ นั้น.
      ชุบ เหล็ก (185:6.11)
               คือ การ ที่ เอา เหล็ก มีด ฤๅ พร้า เปน ต้น, เผา ให้ แดง แล้ว จุ่ม ลง ใน ราง น้ำ, เพื่อ จะ ให้ คม แขง กล้า ขึ้น.
      ชุบ ษร (185:6.12)
               คือ การ ที่ เอา ษร จุ่ม ลง ใน น้ำ นั้น, เหมือน อย่าง เรื่อง นิทาน ว่า, ฤๅษี ชุบ ษร ๆ นั้น มี ฤทธิ์ มาก ขึ้น.
      ชุบ ให้ (185:6.13)
                เปน ขึ้น, คือ การ ที่ ทำ คน ตาย แล้ว ให้ เปน ขึ้น, ว่า แต่ ก่อน มี ฤๅษี ซุบ คน ตาย ให้ เปน ขึ้น นั้น.
      ชุบ อักษร (185:6.14)
               คือ การ ที่ เขืยน หนังสื ด้วย หมึก, ฤๅ หระดาน เปน ต้น.
ชอบ (185:1)
         คือ ความ ที่ ไม่ ผิด นั้น, เหมือน อย่าง คน กระทำ ดี, ทำ ชอบ เปน ต้น, ฤๅ ความ ภอ ใจ นั้น.
      ชอบ กล (185:1.1)
               คือ เปน สิ่ง ของ ปลาด, เหมือน อย่าง นาระกา เปน ต้น, ฤๅ คน ทำ การ ปลาด ดี นั้น เอง.
      ชอบ กัน (185:1.2)
               คือ ความ ที่ คน รักษ กัน ชอบ กัน นั้น, เหมือน อย่าง เพื่อน กัน เปน ต้น.
      ชอบ กิน (185:1.3)
               คือ ความ ที่ ภอใจ กิน นั้น, เหมือน อย่าง อยาก กิน ของ ต่าง ๆ เปน ต้น นั้น.
      ชอบ ใจ (185:1.4)
               พึง ใจ, คือ ความ ภอใจ, ฤๅ ต้อง ใจ, ฤๅ ถูก ใจ นั้น, เหมือน อย่าง คน หัวเราะ เปน ต้น.
      ชอบ ตา (185:1.5)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ต้อง ตา นั้น, เหมือน อย่าง สิ่ง ของ ที่ ชอบ ใจ ดู เปน ต้น.
      ชอบ ที่ (185:1.6)
               คือ ความ ถูก ที่ นั้น, เหมือน* อย่าง เขา พูด กัน ว่า, ต้น ไม้ อย่าง นี้ มัน ชอบ ที่ อย่าง นั้น.
      ชอบ ธรรม (185:1.7)
               คือ การ ประพฤษดิ์ ดี, ฤๅ การ ดี เปน ต้น นั้น, เหมือน อย่าง คน มิ ได้ ละ ขนบ ธรรมเนียม ที่ ดี เปน ต้น.
      ชอบ หน้า (185:1.8)
               คือ ความ ที่ เปน คน เหน หน้า ชอบ กัน นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ ชอบ กัน เปน ต้น นั้น.
      ชอบ แล้ว (185:1.9)
               คือ เปน คำ ตอบ ว่า ชอบ ใจ แล้ว นั้น, ฤๅ ถูก แล้ว เปน ต้น, เหมือน อย่าง คน ตอบ ว่า, เรา ภอใจ แล้ว.
ชม (185:2)
         เปน ความ สรรเสิญ, ฤๅ ความ ยก ยอ เปน ต้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, ของ สิ่ง นี้ ดี หนัก เปน ต้น.
      ชม เขา เขียว (185:2.1)
               คือ การ ที่ คน ไป เที่ยว ชม เชย ภูเขา ที่ มี ศี อัน เขียว นั้น, เหมือน อย่าง การ เที่ยว เขา เข้า ถ้ำ เปน ต้น.
      ชม โฉม (185:2.2)
               เปน ความ ชม เชย รูป โฉม นั้น, เหมือน อย่าง คน กล่าว สรรเสิญ รูป เปน ต้น.
      ชม ชาน (185:2.3)
               คือ การ ชม เชย ซึ่ง สิ่ง ของ อัน เปน ธรรม บังเกิด ใน ใจ อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง พระโยคาวจร นั้น.
      ชม ชื่น (185:2.4)
               คือ ใจ ยินดี ปิติ เอย็น รื่น นั้น, เหมือน อย่าง ที่ บังเกิด ความ อิ่ม กาย อิ่ม ใจ เปน ต้น.
      ชม ชิด (185:2.5)
               คือ ใจ ชื่น ฉ่ำ สนิท ชิด กัน, เปรียบ* เหมือน สามี ภรรยา นั้น.
      ชม เชย (185:2.6)
               คือ ใจ โสมะนัศ ชื่น รื่น ปรดา, เหมือน คน มี บุตร ภอ สอน เดิน, ฤๅ สอน พูด เชย ชม นั้น.
      ชม บุญ (185:2.7)
               คือ การ ที่ ชม เชย ซึ่ง สิ่ง ของ อัน เปน เครื่อง สำ- รับ ชำระ ใจ ให้ ผอ่ง นั้น.
      ชม โพทธิ สมภาร (185:2.8)
               คือ ชม ปัญา ที่ รู้ ทั่ว, ฤๅ ชม วาศนา บารมี ของ ท่าน ที่ เปน ใหญ่, เหมือน พระ มหา กระษัตริย์ เปน ต้น นั้น.
      ชมภู (185:2.9)
               เปน ชื่อ ศี อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง ผ้า ยอ้ม ดอกคำ, ที่ มา แต่ เมือง จีน เปน ต้น นั้น.
      ชมภู่ (185:2.10)
               เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, มี ผล ศี ต่าง ๆ, ศี เขียวบ้าง, ขาว บ้าง, แดง บ้าง, กิน ดี เหมือน อย่าง ชมภู่ เขียว เปน ต้น.
      ชม วาศนา (185:2.11)
               เปน คำ กล่าว สรรเสิญ ชม ยศ ศักดิ์ นั้น, เขา พูด กัน ว่า ท่าน คน นี้ มี วาศนา บารมี มาก นัก.
ชัม (185:3)
         เปน ชื่อ การ ตอน กิ่งไม้ ทั้ง ปวง ออก ราก แล้ว ตัด เอา มา ปลูก ไว้ ที่ เปียก ๆ, ภอ ให้ ลัด แตก ใบ ออ่น นั้น.
      ชั่ม (185:3.1)
               คือ ความ ชื่น, ฤๅ เย็น นั้น, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, เอา ของ หวาน มา กิน ให้ ชั่ม ใจ เปน.* ต้น.
ชั้ม (185:4)
         คือ การ ฟก บวม เปน ศี เขียว, เหมือน อย่าง คน ตอ้ง ทุบ ถอง ตี โบย เปน ต้น นั้น.

--- Page 186 ---
ชาม (186:1)
         เปน ชื่อ ภาชนะ สำรับ ใส่ เข้า แกง, ทำ ดว้ย ดิน เปน ลาย ต่าง ๆ, มา แต่ เมือง จีน นั้น.
      ชาม กะลา (186:1.1)
               เปน ชื่อ ชาม เลว, ทำ ดว้ย ดิน, มา แต่ เมือง จีน, เหมือน อย่าง รูป กะลา เปน ต้น
      ชาม เข้า (186:1.2)
               เปน ชื่อ ชาม สำรับ ใส่ เข้า สุก, เหมือน อย่าง ชาม เทพนม ฤๅ ชาม นรสิงห์ เปน ต้น นั้น.
      ชามโคม (186:1.3)
               เปน ชื่อ ชาม โต ๆ, เหมือน อย่าง ชาม อี โน นั้น.
      ชาม นรสิงห์ (186:1.4)
               เปน ชื่อ ชาม สำรับ กิน เข้า นั้น, แต่ เขา เขียน เปน ลาย รูป นรสิงห์.
      ชาม ฝา (186:1.5)
               เปน ชื่อ ชาม ที่ มี ฝา สำรับ ปิด, เขา เอา มา แต่ เมือง จีน นั้น, ที่ ฝรั่ง ก็ มี บ้าง.
      ชาม เทพนม (186:1.6)
               เปน ชื่อ ชาม ที่ สำรับ ใส่ เข้า กิน นั้น, แต่ เขา เขียน เปน ลาย เทพนม อยู่ ตาม ข้าง ๆ นั้น.
      ชาม เบ็ญจรงค์ (186:1.7)
               เปน ชื่อ ชาม กิน เข้า นั้น, เหมือน อย่าง ชาม เทพนม นั้น.
ชิม (186:2)
         คือ การ ที่ กิน ลอง ดู หนิด หน่อย, ภอ จะ ให้ รู้ จัก รศ เปรี้ยว เค๊ม เปน ต้น.
      ชิม แกง (186:2.1)
               คือ การ ที่ คน กิน แกง ลอง ดู หนิด หน่อย, ดว้ย ประสงค์ จะ ให้ รู้ ว่า, เปรี้ยว ฤๅ เค๊ม เปน ต้น นั้น.
      ชิม ขนม (186:2.2)
               คือ การ ที่ คน กิน ขนม ลอง ดู หนิด หน่อย, เพราะ อย่าก จะ รู้ ว่า, หวาน ฤๅ จืด เปน ต้น.
      ชิม ลอง ดู (186:2.3)
               คือ การ ที่ กิน ลอง ดู หนิด หน่อย, เหมือน อย่าง คน ชิม แกง เปน ต้น.
ชุม (186:3)
         ชุก, มี มาก, คือ การ ที่ สิ่ง ของ มี มาก, เหมือน อย่าง น่า ผลไม้ เปน ต้น นั้น.
      ชุมเห็ต (186:3.1)
               เปน ชื่อ ต้นไม้ ยอ่ม อย่าง หนึ่ง, ใบ รี ๆ ศีดอกเหลือง มัน มี ฝัก, เขา ทำ อยา ได้.
      ชุม ชุก (186:3.2)
               คือ การ ที่ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ตก มา พร้อม กัน มาก, เหมือน อย่าง น่า กล้วย* ไข่, ฤๅ ฝน ตก หนัก เปน ต้น.
      ชุมนุม (186:3.3)
               หมู่, พวก, ประชุม, คือ การ ที่ ประชุม พร้อมกัน มาก ๆ, เหมือน อย่าง พวก กอง ทับ เปน ต้น.
      ชุม หนัก (186:3.4)
               คือ สิ่ง ที่ มี มาก หนัก, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, ปลา ชุม หนัก, ฤๅ ยุง ชุม หนัก.
      ชุม พล (186:3.5)
               คือ สั่ง ให้ พล โยธา มา ประชุม พร้อม กัน, ใน ที่ เดียว แห่ง หนึ่ง นั้น.
      ชุมพอน (186:3.6)
               เปน ชื่อ เมือง ปากใต้, อยู่ ฝั่ง ตวันตก เมือง หนึ่ง.
      ชุมภา (186:3.7)
               เปน ชื่อ สัตว อย่าง หนึ่ง ขน ยาว, รูป เหมือน แกะ, มา แต่ เมือง เทศ.
      ชุมภู่ (186:3.8)
               เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, ผล กิน ดี, รศ หวาน เย็น ๆ เหมือน อย่าง ชุมภู กลาง*ป่า เปน ต้น.
      ชุมแสง (186:3.9)
               เปน ชื่อ* ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, ผล สุก กลิ่น หอม ดี หนัก, มี อยู่ ตาม ลำ น้ำ ข้าง เหนือ.
      สุมเส็จ* (186:3.10)
               เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, ผล เหมือน ชุมภู เทศ กิน ไม่ ได้, มี อยู่ ตาม สวน.
      ชุมสาย (186:3.11)
               เปน ชื่อ แห่ง เครื่อง สูง อย่าง หนึ่ง, เปน ของ พระ มหา กระษัตริย์.
      ชุมรุม (186:3.12)
               เปน ชื่อ ทับ ที่ ชุมนุม นั้น, เหมือน อย่าง พวก กอง ทับ ตั้ง ประชุม กัน เปน ต้น.
      ชุ่ม (186:3.13)
               คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เปียก ชุ่ม ไป ดว้ย* น้ำ, เหมือน ผ้า ตาก น้ำ ค้าง เปน ต้น นั้น.
      ชุ่ม ชื่น (186:3.14)
               คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ชุ่ม สด, เหมือน อย่าง ใบ ไม้ ตอ้ง น้ำค้าง พรม นั้น.
      ชุ่ม น้ำ (186:3.15)
               คือ อาการ ฃอง มี ผ้า เปน ต้น มัน ถูก น้ำ ไม่ เปียก นัก, เปียก ภอ ทั่ว ผืน นั้น.
      ชุ่ม เปียก (186:3.16)
               คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เปียก ชุ่ม ไป ดว้ย น้ำ, เหมือน อย่าง ของ ตอ้ง น้ำ เปน ต้น.
      ชุ่ม สด (186:3.17)
               คือ อาการ ที่ สด ชุ่ม อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง ไม้ ทั้ง ปวง ที่ ยัง สด อยู่, ฤๅ ไม้ ที่ แช่ อยู่* ใน น้ำ เปน ต้น.
แช่ม (186:4)
         ชื่น, เปน ชื่อ ความ ชื่น บาน สะบาย ใจ, เหมือน อย่าง คน ตื่น นอน ใหม่ ๆ เปน ต้น นั้น.
      แช่ม ช้า (186:4.1)
               คือ อาการ ความ สะบาย ใจ ชื่น บาน, เหมือน อย่าง หญิง รูป งาม ใจ ดี, กิริยา ดี เปน ต้น นั้น.
      แช่ม ชื่น (186:4.2)
               คือ เปน ความ ชื่น บาน, เหมือน อย่าง ใบ ไม้ ออ่น ที่ ตอ้ง น้ำค้าง พรม เปน ต้น นั้น.
      แช่ม ชอ้ย (186:4.3)
               คือ อาการ คน กิริยา ดี นั้น, เหมือน คน ไม่ กระด้าง, ออ่น ลมุน เปน ต้น นั้น.
เชื่อม (186:5)
         คือ อาการ ซึม ไป, เหมือน อย่าง คน สูบ ฝิ่น เมา เปน ต้น, อนึ่ง คือ ทำ น้ำ ตาน ทราย ให้ ละลาย นั้น.
      เชื่อม ซึม (186:5.1)
               คือ อาการ คน นอน ซึม เชื่อม ใป, เหมือน คน เปน ไข้ หนัก นั้น.

--- Page 187 ---
      เชื่อม ตะกั่ว (187:5.2)
               คือ การ ทำ ตะกั่ว ให้ ละลาย ออก ติด กัน, เหมือน บาดตรี เชียน ขัน เปน ต้น นั้น.
      เชื่อม ตะปู (187:5.3)
               คือ การ ที่ ตี หัว ตะปู ภับ ลง เสีย, เหมือน อย่าง คน จำ ตรวน พวก นัก โทษ เปน ต้น.
      เชื่อม น้ำตาน (187:5.4)
               คือ การ ที่ เอา น้ำตาน ทราย ละลาย น้ำ ตั้ง ไฟ ให้ รอ้น เปน น้ำ ไส, เหมือน อย่าง น้ำ วุ้น เปน ต้น.
      เชื่อม น้ำ วุ้น (187:5.5)
               ความ เหมือน กัน กับ เชื่อม น้ำตาน ทราย นั้น.
      เชื่อม มึน (187:5.6)
               คือ อาการ แห่ง คน นอน เชือม มึน, เหมือน คน เปน ไข้* หนัก, นอน ซึม อยู่ นั้น.
      เชื่อม เหล็ก (187:5.7)
               คือ การ ที่* เอา เหล็ก สอง อัน เข้า เผา ไฟ ต่อ ให้ มัน ติด กัน นั้น.
เชย (187:1)
         ชม, คือ ความ ชม นั้น, เหมือน อย่าง คน ได้ สิ่ง ของ ที่ ชอบ ใจ, มี เมีย ที่ รักษ เปน ต้น นั้น.
      เชย คาง (187:1.1)
               คือ การ ที่ เอา มือ ชอ้น ลูก คาง เข้า ชม เชย นั้น.
      เชย ชิด (187:1.2)
               คือ การ ที่ สนิด ชิด ชม, เหมือน อย่าง ผัว เมีย พึง อยู่ ดว้ย กัน ใหม่ ๆ เปน ต้น นั้น.
      เชย ชม (187:1.3)
               คือ การ ที่ ชม เชย นั้น, เหมือน อย่าง คน ได้ ของ ที่ ชอบ ใจ แล้ว, กล่าว สรรเสิญ ต่าง ๆ นั้น.
      เชย น้ำมันงา (187:1.4)
               คือ การ ที่ คน ตี สะกัน บีบ เอา น้ำมัน, ใน เม็ด งา นั้น, เหมือน อย่าง คน ทำ น้ำมัน ดิบ เปน ต้น.
ชาย (187:2)
         บุรุษ, คือ อาการ ที่ สุด แห่ง เสื้อ, แลผ้า นุ่ง ห่ม, ฤๅ ที่ สุด หาง ตา, ฤๅ ที่ สุด หลังคา. อนึ่ง คน ที่ เปน เทพ* บุรุษ เปน ต้น.
      ชาย กระเบน (187:2.1)
               คือ อาการ ที่ สุด แห่ง ชาย ผ้า นุ่ง, ที่ เหน็บ ไว้ เบื้อง หลัง, เหมือน คน นุ่ง ผ้า โจง กระเบน เปน ต้น นั้น.
      ชาย เกาะ (187:2.2)
               คือ ประเทศ ที่ สุด แห่ง เกาะ นั้น, เหมือน อย่าง ชาย หาด, ฤๅ ชาย เลน, ที่ งอก ออก ไป จาก เกาะ เปน ต้น.
      ชาย เขา (187:2.3)
               คือ ประเทศ ที่ สุด ตาม เชิง เขา เหมือน อย่าง ตีน เขา ทั้ง ปวง นั้น.
      ชายคา (187:2.4)
               คือ ประเทศ ที่ สุด แห่ง หลังคา เบื้อง ต่ำ, เหมือน อย่าง ที่ ตาม ชายคา ทั้ง ปวง นั้น.
      ชาย จาก (187:2.5)
               คือ เปน ที่ สุด แห่ง จาก ที่ มุง หลังคา นั้น, เหมือน อย่าง ชายคา เปน ต้น.
      ชายชู้ (187:2.6)
               เปน ชื่อ* คน ผู้ชาย ที่ เปน ชู้ รักษ ใค่ร กัน กับ ผู้ หญิง นั้น, เหมือน อย่าง ผู้ชาย กับ หญิง ลอบ ลัก รักษ ใค่ร กัน นั้น.
      ชาย ตา ดู (187:2.7)
               คือ อาการ ที่ ชำเลือง แล ดู ตาม ที่ สุด หางตา นั้น, เหมือน อย่าง คน แล ฉะมอ้ย ดู เปน ต้น.
      ชาย ทะเล (187:2.8)
               คือ ที่ ริม ฝั่ง ทะเล นั้น, เหมือน อย่าง ชาย เลน ที่ ทะเล เปน ต้น.
      ชาย ทุ่ง (187:2.9)
               นา, คือ ประเทศ ที่ สุด ทุ่ง, เหมือน อย่าง ตาม ริม ทุ่ง, ที่ ต่อ กัน กับ หัว สวน, แล ป่า เปน ต้น นั้น.
      ชาย ป่า (187:2.10)
               คือ ประเทศ ที่ สุด แห่ง ป่า, เหมือน อย่าง ตาม ริม ป่า ที่ ต่อ กัน กับ ทุ่ง นั้น.
      ชาย ผ้า (187:2.11)
               คือ ที่ สุด แห่ง ผ้า, เหมือน อย่าง น่า ผ้า ทั้ง ปวง, มี ผ้า ลาย เปน ต้น.
      ชายภก (187:2.12)
               คือ ที่ สุด แห่ง ผ้า, เหมือน อย่าง ผ้า ที่ คน ชัก ขึ้น มา นุ่ง เปน ชายภก อยู่ นั้น.
      ชาย ทง (187:2.13)
               คือ ที่ สุด แห่ง ทง, เหมือน อย่าง ผ้า ที่ เสี้ยว เปน ชาย ทง ออก ไป นั้น.
      ชาย ไว ชายแครง (187:2.14)
               เปน ชื่อ ลวด ลาย ที่ มี อยู่ ตาม น่า ผ้า ยก, น่า ผ้า ลาย นั้น.
      ชาว (187:2.15)
               พวก, คือ เปน ชื่อ พวก นี้, พวก นั้น เปน ต้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, ชาว เหนือ ชาว ใต้ นั้น.
      ชาว นา (187:2.16)
               เปน ชื่อ พวก คน ที่ สำรับ ทำ นา นั้น, เหมือน อย่าง พวก บ้าน นอก เปน ต้น.
      ชาว ใน (187:2.17)
               เปน ชื่อ พวก ผู้ หญิง ที่ อยู่ ฝ่าย ใน, เหมือน อย่าง พวก ผู้ หญิง ใน พระ มหา บรม ราชวัง นั้น.
      ชาว นอก (187:2.18)
               เปน ชื่อ พวก ที่ อยู่ ภาย นอก, เหมือน อย่าง พวก ชาว พัทธลุง, สงขลา เปน ต้น.
      ชาว เหนือ (187:2.19)
               เปน ชื่อ พวก คน ที่ อยู่ ฝ่าย เหนือ, เหมือน อย่าง ชาว เมือง พิศนุโลกย์, ชาว ศุขโขไทย เปน ต้น.
      ชาว บ้าน (187:2.20)
               เปน ชื่อ พวก บ้าน, เหมือน อย่าง พวก ชาว บ้าน ทั้ง ปวง, เพราะ หา ได้ เปน ชาว ดง, ชาว ดอน ไม่.
      ชาว ป่า (187:2.21)
               เปน ชื่อ พวก คน ที่ อยู่ ป่า, เพราะ หา ได้ ตั้ง อยู่ ใน บ้าน ใน เมือง ไม่.
      ชาว เมือง (187:2.22)
               เปน ชื่อ พวก คน ที่ อยู่ ใน เมือง นั้น, ดว้ย หา ได้ เปน ชาว ป่า ไม่.
      ชาว ไร่ (187:2.23)
               เปน ชื่อ พวก คน ที่ ทำ ไร่ ปลูก เผือก, ปลูก มัน เปน ต้น นั้น.
      ชาว สวน (187:2.24)
               เปน ชื่อ พวก คน ที่ ทำ สวน ปลูก มะพร้าว เปน ต้น นั้น.

--- Page 188 ---
ช่าว (188:1)
         เปน ชื่อ ธรรมเนียม เอา สิ่ง* ของ เขา ไป ใช้ สอย แล้ว, กลับ เอา มา ส่ง เจ้า ของ, แล้ว ตอ้ง ให้ ค่า ช่าว เขา ตาม สัญา นั้น.
ช้าว (188:2)
         เปน ชื่อ เพลา ที่ อาทิตย์ พึง ขึ้น มา, เหมือน อย่าง เพลา โมง หนึ่ง, สอง โมง ช้าว เปน ต้น นั้น.
ชิวหา (188:3)
         ฯ ว่า ลิ้น, เหมือน อย่าง ลิ้น คน, แล ลิ้น สัตว ทั้ง ปวง นั้น
      ชิวหาสดม (188:3.1)
               เปน ชื่อ โรคย์ อย่าง หนึ่ง, เมื่อ ลม นั้น บังเกิด ขึ้น แก่ ผู้ ใด แล้ว, ให้ ลิ้น กระด้าง คาง แขง พูด ไม่ ออก ตาย.
      ชิวหินทรีย์ (188:3.2)
               คือ อาการ สิ่ง ที่ เปน ใหญ่ ใน ลิ้น, เหมือน อย่าง อารมณ์ ที่ รู้ จัก รศ ทั้ง ปวง ดว้ย ลิ้น เปน ต้น นั้น.
ชุ่ย* (188:4)
         ทิ่ม, คือ ทำ อาการ คล้าย ๆ กับ ชี้ ทิ่ม ตำ นั้น. อนึ่ง พูด เสือก เสีย แต่ ภอ พ้น ตัว เหมือน พูด แล้ว ทิ้ง เสีย.
      ชุ่ย แช (188:4.1)
               คือ อาการ ที่ แช เชือน, เหมือน อย่าง คน เมา เดิน ไม่ ตรง ทาง เปน ต้น นั้น.
      ชุ่ย มือ (188:4.2)
               คือ อาการ ที่ เอา มือ ทำ เปน วง เข้า แล้ว, เอา นิ้ว ข้าง หนึ่ง ทิ่ม แยง ชัก เข้า ชัก ออก, ทำ อาการ หยาบ ๆ นั้น.
ชอ้ย (188:5)
         คือ อาการ แห่ง สิ่ง* ของ ที่ ออ่น ชอ้ย, เหมือน อย่าง คน แขน แอ่น หยัด อยู่ เปน ต้น นั้น.
      ชอ้ย ชด (188:5.1)
               คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ที่ ขอ่น ชด, เหมือน อย่าง คน แขน ออ่น นั่ง ท้าว แขน แอ่น หยัด อยู่ เปน ต้น นั้น.
ชวย (188:6)
         คือ อาการ ที่ ลม พัด ฉิว ๆ, เหมือน อย่าง ลม พัด ออ่น นั้น, เขา มัก พูด ว่า ลม ชวย ออ่น ๆ เปน ต้น นั้น.
ชว่ย (188:7)
         สงเคราะห์, คือ การ ที่ รับ ธุระ แห่ง ผู้ อื่น, เหมือน อย่าง คน ตอ้ง ไภย ได้ ทุกข์, เอา เปน ธุระ สงเคราะห์, ให้ พ้น ทุกข์ เปน ต้น นั้น.
      ชว่ย กัน (188:7.1)
               สงเคราะห์ กัน, คือ การ ที่ รับ ธุระ กัน, เหมือน อย่าง คน จะ ทำ การ ตอ้ง วาน พวก พอ้ง มา ชว่ย กัน นั้น.
      ชว่ย คน (188:7.2)
               คือ การ ที่ เอา เงิน ไป ไถ่ ข้า มา ไว้ ใช้ เปน ทาษ นั้น, อนึ่ง คือ การ ชว่ย สงเคราะห์ คน ทั้ง ปวง เปน ต้น.
      ชว่ย ดู ชว่ย แล (188:7.3)
               คือ ความ ที่ คน เอา ใจ ใส่ ชว่ย ดู การ งาน, ฤๅ เข้า ของ ทั้ง ปวง นั้น.
เชี่ยว (188:8)
         คือ อาการ ที่ น้ำ ไหล แรง หนัก นั้น, เหมือน อย่าง น้ำ ไหล ลง เมื่อ ระดู เดือน สิบ สอง เปน ต้น.
      เชี่ยว ชาน (188:8.1)
               คือ ความ ที่ คน แขง แรง ใน สรรพ วิชา ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง ท่าน ผู้ วิเสศ เปน ต้น.
เชื่อ (188:9)
         ศรรทธา, คือ ความ เหน จริง ดว้ย นั้น, เหมือน อย่าง เขา สั่ง สอน สิ่ง ใด, ก็ นับ ถือ เชื่อ ตาม สิ่ง นั้น.
      เชื่อ กรรม (188:9.1)
               คือ ความ เหน จริง ใน ใจ, เรา ทำ ความ ดี อย่างนี้, คง จะ มี ความ ศุข, เรา ทำ ชั่ว คง ได้ ทุกข์ เปน แท้.
      เชื่อ ใจ (188:9.2)
               คือ ถือ ใน ใจ ว่า คน นั้น เปน คน ใจ สัจซื่อ, เหน จะ ไม่ ทำ ประทุษร้าย นั้น.
      เชื่อ บุญ (188:9.3)
               คือ ความ เชื่อ การ ดี ใน ใจ ว่า, เรา ชำระ ใจ ให้ บริสุทธิ, ไม่ มี ของ ชั่ว ติด ยอ้ม อยู่ ใน ใจ, คง มี ความ ศุข แท้
      เชื่อ* บาป (188:9.4)
               คือ เชื่อ ลง ใน ใจ ดว้ย ปัญา ว่า, เรา ทำ การ ชั่ว, คือ ประพฤษดิ์ ไม่ เปน ธรรม ใจ เส้า หมอง, คง ได้ ทุกข์ จริง.
      เชื่อ ดี (188:9.5)
               คือ ถือ ว่า ของ ๆ เรา ดี, เหมือน เงิน ที่ ดี แท้, ไม่ เปน เงิน เทียม, ฤๅ เงิน ปลอม เปน ต้น นั้น.
      เชื่อ* ผล (188:9.6)
               คือ ความ เชื่อ ลง ใน ใจ เหน จริง ดว้ย ปัญา ว่า, เรา ทำ ความ ดี, ความ ชั่ว ดว้ย กาย วาจา ใจ, คง ได้ ผล ศุข ทุกข์ แท้.
      เชื่อ ฟัง (188:9.7)
               คือ ความ เชื่อ ตาม คำ สั่ง สอน, เหมือน อย่าง สิษ ฟัง คำ ครู, ฤๅ ลูก ฟัง คำ พ่อ แม่ สั่ง สอน เปน ต้น นั้น.
      เชื่อ ถือ (188:9.8)
               คือ ความ ถือ ว่า, คน นี้ เปน คน ดี, ไม่ คด โกง เปน ต้น, เหมือน อย่าง คน เปน ที่ เคย นับ ถือ นั้น.
      เชื้อ วงษ (188:9.9)
               คือ การ ที่ สิ่ง ของ ที่ ติด เนื่อง กัน สืบ ต่อ มา, เหมือน อย่าง เชื้อ น้ำ ตาน ซ่ม, ฤๅ เชื้อ สาย ญาติ วงษ สืบ ๆ กัน มา นั้น.
      เชื้อ กระษัตริย์ (188:9.10)
               คือ คน ที่ เปน เผ่า พงษ วงษ กระสัตริย์, เหมือน อย่าง เจ้า ที่ ตั้ง กรม แล้ว, แล ยัง ไม่ ได้ ตั้ง กรม นั้น.
      เชื้อ กระกูล (188:9.11)
               คือ คน เปน เผ่า พงษ กระกูล ดี, เหมือน ลูก หลาน เสนาบดี เปน ต้น.
      เชื้อ ขนม (188:9.12)
               คือ เปน แป้ง ที่ ประสม กับ เชื้อ, สำรับ ใส่ ใน ขนม ให้ ฟู ขึ้น, เหมือน อย่าง ขนม ปัง ฤๅ, ขนม ถว้ย เปน ต้น.
      เชื้อ แป้ง (188:9.13)
               คือ เปน เชื้อ ที่* เขา ผะสม กับ แป้ง, สำรับ ทำ เข้า หมาก บ้าง, ทำ เหล่า บ้าง, เหมือน* อย่าง แป้ง เข้าหมาก นั้น.
      เชื้อ พระวงษ (188:9.14)
               คือ เชื้อ สาย พระญาติ พระวงษ, แห่ง พระ มหา กระษัตริย์ ที่ บังเกิด สืบ ไป เปน ต้น นั้น.
      เชื้อ เชิญ (188:9.15)
               คือ อังเชิญ คน ผู้ มา หา ดว้ย คำ ปัฏิสัณฐาร ว่า, กุษมอหนิ่ง เปน ต้น นั้น.
      เชื้อ สาย (188:9.16)
               เปน เชื้อ วงษ ที่ บังเกิด ต่อ ๆ กัน ไป, เหมือน อย่าง ลูก หลาน เหลน ลื่อ เปน ต้น นั้น.

--- Page 189 ---
ชั่ว (189:1)
         คือ การ ที่ ไม่ ดี ทั้ง ปวง, เหมือน อย่าง คน ทำ ชั่ว ด้วย กาย สาม อย่าง, ด้วย วาจา สี่ อย่าง, ด้วย ใจ สาม อย่าง.
      ชั่ว กระษัตริย์ หนึ่ง (189:1.1)
               คือ กาล ตลอด อายุ กระษัตริย์ องค์ หนึ่ง, เหมือน อย่าง คำ ที่ เขา พูด กัน ว่า, สิ้น แผ่นดิน หนึ่ง.
      ชั่ว โคตร์ (189:1.2)
               คือ ตลอด วงษ์, ตลอด กระกูล, เหมือน อย่าง ตั้ง แต่ ปู่ หญ้า ตา ยาย ลง มา, จน ตลอด ชั่ว ลูก หลาน เหลน.
      ชั่ว ช้า (189:1.3)
               คือ การ ที่ ทำ ความ ไม่ ดี มา นาน, เหมือน อย่าง คน เคย ทำ ความ ชั่ว มา ตั้ง แต่ เล็ก จน โต นั้น.
      ชั่ว น่า (189:1.4)
               คือ เปน กาล ตลอด จน สิ้น อายุ ใน ชาติ น่า นั้น.
      ชั่ว นี้ (189:1.5)
               เปน ชื่อ กาล ตลอด จน สิ้น อายุ ใน ชาติ นี้, เหมือน อย่าง ตั้ง แต่ เกิด มา จน สิ้น ชีวิตร.
      ชั่ว หนึ่ง (189:1.6)
               คือ กาล ตลอด จน สิ้น ของ นั้น ลง ที หนึ่ง. อย่าง หนึ่ง คือ ต้น ตาล สูง สอง ต่อ พะอง นั้น.
      ชั่ว พ่อ ชั่ว แม่ (189:1.7)
               คือ เปน สิ่ง ของ มี มา แต่ พ่อ แม่, ตลอด มา จน สิ้น อายุ นั้น.
      ชั่ว โมง (189:1.8)
               คือ สิ้น เวลา ล่วง ไป โมง หนึ่ง นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า. ล่วง ไป ได้ ชั่ว โมง หนึ่ง, สอง ชั่ว โมง.
      ชั่ว ลามก (189:1.9)
               คือ เปน ชื่อ สิ่ง ที่ ไม่ ดี เปน บาป นั้น, เหมือน อย่าง คน กระทำ เวร ทั้ง ห้า, มี ฆ่า คน เปน ต้น.
      ชั่ว อายุ (189:1.10)
               คือ กาล ตลอด จน สิ้น อายุ ที หนึ่ง, จะ เปน อายุ คน ฤๅ อายุ ของ สิ่ง อื่น, มี ต้น ไม้ เปน ต้น.
      ชั่ว อะนันตะกลัป (189:1.11)
               คือ เวลา ที่ ตลอด ไป ทุก กัป ไม่ มี ที่ สุด, อนึ่ง คือ ไม่ ดี มา ทุก กัป ๆ, หา ที่ สุด มิ ได้ นั้น.
เชอะ (189:2)
         คือ อาการ เฉอะ แฉะ, เหมือน มี น้ำ ชุ่ม แฉะ อยู่ ใน ฃอง สิ่ง ใด ๆ, ฤๅ แผ่น ดิน นั้น.
      เชอะ* เบอะ (189:2.1)
               คือ อาการ แห่ง ของ ฤๅ ดิน ที่ ชุ่ม ด้วย น้ำ บ่อย ๆ, ชุ่ม ชื้น อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง ที่ ฝน ตก ชุก เปน ต้น.
แชะ (189:3)
         คือ อาการ ที่ เปียก อยู่ เสมอ, เหมือน อย่าง ที่ ฝน ตก นัก, เปียก เปน น้ำ เปน โคลน นั้น.
      แชะ แบะ (189:3.1)
               คือ อาการ ที่ นั่ง นั้น, เหมือน อย่าง ผู้ หญิง ที่ ไป ไหน มัก นั่ง พูด นาน.
      เชาะ (189:3.2)
               ลับ, คือ เอา ปลาย มีด สับ ๆ ลง นั้น, เหมือน อย่าง คน เอา มีด ฟัน ๆ ที่ กะลา มะพร้าว เปน ต้น.
      เชาะ ตาล (189:3.3)
               คือ เอา มีด เชาะ ลง ที่ ลูก ตาล นั้น, เหมือน อย่าง คน เชาะ ลูก ตาล กิน นั้น.
ช่อ (189:4)
         กระบัด, คือ เปน พวง ดอก ไม้ ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง ช่อ มะ ม่วง เปน ต้น. อนึ่ง คือ กระบัด สิน เขา นั้น.
      ช่อ ฉน (189:4.1)
               คือ เปน การ กระบัด สีน เขา นั้น, เหมือน อย่าง คน กู้ นี่ ยืม สีน เขา มา แล้ว, หา ให้ เจ้า ของ ไม่, เถียง ว่า ให้ แล้ว.
      ช่อ ดอก ไม้ (189:4.2)
               คือ เปน พวง ดอก ไม้ อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง มะปราง ฤๅ ช่อ มะไฟ เปน ต้น นั้น.
      ช่อ ฟ้า (189:4.3)
               คือ เปน เครื่อง ไม้ ที่ เขา ทำ คล้าย กับ หัว นก, แล้ว ลง รัก ปิด ทอง บ้าง, ประดับ กะจก บ้าง, ใส่ ที่ หลังคา โบษถ์ แล วิหาร เปน ต้น นั้น.
      ช่อ มะปราง (189:4.4)
               คือ เปน พวง ดอก มะปราง นั้น,.เหมือน อย่าง ช่อ ที่ บังเกิด แต่ ต้น มะปราง ทั้ง ปวง.
      ช่อ มะม่วง (189:4.5)
               คือ เปน พวง ดอก มะม่วง, เหมือน อย่าง ช่อ แห่ง มะม่วง ทั้ง ปวง นั้น.
      ช่อ ม่วง (189:4.6)
               คือ เปน ชื่อ ดอกไม้ ไฟ อย่าง หนึ่ง, คล้าย กัน กับ ดอกไม้ เทียน, แต่ จุด ไฟ มี ปะกาย ดั่ง ช่อ มะม่วง นั้น.
      ช่อ ชั้น (189:4.7)
               คือ อาการ แห่ง ช่อ มี ช่อ ดอกไม้ เปน ต้น, ที่ มัน อยู่ เปน ชั้น ๆ กัน ขึ้น ไป, เหมือน ภุ่ม ต้น ดอกไม้ ไฟ นั้น.
(189:5)
         
ซา (189:6)
         น้อย ลง, วาย ลง, เหือด ลง, ลด ลง, ช้า ลง, คือ อาการ ที่ น้อย ลง กว่า แต่ ก่อน, ฤๅ วาย ลง กว่า เก่า, เหือด ลง นั้น, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, ไฟ ไหม้ ซา แล้ว เปน ต้น.
      ซา ใบ (189:6.1)
               คือ การ ที่ ลด ใบ เรือ โรย ลง มา นั้น, เหมือน อย่าง เรือ แล่น ลม กำลัง เกิน ใบ, ครั้น ลม เหือด เขา ว่า, ซา ใบ ลง เสีย เถิด.
      ซา ลง (189:6.2)
               คือ อาการ ที่ น้อย ลง, เหมือน อย่าง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง มี ผลไม้ เปน ต้น, เคย มี ชุก ชุม, ครั้น สิ้น น่า ก็ ว่า ซา ลง.
ซ่า (189:7)
         ชา, คือ อาการ มัน ให้ ชา ไป, เหมือน อย่าง คน นั่ง นาน, มิ ได้ เปลี่ยน อิริยาบถ, ย่อม เปน เหน็บ ชา ซ่า ไป เปน ต้น.
      ซ่า (189:7.1)
                เปน เหน็บ, คือ อาการ ที่ เปน เหน็บ ซ่า ไป นั้น, เหมือน คน เปน โรค ลม อย่าง หนึ่ง, ย่อม เปน เหน็ป ซ่า ไป.
ซิ (189:8)
         คือ เปน คำ ตัก เตือน, เหมือน อย่าง คำ เขา ชัก ชวน กัน ว่า, ไป ซิ, มา ซิ, เปน ต้น นั้น.

--- Page 190 ---
      ซิ น่า (190:8.1)
               เปน คำ ตัก เตือน ฤๅ คำ ชัก ชวน นั้น, เหมือน อย่าง คำ เขา พูด กัน ว่า, ไป ซิน่า, มา ซิน่า, เปน ต้น.
ซี่ (190:1)
         คือ เปน สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เปน อัน เล็ก ๆ, กลม บ้าง, แบน บ้าง, เหมือน อย่าง ซี่ กรง, ซี่ ลอบ เปน ต้น.
      ซี่ กรง (190:1.1)
               คือ ไม้ ที่ เปน อัน เล็ก ๆ, เหมือน อย่าง ซี่ กรง นก เขา ฤๅ ซี่ กรง นก สาลิกา เปน ต้น.
      ซี่ โครง (190:1.2)
               คือ อาการ แห่ง กระดูก แบน ๆ, ตาม สี ข้าง ทั้ง สอง, เหมือน อย่าง โครง เรือง* เปน ต้น.
      ซี่ แตะ (190:1.3)
               เปน ไม้ ไผ่ ที่ เขา ผ่า เปน ซีก ๆ, เหมือน อย่าง ซี่ แตะ ที่ เขา ขัด ทำ พื้น พระเมรุ เปน ต้น นั้น.
      ซี่ เฝือก (190:1.4)
               คือ ไม้ ที่ เขา ทำ เปน ซี่ เล็ก ๆ, เหมือน อย่าง ซี่ เฝือก ที่ เขา ทำ เปน ผืน ๆ, สำหรับ จับ ปลา เปน ต้น นั้น.
      ซี่ ฟาก (190:1.5)
               คือ ไม้ ที่ เขา ทำ เปน ซี่ แบน ๆ, สำหรับ ปู พื้น เรือน, เหมือน อย่าง เรือน พวก คน จน เปน ต้น นั้น.
ซี้ (190:2)
         คือ เสียง ดัง อย่าง นั้น, เหมือน อย่าง คน หัวเราะ เบา ๆ, ฤๅ เสียง หนู กัด กัน มาก ๆ เปน ต้น.
ซื่อ (190:3)
         ตรง, สัจ, จริง, ธรรม, คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ไม่ คด ฤๅ ตรง นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด ถึง คน ตรง นั้น ว่า, คน ซื่อ เปน ต้น.
      ซื่อ ตรง (190:3.1)
               คือ ความ ที ไม่ คด ไม่ โกง นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, ท่าน คน นี้ เปน คน ซื่อ ตรง ดี เปน ต้น.
      ซื่อ ทั้ง กายา (190:3.2)
               คือ ความ เปน คน ที่ ประพฤษดิ์ ดี ด้วย กาย นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ เว้น จาก กายกรรม สาม ประการ เปน ต้น.
      ซื่อ ทั้ง น้ำ ใจ (190:3.3)
               คือ ความ เปน คน ที่ ประพฤษดิ์ ซื่อ ตรง ด้วย ใจ, เหมือน อย่าง คน ที่ เว้น จาก มะโณกรรม สาม ประการ เปน ต้น.
      ซื่อ ทั้ง วาจา (190:3.4)
               คือ ความ เปน คน ดี ประพฤษดิ์ ซื่อ ตรง ด้วย วา จา, เหมือน อย่าง คน ที่ เว้น จาก วาจา กรรม สี่ ประการ นั้น.
      ซื่อ สัตย์ (190:3.5)
               คือ ความ เปน คน พูด จา จริง ๆ นั้น, เหมือน อย่าง เขา ถาม ถึง สิ่ง ใด ๆ, ถ้า มี ก็ ว่า มี, ถ้า ไม่ ก็ ว่า ไม่ นั้น.
ซื้อ (190:4)
         คือ ความ ที่ เอา สิ่ง ของ เขา มา แล้ว ให้ เงิน เขา นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, ซื้อ ของ ลง กำปั่น เปน ต้น.
      ซื้อ กิน (190:4.1)
               คือ การ ที่ เอา เงิน ฤๅ เบี้ย, ไป ซื้อ ของ มา กิน นั้น, เหมือน อย่าง คน ไป จ่าย ตลาด เปน ต้น นั้น.
      ซื้อ เข้า (190:4.2)
               คือ การ ที่ เอา เงิน ไป ซื้อ* เข้า นั้น, เหมือน อย่าง พวก เจ็ก ซื้อ เข้า ล่อง ลง มา ขาย เปน ต้น นั้น.
      ซื้อ ขาย (190:4.3)
               คือ การ ที่ เอา เงิน ไป ซื้อ ของ มา แล้ว, เอา ไป เที่ยว ขาย, เหมือน อย่าง นาย กำปั่น เปน ต้น นั้น.
      ซื้อ จ่าย (190:4.4)
               คือ การ ที่ เอา เงิน ไป ซื้อ ของ จ่าย มา ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง คน ไป เที่ยว จ่าย ตลาด เปน ต้น.
      ซื้อ ผ้า (190:4.5)
               คือ การ ที่ คน เอา เงิน ไป ซื้อ ผ้า นั้น, เหมือน อย่าง ลูก ค้า ขาย ผ้า เปน ต้น.
      ซื้อ แพง (190:4.6)
               คือ การ ที่ คน ซื้อ ของ ที่ มี ราคา ต้อง เสีย เงิน มาก, ได้ ของ นั้น น้อย, เหมือน อย่าง* ซื้อ เพ็ชร์ พลอย เปน ต้น.
      ซื้อ ไว้ (190:4.7)
               คือ การ ที่ คน เอา เงิน ซื้อ ของ เก็บ ไว้ นั้น, เหมือน อย่าง คน พวก รอง สินค้า เปน เปน* ต้น.
ซู่ (190:5)
         รบ, เปน เสียง ดัง อย่าง นั้น, เหมือน อย่าง เสียง ฝน ตก เปน ต้น. อนึ่ง คือ การ ต่อ รบ ด้วย ฆ่าศึก นั้น.
เซ (190:6)
         ซวน, คือ อาการ ที่ ซวน เซ ไป ยืน ไม่ ตรง, เหมือน อย่าง คน กิน เล่า เมาเต็ม ที เปน ต้น นั้น.
      เซ ซัง (190:6.1)
               คือ อาการ ที่ เดิร ซวน เซ ไป มา, เหมือน อย่าง คน เจ็บ เดิร ไม่ ตรง ทาง เปน ต้น.
แซ่ (190:7)
         โคตร์, เปน ชื่อ* ไม้ ที่ สำรับ ขี่ ม้า. อนึ่ง เปน ชื่อ เชื้อ วงษ์ อัน เดียว กัน. อนึ่ง เปน เสียง ดัง อย่าง นั้น. อนึ่ง ของ สำรับ ปัด ยุง เปน ต้น.
      แซ่ ขี่ ม้า (190:7.1)
               คือ เปน ชื่อ ของ ที่ สำรับ ตี ม้า ให้ วิ่ง ไป, เหมือน อย่าง ไม้ เรียว เปน ต้น.
      แซ่ เดียว กัน (190:7.2)
               คือ ความ ที่ เกิด มา แต่ กระกูล เชื้อ สาย อัน เดียว กัน, เหมือน* อย่าง เผ่า พันธุ พี่ น้อง* กัน นั้น.
      แซ่ เซ็ง (190:7.3)
               คือ เปน เสียง* พูด กัน ดัง แซ่ ไป นั้น, เหมือน อย่าง บ่อน ไก่ บ่อน นก เปน ต้น*.
      แซ่ ปัด ยุง (190:7.4)
                เปน ชื่อ ของ ที่ สำรับ ปัด ยุง, ทำ ด้วย ขน ทราย จามรี บ้าง, หาง ม้า บ้าง, เหมือน อย่าง พู่ เปน ต้น.
      แซ่ ม้า ทะลาย (190:7.5)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, สำรับ ใช้ ทำ ยา, ย่อม มี อยู่ ตาม ป่า ฝ่าย เหนือ
      แซ่ เสียง (190:7.6)
               คือ เปน เสียง อึง แซ่ ไป, เหมือน อย่าง เสียง คน ตื่น ไฟ ไหม้, ฤๅ ตื่น ขะโมย เข้า ปล้น เปน ต้น.

--- Page 191 ---
      แซ่ อึง (191:7.7)
               เปน ชื่อ เสียง ทั้ง ปวง ที่ อื้อ อึง แซ่ อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง เสียง ที่ เขา โจท กัน ถึง เรื่อง ต่าง ๆ เปน ต้น.
ไซ (191:1)
         เปน ชื่อ ของ สำรับ ดัก ปลา กะดี่, สาน ด้วย ไม้ ไผ่, มี งา อยู่ ภาย ใน, คล้าย ๆ กัน กับ กะชุะใส่ นุ่น เปน ต้น*.
ไทร (191:2)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, มี ราก แล ย่าน อัน จำเริญ, เปน ปริมณฑล งาม นัก.
      ไทร ทอง (191:2.1)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ผล กลม ๆ เล็ก ๆ, เมื่อ สุก นั้น ศี เหลือง งาม คล้าย ทอง คำ.
      ไทร ย้อย (191:2.2)
               เปน ชื่อ ต้น ไทร อย่าง หนึ่ง, ตาม ลำ ต้น, แล กิ่ง นั้น ย่อม มี ราก ย้อย ออก มาก, แล้ว เลื้อย พัน ไป ตาม กิ่ง.
ไซ่ (191:3)
         คือ อาการ ของ ที่ เปน ลำ ขด ๆ อยู่ ใน ท้อง คน, แล ท้อง สัตว์ ทั้ง ปวง, เหมือน อย่าง ไส้ กวอก เปน ต้น.
ไซ้ (191:4)
         คือ อาการ ที่ เอา ปาก ย้ำ ๆ, เหมือน อย่าง เป็ด ไซ้ แหน, ฤๅ นก ไซ้ ขน เปน ต้น นั้น.
โซ (191:5)
         อด, คือ ความ ที่ อด อยาก ไม่ มี อะไร กิน, เหมือน อย่าง เจ็ก คน โซ ที่ อาไศรย ตาม สาลา วัด เปน ต้น นั้น.
      โซ เซ (191:5.1)
               คือ อาการ ซวน ไป มา, เหมือน อย่าง คน อด หิว ไม่ มี กำลัง, ฤๅ คน เมา เล่า เปน ต้น.
      โซ เต็ม ที (191:5.2)
               คือ ความ ที่ อด อยาก เปน กำลัง, เหมือน อย่าง คน ที่ บ้าน เมือง แตก เสีย เมือง แก่ ฆ่า ศึก.
โซ่ (191:6)
         เปน ชื่อ ของ ทำ ด้วย เหล็ก, เหมือน อย่าง สาย โซ่ กำปั่น เปน ต้น นั้น.
เซา (191:7)
         คือ อาการ ที่ ซึม ง่วง อยู่, เหมือน อย่าง คน มัว นอน เปน ต้น นั้น.
      เซา ซบ (191:7.1)
               คือ อาการ ที่ เชื่อม ง่วง อยู่ แล้ว, เอา หัว ซบ ลง กับ หมอน เปน ต้น, เหมือน อย่าง คน เปน ทุกข์ เกิน ขนาด นั้น.
เซ่า (191:8)
         หมอง, คือ อาการ ที่ มัว หมอง ไม่ ผ่อง ใส, เหมือน อย่าง คน ที่ เปน ทุกข์ ถึง ลูก แล ผัว, อัน เปน ที่ รักษ์ ตาย จาก กัน นั้น.
      เซ่า หมอง (191:8.1)
               คือ อาการ ที่ ไม่ ผ่อง แผ้ว, เหมือน* อย่าง คน ได้ กระ ทำ ความ ชั่ว ต่าง ๆ, มี ฆ่า เสีย ซึ่ง บิดา มารดา เปน ต้น.
เซ้า ซี้ (191:9)
         คือ ความ ที่ พูด แล้ว พูด อีก ซ้ำ ไป, ฤๅ ฃอ แล้ว ฃอ อีก ร่ำไร ไป, เหมือน อย่าง คน ขี้ เมา เปน ต้น.
ซ้ำ (191:10)
         บ่อย ๆ, คือ ความ ที่ ว่า แล้ว ว่า อีก, ฤๅ มา แล้ว มา อีก บ่อย ๆ, เหมือน อย่าง คน ที่ ว่า หลาย หน, ฤๅ มา หลาย หน เปน ต้น นั้น.
      ซ้ำ ซาก (191:10.1)
               คือ ความ ที่ พูด ความ เก่า ที่ พูด แล้ว หลาย หน นั้น, เหมือน อย่าง คน พูด แล้ว กลับ พูด อีก เปน ต้น.
      ซ้ำ แตก (191:10.2)
               คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ร้าว ราน อยู่ แล้ว, พลอย แตก ไป ด้วย นั้น.
      ซ้ำ เติม (191:10.3)
               คือ การ ที่ เอา สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ มี อยู่ แล้ว, เอา มา ใส่ ซ้ำ ๆ เติม ลง ไป นั้น.
ซัก (191:11)
         ไล่ เลียง, คือ เปน ชื่อ การ กระ ทำ อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง พวก เจ็ก ฟอก ผ้า ให้ สอาด นั้น. อนึ่ง เปน คำ* ถาม ไล่ เลียง.
      ซัก ไซ้ (191:11.1)
               คือ ความ ที่ ไต่ ถาม ไล่ เลียง, ฟอก เอา ความ จริง, เหมือน อย่าง ตระลาการ ซัก ถาม ความ ผู้ ร้าย นั้น.
      ซัก ถาม (191:11.2)
               คือ ความ ที่ ถาม ฟอก ไล่ เลียง, เหมือน ตระลาการ ถาม ความ นั้น.
      ซัก ผ้า (191:11.3)
               เปน ชื่อ การ ฟอก ผ้า ให้ สอาด นั้น, เหมือน อย่าง พวก แขก โดบี เปน ต้น.
ซาก (191:12)
         เปน ชื่อ เชื้อ เก่า ที่ เคย มี แล้ว นั้น, เหมือน อย่าง ซาก เห็ด ฤๅ ซาก* ผี นั้น.
      ซาก เก่า (191:12.1)
               เปน ชื่อ เชื้อ ของ เก่า ที่ เคย มี อยู่ แล้ว นั้น, เหมือน อย่าง ซาก เห็ด เปน ต้น.
      ซาก ผี (191:12.2)
               คือ เปน ชื่อ ผี ตาย เก่า ๆ ที่ เน่า แล้ว ยุบ แห้ง* อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง คางค็ก ตาย ซาก เปน ต้น.
      ซาก สพ (191:12.3)
               เปน ชื่อ ซาก ผี ตาย เก่า นั้น, เหมือน อย่าง ซาก ผี ที่ เขา ทิ้ง ไว้ โซม อยู่ ใน ป่า ช้า ผี ดิบ นั้น.
      ซาก เห็ด (191:12.4)
               เปน ชื่อ เห็ด ที่ งอก ขึ้น เพราะ เชื้อ เก่า, เหมือน อย่าง ซาก เห็ด โคน เปน ต้น นั้น.
      ซาก อะสุก (191:12.5)
               คือ เปน ชื่อ ซาก ผี ตาย เก่า ๆ ที่ ไม่ งาม นั้น, เหมือน อย่าง ซาก ผี ที่ โซม อยู่ เปน ต้น.
ซิก (191:13)
         คือ เปน เสียง มัน ดัง อย่าง นั้น, เหมือน อย่าง เสียง คน ร้อง ไห้ สอื้น เปน ต้น*. อนึ่ง คือ เหื่อ ไหล เปน เม็ด ๆ นั้น.
ซีก (191:14)
         คือ อาการ สิ่ง ของ ที่ ทำ เปน ส่วน ๆ, เปน อัน เล็ก ๆ, เหมือน อย่าง ผ่า ไม้, ผ่า หวาย เปน ซีก ๆ เปน ต้น นั้น.
      ซีก ใหญ่ (191:14.1)
               คือ อาการ ส่วน โต, อัน โต, ซีก โต, เหมือน อย่าง คน ผ่า แตง โม ฤๅ ผ่า มะพร้าว ทำ เปน ซีก โต ๆ นั้น.
      ซีก เดียว (191:14.2)
               คือ เปน ส่วน ที่ คน ผ่า ของ ทำ เปน ซีก หนึ่ง นั้น, เหมือน อย่าง อัน เดียว เปน ต้น.

--- Page 192 ---
      ซีก โต (192:14.3)
               คือ เปน สว่น ที่ คน ผ่า ของ, ทำ เปน อัน ใหญ่ นั้น, เหมือน อย่าง อัน โต เปน ต้น.
ซุก (192:1)
         ซ่อน, คือ การ ที่ เอา สิ่ง ของ เสือก ซ่อน ไว้ ใน ช่อง, ใน รู, ฤๅ สัตว ที่ มุด อยู่ ใน หญ้า รก ๆ เปน ต้น.
      ซุก ซิก (192:1.1)
               คือ การ ที่ ตั้ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ไม่ เปน ระยะ, ไม่ เปน แถว, เขา พูด กัน ว่า ตั้ง ของ ซุก ซิก เปน ต้น.
      ซุก ซน (192:1.2)
               คือ การ ที่ เอา ของ สิ่ง หนึ่ง ไป ซุก ที่ โน่น แล้ว, เอา ของ สิ่ง โน้น มา ซน ที่ นี่, เหมือน เด็ก ๆ เล่น รังแก เปน ต้น*.
      ซุก ซ่อน (192:1.3)
               เปน ชื่อ การ ที่ เอา สิ่ง ฃอง ต่าง ๆ ซุก ซ่อน เอา ไว้, เหมือน อย่าง คน เอา ของ ไป ซ่อน ไม่ ให้ ใคร เหน เปน ต้น.
แซก (192:2)
         เสียด, คือ การ ที่ คน เขา จัด ให้ ยืน, ฤๅ นั่ง เปน แถว กัน อยู่ แล้ว, มี คน อื่น เบียด เสียด เข้า ไป ยืน, ฤๅ นั่ง ใน ระว่าง นั้น อีก.
      แซก กัน (192:2.1)
               คือ การ ที่ คน ฤๅ สัตว ที่ เสียด เข้า ไป ใน ท่ำ กลาง หมู่, เหมือน อย่าง คน มาก แซก กัน มา จาก ประตู นั้น.
      แซก เข้า มา (192:2.2)
               คือ การ ที่ เสียด แซก เข้า มา ใน กลาง ที่ ประชุม เปน ต้น นั้น.
      แซก เสียด (192:2.3)
               คือ การ ที่ แซก ยัด เข้า ไป ใน ระว่าง, เหมือน อย่าง ปาก ไม่ ที่ ห่าง, เอา ไม้ อื่น แซก เสียด เข้า ไห้ ชิต เปน ต้น นั้น.
ซอก (192:3)
         กรอก, เปน ชื่อ ที่ ระหว่าง เปน ตรอก เล็ก ๆ, เหมือน อย่าง ซอก บ้าน ซอก เรือน, ฤๅ ซอก ห้วย ซอก เขา เปน ต้น.
      ซอก เขา (192:3.1)
               เปน ชื่อ หว่าง ภูเขา ที่ เปน ตรอก เล็ก, เหมือน อย่าง หุบ เขา ฤๅ หลืบ เขา เปน ต้น นั้น.
      ซอก ฅอ (192:3.2)
               เปน ชื่อ ที่ หว่าง ต้น ฅอ, เหมือน ที่ เขา เรียก ว่า ไห ปลา ร้า นั้น.
      ซอก แซก (192:3.3)
               คือ อาการ ที่ หน ทาง เล็ก ๆ ซับ ซ้อน, แยก ย้าย กัน ไป หลาย แห่ง หลาย ตำบล เปน ต้น.
      ซอก ซอน (192:3.4)
               คือ การ ที่ คน เที่ยว ไป หลาย แห่ง หลาย ตำบล, เหมือน อย่าง คน เที่ยว หา สิ่ง ของ ที่ ต้อง ประสงค์ นั้น.
      ซอก บ้าน (192:3.5)
               ระหว่าง บ้าน, คือ ตาม ตรอก บ้าน, ระหว่าง บ้าน, บ้าน เปน ทาง ๆ, เหมือน อย่าง หน ทาง ตาม ข้าง บ้าน ข้าง เรือน เปน ต้น.
      ซอก เรือน (192:3.6)
               เปน ชื่อ* หน ทาง ตรอก เล็ก ๆ, ตาม หว่าง เรือน, ฤๅ ซอก ตาม แง้ม ปะตู เปน ต้น นั้น.
ซง (192:4)
         ตั้ง, คือ ตั้ง ไว้ ดำรง ไว้ นั้น, เหมือน อย่าง เขา เอา จังหัน ขึ้น ตั้ง แพ้ว นก ไว้ นั้น, เขา ว่า เอา จังหัน ซง ไว้.
      ซง บาดาน (192:4.1)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ พรรค์ เล็ก อย่าง* หนึ่ง, ดอก ศรี เหลือง เปน กลุ่ม ๆ, สำรับ ใช้ ทำ ยา เปน ต้น.
ซัง (192:5)
         เปน ชื่อ ต้น* เข้า ที่ เขา เกี่ยว แล้ว นั้น. อนึ่ง สิ่ง ของ ที่ เปน เส้น ๆ หุ้ม ยวง ขนุน เปน ต้น นั้น.
      ซัง เข้า (192:5.1)
               เปน ชื่อ ต้น เข้า ที่ เขา เกี่ยว ตัด เอา รวง ไป เสีย แล้ว, ต้น ที่ เหลือ เศศ อยู่ นั้น, เขา เรียก ว่า ซัง เข้า.
      ซัง ขนุน (192:5.2)
               เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ เปน เส้น ๆ หุ้ม ยวง ขนุน อยู่.
      ซัง ไหม (192:5.3)
               เปน ชื่อ* เศศ ไหม ที่ เขา ทอ ผ้า แล้ว นั้น.
ซาง (192:6)
         เปน ชื่อ โรค ที่ เปน เม็ด ๆ, ขึ้น อยู่ ตาม ลำ ฅอ ทารก ทั้ง ปวง, แล้ว ทำ ให้ เด็ก เจ็บ ไป นั้น.
      ซาง ขะโมย (192:6.1)
               เปน ชื่อ โรค อย่าง หนึ่ง, บัง เกิด ขึ้น แก่ เดก ใด แล้ว, ให้ ลง ท้อง ไม่ เปน เวลา, ผอม แห้ง ไป.
      ซาง โจร (192:6.2)
               เปน ชื่อ ซาง ขะโมย นั้น, ก็ คำ ที่ เรียก ว่า โจร นั้น, เพราะ เปน มคธ ภาษา.
      ซาง น้ำ (192:6.3)
               เปน ชื่อ โรค เด็ก ๆ อย่าง หนึ่ง, มี แจ้ง อยู่ ใน คำภีร์ แพทย์ นั้น แล้ว.
      ซาง แดง (192:6.4)
               เปน ชื่อ ซาง โรค เด็ก ๆ อย่าง หนึ่ง, มี แจ้ง อยู่ ใน ตำรา หมอ นั้น แล้ว.
      ซาง ตะกอ (192:6.5)
               เปน ชื่อ ซาง เด็ก ๆ อย่าง หนึ่ง, แจ้ง อยู่ ใน คำภีร์ หมอ นั้น แล้ว.
      ซาง อิริน (192:6.6)
               เปน ชื่อ* ซาง เด็ก ๆ อีก อย่าง หนึ่ง, แจ้ง อยู่ ใน ตำรา พวก หมอ ไทย นั้น แล้ว.
ซ่าง (192:7)
         เปน ชื่อ บ้าน อัน หนึ่ง, มี อยู่ ใน แขวง กรุง เก่า, เขา เรียก ว่า บ้าน ซ่าง.
ทร่าง (192:8)
         เปน ชื่อ การ ที่ กระทำ ขึ้น นั้น, เหมือน อย่าง ทร่าง บ้าน ทร่าง เรือน, ฤๅ ทร่าง เมือง ทร่าง วัด เปน ต้น.
ซึ่ง (192:9)
         อัน, ที่, คือ เปน คำ ใน วิพัต ที่ สอง, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, ซึ่ง สิ่ง นี้ ซึ่ง สิ่ง นั้น เปน ต้น.
      ซึ่ง กระทำ (192:9.1)
               คือ ที่ กระทำ นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด ว่า, ซึ่ง กระทำ ดั่ง นี้ หา ควร ไม่.
      ซึ่ง ข้อ ว่า (192:9.2)
                คือ ที่ ข้อ ความ ว่า นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด ว่า, ที่ ข้อ ว่า นั้น เรา ไม่ เหน ด้วย.

--- Page 193 ---
      ซึ่ง* คน นั้น (193:9.3)
               คือ ที่ คน นั้น ฤๅ อัน คน นั้น นั่น, เหมือน อย่าง เขา กล่าว ว่า, อัน คน นั้น จะ เอา, เรา ไม่ ให้.
      ซึ่ง จะ ไป (193:9.4)
               คือ อัน จะ ไป นั้น, เหมือน อย่าง เขา ว่า, ซึ่ง ท่าน จะ ไป นั้น, เรา ไม่ เหน ด้วย.
ซึ้ง (193:1)
         ฦก, คือ อาการ ที่ ฦก นั้น, เหมือน อย่าง ตลิ่ง ชัน, ฝั่ง ฟาก ข้าง คุ้ง นั้น เขา ว่า ฦก ซึ้ง.
ซุง (193:2)
         ขอน, เปน ชื่อ ไม้ ขอน ศัก ที่ เขา ตัด เปน ท่อน ๆ, เหมือน อย่าง ไม้ ซุง ที่ เขา ล่อง ลง มา จาก ป่า เนือ* เปน ต้น.
      ซุง ขอน ศัก (193:2.1)
               เปน ชื่อ* ซุง ไม้ ขอน ศัก นั้น, เมือน อย่าง ไม้ ซุง ที่ เขา เอา มา เลื่อย ทำ เรือน เปน ต้น.
เซ็ง (193:3)
         แฉะ, คือ เปน ชื่อ แห่ง ของ กิน ที่ แฉะ เกือบ จะ เสีย นั้น, เหมือน อย่าง ซ่ม ตัม ที่ เขา ไว้ ล่วง เวลา เปน ต้น.
      เซ็ง แซ่ (193:3.1)
               เปน ชื่อ แห่ง เสียง อื้อ อึง, เหมือน อย่าง คน ตก ใจ ตื่น ไฟ ไหม้ พูด เสียง แซ่ ไป เปน ต้น นั้น.
เซ่ง (193:4)
         เปน ชื่อ ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง, ไม่ สู้ โต นัก, ดอก ศี แดง เข็ม งาม, มัก มี อยู่ ตาม ท้อง ทุ่ง แขวง กรุง เก่า.
แซง (193:5)
         แซก, คือ อาการ ที่ เดิร แซก เคียง ขึ้น ไป ข้าง ๆ, เหมือน อย่าง คน ไล่ ไก่ เปน ต้น นั้น.
      แซง กั้น (193:5.1)
               คือ อาการ แซก เคียง กั้น ไว้, เหมือน อย่าง พวก เรือ แห่ ตาม เสด็จ เปน ต้น นั้น.
      แซง ข้าง (193:5.2)
               คือ อาการ ที่ คน วิ่ง แซง ขึ้น ไป ข้าง ๆ, เหมือน อย่าง คน วิ่ง ควาย เปน ต้น นั้น.
      แซง ขวา (193:5.3)
               คือ อาการ วิ่ง แซง แซก ขึ้น ไป ข้าง ขวา นั้น, เหมือน อย่าง พวก ตาม เสด็จ ที่ อยู่ เบื้อง ขวา นั้น.
      แซง แซก (193:5.4)
               คือ การ ที่ แซก แซง ขึ้น ไป ข้าง ๆ, เหมือน อย่าง คน วิ่ง แข่ง ข้าง ขึ้น ไป นั้น.
      แซง ซ้าย (193:5.5)
               คือ การ ที่ วิ่ง แข่ง เคียง ขึ้น ไป ข้าง ซ้าย นั้น, เหมือน อย่าง พวก ตำรวจ ซ้าย เปน ต้น.
      แซง หน้า (193:5.6)
               คือ การ ที่ คน วิ่ง แซง ขึ้น ไป ข้าง* หน้า นั้น, เหมือน อย่าง พวก ตำรวจ น่า เปน ต้น,
      แซง หลัง (193:5.7)
               คือ การ ที่ คน วิ่ง แซง แซก อยู่ ตาม เบื้อง หลัง นั้น, เหมือน อย่าง พวก ตำรวจ หลัง เปน ต้น,
แซ่ง (193:6)
         แกล้ง, คือ ความ ที่ แกล้ง นั้น, เหมือน อย่าง คน เหน แล้ว ทำ อาการ เหมือน ไม่ เหน เปน ต้น.
      แซ่ง ทำ (193:6.1)
               แกล้ง ทำ, คือ ความ ที่ แกล้ง ทำ นั้น, เหมือน อย่าง คน รู้ แล้ว ว่า, ทำ อย่าง นี้ เขา จะ โกรธ, แล้ว ขืน ทำ ให้ เขา โกรธ.
      แซ่ง ว่า (193:6.2)
               แกล้ง ว่า, คือ ความ ที่ แกล้ง ว่า นั้น, เหมือน อย่าง คน รู้ แล้ว ว่า, กล่าว อย่าง นี้ เขา ไม่ ชอบ ใจ, ก็ ขืน ว่า ให้ เขา โกรธ เปน ต้น.
ซอง (193:7)
         เปน ชื่อ สิ่ง ที่ เขา ทำ ให้ ปาก กว้าง ก้น แคบ นั้น, เหมือน อย่าง ซอง จับ ควาย, ฤๅ ซอง สำรับ ใส่ พลู เปน ต้น.
      ซอง จับ ควาย (193:7.1)
               คือ เปน ชื่อ ที่ เอา ไม้ ปัก เปน ปาก ฉะนาง, ทำ ให้ ข้าง ใน แคบ เปน ซอง ภอ จุะ ตัว ควาย, สำรับ จับ ควาย ปละ นั้น.
      ซอง พลู (193:7.2)
               คือ เปน ชื่อ ซอง ที่ สำรับ ไส่ พลู, เหมือน อย่าง ซอง ที่ เย็บ ด้วย ใบ ตอง บ้าง ทำ ด้วย เงิน บ้าง
      ซอง มือ (193:7.3)
               คือ เปน ชื่อ ที่ คน กำ มือ เข้า ทำ เปน ช่อง แคบ, เหมือน อย่าง ซอง ใส่ พลู เปน ต้น นั้น.
ซ่อง (193:8)
         สุม, คือ เปน ชื่อ ที่ เขา ตั้ง เกลี้ย กล่อม คน ไม่ ให้ จรบาท ไป บ้าน อื่น เมือง อื่น, เหมือน อย่าง บ้าน ซ่อง ใน ดง นั้น.
      ซ่อง แซ่ง (193:8.1)
               โซ เซ, คือ เปน ชื่อ อาการ ที่ เดิร โซ เซ นั้น, เหมือน อย่าง คน เจ็บ, ฤๅ คน ที่ ไม่ มี แรง เดิร ไป นั้น.
      ซ่อง เสพย์ (193:8.2)
               สมา คม, คือ การ คบ หา กัน, ฤๅ กิน เหล้า ฤๅ กระ ทำ เปน ผัว เมีย กัน นั้น, เหมือน ว่า ซ่อง เสพ เมถุน เปน ต้น.
      ซ่อง สุม (193:8.3)
               คือ การ ที่ เกลี้ย กล่อม ผู้ คน ได้ มาก แล้ว, ประชุม ไว้, เหมือน อย่าง คน คิด การ ใหญ่ นั้น.
ซ้อง (193:9)
         พร้อม หน้า, คือ การ ที่ คน ฤๅ สัตว ยื่น หน้า เข้า มา พร้อม กัน, เหมือน อย่าง พวก ยาจก พร้อม หน้า กัน เข้า มา รับ ทาน เปน ต้น.
      ซ้อง กัน มา (193:9.1)
               คือ การ ที่ ภา กัน มา พร้อม หน้า นั้น, เหมือน อย่าง คน ภา กัน เข้า ไป รับ ทาน เปน ต้น.
      ซ้อง หน้า (193:9.2)
               คือ การ ที่ พร้อม หน้า กัน นั้น, เหมือน อย่าง คน เยี่ยม หน้า พร้อม กัน หลาย คน นั้น.
ซวง (193:10)
         คือ อก นั้น, เหมือน อย่าง คำ ว่า อุระ ทรวง เปน ต้น นั้น.
      ซวง กรม (193:10.1)
               คือ อก กรม นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, อก กรม เปน หนอง เปน ต้น.

--- Page 194 ---
      ซวง อก (194:10.2)
               คือ ใน อก นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, ทรวง อก เปน ต้น.
เซื่อง (194:1)
         ช้า ๆ, คือ อาการ แห่ง กิริยา ช้า นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, ช้าง นั้น เดิร เซื่อง ๆ เปน ต้น.
เซิง (194:2)
         คือ สุม ทุม ไม้ ฤๅ สุม ทุม หญ้า, ที่ เถา วัล แล ล่า หวาย เปน ต้น ปก คลุม อยู่, เหมือน อย่าง ซุ้ม เปน ต้น นั้น.
      เซิง* เซอะ (194:2.1)
               คือ อาการ แห่ง คน เที่ยว ซุ่ม ซ่าม ไม่ รู้ จัก ประมาณ, เหมือน อย่าง คน บ้า เปน ต้น นั้น.
      เซิง หญ้า (194:2.2)
               ชัด หญ่า, เปน ชื่อ สุม ทุม หญ้า ที่ เปน ซุ้ม อยู่ เบื้อง บน, ภาย ใน โปร่ง, เหมือน อย่าง ซุ้ม หมู.
      เซิง หวาย (194:2.3)
               เปน ชื่อ สุม ทุม ที่ หวาย เลื้อย ขึ้น ปก คลุม เปน เซิง อยู่, เหมือน อย่าง ซุ้ม หมู.
ซด (194:3)
         สูด, คือ อาการ ที่ คน กิน น้ำ ร้อน น้ำ ชา, ฤๅ กิน น้ำ แกง, กระทำ ให้ น้ำ เข้า ไป ใน ปาก ที ละ น้อย ๆ นั้น.
      ซด แกง (194:3.1)
               คือ อาการ ที่ กิน น้ำ แกง ที ละ น้อย ๆ, เหมือน อย่าง คน กิน เข้า แล้ว ซด น้ำ แกง ด้วย นั้น.
      ซด น้ำ (194:3.2)
               คือ อาการ ที่ สูด น้ำ ที ละ น้อย ๆ, เหมือน อย่าง คน กิน น้ำ ชา เปน ต้น.
ซัด (194:4)
         สาด, คือ อาการ ที่ เอา สิ่ง ของ เหวี่ยง ปราย ไป. อนึ่ง อ้าย ผู้ ร้าย เขา จับ ไป ไต่ ถาม จะ เอา พวก เพื่อน, มัน ให้ การ บอก ต่อ ๆ ไป นั้น.
      ซัด กัน (194:4.1)
               คือ เปน ชื่อ คำ ให้ การ บอก ถึง พวก เพื่อน ต่อ ๆ ไป นั้น, เหมือน อย่าง ผู้ ร้าย ที่ ซัด เพื่อน กัน เปน ต้น.
      ซัด เข้า สาร (194:4.2)
               คือ เอา เข้า สาร โปรย ซัด ไป นั้น, เหมือน อย่าง พวก หมอ ขับ ผี ปีสาจ เปน ต้น.
      ซัด แขน (194:4.3)
               คือ อาการ ที่ เดิร แกว่ง แขน ไป เบื้อง หน้า, เบื้อง หลัง นั้น, เหมือน อย่าง พวก ละคอน ชาตรี เปน ต้น.
      ซัด เชือก บาศ (194:4.4)
               เปน ชื่อ การ ที่ ทิ้ง เชือก บาศ ไป นั้น, เหมือน อย่าง พวก หมอ ช้าง เที่ยว คล้อง ช้าง เปน ต้น.
      ซัด ทราย (194:4.5)
               เปน ชื่อ* การ ที่ เอา ทราย ซัด โปรย ไป นั้น, เหมือน อย่าง พวก เด็ก ๆ กำ ทราย ซัด กัน เล่น.
      ซัด น้ำ (194:4.6)
               เปน ชื่อ การ ที่ เอา น้ำ ซัด สาด ไป, เหมือน อย่าง คน แต่ง งาน เบ่า สาว ซัด น้ำ กัน นั้น.
      ซัด ไป (194:4.7)
               เปน ชื่อ การ ที่ เวี่ยง ทิ้ง ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน ทอด แห ฤๅ ทิ้ง เชือก บาศ คล้อง ช้าง เปน ต้น.
      ซัด เพื่อน (194:4.8)
               เปน ชื่อ คำ ให้ การ ซัด ทอด ถึง พวก เพื่อน, เหมือน อย่าง อ้าย ผู้ ร้าย ชำระ เปน สัจ แล้ว, ซัด ถึง เพื่อน นั้น.
      ซัด มา (194:4.9)
               เปน ชื่อ การ ที่ โยน มา นั้น, เหมือน อย่าง คลื่น ใน ทะเล ซัด มา ถึง ฝั่ง เปน ต้น.
      ซัด ยา (194:4.10)
               เปน ชื่อ การ ที่ เอา ยา ซัด สิ่ง ของ ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง พวก เล่น แร่ แปร ทาตุ เปน ต้น.
      ซัด หลาย (194:4.11)
               เปน ชื่อ คำ ที่ ซัด กัน มาก, เหมือน อย่าง พวก ผู้ ร้าย มัน ซัด ทอด ถึง กัน ต่อ ๆ ไป มาก เปน ต้น.
      ซัด ไว้ (194:4.12)
               คือ เปน การ ที่ ซัด เอา ไว้ นั้น, เหมือน อย่าง คน ซัด ทิ้ง สิ่ง ของ ไว้ เปน ต้น.
      ซัด ให้ (194:4.13)
               คือ การ ที่ เหวี่ยง ให้ ฤๅ ทิ้ง ให้ นั้น, เหมือน อย่าง คน โยน ให้ เปน ต้น.
ซีด (194:5)
         เปน ชื่อ ศรี ขาว โสก นั้น, เหมือน อย่าง คน สดุง ตก ใจ กลัว จน หน้า ซีด, ฤๅ คน ที่ ไข้ จับ มา นาน เปน ต้น.
ซุด (194:6)
         จม ลง, คือ เปน ชื่อ อาการ ที่ ต่ำ ลง ไป ฤๅ จม ลง ไป นั้น, เหมือน อย่าง เรือน ซุด ลง ไป ใน ดิน เปน ต้น.
      ซุด เซ (194:6.1)
               เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ซุด จม ลง ไป ใน ดิน แล้ว, เซ จะ ล้ม ไป ด้วย นั้น, เหมือน อย่าง สาลา โซ เซ เปน ต้น.
      ซุด ทรุด (194:6.2)
               เปน สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ซุด เซ หัก พัง ลง, เหมือน อย่าง สาลา โซ เซ ฤๅ วิหาร เก่า ๆ, ที่ หัก พัง ลง นั้น.
ซูด (194:7)
         เปน เสียง ดัง อย่าง หนึ่ง*, เหมือน อย่าง คน กิน ของ เผ็ด ๆ, มี แกง ปลา ไหล เปน ต้น, ทำ เสียง ดัง อย่าง นั้น.
ซวด เซ (194:8)
         ซม ซาน, เปน ชื่อ อาการ เอน ลง เกือบ จะ ล้ม นั้น เหมือน อย่าง คน กิน เหล้า ซมซาน, จวน จะ ล้ม เปน ต้น.
เซิด (194:9)
         เปน ชื่อ เครื่อง ประดับ ศีศะ*, เหมือน อย่าง มงกุฏ ฤๅ หมวก เปน ต้น นั้น.
ซน (194:10)
         ไม่ อยู่ ศุข, คือ อาการ ที่ ไม่ นิ่ง อยู่ เปน ปรกติ, ยิบ โน้น ซน นี่, เหมือน อย่าง ลิง ฤๅ ทารก เล็ก ๆ เปน ต้น.
      ซน ไฟ (194:10.1)
               เปน ชื่อ การ ที่ จับ ดุ้น ฟืน ซุก ซน เข้า ไป ใน เตา ไฟ, เหมือน อย่าง คน หุง เข้า ต้ม แกง เปน ต้น.
      ซน* เสือก (194:10.2)
               คือ การ ที่ จับ ซน เข้า แล้ว เสือก ออก นั้น, เหมือน อย่าง คน จับ เรือ ซน ไป เปน ต้น นั้น.

--- Page 195 ---
ซ่น (195:1)
         เปน ชื่อ ที่ สุด แห่ง ท้าว เบื้อง หลัง นั้น, เหมือน อย่าง ซ่น ตีน คน แล สัตว์ ทั้ง ปวง เปน ต้น.
      ซ่น กล้อง (195:1.1)
               เปน ชื่อ ที่ สุด แห่ง กล้อง อัน หุ้ม ด้วย เงิน, แล ทอง เปน ต้น, เหมือน อย่าง กล้อง สูบ ยา ทั้ง ปวง นั้น.
      ซ่น ตีน (195:1.2)
               ซ่น ท้าว, เปน ชื่อ เนื้อ ที่ ซ่น ท้าว ข้าง หลัง นั้น, เหมือน อย่าง ซ่น ตีน คน, แล สัตว์ ทั้ง ปวง นั้น.
      ซ่น* ปืน (195:1.3)
               เปน ชื่อ ที่ สุด แห่ง ปืน, เหมือน อย่าง เหล็ก ฤๅ ทอง เหลือง ที่ หุ้ม ซ่น ปืน เปน ต้น นั้น.
ซ้น (195:2)
         ล้น, คือ อาการ แห่ง สิ่ง ทั้ง ปวง, ที่ ขึ้น ไป ค้ำ* อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง คน นุ่ง ผ้า รัด ท้อง ให้ ซ้น อยู่ ข้าง บน เปน ต้น.
      ซ้น อก (195:2.1)
               คือ อาการ ที่ คน นุ่ง ผ้า รัด ท้อง ให้ ขึ้น ไป ซ้น อยู่ ที่ อก เหมือน อย่าง ลูก นก กระจาบ เปน ต้น.
      ซ้น ออก (195:2.2)
               เปน ชื่อ แห่ง สิ่ง* ของ ทั้ง ปวง ที่ ซ้น ออก มา, เหมือน กระดูก ที่ คลาด ออก จาก กัน แล้ว, เสือก ออก มา เปน ต้น.
ซั่น (195:3)
         เปน ชื่อ ของ ทั้ง ปวง ที่ ไม่ ยาว นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด ว่า เรือ สั้น เปน ต้น.
ซาน (195:4)
         ซวน, คือ อาการ ที่ ตั้ง ตัว ไม่ ตรง เซ ซวน ไป, เหมือน อย่าง คน เมา เล่า เกิน ประมาณ เปน ต้น นั้น.
ซ่าน (195:5)
         แผ่, คือ อาการ โรค ที่ เปน เม็ด ๆ ผุด ออก มา จาก ตัว เปน ผื่น, เหมือน อย่าง ประดง เปน ต้น.
      ซ่าน เซ็น (195:5.1)
               เปน ชื่อ ของ ที่ เปน น้ำ ตก กระเด็น ลง มา แล้ว, ทราบ ซ่าน ไป, เหมือน อย่าง น้ำ ฝน ตก ลง มา ที่ กระดาน เปน ต้น นั้น.
      ซ่าน (195:5.2)
               แผ่, เปน ชื่อ แห่ง อาการ ของ ที่ เปน น้ำ ตก ลง มา แล้ว แผ่ ซ่าน ออก ไป, เหมือน อย่าง น้ำ มัน หยด ลง ที่ กระดาด เปน ต้น นั้น.
ซุน (195:6)
         คือ เปน ชื่อ* แห่ง อาการ ที่ เดีร มัน ซุน ไป ข้าง หน้า, เหมือน อย่าง เรือ เกลือ เพียบ คน แจว หนัก เปน ต้น.
ซุ่น (195:7)
         เปน ชื่อ คน อย่าง นั้น ก็ มี บ้าง.
ซอน (195:8)
         เปน ชื่อ การ ที่ คน เที่ยว ซุก ซน ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน เที่ยว ด้น ไป ใน ป่า เปน ต้น.
      ซอน ซอก (195:8.1)
               เปน ชื่อ การ ที่ เที่ยว ซอก แซก ไป, ข้าง โน้น ข้าง นี้, เหมือน อย่าง คน ป่า เที่ยว ค้น* หา ของ เปน ต้น.
ซ่อน (195:9)
         เร้น, คือ เปน การ ที่ เร็น อยู่ ไม่ ให้ ผู้ ใด เหน ตัว, เหมือน อย่าง คน หนี นาย เปน ต้น.
      ซ่อน กล (195:9.1)
               ปิด บัง กล, เปน ชื่อ การ ที่ ซ่อน ความ คิด, ซ่อน เงื่อน, เหมือน อย่าง คน เล่น กล ฤๅ ดอก ไม้ กล.
      ซ่อน กัน กิน (195:9.2)
               คือ กิน ไม่ ให้ เพื่อน รู้ เหน นั้น, เหมือน อย่าง ขะโมย เขา กิน.
      ซ่อน เข้า ของ (195:9.3)
               คือ เปน การ ที่ เก็บ เข้า ของ ทั้ง ปวง มิด เมี้ยน ไว้, เหมือน อย่าง คน เก็บ เงิน ทอง ไว้.
      ซ่อน คน ไว้ (195:9.4)
               เปน การ ที่ ให้ คน เร็น อยู่ ใน ที่ กำ บัง นั้น, เหมือน อย่าง เขา ภา คน ไป ซุ่ม ไว้.
      ซ่อน เงื่อน (195:9.5)
               คือ เปน การ ที่ ปิด บัง เงื่อน ไม่ ให้ ใคร เหน, เหมือน อย่าง คน ปิด บัง ความ ไว้ เปน.
      ซ่อน หนี (195:9.6)
               เร็น หนี, คือ เปน การ ที่ คน หนี เขา ไป แล้ว ซ่อน ตัว อยู่ ใน ที่ ลับ นั้น, เหมือน อย่าง คน หลบ หนี เจ้า นี้ นั้น.
      ซ่อน เร็น (195:9.7)
               เปน การ ที่ คน ฤๅ สัตว์ เที่ยว เร็น ซ่อน อยู่ ตาม ซอก ห้วย ธาร เขา เปน ต้น นั้น, เหมือน อย่าง เกรี่ยง เปน ต้น.
ซ้อน (195:10)
         เปน ชื่อ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ วาง ทับ กัน อยู่ หลาย ชั้น, เหมือน อย่าง ดอก พุด ซ้อน แล ก่อ กำแพง เปน ต้น.
      ซ้อน กล (195:10.1)
               เปน ชื่อ* การ ที่ คน คิด กล อุบาย, ซ้อน ต่อ ความ คิด กล อุบาย ก่อน ขึ้น ไป, เหมือน อย่าง ขงเบ้ง.
      ซ้อน ความ (195:10.2)
               คือ เปน การ ที่ คน ทำ ความ ใหม่, ซ้อน ความ เก่า ขึ้น ไป นั้น, เหมือน อย่าง การ ซ้อน ความ คิด.
      ซ้อน เงื่อน (195:10.3)
               คือ เปน การ ที่ คน เอา เงื่อน ใหม่ ซ้อน เงื่อน เก่า นั้น, เหมือน อย่าง คน เสาะ ด้าย เปน ต้น.
      ซ้อน ซับ (195:10.4)
               เปน ชื่อ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ วาง ทับ กัน ต่อ ๆ ขึ้น ไป, เหมือน อย่าง ก่อ อิฐ.
      ซ้อน หลาย ชั้น (195:10.5)
               เปน ชื่อ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ ซ้อน กัน ขึ้น ไป หลาย ชั้น นั้น, เหมือน อย่าง ก่อ ตึก.
ซวน (195:11)
         เซ, คือ เปน ชื่อ อาการ ที่ เซ ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน เมา เล่า เดิร ไม่ ตรง ทาง เปน ต้น.
      ซวน เซ (195:11.1)
               ซวด เซ, เปน ชื่อ การ ที่ โซ เซ นั้น, เหมือน อย่าง คน เมา เล่า, ฤๅ คน แบก ของ หนัก เหลือ กำลัง.
      ซ่วน (195:11.2)
               เปน ชื่อ คน อย่าง นั้น ก็ มี บ้าง, เขา ย่อม เรียก กัน ว่า นาง ซ่วน นั้น.

--- Page 196 ---
เซี่ยน (196:1)
         เปน ชื่อ ของ ที่ เปน เส้น ๆ, แตก ออก จาก เนื้อ ไม้, คล้าย ๆ หนาม, เหมือน อย่าง ไม้ หมาก
      เซี่ยน หนาม (196:1.1)
               เปน ชื่อ เซี่ยน ที่ เปน หนาม แตก ออก จาก เนื้อ ไม้ ทั้ง ปวง, เหมือน อย่าง ไม้ หลาว ฉะโอน.
ซบ (196:2)
         ก้ม ลง, คือ อาการ ที่ ก้ม หน้า ลง นั้น, เหมือน อย่าง คน เปน ทุก โศรก เศล้า ก้ม หน้า ซบ ลง กับ หมอน นั้น.
      ซบ เซา (196:2.1)
               คือ อาการ ที่* ก้ม หน้า ซบ ลง นิ่ง อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง คน เจ็บ เปน ไข้ ซึม, ฤๅ คน เมา เกิน ขนาด.
      ซบ หน้า ลง (196:2.2)
               คือ อาการ ที่ ก้ม หน้า ลง นั้น, เหมือน อย่าง คน มี ความ ทุกข์ หนัก.
      ซบ นิ่ง (196:2.3)
               คือ อาการ คน ที่ ก้ม หน้า ซบ ลง นิ่ง อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง คน ทำ ความ ชั่ว ไว้ อาย นัก เปน ต้น.
      ซบ หัว ลง (196:2.4)
               เปน ชื่อ อาการ ที่* ก้ม หัว ลง นั้น, เหมือน อย่าง คน หาว นอน เกิน ประมาณ จน ยก หัว ไม่ ขึ้น เปน ต้น.
ซับ (196:3)
         ชุบ, เปน ชื่อ การ ที่ เอา สิ่ง ของ มี ผ้า เปน ต้น, แต้ม ชุบ เหื่อ ฤๅ น้ำ ให้ แห้ง นั้น, เหมือน อย่าง ผ้า ซับ เหื่อ เปน ต้น
      ซับ* ทราบ (196:3.1)
               เปน ชื่อ อาการ ที่ น้ำ ที่ ซึม ซาบ ไป, เหมือน อย่าง ฟอง ทะเล ชุบ น้ำ, ฤๅ ความ รู้ นั้น.
      ซับ ซ้อน (196:3.2)
               เปน การ ที่ เอา ผ้า สอง ผืน ซ้อน ทาบ กัน ลง เย็บ ริม ขอบ รอบ เปน ผืน เดียน นั้น.
      ซับ หน้า (196:3.3)
               เปน ชื่อ การ เอา ผ้า บาง ๆ แต้ม เหื่อ ที่ หน้า นั้น, เหมือน อย่าง การ เช็ด หน้า.
      ซับ ใน (196:3.4)
               เปน ชื่อ ผ้า ห่ม ชั้น ใน, ที่ สำรับ กัน เหื่อ นั้น, เหมือน อย่าง ผ้า สะใบ เปน ต้น นั้น.
      ซับ เลือด (196:3.5)
               คือ การ ที่ เอา สิ่ง ของ มี ผ้า เปน ต้น ชุบ เลือด, ฤๅ แต้ม เลือด นั้น, เหมือน อย่าง การ เช็ด เลือด เปน ต้น.
ซาบ (196:4)
         รู้, แจ้ง, คือ เปน ชื่อ อาการ ที่ เปียก ซ่าน ไบ นั้น, เหมือน อย่าง ผ้า ฤๅ กะดาด เปียก น้ำ เปน ต้น. อนึ่ง คือ รู้ นั้น ด้วย.
      ซาบ เกล้า ซาบ กระหม่อม (196:4.1)
               เปน ชื่อ ความ ที่ รู้ นั้น, แต่ เปน คำ ใช้ จำเภาะ กราบ ทูล เท่า นั้น.
      ซาบ ข่าว (196:4.2)
               คือ ความ ที่ รู้ ข่าว นั้น, แต่ เปน คำ พูด กับ ผู้ มี บัน ดาศักดิ์, เหมือน อย่าง ขุนนาง ผู้ ใหญ่ เปน ต้น.
      ซาบ ความ (196:4.3)
               เปน ชื่อ การ ที่ รู้ ความ นั้น, แต่ เปน ความ เปรียบ เหมือน อย่าง น้ำ ที่ ทราบ ไป.
      ซาบ ใจ (196:4.4)
               เปน ชื่อ ความ ที่ รู้ ทั่ว ใน ใจ นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ ฟัง คำ สั่งสอน, รู้ ชัด เจน ใน ใจ เปน ต้น.
      ซาบ ซ่าน (196:4.5)
               คือ เปน อาการ ที่ แล่น ไป ทั่ว ตัว, เหมือน อย่าง คน กิน เล่า เค่ม* เข้า ไป นั้น.
      ซาบ ซึม (196:4.6)
               เปน ชื่อ น้ำ ที่ ไหล ซึม ออก มา, เหมือน อย่าง หิน กรอง น้ำ ฤๅ ม่อ ใหม่, ที่ ใส่ น้ำ ตั้ง ไว้*.
      ซาบ ทั่ว (196:4.7)
               เปน ชื่อ อาการ ที่ ซึม เปียก ทั่ว ไป, เหมือน อย่าง ม่อ ที่ ใส่ เกลือ ฤๅ ใส่ น้ำ มัน ไว้ นั้น.
      ซาบ เนื้อ ความ (196:4.8)
               คือ เปน คำ รู้ เนื้อ ความ นั้น, เหมือน อย่าง คน พูด กับ คน ผู้ มี บันดา ศักดิ์ ว่า, ข้าพเจ้า ทราบ เนื้อ ความ แล้ว เปน ต้น.
      ซาบ แล้ว (196:4.9)
               แจ้ง แล้ว, เปน คำ ว่า รู้ แล้ว นั้น, เหมือน* อย่าง เฃา พูด กัน ว่า, ข้าพเจ้า เข้า ใจ แล้ว.
      ซาบ อาบ (196:4.10)
               คือ เปน อาการ น้ำ ที่ เปียก อาบ ทราบ ไป นั้น, เหมือน อย่าง กระดาด ถูก น้ำ มัน เปน ต้น.
ซิบ (196:5)
         คือ เปน อาการ ที่ เปียก ซึม ๆ นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, เลือด ออก ซิบ ๆ เปน ต้น.
ซุบ ซิบ (196:6)
         คือ เปน เสียง คน พูด กัน ถึง ความ ลับ เบา ๆ ใน ฅอ, ได้ ยิน เสียง มัน ดัง อย่าง นั้น.
ซูบ (196:7)
         ผอม, ยุบ ลง, เหี่ยว ลง, เปน ชื่อ อาการ แห่ง ร่าง กาย ผอม เหี่ยว แห้ง ลง นั้น, เหมือน อย่าง คน แต่ ก่อน เคย อ้วน ภี, ภาย หลัง ผอม ลง หน่อย หนึ่ง นั้น.
      ซูบ ผอม (196:7.1)
               คือ อาการ แห่ง ร่าง กาย เหี่ยว แห้ง ยุบ ลง, เหมือน อย่าง คน เปน ไข้ ผอม ลง นั้น.
      ซูบ ลง (196:7.2)
               เปน ชื่อ อาการ ที่ ผอม ลง กว่า เก่า หน่อย หนึ่ง, เหมือน อย่าง คน แก่, เนื้อ หนัง ที่ ยุบลง ตัว ไป หน่อย หนึ่ง นั้น.
      ซูบ เหี่ยว (196:7.3)
               คือ อาการ ที่ คน เนื้อ หนัง เหี่ยว ซูบ ลง นั้น, เหมือน* อย่าง คน แก่ ลง ตัว นั้น.
เซียบ (196:8)
         คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ที่ แหลม ไม่ ป้าน นั้น, เหมือน อย่าง คน เซี้ยม ควาก ให้ แพลม เซียบ เปน ต้น.
ซม (196:9)
         เซอะ, เปน ชื่อ อาการ ที่ ลืม ตา ไม่ ขึ้น นั้น, เหมือน อย่าง คน เปน ไข้ หนัก, ฤๅ คน เจ็บ ตา.
      ซม ซาน (196:9.1)
               เปน อาการ ที่ ตา มืด ไม่ เหน อะไร, เหมือน อย่าง คน ตา บอด ไม่ เหน หน ทาง, เที่ยว เซอะ ซะ ไป.

--- Page 197 ---
ซ่ม (197:1)
         เปรี้ยว, เปน ชื่อ ไม้ อย่าง หนึ่ง หลาย พรรค์, ลูก กลม ๆ, ข้าง* ใน เปน กลีบ ๆ, มี น้ำ รศ เปรี้ยว, เขา ปลูก ไว้ ตาม สวน มาก
      ซ่ม แก้ว (197:1.1)
               เปน ชื่อ ซ่ม อย่าง หนึ่ง, ผล โต เท่า ซ่ม เกลี้ยง, มี น้ำ มาก กิน ดี, เขา มัก ทำ ซ่ม ลอย แก้ว.
      ซ่ม แก้ว กลาย (197:1.2)
               ซ่ม อย่าง หนึ่ง, คล้าย ซ่ม เปลือก บาง, แต่ ผล โต เท่า ซ่ม แก้ว, มี น้ำ มาก กิน ดี.
      ซ่ม เกลี้ยง (197:1.3)
               ซ่ม อย่าง หนึ่ง, ผล โต เท่า ซ่ม แก้ว, แต่ ผิว เปลือก นั้น เกลี้ยง, กิน หวาน ดี มี น้ำ มาก.
      ซ่ม จุก (197:1.4)
               ซ่ม อย่าง หนึ่ง, ผล เท่า ซ่ม เปลือก บาง, แต่ ที่ คั่ว นั้น มี จุก แหลม ขึ้น ไป, กิน ดี มี น้ำ มาก.
      ซ่ม จีน (197:1.5)
               ซ่ม อย่าง หนึ่ง, ผล เท่า ซ่ม เขียว หวาน, มา แต่ เมือง จีน, กิน หวาน สนิท ดี นัก.
      ซ่ม เขียว หวาน (197:1.6)
               ซ่ม อย่าง หนึ่ง คล้าย ๆ ซ่ม เปลือก บาง, แต่ เปลือก ยัง เขียว อยู่ นั้น, ก็ มี รศ หวาน ดี.
      ซ่ม เทพรศ (197:1.7)
               ซ่ม อย่าง หนึ่ง คล้าย ๆ ซ่ม อ้าย มุ่ย, แต่ รศ นั้น หวาน สนิท กิน ดี นัก, เหมือน ซ่ม จีน.
      ซ่ม เปลือก บาง (197:1.8)
               ซ่ม อย่าง หนึ่ง, แต่ เปลือก นั้น บาง, กิน ดี มี น้ำ มาก, คล้าย ๆ ซ่ม แก้ว กลาย.
      ซ่ม มะกรูด (197:1.9)
               ซ่ม อย่าง หนึ่ง, ผิว ครุะ คระ รศ เปรี้ยว นัก, สำรับ ใช้ ทำ ยา บ้าง ดม ผิว บ้าง.
      ซ่ม มะงั่ว (197:1.10)
               ซ่ม อย่าง หนึ่ง, ผล คล้าย ๆ ซ่ม โอ, รศ เปรี้ยว ยิ่ง นัก, ใช้ ทำ ยา บ้าง ย้อม ผ้า บ้าง.
      ซ่ม มะนาว (197:1.11)
               ซ่ม อย่าง หนึ่ง, ผล กลม ๆ เล็ก ๆ, รศ เปรี้ยว ยิ่ง นัก.
      ซ่ม มะแป้น (197:1.12)
               ซ่ม อย่าง หนึ่ง, ลูก แป้น ๆ รศ เปรี้ยว ๆ หวาน ๆ เจือ กัน กิน ดี.
      ซ่ม โอ (197:1.13)
               ซ่ม อย่าง หนึ่ง, ลูก โต กว่า ซ่ม ทั้ง ปวง, รศ เปรี้ยว บ้าง หวาน บ้าง.
      ซ่ม อ้ายมุ่ย (197:1.14)
               ซ่ม อย่าง หนึ่ง, คล้าย ๆ ซ่ม เทพรศ, หวาน เย็น คล้าย ซ่ม จีน กิน ดี.
ซั้ม (197:2)
         เปน ชื่อ คำ บ่อย นั้น, เหมือน อย่าง คน พูด แล้ว, พูด อีก ฤๅ ทำ แล้ว ทำ อีก ซั้ม ไป.
ซาม (197:3)
         เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ กำลัง ดี, ฤๅ ภอ ดี เปน ต้น นั้น. อนึ่ง คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เบา บาง, เหือด ลง นั้น.
      ซาม กิน (197:3.1)
               เปน ชื่อ ของ ที่ กำลัง กิน นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, มะพร้าว อ่อน ซาม กิน เปน ต้น.
      ซาม ขะนอง (197:3.2)
               เปน ชื่อ อาการ ที่ กำลัง เล่น ขะนอง นั้น, เหมือน อย่าง เด็ก มี อายุ ได้ สิบ สี่ ปี สิบ ห้า ปี นั้น.
      ซาม แคะ (197:3.3)
               เปน ชื่อ ของ ที่ กำลัง แคะ กิน ภอ ดี นั้น, เหมือน มะพร้าว อ่อน ซาม แคะ.
      ซาม ช้อน (197:3.4)
               เปน ชื่อ ของ กำลัง ที่ จะ เอา ช้อน ตัก กิน ภอ ดี นั้น, เหมือน อย่าง มะพร้าว ซาม ช้อน.
      ซาม ชม (197:3.5)
               คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ น่า ชม, ที่ กำลัง ชม นั้น, เหมือน อย่าง ลูก รักษ์ อายุ สี่ ขวบ ห้า ขวบ เปน ต้น.
      ซาม เชย (197:3.6)
               คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ น่า ชม, ที่ กำลัง ชม นั้น, เหมือน อย่าง ผัว หนุ่ม เมีย สาว อยู่ ด้วย* กัน ใหม่ ๆ
      ซาม สงวน (197:3.7)
               เปน อาการ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ กำลัง จะ สงวน รักษา ไว้ นั้น, เหมือน อย่าง มารดา ที่ สงวน ลูก สาว ไว้ นั้น.
      ซาม สวาศ (197:3.8)
               อาการ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ กำดัด รักษ์ นั้น, เหมือน อย่าง เมีย สาว รูป งาม, ที่* กำลัง อยู่ ด้วย กัน ใหม่ ๆ
ซึม (197:4)
         เชื่อม, คือ อาการ ที่ เปน ไข้ เชื่อม มัว ไป, ฤๅ น้ำ ที่ ทราบ ออก มา จาก ม่อ เปน ต้น.
      ซึม ทราบ (197:4.1)
               คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เปียก เยิ้ม ออก มา นั้น, เหมือน อย่าง น้ำ มัน ฤๅ น้ำ เกลือ, ที่ ซึม ทราบ ออก จาก ม่อ เปน ต้น.
ซุ่ม (197:5)
         ซ่อน, เร็น, คือ การ ที่ แอบ ซ่อน อยู่ ไม่ ให้ คน อื่น เหน นั้น, เหมือน อย่าง ลูก นี่ หนี หลบ นาย เงิน เปน ต้น.
      ซุ่ม ซ่อน (197:5.1)
               คือ การ ที่ ซุ่ม ซ่อน อยู่, ไม่ ให้ คน อื่น ภบ ปะ นั้น, เหมือน อย่าง คน หนี ไภย เปน ต้น.
      ซุ่ม ซ่าม (197:5.2)
               คือ อาการ ที่ คน ไม่ รู้ จัก ธรรม เนียม ดี นั้น, เหมือน อย่าง คน ไม่ มี อาชา, จะ พูด จา ไม่ รู้ จัก ผิด เปน ต้น.
ซุ้ม (197:6)
         จอม, กระโจม, เปน ชื่อ แห่ง เซิง หญ้า เซิง หวาย, ที่ รก ชัด ปก คลุม อยู่ เบื้อง บน, ไต้ นั้น เปน โพรง, เหมือน ซุ้ม หมู.
      ซุ้ม กะต่าย (197:6.1)
               เปน ชื่อ กอ หญ้า ที่ กะต่าย ทำ เปน ซุ้ม อยู่* อนึ่ง เปน ชื่อ หญ้า อย่าง หนึ่ง, เขา ย่อม เรียก ดัง นั้น.

--- Page 198 ---
      ซุ้ม กระจก (198:6.2)
               เปน ชื่อ ไม้ กรอบ ที่ เขา ทำ เปน ซุ้ม, สำรับ ใส่ กระจก นั้น, เหมือน อย่าง กระจก ซุ้ม ที่ มา แต่ เมือง นอก นั้น.
      ซุ้ม น้ำ (198:6.3)
               เปน ชื่อ ที่ สำรับ อาบ น้ำ, ทำ เปน ห้อง เล็ก ๆ, แล้ว มี หลังคา เปน ซุ้ม ด้วย นั้น.
      ซุ้ม ประตู (198:6.4)
               เปน ชื่อ แห่ง ประตู ทำ เปน ซุ้ม มี ยอด นั้น, เหมือน อย่าง ประตู วัด, ฤๅ ประตู ใน พระ ราชวัง นั้น.
      ซุ้ม น่าต่าง (198:6.5)
               เปน ชื่อ น่าต่าง ที่ ทำ เปน ซุ้ม มี ยอด นั้น, เหมือน อย่าง ซุ้ม น่าต่าง โบษถ์, แล พระ วิหาร นั้น.
      ซุ้ม หมู (198:6.6)
               เปน ชื่อ สุมทุม หญ้า, ที่ หมู ป่า ทำ ซุ้ม อาไศรย อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง กระโจม.
แซม (198:1)
         ซ่อม, เสียด, เปน การ ที่ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ขาด ถะลุ ไป บ้าง เล็ก น้อย, แล้ว เอา ของ อื่น เสิยด แซก เข้า, เหมือน อย่าง แซม หลังคา เรือน เปน ต้น นั้น.
      แซม เกษ (198:1.1)
               เปน การ ที่ คน เอา สิ่ง ของ ต่าง ๆ, เสียด แซม เข้า ที่ ผม นั้น, เหมือน อย่าง คน เอา ดอก ไม้, แซม ที่ มวย ผม นั้น.
      แซม กระหม่อม (198:1.2)
               เปน การ ที่ เอา ดอกไม้ แซม ผม ที่ จุก, กลาง กระหม่อม นั้น.
      แซม กรง (198:1.3)
               เปน การ ที่ เอา ดอก ไม้ แซม ที่ เปล ทำ ด้วย ไม้, เปน ลูก กรง นั้น. อนึ่ง คน เอา ดอก ไม้ แซม กรง ที่ สำรับ ใส่ นก นั้น.
      แซม เกล้า (198:1.4)
               เปน การ ที่ เอา ดอก ไม้ แซม ที่ มวย ผม, เหมือน อย่าง หญิง พวก ลาว, พวก มอญ นั้น.
      แซม ของ (198:1.5)
               เปน การ ที่ เอา ของ ต่าง ๆ มา แซม ที่ ของ ขาด.
      แซม ขาด (198:1.6)
               เปน การ ที่ เอา สิ่ง ของ ต่าง ๆ มา แซม ของ ที่ ขาด.
      แซม จาก (198:1.7)
               เปน การ ที่ เอา จาก แซม สิ่ง ของ ต่าง ๆ ที่ ถะลุะ.
      แซม ช่อง (198:1.8)
               เปน การ ที่ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ขาด, ฤๅ ถะลุะ แล้ว เอา ของ อื่น แซม ให้ ดี.
      แซม หลังคา (198:1.9)
               เปน การ ที่ คน เอา จาก ฤๅ กระเบื้อง, แซม ที่ หลังคา ถะลุ นั้น.
      แซม รั้ว (198:1.10)
               เปน การ ที่ คน เอา ไม้ ไป แซม รั้ว, ที่ หัก เปน ช่อง อยู่ นั้น.
      แซม หัว (198:1.11)
               เปน การ ที่ คน เอา สิ่ง ของ ต่าง ๆ มา แซม หัว, เหมือน อย่าง พวก หญิง มอญ, เอา ดอกไม้ แชม มวย ผม.
      แซม อก (198:1.12)
               เปน การ ที่ คน เอา เครื่อง ประดับ เข้า ที่ อก นั้น.
โซม (198:2)
         ฉะโลม, อาบ, เปน อาการ ที่ ยุบ ลง, ฤๅ ลด ลง, ฤๅ ไหล อาบ นั้น, เหมือน อย่าง ฝี ที่ บวม ขึ้น แล้ว, ยุบ ลง, ฤๅ เอา น้ำ มัน โซม เหล็ก เปน ต้น นั้น.
      โซม* แก้ม (198:2.1)
               คือ อาการ แห่ง สิ่ง ที่ เปน น้ำ ไหล อาบ แก้ม นั้น.
      โซม กาย (198:2.2)
               คือ อาการ แห่ง สิ่ง ที่ เปน น้ำ ไหล อาบ ตัว อยู่ นั้น.
      โซม ขา (198:2.3)
               เปน อาการ ที่ เหื่อ ฤๅ น้ำ ไหล อาบ ขา อยู่ นั้น.
      โซม แข้ง (198:2.4)
               เปน อาการ ที่ เลือด ฤๅ เหื่อ ไหล อาบ แข้ง อยู่ นั้น.
      โซม งวง (198:2.5)
               เปน น้ำ ตาล ฤๅ น้ำ มัน, ที่ ไหล อาบ งวง อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง คน ทำ ตาล, ฤๅ ช้าง ตก มัน.
      โซม ตัว (198:2.6)
               เปน อาการ ที่ เลือด ฤๅ เหื่อ, ไหล อาบ ตัว อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง คน ต้อง ฟัน, ฤๅ คน เข้า กระโจม นั้น.
      โซม หน้า (198:2.7)
               เปน อาการ แห่ง น้ำ เหื่อ ที่ ไหล อาบ หน้า อยู่ นั้น.
      โซม น้ำ มัน (198:2.8)
               เปน ชื่อ การ ที่ เอา น้ำ มัน ทา ฉะโลม สิ่ง ของ ให้ ไหล อาบ อยู่ นั้น.
      โซม ภัตร (198:2.9)
               อาบ หน้า, เปน อาการ ที่ เหื่อ ไหล อาบ หน้า เจ้า.
      โซม ยุบ (198:2.10)
               คือ เปน อาการ แห่ง สิ่ง ของ ที่ พอง ขึ้น แล้ว, กลับ โซม ยุบ ลง ไป นั้น.
      โซม เลือด (198:2.11)
               เปน ชื่อ อาการ ที่ เลือด ไหล อาบ ไป นั้น.
      โซม เหื่อ (198:2.12)
               เปน อาการ ที่ เหื่อ ไหล อาบ ไป นั้น.
      โซม องค์ (198:2.13)
               เปน อาการ เหื่อ ฤๅ น้ำ ที่ ไหล เปียค ไป ทั้ง กาย นั้น.
      โซม อาบ (198:2.14)
               เปน การ ที่ คน เอา สิ่ง ของ มี น้ำ มัน เปน ต้น, ฉะ โลม อาบ เครื่อง เหล็ก, ด้วย ประสงค์ มิ ให้ มี สนิม เปน ต้น.
ซ่อม (198:3)
         เปน ชื่อ แท่ง ของ ทำ ด้วย เหล็ก บ้าง, เงิน บ้าง, เปน สอง ง่าม บ้าง, สาม ง่าม บ้าง, สำรับ แทง ของ กิน, ฤๅ แทง ปลา ไหล เปน ต้น.
      ซ่อม เงิน (198:3.1)
               เปน ชื่อ ซ่อม ที่ ทำ ด้วย เงิน, เปน สอง ง่าม บ้าง, สาม ง่าม บ้าง, สำรับ แทง ของ กิน นั้น.
      ซ่อม แซม (198:3.2)
               เปน การ จัด แจง ทำ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ชำรุท นั้น ให้ ดี ขึ้น, เหมือน อย่าง เรือน เก่า ชำรุท, แล้ว ทำ ใหม่ ให้ ดี
      ซ่อม หนังสือ (198:3.3)
               เปน การ ที่ จัด แจง ทำ หนังสือ ที่ หาย บ้าง, ตก บ้าง ให้ ครบ เต็ม บริบูรณ ขึ้น นั้น.
      ซ่อม แทง ปลา ไหล (198:3.4)
               เปน ชื่อ เครื่อง มือ สำรับ แทง ปลา ไหล, ทำ ด้วย เหล็ก เปน สอง ง่าม, มี ด้ำ ยาว สอง ศอก เศศ.

--- Page 199 ---
      ซ่อม แปลง (199:3.5)
               เปน การ ทำ ของ เก่า ชำรุท แล้ว, จัด แจง ซ่อม ทำ ไหม่ เปลี่ยน แปลง ยัก ทำ อย่าง อื่น บ้าง นั้น.
ซ้อม (199:1)
         เปน ชื่อ แห่ง สรรพ วิชา ทั้ง ปวง มี มวย ปล้ำ เปน ต้น ละ ไว้ นาน, ครั้น มา ภาย หลัง จัด แจง หัด ปฤๅ ซ้อม ขึ้น ใหม่ ให้ คล่อง นั้น.
      ซ้อม กัน (199:1.1)
               คือ ความ ที่ คน พูด จา สัญา กัน ให้ มั่น คง นั้น, เหมือน อย่าง เจ้า นี่ กับ ลูก นี่ ซัก ซ้อม กับ ว่า, ท่าน กับ เรา เสรจ กัน เปน ต้น.
      ซ้อม* การ (199:1.2)
               คือ การ งาน ทั้ง ปวง ที่ เคย ทำ นั้น ทิ้ง ไว้ นาน แล้ว, ลง มือ ซ้อม กัน ใหม่, เหมือน อย่าง ซ้อม ผี ภาย นั้น.
      ซ้อม เข้า (199:1.3)
               เปน การ ที่ เอา เข้า กล้อง ใส่ ลง ใน ครก มือ, ฤๅ ครก กระเดื่อง แล้ว ตำ ให้ ขาว, เหมือน คน ถีบ กระเดื่อง นั้น.
      ซ้อม ของ (199:1.4)
               คือ ความ ที่ คน ซื้อ, กับ คน ขาย, พูด ซ้อม กัน ด้วย สิ่ง ของ ว่า, เรา ยัง ติด ค้าง เจ้า อยู่ เท่า นี้ เท่า นั้น.
      ซ้อม ขาด (199:1.5)
               พูด ซ้อม กัน ว่า, ถ้า ข้า ให้ เงิน เจ้า เท่า นั้น แล้ว เปน ขาด กัน, เหมือน ผัว เมีย อย่า กัน นั้น.
      ซ้อม โขน (199:1.6)
               คือ การ ที่ พวก ครู เอา พวก โขม มา เล่น ซ้อม กัน นั้น, เหมือน อย่าง ครู ซ้อม มือ พวก โขน นั้น.
      ซ้อม เค้า (199:1.7)
               คือ ความ ที่ คน ซ้อม สิ่ง ของ ตาม เค้า เดิม, เหมือน อย่าง คน ชัก หัว เบี้ย บ่อน, ซ้อม เค้า ปี้ สะกา กับ นาย บ่อน.
      ซ้อม คำ (199:1.8)
               คือ ความ ที่ คน ซัก ซ้อม ปาก คำ กัน นั้น, เหมือน อย่าง กลับ ทวน ถาม ถ้อย คำ เปน ต้น.
      ซ้อม ค้าง (199:1.9)
               คืน ความ ที่ คน พูด ซ้อม กัน ว่า, ของ ข้า ยัง ค้าง ติด เจ้า อยู่ เท่า นั้น หนา, เหมือน อย่าง พวก นักเลง ซ้อม ค้าง กัน นั้น.
      ซ้อม* งาน (199:1.10)
               คือ ความ ที่ คนหา งาน โขน ละคอน เปน ต้น, แล้ว ซ้อม งาน กัน ว่า, วัน นั้น คืน นั้น เปน วัน งาน, ท่าน อย่า ลืม.
      ซ้อม เงิน (199:1.11)
               คือ ความ ที่ คน ซัก ซ้อม กัน ว่า, เงิน เดิม มี อยู่ เท่า นั้น, เงิน ขึ้น ใหม่ เท่า นี้, เหมือน อย่าง พวก ชาว คลัง.
      ซ้อม งิ้ว (199:1.12)
               คือ การ ที่ พวก งิ้ว ซ้อม มือ กัน นั้น.
      ซ้อม งัว (199:1.13)
               คือ การ ที่ คน เอา งัว บ้าง, คน บ้าง, วิ่ง ซ้อม หัด ไว้ ให้ เคย, เหมือน อย่าง วิ่ง วัว คน พะนัน กัน นั้น.
      ซ้อม จันหวะ (199:1.14)
               คือ การ ที่ คน ซ้อม กลอน เพลง ทั้ง ปวง นั้น
      ซ้อม เจน (199:1.15)
               คือ การ ที่ คน ซ้อม หัด วิชา การ ทั้ง ปวง ให้ ชัด เจน, ให้ ชำนาญ ใจ นั้น.
      ซ้อม แจว (199:1.16)
               คือ การ ที่ คน ซ้อม หัด แจว เรือ ให้ ชำนาญ, เหมือน อย่าง พวก ทะหาร แจว เรือ ยวน เปน ต้น.
      ซ้อม ซัก (199:1.17)
               คือ การ ที่ คน หัด ซัก ซ้อม วิชา ทั้ง ปวง, เหมือน อย่าง คน หัห สวด, หัด ร้อง เพลง นั้น.
      ซ้อม บท (199:1.18)
               คือ การ ที่ คน ซ้อม เพลง, ฤๅ ละคอน ตาม บท ร้อง บท รำ นั้น.
      ซ้อม แบบ (199:1.19)
               คือ การ ที่ ซ้อม วิชา การ ทั้ง ปวง ตาม แบบ, ตาม อย่าง นั้น.
      ซ้อม พวน (199:1.20)
               คือ การ ที่ คน หีบ ชาน อ้อย เปน คราว ที่ สอง นั้น.
      ซ้อม ไว้ (199:1.21)
               คือ การ ที่ ได้ ซ้อม หัด ฝึก ฝน ไว้ ไม่ ให้ หลง ลืม นั้น,.
      ซ้อม ลาย มือ (199:1.22)
               คือ การ ที่ คน เขียน หนังสือ ดี อยู่ แล้ว เสีย ไป, ก็ กลับ ซ้อม ลาย มือ ให้ ดี ขึ้น นั้น.
      ซ้อม สอบ (199:1.23)
               คือ การ ที่ คน หัด ซ้อม วิชา การ ทั้ง ปวง ลอง สอบ ดู ว่า, จะ เหมือน อย่าง เก่า ฤๅ ไม่ นั้น.
      ซ้อม หัด (199:1.24)
               คือ การ ที่ คน หัด ซ้อม การ งาน ทั้ง ปวง นั้น.
ซ่วม (199:2)
         กอด, ถาน, คือ การ ที่ กอด รัด นั้น. อนึ่ง เปน เว็จ พวก พระ สงฆ์ สำรับ ถ่าย อุจาระ, เหมือน กุฎี เล็ก ๆ นั้น.
      ซ่อม กอด (199:2.1)
               คือ อาการ ที่ กอด รัด นั้น, เหมือน อย่าง ผัว หนุ่ม เมีย สาว ที่ รักษ์ กัน, อยู่ ด้วย กัน ใหม่ ๆ เปน ต้น นั้น.
เซี่ยม (199:3)
         คือ การ ที่ คน เอา มีด ถาก สิ่ง ของ ทั้ง ปวง มี ไม้ เปน ต้น ให้ แหลม, เหมือน อย่าง เสี่ยม หลัก ให้ แหลน นั้น.
      เซี่ยม เขา ควาย ให้ ชน กัน (199:3.1)
               คือ การ ที่ ยุ ยง ให้ เพื่อน บ้าน ถะ เลาะ กัน นั้น, เปรียบ เหมือน เซี่ยม เขา ควาย ให้ ชน กัน.
      เซี่ยม สอน (199:3.2)
               คือ ความ ที่ สั่ง สอน คน โง่ ให้ มี ปัญา ฉลาด ขึ้น นั้น, เปรียบ เหมือน เซี่ยม ไม้ ให้ แหลม ขึ้น เปน ต้น.
เซี้ยม (199:4)
         เปน ชื่อ ฝา เซี้ยม ลาย ทอง, ที่ เขา ทำ มา แต่ เมือง จีน นั้น, เหมือน อย่าง ฝา ลูก เกล็ด เมือง ไท เปน ต้น.
เซื่อม (199:5)
         เปน กิริยา ที่ เชื่อม ๆ ช้า ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คน เมา ฝิ่น มัว นอน นั้น.
ซาย (199:6)
         เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ ละเอียด เปน เม็ด เล็ก ๆ, เหมือน น้ำ ตาล ทราย. อนึ่ง เปน สัตว สี่ ท้าว รูป เหมือน กวาง.

--- Page 200 ---
      ซาย ขี้ เป็ด (200:6.1)
               เปน ทราย อย่าง หนึ่ง ศี ดำ ๆ, คล้าย กับ ขี้ เป็ด นั้น, เหมือน อย่าง ทราย ปน เลน ตาม ชาย ทะเล นั้น.
      ซาย ขาว (200:6.2)
               คือ ทราย ศี ขาว นั้น.
      ซาย แดง (200:6.3)
               เปน ทราย ศี แดง นั้น, เหมือน อย่าง ทราย ที่ บัง เกิด ตาม หาด เมือง เหนือ.
      ซาย อ่อน (200:6.4)
               เปน ทราย ที่ ละเอียด, เหมือน แป้ง ที่ ตรอง แล้ว.
ซ้าย (200:1)
         คือ อาการ ที่ นั่ง มี หน้า จำเภาะ ต่อ ทิศ ตวัน ออก แล้ว, มือ แล ท้าว ฝ่าย ข้าง ทิศ อุดร นั้น ว่า ซ้าย เขา พูด ว่า มือ ซ่าย มือ ขวา.
ซาว (200:2)
         เปน ชื่อ การ ล้าง น้ำ, เหมือน อย่าง คน เอา เข้า สาร ใส่ ม่อ แล้ว ซาว น้ำ, แล้ว หุง กิน นั้น.
      ซาว เข้า (200:2.1)
               เปน ชื่อ การ ที่ เอา เข้า สาร ใส่ ม่อ ลง แล้ว ซาว น้ำ เสีย หน หนึ่ง บ้าง, สอง หน บ้าง นั้น.
      ซาว น้ำ (200:2.2)
               เปน ชื่อ การ ที่ เอา สิ่ง ของ ทั้ง ปวง คน ๆ ล้าง น้ำ นั้น.
      ซาว ม่อ (200:2.3)
               เปน ชื่อ การ ที่ เอา ม่อ ใส่ เข้า สาร แล้ว ซาว นั้น, เหมือน อย่าง คน หุง เข้า กิน นั้น.
ซ่าว (200:3)
         เปน ชื่อ แห่ง ลำ ไม้ เล็ก ๆ ยาว ประมาณ เก้า ศอก, สิบ ศอก, แล้ว เอา ไม้ ผูก ทำ เปน ฃอ, สำรับ เกี่ยว กิ่ง ไม้.
      ซ่าว ต่อ นก (200:3.1)
               เปน ชื่อ แห่ง ไม้ ซ่าว ที่ สำรับ ใส่ พะเนียด ต่อ นก เขา นั้น.
ซิว (200:4)
         เปน ชื่อ ปลา ตัว เล็ก ๆ อย่าง หนึ่ง, อยู่ ตาม แม่ น้ำ บ้าง, ตาม คลอง บ้าง, เขา เรียก ปลา ซิว
ซุย (200:5)
         คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ร่วน ไม่ เหนียว นั้น, เหมือน อย่าง ดิน ปน ทราย ที่ ร่วน ซุย นั้น.
      ซุย ร่วน (200:5.1)
               คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ไม่ เหนียว, ร่วน ซุย ไป นั้น, เหมือน อย่าง ดิน ร่วน นั้น.
แซ่ว (200:6)
         เปน ชื่อ แห่ง อาการ นั่ง* ฤๅ นอน เหยียด อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง พวก คน โทษ ต้อง จำ ห้า ประการ แซ่ว อยู่ นั้น.
      แซ่ว นอน (200:6.1)
               คือ การ ที่ นอน นิ่ง อยู่ หวั่น ไหว กาย ไม่ ได้ นั้น, เหมือน อย่าง คน เจ็บ เปน ไข้ หนัก เต็ม ที่.
ซอย (200:7)
         เปน ชื่อ การ ที่ เอา มีด หั่น สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ทำ เปน ชิ้น เล็ก ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คน ซอย ขิง เปน ต้น.
      ซอย กะทือ (200:7.1)
               เปน ชื่อ การ ที่ เอา มีด ซอย หั่น กะทือ ทำ เปน ชิ้น เล็ก ๆ
      ซอย กะเทียม (200:7.2)
               เปน ชื่อ การ ที่ ซอย กะเทียม ทำ ชิ้น บาง ๆ เล็ก ๆ.
      ซอย ขิง (200:7.3)
               การ ที่ เอา มีด* ซอย ขิง เปน ชิ้น ละเอียด เล็ก ๆ.
ซ่อย (200:8)
         เปน ชื่อ เครื่อง ประดับ ทำ ด้วย ทอง คำ เปน สาย ๆ มี หลาย อย่าง. อนึ่ง ขน ที่ ประดับ ฅอ นก ทั้ง ปวง, เหมือน อย่าง ขน ซ่อย ฅอ นก เขา นั้น.
      ซ่อย กะดูกงู (200:8.1)
               เปน ชื่อ สาย ซ่อย ทำ ด้วย ทอง คำ ต่อ ติด กัน เปน ข้อ ๆ นั้น, เหมือน อย่าง กระดูก สัน หลัง งู.
      ซ่อย ฅอ (200:8.2)
               เปน ชื่อ สาย ซ่อย ทำ ด้วย ทอง คำ, สำรับ ประดับ ฅอ. อนึ่ง เปน ขน ซ่อย ที่ ประดับ ฅอ นก ทั้ง ปวง นั้น.
      ซ่อย จีน (200:8.3)
               เปน ชื่อ สาย ซ่อย ทอง คำ, ที่ เขา ทำ ตาม อย่าง มา แต่ เมือง จีน นั้น.
      ซ่อย ดอก จิก (200:8.4)
               เปน ชื่อ สาย ซ่อย ทอง คำ, เอา ทอง ทำ ดอก ติด กัน, เหมือน อย่าง ดอก จีก นั้น.
      ซ่อย ตะขาบ (200:8.5)
               เปน ชื่อ สาย ซ่อย ทอง คำ, ทำ เปน รูป คล้าย ตัว ตะขาบ, สำรับ เปน ของ แต่ง ตัว เด็ก ๆ นั้น.
      ซ่อย ท่อน (200:8.6)
               เปน ชื่อ สาย ซ่อย ทอง คำ, ทำ เปน ท่อน ๆ ติด ต่อ กัน, ใช้ เปน เครื่อง ประดับ สำรับ แต่ง ตัว เด็ก ๆ นั้น.
      ซ่อย นวม (200:8.7)
               เปน ชื่อ ซ่อย อย่าง หนึ่ง เอา ทอง คำ มา ทำ เปน ดอก เปน ใบ ประดับ พลอย, แล้ว ติด ลง กับ นวม, สำรับ ประดับ ที่ ฅอ เด็ก ๆ ประสงค์ ให้ ดู งาม.
      ซ่อย สน (200:8.8)
               เปน ชื่อ สาย ซ่อย ทอง คำ, ที่ เขา ถัก ด้วย เส้น ลวด ทอง เล็ก ๆ, ทำ เปน สาย ตะภาย แล่ง นั้น.
      ซ่อย อ่อน (200:8.9)
               เปน ชื่อ สาย ซ่อย ทอง คำ เขา ทำ เปน เม็ด เล็ก ๆ มาก แล้ว ทำ เปน พวง ๆ สำรับ ประดับ ที่ ฅอ เด็ก ๆ นั้น.
เซียว (200:9)
         เปน ชื่อ หัว เผือก หัว มัน เปน แกน อยู่ ภาย ใน, ไม่ ดี เปน ปรกติ นั้น, เหมือน เขา พูด กัน ว่า เผือก เซียว เปน ต้น.
เซี่ยว (200:10)
         เปน ชื่อ ผ่า* จัก สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ไม่ เท่า กัน นั้น, เหมือน อย่าง คน ผ่า ไม้ ฉลีก เซี่ยว ไป.
เซีย (200:11)
         เปน ชื่อ ผล ไม้ ฤๅ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เล็ก กว่า ตาม ปรกติ นั้น, เขา พูด กัน ว่า ลูก ไม้ นี้ เล็ก เซีย นัก.
เซื่อ (200:12)
         สนอง องค์, เปน ชื่อ ผ้า ที่ เย็บ เข้า เปน รูป ตัว คน, สำรับ ใส่ กัน ร้อน แล หนาว นั้น, เหมือน เซื่อ ที่ พวก เจ๊ก ใส่.

--- Page 201 ---
เซ่อ (201:1)
         คือ เปน อาการ แห่ง คน ไม่ มี อาชา, ไม่ รู้* จัก ประมาณ, เหมื่อน อย่าง คน โง่ ฤๅ คน ตา บอด นั้น.
      เซ่อ ซ่า (201:1.1)
               คือ เปน กิริยา คน ไม่ รู้ จัก อะไร นั้น, เหมือน อย่าง คน บ้า ใบ้ เปน ต้น.
ซั้ว (201:2)
         เปน คำ ร้อง ตวาด เสียง ดัง อย่าง นั้น, เปน เสียง สำรับ ไล่ ไก่ เปน ต้น.
แซะ (201:3)
         เปน ชื่อ การ กระทำ อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง คน เอา เสียม แซะ หญ้า เปน ต้น นั้น. อนึ่ง แวะ ออก นั้น.
      แซะ ไป (201:3.1)
               เปน ชื่อ การ ที่ คน เอา เสียม แซะ เอา สิ่ง ของ ไป, ฤๅ เดิน แซะ ไป, เหมื่อน อย่าง คน เมา เล่า นั้น.
      แซะ มา (201:3.2)
               เปน ชื่อ การ ที่ คน แซะ เอา สิ่ง ของ มา, ฤๅ คน เที่ยว แล้ว แวะ มา นั้น.
เซาะ (201:4)
         (dummy head added to facilitate searching).
      เซาะ รุ้ง (201:4.1)
               เปน อาการ แห่ง สิ่ง ของ ที่ กัด รุ้ง เข้าไป, เหมือน อย่าง น้ำ ไหล กัด ตลิ่ง ฟาก ข้าง คุ้ง, เซาะ เข้า ไป เปน ต้น นั้น.
      เซาะ โคน (201:4.2)
               เปน อาการ แห่ง น้ำ ที่ ไหล เซาะ รุ้ง กัด เข้า ไป ใต้ โคน ไม้, เหมือน อย่าง ไม้ ใกล้ ตลิ่ง ริม น้ำ นั้น.
ซอ* (201:5)
         เปน ชื่อ ตอ ไม้ ที่ เขา ตัด เอา ลำ ไป เสีย แล้ว, เหมือน อย่าง ซอ ไม้ ไผ่ เปน ต้น. อนึ่ง เปน ชื่อ ของ อยู่ ใน เครื่อง มะโหรี นั้น.
      ซอ จีน (201:5.1)
               เปน ชื่อ สิ่ง ของ อย่าง หนึ่ง อยู่ ใน เครื่อง มะโหรี, เหมือน ด้วง ดัก หนู มี สาย สาม สาย, เปน ของ ที่ พวก เจ๊ก เล่น งิ้ว นั้น.
      ซอ ไม้ (201:5.2)
               คือ เปน ชื่อ ตอ ไม้ ใผ่ นั้น, เหมือน อย่าง ซอ ไม้ ศีสุก
      ซอ อู้ (201:5.3)
               เปน ซอ อย่าง หนึ่ง, ทำ ด้วย กะลา มะเพร้าว, มี ด้ำ เหมือน กะบวย, มี สาย ชัก ด้วย. แต่ เสียง ดัง อู้ ๆ.
(201:6)
         
ฌาณุมณฑล (201:7)
         เปน ชื่อ มณฑล แห่ง เขา, เหมือน อย่าง พวก พระ สงฆ์ นุ่ง ผ้า ให้ ปก เข่า ลง ไป แปด นิ้ว นั้น.
ฌะ (201:8)
         ชำระ, ล้าง, เปน ชื่อ การ ล้าง น้ำ นั้น, เหมือน อย่าง คน เจ็บ เปน บาด แผล เอา น้ำ โกรก ล้าง เสีย นั้น.
      ฌะ น้ำ (201:8.1)
               เปน ชื่อ การ ที่ เอา น้ำ ฌะ แผล นั้น, เหมือน อย่าง คน เปน มะเร็ง.
      ฌะ หนอง (201:8.2)
               ชำระ หนอง, ล้าง หนอง, เปน ชื่อ การ ที่ คน เอา น้ำ ฌะล้าง หนอง ที่ แผล เสีย นั้น.
      ฌะ แผล (201:8.3)
               ชำระ แผล, ล้าง แผล, คือ การ ที่ คน เอา น้ำ ณะ ล้าง แผล นั้น.
      ฌะลูด (201:8.4)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปลือก นั้น กลิ่น หอม, เขา เอา มา ใช้ ทำ ธูป, มี อยู่ ตาม ป่า หัว เมือง จันทบูรี.
      ฌะ เลือด (201:8.5)
               ชำระ เลือด, ลาง เลือด, เปน ชื่อ การ ที่ คน เปน บาด แผล เลือด ออก นัก, เอา น้ำ ล้าง เลือด เสีย นั้น.
      ฌะลอม (201:8.6)
               เปน ชื่อ ของ สาน ด้วย ไม้ ตอก, สำรับ ห่อ ลำไย บ้าง, ใส่ สะเบียง ไป ทาง ไกล เปน ต้น บ้าง.
      ฌะอม (201:8.7)
               เปน ชื่อ ไม้ อย่าง หนึ่ง, ต้น เปน หนาม คล้าย ซ่มป่อย, ใบ อ่อน นั้น ต้ม แกง กิน ดี.
      ฌะอุ่ม (201:8.8)
               เปน ชื่อ อาการ ของ ศี เขียว สด, แล เหน แต่ ไกล, เหมือน อย่าง หมู่ ไม้, แล จอม เมฆ เปน ต้น.
ฌงค์ (201:9)
         ว่า แข้ง นั้น, แต่ ใช้ เปน คำ สูง เหมือน อย่าง ว่า, พระ ชงค์ เปน ต้น.
โฌงโลง (201:10)
         เปน ชื่อ เครื่อง สำรับ วิด น้ำ, เหมือน อย่าง หัว เรือ ที่ ตัด ออก ครึ่ง หนึ่ง นั้น.
      โฌงโครง (201:10.1)
               หาง หนู มะพร้าว, เปน ชื่อ ทะลาย มะพร้าว ที่ เปน ก้าน ๆ นั้น, คือ เปน หาง หนุ ที่ อัน มะพร้าว.
ฌอง (201:11)
         เปน ชื่อ คน ภาษา คล้าย ๆ ข่า, เปน พวก ชาว ดง. อนึ่ง หวาย ที่ เขา ทำ เปน ห่วง, สำรับ ใส่ ไม้ คัน ชั่ง เบิก เรือ นั้น.
ฌ้อง (201:12)
         เปน ชื่อ เครื่อง ประดับ ตาม วง หน้า, เหมือน อย่าง กระบัง หน้า นั้น.. อนึ่ง คือ ผม ที่ สำรับ ต่อ จุก, ฤๅ หาง เปีย เปน ต้น.
      ฌ้อง ผม (201:12.1)
               เปน ชื่อ ผม ที่ สำรับ ต่อ ผม จุก, ฤๅ ผม ที่ สำรับ แต่ง นาง ละคอน นั้น.
ฌ่วง (201:13)
         เปน ชื่อ แห่ง สิ่ง ของ ที่ เปน ดวง สว่าง, เหมือน อย่าง แสง โคม, ฤๅ ดวง ดาว. อนึ่ง คือ สิ่ง ที่ เปน ตอน นั้น.
      ฌ่วง ตอง (201:13.1)
               เปน ชื่อ แห่ง ใบ กล้วย ซีก ก้าน ข้าง หนึ่ง นั้น. เหมือน อย่าง ใบ ตอง อยู่ กะดูก ก้าน ข้าง หนึ่ง เปน ต้น.
      ฌ่วง ยาว (201:13.2)
               เปน ชื่อ แห่ง ฌ่วง ใบ กล้วย ที่ ตอน ยาว ๆ นั้น.
      ฌ่วง สั้น (201:13.3)
               เปน ชื่อ แห่ง ใบ ตอง ฌ่วง สั้น ๆ ที่ เขา กำ มา ขาย นั้น.
ฌาน (201:14)
         เปน ชื่อ ดวง ปัญญา อัน หนึ่ง, ที่ เปน เครื่อง เผา เสีย ซึ่ง ความ เส้า หมอง ใน ใจ, มี โลภ เปน ต้น นั้น.

--- Page 202 ---
      ฌาน สมาบรรติ (202:14.1)
                คือ เปน ความ ตั้ง มั่น แห่ง จิตร อย่าง หนึ่ง, อัน เปน เครื่อง เผา เสีย ซึ่ง ความ ชั่ว ใน ใจ, มี โลภ เกิน ประมาณ เปน ต้น.
      ฌาน โลกีย์ (202:14.2)
               เปน ชื่อ ความ ตั้ง มั่น ใน ใจ อย่าง หนึ่ง ย่อม เผา เสีย ซึ่ง ความ ชั่ว ของ สัตว โลกย์, มี โลภ โทศะ โมหะ เปน ต้น, แต่ เสื่อม เร็ว.
      ฌาน โลกอุดร (202:14.3)
               คือ เปน ชื่อ จิตร ตั้ง มั่น อย่าง หนึ่ง, ย่อม เผา เสีย ซึ่ง ความ ชั่ว หมด, เปน จิตร อัน อุดม อยู่ ใน โลกย์ เปน ต้น.
(202:1)
         
ญาณะ (202:2)
         แปล ว่า รู้
ญ่า (202:3)
         อายกี, เปน ชื่อ หญิง ที่ เปน แม่ ของ พ่อ นั้น.
      ญ่า ทวด (202:3.1)
               คือ เปน ชื่อ หญิง ที่ เปน แม่ ของ ญ่า นั้น.
หญ้า (202:4)
         เปน พืชน์ ที่ งอก ขึ้น แต่ แผ่นดิน มี ใบ เขียว ๆ, เหมือน อย่าง หญ้า ปล้อง, หญ้า หวาย เปน ต้น นั้น.
      หญ้า กะดูก ไก่ (202:4.1)
               เปน ชื่อ หญ้า อย่าง หนึ่ง, ต้น เท่า กัน กับ หญ้า ปล้อง, แต่ มัน แขง คล้าย กะดูก ใก่.
      หญ้า เขียว (202:4.2)
               เปน ชื่อ* ต้น หญ้า ที่ เปน สด เขียว อยู่ นั้น.
      หญ้า คา (202:4.3)
               เปน ชื่อ หญ้า อย่าง หนึ่ง, ต้น กลม เล็ก ๆ, มัก ขึ้น อยู่ ที่ ดอน, เขา ย่อม เกี่ยว เอา มา กรอง มุง หลังคา.
      หญ้า นาง (202:4.4)
               เปน ชื่อ ต้น เถา วัน หญ้า นาง อย่าง หนึ่ง, มัน เปน เถา เลื้อย ไป ยาว ๆ, เหมือน เส้น หวาย นั้น.
      หญ้า คม บาง (202:4.5)
               เปน ชื่อ หญ้า อย่าง หนึ่ง, ใบ นั้น บาง แล คม ด้วย, มัก มี อยู่ ตาม ท้อง ร่อง ใน สวน
      หญ้า ปล้อง (202:4.6)
               หญ้า อย่าง หนึ่ง*, ต้น เปน ปล้อง ๆ, ไส้ มัน ใช้ ทำ ไส้ ตะเกียง, มัก มี อยู่ ใน น้ำ ตาม ทุ่ง นา.
      หญ้า แฝก (202:4.7)
               ต้น แฝก มัน เกิด เปน กอ ๆ อยู่ ตาม ทุ่ง นา ต้น มัน สูง สัก สอง สอก นั้น.
      หญ้า แพรก (202:4.8)
               หญ้า อย่าง หนึ่ง, ต้น เล็ก ๆ ใบ เปน ฝอย ศี เขียว งาม, เขา มัก ใช้ ใน การ โกน จุก.
      หญ้า พันงู (202:4.9)
               หญ้า อย่าง หนึ่ง, ต้น ไม่ สู้ โต ดอก มัน เปน หนาม, มัก มี อยู่ ตาม ชาย ทุ่ง*.
      หญ้า ยอน ไฟ (202:4.10)
               คือ ของ ที่ มี ที่ ครัว, ควัน มัน ขึ้น จับ ห้อย อยู่ เปน ยวง ๆ นั้น.
      หญ้า หวาย (202:4.11)
               หญ้า อย่าง หนึ่ง, ต้น คล้าย ๆ ลำ หวาย, มัก มี อยู่ ตาม ท้อง นา.
      หญ้า แห้ว หมู (202:4.12)
               หญ้า อย่าง หนึ่ง, ต้น เปน เหลี่ยม เล็ก ๆ, มี หัว อยู่ ใน ดิน สำรับ ใช้ ทำ ยา.
ญี (202:5)
         เปน การ ถู ให้ ละเอียด นั้น. เหมือน อย่าง คน ญี แป้ง ขนม จีน เปน ต้น.
ญี่ (202:6)
         เปน การ สี ให้ เลอียด นั้น, เหมือน คน ขะญี่ สิ่ง* ของ ต่าง ๆ เปน ต้น.
แญ้ (202:7)
         เปน สัตว อย่าง หนึ่ง, ตัว คล้าย กิ้งก่า, ลาย เหมือน ตุกแก, อยู่ รู ใน ดิน กิน ดี, มี อยู่ ตาม ป่า หลาย ตำบล.
ใญ (202:8)
         เปน ชื่อ อาการ แห่ง สิ่ง ของ เปน เส้น เล็ก ๆ อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง ใญ บัว, แล ใญ หยวก เปน ต้น นั้น.
      ใญยธรรม (202:8.1)
               เปน ชื่อ ดวง ปัญญา ล่วง รู้ สิ่ง ฃอง ทั้ง ปวง ตาม จริง ตาม ตรง นั้น, ฤๅ ธรรม ทั้ง ปวง ที่ ควร จะ รู้ โดย ปรกติ.
      ใญยอง (202:8.2)
               เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ละเอียด ขาว เปน ใญ, เหมือน อย่าง ใญ สำลี เปน ต้น.
      ใญบัว (202:8.3)
               เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ เปน สาย ใญ เล็ก ๆ อยู่ ใน ก้าน บัว เหมือน อย่าง เส้น ไหม.
      ใญหยวก (202:8.4)
               เปน ชื่อ สิ่ง ที่ เปน ใญ เล็ก ๆ อยู่ ใน อยวก, เหมือน อย่าง สาย ไหม นั้น.
      ใญสำลี (202:8.5)
               เปน ชื่อ แห่ง สิ่ง ที่ เปน ใญ เล็ก ๆ อยู่ ใน สำลี, เหมือน อย่าง ใญ แมง ย่าย นั้น.
ใหญ่ (202:9)
         หลวง, โต, เติบ, มหีมมา, เปน อาการ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ โต ไม่ เล็ก นั้น, เหมือน อย่าง เมือง ใหญ่, เมือง หลวง.
      ใหญ่ กว่า (202:9.1)
               เติบ กว่า, เปน อาการ แห่ง สิ่ง ของ ที่ โต กว่า สิ่ง ของ ทั้ง ปวง นั้น.
      ใหญ่ กว้าง (202:9.2)
               เปน อาการ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ทั้ง ใหญ่ แล้ว, ทั้ง กว้าง ด้วย นั้น, เหมือน อย่าง แพร เพลาะ ขนาด ใหญ่.
      ใหญ่ โต (202:9.3)
               เปน อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ทั้ง ใหญ่ ด้วย, ทั้ง โต ด้วย นั้น.
      ใหญ่ หนัก (202:9.4)
               โต หนัก, เปน อาการ ของ ทั้ง ปวง ที่ ใหญ่ หนัก หนา.
      ใหญ่ มะหิมมา (202:9.5)
               เปน ชื่อ ของ ใหญ่ โต นั้น.
      ใหญ่ ยิ่ง (202:9.6)
               เปน อาการ แห่ง ของ ใหญ่ ยิ่ง กว่า สิ่ง ของ ทั้ง ปวง.
      ใหญ่ ล้ำ (202:9.7)
               เปน อาการ แห่ง ของ ใหญ่ เกิน สิ่ง ของ ทั้ง ปวง นั้น.

--- Page 203 ---
      ใหญ่ อะโข (203:9.8)
               เปน ชื่อ ของ ใหญ่ มาก มาย นั้น.
โญ (203:1)
         เปน ชื่อ แห่ง ผล ทุเรียน ที่ เม็ด น้อย นั้น, เหมือน อย่าง ผล ไม้ มี เม็ด ไม่ สู้ มาก.
โญ้ (203:2)
         เปน ชื่อ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ยก ตั้ง ขึ้น ไม่ ตรง นั้น, เหมือน อย่าง เรือน ที่ เซ โญ้ ไป นั้น.
      โญ้ เย้ (203:2.1)
               เปน ชื่อ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เร รวน ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน ปัก เสา ขึ้น ไม่ ตรง, เอน ไป เอน มา.
เญ้า (203:3)
         คือ เปน คำ ที่ คน ฬ้อ เลียน เล่น นั้น, เหมือน อย่าง คน เญ้า คน บ้า นั้น.
      เญ้า หยอก (203:3.1)
               คือ การ ที่ ฬ้อ หยอก เล่น นั้น, เหมือน อย่าง คน เญ้า เด็ก ๆ เล่น.
      เญ้า เล่น (203:3.2)
               คือ เปน การ ที่ ฬ้อ เล่น นั้น, เหมือน อย่าง คน ชอบ กัน, พูด สรรพยอก กัน เล่น นั้น.
ญำ (203:4)
         เกรง, กลัว, เปน ชื่อ กับ เข้า อย่าง หนึ่ง, คือ เอา หนัง หมู, กับ ผัก หลาย สิ่ง, ประสม กัน* เข้า, ใส่ น้ำ ซ่ม น้ำ ปลา, เหมือน ญำ ยวน.
      ญำเกรง (203:4.1)
               คือ การ นับ ถือ เกรง กลัว นั้น, เหมือน อย่าง ลูก สีษ กับ อาจารย์ เปน ต้น.
      ญำ เยง (203:4.2)
               ความ เหมือน กัน กับ ญำเกรง.
ญ่ำ (203:5)
         เหยียบ, คือ การ ที่ เหยียบ ไป เหยียบ มา นั้น, เหมือน อย่าง คน ญ่ำ โคลน เปน ต้น.
      ญ่ำ ค่ำ (203:5.1)
               คือ การ ที่ ตี ฆ้อง ถี่ ๆ เร็ว ดัง หึง ๆ, เหมือน เวลา พลบ ค่ำ นั้น, เหมือน อย่าง ย่ำ สนทยา เปน ต้น.
      ญ่ำ ฆ้อง (203:5.2)
               คือ การ ที่ คน ตี ฆ้อง เร็ว ถี่ ดัง หึ่ง ๆ, เหมือน อย่าง ตี ญ่ำ ยาม นั้น
      ญ่ำ เทือก (203:5.3)
               เปน การ ที่ คน ญ่ำ โคลน ให้ เปน เทือก, เหมือน อย่าง คน จะ ตก กล้า ทำ นา นั้น.
      ญ่ำ เที่ยง (203:5.4)
               เปน การ ที่ ตี ฆ้อง ถี่ เร็ว ๆ, เมื่อ เวลา เที่ยง นั้น.
      ญ่ำ เหยียบ (203:5.5)
               เปน การ ที่ เหยียบ ญ่ำ ไป มา นั้น, เหมือน อย่าง คน นวด เข้า.
      ญ่ำ* ยาม (203:5.6)
               เปน การ ที่ ตี ฆ้อง เร็ว ถี่ เมื่อ นาระกา ถึง ยาม นั้น, เหมือน อย่าง พวก โรง นาระนา ใน พระ ราชวัง.
      ญ่ำ สนทยา (203:5.7)
               เปน การ ที่ ตี ฆ้อง เร็ว ถี่ ดัง หึ่ง ๆ, เมื่อ เวลา จวน จะ พลบ ค่ำ นั้น, อย่าง ใน พระราชวัง.
ญ้ำ* (203:6)
         เปน อาการ ที่ เอา ฟัน ขบ ถี ๆ เร็ว นั้น, เหมือน อย่าง หมา ญ้ำ หมัด เปน ต้น.
      ญ้ำ หมัด (203:6.1)
               คือ การ ที่ เอา ปาก กัด หมัด ถี่ ๆ เร็ว ๆ นั้น, เหมือน อย่าง หมา ญ้ำ หมัด นั้น.
หญก (203:7)
         เปน ชื่อ ของ อย่าง หนึ่ง คล้าย แก้ว, ศี ขาว เหมือน หยวก, พวก จีน สำรับ ใช้ ทำ ตรา. อนึ่ง คน ตก เบ็ด ทำ ยก ขึ้น ยก ลง นั้น.
เญือก (203:8)
         (dummy head added to facilitate searching).
      เญือก เย็น (203:8.1)
               เปน อาการ ที่ หนาว หนัก, เหมือน อย่าง น้ำ ใน ลำ ห้วย, เมื่อ ระดู หนาว เปน ต้น, ฤๅ ที่ สงัด เงียบ, เหมือน อย่าง ใน ดง เปน ต้น นั้น.
      เญือก ไหว (203:8.2)
               เปน อาการ ที่ สะเทือน หวั่น ไหว นั้น, เหมือน อย่าง คน ปีน ขึ้น บน ต้น ไม้ ย่อม ๆ นั้น.
ญาง (203:9)
         เปน อาการ แห่ง สิ่ง ของ ที่ เปน น้ำ ไหล ออก จาก ต้น ไม้ นั้น, เหมือน อย่าง ชัน ฤๅ น้ำ มัน ญาง นั้น.
      ญาง ต้น (203:9.1)
               เปน ชื่อ ต้น น้ำ มัน ญาง ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน อย่าง ยาง ไม้ ที่ เขา เอา มา ใช้ ยา เรือ นั้น.
      ญาง ทราย (203:9.2)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ต้น ไม่ สู้ โต, กลิ่น ร้อน, มัก มี อยู่ ตาม ป่า ดง ฝ่าย เหนือ.
      ญาง ไม้ (203:9.3)
               เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ หยด ย้อย ออก มา จาก ต้น ไม้ ทั้ง ปวง, เหมือน อย่าง ชัน, น้ำ มัน ยาง, กำยาน.
      ญาง มะขวิด (203:9.4)
               เปน ชื่อ ญาง ที่ หยด ย้อย ออก มา จาก ต้น มะขวิด นั้น, เหมือน อย่าง ชัน เต็ง รัง.
      ญาง สน (203:9.5)
               เปน ชื่อ ญาง ที่ ไหล ออก จาก ต้น สน นั้น.
ญ่าง (203:10)
         เปน อาการ ที่ ยก ท้าว ก้าว ไป นั้น, เหมือน อย่าง เด็ก ทารก พึง สอน ญ่าง.
      ญ่าง เดิร (203:10.1)
               เปน อาการ ที่ ยก ตีน ก้าว เดิร ไป นั้น.
      ญ่าง ตีน (203:10.2)
               คือ อาการ ที่ ญ่าง ท้าว เดิร ไป.
      ญ่าง ท้าว (203:10.3)
               คือ อาการ ที่ ยก ตีน เดิร ก้าว ไป.
      ญ่าง เนื้อ (203:10.4)
               เปน การ ที่ คน เอา เนื้อ สัตว มี กวาง ทราย เปน ต้น ปิ้ง ไฟ ให้ สุก.
      ญ่าง ปลา (203:10.5)
               เปน การ ที่ คน เอา ปลา วาง บน เตา ไฟ สูง ๆ ทำ ให้ สุก.
      ญ่าง ไฟ (203:10.6)
               เปน การ ที่ คน เอา สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, มี ปลา แล เนื้อ เปน ต้น ญ่าง ด้วย ไฟ ให้ สุก.

--- Page 204 ---
ญิง (204:1)
         แผลง, เปน ชื่อ การ กระทำ อย่าง หนึ่ง, เหมือน คน โก่ง กระสุน, เอา ลูก ใส่ ที่ รัง แล้ว, เหนี่ยว สาย ปล่อย ไป ให้ ลูก กระสุน ถูก กา แล นก เปน ต้น
      ญิง เก้าทัน (204:1.1)
               เปน การ ที่ คน โก่ง เก้าทัน ขึ้น แล้ว, เอา ลูก พาด สาย เหนี่ยว ปล่อย ไป.
      ญิง กะสุน (204:1.2)
               เปน การ ที่ คน โก่ง กะสุน ขึ้น แล้ว ญิง ไป.
      ญิง ธนู (204:1.3)
               เปน ชื่อ การ ที่ คน โก่ง ธนู ขึ้น แล้ว ญิง ไป นั้น.
      ญิง น่า ไม้ (204:1.4)
               เปน ชื่อ การ ที่ คน โกง น่า ไม้ ขึ้น แล้ว, เอา ลูก พาด สาย ญิง ไป.
      ญิง ปืน (204:1.5)
               เปน ชื่อ การ ที่ คน เอา ลูก ปืน, ดิน ปืน, ยัด เข้า ใน ลำ กล้อง แล้ว ง้าง ไกย ญิง ไป
หญิง (204:2)
         มาตุคาม, แม่ เรือน, เปน คน ที่ เปน อิสัตรี, เหมือน อย่าง คน ที่ เปน มารดา คน ทั้ง ปวง ใน โลกย์ นี้.
      หญิง* แก่ (204:2.1)
               คือ หญิง ชรา ที่ มี อายุ, เหมือน อย่าง ยาย เฒ่า, ยาย แก่ นั้น.
      หญิง โกหก (204:2.2)
               เปน ผู้ หญิง ชั่ว* พูด ไม่ จริง.
      หญิง กาก (204:2.3)
               เปน ผู้ หญิง ชั่ว ไม่ ดี, เปรียบ เหมือน อย่าง กาก มะพร้าว ฤๅ กาก ปลา ร้า ใช้ การ ไม่ ได้ นั้น.
      หญิง เกกมะเรก (204:2.4)
               เปน ผู้ หญิง โง่ แล้ว ดื้อ ด้วย, เหมือน จะ มี คน ดี มา ว่า กล่าว สั่ง สอน, หญิง นั้น ก็ ดื้อ ดึง ไม่ เชื่อ ฟัง.
      หญิง โกง (204:2.5)
               เปน ผู้ หญิง ไม่ ตรง นั้น.
      หญิง เกียจ (204:2.6)
               เปน ผู้ หญิง ไม่ หมั่น, ไม่ อุษส่าห์ ประกอบ การ ชอบ เลี้ยง ชีวิตร นั้น.
      หญิง แกน (204:2.7)
               เปน ผู้ หญิง คน จน เต็ม ที่ นั้น, เปรียบ เหมือน อย่าง ซ่ม แกน ไม่ มี น้ำ เปน ต้น.
      หญิง ขำ (204:2.8)
               เปน ผู้ หญิง ดำ ๆ งาม พิศ ออก เหมือน อย่าง ผู้ หญิง ที่ งาม ฦก ยิ่ง ดู ก็ ยิ่ง งาม นั้น.
      หญิง ข่า. (204:2.9)
                เปน ผู้ หญิง พวก ข่า นั้น, เหมือน อย่าง ผู้ หญิง ดำ หู เจาะ กว้าง ที่ มา แต่ ดง นั้น.
      หญิง ขอม (204:2.10)
               เปน พวก ผู้ หญิง เขมร นั้น, เหมือน อย่าง ผู้ หญิง* เขมร ที่ มา แต่ เมือง กำพูชา.
      หญิง ค่อม (204:2.11)
               เปน หญิง ที่ เตี้ย ๆ เล็ก กว่า หญิง ตาม ธรรมดา. แต่ มี อายุ มาก, เหมือน อย่าง หญิง ค่อม ใน พระราชวัง นั้น.
      หญิง เคอะ (204:2.12)
               เปน หญิง โง่ ไม่ รู้ จัก อะไร นั้น.
      หญิง งอ แง (204:2.13)
               เปน หญิง โกง โกหก ต่อ แหล นั้น.
      หญิง งก งัน (204:2.14)
               คือ เปน อาการ แห่ง หญิง แก่, ตัว สั่น งก นั้น, ฤๅ หญิง ที่ สดุ้ง ตก ใจ, กลัว ขะโมย.
      หญิง งอน (204:2.15)
                เปน อาการ แห่ง หญิง ที่ พูด จา ทำ สบัด สบิ้ง, เล่น เนื้อ เล่น ตัว นั้น, เหมือน หญิง กิริยา ไม่ ซื่อ เปน ต้น.
      หญิง หง่อม (204:2.16)
               เปน หญิง แก่ เต็ม ที่, เหมือน อย่าง หญิง ที่ มี อายุ ได้ ร้อย ปี.
      หญิง เจ๋อ เจอะ (204:2.17)
               เปน อาการ แห่ง หญิง ที่ ไม่ รู้ จัก การ เย่า เรือน, เหมือน อย่าง หญิง เสเพล เที่ยว พูด เล่น เปล่า ๆ นั้น.
      หญิง ช่าง สะดึง (204:2.18)
               เปน หญิง พวก ชาง ที่ สำรับ ปัก กรอง สะดึง นั้น, เหมือน พวก หญิง ที่ ทำ ม่าน ทอง เปน ต้น.
      หญิง ชาติ ถ่อย (204:2.19)
               เปน ชื่อ แห่ง หญิง ชาติ ชั่ว, หญิง ไม่ ดี นั้น
      หญิง ชั่ว (204:2.20)
               เปน หญิง ดอก ทอง นั้น, เหมือน อย่าง พวก หญิง จ้าง หา เงิน ตาม สำเพง.
      หญิง ซุก ซน (204:2.21)
               เปน หญิง ไม่ ดี, เหมือน อย่าง หญิง นักเลง เปน ต้น นั้น.
      หญิง ดอก ทอง (204:2.22)
               เปน หญิง คน ชั่ว นั้น, เหมือน อย่าง หญิง พวก กรอก สำเพง.
      หญิง นคร โสเภนี (204:2.23)
               เปน หญิง ยัง เมือง ให้ งาม, เหมือน อย่าง หญิง แพรศยา.
      หญิง นักสนม (204:2.24)
               เปน ชื่อ แห่ง พวก นาง ห้าม พระเจ้า แผ่นดิน, เหมือน อย่าง พวก หม่อม, พวก คุณ นั้น.
      หญิง แพศยา (204:2.25)
               เปน ชื่อ แห่ง หญิง ไม่ ดี, มัก มาก ชู้ หลาย ผัว.
      หญิง แม่ มด (204:2.26)
               เปน หญิง คน ทรง, ที่ สำรับ เชิญ ผี, เชิญ เจ้า ให้ เข้า สิง อยู่ ใน ตัว แล้ว, สำรับ ถาม เหตุ การ ต่าง ๆ.
      หญิง แม่ ม่าย (204:2.27)
               เปน หญิง ที่ ผัว ตาย ฤๅ ผัว ร้าง, ผัว อย่า, เปน ต้น นั้น.
      หญิง หมัน (204:2.28)
               เปน หญิง ไม่ มี ลูก นั้น
      หญิง มารยา (204:2.29)
               เปน ชื่อ อาการ แห่ง หญิง เจ้า เล่ห์, ย่อม ทำ กระบวน อุบาย ต่าง ๆ, เหมือน อยาง ไม่ เจ็บ, แกล้ง ทำ เจ็บ.
      หญิง ไร้ บุตร (204:2.30)
               เปน หญิง ที่ ไม่ มี ลูก นั้น, เหมือน อย่าง หญิง หมัน.
      หญิง ลอมแลม (204:2.31)
               เปน หญิง เลาะและ ใจ ไม่ ยัง ยืน นั้น, เหมือน อย่าง คน ใจ เบา, ใคร ว่า อย่าง ไร ก็ มัก เชื่อ ไป อย่าง นั้น

--- Page 205 ---
      หญิง สาว (205:2.32)
               เปน หญิง ที่ ยัง* ไม่ มี ผัว นั้น, เหมือน หญิง ที่ มี อายุ ได้ สิบ ห้า ฤๅ สิบ หก ปี เปน ต้น.
      หญิง สาว ใช้ (205:2.33)
               เปน หญิง ที่ สำหรับ รับ ไช้ ราช การ อยู่ ใน พระ ราชวัง.
แญง (205:1)
         แหย่, ที่ม เข้า, ยอน, เปน ชื่อ การ ที่ เอา ไม้ แหย่ เสือก เข้า เสือก ออก นั้น, เหมือน อย่าง คน แญง หนู.
      แญง หนู (205:1.1)
               เปน การ ที่ คน เอา ไม้ แหย่ หนู ชัก เข้า ชัก ออก.
      แญง แย้ (205:1.2)
               เปน การ ที่ คน เอา ไม้ แญง ชัก เข้า ชัก ออก ที่ ที่ รู แย้ นั้น.
      แญง หู (205:1.3)
               เปน การ คน เอา ขน นก ฤๅ หญ้า ยอน หู, แญง เข้า ไป ใน หู นั้น.
แญ่ง (205:2)
         ยื้อ, ชิง, เย่อ, คร่า, เปน ชื่อ การ ที่ ชิง กัน ฤๅ ยื้อ กัน นั้น, เหมือน อย่าง คน ชิง ลูก กัปะพฤกษ.
      แญ่ง ยื้อ (205:2.1)
               เปน ชื่อ การ ที่ คน ชิง สิ่ง ของ กัน, คร่า ไป คร่า มา นั้น, เหมือน อย่าง เจ้า นี่, แญ่ง ยื้อ ลูก นี่.
แญ้ง (205:3)
         โต้, ตอบ, ทวน, ย้อน, เปน ชื่อ ความ แห่ง คน ที่ ต่าง คน ต่าง กล่าว คำ เถียง โต้ แญ้ง กัน, เหมือน อย่าง คน ที่ เปน ความ, ต่าง คน ต่าง ฟ้อง กัน.
โญง (205:4)
         ฉุด, ผูก ห้อย ลง, เปน ชื่อ การ ที่ คน เอา เชือก ชุด โยง ไป, เหมือน อย่าง คน ลาก เรือ, ฤๅ คน ผูก เชือก โญง เสา กะโดง
      โญง เยง (205:4.1)
               เปน อาการ ที่ คน ผูก เชือก โญง ลง มา แต่ ปลาย เสา สูง ๆ.
โญ่ง (205:5)
         เปน อาการ ที่ คลาน ไป นั้น, เหมือน อย่าง ปู ทะเล.
ญวง (205:6)
         เปน ชื่อ แห่ง สิ่ง ของ ที่ เปน ก้อน เปน กลุ่ม, เหมือน อย่าง ญวง ขนุน ฤๅ ญวง ทุเรียน.
เญี่ยง (205:7)
         ธรรมเนียม, อย่าง, เปน ชื่อ อย่าง นั้น, เหมือน อย่าง คน ทำ ให้ เปน แบบ เปน อย่าง.
      เญี่ยง อย่าง (205:7.1)
               คือ เปน ชื่อ ตัว แบบ ฉะบับ นั้น, เหมือน อย่าง ขนบ ธรรมเนียม เปน ต้น.
เญื้อง (205:8)
         เสี้ยว, เฉลียง, เปน ชื่อ อาการ ที่ เสี้ยว ฤๅ เฉลียง นั้น, เหมือน อย่าง คน ฝาน บวบ เปน ต้น.
      เญื้อง กราย (205:8.1)
               เปน อาการ ที่ คน ก้าว เดิน บิด เบือน กาย ไป, เหมือน อย่าง นาง ระบำ รำ เญื้อง กราย นั้น.
      เญื้อง ยัก (205:8.2)
               เปน อาการ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ตั้ง ไม่ ตรง กัน, ฤๅ พูด จา บิด พลิ้ว ไป ไม่ ยั่ง ยืน นั้น.
      เญื้อง ย่าง (205:8.3)
               เปน อาการ ที่ คน ก้าว เดิร ยก ยาง ไป, เหมือน อย่าง คน เที่ยว เดิร เล่น ตาม สะบาย นั้น.
ญาติกา (205:9)
         เปน คน ที่ เปน เผ่า พันธุ เชื้อ สาย กระกูล วงษ กัน นั้น.
      ญาติ วงษ (205:9.1)
               เปน คน เปน เผ่าพัอธุ* สาขา ญาติ พี่ น้อง กัน นั้น.
      ญาติ โยม (205:9.2)
               คือ คน เปน ผู้ อื่น มิ ใช่ ญาติ แล ว่า กล่าว กับ พระ สงฆ์ ที่ มิ ใช่ ญาติ ว่า, ข้าพเจ้า จะ ยอม เปน เหมือน พ่อ แม่.
(205:10)
         
ดา (205:11)
         เปน ชื่อ อาการ ที่ เกลื่อน ไป, เต็ม ไป, ทั่ว ไป, ดาษ ไป, เหมือน อย่าง คน มาก เดิร แผ่ เสมอ หน้า กัน เดิร ไป นั้น.
      ดา เข้า (205:11.1)
               เปน ชื่อ อาการ ที่ เดิร พร้อม เสมอ หน้า กัน เข้า ไป, เหมือน อย่าง แขก เกี่ยว เข้า เปน ต้น. อนึ่ง เปน ชื่อ การ นึ่ง เข้า เหนียว นั้น.
      ดา ดาษ (205:11.2)
               ดาษดา, เกลื่อน ไป, เปน อาการ ที่ ของ มี มาก เต็ม ไป, เหมือน อย่าง ดอก บัว เผื่อน เต็ม ดาษ ไป ทั้ง ทุ่ง นั้น.
      ดารา (205:11.3)
               เปน ดวง ดาว ทั้ง ปวง.
      ดาราวงษ (205:11.4)
               เปน ชื่อ หนังสือ เรื่อง ราว สำรับ อ่าน เล่น อย่าง หนึ่ง, ย่อม มี มา แต่ บูราณ.
ด่า (205:12)
         เปน คำ อยาบ เผ็ด ร้อน สำรับ ว่า ให้ เจ็บ ใจ, เหมือน อย่าง ด่า ผู้ หญิง ว่า อี ดอก ทอง เปน ต้น นั้น.
      ด่า กัน (205:12.1)
               เปน อาการ คำ อยาบ ที่ ต่าง คน ต่าง ด่า กัน นั้น, เหมือน อย่าง พวก ผู้ หญิง แม่ ค้า ทะเลาะ กัน นั้น.
      ด่า ทอ (205:12.2)
               คือ การ ที่ คน หนึ่ง ด่า ไป แล้ว, คน หนึ่ง ก็ ด่า โต้ ตอบ มา.
      ด่า ว่า (205:12.3)
               เปน ความ ที่ ด่า แล้ว ว่า กล่าว ต่อ ไป ด้วย, เหมือน อย่าง นาย ด่า บ่าว เปน ต้น นั้น.
ดิลก (205:13)
         คือ เปน การ ที่ จุด เจิม เปน สาม แห่ง, เหมือม อย่าง เฉลิม เปน ต้น.
ดี (205:14)
         ความ ที่ ไม่ ชั่ว นั้น, เหมือน อย่าง สาระพัด สิ่ง ของ แล การ งาน ทั้ง ปวง ที่ ไม่ ชั่ว เปน ต้น นั้น. อนึ่ง ดี คน, แล ดี สัตว ทั้ง ปวง ฝัง อยู่ ริม ตับ, มี รศ ขม ๆ นั้น เอง.
      ดีกา (205:14.1)
               เปน หนังสือ จดหมาย, ที่ บอก เรือง ราว ต่าง ๆ จะ ให้ เปน สำคัญ นั้น, เหมือน อย่าง ฎีกา เก็บ ตลาด เปน ต้น.

--- Page 206 ---
      ดีกัน (206:14.2)
               เปน อาการ ที่ คน ไม่ โกรธ กัน ชอบ กัน นั้น, เหมือน อย่าง เพื่อน บ้าน ที่ ชอบ กัน.
      ดี เกลือ (206:14.3)
               เปน ชื่อ ของ ที่ เกิด แต่ เกลือ เปน เม็ด ละเอียด, ศี ขาว, รศ ขม, สำรับ ทำ ยา กิน ลง ท้อง นั้น.
      ดี กว่า (206:14.4)
               คือ เปน ความ ที่ ของ สิ่ง นี้, ดี ยิ่ง กว่า ของ สิ่ง นั้น, เหมือน อย่าง ว่า คน นี้, ดี ยิ่ง กว่า คน นั้น.
      ดี ขึ้น (206:14.5)
               เปน ชื่อ แห่ง จำเริญ ขึ้น, เหมือน คน เรียน วิชา, แล รู้ มาก ขึ้น เปน ต้น.
      ดี คน (206:14.6)
               คือ เปน ชื่อ ของ เปน ฝัก, รศ ขม, ห้อย อยู่ ริม ตับ ใน ตัว คน.
      ดี งู (206:14.7)
               เปน ดี มี รศ ขม อยู่ ใน ตัว งู นั้น.
      ดี ใจ (206:14.8)
               ยินดี, ปรี เปรม, เกษม สาร ดิ, ปรีดา, ปราโมช, โสมนัศ, เปน ชื่อ ความ ชื่น ชม, ความ สะบาย ใจ นั้น, เหมือน อย่าง คน ได้ สิ่ง ของ อัน เปน ที่ รัก.
      ดี จริง (206:14.9)
               เปน ชื่อ ความ ดี แท้ ๆ นั้น, เหมือน อย่าง สิ่ง ฃอง ที่ ไม่ มี ชั่ว เลย.
      ดี จรเข้ (206:14.10)
               เปน ดี ที่ เปน ฝัก รศ ขม ๆ, อยู่ ใน ท้อง จรเข้ นั้น.
      ดีศาจ (206:14.11)
               เปน ชื่อ ผี ปีศาจ, คือ ผี ที่ เขา ถือ ว่า คน ตาย ไป เกิด ใน พวก ปีศาจ ว่า มัน เที่ยว อยู่ บน ดิน แต่ ไม่ เหน ตัว มัน นั้น.
      ดี ฉัน (206:14.12)
               เปน คำ กล่าว อ้าง ถึง ตัว เอง, เหมือน อย่าง ข้า ฤๅ เรา นั้น.
      ดีปลี (206:14.13)
               เปน เถา ต้น ยา อย่าง หนึ่ง, ใบ มัน เล็ก ๆ, มัน มี ดอก เปน ลูก ที่ ดอก, รศ มัน เผ็ด ร้อน.
      ดี นาคราช (206:14.14)
               เปน เถา วัล อย่าง หนึ่ง, มี เกล็ด เล็ก ๆ เหมือน เกล็ด งู, มี อยู่ ใน ป่า สำรับ ทำ ยา.
      ดี ผา (206:14.15)
               เปน ดี สีลา, มัน มี ศี ดำ เหลื้อม เหมือน กับ หิน ถ่าน เปน ต้น
      ดี บุก (206:14.16)
               เปน ตะกั่ว เกรียบ แล ตะกั่ว นม นั้น, เหมือน อย่าง พวก เจ๊ก ช่าง ตะกั่ว ใช้ นั้น.
      ดี เนื้อ ดี ใจ (206:14.17)
               เปน ชื่อ ความ ยินดี, คำ ว่า ดี เนื้อ เปน คำ สร้อย ดี ใจ คือ ความ ยินดี โสมะนัศ นั้น.
      ดี หมี ต้น (206:14.18)
               เปน ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, รศ ขม ใบ เหมือน ใบ มะ ไฟ, สำรับ ใช้ ทำ ยา เปน ต้น, มี อยู่ ตาม ป่า ตาม ดง.
      ดีระฉาน (206:14.19)
               เปน สัตว เดรฉาน ทั้ง ปวง, เหมือน อย่าง หมู หมา กา ไก่ เปน ต้น นั้น.
      ดี ร้าย (206:14.20)
               เปน ชื่อ แห่ง ความ ว่า ดี ร้าย นั้น, เหมือน คน คิด พยาบาท แก่ ผู้ ใด ๆ, แล กล่าว ว่า, ดี ร้าย จะ ได้ เห็น กัน.
      ดี หิน (206:14.21)
               คือ ดี สี ลา มัน มี ศี ดำ เหลื้อม เปน เงา, เหมือน กับ หิน ถ่าน นั้น.
ดื้อ (206:1)
         หัวรั้น, ว่า ยาก, สอน ยาก, คือ คน ฤๅ สัตว ที่ ว่า ไม่ ฟัง, ว่า ยาก สอน ยาก, เหมือน อย่าง เด็ก ๆ, ที่ ไม่ ฟัง คำ พ่อ แม่ สั่ง สอน
      ดื้อ ดึง (206:1.1)
               เปน ชื่อ ความ ที่ ว่า ไม่ ฟัง แล้ว ดึง ไป, เหมือน อย่าง ควาย จมูก รั้น ผูก เข้า ไว้ แล้ว มัน ดึง ไป นั้น,
      ดื้อ ด้าน (206:1.2)
               เปน ชื่อ การ แห่ง คน ที่ ว่า ยาก, สอน ยาก นั้น, เหมือน อย่าง คน ชั่ว, ที่ หน้า ด้าน ไม่ รู้ จัก เจ็บ จัก อาย.
      ดื้ รั้น (206:1.3)
               เปน ชื่อ อาการ ที่ คน ดื้อ แล้ว รั้น ด้วย, เหมือน อย่าง แพะ ฤๅ แกะ เปน ต้น นั้น.
ดุ (206:2)
         ร้าย กาศ, ใจ ทมิล, ใจ เหี้ยม ห้าว, เปน ชื่อ ใจ ร้าย, โกรธ มาก, เหมือน อย่าง คน ร้าย ฤๅ เสือ ร้าย, แล หมา ร้าย นั้น.
      ดุ ดัน (206:2.1)
               คือ เปน ชื่อ ใจ ร้าย ดัน ไป, ห้าม ไม่ ฟัง นั้น, เหมือน อยาง หมา ดุ เจ้า ของ ห้าม ไม่ ฟัง.
      ดุ ร้าย (206:2.2)
               เปน ชื่อ ใจ ดุ ร้าย อยาบ ช้า, เหมือน อย่าง เสือ แล นาย คุก เปน ต้น นั้น.
ดุริยางค์ ดนตริ (206:3)
         เครื่อง ประโคม, เปน ชื่อ มะโหรี, แล พิณ พาษ กลอง แขก ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน อยาง เขา เล่น โขน ละคอน เปน ต้น.
ดุสิต (206:4)
         เปน ชื่อ ชั้น เทวดา ชั้น หนึ่ง ชื่อ ว่า, ดุสิต.
ดู (206:5)
         เมิน, เลง, แล, ทัศนา, เปน ชื่อ อาการ ที่ แล เหน ด้วย ตา นั้น, เหมือน อย่าง ดู แล การ งาน ทั้ง ปวง นั้น.
      ดู กัน (206:5.1)
               เปน ชื่อ อาการ ที่ ต่าง คน ต่าง แล ดู กัน, เหมือน อย่าง ชาย หนุ่ม, กับ หญิง สาว ที่ รัก กัน, แล้ว แล ดู กัน นั้น.
      ดู การ (206:5.2)
               คือ เปน ชื่อ ความ ที่* คน คอย ดู แล การ งาน ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง นาย ช่าง, นาย งาน ทั้ง ปวง, ที่ คอย กำกับ ดู.
      ดู เข้า ของ (206:5.3)
               คือ การ ที่ คน คอย ดู แล เฝ้า สิ่ง ของ ทั้ง ปวง,
      ดู เข้ม แขง (206:5.4)
               คือ อาการ ที่ ดู แขง แรง นัก.

--- Page 207 ---
      ดู แคลน (207:5.5)
               ดู ถูก, ดู หมิ่น, ลบ หลู่, เปน ชื่อ การ ลบ หลู่, ดูหมิ่น ดู ถูก นั้น, เหมือน อย่าง คน ไม่ รู้ จัก คุณ ท่าน, มัก ว่า เจ้า มี คุณ อะไร กับ เรา เปน ต้น.
      ดู ดู๋ (207:5.6)
               เปน คำ คน ขู่ ด้วย เคือง ใจ ว่า, ดู ดู๋, ช่าง ทำ ได้ เปน ต้น.
      ดู ตำรา (207:5.7)
               คือ การ ที่ อ่าน ดู ใน ตำรา นั้น, เหมือน อย่าง พวก หมอ ดู, ฤๅ หมอ ยา นั้น.
      ดู ถูก (207:5.8)
               จองหอง, คือ ความ ที่ ใจ ดู แคลน, ดู หมิ่น นั้น, เหมือน อย่าง คน จองหอง, ดู หมิ่น คน จน กว่า นั้น.
      ดู หมิ่น (207:5.9)
               ปมาท กัน, คือ ความ ที่ ดู ถูก, ดู แลคน นั้น, เหมือน อย่าง คน ผู้ น้อย, กล่าว คำ อยาบ แก่ ผู้ ใหญ่ นั้น.
      ดู เคราะห์ (207:5.10)
               คือ การ ที่ หมอ ดู ดวง ชะตา ราศรี นั้น, เหมือน อย่าง พวก โหร ทาย ว่า เคราะห์ ร้าย, เคราะห์ ดี.
      ดู เริกษ์ (207:5.11)
               คือ การ ที่ หมอ ดู ดาว, แล เวลา ว่า, วัน ไร จะ ดี นั้น, เหมือน อย่าง จะ กระทำ การ มงคล โกน จุก เปน ต้น.
      ดู ฤกษ์ (207:5.12)
               ความ เหมือน กัน, ต่าง กัน แต่ ตัว อักษร ดอก.
      ดู แล (207:5.13)
               คือ ความ ที่ ดู ไป นั้น เอง.
เด (207:1)
         เปน ชื่อ ความ ที่ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง มาก ดื่น ไป นั้น, เหมือน อย่าง สิ่ง ของ ใน ท้อง ตลาด มี พร้อม กัน เต็ม ไป เปน ต้น.
      เดชานุภาพ (207:1.1)
               ความ แปล ว่า เดช, แล อานุภาพ, เดช คือ อำนาศ, อานุภาพ คือ สง่า.
      เดโช (207:1.2)
               เปน ชื่อ เดช ฤๅ ฤทธิ์, แล อำนาถ นั้น, เหมือน อย่าง พระเจ้า มี ฤทธ์, มี เดช นั้น.
      เดชะ บุญ (207:1.3)
               เปน ชื่อ ฤทธิ์ เดช แห่ง บุญ นั้น, เหมือน อย่าง คน จะ ปราถนา สิ่ง ใด ๆ, ย่อม กล่าว ว่า, ฃอ ให้ ได้ ด้วย ฤทธิ์ บุญ เรา เถิด.
      เดระฉาน (207:1.4)
               เปน ชื่อ สัตว ที่ กาย มัน ไป โดย ขวาง, เหมือน อย่าง สัตว ทั้ง ปวง มี หมู หมา กา ไก่.
      เดรฐี (207:1.5)
               เปน ชื่อ คน มี ลัทธิ์ ดุจ ท่า อัน เปน ที่ ข้าม, เหมือน อย่าง คน พวก แขก ถือ ลัทธิ์ มี นอน เหนือ หนาม เปน ต้น.
      เดสาจ (207:1.6)
               ปิสาจ, ลาง คน เรียก ว่า เดสาจ บ้าง, คือ ปีสาจ นั้น.
เด่ (207:2)
         เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ปัก โด่ อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง ไม้ หลัก ปัก เรือ เปน ต้น.
ได้ (207:3)
         คือ เปน ความ ที่ มี ลาภ นั้น เหมือน อย่าง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง เขา ตก, เรา ภบ แล้ว เก็บ ไว้, ฤๅ ของ เรา หาย ไป แล้ว กลับ หา ภบ เปน ต้น นั้น.
      ได้ การ (207:3.1)
               คือ ความ ที่ คิด การ สิ่ง* ใด ไว้, ได้ สำเร็ทธิ์ ความ. ปราถนา นั้น, เหมือน อย่าง คน ทำ การ ได้ มาก เปน ต้น.
      ได้ ความ (207:3.2)
               คือ เปน การ ที่ คน คอย ฟัง ความ แล้ว, รู้ ความ ชัด นั้น, เหมือน อย่าง คน ไป สืบ ความ แล้ว, ได้ รู้ ความ.
ใด (207:4)
         คือ เปน คำ ว่า อย่าง ไร, อะไร, ไหน, ใคร นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, ทำ ประการ ใด, ทำ อย่าง ไร เปน ต้น
โด่ (207:5)
         เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ตั้ง ตรง อยู่ นั้น. เหมือน อย่าง โด่. เรือ, ฤๅ เสา โด่ โรง ที่ ปัก ลง กับ ดิน เปน ต้น.
      โด่เด่ (207:5.1)
               เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ปัก ตรง อยู่ แล้ว โยก ไป โยก มาก, เหมือน อย่าง ไม้ ปัก อยู่ ที่ น้ำ ไหล เชี่ยว.
      โด่ ไม่ รู้ ล้ม (207:5.2)
               เปน ชื่อ แห่ง ต้น ไม้* อย่าง หนึ่ง, ต้น ไม่ สู้ โต. นัก สำรับ ใช้ ทำ ยา เปน ต้น.
      โด่ เรือ (207:5.3)
               เปน ชื่อ ไม้ ง่าม ที่ สำรับ ปัก รับ ขยาบ เรือ นั้น.
เดา (207:6)
         เปน ชื่อ อาการ คะเน เอา, ความ คาด เอา ตาม ใจ, ความ คิด ประมาณ นั้น, เหมือน หนึ่ง ว่า เหน จะ เปน อย่าง นั้น.
      เดา ฝัน (207:6.1)
               คือ ความ ที่ คน นอน หลับ ฝัน เหน ต่าง ๆ, ครั้น ตื่น ขึ้น แล้ว นึก ทำนาย เดา ไป ว่า, เหน จะ ได้ ลาภ ได้ ทุกข์. อย่าง นี้ อย่าง นั้น เปน ต้น.
      เดา พูด (207:6.2)
               คือ ความ ที่ คน ปะจบ ปะแจง พูด เดา ผิด, เดา ถูก ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน สอพลอ หัว ปะ จบ เปน ต้น.
      เดา ว่า (207:6.3)
               คือ ความ ที่ นึก ว่า ไป เปล่า ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คน เดา ปะจบ ปะแจง คาด เอา ว่า, เหน จะ เปน เช่น นี้ ดอก.
      เดา สวด (207:6.4)
               คือ ความ ที่ คน ไม่ รู้ หนังสือ แต่ เดา อ่าน ตาม เขา ไป นั้น, เหมือน อย่าง เด็ก ๆ เปน ต้น นั้น.
      เดา เอา (207:6.5)
               คือ ความ ถือ เอา ตาม เหน ใน ใจ, ความ นั้น ไม่ จริง แต่ ว่า ถือ เอา ตาม สำคัญ ว่า จริง นั้น.
เด่ว (207:7)
         คือ อาการ ที่ คน เดิร ไม่ เร็ว นัก, ไม่ ช้า นัก, เขา ย่อม พูด กัน ว่า, คน นั้น เดิร เด่า มา โน่น แล้ว.
ดำ (207:8)
         คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ศรี เปน เขม่า, เหมือน อย่าง หมึก เปน ต้น. อนึ่ง คน ที่ ดำ ลง ใน น้ำ จน มิด หัว นั้น ด้วย.
      ดำ กล (207:8.1)
               ว่า งาม, เปน ภาษา เขมร.
      ดำ เกล้า (207:8.2)
               คือ การ ที่ เอา หัว จุ่ม จม ลง ไป ใน น้ำ, เหมือน อย่าง คน ดำ หัว, อาบ น้ำ เปน ต้น นั้น.
      ดำ เกิง (207:8.3)
               ความ เหมือน กัน กับ ดำกล.

--- Page 208 ---
      ดำ ขำ (208:8.4)
               คือ ลักษณะ คน งาม ผิว เนื้อ ศี ดำ ๆ นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, คน นี้ เปน คน งาม ขำ.
      ดำ ฃลับ (208:8.5)
               คือ เปน ชื่อ สี ดำ เปน มัน, เหมือน อย่าง น้ำ หมึก ฤๅ น้ำ รัก เปน ต้น นั้น.
      ดำแดง (208:8.6)
               เปน ชื่อ ศี ดำ กับ ศี แดง เจือ กัน, เหมือน อย่าง ผิว หนัง พวก คน ไทย เปน ต้น.
      ดำ น้ำ (208:8.7)
               คือ การ ที่ มุด จม ลง ไป ใน น้ำ นั้น.
      ดำ นิล (208:8.8)
               คือ เปน ชื่อ ศี ดำ, เหมือน อย่าง ศี นิล นั้น, ฤๅ เหมือน อย่าง หมา ดำ เปน ต้น.
      ดำ ปลอด (208:8.9)
               คือ เปน ชื่อ ศี ที่ ดำ ทั้ง ตัว ไม่ ได้ ภบ ขน ขาว เลย เหมือน อย่าง แมว ดำ ทั้ง ตัว นั้น.
      ดำเนิร (208:8.10)
               คือ เดิน, ว่า เปน คำ เพราะ, คำ หลวง, ว่า ดำเนิร.
      ดำ (208:8.11)
                เปน เหนี่ยง, คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ศี ดำ, เหมือน อย่าง ศี เหนี่ยง นั้น.
      ดำหริ (208:8.12)
               คือ ความ ที่ ตรี ตรึก, คน แรก ตริ นึก ถึง ความ อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น.
      ดำ ทมิล (208:8.13)
               คือ เปน ศี ผิว หนัง คน ที่ มัน ดำ ทมื่น, เหมือน อ้าย แขก หัว พริก นั้น.
      ดำ มะละกา (208:8.14)
               เปน ชื่อ ศี ผ้า ดำ ที่ ย้อม มา แต่ มะละกา, เหมือน อย่าง ผ้า ม่วง ศี ลูก ว่า แก่ เปน ต้น.
      ดำหรัส (208:8.15)
               คือ คำ ว่า ตรัส, เปน คำ หลวง, คำ สูง, คำ เพราะ.
      ดำมืด (208:8.16)
               คือ เปน ศี ดา เหมือน อย่าง กลาง คืน เดือน มืด ๆ นั้น, ฤๅ เข้า ไป ใน ถ้ำ เปน ต้น.
      ดำหริ ตริ ตรอง (208:8.17)
               ดำหริ ตริ ความ ว่า คิด แรก, แต่ ตรอง นั้น, คือ นึก คร่ำ ครวน ไป ใน ใจ.
      ดำรง (208:8.18)
               คือ ความ ที่ ทรง ไว้, รอง ไว้, จุน ไว้, ค้ำ ไว้, เหมือน อย่าง ดำรง ราชสมบัติ เปน ต้น.
ด่ำ (208:1)
         คือ อาการ ที่ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ เลื่อน ซุด ลง ไป ใน รู ฦก นั้น, เหมือน อย่าง ปลา ไหล ที่ ลง ไป อยู่ รู ด่ำ ฦก เปน ต้น.
      ด่ำ ดัก (208:1.1)
               คือ ความ ที่ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ ตก ฦก อยู่ ช้า นาน นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, เปน ข้า เขา ด่ำดัก นาน แล้ว.
ด้ำ (208:2)
         เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ สวม ใส่ เข้า ไป ใน กั่น เครื่อง มือ ทั้ง ปวง, เหมือน อย่าง ด้ำ มีด ด้ำ ขวาน ด้ำ หอก เปน ต้น.
      ด้ำ กรบ (208:2.1)
               เปน ชื่อ ไม้ ยาว ประมาณ สอง ศอก คืบ, สวม เข้า ไป ใน กั่น กรบ, สำรับ มือ จับ ถือ แทง ปลา เปน ต้น นั้น.
      ด้ำ ขอ (208:2.2)
               เปน ชื่อ ไม้ สำรับ มือ ถือ, ที่ ใส่ เข้า ไป ใน ฃอ ทั้ง ปวง.
      ด้ำ ง้าว (208:2.3)
               เปน ชื่อ ไม้ ด้ำ ที่ ใส่ เข้า ไป ใน ง้าว ทั้ง ปวง.
      ด้ำ จอบ (208:2.4)
               เปน ชื่อ ไม้ ด้ำ ที่ ใส่ เข้า ไป ใน หัว จอบ ทั้ง ปวง.
      ด้ำ ฉมวก (208:2.5)
               เปน ชื่อ ไม้ ยาว ประมาณ สิบ ศอก, ที่ ใส่ เข้า ไป ใน ฉมวก, สำรับ มือ จับ ถือ แทง ปลา นั้น.
      ด้ำ ชะนัก (208:2.6)
               เปน ชื่อ ปลาย ไม้ ไผ่ ลำ เล็ก ๆ, ที่ ซุก เข้า ไป ใน. บ้อง ชะนัก, สำรับ มือ จับ แทง จรเข้ เปน ต้น นั้น.
ดะ (208:3)
         คือ การ ที่ สิ่ง ของ ที่ เขา ฟัน ล้ม ราย ๆ กัน ไป, ฤๅ คน ไถ นา รอย เรียง กัน ไป ห่าง ๆ เปน ต้น นั้น.
      ดะดาษ (208:3.1)
               คือ ดาดาษ, เหมือน ผล ไม้ อัน หล่น ลง มาก บน ดิน กลาด ไป นั้น.
ดก (208:4)
         มาก, ชุม, คือ อาการ แห่ง คน ที่ มี ลูก มาก, ฤๅ ต้น ไม้ ทั้ง ปวง ที่ มี ลูก มาก นั้น, เหมือน อย่าง เขา ว่า, ลูก ไม้ ดก นัก.
      ดก หนัก (208:4.1)
               คือ อาการ แห่ง ต้น ไม้ ทั้ง ปวง มี ผล มาก หนัก นั้น.
ดัก (208:5)
         คือ การ ที่ คน เอา บ่วง ต่าง ๆ มี แร้ว เปน ต้น, ทำ ให้ สัตว ต่าง ๆ ติด อยู่, เหมือน อย่าง คน ดัก แร้ว เปน ต้น นั้น.
      ดัก ไก่ (208:5.1)
               คือ การ ที่ คน เอา บ่วง ดัก ไว้ ทำ ให้ ไก่ ติด เปน ต้น.
      ดัก กุ้ง (208:5.2)
               คือ การ ที่ คน ทำ ให้ กุ้ง ติด อยู่ ใน ลอบ ฤๅ บวน นั้น, เหมือน อย่าง คน ลง โพง พาง เปน ต้น.
      ดัก ข่าย (208:5.3)
               เปน ชื่อ การ ที่ เอา ข่าย กาง ขึง ออก คอย ดัก สัตว ต่าง ๆ, เหมือน คน ดัก นก, ดัก ปลา ด้วย ข่าย เปน ต้น นั้น.
      ดัก ขวาก (208:5.4)
               เปน ชื่อ การ ที่ คน ปัก ขวาก ไว้ คอย ดัก หมู่, ฤๅ ดัก ขะโมย เปน ต้น, เหมือน อย่าง พวก ชาว นา ชาว สวน นั้น.
      ดัก จั่น (208:5.5)
               เปน ชื่อ การ ที่ คน ทำ จั่น ดัก เสือ แล ดัก ปลา เปน ต้น นั้น, เหมือน อย่าง พวก พราน แล ชาว ประโมง หา ปลา.
      ดัก ชุด (208:5.6)
               เปน ชื่อ การ ที่ คน เอา ชุด ดัก ปลา นั้น.
      ดัก ไซ (208:5.7)
               เปน ชื่อ การ ที่ คน เอา ไซ ดัก ปลา นั้น.
      ดัก ลอบ (208:5.8)
               เปน ชื่อ การ ที่ คน ดัก ปลา ด้วย ลอบ นั้น.
      ดัก ลัน (208:5.9)
               เปน ชื่อ การ ที่ คน เอา ลัน ไป ดัก ปลา ไหล นั้น. อนึ่ง ลัน นั้น เขา ทำ ด้วย กะบอก ไม้ ไผ่ มี งา อยู่ ใน นั้น.
      ดัก แร้ว (208:5.10)
               เปน ชื่อ การ ที่ คน เอา แร้ว ดัก ไก่ ฤๅ ดัก นก.

--- Page 209 ---
ดาก (209:1)
         เปน ชื่อ อย่าง หนึ่ง* เปน เนื้อ ศี แดง ๆ อยู่ ใน ทวาน หนัก, เมื่อ ขณะ ส่ง ทุกข์ นั้น มัน ยื่น ย้อย ออก มา.
      ดาก ครก (209:1.1)
               คือ ไม้ ที่ ทำ กลม ๆ สำรับ จุก ก้น ครก ที่ ทลุ นั้น, เหมือน อย่าง ดาก ตะบัน เปน ต้น นั้น.
      ดาก ตะบัน (209:1.2)
               คือ ไม้ กลม ๆ ที่ สำรับ อุด ก้น ตะบัน นั้น.
      ดาก ไหล (209:1.3)
               คือ ดาก ใน ทวาน ที่ ไหล ย้อย ออก มา นั้น, เหมือน อย่าง เด็ก ที่ เปน โรค ตาน ขะโมย.
      ดาก ออก (209:1.4)
               คือ ดาก ใน ทวาน ฤๅ ใน ช่อง กำเนิฎ ที่ มัน ย้อย ยื่น ออก มา นั้น, เหมือน คน นั่ง ส่ง ทุกข์.
ดิก (209:2)
         เปน อาการ ที่ ทำ หาง แกวง ไป แกวง มา, เหมือน อย่าง หาง หมา นั้น, เขา มัก พูด กัน ว่า ทำ หาง ดิก ๆ.
      ดิก ดุก (209:2.1)
               ดุก ดิก, คือ ไม่ นิ่ง นั่ง อยู่ สุก เปน ปรกติ, เหมือน อย่าง ลิง เปน ต้น.
ดึก (209:3)
         เที่ยง* คืน, คือ เพลา กลาง คืน, เหมือน อย่าง เพลา สอง ยาม เสศ ฤๅ สาม ยาม.
      ดึก ดื่น (209:3.1)
               คือ ดึก มาก นั้น ความ เหมือน กัน กับ ดึก.
      ดึก ด่ำบรร (209:3.2)
               คือ ความ ฦก ลับ นม นาน มา แล้ว, เหมือน อย่าง เรื่อง นิทาน เก่า ๆ เปน ต้น.
ดุก (209:4)
         เปน ชื่อ ปลา อย่าง หนึ่ง, ไม่ มี เกล็ด มี เงี่ยง แหลม สอง อัน อยู่ ที่ ฅอ, เฃา จึ่ง เรียก ปลา ดุก.
      ดุก ดิก (209:4.1)
               คือ อาการ ที่ ไม่ นั่ง นิ่ง เปน ปรกติ นั้น, เหมือน อย่าง ว่าว ปาก เป้า เล็ก ๆ แล เด็ก ๆ เปน ต้น.
ดูก (209:5)
         คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เปน เอ็น กลาง, เหมือน อย่าง กะดูก เรือ เปน ต้น.
เดก (209:6)
         เปน ชื่อ การ ที่ คน คอน ท้าย เรือ คน เดียว, ฤๅ แจว ท้าย เรือ คน เดียว นั้น, เหมือน เขา พูด ว่า คอน ท้าย กะเดก ๆ.
      เดก โดก (209:6.1)
               อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เอน ไป เอน มา โยก เยก อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง ไม้ หลัก ปัก อยู่ ที่ น้ำ เชี่ยว เปน ต้น.
เด็ก (209:7)
         ทารก, กุมาร, ลูก เล็ก ๆ, คือ คน เล็ก ๆ นั้น, เหมือน อย่าง ทารก ที่ มี อายุ ได้ สี่ ขวบ ห้า ขวบ.
แดก (209:8)
         ยัด เข้า ไป, คือ อาการ ที่ ยัด ดัน ลง ไป แน่น นั้น, เหมือน อย่าง ลม ที่ ทำ ให้ จุก แดก แน่น อยู่ ใน ท้อง.
      แดก กิน (209:8.1)
               คือ การ ที่ กิน ของ ทั้ง ปวง อิ่ม แล้ว, ขืน กิน ยัด เข้า ไป อีก นั้น, เหมือน อย่าง คน โซ มัก กิน เปน ต้น.
      แดก ขึ้น (209:8.2)
               เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ มน ดัน แน่น ขึ้น มา นั้น, เหมือน อย่าง คน เปน โรค จุก แน่น ขึ้น มา.
      แดก งา (209:8.3)
               เปน ชื่อ ขนม อย่าง หนึ่ง, เขา เอา งา แดก ยัด เข้า ไป ใน นั้น, เขา เรียก ขนม แดก งา.
      แดก จุก (209:8.4)
               คือ คน เปน โรค จุก แน่น ขึ้น มา ใน ท้อง นั้น, เหมือน อย่าง คน เปน โรค ลง ราก.
      แดก ดัน (209:8.5)
               คือ ความ ที่ คน พูด ประชด ย้อน ให้ นั้น, เหมือน อย่าง คน ยาก จน, ว่า เปน เจ้า พญา.
      แดก ห่า (209:8.6)
               คือ อาการ ที่ คน กิน มาก เกิน ประมาณ นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด ว่า แดก ห่า เข้า ไป เกิน ขนาด.
      แดก ให้ (209:8.7)
               คือ ความ ที่ คน พูด ประชด ย้อน ให้ นั้น, เหมือน อย่าง คน ว่า กับ คน จน ว่า, เจ้า เปน คน มั่ง มี.
      แดก แห้ง (209:8.8)
               เปน คำ ด่า ถึง ผู้ หญิง ที่ มี ผัว แต่ เด็ก ๆ, เหมือน อย่าง เด็ก อายุ ได้ สิบ สอง สิบ สาม ปี.
      แดก อก (209:8.9)
               คือ แน่น ขึ้น มา ที่ อก, เหมือน ลม ดัน ขึ้น มา แน่น อก หาย ใจ ไม่ ใคร่ ลง นั้น.
      แดก ออก (209:8.10)
               คือ ดัน ออก, เหมือน น้ำ ลง ไหล ออก จาก ปาก คลอง ดัน ออก สู่ แม่ น้ำ.
โดก (209:9)
         คือ การ ที่ คน แจว ท้าย เรือ คน เดียว นั้น, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, แจว กระโดก ๆ ไป โน่น แล้ว,
      โดก เดก (209:9.1)
               คือ อาการ ที่ โยก ไป โยก มา นั้น, เหมือน อย่าง ไม้ ปัก อยู่ ใน น้ำ เอน ไป เอน มา.
ดอก (209:10)
         ช่อ, บุบผา, คือ ของ ที่ แตก ออก จาก ยอด ไม้ ทั้ง ปวง ก่อน แล้ว จึ่ง เปน ลูก เหมือน อย่าง ดอก ไม้ ทั้ง ปวง นั้น.
      ดอก การะเกษ (209:10.1)
               เปน ชื่อ ดอก ที่ ออก มา จาก ยอด การะเกษ, เหมือน อย่าง ดอก ลำเจียก เปน ต้น.
      ดอก การะณิกา (209:10.2)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง การะณิกา นั้น.
      ดอก กาหลง (209:10.3)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง ต้น กาหลง, เปน ดอก ไม้ ศี ขาว อย่าง หนึ่ง กลิ่น ไม่ หอม.
      ดอก เกด (209:10.4)
               เปน ชื่อ ดอก ที่ เกิด แต่ ต้น เกด นั้น.
      ดอก กุ่ม (209:10.5)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง ต้น กุ่ม นั้น, เหมือน อย่าง ดอก กุ่ม บก.
      ดอก กุหลาบ (209:10.6)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง ต้น กุหลาบ นั้น, ดอก ศี แดง อ่อน ๆ กลิ่น หอม เย็น ชื่น ใจ ดี นัก.

--- Page 210 ---
      ดอก ดาว เรือง (210:10.7)
               เปน ชื่อ ดอก ที่ เกิด แต่ ต้น ดาว เรือง นั้น, ดอก ศี เหลือง แก่ ดู งาม แต่ กลิ่น ไม่ สู้ หอม นัก.
      ดอก แก้ว (210:10.8)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง ไม้ แก้ว ดอก ศี ขาว กลิ่น หอม ดี นัก.
      ดอก กระดังงา (210:10.9)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง ไม้ กระดังงา, ศี เหลือง เปน สี่ กลีบ กลิ่น หอม, ใช้ อบ น้ำ บ้าง กลั่น ทำ น้ำ มัน บ้าง.
      ดอก กระถิน (210:10.10)
               เปน ชื่อ ดอก ไม้ อย่าง หนึ่ง ศี เหลือง กลิ่น หอม ดี ดอก เหมือน อย่าง ดอก กะทุ่ม.
      ดอก กระทึง (210:10.11)
               เปน ชื่อ ดอก ไม้ อย่าง หนึ่ง ศี ขาว เปน สี่ กลีบ เกษร เหลือง, คล้าย ๆ ดอก สาระภี กลิ่น หอม ดี นัก.
      ดอก กระทุ่ม (210:10.12)
               เปน ชื่อ ดอก ไม้ อย่าง หนึ่ง ศี นวล ๆ, กลิ่น หอม คล้าย ๆ ดอก กะถิน เทษ มี อยู่ ตาม กลาง ทุ่ง กลาง ป่า.
      ดอก กระแบก (210:10.13)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง ไม้ กระแบก นั้น.
      ดอก คำ จีน (210:10.14)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง ต้น คำ มา แต่ เมือง จีน, สำรับ ใช้ ย้อม ผ้า เปน ศี ชมภู บ้าง ศี แสด บ้าง.
      ดอก คำ ไท (210:10.15)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง เกิด* ที่ เมือง ไท นี้, สำรับ ใช้ ย้อม ผ้า ให้ เปน ศี แสด.
      ดอก คำ ฝอย (210:10.16)
               เปน ชื่อ ดอก คำ อย่าง หนึ่ง เปน ฝอย ๆ, มา แต่ เมือง ลาว สำรับ ใช้ ย้อม ผ้า เปน ศี ชมภู.
      ดอก หงอน ไก่ (210:10.17)
               เปน ชื่อ ดอก อย่าง หนึ่ง ศี แดง, มี สันถาน เหมือน หงอน ไก่, อังกริด เรียก ดอกสะโกม นั้น.
      ดอก จำปา (210:10.18)
               เปน ชื่อ ดอก ที่ เกิด แต่ ต้น จำ ปา นั้น, ดอก เปน กลีบ ๆ กลิ่น หอม ร้อน ๆ ศี เหลือง
      ดอก จำ ปี (210:10.19)
               เปน ชื่อ ดอก ที่ เกิด แต่ ต้น จำปี นั้น, เหมือน อย่าง ดอก จำ ปี กลิ่น หอม แต่ ศี ขาว.
      ดอก จิก (210:10.20)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง ต้น จิก นั้น, ดอก เปน พวง ห้อย ย้อย ดู งาม.
      ดอก จอก (210:10.21)
               ชื่อ ดอก ที่ เกิด แต่ จอก นั้น. อนึ่ง ไม้ เขา สลัก เปน รูป ดอก จอก, เหมือน อย่าง ที่ ท้าย เรือ กั้น ฉาง.
      ดอก จงกลนี (210:10.22)
               ชื่อ* ดอก บัว อย่าง หนึ่ง ศี เขียว, เหมือน อย่าง ดอก บัว เผื่อน กลิ่น หอม ดี นัก มี อยู่ ตาม ทุ่ง นา.
      ดอก จันท์น (210:10.23)
               เปน ชื่อ ดอก จันท์น ที่ มา แต่ เมือง เทศ, เหมือน อย่าง พวก หมอ ไท ใช้ ทำ ยา นั้น.
      ดอก ฉะอม (210:10.24)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง ต้น ฉะอม นั้น, ต้น ไม่ โต นัก ใบ เล็ก ๆ เหมือน ซ่ม ป่อย, ใช้ เปน ผัก.
      ดอก ชมภู่ (210:10.25)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง ต้น ชมภู่ นั้น, เปน ศี แดง บ้าง ขาว บ้าง.
      ดอก ชุมแสง (210:10.26)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง ต้น ชุมแสง นั้น, เปน ไม้ มี อยู่ ตาม ริม น้ำ แถบ เหนือ.
      ดอก ทรงบาดาร (210:10.27)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง ต้น ทรงบาดาร นั้น, เปน ต้น ไม่ สู้ ใหญ่ นัก, ดอก ศี เหลือง สำรับ ใช้ ทำ ยา.
      ดอก ซอง แมว (210:10.28)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง ซอง แมว นั้น, ต้น ไม่ โต นัก ศี เหลือง เปน พวง ๆ.
      ดอก ญี่ เข่ง (210:10.29)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง ต้น ญี่เข่ง นั้น, ต้น ไม่ โต นัก ดอก ศี ม่วง อ่อน.
      ดอก ญี่ โถ (210:10.30)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง ต้น ญี่ โถ นั้น, ต้น ไม่ สู้ โต, ใบ ยาว ๆ, ดอก เปน ศี ม่วง อ่อน, หอม เย็น ๆ.
      ดอก ญี่สุ่น (210:10.31)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง ต้น ญี่สุ่น นั้น, ต้น เล็ก เปน หนาม, ดอก เหมือน กุลาบ กลิ่น หอม น้อย ๆ.
      ดอก ญี่หุบ (210:10.32)
               เปน ชื่อ แห่ง ต้น ดอก ญี่หุบ นั้น, ต้น เล็ก ๆ ดอก เหมือน ดอก มนทา, กลิ่น หอม ดี นัก.
      ดอก ดองดึง (210:10.33)
               เปน ชื่อ แห่ง ดอก เถา ดองดึง นั้น, เปน เถา เล็ก ๆ, ดอก ศี แดง กับ ศี เหลือง เจือ กัน.
      ดอก ดวง (210:10.34)
               เปน ชื่อ ดอก ที่ ผ้า แพร เปน ช่อ ดอก ไม้ นั้น, เขา เรียก ว่า ดอก ดวง.
      ดอก ดิน (210:10.35)
               เปน ชื่อ ดอก อย่าง หนึ่ง เปน ดอก งอก ขึ้น มา จาก แผ่นดิน นั้น, คล้าย ๆ เห็ด ทำ ขนม กิน ได้.
      ดอก เต่า ร้าง (210:10.36)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง เต่า ร้าง นั้น, ต้น เหมือน อย่าง ต้น หมาก, ดอก เปน พวง ห้อย ดู งาม.
      ดอก เตย (210:10.37)
               เปน ชื่อ ดอก ต้น เตย นั้น, คล้าย ๆ ดอก ลำเจียก, กลิ่น ไม่ สู้ หอม.
      ดอก ถอบ แถบ (210:10.38)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง เถา ถอบแถบ นั้น.
      ดอก ทอง (210:10.39)
               ดอก อมฤคชาติ, เปน ชื่อ แห่ง ดอก ต้น ทอง นั้น, ต้น โต ใบ กลม ๆ, ดอก เหมือน ดอก ทอง หลาง ใบ มน.
      ดอก ทอง กวาว (210:10.40)
               ดอก อัมฤกชาติ, เปน ชื่อ ดอก แห่ง ต้น ทอง กวาว นั้น.
      ดอก ทอง หลาง (210:10.41)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง ต้น ทอง หลาง นั้น, ศี แดง เข้ม ต้ม แล้ว ยำ กิน กับ เข้า ดี.

--- Page 211 ---
      ดอก แทง ทวย (211:10.42)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง ต้น แทงทวย นั้น, มี อยู่ ตาม แถว ริม น้ำ ฝ่าย เหนือ, ใช้ ทำ ยา.
      ดอก นาง แย้ม (211:10.43)
               เปน ชื่อ ดอก ที่ เกิด แต่ ต้น นาง แย้ม นั้น, ดอก คล้าย กับ ดอก มะลิ กลิ่น หอม.
      ดอก บุก (211:10.44)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง บุก นั้น, เปน ผัก อย่าง หนึ่ง ต้น ลาย ๆ เหมือน งู, แกง กิน ก็ ได้.
      ดอก บอน (211:10.45)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง บอน นั้น, เปน ผัก อย่าง หนึ่ง ขึ้น อยู่ ใน น้ำ ต้น เปน กาบ ๆ, แกง กิน ดี นัก.
      ดอก บัว (211:10.46)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง ต้น บัว นั้น, เปน ผัก อย่าง หนึ่ง อยู่ ใน น้ำ ดอก ศี แดง อ่อน กลิ่น หอม ดี นัก.
      ดอก บัว ขม (211:10.47)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง บัว ขม นั้น, เปน ผัก เกิด ใน น้ำ อย่าง หนึ่ง สำรับ กิน สาย.
      ดอก บัว เผื่อน (211:10.48)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง บัว เผื่อน นั้น, เปน ดอก เกิด ใน น้ำ, กลิ่น หอม ดี นัก.
      ดอก บัว หลวง (211:10.49)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง บัว หลวง นั้น, เปน บัว อย่าง หนึ่ง, ต้น มี หนาม, ดอก ศี ขาว บ้าง แดง บ้าง กลิ่น หอม.
      ดอก บัว สัตบุด (211:10.50)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง บัว สัตบุด นั้น, ดอก คล้าย กับ บัว ขม, ศี แดง, กลิ่น หอม ดี*.
      ดอก บัว สัตบัน (211:10.51)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง* บัว สัตบัน นั้น, ดอก คล้าย กับ บัว เผื่อน แต่ กลีบ ติด ซ้อน กัน หลาย.
      ดอก บัว สัตบงกช (211:10.52)
               เปน ชื่อ ดอก บัว สัตบงกช นั้น, ดอก เหมือน ดอก บัว หลวง ศี เฃียว บ้าง แดง บ้าง, หอม ดี* นัก.
      ดอก* ผัก ตบ (211:10.53)
               ดอก สามหาว, เปน ชื่อ ดอก แห่ง ผัก ตบ นั้น, ดอก ศี เขียว เหมือน ดอก อังชัน, งาม นัก, งอก ขึ้น ตามโคลน.
      ดอก ปีบ (211:10.54)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง ต้น ปีบ นั้น, ดอก ศี ขาว, กลิ่น หอม คล้าย กัน กับ ดอก ซ่อน กลิ่น.
      ดอก ฝาง (211:10.55)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง ต้น ฝาง, ดอก ศี เหลือง เปน พุ่ม ๆ ไม่ สู้ งาม นัก.
      ดอก บุญนาก (211:10.56)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง บุญนาก นั้น, เปน ดอก ไม้ อยู่ ใน ดง คล้าย ๆ ดอก สาระภี, หอม ดี นัก, ใช้ ทำ ยา.
      ดอก พี่กุน (211:10.57)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง พี่ กุล นั้น, ดอก เปน แฉก เล็ก ๆ กลิ่น หอม ตี นัก, ร้อย พวง มาไลย บ้าง ทำ ยา บ้าง.
      ดอก พุท (211:10.58)
               เปน ชื่อ ดอก ที่ เกิด แต่ ต้น พุท นั้น, ดอก ศี ขาว เหมือน อย่าง ดอก มะลิ.
      ดอก พุท จิบ (211:10.59)
               เปน ชื่อ ดอก ที่ เกิด แต่ ต้น พุด จีบ นั้น, ดอก ศี ขาว ย่น ๆ เหมือน อย่าง เขา จีบ ไว้.
      ดอก พุทธชาติ (211:10.60)
               เปน ชื่อ ดอก ที่ เกิด แต่ ต้น พุทธชาติ นั้น, ดอก คล้าย กับ ดอก มะลิ, ศี ขาว, กลิ่นหอม ชื่น ใจ.
      ดอก พุทซ้อน (211:10.61)
               เปน ชื่อ ดอก ที่ เกิด แต่ ต้น พุทซ้อน นั้น, ดอก ศี ขาว, ซ้อน หลาย ชั้น, กลิ่น หอม ดี นัก.
      ดอก พุทตาน (211:10.62)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง พุท ตาน นั้น, ดอก คล้าย กับ ดอก ฉะ บา ศี แดง กร้ำ กรุ่น, กลิ่น ไม่ หอม.
      ดอก พุทลา (211:10.63)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง พุทลา นั้น, ดอก คล้าย กับ ดอก ตีน เปด, ศี ขาว กลิ่น ไม่ หอม.
      ดอก ฟ่าย เทศ (211:10.64)
               เปน ชื่อ ดอก ที่ เกิด แต่ ต้น ฝ้าย เทศ นั้น, ดอก คล้าย กับ ดอก กะเจียบ, ไม่ หอม.
      ดอก มะลิ (211:10.65)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง มะลิ นั้น, ดอก ศี ขาว, กลิ่น หอม เย็น ชื่น ใจ, สำรับ ใช้ ร้อย พวง มาไลย เปน ต้น.
      ดอก โมก (211:10.66)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง ต้น โมก นั้น, เปน ดอก เล็ก ๆ ศี ขาว, กลิ่น หอม เย็น ชื่น ใจ.
      ดอก* มนทา (211:10.67)
               คือ ดอก ไม้ อย่าง ย่อม, ดอก* มัน โต เท่า ดอก* บัว ย่อม ๆ, ใบ มัน รี ใหญ่, ดอก* เหลือง หอม.
      ดอก ยี่หร่า (211:10.68)
               เปน ชื่อ ดอก ที่ เกิด แต่ ต้น ยี่หร่า นั้น, เปน ดอก เล็ก ๆ กลิ่น หอม ดี.
      ดอก* ลำเจียก (211:10.69)
               เปน ชื่อ ดอก ที่ เกิด แต่ ต้น ลำเจียก นั้น, ดอก คล้าย กับ ดอก เตย, ศี ขาว, กลิ่น หอม ดี* นัก.
      ดอก ลำดวน (211:10.70)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง ต้น ลำดวน นั้น, ดอก เหมือน ดอก นม แมว, เปน สี่ กลีบ กลิ่น หอม ชื่น ใจ.
      ดอก ลำแพน (211:10.71)
               เปน ชื่อ ดอก ที่ เกิด แต่ ต้น ลำแพน นั้น, ดอก เหมือน ดอก ลำภู, ศี กร้ำ กรุ่น, กลิ่น ไม่ หอม.
      ดอก ลำภู (211:10.72)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง ลำภู นั้น, ดอก คล้าย กับ ดอก ลำแพน ดู งาม, แต่ กลิ่น ไม่ หอม.
      ดอก เบี้ย (211:10.73)
               เปน ชื่อ เงิน ค่า ป่วย การ, ที่ เขา กู้ ฤๅ จำนำ ฤๅ ขาย ตัว ผูก ดอก นั้น, เหมือน อย่าง ดอก เบี้ย ที่ เขา ให้ กัน ตาม ธรรมเนียม นั้น.
      ดอก ไม้ พุ่ม (211:10.74)
               เปน ชื่อ ดอก ไม้ ที่ เขา เอา มา ปัก เปน พุ่ม ๆ, ฤๅ ดอก ไม้ ไฟ ที่ เขา ทำ เปนพุ่ม ๆ สำรับ จุด กลาง คืน นั้น.

--- Page 212 ---
      ดอก ไม้ ไฟ (212:10.75)
               เปน ชื่อ ดอก ไม้ ที่ สำรับ จุด ไฟ เพลา ค่ำ ๆ นั้น, เหมือน อย่าง พลุไฟพะเนียง เปน ต้น.
      ดอก ไม้ เงิน (212:10.76)
               เปน ชื่อ ดอก ไม้ ที่ เขา ทำ ด้วย เงิน นั้น, เหมือน อย่าง ดอกไม้ เงิน ที่ ใน หลวง ทำ เปน ต้น นั้น.
      ดอก ไม้ ทอง (212:10.77)
               เปน ชื่อ ดอก ไม้ ที่ เขา ทำ ด้วย ทอง คำ นั้น, เหมือน อย่าง ดอก ไม้ ใน หลวง ทำ พระ ราชทาน นั้น.
      ดอก ไม้ ไหว (212:10.78)
               เปน ชื่อ ดอก ไม้ ทำ ด้วย กะดาด บ้าง, ทำ ด้วย ทอง บ้าง, แล้ว เอา ลวด เล็ก ๆ ขด ทำ เปน ก้าน สั่น ไหว ๆ.
      ดอก มิ รู้ โรย (212:10.79)
               เปน ชื่อ ดอก ที่ เกิด แต่ ต้น บาน มิ รู้ โรย นั้น, ดอก ศี แดง บ้าง ศี ขาว บ้าง แต่ บาน แล้ว มัน ไม่ โรย.
      ดอก* ไม้ เงิน ทอง (212:10.80)
               เปน ชื่อ ดอก ไม้ ที่ เขา ทำ ด้วย เงิน บ้าง, ทอง บ้าง, เปน ต้น ไม้ สำรับ เปน เครื่อง บรรณาการ ถวาย พระเจ้า แผ่นดิน เมือง หลวง.
      ดอก เล็บ มือ นาง (212:10.81)
               คือ ดอก ที่ เถา เล็บ มือ นาง, ดอก มัน ก้าน ยาว เปน ช่อ ๆ ไม่ หอม ศี ขาว ปน แดง เขา ทำ ยา.
      ดอก เลี่ยมซุย (212:10.82)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง เลี่ยมซุย นั้น, ดอก เล็ก เปน ช่อ ๆ ศี เหลือง เจือ แดง, กลิ่น ไม่ หอม นัก.
      ดอก เล็บ (212:10.83)
               คือ ที่* หลัง เล็บ มือ คน, ลาง ที่ มัน เปน ขาว ๆ ขึ้น มา เท่า เม็ด งา บ้าง, ย่อม กว่า บ้าง, แล้ว หาย ไป.
      ดอก ษาระภี (212:10.84)
               เปน ชื่อ ดอก แห่ง ต้น ษาระภี นั้น, ดอก เหมือน ดอก กะทึง เกษร เหลือง, กลิ่น หอม หวาน ดี นัก.
      ดอก สาวรศ (212:10.85)
               คือ ดอก แห่ง เถา เสาวรศ นั้น, ดอก เหมือน อย่าง ดอก มังกร กรีด เล็บ ศี ม่วง, กลิ่น หอม ดี.
      ดอก ส้อน กลิ่น (212:10.86)
               ส้อน ชู้, คือ ดอก ที่ เกิด แต่ ต้น ส้อน กลิ่น นั้น, ดอก เปน สี่ กลีบ, ศี ขาว ส่ง กลิ่น หอม ดี นัก.
      ดอก ส้อน ชู้ (212:10.87)
               ส้อน กลิ่น, คือ ดอก ที่ เกิด แต่ ต้น ส้อน ชู้ เปน ดอก แห่ง ต้น ซ่อน กลิ่น นั้น เอง.
      ดอก โศก (212:10.88)
               คือ ดอก ที่ เกิด แต่ ต้น โศก นั้น, ดอก ศี เหลือง แก่, เปน ฉ้อ ๆ, ไม่ สู้ หอม แกง กิน ได้.
      ดอก สลิด. ดอก ขะจอน (212:10.89)
               คือ ดอก ที่ เกิด แต่ เถา สลิด นั้น, ดอก เปน ฉ้อ ๆ ศี เขียว ๆ, กลิ่น หอม ดี นัก.
      ดอก สายอยุด (212:10.90)
               คือ ดอก ที่ เกิด แต่ เถา แห่ง สายอยุด นั้น, ดอก ศี เหลือง เหมือน ดอก กะดังงา, หอม แต่ เที่ยง คืน, ครั้น สาย แล้ว อยุด ไม่ หอม.
      ดอก หาง นกยูง (212:10.91)
               คือ ดอก แห่ง ต้น หาง นก ยูง นั้น, ดอก ศี* แดง เจือ เหลือง, เกษร ยาว ๆ, กลิ่น ไม่ หอม.
      ดอก รัก (212:10.92)
               คือ ดอก แห่ง ต้น รัก นั้น, ดอก ศี ม่วง อ่อน เปน ฉ้อ ๆ, กลิ่น ไม่ หอม ใช้ ปัก พุ่ม.
      ดอก อำมะฤคชาติ (212:10.93)
               ดอก ทอง กวาว, คือ ดอก แห่ง ต้น ทอง กวาว นั้น, ดอก ศี แดง ชัด เหมือน อย่าง ดอก ทอง หลาง ใบ มน นั้น.
ดง (212:1)
         ไพร, ป่า, คือ ป่า ใหญ่ ที่ มี ต้น ไม้ สูง ๆ หลาย ชั้น, มี น้ำ ค้าง* ตก มาก, เหมือน อย่าง ดง พญา ไฟ.
      ดง กล้วย (212:1.1)
               คือ ไร่ ที่ มี ป่า กล้วย มาก นั้น, เหมือน อย่าง ไร่ กล้วย ไข่ แถบ เมือง เหนือ.
      ดง ขนุน (212:1.2)
               คือ ไร่ ฤๅ สวน ที่ มี ต้น ขนุน มาก ๆ นั้น เอง, เหมือน อย่าง ป่า ขนุน.
      ดง ขะมิ่น (212:1.3)
               คือ ไร่ ฤๅ สวน ที่ มี ต้น ขะมิ่น มาก ๆ.
      ดง คา (212:1.4)
               คือ ที่ อัน มี ญ่า คา มาก นั้น.
      ดง ดิบ (212:1.5)
               คือ ป่า สูง ดง ใหญ่ ที่ ไฟ ไม่ ได้ ไหม้ นั้น.
      ดง ตายะ (212:1.6)
               เปน ชื่อ ดง แห่ง หนึ่ง เขา เรียก อย่าง นั้น, อยู่ ใน แขวง เมือง สุพรรณ์ บูรี.
      ดง พยา กลาง (212:1.7)
               เปน ชื่อ ดง แห่ง หนึ่ง เขา ร้อง เรียง อย่าง นั้น, เปน หน ทาง ที่ จะ ไป ยัง เมือง นคร ราชเสมา นั้น.
      ดง พยา ไฟ (212:1.8)
               เปน ชื่อ ดง แห่ง หนึ่ง เขา ร้อง เรียก อย่าง นั้น, เปน หน ทาง ที่ จะ ไป ยัง เมือง โคราซ.
      ดง ดอน (212:1.9)
               คือ ป่า ที่* ไม่ ลุ่ม นั้น, เหมือน อย่าง ป่า สูง ฤๅ เนิล เขา เปน ต้น.
      ดง แรด (212:1.10)
               คือ ดง ที่ มี แรด ชุก ชุม นัก นั้น, เหมือน อย่าง ใน ดง แขวง เมือง เหนือ.
      ดง เสือ (212:1.11)
               เปน ชื่อ ป่า ที่ มี เสือ มาก หนัก นั้น, เหมือน อย่าง ตาม ดง ที่ จะ ไป ยัง เมือง เขมร.
      ดง อ้อย (212:1.12)
               คือ ไร่ ฤๅ สวน ที่ มี ป่า อ้อย มาก นั้น.
ดัง (212:2)
         สนั่น, กึก ก้อง, คือ เสียง อึง กึก ก้อง ฤๅ เสียง สูง เสียง ไม่ เบา นั้น, เหมือน อย่าง เสียง ปืน ฤๅ เสียง ฟ้า ร้อง.
      ดัง มี่ ก้อง (212:2.1)
               คือ เสียง ของ หลาย สิ่ง ประโคม ขึ้น พร้อม กัน เหมือน เสียง มะโหรี, ปี่ภาษ, กลอง แขก เปน ต้น ดัง ขึ้น พร้อม กัน.

--- Page 213 ---
ดั่ง (213:1)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ดั่ง นี้ (213:1.1)
               คือ เหมือน นี้, ฤๅ คล้าย นี้, อย่าง นี้ นั้น, เขา ย่อม พูด กัน ว่า, เมื่อ กาล เปน ดั่ง นี้ แล้ว จะ ทำ อย่าง ไร.
      ดั่ง นั้น (213:1.2)
               คือ เหมือน นั้น, ฤๅ คล้าย นั้น, อย่าง นั้น นั่น, เขา มัก พูด กัน ว่า, ความ ไม่ เปน ดั่ง นั้น.
      ดั่ง ฤๅ (213:1.3)
               คือ อย่าง ไร, อะไร, ทำ ไม่, ประการ ใด นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า เหตุ ดัง ฤๅ, เหตุ อย่าง ไร.
ดัง สนั่น (213:2)
         คือ เสียง ดัง หนัก ก้อง, เหมือน เสียง ฟ้า ฤๅ เสียง ปืน ใหญ่.
ดั้ง (213:3)
         คือ เครื่อง อย่าง หนึ่ง, สำรับ ป้อง กัน อาวุธ. ประการ หนึ่ง คือ เสา ที่ ตั้ง บน รอด เรือน สำหรับ รับ อก ไก่ นั้น.
      ดั้ง แขวน (213:3.1)
               คือ เสา ดั้ง ไม่ ลง ถึง รอด มัน อยั่ง ลง ที่ ขื่อ คัด.
ด่าง (213:4)
         กระ, พร้อย, คือ น้ำ ที่ เกรอะ ออก จาก เถ้า ไฟ, สำรับ ซัก ผ้า แล ล้าง เครื่อง พิมพ์ เปน ต้น. อนึ่ง สัตว ทั้ง ปวง มี ตัว ลาย ขาว บ้าง, ดำ บ้าง เหมือน อย่าง วัว ด่าง.
      ด่าง ดำ (213:4.1)
               คือ สัตว ทั้ง ปวง ที่ มี ตัว ลาย เปน วง ๆ ศี ขาว บ้าง, ดำ บ้าง, เหมือน อย่าง โค ด่าง ฤๅ แมว ด่าง.
      ด่าง พร้อย (213:4.2)
               คือ สัตว ทั้ง ปวง ที่ มี ตัว ลาย พร้อย จุด เปน วง เล็ก ๆ, เหมือน อย่าง ไก่ ด่าง ฤๅ นก ศี ชมภู, แล เสือ ดาว.
ดิ่ง (213:5)
         เปน ชื่อ ของ อย่าง หนึ่ง ทำ ด้วย ตะกั่ว เปน ลูก ตุ้ม, สำรับ อย่าง น้ำ บ้าง, สำรับ อย่าง ที่ ทำ เรือน ให้ รู้ ตรง ฤๅ ไม่ ตรง.
      ดิ่ง อย่าง ไม้ (213:5.1)
               คือ ลูก ดิ่ง เหมือน ลูก ตุ้ม นาลิกา สารับ แขวน ห้อย ดู การ ให้ เที่ยง ตรง นั้น.
      ดิ่ง อย่าง น้ำ (213:5.2)
               คือ ของ ทำ ด้วย ตะกั่ว บ้าง, สิ่ง อื่น บ้าง, สำรับ อย่าง น้ำ ให้ รู้ ว่า ฦก ฤๅ ตื้น, เหมือน อย่าง ดิ่ง ที่ เดิน กำปั่น.
ดึ่ง (213:6)
         จม ลง, คือ การ ที่ มัน จม ดึ่ง ลง ไป ฦก นั้น, เหมือน อย่าง คน เอา ก้อน หิน, ฤๅ ลูก ดิ่ง ทิ้ง ลง ไป ใน น้ำ.
      ดึ่ง จม (213:6.1)
               คือ การ ที่ จม ฦก ลง ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน เอา ก้อน หิน ทิ้ง ลง ใน น้ำ.
ดึง (213:7)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ดึง กัน (213:7.1)
               คือ การ ที่ ทึ้ง กัน แย่ง กัน นั้น, เหมือน อย่าง พวก เด็ก ๆ ชัก ว่าว ติด กัน เข้า แล้ว ดึง ป่าน กัน.
      ดึง กระชาก (213:7.2)
               คือ การ ที่ ทึ้ง แย่ง กัน แล้ว กะทก ให้ หลุด ออก จาก กัน นั้น, เหมือน อย่าง แย่ง สิ่ง ของ กัน กระชาก ให้ หลุด ออก จาก กัน นั้น.
      ดึง เข้า ไป (213:7.3)
               คือ การ ที่ ทึ้ง เข้า ไป นั้น, เหมือน อย่าง วัว ที่ ผูก ไว้ ภาย นอก มัน ดึง เข้า ไป ภาย ใน คอก.
      ดึง ฉุด (213:7.4)
               คือ การ ที่ ทึ้ง แล้ว ฉุด ขึ้น นั้น.
      ดึง ชัก (213:7.5)
               คือ การ ที่ ดึง แล้ว ชัก ขึ้น มา นั้น.
      ดึง ดื้อ (213:7.6)
               คือ การ ที่ คน ว่า ยาก สอน ยาก นั้น, เหมือน อย่าง ลูก ไม่ ฟัง คำ พ่อ แม่ สั่ง สอน.
      ดึง ดัน (213:7.7)
               คือ การ ที่ ทุ่ง เถียง ไม่ ตก ลง กัน นั้น, เหมือน อย่าง ปฤกศา ความ เหน ไม่ ต้อง กัน ต่าง คน ต่าง แก่ง แย่ง กัน.
      ดึง รัด (213:7.8)
               คือ การ ที่ ทึ้ง รัด เข้า ให้ แน่น แล้ว ผูก ไว้ นั้น.
      ดึง หลุด (213:7.9)
               คือ การ ที่ ดึง มา แล้ว หลุด ไป จาก มือ นั้น.
      ดึง ไว้ (213:7.10)
               คือ การ ที่ ดึง ไว้ ไม่ ปล่อย ไป นั้น.
      ดึง สะ (213:7.11)
                ฯ ว่า สาม สิบ นั้น, เปน คำ นับ.
      ดึง หู (213:7.12)
               คือ การ ที่ ทึ้ง หู มา นั้น, เหมือน อย่าง คน ดึง หู หมา.
      ดึง ลง ไป (213:7.13)
               คือ การ ที่ ต่ำ ลง ไป, เหมือน ทิ้ง ลูก ดึง ลง ใน น้ำ แล มัน ด่ำ ลง ไป สู่ เบื้อง ต่ำ นั้น.
ดุ้ง ดึ้ง (213:8)
         คือ ของ ที่ เปน เส้น ยาว ไป เหมือน เส้น เชียก แล มัน อย่อน คด ไป บ้าง นั้น.
ดุ้ง (213:9)
         คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ สะดุ้ง นูน สูง ขึ้น กว่า ที่ ปรกติ นั้น, เหมือน อย่าง ท้อง เรือ ที่ นูน ขึ้น มา.
      ดุ้ง ขึ้น (213:9.1)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ดุ้ง นูน ขึ้น มา จาก ที่ อื่น ๆ นั้น, เหมือน อย่าง ของ ทั้ง ปวง ที่ เด้ง ขึ้น.
      ดุ้ง เด้ง (213:9.2)
               คือ ของ ดุ้ง แอ่น ขึ้น, เหมือน พื้น โตะ ถาษ ที่ บาง มัน ดุ้ง แอ่ง ขึ้น นั้น.
      ดุ้ง ลง (213:9.3)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ แอ่น ลง ไป นั้น, เหมือน อย่าง แผ่น กระดาน ที่ บุบ ลง.
เด้ง (213:10)
         คือ การ กระทำ แอ่น หยุบ ๆ ขึ้น ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน นอน หงาย เด้ง พุง ขึ้น.
      เด้ง โด่ง (213:10.1)
               คือ การ ที่ แอ่น โด่ง ขึ้น ไป นั้น.
แดง (213:11)
         คือ ศี แดง นั้น, เหมือน อย่าง ศี ดอก ฉะบา, แล ศี ดอก ทับทิม.
      แดง แก่ (213:11.1)
               คือ ศี แดง เข้ม นั้น, เหมือน อย่าง ศี ลิ้นจี่, ที่ เอา มา แต่ เมือง จีน.
      แดง ก่ำ (213:11.2)
               คือ ศี แดง เข้ม, เหมือน ศี ลิ้นจี่.
      แดง เข้ม (213:11.3)
               คือ ศี แดง ก่ำ นั้น, เหมือน อย่าง ศี โลหิต สัตว ทั้ง ปวง.

--- Page 214 ---
      แดง จ้า (214:11.4)
               คือ ศี แดง จ้า นั้น, เหมือน อย่าง แสง อาทิตย์ เมื่อ แรก ขึ้น มา ใหม่ ๆ.
      แดง ฉาด (214:11.5)
               คือ ศี แดง ฉาด นั้น, เหมือน อย่าง ศี ชาติ ที่ เขา ประสม กับ น้ำ มัน.
      แดง เจือ ขาว (214:11.6)
               คือ ศี แดง อ่อน ๆ นั้น*, เหมือน อย่าง ศี ดอก พุด ตาน.
      แดง เจือ เขียว (214:11.7)
               คือ ศี ม่วง นั้น, เหมือน อย่าง ศี ดอก อินทนิล,
      แดง เจือ เหลือง (214:11.8)
               คือ ศี เสน นั้น, เหมือน อย่าง ศี แสด.
      แดง ฉัน (214:11.9)
               คือ ศี แดง เหมือน ศี ชาติ นั้น.
      แดง ญอ (214:11.10)
                เปน ชื่อ ศี แดง ที่ เขา ย้อม ด้วย ราก ญอ นั้น, เหมือน อย่าง ผ้า ศี แดง ที่ ย้อม มา แต่ เมือง นอก นั้น.
      แดง เทษ (214:11.11)
               คือ ผ้า ศิ แดง ที่ มา แต่ เมือง เทษ นั้น, เหมือน อย่าง ผ้า แดง ญอ.
      แดง เรื่อ ๆ (214:11.12)
               คือ ศี แดง อ่อน ๆ นั้น, เหมือน อย่าง ศี นวล อ่อน ๆ.
      แดง อัด ต่าน (214:11.13)
               คือ ผ้า แดง เนื้อ อยาบ ๆ ที่ มา แต่ง นอก นั้น.
โด่ง (214:1)
         สูง ขึ้น, คือ สูง นั้น, เหมือน อย่าง ลูก พลุ เขา ว่า, ขึ้น โด่ง อนึ่ง จมูก สูง นั้น เขา ว่า, จมูก โด่ง.
      โด่ง ขึ้น (214:1.1)
               คือ สูง ขึ้น นั้น, เหมือน อย่าง คน จุด กรวต.
      โด่ง ดัง (214:1.2)
               คือ สูง ขึ้น ไป แล้ว ดัง ด้วย นั้น, เหมือน อย่าง คน จุด พลุ.
ดอง (214:2)
         หมัก, แช่, คือ การ ที่ เอา สิ่ง ของ แช่ ไว้ แล้ว, เอา เกลือ ใส่ ด้วย, ประสงค์ จะ ให้ เปรี้ยว ๆ เค็ม ๆ นั้น, เหมือน อย่าง กะเทียม ดอง เปน ต้น.
      ดอง กิเลศ (214:2.1)
               คือ การ ที่ เอา ความ ชั่ว แช่ ดอง น้ำ ใจ ไว้ นั้น, เหมือน คน มี ของ ชั่ว คือ โลภะ, โทษะ, โมหะ, ดอง อยู่ ใน ใจ ทุก ๆ คน.
      ดอง กุ่ม (214:2.2)
               คือ การ ที่ เอา กุ่ม มา แช่ ไว้ ใน น้ำ ดอง นั้น, เหมือน อย่าง เขา ดอง ผัก ต่าง ๆ เปน ต้น.
      ดอง น้ำ ตาน ซ่ม (214:2.3)
               คือ การ ที่ คน เอา น้ำ ตาน ใส่ เชื้อ ดอง ไว้ ให้ เปรี้ยว, สำรับ กิน ให้ เมา, เหมือน เหล้า นั้น.
      ดอง ผัก (214:2.4)
               คือ การ ที่ เอา ผัก แช่ ดอง ไว้ ให้ เปรี้ยว ๆ เค็ม ๆ, เหมือน อย่าง ผัก เสี้ยน ดอง.
      ดอง ยา (214:2.5)
               คือ การ ที่ เอา ยา แช่ ดอง ไว้ ใน เล่า บ้าง, ใน น้ำ บ้าง สำรับ กิน แก้ โรค, เหมือน อย่าง ดอง ผัก.
      ดอง เล่า (214:2.6)
               คือ การ ที่ เอา สิ่ง ของ ดอง ไว้ ใน เล่า นั้น, เหมือน อย่าง คน ดอง ยา.
      ดอง สุรา (214:2.7)
               คือ การ ที่ คน เอา สิ่ง ของ แช่ ดอง ไว้ ใน สุรา นั้น, เหมือน อย่าง คน เอา งู เปน ต้น แช่ ไว้ ใน สุรา นั้น.
      ดอง หาย (214:2.8)
               เปน ชื่อ เครื่อง สำรับ ใช้ สง ฟาง เมื่อ นวด เข้า อย่าง หนึ่ง, รูป เหมือน อย่าง ขอ ช้าง.
ด่อง (214:3)
         เปน ชื่อ อาการ แห่ง คน หฤๅ สัตว เดิร หง่อง ๆ ไป นั้น, เหมือน อย่าง สุนักข์ เดิร หยก ๆ.
ด้อง (214:4)
         เปน ชื่อ ปลา อย่าง หนึ่ง รูป เหมือน ปลา เทโพ, เขา เรียก ปลา อ้าย ด้อง.
ดวง (214:5)
         เปน ชื่อ สาระพัด สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เปน วง กลม ๆ นั้น, เหมือน อย่าง ดวง ดาว, ดวง เดือน, ดวง ตา.
      ดวง กะมน (214:5.1)
               คือ ดวง หัว ใจ นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, ดวง กะมน หัถไทย.
      ดวง แข (214:5.2)
               คือ วง เดือน นั้น, ภาษา แขก ว่า ดวง จันท์ร.
      ดวง ใจ (214:5.3)
               คือ เนื้อ หัว ใจ ที่ เปน ก้อน กลม ๆ, มี สันถาน เหมือน อย่าง ดอก บัว หลวง เปน ต้น นั้น.
      ดวง จิตร (214:5.4)
               คือ ดวง ใจ นั้น, เรื่อง* ความ ทั้ง ปวง ก็ เหมือน กัน.
      ดวง จันท์ร (214:5.5)
               คือ วง เดือน บน ท้อง ฟ้า นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, ดวง จันท์ร เมื่อ วัน เพญ.
      ดวง ดอก (214:5.6)
               คือ ดอก ผ้า แพร เปน ดอก ไม้ ต่าง ๆ ว่า ดวง ดอก.
      ดวง เดือน (214:5.7)
               คือ วง พระ จันท์ร นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, ดู หน้า กลม เหมือน วง เดือน.
      ดวง ดาว (214:5.8)
               คือ ดาว ทั้ง ปวง ที่ แล เหน เปน วง กลม ๆ อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง ดาว ประกายพฤกษ.
      ดวง ตา (214:5.9)
               หน่วย ตา, ลูก ตา, เปน ชื่อ* ตา คน แล สัตว์ ทั้ง ปวง.
      ดวง ไต้ (214:5.10)
               คือ ดวง ไฟ ติด อยู่ ที่ ไต้, แล เหน แต่ ไกล ดู เปน วง แดง กลม ๆ เมื่อ เพลา กลาง คืน นั้น.*
      ดวง ตวัน (214:5.11)
               คือ ปรีมณฑล แห่ง อาทิตย์ นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, ดวง อาทิตย์ เปน ต้น.
      ดวง หน้า (214:5.12)
               คือ วง หน้า คน ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, ดวง หน้า ตะละ จันท์ร เมื่อ วัน เพญ เปน ต้น.
      ดวง ไนยนา (214:5.13)
               เปน ชื่อ ลูก ตา นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า รัก เจ้า เท่า ดวง ไนยนา.

--- Page 215 ---
      ดวง เนตร์ (215:5.14)
               คือ ดวง ตา นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, ดวง เนตร์ ทั้งสอง ทร้าย ขวา เปน ต้น.
      ดวง บุหลัน (215:5.15)
               คือ ดวง พระจันท์ร นั้น, เปน ภาษา แขก, พวก ไท เอา มา พูด ใช้ เปน คำ สูง
      ดวง ไฟ (215:5.16)
               คือ แสง ไฟ ที่ แล เหน แต่ ไกล เปน วง กลม ๆ, เหมือน อย่าง ดวง โคม ดวง ไต้.
      ดวง ชิวิตร์ (215:5.17)
               คือ ดวง ใจ นั้น, เพราะ เขา ถือ ว่า ชีวิตร เปน อยู่ ได้ นั้น ด้วย ดวง ใจ
      ดวง ดารา (215:5.18)
               คือ ดวง ดาว ทั้ง ปวง นั้น.
      ดวง ภักตร์ (215:5.19)
               เปน ชื่อ หน้า นั้น, แต่ เขา พูด ตาม ภาษา มคธ
      ดวง มะณี (215:5.20)
               คือ ดวง แก้ว มะณี นั้น.
      ดวง สุริยะ (215:5.21)
               คือ วง แห่ง ตวัน นั้น.
      ดวง อาทิตย์ (215:5.22)
               คือ วง กลม แห่ง ตวัน นั้น.
ด้วง (215:1)
         เปน ชื่อ สัตว อย่าง หนึ่ง ตัว ขาว ๆ เหมือน ตัว หนอน, ตัว โต บ้าง เล็ก บ้าง อยู่ ใน ดิน บ้าง อยู่ ใน ต้น ไม้ บ้าง.
      ด้วง มะพร้าว (215:1.1)
               คือ ด้วง อย่าง หนึ่ง ตัว ขาว ๆ เท่า นิ้ว มือ, ย่อม อาไศรย อยู่ ใน ยอด มะพร้าว, ครั้น แก่ เข้า มี ปีก บิน ได้.
      ด้วง แลง (215:1.2)
               คือ ตัว ด้วง ต่าง ๆ ที่ เกิด ใน ต้น ไม้ บ้าง, เกิด ใน หัว เผือก หัว มัน ต่าง ๆ บ้าง.
      ด้วง โสน (215:1.3)
               คือ ด้วง อย่าง หนึ่ง คล้าย กับ หนอน, มัน ย่อม เกิด ใน ต้น โสน กิน ดี มัน อะหร่อย นัก.
เดียง (215:2)
         คือ ความ เหมือน อย่าง ทุบ ตี ต่อย นั้น, เขา มัก พูด กัน ว่า เอา ไม้ เดียง หัว มัน ลง ไป.
      เดียง ษา (215:2.1)
               เปน ชื่อ การ สัง วาศ, เหมือน ทารก ยัง ไม่ รู้ จัก เดียงษา
      เดียง หัว ลง (215:2.2)
               คือ ต่อย หัว ลง นั้น.
      เดียง เอา (215:2.3)
               คือ เอา ไม้ ต่อย ติ ลง หนัก ๆ นั้น.
ดด (215:3)
         คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ สั่น งก ๆ นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, ความ กลัว จน ตัว สัน ดด ๆ
ดัด (215:4)
         ง้าง, คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ คด ง้าง ออก ให้ ตรง ฤๅ สิ่ง ที่ ตรง ทำ ให้ คด นั้น, เหมือน อย่าง คน ดัด ไม้.
      ดัด โกง (215:4.1)
               เปน ชื่อ ดัด สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่โก่ง, ดัด ให้ ตรง ออก ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน ดัด ไม้ ที่ โกง ให้ ตรง.
      ดัด กร (215:4.2)
               คือ ดัด มือ นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, ดัด กร ออน หยัด ทั้ง ซ้าย ขวา.
      ดัด กาย (215:4.3)
               คือ การ ที่ ดัด* ตัว นั้น, เหมือน อย่าง ตำรา อิฤๅษี ดัด ตน เปน ต้น.
      ดัด ขา (215:4.4)
               คือ การ ที่ ดัด ขา ให้ ได้ แบบ นั้น, เหมือน อย่าง เขา ดัด ขา พวก โขน, พวก ละคอน เปน ต้น.
      ดัด เข่า (215:4.5)
               คือ การ ที่ ดัด เข่า นั้น, เหมือน อย่าง เข่า คด ดัด ให้ ตรง เปน ต้น นั้น.
      ดัด แข้ง (215:4.6)
               คือ การ ที่ ดัด แข้ง นั้น, เหมือน อย่าง* คน แข้ง คด ดัด ให้ ตรง เปน ต้น นั้น.
      ดัด แขน (215:4.7)
               คือ การ ที่ ดัด แขน นั้น, เหมือน อย่าง พวก โขน พวก ละคอน ดัด แฃน, ให้ อ่อน.
      ดัด คด (215:4.8)
               คือ ความ ที่ สิ่ง ทั้ง ปวง ที่ คด อยู่ ดัด ให้ ตรง นั้น.
      ดัด งอน (215:4.9)
               คือ การ ที่ ดัด ของ ที่ งอน ให้ ตรง นั้น, เหมือน อย่าง คน จริต งอน, ทำ เสีย ให้ ซื่อ.
      ดัด ใจ (215:4.10)
               คือ ใจ คด ดัด ให้ ตรง นั้น, เหมือน อย่าง คน ใจ ชั่ว, ธรมาน ให้ ใจ ดี ขึ้น นั้น.
      ดัด จิตร (215:4.11)
               คือ การ ที่ ดัด ใจ นั้น.
      ดัด ถ้อย คำ (215:4.12)
               คือ ความ ที่ ถ้อย คำ ไม่ สู้ ดี, ดัด แก้ เสีย ใหม่ นั้น, เหมือน อย่าง แต่ ถ้อย คำ* เรียง ความ ให้ ดี.
      ดัด แปลง (215:4.13)
               คือ การ ที่ ของ เดิม นั้น ไม่ สู้ ดี, ดัด แปลง เสีย ใหม่ ให้ ดี ขึ้น นั้น, เหมือน อย่าง คน ดัด แปลง ถ้อย คำ.
      ดัด ไม้ (215:4.14)
               คือ การ ที่ คน เอา ไม้ มา ดัด ตาม ชอบ ใจ นั้น, เหมือน อย่าง ช่าง ต่อ เรือ.
      ดัด องค์ (215:4.15)
               คือ การ ดัด กาย นั้น, แต่ ใช้ พูด เปน คำ ราชศรับท์.
ดาศ (215:5)
         ดา, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ มี เต็ม ไป ทั่ว, ดาด ไป นั้น เหมือน อย่าง ดาด เพดาน.
      ดาศดา (215:5.1)
               คือ การ ที่ สิ่ง ของ มี เต็ม ไป, เหมือน อย่าง ดวง ดาว ใน ท้อง ฟ้า.
      ดาศดก (215:5.2)
               คือ ผล ไม้ ทั้ง ปวง ที่ มี มาก ทั่ว ไป นั้น.
      ดาศดง (215:5.3)
               คือ สิ่ง ของ ที่ มี ดาศ ไป ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน อย่าง น้ำ ท่วม ทั่ว ไป ทั้ง ดง
      ดาศ ทั่ว (215:5.4)
               คือ สิ่ง ของ ที่ มี เต็ม ทั่ว กัน ไป.
      ดาศ ใบ (215:5.5)
               คือ การ ที่ เอา ใบ เรือ ดาศ เบื้อง บน นั้น.

--- Page 216 ---
      ดาศ ผ้า (216:5.6)
               คือ การ ที่ เอา ผ้า ดาศ ใน เบื้อง บน นั้น.
      ดาศ เพดาร (216:5.7)
               คือ การ ที่ เอา ผ้า ฤๅ กระดาร ปู ดาศ เปน พื้น เบื้อง บน นั้น.
      ดาศฟ้า (216:5.8)
               เปน ชื่อ กระดาร ที่ เขา ปู ดาศ บน ปาก กำปั่น ฤๅ ปาก ตะเภา นั้น.
      ดาศ ปูน (216:5.9)
               คือ การ ที่ เอา ปูน ปู ดาศ ไป เปน พื้น นั้น, เหมือน อย่าง พื้น ตึก, แล พื้น วิหาร.
      ดาศ ศี (216:5.10)
               คือ การ ที่ คน เอา สักลาศ ศี ต่าง ๆ ขึ้น ดาศ บน หลัง คา นั้น, เหมือน อย่าง หลังคา เรือ ธี่นั่ง.
ดิด (216:1)
         เปน ชื่อ คน อย่าง นั้น ก็ มี บ้าง.
      ดิศเถร (216:1.1)
               เปน ชื่อ พระ เถร องค์ หนึ่ง, บวช เมื่อ ภาย แก่, มี อยู่ ใน เรื่อง นิทาน, ชื่อ ท่าน อย่าง นั้น.
      ดิดถิ (216:1.2)
               เปน ชื่อ ท่า ทั้ง ปวง, เปน ภาษา มคธ.
ดีด (216:2)
         เปน ชื่อ การ กระทำ, เหมือน อย่าง เด็ก เล่น ไม้ ดีด, ฤๅ คน ดีด นิ้ว, ดีด เสา นั้น.
      ดีด กรวด (216:2.1)
               คือ การ ที่ เอา กรวด ใส่ เข้า ที่ นิ้ว มือ แล้ว ดีด ให กระเด็น ไป นั้น, เหมือน อย่าง เด็ก เล่น ไม้ ดีด เปน ต้น.
      ดีด กระจับปี่ (216:2.2)
               คือ การ ที่ เอา เล็บ มือ ฤๅ สิ่ง ใด ๆ ดีด เข้า ที่ สาย กระจับปี่ ให้ ดัง นั้น.
      ดีด โกลก (216:2.3)
               คือ การ ที่ เอา ตีน ดีด โกลก มะพร้าว ให้ กลิ้ง ไป.
      ดีด ขึ้น (216:2.4)
               คือ การ ที่ เอา ไม้ คัด ขึ้น, เหมือน เขา ทำ ของ มี พื้น กะดาน เปน ต้น, ให้ ขึ้น เสมอ, เอา ไม้ คั้ม เข้า แล้ว คัด ขึ้น.
      ดีด นิ้ว (216:2.5)
               คือ คน ลัด นิ้ว มือ ให้ ดัง นั้น.
      ดีด ฝ้าย (216:2.6)
               คือ เอา ยวง ฝ่าย ใส่ เข้า ใน กะชุก, แล้ว เอา ไม้ ก่ง ดีด สาย มัน ให้ ถูก ฝ้าย กระจาย เปน ปุย เลอียด ออก นั้น.
      ดีด พิณ (216:2.7)
               คือ การ ที่ คน เอา มือ ดีด สาย พิณ นั้น.
      ดีด มือ (216:2.8)
               คือ การ ที่ คน ดีด นิ้ว มือ นั้น.
      ดีด ไม้ (216:2.9)
               คือ การ ที่ คน เอา มือ ดีด เข้า ไม้ นั้น.
      ดีด ลูก คิด (216:2.10)
               คือ การ ที่ คน เอา นิ้ว มือ ดีด ที่ ลูก คิด นั้น, เหมือน อย่าง พวก เสมียร คิด บาญชี ราย สิ่ง ของ เปน ต้น.
      ดีด เสา (216:2.11)
               คือ การ ที่ คน เอา ไม้ คัด เสา ดีด ขึ้น นั้น.
ดุด (216:3)
         คือ เอา ปาก กัด ดิน ไง้* ขึ้น นั้น, เหมือน อย่าง หมู ดุด กิน หัว หญ้า.
      ดุจ (216:3.1)
               เปน ชื่อ เหมือน นั้น, เหมือน อย่าง คำ เขา พูด เปรียบ ว่า, สิ่ง ของ ทั้ง นี้ ดุจ เดียว กัน.
      ดุจดัง (216:3.2)
               คือ ความ ว่า เสมือน, ฤๅ เช่น นั้น, ปาน นั้น, ฉัน นั้น.
      ดุจ เดียว (216:3.3)
               คือ ความ ว่า ดัง นั้น ที เดียว.
      ดุษดี (216:3.4)
               เปน ชื่อ ความ ยินดี นั้น.
      ดุจ หนึ่ง (216:3.5)
               คือ ความ ว่า ดัง นั้น ทีเดียว, ดัง นั้น เปน หนึ่ง.
ดูด (216:4)
         กอก, คือ การ ที่ สูบ สิ่ง ฃอง ทั้ง ปวง ให้ เข้า ไป ใน ปาก นั้น.
      ดูด กอก (216:4.1)
               คือ การ ที่ ดูด เอา เลือด ฤๅ ดูด ลม ออก นั้น, เหมือน อย่าง พวก หมอ กอก เลือด กอก ลม.
      ดูด ดึ่ม (216:4.2)
               คือ การ ที่ ดูด แล้ว ดึ่ม กิน นั้น, เหมือน อย่าง ทารก ดูด ดึ่ม กีน น้ำ นม ฤๅ ดูด กิน น้ำ ใน กา.
      ดูด น้ำ ลาย (216:4.3)
               คือ การ ที่ คน ดูด กิน น้ำ ลาย ใน ปาก นั้น.
      ดูด นม (216:4.4)
               คือ การ ที่ ดูด น้ำ นม กิน นั้น, เหมือน อย่าง ลูก อ่อน เล็ก ๆ
      ดูด เลือด (216:4.5)
               คือ การ ที่ ดูด เอา เลือด กิน ฤๅ ดูด เอา เลือด ออก นั้น, เหมือน อย่าง ปลิง, ฤๅ หมอ กอก.
      ดูด อุ (216:4.6)
               คือ การ ที่ คน ดูด กิน น้ำ แกลบ ดอง นั้น, เปน ฃอง กิน ให้ เมา เหมือน อย่าง เล่า ตาม ธรรมเนียม พวก ข่า.
เดช (216:5)
         เปน ชื่อ ฤทธิ์ ฤๅ อานุภาพ นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, มี ฤทธิ์ มี เดช มาก หนัก.
เด็ด (216:6)
         ขาด, ตัด, คือ การ ที่ ขาด ออก จาก กัน, ฤๅ หยิก ด้วย เล็บ ให้ ขาด ออก ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน เด็ด ดอก ไม้.
      เด็ด ก้าน (216:6.1)
               คือ การ ที่ คน เอา เล็บ หยิก ก้าน สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ให้ ขาด ออก นั้น, เหมือน อย่าง คน เก็บ พลู เปน ต้น*.
      เด็ด ขาด (216:6.2)
               คือ การ ที่ เด็ด ออก ให้ ขาด จาก กัน นั้น.
      เด็ด ขวั้น (216:6.3)
               คือ การ ที่ เอา เล็บ เด็ด ขวั้น ผล ไม้ ทั้ง ปวง ให้ ขาด ออก จาก กัน นั้น, เหมือน อย่าง คน เด็ด ขั้ว ลูก ไม้ ฤๅ ดอก ไม้.
      เด็ด ขั้ว (216:6.4)
               คือ การ ที่ เด็ด ขั้ว นั้น.
      เด็ด เงื่อน (216:6.5)
               คือ การ ที่ เด็ด หัว เงื่อน ที่ ต่อ นั้น, เหมือน อย่าง คน ธอ หูก เด็ด เงื่อน ด้าย.
      เด็ด ดอก ไม้ (216:6.6)
               คือ การ ที่ เด็ด เอา ดอก ไม้ ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน อย่าง พวก เก็บ ดอก ไม้.
      เด็ด ด้วน (216:6.7)
               คือ การ ที่ เด็ด เอา สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ขาด ด้วน ออก ไป นั้น.

--- Page 217 ---
      เด็ด เดี่ยว (217:6.8)
               คือ ความ ขาด ที เดียว, เหมือน ชาย ผู้ ผัว หย่า หญิง ขาด กัน ที เดียว นั้น.
แดด (217:1)
         รัศมี พระอาทิตย์, แสง อาทิตย์, เปน ชื่อ แสง แห่ง อาทิตย์ ที่ สว่าง แล้ว ร้อน ด้วย นั้น, เหมือน อย่าง พูด กัน ว่า, แดด ร้อน เปน ต้น นั้น.
      แดด กล้า (217:1.1)
               คือ แสง แดด ที่ ร้อน มาก นั้น.
      แดด จ้า (217:1.2)
               คือ แสง แดด กล้า สว่าง ไม่ มืด มัว นั้น, เหมือน อย่าง แดด เมื่อ ระดู หนาว.
      แดด แจ๋ (217:1.3)
               คือ แสง แดด ที่ สว่าง จ้า นั้น, เหมือน อย่าง แดด เมื่อ เวลา กลาง วัน ใน ระดู ร้อน.
      แดด บด (217:1.4)
               คือ แสง แดด ที่ เมฆ ปิด บัง แสง อาทิตย์ ไว้, เหมือน อย่าง เมื่อ เวลา หก โมง เย็น.
      แดด มัว (217:1.5)
               คือ แสง แดด ที่ ไม่ สู้ สว่าง นั้น.
      แดด ร้อน (217:1.6)
               คือ แสง แดด กล้า ร้อน นัก นั้น.
      แดด ร่ม (217:1.7)
               คือ แสง แดด ที่ ไม่ ร้อน ฤๅ แดด บด นั้น.
      แดด หุบ (217:1.8)
               คือ แดด บด ที่ เมฆ ปิด บัง แสง อาทิตย์ เสีย นั้น, เหมือน อย่าง แดด ร่ม เปน ต้น.
      แดด อ่อน (217:1.9)
               คือ แสง แดด ไม่ กล้า นั้น, เหมือน อย่าง แสง อาทิตย์ เพลา เย็น ๆ
โดด (217:2)
         โจน, โลด, เผ่น, โผน, คือ การ ที่ คน แล สัตว ทั้ง ปวง อยู่ บน ที่ สูง โจน ลง มา เบื้อง ต่ำ, ฤๅ อยู่ เบื้อง ต่ำ โลด ขึ้น ไป บน ที่ สูง.
      โดดขึ้น (217:2.1)
               คือ การ ที่ คน ฤๅ สัตว โลด ขึ้น ไป บน ที่ สูง นั้น, เหมือน* ลิง กระโดด ขึ้น ใป บน ต้น ไม้.
      โดด เดียว (217:2.2)
               คือ ความ ที่ คน กล้า หาร ไม่ กลัว สิ่ง ใด ถึง จะ ไป ใน ทาง ไกล ก็ โดด ไป แต่ ผู้ เดียว, องอาท ไม่ กลัว ใคร นั้น.
      โดด น้ำ (217:2.3)
               คือ การ ที่ โจน ลง ไป ใน น้ำ นั้น, เหมือน อย่าง พวก เด็ก กะโดด น้ำ เล่น.
      โดด ลง (217:2.4)
               คือ การ ที่ โจน ลง ใน เบื้อง ต่ำ นั้น.
ดอด (217:3)
         เล็ด ลอด, จู่, คือ สอด ตัว แอบ เข้า ไป นั้น. เหมือน อย่าง คน สอด แนม เปน ต้น นั้น.
      ดอด ไป (217:3.1)
               คือ การ ที่ ซ่อน แอบ เข้า ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน เล็ด ลอด สอด แนม เข้า ไป
      ดอด มา (217:3.2)
               คือ การ ที่ ซ่อน ตัว แอบ เข้า มา นั้น, เหมือน อย่าง คน ลอด เข้า มา สอด แนม.
ดวด (217:4)
         สูง, เปน ชื่อ การ เล่น ผะนั้น อย่าง หนึ่ง, เอา กระบอก เติ่ง ตั้ง ขึ้น แล้ว เอา เบี้ย เท ไป เท มา นั้น.
      ดวด สูง (217:4.1)
               เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ สูง กว่า ธรรมดา นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า มะพร้าว ดวด, หมาก ดวด เปน ต้น.
เดียด ฉัน (217:5)
         เปน ชื่อ ใจ ริศยา นั้น, เหมือน อย่าง คน ใจ ชั่ว ไม่ ปราถนา จะ ให้ คน อื่น ยิ่ง กว่า ตัว เปน ต้น.
เดือด (217:6)
         โกรธ, เปน ชื่อ สิ่ง ที่ พลุ่ง ขึ้น นั้น, เหมือน อย่าง คน เอา น้ำ ต้ม ให้ เดือด พลุ่ง ขึ้น ฤๅ ใจ ที่ โกรธ พลุ่ง ขึ้น เปน ต้น.
      เดือด กัน (217:6.1)
               คือ ความ โกรธ กัน นั้น, เหมือน อย่าง คน มี ใจ โกรธ พลุง ขึ้น มา เปน ต้น.
      เดือด แค้น (217:6.2)
               คือ ความ โกรธ แค้น ใน ใจ นั้น, เหมือน อย่าง คน ใจ พลุ่ง เดือด แค้น เปน ต้น.
      เดือด งก (217:6.3)
               คือ ความ โกรธ จน ตัว สั่น งก ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คน โทโส มาก โกรธ ตัว สั่น อย่าง ลูก นก นั้น.
      เดือด ใจ (217:6.4)
               คือ ความ โกรธ พลุ่ง ขึ้น ใจ นั้น, เหมือน อย่าง ความ โกรธ ใน ใจ เปน ต้น.
      เดือด พลุ่ง (217:6.5)
               คือ อาการ แห่ง น้ำ ที่ พลุ่ง ขึ้น มา นั้น, เหมือน อย่าง น้ำ ต้ม ใน ม่อ ฤๅ ความ โกรธ ที่ พลุ่ง ขึ้น ใน ใจ.
      เดือด ร้อน (217:6.6)
               คือ ความ โกรธ ที่ บังเกิด ขึ้น ให้ ร้อน ใจ ด้วย นั้น, เปรียบ เหมือน น้ำ ร้อน ที่ เดือด พลุ่ง ขึ้น.
ดน (217:7)
         เปน ชื่อ ถึง นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, มาร เข้า ดน ใจ เปน ต้น.
      ดน คูหา มาศ (217:7.1)
               คือ ถึง ท่ำ ทอง นั้น, เหมือน อย่าง คำ ใน เรื่อง* อี เหนา ว่า, ภอ ดน คูหามาศ สุริยพาด ยุศุนทร เปน ต้น.
      ดน ใจ (217:7.2)
               คือ ถึง ใจ นั้น, เหมือน อย่าง คำ สั่ง สอน ว่า, พระ เจ้า ดน ใจ เปน ต้น.
      ดนตรี (217:7.3)
               เปน ชื่อ เครื่อง มะโหรี แล ปี่พาษ นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, ประโคม ดนตรี เปน ต้น.
      ดนสถาน (217:7.4)
               คือ ถึง ที่ นั้น, เหมือน อย่าง คน ไป ถึง สถาน ที่ อยู่.
ด้น (217:8)
         คือ มุด ไป นั้น, เหมือน อย่าง สัตว ต่าง ๆ ด้น มุด พง นั้น.
      ด้น ดั้น (217:8.1)
               คือ มุด ดั้น ไป ใน ป่า ใน รก นั้น, เหมือน อย่าง ด้นดั้น ไป ใน ป่า.
      ด้น ป่า (217:8.2)
               คือ มุด ไป ใน ป่า นั้น, เหมือน อย่าง พวก พราน มุด ไป ใน ป่า เที่ยว หา เนื้อ.

--- Page 218 ---
      ด้น ผ้า (218:8.3)
               คือ การ ที่ คน เอา เขม เย็บ มุด ด้น ไป ใน ผ้า นั้น, เหมือน อย่าง คน เย็บ มุ้ง
      ด้น พง (218:8.4)
               คือ การ ที่ มุด ด้น ไป ใน พง นั้น, เหมือน อย่าง ฝูง นาก เที่ยว มุด หา ปลา กิน ใน พง
      ด้น รก (218:8.5)
                คือ การ ที่ มุด ไป ใน รก นั้น, เหมือน อย่าง พวก ชาว* ป่า เที่ยว มุด รก ตัด หวาย, ขุด กลอย.
ดัน (218:1)
         กด, คือ การ ที่ กด เข้า ไป นั้น, เหมือน อย่าง ฝูง คน ดัน กัน เข้า ไป ใน ประตู
      ดัน กัน (218:1.1)
               คือ การ ที่ เบียด กัน ออก มา นั้น, เหมือน อย่าง ฝูง งัว ดัน กัน ออก จาก คอก.
      ดัน เข้า มา (218:1.2)
               คือ ความ ที่ คน เบียด ดัน กัน เข้า มา นั้น, เหมือน อย่าง คน เบียด ดัน กัน เข้า มา ใน ประตู เมือง.
      ดัน ข้าง ๆ (218:1.3)
               คือ ความ ที่ คน พูด แก่ง แย่ง ดัน ไป ข้าง ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คน พูด ไม่ ถูก ดื้อ ไป ข้าง ๆ.
      ดัน ไป (218:1.4)
               คือ การ ที่ คน ฤๅ สัตว ดื้ ดึง ไป นั้น, เหมือน อย่าง ห้าม กัน ว่า อยา ไป, เขา ไม่ ฟัง ขืน ดื้อ ดัน ไป.
ดั่น (218:2)
         เปน ชื่อ คน อย่าง นั้น ก็ มี บ้าง, เหมือน อย่าง เขา เรียก กัน ว่า, นาย ดั่น.
ดั้น (218:3)
         คือ การ ที่ มุด ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน ฤๅ สัตว มุด ดั้น ไป ใน ป่า ใน รก
      ดั้น ดง พง ไพร (218:3.1)
               คือ การ ที่ เที่ยว มุด ด้น ไป ใน ดง ใน ป่า นั้น, เหมือน พวก พราน เที่ยว หา เนื้อ ใน ป่า.
      ดั้น ด้น (218:3.2)
               คือ การ ที่ เที่ยว ด้น มุด ไป นั้น.
      ดั้น ป่า (218:3.3)
               คือ ความ ที่ เทียว ซอก ซอน มุด ไป ใน ป่า นั้น, เหมือน อย่าง พวก ที่ เที่ยว หา บุก, หา กลอย ใน ป่า.
      ดั้น รก (218:3.4)
               คือ การ ที่ เที่ยว ซอก แซก มุด ไป ใน รก นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ เที่ยว บุก รก.
ดาน (218:4)
         เปน ชื่อ หิน แลง ที่ เปน โขด อยู่ ใน แม่ น้ำ, ฤๅ สิ่ง ที่ เปน ก้อน แขง อยู่* ใน ท้อง, ฤๅ ไม้ กลอน ประตู เปน ต้น.
      ดาน ขี้ จรเข้ (218:4.1)
               เปน ชื่อ ก้อน ดาร ที่ จรเข้ มัน ขี้ ออก มา นั้น, เหมือน อย่าง ก้อน ดิน สอ หิน.
      ดาน ใน ท้อง (218:4.2)
               เปน ชื่อ สิ่ง ที่ เปน ก้อน แขง อยู่ ใน ท้อง นั้น, มี สันถาน เหมือน อย่าง ก้อน หิน ปูน.
      ดาน เลือด (218:4.3)
               เปน ชื่อ ก้อน เลือด ที่ แขง เปน ดาน อยู่ ใน ท้อง นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ เจ็บ แล้ว ให้ จุก.
      ดาน ลม (218:4.4)
               ลม ที่ แขง เปน ดาน อยู่ ใน ท้อง นั้น, เหมือน อย่าง คน ป่วย เปน ลม สันดาร.
      ดาน เสมหะ (218:4.5)
               คือ เสลด ที่ เปน ก้อน แขง อยู่ ใน ท้อง นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ เจ็บ ให้ ผอม แห้ง ไป.
      ดาน หิน (218:4.6)
               เปน ชื่อ หิน ที่ เปน โขด, เปน ดาน อยู่ ใน แม่ น้ำ นั้น, เหมือน อย่าง หัว ดาน ตาม ลำ น้ำ เมือง เหนือ.
ด่าน (218:5)
         ขนอน, เปน ชื่อ ที่ อัน พระ มหา กระษัตริย์ สั่ง ให้ ตั้ง ไว้ สำ หรับ ตรวด ตรา สิ่ง ของ ต้อง ห้าม ทั้ง ปวง, เหมือน ด่าน ปาก น้ำ เปน ต้น.
      ด่าน ขนอน (218:5.1)
               คือ ด่าน ที่ เขา ทำ หลังคา เปน กระโจม มี ยอด, สำรับ ดู แล สิ่ง ของ ต้อง ห้าม, เหมือน ดาน ปาก เกร็ด.
      ด่าน ทรงเมรุ (218:5.2)
               เปน ชื่อ ด่าน เมือง แพร่, เขา ตั้ง ไว้ ใน ดง สำรับ ดู แล ผู้ คน ซึ่ง* จะ หนี ไป เปน ต้น.
ด้าน (218:6)
         เปน ชื่อ อาการ เนื้อ หนัง ที่ แขง ไป ฤๅ ข้าง โน้น, ข้าง นี้ นั้น, เหมือน เขา พูด กัน ว่า มือ ด้าน ตีน ด้าน ฤๅ ด้าน เหนือ ด้าน ไต้ เปน ต้น.
      ด้าน กิน (218:6.1)
               คือ สิ่ง ของ ที่ เขา ห้าม มิ ให้ กิน แล้ว, ขืน ดื้อ กิน นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, หน้า ด้าน.
      ด้าน เข้า มา (218:6.2)
               คือ การ ที่ คน ดื้อ คน ด้าน นั้น, เหมือน อย่าง เขา ห้าม ว่า, อย่า เข้า มา, ก็ ขืน ดื้อ เข้า มา.
      ด้าน ขวา (218:6.3)
               คือ ที่ ข้าง เบื้อง ขวา นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, เรา ตก อยู่ ด้าน ข้าง ขวา.
      ด้าน ซ้าย (218:6.4)
               คือ ที่ ข้าง เบื้อง ซ้าย นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, เรา จะ อยู่ ด้าน ข้าง ซ้าย.
      ด้าน ดื้อ (218:6.5)
               คือ อาการ ที่ คน ดื้อ ด้าน ว่า ยาก สอน ยาก นั้น.
      ด้าน ไต้ (218:6.6)
               เปน ชื่อ ทิศ ข้าง ไต้ นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, เรา อยู่ ข้าง ทิศ ไต้.
      ด้าน ตวัน ตก (218:6.7)
               เปน ชื่อ ทิศ ข้าง ตวัน ตก นั้น.
      ด้าน ตวัน ออก (218:6.8)
               เปน ชื่อ ทิศ ข้าง ตวัน ออก นั้น.
      ด้าน เหนือ (218:6.9)
               คือ ทิศ ข้าง เหนือ นั้น.
      ด้าน หลัง (218:6.10)
               คือ ทิศ เบื้อง หลัง นั้น.
ดิน (218:7)
         เปน ชื่อ พื้น ที่ สำรับ รอง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, มี คน แล สัตว ทั้ง ปวง แล ต้น ไม้.

--- Page 219 ---
      ดิน ก้อน (219:7.1)
               คือ ดิน ที่ เปน ก้อน ๆ นั้น, เหมือน อย่าง ดิน ที่ เขา ทำ เปน ก้อน กลม ๆ
      ดิน แขง (219:7.2)
               คือ ดิน ที่ ไม่ อ่อน นั้น, เหมือน อย่าง ดิน แห้ง กลาง ป่า กลาง ดอน.
      ดิน โขด (219:7.3)
               เปน ชื่อ ดิน ที่ เปน จอม สูง ขึ้น, เหมือน อย่าง ที่ ริม ตลิ่ง ตาม แถบ เมือง เหนือ.
      ดิน* ขาว (219:7.4)
               คือ ดิน ที่ มี ศี ขาว นั้น, เหมือน อย่าง ดิน ศี พอง.
      ดิน งอก (219:7.5)
               คือ ดิน ที่ บังเกิด งอก สูง ขึ้น นั้น, เหมือน อย่าง ดิน เชิง เลน.
      ดิน ดอก ไม้ (219:7.6)
               คือ ดิน ที่ เขา ทำ ดอก ไม้ จุด ไฟ นั้น.
      ดิน แดง (219:7.7)
               คือ ดิน ที่ มี ศี แดง นั้น, เหมือน อย่าง ดิน แดง ที่ เขา เอา มา ทา ฝา กะติ วัด.
      ดิน ดอน (219:7.8)
               คือ ที่ ดิน มัน เปน เนิน สูง ขึ้น น่อย ๆ นั้น, เหมือน อย่าง ดิน ใน ป่า ดอน.
      ดิน ดิบ (219:7.9)
               คือ ดิน ที่ ยัง ไม่ ได้ เผา ไฟ นั้น, เหมือน อย่าง ดิน ปั้น ม่อ.
      ดิน ถนำ (219:7.10)
               เปน ชื่อ ดิน ศี เหลือง อย่าง หนึ่ง, สำรับ ทำ ยา ซัด ทอง คำ, ดู คล้าย ๆ กับ สาน หนู นั้น.
      ดิน ท่า (219:7.11)
               คือ ดิน ที น่า ท่า นั้น, เหมือน อย่าง ดิน ดิบ ที่ เขา อุด กะบอก ไฟ พะเนียง.
      ดิน ทอง (219:7.12)
               เปน ชื่อ สุพรรณ ถัน ฤๅ มาศ นั้น, คำ ตลาด เรียก กำมะถัน, คำ ชาว เหนือ เรียก ดิน ทอง.
      ดิน ปะสิว (219:7.13)
               เปน ชื่อ ดิน ที่ เขา หุง ด้วย ขี้ ค้าง คาว, คล้าย ๆ ดี เกลือ นั้น, เหมือน อย่าง ที่ เขา ประสม กับ มาศ ทำ ดิน ปืน.
      ดิน โป่ง (219:7.14)
               เปน ชื่อ* ดิน เค็ม อย่าง หนึ่ง, มี อยู่ ตาม ป่า ตาม ดง, สำรับ สัตว ป่า กิน เหมือน อย่าง เกลือ.
      ดิน ปืน (219:7.15)
               คือ ดิน ประสิว กับ ถ่าน ประสม กัน เข้า ตำ ให้ ละเอียด สำรับ ยิง ปืน นั้น.
      ดิน ผง (219:7.16)
               คือ ดิน ที่ ละเอียด นั้น, เหมือน อย่าง ดิน ตาม ทาง เกียน เปน ต้น นั้น.
      ดิน ฝุ่น (219:7.17)
               คือ ดิน ที่ เปน ผง ละเอียด อย่าง แป้ง.
      ดิน ฟุ้ง (219:7.18)
               คือ ดิน ที่ เปน ละออง ฟุ้ง ขึ้น นั้น.
      ดิน มาศ (219:7.19)
               คือ ดิน ทอง ที่ เขา เรียก* ว่า กำมะถัน.
      ดิน ร่วน (219:7.20)
               คือ ดิน ที่ ไม่ เหนียว รวน ซุย ไป นั้น, เหมือน อย่าง ดิน ปน ทราย.
      ดิน เลน (219:7.21)
               คือ ดิน ที่ เปน โคลน นั้น, เหมือน อย่าง ดิน ชาย ทะเล.
      ดิน สอ (219:7.22)
               ดิน ขาว, คือ หิน อ่อน ที่ เปน ก้อน ศี ขาว ๆ นั้น, เหมือน อย่าง ที่ เขา เขียน สมุด ดำ.
      ดิน สอ ขาว (219:7.23)
               คือ ดิน สอ หีน ศี ขาว นั้น.
      ดิน สอ ดำ (219:7.24)
               คือ ดิน สอ ศี ดำ นั้น.
      ดิน สอ ดิน (219:7.25)
               คือ ดิน สอ ที่ เขา ปั้น ด้วย ดิน นั้น, เหมือน อย่าง ดิน สอ ที่ พวก เด็ก ๆ สอน เขียน หนังสือ ที่ กะดาน นั้น.
      ดิน สอ ฝรั่ง (219:7.26)
               คือ ดิน สอ ไม้ มี ไส้ อยู่ กลาง เหมือน เหล็ก จาร.
      ดิน สอ พอง (219:7.27)
               คือ ดิน สอ ขาว ที่ เขา ปั้น ด้วย ดิน ศี พอง นั้น.
      ดิน สอ ไม้ (219:7.28)
               คือ ดิน สอ ที่ ไม้ หุ้ม อยู่ ภาย นอก นั้น.
      ดิน สอ หิน (219:7.29)
               คือ หิน อ่อน ศี ขาว เอา มา ทำ ดิน สอ นั้น, เหมือน ดิน สอ ที่ เขา เขียน สมุด ดำ นั้น.
      ดิน ศี พอง (219:7.30)
               คื ดิน อย่าง หนึ่ง ศี ขาว สำรับ ทา ตัว เปน ต้น, เหมือน อย่าง ดิน ขาว ที่ เขา เอา มา แต่ ลพบูรีย์ นั้น.
      ดิน หู (219:7.31)
               คือ ดิน ปืน ที่ สำรับ ใส่ หู ฉะนวน ยิง ปืน นั้น.
ดิ้น (219:1)
         รน, คือ อาการ ไม่ นิ่ง อยู่ เปน ปรกติ นั้น, เหมือน อย่าง นก เปรียว ที่ เขา จับ ใส่ กรง ขัง ไว้.
      ดิ้น กระดุบ (219:1.1)
               คือ อาการ ที่ ดิ้น เบา ๆ นั้น, เหมือน อย่าง ทารก ที่ ยัง ไม่ คลอด, ดิ้น อยู่ ใน ท้อง.
      ดิ้น กระแด่ว (219:1.2)
               คือ อาการ ที่ ดิ้น ขวัก ไขว่ นั้น, เหมือน อย่าง ลูก อ่อน เล็ก ๆ ที่ ดิ้น ใน ที่ นอน.
      ดิ้น ขวัก ไขว่ (219:1.3)
               คือ อาการ ที่ ดิ้น กระแด่ว ๆ, เหมือน อย่าง ทารก แดง ๆ ที่ ดิ้น อยู่ ใน ผ้า อ้อม.
      ดิ้น โครม คราม (219:1.4)
               คือ อาการ ที่ เสียง ดิ้น โครม คราม นั้น, เหมือน อย่าง ปลา ใหญ่ ดิ้น ใน น้ำ.
      ดิ้น โดย (219:1.5)
               คือ ความ ที่ ดิ้น ด้วย อยาก จะ ตาม เขา ไป นั้น, เหมือน อย่าง หมา ที่ เขา จับ ไว้ ดิ้น อยาก จะ ตาม เจ้า ของ ไป.
      ดิ้น ตึง ตัง (219:1.6)
               คือ อาการ ที่ ดิ้น เสียง ตึง ตัง นั้น, เหมือน อย่าง คน ปล้ำ* กัน บน เรือน.
      ดิ้น ตึก ตัก (219:1.7)
               คือ ดิ้น เสียง ดัง ตึก ตัก นั้น.
      ดิ้น ยัน ๆ (219:1.8)
               คือ อาการ ที่ ดิ้น นอน หงาย อยู่ กับ พื้น นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ ต้อง ตี ลง ชัก อยู่ เปน ต้น.
      ดิ้น รน (219:1.9)
               คือ อาการ ที่ ดิ้น แล้ว รน อยาก จะ ออก มา นั้น, เหมือน อย่าง สัตว เปรียว ที่ เขา ขัง ไว้ ดิ้น รน จะ ออก มา เปน ต้น.

--- Page 220 ---
      ดิ้น หวาด ไหว (220:1.10)
               คือ อาการ ดิ้น กระวน กระวาย วุ่น วาย นั้น.
ดื่น (220:1)
         ดาศ, ถม ไป, เต็ม ไป, กลาด ไป, ดา ไป, คือ สิ่ง ของ ที่ มี ชุก ชุม ทั่ว กัน ไป นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด ว่า, ของ อย่าง นี้ มี ดื่น ถม ไป.
      ดื่น ดง (220:1.1)
                คือ สิ่ง ของ ที่ มี เต็ม ไป ทั้ง ดง นั้น, เหมือน อย่าง ผล ไม้ ที่* มี พร้อม กัน ทั่ว* ไป ทั้ง ดง.
      ดื่น ดาษ (220:1.2)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ มี เต็ม ดาษ ทั่ว กัน ไป, เหมือน อย่าง ดอก บัว ที่ บาน พร้อม กัน ดาษ ไป ใน ทุ่ง นั้น.
      ดื่น ดอน (220:1.3)
               คือ สิ่ง ของ ที่ มี เต็ม ไป ทั้ง ดอน นั้น, เหมือน อย่าง น่า ดอก ไม้ ที่ มี พร้อม กัน ทั้ง ดอน.
      ดื่น ตลาด (220:1.4)
               คือ สิ่ง ของ ที่ มี เต็ม ไป ทั้ง ตลาด นั้น, เหมือน อย่าง น่า ระดู กล้วย ไข่.
      ดื่น ทั่ว (220:1.5)
               คือ ความ ที่ สิ่ง ของ ที่ มี เต็ม ทั่ว ไป นั้น, เหมือน อย่าง น้ำ ท่วม บ้าน.
ดุน (220:2)
         เปน ชื่อ น้ำ หนัก อย่าง พอง คำ หนัก ยี่ สิบ ชั่ง ว่า ดุน หนึ่ง, อนึ่ง ช่าง ทอง ที่ ดุน ทำ เปน ลวด ลาย ให้ สูง ขึ้น นั้น.
ดุ้น (220:3)
         เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เปน อัน หนึ่ง ฤๅ ท่อน หนึ่ง, เหมือน อย่าง ดุ้น ฟืน เปน ต้น นั้น.
      ดุ้น ไฟ (220:3.1)
               คือ ไม้ ฟืน เปน ท่อน ๆ, ที่ เขา ติด ไฟ นั้น, เหมือน อย่าง ดุ้น ฟืน ที่ ไฟ ติด อยู่ เมื่อ หุง เข้า.
      ดุ้น ฟืน (220:3.2)
               คือ ท่อน ไม้ ที่ สำรับ ติด ไฟ นั้น, เหมือน อย่าง ท่อน ฟืน ที่ เขา ใส่ ไฟ,
เดน (220:4)
         คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เหลือ, ไม่ ต้อง การ นั้น, เหมือน อย่าง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เหลือ กิน, เหลือ ตาย เปน ต้น.
      เดน กิน (220:4.1)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ กิน เหลือ นั้น, เหมือน อย่าง เข้า ปลา อาหาร ทั้ง ปวง ที่ กิน เหลือ.
      เดน ดาบ (220:4.2)
               เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ เหลือ จาก คม ดาบ นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ เหลือ จาก เขา ฆ่า.
      เดน ตาย (220:4.3)
               คือ สิ่ง ของ ที่ เหลือ ตาย นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ เจ็บ เกือบ จะ ตาย แล้ว กลับ รอด เหลือ อยู่.
      เดน เลือก (220:4.4)
               เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ เขา เลือก เสีย ไม่ ต้อง การ นั้น, เหมือน อย่าง เงิน ใช้ ยาก ที่ เขา เลือก เสีย.
      เดน ห่า (220:4.5)
               เปน ชื่อ คน แล สัตว ที่ เหลือ จาก ตาย ห่า นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ เหลือ ตาย จาก โรค ลง ราก นั้น.
      เดน หอก (220:4.6)
               คือ คน แล สัตว ที่ เหลือ จาก เขา แทง ด้วย หอก นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า อาย คน เดน หอก.
เด่น (220:5)
         เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ กระเด็น ปลีก ออก ไป แล เหน ชัด, เหมือน อย่าง จันทร์ เมื่อ วันเพญ.
      เด่น กระเด็น (220:5.1)
               คือ อาการ ที่ สิ่ง ของ ที่ ปลีก ออก จาก เพื่อน, ออก ไป กระเด็น อยู่, เหมือน คน ที่ หลีก จาก พวก ยืน อยู่ แต่ ผู้ เดียว.
      เด่น ดวง (220:5.2)
               คือ สิ่ง ที่ เหน ปรากฎ ชัด, เหมือน อย่าง ดวง พระ จันทร์ เปน ต้น นั้น.
แดน (220:6)
         แว่น แคว้น, แขวง, จังหวัด, เขตร, ถิ่น, ที่, คือ แว่นแคว้น ฤๅ เขตร์ นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, เขตร์ แดน เมือง ไทย เปน ต้น นั้น.
      แดน กรุง (220:6.1)
               คือ แว้น แคว้น กรุง นั้น.
      แดน เขมร (220:6.2)
               คือ เขตร์ แดน เมือง เขมร นั้น.
      แดน ต่อ แดน (220:6.3)
               คือ ที่ เขตร แดน ต่อ กัน นั้น, เหมือน อย่าง แดน ไทย กับ พะม่า ต่อ กัน นั้น.
      แดน ไตร (220:6.4)
               คือ เขตร แดน ไตร ภพ นั้น.
      แดน ไทย (220:6.5)
               คือ แว่น แคว้น เมือง ไทย นั้น.
      แดน พะม่า (220:6.6)
               คือ แว่น แคว้น เมือง พะม่า นั้น.
      แดน มอร (220:6.7)
               คือ แว่น แคว้น เมือง มอร นั้น.
      แดน เมือง (220:6.8)
               คือ แว่น แคว้น เมือง นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, แขวง เมือง นี้ เมือง นั้น.
      แดน ลาว (220:6.9)
               เปน ชื่อ แขวง เมือง ลาว นั้น.
      แดน ยวน (220:6.10)
               คือ แขวง เมือง ยวน นั้น.
แด่น (220:7)
         ด่าง, เปน ชื่อ อาการ ที่ ด่าง อยู่ ตาม หน้า ฤๅ ที่ จะมูก นั้น, เหมือน อย่าง งัว แล แพะ, ที่ หน้า ฤๅ จมูก ด่าง.
      แด่น จมูก (220:7.1)
               คือ อาการ ที่ จมูก ขาว ด่าง อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, จมูก แด่น.
      แด่น ที่ หน้า (220:7.2)
               คือ อาการ ด่าง ขาว อยู่ ที่ หน้า นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, หน้า แด่น.
โดน (220:8)
         ชน กัน, กะแทก, ปะทะ, กะทั่ง, เปน ชื่อ อาการ ของ ที่ มา กระทบ กระแทก กัน เข้า นั้น, เหมือน อย่าง เรือ ไป กับ เรือ มา ชน กัน.

--- Page 221 ---
      โดน กัน (221:8.1)
               คือ ชน กัน นั้น, เหมือน อย่าง งัว ฤๅ แพะ โดน กัน.
      โดน เดา (221:8.2)
               คือ ความ ที่ คน คาด ขะเณ การ แล้ว พูด เดา ไป นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า พูด โดน เดา ไป เปล่า ๆ.
      โดน ตอ (221:8.3)
               คือ การ ที่ ไป ชน ตอ เข้า นั้น, เหมือน อย่าง คน ภาย เรือ ไป โดน ตอ เข้า.
      โดน สดุด (221:8.4)
               คือ การ ที่ โดน เข้า แล้ว สดุด ด้วย นั้น.
      โดน หัว กัน (221:8.5)
               คือ การ ที่ เอา หัว ชน กัน นั้น.
ดอน (221:1)
         โคก, เนิน, โขด, เขิน, เปน ชื่อ ที่ ไม่ ลุ่ม เปน ที่ สูง นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, นา ดอน ฤๅ ป่า ดอน ฤๅ ดง ดอน.
      ดอน กระสัง (221:1.1)
               เปน ชื่อ บ้าน ดอน แห่ง หนึ่ง, เพราะ เปน ที่ ดอน สูง แล้ว มี ผัก กระสัง มาก, อยู่ แขวง ท่า เรือ พระบาท.
      ดอน กลอย (221:1.2)
               เปน ชื่อ บ้าน ดอน แห่ง หนึ่ง, เพราะ บ้าน นั้น ดอน แล้ว มี กลอย ชุม ด้วย, อยู่ แขวง เมือง อุไทย.
      ดอนคา (221:1.3)
                เปน ชื่อ บ้าน ดอน แห่ง หนึ่ง, เพราะ ตำบล บ้าน นั้น ดอน แล้ว มี ญ่า คา มาก, อยู่ แขวง เมือง นคร สวรรค์.
      ดอน ตะแบก (221:1.4)
               เปน ชื่อ บ้าน ดอน แห่ง หนึ่ง*, เพราะ ตำบล บ้าน ดอน นั้น มี ไม้ ตะแบก ชุม อยู่ แขวง ปะจิม.
ด่อน (221:2)
         เผือก, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ เผือก นั้น, เหมือน อย่าง ควาย เผือก, เขา เรียก ว่า ควาย ด่อน, เปน คำ ชาว เหนือ.
      ด่วน (221:2.1)
               การ รีบ, การ เร็ว, พลัน, คือ การ รีป ฤๅ การ เร็ว นั้น. เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, เรา จะ ด่วน ไป เปน ต้น.
      ด่วน ไป (221:2.2)
               คือ รีบ ไป ฤๅ ไป เร็ว นั้น,
      ด่วน มา (221:2.3)
               เปน ชื่อ การ รีบ มา ฤๅ เร็ว มา นั้น.
      ด่วน เร็ว (221:2.4)
               คือ การ รีบ เร็ว นั้น.
ด้วน (221:3)
         กุด, ขาด, เด็ด, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ กุด ที่ ขาด ไป นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, มือ ด้วน ฤๅ ตีน ด้วน.
      ด้วน กุด (221:3.1)
               เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ กุด ด้วน ไป, เหมือน อย่าง คน ตีน กุด มือ ด้วน.
เดือน (221:4)
         สะสิทร, ดวง แข, จันทร์, เปน ชื่อ มณฑล แห่ง จันทร์ ฤๅ ครบ สามสิบ วัน นั้น, เหมือน อย่าง เขา ว่า เดือน หนึ่ง สาม สิบ วัน.
      เดือน ห้า (221:4.1)
               เปน ชื่อ เดือน ที่ ห้า นั้น, เปน เดือน ต้น ปี ตาม ธรรมเนียม พวก ชาว ไทย
      เดือน อ้าย (221:4.2)
               เปน ชื่อ แห่ง เดือน ที่ หนึ่ง นั้น.
      เดือน ยี่ (221:4.3)
               เปน ชื่อ แห่ง เดือน ที่ สอง นั้น.
      เดือน ขาด (221:4.4)
               คือ ยี่สิบ เก้า วัน คิด เอา เปน เดือน หนึ่ง นั้น, เหมือน อย่าง เดือน ห้า เดือน เจ็ด เปน เดือน ขาด.
      เดือน ขึ้น (221:4.5)
               คือ เดือน พึง ขึ้น มา นั้น, เหมือน อย่าง เดือน แรก ขึ้น มา เมื่อ วัน ขึ้น ค่ำ หนึ่ง.
      เดือน ค้าง (221:4.6)
               คือ เดือน ที่ ยัง ไม่ ตก, ค้าง อยู่ จน เพลา กลาง วัน, เหมือน อย่าง เมื่อ แรม แปดค่ำ.
      เดือน ครึ่ง (221:4.7)
               คือ กาล ครบ เดือน หนึ่ง แล้ว, กับ อีก กึ่ง เดือน นั้น, เหมือน อย่าง สี่ สิบ ห้า วัน.
      เดือน หงาย (221:4.8)
               คือ เวลา ที่ เดือน ไม่ คว่ำ, เดือน สว่าง นั้น, เหมือน อย่าง เมื่อ วัน ขึ้น แปด ค่ำ, จน สิบ ห้า ค่ำ.
      เดือน แจ่ม (221:4.9)
               คือ การ ที่ เดือน ใส สว่าง ปราศจาก เมฆ หมอก ปิด บัง, เหมือน อย่าง จันทร์ เมื่อ วัน เพญ เดือน สิบสอง นั้น.
      เดือน ท่วน (221:4.10)
               คือ เวลา ที่ เดือน ไม่ ขาด ครบ สาม* สิบ วัน นั้น.
      เดือน เที่ยง (221:4.11)
               คือ เดือน ตรง นั้น, เหมือน อย่าง เพลา ตวัน เที่ยง กลาง วัน เปน ต้น.
      เดือน ทรง กรด (221:4.12)
               คือ ดวง พระจันทร์ อยู่ ใน อากาษ, แล มี สิ่ง เปน วง รอบ อยู่ ห่าง ดวง พระจันทร์ ประมาณ ศัก สาม วา นั้น.
      เดือน บ่าย (221:4.13)
               คือ เดือน คล้อย ไป ข้าง ตวัน ตก นั้น.
      เดือน เพ็ญ (221:4.14)
               คือ จันทร์ เต็ม ดวง บริบูรณ นั้น, เหมือน อย่าง พระจันทร เมื่อ วัน สิบ ห้า ค่ำ.
      เดือน มืด (221:4.15)
               คือ เดือน ดับ ไม่ มี แสง สว่าง นั้น, เหมือน อย่าง เมื่อ วัน แรม สิบห้า ค่ำ.
      เดือน แรม (221:4.16)
               คือ เดือน ค้าง อยู่ จน เพลา กลาง วัน, เหมือน อย่าง วัน แรม แปด ค่ำ
      เดือน แหว่ง (221:4.17)
               คือ เดือน ไม่ เต็ม ดวง นั้น, เหมือน อย่าง เดือน พึง ขึ้น สาม ค่ำ สี่ ค่ำ.
เดิน (221:5)
         ดำเนิน, แล่น, คือ อาการ ที่ ยก ท้าว ก้าว ไป ใน หน ทาง นั้น, เหมือน อย่าง คน ไป ตาม ทาง.
      เดิน กำปั่น (221:5.1)
               คือ การ ที่ คน แล่น กำปั่น ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน ไป กำปั่น ใน ท้อง ทะเล.
      เดิน ข่าว (221:5.2)
               คือ การ ที่ คน เดิร บอก เรื่อง ความ ต่าง ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คน เดิร หนังสือ บอก.

--- Page 222 ---
      เดิน ความ (222:5.3)
               คือ การ ที่ คน เดิร ไป หา ตระลาการ ให้ ช่วย ว่า ความ ให้ สำเร็ทขิ์ นั้น.
      เดิน หงก ๆ (222:5.4)
                คือ อาการ ที่ เดิร หงุบ ๆ ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน แก่ เดิร ไป ตาม ทาง.
      เดิน งัง ๆ (222:5.5)
               คือ อาการ ที่ เดิร หง่อง ๆ ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน เดิร หงก ๆ ไป ตาม ทาง.
      เดิร เงื่อง ๆ (222:5.6)
               คือ อาการ ที่ เดิร ช้า ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คน เดิร ทาง ล้า.
      เดิร หงุบ ๆ (222:5.7)
               คือ อาการ ที่ เดิร หงก ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คน แก่ เดิร ไป ตาม ทาง.
      เดิร หง่อย ๆ (222:5.8)
               คือ อาการ ที่ เดิร เงื่อง ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คน เดิร ช้า ๆ.
      เดิร จัด จริง ๆ (222:5.9)
               คือ อาการ ที่ คน เดิร แขง แรง นั้น, เหมือน อย่าง คน เดิร ทาง อด ทน.
      เดิร ฉุย ไป (222:5.10)
               คือ อาการ ที่ เดิร ไป เร็ว นั้น, เหมือน อย่าง คน หนุ่ม เดิร เร็ว.
      เดิร ช้า (222:5.11)
               คือ อาการ ที่ เดิร ไม่ เร็ว นั้น.
      เดิร แช เชือน (222:5.12)
               คือ อาการ ที่ เดิร ไม่ ตรง ไป ตรง มา นั้น, เหมือน อย่าง คน เทียว แวะ ที่ โน่น บ้าง ที่ นี่ บ้าง นั้น.
      เดิร โซเซ (222:5.13)
               คือ อาการ ที่ เดิร ซวน ไป ซวน มา ไม่ ตรง ทาง นั้น, เหมือน อย่าง* คน เมา เหล้า.
      เดิร ซุ่ม ซ่าม (222:5.14)
               คือ อาการ ที่ เดิร เซอะซะ นั้น, เหมือน อย่าง คน ตา บอด ไม่* เหน หน ทาง.
      เดิร ด่วน (222:5.15)
               คือ อาการ ที่ เดิร รีบ ไป นั้น.
      เดิร ด้น (222:5.16)
               คือ เดิร ดั้น ไป ใน ป่า, เหมือน ที่ รก ด้วย พง หญ้า เปน ต้น คน เดิร บุก ดัน ไป นั้น.
      เดิร ดุ่ม ๆ (222:5.17)
               คือ อาการ ที่* เดิร ดุบ ๆ ไป นั้น, เหมือน อย่าง ลูก ช้าง น้อย ๆ เดิร เปน ต้น.
      เดิร ตัว (222:5.18)
               คือ การ ที่ เดิร เที่ยว หา ที่ พึ่ง, เหมือน อย่าง คน เที่ยว เดิร ฝาก ตัว อยู่ กับ จ้าว นาย.
      เดิร ท้าว (222:5.19)
               คือ การ ที่ เดิร ไป ด้วย ท้าว นั้น.
      เดิร ธระ (222:5.20)
               คือ ความ ที่ เดิร ไป ด้วย กิจการ ต่าง ๆ นั้น.
      เดิร นา (222:5.21)
               คือ การ ที่ เดิร ไป ตาม ทุ่ง นา, เหมือน อย่าง พวก เสนา เดิร รังวัด นา.
      เดิร หนังสือ (222:5.22)
               คือ การ ที่ คน เดิร ถือ หนังสือ* บอก นั้น, เหมือน อย่าง หนังสือ ที่ ส่ง มา แต่ กอง ทับ.
      เดิร บท (222:5.23)
               คือ ความ ที่ คน สวด หนังสือ* ตาม บท ตาม เพลง.
      เดิร เปะ ปะ (222:5.24)
               คือ อาการ ที่ เดิร ไม่ ตรง ทาง เซ ไป เซ มา.
      เดิร ผัน ผาย (222:5.25)
               คือ อาการ ที่ เดิร ไป ด่วน ๆ, เหมือน อย่าง คน รีบ ไป.
      เดิร หมาย (222:5.26)
               คือ การ ที่ คน เดิร ถือ หมาย นั้น.
      เดิร หย่อง (222:5.27)
               คือ อาการ ที่* ค่อย ยก ท้าว ก้าว เดิร เบา ๆ.
      เดิร เหยา ๆ (222:5.28)
               คือ อาการ ที่ เดิร ไป เร็ว ๆ, เหมือน อย่าง ควาย เดิร สะบัด ย่าง.
      เดิร เรือ (222:5.29)
               คือ การ ที่* ไป ใน ทาง น้ำ ด้วย เรือ นั้น.
      เดิร รอ ๆ (222:5.30)
               คือ อาการ ที่ เดิร ช้า ๆ.
      เดิร ล้า (222:5.31)
               คือ อาการ ที่ เดิร ไม่ ไหว, ก้าว ไม่ ออก นั้น, เหมือน อย่าง คน เดิร ทาง ไกล จน สิ้น กำลัง.
      เดิร วก หลัง (222:5.32)
               คือ อาการ ที่ เดิร อ้อม ตลบ มา ข้าง หลัง นั้น, เหมือน อย่าง คน เดิร ไป เบื้อง หน้า, แล้ว อ้อม กลับ มา ข้าง หลัง นั้น.
      เดิร ไว (222:5.33)
               คือ อาการ ที่ เดิร เร็ว เดิร ไม่ ช้า นั้น.
      เดิร ไหว (222:5.34)
               คือ อาการ ที่ เดิร ไป ได้ ใน ทาง ไกล ไม่ ล้า นั้น.
      เดิร สาร (222:5.35)
               คือ ฃอ อาไศรย พึ่ง เขา ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน ฃอ พึ่ง เขา ไป ใน เรือ.
      เดิร สวน (222:5.36)
               คือ การ ที่ เดิร ไป ตาม สวน, เหมือน อย่าง พวก ข้า หลวง ไป รังวัด ลง เส้น เชือก นับ ต้น ผล ไม้ นั้น.
      เดิร หน (222:5.37)
               คือ การ ที่ เดิร ทาง นั้น, เหมือน อย่าง คน เดิร ไป ใน ทาง น้ำ ทาง บก.
      เดิร เหิน (222:5.38)
               คือ อาการ ที่ เดิร พลาง เหลียว ดู พลาง, เหมือน อย่าง คน เดิน เหลียว ชม ดง.
      เดิร โอ้ เอ้ (222:5.39)
               คือ อาการ ที่ เดิร ช้า ๆ เดิร พลาง พูด กัน พลาง, เหมีอน อย่าง คน เมา เล่า.
      เดิร อ้อน แอ้น (222:5.40)
               คือ อาการ ที่ เดิร เอน ตัว ไป มา, เหมือน อย่าง นาง งิ้ว แล นาง รำ.
      เดิร อุ้ย อ้าย (222:5.41)
               คือ อาการ ที่ เดิร กลิ้ง พุง ไป มา, เดิร มิ ใคร่ ไหว, เหมือน อย่าง คน อ้วน เดิร.

--- Page 223 ---
ดับ (223:1)
         ระงับ, สูญ, หาย, คือ ความ ที่ สิ่ง ที่ สูญ หาย ไป นั้น, เหมือน อย่าง เดือน ดับ ฤๅ ไฟ ดับ แล ชี วิตร ดับ.
      ดับ กิเลศ (223:1.1)
               คือ ความ ที่ ทำ ของ ชั่ว ที่ บังเกิด ขึ้น ใน ใจ ให้ สูญ หาย ไป, เหมือน อย่าง ดับ ความ โลภ แล ปะทุษร้าย แล ความ หลง.
      ดับ ขันท์ (223:1.2)
               คือ ความ ที่ กระทำ ซึ่ง รูปขันท์, เวทนา ขันท์, สัญา ขันท์, สงขาร ขันท์, วิญาณขันท์, ให้ ทำลาย ดับ สูญ หาย ไป นั้น เหมือน คน ตาย.
      ดับ เข็น (223:1.3)
               คือ การ ที่ กระทำ ความ ทุกข์ คับ แค้น ใน กาย ใน ใจ ให้ ดับ สูญ ไป, เหมือน เขา ช่วย ให้ พ้น ทุกข์ นั้น.
      ดับ ความ (223:1.4)
               คือ การ ที่ กระทำ ความ ให้ สูญ หาย ไป, เหมือน ความ จะ บังเกิด ขึ้น, เรา เกลี่ย ไกล่ ห้าม เสีย ได้.
      ดับ แค้น (223:1.5)
               คือ การ ที่ กระทำ ความ แค้น ใจ ให้ หาย นั้น.
      ดับ ใจ (223:1.6)
               คือ การ ที่* กระทำ ความ โกรธ ที่ บังเกิด ขึ้น ใน ใจ นั้น ให้ ดับ สูญ, เหมือน ความ โกรธ เกิด ขึ้น แล้ว ดับ ได้ นั้น.
      ดับ จิตรร์ (223:1.7)
               คือ ความ ที่ ใจ ดับ สูญ ไป จาก ตัว นั้น, เหมือน อย่าง คน ขาด ใจ ตาย.
      ดับ ชีวิตร์ (223:1.8)
               คือ การ ตาย ไป ไม่ เปน อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง สิ้น ชีวิตร เปน ต้น.
      ดับ ชะรา (223:1.9)
               คือ ความ ที่ คน ถึง พระ นีพาน, ไม่ เกิด, ไม่ แก่, ไม่ ตาย ต่อ ไป นั้น.
      ดับ ชาติ (223:1.10)
               คือ ความ ที่ ไม่ เกิด สืบ ต่อ ไป ใน เบื้อง น่า นั้น.
      ดับ ทุกข์ (223:1.11)
               คือ กระทำ ความ ทุกข์ ให้ สูญ หาย ไป ได้.
      ดับ โทษ (223:1.12)
               คือ ดับ ความ ประทุษร้าย ที่ บังเกิด ขึ้น แล้ว, ให้ สูญ หาย ได้.
      ดับ นามธรรม (223:1.13)
               คือ การ กระทำ ของ ที่ ไม่ มี รูป มี แต่ ชื่อ, เหมือน อย่าง บุญ บาป แล ใจ ที่ รู้ จัก ศุข ทุกข อุเบกขา เปน ต้น, ให้ ดับ สูญ ไป ได้ นั้น.
      ดับ บาป (223:1.14)
               คือ การ ดับ ซึ่ง ความ ชั่ว อัน บังเกิด ขึ้น ใน กาย วาจา ใจ.
      ดับ พะนั้น (223:1.15)
               คือ ถัด นั้น ไป ฤๅ ต่อ นั้น ไป นั่น.
      ดับ ไภย (223:1.16)
               คือ ความ ที่ กระทำ ให้ รงับ ความ กลัว นั้น, เหมือน อย่าง คน เปน โทษ ถึง ตาย มี ผู้ ช่วย สงเคราะห์ ให้ พ้น ความ ตาย เปน ต้น*
      ดับ ภพ (223:1.17)
               คือ ความ ที่ มิ ได้ บังเกิด สืบ ต่อ ไป อีก, เหมือน อย่าง พระ อรหรรต์.
      ดับ ยุกเข็น (223:1.18)
               คือ การ ที่ ช่วย สงเคราะห์, กระทำ ให้ ความ ยาก แค้น ของ คน ทั้ง ปวง ให้ ดับ สูญ ไป นั้น.
      ดับ สัง ขาร (223:1.19)
               คือ ความ ตาย นั้น, สัง ขาร นั้น คือ รูป ที่ กุศล อะกุศล ตก แต่ง เหมือน สัตว ทั้ง ปวง ที่ เกิด มา นั้น.
ดาบ (223:2)
         เปน ชื่อ อาวุทธ์ อย่าง หนึ่ง ยาว ศอก เสศ บ้าง, สอง ศอก บ้าง, ทำ ด้วย เหล็ก คม, สำรับ รบ กับ เขา
      ดาบ องค์ รักษ (223:2.1)
               เปน ชื่อ ดาบ พระ มหา กระษัตริย์ ที่ สำรับ รักษา พระองค์ นั้น.
      ดาบ แดง (223:2.2)
               เปน ชื่อ ดาบ ที่ ฝัก เขา ทา ชาด ฤๅ หุ้ม ด้วย ของ ศี แดง, เหมือน อย่าง ดาบ ที่ เตวน พวก นัก โทษ ถึง ตาย
      ดาบ ลาว (223:2.3)
               คือ อาวุธ ทำ ด้วย เหล็ก ยาว สอก เสศ บ้าง สอง สอก บ้าง, มัน มี ดั้ม มี คม ข้าง เดียว สำรับ ฟัน ศัตรู เปน ของ ลาว.
ดิบ (223:3)
         เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ยัง ไม่ สุก นั้น, เหมือน อย่าง กล้วย ดิบ ฤๅ หมาก ดิบ.
      ดิบ ดิ (223:3.1)
               เปน ชื่อ ของ ที่ ดี มา แต่ ยัง ไม่ สุก, ดี มา แต่ ดิบ, เหมือน อย่าง มะปราง หวาน แล กล้วย กิน ดิบ. อนึ่ง ถ้า ได้ เหน เขา ทำ การ ทั้ง ปวง งาม แล้ว มั่น คง ด้วย ว่า ดัง นั้น.
ดุบ ๆ (223:4)
         เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เต้น ตึก ๆ, เหมือน อย่าง เส้น เทพจร เต้น นั้น.
ดม (223:5)
         นัด, สูด, สูบ, คือ อาการ ที่ เอา จมูก สูบ กลิ่น ทั้ง ปวง สูด เข้า ไป, ด้วย จะ ให้ รู้ ว่า กลิ่น ดี กลิ่น ชั่ว.
      ดม เกษร (223:5.1)
               คือ การ ที่ เอา จมูก สูบ กลิ่น เกษร นั้น.
      ดม กลิ่น (223:5.2)
               คือ การ ที่ เอา จมูก ดม เอา กลิ่น นั้น, เหมือน อย่าง หมา เที่ยว ดม กลิ่น หนู.
      ดม ดอก ไม้ (223:5.3)
               คือ การ ที่ เอา จมูก ดม ที่ ดอก ไม้ นั้น.
      ดม ยา (223:5.4)
               คือ ความ ที่ คน ดม เอา กลิ่น ยา, เหมือน อย่าง ดม อัมโมเนียว ดม กรรบูน.
      ดม เล่น (223:5.5)
               คือ การ ที่ ดม ดอก ไม้ ที มี กลิ่น หอม เล่น ภอ ชื่น ๆ ใจ นั้น.
      ดม เอา (223:5.6)
               คือ การ ที่ ดม เลือก เอา ผลไม้ ที่ สุก มี กลิ่น หอม มี ลูก จัน เปน ต้น.

--- Page 224 ---
ดัม (224:1)
         จม ลง, จุ่ม ลง, คือ การ ที่ มุด หัว จม ลง ไป ใน น้ำ, เหมือน อย่าง พวก ประดา น้ำ เปน ต้น นั้น.
ดั่ม (224:2)
         ฦก, ซึ่ง เปน ชื่อ สิ่ง ทั้ง ปวง ที่ ฦๅ ลง ไป ข้าง ล่าง, เหมือน อย่าง รู้ ดัม ปลา ไหล.
ดั้ม (224:3)
         เปน ชื่อ ไม้ ที่ ต่อ กั่น เครื่อง เหล็ก ทั้ง ปวง ออก มา สำรับ มือ, เหมือน อย่าง ดั้ม มีด, ดั้ม หอก.
ดาม (224:4)
         ปะ, ทาบ, คือ การ ที่ เอา สิ่ง ของ ทาบ กัน เข้า เพื่อ จะ ให้ แฃง, เหมือน อย่าง คน เอา ไม้ ดาม ไม้ ที่ บุบ ที่ เดาะ นั้น.
      ดาม คาน (224:4.1)
               คือ การ ที่ เอา ไม้ สีก ทาบ ลง ที่ คาน นั้น, แล้ว เอา หวาย คาด ด้วย, ประสงค์ จะ ให้ แขง.
      ดาม ผ้า (224:4.2)
               คือ การ ที่ เอา ผ้า ไหม, ทาบ ผ้า เก่า ลง.
      ดาม ไม้ (224:4.3)
               คือ การ ที่ เอา ที่ ไม้ ดี ทาบ ไม้ เดาะ ลง ไป.
ดื่ม (224:5)
         ดูด, ซด, เสพ, คือ การ ที่ กิน สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เปน น้ำ นั้น.
      ดื่ม กิน (224:5.1)
               คือ การ ที่ ดูด สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เปน น้ำ กิน เข้า ไป.
      ดื่ม น้ำ (224:5.2)
               คือ การ ที่ ดูด น้ำ กิน เข้า ไป นั้น.
      ดื่ม น้ำ ผึ้ง (224:5.3)
               คือ การ ที่ คน กิน น้ำ ผึ้ง นั้น.
      ดื่ม น้ำ ยา (224:5.4)
               คือ การ ที่ คน กิน น้ำ ยา ต้ม, ฤๅ น้ำ ยา ขนม จีน.
      ดื่ม เล่า (224:5.5)
               เสพ สุรา, คือ การ ที่ คน กิน เล่า นั้น.
ดุม (224:6)
         เปน ชื่อ ไม้ กลม ๆ ที่ ไช เปน รู ทำ กง เกวียน, กง รถ, เปน ที่ สำหรับ สอด เพลา ร้อย เข้า ใน รู ดุม นั้น.
      ดุม เกวียน (224:6.1)
               เปน ชื่อ ไม้ ดุม ที่ สำหรับ ใส่ ซี กำ ทำ จักร เกวียน
      ดุม รถ (224:6.2)
               เปน ชื่อ ดุม ที่ ทำ รู สำหรับ ใส่ เพลา ใน จักร รถ.
      ดุม ล้อ (224:6.3)
               เปน* ชื่อ ดุม ที่ ลูกล้อ สำหรับ ใส่ เพลา.
ดุ่ม (224:7)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ดุ่ม ๆ ด่อง (224:7.1)
               คือ อาการ คน เดิร กุบ ๆ ก้ม หน้า ไป เร็ว ๆ. เหมือน อย่าง ลูก ช้าง น้อย ๆ, มัน เดิร เปน ต้น นั้น.
      ดุ่ม เดิร (224:7.2)
               คือ อาการ ที่ เดิร ดุ่ม ๆ ก้ม หน้า ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน แก่ หลัง โกง เดิร ไป.
ด้อม (224:8)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ด้อม มอง (224:8.1)
               สอดแนม, คือ อาการ เดิร ก้ม ลง มอง ดู ข้าง นี้ ข้าง โน้น แล้ว แอบ เข้า ไป, เหมือน อย่าง คน เที่ยว ด้อม มอง คอย จับ ผู้ ร้าย.
      ด้อม เข้า มา (224:8.2)
               คือ อาการ ที่* เดิร ก้ม ลง แล้ว แอบ เข้า มา เหมือน อย่าง แมว คอย ย่อง ตะครุบ จับ หนู
      ด้อม เดิร (224:8.3)
               คือ อาการ ที่ เดิร ก้ม หลัง ลง นั้น, เหมือน อย่าง คน เดิร เข้า ไป ใกล้ ขุนนาง.
      ด้อม ดู (224:8.4)
               คือ อาการ ที่ ก้ม หลัง ลง แล้ว แอบ เข้า ไป ดู, เหมือน อย่าง คน คอย สอด แนม.
      ด้อม มอง (224:8.5)
               คือ อาการ ที่ คน ก้ม หลัง ลง แล้ว แอบ เข้า ไป มอง ดู.
ด้วม (224:9)
         คือ อาการ ที่ เดิน ต่าย คล่ำ ไป, เหมือน หมู่ หนอน มาก ๆ
      ด้วม เดี้ยม (224:9.1)
               คือ อาการ คน ฤๅ สัตว ที่* คลาน ต่าย คล่ำ ไป, เหมือน อย่าง ปู ต่าง ๆ.
เดี้ยม (224:10)
         คือ อาการ ที่ เดิร ต่าย คลำ ไป นั้น,
เดิม (224:11)
         ต้น, มูล เหตุ, เปน ชื่อ* ความ แรก ฤๅ ต้น นั้น. เหมือน* อย่าง คำ พูด กัน ว่า, เดิม ที, เดิม เหตุ.
      เดิม เกิด (224:11.1)
               คือ ที่ แรก เกิด นั้น, เหมือน* อย่าง คำ พูด กัน ว่า, เดิม เกิด ที่ ไหน.
      เดิม คิด (224:11.2)
               คอื ความ ที แรก คิด ขึ้น นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ คิด ก่อน คน ทั้ง ปวง.
      เดิม ที (224:11.3)
               คือ ความ ที่ เปน ที แรก แต่ ก่อน นั้น, เหมือน อย่าง เขา ถาม กัน ว่า, แรก เริ่ม เดิม ที นั้น หย่าง ไร
      เดิม แรก (224:11.4)
               คือ ความ ที่ เปน ต้น ๆ แรก ๆ นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, เมื่อ เดิม แรก นั้น อย่าง ไร บ้าง.
      เดิม เหตุ (224:11.5)
               คือ ความ ที่ เปน ต้น เหตุ หฤๅ เหตุ เกิด ขึ้น แรก นั้น.
ดาย (224:12)
         ตัด, คือ การ ที่ เอา มีด ฤๅ พร้า ถาง ญ่ำ เสีย ให้ เตียน, เหมือน คน ดาย ญ่า ใน ส่วน ให้ เตืยน นั้น
      ดาย หญ้า (224:12.1)
               คือ การ ที่ เอา มีด ฤๅ พร้า ถาง หญ้า เสีย ให้ เตียน, เหมือน หย่าง คน ดาย หญ้า* ใน สวน ให้ เตียน* นั้น.
      ดาย สวน (224:12.2)
               คือ การ ที่ ถาก ถาง หญ้า ใน สวน นั้น
ด้าย (224:13)
         เปน ชื่อ เส้น สำลี ที่ คน เอา ฝ้าย มา หีบ ทำ เปน สำลี แล้ว ปัน เส้น เล็ก ๆ สำ ลับ ธอ ผ้า นุ่ง ห่ม.
      ด้าย กลุ่ม (224:13.1)
               เปน ชื่อ เส้น ด้าย ที่ คน ม้วน ทำ เปน กลุ่ม นั้น.
      ด้าย เข็ด (224:13.2)
               เปน ชื่อ เส้น ด้าย ที่ ถอด จาก ไม้ กงพัด ทำ เปน วง ๆ
      ด้าย ฆ่า (224:13.3)
               เปน ชื่อ ด้าย ดิบ ที่ ต้ม* แล้ว เหยีบ* เข้า สุก ให้ แขง, เหมือน หย่าง ด้าย ธอ ผ้า เปน ตน นั้น.
      ด้าย ดิบ (224:13.4)
               เปน ชื่อ ด้าย ที่ ยัง ไม่ ได้ ต้ม, ไม่ ได้ ฆ่า นั้น,
      ด้าย ไท (224:13.5)
               เปน ชื่อ ด้าย ที่ ทำ ใน เมือง ไท นี้.

--- Page 225 ---
      ด้าย เทษ (225:13.6)
               เปน ชื่อ ด้าย ที่ เขา เอา มา แต่ เมือง เทษ นั้น,
      ด้าย มอ (225:13.7)
               เปน ชื่อ ด้าย ขาว ที่ ย้อม คราม ศัก คั้รง เดียว, ศี เขียว อ่อน ๆ นั้น.
ดาว (225:1)
         ดารา, เปน ชื่อ สิ่ง ที่ เปน ดวง กลม ๆ สุก แสง สว่าง อยู่ บน ท้อง* ฟ้า นั้น, เหมือน ดวง ไฟ ใน โคม.
      ดาว ดา รา (225:1.1)
               เปน คำ ไทย อยู่ หน้า คำ ศัรปท์ อยู่ หลัง, แปล ว่า ดาว นั้น.
      ดาว กระจาย* (225:1.2)
               คือ ดวง ดาว ทั้ง ปวง ที่ ขึ้น ราย เรียง กัน เกลื่อน* กลาด กระ จาย ไป นั้น.
      ดาว ดาษ (225:1.3)
               เปน ชื่อ ดวง ดาว กลาศ เกลื่อน ไป ใน ท้อง ฟ้า* อา กาษ นั้น.
      ดาว ข่าง (225:1.4)
               เปน ชื่อ แห่ง ดาว ดวง หนึ่ง มี แสง สว่าง, เมื่อ พิ เคราะห์ ดู มี สันฐาน เหมีอน ลูก ข่าง.
      ดาว ไถ (225:1.5)
               เปน ชื่อ ดาว พวก หนึ่ง ขึ้น เรียง ราย กัน ไป มี แสง สว่าง*, เมื่อ พิเคราะห์ ดู มี อา การ เหมือน รูป ไถ,
      ดาว ตะเข้ (225:1.6)
               เปน ชื่อ ดาว หมู่ หนึ่ง ขึ้น อยู่ ข้าง เหนือ, เมื่อ พิ เคราาห์* ดู มี สัน ฐาน เมื่อน รูป ตะเข้
      ดาว ปะ กาย พฤก (225:1.7)
               เปน ชื่อ ดาว ดวง หนึ่ง ขึ้น ข้าง ทิศ ตวัน ออก, มี รัศมี สุก ปลาป เปน ปะกาย เหมือน ถ้อ ม่วง,
      ดาว ปะจำ เมือง (225:1.8)
               เปน ชื่อ ดาว ดวง หนึ่ง เปน ดาว ประจำ เมือง พะม่า ขึ้น อยู่ ข้าง ทิศ ตวัน ตก มี แสง สว่าง มาก.
      ดาว พระอังคาร (225:1.9)
               คือ ดวง ดาว ว่า เปน วิมาน เทวะดา องค์ หนึ่ง ชื่อ พระ อังคาร เปน เทวะดา สำ หรับ รัก ษา วัน อังคาร.
      ดาว พระ พุทธ์ (225:1.10)
               ว่า เปน วิมาน เทวะดา องค์ หนึ่ง ชื่อ พระพุทธ์ เปน* เทวะดา สำ หรับ ครอบ ครอง วัน พุทธ์ นั้น.
      ดาว พระ พฤหัศบดิ์ ว่า (225:1.11)
                เปน วิมาน เทวะดา องค์ หนึ่ง, ชื่อ พระ ประหัศ เปน พนัก งารสํา หรับ ครอบ ครอง วัน ประ หัด.
      ดาว พระ สุกร์ (225:1.12)
               ว่า เปน วิมาน เทวะดา องค์ หนึ่ง, ชื่อ พระสุกร์ เปน พนัก งาร สำหรับ รักษา วัน สุกร์ นั้น.
      ดาว พระ เสาร์ (225:1.13)
               ดาว นั้น เปน วิมาน เทวะ ดา องค์ หนึ่ง. ชื่อ พระ เสาร์ สำหรับ รัก ษา วัน เสาร์ นั้น.
      ดาว พระ เกตุ (225:1.14)
               ดาว นั้น ว่า เปน วีมาน เทวะดา องค์ หนึ่ง, ชื่อ พระ เกตุ มี แสง สว่าง พวก โหน นับ ถือ มาก.
      ดาว พระ ราหู (225:1.15)
               ดาว นั้น ว่า เปน เทวะดา องค์ หนึ่ง, ชื่อ พระ รา หู ย่อม เปน ฆ่า ศึก กัน กับ พระจันทร์.
      ดาว หมา (225:1.16)
               เปน ชื่อ ดาว ดวง หนึ่ง* มี แสง สว่าง, เมื่อ พิเคราะห์ ดู มี สัน ฐาน เหมือน* อย่าง รูป หมา นั้น.
      ดาว ม้า (225:1.17)
               เปน ชื่อ ดาว ดวง หนึ่ง มี แสง สว่าง, ครั้น พิจาณา ดู มี สัน ฐาน เหมือน* อย่าง รูป ม้า นั้น.
      ดาว กัตติกา (225:1.18)
               เปน ชื่อ ดาว หมู ดวง หนึ่ง มี แสง นับ เข้า ไว้ ใน พวก ดาว ฤกษ นั้น.
      ดาว พะระณี (225:1.19)
               เปน ชื่อ ดาว สาม ดวง มี แสง สว่าง, สง เคราะห์ เข้า ไว้ ใน พวก ดาว ฤกศ์ นั้น.
      ดาว โรหิณี (225:1.20)
               เปน ชื่อ ดาว ดวง หนึ่ง มี รัศมี สว่าง, สง เคราะห์ นับ เข้า ไว้ ใน พวก ดาว ฤกษ นั้น.
      ดาว ฤกษ์ (225:1.21)
               เปน ชื่อ ดวง ดาว ที่ สำหรับ สำแดง เหตุ ศก ทุกข์ ทั้ง ปวง แก่ ชาว มนุษ โลกย์ นั้น.
      ดาว เรือง (225:1.22)
               เปน ชื่อ ต้น ดอก ไม้ อย่าง หนึ่ง ต้น* ไม่ สู้ โต นัก, มี ดอก ศี เหลือง พร้อม กัน, เหมือน ดาว ใน ท้อง ฟ้า.
      ดาว บศ (225:1.23)
               เปน ชื่อ คน พวก หนึ่ง ละ เย่า เรือน เสีย แล้ว, ออก ไป บวช อยู่ ใน ป่า ถือ ศิล ห้า, นุ่ง ห่ม หนัง เสือ.
      ดาว วะดึง (225:1.24)
               เปน ชื่อ เมือง สวรรค์ ชั้น* หนึ่ง อยู่ บน ยอด เขา พระ เมรุ, เปน ที่ อยู่ แห่ง พระ อินทร์.
      ดาว หาง (225:1.25)
               เปน ชื่อ ดาว ดวง หนึ่ง มี หาง เปน ศี ขาว สว่าง* ไป, ต่อ นาน ๆ จึ่ง เวียน มา เหน ปรากฏ ครั้ง หนึ่ง.
ดิ้ว (225:2)
         เปน ชื่อ ไม้ เล็ก ๆ ประ มาณ เท่า นิ้ว มือ, เปน ที่ สำ หรับ ผูก หวาย กับ เซ็น ฝา ไม้ ใผ่ เปน ต้น นั้น.
โดย (225:3)
         คือ ตาม นั่น เอง เปน คำ เขมร, เหมือน อย่าง คำ เปน ต้น* ว่า โดย เสด็จ.
      โดย การ (225:3.1)
               คือ ตาม การ นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, เรา ทำ โดย การ ที่ มี มา.
      โดย ขนาด (225:3.2)
               คือ ตาม ขนาด นั้น, เหมือน อย่าง คำ พูด กัน ว่า จะ เอา โดย ขนาด อย่าง ไร.
      โดย ขบวน (225:3.3)
               คือ ตาม ขบวน นั้น, เหมือน อย่าง คำ เปน ตน ว่า, โดย ขบวน พระ ราช สง คราม นั้น,
      โดย จง (225:3.4)
               คือ ตาม ให้ ดี นั้น, เหมือน อย่าง คำ พูด กัน ว่า, จง ไป โดย จง,

--- Page 226 ---
      โดย ชื่น ตา (226:3.5)
               คือ ตาม ชื่น ตา นั้น.
      โดย ด่วน (226:3.6)
               คือ ตาม ด่วน ตาม เร็ว นั้น.
      โดย ทาง (226:3.7)
               คือ ตาม ทาง
      โดย ธรรม (226:3.8)
               เปน ชื่อ ความ ตาม ที่ จริง ตาม ตรง, ตาม ชอบ นั้น
      โดย นำ นวล (226:3.9)
               เปน ชื่อ ความ ตาน การ ที่ มิได้ ชำ ชอก ขุ่น* หมอง นั้น.
      โดย พลัน (226:3.10)
               คือ ตาม เร็ว นั้น
      โดย เสด็จ (226:3.11)
               คือ ตาม เสด็จ นั้น, เหมือน อย่าง พวก ข้า ราชการ โดย เสด็จ พระ มหา กระษัตริ ย์.
      โดย สาร (226:3.12)
               คือ พลอย ตาม เขา ไป นั้น,
      โดย สัจจริง (226:3.13)
               คือ ตาม สัจ ตาม จริง นั้น,
      โดย อุบาย (226:3.14)
               คือ ตาม เหตุ ที่ จะ ให้ เข้า ไก้ล นั้น, เหมือน อย่าง คน หา แม่ สื่อ เกี้ยว ผู้ หญิง.
ดอย (226:1)
         เปน ชื่อ ภู เขา ทั้ง ปวง นั้น. อนึ่ง เปน ชื่อ การ ที่ เขา เอา ด้าย ผูก มัด ตรา สัง รูป คน ตาย.
ด้อย (226:2)
         คือ อาการ ที่ ต่ำ ลง ฤๅ จม ลง นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน เปน ตน ว่า, ช้าง ตัว นี้ หฤๅ เรือ ลำ นี้ ท้าย ด้อย,
ด้วย (226:3)
         คือ กับ นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน เปน ต้น ว่า, เรา ไป กับ คน นั้น, เรา ไป ด้วย คน นี้.
      ด้วย กัน (226:3.1)
               คือ ตาม กัน ฤๅ พร้อม กัน นั้น, เหมือน เขา พูด กัน ว่า, ไป ตาม กัน, ไป ด้วย กัน.
      ด้วย ใจ (226:3.2)
               คือ ตาม ไจ นั้น, เหมือน อย่าง คน จะ กระทำ การ ชั่ว การ ดี ทั้ง ปวง, ย่อม ทำ ด้วย ใจ.
      ด้วย ดี (226:3.3)
               คือ กระ ทำ การ ทั้ง ปวง ย่อม ทำ ด้วย ดี นั้น.
      ด้วย ตน (226:3.4)
               คือ กระ ทำ การ ทั้ง ปวง ด้วย ตน, มิ ได้ ให้ คน อื่น กระ ทำ นั้น.
      ด้วย ว่า (226:3.5)
               คือ เพราะ ว่า นั้น,
      ด้วย เหตุ (226:3.6)
               คือ เพราะ เหตุ นั้น,
เดียว (226:4)
         อนึ่ง, เอก, โทน, เปน ชื่อ สิ่ง หนึ่ง, คน หนึ่ง นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, ไป คน เดียว.
      เดี่ยว (226:4.1)
               เปน ชื่อ คือ ห้อง เรือน ตั้ง แต่ พื้น ขึ้น ไป จน ถึง ขื่อ นั้น, เหมือน อย่าง เขา ว่า เรือน นี้ เดี่ยว สูง.
      เดียว เตี้ย (226:4.2)
               เปน ชื่อ คือ ห้อง เรือน ที่ เดี่ยว ไม่ สูง นั้น,
      เดี่ยว เรือน (226:4.3)
               เปน ชื่อ ที่ ห้อง ตั้ง แต่ พื้น เรือน ขึ้น ไป จน ถึง ขื่อ ปลาย เสา นั้น.
      เดี่ยว สูง (226:4.4)
               คือ เดี่ยว เรือน ที่ ไม่ เตี้ย นั้น, เขา พูด กัน ว่า เรือน นี้ เดี่ยว สูง จริง.
เดี๋ยว (226:5)
         เปน ชื่อ เร็ว พลั้น นั้น เหมือน อย่าง จะ ไป เร็ว ๆ นั้น, เขา ยอม สั่ง กัน ว่า ไป เดี๋ยว นี้.
เดือย (226:6)
         เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ งอก แหลม ออก มา จาก แข้ง ไก่, แล นก เปน ต้น. อนึ่ง เปน เม็ด อย่าง หนึ่ง นับ เข้า ไว้ ใน พวก เข้า ต่าง ๆ, ทั้ง ปวง ต่าง ๆ
      เดือย ไก่ (226:6.1)
               เปน ชื่อ สิ่ง ที่ มัน งอก แหลม เปน เดือย ออก มา จาก แข้ง ไก่ ทั้ง ปวง นั้น.
      เดือย เข้า จ้าว (226:6.2)
               เปน ชื่อ* ผล เม็ด เดือย ที่ มัน แขง กระ ด้าง เหมือน เข้า จ้าว, ไม่ อ่อน เหมือน เข้า เหนียว นั้น
      เดือย เข้า เหนียว. (226:6.3)
                เปน ชื่อ ลูก เดือย ที่ อ่อน เหมือน เข้า เหนียว ไม่ กระ ด้าง เหมือน เข้า จ้าว นั้น.
      เดือย ไม้ (226:6.4)
               เปน ชื่อ แห่ง เดือย ที่ ช่าง ไม้ ทำ เปน เดือย ไว้, สำรับ เข้า ปาก ไม้ ต่าง ๆ นั้น.
      เดือย หิน (226:6.5)
               เปน ชื่อ เดือย อย่าง หนึ่ง เม็ด มัน แขง เหมือน* หิน นั้น เขา ใช้ ร้อย ทำ ตา ข่าย.
เดียระฉาน (226:7)
         เปน ชื่อ สัตว ที่ กาย มัน ไป โดย ขวาง, เหมือน อย่าง สัตว ทั้ง ปวง หมี หมา เปน ต้น นั้น.
เดียระดาศ (226:8)
         คือ ของ ที่ มี มาก ดาศ กัน ไป นั้น เหมือน อย่าง. ดอก บัว ที่ ดาศ ไป ใน ป่า บัว.
เดียระถี (226:9)
         เปน ชื่อ บุคล มี ลัทธิดุจ ท่า อัน เปน ที่ ค่าม, เหมือน อย่าง คน ถื ผิด จาก สิ่ง ที่ เปน ธรรม.
เดี้ย (226:10)
         เปน ชื่อ อาการ ที่ เปลี้ย เตี้ย ต่ำ ลง ไป นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า ต่ำ ดัก เตี้ย ลง ไป แล้ว.
เดื่อ (226:11)
         มะ เดื่อ เปน ชื่อ ต้น ผลไม้ อย่าง หนึ่ง, ลูก มัน กลม ๆ สูก ศี แดง มี ตัว สัตว เล็ก ๆ อยู่ ไน นั้น.
ดั้ว เดี้ย (226:12)
         อา การ ที่ เดิร ย้าย ไป ต่ำ ๆ นั้น, เหมือน อย่าง เป็ด มัน เดิน.
เดาะ (226:13)
         หัก, ร้าว, เปน ชื่อ สิ่ง ที่ บุพ, บุพ หัก หน่อย หนึ่ง นั้น, เหมือน อย่าง ไม้ ถ่อ ไม้ คาน ที่ หัก ร้าว อยู่ บ้าง นั้น.

--- Page 227 ---
ดอ (227:1)
         เปน ชื่อ มะ พร้าว ที่ ผล เปน มะ พร้าว กะธิ มาก ๆ นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า มะ พร้าว ต้น นี้ เปน กะ ธิดอ นัก,
ดํ‍ุ (227:2)
         คือ ไช นิกคะหิต ดัง นี้ เปน ตัว สกด, จะ อ่าน ว่า ดุม* ก็ ได้ จะ อ่าน ว่า ดุน ก็ ได้ จะ อ่าน ว่า ดุง ก็ ได้ ตาม แต่ จะ ต้อง ประสงค์.
เดาะเล่น (227:3)
         คือ การ ที่ คน เอา ลูก ไม้ มี ลูก มะนาว เปน ต้น, ใส่ ลง ใน มือ แล้ว เดาะ ขึ้น ไป ให้ มัน ขึ้น ไป สูง แล้ว มัน กลับ ตก ลง ใน มือ แล้ว ทำ ให้ มัน ขึ้น ไป อีก ทำ เช่น นี้ ตั้ง แต่ สาม หน เปน ต้น.
(227:4)
         
ตา (227:5)
         จักษุ, ดวง เนตร, ไนย นา, อัก ขี นี, คือ สิ่ง ที่ เปน ดวง กลม อยู่ ที่ หน้า สำ หรับ ดู สิ่ง ของ ทั้ง ปวง นั้น. อนึ่ง คือ พ่อ ของ แม่ นั้น ด้วย.
      ตา กา (227:5.1)
               เปน ชื่อ ตา ที่ ดู มิ ใค่ร จะ เหน สิ่ง ใด ๆ นั้น. อนึ่ง คือ ตา แห่ง กา นั้น.
      ตา แก่ (227:5.2)
               คือ ตา ของ คน แก่*. อย่าง หนึ่ง เขา เรียก คน อายุ มาก จน ผม หงอก ฟัน หัก.
      ตา กาก (227:5.3)
               เปน คำ ด่า คน แก่ ที่ เปน คน จน นั้น, เหมือน กับ กล่าว คำ ว่า, คน แก่ หยาบ เปน ต้น,
      ตา ไข่ (227:5.4)
               เปน ชื่อ ไข่ ดัก นก ดัก ปลา ที่ เขา ชุน เปน ตา ๆ เหมือน อย่าง ตา แห ตา อวน.
      ตา ขาบ (227:5.5)
               เปน ชื่อ สัตว อย่าง หนึ่ง ตัว เล็ก ๆ ตีน มัน มาก ประ- มาณ สัก ร้อย หนึ่ง, มี พิศม์ กัด ปวด นัก.
      ตา เข็บ (227:5.6)
               เปน ชื่อ สัตว อย่าง หนึ่ง ตัว เหมือน ตา ขาบ, แต่ มัน เล็ก กว่า ตา ขาบ, มี พิศม์ เหมือน กัน.
      ตา ขาว (227:5.7)
               คือ คน ที่ มี ตา ขาว มาก, ตา ดำ น้อย เขา ถือ ว่า, เปน คน ขลาด เหมือน อย่าง เด็ก ผู้ หญิง นั้น.
      ตา ขยิบ (227:5.8)
               เปน ชื่อ อาการ คือ กะ พิรบ ตา บ่อย ๆ เหมือน อย่าง คน เจบ ตา.
      ตา เคือง (227:5.9)
               เปน ชื่อ เคือง ใน ลูก ตา นั้น, เหมือน อย่าง คน เจ็บ เปน ตา แดง เปน ต้น.
      ตา เฉลว (227:5.10)
               เปน ชื่อ ตา แห่ง เลลว* นั้น, เหมือน อย่าง เฉลว ที่ เขา สาน ด้วย ไม้ ปัก ไว้ ที่ ด่าน,
      ตา ฉะลอม (227:5.11)
               คือ ตา แห่ง ฉะลอม ที่ สำ หรับ ห่อ ลำ ไย นั้น, เหมือน อย่าง ตา กรวย.
      ตา ชู (227:5.12)
               เปน ชื่อ สิ่ง ที่ สำ หรับ ชั่ง ของ ให้ เท่า กัน นั้น. อนึ่ง คือ คน ชื่อ หย่าง นี้ ก็ มี บ้าง.
      ตา ชู ชก (227:5.13)
               เปน ชื่อ พราหมณ์ แก่ คน หนึ่ง, มี ใน เรื่อง ชาฎก เปน นิ ทาน มา แต่ บูราณ.
      ตา ชั่ง (227:5.14)
               เปน ชื่อ สิ่ง ที่ ทำ เปน รอย ขีด ๆ ไว้, ให้ เหน เปน สำ คัญ ใน คัญ ชั่ง นั้น, เหมือน อย่าง ตา เต็ง.
      ตา ชาติ (227:5.15)
               เปน ชื่อ การ ทั้ง ชาติ นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, มี อยู่ ทั้ง ตา ปี ตา ชาติ เปน ต้น.
      ตา ช้อน (227:5.16)
               คือ อา การ แห่ง ตา ที่ เหลือก ช้อน กลับ ขึ้น ไป นั้น เหมือน อย่าง จะ ใก้ล ตาย ชัก ตา ช้อน กลับ.
      ตา แซะ (227:5.17)
               เปน ชื่อ ตา ที่ เปียก อยู่ เปน นิจ, เหมือน อย่าง คน เจ็บ ตา* ริด สี่ ดวง.
      ตา ซม (227:5.18)
               เปน ชื่อ ตา ที่ หลับ ไป ลืม ไม่ ใค่ร ขึ้น นั้น, เหมือน อย่าง คน เปน ตา แดง นัก ๆ.
      ตา แดง (227:5.19)
               เปน ชื่อ ตา ศี แดง เปน ปรกติ, ฤๅ คน เจ็บ เปน ตา แดง นั้น.
      ตา แตก (227:5.20)
               เปน ชื่อ ตา ที่ ปะทุ แตก ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน ตา บอด แท้.
      ตา ตุ่ม (227:5.21)
               เปน ชื่อ กระ ดูก ที่ เปน หน่วย กลม ๆ มี หนัง หุ้ม อยู่ ที่ ข้อ ตีน. อนึ่ง เปน ต้น ไม้ ยาง มี พิศม์ ไช้ ทำ ฟืน.
      ตา ต้อ (227:5.22)
               คือ ตา ที่ เจ็บ เปน ต้อ นั้น, เหมือน อย่าง คน ตา เปน ต้อ กระจก.
      ตา เถ้า (227:5.23)
               เปน คำ ที่ สำ หรับ เรียก คน แก่ นั้น, เหมือน อย่าง เขา เรียก กัน ว่า ตา แก่ ตา เถ้า เปน ต้น.
      ตา เถน (227:5.24)
               เปน ชื่อ คน แก่ ที่ บวช เปน สามเณร นั้น, เหมือน อย่าง คำ เขา พูด กัน ว่า ตา เถน ช่วย.
      ตา ทวด (227:5.25)
               คือ คน ที่ เปน พ่อ ของ ตา นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, นาน แล้ว แต่ คั้รง ตา ทวด นั้น.
      ตา ทิพย (227:5.26)
               เปน ชื่อ ตา อัน ประ เสฐ, เหน ได้ ใน ที่ ลับ ที่ แจ้ง ทั้ง ปวง, เหมือน เหย่าง* ตา แห่ง เทวดา.
      ตา นี (227:5.27)
               เปน ชื่อ เมือง แขก แห่ง หนึ่ง เขา เรียก ว่า, เมือง ตา นี. แล เปน ชื่อ กล้วย อย่าง หนึ่ง เขา เรียก ว่า กล้วย ตา นี
      ตา หนี่ (227:5.28)
               เปน ชื่อ คน ใจ หวง แหน หนัก นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ มี เข้า ของ แล้ว ไม่ อย่าก ให้ ผู้ ใด เลย

--- Page 228 ---
      ตา น้ำ (228:5.29)
               เปน ชื่อ ที่ ใต้ ดิน ที่ เขา ขุด ลง ไป ภบ รู เปน ที่ น้ำ ไหล ออก ไม่ รู้ ขาด นั้น, เรียก ว่า ตา น้ำ.
      ตา น้อย (228:5.30)
               เปน ชื่อ มด อย่าง หนึ่ง บั้น เอว เล็ก ๆ, ตัว เท่า ๆ มด แดง, มี พิศม์ ที่ ก้น, ต่อย ปวด ๆ คัน ๆ นั้น.
      ตา บอด (228:5.31)
               เปน ชื่อ ตา ที่ เสีย แล้ว ดู สิ่ง ใด ไม่ เหน, เหมือน อย่าง คน ตา ปะทุ แตก ออก มา.
      ตา ปี (228:5.32)
               เปน ชื่อ เวลา ทั้ง ปี นั้น, เหมือน อย่าง ค่ำ เขา พูด กัน ว่า*, มี ทั้ง ตา ปี ตา ชาติ.
      ตา ปู่ (228:5.33)
               เปน ชื่อ คำ เรียก คน แก่ นั้น เอง, เหมือน อย่าง เรียก คน แก่ ที่ มี อายุ คราว กับ พ่อ ของ พ่อ นั้น.
      ตา โป (228:5.34)
               คือ ตา บวม เปน หน่วย ขึ้น มา นั้น, เหมือน อย่าง คน ตา เปน ฝี ปรวด.
      ตา เปียก (228:5.35)
               เปน ชื่อ ตา แฉะ นั้น, เหมือน อย่าง คน ตา เจ็บ เปน ตา แดง ฤๅ ตา ริทธิ์ สี่ ดวง นั้น.
      ตา ปะขาว (228:5.36)
               เปน ชื่อ คน ผู้ ชาย ที่ นุ่ง ผ้า ฃาว ห่ม ผ้า ขาว, เปน คน ถือ บวช อย่าง หนึ่ง, เหมือน* ลวง ชี.
      ตา ปะ โส (228:5.37)
               ฯ ว่า คน บวช เปน อีฤๅ ษีร, นุ่ง ห่ม หนัง เสือ รักษา ศีล ห้า, อาไศรย อยู่ไน ป่า กิน ผล ไม้.
      ตา โป่ง (228:5.38)
               เปน ชื่อ ตา มาก รุก ที่ เดิร แทยง ข้าม ไป ตา หนึ่ง นั้น
      ตา แป๊ะ (228:5.39)
               เปน คำ เรียก เจ๊ก แก่, เหมือน อย่าง เรียก กัน ว่า, ตา แก่.
      ตา ผ้า ขาว (228:5.40)
               คือ ผู้ ชาย แก่ นุ่ง ขาว ห่ม ขาว โกน ผม ด้วย, เหมือน อย่าง ตา ผ้า ขาว ที่ รัก ษา พระ บาท นั้น.
      ตา ฟก (228:5.41)
               คือ ตา บวม นั้น, เหมือน อย่าง คน เปน ฝี หัว ใหญ่ ที่ ตา เปน ต้น.
      ตา ฟาง (228:5.42)
               เปน ชื่อ คน ตา ดี แต่ เวลา ค่ำ ลง แล้ว หา แล เหน สิ่ง ใด ไม่, เหมือน อย่าง คน ตา บอด นั้น.
      ตา ไม้ (228:5.43)
               เปน ชื่อ แขนง ไม้ ทั้ง ปวง ที่ แตก ออก จาก ต้น เปน ตา ๆ, เหมือน อย่าง ตา ไม้ ใผ่.
      ตา หมากรุก (228:5.44)
               เปน ชื่อ ตา กระดาร ที่ เขา ขีด เปน ตา ๆ, สำ หรับ เล่น หมาก รุก กัน นั้น.
      ตา มด (228:5.45)
               คือ ตา ของ มด ทั้ง ปวง นั้น. อนึ่ง เครื่อง ภาชน์ะ ทั้ง ปวง มี ม่อ เปน ต้น ถะ ลุ เปน รู ภอ น้ำ ไหล ซึม ๆ เปน ต้น ด้วย.
      ตา มืด (228:5.46)
               คือ ตา ที่ ไม่ เหน ดู มืด ไป, เหมือน อย่าง คน ตา บอด เปน ต้น นั้น.
      ตา มัน (228:5.47)
               คือ ไนย ตา ที่ ดู เปน เงา งาม, เหมือน ย่าง แสง นิล เปน ต้น นั้น.
      ตา มัว (228:5.48)
               เปน ชื่อ ตา ที่ ดู เปน หมอก ใป แล ไม่ เหน สนัด, เหมือน อย่าง ตา คน แก่ เปน ต้น นั้น.
      ตา ม่อ (228:5.49)
               เปน ชื่อ เสา ที่ ทำ เปน ง่าม สำ หรับ ค้ำ เรือน, ฤๅ. ทำ เสา นอก ชาน เปน ต้น นั้น.
      ตา ยะ (228:5.50)
               เปน ชื่อ ดง ใหญ่ แห่ง หนึ่ง, มี อยู่* ใน แขวง เมือง สุพรรณ์ บูรีย์.
      ตา ราง (228:5.51)
               เปน ชื่อ ที่ สำ หรับ ใว้ พวก คน โทษ, เพราะ เขา เอา ไม้ มา ขัด ทำ เปน ตา ๆ ห่าง ๆ นั้น.
      ตา ริ้ว (228:5.52)
               เปน ชื่อ ธรรม เนียม ตั้ง กระบวน อย่าง หนึ่ง, สำ หรับ จะ แห่ พระ มหา กระ ษัตริย์, เมื่อ จวน จะ เสด็จ นั้น.
      ตา หลก (228:5.53)
               เปน ชื่อ คน ที่ พูด จา ขะนอง ขัน ๆ, ประสงค็* จะ ให้ คน ดู หัว เราะ, เมือน* ตา หลก โขน.
      ตา เหล่ (228:5.54)
               คือ อาการ แห่ง ตา ที่ บิด เบี้ยว, หา ตั้ง อยู่ ตาม ที่ ปรกติ ไม่, เหมือน อย่าง คน ยิง ปืญ หลิ่ว ตา.
      ตาละปัด (228:5.55)
               เปน ชื่อ พัด อย่าง หนึ่ง ทำ ด้วย ใบ ลาน, เหมือน อย่าง ตา ละ ปัด ปัง สกุน เปน ต้น ที่ พวก พระ สงฆ์ ถือ.
      ตา เหลือก (228:5.56)
               เปน ชื่อ ตา ที่ ช้อน กัลบ ขึ้น ไป, เหมือน อย่าง คน เมื่อ ใก้ล ตาย ชัก ตา กัลบ เปน ต้น นั้น.
      ตา หลวง (228:5.57)
               เปน ชื่อ จ้าว ผี ที่ อยู่ ตาม ศาล. เหมือน อย่าง เข้า* เรืยก ว่า, ศาล เจ้า ศาล เทพา รักษ์ นั้น.
      ตา เหลือง (228:5.58)
               คือ ที่ ตา ศี เหลือง นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ ป่วย* เปน ใข้ นาน.
      ตา หลาด (228:5.59)
               เปน ชื่อ ร้าน ตาม ถนน, ที่ เขา ขาย ของ มาก ๆ, ฤๅ ตาม เรือ ที่ ขาย ของ มาก ๆ, เหมือน ตาม ตา หลาด บก แล ตา หลาด ท้อง น้ำ นั้น.
      ตาลาน (228:5.60)
               ตา ที่ ดู มิ ใค่ร จะ เหน สิ่ง ใด นั้น. อนึ่ง เปน ชื่อ มด อย่าง หนึ่ง, แล เปน ชื่อ บ้าน แห่ง หนึ่ง ด้วย.
      ตาลี ตาลาน (228:5.61)
               คือ อาการ รีบ ร้อน ด่วน ๆ นั้น, เหมือน ย่าง คน หนี ไป ต่าง ๆ.

--- Page 229 ---
      ตา หลับ (229:5.62)
               เปน ชื่อ อาการ ที่ ไม่ ลืม ตา นั้น, เหมือน อย่าง คน นอน หลับ เปน ต้น. อนึ่ง เปน ของ สำ หรับ ใส่ ขี ผึ้ง สี ปาก ด้วย
      ตา ลิบ (229:5.63)
               คือ อาการ ที่ ตา บวม ขึ้น มาก, เหมือน อย่าง ตา ที่ เปน ฝี ฤๅ ตะขาบ กัด.
      ตา ลาย (229:5.64)
               คือ อาการ แห่ง ตา ที่ แลดู สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ลาย ไป, เหมือน อย่าง คน กำลัง แล่น เรือ ไป แล ดู ฝั่ง.
      ตา หลิ่ว (229:5.65)
               คือ ตา เหล่ นั้น, เหมือน ย่าง คน เมื่อ ยิง ปืน ต้อง ทำ ตา ให้ เล็ก ลง ข้าง* หนึ่ง* แล้ว เล็ง ดู นั้น.
      ตา ลอย (229:5.66)
               คือ อาการ แห่ง ตา ที่ ค้าง หลับ ไม่ ลง นั้น, เหมือน อย่าง คน เปน โรค ทั้ง ลง ทั้ง ราก.
      ตา ลุ่ม (229:5.67)
               เปน ชื่อ ภาชน์ สำหรับ ใส่ ของ กิน, เหมือน อย่าง ที่ พวก พระ สงฆ์ ใช้
      ตา ไว (229:5.68)
               คือ ตา ที่ กระจ่าง, จะ ดู สิ่ง ใด เหน ว่อง* ไว นั้น, เหมือน อย่าง ตา คน หนุ่ม.
      ตาวัก (229:5.69)
               เปน ของ ที่ ทำ ด้วย กะลา มะพ้ราว, มี ด้ำ คล้าย ทัพภี เหมือน ที่ คน คัรว ใช้ คด เข้า ตัก แกง.
      ตาวาง (229:5.70)
               คือ เปน ชื่อ พง นั้น เอง, เหมือน ย่า* พง ที่ ขึ้น อยู่ ตาม ท้อง ทุ่ง ใหญ่.
      ตา วิง (229:5.71)
               คือ อาการ แห่ง ตา ที่ มัว เหน ไม้ สนัด, เหน แวว ๆ, วาว ๆ, เหมือน อย่าง ตา ไก่ ที่ กระทบ เดือย เสีย.
      ตา วะรุ ว่า (229:5.72)
               เปน คำ ไท ว่า ก่อน ว่า เทา นั้น.
      ตา แหวน (229:5.73)
               คือ อาการ แห่ง ตา ที่ ขาว เปน วง อยู่ ภาย ใน เหมีอน อย่าง ไนย ตา พวก วิลันดา.
      ตา แหวว (229:5.74)
               เปน ชื่อ เงา ที่ อยู่ ไนย แวว ตา ดำ นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า เหน ตา มัน แหวว ๆ เปน ต้น.
      ตา ใส (229:5.75)
               คือ ตา ที่ ไม่ ขุ่น มัว นั้น, ดู เหมือน อย่าง ไนย ตา ลิง.
      ตา เสือ (229:5.76)
               คือ ตา ของ เสือ นั้น. อนึ่ง เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง. เพราะ ลูก มัน กลม ๆ เหมือน ตา เสือ.
      ตา แหก (229:5.77)
               คือ ตา ที่ ฉีก นั้น, เหมือน อย่าง คน ตา เปน ริทธิ์ สี่ ดวง แหก ไป.
      ตา เอก (229:5.78)
               คือ ตา เดียว ฤๅ ตา บิด ตา เหล นั้น, เหมือน อย่าง คน ตา หลิ่ว.
      ตา ยาย (229:5.79)
               ตา นั้น เปน คำ เรียก ผู้ ชาย ที่ มี ฟัน หัก เปน ต้น, ยาย เปน คำ เรียก ผู้ หญิง ที่ แก่ นั้น ว่า.
ต้า ๆ (229:1)
         คือ เปน คำ เมื่อ เขา พูด ถูก ใจ ชอบ ใจ แล้ว, ย่อม ออก ปาก อย่าง นั้น* ว่า, ต้า ๆ เปน ต้น.
ติ (229:2)
         คือ เปน คำ ทัก ท้วง ว่า ไม่ ควร, ไม่ ดี ไม่ ถูก นั้น, เหมือน อย่าง คำ พูด ว่า คน นั้น ถือ ผิด.
      ติ กะ มา ติ กา (229:2.1)
               เปน ชื่อ คำ ที่ วาง แบ่บบท ลง ไว้, ที่ ละ สาม ๆ นั้น. เหมือน อย่าง, กุสลาธรรมา อะกุสลาธรรมา อะพยากะตาธรรมา นั้น.
      ติ กะ อังคุ ดร (229:2.2)
               เปน ชื่อ คำ ภีร์ หนัง สือ เรื่อง พระ พุทธ สาศนา อย่าง หนึ่ง.
      ติ ฉิน นินทา (229:2.3)
               คือ คำ ว่า ไม่ ดี ต่าง ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คน โกรธ กัน ติ เตียน กัน ลับ หลัง นั้น.
      ติ เตียน (229:2.4)
               เปน ชื่อ คำ ว่า ชั่ว ว่า ร้าย ต่าง ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คน ไม่ ชอบ กัน นิน ทา กัน ลับ หลัง นั้น.
      ติ โทษ (229:2.5)
               คือ ความ ที่ ติ เตียน คน ที่ ทำ ความ ชั่ว ทุจริตร นั้น.
ตี (229:3)
         คือ การ ที่ คน เอา มือ ฤๅ ไม้ ร้น ลง ที่ สิ่ง ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน อย่าง พ่อ แม่ ตีลู ก.
      ตี กัน (229:3.1)
               คือ การ ที่ คน เอา มือ ฤๅ ไม้ หวด ลง ฟาด* ลง แก่ อืน นั้น, กระ หน่ำ, คือ อาการ ที่ ตี รุก เข้า ไป ม่อ ยุด, เหมือน อย่าง แม่ ทับ ใด้ ที ฆ่า ศึก.
      ตี กลอง (229:3.2)
               คือ การ ที่ เอา ไม้ ตี ลง ที่ หน้า กลอง, มัน ดัง ตึง ๆ นั้น. เหมือน อย่าง ตี กลอง เล่น ละ คอน เปน ต้น.
      ตี กระ หนาบ (229:3.3)
               คือ การ ที่ ตี รุก เข้า มา ทั้ง ข้าง หน้า, ข้าง หลัง นั้น, เหมือน อย่าง ทัพ กระหนาบ เปน ต้น.
      ตี ขา (229:3.4)
               คือ การ ที่ ตี ลง ที่ ขา นั้น, เหมือน อย่าง นาย ตี สั่ง สอน บ่าว.
      ตี แขน (229:3.5)
               คือ การ ที่ ตี ลง ที่ แขน นั้น, เหมือน อย่าง พ่อ แม่ ตี สั่ง สอน ลูก เล็ก ๆ.
      ตี ค่า (229:3.6)
               คือ การ ที่ กำ หนฎ ราคา สิ่ง ของ ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน อย่าง ช่าง แก้ว ตี ราคา หัว* แหวน,
      ตี ฅอ (229:3.7)
               คือ ความ ที่ พูด ให้ ต้อง ใจ, ถูก ฅอ กัน นั้น, เหมือน อย่าง คน พูด ประจบ ประแจง ปราถนา, จะ ชอบ กัน เปน ต้น.
      ตี โบย (229:3.8)
               คือ การ ที่ ตี เหมือน พ่อ แม่ ตี ลูก เปน ต้น ว่า ตี โบย นั้น ให้ คน ผิด นอน ขว้ำ ลง แล้ว จึ่ง ตี นั้น,

--- Page 230 ---
      ตี ชิง (230:3.9)
               คือ การ ที่ ตี เข้า แล้ว แย่ง เอา ของ อัน ใด ๆ ไป นั้น, เหมือน อย่าง ตี ชิง วิ่ง ราว.
      ตี แตะ (230:3.10)
               คือ การ ที่ เอา ไม้ ไผ่ มา ผ่า เปน ซีก ๆ ขัด แตะ, เหมือน อย่าง ตี แตะ พื้น พระเมรุ.
      ตี พิมพ์ (230:3.11)
               คือ การ ที่ คน เอา แปง มา ยัด ลง ที่ พิมพ์ ขนม แล้ว ตี ออก, ฤๅ เอากะ ดาศ มา ตี พิมพ์ หนังสือ นั้น เอง.
      ตี เมีอง (230:3.12)
               คือ การ ที่ พวก ฆ่า ศึก ไล่ ตี ฆ่า ฟัน ราษฎร ชาว เมือง นั้น, เหมือน พวก ทหาร ป้รน เมือง.
      ตี ยาม (230:3.13)
               คือ การ ที่ ถึง ยาม แล้ว, ตี ฆ้อง ให้ รู้ เปน สำคัญ นั้น, เหมือน อย่าง พวก โรง นาระกา.
      ตี ราคา (230:3.14)
               คือ ความ ที่ กำหนฎราคา สิ่ง ของ ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน อย่าง พ่อ ค้า กำหนฎ ว่า, ของ สิ่ง นี้ ราคา เท่า นี้ เปน ต้น
      ตี รัน (230:3.15)
               คือ การ ที่ ตี ลง แล้ว เอา ไม้ หวด รัน เข้า ด้วย นั้น
      ตี หลัง (230:3.16)
               คือ การ ที่ คน เอา ไม้ ฤๅ หวาย โบย ลง ที่ หลัง นั้น, เหมือน อย่าง จ้าว ตี หลัง เบ่าว เปน ต้น นั้น.
      ตี เหล็ก (230:3.17)
               คือ การ ที่ เอา เหล็ก เผา ไฟ ให้ แดง แล้ว, เอา ออก มา ตี เปน รูบ มีด พ้รา เปน ต้น, เหมือน อย่าง ช่าง เหล็ก นั้น.
      ตี หลอก (230:3.18)
               คือ ความ ที่ พูด จา ฬ่อลวง นั้น, เหมือน อย่าง พวก ตระลาการ ชำระ คาม ผูราย*
      ตี ลวง (230:3.19)
               คือ การ ที่ พูดจา หลอก หลอน นั้น, เหมือน หย่าง แม่ ทับ คิด กลศึก กลความ.
      ตี สีปาก (230:3.20)
               คือ ความ ที่ พูด จา ปราถนา จะ ให้ คน อื่น เกรง ถ้อย คำ นั้น, เหมือน คู ความ พูด จา ตี สีปาก กัน.
      ตี หัว (230:3.21)
               คือ การ ที่ คน เอา ไม้ โบย หัว ลง นั้น, เหมือน อย่าง หัว ไม้ ตี หัว กัน.
      ตี อก (230:3.22)
               คือ การ ที่ เอา มือ ค่อน อก เขา นั้น, เหมือน อย่าง คน เปน ทุก นั้นข์ ฤๅ พวก เจ้า เซ็น.
ตื้ (230:1)
         คือ อาการ ที่ เอ็น มัน แขง ขึ้น, เหมือน เส้น สูญ ที่ ตึง แฃง อยู่ นั้น.
ติ๋ (230:2)
         คือ อาการ คน ที่ วิ่ง ไป เรว พัลน นั้น, ว่า วิ่ง ติ๋ ไป เปน ต้น.
ตุ (230:3)
         เปน ชื่อ ที่ กลิ่น เหม็น อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง กลิ่น ปลา ร้า ที่ เหม็น คลุ้ง เปน ต้น นั้น.
      ตุตะ (230:3.1)
               เปน ชื่อ รูป ร่าง คน ชาย หญิง ที่ อ้วน พี พลุ่พละ อยู่ นั้น ว่า เหมือน อย่าง รูป ร่าง ตุตะ เปน ต้น.
      ตุ ตัง (230:3.2)
               เปน ชื่อ กลิ่น ที่ เหม็น, เมือน อย่าง กลิ่น ปลา เน่า เปน ต้น นั้น.
      ตุริยางคดนตรี (230:3.3)
               คือ เครื่อง* ดีด สี ตี เป่า มี ปี่ ภาษ เปน ต้น. เหมือน อย่าง เครื่อง* ประ โคม นั้น.
      ตุ วัง (230:3.4)
                ฯ ว่า ท่าน, เหมือน อย่าง คำ พูด กัน ว่า, ท่าน จะ ไป ไหน เปน ต้น.
ตู (230:4)
         ตัว, เรา, ข้า, เปน ชื่อ ตัว ฤๅ เรา นั้น, เปน คำ เก่า, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, ตู เรา ไม่ ต้อง การ.
      ตู ข้า (230:4.1)
               คือ ความ ว่า ตัว ข้า นั้น, เหมือน อย่าง เข้า พูด กัน ว่า ตู ข้า ไม่ ปราถนา.
ตู่ (230:5)
         เปน ชื่อ กล่าว คำ ไม่ จริง พูด ไม่ ถูก นั้น, เหมือน อย่าง เหน ของ เขา อื่น ก็ ว่า, นี่ เปน ของ เรา นั้น.
      ตู่ ตัว (230:5.1)
               คือ ความ ที่ เพี้ยน ตัว ไม่ ตรง ตัว นั้น, เหมือน หย่าง คน เขียน หนังสือ* ไม่ ถูก ตัว.
      ตู่ ผิด ตู่ ถูก (230:5.2)
               คือ* ความ ที่ พูด ผิด บ้าง ถูก บ้าง นั้น, เหมือน อย่าง ของ เขา บ้าง, ของ เรา บ้าง ปน กัน อยู่ แล้ว คน นั้น ว่า เปน ของ ตัว ทั้ง สิ้น.
ตู้ (230:6)
         เปน ชื่อ ของ ทำ ด้วย ไม้ เปน สี่ เหลี่ยม สำหรับ ไว้ ของ ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง ตู้ ใส่ หนังสือ เปน ต้น.
      ตู้ กระจก (230:6.1)
               เปน ชื่อ ตู้ ทำ ด้วย กระจก นั้น, เหมือน อย่าง ตู้ ใส่ เครื่อง เงิน เครื่อง ทอง เปน ต้น.
      ตู้ หนังสือ (230:6.2)
               เปน ชื่อ ตู้ ที่ สำหรับ ไส่ หนังสือ นั้น, เหมือน อย่าง ตู้ ลายรด น้ำ เปน ต้น.
      ตู้ ลาย กำ มะลอ (230:6.3)
               เปน ชื่อ ตู้ ที่ เขียน ลาย ด้วย น้ำ มัน, เหมือน อย่าง ลาย กำมะลอ เปน ต้น.
      ตู้ ลาย รด น้ำ (230:6.4)
               เปน ชื่อ ตู้ ที่ เขิยน แล้ว ปิด ทอง เอา น้ำ รดให้ พอง ขึ้น เปน ลวด ลาย ต่าง ๆ นั้น.
เต (230:7)
         ว่า ท่าน, เหมือน อย่าง คา เขา พูด กัน ว่า, ท่าน จะ ไป ไหน เปน ต้น.
      เตโช (230:7.1)
               เปน ชื่อ ริทธ์ กระทำ ให้ รอน, เหมือน อย่าง เตโช ธาตุ ไฟ กระทำ ให้ เนื้อ กาย อบอุ่น อยู่ นั้น.
แต่ (230:8)
         เปน ชื่อ กาลเวลา ที่ ตั้ง ต้น ตั้ง เดิม มา นั้น, เหมือน อย่าง เขา ถาม กัน ว่า แต่ ครั้ง ไหน.

--- Page 231 ---
      แต่ กี้ (231:8.1)
               คือ แต่ ก่อน นั้น, แต่ ทุก วัน นี้ เขา ใช้ กัน เหมือน อย่าง บัด เดี๋ยว นี้.
      แต่ ก่อน (231:8.2)
               คือ เวลา ก่อน ฤๅ คั้รง นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ร่า, คั้รง ก่อน มี ฤๅ ไม่.
      แต่ เดิม (231:8.3)
               คือ แต่ แรก นั้น, เหมือน อย่าง เขา ถาม กัน ว่า แต่ แรก เปน อย่าง ไร.
      แต่ เท่า นี้ (231:8.4)
               คือ คำ พูด บอก ว่า ของ นี้ มี แต่ เท่า นี้.
      แต่ นี้ (231:8.5)
               คือ ต่อ เวลา นี้ นั้น, เหมือน อย่าง คำ เขา พูด กัน ว่า, ต่อ นี้ ไป ไม่ มี อีก แล้ว.
      แต่ ไหน (231:8.6)
               คือ ที่ ไหน นั้น, เหมือน อย่าง คำ เขา พูด กัน ว่า เจ้า ใด้ มา แต่ ที่ ไหน.
      แต่ ไหน ๆ มา (231:8.7)
               คือ เปน คำ พูด บอก ว่า, ของ นี้ มี แต* ไหน ๆ มา แล้ว, คือ ของ มี อยู่ แต่ บูราณ มา นั้น.
      แต่ นั้น (231:8.8)
               คือ ที่ นั้น ฤๅ คั้รง นั้น ๆ, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า ที่ นั้น ไม่ มี ฤๅ คั้รง นั้น ไม่ มี.
      แต่ บูราณ (231:8.9)
               คือ แต่ ก่อน นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, ย่อม มี มา แต่ ก่อน.
      แต่ แรก (231:8.10)
               เปน ชื่อ แต่ เดิม นั้น, เหมือน อย่าง พูด กัน ว่า แต่ เดิม เปน อย่าง ไร.
แต่ ว่า (231:1)
         คือ ถ้า ว่า นั้น เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, แต่ ว่า กลัว จะ ไม่ สม คิด
แต๋ (231:2)
         คือ พูด เปน ภาษา จีน แต๋ นั้น ว่า ใบชา.
แต้ (231:3)
         เปน ชื่อ การ วิ่ง* เต็ม กำลัง ฤๅ หวีผม ไปล่ แปล้ มา ข้าง หลัง นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, วิ่ง แต้ ไป แล้ว.
ไต (231:4)
         ปรวด, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เปน ก้อน, เปน เม็ด แขง อยู่ ผาย ใน นั้น, เหมือน อย่าง หัว ฝี เปน ไต แขง อยู่ นั้น.
      ไต ไก่ (231:4.1)
               เปน ชื่อ สิ่ง ที่ สำหรับ รับ อาหาร เปน ก้อน แขง อยู่ ไน ท้อง ไก่, เหมือน อย่าง ไต เป็ด.
      ไต แขง (231:4.2)
               เปน ชื่อ สิ่ง ที่ เปน ก้อน แขง อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง ฝี* ที่ แขง เปน ปรวด อยู่.
      ไต ปลา (231:4.3)
               เปน ชื่อ สิ่ง ที่ เปน ไต แขง อยู่ ใน ท้อง ปลา, เหมือน อย่าง ไตปลา ทู ที่ พวก ไท กิน.
ไต่ (231:5)
         เดิร, อาการ ที่ เดิร ไป บน ที่ สูง ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คน เดิร ไต่ ตะ พาน.
      ไต่ เต้า (231:5.1)
               คือ เดิร ไป ตาม ทาง, เหมือน คน เดิร ทาง ไกล เปน ต้น.
      ไต่ ตภาน (231:5.2)
               คือ เดิร ไป บน ตภาน, เรียก ว่า ไต่ เพราะ ต้อง ค่อย ๆ เดิร ไป ด้วย กลัว จะ พลาด ตก นั้น
      ไต่ ไม้ (231:5.3)
               คือ เดิน ไป บน ลำ ไม้ นั้น, เหมือน* อย่าง คน เดิน ไต่ ราว
      ไต่ ไป (231:5.4)
               คือ อาการ ที่ เดิร ไป บน หลัง ไม้ นั้น, เหมือน* อย่าง กะรอก กะแต เปน ต้น นั้น.
      ไต่ มา (231:5.5)
               คือ อาการ ที่ เดิร มา บน ลำ ไม้ นั้น, เหมือน อย่าง หมู่ มด ไต่ ไม้ นั้น.
      ไต่ ลวด (231:5.6)
               เปน ชื่อ เดิร ไต่ ไป บน เส้น ลวด นั้น, เหมือน อย่าง หวก ไม้ สูง.
ใต้ (231:6)
         เบื้อง ต่ำ*, ข้าง ล่าง, คือ ทิศ ฝ่าย ไต้ นั้น, เหมือน อย่าง ทักษิณ นั้น.
      ไต้ คบ (231:6.1)
               เปน* ชื่อ ของ สำหรับ จุด ไฟ ให้ สว่าง, ทำ ด้วย น้ำ มัน ยาง เหมือน* อย่าง คบ เพลิง.
      ไต้ ถุน (231:6.2)
               คือ ที่ ไต้ พื้น เรือน เปน ต้น, ลง ไป จน ถึง ดิน นั้น.
      ไต้ เทียน (231:6.3)
               คือ ไต้ ที่ ทำ เปน ลำ เล็ก ๆ เหมือน อย่าง ลำ เทืยน.
      ไต้ เสม็ด (231:6.4)
               เปน ชื่อ ไต้ ที่ ทำ ด้วย เปลือก เสม็ด นั้น, เหมือน ย่าง ไต้ มา แต่ ชุม พอน นั้น.
      ใต้ น้ำ (231:6.5)
               คือ ที่ เบื้อง ต่ำ แต่ หลัง น้ำ ลง ไป จน ถึง ดิน นั้น, อย่าง หนึ่ง ที่ ลง ไป ข้าง ฝ่าย ทะเล เปน ต้น.
      ใต้ ลม (231:6.6)
               คือ ที่ อยู่ ฝ่าย ใต้ ลม, เหมือน ลมพัด มา แต่ ทิศ เหนือ ที่ อยู่ ฝ่าย ข้าง ทิศ ใต้ นั้น ว่า ใต้ ลม.
โต (231:7)
         เติบ, ใหญ่, เขื่อง, คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ไม่* เล็ก นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า ใหญ่
      โต ขึ้น (231:7.1)
               คือ รูป คน ฤๅ สัตว ฤๅ ต้น ไม้ แต่ แรกเกิด แรกงอก ขึ้น ยัง เล็ก อยู่ คั้รน นาน มา ใหญ่ ขึ้น นั้น.
      โต มร (231:7.2)
               ว่า หอก ซัด นั้น เอง เหมือน อย่าง หอก หลัง ม้า.
      โต ใหญ่ (231:7.3)
               คือ ของ เช่น ว่า มัน จำเริญ ขึ้น นั้น, เหมือน อย่าง คำ ว่า จำเริญ ใหญ่ โต ขึ้น.
โต้ (231:8)
         ต้าน, ต่อ, ตอบ, ทวน, คือ ตอบ ฤๅ ทวน นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, กล่าว คำ โต้ แย้ง กัน.
      โต้ กัน (231:8.1)
               คือ พูด ตอบ กัน ไป ตอบ กัน มา นั้น, เหมือน อย่าง คน เถืยง กัน.

--- Page 232 ---
      โต้ ความ (232:8.2)
               เปน ชื่อ คำ ที่ คน เปน ความ เถียง โต้ ตอบ กัน นั้น, เหมือน อย่าง คน วิวาท กัน.
      โต้* ตอบ (232:8.3)
               คือ ความ ที่ คน เถียง กัน ไป มา ไม่ ตก ลง กัน, เหมือน อย่าง คน ตี ศีปาก กัน นั้น.
      โต้ ใบ (232:8.4)
               คือ การ ที่ คน กลับ ใบ เรือ ทวน ลม ไว้ นั้น, เหมือน อย่าง แล่น เสี่ยด แล้ว กัลบ เรือ นั้น.
      โต้* ลม (232:8.5)
               คือ ทวน ลม นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า แจว เรือ โต้ ลม นัก.
เตา (232:1)
         เชิง กราน, เปน ชื่อ ที่ สำหรับ ติด ไฟ นั้น, เหมือน อย่าง เตา ที่ ครัว สำหรับ หุง เขา กิน.
      เตา กระเบื้อง (232:1.1)
               คือ เตา ที่ สำหรับ ติด ไฟ เผา กระเบื้อง, เหมือน อย่าง เตา ม่อ เปน ต้น นั้น.
      เตา ขนม (232:1.2)
               คือ เตา ไฟ ที่ สำหรับ ทำ ขนม นั้น, เหมือน อย่าง เตา ขนม ปัง.
      เตา น้ำ ตาล (232:1.3)
               คือ เตา ที่ สำหรับ เคี่ยว น้ำ ตาน, เหมือน อย่าง เตา ที่ โรง น้ำ ตาน ซาย นั้น.
      เตา น้ำ อ้อย (232:1.4)
               คือ เตา ที่ สำหรับ เคี่ยว น้ำ อ้อย นั้น.
      เตา ปูน (232:1.5)
               คือ เตา ที่ สำหรับ เผา ปูน นั้น.
      เตา ไฟ (232:1.6)
               คือ เตา ที่ สำหรับ ก่อ ไฟ นั้น, เมือน อย่าง เตา ที่ สำ หรับ หุง เข้า กิน.
      เตา ทอง (232:1.7)
               คือ เตา ที่ สำ หรับ ทำ ทอง นั้น.
      เตา ม่อ (232:1.8)
               คือ เตา ที่ สำหรับ เผา ม่อ นั้น.
      เตา เหล็ก (232:1.9)
               คือ เตา ที่ สำหรับ ตี เหล็ก นั้น.
      เตา หล่อ (232:1.10)
               คือ เตา ที่ สำหรับ หล่อ สิ่ง ของ ต่าง ๆ.
      เตา สูบ (232:1.11)
               คือ เตา ที่ ต้อง ใช้ สูบ ติด ไฟ.
      เตา ไห (232:1.12)
               คือ เปน ชื่อ ตำ บล บ้าน อัน หนึ่ง, อยู่ ใน แขวง เมือง พิศณุ โลกย์ นั้น.
      เตา อิฐ (232:1.13)
               คือ เปน ชื่อ เตา ที่ เผา อิฐ นั้น. สาม โคก เปน ต้น.
เต่า (232:2)
         เปน ชื่อ สัตว อย่าง หนึ่ง อยู่ ใน น้ำ บ้าง บนบก บ้าง, มี กระ ดอง แขง เหมือน กะดูก หุ้ม อยู่ นอก เนื้อ, สี่ ตีน มี หัว หด เข้า ออก ได้.
      เต่า เกียจ (232:2.1)
               เปน ชื่อ ผัก อย่าง หนึ่ง, ต้น แล ใบ ค้ลาย กัน กับ อุตตะพิศม์, มัก ขึ้น อยู่ ตาม ริม คลอง ใช้ ทำ ยา.
      เต่า ขี ผึ้ง (232:2.2)
               เปน ชื่อ เต่า อย่าง หนึ่ง, กระ ดอง มัน อ่อน คล้าย ๆ ขี ผึ้ง, รูป ร่าง มัน คล้าย กัน กับ เต่า นา.
      เต่า จันละเม็ด (232:2.3)
               เปน ชื่อ เต่า อย่าง หนึ่ง*, ตัว โต อยู่ ใน น้ำ ตาม เกาะ ทะเล, ไข่ กลม ๆ อ่อน นุ่ม นิ่ม กิน ดี.
      เต่า ดำ (232:2.4)
               เปน ชื่อ เต่า อย่าง หนึ่ง, ศี ดำ ตัว โต ด้วย, มัก อยู่ ตาม ชาย ทุ่ง ชาย ป่า, เหมือน เต่า หวาย, แกง กิน ใด้.
      เต่า ตานุ (232:2.5)
               เปน ชื่อ เต่า อย่าง หนึ่ง, ตัว โต มัก อยู่ ตาม ชาย หาด ฝ่าย เนือ, ไข่ มัน อ่อน นุ่ม นิ่ม เหมือน ไข่ จัน ละ เม็ด.
      เต่า นา (232:2.6)
               เปน ชื่อ เต่า อย่าง หนึ่ง ตัว เล็ก ๆ มัน อยู่ ตาม ทุ่ง นา ไข่ มัน ริ ๆ เหมือน เม็ด ขนุน กิน ดี หนัก.
      เต่า เหม็น (232:2.7)
               เปน ชื่อ เต่า อย่าง หนึ่ง, ตัว ดำ โต กลิ่น เหม็น สาบ, มัก อยู่ ตาม ชาย ทุ่ง ชาย ป่า, เหมือน เต่า หวาย.
      เต่า หวาย (232:2.8)
               เปน ชื่อ เต่า อย่าง หนึ่ง, ตัว โต ดำ เหมือน อย่าง เต่า เหม็น, มัก อยู่ ตาม ชาย ทุ่ง ชาย ป่า กิน ผัก สด.
      เต่า ร้าง (232:2.9)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง คล้าย ๆ ต้น หมาก, ลูก กลม ๆ เปน พวง ห้อย อยู่ เม็ด ใน คัน หนัก.
      เต่า หับ (232:2.10)
               เปน ชื่อ เต่า อย่าง หนึ่ง*, กระ ดอง มัน เปน ฝา หับ ปิด หัว ปิด ท้าย ได้ ตัว เล็ก เหมือน เต่า นา.
เต้า (232:3)
         เปน ชื่อ ไม้ อย่าง หนึ่ง, แบน เปน เหลี่ยม สำหรับ ใส่ รู ปลาย เสา รับ เชิง กลอน เปน ต้น.
      เต้า หู้ (232:3.1)
               เปน ชื่อ ของ จีน, ทำ ด้วย ถั่ว เปน ของ กิน กับ เข้า, เขา ทำ แกง ร้อน เปน ต้น นั้น.
      เต้า ตาน เฉาะ (232:3.2)
               เปน ชื่อ เนื้อ ใน เล็ด ตาน ลอ่น ๆ ที่ เขา เฉาะ ไว้ เปน เต้า โคก ๆ อยู่ นั้น.
      เต้า น้ำ (232:3.3)
               เปน ชื่อ ของ สำหรับ ไส่ น้ำ, ที่ เจ้า แล ขุนนาง ใช้ เปน เครื่อง ยศ ทำ ด้วย เงิน บ้าง ทอง บ้าง, เหมือน รูป ผล น้ำ เต้า นั้น.
      เต้า นม (232:3.4)
               เปน ชื่อ ถาน นม ทั้งสอง ซ้าย* ขวา นั้น, เพราะ เหมือน* อย่าง ลูก น้ำ เต้า เปน ต้น นั้น.
      เต้า ปูน (232:3.5)
               เปน ชื่อ เต้า ที่ สำหรับ ใส่ ปูน นั้น, เหมือน อย่าง เต้า ที่* ใส่ ปูน เชี่ยน หมาก พวก ไท.
ตำ (232:4)
         โขลก, บุบ, ทิ่ม, คือ การ ที่ เอา สิ่ง ของ ใส่ ลง ใน ครก โขลก ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน ตำ เข้า.

--- Page 233 ---
      ตำ เข้า (233:4.1)
               คือ เอา เข้า ใส่ ลง ใน ครก แล้ว เอา สาก ยก ขึ้น แล้ว ถิ้ม ลง ที่ เม็ด เข่า ใน ครก ให้ เปลือก ออก นั้น.
      ตำ ตา (233:4.2)
               คือ การ ที่ สิ่ง ของ ทิ่ม แทง เข้า ไป ใน ลูก ตา นั้น.
      ตำ ตาก (233:4.3)
               เปน ชื่อ การ พิธี อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง การ แรก นา นั้น.
ตำหนัก (233:1)
         เปน ชื่อ เรือน ที่ อยู่ แห่ง เจ้า ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน อย่าง เรือน ขุนนาง.
ตำแหน่ง (233:2)
         เปน ชื่อ ที่ อยู่ ฤๅ ตำบล แล กระ ทรวง นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า ตำ แหน่ง ท่าน อยู่ ใหน.
ตำนาน (233:3)
         คือ เรื่อง นิทาน ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน อย่าง เรื่อง ราว ต่าง ๆ
ตำนูน (233:4)
         ทำนูน, คือ เปน ชื่อ กฎหมาย อัน หนึ่ง, สำหรับ ประทับ ฟ้อง ให้ ถูก ต้อง ตาม กระทรวง นั้น.
ตำเนิน (233:5)
         คือ อาการ ที่ เดิร ไป นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า ทรง พระราช ตำเนิน.
ตำแบ (233:6)
         เปน ชื่อ ปลา ช่อน ตัว เล็ก ๆ จะ ทำ ให้ เปน ริ้ว ไม้ ได้, เขา แล่ แล้ว, ใส่ เกลือ ตาก แดด ไว้ ทั้ง ตัว นั้น เรียก ปลา ตำ แบ.
ตำบล (233:7)
         คือ ที่ นั้น เหมือน อย่าง เขา ถาม กัน ว่า, ตำ บล บ้าน อยู่ ที่ ไหน.
ตำ แป้ง (233:8)
         คือ การ ที่ เอา เข้า ที่ แช่ แล้ว ใส่* ครก ลง ตำ ให้ เลอียด เปน แป้ง ไป นั้น.
ตำ หมาก (233:9)
         คือ การ ที่ เอา ปูน พลู ใส่ ลง ใน ครก แล้ว เอา สาก โขลก ลง ให้ แลก กิน เพราะ แก่ ฟัน เคี้ยว ไม่ ออก.
ตำแย (233:10)
         เปน ชื่อ พวก ผัก อย่าง หนึ่ง, ต้น เล็ก ๆ มี พิศม์ คัน หนัก เหมือน อย่าง ลูก เต่าร้าง. อนึ่ง การ ที่ ช่วย* หญิง ออก ลูก หมอ นั้น เรยีก ว่า หมอ ตำแย.
ตำรา (233:11)
         เปน ชื่อ หนังสือ ที่ เขียน เรื่อง ราว ความ รู้ วิชา ต่าง ๆ เหมือน อย่าง ตำรา มอ ตำรา โหร,
ตำหริ (233:12)
         เปน ชื่อ ความ คิด นั้น, เหมือน อย่าง เฃา พูด กัน ว่า, ทรง พระราช ตำหริ เปน ต้น.
ตำรงค์ (233:13)
         คือ การ ที่ ทรง อยู่ ฤๅ ตั้ง อยู่ เสมอ นั้น, เหมือน อย่าง ทำ มา หา กิน ภอ ดำรง กาย อยู่ นั้น.
ตำรัส (233:14)
         คือ ความ ที่ ตรัส นั้น, เหมือน อย่าง* คำ ว่า มี พระ บรมราชโอง การ ตัรส เหนือ เก้ลา.
ตำรวจ (233:15)
         เปน ชื่อ ตำ แหน่ง พวก ที่ ถือ หอก, ถือ วาย เอว คาด รัดคด สำหรับ นำ เสด็จ นั้น.
ตำเรีย (233:16)
         เปน เถาวัน อย่าง หนึ่ง, ใบ หนา โต เท่า ฝ่า มือ, เลื้อย อยู่ ตาม ต้น ไม้ สำหรับ ใช้ ทำ ยา.
ตำหรับ (233:17)
         คือ ตำ รา นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า ตำ หรับ ตำรา มี มาก เปน ต้น นั้น.
ตำหนิะ (233:18)
         คือ ความ ติเตียน ว่า, ตำ* นิ นั้น เปน คำ สูง เพราะ เปน คำ ท่าน ผู้ ใหญ่.
ตำลึง (233:19)
         เปน ชื่อ ผัก อย่าง หนึ่ง, เปน เถา ลูก คุก ศี แดง ยอด อ่อน, ต้ม กิน ได้. อนึ่ง เงิน* สี่ บาท นั้น.
ต่ำ (233:20)
         เตีย, ถ่อม, คือ ไม่ สูง ลด ลง นั้น, เหมือน อย่าง คำ เขา พูด กัน ว่า จง อุษ่าห์ ต่ำ เตี้ย เงี่ย หัว.
      ต่ำ กระกูล (233:20.1)
               เปน ชื่อ กระกูล ไม่ สูง กระกูล ต่ำ นั้น, เหมือน อย่าง กระกูล ราษฎร ไพ่ร พล.
      ต่ำ ช้า (233:20.2)
               คือ เปน คน ต่ำ มา ช้า นาน, เหมือน อย่าง พวก ลูก ข้า ลูก ครอก ฤๅ พวก ตะพุ่น.
      ต่ำ ชาติ (233:20.3)
               คือ ความ ที่ คน บัง เกิด ใน ชาติ ต่ำ นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ เกิด ใน พวก ทาษ ฉะเลย.
      ต่ำ ตน (233:20.4)
               คือ การ ที่ คน ประพฤษดิ์ ตำ* ตัว นั้น, เหมือน อย่าง คน เกิด ใน กระกูล สูง แต่ ทำ ถ่อม ตัว นั้น.
      ต่ำ เตี้ย (233:20.5)
               เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ไม่ สูง นั้น, เหมือน อย่าง คน ค่อม ฤๅ ไก่ เตี้ย แล เรือน กะถ้อม เปน ต้น.
      ต่ำ ตัว (233:20.6)
               คือ ตัว ต่ำ ฤๅ ประพฤษ ต่ำ ตน นั้น, เหมือน อย่าง คน กะต่อม ฤๅ การ เจียม ตัว ถ่อม ตัว,
      ต่ำ เนื้อ (233:20.7)
               คือ ความ ที่ ต่ำ นั้น, เหมือน อย่าง ทอง คำ เนื้อ สี่ เนื้อ ห้า ฤๅ พวก คน จน เปน ต้น นั้น.
      ต่ำ ใจ (233:20.8)
               คือ ความ โทมนัศ ความ น้อย* ใจ นั้น, เหมือน อย่าง คำ พูด ว่า อย่า น้อย เนื้อ ต่ำ ใจ เลย.
      ต่ำ ศักดิ์ (233:20.9)
               คือ ความ ที่ เปน คน วาศนา น้อย นั้น, เหมือน อย่าง พวก ราษฎร ทั้ง ปวง.
ต้ำ (233:21)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ต้ำ ๆ (233:21.1)
               คือ เปน เสียง ที่ มัน ดัง อย่าง นั้น, เหมือน อย่าง เสียง กลอง ตัว ผู้ เปน ต้น.

--- Page 234 ---
      ต้ำ ตึง (234:21.2)
               คือ เสียง มัน ย่อม* ดัง อย่าง นั้น, เหมือน อย่าง เสียง* มะพ้ราว ห้าว หล่น.
      ต้ำ ผาง (234:21.3)
               คือ เสียง มัน ดัง อย่าง นั้น, เหมือน อย่าง กระ ดาน ตก ลง ใน น้ำ.
      ต้ำ ผึง (234:21.4)
               คือ เสียง มัน ดัง อย่าง นั้น, เหมือน อย่าง คน เอา กำ ปั้น ทุบ หลัง กัน ลง.
      ต้ำ โผง (234:21.5)
               คือ เสืยง มัน ดัง อย่าง นั้น, เหมือน อย่าง เสียง ไม้ ไผ่ แตก เมื่อ ไฟ ไหม้.
      ต้ำ เฮือก (234:21.6)
               คือ เสืยง* มัน ย่อม ดัง อย่าง นั้น, เหมือน อย่าง เรือ เกย ขอน.
ตะ (234:1)
         เปน ชื่อ การ กระ ทำ อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง ตะ เงิน ตะ ทอง นั้น คือ เอา เงิน ท่า ที่ เล็ก ฦๅ เอา ทอง ทา เงิน เปน ต้น
ตะกี้ (234:2)
         คือ แต่ ก่อน นั้น, เปน คำ พวก ชาว เมือง โคราช, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, เมื่อ ตะ กี้ นั้น,
ตะกุ ตะกะ (234:3)
         เปน ชื่อ ที่ ไม่ ราบ ไม่ เสมอ นั้น, เหมือน อย่าง หน ทาง ลุ่ม ๆ ดอน ๆ มี ก้อน หิน แล หัว ระแหง เปน ต้น.
ตะกู (234:4)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง แตก กิ่ง เปน ชั้น ๆ, ดู เหมือน ฉัตร์ ดอก กลม ๆ, เหมือน ดอก กะทุ่ม.
ตะโก (234:5)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ต้น โต ลูก กลม ๆ, เท่า ไข่ เป็ด กิน รศหวาน มี อยู่ ตาม แถว สวน.
ตะโค้ (234:6)
         เปน ชื่อ ขนม หวาน อย่าง หนึ่ง, ทำ ด้วย ถั่ว* บ้าง แห้ว บ้าง เข้า โพช บ้าง, กวน เข้า กับ น้ำ ตาน นั้น.
ตะกุก ตะกัก (234:7)
         คือ ความ ที่ เดิร มัก สดุด หัว ระ แหง นั้น, เมือน อย่าง หน ทาง ไม่ เสมอ.
ตะกละ ตะกลาม (234:8)
         คือ ความ ว่า คน ที่ เปน ตะ กละ มี อยู่ จำ พวก หนึ่ง, คน นั้น คั้รน เพลา กลาง คืน มี ผี มัน มา เข้า สิง ใน ตัว แล้ว ต้อง เที่ยว ไป กิน อาจม สิ่ง ที่ โส โครก, ตะ กลาม เหมือน สุ นัข, มัน เหน อาหาร มัน กิน โดย เร็ว นั้น.
ตะโกก (234:9)
         เปน ชื่อ ปลา อย่าง หนึ่ง, มี เกล็ด ค้ลาย กับ ปลา บ้า เหมือน อย่าง ที่ เขา ทำ ปลา ย่าง นั้น.
ตะกาง (234:10)
         เปน ชื่อ ของ ไช้ อย่าง หนึ่ง, เปน สอง เงียง สำ หรับ ฬ่อ จอเข้, เหมือน อย่าง ฃอ สำหรับ เกี่ยว หมู นั้น.
ตะเกียง (234:11)
         เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ สำหรับ ใส่ น้ำ มัน ตาม ไฟ ให้ แสง สว่าง, เหมือน อย่าง ตาม โคม.
ตะกูด (234:12)
         เปน ชื่อ สิ่ง ฃอง สำหรับ ถือ ท้าย เรือ ใหญ่ ขึ้น เหนือ นั้น, เหมือน อย่าง หาง เสือ ตะ เภา เปน ต้น
ตะกวด (234:13)
         เปน ชื่อ สัตว สี่ ท้าว ตัว มัน ยาว เหมือน จระเข้ ตัว มัน มัน เล็ก ๆ กว่า จอระเข้, มัน อยู่ น้ำ ก็ ได้ อยู่ บก ก็ ได้ ที่ ป่า ริม บ้าน บ้าง.
ตะโกน (234:14)
         คือ การ ที่ ร้อง เรียก กัน ด้วย กำลัง เสียง ดัง นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ อยู่ คน ละ ฟาก แม่ น้ำ, เรียก กัน ให้ ข้าม รับ.
ตะกอน (234:15)
         เปน ชื่อ ละออง ที่ เกรอะ เปน โคลน จม อยู่* ใต้ น้ำ, เหมือน อย่าง ตะกอน ที่ จม อยู่ ก้น ตุ่ม เปน ต้น.
ตะกุม ตะกัม (234:16)
         คือ เปน เสียง ดัง หย่าง นั้น, เหมือน อย่าง เสียง คน เดิร เกือก ฤๅ เต่า คลาน.
ตะเกียบ (234:17)
         เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ ต้อง การ* ใช้ เปน คู่ นั้น, เหมือน อย่าง ตะเกียบ ที่ พวก เจ๊ก กิน เข้า, ฤๅ ไม้ เสา ตะ เกียบ.
ตะกาย (234:18)
         คือ อาการ ที่ คุ้ย ฤๅ ข่วน นั้น, เหมือน อย่าง หมา มัน ตะกาย ดิน ฤๅ แมว ตะกาย ลอง เล็บ.
ตะเกียก ตะกาย (234:19)
         คือ การ ที่ คุ้ย พลาง เหนี่ยว พลาง นั้น เหมือน อย่าง หมา ตก น้ำ จะ ปีน ขึ้น บน เรือ.
ตะกุย (234:20)
         เปน ชื่อ การ ที่ ขุด คุ้ย นั้น, เหมือน อย่าง หมา ขุด คุ้ย รู หนู ฤๅ คน ข่วน ข่า กัน.
ตะเกีย (234:21)
         เปน ชื่อ ตึก กลม ๆ อย่าง หนึ่ง, มี อยู่ ที่ วัด พวก แขก เหมือน อย่าง ตะเกี่ย แขก ที่ ปาก คลอง, ตะเคียน เปน ต้น นั้น.
ตะกั่ว (234:22)
         ชิน, ดีบุก, เปน ชื่อ ดีบุก ที่ ถลุง ออก จาก แร่ นั้น, เหมือน อย่าง ตะ กั่ว ขาว ตะ กั่ว ดำ
      ตะกั่ว เกรียบ (234:22.1)
               คือ ตะกั่ว แขง ศี ขาว คล้าย ๆ กัน กับ เงิน, เมื่อ ขบลง เสียง มัน ดัง เกรียบ ๆ นั้น.
      ตะกั่ว ทุ่ง ตะ กั่ว ป่า (234:22.2)
               เปน ชื่อ เมือง หนึ่ง* อยู่ ฝั่ง ทเล ตะวัน ตก ใก้ล กับ เมือง ไชย ยา นั้น.
      ตะกั่ว นม (234:22.3)
               เปน ชื่อ ตะกั่ว อ่อน ที่ ตำ นั้น, เขา หลอม เปน ก้อน ๆ ไว้ ดู เหมือน อย่าง นม.
ตะเกะ ตะกะ (234:23)
         คือ อาการ แห่ง ตอ ฦๅ หลัก ที่ ปัก ไว้ ไม่ เรียบ เรียง นั้น, เหมือน อย่าง ตอ ที่ เขา ล้ม ไร่ เปน ต้น.

--- Page 235 ---
ตะกอ (235:1)
         เปน ชื่อ ด้าย ที่ เขา ควบ แล้ว เก็บ เปน ตับ ๆ สำ หรับ ร้อย เส้น ด้าย ให้ ขบ กัน, เมื่อ จะ ธอ หูก นั้น. อนึ่ง คน ฤๅ สัตว ที่ พึ่ง จะ รุ่น หนุ่ม, เหมือน อย่าง หญิงชาย ที่ มี อายุ ได้ สิบ สี่ ปี สิบ ห้า ปี นั้น.
ตะกร้า (235:2)
         เปน ชื่อ เครื่อง สำหรับ ไช้ อย่าง หนึ่ง*, สาน ด้วย ตอก เหมือน อย่าง ตะก้รา ล้าง ปลา เปน ต้น.
ตะไกร (235:3)
         เปน ชื่อ เครื่อง สำหรับ ใช้ หลาย อย่าง ทำ ด้วย เหล็ก เหมือน อย่าง ตะไกร ตัดผม ตะไกร นีบ หมาก ตะไกร ตัด ผ้า.
ตะแกรง (235:4)
         เปน ชื่อ ของ สำหรับ ไช้ ร่อน เข้า บ้าง ร่อน รำ บ้าง, ช้อน ปลา บ้าง, เหมือน อย่าง กะโล นั้น.
ตะโกรง (235:5)
         คือ อาการ ที่ ทะเยอ ทะยาน นั้น, เหมือน อย่าง คน ไม่ รู้ ประมาณ เหน เขา เปน ขุนนาง ก็ ดิ้น รน, หยาก เปน ขุนนาง บ้าง.
ตกรุด (235:6)
         เปน ชื่อ เครื่อง สำหรับ แต่ง ตัว, ทำ ด้วย ทอง คำ บ้าง เงิน บ้าง ทอง แดง บ้าง ตะ กั่ว บ้าง, เหมือน อย่าง ที่ พวก ไป ทับ ผูก กัน อันตราย นั้น
ตะกรน (235:7)
         เปน ชื่อ ของ สำหรับ สอย ผลไม้ ทำ ด้วย ไม้ ไผ่, คล้าย ๆ กัน กับ ตะกร่อ สอย มะม่วง นั้น.
ตะกัรน (235:8)
         เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ หยด ย้อย ออก จาก เหล็ก, เปน ตะคระ แขง อยู่ ก้น เตา, เหมือน ก้อน สิลา แลง เปน ต้น.
ตะกัรบ (235:9)
         เปน ชื่อ หญ้า อย่าง หนึ่ง กอ เล็ก ๆ ขึ้น อยู่ ทุ่ง นา. อนึ่ง เปน ชื่อ ปลา ตัว เล็ก ๆ, เหมือน อย่าง ปลา แป้น นั้น.
ตะกุรม (235:10)
         เปน ชื่อ* นก อย่าง หนึ่ง ตัว โต สูง, หัว นั้น ล้าน, กิน ปลาดิบ, อยู่* ตาม ทุ่ง นา โดย มาก.
ตะกรวย (235:11)
         ตะก้รา, เปน ชื่อ เครื่อง* ไช้ อย่าง หนึ่ง, สาน ด้วย เส้น ตอก ตา ห่าง ๆ เหมือน อย่าง เข่ง พลู เจ็ก.
ตะก้รอ (235:12)
         ตะกรน, เปน ชื่อ ของ เล่น อย่าง หนึ่ง, สาน ด้วย หวาย เปน ลูก กลม ๆ, สำ หรับ โยน ประ เตะ ไป เตะ มา นั้น.
ตะกี้ล ตะกลาม (235:13)
         ตะกละ ตะกลาม, คือ อาการ คน ไม่ มี อาชาไสย, เหมือน อย่าง คน โซ ที่ มัก กิน ฤๅ หมา ที่ ตะกละ.
ตะกละ (235:14)
         ชะมบ, คือ มัก กิน โลภ อาหาร เช็น คน โซ ที่ แย่ง กัน กิน* ฤๅ หมา ที่ แย่ง กัน กิน.
ตะกลาม (235:15)
         ลุกลน, คือ ความ ที่ ลุก ลน ไม่ รู้ จัก ประมาณ นั้น, เช่น หมา หิว เหน ของ กิน.
ตะเข้ (235:16)
         ลูก น้ำ, คือ สัตว์ สี่ ท้าว อย่าง หนึ่ง, ดุร้าย อยู่ ใน น้ำ. ตัว มัน เหมือน เหี้ย. อนึ่ง เครื่อง สำหรับ ลาก ไม้.
ตะโขง (235:17)
         เปน ชื่อ สัตว์ น้ำ อย่าง หนึ่ง, คือ ตะเข้ ที่ มัน โต เกิน ธรรมดา, คั้รน มี เขา แล้ว ก็ กลาย เปน ตะ โขง ไป นั้น.
ตะขบ (235:18)
         คือ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ต้น โต มี หนาม, ลูก โต เท่า กับ ผลมะขาม ป้อม, รศ เปี้รยว ๆ หวาน ๆ.
ตะฃาบ (235:19)
         เปน ชื่อ สัตว์ อย่าง หนึ่ง ตัว เท่า นิ้ว มือ ตีน มัน ประมาณ ศัก ร้อย หนึ่ง, มี พิศม์ ที่ เคี่ยว กัด ปวด.
ตะเฃบ (235:20)
         คือ สัตว อย่าง หนึ่ง, เหมือน ตะขาบ แต่ ตัว มัน เล็ก ๆ. อนึ่ง คือ ตะเฃ็บ ผ้า ที่ เขา เย็บ นั้น.
ตะครุบ ตะครับ (235:21)
         คือ อาการ กีริยา คน แย่ง ชิง ของ กัน, เมื่อ เขา ทิ้ง ทาน ลูก มนาว ใส่ เงิน ไว้ ข้าง ใน นั้น.
ตะค้า (235:22)
         เปน ชื่อ หวาย อย่าง หนึ่ง มา แต่ ปัาก ใต้, เหมือน หวาย พวก ตำรวจ ถือ นั้น.
ตะคาก (235:23)
         คือ กระ ดูก เหมือน เชิง กราน, ที่ สำหรับ ต่อ กัน กับ บั้น เอว นั้น.
ตะคอก (235:24)
         ตะวาด, สำราก, คือ เสียง ขู่ เช่น นั้น, คน ที่ ร้อง ตวาด โกรธ นั้น.
ตะแคง (235:25)
         เอีอง, คือ ตั้ง* ภาชน เปน ต้น เอา ข้าง ลง นั้น, ฤๅ คน นอน ตะแคง ฤๅ เอยีง เรือ เปน ต้น.
ตะคาด (235:26)
         เปน ชื่อ เส้น ใน กาย อัน หนึ่ง, ซึ่ง เข้า เรียก ว่า เส้น ปัด ตะคาด.
ตะคัน (235:27)
         คือ ของ ทำ ด้วย ดิน เปน รูป จาน เล็ก ๆ ที่ เขา ใส่ น้ำ มัน ตาม ปรา ทีป.
ตะค้าน (235:28)
         คือ เถา วัน อย่าง หนึ่ง รศ เผ็ด ร้อน สำหรับ ทำ อยา คลาย เถา พลู.
ตะเคียน (235:29)
         เปน ชื่อ ต้น* ไม้ อย่าง หนึ่ง ต้น โต สูง ที่ เขา เอา มา ทำ มำด* เรือ ยาว.
ตะคุ่ม (235:30)
         คือ ของ ที่ คน เหน ไม่ ชัด เหน ไม่ ถนัด นั้น, เหน คน เดิร มา แต่ ไกล มืด ๆ นั้น.
ตะไคร่ (235:31)
         ของ ศี เขียว ๆ ที่ เกิด ติด กับ ไม้ ใน น้ำ, ตะไค่ร ที่ ลำ เรือ.
ตะไค้ร (235:32)
         คือ ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง, ต้น เท่า นิ้ว มือ เปน กอ ใหญ่ กลิ่น หอม สำหรับ ใช้ เปน เครื่อง แกง.

--- Page 236 ---
ตะคระ (236:1)
         คือ สิ่ง ที่ กรุ คระ ติด กรัง อยู่ กับ ไม้, ฤๅ ตัว เพรียง ที่ จับ ท้อง ตะเภา.
ตะไค้ร น้ำ (236:2)
         เปน ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง มัก เกิด อยู่ ที่ ริม ฝั่ง น้ำ ถ้วม สูง สอก หนึ่ง ฤๅ สอง สอก, ลาง ที มัน เกิด ริม ชาย เกาะ ใบ มัน เหมือน ใบ ยิ โถ แต่ ยาว กว่า* ใบ ยิ โถ.
ตะครอง (236:3)
         ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, กิ่ง เปน หนาม ลูก กลม ๆ เหมือน อย่าง พุดซา กิน ฝาด มี อยู่ ป่า เหนือ.
ตะคุรบ (236:4)
         คือ การ กระโดด จับ สอง มือ นั้น, เช่น แมว ตะคุรบ หนู เปน ต้น.
ตะคริว (236:5)
         คือ โรค เส้น มัน ให้ ชัก มือ กำ ตีน กำ, เช่น คน ที่ เปน ไข้ ลงราก.
ตะเครียว (236:6)
         คือ ของ เขา ชุน เปน ตา เล็ก ๆ ทำ ย่าม ฤๅ ถุง, อย่าง หนึ่ง ที่ เขา ทำ ใส่ นอก ตลก บาด บวช นาค.
ตะค้รอ (236:7)
         สะค้รย*, ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ต้น โต สูง, ผน นั้น รศเปี้รยว เหมือน มะไฟ มี อยู่ ใน ป่า.
ตะไคล (236:8)
         ตไคร่, คือ ของ เปน เลือก ลื่น ๆ เกิด ใน น้ำ ติด อยู่ ที่ ไม้ ฤๅ ตุ่ม เปน ต้น.
ตะเฆาะ ตะเฆะ (236:9)
         คือ ถ้อย คำ เสียด สี ทิ่ม ตำ กัน, คน ค่อน ว่า เสียบ แทง ให้ คน อื่น* เจบใจ.
ตะโหงก (236:10)
         คือ ไม้ เขา ทำ เปน ง่าม สำหรับ ใส่ ฅอ คน โทษ. อนึ่ง คือ กาบ ทาง มะพ้ราว แห้ง ที่ หล่น ลง มา นั้น.
ตะหงอก (236:11)
         คือ กระ ดูก ที่ เนื้อ หุ้ม เปน ปุ่ม, ตรง ขา หน้า ขึ้น ไป ที่ ต้น ฅอ นั้น. เหมือน อย่าง ตะหงอก งัว แล ควาย.
ตะเง้า ตะงอด (236:12)
         คือ อาการ คน โกรธ บ่น ต่าง ๆ นั้น, เหมือน อย่าง บ่าว ที่ นาย ใช้, มัน ไม่ ชอบ ใจ ทำ ตาม, มัน บ่น นั้น.
ตะงก ตะงิ่น (236:13)
         คือ ความ กัลว ตัว สั่น ประ หม่า พูด จา ถลำ ถลาก ไป นั้น.
ตะโงน* (236:14)
         ตะโกน, คือ ร้อง เรียก ด้วย เสียง ดัง หนัก เหมือน อย่าง คน อยู่ คน ละฟาก แม่ น้ำ ตะโกน เรียก กัน เปน ต้น นั้น.
ตะงิด ๆ (236:15)
         คือ กลิ่น หอม ฤๅ เหมน น่อย ๆ. อนึ่ง ไม่ เหมน กล้า นัก นั้น ว่า เหมน ตะงิด ๆ หอม ตะงิด ๆ นั้น.
ตะงุด (236:16)
         ตะงิด, ใจ คน ที่ มัก โกรธ เปน คน ใจ น้อย, ขัด เคือง หนิด น่อย ก็ โกรธ ตะงุด ตะงิด.
ตะหง่าน (236:17)
         ผะหง่าน, คือ สิ่ง* ของ ทั้ง ปวง ที่ สูง ลอย อยู่, ภู เขา สูง ฤๅ พระ ปราง สูง ว่า สูง ตะหง่าน.
ตะงอย (236:18)
         ชะงอย, คือ ที่ สุด แห่ง* ปลาย ปาก นก ทั้ง ปวง, ฤๅ ที่ สุด แห่ง งวง ช้าง เปน ต้น.
ตะงัว (236:19)
         ตะเงีย, คือ อาการ คน เมา ฤๅ ง่วง หงา* เหาว นอน หนัก, เช่น คน เมา เหล่า แล มัว นอน.
ตะเงอะ (236:20)
         ตะงะ, คน เศอะศะ, คือ อาการ ตื่น* ตก ใจ เช่น ชาว ป่า ฤๅ ชาง บ้าน นอก เข้า ไป ใน พระ ราชวัง, กัลว จ้าว แล ขุนนาง.
ตะโจ (236:21)
         ว่า หนัง หนัง* ที่ หุ้ม กาย คน แล ตัว สัตว ทั้ง ปวง นั้น.
ตะจะ กรรม ฐาน (236:22)
         คือ การ ที่ พิจารณา ผิว หนัง ให้ เหน เปน น่า เกลิยด นั้น อย่าง พระ โย คาวจร.
ตะติยะ (236:23)
         ที่ สาม, คำ รบ สาม, ว่า นับ ถึง ที่ สาม นั้น, เช่น ขุนนาง ตั้ง อยู่ ใน ตำ แหน่ง ที่ สาม* เปน ต้น นั้น.
ตะถาคต (236:24)
         พระพุทธเจ้า, คือ พระพุทธเจ้า อัน มา แล้ว ด้วย ประ การ นั้น, เหมือน อย่าง พระพุทธเจ้า ที่ มา บัง เกิด ตาม ธรรมดา นั้น
ตะทิด (236:25)
         เปน ชื่อ แห่ง หนังสือ มูล อย่าง หนึ่ง, แล เปน ชื่อ ไม้ อย่าง หนึ่ง ศี เหลือง ใช้ ทำ แจว.
ตะหนุ (236:26)
         เปน ชื่อ เต่า อย่าง หนึ่ง, ตัว โต ไข่ มัน อ่อน นุ่ม นิ่ม* อยู่ ตาม ชาย หาด เมือง เหนือ, เหมือน เต่า จัน ละ เม็ด.
ตะใน (236:27)
         เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง ปาก แขง สับ ไม้ ได้, เช่น นก หัว ขวาน เปน ต้น นั้น.
ตะหนะ (236:28)
         เปน ชื่อ เมือง แขก พรรค์ หนึ่ง จึ่ง เรียก เขา ว่า, แขก ตา นี.
ตะหนี่ (236:29)
         เหนียว, ขี ตืด, คือ ความ โลภ* หวง สิ่ง ของ ทอง เงิน ไว้ ไม่ ให้ ใคร นั้น.
ตะโหนฎ (236:30)
         ต้น ตาล, เปน ชื่อ ลูก บัว ขม ที่ ทุ่ง นา ฤๅ ต้น ตาล นั้น, เขา เรียก ว่า น้ำ ตาน ตะโหนฎ.
ตะนาว (236:31)
         เหมือง ทวาย, เปน ชื่อ บ้าน แล เมือง อัน หนึ่ง, เขา ย่อม ร้อง เรียก ว่า เมือง ตะนาว, บ้าน ตะนาว.
ตะนาย (236:32)
         เปน ชื่อ บ้าน แห่ง หนึ่ง.
ตะน้อย (236:33)
         เปน ชื่อ มด จำ พวก หนึ่ง, ตัว มัน ศี ดำ บ้าง แดง บ้าง ที่ ก้น มัน มี เหลก ใน, มี พิศม์ มัน แทง ปวด นัก

--- Page 237 ---
ตะไบ (237:1)
         คือ ของ ทำ ด้วย เหลก กล้า กว้าง นิ้ว เศศ ยาว กว่า คืบ สำหรับ ใช้ กราง ไม้ แล เหล็ก เปน ต้น.
ตะบะ (237:2)
         กะบะ, คือ ของ ทำ ด้วย ไม้ เปน สี่ เหลี่ยม สำหรับ ใส่ กับ เข้า. อนึ่ง คือ ฤทธิ์ ฤๅ เดช นั้น.
ตะบก (237:3)
         กะบก, ชื่อ ไม้ ใหญ่ อย่าง หนึ่ง, ลูก แบน ๆ เหมือน สะบ้า เนื้อ เม็ด ใน นั้น กิน มัน เหมือน ถั่ว, เปน ไม้ ป่า หนือ*
ตะแบก (237:4)
         กะแบก, คือ ไม้ อย่าง หนึ่ง, ดอก ศี* ม่วง งาม เหมือน ดอก อินทนิล, ต้น นั้น ใช้ ทำ กะดาน พื้น.
ตะแบง (237:5)
         กะแบง, คือ อาการ ห่ม ผ้า อ้อม ตัว แล้ว เอา ชาย ทั้ง สอง ไค่ว ไป ผูก ไว้ เหนือ บ่า ที่ ต้น ฅอ นั้น.
      ตะแบง มาน (237:5.1)
               กะแบง มาน, คือ อาการ ห่ม ผ้า อ้อม ตัว มา แล้ว เอา ชาย ทั้ง สอง นั้น สอด ใต้ รัก แร้, มา ผูก ไว้ ที่ ต้น ฅอ นั้น.
ตะบึง (237:6)
         คือ การ ที่ ทำ ร่ำ ไป ทำ ไม่ หยุด นั้น, เช่น คน เร่ง ทำ การ นั้น.
ตะเบ็ง (237:7)
         กะเบ็ง, คือ กั้ลน ใจ อัด ลม ดัน ให้ หนัง ท้อง แขง พอง ขึ้น นั้น, เหมือน* อย่าง คน ตะโกน ร้อง เรียก ด้วย เสียง ดัง นั้น.
ตะบอง (237:8)
         กะบอง, คือ ไม้ ท่อน เท่า แขน ยาว บ้าง สั้น บ้าง สำ หรับ ตี กัน, เช่น ตะบอง เหลี่ยม ตะบอง สั้น แล ยาว.
      ตะบอง เพ็ชร์ (237:8.1)
               คือ ใบ ตาล เขา ทำ คล้าย รูป ดาบ แล้ว ลง คาถา ให้ คน ถือ เมื่อ โกน จุก, ว่า กัน ปิสาจ เปน ต้น
      ตะบอง ยาว (237:8.2)
                คือ ตะบอง กลม ๆ ยาว สัก สี่ ศอก.
      ตะบอง เหลี่ยม (237:8.3)
               คือ ตะบอง ที่ เขา ทำ เปน เหลี่ยม ๆ.
      ตะบอง สั้น (237:8.4)
               คือ ตะบอง โดย ยาว ประมาณ สัก ศอก หนึ่ง.
ตะบิด (237:9)
         กะบิด, คือ การ ที่ เอา เชือก ฤๅ ผ้า บิด เปน เกลืยว* นั้น, เช่น คน บิด ผ้า โพก ห้ว.
ตะบัน (237:10)
         คือ อาการ ที่ ทีม ตำ กด ตปืง ลง ไป. อนึ่ง เปน ชื่อ การ ไช เล็ก หมาด เปน ต้น นั้น.
      ตะบัน ไฟ (237:10.1)
               คือ ของ ที่ คน เอา เขา งัว ฤๅ เขา ควาย มา กลึง เปน รูป ตะบัน, แล้ว ทำ เปน รู สำหรับ ใส่ ลูก ตะบัน ตบ ลง ไป ให้ ไฟ ติด เชื้อ นั้น.
      ตะบัน หมาก (237:10.2)
               คือ ของ ที่ เขา เอา หมาก พลู ใส่ เข้า ไป ใน รู ตะบัน แล้ว ทำ ให้ ละเอียด.
ตะบูน (237:11)
         คือ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, มี อยู่ ตาม ป่า ทะเล ลูก มัน โต เท่า ลูก ซ่ม โอ กิน ไม่ ได้ มัน ฝาด, ต้น มัน ใช้ เปน ฟืน.
ตะบอย (237:12)
         ร่ำ ไร, หง่อย ๆ เงื่อง ๆ, ช้า หนัก, คือ การ ไม่ เร็ว ฤๅ ช้า นั้น เช่น คน ค่อย ทำ การ ช้า ๆ.
ตะบวย (237:13)
         กะบวย, คือ โกลก มี ด้ำ ของ สำหรับ คน จน ใช้ ตัก น้ำ เช่น ตะบวย ทำ ด้วย กะลา มะพร้าว นั้น.
ตะปู (237:14)
         คือ ของ ทำ ด้วย เหล็ก ปลาย แหลม ๆ สำหรับ ตรึง ฝา เรือน เปน ต้น.
ตะพอก เหล้า (237:15)
         คือ ที่ ๆ คน นักเลง นั่ง กิน เล่า ประชุม กัน. ตั้ง ขวด เล่า แล จาร ใส่ แกล้ม กับ, สำหรับ เลียง กัน นั้น.
ตะโป (237:16)
         ตะปม, คือ ปม นั้น เกิด ขึ้น ที่ ศอก ที่ เข่า. อนึ่ง ที่ ต้น ไม้ เหมือน ต้น มะ กอก นั้น.
ตะปัด ตะป่อง (237:17)
         สะบัด สะบิ้ง, คือ กิริ ยา คน โท โส มาก โกรธ แล้ว ทำ สะบัด สะบิ้ง นั้น, คน งอน ทำ สะบัด สะบิ้ง เปน ต้น.
ตะปม ตะเปา (237:18)
         คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ โป ขึ้น เปน ปุ่ม ครุคระ นั้น มี ปุ่ม ปะดู่ เปน ต้น.
ตะปุ่ม ตะปิม (237:19)
         กะปุ่ม กะปิม, คือ สิ่ง ของ ที่ ผุด ขึ้น จาก น้ำ แล เหน แต่ ไกล.
ตะปลิง (237:20)
         คือ ของ ทำ ด้วย เล็ก เช่น รูป ปลิง สำหรับ กอด รัด เขา รักษา เนื้อ* ไม้ ไว้ มิ ให้ แตก นั้น.
ตะใพ้ (237:21)
         สะใพ้, คือ หญิง ที่ เปน เมีย* ของ ลูก ชาย เปน ต้น ว่า ลูก ตะใพ้.
ตะพัก (237:22)
         กะพัก, คือ ตะลิ่ง ชะงัก ฤๅ หาด ชาย ที่ เปน กระ เพิง ลง ไป เปน หลั่น ๆ เช่น ชั้น อัทฒะจรร.
ตะโพก (237:23)
         คือ ที่ อะ ไวย วะอัน เปน ที่ สุด แห่ง โคน ฃา เบื้อง บน ตลอด ขึ้น มา ถึง กับ บั้น เอว นั้น.
ตะพง (237:24)
         คือ ปลา อย่าง หนึ่ง, ตัว โต เปน* ปลา ทะเล กิน ดี เขา ทำ ปลา เค็ม มา ขาย นั้น.
ตะพัง (237:25)
         กะบัง, ทำนบ, ฝาย, คือ ทำนบ ที่ เขา ปิด กั้น น้ำ ตาม ลำ ห้วย ไว้ นั้น เช่น พวก ชาว เหนือ ปิด น้ำ เปน ต้น.
ตะพอง (237:26)
         คือ ปุ่ม สอง ปุ่ม ที่ หัว ช้าง นั้น เขา เรียก ว่า ตะพอง ศีศะ ช้าง นั้น.
ตะพด (237:27)
         คือ ของ เขา ทำ ด้วย ไม้ รวก ยาว ประมาณ ศอก คืบ มี สาย ทำ ด้วย ด้าย สำรับ ฟาด ตี ควาย นั้น.,

--- Page 238 ---
ตะลาด แก้ว (238:1)
         เปน ชื่อ ตำ บล บ้าน อยู่ ทิศ เหนือ กรุงเทพ ศัก สี่ ห้า คุ้ง แม่ น้ำ นั้น,
ตะภาน ช้าง (238:2)
          คือ ตะภาน ใหญ่ ทอด เรียบ ด้วย ไม้ ซุ่ง ทั้ง ต้น กว้าง ประมาณ สี่ วา ห้า วา, เท่า ถนน สำรับ ข้าม คลอง ใน กรุง เทพฯ ช้าง เดิร ได้.
ตะพัด (238:3)
         คือ วิ่ง ไล่ สกัด หน้า นั้น เช่น คน วิ่ง ไล่ จับ ไก่ นั้น,
ตะเพิด (238:4)
         ตะวาด, คือ ร้อง ตวาด นั้น เช่น คน ขับ นก ฤๅ ขับ งัว ขับ ควาย เปน ต้น นั้น,
ตะพั้น (238:5)
         คือ โรค ทารก อย่าง หนึ่ง มัน ให้ ชัก มือ กำ ตีน กำ ตา เหลือก ตัว แขง ไป, มัก เกิด แก่ ทารก ที่ คลอด ได้ วัน หนึ่ง สอง วัน นั้น,
ตะพุ่น (238:6)
         เปน ชื่อ พวก คน โทษ ที่ สำรับ เกี่ยว หญ้า ช้าง หญ้า ม้า นั้น,
ตะพุน (238:7)
         เปน ชื่อ สัตว อย่าง หนึ่ง ตัว กลม ๆ ลอย อยู่ ตาม กระแส น้ำ เค็ม ที่ อ่าว ทเล เปน ต้น นั้น,
ตะโพน (238:8)
         คือ ของ เครื่อง ใน พวก ปี่พาษ ด้วย. อนึ่ง หัว เรียว ท้าย เรียว สันฐาน คล้าย ๆ กลอง,
ตะเพียน (238:9)
         เปน ชื่อ ปลา อย่าง หนึ่ง ตัว แบน ๆ ดู งาม ที่ เขา สาน เปน รูป ปลา ด้วย ใบ ลาน ให้ เด็ก เล่น นั้น,
ตะเภา (238:10)
         ลำ เภา, เพตรา, เปน ชื่อ เรือ ใหญ่ อย่าง หนึ่ง ที่ พวก เจ๊ก บันทุก สิน ค้า เมือง ไทย ไป ขาย เมือง จีน เปน ต้น,
ตะภาน (238:11)
         คือ ของ ที่ เขา เอา ไม้ พาด ข้าม คลอง สำรับ เดิร ไป เดิร มา.
ตะภาบ น้ำ (238:12)
         เปน ชื่อ สัตว อย่าง หนึ่ง, รูป คล้าย เต่า มี กระ- ดอง มี เชีง แกง กิน ดี นัก,
ตะภาย (238:13)
         เปน ชื่อ เชือก สำรับ ร้อย ตะหมูก งัว หฤๅ ควาย. อนึ่ง เปน ชื่อ การ ที่ เหมือน ตะภาย ย่าม เปน ต้น.
      ตะภาย ควาย (238:13.1)
               เปน ชื่อ เส้น เชือก สำรับ ร้อย ตะหมูก ควาย นั้น,
ตะลาด ขวัน (238:14)
         เปน ชื่อ ที่ ตำบล หนึ่ง อยู่ ฝ่าย ทิศ เหนือ กรุง เทพ ฯ ประมาณ ห้า เลี้ยว คุ้ง แม่ น้ำ,
ตะภาน หัน (238:15)
         คือ ตะภาน มี กะดาน แผ่น เดียว บ้าง, สอง แผ่น บ้าง เปน ควง หัน ได้, เมื่อ จะ ข้าม ไป ก็ หัน ปลาย ไป ฟาก ข้าง โน้น, ถ้า ไม่ ข้าม หัน ปลาย กัลบ เสีย* ก็ ได้.
ตะภาย บาต (238:16)
         คือ การ ที่ เอา สาย โยถ บาต พาด ไว้ ที่ บ่า แล้ว ทรง ไว้, เหมือน อย่าง พระ สงฆ์ ตะภาย บาต เที่ยว หา อาหาร นั้น.
ตะภาย ย่าม (238:17)
         คือ การ ที่ เอา ย่าม คล้อง ห้อย ไว้ บน ไหล่ นั้น.
ตะภาย แล่ง (238:18)
         คือ การ ที่ เอา ดาป ฤๅ กระ บี่ ที่ มี สาย ตะภาย ไว้, เหมือน อย่าง พวก ทหาร, ตะภาย กระ บี่ เปน ต้น นั้น.
ตะมูก (238:19)
         จมูก, นาสิก, เปน ชื่อ ของ อยู่ ที่ หน้า มี รู สำหรับ หาย ใจ เข้า ออก นั้น.
      ตะมูก โด่ง (238:19.1)
               คือ อาการ ตะมูก สูง แล้ว ยาว, เหมือน ตะมูก พวก แขก แล ฝรั่ง อังกฤษ นั้น.
      ตะมูก บี้ (238:19.2)
               คือ อาการ แห่ง ตะมูก เปน โรค เสิ่ย* ยุบ แบน ลง ไป เหมือน อย่าง คน เอา มือ บี้ เสีย นั้น.
      ตะมูก ฟิบ (238:19.3)
               คือ อาการ ตะมูก ที่ แบน ลง ไป นั้น.
      ตะมูก โหว่ (238:19.4)
               เปน ชื่อ แห่ง คน ตะมูก หวะ กลวง เปน รู กว้าง นั้น.
      ตะมูก แหว่ง (238:19.5)
               เปน ชื่อ ตะหมูก ฉีก ขาด แหวะ ไป นั้น.
ตะหมูก อู้ อี้ (238:20)
         คือ อาการ ตะหมูก บี้ เมื่อ พูด นั้น เสียง มัน ดัง งู้ งี้ ไป.
ตะมอย (238:21)
         เปน ชื่อ ฝี อย่าง หนึ่ง มี พิศม์ ปวด หนัก มัน ย่อม เกิด ขึ้น ที่ ข้อ นิ้ว นั้น.
ตะม่อ (238:22)
         เปน ชื่อ เสา สั้น ๆ ที่ เขา บาก เปน ง่าม สำหรับ ค้ำ เรือน เปน ต้น.
ตะลาด บก (238:23)
         คือ ที่ ๆ เขา เอา ของ มา นั่ง ประชุม กัน ซื้อ ขาย บน แผ่น ดิน, เปน เพลา เช้า เยย็น* นั้น.
ตะยะ (238:24)
         เปน ชื่อ ดง ใหญ่ แห่ง หนึ่ง เรียก อย่าง นั้น, มี อยู่ใน แขวง สุพรรณ์ บูรี นั้น.
ตะรัง ตะนู (238:25)
         เปน ชื่อ เมือง แขก มะลา อยู่ ใก้ล กับ เมือง ตะนี นั้น.
ตะราง (238:26)
         คือ ไม้ ที่ เขา ขัด เปน ช่อง ห่าง ๆ นั้น. อนึ่ง เปน ที่ สำหรับ ขัง คน โทษ, เหมือน ทีม นั้น.
ตะรุณ (238:27)
         คือ คน รุ่น หนุ่ม นั้น, เหมือน อย่าง คน มี อายุ ได้ สิบ ห้า สิบ หก ปี.

--- Page 239 ---
ตะไล (239:1)
         เปน ชื่อ ขนม อย่าง หนึ่ง เอา แป้ง กับ น้ำ ตาล ละลาย เข้า ด้วย กัน แล้ว หยอด ใส่ ถ้วย หนึ่ง ให้ สุก นั้น. อนึ่ง ดอก ไม้ ไฟ ทำ เปน วง กลม ๆ นั้น.
ตะหลก (239:2)
         ปะระ สำ หาว, ขะนอง ขัน ๆ, เปน ชื่อ คน ที่ พูด ขัน ๆ เล่น ขัน ๆ นั้น, เช่น พวก ตะหลก โขน.
ตะหลก บาต (239:3)
         เปน ชื่อ ผ้า ที่ เขา เย็บ เปน ถุง หุ้ม บาต มี ใบ ปก สอง ข้าง, เหมือน อย่าง ที่ พวก พระสงฆ์ ใช้ นั้น.
ตะลุง (239:4)
         เสา ประโคน, เปน ชื่อ หัว เมือง ปักข์ ใต้ แห่ง หนึ่ง. อนึ่ง คือ เสา หลัก ที่ ปัก ไว้ สำหรับ ผูก ช้าง นั้น.
ตะแลงแกง (239:5)
         เปน ชื่อ ที่ สำหรับ ฆ่า คน นั้น.
ตะลาด (239:6)
         พะศาล, เปน ชื่อ ที่ ประชุม สำหรับ ซื้อ ขาย สิ่ง ของ ต่าง ๆ นั้น.
ตะลอด (239:7)
         คือ สิ่ง ทั้ง ปวง ที่ ไม่ มี ของ กั้น, ของ บัง นั้น.
ตะเหลิด (239:8)
         คือ วิ่ง ฤๅ แจว เรือ เลย ไป อยุด ยั้ง ไม่ ทัน นั้น. เหมือน อย่าง คน กำลัง วิ่ง, ฤๅ เรือ กำลัง แล่น เลย ไป นั้น.
ตะละ หนึ่ง (239:9)
         เหมือน, เช่น, คือ ดุจ หนึ่ง ฤๅ ดัง หนึ่ง, ฤๅ เหมือน หนึ่ง นั้น, เหมือน เขา ว่า งาม ราว กับ เทวะดา, ฦๅ งาม ตะละเทวะดา.
ตะลับ ขี ผึ้ง (239:10)
         เปน ของ เล็ก ๆ เขา ทำ ด้วย ทอง คำ บ้าง, เงิน บ้าง ไม้ บ้าง, ไทย เขา ใส่ ขี ผึ้ง สำหรับ ศี ปาก นั้น.
ตะลี ตะลาน (239:11)
         รีบ ร้อน, ด่วน ๆ เปน ชื่อ การ ด่วน ๆ, ฤๅ การ จะ ไป เร็ว ฤๅ การ รีบ ร้อน นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า จะ รีบ ตะลี ตะลาน ไป ใหน เปน ต้น.
ตะหลิ่ง (239:12)
         ฝั่ง น้ำ, เปน ชื่อ ที่ ตาม ริม แม่ น้ำ ฤๅ ตาม ริม คลอง ตาม ริม ฝั่ง นั้น.
ตะลึง (239:13)
         ตก ใจ, คือ ความ ตก ใจ ความ สิ้น สะติ นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ ไฟ ไหม้ เรือน ของ ตัว ประ หม่า ไป.
ตะลุง ช้าง (239:14)
         เสาปะโคน, เปน ชื่อ เสา หลัก ที่ เขา ปัก ลง ไว้ ที่ แผ่นดิน สำหรับ ผูก ช้าง นั้น.
ตะลน ตะลาน (239:15)
         ตะลี ตะลาน, เถลือก ถะลน, คือ ความ ลน ลาน เหมือน อย่าง เขา ถาม กัน ว่า, จะ ตะลน ตะลาน ไป ใหน
ตะลาน (239:16)
         เปน ชื่อ บ้าน พวก ทำ ปลา แห่ง หนึ่ง, มี อยู่ แควง กรุง เก่า นั้น.
ตะหลุ่น (239:17)
         อุ่น ๆ คือ ร้อน น่อย ๆ อุ่น ๆ นั้น, เช่น น้ำ ต้ม ภอ อาบ สะบาย ฤๅ อุ่น ๆ เหมือน เยี่ยว หนู.
ตะลอน (239:18)
         คือ เทียว วิ่ง ไป ข้าง โน้น วิ่ง มา ข้าง นี้ นั้น, เช่น เด็ก ๆ เทียว ซุกซน นั้น.
ตะหลบ (239:19)
         คือ การ ที่ กัลบ มา ฤๅ เลิก กลับ นั้น เหมือน อย่าง กะ ต่าย วิ่ง ไป กัลบ หก หลัง มา, ฤๅ ตะหลบ มุ้ง ขึ้น.
ตะหลบ (239:20)
         ตะแลง, คือ อาการ คน ที่ เที่ยว ไป ด้วย ซื้อ ขาย เปน ต้น เนือง ๆ, เหมือน ซะรัง แฃก นั้น.
ตะหลับ (239:21)
         คือ ของ สำหรับ ใส่ ขี ผึ้ง สี ปาก, ทำ ด้วย เงิน บ้าง ทอง บ้าง ไม้ บ้าง, มี ตัว มี ฝา สำหรับ ปิด กัน ได้.
ตะหลิบ (239:22)
         ละลิบ, คือ ที่ เตียน แล ตะลอด ไป จน สุด สาย ตา นั้น, เหมือน อย่าง ทุ่ง นา ที่ เตียน เมื่อ ระดู แล้ง.
ตะลุบ (239:23)
         คือ อาการ วิ่ง กะดุบ ๆ ไป ฤๅ แล่น กะดุบ ๆ ไป, เหมือน ลูก ช้าง วิ่ง กลาง ทุ่ง, ฤๅ รือ* ลอง บด แล่น ตาม คลื่น* เปน ต้น นั้น.
ตะลาด ท้อง น้ำ (239:24)
         คือ ที่ ริม ฝั่ง แม่ น้ำ คน เอา ของ บัน ทุก เรือ ลง แล้ว ไป ประ ชุม กัน, ขาย ซื้อ กัน เปน เวลา นั้น.
ตะลุม บอน (239:25)
         คือ อาการ ที่ คน เข้า คุลก คีล สู้รบ กัน ด้วย อา วุธ สั้น มี หอก แล ดาบ เปน ต้น นั้น.
ตะลุ่ม (239:26)
         เปน ชื่อ ภาชนะ สำหรับ ใส่ กับ เข้า ของ กิน ต่าง ๆ, ต่อ ด้วย หวาย นั้น, สำหรับ ใช้ เหมือน อย่าง โตะ.
ตะล่อม (239:27)
         เปน ชื่อ ของ ที่ เอา ไม้ ไผ่ ซีก, มา กั้น เปน วง เข้า สำรับ ใส่ เข้า เปลือก บ้าง ใส่ เกลือ บ้าง ใส่ ปูน บ้าง.
ตะลุย (239:28)
         เปน ชื่อ ที่ เตียน ตลอด ไม่ มี ที่ กั้น ที่ บัง นั้น.
ตะหวัก (239:29)
         คน ใช้, จ่า, เปน ชื่อ* ของ สำรับ ตัก แกง ทำ ด้วย กะลา มะพ้ราว.
ตะวัง (239:30)
         ว่า ท่าน ฤๅ เจ้า ฤๅ เอง เปน ต้น.
ตะหวาด (239:31)
         ตะคอก, คุก คาม, เปน ชื่อ ร้อง ขู่ ด้วย เสียง ดัง นั้น, เหมือน อย่าง นาย โกรธ เบ่า, ร้อง ตะเพิด เอา.
ตะเว็ด (239:32)
         เปน ชื่อ ไม้ ที่ เขา เขียน รูป เทพา รักษ ไว้ บูชา, ที่ ศาล พระภูม แล ศาล เจ้า นั้น.
ตะวัน (239:33)
         อาทิตย์, สูริยา, คือ ดวง อาตย์ นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, ตะวัน เที่ยง ตะวัน บ่าย.

--- Page 240 ---
      ตะวัน ชาย (240:33.1)
               คือ ตะวัน บ่าย นั้น, เหมือน อย่าง เวลา บ่าย สอง โมง สาม โมง.
      ตะวัน ขึ้น (240:33.2)
               เปน ชื่อ เมื่อ แรก อาทิตย์ ขึ้น นั้น.
      ตะวัน แดง (240:33.3)
               คือ ตะวัน ศี แดง นั้น, เช่น อาทิตย์ แรก ขึ้น ฤๅ ตะวัน ยอแสง นั้น.
      ตะวัน โด่ง (240:33.4)
               คือ ตะวัน สาย ขึ้น สูง นั้น, เหมือน อย่าง เพลา สาม โมง เช้า.
      ตะวัน ตก (240:33.5)
               เปน ชื่อ ทิศ ฝ่าย ปะจิม ฤๅ ตะวัน เย็น จวน จะ ค*ํ นั้น ดู เหมือน ตะวัน จะ ตก ลง ที่ ดิน.
      ตะลุมภุก (240:33.6)
               คือ ไม้ โต ประมาณ สาม กำ ลง มา, ตัด ออก ยาว สัก คืบ หนึ่ง, เจาะ ข้าง ๆ เอา ไม้* เลก เทา ด้ำ ขวาน. ไส่ เข้า สำรับ ตี ทุบ ของ อื่น นั้น.
      ตะวัน เที่ยง (240:33.7)
               คือ ตะวัน ตรง นั้น, เช่น เพลา กลาง วัน.
      ตะวัน บ่าย (240:33.8)
               คือ ตะวัน ชาย เปร ไป ข้าง ตะวัน ตก นั้น.
      ตะวัน ยอ แสง (240:33.9)
               คือ เพลา เย็น ตะวัน รอน ๆ ศี แดง นั้น, เช่น เพลา บ่าย ห้า โมง.
      ตะวัน เย็น (240:33.10)
               คือ เพลา ตะวัน ใก้ล ค่ำ นั้น, คือ เพลา บ่าย ห้า โมง หก โมง เศศ.
      ตะวัน สาย (240:33.11)
               เปน ชื่อ เพลา ตะวัน ขึ้น มา สูง แล้ว นั้น, เช่น เพลา สาม โมง เช้ว.
      ตะวัน ออก (240:33.12)
               ตะวัน ขึ้น, เปน ชื่อ ฝ่าย ข้าง บูรทิศ นั้น, ทิศ เช่น ตะ วัน พึง แรก ขึ้น มา.
ตะเวน (240:1)
         กระเวน, เปน ชื่อ การ ที่ เดิร เที่ยว ร้อง ดู แล การ งาน ฤๅ ประจาน นั้น, เหมือน อย่าง ตะเวน คน โทษ, ฤๅ เดิร ตะเวน ระวัง ของ.
ตะสอก (240:2)
         คือ ที่ สุด สอก กับ ที่ แขน ต่อ กัน เปน ปุ่ม อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง ที่ ตา นก เอี้ยง สอก.
ตะหาร (240:3)
         ทหาร, ตะแก้ลว, เปน ชื่อ พวก คน ที่ เปน กำลัง สำรับ รบ นั้น.
(240:4)
         
ตก (240:5)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ตก หล่น (240:5.1)
               คือ อาการ ที่ สิ่ง ของ ที่ พัลด ตก ลงมา จาก ที่ สูง ลง เบื้อง ต่ำ,
      ตก กุ้ง (240:5.2)
               เปน ชื่อ การ ทำ ที่ ให้ กุ้ง ติต เบ็ด ขึ้น มา นั้น.
      ตก ใจ (240:5.3)
               สะดุ้ง, คือ ความ ที่ สะดุ้ง ด้วย ความ* กลัว, ใจ หาย วับ ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน นั่ง อยู่ ไม่ รู้ ตัว เสือ ไล่ ตะครุบ
      ตก ก้ลา (240:5.4)
               คือ การ ที่ คน เอา เข้า* เปลือก, เภาะ ให้ แตก งอก แล้ว เอา ไป หว่าน ที่ เทือก ดิน ทำ ไว้ นั้น.
      ตก เงิน (240:5.5)
               คือ การ ที่ คน เอา เงิน ให้ แก่ ผู้ รับ ว่า, ถึง กำหนฎ ข้าพเจ้า* เอา ของ อัน นั้น มา ให้ กำ ไร มาก นั้น.
      ตก ฉลาม (240:5.6)
               คือ การ ที่ เอา เบ็ด เกี่ยว เหยื่อ, โยน ลง ใน น้ำ ฬ่อ ให้ ปลา ฉลาม กิน ติด เบ็ด ขึ้น มา นั้น.
      ตก ดิน (240:5.7)
               คือ ของ ที่ พัลด จาก ที่ สูง ลง มา ถึง ดิน นั้น, เช่น ผล ใม้ หล่น ตก ลง ที่ ดิน.
      ตก ต่ำ (240:5.8)
               คือ การ ที่ พัลด* จาก ที่ สูง ลงมา เบื้อง ต่ำ นั้น, เหมือน อย่าง ผู้ ดี ตก ยาก.
      ตก ตะลึง (240:5.9)
               คือ อาการ คน ที่ แรก รู้ เหตุ ปลาด ควร จะ พิศวง มี แผ่นดิน ไหว นั้น.
      ตก แตก (240:5.10)
               คือ สิ่ง ของ ที่ พัลด ตก ลง แตก, เหมือน อย่าง ไข่ ไก่ ตก ลง แตก นั้น.
      ตก ประ หม่า (240:5.11)
               คือ อาการ จิตร ฟุ้ง ส้าน งกเงิ่น ไป, เมื่อ คน จะสำแดง ธรรม เปน ต้น, ใน ที่ ประชุม ชน ใหญ่, ไม่ องอาจ จิตร ฟุ้ง ซ่าน งกเงิ่น ไป นั้น.
      ตก บ่า (240:5.12)
               คือ ของ อัน ใด ตก ลง จาก ภาชนะ ฤๅ จาก มือ เปน ต้น แต่ ดำ บ่า เปน สร้อย คำ นั้น.
      ตก แต่ง (240:5.13)
               คือ การ ที่ จัดแจง ประดับ ให้ งาม นั้น, เหมือน อย่าง เฃา พูด กัน ว่า ตบ แต่ง ตัว.
      ตก มัน (240:5.14)
               คือ การ ที่ ชาง ใหญ่ รู้ กำ หนัด, ถึง เวลา กำ หนัด, ก้ลา มี น้ำ มัน ออก โทรม ที่ หน้า แล ที่ ลึงค์.
      ตก ตาล (240:5.15)
               คือ ความ ที่ ตก* จาก ปลาย ตาล นั้น.
      ตก ตาย (240:5.16)
               คือ อาการ ที่ ตก ลง มา จาก ที่ สูง แล้ว ตาย นั้น.
      ตก น้ำ (240:5.17)
               คือ สิ่ง ของ ที่ พัลด ตก ลง ใน น้ำ นั้น.
      ตก หนัก (240:5.18)
               คือ ความ ทุกข์ ของ ผู้ อื่น มา ตก อยู่ ที่ ตัว, เหมือน อย่าง นาย ประกัน ที่ เขา ทิ้ง นี่ ไว้ ไห้ นั้น.
      ตก หนาว (240:5.19)
               คือ การ ย่าง เข้า ระดู หนาว, เมื่อ ถึง เดือน อ้าย ข้าง ขึ้น นั้น. อนึ่ง เปน ชื่อ ผ้า ที่ ด่าง เปน ดวง ๆ นั้น.
      ตก เนื้อ ตก ใจ (240:5.20)
               คือ ความ กลัว มา ถึง จน ใจ หาย ว้บ* ไป นั้น.

--- Page 241 ---
      ตก นรก (241:5.21)
               คือ ความ ที่ ตก อยู่ ใน ขุมนะรก ได้ ทุกข์ ต่าง ๆ นั้น, อย่าง คน ทำ บาป ทำ ชั่ว, แล้ว ต้อง ตก อยู่ ใน ไฟ นรก.
      ตก เบ็ด (241:5.22)
               เปน ชื่อ* การ ที่ เอา เหยื่อ เกี่ยว เบ็ด เข้ว, แล้ว ทิ่ง ลง ไป ใน น้ำ นั้น, เหมือน อย่าง คน ตก ปลา.
      ตก บ่าย (241:5.23)
               เปน ชื่อ เวลา ล่วง ไป ถึง บ่าย นั้น.
      ตก ไป (241:5.24)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ตก ล่วง ไป นั้น, เช่นเขา พูด กัน เปน ต้น ว่า, เรา ตก ไป เปน ฉะเลย นั้น.
      ตก ปลา (241:5.25)
               เปน ชื่อ การ* ที่ เอา เหยื่อ เกี่ยว เบ็ด เข้า แล้ว, ทิ้ง ลง ใน น้ำ ให้ ปลา กิน ติด ขึ้น มา.
      ตก ปัลก (241:5.26)
               เปน ชื่อ สิ่ง ที่ ตก อยู่ ใน แอ่ง ป้ลก* นั้น, เหมือน อย่าง ฝูง ปลา ตก คัลก* อยู่ ใน แปลง ปัลก.
      ตก ปลอก (241:5.27)
               เปน ชื่อ การ ที่ เอา ปลอก ใส่ ตีน ช้าง เข้า แล้ว. ผูก ไว้ นั้น
      ตก ผล (241:5.28)
               คือ ออก ลูก นั้น, เหมือน อย่าง ต้น ผล ไม้ มี กล้วย เปน ต้น เปน ลูก นั้น.
      ตก มูก (241:5.29)
               คือ อาการ ที่ ลง ท้อง เปน มูก เปน เสมหะ ปน กัน ออก มา นั้น.
      ตก หมก (241:5.30)
               คือ อาการ ที่ โลหิต เสีย เน่า หมก อยู่* ใน ท้อง นั้น เหมือน หญิง เลือด เสีย หมุ่น อยู่ ภาย ใน.
      ตก ทุกข์ ได้ ยาก (241:5.31)
               คือ ความ ที่ คน ตก อยู่ ใน ความ ลำ บาก ต่าง ๆ นั้น.
      ตก เย็น (241:5.32)
               คือ การ ล่วง มา ถึง เพลา บ่าย* เย็น นั้น.
      ตก แรม (241:5.33)
               คือ วัน ที่ ล่วง มา ถึง แรม นั้น.
      ตก ลูก (241:5.34)
               คือ อาการ แห่ง สัตว์ ทั้ง ปวง ที่ ออก ลูก นั้น.
      ตก ลง (241:5.35)
               คือ การ ที่ พัลด ลง จาก เบื้อง บน นั้น. อนึ่ง ปฤกษา การ งาร ทั้ง ปวง ลง เนื้อ* เหน พร้อม กัน.
      ตก แล้ง (241:5.36)
               การ ที่ ถึง ระดู แล้ง นั้น, เช่น น่า ระดู เดือน สี่ เดือน ห้า เปน ต้น.
      ตก เลือด (241:5.37)
               คือ อาการ ที่ เลือด ตก ออก มา จาก กาย นั้น, เหมือน อย่าง หญิง มา ระดู เกิน ประ มาณ นั้น.
      ตก หล่น (241:5.38)
               คือ อาการ แห่ง ผล ไม้ ที่ หล่น ลง จาก ต้น, ฤๅ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เขา เก็บ ไป แล้ว. ยัง หลง หลอ อยู่ นั้น.
      ตก เวร (241:5.39)
               คือ ความ ที่ ตก อยู่* ใน ตำ แหน่ง เจ้า เวร.
      ตก ศาล (241:5.40)
               คือ ความ ที่ เรือง ฟ้อง เขา ส่ง ไป ถึง ศาล แล้ว นั้น.
      ตก แสก (241:5.41)
               คือ อาการ ที่ ผม กลาง หัว แหวก ล้ม ไป, คน ละ ข้าง นั้น, เหมือน อย่าง ผม พวก แหม่ม.
      ตก อับ (241:5.42)
               คือ ความ ที่ คน ที่ ตก จาก ที่ ตั้ง, ต้อง อับ อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง ขุนนาง, เปน โทษ ต้อง ถอด อับ อยู่ เปน ต้น.
      ตก แอ่ง (241:5.43)
               คือ การ ที่ ตก ลง ที่ ห้วง น้ำ ฤก นั้น, เหมือน อย่าง คน ตก ลง ที่ ตะภัก ตะหลิ่ง เปน ต้น.
ตัก (241:1)
         คือ อาการ ที่ ฃา ฃอง คน ที่ นั่ง ขัด ตะมาด นั้น. อนึ่ง คือ การ ที่ เอา ขัน ตัก น้ำ ขึ้น มา.
      ตัก กะแตน (241:1.1)
               เปน ชื่อ สัตว์ อย่าง หนึ่ง ตัว เล็ก ๆ, ตีน ยาว มี ปีก บิน ได้, มัก อยู่ ตาม ป่า ญ่า ที่ ทุ่ง นา,
      ตัก กุ้ง (241:1.2)
               คือ การ ที่ คน เอา สวิง ช้อน* กุ้ง ขึ้น มา นั้น.
      ตัก แกง (241:1.3)
               คือ การ ที่ เอา จ่า ช้อน เอา แกง ขึ้น มา นั้น.
      ตัก เข้า (241:1.4)
               คือ การ ที่ เอา ทับพิ ตัก เอา เข้า ใส่ ชาม นั้น, เช่น คน ไส่ บาต พระ สงฆ์ เปน ต้น.
      ตัก กะสิลา (241:1.5)
               เปน ชื่อ เมือง แห่ง หนึ่ง, มี อยู่ ใน เรื่อง นิ ทาน แต่ บูราณ.
      ตัก เตือน (241:1.6)
               คือ คำ เตือน สติ นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า ท่าน อย่า ปมาท.
      ตัก น้ำ (241:1.7)
               คือ การ ที่ เอา ถัง จ้วง น้ำ ใส่ ตุ่ม นั้น.
      ตัก บาต (241:1.8)
               คือ การ ที่ คน เอา ทับพิ ตัก เข้า เทลง ใน บาต นั้น, เหมือน อย่าง คน ใส่ บาต พระสงฆ์ เช้า ๆ เปน ต้น.
ตาก (241:2)
         ผึ่ง, คือ การ ที่ เขา เกลี่ย ของ แผ่ ไว้ กลาง แจ้ง นั้น, เหมือน อย่าง คน ตาก เขา ตาก ของ.
      ตาก กุ้ง แห้ง (241:2.1)
               คือ การ ที่ คน เอา กุ้ง ต้ม แล้ว* ตาก แดด ให้ แห้ง นั้น.
      ตาก ดาย (241:2.2)
               เปน ชื่อ การ ที่ ตาก สิ่ง ของ เขา ปอก เปลือก* กอก เสีย แล้ว ตาก แดด ไว้ ร่ำ ไป นั้น.
      ตาก เข้า (241:2.3)
               คือ การ ที่ คน เอา เข้า เกลี่ย* แผ่ ตาก ไว้ ที่ แดด นั้น.
      ตาก ของ (241:2.4)
               คือ การ ที่ เอา สิ่ง ของ เกลี่ย ผึ่ง ไว้ กลาง แดด นั้น.
      ตาก แดด (241:2.5)
               คือ การ ที่ เอา สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ผึ่ง ไว้ กลาง แดด นั้น.
      ตาก น้ำ ค้าง (241:2.6)
               คือ การ ที่ เอา สิ่ง ของ ต่าง ๆ ตั้ง ไว้ ที่ กลาง แจ้ง ที่ น้ำ ค้าง ตก นั้น.

--- Page 242 ---
      ตาก ฝน (242:2.7)
               คือ การ ที่ เอา สิ่ง ของ วาง ไว้ กลาง แจ้ง ที่ ฝน ตก รด ถูก นั้น.
      ตาก ลม (242:2.8)
               คือ การ ที่ คน เอา สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ผึ่ง แผ่ ลม ไว้.
      ตาก แห้ง (242:2.9)
               คือ ของ มี ผ้า เปน ต้น มัน เปียก ชุ่ม ด้วย น้ำ, เขา ผึ่ง แผ่ ไว้ จน น้ำ หมด ไป นั้น.
ติกกะ (242:1)
         ว่า ของ ที่* จัด ไว้ พวก ละ สาม ๆ นั้น, เหมือน อย่าง บทมาตติกา.
ตึก ๆ (242:2)
         เปน เสี่ยง อย่าง หนึ่ง มัน ดัง อย่าง นั้น, เหมือน อย่าง เสียง นารกา ภก.
ตึก (242:3)
         เก๋ง, เปน ชื่อ เรือน ที่ ก่อ ด้วย อิฐ นั้น, เหมือน อย่าง ตึก ดิน ฤๅ ตึก แขก, ตึก เจ๊ก เปน ต้น.
ตืก (242:4)
         ตัวพยาธิ, เปน ชื่อ สัตว์ อย่าง หนึ่ง ที่ อยู่ ใน ท้อง คน แล สัตว์ ทั้ง ปวง* เหมือน อย่าง ตัว ไส้ เดือน นั้น.
ตึก ตัก (242:5)
         คือ อาการ ที่ ใจ คน เหนื่อย* ฤๅ ตก ใจ ๆ บึก ๆ นั้น.
ตุก แก (242:6)
         ตุด ตู่, คือ สัตว อย่าง หนึ่ง สี่ ตีน ตัว ลาย ๆ มัน ร้อง เสียง ดัง ตุก แก ๆ นั้น.
ตุก กะตา (242:7)
         เปน ชื่อ รูป คน ฤๅ รูป สัตว์, ที่ เขา ทำ ด้วย หิน บ้าง ด้วย ไม้ บ้าง นั้น.
ตุก กะต่ำ (242:8)
         เปน ชื่อ ก้อน แร่ อย่าง หนึ่ง, ก้อน เล็ก ๆ, ศี ดำ เหมือน อย่าง นิล เปน ต้น นั้น.
ตุก ติก (242:9)
         คือ อาการ ที่ ของ เล็ก น้อย ที่ เขา ผูก ห้อย แขวน ไว้, เหมือน ถุง แล กะ เป๋า* เปน ต้น นั้น, ว่า ห้อย ตุก ติก อยู่.
เตก (242:10)
         คือ เดิร ไกล หนัก นั้น, เหมือน อย่าง คน หลง ทาง เดิร ไป ไกล เปน ต้น นั้น.
      เตก ไป ภอ (242:10.1)
               คือ คน เดิร ไป ไกล หนัก นั้น, เหมือน อย่าง คน เขา พูด กัน ว่า เรา เดิร เตก ไป ภอ นั้น.
      แตก ฉาน (242:10.2)
               คือ อาการ ที่ รู้ วิชา มี รู้ หนังสือ เปน ต้น, ชำนิ ชำ นาน ไม่ มี สง ไสย นั้น, เปรียบ เหมือน ลำ ไม้ ที่ มัน แตก ออก นั้น.
      แตก (242:10.3)
               ฉลาย, ร้าว, ราน, คือ การ ทำ ลาย นั้น, เช่น ถ้วย ชาม แตก ฤๅ บ้าน เมือง แตก แล เรือ แตก.
      แตก กิ่ง (242:10.4)
               คือ ต้น ไม้ ทั้ง ปวง ที่ มี กิ่ง พิล แตก งอก ออก จาก ต้น นั้น
      แตก ก้าน (242:10.5)
               คือ ก้าน ที่ แตก ออก จาก กิ่ง นั้น.
      แตก กาบ (242:10.6)
               คือ กาบ ที่ แตก ออก จาก ต้น จาก กอ.
      แตก กอ (242:10.7)
               คือ หน่อ ที่ แตก ออก จาก ต้น แล้ว เปน กอ นั้น.
      แตก แขนง (242:10.8)
               คือ แขนง ที่ พลิ แตก ออก จาก ต้น จาก กิ่ง นั้น.
      แตก หน่อ (242:10.9)
               คือ หน่อ ที่ พลิ แตก ออก จาก ต้น จาก กอ นั้น.
      แตก ระแหง (242:10.10)
               คือ พื้น ดิร ที่ มัน แห้ง หนัก แล แตก ร้าว เปน ร่อง รอย ออก นั้น.
      แตก หนอง (242:10.11)
               คือ หนอง ที่ แตก ทำ ลาย ออก มา นั้น, เหมือน อย่าง หัว ฝี ที่ แตก หนอง ออก.
      แตก ใบ (242:10.12)
               คือ ยอด ไม้ ที่ แตก ออก เปน ใบ นั้น, เช่น ไม้ ออก ใบ อ่อน นั้น.
      แตก ยอด (242:10.13)
               คือ ยอด ที่ งอก ขึ้น เปน ใบ นั้น.
      แตก ราก (242:10.14)
               คือ ราก ไม้ ที่ แตก ออก จาก เง่า.
      แตก แตน (242:10.15)
               คือ ของ มัน ทำ ลาย ออก ว่า แตก แตน ๆ นั้น, เปน คำ ส้รอย พลอย ปาก.
โตก (242:11)
         โตะ, คือ ถาด ที่ มี ขา อยู่ สาม ขา นั้น, เปน ภาชนะ สำรับ ใส่ กับ เข้า กิน เปน ต้น นั้น.
      โตก ท้าว ช้าง (242:11.1)
               คือ โตก มี ท้าว อัน เดียว, แต่ รูป คล้าย กับ ท้าว ช้าง นั้น สำรับ ใส่ ของ กิน.
ตอก (242:12)
         คือ ของ เขา เอา ไม้ ใผ่ มา จัก เปน เส้น*, สำรับ ผูก จาก มุง หลัง คา เปน ต้น. อนึ่ง คือ เอา ไม้ ค้อน ทุบ ลง บน หัว หลัก เปน ต้น ด้วย.
      ตอก เข็ม (242:12.1)
               เปน ชื่อ ต่อย ลง บน ไม้ เข็ม, ปัก ลง ใน ดิน นั้น, เหมือน อย่าง ตอก เข็ม ราก ตึก เปน ต้น.
      ตอก เขื่อน (242:12.2)
               คือ ต่อย ลง บน หัว ไม้ เขื่อน ที่ ปัก ลง ใน ดิน นั้น, เช่น คน ลง เขื่อน* สระ.
      ตอก ทอย (242:12.3)
               คือ* เอา ไม้ ทำ เหมือน ลูก ประสัก, ปัก เข้า ที่ ต้น ไม้ แล้ว ต่อย ตี เฃ้า ขึ้น ไป ต้น ไม้ ใหญ่, ที่ โอบ อ้อม ไม่ รอบ นั้น.
      ตอก หมัน (242:12.4)
               คือ เอา ไม้ ค้อน ฤๅ ควาน ต่อย เข้า ที่ หัว ซีว, ยัด หมัน ลง ไป ใน แนัว เรือ นั้น. เช่น ตอก หมัน ตะเภา.
      ตอก กัาน ลาน (242:12.5)
               คือ กะ ดูก ที่ ใบ ลาน เขา เอา ใบ มัน ออก เสีย แล้ว เอา แต่ ก้าน มัน จัก ออก ทำ เส้น ตอก นั้น.
      ตอก หลัก (242:12.6)
               คือ เอา ข่วาน เปน ต้น ต่อย ลง ที่ หัว หลัก.

--- Page 243 ---
      ตอก ลง (243:12.7)
               คือ เอา ไม้ ฤๅ สิ่ง ของ ใด ๆ ปัก ลง แล้ว ทุบ ต่อย ลง ไป, เช่น คน ตอก ตะปู เปน ต้น.
      ตอก เล็บ (243:12.8)
               คือ เอา ไม้ แหลม ตอก เข้า ไป ใน เล็บ นั้น, เช่น เขา ตอก เล็บ อ้าย ผู้ ร้าย ให้ มัน รับ นั้น.
      ตอก ลิ่ม (243:12.9)
               คือ เอา ขวาน เปน ต้น, ต่อย ลง ที่ หัว ลิ่ม ตอก เข้า ไป นั้น.
      ตอก สลัก (243:12.10)
               คือ เอา ขวาน เปน ต้น, ต่อย เข้า ที่ ลูกสลัก ให้ มัน เข้า ไป นั้น, เช่น คน ตอก สลัก ปตู เปน ต้น นั้น
เติก (243:1)
         คือ เสียง อย่าง หนึ่ง มัน ดัง อย่าง นั้น, เหมือน อย่าง เสียง ไก่ มัน ร้อง เมื่อ ไข่ แล้ว, มัน ร้อง กะเติก ๆ.
(243:2)
         
ตง (243:3)
         เปน ชื่อ ไม้ ที่ เรียง ไว้ บน หลัง รอด สำรับ ปู ฟาก, ฤๅ กะ ดาน ฟืน นั้น, เช่น เรือน พวก ไทย เปน ต้น.
      ตง ไหน (243:3.1)
               คือ ถาม ว่า ที่ ใด ฤๅ แห่ง ใด ที่ ไหน นั้น, เช่น เขา ถาม กัน ว่า เจ้า อยู่ ที่ ตง ไหน เปน ต้น.
ตง เรือน (243:4)
         คือ ไม้ ตง สำรับ เรียบ ไว้ บน เรือน นั้น.
      ตัง (243:4.1)
               เปน ชื่อ อย่าง ไม้ ที่ เหนียว สำรับ* ดัก นก ดัก หนู นั้น, เหมือน ยาง สาเก
      ตัง เม (243:4.2)
               เปน ชื่อ น้ำ อ้อย ฤๅ น้ำ ตาน ที่ เขา เคี่ยว ให้ เหนียว นั้น.
      ตัง ดัก นก (243:4.3)
               เปน ชื่อ ยาง ไม้ ที่ เฃา ทำ ให้ เหนียว, สำรับ ดัก นก นั้น.
ตั่ง (243:5)
         คือ โต๊ะ* เตี้ย ๆ เล็ก ๆ สำรับ รอง ตีน, ฤๅ เขียง สำรับ รอง ท้าว นั้น.
      ตั่ง เช็ด ท้าว (243:5.1)
               คือ โต๊ะ* ฤๅ เขียง เล็ก ๆ สำรับ รอง ตีน นั้น.
ตั้ง (243:6)
         คือ วาง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ยก ขึ้น วาง ไว้ นั้น. เช่น คน ตั้ง เสา กระโดง.
      ตั้ง กัด ติกา (243:6.1)
               คือ ตั้ง ความ สัญา แก่ กัน นั้น.
      ตั้ง การ (243:6.2)
               คือ ตั้ง พะนัก งาน ให้ คน ทำ การ นั้น, เหมือน อย่าง ลง มือ จับ ทำ การ พระ เมรุ เปน ต้น นั้น.
      ตั้ง ไข่ (243:6.3)
               คือ การ ที่ เด็ก พึง สอน หัด ตั้ง ตัว ยืน ขึ้น นั้น, เหมือน อย่าง ทารก ที่ มี อา ยุ ได้ ขวบ เสศ สอน ยืน.
      ตั้ง ของ (243:6.4)
               คือ วาง ของ ลง ไว้ นั้น.
      ตั้ง ขุนนาง (243:6.5)
               คือ การ ที่ ตั้ง คน ขึ้น ไว้ ใน ที่ ตำ แหน่ง ขุน นาง นั้น.
      ตั้ง ค่าย (243:6.6)
               เปน ชื่อ การ ที่ พวก กอง ทับ, เอา ไม้ มา ปัก เปน ระเนียด ขึ้น นั้น.
      ตั้ง ตัว (243:6.7)
               คือ การ ที่ คน ลุก ขึ้น นั่ง, แล้ว ทรง ตัว ตรง อยู่ นั้น, อนึ่ง คือ คน ที่ รัก ษา ตัว ไว้, เปน อัน ดี จน ได้ มี ชื่อ เสียง.
      ตั้ง โตะ (243:6.8)
               คือ การ ที่ เอา โตะ* ตั้ง ไว้ นั้น, เช่น คน ตั้ง โตะ เครื่อง บูชา.
      ตั้ง ที่ (243:6.9)
               คือ เอา ที่ สำรับ นั่ง เปน ต้น ไป ตั้ง ไว้ นั้น, เหมือน อย่าง เจ้า พะนัก งาน ตั้ง ที่ รับ เสด็จ์
      ตั้ง บ้าน (243:6.10)
               คือ การ ที่ ตั้ง เปน บ้าน ปลูก เรือน อยู่ ด้วย กัน นั้น.
      ตั้ง ท้อง (243:6.11)
               คือ ความ ที่ แรก ตั้ง ครรภ์, แห่ง หญืง อย่าง หนึ่ง, เช่น ต้น เข้า, เมื่อ มัน เกิด รวง อ่อน ๆ อยู่ใน ลำ ต้น มัน นั้น
      ตั้ง แต่ (243:6.12)
               คือ ตั้ง เพียง นี้ เพียง นั้น.
      ตั้ง เมือง (243:6.13)
               คือ การ ส้าง เมือง ขึ้น นั้น.
      ตั้ง อยู่ (243:6.14)
               คือ การ ที่ ตำรง ไว้ ฤๅ ตั้ง ไว้ นั้น
      ตั้ง เรือน (243:6.15)
               คือ การ ปลูก เรือน ขึ้น ไว้ นั้น.
      ตั้ง เล่น (243:6.16)
               คือ วาง สิ่ง ของ เครื่อง เล่น ไว้ นั้น.
      ตั้ง ไว้ (243:6.17)
               คือ วาง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ไว้ นั้น, เหมือน อย่าง ตั้ง เจ้า เมือง ไว้ ใน ที่ ตำแหน่ง เปน ต้น.
      ตั้ง สัจ (243:6.18)
               คือ ตั้ง ความ สัจ ความ จริง ของ ตัว ไว้ นั้น.
      ตั้ง อะธิฐาน (243:6.19)
               คือ ความ ตั้ง ใจ ใน ที่ เปน ที่ ยิ่ง นั้น, เขา กระ- ทำ การ ชอบ ด้วย แล้ว ตั้ง ใจ จะ พ้น หลุด ถอน, จาก ศุก จาก ทุกร์ ทั้ง ปวง.
ต่าง (243:7)
         แทน, คือ ฃอง คน ละ อย่าง นั้น, เหมือน อย่าง ลูก พ่อ* เดียว กัน คน ละ แม่ นั้น.
      ต่าง กัน (243:7.1)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ไม่ เหมือน* กัน, เหมือน อย่าง เงิน กับ ท้อง.
      ต่าง คน ต่าง ไป (243:7.2)
               คือ ความ ที่ ไม่ ไป ด้วย กัน นั้น, เช่น คน เดิร แยก กัน ไป นั้น, เช่น คน หนึ่ง ไป เหนือ คน หนึ่ง ไป ไต้.
      ต่าง คน ต่าง ด่า (243:7.3)
               คือ ความ ที่ ด่า ด้วย กัน ทั้ง สอง ฝ่าย* นั้น, เหมือน อย่าง คน ถะเลาะ ด่า กัน เปน ต้น.
      ต่าง ใจ (243:7.4)
               คือ ความ ที่ ใจ ไม่ เหมือน กัน นั้น, เช่น คน สอง คน คน หนึ่ง รักษ์ ทำ ชั่ว, คน หนึ่ง รักษ์ ทำ ดี เปน ต้น.
      ต่าง ตัว (243:7.5)
               คน ละ ตัว, คือ คละ ตัว ต่าง กัน ออก ไป นั้น.

--- Page 244 ---
      ต่าง ท้อง (244:7.6)
               คือ คน ละ ท้อง นั้น, เช่น คน พ่อ เดียว กัน, แต่* คน ละ แม่ เปน ต้น.
      ต่าง หน้า (244:7.7)
               คือ คน ละ หน้า นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, เอา ของ นี้ ไว้ ดู ต่าง หน้า เรา เถิด.
      ต่าง บ้าน (244:7.8)
               คน ละ บ้าน, คือ คน ละ บ้าน นั้น, คน หนึ่ง อยู่ บ้าน เหนือ, คน หนึ่ง อยู่ บ้าน ใต้ เปน ต้น.
      ต่าง ฟ้อง* (244:7.9)
               คือ การ ที่ ฟ้อง หา ความ แทน กัน นั้น, เหมือน อย่าง เขา แต่ง ทนาย ให้ ว่า ความ แทน ตัว
      ต่าง พระเนตร์ พระกรรณ์ (244:7.10)
               คือ ให้ ดู แล แทน ตา แทน หู นั้น, เหมือน อย่าง ตั้ง เจ้า เมือง ให้ รัก ษา อาณา เขต.
      ต่าง เมือง (244:7.11)
               คน ละ เมือง, คือ ความ ที่ เมือง นั้น ต่าง กัน คน ละ เมือง.
      ต่าง เรือน (244:7.12)
               คน ละ เรือน, คือ เรือน ต่าง กัน คน ละ เรือน นั้น.
      ต่าง วัด (244:7.13)
               คน ละ วัด, คือ วัด ต่าง กัน คน ละ วัด นั้น.
      ต่าง หาก (244:7.14)
               คือ คน ละ พรรค์ คน ละ อย่าง ต่าง ๆ กัน ออก ไป นั้น เขา พูด กัน ว่า*, ของ ข้า ต่าง หาก เปน ต้น.
      ต่าง หู ต่าง ตา (244:7.15)
               แทน หู แทน ตา, คือ เขา ให้ ไป ดู แล การ งาน แทน หู แทน ตา เขา นั้น.
      ติง (244:7.16)
               ทัด ทาน, คือ พูด จา ต้อง ทัด ทาน ไว้ นั้น, เหมือน อย่าง พะยาน ที่ ต้อง ค้าน แล้ว, คน หนึ่ง ติง ว่า พะยาน คน นั้น ดี คน นี้ ดี.
      ติง ไหว (244:7.17)
               คือ อาการ กระ ทำ อะไวยะ วะ ใน กาย ให้ กระ ดิก หวั่น ไหว ได้, เหมือน อย่าง ใบ ไม้ ต้อง ลม.
ติ่ง (244:1)
         คือ เนื้อ ฤๅ สิ่ง ของ ใด ๆ ที่ งอก เปน ก้อน เปน ปม ย้อย ออก มา เช่น ปาก ช้าง เปน ต้น นั้น.
ตึง (244:2)
         เค่รง, คือ อาการ ที่ ไม่ ย่อ ย่อน นั้น, เช่น คน ขึง เชือก ขัก* เหนี่ยว ให้ เค่รง.
      ตึง (244:2.1)
               คือ เสียง ดัง อย่าง หนึ่ง, เช่น เสิยง ปืน เปน ต้น นั้น.
      ตึง ตัง (244:2.2)
               เปน เสียง อย่าง หนึ่ง, เช่น เสียง พวก เด็ก วิ่ง เล่น* ใน ห้อง นั้น.
ตึ่ง (244:3)
         คือ อาการ สิ่ง ที่ หนัก อุ้ย อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง น้ำ หนัก เงิน ฤๅ ตะกั่ว เปน ต้น.
ตึ้ง (244:4)
         เปน ชื่อ แห่ง น้ำ หนัก นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, อ้วน หนัก ออก ตึ้ง.
ตุง (244:5)
         ดุ้ง, คือ สิ่ง ที่ นูน ออก มา นั้น, เช่น มี ท้อง ลูก ฤๅ ลูก ดิ้น
      ตุง หน้า (244:5.1)
               ดุ้ง หน้า, คือ อาการ ที่ มัน นูน แหลม ออก มา นั้น, เหมือน อย่าง หญิง มี ท้อง ลูก.
      ตุง ผ้า (244:5.2)
               คือ อาการ ที่ มัน ค้ำ ผ้า ตุง ออก มา นั้น, เช่น คน เอา ไม้ ค้ำ ผ้า ดัน ออก มา.
      ตุง หลัง (244:5.3)
               ดุ้ง หลัง, คือ มัน ตุง ออก ไป เบื้อง หลัง นั้น, เช่น คน ถูก แทง ข้าง หน้า นูน อยู่ ข้าง หลัง.
ตุ่ง (244:6)
         คือ เสียง อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง เสียง กลอง อย่าง กลาง.
ตุ้ง (244:7)
         คือ เสียง อย่าง หนึ่ง, เช่น เสียง กลอง ตัว ผู้ เสียง มัน ทุ้ม เปน ต้น.
      ตุ้ง ก่า (244:7.1)
               คือ เคื่รอง สำรับ สูบ กัน ชา, เขา เอา กะลา มพร้าว มา ทำ เปน เหมือน คะนาน ก้น ตัน, เจาะ รู เอา หลอด ใส่ สำรับ ดูด ควัน.
ตุ๋ง (244:8)
         คือ เสียง* อย่าง หนึ่ง, เปน เสียง สูง เสียง แหลม เช่น เหมือน เสียง กลอง ตัว เมีย.
เตง (244:9)
         เปน ชื่อ เคื่รอง สำรับ ชั่ง เงิน, มี เมด จุด ดำ ๆ ทำ ให้ เปน รู้ ที่ เฟื้อง* ที่ สลึง ที่ บาต ที่ ค้น* มัน นั้น.
      เต็ง ชั่ง (244:9.1)
               เปน ชื่อ เคื่รอง สำรับ ชั่ง สิ่ง ของ, ให้ รู้ ว่า หนัก เบา เท่า ไร นั้น.
      เต่ง (244:9.2)
               เปล่ง, คือ อาการ เปล่ง ฦๅ ไม่ ซูบ ผอม, ไม่ เหี่ยว แห้ง นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, หญิง สาว นม เต่ง.
เต้ง (244:10)
         เปน เสียง อย่าง หนึ่ง มัน ดัง อย่าง นั้น, เช่น เสียง ระนาด.
เต๋ง ๆ (244:11)
         เปน เสียง กระ จับ ปี่, เมื่อเขา ดีด สาย มัน เข้า มัน ดัง อย่าง นั้น.
แตง (244:12)
         เปน ชื่อ ผล แห่ง ผัก หลาย อย่าง, เปน เถา เลื้อย อยู่ บน ดิน, คือ แตง โม แตง กวา ที่ เขา ปลูก ตาม ไร่.
      แตง กวา (244:12.1)
               เปน ชื่อ แตง อย่าง หนึ่ง, เปน เถา เลื้อย อยู่ บน ดิน ลูก เล็ก ๆ แตง ที่ เขา กิน กับ เข้า* เปน ต้น.
      แตง ไท (244:12.2)
               เปน ชื่อ แตง* อย่าง หนึ่ง*, ลูก ลาย ๆ ถ้า สุก กิน รศ หวาน เย็น ๆ ที่ เขา กิน กับ น้ำ กะธิ นั้น.
      แตง นู (244:12.3)
               เปน ชื่อ แตง อย่าง หนึ่ง, ลูก กลม ๆ ลาย, โต เท่า ลูก กระ สุน, ถ้า สุก หอม เช่น แตง ไท กิน ไม่ ได้.

--- Page 245 ---
      แตง โม (245:12.4)
               ปู ลิด, เปน ชื่อ* แตง อย่าง หนึ่ง, ลูก โต บ้าง เล็ก บ้าง เนื้อ ใน นั้น ศี แดง บ้าง เหลือง บ้าง, รศ หวาน กิน ดี.
      แตง ร้าน (245:12.5)
               คือ แตง อย่าง หนึ่ง, เหมือน แตง กวา แต่ ลูก ใหญ่ เขา ปลูก ให้ เลื้อย ขึ้น บน ร้าน.
แต่ง (245:1)
         ทำนุ บำรุง, บำรุ บำรุง, ประดับ ประดา, เปน ชื่อ การ จัด แจง ทำ นุ บำ รุง ให้ ดี ขึ้น นั้น, เหมือน อย่าง ประดับ กาย หวี หัว นุ่ง ห่ม ผ้า ใหม่ ให้ งาม.
      แต่ง การ (245:1.1)
               คือ จัดแจง การ ให้ ดี ให้ งาม นั้น, เหมือน อย่าง คน จัดแจง ที่ จะ มี การ สม โพช.
      แต่ง ขันหมาก (245:1.2)
               ประดับ ขันหมาก, คือ จัด แจง กระ ทำ การ วิ วาหะ มง คล นั้น, เหมือน อย่าง การ เบ่าว สาว.
      แต่ง งาน (245:1.3)
               จัดแจง การ, คือ จัดแจง ขัน หมาก นั้น, เหมือน อย่าง คน แต่ง งาน เบ่าว สาว.
      แต่ง ตั้ง (245:1.4)
               คือ การ ที่ ผู้ มี วาศนา มาก, จัดแจง ชื่อ ตาม ยศศักดิ ให้ คน เปน ขุนนาง รับ ราชการ. อนึ่ง แตง* ของ แล้ว ตั้ง ไว้.
      แต่ง ตัว (245:1.5)
               ประดับ กาย, แต่ง องค์, คือ จัดแจง ประดับ กาย ให้ งาม นั้น.
      แต่ง หนังสือ* (245:1.6)
               คือ ทำ เรื่อง ความ ทุก อย่าง, จัดแจง เรียบ เรียง ให้ ความ ดี แล คำ เพราะ ด้วย อักษร.
      แต่ง ห้อง (245:1.7)
               ประดับ ห้อง, ตก แต่ง ห้อง, คือ ประดับ ห้อง ให้ ดู งาน นั้น.
      แต่ง องค์ (245:1.8)
               แต่ง ตัว, แต่ง กาย, ทรง เครื่อง, เปน ชื่อ การ แต่ง ตัว นั้น, เหมือน อย่าง จ้าว ฤๅ พระมะหา กระษัตริย์ ทรง เครื่อง นั้น.
โตง เตง (245:2)
         คือ อาการ แห่ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ เขา แขวน ห้อย ไว้ นั้น, เหมือน อย่าง ไม้ โตง เตง ที่ เขา ธอหูก.
โต่ง (245:3)
         เปน ชื่อ ที่ สุด, เหมือน อย่าง คำ เขา พูด กัน ว่า, ที่ สุด หัว โต่ง นั้น.
โต้ง (245:4)
         ใหญ่, เติบ, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ โต กว่า* ทำ มะดา นั้น, เช่น ใก่ ตะเภา ตัว โต เขา เรียก ว่า ใก่ โต้ง.
ตอง (245:5)
         เปน ชื่อ ใบ กล้วย นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, ใบ ตอง แก่ ตอง อ่อน.
      ตอง กรุ (245:5.1)
               คือ ใบ กล้วย เขา เรียก ใบ ตอง, เอา มัน ลง ปู รอง ไว้ ข้าง ล่าง แล้ว วาง ของ อื่น ข้าง บน นั้น.
      ตอง กล้วย (245:5.2)
               คือ ใบ กล้วย นั้น, ใบ ตอง แห้ง ฤๅ ตอง สด เปน ต้น.
      ตอง แก่ (245:5.3)
               คือ ใบ กล้วย ที่ แก่ ฤๅ สิ่ง ของ ที่ มี ศี เหมือน ใบ ตอง แก่ นั้น, เช่น ผ้า ศี ตอง แก่.
      ตอง แตก (245:5.4)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ใบ มัน แตก เปน แฉก ๆ เปน ของ สำรับ ใช้ ทำ ยา
      ตอง แห้ง (245:5.5)
               คือ ใบ กล้วย แห้ง นั้น, เหมือน อย่าง ตอง แห้ง ที่ เขา มวน ปู้ หรี่.
      ตอง อ่อน (245:5.6)
               เปน ชื่อ ใบ กล้วย ที่ ยัง อ่อน อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง ตอง ที่ ยัง เปน หยวก ผ้า อยู้.
      ตอง ตอย (245:5.7)
               คือ กัรน แคระ อยู่ เหมือน ต้น ไม้ มัน ไม่ จำเรีญ งาม ไม่ โต มัน แคระ อยู่, ไม่ สม กับ อายุ ม้น* ว่า มัน แคระ
ต่อง แต่ง (245:6)
         โตง เตง, แขวน, ห้อย, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ห้อย โตง เตง ยู่ นั้น เช่น ลูก อัน ทะ.
ต้อง (245:7)
         ถูก, คือ ถูก นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, พูด จา ถูก ต้อง.
      ต้อง การ (245:7.1)
               ถูก งาน, คือ ถูก การ นั้น, เหมือน อย่าง เฃา ถาม กัน ว่า ท่าน จะ ต้อง การ สิ่ง ใด บ้าง.
      ต้อง เกาะ (245:7.2)
               ถูก เกาะ, คือ ถูก เกาะ นั้น, เหมือน อย่าง คน ที่ เปน ลูก นี่ เขา ต้อง เกาะ เอา ตัว ไป เร่ง เงิน.
      ต้อง กุม (245:7.3)
               ถูก จับ, เปน ชื่อ ถูก กุม เอา ตัว ไว้ นั้น, เช่น พวก นัก โทษ ที่ ต้อง จับ เอา ไป ไว้.
      ต้อง ข้อ (245:7.4)
               ถูก ข้อ, คือ ถูก ข้อ ความ นั้น, เหมือน อย่าง คน ฉลาด เขา พูด ต้อง ข้อ ต้อง กะทง.
      ต้อง คะดี (245:7.5)
               ถูก คะดี, คือ ถูก ความ นั้น, เหมือน อย่าง คน ต้อง เปน ความ กัน.
      ต้อง ความ (245:7.6)
               ถูก คะดี, คือ ถูก ความ นั้น, เช่น ต้อง คะดี.
      ต้อง จำ (245:7.7)
               ถูก จำ, คือ ถูก จำ นั้น, เช่น พวก คน โทษ ต้อง จำ จอง โซ่ร ตรวน.
      ต้อง จอง (245:7.8)
               ถูก ลง เหล็ก, คือ ถูก ผูก ถูก มัด นั้น, เช่น เขา พูด กัน ว่า เรา ต้อง จำ โซ่ ตรวน.
      ต้อง โซ่ร (245:7.9)
               ถูก โซ่ร, คือ การ ที่ ถูก จำ ด้วย โซ่ร นั้น.
      ต้อง ด่า (245:7.10)
               ถูก ปริ ภาษ, คือ ถูก ด่า นั้น.
      ต้อง ตี (245:7.11)
               ต้อง ประ หาร, คือ ถูก ตี นั้น.

--- Page 246 ---
      ต้อง กัน (246:7.12)
               ถูก กัน, คือ คำ คน สอง คน พูด ความ รวม กัน สม กัน. อนึ่ง เอา มือ จับ กัน.
      ต้อง ถอง (246:7.13)
               คือ ความ ที่ ถูก ถอง นั้น, เช่น ลูก เขย ทำ ชั่ว* มาก พ่อ ตา ถอง เสีย เปน ต้น.
      ต้อง การ อะไร (246:7.14)
               เปน คำ เขา พูด ด้วย จะ ไม่ ให้ ของ เปน ต้น, อนึ่ง เปน คำ ถาม @า.
      ต้อง ที่ (246:7.15)
               คือ ถูก ที่ นั้น, เขา พูด กัน ว่า ท่าน ว่า กล่าว นั้น, ต้อง ที่ อยู่ แล้ว.
      ต้อง คุน (246:7.16)
               คือ คน ดี อยู่ ไม่ เจ็บ ป่วย, แล ถูก อันตราย เพราะ เขา ทำ ด้วย วิชา ให้ ของ มี เนื้อ หนัง เปน ต้น, เข้า ตัว ผู้ นั้น
      ต้อง ใจ (246:7.17)
               คือ ของ ที่ ได้ สบ ประสงค์ ถูก อารมณ นั้น, เหมือน ชอบ ใจ.
      ต้อง โทษ (246:7.18)
               คืร ความ ที่ ถูก โทษ นั้น, เช่น คน กระทำ ความ ชั่ว* ต้อง เปน โทษ ต่าง ๆ นั้น.
      ต้อง ด้วย (246:7.19)
               เปน คำ พูด ว่า ผู้ นั้น ว่า ต้อง ด้วย กฎ หมาย.
      ต้อง ทัณธ์ (246:7.20)
               คือ ถูก อาชญา นั้น, เช่น คน ต้อง รับ พระราชอาชา
      ต้อง ตาย (246:7.21)
               คือ ถึง ตาย มี โทษ กระบท เปน ต้น.
      ต้อง ทุบ (246:7.22)
               คือ ถูก ทุบ นั้น, เช่น คน เปน โทษ ต้อง ทุบ ต้อง ตี ด้วย ท่อน ไม้.
      ต้อง ประสงค์ (246:7.23)
               คือ ความ ต้อง การ นั้น, เหมือน อย่าง พระเจ้า แผ่น ดิน มี พระประสงค์.
      ต้อง ไป (246:7.24)
               คือ ถูก ไป นั้น, เช่น คน ที่ ต้อง เกณท์ ไป ทับ เปน ต้น นั้น.
      ต้อง แต้ง (246:7.25)
               คือ ของ ที่ เขิน แล สั้น มี เสื้อ เปน ต้น, ว่า สั้น ต้อง แต้ง.
ตวง (246:1)
         การ ที่ คน เอา ของ เปน ต้น ว่า เข้า สาร ใส่ ให้ เตม ทนาน ฤๅ ถัง เปน ต้น แล้ว เทลง นั้น.
      ตวง เกืลอ (246:1.1)
               การ ที่ คน เอา เกืลอ ใส่ ลง ใน ถัง ให้ เต็ม, แล้ว เทลง ว่า ถัง หนึ่ง นั้น.
      ตวง เข้า เปลือก (246:1.2)
               การ ที่ คน เอา เข้า เปลือก เทลง ใน สัด ให้ เต็ม แล้ว เทลง ที หนึ่ง ว่า ตวง ได้ ถัง หนึ่ง นั้น.
      ตวง เข้า สาร (246:1.3)
               การ ที่ คน เอา เข้า สาร เทลง ใน ถัง ให้ เต็ม แล้ว เอา ออก จาก ถัง นั้น.
      ตวง น้ำ ผึ้ง (246:1.4)
               การ ที่ คน เอา น้ำ ผึ้ง เท ใส่ ทะนาน ให้ เต็ม, แล้ว เทออก มา นั้น.
      ตวง น้ำ มัน (246:1.5)
               การ ที่ คน เอา น้ำ มัน ใส่ ลง ใน ทะนาน ฤๅ ถัง, แล้ว เทออก นั้น.
      ตวง น้ำ อ้อย (246:1.6)
               การ ที่ คน เอา น้ำ อ้อย ใส่ ลง ใน ถัง แล้ว เท ออก นั้น.
เตียง (246:2)
         แท่น, ตั่ง, แค่ร, เครื่อง* เขา ทำ ด้วย ไม้ กะดาน ทำ รูป ยาว บ้าง สั้น บ้าง, มี ท้าว สี่ ท้าว สำรับ เปน ที่ นอน บ้าง ที่ นั่ง บ้าง.
      เตียง แก้ว (246:2.1)
               เปน ชื่อ เตียง ที่ เขา ประดับ ด้วย แก้ว ฤๅ ทำ ด้วย แก้ว.
      เตียง* เงิน (246:2.2)
               เตียง* ทำ ด้วย เงิน นั้น, คือ เตียง ที่ เขา หุ้มด้วย เงิน.
      เตียง จีน (246:2.3)
               เตียง นอน ที่ เขา ทำ มา แต่ เมือง จีน,
      เตียง ตะมูก สิงห์ (246:2.4)
               เตียง ที่ มี ท้าว เหมือน หย่าง รูป ตะมูก สิงห์ นั้น,
      เตียง ตั้ง (246:2.5)
               ตำ เตียง ว่า แล้ว, แต่ ตั้ง นั้น เปน คำ สร้อย พลอย ปาก.
      เตียง ตู้ (246:2.6)
               คือ เตียง นอน พื้น ล่าง ทำ เปน ตู้ สำรับ ไว้ ของ ไต้ นั้น.
      เตียง* ทอง (246:2.7)
               แทน ทอง, เตียง ที่ ปิด ทอง ฤๅ บุทอง หุ้ม นั้น. เช่น เตียง ที่ พระมะหา กระษัตริย์ ทรง นั้น.
      เตียง นอน (246:2.8)
               เตียง ที่ สำรับ นอน นั้น.
      เตียง ฝรั่ง (246:2.9)
               เตียง ของ พวก ฝั่ง นั้น, คือ เตียง บี่* พวก อังกฤศ ใช้ เปน ต้น.
เติ่ง (246:3)
         การ ที่ คน ว่า กล่าว ยัง ไม่ ตก ลง กัน, ค้าง กัน อยู่ ยัง ไม่ แล้ว นั้น. อนึ่ง คือ กะบอก ที่ เขา ตั้ง ไว้ สำรับ* เทเบี้ย ดวด นั้น.
      เติ่ง กัน (246:3.1)
               ความ ที่ ว่า กัน ค้าง อยู่ นั้น, เช่น คน เปน ความ ละ เลย กัน ต่าง คน ต่าง ไป นั้น.
      เติ่ง ค้าง อยู่ (246:3.2)
               การ ทั้ง ปวง ที่ ทำ ค้าง คา อยู่ ไม่ แล้ว นั้น.
      เติ่ง ดวด (246:3.3)
               เปน ชื่อ กะ บอก ไม้ ที่ ปัก ขึ้น ไว้ สำรับ เล่น ดวด นั้น.
ตด (246:4)
         ผาย ลม, เปน ชื่อ ลม ที่ ออก ตาม รู ก้น มี กลิ่น เหม็น นั้น.
      ตด หมู ตด มา (246:4.1)
               กะ พัง โหม, เปน ชื่อ เถา วัล อย่าง หนึ่ง ใบ เล็ก ๆ กลิ่น มัน เหม็น เช่น ตด หมู ตด หมา นั้น.

--- Page 247 ---
ตัด (247:1)
         รอน, บัน, เปน ชื่อ ฟัน ขาด ออก ไป นั้น, เช่น คน ทอน ไม้ ขาด ออก เปน สอง ท่อน*.
      ตัด กิ เลศ (247:1.1)
               รอน ราค, การ ตัด โลภ เปน ต้น ที่ มัน กระทำ ให้ ใจ เส้า หมอง เช่น พระ อริยะบุคล ตัด กิเลศ นั้น.
      ตัด เก้ลา (247:1.2)
               บั่นเก้ลา, การ ที่ ตัด หัว นั้น, เช่น คน ทำ ผิด โทษ ถึง ตาย เขา เอา ไป ตัด ศีศะ เสีย.
      ตัด เกษ (247:1.3)
               ตัด ผม, การ ที่ ตัด มวย ผม นั้น, เช่น เขา พูด กัน ว่า พระเจ้า ตัด เกษ.
      ตัด กัน (247:1.4)
               การ ที่ ตัด จาก ญาติ์ กัน นั้น, เช่น พี่ น้อง โกรธ กัน แล้ว พูด จา ตัด รอน ว่า ไม่ เปน พี่ เปน น้อง กัน แล้ว.
      ตัด ขาด (247:1.5)
               การ ที่ ฟัน ให้ ฃาด นั้น.
      ตัด โคตร์ (247:1.6)
               การ ที่ ฆ่า เสีย ให้ ตาย สิ้น ทั้ง โคตร์ นั้น.
      ตัด เง่า (247:1.7)
               การ ที่ ฟัน เง่า ต้น ไม้ ใต้ ดิน ให้* ขาด นั้น, เช่น คน ขุด เผือก มัน เปน ต้น นั้น.
      ตัด ใจ (247:1.8)
               การ ที่ หัก ใจ ให้ ไป นั้น, เช่น คน เสีย สละ สิ่ง ของ เปน ที่ รักษ์ ให้ เขา นั้น.
      ตัด จุก (247:1.9)
               การ ที่ ตัด ผม จุก นั้น.
      ตัด จิตร์ (247:1.10)
               การ ตัด ใจ นั้น.
      ตัด โฉม (247:1.11)
               การ ที่ ตัด รูป ให้ งาม นั้น, เช่น พวก ช่าง เรือ ตัด รูป รือ ให้ งาม นั้น.
      ตัด ชีวิตร์ (247:1.12)
               การ ที่ ตัด ความ เปน นั้น, เพราะ ความ ตาย นั้น, มัน ย่อม ตัด เสีย ซึ่ง ชีวิตร์ สัตว์ ทั้ง ปวง.
      ตัด ชาติ์ (247:1.13)
               การ ที่ ตัด ความ เกิด ไม่ ให้ เกิด ต่อ ไป อีก นั้น.
      ตัด เชื้อ (247:1.14)
               การ ที่ ตัด เชื้อ มี เชื้อ ไฟ ไหม้ เปน ต้น, เช่น ตัต เรือน ที่ เปน เชื้อ เสีย มิ ไห้ ไฟ ไหม้ ต่อ ไป ได้.
      ตัด ความ ชั่ว (247:1.15)
               การ ที่ กระทำ ความ ชั่ว มี โกหก มารยา เปน ต้น ให้ ขาด จาก สัน ดาร นั้น.
      ตัด ซุง (247:1.16)
               การ ที่ คน ฟัน ไม้ ซุง ให้ ขาด นั้น, เช่น พวก ชาว ป่า ตัด ซุง ขาย.
      ตัด เด็ด (247:1.17)
               การ ฟัน ให้ ขาด เด็ด นั้น, เช่น คน เด็ด ผัก ให้ ขาด จาก ต้น นั้น.
      ตัด ทุกข์ (247:1.18)
               การ ที่ ตัด ความ ทุกข์ ให้ ขาด นั้น, ไม่ ให้ ทุกข์ มี เพราะ เชื่อ คำ พระเจ้า เปน ต้น.
      ตัด ทาง (247:1.19)
               การ ที่ คน ตัด ทาง ทำ ทาง เดิร จริง ๆ ฤๅ ที่ ทำ ให้ เสีย ทาง ไม้ ตรี นั้น.
      ตัด เนื้อ ความ (247:1.20)
               คำ ที่ คน พูด ลัด ตัด* เอา แต่ ใจ ความ สั้น ๆ นั้น, เช่น คน แต่ง สำ เนา ความ เปน ต้น.
      ตัด บาป (247:1.21)
               การ ที่ คน ตั้ง ใจ เสีย* ไหม่ ใด้ ไม่ มี บาป นั้น.
      ตัด ผล ตัด ประ โยชน์ (247:1.22)
               ขาด จาก ผล ขาด จาก ประ* ประโยชน์ นั้น เช่น ยุดา อิศการิ โอด เปน ต้น.
      ตัด ผ้า (247:1.23)
               การ ที่ คน เอา มีด ฤๅ ตะ ไกร ตัด เข้า ที่ ผ้า นั้น.
      ตัด ผัว ตัด เมีย (247:1.24)
               การ ที่ คน ตัด ขาด จาก ผัว เมีย กัน นั้น, เช่น ผัว เมีย โกรธ กัน, แล้ว ว่า กล่าว เอง กับ เรา ขาด จาก ผัว เมีย กัน นั้น.
      ตัด* พ่อ ตัด แม่ (247:1.25)
               ความ ที่ ขาด จาก พ่อ แม่ นั้น, เช่น คน โกรธ พ่อ แม่ แล้ว ว่า กล่าว ตัด รอน กัน นั้น.
      ตัด พี่ ตัด น้อง (247:1.26)
               การ ที่ คน พี่ น้อง โกรธ กัน แล้ว ตัด รอน กัน ว่า เอง กับ เรา ขาด กัน, อย่า เปน พี่* น้อง กัน เลย.
      ตัด พวก ตัด พ้อง (247:1.27)
               ความ ที่ ขาด กัน กับ พวก พ้อง นั้น, เช่น คำ* ว่า เจ้า กับ ข้า ขาด จาก พวก พ้อง กัน.
      ตัด ไม้ (247:1.28)
               การ ที่ ฟัน* ไม้ ให้ ขาด นั้น.
      ตัด ภ้อ (247:1.29)
               ความ ที่ พูด จา แดก ดัน นั้น, เช่น คน มั่ง* มี เคือง ใจ แส้ง ว่า กับ คน จน ว่า, เจ้า เหน ว่า เรา เปน คน จน ฤๅ จึง ดู ถูก เรา.
      ตัด รักษ์ ตัด ใค่ร (247:1.30)
               การ ที่ ตัด ความ รักษ์ ใค่ร กัน เสีย นั้น.
      ตัด สวาศ ขาด กัน (247:1.31)
               ความ ตัด รักษ์ ขาด จาก กัน นั้น, เช่น ผัว กับ เมีย อย่า กัน นั้น.
      ตัด สิน (247:1.32)
               การ พิภาก ษา ความ ชี้ ขาด นั้น, เช่น พวก ใน กรม ลูก ขุน นั้น.
      ตัด ห่วง ตัด ใย (247:1.33)
               การ ที่ ละ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ขาด ได้ ไม่ เอื้อ* เฟือ นั้น.
      ตัด อา ไลย (247:1.34)
               ตัด ความ รักษ์ ความ เอื้อ* เฟือ เสี้ย* ได้ นั้น, เช่น ผัว เมีย อย่า กัน ขาด แล้ว.
ตาด (247:2)
         เปน ชื่อ ผ้า อย่าง ดี ที่ เขา ธอ ด้วย เงิน นั้น, เหมือน อย่าง ตาด ที่ พวก แขก เอา มา แต่ เมือง เทษ.
      ตาด เงิน (247:2.1)
               เปน ชื่อ ตาด พื้น ขาว ที่ ดู เปน ศี เงิน อยู่ นั้น, เช่น ตาด ที่ มา แต่ เมือง แขก นั้น.

--- Page 248 ---
      ตาด ดอก (248:2.2)
               เปน ชื่อ ผ้า ตาด ที่ เขา ทำ เปน ดอก ดวง ต่าง ๆ นั้น.
      ตาด ทอง (248:2.3)
               เปน ชื่อ ผ้า ตาด พื้น เหลือง ที่ ดู งาม เปน ศี ทอง อยู่ นั้น.
ติด (248:1)
         การ ที่ ค่อง อยู่ ไม่ หลุด นั้น, เช่น ติด ตัง ติด หล่ม ติด พรรท์ เปน ต้น นั้น.
      ติด การ (248:1.1)
               ความ ที่ คน เกี่ยว ค่อง อยู่ ด้วย กิจการ ทั้ง ปวง นั้น
      ติด คุก (248:1.2)
               การ ที่ ต้อง จำ ติด อยู่ ใน คุก นั้น, เช่น อ้าย ผู้ ร้าย* เปน โทษ หลวง นั้น.
      ติด ค้าง (248:1.3)
               การ ที่ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ติด แล้ว ค้าง อยู่ นั้น.
      ติด ความ (248:1.4)
               เปน ชื่อ ผู้ ที่ เปน ความ ต้อง ติด อยู่ นั้น, เช่น กับ คน เปน ความ ต้อง คุม กัน อยู่.
      ติด งาน (248:1.5)
               คือ ควาน* ที่ ต้อง ติด การ งาน นั้น, เช่น พวก นาย ด้าน นาย งาน เปน ต้น นั้น.
      ติด ธุระ (248:1.6)
               คือ ความ ที่ มี ธุระ จำ เปน อยู่ กับ ตัว นั้น.
      ติด เงิน (248:1.7)
               เปน ชื่อ ความ ที่ เงิน ติดพันท์ กัน ค้าง อยู่ นั้น.
      ติด ใจ (248:1.8)
               เนน* ชื่อ ความ สง ไสย ที่ ติด อยู่ ใน ใจ นั้น.
      ติด ตาม (248:1.9)
               ความ ที่ ตาม กัน ติด ไป ใน เบื้อง* หลัง นั้น.
      ติด ตาย (248:1.10)
               การ ที่ ติด อยู่ จน ตาย นั้น.
      ติด ตื้ว* (248:1.11)
               การ ที่ ติด แล้ว รัด แน่น ด้วย* นั้น.
      ติด ถ้อย ติด ความ (248:1.12)
               คือ ความ ที่ คน ต้อง คดี เปน ความ ติด อยู่ นั้น.
      ติด ต่อ (248:1.13)
               คือ สิ่ง ของ ที่ ติด ต่อ กัน นั้น.
      ติด โซ่ร (248:1.14)
               คือ การ ที่ เขา เอา โซ่ร ใส่ ไว้ ที่ ตัว นั้น.
      ติด แห้ง (248:1.15)
               คือ เรือ ไป ถึง ที่ ไม่ มี น้ำ, ฤๅ มัน ค้าง อยู่ บน โขด นั้น.
      ติด โทษ (248:1.16)
               เปน ชื่อ คน ที่ ต้อง ติด อยู่ เพาะ เปน โทษ นั้น.
      ติด ทัณท์ (248:1.17)
               เปน ชื่อ คน ที่ ต้อง ติด อยู่ ด้วย อาชา นั้น.
      ติด นุง นัง (248:1.18)
               เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ ติด คุรคระ นั้น.
      ติด เนื้อ ติด ใจ (248:1.19)
               ติด เนื้อ ต้อง ใจ นั้น.
      ติด บ่วง (248:1.20)
               สิ่ง ที่ ติด อยู่ ใน บ่วง นั้น, เช่น เนื้อ ติด บ่วง นาย พราน นั้น.
      ติด บน ติด บาน (248:1.21)
               ความ ที่ ต้อง บน ต้อง บาน นั้น, เช่น คน บน บาน ตระลาการ จะ ให้ ความ ชะนะ.
      ติด นี่ ติด สิน (248:1.22)
               ความ ที่ เปน ลูก นี่ เขา ด้วย กู้ ยืม เงิน เขา มา เปน ต้น.
      ติด ไฟ (248:1.23)
               ก่อ ไฟ, ดัง ไฟ, จุด ไฟ, คือ การ ที่ ก่อ ไฟ ให้ ติด ที่ ฟืน นั้น, เช่น อย่าง ที่ ก่อ ไฟ หุง เข้า ต้ม แกง เปน ต้น นั้น
      ติด ไม้ (248:1.24)
               ผูก ผู้ ร้าย, เปน ชื่อ การ ที่ ให้ อ้าย ผู้ ร้าย มัน ติด อยู่ กับ ไม้ นั้น.
      ติด แรง กัน (248:1.25)
               เปน ชื่อ การ ที่ ออก แรง ของ เรา ไป ติด อยู่* ที่ เพื่อน กัน นั้น, เช่น คน บอก แขก ทำ การ นา เปน ต้น.
      ติด วุ่น วาย (248:1.26)
               ความ ที่ ติด อยู่ แล้ว ต้อง วุ่น วาย ด้วย นั้น, เช่น คน ไป ติด อยู่ ใน เมือง ที่ ต้อง รบ กัน วุ่น วาย นั้น.
      ติด สิน บน (248:1.27)
               บน เขา ขึ้น. การ ที่ ให้ สิน บน ติด เข้า ไป นั้น, เช่น นาย ว่า จะ ให้ สิน บน แก่ คน ผู้ รับ.
      ติด สัตว์ (248:1.28)
               คือ การ ที่ สัตว์ เดรฉาน ทั้ง ปวง เกิด ความ ยิน ดี ติด กัน นั้น, เช่น หมา ติด เก้ง กัน, เมื่อ ระดู เดือน สิบ สอง เปน ต้น.
      ติด สอย (248:1.29)
               คือ ความ ที่* พูด จา เปน อุบาย ติด พัน เข้า ไป นั้น, เช่น คน บน แม่ สื่อ ให้ พูด ผู้ หญิง เปน ต้น.
ตืด (248:2)
         เปน ชื่อ กลิ่น เหม็น อย่าง หนึ่ง, เช่น กลิ่น ปลา ย่าง ที่ ทิ้ง ไว้ นาน จน เปน สมวน ฤๅ การ ตะ หนี นั้น.
      ตืด ตัง (248:2.1)
               อา การ คน ตะหนี ไม่ ภอ ใจ ให้ ของ แก่ ผู้ ใด นั้น, เช่น ว่า ผู้ นั้น ตืด ตัง.
ตุด ตู่ (248:3)
         ตุก แก่, เปน* ชื่อ สัตว์ อย่าง หนึ่ง, คือ ตุก แก นั้น.
ตุด หมู ตุด หมา (248:4)
         กะพัง โหม, เปน ชื่อ เถา วัน อย่าง หนึ่ง, ใบ เล็ก ๆ กลิ่น เหม็น เหมือน ตต หมู ตด หมา ใช้ ทำ ยา.
ตูด (248:5)
         รู ก้น, เปน ชื่อ รู ทวาร หนัก นั้น, เช่น ทวาร ท* สำรับ ถ่าย อุ จา ระ นั้น.
      ตูด ดาก (248:5.1)
               เปน ชื่อ สิ่ง ที่ ทวาร หนัก นั้น, มี เนื้อ เปน ศี แดง เรียก ว่า ดาก ยื่น ย้อย ออก มา คา อยู่ ที่ รู ก้น นั้น.
      ตูด บาน (248:5.2)
               เปน ชื่อ* อาการ* ที่ รู ทวาน หนัก นั้น เปน โรค บาน อยู่.
แตด (248:6)
         เปน ชื่อ เนื้อ ที่ มัน งอก เปน ตุ่ม แหลม ๆ อยู่ ที่ กลาง โย- นี นั้น, เช่น แตด ที่ มี อยู่ ใน ที่ ละอาย ของ ผู้ หญิง เปน ต้น.
ตอด (248:7)
         กัด, ขบ, การ ที่ กัด เอา ด้วย ปาก นั้น, เช่น กับ คำ เขา พูด กัน ว่า งู ตอด ฤๅ ปลา ตอด นั้น.

--- Page 249 ---
ตน (249:1)
         ตัว, กาย, คือ ตัว นั้น เช่น คำ เขา พูด ว่า, ของ ตน ฤๅ ใช่ ตน ฤๅ ตน หนึ่ง นั้น.
ต้น (249:2)
         โคน, กก, เปน ชื่อ โคน ฤๅ ที่ สุด เบื้อง ต่ำ นั้น, เช่น เขา พูด กัน ว่า ต้น ไม้ ฤๅ ต้น หญ้า นั้น.
      ต้น กก (249:2.1)
               เปน ชื่อ หญ้า ต้น เปน สาม เหลืยม, ขึ้น อยู่ ตาม ทุ่ง นา ตน มัน สูง สัก ๓ สอก ใช้ สาน เสื่อ* ได้.
      ต้นเ กด (249:2.2)
               เปน ชื่อ ต้น อย่าง หนึ่ง, เปน ไม่ ใหญ่ นัก กิ่ง* มี ตา คุร รคะ เช่น คน เอา มา ทำ ใม้ ท้าว เปน ต้น นั้น.
      ต้น กุ่ม (249:2.3)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ ใอญ่ ขึ้น อยู่ ตาม ป่า ทุง ผล กิน ไม่ ใด้, เขา ทำ อยา บ้าง.
      ต้น แก้ว (249:2.4)
               เปน ชื่อ ต้น อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ ย่อม* ๆ มี ดอก* หอม ผล กิน ไม่ ได้ ต้น มัน มี ลาย, ที่ เขา ทำ ด้ำ มีด นั้น.
      ต้น ไกร (249:2.5)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ ใหญ่ ใบ เล็ก ๆ มี ผล กิน ไม่ ใด้, ใบ อ่อน กิน กับ เข้า ใด้ มัก ขึ้น อยู่ ริม บ้าน
      ต้น กร่าง (249:2.6)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ ใหญ่ ใบ เทา ฝ่า มือ ผล กิน ไม่ ใด้, เขา ปลูก เอา รม ไ ว้ อา ไศรย เปน ต้น.
      ต้น กรวย (249:2.7)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ ย่อม ๆ ผล กิน ไม่ ใด้, ใบ ทำ อยา ใด้ พิศ มัน เมา.
      ต้น กล้าย (249:2.8)
               เปน ชื่อ ต้น อย่าง หนึ่ง, เหมือน กล้วย ผล ยาว ๆ มัน ขึ้น อยู่ ใน ป่า กิน ดี.
      ต้น กล้วย (249:2.9)
               เปน ชื่อ ต้น อย่าง หนึ่ง, เปน ก้ลวย มี หลาย พัน หลาย อย่าง, เช่น ก้ลวย หอม ก้ลวย ไข่ ใน สวน นั้น.
      ต้น ขา (249:2.10)
               โคน ขา, กก ขา, เช่น ต้น ขา คน ฤๅ ขา สัตว์ แล ขา มะนุษ ทั้ง ปวง เปน ต้น นั้น.
      ต้น ข่า (249:2.11)
               เปน ชื่อ ต้น อย่าง หนึ่ง, ที่ เขา เอา หัว มา ทำ เครื่อง แกง เปน ต้น นั้น.
      ต้น แขน (249:2.12)
               โคน แขน, คือ โคน แห่ง แขน นั้น, เช่น ต้น แขน ที่ ต่อ กัน กับ หัว ไหล่ เปน ต้น นั้น.
      ต้น คาง (249:2.13)
               โคน คาง, เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ ใหญ่, เช่น ต้น คาง ที่ ใบ มัน ค้ลาย กับ มะ ขาม นั้น.
      ต้น คูน (249:2.14)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, คือ ต้น ราช พฤกษ์ นั้น, เช่น* ที่ เฃา เอา ฝัก มัม* ไช้ ต้ม อยา นั้น.
      ต้น ฅอ (249:2.15)
               เปน ชื่อ โคน ลำ ฅอ นั้น, เช่น ต้น ฅอ ที่ ต่อ กับ บ่า เปน ต้น นั้น.
      ต้น งิ้ว (249:2.16)
               คือ โคน งิ้ว นั้น เอง เปน ต้น ไม้ ใหญ่, เช่น ต้น งิ้ว ที่ เขา เอา ลูก มัน มา ทำ นุ่น เปน ต้น นั้น.
      ต้น เงาะ (249:2.17)
               คือ โคน ต้น เงาะ นั้น เอง ต้น ยอม ๆ, เช่น ต้น เงาะ ที่ ลูก มัน เปน ขน ๆ รศ เปรี้ยว ๆ หวาน ๆ นั้น.
      ต้น จำ ปา (249:2.18)
               เปน ต้น ไม้ ใหญ่ ดอก เปน กลีบ ศี เหลือง ๆ กลิ่น หอม นั้น.
      ต้น จำ ปี (249:2.19)
               เปน ไม้ ใหญ่ มี ดอก ศี ขาว กิ่ลน* หอม ต้น สูง สัก ๓ วา ๔ วา นั้น, ที่ ดอก เหมือน อย่าง จำ ปา แต่ ศี ขาว.
      ต้น จัน (249:2.20)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ ใหญ่ มี ผล สุก หอม ศี เหลือง รศ วาน* น้อย ๆ นั้น.
      ต้น ฉำฉา (249:2.21)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ ใหญ่ มี อยู่ ที่ เมือง จีน เขา ต่อ สำ ปัาน* โล้ นั้น.
      ต้น เงิน (249:2.22)
               เปน ต้น ไม้ อย่าง ย่อม ใบ มัน ที่ กลาง ขาว, รอบ นอก นั้น ศี เขียว ๆ, เช่น อย่าง คน กู้ เงิน ฦๅ ขาย คน เอา เงิน นั้น เรียก ว่า ต้น เงิน.
      ต้น ชา (249:2.23)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ใบ ชา ต้น ย่อม ๆ เช่น เขา เอา มา ขาย แต่ เมือง จีน.
      ต้น ชิง ชัน (249:2.24)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ต้น ใหญ่ มี แก่น แขง เช่น ไม้ ชิง ชัน, ที่ เขา ขาย ส่ง ไป เมือง จีน นั้น.
      ต้น ชุม แสง (249:2.25)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เช่น ชุม แสง ที่ มัน ขึ้น อยู่ ตาม ฝ่าย เหนือ เปน ต้น.
      ต้น ชุม เห็ด (249:2.26)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เช่น ชุม เห็ด ที่ เขา ใช้ ทำ อยา ขี้ กลาก เปน ต้น นั้น.
      ต้น ซ่ม (249:2.27)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ ย่อม ๆ, มี ผล สุก เปรี้ยว ๆ หวาน ๆ เช่น ซ่ม เปลือก บาง ฤๅ ซ่ม แก้ว นั้น.
      ต้น เดือย (249:2.28)
               เปน ชื่อ ต้น อย่าง หนึ่ง, เปน หญ้า มี เม็ด เท่า เม็ด เข้า โพช, เช่น เขา เอา เม็ด มา หุง ทำ น้ำ กะธิ กิน นั้น.
      ต้น ตาล (249:2.29)
               โคน ตาล, เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ต้น โต้ ไม่ มี กิ่ง* มี แต่ ลำ ต้น เปน ตัว ผู้ ตัว เมีย, เขา ทำ น้ำ ตาล ม่อ ขาย เปน ต้น นั้น.
      ต้น เตย (249:2.30)
               เปน ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ คล้าย* กัน กับ ลำ เจียก นั้น, เช่น เขา เอา ใบ ทำ กะ แชง เปน ต้น.

--- Page 250 ---
      ต้น ทอง กวาว (250:2.31)
               เปน ต้น อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ ใหญ่ ใบ โต ดอก เปน ช่อ พวง ศี แดง, เช่น ศี แดง เหมือน ดอก ทอง หลาง ใบ มน นั้น.
      ต้น ทอง หลาง (250:2.32)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เช่น ต้น ทอง หลาง ที่ เขา ใช้ ทำ เข็ม เปน ต้น.
      ต้น นาง แย้ม (250:2.33)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ ยอม ๆ ใบ โต มี ดอก เปน ช่อ หอม ศี ขาว, เช่น ที่ เขา ปลูก ไว้ ชม ดอก เปน ต้น.
      ต้น หนาด (250:2.34)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ เล็ก ใบ ยาว กลิ่น หอม คล้าย ภิม เสน, เช่น เขา ปลูก ทำ อย่า* เปน ต้น.
      ต้น นน ทรี (250:2.35)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ อย่าง กลาง ใบ เลก ๆ ดอก เปน ช่อ ศี เหลือง, เช่น ต้น นน ทรี ที่ เขา ปลูก ไว้ ตาม วัด ทำ อย่า* นั้น.
      ต้น บท (250:2.36)
               ต้น แห่ง บท หนังสือ นั้น, เช่น คน สำรับ บอก ต้น บท เล่น ละ คอน.
      ต้น ทุน (250:2.37)
               เปน ชื่อ เงิน ที่ สำรับ ทำ ทุน, เช่น เงิน เดิม ที่ สำรับ ใช้ ทำ ทุน ค้า ขาย.
      ต้น ผัก (250:2.38)
               เปน ชื่อ ผัก หลาย อย่าง, เช่น ต้น ผัก กาด ผัก โหม ที่ เขา ปลูก ขาย.
      ต้น ฝาง (250:2.39)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ อย่าง กลาง ต้น เปน นาม ใบ เล็ก ๆ, แก่น ศี แดง เขา ตัด มา แต่ ป่า สำรับ ขาย นั้น.
      ต้น พิม เสน (250:2.40)
               เปน ชื่อ ต้น อย่าง หนึ่ง, เปน หญ้า ใบ โต ๆ มี กลิ่น หอม, เช่น ต้น พิม เสน เขา เอา ใบ ย้อม ผ้า ให้ หอม
      ต้น แฟบ (250:2.41)
               เปน ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เช่น ต้น แฟบ ตาม ป่า เหนือ ที่ เขา ใช้ ทำ ฟืน.
      ต้น ภุม มะเรียง (250:2.42)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้* อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ ย่อม ๆ มี ผล เปน พวง ๆ กิน ฝาด ๆ หวาน, เช่น ต้น ภุม มะ เรียง ตาม สวน.
      ต้น ยาง (250:2.43)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ ใหญ่ อย่าง หนึ่ง, เช่น ต้น ยาง ใน ดง ที่ เขา บ่อง เอา ไฟ เผา ทำ น้ำ มัน ยาง.
      ต้น รัก (250:2.44)
               เปน ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ต้น ไม้ อย่าง ย่อม บ้าง เล็ก บ้าง เขา ใช้ ยาง, เช่น ต้น รัก ยาง ดำ ๆ ที่ เขา ใช้ ทา สำรับ ปิด ทอง.
      ต้น รง (250:2.45)
               เปน ชื่อ* ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง. เปน ไม้ ใหญ่ เขา เอา ยาง มา ใช้ ทา ศี เหลือง ๆ, มา แต่ แว่น แค้วน เมือง เขมร.
      ต้น รัง (250:2.46)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ ใหญ่ อยู่ ใน ป่า เช่น เฃา ตัด เอา มา ทำ เสา เรือน.
      ต้น เรียง (250:2.47)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เช่น ต้น เรียง ที่ ป่า เหนือ ที่ เขา เอา เปลือก ห่อ ไต้.
      ต้น ลำ ดวน (250:2.48)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง. เปน ไม้ อย่าง กลาง มี ดอก หอม, เช่น ดอก นม แมว เปน สี่ กลีบ หอม.
      ต้น ลำ ไย. (250:2.49)
                เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เช่น ต้น ลำ ไย ที่ ลูก กลม ๆ รศ หวาน หอม ดิ*.
      ต้น ละ มุด (250:2.50)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ ใหญ่* ผล สุก กิน หวาน ผล เท่า* ลูก พิกุล, เช่น ต้น เขา ปลูก ไว้ นั้น.
      ต้น ลาน (250:2.51)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ ใหญ่ คล้าย* ต้น ตาล อยู่ ใน ป่า สูง, เช่น ต้น ลาน เขา เอา ใบ มา เขียน หนังสือ
      ต้น ว่า (250:2.52)
               เปน ชื่อ ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ ใหญ่ ผล เลก ๆ สุก กิน หวาน มี* อยู่ ตาม สวน บ้าง ตาม วัด บ้าง ป่า บ้าง.
      ต้น สา เก (250:2.53)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง*, เปน ไม้ ใหญ่ มี ผล เท่า* ลูก ซ่ม โอ, เช่น เขา แกง บวช กิน เปน ของ หวาน.
      ต้น สะแก (250:2.54)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ อย่าง กลาง, เช่น เขา สำรับ ใช้ ทำ ฟืน,
      ต้น สัก (250:2.55)
               เปน ชื่อ ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ ใหญ่ สง* ใบ โต กว้าง* สอก เสศ, เช่น ไม้ ซุง ที่ เฃา ล่อง แพ ลง มา แต่ เหนือ.
      ต้น โศก (250:2.56)
               เปน ชื่อ* ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ใม้ อย่าง กลาง มี ดอก หอม แกง เปน กับ เข้า ได้, เช่น เขา ปลูก ไว้ ตาม วัด นั้น.
      ต้น สน (250:2.57)
               เปน ชื่อ ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ ใหญ่ ก็ มี ย่อม ก็ มี เช่น เฃา ปลูก ไว้ ตาม วัด เปน ต้น.
      ต้น หน (250:2.58)
               เปน ชื่อ คน เปน นาย ได้ ว่า การ งาน, ใน เรือ กำ ปั่น ฤๅ สำเภา นั้น.
      ต้น สำ โรง (250:2.59)
               เปน ไม้ ใหญ่ มี ใน สวน ใน บ้าน บ้าง ตาม ป่า บ้าง, ผล เปน ฝัก มี เม็ด ใน, เขา เอา เม็ด มา ทำ น้ำ มัน.
      ต้น หู กวาง (250:2.60)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ อย่าง กลาง มี ใน ป่า บ้าง ใน บ้าน บ้าง, เช่น เขา เอา ใบ ย้อม ผ้า ดำ นั้น.
      ต้น หาง นก ยูง (250:2.61)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ อย่าง ย่อม, เช่น ต้น* เขา ปลูก ไว้ ชม ดอก.

--- Page 251 ---
      ต้น เหตุ (251:2.62)
               เปน ชื่อ* เดิม เหตุ ต่าง ๆ, เช่น ต้น เหตุ ไฟ ไหม้ นั้น
      ต้น อัง กาพย์ (251:2.63)
               เปน ต้น อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ เล็ก ๆ, เช่น ต้น อัง กาพย์ ที่ ดอก เหลือง ๆ.
      ต้น เอื้อง (251:2.64)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ เล็ก ๆ ใบ คล้าย* ใบ พูล เปน ขน, เช่น ต้น เอื้อง เพ็ชร์ ม้า ฤๅ เอื้อง ดอก ขาว.
ตัน (251:1)
         เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ไม่ กลวง นั้น, เช่น สาก แล ไม้ ท่อน นั้น.
      ตัน ใจ (251:1.1)
               เปน ชื่อ* ความ กระ ทำ ให้ ใจ อ้น* อั้น นั้น, เช่น คน ที่ คิด งาน การ ไม่ ตลอด ไม่ ปรุ โปร่ง.
      ตัน อก (251:1.2)
               เปน ชื่อ การ ใน อก ตัน อยู่ นั้น, เช่น คน คิด การ ทั้ง ปวง ไม่ สม ลุ ดัง ปราถนา.
      ตัน อุด (251:1.3)
               เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ อุด ตัน อยู่ นั้น, เช่น ปล้อง ไม้ ไผ่, ที่ ขัง ข้อ อุด ตัน อยู่ นั้น.
ตาล (251:2)
         ชื่อ* ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, แล ชื่อ โรค หลาย อย่าง, เช่น ตาล โตนฎ แล โรค ตาล ฃะ โมย.
      ตาล ชาง (251:2.1)
               เปน ชื่อ โรค สอง อย่าง, ชื่อ ตาล นั้น เด็ก เกิด มา ได้ สอง ขวบ สาม ฃวบ, มัน ไห้ เด็ก ลงท้อง ผอม ไผ่ ไป ไห้ อยาก กิน สด ๆ คาว ๆ, เช่น นั้น ว่า โรค ตาล ที่ ชื่อ ซาง นั้น เด็ก ออก มา ได้ วัน นึ่ง สอง วัน มัน ขึ้น ที่ ลิ้น กิน เปน ขุม ๆ, แล้ว ซ่าน ออก ที่ หัว บ้าง นั้น.
      ตาล แกง (251:2.2)
               เปน ชื่อ ลูก ตาล โตนฎ อ่อน ๆ ที่ สำรับ แกง กิน นั้น ฤๅ เต้า ตาล เฉาะ.
      ตาน ขะ โมย (251:2.3)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง สำรับ ทำ อยา. อนึ่ง เปน ชื่อ แห่ง โรค ที่ พวก เด็ก ๆ นั้น.
      ตาล งอก (251:2.4)
               เปน ชื่อ เล็ด แห่ง ผล ตาล ที่ มัน เปน หน่อ งอก อยู่ นั้น, เช่น เล็ด ตาล ที่ มี จาว.
      ตาล เฉาะ (251:2.5)
               เปน ชื่อ เต้า ตาล เฉาะ กิน เล็ด ใน เมื่อ ยัง อ่อน อยู่ นั้น, เช่น ตาล แกง.
      ตาร เดี่ยว (251:2.6)
               เปน ชื่อ แห่ง บ้าน อัน หนึ่ง, มี อยู่ ใน แขวง เมือง สะระบูรี นั้น.
      ตาน ดำ (251:2.7)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ใช้ ทำ ยา ต้น นั้น ศี ดำ, เช่น ต้น ตะโก หัว นา.
      ตาล ม่อ (251:2.8)
               เปน ชื่อ ตาล โตนฏ ที่ ศี ดำ ๆ นั้น, เช่น ม่อ หุง เข้า นั้น.
      ตาล หม่อน (251:2.9)
               เปน ชื่อ แห่ง เถา อย่าง หนึ่ง ใช้ ทำ ยา, ชื่อ เถา เหช หลูกรร นั้น.
      ตาล เสี้ยน (251:2.10)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ต้น เปน เสี้ยน ใช้ ทำ ยา มัน มี อยู่ ที่ ป่า.
      ตาล แห้ง (251:2.11)
               เปน ชื่อ โรค อย่าง หนึ่ง, มัน ทำ ให้ เด็ก ที่ เปน นั้น ผอม แห้ง ไป,
ต้าน (251:3)
         ทาร, คือ การ โต้ ตอบ ฤๅ ต่อ สู้ นั้น, เช่น ต้าน ฆ่า ศึก ไว้ มิ ให้ เข้า มา นั้น.
      ต้าน ต่อ (251:3.1)
               คือ การ ที่ ต่อ สู้ กัน อยู่ นั้น, เช่น นาย ทหาร ออก รบ ฆ่า ศึก นั้น.
      ต้าน ทาน (251:3.2)
               คือ กั้น กาง สู้ รบ อยู่ นั้น, เช่น แม่ ทัพ ยก พล ออก รบ ฆ่า ศึก.
      ต้าน ทัพ (251:3.3)
               คือ กั้น กอง ทัพ ไว้ นั้น, เช่น นาย ทหาร ยก พล ไป ตั้ง ขัด ตา ทับ อยู่.
      ต้าน หน้า (251:3.4)
                คือ ยืน กั้น กาง ขวาง หน้า อยู่ นั้น, เช่น คน ยืน กั้น หน้า ไว้ ห้าม มิ ให้ วิ วาท กัน.
ตีน (251:4)
         เชิง, ท้าว, บาท, เปน ชื่อ ท้าว ที่ เปน ของ สำรับ เดิร สำรับ ยืน, เช่น ตีน คน แล ตีน* สัตว์ ทั้ง ปวง.
      ตีน กา (251:4.1)
               คือ ท้าว กา นั้น. อีก อย่าง หนึ่ง เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ เขา ทำ ไว้ ดั่ง นี้ + เหมือน กากะบาท.
      ตีน เก (251:4.2)
               คือ ตีน เฉ ตีน ปัก นั้น, เช่น คน ตีน เสีย เป๋ ไป นั้น
      ตีน โกง (251:4.3)
               คือ ตีน ที่ กอม ไป ไม่ ตรง เปน ปรกติ นั้น, เช่น คน ขา คด นั้น.
      ตีน กุด (251:4.4)
               คือ ตีน* ด้วน นั้น เอง, เช่น คน ที่ ต้อง ตัด ตีน ขาด.
      ตีน ขาด (251:4.5)
               คือ ตีน กุด ตีน ด้วน นั้น, เช่น คน เปน โรค กุด ถัง ฤๅ ต้อง ตัด ตีน.
      ตีน คอด (251:4.6)
               คือ ตีน กิ่ว ตีน คั้วน* นั้น, เช่น คน ตีน เปน โรค มะ เร็ง คอด อยู่.
      ตีน ด้วน (251:4.7)
               ตีน กุด, ตีน ขาด, คือ ตีน กุด ตีน ขาด นั้น, เช่น คน เปน โทษ ต้อง ตัด ตีน.

--- Page 252 ---
      ตีน เต่า (252:4.8)
               คือ ตีน สี่* ตีน ติด อยู่ ที่ ตัว เต่า. อนึ่ง คือ กล้วย หวี ที่ ออก มา ภาย หลัง ที่ สุด นั้น, เพราะ ลูก มัน สั้น เหมือน ตีน เต่า.
      ตีน เตียง (252:4.9)
               ท้าว เตียง, คือ ตีน เตียง ทั้ง ปวง นั้น, เช่น เตียง ท้าว สิงห์ แล ท้าว คู้ นั้น.
      ตีน ท่า (252:4.10)
               น่า ท่า, เช่น ท่า ชาง ฤๅ ท่า เรือ ท่า เสา ท่า ซุง ท่า อิฐ
      ตีน ทู่ (252:4.11)
               ตีน ปุก, คือ ตีน ไม่ เรียว ดู เหมือน บวม อยู่ เปน นิจ, เช่น ตีน ช้าง.
      ตีน นา (252:4.12)
               ต้น นา, คือ ต้น นา ข้าง ริม คลอง ฤๅ ริม แม่ น้ำ นั้น. เช่น ต้น นา ที่ จด ตีน ท่า.
      ตีน น้ำ (252:4.13)
               คือ ตีน ท่า ตาม ริม ฝั่ง น้ำ ทั้ง ปวง นั้น, เช่น ริม ตลิ่ง ตาม ลำ น้ำ.
      ตีน นก (252:4.14)
               คือ ท้าว นก ทั้ง หลาย ทั้ง ปวง นั้น, เช่น นก ตะ กรุม นก กะสา เปน ต้น.
      ตีน เป๋ (252:4.15)
               ตีน เฉ, คือ ตีน พลิก บิด แพลง ไป นั้น, เช่น คน ท้าว เฉ ไป เปน ต้น.
      ตีน ปัก (252:4.16)
               คือ ตีน เก ที่ เอ็น มัน ชัก ปัก ลง ไป นั้น, เช่น คน ตีน ขา กระ จอก.
      ตีน ปุก (252:4.17)
               คือ ตีน โป ขึ้น เหมือน กะปุก เปน ก้อน* ติด อยู่ นั้น, เช่น ท้าว ช้าง.
      ตีน ผม (252:4.18)
               คือ ผม สั้น ที่ เขา ไว้ ล้อม รอบ ผม ยาว นั้น, เหมือน ผม* สั้น ที่ เขา ไว้ ล้อม รอบ จุก ลูก ไท.
      ตีน มุ้ง (252:4.19)
               คือ ตาม ริม มุ้ง เบื้อง ต่ำ นั้น, เช่น ผ้า ที่ วง รอบ มุ้ง ข้าง ล่าง*.
      ตีน หย่อง (252:4.20)
               คือ เชิง หย่อง นั้น, เช่น ท้าว หย่อง ที่ สำรับ ใส่ หมาก.
ตื่น (252:1)
         กระ นก ตก ใจ, คือ หลับ แล้ว ฟื้น ตัว ลืม ตา ขึ้น นั้น, อีก หย่าง หนึ่ง คน ตก ใจ วุ่น วาย นั้น.
      ตื่น กัน (252:1.1)
               คือ คน ตก ใจ วุ่น วาย กัน หนัก นั้น, เช่น คน ตก ใจ เพราะ เมือง แตก เสีย แก่ ฆ่า ศึก.
      ตื่น เข้า มา (252:1.2)
               คือ คน ตก ใจ ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง, แล้ว ภา กัน เข้า* มา นั้น.
      ตื่น ข่าว คราว (252:1.3)
               คือ คน ตก ใจ ด้วย คำ ฦๅ เปน คราว ๆ นั้น.
      ตื่น คน (252:1.4)
               ตก ใจ คน, คือ ตก ใจ เพราะ คน นั้น.
      ตื่น ง่วง (252:1.5)
               คือ คน นอน หลับ ไป แล้ว รู้ สึก ตัว ลืม ตา ขึ้น แต่ ยัง มัว นอน อยู่ นั้น.
      ตื่น จาก ที่ (252:1.6)
               คือ คน ตื่น ขึ้น* แล้ว ลุก จาก ที่ นอน นั้น.
      ตื่น จวน สว่าง (252:1.7)
               คือ ตื่น ขึ้น เกือบ จะ รุ่ง นั้น.
      ตื่น ช้า (252:1.8)
               คือ นอน หลับ นาน นั้น.
      ตื่น เช้า (252:1.9)
               คือ ตื่น* นอน ไม่ สาย นั้น.
      ตื่น ตาย วาย บ้า (252:1.10)
               คือ ตก ใจ จน สิ้น สติ เปน บ้า นั้น, เช่น ได้ ยิน ข่าว ว่า, เขา ฆ่า บิดา มารดา ของ ตัว ตาย เปน ต้น.
      ตื่น ที่ ตื่น ทาง (252:1.11)
               คือ ต้น* ไม้ ทั้ง ปวง เขา ปลูก ใน ที่ ใหม่ ต้น ใบ งาม นั้น, เช่น สวน ส้าง ใหม่ เปน ต้น.
      ตื่น นอน (252:1.12)
               คือ ตื่น จาก หลับ นั้น.
      ตื่น ไป (252:1.13)
               คือ ความ ตก ใจ แล้ว ไป นั้น, เช่น คน หนี ไฟ เปน ต้น นั้น.
      ตื่น ประ หม่า (252:1.14)
               คือ ความ สะดุ้ง ตก ใจ กัลว ตัว สั่น นั้น.
      ตื่น ไฟ (252:1.15)
               คือ ความ ตก ใจ ด้วย ไฟ ไหม้ บ้าน นั้น.
ตื้น (252:2)
         คือ ไม่ ฦก ไม่ ซึ้ง นั้น, เช่น คำ เขา พูด กัน ว่า น้ำ ตื้น ฤๅ ความ ตื้น นั้น.
      ตื้น กว่า (252:2.1)
               คือ ไม่ ฦก ยิ่ง กว่า กัน นั้น.
      ตื้น ดอก (252:2.2)
               คือ ไม่ ฦก ดอก นั้น, เช่น คำ เขา พูด ว่า ความ นี้ ตื้น ดอก ไม้ สู้ ฦก นัก.
ตุ่น (252:3)
         เปน ชื่อ สัตว์ อย่าง หนึ่ง, ตัว ไม่ สู้ โต นัก ขุด รู อยู่ ใน ดิน มัน กิน หัว มัน แล ราก ไม้ รูป เหมือน หนู เทศ.
เต้น (252:4)
         โลด, คือ การ ที่ กระ โดด ขึ้น กระ โดด ลง นั้น, เช่น คน, โดด ขึ้น บ่อย ๆ นั้น.
      เต้น เข้า มา (252:4.1)
               คือ การ ที่ คน โลด เต้น เข้า มา นั้น, เช่น คน จะ ชก มวย ใน สะนาม ฦๅ นก สา ริ กา ที่ เขา ขัง ไว้ ใน กรง.
      เต้น เพลง (252:4.2)
               คือ การ ที่ พวก เพลง เต้น รำ ต่าง ๆ นั้น.
      เต้น รำ (252:4.3)
               คือ การ ที่ รำ แล้ว เต้น นั้น, เช่น พวก เล่น โขน ฤๅ เล่น ละคอน นั้น
      เต้น หรับ (252:4.4)
               คือ อาการ ม้า ที่ มัน ยก ตีน มัน ก้าว สั้น ๆ เร็ว ๆ ไม่ ย่าง ก้าว ยาว ไป นั้น.
      เต้น โลด (252:4.5)
               คือ อาการ ทั้ง เต้น ทั้ง โลด นั้น, เช่น ม้า พยศ เปน ต้น,

--- Page 253 ---
แตน (253:1)
         เปน ชื่อ สัตว์ อย่าง หนึ่ง มี ปีก ค้ลาย ๆ ต่อ แต่ ตัว มัน เล็ก ๆ ก้น มัน ต่อย ปวด ทำ รัง อยู่ ใบ ไม้.
      แตน ควาย (253:1.1)
               เปน ชื่อ แตน นั้น, แต่ ทะ ว่า ตัว มัน โต ค้ลาย ต่อ เพราะ เหตุ นั้น จึ่ง เรียก ว่า แตน ควาย.
      แตน ต่อย (253:1.2)
               เปน ชื่อ แตน มัน ต่อย เอา ด้วย ก้น นั้น, เช่น ผึ้ง มัน ต่อย.
ตอน (253:2)
         ชำ กิ่ง ไม้, แล การ ที่ คั่น เปน ห้อง ๆ. อนึ่ง การ ผ่า เอา เม็ด อันทะ ออก จาก ฝัก, ฤๅ ทำ กิ่ง ไม้ ให้ ออก ราก เปน ต้น.
      ตอน กลาง (253:2.1)
               ห้อง กลาง. เปน ชื่อ ระวาง ที่ มี อยู่ ใน ท่ำ กลาง นั้น, เช่น ตอน กลาง ใน ลำ เรือ.
      ตอน ควาย (253:2.2)
               เปน ชื่อ การ ที่ ผ่า เอา เม็ด ลูก กะโปก ควาย ออก เสีย จาก ฝัก นั้น, เหมือน ตอน ควาย เปลี่ยว*.
      ตอน ท้าย (253:2.3)
               ห้อง ท้าย, เปน ชื่อ ห้อง ที่ เขา คั่น ไว้ ข้าง ท้าย นั้น.
      ตอน หน้า (253:2.4)
               เปน ชื่อ ตอน ข้าง หน้า นั้น.
      ตอน หมู (253:2.5)
               เปน ชื่อ การ ที่ ผ่า เอา เม็ด กะโปก หมู ออก เสีย จาก ฝัก หมู นั้น.
      ตอน ต้น ไม้ (253:2.6)
               การ ที่ ขวั้น กิ่ง ไม้ ให้ รอบ แล้ว, เอา เปลือก ออก เสีย แล้ว เอา ดิน พอก ทำ ให้ ออก ราก นั้น.
      ตอน กิ่ง ไม้ (253:2.7)
               ชำ กิ่ง ไม้, คือ การ ที่ คน ทำ กิ่ง ไม้ ให้ ออก ราก นั้น.
      ตอน หลัง (253:2.8)
               ท่อน หลัง, เปน ชื่อ พวก หลัง ฤๅ ห้วง น้ำ ที่ มี น้ำ ผ่าย หลัง นั้น.
      ตอน หัว (253:2.9)
               ท่อน หัว, เปน ชื่อ ระวาง ที่ มี อยู่ ข้าง หัว นั้น.
ต้อน (253:3)
         ไล่, เปน ชื่อ การ ที่ ไล่ ตาม ไป เบื้อง หลัง นั้น, เช่น คน ไล่ งัว ไล่ ควาย ต้อน ไป เบื้อง หลัง.
      ต้อน กอง ทัพ (253:3.1)
               ไล่ กอง ทัพ, การ ที่ ไล่ ตาม หลัง ต้อน พวก กอง ทัพ ไป นั้น.
      ต้อน กวาด (253:3.2)
               ไล่ กวาด. การ ที่ ไล่ กวาด พวก ครัว ต้อน อพยพ ไป นั้น.
      ต้อน ขับ (253:3.3)
               ไล่ ขับ, การ ที่ ไล่ ขับ ต้อน ไป นั้น, เช่น ขับ ต้อน ฝูง งัว ฝูง ควาย ไป เปน ต้น.
      ต้อน คน (253:3.4)
               ไล่ คน, เปน ชื่อ การ ที่ ไล่ คน ต้อน ไป นั้น.
      ต้อน ควาย (253:3.5)
               การ ที่ ไล่ ควาย ต้อน ไป นั้น.
      ต้อน ครัว (253:3.6)
               เปน ชื่อ การ ที่ ไล่ ต้อน ครัว ไป นั้น.
      ต้อน ช้าง* (253:3.7)
               การ ที่ ไล่ ต้อน ช้าง เข้า มา นั้น, เช่น พวก หมอ ช้าง ต้อน ช้าง เข้า ผะ เนียด.
      ต้อน เดิร (253:3.8)
               การ ที่ ไล่ ต้อน ให้ เดิร นั้น, เช่น นาย ทหาร ไล่ ต้อน พล ให้ รีบ เดิร.
      ต้อน ตี (253:3.9)
               เปน ชื่อ การ ที่ ไล่ ตี แล้ว ต้อน ไป นั้น, เช่น คน ไล่ ตี ต้อน ฝูง ควาย ไป เปน ต้น.
      ต้อน ทัพ (253:3.10)
               การ ที่ ไล่ ต้อน พวก กอง ทัพ ไป นั้น.
      ต้อน รับ (253:3.11)
               คือ การ ที่ คน มี คน เปน ที่ คำนับ มา หา คน นั้น ลุก ออก ไป เชิญ นั้น.
ต่วน (253:4)
         เปน ชื่อ แพร อย่าง หนึ่ง, พื้น เลื้อม เปน มัน มา แต่ เมือง จีน เช่น เขา เรียก แพร หัว เป็ด บ้าง.
      ต่วน ดอก (253:4.1)
               เปน ชื่อ แพร ต่วน ที่ มี ดอก ดวง ต่าง ๆ นั้น, เช่น ต่วน ดอก ที่ พวก ขุนนาง นุ่ง ห่ม.
เตียน (253:5)
         ไม่ รก, เปน ชื่อ ที่ เปล่า เตียน ไม่ มี สิ่ง ไร นั้น, เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า ที่ นี้ เตียน, ฤๅ เรือน นี้ เตียน สวน เตียน นั้น
      เตียน ตลิบ (253:5.1)
               คือ เตียน ตะลอด ไป ไกล แล สุด สาย ตา นั้น, เช่น ท้อง ทุ่ง ที่ เตียน.
      เตียน รื่น (253:5.2)
               ที่ เตียน ร่ม รื่น ด้วย ต้น ไม้ นั้น, เช่น ป่า ระหง ที่ เตียน สะอาจ.
      เตียน โล่ง (253:5.3)
               ที่ เตียน เปล่า แล โล่ง ไป นั้น, เช่น ที่ กลาง ทุ่ง ฤๅ ปาก เอ่าว ทะเล.
      เตียน เลี้ยน (253:5.4)
               คือ ที่ เขา ถาง แล กวาด ปัด เป่า ไม่ ให้ ผง เผ่า เท่า ทุ ลี รก นั้น.
      เตียน สอาจ (253:5.5)
               ที่ เลี่ยน เตียน ไม่ โศก โครก นั้น, เช่น เรือน พวก มออะเมริกรร.
เตือน (253:6)
         ให้ สะติ, การ ตัก เตือน ให้ กระ ทำ การ ต่าง ๆ นั้น.
      เตือน การ (253:6.1)
               คือ รบ กวน ให้ เขา กระทำ การ นั้น.
      เตือน กิน (253:6.2)
               คือ ความ ตัก เตือน เอา ของ กิน นั้น, เช่น ลูก บอก กับ แม่ ว่า จะ กิน เข้า.
      เตือน ของ (253:6.3)
               คือ เตือน จะ เอา สิ่ง ของ นั้น, เช่น เจ้า ของ ตัก เตือน ผู้ รับ จ้าง.
      เตือน ค้าง (253:6.4)
               ความ ที่ เตือน จะ เอา ของ ที่ ติด ค้าง กัน อยู่ นั้น.

--- Page 254 ---
      เตือน เงิน (254:6.5)
               ความ ที่ เตือน จะ เอา เงิน นั้น, เช่น เจ้า นี่ ทวง เงิน ลูก นี่.
      เตือน ใจ (254:6.6)
               คือ สติ ที่ ตรึก ตรอง ระฦก ถึง ใจ นั้น.
      เตือน เด็ก (254:6.7)
               การ ที่ ตัก เตือน พวก เด็ก ๆ นั้น, เช่น คูร ตัก เตือน พวก เด็ก ให้ เขียน หนังสือ นั้น.
      เตือน ตัว (254:6.8)
               คือ เตือน ตน เอง นั้น, เมื่อ ตัว ทำ การ แล มี ความ เกียจ ค้ราน ขึ้น มา, แล คน เตือน ตัว ให้ ทำ การ นั้น.
      เตือน ท่าน (254:6.9)
               คือ ความ ที่ เตือน สติ ท่าน นั้น, เช่น คน ช่วย เตือน ท่าน ที่ เปน อา จาริย์.
      เตือน ถาม (254:6.10)
               คือ ถาม แล้ว เตือน ด้วย นั้น, เช่น เขา ถาม ว่า ของ นั้น แล้ว ฤๅ, ถ้า ยัง ก็ จง ทำ เสีย ให้ แล้ว นั้น.
      เตือน ลูก นี่ (254:6.11)
               คือ ความ ที่ เตือน จะ เอา เงิน ที่ คน เปน ลูก นี่ นั้น.
      เตือน สติ (254:6.12)
               ความ ที่ เตือน ให้ ระฦก ตรึก ตรอง นั้น.
(254:1)
         
ตบ (254:2)
         ตี, คือ การ ที่ แบ มือ ตบ เข้า ที่ ปาก ที่ หน้า นั้น, เช่น พวก ตระ ลาการ ตบ ผู้ ร้าย ด้วย เกือก ฤๅ กะลา เปน ต้น.
      ตบ ไก่ (254:2.1)
               คือ คน เล่น เพลง อย่าง หนึ่ง, มี ผู้ ชาย พวก หนึ่ง ศัก ๙ คน ๑๐ คน, ผู้ หญิง มี เท่า กัน ร้อง เพลง โต้ ตอบ กัน เดิร วง ตบ มือ ด้วย.
      ตบ กัน (254:2.2)
               ตี กัน, คือ การ ที่ แบมือ แล้ว ตี เข้า ที่ ปาก ที่ หน้า กัน นั้น, เช่น พวก ผู้ หญิง ด่า แล้ว ตบ กัน.
      ตบ ตา (254:2.3)
               การ ที่ ตบ เข้า ที่ ตา นั้น. อีก อย่าง หนึ่ง เขา เปรียบ ความ, เช่น คน เอา เงิน แดง มา หลอก ใช้ ได้ นั้น.
      ตบ ตี (254:2.4)
               การ ที่ ทั้ง ตบ ทั้ง ตี นั้น.
      ตบ แต่ง (254:2.5)
               ตก แต่ง, ประดับ, การ ที่ จัด แจง ประ ดับ เครื่อง ให้ ดู งาม นั้น, เช่น เขา แต่ง ตัว พวก ละ คอน.
      ตบ ต่อย (254:2.6)
               การ ทั้ง ตบ ทั้ง ต่อย นั้น.
      ตบ ปาก (254:2.7)
               การ ที่ เอา มือ ตบ เข้า ที่ ปาก นั้น.
      ตบ ฟูก (254:2.8)
               การ ที่ เอา มือ ตบ ลง ที่ ฟูก นั้น, เช่น คน จะ ปู ที่ นอน ให้ เสมอ.
      ตบ มือ (254:2.9)
               การ ที่ เอา มือ ทั้ง สอง ตบ กัน เข้า นั้น, เช่น คน เล่น เพลง ปรบ ไก่.
      ตบ หลัง (254:2.10)
               การ ที่ เอา มือ ตบ หลัง นั้น.
      ตบ หัว ลูบ หลัง (254:2.11)
               การ ที่ คน ตบ หัว แล้ว ลูบ หลัง ด้วย นั้น, เปรียบ ความ เหมือน โกรธ ด่า แล้ว ทำ เปน ดี.
ตับ (254:3)
         ชื่อ เครื่อง ใน อยู่* ที่ อก ติด อยู่ ด้วย กัน กับ เนื้อ หัว ใจ นั้น.
      ตับ ไก่ (254:3.1)
               คือ ตับ ที่ เครื่อง ใน ไก่ นั้น เช่น ตับ ที่ เฃา ทำ ยา ตาน ขะโมย เปน ต้น.
      ตับ กระเบน (254:3.2)
               คือ ตับ ปลา กระเบน นั้น เช่น ที่ เขา เอา มา ใส่ เกลือ ทอด กิน เปน ต้น.
      ตับ คีบ (254:3.3)
               คือ ไม้ ที่ ผ่า ออก เปน สอง ง่าม สำหรับ คีบ นั้น เช่น ตับ เขา ปิ้ง ปลา.
      ตับ คน (254:3.4)
               คือ ตับ ใน ตัว คน นั้น เช่น ตับ เครื่อง ใน ที่ อยู่ ใน อก คน เปน ต้น.
      ตับ จาก (254:3.5)
               คือ ไม้ ที่ เขา ผ่า ออก เปน ซีก ๆ สำหรับ เอา ใบ จาก เย็บ เข้า นั้น.
      ตับ ทรุด (254:3.6)
               ตับ เคลื่อน, คือ ตับ ที่ เคลื่อน ต่ำ ลง จาก ที่ นั้น, เช่น เด็ก พลัด ตก เรื่อน หฤๅ ล้ม ลง.
      ตับ ไม้ (254:3.7)
               คือ ตับ ที่ เขา ทำ ด้วย ไม้ นั้น, เช่น ตับ ปิ้ง ปลา นั้น.
      ตับ หมู (254:3.8)
               คือ ตับ เครื่อง ใน สุกร.
      ตับ เหล็ก (254:3.9)
               เปน ชื่อ ตับ หมู แขง ๆ ที่ เขา สำรับ ต้ม กับ ไข่ ดัน นั้น.
      ตับ หวาน (254:3.10)
               เปน คำ ด่า เด็ก ๆ ที่ สอน ยาก, เหมือน จะ ว่า ตับ ของ เอง หวาน สัตว ร้าย หยาก กิน เปน ต้น.
ตาบ (254:4)
         เปน ชื่อ เครื่อง ประดับ อย่าง หนึ่ง ทำ ด้วย ทอง คำ รูป อย่าง ใบ ไม้ อย่าง หนึ่ง เขา แต่ง ตัว เด็ก ๆ
      ตาบ เงิน (254:4.1)
               คือ ตาบ ทำ ด้วย เงิน เครื่อง ประ ดับ ที่ เขา แต่ง ตัว พวก ละคอน.
      ตาบ ทอง (254:4.2)
               คือ ตาบ ทำ ด้วย ทอง คำ เช่น ตาบ เครื่อง ทรง นั้น.
ตีบ (254:5)
         แคบ, เปน ชื่อ ช่อง แคบ หฤๅ ไม่ กว้าง นั้น เช่น คำ พูด กัน ว่า ฅอ ตีบ หฤๅ รู ตีบ แล กล้วย ตีบ.
ตุบ (254:6)
         คือ เสียง มัน ดัง ปรากฎ อย่าง นั้น, เช่น เสียง คน วิ่ง ดัง ตุบ. ๆ
      ตุบ ตับ (254:6.1)
               เปน เสียง ปรากฎ ดัง อย่าง นั้น, เช่น เสียง คน วิวาท ทุบ ตี กัน.
ตูบ (254:7)
         เปน ชื่อ ที่ อาไศรย อย่าง หนึ่ง*, เช่น กะท่อม ทับ ที่ นา อย่าง อนึ่ง คือ สิ่ง ที่ ลุบ ลู่ ลง เหมือน หู หมา ตูบ.

--- Page 255 ---
ตอบ (255:1)
         โต้, แทน, คือ การ โต้ แย้ง ความ ที่ หฤๅ กลับ ถาม, แล ทวน กระแส หฤา ทด แทน นั้น.
      ตอบ กัน (255:1.1)
               โต้ กัน, คน หนึ่ง พูด ไป แล้ว, คน หนึ่ง พูด ตอบ มา, เช่น คน เถียง กัน ต้น.
      ตอบ เข้า มา (255:1.2)
               ความ ที่ คืน กลับ เข้า มา นั้น, มี หนังสือ ออก ไป แล้ว, เขา กลับ มี หนังสือ ตอบ เข้า มา นั้น.
      ตอบ คุณ (255:1.3)
               แทน คุณ, การ ที่ แทน คุณ ท่าน นั้น. เช่น ท่าน ผู้ ใด มี คุณ แก่ เรา, ๆ ต้อง สนอง คุณ ท่าน ผู้ นั้น.
      ตอบ ความ (255:1.4)
               คือ การ ที่ ตอบ เรื่อง ความ เขา กลับ ไป นั้น.
      ตอบ คำ (255:1.5)
               คือ ความ ที่ พูด กับ คน ที่ พูด มา ก่อน นั้น.
      ตอบ โต้ (255:1.6)
               การ ที่ ตอบ ไป โต้ มา นั้น, เช่น คน วิวาท ต่าง คน ต่าง เถียง กัน.
      ตอบ ตาม (255:1.7)
               ความ ที่ เขา พูด มา แล้ว เรา ก็ พูด ตอบ ไป ตาม เรื่อง นั้น.
      ตอบ แทน (255:1.8)
               คือ สิ่ง ของ ที่ เขา ให้ ตอบ แทน มา นั้น, เช่น เรา เอา ของ สิ่ง นี้ ให้ เขา, แล้ว เขา เอา ของสิ่ง อื่น ให้ ตอบ มา.
      ตอบ บรรณาการ (255:1.9)
               คือ แขก เมือง เขา เอา เครื่อง บรรณาการ มา ถวาย. แล้ว พระราชทาน รางวัน ตอบ ไป.
      ตอบ ใบ บอก (255:1.10)
               คือ หนังสือ บอก เขา มี เข้า มา แล้ว, จึ่ง มี หนังสือ ตอบ ใบ บอก ออก ไป.
      ตอบ ไป (255:1.11)
               คือ ตอบ ออก ไป นั้น, เช่น เขา ให้ ของ เรา มา, เรา ก็ ให้ ของ ตอบ ออก ไป เปน ต้น.
      ตอบ สาร (255:1.12)
               คือ มี หนังสือ สาร ส่ง ไป, ให้ แก่ ผู้ ที่ ให้ หนังสือ สาร มา ก่อน นั้น.
      ตอบ ให้ (255:1.13)
               คือ การ ที่ ให้ ตอบ นั้น.
เตียบ (255:2)
         โต๊ะ, ตะลุม, เปน ชื่อ ภาชนะ สำหรับ ใส่ ของ กิน นั้น. มี ฝา ปิด มี ผ้า หุ้ม.
      เตียบ คาว (255:2.1)
               คือ ภาชนะ ที่ สำหรับ ใส่ ของ คาว นั้น, เช่น เตียบ ที่ มี ผ้า หุ้ม สำหรับ ใส่ ขัน หมาก.
      เตียบ หวาน (255:2.2)
               คือ ตลุ่ม ฝา ที่ ใส่ ของ หวาน มี ผ้า หุ้ม ด้วย นั้น.
เติบ (255:3)
         โต, ใหญ่, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ ใหญ่ ที่ โต นั้น, เช่น สัตว มี ช้าง เปน ต้น, ถ้า ฝ่าย เรือ มี กำปั่น เปน ต้น.
      เติบ กว่า กัน (255:3.1)
               ใหญ่ กว่า กัน, คือ สิ่ง ของ ที่ ใหญ่ กว่า กัน นั้น.
      เติบ ใหญ่ (255:3.2)
               โต ใหญ่, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ โต ที่ ใหญ่ นั้น.
      เติบ โต (255:3.3)
               ใหญ่ โต, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ โต ที่ ใหญ่ นั้น.
      เติบ ถนัด (255:3.4)
               โต ถนัด, คือ สิ่ง ของ ที่ โต ขึ้น เหน ถนัด นั้น.
(255:4)
         
ตม (255:5)
         โคลน, เลน, เปือก, เปน ชื่อ โคลน ที่ เปน น้ำ เหลว ๆ นั้น. เช่น ที่ แปลง ควาย.
ต้ม (255:6)
         หุง, เปน ชื่อ การ ที่ เอา น้ำ หฤๅ สิ่ง ของ ใด ๆ ใส่ กะทะ ลง แล้ว ตั้ง ไฟ ให้ เดือด นั้น,
      ต้ม กะทิ (255:6.1)
               การ ที่ เอา สิ่งฃอง ใส่ ลง ใน กะทิ ต้ม ให้ สุก.
      ต้ม กุ้ง (255:6.2)
               การ ที่ เอา กุ้ง ใส่ ม่อ ลง เคี่ยว ให้ สุก นั้น.
      ต้ม แกง (255:6.3)
               เปน ชื่อ ของ ที่ ต้ม ขึ้น ทำ เปน แกง นั้น.
      ต้ม ไข่ (255:6.4)
               การ ที่ เอา ไข่ ใส่ ม่อ ต้ม ขึ้น นั้น.
      ต้ม เข้า (255:6.5)
               หุ้ง เข้า, คือ การ ที่ เอา เข้า สาน ใส่ ม่อ ต้ม ขึ้น นั้น.
      ต้ม ขิง (255:6.6)
               เปน ชื่อ แกง อย่าง หนึ่ง เอา ขิง ใส่ ด้วย.
      ต้ม เค็ม (255:6.7)
               เปน ชื่อ แกง อย่าง หนึ่ง รศ เค็ม มาก.
      ต้ม โคล้ง (255:6.8)
               เปน ชื่อ แกง อย่าง หนึ่ง รศ เปรี้ยว ๆ เค็ม ๆ เช่น แกง หัว ปลา แห้ง กับ ใบ มะขาม อ่อน เปน ต้น.
      ต้ม เจ่า (255:6.9)
               เปน ชื่อ แกง อย่าง หนึ่ง รศ เปรี้ยว ๆ เค็ม ๆ, เช่น เขา เอา เนื้อ สด ต้ม กับ น้ำ ปลา แล้ว ใส่ ใบ มะขาม บ้าง เนื้อ มะ ขาม บ้าง.
      ต้ม ซ่ม (255:6.10)
                เปน ชื่อ แกง อย่าง หนึ่ง รศ เปรี้ยว ๆ เค็ม ๆ, คือ เอา ปลา สด ต้ม ใน น้ำ ปลา กับ ซ่ม มะ ขาม ใส่ น้ำ ตาล บ้าง เล็ก น้อย.
      ต้ม น้ำ (255:6.11)
               การ ที่ เอา น้ำ ใส่ ลง ใน ม่อ ให้ เดือด นั้น.
      ต้ม ฝี่น (255:6.12)
               การ ที่ เอา ฝี่น ใส่ ลง ใน กะทะ เคี่ยว ให้ ค่น นั้น.
      ต้ม อยา (255:6.13)
               การ ที่ เอา อยา ใส่ ลง ใน ม่อ ต้ม ไป นั้น.
      ต้ม เหล้า (255:6.14)
               การ ที่ กลั่น สุรา นั้น.
ตัม (255:7)
         โขลก, เปน ชื่อ การ ที่ เอา สิ่ง ของ ต่าง ๆ ใส่ ลง ใน ครก แล้ว โขลก ไป นั้น.
      ตัม กุ้ง แห้ง (255:7.1)
               การ ที่ เอา กุ้ง แห้ง ใส่ ลง ใน ครก ตำ ให้ ละ- เอียด นั้น.
      ตัม เข้า (255:7.2)
               การ ที่ เอา เข้า เปลือก ใส่ ลง ใน ครก โขลก ไป นั้น.
      ตัม แป้ง (255:7.3)
               โขลก แป้ง, การ ที่ เอา เข้าสาร แช่ น้ำ แล้ว โขลก ให้ เปน แป้ง นั้น.

--- Page 256 ---
      ตัม อยา (256:7.4)
               โขลก อยา, คือ การ ที่ เอา อยา ใส่ ครก โขลก ให้ ละ- เอียด นั้น.
      ตัม แย (256:7.5)
               เปน ชื่อ ต้น อย่าง หนึ่ง, นับ เข้า ใน พวก ผัก ขึ้น เมื่อ ระดูฝน, ใบ นั้น คัน เหมือน ลูก เต่า ร้าง.
      ตัม เรีย (256:7.6)
               เปน ชื่อ เถา อย่าง หนึ่ง, ใบ หนา ๆ ขึ้น อยู่ กับ ต้น ไม้ นั้น, เหมือน เช่น เถา สลิด.
      ตัมลึง (256:7.7)
               เปน ชื่อ ผัก อย่าง หนึ่ง, เปน เถา ลูก มัน สุก ศรี แดง, ยอด อ่อน ๆ ต้ม กิน ก็ ได้ แกง เลียง ก็ ดี. อนึ่ง เปน ชื่อ เงิน สี่ บาท.
ตั่ม (256:1)
         ถ่อม, เจียม, เปน ชื่อ ความ ที่ ไม่ สูง นั้น, เหมือน อย่าง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เตี่ย ๆ
      ตั่ม ใจ (256:1.1)
               ถ่อม ใจ, การ ทำ ใจ ไม่ สูง นั้น, เช่น ไม่ อยาก เปน ใหญ่ หฤๅ ความ น้อย ใจ.
      ตั่ม ตน (256:1.2)
               ถ่อม ตน, เจียม ตน, การ ประพฤรษดิ์ ตัว ไม้ สูง นั้น, เช่น คน ประพฤรษดิ์ ถ่อม ตัว เจียม ตัว หฤๅ ต่ำ ตัว.
      ตั่ม เตี้ย (256:1.3)
               อาการ ที่ ไม้ สูง แล้ว เตี้ย ด้วย นั้น, เช่น คน ค่อม, ควาย ค่อม, ช้าง ค่อม, ก้ลวย ค่อม.
      ตั่ม ตัว (256:1.4)
               ถ่อม ตัว, เจียม ตัว, ทำ ตัว ไม่ ให้ สูง นั้น, เช่น ประพฤษดิ์ ต่ำ ตัว, หฤๅ ไก่ เตี้ย คน เตี้ย.
ตาม (256:2)
         ไม่ ขัต ขวาง, ความ ที่ ไม่ ขัด กัน, ไม่ ทวน กระแส, ไม่ ไป ใน เบื้อง หลัง นั้น, มี เรือ ตาม น้ำ เปน ต้น.
      ตาม กำม์ (256:2.1)
                คือ ตาม การ ตี่* กระ ทำ นั้น, เช่น คน กระ ทำ ดี, ก็ ย่อม ได้ ผล ดี, เมื่อ ทำ ชั่ว*, ก็ ย่อม ได้ ผล ชั่ว
      ตาม กัน (256:2.2)
               ความ ที่ ไม่ ขัด กัน นั้น.
      ตาม กิน (256:2.3)
               การ ที่ ตาม ไป จะ กิน นั้น, เช่น พวก ที่ ตาม พระ เยซู ไป เพราะ จะ กิน ขนม.
      ตาม กาล (256:2.4)
               คือ ตาม เวลา นั้น, เช่น สัตว์ ที่ เกิด มา เมื่อ เพลา ลำบาก ก็ ได้ ลำ บาก.
      ตาม กวน (256:2.5)
               การ ที่ ติด ตาม ไป รบ กวน นั้น, เช่น คน ตาม มา ฃอ สิ่ง ของ ต่าง ๆ.
      ตาม จ้าว (256:2.6)
               การ ที่ ตาม หลัง จ้าว ไป นั้น.
      ตาม ได้ (256:2.7)
               การ ที่ ตาม แต่ จะ ได้ นั้น.
      ตาม ใจ (256:2.8)
               การ ที่ ตาม น้ำ ใจ, เช่น คน ที่ ประปฤษดิ์* ตาม ใจ ตัว.
      ตาม ตี (256:2.9)
               การ ที่ ตาม ไป ตี นั้น.
      ตาม แต่ ใจ (256:2.10)
               ความ ตาม แต่ ชอบ ใจ นั้น
      ตาม ติด (256:2.11)
               การ ติด ตาม ไป นั้น
      ตาม ตัว (256:2.12)
               อา การ ที่ ตาม ตน นั้น.
      ตาม ที่ (256:2.13)
               การ ที่ ตาม ตำแหน่ง นั้น.
      ตาม ถาน (256:2.14)
               การ ตาม ที่ นั้น, เช่น เขา พูด กัน ว่า, ไป ตาม ที่ ตาม ถาน ของ เขา.
      ตาม ที (256:2.15)
               ความ ที่ ตาม อาชา อาไสย นั้น.
      ตาม หนัง (256:2.16)
               ความ ที่ เปน ไป ตาม ผิว หนัง นั้น, เช่น คน เปน ขี้ กลาก ตาม ผิว หนัง.
      ตาม บุญ (256:2.17)
               การ ที่ ตาม แต่ บุญ นั้น.
      ตาม บ่าว (256:2.18)
               ความ ที่ ไป ตาม ตัว บ่าว นั้น, เช่น นาย เที่ยว ตาม บ่าว
      ตาม ปาก (256:2.19)
               การ ที่ ทำ ตาม ปาก สั่ง นั้น.
      ตาม ประสงค์ (256:2.20)
               คือ ตาม ที่ ต้อง การ นั้น.
      ตาม มี ตาม เกิด (256:2.21)
               คือ การ ให้ ของ ตาม ที่ มี นั้น.
      ตาม มาก ตาม น้อย (256:2.22)
               การ ให้ ของ ตาม มี มาก แล น้อย นั้น.
      ตาม เอว (256:2.23)
               คือ สิ่ง ของ ที่ มี อยู่ ตาม เอว นั้น.
ตุ่ม (256:3)
         โอ่ง, โอ่ง ใส่ น้ำ ฤๅ ตุ่ม ที่ เปน เม็ด ๆ อยู่ ที่ ตัว นั้น, เช่น ตุ่ม สามโคก ฤๅ เม็ด ผด.
      ตุ่ม ใหญ่ (256:3.1)
               คือ โอ่ง ใหญ่ นั้น, เช่น ตุ่ม นคร สวรรค์, ของ บูราณ.
      ตุ่ม คอร สวรรค์ (256:3.2)
               คือ ตุ่ม ใหญ่ สำหรับ ใส่ น้ำ นั้น, เพราะ ว่า เดิม นั้น เขา ทำ ที่ เมือง นคอร สวรรค์.
      ตุ่ม น้ำ โอ่ง น้ำ (256:3.3)
               คือ โอ่ง ใส่ น้ำ นั้น.
      ตุ่ม เล็ก (256:3.4)
               คือ ตุ่ม ที่ ไม่ โต นั้น, เช่น โอ่ง น้ำ ย่อม ๆ รา คา ใบ ละเฟื้อง เปน ต้น.
      ตุ่ม สาม โคก (256:3.5)
               คือ ตุ่ม ใส่ น้ำ นั้น, เพราะ เขา ทำ ที่ สาม โคก.
ตุ้ม (256:4)
         คือ ของ ที่ เขา ทำ ด้วย เงิน บ้าง, ทอง เหลือง บ้าง เหล็ก บ้าง เปน ลูก กลม ๆ.
      ตุ้ม เงิน (256:4.1)
               คือ ตุ้ม ที่ เขา ทำ ด้วย เงิน ดัง ลูก มะยม นั้น, เช่น ตุ้ม ที่ ติด ถุง เงิน.
      ตุ้ม ถุง (256:4.2)
               คือ ตุ้ม ที่ เขา ทำ ด้วย เงิน บ้าง, เปน ไม้ สิบ สอง บ้าง, ลูก มะยม บ้าง.
      ตุ้ม ทอง (256:4.3)
               คือ ตุ้ม ที่ เขา ทำ ด้วย ทอง คำ นั้น, เช่น ตุ้ม ถุง เงิน พวก ขาย ของ เปน ต้น.

--- Page 257 ---
      ตุ้ม ปี (257:4.4)
               เปน ชื่อ หมวก อย่าง หนึ่ง, เขา ทำ ด้วย ศักหลาด แดง ที่ กลาง มี ยอด แหล่ม สูง ทั้ง ด้าน ล่าง มี ยอด ต่ำ ๆ
      ตุ้ม หู (257:4.5)
               เปน ชื่อ ตุ้ม ที่ เขา ทำ ด้วย ทอง, เปน รูป ดอก มะ
ตุ๋ม (257:1)
         เปน เสียง ของ หนัก ๆ, ตก ลง ใน น้ำ ดัง เช่น นั้น. เขือ เปน ต้น สำหรับ ใส่ หู นั้น, เช่น ผู้ หญิง ไท ใส่.
ตูม (257:2)
         ไม่ บาน, เปน ชื่อ ดอก ไม้ ที่ ยัง ไม่ บาน, ฤๅ เปน เสียง ดัง หย่าง หนึ่ง, มี เสียง ปืน เปน ต้น
      ตูม กา (257:2.1)
               เปน ชื่อ ไม้ อย่าง หนึ่ง, ผล กลม ๆ, กิน ไม่ ได้ มี ใน ป่า, เช่น ลูก มะตูม.
      ตูม ไข่ (257:2.2)
               เปน ชื่อ มะตูม ที่ เปลือก บาง กิน ดี ด้วย นั้น, เช่น ผล มะตูม เพ็ชบูรีย์.
      ตูม ตาม (257:2.3)
               เปน เสียง อย่าง หนึ่ง, เช่น คน ทุบ ตี กัน ด้วย ไม้ ตะบอง.
เต็ม (257:3)
         บริ บูรณ, เปน ชื่อ เปี่ยม บริบูรณ์, ไม่ บก พร่อง นั้น, เช่น คำ ว่า น้ำ เต็ม ตุ่ม.
      เต็ม กา (257:3.1)
               คือ กา เต็ม เปี่ยม ด้วย น้ำ นั้น.
      เต็ม กำ (257:3.2)
               การ ที่ เต็ม กำ มือ นั้น,
      เต็ม เกียน (257:3.3)
               คือ ความ ที่ เต็ม ใน เล่ม เกียน นั้น.
      เต็ม กอบ (257:3.4)
               คือ การ ที่ กอบ เอา เต็ม มือ นั้น, เช่น คน กอบ เข้า ไส่ กะบุง เต็ม
      เต็ม กรอง (257:3.5)
               คือ ความ ที่ เต็ม คิด, เต็ม กรึก กรอง นั้น.
      เต็ม กรอบ (257:3.6)
               เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ ตาก แดด แห้ง นัก, ฤๅ ย่าง ไฟ เกรียม นั้น.
      เต็ม กรอม (257:3.7)
               คือ ความ ทุข ที่ บังเกิด ขึ้น ใน ใจ, มาก เต็ม ที เช่น เมีย รักษ์ นอก ใจ.
      เต็ม ขา (257:3.8)
               คือ การ เต็ม ที่ ขา เช่น บ่าว* ทำ ผิด, นาย เขา เฆี่ยน จน เต็ม ขา.
      เต็ม ขัน (257:3.9)
               คือ ของ เต็ม ขัน, ฤๅ คน พูด จา น่า หัวเราะ, เช่น น้ำ เต็ม ขัน, ฤๅ คน ตลก.
      เต็ม เข็น (257:3.10)
               คือ ความ ทุกข์ ลำ บาก เต็ม ที นั้น, เปรียบ เหมือน คน เข็น เรือ บน บก.
      เต็ม เขิน (257:3.11)
               คือ ความ กะดาก เต็ม ที, ฤๅ น้ำ ที่ ขึ้น ไป บน ดอน นั้น, เช่น คน ทำ ชั่ว ไว้ มี ผู้ รู้ เข้า, ฤๅ ลำ ธาร ที่ มา แต่ ภูเขา เปน ต้น.
      เต็ม ฃอ (257:3.12)
               คือ ของ ทั้ง ปวง ฃอ หย่าง เต็ม ที นั้น.
      เต็ม เค้า (257:3.13)
               คือ ความ เต็ม ที่ เดิม นั้น, เช่น เค้า เงิน เดิม มี อยู่ พัน บาท, เรา ใช้ เสีย บ้าง แล้ว, ภ่าย หลัง เรา เอา มา ใส่ ไว้ ครบ จำนวน.
      เต็ม เคือง (257:3.14)
               คือ ความ ที่ ขัด ใจ เต็ม ที, นั้น เปน ต้น.
      เต็มคด (257:3.15)
               คือ ใจ ไม่ ตรง ใจ คด เต็ม ที, ฤๅ ทาง คด เต็ม ที นั้น.
      เต็ม คิด (257:3.16)
               คือ* ความ ที่ เหน หยาก เต็ม ที นั้น, เช่น คน คิด ถึง พระ เจ้า ฤๅ คิด ถึง พระ นิพาน.
      เต็ม แค้น (257:3.17)
               คือ ความ ที่ แค้น ฅอ เต็ม ที, ฤๅ เคือง ใจ เต็ม ที นั้น.
      เต็ม คับ (257:3.18)
               การ ที่ คับ เต็ม ที, เช่น ช่อง รู ที่ แคบ กด ดัน เข้า ไป ไม่ ไคร่ จะ เข้า นั้น.
      เต็ม แคบ (257:3.19)
               คือ ความ ที่ แคบ เต็ม ที.
      เต็ม คม (257:3.20)
               คือ สิ่ง ที่ คม เต็ม ที, เช่น มีด โกน ฤๅ คน มี ปัญ ญา ฉลาด รอบ รู้ นั้น.
      เต็ม คอย (257:3.21)
               คือ ความ ที่ คอย เต็ม ที, เช่น ที่ นัด กัน ไว้ แล้ว หา มา ตาม นัด กัน ไม่.
      เต็ม เคอะ (257:3.22)
               คือ ความ ที่ เคอะ เต็ม ที, เช่น คน โง่ คน บ้า ไม่ รู้ อะไร
      เต็ม โง่ (257:3.23)
               เต็ม งก, เต็ม โงก, เต็ม ง่วง, เต็ม งอน, เต็ม เงี่ยน, เต็ม งม, เต็ม งาม, เต็ม งอม, เต็ม ใจ, เต็ม จืด, เต็ม จน, เต็ม ฉลาด, เต็ม ชรา, เต็ม ชั่ว, เต็ม เซ่อ. เต็ม ใหญ่, เต็ม ดี, เต็ม ดัน, เต็ม ด้าน, เต็ม เดิร.
      เต็ม ที่ (257:3.24)
               คือ สิ่ง ของ ที่ เต็ม ไป ด้วย สิ่ง ของ ต่าง ๆ, เช่น ที่ นา ที่ สวน เต็ม ไป ด้วย ต้น เข้า แล ผลไม้.
      เต็ม ที (257:3.25)
               คือ สิ่ง ของ ที่ แบก หนัก เต็ม แรง นั้น.
      เต็ม ทุกข์ (257:3.26)
               คือ ความ ที่ เปน ทุกข์ เต็ม ที นั้น, เช่น พวก นัก โทษ ที่ เขา จะ เอา ไป ฆ่า เสีย เปน ต้น.
      เต็ม ทน (257:3.27)
               คือ การ ที่ ต้อง ทน เต็ม ที, เช่น อ้าย ผู้ ร้าย ที่ เขา ผูก เข้า เฆี่ยน เปน ต้น.
      เต็ม ล้า (257:3.28)
               เช่น คน ฦๅ สัตว เดิร ทาง ไกล ฃา แขง ก้าว ไม่ ออก เปน ต้น. เต็ม นาน, เต็ม บอบ, เต็ม แบก, เต็ม เบื่อ, เต็ม เบื้อน, เต็ม พัก, เต็ม เปี่ยม, เต็ม เพียร, เต็ม เมา, เต็ม มาก,

--- Page 258 ---
      เต็ม ยาก (258:3.29)
               เต๊ม เย็น, เต็ม รักษ์, เต็ม ร้อน, เต็ม รวย, เต็ม เลอะ, เต็ม ว่า เต็ม วุ่น, เต็ม ศุข, เต็ม สูง, เต็ม เต็ม สาย, เต็ม สวย, เต็ม หา, เต็ม หิว, เต็ม อ่อน, เต็ม อาย,
      เต็ม เอก (258:3.30)
               คือ การ เอก เต็ม ที นั้น, เช่น ของ ทั้ง ปวง ที่ เลิศ เปน อัน หนึ่ง.
      เต็ม อึง (258:3.31)
               คือ เสียง อึง เต็ม ที นั้น, เช่น เสียง ทะเลาะ วิวาท หนัก เปน ต้น.
      เต็ม เอื้อม (258:3.32)
               คือ อาการ ที่ สูง เอื้อม เต็ม ที นั้น, เช่น คน ไพร่ หยาก ได้ ลูก ขุนนาง เปน เมีย, ฤๅ คน หมาย จะ เอื้อม เอา
แต้ม (258:1)
         จุด, คือ การ ที่ คน แตะ กด ลง, ฤๅ ตา กระดาน หมาก รุก นั้น, เช่น แต้ม ทอง, ฤๅ เดิร แต้ม หมากรุก.
      แต้ม เขม่า (258:1.1)
               เปน การ ที่ เอา เขม่า แต้ม กด ลง นั้น, เช่น ไท หวี ผม แต้ม เขม่า.
      แต้ม เขียน (258:1.2)
               คือ การ ที่ เขียน แล้ว แต้ม ด้วย น้ำยา ศี ต่าง ๆ.
      แต้ม ชาต (258:1.3)
               คือ การ ที่ แต้ม ด้วย ชาต นั้น, เช่น คน เขียน แล้ว เอา ชาต แต้ม ลง
      แต้ม ทอง (258:1.4)
               คือ การ ที่ แต้ม ลง ที่ ทอง, เช่น เอา ขี ผึ้ง กด แต้ม เอา ทอง คำ.
      แต้ม น้ำ ลาย (258:1.5)
               คือ การ ที่ เอา น้ำ ลาย แต้ม ลง นั้น.
      แต้ม ดวด (258:1.6)
               คือ แต้ม ที่ คน เดิร ดวด เล่น นั้น, เช่น คน ทอด ดวด เอา เบี้ย เดิร ไป ตา หนึ่ง สอง ตา.
      แต้ม หมากรุก (258:1.7)
               คือ แต้ม ที่ กะดาน หมากรุก* นั้น, เช่น คน เดิร หมากรุก ตาม กะดาน นั้น.
      แต้ม แผล (258:1.8)
               คือ การ ที่ เอา นิ้ว มือ จิ้ม ลง ที่ อยา แล้ว, เอา ไป จิ้ม ลง ที่ แผล, มี แผล ฝี เปน ต้น, เพื่อ จะ รักษา นั้น.
ตอม (258:2)
         ไต่, คือ อาการ แห่ง สัตว์ ที่ @บ ลง มาก แล้ว, ต่าย ไป ต่าย มา นั้น, เช่น แมลงวัน ตอม ของ.
      ตอม กลุ้ม (258:2.1)
               คือ อาการ ที่ กลุ้ม กัน มา ตอม อยู่ นั้น, เช่น หมู่ แมลง ผึ้ง จับ อยู่ ที่ รัง นั้น.
      ตอม กลาด (258:2.2)
               คือ อาการ ที่ ตอม เกลื่อน ไป นั้น, เช่น หมู่ แมง วัน นั้น.
ต่อม (258:3)
         ตุ่ม, ฟอง, เปน ชื่อ สิ่ง ที่ บังเกิด เปน ตู่ม ฤๅ เปน ฟอง ขึ้น นั้น, เช่น ฝี ดาศ, ฤๅ ฟอง น้ำ เปน ต้น.
      ต่อม น้ำ (258:3.1)
               ฟอง น้ำ, เปน ชื่อ น้ำ ที่ บังเกิด เปน ต่อม ขึ้น นั้น, เช่น ฟอง น้ำ ที่ บังเกิด ขึ้น ด้วย กำลัง ลม ประหาร เปน ต้น*
      ต่อม ฝี (258:3.2)
               เปน ชื่อ ฝี ที่ บังเกิด เปน ต่อม ขึ้น นั้น, เช่น ต่อม ฝี ดาศ, ฤๅ ละลอก แก้ว.
      ต่อม*ไฝ (258:3.3)
               คือ ไฝ ที่ บังเกิด เปน ต่อม ขึ้น นั้น, เช่น หัว ไฝ ที่ บังเกิด ขึ้น ใน กาย.
ต๋อม (258:4)
         เปน เสียง อย่าง หนึ่ง มัน ดัง อย่าง นั้น, เช่น สัตว เล็ก ๆ เดิร ที่ น้ำ ตื้น ตื้น.
ต้วมเตี้ยม (258:5)
         คือ เสียง ดัง ใน น้ำ, เหมือน เขา เอา* ลูก หมา โยน ลง ใน น้ำ, มัน เอา ตีน หน้า สอง ตีน ว่าย น้ำ ดัง เช่น นั้น.
ต๋วมเตี๋ยม (258:6)
         เปน เสียง อย่าง หนึ่ง มัน ดัง อย่าง นั้น, มี เสียง ลูก หมา ว่าย น้ำ เปน ต้น
เติม (258:7)
         เพิ่ม, เท ลง, แถม, คือ การ ที่ เพิ่ม ลง อีก, แล ใส่ ลง อีก นั้น, เช่น น้ำ ใน ตุ่ม บก พร่อง แล้ว ตัก ใส่ ลง อีก.
      เติม แกง (258:7.1)
               เพิ่ม แกง, เปน ชื่อ แกง ที่ เอา มา เพิ่ม ลง ใส่ ลง อีก นั้น.
      เติม อีก (258:7.2)
               คือ การ ที่ เพิ่ม ให้ อีก นั้น, เช่น คน ให้ สิ่ง ของ กัน ไป ยัง ไม่ ภอ ให้ เติม ไป อีก นั้น.
(258:8)
         
เตย (258:9)
         เปน ชื่อ ต้น อย่าง หนึ่ง, ใบ ยาว ๆ มี หนาม ขึ้น อยู่ ตาม ริม น้ำ*, เปน เตย ที่ เขา เอา ใบ มา สาน เสื่อ.
      เตย หอม (258:9.1)
               เปน ชื่อ เตย อย่าง หนึ่ง, ใบ ไม่ มี หนาม มี กลิ่น หอม, เปน เตย หอม ที่ เขา เอา ใบ ห่อ เข้า ต้ม นั้น.
ตาย (258:10)
         สิ้น ชีวิตร, ถึง แก่ กรรม, เปน ชื่อ สิ้น ชีวิตร นั้น, เช่น คน แล สัตว ทั้ง ปวง ที่ ไม่ หาย ใจ.
      ตาย ก่อน (258:10.1)
               ดับ จิตร ก่อน, คือ ความ ที่ ถึง มรณะกรรม ก่อน นั้น
      ตาย แขง (258:10.2)
               คือ ความ ที่ ขาด ใจ ตาย แล้ว รูป กาย ก็ แขง อยู่.
      ตาย โคม (258:10.3)
               คือ อาการ ที่ สัตว ตาย เน่า อยู่ ใน ไข่ นั้น, เช่น ไข่ ไก่ ที่ ฟัก ไม่ ออก ตัว เน่า เสีย ไป นั้น.
      ตาย ง่าย (258:10.4)
               สิ้น พระ ชณม์ ง่าย, คือ ความ ตาย ไม่ ยาก นั้น.
      ตาย ใจ (258:10.5)
               คือ ใจ คน ที่ เชื่อ เฃา พูด ให้ เชื่อ ก็ เชื่อ เปน หนึ่ง ไม่ เคลือบ แคลง เลย นั้น.
      ตาย จาก กัน (258:10.6)
               บรรใล จาก กัน, คือ ความ ที่ ตาย พรัด พราก จาก กัน ไป นั้น.

--- Page 259 ---
      ตาย เฉย ๆ (259:10.7)
               คือ ความ ที่ ตาย เงียบ ไม่ มี ใคร รู้ นั้น, เช่น คน นอน หลับ ลม จับ ตาย นั้น.
      ตาย ซาก (259:10.8)
               คือ คน แล สัตว์ ที่ ตาย นาน แล้ว ทิ้ง แห้ง อยู่ นั้น.
      ตาย ดี (259:10.9)
               สวรรคต, คือ เปน ชื่อ ความ ตาย เพราะ แก่, เพราะ สิ้น อายุสม์ ตาม ธรรมดา นั้น,
      ตาย ด้าน (259:10.10)
               อาการ* ที่ ตาย อย่าง หนึ่ง, เช่น ดอก ไม้ ไฟ ที่ เขา จุด ฉะนวน ลุก ฟับ ขึ้น แล้ว ดับ ด้าน อยู่.
      ตาย ถ่อย (259:10.11)
               คือ ความ ที่ ตาย ชั่ว นั้น, เช่น คน กิน เล่า เมา ตาย ฤๅ เปน จา โบ๊ ห่วง ตาย.
      ตาย แท้ (259:10.12)
               คือ ความ ที่ ตาย จริง ๆ ตาย แน่ นั้น, เช่น คน ที่ ไม่ สลบ เปน ต้น นั้น.
      ตาย ทั้ง กลม (259:10.13)
               ตาย พราย, คือ ความ ตาย แห่ง หญิง ที่ ลูก ยัง อยู่ ใน ท้อง ตัว ตาย นั้น.
      ตาย ทั้ง ท้อง (259:10.14)
               คือ ความ ตาย แห่ง หญิง ที่ ตาย ทั้ง ลูก อยู่ ใน ครรภ.
      ตาย ขุย (259:10.15)
               คือ ที่ ตาย เพราะ เปน ขุย นั้น, เช่น ไม้ ไผ่ ตาย ฃุย เพราะ มัน มี ลูก ขึ้น.
      ตาย หมาด (259:10.16)
               คือ ความ ที่ ตาย ภอ เหี่ยว แห้ง ลง หน่อย ๆ นั้น, เช่น ฟืน ที่ ตัด ไว้ ศัก เดือน หนึ่ง.
      ตาย มอด ม้วย (259:10.17)
               คือ การ ที่ ตาย หมด สิ้น นั้น, เช่น คน ที่ ตาย หมด ด้วย กัน ทั้ง ครัว เรือน.
      ตาย มูน มอง (259:10.18)
                คือ การ ที่ ตาย ลง มาก กว่า มาก, จน ทิ้ง ทับ กัน เปน กอง ๆ.
      ตาย เหลียว หลัง (259:10.19)
               คือ อาการ ที่ ตาย เปน ห่วง ถึง สิ่ง ของ ต่าง ต่าง ภาย* หลัง นั้น, เช่น คน พาล มิ ได้ ตั้ง จิตร คิด ถึง ความ ศุข ใน เบื้อง หน้า.
      ตาย ห่า (259:10.20)
               คือ ความ ตาย เพราะ ห่า ลง นั้น, เช่น ฝูง ควาย ตาย ห่า เมื่อ พะยุห์ ฝน ห่า ใหญ่ ตก.
      ตาย* โหง (259:10.21)
               คือ ความ ที่ ตาย ไม่ ดี ตาย หวง นั้น, เช่น คน พาล หวง ทรัพย์ อ้าย ผู้ ร้าย มา ปล้น* แล้ว ฆ่า ตาย เสีย.
      ตาย หวง (259:10.22)
               คือ ความ ตาย ที่ ตาย เพราะ หวง สิ่ง ของ เกิน ประ- มาณ นั้น, เช่น คน หวง ทรัพย์ สู้ ตาย ใน ไฟ.
      ตาย เหือด (259:10.23)
               คือ ความ ตาย ค่อย ห่าง ลง นั้น, เช่น คน ตาย ชุก หนัก แล้ว ค่อย ซา ห่าง ลง.
ต่าย (259:1)
         เดิร, เปน ชื่อ อาการ ที่ ค่อย ๆ เดิร ต่าย ไป บน ลำ ไม้ เล็ก ๆ, เช่น คน ต่าย ลวด ฤๅ ต่าย ตะภาน นั้น.
      ต่าย เต้า (259:1.1)
               คือ อาการ ที่ ค่อย เดิน ต่าย ไป ตาม ทาง นั้น, เช่น คน เลียบ ไป ตาม ชาย ป่า นั้น.
      ต่าย ตะภาน (259:1.2)
               คือ อาการ ที่ เดิน ต่าย ไป บน ตะภาน นั้น.
ติ้ว (259:2)
         ฃะแนน, คือ ไม้ อัน เล็ก ๆ ที่ เขา สำรับ ใช้ เปน ขะแนน นั้น, เช่น ติ้ว ตวง เข้า.
ตุ่ย (259:3)
         เปน หน่วย, คือ สิ่ง ที่ เปน หน่วย โป่ง ออก มา นั้น, เช่น* ลิง อม ฃอง กิน ไว้ ใน แก้ม ตุ่ย อยู่ นั้น.
ตุ้ย (259:4)
         เปน ชื่อ อาการ ที่ กิน ของ ได้ มาก นั้น, เช่น เขา พูด กัน ว่า กิน ตุ้ย ๆ.
แต้ว (259:5)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เช่น ที่ เขา เอา ยาง มา ทา สิ่ง ของ ดู เหมือน ปิด ทอง.
ต่อย (259:6)
         โขก, ชก, คือ การ ที่ ชก กัน ด้วย มือ, ฤๅ ต่อย ด้วย ก้น นั้น, เช่น คน มวย, ฤๅ ผึ้ง ต่อ แทง เอา ด้วย ก้น.
      ต่อย กัน (259:6.1)
               ชก กัน, คือ การ ที่ ชก กัน นั้น, เช่น คน วิวาท ชก กัน, ฤๅ คน มวย ต่อย กัน ที่ สนาม.
      ต่อย ชก (259:6.2)
               คือ การ ที่ กำ มือ เข้า แล้ว ทำ เงื้อ ขึ้น แล้ว ทุบ ลง ให้ ถูก ที่ หัว คน.
      ต่อย แตก (259:6.3)
               คือ เอา มือ เงื้อ ขึ้น, ฤๅ ไม้ ทำ ลง ให้ ถูก หัว คน, ฤๅ ภาชนะ อัน ใด ให้ ทำลาย บุบ ฉลาย นั้น.
      ต่อย มวย (259:6.4)
               ชก มวย, คือ การ ที่ ชก มวย นั้น, เช่น เขา ชก กัน ที่ สนาม หลวง.
      ต่อย ม่อ (259:6.5)
               ทุบ ม่อ, คือ การ ที่ ทุบ ม่อ นั้น.
      ต่อย หัว (259:6.6)
               ตี หัว, ชก หัว, คือ การ ที่ โขก หัว ลง ไป นั้น.
ต้อย (259:7)
         เปน ชื่อ การ เชื่อง แล ตาม ด้วย นั้น, เช่น เขา เลี้ยง ไก่ ต้อย เปน ต้น.
      ต้อย ติ่ง (259:7.1)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ เล็ก ๆ, มัก ขึ้น ตาม ที่ ริม บ้าน, ที่ ทุ่ง นา บ้าง, ใบ มัน เปน ขน มี ลูก เปน หนาม นั้น.
เตี่ยว (259:8)
         เกลียว, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ เขา บิด เปน เกลียว, สำรับ ยา หวด กับ ม่อ, ไม่ ให้ อาย ขึ้น ได้ นั้น.
      เตี่ยว ม่อ (259:8.1)
               เปน ชื่อ ผ้า ที่ เขา พัน ม่อ มิ ให้ อาย น้ำ ขึ้น ได้, เช่น ม่อ ที่ เขา นึ่ง เข้า เหนียว นั้น.

--- Page 260 ---
      เตี่ยว หวด (260:8.2)
               คือ เตี่ยว ที่ เขา พัน หวด มิ ให้ อาย น้ำ ร้อน ขึ้น ได้, เช่น หวด ที่ เขา นึ่ง ขนม* นั้น.
เตี่ย (260:1)
         เปน ชื่อ พ่อ นั้น เอง, เปน ภาษา เจ็ก, เช่น เขา พูด กัน ว่า, ไป หา เตี่ย.
เตี้ย (260:2)
         ต่ำ, ค่อม, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ไม่ สูง นั้น, เช่น ไก่ เตี้ย, ฤๅ กล้วย ค่อม, ฤๅ คน ค่อม
      เตี้ย ค้อม (260:2.1)
               คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ต่ำ, ที่ ไม่ สูง นั้น, เช่น ไก่ เตี้ย ฤๅ คล้วย* ค่อม.
      เตี้ย ต่ำ (260:2.2)
               คือ อาการ ต่ำ เตี้ย ไม่ สูง นั้น, เช่น ไม้ เรี้ย ฤๅ ต้น หงอน ไก่ เตี้ย.
ตัว (260:3)
         องค์, กาย, คือ ตน นั้น เอง, เช่น เขา พูด กัน ว่า, ตัว เรา, ตัว ท่าน, ตัว ผู้, ตัว เมีย เปน ต้น.
      ตัว กู (260:3.1)
               ตน เรา, รูป เรา, คือ ตัว ของ เรา นั้น, เปน คำ นึก ถึง ตัว, ฤๅ เปน คำ ผู้ ใหญ่ พูด กับ เด็ก เปน* ต้น, เขา ถือ ว่า เปน คำ อยาบ.
      ตัว เก่ง (260:3.2)
               คือ ตัว คน ที่ มี ฝีมือ นั้น, เช่น นาย ทหาร ที่ มี ฝีมือ เข่ม แขง,
      ตัว โกง (260:3.3)
               กาย โกง, คือ ตัว คน ที่ ใจ ไม่ ตรง, ฤๅ กาย คด นั้น.
      ตัว การ (260:3.4)
               องค์ การ, คือ ตัว คน ที่ เปน ผู้ กระทำ นั้น, เช่น อ้าย ผู้ ร้าย ที่ ลง มือ นั้น, เรียก ว่า ตัว การ.
      ตัว แกน (260:3.5)
               คือ ตัว คน ที่ แกน ไม่ มี สิ่ง ใด นั้น, เปรียบ เหมือน ซ่ม ที่ แกน เปน ต้น.
      ตัว เกะกะ (260:3.6)
               คือ อาการ ตัว คน ที่ เดิน เกะกะ, เดิร ไม่ ตรง ทาง นั้น, เช่น คน พาล เมา ด้วย ของ ชั่ว ต่าง ๆ.
      ตัว กรรม (260:3.7)
               คือ ตัว บุญา ภิสังขาร, อะ บุญา ภิสังขาร, เปน ผู้ ตก แต่ง ให้ ได้ ศุข แล ทุกข นั้น, เช่น คน ดี คน ชั่ว เปน ต้น.
      ตัว เงิน (260:3.8)
               รูป เงิน, คือ รูป ฃอง เงิน นั้น.
      ตัว ชัง (260:3.9)
               คือ คน ที่ ชัง นั้น.
      ตัว ซุก ซน (260:3.10)
               คือ ตัว คน ที่ ไม่ อยู่ สุก, ไม่ นิ่ง ๆ นั้น.
      ตัว เต็ง (260:3.11)
               คือ ตัว ที่ หนัก, ตัว ใหญ่ นั้น, เช่น คน แทง หวย, ถ้า แทง ตัว ใด หนัก, ตัว นั้น เรียก ตัว เต็ง.
      ตัว เบียฬ (260:3.12)
               คือ การ ที่ ตัว คน ขี้ ฃอ, ฤๅ คน ขะโมย นั้น, เช่น คน ฃอทาน, ฤๅ คน มือ ไว ลัก ของ เปน ต้น.
      ตัว แบบ (260:3.13)
               คือ สิ่ง ของ ที่ เปน ตัว อย่าง นั้น.
      ตัว* ผู้ (260:3.14)
               คือ สัตว์ ทั้ง ปวง ที่ มิไช่ ตัว เมีย.
      ตัว เพียร (260:3.15)
               คือ ความ หมั่น ความ อุส่าห์ นั้น.
      ตัว เมีย (260:3.16)
               คือ ตัว ของ เมีย เรา, ฤๅ สัตว์ ทั้ง ปวง ที่ มิ ไช่ ตัว ผู้ เช่น พวก ผู้ หญิง ทั้ง ปวง นั้น.
ตัว ๆ (260:4)
         เปน เสียง ดัง เมื่อ เขา ร้อง, เมื่อ ภาย เรือ เปน ต้น, เสียง พวก ฝิภาย เรือ พระ ที่นั่ง นั้น
เตะ (260:5)
         คือ อาการ ที่ กระทำ ยก ตีน วัด เอา ผู้ อื่น นั้น.
      เตะ ตะกร้อ (260:5.1)
               คือ การ ยก ตีน ขึ้น เตะ เอา ลูก ตะกร้อ นั้น, พวก นักเลง ตะกร้อ เล่น กัน.
แตะ (260:6)
         เปน ชื่อ ไม้ ซีก ที่ สำรับ ขัด ฝา, ฦๅ ขัด พื้น นั้น, เช่น ฝา เรือน ขัด แตะ, ฤๅ แตะ พื้น พระ เมรุ เปน ต้น.
      แตะ อยา ฝิ่น (260:6.1)
               แกะ อยา ฝิ่น, เปน ชื่อ การ ที่ เขา เอา เหล็ก เถาเกีย ทาบ ลง ที่ เนื้อ ฝิ่น มัน ติด อยู่ ที่ ลาน รอง ฝิ่น นั้น, ให้ มัน ติด เหล็ก ขึ้น มา นั้น.
โตะ (260:7)
         โตก, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ เฃา ทำ ด้วย ไม้ มี สันฐาน ต่าง ๆ บ้าง, ทำ ด้วย ทอง เหลือง บ้าง, เช่น โตะ กิน เข้า เปน ต้น.
      โตะ พวก แขก (260:7.1)
               คือ คน แขก ผู้ ใหญ่, เปน ผู้ รู้ หนังสือ แขก มาก, เปน ครู สำหรับ สั่ง สอน ลูก สิษ ทั้ง หลาย นั้น.
      โต๊ะ เครื่อง บูชา (260:7.2)
               คือ โต๊ะ ไม้ สี่ เหลี่ยม สำรับ ตั้ง เครื่อง บูชา, เช่น พวก เจ็ก ตั้ง โต๊ะ ไหว้ จ้าว นั้น.
      โตะ ท้าว ช้าง (260:7.3)
               โตก ท้าว ช้าง, เปน ชื่อ โตะ ที่ เขา ทำ ด้วย เงิน บ้าง, ทอง บ้าง, ทอง เหลือง บ้าง, คล้าย กับ ท้าว ช้าง, สำรับ ใส่ ของ กิน นั้น.
เตาะ (260:8)
         เปน ชื่อ ที่ ค่อย ฬ่อ แกะ และ เอา ที ละ เล็ก ละ น้อย นั้น, เช่น นักเลง มี ทุน หนิด หน่อย เล่น ช่อ เขา นั้น.
      เตาะ แตะ (260:8.1)
               คือ อาการ ที่ ย่าง ก้าว ยัง ไม่ สนัด เหมือน เด็ก ๆ พึ่ง จะ สอน เดิร นั้น.
      เตาะ ทุ่น (260:8.2)
               คือ การ ที่ เล่น เตาะ เอา ทุน เดิม นั้น, เช่น พวก นักเลง ปี้ ขา, เล่น พะ เซ้ย เปน ต้น.
ตอ (260:9)
         เปน ชื่อ โคน ไม้ ทั้ง ปวง ที่ เขา ตัด ต้น เสีย แล้ว นั้น, เช่น ตอ แสม, ฤๅ ตอ ไม้ ต่าง ๆ ที่ อยู่ ใน น้ำ นั้น.
      ตอ ไม้ (260:9.1)
               คือ ตอ ไม้ ต่าง ๆ ทั้ง ปวง นั้น, เช่น* ไม้ ใน ป่า ฟืน.
      ตอ หญ้า (260:9.2)
               คือ ตอ แห่ง ต้น หญ้า ทั้ง ปวง นั้น, เช่น ตอ หญ้า ที่ เขา หวด นา นั้น.

--- Page 261 ---
      ตอ แย (261:9.3)
               เปน ชื่อ กระทำ เล่น หยอก เย้า รังแก นั้น, เช่น พวก เด็ก ไม่ ดี, เล่น เย้า ฬ้อ เลียน กัน นั้น.
      ตอแหล (261:9.4)
               เปน ชื่อ พูจ คำ เท็จ, พูจ ปด, พูด มุสา, พูด โกหก, พูด สับปลับ, เช่น พวก คน โกง นั้น.
      ตอ หลัก (261:9.5)
               คือ ตอ ไม้ ที่ มัน ด้วน ไม่ มี กิ่ง, ไม่ มี ยอด, อยู่ พ้น ดิน สัก สอก หนึ่ง สอง สอก, หลัก นั้น เปน ไม้ เขา ปัก ไว้ เหมือน หลัก แพ.
      ตอ สัง สาระวัต (261:9.6)
               คือ คน เหน ผิด เปน ชอบ, จึ่ง ต้อง เวียน* ตาย เวียน เกิด ไม่ รู้ แล้ว, เปน ตอ อยู่ ใน สังลาระวัต นั้น.
      ตอ สาศนา (261:9.7)
               คือ คำ อ้น เปน เสี้ยน สาศนา, แล คำ ที่ เปน ฆ่า ศึก สาศนา นั้น, เช่น คำ ว่า โลกย์ เที่ยง สัตว เที่ยง นั้น.
ต่อ (261:1)
         สืบ, เปน ชื่อ การ ทำ ให้ สิ่ง ของ ที่ ขาด แล้ว, ให้ ติด กัน เข้า เช่น ต่อ เชือก เปน ต้น. อนึ่ง เปน ชื่อ สัตว มี ปีก คล้าย กับ ตัว ผึ้ง, ก้น นั้น มี พิศม์.
      ต่อ ไก่ (261:1.1)
               คือ การ ที่ เอา ไก่ บ้าน, ไป ต่อ เอา ไก่ เถื่อน ให้ ติด มา เช่น คน ต่อ นก นั้น.
      ต่อ กำปั่น (261:1.2)
               เปน ชื่อ การ ที่ เอา กะดาน มา ต่อ กัน ขึ้น ไป เปน กำปั่น นั้น.
      ต่อ กระดูก (261:1.3)
               คือ การ ทำ กระดูก ที่ หัก นั้น, ต่อ ให้ ติด กัน เข้า เช่น พวก หมอ ต่อ แขน หัก.
      ต่อ แดน (261:1.4)
               เปน ชื่อ เขต แดน ทั้ง ปวง ที่ ต่อ กัน นั้น, เช่น แดน ไท กับ แดน พม่า ต่อ กัน.
      ต่อ หน้า (261:1.5)
               คือ ที่ ตรง หน้า ออก มา นั้น.
      ต่อ นก (261:1.6)
               เปน ชื่อ การ ที่ เอา นก ต่อ ที่ เรา เลี้ยง นั้น, ไป ต่อ เอา นก ป่า ให้ ติด มา, เช่น ต่อ นก เขา นั้น.
      ต่อ แต้ม (261:1.7)
               เปน ชื่อ ไพ่ เครื่อง เล่น อย่าง หนึ่ง, เขา ทำ ด้วย งา ช้าง ยาว สัก สอง นิ้ว, กว้าง สัก นิ้ว หนึ่ง, เจาะ เปน รู ๆ, เรียก ว่า แต้ม, เมื่อ เล่น เอา แต้ม วาง ต่อ ให้ ถูก ต้อง กัน.
      ต่อ ต้าน (261:1.8)
               เปน ชื่อ การ รบ ต่อ สู้ กัน ไว้ นั้น, เช่น แม่ ทัพ ยก ทหาร ไป ตั้ง ขัด ตา ทัพ อยู่.
      ต่อ* ไป (261:1.9)
               คือ การ ต่อ ขึ้น ไป ภาย น่า นั้น.
      ต่อ ติด (261:1.10)
               คือ การ เอา ของ มี เชือก เปน ต้น, เอา หัว เงื่อน กับ หัว เงื่อน ผูก ติด กัน เข้า นั้น.
      ต่อ ตาม (261:1.11)
               ต่อ นั้น มี ความ ว่า เขา ขาย ของ กัน, ผู้ ซื้อ ว่า จะ ให้ ราคา แต่ น้อย นั้น, ว่า ต่อ ลง, แต่ ตาม เปน คำ สร้อย.
      ต่อ เบื้อง น่น* (261:1.12)
               คือ ความ ที่ ไป ข้าง น่า ต่อ ๆ ไป นั้น.
      ต่อ หงอก (261:1.13)
               เปน ชื่อ ตัว สัตว มี ปีก อย่าง หนึ่ง, ตัว มัน เท่า ตักกะแตน, ก้น มัน มี เหล็ก ใน มี พิศม์, ถ้า มัน* ต่อย ที่ หัว แล้ว ผม หงอก.
      ต่อ* ปาก (261:1.14)
               คือ คำ ที่ ต่อ ออก มา จาก ปาก นั้น.
      ต่อ หลุม (261:1.15)
               เปน ชื่อ สัตว เช่น ว่า ต่อ นั้น, แต่ มัน ทำ รวงรัง อยู่ ใต้ ดิน ใน ป่า.
      ต่อ ผล (261:1.16)
               เปน ชื่อ ลูก ไม้ ที่ เปน ต่อ ๆ ไป นั้น, เช่น* คำ เขา พูด กัน ว่า, ต้น ไม้ ออก ช่อ ต่อ ผล.
      ต่อ หัว เสือ (261:1.17)
               เปน ชื่อ ตัว ต่อ เช่น ว่า นั้น, แต่ มัน ทำ รัง บน ต้น ไม้, รัง มัน คล้าย กับ หัว เสือ.
      ต่อ ภาย หลัง (261:1.18)
               คือ กาล ต่อ ไป ภาย หลัง นั้น, เช่น นัด กัน ว่า ต่อ ที หลัง เถิด เรา จะ ให้.
      ต่อ มือ (261:1.19)
               เปน ชื่อ มือ หัก ต่อ ให้ ดี, ฤๅ การ ที่ ได้ สู้ รบ ต่อ มือ กัน นั้น.
      ต่อ แย้ง (261:1.20)
               คือ ความ แก่งแย่ง เถียง กัน นั้น.
      ต่อ ยุทธ์ (261:1.21)
               คือ การ ที่ ต่อ สู้ รบ กัน นั้น.
      ต่อ รบ (261:1.22)
               คือ การ รบ ต่อ สู้ กัน นั้น, เช่น พวก ทหาร ทั้ง สอง ฝ่าย รบ ต่อ สู้ กัน นั้น.
      ต่อ ริทธิ์ (261:1.23)
               คือ การ ที่ ต่อ สู้ กับ ด้วย คน มี ริทธิ์ นั้น, เช่น เรื่อง รามเกียรติ์
      ต่อ สู้ (261:1.24)
               คือ การ สู้ รบ ต่อ กัน นั้น, เช่น โจท จำเลย ที่ เปน ความ ต่อ สู้ ยัง ไม่ แพ้ ไม่ ชะนะ กัน เน.
      ต่อ สะติปัญญา (261:1.25)
               คือ ความ ที่ ระฦก ตรึก ตรอง ด้วย ปัญญา ต่อ ไป นั้น, เช่น คน คิด กลศึก.
ต้อ (261:2)
         เปน ชื่อ โรค ที่ บังเกิด ขึ้น ใน ตา หลาย อย่าง นั้น.
      ต้อ กระจก (261:2.1)
               เปน ชื่อ ต้อ อย่าง หนึ่ง, ย่อม บังเกิด ขึ้น ภายใน ดวง ตา, เช่น ต้อ ต้อง แทง ด้วย มีด ภับ.
      ต้อ เนื้อ (261:2.2)
               เปน ชื่อ ต้อ อย่าง หนึ่ง, เช่น ต้อ ที่ พวก ไทย รม ด้วย อาย เนื้อ สัตว.
      ต้อ ลำไย (261:2.3)
               เปน ชื่อ ต้อ อย่าง หนึ่ง, ต้อ นั้น ขาว เช่น ผล ลำไย.

--- Page 262 ---
      ต้อ ลิ้น หมา (262:2.4)
               เปน ชื่อ ต้อ อย่าง หนึ่ง, ย่อม เปน เนื้อ งอก ยื่น ปิด ตา ดำ เข้า ไป เช่น ลิ้น หมา
      ต้อ ลม (262:2.5)
               เปน ชื่อ ต้อ อย่าง หนึ่ง, ลม ย่อม พัด ขึ้น สูง, กะทำ ให้ ตา มัว ไป เช่น ต้อ กระจก นั้น.
ตรา (262:1)
         เปน ชื่อ* ของ สำรับ ให้ รู้ เปน สำคัญ แน่ นั้น.
      ตรา คชสีห์ (262:1.1)
               เปน ชื่อ ดวง ตรา ที่ เขา ทำ ด้วย งา แกะ เปน รูป คชสีห์, เช่น ตรา พระ กลาโหม.
      ตรา คุ้ม ห้าม (262:1.2)
               เปน ชื่อ ตรา ที่ คุ้ม ห้าม มิ ให้ ต้อง เสีย เงิน ค่า ลมพรรษร, แล ค่า ตลาด ตั้ง แต่ ตำลึง หนึ่ง ลง มา.
      ตรา ชู (262:1.3)
               เปน ชื่อ ของ ที่ สำรับ ชั่ง สิ่ง ของ, ให้ รู้ ว่า หนัก แล เบา เท่า ไร นั้น.
      ตรา ชั่ง (262:1.4)
               เปน ชื่อ สิ่ง ที่ สำรับ ชั่ง สิ่ง ของ, ให้ รู้ ว่า หนัก เท่า นั้น เท่า นี้, เช่น คัน ชั่ง ที่ เขา ชั่ง น้ำ ตาน ทราย นั้น.
      ตรา หลวง (262:1.5)
               คือ ตรา สำรับ กระษัตริย์ ทรง ประทับ ประจำ หนัง สือ ที่ มี พระ ราช สาร เปน ต้น.
      ตรา ครุทธ์ (262:1.6)
               คือ ดวงตรา ที่ ทำ เปน รูป ครุทธ์, เช่น ตราเงิน บาท.
      ตรา ซ่อม (262:1.7)
               คือ ดวง ตรา ที่ ทำ เปน รูป ตรี ดู เหมือน ซ่อม นั้น.
      ตรา เงิน (262:1.8)
                คือ ดวง ตรา ที่ เงิน ทั้ง ปวง นั้น, เช่น เงิน ตรา ครุทธ์ ฤๅ ตรา บัว แก้ว.
      ตรา บัว แก้ว (262:1.9)
               คือ ดวง ตรา ที่ ทำ เปน รูป ดอก บัว*.
      ตรา ปราสาฑ (262:1.10)
               คือ ดวง ตรา ที่ ทำ เปน ปราสาฑ.
      ตรา ประจำ เล็บ (262:1.11)
               คือ ดวง ตรา ที่ สำรับ ตี ประจำ หยิก เล็ก.
      ตรา พระ จอม เกล้า (262:1.12)
               คือ ดวง ตรา ที่ เปน รูป จอม เกล้า นั้น, เช่น ตรา เงิน พระ บาท สมเด็จ พระ จอม เกล้า เจ้า อยู่ หัว.
      ตรา ภูม (262:1.13)
               คือ ตรา คุ้ม ห้าม นั้น, เช่น ตรา ที่ พวก ไพร่ หลวง ได้ แล้ว, ไม่ ต้อง เสีย สมพรรษร.
      ตรา หยก (262:1.14)
               เปน ชื่อ ดวง ตรา ที่ ทำ ด้วย หยก นั้น, เช่น ตรา ตั้ง เจ้า เมือง จีน.
      ตรา ราชสีห์ (262:1.15)
               คือ ดวง ตรา แกะ เปน รูป ราชสีห์, เช่น ตรา กรม มหาดไท นั้น.
      ตรา สีน (262:1.16)
               คือ ความ ที่ ทำ คำ อายัด กฎหมาย ปี เดือน วัน คืน ไว้, เช่น คน ของ หาย ทำ คำ ตรา สีน ไว้ กับ นาย อำเภอ.
ตริ (262:2)
         คิด, ดำหริ, คือ ความ ดำริ คิด ตรึก ตรอง เหตุ การ ต่าง ๆ นั้น, เช่น คน คิด คลศึก กลความ.
      ตริ ความ (262:2.1)
               คือ ดำริ ข้อ ความ อัน ใด อัน หนึ่ง, เช่น ความ คิด ตรึก ตรอง นั้น.
      ตริ การ (262:2.2)
               ตริก ตรอง การ, ดำริ การ, คือ ความ ดำริ คิด การ ต่าง นั้น, เช่น คน คิด การ ทำ บ้าน ทำ เมือง.
      ตริ ตรอง (262:2.3)
               คือ ความ คิด ตรึก ตรอง ต่าง ๆ นั้น.
ตรี (262:3)
         เปน ชื่อ เครื่อง อาวุทธ์ อย่าง หนึ่ง, ปลาย เปน สาม ง่าม
      ตรี กะตุก (262:3.1)
               เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ มี รศ เผ็ด สาม สิ่ง นั้น. พริก ไท, ขิง. ดีปลี นั้น.
      ตรี กุ้ง (262:3.2)
               เปน ชื่อ กะดูก ยาว แหลม เปน หยัก ๆ, เหมือน ฟัน เลื่อย ที่ หัว กุ้ง นั้น.
      ตรี กูฏ (262:3.3)
               เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ เปน สาม ยอด นั้น, เช่น เขา ตรี กูฏ ที่ มี ยอด เปน สาม ยอด.
      ตรีณิ (262:3.4)
               เปน คำ นับ สิ่ง ของ ว่า สาม นั้น, เช่น คำ ว่า ตรีณิศก.
      ตรี ธา (262:3.5)
               ตระเตรียม, คือ การ ตระเตรียม ฤๅ กระทำ นั้น, เช่น นาย ทหาร จัดแจง ตระเตรียม กอง ทับ.
      ตรีธา พล (262:3.6)
               ตระเตรียม พล, คือ การ ตระเตรียม กำลัง ไว้ นั้น.
      ตรีเนตร์ (262:3.7)
               เปน ชื่อ แห่ง พระ อินทร์ ที่ เปน ใหญ่ กว่า เทวดา ทั้ง หลาย, เปน เจ้า เมือง ดาวดึงษ นั้น.
      ตรีณิศก (262:3.8)
               เปน ชื่อ กำหนด ปี ที่ สาม, เช่น ใช้ ใน ศักราช นั้น.
      ตรี ผลา (262:3.9)
               เปน ชื่อ* ผลไม้ สาม อย่าง นั้น, เช่น สมอ ทั้ง สาม, คือ สมอ ไท, สมอ เทศ, สมอ พิเภอ.
      ตรี ทูต (262:3.10)
               เปน ชื่อ ทูต ที่ สาม, เช่น ตรี ทูต ที่ ไป จำเริญ ทาง พระ ราชไมรี เมือง อังกฤษ นั้น.
      ตรี มุกข์ (262:3.11)
               เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ เปน สาม มุกข์ นั้น, เช่น สาลา ที่ เปน สาม น่า.
      ตรี ภพ (262:3.12)
               เปน ชื่อ ภพ ทั้ง สาม, คือ กามภพ, รูปภพ, อรูปภพ.
      ตรี สูญ (262:3.13)
               คือ สิ่ง ของ ที่ ทำ เปน วง จุด สูญ ลง ไว้ สาม แห่ง, เช่น นี้ ๐๐๐ เปน ต้น.
ตรุ (262:4)
         เปน ชื่อ ที่ อย่าง หนึ่ง สำรับ ไว้ ของ, เช่น ฉาง เปน ต้น, อนึ่ง เปน ชื่อ การ ตรุ ฝา.
      ตรุ ฝา (262:4.1)
               คือ การ ที่ เขา ทำ ฝา เปน โครง ไม้ ขึ้น แล้ว, เอา ใบ จาก ใส่ เข้า ที่ เปน โครง ฝา, จึง เอา กะดาน ใส่ เข้า นั้น.
ตรู่ (262:5)
         คือ เวลา ที่ จวน จะ สว่าง ขึ้น มา นั้น, ถ้า นับ ตาม ธรรม เนียม ไท เหมือน เวลา สิบเอ็ด ทุ่ม เศศ.

--- Page 263 ---
เตร่ (263:1)
         เที่ยว, คือ อาการ ที่ เดิร เทียว เล่น ตาม สะบาย นั้น, เช่น คน ที่ ไม่ มี ธุระ การ งาน นั้น.
      เตร่ ไป (263:1.1)
               เทียว ไป, คือ อาการ ที่ เที่ยว ไป ตาม สะบาย ใจ นั้น, เช่น คน ที่ ไม่ มี กิจการ ห่วง ใย.
      เตร่ มา (263:1.2)
               เที่ยว มา, คือ อาการ ที่ เที่ยว มา ตาม สะบาย ใจ.
      เตร่ หา (263:1.3)
               เที่ยว หา, คือ การ ที่ เที่ยว หา สิ่ง ของ ตาม ชอบ ใจ.
แตร (263:2)
         แกร, เปน ชื่อ เครื่อง ประโคม อย่าง หนึ่ง, มี คัน ยาว, ข้าง ก้น บาน เหมือน ดอก ลำโพง, เช่น แตร ที่ เป่า รับเสด็จ.
      แตร งอน (263:2.1)
               แกร งอน, เปน ชื่อ แตร เครื่อง ประโคม, ที่ มี คัน งอน ขึ้น นั้น, เช่น แตร ใน หลวง.
      แตร ดอก ลำโพง (263:2.2)
               แกร ดอก ลำโพง, เปน ชื่อ แตร ที่ ก้น บาน เหมือน ดอก ลำโพง นั้น.
      แตร ฝารั่ง (263:2.3)
               แกร ฝารั่ง, เปน ชื่อ แตร อย่าง ฝารั่ง นั้น, เช่น แตร ที่ พวก นาย ทหาร ใช้.
      แตร สังข์ (263:2.4)
               แกร สังข์, เปน ชื่อ แตร แล สังข์, เช่น แตร สังข์ ที่ เขา เป่า ประโคม ใน หลวง.
ไตร (263:3)
         ไกร, คือ สาม เช่น ไตร จีวร นั้น, คือ ผ้า, สะบง, จีวร, สังฆาฏิ.
      ไตร จีวร (263:3.1)
               เปน ชื่อ ผ้า สาม ผืน นั้น, เช่น ผ้า จีวร, สะบจ, สังฆาฏิ, ที่ พวก พระ สงฆ์ นุ่ง ห่ม นั้น.
      ไตรตรึงษ (263:3.2)
               ดาวดึงษ, คือ สาม สิบ สาม นั้น. อนึ่ง เปน ชื่อ เมือง ดาวดึงษ อัน เปน ที่ อยู่ แห่ง พระ อินท์.
      ไตร ปิฎก (263:3.3)
               สาม ปิฎก, เปน ชื่อ หนังสือ สาม อย่าง, ที่ เปน คำ สั่ง สอน* ของ พระ พุทธ เจ้า, คือ พระ วิไนย์, พระ สูตร์, พระ ปะระมัดถ์.
      ไตร เพท (263:3.4)
               เปน ชื่อ สาศนา พราหมณ, เช่น ความ ที่ รู้ ต่าง กัน เปน สาม อย่าง, คือ ตำรา หมอยา, ตำรา หมอ ดู, ตำรา หมอ บูชา ยัญ นั้น.
      ไตรภพ (263:3.5)
               คือ ภพ ทั้ง สาม นั้น, เช่น กามภพ, รูปภพ, อะรูปภพ.
      ไตร ภูม (263:3.6)
               ไตร โลกย์ วินิจฉาย, คือ พื้น สาม นั้น. อนึ่ง เปน ชื่อ หนังสือ ที่ นักปราช คัด ออก จาก ไตรปิฎก เปน ข้อ ๆ นั้น.
      ไตร ลักษณ (263:3.7)
               สาม ลักขณะ, คือ ลักขณะ สาม อย่าง นั้น, เช่น สรรพ ธรรม ทั้ง ปวง ที่ ไม่ เที่ยง, เปน ทุกข, ใช่ ตน, ใช่ ของ แห่ง ตน นั้น.
      ไตร มาศ (263:3.8)
               สาม เดือน, คือ สาม เดือน นั้น, เช่น พวก พระ สงฆ์ ที่ จำ ฝน อยู่ สาม เดือน
      ไตร โลกย์ (263:3.9)
               สาม โลกย์, คือ โลกย์ สาม, มนุษโลกย์, เทวะ โลกย์, พรหมโลกย์.
      ไตร สรณาคม (263:3.10)
                คือ ความ ซึ่ง ที่ พึ่ง, ที่ ระฦก สาม อย่าง นั้น, เช่น ไท นับ ถือ พระพุทธ์, พระ ธรรม, พระ สงฆ์ เปน ที่ พึ่ง.
      ไตร ตรา (263:3.11)
               ความ เหมือน กรวด ตรา, เหมือน เขา ดู แล ถี่ ถ้วน ว่า, ของ นั้น จะ ครบ อยู่ แล้ว, หฤๅ ยัง.
      ไตร (263:3.12)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ใบ อ่อน กิน ดี, ต้น ใบ มัน คล้าย ๆ กับ ต้น ไทร.
ตรำ (263:4)
         ตราก, คือ ตาก อยู่ ใน ที่ แจ้ง นั้น, เช่น คน ทำ การ ตาก แดด ตาก ฝน นั้น.
      ตรำ แดด (263:4.1)
               ตาก แดด, คือ การ ตาก แดด อยู่ นั้น, เช่น สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ทิ้ง ตาก แดด อยู่.
      ตรำ ตราก (263:4.2)
               คือ ที่ ตาก แดด ตาก ฝน อยู่ เสมอ นั้น.
      ตรำ น้ำ ค้าง (263:4.3)
               ตาก น้ำ ค้าง, คือ การ ที่ ตาก น้ำ ค้าง อยู่ นั้น.
      ตรำ ฝน (263:4.4)
               ตาก ฝน, คือ การ ที่ ตาก ฝน อยู่ นั้น.
ตร่ำ (263:5)
         ต่ำ, เปน ชื่อ การ ที่ ฟัน ตอ หญ้า ให้ ต่ำ ลง ไป นั้น.
      ตร่ำ หญ้า (263:5.1)
               ต่ำ หญ้า, เปน ชื่อ การ ที่ เอา พร้า หวด ฟัน ตอ หญ้า ให้ ต่ำ ลง นั้น.
ตระกูล (263:6)
         กระกูล, เปน ชื่อ โคตร์ ฤๅ แซ่ นั้น, เช่น คำ เขา พูด ว่า ตระกูล กระษัตร, ฤๅ ตระกูล พราหมณ.
ตระหง่าน (263:7)
         กระหง่าน, คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ดู สูง ลอย ฟ้า อยู่ นั้น เช่น มหา ปราสาฑ, ฤๅ ภูเขา.
ตระเตรียม (263:8)
         กระเตรียม, จัดแจง, สำรอง, เปน ชื่อ การ ที่ จัดแจง สำรอง ไว้ ให้ พร้อม* นั้น, เช่น คน หา เข้า ของ ไว้ จะ ไป ทาง ไกล.
ตระหนี่ (263:9)
         เหนียว เตียว, ขี้ ตืด, มัจฉิริยะ, คือ ใจ ที่ หวง แหน สิ่ง ของ เหนียว แน่น นั้น, เช่น คน ตืด ตัง ไม่ หยาก ทำทาน.
ตระไนย (263:10)
         เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง ปาก แขง เจาะ ไม้ ได้, เช่น นก หัว ขวาน.
ตระกอง (263:11)
         กระกอง, เปน ชื่อ อาการ ที่ ประคอง กอด เชย เชม, เช่น ผัว หนุ่ม เมีย สาว เปน ต้น

--- Page 264 ---
ตระหนัก (264:1)
         ประจัก, ทัก แท้, เปน ชื่อ ความ ที่ ได้ ความ ชัด, ได้ ยิน ประจัก แก่ หู นั้น.
ตระไบ (264:2)
         ตะไบ, เปน ชื่อ ของ ที่ ทำ ด้วย เหล็ก สับ เปน รอย ละเอียด นั้น, เปน ของ สำรับ ใช้ กราง เหล็ก.
ตระบะ (264:3)
         เดชา, คือ เปน ชื่อ ฤทธิ เดช นั้น. อีก อย่าง หนึ่ง ต่อ ด้วย ไม้ เปน สี่ เหลี่ยม, สำรับ ใส่ กับ เข้า กิน.
ตระบก (264:4)
         กระบก, เปน ชื่อ ต้น ไม้ ใหญ่ อย่าง หนึ่ง, ลูก ใน แบน ๆ, รศ มัน เหมือน ถั่ว กิน ดี มี อยู่ ตาม ป่า เหนือ.
ตระแบก (264:5)
         กระแบก, เปน ชื่อ ต้น ไม้ ใหญ่* อย่าง หนึ่ง, ดอก เปน ศี* ม่วง, แต่ ต้น นั้น เขา มัก เลื่อย ทำ กะดาน พื้น.
ตระแบงมาน (264:6)
         กระแบงมาน, เปน ชื่อ ธรรมเนียม ห่ม ผ้า อย่าง หนึ่ง, เอา ชาย กระหวัด ไป ข้าง หลัง, แล้ว อ้อม มา ผูก ข้าง หน้า, ดู เหมือน ใส่ เสื้อ.
ตราบอง (264:7)
         กระบอง, เปน ชื่อ ไม้ ที่ เขา ใช้ เปน อาวุทธ์, ยาว บ้าง สั้น บ้าง สำรับ ตี กัน, เช่น พวก หัวไม้.
ตระบัค (264:8)
         กระบัด, คือ บัดเดี๋ยว นั้น. อีก อย่าง หนึ่ง คือ การ ฉ้อ เขา, เช่น คน กู้ เงิน เขา ไป ยัง ไม่ ได้ ใช้, เถียง ว่า ใช้ แล้ว.
ตระบัน (264:9)
         กระบัน, เปน ชื่อ ของ อย่าง หนึ่ง, ทำ ด้วย ทอง เหลือง บ้าง เหล็ก บ้าง, สำรับ คน แก่ พวก ไท ตะบัน หมาก กิน.
ตระบูร (264:10)
         กระบูร, เปน ชื่อ ไม้ อย่าง หนึ่ง มี ตาม ชาย ทะเล, ลูก มัน โต เท่า ซ่ม โอ, สำรับ ทำ ฟืน.
ตระโภก (264:11)
         กระโภก, เปน ชื่อ เนื้อ ที่ สุด ต้น ขา เบื้อง บน, ฤๅ ง่าม ก้น ทั้ง สอง นั้น, เช่น ตระโภก คน.
ตระโมจ (264:12)
         ขะโมจ, เปน ชื่อ สิ่ง ที่ เปน ปุ่ม อยู่ บน หัว ช้าง ทั้ง สอง ปุ่ม นั้น. อนึ่ง เปน ชื่อ ผี ที่ ทำ เหมือน ตาม ไต้.
ตระลาการ (264:13)
         เปน ชื่อ คน ที่ สำรับ ชำระ ทุกข ศุข ของ ราษฎร, เช่น ขุน สาน ชำระ ความ.
ตระลี ตระลาน (264:14)
         เปน ชื่อ การ ที่ ด่วน ๆ นั้น, เช่น คน มี ธุระ ร้อน จะ รีบ ไป เปน การ เร็ว.
ตระไล (264:15)
         เปน ชื่อ ดอก ไม้ ไฟ ที่ เขา ทำ เปน วง กลม ๆ, แล้ว จุด ไฟ ให้ มัน หมุน ขึ้น ไป สูง, เหมือน กรวด.
ตระหลก (264:16)
         ตลก, ขะนอง, เปน ชื่อ คน พูดจา ขะนอง แล้ว โลน ด้วย, ขัน ด้วย, ประสงค์ จะ ให้ เขา หัวเราะ, เหมือน* ตลกโขน.
ตระแลงแกง (264:17)
         เปน ชื่อ ที่ สำรับ เปน ที่ ฆ่า คน.
ตระหลอด (264:18)
         เปน ชื่อ สิ่ง ทั้ง ปวง ที่ ไม่ มี ของ กั้น ของ บัง นั้น, เช่น คลอง ลัด ที่ ทะลุะ ไป ได้ สอง ข้าง.
ตระเลิด (264:19)
         คือ อาการ ที่ เกิน ไป นั้น, เช่น คน ที่ กำลัง วิ่ง เลย ไป นั้น.
ตระหลบ (264:20)
         กลับ, คือ การ ที่ ภับ กลับ เข้า มา, ฤๅ วิ่ง วก หลัง กลับ มา ข้าง หน้า นั้น, เช่น ตระหลบ เสื่อ, ฤๅ วิ่ง ตระหลบ หลัง มา นั้น.
ตระหลับ (264:21)
         เปน ชื่อ ของ ที่ สำรับ ใส่ ขี้* ผึ้ง สี ปาก, ทำ ด้วย เงิน บ้าง, ทอง บ้าง, ไม้ บ้าง, เช่น ตลับ ยา สูบ.
ตระหลิบ (264:22)
         เปน ชื่อ ที่ เตียน แล ตลอด สุต สาย ตา เช่น ทุ่ง นา.
ตระล่อม (264:23)
         เปน ชื่อ ที่ เขา ทำ เปน ห้อง เล็ก ๆ, สำรับ ใส่ เข้า เปลือก นั้น, เช่น ยุ้ง เข้า.
ตระลุ่ม (264:24)
         เปน ชื่อ ภาชนะ ต่อ ด้วย หวาย, ลง รัก ล่อง ชาด สำรับ ใส่ ของ กิน, เหมือน อย่าง ตะลุ่ม มุก, ตะลุ่ม กระจก.
ตระหลบ ตระแลง (264:25)
         เปน ชื่อ การ ที่ กลับ กลอก, เหมือน คน ปลิ้น ปลอก นั้น.
ตระลุย (264:26)
         ตลอด* โล่ง, เปน ชื่อ ที่ แล ตลอด ไป, ไม้ มี ของ กั้น ของ บัง นั้น, เช่น บ้าน ไม่ มี รั่ว นั้น.
ตระหวาด (264:27)
         ตะคอก, ขู่, สำราก, คือ การ ที่ ขู่ ตะคอก เสียง ดัง ด้วย ความ โกรน เช่น คน ขับ นก.
ตราก (264:28)
         ตาก, คือ การ ที่ ตาก ไว้ นั้น, เช่น คน เอา ช้าง ม้า, งัว ควาย, ผูก ตราก ไว้ ให้ อด น้ำ อด หญ้า นั้น.
      ตราก ตรำ (264:28.1)
               เปน ชื่อ การ ที่ ตาก อยู่ เปน นิจ นั้น, เช่น ใช้ ให้ คน โทษ ทำ การ ตาก แดด* ตาก ฝน.
ตรึก (264:29)
         กรึก, นึก, เปน ชื่อ ความ วิตก ไป ใน สิ่ง ของ ต่าง ๆ, เช่น แม่ ทัพ คิด การ ศึก นั้น.
      ตรึกตรอง (264:29.1)
               กรึกกรอง, เปน ชื่อ ความ คิด วิตก ไป ใน อารมณ ต่าง ๆ นั้น, เช่น คน คิด ตรึก ตรอง การ ใหญ่.
โตรก (264:30)
         โกรก, เปน ชื่อ ตรอก ที่ เปน ซอก ลง มา แต่ บน เขา, เช่น ลำ ธาร ที่ มา จาก ยอด เขา.
      โตรก เตริน (264:30.1)
               คือ ทาง เล็ก ๆ ที่ เปน ซอก ลง มา แต่ บน เขา เช่น ซอก เขา นั้น.
ตรอก (264:31)
         กรอก, คือ ทาง ซอก เล็ก ๆ นั้น, เช่น ตรอก บ้าน.

--- Page 265 ---
      ตรอก บน (265:31.1)
               กรอก บน, คือ* ทาง เล็ก ๆ ที่ อยู่ ข้าง บน นั้น, เช่น ตรอก เหนือ.
      ตรอก บ้าน (265:31.2)
               กรอก บ้าน, คือ ทาง เล็ก ๆ ที่ แวะ ออก จาก ทาง ใหญ่ เข้า ไป ใน บ้าน นั้น.
      ตรอก หมู (265:31.3)
               กรอก หมู, คือ ตรอก ที่ เขา สำรับ ฆ่า หมู ขาย, เช่น ตรอก ที่ สำเพ็ง นั้น.
      ตรอก ล่าง (265:31.4)
               กรอก ล่าง, คือ ตรอก ที่ อยู่ ข้าง ล่าง นั้น, เช่น ตรอก ข้าง ใต้.
      ตรอก วัต (265:31.5)
               กรอก วัต, คือ ตรอก ที่ เปน หน ทาง เล็ก ๆ แวะ เข้า ไป ใน วัต นั้น.
เตรียก (265:1)
         เกรียก, คือ การ ที่ เขา เอา ไม้ ไผ่ มา ผ่า เปน ซีก ๆ, แล้ว ทำ ออก เปน อัน เล็ก อีก นั้น. อย่าง หนึ่ง เปน การ เล่น เรียก ว่า เล่น เกรียก, เขา กำเบี้ย เข้า, แล้ว สั่น มือ ให้ ผู้ เล่น ด้วย กัน ได้ ยิน, ให้ ทาย ว่า มี กี่ เบี้ย นั้น.
ตรง (265:2)
         กรง, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ไม่ คด ไม่ โกง นั้น.
      ตรง หน้า (265:2.1)
               กรง หน้า, คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ มี อยู่ ใน ที่ จำเภาะ หน้า นั้น.
      ตรง หน้า ฉาน (265:2.2)
               กรง หน้า ฉาน, คือ ที่ ตรง หน้า พระ มหา กระษัตริย์ เสด็จ ไป นั้น.
      ตรง มา (265:2.3)
               กรง มา, คือ มา ตรง ๆ มิ ได้ แวะ เวียน ที่ อื่น.
ตรัง (265:3)
         เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ติด ตรัง อยู่ นั้น, เช่น เข้า ตัง ก้น ม่อ.
ตรังตานู (265:4)
         เปน ชื่อ แห่ง เมือง แขก เมือง หนึ่ง, ตั้ง อยู่ ข้าง ทิศ ใต้ นั้น.
ตราง (265:5)
         เปน ชื่อ ที่ สำรับ ขัง พวก นัก โทษ, เช่น ทิม ใน หลวง.
      ตราง เหล็ก (265:5.1)
               เปน ชื่อ เหล็ก ที่ เขา ทำ เปน ตา ตราง นั้น, เช่น ตราง เหล็ก เผา สพ เปน ต้น.
ตรึง (265:6)
         กรึง, เปน ชื่อ การ ที่ เอา เหล็ก ตอก ลง ติด ไว้ ให้ แน่น.
      ตรึง ตรา (265:6.1)
               กรึงกรา, เปน ชื่อ การ ที่ เอา เหล็ก ตรึง ลง แล้ว, ตรา ไว้ ด้วย, เช่น หีบ ตรึง แล้ว ตี ตรา ประทับ ลง ด้วย.
ตรอง (265:7)
         กรอง, เปน ชื่อ การ กระทำ อย่าง หนึ่ง, คือ เอา ผ้า ปิด ปาก ตุ่ม* แล้ว เท น้ำ ลง ไป, เช่น ตรอง กะธิ.
      ตรอง การ (265:7.1)
               กรอง การ, คือ องค์ สติ ระฦก ตรึก ตรอง การ ละ- เอียต นั้น, เปรียบ เช่น คน ตรอง น้ำ.
      ตรอง ความ (265:7.2)
               กรอง ความ, คือ สทิ ที่ ระฦก ตรึก ตรอง เรื่อง ความ นั้น เช่น พวก ลูก ขุน.
      ตรอง ดู (265:7.3)
               กรอง ดู, คือ ความ คิด ตรึก ตรอง แล้ว พิจารณา ดู ด้วย นั้น.
      ตรอง น้ำ (265:7.4)
               กรอง น้ำ, คือ น้ำ ที่ ตรอง ด้วย ผ้า ฤๅ ด้วย หิน นั้น
      ตรอง พูด (265:7.5)
               กรอง* พูด, คือ ความ ที่ คิด ตรอง แล้ว จึ่ง พูด.
      ตรอง เหตุ (265:7.6)
               กรอง เหตุ, คือ ความ ที่ คิด ตรอง ซึ่ง เหตุ กาน ต่าง ๆ นั้น, เช่น ความ ทุกข์ เกิด ขึ้น, ก็ คิด ว่า ทุกข์ ที่ เกิด มี เพราะ เหตุ ผล สิ่ง ใด หนอ.
      ตรอง เหน (265:7.7)
               กรอง เหน, คือ ความ ที่ คิด ตรึค ตรอง เหน ด้วย ปัญญา, เช่น คน พิจารณา เหน เหตุ ต่าง ๆ นั้น.
ตรัส (265:8)
         คือ คำ ที่ พูด คำ กล่าว ของ ท่าน ผู้ มี บุญ นั้น, เช่น คำ ว่า ตรัส ประภศ.
      ตรัส แขง แรง (265:8.1)
               ความ ที่ พระ เจ้า แผ่น ดิน รับ สั่ง เปน ความ เข้ม แขง เช่น รับ สั่ง มั่น คง.
      ตรัส แจ้ว ๆ (265:8.2)
                คือ ความ ที่ ตรัส เสียง แจ่ม ใส นั้น, เช่น คน พูด เสียง เพราะ เปน กระแสง*.
      ตรัส ดัง (265:8.3)
               คือ ความ ที่ ตรัส เสียง ไม่ เบา นั้น.
      ตรัส ถาม (265:8.4)
               คือ ความ ที่ กล่าว ถาม นั้น.
      ตรัส ทำนาย (265:8.5)
               คือ ความ ที่ ทาย ถึง เหตุ การ ต่าง ๆ เช่น พวก โหร นั้น.
      ตรัส ทัก (265:8.6)
               คือ ความ ที่ กล่าว คำ ปราไส นั้น, เช่น คน ทัก กัน ว่า ท่าน สะบาย ดอก ฤๅ.
      ตรัส นำ หน้า (265:8.7)
               คือ ความ ที่ กล่าว คำ นำ ไป เบื้อง หน้า นั้น.
      ตรัส ประพาศ (265:8.8)
               คือ ความ ที่ พูด เล่น ตาม สะบาย, เช่น พระ เจ้า แผ่นดิน พูด เล่น กับ ข้า ราชการ นั้น.
      ตรัส ปะระมา ภิเศสัมโพทธิญาณ (265:8.9)
               คือ กล่าว คำ ตาม ปัญญา ที่ รู้ ชอบ เอง เปน พระเจ้า แล้ว นั้น.
      ตรัส (265:8.10)
                เปน พระ, คือ กล่าว คำ ตาม ที่ เปน คน ประเสิฐ นั้น, เช่น พูด ว่า ท่าน เปน พระเจ้า แล้ว เปน ต้น.
      ตรัสรู้ (265:8.11)
               คือ กล่าว คำ ตาม เหตุ ที่ ตัว รู้ นั้น, เช่น พระ ย่อม รู้ ทั่ว แล้ว จึ่ง ตรัส นั้น.
      ตรัส สั่ง (265:8.12)
               คือ ความ ที่ กล่าว คำ สั่ง นั้น, เช่น พระ มหา กระ- ษัตริย์ รับสั่ง.

--- Page 266 ---
      ตรัส ห้าม (266:8.13)
               คือ ความ ที่ กล่าว คำ ห้าม, เช่น ตั้ง พระราชกำนฎ ห้าม ปราม นั้ม.
ตราด* (266:1)
         กราด, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ สำรับ กวาด, เช่น ตราด ก้าน ทาง มะพร้าว นั้น.
ตรุศ (266:2)
         กรุศ, เปน ชื่อ การ เล่น เมื่อ ถึง ที่ สุด ปี นั้น, เช่น คน เล่น* สงตรานต์.
      ตรุศ จีน (266:2.1)
               คือ ถึง วัน ที่ สุด ปี สาม วัน นั้น*, เขา เรียก กัน ว่า วัน ตรุศ, มี ทั้ง ฝ่าย ไทย ฝ่าย จีน ๆ เรียก ว่า เปน กาล เวลา ไทย จีน ทำ บุญ ทำ ทาน, เล่น สนุก ศนาน ทั่ว บ้าน ทั่ว เมือง.
เตรต (266:3)
         เปน ชื่อ ตำรา ยา ที่ คัด ออก จาก คำภีร์ ต่าง ๆ, แล้ว เอา มา เขียน ไว้ เปน เล่ม หนึ่ง นั้น, เรียก ว่า ตำรา ยา เตร็ด.
      เตร็ด เตร่ (266:3.1)
               เที่ยว เร่ ร่อน, คือ* การ ที่ เที่ยว ไป ข้าง โน้น ข้าง นี้ นั้น, เช่น พวก นักเลง ที่ ไม่ มี บ้าน เรือน.
โตรด (266:4)
         คือ หน ทาง ที่ เปน ช่อง เนิน แล ตลอด ไป นั้น, เช่น หน ทาง ตาม ซอก เนิน เขา.
โตรด ตรง (266:5)
         คือ หน ทาง ที่ ดู เปน ช่อง เนิน แล ตลอด ตรง ไป, เช่น หน ทาง ใน ดง นั้น.
ตรวด (266:6)
         กรวด, คือ การ ที่ นัน* สอบ สวน ดู ให้ ถูก ต้อง ครบ ตาม จำนวน นั้น, เช่น นาย กรวด คุก.
      ตรวด การ (266:6.1)
               กรวด การ, คือ ตรวด ดู การ งาน ให้ ครบ ตาม เกณ นั้น, เช่น มะหาดเล็ก ราย งาน เปน ต้น.
      ตรวด ของ (266:6.2)
               กรวด ของ, คือ ตรวด ดู สิ่ง ของ ให้ ครบ ตาม จำ นวน ของ นั้น.
      ตรวด คน (266:6.3)
               กรวด คน, คือ การ ที่ ตรวด ตรา ดู คน ให้ ครบ ตาม จำนวน เกณ นั้น.
      ตรวด งาน (266:6.4)
               กรวด งาน, คือ ตรวดตรา กา* ทั้ง ปวง นั้น.
      ตรวต เงิน (266:6.5)
               กรวด เงิน, คือ ตรวด ตรา ดู เงิน นั้น, เช่น พวก นาย คลัง มหา สมบัติ.
      ตรวด ใจ (266:6.6)
               คือ กรวด กรา อรมณ นั้น.
      ตรวด จิตร (266:6.7)
               คือ การ ที่ ตรวด ดู น้ำ ใจ, เช่น คน ที่ เรียน กรรมฐา เปน ต้น.
      ตรวด ดู (266:6.8)
               กรวด ดู, คือ การ นับ สอบ สวน ให้ ครบ นั้น.
      ตรวด ตรา (266:6.9)
               กรวด กรา, เปน ชื่อ นับ สอบ ดู ครบ แล้ว ตรา ไว้ นั้น, เช่น นาย คลัง ปิด ตรา ถุง เงิน.
      ตรวด เตรียม (266:6.10)
               คือ ตรวด ดู ครบ แล้ว, เตรียม ไว้ นั้น.
      ตรวด ถาม (266:6.11)
               ตรวด ท้อง สำนวน, ตรวด* ทัพ, ตรวด ทั่ว, ตรวศ น้ำ, กรวด น้ำ, ตรวต พล, ตรวด หา, ตรวด เอา.
ตรา (266:7)
         กราน, คือ การ ที่ เอา ไม้ ปัก ให้ ตีน ตราน ออก มา นั้น.
ตรวม (266:8)
         กรวน, คือ เครื่อง จำ ทำ ด้วย เหล็ก มี ลูก ย่าง นั้น.
ตรับ (266:9)
         คือ การ ที่ เงี่ย หู คอย ฟัง นั้น, เช่น ช้าง ตรับ หู นิ่ง อยู่ คอย ฟัง เสียง ต่าง ๆ
      ตรับ ฟัง (266:9.1)
               คือ การ ที่ เอียง หู นิ่ง อยู่ คอย ฟัง นั้น.
      ตรับ หู (266:9.2)
               เงี่ย* หู, เงี่ย* โสตร, คือ ตะแคง หู นิ่ง อยู่ คอย ฟัง นั้น.
ตราบ (266:10)
         เท่า, คือ เท่า นี้, เพียง นี้, เช่น คำ เฃา พูด กัน ว่า, ตราบ เท่า ถึง เพียง นี้.
      ตราบ ใด (266:10.1)
               เท่า ใด, คือ เท่า ไร, เมื่อ ไร, เช่น คำ ว่า ยัง มี ชีวิตร อยู่ ตราบ ใด, ก็ ต้อง เลี้ยง ชีวิตร อยู่ ตราบ นั้น.
      ตราบ เท่า (266:10.2)
               คือ จน เท่า นั้น, จน ถึง เพียง นี้ นั้น, เช่น คำ ว่า นาน มา ตราบ เท่า ถึง เพียง นี้.
      ตราบ เท่า สิ้น ชีวิตร (266:10.3)
               คือ กาล ตลอด ไป จน ถึง ตาย.
      ตราบ นั้น (266:10.4)
               เท่า นั้น, คือ เท่า นั้น, เพียง นั้น.
ตริบ (266:11)
         กริบ, คือ การ ที่ เขา เอา ตะไกร คีบ เศศ ผ้า ให้ ชั้น เสมอ.
ตรัม (266:12)
         ตาก, คือ* การ ที่ ตาก ไว้ นั้น, เช่น คน ที่ ทำ การ ตาก แดด ตรัม ฝน ตาก น้ำ ค้าง.
      ตรัม แดด (266:12.1)
               ตาก แดด, คือ ตาก แดด นั้น.
      ตรัม ตราก (266:12.2)
               คือ การ ที่ ตาก ไว้ เสมอ นั้น.
      ตรัม ฝน (266:12.3)
               ตาก ฝน, คือ ตาก ฝน นั้น.
ตรอม (266:13)
         ทุกข์, เจ็บ ใจ, เสีย ใจ, คือ ความ ทุกข์, ความ โทม มะนัศ, ความ เจ็บ ใจ, เสีย ใจ นั้น, เช่น หญิง ที่ ผัว ว้าง ไว้.
      ตรอม ใจ (266:13.1)
               โทมนัศ, โสก เส้า, ไม่ สะบาย, คือ ใจ ไม่ สบาย, โทมะนัศ ขัด เคือง เศร้า หมอง นั้น.
      ตรอม อก (266:13.2)
               คือ ความ ทุกข์ เต็ม อก, เช่น คน ไม่ มี ความ ผิด เขา มา เอา ตัว, ฤๅ ลูก เมีย ไป นั้น.
ตรวม (266:14)
         กรวม, คือ ครอบ ลง ฤๅ สรวม ลง นั้น, เช่น คน ปลูก เรือน กรวม ตอ, ฤๅ ทอด แห กรวม ตอ นั้น.
เตรียม (266:15)
         กระเกรียม, สำรอง ไว้, คือ การ จัด แจง สำรอง ไว้ นั้น, เช่น คน จัดแจง เข้า ของ เตรียม ไว้ จะ ไป กำปั่น นั้น

--- Page 267 ---
      เตรียม การ (267:15.1)
               เกรียม การ, คือ จัด แจง สิ่ง ของ สำรอง ไว้ จะ ทำ การ นั้น.
      เตรียม ของ (267:15.2)
               จัดแจง ของ, สำรอง ไว้, คือ* จัด ของ สำรอง ไว้ นั้น, เช่น คน เกรียม เข้า ของ ไว้ จะ มี ที่ ใป เปน ต้น.
      เตรียม ค้าง. เกรียม ค้าง (267:15.3)
               คือ จัด สำรอง ไว้ แล้ว ค้าง อยู่ นั้น.
      เตรียม* คน (267:15.4)
               เกรียม คน, เตรียม งาน, เกรียม งาน.
      เตรียม ใน (267:15.5)
               คือ กระทำ ใจ ให้ คุ้น เคย ไว้ กับ การ ที่ ราถนา นั้น.
      เตรียม ทัพ (267:15.6)
               เกรียม ทัพ, เตรียม พล, เกรียม พล, เตรียม พร้อม, จัด สำรอง ไว้ พร้อม, เตรียม ม้า, เกรียม ม้า,
      เตรียม รถ (267:15.7)
               จัดแจง รถ สำรอง ไว้, เตรียม แล้ว, เกรียม แล้ว, เตรียม ไว้, เกรียม ไว้, เตรียม เสบียง, กระเกรียม เสบียง, เตรียม ให้, สำรอง ไว้ ให้.
ตราว (267:1)
         กราว, ตะนุะ, เปน ชื่อ เต่า อย่าง หนึ่ง ตัว โต, อยู่ ที่ น้ำ จืด ฝ่าย เหนือ, เช่น เต่า จันละเม็ด.
ตริว (267:2)
         เปน ชื่อ เต่า อย่าง หนึ่ง ตัว โต, อยู่ ที่ น้ำ จืด ตาม แถว ฝ่าย เหนือ.
ตรุย (267:3)
         กรุย, เปน ชื่อ ไม้ หลัก ที่ เขา ปัก ไว้, ด้วย ประสงค์ จะ ให้ รู้ เปน สำคัญ, เช่น ปัก ตรุย ขุด คลอง นั้น.
ตร่อย (267:4)
         กร่อย, จืด ไม่ สนิท, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ จืด ไม่ สนิท, เช่น น้ำ ตร่อย เปน ต้น.
ตรวย (267:5)
         กรวย, คือ ของ ที่ ทำ ด้วย ใบ ตอง ก้น แหลม นั้น, เช่น ตรวย อุปัชฌา, ฤๅ ขนม กรวย นั้น.
เตระ (267:6)
         ตรอง, กรอง, เปน ชื่อ การ ที่ ตรอง ให้ ค่อย หยด ที ละ น้อย ๆ เช่น ตรอง น้ำ ด้วย หิน,
(267:7)
         
ถา (267:8)
         ถู, ลับ, คือ บิน โฉบ ลง มา, เช่น นก พิราบ เปน ต้น, ฤๅ เอา เหล็ก ไป ถู ที่ หิน เหน เหมือน อย่าง ถา ขวาน.
      ถา โถม (267:8.1)
               โลด โผน, โจน จับ, คือ อาการ ที่ เผ่น โผน เข้า สู่ ที่ ใด ๆ ตาม ปราถนา นั้น, เหมือน นก เหยี่ยว มัน บิน โผ ลง ที่ ใด ๆ นั้น.
ถานานุกรม (267:9)
         พระ ครู, ปลัด, สมุห์, ใบฎีกา, เปน ชื่อ พระ สงฆ์ ที่ กระทำ การ ตาม ที่ ของ พระ ราชา คณะ เช่น ปลัด, ฤๅ สมุห์ เปน ต้น.
ถานะ ที่ ควร (267:10)
         ตำแหน่ง ควร, กระทรวง* ที่ ควร, คือ ที่ ภอ ควร, ฤๅ ภอ ดี, ภอ สม กับ ตัว นั้น, เช่น ขุนนาง ตั้ง ตาม ที่ ภอ ควร กับ ตัว.
ถานันดร (267:11)
         ที่ ตั้ง, ที่ ตำแหน่ง, เปน ชื่อ ที่ ระวาง ที่ ตั้ง ไว้ ตาม ตำแหน่ง, เช่น ที่ ตั้ง พวก ขุน นาง.
ถา ไป (267:12)
         ถลา ไป, ไถล ไป, เปน ชื่อ อาการ ที่ บิน โฉบ ไป นั้น, เช่น เหยี่ยว บิน ถลา ไป, โฉบ ฉวย เอา ลูก ไก่.
ถาปนา (267:13)
         สร้าง ขึ้น, ตั้ง ขึ้น, เปน ชื่อ การ ตั้ง ขึ้น, ฤๅ สร้าง ขึ้น นั้น, เช่น คน สร้าง อาราม, ฤๅ เจดีย์, วิหาร, อุโบสถ.
ถา มีด (267:14)
         ลับ มีด, คือ การ ที่ แบน มีด ลง บน น่า หิน สำรับ ลับ แล้ว เสือก ไป ไส มา นั้น.
ถาวร (267:15)
         ตั้ง มั่น, ตั้ง อยู่ นาน, เปน ชื่อ กาล ที่ ตั้ง มั่น, ฤๅ ยืน นาน นั้น, เช่น ของ ที่ ไม่ เสื่อม ไม่ ถอย.
ถ้า (267:16)
         คือ แม้, ฤๅ แม้น ผิ แล, ผิ ฉะนั้น, เช่น คำ ว่า, ถ้า เปน อย่าง นั้น, แม้ เปน อย่าง นี้.
      ถ้า จะ (267:16.1)
               ดุจ จะ, แม้น จะ, เหมือน จะ, คือ เหมือน จะ, ฤๅ แม้น จะ นั้น, ดุจ จะ คำ ว่า, ถ้า จะ เปน อย่าง นั้น, ฤๅ เหมือน จะ เปน เช่น นั้น.
      ถ้า ฉะนั้น (267:16.2)
               เหมือน เช่น นั้น, แม่น อย่าง นั้น, คือ แม้ อย่าง นั้น, ฤๅ เหมือน เช่น นั้น.
      ถ้า เช่น นั้น (267:16.3)
               ถ้า ได้, ถ้า มิ ได้, ถ้า ตาย, ถ้า ไม่, ถ้า แม้น ถ้า เหมือน, ถ้า อยู่, ถ้า รู้, ถ้า เรา, ถ้า เรียก,
      ถ้า และ (267:16.4)
                คือ แม้น จะ นั้น, เช่น คำ ว่า ถ้า และ ท่าน จะ เอา ต้น เงิน เมื่อ ใด.
      ถ้า ลอง (267:16.5)
               ถ้า ว่า, ถ้า เว้น ไว้, คือ คำ พูด กัน ว่า, ถ้า เว้น ไว้ แต่ คน ที่ เชื่อ ถือ, จะ ได้ ไป สวรรค์, ที่ นอก กว่า นั้น คง จะ ต้อง ไป นรก เปน ต้น.
      ถ้า ส่ง ไว้ (267:16.6)
               ถ้า ให้, ถ้า เพน, ถ้า เอา, ถ้า อ้อนวอน.
ถี (267:17)
         เปน ชื่อ คน อย่าง นี้ ก็ มี บ้าง, เช่น คำ เขา ร้องเรียก กัน* ว่า ยาย ถี นั้น.
ถี่ (267:18)
         เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ไม่ ห่าง, เช่น คน ถี่ ถ้วน, ฤๅ กะโล่ ตะแกรง ถี่ ไม่ ห่าง นั้น.
      ถี่ กัน (267:18.1)
               ชิด กัน, ไม่ ห่าง กัน, ยัด กัน, คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ไม่ ห่าง กัน นั้น.

--- Page 268 ---
      ถี่ เกิน (268:18.2)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ถี่ เกิน ขนาด นั้น.
      ถี่ ถ้วน (268:18.3)
               รอบ คอบ, ละเอียด, ตรึก ตรอง, คือ* ถี่ ครบ พร้อง ทุก ประการ ไม่ ขาด นั้น, เช่น คน มี* สติ รอบ คอบ.
      ถี่ ลอด ตัว ช้าง (268:18.4)
               ห่าง ลอด ตัว เล็น, เปน ความ เปรียบ เหมือน ของ ที่ ควร จะ ถี่ ทำ ให้ ห่าง, ของ ที่ ควร จะ ห่าง ทำ ให้ ถี่, เช่น สิ่ง ของ ที่ ไม่ ควร จะ หวง ก็ หวง, ควร หวง ไม่ หวง.
      ถี่ เหลือ (268:18.5)
               รู้ คิด นัก, รู้ มาก เต็ม ที, เหนียว แน่น นัก, คือ ถี่ เกิน ดี เกิน งาม นั้น, เช่น คน เหนียว แน่น เหลือ เกิน นัก.
ถือ (268:1)
         จับ ไว้, เชื่อ, นับ กัน, คือ จับ ยึด ไว้ ด้วย มือ, ฤๅ กำหนฎ ลง แล้ว เชื่อ ด้วย ใจ, เช่น ถือ สาศนา นั้น.
      ถือ กรรม (268:1.1)
               ถือ บุญ, ถือ บาป, ถือ เวร, คือ เชื่อ ถือ ใน ใจ ว่า, การ ทำ ดี ทำ ชั่ว ให้ ผล ต่าง กัน, เหมือน ถือ ว่า ทำ บุญ ได้ ศุข, ทำ บาป ได้ ทุกข์.
      ถือ เกก (268:1.2)
               ถือ ดื่อ ๆ ข้าง ๆ, ถือ แชแร แชแก่, คือ ถือ เชือน แช ไป อย่าง อื่น ไม่ ถูก ต้อง ตาม จริง นั้น, เช่น คน เหน ผิด เปน ชอบ นั้น.
      ถือ โกง (268:1.3)
               ถือ ไม่ ตรง, คือ* โกหก ตอแหล, คือ ถือ ไม่ ตรง ตาม จริง นั้น, เช่น คน โกหก ตอแหล ขี่ ช่อ หมอ ความ นั้น.
      ถือ ของ (268:1.4)
               คือ เอา มือ จับ สิ่ง ฃอง ทั้ง ปวง ไว้ นั้น.
      ถือ คำ สอน (268:1.5)
               ถือ สาศนา, ถือ คำ โอวาท, คือ ใจ เชื่อ คำ สั่ง สอน นั้น, เช่น คน ที่ ถือ ตาม สาศนา.
      ถือ โคตร (268:1.6)
               ถือ แซ่, ถือ กระกูล, คือ ถือ ตาม วงษ์ กระกูล นั้น, เช่น พวก พราหมณ ถือ ชาติ ถือ กระกูล.
      ถือ ใจ (268:1.7)
               ถือ ตาม ใจ, คือ ถือ ตาม ใจ ของ ตัว เหน นั้น, เช่น คน ทำ ตาม ใจ ของ ตัว.
      ถือ จังไร (268:1.8)
               ถือ อับปรี, ถือ เสนียด, คือ ถือ การ อับปรี จังไร, ตาม ธรรมเนียม โลกย์ นั้น, เหมือน ถือ ตาม ธรณีสาร.
      ถือ จ้าว (268:1.9)
               ถือ เทวดา, ถือ มด ถือ ท้าว, ถือ ผี ถือ สาง, คือ ใจ เซื่อ ถือ ว่า จ้าว เปน ที่ พึ่ง, ช่วย ให้ พ้น ทุกข์ พ้น ไภย ได้, เช่น พวก เจ๊ก ไหว้ จ้าว.
      ถือ ชั้น (268:1.10)
               ถือ เชิง, ถือ ยศ, ถือ ศักดิ, ถือ มือ, ถือ ตัว, คือ ถือ ยศ ถือ หย่าง มัวเมา อยู่ เปน ชั้น ๆ นั้น, เหมือน คน ถือ ว่า เรา เปน ชั้น ผู้ ดี, ผู้ อื่น เปน คน เลว.
      ถือ ดี (268:1.11)
               จองหอง หยิ่ง คือ ถือ ตัว ว่า เรา ดี กว่า คน ทั้ง ปวง, คน อื่น สู้ เรา ไม่ ได้ นั้น, เช่น คน จองหอง.
      ถือ ดื้อ ทำ ดื้อ ๆ (268:1.12)
               ถือ มานะ ถือ กัน ไป, คือ หน ใจ กะด้าง มานะ ไม่ ยอม ว่า ตัว ผิด เช่น คน รู้ ว่า ตัว ผิด จริง ก็* ไม่ ยอม.
      ถือ เดา ถือ ขะเน ถือ คาด เอา (268:1.13)
               คือ ถือ เอา ตาม ที่ ตัว คิด ขะเน เอา นั้น, เช่น คน เดา สวด.
      ถือ ไม่ หลับ ลืม ตา อยู่ (268:1.14)
               คือ นั่ง ลืม ตา อยู่ เสมอ ไม่ หลับ นั้น, เช่น คน นั่ง ยาม ไม่ หลับ นั้น.
      ถือ ตัว (268:1.15)
               เมา ยศ, บ้า ยศ, หยิ่ง ยศ, คือ ตัว เปน ผู้ น้อย แต่ ใจ มานะ ถือ ว่า เรา มี วาศนา ยิ่ง กว่า คน อื่น นั้น.
      ถือ ถ้วย มั่น (268:1.16)
               คือ เปรียบ ความ ว่า ตั้ง แต่ โต แล้ว, ถือ ถ้วย ชาม แน่น มา นั้น, เช่น คน มี อายุ, ได้ สิบสอง ปี เปน ต้น.
      ถือ เที่ยง (268:1.17)
               คือ ถือ ว่า บาป, ไม่ มี บุญตาย แล้ว สูญ กัน เปน เที่ยง นั้น, เช่น นิยะตะ มิจฉาทฐิ.
      ถือ โทษ (268:1.18)
               ผูก เวร, หมายมั่น, คิด ประทุษฐร้าย, คือ ถือ โกรธ แล้ว คิด ประทุษฐร้าย ต่าง ๆ นั้น.
      ถือ ท้าย (268:1.19)
               นาย ท้าย, ภาน ท้าย, ไต้ก๋ง, คือ คน ที่ แจว ท้าย, ฤๅ ภาย ท้าย ทำ ให้ เรือ ไป ตาม ใจ นั้น.
      ถือ ธรรม (268:1.20)
               ถือ ตาม ชอบ, ถือ ตาม สัตย, คือ ถือ เอา ตาม ที่ จริง ที่ ถูก แท้ นั้น, เช่น ถือ ว่า ปัญจะขันธ์ ไม่ เที่ยง, เปน ทุกข, ใช่ ของ แห่ง ตน.
      ถือ น้ำ (268:1.21)
               กิน น้ำ, คือ ถือ เอา น้ำ พิพัน สัตจา นั้น, เช่น พวก ขุนนาง ถือ น้ำ ปี ละ สอง ครั้ง นั้น
      ถือ นาย (268:1.22)
               ถือ วาศนา, ถือ บวด, ถือ การ เว้น จาก บาป.
      ถือ บน (268:1.23)
               คือ ถือ บน ต่าง ๆ ให้ ช่วย ทุกข เปน ต้น. เช่น คน โถ่ บล จ้าว บล ผี, เมื่อ ต้อง ไภย ได้ ทุกข นั้น.
      ถือ บุญ (268:1.24)
               ถือ บาป, ถือ แบบ, ถือ อย่าง, ถือ แผน, ถือ ขนบ ธรรมเนียม.
      ถือ ผี (268:1.25)
               ถือ ใสย, ถือ มด ถือ ท้าว, ถือ จ้าว, คือ การ ที่ นับถือ ผี ต่าง ๆ, เช่น เขมร มอญ ถือ ผื เรือน.
      ถือ ผิด (268:1.26)
               ถือ ไม่ ชอบ, ถือ ไม่ ถูก, คือ ถือ ไม่ ถูก ต้อง ตาม ของ ที่ เปน จริง นั้น.
      ถือ ผิด (268:1.27)
                เปน ชอบ, คือ ถือ ใน ใจ เหน ด้วย ปัญญา ใน การ ที่ ไม่ จริง ว่า จริง.

--- Page 269 ---
      ถือ ฝัน (269:1.28)
               ถือ นิมิตร, ถือ สุบิน, คือ คน ที่ มัก นับถือ ซึ่ง ความ ฝัน ดี ฝัน ร้าย นั้น, เช่น พวก หมอ โหร เปน ต้น.
      ถือ มนตร์ (269:1.29)
               ถือ คาถา, ถือ อาคม, ถือ พระ เวช, คือ คน ที่ นับ ถือ การ เสก มนตร์ ดล คาถา เปน ต้น, เช่น พวก หมอ ผี เปน ต้น.
      ถือ สวน (269:1.30)
               คือ คน ที่ ไป ว่า กับ เจ้า ของ สวน ว่า, ปี นี้ จะ ฃอ รักษา สวน เก็บ ผลไม้ ขาย, แล้ว ทำ หนังสือ สัญญา กำหนด เท่า นั้น จะ ให้ เงิน ตาม สัญญา.
      ถือ สัจ (269:1.31)
               ถือ ยั่งยืน, ถือ ไม่ กลับ กลอก, คือ การ ที่ คน นับ ถือ ความ สัจ เปน ต้น, เช่น คน ดี สัจ ซื่อ ไม่ กลับ กลอก นั้น.
      ถือ* เหตุ (269:1.32)
               คือ ความ ที่ ถือ เอา สิ่ง ที่ เกิด ก่อน นั้น เปน สำคัญ.
      ถือ โหร (269:1.33)
               ถือ ผู้ ทำนาย, ถือ หมอดู, คือ ความ ที่ คน นับ ถือ พวก โหร, เช่น คน ถือ หมอ ดู.
      ถือ หัว (269:1.34)
               ถือ สีสะ, ถือ เสียร, ถือ เกล้า, คือ คน ที่ นับ ถือ หัว ว่า เปน ที่ สูง มิ ไคร่ ให้ ผู้ ใด จับ ต้อง, เช่น พวก ไท.
      ถือ อด (269:1.35)
               ถือ ขันตี, คือ คน ที่ ถือ ขัน ตี ความ อด ใจ นั้น, เช่น คน ธรมาน ใจ อด โทโส.
      ถือ อ้อม (269:1.36)
               ถือ ไม่ ตรง, ถือ คด ไป, คือ คน ที่ ถือ ลัทธิ ไม่ ตรง เหมือน อย่าง พวก ที่ ถือ ว่า รูป ฤๅ ไม้ กางเฃน เปน พระเจ้า.
ถู (269:1)
         ขัด สี, คือ การ ที่ ขัดสี หนัก ๆ นั้น, เช่น คน ถู ขี่ไค ฤๅ ถู คร่า แล ถู หลัง.
      ถู กัน (269:1.1)
               สี กัน, คือ อาการ ที่ ของ สอง สิ่ง เสียด สี กัน นั้น, เช่น โคน ขา, ฤๅ ไม้ ไผ่, สอง ลำ ถู กัน นั้น.
      ถู ขี้ ไค (269:1.2)
               สี ขี้ ไค, ขัด ขี้ ไค, คือ การ ที่ คน สี ขี้ ไค นั้น, เช่น อาบ น้ำ ชำระ กาย แล้ว ถู ขี้ ไค ให้ ออก นั้น.
      ถู ขัด (269:1.3)
               สี ขัด, คือ การ ที่ สี หนัก ๆ แล้ว ขัด ด้วย นั้น, เช่น คน ขัด เรือ ให้ เปน เงา.
      ถู คร่า (269:1.4)
               คือ การ ที่ ชุด คร่า ลาก ไป นั้น, เช่น นาย จับ บ่าว ที่ มัน หนี ได้ ชุด ถู คร่า ลาก ไป.
      ถูลู่ ถูกัง (269:1.5)
               ชุด คร่า, คือ การ ที่ ฉุด ลาก ไป ตาม ทาง นั้น, เช่น คน ผูก ฅอ หมา เน่า ลาก ไป.
เถโร (269:2)
          ฯ สงฆ ผู้ ใหญ่, สมภาร, เปน ชื่อ ท่าน ที่ ใจ ตั้ง มั่นคง ใน ของ ที่ ดี นั้น, เช่น ท่าน ที่ ใจ ตั้ง มั่น ใน ศีล, แล สะมาธิ, แล ปัญญา.
เถระ (269:3)
          ฯ ท่าน ฃรัว, สมภาร, สงฆ ผู้ ใหญ่, เปน ชื่อ ท่าน ที่ จิตร ตั้ง มั่น ใน ของ ดี นั้น, เช่น พระ สงฆ ผู้ ใหญ่ ที่ รู้ พระ ไตรปิฎก มาก ประพฤษดิ์ ตาม.
เถรัง (269:4)
          ฯ พระ มหาเถร, สงฆ ผู้ ใหญ่, เปน ชื่อ ท่าน ที่ จิตร ตั้ง มั่น ใน สีล, สมาธิ ปัญญา เปน ต้น, ความ เหมือน กับ เถระ.
เถนะ (269:5)
          ฯ เถร จอมปอม, เถร เรือ ลอย, เปน ชื่อ การ เบียด เบียฬ, การ ลัก นั้น, เช่น พวก เถน ปลอม.
เถรี (269:6)
          ฯ แปล ว่า นาง พระ เถรี, คือ ผู้ หญิง บวช เปน ภิกขุนี, มี วัษา หลาย ปี นั้น.
ไถ (269:7)
         เปน ชื่อ เครื่อง สำรับ ทำ ไร่, ทำ นา อย่าง หนึ่ง, มี แอก มี หาง ยาม, เช่น พวก ชาว นา ไถ นา.
      ไถ คู่ (269:7.1)
               คือ ไถ ที่ ทำ ด้วย ไม้, มี หัว แอก หางยาม, แล้ว เทียม ด้วย ควาย สอง ตัว นั้น, เช่น ไถ ชาว นา.
      ไถ ดะ (269:7.2)
               เปน ชื่อ การ ที่ คน ไถ ไร่ ฤๅ ไถ นา, ทำ รอย ไถ ห่าง ๆ กัน นั้น, เช่น ไถ ดะ ไว้ แล้ว, จะ ไถ แปร กลับ อีก ที หนึ่ง
      ไถ นา (269:7.3)
               เปน ชื่อ การ ไถ ที่ ทุ่ง นา นั้น.
      ไถ แปร (269:7.4)
               เปน ชื่อ การ ที่ คน ไถ ที่ สอง นั้น, เช่น คน ไถ ที่ ดะ ไว้ แล้ว ไถ แปร อีก ครั้ง หนึ่ง.
      ไถ ไร่ (269:7.5)
               คือ คน ไถ ที่ ทำ ไร่ นั้น.
ไถ่ (269:8)
         ถอน, ถ่าย, คือ การ ที่ เอา เงิน ไป ให้ เขา แล้ว เอา ของ มา เพราะ เอา ของ ไป จำนำ เขา ไว้ นั้น, เหมือน อย่าง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง เดิม ใส่ ไว้ ที่ นี่ แล้ว ถ่าย ไป ที่ อื่น เปน ต้น.
      ไถ่ ถอน (269:8.1)
               คือ ไถ่ ออก จาก ที่, เหมือน เขา เอา เงิน ไป ให้ แก่ คน ผู้ รับ เอา งัว ควาย, ฤๅ เรือ ไว้ จาก ผู้ ร้าย แล้ว เอา ของ นั้น มา.
      ไถ่ ถาม (269:8.2)
               ซัก ไซ้, ไล่ เลียง, คือ ไต่ ถาม นั้น, เช่น พวก ตระ- ลาการ ชำระ ความ เปน ต้น นั้น.
      ไถ่ โทษ (269:8.3)
               รับ โทษ, รับ ทุกข์, คือ การ ที่ ตัว ทำ ความ ผิด เปน โทษ หลวง ฃอ ไถ่ เอา ด้วย เงิน นั้น, คือ ไถ่ เอา โทษ ของ คน อื่น มา แล้ว ทน ทุกข์ แทน เขา, เหมือน พระ เยซู นั้น.
      ไถ่ ค่า (269:8.4)
               วาง เงิน, คือ การ ที่ คน เอา เงิน ไป ให้ แก่ เจ้า เงิน ตาม ค่า ตัว มาก แล น้อย แล้ว เอา ตัว ทาษ นั้น มา
ไถ้ (269:9)
         ถุง, คือ ถุง อย่าง หนึ่ง ที่ ใหญ่ บ้าง เล็ก บ้าง สำรับ คาด เอว เช่น ไถ้ ใส่ เงิน.

--- Page 270 ---
      ไถ้ ถุง (270:9.1)
               คือ ไถ้ อย่าง หนึ่ง ที่ เย็บ เปน ถุง นั้น, เช่น ไถ้ ใส่ เข้า ตาก เปน ต้น นั้น.
โถ (270:1)
         คือ เครื่อง ภาชนะ อย่าง หนึ่ง ทำ ด้วย ดิน, เขียน เปน ลาย ต่าง ๆ มี ฝา ปิด, มา แต่ เมือง จีน.
      โถ กลา (270:1.1)
               โถ เลว, คือ โถ อย่าง หนึ่ง เปน โถ เลว มา แต่ เมือง จีน, ศรี ดำ บ้าง ขาว บ้าง, รูป คล้าย กับ กะลา.
      โถ โกฎ (270:1.2)
               โถ* ยอด, เปน ชื่อ โถ อย่าง หนึ่ง, เปน โถ อย่าง ดี สำรับ ใส่ ของ หวาน, รูป คล้าย กับ โกฎ.
      โถ ขาว (270:1.3)
               โถ กะลา, คือ โถ ศรี ขาว ที่ เขา เอา มา แต่ เมือง จีน เช่น โถ กะลา.
      โถ เขียว (270:1.4)
               โถ ลาย คราม, คือ โถ ที่ เขา เคลือบ เปน ศรี เขียว.
      โถ ดอก (270:1.5)
               โถ ลาย, คือ โถ ที่ เขา เขียน เปน ดอก ไม้ ต่าง ๆ.
      โถ ยอด (270:1.6)
               โถ โกฎ, คือ โถ ที่ มี ยอด เปน จุก อยู่ บน ฝา นั้น.
      โถ ลาย ผัก ชี (270:1.7)
               คือ โถ ที่ เขา เขียน เปน ลาย ลเอียด นั้น.
      โถ หู (270:1.8)
               คือ โถ ที่ มี หู หิ้ว สอง ข้าง นั้น.
      โถ้ (270:1.9)
               เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ปาก ช่อง กลวง ใหญ่ นั้น, เช่น ปาก อ่าว.
เถา (270:2)
         เครือ, เชือก เขา, เถา วัน, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เปน เครือ นั้น.
      เถา กะได ลิง (270:2.1)
               เครือ กะใด ลิง, เปน ชื่อ เถา วัน อย่าง หนึ่ง คด ไป คด มา เช่น กะได นั้น.
      เถา คัน (270:2.2)
               เปน ชื่อ เถา วัน อย่าง หนึ่ง ลูก มัน รศ คัน หน่อย* ๆ, เช่น เถา คัน ที่ เขา ปิด ฝี.
      เถา หนึ่ง (270:2.3)
               ของ ที่ มัน เล็ก ๆ เปน ลำดับ กัน ไป ตั้ง แต่ สอง ใบ เปน ต้น เขา เรียก ว่า เถา หนึ่ง.
      เถา ชิง* ช้าชาลี (270:2.4)
               เครือ ชิ้งช้าชาลี, เปน ชื่อ เถา อย่าง หนึ่ง คล้าย กัน กับ เถา บรเพ็ช, เช่น เถา ชิ้งช้าชาลี ที่ เขา ต้ม ยา นั้น.
      เถา หญ้า นาง (270:2.5)
               เครือ หญ้า นาง, เปน ชื่อ เถา อย่าง หนึ่ง ใบ ยาว มี อยู่ ตาม ป่า ที่ เขา ต้ม เปน ยา ไข้.
      เถา ดองดึง (270:2.6)
               เครือ ดองดึง, เปน ชื่อ เถา อย่าง หนึ่ง ศรี เหลือง ศรี แดง เจือ กัน, มี อยู่ ตาม สวน สำรับ ใช้ ทำ ยา.
      เถา ดาน (270:2.7)
               เปน ชื่อ เส้น ใหญ่ ใน ตัว, ที่ แขง เปน ลำ อยู่ นั้น, เช่น ดาน แขง.
      เถา ฟัก (270:2.8)
               คือ เถา ฟัก เขียว นั้น.
      เถา แฟง (270:2.9)
               เถา ลำแพน, เถาวัล, เครือ วัล, เปน ชื่อ เถา วัล ทั้ง ปวง.
      เถา วัน ปูน (270:2.10)
               เครือ วัน ปูน, เปน ชื่อ เถา วัน อย่าง หนึ่ง มัก ขึ้น อยู่ ตาม ริม รั้ว ต้น ข้าว*.
      เถา วัน เปรียง (270:2.11)
               เชือก เขา หนัง, เปน ชื่อ* เถา วัน อย่าง หนึ่ง สำรับ ทำ ยา.
      เถา อะหงุ่น (270:2.12)
               เครือ อะหงุ่น, คือ เถา อะหงุ่น นั้น.
เถ้า (270:3)
         แก่, ชะรา, คร่ำ คร่า, เปน ชื่อ ความ แก่ ความ ชะรา, ฤๅ เถ้า ไฟ นั้น, เช่น คน อายุ แปด สิบ เก้า สิบ เปน ต้น.
      ถ้ำ (270:3.1)
               อุโมงค์, คูหา, คือ โพรง ที่ ฦก เข้า ไป ใน ภูเขา, เช่น อุมงค์ ใหญ่.
      ถ้ำ แก้ว (270:3.2)
               รัตน คูหา, อุโมงค์ แก้ว, คือ อุมงค์ ที่ เปน โพรง ฦก เข้า ไป ใน ภูเขา, ประกอบ ไป ด้วย แก้ว หิน, เหมือน ถ้ำ ราชสีห์.
      ถ้ำ กลาง (270:3.3)
               กิ่ง กลาง, ที่ กลาง, คือ ที่ กึ่ง กลาง นั้น, เช่น ที่ กลาง ประชุม คน.
      ถ้ำ ชา (270:3.4)
               กะปุก ชา, คือ สิ่ง ของ ที่ สำรับ ใส่ ใบ ชา ทำ ด้วย ตะ กั่ว นั้น.
      ถ้ำ มอง (270:3.5)
               ของ สำรับ มอง, คือ ถ้ำ ที่ ทำ มา แต่ เมือง จีน, สำ- รับ ดู ของ น้อย เหน เปน มาก นั้น
      ถ้ำ เหว (270:3.6)
               คือ ถ้ำ ที่ มี เหว ฦก อยู่ ใน ถ้ำ นั้น.
ถนัด (270:4)
         สนัด, เหน ชัด, คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ จับ ต้อง ได้ มั่นคง ฤๅ แล เหน ปรากฎ ชัด นั้น เช่น ของ เติบ.
ถะนง (270:5)
         องอาจ, ไม่ กลัว ไคร, เปน ชื่อ ใจ องอาด กล้า หาร ไม่ กลัว ไคร, ตั้ง ตัว เช่น ทหาร หลวง.
ถนล (270:6)
         หน ทาง, สถลมารค วิถีทาง, คือ หน ทาง เดิน ที่ เขา ปู อิฐ ปู หิน เช่น ถนล หลวง.
ถนอม (270:7)
         สนอม, รักษา ไว้ ดี, สงวน ไว้, คือ การ ที่ ค่อย ประ- คับ ประคอง รักษา ไว้ ให้ ดี, เช่น ลูก อ่อน เล็ก ๆ นั้น.
ถะนาย (270:8)
         คน ใช้, เด็ก ใช้, คือ เปน ชื่อ คน ที่ สมัก เปน เบ่า ขุน นาง ผู้ ใหญ่, เช่น มะหาดเล็ก จ้าว.
ถะมิล (270:9)
         เหี้ยม เกรียม, ดุร้าย นัก, ใจ ฉะกรรจ์, คือ ใจ โหด เหี้ยม ดุ ร้าย ฆ่า คน ได้, เช่น ใจ พวก แขก แอฟริกา เปน ต้น.

--- Page 271 ---
ถะแยง (271:1)
         วัด เสียว ไป, คือ การ ที่ ไม่ วัด ตรง ๆ ไป ตาม กว้าง ตาม ยาว เช่น วัด มุม นี้ ถะแยง ไป มุม โน้น.
ถะยาน (271:2)
         ใจ ลิง โลด, ใจ ถะเยอ, คือ ใจ ที่ ลิง โลด, เพราะ หยาก ได้ นั้น, เช่น ไพร่ อยาก เปน ขุนนาง.
ถะเยอ (271:3)
         ถะยาน, ลิงโลด, คือ การ ที่ คัน หนัก ต้อง เกา มาก เช่น คน ถูก ตำแย.
ถลา (271:4)
         เตลิด ไป, ซาน ไป, คือ การ ที่ วิ่ง หนัก จน ซุน ไป นั้น เช่น คน วิ่ง งัว เตลิด ไป.
ถะลุ (271:5)
         ปรุ โปร่ง, กลวง เปน ช่อง, เปน ชื่อ สิ่ง ที่ กลวง เปน ช่อง เปน รู อยู่ นั้น, เช่น ผ้า ถะลุ ฤๅ เรือ ถลุ.
ถะเล (271:6)
         มหะสมุท, มหา นัทธี, เปน ชื่อ มหา สมุท ที่ น้ำ เค็ม นั้น, เช่น ตาม ทาง ที่ จะ ไป อะเมริกัน เปน ต้น.
ไถล (271:7)
         ถลาก, พลาด ไป, คือ อาการ ที่ พลาด ถลาก ไป นั้น, เช่น คน เดิร ที่ ลื่น ล้ม ไถล ไป.
      ไถล ถลาก (271:7.1)
               ถลา เถล, คือ อาการ เปน เมื่อ คน เดิน, ฤๅ วิ่ง ไป แล ตีน ก้าว พลาด เลื่อน เกิน ไป จาก ที่ วาง ท้าว ลง นั้น.
ถลำ (271:8)
         พลัง ไป, พลาด ลง, เปน ชื่อ การ ที่ เดิน พลัด ตก ลง ใน บ่อ, ฤๅ ใน ล่อง นั้น, เช่น คน เดิน ลุย น้ำ ตก หลุม.
      ถลำ เกิน (271:8.1)
               พลั้ง เกิน, พลาด ลง เกิน ไป, คือ การ ที่ ทำ เกิน ฤๅ พูด เกิน ฤๅ คิด เกิน ไป นั้น.
      ถลำ ใจ (271:8.2)
               พลั้ง ใจ, พลาด ใจ, คือ ใจ ที่ นึก ล่วง เกิน ไป นั้น, เช่น คน คิด การ ทั้ง ปวง ไม่ สม ขะเน นึก.
      ถลำ ปาก (271:8.3)
               พลั้ง ปาก, พูด ผิด เกิน ไป, คือ ความ ที่ คน พูด. ผิด พลั้ง เกิน ไป นั้น, เหมือน อย่าง คน พูด มาก พลั้ง เกิน ไป.
      ถลำ ล่อง (271:8.4)
               พลัด ตก ล่อง, ตก ล่อง, คือ อาการ ที่ คน เดิร พลัด ตก ล่อง ลง ไป นั้น.
ถะถะ* (271:9)
         เปน ชื่อ ทาง นั้น, เช่น เขา พูด กัน ว่า, เดิน ไป ทาง บก.
ถลก (271:10)
         ปอก ลอก, ถก หนัง หัว, เปน ชื่อ* การ ปอก ลอก นั้น, เช่น คน ถลก ผ้า ถลก หนัง, แส ถลก เปลือก ไม้.
ถะลัก (271:11)
         แตก ถลาย, ถะลุย ถะลาย, คือ อาการ ที่ ทลาย ออก มา นั้น, เช่น คน ท้อง แตก ไส้ ถะลัก ออก
      ถะลัก ถะเล (271:11.1)
               แตก ออก เลอะเทอะ, ไหล ออก เปื้อน เปรอะ, คือ อาการ ที่ แตก ทะลาย ออก เลอะเทอะ นั้น.
ถลากไถล (271:12)
         ไพล่ เผล, เลอะเทอะ, ถลำ ถลาก, คือ ความ ที่ คน พูด จา ผิด ๆ ถูก ๆ, เลอะเทอะ นั้น, เช่น คน สิ้น สติ เปน บ้า พูด เพ้อ ไป.
ถลอก (271:13)
         ปอก เปิก, ลอก ปอก, หนัง ถลก, คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ลอก ปอก ไป เปน กะบ่อน กะแบ่น นั้น, เช่น คน ล้ม ลง หนัง ถลอก.
แถลก (271:14)
         แฉลบ, ถลาก, คือ อาการ ที่ แฉลบ ไป, ฤๅ ถลาก ไป, เช่น ปลา ว่าย แถลก ไป ใน น้ำ.
ถลำ ถลาก (271:15)
         พั้ง พลาด, คือ อาการ เปน เมื่อ คน เดิน ไป แล ยก ท้าว ก้าว ถลำ ลง ใน ที่ ลุ่ม นั้น.
ถลึง (271:16)
         ขะเม่น ดู, คือ อาการ คน ขัด เคือง คน อื่น และ แล ดู* ด้วย ตา ไม่ พริบ ให้ เขา รู้ เปน สำคัญ ว่า โกรธ เคือง นั้น.
เถลิก (271:17)
         เปิก ไป, ถลาก, คือ อาการ ที่ หน้า ล้าน หนิด หน่อย นั้น, เช่น คน หน้า เถลิก นั้น.
ถลุง (271:18)
         สุม ให้ ละลาย, หลอม ให้ ละลาย, เปน ชื่อ การ ที่ หลอม ให้ ก้อน แร่ ละลาย ออก นั้น.
แถลง (271:19)
         กล่าว, พูด, คือ คำ พูด ฤๅ สำแดง นั้น, เช่น คำ ว่า จะ แถลง แจ้ง ข้อ แต่ ภอ เข้า ใจ.
ถะลวง (271:20)
         ถลัน, ถลุน, ผลุน ผลัน, คือ การ ที่ เขา ห้าม แล ตัว ถลัน เข้า ไป นั้น, เช่น หมู ถะลวง ออก มา จาก ซุ้ม.
เถลิง (271:21)
         ขึ้น บน, ถวัลราช, เปน ชื่อ คำ ว่า ขึ้น นั้น, เช่น คำ ว่า เถลิง หลัง อาชา คลา, วันนะเวศวะเนจร.
ถะลูด ถะลาด (271:22)
         พลั้ง พลาด, พลัด พลาด, คือ อาการ ที่ เดิน พลั้ง ๆ พลาด ๆ นั้น, เช่น คน เดิน ทาง ลื่น ๆ.
ถลน (271:23)
         ซ้น ออก, ล้น ออก, คือ อาการ สิ่ง ที่ ซ้น ปลิ้น ย้อย ออก มา นั้น, เช่น พวก ผู้ร้าย ที่ เขา บีบ ขมับ ตา ถลน ออก มา.
ถลัน (271:24)
         ถะลวง, ถลุน เข้า ไป, ผลุน เข้า ไป, คือ ถะลวง เข้า ไป นั้น, เมือน อย่าง คน ที่ วิ่ง ถลัน หนี เข้า ไป ใน ประตู.
ถลุน (271:25)
         ฉลุน เชือก, คือ การ ที่ คน เอา ปอ มา บิด ให้ เปน เกลียว เช่น คน ถลุน ป่าน นั้น.
แถลบ (271:26)
         แฉลบ, ถลาก ไป, คือ อาการ ที่ ถลาก ไป นั้น, เช่น ว่าว คุลา แถลบ ลม, ฤๅ ปลา ว่าย แถลบ ไป.
ถล่ม (271:27)
         ทรุด ลง, ลึก ลง, กลวง ลง, คือ อาการ สิ่ง ที่ ฦก กลวง ลง ไป, เช่น คน ลง ท้อง มาก, ใน ตา ถลม ฦก ลง ใป.

--- Page 272 ---
ถลัม (272:1)
         พลัด ลง, ตก ลง, คือ ความ ที่ พลั้ง ปาก พูด เกิน เหตุ ฤๅ เดิน พลัด ตก ลง ใน หลุม นั้น, เช่น คน พูด ถลัม ไป.
ถลม (272:2)
         ทรุด ลง, คือ อาการ ที่ หวำ เข้า ไป, เหมือน หน่วย ตา คน ที่ ตา เสีย แล มัน ฦก หวำ เข้า ไป นั้น.
ถวิน (272:3)
         จินดา, คิด ถึง, เปน ชื่อ ความ ว่า คิด หวัง, คือ คน คิด ถึง* สิ่ง ใด ๆ นั้น.
ถลาย (272:4)
         ฉลาย, แตก ร้าว, ร้าว ราน, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ แตก ร้าว เสีย ไป นั้น, เช่น เพชร์ ถลาย ฤๅ เครื่อง ถลาย.
ถะลาย (272:5)
         ทำลาย, แตก พัง, ล้ม ลง, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ แตก พัง ล้ม ลง นั้น, เช่น กำแพง พัง ถะลาย ลง.
ถะเลาะ (272:6)
         ฉะเลาะ, วิวาท, ทุ่ม เถียง, คือ คำ วิวาท ทุ่ม เถียง กัน ด้วย เหตุ ต่าง ๆ นั้น.
ถวัลราช (272:7)
         ขึ้น เสวย ราช, ครอง ราชสมบัติ, ขึ้น ราชา ภิเศก, คือ การ ที่ ได้ ขึ้น เสวย ราช นั้น, เช่น พระ มหา กระษัตริย์ ได้ บรมราชาภิเศก แล้ว
ถวาย (272:8)
         บูชา, ให้, พระราชทาน, คือ การ ให้ แก่ คน มี ศีล, ฤๅ ให้ แก่ คน มี บุญ นั้น, เช่น ของ ถวาย พระ สงฆ์ เปน ต้น.
      ถวาย ของ (272:8.1)
               คือ ของ ที่ ให้ แก่ ท่าน ผู้ มี บุญ นั้น.
      ถวาย ตัว (272:8.2)
               มอบ ตัว ให้, คือ การ ที่ เอา ตัว ไป ยอม ให้ เปน บ่าว นั้น.
      ถวาย พระ (272:8.3)
               คือ การ ที่ เอา สิ่ง ของ ต่าง ๆ ให้ พระ นั้น, เช่น คน ตั้ง โตะ บูชา พระ.
      ถวาย กร (272:8.4)
               คือ การ ที่ ยก มือ ประนม ขึ้น ตั้ง ไว้ นั้น, เช่น คน ฟัง เทษนา นั้น.
      ถวาย ขาด (272:8.5)
               คือ การ ที่ ให้ เปน อันขาด ที เดียว นั้น, เช่น คน ที่ ให้ แล้ว ไม่ กลับ คืน เปน ต้น.
      ถวัลราช (272:8.6)
               ฯ เปน สับท์ แผลง, แปล ว่า ราชสมบัติ ตั้ง มั่นคง.
      ถวาย ตัว (272:8.7)
               ยอม ตัว เปน บ่าว, คือ ยอม สมัก มอบ ตัว เข้า เปน ข้า เปน บ่าว, มี คน ยอม เข้า เปน ข้า จ้าว.
      ถวาย เงิน (272:8.8)
               ให้ เงิน, บูชา ด้วย เงิน, พระราชทาน เงิน, ถวาย จ้าว, ให้ แก่ เจ้า, บูชา เจ้า, พระราชทาน ให้ เจ้า, ถวาย ดอก ไม้.
      ถวาย บังคม (272:8.9)
               คือ การ ไหว้ นั้น, เช่น ข้า ราชการ ถวาย บังคม แก่ มหา กระษัตริย์.
      ถวาย ผ้า (272:8.10)
               ถวาย พร, ถวาย ยา, ถวาย เรือ.
      ถวาย วัด (272:8.11)
               คือ การ ที่ ให้ ไว้ ใน วัด, เช่น คน ถวาย ของ กลาง ไว้ ใน วัด.
      ถวาย บูชา (272:8.12)
               คือ ให้ เปน เครื่อง พะลีกรรม, โดย ใจ คำนับ ๆ ถือ นั้น.
      ถวาย สงฆ์ (272:8.13)
               คือ การ ที่ ให้ ไว้ ใน หมู่ สงฆ์ นั้น.
      ถวาย องค์ (272:8.14)
               คือ การ ที่ ถวาย ตัว นั้น, เช่น ท่าน ผู้ มี วาศนา ถวาย ตัว แก่ คน ผู้ ใหญ่.
ถะวาย (272:9)
         ตนาว, เปน ชื่อ คน ชาติ์ หนึ่ง, คล้าย กัน กับ พม่า, เช่น ถะวาย เมือง ตะนาว.
ถก (272:10)
         ถลก, ปอก, ลอก, เปน ชื่อ ถลก นั้น, เช่น คน ถลก หนัง, ฤๅ ถก เปลือก ไม้, แล ถก ผ้า.
      ถก ก้น (272:10.1)
               หลก ก้น, ถลก ก้น, เปน ชื่อ หลก ก้น นั้น, เช่น คน นุ่ง* ผ้า ถก เขมร, โจง กระเบน.
      ถก เขมน (272:10.2)
               โจง กระเบน, คือ คน นุ่ง ผ้า ถก ขึ้น ไป ถึง ง่าม ก้น, เช่น พวก เขมร ดง นั้น.
      ถก หนัง (272:10.3)
               คือ การ ถลก หนัง, เช่น คน ถลก หนัง สัตว ต่าง ๆ.
      ถก เปลือก (272:10.4)
               ถลก เปลือก, ลอก เปลือก, ปอก เปลือก, คือ การ ที่ คน ถลก เปลือก ไม้ นั้น, เช่น คน ลอก เปลือก ไม้ ต่าง ๆ.
      ถก ผ้า (272:10.5)
               ถลก ผ้า, หลก ผ้า, คือ การ ถลก ผ้า นั้น, เช่น คน เลิก ผ้า ขึ้น ไป พ้น เข่า เปน ต้น.
ถัก (272:11)
         สัก, สัก หลัง, เปน ชื่อ การ กระทำ อย่าง หนึ่ง, คือ เอา ด้าย ฤๅ ไหม ถัก ไคว่ ไป ไคว่ มา, เหมือน ถัก หาง เปีย.
      ถัก ไหม (272:11.1)
               คือ การ ที่ เอา ไหม ถัก ไคว่ ไป ไคว่ มา, เช่น คน ถัก หู หนังสือ เปน ต้น.
      ถัก ปลอก (272:11.2)
               คือ การ ที่ เขา เอา เส้น หวาย ฤๅ เส้น ตอก มา ทำ เปน วง กลม แล้ว เอา ข้าง หัว เงื่อน ไคว่ ไป หลาย รอบ นั้น.
      ถัก ลวด (272:11.3)
               คือ การ ที่ เขา เอา ลวด ทอง ฤๅ ลวด เงิน, มา ทำ สอด ไคว่ ไป ไคว่ มา, เพื่อ จะ ทำ เครื่อง ประดับ นั้น.
      ถัก หาง เปีย (272:11.4)
               คือ การ เอา ผม แบ่ง ออก เปน สาม ส่วน แล้ว, ถัก ไป ถัก มา, เมือน เจ็ก ถัก หาง หนู.
ถาก (272:12)
         คือ การ กระทำ อย่าง หนึ่ง, เช่น คน เอา ขวาน ฤๅ มีด พร้า ถาก เข้า ที่ ไม้.
      ถาก หญ้า (272:12.1)
               คือ การ ที่ คน เอา จอบ ฤๅ เสียม ถาก เข้า ที่ หญ้า.

--- Page 273 ---
      ถาก ถาง (273:12.2)
               คือ การ ที่ คน เอา มีด ฤๅ พร้า ถาก ถาง หญ้า นั้น.
      ถาก ที่ (273:12.3)
               คือ การ ที่ คน เอา จอบ ฤๅ เสียม* ถาก ที่ ดิน นั้น.
      ถาก ไม้ (273:12.4)
               คือ การ ที่ คน เอา มีด ฤๅ ขวาน ถาก ลง ที่ ไม้ นั้น.
      ถาก ไร่ (273:12.5)
               คือ การ ที่ คน เอา จอบ ฤๅ เสียม ถาก ที่ ไร่ นั้น.
      ถาก เสา (273:12.6)
               คือ การ ที่ เฃา ตัด ต้น ไม้ ลง แล้ว เอา ขวาน ถาก ให้ มัน เปน เสา นั้น.
ถึก (273:1)
         เปน ชื่อ สัตว สี่ ท้าว ตัว ผู้ หนุ่ม ที่ อ้วน ภี นั้น, เช่น เขา เรียก ว่า โค ถึก.
      ถึก ใจ (273:1.1)
               ครั่น คร้าม ใจ, สดุ้ง ใจ, หวั่น ใจ, คือ ความ ที่ ใจ ครั่น คร้าม, ใจ กลัว พรั่น นั้น, เช่น คน สดุ้ง ตก ใจ, ใจ ถึก ถัก นั้น.
ถูก (273:2)
         ชอบ, ต้อง, ไม่ ผิด, คือ การ ไม่ ผิด, ไม่ คลาด เคลื่อน เช่น คน ทำ ถูก ต้อง ตาม ที่ สมควร นั้น.
      ถูก กัน (273:2.1)
               ต้อง กัน, ชอบ กัน, คือ สิ่ง ที่ ไม่ ผิด กัน, ถูก ต้อง กัน นั้น, เช่น ถือ สาศนา ถูก กัน.
      ถูก ไม่ แพง (273:2.2)
               คือ ราคา ของ ทุก สิ่ง ที่ เขา ซื้อ ได้ ราคา เยา.
      ถูก ขะโมย (273:2.3)
               คือ การ ที่ ขะโมย มัน มา ลัก เอา สิ่ง ของ ไป ได้.
      ถูก เฆี่ยน (273:2.4)
               ต้อง เฆี่ยน, ต้อง ตี, คือ ความ ที่ ต้อง ตี ด้วย หวาย ผูก ท้าว ผูก เอว จำ คา ด้วย.
      ถูก จำ (273:2.5)
               ต้อง จำ, ต้อง จอง, คือ การ ที่ ต้อง จำ ขื่อ คา โซร่ ตรวน นั้น.
      ถูก ซัต (273:2.6)
               ต้อง ซัด, คือ ความ ที่ ต้อง ซัด ถึง นั้น, เช่น คน ที่ พวก ผู้ ร้าย มัน ซัด ทอด ถึง.
      ถูก ด่า (273:2.7)
               ต้อง ด่า, คือ ความ ที่ ต้อง ด่า นั้น.
      ถูก ตี (273:2.8)
               คือ การ ที่ ต้อง ตี นั้น.
      ถูก ต้อง (273:2.9)
               คือ ความ ที่ ถูก ต้อง ตาม ที่ ถูก, ที่ ควร นั้น, เช่น คน เล่า หนังสือ จำ ได้ ไม่ ผิด.
      ถูก ตบ (273:2.10)
               คือ การ ที่ ต้อง ตบ นั้น, เช่น อ้าย ผู้ ร้าย ให้ การ ไม่ ยืน คำ ต้อง ถูก ตบ.
      ถูก ต่อย (273:2.11)
               คือ การ ที่ ต้อง ชก ต้อง ต่อย นั้น, เช่น พวก คน มวย ถูก ต่อย.
      ถูก ที่ (273:2.12)
               คือ การ ที่ ถูก ตาม ที่ นั้น, เช่น คน ไป ไม่ ผิด ที่, ไม่ เคลื่อน ที่.
      ถูก ทำนอง (273:2.13)
               คือ ความ ที่ ถูก ต้อง ตาม ธรรมเนียม, ตาม บท บังคับ นั้น.
      ถูก ท่วน (273:2.14)
               คือ ความ ที่ ถูก ท่วน ทุก คำ, ฤๅ ทุก สิ่ง นั้น.
      ถูก ทั่ว (273:2.15)
               คือ การ ที่ ถูก ต้อง ทั่ว กัน นั้น.
      ถูก บวช (273:2.16)
               เขา บวช เสีย แล้ว, คือ การ ที่ คน ถูก เขา หลอก ลวง ได้ ต่าง ๆ นั้น, เช่น เขา หลอก ให้ เสีย เงิน.
      ถูก ปรับ (273:2.17)
               ต้อง ปรับ ไหม, คือ การ ที่ ต้อง ปรับ นั้น, เช่น คน ที่ เปน ความ แพ้ เขา ต้อง ถูก ปรับ.
      ถูก เวร (273:2.18)
               คือ ความ ที่ ถูก เขา เวร สิ่ง ของ มอบ ให้ นั้น, เช่น คน เอา ของ เขา มา ทำ เสีย เขา เวร ให้.
      ถูก อก ถูก ใจ (273:2.19)
               คือ การ ที่ เขา พูด นั้น มัน ต้อง ใจ นั้น.
แถก (273:3)
         แทะ, คือ การ ที่ แทะ เอา ด้วย น่า ฟัน นั้น, เช่น หมา แถก มะพร้าว ติด กะลา เปน ต้น นั้น.
      แถก กิน (273:3.1)
               คือ การ ที่ แทะ กิน ด้วย น่า ฟัน นั้น.
      แถก ถา (273:3.2)
               แถลก ถลา, บิน ถลา, คือ การ ที่ บิน แถก ลง มา แล้ว ถา ไป นั้น, เช่น นก นาง นวล.
      แถก ว่าย (273:3.3)
               แหวก ว่าย, คือ การ ที่ ว่าย แถก ไป นั้น, เช่น ปลา พล่าน เมื่อ ฝน ตก ใหม่.
ถอก (273:4)
         ร้น เข้า ไป, คือ การ ที่ ปลิ้น เอา หนัง ที่ หุ้ม ห่อ องคชาติ์ อยู่ นั้น ให้ ถลก เข้า ไป นั้น.
      ถอก กะดอ (273:4.1)
               คือ การ ที่ ร้น เปลือก องคชาติ์ ให้ ถลก เข้า ไป.
เถือก แดง (273:5)
         คือ ของ ศรี แดง มี มาก ติด กัน เปน พืด ไป นั้น, ว่า แดง เถือก ไป.
เถิก (273:6)
         เถลิก, คือ การ ที่ เถลิก ขึ้น ไป นั้น, เช่น คน หน้า ผาก ใหญ่ แล้ว ล้าน เข้า ไป หน่อย เปน ต้น.
(273:7)
         
ถัง (273:8)
         เปน ชื่อ ของ ใช้ ที่ สำรับ ตวง เข้า แล ตัก น้ำ นั้น, เช่น ถัง ไม้ ที่ พวก เจ็ก ทำ ขาย.
      ถัง ใหญ่ (273:8.1)
               ถัง ย่อม, ถัง เล็ก, ถัง หลวง, เปน ชื่อ ถัง ไม้ ที่ เขา ต่อ เปน สี่ เหลี่ยม, เช่น ถัง ที่ ตวง เข้า ขึ้น ฉาง หลวง.
ถั่ง ไหล (273:9)
         เปน ชื่อ น้ำ ที่ ไหล แรง ลง เร็ว นัก, เหมือน เมื่อ ระดู น่า น้ำ เหนือ ลง มา มาก นั้น.
ถาง (273:10)
         แพ่ว, หวด, โทรม, เปน ชื่อ การ ที่ เอา มีด แล พร้า, แพ่ว ชำระ หญ้า ที่ รก ให้ เตียน นั้น.

--- Page 274 ---
      ถาง หญ้า (274:10.1)
               แพ่ว หญ้า, หวด หญ้า, โทรม หญ้า, เปน ชื่อ การ ที่ เอา มีด* แล พร้า ถาง ที่ หญ้า นั้น.
      ถาง ที่ (274:10.2)
               ชำระ ที่, ถาก ที่, เปน ชื่อ การ ที่ คน แพ่ว ถาง ชำระ หญ้า ใน ที่ นั้น.
      ถาง ทาง (274:10.3)
               เปน ชื่อ การ ที่ คน แพ่ว ถาง ถนน นั้น.
      ถาง ไม้ (274:10.4)
               เปน ชื่อ การ ที่ คน แพ่ว ถาง ชำระ ตัด ต้น ไม้ นั้น.
      ถาง ไร่ (274:10.5)
               ถาง รก, ถาง ป่า, ถาง สวน, เปน ชื่อ การ ที่ คน หวด หญ้า ให้ เตียน, เช่น คน ทำ สวน ปลูก ต้น ผลไม้ นั้น.
ถ่าง (274:1)
         เปน ชื่อ การ ทำ ให้ ห่าง, เหมือน ของ มี คู่, เช่น ขา คน เปน ต้น, เขา ทำ ให้ มัน ห่าง กัน อยู่ สัก คืบ หนึ่ง, ก็ ว่า ขา มัน ถ่าง อยู่.
ถึง (274:2)
         กะทั่ง, ลุแล้ว, เปน ชื่อ กะทั่ง ที่ ตน ปราถนา นั้น, เช่น คน เดิน ทาง บก ทาง เรือ ถึง นั่น ถึง นี่.
      ถึง กัน (274:2.1)
               กะทั่ง กัน, ภบ กัน, ปะกัน, คือ ความ ที่ ให้ รู้ ถึง กัน นั้น, เช่น คน บอก ความ ถึง กัน, ฤๅ ฝาก ของ ถึง กัน.
      ถึง กาล (274:2.2)
               ถึง ตาย, กะทั่ง มรณะ, ถึง สิ้น ชีวิตร์*, เปน ชื่อ ถึง เวลา, ฤๅ ถึง ความ ตาย นั้น, เช่น คน กำหนฎ เวลา ไว้.
      ถึง กรรม (274:2.3)
               คือ ความ ถึง การ ที่ กระทำ ต่าง ๆ, ฤๅ ถึง กิริยา ตาย, เช่น คน ตาย ตาม ธรรมดา นั้น.
      ถึง กำหนฎ (274:2.4)
               ถึง ขนาด, ถึง* ที่, คือ ความ ถึง ที่ ถึง กำหนฎ นั้น.
      ถึง ใจ (274:2.5)
               กะทั่ง ใจ, ชอบ ใจ, คือ การ ที่ เต็ม ใจ ฤๅ ชอบ ใจ นั้น, เช่น คน เอา สิ่ง ของ มา ให้ มาก ชอบ ใจ นั้น.
      ถึง จอม (274:2.6)
               เปน ชื่อ ความ ที่ ถึง ยอด ถึง ที่ สุด นั้น, เช่น คน ขึ้น ถึง จอม เขา, ฤๅ จอม ปลวก เปน ต้น.
      ถึง ดี (274:2.7)
               คือ ถึง ที่ ดี ที่ ชอบ นั้น, เช่น คน ที่ ได้ ถึง ซึ่ง สวรรค์ เปน ต้น นั้น.
      ถึง ดิน (274:2.8)
               คือ ความ ที่ ลง มา ถึง แผ่น ดิน นั้น, เช่น ผลไม้ ทั้ง ปวง ที่ หล่น ถึง ดิน เปน ต้น.
      ถึง ดอน (274:2.9)
               ถึง เดือน, ถึง ตาย, ถึง ตัว, ถึง ท่า, ถึง ที่, ถึง ท่าน.
      ถึง ทับ (274:2.10)
               ถึง ห้าง, ถึง กะท่อม, คือ การ ที่ ถึง กะท่อม เล็ก ๆ ที่ ทุ่ง นา นั้น, เช่น ถึง ทับ กะท่อม ที่ เขา ทำ ไร่ เปน ต้น.
      ถึง เผ็ด ถึง ร้อน (274:2.11)
               เปน คำ เปรียบ ด้วย คำ อยาบ, ที่ เปน คำ แช่ง ด่า นั้น, เปรียบ เหมือน อย่าง ถึง พริก ขิง เผ็ด ร้อน.
      ถึง ผล (274:2.12)
               คือ การ ที่ ประพฤษดิ์ ถึง ผล แห่ง ความ ดี นั้น, เช่น ท่าน ที่ ถึง โสดา ผล.
      ถึง เพียง นี้ (274:2.13)
               ถึง วัน ผัด, ถึง สิ้น ชีวิตร์, ถึง อะนิจกรรม, ถึง สอบ, ถึง ชันะสูต.
      ถึง เอก (274:2.14)
               ถึง ที่ หนึ่ง, คือ การ ถึง ที่ หนึ่ง นั้น, เช่น คน ฝี มือ เข้ม แขง, ควร จะ ถึง ที่ ทหาร เอก.
ถุง (274:3)
         เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ เย็บ ด้วย ด้าย บ้าง, ไหม บ้าง, ผ้า บ้าง, รูป เหมือน กะบอก, สำรับ ใส่ เบี้ย, ใส่ เงิน.
      ถุง เก่า (274:3.1)
               เปน ชื่อ ถุง ที่ คร่ำคร่า ได้ ใช้ นาน แล้ว นั้น, เช่น ถุง เบี้ย ถุง เงิน เก่า แก่ เปน ต้น.
      ถุง กรับ (274:3.2)
               เปน ชื่อ ถุง ที่ สำรับ ใส่ กรับ นั้น, เช่น ถุง กรับ พวก เสภา นั้น.
      ถุง ขาว (274:3.3)
               เปน ชื่อ ถุง ที่ ศรี ขาว นั้น.
      ถุง เขียว (274:3.4)
               เปน ชื่อ ถุง ที่ ศรี เขียว นั้น.
      ถุง เงิน (274:3.5)
               เปน ชื่อ ถุง ที่ สำรับ ใส่ เงิน นั้น.
      ถุง ตีน (274:3.6)
               เปน ชื่อ ถุง ที่ สำรับ ใส่ ตีน, เช่น ถุง ตีน พวก อังกฤษ.
      ถุง ย่าม (274:3.7)
               คือ ของ สอง อย่าง, ถุง นั้น เขา เย็บ ด้วย ผ้า บ้าง, ชุน เปน ตะเครียว บ้าง, มี สาย รูด, ย่าม นั้น มี สาย รูด ไม่ ได้.
      ถุง นก (274:3.8)
               คือ ถุง ที่ เขา คลุม กรง นก นั้น.
      ถุง ผ้า (274:3.9)
               คือ ถุง ที่ เขา เย็บ ด้วย ผ้า ต่าง ๆ นั้น.
      ถุง แดง (274:3.10)
               คือ ถุง ที่ มี ศรี แดง นั้น.
      ถุง ตะเครียว (274:3.11)
               คือ ถุง ที่ เขา ทำ ด้วย ไหม เบ็ญพรรณ์ นั้น, เช่น ถุง บาตร์ บวช นาค.
      ถุง บาตร์ (274:3.12)
               คือ ถุง ที่ สำรับ ใส่ บาตร์ นั้น.
      ถุง เบี้ย (274:3.13)
               คือ ถุง ที่ สำรับ ใส่ เบี้ย เปน ต้น นั้น.
      ถุง มือ (274:3.14)
               คือ ถุง ที่ สำรับ ใส่ มือ นั้น.
      ถุง ยา (274:3.15)
               คือ ถุง ที่ สำรับ ใส่ ยา นั้น.
ถุ้ง เถียง (274:4)
         คือ คำ คน สอง คน เปน ต้น, โต้ ตอบ แก่งแย่ง กัน ไม่ ถูก กัน, ว่า ต่าง ๆ กัน นั้น.
โถง (274:5)
         คือ สิ่ง ของ ที่ สูง ดู สอาด งาม นั้น, เช่น หอ นั่ง บ้าน ขุน นาง ที่ ไม่ มี ฝา รอบ.
ถอง (274:6)
         คือ คน เอา สอก ถิ้ม กะทุ้ง ลง ที่ หลัง ผู้ อื่น นั้น. ถอง หลัง, คือ เอา สอก ถิ้ม ลง ที่ หลัง นั้น.

--- Page 275 ---
      ถอง หัว (275:6.1)
               ขะแยะ หัว ลง, ถอง อก, ถอง อุระ, ถอง ทรวง.
ถ่อง แท้ (275:1)
         แน่ นอน, รู้ ชัด, เหน ชัด, คือ เหน ประจัก, ฤๅ รู้ เปน แน่ นั้น.
ถ้อง (275:2)
         สาทยาย, เล่า บ่น, ลุย น้ำ, คือ สาทยาย มนต์ ฤๅ คน ลุย ใน น้ำ ฦก, เช่น รุน กุ้ง นั้น.
ถ่วง (275:3)
         กด ไว้, หน่วง ไว้, คือ คน เอา ของ หนัก ผูก เข้า กับ ของ เบา, ถ่วง ให้ จม ลง ใน น้ำ นั้น.
      ถ่วง การ (275:3.1)
               คือ หน่วง การ ไว้ ให้ ช้า นั้น, เหมือน อย่าง การ จะ แล้ว เร็ว แกล้ง ทำ ให้ แล้ว ช้า.
      ถ่วง กิน (275:3.2)
               หน่วง กิน, กด ไว้ กิน, คือ หน่วง ไว้ ให้ ช้า คอย กิน สินบน นั้น, เช่น พวก ตระลาการ กด ความ ไว้.
      ถ่วง เกิน (275:3.3)
               คือ หน่วง ไว้ ให้ ข้า เกิน ประมาณ.
      ถ่วง ของ (275:3.4)
               ถ่วง ความ, ถ่วง ช้า.
      ถ่วง ญาน (275:3.5)
               คือ เอา ของ หนัก ถ่วง ลง ให้ ญาน นั้น, เช่น คน ถ่วง สวิง ให้ หย่อน ลง.
      ถ่วง ดู (275:3.6)
               ถ่วง ตา ชั่ง*. ถ่วง ตา เต็ง.
      ถ่วง น้ำ (275:3.7)
               คือ การ ที่ คน นั่ง ถ่วง ให้ น้ำ ไหล มา นั้น, เช่น คน นั่ง ถ่วง หัว เรือ วิด น้ำ.
      ถ่วง ไว้ (275:3.8)
               ถ่วง แห, ถ่วง อวน.
เถียง (275:4)
         พูด ขัด ขวาง, พูด แก่งแย่ง, คือ ความ ที่ พูด แก่งแย่ง ไม่ ตก ลง กัน นั้น.
      เถียง กัน (275:4.1)
               วิวาท กัน, ไม่ ตกลง กัน, คือ ความ ที่ ต่าง คน ต่าง ว่า ไม่ ตกลง กัน นั้น.
      เถียง ดื้อ (275:4.2)
               เถียง ดึง*, เถียง รั้น, คือ ความ ที่ เถียง รั้น ไป ข้าง ๆ นั้น.
      เถียง บิด ไป (275:4.3)
               เถียง พลิ้ว ไป, เถียง แช เชือน, คือ ความ ที่ คน เถียง แช เชือน บิด พลิ้ว ไป ต่าง ๆ นั้น.
      เถียง เปล่า ๆ (275:4.4)
               เถียง ไม่ ได้ เรื่อง, เถียง กัน ไม่ มี เหตุ, เถียง ลอย ๆ, คือ ความ ที่ แกล้ง เถียง* กัน ด้วย ไม่ มี เหตุ นั้น.
      เถียง รั้น (275:4.5)
               เถียง ดื่อ* ไป, เถียง ดัน ไป, คือ ความ ที่ คน เถียง ดื้อ ไป นั้น, เช่น คน ไจ กระด้าง รู้ ว่า ตัว ผิด ก็ ไม่ ยอม.
      เถียง อึง (275:4.6)
               เถียง อึกกะทึก, เถียง กัน วุ่นวาย, คือ ความ ที่ คน วิวาท เถียง กัน เสียง ดัง นั้น.
เถี้ยง (275:5)
         ตรง, ไม่ แปรปรวน, แท้ จริง, คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ตรง นั้น, เช่น ตวัน เที่ยง, ฤๅ เดือน เที่ยง.
เถิ้ง (275:6)
         เหน ชัด, คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เหน เถ่อ ปรากฎ ชัด นั้น, เช่น เฃา พูด* ว่า ตะเข้ ลอย เถิ้ง ทั้ง ตัว.
ถด (275:7)
         ถอย, ขยับ, เลื่อน ลง, คือ อาการ ขยับ เลื่อน ลง มา, เช่น คน คิด ย่น ย่อ ธ้อ ถอย ใน การ ทั้ง ปวง.
      ถด ถอย (275:7.1)
               ธ้อ ถอย, ย่อ ธ้อ, หด หู่, คือ การ ที่ ธ้อ ถอย นั้น, เช่น คน คิด การ ไป ไม่ ตลอด, แล้ว ถอย หลัง เสีย.
      ถด ลง มา (275:7.2)
               ถอย ลง มา, ลด ลง มา, ขยด ลง มา, คือ การ ที่ นั่ง ขยับ ลง มา นั้น, เช่น คน นั่ง เบียด กัน ขึ้น ไป, แล้ว ขยด ลด ลง มา
ถัด (275:8)
         พ้น ไป น่อย หนึ่ง, คือ การ ที่ ตาม ลำดัพ กัน เข้า ไป นั้น, เช่น คน นั่ง เปน ลำดัพ ถัด ๆ กัน ไป.
      ถัด กัน (275:8.1)
               คือ การ ที่ คน นั่ง เปน ลำดัพ ถัด กัน ไป นั้น, เช่น คน นั่ง กัน ต่อ ๆ ไป เปน ต้น.
      ถัด กัน มา (275:8.2)
               คือ การ ที่ อยู่ ถัด กัน ลง มา นั้น.
      ถัด เข้า ไป (275:8.3)
               ถัด ใต้, ถัด นี้ ไป, ถัด นั้น มา, ถัด ไป, ถัด มา, ถัด ออก ไป.
ถาด (275:9)
         ภาชนะ, เปน ชื่อ ภาชนะ สำรับ ใส่ ของ ต่าง ๆ นั้น.
      ถาด เงิน (275:9.1)
               เปน ชื่อ ถาด ทำ ด้วย เงิน นั้น.
      ถาด ทอง (275:9.2)
               เปน ชื่อ ถาด ที่ ทำ ด้วย ทอง คำ นั้น.
      ถาด ทอง ขาว (275:9.3)
               เปน ชื่อ ถาด ที่ เขา ทำ ด้วย ทอง ขาว นั้น.
      ถาด ทอง แดง (275:9.4)
               ถาด ทอง เหลือง, ถาด ตา ไล.
      ถาด ตะ ทอง (275:9.5)
               เปน ชื่อ ถาด ที่ เขา ถม แล้ว ตะ ทอง คำ ด้วย, เช่น ถาด ตะ ทอง เมือง ละคอน.
      ถาด ถม (275:9.6)
               เปน ชื่อ ถาด ที่ เขา ถมยา ศี ดำ ศี เขียว นั้น, เช่น ถาด ถม เมือง นคร ศรีธรรมราช.
      ถาด น้ำ ชา (275:9.7)
               ถาด หมาก, ถาด ล้าง หน้า.
ถุด (275:10)
         ถ่ม, คือ เสียง ถ่ม น้ำ ลาย นั้น, เช่น คน เกลียด ชัง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ถ่ม น้ำ ลาย ดัง ถุด.
      ถุด น้ำ ลาย (275:10.1)
               ถ่ม น้ำ ลาย คือ อาการ ที่ ถ่ม น้ำ ลาย นั้น, เช่น คน เกลียด ชัง ไม่ ชอบ แล้ว มัก ถ่ม น้ำ ลาย.
ถอด (275:11)
         เปลี่ยน, คือ การ ที่ เอา สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ออก จาก ที่ นั้น, เช่น ถอด ขุนนาง เปน ต้น.

--- Page 276 ---
      ถอด กัน ออก (276:11.1)
               ยก กัน ออก, เปลื้อง กัน ออก, คือ การ ที่ คน ถอด กัน ออก จาก ที่ นั้น.
      ถอด ของ (276:11.2)
               คือ การ ที่ ถอด เครื่อง ประดับ จาก ตัว นั้น.
      ถอด กังเกง (276:11.3)
               ถอด เกือก.
      ถอด คน (276:11.4)
               ถอน คน, คือ การ ที่ เอา คน ออก จาก ตะราง นั้น
      ถอด เครื่อง (276:11.5)
               คือ การ ที่ ถอด เครื่อง แต่ง ตัว นั้น.
      ถอด ชื่อ (276:11.6)
               คือ ความ ที่ ถอด เสีย จาก ชื่อ ตั้ง นั้น, เช่น เขา ไม่ เรียก ตาม ชื่อ ตั้ง.
      ถอด โซร่ (276:11.7)
               ถอด พวง มาไลย, ถอด หมวก, ถอด รอง ท้าว.
      ถอด รูป (276:11.8)
               คือ การ ที่ ถอด รูป ที่ สวม ไว้ นั้น ออก เสีย*, เช่น งู ฤๅ กุ้ง ลอก คราบ.
เถิด (276:1)
         เถอะ, คือ คำ พูด กัน ว่า เถอะ, เช่น คำ เขา พูด กัน ว่า, เรา ไป เถิด ฤๅ.
      เถิด ซี (276:1.1)
               เถอะซิ, คือ เปน คำ ยอม ว่า เจ้า ไป เถอะซี นั้น, เช่น คำ เขา เตือน กัน ว่า เจ้า ไป เธอะซิ เปน ต้น.
      เถิด นา (276:1.2)
               คือ เปน คำ อ้อนวอน ว่า ให้ เสีย เถิด นา นั้น.
      เถิด เอย (276:1.3)
               คือ เปน คำ สำรับ ใส่ ที่ สุด ความ นั้น, เช่น คำ รับ ท้าย เพลง.
ถละ (276:2)
         ฯ สถลมารค, บก, เปน ชื่อ ที่ บก ทั้ง หลาย นั้น, เช่น คำ ว่า ทาง สถลมารค วิถี.
ถรรนะ (276:3)
         ฯ พระ เต้า, นม, เปน ชื่อ นม นั้น, เช่น เขา พูด กัน ว่า ถรรน ยุคล ทั้ง คู่.
      ถัน ธารา (276:3.1)
               ฯ เปน สับท์, ถันะ แปล ว่า นม, ธารา แปล ว่า ธ่อ, รวบ เข้า ด้วย กัน ทั้ง สอง สับท์ แปล ว่า ธ่อ แห่ง น้ำ นม.
ถาน (276:4)
         ที่ ถาน, ถานันดร, เปน ชื่อ ที่ ทั้ง ปวง, ฤๅ เว็จ กุฎ ที่ วัด เช่น ที่ ต่าง ๆ, ฤๅ ถาน ที่ ถ่าย อุจาระ.
      ถาน บัด (276:4.1)
               เปน ชื่อ ที่ ทั้ง ปวง ที่ เขา ก่อ เปน ถาน ปูน เรียก ชุก กะชี, เช่น ถาน พระ ปะฏิมากร.
      ถาน บัว (276:4.2)
               คือ ที่ เขา ก่อ ด้วย อิฐ ถือ ปูน ทำ เปน กลีบ ๆ เหมือน กลีบ ดอก บัว นั้น.
      ถาน พระ (276:4.3)
               ที่ ตั้ง พระ, แท่น พระ, เปน ชื่อ แท่น ที่ เขา ก่อ สำรับ ตั้ง รูป ปฏิมากร นั้น, เช่น ถาร พระ ใน วิหาร เปน ต้น.
ถ่าน (276:5)
         เชื้อ ไฟ ที่ ดับ แล้ว, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ไฟ ไหม้ แล้ว ดับ เปน เชื้อ เหลือ อยู่ เช่น ถ่าน ไฟ.
      ถ่าน เพลิง (276:5.1)
               ถ่าน ไฟ, เปน ชื่อ ถ่าน ทั้ง ปวง, เช่น ถ่าน สำรับ ตี เหล็ก นั้น.
      ถ่าน ไฟ (276:5.2)
               ถ่าน เพลิง, คือ ถ่าน เพลิง ทั้ง ปวง นั้น.
      ถ่าน ไม้ ซาก (276:5.3)
               คือ ถ่าน ที่ เฃา เผา ด้วย ถ่าน ไม้ ซาก, เช่น ถ่าน ที่ เขา ใช้ ทำ ทอง.
      ถ่าน สะแก (276:5.4)
               เปน ชื่อ ถ่าน ไม้ สะแก, เช่น ถ่าน ที่ เขา ใช้ ต้ม น้ำ นั้น.
      ถ่าน หิน (276:5.5)
               เปน ชื่อ ถ่าน ที่ บังเกิด แต่ หิน นั้น, เช่น ถ่าน หิน ที่ กำปั่น ไฟ.
ถิน (276:6)
         เปน ชื่อ กระถิน นั้น, เช่น กระถิน ไท, กระถิน เทศ, กระ- ถิน พิมาน.
ถิ่น (276:7)
         ที่ อยู่, แดน, เขตร์, คือ ที่ เขตร์ แดน, ฤๅ แว่น แคว้น เช่น เขา พูด กัน ว่า, ถิ่น เขา ถิ่น เรา เปน ต้น.
      ถิ่น กู (276:7.1)
               ถิ่น เรา, เปน คำ บอก ว่า ที่ เคย อยู่ ของ เรา, เช่น เขา พูด กัน ว่า ถิ่น ของ เรา นั้น.
      ถิ่น เขา (276:7.2)
               แดน เขา, แว่นแคว้น เขา*, เปน คำ บอก ว่า ที่ เขต แดน ของ เขา, เช่น เขา พูด กัน ว่า ถิ่น ของ เขา.
      ถิ่น ตัว (276:7.3)
               คือ คำ ว่า เปน ถิ่น ถาน ของ ตัว, เช่น ถิ่น ประเทศ ของ ตัว เคย อยู่ นั้น.
      ถิ่น ถาน (276:7.4)
               ที่ ถาน, คือ ที่* นั้น, เช่น เขา พูด กัน ว่า, ถิ่น ถาน บ้าน เมือง เคย อยู่.
      ถิ่น บ้าน (276:7.5)
               ถิ่น ป่า, ถิ่น เรา, ถิ่น เมือง.
ถุน (276:8)
         เอา ฝิ่น ละลาย น้ำ กิน, เปน ชื่อ การ ที่ เอา ฝิ่น มา ละลาย น้ำ แล้ว กิน เข้า ไป นั้น, เช่น คน ถุน ขี้ ยา แก้ เงี่ยน.
      ถุน ขี้ ยา (276:8.1)
               เอา ขี้ ยา ละลาย น้ำ กิน, เปน ชื่อ การ ที่ เอา ขี้ ฝิ่น มา ละลาย น้ำ ร้อน แล้ว ดื่ม เข้า ไป เช่น ถุน ฝิ่น นั้น.
      ถุน ฝิ่น (276:8.2)
               เอา ฝิ่น ละลาย น้ำ กิน, คือ การ ที่ เอา ยา ฝิ่น มา ละ- ลาย น้ำ แล้ว กิน เข้า ไป เช่น คน ถุน ขี้ ยา.
เถน (276:9)
         เนน โค่ง, เนน โต, เนน ใหญ่, เปน ชื่อ เนณ ใหญ่ นั้น, เช่น คน ที่ บวช เปน สงฆ์ แล้ว, สึก ออก แล้ว กลับ บวช เปน เถน อีก.
      เถน โค่ง (276:9.1)
               เนน โต่ง, เนน โต, เปน ชื่อ เนณ โต ๆ แก่ ด้วย*, ที่ ไป เที่ยว เบียต เบียฬ ฃอ เขา, เช่น เณน แก่ ๆ นั้น.

--- Page 277 ---
ถอน (277:1)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ถอน ขน (277:1.1)
               ทิ้ง ขน, คือ การ ที่ ทึ้ง ถอน ขน สัตว ทั้ง ปวง นั้น, เช่น ถอน ขน ไก่ ขน เป็ด.
      ถอน กวาก (277:1.2)
               ทึ้ง ขวาก, ฉุด ขวาก ขึ้น, คือ การ ที่ ทึ้ง ถอน ฃวาก นั้น, เช่น พวก ทหาร ถอน ขวาก น่า ค่าย.
      ถอน ควาย (277:1.3)
               ถ่าย ควาย, คือ การ ที่ เอา เงิน ฤๅ ของ สิ่ง ใด ๆ ไป ถอน เอา ควาย มา นั้น.
      ถอน หงอก (277:1.4)
               คือ ทึ้ง ถอน เส้น ผม ที่ มี ศรี ขาว บน หัว นั้น.
      ถอน ตะปู (277:1.5)
               คือ จะ รื้อ ของ สิ่ง ใด ที่ ตรึง ด้วย เหล็ก ตะปู แล เอา ค้อน เขา แพะ ใส่ เข้า งัด ให้ มัน ขึ้น มา นั้น
      ถอน หนวด (277:1.6)
               ทึ้ง หนวด, คือ การ ที่ เอา แหนบ คีบ เข้า ที่ เส้น หนวด แล้ว ชัก ออก มา นั้น.
      ถอน ใจ ใหญ่ (277:1.7)
               ทอด ใจ ใหญ่, หาย ใจ แรง, หาย ใจ หนัก, คือ การ ที่ คน ถอน หายใจ หนัก ๆ, หายใจ แรง ๆ เช่น คน เปน ทุก ถอน ใจ ใหญ่.
      ถอน ตัณหา (277:1.8)
               คือ การ ที่ ท่าน ถอนความ อยาก, ความ ปราฐนา นั้น, เช่น ท่าน ที่ ถอน ตัณหา ไสย, ด้วย วิปัศนา ปัญญา.
      ถอน ตัว (277:1.9)
               คือ การ ที่ ยก ตัว ออก นั้น, เช่น คน ที่ คบ กัน ผิด ไป แล้ว, ก็ ถอน ตัว ออก เสีย.
      ถอน ยา (277:1.10)
               ถ่าย ยา ออก เสีย, คือ การ ที่ คน ถอน ยา ทั้ง ปวง ที่ กิน เข้า ไป ผิด นั้น, เช่น คน ถอน ยา พิศม์.
ถ่อน (277:2)
         คือ ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เช่น เขา เรียก ว่า ไม้ ทิ้ง ถ่อน.
ถ้อน (277:3)
         คือ ไม้ ทั้ง ปวง ที่ เขา บั่น เปน อัน ๆ, เช่น ก้อนไม้ ถ้อน ฟืน นั้น.
ถ้วน (277:4)
         ครบ, ไม่ ขาล, คือ สิ่ง ของ ที่ ครบ จำนวน นั้น, เช่น ของ ทั้ง ปวง ที่ ไม่ เหลือ ไม่ ขาด.
      ถ้วน ถี่ (277:4.1)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, ที่ ถ้วน ตาม จำนวน ภอ ดี นั้น, เช่น คน มี สติ ตรึก ตรอง มาก.
      ถ้วน หน้า (277:4.2)
               ครบ หน้า, พร้อม หน้า, คือ ความ ที่ มา ครบ หน้า กัน ทุก คน ๆ นั้น, เช่น คน มา พร้อม หน้า กัน.
เถื่อน (277:5)
         ป่า, ไพร, เปน ชื่อ สิ่ง ทั้ง ปวง ที่ เปน ของ ป่า นั้น, เช่น ไก่ เถื่อน ควาย เถื่อน ช้าง เถื่อน.
เถิน (277:6)
         เปน ชื่อ เมือง ลาว ฝ่าย เหนือ แห่ง หนึ่ง นั้น, ย่อม มี อยู่ แคว ระแหง.
ถาบ (277:7)
         ถา, ถลา, คือ อาการ ที่ บิน ถา, ฤๅ บิน ถลา นั้น, เช่น นก บิน ถาบ ถา ลง มา.
ถีบ (277:8)
         ประหาร ด้วย ตีน, คือ การ ที่ ยก ตีน ขึ้น ประหาร ผู้ อื่น* ด้วย ความ โกรธ บ้าง, เล่น กัน บ้าง, เช่น ช้าง ถีบ.
      ถีบ กะเดื่อง (277:8.1)
               เปน ชื่อ การ ที่ คน เอา ตีน ถีบ ที่ กะเดื่อง นั้น, เช่น คน ซ้อม เข้า ด้วย กระเดื่อง.
      ถีบ กระดาน (277:8.2)
               คือ การ ที่ คน ขี่ กระดาน แล้ว ถีบ ไป, เช่น คน ถีบ กระดาน ตาม ชาย ทะเล นั้น.
      ถีบ กัน (277:8.3)
               ประหาร กัน, คือ การ ที่ ถีบ กัน ด้วย ตีน นั้น, เช่น คน โกรธ กัน ขึ้น มา แล้ว ถีบ กัน.
      ถีบ ชิงช้า (277:8.4)
               โล้ ชิง ช้า, เปน ชื่อ การ พิทธี ที่ คน เอา ตีน ถีบ ที่ กะดาน ชิง ช้า โล้ ไป นั้น, เช่น พวก พราหมณ ถีบ ชิง ช้า.
แถบ (277:9)
         ซีก หนึ่ง, ส่วน หนึ่ง, ครึ่ง หนึ่ง, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ส่วน หนึ่ง, ซีก หนึ่ง, ตลอด ไป ตาม ยาว นั้น, เช่น แพร แถบ หนึ่ง, นา แถบ หนึ่ง.
      แถบ เหนือ (277:9.1)
               ข้าง เหนือ, ด้าน เหนือ, เปน ชื่อ ฝ่าย เหนือ นั้น, เช่น ของ ที่ มี อยู่ แถบ เหนือ.
      แถบ บน (277:9.2)
               แถบ เล็ก, แถบ ล่าง, แถบ ใหญ่, แถบ ยาว.
ถอบ แถบ (277:10)
         เปน ชื่อ เถาวัล อย่าง หนึ่ง เขา เรียก เช่น นั้น, ต้น มัน เปน เถา เลื้อย ปลาย ไม้, ใบ มัน แหลม ทำ ยา ได้ บ้าง.
ถม (277:11)
         ใส่, ทุ่ม, คือ การ ที่ เอา สิ่ง ของ ต่าง ๆ ทิ้ง ลง ใน ที่ ลุ่ม ให้ สูง เสมอ กัน นั้น, เช่น คน ถม บ่อ ฤๅ ถม ยา.
      ถมปัด (277:11.1)
               คือ ของ ที่ จีน ทำ เปน รูป ภาชนะ ต่าง ๆ, มี กา ใส่ น้ำ ทำ ด้วย ทอง แดง เปน ต้น, แล้ว เอา เครื่อง ยา ถม ลง ทำ เปน ลวด ลาย ต่าง ๆ.
      ถม ละคอน (277:11.2)
               คือ ของ เปน รูป ภาน เปน ต้น, ทำ ด้วย เงิน แล้ว ลง ยา ทา ด้วย ทอง คำ, ช่าง เมือง ละคอน ทำ ดี มั่นคง นัก.
      ถม เขียว ใส่ ศรี เขียว (277:11.3)
               คือ การ ที่ เอา ยา ศรี เขียว ถม ลง ใน ขัน, ใน ภาน นั้น, เช่น ภาน ถม ศรี เขียว.
      ถม ดำ (277:11.4)
               ทา ศรี ดำ, ใส่ ศรี ดำ, เปน ชื่อ เครื่อง ภาชนะ ทั้ง ปวง ที่ ถม ด้วย ยา ดำ นั้น, เช่น ขัน ถม เมือง ละคอน.
      ถม แดง (277:11.5)
               ทา ศรี แดง, ใส่ ศรี แดง, คือ การ ที่ เอา ยา ศรี แดง ถม ลง ที่ เครื่อง ใช้ ต่าง ๆ นั้น.

--- Page 278 ---
      ถม ดิน (278:11.6)
               ทิ้ง ลง ใน ดิน, เท ลง ใน ดิน, เปน ชื่อ การ ที่ เอา ดิน ถม ลง ที่ ลุ่ม นั้น, เช่น คน เอา ดิน ถม ลง ที่ สระ ที่ บ่อ.
      ถม ตะ ทอง (278:11.7)
               เปน ชื่อ การ ที่ ทำ ซึ่ง รูป ภาน เปน ต้น, เขา ทำ ด้วย เงิน แล สลัก เปน ลาย ต่าง ๆ แล้ว ถม ด้วย ยา ทา ด้วย ทอง คำ นั้น.
      ถม ไป (278:11.8)
               เต็ม ไป, มูน ไป, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ต่าง ๆ ที่ มี มาก หลาย ไพรบูลย์, เช่น เขา พูด กัน ว่า ของ ถม ไป.
      ถมปัด (278:11.9)
               ลง ยา ศรี ต่าง ๆ, คือ เปน ชื่อ เครื่อง ใช้ ที่ ถม เปน ลวด ลาย ต่าง ๆ นั้น. เช่น กา ถมปัด ที่ มา แต่ เมือง จีน.
      ถมยา (278:11.10)
               ลง ยา, คือ การ ที่ เอา ยา ถม ลง ที่ เครื่อง ใช้ ต่าง ๆ นั้น, เช่น ขันถม ภาน ถม,
      ถม ราชาวะดี (278:11.11)
               ลงยา ศรี ต่าง ๆ, คือ การ ที่ ถม ลงยา ศรี ต่าง ๆ นั้น, เช่น พวก ช่าง หลวง ถม เครื่อง มหา กระษัตริย์.
ถ่ม (278:1)
         บ้วน, คือ อาการ ที่ ทำ ของ ให้ กระเด็น ออก จาก ปาก ดัง, เช่น ถ่ม น้ำลาย
      ถ่ม น้ำลาย (278:1.1)
               ถุย น้ำลาย, บ้วน* น้ำ ลาย, เปน ชื่อ การ ที่ คน ทำ ให้ น้ำลาย ออก จาก ปาก ดัง ถุด นั้น, เช่น คน ถ่ม เสลด.
ถาม (278:2)
         ซัก, ไล่ เลียง, คือ ความ ที่ กล่าว คำ เพราะ อยาก จะ ใคร่ รู้, เช่น ตระลาการ ถาม ความ.
      ถาม กัน (278:2.1)
               ซัก กัน, ไล่ เลียง กัน, คือ ความ ที่ คน ซัก กัน ด้วย ประสงค์ อยาก จะ รู้ เหตุ นั้น, เช่น คน ถาม กัน ว่า, เดิม เหตุ นั้น เปน อย่าง ไร.
      ถาม เขา (278:2.2)
               คือ ความ ที่ ไต่ ถาม เขา ถึง เรื่อง ความ ต่าง ๆ นั้น.
      ถาม ข่าว (278:2.3)
               คือ การ ที่ ถาม ข่าว ถึง พวก พ้อง นั้น.
      ถาม ความ (278:2.4)
               คือ การ ที่ ถาม ข้อ ความ* ที่ เขา ฟ้อง หา กัน นั้น.
      ถาม ตาม เรื่อง (278:2.5)
               ถาม ไต่, คือ ไต่ ถาม นั้น, เช่น คน ซัก ไต่ ถาม ถึง เหตุ ผล ทั้ง ปวง ต่าง ๆ.
      ถาม ถึง (278:2.6)
               ถาม เนื้อ ความ, ถาม ใบ้, คือ อาการ ที่ ถาม เปน ใบ้ นั้น. เช่น คน ถาม เปน ปฤษนา.
      ถาม หา (278:2.7)
               คือ ความ ที่ คน ไม่ ได้ เหน ตัว กัน มา ถึง ก็ ถาม ออก ชื่อ ว่า, คน นั้น อยู่ ไหน, ฤๅ ไป ไหน, เพื่อ จะ ใคร่ ภบ นั้น.
      ถาม องค์ (278:2.8)
               คือ ความ ที่ ถาม ตัว นั้น, เช่น คน ทูล ถาม เรื่อง ความ ต่าง ๆ ต่อ องค์ จ้าว.
ถิ้ม (278:3)
         แทง, แหย่, ตำ, คือ การ ที่ ตำ ฤๅ แทง ฤๅ แหย่ นั้น, เช่น สัปะเหร่อ เอา ไม้ ถิ้ม ผี ฤๅ คน ถิ้ม พลั่ว.
      ถิ้ม ตำ (278:3.1)
               ถิ้ม แทง, ถิ้ม แหย่, คือ การ ที่ ทิ้ม แล้ว, ตำ ด้วย นั้น, เช่น คน โขลก ปูน ฤๅ คน กล่าว คำ ถิ้ม ตำ.
ถุ้ม (278:4)
         คือ โมง นั้น, แต่ ทว่า เปน เวลา ค่ำ จึ่ง เรียก ว่า ถุ้ม, เช่น นับ สาม ถุ้ม เปน ยาม หนึ่ง.
แถม (278:5)
         คือ การ เพิ่ม การ เติม ให้ นั้น, เช่น ลูกค้า ซื้อ ของ แล้ว ต้อง แถม ไป ด้วย.
      แถม เติม (278:5.1)
               เพิ่ม ลง ใส่ เข้า อีก, คือ การ ที่ เติม แถม ไป ด้วย นั้น, เช่น คน ซื้อ ของ แล้ว ฃอ แถม เดิม อีก.
      แถม ให้ (278:5.2)
               เติม ให้, คือ การ ที่ แถม สิ่ง ของ เติม มา ให้ นั้น, เช่น คน เขา ซื้อ ของ แล้ว ต้อง แถม ของ ให้ ด้วย
โถม (278:6)
         คือ อาการ ที่ กระโจม เข้า ไป นั้น. เช่น แมลงเม่า โถม เข้า เปลว ไฟ.
      โถม กอด ฅอ (278:6.1)
               โจม กอด ฅอ, กระโดด กอด ฅอ นั้น, คือ การ ที่ กระโจม กอด ฅอ ฤๅ กระโดด กอด ฅอ นั้น, เช่น ลูก โถม กอด ฅอ พ่อ เปน ต้น.
      โถม เข้า มา (278:6.2)
               กระโจม เข้า มา, กระโดด เข้า มา, คือ อาการ ที่ กระโจม เข้า มา นั้น, เช่น เสือ ตะครุบ เนื้อ ฤๅ แมว ตะครุบ หนู.
      โถม ลง น้ำ (278:6.3)
               คือ การ ที่ กระโจน ลง น้ำ นั้น, เช่น พวก เด็ก ๆ กระโดด ลง น้ำ เล่น.
      โถมะนาการ (278:6.4)
               เปน ลับท์ แผลง, แปล ว่า เชย ชม, เหมือน คน เหน การ อัศจรริย์ ที่ ผู้ มี บุญ สำแดง แล ชม ว่า ดี นั้น.
ถ่อม (278:7)
         ถอย, เจียม, คือ การ ที่ เจียม ตัว, เจียม ใจ เจียม วาจา นั้น, เช่น คน ถ่อม กาย วาจา ใจ.
      ถ่อม กาย (278:7.1)
               เจียม ตัว, ต่ำ ตน, คือ อาการ ที่ เจียม ตัว นั้น, เช่น คน ที่ ประพฤษติ์ ต่ำ ตัว.
      ถ่อม ใจ (278:7.2)
               เจียม ใจ, ต่ำ ใจ, คือ อาการ ของ คน ที่ สุภาพ เจียม ใจ นั้น, เช่น คน ไม่ หยิ่ง, ไม่ จองหอง, ไม่ ถือ ตัว.
      ถ่อม ตัว (278:7.3)
               เจียม ตัว, ไม่ ยก ตัว, คือ อาการ ที่ เจียม กาย นั้น, เช่น คน ที่ พูดจา สุภาพ, ไม่ ยก เนื้อ ยอ ตัว.
      ถ่อม ถอย (278:7.4)
               ถด ถอย, ลด หย่อน, ผ่อน ลง, คือ อาการ ที่ ลด ถอย ลง นั้น, เช่น ท่าน ที่ มี วาศนา มาก, ไม่ ถือ ยศ.

--- Page 279 ---
      ถ่อม* วาจา (279:7.5)
               คือ ความ ที่ คน เจียม ถ้อย คำ นั้น, เช่น คน สุภาพ กล่าว คำ ไม่ ยก ตน ข่ม ท่าน.
ถ้วม (279:1)
         กลบ ลบ, ทับ, คือ การ ที่ น้ำ ขึ้น มา มาก จน ลบ ที่ นั้น, เช่น น้ำ ถ้วม บ้าน, ถ้วม เมือง.
      ถ้วม กาย (279:1.1)
               โทรม ตัว, โทรม องค์, คือ อาการ ที่ ถ้วม ตัว นั้น, เช่น คน ยืน อยู่ ใน ที่ น้ำ ฦา ประมาณ เพียง ฅอ.
      ถ้วม บ้าน (279:1.2)
               ลบ บ้าน, กลบ บ้าน, คือ อาการ น้ำ ถ้วม ที่ บ้าน นั้น, เช่น น้ำ ถ้วม บ้าน เมื่อ ระดู เดือน สิบ*สอง
      ถ้วม เมือง (279:1.3)
               ลบ เมือง, กลบ เมือง, คือ อาการ ที่ น้ำ ถ้วม พื้น เมือง นั้น, เช่น น้ำ ถ้วม เมือง กรุง เมื่อ ระดู เดือน สิบ เอ็ด.
ถ่าย (279:2)
         ถอน, ออก จาก ที่, แทน, คือ อาการ ที่ คน เอา สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ออก จาก ที่ เดิม, เอา ไป ไว้ ที่ อื่น นั้น, เช่น คน ถ่าย ถ้วย ชาม
      ถ่าย ข้า (279:2.1)
               วาง เงิน, วาง คน, คือ การ ที่ คน เอา เงิน ไป ถ่าย เอา ข้า มา จาก นาย เงิน เดิม นั้น, เช่น คน วาง เงิน ทาษ.
      ถ่าย ของ ถอน ของ (279:2.2)
               คือ การ ที่ เอา เงิน ไป ถ่าย เอา ของ มา นั้น, เช่น เอา เงิน ไป ถ่าย เอา ของ จำนำ มา เปน ต้น,
      ถ่าย ขน (279:2.3)
               ถอน ขน, ผลัด ขน, เปลี่ยน ขน, คือ อาการ ที่ ผลัด ขน นั้น, เช่น สัตว ทั้ง ปวง ที่ ขน เก่า ร่วง ไป, แล้ว เปลี่ยน ขน ใหม่.
      ถ่าย คน (279:2.4)
               ถอน คน, ช่วย คน, คือ การ ที่ เอา เงิน ไป ช่วย เอา คน มา นั้น, เช่น คน เอา เงิน ไป ถ่าย ข้า มา.
      ถ่าย ควาย (279:2.5)
               ถอน ควาย, เปลี่ยน ควาย, ถ่าย งัว คือ การ ที่ เอา เงิน ไป ถ่าย เอา ควาย มา นั้น, เช่น พวก นักเลง ควาย มัน ถอน ควาย.
      ถ่าย ชาม (279:2.6)
               คือ การ ที่ ถ่าย ของ ออก จาก ชาม นั้น
      ถ่าย ตัว (279:2.7)
               คือ การ ที่ คน เอา เงิน ถ่าย ค่า ตัว มา นั้น.
      ถ่าย โถ (279:2.8)
               คือ การ ที่ ถ่าย สิ่ง ของ ออก จาก โถ นั้น, เช่น คน ถ่าย ชาม เปน ต้น นั้น.
      ถ่าย ถอน (279:2.9)
               คือ การ ที่ คน เอา เงิน ไป ให้ แก่ ผู้ รับ เอา ของ ไว้ จาก ผู้ ร้าย, แล้ว ได้ ของ ของ ตัว คืน มา นั้น.
      ถ่าย ถ้วย (279:2.10)
               เอา ของ ออก จาก ถ้วย, คือ การ ที่ ถ่าย ของ จาก ถ้วย นั้น, เช่น คน ถ่าย ของ กิน จาก โถ เปน ต้น.
      ถ่าย ท้อง (279:2.11)
               ทุเลา ท้อง, รุะท้อง, คือ การ ที่ คน ทำ อุจาระ ให้ เหลว ไหล ออก จาก ท้อง นั้น เช่น คน กิน ยา ถ่าย เปน ต้น.
      ถ่าย น้ำ (279:2.12)
               เปลี่ยน น้ำ, เอา น้ำ ออก จาก ที่, คือ การ ที่ ถ่าย ของ น้ำ เก่า ออก เสีย นั้น, เช่น คน ถ่าย น้ำ ตุ่ม นี้ ไป ใส่ ตุ่ม โน้น เปน ต้น.
      ถ่าย บาตร (279:2.13)
               เอา ของ ออก จาก บาตร, คือ การ ที่ ถ่าย สิ่ง ของ ออก จาก บาตร นั้น, เช่น เด็ก วัด ถ่าย เข้า สุก จาก บาตร เปน ต้น.
      ถ่าย บาป (279:2.14)
               รับ เอา บาป, คือ การ ที่ ถ่าย บาป ออก เสีย จาก คน นี้ คน นั้น นั่น, เช่น พระ เยซู ถ่าย โทษ.
      ถ่าย ยา (279:2.15)
               รุะ ยา, คือ ถ่าย ท้อง ด้วย นั้น, เช่น คน กิน ยา ใส่ ดีเกลือ ให้ ถ่าย ท้อง.
      ถ่าย โรค (279:2.16)
               ทุเลา โรค, คือ คน กิน ยา ถ่าย ให้ โรค ออก จาก ตัว นั้น.
      ถ่าย อาจม (279:2.17)
               เปน ชื่อ อาการ ที่ คน ยัง อาหาร ค้าง ท้อง ให้ ออก จาก ท้อง, เช่น ถ่าย อุจาระ.
ถุย (279:3)
         ถ่ม, ขาก, คือ การ ที่ ถ่ม นั้น, เช่น คน ถ่ม น้ำลาย ฤๅ ขาก เสลด ถ่ม ออก จาก ปาก.
      ถุย น้ำลาย (279:3.1)
               ถ่ม น้ำลาย, ขาก น้ำลาย, บ้วน น้ำลาย*, คือ การ ที่ ถ่ม น้ำลาย นั้น, เช่น คน เหน สิ่ง ของ โสโครก พึง เกลียด ถ่ม น้ำลาย.
      ถุย น้ำลาย (279:3.2)
               คือ ถ่ม น้ำลาย ออก จาก ปาก, มี เสียง ดัง เช่น นั้น.
แถว (279:4)
         แนว, กระแส, ทาง, คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ตั้ง เรียง กัน ต่อ ๆ ไป นั้น, เช่น คน ยืน เปน แถว ๆ
      แถว กลาง (279:4.1)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ตั้ง เรียง กัน เปน แถว อยู่ กลาง นั้น.
      แถว เดียว (279:4.2)
               แนว เดียว, ทาง เดียว คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เรียง กัน เปน แถว อัน หนึ่ง นั้น.
      แถว ใต้ (279:4.3)
               คือ การ สิ่ง ของ ที่ ตั้ง เปน แถว ข้าง ทิศ ใต้
      แถว ทาง (279:4.4)
               คือ ทาง ทั้ง ปวง ที่ เตียน ตลอด เปน แถว ไป นั้น.
      แถว ทุ่ง (279:4.5)
               คือ ท้อง ทุ่ง ที่ แล ดู เตียน ตลอด เปน แถว ไป นั้น.
      แถว ทิว (279:4.6)
               คือ ทิว ไม้ ทั้ง ปวง ที่ เรียง กัน เปน แถ อยู่ ๆ นั้น.
      แถว นา (279:4.7)
               คือ นา ที่ เขา ทำ เรียง กัน เปน แถว ๆ อยู่ นั้น.

--- Page 280 ---
      แถว ไหน (280:4.8)
               เปน คำ ถาม กัน ว่า, นั่ง อยู่ แถว ไร เล่า นั้น.
      แถว ใน (280:4.9)
               คือ มิ ใช่ แถว นอก นั้น,
      แถว น้ำ (280:4.10)
               คือ กระแส น้ำ ที่ ไหล เปน แถว ไป นั้น.
      แถว หนึ่ง (280:4.11)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ตั้ง เรียง กัน อยู่ แถว เดียว* นั้น.
      แถว แนว (280:4.12)
               คือ ระเบียบ หลาย อย่าง มี ระเบียบ ต้น ไม้ ฤๅ แพ เปน ต้น.
      แถว บก (280:4.13)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ มี อยู่ ตาม แถว บน บก นั้น.
      แถว บน (280:4.14)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ มี อยู่ ตาม แถบ บน นั้น.
      แถว บ้าน (280:4.15)
               คือ บ้าน ที่ ตั้ง เรียง กัน เปน แถว ไป นั้น.
      แถว ป่า (280:4.16)
               คือ ป่า ทั้ง ปวง ที่ ติด เนื่อง กัน เปน แถว ไป นั้น.
      แถว พล (280:4.17)
               คือ แถว พวก พล นั้น.
      แถว พุ่ม (280:4.18)
               คือ พุ่ม ที่ ตั้ง เปน แถว ไป นั้น.
      แถว ไม้ (280:4.19)
               คือ ต้น ไม้* ที่ ขึ้น เปน แถว ไป นั้น.
      แถว ยืด (280:4.20)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ติด กัน โยง ยืด เปน แถว ไป นั้น.
      แถว เรื่อง (280:4.21)
               คือ เรื่อง* ความ ทั้ง ปวง ที่ เรียง กัน เปน แถว ไป นั้น,
      แถว เรียง (280:4.22)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เรียง กัน เปน แถว ไป นั้น.
      แถว เรือน (280:4.23)
               คือ อาการ เรือน ที่ ตั้ง เรียง กัน เปน แถว ไป นั้น.
      แถว รอบ (280:4.24)
               คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เปน แถว วง ไป รอบ นั้น.
      แถว รั้ว (280:4.25)
               แถว หลัง, แถว ล่าง, แถว วง, คือ อาการ สิ่ง ทั้ง ปวง ที่ วง เปน แถว ไป นั้น.
      แถว วัง (280:4.26)
               แถว วัด, แถว สระ.
ถอย (280:1)
         ย่อ ท้อ, คือ เคลื่อน กลับ มา จาก ที่ นั้น, เช่น ถอย เรือ ฤๅ ถอย หลัง ฤๅ ถอย ทัพ.
      ถอย กลับ (280:1.1)
               ท้อ กลับ, ล่า กลับ, คือ* กลับ ถอย ลง มา นั้น, เช่น คน ขึ้น ไป เมือง เหนือ แล้ว ถอย ลง มา เมือง ใต้ เปน ต้น นั้น.
      ถอย เข้า (280:1.2)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ถอย เข้า มา นั้น, เช่น ถอย เข้า เมือง ฤๅ ถอย เรือ เข้า อู่ เปน ต้น.
      ถอย (280:1.3)
               ขยับ, คือ ทำ ให้ ของ สิ่ง ใด ๆ มี รั้ว บ้าน เปน ต้น, กะถด เลื่อน เข้า ฤๅ ออก ไป ข้าง ซ้าย ข้าง ขวา นั้น.
      ถอย ความ เพียร หย่อน ความ เพียร (280:1.4)
               คือ ความ หมั่น ถอย ไป นั้น, เช่น คน ถอย จาก ความ อุษส่าห์.
      ถอย จาก ที่ (280:1.5)
               ย่น ย่อ จาก ที่, ย่อ หย่อน จาก ที่, คือ การ เคลื่อน จาก ที่ นั้น.
      ถอย ทรัพย์ (280:1.6)
               คือ ความ ที่ ถอย จาก ทรัพย์ สมบัติ นั้น, เช่น ผู้ ดี ตก ยาก เปน ต้น นั้น
      ถอย ไป (280:1.7)
               ธ้อ ไป, ย่อ ไป, คือ การ เคลื่อน กลับ แล้ว ก็ ไป นั้น.
      ถอย กำลัง (280:1.8)
               ธ้อ กำลัง, ย่อ หย่อน กำลัง, คือ ความ ที่* กำลัง น้อย ลง นั้น เอง.
      ถอย ทัพ (280:1.9)
               คือ การ ที่ ยก ทัพ ถอย มา นั่น. เช่น แม่ ทัพ ล่า ทัพ ถอย มา จาก ที่ รบ.
      ถอย ยศ (280:1.10)
               เสื่อม ยศ, คือ ความ ที่ วาศนา ฤๅ ยศ ศักดิ์ ถอย ลง, เช่น ถอด ขุนนาง ผู้ ใหญ่ เสีย จาก ที่.
      ถอย ศักดิ์ (280:1.11)
               คือ ความ ที่ ศักดิ์นา ถอย ต่ำ ลง นั้น.
      ถอย สีน (280:1.12)
               เสื่อม จาก ทรัพย์*, คือ ความ ที่ เข้า ของ เงิน ทอง ถอย น้อย ลง นั้น.
      ถอย หน้า ถอย หลัง (280:1.13)
               คือ การ เลื่อน ไป ข้าง น่า ฤๅ เลื่อน มา ข้าง หลัง นั้น.
ถ่อย (280:2)
         ความ ชั่ว, การ มิ ดี, การ อุบาทว์, เปน คำ ด่า ถึง คน ทำ ความ ชั่ว ต่าง ๆ นั้น, เช่น เขา ด่า กัน ว่า อ้าย ถ่อย นั้น.
ถ้อย (280:3)
         คำ, วาจา. เปน คำ ที่ กล่าว วาจา ที่ พูด นั้น, เช่น คำ สุภาสิต ว่า, วาศนา น้อย กล่าว ถ้อย บอ ยิน.
      ถ้อย คำ (280:3.1)
               พูด คำ, คือ วาจา ที่ พูด ต่าง ๆ นั้น, เช่น เขา พูด กัน ว่า, ถ้อย คำ มั่นคง นั้น.
      ถ้อย ความ (280:3.2)
               กล่าว ความ, เรื่อง ความ, คือ ข้อ คะดี วิ วาท กัน ต่าง ๆ นั้น, เช่น เขา พูด กัน ว่า, เปน ถ้อย เปน ความ.
      ถ้อย ที ถ้อย ด่า (280:3.3)
               ต่าง คน ต่าง ด่า, เอง ด่า กู กู ด่า เอง, คือ ต่าง คน ต่าง ด่า กัน นั้น, เช่น คน ทะเลาะ ด่า ทอ กัน นั้น
      ถ้อย ที ถ้อย ว่า (280:3.4)
               ต่าง คน ต่าง ว่า, เอง ว่า กู กู ว่า เอง, คือ ต่าง คน ต่าง ว่า กัน นั้น, เช่น คน วิวาท เถียง กัน.
ถ้วย (280:4)
         ชาม เล็ก ๆ, ชาม จิ๋ว ๆ, เปน ชื่อ ชาม เล็ก ๆ ที่ ทำ ด้วย ดิน นั้น, เช่น ถ้วย ชา ที่ มา แต่ เมือง จีน นั้น.

--- Page 281 ---
      ถ้วย กะบอก (281:4.1)
               คือ ถ้วย เล็ก ๆ, ที่ รูป เหมือน กะบอก นั้น, เช่น ถ้วย ที่ มา แต่ เมือง อังกฤษ.
      ถ้วย ชา (281:4.2)
               ถ้วย น้ำ ร้อน, ถ้วย กิน น้ำชา, คือ ถ้วย เล็ก ๆ, ที่ สำรับ กิน น้ำ ชา นั้น, เช่น ถ้วย สำรับ กิน น้ำ กาแฟ* เปน ต้น.
      ถ้วย น้ำ พริก (281:4.3)
               เปน ชื่อ ถ้วย เล็ก ๆ, ที่ พวก ไท สำรับ ใส่ น้ำพริก นั้น.
      ถ้วย ปากไปล่ (281:4.4)
               ถ้วย ปาก แปร, ถ้วย* ปาก แปล้, คือ ถ้วย เล็ก ๆ ที่ ปาก มัน ไปล่ แปล้ อยู่ นั้น, เช่น ปาก แตร.
เถี้ยว (281:1)
         คือ การ ที่ คน ไป ข้าง โน้น. มา ข้าง นี้ นั้น.
เถือ (281:2)
         แล่, เชือด, เปน ชื่อ การ เอา มีด แล่ เนื้อ ฤๅ เชือด เนื้อ* นั้น, เช่น เอา มีด เถือ เนื้อ สัตว ต่าง ๆ.
      เถือ กระดูก (281:2.1)
               คือ การ ที่ เอา มีด เถือ ลง ที่ กระดูก นั้น, เช่น พวก เจ็ก ขาย หมู เปน ต้น นั้น.
      เถือ เนื้อ (281:2.2)
               คือ การ ที่ เอา มีด ถือ ลง ที่ เนื้อ ทั้ง ปวง นั้น.
      เถือ หนัง. แล่หนัง (281:2.3)
               เชือด หนัง, คือ การ ที่ เอา มีด เถือ เข้า ที่ หนัง นั้น, เช่น คน ครัว หัน หนัง หมู
เถอะ (281:3)
         ว่า อยุด, ว่า เท่า นั้น, ว่า เพียง นั้น, เปน คำ เขา พูด ห้าม.
ถัว (281:4)
         คละ ระคน, ปะปน, เปน ชื่อ การ ที่ เฉลี่ย เรี่ย ราย ปะ ปน ทั่ว กัน ไป นั้น, เช่น เก็บ เงิน ข้า ราชการ ถัว กัน ไป ทั้ง กรม.
ถั่ว (281:5)
         เปน ชื่อ ผัก อย่าง หนึ่ง เปน เถา มี ฝัก, เมล็ด นั้น มี ศรี ต่าง ๆ หลาย อย่าง หลาย พรรณ์, เช่น ถั่ว เขียว ถั่ว ดำ.
      ถั่ว กะเป๋า (281:5.1)
               เปน ชื่อ ถั่ว อย่าง หนึ่ง เมล็ด มัน เหมือน รูป กะเป๋า นั้น, เหมือน ถั่ว ที่ เขา ถวาย ใน หลวง.
      ถั่ว ขาว (281:5.2)
               เปน ชื่อ ถั่ว อย่าง หนึ่ง เมล็ด นั้น ศรี ขาว.
      ถั่ว เขียว (281:5.3)
               เปน ชื่อ ถั่ว อย่าง หนึ่ง เมล็ด นั้น ศรี เขียว, เช่น ถั่ว เขียว ที่ เขา ใช้ ทำ ขนม ต่าง ๆ.
      ถั่ว ฃอ (281:5.4)
               เปน ชื่อ ถั่ว อย่าง หนึ่ง ฝัก มัน งอ คล้าย ๆ ฃอ นั้น.
      ถั่ว คิ้ว นาง (281:5.5)
               เปน ชื่อ ถั่ว อย่าง หนึ่ง ฝัก มัน ค้อม ดัง คิ้ว นาง.
      ถั่ว ดำ (281:5.6)
               เปน ชื่อ ถั่ว อย่าง หนึ่ง เมล็ด มัน ดำ ๆ นั้น.
      ถั่ว ทอง (281:5.7)
               เปน ชื่อ ถั่ว อย่าง หนึ่ง เมล็ด เหลือง ดัง ศรี ทอง นั้น.
      ถั่ว งอก (281:5.8)
               เปน ชื่อ เมล็ด ถั่ว ทั้ง ปวง ที่ งอก นั้น, เช่น ถั่ว* งอก ที่ เขา ขาย ตาม ท้อง ตลาด.
      ถั่ว ดอง. (281:5.9)
                เปน ชื่อ ถั่ว ที่ เขา ดอง ไว้ ให้ เปรี้ยว ๆ เค็ม ๆ นั้น.
      ถั่ว แปบ (281:5.10)
               เปน ชื่อ ถั่ว อย่าง หนึ่ง ที่ ฝัก* แบน แปบ ๆ อยู่ นั้น.
      ถั่ว ผี (281:5.11)
               เปน ชื่อ ถั่ว อย่าง หนึ่ง ฝัก เล็ก ๆ เมล็ด ดำ ๆ นั้น.
      ถั่ว ฝัก ยาว (281:5.12)
               เปน ชื่อ ถั่ว อย่าง หนึ่ง ฝัก มัน ยาว ๆ นั้น.
      ถั่ว แทง (281:5.13)
               คือ คน พวก นักเลง แทง ถั่ว ที่ เขา เล่น เบี้ย บ่อน กัน มี สอง ฝ่าย เปน ผู้ กำ เบี้ย ฝ่าย หนึ่ง ผู้ แทง ฝ่าย หนึ่ง.
      ถั่วพู (281:5.14)
               เปน ชื่อ ถั่ว อย่าง หนึ่ง ที่ ฝัก มัน เปน พู ๆ นั้น.
      ถั่ว พร้า (281:5.15)
               เปน ชื่อ ถั่ว อย่าง หนึ่ง ที่ ฝัก มัน แบน ๆ นั้น. เช่น รูป พร้า อะรัญวาสี.
      ถั่ว แม่ ตาย (281:5.16)
               เปน ชื่อ ถั่ว อย่าง หนึ่ง ที่ เขา ปลูก ตาม ไร่ ภอ เปน ฝัก ต้น ก็ ตาย เมล็ด มัน เช่น ถั่ว แระ.
      ถั่ว ยาสง (281:5.17)
               เปน ชื่อ ถั่ว อย่าง หนึ่ง ที่ เปน ฝัก ตาม ราก ใน ดิน นั้น.
      ถั่ว ราชมาศ (281:5.18)
               เปน ชื่อ ถั่ว อย่าง หนึ่ง ฝัก เปน ขน ๆ นั้น. เช่น* ถั่ว แม่ตาย.
      ถั่ว แระ (281:5.19)
               เปน ชื่อ ถั่ว อย่าง หนึ่ง ต้น โต ฝัก เปน ขน เมล็ด กิน ได้.
      ถั่ว เราะ (281:5.20)
               คือ ถั่ว เขียว ที่ เขา ขั้ว ให้ สุก แล้ว เราะ เอา เปลือก ออก เสีย นั้น, เหมือน อย่าง ถั่ว ที่ เขา โรย นา เข้า เหนียว มูน กะธี.
      ถั่วเสี้ยน (281:5.21)
               เปน ชื่อ ถั่ว อย่าง หนึ่ง ฝัก เล็ก ๆ เมล็ด ดำ ๆ มี อยู่ ตาม ทุ่ง นา.
      ถั่ว อ้น (281:5.22)
               เปน ชื่อ ถั่ว อย่าง หนึ่ง ฝัก อ้วน ๆ สำรับ แกง กิน นั้น, เช่น ถั่ว ฝัก ยาว.
เถาะ (281:6)
         เปน ชื่อ แห่ง ปี* ที่ สี่ นั้น, เช่น ปี เถาะ เปน ชาติ* กต่าย นั้น.
ถ่อ (281:7)
         ค้ำ, กราน ลง, คือ ไม้ ยาว ประมาณ สิบศอก ข้าง ต้น ใส่ เหล็ก เปน สอง ง่าม, เช่น ถ่อ เรือ ขึ้น เหนือ นั้น.
      ถ่อ กาย (281:7.1)
               ตะเกียก เดิน, คือ การ ที่ คน แก่ อุษส่าห์ เดิน ทาง ไกล นั้น, เปรียบ เช่น คน ถ่อ กาย ไป เหมือน ถ่อ เรือ.
      ถ่อ ง่าม (281:7.2)
               คือ ลำ ไม้ ไผ่ ยาว ประมาณ เจ็ด ศอก แปด ศอก, เขา เอา เหล็ก ทำ เปน ง่าม* คล้าย เขา ควาย, ใส่ ไว้ ที่ ข้าง ต้น สำรับ ค้ำ ให้ เรือ ไป นั้น.

--- Page 282 ---
      ถ่อ แพ (282:7.3)
               ค้ำ แพ, คือ การ ที่ เอา ถ่อ ค้ำ แพ ล่อง ลง มา นั้น, เช่น คน ถ่อ แพ ล่อง ลง มา จาก เหนือ.
      ถ่อไม้ (282:7.4)
               ค้ำ ไม้, คือ การ ที่ เอา ถ่อ มา ถ่อ เอา ไม้ ไป นั้น, เช่น ถ่อ ไม้ ซุง ล่อง ใป.
      ถ่อ เรือ (282:7.5)
               ค้ำ เรือ, กราน เรือ, คือ การ ที่ ถ่อ เรือ ไป ด้วย ถ่อ นั้น
(282:1)
         
ทรพี (282:2)
         เปน ชื่อ ควาย มี ฤทธิ์ ตัว หนึ่ง, มี ใน เรื่อง รามะเกรียติ ว่า มัน สู้ กับ พระยา ภาลี ๆ ฆ่า มัน ตาย นั้น.
ทรพิศม์ (282:3)
         ฝี ดาษ, เปน ชื่อ โรค ฝี ดาษ เขา เรียก เปน คำ ดี.
ทา (282:4)
         ลูบ ไล้, ผัด ผิว, ฉะโลม, คือ การ ลูบ ไล้ ทั้ง ปวง นั้น, เช่น คน ทา แป้ง แต่ง ตัว นั้น.
      ทา กระแจะ (282:4.1)
               ฉะโลม กระแจะ, ลูบ ไล้ กระแจะ, ผัด ด้วย กระแจะ, คือ การ ที่ เอา กระแจะ เครื่อง หอม มา ทา นั้น.
      ทา แก้ม (282:4.2)
               คือ การ ที่ เขา ทา ที่ แก้ม นั้น.
      ทา ขะมิ่น (282:4.3)
               คือ การ เอา ขะมิ่น ทา ที่ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง นั้น, เช่น เด็ก ทา ขะมิ่น นั้น.
      ทา ขาว (282:4.4)
               คือ การ ที่ เอา ของ ศรี ขาว ทา ที่ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง นั้น.
      ทา เขียว (282:4.5)
               คือ การ เอา ของ ศรี เขียว ทา สิ่ง ของ ทั้ง ปวง นั้น.
      ทา ดำ (282:4.6)
               คือ การ ทา ด้วย ของ ศรี ดำ นั้น
      ทา เครื่อง ปรุง (282:4.7)
               คือ ทา เครื่อง หอม มี กระแจะ เปน ต้น, เพราะ เขา เอา ของ หอม หลาย สิ่ง ประสม เข้า กัน จึ่ง เรียก ว่า.
      ทาระกรรม (282:4.8)
               คือ ความ ที่ ทำ ธรมาน ให้ ผู้ อื่น ได้ ความ ลำบาก ต่าง ๆ นั้น ว่า.
      ทารก (282:4.9)
               ลูก อ่อน, เด็ก แดง, ลูก เล็ก, เปน ชื่อ คน ทั้ง ปวง ที่ เกิด มา ใหม่ ๆ นั้น, เช่น เด็ก อ่อน ๆ ที่ คลอด ได้ วัน หนึ่ง สอง วัน เปน ต้น.
      ทา ยาด (282:4.10)
               ว่า งาม ครั้น อยู่, คือ ว่า งาม ครัน อยู่, มาก ครัน อยู่ เปน ต้น.
      ทา ศรี (282:4.11)
               คือ การ ที่ เอา ศรี ต่าง ๆ ทา สิ่ง ของ ทั้ง ปวง นั้น, เช่น คน ทา สิ่ง ของ ด้วย ศรี เขียว ศรี แดง เปน ต้น.
      ทา หิด (282:4.12)
               ฉะโลม หิด, อาบ หิด ด้วย ยา, คือ การ* ที่ เอา ยา ทา หิด นั้น, เช่น คน ทา หิด ด้วย ยา ต่าง ๆ นั้น.
      ทายาท (282:4.13)
               แปล ว่า มี ผล เพราะ กรรม ให้, เช่น ผู้ ที่ ได้ รับ มรดก เปน ต้น นั้น,
      ทายก (282:4.14)
               มรรค นายก, เปน ชื่อ บุคล ที่ เปน ผู้ ให้ แก่ พระสงฆ นั้น, เช่น คน เปน เจ้า ของ ทาน.
ทารา (282:5)
         ภรรยา, เมีย, ว่า ภรรยา ทั้ง ปวง นั้น, ผู้ หญิง ที่ เปน เมีย ของ ผู้ ชาย* ทั้ง ปวง.
ทาริกา (282:6)
         หญิง เด็ก, กุมารี, เปน ชื่อ พวก หญิง เด็ก ๆ ทั้ง ปวง นั้น, เช่น หญิง ที่ มี อายุ ได้ เก้า ขวบ.
ทาระมา (282:7)
         ทรมาน, ตรำ ตราก, คือ ความ ที่ ต้อง ความ ลำบาก ต่าง ๆ นั้น, เช่น คน ต้อง ตรำ แดด ตรำ ฝน.
ทาระกรรม (282:8)
         ตรำ แดด, ตรำ ฝน, ทรมาน, คือ การ ที่ แกล้ง กระทำ ให้ ได้ ความ ลำบาก นั้น, เช่น การ มัด คน ตาก* แดด แช่ น้ำ.
ทารก (282:9)
         ลูก อ่อน, เด็ก แดง, ลูก แดง, เปน ชื่อ เด็ก อ่อน ทั้ง ปวง นั้น, เช่น ลูก อ่อน ที่ คลอด แล้ว ได้ เดือน หนึ่ง.
ทารุน (282:10)
         หยาบ ช้า, การ ชั่ว. การ ลามก. เปน ชื่อ การ หยาบช้า ทั้ง ปวง นั้น, เช่น คน กระทำ เวร ทั้ง ห้า ด่า พ่อ ตี แม่.
ทาษา (282:11)
         ข้า ชาย, บ่าว ชาย, ทาษ ชาย, เปน ชื่อ ข้า ที่ เปน ผู้ ชาย นั้น, เช่น บ่าว ผู้ ชาย ทั้ง ปวง ที่ ตาม หลัง พวก ขุนนาง.
ทาษี (282:12)
         ข้า หญิง, บ่าว หญิง, ทาษ หญิง, เปน ชื่อ ข้า หญิง ทั้ง ปวง นั้น, เช่น บ่าว ผู้ หญิง ทั้ง ปวง ที่ ตาม หลัง เมีย ขุนนาง เปน ต้น.
ท่า (282:13)
         ตีน น้ำ, น่า ตลิ่ง, เปน ชื่อ ที่ ริม น้ำ ทั้ง ปวง สำรับ เปน ท่า ขึ้น ลง นั้น, เช่น ท่า เกียน ท่า ข้าม ท่า ช้าง.
      ท่า กำปั่น จอด (282:13.1)
               ที่ กำปั่น จอด, เปน ชื่อ ท่า ที่ สำรับ จอด กำปั่น นั้น, เช่น ท่า ของ พวก นาย ห้าง พ่อ ค้า.
      ท่า เกวียน (282:13.2)
               เปน ชื่อ ท่า ที่ สำรับ เข็น เกวียน ลง มา จอด นั้น, เช่น ท่า พระบาท.
      ท่า ข้าม (282:13.3)
               เปน ชื่อ ท่า ที่ สำรับ เปน ที่ ข้าม ไป ข้าม มา นั้น, เช่น ท่า ที่ ช้าง ม้า งัว ควาย ข้าม ไป มา เปน ต้น.

--- Page 283 ---
      ท่า คา (283:13.4)
               เปน ชื่อ บ้าน ตำบล หนึ่ง, เพราะ ที่ นั้น เหน จะ เปน ท่า สำรับ เอา คา ขึ้น ลง นั้น.
      ท่า ค่าย (283:13.5)
               เปน ชื่อ บ้าน แห่ง หนึ่ง, เพราะ บ้าน นั้น เหน จะ เปนท่า สำรับ ตั้ง ค่าย นั้น.
      ท่า คอย (283:13.6)
               เปน ชื่อ แห่ง บ้าน อัน หนึ่ง, เขา ร้อง เรียก ว่า บ้าน ท่าคอย.
      ท่า คล้อ (283:13.7)
               เปน ชื่อ บ้าน อัน หนึ่ง,. อยู่ ใน คลอง มะขาม เถ้า, เพราะ ที่ ท่า ตำบล นั้น มี ไม้ คล้อ มาก.
      ท่า ฉนวน (283:13.8)
               เปน ชื่อ* ท่า ที่ ทำ ฉนวน ลง มา นั้น, เช่น ฉนวน ที่ ลง ท่า ตำหนัก น้ำ.
      ท่า ซุง (283:13.9)
               คือ ท่า ที่ สำรับ ลาก ซุง ลง นั้น. อนึ่ง เปน ชื่อ บ้าน มี อยู่ ที่ หัว เมือง ฝ่าย เหนือ.
      ท่า ซ่าน (283:13.10)
               เปน ชื่อ* บ้าน แห่ง หนึ่ง, เขา เรียก ว่า บ้าน ท่าซ่าน มี อยู่ ใน เมือง ประจิม นั้น.
      ท่า ทราย (283:13.11)
               คือ ท่า ที่ ประกอบ ไป ด้วย ทราย นั้น. อนึ่ง เปน ชื่อ วัด เขา เรียก วัด ท่าทราย อยู่ ใน แขวง กรุง เก่า.
      ท่า แดง (283:13.12)
               เปน ชื่อ บ้าน อัน หนึ่ง เขา เรียก ว่า บ้าน ท่า แดง นั้น. อนึ่ง คือ ท่า ประกอบ ด้วย ดิน แดง.
      ท่า ดิน แดง (283:13.13)
               เปน ชื่อ ท่า แห่ง หนึ่ง เหน จะ เปน เพราะ ท่า นั้น, มี ดิน แดง เปน ต้น นั้น.
      ท่า ตะกูด (283:13.14)
               เปน ชื่อ ท่า อัน หนึ่ง นั้น, เพราะ ท่า นั้น เขา เข็น ไม้ ตะกูด ลง มาก.
      ท่า เตียน (283:13.15)
               คือ ท่า ทั้ง ปวง ที่ ไม่ วก นั้น, เช่น น่า ท่า แถบ ทาง พระบาท.
      ท่า ทาง (283:13.16)
               ท่วง ที. อาการ, ลักษณา, คือ ท่า น้ำ แล หน ทาง นั้น, เช่น เขา พูด กัน ว่า ดู ท่า ทาง ให้ ดี เปน ต้น.
      ท่า ทอง (283:13.17)
               เปน ชื่อ ท่า แห่ง หนึ่ง นั้น, เช่น บ้าน ท่า ทอง เปน ต้น.
      ท่า ทด (283:13.18)
               เปน ชื่อ ท่า นั้น เอง, เพราะ ท่า นั้น เปน ที่ สำรับ ปิด ทำนบ ทด น้ำ ไว้ เปน ต้น.
      ท่า น้ำ (283:13.19)
               เปน ชื่อ* ท่า ทั้ง ปวง ที่ ลง สู่ น้ำ นั้น, เช่น ท่า ที่ สำรับ อาบ น้ำ เปน ต้น.
      ท่า โน้น (283:13.20)
               เปน ชื่อ ท่า ทั้ง ปวง ที่ มี ต่อ เบื้อง น่า ไป นั้น, เช่น เขา พูด กัน ว่า ไป ลง ท่า โน้น เปน ต้น.
      ท่า โบฎ (283:13.21)
               เปน ชื่อ ท่า อัน หนึ่ง มี อยู่ ปลาย น้ำ เมือง สุพรรณ บูรี นั้น.
      ท่า บน (283:13.22)
               คือ ท่า ทั้ง ปวง ที่ มี อยู่ ข้าง เหนือ นั้น, เช่น เขา พูด กัน ว่า เรา ไป ท่า บน เปน ต้น.
      ท่า บ้าน (283:13.23)
               คือ ท่า ทั้ง ปวง ที่ มี บ้าน นั้น, เช่น ท่า บ้าน ล่าง ท่า บ้าน บน เปน* ต้น.
      ท่า ผา (283:13.24)
               เปน ชื่อ ท่า แห่ง หนึ่ง เพราะ ท่า นั้น มี หิน มาก, เช่น ท่า ราบ ท่า ผา เปน ต้น นั้น.
      ท่า โพ (283:13.25)
               เปน ชื่อ บ้าน อัน หนึ่ง อยู่ ใน แขวง เมือง อุไทย, เช่น เขา เรียก ว่า ไป บ้าน ท่า โพ เปน ต้น.
      ท่า พูด (283:13.26)
               เปน ชื่อ แห่ง บ้าน แห่ง หนึ่ง นั้น, เช่น เขา เรียก ว่า บ้าน ท่า พูด เปน ต้น.
      ท่า ไม้ (283:13.27)
               เปน ชื่อ ท่า แห่ง หนึ่ง, เช่น ท่า ไม้ ที่ แขวง เมือง ไชยนาท เปน ต้น.
      ท่า แร้ง (283:13.28)
               เปน ชื่อ ท่า แห่ง หนึ่ง มี อยู่ ใน แขวง เมือง นคร ไชยศรี นั้น, เขา เรียก ว่า บ้าน อีลำท่าแร้ง.
      ท่า ราบ (283:13.29)
               เปน ชื่อ ท่า แห่ง หนึ่ง อยู่ ใน แขวง เมือง สระ บูรีย นั้น, เพราะ ท่า นั้น มี ทราย เสมอ ราบ.
      ท่า เรือ (283:13.30)
               เปน ชื่อ ท่า บ้าน แห่ง หนึ่ง. เพราะ ท่า บ้าน นั้น สำรับ เปน ที่ เรือ จอด, เช่น ท่า เรือ พระบาท.
      ท่า ล่อ (283:13.31)
               เปน ชื่อ บ้าน แห่ง หนึ่ง มี อยู่ ข้าง เมือง เหนือ นั้น, เช่น บ้าน ท่า ล่อ ที่ เขา ทำ ไร่ ฝ้าย.
      ท่า หลวง (283:13.32)
               เปน ชื่อ ท่า ใหญ่ ฤๅ เปน ชื่อ บ้าน แห่ง หนึ่ง, เช่น บ้าน ท่า หลวง ที่ เมือง เหนือ เปน ต้น.
      ท่า ลาด (283:13.33)
               เปน ชื่อ ท่า ที่ ไม่ ชัน นั้น. อีก อย่าง หนึ่ง เปน ชื่อ บ้าน อยู่ ใน ป่า แขวง เมือง ซะเซิงเซา.
      ท่า วัง (283:13.34)
               เปน ชื่อ ท่า ที่ ตรง วัง ลง มา นั้น, เช่น ท่า ที่ สำรับ พวก ผู้ หญิง ชาว วัง ลง อาบ น้ำ.
      ท่า วัด (283:13.35)
               เปน ชื่อ ท่า ที่ วัด นั้น, เช่น ท่า วัด ที่ พวก พระสงฆ์ สามเณร, ลง อาบ น้ำ เปน ต้น นั้น.
      ท่า ช้าง (283:13.36)
               เปน ชื่อ ท่า ที่ ช้าง* ข้าม ไป ข้าม มา, ฤๅ ท่า ที่ สำรับ เอา ช้าง ลง อาบ น้ำ นั้น, เช่น ท่า ช้าง หลวง.
      ท่า สนวน (283:13.37)
               เปน ชื่อ บ้าน แห่ง หนึ่ง อยู่ ฝ่าย เหนือ นั้น, เช่น เขา เรียก ว่า บ้าน ท่า สนอน.

--- Page 284 ---
      ท่า สร้าน (284:13.38)
               เปน ชื่อ บ้าน แห่ง หนึ่ง, มี อยู่ ใน แขวง เมือง ประจิม นั้น, เขา เรียก ว่า บ้าน ท่า สร้าน.
      ท่า แร่ (284:13.39)
               เปน ชื่อ ท่า ที่ เขา ขน แร่ ลง นั้น, อีก* อย่าง หนึ่ง เปน บ้าน ฝ่าย เหนือ, เขา เรียก ว่า บ้าน ท่า แร่.
      ท่า หิน (284:13.40)
               เปน ชื่อ ท่า ทั้ง ปวง ที่ มี หิน มาก นั้น, เช่น ท่า ที่ สำรับ ขน หิน ขึ้น ลง เปน ต้น* นั้น.
      ท่า ฬ่อ (284:13.41)
               เปน ชื่อ บ้าน ที่ เมือง เหนือ แห่ง หนึ่ง นั้น, เขา เรียก ว่า บ้าน ท่า ฬ่อ.
ท้า (284:1)
         เปน ชื่อ คำ สัญญา อย่าง หนึ่ง, เช่น เขา ทำ หนังสือ ท้า กัน ว่า, ถ้า ท่าน จะ เอา ต้น เงิน แล ดอก เบี้ย เมื่อ ใด. ข้าพเจ้า จะ ให้ ท่าน เมื่อ นั้น, ถ้า มิ ได้ เล่า ไซ้, ก็ ให้ ท่าน เกาะ กุม เร่ง รัด เอา ตาม ความ แผ่นดิน เมือง.
      ท้า ทาย (284:1.1)
               คือ ความ ที่ ว่า กล่าว ถาก ถาง กัน ต่าง ๆ นั้น, เช่น คน ถะเลาะ กัน แล้ว ท้า ทาย ว่า, มึง กล้า ดี มึง มา เปน ต้น นั้น,
      ท้า คารม (284:1.2)
               คือ คน เจ้า คารม, คือ คน รู้ พูด, ของ สิ่ง เดียว รู้ ว่า ได้ หลาย อย่าง, เหมือน คำ ว่า, ข้อ ความ เนื้อ ความ ข้อ คะดี เปน ต้น, คน พูด อวด เช่น นั้น.
ทิวะเส (284:2)
          ฯ, แปล ว่า ใน วัน รุ่ง เช้า.
      ทิวา (284:2.1)
                ฯ, แปล ว่า วัน.
      ทิฆายุ (284:2.2)
                ฯ, คือ อายุ ยาว ไป นั้น, เช่น* คน ทั้ง ปวง มี อายุ ยืน นาน นั้น.
      ทิวาวาร (284:2.3)
                ฯ, ว่า วัน วาน นี้.
      ทิชา (284:2.4)
                ฯ, เปน ชื่อ หมู่ นก ทั้ง ปวง ที่ เกิด แต่ ไข่ นั้น, เช่น หมู่ นก ยูง ฤๅ นก กะเรียญ เปน ต้น นั้น.
      ทิวงคต (284:2.5)
                ฯ, แปล ว่า ไป สวรรค์.
      ทิฆะชาติ์ (284:2.6)
                ฯ เปน* ชื่อ สัตว ทั้ง ปวง ที่ บังเกิด มี ตัว ยาว ๆ นั้น, เช่น ปลาไหล เปน ต้น.
      ทิวากร (284:2.7)
                ฯ, แปล ว่า พระอาทิตย์.
      ทิวะโส (284:2.8)
                ฯ, ว่า วัน นั้น, เช่น คน ทั้ง ปวง เขา นับ วัน ว่า, วัน อาทิตย์, วัน จันทร์ นั้น.
      ทิพากร (284:2.9)
                ฯ, แปล ว่า อาทิตย์.
ที (284:3)
         ครั้ง, คราว หน, เปน ชื่อ ครั้ง ฤๅ คราว ฤๅ หน นั้น, เช่น เขา พูด กัน ว่า ไป ที หนึ่ง, ไป ครั้ง หนึ่ง หน หนึ่ง.
      ที เดียว (284:3.1)
               คือ การ ครั้ง เดียว, คราว เดียว, หน เดียว นั้น, เช่น คำ ว่า ได้ ที เดียว, เหน ที เดียว.
      ที น่า (284:3.2)
               คือ การ ครั้ง น่า คราว น่า หน น่า นั้น, เช่น คำ ว่า ที น่า เถิด ข้า จะ ให้ นั้น.
      ที หนึ่ง (284:3.3)
               เปน ชื่อ การ ครั้ง หนึ่ง คราว หนึ่ง หน หนึ่ง นั้น, เช่น คำ ว่า ได้ ที หนึ่ง เหน ที หนึ่ง ไป ที หนึ่ง.
      ที หลัง (284:3.4)
               คือ การ ครั้ง หลัง คราว หลัง หน หลัง นั้น, เช่น คำ ว่า ที หลัง เรา จะ ให้, ที หลัง จะ มา หา.
      ที ละ น้อย (284:3.5)
               ความ เหมือน น้ำ ย้อย ลง ที่* ชาย คา นั้น ว่า.
ที่ (284:4)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ที่ ใด (284:4.1)
                เปน คำ ถาม กัน ว่า ที่ ของ ผู้ ใด นั้น, เช่น พวก ข้าหลวง เสนา ถาม กำนัน ว่า, ที่ ใด.
      ที่ เคียง (284:4.2)
               คือ ที่ ทั้ง ปวง ที่ อยู่ ใกล้ ๆ กัน นั้น.
      ที่ คับ แค้น (284:4.3)
               คือ ที่ ยาก, ที่ กันดาร นัก นั้น, เช่น คน ไป ทัพ ฤๅ ไป ใน ทะเล ทราย นั้น.
      ที่ คับ แคบ (284:4.4)
               คือ ที่ ไม่ กว้าง ขวาง นั้น, เช่น คน อาไศรย อยู่ ใน เรือน คับ แคบ นั้น.
      ที่ คับ คั่ง (284:4.5)
               คือ ที่ คั่ง กัน อยู่ คับ แคบ ด้วย นั้น.
      ที่ จริง (284:4.6)
               ความ จริง, คือ ความ จริง นั้น, เช่น เขา พูด กัน ว่า, ที่ จริง นั้น ข้า ไม่ ได้ ทำ เลย.
      ที่ แจ้ง (284:4.7)
               คือ ที่ ไม่ มืด, ไม่ กำบัง นั้น.
      ที่ ชั่ว (284:4.8)
               คือ ที่ ไม่ ดี ทั้ง ปวง นั้น.
      ที่ เดียว (284:4.9)
               คือ ที่ ไม่ มี หลาย แห่ง นั้น, เช่น เขา พูด กัน ว่า, ยืน อยู่ ที่ เดียว.
      ที่ ถาน (284:4.10)
               ที่ ตำแหน่ง, ที่ กระทรวง, คือ ที่ ตำแหน่ง นั้น, เช่น อยู่ ใน ที่ ถาน ของ ตัว.
      ที่ ไหน (284:4.11)
               ตำแหน่ง ไหน, ตำบล ไหน. เปน คำ ถาม กัน ว่า ที่ ใด นั้น. เช่น เขา ถาม กัน ว่า ท่าน อยู่ ที่ ไหน.
      ที่ นั่น (284:4.12)
               เปน คำ บอก ว่า ที่ นั้น, เช่น เขา บอก กัน ว่า, ข้า จะ ไป อยู่ ที่ นั่น.
      ที่ นั้น (284:4.13)
               คือ มิ ใช่ ที่ อื่น นั้น, เช่น เขา พูด จา นัด หมาย กัน ว่า, ข้า จะ ไป อยู่ ที่ นั้น.
      ที่ โน่น (284:4.14)
               คือ มิ ใช่ ที่ นี้ นั้น, เช่น เขา บอก กัน ว่า, สิ่ง ของ นั้น ๆ ข้า เหน อยู่ ที่ โน่น.

--- Page 285 ---
      ที่ โน้น (285:4.15)
               คือ มิ ใช่ ที่ นี้ นั้น, เช่น เขา พูด กัน ว่า, ข้า ได้ เหน สิ่ง ของ นั้น ๆ มี อยู่ ใน ที่ โน้น.
      ที่ บัง (285:4.16)
               คือ ที่ ทั้ง ปวง ที่ มี ของ กั้น ของ บัง นั้น.
      ที่ พึ่ง (285:4.17)
               ที่ อาไศรย, ที่ สำนักนิ์, คือ สิ่ง ที่ ได้ อาไศรย นั้น, เช่น จ้าว ฟ้า จ้าว แผ่นดิน, ย่อม เปน ที่ พึ่ง แก่ สัตว ผู้ ยาก.
      ที่ อยู่ (285:4.18)
               ที่ สำนักนิ์, ที่ อาไศรย, เปน ชื่อ ที่ อาไศรย ทั้ง ปวง นั้น, เช่น ที่ บ้าน ที่ เรือน แห่ง คน ทั้ง ปวง นั้น,
      ที่ ยั้ง (285:4.19)
               ที่ อยุด, ที่ พัก, คือ ที่ อยุด ทั้ง ปวง นั้น.
      ที่ อยุด (285:4.20)
               คือ ที่ ยั้ง ทั้ง ปวง นั้น.
      ที่ รก (285:4.21)
               ที่ พง, ที่ ป่า ชัด, คือ ที่ ไม่ เตียน นั้น, เช่น ที่ ป่า รก, ป่า พง ทั้ง ปวง.
      ที่ รัก (285:4.22)
               ที่ ยินดี ที่ ชอบ ใจ คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ชอบ ใจ นั้น.
      ที่ ร้าง (285:4.23)
               คือ ที่ ทั้ง ปวง ที่ คน ละ เสีย, ไม่ มี* ผู้ คน อยู่ นั้น, เช่น เรือน ไร่ นา บ้าน เมือง ทั้ง ปวง ที่ ร้าง.
      ที่ รอด (285:4.24)
                คือ ที่ พ้น จาก อันตะราย ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน ที่ รอด จาก ความ ตาย.
      ที่ เร้น (285:4.25)
               ที่ ซ่อน, ที่ กำบัง, คือ ที่ เปน ที่ ซ่อน ตัว อยู่ เงียบ ๆ นั้น, เช่น พวค พระสงฆ์ เข้า อยู่ ใน ที่ เร้น.
      ที่ หลัง (285:4.26)
               คือ มิ ใช่ ที่ เบื้อง น่า นั้น, เช่น สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ มี อยู่ ที่ หลัง นั้น.
      ที่ หลบ (285:4.27)
               ที่ ซ่อน, ที่ เร้น, คือ ที่ สำรับ หลบ หลีก ซ่อน ตัว อยู่ นั้น.
      ที่ ลับ (285:4.28)
               ที่ กำบัง, ที่ แอบ แฝง, คือ ที่ ทั้ง ปวง ที่ มี สิ่ง ของ ปก ป้อง กำบัง อยู่ นั้น, เช่น ใน ร่ม ผ้า ฤๅ ใน ลับแล.
      ที่ เหลือ (285:4.29)
               ที่ เกิน, ที่ เสศ, คือ ที่ มาก เกิน ไป นั้น, เช่น ที่ ทั้ง ปวง ที่ เหลือ จาก คน อาไศรย.
      ที่ สรง (285:4.30)
               ที่ ชำระ กาย, ที่ อาบ, คือ ที่ สำรับ อาบ น้ำ นั้น, เช่น ที่ สรง ใน หลวง.
      ที่ สอง (285:4.31)
               ที่ สาม, ที่ สี่, ที่ สุด.
      ที่ เอก (285:4.32)
               ที่ เปน ปถม, ที่ หนึ่ง, ที่ แรก, คือ ที่ หนึ่ง นั้น, เช่น เขา พูด กัน ว่า ปะเรียญติ์ เอก ฤๅ ขันหมาก เอก นั้น.
ทุ (285:1)
          ฯ, ทุ ศีล, ทุจริต, เปน ชื่อ ความ ชั่ว ต่าง ๆ, ฤๅ ของ สอง สิ่ง นั้น, เช่น คน ทุ ศีล ฤๅ ทุติยาวิภัดติ์.
ทุกะตะ (285:2)
          ฯ, เข็ญ ใจ, กระทำ ความ ชั่ว, คน จน, เปน ชื่อ การ กระทำ ความ ชั่ว ต่าง ๆ นั้น, เช่น คน โทษ ใน คุก ฤๅ คน เข็ญ ใจ
ทุคะติ (285:3)
          ฯ, ไป ใน ที่ ชั่ว, ไป ยัง อะบาย, คือ ไป ใน ที่ ชั่ว นั้น, เช่น อบายภูม ทั้งสาม, คือ นรก ฤๅ เปรต, แล สัตว ดิรัจฉาน.
ทุจริต (285:4)
          ฯ, ประพฤษติ์ ชั่ว, การ ทำ บาป, กระทำ อะกุศล กรรม บถ, คือ ประพฤษติ์ การ ชั่ว ต่าง ๆ นั้น, เช่น คน กระทำ อะกุศลกรรม บถ.
ทุติยา (285:5)
          ฯ, เปน คำรบ สอง, คือ ที่ เปน ที่ สอง นั้น, เช่น คำ เขา พูด กัน ว่า เปน ที่ สอง.
ทุพลภาพ (285:6)
          ฯ, แรง น้อย, คือ มี กำลัง น้อย, เช่น คน มี ร่าง กาย แก่ ชะรา มี แรง น้อย ว่า.
ทุโม (285:7)
          ฯ, คือ คั น* นั้น, เช่น ควัน เพลิง ทั้ง ปวง นั้น.
ทุลัง บังภาร (285:8)
          ฯ, ทุลัง นั้น เปน ชื่อ ภาชนะ รูป คล้าย กับ ภาร, เปน ของ โปราณ* เขา ทำ ใช้, บังภาร เปน สร้อย.
ทุกัง (285:9)
         เปน ชื่อ ปลา ทะเล น้ำเค็ม อย่าง หนึ่ง, ตัว โต เท่า เสา ใหญ่ สาม กำ ห้า กำ, มัน ไม่ มี เกล็ด เขา กิน ได้.
ทุเรศ (285:10)
          ฯ, คือ ความ ไกล นั้น, เช่น หน ทาง ไกล ได้ ประมาณ สี่ โยชน์ ห้า โยชน์ นั้น.
ทุภาสิต (285:11)
          ฯ, แปล ว่า* กล่าว ชั่ว พูด ไม่ ดี.
ทุรน ทุราย (285:12)
         กระสับ กระส่าย, กระวน กระวาย, คือ ความ กระสับ กระส่าย นั้น, เช่น คน ไม่ สบาย ผุด ลุก ผุด นั่ง เมื่อ ใกล้ ตาย.
ทุเรียน (285:13)
         เปน ชื่อ ต้น ผลไม้ อย่าง หนึ่ง, ผล เปน หนาม รศ หวาน ดี นัก,
ทุลี (285:14)
         ลออง, อะนู, ฝุ่น, เปน ชื่อ ฝุ่น ทั้ง ปวง ที่ ละเอียด เปน แป้ง อยู่ นั้น. เช่น ฝุ่น ลออง ตีน ใต้ เสื่อ.
ทุเลา* (285:15)
         บันเทา, ค่อย คลาย ขึ้น, ค่อย ยัง ชั่ว, คือ ความ บันเทา ขึ้น ฤๅ ฃอ ผัด ผ่อน ให้ เนิ่น เวลา ไป นั้น, เช่น คน เจ็บ ค่อย คลาย ฤๅ เขา จะ เอา ไป ขอ ผัด ไป เวลา อื่น.
ทุลัก ทุลี (285:16)
         เลอะเทอะ, ทะลัก ทะเล, เปน ชื่อ ที่ ยับ เยิน แหลก ละเอีอด* เปน ผงคลี อยู่ นั้น, เช่น ที่ คน วิวาท ชก ตี กัน ฤๅ ที่ สนาม วิ่ง ควาย.

--- Page 286 ---
ทุศีล (286:1)
         ไม่ มี ศีล, ชั่ว เปน ปรกติ, เปน* ชื่อ คน มิ ปรกติ ชั่ว ฤๅ มี ศีล ชั่ว นั้น, เช่น ล่วง บัญญัติ สิบ ประการ, มี ฆ่า คน ฤๅ ขะโมย.
ทู่ (286:2)
         ป้าน, ปลาย มุ่ม, คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ไม่ แหลม ฤๅ ป้าน อยู่ นั้น, เช่น สากกะเบือ ที่ มุ่ม ๆ.
เท (286:3)
         ริน ลง, ถ่าย ลง, คือ การ ที่ ใส่ ลง ใน ภาชนะ ฤๅ ทำ ให้ ออก จาก ภาชนะ นั้น, เช่น คน เท น้ำ ลง ใน ตุ่ม ฤๅ เท น้ำ ออก จาก ม่อ จาก ไห.
      เท โกรก (286:3.1)
               ไหล โกรก, คือ การ ที่ เท สิ่ง ของ ลง ไป เสียง มัน ดัง โกรก นั้น, จะ ว่า เช่น เขา เท น้ำ ใส่ ตุ่ม ก็ ได้.
      เท แกง (286:3.2)
               ถ่าย แกง, คือ การ ที่ เท แกง ออก จาก ม่อ นั้น, เช่น เท แกง ใส่ ขาม.
      เท เข้า (286:3.3)
               คือ การ ที่ เอา เข้า เท เสีย จาก ชาม นั้น, เช่น คน เท เข้าสุก ใน ม่อ นั้น.
      เท กัน ไป (286:3.4)
               คือ ภา กัน ไป ข้าง เดียว กัน, เหมือน อยู่ ที่ บน เรือ กำปั่น เมื่อ มี อันตะราย ไฟ ไหม้ ข้าง ท้าย, เขา หนี ไป อยู่ ข้าง หัว หมด.
      เท หนึ่ง (286:3.5)
               คือ เท ลง ที หนึ่ง, เหมือน เขา ซื้อ เหล้า เขา ตวง เท ลง ที หนึ่ง นั้น ว่า เท หนึ่ง, เปน ยี่สิบ ทนาน.
      เท ของ (286:3.6)
               คือ การ เท สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ต่าง ๆ นั้น,
      เททุบาย (286:3.7)
               คือ กลอุบาย นั้น, เช่น การ อุบาย
      เท ขวด (286:3.8)
               คว่ำ ขวด ลง, ถ่าย ขวด, คือ การ เท สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ออก จาก ขวด นั้น, เช่น คน ริน น้ำ จาก ขวด.
      เท ครัว (286:3.9)
               อพยพ ครัว, กวาด ครัว, ต้อน ครัว, คือ การ หนี จาก บ้าน เรือน อพยพ ไป ทั้ง ครัว นั้น, เช่น พวก มอญ เท ครัว อพยพ เข้า มา พึ่ง พระ เจ้า อยู่ หัว,
      เท ดวด (286:3.10)
               ทอด ดวด, เท เบี้ย, คือ การ ที่ เอา เบี้ย ใส่ กะบอก เท ลง บน เติ่ง ดวด นั้น เช่น คน เล่น ดวด.
      เท น้ำ (286:3.11)
               คว่ำ ลง ใน น้ำ, สาด เสีย ใน น้ำ, คือ การ ที่ เอา ของ ทั้ง ปวง เท เสีย ใน น้ำ นั้น, เช่น คน เท น้ำ ใน ตุ่ม.
เทพา (286:4)
         เทวา, เทวะดา, เทพดา, เทพบุตร, เปน ชื่อ เทวะดา นั้น. อีก อย่าง หนึ่ง เปน ชื่อ ปลา ไม่ มี เกล็ด, เช่น เขา เรียก ปลา เทพา นั้น.
      เทพา รักษ (286:4.1)
               ศาล จ้าว, ศาล เทพารักษ, เปน ชื่อ เทวะดา ที่ เปน จ้าว สำรับ คุ้ม ครอง รักษา นั้น, เช่น จ้าว ปากคลอง จ้าว ทุ่ง.
      เทพี (286:4.2)
               เปน ชื่อ ผัก อย่าง หนึ่ง, เถา เปน หนาม นัก, เช่น เถา ต้น สวาด ใบ อ่อน กิน ดี มี อยู่ ตาม ริม น้ำ.
      เทโพ (286:4.3)
               เปน ชื่อ ปลา อย่าง หนึ่ง ไม่ มี เกล็ด แกง กิน ดี นัก, รูป มัน เช่น ปลา อ้ายด้อง.
      เทเวศร (286:4.4)
                ฯ, แปล ว่า เทวะดา เปน ใหญ่ เปน อิศระ.
      เทเพน (286:4.5)
               เปน ชื่อ ที่ ตำแหน่ง ขุนนาง เล็ก น้อย คน หนึ่ง นั้น.
      เทวินทร (286:4.6)
                ฯ, แปล ว่า เทพยดา ผู้ เปน ใหญ่. เช่น พระอินทร์.
      เทวา (286:4.7)
               เทวะบุตร, คือ เทวะดา ฤๅ ประเสริฐ นั้น, เช่น เทพบุตร ใน เมือง สวรรค์ นั้น.
      เท ถ่าย (286:4.8)
               คือ เท ของ มี น้ำ ใส่ ลง ใน ที่ อื่น นั้น ว่า,
      เทวะทัต (286:4.9)
               เปน ชื่อ ชาย* คน หนึ่ง เกิด ใน วงษสากะยะราช เปน สัตรู แก่ พระพุทธเจ้า ของ พวก ไท นั้น.
      เทวี (286:4.10)
               นาง พระยา, คือ นาง พระยา นั้น, เช่น นาง กระษัตริย์ นั้น.
      เทวะธิตา (286:4.11)
               เทพธิดา ฯ, แปล ว่า นาง เทวดา ผู้ หญิง.
      เทโว (286:4.12)
               พลาหก ฯ, ว่า เปน ชื่อ ฝน ฤๅ เทวะดา นั้น, เช่น เมฆ ตั้ง ให้ ฝน ตก ฤๅ เทวะดา ใน สวรรค์.
      เทวะ บุตร (286:4.13)
               เทวะดา ฯ, แปล ว่า เทวะดา ผู้ ชาย.
      เทวะดา (286:4.14)
               คือ เปน สัตว อัน ประเสริฐ นั้น, เช่น เทพบุตร ใน เมือง สวรรค์ นั้น.
      เทวะราช (286:4.15)
               พระอินทร์ ฯ, แปล ว่า เทวะดา เปน พระยา แห่ง เทวาดา ทั้ง หลาย, เช่น สมเด็จ อัมริน.
      เทวะทูต (286:4.16)
                ฯ, คือ ความ เกิด ความ แก่, ความ เจ็บ ความ ตาย นั้น, เพราะ ของ สี่ อย่าง นี้ เปน จริง เหมือน ด้วย ทูต แห่ง เทวะดา มา บอก นั้น.
      เทว ฤทธิ์ (286:4.17)
                ฯ, แปล ว่า ฤทธิ์ แห่ง เทวะดา.
      เทหัง (286:4.18)
                ฯ, ว่า ร่าง กาย ฤๅ เรือน ที่ อาไศรย ทั้ง ปวง นั้น, เช่น ตัว คน แล สัตว ทั้ง ปวง.
      เทวะโลกย์ (286:4.19)
                ฯ, แปล ว่า โลกย์ แห่ง เทวะดา, เหมือน สวรรค์ ชั้น ฟ้า นั้น.
แท่ (286:5)
         เปน ชื่อ ของ กิน อย่าง นึ่ง สำรับ ยำ กิน นั้น, เช่น สาหร่าย แต่ เอา มา จาก เมือง จีน.

--- Page 287 ---
แท้ (287:1)
         เที่ยง, มั่นคง, ยั่งยืน, คือ ของ จริง ตาม ธรรมดา นั้น, เช่น เงิน แท้ มิ ใช่ เงิน ปลอม, ทอง แท้ มิ ใช่ ไกล่.
      แท้ จริง (287:1.1)
               คง ที่, ไม่ แปร ปรวน, เที่ยง ตรง, คือ ของ ที่ แท้ เปน จริง ตาม ของ นั้น, เช่น แขก แท้ ๆ, แขก จริง ๆ, มิ ได้ เจือ ชาติ์ อื่น.
      แท้ เที่ยง (287:1.2)
               ความ ตรง, ไม่ ยักย้าย, คง ที่, คือ ความ ตรง ตาม ที่ แท้ นั้น, เช่น ธรรม ทั้ง ปวง ถ้า มี เกิด แล้ว คง มี ตาย เที่ยง.
      แท้ แล้ว (287:1.3)
               แม่น แล้ว, แน่ แล้ว, มั่นคง, คือ ความ ที่ แม่น แล้ว นั้น, เช่น คน ที่ รู้ แท้ แล้ว ไม่ เคลือบ แคลง นั้น.
ไท (287:2)
         สยาม, พ้น จาก ทาษ, เปน ชื่อ คน ใน สยาม ประเทศ, ที่ เปน ชาติ์ เชื้อ ชาว กรุงเทพ นั้น, เช่น ชาว บางกอก แท้.
      ไท ใหญ่ (287:2.1)
               ชาว สยาม ใหญ่, พวก คำ ตี, เปน ชื่อ ไท พวก หนึ่ง, ได้ ยิน ว่า อยู่ ใกล้ กับ พะม่า คล้าย ๆ ลาว, พิเคราะห์ ดู เหน จะ เปน พวก คำ ตี นั้น.
      ไท ไร (287:2.2)
               ไท คือ* คน ไท, ไร นั้น เปน คำ สร้อย.
      ไทยทาน (287:2.3)
               วัดถุทาน, พัสดุทาน, เปน ชื่อ ลง ของ สำรับ ให้ นั้น, เช่น สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ จัดแจง จะ ถวาย พระสงฆ์.
ไท่ (287:3)
         ถุง คาด เอว, ถุง ใส่ เข้า ตาก, เปน ชื่อ ของ อย่าง หนึ่ง สำรับ ใส่ ของ คาด เอว นั้น, เช่น ถุง คาด เอว.
โท (287:4)
         ทวิ, คือ สอง ฤๅ ของ ที่ สอง นั้น, เช่น คำ เขา พูด กัน ว่า เมือง โท นั้น.
โท เทียม เอก (287:5)
         ที่ สอง คล้าย ที่ หนึ่ง, คือ ของ ที่ สอง คล้าย ๆ ของ ที่ หนึ่ง นั้น, เช่น ปะเรียญติ์ โท เทียม เอก.
โทมะนัศ (287:6)
         ความ ชั่ว ใจ, ความ เสีย ใจ, ความ น้อย ใจ, ความ เจ็บ ใจ, คือ ความ ชั่ว ใจ ฤๅ เสีย ใจ ฤๅ ใจ ชั่ว นั้น, เช่น คน คิด น้อย ใจ เจ็บ ใจ.
โทษา (287:7)
         ประทุษฐร้าย, ความ โกรธ, ความชั่ว*, เปน ชื่อ ใจ คิด ประทุษฐร้าย นั้น, เช่น ใจ ชั่ว โกรธ แล้ว คิด ทำ อันตะราย ต่าง ๆ.
      โทษานุโทษ (287:7.1)
                ฯ, แปล ว่า โทษ น้อย แล ใหญ่.
      โทโส (287:7.2)
               คือ ใจ โกรธ แล้ว คิด ประทุษฐร้าย ด้วย นั้น, เช่น คน ผูก พยาบาท กัน.
โทหะฬ (287:8)
         ความ อยาก ได้, ความ ปราฐนา, ว่า เปน ชื่อ ความ ปราฐนา ทั้ง ปวง นั้น, เช่น คน อยาก ได้ กิเหลศ กาม แล พัศดุกาม นั้น.
โทศก (287:9)
         คือ ปี ที่ สอง ว่า.
โท่ (287:10)
         กลวง ใหญ่, ช่อง กว้าง, กว้าง ขวาง, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เปน ช่อง กลวง ใหญ่ นั้น, เช่น แล เหน ช่อง ปาก อ่าว.
เทา (287:11)
         อ่อน น้อม, นบ นอบ, ยำ เกรง, เปน ชื่อ* การ คำนับ ย่อ เนื้อ ย่อ ตัวฤๅ ของ ศรี หม่น ๆ นั้น, เช่น การ คำนับ จ้าว ฤๅ ฃอง ศรี มอ ๆ.
      เทา ลง (287:11.1)
               คือ อาการ ทำ ให้ ตัว ต่ำ ซุด ลง*, เหมือน คน ทำ ให้ ช้าง มัน เทา ต่ำ ลง นั้น.
เท่า (287:12)
         เสมอ กัน, เหมือน กัน, อย่าง เดียว กัน, คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ขนาด เดียว กัน เสมอ กัน นั้น, เช่น ของ ไม่ โต ไม่ ใหญ่ กว่า กัน.
      เท่า กัน (287:12.1)
               ขนาด เดียว กัน, ทัด กัน, ได้ กัน, คือ ของ ขนาด เดียว กัน นั้น, เช่น สิ่ง ของ ทั้ง ปวง สั้น ยาว เท่า กัน.
      เท่า ใด (287:12.2)
               เท่า ไร, เท่า ไหน, เท่า ดังฤๅ, คือ ถาม กัน ว่า เท่า ไร นั้น, เช่น เขา ถาม กัน ว่า ท่าน มี ของ ขาย เท่า ใด.
      เท่า ตัว (287:12.3)
               เท่า กัน, เสมอ ตัว, เท่า ตน, คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เท่า กัน กับ ตัว นั้น, เช่น คน เปรียบ มวย เท่า ตัว กน*.
      เท่า นี้ (287:12.4)
               เพียง นี้, ขนาด นี้, ชะนิด นี้, คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ขนาด นี้ นั้น, เช่น สิ่ง ของ ต่าง ๆ กว้าง ยาว เท่า นี้.
      เท่า นั้น (287:12.5)
               เพียง นั้น, เสมอ นั้น, ขนาด นั้น, คือ สิ่ง ของ มี อยู่ เท่า นั้น, เช่น เขา ถาม ว่า ของ มี อยู่ เท่า นั้น ดอก ฤๅ.
      เท่า ไฟ (287:12.6)
               ถ่าน ไฟ, คือ ผงคลี เท่า ที่ บังเกิด แต่ ไฟ นั้น, เช่น เท่า รึง ที่ บังเกิด แต่ ไฟ ป่า นั้น.
      เท่า ไร (287:12.7)
               เท่า ใด, เท่า ไหน, คือ ความ ถาม กัน ว่า เท่า ใด นั้น, เช่น เขา ถาม กัน ว่า ท่าน จะ ต้อง การ สัก เท่า ไร.
ทำ (287:13)
         ประกอบ, กระทำ, การ, คือ ประกอบ การ ต่าง ๆ นั้น. เช่น คน ทำ งาน ทำ การ ทำ ไร่ ทำ นา นั้น.
      ทำ การ (287:13.1)
               การ งาน, ประกอบ การ, ประกอบ กิจ, คือ ทำ งาน ทั้ง ปวง, เช่น คน ทำ การ บ่าว สาว ฤๅ ทำ การ โกน จุก นั้น.

--- Page 288 ---
      ทำ กรรม (288:13.2)
               ทำ การ, ประกอบ การ, ประพฤษติ์ กรรม, เปน ชื่อ ทำ การ ดี การ ชั่ว ต่าง ๆ นั้น, เช่น คน กระทำ การ กุศล แล อกุศล.
      ทำ เข็ญ (288:13.3)
               ทำ ยาก, ทำ ลำ บาก, ทำ แค้น, คือ การ ทำ ความ ยาก ความ แค้น ต่าง ๆ นั้น, เช่น คน ต้อง เข็น เรือ เข็น ไม้.
      ทำ ขวัน (288:13.4)
               การ มงคล, การ เจริญ, คือ การ ที่ ทำ ให้ ใจ ได* ความ จำเริญ นั้น, เช่น คน ทำ การ มงคล ทำ ขวัน นาค ขวัน จุก
      ทำคุณ (288:13.5)
               การ อุปถำภ์, การ อุปการะ, การ สงเคราะห์, คือ ทำ เปน ชั้น ๆ ฤๅ ทำ เปน กลุ่ม, แล ทำ เปน สาย รัด นั้น, เช่น พ่อ แม่ ทำ ความ ดี แก่ ลูก เปน ชั้น ๆ ไป.
      ทำ แค้น (288:13.6)
               การ เคือง ใจ, ท่ำ เจ็บ ใจ, คือ การ ที่ เขา ทำ เรา ให้ ได้ ความ เจ็บ ใจ แค้น ใจ นั้น, เช่น คน กิน ของ แค้น คอ.
      ทำ ครัว (288:13.7)
               การ หุง ต้ม, การ ครัว, คือ ทำ การ ต่าง ๆ ที่ ครัว นั้น, เช่น หุง เข้า ต้ม แกง ต่าง ๆ ใน ครัว.
      ทำ ความ (288:13.8)
               การ ทะเลาะ, การ วิวาท, ก่อ เหตุ, คือ กระทำ ให้ ความ ต่าง ๆ บังเกิด ขึ้น นั้น. เช่น ทะเลาะ กัน ทำ ให้ ความ บังเกิด ขึ้น.
      ทำ งาน (288:13.9)
               การ งาน, ทำ การ, ประกอบ กิจ, คือ ทำ การ ทั้ง ปวง ต่าง นั้น, เช่น คน ทำ การ ไร่ นา ค้า ขาย ต่าง ๆ
      ทำ เงิน (288:13.10)
               ช่าง เงิน, หา เงิน, ทำ กิน, คือ* การ ทำ รูป เงิน ฤๅ ทำ การ หา เงิน นั้น, เช่น พวก ช่าง ทำ เงิน แล พวก ค้า ขาย หา เงิน
      ทำ จ้าง (288:13.11)
               การ จ้าง, รับ จ้าง, คือ ทำ การ จ้าง ต่าง ๆ นั้น, เช่น พวก ลูก จ้าง ทั้ง ปวง นั้น.
      ทำ จริง (288:13.12)
               ไม่ ทำ เล่น, การ จริง, เอา จริง, คือ การ ที่ ไม่ ทำ เล่น นั้น, เช่น คน ที่ ทำ การ ทั้ง ปวง จริง ไม่ เหลาะ แหละ
      ทำ ฉาว (288:13.13)
               การ ฉาว, ทำ วุ่น วาย, การ โด่ง ดัง, คือ การ ที่ ทำ ความ ชั่ว ให้ วุ่น วาย ขึ้น นั้น, เช่น คน ทำ ความ ชั่ว ต่าง ๆ ให้ ฉาว ขึ้น.
      ทำ เชือน (288:13.14)
               การ ไม่ ซื่อ, การ ไม่ ตรง, ทำ โว้ เว้, คือ การ ที่ ทำ ไม่ ซื่อ ตรง นั้น, เช่น คน ทำ การ ทั้ง ปวง เชือน แช นั้น.
      ทำ ดี (288:13.15)
               การ งาม, การ ชอบ, การ กุศล, ทำ บุญ, คือ ไม่ ทำ ความ ชั่ว นั้น.
      ทำ ตาม (288:13.16)
               การ ไม่ ขัด ขวาง, ประพฤษติ์ ตาม, ทำ โดย บัญ ญัติ, คือ ไม่ ทำ ขัด ขวาง นั้น, เช่น คน ที่ ทำ ตาม โอวาท คำ สอน.
      ทำ ที (288:13.17)
               ทำ ชั้น ทำ เชิง, คอย เอา ที, คือ คอย ที กัน นั้น, พวก นักเลง เหล้า นั่ง กิน เหล้า ทำ ที กัน.
      ทำ ทาน (288:13.18)
               ให้ ทาน, ทำ บุญ, บริจาค ทาน, คือ การ ให้ สิ่ง ของ เปน ทาน นั้น, เช่น คน มี ความ เชื่อ ทำ ทาน.
      ทำ เทียม (288:13.19)
               ทำ เทียบ, การ ปลอม, ทำ เปรียบ, คือ การ ที่ ทำ ปลอม ให้ เหมือน นั้น, เช่น พวก ทำ เงิน แดง เงิน เทียม.
      ทำ นา (288:13.20)
               การ นา, ตก กล้า. หว่าน เข้า, คือ การ ทำ นา หว่าน เข้า นั้น, เช่น พวก ชาว นา ทำ นา นั้น.
      ทำนุบำรุง (288:13.21)
               บำรุ บำรุง, ช่วย อุปถำภ์, การ สงเคราะห์, คือ การ ช่วย สงเคราะห ฤๅ อุปถำภ์ นั้น, เช่น พระ มหา กระษัตริย์ ทำนุบำรุง ราษฎร.
      ทำเนา (288:13.22)
               ตาม ที, ตาม เถิด, คือ ตาม ที นั้น, เช่น คำ เขา พูด กัน ว่า, เรา จะ ได้ ฤๅ มิ ได้ ก็ ทำเนา เถิด.
      ทำ น้ำ (288:13.23)
               ทำ หนอง, การ จับ ปลา ขาย, คือ การ ที่ พวก ตั้ง จับ ปลา ใน น้ำ ขาย นั้น, เช่น พวค ชาว ปะโมง ดำ น้ำ ทำ หนอง.
      ทำ โทษ (288:13.24)
               ลง โทษ, คือ การ ที่ ลง อาชญา มี เฆี่ยน แล ตี นั้น, เช่น เขา ผูก พวก นัก โทษ.
      ทำนอง (288:13.25)
               ตาม อย่าง, คือ แบบ อย่าง นั้น, เช่น เขา ว่า สวด ทำนอง นี้ ร้อง* ทำนอง นั้น.
      ทำนูน (288:13.26)
               เปน ชื่อ กดหมาย ชะบับ เรียก พระทำนูน, เปน กดหมาย เจ้ากระทรวง สำรับ ประทับ ฟ้อง.
      ทำนบ (288:13.27)
               กระบัง, ฝาย, การ ทด น้ำ, เปน ชื่อ ที่ กระบัง ที่ ปิด น้ำ ไว้ นั้น, เช่น ทำ นบ ที่ เขา ปิด คลอง ขัง น้ำ ไว้.
      ทำเนียม (288:13.28)
               แบบ อย่าง, ธรรมดา, ธรรมเนียม, คือ ธรรมเนียม นั้น, เช่น สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ มัน ย่อม เปน ไป ตาม ที่ มัน.

--- Page 289 ---
      ทำเนียบ (289:13.29)
               คือ เยี่ยง อย่าง, ประเพณีย์, จรีต.
      ทำนาย (289:13.30)
               ทาย, พยากรณ, คือ* ความ ที่ ทาย นั้น, เช่น พวก หมอดู พวก โหร ทำนาย เคราะห์ดี เคราะห์ ร้าย.
      ทำ บ้า (289:13.31)
               การ ดัง บ้า, ทำ เปน บ้า, ทำ เหมือน บ้า, คือ การ ที่ ทำ เหมือน บ้า นั้น, เช่น คน ไม่ เปน บ้า, ทำ อาการ ดัง บ้า.
      ทำ บท (289:13.32)
               ทำ อาการ ตาม บท, คือ การ ที่ ทำ กิริยา ไป ตาม บท นั้น, เช่น พวค เล่น โขน, เล่น ละคอน นั้น.
      ทำ บุญ (289:13.33)
               การ ชำระ ใจ, ทำ การ กุศล บำเพญ ทาน, เปน ชื่อ การ ที่ ชำระ ใจ ให้ ผ่อง ให้ บริสุทธิ์ นั้น, เช่น คน ทำ ใจ ไม่ โลภ, ไม่ ประทุษฐร้าย ไม่ หลง.
      ทำ บาป (289:13.34)
               การ ลามก, การ อะกุศล, ทำ ชั่ว ต่าง ๆ, เปน ชื่อ การ ที่ ทำ ใจ ให้ ลามก เศร้า หมอง นั้น, เช่น คน มี ใจ โลภ, มี ใจ โกรธ ประทุษฐร้าย มี ใจ หลง.
      ทำ แบบ (289:13.35)
               ทำ แผน, ทำ อย่าง, คือ การ ทำ แผน ทำ อย่าง นั้น, เช่น คน ทำ แบบ แผน บ้าน เมือง.
      ทำ เปื้อน (289:13.36)
               ทำ เปรอะ, การ เลอะ เทอะ, คือ ทำ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ให้ เลอะ เทอะ ดิด* ของ ไม่ สอาจ นั้น.
      ทำ เปรอะ (289:13.37)
               ทำ เปื้อน, คือ การ ที่ ทำ เปียก เปื้อน เลอะ เทอะ นั้น, เช่น คน ราด น้ำ ใน ห้อง น้ำ.
      ทำ ผัด (289:13.38)
               การ นัด คือ การ ที่ เขียน หนังสือ* ผัด ให้ ไว้ นั้น, เช่น คน ทำ ผัด ส่ง เงิน ให้ ไว้ กับ ผู้คุม.
      ทำ ผิด (289:13.39)
               การ ไม่ ชอบ, คือ ทำ ไม่ ถูก ตาม ฉบับ. อย่าง หนึ่ง ทำ การ ทุจริต การ ชั่ว ต่าง ๆ, เช่น คน อันทพาล นั้น.
      ทำ มา หา กิน (289:13.40)
               การ หา เลี้ยง ชีวิตร. การ หา กิน, คือ ทำ การ งาน หา มา เลี้ยง ชีวิตร นั้น, เช่น คน ทำ นา ค้า ขาย รับ จ้าง.
      ทำ ไม (289:13.41)
               ทำ อะไร, ทำ ประการ ใด, ทำ ดังฤๅ, เปน คำ ถาย ว่า ทำ อะไร นั้น.
      ทำมะดา (289:13.42)
               ทำเนียม, ตาม อย่าง, คือ ธรรมเนียม แล ธรรม นั้น, เช่น สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ มัน เปน ไป ตาม อย่าง ที่ มัน เคย เปน ไป.
      ทำมะรงค์ (289:13.43)
               แหวน หัว, แหวน เพ็ชร, คือ แหวน หัว ทั้ง ปวง นั้น, เช่น แหวน เพ็ชร อย่าง ดี ของ พระเจ้า แผ่นดิน.
      ทำ ร้าย (289:13.44)
               การ ชั่ว, การ ไม่ ดี, คือ การ ทำ ไม่ ดี ทั้ง ปวง นั้น, เช่น พวก ขะโมย เที่ยว ปล้น สดม ฆ่า คน ตาย.
      ทำเล (289:13.45)
               ตำแหน่ง, ตำบล, แขวง, เปน ชื่อ ที่ ตำ บล ทั้ง ปวง นั้น, เช่น คำ เขา พูด กัน ว่า ที่ ทำเล กว้าง ขวาง นัก.
      ทำ เล่น (289:13.46)
               การ ไม่ จริง, คือ การ ทำ ทั้ง ปวง ไม่ จริง นั้น, เช่น พวก เจ้าชู้ หลอก ลวง ทำ ผู้ หญิง เล่น.
      ทำ ลอม แลม (289:13.47)
               การ ไม่ ยั่ง ยืน, ทำ ไม่ เสมอ, ทำ โลเล, คือ การ ประพฤษติ์ ไม่ เสมอ นั้น, เช่น คน ลัก ทำ ชั่ว ใน ที่ ลับ นั้น.
      ทำ ลนลาน (289:13.48)
               การ ลุกลน, ทำ ตะลี ตะลาน, คือ การ ทำ ตะลี ตะลาน นั้น, เช่น คน กลัว นัก ทำ ลุกลน นั้น.
      ทำลาย (289:13.49)
               ทะลาย, รื้อ เสีย, คือ การ ทำ ให้ แตก หัก เสีย ไป นั้น, เช่น คน ทำลาย ตึก ทำลาย บ้าน เมือง.
      ทำ เลว (289:13.50)
               การ หยาบ, ทำ ไม่ สู้ ดี, ฝีมือ ซาม, คือ การ ทำ ไม่ สู้ ดี, ทำ หยาบ ๆ นั้น,
      ทำ เหลว (289:13.51)
               การ เหลว ไหล, พูด ไม่ ได้ จริง, คือ การ ทำ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง เหลว เปน น้ำ ไป นั้น. เช่น คน พูด เอา จริง ไม่ ได้.
      ทำ เลอะเทอะ (289:13.52)
               การ เปื้อน เปรอะ, ทำ ความ ชั่ว ต่าง ๆ, ทำ วุ่น วาย, คือ การ ทำ เปื้อน เปรอะ ไป นั้น, เช่น คน ทำ ความ ชั่ว ต่าง ๆ.
      ทำ เหลาะแหละ (289:13.53)
               ทำ ไม่ ยั่ง ยืน, ทำ พลอม แพลม, คือ การ ที่ ทำ ไม่ ยั่งยืน ไม่ เสมอ นั้น, เช่น หญีง ที่ มัก นอก ใจ ผัว.
      ทำวล (289:13.54)
               ธุระ กังวล, ห่วง กิจการ ต่าง ๆ, คือ ธุระ กังวล ทั้ง ปวง นั้น, เช่น คน เปน ห่วง กิจการ ต่าง ๆ มาก.
      ทำเวน (289:13.55)
               เข้า เวน ออก เวน, ทำ กรรม, คือ การ ที่ ไป ทำ ราชการ เปน เวน เข้า เวน ออก นั้น, เช่น พวก นาย เวน ทั้ง ปวง.
      ทำ สวย (289:13.56)
               ทำ สอาจ, ทำ ไม่ เปรอะ, คือ การ ที่ แต่ง ตัว สอาจ ไม่ เปื้อน เปรอะ นั้น, เช่น พวก เจ้าชู้ ทำ นุ่ง ห่ม สะสวย.
      ทำ เหตุ (289:13.57)
               ทำ การ ต่าง ๆ ให้ เกิด ขึ้น, คือ การ ที่ ทำ ต่าง ๆ ให้ บังเกิด เปน เหตุ ขึ้น นั้น, เช่น คน ที่ เปน ต้น กฎ.

--- Page 290 ---
      ทำ บังอาจ (290:13.58)
               การ องอาจ, ทำ ข่มเหง, คือ การ ที่ คน ทำ, องอาจ* ไม่ เกรง ใคร นั้น, เช่น ทำ บังอาจ บุกรุก ข่มเหง เจ้า ของ บ้าน นั้น.
      ทำ องอาจ (290:13.59)
               คือ การ ที่ คน ทำ บังอาจ ไม่ เกรง ใคร นั้น, เช่น นาย ทหาร เอา ทำ องอาจ ใน ที่ รบ.
ท่ำ (290:1)
         คือ ที่ เปน ช่อง กว้าง อยู่ เท่า เรือน บ้าง เล็ก กว่า เรือน บ้าง, มี อยู่ ใน ภูเขา หิน นั้น.
      ท่ำ กลาง (290:1.1)
               กึ่ง กลาง, คือ ที่ ข้าง หนึ่ง กับ ข้าง หนึ่ง มัน เท่า เสมอ กัน นั้น.
ทะโมน (290:2)
         คือ โค ที่ มัน หนุ่ม เขา ยัง ไม่ ได้ ลด ยัง ไม่ ได้ ตอน นั้น, ว่า งัว ทะโมน.
ทแกล้ว ทหาร (290:3)
         คน กล้า เข้มแขง, คน กล้า ใน การ รบ, คือ พวก พล ทหาร ที่ แกล้ว กล้า ว่องไว นั้น เช่น ทหาร ที่ เข้มแขง ใน สงคราม.
ทะนู (290:4)
         น่าไม้, เปน ชื่อ อาวุธ อย่าง หนึ่ง, มี คัน มี สาย สำรับ ยิง นั้น.
ทะนง (290:5)
         องอาจ, ไม่ กลัว ใคร, คือ การ ที่ องอาจ ถือ ตัว ไม่ กลัว ใคร นั้น, เช่น คน เชื้อ ชาติ์ นาย ทหาร.
ทะ หนัด (290:6)
         ชำนิ ชำนาญ, สนัด, คือ การ ที่ ชำนาญ นั้น, เช่น มือ ขวา ฤๅ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เติบ โต นั้น.
ทะนาน (290:7)
         ขะนาน, เปน ชื่อ ของ ที่ ทำ ด้วย กะลา มะพร้าว, สำรับ ตวง ของ นั้น.
ทะหนอม (290:8)
         สนอม, คอย ระวัง, คอย รักษา, คือ การ ที่ คอย ระวัง รักษา เปน อัน ดี นั้น, เช่น แม่ ถนอม ลูก อ่อน อัน เปน ที่ รัก,
ทะนาย (290:9)
         นาย รอง, คน ใช้ ขุนนาง, เปน ชื่อ คน รับ ใช้ พวก ขุนนาง นั้น, เช่น พวก มะ*หาดเล็ก จ้าวต่าง กรม นั้น.
ทะธิ (290:10)
         นมข้น, คือ น้ำนม โค ข้น นั้น, เช่น น้ำกะธิ ที่ บิด ออก จาก มะพร้าว ข้น ๆ.
ทะมิล (290:11)
         ใจ ดุะ*ร้าย, ใจ ฉะกรรจ์, เปน ชื่อ คน ใจ ดุะ*ร้าย ที่ อาจ ฆ่า คน ได้ นั้น, เช่น พวค แขก เอบฟะวิกา นั้น.
ทแย (290:12)
         ร้อง เพลง, คือ การ ที่ พวก มอญ ร้อง เพลง โต้ ตอบ กัน นั้น.
ทะล่า (290:13)
         คือ ความ ทะนง หมิ่น ประหมาท หน่อย ๆ นั้น.
ทะแยง (290:14)
         เฉลียง, คือ การ วัด ตั้ง แต่ มุม นี้, ทะแยง ไป หา มุม โน้น นั้น, เช่น วัด แทยง มุม.
ทะยาน (290:15)
         ทะเยอ, ลิงโลด, อยาก ได้, เปน ชื่อ ความ ที่* ลิง โลด อยาก ได้ นั้น, เช่น เฃา พูด กัน ว่า เหาะ ทยาน.
ทะระพิศม์ (290:16)
         ออกฝีดาษ, เปน ชื่อ โรค ฝีดาษ ทั้ง ปวง นั้น.
ทะระพล (290:17)
         คน ยาก จน, คน เข็ญ ใจ, คน ทุกะตะ, เปน ชื่อ คน จน คน เข็ญ ใจ นั้น, เช่น พวก เที่ยว ฃอ ทาน เลี้ยง ชีวิตร.
ทะเรศตรี (290:18)
         เปน ชื่อ พระ มหา กระษัตริย์ ผู้ ดำรงค์ ราชสมบัติ นั้น, เช่น พระเจ้า แผ่นดิน อัน ใหญ่.
ทาลีทก (290:19)
          ฯ, แปล ว่า เข็ญ ใจ เหมือน คน จน ไร้ ทรัพย์ นั้น, เช่น คน ฃอทาน.
ทะลุะ (290:20)
         ปรุะ, โปร่ง, กลวง เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ กลวง เปน ช่อง นั้น, เช่น เรือ ทลุะ ม่อ ทะลุะ นั้น.
ทะเล (290:21)
         เปน ชื่อ มหา สมุท นั้น, เช่น ท้อง ทะเล ใหญ่ ที่ จะ ไป เมือง อะเมริกัน.
      ทะเล บ้า (290:21.1)
               คือ อาการ ใน ท้อง ทะเล, เมื่อ น่า ลม พะยุ พัด แรง กล้า นัก เกิด คลืน ใหญ่ กำเริบ ไป หลาย วัน นั้น.
      ทะเล สาบ (290:21.2)
               เปน ชื่อ ทะเล น้ำ จืด มี ที่ บน แผ่นดิน บาง แห่ง นั้น, เช่น ทะเล สาบ เปน แดน เขมร.
      ทะเล ทราย (290:21.3)
               คือ ที่ ทะเล ไม่ มี โคลน มี แต่ ทราย นั้น, เช่น ทเล ทราย ใน ประเทศ ฮินดู ซาน.
ทะแลง (290:22)
         คือ ของ ทะลาย สิ่ง ที่ แขง มี อิฐ แล สิลา
ทะแหลง (290:23)
         คือ กล่าว คำ พูด ถึง เรื่อง ความ ต่าง ๆ นั้น, เช่น คำ ว่า จะ แถลง แจ้ง ข้อ.
ทะลวง (290:24)
         คือ อาการ ถลัน เข้า ไป ฤๅ ทะลุะ พูด ออก ไป นั้น, เช่น คน ทะลวง เข้า ใน ห้อง.
ทะเล้น (290:25)
         คือ สิ่ง ของ ที่ ประทุะ ย้อย* ออก มา ฤๅ หูง เข้า แฉะ สุก ครึ่ง ดิบ ครึ่ง นั้น, เช่น เข้า ทะเล้น ม่อ.
ทลึ่ง (290:26)
         คือ การ ทำ ตัว ให้ ผุด ทะลวง ขึ้น พ้น น้ำ ครึ่ง* ตัว นั้น, เช่น จรเข้ ผุด ทะลึ่ง.
ทะลาย (290:27)
         คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ หัก พัง ล้ม ลง นั้น, เช่น กำแพง พัง ทะลาย ลง.

--- Page 291 ---
ทะลุย ทะลาย (291:1)
         คือ ฟูก ที่ ทะลุะ* เปน ช่อง, แล มี นุ่น ทะลัก ออก มา กระจัด กระจาย อยู่ นั้น.
ทะเลาะ (291:2)
         วิวาท, คือ ความ ที่ กล่าว คำ แก่ง แย่ง ด่า ว่า ทุ่ง เถียง กัน ต่าง ๆ นั้น, เช่น คน ทะเลาะ วิวาท กัน.
ทะลาย หมาก (291:3)
         คือ ช่อ ที่ ลูกหมาก มัน ติด อยู่ นั้น, เช่น หมาก ทั้ง อัน.
ทะวิ (291:4)
          ฯ, สอง ฤๅ คูณ ขึ้น สอง เท่า นั้น, เช่น คำ ว่า ปรับ ทะวี คูณ นั้น.
      ทะวิบาท (291:4.1)
               คือ ท้าว สอง ข้าง แห่ง พวก สัตว มี ท้าว สอง นั้น, เช่น นก แล ไก่.
ทะวีป (291:5)
         คือ เกาะ น้อย ใหญ่ ทั้ง ปวง นั้น.
ทะวาราวะดี (291:6)
         เปน ชื่อ เมือง แต่ ก่อน, เมือง อยู่ ฝ่าย ทิศ ตะวัน ตก นั้น.
ทะวาร (291:7)
         คือ ประตู แล ช่อง สำรับ เข้า ออก นั้น, เช่น ทะวาร พระราชวัง ฤๅ ทวาร ทั้ง เก้า.
      ทะวารา (291:7.1)
                ฯ, แปล ว่า ประตู*, บันดา ประตู ทั้ง หมด เรียก เปน คำ สับท์ ว่า ทวาร.
      ทะวาร หนัก (291:7.2)
               คือ รู ก้น ที่ สำรับ ถ่าย ทุกข หนัก นั้น, เช่น ทาง เว็จมรรค.
      ทะวาร เบา (291:7.3)
               คือ รู ช่อง สำรับ ถ่าย มูต ออก นั้น, เช่น ทาง ปัศสาวะมรรค.
ทะเวน (291:8)
         คือ ทำ ประจาน โทษ ความ ชั่ว ต่าง ๆ นั้น, เช่น ตะเวน พวก นักโทษ ทาง บก ทาง เรือ.
ทะวาย (291:9)
         เปน ชื่อ คน ชาติ์ หนึ่ง คล้าย กัน กับ พวก พะม่า, เช่น พวก ทะวาย เมือง มะฤท ตะนาว.
      ทะวาย รำ (291:9.1)
               คือ พวก คน ทวาย เปน ผู้ ฟ้อน รำ นั้น, เช่น ทวาย รำ ตาม ช่อง สะทา.
ทหาร (291:10)
         เปน ชื่อ พวก พล ที่ สำรับ รบ ฆ่า ศึก นั้น, เช่น พวก ทหาร ปืน หลวง นั้น.
ทะวะดึงษาการ (291:11)
          ฯ, คือ อาการ สามสิบสอง มี ผม มี สมอง ใน ศีศะ เปน ที่ สุด นั้น.
ทะอาจารริย์ (291:12)
          ฯ, คือ เรียก คน ผู้ สอน สาศนา นั้น, เช่น คำ ว่า ท่าน อาจารริย์ เจ้า ข้า.
ทัก (291:13)
         คือ ความ ที่ ไต่ ถาม กัน ถึง เหตุ ผล ต่าง ๆ นั้น, เช่น คำ ทัก กัน ว่า, ท่าน จะ ไป ไหน.
      ทักขิณาวัฎ (291:13.1)
                ฯ, แปล ว่า เวียน ขวา, มี สังขทิกขิณาวัฎ.
      ทักษิณ (291:13.2)
               เปน ชื่อ เวียน รอบ เบื้อง ขวา นั้น, เช่น คน เดิน ทักษิณ เลียบ เมือง นั้น.
      ทัก ถาม (291:13.3)
               คือ ความ ที่ ถาม ทัก กัน นั้น, เช่น คน ภบ กัน แล้ว ถาม กัน ว่า ท่าน สบาย อยู่ ดอก ฤๅ.
      ทัก ทาย (291:13.4)
               คือ ความ ที่ ทัก* กัน แล้ว ทาย ต่อ ไป ใน เบื้อง น่า นั้น, เช่น พวก โหร ทัก ทาย เคราะห์ ร้าย เคราะห์ ดี นั้น.
      ทักกะทิน (291:13.5)
               เปน ชื่อ ตำรา ที่ เขา จดหมาย วัน ที่ จัด ไว้ เปน ดี แล ชั่ว, ตาม ขึ้น แล แรม โดย ย่อ นั้น เรียก ว่า.
ทาก (291:14)
         เปน ชื่อ สัตว อย่าง หนึ่ง ตัว เหมือน ปลิง เล็ก ๆ, อยู่ บน บก กิน เลือด เปน อาหาร, เช่น ทาก ใน ดง.
      ทากหอย (291:14.1)
               เปน ชื่อ ทาก อย่าง หนึ่ง ตัว เหมือน หอย แบน ๆ, เช่น ทาก หอย ที่ ตาม สวน.
ทึก (291:15)
         เปน ชื่อ การ ที่ มอบ เวน ให้ นั้น, เช่น พวก เด็ก มัน มอบ เวน สิ่ง ของ กัน ว่า ทึก เจ้า.
      ทึก ทัก (291:15.1)
               คือ ความ สดุ้ง ตก ใจ นั้น, เช่น คน ทั้ง ปวง ตก ใจ กลัว ใจ ฅอ ทึก ทัก.
ทุกขราช (291:16)
         เปน ชื่อ ขุนนาง อยู่ ฝ่าย วัง น่า, แต่ ตั้ง บ้าน เรือน อยู่ ใน หัวเมือง ขึ้น นั้น.
ทุกข์ (291:17)
         เปน ชื่อ ความ ลำบาก ทั้ง ปวง นั้น, เช่น ทุกข์, ชะรา ทุกข, พะยาธิทุกข, มรณะทุกข.
      ทุกข เวทนา (291:17.1)
                ฯ, แปล ว่า ความ ทุกข ที่ คน ได้ นั้น.
      ทุกคะตะ ความ ยาก จน (291:17.2)
               ความ เข็ญ ใจ, ว่า คน ถึง ซึ่ง ยาก, เช่น คน ยาก จน เข็ญ ใจ นั้น.
      ทุกขัง (291:17.3)
                ฯ, ความ ยาก, ความ ลำบาก, เปน ชื่อ ความ ลำบาก ทั้ง ปวง นั้น, เช่น คน ต้อง ทุบ ถอง โบยตี.
      ทุก คน (291:17.4)
               ทุก ผู้, คือ ครบ ตัว คน นั้น, เช่น เขา พูด กัน ว่า ได้ ของ แจก ทุก คน ๆ แล้ว.
      ทุก เดือน (291:17.5)
               ไม่ เว้น เดือน, คือ ไม่ เว้น เดือน นั้น.
      ทุก ตน (291:17.6)
               ทุก ตัว, คือ ความ ที่ ไม่ เว้น ตัว นั้น, เช่น เกิด มา เปน ตัว แล้ว ต้อง ตาย ทุก ตน.
      ทุก ตัว (291:17.7)
               คือ ไม่ เว้น ตน นั้น.

--- Page 292 ---
      ทุก ที (292:17.8)
               ทุก ครั้ง, ทุก คราว, คือ ความ ที่ ไม่ เว้น ครั้ง เว้น ที นั้น.
      ทุก ปี (292:17.9)
               คือ ไม่ เว้น ปี นั้น.
      ทุก วัน (292:17.10)
               คือ ไม่ เว้น วัน นั้น.
      ทุกขยาก (292:17.11)
               คือ ความ ลำ บาก ยาก แค้น นั้น, เช่น คน มี ทุกข ยาก เปน ทาษ เขา.
      ทุก แห่ง (292:17.12)
               ทุก หน, ทุก ตำ บล, คือ ไม่ เว้น แห่ง เว้น ที่ นั้น.
      ทุก องค์ (292:17.13)
               คือ ไม่ เว้น องค์ นั้น.
ทอก (292:1)
         เปน ชื่อ ช้าง ใหญ่ ที่ มี งา ช้าง เดียว นั้น, เช่น เขา เรียก ว่า อ้าย ทอก งา เดียว.
เทือก (292:2)
         ที่ ตม, ที่ โคลน, เปน ชื่อ คน ทำ ที่ ให้ เปน โคลน นั้น, เช่น พวก ชาว นา ทำ เทือก ตก กล้า นั้น.
ทง (292:3)
         เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ ทำ ด้วย ผ้า บ้าง, กะดาด บ้าง เปน สาม มุม มี ชาย, เช่น ทง รบ ศึก นั้น.
      ทง กะดาด (292:3.1)
               เปน ชื่อ ทง ทั้ง ปวง ที่ เขา ทำ ด้วย กะดาด นั้น, เช่น ทง ที่ เขา บูชา เจดีย์ ทราย.
      ทง ขาว (292:3.2)
               คือ ทง ศรี ขาว ทั้ง ปวง นั้น, เช่น ทง ที่ เขา ทำ ด้วย ผ้า ขาว อย่าง ทง แห่ พระ.
      ทง เขียว (292:3.3)
               คือ ทง ศรี เขียว ทั้ง ปวง นั้น.
      ทง ไชย (292:3.4)
               คือ ทง ใหญ่ ที่ มี ชาย นั้น, เช่น ทง รบ ศึก สำรับ นำ น่า กอง ทัพ.
      ทง แดง (292:3.5)
               คือ ทง ศรี แดง ทั้ง ปวง นั้น.
      ทง จรเข้ (292:3.6)
               คือ ทง ที่ เขา เอา ผ้า มา ตัด เปน รูป จรเข้ นั้น, เช่น ทง จรเข้ ที่ เขา ปัก ตาม น่า วัด.
      ทง ตะขาบ (292:3.7)
               คือ ทง ที่ เขา ทำ เปน รูป ตะขาบ นั้น, เช่น ทง พวก เจ็ก แห่ จ้าว.
      ทง เทียว (292:3.8)
               คือ ทง ทั้ง ปวง นั้น, เช่น คำ ว่า ทง เทียว เขียว แดง นั้น.
      ทง ยัญ (292:3.9)
               เปน ชื่อ ทง ที่ เขา ลง เปน รูป ยัญ ต่าง ๆ นั้น, เช่น ทง ยัญ ยก ทัพ นั้น.
      ทง เหลือ (292:3.10)
               คือ ทง ศรี เหลือง ทั้ง ปวง นั้น.
ทั่ง (292:4)
         เปน ชื่อ เหล็ก ที่ สำรับ รอง ตี เหล็ก นั้น, เช่น ทั่ง ที่ เขา รอง ตี มีด.
ทั้ง (292:5)
         หมด ด้วย กัน, แต่ บันดา, คือ หมด ด้วย กัน นั้น, เช่น คำ เขา พูด กัน ว่า ให้ มา ทั้ง หมด ด้วย กัน.
      ทั้ง นี้ (292:5.1)
               คือ หมด ด้วย กัน เท่า นี้ นั้น, เช่น คำ ว่า เรา จะ ต้อง ไป ห ด* ทั้ง นี้.
      ทั้ง นั้น (292:5.2)
               คือ หมด ด้วย กัน ทั้ง นั้น นั่น, เช่น คำ ว่า เรา จะ ต้อง ตาย หมด ทั้ง นั้น.
      ทั้ง บ้าน (292:5.3)
               คือ หมด ด้วย กัน ใน บ้าน นั้น, เช่น คำ ว่า ตาย หมด ทั้ง บ้าน.
      ทั้ง ปวง (292:5.4)
               คือ หมด ด้วย กัน ทั้ง สิ้น นั้น, เช่น คำ ว่า ชีวิตร ของ สัตว ทั้ง ปวง ไม่ เที่ยง.
      ทั้ง พวก (292:5.5)
               คือ หมด ด้วย กัน ทั้ง พวก นั้น.
      ทั้ง แม่ ทั้ง ลูก (292:5.6)
               คือ หมด ด้วย กัน ทั้ง แม่ ลูก นั้น, เช่น คำ ว่า ตาย หมด ทั้ง แม่ ทั้ง ลูก.
      ทั้ง เมือง (292:5.7)
               คือ หมด ด้วย กัน ทั้ง เมือง.
      ทั้ง หมด (292:5.8)
               คือ ทั้ง สิ้น ด้วย กัน นั้น, เช่น คำ ว่า เรา ทั้ง หลาย มี โทษ ทั้ง หมด.
      ทั้ง มวน (292:5.9)
               คือ ทั้ง ปวง นั้น, เช่น คำ ว่า ฃอ พระเจ้า ทั้ง มวน จง เปน ที่ ระฦก ของ ข้า.
      ทั้ง หลาย (292:5.10)
               คือ ทั้ง ปวง นั้น, เช่น คำ ว่า ท่าน ทั้ง หลาย จง ประกอบ ด้วย ความ ศุข.
      ทั้ง วัง (292:5.11)
               คือ หมด ด้วย กัน ทั้ง ที่ ล้อม นั้น, เช่น คำ ว่า เปน ศุข สิ้น ทั้ง วัง นั้น.
      ทั้ง สอง (292:5.12)
               คือ หมด ด้วย กัน ทั้งสอง นั้น, เช่น คำ ว่า ไป ด้วย กัน ทั้งสอง นั้น.
      ทั้ง สิ้น (292:5.13)
               คือ หมด ทั้ง นั้น เหมือน ของ มี สิบ อัน, ให้ เขา ไป ทั้ง สิบ อัน นั้น ว่า. ให้ ไป ทั้ง* สิ้น.
ทาง (292:6)
         มรรคา, วิถี, ถนล, เปน ชื่อ ที่ สำรับ เปน ที่ เดิน ไป มา นั้น, เช่น ถนล ใหญ่ ฤๅ ทาง หลวง.
      ทาง เก่า (292:6.1)
               ทาง เดิม, ทาง ก่อน, คือ ทาง เดิม ทาง ก่อน ทาง ที่ มี มา นาน นั้น, เช่น คำ ว่า หน ทาง เก่า แก่.
      ทาง* กันดาร (292:6.2)
               ทาง ยาก แค้น, เปน ชื่อ ทาง ลำบาก นัก ต้อง เอา น้ำ ไป กิน ด้วย นั้น. เช่น ข้าม ทะเล ทราย ใหญ่.
      ทาง ไกล (292:6.3)
               ทาง ไม่ ใกล้, คือ ทาง ไม่ ใกล้ นั้น, เช่น ทาง จะ ไป เมือง จีน ฤๅ จะ ไป เมือง อะเมริกัน.

--- Page 293 ---
      ทาง ใกล้ (293:6.4)
               คือ ทาง ไม่ ไกล นั้น, เช่น ทาง ประมาณ สอง ชั่ว โมง สาม ชั่ว โมง.
      ทาง คด (293:6.5)
               ทาง เลี้ยว ลด, ทาง เวียน วก, ทาง อ้อม ค้อม, เปน ชื่อ หน ทาง ไม่ ตรง นั้น, เช่น ทาง อ้อม ค้อม ฤๅ ทาง ถือ ผิด.
      ทาง แคบ (293:6.6)
               ทาง เล็ก, ทาง ตรอก, ทาง ไม่ กว้าง, คือ ทาง ไม่ กว้าง ทางเล็ก นั้น. เช่น ทาง ตาม ตรอก ฤๅ ทาง พระ นิพาน.
      ทาง ดี (293:6.7)
               ทาง ไม่ ชั่ว, ทาง สอาจ, ทาง ศุคะติ, เช่น ทาง ศุคะติ ฤๅ ทาง กลาง มี สัมมาทฤษฐิ.
      ทาง เดิน (293:6.8)
               ทาง ดำเนิน, ทาง ไป, ทาง บทจร, คือ ทาง ดำเนิน ไป มา นั้น, เช่น ทาง ใหญ่ ฤๅ ทาง ศุคะติ ทุกคะติ.
      ทาง ตีน (293:6.9)
               ทาง บทจร, ทาง เดิน, ทาง ไป ด้วย ท้าว, คือ มิ ใช่ ทาง เรือ เปน ทาง เดิน ไป มา ด้วย ท้าว นั้น.
      ทาง ตาย (293:6.10)
               ความ มรณะ, พระยามัจจุราช, คือ ความ ที่ ต้อง ตาย แห่ง สัตว ทั้ง ปวง นั้น, เช่น มัจจุราช มี เสนา ใหญ่.
      ทาง ถูก (293:6.11)
               ทาง ชอบ, อรรษฎาง คิกะมรรค, ทาง ธรรม, คือ มิ ใช่ ท* ผิด เปน ทาง ชอบ นั้น, เช่น ทาง ประกอบ ด้วย องค์ อะวัยะวะแปด,
      ทาง ทุกข (293:6.12)
               ทาง กันดาร, ทาง ลำบาก, ทาง คับ แคน*, ทาง ชั่ว, คือ ทาง ชั่ว ลำบาก* นั้น.
      ทาง ธรรม (293:6.13)
               ทาง ดี, ทาง ถูก, ทาง ชอบ, คือ ทาง ดี ทาง ถูก ทาง ชอบ นั้น, เช่น ทาง ประกอบ ด้วย องค์ แปด ฤๅ ทาง ตรง.
      ทาง น้ำ (293:6.14)
               ชลมารรค วิถี, ทาง ทะเล, ทาง เรือ, คือ มิ ใช่ ทาง บก นั้น, เช่น ทาง ตาม แม่ น้ำ ทาง ทะเล, ทาง ไป ด้วย เรือ.
      ทาง บก (293:6.15)
               สถลมารรค วิถี, ทาง ข้าง, ทาง ม้า, ทาง รถ, คือ มิ ใช่ ทาง น้ำ นั้น, เช่น* ที่ แผ่นดิน แห้ง, มี ทาง ช้าง ทาง รถ.
      ทาง บุญ (293:6.16)
               ทาง ชำระ ใจ ให้ ผ่อง, ทาง กุศล, คือ มิ ใช่ ทาง บาป นั้น, เช่น ทาง ชำระ ใจ ให้ ผ่อง บริสุทธิ์ นั้น.
      ทาง บาป (293:6.17)
               ทาง ลามก, ทาง นรก, คือ มิ ใช่ ทาง บุญ นั้น, เช่น ทาง ลามก มี ความ โลภ, ความ โกรธ ความ หลง.
      ทาง บำเพ็ญ (293:6.18)
               ทางวิปัศะนา, ทาง กรรมฐาน, คือ ทาง ที่ กระทำ การ ดี ให้ เต็ม* นั้น, เช่น นั่ง นึก กรรมฐาน ทั้ง สี่สิบ.
      ทาง ไป (293:6.19)
               ทาง จร, ทาง สรรจร, คือ มิ ใช่ ทาง มา นั้น, เช่น ทาง ที่ เรา จะ ไป เมือง นี้ เมือง นั้น.
      ทาง ผิด (293:6.20)
               ทาง มฤจฉาทิษฐิ, นาง ไม่ ชอบ, ทาง ไม่ ถูก, คือ มิ ใช่ ทาง ถูก มิ ใช่ ทาง ชอบ นั้น, เช่น ทาง คน หลง ฤๅ คน เหน ผิด เปน ชอป นั้น.
      ทาง ผล (293:6.21)
               ทาง ประโยชน์, ทาง อริยะผล, คือ ถาง ที่ เปน คุณ เปน ประโยชน์ นั้น, เช่น ทาง ที่ ใจ ถึง อะริยะผล.
      ทาง หลวง (293:6.22)
               ทาง ใหญ่, คือ หน ทาง ใหญ่ ที่ คน เดิน ไป มา โดย มาก, มิ ใช่ ทาง ซรอก ตรอก เล็ก น้อย นั้น.
      ทาง ลัด (293:6.23)
               คือ ทาง ตรง ไม่ คด ค้อม อ้อม ไป ถึง เร็ว พลัน นั้น.
      ทาง มรรค ทาง ผล (293:6.24)
               ทาง ประกอบ ด้วย องค์ แปด, ทาง ชอบ, ทาง ดี, คือ ทาง ประฎิบัติ เพื่อ จะ ดับ ทุกข ทั้ง ปวง นั้น, เช่น ทาง ประกอบ ด้วย องค์แปด.
      ทาง ไมตรี (293:6.25)
               ทาง เมตา, ทาง กรุณา, คือ ทาง เมตา นั้น, เช่น คน ตั้ง ใจ เสมอ ใน สัตว ทั้ง ปวง ว่า, สัตว ทั้ง หลาย จง อย่า มี เวร แก่ เรา เลย.
      ทาง มะพร้าว (293:6.26)
               คือ กิ่ง ที่ ออก มา จาก ต้น มะพร้าว นั้น, เช่น ทาง ตาล ทั้ง ปวง.
      ทาง หมาก (293:6.27)
               คือ สิ่ง* ที่ ออก มา จาก ต้นหมาก, แล้ว มี ก้าน มี ใบ นั้น, เช่น ทาง มะพร้าว.
      ทาง มิจฉาปะติปทา (293:6.28)
               ทาง ปะฎิบัติ ผิด, ทาง ถือ ผิด, คือ ทาง ปะฎิบัติ ผิด นั้น, เช่น คน ถือ ผิด เปน ชอบ.
      ทาง เรือ (293:6.29)
               ทาง ชลมารควิถี, ทาง น้ำ, ทาง ทเล, คือ ทาง ที่ สำรับ เรือ เดิน นั้น.
      ทาง สวรรค์ (293:6.30)
               ทาง ยอด @ง ดี ที่ สุด, ทาง ศุคะติ, คือ ทาง ยอด ดี นั้น, เช่น ทาง ศุคะติ, ทาง พรหม โลกย์.
      ทาง ศุคะติ (293:6.31)
               ทาง ไป ดี, ทาง กุศล ทาง สวรรค์, คือ ทาง ไป ที่ ดี ที่ ชอบ นั้น, เช่น ทาง สวรรค์ ทาง พรหม โลกย์,
      ทาง สัมมาปะติปะทา (293:6.32)
               ทาง ปะฎิบัติ ชอบ, ทาง สัมมาทิฐิ, คือ ทาง ปะฎิบัติ ดี, ประพฤษติ์ ชอบ นั้น, เช่น ทาง ปะฎิ บัติ ตาม ทาง ประกอบ ด้วย องค์ แปด.

--- Page 294 ---
ทิ้ง (294:1)
         ถอด, สละ, ละ เสีย, คว่าง, คือ หยิบ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง โยน เสีย ขว้าง เสีย ละ เสีย นั้น, เช่น คน ทิ้ง บ้าน ทิ้ง เรือน,
      ทิ้ง การ (294:1.1)
               สละ การ, ละ การ เสีย, คือ คน เคย ทำ การ แล ละ การ เสีย นั้น, เช่น ลูก จ้าง ทิ้ง การ ไม่ ทำ งาน.
      ทิ้ง ของ (294:1.2)
               คือ ความ ที่ ละ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง เสีย, เช่น คน ทิ้ง สวน ไร่ นา เสีย นั้น,
      ทิ้ง คว่าง (294:1.3)
               ร้าง อย่า, โยน ขว้าง, ปา เสีย, คือ คน คว่าง ทิ้ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง นั้น, เช่น คน ทิ้ง ไม้ ค้อน ก่อน ดิน.
      ทิ้ง ทอด (294:1.4)
               ร้าง ไว้, แกล้ง ประวิง, ทิ้ง เสีย คือ การ ที่ ทอด ทิ้ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง เสีย นั้น, เช่น คน ทิ้ง ทอด ไม้ โกลน หนุน เรือ.
      ทิ้ง น้ำ (294:1.5)
               โยน น้ำ, คว่าง น้ำ, ปา น้ำ เสีย, คือ การ ที่ เอา สิ่ง ของ ทั้ง ปวง โยน ลง ใน น้ำ นั้น,
      ทิ้ง พ่อ (294:1.6)
               ละ พ่อ เสีย, ไป เสีย จาก บิดา, คือ คน ละ บิดา เสีย นั้น, เช่น ลูก ทิ้ง พ่อ เสีย ไป อยู่ อื่น.
      ทิ้ง แม่ (294:1.7)
               คือ คน ละ แม่ เสีย นั้น, เช่น ลูก ทิ้ง แม่ เสีย ไป เมือง อื่น,
      ทิ้ง เมีย (294:1.8)
               อย่า เมีย เสีย, ร้าง เมีย ไว้, ละ เมีย เสีย, คือ คน ละ เมีย เสีย นั้น, เช่น ผัว ทิ้ง เมีย ร้าง ไว้,
      ทิ้ง ร้าง (294:1.9)
               คือ ละ ไว้ นาน, เหมือน คน อยู่ ใน บ้าน ใน เมือง เปน ต้น, แล้ว ละ บ้าน เมือง ไว้ ไม่ มี ผู้ ใด อยู่ เลย ช้านาน นั้น,
      ทิ้ง ถ่อน (294:1.10)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ ใหญ่ อย่าง หนึ่ง ใบ มัน รี ๆ เขา เอา มา ทำ ยา ได้ บ้าง.
      ทิ้ง เสีย (294:1.11)
               ละ เสีย, ร้าง เสีย, คือ ความ ที่ ทิ้ง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ละ ไว้ นั้น.
ทึ้ง (294:2)
         ดึง, แย่ง, คือ การ ที่ ดึง ยื้อ แย่ง สิ่ง ของ กัน นั้น, เช่น คน ทิ้ง ป่าน ฤๅ แร้ง ทึ้ง เหยื่อ กิน.
      ทึ้ง ถอน ดึง ถอน (294:2.1)
               ฉุด ขึ้น, คือ การ ที่ คน ดึง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง นั้น, เช่น คน ทิ้ง หลัก ถอน ขึ้น.
      ทึ้ง ป่าน (294:2.2)
               ดึง ป่าน, แย่ง ป่าน, คือ การ ที่ คน ดึง ป่าน แย่ง กัน นั้น, เช่น คน คว้า ว่าว แล้ว ทึ้ง ป่าน แย่ง กัน,
      ทึ้ง แย่ง (294:2.3)
               ดึง แย่ง, ฉุด แย่ง, คือ การ ที่ คน ดึง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, เช่น แร้ง กิน ผี ทึ้ง แย่ง กัน นั้น,
ทุ่ง (294:3)
         นา, ที่ แจ้ง, คือ ที่ ไม่ มี ต้น ไม้ มาก, เปน ที่ แจ้ง นั้น, เช่น ทุ่ง นา ทั้ง ปวง นั้น,
      ทุ่ง แก้ว (294:3.1)
               เปน ชื่อ ทุ่ง นา ตำ บล หนึ่ง, เช่น ทุ่ง แก้ว แขวง กรุงเก่า.
      ทุ่ง เตียน (294:3.2)
               นา เตียน, ทุ่ง โล่ง, คือ ทุ่ง นา ที่ ไม่ รก นั้น, เช่น ท้อง ทุ่ง ที่ เตียน เมื่อ ระดู แล้ง.
      ทุ่ง ใหญ่ (294:3.3)
               ทุ่ง หลวง, นา หลวง, เปน ชื่อ เมือง ปาก ใต้ แห่ง หนึ่ง ฤๅ ทุ่ง หลวง นั้น.
      ทุ่ง นา (294:3.4)
               ท้อง นา, คือ ท้อง ทุ่ง ทั้ง ปวง ที่ เขา ทำ นา นั้น.
      ทุ่ง พระเมรุ (294:3.5)
                เปน ชื่อ ที่ แจ้ง ที่ เขา ทำ พระเมรุ นั้น, เช่น ทุ่ง พระ เมรุ กลาง เมือง.
      ทุ่ง หลวง (294:3.6)
               นา หลวง, ทุ่ง ใหญ่, คือ ท้อง ทุ่ง ที่ ใหญ่ กว้าง นั้น, เช่น ทุ่ง* หลวง แสน แสบ.
      ทุ่ง ยั้ง (294:3.7)
               เปน ชื่อ ทุ่ง ตำบล หนึ่ง นั้น, เช่น ทุ่ง ยั้ง บาง โพ ที่ เมือง เหนือ.
      ทุ่ง สมอ (294:3.8)
               เปน ชื่อ ทุ่ง ตำบล หนึ่ง, เช่น ทุ่ง สมอ หนอง ขาว ที่ อยู่ ทิศ ตะวันตก กรุง เทพ.
      ทุ่ง แสน แสบ (294:3.9)
               เปน ชื่อ ทุ่ง นา แห่ง หนึ่ง, เช่น ทุ่ง แสน แสบ คลอง ขุด ใหม่.
ทุ้ง (294:4)
         ตุง, คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ตุง อยู่ นั้น เช่น ใย ผ้า ที่ กิน ลม ฤๅ เปล ผ้า ที่ เด็ก นอน.
      ทุ้ง เทง (294:4.1)
               เปน ชื่อ ต้น ผัก หญ้า สูง ประมาณ สอก* เสศ, มัน มี ลูก สัณฐาน เหมือน โคกกะออม โคมกะดาด ที่ เขา ทำ ตาม ไฟ.
เท้ง (294:5)
         เท้ง เต้ง, คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ลอย อยู่ ใน น้ำ นั้น, เช่น เรือ เท้ง ที่ เมือง จีน.
แทง (294:6)
         ทิ่ม, ตำ, แยง, เปน ชื่อ การ ที่ ทิ่ม ตำ ด้วย อาวุธ ทั้ง ปวง หนัก ๆ นั้น, เช่น คน แทง ปลาไหล.
      แทง กัน (294:6.1)
               ทิ่ม กัน, ตำ กัน, แหย่ กัน, คือ การ ทิ่ม แทง กัน ด้วย เครื่อง สาตราวุธ ต่าง ๆ นั้น, เช่น แทง กัน ตาย.
      แทง คน (294:6.2)
               ทิ่ม คน, ตำ คน, แหย่ คน, คือ การ เอา อาวุธ ต่าง ๆ แทง เข้า ที่ ตัว คน นั้น, เช่น แทง ขะโมย.
      แทง ตาย (294:6.3)
               คือ มะนุษย์ ฤๅ สัตว, ที่ เขา เอา หอก แทง เข้า ที่ ตัว ถึง แก่ มรณะ นั้น.

--- Page 295 ---
      แทง ใจ (295:6.4)
               คิด ถูก ใจ, คะเณ ถูก ใจ, คือ ความ ที่ คิด คาด คะเณ ใน ใจ กัน นั้น, เช่น แม่* ทัพ คิด แทง ใจ กัน ใน กล ศึก.
      แทง เนื้อ (295:6.5)
               พุ่ง เนื้อ ด้วย หอก, แยง เนื้อ ด้วย หอก, คือ การ ที่ คน เอา หอก แทง เข้า ที่ ตัว เนื้อ นั้น, เช่น พวก พราน เที่ยว แทง เนื้อ ใน ป่า.
      แทง บ้าน (295:6.6)
               บ่ง ตรง บ้าน, คือ ความ ที่ ทำ บาญชีย บอก บ่ง ตรง ตำบล บ้าน นั้น, เช่น ทำ บาญชีย สำมะโนครัว แทง บ่ง ตำบล บ้าน.
      แทง บาญชีย (295:6.7)
               บ่ง บาญ ชีย, คือ บาญชีย แทง ชื่อ ที่ คน โอน ส่ง ไป นั้น, เช่น คน รับ หัก รับ โอน บาญชีย.
      แทง ถูก (295:6.8)
               คือ การ ที่ แทง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ไม่ ผิด นั้น.
      แทง ถั่ว (295:6.9)
               เล่น ถั่ว, แทง เส้น, คือ การ ที่ คน เอา เงิน ฤๅ บี้ วาง ลง ที่ กักถั่ว นั้น, เช่น พวก นักเลง แทง ถั่ว พะนัน.
      แทง โป (295:6.10)
               คือ การ ที่ คน เอา เงิน ฤๅ กะแปะ วาง ลง ที่ กักบ้อน โป นั้น.
      แทง ไม้ สามอัน (295:6.11)
               เปน การ โกง ที่ คน เอา เงิน วาง ลง แล้ว จับ ไม้ แหลม สาม อัน ผูก ไหมแดง อัน* หนึ่ง นั้น, เช่น พวก ขี้ ช่อ เล่น ไม้ สามอัน.
      แทง วิไสย (295:6.12)
               คือ การ เล่น อย่าง หนึ่ง, คน แต่ง ตัว เปน เสี้ยว ถาง แล้ว รำ ทวน เล่น แทง กัน นั้น.
      แทง ห่วง (295:6.13)
               เปน การ โกง ที่ คน เอา ไม้ แทง ลง ใน ห่วง นั้น, เช่น* พวก ขี้ช่อ เล่น การ ผะนัน แทง ห่วง กัน.
      แทง อี โปง (295:6.14)
               เล่น อี โปง, คือ การ เล่น ที่ คน เอา เบี้ย เอา เงิน วาง แทง ลง ที่ กะดาน อี โปง นั้น, เช่น เด็ก ๆ แทง อี โปง.
แท่ง (295:1)
         อัน, ลิ่ม, เปน ชื่อ สิ่ง ฃอง ทั้ง ปวง ที่ เปน แท่ง รี ๆ นั้น เช่น แท่ง เงิน แท่ง ทอง.
      แท่ง เงิน (295:1.1)
               เงิน ทั้ง แท่ง, คือ การ ที่ คน เอา เงิน มา หลอม ให้ ละลาย เท ลง ใน น้ำ ให้ เปน แท่ง* รี ๆ นั้น, เช่น แท่ง ดินสอ.
      แท่ง ดินสอ (295:1.2)
               ดินสอ อัน หนึ่ง, คือ การ ที่ เอา ดินสอ หิน มา เลื่อย ออก เปน แท่ง ๆ นั้น, เช่น แท่ง ดินสอ ที่ เขียน หนังสือ ไท.
      แท่ง ทอง (295:1.3)
               คือ ทอง ที่ เขา หลอม ทำ แท่ง นั้น.
      แท่ง หมึก (295:1.4)
               คือ หมึก ที่ เขา ทำ เปน แท่ง นั้น, เช่น แท่ง หมึก มา แต่ จีน.
      แท่ง ยา (295:1.5)
               ยา เปน แท่ง, ยา เม็ด รี, คือ ยา ที่ เขา ทำ เปน แท่ง นั้น.
      แท่ง เหล็ก (295:1.6)
               คือ เหล็ก ทั้ง ปวง ที่ เขา ทำ เปน แท่ง ๆ นั้น.
      แท่ง หิน (295:1.7)
               คือ หิน ทั้ง ปวง ที่ เปน แท่ง ๆ นั้น.
แท้ง (295:2)
         ครรภ ตก ไป, ตก ลูก, เปน ชื่อ ครรภ ที่ ตั้ง ขึ้น อ่อน ๆ แล้ว ตก ไป นั้น, เช่น หญิง แท้ง ลูก.
      แท้ง ลูก (295:2.1)
               ตก ลูก, ลูก ตก, เปน ชื่อ การ ที่ ลูก ใน ท้อง ตก เสีย แต่ ยัง อ่อน ๆ นั้น.
โทง (295:3)
         โดด สูง, ดวด, คือ อาการ ของ สิ่ง เดียว ที่ ดู สูง กว่า เพื่อน นั้น. เช่น คำ ว่า วิ่ง โทง ๆ ไป โน้น แล้ว.
      โทง เทง (295:3.1)
               สูง ดวด, สูง โดด, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ สูง โดด กว่า สิ่ง ของ ทั้ง ปวง นั้น, เช่น ต้น ตาล ดวด สูง โทง เทง นั้น.
ทอง (295:4)
         สุวรรณ, เหม มะ, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ เขา ถลุง ออก จาก ก้อน แร่ มี ศรี เหลือง* นั้น.
      ทอง ขาว (295:4.1)
               เปน ชื่อ ทอง ศรี ขาว ๆ ทั้ง ปวง นั้น, เช่น ถาด ทอง ขาว ที่ มา แต่ เมือง จีน นั้น.
      ทอง คำ (295:4.2)
               สุวรรณ, ทอง ปะหัง, เปน ชื่อ ทอง สุก สิ้น มลทิน นั้น, เช่น ทอง คำ บางตะพาน ฤๅ ทอง ใบ นั้น.
      ทอง ชมภูนุช (295:4.3)
               ทอง ธรรมชาติ์. ทอง นพคุณ, ทอง คำ, เปน ชื่อ ทอง สำคัญ อย่าง หนึ่ง, เขา ว่า บังเกิด แต่ ผลไม้ ว่า ประจำ ทะวีป นั้น, เหมือน ทอง คำ ธรรมชาติ์
      ทอง ดี (295:4.4)
               ทอง คำ, ทอง ปะหัง, ทอง แท้, คือ มิ ใช่ ทอง แดง ทอง เหลือง ทอง เคลือบ นั้น, เช่น ทอง คำ บริสูทธิ์.
      ทอง แดง (295:4.5)
               เปน ชื่อ ทอง ศรี่ แดง นั้น, เช่น ทา ทอง แดง ฤๅ แผ่น ทอง แดง หุ้ม กำปั่น.
      ทอง แท่ง (295:4.6)
               แท่ง ทอง, ทอง ลิ่ม, ทอง ก้อน, เปน ชื่อ ทอง ที่ เขา หลอม เปน แท่ง ๆ นั้น, เช่น ทอง คำ ที่ เขา ทำ เปน ลิ่ม.

--- Page 296 ---
      ทอง ทราย (296:4.7)
               ทอง ย่อย, เปน ชื่อ ทอง คำ ที่ เลอียด เปน ทราย นั้น, เช่น ทอง ทราย ที่ มา แต่ เมือง ลาว.
      ทอง ธรรมชาติ์. ทอง ธรรมดา (296:4.8)
               ทอง ชมภูนุช, คือ ทอง คำ ที่ บังเกิด ตาม ธรรมดา นั้น, เช่น ทอง คำ ที่ เกิด จาก แร่.
      ทอง นพคุณ (296:4.9)
               ทอง ปะหัง, ทอง ธรรมชาติ์, คือ ทอง คำ ที่ มี คุณ เก้า ชั้น นั้น, เช่น ทอง คำ อย่าง ยอด ดี.
      ทอง เนื้อ ต่ำ (296:4.10)
               ทอง เนื้อ สี่, ทอง เนื้อ ห้า, ทอง ศรี ดอก บวบ คือ ทอง ทั้ง ปวง ที่ เนื้อ ไม่ สูง นั้น, เช่น ทอง เนื้อ สี่ เนื้อ ห้า.
      ทอง เนื้อ สี (296:4.11)
               ทอง อ่อน, ทอง ศรี ดอก บวบ, คือ ทอง คำ เนื้อ ต่ำ ศรี เหลือง กว่า ศรี ใบลาน สัก หน่อย นั้น, เช่น ทอง ศรี ดอกบวบ เปน ต้น.
      ทอง เนื้อ ห้า (296:4.12)
               คือ ทอง คำ ที่ เนื้อ สุก กว่า ทอง เนื้อ สี่ ส่วน หนึ่ง นั้น.
      ทอง เนื้อ หก (296:4.13)
               คือ ทอง คำ ที่ เนื้อ สุก กว่า ทอง เนื้อ ห้า ส่วน หนึ่ง นั้น.
      ทอง เนื้อ เจ็ด (296:4.14)
               คือ ทอง คำ ที่ มี เนื้อ สุก กว่า ทอง เนื้อ หก ส่วน หนึ่ง นั้น.
      ทอง เนื้อ แปด (296:4.15)
               คือ ทอง คำ ที่ มี เนื้อ สุก ยิ่ง กว่า ทอง เนื้อ เจ็ด ส่วน หนึ่ง นั้น.
      ทอง ปะธรรมราศ (296:4.16)
               เปน ชื่อ ทอง คำ อย่าง หนึ่ง, เขา ชำระ บริสุทธิ์* สิ้น มลทิน แล้ว นั้น.
      ทอง ปะหัง (296:4.17)
               คือ ทอง คำ ที่ มา แต่ เมือง ปะหัง นั้น, เช่น ทอง เม็ด เข้าเม่า* ที่ มา แต่ เมือง แขก.
      ทอง แปร ธาตุ (296:4.18)
               คือ ทอง คำ ที่ ปน เงิน แล้ว หูง ขึ้น ให้ ศรี สุก นั้น.
      ทอง คำ เปลว (296:4.19)
               เปน ชื่อ ทอง คำ ที่ เขา แผ่ บาง เปน เปลว ติด กะดาด อยู่ นั้น, เช่น ทอง ปิด หนังสือ.
      ทอง พันชั่ง (296:4.20)
               เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง ใบ กลิ่นหอม หน่อย ๆ, เช่น ทอง พันชั่ง ที่ ทำ ยา ไข้ ยา ขี้กลาก.
      ทอง เม็ด เข้าเม่า (296:4.21)
               ทอง ปะหัง. เปน ชื่อ ทอง คำ อย่าง หนึ่ง เปน เม็ด ๆ นั้น, เช่น ทอง ปะหัง ท* มา แต่ แขก.
      ทอง กวาว (296:4.22)
               หัน ปาฤศชาติ์, เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ดอก ศรี แดง คล้าย กับ ทอง หลาง ใบมน.
      ทอง หลาง (296:4.23)
               เปน ชื่อ ต้น ทอง หลาง ทั้ง ปวง ที่ มี อยู่ ตาม สวน นั้น.
      ทอง หลาง ใบ มน (296:4.24)
               เปน ชื่อ ต้นทอง หลาง อย่าง หนึ่ง ใบ กลม ๆ นั้น, เช่น ใบ ทอง หลาง ที่ เขา กิน กับ หมูแนม.
      ทอง หลาง หนาม (296:4.25)
               เปน ชื่อ ต้น ทอง หลาง อย่าง หนึ่ง ที่ ต้น มี หนาม มาก นั้น, เช่น ทอง หลาง หนาม ตาม สวน.
      ทอง โหลง (296:4.26)
               เปน ชื่อ ต้น ทอง หลาง ที่ ไม่ มี หนาม นั้น, เช่น ทอง หลาง ที่ เขา ทำ ค้าง พลู.
      ทอง เหลือง (296:4.27)
               เปน ชื่อ ทอง ศรี เหลือง ที่ มิ ใช่ ทอง คำ นั้น, เช่น ทอง เหลือง ที่ เขา ทำ โต๊ะ แล หล่อ สิ่ง อื่น.
      ทอง ไกล่ (296:4.28)
               ทอง อาบ, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เคลือบ อาบ ด้วย ทอง คำ นั้น. เช่น แหวน ทอง ไกล่.
      ทอง เคลือบ (296:4.29)
               ทอง ไกล่, ทอง อาบ, คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เคลือบ ด้วย ทอง คำ นั้น.
      ทอง ศรี ดอก บวบ (296:4.30)
               ทอง เนื้อ สี่, ทอง ลาว, เปน ชื่อ ทอง ศรี เหลือง อ่อน ๆ นั้น, เช่น ทอง ศรี ดอกบวบ ฤๅ ทอง ลาว, ทอง เนื้อ สี่.
      ทอง สุก (296:4.31)
               ทอง เนื้อ แปด, ทอง บาง ตะพาน, ทอง ใบ, คือ ทอง ศรี เหลือง เข้ม นั้น, เช่น ทอง เนื้อ แปด ศรี สุก ดัง หัว ขะมิ่น เน่า นั้น.
      ทอง อังกฤด (296:4.32)
               คือ ทอง แดง ที่ แผ่ บาง เปน ชั้น ๆ อย่าง ทอง คำ นั้น, เช่น ทอง อังกฤด ที่ มา แต่ เมือง จีน
      ทอง อาบ (296:4.33)
               ทอง เคลือบ, ทอง ไกล่, ทอง ชุบ, คือ ทอง เคลือบ นั้น.
ท่อง (296:1)
         เดิน ลูย, เล่า บ่น, เปน ชื่อ อาการ ที่ เดิน ไป ใน น้ำ ฦก ฤๅ เล่า หนังสือ นั้น, เช่น คน ท่อง น้ำ รุน กุ้ง.
      ท่อง โคลน (296:1.1)
               เดิน ลูย เลน, ท่อง เลน คือ อาการ ที่ เดิน ลุย ไป ใน โคลน นั้น, เช่น คน เดิน ท่อง โคลน ชาย ทะเล.
      ท่อง น้ำ (296:1.2)
               เดิน ฝ่า น้ำ, เดิน ลุย* น้ำ, คือ อาการ ที่ คน ฤๅ สัตว ลง เดิน ไป ใน น้ำ นั้น, เช่น เดิน ท่อง น้ำ ใน คลอง เปน ต้น.
      ท่อง หนังสือ (296:1.3)
               สาทธะยาย หนังสือ, บ่น หนังสือ, คือ ความ ที่ คน เล่า หนังสือ, ที่ เล่า ไว้ ได้ แล้ว นั้น. เช่น เด็ก ท่อง หนังสือ เช้า เอย็น.

--- Page 297 ---
      ท่อง เที่ยว (297:1.4)
               ลูย เทียว ไป, เที่ยว ท่อง ใป, คือ อาการ ที่ คน เที่ยว ท่อง* ไป นั้น, เช่น คน เที่ยว ลาศ ตะเวน ใน ท้อง ทะเล.
ท้อง (297:1)
         อุทร, นรภี, เปน ชื่อ ส่วน อะไวยะวะ ที่ นาภี นั้น, เช่น คำ ว่า ลง ท้อง แสบ ท้อง.
      ท้อง กาง (297:1.1)
               ท้อง ป่อง, ท้อง พอง, ท้อง โป่ง, คือ อาการ ที่ ท้อง นั้น กาง โป่ง ออก ไป นั้น, เช่น ท้อง อึงอาง นั้น.
      ท้อง แฃง (297:1.2)
               ท้อง เปน ดาน, ท้อง ขึ้น, คือ อาการ ที่ ท้อง ไม่ อ่อน นั้น, เช่น คน ท้อง ขึ้น ท้อง แขง นั้น,
      ท้อง ขึ้น (297:1.3)
               ท้อง พอง, ท้อง เฟ้อ, คือ อาการ ที่ ท้อง เสีย แล้ว มูน ขึ้น นั้น, เช่น คน กิน ของ บูด ท้อง ขึ้น.
      ท้อง คราก (297:1.4)
               ท้อง แครก, คือ อาการ แห่ง หนัง ท้อง ที่ แครก ออก ไป นั้น, เช่น ท้อง หญิง มี ครรภ เปน ต้น.
      ท้อง คุ้ง (297:1.5)
               เปน ชื่อ คด แห่ง ฝั่ง แม่น้ำ, ฤๅ คลอง ที่ มัน ค้อม ก่ง อยู่ ชายฝั่ง ข้าง แหลม นั้น, เรียก ว่า.
      ท้อง น้อย (297:1.6)
               คือ อะไวยวะ ที่ ต่ำ พ้น สดือ ลง ไป ถึง หัวเหน่า นั้น, เรียก ว่า,
      ท้อง ฉนวน (297:1.7)
               ทาง ฉนวน, คือ ตาม ทาง ฉนวน นั้น, เช่น ทาง ท้อง ฉนวน ที่ ลง ตำหนัก น้ำ,
      ท้อง ตลาด (297:1.8)
               ตาม ตลาด, ใน ตลาด, ที่ ตลาด, คือ ตาม ถนล ตลาด ฤๅ ตาม ที่ ตลาด นั้น, เช่น ตลาด ท้อง น้ำ ฤๅ ตาม ท้อง ตลาด บก.
      ท้อง ที่ (297:1.9)
               ใน ที่, ตาม ที่, คือ ใน ที่ ทั้ง ปวง นั้น, เช่น คำ เขา ว่า ค้า ขาย ใน ท้อง ที่ เรา นั้น.
      ท้อง ทุ่ง (297:1.10)
               ตาม ทุ่ง, ใน ทุ่ง, คือ ที่ ตาม ท้อง นา ทั้ง ปวง นั้น, เช่น ท้อง ทุ่ง แขวง กรุง เก่า.
      ท้อง คลอง (297:1.11)
               ใน คลอง, ตาม บาง, ลำ คลอง, เปน ชื่อ ที่ ตาม ลำ คลอง ทั้ง ปวง นั้น, เช่น คน ลง หา ปลา ใน ท้อง คลอง.
      ท้อง นา (297:1.12)
               ท้อง ทุ่ง, ที่ นา, เปน ชื่อ ที่ ตาม ทุ่ง นา ทั้ง ปวง นั้น, เช่น ท้อง นา ที่* เขา หว่าน เข้า.
      ท้อง น้ำ (297:1.13)
               ลำ น้ำ, แม่ น้ำ, ที่ ใน แม่ น้ำ, เปน ชื่อ ที่ ใน น้ำ ทั้ง ปวง นั้น, เช่น คำ ว่า ตลาด ท้อง น้ำ
      ท้อง ไม้ (297:1.14)
               ใต้ กิ่ง ไม้, ตาม ท้อง ไม้, คือ ที่ ตาม ใต้ กิ่ง ไม้ ทั้ง ปวง นั้น.
      ท้อง มาน (297:1.15)
               ท้อง โต, ท้อง โป่ง, เปน ชื่อ โรค ท้อง โป่ง ที่ มี น้ำ ขัง อยู่ ใน ท้อง มาก นั้น, เช่น ท้อง มาน ที่ หมอ ต้อง ไข น้ำ ออก เสีย*.
      ท้อง ยุ้ง พุง กะสอบ (297:1.16)
               ท้อง ใหญ่, คือ คน ท้อง ใหญ่ กิน จุะ ด้วย นั้น, เพราะ ท้อง นั้น กิน จุะ เหมือน ยุ้ง แล กะสอบ.
      ท้อง ฟ้า (297:1.17)
               คือ พื้น นภากาศ ที่ แล เหน เปน ฟ้า อยู่ นั้น,
      ท้อง พระโรง (297:1.18)
               เปน ชื่อ ที่ พระที่นั่ง, ที่ เปน โรง สำรับ พระเจ้า แผ่นดิน เสด็จ ออก นั่ง ว่า ราชการ.
      ท้อง โร (297:1.19)
               พุง โร, พุง ป่อง, ท้อง พลุ้ย, คือ พุง โร ฤๅ พุง ป่อง นั้น, เช่น คน ท้อง มาน ฤๅ คน เปน ไข้ ท้อง โร.
      ท้องร่อง (297:1.20)
               ท้อง คู. ลำกะโดง, คือ ร่อง ที่ เขา ขุด เปน ท้อง ๆ ใน ขนัด สวน นั้น.
      ท้อง ร้อง (297:1.21)
               ท้อง ลั่น, ท้อง ดัง โครก คราก, เปน ชื่อ เสียง ที่ ลั่น ดัง อยู่ ใน ท้อง นั้น, เช่น เสียง ท้อง ร้อง ดัง จอก ๆ.
      ท้อง เรือ (297:1.22)
               คือ ท้อง ใน เรือ ทั้ง ปวง นั้น, เช่น ท้อง ตะเภา ท้อง กำปั่น.
      ท้อง ฦก (297:1.23)
               ท้อง ซึ้ง, คือ ท้อง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ไม่ ตื้น นั้น, เช่น ท้อง กำปั่น ท้อง เหว.
      ท้อง ลูก มี ครรภ (297:1.24)
               มี ท้อง, สัตว ปัติสนธิ์, เปน ชื่อ หญิง ที่ มี ลูก อยู่ ใน ท้อง นั้น.
      ท้อง สนาม (297:1.25)
               คือ ที่ พื้น ดิน ที่ เปน ที่ เขา เล่น การ พะนัน มี วิ่ง ม้า เปน ต้น, เช่น ท้อง สนาม หลวง นั้น.
      ท้อง เสียด. ท้อง ปวด ป่วน (297:1.26)
               คลื่น ไส้, เปน ชื่อ ท้อง ที่ โรค เสียด แทง อยู่ ใน ท้อง นั้น, เช่น ท้อง เสียด ปวด มวน.
      ท้อง แห้ง (297:1.27)
               อด อาหาร, คน โซ, คือ ท้อง ยุบ แห้ง ไป นั้น, เช่น คน โซ ไม่ มี ของ กิน ท้อง แห้ง นั้น.
ทวง (297:2)
         ตัก เตือน, ว่า กล่าว, ทวง ถาม, เปน ชื่อ คำ ว่า กล่าว ตัก เตือน จะ เอา สิ่ง ของ ที่ ติด ค้าง กัน นั้น, เช่น คำ ทวง เงิน เปน ต้น.
      ทวง กิน (297:2.1)
               เตือน กิน, ถาม กิน, คือ ความ ที่ คน ตัก เตือน เอา ของ กิน นั้น, เช่น คน ว่า เอา ของ มา ให้ เรา กิน บ้าง.

--- Page 298 ---
      ทวง ของ (298:2.2)
               เตือน ของ, ถาม เอา ของ, คือ ความ ที่ คน ทวง* จะ เอา สิ่ง ของ ที่ ติด ค้าง กัน นั้น, เช่น คำ ว่า เอา ของ เรา มา.
      ทวง ค้าง (298:2.3)
               เตือน ค้าง, คือ ความ ที่ คน ทวง สิ่ง ของ ที่ ค้าง เกิน กัน อยู่ นั้น, เช่น คน ทวง เงิน ค้าง กัน.
      ทวง เงิน (298:2.4)
               เตือน เงิน, ว่า กล่าว เอา เงิน, คือ ความ ทวง จะ เอา เงิน กัน นั้น, เช่น เจ้า นี่ ทวง เงิน ลูก นี่ ทั้ง ปวง นั้น,
      ทวง ทอง (298:2.5)
               เตือน ทอง, คือ เตือน จะ เอา ทอง คำ ที่ ติด ค้าง กัน นั้น.
      ทวง นี่ (298:2.6)
               เตือน นี่, คือ คน ทวง ลูก นี่ ที่ ติด ค้าง กัน นั้น.
      ทวง เบี้ย (298:2.7)
               เตือน เบี้ย, คือ ความ ที่ คน เตือน จะ เอา เบี้ย ที่ ติด ค้าง กัน นั้น, เช่น เจ้าคลาด ทวง เบี้ย ลูกค้า.
ท่วง ที (298:1)
         กิริยา, อาการ, คือ กิริยา อาการ ที่ ประพฤษติ์ ต่าง ๆ นั้น, เช่น คำ ว่า จง ระวัง อย่า ให้ เสีย ท่วงที.
ท้วง (298:2)
         ติง, ทัดทาน, ห้าม ปราม, เปน ชื่อ คำ กล่าว ทัด ทาน ห้าม ปราม นั้น, เช่น เพื่อน ฝูง เหน ไม่ ชอบ ทัก ท้วง เตือน สะติ กัน,
      ท้วง ขึ้น (298:2.1)
               เตือน สติ, ทัด ทาน ขึ้น, เปน ชื่อ คำ เตือน สติ ทัด ทาน ขึ้น นั้น, เช่น พ่อ แม่ เหน ลูก ทำ ผิด ท้วง ติง ขึ้น เปน ต้น.
      ท้วง ติง (298:2.2)
               ทัด ทาน, ห้าม ไว้, เปน ชื่อ คำ ทัด ทาน ห้าม ไว้ นั้น, เช่น พวก พ้อง เหน เรา ทำ ผิด ช่วย ท้วง ติง.
      ท้วง ทัก (298:2.3)
               ทัก ขึ้น, ท้วง ติง, เปน ชื่อ คำ ที่ ทัก ขึ้น ท้วง ติง ด้วย นั้น, เช่น พี่ น้อง เขา เหน เรา ทำ ชั่ว, ช่วย ท้วง ทัก ว่า กล่าว.
เที่ยง (298:3)
         ตรง, ไม่ แปร ปรวน, คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ตั้ง อยู่ ตรง นั้น, เช่น เวลา ตะวัน เที่ยง นั้น.
      เที่ยง ตรง (298:3.1)
               ไม่ คด โกง, ความ สัจธรรม, คือ อาการ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ไม่ คด ไม่ โกง นั้น, เช่น บังคับ ความ เที่ยง ตรง.
      เที่ยง คืน (298:3.2)
               กลาง คืน, เวลา ดึก, คือ เวลา กลาง คืน นั้น, เช่น เวลา ดึก สอง ยาม ครบ แล้ว.
      เที่ยง แท้ (298:3.3)
               ตรง จริง, ยุติธรรม, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ตรง จริง ๆ นั้น, เช่น คำ ว่า พระเจ้า เที่ยง แท้.
      เที่ยง ธรรม (298:3.4)
               ซื่อ สัจ, ตรง ตาม ธรรม, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ตรง ตาม ธรรมดา ที่ เปน นั้น, เช่น ความ เกิด แก่ ตาย.
      เที่ยง แล้ว. ตรง แล้ว (298:3.5)
               กึ่ง กลาง แล้ว, คือ เวลา ตะวันบ่าย นั้น แล้ว.
เทิ่ง (298:4)
         คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เหน เลื่อน ลอย ปรากฏ อยู่ นั้น, เช่น จรเข้ ลอย เทิ่ง ทั้ง ตัว เปน ต้น.
ทด (298:5)
         กั้น, แทน, เปน ชื่อ กั้น ฤๅ แทน ฤๅ ลอง ดู นั้น, เช่น คน ทด น้ำ ปิด กั้น ไว้, ฤๅ ทดแทน คุณ ท่าน ฤๅ ทด ลอง ดู.
      ทด กั้น (298:5.1)
               ปิด กั้น, เปน ชื่อ* การ ที่ ปิด กั้น ให้ ทด คั่ง อยู่ นั้น, เช่น คน ทด กั้น น้ำ ไว้ ให้ มาก.
      ทด เข้า (298:5.2)
               แทน ค่า เข้า, คือ การ ที่ ทด แทน ค่า เข้า เขา นั้น, เช่น พวก พระสงฆ์ ที่ ไม่ รู้ ย่อม ทด เข้า.
      ทด แทน (298:5.3)
               ตอบ แทน, คือ การ ตอบ แทน ทั้ง ปวง นั้น, เช่น คน ทด แทน คุณ ท่าน.
      ทด น้ำ (298:5.4)
               กั้น น้ำ, คือ การ ที่ ปิด น้ำ กั้น ไว้ นั้น, เช่น พวก ชาว นา ทด น้ำ ให้ ล้น ไหล เข้า นา.
      ทด ลอง (298:5.5)
               พิสูต, คือ การ ชันนะสูต ลอง ดู นั้น, เช่น คน ไล่ เลียง หล่อ หลอม เงิน ทอง.
ทศชาติ (298:6)
         สิบ ชาติ์, เปน ชื่อ กำภีร์ พระธรรม พวก หนึ่ง, ว่า โพธิสัตว เสวย พระชาติ สิบ ชาติ นั้น.
      ทศทิศ (298:6.1)
               สิบ ทิศ, คือ ทิศ ลิบ ทิศ ๆ ขวาง แปด ทิศ มี ทิศ บูรพ์ เปน ต้น, กับ ทิศ เบื้อง บน หนึ่ง เบื้อง ต่ำ หนึ่ง สอง จง เปน สิบ.
      ทศพล (298:6.2)
               กำลัง สิบ, คือ กำลัง พระ ปัญญา ของ พระเจ้า มี สิบ อย่าง, มี สัพพัญญูญาณ เปน ต้น.
      ทศพร (298:6.3)
               พร สิบ, เปน ชื่อ กัณฑ์มหาชาติ กัณฑ์ ต้น นั้น, ชื่อ กัณฑ์ ทศพร ว่า ด้วย พร สิบ ประการ นั้น.
      ทศมิตร ราชธรรม (298:6.4)
               คือ ธรรม ที่ เปน ไมตรี มี สิบ อย่าง มี ให้* ทาน เปน ต้น.
      ทศ กุศล กรรมบถ (298:6.5)
               ธรรมจริยา, สมจริยา, เช่น ชื่อ ทาง ของ การ บุญ สิบ อย่าง นั้น, เหมือน คน เว้น จาก บาป ที่ เกิด แต่ กาย สาม อย่าง, เกิด แต่ วาจา สี่ อย่าง, เกิด แต่ ใจ สาม อย่าง, กุศล ครรบถ, อะธรรมจริยา, วิสมจริยา, เปน ชื่อ ทาง แห่ง การ บาป สิบ ประการ นั้น, เหมือน บาบ ที่ บังเกิด เพราะ กาย สาม อย่าง, บาป ที่ บังเกิด เพราะ วาจา สี่ อย่าง, บาป ที่ บังเกิด เพราะ ใจ สาม อย่าง นั้น.

--- Page 299 ---
      ทศมาศ (299:6.6)
                ฯ, แปล ว่า สิบเดือน, เพราะ นับ ว่า เอกะมาศะ ว่า เดือน หนึ่ง เปน ต้น.
      ทศ ศีล (299:6.7)
               ศีล สิบ ประการ, เปน ชื่อ ศีล สิบประการ นั้น, เช่น ศีล ที่ พวก สามเณร ดี แท้ ประพฤษติ์ ตาม.
ทัด (299:1)
         ทวง ไว้, เหมือน กัน, ห้าม ปราม, คือ ความ เหมือน กัน ฤๅ ทวง* ไว้ ฤๅ ห้าม ปราม นั้น, เหมือน สิ่ง ของ ที่ เทียม ทัด คล้าย กัน ฤๅ ทัด หู.
      ทัด กัน (299:1.1)
               คล้าย กัน, เหมือน กัน, คือ สิ่ง ของ* ทั้ง ปวง ที่ คล้าย ๆ ทัด กัน ไป นั้น เหมือน อย่าง คน ทำ การ ฝี ไม้ ลาย มือ ทัด กัน ไป.
      ทัด ดอกไม้ (299:1.2)
               เหนบ ดอกไม้ ไว้ ที่* หู, ทรง ดอก ไม้, คือ คน เอา ดอก ไม้ เหน็บ ไว้ ที่ หู นั้น, พวก เจ้าชู้ ทัด ดอกไม้ เที่ยว เล่น.
      ทัด ทาน (299:1.3)
               ทัก ท้วง, ห้าม ปราม, เตือน สติ, คือ ความ ที่ ห้าม ปราม ทัด ท้วง ไว้ นั้น, เช่น เพื่อน ฝูง เขา เหน เรา ทำ ชั่ว ช่วย ทัด ทาน ไว้.
      ทัด ทรง (299:1.4)
               ทรง ทัด, คือ การ ที่ ทรง ทัด สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ใว้ นั้น, เช่น คน ทัต ทรง ไว้ ซึ่ง* พวง มาไลย.
      ทัศนา (299:1.5)
               แล ดู, แล เหน, เล็ง แล, ว่า แล เหน ด้วย ตา นั้น, เช่น คำ ว่า ได้ ทัศะนาการ เหน ซึ่ง* รูป.
      ทัด หู (299:1.6)
               ทรง ไว้ ที่ หู, เหน็บ ไว้ ที่ หู คือ การ ที่ เอา สิ่งของ สอด เหน็บ ไว้ ที่ หู นั้น, เช่น คน เอา บู้หรี่ ทัด หู.
ทาษ (299:2)
         ข้า, บ่าว, คือ บ่าว ที่ ถาย* มา ด้วย เงิน นั้น, เช่น คน ข้า น้ำ เงิน เปน ต้น.
      ทาษฉะเลย (299:2.1)
               บ่าว ตีทัพ ได้, คน ไป รบ ศึก ได้, คือ บ่าว ที่ ไป ตี ทัพ จับ ได้ มา นั้น, เช่น พวก ลาว ที่ เปน ทาษ ฉะเลย.
      ทาษ ผูก ดอก (299:2.2)
               ข้า ผูก ดอก เบี้ย*, คือ คน ที่ ทำ หนังสือ สาร กรมธรรม์ ขาย ตัว เปน ทาษ แล้ว, ฃอ ผูก ดอก เบี้ย ตาม ธรรมเนียม นั้น.
      ทาษกรรมกร (299:2.3)
               เปน ชื่อ คน เปน ข้า เขา ใช้ ให้ กระทำ การ งาน ต่าง ๆ นั้น.
      ทาษสมยอม (299:2.4)
               บ่าว สมยอม, ข้า สมยอม, คือ คน ที่ ไม่ เปน ทาษ, รับ สมยอม ว่า เปน ทาษ นั้น, เหมือน คน สัก เปน ทาษสมยอม.
ทิศ (299:3)
         ฝ่าย, ข้าง, ด้าน, คือ ที่ เหน จำเภาะ นั้น, เช่น คำ ว่า ทิศ เหนือ, ทิศ ใต้, ทิศ ตวัน ตก, ตะวันออก.
      ทิศ ตะวันออก (299:3.1)
               ฝ่าย ตะวันออก, ข้าง ตะวันออก, ด้าน ตะวัน ออก, คือ ทิศ ตรง ตะวัน ขึ้น มา ใหม่ นั้น, เช่น ทิศ บูรพ์ นั้น.
      ทิศ ตะวัน ตก (299:3.2)
               ทิศ ประจิม, คือ ทิศ ตรง ตะวัน ตก ลง เมื่อ เวลา เอย็น นั้น, เช่น ทิศ ประจิม นั้น.
      ทิศ เหนือ (299:3.3)
               ทิศ อุดร, คือ เมื่อ ผิน หน้า ไป ตรง ตะวัน ออก แล้ว, ทิศ ที่ อยู่ ตรง เบื้อง ซ้าย นั้น, เปน ทิศ อุดร.
      ทิศ ใต้ (299:3.4)
               ทิศ ทักษิณ, คือ เมื่อ ผิน หน้า ไป ตรง ทิศ บูรพ์ แล้ว, ทิศ ที่ อยู่ ข้าง ขวา นั้น.
      ทิศ บูรพา (299:3.5)
               ทิศ ตะวันออก, คือ ทิศ ตรง หน้า ที่ อาทิตย ขึ้น มา เวลา เช้า นั้น.
      ทิศ อาคะเน (299:3.6)
               คือ ทิศ น้อย ที่ อยู่ ใน ระหว่าง ทิศ ทักษิณ กับ ทิศ บูรพ์ นั้น.
      ทิศ ทักษิณ (299:3.7)
               คือ ทิศ ใต้ นั้น, เช่น เรา นั่ง ผิน หน้า ไป ตวันออก แล้ว อยู่ เบื้อง ขวา.
      ทิศ หรดี (299:3.8)
               เปน ชื่อ ทิศ น้อย ที่ อยู่ ใน ระหว่าง ทักษิณ กับ ประจิม ต่อ กัน นั้น.
      ทิศประจิม (299:3.9)
               คือ ทิศ ตะวัน ตก นั้น, เช่น เรา นั่ง ผิน หน้า ไป ตะวันออก แล้ว อยู่ เบื้อง หลัง.
      ทิศ พะยับ (299:3.10)
               คือ ทิศ น้อย ที่ อยู่ ใน ระหว่าง ทิศ ประจิม, กับ ทิศ อุดร ต่อ กัน นั้น.
      ทิศศาปาโมกข์ อาจารริย์ (299:3.11)
                ฯ, แปล ว่า คน เปน อาจารริย์ เปน ประธาน อยู่ ใน ทิศ, สำรับ รับ จ้าง บอก ศิลประสาดร วีชา ต่าง ๆ นั้น.
      ทิฐ (299:3.12)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า เหน.
      ทิศ อุดร (299:3.13)
               คือ ทิศ เหนือ นั้น, เช่น เรา นั่ง ผิน หน้า ไป ตะวันออก แล้ว, อยู่ ข้าง ซ้าย นั้น.

--- Page 300 ---
      ทิฐิ มานะ (300:3.14)
                ฯ, แปล ว่า เหน ว่า นับถือ ตัว.
      ทิศ อีสาน (300:3.15)
               คือ ทิศ น้อย ที่ อยู่ ใน ระหว่าง ทิศอุดร กับ ทิศ บูรพา ต่อ กัน.
      ทิศศา นุทิศ (300:3.16)
                ฯ, แปล ว่า ทิศ น้อย ใหญ่ เปน ต้น, เช่น ทิศ บูรพา แล ทิศ อาคะเน นั้น.
ทูต (300:1)
         คน นำ ข่าว สาร, เปน ชื่อ คน นำ เรื่อง ราว ข่าว สาร ต่าง ๆ ไป สำแดง นั้น, เช่น ราชทูต จำทูล พระราชสาศน์.
เทษ (300:2)
         เมือง แขก, เปน ชื่อ เมือง แขก นั้น, เช่น คำ ว่า เมือง เทษ, ผ้าเทษ, แดง เทษ, มัน เทษ.
      เทศ (300:2.1)
               แสดง, สำแดง, คือ สำแดง นั้น, เช่น คำ ว่า ระดู นี้ เปน เทศกาล ฝน, ฤๅ คน ฟัง เทศ นั้น.
      เทศกาล (300:2.2)
               แสดง เวลา, สำแดง กาล, คือ สำแดง เวลา ทั้ง ปวง นั้น, เช่น น่า เทศกาล ฝน, น่า เทศกาล ร้อน.
      เทศนา (300:2.3)
               แสดง ธรรม, คือ สำแดง ธรรม ที่ เปน คำ สั่ง สอน นั้น, เช่น เทศนา ข้อ อัดถ์ ธรรม เปน ต้น.
เท็จ (300:3)
         ไม่ จริง, คือ ความ ไม่ จริง, เช่น คำ โกหก มารยา เปน ต้น.
      เท็จ เทียม (300:3.1)
               คือ ความ ไม่ จริง, แล ทำ เทียบ ทำ เทียม นั้น, มี การ ที่ เขา ทำ เงิน ปลอม เปน ต้น.
แทด (300:4)
         ผี ทั้ง ปวง, คือ ผี ทั้ง ปวง นั้น, เช่น ผีปีศาจ, ฤๅ หมู่ อะมะนุษย์* ทั้ง หลาย นั้น.
โทษ (300:5)
         ชั่ว, ประทุษฐร้าย, คือ ความ ชั่ว, แล การ ประทุษฐร้าย ทั้ง ปวง นั้น, เช่น โทษ ปล้น ฤๅ โทษ ขบถ.
      โทษ กรรม (300:5.1)
               คือ บาป* โทษ นั้น, เช่น การ ประทุษฐร้าย เปน ต้น.
      โทษ ขะโมย (300:5.2)
               การ ชั่ว เปน ขะโมย, คือ ความ ชั่ว คิด ประทุษฐ ร้าย ให้ เที่ยว ไป ลัก ทรัพย์ ของ คน อื่น นั้น, เหมือน คน เปน โทษ เพราะ ขะโมย เขา.
      โทษ ถึง ตาย (300:5.3)
               ชั่ว จน ถึง ตาย, ประทุษฐร้าย จน ตาย, คือ คน ต้อง โทษ จน ถึง ตาย นั้น, เช่น คน เปน ขบถ ประ- ทุษฐร้าย ต่อ แผ่นดิน โทษ ถึง ตาย.
      โทษ หนัก (300:5.4)
               ชั่ว หนัก, คือ โทษ ไม่ เบา นั้น, เช่น โทษ ปล้น สดม ฆ่า เจ้า เรือน ตาย เปน ต้น นั้น.
      โทษ เบา (300:5.5)
               โทษ ไม่ หนัก, ความ ชั่ว น้อย, คือ โทษ ไม่ นั้น, เช่น โทษ ความ มะโนสาเร่ นั้น.
      โทษ ปล้น (300:5.6)
               ประทุษฐร้าย ปล้น เขา, ความ ชั่ว ตีชิง เขา, คือ อ้าย พวก ขะโมย ถือ เครื่อง อาวุธ ทะลาย เรือน ตีชิง เอา ของ เขา เวลา กลาง คืน, แล้ว เขา จับ ตัว ได้ ต้อง เปน โทษ นั้น
      โทษ ผิด (300:5.7)
               ความ ชั่ว ผิด, ประทุษฐร้าย ไม่ ชอบ, คือ เปน โทษ เพราะ ทำ ไม่ ชอบ นั้น, เช่น คน โทษ ผิด ต่าง ๆ.
      โทษ ฦก (300:5.8)
               ชั่ว ฦก, ประทุษฐร้าย ฦก, คือ โทษ ไม่ ตื้น นั้น, เช่น คน เปน โทษ ฦก ดุจ โทษ ขบถ นั้น
ทอด (300:6)
         ทิ้ง, เปน ชื่อ การ ที่ ทิ้ง นอน ลง ไว้ นั้น, เช่น ทอด โกลน, ทอด หมอน, ทอด สมอ.
      ทอด กะถิน (300:6.1)
               เปน ชื่อ การ ที่ ท่าน ผู้ มี ความ เชื่อ เอา ผ้า ไตร ไป ทอด ไว้ ใน ท่ำ กลาง สงฆ์, เช่น ทอด กะถิน ตาม วัด นั้น.
      ทอด โกลน (300:6.2)
               เปน ชื่อ การ ที่ เอา ไม้ กลม ๆ ไป ทอด ทำ เปน โกลน นั้น, เช่น คน ทอด โกลน เข็น เรือ.
      ทอด ขะเน็ด (300:6.3)
               วาง ขะเน็ด, เปน ชื่อ การ ที่ เอา เชือก ขะเน็ด ทอด วาง ไว้ นั้น, เช่น พวก ชาว นา ทอด ขะเน็ด รัด ฟ่อน* เข้า นั้น.
      ทอด ขนม (300:6.4)
               วาง ขนม, คือ การ ที่ เอา ขนม ทั้ง ปวง ทอด ลง ใน กะทะน้ำมัน นั้น, เช่น ทอด ขนม กง.
      ทอด โขลง (300:6.5)
               วาง โขลง, ปล่อย โขลง, คือ การ ที่ เอา ช้าง โขลง ไป ทอด ปล่อย ไว้ นั้น, เช่น พวก หมอ ช้าง ทอด โขลง
      ทอด แขน (300:6.6)
               แกว่ง แขน. ส่าย แขน, คือ การ ที่ เดิน แกว่ง แขน ทอด ไป นั้น, เช่น พวก ขุนนาง เดิน ทอด แขน.
      ทอด งวง (300:6.7)
               ทิ้ง งวง, แกว่ง งวง, คือ การ ที่ เอา งวง แกว่ง ทอด ไป ทอด มา นั้น, เช่น ช้าง ทอด งวง ตี อก เปน ต้น นั้น
      ทอด ตัว (300:6.8)
               ทิ้ง ตัว, คือ การ ที่ ทำ ตัว ให้ นอน ลง. อย่าง หนึ่ง คือ ยอม ตัว ลง เปน สิษ เปน ต้น.
      ทอด ใจ ใหญ่ (300:6.9)
               ถอน ใจ ใหญ่, คือ การ ที่ ถอน หายใจ ทอด ยาว ไป นั้น, เช่น คน เปน ทุกข ทอด ใจ ใหญ่.
      ทอด โฉนฎ (300:6.10)
               วาง โฉนฎ, ทิ้ง โฉนฎ, คือ การ ที่ เอา หนังสื โฉนฎ ทอด ไป ถึง ผู้ ต้อง คะดี นั้น, เช่น ทอด โฉนฎ บา* หมาย ให้ ส่ง ตัว คน.

--- Page 301 ---
      ทอด เชือก บาศ (301:6.11)
               ทิ้ง เชือก บ่วง, วาง เชือก บาศ, เปน ชื่อ การ ที่ เอา เชือก บาศ ทิ้ง ทอด ไป นั้น, เช่น หมอ ช้าง ทอด เชือก บาศ คล้อง* ช้าง.
      ทอด ตา ดู (301:6.12)
               วาง ตา ดู, คือ ความ ที่ ตา แล ดู ทอด ไป นั้น, เช่น คน ทอด ตา ดู ซึ่ง สิ่งฃอง อัน มี อยู่ ไกล ๆ.
      ทอด ตะพาน (301:6.13)
               วาง ตะพาน, คือ การ ที่ เอา ใม้ มา ทอด เปน ตะพาน ไว้ นั้น, เช่น คน ทอด ตะพาน เดิน.
      ทอด ทุ่น (301:6.14)
               ทิ้ง ทุ่น, วาง ทุ่น, คือ การ ที่ เอา ไม้ ทำ ลูก ทุ่น ทอด ไว้ นั้น, เช่น คน ทอด ทุ่น โพงพาง.
      ทอดดวด (301:6.15)
               เทดวด, เปน ชื่อ การ เล่น คือ เอา เบี้ย ห้า เบี้ย มา เท ทอด ที่ เติ่ง ดวด นั้น, เช่น นักเลง ทอด ดวด พะนัน.
      ทอด ปลา (301:6.16)
               คือ การ ที่ เอา ปลา ทอด ลง ใน กะทะ ที่ มี น้ำ มัน ร้อน นั้น.
      ทอด มัน (301:6.17)
               คือ การ ที่ เอา ของ กิน ชุบ แป้ง แล้ว ทอด ลง ใน น้ำมัน นั้น.
      ทอด พระเนตร (301:6.18)
               คือ ความ ที่ จ้าว แล ดู เปน คำ สูง ว่า.
      ทอด เดียว (301:6.19)
               คือ การ เดิน ภัก เดียว, เหมือน ภาย เรือ ไป ฤๅ วิ่ง ไป เปน ต้น* ภัก เดียว ถึง ที่ ไม่ ได้ อยุด นั้น ว่า.
      ทอด ที่ (301:6.20)
               ปู ที่, เปน ชื่อ การ ที่ คน เอา เครื่อง ลาด ไป ปู ทอด ไว้* นั้น, เช่น เจ้าพะนักงาน ทอด ที่ ทรง พระ มหา กระษัตริย์.
      ทอด ผ้า ป่า (301:6.21)
               ทิ้ง ผ้าป่า, เปน ชื่อ การ ที่ คน อยาก จะ ให้ ผ้า บังสกุล กับ สงฆ์, จึ่ง เอา ผ้า ไป ทอด ทิ้ง ไว้ ที่ ป่า, เช่น เขา ทอด ผ้า ป่า ทุก วัน นี้ นั้น.
      ทอด ลูก บาด (301:6.22)
               ทิ้ง ลูก บาด, วาง ลูกบาด, เปน ชื่อการ ที่ คน เอา ลูก บาด สะกา ซัด ทอด ลง นั้น, เช่น นักเลง ทอด* สะกา พะนั้น เปน ต้น.
      ทอด สนิทร (301:6.23)
               วาง สนิทร, คือ อาการ ที่ คน พูดจา ทอด เข้า มา ให้ สนิทร นั้น, เช่น พวก เจ้าชู้ พูดจา ทอด สนิทร ติดพันท์ เกี้ยว ผู้หญิง.
      ทอด สมอ (301:6.24)
               ทิ้ง สมอ, วาง สมอ, คือ การ ที่ คน เอา สมอ ทิ้ง ทอด ลง ไป ใน น้ำ นั้น.
      ทอดแห (301:6.25)
               ทิ้ง แห, เหวี่ยง แห, คือ การ ที่ คน เอา แห ทอด ลง ใน น้ำ นั้น.
      ทอด องค์ (301:6.26)
               ทิ้ง ตัว ลง, คือ อาการ ที่ เอน ตัว ทอด ลง นั้น, เช่น ท่าน ผู้ เปน ใหญ่ ทอด องค์ ลง เหนือ แท่น.
ทวด (301:1)
         พ่อ แม่ ของ ปู่ ย่า ตา ยาย, คือ เปน ชื่อ พ่อแม่ ของ ปู่ ฤๅ พ่อแม่ ของ ย่า, พ่อ แม่ ของ ตา พ่อ แม่ ของ ยาย นั้น, เช่น ปู่ ทวด ย่า ทวด เปน ต้น.
ทน (301:2)
         ความ อด กลั้น, คือ การ ที่ อด กลั้น* ความ ทุกข ความ ศุข ได้ ต่าง ๆ นั้น, เช่น คน ทน ฝน ทน แดด.
      ทน การ (301:2.1)
               อด กลั้น ต่อ การ, คือ ความ ที่ คน สู้ อด กลั้น ต่อ การ งาน ทั้ง ปวง นั้น, เช่น คน สู้ ทน การ หนัก เอา เบา สู้.
      ทน กรรม (301:2.2)
               คือ ความ ที่ คน สู้ อด ทน ต่อ กรรม ต่าง ๆ ไป นั้น, เช่น คน ติด คุก ฤๅ สัตว นรก.
      ทน เฆี่ยน (301:2.3)
               คือ ความ ที่ ถูก เฆี่ยน ต้อง จำ ทน ไป นั้น, เช่น อ้าย ผู้ ร้าย ต้อง ทน เฆี่ยน เร่ง ของ กลาง เปน ต้น.
      ทน งาน (301:2.4)
               คือ ความ ที่ คน สู้ ทน ทำ งาน ไป นั้น, เช่น พวก ทาษ เขา ฤๅ เลก เข้า เดือน เปน ต้น.
      ทน ด่า (301:2.5)
               คือ ความ ที่ สู้ ทน ให้ เขา ด่า ไป นั้น, เช่น พวก ข้า หญิง ข้า ชาย ทน ด่า ของ นาย นั้น.
      ทน แดด (301:2.6)
               คือ การ ที่ อด ทน ตรำ แดด อยู่ ได้ นั้น, เช่น คน สู้ ทน แดด ทน ร้อน นั้น.
      ทน ด้าน (301:2.7)
               คือ ความ ที่ คน ดื้อ ด้าน ทน ได้ นั้น, เช่น บ่าว ที่ นาย ดุะร้าย นัก สู้ ทน ต้าน อยู่ ได้.
      ทนต์ (301:2.8)
               ฟัน, เปน ชื่อ ฟัน ใน ปาก ที่ สำรับ เคี้ยว ของ กิน นั้น, เช่น พระทนต์ นั้น.
      ทน ตบ (301:2.9)
               ทน ต่อย, ทน ถอง, ทน ถิ่บ, ทนทุกข, อก ทุกข, กลั้น ทุกข, คือ ความ ที่ คน สู้ ทน ตบ ทน ตี นั้น.
      ทน ทาน (301:2.10)
               สู้ อด กลั้น, คือ ความ ที่ สู้ ทน ทาน ความ ลำบาก ต่าง ๆ นั้น,
      ทน ทุบ (301:2.11)
               คือ ความ ที่ ต้อง ทน ให้ เขา ทุบ นั้น, เช่น คน ที่ ต้อง ทุบ
      ทน บาป (301:2.12)
               สู้ ทน การ บาป, คือ ความ ที่ สู้ ทน การ บาป ทั้ง ปวง นั้น, เช่น คน มี ใจ ถึง พร้อม ด้วย โลภ, ด้วย โกรธ ปะทุษฐร้าย ด้วย หลง.
      ทน ผูก (301:2.13)
               คือ ความ ที่ ต้อง ทน ให้ เขา ผูก นั้น, เช่น อ้าย พวก ผู้ ร้าย ใจ แขง.

--- Page 302 ---
      ทน ใม้ (302:2.14)
               คือ ความ ที่ ทน ใม้ ทน ค้อน ได้ นั้น, เช่น อ้าย พวก หัว ขะโมย, หัวไม้.
      ทน เยาะ เย้ย (302:2.15)
               อด กลั้น เยาะ เย้ย, ทน ร้อน, ทน สาหัด, ทน อาย,
ทัน (302:1)
         ถึง กัน, เทียม กัน, คือ การ ที่ ตาม ไป ถึง กัน, ฤๅ คิด ถึง กัน, พูด ถึง กัน, รู้ ถึง กัน นั้น, เช่น คน ตาม ไป ทัน กัน เข้า.
      ทัน กัน (302:1.1)
               คือ ความ ที่ คน ไป ที หลัง, แล ไป จน ถึง กะทั่ง คน ที่ ไป ก่อน.
      ทัน การ (302:1.2)
               ทัน ต้อง การ, คือ ความ ที่ ทำ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ทัน ที่ ต้อง การ นั้น, เช่น คน ต่อ กำปั่น แล้ว ทัน ตาม กำหนฎการ.
      ทัน กิน (302:1.3)
               ภอ กิน, คือ การ ที่ ทำ ของ คน กิน แล้ว ตาม ทัน ปราฐนา นั้น, เช่น คน หุง เข้า ทัน กิน.
      ทัน ควัน (302:1.4)
               คือ การ ที่ คน วิ่ง เข้า มา ทัน ควัน นั้น, เช่น พวก ทหาร ที่ ต้อง ยิง ปืน วิ่ง สวน ควัน เข้า ไป นั้น.
      ทัน งาน (302:1.5)
               ทัน การ, คือ ความ ที่ ทำ ทัน การ ทั้ง ปวง นั้น, เช่น คน ทำ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง แล้ว, ทัน งาน เปน ต้น.
      ทัน ตะธาตุ (302:1.6)
               เปน ชื่อ กะดูก ฟัน ท่าน ผู้ เปน ใหญ่.
      ทัน ใจ (302:1.7)
               คือ ความ ที่ ได้ สิ่ง ฃอง ทั้ง ปวง มา ทัน* ใจ นึก นั้น, เช่น คำ* ว่า ได้ ทัน อก ทัน ใจ,
      ทัน ใด นั้น (302:1.8)
               ขณะ นั้น, บัด เดี๋ยว นั้น, คือ ใน ขณะ นั้น, ฤๅ ใน บัด เดี๋ยว นั้น, เช่น คำ* ว่า ใน ทัน ใด นั้น ได้ อ่าน คำ ฟ้อง ให้ โจท จำเลย ฟัง แล้ว,
      ทัน ด่วน (302:1.9)
               ทัน การ เร็ว, ทัน ใน ขณะ นั้น, คือ ความ ที่ ได้ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ทัน การ เร็ว นั้น, เช่น คำ ว่า เปน การ ปัจจุ บัน ทัน ด่วน.
      ทัน ตา (302:1.10)
               คือ ความ ที่ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ได้ เหน ทัน ตา ดู นั้น. อีก อย่าง หนึ่ง เปน ชื่อ ฟัน ทั้ง ปวง ใน ปาก นั้น,
      ทัณฑฆาฎ (302:1.11)
               คือ เขียน เปน สำคัญ เช่น นี้, ‍์ ว่า เปน ไม้ ฆ่า อักษร เสีย ไม่ ให้ อ่าน นั้น,
      ทัน ที (302:1.12)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ได้ มา ใน ทัน ใด นั้น, เช่น คำ ว่า ได้, ใน ทัน ที,
      ทัน กรรม (302:1.13)
               คือ กะทำ อาชา มี เฆี่ยน ตี เปน ต้น, เช่น การ ปรับ โทษ นั้น.
      ทัน น้ำ (302:1.14)
               ไป ทัน คราว น้ำ, คือ การ ที่ จะ ไป ให้ ทัน คราว น้ำ ขึ้น น้ำ ลง นั้น, เช่น เรือ คอย ไป ให้ ทัน คราว น้ำ,
      ทัน อก ทัน ใจ (302:1.15)
               ได้ ทัน ใจ นึก, คือ การ ทั้ง ปวง ที่ ได้ ทัน ใจ คิด นั้น, เช่น คำ ว่า ได้ ทัน อก ทัน ใจ.
ทาน (302:2)
         ให้, ต้าน, ว่า ให้ ฤๅ ต้าน ทาน ไว้ นั้น, เช่น คน ให้ ทาน ฤๅ รับ ต้าน ทาน ไว้,
      ทาน ตวัน (302:2.1)
               เปน ชื่อ ต้น ดอก ไม้ อย่าง หนึ่ง, เช่น ดอก ทาน ตวัน มัน หัน ดอก รับ ตวัน,
      ทาน น้ำ (302:2.2)
               ลำ ห้วย, เปน ชื่อ ลำ ห้วย เล็ก ๆ, ที่ มี น้ำ ไหล มา แต่ ภู เขา นั้น, เช่น ลำธาร น้ำ ใน ดง,
      ทาน หนังสือ (302:2.3)
               สอบ หนังสือ, เปน ชื่อ การ ที่ คน อ่าน หนังสือ สอบ กัน ให้ ถูก ต้อง ตาม ฉะบับ, เช่น ทาน หนังสือ* บาฬี ต่าง ๆ,
      ทาน บน (302:2.4)
               หนังสือ ท้า, หนังสือ สัญญา, เปน ชื่อ หนังสือ ท้า นั้น, เช่น คน ทำ หนังสือ ทาน บน ท้า ไว้ ว่า, ถ้า ข้าพเจ้า กลับ ถ้อย คืน คำ ให้ ท่าน ปรับ ไหม.
      ทาน วัตถุ (302:2.5)
               ว่า สิ่ง ของ ที่ คน จะ ให้ ทาน มี เข้า แล น้ำ เปน ต้น,
      ทานะกัณท์ (302:2.6)
               เปน ชื่อ หนังสือ เทษนากัณฑ์* หนึ่ง, เรียก ว่า ทานะกัณท์, อธิบาย ว่า กำหนฎ ด้วย ให้ ทาน.
ท่าน (302:3)
         คุณ, เจ้า, เปน คำ เรียก ผู้ ใหญ่ ฤๅ เรียก คน มี วาศนา นั้น, เช่น คำ ว่า ท่าน เจ้าข้า ๆ, เปน ต้น,
      ท่าน เจ้า กรม (302:3.1)
               คุณ เจ้ากรม, เปน คำ เรียก พวก ขุนนาง ที่ เปน เจ้ากรม นั้น, เช่น ท่าน เจ้ากรม ซ้าย ขวา,
      ท่าน เจ้า ข้า (302:3.2)
               คุณ เจ้า ข้า, นาย เจ้า ข้า, เปน คำ ยอ ว่า ตัว ท่าน เปน เจ้าของ ข้า นั้น, เช่น พวก บ่าว เรียก นาย ว่า, ท่าน เจ้า ข้า.
      ท่าน เจ้าคุณ (302:3.3)
               เปน คำ เรียก ว่า, ตัว ท่าน เปน เจ้า ของ คุณ นั้น, เช่น คำ ว่า, ท่าน เจ้าคุณ ผู้ เฒ่า.
      ท่าน จังวาง (302:3.4)
               คุณ จัง วาง, เจ้า จัง วาง, นาย จังวาง, เปน คำ เรียก ท่าน ที่ เปน นาย ใหญ่ ทั้ง ปวง นั้น เช่น จังวาง ตำรวจ, จังวาง มหาดเล็ก.
      ท่าน ทั้ง หลาย (302:3.5)
               เปน คำ ร้อง เรียก คน ทั้ง หลาย, ด้วย คำ ไม่ อยาบ เจียม ตัว นั้น.

--- Page 303 ---
      ท่าน ใบ ฎีกา (303:3.6)
               คุณ ใบ ฎีกา, เปน ชื่อ พระสงฆ์ ที่ เปน ถานา นุกรม นั้น, เช่น ท่าน ใบ ฎีกา ของ พระราชาคณะ.
      ท่าน ปลัด (303:3.7)
               คุณ ปลัด, เจ้า ปลัด, นาย* ปลัด, เปน ชื่อ พระสงฆ์ สำรับ ว่า ที่ รอง พระราชาคณะ นั้น, เช่น ท่าน ปลัด ของ สมเด็จ พระสังฆราช.
      ท่าน เปรียญติ์ คุณ เปรียญติ์ (303:3.8)
               เปน ชื่อ* พวก พระสงฆ์ สาม เณร, ที่ รู้ รอบ พระไตรยปิฎก นั้น, เช่น ท่าน เปรียญติ์ เอก โทตรี,
      ท่าน พระครู (303:3.9)
               คุณ พระครู, เปน คำ เรียก พวก พระสงฆ์ ที่ ตั้ง ให้ เปน พระครู ใน การ สงฆ์ นั้น, เช่น ท่าน พระครู สวด นาค.
      ท่าน ลูก* ขุน (303:3.10)
               เปน คำ เรียก คน ที่ สำรับ พิภาคษา ชี้ ขาด เรื่อง ความ ราษฎร นั้น, เช่น ท่าน ลูกขุน ศาล หลวง.
      ท่าน ท้าว (303:3.11)
               เปน คำ คน กล่าว ถึง คน มี บุญ มี ฤทธิ มี วาศนา นั้น, เช่น ท้าว โกษี.
      ท่าน สะดำ (303:3.12)
               คุณ สะดำ, เปน ชื่อ พระสงฆ์ ที่ เปน ถานานุกรม นาย ขวา, เช่น พระสะดำ ถานา พระสังฆราช.
      ท่าน สมุห์ (303:3.13)
               คุณ สมุห์, เปน ชื่อ พระสงฆ์ ที่ เปน สมุห์ บาญชีย์ ของ สมเด็จ จ้าว ทั้ง ปวง, เช่น ท่าน สมุห์ ของ พระวรรณรัต,
      ท่าน เสวียง (303:3.14)
               คุณ เสวียง, เปน ชื่อ พระสงฆ์ ที่ เปน ถานา นุกรม ฝ่าย ซ้าย*, เช่น ท่าน เสวียง ถานา พระสังฆราช.
      ท่าน สมเด็จ จ้าว (303:3.15)
               คุณ สมเด็จ จ้าว, พระราชาคณะ, เปน คำ เรียก พระราชาคณะ ทั้ง ปวง นั้น, เช่น เรียก ท่าน สมเด็จ จ้าว ต่าง ๆ,
ทินะ (303:1)
          ฯ, ว่า วัน ต่าง ๆ นั้น, เช่น คำ ว่า เอกะทิน, ทะเวทินะ, เปน ต้น นั้น.
      ทินะกร (303:1.1)
                ฯ, พระอาทิตย์, ตวัน, เปน ชื่อ ดวง อาทิตย์ กระทำ ซึ่ง วัน, เช่น คำ ว่า ครั้น รุ่ง แสง ทินะกร นั้น.
ทึน ทึก (303:2)
         นุม* เนื้อ, ไม่ แก่ นัก ไม่ อ่อน นัก, เปน ชื่อ ของ ทั้ง ปวง ที่ ไม่ สู้ แก่ หนัก, ไม่ สู้ อ่อน นัก นั้น, เช่น มะพร้าว ทึน ทึก ฤๅ สาว ทึน ทึก,
ทุน (303:3)
         เงิน, ทรัพย์, เปน ชื่อ ของ เดิม ที่ จะ เอา ไว้ จับ จ่าย ใช้ สรอย การ งาน ทั้ง ปวง นั้น, เช่น เงิน ทุน ที่ จะ รอง สินค้า,
      ทุน เดิม (303:3.1)
               เงิน เดิม, ของ เดิม, เปน ชื่อ เงิน เดิม ที่ ลง รอง สินค้า ต่าง ๆ ไว้ นั้น, เช่น เงิน ทุน เดิม, มิ ใช่ กำไร.
      ทุน น้อย (303:3.2)
               เงิน น้อย, ของ น้อย, ทรัพย์ น้อย, คือ เงิน ทุน ไม่ มาก นั้น, เช่น พวก พ่อ ค้า จะ ซื้อ* ฃอง แต่ มี ทุน น้อย.
      ทุน มาก (303:3.3)
               คือ เงิน ทุน ไม่ น้อย นั้น, เช่น พวก พ่อ ค้า นายห้าง มี เงิน ทุน มาก.
      ทุน รอน (303:3.4)
               เปน ชื่อ เงิน ทุน ที่ สำรับ ใช้ ตัด รอน สินค้า นั้น, เช่น ของ ถูก ทุน รอน มี ซื้อ ไว้ หมด แล้ว ขาย กด เอา ราคา ให้ แพง.
      ทุนสิน (303:3.5)
               คือ เงิน ทุน สิน เดิม นั้น, เช่น เงิน ทุน สิน ที่ ทำ งาน บ่าวสาว.
ทุ่น (303:4)
         เปน ชื่อ ไม้ ขอน สัก ฤๅ ไม้ ไผ่ ที่ เขา ทำ เปน ลูก บวบ นั้น, เช่น ทุ่น โพงพาง พวก ยวญ.
      ทุ่น เบ็ด (303:4.1)
               คือ ของ ที่ เบา ๆ มี ก้าน ขน นก เปน ต้น, เขา ผูก ไว้ ที่ สาย เบ็ด มัน ลอย น้ำ อยู่ นั้น.
ทูล (303:5)
         วาง ไว้ บน หัว, ตั้ง ไว้ บน ที่ สูง, คือ การ ที่ วาง ไว้ บน ที่ สูง เหนือ คน ทั้ง ปวง นั้น, เช่น คำ ว่า ทูล หัว ฤๅ ทูล กระ- หม่อม.
      ทูล (303:5.1)
               บอก ความ, แจ้ง ความ, คือ ความ ที่ ยก เอา เรื่อง ราว ต่าง ๆ บอก กล่าว นั้น, เช่น ทูล ความ ต่าง ๆ กับ เจ้า ต่าง กรม.
      ทูล กระหม่อม (303:5.2)
               ตั้ง ไว้ บน กระหม่อม, วาง ไว้ บน หัว, เปน ชื่อ ความ ที่ วาง ไว้ บน ที่ สูง กลาง หัว นั้น, เช่น การ ที่ ยก ขึ้น ทูล ไว้ บน กระหม่อม.
      ทูล เกล้า (303:5.3)
               ทูลหัว, วาง ไว้ บน ศีศะ, ตั้ง ไว้ บน กระหม่อม, คือ การ ที่ ยก ขึ้น วาง ไว้ บน ศีศะ นั้น, เช่น คน ยก สิ่ง ของ ดี ๆ ทูล หัว ไว้.
      ทูล ความ (303:5.4)
               บอก ความ, เล่า ความ, แจ้ง ความ, คือ การ ที่ บอก ความ ต่าง ๆ นั้น, เช่น คน ทูล ความ เจ้านาย ทั้ง ปวง.
      ทูลฉลอง (303:5.5)
               เปน ชื่อ ความ ที่ ทูล แทน กัน นั้น, เช่น เจ้าพนัก งาน ทูล ฉลอง แทน ผู้ ยื่น เรื่อง ราว คำ ตลาด
      ทูล ทัด (303:5.6)
               คือ ว่า กล่าว ขัดขวาง ไว้ มิ ให้ เจ้า กระทำ.
      ทูล สนอง (303:5.7)
               บอก แทน, เล่า ความ แทน. เปน ชื่อ การ ที่ ทูล เรื่อง ความ ต่าง ๆ แทน กัน นั้น, เช่น ทูล สนอง เรื่อง ความ คำ นี้ ถูก.

--- Page 304 ---
      ทูล ลา (304:5.8)
               บอก ลา, อำลา, คือ ความ ที่ ทูล ลา ไป นั้น, เช่น พวก ข้า ราชการ ทูล ลา บวช ฤๅ ทูล ลา ตาย.
      ทูล หัว (304:5.9)
               ตั้ง ไว้ บนหัว, วาง ไว้ บน หัว, เปน ชื่อ การ ที่ คน ยก สิ่ง ของ ต่าง ๆ ตั้ง ไว้ บน หัว นั้น เช่น พวก ผู้ หญิง มอญ เอา ของ ทูล หัว ไป.
      ทูล ลออง ทุลี พระบาท (304:5.10)
               รับ ไว้ ซึ่ง ลออง ทุลี พระบาท, เปน ชื่อ คำ ถ่อม ตัว ลง คำนับ แก่ ท่าน ผู้ เปน ใหญ่ นั้น, เช่น ผง ที่ เปน ลออง ทุลี ที่ ฝ่าตีน มา ทูล ไว้ บน หัว เรา.
แทน (304:1)
         ต่าง, ตอบ, เปน ชื่อ การ ตอบ ฤๅ ต่าง กัน นั้น, เช่น ให้ ของ ตอบ แทน ฤๅ แต่ง ทะนาย แทน ต่าง ตัว,
      แทน กัน (304:1.1)
               ต่าง กัน, ตอบ กัน, คือ การ ที่ แทน ต่างกัน นั้น, เช่น คน มา ว่า ความ แทน ต่าง ตัว กัน.
      แทน คุณ (304:1.2)
               ตอบ คุณ, เปน ชื่อ กระทำ ตอบ แทน คุณ ท่าน ผู้ มี คุณ นั้น, เช่น ลูก แทน คุณ พ่อ แม่.
      แทน เงิน (304:1.3)
               ต่าง เงิน, ตอบ เงิน, คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่* ใช้ แทน ต่าง เงิน นั้น, เช่น ตั๋ว ฤๅ ปี้ สะกา เบี้ย.
      แทน ตัว (304:1.4)
               ต่าง ตัว, คือ การ ที่ ต่าง ตัว นั้น, เช่น พ่อ แม่ มี กิจ ธุระ อยู่ ให้ ลูก หลาน ไป แทน ตัว.
      แทน ที่ (304:1.5)
               ต่าง ที่, คือ ผู้ ว่า ที่ ต่าง ๆ แทน กัน นั้น, เช่น ตั้ง ขุนนาง ขึ้น แทน ที่.
      แทน โทษ (304:1.6)
               รับ โทษ แทน, คือ การ ที่ รับ โทษ แทน กัน นั้น, เช่น พระเยซู ยอม ตาย แทน โทษ มนุษย์.
แท่น (304:2)
         ที่ นั่ง, ที่ นอน, เปน ชื่อ ที่ นั่ง ที่ นอน ทั้ง ปวง, มี สัณฐาน ดุจ จะ เตียง นั้น, เช่น ที่ พระแท่น.
      แท่น แก้ว (304:2.1)
               เตียง แก้ว, เตียง ประดับ, เปน ชื่อ ที่นั่ง ที่* นอน ที่ ทำ ด้วย แก้ว ต่าง ๆ นั้น, เช่น พระแท่น ประดับ กะจก.
      แท่น งา (304:2.2)
               เตียง งา, เปน ชื่อ แท่น ที่ เขา ทำ ด้วย งา ล้วน นั้น, เช่น แท่น งา ใน เรื่อง พระยา ฉัตทันต์.
      แท่น เงิน (304:2.3)
               เตียง เงิน, เปน ชื่อ แท่น ที่* เขา ทำ ด้วย เงิน นั้น, เช่น พระแท่น ที่ บุะ เงิน หุ้ม.
      แท่น สิลา (304:2.4)
               เตียง หิน, คือ ถานบัต เขา ทำ ด้วย หิน ทั้ง แท่ง, คล้าย กับ เตียง นั้น.
      แท่น บันลังก์ (304:2.5)
               คือ ถานบัต คล้าย กับ เตียง นั้น.
      แท่น ทอง (304:2.6)
               คือ แท่น ที่ แล้ว ไป ด้วย ทอง นั้น, เช่น แท่น บุะ ทอง คำ หุ้ม ฤๅ แท่น ปิด ทอง.
      แท่น ประทม (304:2.7)
               เปน ชื่อ แท่น ที่ สำรับ เปน ที่ นอน นั้น, เ@ พระแท่น ที่ ประทม พระ มหา กระษัตริย์.
      แท่น แว่น ฟ้า (304:2.8)
               คือ เตียง ที่ สลัก เปน ลวดลาย ต่าง ๆ, แ@ ประดับ กะจก ปิด ทอง นั้น, เช่น พระแท่น แว่น ฟ้า.
โทน (304:3)
         เปน ชื่อ ของ ที่ มี จำเพาะ อัน เดียว ฤๅ เครื่อง มะโหรี เหมือน น้ำเต้า. อนึ่ง เปน ท่อน ไม้ สำรับ ดัก เนื้อ ดัก หมู เหมือน อย่าง คน ที่ มี ลูก โทน คน เดียว, ฤๅ โทน น่า เ@ เครื่อง มะโหรี.
      โทล (304:3.1)
               เปน ชื่อ ทะนาน ทั้ง ปวง ที่ ทำ ด้วย ทอง แดง บ้าง, บ้าง, กะลา มะพร้าว บ้าง นั้น, เช่น ทะนาน ตวง เข้า.
ทอน (304:4)
         ตัด, บั่น, รอน, เปน ชื่อ การ ที่ ตัด ออก เปน @ ฤๅ บั่น รอน ออก เปน ท่อน นั้น, เช่น คน ทอน เงิน ทอน
      ทอน เงิน (304:4.1)
               คือ การ ที่ เอา เงิน ปลีก ทอน เงิน บาด ออก ไป เช่น แม่ค้า เอา เงิน เฟื้อง เงิน สลึง ทอน เอา เงิน บาท.
      ทอน ต้น (304:4.2)
               ตัด ต้น, บั่น ต้น, รอน ต้น, คือ การ ที่ คน ไม้ ท่อน ข้าง ต้น นั้น, เช่น คน ทอน โคน เสา ฤๅ โค ทั้ง ปวง.
      ทอน ทุน (304:4.3)
               ขาด ทุน, ตัด ทุน, คือ การ ที่ ตัด ทอน เอา ทุน น้อย ไป นั้น. เช่น พ่อ ค้า ขาย ของ ขาด ทุน เปน ต้น.
      ทอน เบี้ย (304:4.4)
               คือ การ ที่ เอา เบี้ย ทอน เอา เงิน มา นั้น, เช่น เปน นี่ เรา สองไพ, แล้ว เรา เอา เบี้ย สองไพ ทอน เอา เฟื้อง มา.
      ทอน ไม้ (304:4.5)
               ตัด ไม้, บั่น ไม้, รอน ไม้, เปน ชื่อ การ ยิ@ ขาด เปน ท่อน ๆ นั้น, เช่น คน ทอน ไม้ ทอน ฟืน นั้น.
      ทอน ฟืน (304:4.6)
               คือ บั่น ฟืน ออก เปน ท่อน ๆ นั้น, เช่น คน หีน* แสม.
      ทอน อายุ (304:4.7)
               ตัด อายุ, รอน อายุ, บั่น อายุ, คือ ความ ทอน อายุ สั้น ไป นั้น, เช่น คน สูบ ฝิ่น เปน ต้น.
ท่อน (304:5)
         ดุ้น, อัน, สิ่ง, เปน ชื่อ ของ ที่ บั่น ออก เปน ส่วน เปน ดุ้น ๆ นั้น, เช่น ท่อน ไม้ เปน ต้น.
      ท่อน ผ้า (304:5.1)
               คือ ผ้า ที่ ตัด เปน ท่อน ๆ นั้น, เช่น ท่อน ผ้า @ ตัด เย็บ จีวร.

--- Page 305 ---
      ท่อนฟืน (305:5.2)
               ดุ้น ฟืน, คือ ฟืน ที่ เขา บั่น รอน เปน ท่อน ๆ นั้น, เช่น ท่อน ฟืน ไม้ แสม.
      ท่อน หัว (305:5.3)
               บั้น หัว, คือ หา ใช่ ท่อน หาง ไม่ นั้น, เช่น ปลา ท่อน หัว ฤๅ บั้น หัว.
      ท่อน องค์ (305:5.4)
               บั้น องค์, ท่อน ตัว, คือ ท่อน ตัว นั้น, เช่น ที่ ตั้ง แต่ บ่า ลง มา จน ถึง สะเอว นั้น, สมมุติ เรียก ว่า ตัว.
ทวน (305:1)
         ฝ่า ฝืน, ตอบ, คือ ไม่ ตาม ฤๅ ฝ่า ฝืน ฤๅ โต้ ตอบ นั้น. อีก อย่าง หนึ่ง เปน ชื่อ เครื่อง อาวุธ คล้าย หอก ซัด มี ภู่.
      ทวน กระแส (305:1.1)
               ตอบ กระแส, ไม่ ตาม กระแส, คือ ไม่ ตาม ทาง กระแส นั้น, เช่น ประฎิบัติ ทวน กระแส โลกย์ ฤๅ ทวน กระแส น้ำ.
      ทวน ขึ้น ไป (305:1.2)
               ย้อน ขึ้น ไป, กลับ ขึ้น ไป, คือ การ ที่ ทวน ย้อน กลับ ขึ้น ไป นั้น, เช่น ถ่อ เรือ ทวน น้ำ ขึ้น ไป เมือง เหนือ.
      ทวน ทบ (305:1.3)
               คือ ทวน ไป แล้ว หวน กลับ นั้น.
      ทวน ทอง (305:1.4)
               ทวน ด้ำ ไกล่ ทอง, เปน ชื่อ ทวน เครื่อง สาตราวุธ ที่ ด้ำ ไกล่ ทอง คำ นั้น, เช่น ทวน ทอง ใน หลวง.
      ทวน น้ำ (305:1.5)
               ฝืน กระแส น้ำ, ฝ่า กระแส น้ำ, คือ ไม่ ตาม น้ำ เช่น คน ภาย เรือ ทวน น้ำ ฤๅ ว่าย ทวนน้ำ นั้น.
      ทวน ธง (305:1.6)
               คือ ทวน แล ธง นั้น, เช่น ทวน แล ธง เครื่อง แห่ พระเจ้า แผ่นดิน เปน ต้น.
      ทวน มา (305:1.7)
               ย้อน มา, กลับ ขึ้น มา, คือ ทวน กลับ มา นั้น, เช่น คน ทวน ลม มา ฤๅ ทวน คลื่น มา ทวน น้ำ มา.
      ทวน ลง (305:1.8)
               ย้อน ลง, ฝ่า ลง, คือ ไม่ ได้ ทวน ขึ้น ไป นั้น, เช่น คน ทวน น้ำ ทวน ลม ลง มา จาก เมือง กรุง.
      ทวน ลม (305:1.9)
               โต้ ลม, ไม่ ตาม ลม, คือ ไม่ ได้ ตาม ลม นั้น, เช่น คน แจว เรือ ทวน ลม ฤๅ เดิน ทวน ลม.
      ทวน เรือ (305:1.10)
               เปน ชื่อ ไม้ สอง อัน ที่ ตั้ง ขึ้น ข้าง หัว เรือ ท้าย เรือ, สำรับ ติด กะดาน ต่อ ขึ้น ไป. เหมือน ทวน เรือ ยวน.
ท่วน (305:2)
         ครบ, ภอ, คือ ไม่ ขาด ไม่ เหลือ, ภอ ครบ ตาม จำนวน นั้น, เช่น สิ่ง* ของ ภอ ครบ ท่วน ไม่ เกิน ไม่ หย่อน.
      ท่วน การ (305:2.1)
               ภอ การ, ครบ การ, คือ ภอ ครบ ท่วน ตาม การ นั้น, เช่น คน มี ภอ ท่วน การ ไม่ เหลือ การ.
      ท่วน เค้า (305:2.2)
               ครบ เค้า, ภอ เค้า, คือ สิ่ง ของ มี อยู่ ภอ ครบ จำนวน เดิม นั้น.
      ท่วน คน (305:2.3)
               ครบ คน, ภอ คน, คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง มี อยู่ ภอ ครบ คน นั้น.
      ท่วน ครบ (305:2.4)
               ภอ ท่วน, ครบ ภอ, คือ ครบ ท่วน ไม่ ขาด ไม่ เหลือ นั้น.
      ท่วน เงิน (305:2.5)
               ครบ เงิน, ภอ เงิน, คือ สิ่ง ของ มี อยู่ ภอ ครบ เงิน นั้น.
      ท่วน จำนวน (305:2.6)
               ครบ จำนวน, กอ จำนวน, คือ ความ ที่ ครบ ตาม เค้า นั้น.
      ท่วน ทั่ว (305:2.7)
               คือ ท่วน ตลอด ไม่ มี เหลือ, เหมือน เขา แจก ของ ให้ แก่ ร้อย คน ได้ ทุก คน ไม่ เหลือ นั้น.
      ท่วน เดือน (305:2.8)
               ครบ เดือน, ไม่ ขาด เดือน, คือ ครบ เดือน ไม่ ขาด ไม่ เหลือ นั้น
      ท่วน ตัว (305:2.9)
               กรบ ตัว, ภอ ตัว, คือ ครบ ตัว นั้น.
      ท่วน ถี่ (305:2.10)
               ถี่* ท่วน, ไม่ หยาบ คาย, คือ การ ถี่ ท่วน ไม่ หลง ลืม นั้น.
      ท่วน ทุก กรม (305:2.11)
               ครบ ทุก กรม. ภอ ทุก กรม, คือ สิ่ง ของ มี ท่วน ทุก กรม นั้น.
      ท่วน น่า (305:2.12)
               ครบ น่า, พร้อม น่า, คือ ความ ที่ เหน อยู่ พร้อม หน้า กัน นั้น.
      ท่วน ปี (305:2.13)
               ครบ ปี, คือ ครบ ปี ไม่ ขาด ไม่ เหลือ นั้น.
      ท่วน ร้อย (305:2.14)
               ครบ ร้อย, ภอ ร้อย, ท่วน พัน, ครบ พัน, เต็ม พัน, ท่วน หมื่น, ครบ หมื่น, ภอ หมื่น, ท่วน วัน, ครบ วัน, ภอ วัน, ท่วน แสน, ครบ แสน, ภอ แสน, ท่วน หาบ, ครบ หาบ, ภอ หาบ, คือ ครบ ห้าสีบชั่ง นับ ตาม ไท, ถ้า ครบ ร้อย ชั่ง นับ ตาม จีน, เช่น ของ หนัก ท่วน หาบ หนึ่ง นั้น.
เทียน (305:3)
         ประทีป, เปน ชื่อ ของ ทำ ด้วย สีผึ้ง สำรับ จุด ไฟ. อีก อย่าง หนึ่ง คือ ต้น ดอกไม้ ศรี ต่าง ๆ. อนึ่ง เปน เมล็ด เทียน ทั้ง ห้า สำรับ ทำ ยา.
      เทียน เข้า เปลือก (305:3.1)
               เปน ชื่อ เมล็ด เทียน อย่าง กลิ่น หนึ่ง หอม, มา แต่ เมือง เทษ นั้น, เหมือน เมล็ด เข้าเปลือก.

--- Page 306 ---
      เทียน ขาว (306:3.2)
               เปน ชื่อ ต้น เทียน ที่ ดอก ศรี ขาว นั้น. อีก อย่าง หนึ่ง คือ เทียน จุด โฟ* ศรี ขาว, เหมือน เทียน อังกฤษ.
      เทียน ดำ (306:3.3)
               เปน ชื่อ เมล็ด เทียน อย่าง หนึ่ง ศรี ดำ กลิ่น หอม มา แต่ เมือง เทษ นั้น, เช่น เทียนดำ ที่ สำรับ ใช้ ทำ ยา.
      เทียน ย่อม (306:3.4)
               เปน คำ โบราณ คือ ว่า ล้วน, เหมือน ภูเขา เทียระ ย่อม ด้วย สิลา, คือ ภูเขา มี แต่ หิน ล้วน นั้น.
      เทียน คู่ (306:3.5)
               เปน ชื่อ ต้น เทียน ซ้อน ที่ ดอก เปน คู่ ๆ ศรี ต่าง ๆ นั้น. ฤๅ เทียน สอง เล่ม.
      เทียน ไขเนื้อ (306:3.6)
               เปน ชื่อ เทียน จุด ไฟ ที่ ทำ ด้วย ไขเนื้อ นั้น, เช่น เทียน จีน เปน ต้น.
      เทียน เงิน (306:3.7)
               เปน ชื่อ เทียน จุด ไฟ ที่ ทำ ด้วย เงิน ฤๅ ปิด ด้วย เงิน นั้น, เช่น เทียน เงิน ตั้ง โต๊ะ.
      เทียน จีน (306:3.8)
               เปน ชื่อ เทียน ไข เนื้อ ที่ พวก เจ็ก ทำ นั้น, เช่น เทียน จีน ที่ สำรับ ไหว้ จ้าว.
      เทียนไชย (306:3.9)
               เทียน ยอด ใบศรี, เปน ชื่อ เทียน ที่ จุด เอา ฤกษ นั้น, เช่น เทียน ไชย ยอด ใบศรี.
      เทียน ตาตักกะแตน (306:3.10)
               เปน ชื่อ เมล็ด, เทียน สำรับ ทำ ยา, มา แต่ เมือง เทษ นั้น, เพราะ เหมือน ตาตักกะแตน.
      เทียน ทอง (306:3.11)
               ประทีป ทอง, คือ เทียน ที่ เขา ปิด ทอง ฤๅ ทำ ด้วย ทอง นั้น, เช่น เทียน ที่ เขา บูชา พระ.
      เทียน ย้อม มือ (306:3.12)
               เทียน ต้น, เปน ชื่อ ต้น เทียน อย่าง หนึ่ง ที่ เขา เอา ใบ ย้อม มือ นั้น, เช่น เทียน ที่ ดอก หอม.
      เทียน อุปัชชฌา (306:3.13)
               เทียน ใหญ่, เปน ชื่อ เทียน ใหญ่ ที่ สำรับ ถวาย อุปัชฌา นั้น, เช่น เทียน คู่ สวด บวช นาค.
เทิน ไว้ (306:1)
         คือ ของ ตั้ง อยู่ บน ดิน เปน ต้น, ว่า ของ ตั้ง เทิน อยู่. ไม่ ได้ จม ฝัง ลง ใน ดิน นั้น,
ทบ (306:2)
         พับ, คือ การ ที่ พับ เข้า มา นั้น, เช่น คน ทบ ขา ฤๅ ทบ เชือก, ทบ ไป ทบ มา.
      ทบ กลาง (306:2.1)
               พับ กลาง, หัก กลาง, คือ การ ที่ พับ กลาง เข้า มา นั้น, เช่น คน ทบ กลาง เชือก, ฤๅ ทบ กลาง ผ้า.
      ทบ เข้า มา (306:2.2)
               พับ เข้า มา, หัก เข้า มา, คือ การ ที่ พับ เข้า มา นั้น, เช่น คน ทบ เชือก ทบ ป่าน ทบ ด้าย ทบ ไหม.
      ทบ ทวน (306:2.3)
               พับ ย้อน, คือ การ ที่ พับ ย้อน กลับ เข้า มา นั้น, เช่น คน เดิน ทาง ทบ ทวน กลับ หลัง มา.
      ทบ ไป (306:2.4)
               พับ ไป, คือ การ ที่ พับ ไป นั้น, เช่น หน ทาง แล ลำ คลอง อ้อม ค้อม ทบ ไป.
      ทบ ผ้า (306:2.5)
               พับ ผ้า, คือ การ ที่ พับ ผ้า นั้น, เช่น* คน ทบ ผ้า พับ ละ แปด สิบ ศอก.
ทับ (306:3)
         ซ้อน, กะท่อม, คือ การ ที่ วาง สิ่ง ของ ต่าง ๆ ไว้ บน ของ อื่น. อีก อย่าง หนึ่ง คือ กะท่อม ที่ อาไศรย, ฤๅ ยก ทัพ รบ กัน.
      ทับ กัน (306:3.1)
               ซ้อน กัน, คือ เอา ของ ต่าง ๆ วาง ไว้ บน ของ ทั้ง ปวง นั้น, เช่น คน วาง ของ ทับ กัน.
      ทับ เขมร (306:3.2)
               ศึก เขมร, คือ กอง ทัพ พวก เขมร นั้น, เช่น ทัพ เขมร ยก มา ตี เมือง ประจิม แต่ ก่อน นั้น.
      ทับ กะท่อม (306:3.3)
               โรง กะท่อม, เรือน กะท่อม*, เปน ชื่อ* กะท่อม เล็ก ๆ นั้น, เช่น ทับ กะท่อม ที่ อาไศรย เฝ้า นา รักษา สวน.
      ทับ แขก (306:3.4)
               ศึก แขก, การ สงคราม แขก, คือ กอง ทัพ พวก แขก นั้น, เช่น พวก แขก ยก ทัพ รบ กัน.
      ทับ ควาย (306:3.5)
               ห้าง ควาย, โรง ควาย, คือ กะท่อม ที่ เขา ทำ ไว้ สำรับ เฝ้า ควาย นั้น. เช่น ทับ ควาย ของ พวก ชาว นา.
      ทับ กฤช (306:3.6)
               เปน ชื่อ ตำบล แห่ง หนึ่ง นั้น, เช่น บ้าน ทับกฤช, แขวง เมือง พิจิตร นั้น.
      ทับ เงา (306:3.7)
               บัง เงา, ซ้อน เงา, คือ การ ที่ ทับ เงา สิ่ง ของ ทั้ง ปวง นั้น, เช่น คน ยืน ทับ เงา ต้น ไม้.
      ทับ ใต้ (306:3.8)
               เปน ชื่อ บ้าน พวก ชาว ดง แห่ง หนึ่ง, เช่น บ้าน ทับ ใต้ ปลาย น้ำ สุพรรณ นั้น.
      ทับ ค่าย (306:3.9)
               เปน ชื่อ กอง ทัพ แล ตั้ง ค่าย นั้น.
      ทับ ท้าน (306:3.10)
               แห้ง หมาด, แห้ง ชำลา, คือ ของ ที่ แห้ง หน่อย ๆ ภอ หมาด ๆ นั้น, เช่น ปลา แห้ง ขำ*ลา.
      ทับทิม (306:3.11)
               พลอย แดง, เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ดอก แดง ลูก กลม ๆ กิน ดี. อนึ่ง เปน ชื่อ พลอย ที่ เขา ทำ หัวแหวน ศรี แดง ๆ นั้น.
      ทับทรวง (306:3.12)
               เครื่อง ประดับ, ของ แต่ง ตัว, เปน ชื่อ เครื่อง ประดับ ที่ อก ทำ ด้วย ทอง คำ นั้น, เช่น ตาบ ทับทรวง เครื่อง ประดับ.
      ทับ ธา (306:3.13)
               ทับ สมิงคลา, งู สามเหลี่ยม. เปน ชื่อ งู ใหญ่ มี พิศม์ อย่าง หนึ่ง นั้น, เช่น งู สามเหลี่ยม เปน ต้น.

--- Page 307 ---
      ทับ น่า (307:3.14)
               สงคราม กอง น่า, ศึก กอง น่า, คือ มิใช่ ทัพ หลัง มิ ใช่ ทัพ หลวง นั้น, เช่น กอง ทัพ น่า ที่ ยก ล่วง ไป ก่อน.
      ทับ น้ำ (307:3.15)
               เปน ชื่อ หนอง น้ำ แห่ง หนึ่ง ปลา ชุม นก, ย่อม มี อยู่ ใน ท้อง ทุ่ง แขวง กรุง เก่า.
      ทับ นาง. (307:3.16)
                เปน ชื่อ คลอง กลาง ทุ่ง นา แห่ง หนึ่ง, เช่น คลอง ทับ นาง ที่ ลัด ไป ปากน้ำ.
      ทัพ หนุน (307:3.17)
               สงคราม กอง หนุน, ศึก กอง หนุน, คือ กอง ทัพ ที่ ยก หนุน ไป ภาย หลัง นั้น, เช่น กอง ทัพ หนุน หลัง นั้น.
      ทับ บก (307:3.18)
                คือ มิใช่ ยก ทัพ ไป ทาง เรือ นั้น, เช่น พวก ทัพ บก ที่ ต้อง เดิน ด้วย ท้าว.
      ทับ ผี (307:3.19)
               คือ กอง ทัพ ที่ ยก ไป ซุ่ม ซ่อน สอด แนม นั้น, เช่น ทัพ ผี ที่ เปน พวก กอง โจร.
      ทับ พี (307:3.20)
               คือ ธารพี ที่ เขา ทำ ด้วย ทอง เหลือง, รูป มัน เหมือน ช้อน แต่ ว่า มัน ใหญ่, สำรับ เขา ตัก เข้า ใส่ ใน บาตร พระ สงฆ์ นั้น.
      ทับ เรือ (307:3.21)
               คือ มิใช่ ทัพ บก ทั้ง ปวง นั้น
      ทับ หลัง (307:3.22)
               ทับ หนุน, คือ กอง ทัพ ที่ ยก ไป เบื้อง หลัง นั้น.
      ทับ หลวง (307:3.23)
               ทัพ ใหญ่, เปน ชื่อ กอง ทัพ ใหญ่ นั้น, เช่น กอง ทัพ หลวง กระษัตริย์.
ทาบ (307:1)
         ดาม, ทับ ลง, ปะ ลง, คือ การ ที่ เอา สิ่ง ของ ต่าง ๆ วาง แอบ ทับ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ไว้ นั้น, เช่น คน เอา ตัว หนัง ทาบ ไว้ กับ จอ นั้น.
      ทาบ กาย (307:1.1)
               ดาม กาย, แอบ ตัว, คือ การ ที่ เอา สิ่ง ของ ต่าง ๆ ทาบ เข้า กับ กาย นั้น, เช่น คน เอา ไม้ ดาม ตัว ไว้.
      ทาบ ตัว (307:1.2)
               คือ การ ที่ เอา สิ่ง ของ ต่าง ๆ ทาบ กาย ไว้ นั้น, เช่น คน เอา ผ้า ทาบ ตัว ลอง ดู.
ทิบ (307:2)
         ประเสริฐ, เปน สิ่ง ของ ที่ ประเสริฐ นั้น, เช่น ของ ทิพ แห่ง พวก เทวดา เปน ต้น.
      ทิพรศ (307:2.1)
               คือ รศ อาหาร แห่ง เทวดา ใน สวรรค์, ว่า รศ ล้ำ เลิศ ประเสริฐ นัก นั้น.
      ทิพ จักษุ (307:2.2)
               ตา ประเสริฐ, เปน ชื่อ ตา อัน ประเสริฐ นั้น, เช่น ทิพจักษุ ของ พระเจ้า เหน ใด้ ใน ที่ ลับ ที่ แจ้ง.
      ทิพ โอสถ (307:2.3)
               คือ ยา แห่ง เทวดา ใน สวรรค์, เปน ยา มี รศ วิเศศ นัก.
      ทิพญาณ (307:2.4)
               คือ คน เปน พญาณ อัน ประเสริฐ, เปน พญาณ อัน สัจธรรม.
      ทิพ เนดร (307:2.5)
               ทิพจักษุ, ตา ทิพ, คือ ตา เปน ทิพ นั้น, เช่น พระเจ้า ฤๅ เทวดา ตา เปน ทิพ, ย่อม เหน ได้ ใน ที่* มืด ที่ แจ้ง.
      ทิพ โสตร หู ทิพ (307:2.6)
               คือ หู เปน ทิพ นั้น เช่น พระเจ้า มี โสตร เปน ทิพ ย่อม ได้ ยิน ที่ คน นึก ว่า ใน ใจ.
      ทิพสมบัติ (307:2.7)
               คือ สมบัติ แห่ง เทวดา ใน สวรรค์, ประเสริฐ กว่า ของ มนุษย์ นั้น.
      ทิพ โอชา (307:2.8)
               คือ รศอร่อย อัน เปน ทิพ นั้น, เช่น อาหาร ทีพ ของ เทวดา มี โอชา อัน เปน ทิพ นั้น.
ทึบ (307:3)
         คือ ของ ไม่ ประ โปร่ง ไม่ ทะลุะ เปน ช่อง, ว่า ของ นั้น ทึบ อยู่.
ทุบ (307:4)
         ตี, ประหาร, คือ การ ที่ ตี ลง ที่ สิ่ง ของ ต่าง ๆ ด้วย ไม้ ค้อน ฤๅ กำปั้น นั้น, เช่น คน ทุบ ปลา
      ทุบ กัน (307:4.1)
               ตี กัน, ประหาร กัน, คือ การ ที่ ตี กัน ด้วย ไม้ ค้อน แล กำปั้น นั้น, เช่น คน แอบ คอย ทุบ หัว กัน*.
      ทุบ ตี (307:4.2)
               ตี ประหาร, ตี ต่อย, คือ การ ตี ทุบ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง นั้น, เช่น คน ทุบ ตี เหล็ก ทำ เครื่อง ใช้ ต่าง ๆ.
      ทุบ ต่อย (307:4.3)
               ตี ต่อย, ประหัด ประหาร, คือ การ ที่ ต่อย ทุบ กัน นั้น, เช่น คน วิวาท ทุบ ต่อย กัน ขึ้น.
      ทุบ ถอง (307:4.4)
               ตี ถอง, คือ การ ที่ ถอง ทุบ กัน นั้น, เช่น คน โกรธ แล้ว ทุบ ถอง โบย ตี กัน.
ทูป (307:5)
         เปน ชื่อ เครื่อง สำรับ จุด ไฟ ให้ กลิ่น หอม ฟุ้ง ไป นั้น, เช่น ทูป กระแจะ, ทูป จีน, ทูป ไท.
      ทูป กระแจะ (307:5.1)
               เปน ชื่อ ทูป ที่ เขา ทำ ด้วย กระแจะ, แล เครื่อง* ปรุง นั้น.
      ทูป จีน (307:5.2)
               เปน ชื่อ ทูป ที่ มา แต่ เมือง จีน นั้น.
      ทูป ไท (307:5.3)
               เปน ชื่อ ทูป ที่ เขา ทำ ที่ เมือง ไท นี้.
เทพ (307:6)
         เปน ชื่อ ของ ประเสริฐ ทั้ง ปวง ฤๅ พวก เทวดา นั้น, เช่น เทพบุตร ฤๅ เทพยดา เปน ต้น.
      เทพจร (307:6.1)
               คือ เส้น ใน ตัว คน ที่ มัน เต้น อยู่ ที่ ค่อมือ ค่อ ท้าว เปน ต้น.

--- Page 308 ---
      เทพกระวี (308:6.2)
               ว่า กล่าว คำ ประเสริฐ ฤๅ เปน ชื่อ พระ ราชาคะณะ เหมือน อย่าง พระ เทพ กระวิ นั้น.
      เทพทอง (308:6.3)
               เปน ชื่อ เพลง อย่าง หนึ่ง นั้น, เช่น เทพทอง เปน เพลง ตลก นั้น.
      เทพมุนี (308:6.4)
                ฯ, ว่า นักปราช* อัน ประเสริฐ, หนึ่ง เปน พระราชา คะณะ นั้น, เหมือน อย่าง พระ เทพมุนี.
      เทพ ชุม นุม (308:6.5)
               คือ ฝูง เทวดา มา ประชุม กัน นั้น.
      เทพโมลี (308:6.6)
                ฯ, เปน ชื่อ แห่ง สมเด็จจ้าว องค์ หนึ่ง นั้น, เช่น พระ เทพ โมลี.
      เทพธาโร (308:6.7)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ ใหญ่ อย่าง หนึ่ง มี อยู่ ใน ป่า, เขา เอา มา ทา ยา ได้ ใบ มัน รี ๆ.
      เทพดา (308:6.8)
               เปน ชื่อ สัตว อัน ประเสริฐ ต่าง ๆ นั้น, เช่น เทพดา ทั้ง ปวง ใน สวรรค์.
      เทพ ไท (308:6.9)
               คือ ท่าน ท้าว เทวดา, อยู่ ใน สวรรค์ นั้น.
      เทพธิดา (308:6.10)
               เปน ชื่อ นาง ฟ้า อัน ประเสริฐ นั้น, เช่น นาง เทวธิดา ทั้ง ปวง.
      เทพ นคร (308:6.11)
               เปน ชื่อ เมือง อัน ประเสริฐ นั้น.
      เทพ นิมิตร (308:6.12)
               คือ นิมิตร ประเสริฐ นั้น, เหมือน อย่าง สิ่ง ของ ที่ เทวดา นฤมิตร, เทวดา สร้าง นั้น.
      เทพนม (308:6.13)
               คือ เทวดา ประนม มือ ไหว้ นั้น, เช่น ลาย เขียน ที่ ชาม เทพนม.
      เทพนัดา (308:6.14)
               หลาน ประเสริฐ, คือ หลาน ประเสริฐ นั้น, เหมือน อย่าง หลาน ของ เทวดา นั้น.
      เทพบุตร (308:6.15)
               คือ ลูก อัน ประเสริฐ นั้น, เหมือน อย่าง บุตร ของ เทวดา นั้น.
      เทพ รำจวญ (308:6.16)
               คำนึง ของ เทวดา, เปน ชื่อ ความ รำพึง ประ- เสริฐ นั้น, เหมือน อย่าง ความ คำนึง แห่ง เทวดา.
      เทพลีลา (308:6.17)
               ลีลาศ ของ เทวดา, ยา ตรา แห่ง เทวดา, คือ ลีลาศ อัน ประเสริฐ นั้น, เหมือน อย่าง ลีลาศ แห่ง เทวดา.
      เทพ สังหร (308:6.18)
               คือ นำ ไป ดี แห่ง เทวดา นั้น, เหมือน อย่าง เทวดา บันดาน ให้ เปน ไป.
แทบ (308:1)
         เกือบ, ใกล้, คือ ใกล้ ฤๅ เกือบ นั้น เหมือน อย่าง เขา พูด กัน ว่า, แทบ ตาย ใกล้ ตาย เกือบ ตาย.
      แทบ พระบาท (308:1.1)
               คือ ใกล้ เกือบ จะ ถึง ท้าว, ว่า เปน คำ สูง สำรับ จ้าว เปน ต้น จึ่ง ว่า เช่น นั้น.
      แทบ ใกล้ (308:1.2)
               เกือบ ใกล้, จวน เจียน, คือ เกือบ ใกล้ จะ ถึง นั้น, เหมือน อย่าง คน เดิน ทาง แทบ ใกล้ จะ ถึง ที่ อยุด.
      แทบ ได้ (308:1.3)
               ใกล้ ได้, เกือบ ได้, คือ เกือบ ได้ ฤๅ ใกล้ ได้ นั้น, เหมือน อย่าง คน ไล่ จับ ไก่ จับ คน แทบ ได้.
      แทบ ตาย (308:1.4)
               เกือบ สิ้น ชีวิตร, ใกล้ ตาย, คือ ความ ที่ ใกล้ ตาย ฤๅ เกือบ ตาย นั้น, เหมือน อย่าง คน เจ็บ แทบ ตาย.
      แทบ หมด (308:1.5)
               คือ สิ่ง ของ ที่ จวน หมด เจียน หมด นั้น, เหมือน อย่าง เข้า แทบ หมด ม่อ.
เทียบ (308:2)
         เคียง, เทียม, เปรียบ, คือ การ เปรียบ การ เคียง ฤๅ เทียม นั้น, เหมือน อย่าง คำ ว่า เปรียบ เทียบ, ฤๅ เทียบ เคียง เปน ต้น.
      เทียบ กัน เข้า (308:2.1)
               เคียง กัน เข้า, เทียม กัน เข้า, เปน ชื่อ การ ที่ เอา ของ มา เทียบ เคียง กัน เข้า นั้น, เหมือน อย่าง คน เอา เรือ สอง ลำ มา เทียบ กัน เข้า.
      เทียบ ขนาน (308:2.2)
               เคียง เสมอ กัน. เปน ชื่อ การ ที่ คน เอา เรือ มา ผูก ขนาน เทียบ กัน เข้า นั้น.
      เทียบ เคียง (308:2.3)
               เทียม เคียง, คือ การ ที่ คน เอา สิ่ง ของ ทั้ง ปวง มา เทียบ เคียง กัน เข้า นั้น.
      เทียบ เปรียบ (308:2.4)
               คือ การ ที่ เอา ของ สอง อย่าง เข้า วาง เคียง คู่ ดู ว่า อัน ไหน จะ ดี กว่า กัน.
      เทียบ ทาน (308:2.5)
               เคียงสอบ, สอบ เทียบ, คือ การ ที่ อ่าน หนังสือ เทียบ กัน เข้า ทาน ดู นั้น, เช่น คน เทียบ ทาน หนังสือ.
      เทียบ เทียม (308:2.6)
               ใกล้ เคียง, ทัด เทียม, คือ การ ทำ เทียบ เทียม ต่าง ๆ นั้น, เช่น ไพร่ ตั้ง ตัว เปน จ้าว เปน ต้น.
ทาม (308:3)
         ดาม, สาย รัด, คือ เชือก ที่ สำรับ รัด ฅอ ควาย ไว้ กับ แอก ฤๅ การ ที่ พูดจา ไว้ พอ ให้ รู้ ความ นั้น.
      ทาม ควาย (308:3.1)
               สาย รัด ฅอควาย เปน ชื่อ เชือก ที่ ถัก เปน สาย สำรับ รัด ฅอควาย ไว้ กับ แอก นั้น เหมือน ทาม เกวียน.
      ทาม พูด (308:3.2)
               พูด ให้ รู้ ไว้, คือ พูด ทาม ไว้ ให้ รู้ ตัว นั้น. เช่น คน ทาม พูด ไว้ ว่า แล้ว จะ ไป หา เปน ต้น นั้น.
ทิม (308:4)
         ศาลา แถว, เปน ชื่อ ศาลา ที่ ปลูก ไว้ เปน แถว ยาว ๆ ใน พระราชวัง นั้น, เช่น ทิม ดำหรวจ เปน ต้น.

--- Page 309 ---
      ทิม กรมวัง (309:4.1)
               ศาลา กรม วัง, คือ ทิม ใน พระราชวัง, เปน ตำแหน่ง พวก กรม วัง อาไศรย นั้น, เหมือน ทิม แถว.
      ทิม กลอง (309:4.2)
               ศาลา กลอง, คือ ทิม ที่ สำรับ เอา กลอง ไว้ นั้น, เช่น ทิม กลอง ใน พระบรมราชวัง.
      ทิม คด (309:4.3)
               ศาลา คด, เปน ชื่อ ทิม ที่ ทำ หลังคา คด คู้ อยู่ นั้น, เช่น ทิมคด ใน พระบวรราชวัง.
      ทิม ดาบ (309:4.4)
               คือ ทิม ที่ พวก ขุนนาง นั่ง คอย เฝ้า ฟัง กระแส ราชการ นั้น
      ทิม ดำหรวจ (309:4.5)
               เปน ชื่อ ทิม ที่ พวก ดำหรวจ อยู่ เวน นั้น.
      ทิม แถว (309:4.6)
               คือ ทิม ที่ ตั้ง เปน แถว ยาว ยืด อยู่ นั้น.
      ทิม สงฆ์ (309:4.7)
               คือ ทิม ที่ พวก พระสงฆ์นั่ง ภัก อยู่ ยัง มิ ได้ เข้า ใน ราชวัง ก่อน, เหมือน ทิม สงฆ์ ใน พระราชวัง.
ทิ่ม (309:1)
         ตำ, แหย่, คือ อาการ ที่ คน เอา ไม้ ตำ ฤๅ แทง แล แหย่ นั้น, เช่น พวก สัปเหร่อ เอา ไม้ ทิ่ม ผี.
      ทิ่ม ตำ (309:1.1)
               แหย่, แยง, คือ การ ที่ เอา สาก ตำ แล้ว ทิ่ม ด้วย นั้น, เช่น คน ตำ เข้าเม่า ฤๅ โขลก ปูน.
      ทิ่ม แทง (309:1.2)
               คือ การ ที่ คน เอา ซ่อม ฤๅ แหลน ทิ่ม แล้ว แทง ด้วย นั้น, เช่น คน แทง ปลาไหล.
      ทิ่ม แหย่ (309:1.3)
               คือ การ ที่ คน เอา ไม้ ทิ่ม แล้ว แหย่ ด้วย นั้น, เช่น คน แหย่ หนู ฤๅ แยง แย้.
ทุ่ม (309:2)
         ทิ้ง, ทอด, คือ การ ที่ ทิ้ง ทับ กะแทก ลง หนัก ๆ นั้น, ฤๅ หก สิบ นาที ใน เวลา กลาง คืน นั้น, เหมือน โมง หนึ่ง.
      ทุ่ม ทับ (309:2.1)
               ทิ้ง ทับ, ทอด ทิ้ง, คือ การ ที่ คน เอา สิ่ง ของ ที่ หนัก ๆ ทิ้ง ทับ ลง ไป นั้น, เช่น คน เอา ก้อน หิน ทิ้ง ทุ่ม ทับ ลง.
      ทุ่ม หนึ่ง (309:2.2)
               เปน ชื่อ การ นับ เปน โมง หนึ่ง ใน เวลา กลาง คืน นั้น, เช่น เขา พูด กัน ว่า เวลา ค่ำ ทุ่ม หนึ่ง.
      ทุ่ม ทอด (309:2.3)
               คือ การ ที่ ทุ่ม ตัว ทอด ลง นั้น, เช่น คน เปน ทุกข นัก ทุ่ม ตัว ทอด ลง ใน ที่ นอน.
      ทุ่ม เถียง (309:2.4)
               คือ คำ เถียง กัน, แต่ คำ ทุ่ม เปน คำ สร้อย.
      ทุ่ม ยาม (309:2.5)
               เปน ชื่อ สำรับ กำหนด ยาม เวลา กลาง คืน นั้น, สาม ทุ่ม เปน ยาม หนึ่ง.
      ทุ่ม ลง (309:2.6)
               ทิ้ง ลง, คือ การ ที่ ทิ้ง กะแทก ลง นั้น, เช่น คน ทิ้ง หิน ใหญ่ ทุ่ม ลง ใน น้ำ.
ทุ้ม (309:3)
         เสียง ต่ำ, เปน ชื่อ เสียง ทั้ง ปวง ที่ ดัง ต่ำ นั้น, เช่น เสียง กลอง ตัวผู้ เปน ต้น.
      ทุ้ม ต่ำ (309:3.1)
               เปน ชื่อ เสียง ทั้ง ปวง ที่ ไม่ สูง ไม่ แหลม นั้น, เช่น เสียง ซออู้ ทุ้ม แล้ว ต่ำ ด้วย.
      ทุ้ม ลง (309:3.2)
               คือ การ ที่ คน ทำ เสียง ให้ ทุ้ม ลง นั้น, เช่น ผู้ชาย ร้อง เพลง ทำ เสียง ทุ้ม ลง.
      ทุ้ม เสียง (309:3.3)
               คือ การ ทำ เสียง ให้ ทุ้ม ลง นั้น, เช่น เสียง กลอง ตัวผู้ ฤๅ ซออู้.
ทูม (309:4)
         อูม, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ บวม อูม อยู่ นั้น, เช่น คน เปน คางทูม เปน ต้น.
ท่อม (309:5)
         ด้อม, ก้ม ลง, คือ อาการ ที่ เดิน ก้ม ตัว ด้อม ไป นั้น, เช่น ลูก ช้าง เดิน ท่อม ๆ นั้น.
ท่วม (309:6)
         กลบ, คือ การ ที่ กลบ ลบ ปิด มิด เสีย นั้น, เช่น น้ำ ท่วม บ้าน เหื่อ ท่วม ตัว.
      ท่วม ทับ (309:6.1)
               เปน ชื่อ การ ที่ ท่วม ทับ กลบ ของ อื่น เสีย นั้น, เช่น การ ที่ ถม ดิน ถม ทราย ท่วม ทับ สิ่ง ของ ต่าง ๆ.
      ท่วม บ้าน (309:6.2)
               ลบ บ้าน, คือ สิ่ง ของ ที่ ท่วม ลบ บ้าน นั้น, เช่น เดือน สิบ สอง น้ำ มาก ท่วม บ้าน.
      ท่วม ศีศะ (309:6.3)
               คือ พ้น ปิด มิด หัว, เหมือน น้ำ มาก คน ลง ไป จน น้ำ เกิน ปิด มิด หัว นั้น.
ท้วม (309:7)
         เปน ชื่อ คน บ้าง, เปน ชื่อ กิริยา คน อ้วน บ้าง, เช่น* นาย ท้วม ฤๅ เดิน ท้วม ๆ
เทียม (309:8)
         คล้าย, ทัด, คือ การ เสมอ กัน, เทียบ กัน, เท่า กัน, คล้าย กัน, แอบ กัน นั้น, เช่น คน ทำ เทียม.
      เทียม กัน (309:8.1)
               ทัด กัน, คล้าย กัน, คือ การ ที่ ทำ เสมอ กัน ฤๅ สูง ต่ำ เท่า กัน นั้น, เช่น คน ทำ เทียม เพื่อน กัน.
      เทียม เกวียน (309:8.2)
               เทียบ เกวียน, เปน ชื่อ การ ที่ คน เอา งัว ฤๅ ควาย ผูก เทียบ ไว้ ที่ เกวียน นั้น, เช่น ควาย เทียม เกวียน ม้า เทียม รถ.
      เทียม เข้า (309:8.3)
               เทียบ เข้า, คือ การ ที่* คน เอา ม้า ฤๅ งัว เทียม. เข้า ไว้ นั้น, เช่น คน เอา งัว เทียม เข้า ที่ แอก นั้น.
      เทียม ควาย (309:8.4)
               เทียบ ควาย, คือ การ ที่ เทียม ด้วย ควาย นั้น.
      เทียม จ้าว (309:8.5)
               เทียบ จ้าว, คือ การ ที่ คน ทำ เหมือน จ้าว นั้น, เช่น ไพร่ ทำ เทียม จ้าว เทียม นาย.

--- Page 310 ---
      เทียม ทัน (310:8.6)
               เสมอ กัน, คือ ความ ที่ คน มี ปัญญา รู้ เท่า ทัน กัน นั้น, เช่น คน ฉลาด พูดจา เทียม ทัน กัน.
      เทียม เทียบ (310:8.7)
               เทียบ เทียม, คือ การ ที่ สิ่ง ของ ที่ เทียบ เทียม คล้าย กัน นั้น, เช่น คน มี ปัญญา เทียม เทียบ กัน.
      เทียม หน้า เพื่อน (310:8.8)
               เสมอ หน้า เพื่อน, คือ คน ที่ มี ผ้า นุ่ง ห่ม แต่ง ตัว เสมอ หน้า เพื่อน ฝูง นั้น, เช่น นุ่ง ห่ม ภอ เทียม หน้า* เพื่อน.
      เทียม นาย (310:8.9)
               เสมอนาย, เหมือน นาย, คือ การ ที่ คน ทำ เสมอ นาย นน, เช่น บ่าว ไว้ ตัว ตั้ง ตัว เทียม นาย นั้น.
      เทียม เพื่อน. เสมอ เพื่อน (310:8.10)
               คือ การ ที่ คน ทำ ภอ เสมอ เพื่อน ฝูง ทั้ง ปวง นั้น, เช่น คน มี ทรัพย์ ภอ เทียม เพื่อน.
      เทียม เท็จ (310:8.11)
               คือ ความ ที่ ราว กับ เท็จ, คือ คำ เขา พูด เล่า เรื่อง ประหลาด ต่าง ๆ เปน ความ* จริง, ราว กับ ปด นั้น.
      เทียม พระ (310:8.12)
               เสมอ พระ, เทียบ พระ, คือ พระเท็จ เทียม ต่าง ๆ นั้น, คน ตั้ง ตัว เทียม พระเจ้า
      เทียม ม้า (310:8.13)
               เทียบ ม้า, คือ เอา ม้า ผูก เข้า ที่ แอก รถ, เช่น นาย สาระถี เทียม ม้า ใน รถ.
      เทียม รถ (310:8.14)
               เทียบ รถ, คือ เอา ม้า ผูก ไว้ ที่ รถ, คำ ว่า ม้า เทียม รถ นั้น.
      เทียม (310:8.15)
               เสมอ, คือ เทียบ เปรียบ เสมอ, เหมือน ผู้ อื่น ตั้ง ตัว ไว้ เปรียบ* เสมอ ด้วย พระเจ้า.
เทิ้ม (310:1)
         สั่น, งก ๆ, เริ้ม ๆ, คือ ตัว สั่น งก ๆ งัน นั้น, เช่น คน ผี เข้า จ้าว ถือ ตัว สั่น เทิ้ม ๆ นั้น.
ทาย (310:2)
         ทำนาย, ทัก ทาย, คือ การ ทำนาย เหตุผล ทั้ง ปวง นั้น, เช่น พวก โหร แล ผู้ ทำนาย.
      ทาย เคราะห์ (310:2.1)
               ทำนาย เคราะห์, หมอ ดู เคราะห์, คือ ความ ที่ ทำนาย เคราะห์ ดี แล เคราะห์ ร้าย ทั้ง ปวง นั้น, เช่น หมอดู.
      ทาย ถูก (310:2.2)
               ทำนาย ถูก, ดู ถูก, คือ ทาย เหตุ การ ต่าง ๆ ไม่ ผิด นั้น, เช่น หมอ ดู แน่ ทาย ถูก.
      ทาย ผิด (310:2.3)
               ทำนาย ไม่ ถูก, ดู ผิด, คือ ทาย เหตุ ผล ทั้ง ปวง ไม่ ถูก นั้น, เช่น หมอ ดู ไม่ แน่ ทาย ผิด.
      ทาย ล่วง น่า (310:2.4)
               คือ ทำนาย ข้าม ไป เบื้อง น่า นั้น, เช่น โหร ทาย ว่า ปี น่า จะ เกิด ศึก.
      ทาย ไว้ (310:2.5)
               ทำนาย ไว้, หมอ ดู ไว้, คือ ความ ทำนาย เหตุผล ต่าง ๆ ไว้ นั้น, เช่น พวก ทำนาย ทาย เหตุ ไว้.
ท้าย (310:3)
         เบื้อง หลัง, เปน ชื่อ ของ ที่ เปน ส่วน เบื้อง หลัง นั้น, ท้าย เขา, ท้าย น้ำ, ท้าย บ้าน.
      ท้าย เขา (310:3.1)
               ท้าย คีรี, คือ มิ ใช่ หัว ภูเขา, เช่น ท้าย* เขา ตก ที่ พระบาท นั้น.
      ท้าย ช้าง (310:3.2)
               ท้าย คชสาร, ท้าย ถ้ำ, ท้าย คูหา, ท้าย น้ำ, ท้าย ชลธาร, คือ มิ ใช่ ที่ เหนือ น้ำ, เช่น ท้าย น้ำ ข้าง ใต้ นั้น.
      ท้าย บ้าน (310:3.3)
               ท้าย พระที่นั่ง, ท้าย เมือง, ท้าย รถ, ท้าย เรือ, คือ มิ ใช่ ตอน หัว เรือ นั้น, เช่น ท่อน ท้าย เรือ.
(310:4)
         
ทาว ๆ (310:5)
         ระรัว, งก ๆ, เริ้ม ๆ, เปน ชื่อ อาการ ที่* สั่น ทาว ๆ นั้น, เช่น คน ผี สิง ฤๅ ลูก นก กระจาบ.
ท้าว (310:6)
         บาท, ที่ ตั้ง, ตีน, เปน ชื่อ หญิง ข้า ราชการ ใน วัง หลวง มี ท้าว อินท์ สุริยา เปน ต้น. อีก อย่าง หนึ่ง เปน ชื่อ ที่ ตั้ง แล ตีน ทั้ง ปวง. อนึ่ง เปน ชื่อ กิริยา กระทำ เหมือน ท้าว แขน.
      ท้าว แขน (310:6.1)
               ที่ ตั้ง แขน, กราน แขน, เปน ชื่อ อาการ ที่ คน นั่ง พับเพียบ แล้ว เอา แขน กราน ไว้ กับ พื้น นั้น เช่น ผู้หญิง นั่ง ท้าว แขน.
      ท้าว คาง (310:6.2)
               คือ อาการ ที่ คน หมอบ เอา มือ ค้ำ คาง กราน ไว้ นั้น เช่น ผู้หญิง หมอบ เอา มือ ท้าว คาง.
      ท้าว ช้าง (310:6.3)
               ตีน ช้าง, คือ ตีน ช้าง ฤๅ โต๊ะ ทอง ขาว ที่* เหมือน ท้าว ช้าง นั้น, เช่น โตก ท้าวช้าง.
      ท้าว เทพากร (310:6.4)
               พระยา, เปน ชื่อ ขุนนาง ผู้หญิง คน หนึ่ง. เช่น ท้าว เทพากร เจ้า ตลาด.
      ท้าว ทรง กันดาร (310:6.5)
               พระยา, เปน ผู้หญิง ฝ่าย ใน คน หนึ่ง, เช่น ท้าว ทรงกันดาร สำรับ ว่า ราชการ ฝ่าย ใน.
      ท้าวนาง (310:6.6)
               พระยา, เปน ชื่อ นาง ท้าว ฝ่าย ใน นั้น, เช่น ผู้หญิง ที่ เปน ท้าว นาง ทำ ราชการ ฝ่าย ใน.
      ท้าว พระยา (310:6.7)
               คือ ขุนนาง ผู้ ใหญ่ ผู้ น้อย ทั้ง ปวง, เช่น เจ้า พระยา แล พระยา, มี ท่าน เจ้าพระยา นิกรบดินทร์.

--- Page 311 ---
      ท้าว วรจันท์ (311:6.8)
               พระยา, ที่ ตั้ง, เปน ชื่อ ตั้ง ผู้หญิง ฝ่าย ใน คน หนึ่ง, เช่น ท้าว วรจันท์ ที่ กำกับ เจ้าจอม ฝ่าย ใน.
      ท้าว ศรี สัจจา (311:6.9)
               พระยา, ที่ ตั้ง, เปน ชื่อ ตั้ง ผู้หญิง ฝ่าย ใน คน หนึ่ง นั้น.
      ท้าว ศอก (311:6.10)
               ที่ ตั้ง ศอก, ที่ กราน ศอก, คือ อาการ ที่ เอา ศอก ลง ท้าว กราน ไว้ กับ พื้น นั้น, เช่น พวก ข้า ราชการ หมอบ คลาน ด้วย ศอก.
      ท้าว เอว (311:6.11)
               ที่ ตั้ง ที่* เอว, กราน ที่ เอว, คือ อาการ ที่ คน เอา มือ ท้าว ไว้ ที่ บั้นเอว นั้น, เช่น คน เอา มือ จับ บั้นเอว ท้าว ไว้.
ทิว (311:1)
         แถว, เรียง กัน, คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ตั้ง อยู่ เรียง กัน เปน แถว ๆ แล เหน แต่ ไกล นั้น, เช่น ทิว ป่า ทิว ไม้.
      ทิว แถว (311:1.1)
               แถว ๆ, คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ตั้ง อยู่ เปน แถว ๆ แล เหน เปน ทิว ไป นั้น, เช่น เขา ปัก ไม้ รั้ว เรียง กัน เปน เปน ทิว แถว ไป ใน ทะเล นั้น.
      ทิว ทุ่ง (311:1.2)
               แถว ทาง, แถว ทุ่ง, คือ ท้อง ทุ่ง ที่ แล ดู ตลอด โล่ง เปน ทิว ไป นั้น, เช่น ทิว ทุ่ง หลวง นั้น.
      ทิว ธง (311:1.3)
               คือ แถว ธง, เหมือน ธง มาก เขา ปัก ไว้ เปน แถว ไป นั้น ว่า,
      ทิว ป่า (311:1.4)
               แถว ป่า, แนว ป่า, คือ แนว ป่า ที่ แล ดู เปน ทิว ไป แต่ ไกล นั้น, เช่น ทิว ป่า ไม้ ตาม ชาย ทุ่ง.
      ทิว ไม้ (311:1.5)
               แถว ไม้, แนว ไม้, คือ ไม้ ที่ ขึ้น เรียง กัน เปน แถว ไป นั้น, เช่น ทิว ไม้ ตาม ท้อง ทุ่ง.
ทุย (311:2)
         แคลน, เปน ชื่อ ควาย อย่าง หนึ่ง ฤๅ ผล หมาก ลีบ แคลน นั้น, เช่น ควาย ทุย แล หมาก ทุย เปน ต้น
ทอย (311:3)
         โยน, ทิ้ง, คือ การ โยน เล่น อย่าง หนึ่ง, แล เปน ชื่อ สิ่ง ของ อีก อย่าง หนึ่ง, เช่น เล่น ทอย กอง ฤๅ ลูก ทอย ที่ เขา ตอก ขึ้น ไป บน ต้นไม้ นั้น.
      ทอย กอง (311:3.1)
               โยน, คือ การ ที่ คน เอา เบี้ย กอง ลง แล้ว, เอา เบี้ย ฤๅ อิฐ โยน ทิ้ง ไป ที่ กอง นั้น, เด็ก เล่น ทอย กอง.
      ทอย เทษ (311:3.2)
               คือ การ เล่น อย่าง หนึ่ง นั้น, คล้าย กับ เล่น ทอย กอง.
      ทอย เรียด (311:3.3)
               คือ การ ที่ ทอย ให้ เรียด เสมอ ไป กับ พื้น นั้น, เช่น เล่น ทอย เทษ นั้น.
ท่อย (311:4)
         คำ, ความ, วาจา, คือ คำ ที่ คน กล่าว ต่าง ๆ นั้น, เช่น ท่อย คำ ฤๅ ทอย ความ, ฤๅ ท่อย ที่ ท่อย ว่า กัน.
      ท่อย คำ (311:4.1)
               วาจา, พูดจา, ปราไศรย, คือ เสียง ที่ คน พูดจา ต่าง ๆ นั้น, เช่น ท่อย คำ ที่ คน กล่าว ต่าง ๆ.
      ท่อย ความ (311:4.2)
               ท่อย คำ, วาที, คือ ท่อย คำ ที่ คน วิวาท ที่ เปน ความ กัน นั้น.
      ท่อย ที ท่อย ด่า (311:4.3)
               ต่าง คน ต่าง ด่า, เอง ด่า กู กู ด่า เอง, คือ คำ ที่ คน วิวาท ต่าง คน ต่าง ด่า กัน นั้น.
ทวย (311:5)
         กระหนก รับ เต้า, คือ ไม้ ที่ เขา ทำ เปน รูปนาค หาง เปน กระหนก ห้อย อยู่ ใต้ เต้า นั้น, เช่น คัน ทวย ที่ วิหาร.
      ทวย หาร (311:5.1)
               คือ ทหาร นั้น. คำ ว่า ทวย ทหาร ว่า เปน คำ หลวง สูง ขึ้น.
ท่วย* (311:6)
         ชาม เล็ก, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ ทำ ด้วย ดิน บ้าง แก้ว บ้าง แก้ว บ้าง นั้น, เช่น ท่วย แก้ว ท่วย ขอบ ท่วย ชา นั้น.
      ท่วย แก้ว (311:6.1)
               เปน ชื่อ ท่วย ที่ เขา ทำ ด้วย แก้ว นั้น, เช่น ท่วย แก้ว กิน น้ำชา ฤๅ ท่วย แก้ว เครื่อง บูชา นั้น.
      ท่วย ขอบ (311:6.2)
               เปน ชื่อ ท่วย ที่ เฃา ปั้น เปน ขอบ แล้ว เขียน เปน ลาย กลม ๆ เช่น ท่วย ขอบ เมือง จีน.
      ท่วย* ชา (311:6.3)
               เปน ชื่อ ท่วย เล็ก ที่ สำรับ ใส่ น้ำชา กิน นั้น, เช่น ท่วย ชา ที่ มา แต่ เมือง จีน นั้น.
      ท่วย ชาม (311:6.4)
               เปน ชื่อ ชาม แล ท่วย ทั้ง ปวง ที่ สำรับ ใส่ ของ กิน นั้น.
      ท่วย ฝา (311:6.5)
               คือ ท่วย ที่ มัน มี ฝา ปิด นั้น ว่า.
ท้วย (311:7)
         งอน, คือ สิ่ง ของ ที่ มี อาการ งอน หน่อย ๆ นั้น, เช่น งาช้าง งอน อ่อน ท้วย นั้น.
เทียว (311:8)
         ที เดียว, เวียน, คือ ที เดียว ฤๅ เวียน ไป เวียน มา นั้น เช่น คำ ว่า อย่าง นั้น เทียว ฤๅ ๆ เทียว ไป เทียว มา.
เที่ยว (311:9)
         เตร่, เกร่, คือ การ ที่ ไป ใน ที่ ต่าง ๆ นั้น*, เช่น คน เที่ยว ไป ข้าง โน้น, เที่ยว มา ข้าง นี้ นั้น.
      เที่ยว เตร่ (311:9.1)
               เที่ยว เล่น, คือ การ ที่ เที่ยว ไป ใน ที่ ต่าง ๆ นั้น, เช่น คน เที่ยว เล่น.
      เที่ยว ค้าขาย (311:9.2)
               ไป ค้าขาย, คือ การ ที่ พวก พ่อ ค้า ไป เที่ยว ค้า ขาย นั้น, เช่น พวก นาย กำปั่น เที่ยว ค้าขาย.

--- Page 312 ---
      เที่ยว เดิน เล่น (312:9.3)
               ไป เดิน เล่น, เที่ยว เตร่ เล่น, คือ การ ที่ คน เที่ยว ไป เดิน เล่น นั้น, เช่น คน เดิน เที่ยว เล่น ตาม สบาย.
      เที่ยว ดาย ไป (312:9.4)
               เที่ยว ร่ำ ไป, เที่ยว ตบึง ไป, คือ การ ที่ คน เที่ยว ตบง ไป นั้น, เช่น พวก นักเลง เที่ยว ร่ำ ไป.
      เที่ยว ไป (312:9.5)
               เตร่ ไป, คือ การ ไป เที่ยว ใน ที่ ทั้ง ปวง นั้น, เช่น คน เที่ยว ไป ใน ประเทศ ต่าง ๆ.
      เที่ยว ประพาศ (312:9.6)
               ไป ประพาศ, เที่ยว เล่น, คือ เที่ยว ไป ชม เล่น นั้น, เช่น พระ มหา กระษัตริย์ เที่ยว ประพาศ ป่า เปน ต้น.
      เที่ยว มา (312:9.7)
               จรมา, เดิน มา, คือ ความ ที่ คน เที่ยว มา แต่ ที่* อื่น นั้น, เช่น คน จร มา แต่ เมือง ไกล เปน ต้น นั้น
      เที่ยว อยู่ (312:9.8)
               เตร่ อยู่, คือ การ ที่ คน เที่ยว ไป อยู่ ใน บ้าน ต่าง ๆ นั้น, เช่น พวก แขกเมือง เที่ยว มา อยู่ เปน ต้น.
      เที่ยว เล่น (312:9.9)
               เที่ยว ประพาศ, คือ อาการ ที่ คน เที่ยว ไป เล่น นั้น, เช่น คน ไป เที่ยว เล่น ตาม สบาย เปน ต้น.
      เที่ยว เวียน (312:9.10)
               เดิน เวียน, คือ การ ที่ คน เที่ยว วน เวียน ไป มา นั้น, เช่น คน เที่ยว เวียน ไป เวียน มา.
      เที่ยว แวะ (312:9.11)
               คือ การ ที่ คน เดิน ทาง เที่ยว เข้า อยุด ที่ โน่น ที่ นี่ นั้น, เช่น คน เดิน เรือ เที่ยว แวะ ที่ โน่น ที่ นี่ เปน ต้น.
      เที่ยว หา (312:9.12)
               เตร่ หา, เดิน หา, คือ การ ที่ คน เที่ยว ค้น หา สิ่ง ของ ต่าง ๆ นั้น, เช่น คน เที่ยว หา ของ หาย เปน ต้น.
      เที่ยว* อาไศรย (312:9.13)
               ไป อาไศรย, คือ ความ ที่ คน เที่ยว ไป อาไศรย เขา อยู่ นั้น, เช่น คน เที่ยว อาไศรย ศาลา.
เทื้อ (312:1)
         ไม่ ว่องไว, เปน ชื่อ ผู้หญิง ที่ เปน สาว ใหญ่ ไม่ ว่องไว นั้น, เช่น หญิง สาว มี อายุ ได้ สามสิบห้า เปน ต้น.
เทอ (312:2)
         ท่าน, คือ คำ ว่า เทอ นั้น, ฤๅ พระองค์จ้าว ลูกเธอ*.
      เท่อ (312:2.1)
               ดื้อ, คือ อาการ ที่ ทู่ นั้น, มีด ขี้ เท่อ ฤๅ จรเข้ ขึ้น ลอย เท่อ อยู่ เปน ต้น.
      เท่อ ท่า (312:2.2)
               คือ การ เซ่อ ซ่า, เหมือน คน ปัญญา เขลา ไม่ ฉลาด เข้า ไป ที่ พระราชวัง เปน ต้น มี อาการ วุ่น วาย นั้น.
เท้อ (312:3)
         น้ำ ขึ้น มาก เต็ม ที แล้ว มิ ใคร่ จะ ลง เท้อ อยู่ นั้น ว่า.
ทั่ว (312:4)
         ไม่ เว้น, คือ การ ที่ ได้ ทุก คน ฤๅ การ ที่ ไม่ เว้น ตัว นั้น, เช่น แจก ของ ได้ ทั่ว กัน ทุก คน ๆ.
      ทั่ว กัน (312:4.1)
               คือ ความ ที่ ไม่ เว้น ไม่ เหลือ ไม่ พ้น นั้น, เช่น ความ แก่ ความ ตาย ย่อม มี ทั่ว กัน ทุก ตัว สัตว.
      ทั่ว ตัว (312:4.2)
               ทั้ง ตัว, คือ ความ สิ้น ทั้ง ตัว นั้น, เช่น คน อาบ น้ำ เปียก ทั่ว ตัว, ฤๅ ความ ตาย ย่อม มี ทั่ว ทุก ตัว สัตว.
      ทั่ว คน (312:4.3)
               ทุก คน, คือ ความ ที่ ทั่ว กัน ทุก คน นั้น, เช่น ความ เกิด ความ แก่ ความ ไข้ ความ ตาย, ย่อม มี ทั่ว คน.
      ทั่ว ถึง (312:4.4)
               ทั่ว หมด, คือ สิ่ง ของ ที่ มี อยู่ ใน ใจ ทั่ว ถึง กัน นั้น, เช่น ความ ทุกข ความ กลัว ย่อม มี ทั่ว ถึง กัน.
      ทั่ว ทุก แห่ง (312:4.5)
               หมด ทุก ตำบล, คือ สิ่ง ของ ที่ อยู่ ทั่ว* ทุก แห่ง.
      ทั่ว ทิศ (312:4.6)
               ทุก ทิศ, คือ สิ่ง ของ ที่ มี ทั่ว ไป ทุก ทิศ นั้น, เช่น เวลา กลาง คืน ย่อม มืด ไป ทั่ว ทิศ.
      ทั่ว น่า (312:4.7)
               ท่วน น่า, ทุก คน, คือ การ ที่ ได้ เหน หน้า ทั่ว กัน นั้น, เช่น คน มา นั่ง โต๊ะ พร้อม หน้า กัน.
      ทั่ว บ้าน (312:4.8)
               ทั้ง บ้าน, ทุกบ้าน, คือ สิ่ง ของ ที่ มี ทุก บ้าน นั้น.
      ทั่ว ไป (312:4.9)
               ทุก ตำบล, ทุก แห่ง, คือ สิ่ง ของ ที่ มี ทั่ว ไป นั้น.
      ทั่ว พิภพ (312:4.10)
               ทั่ว โลกย์, คือ ทั่ว โลกย์ ทั้ง ปวง นั้น, เช่น แสง อาทิตย์ ย่อม สร่อง สว่าง ทั่ว พิภพ.
      ทั่ว พระนคร (312:4.11)
               ทั่ว เมือง, คือ ทั่ว เมือง นั้น, เช่น คำ เขา พูด กัน ว่า ให้ ตี ฆ้อง ร้อง เป่า ทั่ว พระนคร.
      ทั่ว เรือน (312:4.12)
               คือ การ หา ทั่ว ทั้งเรือน นั้น, เช่น สิ่ง ของ หาย ค้น ทั่ว ทั้ง เรือน เปน ต้น.
      ทั่ว ล่า (312:4.13)
               ทั่ว โลกย์, คือ ทั่ว ทั้ง แผ่นดิน นั้น, เช่น คำ ว่า ทั่ว ล่า ฟ้า เขียว.
      ทั่ว รูป ทั่ว นาม (312:4.14)
               คือ สิ่ง ของ ที่ มี ทั่ว ทุก รูป ทุก นาม นั้น, เช่น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้น.
เทอะ (312:5)
         เถิด, เปน คำ ห้าม ว่า เท่า นั้น เทอะ นั้น.
แทะ (312:6)
         (dummy head added to facilitate searching).
      แทะ กระดูก (312:6.1)
               คือ การ ที่ กัด กิน เนื้อ ที่ ติด อยู่ ตาม กระดูก นั้น
      แทะ โลม (312:6.2)
               เลียม โลม, เหมือน คน ผู้ ชาย เข้า ใกล้ ผู้หญิง, สอง ต่อ สอง ใน ที่ ลับ เลียม เล้า โลม นั้น.
      แทะ เล็ม (312:6.3)
               คือ การ ที่ กัด กิน หญ้า ที่ ต้น สั้น ติด อยู่ กับ ดิน, เหมือน ม้า มัน กัด ต้น หญ้า สั้น ติด อยู่ กับ ดิน นั้น.
ทอ (312:7)
         ช่าง หูก, คือ การ ที่ คน เอา ด้าย ใส่ เข้า ที่ ฟืม แล้ว ทอ ไป นั้น, เช่น คน ทอ หูก ทอ ผ้า เปน ต้น.

--- Page 313 ---
ทรยศ (313:1)
         คือ การ ที่ คน ลบ หลู่ ไม่ รู้ จัก คุณ ท่าน ผู้ มี คุณ นั้น.
ทรชน (313:2)
         คือ คน ที่ กระทำ ชั่ว ไม่ ชอบ ธรรม นั้น.
ทรลัษณ์ (313:3)
         คือ คน ที่ มี อะไวยวะ มี มือ แล ท้าว เปน ต้น, ไม่ เสมอ กัน เปน ปรกติ แล จักษุ หลิ่ว เหล่ ไป นั้น เปน ต้น.
ทรพล (313:4)
         คือ คน ที่ มี กำลัง ทรัพย์ แล ลาภ น้อย นั้น.
ทอ ผ้า (313:5)
         ทอ หูก, คือ การ ที่ คน เอา ฟืม* มา ทอผ้า ต่าง ๆ นั้น, เช่น พวก ช่าง ทอ หูก ทอผ้า ม่วง ผ้าปูม.
ทอ มุ้ง (313:6)
         คือ คน ทอ ผ้า ทำ มุ้ง ต่าง ๆ นั้น.
ทอ เสื่อ (313:7)
         คือ การ ที่ คน ทอ เสื่อ นั้น.
ทอ หูก (313:8)
         ทอ ผ้า, คือ การ ที่ คน ทอ ผ้า นั้น, เช่น คน ทอหูก ด้วย เครื่อง ต่าง ๆ.
ท่อ (313:9)
         ช่าง, ปล่อง, เปน ชื่อ สิ่ง ของ ที่ เปน ปล่อง เปน ช่อง เปน ทาง นั้น, เช่น ท่อ ธาร ท่อ น้ำ ท่อ ไฟ.
      ท่อ ธาร (313:9.1)
               ทาง น้ำ ไหล, ช่อง น้ำ ไหล, เปน ชื่อ ทาง น้ำ ไหล มา แต่ ภู เขา, ฤๅ ศาลา สำรับ ให้ ทาน น้ำ, เหมือน ลำ ห้วย แล โรง ทาน.
      ท่อ น้ำ (313:9.2)
               ทาง น้ำ ไหล, ท่อ ธารา, คือ ทาง ที่ เขา ทำ สำรับ ไข น้ำ, ฤๅ ไม้ ที่ เขา ทำ เปน ช่อง ให้ น้ำ ไหล นั้น, เหมือน คลอง ท่อ กรุง เก่า ฤๅ ท่อ น้ำ ตาม สวน.
      ท่อ เพลิง (313:9.3)
               ปล่อง ไฟ, ช่อง ไฟ, เปน ชื่อ ท่อ ที่ เขา ทำ เปน ช่อง เปน รู สำรับ ให้ เปลว ไฟ ขึ้น นั้น เช่น ปล่อง ไฟ โรง หล่อ
ท้อ (313:10)
         ย่น, ย่อ, ถอย, เปน ชื่อ ความ ที่* อ่อน ใจ ระอา ใจ ฤๅ คิด ถอย หลัง นั้น, เช่น เดิน ทาง ไกล เกิน กำลัง คิด ท้อ ใจ.
      ท้อ ใจ (313:10.1)
               ย่อ ใจ, ถอย ใจ, คือ ความ ที่ ใจ คิด ท้อ ถอย นั้น, เช่น คน ทำ การ ใหญ่ เหลือ กำลัง เหน จะ ไม่ สำเร็จ, คิด ท้อ ใจ เปน ต้น.
      ท้อ ถอย (313:10.2)
               ย่นย่อ, คือ ความ ที่ ใจ คิด ย่น ย่อ ไป นั้น, เช่น เล่า เรียน คิด ท้อ ถอย จาก ความ เพียร.
      ท้อ แท้ (313:10.3)
               อ่อน แอ, ท้อ ถอย, คือ ความ ที่ ใจ คิด ท้อ ถอย นั้น, เช่น คน เดิน ทาง ไกล เกิน กำลัง ทำ ท้อแท้ ไม่ ใคร่ เดิน ได้.
ทรง* รักษ (313:11)
         คือ ทรง ไว้ ซึ่ง การ รักษา นั้น, เช่น พระ มหา กระ- ษัตริย์ ทั้ง ปวง นั้น.
ทราก (313:12)
         กาก ร่าง, เปน ชื่อ อาการ ตัว คน ฤๅ ตัว สัตว ทั้ง ปวง, ที่ ตาย หลาย วัน จน แห้ง ยุบ ไป นั้น, เหมือน คางคก ตาย ทราก.
แทรก (313:13)
         ชำแรก, เปน ชื่อ เบียด เสียด แซรก เข้า ไป นั้น, เช่น คน เบียด แซรก เข้า ไป ใน พวก คน มาก.
      แทรก แทรง (313:13.1)
               เสียด ไป ตาม ข้าง, คือ การ ที่ เบียด แทรก แทรง ขึ้น ไป นั้น, เช่น พวก ม้า แทรก แทรง นั้น.
ทรง (313:14)
         ดำรงค์, ตั้ง ไว้, จำ ไว้, คือ การ ที่ ดำรงค์ ไว้, ตั้ง ไว้ จำ ไว้ นั้น, เช่น ทรง กรรแสง, ทรง ครรภ, ทรงเครื่อง นั้น
      ทรง กรรแสง (313:14.1)
               ตั้ง ร้อง ไห้, ดำรงค์ ร้อง, คือ ตั้ง ร้องไห้ นั้น, เช่น คน ที่ ประกอบ ไป ด้วย ทุกข, ตั้ง ร้องไห้ เปน ต้น นั้น.
      ทรง ครรภ (313:14.2)
               ตั้ง ครรภ, ตั้ง ท้อง, มี ท้อง, คือ มี ครรภ ตั้ง ขึ้น นั้น, เช่น พระมะเหษี ทรง ครรภ.
      ทรง เครื่อง (313:14.3)
               ดำรงค์ เครื่อง, ตั้ง เครื่อง, แต่ง เครื่อง, คือ ดำรงค์ ไว้ ซึ่ง เครื่อง ประดับ นั้น, เช่น พระมะหา กระษัตริย์ ทรง เครื่อง.
      ทรง เครื่อง พระ สำอาง (313:14.4)
               แต่ง ตัว, เปน ชื่อ การ ที่ พระเจ้า แผ่นดิน ทรง เครื่อง นั้น, เช่น ตัด ผม หวี ผม ทาแป้ง.
      ทรง นั่ง (313:14.5)
               ดำรงค์ นั่ง, คือ ดำรงค์ นั่ง อยู่ นั้น, เช่น พระมะหา กระษัตริย์ ทรง นั่ง เหนือ บันลังก์ เปน ต้น.
      ทรง ประชวน (313:14.6)
               ตั้ง ประชวน, คือ ตั้ง อยู่ ไน ความ เจ็บ ไข้ ต่าง ๆ นั้น, เช่น พระมะหา กระษัตริย์ ทรง ประชวน.
      ทรง ผนวช (313:14.7)
               ตั้ง บวช, บวช เปน พระ, คือ ตั้ง อยู่ ใน การ บวช, ที่ เว้น ทั่ว จาก โทษ ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน จ้าว ทรง ผนวช.
      ทรง พระยอด (313:14.8)
               ตั้ง เปน ยอด, ตั้ง เปน ฝี, คือ ฝี ที่ ตั้ง เปน ยอด ขึ้น มา นั้น, เช่น สมเด็จ บรมกระษัตริย์ ทรง พระยอด,
      ทรง ธรรม (313:14.9)
               ดำรงค์ ความ จริง, ตั้ง อยู่ ใน ธรรม, คือ การ ที่ ดำรงค์ อยู่ ตาม สัจ, ตาม ที่ เปน จริง. ตาม ปรกติ แห่ง ตน ตาม ชอบ นั้น, เช่น กระษัตริย์ ทรง ธรรม,
      ทรง แสดง (313:14.10)
               ตั้ง สำแดง, ตั้ง บอก กล่าว, คือ ตั้ง อยู่ ใน การ ชี้แจง สั่งสอน ซึ่ง สิ่ง ที่ เปน ประโยชน์ ใช่ ประโยชน์ นั้น, เหมือน พระ ทรง แสดง ธรรม,

--- Page 314 ---
      ทรง สัจ (314:14.11)
               ดำรงค์ ความ สัจ, ตั้ง อยู่ ใน ความ จริง, คือ ตั้ง อยู่ ใน ความ สัจ ซื่อ* นั้น, เช่น กระษัตริย์ ทรง ธรรม ตั้ง อยู่ ที่ ตรง ด้วย กาย วาจา ใจ,
แทรง (314:1)
         แซก, คือ วิ่ง แซก แซง ขึ้น ไป ข้าง ๆ นั้น, เช่น ม้า แทรง, เรือ แทรง ฤๅ งา แทรง,
ทรวง (314:2)
         อก, คือ อะไวยวะ ที่ หว่าง อก นั้น, เช่น พระ มหา กระษัตริย์ ทรง ทราบ เหตุ ผล เต็ม พระทรวง.
ทรุด ชำรุด (314:3)
         ยุบ ลง, คือ สิ่ง ของ ที่ ยุบ ต่ำ* ลง ไป นั้น, เช่น กำแพง ฤๅ เจดีย์, วิหาร, ทรุด ต่ำ ลง ไป.
ทรัพย์ (314:4)
         สิ่ง สิน, เข้า ของ, วัดถุ, คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ มี ใจ ครอง บ้าง, ไม่ มี ใจ ครอง บ้าง นั้น, เช่น วิญาณ กะทรัพย์ แล อะวิญาณกะทรัพย์ เปน ต้น.
ทราบ (314:5)
         ซึม, รู้, คือ ความ รู้ ทั่ว ต่าง ๆ, ฤๅ การ ที่ ซึม อาบ ไป ไม่ ค้าง อยู่ ได้ นั้น, เช่น น้ำ เท ลง บน ทราย,
ทราม (314:6)
         เลว, ไม่ สู้ ดี, คือ สิ่ง ของ ที่ ไม่ สู้ ดี, เปน ของ เลว, ฤๅ ของ กำลัง กิน เปน ต้น. เช่น ของ ทราม เลว, ฤๅ ของ ทราม กิน เปน ต้น นั้น,
      ทราม กิน (314:6.1)
               กำลัง กิน, คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ กำลัง กิน ดี นั้น, เช่น มะพร้าว อ่อน ทราม กิน เปน ต้น.
      ทราม ขะนอง (314:6.2)
               กำลัง ขะนอง, คือ คน แล สัตว ที่ กำลัง ขะนอง, กำลัง เล่น นั้น, เช่น คน อายุศม์ สิบ ห้า ปี
      ทราม ชม (314:6.3)
               กำลัง ชม, กำดัด ชม, คือ สิ่ง ของ ที่ กำลัง ชม, กำดัด ชม นั้น, เช่น หญิง สาว อายุศม์ สิบ หก ปี,
      ทราม เชย (314:6.4)
               กำดัด เชย, กำลัง เชย, คือ สิ่ง ของ ที่ กำดัด ชม นั้น, เช่น หญิง สาว พรหมจารีย์.
      ทราม รักษ (314:6.5)
               กำลัง รักษ, กำดัด รักษ, คือ สิ่ง ของ ที่ ทราม รักษ นั้น, เช่น เด็ก ๆ, อายุศม์ สี่* ขวบ นั้น,
      ทราม สวาด (314:6.6)
               กำลัง สวาด, กำดัด สวาด, คือ กำลัง รักษ กำลัง ใคร่ นั้น, เช่น ผัว เมีย ที่ พึง อยู่ ด้วย กัน ใหม่ ๆ,
โทรม (314:7)
         ยุบ ลง, ชะโลม, คือ สิ่ง ของ ที่ ยุบ ฤๅ ที่ ไหล อาบ ใป นั้น, เช่น ผี โทรม ฤๅ ไฟ โทรม,
      โทรม กาย (314:7.1)
               ชะโลม กาย, โทรม ตัว, คือ การ ชะโลม เปียก ทั้ง ตัว นั้น, เช่น เหื่อ ออก โทรม กาย นั้น,
      โทรม หน้า (314:7.2)
               ชะโลม ภักตร์, อาบ หน้า, คือ การ ชะโลม ไหล ซึม เปียก อาบ หน้า อยู่ นั้น, เช่น เหื่อ ไหล โทรม หน้า,
      โทรม น้ำมัน (314:7.3)
               คือ การ* เอา น้ำมัน ชะโลม เปียก อาบ ไป นั้น, เช่น คน เอา เครื่อง เหล็ก โทรม น้ำมัน,
      โทรม ภักตร์ (314:7.4)
               อาบ หน้า, ชะโลม ภักตร์, คือ โทรม เปียก อาบ หน้า นั้น, อย่าง จ้าว เหื่อ ไหล โทรม ภักตร์.
      โทรม องค์ (314:7.5)
               คือ สิ่ง ของ ที่ ไหล อาบ โทรม ตัว อยู่ นั้น, เหมือน จ้าว เหื่อ ไหล อาบ โทรม องค์ อยู่,
(314:8)
         
ธระพน (314:9)
         เข็ญ ใจ, คือ ความ ยาก จน เข็ญ ใจ นั้น, เช่น พวก ยาก จน เที่ยว ฃอ ทาน เลี้ยง ชีวิตร.
      ธระนี ประตู (314:9.1)
               คือ แผ่น ไม้ ที่ รับ เดือย บาน ประตู ไว้ ข้าง ล่าง นั้น,
      ธระมา (314:9.2)
               คือ การ ทรง ไว้ ซึ่ง ความ ทุกข์ ต่าง ๆ, นั้น, เช่น คน ธระมา กาย ตรา แดด ตรำ ฝน,
ธนิตสถิล (314:10)
         คือ อักษร ก้อง แล ไม่ ก้อง, เหมือน ตัว กอ ไม่ ก้อง ตัว ฆอ ก้อง.
ธานี (314:11)
         ฯ แปล ว่า เมือง หลวง อัน พร้อม ด้วย จัตุรงคะโยธา,
ธระมาน (314:12)
         คือ การ ที่ แกล้ง ทำ ให้ ได้ ความ ลำบาก ยาก แค้น นั้น, เหมือน ครู ธระมาน ลูก สิษ,
      ธระพิศม์ (314:12.1)
               เปน ชื่อ โรค ฝีดาษ นั้น,
ธาตุ (314:13)
         ฯ ว่า กระดูก แห่ง ท่าน ผู้ เปน ใหญ่ นั้น, เช่น ธาตุ แห่ง พระขีณาสพ นั้น,
ธุราจาร (314:14)
         ฯ แปล ว่า ประพฤษติ์ ชั่ว,
ทง (314:15)
         คือ สิ่ง ของ ทำ ด้วย ผ้า บ้าง, กะดาด บ้าง, ต้อง ลม ปลิว ไหว ๆ นั้น, เช่น ทง ที่ กำปั่น,
ธุระ (314:16)
         คือ กิจ การ อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น, เช่น คัณฐธุระ, แล วิปัศนาธุระ เปน ต้น.
ทง ไชย (314:17)
         คือ ทง สำรับ กอง ทัพ เปน ที่ สังเกต ซึ่ง ชะนะ และ แพ้ นั้น, เช่น ทง ไชย นำ น่า ทัพ,
ธาร (314:18)
         ห้วย, ละหาร, เปน ชื่อ แถว น้ำ ไหล ทั้ง ปวง นั้น, เช่น ลำห้วย, ลำธาร ที่ มี แถว น้ำ ไหล มา แต่ ภู เขา.
      ธาร น้ำ (314:18.1)
               ห้วย มี น้ำ, ละหาร, คือ ลำธาร ที่ มี กระแส น้ำ ไหล นั้น, เช่น ธาร น้ำ ที่ ภู* ไหล มา จาก เขา ใหญ่ เปน ต้น นั้น,

--- Page 315 ---
      ธาร พระกร (315:18.2)
               ไม้ ท้าว, คือ ของ ที่ ทรง ไว้ ซึ่ง มือ, ฤๅ มือ ทรง ไว้ นั้น, เช่น ไม้ ท้าว* พระ มหา กระษัตริย์,
ธรรม (315:1)
         คือ สิ่ง ของ ที่ ทรง อยู่ ตาม จริง, ตาม ชอบ นั้น, เช่น ปริญัตติธรรม, ปัฎิปัตติธรรม, ปติเวธะธรรม นั้น,
      ธรรมสาท (315:1.1)
               เปน ชื่อ คำภีร์* กฎหมาย อย่าง หนึ่ง*, เช่น กฎหมาย ธรรมสาศน์ เปน ต้น.
      ธำมะรงค์ (315:1.2)
               เปน ชื่อ แหวน อย่าง ดี ทั้ง ปวง นั้น, เช่น ธำมะรงค์ ของ พระ มหา กระษัตริย์,
      ธรรมาธิกร (315:1.3)
               ฯ แปล ว่า กระทำ ยิ่ง ซึ่ง การ เปน ธรรม, เช่น ชื่อ เจ้าพระยา จังวาง กรมวัง,
      ธรรมาศน์ (315:1.4)
               คือ ที่ สำรับ นั่ง สแดง ธรรม นั้น, เช่น ธรรมาศน์ ที่ สำรับ นั่ง เทศนา ที่ โรง ธรรม,
      ธรรมขันธ์* (315:1.5)
               คือ บท พระบาฬี สิ้น ความ ลง ข้อ หนึ่ง ๆ นั้น, เช่น กอง ธรรม เปน ต้น,
มานพ (315:2)
         ฯ ว่า พยาครุทธ์ นั้น, เช่น รูป พยาครุทถ์ ที่ เขา ทำ ไว้ ที่ พระ มหาประสาท,
ธรรมสภาคย์ (315:3)
         แปล ว่า ที่ ประชุม เพื่อ พระธรรม, เช่น ศาลา โรงธรรม เปน ต้น.
ธาติ (315:4)
         นางนม, ฯ ว่า หญิง ที่ เปน แม่ นม นั้น, เช่น พวก หญิง ที่* เปน พระนม ลูก หลวง,
ธรรมจักร์ (315:5)
         เปน ชื่อ พระธรรม กำภีร์ หนึ่ง, มี ชื่อ ธรรมจักร์,
      ธรรมราช (315:5.1)
               เปน ชื่อ พระสงฆ์ รูป หนึ่ง, เปน ที่ ถานานุกรม, ชื่อ พระครู ธรรมราช.
ธารา (315:6)
         ฯ ว่า แถว น้ำ ฤๅ กระแส น้ำ ไหล นั้น, เช่น แถว น้ำ ไหล จาก ท่อ นั้น,
ธรรมราชา (315:7)
         เปน ชื่อ พระสงฆ์ รูป หนึ่ง, ทาน ตั้ง เปน สมเด็จ จ้าว, เปน ใหญ่ ได้ บังคับ พระสงฆ์ ใน แขวง กรุง เก่า นั้น.
ธิดา (315:8)
         ว่า ลูก สาว นั้น เอง, เช่น พระราชธิดา ฤๅ นาง เทพธิด,
ธรรมชาติ (315:9)
         คือ ของ บังเกิด ขึ้น เอง, เหมือน ทอง บางตะภาน.
ธิติมา (315:10)
         ฯ ว่า คน มี ปัญญา, เช่น พวก นักปราช มี พระพุทธเจ้า,
ธรรมวิไนย (315:11)
         ฯ ว่า พระธรรม สำรับ นำ เสีย ซึ่ง โทษ อัน เกิด แต่ กาย แล วาจา,
ธุมา (315:12)
         ฯ ว่า ควัน ที่ บังเกิด แต่ ไฟ นั้น, เช่น ควัน ที่ เตา หล่อ นั้น,
ธรรมดา (315:13)
         ฯ คือ ความ ที่ เปน ธรรมเนียม มา นั้น, เช่น ความ แก่ เปน ธรรมดา, ความ ไข้ เปน ธรรมดา,
ธุมะเกตุง (315:14)
         ฯ คือ ควัน เปน ยอด พลุ่ง ขึ้น ไป นั้น, เหมือน พระ เกตุ ที่ พลุ่ง ขึ้น อย่าง ควัน,
ธรรมเนียม (315:15)
         ฯ คือ ทำ เปน เยี่ยง อย่าง เปน ประเพณีย์ เปน จาริต,
ธุวัง (315:16)
         ฯ คือ ความ ยั่ง ยืน ฤๅ ที่ กาล ตั้ง อยู่ นาน นั้น, เช่น ของ ตั้ง อยู่ เที่ยง,
ธรรมกะหรก (315:17)
         เปน ของ บริฃาร สำรับ พระสงฆ์ ใช้ กรอง น้ำ, รูป มัน เหมือน กะดึง, มี ผ้า หุ้ม อยู่ ที่ ปาก นั้น.
ธะนู (315:18)
         คือ เครื่อง อาวุธ อย่าง หนึ่ง, มี คัน มี สาย สำรับ ยิง, เช่น น่า ไม้ ชาว* ป่า.
ธำมรงค์ (315:19)
         เปน คำ หลวง เรียก แหวน ของ จ้าว เปน ต้น,
ธระณี (315:20)
         ฯ ว่า แผ่นดิน, ฤๅ ของ สำรับ รอง ของ ต่าง ๆ นั้น, เช่น ธระณี ประตู,
ธนบูรีย์ (315:21)
         เปน ชื่อ เมือง บางกอก, แต่ ครั้ง กรุง เก่า ยัง ตั้ง อยู่ ดี นั้น,
ธรรม์รูจี (315:22)
         เปน ชื่อ พระสงฆ์ รูป หนึ่ง, ท่าน ตั้ง เปน ถานานุกรม ใน อาราม หลวง นั้น, เช่น พระครู ธรรมรูจี เปน ต้น.
ธะนุบำรุง (315:23)
         ความ ว่า อุปะถัมถ์, สงเคราะห์ ด้วย เข้า กิน แล ผ้า นุ่ง เปน ต้น.
ธุดงค์ (315:24)
         ฯ แปล ว่า กำจัด เสีย ซึ่ง กิเหลศ, เหมือน ภิกขุ เที่ยว ไป ธระมาน กาย อยู่ ใน ป่า,
(315:25)
         
นา (315:26)
         เปน ชื่อ ที่ แจ้ง สำรับ หว่าน เข้า ปลูก ฤๅ ทำ เกลือ นั้น, เช่น นา เมือง นา สวน นา เกลือ,
      นา เกลือ (315:26.1)
               เปน ชื่อ ที่ แจ้ง สำรับ ขัง น้ำ ไว้ ทำ เกลือ นั้น, เช่น นา เกลือ บ้าน บ่อ,
      นา คู่ โค (315:26.2)
               คือ นา ที่ ต้อง ไถ ด้วย คู่ โค นั้น, เช่น นา ทุ่ง แขว กรุง เก่า นั้น,
      นา โค (315:26.3)
               ฯ แปล ว่า นาค.
      นา ดำ (315:26.4)
               คือ มิ ใช่ นา หว่าน, เปน นา ที่ ต้อง ดำ นั้น, เช่น นา สวน ทั้ง ปวง,
      นา โคก (315:26.5)
               เปน ชื่อ บ้าน แห่ง หนึ่ง อยู่ ทิศ ใต้ กรุงเทพ ฯ ใกล้ ฝั่ง เทล.

--- Page 316 ---
      นา ดอน (316:26.6)
               คือ นา ที่ ไม่ ลุ่ม นั้น, เช่น นา ดอน, นา ป่า นั้น.
      นาถา (316:26.7)
                ฯ, แปล ว่า ที่ พึ่ง,
      นา น้ำ ฝน (316:26.8)
               คือ นา ที่ อาไศรย ทำ ด้วย น้ำ ฝน แท้ ๆ นั้น, เช่น นา บ้าน ป่า, บ้าน ดอน เปน ต้น.
      นาโถ (316:26.9)
                ฯ, แปล ว่า ที่ พึ่ง,
      นา ไถ (316:26.10)
               คือ มิ ใช่ นา หวด, เปน นา ที่ ต้อง ไถ นั้น, เช่น นา คู่ โค แขวง กรุง เก่า นั้น,
      นาที (316:26.11)
               เปน ชื่อ แบ่ง ส่วน เวลา นั้น, เช่น นับ ตาม ธรรมเนียม พวก หมอ หก สิบ นาที เปน โมง หนึ่ง,
      นา ๆ ประเทศ (316:26.12)
                ฯ, แปล ว่า ประเทศ ที่ ต่าง ๆ,
      นา ปรัง (316:26.13)
               คือ นา ที่ เขา ทำ เมื่อ ระดู แล้ง นั้น, เช่น นา ปรัง ที่ เขา ทำ ตาม ริม น้ำ ชาย เลน,
      นาระกา น้ำ (316:26.14)
               คือ ของ เขา ทำ ด้วย ทอง เหลือง รูป เหมือน ขัน เล็ก ๆ, เจาะ รู ไว้ ที่ ก้น ให้ น้ำ ไหล เข้า, จม ลง ว่า นาฬีกา หนึ่ง.
      นา ฟาง ลอย (316:26.15)
               คือ มิ ใช่ นา คู่ โค, เปน นา เขา ทำ อยู่ ทุก ปี.
      นาภี (316:26.16)
               ฯ แปล ว่า ท้อง.
      นา เมือง (316:26.17)
               คือ มิ ใช่ นา แถบ สวน นั้น, เช่น นา ที่ อยู่ ใน แขวง เมือง กรุง,
      นาระกา (316:26.18)
               คือ ของ ที่ สำรับ กำหนฎ นับ ทุ่ม โมง นั้น,
      นา ร้าง (316:26.19)
               คือ นา ที่ เขา ทิ้ง ไว้ ไม่ ได้ ทำ นั้น, เช่น นา ร้าง ที่ เขา ทำ ทิ้ง ไว้ หลาย ปี นั้น,
      นาระกา แดด (316:26.20)
               คือ ของ ที่ เขา ทำ ด้วย ไม้ สำรับ ดู เงา ที่ แดด, รู้ ว่า โมง หนึ่ง สอง โมง เปน ต้น นั้น.
      นา เริ่ง (316:26.21)
               เปน ชื่อ แห่ง บ้าน ตำบล หนึ่ง นั้น, เช่น บ้าน นา เริง แขวง นคร นายก,
      นาฬิกา (316:26.22)
               มี ความ เหมือน นาระกา น้ำ นั้น,
      นา หลวง (316:26.23)
               คือ นา ที่ เขา สำรับ ทำ เข้า ส่ง ใน หลวง นั้น, เช่น นา หลวง ท้อง สนาม,
      นาระกา พก (316:26.24)
               คือ นาระกา รูป มัน เล็ก ๆ, เท่า ลูก สะบ้า ฝัก, มี จักร ข้าง ใน เข็ม* เวียน ไป ถึง ที่ กำหนฎ แล้ว ดัง นั้น,
      นายก (316:26.25)
               คือ คน ผู้ สำรับ นำ คน ให้ ทำ ราชการ เปน ต้น นั้น, เช่น ท่าน อัคมหาเสนาบดี.
      นาวา (316:26.26)
               ฯ แปล ว่า เรือ ทุก อย่าง เช่น เรือ กำปั่น เปน ต้น.
      นารี (316:26.27)
               ฯ แปล ว่า นาง สาว, เช่น หญิง สาว พรหมจารีย์ เปน ต้น
      นาสา (316:26.28)
               ฯ, แปล ว่า จะมูก, เช่น นาสิก ทั้ง ปวง เปน ต้น,
      นา หวด (316:26.29)
               คือ มิ ใช่ นา ไถ, เปน นา ที่ หวด ด้วย พร้า นั้น,
      นาสิก (316:26.30)
               แปล ว่า จะมูก, เปน จะมูก คน แล สัตว์ เปน ต้น.
น่า (316:1)
         เปน ชื่อ ระดู แล ชื่อ สิ่ง ของ นั้น, เช่น น่า เกี่ยว เข้า, น่า ฝน, น่า แล้ง, น่า ไม้.
      น่า กิน (316:1.1)
               คือ ของ สาระพัด ทุกสิ่ง มี เข้า เปน ต้น ที่ เม็ด ฃาว สอาด, เปน น่า เปน ประธาน ที่ จะ กิน นั้น,
      น่า ฉาน (316:1.2)
               คือ ที่ ตรง น่า พระธินั่ง พระ มหา กระษัตริย์ ไป นั้น, เช่น คำ ว่า ตัด น่า ฉาน.
      น่า แข้ง (316:1.3)
               คือ ที่ ข้าง สัน แข้ง นั้น, เช่น น่า แข้ง คน,
      น่า ท่า (316:1.4)
               ตีน ท่า, น่า ตลิ่ง, คือ ตีน ท่า นั้น, เช่น น่า ท่า บ้าน, น่า ท่า วัด, น่า ท่า น้ำ.
      น่า ด้าน (316:1.5)
               น่า ที่, คือ น่า ด้าน ข้าง โน้น ข้าง นี้ นั้น, เช่น น่า ด้าน เหนือ, น่า ด้าน ใต้.
      น่า กระชัง (316:1.6)
               คือ ของ ที่ เขา ทำ ด้วย จาก บ้าง แผง บ้าง สำรับ กัน แดด, กัน ฝน, ที่ ผูก ไว้ ตาม น่า โรง, น่า ร้าน ทั้ง ปวง นั้น.
      น่า กระดาน (316:1.7)
               คือ พื้น ที่ แผ่น กระดาน ทั้ง ปวง นั้น, เช่น น่า ไม้ กระดาน ต่าง ๆ,
      น่า เกี่ยว เข้า (316:1.8)
               ระดู เกี่ยว เข้า, เทศกาล เกี่ยว เข้า, คือ น่า ระดู ที่ ชาว นา เขา เกี่ยว เข้า นั้น, เช่น น่า เกี่ยว เข้า เมื่อ เดือน อ้าย,
      น่า เข้า เหลือง (316:1.9)
               เทศกาล เข้า เหลือง, ระดู เข้า เหลือง, คือ น่า เม็ด เข้า ใน นา สุก ศี เหลือง นั้น, เช่น ระดู เกี่ยว น่า เข้า เหลือง,
      น่า ต่าง (316:1.10)
               คือ ช่อง ที่ ฝา มี บาน ปิด เปิด สำรับ ดู สิ่ง ของ ต่าง ๆ นั้น, เหมือน น่า ต่าง เรือน หมอ,
      น่า ตะโภก (316:1.11)
               คือ อะไวยะวะ ที่ ถัด เอว ลง ไป นั้น.
      น่า ตะเภา (316:1.12)
               คือ เมื่อ เวลา คราว ตะเภา เข้า มา นั้น.
      น่า ถัง (316:1.13)
               คือ ฝา ที่ ทำ เปน น่า ถัง นั้น, เช่น ฝา น่า ถัง เรือน แพ ทั้ง ปวง นั้น,
      น่า ที่ (316:1.14)
               น่า ด้าน, คือ ที่ เขา เกน ให้ ทำ เปน น่า ๆ ไป นั้น, เช่น คน ถูก เกน ทำ น่า ที่ ใน หลวง,

--- Page 317 ---
      น่า หนาว (317:1.15)
               เทศกาล หนาว, ระดู หนาว, คือ ระดู น่าหนาว นั้น, เช่น น่า หนาว เมื่อ เวลา เดือน ยี่ เดือน สาม.
      น่า น้ำ (317:1.16)
               คือ ระดู น่า น้ำ ท่วม, น้ำ มาก นั้น, เช่น น่า น้ำ เดือน สิบ เอ็ด, เดือน สิบสอง,
      น่า บ้าน (317:1.17)
               คือ ที่ มี ฝ่าย น่า เรือน เปน พื้น ดิน ใน บ้าน นั้น,
      น่า ฝน (317:1.18)
               คือ น่า ระดู ฝน ตก มาก หนัก นั้น, เช่น น่า ฝน เมื่อ เดือน แปด เดือน เก้า เปน ต้น.
      น่า พระลาน (317:1.19)
               เปน ชื่อ ที่ เปน เนิน เปน ลาน ออก ไป นั้น, เช่น น่า พระลาน มหา ประสาท.
      น่า เมือง (317:1.20)
               คือ ที่ มี อยู่ ข้าง ฝ่าย ชาน เมือง มี บ้าน เรือน อยู่ มั่ง ดั่ง นั้น, เช่น น่า บ้าน.
      น่า ไม้ (317:1.21)
               คือ น่า กระดาน ฤๅ เครื่อง อาวุธ อย่าง หนึ่ง มี คัน มี สาย สำรับ ยิง, เช่น ธะนู,
      น่า มุข (317:1.22)
               คือ ที่ เปน ชาน เบื้อง น่า โบด เปน ต้น, เช่น น่า มุข พระวิหาร นั้น.
      น่า แล้ง (317:1.23)
               คือ มิ ใช่ น่า ฝน, เปน น่า น้ำ แห้ง นั้น, เช่น ระดู แล้ง เมื่อ เดือน สี่ เดือน ห้า,
      น่า ร้อน (317:1.24)
               คือ ระดู คิมหันต์ นั้น, เช่น น่า เดือน ห้า เดือน หก.
      น่า ลม (317:1.25)
               เทศกาล ลม, ระดู ลม, คือ ระดู ที่ ลม พัด หนัก นั้น, เช่น น่า ลม เมื่อ เดือน ยี่ เดือน สาม,
      น่า แว่น (317:1.26)
               เปน ชื่อ ของ ที่ ทำ เปน แป้น วงกลม ๆ, เจาะ เปน รู เล็ก ๆ, สำรับ โรย แป้ง ขนม จีน ให้ เปน เส้น นั้น,
น้า (317:1)
         เปน คำ เรียก คน ที่ เปน น้อง ของ แม่ นั้น, เช่น น้า ชาย, น้า สาว, น้า เขย, น้า สะใพ้ นั้น,
      น้า เขย (317:1.1)
               เปน คำ เรียก คน ที่ เปน ผัว ของ น้า สาว นั้น, เช่น ผัว น้อง หญิง แห่ง มารดา.
      น้า ชาย (317:1.2)
               คือ คน ที่ เปน น้อง ชาย ของ แม่ นั้น,
      น้า เมีย (317:1.3)
               คือ คน ที่ เปน น้า ของ เมีย นั้น, เช่น น้า แห่ง ภรรยา นั้น,
      น้า สะใพ้ (317:1.4)
               คือ หญิง ที่ เปน เมีย ของ น้า ชาย นั้น, เช่น เมีย น้อง ชาย ของ มารดา
      น้า สาว (317:1.5)
               คือ น้อง หญิง ของ แม่ นั้น, เช่น น้า สาว คือ หญิง ที่ เปน น้อง แห่ง มารดา,
หนา (317:2)
         เปน ชื่อ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ไม่ บาง นั้น, เช่น พื้น แผ่นดิน หนา นั้น,
      หนา จริง (317:2.1)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ หนา แท้ ๆ นั้น, เช่น ของ ต่าง ๆ ที่ ไม่ บาง เลย,
หน่า (317:3)
         คือ เปน คำ แสดง เหตุ ให้ รู้ คล้าย ๆ กับ จริง นั้น, เช่น คำ ว่า อุ่ย หน่า,
หน้า (317:4)
         ภักตร์, คือ ภักตร์ นั้น, เช่น หน้า ของ คน ทั้ง ปวง มี หน้า ผาก นั้น,
      หน้า กาก (317:4.1)
               คือ หน้า ไม่ ดี หน้า ไม่ งาม หน้า เคอะ นั้น, เช่น หน้า เงาะ ฤๅ หน้า แขก แอบฟะริกา.
      หน้า เก้อ (317:4.2)
               คือ หน้า เคอะ หน้า อาย นั้น, เช่น หน้า คน ซ่อน ทำ ความ ชั่ว ต่าง ๆ ใน ที่ ลับ, มี ผู้ ภบ ปะ ทำ หน้า เก้อ อยู่.
      น่า เกลียด (317:4.3)
               คือ สิ่ง ของ ที่ โสโครก ไม่ ปราฐนา นั้น, เช่น ราก หมา ราก แมว.
      น่า กลัว (317:4.4)
               คือ ไภย ที่ ดู พิฦกษ พึง กลัว นัก นั้น, เช่น ความ ทุกข ใน นรก ฤๅ เขา จะ ฆ่า เสีย.
      หน้า เคอะ (317:4.5)
               คือ หน้า* ไม่ งาม หน้า กาก นั้น, เช่น หน้า แขกดำ ผม หยิก พวก แอบฟะริกา.
      หน้า โง่ (317:4.6)
               คือ หน้า ไม่ ฉลาด หน้า เคอะ นั้น, เช่น หน้า พวก เลก เข้า เดือน หน้า โง่ นั้น.
      หน้า เง้า (317:4.7)
               คือ หน้า ที่ หัก งอ อยู่ นั้น, เช่น คน โกรธ ชัก หน้า เง้า, ฤๅ ปลา สลาด หน้า เง้า.
      หน้า งอก (317:4.8)
               คือ หน้า คน ที่ โหนก งอก ออก มา นั้น, เช่น คน หน้า เง้า งอก ออก มา นั้น.
      หน้า จืด (317:4.9)
               คือ หน้า ไม่ เข้ม ไม่ งวด นั้น, เช่น คน บ้าน นอก หน้า จืด ตื่น อยู่ นั้น.
      หน้า ซื่อ (317:4.10)
               คือ หน้า คน ดู เหน เปน ใจ ซื่อ, ไม่ สู้ เปน ใจ โกหก มานยา นั้น.
      หน้า ฉลาด (317:4.11)
               คือ หน้า ไม่ โง่ หน้า คมสัน นั้น, เช่น หน้า คน ฉลาด คน มี ปัญญา นั้น.
      หน้า ซีด (317:4.12)
               คือ หน้า ไม่ อม เลือด, คือ หน้า เผือด เลือด จาง ไป เหมือน ขณะ เมื่อ ตก ใจ ฤๅ ฟื้น จาก ไข้ นั้น.
      หน้า ดี (317:4.13)
               คือ มิ ใช่ หน้า เคอะ หน้า กาก, หน้า ดี เปน ปรกติ นั้น, เช่น หน้า คน งาม ที่ ไม่ โกรธ.

--- Page 318 ---
      หน้า ดุะ (318:4.14)
               คือ คน หน้า ร้ายกาจ นั้น, เช่น หน้า พวก ทหาร ที่ ดุะ ร้าย ฦๅ หน้า สิงโต.
      หน้า แดง (318:4.15)
               คือ คน หน้า แดง ก่ำ นั้น, เช่น อังกฤษ กิน พวก เหล้า ฤๅ ถูก แดด หน้า แดง.
      น่า ด้าน (318:4.16)
               คือ น่า ที่ เหมือน ราชการ หลวง เขา เกณฑ์ ให้ ทำ เมรุ, จับ ทำ นาย ละ น่า ที่ นั้น.
      หน้า ตุะ (318:4.17)
               คือ คน หน่า หนา แล้ว บวม ด้วย นั้น, เช่น คน ขี้ เรื้อน หน้า ตุะ เปน ต้น.
      หน้า ด้าน (318:4.18)
               คือ คน หน้า ไม่ มี ความ เจ็บ ความ อาย ดื้อดึง นั้น, เช่น หน้า คน คุก หน้า ด้าน.
      หน้า แด่น (318:4.19)
               คือ หน้า ด่าง ต่าง ๆ นั้น, เช่น โคอุศุภราช หน้า แด่น ดัง ใบ โพธิ์.
      หน้า ตุ่น (318:4.20)
               คือ หน้า แห่ง ตุ่น ที่ ขุด รู อยู่ ใน ดิน นั้น, เช่น คน หน้า โง่ นั้น.
      หน้า นวล (318:4.21)
               คือ หน่า ผ่องใส เปน นวล นั้น. เช่น คน ผัด หน้า เปน นวล,
      หน้า บ้า (318:4.22)
               คือ หน้า คน ที่ เปน บ้า นั้น, ฤๅ คน ดี ดู เหมือน เปน บ้า นั้น.
      หน้า บาง (318:4.23)
               คือ หน้า ไม่ หนา นั้น, เช่น คน ไม่ หน้า ด้าน, ฤๅ คน ที่ ประกอบ ด้วย ความ อาย เปน ต้น.
      หน้า บึ้ง (318:4.24)
               คือ คน หน้า ขึง ไม่ ยิ้ม แย้ม นั้น, เช่น คน โกรธ ขัด เคือง ใน ใจ ไม่ หัวเราะ.
      หน้า บูด (318:4.25)
               คือ คน หน้า เสีย ไม่ สบาย นั้น, เช่น สิ่ง ของ ต่าง ๆ ที่ บูดรา เสีย ไป นั้น.
      หน้า บาน (318:4.26)
               คือ คน สบาย ใจ หน้า ชื่น ใจ บาน นั้น, เช่น ดอก ไม้ ที่ เบิก บาน นั้น.
      หน้า เบี้ยว (318:4.27)
               คือ หน้า ไม่ เปน ปรกติ ตาม ธรรมดา บิด เบี้ยว ไป นั้น, เช่น คน หน้า เบี้ยว.
      หน้า ผี (318:4.28)
               คือ หน้า คน ที่ ตาย แล้ว นั้น, เช่น คน ตก ใจ หน้า ซีด เหมือน หน้า ผี นั้น.
      หน้า ผาก (318:4.29)
               คือ ส่วน หน้า ที่ เหนือ คิ้ว ขึ้น ไป นั้น, เช่น หน้า ผาก คน ทั้ง ปวง นั้น.
      หน้า เผือด (318:4.30)
               คือ หน้า ขาว ซีด ไป นั้น, เช่น คน เปน ไข้ จับ หน้า ซีด เผือด ไป.
      หน้า พิรุธ (318:4.31)
               คือ หน้า ผิด ปรกติ นั้น, เช่น อ้าย พวก ผู้ ร้าย หน้า. พิรุธ ต่าง ๆ นั้น.
      น่า ชัง (318:4.32)
               คือ สิ่ง ของ ที่ ไม่ น่า รัก นั้น, เช่น คน ทำ การ ชั่ว ต่าง ๆ นั้น.
      หน้า เป็น (318:4.33)
               คือ คน หน้า ไม่ เสงี่ยม เรียบ ร้อย นั้น, เช่น พวก หญิง ชั่ว หน้า เป็น.
      หน้า มอด (318:4.34)
               คือ หน้า เปน รอย ๆ อย่าง มอด เจาะ นั้น, เช่น คน เปน ฝีดาษ หน้า มอด,
      หน้า มน (318:4.35)
               คือ คน ที่ วง หน้า กลม ๆ นั้น, คือ หน้า มน เช่น ดวง เดือน นั้น.
      หน้า ม้าน (318:4.36)
               คือ หน้า ที่ แห่ง เหี่ยว นั้น, เช่น คน ที่ ได้ ความ อาย หน้า ม้าน ไป.
      หน้า มอม (318:4.37)
               คือ หน้า มัวหมอง ไม่ ผ่องใส นั้น, เช่น คน ที่ หน้า มอม เปื้อน เขม่า.
      หน้า ยู่ยี่ (318:4.38)
               คือ หน้า* ไม่ เกลี้ยง เปน ปรกติ นั้น, เช่น หน้า คน แก่ ฤๅ หน้า คน ขี้ เรื้อน.
      หน้า ย่น (318:4.39)
               คือ หน้า ไม่ ตึง หนัง เหี่ยว หย่อน ย่น ลง นั้น, เช่น คน แก่ หน้า ย่น.
      น่า รัก (318:4.40)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง เปน ที่ พึง รัก นั้น, เช่น หญิง ดี รูป งาม ฤๅ คน ดี สัจ ซื่อ.
      หน้า ลอก (318:4.41)
               คือ หนัง กำพร้า ตาม ผิว หน้า ลอก ไป นั้น, เช่น คน ถูก แดด หน้า ลอก.
      หน้า ลาย (318:4.42)
               คือ คน นักโทษ ที ต้อง สัก หน้า นั้น, เช่น พวก ตะพุ่น นั้น.
      หน้า วอก (318:4.43)
               คือ หน้า หัก ดู ลอกแลก อยู่ นั้น, เช่น หน้า ลิง นั้น
      หน้า เศร้า (318:4.44)
               คือ หน้า มัว หมอง ไม่ สบาย นั้น, เช่น คน พรัด พราก จาก ลูก แล เมีย.
      หน้า เสีย (318:4.45)
               คือ หน้า ซีด ไม่ ชื่นหมื้น เปน ปรกติ นั้น. เช่น อ้าย ผู้ร้าย หน้า พิรุธ.
      หน้า โศรก (318:4.46)
               คือ หน้า แห้ง เศร้า หมอง ไป นั้น.
      หน้า หัก (318:4.47)
               คือ หน้า เง้า หน้า งอก นั้น, เช่น หน้า ลิง นั้น.
      หน้า หิว (318:4.48)
               คือ หน้า คน ที่ แสบ ท้อง อด อาหาร นั้น.
      น่า อดสู (318:4.49)
               คือ ความ น่าอาย หน่อย ๆ นั้น, เช่น คน ทำ การ ชั่ว น่า บัดสี นั้น.

--- Page 319 ---
      หน้า อ่อน (319:4.50)
               คือ หน้า หนุ่ม นั้น, เช่น หน้า หญิง เด็ก ๆ มี อายุ ได้ สิบสี่ ปี นั้น.
      น่า อาย (319:4.51)
                คือ ความ อดสู น่า บัดสี นั้น, เช่น คน ทำ ความ ชั่ว น่า อัประยศ.
      น่า เอ็นดู (319:4.52)
               คือ ความ ที่ น่า เมตตา น่า กรุณา นั้น, เช่น การ น่า รัก นั้น.
นิกาย (319:1)
         ฯ แปล ว่า หมู่ ว่า เหล่า, เหมือน ชื่อ คำภีร์ นิกาย, ว่า เปน หมู่ หมวด แห่ง สูตร นั้น.
นิกร (319:2)
         ฯ แปล ว่า หมู่ เหมือน ชื่อ เจ้าพระยา นีกรบดินทร์, อธิบาย ว่า เปน ใหญ่ ใน หมู่ นั้น.
      นิกระ วิหก (319:2.1)
               ฯ คือ ฝูง นก หมู่ นก, เช่น ฝูง นก กะเรียน เปน ต้น.
      นิกรเทพ (319:2.2)
               ฯ คือ หมู่ เทวะดา.
      นิกร ชนบท (319:2.3)
               ฯ คือ เหล่า ประเทศ ชนบท, คือ บ้าน น้อย เมือง ใหญ่ ทั้ง ปวง นั้น.
นิคะหิต* (319:3)
         ฯ ว่า สิ่ง ที่ เขียน เปน วง กลม เล็ก ๆ นั้น, เช่น จุด สูญ ดังนี้ นั้น.
นิคม (319:4)
         ฯ ว่า บ้าน ใหญ่ ที่ มี คน เข้า ออก นั้น, เช่น ประเทศ บ้าน นอก เปน บ้าน ใหญ่.
นิครณฐ (319:5)
         ฯ แปล ว่า ฟั่น เฝือ, ว่า พวก คน ชาติ์ หนึ่ง เรียก ว่า นิครณฐ ผาย นอก สาศนา นั้น.
นิโครธ (319:6)
         ฯ แปล ว่า ไม้ ไทร นั้น, เช่น ไม้ ไทร ที่ มี ราก แล ย่าน อัน เจริญ นั้น.
นิบาต (319:7)
         ฯ คือ หนังสือ เรื่อง ต่าง ๆ ที่ มี ใน ชาฎก นั้น, เช่น* หนังสือ เอกะนิบาต.
นิมิตร (319:8)
         ฯ ว่า การ ที่ ทำ สิ่ง ของ ต่าง ๆ ด้วย ฤทธิ์ นั้น, เช่น พระเจ้า สร้าง อาดาม เปน ต้น.
นิฤๅมิตร (319:9)
         ฯ คือ การ สร้าง สิ่ง ของ ด้วย ฤทธิ์ นั้น, เช่น เทวดา นิฤๅมิตร.
นิมนต์ (319:10)
         ฯ ว่า เชื้อ เชิญ นั้น, คน นิมนต์ พระสงฆ์ สวด มนต์ เอย็น ฉัน เช้า.
นิยะตะมิจฉาทิฐิ (319:11)
         ฯ คือ ความ ที่ เหน ผิด ไป แท้ ๆ นั้น, เช่น คน ถือ ว่า บาป บุญ ไม่ มี.
นิพาน (319:12)
         ฯ แปล ว่า ดับ, ว่า ออก จาก ตัณหา เปน ต้น.
นิยม (319:13)
         ฯ ว่า กำหนฎ ยินดี นั้น, เช่น คำ ว่า โดย นิยม ดังนี้ นั้น.
นฤทุกข์ (319:14)
         ฯ แปล ว่า ปราศจาก ทุกข์.
นิยาย (319:15)
         คือ เรื่อง ราว ต่าง ๆ, ที่ เขา เล่า กัน ต่อ ๆ, มา แต่ บูราณ นั้น, เช่น นิยาย ส่ง ปี่พาทย์.
นฤ โศก (319:16)
         ฯ ว่า ปราศจาก ความ เศร้า โศรก,
นิราศ (319:17)
         ฯ การ ที่ พรัด พราก จาก กัน ไป นั้น, เช่น ผัว เมีย ไป จาก กัน นั้น,
นฤ โรค (319:18)
         ฯ แปล ว่า ปราศจาก โรค,
นิโรธ (319:19)
         คือ ความ ที่ ดับ ทุกข์, ดับ ศุข ดับ สาระ พัด ทั้ง ปวง นั้น, เช่น พระ นิพาน นั้น.
นฤไภย (319:20)
         ฯ แปล ว่า ปราศจาก ไภย.
นิระทุกข์ (319:21)
         ฯ ว่า ความ ปราศจาก ทุกข์ ทั้ง ปวง นั้น, เช่น ท่าน ที่ พ้น ทุกข์ นั้น,
นิมิตร ฝัน (319:22)
         คือ ความ ฝัน เหน ไป ต่าง ๆ ใน เมื่อ หลับ อยู่ นั้น.
นิรันดร์ (319:23)
         ฯ คือ กาล ที่ มี ระหว่าง ไม่ มี นั้น, เช่น คำ ว่า มี อยู่ เปน นิจ.
นิมิตร อัษจรริย์ (319:24)
         คือ เหตุ อัษจรริย์ ต่าง ๆ มี แผ่นดิน ไหว เปน ต้น.
นิละ (319:25)
         ฯ คือ สิ่ง ของ ศรี เขียว เช่น ดอก สามหาว, เช่น นิล ที่ เขา ใช้ ทำ หัวแหวน.
นิมิตร รูป (319:26)
         คือ สำแดง แปลง รูป ต่าง ๆ นั้น.
นิละเพ็ชร (319:27)
         เปน ชื่อ พระยาลิง ขน ศรี เขียว ดัง ดอก ผักตบ ตัว หนึ่ง, เช่น นิลเพ็ชร ทหาร พระราม.
นิมิตร สุบิน (319:28)
         คือ เหตุ ความ ฝัน นั้น.
นิเวศ (319:29)
         คือ ที่ อยู่ แห่ง พระ มหา กระษัตริย์ นั้น, เช่น พระราชวัง นั้น.
นิมิตร เหตุ (319:30)
         คือ ว่า เปน เพราะ เหตุ อัน ใด ๆ นั้น.
นิวรณ์ (319:31)
         คือ สิ่ง ของ ที่ กั้น ทาง สวรรค์ ทาง นิพาน นั้น, เช่น กาม ฉันทนิวรณ์.
นิริยะ (319:32)
         ฯ แปล ว่า นรก, เปน ที่* สัตว ทำ บาป ไป บังเกิด นั้น.
นิพนธ์ (319:33)
         ฯ แปล ว่า ผูกพันธ์,
นิไสย (319:34)
         ฯ ว่า อาไศรย อยู่.

--- Page 320 ---
นิทาน (320:1)
         คือ นำ เอา เรื่อง ราว แต่ ก่อน มา สำแดง ให้ เขา ฟัง นั้น.
นี่ (320:2)
         เปน คำ บอก ให้ กัน ดู ว่า นี่ แนะ, ฤๅ คน ที่ เขา ติด เงิน อยู่ นั้น เช่น ลูกนี่ นั้น.
      นี่ สิน (320:2.1)
               คือ กู้ เงิน เขา มา ใช้, ว่า คน นั้น มี นี่สิน อยู่ นั้น.
      นิจสิน (320:2.2)
               คือ กาล เปน นิจ นั้น.
      นี่แนะ (320:2.3)
               เปน คำ ตักเตือน ให้ กัน ดู นั้น, เช่น คน เหน สิ่ง ของ ประหลาด บอก ให้ กัน ดู.
นี้ (320:3)
         คือ คำ กล่าว ถึง สิ่ง ของ ใน ที่ ใกล้ นั้น, เช่น คำ พูด กัน ว่า ของ สิ่ง นี้ ฤๅ คน นี้ นั้น.
หนี (320:4)
         ซ่อน, เร้น, หลบ, คือ การ หลบ หลิก ซ่อน เร้น ไป ไม่ ให้ เหน ตัว นั้น, เช่น ทาษ หนี จ้าว บ่าว หนี นาย.
      หนี การ (320:4.1)
               หลบ หลีก การ, ลี้ การ งาน, คือ คน หลบ หลีก ไม่ ทำ การ นั้น, เช่น คน ขี้เกียจ ลี้ ไป ไม่ ทำ การ นั้น.
      หนี กรรม (320:4.2)
               หลบ หลีก กรรม, คือ คน หลบ หลีก ให้ พ้น จาก กรรม นั้น, เช่น คน ถึง พระนีพาน.
      หนี คุก (320:4.3)
               หลบ หลีก คุก, คือ คน หลบ หลีก ไป จาก คุก นั้น.
      หนี งาน (320:4.4)
               หลบ หลีก งาน การ, ลี้ งาน, คือ คน หลบ หลีก ไม่ ทำ การ นั้น.
      หนี เจ้านี่ (320:4.5)
               หลบ เจ้านี่, เร้น เจ้านี่, ซ่อน เจ้านี่, คือ ลูกนี่ หลบ หลีก เจ้านี่ นั้น, เช่น ทาษ หนี นาย เงิน นั้น.
      หนี จ้าว (320:4.6)
               คือ คน หลบ เลื่อม ไป จาก จ้าว นั้น.
      หนี เชือน (320:4.7)
               หลบ เชือน, หลีก เชือน, เร้น เชือน, คือ คน หลบ หลีก เชือน แช ไป นั้น, เช่น ลูกสิษ หนี อาจารริย์ เชือน แช ไป.
      หนี ซุก (320:4.8)
               หลีก ซุก, หลบ ซุก, คือ สัตว ที่ หลบ หลีก หนี ซุก ซน ไป นั้น, เช่น ไก่ หนี ซุก ซน ไป.
      หนี ซ่อน (320:4.9)
               หลบ ซ่อน, หลีก ซ่อน, คือ สัตว ที่ หนี ซ่อนเร้น ไป นั้น, เช่น เนื้อ ใน ป่า หนี ซ่อน อยู่.
      หนี ตัว (320:4.10)
               หลบ ตัว, หลีก ตัว, คือ การ หลบ หลีก ตัว หนี ซ่อน เสีย นั้น, เช่น คน หนี หลบ ตัว เสีย.
      หนี ถิ่น (320:4.11)
               หลบ ถิ่น, ลี้ ถิ่น, คือ หนี จาก ประเทศ ที่ เคย อยู่ มา แต่ ก่อน นั้น, เช่น คน หนี จาก แว่นแคว้น ของ ตัว.
      หนี ทุกข (320:4.12)
               หนี ทัพ, หนี เที่ยว, คือ คน หลบ หลีก เที่ยว หนี ไป นั้น, เช่น บ่าว หนี นาย เที่ยว เล่น นั้น.
(320:5)
         
      หนี บาป (320:5.1)
               ทิ้ง บาป, ละ บาป, คือ คน ละ การ บาป การ ชั่ว หนี ไป นั้น, เช่น คน ออก บวช แท้ ๆ.
      หนี ไภย (320:5.2)
               คือ การ หลีก หนี จาก ความ กลัว ต่าง ๆ นั้น.
      หนี ภพ (320:5.3)
               หนี ชาติ์, หนี ความ เกิด, คือ การ หนี จาก ความ เกิด ความ แก่ ความ ตาย นั้น, เช่น คน ถึง พระนิพาน.
      หนี มาร (320:5.4)
               หลบ มาร, คือ คน หนี จาก มาร ทั้ง ห้า, เช่น องค์ พระ อะริยะ เจ้า นั้น.
      หนี ย้อน (320:5.5)
               คือ การ หนี ทวน กลับ มา นั้น
      หนี รุด (320:5.6)
               คือ การ ที่ หนี ตะบึง ไป ไม่ กลับ* นั้น.
      หนี รอด (320:5.7)
               คือ การ หนี พ้น ไป ได้ ไม่ เปน อันตะราย นั้น.
      หนี เล้น* (320:5.8)
               คือ การ หนี ซ่อน ตัว อยู่ ใน ที่ ลับ นั้น,
      หนี ลอย (320:5.9)
               คือ การ หนี เลย ไป เสีย นั้น.
      หนี ไว (320:5.10)
               คือ การ หนี เร็ว หนี พลัน หนี ไม่ ช้า นั้น
      หนี วัฏ สงสาร (320:5.11)
               หนี สังสาระวัฏ, คือ หนี การ ท่องเที่ยว เวียน เกิด เวียน ตาย นั้น.
      หนี ศุข (320:5.12)
               คือ การ ที่ หนี จาก ความ ดี ความ ศุก นั้น, เช่น ยุดาอิศการิ โอด.
      หนี สังสาระวัฏ (320:5.13)
               คือ หนี วัฏะสงสาร นั้น เช่น พระ อะริยะ เจ้า ถึง พระนฤพาน.
      หนี ห่าง (320:5.14)
               คือ ออก ไกล ๆ ไม่ หนี ใกล้ นั้น.
หนู (320:6)
         เปน ชื่อ สัตว อย่าง หนึ่ง ตัว เล็ก ปาก เสี่ยม สี้ ตีน, อยู่ ที่ ทุ่ง นา บ้าง ที่ เรือน บ้าง.
      หนู จีน (320:6.1)
               เปน ชื่อ หนู ตัว เล็ก ๆ ด่าง บ้าง ขาว บ้าง, มา แต่ เมือง จีน นั้น.
      หนู แดง (320:6.2)
               คือ หนู ที่ ยัง แดง ๆ อยู่ นั้น, เช่น ลูก หนู อ่อน แดง ๆ ฤๅ ลูก คน แดง ๆ.
      หนู ท้อง ขาว (320:6.3)
               คือ หนู อย่าง หนึ่ง ท้อง มัน ศรี ขาว, เช่น หนู ท้องขาว ที่ อยู่ บน เรือน.
      หนู เทษ (320:6.4)
               คือ หนู อย่าง หนึ่ง ขาว บ้าง ด่าง บ้าง, ตัว โต หาง ไม่ มี นั้น, เช่น หนู ฝรั่ง.

--- Page 321 ---
      หนู ผี (321:6.5)
               คือ หนู อย่าง หนึ่ง ปาก เสี้ยม ๆ ตา เล็ก ๆ กลิ่น เหม็น นั้น, เช่น หนูผี ที่ อยู่ ตาม ใต้ ถุน.
      หนู พุก (321:6.6)
               คือ หนู อย่าง หนึ่ง ตัว โต ขน แปรง ศรี ดำ นั้น, เช่น หนูพุก ที่ อยู่ ตาม ทุ่ง นา นั้น,
      หนู หริ่ง (321:6.7)
               คือ หนู อย่าง หนึ่ง ตัว เล็ก นั้น, เหมือน หนูหริ่ง ที่ อยู่ ตาม ยุ้ง เข้า พ้อม เข้า.
เนระคุณ (321:1)
         คือ ปราศจาก คุณ, เขา พูด ถึง คน ที่ ประทุษฐร้าย แก่ ผู้ มี คุณ ว่า, เปน คน เนระคุณ นั้น.
      เนระเทศ (321:1.1)
               ฯ คือ การ ที่* ขับ ไล่ กำจัด เสีย จาก ที่ อยู่ นั้น, เช่น คน ทำ ผิด ไล่ เนระเทศ เสีย.
      เนระทุกข (321:1.2)
               คือ นิราศ ปราศ จาก ทุกข, เช่น ผู้ ประกอบ ไป ด้วย ความ ศุข.
      เนมิราช (321:1.3)
               เปน ชื่อ แห่ง โพธิสัตว องค์ หนึ่ง นั้น, เช่น เนมีราช ใน เรื่อง ชาฎก นั้น.
      เนระมิด (321:1.4)
               นิระมิด, นิมิด, เปน ชื่อ กระทำ ให้ เปน รูป ต่าง ๆ ด้วย กำลัง ฤทธิ์ นั้น, เช่น พระเจ้า สร้าง โลกย์,
      เนระภูคี (321:1.5)
               เปน ชื่อ ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง มี อยู่ ใน ดง, สำรับ ทำ ยา นั้น, เช่น เนระภูศี เครื่อง กระ เชอ เดิม,
      เนวะสญา (321:1.6)
               นาสัญายัตนะ, ว่า กระทำ ใจ ไม่ ให้ มี สำคัญ ใน ของ สิ่ง ใด สิ่ง หนึ่ง, เหมือน อะรูป พรหม,
      เนมินทร์ (321:1.7)
               เปน ชื่อ ภู เขา ที่ สาม ที่ ล้อม รอบ ภู เขา สุเมรุ นั้น,
แน่ (321:2)
         คือ ความ ที่ จริง อย่าง นั้น, ไม่ เปรปรวน กลับ กลาย เปน อื่น ไป, เช่น ธรรม,
      แน่ นิ่ง (321:2.1)
               คือ อาการ ที่ ไม่ ไหว, ไม่ กะดิก กะเดี้ย นั้น, เช่น เอกัคตาจิตร.
      แน่ นอน (321:2.2)
               คือ สิ่ง ของ ที่ จริง แท้ อยู่ อย่าง นั้น, เช่น อะริยะสัจ ทั้งสี่,
      แน่ แก่ ใจ (321:2.3)
               คือ ความ แม้น แท้ ใน ใจ นั้น, เช่น พระอะริยะเจ้า, เหน อะริยะสัจ ทั้ง สี่,
      แน่ ละ (321:2.4)
               คือ สิ่ง ของ ที่ จริง ที่ แท้ นั้น, เช่น ความ ตาย นั้น, คง มี เปน แน่ ละ ทุก ตัว สัตว,
      แน่ แก่ หู รู้ แก่ ตา (321:2.5)
               คือ คำ เขา พูด ถึง ความ ที่ เขา ได้ รู้ ได้ เหน ประจัก แก่ ตา นั้น,
      แน่ แล้ว (321:2.6)
               คือ ความ ที่ แท้ แล้ว, จริง แล้ว, แม่น แล้ว นั้น, เช่น ความ เหน จริง เหน แท้ ลง ใน ใจ,
      แน่ แท้ (321:2.7)
               คือ ความ แน่ เปน หนึ่ง เทียว นั้น, เช่น ความ ตาย คง มี เปน แน่.
แหน (321:3)
         เปน ชื่อ ของ อย่าง หนึ่ง, ลอย อยู่ ใน น้ำ ตาม นา, แล หนอง, เม็ด เล็ก ๆ, ศี เขียว ๆ, เช่น แหน ที่ ทุ่ง นา,
ไนย (321:4)
         คือ เล่ห์ ฤๅ อุ บาย ต่าง ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คน ฉลาด มัก พูด เปน คำ ไนย อุบาย เหมือน พูด ว่า ที่ ลับ,
      ไนยนา (321:4.1)
               ฯ ไนยเนตร, จักษุ, ว่า เปน ชื่อ ดวง ตา ทั้งสอง ทร้าย ขวา นั้น, เช่น คำ ว่า ชำ เลือง ไนย นา,
      ไนย หนึ่ง (321:4.2)
               อีก อย่าง หนึ่ง, คือ อีก อย่าง หนึ่ง ฤๅ ประการ หนึ่ง* นั้น, เช่น คำ ว่า ไนย หนึ่ง โสตร์,
      ไนยเนตร (321:4.3)
               ฯ ไนยนา, ว่า ไนยตา ทั้งสอง ข้าง นั้น, เช่น คำ ว่า ดวง ไนยเนตร,
ไน ปั่น ฝ้าย (321:5)
         คือ ไน ที่ คน สำรับ ทำ เส้น ด้าย ธอ หูก นั้น, เช่น ไน ปั่น ไหม,
ไหน (321:6)
         คือ เปน คำ ถาม เพราะ ยัง ไม่ เหน นั้น, เช่น คำ ว่า ที่* ไหน, ตรง ไหน,
      ไหน ว่า จะ (321:6.1)
               เปน คำ ถาม ซ้อม ว่า, ไหน ว่า จะ ให้ นั่น ข้า เล่า,
ใน (321:7)
         คือ มิ ใช่ นอก นั้น, เช่น คำ ว่า ชาว ใน ฝ่าย ใน, ข้าง ใน, ภาย ใน.
      ใน กะบุง (321:7.1)
               คือ มิ ใช่ นอก กะบุง นั้น,
      ใน กอง (321:7.2)
               คือ สิ่ง ของ มิ ใช่ นอก กอง นั้น,
      ใน ก่อน (321:7.3)
               คือ สิ่ง ของ ที่ มิ ใช่ ภาย หลัง นั้น,
      ใน กาย (321:7.4)
               ใน คุก, ใน คอก, ใน ค่าย, ใน ใจ, ใน จิตร์,
      ใน ฉาง (321:7.5)
               ใน ยุ้ง, ใน ชาติ นี้, ใน ชั่ว นี้, ใน ซอก, ใน กรอก,
      ใน ไวย (321:7.6)
               ใน สำนักนิ์,
โน (321:8)
         คือ อาการ ที่ บวม โป ขึ้น มา นั้น, เช่น คน ที่ ถูก ต่อย หัว โน ขึ้น,
      โน เน (321:8.1)
               เปน ชื่อ บาว หนุ่ม ทั้ง ปวง นั้น, เปน คำ เก่า, คำ บูราณ, เช่น เขา ร้อง เพลง ว่า, โนเน โนนาฎ,
      โนรี (321:8.2)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, ตัว ศรี แดง, ปาก เหมือน ปาก นก แก้ว, เสียง เพราะห์, เหมือน โนรี ที่ มา แต่ เมือง แขก นั้น.

--- Page 322 ---
เนา (322:1)
         คือ การ ที่ อยุด อยู่ นั้น, เช่น คำ ว่า, ราชา จัก เนา เอโก, ฤๅ เนา ใน นิเวศ.
      เนา ผ้า (322:1.1)
               คือ การ ที่ เอา ผ้า* ตรึง เนา ลง ไว้ ที่ ผ้า ห่าง ๆ นั้น, เช่น คน เอา ด้าย เนา เตข็บ เสื้อ.
      เนาวรัตน์ (322:1.2)
               คือ แก้ว เก้า ประการ นั้น, เช่น แหวน นพเก้า ฤๅ แก้ว วิเชียร.
      เน่า (322:1.3)
               คือ ของ ที่ เปื่อย เสีย ไป มี กลิ่น เหม้น นั้น, เช่น ผลไม้ ทั้ง ปวง เน่า, ฤๅ เนื้อ เน่า นั้น.
นำ (322:2)
         ภาไป, คือ การ ที่ ภา ไป ไม่ หลง นั้น, เช่น นำ ทาง, ฤๅ คน นำ หน้า, นำ ร่องน้ำ.
      นำ ทาง (322:2.1)
               คือ คน ที่ สำหรับ ภา เดิร ให้ ถูก ตาม ทาง นั้น, เช่น คน ที่ สำหรับ นำ ทาง บก ทาง เรือ.
      นำหน้า (322:2.2)
               คือ คน ที่ เดิร หน้า สำหรับ ภาไป นั้น, เช่น คน ถือ ธง เดิร นำ หน้า กองทัพ.
      นำ ไป (322:2.3)
               คือ ภา ไป ยัง ที่* ต่าง ๆ นั้น, เช่น คน ที่ สำหรับ นำ ไป เมือง นั้น, เมือง นี้.
      นำภา (322:2.4)
               คือ คอย ระวัง ดู แล เอา ใจ ใส่ นั้น, เช่น มารดา เอา ใจ ใส่ นำภา รักษา ลูก.
      นำ มา (322:2.5)
               คือ ภา มา นั้น, เช่น พวก นำ ข่าว สาร ต่าง ๆ นั้น.
      นำ ร่อง (322:2.6)
               คือ สำแดง คลอง ที่ ใต้ น้ำ, เหมือน เขา สำแดง* ภา ไป ตาม รอง ที่ หลังเต่า สันดร นั้น.
      น้ำ (322:2.7)
               อุทกัง, คือ ของ ที่ เหลว ไหล, รศ จืด บ้าง, เค็ม บ้าง นั้น
      น้ำ เกิด (322:2.8)
               น้ำ ขึ้น มาก, คือ น้ำ ทเล ที่ ขึ้น มาก หนัก นั้น, เช่น น้ำ เกิด เมื่อ วัน เพ็ญ.
      น้ำ แกง (322:2.9)
               คือ น้ำ ที่ ละลาย ใส่ ลง ใน แกง เช่น น้ำแกง เหลือง.
      น้ำ กรด (322:2.10)
               คือ น้ำ อย่าง หนึ่ง ที่ สำหรับ กัด เหล็ก, กัด ทอง แดง, เช่น น้ำ กรด ดิน ปะสิว, กรด กำมถัน นั้น.
      น้ำ กิน (322:2.11)
               คือ น้ำ ที่ สำหรับ กิน นั้น, เช่น น้ำ จืด ที่ ตัก ไว้ ใน ตุ่ม.
      น้ำ กาม (322:2.12)
               คือ น้ำ อะสุจิ สัมภะวะ ที่ เคลื่อน ออก เพราะ ความ กำ นัศ นั้น.
      น้ำ เกลือ (322:2.13)
               น้ำ เค็ม, คือ น้ำ ที่ บังเกิด แต่ เกลือ นั้น, เช่น น้ำ เกลือ ที่ บ้าน บ่อ
      น้ำ กระสาย (322:2.14)
               น้ำ เชื้อ, คือ น้ำ ผึ้ง, ฤๅ น้ำ ซ่ม* ที่ แซก ใส่ ลง ใน ยา, ภอ เปน เชื้อ นั้น, เหมือน* เหล้า เปน น้ำ กระสาย ยา นั้น.
      น้ำ เข้า (322:2.15)
               คือ น้ำ* ที่ ริน ออก จาก ม่อ เข้า, เช่น น้ำ เข้า ต้ม, ฤๅ น้ำ เข้า เช็ด นั้น.
      น้ำ ขัง (322:2.16)
               คือ น้ำ ที่ ไม่ ไหล รั่ว ไป นั้น, เช่น น้ำ ที่ ขัง ไว้ ใน ตุ่ม ฤๅ น้ำ ที่ ขัง อยู่ ตาม ห้วง.
      น้ำ แขง (322:2.17)
               คือ น้ำ ที่ เปน ไข แขง นั้น, เช่น น้ำ เปน ไข แขง ที่ เมือง จีน, ฤๅ เมือง อเมริกัน นั้น.
      น้ำ ขึ้น (322:2.18)
               น้ำ* เกิด, คือ น้ำ มาก สูง ขึ้น นั้น, เช่น น้ำ ขึ้น ที่ ทเล ไหล เข้า มา ตาม แม่ น้ำ แล ลำ คลอง.
      น้ำ ขุ่น (322:2.19)
               คือ น้ำ ไม่ ใส นั้น, เช่น น้ำ ใน สระ, ฤๅ ใน บ่อ ที่ คน ลง ลุย ให้ ขุ่น นั้น.
      น้ำ กร่อย (322:2.20)
               คือ น้ำ ที่ มี รศ จืด ไม่ สนิท ติด อยู่ ข้าง เค็ม นั้น, เช่น น้ำ จืด กับ น้ำ เค็ม ปน กัน เข้า นั้น.
      น้ำ คำ (322:2.21)
               คือ วาจา ถ้อย คำ นั้น.
      น้ำ ค้าง (322:2.22)
               คือ น้ำ ที่ เปน ลออง ตก ลง มา จาก อากาน, ติดค้าง อยู่ ตาม ใบ ไม้ ใบ หญ้า นั้น, เหมือน หิมะ.
      น้ำ เค็ม (322:2.23)
               คือ น้ำ รศ เหมือน เกลือ มี อยู่ ใน ทเล มหาสมุท นั้น.
      น้ำ เคย (322:2.24)
               น้ำ ปลา, คือ น้ำ ใส ที่ ไหล ตก ออก จาก กุ้ง กะปิ ทั้ง ปวง นั้น, เช่น น้ำ เคย ใน กะตร้อ, ฤๅ น้ำ ปลา,
      น้ำ ครำ (322:2.25)
               คือ น้ำ ที่ เขา เท ลง มา ขัง อยู่ ใต้ ถุน ครัว นั้น, เช่น น้ำ ครำ ที่ เขา ใช้ ทำ อยา นั้น,
      น้ำ คร่ำ (322:2.26)
               คือ น้ำ ไม่ สอาจ ที่ เคลื่อน ออก มา ก่อน เมื่อ ผู้ หญิง จะ คลอด ลูก นั้น, เช่น น้ำ คาว ปลา.
      น้ำ เงิน (322:2.27)
               คือ ศรี เขียว เหมือน ศรี คราม อ่อน, ศรี เหมือน ศรี เงิน ที่ ละลาย คว่าง อยู่ ใน เบ้า นั้น.
      น้ำ ใจ (322:2.28)
               คือ น้ำ ใส ประมาณ ซอง มือ หนึ่ง ที่ อยู่ ใน เนื้อ หัว ใจ นั้น, เช่น น้ำ ใจ คน ทั้ง ปวง.
      น้ำ จิตร์ (322:2.29)
               คือ น้ำ ใจ นั้น เอง, เช่น น้ำ จิตร์ คน, แล น้ำ จิตร์ สัตว ทั้ง ปวง นั้น.
      น้ำ จืด (322:2.30)
               คือ น้ำ ทั้ง ปวง ที่ ไม่ เค็ม นั้น, เช่น น้ำ ฝน, ฤๅ น้ำท่า ใน แม่น้ำ แล ลำธาร เปน ต้น นั้น.
      น้ำ จันทน์ (322:2.31)
               คือ น้ำ ที่ เจือ ด้วย แก่น จันทน์, ฤๅ น้ำ เหล้า ที่ กระษัตรีย์ เสวย นั้น, เช่น น้ำ แก่น จันทน์ เหล้า ไชย บาน.
      น้ำ ชา (322:2.32)
               น้ำ ร้อน, คือ น้ำ ร้อน ที่ ใส่ ใบชา ลง ด้วย นั้น, เช่น น้ำชา ที่ พวก เจ๊ก เขา กิน นั้น.

--- Page 323 ---
      น้ำ ชาต (323:2.33)
               คือ น้ำ ที่ ละลาย ชาต ทั้ง ปวง นั้น, เช่น น้ำ ชาต ละลาย เครื่อง เขียน.
      น้ำ ชุบ (323:2.34)
               คือ น้ำ ที่ สำหรับ ชุบ หนังสือ, ฤๅ น้ำ ชุบ ภู่กัน นั้น, เช่น น้ำ หมึก แล น้ำ ยา
      น้ำ เชี่ยว (323:2.35)
               คือ น้ำ ที่ ไหล ลง แรง, ฤๅ ไหล ขึ้น แรง นั้น เอง, เช่น น้ำ ที่ ไหล ลง จาก เมือง เหนือ.
      น้ำ ซ่ม (323:2.36)
               คือ น้ำ ที่ เกิด แต่ รศ เปรี้ยว ทั้ง ปวง, เช่น น้ำ ซ่ม ที่ มา แต่ เมือง นอก.
      น้ำ เซาะ (323:2.37)
               คือ น้ำ ที่ ไหล แทง ตลิ่ง ให้ พัง นั้น, เช่น น้ำ ไหล เซาะ ตลิ่ง ฟาก ค่าง คุ้ง.
      น้ำ ฌะ (323:2.38)
               คือ น้ำ ฝาด ที่ สำหรับ ล้าง แผล ทั้ง ปวง นั้น, เช่น น้ำ จุลสี สำหรับ ฌะ แผล ต่าง . ๆ
      น้ำ ย้อม (323:2.39)
               คือ น้ำ ที่ สำหรับ ย้อม สิ่ง ของ ทั้ง ปวง นั้น, เช่น น้ำ ครั่ง, ฤๅ น้ำ กรัก นั้น.
      น้ำ แดก (323:2.40)
               คือ* น้ำ ที่ ไหล ดัน พลุ่ง ขึ้น มา นั้น, เช่น น้ำ ไหล แดก ตาม ท้อง คุ้ง เมือง เหนือ.
      น้ำ ด่าง (323:2.41)
               คือ น้ำ ที่ แช่ เท่า ไฟ ทั้ง ปวง นั้น.
      น้ำ ดอง (323:2.42)
               คือ น้ำ ที่ ดอง สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ให้ เปรี้ยว นั้น, เช่น น้ำ กะเทียม ดอง นั้น.
      น้ำ ดาษดง (323:2.43)
               คือ น้ำ ที่ ท่วม ทั่ว ไป ทั้ง ดง, เช่น น้ำ ท่วม* ดาษ ดง เมื่อ ระดู ฝน นั้น
      น้ำ ดูด (323:2.44)
               คือ น้ำ ที่ ไหล วน ชัก สูบ ลง ไป นั้น.
      น้ำ เดือด (323:2.45)
               คือ น้ำ ที่ พลุ่ง พล่าน ป่วน ไป มา นั้น.
      น้ำ ดับ ไฟ (323:2.46)
               เปน ชื่อ ต้น หญ้า อย่าง หนึ่ง, เขา เรียก ต้น น้ำ ดับ ไฟ.
      น้ำ ดิบ (323:2.47)
               คือ น้ำ ทั้ง ปวง ที่ ยัง ไม่ สุก นั้น.
      น้ำ ดิน (323:2.48)
               คือ น้ำ ที่ เกิด แต่ ดิน นั้น, เช่น น้ำ ดิน ประสิว สำหรับ ย้อม ท้อง.
      น้ำ ตา (323:2.49)
               คือ น้ำ ที่ เกิด จาก ตา ทั้งสอง นั้น, เช่น คน น้ำ ตา ไหล เมื่อ ร้องไห้.
      น้ำ ตาล (323:2.50)
               คือ น้ำ ที่ ไหล หยด ออก มา จาก งวง ตาล นั้น.
      น้ำ ตาล กรวด (323:2.51)
               คือ น้ำ ตาล ที่ เปน ก่อน แขง เหมือน กรวด นั้น เหมือน น้ำ ตาน กรวด* ที่ ทำ ด้วย น้ำ ตาล ทราย.
      น้ำ ตาล งบ (323:2.52)
               คือ* น้ำ ตาล ที่ เขา ทำ เปน งบ ๆ นั้น, เช่น งบ น้ำ ออย.
      น้ำ ตาน จาก (323:2.53)
               คือ น้ำ ตาน ที่ เกิด จาก งวง จาก นั้น, เช่น น้ำ ตาน มะพร้าว.
      น้ำ ตาน ทราย (323:2.54)
               คือ น้ำ ตาน ที่ เปน เม็ด ๆ เหมือน ทราย นั้น.
      น้ำ ตาล ตงุ่น (323:2.55)
               คือ น้ำ ตาน ที่ เขี้ยว ไว้ ข้น ๆ นั้น, เช่น น้ำ ตาล ตงุ่น เพ็ชร์ บูรี,
      น้ำ ตาล โตนฎ (323:2.56)
               คือ น้ำ ตาล ที่ เกิด แต่ ต้น โตนฎ นั้น, เช่น น้ำ ตาล ม่อ เพ็ชร์ บูรี.
      น้ำ ตาล ปี่ (323:2.57)
               คือ น้ำตาล ที่ หยอด ใส่ ใบตาล เปน รูป ปี่ นั้น, เช่น น้ำ ตาล ปี่ เพ็ชร์ บูรี.
      น้ำ ตาล ปึก (323:2.58)
               คือ น้ำ ตาล ที่ เขา หลอม เปน ปึก นั้น, เช่น น้ำ ตาล งบ.
      น้ำ ตาล เตา (323:2.59)
               คือ น้ำตาล ที่ เขา เคี่ยว มา จาก เตา นั้น, เช่น* น้ำ ตาล ม่อ นั้น.
      น้ำ ตาล ม่อ (323:2.60)
               คือ น้ำ ตาล ที่ เขา หยอด ใส่ ม่อ นั้น, เช่น น้ำตาน ม่อ ที่ เขา ขาย ตาม ตลาด.
      น้ำ ตาน มะพร้าว (323:2.61)
               คือ น้ำ ตาน ที่ เกิด แต่ มะพร้าว นั้น
      น้ำ ตาล หลอม (323:2.62)
               คือ น้ำ ตาล เก่า ที่ เหลว ไป แล้ว, หลอม ใส่ ม่อ อีก ครั้ง หนึ่ง, เช่น น้ำ ตาล หลอม เพ็ชร์ บูรี.
      น้ำ ตาล สด (323:2.63)
               คือ น้ำ ตาล ที่ รอง มา ใหม่ ๆ ยัง ไม่ ได้ เคี่ยว ให้ แห่ง นั้น, เช่น น้ำ ตาล ใน กะบอก.
      น้ำ ตาน ส้ม (323:2.64)
               คือ น้ำ ตาน ที่ ดอง ไว้ ให้ เปรี้ยว นั้น, เช่น น้ำ ตาน ส้ม กิน เมา.
      น้ำ เต้า (323:2.65)
               คือ ผัก อย่าง หนึ่ง ลูก กลม ๆ คอ คอด ต้ม แกง กิน ได้, เช่น น้ำ เต้า ที่ แกง เลียง กิน.
      น้ำ ตม (323:2.66)
               คือ น้ำ ที่ ขุ่น เปน ตม อยู่ นั้น, เช่น น้ำ ตม ใน ปลัก ควาย นั้น.
      น้ำ ต้ม (323:2.67)
               คือ น้ำ ที่ ใส่ ม่อ ตั้ง ไฟ ให้ เดือด นั้น,
      น้ำ ตาย (323:2.68)
               คือ น้ำ ใน ท้อง คลอง น้อย ยัง ไม่ เกิด มาก นั้น, เช่น วัน เจ๊ด ค่ำ แปด ค่ำ น้ำ ตาย.
      น้ำ ท่า (323:2.69)
               คือ น้ำ ที่ น่า ท่า นั้น, เช่น น้ำ ใน ท้อง คลอง, ฤๅ แม่น้ำ.
      น้ำ ทอง (323:2.70)
               คือ ทอง คำ ที่ ละลาย เปน น้ำ อยู่ นั้น, เช่น น้ำ ทอง ที่ เหลว* ใน เบ้า นั้น.

--- Page 324 ---
      น้ำ ท่วม (324:2.71)
                คือ น้ำ มาก ลบ ดาษ ทั่ว ไป นั้น, เช่น น้ำ ท่วม บ้าน, ฤๅ ท่วม ทุ่ง กรุง เก่า.
      น้ำ ทรง (324:2.72)
               คือ น้ำ ใน แม่ น้ำ เปน ต้น, ขึ้น ถึง แล้ว ทรง อยู่ ยัง ไม่ ขึ้น ไม่ ลง นั้น
      น้ำ ธาร (324:2.73)
               คือ น้ำ ที่ ไหล ไป ตาม ลำ ห้วย นั้น, เช่น น้ำ ธาร ที่ ไหล มา จาก ภูเขา.
      น้ำ หน้า (324:2.74)
               คือ น้ำ ที่ ไหล อยู่ ตาม หน้า, ฤๅ น้ำ ที่ มี ใน เบื้อง หน้า นั้น, เช่น เขา ว่า* น้ำ หน้า เจ้า จะ มี หฤๅ.
      น้ำ หนวก (324:2.75)
               คือ น้ำ หนอง ศี ขาว ที่ ไหล ออก มา ตาม ช่อง หู นั้น, เช่น น้ำ หนวก เด็ก. ๆ
      น้ำ นอง (324:2.76)
               คือ น้ำ มาก เต็ม ตาม พื้น ดิน, ฤๅ พื้น กะดาน เปน ต้น. อนึ่ง เปน สัตว เล็ก ๆ เช่น ปลวก นั้น.
      น้ำ หนอง (324:2.77)
               คือ น้ำ หนอง ที่ ไหล ออก จาก ปาก แผล ทั้ง ปวง นั้น, เช่น น้ำ หนอง ฝี.
      น้ำ นม (324:2.78)
               คือ น้ำ ศี ขาว ที่ เกิด แต่ นม นั้น, เช่น น้ำ นม โค, ฤๅ น้ำ นม คน.
      น้ำ เหนือ (324:2.79)
               คือ น้ำ* ที่ ไหล มา แต่ ฝ่าย เหนือ นั้น, เช่น น้ำ เหนือ ไหล มา เมื่อ ระดู เดือน สิบสอง.
      น้ำ บ่า (324:2.80)
               คือ น้ำ ท่วม ไหล ล้น บาก บาง นั้น, เช่น น้ำ ไหล บาก เข้า ทุ่ง นั้น.
      น้ำ บ้า (324:2.81)
               คือ น้ำ ที่ ไหล มา แต่ ดง ท่วม บ้าน ท่วม นา, วัน หนึ่ง สอง วัน แล้ว แห้ง ไป นั้น, เหมือน อย่าง น้ำ บ้า เมือง เหนือ
      น้ำ บึง (324:2.82)
               คือ น้ำ ที่ ขัง อยู่ ใน บึง นั้น, เช่น น้ำ ใน หนอง.
      น้ำ ปาด (324:2.83)
               เปน ชื่อ บ้าน ใหญ่ ตำบล หนึ่ง นั้น, เช่น บ้าน น้ำ ปาด ที่ ปลาย น้ำ เมือง สว่างบูรีย์.
      น้ำ ปลา (324:2.84)
               คือ น้ำ ใส ๆ ที่ เกิด แต่ ไตปลา นั้น, เช่น น้ำ เคย เกิด แต่ กุ้ง กะปิ.
      น้ำ ประสาน (324:2.85)
               คือ น้ำ อย่าง หนึ่ง เปน ก้อน แขง ใส่, สำหรับ ประสานทอง ให้ ติด กัน, เช่น สานซ่ม.
      น้ำ ประสาน ดี บุก (324:2.86)
               คือ น้ำ ประสาน อย่าง หนึ่ง กลิ่น แรง กล้า, มา แต่ เมือง นอก, เช่น อำโมเนีย.
      น้ำ ประสานทอง (324:2.87)
               คือ น้ำ ประสาน ที่ สำหรับ แล่น ทอง คำ ให้ ติด กัน นั้น, เช่น น้ำ ประสาน ทอง ที่ ทำ ยา.
      น้ำ ผึ้ง (324:2.88)
               คือ น้ำ ข้น ๆ อย่าง หนึ่ง, รศ หวาน เกิด แต่ รวง ผึ้ง นั้น, เช่น น้ำ ผึ้ง ที่ มา แต่ เมือง เหนือ.
      น้ำ ฝาด (324:2.89)
               คือ น้ำ ที่ บังเกิด แต่ รศ ฝาด นั้น, เช่น น้ำ กรัก ฤๅ ผล มะพลับ นั้น.
      น้ำ ฝน (324:2.90)
               คือ น้ำ ที่ บังเกิด แต่ ฝน ตก นั้น,
      น้ำ พิพัทธ์ (324:2.91)
               คือ น้ำ พิพัทธ์ สัจจา, ที่ พวก ข้า ราชการ เข้า ไป ถือ ใน วัด พระศรีรัตน์ สาศ ดาราม นั้น.
      น้ำ พระไทย (324:2.92)
               คือ น้ำ ใจ ท่าน ที่* มี วาศนา มาก นั้น, เช่น น้ำ พระไทย บรม กระษัตริย์.
      น้ำ พระเนตร์ (324:2.93)
               คือ น้ำ ตา ท่าน ผู้ เปน ใหญ่ นั้น, เช่น น้ำ พระ เนตร์ พระ มหา กระษัตรีย์
      น้ำ พริก (324:2.94)
               คือ น้ำ ที่ เกิด แต่ รศ พริก นั้น, เช่น น้ำ พริก ที่ พวก ไทย กิน.
      น้ำ ภุ (324:2.95)
               คือ น้ำ ที่ ไหล ถะลุ ออก มา นั้น, เช่น น้ำ ภุ ที่ แตก ออก จาก ภู่เขา.
      น้ำ เมา (324:2.96)
               คือ น้ำ ที่ มี รศ มัว เมา นั้น, เช่น น้ำ เหล้า, ฤๅ น้ำ ตาน ซ่ม นั้น.
      น้ำ หมาก (324:2.97)
               คือ น้ำ ที่ เกิด แต่ รศ หมาก นั้น, เช่น น้ำ หมาก ที่ พวก ไทย บ้วน เสีย.
      น้ำ หมึก (324:2.98)
               คือ น้ำ หมึก นั้น, เช่น น้ำ หมึก เขียน หนังสือ.
      น้ำ มูก (324:2.99)
               คือ น้ำ ข้น ๆ ที่ ไหล ออก จาก ช่อง จมูก นั้น, เช่น น้ำ มูก คน ที่ เปน หวัด นั้น.
      น้ำ มูต (324:2.100)
               คือ น้ำ เยี่ยว ทั้ง ปวง นั้น, เช่น น้ำ มูต คน, ฤๅ น้ำ มูต โค.
      น้ำ มนต์ (324:2.101)
               คือ น้ำ ที่ เศก ด้วย มนต์ ต่าง ๆ นั้น, เช่น น้ำ มนต์ พระ ปริต นั้น.
      น้ำ มัน (324:2.102)
               คือ น้ำ ที่ เปน มัน, เช่น น้ำ มัน งา, น้ำ มัน มะพร้าว, น้ำ มัน หมู.
      น้ำ มัน กำยาน (324:2.103)
               คือ น้ำ มัน ที่ เกิด แต่ กำยาน นั้น, เช่น น้ำ มัน กำยาน ที่ หอม. ๆ
      น้ำ มันดิน (324:2.104)
               คือ น้ำ มัน ทั้ง ปวง ที่ เกิด แต่ แผ่นดิน นั้น, เช่น บ่อ น้ำ มันดิน ที่ เมือง มอญ.
      น้ำ มัน หมู (324:2.105)
               คือ น้ำ มัน ที่ บังเกิด แต่ หมู นั้น, เช่น น้ำมัน หมู ที่ เกิด แต่ เปลว.

--- Page 325 ---
      น้ำ มัน มะพร้าว (325:2.106)
               คือ น้ำ มัน ที่ บังเกิด แต่ ผล มะพร้าว นั้น,
      น้ำ มัน ตั้งอิ้ว (325:2.107)
               คือ น้ำ มัน ศี เหลือง ที่ มา แต่ เมือง จีน นั้น,
      น้ำ มันยาง (325:2.108)
               คือ น้ำ มัน ที่ บังเกิด แต่ ต้น ยาง นั้น, เช่น น้ำ มัน ยาง ที่ ใช้ ยา เรือ.
      น้ำ มัน ละหุ่ง (325:2.109)
               คือ น้ำ มัน ที่ เกิด จาก เม็ด ละหุ่ง นั้น, เช่น น้ำ มัน ละหุ่ง ที่ เขา ทาผม.
      น้ำ รัก (325:2.110)
               คือ น้ำ ที่ บังเกิด แต่ ต้น รัก, เช่น น้ำ รัก ดำ ๆ ที่ เขา ทา ตู้ นั้น.
      น้ำ หลาก (325:2.111)
               คือ น้ำ เหนือ แรก มี มา นั้น, เช่น น้ำ อาบ งัว เมื่อ เดือน เจ๊ด เดือน แปด.
      น้ำ ลง (325:2.112)
               คือ น้ำ ขึ้น มาก แล้ว กลับ น้อย ลง นั้น, เช่น น้ำ ลด ไหล กลับ ไป ยัง ทะเล.
      น้ำ เหลือง (325:2.113)
               คือ น้ำ ที่ มี ศี เหลือง ๆ นั้น เช่น น้ำ ขะมิ่น, ฤๅ น้ำ เหลือง คน.
      น้ำ เลือด (325:2.114)
               คือ เลือด คน เลือด สัตว นั้น, เช่น เลือด คน เลือด สัตว เปน ต้น,
      น้ำ เหลิง (325:2.115)
               คือ น้ำ ถ้วม มาก เหมือน เมื่อ ครั้ง น้ำ มา ล้าง โลกย์ นั้น, เช่น น้ำ ท่วม ลบ หลัง ตลิ่ง.
      น้ำ เลี้ยง หัว ใจ (325:2.116)
               คือ น้ำ ใส ที่ หัว ใจ นั้น, เหมือน อย่าง น้ำ เลี้ยง หัวใจ ประมาณ ซอง มือ หนึ่ง.
      น้ำ ลาย (325:2.117)
               คือ น้ำ ที่ เกิด ใน ปาก นั้น, เช่น น้ำ ลาย คน, น้ำ ลาย สัตว นั้น.
      น้ำ วน (325:2.118)
               คือ น้ำ ที่ ไหล เวียน ไป นั้น, เช่น น้ำ ไหล วน ตาม ท้อง คุ้ง เมื่อ น่า น้ำ.
      น้ำ ใส (325:2.119)
               คือ น้ำ ที่ ไม่ ขุ่น นั้น, เช่น น้ำ ฝน, ฤๅ น้ำ ค้าง ที่ ใส.
      น้ำ เสวย (325:2.120)
               คือ น้ำ สำหรับ ท่าน ผู้ มี วาศนา กิน นั้น, เช่น น้ำ เสวย ใน หลวง.
      น้ำ สุก (325:2.121)
               คือ น้ำ ที่ ไม่ ดิบ นั้น, เช่น น้ำ ร้อน ที่ ต้ม เดือด แล้ว.
      น้ำ สรง (325:2.122)
               คือ น้ำ ที่ สำหรับ อาบ ท่าน ผู้ เปน ใหญ่ นั้น, เช่น น้ำ สรง ใน หลวง นั้น.
      น้ำ สังข์ (325:2.123)
               คือ น้ำ ที่ ใส่ ไว้ ใน สังข์ นั้น, เช่น พวก พราหมณ์ รด น้ำ สังข์ นั้น.
      น้ำ เสียง (325:2.124)
               คือ เสียง ที่ เพราะ เย็น เหมือน น้ำ นั้น, เช่น เขา ว่า น้ำ เสียง อ่อน หวาน.
      น้ำ แห้ง (325:2.125)
                คือ น้ำ ลง น้อย ไป จน เหน ดิน นั้น, เช่น น้ำ แห้ง เมื่อ ระดู แล้ง นั้น.
      น้ำ หอม (325:2.126)
               คือ น้ำ ที่ มี กลิ่น หอม นั้น, เช่น น้ำ ดอกไม้ เทษ, ฤๅ น้ำ อบ นั้น
      น้ำ เหื่อ (325:2.127)
               คือ เหื่อ ที่ เปน น้ำ ไหล ออก จาก ตัว นั้น, เช่น น้ำ เหื่อ ไหล โซม ตัว นั้น.
      น้ำ องุ่น (325:2.128)
               คือ น้ำ ที่ เกิด แต่ ผล องุ่น นั้น, เช่น น้ำ องุ่น ที่* มา แต่ เมือง นอก.
      น้ำ อบ (325:2.129)
               คือ น้ำ หอม ที่ เขา อบ ด้วย กำยาน แล ดอกไม้ นั้น, เช่น น้ำ อบ ที่ เขา ทา ตัว นั้น.
      น้ำ อับ (325:2.130)
               คือ น้ำ ที่ อยุด นิ่ง อยู่ ไม่ ไหล ขึ้น ไหล ดง นั้น, เช่น น้ำ อับ ข้าง เหนือ.
      น้ำ อาบ งัว (325:2.131)
               คือ น้ำ ฝน ที่ ตก ลง มา ใหม่ ฝ่าย เหนือ อาบ ตัว งัว แล้ว ไหล ลง มา, เช่น น้ำ อาบ งัว เมื่อ เดือน หก,
      น้ำ อ้อย (325:2.132)
               คือ น้ำ หวาน ที่ เกิด แต่ อ้อย นั้น, เช่น น้ำ อ้อย เหลว นั้น.
      น้ำ อ้อย งบ (325:2.133)
               คือ น้ำ อ้อย ที่ เขา เคี่ยว ให้ แขง แล้ว ทำ งบ ไว้ นั้น, เช่น น้ำ อ้อย งบ ที่ เขา ฃาย.
      น้ำ เอ่อ (325:2.134)
               คือ น้ำ ลง อยุด จะ กลับ ไหล ขึ้น นั้น, เช่น น้ำ เอ่อ เมื่อ หัว น้ำ ขึ้น.
หนะ (325:1)
         คือ เปน คำ สั่ง กำชับ ให้ มั่นคง* นั้น, เช่น คำ สั่ง กัน ว่า ให้ ได้ หนะ.
นคร (325:2)
         เปน ชื่อ เมือง, ฤๅ ที่ ล้อม ทั้ง หลาย นั้น, เช่น เมือง นคร ศรี ธรรมราช.
      นคร เขื่อน ขันท์ (325:2.1)
               เปน ชื่อ เมือง อัน หนึ่ง นั้น, เช่น เมือง นคร เขื่อน ขันท์ ที่ ปาก ลัด นั้น.
      นคร ไชยศรี (325:2.2)
               เปน ชื่อ เมือง แห่ง หนึ่ง นั้น, เช่น เมือง นคร ไชยศริ ที่ เขา ทำ น้ำตาน ทราย.
      นคร นายก (325:2.3)
               เปน ชื่อ เมือง แห่ง หนึ่ง นั้น, เช่น เมือง นครนา ยก ข้าง ทิศ ตวัน ออก กรุงเทพ.
      นคร ราชเสมา (325:2.4)
               เปน ชื่อ เมือง แห่ง หนึ่ง นั้น, คือ เมือง โคราช เสมา นั้น.
      หนา จ๋ะ (325:2.5)
               คือ คำ เขา พูด, เปน คำ กุมาร, เปน ต้น ว่า ไป เถิด หนะจ๋ะ.

--- Page 326 ---
      นคร ลำบาง (326:2.6)
               เปน ชื่อ เมือง ลาว แห่ง หนึ่ง นั้น, เช่น เมือง นคร ลำบาง ข้าง ตวัน ออก เฉียง เหนือ กรุงเทพ.
      นคร ศรี ธรรมราช (326:2.7)
               เปน ชื่อ เมือง แห่ง หนึ่ง นั้น, คือ เมือง ละ- คร ที่ อยู่ ทิศ ใต้ กรุงเทพ.
      นคร โสภินี (326:2.8)
               เปน ชื่อ พวก หญิง ที่ ยัง เมือง ให้ งาม นั้น, เช่น พวก หญิง คน ชั่ว นั้น.
นมัสการ (326:1)
         คือ กระทำ นอบ น้อม ด้วย กาย. ด้วย วาจา ด้วย ใจ นั้น, เช่น คน กราบ ไหว้ พระเจ้า นั้น.
นรา (326:2)
         ฯ ว่า คน ทั้ง หลาย นั้น, เช่น หมู่ ชน ทั้ง หลาย.
นรก (326:3)
         คือ ที่ เปน ที่ อยู่ แห่ง สัตว ทั้ง หลาย ที่ ไม่ มี* อำนาท นั้น, เช่น ขุม นรก.
นรงค์ (326:4)
         คือ การ สง คราม นั้น, เช่น พวก นาย ทหาร ยก กอง ทัพ รบ กัน นั้น.
หนะฃะ (326:5)
         เปน คำ คน ผู้ ใหญ่ พูด กัน โดย คำนับ, เปน ต้น ว่า ฉัน ไป ก่อน และ หนะฃะ.
นวะ (326:6)
         ฯ เปน ลัง* ขยา, แปล ว่า เก้า.
นเรศร์ (326:7)
         เปน ชื่อ เทวดา องค์ หนึ่ง นั้น, เช่น นเรศร์ ที่ พวก พราหมณ์ ถือ ว่า เปน พระเจ้า.
นวะมะ (326:8)
         ฯ แปล ว่า เตม แห่ง เก้า, เช่น ที่ เก้า เปน ต้น.
นรินท์ (326:9)
         ฯ ว่า ผู้ ที่ เปน ใหญ่ กว่า ชน นั้น, เช่น สมเด็จ บรม กระษัตรีย์.
นราธิเบศ (326:10)
         ฯ ว่า เปน ใหญ่ ยิ่ง กว่า ชน, เช่น พระเจ้า แผ่น ดิน เปน ต้น
นเรนท์ (326:11)
         ฯ คือ เปน ใหญ่ กว่า คน นั้น, เนื้อ* ความ ทั้ง ปวง เหมือน กัน กับ นรินท์ นั้น
นราธิบดี (326:12)
         ฯ แปล ว่า เปน ใหญ่ ยิ่ง กว่า คน, เช่น พระ มหา กระษัตริย์.
นรายน์ (326:13)
         เปน ชื่อ เทวดา องค์ หนึ่ง นั้น, เช่น นรายณ์ ที่ พวก พราหมณ์ ถือ ว่า เปน พระเจ้า ผู้ สร้าง.
นก (326:14)
         เปน ชื่อ สัตว อย่าง หนึ่ง สอง ตีน, มี ปีก บิน ไป ใน อากาศ นั้น, เช่น นกกา ทั้ง ปวง.
      นก กา (326:14.1)
               คือ นก อย่าง หนึ่ง ขน ดำ, มัน ย่อม ร้อง บอก ชื่อ ว่า กา ๆ นั้น.
      นก แก (326:14.2)
               เปน ชื่อ* นก อย่าง หนง ตัว ดำ เล็ก, ๆ มัน ร้อง เสียง ดัง แก. ๆ
      นก กะทา (326:14.3)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง ตัว ลาย, ๆ ย่อม กว่า ไก่ สัก น้อย, มัน ร้อง เสียง ดัง ปักกะทา. ๆ
      นก กะทุง ทอง (326:14.4)
               เปน* ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง ขน ขาว ศี นวล งาม, ตัว โต ตีน เหมือน ตีน เปด, มัก ลอย เล่น ใน น้ำ.
      นก กะทุง ม่อ (326:14.5)
               เปน ชื่อ นก กะทุง อย่าง หนึ่ง ขน ขาว ศี มอ ๆ มัน มัก ลอย เล่น ใน น้ำ กิน ปลา ดิบ เปน อาหาร.
      นก ตะตรุม (326:14.6)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, ตัว โต ขน ดำ หัว ล้าน ด้วย, มัน มัก อยู่ ตาม ทุ่งนา กิน ปลา เปน อาหาร.
      นก กะเรียน (326:14.7)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, ตัว โต สูง ขน ฅอ แดง, ๆ มัน นัก อยู่ ตาม ชาย ทุ่ง แถบ เมือง เหนือ.
      นก กะเหว่า (326:14.8)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, ตัว ดำ บ้าง ลาย บ้าง, ร้อง เสียง เพราะ, กิน ผล ไม้ ต่าง ๆ เปน อาหาร.
      นก กะษา (326:14.9)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, ตัว โต ฅอ ยาว ขน ศี มอ, ๆ มัก อยู่ ตาม ทุ่งนา กิน* ปลา กิน หอย เปน อาหาร.
      นก กวัก (326:14.10)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, ตัว เล็ก ๆ ท้อง ขาว, ๆ มัน ร้อง เสียง ดัง กวัก ๆ ย่อม กิน ปลา เปน อาหาร.
      นก กางเขน (326:14.11)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, ตัว ดำ ๆ เล็ก, ๆ มัน ร้อง ทำ หาง เปิด, ๆ พูด ภาษา นก เสียง เพราะ นัก.
      นก กด (326:14.12)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, ตัว แดง มัว ๆ มัก อยู่ ตาม ชาย ทุ่ง, มัน ร้อง เมื่อ เพลา หัว น้ำ ขึ้น เสียง ดัง ปูด. ๆ
      นก กดนา (326:14.13)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, มัก อยู่ ตาม ชาย ทุ่ง, มัน ย่อม ร้อง เมื่อ เพลา หัว น้ำ ขึ้น, มัน กิน งู.
      นก กดเพลิง (326:14.14)
               เปน ชื่อ นก กด อย่าง หนึ่ง, ตัว โต เท่า นก ตะกรุม ตีน มัน แดง, มัก อยู่ แถบ เหนือ กิน ปลา.
      นก แก้ว (326:14.15)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง ตัว เขียว, ปาก แดง พูด ภาษา คน ได้ บ้าง เล็ก น้อย, เหมือน อย่าง นก กะลิง.
      นก เขา (326:14.16)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, ส้อย ฅอ ขน ลาย, ๆ เขา. เอา มา เลี้ยง ไว้ ให้ มัน ขัน ฟัง เสียง เล่น นั้น.
      นก เขา เขียว (326:14.17)
               เปน ชื่อ นก เขา อย่าง หนึ่ง, ขน ศี เขียว ๆ นั้น เช่น นก พิราบ, ฤๅ นก เขา ไฟ.
      นก เขา ไฟ (326:14.18)
               เปน ชื่อ นกเขา อย่าง หนึ่ง ขน แดง ๆ นั้น, เช่น นก เขา เขียว, ฤๅ นก พิราบ นั้น.

--- Page 327 ---
      นก เขา ชวา (327:14.19)
               เปน ชื่อ นก เขา อย่าง หนึ่ง, ตัว ลาย ๆ มา แต่ เมือง แขก ชวา นั้น, เช่น นก คุ่ม.
      นก แขก (327:14.20)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, ตัว เขียว ๆ ปาก ดำ, ๆ เช่น นก กะลิง แล นก เค้า โมง.
      นก แขก เต้า (327:14.21)
               เปน ชื่อ นก อย่าง* หนึ่ง, ตัว เขียว ปาก แดง นั้น, เช่น นก แก้ว ใหญ่
      นก เค้า (327:14.22)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, ขน ลาย ๆ ตา พอง ๆ นั้น. เช่น นก แสก นก ฮูก.
      นก เค้า กู่ (327:14.23)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, ตัว ลาย ๆ ร้อง เสียง กูก* ๆ นั้น, เช่น นก เค้า คัง แมว
      นก เค้า โมง (327:14.24)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, ตัว เขียว ๆ ปาก ดำ ๆ นั้น, เช่น นก กะลิง.
      นก เค้าแมว (327:14.25)
               เปน ชื่อ นก เค้า อย่าง หนึ่ง, หน้า ตา เหมือน แมว นั้น, เช่น นก เค้า แมว กิน หนู.
      นก คล้า (327:14.26)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง ตัว ย่น ๆ, ตีน เปน ตีน เป็ด, เช่น นก เป็ด น้ำ นั้น.
      นก ค้อน หอย (327:14.27)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, ตัว โต ปาก มัน ยาว, ค้อน เอา หอย ขึ้น* กิน ได้, เหมือน นก ปาก ห่าง.
      นก คุ่ม (327:14.28)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, ตัว เล็ก ๆ หลัง มัน คุ่ม ๆ นั้น, เช่น นก เขา นั้น.
      นก คับแค (327:14.29)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, ตัว เล็ก ๆ กิน หอย แล เข้า กล้า, เหมือน นก เป็ด น้ำ
      นก จากกะพราก (327:14.30)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, ย่อม มี อยู่ ตาม ป่า สูง ดง สูง นั้น, หา มี ใน บ้าน ใน เมือง ไม่.
      นก ดอกบัว (327:14.31)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, ตัว โต กิน ปลา ดิบ, เช่น นก กษา นั้น
      นก ต่อ (327:14.32)
               คือ นก ต่าง ๆ ที่ เขา เลี้ยง ไว้ สำหรับ ฬอ ต่อ เอา นก ป่า มา นั้น, เช่น นก ต่อ นก เขา.
      นก ถอด (327:14.33)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง หา กิน ใน น้ำ, กิน ปลา ดิบ, เช่น กา น้ำ นั้น.
      นก เงือก (327:14.34)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, ตัว โต กิน ลูก ไม้ นั้น, น่า มัน คล้าย ๆ กัน กับ ห่าร.
      นก นางนวน (327:14.35)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, ตัว ขาว ๆ นั้น, เช่น นาง นาน ตาม ชาย ทะเล.
      นก พิราบ (327:14.36)
               เปน ชื่อ อย่าง หนึ่ง, เสียง คราง เหมือน คน ไข้, เช่น นก พิราบ ที่ วัด นั้น.
      นก พริก (327:14.37)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง อยู่ ตาม ทุ่ง นา ตัว เท่า ไก่ หนุ่ม ๆ, ไข่ มัน ลาย, เช่น นก อี โก้ง.
      นก ยาง (327:14.38)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง ขน ขาว อย่าง สำลี, กิน ปลา ดิบ, มัก อยู่ ตาม ทุ่ง นา.
      นก ยางกรอก (327:14.39)
               เปน ชื่อ นก ยาง อย่าง หนึ่ง ตัว ขาว, หลัง นั้น ดำ หนิด หน่อย, เมื่อ มัน บิน ไป นั้น มัก ร้อง กรอก ๆ.
      นก ยาง โทน (327:14.40)
               เปน ชื่อ นก ยาง อย่าง หนึ่ง ตัว โต ขาว ล้วน ทั้ง ตัว, มัน มัก เที่ยว แต่ ตัว เดียว.
      นก ยาง เสวย (327:14.41)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง ตัว ไม่ สู้ โต อยู่ ตาม ทุ่ง นา, เนื้อ มัน กิน ดี จ้าว นาย ชอบ ใจ เสวย.
      นก ยุง (327:14.42)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง ตัว โต ขน ศรี เขียว ลาย เปน วง ๆ แวว งาม นัก, เช่น นก ยุง ที่ รำแพน
      นก เหยี่ยว (327:14.43)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง ตัว ไม่ สู้ โต นัก ปาก มน งุ้ม ๆ เช่น นก ออก, ย่อม บิน โฉบ เฉี่ยว เอา เนื้อ ปลา กิน.
      นก เหยี่ยว ตะไกร (327:14.44)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, ปาก มัน คม ราว กับ ตะไกร นั้น, เช่น เหยี่ยว ที่ บิน ร่อน อยู่ บน อากาศ.
      นก เหยี่ยว นกเขา (327:14.45)
               เปน ชื่อ เหยี่ยว อย่าง หนึ่ง ตัว ย่อม ๆ, คล้าย ๆ นก เขา, กำลัง มัน ว่องไว รวด เร็ว ยิ่ง นัก.
      นก เหยี่ยว รุ้ง (327:14.46)
               เปน ชื่อ เหยี่ยว อย่าง หนึ่ง, ตัว ดำ ๆ, เช่น เหยี่ยว ที่ ร่อน หา ปลา กิน นั้น.
      นก เหยี่ยว หนุมาน (327:14.47)
               เปน ชื่อ เหยี่ยว อย่าง หนึ่ง, ตัว มัน ลาย ด่าง ๆ ดำ ๆ, ย่อม กิน เนื้อ แล ปลา.
      นก เหยี่ยว แดง (327:14.48)
               คือ เหยี่ยว อย่าง หนึ่ง ตัว มัน แดง, ย่อม กิน เนื้อ ปลา เหมือน เหยี่ยว ตะไกร นั้น.
      นก ศีชมภู (327:14.49)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, ตัว เล็ก กว่า นก กะจอก, แดง ลาย เปน เข้าตอก, กิน ลูก หญ้า แล เข้า ฟ่าง นั้น.
      นก ไส้ (327:14.50)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง ตัว เล็ก ๆ เท่า นก กะจิบ นั้น เช่น นก กิน ปลี.
      นก แสก (327:14.51)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง ตัว ลาย ๆ, หน้า ตา คล้าย ๆ นก เค้า แมว, เปน นก แสก ที่ กิน หนู นั้น.
      นก สารีกา (327:14.52)
               เปน ชื่อ นก ขุนทอง ที่ มัน พูด เปน ภาษา คน ได้ นั้น, รูป ร่าง เช่น นก เอี้ยง นั้น.

--- Page 328 ---
      นก สับ (328:14.53)
               คือ นก คาบ สีลา ที่ เขา ทำ ไก ใส่ ไว้ สำหรับ ยิง ปืน, ลั่น สับ ลง นั้น.
      นก หงษ์ (328:14.54)
               คือ นก อย่าง หนึ่ง, ย่อม หา กิน ใน น้ำ, ได้ ยิน ว่า อยู่ ป่า หิมพานต์, เช่น ห่าน.
      นก หัษดี ลึงค์ (328:14.55)
               คือ นก ใหญ่ อย่าง หนึ่ง, มี อาการ มี เพท เช่น ช้าง, มัน ย่อม จับ ข้าง กิน.
      นก หก (328:14.56)
               คือ นก ตัว เล็ก ๆ ฃน เขียว, ปาก มัน เหลือง, มัน อยู่ ใน กรง มัก โหน หก เล่น นั้น.
      นก หัว ขวาน (328:14.57)
               คือ นก อย่าง หนึ่ง ตัว ลาย ๆ เล็ก, ปาก มัน คม แขง ด้วย, สับ ไม้ ได้ เหมือน อย่าง ขวาน.
      นก อี โก้ง (328:14.58)
               คือ นก อย่าง หนึ่ง มี หงอน เหมือน ไก่ นั้น, มัน ย่อม อาไศรย อยู่ ใน ป่า บัว หลวง ที่ ทุ่ง นา นั้น.
      นก อีแอ่น (328:14.59)
               คือ นก อย่าง หนึ่ง ตัว ดำ ๆ เล็ก ๆ นั้น, เช่น นก อีแอ่น ที่ เขา เอา รัง มา ต้ม กิน.
      นก อีลุ้ม (328:14.60)
               คือ นก อย่าง หนึ่ง ตัว โต เท่า ไก่, อยู่ ตาม ชาย ทุ่ง ชาย ป่า, เช่น นก อีลุ้ม ที่ ท้อง นา.
      นก ออก (328:14.61)
               คือ นก อย่าง หนึ่ง* ตัว โต เท่า กับ แร้ง, จะงอย ปาก เหมือน แร้ง, กิน ตา ปลา แล พุง ปลา ดิบ.
      นก อังชัน (328:14.62)
               คือ นก อย่าง หนึ่ง ตัว ไม่ สู้ โต นัก อยู่ ตาม ชาย ทุ่ง นั้น, เช่น นก เป็ด น้ำ.
      นก เอี้ยง (328:14.63)
               คือ นก อย่าง หนึ่ง ตัว ดำ ปาก เหลือง นั้น, เช่น นก สาลิกา นั้น.
      นก อ้ายงั่ว (328:14.64)
               คือ นก อย่าง หนึ่ง ตัว ดำ ๆ, หา กิน ใน น้ำ กิน ปลา ดิบ, เช่น นก กาน้ำ.
นัก (328:1)
         คือ ความ ที่ มาก ฤๅ ยิ่ง นั้น, เช่น คน ทำ การ นัก, ฤๅ พูด มาก นัก, กิน มาก นัก นั้น.
      นักการ (328:1.1)
               คือ เจ้า ของ การ นั้น, เช่น นักการ ไพร่ หลวง สุรัสว- ดี นั้น.
      นักขา (328:1.2)
               ว่า เล็บ นั้น, เช่น เล็บ มือ, เล็บ ท้าว นั้น.
      นักขัดตะฤกษ์ (328:1.3)
               คือ ดวง ดาว ที่ ประจำ ราศรี, ฤๅ การ เล่น เปน คราว ๆ ตาม ทำเนียม นั้น, เช่น ตรุศ สงกรานต์ นั้น.
      นัคะรา* (328:1.4)
               ฯ แปล ว่า เมือง.
      นัก เทศ (328:1.5)
               คือ เจ้ากู ผู้ แสดง ธรรม คำ สั่งสอน นั้น, เช่น พวก นักเทศ ธรรมวัตต์ นั้น.
      นัก เทศ ขันที (328:1.6)
               คือ คน พวก กะเทย ที่ สำหรับ ใช้ ราชการ อยู่ ฝ่าย ใน พระราช วัง, เช่น นักเทศ ขันที แต่ บูราณ.
      นักโทษ (328:1.7)
               คือ อ้าย พวก คน ชั่ว ทั้ง ปวง นั้น, เช่น พวก นักโทษ ใน คุก นั้น.
      นัก ธรรม (328:1.8)
               คือ เจ้า พวก คน ซื่อสัจ, คน รู้ ธรรม นั้น, เช่น พวก นักปราช* จริง ๆ
      นัก หนา (328:1.9)
               คือ ของ ทั้ง ปวง ที่ มาก กว่า มาก นั้น, เช่น คำ เขา พูด กัน ว่า ของ มาก นักหนา.
      นัก บุญ (328:1.10)
               คือ เจ้า พวก คน ที่ ชำระ ใจ ให้ บริสุทธิ นั้น, เช่น พระ อริยะ เจ้า ที่ ไม่ โลภ ไม่ โกรธ ไม่ หลง.
      นัก ปราชู (328:1.11)
               คือ เจ้า พวก คน ฉลาด รู้ รอบ รู้ ทั่ว นั้น, เช่น เจ้า บัณฑิตย์ ผู้ มี ปัญา นั้น.
      นัก เรียญ (328:1.12)
               คือ เจ้า พวก คน ที่ มัก เรียญ วิชา ต่าง ๆ นั้น, เช่น พวก ปเรียญติ์ นั้น.
      นักแร้ (328:1.13)
               คือ อะใวยะวะ ใน กาย คน ที่ ใต้ แขน ทับ ลง ไป นั้น, ที่ ขน นักแร้ ขึ้น.
      นักเลง (328:1.14)
               คือ เจ้า พวก ที่ มัก เล่น การ พะนัน ต่าง ๆ นั้น, เช่น พวก นักเลง ไก่, นักเลง เบี้ย.
      นักเลง ไก่ (328:1.15)
               คือ เจ้า พวก ที่ มัก เลี้ยง ไก่ ไว้ ชน พะนัน นั้น, เช่น พวก นักเลง ชน ไก่.
      นักเลง นก (328:1.16)
               คือ เจ้า พวก ที่ เลี้ยง นก ไว้ ชน พะนัน กัน นั้น, เช่น นักเลง ชน นก เขา.
      นักเลง เบี้ย (328:1.17)
               คือ เจ้า พวก ที่ เล่น เบี้ย พะนัน กัน นั้น, เช่น นักเลง กำตัด, นักเลง ถั่ว.
      นักเลง ถั่ว (328:1.18)
               คือ เจ้า พวก กำเบี้ย เล่น ที่ บ่อน ถั่ว นั้น, เช่น นัก เลง แทง ถั่ว.
      นักเลงโป (328:1.19)
               คือ เจ้า พวก ที่ เล่น โป นั้น, เช่น พวก นักเลง แทง โป ฤๅ เจ้า มือ โป.
      นักเลง เล่น การ พะนัน (328:1.20)
               คือ เจ้า พวก ที่ เล่น การ พะนัน ต่าง ๆ นั้น, เช่น พวก เล่น กงพัด ัน*ห่วง.
      นักเลง สุรา (328:1.21)
               คือ พวก นักเลง กิน เล่า นั้น, เช่น พวก นักเลง ขี้ เมา.
      นักเลง สะกา (328:1.22)
               คือ พวก เล่น สะกา พะนัน นั้น, เช่น พวก นัก เลง สะแก.

--- Page 329 ---
      นัก สิทธิ์ (329:1.23)
               คือ คน เปน ฤๅษี มุนี เปน นักปราช* ถือ บวช นั้น.
      นัก สนม (329:1.24)
               คือ นาง สนม แห่ง พระ มหา กระษัตริย์, เช่น เจ้า จอม มารดา.
      นัก สวด (329:1.25)
               คือ พระสงฆ์ เปน ผู้ นัก สวด นั้น, เช่น พวก สวด มหาไชย์, แล มาไลย.
หนัก (329:1)
         คือ ของ ที่ ไม่ เบา นั้น, เช่น ก้อน หิน หนัก. ฤๅ โทษหนัก.
      หนัก ใจ (329:1.1)
               คือ ความ นึก ใน ใจ ว่า, เรา เจ็บ ครั้ง นี้ จะ ตาย เสีย ดอก กระมัง.
      หนัก หนา (329:1.2)
               คือ ของ ที่ ไม่ เบา ไม่ บาง นั้น, เช่น ของ ที่ หนัก แล้ว หนา ด้วย.
      หนัก ตัว (329:1.3)
               คือ ตัว หนัก ลง, เพราะ แรง น้อย ถอย กำลัง, ภา ตัว ไม่ ใคร่ ไหว
      หนัก แน่น (329:1.4)
               คือ ของ ที่ หนัก แล้ว แน่น ด้วย นั้น*, เช่น แผ่น ดิน ฤๅ ใจ หนัก แน่น.
      หนัก นัก* (329:1.5)
               คือ ของ ที่ หนัก ทวี คูณ เปน สอง เท่า นั้น.
      หนัก มือ (329:1.6)
               คือ คน ทั้ง ปวง ที่ มือ หนัก นั้น, เช่น คน มือ ไม่ เบา.
      หนัก แรง (329:1.7)
               คือ ของ หนัก ทับ กำลัง นั้น, เช่น การ ที่ รับ ธุระ แทน คน อื่น ด้วย.
      หนัก อยู่ (329:1.8)
               คือ ความ ที่ อยู่ ไม่ เบา นั้น, เช่น เขา พูด ถึง คน ที่ มี สี มือ ว่า สน นั้น มือ หนัก อยู่.
      หนัก อก (329:1.9)
               คือ ของ หน้า ทับ อก ลง. อนึ่ง* ความ ที่ เหลือ คิด เหลือ แก้ ไข, เช่น* คิด หนัก ใจ.
นาก (329:2)
         คือ คน เอา ทอง แดง บริสุทธิ์ ระคน ปน กับ ทอง คำ นั้น, เช่น คน ทำ นาก, เอา ทอง แดง หนัก สาม ส่วน ทอง คำ ส่วน หนึ่ง ผะสม กัน เข้า.
      นาก กิน ปลา (329:2.1)
               คือ สัตว์ สี่ ท้าว ตัว ลาย ๆ อย่าง ชะมด นั้น.
นาค (329:3)
         เปน ชื่อ งู ใหญ่ อย่าง หนึ่ง มี ฤทธิ์ มาก, แปลง รูป ได้, เหาะ ก็ ได้.
      นาค พิภพ (329:3.1)
               คือ ที่ บาดาล เปน ที่* อยู่ แห่ง หมู่ นาค, ว่า มี อยู่ ใต้ ดิน กว้าง นับ ด้วย โยชน์ นั้น.
      นาค ราช (329:3.2)
               คือ พญา นาค, เช่น เรื่อง ภูริทัต บรมโพธิสัตว์ ใน ชาฎก.
นึก (329:4)
         คิด, รำพึง, คือ ความ ตำหริ, ความ ระฦก, ความ ตฤก ตรอง, ความ คิด ใน ใจ นั้น.
      นึก กริ่ง (329:4.1)
               คือ ความ ที่ คิด ระแวง, คิดแคลง, คิด สงไสย ใน ใจ นั้น, เช่น คน นึก กริ่ง ไม่ ไว้ ใจ ทาง ไม่ วาง ใจ คน.
      นึก เกรง (329:4.2)
               คือ ความ นึก ครั่น คร้าม นึก กลัว นั้น, เช่น คน นึก ขยาด, นึก เกรง ใจ เขา.
      นึก กรึก กรอง (329:4.3)
               คือ ความ* นึก รำ พึง ใน ใจ ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น.
      นึก โกรธ (329:4.4)
               คิดโกรธ, คือ ความ ที่ นึก ขัด เคือง, นึก เดือด ใน ใจ เปน ต้น นั้น.
      นึก เกลียด (329:4.5)
               คิด เกลียด, คิด ชัง, คือ ความ ที่ นึก สะอิด สะ เอียน นั้น, เช่น คน นึก เกลียด ของ โศโครก.
      นึก กลัว (329:4.6)
               คิด เกรง, คือ ความ ที่ นึก คร้าม นั้น, เช่น คน ขี้ ขลาด กลัว ผี หลอก.
      นึก ขัน (329:4.7)
               คือ คน นึก ถึง ความ สิ่ง ใด ๆ ที่ น่า หัว เราะ
      นึก ขึ้น ได้ (329:4.8)
               คีด ขึ้น ได้, คือ ความ ที่ ระฦก ขึ้น ได้ นั้น.
      นึก จำ ได้ (329:4.9)
               คิด จำ ได้, คือ ความ ที่ ระฦก จำ ได้ อยู่ นั้น, เช่น คน นึก ถึง เรื่อง ราว เก่า แก่ จำ ได้ ไม่ ลืม.
      นึก ได้ (329:4.10)
               คิด ได้, คือ ความ ที่ ระฦก ได้ ไม่ หลง ลืม นั้น,
      นึก แต่ ใน ใจ (329:4.11)
               ตรึก ตรอง ใน ใจ, คือ ความ ที่ ระฦก ตรึก ตรอง อยู่ แต่ ใน ใจ นั้น,
      นึก ถึง (329:4.12)
               ตรึก ถึง, คิด ถึง*, คือ ความ ที่ ระฦก ถึง เหตุ ผล ต่าง ๆ นั้น,
      นึก ปอง (329:4.13)
               คิด หมาย, คิด ปอง, คือ ความ ที่ ระภก หมาย ไว้ ใน ใจ นั้น, เช่น คน ผูก เวร นึก ปอง ทำร้าย กัน.
      นึก หยาก (329:4.14)
               คิด หยาก, คือ ความ ที่ ระฦก ทยาน ใจ ปราถนา จะ ใคร่ ได้ นั้น.
      นึก รักษ (329:4.15)
               คิด รักษ, นึก เสน่หา, คือ ความ ที่ คิด เสน่หา อาไลย นั้น, เช่น คน นึก รักษ ลูก รักษ เมีย เปน ต้น.
      นึก ไว้ (329:4.16)
               คือ ความ ที่ คิด ระฦก ตรึก ตรอง ไว้ นั้น, เช่น ผูก เวร หมาย มั่น กัน นึก ไว้ ไม่ ลืม เปน ต้น.
      นึก สงไสย (329:4.17)
               คือ ความ ที่ คน คิด สง ไสย ใน ใจ ต่าง ๆ นั้น, เช่น คน ทรัพย์ สิ่ง ของ หาย, นึก สง ไสย คน โน้น คน นี้ เปน ต้น.

--- Page 330 ---
      นึก เหน แล้ว (330:4.18)
               คือ ความ ที่ คน คิด เหน ใน ใจ แล้ว นั้น, เช่น พระ โยคาว จร นึก เหน แล้ว, ว่า สรรพ สัง ขาร ทั้ง ปวง ไม่ เที่ยง เปน ต้น.
      นึก หัว เราะ (330:4.19)
               คือ คน นึก ถึง ความ ที่ ขัน ๆ แล้ว หัว เราะ นั้น,
      นึก เอา (330:4.20)
               คือ คิด เอา, ตรึก เอา, เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง ตาม ใจ ตัว นั้น.
      นึก ออก (330:4.21)
               คือ ความ ที่ คน นึก ตรึก ตรอง ออก ได้ นั้น, เช่น สิ่ง ของ ที่ หลง ลืม ไป แล้ว นึก ออก ได้ เปน ต้น.
      นึก อดสู (330:4.22)
               คือ ความ ที่ คน คิด บัดษี ใน ใจ นั้น, เช่น คน ทำ ความ ชั่ว ไว้ เขา รู้ เข้า นึก อดสู.
      นึก อาย (330:4.23)
               คือ ความ ที่ คน คิด อัปยศ อด สู นั้น, เช่น คน ดี ไป ทำ ความ ชั่ว* นึก อาย เขา เปน ต้น นั้น.
หนึก (330:1)
         คือ ของ ที่ เหนียว หย่าง หนึ่ง นั้น, เช่น คน เคี้ยว ขี ผึ้ง ติด ฟัน หนึก. ๆ
โหนก (330:2)
         นอ ขึ้น, บวม, คือ อาการ ที่ บวม โป เปน หน่วย ขึ้น นั้น, เช่น คน หน้า เปน โหนก หฤๅ นอ แรด.
หนอก (330:3)
         คือ อะไวยวะ แห่ง หนึ่ง, ตั้ง อยู่ เหนือ ที่ ลับ ขึ้น มา จต ท้อง น้อย นั้น, เช่น หนอก ชาย หญิง ทั้ง ปวง.
นอก (330:4)
         คือ ของ ที่ มิ ใช่ ใน นั้น, เช่น คำ ว่า ข้าง นอก, ภาย นอก, นอก บ้าน.
      นอก กว่า (330:4.1)
               คือ ของ ที่ นอก จาก สิ่ง นั้น สิ่ง นั้น.
      นอก เขตร์ (330:4.2)
               คือ ที่ นอก แดน, มี แดน เมือง เปน ต้น.
      นอก คอก (330:4.3)
               นอก เล้า, คือ ของ ที่ มิ ไช่ ใน คอก ใน เล้า นั้น.
      นอก ความ (330:4.4)
               นอก เรื่อง ราว, คือ เรื่อง ราว ทั้ง ปวง ที่ มี อยู่ นอก ความ ที่ เขา ฟ้อง หา นั้น, เหมือน ความ นอก ปะเด็น.
      นอก ใจ (330:4.5)
               คือ มิ ใช่ ใน ใจ นั้น, เช่น เมีย นอก ใจ ผัว, ลูกนอก ใจ พ่อ แม่ นั้น.
      นอก จำ นวน (330:4.6)
               คือ ฃอง ท่าน กำหนฎ ไว้ ว่า สิบ ฤๅ ร้อย เปน ต้น แล มี ของ เกิน ออก ไป นั้น.
      นอก จาก (330:4.7)
               นอก แต่, คือ นอก แต่ คน เหล่า นี้ นั้น, เช่น คำ ว่า นอก จาก คน เหล่า นี้ เรา ให้ แล้ว.
      นอก จ้าว (330:4.8)
               นอก นาย, คือ มิ ใช่ ใน จ้าว นั้น, เช่น คำ ว่า ข้า นอก จ้าว, เข้า นอก ม่อ, ไม้ นอก กอ.
      นอก ชาน (330:4.9)
               คือ มิ ใช่ ใน ชาน นั้น. เช่น นอก ชาน ที่ เขา ทำ เปน พื้น กลาง แจ้ง ต่อ เรือน ออก ไป.
      นอก แต่ (330:4.10)
               นอก จาก, คือ นอก จาก พวก เหล่า นี้ นั้น, เช่น คำ ว่า นอก แต่ พวก เหล่า นี้ ไม่ มี
      นอก ทาง (330:4.11)
               นอก ทุ่ง, นอก หน้า, นอก นั้น, นอก เนื้อ, นอก บาญชี, นอก บ้าน, นอก เรือน, นอก แบบ, นอก แผน, นอก อย่าง, นอก พ่อ, นอก แม่.
      นอก เมือง (330:4.12)
               คือ ของ อยู่ ผ่าย นอก กำแพง เมือง นั้น,
      นอก รีด (330:4.13)
               นอก ทาง, คือ คน ที่ ไม่ เข้า ใน รีด นั้น, เช่น คน นอก รีด, คน ไม่ เข้า รีด นั้น.
      นอก สาศนา (330:4.14)
               นอก คำ สอน, คือ นอก คำ สั่ง สอน นั้น, เช่น คน ที่ ไม่ ประพฤษดิ์ ตาม คำ สั่ง สอน.
      นอก เสศ (330:4.15)
               คือ ของ มี นอก กำหนฎ เหลือ อยู่ นั้น,
      นอก เหตุ (330:4.16)
               คือ มิ ใช่ ใน เหตุ นั้น, เช่น ความ ทั้ง ปวง ที่ มี มา นอก เหตุ.
หนวก (330:5)
         หนัก, ตึง คือ ความ ที่ ไม่ ได้ ยิน ฤๅ ยิน ไม่ ใด้ นั้น, เช่น คน หู หนวก, ไม่ ได้ ยิน เสียง.
      หนวก หู (330:5.1)
               รำคาน หู, คือ เสียง แซ่ เซ็ง ฟัง ไม่ ได้ ศรัปท์ นั้น, เช่น เสียง อื้อ อึง หนวก หู.
นง คราญ (330:6)
         คือ หญิง รูป งาม สอาด ทั้ง ปวง นั้น, เช่น นาง ฝ่ายใน ฤๅ นาง ฟ้า นาง สวรรค์.
      นงค์ เยาว์ (330:6.1)
               คือ หญิง อายุ ตั้ง อยู่ ใน ปะถมะไวย นั้น,
      นงนุช (330:6.2)
               คือ หญิง รูป งาม ฤๅ น้อง สาว นั้น, เช่น คำ ว่า นงค์ นุช สุด สวาศ.
      นั่ง (330:6.3)
               คือ อิริยาบถ อัน หนึ่ง, ไม่ ยืน, ไม่ เดิร, ไม่ นอน นั้น, เช่น คน นั่ง ขัด ตมาด นั่ง เก้าอี้.
      นั่ง ขัดตมาด (330:6.4)
               อาการ ที่ นั่ง คู้ขา เปน บันลังค์ อยู่ นั้น, เช่น พุทธ รูป นั่ง สะมาธิ อยู่ นั้น.
      นั่ง ใกล้ (330:6.5)
               คือ นั่ง ไม่ ไกล ไม่ ห่าง นั้น,
      นั่ง คอย (330:6.6)
               คือ นั่ง ท่า นั้น เอง, เช่น คน นั่ง คอย ท่า จะ ให้ ภบ กัน นั้น.
      นั่ง เหงา (330:6.7)
               คือ นั่ง ง่วง อยู่ คน เดียว นั้น, เช่น ลูก นี่ ที่ เฃา เกาะ เอา มา นั่ง เหงา อยู่.

--- Page 331 ---
      นั่ง โงก (331:6.8)
               คือ นั่ง โยก ไป โยก มา นั้น, เช่น คน หาว นอน นั่ง โงก อยู่.
      นั่ง ง่วง (331:6.9)
               คือ นั่ง เหงา อยู่ นั้น, เช่น คน มัว นอน นั่ง ง่วง อยู่ เปน ต้น นั้น.
      นั่ง แหงน (331:6.10)
               คือ นั่ง เงย หน้า อยู่ นั้น, เช่น คน นั่ง แหงน ดู ดาว.
      นั่ง หงอย (331:6.11)
               คือ นั่ง เหงา อยู่ นั้น, เช่น คน มี ทุกข์ มาก นั่ง หงอย อยู่.
      นั่ง บำเพ็ญ (331:6.12)
               คือ คน นั่ง นึก ถึง ความ ดี ให้ บังเกิด เต็ม ขึ้น ใน ใจ,
      นั่ง โป่ง (331:6.13)
               คือ อาการ ที่ พวก พราน ป่า ไป นั่ง คอย ยิง หมู่ สัตว์ มา กิน โป่ง นั้น,
      นั่ง พับ เพียบ (331:6.14)
               คือ นั่ง พับพะแนงเชิง นั้น, เช่น พวก ชาว ใน พับ เพียบ ฟัง ธรรม.
      นั่ง พับ พะแนงเชิง (331:6.15)
               คือ นั่ง พับเพียบ นั้น, เช่น พวก ผู้ หญิง นั่ง ฟัง เทษ.
      นั่ง เมือง (331:6.16)
               คือ การ ที่ ได้ เสวยราช เปน เจ้า เมือง นั้น, เช่น พระ มหา กระษัตรีย์ เสด็จ ออก ว่า ราช การ เมือง.
      นั่ง หย่อง ยอง (331:6.17)
               คือ อาการ ที่ นั่ง ตั้ง เข่า ทั้งสอง ข้าง, ก้น ไม่ ลง ถึง พื้น นั้น.
      นั่ง ราบ (331:6.18)
               คือ นั่ง ลง ราบ เสมอ กับ พื้น นั้น, เช่น คน นั่ง ราบ ขัดดมาด ไม่ หย่อง ยอง เปน ต้น.
      นั่ง ร่ม (331:6.19)
               คือ ไม่ นั่ง ใน ที่ แจ้ง กลาง แดด นั้น, เช่น คน นั่ง ใน ร่ม, ใน กุด ฤๅ นั่ง ร่ม ไม้ ชาย คา เปน ต้น.
      นั่ง ร้าน (331:6.20)
               นั่ง ลง, นั่ง ล่าง, นั่ง ล้อม, นั่ง* ล้อม วง.
      นั่ง ไหว้ (331:6.21)
               คือ นั่ง ลง แล้ว ยก มือ ขึ้น ไหว้ นั้น, เช่น พวก สัปรุษ นั่ง ไหว้ พระ เปน ต้น นั้น
      นั่ง สะมาธิ (331:6.22)
               คือ นั่ง ขัด ตมาด เปน บันลังก์, เอา มือ วาง ซ้อน กัน นั้น, เช่น พระ พุทธรูป นั่ง สะมาธิ เปน ต้น.
หนัง (331:1)
         เปน ชื่อ ของ ที่ สำหรับ หุ้ม กาย อยู่ ภาย นอก นั้น, เช่น หนัง* กำพร้า นั้น.
      หนัง ไก่ (331:1.1)
               คือ หนัง ที่ หุ้ม เนื้อ ไก่ อยู่ นั้น, เช่น แพร หนัง ไก่, ฤๅ หนัง ไก่ จริง ๆ เปน ต้น.
      หนัง กำพร้า (331:1.2)
               คือ ผิว บาง ๆ ภาย นอก ที่* หุ้ม หนัง อยู่ นั้น, เช่น หนัง กำพร้า คน
      หนัง เกือก (331:1.3)
               คือ หนัง ที่ เขา ทำ เกือก แล้ว นั้น, เช่น หนัง เกือก ที่ เขา ทำ ด้วย หนัง ฟอก.
      หนัง แกะ (331:1.4)
               คือ หนัง ที่ หุ้ม ตัว แกะ นั้น,
      หนัง แขก (331:1.5)
               คือ หนัง ที่ สลัก เปน รูป ต่าง ๆ ของ พวก แขก นั้น, เช่น หนัง ที่ แขก เล่น เพลา ค่ำ.
      หนัง ค่าง (331:1.6)
               คือ หนัง ที่ หู้ม ตัว ค่าง นั้น, เช่น หนัง ค่าง ที่ ใส่ หัว ตลก.
      หนัง จีน (331:1.7)
               คือ หนัง ที่ พวก เจ๊ก สลัก เปน รูป ต่าง ๆ นั้น, เช่น หนัง จีน ที่ เล่น เพลา กลาง คืน.
      หนัง ฉะมด (331:1.8)
               หนัง ช้าง, หนัง ซาย, หนัง ตีน, หนัง ตุ่น, หนัง ท้อง, หนัง ท้าว, หนัง นก, หนัง หนู, หนัง เนื้อ
      หนัง บาง (331:1.9)
               คือ หนัง ที่ ไม่ หนา นั้น, เช่น หนัง บาง เปน หนัง แกะ หนัง แพะ เปน ต้น นั้น.
      หนัง เปื่อย (331:1.10)
               หนัง ปอก, คือ หนัง ถลก ลอก ไป เปน ต้น, เช่น หมู ลวก น้ำ ร้อน ปอก ไป นั้น.
      หนัง ฟอก (331:1.11)
               หนัง ม้า, หนัง หมา, หนัง หมี, หนัง หมู, หนัง แรด, หนัง ลา.
      หนัง หวะ (331:1.12)
               คือ หนัง ที่ เปื่อย หวะ ไป นั้น, เช่น หนัง คน ที่ เปน มะเรง.
หนังสือ (331:2)
         คือ อักษร ที่ เขียน เปน ตัว ๆ นั้น, เช่น หนังสือ ไทย หนังสือ ขอม, หนังสือ อังกฤษ.
      หนังสือ ลับ (331:2.1)
               คือ หนังสือ เขา เขียน เปน กล แยบ คาย, แล ส่ง ให้ กัน ไป โดย ความ ซ่อน ไม่ ให้ ใคร่ รู้ ไป.
      หนังสือ ฃอม (331:2.2)
               คือ หนังสือ พวก เมือง ฃอม, หนังสือ พวก เขมร นั้น.
      หนังสือ เฉียง (331:2.3)
               เปน รูป อักษร บูราณ อย่าง หนึ่ง นั้น.
      หนังสือ ไทย (331:2.4)
               คือ อักษร ไทย นั้น, หนังสือ ที่ พวก ไทย ใช้ เขียน เรื่อง ราว ต่าง ๆ เปน ต้น.
      หนังสือ ย่อ (331:2.5)
               คือ ตัว อักษร มี เส้น ไม่ ตรง คด ค้อม ไป.
      หนังสือ กรม (331:2.6)
               คือ หนังสือ ที่ เขา เขียน ไว้ ให้ แก่ เจ้า ของ เงิน ผู้ ให้ กู้ เปน ต้น.
หนัง เสือ (331:3)
         หนัง หัว, หนัง อูฐ.
นาง (331:4)
         เทวี, อะนงค์, คือ เปน ชื่อ หญิง ที่ เปน ใหญ่ นั้น, เช่น นาง จ้าว นาง พยา ทั้ง หลาย นั้น.

--- Page 332 ---
      นาง แก้ว (332:4.1)
               คือ หญิง ที่ เปรียบ เหมือน อย่าง แก้ว นั้น, เช่น นาง แก้ว ของ พยา จักร์.
      นาง กระษัตร์ (332:4.2)
               คือ หญิง ที่ เปน เชื้อ วงษ์ กระษัตร์, เหมือน จ้าว วิลาศ นั้น.
      นาง คราญ (332:4.3)
               คือ หญิง ที่ รูป งาม ดู สอาด นั้น, เช่น นาง ฟ้อน นั้น.
      นาง ค่อม (332:4.4)
               นาง เตี้ย, คือ หญิง ที่ แคระ เตี้ย เล็ก ๆ นั้น, เช่น หญิง ค่อม ใน พระราชวัง นั้น.
      นาง คำนัล (332:4.5)
               คือ นาง ฝ่าย ใน นั้น, เช่น จอม จ้าว ท้าว นาง นั้น.
      นาง จรัล (332:4.6)
                คือ นาง หนุ่ม ที่ เที่ยว ดำเนิน ไป นั้น.
      นาง ชี (332:4.7)
               คือ หญิง ที่ ถือ บวช นุ่ง ผ้า ขาว ห่ม ผ้า ขาว นั้น, เช่น พวก รูป ชี นั้น.
      นาง ท้าว (332:4.8)
               นาง พญา, คือ ขุนนาง ผู้ หญิง ฝ่าย ใน นั้น, เช่น ท้าว วรจรร ท้าว ศรี สัจจา นั้น.
      นาง นักสนม* (332:4.9)
               นาง กำนัล, คือ เจ้าจอม ฝ่าย ใน นั้น, เช่น เจ้า จอม อยู่ งาน นั้น.
      นางนูน (332:4.10)
               คือ เปน ชื่อ ผัก อย่าง หนึ่ง ต้น มัน เปน เถา เลื้อย ขึ้น ต้น ไม้ อื่น อยู่ ป่า ข้าง ท่า เรือ ชุม.
      นาง ใน (332:4.11)
               คือ นาง ฝ่าย ใน นั้น, เช่น จ้าว จอม ใน พระราชวัง นั้น.
      นางนวน (332:4.12)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, มัน อยู่ ป่า ทะเล บ้าง ทุ่ง นา บ้าง.
      นาง เทพธิดา (332:4.13)
               นาง สวรรค์, นาง ฟ้า, คือ นาง เทวธิดา นั้น, เช่น นาง ฟ้า นาง สวรรค์.
      นาง พญา (332:4.14)
               นาง อับษร, คือ นาง กระษัตร์ นั้น, เช่น พระ ราช ธิดา นั้น.
      นาง ฟ้า (332:4.15)
               คือ นาง สวรรค์ นั้น, เช่น นาง เทพธิดา นั้น.
      นาง ภิกขุนี (332:4.16)
               คือ หญิง แต่ ก่อน บวช เปน พระ ภิขุนี สงฆ์ นั้น.
      นางไม้ (332:4.17)
               โขมด, คือ นาง เทวธิดา ที่ สิง อยู่ ที่ ต้นไม้ ใน ป่า นั้น, เช่น นาง ตะเคียน ต้น
      นาง ฟ้อน (332:4.18)
               นาง รำ, นาง ระบำ, คือ นาง ระบำ นั้น, เช่น พวก ละคอน ผู้ หญิง นั้น.
      นาง สนม (332:4.19)
               นาง กำนัล, จอม นาง, คือ นาง ฝ่าย ใน นั้น, เช่น พวก เจ้า จอม ฝ่าย ใน นั้น.
      นาง สวรรค์ (332:4.20)
               นาง ฟ้า, นาง เทวธิดา, คือ นาง ฟ้า นั้น, เช่น นาง เทวธิดา ใน เมือง สวรรค์
      นาง ห้าม (332:4.21)
               นาง ใน, สนม, คือ นาง ฝ่าย ใน นั้น, เช่น พวก เจ้า จอม มารดา นั้น.
      นาง อรรบษร (332:4.22)
               นาง สวรรค์, นาง ฟ้า, คือ นาง ฟ้า นั้น, เช่น นาง เทพธิดา นาง สวรรค์ นั้น
      นาง เอก (332:4.23)
               คือ นาง ที่ เลิศ เปน หนึ่ง นั้น, เช่น นาง เอก พวก ละคอน.
      นาง แย้ม (332:4.24)
               คือ ต้น ดอก ไม้ อย่าง หนึ่ง, ต้น ไม่ สู้ โต ดอก คล้าย กัน กับ ดอก มะลิ กลิ่น ดี นัก.
นิ่ง (332:1)
         เฉย, คือ ไม่ หวั่น ไหว ไม่ ซุก ซน นั้น, เช่น คน ที่ ไม่ กระสับ กระส่าย เฉย ๆ อยู่.
      นิ่ง กิน (332:1.1)
               ซ่อน กิน, เฉย กิน, คือ คน กิน เฉย ๆ ไม่ เที่ยว ไป ข้าง โน้น ข้าง นี้, เช่น คน ซ่อน ของ กิน นิ่ง ๆ อยู่ นั้น.
      นิ่ง ขึง (332:1.2)
               ตั้ง ปึ่ง, ทำ ปั้น ปึ่ง, คือ อาการ เฉย ๆ ไม่ เลาะ และ นั้น, เช่น* คน ขึง เชือก นิ่ง อยู่
      นิ่ง ความ (332:1.3)
               กด ความ, สงบ ความ, คือ ไม่ ให้ ความ แพร่ง พราย อือ อึง ไป นั้น, เช่น คน กด ความ นิ่ง ไว้.
      นิ่ง เงียบ (332:1.4)
               สงบ เงียบ, สงัด เงียป, คือ เฉย อยู่ ไม่ อื่อ อึง นั้น, เช่น คน นิ่ง อยู่ ใน ที่ เร้น ที่ สงัด เงียบ.
      นิ่ง จำ (332:1.5)
               สงบ กำหนฎ, คือ การ กำหนฎ นิ่ง ไว้ ใน ใจ นั้น. เช่น คน ดู หนังสือ นิ่ง จำ ไว้ ใน ใจ.
      นิ่ง เฉย (332:1.6)
               สงบ อยู่ ไม่ วุ่น วาย, คือ นิ่ง เปน ปรกติ อยู่ ไม่ วุ่น วาย นั้น, เช่น คน มี จิตร์ เปน อุเบกขา.
      นิ่ง เซอะ (332:1.7)
               ซึม เซา อยู่, คือ นิ่ง ซึม เซา อยู่ นั้น, เช่น คน เมา คันชา นั้น,
      นิ่ง เดือด (332:1.8)
               นิ่ง โกรธ, นึก โกรธ, คือ การ นิ่ง โกรธ อยู่ ใน ใจ นั้น, เช่น คน นิ่ง เคือง ไว้ ใน ไจ.
      นิ่ง ตรึก (332:1.9)
               นิ่ง ตรอง, นิ่ง เถิด, นิ่ง ทำ, นิ่ง* แน่, นิ่ง นึก.
      นิ่ง แหนง (332:1.10)
               นึก แคลง, คิด รแวง, คือ คน แคลงใจ นิ่ง อยู่ นั้น, เช่น คน คิด ระแง สง ไสย นิ่ง อยู่.
      นิ่ง ปึ่ง (332:1.11)
               นิ่ง ตึง, คือ นิ่ง ทำ หน้า บึ่ง อยู่ นั้น, เช่น คน ทำ หน้า โกรธ ฤๅ หน้า ตื่น นอน นั้น.
      นิ่ง มา (332:1.12)
               เฉยมา, สงบ มา, คือ อาการ ที่ เฉย ๆ มา นั้น, คน เดิน นิ่ง ๆ มา ไม่ ได้ บอก กล่าว ผู้ ใด เปน ต้น นั้น.

--- Page 333 ---
      นิ่ง อยู่ (333:1.13)
               เฉย อยู่, สงบ อยู่, คือ อยู่ นิ่ง ๆ เฉย ๆ นั้น, เช่น คน ค่อยนิ่ง ค่อย อยู่ ไม่ ดิ้น รน เปน ต้น นั้น.
      นิ่ง แล้ว (333:1.14)
               สงบ แล้ว, เฉย แล้ว, คือ นิ่ง เสีย แล้ว เฉย เสีย แล้ว นั้น, เช่น คน ร้องไห้ นิ่ง แล้ว เปน ต้น นั้น.
      นิ่ง ไว้ (333:1.15)
               เฉย ไว้, สงบ ไว้, คือ นิ่ง สงบ ไว้ ไม่ แพร่ง พราย นั้น, เช่น คน นิ่ง ความ ไว้ ใน ใจ เปน ต้น นั้น.
      นิ่ง เสีย (333:1.16)
               เฉย เสีย, สงบ เสีย, คือ การ ที่ นิ่ง ละ ไว้ นั้น, เช่น คน เขา ห้าม กัน ว่า* นิ่ง เสีย เถิด เปน ต้น นั้น.
      นิ่ง อด (333:1.17)
               นิ่ง ทน, สงบ กลั้น, คือ การ ที่ นิ่ง อด กลั้น ความ ทุกข ความ ศุข นั้น, เช่น คน ถือ ขัน ตี เปน ต้น นั้น.
      นิ่ง อาย (333:1.18)
               นิ่ง อดสู, นิ่ง บัดสี, คือ การ ที่ นิ่ง อาย อยู่ ใน ใจ นั้น, เช่น คน นิ่ง อาย ที่ ตัว ทำ ความ ชั่ว ต่าง ๆ ไว้ นั้น.
นึ่ง (333:1)
         คือ ทำ ให้ ของ กิน สุก ด้วย อาย ร้อน ต่าง ๆ, เช่น คน เอา หวด ตั้ง ขึ้น บน ปาก ม่อ, แล้ว นึ่ง ไก่ นึ่ง เข้าเหนียว นึ่ง ขนม นึ่ง ปลา เปน ต้น นั้น.
      นึ่ง ไก่ (333:1.1)
               คือ คน เอา ไก่ นึ่ง ให้ สุก นั้น, เช่น คน นึ่ง ปลา นึ่ง ขนม ต่าง ๆ.
      นึ่ง เข้าเหนียว (333:1.2)
               คอ คน เอา เข้าเหนียว ใส่ หวด ลง แล้ว ตั้ง บน เตาไฟ ทำ ให้ สุก นั้น, เช่น นึ่ง ขนม.
      นึ่ง ขนม (333:1.3)
               คือ คน เอา ขนม ใส่ ลง ใน หวด แล้ว ตั้ง บน เตาไฟ ทำ ให้ สุก นั้น, เช่น คน นึ่ง ขนม เข่ง.
      นึ่ง ปลา (333:1.4)
               คือ คน เอา ปลา ใส่ ใน ที่ นึ่ง ให้ สุก นั้น, เช่น ปลาทูนึ่ง.
      นึ่ง ผ้า (333:1.5)
               คือ เอา ผ้า ใส่ ลง ใน กะทะ แล้ว ให้ ร้อน นั้น, เช่น พวก จ้าง ซัก ผ้า.
หนึ่ง (333:2)
         คือ ของ สิ่ง เดียว ไม่ เปน สอง เปน สาม นั้น, เช่น อา ทิตย์ ดวง เดียว.
      หนึ่ง โสตร์ (333:2.1)
               คือ ประการ หนึ่ง, ฤๅ อย่าง หนึ่ง, ฤๅ เส้น หนึ่ง, สาย หนึ่ง.
นุง (333:3)
         คือ สิ่ง ของ ที่ ไม่ เกลี้ยง นั้น, เช่น ผ้า ไม่ สู้ ดี เปน ขน นุง อยู่ นั้น.
      นุงกัน (333:3.1)
               คือ คน อยู่ ไม่ เปน ปรกติ พร้อม เพรียง กัน นั้น, เช่น คน ถะเลาะ วิวาท กัน.
      นุงถุง (333:3.2)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ไม่ เกลี้ยง เกลา, เช่น คน เย็บ ถุงนุง นั้น.
      นุงนัง (333:3.3)
               คือ สิ่ง ของ ที่ ติด กัน รุงรัง นั้น, เช่น นก ติดตัง* นั้น.
นุ่ง (333:4)
         คือ คน เอา ผ้า แล กังเกง ใส่ เข้า ที่ ตัว, แล้ว เหน็บ เปน พก ปิด กาย อยู่ นั้น.
      นุ่ง กังเกง (333:4.1)
               คือ คน เอา กังเกง ใส่ เข้า ที่ กาย นั้น, เช่น เจ๊ก นุ่ง กังเกง
      นุ่งปูม (333:4.2)
               คือ คน เอา ผ้า ปูม นุ่ง ไว้ ที่ ตัว นั้น, เช่น ขุนนาง เมือง ไท นุ่ง ปูม นั้น.
      นุ่ง ผ้า (333:4.3)
               คือ คน เอา ผ้า นุ่ง ไว้ ที่ ตัว นั้น.
      นุ่ง เหน็บ รั้ง (333:4.4)
               คือ นุ่ง ผ้า แล้ว ชัก เอา ผ้า ตรง ตะโภก ขึ้น มา เหน็บ เข้า ที่ เอว นั้น.
      นุ่งม่วง (333:4.5)
               คือ คน เอา ผ้า ม่วง นุ่ง ไว้ ที่ กาย นั้น.
      นุ่ง ลาย (333:4.6)
               คือ นุ่ง ผ้า มี ลาย มี ดอก ต่าง ๆ, ที่ แขก ทำ มา ขาย แต่ เมือง เทษ นั้น.
      นุ่ง ห่ม (333:4.7)
               คือ ลักษณะ ที่ เอา ผ้า กระสัน พัน เข้า เพียง เอว จน ท้าว นั้น, ห่ม นั้น คือ เอา ผ้า คลุม แต่ บ่า จน ถึง เอว นั้น.
      นุ่ง โจงกะเบน (333:4.8)
               คือ นุ่ง เอา ชาย ผ้า ทั้งสอง รวบ เข้า เหน็บ ไว้ ที่ เอว ตรง สันหลัง นั้น.
      นุ่ง ยก (333:4.9)
               คือ คน นุ่ง ผ้า อย่าง หนึ่ง, เขา ทำ เปน ดอก เหมือน ผ้า ยันตะหนี่.
      นุ่ง จีบ (333:4.10)
               คือ นุ่ง เอา ชาย ผ้า ทั้งสอง จีบ เข้า เหน็บ ไว้ ที่ ท้อง เหนือ สะดื.
      นุ่ง สบง (333:4.11)
               คือ คน เปน พระ ฤๅ เปน เณร นุ่ง ผ้า เขา ฉีก เอา ผ้า กว้าง สี่นิ้ว ทาบ ลง เย็บ ติด รอบ ทั้ง สี่ด้าน เรียก ว่า ผ้า สบง.
      นุ่ง ลอย ชาย (333:4.12)
               คือ นุ่ง เอา ชาย ห้อย ไว้, ไม่ เหน็บ น่า ไม่ โจง กระเบน นั้น.
เหน่ง (333:5)
         คือ เสียง ฆ้อง วง ที่ เขา ตี ปี่พาท ดัง เหน่ง ๆ.
      เหน่งใส (333:5.1)
               คือ หัว คน ที่ ล้าน เกลี้ยง เหลอม ไม่ มี ผม, แล แก้ว ที่ เปน เงา เหลื้อม แล น้ำ ที่ ใส สอาศ.
แน่งน้อย (333:6)
         คือ ผู้ หญิง สาว รูป ร่าง เล็ก ๆ.
แหนง (333:7)
         หมาง, หมองใจ, แคลง, คือ คน รู้ ว่า คน นั้น นินทา, ฤๅ หลัก เอา ของ ตัว ไป นึก หมาง ใน ใจ, ๆ ไม่ สนิท เหมือน. แต่ ก่อน.
      แหนง กัน (333:7.1)
               แคลง กัน, หมาง ใจ กัน, คือ คน แต่ แรก ชอบ กัน, มา ผ่าย หลัง มี ความ ไม่ ชอบ ใจ กัน นั้น.

--- Page 334 ---
      แหนง ใจ (334:7.2)
               คือ หมาง ใจ กัน ด้วย ข้อ ความ ไม่ ชอบ* ใจ อัน ใด อัน หนึ่ง.
      แหนง แคลง (334:7.3)
               คือ ความ ระแวง หมาง ใจ ว่า มัน จะ ชั่ว จริง ฤๅ อย่างไร หนอ.
      แหนง ความ (334:7.4)
               ระแวง ความ, คือ ใจ คน นึก ถึง ความ ไม่ ชอบ ใจ ๆ หมาง มัว.
      แหนง นึก (334:7.5)
               ระแวง นึก, คิด แคลง ใจ, คือ ใจ คน ที่ นึก ถึง เหตุ ไม่ ชอบ ใจ อัน ใด อัน หนึ่ง มี ความ หมาง กัน.
      แหนง ระแวง (334:7.6)
               ระแวง แคลง, นึก กริ่ง ใจ, คือ ใจ คน ที่ คิด ถึง ความ ไม่ ชอบ ใจ อัน ใด อัน หนึ่ง, เหน ว่า ความ นั้น จริง ดอก กระมัง.
โหน่ง (334:1)
         คือ สำเนียง กะดึง ฤๅ ฆ้องวง ที่ ดัง ออก มา.
นอง (334:2)
         ท่วม, ลบ, คือ น้ำ ที่ มาก ไหล ถ้วม, ฤๅ คน รด ลง มาก มา ไหล ไป เปน ต้น, ว่า น้ำ นอง ไป.
      นอง เนือง (334:2.1)
               มูน มอง, คือ คำ คน พูด ถึง เข้าของ ที่ เขา ถวาย จ้าว นาย, ฤๅ ของ กำนัน ผู้ มี วาศนา, เหมือน คราว ตรุศจีน สาทจีน, ว่า ของ นอง เนือง.
      นอง ไหล (334:2.2)
               คือ น้ำ มาก ไหล ถ้วม ไป ใน ทุ่ง นา, ฤๅ ใน ป่า ใน สวน เปน ต้น.
      นองแนว (334:2.3)
               คือ น้ำ มาก ไหล ล้น ไป เปน แถว นั้น.
น่อง (334:3)
         คือ อะไวยะวะ ที่ อยู่ ข้าง หลัง แค่ง.
      น่องทู (334:3.1)
               คือ อะไวยะวะ ที่ อยู่ หลัง แค่ง ไม่ เล๊ก เรียว โต อ้วน อยู่.
      น่องแน่ง (334:3.2)
               ย่องแย่ง, คือ เบี้ย สอง เบี้ย ที่ กระดาน คน เล่น หมากรุก ไม่ อยู่ เรียง ตา กัน อยู่ ทะแยง ตำ กัน.
      น่อง เรียว (334:3.3)
               น่อง เล๊ก, คือ อะไวยะวะ ที่ อยู่ ข้าง หลัง แค่ง เล๊ก, ไม่ อ้วน โต.
น้อง (334:4)
         ขะนิฐา, คือ คน เกิด ท้อง มารดา เดียว กัน, แต่ เกิด ที หลัง ว่า น้อง, คน เปน ลูก ของ น้า ของ อา เรียก ว่า น้อง.
      น้อง กอน (334:4.1)
               คือ คน เกิด ท้อง เดียว กัน ออก ที หลัง,
      น้อง ข้า (334:4.2)
               น้อง เรา, น้อง ฉัน, คือ คำ คน บอก เขา ว่า คน นี้ น้อง ข้า.
      น้อง เขา (334:4.3)
               คือ คำ คน บอก เขา ว่า, คน นี้ น้อง ของ คน นั้น ฤๅ คน โน้น.
      น้อง เขย (334:4.4)
               คือ คำ คน บอก ถึง ที่ เปน ผัว ของ น้อง สาว.
      น้อง ใค (334:4.5)
               คือ คำ คน ถาม ว่า คน นี้ เปน น้อง ผู้ ใด.
      น้อง ฉัน (334:4.6)
               คือ คำ คน บอก เขา ว่า นี่ น้อง ฉัน.
      น้อง ชาย (334:4.7)
               คือ คน ชาย ที่ เกิด ท้อง มารดา เดียว กัน แต่ เกิด ที หลัง,
      น้อง หญิง (334:4.8)
               น้อง สาว, คือ หญิง ที่ เกิด มารดา เดียว กัน แต่ เกิด ที หลัง.
      น้อง ตะใพ้ (334:4.9)
               คือ หญิง เปน เมีย ของ น้อง ชาย.
      น้อง ท้อง เดียว กัน (334:4.10)
               น้อง มารดา เดียว กัน, น้อง แม่ เดียว, คือ คน เกิด ร่วม มารดา เดียว กัน, แต่ เกิด ผ่าย หลัง.
      น้อง ตัว (334:4.11)
               น้อง ร่วม มารดา, น้อง ผัว, น้อง เมีย,
      น้อง ยาเธอ (334:4.12)
               คือ คน เกิด ใน ราช กระกูล เปน น้อง ฃอง จ้าว ชีวิตร* นั้น.
      น้อง สาว (334:4.13)
               น้อง หญิง, คือ คน หญิง เกิด มารดา เดียว กัน แต่ เกิด ที หลัง.
      น้อง สุด ท้อง (334:4.14)
               น้อง ที่ สุด, คือ คน เกิด มารดา เดียว กัน หลาย คน แต่ คน นั้น เกิด ที หลัง ไม่ มี คน เกิด อีก.
หนอง (334:5)
         บุพ โพ, คือ น้ำ ที่ เกิด เพราะ เลือด เปน น้ำ ข้น ศี* เหมือน น้ำ นม โค, อยู่ ใน กาย ว่า น้ำ หนอง.
      หนอง น้ำ (334:5.1)
               บึง น้ำ, คือ ที่ ดิน ที่ คน ขุด ขน ดิน ไป เสีย ที่ อื่น, ที่ นั่น ลุ่ม ฦก ประมาณ ห้า ศอก หก ศอก บ้าง, ฦก กว่า นั้น บ้าง, กว้าง ประมาณ สิบ วา บ้าง, ยี่ สิบ วา บ้าง, ที่ กว้าง ใหญ่ กว่า นั้น ก็ มี บ้าง, มี น้ำ ขัง อยู่ คำ บุราณ ว่า เปน เอง บ้าง.
      หนอง ฝี (334:5.2)
               บุพโพ ฝี คือ น้ำ ที่ เกิด เช่น ว่า นั้น, อยู่ ใน หัว ฝี ที่ กาย คน.
      หนอง ขาว (334:5.3)
               คือ คำ เขา เรียก ชื่อ ที่ หนอง เช่น ว่า นั้น, เหน น้ำ ใน หนอง นั้น จะ ขาว, อยู่ แขวง เมือง กาญ จะนะ บุริย์.
      หนอง ตม (334:5.4)
               บึง เปน ตม, คือ คำ คน เรียก ที่ หนอง เช่น นั้น, ชื่อ ตม มี อยู่ ข้าง เมือง เหนือ.
      หนอง บัว (334:5.5)
               บึง บัว, คือ คำ เขา เรียก หนอง ที่ มี บัว, มี อยู่ ใน ป่า หลาย ตำบล.
      หนอง พัง ฆ่า (334:5.6)
               คือ คำ เขา เรียก หนอง น้ำ อย่าง นั้น ชื่อ พัง ฆ่า, เปน ชื่อ บ้าน แขวง เมือง อุไทย์.

--- Page 335 ---
      หนอง แก (335:5.7)
               คือ คำ เขา เรียก หนอง ที่ ริม ฝั่ง หนอง มี ต้น ไม้ สะแก ชุม. อนึ่ง เปน ชื่อ บ้าน เมือง เหนือ.
      หนอง โสน (335:5.8)
               บึง โสน, คือ คำ เรียก หนอง ที่ มี ต้น โสน ชุม, เหมือน ที่ กรุง เก่า.
หน่วง (335:1)
         เหนี่ยว, คือ คน เอา เชือก ฤๅ ผ้า ผูก ห้อย เปน ห่วง ไว้, แล้ว เอา มือ ทั้งสอง ข้าง ฤๅ ข้าง เดียว ยึด ถ่วง ลง, ว่า หน่วง.
      หน่วง เหนี่ยว (335:1.1)
               ยึด หน่วง, คือ คน จะ เก็บ ดอก ใม้ ฤๅ ลูก ไม้ ที่ ต้น สูง, เอา มือ ยึด กิ่ง ชัก ลง เก็บ.
      หน่วง ไว้ (335:1.2)
               เหนี่ยว ไว้, คือ คน เอา มือ ยึด เชือก ฤๅ ผ้า ที่ ผูก ห้อย ไว้, แล้ว ถ่วง ลง อยู่.
      หน่วง ไป (335:1.3)
               คือ ถ่วง การ ไว้ ให้ เนิ่น ช้า นั้น.
เหนียง (335:2)
         คือ หนัง* อยู่ ที่ ระวาง ฅอ ต่อ กับ ปาก นก ใหญ่, ห้อย อยู่ ดู เหมือน ถุง.
      เหนียง นก (335:2.1)
               คือ หนัง ที่ เปน ถุง อยู่ ใต้ คาง นก นั้น.
      เหนียง นก กะทุง (335:2.2)
               กะ เภาะ* นก กะทุง, คือ หนัง เช่น ว่า นั้น, มี อยู่ ที่ นก ใหญ่, เขา ว่า นก กะทุง.
      เหนียง นก ตะกรุม (335:2.3)
               กะเภาะ นก ตะกรุม, คือ หนัง เช่น ว่า นั้น มี อยู่ ที่ นก ใหญ่, เขา เรียก ว่า นก ตะกรุม
      เหนียง ยาน (335:2.4)
               กะเภาะ ยาน, คือ หนัง เช่น ว่า นั้น ห้อย ลง อยู่.
      เหนียง แร้ง (335:2.5)
               กะเภาะ แร้ง, คือ หนัง เช่น ว่า นั้น มี อยู่ ที่ แร้ง,
เหนี่ยง (335:3)
         คือ คำ เขา เรียก สัตว ตัว เล๊ก อย่าง หนึ่ง ศี ตัว มัน ดำ. ๆ
เนือง (335:4)
         (dummy head added to facilitate searching).
      เนือง ๆ (335:4.1)
               บ่อย ๆ, คือ คำ พูด ถึง คน ที่ ไป บ่อย ๆ, ฤๅ มา บ่อย, เปน ต้น.
      เนือง นอง (335:4.2)
               คือ คำ คน พูด ถึง ของ ที่ มี มาก ว่า ของ เนือง นอง.
      เนือง ไป (335:4.3)
               คือ ของ บริบูรรณ์ มาก ไป นั้น.
เนื่อง (335:5)
         ติด ต่อ, คือ คน ยืน ฤๅ นั่ง เรียง ต่อ ๆ กัน มาก.
      เนื่อง กัน (335:5.1)
               ต่อ กัน, คือ คน ฤๅ ของ อื่น ที่ อยู่ เปน ลำดับ กัน มาก.
      เนื่อง ไป (335:5.2)
               ติด ต่อ ไป, คือ คน หลาย คน เดิน ไป เปน ลำดับ นั้น เอง, เหมือน อย่าง ของ ติด ต่อ กัน ไป.
      เนื่อง มา (335:5.3)
               ติด ต่อ มา, คือ คน หลาย คน เดิน มา เปน ลำดับ.
นัด (335:6)
         สัญา, กำหนฎ, คือ เขา กำหนฎ เวลา กัน, คน สอง ฝ่าย จะ ทำ การ ร่วม กัน, ฤๅ จะ เล่น ด้วย กัน, ฤๅ จะ รบ กัน เขา นัด ให้ พร้อม กัน, อิก อย่าง หนึ่ง นัด ว่า เป่า อยา ผง เข้า ใน จมูก, ฤๅ ตรอก อยา น้ำ เข้า ใน จมูก, ว่า นัด อยา.
      นัด การ (335:6.1)
               กำ หนฎ การ, คือ กำหนฎ เวลา ฤๅ วัน เปน ต้น ว่า จะ ทำ การ อัน ใด อัน หนึ่ง, ถึง กำหนฎ แล้ว มา พร้อม กัน.
      นัด กัน (335:6.2)
               สัญา กัน, กำหนฎ กัน, คือ กำหนฎ ต่อ กัน, คน ตั้ง แต่ สอง คน ขึ้น ไป พูด กำหนฎ แก่ กัน ว่า, ถึง เวลา นั้น เรา จะ ทำ การ.
      นัด แฃก (335:6.3)
               สัญา กับ แขก, คือ กำหนฎ เวลา การ งาน, เขา บอก กัน ให้ มา ช่วย นั้น, เรียก พวก คน ที่ มา ช่วย นั้น ว่า แขก.
      นัด หนึ่ง (335:6.4)
               คือ นัด ครั้ง หนึ่ง. อนึ่ง เหมือน ยิง ปืน ออก ที่ หนึ่ง, ว่า ยิง นัด หนึ่ง บ้าง.
      นัด แนะ (335:6.5)
               คือ กำหนฎ แล ชี้ แจง, แล จะ ทำ การ อัน ใด ฤๅ จะ มี ที่ ไป ฤๅ จะ รบ ศึก แล ท่ำ การ ต่าง ๆ.
      นัด ผัด (335:6.6)
               คือ การ กำหนฎ แก่ กัน ว่า, คราว นี้ ยัง ไม่ ได้ ขอ ผัด ไป ครั้ง หลัง ที่ หนึ่ง ก่อน.
      นัด หมาย (335:6.7)
               คือ กำหนฎ* เวลา แล วัน, แล เขียน หนังสือ จด หมาย ไว้ ด้วย, มี ข้อ ราช การ คน ได้ มา ระดม ทำ พร้อม กัน.
      นัดดา (335:6.8)
               ฯ แปล ว่า หลาน,
      นัด อยา (335:6.9)
               คือ เป่า ฤๅ ตรอก อยา เข้า ใน จมูก, คน ปวด หัว ฤๅ เปน ลม, เขา เอา อยา ใส่ ใน กล้อง, เป่า เข้า รู จมูก.
นาด (335:7)
         กรีด กราย, คือ กราย* แขน, เมื่อ คน เดิน ไป แขน ทั้ง สอง แกว่ง ไป ข้าง หน้า แกว่ง มา ข้าง หลัง ว่า นาด แขน.
      นารถ (335:7.1)
               ฯ ว่า ที่ พึ่ง, ที่ พำนัก.
      นาด กราย (335:7.2)
               คือ นาด แขน กราย แขน, เมื่อ คน เดิน ไป มา แขน ทั้งสอง แกว่ง ทอด ไป ช้า ๆ ข้าง หน้า ข้าง หลัง.
      นาฎ นารี (335:7.3)
               ฯ แปล ว่า นาง ฟ้อน นาง รำ
หนาด (335:8)
         คือ ชื่อ ต้น หนาด, เปน ต้น ไม้ เขา ทำ อยา, ใบ มี กลิ่น หอม คลาย กับ กลิ่น ภิม เสน.
นิจ (335:9)
         ฯ คือ คำ มคธะ ว่า นิจะ, แปล ว่า กาล เนือง นิจ, ไม่ รู้ หมด สิ้น เลย.
      นิจ กาล (335:9.1)
               แปล ว่า กาล เนื่อง ติด* กัน ไป.

--- Page 336 ---
      นิจ จะภัตร (336:9.2)
               คือ ให้ เข้า เนือง ๆ, พระ มหา กระษัตร ท่าน ให้ ถวาย เข้า สาร แก่ พระสงฆ์ ทุก เดือน, เรียก ว่า นิจะภัตร.
      นิจ นิรันต์ร (336:9.3)
               ว่า กาล เปน นิจ เปน นิจ ไม่ มี ระหว่าง นั้น.
      นิตรา (336:9.4)
               คือ ความ หลับ, คน นอน แล้ว หน่วย ตา หลับ ลง, จิตร ก็ เคลื้ม ไม่ รู้ ศึก ตัว หลับ สนิท ไป.
      นิจ จัง (336:9.5)
               ฯ แปล ว่า เที่ยง แท้.
นิทรา (336:1)
         ฯ สับท์ นี้ ความ เหมือน กัน กับ นิตรา, ผิด กัน แต่ อักษร เอา ตะ เปน ทะ เท่า นั้น.
นิทารมณ์ (336:2)
         ว่า มี ความ หลับ เปน อารมณ์.
หนิด (336:3)
         จี๋ด, จ้อย, คือ ของ น้อย นัก, บันดา ของ อัน ใด ๆ ทั้ง หมด, ถ้า คน หยิบ เอา ด้วย นิ้ว มือ สอง นิ้ว สาม นิ้ว ว่า ของ หนิด
      หนิด เดียว (336:3.1)
               หน่อย เดียว, คือ ของ น้อย นัก อัน หนึ่ง, บัน ดา ของ อัน ใด ทั้ง หมด, คน หยิบ ด้วย นิ้ว มา นิ้ว เดียว, ว่า หนิด เดียว.
      หนิด หนึ่ง (336:3.2)
               หน่อย หนึ่ง, คำ นี้ ความ เหมือน กัน กับ หนิด เดียว เปลี่ยน แต่ คำ ว่า หนึ่ง เท่า นั้น.
      หนิด หน่อย (336:3.3)
               เล๊ก น้อย, คือ ฃอง มาก กว่า หนิด หน่อย หนึ่ง, ของ ประมาณ ศัก ฃวด เล็ก ๆ ฤๅ ถ้วย เล็ก. ๆ
นุช (336:4)
         ฯ คือ คำ สับท์ แปล ว่า น้อง, ชาย ฤๅ หญิง ที่ เกิด จาก มารดา เดียว กัน, แต่ เกิด ผ่าย หลัง.
      นุช นาฎ (336:4.1)
               ฯ คือ คำ สับท์ แปล ว่า นาง น้อง ช่าง ฟ้อน, หญิง เปน คน รำ, เปน นาง ละคอน.
      นุช นาง (336:4.2)
               ว่า น้อง หญิง.
เนตร (336:5)
         ฯ จักขุ, ตา, คือ คำ สับท์ แปล ว่า ตา, คน เหน แลดู รู้ จัก ศี ขาว เหลือง เปน ต้น เพราะ ตา ทั้ง สอง.
เหน๊ด เหนื่อย (336:6)
         อ่อน ระทวย*, คือ ใจ แล กาย อ่อน ธ้อ ไป, คน ที่ ทำ การ หนัก ฤๅ เดิน มาก, ใจ แล กาย อ่อน ธ้อ เหนื่อย ไป.
เนติกา (336:7)
         ฯ คือ คำสับท์ แปล ว่า ไข น้ำ ไป, คน ชาว นา ขุต ดิน เปน ร่อง เรียก ว่า เหมือง สำหรับ นำ น้ำ ไป.
หนอด (336:8)
         ๆ เปน สำเนียง ปี่ ดัง หนอด ๆ มี บ้าง.
นวด (336:9)
         ฟั้น, คือ บีบ ฤๅ กด ลง ด้วย มือ, คน ที่ เปน หมอ สำ หรับ นวด คน เจ็บ เส้น, เอา มือ บีบ บ้าง กด บ้าง.
      นวด ขา (336:9.1)
               คั้น ขา, คือ บีบ ฤๅ กด ลง ที่ ขา คน เจ็บ เส้น, เพื่อ ให้ หาย เจ็บ.
      นวด เข่า (336:9.2)
               ขยำ เข้า, คือ บีบ แล กด ลง ที่ เข่า คน เจ็บ.
      นวด เข้า (336:9.3)
               ย่ำ เข้า, คือ ย่ำ ด้วย ท้าว ที่ ฟ่อน เข้า, คน ทำ นา ได้ เข้า เกี่ยว มัด เปน กำ แล้ว เอา มา วาง ลง ที่ ดิน, ขึ้น ย่ำ เหยียบ ให้ เมด เข้า ร่วง ออก จาก ซัง เข้า.
      นวด แข้ง (336:9.4)
               บีบ แข้ง, คือ บีบ ฤๅ กด ลง ที่ แข้ง ถัด เข่า ลง ไป นั้น.
      นวด ฅอ (336:9.5)
               บีบ ฅอ, นวด ดี, นวด ตัว, นวด ตีน* บีบ ท้าว, นวด ท้าว, บีบ ตีน.
      นวด ฟั้น (336:9.6)
               นวด คั้น, คือ บีบ ฤๅ กด ลง แล้ว ถอน มือ ขึ้น แล้ว กด ลง อีก* ทำ หลาย หน, ว่า นวด ฟั้น.
      นวด หลัง (336:9.7)
               เคล้น หลัง, นวด ท้อง, กด ท้อง, นวด เอว, บีบ เอว.
หนวด (336:10)
         คือ เส้น ขน, ขน อยู่ ที่ ริม สี ปาก ฤๅ คาง เส้น ยาว บ้าง สั้น บ้าง, เรียก ว่า หนวด.
      หนวด เครา (336:10.1)
               คือ เส้น ขน อยู่ ที่ แก้ม, ลาง คน มี ลาง คน ไม่ มี, คน เจ๊ก คน แขก คน อังกฤษ มี ชุม.
      หนวด ขาว (336:10.2)
               หนวด หงอก, คือ ขน ที่ เรียก ว่า หนวด มี ศี ขาว เหมือน ปูน ขาว, แล ดิน ศี พอง.
      หนวด หงอก (336:10.3)
               หนวด ขาว, คือ ขน ที่ เรียก ว่า หนวด เมือ คน ยัง นุ่ม มี ศี ดำ อยู่, ครั้น คน แก่ เข้า หนวด กลับ ขาว ไป.
      หนวด งาม (336:10.4)
               คือ ขน ที่ เรียก ว่า หนวด นั้น ดี ยาว เฟื้อย.
      หนวด งิ้ว (336:10.5)
               คือ ขน ที่ เรียก หนวด เขา ตรอง เข้า กับ ลวด, เมื่อ เจ๊ก เล่น งิ้ว เจ๊ก เอา ใส่ เข้า ที่ ริม ศี ปาก ให้ งาม.
      หนวด นาคราช (336:10.6)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง.
      หนวด กุ้ง (336:10.7)
               คือ เส้น อย่าง หนึ่ง ยาว ๆ ที่ ริม ปาก กุ้ง.
      หนวด ปลา (336:10.8)
               คือ เส้น ยาว ๆ อยู่ ที่ ริม ปาก ปลา บาง จำ พวก,
      หนวด เหลือง (336:10.9)
               คือ ขน ที่ เรียก หนวด, มี ศี เหลือง เหมือน ศี ลวด ทอง เหลือง คล้ำ ๆ
      หนวด พราหมณ์ (336:10.10)
               คือ ขน ยาว ที่ ริม ปาก พราหมณ์. อนึ่ง เชือก ที่ เขา ผูก ใบ เข้า กับ เพลา ใบ เรียก เช่น นั้น บ้าง.
      หนวด สั้น (336:10.11)
               คือ ขน ที่ เรียก ว่า หนวด, สั้น กว่า เมด เข้า เปลือก บ้าง, ค่า* เมด เข้า เปลือก บ้าง, ยาว กว่า บ้าง.

--- Page 337 ---
นนท์ (337:1)
         แปล ว่า ความ ยินดี.
      นนท์ บูรีย์ (337:1.1)
               ฯ เปน สับท์ แปล ว่า เมือง เปน ที่ ยินดี, เขา เรียก เปน ชื่อ เมือง เช่น นั้น.
      นนทรี (337:1.2)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ เปน กลาง ๆ ใบ เล็ก ๆ, มี ดอก เหลือง ไม่ หอม.
นันทอุทยาน (337:2)
         ฯ เปน คำ สับท์ แปล ว่า สวน เปน ที่ เลง แล ดู ใน เบื้อง บน แล้ว จึ่ง ไป เปน ที่ ยินดี ว่า มี บน สวรรค์.
นั่น (337:3)
         คือ ของ อยู่ ใกล้, คน บอก ว่า ของ วาง อยู่ ที่ นั่น, เหมือน ของ อยู่ ใน เรือน, อยู่ ใน บ้าน.
      นั่น ก็ ดี (337:3.1)
               คือ คำ บอก ของ สอง สิ่ง สาม สิ่ง, ว่า นั่น ก็ ดี, อัน อื่น ก็ ดี.
      นั่น และ (337:3.2)
               คือ คำ บอก แน่, คน ใช้ ให้ คน ไป หยิบ ของ ใน ห้อง, คน ผู้ ไป หยิบ ถาม ว่า อัน ขาว นี่ ฤๅ, เขา ว่า นั่นและ.
      นั่น ฤๅ (337:3.3)
               คือ คำ ถาม ด้วย สง ไสย, คน ไป หยิบ ใน ห้อง มี หลาย อัน สง ไสย อยู่ ไม่ รู้ ว่า อัน ไหน, จึ่ง ถาม ว่า อัน ขาว นั่น ฤๅ.
      นั่น อะไร (337:3.4)
               เปน คำ ถาม ด้วย ความ ไม่ รู้ จัก.
นั้น (337:4)
         คือ คำ บอก ของ ไกล, คน พูด บอก คน ฤๅ ของ ที่ อยู่ ไกล เหน ฤๅ ไม่ เหน, ว่า คน นั้น ฤๅ ของ นั้น.
      นั้น ไซ้ (337:4.1)
               คือ คำ พูด ว่า นั้น ก็ ดี, เหมือน คน เปน ผู้ ขาย ทาษ รับ ว่า คน นี้ หนี ไป ไซ้, แล ว่า เปน ทาษ ผู้ ใด ไซ้.
นาน (337:5)
         ช้า, เนิ่น, คือ เวลา ไม่ เร็ว, เหมือน เวลา ฤๅ วัน เดือน ปี, นอก จาก ครู่ หนึ่ง, วัน หนึ่ง, เดือน หนึ่ง, ปี หนึ่ง, ว่า นาน ตาม การ.
      นานกาล (337:5.1)
               ช้ากาล, คือ เวลา ไม่ เร็ว, เหมือน ว่า แล้ว.
      นาน เกิน กำหนฎ (337:5.2)
               คือ เวลา เกิน ที่ นัด ไว้, คน มา จ้าง ทำ การ หมอ กำหนฎ ให้ มา สอง โมง เช้า, เขา มา สาย สาม โมง, ว่า มา นาน เกิน กำหนฎ.
      นาน ช้า (337:5.3)
               คือ กาล เวลา ที่ ช้า นั้น.
      นาน เนิ่น (337:5.4)
               คือ นาน เกิน ช้า นั้น, คน มา ทำ การ จ้าง มา ช้า กว่า เวลา ที่ กำหนฎ ไว้ ศัก ชั่ว โมง สอง ชั่ว โมง ว่า นาน เนิ่น.
      นาน นม (337:5.5)
               คือ กาล เวลา, ที่ ล่วง มา หลาย เวลา นั้น.
      นาน ไป (337:5.6)
               ช้า ไป, คือ เวลา ผ่าย หน้า, คน พูด ถึง กาล ที่ ยัง ไม่ มา, ว่า นาน ไป จึ่ง จะ ถึง วัน ภิภากษา.
      นาน มา (337:5.7)
               เนิ่น มา, คือ เวลา ที่ ล่วง แล้ว, เขา พูด ถึง กาล ที่ พ้น มา แล้ว, ว่า นาน มา ปี หนึ่ง สอง ปี แล้ว.
      นาน อยู่ (337:5.8)
               ช้า อยู่, คือ เวลา ผ่าย หน้า, เขา พูด ว่า ยัง นาน อยู่ จึ่ง จะ ถึง วัน ภิภากษา, แต่ ไม่ รู้ ว่า เมื่อ ไร.
      นาน แล้ว (337:5.9)
               เนิ่น แล้ว, คือ เวลา ล่วง ไป แล้ว, เขา พูด ว่า พระเยซู ลง มา บังเกิด นาน หลาย ปี แล้ว.
      นาน ล้ำ (337:5.10)
               ช้า เกิน, คือ เวลา ช้า กว่า ทุ่ม ฤๅ โมง ที่ กำหนฎ ไว้.
      นาน เหลือ (337:5.11)
               ช้า เหลือ, คือ เวลา ช้า เกิน ทุ่ม เกิน โมง ที่ กำหนฎ ไว้.
น่าน (337:6)
         คือ ที่ ตาม ขอบ น้ำ ที่ ฝั่ง แม่ น้ำ เรียก ว่า น่าน. อีก อย่าง หนึ่ง ว่า เปน ชื่อ นก พวก หนึ่ง ชื่อ นก นาง น่าน.
นินะ (337:7)
         ฯ เปน สับท์ แปล ว่า ลุ่ม, ที่ คน ขุด ฤๅ เปน เอง ฦก ศักคืบ ฤๅ สอก กว้าง สัก วา สอง วา เปน ต้น ว่า ที่ ลุ่ม.
นิลกาฬ (337:8)
         ฯ แปล ว่า ดำ นิล นั้น.
นิละ (337:9)
         ฯ เปน สับท์ แปล ว่า ศี นิล, เหมือน ไม้ อินทะนิล, ศี ม่วง อ่อน บ้าง, ศี ม่วง แก่ คล้ำ ดำ บ้าง.
นิลมณี (337:10)
         ฯ แปล ว่า เก้า นิล.
นินทา (337:11)
         คือ คน นำ เอา ความ ชั่ว ของ ผู้ กระทำ ความ ชั่ว, มา พูด ให้ คน ทั้ง ปวง ฟัง ด้วย ชัง กัน, ว่า นินทา.
นิลรัตน์ (337:12)
         ฯ แปล ว่า แก้ว ศี นิล.
นิลุบล (337:13)
         ฯ เปน ชื่อ ดอก อุบล ศี นิล, เปน ดอก ไม้ เกิด ใน น้ำ เปน นิจ.
นิลเพชร์ (337:14)
         เปน ชื่อ พลอย สอง อย่าง, คือ นิล อย่าง หนึ่ง, เพชร์ อย่าง หนึ่ง.
นุ่น (337:15)
         งิ้ว, คือ ลูก ไม้ งิ้ว, ลูก ไม้ งิ้ว ที่ แก่ ข้าง ใน เปน เหยื้อ ละเอียด คล้าย ยวง ฝ้าย, เขา เรียก ว่า นุ่น สำหรับ ยัด ฟูก หมอน อ่อน ละมุน ดี.
      นุ่น แขก (337:15.1)
               งิ้ว แขก, คือ นุ่น เปน ของ พวก แขก ใช้ สรอย แล ขาย บ้าง.
หนุน (337:16)
         ยก ขึ้น, คือ รอง เข้า ผ่าย ใต้, เขา เอา เรือ ไว้ ไม่ ให้ ปลวก กัด เปน ต้น, เขา เอา ท่อน ไม้ หนุน เข้า ผ่าย ใต้ ให้ พ้น ดิน.
      หนุน เกษ (337:16.1)
               หนุน หวัว, คือ รอง ศีศะ, เฃา เอา หมอน วาง ลง แล้ว, จึ่ง พาด หวัว ลง บน หมอน, ว่า หนุน เกษ.

--- Page 338 ---
      หนุน ขึ้น (338:16.2)
               คือ รอง ขึ้น, คน เอา ท่อน ไม้ ฤๅ อิฐ เปน ต้น, รอง ของ ขึ้น ให้ สูง พ้น ดิน, ว่า หนุน ขึ้น.
      หนุน เข้า ไป (338:16.3)
               ยก ตาม เข้า ไป, คือ ตาม กัน เข้า ไป, นี้ ก็ เปน คำ เปรียบ คน รบ ศึก เปน ต้น, เร่ง ตาม กัน เข้า ไป ช่วย กัน.
      หนุน ตีน (338:16.4)
               หนุน ท้าว, คือ รอง ตีน ขึ้น, คน จะ หยิบ ของ อยู่ ที่ สูง เอื้อม ไม่ ถึง, จึ่ง เอา ท่อน ไม้ รอง ตีน ขึ้น ให้ หยิบ ถึง.
      หนุน ตัว (338:16.5)
               คือ รอง ตัว, คน เอา สิ่ง ใด สิ่ง หนึ่ง รอง ตัว ให้ สูง ขึ้น.
      หนุน ทับ (338:16.6)
               คือ เขา ยก กอง ทัพ เพิ่ม เติม มา เปน กอง ๆ นั้น.
      หนุน ทาษ (338:16.7)
               คือ รอง ทาษ, คือ คน จะ ศัก เปน มะหาด เล็ก, ต้อง มี ทาษ ศัก รอง หนุน, จึ่ง ศัก เปน มะหาด เล็ก ได้
      หนุน หลัง (338:16.8)
               คือ เอา หมอน เปน ต้น, วาง เข้า ที่ ริม เบื้อง หลัง ให้ มัน คั้ม ดัน อยู่ นั้น.
      หนุน หมอน (338:16.9)
               คือ รอง หมอน, คน เอา หมอน หนุน ศีศะ นอน, ว่า หนุน หมอน.
      หนุน รอด (338:16.10)
               คือ รอง รอด, รอด เรือน ต่ำ อยู่ เขา เอา ไม้ ถาก ให้ ได้ กับ รู้ รอด แล้ว, เอา ไม้ นั้น ใส่ เข้า ข้าง ใต้.
      หนุน ร้าน (338:16.11)
               หนุน เรือน, หนุน หวัว, หนุน อก.
นูน (338:1)
         คือ โน ขึ้น, เหมือน อะไวยะวะ ถูก อัน ใด หนัก, แล มัน บวม ขึ้น นั้น.
เณร (338:2)
         คือ คน เด็ก นุ่ง ผ้า เหลือง ถือ ศิล สิบ, อธิบาย ว่า คน นั้น เปน สามะเณระ โคตระ, ว่า เปน คน บวช.
เน้น (338:3)
         คือ กด ข่ม ลง ด้วย มือ แน่น นัก, คน นวด เอา มือ ทั้ง สอง กด ลง ที่ ตัว คน ไข้ หนัก, มิ ให้ ไหว ตัว ได้ ว่า เน้น ลง.
      เน้น คำ (338:3.1)
               คือ คำ หนัก, เมีย ฤๅ ลูก ไม่ สู้ กลัว เกรง ผัว, ฤๅ พ่อ มี ความ โกรธ พูดจา ด้วย คำ หยาบ เสียง ดัง, ว่า เน้น คำ.
      เน้น วาจา (338:3.2)
               คือ กล่าว คำ หนัก เหมือน ว่า แล้ว.
แน่น (338:4)
         อัดยัด, คือ อัด ลง, เช่น คน เอา ใบ ลาน ฤๅ กะดาด ใส่ เข้า ที่ สำหรับ อัด แล้ว หัน ควง อัด ลง แน่น นั้น.
      แน่น กบ (338:4.1)
               อัด เต็ม, คือ แน่น เต็ม ที่, เช่น คน เอา กะดาด วาง ซ้อน กัน ลง เต็ม ที่, แล้ว หัน ควง ลง แน่น หนัก.
      แน่น เข้า มา (338:4.2)
               ยัด กัน เข้า มา, คือ คน เบียด เข้า มา มาก, เช่น คน มาก มา ฃอ หนังสือ, ฤๅ เขา จะ รับ ทาน ที่ เฃา แจก ทาน เบียด เสียด กัน เข้า มา แน่น.
      แน่น ขวด (338:4.3)
               อัด ขวด, คือ อัด* ขวด, เช่น คน เอา ยา ผง ใส่ ลง ใน ขวด จน อัด เต็ม, ว่า แน่น ขวด
      แน่น คับ (338:4.4)
               อัด ยัด, คือ อัด รู, เช่น คน เอา สว่าน เจาะ รู, แล้ว เอา ไม้ ลูก สลัก ใส่ เข้า ตอย ให้ คับ แน่น อยู่.
      แน่น ที่ (338:4.5)
               อัด ที่, คือ คับ ที่, เช่น คน มา มาก คับคั่ง เบียด กัน อยู่ ที่ เรือน ฤๅ บ้าน.
      แน่น ท้อง (338:4.6)
               อัด ท้อง*, คือ คับ ท้อง, เช่น คน กิน อาหาร มาก เกิน ปรกติ เกิน ขนาด อัด ท้อง, ว่า แน่น ท้อง.
      แน่น หนา (338:4.7)
               มั่น คง, คือ กะดาน ไม้ แก่น หนา ไม่ ผุ, เช่น คน ต่อ กำปั่น ฤๅ ตะเภา ด้วย กะดาน หนา ไม่ ผุ มั่นคง นัก.
      แน่น หน้า อก (338:4.8)
               คือ อัด หวัว อก, เช่น คน มี โรค ลม อัด ที่ หวัว อก, หาย ใจ ไม่ ใคร่ คล่อง ขัด ไป, ว่า แน่น หน้า อก.
      แน่น นัก (338:4.9)
               คือ อัด นัก.
      แน่น บ้าน (338:4.10)
               คือ คับ บ้าน, เช่น คน ฤๅ สัตว เข้า มา ใน บ้าน เต็ม นัก จน ไม่ มี ที่ ว่าง เปล่า, ว่า แน่น บ้าน.
      แน่น ยัด (338:4.11)
               คือ อัด ยัด เยียด กัน นัก.
      แน่น แฟ้น (338:4.12)
               คือ แน่น มั่น คง นัก.
      แน่น เรือน (338:4.13)
               คือ อัด เรือน, เช่น คน มา มาก นั่ง เบียด เสียด กัน เต็ม เรือน จน ไม่ มี ที่ เปล่า.
      แน่น อก (338:4.14)
               คือ อัด คั่ง คับ อยู่ ที่ อก.
โนน (338:5)
         นูน, คือ ที่ สูง ขึ้น กว่า ที่ อื่น หน้อย หนึ่ง, ที่ ตัว คน ฤๅ ที่ ดิน เปน ต้น, ที่ นั่น สูง ขึ้น น่อย หนึ่ง, ว่า โนน.
โน่น (338:6)
         คือ ที่ ไกล ศัก เส้น หนึ่ง เปน ต้น, คน พูด ว่า ที่ โน่น.
โน้น (338:7)
         คือ ที่ ไกล กว่า นั้น มาก.
นอน (338:8)
         เอน หลัง, ทอด ตัว ลง, คือ ทอด ตัว ลง เหยียด ยาว, คน ฤๅ สัตว ทอด ตัว ยาว เหยียด มือ เหยียด ท้าว ลง อยู่ กับ พื้น, ว่า นอน.
      นอน กอด (338:8.1)
               คือ นอน เอา มือ ทั้ง สอง รัด เข้า ที่ อก, เช่น คน นอน เอา มือ รัด เข้า ที่ ตัว ฤๅ รัด ตัว คน อื่น นอน อยู่ ด้วย กัน.
      นอน ก่าย (338:8.2)
               คือ นอน เอา มือ ฤๅ ท้าว พาด ไป ที่ หมอน เปน ต้น, เช่น คนนอน เอา มือ ฤๅ ท้าว พาด ก่าย ลง บน สิ่ง อัน ใด อัน หนึ่ง.
      นอน ขว้ำ (338:8.3)
               คือ นอน ทอด ไว้ หน้า ข้าง ล่าง.

--- Page 339 ---
      นอน หงาย (339:8.4)
               คือ นอน ไว้ หลัง ที่ ฟูก ฤๅ เสื่อ เปน ต้น, ไว้ หน้า ข้าง บน.
      นอน ขี้ เซา (339:8.5)
               คือ นอน หลับ ไม่ ใคร่ รู้ ศึก ตัว, เช่น คน นอน หลับ ไม่ ใคร่ ตื่น, ๆ ขึ้น ก็ ง่วง ซึม อยู่ ไม่ รู้ อะไร.
      นอน คุด คู้ (339:8.6)
               คือ นอน หด มือ หด ท้าว ตะแคง คู้ ตัว อยู่, ว่า นอน คุด คู้.
      นอน ใจ (339:8.7)
               ไม่ รีบ ร้อน ใจ, คือ ใจ เอย็น เฉื่อย, เช่น คน ไว้ ใจ การ งาน ไม่ รีบ ร้อน ทำ, ว่า นอน ใจ
      นอน เฉย (339:8.8)
               นอน นี่ง, คือ นอน ไม่ รู้ อะไร, เช่น คน ไม่ มี ธุระ อัน ใด นอน สบาย อยู่
      นอน เชื่อม (339:8.9)
               นอน ซึม, คือ นอน มึน ตึง อยู่, เช่น คน เจ็บ ไข้ นอน นิ่ง อยู่ ไม่ พูดจา.
      นอน ซึม (339:8.10)
               นอน เชื่อม, คือ ซึม ซบ หน้า อยู่, เช่น คน ไข้ นอน นิ่ง อยู่* ไม่ ใคร่ พูดจา.
      นอน ตะแคง (339:8.11)
               คือ คน ทอด กาย เอา ข้าง ซ้าย ฤๅ ข้าง ขวา ลง กับ พื้น นั้น และ ว่า นอน ตะแคง.
      นอน เตียง (339:8.12)
               นอน แท่น, คือ นอน บน เตียง.
      นอน นิ่ง (339:8.13)
               นอน เฉย, คือ คน นอน ไม่ ทำ อะไร.
      นอน ฝัน (339:8.14)
               นอน นิมิต สุบิน, คือ คน นอน หลับ, แล ใจ เขา เหน ไป ว่า ตัว เขา ได้ กิน ฤๅ ได้ ดื่ม เปน ต้น.
      นอน เภ้อ (339:8.15)
               คือ คน นอน หลับ ไม่ สนิท ออก ปาก พูด ต่าง ๆ, เหมือน กับ ตื่น อยู่, แต่ ที่ จริง เขา ไม่ รู้ ศึก ตัว.
      นอน ม่อย (339:8.16)
               นอน เคลิ้ม, คือ นอน ลง เกือบ หลับ, เช่น คน นอน ลง ประมาณ เวลา ทุ่ม เศศ สอง ทุ่ม จิตร เคลิ้ม จะ หลับ.
      นอน ละเมอ (339:8.17)
               คือ นอน หลับ ไม่ สนิท จิตร เคลิ้ม, ให้ พูด จา ฤๅ ชก ต่อย ด้วย มือ แล ท้าว, สำคัญ ว่า วิวาท กับ ผู้ อื่น.
      นอน ร้าย (339:8.18)
               คือ อาการ นอน ไม่ ปรกติ, มัน ให้ ดิ้น ซน ทุรน ทุ ราย มือ ท้าว ป่าย เปะปะ
      นอน หลับ (339:8.19)
               คือ นอน หลับ หน่วย ตา ลง แล จิตร ก็ สนิท ไป.
      นอน เวร (339:8.20)
               คือ นอน ใน วัง ฟัง ราชการ เปน เวร*, คือ เจ๊ด วัน จึ่ง นอน วัน หนึ่ง นั้น.
      นอน วัน (339:8.21)
               คือ นอน เพลา กลาง วัน.
      นอน สนิท (339:8.22)
               คือ อาการ ที่ นอน หลับ จิตร สงบ, แต่ จะ ฝัน ก็ ไม่ มี ไม่ รู้ ศึก ตัว เลย นั้น.
หนอน (339:1)
         คือ สัตว เล็ก ไม่ มี ตีน, มัน เสือก ตัว ไป มัน มัก เกิด ใน ที่ มี น้ำ โสก โครก อาจม ชุม.
      หนอน บ่อน (339:1.1)
               คือ ตัว หนอน มัน ฟอน กิน ของ โสก โควก เน่า เปื่ยน* นั้น.
      หนอน ไหม (339:1.2)
               คือ สัตว ตัว เล็ก ไม่ มี ตีน, รัง มัน เปน ฝัก เหมือน หลอด ด้าย, เลี้ยง ชัก เอา ไย มน ทำ ไหม.
นวน (339:2)
         คือ ศี ขาว เหลือง, คน ย้อม ผ้า ฤๅ ด้าย ด้วย ของ ศี ขาว เจือ เหลือง, เปน ศี นวน.
      นวล จัน (339:2.1)
               เปน ชื่อ ปลา อย่าง หนึ่ง ตัว มัน ย่อม, ๆ ผิว มัน ศี เปน นวล งาม นั้น.
      นวน ไย (339:2.2)
               คือ ยวง ฝ้าย, เขา เอา สมอ ฝ้าย ทำ เปน สำลี ประ- ชี ออก เปน นวล ไย.
      นวน นาง (339:2.3)
               คือ สัตรี ที่ สาว ขาว สรวย งาม นั้น.
      นวน ละหง (339:2.4)
               คือ นวล ที่ หน้า คน, เขา เอา แป้ง ศี ขาว เหลือง ผัด หน้า ทา เปน นวลละอออ่อง.
      นวลออ (339:2.5)
               คือ นวล ขาว สาว สอาศ อ่อง อยู่ ทั้ง ตัว, น่า ชม เชย.
      นวนละออง (339:2.6)
               คือ ศี นวล ที่ หน้า คน, เขา เปน นาง ละคอน แต่ง ตัว จะ เล่น งาน เอา แป้ง นวน ผัด หน้า นั้น.
เนียน* (339:3)
         คือ ชิด* ดี, คน ช่าง ไม้ เข้า ปาก ไม้ ทำ โต๊ะ เตียง เปน
      เนียน แนบ (339:3.1)
               คือ สนิท ชิด, เหมือน ปาก ไม้ ที่ ช่าง ทำ ชิด สนิท ดี นั้น.
      เนียน ชิด (339:3.2)
               คือ แนบ ชิด สนิท ไม่ ใคร่ เหน รอย แผล นั้น.
      เนียน แอบ (339:3.3)
               คือ เนียน แนบ แอบ ชิด สนิท ดี นั้น.
เนิน (339:4)
         คือ ที่ ดิน สูง ขึ้น กว่า พื้น ราบ เปน ปรกติ, สูง ขึ้น ที ละ น้อย ๆ ประมาณ สี่ วา ห้า วา เปน ต้น.
      เนิน ทราย (339:4.1)
               คือ ที่ มี ทราย โนน สูง ขึ้น กว่า ที่ อื่น นั้น.
      เนิน เขา (339:4.2)
               เชิงเขา, คือ ที่ ริม ภูเขา สูง ขึ้น หน้อย หนึ่ง, มี ดิน เปน ก้อน กรวด แล ก้อน แร่ บ้าง ทราย บ้าง.
      เนิน ใหญ่ (339:4.3)
               ที่ โนน ใหญ่, คือ ที่ เนิน เช่น ว่า นั้น, กว้าง ใหญ่ ยาว เส้น หนึ่ง ฤๅ สอง เส้น, ร่า เนิน ใหญ่.
      เนิน ดิน (339:4.4)
               ที่ เชิง เทิล ดิน, คือ ที่ สูง ขึ้น ที่ ดิน เช่น ว่า แล้ว, แต่ ไม่ สูง เหมือน ภูเขา สูง ขึ้น ละ น้อย เปน ลำดัพ นั้น.
      เนิน โขด (339:4.5)
               หัว ดาน, คือ ดิน โคลน ใน ทะเล, ดิน โคลน นั้น สูง กว่า พื้น ที่ อื่น ประมาณ เจ๊ด สอก แปด สอก.

--- Page 340 ---
      เนิน ผา (340:4.6)
               เนิน หิน, คือ ที่ สูง กว่า พื้น แต่ อยู่ บน หิน ที่ ภูเขา ไม่ มี ต้น หญ้า แล ต้น ไม้, หิน นั้น เตียน อยู่.
      เนิน ไศล (340:4.7)
               เนิน เฃา, คือ ที่ เนิน ลาด ไม่ ชัน, เนิน นั้น เปน หิน เลื้อย ลาด ไป ยื่น ยาว แล้ว ราบ ลง นั้น.
      เนิน หิน (340:4.8)
               เนิน ผา, คือ เนิน ไม่ มี ดิน ล้วน แต่ หิน อยู่ ใกล้ ชิด กับ เชิง เขา, แต่ มี ก้อน แร่ แล ลูก หิน บ้าง.
เนิ่น (340:1)
         ช้า, นาน, คือ ช้า, เขา นัด กัน ว่า จะ ไป ฤๅ จะ อยู่ เปน ต้น, ว่า ให้ มา ภบ กัน ที่ บ้าน นี้ ก่อน ใน เพลา สาม โมง เช้า, แต่ เขา มา ถึง สัก สอง โมง เศศ ว่า ขา มด เนิ่น เวลา อยู่.
      เนิ่น การ (340:1.1)
               ช้า การ, นาน การ, คือ ช้า ก่อน การ, เขา นัด กัน ว่า จะ ทำ อัน ใด อัน หนึ่ง, มา ก่อน ช้า อยู่ ศัก สิบ นาที สิบ สอง นาที, ว่า มา เนิ่น การ.
      เนิ่น* ความ (340:1.2)
               ช้า ความ, ยาว ความ, คือ ความ นาน, คน เปน ความ กัน ช้า ปี หนึ่ง สอง ปี แล้ว, ว่า ความ นั้น เนิ่น แล้ว
      เนิ่น ช้า (340:1.3)
               เนิ่น นาน, คือ เวลา นาน เช่น ว่า แล้ว, นาน เวลา ฤๅ นาน วัน.
      เนิ่น เดือน (340:1.4)
               ช้า เดือน, คือ นาน นับ ด้วย เดือน, มี เดือน หนึ่ง แล สอง เดือน เปน ต้น.
      เนิ่น นาน (340:1.5)
               ช้า นาน, คือ เวลา ช้า เช่น ว่า แล้ว, แล ช้า เวลา ฤๅ ช้า วัน.
      เนิ่น ปี (340:1.6)
               ช้า ปี, คือ กาล นาน นับ ด้วย ปี, มี ปี หนึ่ง แล สอง ปี.
      เนิ่น หลาย (340:1.7)
               นาน หลาย, ช้า นัก, คือ เวลา นาน มาก, มี เวลา หนึ่ง สอง เวลา เปน ต้น.
      เนิ่น วัน (340:1.8)
               ช้า วัน, นาน วัน, คือ กาล ช้า นับ ด้วย วัน, มี วัน หนึ่ง สอง วัน เปน ต้น.
นบ (340:2)
         คือ ซบ ไหว้, คน ที่* เคารพย์* แก่ พระเจ้า เปน ต้น, แล กราบ ซบ หน้า ลง.
      นบ นิ้ว (340:2.1)
               คือ เอา นิ้ว มือ ประจบ รวบ เข้า คำนับ ไหว้ นั้น.
      นบ นอบ (340:2.2)
               คือ ซบ ไหว้ หมอบ ยอบ ตัว อยู่ แก่ คน เปน ที่ คำ รพย์ ยำเกรง.
      นบ น้อม (340:2.3)
               คือ เคารพย์ ก้ม หวัว ลง แก่ บุคล ควร จะ คำรพย์ นั้น.
      นบ บาท (340:2.4)
               คำรพย์ บาท, คือ ซบ ไหว้ แทบ ท้าว, เขา ทำ คา- ระวะ แก่ คน เปน ที่ นับถือ มี มารดา บิดา.
      นพะศก (340:2.5)
               ฯ คือ นับ จุลศักราช แต่ หนึ่ง ถึง ที่ เก้า นั้น, ว่า นพศก.
      นพะเก้า (340:2.6)
               เปน ชื่อ แหวน อย่าง หนึ่ง, แหวน นั้น เขา ประดับ ด้วย หวัว เก้า อย่าง, มี เพชร์ เปน ต้น นั้น.
      นพพน (340:2.7)
               ฯ คือ วิธี ทำ ใน กระบวน เลก, เขา ตั้ง หนึ่ง ๆ ลง เก้า ตัว แล้ว เอา สอง คูณ ไป นั้น.
      นพะคุณ (340:2.8)
               ฯ เปน ชื่อ ทอง เนื้อ สูง ศุก นัก อย่าง หนึ่ง, ว่า ทอง เนื้อ นพะคุณ เก้า น้ำ ดี นัก นั้น.
      นภวงษ์ (340:2.9)
               เปน ชื่อ พระองค์ จ้าว มี บ้าง, คือ เปน วงษ์ ของ จ้าวฟ้า
      นพรัตน์ (340:2.10)
               ฯ ว่า แก้ว เก้า อย่าง มี เพชร์* เปน ต้น, เขา เรียก ว่า พลอย เก้า เม็ด บ้าง.
      นภากาศ (340:2.11)
               ฯ คือ ท้อง ฟ้า อากาศ นั้น.
      นพะสูญ (340:2.12)
               ฯ เปน คำ เรียก ยอด พระเจดีย์, ที่ ปลาย เรียว ว่า ยอด นพะสูญ นั้น.
      นพภดล (340:2.13)
               ฯ ว่า พื้น ฟ้า นั้น,
      นพภา (340:2.14)
               ฯ แปล ว่า อากาศ, อะธิบาย ว่า ที่ ไม่ เปน ที่ ไถ ได้ นั้น, เรียก ว่า อากาศ.
      นภาไลย (340:2.15)
               ฯ คือ ฟ้า เปน ที่ อยู่ แห่ง เทวะดา นั้น.
นับ (340:3)
         คือ ว่า หนึ่ง เปน ต้น, ไป ถึง ร้อย พัน หมื่น แสน โกฎิ ล้าน ว่า นับ นั้น.
      นับ ตรวจ ดู (340:3.1)
               คือ นับ ให้ รู้ ถ้วน ฤๅ ใม่, เขา ยืม ฃอง ไป มาก แล้ว เขา เอา มา ส่ง, จึ่ง นับ ตรวจ ดู ให้ รู้ แน่ ว่า ของ ครบ ฤๅ ไม่ ครบ นั้น.
      นับ ของ (340:3.2)
               คือ นับ ของ เปน ต้น ว่า หนึ่ง สอง, เช่น คน ได้ ของ อัน ใด มา ไม่ รู้ ว่า เท่า ไร, แล นับ แต่ หนึ่ง ไป นั้น.
      นับ เค้า (340:3.3)
               คือ นับ ต้น ทุน เดิม, เหมือน คน เอา เบี้ย กำ ออก มา ร้อย หนึ่ง, แล้ว แบ่ง ออก เปน สอง ส่วน, ให้ คน ดู ส่วน หนึ่ง, ผู้ ดู นับ เค้า เดิม ก็ รู้ ว่า เบี้ย กอง นี้ เท่า นั้น.
      นับ โคตร (340:3.4)
               คือ คน นับ คน ใน สะกูล เนื่อง กัน ไป ว่า นับ โคตร, เขา นับ แต่ หนึ่ง ไป เปน อัน มาก.
      นับ คน (340:3.5)
               นับ เงิน, นับ ดู, นับ ตัว.
      นับ ถ้วน (340:3.6)
               คือ คน สิบ คน มา พร้อม กัน, นับ แต่ หนึ่ง จน ถึง สิบ ไม่ ขาด.
      นับ ถือ (340:3.7)
               คือ นับ แล้ว ถือ ไว้, อีก* อย่าง หนึ่ง ความ เชื่อ ผู้ มี คุณ อัน วิเศศ, แล เชื่อ มั่น ใน ใจ.

--- Page 341 ---
      นับ พล (341:3.8)
               คือ ไพร่ ที่ ไป ทับ, นับ แต่ หนึ่ง ถึง* หมื่น แสน, จน สิ้น พล ไพร่ ใน กอง นั้น.
      นับ ใหม่ (341:3.9)
               นับ แล้ว, นับ ไว้, นับ ร้อย, นับ พัน, นับ หมื่น นับ แสน, นับ อิก,
หนับ (341:1)
         คือ ของ เปน ยาง จับ เข้า ติด มือ เช่น นั้น, ว่า เหนียว หนับ ๆ
นาบ (341:2)
         ทาบ, คือ ทาบ เข้า, เขา เอา แผ่น เหล๊ก แบน เหมือน จอบ เผา ไฟ ให้ ร้อน, แล้ว ทาบ เข้า ว่า นาบ.
      นาบ เข้า (341:2.1)
               ทาบ เข้า, คือ ทาบ เข้า, เขา เอา แผ่น เหล็ก ร้อน ทาบ ที่ สิ่ง อัน ใด, ๆ เขา เอา แผ่น เหล็ก ร้อน ทาบ นั้น.
      นาบ ของ (341:2.2)
               คือ ทาบ เข้า ที่ ของ, เขา เอา แผ่น เหล็ก ร้อน นาบ เข้า ที่ ของ สิ่งใด, ๆ เขา เอา แผ่น เหล็ก ทาบ เข้า ที่ ของ นั้น.
      นาบ จี่ (341:2.3)
               คือ ทาบ จี่ เหมือน จะ ทำ ให้ ปลา ศุก, เอา ปลา ทาบ ลง จี่ ที่ ถ่าน ไฟ นั้น.
      นาบ ตีน (341:2.4)
               คือ ทาบ เข้า ที่ ฝ่า ตีน ให้ ร้อน. เพื่อ จะ รักษา โรค บ้าง, เพื่อ คน ต้อง โทษ บ้าง, เขา นาบ บ้าง นั้น.
      นาบ มือ (341:2.5)
               ความ เหมือน กับ นาบ ตีน, เขา เอา แผ่น เหล็ก ร้อน ทาบ เข้า ที่ ฝ่า มือ เพราะ โรค บ้าง เพราะ โทษ บ้าง.
      นาบ พลู (341:2.6)
               คือ ทาบ ใบ พลู ลง. เขา เอา กะ ทะ ตั้ง บน เตา ไฟ ให้ ร้อน, แล้ว เอา ใบ พลู ใส่ ทาบ ลง ภอ ตาย นึ่ง เพื่อ จะ เอา ไว้ นาน, ไม่ ให้ พลู เน่า เสีย.
      นาบ เรือ (341:2.7)
               คือ ทาบ เข้า ที่ พื้น เรือ, เขา เอา แผ่น เหล็ก แดง นาบ เข้า ให้ ชัน ที่ เรือ ร้อน ละลาย ออก ซาบ เข้า ใน เนื้อ เรือ เพื่อ ไม่ ให้ น้ำ รั่ว เข้า ได้.
นิพพาน (341:3)
         ฯ เปน คำ สับท์ แปล ว่า ดับ, ว่า ออก จาก ตัณหา, อย่าง หนึ่ง ความ ว่า พ้น จาก ความ อาไลย ใน สิ่ง ทั้ง ปวง,
หนีบ (341:4)
         คีบ, คือ คีบ, คน เอา ตะไกร ตัด ผ้า เปน ต้น, ว่า หนีบ ด้วย ตะไกร. อีก อย่าง หนึ่ง ปู เล็ก ใหญ่ มัน เอา ก้าม มัน คีบ อัน ใด ๆ ว่า มัน หนีบ.
      หนีบ กิน (341:4.1)
               บีบ กิน, คือ คีบ กิน, คน กิน หมาก เอา ตะไกร หนีบ ลูก หมาก ออก เปน ซีก ๆ กิน.
      หนีบ ของ (341:4.2)
               คีบ ของ, คือ คีบ ของ ด้วย ตะไกร, เขา จะ กิน หมาก เปน ต้น, เอา ตะไกร คีบ นั้น.
      หนีบ ขาด (341:4.3)
               คีบ ขาด, คือ คีบ สิ่งใด ๆ ขาด ออก จาก กัน.
      หนีบ ขน (341:4.4)
               คือ คีบ ขน, เขา เอา ตะไกร หนีบ ขน หนวด ให้ ขาด ออก จาก ตัว มี ขน เครา เปน ต้น.
      หนีบ* คีบ (341:4.5)
               คือ เขา เอา คีม บีบ คีบ เอา ถ่าน ไฟ เปน ต้น.
      หนีบ ฅอ (341:4.6)
               คีบ* ฅอ, คือ คีบ ฅอ, เขา จะ จับ งู เขา เอา คีม* เหล็ก คาบ เข้า ที่ ฅอ มัน แล้ว บีบ ขา คีม* เข้า ว่า หนีบ ฅอ.
      หนีบ แขน (341:4.7)
               คีบ แขน, คือ บีบ แขน, เขา เอา แขน กด เข้า กับ ศี ข้าง, ว่า หนีบ แขน, เขา ทำ แขน ให้ เบียด เข้า กับ ตัว นั้น.
      หนีบ ขา (341:4.8)
               บีบ ขา, คือ บีบ ขา เข้า, เขา เอา ขา ทั้ง สอง ข้าง กด กะทบ กัน เข้า ชีด, ว่า หนีบ ขา เข้า ให้ ชิด กัน นั้น.
      หนีบ จุก (341:4.9)
               คือ คีบ กระหมวด ผม ที่ หัว เด็ก, เขา เอา ตะไกร ตัด จุก เด็ก, ว่า หนีบ จุก เด็ก นั้น.
      หนีบ แหนบ (341:4.10)
               คือ แหนบ คีบ เอา ของ อัน ใด ๆ ด้วย แหนบ นั้น.
      หนีบ ผม (341:4.11)
               คีบ ผม, คือ คีบ ผม, เขา เอา ตะไกร หนีบ ผม ให้ ขาด ออก จาก หัว นั้น.
      หนีบ หมาก (341:4.12)
               คีบ หมาก, คือ คีบ หมาก, คน เอา ตะไกร หนีบ ลูก หมาก ออก กิน เปน คำ ๆ นั้น.
      หนีบ รักแร้ (341:4.13)
               คือ คน หุบ แขน ลง กับ ตัว ที่ ระหว่าง ต้น แขน กับ ตัว เรียก ว่า รัก แร้.
หนุบ (341:5)
         หนึก, คือ ถอน ขน ออก ที หนึ่ง ว่า หนุบ หนึ่ง. อย่าง หนึ่ง ตก เบ็ด จะ เอา ปลา ๆ ตอด ที หนึ่ง, ว่า หนุบ หนึ่ง.
      หนุบ หนับ (341:5.1)
               คือ ปลา ตอด เหยื่อ, คน ทิ้ง ของ กิน ลง ใน น้ำ ฝูง ปลา ชิง กัน ตอด กิน, ว่า มัน ตอด หนุบ หนับ.
      หนุบ หนิบ (341:5.2)
               คือ ของ เปน ยาง เหนียว หนับ ๆ นั้น, ว่า เหนียว หนูบ หนิบ,
เหน็บ (341:6)
         เสียด แซก, คือ สอด เสียด ของ ไว้, เขา เอา มีด ฤๅ ไม้ บ้าง ๆ เสียด แอบ ไว้ กับ ตัว บ้าง, ที่ ฝา บ้าง.
      เหน็บ กฤษ (341:6.1)
               คือ เสียด กฤษ, เขา เอา กฤษ เหน็บ ไว้ ที่ เอว.
      เหน็บ ชา (341:6.2)
               คือ อะไวยะวะ อัน ใด อัน หนึ่ง, ท้าว ฤๅ มือ เปน ต้น ตั้ง อยู่ ที่ เดียว นาน, ไม่ ได้ เปลี่ยน ที่ ก็ ให้ ตึง ตาย ไป นั้น.
      เหน็บ ชาย (341:6.3)
               เหน็บ หน้า, คือ เสียด ชาย ผ้า, คน นุ่ง ผ้า ชาย มัน ห้อย อยู่ สอง ชาย, เขา จับ รวบ เขา เหน็บ ไว้ ริม พก นั้น.

--- Page 342 ---
      เหน็บ ท้อง (342:6.4)
               เสียด ไว้ ที่ ท้อง, คือ เสียด ไว้ ที่ ท้อง, คน เอา ของ อัน ใด ๆ เหน็บ ที่ ผ้า นุ่ง ที่ ท้อง.
      เหน็บ หน้า (342:6.5)
               คือ เสียด ชาย ผ้า นุ่ง เหน็บ ไว้ ที่ ริม พก ข้าง หน้า นั้น.
      เหน็บ ผ้า (342:6.6)
               คือ เสียด ผ้า ไว้, เขา เอา ผ้า เหน็บ ไว้ ที่ ไหน, ๆ มี ที่ ฝา เปน ต้น นั้น.
      เหน็บ พก (342:6.7)
               คือ เสียด พก ลง ไว้ กับ ผ้า นุ่ง, คน ไทย นุ่ง ผ้า เขา กลัว ผ้า จะ ลุ่ย ลุด ลง ทำ พก เหน็บ ไว้,
      เหน็บ รั้ง (342:6.8)
                คือ เอา ผ้า นุ่ง ที่ ตรง ตาโภก สอง ข้าง ชัก ขึ้น มา เหน็บ ไว้ ที่ ผ้า ตรง เอว นั้น.
      เหน็บ แนม (342:6.9)
               คือ เสียด ไม้ แกล้ม เข้า, เช่น เหน รู รอด กว้าง รอด, เล๊ก หลวม เอา ไม้ อื่น เสียด เข้า ให้ คับ.
แนบ (342:1)
         แอบ, คือ แอบ ชิด, เช่น เขา เอา ไม่ เล๊ก ๆ บาง ๆ ทาบ ลง ให้ ชิด ดี, ว่า แนบ ลง ทาบ ลง นั้น.
      แนบ กาย (342:1.1)
               แอบ กาย, คือ ชิด ตัว, เช่น แขน เสื้อ ฤๅ ขา กังเกง เปน ของ ไหม่, ทำ ให้ มัน ชิด ติด กับ ตัว นั้น.
      แนบ ข้าง (342:1.2)
               แอบ ข้าง, คือ แอบ ชิด ศีข้าง, คน นอน ด้วย กัน ข้าง ชิด ตัว กัน, ว่า แนบ ข้าง, ว่า แอบ ข้าง ก็ ได้.
      แนบ เคียง (342:1.3)
               แอบ เคียง, คือ แอบ เคียง เรียง กัน เช่น คน เปน คู่ ภาย เรือ ฤๅ เปน คู่ ทหาร เดิน กัน, อยู่ เคียง เรียง กัน นั้น,
      แนบ เนียน (342:1.4)
               แอบ เนียน, คือ แอบ ชิด ติด กัน นัก, เช่น คน ช่าง ไม้ ทำ ฝา เรือน เปน ต้น, ทำ กะดาน กรุ สนิท ชิด ดี นั้น.
      แนบ เนื้อ (342:1.5)
               คือ แอบ ชิด ติด เนื้อ กัน นั้น.
      แนบ แอบ (342:1.6)
               คือ แนบ เบียด เสียด ชิด นั้น.
แหนบ (342:2)
         คือ หนีบ, เปน เครื่อง ใช้ สำหรับ ถอน หนวด, เขา ทำ ด้วย เหล็ก บ้าง ทอง เหลือง บ้าง.
      แหนบ ถอน หนวด (342:2.1)
               คือ แหนบ ใหญ่ ๆ นั้น, คน ทำ ด้วย เหล็ก บ้าง, ด้วย ทอง เหลือง บ้าง.
      แหนบ ถอน ไร จุก (342:2.2)
               คือ แหนบ เล็ก, เขา ทำ ด้วย เหล็ก สำ หรับ ถอน ผม ทำ ให้ เปน วง นั้น.
นอบ (342:3)
         หมอบ, ยอบ, คือ ยอบ ลง, เช่น เขา มี ความ คำรพย์ แล ถอม ยอบ ตัว ลง แก่ ผู้ ใหญ่ เปน ต้น นั้น.
      นอบ นบ (342:3.1)
               คำรพย์, คือ ยอบ ตัว ลง ไหว้, เช่น เขา เหน คน ผู้ ที่ ควร จะ คำรพย์, แล ยอบ ตัว ลง ไหว้ ด้วย คำนับ นั้น.
      นอบ น้อม (342:3.2)
               โอน อ่อน, อ่อน น้อม, คือ ยอบ โอน ตัว ลง, เขา นอบ อ่อน ตัว ลง โดย คำรพย์, แก่ คน ที่ ควร คำรพย์ นั้น.
หนวบ (342:4)
         ๆ หนุบ, ๆ คือ อาการ ที่ ปวด ฝี ฤๅ แผล อื่น, ปวด เปน ที ๆ เหมือน เทพะจร เต้น, ว่า ปวด หนวบ. ๆ
เนิบ (342:5)
         ๆ คือ คน เดิน ห่ม ตัว, เช่น คน เดิน ทำ อาการ สูง ๆ ต่ำ ๆ, ว่า เดิน เนิบ ๆ.
นม (342:6)
         คือ อะไวยวะ มี อยู่ ที่ พื้น อก ทั้ง ชาย แล หญิง, มี อยู่ คน ละคู่ นั้น.
      นม แฃง (342:6.1)
               เต้า เปน ใต, คือ อะไวยวะ เปน ของ ใน กาย, ทั้ง ชาย ทั้ง หญิง อยู่ ที่ อก, ถ้า หญิง อะไวยวะ นั้น โต กว่า ชาย, เมื่อ หญิง ยัง สาว นม แน่น ว่า นม แขง.
      นม ขาว (342:6.2)
               คือ นม มี ผิว หนัง ขาว, ผู้ หญิง ฤๅ ชาย เขา ใส่ เสื้อ ห่ม ผ้า ติด กับ ตัว จน ผิว นม นั้น ขาว นั้น.
      นม คล้อย (342:6.3)
               ถัน เคลื่อน, คือ นม เคลื่อน ลง จาก ปรกกะติ, ว่า นม คล้อย คน หญิง มี ผัว แล้ว นม เคลื่อน ลง นั้น.
      นม งอน. นม ช้อย (342:6.4)
               คือ นม ปลาย ช้อย ขึ้น ข้าง บน ว่า นม งอน, หญิง ลาง คน มี นม ช้อย ฃึ้น น่อย หนึ่ง นั้น.
      นม ตา สะแก (342:6.5)
               นม เล็ก, คือ นม เล็ก หัว มัน ยื่น ออก มา, เหมือน ตา ไม้ สะแก, ไม้ สะแก นั้น มัน มี ตา ที่ ต้น มัน.
      นม ทอง หลาง (342:6.6)
               หนาม ทอง หลาง, คือ หนาม ต้น ไม้, เรียก ว่า ต้น ทอง หลาง, หนาม มัน มี ถาน โต แต่ ปลาย แหลม, เรียก ว่า นม ทอง หลาง.
      นม นาน (342:6.7)
                คือ นม คน มี อายุศม์ มาก หลาย ปี นั้น. อย่าง หนึ่ง เขา พูด ว่า นม นาน ๆ คือ เวลา ช้า, แต่ ว่า นม นั้น เปน สร้อย
      นม เนย (342:6.8)
               คือ ของ เกิด แต่ น้ำ นมโค นั้น,
      นม บอด (342:6.9)
               คือ นม ไม่ มี รู น้ำ นม, หญิง ลาง คน คลอด บุตร ออก ใหม่ ๆ ที่ หัว นม รู ตัน อยู่ ว่า นม บอด.
      นม พิจิตร์ (342:6.10)
               เปน ชื่อ ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง, ต้น มัน เปน เถา เลื้อย ลูก มี รศ ขม น่อย ๆ.
      นม พวง (342:6.11)
               คือ นม หญิง ตั้ง เคียง กัน อยู่ ทั้ง คู่, ไม่ ยาน ไม่ งอน นั้น, แล ไม่ คล้อย ตั้ง อยู่, ว่า นม พวง.

--- Page 343 ---
      นม ยาน (343:6.12)
               นม ห้อย, คือ นม หญิง ห้อย ลง ยาว โตง เตง อยู่ นั้น, แล นม หญิง ลาง คน ยาน น้อย ลาง คน ยาน ยาว.
      นม แห้ง (343:6.13)
               นม เหี่ยว คือ นม เหี่ยว แบน ติด อก อยู่, หญิง แก่ เต้า นม เหี่ยว แบน อยู่ กับ อก.
      นม หด (343:6.14)
               นม หู่, คือ นม สั้น เข้า, คน หญิง ลง อาบ น้ำ หนาว เนื้อ ที่ นม หด เข้า สั้น กว่า ปรกติ นั้น.
      นม เหี่ยว (343:6.15)
               นม แห้ง, คือ นม แห้ง แบน ติด อก อยู่, หญิง ที่ มี นม ไม่ โต ครั้น แก่ ตัว เข้า นม ฝ่อ ไป นั้น.
      นม สาว (343:6.16)
               นม หญิง หนุ่ม, คือ นม หญิง อายุศม์ สิบ ห้า ปี จน ยี่ สิบ ปี เศศ. อนึ่ง ถ้า ยัง ไม่ มี ผัว ถึง อายุ มาก ก็ ว่า สาว อยู่.
      นม เหลว (343:6.17)
               นม* น่วม, คือ นม น่วม ไม่ แขง แน่น, ว่า นม เหลว. อย่าง หนึ่ง น้ำ นม โค คน รูด ไว้ ยัง ไม่ ล่วง เวลา ยัง ไส อยู่ ว่า นม เหลว.
      นม สด (343:6.18)
               นม รูด ใหม่, คือ น้ำ นม โค ที่ เขา รูด มา ใหม่ ใน เวลา เช้า ยัง ไส อยู่, ยัง ไม่ ค่น เข้า นั้น.
      นม วัว (343:6.19)
               นม โค, คือ นม ที่ ตัว วัว. อย่าง หนึ่ง ชื่อ ต้น ไม้ เปน เถา ผล มัน กิน ได้, เขา เรียก ต้น นม วัว.
นามะ (343:1)
         ฯ ชื่อ, เปน สับท์, แปล ว่า ชื่อ มี ชื่อ คน เปน ต้น.
      นามะ กร (343:1.1)
               กระ ทำ ชื่อ, ฯ เปน สับท์ แปล ว่า กระทำ ซึ่ง ชื่อ, คน เกิด มา ถึง กาละ ควร จะ ให้ มี ชื่อ ก็ กระทำ ชื่อ นั้น ว่า นามะกร.
      นามโคตร (343:1.2)
               ชื่อ วงษ์ กระกูล, คือ ชื่อ แล โคตร ๆ นั้น คือ คน ใน วงษ์ กระกูล เนื่อง กัน ว่า เปน โคตร กัน มี ชื่อ นั้น.
      นาม ชื่อ (343:1.3)
               คือ นามะ แปล ว่า ชื่อ, เปน คำ พูด คน ผู้ นั้น มี นาม ชื่อ นั้น, มี ชื่อ อินท์ จันท์.
      นาม ใด (343:1.4)
               ชื่อ อย่างไร, คือ ชื่อ ไร, คน เหน กัน เข้า ยัง ไม่ รู้ จัก กัน. อยาก จะ รู้ จัก ชื่อ, ก็ ถาม ว่า ชื่อ ไร.
      นามะ ธรรม (343:1.5)
               ชื่อ ธรรมดา, ฯ เปน สับท์ แปล ว่า มี ชื่อ เปน ธรรม, คือ สิ่ง ที่ ไม่ มี รูป เรียก ว่า นานะธรรม สิ้น ทุก อย่าง.
      นาม บ้าน (343:1.6)
               ชื่อ ชนบท, คือ ชื่อ บ้าน ต่าง, ๆ เขา เรียก ชื่อ บ้าน ว่า บ้าน ม่อ, เพราะ คน ใน บ้าน นั้น ทำ ม่อ มาก.
      นาม พระ (343:1.7)
               ชื่อ ของ พระ, คือ ชื่อ พระ มี ยะโฮวา เปน ต้น, แล เขา ร้อง เรียก ชื่อ พระเยซู, แล พระ บาละ นั้น.
      นาม แล รูป (343:1.8)
               ชื่อ กับ รูป, นามะ สับท์ ประสงค์ เอา สิ่ง ที่ ไม่ มี รูป ๔ อย่าง, คือ เวทะนา รูป, สัญา รูป, สังขาร รูป, วิญาณ รูป, ประสงษ เอา สิ่ง ที่ เปน* รูป, มี กาย คน เปน ต้น.
หนาม (343:2)
         คือ ของ มัน แตก ออก มา จาก ต้น ไม้ ฤๅ กิ่ง ไม้ มี ปลาย แหลม, เรียก ว่า หนาม.
      หนาม เสี้ยน (343:2.1)
               หนาม นั้น เช่น ว่า แล้ว, เสี้ยน นั้น คือ สี้ ไม้ ที่ มัน อยู่ ใน ไม้ ที่ เขา ถาก เขา ฟัน มัน ออก นั้น.
นิ่ม (343:3)
         คือ น่วม, ของ สิ่ง ใด อ่อน น่วม, มี หมอน เปน ต้น, ว่า หมอน นิ่ม ๆ
      นิ่ม นุ่ม (343:3.1)
               คือ ของ ละมุน อ่อน นั้น.
      นิ่ม นวล (343:3.2)
               คือ ของ อ่อน นิ่ม แล มี ศี ขาว เหลือง, ว่า ของ นั้น นิ่ม นวล. อย่าง หนึ่ง นวล นั้น คำ สร้อย ประกอบ.
      นิ่ม น่วม (343:3.3)
               คือ ของ อ่อน น่วม, เหมือน หมอน เปน ต้น.
      นิ่ม เนื้อ (343:3.4)
               คือ เนื้อ นุ่ม, คน เนื้อ ไม่ กระด้าง, เหมือน เนื้อ ผู้ หญิง ว่า นิ่ม เนื้อ, เพราะ เนื้อ หญิง อ่อน.
นิม มานรดิด (343:4)
         เปน ชื่อ ชั้น สวรรค์ ที่ ห้า เบื้อง บน นั้น.
นุ่ม (343:5)
         นิ่ม, คือ ของ ที่ อ่อน ว่า ของ นั้น นุ่ม, เหมือน หมอน เปน ต้น, ฃอง น่วม ละมุน ว่า อ่อน นุ่ม.
      นุ่ม นิ่ม (343:5.1)
               คือ ของ ที่ น่วม, เหมือน ไข่ เต่า ทะเล อย่าง หนึ่ง, เรียก ว่า ไข่ จันละเมด นั้น.
      นุ่ม น่วม (343:5.2)
               คือ ของ อ่อน ละมุน, เหมือน ผล ไม้ ม่วง สุก งอม นั้น.
      นุ่ม เนื้อ (343:5.3)
               ความ เหมือน นิ่ม เนื้อ ที่ ว่า แล้ว, แต่ เขา เรียก กลับ คำ ว่า นุ่ม เนื้อ บ้าง, นิ่ม เนื้อ บ้าง.
หนุ่ม (343:6)
         ไม่ แก่, คือ คน อายุ แต่ สิบ ห้า ปี ขึ้น ไป ถึง อายุ ยี่ สิบ ปี่, ว่า คน หนุ่ม นั้น.
      หนุ่ม ตะกอ (343:6.1)
               หนุ่ม น้อย, หนุ่ม ฟ้อ แฟ้, คน อายุ สิบ ห้า ปี. สิบ หก ปี, ว่า คน นั้น หนุ่ม ตะกอ. อย่าง หนึ่ง คือ รุ่น แรก หนุ่ม นั้น.
      หนุ่ม แน่น (343:6.2)
               คือ คน อายุ ตั้ง แต่ สิบ เจ๊ด ปี ขึ้น ไป จน อายุ ยี่ สิบ ห้า ปี นั้น, ว่า หนุ่ม แน่น.
      หนุ่ม เน้า (343:6.3)
               คือ ชาย หนุ่ม น้อย นั้น,
      หนุ่ม น้อย (343:6.4)
               คือ คน อายุ แต่ สิบ ห้า ปี ถึง อายุ ยี่ สิบ ปี เสศ, ว่า เขา เปน หนุ่ม น้อย.

--- Page 344 ---
      หนุ่ม อยู่ (344:6.5)
               คือ คน อายุ ยัง อยู่ ใน ปถมะ ไวย ใน ยี่สิบ ห้า ปี ลง มา นั้น.
      หนุ่ม ความ (344:6.6)
               คือ คน รู้ ความ อ่อน อยู่ ยัง ไม่ รู้ มาก, เหมือน คน เด็ก รู้ ความ อัน ใด ยัง น้อย นั้น.
      ทนุ่ม สาว (344:6.7)
               คือ ชาย หญิง อายุม์ ต่ำ กว่า สาม สิบ ปี ลง มา นั้น.
แนม (344:1)
         คือ แกล้ม เข้า, ไม้ เล็ก หลวม รู อยู่ เขา เอา ไม้ อื่น แกล้ม เข้า ให้ ได้ กับ รู. อย่าง หนึ่ง เขา เรียก ของ กิน ว่า หมูแนม, เขา ทำ ด้วย หมู กับ ของ อื่น บ้าง, เมื่อ จะ กิน เอา ใบ ทอง หลาง แนม เข้า.
      แนม แซม (344:1.1)
               คือ เอา ของ อัน ใด ๆ เสียด แอบ เข้า นั้น.
      แนม เหน็บ (344:1.2)
               คือ สิ่ง ที่ เขา เสียด เข้า ที่ ใด ๆ, ว่า เอา สิ่ง นั้น แนม เหน็บ เข้า.
      แนม ใบ (344:1.3)
               คือ ดอก ฤๅ ลูก ไม้ ที่ มัน ออก ชิด ติด กับ ใบ นั้น.
โน้ม (344:2)
         น้าว, น้อม, คือ น้าว เหนี่ยว ลง, คน น้าว ต้น ไม้ ให้ อ่อน ลง ถึง มือ ว่า โน้ม ลง.
      โน้ม กิ่ง (344:2.1)
               น้อม กิ่ง, น้าว กิ่ง, คือ น้าว กิ่ง ไม้ ลง, เขา จะ เก็บ ดอก ไม้ ฤๅ ผล ไม้ ที่ มัน สูง เอา มือ น้าว กิ่ง ลง นั้น.
      โน้ม เกษ (344:2.2)
               น้อม เกล้า, โอน เศียร, คือ โอน อ่อน หวัว ลง นั้น, ว่า โน้ม เกษ, คน จะ คำนับ แก่ พระ เปน ต้น* แล ก้ม ศีศะ ลง นั้น.
      โน้ม เก็บ (344:2.3)
               น้าว เก็บ, น้อม เก็บ, เขา น้าว เหนี่ยว ต้น ไม้ ลง เก็บ เอา ผล ฤๅ ดอก นั้น, คน จะ ต้อง การ ผล แล ดอก ไม้ เหนี่ยว ต้น ไม้ ลง นั้น.
      โน้ม กาย (344:2.4)
               น้อม กาย, อ่อน กาย, คือ โอน ตัว ลง, คน จะ คำรพย์ ต้อง น้อม กาย ลง บ้าง นั้น.
      โน้ม ใจ (344:2.5)
               น้อม ใจ, หน่วง ใจ, คือ น้อม ใจ ลง, คน ถ่อม ใจ ลง ใจ ไม่ ถือ ตัว ไม่ ถือ มานะ นับ ว่า ตัว มี ชาติ กระกูล.
      โน้ม จิตร (344:2.6)
               ความ เหมือน กับ โน้ม ใจ.
      โน้ม น้อม (344:2.7)
               คือ น้าว เกษ ลง นั้น.
      โน้ม น้าว (344:2.8)
               คือ โน้ม น้าว ต้น ไม้ เช่น ว่า แล้ว บ้าง. อย่าง หนึ่ง เปน ความ เปรียบ ว่า ช่วย ว่า กล่าว โน้ม น้าว ด้วย.
      โน้ม ยอด (344:2.9)
               น้าว ยอด, เหนี่ยว ยอด, คือ น้าว ยอด ไม้ เข้า มา เช่น ว่า แล้ว, เขา จะ ต้อง การ ผล แล ดอก เอา มือ น้าว ยอด ไม้ ลง นั้น.
      โน้ม ลง (344:2.10)
               น้าว ลง, เหนี่ยว ลง, คือ น้าว ต้นไม้ ลง ให้ ต่ำ ได้ เก็บ ง่าย, เขา จะ เก็บ ลูก แล ดอก จึ่ง น้าว ต้น ลง นั้น.
      โน้ม องค์ (344:2.11)
               น้อม องค์, อ่อน กาย, คือ น้อม กาย ลง ว่า โน้ม องค์, เปน คำ สูง สำหรับ คน มี บุญ, ๆ กาย เรียก ว่า องค์
น้อม (344:3)
         น้าว, นอบ, คือ ก้ม ลง, เช่น คน ทำ อาการ ด้วย คำรพ เปน ต้น, คน จะ ทำ คำรพย์ ต้อง น้อม ลง.
      น้อม เกษ (344:3.1)
               ก้ม เกษ, ก้ม เกล้า, คือ ก้ม ศีศะ ลง, เปน คำ ผู้ ดี คำ สูง เพราะ สำหรับ แต่ง เรื่อง หนังสือ ให้ เพราะ นั้น.
      น้อม กาย (344:3.2)
               อ่อน ตัว, โอน กาย, คือ โอน ตัว ลง, เปน อาการ กำรพย์ เปน ต้น.
      น้อม เข้า มา (344:3.3)
               โอน เข้า มา, อ่อน เข้า มา, คือ ก้ม ตัว เข้า มา เปน อาการ คำรพย์ เปน ต้น นั้น.
      น้อม ค้อน (344:3.4)
               อ่อน ลง, คือ โน้ม กิ่ง ไม้ แล้ว ค้อน ขึ้น, คน น้อม กิ่ง ไม้ แล้ว ทำ ให้ ไม้ ดีด ขึ้น นั้น.
      น้อม ใจ (344:3.5)
               โน้ม ใจ, คือ ถ่อม ใจ ลง, อาการ ที่ ใจ คำรพย์ ไม่ ถือ มานะ ว่า เรา ดี กว่า, ถือ อย่าง นี้ ดี กว่า.
      น้อม วาจา (344:3.6)
               คือ กล่าว ถ้อย คำ อ่อน หวาน ไพรเราะ นั้น.
      น้อม เศียร (344:3.7)
               น้อม เกษ, น้อม เกล้า, คือ ก้ม อ่อน หวัว ลง. เปน อาการ กิริยา คำรพย์, คน ทำ คำนับ แก่ พระเจ้า นั้น.
      น้อม เกล้า (344:3.8)
               ก้ม เศียร, อ่อน สีโรตม์, น้อม หวัว, ก้ม เก้ลา ก้ม เกษ, น้อม องค์, โอน กาย, อ่อน ตัว.
นวม (344:4)
         เปน ของ เขา ทำ ด้วย ผ้า หุ้ม ไว้ ข้าง นอก ข้าง ใน ใส่ สำลี สำหรับ ห่ม ระดู หนาว นั้น เรียก นวม.
      นวม ชก มวย (344:4.1)
               ของ เขา ทำ ด้วย หนัง ฟอก เอา นุ่น ใส่ ใน, ใช้* แทน มือ ชก ถูก เข้า ไม่ เจ็บ นั้น.
      นวม ห่ม (344:4.2)
               คือ ของ เปน ผ้า ห่ม ระดู หนาว เช่น ว่า แล้ว, ลาง ที จีน ทำ มา แต่ เมือง จีน มี บ้าง.
น่วม (344:5)
         คือ ของ อ่อน นุ่ม, ว่า ของ น่วม, เมือน ลูก ไม้ ที่ สุก มี ลูก มะม่วง เปน ต้น นั้น.
      น่วม นิ่ม (344:5.1)
               คือ อ่อน ละมุน นั้น.
      น่วม เหลว (344:5.2)
               คือ ของ อ่อน นุ่ม นัก, เหมือน หมอน มี นุ่น หนิด หน้อย, อ่อน ละมุน นัก นั้น.
      น่วม เนี่ยม (344:5.3)
               คือ อ่อน นุ่ม นั้น

--- Page 345 ---
เนียม (345:1)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ชื่อ ต้น เนียม, เปน ต้น ไม้ เล็ก สูง ศัก สอก เศศ, ใบ มัน หอม เหมือน กลิ่น เข้า ใหม่. อย่าง หนึ่ง เปน ชื่อ ช้าง ว่า ช้าง เนียม, เพราะ งา มัน สั้น อยู่ ริม งวง ศัก คืบ หนึ่ง.
      เนียม ใบ (345:1.1)
               คือ ใบ เนียม เช่น ว่า แล้ว. อย่าง หนึ่ง เปน เครื่อง มือ ของ ช่าง ทอง เขา ทำ ด้วย ทอง เหลือง สำหรับ กวดแหวน.
เนย (345:2)
         เปน ของ เขา ทำ ด้วย นมโค, พวก หมอ ชาว อะเมริกัน กิน ไม่ ขาด นั้น.
      เนย นม (345:2.1)
               คือ นมเนย เช่น ว่า แล้ว นั้น.
      เนย แขง (345:2.2)
               เปน เนย แค่น, คน เอา น้ำ นมโค ทำ ให้ ค่น แขง เปน ก้อน นั้น.
      เนย อ่อน (345:2.3)
               คือ เนย ข้น, เนย เขา ไม่ ได้ ทำ ให้ ค่น แขง นัก, แต่ มัน ค่น เข้า น่อย หนึ่ง นั้น.
นาย (345:3)
         จ้าว, คือ คน ที่ เขา ตั้ง ไว้ ให้ เปน ผู้ ว่า กล่าว บังคับ บันชา คน ที่ เปน บ่าว ไพร่ นั้น.
      นาย ก๊ก (345:3.1)
               คือ คน ที่ เปน นายกอง คน หนึ่ง, ภาษา จีน ว่า นายก๊ก.
      นาย กอง (345:3.2)
               คือ คน เปน ใหญ่ ใน กอง คน พลไพร่ ที่ ไป ทัพ เปน ต้น, แล เปน คน คุม บ่าว เรียก นาย กอง.
      นาย การ (345:3.3)
               คือ คน เปน นาย งาน, เหมือน การ ใน โรง พิมพ์ เปน ต้น, แล การ อื่น เปน ราชการ มี บ้าง นั้น.
      นาย แขวง (345:3.4)
               คือ คน เปน นาย ที่ ตำบล แห่ง หนึ่ง.
      นาย คุก (345:3.5)
               คือ คน เปน คน โทษ ใน กรม นะคร บาล, ชื่อ ทำมะ รง แล นาย ตรวจ อยู่ ดู แล ที่ คุก.
      นาย คุม (345:3.6)
               คือ คน สำหรับ ระวัง คุม คน โทษ ไม่ ให้ มัน หนี ไป ได้, คน นั้น เปน ผู้ คอย ดู แล บังคับ ให้ อยู่ ให้ ไป.
      นาย งาน (345:3.7)
               คือ คน เปน นาย คน ทำ การงาน, เปน ผู้ ตัก เตือน ให้ คน ทำ การ, แล ตัว ผู้ นั้น เปน ช่าง ด้วย.
      นาย เงิน (345:3.8)
               คือ คน ซื้อ คน ไว้ ใช้ เปน บ่าว ทาษ, ว่า ผู้ นั้น เปน นาย เงิน, เพราะ ผู้ ซื้อ ต้อง เสีย เงิน มา.
      นาย ช้าง (345:3.9)
               คือ เปน คน สำหรับ ขี่ ช้าง รักษา ช้าง คน หนึ่ง นั้น.
      นาย ช่าง (345:3.10)
               คือ คน เปน ช่าง แล เปน นาย คุม ไพร่ ด้วย นั้น.
      นาย ใหญ่ (345:3.11)
               คือ คน เปน นาย เปน ขุนนาง ยิ่ง กว่า นาย เล็ก น้อย.
      นาย ด้าน (345:3.12)
               คือ คน เปน นาย ทำ ราชการ หลวง, ท่าน เกน การ เปน สี่ ส่วน, คน นั้น เปน นาย ทำ ส่วน หนึ่ง.
      นาย ตะเวน (345:3.13)
               คือ คน เปน นาย ใน กอง ตะเวน, สำหรับ เทียว ดู คน ร้าย ใน กลาง คืน กลาง วัน ทั่ว ไป ใน เมือง.
      นาย ทหาร (345:3.14)
               คือ คน เปน นาย ใน พวก ทหาร, คน มี อานุภาพ มาก เปน ที่ เกรง กลัว แห่ง คน นั้น.
      นาย ทัพ (345:3.15)
               คือ คน เปน นาย ใน กอง ทัพ, ท่าน ตั้ง คน มี วาศนา อานุภาพ มาก ให้ เปน แม่ ทัพ นั้น.
      นาย ท้าย (345:3.16)
               คือ คน สำหรับ ประจำ การ ถือ ท้าย เรือ สำเภา นั้น.
      นาย หน้า (345:3.17)
               คือ คน ภา คน อื่น ไป สู่ สำนักนิ์ ที่ คน นั้น ไม่ รู้ จัก ฤๅ รู้ จัก กัน อยู่, แต่ ไม่ สู้ คุ้น เคย นั้น ว่า นาย หน้า.
      นาย น้ำ (345:3.18)
               คือ คน รับ ทำ อากร น้ำ, เปน ผู้ เก็บ เงิน ที่ คน จับ ปลา กิน แล ซื้อ ขาย นั้น.
      นาย บ้าน (345:3.19)
               คือ คน เขา ตั้ง ไว้ สำหรับ ว่า กล่าว การ ผิด แล ชอบ แก่ คน นั้น ๆ, เขา เรียก ว่า นาย บ้าน.
      นาย บาญชี (345:3.20)
               คน เปน ผู้ จดหมาย ชื่อ คน ฤๅ เข้า ของ ทั้ง ปวง ต่าง ๆ นั้น.
      นาย บ่อน (345:3.21)
               คือ คน เปน ผู้ จัด แจง สนาม เปน ที่ เล่น ต่าง ๆ, มี เล่น ถั่ว โป เปน ต้น นั้น.
      นาย นะรก (345:3.22)
               คือ นาย นิริยะบาล, เปน ผู้ สำหรับ การ ทำ โทษ สัตว์ ใน นะรก, เปน ต้น ว่า ไล่ แทง ไล่ ฟัน นั้น.
      นาย ประโมง (345:3.23)
               คือ คน มุ่ง จับ ปลา น้ำ จืด แล น้ำ เค็ม, ว่า นาย ประโมง.
      นาย ปะกัน (345:3.24)
               คือ คน ผู้ รับ คน ทาษ, เปน ต้น ว่า ถ้า มัน หนี ไป ให้ ท่าน เอา ตัว มัน กับ ข้าพเจ้า.
      นาย ผี (345:3.25)
               คือ นาย ปิสาจ, เมือน ซาตาน ที่ มัน จำแลง ตัว เปน งู เข้า มา พูดจา กับ ฮาวา นั้น, ว่า มัน เปน นาย ฝูง ผี.
      นาย พล (345:3.26)
               คือ เปน นาย ไพร่ ที่ ยก ไป ทำ สงคราม นั้น.
      นาย พรรค์ (345:3.27)
               คือ คน เปน นาย หมวด นาย กอง คุม คน นั้น.
      นาย พราน (345:3.28)
               คือ คน ถือ ปืน เปน ต้น เที่ยว ด้น ไป ยิง สัตว ใน ป่า มี ยิง ช้าง เปน ต้น, เขา เรียก ว่า นาย พราน.
      นาย ม้า (345:3.29)
               คือ คน เปน ผู้ ว่า กล่าว ใน กรมะม้า. อย่าง หนึ่ง เปน คน ผู้ เลี้ยง ม้า, เขา เรียก ว่า ควาน ม้า.
      นาย หมู่ (345:3.30)
               คือ คน เปน นาย พวก เลก ทั้ง ปวง, มัน มี ลูก ชาย หญิง ว่า ลูก มัน เปน ลูก หมู่ ของ นาย หมู่ นั้น.

--- Page 346 ---
      นาย หมวด (346:3.31)
               คือ คน เปน นาย พวก เลก กอง น้อย ๆ ตั้ง แต่ สิบ คน บ้าง ยี่ สิบ คน บ้าง*,
      นาย มาร (346:3.32)
               คือ นาย พลมาร, มัน คล้าย กับ พวก ยักษ มี ฤทธิ์ ต่าง ๆ กัน, รูป คล้าย กับ เทวดา แต่ ใจ บาป.
      นาย รอง (346:3.33)
               คือ คน เขา ตั้ง ไว้ เปน นาย น้อย ๆ ลง ไป นั้น, ท่าน ตั้ง คน ไว้ เปน นาย ใหญ่ คน หนึ่ง แล้ว ตั้ง นาย น้อย คน หนึ่ง.
      นาย ร้อย (346:3.34)
               คือ คน เปน นาย เลก* ร้อย คน, ว่า คน นั้น เปน นาย ร้อย, ท่าน ตั้ง นาย หมวด คุม คน ร้อย หนึ่ง,
      นาย เรือ (346:3.35)
               คือ คน เปน ต้น หน ฤๅ กับ ตัน เปน ต้น นั้น, ว่า เปน นาย เรือ เพราะ คน นั้น บังคับ คน ทั้ง ปวง ใน เรือ ลำ นั้น ได้.
      นาย เวร (346:3.36)
               คือ คน ท่าน เกน ให้ รับ ราชการ ผลัด เปลี่ยน เวียน กัน ไป พวก ละสิบ วัน, ตั้ง ไว้ ให้ เปน นาย คน หนึ่ง.
      นาย สิบ (346:3.37)
               คือ นาย หมวด คุม สิบ คน นั้น.
      นาย สร่วย (346:3.38)
               คือ คน ที่ ท่าน ตั้ง ไว้ เปน นาย สำหรับ เก็บ ของ สร่วย ใน พวก คน ที่ ต้อง เสีย สร่วย นั้น.
      นาย อากร (346:3.39)
               คือ คน เปน ผู้ เก็บ เงิน แต่ ราษฎร ส่ง เปน หลวง นั้น, เปน เงิน ค่า สวน เปน ต้น.
      นาย ห้าง (346:3.40)
               คือ คน เปน พ่อค้า ใหญ่, เปน ผู้ สำหรับ ปลด สิน ค้า แต่ ลูก ค้า มา ต่าง ประเทษ นั้น.
      นาย อำเภอ (346:3.41)
               คือ คน เปน ผู้ ได้ บังคับ ว่า กล่าว คน ชาว บ้าน ตำแหน่ง หนึ่ง นั้น.
หน่าย (346:1)
         คือ ความ เบื่อ, คน มา พูด จา ความ ที่ ไม่ ต้อง การ พูด มาก, ผู้ ฟัง ไม่ ชอบ ใจ ระอา รำคาน ใจ.
      หน่าย กัน (346:1.1)
               คือ เบื่อ จาก กัน.
      หน่าย การ (346:1.2)
               คือ ความ เบื่อ การ งาน, ว่า หน่าย การ, คน ทำ อัน ใด ๆ จน ระอา ใจ ว่า หน่าย การ.
      หน่าย เหนื่อย (346:1.3)
               หน่าย ว่า แล้ว, แต่ เหนื่อย นั้น, คือ ทำ การ นาน หนัก ล้า อ่อน แรง น้อย ไป นั้น.
      หน่าย แหนง (346:1.4)
               คือ ความ เบื่อ แล นึก หมาง ใจ, คน เหน คน กิริยา ไม่ ดี ชัง เบื่อ ไม่ ภอ ใจ นั้น.
      หน่าย เสีย แล้ว (346:1.5)
               คือ เบื่อ เสีย แล้ว.
      หน่าย ออก (346:1.6)
               คือ เบื่อ ออก.
น้าว (346:2)
         (dummy head added to facilitate searching).
      น้าว กระสุน (346:2.1)
               เหนี่ยว กระสุน, คือ คน ก่ง กระสุน ขึ้น แล้ว เอา ลูก กระสุน ใส่ เข้า, แล้ว หน่วง คร่า มา นั้น ว่า น้าว.
      น้าว ธะนู (346:2.2)
               หน่วง ธะนู, คือ คร่า สาย ธะนู มา, คน จะ ยิง ธะนู แล ก่ง ธะนู ขึ้น แล้ว คร่า สาย มา นั้น.
      น้าว หน่วง (346:2.3)
               เหนี่ยว หน่วง, คือ คร่า สาย ธะนู มา แล้ว ฉุต ตึง ไว้, คน ก่ง คัน ธะนู ขึ้น แล้ว คร่า สาย มา ยึด ไว้.
      น้าว ศร (346:2.4)
               คือ ก่ง ศร ขึ้น แล้ว ฉุด สาย หน่วง ไว้, คน จะ ยิง ศร ก่ง คัน ศร ขึ้น แล้ว คร่า สาย มา ยึด ไว้ นั้น.
หนาว (346:3)
         เอย็น, คือ ความ เอย็น จน ตัว สั่น นั้น.
      หนาว เอย็น (346:3.1)
               คือ ความ เอย็น นัก เมื่อ ระดู หิมะ ตก. ถ้า เข้า ระดู เหมันต์ หิมะ ตก มาก เอย็น นัก นั้น.
      หนาว ลม (346:3.2)
               คือ ความ เอย็น สะท้าน น่า ลม ว่าว นั้น.
      หนาว เหน็บ (346:3.3)
               เอย็น เปน เหน็บ, คือ เอย็น นัก เช่น นั้น, แล้ว มือ ฤๅ ท้าว เหน็บ ชา ไป ด้วย, ถึง ถูก ต้อง สิ่ง ใด ไม่ ใคร่ รู้ ศึก ตัว นั้น.
      หนาว น้ำค้าง (346:3.4)
               คือ ความ เอย็น สะท้าน สั่น น่า ระดู น้ำค้าง ตก นั้น.
นิ่ว (346:4)
         เปน ชื่อ โรค อย่าง หนึ่ง เปน ใน ทาง ปะสาวะ จับ เปน ก้อน หิน ปูน ให้ ขัด เบา เยี่ยว ไม่ ใคร่ ออก นั้น.
      นิ่ว หน้า (346:4.1)
               ขมวด หน้า, เสี้ยว หน้า, คือ คน ทำ หน้า ไม่ ปรกติ เมื่อ เวลา เจ็บ ปวด นั้น, คน ป่วย ปวด นัก มี หน้า ยู่ยี่ ไป นั้น.
นิ้ว (346:5)
         องคุลี, คือ อะไวยะวะ ที่ มือ แล ที่ ท้าว เปน ลำ กลม ๆ ยาว เปน ปล้อง ๆ มี ข้อ มี เล๊บ สำหรับ จับ ยึด ถือ ของ.
      นิ้ว กลาง (346:5.1)
               คือ อยู่ กลาง นิ้ว ทั้ง สี่, มือ ข้าง หนึ่ง มี นิ้ว ห้า นิ้ว, ท้าว ก็ เหมือน กัน.
      นิ้ว ก้อย (346:5.2)
               คือ นิ้ว เล็ก อยู่ ที่ สุด ข้าง หนึ่ง, เขา เรียก ว่า นิ้ว ก้อย เพราะ มัน เล็ก กว่า นิ้ว ทั้ง สี่ นิ้ว นั้น.
      นิ้ว ชี้ (346:5.3)
               คือ นิ้ว ถัด นิ้ว กลาง มา ข้าง หนึ่ง ชิด กับ หวัว แม่ มือ นั้น, เปน นิ้ว สำหรับ ชี้ จึ่ง เรียก นิ้ว ชี้.
      นิ้ว นาง (346:5.4)
               คือ นิ้ว ย่อม ถัด นิ้ว กลาง ไป ข้าง นิ้ว ก้อย, เปรียบ เหมือน หญิง ที่ เปน นาง จึ่ง เรียก นิ้ว นาง.
      นิ้ว หัว แม่มือ (346:5.5)
               คือ นิ้ว ใหญ่ อยู่ ถัด นิ้ว* ชี้ ที่ สุด ข้าง หนึ่ง* นั้น, เปรียบ เหมือน เปน แม่ นิ้ว ทั้ง สี่ นั้น* จึ่ง เรียก นิ้ว หัวแม่มือ.
      นิ้ว ตีน (346:5.6)
               คือ นิ้ว อยู่ ที่ ตีน ข้าง ละ ห้า นิ้ว, ก็ มี ชื่อ เหมือน กัน กับ นิ้ว มือ ทั้ง ห้า นิ้ว นั้น.
      นิ้ว มือ (346:5.7)
               คือ นิ้ว อยู่ ที่ มือ ข้าง ละห้า นิ้ว, มี ชื่อ ต่าง ๆ กัน, คือ นิ้ว หัวแม่มือ เปน ต้น นั้น.

--- Page 347 ---
นุ้ย (347:1)
         คือ ของ เล็ก ฤๅ เด็ก เล็ก ว่า ของ นุ้ย, เด็ก นุ้ย. อย่าง หนึ่ง ของ จ้อย ๆ เรียก ว่า ของ นุ้ย.
แนว (347:2)
         กระแส, คือ* แผล ที่ เรือ แตก ออก เรียก ว่า แนว. อย่าง หนึ่ง ของ อยู่ เปน แถว ที่ ตลอด ไป ตาม ฃอง นั้น ก็ ว่า แนว.
      แนว เฃา (347:2.1)
               แถว ภูเขา, ทิว ภูเขา, คือ ที่ ตลอด ไป ตาม ภูเขา เปน แถว, ว่า แนว เขา, คือ ที่ เปน เรื่อง เนื่อง กัน ไป นั้น.
      แนว คลอง (347:2.2)
               แถว คลอง, กระแส คลอง, คือ ที่ ตลอด ไป ตาม ริม คลอง ว่า แนว คลอง, คือ ที่ ริม ฝั่ง คลอง ติด ต่อ เนื่อง กัน นั้น.
      แนว แถว (347:2.3)
               คือ ของ อยู่ เรียง ๆ กัน ไป, ว่า ของ อยู่ เปน แถว แนว เนื่อง กัน, คือ ของ อยู่ เรียง เคียง กัน ไป นั้น.
      แนว ทาง (347:2.4)
               แถว ทาง, กระแส ทาง, คือ ที่ ตลอด ไป ตาม ริม ทาง ว่า ที่ แนว ทาง, คือ ที่ ริม สอง ข้าง ทาง นั้น.
      แนว น้ำ (347:2.5)
               แถว น้ำ, กระแสน้ำ, ตาม ทาง น้ำ, คือ ที่ ตลอด ไป ตาม ริม น้ำ ว่า แนว น้ำ, ที่ ริม แม่ น้ำ ติด เนื่อง กัน ไป.
      แนว หนอง (347:2.6)
               แถว หนอง น้ำ, กระแสหนอง, คือ ที่ ตาม ขอบ หนอง นั้น, ที่ ริม ขอบ หนอง ไป โดย รอบ หนอง นั้น.
      แนว บ้าน (347:2.7)
               แถว บ้าน. ทิว บ้าน, คือ ที่ ตลอด ไป ตาม ริม บ้าน ว่า แนว บ้าน, ที่ ริม ขอบ บ้าน ติด ๆ กัน ไป นั้น.
      แนว ป่า (347:2.8)
               แถว ป่า, ทิว ป่า, คือ ที่ ตลอด ไป ตาม ริม ป่า ไม้ ว่า แนว ป่า, ที่ ริม ชาย ป่า ตลอด เนื่อง ไป นั้น.
      แนว ใผ่ (347:2.9)
               แถว ใผ่, ทิว ใผ่, คือ ที่ ตลอด ตาม ริม กอ ใผ่, ที่ มี กอ ไม้ ใผ่ ติด ๆ กัน ไป นั้น.
      แนว แพ (347:2.10)
               แถว แพ, ทิว แพ, คือ ที่ ตลอด ไป ตาม แถว แพ ว่า แนว แพ, เขา จอด แพ เรียง ๆ กัน ไป นั้น.
      แนว ไม้ (347:2.11)
               แถว ไม้, ทิว ไม้, คือ ที่ ตลอด ไป ตาม แถว ต้น ไม้ ว่า แนว ไม้, ต้น ไม้ มัน ขึ้น ติด ต่อ กัน เปน แถว นั้น.
      แนว เรือ (347:2.12)
               แตก เปน ไร งา, คือ ที่ เนื้อ เรือ มัน แตก ออก ยาว ไป ว่า แนว เรือ, ๆ มัน มี แผล ยาว ไป นั้น.
      แนว รั้ว (347:2.13)
               แถว รั้ว, ตาม ทิว รั้ว, คือ ที่ ตลอด ไป ตาม รีม รั้ว ว่า แนว รั้ว, ที่ ริม รั้ว ตลอด ติด เนื่อง กัน ไป จน สิ้น รั้ว นั้น.
      แนว เรือน (347:2.14)
               แถว เรือน, ทิว เรือน, ที่ ตลอด ไป ตาม ริม เรือน ว่า แนว เรือน, ที่ เนื่อง กัน ตลอด ไป จน สิ้น เรือน นั้น.
      แนว เส้น (347:2.15)
               แถว เส้น, กระแส เอ็น, คือ ที่ กาย คน ตลอด ไป ตาม แถว เส้น ว่า แนว เส้น, ที่ ตัว คน มี เส้น ขึ้น ว่า แนวเส้น.
      แนว ทุ่ง (347:2.16)
               แถว ทุ่ง, ทิว ทุ่ง, คือ ที่ ตลอด ไป ตาม ทุ่ง นา, ว่า แนวทุ่ง, ที่ ทุ่ง นา ตลอด ไป จน สิ้น ทุ่ง นั้น.
      แนว สวน (347:2.17)
               แถว สวน, ทิว สวน, คือ ที่ ตลอด ไป ตาม ทิว สวน, ว่า แนว สวน, ที่ สวน ติด เนื่อง* กัน ไป นั้น.
      แนว หาด ทราย (347:2.18)
               แถว หาด ทราย, ตาม หาด ทราย, คือ ที่ ตลอด ไป ตาม ริม หาด, ว่า แนว หาด ทราย, ที่ หาด ทราย เนื่อง กัน ไป นั้น.
แน่ว (347:3)
         ตรง, เที่ยงธรรม์, คือ ว่า ที่ ตรง ไป ไม่ คด เลย, ว่า แน่ว ไป, ที่ ตรง ขึง ไป เหมือน เส้น บันทัด นั้น.
      แน่ว ตรง (347:3.1)
               ตรง แน่ว, อัน นี้ ความ เหมือน กัน กับ ว่า แล้ว, เช่น ที่ มี แถว ตลอด ไป จน ที่ สุด นั้น.
      แน่ว แน่ (347:3.2)
               คือ ที่ คน ทอด ประทัด ตรง ดิ่ง ไป ไม่ เคลื่อน คลาศ, ว่า แน่ว แน่.
      แน่ว ไป (347:3.3)
               คือ แน่ ตรง ไป นั้น.
น้อย (347:4)
         คือ ของ มี อัน เดียว, ว่า ของ น้อย, ของ อัน ใด ไม่ มี มาก หลาย อัน นั้น.
      น้อย ๆ (347:4.1)
               คือ ของ มี แต่ อัน หนึ่ง ฤๅ สอง นั้น.
      น้อย ใจ (347:4.2)
               คือ ความ เสีย ใจ, เหมือน เขา ให้ ของ ผู้ อื่น มาก, ให้ ตัว แต่ น้อย เสีย ใจ.
      น้อย จ้อย (347:4.3)
               คือ เด็ก เล็ก นั้น.
      น้อย หน้า (347:4.4)
               ต้อง ง้อ เขา, คือ ว่า คน จะ มี ธุระ ไป ไม่ มี เรือ จะ ไป, มี ผู้ ว่า ให้ พลอย เดิน สาน ไป กับ เขา, ถือ ตัว ไม่ ไป กับ เขา, พูด ว่า ไป น้อย หน้า เขา ทำ ไม.
      น้อย ฤๅ แนะ (347:4.5)
               คือ คำ คน พูด โดย เคือง ใจ, ตัว อยาก ไป ด้วย เขา, ๆ ว่า เรือ เล็ก เขา ไม่ เอา ไป, คน นั้น ว่า น้อย ฤๅ แนะ*.
      น้อย ตัว (347:4.6)
               คือ ตัว คน มี น้อย นั้น.
      น้อย ไป (347:4.7)
               คือ ของ ฤๅ คน เปลือง ไป ยัง ว่า น้อย ไป อยู่ แต่ หนึ่ง สอง สาม เปน ที่ สุด, ของ แต่ แรก มี มาก ครั้น หมด เขา ว่า น้อย ไป.
      น้อย คน (347:4.8)
               คือ คน มี น้อย นั้น.

--- Page 348 ---
      น้อย นัก* (348:4.9)
               เบา บาง นัก, คือ ของ ฤๅ คน มี แต่ อัน เดียว ฤๅ คน เดียว. ว่า น้อย นัก, เพราะ ของ ไม่ มี หลาย คน นั้น.
หน่อย เดียว (348:1)
         หนิด เดียว, หนิด หนึ่ง, คือ ของ เดิม มี มาก, ครั้น นาน มา หมด ไป ยัง แต่ อัน เดียว นั้น. ของ มี อยู่ อัน เดียว, ว่า ของ หน่อย เดียว.
หน้อย หนึ่ง (348:2)
         คือ ของ ยัง อัน เดียว, ว่า ยัง หน้อย หนึ่ง, ถ้า เวลา ยัง ศัก สอง สาม นาที ว่า เวลา ยัง หน้อย หนึ่ง.
หน่วย (348:3)
         ลูก, ผล, คือ ลูก ไม้ เรียก ว่า หน่วย แล ภาชะนะ เครื่อง ใช้ มี จอก แก้ว เปน ต้น, ว่า หน่วย,
      หน่วย ก้าน (348:3.1)
               คือ ลูก ไม้ แล ก้าน ที่ ต้น ใบ ไม้ เปน ต้น. อย่าง หนึ่ง คน มี หน้า ตา เปน คน กล้า ว่า หน่วย ก้าน หน้า กลัว.
      หน่วย ตา (348:3.2)
               ลูกตา, คือ ลูก ตา, เขา เรียก ลูก ตา คา คน ฤๅ สัตว นั้น, ว่า หน่วย ตา, เพราะ กลม นั้น.
      หน่วย เดียว (348:3.3)
               ผล เดียว, ลูก หนึ่ง, คือ ลูก หนึ่ง, ผล ไม้ เดิม มี สิบ ลูก สิบ สอง ลูก, ครั้น นาน มา สิ้น ไป ยัง เหลือ ลูก หนึ่ง นั้น.
      หน่วย โต (348:3.4)
               ผล โต, ลูก ใหญ่, คือ ลูก โด, ลูก ไม้ แต่ แรก แรก ยัง อ่อน อยู่ เท่า ลูก พุทรา, ครั้น แก่ ใหญ่ ขึ้น เท่า ลูก ซ่มโอ, ว่า หน่วย โต.
      หน่วย หนึ่ง (348:3.5)
               ใบ เดียว, ผล หนึ่ง, ลูก หนึ่ง, คือ ลูก เดียว, ผล ไม้ แต่ แรก มี ลูก เดียว, ครั้น อยู่ มา ออก อีก ตั้ง แต่ สอง ลูก สาม ลูก ขึ้น ไป มิ ใช่ ลูก เดียว.
      หน่วย เล็ก (348:3.6)
               ผล เล็ก, ลูก ย่อม, คือ ลูก เล็ก, ผล ไม้ แรก ออก ลูก เท่า ผล พุทรา แล เล็ก กว่า นั้น, ว่า ผล นั้น หน่วย เล็ก, เพราะ ผล ไม่ โต นั้น.
      หน่วย ย่อม (348:3.7)
               ลูก เล็ก, ลูก มึน, คือ ลูก เขื่อง ไม่ โต นัก, ไม่ เล็ก นัก, เปน ท่ำกลาง, ผลไม้ มี ลูก เขื่อง นั้น.
เหนียว (348:4)
         ตระหนี่, คือ ของ ไม่ เปราะ ยุ่ย, เหมือน เชือก หนัง เปน ต้น, แล ของ เปน ยาง เหมือน ยาง ไม้ นั้น.
      เหนียว จริง (348:4.1)
               ตระหนี่ แท้, คือ เหนียว แท้, เหมือน เชือก หนัง ฤๅ เชือก เขา แช่ น้ำ มัน ยาง เปน ต้น นั้น.
      เหนียว เตียว (348:4.2)
               ตระหนี่ นัก, ขี้ ตืด, คือ คำ พูด เปน ความ เปรียบ คน ตระหนี่ ของ ไม่ ให้ ใคร, เขา ว่า คน นั้น เหนียว, แต่ เตียว เปน คำ สร้อย.
      เหนียว นี่ (348:4.3)
               หวง นี่, คือ คน เปน นี่ เขา อยู่, ถึง ได้ เงิน มา ก็ ไม่ ใช้ เขา, ว่า เหนียว นี่, เพราะ หวง ทรัพย์ นัก นั้น.
      เหนียว แน่น (348:4.4)
               คือ คำ เขา พูด ถึง คน ตระหนี่, ว่า เหนียว แน่น, เปน ความ เปรียบ คน ที่ ไม่ ใคร่ ให้ ของ แก่* ผู้ ใด.
เหนี่ยว (348:5)
         (dummy head added to facilitate searching).
      เหนี่ยว เกี่ยว (348:5.1)
               คือ เอา ขอ เกี่ยว เหนี่ยว ไว้ นั้น.
      เหนี่ยว ชัก (348:5.2)
               คือ หน่วง ชัก เชือก, เขา จะ ลาก ไม้ ฤๅ จะ ฉุด กิ่ง ไม้ เปน ต้น, เอา เชือก* ผูก แล้ว ชัก มา หน่วง มา.
      เหนี่ยว หน่วง (348:5.3)
               คือ เหนี่ยว ถ่วง ไว้.
      เหนี่ยว เชือก (348:5.4)
               คร่า เชือก, คือ หน่วง เชือก, ความ เหมือน กัน กับ ว่า แล้ว, คน เอา มือ ยึด เชือก ดึง ไว้ นั้น.
      เหนี่ยว โน้ม (348:5.5)
               คือ หน่วง น้าว ต้น ไม้ เปน ต้น, ลาง ที น้าว หน่วง ด้วย มือ, ลาง ที เอา เชือก ผูก โน้ม.
      เหนี่ยว ไม้ (348:5.6)
               ลาก ไม้, คือ หน่วง ต้น ไม้, ความ เหมือน กับ ว่า มา แล้ว, คน เอา มือ จับ ต้น ไม้ คร่า ไว้ นั้น.
      เหนี่ยว ยื้อ (348:5.7)
               คือ หน่วง เย่อ, คน เอา มือ ฤๅ เชือก ผูก เข้า ที่ ต้น ไม้ เปน ต้น ชัก เย่อ มา นั้น.
      เหนี่ยว ยึด (348:5.8)
               คือ เหนี่ยว ถือ ไว้.
      เหนี่ยว ยอด (348:5.9)
               คือ หน่วง ยอด ไม้, ความ เหมือน กัน ผิด แต่ ต้น กับ ยอด เท่า นั้น,
      เหนี่ยว หลัก (348:5.10)
               หน่วง หลัก, ฉุด หลัก, คือ หน่วง หลัก ที่ เขา ปัก ไว้, คน ยืน อยู่ บน เรือ ฤๅ บน แพ น้ำ เชี่ยว กลัว จะ ลอย ไป เอา มือ ยึด หน่วง หลัก ไว้.
      เหนี่ยว ไว้ (348:5.11)
               หน่วง ไว้, ฉุด ไว้, คือ หน่วง ไว้, คน ล่อง แพ มา จะ จอด ให้ แพ หยุด เอา มือ หน่วง หลัก ไว้.
      เหนี่ยว เอา (348:5.12)
               ฉุด เอา, หน่วง เอา, คือ คำ ว่า ให้ หน่วง เอา หลัก, คน กลัว เรือ จะ ลอย ไป เปน ต้น เขา หน่วง ไว้ นั้น.
เนือย (348:6)
         ช้า ลง, อ่อน ลง, คือ อ่อน ลง, เหมือน น้ำ ขึ้น เชี่ยว นัก, ครั้น เกือบ จะ ถอย ลง ก็ อ่อน ไหล เนือย ลง นั้น.
      เนือย ลง (348:6.1)
               ซา ลง, ช้า ลง, ความ เหมือน กับ ว่า แล้ว, คือ น้ำ เมื่อ แรก ไหล ขึ้น, ฤๅ แรก จะ ไหล ลง เรื่อย* ๆ นั้น.
เหนื่อย (348:7)
         หอบ หิว, ระหวย, คือ คน ทำ การ หนัก นาน เวลา, อ่อน ใจ แรง น้อย กำลัง สิ้น เข้า นั้น.

--- Page 349 ---
      เหนื่อย ใจ (349:7.1)
               อ่อน ใจ, ธ้อ ใจ, คือ อ่อน ใจ ธ้อ ใจ เข้า, คน ทำการ นาน เวลา ใจ ระหวย หิว อ่อน ไป, ไม่ แขงแรง เหมือน แต่ แรก นั้น.
      เหนื่อย ตีน (349:7.2)
               เลื้อย ล้า, เดิน ล้า, คือ ทำ การ ด้วย ตีน ๆ อ่อน ธ้อ แท้ ไป, ไม่ แขง แรง เหมือน แต่ แรก ทำ นั้น.
      เหนื่อย ตัว (349:7.3)
               คือ แบก ดัน ของ หนัก ด้วย บ่า เปน ต้น, ตัว อ่อน ธ้อ แท้ ไป นั้น.
      เหนื่อย เหน็ด (349:7.4)
               เหน็ด เปน คำ สร้อย ห้อย ท้าย นั้น.
      เหนื่อย หน่าย (349:7.5)
               คือ เหนื่อย เข็ด ระอา ใจ, ๆ ธ้อ ถอย ขยั้น ย่อ ไป ไม่ มี ความ เพียร กล้า นั้น.
      เหนื่อย ล้า (349:7.6)
               คือ เหนื่อย เมื่อย อ่อน แล่ ไป.
      เหนื่อย แรง (349:7.7)
               อ่อน กำลัง, คือ กำลัง ธ้อ แท้ ถอย ลง, แต่ แรก ทำ กำลัง มาก, ครั้น ทำ ไป นาน เวลา เข้า แรง น้อย ลง.
      เหนื่อย กาย (349:7.8)
               เหนื่อย ตัว, เหนื่อย ร่าง, คือ กาย ตัว ธ้อ แท้ อ่อน โรย โหยหิว ไป, อยาก จะ หยุด นั่ง นอน เสีย, ว่า เหนื่อย กาย.
      เหนื่อย หนัก (349:7.9)
               คือ คน เหนื่อย มาก, ด้วย เขา ทำการ มาก แล นาน เวลา นั้น.
      เหนื่อย หิว (349:7.10)
               คือ คน เหนื่อย เช่น ว่า แล้ว, แล ใจ ระหวย แรง น้อย ไป.
      เหนื่อย อ่อน (349:7.11)
               คือ คน เหนื่อย แล ใจ ธ้อแท้ มือ ท้าว เพลีย ไป นั้น.
เนียรคุณ (349:1)
         คือ คน ให้ โทษ แก่ ผู้ มี คุณ.
เนียรไภย (349:2)
         คือ นิราศ ปราศจาก ไภย.
เนียรทุกข์ (349:3)
         คือ นิราศ ปราศจาก ความ ทุกข์.
เนียรเทษ (349:4)
         คือ เขา ให้ ปราศจาก ประเทษ ที่ อยู่, คือ ขับ เสีย.
เนียรมิต (349:5)
         คือ นิระมิตร, สร้าง ขึ้น ทำ ขึ้น นึก อย่าง ใด ก็ เกิด ขึ้น.
เนื้อ (349:6)
         คือ ของ เปน ปัถวีธาตุ จับ ต้อง แขง ไม่ เหลว เหมือน น้ำ นั้น, เรียก ว่า เนื้อ เพราะ กระด้าง นั้น.
      เนื้อ ชั่ว (349:6.1)
               คือ ผ้า ที่ เนื้อ หยาบ, ว่า ผ้า เนื้อ ชั่ว เปน ต้น, สิ่ง ของ อื่น นอก จาก ผ้า ถ้า ไม่ ดี, ว่า เนื้อ ชั่ว.
      เนื้อ ความ (349:6.2)
               คือ ข้อ ความ, ฤๅ ใจ ความ ฤๅ กระทู้ ความ เรื่อง ความ เปน ต้น.
      เนื้อ ดี (349:6.3)
               คือ ผ้า ที่ เนื้อ ละเอียด เกลี้ยง, ว่า ผ้า เนื้อ ดี เปน ต้น, ของ อื่น นอก จาก ผ้า ถ้า ดี ว่า เนื้อ ดี.
      เนื้อ แท้ (349:6.4)
               คือ ของ ที่ แท้ จริง, ที่ สัจ ที่ จริง, ความจริง, ตามจริง.
      เนื้อ หยาบ (349:6.5)
               คือ เนื้อ ผ้า ฤๅ เนื้อ ไม้ เปน ต้น, ไม่ ละเอียด เหน เปน เส้น โต ๆ อยู่, ว่า เนื้อ หยาบ.
      เนื้อ หนัง (349:6.6)
               คือ เนื้อ เปน ของ ใน ตัว คน ฤๅ สัตว์, หนัง นั้น คือ ผิว ที่ มัน หุ้ม เนื้อ อยู่ นั้น.
      เนื้อ ร้าย (349:6.7)
               คือ เนื้อ ของ สาระพัด ที่ เน่า ที่ ชั่ว. อย่าง หนึ่ง สัตว์ มี เสือ เปน ต้น, เหน คน ไล่ ฃบ กัด นั้น.
      เนื้อ เบื้อ (349:6.8)
               เปน ชื่อ สัตว ใน ป่า สอง จำพวก. อีก อย่าง หนึ่ง คือ เนื้อ ของ เบื้อ นั้น เอง.
      เนื้อ สัตว (349:6.9)
               มังสัง สัตว, คือ เนื้อ เช่น ว่า ใน ตัว สัตว สี่ ท้าว แล สอง ท้าว เปน ต้น นั้น*.
      เนื้อ สด (349:6.10)
               มังสัง สด, คือ เนื้อ ไม่ เน่า ไม่ เปื่อย ไม่ แห้ง ไม่ เหี่ยว คน เถือ จาก กาย สัตว ใหม่ ๆ นั้น.
      เนื้อ ย่าง (349:6.11)
               มังสัง ย่าง, คือ เนื้อ เถือ ออก ใหม่ แล้ว ก่อ ไฟ ให้ เปน ถ่าน แดง, แล้ว เอา เนื้อ นั้น ใส่ บน ร้าน ตรง ถ่าน ไฟ จน ศุก, ว่า เนื้อ ย่าง.
      เนื้อ แห้ง (349:6.12)
               เนื้อ เค็ม, คือ เนื้อ เถือ ออก ใหม่ ตาก แดด ไว้ จน แห้ง นั้น, เขา เรียก ชิ้น เนื้อ ใส่ เกลือ ตาก ไว้ แห้ง นั้น.
      เนื้อ เหี่ยว (349:6.13)
               เนื้อ ไม่ ตึง, คือ เนื้อ คน ตาก แห้ง แล้ว เก็บ ไว้ นาน, เนื้อ นั้น หู่ อยู้ ยี่ นั้น.
      เนื้อ อุ่น (349:6.14)
               คือ เนื้อ ย่าง บน เตา ไฟ ภอ ร้อน หน้อย หนึ่ง, ไม่ สู้ ร้อน แรง นัก นั้น.
      เนื้อ อ่อน (349:6.15)
               เนื้อ นิ่ม, เนื้อ นุ่ม, คือ เนื้อ ไม่ แขง กระด้าง อ่อน นุ่ม อยู่ บีบ เข้า น่วม อยู่ นั้น.
      เนื้อ เค็ม (349:6.16)
               เนื้อ แห้ง, เนื้อ แผ่น, คือ เนื้อ ที่ เขา เถือ เปน ชิ้น แล้ว ใส่ เกลือ ลง แช่ ไว้ จน เกลือ ทราบเข้า อยู่ ใน มี รศ เค็ม นั้น.
      เนื้อ ความ (349:6.17)
               ใจ ความ, ข้อ ความ, คือ ข้อ คะดี เรื่อง ราว อัน ใด อัน หนึ่ง ทุก เรื่อง นั้น, เขา เรียก เนื้อ ความ ได้ ความ มาก นั้น.
      เนื้อ ไม้ (349:6.18)
               กะลำพัก, กริศนา, คือ แก่น ไม้ ที่ หอม อย่าง หนึ่ง, เขา เอา มา เผา ไฟ เข้า มี กลิ่น หอม หวาน เปน ของ มี ราคา.
เหนือ (349:7)
         ข้าง บน, ข้าง ทิศ อุดร, คือ ที่ บน สูง. อย่าง หนึ่ง ที่ ไป ข้าง ทิศ อุดร, แล ที่ ถัด วัง นี่ ฤๅ บ้าน หมอ นี้ ขึ้น ไป มี วัด แจ้ง เปน ต้น* ว่า ที่ เหนือ.

--- Page 350 ---
      เหนือ เกษ (350:7.1)
               เหนือ ผม, เหนือ หัว, คือ คน ยก มือ ขึ้น สูง กว่า ผม ว่า มือ อยู่ เหนือ เกษ, เกษ นั้น แปล ว่า ผม.
      เหนือ เกล้า (350:7.2)
               เหนือ ศีศะ, เหนือ เศียร, คือ คน ยก มือ ขึ้น สูง พ้น ผม ที่ เกล้า ไว้, ว่า มือ อยู่ เหนือ เกล้า, เขา ทำ ผม เด็ก เปน จอม นั้น ว่า เกล้า จุก ไว้.
      เหนือ กระหม่อม (350:7.3)
               บน กลาง หวัว, บน ขม่อม, คือ ยก มือ ขึ้น สูง กว่า กระหม่อม, ว่า มือ อยู่ เหนือ กระหม่อม, ๆ นั้น คือ ที่ ตรง กลาง หวัว.
      เหนือ น้ำ (350:7.4)
               น้ำ ข้าง บน, คือ ที่ ดอน มี น้ำ ไหล ลง มา ท่า เดียว, ที่ ข้าง บน ๆ ขึ้น ไป นั้น ว่า ที่ อยู่ เหนือ น้ำ. อย่าง หนึ่ง น้ำ อยู่ ข้าง ล่าง ของ อื่น อยู่ ข้าง บน ว่า เหนือ น้ำ.
      เหนือ บ้าน (350:7.5)
               พ้น บ้าน ขึ้น ไป, บ้าน บน, คือ ที่ อยู่ พ้น บ้าน หมอ ขึ้น ไป เหมือน วัง กรมหลวง วงษาธิราช สนิท นั้น, ที่ อยู่ เกิน ขึ้น ไป เหนือ น้ำ นั้น.
      เหนือ เมือง (350:7.6)
               เหนือ กรุง, เหนือ นคร, คือ ที่ พ้น เมือง ขึ้น ไป เหมือน บาง ลำภู เปน ต้น นั้น, เขา เรียก ว่า เหนือ เพราะ อยู่ เหนือ น้ำ.
      เหนือ ลม (350:7.7)
               คือ ที่ พ้น ที่ ลม ขึ้น ไป. อย่าง หนึ่ง มี เมือง ชื่อ ช่อง ลม ที่ เกิน ขึ้น ไป, ว่า เหนือ ลม เพราะ พ้น ขึ้น ไป นั้น.
      เหนือ วัง (350:7.8)
               เหนือ ที่ ล้อม, พ้น วัง ขึ้น ไป, คือ ที่ พ้น วัง ขึ้น ไป เหมือน วัด แจ้ง เปน ต้น นั้น, ว่า ที่ เหนือ วัง เพราะ พ้น วัง ขึ้น ไป นั้น.
      เหนือ วัด (350:7.9)
               เกิน วัน ขึ้น ไป, พ้น วัด ขึ้น ไป, คือ ที่ อัน ใด อยู่ เกิน วัด ขึ้น ไป ข้าง บน, ว่า อยู่ เหนือ วัด, เพราะ ที่ อยู่ พ้น วัด ขึ้น ไป นั้น.
      เหนือ อาศะนะ (350:7.10)
               บน อาศะนะ, คือ บน ที่ สำหรับ นั่ง ฤๅ ที่ นอน นั้น, ว่า เหนือ นั้น, คือ เบื้อง บน นั้น.
เนอ (350:1)
         คือ เปน คำ พูด ยอม กัน, เปน ต้นว่า ไป เถิด เนอ, กิน เถิด เนอ, เปน คำ พูด ยอม พร้อม ใจ กัน.
เนอะหนะ (350:2)
         คือ* ของ ที่ เปน ยาง เหนียว เนอะหนะ นั้น.
แนะ (350:3)
         คือ คำ ครู สอน ลูกสิษ ให้ รู้ จัก ที่ สูง แต่ ไม่ บอก ตรง ๆ, ถาม สีษ ว่า ต่ำ แล้ว อะไร เล่า สิษ ก็ รู้ ว่า สูง, อย่าง นี้ เปน คำ แนะ
      แนะ นำ (350:3.1)
               คือ บอก ชี้ นำ ให้ นั้น.
      แนะ ให้ (350:3.2)
               คือ บอก อะธิบาย แนะนำ ให้, เหมือน อย่าง ชี้ แจง อะธิบาย ความ ต่าง ๆ ให้ นั้น.
      แนะ ทาง (350:3.3)
               คือ ชี้ แจง บอก หน ทาง ให้.
      แนะ นัด (350:3.4)
               คือ บอก กำหนฎ ให้ รู้ กัน ว่า เวลา นั้น เปน ต้น.
      แนะ ที่ (350:3.5)
               คือ ชี้แจง สำแดง* ที่ ให้ รู้ นั้น.
เหนาะ ๆ (350:4)
         เปน สำเนียง ดัง เหนาะ ๆ มี บ้าง.
นอ (350:5)
         คือ คน หวัว โดน ไม้ ฤๅ มี คน ต่อย ที่ หวัว โน บวม ขึ้น, ว่า หวัว นอ ขึ้น.
      นอ แรด (350:5.1)
               เขา แรด, คือ ที่ หวัว แรด มี กระดูก งอก ยื่น ออก มา ประมาณ ห้า นิ้ว หก นิ้ว นั้น เขา เรียก*ว่า นอแรด.
หนอ (350:6)
         คือ คำ ว่า จริง หนอ. มี คน หนึ่ง ว่า หวาย นี้ แช น้ำ เสีย ก่อน เหนียว ดี, คน หนึ่ง เหน ด้วย รับ ว่า จริง หนอ.
หน่อ (350:7)
         คือ ที่ กอ ใผ่ ฤๅ ที่ กอ ก้ลวย* เปน ต้น, มี แขนง แตก ออก งอก ขึ้น มา แต่ ใต้ ดิน นั้น, เรียก ว่า หน่อ.
      หน่อ กระษัตร (350:7.1)
               เปน ความ เปรียบ, เหมือน ลูก ของ กระษัตร, ว่า ลูก นั้น เปน เหมือน หน่อ ไม้ เปน ต้น นั้น.
      หน่อ กล้วย (350:7.2)
               คือ แขนง แตก ออก จาก เง่า กล้วย ขึ้น มา จาก ใต้ ดิน นั้น, เขา เรียก ว่า หน่อ กล้วย.
      หน่อ แขม (350:7.3)
               คือ แขนง แตก ออก จาก กอ แขม ที่ ใต้ ดิน นั้น, ว่า หน่อ แขม.
      หน่อ ข่า (350:7.4)
               คือ แขนง แตก ออก จาก หน่อ นั้น.
      หน่อ ไทย (350:7.5)
               คือ คน เกิด เปน ราช บุตร,
      หน่อ พุทธางกุร (350:7.6)
               เชื้อ สาย พุทธิ เจ้า, คำ ว่า หน่อ นั้น เช่น ว่า แล้ว, แต่ พุทธางกุร นั้น เปน สับท์ แปล ว่า หน่อ พระพุทธิเจ้า.
      หน่อ พระชินะศี (350:7.7)
               เชื้อสาย พระพุทธิเจ้า, คำ ว่า หน่อ นั้น เช่น ว่า แล้ว, แต่ ชินะศี นั้น เปน สับท์* แปล ว่า พระชะนะ แก่ มาร.
      หน่อ ไม้ (350:7.8)
               คือ แขนง ที่ แตก ออก จาก เง่า ไม้ ใผ่ ที่ ใต้ ดิน นั้น.
      หน่อ อ้อ (350:7.9)
               คือ แขนง ที่ แตก ออก จาก เงา ไม้ อ้อ นั้น.
นรชน (350:8)
         เกิด มา เปน คน, คือ ตัว คน แก่ ที่ ความ แก่ ชะรา แล มรณ นำ ไป นั้น.
นรลักษณ์ (350:9)
         ลักขณะ คน, คือ ลักษณะ แห่ง คน, คือ อะไวยะวะ มี มือ แล ท้าว เปน ต้น ที่ เขา ถือ ว่า ดี นั้น.
นรชาติ (350:10)
         เกิด เปน คน, คือ ความ ที่ บังเกิด เปน ชน นั้น.
นรสิงห์ (350:11)
         คือ สัตว มี ท้าว สอง มี หาง ยาว แต่ ตัว เปน รูป มนุษ.

--- Page 351 ---
นรมาด (351:1)
         นอแรด, คือ นอแรด มัน สูง ขึ้น ออก มา ที่ หวัว แรด เปน กระดูก.
(351:2)
         
บา (351:3)
         เปน ภาษา ลาว ว่า ครู, ๆ นั้น เปน ผู้ สำหรับ สอน สิษ ให้ รู้ การ วิชา ต่าง ๆ, มี หนังสือ เปน ต้น.
      บาดาล (351:3.1)
               คือ เปน ระวาง อยู่ ใต้ ดิน เปน ทิพย์ สว่าง ด้วย แสง รัศมี แก้ว, เปน ภิภพ แห่ง พญา นาค ทั้ง หลาย.
      บา ธรรมราช (351:3.2)
               เปน ชื่อ ครู คน หนึ่ง, มี ใน เรื่อง พงษาวดาร แต่ ครั้ง ตั้ง เมือง สัชะนาไลย อยู่ ฝ่าย เหนือ นั้น.
      บาหลี (351:3.3)
               คือ ที่ เขา ทำ ไว้ เปน ประทุน อยู่ ที่ ท้าย เรือ ท้าย สำเภา นั้น, เรียก ท้าย บาหลี.
      บาทา (351:3.4)
               ฯ ท้าว, บาท, เปน สับท์ แปล ว่า ตีน, ๆ นี้ เปน คำ คน พูด มา แต่ เดิม, ครั้น นาน มา เหน ว่า เปน คำ หยาบ จึ่ง เรียก ว่า ท้าว.
      บาระมี (351:3.5)
               ฯ การ ดี, การ กุศล, เปน สับท์ แปล ว่า ฝั่ง, การ ดี การ ที่ เปน กุศล เปรียบ เหมือน ฝั่ง, เพราะ เปน ที่ พึ่ง เปน ที่ อาไศรย์ นั้น.
      บาเรียญติ์ (351:3.6)
               รู้ รอบ, รู้ ทั่ว, เปน คำ แผลง จาก ปะรีญัติสับท์ แปล ว่า เล่า เรียน, ผู้ ที่ เล่าเรียน หนังสือ จำ ได้ มาก ดี นั้น.
      บาฬี (351:3.7)
               ฯ เปน ภาษา มะคะธะ เปน คำ สำหรับ โลกย์ มา แต่ เดิม, ว่า เปน ของ รักษา ไว้ ซึ่ง เนื้อ ความ นั้น.
บ่า (351:4)
         คือ อะไวยะวะไน กาย คน อยู่ ที่ ต้น แขน ทั้ง สอง ข้าง นั้น, ถึง ของ อื่น ถ้า มี อาการ คล้าย กับ บ่า ก็ เรียก ว่า บ่า.
      บ่า ขวา (351:4.1)
               คือ อะไวยะวะ เช่น ว่า นั้น อยู่ ข้าง ที่ ใช้ สนัด, ว่า บ่า ขวา, ถึง มือ ฤๅ ท้าว ที่ ทำ อัน ใด สนัด ว่า ข้าง ขวา.
      บ่า ซ้าย (351:4.2)
               อังษ เบื้อง ซ้าย, คือ อะไวยะวะ เช่น นั้น อยู่ ข้าง หนึ่ง ใช้ ไม่ สนัด นั้น, เขา เรียก ข้าง ซ้าย ทำ อัน ใด ไม่ สนัด.
บ้า (351:5)
         คือ คน สะติ เสีย สะติ ไม่ ปรกติ, ลืม ตัว ไม่ รู้ ชั่ว แล ดี, ชั่ว สำคัญ ว่า ดี ๆ สำคัญ ว่า ชั่ว, เสีย จะริต เปน ต่าง ๆ.
      บ้า ๆ (351:5.1)
               เขา พูด ถึง คน ที่ เสีย จรีต ว่า เปน บ้า ๆ อยู่.
      บ้า กาม (351:5.2)
               คือ คน สะติ น้อย, จิตร กำเริบ ใน ความ กำหนัด ใน ผู้ หญิง นัก, ขวน ขวาย ใน ความ กำหนัด โดย มาก.
      บ้า คลั่ง (351:5.3)
               คือ คน เสีย จริต แล้ว ดุร้าย ด้วย.
      บ้า กันชา (351:5.4)
               คือ คน ภอ ใจ สูบ ยา อย่าง หนึ่ง เขา เรียก ว่า กันชา เปน ยา เมา ให้ เชื่อม* ซึม สะติ น้อย ไป, มัก สดุ้ง ตก ใจ ให้ เกียจ คร้าน ไม่ ใคร่ ทำ การ งาน, หยาก กิน แต่ ของ หวาน.
      บ้า หลัง (351:5.5)
               หลัง เปน คำ สร้อย ติด เข้า มา.
      บ้า จี้ (351:5.6)
               คือ คน ชาย หญิง ที่ เขา เอา นิ้ว มือ จี้ ถิ้ม เข้า, แล้ว ว่า อะไร ก็ ว่า ตาม, ให้ ทำ อะไร ก็ ทำ ตาม นั้น.
      บ้า ดี เดือด (351:5.7)
               คือ คน เปน โรค เพราะ ดี มี รศ ขม เปน ฝัก ติด อยู่ กับ เครื่อง ใน กาย กำเริบ ไม่ ปรกติ, ให้ คลุ้ม คลั่ง เสีย สะติ เสีย จริต ไป ต่าง ๆ.
      บ้า บ่น (351:5.8)
               คือ คน มัก บ่น ซ้ำ ซาก.
      บ้า น้ำลาย (351:5.9)
               คือ คน สะติ น้อย, ภอ ใจ พูด มาก ไม่ ใคร่ หยุด พูด ได้ ความ บ้าง ไม่ ได้ ความ บ้าง พูด ต่าง ๆ นา ๆ.
      บ้า ใบ้ (351:5.10)
               คือ บ้า นิ่ง ๆ ไม่ พูด จา อะไร นัก.
      บ้า ยศ (351:5.11)
               คือ คน มี ยศ หนิด หน้อย, ใจ กำเริบ ตื่น สำแดง ยศ เกิน ประมาณ นั้น, เขา ว่า คน บ้า ยศ.
      บ้า บิ่น (351:5.12)
               คือ บ้า เฉียว ฉิน พลุ่ม พล่าม นั้น.
      บ้า ลำโพง (351:5.13)
               คือ คน กิน ลูก ลำโพง เมา, ให้ พูดจา เสียง ดัง อึง พูดได้ ความ น้อย เพ้อ ไป เปล่า ๆ มาก สำคัญ ว่า ตัว เปน คนดี.
      บ้า ไป (351:5.14)
               คือ บ้า ร่ำ ไป.
      บ้า ตัณหา (351:5.15)
               คือ คน สะติ น้อย มัก หยาก เกี้ยว ผู้ หญิง, เหน ผู้ หญิง สาว หนุ่ม พูดจา และเลียม จะ ใคร่ สังวาศ.
      บ้า หมู (351:5.16)
               คือ บ้า เพราะ ลม จำพวก หนึ่ง, เมื่อ มัน เปน ขึ้น สิ้น สะติ ลืม ตัว ล้ม ลง กับ พื้น ดิ้น รน ไป นั้น.
      บ้า ผู้ หญิง (351:5.17)
               คือ คน สะติ น้อย ลุ อำนาจ ใจ รัก ผู้ หญิง, อดกลั้น ความ กำหนัด ไม่ ได้ ทำ กีริยา เกี้ยว พาล นั้น.
      บ้า มุดทะลุ (351:5.18)
               คือ คน สะติ น้อย ดุดัน นั้น, เหมือน อย่าง คน เมา เหล้า เปน ต้น นั้น.
      บ้า เลือด (351:5.19)
               คือ คน โรค โลหิต เสีย ทำ ให้ จิตร กำเริบ ฟุ้ง ซ่าน ใจ น้อย มัก โกรธ ให้ พูด เพ้อ ต่าง ๆ. อย่าง หนึ่ง คน ฤๅ สัตว ถูก ต้อง อาวุธ บาดเจ็บ เลือด ออก, เกิด ความ โกรธ กล้า กีริยา คลุ้ม คลั่ง นั้น.
      บ้า ยอ (351:5.20)
               คือ คน ภอ ใจ ให้ เขา ยอ ว่า ดี ต่าง ๆ นั้น.
บิ (351:6)
         คือ แบะ, คน เอา มือ ถือ หวี กล้วย ข้าง หนึ่ง มือ ข้าง หนึ่ง จับ ลูก กล้วย บิ ออก นั้น ว่า บิ.

--- Page 352 ---
      บิ เอา (352:6.1)
               คือ เอา มือ จับ เข้า ที่ ของ แล้ว ให้ มัน หัก ออก น่อย หนึ่ง นั้น.
      บิ กล้วย (352:6.2)
               ความ เช่น ว่า แล้ว นั้น. คน จะ กิน กล้วย ที่ มัน ติด อยู่ กับ หวี, เอา มือ ทำ ให้ มัน หลุด ออก จาก* หวี นั้น,
      บิ ขนม (352:6.3)
               หัก ขนม, คือ คน ถือ ขนม ไว้ ด้วย มือ ข้าง หนึ่ง, มือ ข้าง หนึ่ง จับ ขนม แบะ ออก นั้น.
      บิ ของ กิน (352:6.4)
               หัก ของ กิน, คือ คน แบะ ของ กิน ต่าง ๆ, มี กล้วย* แล ขนม เปน ต้น. คำ ว่า บิ กับ แบะ ความ ผิด กัน หนิด หน่อย*.
      บิดา (352:6.5)
               ฯ ชนก, ฯ เปน สับท์ แปล ว่า พ่อ, คือ ชาย ที่ เปน ผัว ของ แม่ นั้น, เรียก ว่า พ่อ เปน สยาม ภาษา พูด มา แต่ ก่อน.
บี้ (352:1)
         คือ การ เช่น คน เหน เรือด ไต่ มา, เอา นิ้ว* มือ นิ้ว เดียว กด ลง บน ตัว เรือด, แล้ว ลาก ถู มา กับ พื้น ให้ ตัว เรือด แหลก ไป ว่า บี้ เรือด.
      บี้ บู้ (352:1.1)
               คือ บุบ ถลาย นั้น เอง, เหมือน ไข่ จัละเม็ด ที่ บู้ บี้ นั้น.
      บี้แบน (352:1.2)
               คือ เบ้ แบน นั้น เอง, เหมือน คน จะมูก บี้ เปน ต้น นั้น.
บุ (352:2)
         คือ คน เอา ทอง ฤๅ เงิน มา ตี แผ่ ให้ เปน แผ่น บาง, แล้ว หุ้ม เข้า ที่ รูป แบบ พระ, กด เข้า ให้ แนบ กับ แบบ เปน รูป เหมือน แบบ ว่า บุ พระ.
      บุ ขัน (352:2.1)
               คือ คน เอา ทอง เหลือง มา หลอม ทำ เปน แผ่น, แล้ว ตี ให้ กว้าง ใหญ่ ทำ ให้ คลุ่ม เข้า เปน รูป ขัน นั้น, ว่า บุขัน.
      บุ เงิน บุ ทอง (352:2.2)
               คือ แผ่ เงิน ฤๅ ทอง ให้ บาง เปน แผ่น, แล้ว หุ้ม หุ่น ไม้ เข้า ทำ รูป พระ เปน ต้น นั้น.
บุทคน (352:3)
         ฯ เปน สับท์ แปล ว่า คน มี กิเลศ หนา, คือ คน ที่ มี สิ่ง ให้ เศร้า หมอง มี โลภ เปน ต้น นั้น.
บุหลัน (352:4)
         นี่ คำ ภาษา แขก มัน เรียก ดวง พระจันท์ นั้น.
บุถุชน (352:5)
         ฯ เปน สับท์ แปล ว่า คน หนา ด้วย กิเลศ, คือ โลภ แล โกรธ แล หลง เปน ต้น, ว่า ของ ชั่ว นั้น มาก ใน ใจ.
บุหงา (352:6)
         นี่ คำ ภา แขก ชะวา มัน เรียก ดอก ไม้ ทุก สิ่ง นั้น.
บุตร (352:7)
         ฯ คือ ทารก ที่ เกิด เพราะ ชาย หญิง ผัว เมีย นั้น, เรียก ว่า บุตร ตาม สับท์, คำ สยาม เรียก ลูก.
บุหงัน (352:8)
         เหมือน คำ ก่อน, คือ ดอก ไม้ นั้น เอง, เหมือน หย่าง บุบผา เปน ต้น.
บุรุษ (352:9)
         ฯ คือ คน ผู้ ชาย บันดา มนุษ แล เทวดา เปน ชาย, เรียก ว่า บูรุษ ตาม คำ สับท์, เรียก ว่า ชาย เปน คำ ไทย.
      บุรุษ โทษ (352:9.1)
               คือ ลักษณ ใน ตัว ชาย, มี หน้า หัก แค่งโป นิ้ว มือ โต เกิน ประมาณ เปน ต้น.
บุหรี่ (352:10)
         คือ อยา สำหรับ คน สูบ, เขา เอา ใบ ตอง กล้วย มวน ให้ กลม เท่า นิ้ว มือ, ว่า บุหรี่.
บุระณะ (352:11)
          ฯ แปล ว่า เต็ม.
บูชา (352:12)
         คือ ถวาย, คน เอา ดอก ไม้ แล ธูปเทียน มา ถวาย แก่ รูป คำ รพย์ นั้น เปน ต้น.
      บูชา เทวดา (352:12.1)
               คือ คน เอา ของ มี ธูปเทียน แล ดอกไม้ เปน ต้น, ให้ แก่ เทวดา ฤๅ อุทิศ ให้ โดย คำรพย์ แก่ พระเจ้า.
      บูชา ครู (352:12.2)
               คือ เอา เครื่อง ให้ แก่ ครู โดย คำนับ.
      บูชา พระ (352:12.3)
               คือ คน เอา ของ มี ธูปเทียน เปน ต้น, ให้ ด้วย อุทิศ ถึง พระพุทธิเจ้า นั้น, ว่า บูชา เพราะ ให้ โดย คำรพย์.
      บูชา ไฟ (352:12.4)
               คือ ก่อ กอง ไฟ ให้ โพลง ขึ้น, แล้ว เอา เชื้อ ไม้ ใส่ เข้า บูชา นั้น.
      บูชา พระพุทธ์ (352:12.5)
               ความ เช่น ว่า แล้ว นั้น, คือ คน นับถือ พระ พุทธ์ ว่า เปน ที่ พึ่ง ได้, แล มี ของ อุทิศ ให้ โดย คำรพย์.
      บูชา คุณ (352:12.6)
               คือ เอา ของ อัน ใด อุทิศ ให้ แก่ บิดา มารดา เปน ต้น ที่ ล่วง ไป แล้ว นั้น.
      บูชา พระธรรม (352:12.7)
               คือ คน เอา ดอกไม้ ธูปเทียน เปน ต้น, ให้ จำ เภาะ คำรพย์ แก่ พระธรรม นั้น.
      บูชา พระสงฆ์ (352:12.8)
               คือ คน เอา ดอกไม้ ธูปเทียน เปน ต้น, ให้ จำ เภาะ คำรพย์ แก่ พระสงฆ์ นั้น.
      บูชา เยศร (352:12.9)
               คือ คน เอา ของ เครื่อง ต่าง ๆ มี ดอกไม้ เปน ต้น, จำเภาะ ให้ แก่ ผู้ เปน ใหญ่ ที่ นับถือ เปน อิศระ
      บูชา ยัญ (352:12.10)
               คือ คน เปน พวก พราหมณะ เอา สัตว มา ฆ่า เผา ถวาย พระอิศร พระนารายน์ ว่า บูชายัญ.
บูรีย์ (352:13)
         ฯ เปน สัปท์ แปล ว่า เมือง น้อย, เมือง เอก, เมือง โท, แล เมือง ตรี, เมือง จัตวา นั้น.
บูรม บูราณ (352:14)
         บันดา ของ มี มา แต่ อายุ ปู่ หย้า ตา ยาย, เขา ว่า ของ บูรม บูราณ นั้น.
บูระพา (352:15)
         ฯ เปน สับท์ แผลง, แปล ว่า ทิศ ตวัน ออก, คือ ทิศ ก่อน เมื่อ นับ ทิศ ทั้ง แปด เขา นัน ทิศตวัน ออก ก่อน.

--- Page 353 ---
บูราณ กรรม (353:1)
         คือ กรรม เก่า ก่อน นั้น เอง, เหมือน อย่าง คำ ว่า, กรรม หน หลัง นั้น.
บูราณะทุติยะกา (353:2)
          ฯ, เปน สับท์, แปล ว่า หญิง เปน คู่ สอง เก่า ชาย หญิง เปน ผัว เมีย กัน, แล้ว ไม่ ได้ อยู่ ด้วย กัน, ฝ่าย ผัว ไป บวช อยู่ อื่น, เรียก หญิง นั้น ว่า เปน บูราณะทุติยะ กา ของ ชาย นั้น.
บูรีรัตนะ (353:3)
          ฯ, แปล ว่า เมือง แก้ว.
บูราณะ (353:4)
          ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า เก่า, บันดา สิ่ง ที่ มี มา ใน กาล ก่อน นาน แล้ว ว่า ของ บู ราณ.
บูรีรมย์ (353:5)
         ว่า เมือง สนุกนิ์, ฤๅ เมือง เปน ที่ ยินดี นั้น เอง
บู่ (353:6)
         คน ชื่อ บู่ บ้าง, เปน ของ สำรับ ฟอก ผ้า แล ทา ตัว บ้าง, เขา เรียก ว่า ซ่า บู่. อย่าง หนึ่ง เปน ชื่อ ปลาบู่ บ้าง.
บู้ (353:7)
         คือ บุ้ม ของ ที่ เปน ภาชนะ มี ม่อ เปน ต้น, ปั้น ใหม่ ยัง อ่อน อยู่, คน จับ เข้า หนัก ของ นั้น ยุบ เข้า ไป, ว่า บู้.
      บู้ หวำ (353:7.1)
               คือ บุ้ม กลาง ชัก ฦก ลง นั้น.
      บู้ บี้ (353:7.2)
               คือ ของ ม่อ เปียก เช่น ว่า นั้น, จับ เข้า บุ้ม เข้า ไป แล เบี้ยว ไป นั้น, ม่อ เขา ทำ ใหม่ ๆ ยัง เปียก ถูก เข้า มัน เบี้ยว บุ้ม นั้น.
      บู้ เบี้ยว (353:7.3)
               คือ บุ้ม แล้ว เบี้ยว ไป ด้วย.
เบ้ (353:8)
         คือ ของ ม่อ เปียก เช่น ว่า นั้น. จับ เข้า หนัก มือ ปาก ภาชนะ นั้น บี้ มาก ไป, ว่า ของ เบ้ ไป.
      เบ้ ปาก (353:8.1)
               คือ คน ทำ ปาก แบะ, คน พูด กัน ไม่ เชื่อ กัน ข้าง ผู้ ไม่ เชื่อ มัก ทำ ปาก แบะ, เปน สำคัญ ว่า ไม่ เชื่อ.
แบ (353:9)
         คือ แผ่ มือ, คน จะ ฃอ ฤๅ จะ รับ ของ กัน, แผ่ ฝ่ามือ ออก รับ เอา ของ นั้น.
      แบ ขา (353:9.1)
               คือ แผ่ ขา ไว้, เหมือน อย่าง นอน หงาย แบ ขา นั้น.
      แบ หนังสือ (353:9.2)
               คือ แผ่ หนังสือ, คน จะ อ่าน ฤๅ จะ* ดู เอา หนังสือ ที่ ภับ ฤๅ ที่ หุบ อยู่ มา แผ่ ออก, ว่า แบ ออก.
      แบ ไว้ (353:9.3)
               คือ แผ่ ไว้ นั้น เอง, เหมือน อย่าง คน แบ มือ ไว้ นั้น.
      แบ มือ (353:9.4)
               คน แผ่ ฝ่า มือ เช่น ว่า แล้ว, เพื่อ จะ ฃอ ฤๅ จะ รับ เอา ของ อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น, ว่า แบ มือ.
      แบ หลา (353:9.5)
               คือ แผ่ ไว้ นาน.
แบ้ (353:10)
         คือ แปล้, เขา วัว ฤๅ เขา แพะ ที่ มัน ไปล่ แปล้ ไป ข้าง หลัง*, น่า เขา แบ้ นั้น.
ไบ่ ๆ (353:11)
         คือ ทำ ปาก ไบ่ ๆ, เหมือน แพะ มัน เคี้ยว ใบ ไม้ นั้น.
ใบ (353:12)
         คือ คน เอา ผ้า บ้าง, ต้น สาคู บ้าง,* มา สาน ให้ ใหญ่ กว้าง ทำ ใบ กำปั่น บ้าง, ใบ สำเภา บ้าง. อย่าง หนึ่ง คือ ของ อยู่ ที่ ก้าน ต้น ไม้ เปน แบน ๆ บาง แล หนา ก็ ว่า ใบ.
      ใบ กดาด (353:12.1)
               คือ แผ่น กดาด
      ใบ ฎีกา (353:12.2)
               คือ หนังสือ เขา เขียน เรื่อง ความ หนีด น่อย นั้น.
      ใบ เดียว (353:12.3)
               คือ ใบ ไม้ ฤๅ ใบ กำปั่น, ไม่ มี เปน สอง มี แต่ ใบ หนึ่ง นั้น.
      ใบ ดาน (353:12.4)
               คือ* บาน ประตู แล บาน น่าต่าง นั้น.
      ใบ ตาล (353:12.5)
               คือ ใบ เช่น ว่า มี อยู่ ที่ ต้น ตาล, ๆ มัน ไม่ มี กิ่ง, เปน ลำ ต้น ขึ้น ไป แล้ว, ทาง ยาว มี ใบ อยู่ ปลาย ทาง นั้น.
      ใบ ตอง (353:12.6)
               คือ ใบ กล้วย ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน ใบ ตอง แห้ง ฤๅ ใบ ตอง สด นั้น.
      ใบ หน้า (353:12.7)
               คือ ใบ เสา น่า กำปั่น ฤๅ สำเภา นั้น, เขา เรียก ว่า ใบ น่า เพราะ มัน อยู่ ข้าง หัว นั้น.
      ใบ นำ (353:12.8)
               คือ ใบ หนังสือ* เรียก ว่า ใบ นำ, คือ เมือง กระทรวง ไหน, เมื่อ มี ตรา ออก ไป ด้วย ราชการ ใด ๆ ถึง หัว เมือง ตาม กระทรวง, ต้อง มี หนังสือ เจ้า กระทรวง ใบ หนึ่ง, ด้วย เรียก ว่า ใบ นำ.
      ใบ บุญ (353:12.9)
               คือ ตัว บุญ.
      ใบ ผ้า (353:12.10)
               คือ ใบ ทำ ด้วย ผ้า เช่น ว่า แล้ว, เขา เอา ผ้า มา เย็บ เข้า เปน ใบ, ใช้ สำรับ แล่น เรือ นั้น.
      ใบ ไม้ (353:12.11)
               คือ ใบ ไม้ เช่น ว่า แล้ว.
      ใบ หญ้า (353:12.12)
               คือ ใบ ที่ ต้น หญ้า ต่าง ๆ, มี หญ้า พันงู เปน ต้น,
      ใบ เรือ (353:12.13)
               คือ ใบ ที่ เขา ทำ สำรับ แล่น เรือ เช่น ว่า แล้ว.
      ใบ ลาน (353:12.14)
               คือ ใบ ไม้ เช่น ใบ ตาล, แต่ ว่า ใบ กว้าง ใหญ่ กว่า ใบ ตาล, เขา เอา มา จาน หนังสือ บาฬี นั้น.
      ใบ ปก (353:12.15)
               คือ แผ่น กดาด ทำ หนา ๆ, ปิด ที่ หลัง สมุด อังกฤษ ฤๅ ไท นั้น.
      ใบ สัจ (353:12.16)
               คือ ใบ หนังสือ ความ ที่ เขา ชำระ ได้ ความ* จริง ทั้ง สอง ฝ่าย แล้ว นั้น.

--- Page 354 ---
      ใบ สอ (354:12.17)
               คือ ปูน เขา ประสม น้ำ เชื้อ, วาง ลง บน อิฐ ที่ จะ ก่อ ฝาผนัง นั้น
      ใบ ศรี (354:12.18)
               คือ ของ ที่ คน เอา ใบ กล้วย มา เย็บ ทำ เปน กลีบ ๆ, แล้ว เย็บ ติด ต่อ กัน เข้า เปน ชั้น ๆ, สำรับ หนึ่ง สาม ชั้น บ้าง, ห้า ชั้น บ้าง, เปน เครื่อง ทำ ขวัน.
      ใบ เสมา (354:12.19)
               คือ ของ ที่ คน เอา อิฐ ก่อ ขึ้น บน กำแพง ฤๅ ป้อมสูง ขึ้น เปน อัน ๆ สำรับ บัง ลูก ปืน นั้น.
      ใบ สมอ (354:12.20)
               คือ ใบ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ลูก มัน ขม เขา เอา ทำ ยา, เปน ต้น ไม้ ใหญ่ ใน ป่า.
      ใบ สมี (354:12.21)
               คือ ใบ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ต้น มัน ย่อม เขา ทำ ยา, ฝัก เขา ปลูก ที่ บ้าน.
      ใบ แสม (354:12.22)
               คือ ใบ ไม้ อย่าง หนึ่ง*, มัน อยู่ ที่ ใกล้ ทะเล น้ำ เค็ม, คน ตัด เอา มา ทำ ฟืน, แก่น มัน ทำ ยา บ้าง.
      ใบ หู (354:12.23)
               คือ อะไวยะวะ, ที่ มัน เกิด งอก ออก มา เปน เนื้อ หนัง อยู่ บน รู หู นั้น.
ใบ้ (354:1)
         คือ คน พูด ออก ไม่ ได้, หู ก็ หนวก ด้วย, คน เปน เช่น นั้น ว่า คน ใบ้.
โบราณ (354:2)
          ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า เก่า, ของ ฤๅ คน ที่ ล่วง ไป ฤๅ ยัง อยู่, แต่ เปน ของ นาน กว่า ร้อย ปี นั้น.
เบา (354:3)
         คือ ของ ไม่ หนัก, เหมือน ปุย นุ่น เปน ต้น, ปุย นุ่น นั้น คือ ลูก ไม้ งิ้ว ต้น มัน มี หนาม, ต้น สูง ยี่ สีบ วา สาม สิบ วา, มัน มี ผล เปน ช่อ แก่ แล้ว, คน เก็บ มายัด ฟูก หมอน.
      เบา การ (354:3.1)
               คือ การ น้อย เข้า, คน ทำ การ แต่ แรก การ นั้น มาก, ครั้น ทำ นาน มา การ แล้ว เข้า ยัง น้อย, ว่า เบา การ.
      เบา กาย (354:3.2)
               คือ ไม่ หนัก เนื้อ หนัก ตัว นั้น เอง, เหมือน อย่าง คน ธุระ น้อย ประพฤติ เบา กาย.
      เบา ความ (354:3.3)
               คือ คน ได้ ฟัง เขา บอก ความ ร้าย ถึง หู, ไม่ ตฤก ตรอง ด่วน ขื้ง โกรธ, ว่า เปน คน เบา ความ.
      เบา คำ (354:3.4)
               คือ คำ ตื้น ไม่ ฦก นั้น.
      เบา เงิน (354:3.5)
               คือ คน ซื้อ ของ ราคา แพง ซื้อ ได้ ถูก, ว่า ซื้อ ได้ เบา เงิน, เพราะ ซื้อ เสีย เงิน น้อย นั้น.
      เบา ใจ (354:3.6)
               คือ ทำ การ อัน ใด ๆ ฤๅ ไป ทาง ไกล, การ นั้น เกือบ แล้ว แล ไป เกือป ถึง ที่, ว่า เบา ใจ เพราะ ใจ ค่อย สบาย ออก.
      เบา จิตร (354:3.7)
               ความ เหมือน กับ ว่า แล้ว, เหมือน คน มี ความ ทุกข ด้วย* เหตุ อัน ใด, ครั้น เหตุ นั้น เสื่อม ไป, ใจ ค่อย สบาย ว่า เบา จิตร,
      เบา ทุกข (354:3.8)
               คือ ทุกข น้อย ลง แล้ว, ฤๅ ความ ทุกข ไม่ สู้ หนัก นัก.
      เบา ตัว (354:3.9)
               คือ คน ตื่น จาก ที่ นอน ไป อาบ น้ำ ชำระ กาย ให้ หมด จด, กาย สบาย ขึ้น นั้น.
      เบา บ่า (354:3.10)
               คือ ของ บน บ่า น้อย ลง นั้น เอง, เหมือน อย่าง คน แบก ของ น้อย.
      เบา บาง (354:3.11)
               เบา นั้น เช่น ว่า แล้ว, แต่ บาง นั้น เหมือน ผ้า ที่ มี เส้น ด้าย ห่าง ๆ เช่น ผ้า เขา เย็บ มุ้ง, แล ของ อื่น เหมือน* ถ้วย จาน ที่ เนื้อ น้อย.
      เบา ไม้ (354:3.12)
               คือ คน ฤๅ สัตว ที่ ฝึก ง่าย สอน ง่าย, ไม่ สู้ ต้อง ทุบ ตี นัก นั้น.
      เบา มือ (354:3.13)
               คือ ของ อัน ใด จับ ยก ขึ้น ไม่ หนัก มือ. อย่าง หนึ่ง คน ทำ การ มี คน อื่น ช่วย, ว่า ค่อย เบา มือ.
      เบา ไป (354:3.14)
               คือ ของ น้อย ไป.
      เบา ราคา (354:3.15)
               คือ ราคา เบา ค่า น้อย นั้น.
      เบา หัวใจ (354:3.16)
               คือ คน ป่วย อยู่ ให้ นึก หนัก ใจ อยู่ ว่า เรา คราว นี้ จะ รอด ฤๅ ไม่ รอด ก็ ไม่ รู้ เลย, ครั้น โรค นั้น คลาย ลง ใจ ค่อย สบาย น่อย หนึ่ง นั้น.
      เบา ฤๅ (354:3.17)
               เปน คำ ถาม ว่า เบา ไป่ ฤๅ.
      เบา อก (354:3.18)
               คน พูด ถึง ความ ของ ตัว ที่* สำเร็จ แล้ว, ว่า เบา อก ออก ไป นัก หนา, คือ ความ รำคาน หาย ไป นั้น.
เบ้า (354:4)
         คือ ดิน เขา ปั้น เปน รูป คล้าย* ถ้วย, สำรับ หล่อ หลอม, เงิน นั้น.
      เบ้า คลุบ (354:4.1)
               คือ เบ้า เขา ปิด มิด มืด ไม่ มี ช่อง นั้น.
      เบ้า กรด (354:4.2)
               คือ เบ้า เขา ประสมดิน กับ กระดูกงัว ควาย ม้าแพะ, เพื่อ จะ ให้ มัน ถอน โทษ ร้าย แห่ง เงิน.
บำเหน็จ (354:5)
         คือ คน จ้าง ช่าง ทอง เขา ทำ เครื่อง สำรับ แต่ง ตัว*, มี แหวน เปน ต้น, ของ แล้ว ให้ เงิน ค่า จ้าง เขา, ว่า ให้ บำเหน็จ แก่ ช่าง.

--- Page 355 ---
บำ บวงสรวง (355:1)
         คือ คำ ที่ เขา กล่าว บน บวง สรวง นั้น เอง.
บำนาน (355:2)
         ความ เหมือน บำเหน็จ, คน ทำ ราชการ ได้ สำเร็จ ทำ ให้ ทรัพย์ อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น ว่า เปน บำนาน.
บำบัติ (355:3)
         คือ กำจัด, คน ป่วย เปน โรค อัน ใด อัน หนึ่ง, เขา กิน ยา ฤๅ ทา ยา ให้ กำจัด โรค คลาย ว่า บำบัติ.
บำเพ็ง (355:4)
         คือ ทำ ส่วน บุญ ต่าง ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คน นั่ง กรรม ฐาน นั้น.
บำเพ็ญ (355:5)
         บริบูรณ, คือ คน กระทำ ทาน แล รักษา ศีล เปน ต้น, ว่า บำเพ็ญ ทาน บำเพ็ญ ศีล นั้น.
บำญัติ (355:6)
         ความ เหมือน บัญญัติ, แปล ว่า ตั้ง ไว้. พระเจ้า ท่าน ตั้ง บท ไว้ ให้ ทำ, แล มิ ให้ กระทำ นั้น.
บำเพ็ญ ทาน (355:7)
         ให้ ทาน, ทำ บุญ, คือ เสีย สละ ของ มี เข้า น้ำ เปน ต้น, ให้ แก่ คน ขัด สน เที่ยว ฃอทาน กิน นั้น, ว่า บำเพ็ญ ทาน.
บำเพ็ญ ศีล (355:8)
         คือ ทำ ตาม ศีล ที่ พระเจ้า ตั้ง ไว้ โดย บัญญัติ, ว่า สิ่ง นี้ ควร กระทำ, สิ่ง นี้ ไม่ ควร อย่า กระทำ.
บำหราบ (355:9)
         คือ พราก ออก.
บำรุง (355:10)
         บำรุ, บำรุง, คือ การ ที่ จัดแจง ทำนุ ชำระกาย ให้ สอาด มิ ให้ เศร้า หมอง, ฤๅ จัดแจง แต่ง เย่า เรือน นั้น.
บำราศ (355:11)
         คือ พราก เสีย, เหมือน ชาย ไป ลัก ลอบ คบ กับ หญิง ที่ เปน ลูก สาว เขา, ครั้น พ่อ แม่ หญิง รู้ ก็ ขับ ชาย พราก ลูก เสีย, ไม่ ให้ อยู่ กับ ชาย นั้น.
บำรุง บำเรอห์ (355:12)
         คือ ผดุง ปรุงชา ไว้
บำเรอห์ (355:13)
         คือ ให้ เข้า ของ อุดหนุน, เหมือน หญิง ชอบ ใจ รัก ชาย, มี ของ กิน เปน ต้น, ให้ กับ ชาย ว่า บำเรอห์ ชาย, อนึ่ง ผู้ อื่น* ก็ ดี ถ้า ให้ สิ่ง ของ อุดหนุน กัน ด้วย ความรัก, เช่น นั้น ว่า บำเรอห์.
บำรุง ไว้ (355:14)
         ความ ว่า แล้ว.
บะ (355:15)
         บะ เต็ม ที นัก, เปน คำ คน พูด โดย ไม่ ชอบ ใจ, ว่า บะ ก็ มี บ้าง. อย่าง หนึ่ง เขา เรียก ภาชนะ เครื่อง สำรับ ใช้ ว่า ตะบะ.
บะระมัดถ์ (355:16)
         ฯ เปน สับท์ แปล ว่า อัดถ์ อย่าง ยิ่ง, อัดถะ นั้น อะธิบาย ว่า เนื้อ ความ ได้, ว่า ประโยชน์ ก็ ได้.
บก (355:17)
         บน แห่ง, คือ ที่ พ้น จาก ทเล ฤๅ แม่ น้ำ ว่า ที่ บก, คือ ที่ แผ่น ดิน ดอน ไม่ มี น้ำ ขัง อยู่ นั้น ว่า บก.
      บก พร่อง (355:17.1)
               ยุบ ลง, คือ ของ มี น้ำ เปน ต้น ลด น้อย ลง ไป นั้น, เขา ตัก น้ำ ไว้ เต็ม ตุ่ม, ครั้น คน ตัก ไป ใช้ เสีย น้ำ ลด น้อย ลง.
บัก (355:18)
         มิ ใช่ คำ อยาบ เปน คำ ลาว, เรียก กัน ว่า เจ้า นั่น.
บาก (355:19)
         คือ การ ที่ คน ตัด ต้น ไม้ ที่ ใหญ่, เขา ฟัน ข้าง บน ก่อน, แล้ว ฟัน ข้าง ล่าง รับ กับ แผล ข้าง บน นั้น.
      บาก กา (355:19.1)
               คือ การ ที่ ฟัน ต้น ไม้ บาก เช่น ว่า นั้น รอย หนึ่ง แล้ว ฟัน ลง หว่าง กลาง แผล ก่อน เหมือน ขีด ตีน กา นั้น.
      บาก กะ (355:19.2)
               คือ บาก หมาย เขา จะ บั่น ท่อน ไม้ ยาว เปน หลาย ท่อน, เขา ฟัน บาก กะ หมาย ลง ไว้ เปน แผล ๆ นั้น.
      บาก ขา (355:19.3)
               คือ บาก เงิน บาท ๆ แต่ ครั้ง กรุง เก่า ล่วง มา หลาย กระษัตริย์* แล้ว, เขา บาก ขา ไว้ เงิน ราชวัด บาก ขา
      บาก จำ ไว้ (355:19.4)
               คือ เอา มิด ฟัน เข้า ที่ ลำ ไม้ หมาย ไว้ นั้น.
      บาก ท่า (355:19.5)
               คือ บาก ไม้ ให้ แผล ใหญ่ กว้าง, ว่า ฟัน บาก ท่า ไว้ ให้ กว้าง เพื่อ จะ ฟัน ให้ ขาด เร็ว.
      บาก บั่น (355:19.6)
               บาก ว่า มา แล้ว, แต่ บั่น นั้น คือ ฟัน ไม้ ให้ บาก เปน สอง ท่อน นั้น.
      บาก ทาง (355:19.7)
               คือ การ ที่ คน ไป เรือ ฤๅ ไป บก, หน ทาง ข้าง ที่ ไป นั้น น้ำ ตื้น, ฤๅ มี หลัก ตอ ชุม ไป ยาก, ตัด ไป ข้าง ทาง ที่ ไป สบาย นั้น.
      บาก บ่าย (355:19.8)
               บ่าย นั้น คือ หัน กลับ เรือ เปน ต้น.
      บาก น่า (355:19.9)
               คือ บาก ออก ตรง น่า, เหมือน คน ไป เรือ ครั้น ปะ โขด ฤๅ หาด ทราย ขวาง หน้า อยู่, ก็ ผละ น่า เรือ ออก.
      บาก คลอง (355:19.10)
               คือ หัน ไป หา คลอง ฤๅ หัน ตัด ไป ข้าง ฟาก นั้น.
      บาก ไป (355:19.11)
               คือ การ ที่ คน ไป เรือ มี เรือ อื่น ไป น่า, เรือ ตัว ตาม หลัง เขา, อยู่ ตรง ลำ กัน ครั้น จะ หลีก ไป ก่อน, ก็ แจว ตัด ออก ให้ พ้น เรือ น่า นั้น.
      บาก ฟัน (355:19.12)
               คือ คน เงื้อ พร้า ฤๅ ขวาน ขึ้น แล้ว หวด ลง ว่า ฟัน ลง, บาก นั้น เช่น ว่า แล้ว นั้น.
      บาก ไม้ (355:19.13)
               คือ บาก ลง ที่ ไม้ เช่น ว่า นั้น, คน ฟัน จะ ให้ ขาด เร็ว, เขา ฟัน ข้าง ละ ที ให้ เสก็ด ออก ไป นั้น.
      บาก หมาย (355:19.14)
               คือ ฟัน บาก ลง ที่ ไม้ ให้ เปน แผล หมาย ไว้ นั้น, เพื่อ จะ ได้ สังเกต จำ ไว้ นั้น

--- Page 356 ---
      บาก ออก (356:19.15)
               คือ การ ที่ คน ไป เรือ, ภบ หาด ฤๅ โขด บ่าย หัว เรือ ออก ให้ ห่าง ไป.
บึก (356:1)
         ใจ ทึก ๆ คือ คน นึก ถึง ความ ทุกข รำคาน ใน ใจ, นาที หนึ่ง สี่* ห้า หน นั้น, ว่า ใจ บึก ๆ อยู่.
      บึก บึน (356:1.1)
               คือ ใจ อด ทน อาญา นัก, ไม่ ร้อง นั้น ว่า ใจ บึก บึน.
บุก (356:2)
         ลุย, คือ ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง, ต้น กลม เท่า ไม้ ท้าว, ไม่ มี กิ่ง สูง ขึ้น ไป, มี ใบ เปน ช่อ อยู่ ที่ ปลาย มัน. อีก อย่าง หนึ่ง คน เดิน ลุย น้ำ ไป ว่า บุก น้ำ ไป, คือ คน ฝ่า ไป ใน น้ำ เพียง เข่า เพียง ขา นั้น.
      บุก คน (356:2.1)
               คือ คน เดิน ฝ่า ไป ใน ฝูง คน ที่ เขา อยู่ มาก นั้น ว่า บุกคน ไป. อย่าง หนึ่ง เปน สับท์ ว่า บุคคล ก็ มี.
      บุก โคลน (356:2.2)
               คือ คน ลุย โคลน ไป, เหมือน ที่ ดิน เปียก เหลว คน ลุย ฝ่า ไป นั้น.
      บุก หญ้า (356:2.3)
               คือ คน ลุย หญ้า ที่ รก เปน ป่า ไป, ว่า บุก หญ้า ไป.
      บุก หนาม (356:2.4)
               คือ ฝ่า หนาม ไป
      บุก น้ำ (356:2.5)
               ความ ว่า ที่ มี น้ำ ฦก เพียง เข่า เพียง ขา, คน ลง ลุย ฝ่า ไป นั้น.
      บุก บัน (356:2.6)
               คือ บุก รุก อุกอาจ นั้น.
      บุก ป่า (356:2.7)
               คน ลุย ไป ใน ดง ไม้ เล็ก ๆ ที่ เปน พง* อยู่ ฝ่า เดิน ไป นั้น.
      บุก รก (356:2.8)
               คือ คน ลุย ไป ใน ที่ รก มี ต้น หญ้า ต่ำ ๆ เพียง น่อง เพียง เข่า นั้น.
      บุก รุก (356:2.9)
               คือ บุก บัน ตลุม บอน นั้น.
      บุก รอ (356:2.10)
               เปน ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง ต้น มัน เช่น ว่า แล้ว, แต่ บุก รอ นี้ มี หัว โต ประมาณ สาม กำ สี่ กำ, กิน ดิบ ๆ คัน แกง บวด กิน สุก แล้ว ไม่ คัน.
บุคคล (356:3)
         คือ คน มี กิเลศ หนา, จะ ไป สู่ นรก นั้น.
บุคลิต (356:4)
         คือ จำเภาะ ให้ แก่ บุคคล นั้น.
      บุคลิต ทาน (356:4.1)
               คือ มี ของ จำเภาะ ให้ แก่ บุคคล นั้น.
แบก (356:5)
         คือ เอา ของ วาง บน บ่า แล้ว ภา ไป, บาง ที สอง คน สาม คน เปน ต้น, เอา ของ วาง บน บ่า ช่วย กัน แบก ไป.
      แบก ของ (356:5.1)
               คือ เอา ของ อัน ใด ๆ วาง บน บ่า ภา ไป.
      แบก หน้า (356:5.2)
               นี้ เปน ความ เปรียบ เหมือน แบก ของ, คน โกรธ กัน อยู่ ต้อง ธุระ ที่ จะ ต้อง พึ่ง คน นั้น, มี ผู้ มา ว่า ไป หา เขา เถิด เหน จะ ได้ การ, ผู้ นั้น ว่า ข้า ไม่ แบก หน้า ไป ได้.
      แบก บุญ (356:5.3)
               คือ คน ที่ เขา อ้าง ตัว เปน พยาน ให้ การ ตาม จริง ไม่ เข้า กับ ผู้ ใด, ว่า ผู้ นั้น แบก บุญ อย่าง นี้.
      แบก เต็ม ดัน (356:5.4)
               คือ แบก ของ หนัก เต็ม ที.
      แบก บาป (356:5.5)
               คือ คน เขา อ้าง เปน พยาน ให้ การ เท็จ ไม่ จริง ด้วย เหน กับ ข้าง หนึ่ง, ว่า คน นั้น แบก บาป อย่าง นี้.
      แบก หนึ่ง (356:5.6)
               คือ ของ ภอ กำลัง แบก ได้ คน หนึ่ง.
      แบก โง่ (356:5.7)
               คือ คน ปัญญา เขลา, รู้ แปล หนังสือ* ไม่ ถูก แต่ สำแดง ที่ ผิด ออก ให้ เขา ฟัง, สำคัญ ว่า ถูก นั้น ว่า แบก โง่.
      แบก หาม (356:5.8)
               คือ แบก คน เดียว, หาม ต้อง เข้า สอง คน นั้น.
      แบก สอง บ่า (356:5.9)
               เปน ความ เปรียบ, เหมือน คน ไป เดิน สวน บัง ของ หลวง, นับ ผลไม้ ได้ มาก ลง บาญชี แต่ น้อย, นับ ต้น ผลไม้ ได้ น้อย ลง บาญชี ว่า มาก ว่า ฉ้อ ราษฎร.
โบก (356:6)
         คือ คน เอา ผ้า ผูก ปลาย ไม้ แล้ว ฟาด โบก ไป ข้าง โน้น ข้าง นี้, ว่า โบก. อย่าง หนึ่ง คน ยก มือ ขึ้น เสมอ หน้า เบิก ขึ้น นั้น ว่า โบก มือ.
      โบกฃรณี (356:6.1)
               ฯ เปน สับท์*, แปล ว่า สระ บัว, คือ สระ นั้น มี ต้น บัว หลวง มาก นั้น.
      โบกฃรพัศ (356:6.2)
               คือ ห่า ฝน โบกฃรพัศ. ฝน นั้น ใคร ปราฐนา จะ ให้ เปียก ก็ เปียก, ใคร ไม่ ปราฐนา จะ ไม่ ให้ เปียก ไม่ ก็ เปียก นั้น.
      โบก ควัน (356:6.3)
               คือ การ ที่ คน สุม ไฟ จะ ให้ ควัน ไป ข้าง หนึ่ง, ลม พัด ไป ข้าง อื่น, คน เอา ผ้า ปัด โบก ไป ข้าง ต้อง การ.
      โบก ธง (356:6.4)
               แกว่ง ธง, คือ คน ถือ ธง แล ฟาด ไป ข้าง โน้น ข้าง นี้ นั้น.
      โบก ผ้า (356:6.5)
               คือ คน เอา มือ ถือ ผืน ผ้า แล้ว ปัด ไป ปัด มา ข้าง โน้น ข้าง นี้ นั้น.
      โบก โบย (356:6.6)
               คือ เอา ผ้า ทำ ธง แล้ว ฟาด ไป ข้าง โน้น ข้าง นี้ นั้น.
      โบก ไฟ (356:6.7)
               พัด ไฟ, คือ คน ก่อ ไฟ ขึ้น ให้ ลุก เปน เปลว แล้ว, เอา กระด้ง ฤๅ แผง โบก ปัด ไป ให้ ไฟ ไป ข้าง หนึ่ง.
      โบก มือ (356:6.8)
               กวัก มือ, คือ การ ที่ คน เอา มือ ยก ขึ้น ตรง หน้า, แล้ว งอ เข้า เปิด ออก ไป, แล้ว งอ เข้า เปิด ออก ไป นั้น.
      โบก ว่าย (356:6.9)
               คือ การ ที่ ปลา ใน น้ำ ผุด ขึ้น, แล้ว หก หัว ดำ ลง, ทำ หาง โบก ขึ้น แล้ว ดำ มุด ว่าย ไป นั้น.

--- Page 357 ---
      โบก หู (357:6.10)
               คือ ปลา ยก หู ขึ้น แล้ว โบก ไป ข้าง น่า ข้าง หลัง, แล้ว ดำ ไป นั้น, ว่า ปลา โบก หู.
      โบก หาง (357:6.11)
               คือ ปลา มัน ผุด ขึ้น แล้ว ผก หัว ดำ ลง, ทำ หาง โบก ข้าง บน, บาง ที ไม่ ดำ ขวาง ตัว อยู่, ฟาด หาง ไป ข้าง โน้น ข้าง นี้, ว่า โบก หาง.
บอก (357:1)
         เล่า, บรรยาย, คือ การ ที่ คน นำ เอา เนื้อ ความ มา เล่า ให้ ผู้ อื่น ฟัง, ตาม เรื่อง ที่ ตัว ได้ รู้ มา ฤๅ ได้ เหน มา นั้น.
      บอก การ (357:1.1)
               สั่ง การ, ว่า การ, คือ การ ที่ คน ทำ การ มี การ ตี พิมพ์ เปน ต้น, แล บอก กับ ลูก จ้าง ว่า ให้ ทำ* อย่าง นี้.
      บอก กรรมฐาน (357:1.2)
               กล่าว กรรมฐาน, คือ คน เปน อาจาริย์ บอก วิปัศนา แก่ สิษ, คือ สอน ให้ นั่ง อย่าง นั้น, ทำ ใจ อย่าง นั้น บริกำ อย่าง นั้น.
      บอก ข่าว (357:1.3)
               เล่า ความ, แจ้ง เหตุ, คือ การ ที่ คน รู้ เหตุ การ มา แต่ ต่าง ประเทศ เปน ต้น, เอา เหตุ การ นั้น มา เล่า ให้ ผู้ อื่น ฟัง นั้น.
      บอก ข้อ ราชการ (357:1.4)
               กราบทูล ข้อ ราชการ, กราบ เรียน ข้อ ราชการ,* คือ การ ที่ คน เขา ใช้ ไป ด้วย การ ของ เจ้า นาย กลับ มา แล้ว เอา เรื่อง ความ นั้น มา แจ้ง ให้ ฟัง.
      บอก ความ (357:1.5)
               เล่า ความ, กล่าว ความ, คือ การ ที่ คน เอา เนื้อ ความ อัน ใด อัน หนึ่ง มา เล่า บอก ให้ เขา ฟัง.
      บอก กล่าว (357:1.6)
               เล่า ความ, แจ้ง เหตุ, คือ การ ที่ คน วิวาท กัน ว่า ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง, จะ ฟ้อง หา ความ กัน ขณะ นั้น ร้อง บอก ขึ้น, ให้ เพื่อน บ้าน เปน พยาน.
      บอก งาน (357:1.7)
               บอก การ, สั่ง งาน, คือ คน บอก กัน ว่า รับ สั่ง จะ ให้ มี งาน มี โขน เปน ต้น, เปน งาน สมโภช ให้ จัดแจง งาน การ นั้น.
      บอก ตัว (357:1.8)
               บอก ที่, บอก ทาง, แสดง มรรคา, บรรยาย วิถี,
      บอก หนังสือ (357:1.9)
               สอน หนังสือ, คือ คน มา เรียน หนังสือ อังกฤษ ฤๅ หนังสือ ไท, อยิบ เอา สมุด หนังสือ มา สอน ให้ แก่ ผู้ เรียน นั้น.
      บอก เนื้อ ความ (357:1.10)
               เล่า เนื้อ ความ, คือ คน เล่า เรื่อง อัน ใด อัน หนึ่ง ให้ เขา ฟัง, ว่า เรื่อง ความ นั้น เดิม เปน อย่าง นี้ มา.
      บอก บท (357:1.11)
               กล่าว บท, บอก บาญชี, บอก บ้าน, บอก ใบ้ บอก ไนย, ให้ ไนย, คือ คน จะ ทำ การ อัน ใด, แล ไม่
      บอก ออก ปาก เสียง (357:1.12)
               สำแดง อาการ กิริยา มือ แล ท้าว นั้น.
      บอก ปาก เสียง (357:1.13)
               บอก ศาลา, บอก เวน, คือ การ ที่ คน ทำ การ สพ, จะ มี ดอก ไม้ ไฟ จุด พลุ เสียง ดัง เหมือน เสียง ปืน, เปน ที่ รังเกียจ ใน ราชกิจ, ผู้ จะ ทำ ต้อง ไป บอก กับ มหาดเลก ใน พระ ราชวัง ไว้, เขา จะ กราบ ทูล ให้ พ้น ผิด ว่า บอก ปาก เสียง ไว้.
      บอก ปัด (357:1.14)
               พูด เปิด เสีย, คือ บอก ปัตติเสท ไม่ รับ, ตัว ทำ เอง ครั้น เขา ถาม กลัว ความ ผิด ไม่ รับ ว่า ไม่ รู้, บอก ว่า ปัด เสีย.
      บอก เปิด (357:1.15)
               พูด ปัด เสีย, คือ การ ที่ คน รู้ ความ อยู่, แต่ มี ผู้ มา ถาม บอก ว่า ข้า ไม่ รู้ ไม่ เหน นั้น.
      บอก พวก (357:1.16)
               บอก เพื่อน, บอก พวก พ้อง, บอก แม่, บอก มารดา, บอก ชนนี.
      บอก เล่า (357:1.17)
               เขา ว่า, คือ คำ ที่ คน เอา เนื้อ ความ อัน ใด มา เล่า ให้ เขา ฟัง, เขา ถาม ว่า ท่าน เหน เอง ฤๅ, ผู้ นั้น บอก ว่า ข้า ไม่ ได้ เหน เขา เล่า ให้ ฟัง นั้น.
      บอก ไว้ (357:1.18)
               บอก เวน, บอก ให้, คือ การ ที่ คน มี ของ จะ ให้ เขา, มี ต้น ไม้ เปน ต้น, บอก ว่า ข้า จะ ให้ ต้น ไม้ สัก ต้น หนึ่ง นั้น.
บวก (357:2)
         ประสม กัน, เข้า กัน, คือ การ ที่ คน เปน เจ้า บาญชี, ชั่ง ของ มี ฝาง เปน ต้น, เขา ชั่ง ได้ หาบ หนึ่ง จด ลง ไว้, แล้ว เขา บอก อีก หาบ หนึ่ง จด ลง เปน สอง หาบ เติม เข้า.
      บวก กัน (357:2.1)
               คือ คน จด บาญชี, เขา บอก ก่อน จด ไว้ แล้ว ครั้น เขา บอก อีก จด เติม เข้า นั้น, กับ ที่ เขา บอก ก่อน, ว่า บวก กัน เข้า.
      บวก บาญชี (357:2.2)
               คือ เขียน เพิ่ม เติม ลง ใน บาญชี, คน เปน เจ้า บาญชี เขา บอก ว่า เดิม คน เท่า นั้น ฤๅ ของ เท่า นั้น, แล้ว เขา บอก อีก คน หนึ่ง ฤๅ ของ อีก สิ่ง หนึ่ง.
      บวก ไว้ (357:2.3)
               คือ เพิ่ม เติม เข้า ไว้.
      บวก ขึ้น (357:2.4)
               คือ คน เข้า บาญชี เดิม จด ไว้ คน หนึ่ง, ฤๅ ของ สิ่ง หนึ่ง, ครั้น มี มา อีก จด เติม ขึ้น นั้น.
      บวก ใหม่ (357:2.5)
               คือ พึง เพิ่ม เติม เข้า อีก.
      บวก ปูน (357:2.6)
               ถือ ปูน, คือ คน เอา ปูน โบก เข้า ที่ ฝา ผนัง เปน ต้น เดิม ก่อ แต่ อิฐ กับ ปูน ใบ สอ, แล้ว เอา ปูน ปะ เข้า ข้างนอก นั้น.

--- Page 358 ---
เบียก (358:1)
         แบ่ง, ปัน, คือ คน มี เข้า อยู่ ทนาน เดียว, มี คน อื่น มา ฃอ ซื้อ แบ่ง เอา ให้ ไป ครึ่ง หนึ่ง.
      เบียก บ้าย (358:1.1)
               เบียก เช่น ว่า แล้ว, แต่ บ้าย นั้น เหมือน คน จะ กิน หมาก เอา ปูน ทา เช็ด เข้า ที่ ใบ พลู นั้น.
      เบียก ให้ (358:1.2)
               คือ ของ มี น้อย อุษส่าห์ แบ่ง ออก ให้ นั้น.
เบิก (358:2)
         เปิด, เผย, คือ เปิด ขึ้น, คน ทำ ของ อัน ใด ที่ แคบ อยู่, ให้ กว้าง วา เบิก ออก เหมือน คน เบิก เรือ มาด.
      เบิก แกง (358:2.1)
               คือ การ ที่ คน ข้า ราชการ ต้อง เกณฑ์ ทำ ของหลวง เขียน ใบ ฎีกา ไป ส่ง ให้ เจ้าพนักงาน จะ เอา ของ นั้น.
      เบิก เข้า (358:2.2)
               เปิด เข้า, คือ การ ที่ ข้าราชการ ต้อง เกณฑ์ ส่ง เข้า ถัง ถวาย พระสงฆ ที่ วัด, ทำ ฎีกา ไป เบิก เข้า สาร แต่ เจ้า พนักงาน.
      เบิก คลัง (358:2.3)
               คือ ไป เบิก เอา ของ ที่ ชาว คลัง ใน คลัง นั้น.
      เบิก คน (358:2.4)
               คือ การ ที่ ข้า ราชการ ต้อง เกณฑ์ ทำ การ หลวง, มี กำแพง ฤๅ ตำหนัก เปน ต้น ต้อง ใช้ คน มาก, ก็ ต้อง ไป เบิก เอา คน จาก เจ้า* พนักงาน.
      เบิก เงิน. เปิด เงิน (358:2.5)
               คือ การ ที่ คน ต้อง ซื้อ ของ ถวาย ใน หลวง, ต้อง ทำ ฎีกา เบิก เงิน ใน ท้อง พระคลัง.
      เบิก ด่าน (358:2.6)
               เปิด ด่าน, คือ คน เดิน ทาง บก ฤๅ เรือ, มา ถึง ที่ ด่าน ต้อง จอด อยุด ให้ นาย ด่าน ดู แล, ควร จะ เสีย เงิน บ้าง ไม่ ควร เสีย บ้าง.
      เบิก เดือน (358:2.7)
               คือ การ ที่ คน ได้ เงิน พระราชทาน ใน หลวง ทุก เดือน, ทำ ฎีกา ไป เบิก เอา เงิน ทุก เดือน นั้น.
      เบิก เที่ยว (358:2.8)
               เบิก เปน คราว, คือ การ ที่ เจ้า ตลาด เบิก เอา เงิน กับ ลูกค้า เรือ, ไป ค้า คราว ไร เบิก คราว นั้น, ทุก คราว* ทุก เที่ยว นั้น.
      เบิก ปี (358:2.9)
               คือ การ ที่ คน เจ้า* ตลาด เบิก เอา เงิน กับ คน ค้า เรือ ใหญ่, เหมือน เรือ ค้า น้ำตาล เพ็ชบูรี, ปี หนึ่ง เบิก หน หนึ่ง ว่า เบิก ปี.
      เบิก ตลาด (358:2.10)
               คือ การ ที่ คน ทำ ราชการ, เปน ผู้ เก็บ เงิน ที่ ผู้ ซื้อ แล ขาย สินค้า ใน ท้อง ตลาด, ผู้ เก็บ ทำ ใบ ฎีกา ไว้ ให้ กับ ผู้ ซื้อ ขาย แล้ว เรียก เอา เงิน ตาม มาก แล น้อย นั้น.
      เบิก ทาง (358:2.11)
               เปิด ทาง, เบิก มรรคา, คือ คน แผ้ว หน ทาง คน เอา จอบ ฤๅ เสียม ถาง ทาง ไป นั้น, ว่า เบิก ทาง.
      เบิก หน้า พระ (358:2.12)
               เผย หน้า พระ, คือ การ ที่ คน เล่น หนัง, เมื่อ แรก จะ เล่น เอา ตัว หนัง มา สอง ตัว, เอา เทียน ติด เข้า ที่ ตัว หนัง ตัว ละ เล่ม, แล้ว ยก ขึ้น เชิด เขา ตี ปี่ภาทย์ ด้วย นั้น.
      เบิก บาน (358:2.13)
               คือ เปิด บาน ประ ตู.
      เบิก เผย (358:2.14)
               เปิด เผย, คือ ผลัก บาน ประตู ออก, คน เอา มือ ผลัก ชาน ให้ ผาย ออก ไป นั้น.
      เบิก พระเนตร (358:2.15)
               เปิด พระเนตร, ลืม ตา, คือ นาย ช่าง เอา เหล็ก แหลม เจาะ เข้า ที่ พระเนตร พระ, ทั้ง สอง ข้าง นั้น แล้ว เรียก เอา เงิน เฟื้อง แก่ ผู้ สร้าง.
      เบิก ไม้ (358:2.16)
               คน จะ ฟัน ต้น ไม้ ใหญ่ ใน ป่า สูง. กลัว ผี ป่า จะ ทำ ให้ เจ็บ ไข้ ตาย, เมื่อ แรก จะ ฟัน นั้น, เอา เครื่อง เส้น มี เหล้า เข้า ของ กิน ตั้ง พลี เส้น ก่อน จึ่ง ฟัน ไม้ นั้น.
      เบิก เรือ (358:2.17)
               เปิด เรือ, คือ การ ที่ คน ทำ เรือ, เดิม เรือ ยัง ไม่ ได้ เบิก นั้น คลุ่ม* กลม อยู่, แล้ว เขา ก่อ ไฟ ลน ให้ เนื้อ เรือ ร้อน แล้ว แบะ ออก กว้าง นั้น.
      เบิก ล่อง (358:2.18)
               เปิด ล่อง, คือ หนังสือ เจ้า พนักงาน, เขียน ปิด ตรา ให้ กับ ผู้ จะ ล่อง เรือ ไป, ไม่ ให้ ชาว ด่าน ห้าม เว้ นั้น.
      เบิก อารุณ (358:2.19)
               คือ เวลา ภอ ย่ำ ฆ้อง รุ่ง นั้น.
บง (358:3)
         คือ บง การ. คน จะ ให้ มี เทศนา เปน ต้น, แล ผู้ นั้น ตั้ง ใจ จำเภาะ จะ นิมนต์ พระองค นั้น, ว่า บงการ เอา.
      บงกชมาศ (358:3.1)
               แปล ว่า ดอกบัว มี ศรี ดั่ง ศรี ทอง คำ นั้น.
บ่ง (358:4)
         คือ คน แทง ที่ มือ ฤๅ ท้าว, ที่ หนาม ยอก ฤๅ เปน ฝี, ทำ ให้ หนาม ฤๅ หนอง ออก นั้น.
      บ่ง ตัว มา (358:4.1)
               คือ เขา จำเภาะ ชื่อ จะ เอา ตัว คน นั้น ที เดียว.
      บ่ง ความ (358:4.2)
               คือ ความ จำเภาะ มา ถึง ตัว, เหมือน คน เปน ความ ฟ้อง กัน เขา หมาย จำ เภาะ เกาะ ตัว คน นั้น.
      บ่ง หนอง (358:4.3)
               คือ เอา เข็ม เปน ต้น แทง เข้า ที่ หัว ฝี ให้ หนอง ออก นั้น.
      บ่ง หนาม (358:4.4)
               คือ หนาม ยอก ที่ มือ ฤๅ ท้าว, เขา เอา เข็ม แทง เข้า คัด เอา หนาม ออก นั้น.
      บ่ง ชื่อ (358:4.5)
               คือ ทลุ ชื่อ มา นั้น.

--- Page 359 ---
      บ่ง เสี้ยน (359:4.6)
               คือ การ ที่ เขา เอา เข็ม แทง คัด ให้ เสี้ยน ยอก ที่* มือ ฤๅ ท้าว ให้ ออก นั้น.
บัง (359:1)
         ปก ปิด, อำพราง, คือ การ ที่ เขา เอา ฉาก ฤๅ ผ้า กั้น แดด ฤๅ กั้น ไม่ ให้ คน เหน นั้น.
      บังกช (359:1.1)
               อุบล, ปะทุม, ฯ เปน สับท์, แปล ว่า ดอกบัวหลวง มี ใน คัมภีร์ ต่าง ๆ, ท่าน ผู้ รู้ แปล คำ มคร* ว่า ดอกบัว.
      บังเกิด (359:1.2)
               คือ เกิด นั้น, แต่ เอา บัง ใส่ เข้า เปน คำ เพราะ คำ สูง ขึ้น, สำรับ เปน คำ เทศนา ฤๅ แต่ง หนังสือ นั้น.
      บัง การ (359:1.3)
               ปิด การ, คือ คน ปิด การ งาน ทั้ง ปวง มิ ให้ ใคร เหน ซ่อน ทำ การ ใน ที่ ลับ, เพื่อ จะ อำ การ นั้น ไว้ แต่ ตัว นั้น.
      บัง ของ (359:1.4)
               ปิด ของ, คือ ปิด ของ คน กลัว ผู้ อื่น จะ เหน ซ่อน ของ เอา ผ้า บัง ปิด เสีย นั้น.
      บังคะหล่า (359:1.5)
               เปน ชื่อ เมือง แห่ง หนึ่ง ชื่อ อย่าง นั้น. เมือง นั้น ว่า เปน ปาก น้ำ เมือง พาราณะศรี, มี แต่ โบราณ* มา.
      บัง คน (359:1.6)
               ลับ คน, เปน คำ ดิ* สำรับ เจ้า ถ้า เจ้า จะ ถ่าย อุจาระ แล ปัดสาวะ ว่า บัง คน, การ นั้น เปน ที่ ลอาย ไม่ ให้ ใคร เหน.
      บัง ควร (359:1.7)
               คือ สม ควร, แต่ เอา บัง ใส่ เข้า ให้ เปน คำ สูง เปน คำ เพราะ ขึ้น, สำรับ แต่ง เรื่อง หนังสือ นั้น.
      บังคับ (359:1.8)
               คือ สั่ง กำชับ, คน มี วาศนา ว่า กำชับ สั่ง, ให้ คน ทำ การ ตาม ชอบ ใจ ตัว จง ได้.
      บังคับ บังชา (359:1.9)
               คือ สั่ง กำชับ, บังชา เปน สร้อย.
      บังคม (359:1.10)
               นมัศคาร, คำรพ, นบนอบ, คือ คน ไหว้* จ้าว, กล่าว เปน คำ สูง ว่า บัง คม นั้น, คน ถ้า ไหว้ พระ ไม่ ว่า บังคม, เว้น แต่ เจ้า.
      บัง เงิน (359:1.11)
               ปก ปิด เงิน, คือ คน ซ่อน ไม่ ให้ ผู้ อื่น เหน เงิน ของ ตัว, แล เอา ผ้า ปิด บัง เสีย. อย่าง หนึ่ง เขา ฝาก ให้ ของ อัน ใด มา ถึง เพื่อน กัน, ผู้ รับ มา เอา ของ นั้น เสีย บ้าง ให้ บ้าง ว่า บัง เอา ของ เขา.
      บัง ฉาก (359:1.12)
               กั้น ฉาก, คือ ฉาก กั้น อยู่, เขา เอา ฉาก ตั้ง ปิด กั้น ไม่ ให้ คน เหน, ว่า บัง ด้วย ฉาก คือ ของ เขา เขียน รูป ต่าง ๆ.
      บัง ความ (359:1.13)
               ปิด ความ, บัง ตัว, กั้น ตัว, ปิด ตัว, บัง ตา, บัง หน้า บัง ใบ, คือ ผลไม้ ใบ ปิด อยู่. อย่าง หนึ่ง ทำ ไม้ เข้า ฝา, เขา เซาะ กระดาน เปน ลิ้น ข้าง ละ ลิ้น, ปรับ ลิ้น ต่อ ลิ้น เข้า กัน นั้น.
      บัง บท (359:1.14)
               คือ ทำ บิด บัง การ งาน ทั้ง ปวง.
      บัง เพลิง (359:1.15)
               คือ กั้น ไฟ, คน ตาม เตกียง ดู หนังสือ, เอา กระดาน มา ทำ รูป เหมือน ใบ โพธิ์, ปัก ลง บน ไม้ ถาน เอา เข้า บัง ไฟ มิ ให้ แสง แทง หน่วย ตา.
      บัง ไฟ (359:1.16)
               คือ กั้น เพลิง, คน ทำ แคร่ ข้าง ท้าย, เรือ ใหญ่ เหมือน. เรือ น้ำตาล เพ็ชบูริ, เขา ทำ ไว้ ที่ ท้าย, เอา ไม้ ทำ เสา ปัก ลง ที่ แม่ แคร่, แล้ว เอา กระดาน กรุ เปน ฝา บัง นั้น.
      บัง ฟัน (359:1.17)
               คือ สี ปาก ปิด ฟัน อยู่ นั้น. อย่าง หนึ่ง ว่า คน เรียน วิชา ภาษา ลาว ว่า บัง เข้า มา ฟัน ให้ คน ตาย ได้ นั้น.
      บัง ลับ (359:1.18)
               คือ ปิด ลับ อยู่.
      บัง มืด (359:1.19)
               คือ บัง สว่าง เสีย ให้ มืด, คน ยืน ฤๅ เอา สิ่ง ใด ปิด กั้น ข้าง ที่ สว่าง ให้ ที่ ข้าง หนึ่ง มืด ไป นั้น.
      บัง เหลื่อม (359:1.20)
               คือ คน เล่น กล เขา บัง ตา คน, คน เล่น กล นั้น ว่า คราว นี้ เรา จะ กลืน เรือ, เขา ไม่ ได้ กลืน จริง, แต่ เขา บัง เหลื่อม ให้ คน เหน เหมือน กลืน เรือ เข้า ไป ได้.
      บัง เลก (359:1.21)
               คือ ปิด ฉ้อ เอา ตัว ไพร่ ไว้ นั้น เอง, เหมือน อย่าง บัง เลก กิน เงิน นั้น.
      บังสกุล (359:1.22)
               คือ คน ตาย เขา นิมนต พระสงฆ ไป สวด มาติกา ให้ พิจาณา ถึง ความ ตาย, เพื่อ จะ ให้ ได้ บุญ, ว่า บังสกุล.
      บัง แสก (359:1.23)
               คือ ทับ แสก, คน ก่อ ฝา ผนัง อิฐ เอา อิฐ วาง ลง ต่อ ๆ กัน ไป ครั้น วาง อิฐ ขึ้น ชั้น สอง ให้ อิฐ ทับ แสรก กัน บัง แสก กัน.
      บัง ศูรยิ (359:1.24)
               คือ ของ เปน เครื่อง สูง สำรับ กรษัตริย์ อย่าง หนึ่ง, เรียก ว่า บัง ศูรย์, เพราะ ของ นั้น บัง แสง พระ อาทิตย นั้น.
      บัง เหตุ (359:1.25)
               คือ บัน ดาน เหตุ, เหมือน การ ไม่ ควร จะ มี เหตุ, แล เหตุ นั้น มา เกิด ขึ้น ว่า บัง เหตุ.
      บัง หวน (359:1.26)
               คือ กั้น ที่ ลม หวน. อย่าง หนึ่ง คน ทำ ให้ ควัน เกิด มา ตลบ กลบ กลุ้ม ไป, ว่า บัง หวน ควัน.
      บัง เหียน (359:1.27)
               คือ สาย เชือก เขา ใส่ ที่ ปาก ม้า, เรียก ว่า บัง เหียน สำรับ คน ขี่ ม้า ถือ ขับ ม้า ไป, เรียก บัง เหียน.
      บังเวียน (359:1.28)
               คือ เขา ทำ ให้ กระ ดาน กลม เปน วง, คน เอา เหล็ก ปากกา ปัก ลง ข้าง หนึ่ง, แล้ว หัน เวียน ให้ เปน วง กลม นั้น.

--- Page 360 ---
      บังอาจ (360:1.29)
               คือ องอาจ, คน ไพร่ เลว ไม่ ควร ขึ้น ไป นั่ง ฤๅ นอน บน ที่นั่ง พระ มหา กระษัตริย์, แล กล้า ขึ้น ไป นั่ง นั้น, ว่า องอาจ.
      บังอ่อน (360:1.30)
               คือ หญิง สาว รูป งาม, คำ ใน หนังสือ แต่ง ว่า นาง บัง*อ่อน, คือ หนุ่ม เช่น ว่า นั้น.
      บัง เอิน (360:1.31)
               คือ พัน เอิน, การ ที่ ไม่ ควร เปน แล เปน ขึ้น, ว่า พัน เอิน เปน เมือน ระดู ฝน ไม่ ควร แล้ง แล แล้ง ไป นั้น.
บั้ง (360:1)
         คือ คน เอา มีด เชือด ปลา ให้ เปน แผล, แล้ว ย่าง บน ถ่าน ไฟ, ที่ เอา มีด เชือด ปลา เปน แผล ๆ นั้น ว่า บั้ง.
      บั้ง แทง ไม้ (360:1.1)
               คือ เหล็ก แบน เล็ก ๆ ทำ เหมือน ฟัน เลื่อย แทง ช่อง เล็ก ให้ โต.
บาง (360:2)
         คือ ของ มี ผ้า เปน ต้น ไม่ หนา นั้น. อย่าง หนึ่ง เปน ชื่อ คลอง ย่อม ๆ ว่า บาง, เปน ที่ มี น้ำ นั้น.
      บาง เบา (360:2.1)
               คือ ของ ที่ บาง แล เบา ด้วย นั้น. อีก อย่าง หนึ่ง เหมือน อย่าง ค่อย บัน เทา ขึ้น.
      บาง กะปิ (360:2.2)
               เปน ชื่อ คลอง ย่อม ๆ มี อยู่ ปลาย คลอง สาม เสน ชื่อ บาง กะปิ, ตลอด ออก ไป นา นั้น.
      บาง ขุน เทียน (360:2.3)
               เปน ชื่อ บาง แห่ง หนึ่ง, อยู่ ใน ปลาย คลอง บาง หลวง นั้น, เขา เรียก บาง ขุน เทียน.
      บาง แห่ง (360:2.4)
               คือ ลาง แห่ง นั้น เอง.
      บาง คาบ (360:2.5)
               คือ บาง ที, เปน คำ บูรณ พูด ถึง เวลา มา ถึง ครั้ง หนึ่ง ๆ นั้น, ว่า บาง คาบ บาง ครั้ง.
      บาง คาง (360:2.6)
               เปน ชื่อ ที่ เมือง แห่ง หนึ่ง, อยู่ ฝ่าย ทิศ ตวันออก เขา เรียก ว่า เมือง ประจิม นั้น.
      บาง กะทิง (360:2.7)
               เปน ชื่อ บาง แห่ง หนึ่ง มี อยู่ ใน แขวง กรุง เก่า นั้น, เขา เรียก มา แต่ บูราณ นั้น.
      บาง ช้าง (360:2.8)
               เปน ชื่อ บาง แห่ง หนึ่ง, อยู่ ฝ่าย ตวันตก กรุง เทพ, แขวง เมือง สมุทสงคราม.
      บาง พวก (360:2.9)
               คือ ลาง พวก นั้น เอง, เหมือน อย่าง บาง หมู่ นั้น.
      บาง กอก (360:2.10)
               คือ เมือง นี้, เมื่อ ครั้ง เมือง กรุง ยัง เปน เมือง หลวง อยู่, ที่ เมือง นี้ เขา เรียก ว่า บาง กอก นั้น.
      บาง หมู่ (360:2.11)
               คือ ลาง หมู่ นั้น เอง, เหมือน อย่าง บาง พวก นั้น.
      บาง ขนุน ขุน กอง (360:2.12)
               เปน ชื่อ บาง แห่ง หนึ่ง อยู่ ใน แคว บาง กอก น้อย นั้น, เขา เรียก มา แต่ บูราณ นั้น.
      บาง อ่อน (360:2.13)
               คือ คน เปน กุมาร กุมารี น้อย, เขา เรียก ว่า นาง บางอ่อน.
      บาง ไทร (360:2.14)
               คือ ชื่อ บาง แห่ง หนึ่ง, อยู่ ฝ่าย เหนือ กรุงเทพ, แขวง เมือง ประทุม ธานี นั้น.
      บาง บึง (360:2.15)
               บาง เช่น ว่า แล้ว, แต่ บึง มี อยู่ ใน ทุ่ง นา ใน ป่า ใน ดง, เปน เหมือน ลา คลอง ยาว ไป แต่ ไป ตัน ด้วน อยู่ นั้น.
      บาง คน (360:2.16)
                คือ ลาง คน.
      บาง ที (360:2.17)
               คือ ลาง เวลา เหมือน เวลา ที่ จะ กิน เข้า, ว่า ขณะ ก็ ว่า, เขา เรียก ว่า ที่ นั้น.
บ่าง (360:3)
         เปน ชื่อ สัตว สี่ ท้าว จำ พวก หนึ่ง, มัน อยู่ บน ต้นไม้, เมื่อ มัน จะ ไป แผ่ ท้อง ให้ เปน ปีก ออก แล้ว ไป ไกล ได้ คล้าย* นก.
บ้าง (360:4)
         คือ คำ คน สอง จำพวก, มี พวก อยู่ แล พวก ไป, มี คน ถาม ว่า พวก นั้น ไป หมด ฤๅ ยัง บ้าง, เขา บอก ว่า ไป บ้าง ยัง บ้าง นั้น.
บึง (360:5)
         เขา พูด ถึง คน ไป ไม่ อยุด ว่า คน นั้น ไป ตบึง, ฤๅ เหมือน บึง ที่ ว่า แล้ว.
      บึง (360:5.1)
               คือ ที่ คลอง ใหญ่ ใน ป่า น้ำ ไม่ ไหล ไป ได้ นั้น.
      บึง บาง (360:5.2)
               เปน ชื่อ บึง บาง ต่าง ๆ นั้น.
      บึง ลหาร (360:5.3)
               คือ ห้วย คลอง ลหาร ใน ป่า นั้น, เหมือน อย่าง ลำ ราง ลำมาบ นั้น.
บึ้ง (360:6)
         เปน ชื่อ สัตว อย่าง หนึ่ง, มัน มี ตีน หลาย ตีน เหมือน แมลง มุม, มัน อยู่ รู ที่ ทุ่ง นา ไข่ มัน คน เอา มา กิน ได้.
      บึ้ง (360:6.1)
               เปน ชื่อ ทุ่ง นา เล็ก ๆ เขา พูด ถาม กัน ว่า ทำ นา ได้ กี่ มาก น้อย, เขา บอก กัน ว่า ทำ ได้ กบึ้ง* หนึ่ง บ้าง สอง กบึ้ง* บ้าง.
      บึ้ง ตึง (360:6.2)
               คือ หน้า คน โกรธ นัก ไม่ พูด จา นั้น.
      บึ้ง หน้า (360:6.3)
               คือ หน้า ถมึงขึง โกรธ อยู่ นั้น, เหมือน อย่าง คน ขัด เคือง ใน ใจ.
บุง (360:7)
         เปน ชื่อ ของ สาน อย่าง หนึ่ง, เขา เรียก กบุง, เขา ใช้ ใส่ เข้า สาร นั้น.
บุ้ง (360:8)
         เปน ชื่อ สัตว ตัว เล็ก อย่าง หนึ่ง, ตัว มัน เท่า ดั้ม ปากกา สั้น สัก นิ้ว เสศ ๆ ตัว เปน ขน คน ถูก มัน เข้า, ให้ บวม* แล คัน นัก.
      บุ้ง กราง ไม้ (360:8.1)
               คือ เหล็ก หรุหระ สำรับ กราง ไม้ นั้น.

--- Page 361 ---
      บุ้ง ผี (361:8.2)
               บุ้ง นี้ ไม่ มี ตัว, ว่า เปน ลออง ขน ปลิว มา, ถูก คน เข้า ให้ บวม ปวด คัน นัก ต้อง รักษา จึ่ง หาย,
      บุ้ง เหล็ก (361:8.3)
               คือ บุ้ง เขา ทำ ด้วย เหล็ก นั้น, สำรับ กราง ไม้,
เบงญะรง* (361:1)
         คือ เครื่อง เขา เขียน ที่ มี ศรี ห้า อย่าง ๆ หนึ่ง ชาม มา แต่ เมือง จีน, เขา เขียน ด้วย ศรี ห้า อย่าง มี ศรี เขียว ว่า ชาม เบญรง.
      เบญเพศ (361:1.1)
               ว่า ยี่ สิบ ห้า, คน เกิด มา ถึง อายุ ยี่ สิบ ห้า ปี, ว่า คน ถึง เบญเพศ เคราะห์ ร้าย ครั้ง หนึ่ง.
      เบญพรรณ (361:1.2)
               ว่า ศรี ห้า, เบญะ ว่า ห้า, พรรณ ว่า ศรี, สับท์ ทั้ง สอง นี้ เปน คำ แผลง ตาม สับท์.
      เบญ กูล (361:1.3)
               เปน ชื่อ ยา เข้า ราก ไม้ ห้า สิ่ง, ว่า เปน ยา บำรุง ธาตุ ทั้ง สี่ ให้ บริบูรณ.
      เบญขันธ์ (361:1.4)
               คือ ขันธ์ ว่า ต้อง วัตถุ ทั้ง ห้า, คือ รูป กอง หนึ่ง, เวทนา กอง หนึ่ง, สัญญา กอง หนึ่ง, สังขาร กอง หนึ่ง, วิญญา* กอง หนึ่ง.
      เบญพรรค* (361:1.5)
               คือ ใหม มี ศรี ห้า อย่าง, เหมือน อย่าง ใหม ศรี เขียว ขาว เหลือง แดง ดำ นั้น.
เบ่ง (361:2)
         เปน อาการ เมื่อ คน จะ ถ่าย อุจจาระ ฤๅ ปะสาวะ, ฤๅ คลอด บุตร อาการ นั้น เกิด ขึ้น ขณะ นั้น ว่า เบ่ง.
      เบ่ง ขี้ (361:2.1)
               คือ อาการ มี เมื่อ ถ่าย อุจจาระ นั้น.
      เบ่ง เยี่ยว (361:2.2)
               คือ อาการ เตบง เมื่อ น้ำ ปะสาวะ ไม่ ใคร่ ออก นั้น.
      เบ่ง ลม (361:2.3)
               คือ อาการ เตบง เมื่อ จะ ผาย ลม นั้น.
      เบ่ง ขึ้น (361:2.4)
               คือ การ เตบง ขึ้น, นั้น.
      เบ่ง ท้อง (361:2.5)
               คือ อาการ ที่ เตบง ท้อง ขึ้น นั้น.
แบ่ง (361:3)
         คือ อาการ ที่ ทำ ข้าง ละส่วน, คน ทำ ของ มี เข้า สุก อยู่ ใน ชาม เดียว ให้ เปน ส่วน นั้น.
      แบ่ง กัน (361:3.1)
               คือ คน สอง คน แบ่ง ออก เปน ส่วน ๆ, ให้ แก่ เพื่อน กัน ตาม มาก แล น้อย นั้น.
      แบ่ง การ (361:3.2)
               คือ ทำ ราชการ เกณฑ น่า ที่, เขา ปัก ฉลาก แบ่ง ให้ เปน ส่วน ๆ กัน นั้น.
      แบ่ง กิน (361:3.3)
               คือ คน แบ่ง ของ กิน, เขา จะ กิน ของ เหน ของ นั้น มาก จะ กิน ไม่ หมด, แบ่ง ของ ออก กิน นั้น.
      แบ่ง เกณฑ (361:3.4)
               คือ* คน แบ่ง น่า ที่ ออก เปน ส่วน ๆ ตาม มี คน มาก แล น้อย นั้น.
      แบ่ง เกิน (361:3.5)
               คือ คน แบ่ง ของ ไม่ เท่า กัน. อย่าง หนึ่ง แบ่ง นา ที่ เกิน จำนวน คน นั้น.
      แบ่ง ข้อ (361:3.6)
               คือ แบ่ง ข้อ ความ, บาง ที ตระลาการ ถาม ความ กรวม ข้อ เท็จ กับ จริง ปน กัน, ลูก ความ ฃอ แบ่ง ข้อ ความ รับ แต่ ข้อ จริง นั้น.
      แบ่ง เขตร (361:3.7)
               แบ่ง แขวง, แบ่ง แว่น แคว้น, คือ แบ่ง นา ฤๅ แบ่ง* แดน, เขา ทำ นา ปลูก เข้า แล้ว แบ่ง กัน ออก เปน ส่วน, อนึ่ง ปัน ที่ ออก แล้ว ปัก ไม้ ไว้ เปน แดน.
      แบ่ง ขาย (361:3.8)
               คือ คน มี ของ มาก แบ่ง ของ ออก ขาย บ้าง, เอา เก็บ ไว้ บ้าง นั้น.
      แบ่ง ค้าง (361:3.9)
               คือ คน เขา ติด เงิน กัน ชั่ง หนึ่ง, ได้ เอา มา ใช้ สิบ ตำลึง, ว่า แบ่ง ไม่ ค้าง ครึ่ง หนึ่ง, ยัง ค้าง ครึ่ง หนึ่ง.
      แบ่ง คน (361:3.10)
               แบ่ง ผู้, คือ คน สิบ คน, มี นาย สอง คน, แบ่ง เอา ไป นาย ละ ห้า คน.
      แบ่ง เงิน (361:3.11)
               แบ่ง ทรัพย, คือ เขา ได้ เงิน มา แล้ว แบ่ง ปัน กัน ใช้, ตาม ได้ มา มาก แล น้อย นั้น, ว่า เขา แบ่ง เงิน กัน.
      แบ่ง ใช้ (361:3.12)
               คือ เขา ได้ เงิน ฤๅ ได้ ของ มา แล้ว แบ่ง ออก เปน ส่วน ๆ ไป ใช้ สรอย นั้น, ว่า แบ่ง ใช้.
      แบ่ง ได้ (361:3.13)
               คือ คน เข้า ทุน กัน เล่น เบี้ย, ได้ เงิน มา แล้ว แบ่ง ออก ปัน กัน ว่า แบ่ง ได้
      แบ่ง ที่ (361:3.14)
               แบ่ง ทาน, แบ่ง ทอน, แบ่ง พล, แบ่ง พวก.
      แบ่ง ภาคย์ (361:3.15)
               คือ แบ่ง ส่วน, ภาค ยะ แปล ว่า ส่วน, มี คำ ใน เรื่อง รามเกรียติ นั้น นั้น ว่า, นารายน์ แบ่ง ภาคย มา เกิด เปน พระราม.
      แบ่ง ส่วน (361:3.16)
               แบ่ง ให้ แบ่ง เอา, แบ่ง ออก.
บ่อง (361:4)
         คือ บาก เข้า ที่ ต้น ไม้ หมาย ไว้ เปน ต้น.
      บ่อง บาง (361:4.1)
               คือ คน ทำ น้ำมันยาง, เขา เอา ขวาน ไป ฟัน บั้ง บ่อง เข้า ที่ ต้น ไม้ ยาง, ที่ โต สัก เท่า ตุ่ม สูง พ้น ดิน สัก สอง ศอก, เจาะ ให้ เปน รู ฦก ลง ไป เหมือน ครก, กว้าง สัก คืบ เสศ แล้ว เอา ไฟ เผา ที่ รู, น้ำ มัน ไหล ออก แล้ว, ดับ ไฟ เสีย ตัก เอา นั้น.
บ้อง (361:5)
         คือ รู ที่ เขา ทำ ไว้ ต้น ขวาน ฤๅ สิ่ว นั้น เรียก ว่า บ้อง, เพราะ มัน เปน รู ใส่ ไม้ ดั้ม นั้น.

--- Page 362 ---
      บ้อง ขวาน (362:5.1)
               คือ รู ที่ ต้น ขวาน สำรับ ใส่ ไม้ ดั้ม นั้น, เขา เรียก รู นั้น ว่า บ้อง ขวาน นั้น เพราะ รู มัน.
      บ้อง จอบ (362:5.2)
               คือ รู เฃา ทำ ไว้ ที่ ต้น จอบ สำรับ ใส่ ไม้ ดั้ม นั้น, เรียก บ้อง จอบ.
      บ้อง สิ่ว (362:5.3)
               คือ รู ที่ ตัน สิ่ว สำ* ใส่ ไม้ ดั้ม มัน นั้น, เดิม สิ่ว มี แต่ ตัว เหล็ก เปล่า, เขา เอา ไม้ ทำ ดั้ม ใส่ เข้า ใน รู บ้อง.
      บ้อง ตื้น (362:5.4)
               นี่ เปน คำ อยาบ, เขา ว่า กับ คน ปัญญา เขลา โง่, ปัญญา ตื้น ไม่ ฦก ซึ้ง เปน คำ เปรียบ ด้วย บ้อง ขวาน นั้น.
บวง (362:1)
         คือ บน บาน, คน เจ็บ ไข้* อัน ใด อัน หนึ่ง, สำคัญ ว่า เปน เพราะ ผี ปิศาจ กระทำ, บนบาน ว่า ฃอ ให้ ข้า หาย โรค เถิด. ข้า จะ ให้ ของ สิ่ง นั้น* ๆ.
      บวง บน (362:1.1)
               คือ คน อยาก เปน ขุนนาง, ไป หา ท่าน ผู้ ใหญ่ บวง บน ท่าน ว่า, ดีฉาน ฃอ เปน ที่ นั้น ๆ, ถ้า เจ้า คุณ ให้ ได้ เปน กระผม จะ ให้ เงิน เท่า นั้น ๆ, ว่า บวง บน ท่าน.
      บวงสรวง (362:1.2)
               คือ คน ให้ ของ แก่ เทวดา, คน ปราฐนา สิ่ง ใด ๆ แล แต่ง ของ คาว ของ หวาน ไป บวง สรวง แก่ เทวดา ที่ ต้น ไม้ ใหญ่, แล้ว ฃอ สิ่ง นั้น ว่า บวง สรวง.
บ่วง (362:2)
         คือ คน เอา เชือก ฤๅ หวาย, มา ผูก เปน วง ที่ ปลาย ห่วง สำรับ คล้อง ดัก สัตว นั้น, ว่า บ่วง.
      บ่วง บาศ (362:2.1)
               เปน คำ กล่าว ทับ สับท์, ด้วย บาศ นั้น แปล ว่า บ่วง.
      บ่วง แร้ว (362:2.2)
               เปน เครื่อง สำรับ ดัก สัตว, เขา เอา เชือก ผูก ปลาย ไม้ เรียว เข้า ข้าง หนึ่ง ๆ, ทำ เปน บ่วง ไว้ แล้ว เอา ไม้ เล็ก อัน หนึ่ง ผูก เข้า, แล้ว ขัด กับ ไม้ ไก สัตว เหยียบ ลง ติด ท้าว.
      บ่วง อิริน (362:2.3)
               คือ บ่วง หวาย ติด กัน มาก สำรับ ดัก ไก่ นั้น.
      บ่วง มาร (362:2.4)
               คือ ตัณหา ๆ แปล ว่า ความ ปราฐนา, มี ปราฐนา จะ ไป สวรรค นั้น.
      บ่วง ดัก เนื้อ (362:2.5)
               คือ เชือก บ่วง ใหญ่ สำรับ ดัก เนื้อ ใน ป่า.
เบี่ยง (362:3)
         แบ่ง, หัน, คือ คน หัน ไป น่อย หนึ่ง, คน จะ ยิง ปืน ปาก กระบอก ตรง คน ฤๅ ของ อัน ใด ที่ ไม่ ต้อง การ ยิง กลัว ลูก ปืน ไป ถูก เข้า หัน เสีย น่อย หนึ่ง นั้น, ว่า เบี่ยง เสีย.
      เบี่ยง บ่าย (362:3.1)
               เบี่ยง เช่น ว่า แล้ว, แต่ บ่าย นั้น เหมือน เวลา เที่ยง, แล้ว เลื่อน ไป อีก พระอาทิตย บ่าย ลง. อย่าง หนึ่ง เรือ คน พาย ไป ปะ แพ หัน ออก ให้ พ้น ว่า บ่าย หัว เรือ.
      เบี่ยง เลี่ยง (362:3.2)
               คือ เบือน หลีก ไป.
เบื้อง (362:4)
         ข้าง, ฝ่าย, คือ เมื่อ ก็ ว่า ฝ่าย ก็ ว่า ความ ก็ ว่า, เมื่อ พระเยซู เปน ขึ้น มา จาก ตาย, แล้ว เหาะ ขึ้น ไป สวรรค, จะ ว่า เบื้อง ว่า พระเยซู ก็ ได้.
      เบื้อง ขวา (362:4.1)
               ข้าง ขวา, ฝ่าย ขวา, เหมือน คน นั่ง อยู่ ฝ่าย ขวา มือ, ว่า คน นั้น อยู่ เบื้อง ขวา, เพราะ กำหนฎ มือ นั้น.
      เบื้อง ซ้าย (362:4.2)
               คือ ฝ่าย ซ้าย, คน นั่ง อยู่ ฝ่าย ซ้าย มือ, ว่า คน นั้น นั่ง อยู่ เบื้อง ซ้าย, เพราะ กำหนฎ มือ นั้น.
      เบื้อง ต้น (362:4.3)
               ว่า หน ต้น, คน นั่ง อยู่ เรียง กัน แถว ยาว ไป, ผู้ ใด นั่ง อยู่ หน ต้น แถว, ว่า เขา อยู่ เบื้อง ต้น.
      เบื้อง ปลาย (362:4.4)
               ว่า หน ปลาย, คน นั่ง อยู่ เปน แถว เช่น นั้น, ผู้ ใด นั่ง อยู่ หน ปลาย, ว่า เขา นั่ง อยู่ เบื้อง ปลาย.
      เบื้อง น่า (362:4.5)
               ข้าง น่า, ฝ่าย น่า, ว่า หน น่า ก็ ได้, กาละ ที่ จะ มี มา ภาย น่า มี พรุ่ง* นี้ นั้น. เพราะ กาล ยัง ไม่ มา ถึง นั้น.
      เบื้อง หลัง (362:4.6)
               ว่า หน หลัง ก็ ได้, กาละ ที่ ล่วง ไป มี วาร นี้ นั้น, เรียก ว่า เบื้อง หลัง เพราะ ล่วง แล้ว.
      เบื้อง บาท (362:4.7)
               คือ เมื่อ พระบาท ก็ ได้, ว่า หน พระบาท ก็ ได้, ที่ พระบาท ก็ ได้, คน พูด ว่า เปน ข้า เบื้อง บาท.
      เบื้อง ต่ำ (362:4.8)
               คือ หน ต่ำ, ของ อัน ใด อยู่ ที่ ข้าง ล่าง, ว่า ของ นั้น อยู่ เบื้อง ต่ำ.
      เบื้อง บน (362:4.9)
               คือ หน บน, ของ อัน ใด อยู่ สูง, ว่า ของ นั้น อยู่ เบื้อง บน, คือ หน บน, ของ อัน ใด อยู่ สูง, ว่า ของ นั้น อยู่ เบื้อง บน.
      เบื้อง บัน (362:4.10)
               คือ เมื่อ นั้น, กาละ เวลา ขณะ นั้น, ว่า เวลา มา ถึง ข้า นั้น.
      เบื้อง ว่า (362:4.11)
               คือ เมื่อ ว่า ท่าน จะ ไป, ข้าพเจ้า จะ ไป ด้วย*, เปน คำ คน พูด เช่น นี้ บ้าง.
      เบื้อง สูง (362:4.12)
               คือ หน สูง, ของ อยู่ บน ต้น ไม้, ว่า ของ นั้น อยู่ เบื้อง สูง.
      เบื้อง พระเศียร (362:4.13)
               คือ บน หัว, คน พูด เปน คำ สูง สำรับ เจ้า, หัว ว่า พระเศียร เปน คำ แผลง.
      เบื้อง สอ (362:4.14)
               คือ บน ฅอ, นี้ เปน คำ เพราะ ฅอ ว่า สอ, คน พูด เปน คำ เจ้า, ว่า พระสอ, คือ ฅอ นั้น.

--- Page 363 ---
เบิ่ง (363:1)
         คือ เงย ดู, นี้ เปน ภาษา ลาว, ไป เบิ่ง ว่า ไป ดู, ลาว ไป ดู สิ่ง อัน ใด ว่า ไป เบิ่ง สิ่ง นั้น.
      เบิ่ง ดู (363:1.1)
               คือ เงย หน้า ขึ้น ดู เผลอ ไป.
      เบิ่ง หน้า (363:1.2)
               คือ เงย หน้า ดู, เปน คำ ลาว พูด ว่า เบิ่ง หน้า, คือ เบิ่ง หน้า ดู สิ่ง ใด ๆ นั้น.
      เบิ่ง หา (363:1.3)
               คือ เงย หน้า, เที่ยว หา ของ อัน ใด ๆ นั้น.
บด (363:2)
         คือ กด สี ลง คน จะ ซื้อ เข้า เปลือก, กลัว ว่า เข้า นั้น ตำ จะ แหลก, จึ่ง เอา เข้า มา สัก กำ หนึ่ง วาง ลง บน กระดาน แล้ว เอา ไม้ กลม กด บด สี ดู นั้น.
      บท จอง กัน (363:2.1)
               คือ บท เพลง ที่ ฟัก กัน โดย กลอน นั้น.
      บทะ (363:2.2)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า บาท, คือ ท่าน ผูก บาฬี เปน คา ถา สี่ บาท เปน คา ถา หนึ่ง, บาท หนึ่ง นั้น แปด อักขระ.
      บท กลอน (363:2.3)
               คือ บท รับ ถูก ต้อง กัน.
      บด เข้า (363:2.4)
               คือ กด สี เข้า ลง, คน เอา เข้า สุก มา วาง ลง ที่* กระดาน, แล้ว เอา ไม้ ท่อน กลม กด ข่ม ลง สี ไป ถู มา นั้น.
      บด คลุ้ม (363:2.5)
               คือ อับ แสง อาทิตย แล มืด คลุ้ม นั้น.
      บท เพลง (363:2.6)
               คือ แปด คำ อักษร มี หลาย บท, ว่า เปน เพลง บท หนึ่ง นั้น.
      บด ของ (363:2.7)
               คือ กด ข่ม ถู ไป ที่ ของ ๆ, อัน ใด จะ ต้อง บท, เขา เอา ของ นั้น วาง ลง แล้ว ทำ เช่น ว่า นั้น.
      บท พระอัยะการ (363:2.8)
               คือ พระราชกิจ ฎีกา จด หมาย ฉบับ หนึ่ง, ที่ ขุน หลวง ตั้ง ไว้ สำรับ แผ่น ดิน นั้น.
      บด ผ้า (363:2.9)
               คน เอา ผ้า ปู ลง บน กระดาน แล้ว เอา เบี้ย ใหญ่ ฤๅ ก้น ขวด แก้ว เอา ไม้ ทำ ดั้ม ใส่ ใน ห่วง เข้า ที่ ไม้ ราว, แล้ว ถู ไป ว่า บด ผ้า.
      บทจร (363:2.10)
               เปน สับท์ แผลง แปล ว่า เดิน ไป ด้วย ท้าว, คือ คน ไม่ ได้ ขี่ ยาน อัน ใด เดิน ไป นั้น.
      บด ฝน (363:2.11)
               คือ อับ แสง อาทิตย, มืด มัว เหมือน ฝน จะ ตก นั้น
      บท บาท (363:2.12)
               เปน คำ เขา แต่ง เพลง, ว่า บทบาท ยาตรา*, ว่า ยก ท้าว ก้าว ใป,
      บท ฉันท (363:2.13)
               คือ บท คำ ฉันท, ว่า กฤษดา ญู ชุลี น้อม นั้น.
      บด ยา (363:2.14)
               คน เอา ยา วาง ลง ที่ หิน สำรับ บด ยา, แล้ว เอา ลูก หิน บด กด ข่ม ลง, แล้ว ถู ไป ถู มา นั้น.
      บท เชิด (363:2.15)
               เปน บท มี ใน หนังสือ เรื่อง* ละคอน นั้น, เปน เพลง อย่าง หนึ่ง นั้น.
      บท รำ (363:2.16)
               กือ* คราว จะ รำ, คน เปน ละคอน เล่น งาน ถึง คราว รำ ลุก ขึ้น ทำ ท่า รำ ไป นั้น.
      บท ราบ (363:2.17)
               เปน บท มี ใน หนังสือ ร้อง ละคอน นั้น, เปน บท เพลง อย่าง หนึ่ง.
      บท ร้อง (363:2.18)
               คือ ทึง* คราว ร้อง, คน เปน ละคอน เล่น งาน ถึง คราว ร้อง, ก็ ร้อง ไป ตาม เรื่อง ที่ เล่น นั้น.
      บท สุรางคนาง (363:2.19)
               เปน ชื่อ บท หนังสือ สวด อย่าง หนึ่ง.
      บท เอื้อง (363:2.20)
               คือ คาย เอา หญ้า ที่ กิน เข้า ไป ไว้ ออก มา เคี้ยว อีก ให้ เลอียด, งัว ฤๅ ควาย มัน ต้อง บด เอื้อง เช่น ว่า นั้น.
      บทพิลาบ (363:2.21)
               เปน ชื่อ บท ใน หนังสือ สวด อย่าง หนึ่ง, ที่ ร้อง ไห้ ร่ำ ไร นั้น.
      บท ยานี (363:2.22)
               เปน ชื่อ บท ใน หนังสือ สวด อย่าง หนึ่ง นั้น.
      บท ฉบัง (363:2.23)
               เปน ชื่อ บท ใน หนังสือ สวด อย่าง หนึ่ง.
      บด ลด (363:2.24)
               บด ทอน, คือ ลด ทอน ลง, เหมือน หัก ค่า สูญ เพลิง นั้น.
บัด (363:3)
         (dummy head added to facilitate searching).
      บัด ใจ (363:3.1)
               คือ บัด เดี๋ยว ก็ ว่า, ใน ทัน ใด ก็ ว่า, คน พูด ว่า ใน บัด ใจ นั้น, ได้ อ่าน คำ ฟ้อง แล คำ ให้ การ ให้ โจท จำเลย ฟัง, เขา ว่า ถูก ต้อง ด้วย ถ้อย คำ สำนวน อยู่ แล้ว.
      บัด ดล (363:3.2)
               คือ ถึง เร็ว, คน ไป เรือ ฤๅ ไป บก, มี คน ถาม ว่า เมื่อ ไร จะ ถึง, เขา บอก ว่า จะ ถึง บัดดล นี้ นั้น.
      บัด เดี๋ยว (363:3.3)
               คือ เวลา ขณะ นั้น, คน พูด ว่า ไป ก่อน เถิด, บัด เดี๋ยว ข้า จะ ตาม ไป.
      บัด นี้ (363:3.4)
               คือ เวลา นี้, เขา พูด ว่า ข้า จะ ไป ใน กาล บัด นี้, แล้ว เขา ก็ ลุก ขึ้น เดิน ตาม ไป นั้น.
      บัด เดี๋ยว ดล (363:3.5)
               คือ เวลา ใน ทัน ใด นั้น.
      บัด นั้น (363:3.6)
               คือ เวลา นั้น, คน แต่ง หนังสือ เรื่อง ร้อง ละคอน, มัก ว่า บัด นั้น.
บัดไจย (363:4)
         เปน ชื่อ วัตถุ ที่ เปน เหตุ ให้ สำเร็จ ผล, เหมือน เงิน เปน บัด ไจย ให้ สำเร็จ ของ ต่าง ๆ นั้น.
บัดตรี (363:5)
         คือ ยา ขัน จอก ด้วย น้ำ บัดตรี นั้น.
บัดพลี (363:6)
         คือ ของ สำรับ บวงสรวง, เขา เอา ใบ ตอง ฤๅ กาบ กล้วย มา ทำ เปน กะทง, แล้ว เอา ของ กิน ใส่ ลง บูชา เทวดา นั้น.

--- Page 364 ---
บัตร (364:1)
         คือ ใบ กดาด หนัง สือ บาด หมาย อัน ใด อัน หนึ่ง.
บัดศี (364:2)
         เปน คำ พูด ด้วย ความ ลอาย หนิด น่อย, ว่า เปน ความ บัดศี เขา.
บัด เอา แล้ว (364:3)
         คือ บัด* ใจ เอา แล้ว.
บาด (364:4)
         คือ มีด บาด มือ, คน เชือด ฤๅ ฝาน ของ อัน ใด ไม่ ทัน ยั้ง, พลาด ถูก มือ หวะ เฃ้า ไป, ว่า มีด บาด มือ นั้น.
      บาตร แก้ว (364:4.1)
               คือ รูป บาตร เขา ทำ ด้วย แก้ว.
      บาตร (364:4.2)
               คือ ภาชนะ ที่ พระสงฆ สำรับ ใส่ เข้า เมื่อ เวลา เข้า ไป เที่ยว ฃอ เข้า เขา กิน. อย่าง หนึ่ง ว่า เงิน บาตร นั้น.
      บาท เจ้า (364:4.3)
               คือ คำ ท่าน เรียก พระสงฆ ๆ ว่า บาท เจ้า นั้น.
      บาท (364:4.4)
               เปน สับท์ แปล ว่า ตีน, ว่า เปน คำ เพราะ ว่า ท้าว. อย่าง หนึ่ง ว่า บาท คาถา มี อักขระ แปด นั้น ว่า บาท หนึ่ง.
      บาท ยูคล (364:4.5)
               แปล ว่า บาท คู่ นั้น, เหมือน อย่าง ตีน ทั้ง สอง ทั้ง คู่ นั้น.
      บาศ (364:4.6)
               นี้ ว่า บ่วง, คน เอา เชือก ฤๅ หวาย มา ทำ เปน ห่วง ที่ สุด ปลาย เรียก ว่า บ่วง, สำรับ คล้อง นั้น ว่า บาศ.
      บาท จิตร (364:4.7)
               เปน ชื่อ โรค ลม อย่าง หนึ่ง, มัก ทำ ให้ จิตร สดุ้ง ตก ใจ บ่อย ๆ.
      บาด ใจ (364:4.8)
               คือ เจ็บ ใจ, เหมือน คน ทำ การ แกล้ง ข่ม เหง ให้ ไม่ สบาย, ให้ แค้น เคือง ใจ ว่า ทำ ให้ บาด ใจ เจ็บ ใจ นั้น.
      บาทยักษ (364:4.9)
               คือ โรค มัน ชัก ให้ สทก เพราะ บาด แผล ที่* มือ แล ท้าว นั้น.
      บาดหมาย (364:4.10)
               คือ หนังสือ ที่ เขา เกณฑ ราชการ, เขียน ลง ใน กดาด ให้ เอา ไป ส่ง ให้ แก่ ผู้ ต้อง เกณฑ.
      บาด โมง (364:4.11)
               คือ เขา ทำ สำรับ กำหนฎ เวลา ว่า สิบ บาด, เปน โมง เปน ทุ่ม นั้น.
      บาด ตา (364:4.12)
               นี้ เปน ความ เปรียบ, การ ที่ คน เหน คน ทำ อาการ มี นุ่ง ห่ม เกิน ประมาณ, ใจ ให้ นึก เกลียด ชัง ดู ไม่ ใคร่ ได้, ว่า บาด ตา.
      บาด แผล (364:4.13)
               คือ รอย แผล ที่ ถูก อาวุธ นั้น.
      บาด ตรี (364:4.14)
               คือ คน ยา ภาชนะ มี ขัน ท ลุ* แตก ร้าว จ้าง จีน บาด ตรี เจ็ก เขา เอา ยาง สน ถู เข้า ที่ แผล แตก, แล้ว เอา เหล็ก หัว แร้ง มา เผา ไฟ ให้ ร้อนขย* ตกัว* ให้ ละลาย, แล้ว จิ้ม เข้า ที่ แผล นั้น, ให้ ติด กัน นั้น.
      บาทตรา (364:4.15)
               คือ การ แห่ แหน ใหญ่ นั้น.
      บาท บริจา (364:4.16)
                ฯ, เปน สับท์ แผลง, แปล ว่า บำเรอห์ แทบ ท้าว. หญิง ที่ เปน นาง สนม พระ มหา กระษัตริย์, ว่า เปน หญิง บาท บริ จา นั้น.
      บาท บริจาริกา (364:4.17)
               แปล ว่า เปน หญิง บำเรอห์ แทบ ท้าว.
      บาด มีด (364:4.18)
               คือ มีด บาด เช่น ว่า แล้ว, คน ทำ การ ฝาน เชือด มีด พลาด ถูก เข้า ที่ มือ เปน แผล.
      บาท บงกช (364:4.19)
                ฯ, สับท์ แผลง ว่า ท้าว, เปรียบ ด้วย ดอก บัว.
      บาด หนาม (364:4.20)
               คือ หนาม ยอก หนาม แทง เข้า ที่ มือ ฤๅ ท้าว.
      บาทมูล (364:4.21)
               แปล ว่า แทบ ท้าว.
      บาด เสี้ยน (364:4.22)
               คือ เสี้ยน ยอก, ไม้ เสก็ด เปน เส้น เล็ก ๆ, เท่า ปลาย เขม แทง เข้า ที่ มือ ฤๅ ท้าว นั้น.
      บาท บท (364:4.23)
               คือ แปด อักษร เปน บาท หนึ่ง, หลาย บาท จึ่ง เปน บท หนึ่ง.
บิด (364:5)
         พลิ้ว, หัน, คือ หัน หมุน, คน เอา เหล็ก บิด หล่า มา เจาะ ไม้ บิด หัน นั้น. อย่าง หนึ่ง เปน โรค ให้ ปวด มวน ใน ท้อง ทุ่ง บ่อย ๆ นั้น,
      บิด การ (364:5.1)
               พลิ้ว การ, คือ เบือน การ, คน คี่ เกียจ ทำ การ งาน เขา ใช้ ก็ ว่า ค่อย ๆ ก่อน, ข้า ทำ นี่ บัด เดี๋ยว ก่อน, ว่า บิด การ นั้น.
      บิด กาย (364:5.2)
               คือ หัน เอี้ยว ตัว ไป, คน จะ รับ ฤๅ จะ อยิบ ของ ที่* อยู่ ข้าง หลัง, แล หัน เบือน ตัว ไป รับ ฤๅ ไป จับ เอา นั้น
      บิด คี่ เกียจ (364:5.3)
               คือ บิด คว้าน กาย, ยก มือ ขึ้น ทั้ง สอง ข้าง แล้ว เอยียด ออก หัน ตัว ไป, ให้ แก้ เมื่อย ตัว นั้น.
      บิด ขา (364:5.4)
               คือ ใคร่ ขา, คน นอน ฤๅ ยืน อยู่ ทำ ขา สอง ข้าง ให้ ใคร่ บิด กัน
      บิด แขน (364:5.5)
               คือ พลิ้ว หัน แขน ไป, คน ทำ ให้ แขน พลิก แพลง ไป*, ว่า บิด แขน ไป นั้น, บาง ที ทำ เอง, บาง ที่ ผู้ อื่น ทำ แก่ ผู้ อื่น.
      บิด ฅอ เอี้ยว ฅอ (364:5.6)
               คือ หัน ฅอ เบือน ไป, คน ทำ ให้ ฅอ เบือน ไป ข้าง ซ้าย ฤๅ ข้าง ขวา นั้น, ว่า บิด ฅอ ไป.

--- Page 365 ---
      บิด ความ (365:5.7)
               คือ ความ จริง กลับ ว่า นั้น เท็จ, ความ ของ เขา จริง แกล้ง ว่า ความ นั้น ไม่ จริง.
      บิดา (365:5.8)
               ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า พ่อ, ๆ นั้น คือ ชาย ที่ เปน ผัว ของ แม่, คน เปน ลูก เรียก ว่า พ่อ ๆ นั้น.
      บีตุราช (365:5.9)
               ว่า ราชบิดา, คือ ขุน หลวง เปน บิดา.
      บิตุรงค (365:5.10)
               ฯ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า องค แห่ง บิดา, เปน คำ สูง สำรับ กระษัตริย์, ลูก เรียก ว่า บิตุรงค นั้น.
      บิตุเรศ (365:5.11)
               ว่า บิดา เปน อิศระ, คือ ขุนหลวง เปน ใหญ่ เปน บิดา.
      บิด (365:5.12)
                เปน เกลียว, คือ บิด ฟั่น เหมือน ฟั่น เชือก นั้น.
      บิด น้ำ (365:5.13)
               คือ คน ซัก ผ้า แล สิบ* ฟั้น ทำ ให้ น้ำ อยู่ ใน ผ้า ไหล ออก จาก ผ้า นั้น.
      บิดหล่า (365:5.14)
               คือ เหล็ก เขา บิด หัน สำรับ เจาะ ไม้ ทำ การ ใด ๆ นั้น.
      บิด* เบือน (365:5.15)
               บิด เช่น ว่า แล้ว, เบือน นั้น คือ ทำ ให้ ตัว* เบี้ยว ไป. อย่าง หนึ่ง คน ไม่ รับ ธุระ กัน, แกล้ง ว่า ข้า ป่วย อยู่ ตัว ไม่ ป่วย แต่ แกล้ง ว่า เช่น นั้น.
      บิด หัว ลูก (365:5.16)
               คือ โรค อย่าง หนึ่ง ให้ ลง ปวด มวน เมื่อ เกือบ จะ คลอด บุตร นั้น.
      บิด เบี้ยว (365:5.17)
               บิด นั้น ว่า แล้ว, แต่ เบี้ยว เปน ความ เปรียบ, เหมือน ของ เบี้ยว ไม่ ตรง นั้น, ว่า พูด บิด เบี้ยว เสีย ไม่ รับ.
      บิตกูด (365:5.18)
               คน ถือ ท้าย เรือ ใหญ่ ที่ มี ตกูด, จะ ให้ เรือ เลี้ยว ไป ข้าง ซ้าย ฤๅ ข้าง ขวา, เขา ก็ บิด ตกูด หัน หัว เรือ ไป ข้าง นั้น.
      บิด ผ้า (365:5.19)
               คือ ทำ ผ้า ให้ เปน เกลียว, เพื่อ จะ ให้ น้ำ ใน ผ้า ออก บ้าง, เพื่อ จะ ให้ ผ้า เนื้อ กระ ด้าง อ่อน ไป บ้าง นั้น.
      บิด ผม (365:5.20)
               คือ คน จะ ถัก หาง เปีย, แล ทำ ให้ ผม เปน เกลียว ไป นั้น.
      บิด พลิ้ว (365:5.21)
               ไพล่ เผล, คือ บิด ไพล่, คน พูด ถึง คน ผู้ ที่ ไม่ รับ ธุระ อัน ใด อัน หนึ่ง, ตัว ไม่ เจ็บ แล้ว บอก ว่า ข้า เจ็บ อยู่ นั้น.
      บิด เชือก (365:5.22)
               คือ ถลุน เชือก, คน จะ ฟั่น เชือก เส้น ใหญ่, เขา เอา เชือก กลีบ เล็ก มา บิด เข้า ก่อน นั้น.
      บิด ไม้ (365:5.23)
               คือ หัน ไม้, คน เอา ไม้ มา ทำ ลูก สลัก, เพื่อ จะ ปิด ฝา ตู้ ไม่ ให้ เปิด* ออก. ก็ หัน ปิด เสีย นั้น.
      บิด มือ (365:5.24)
               คือ หัน มือ, คน พลิก* มือ ดู เมื่อ ล้าง, เพื่อ จะ ให้ มือ หมด มลทิน นั้น.
      บิด แอก (365:5.25)
               คือ งัว ฤๅ ควาย มัน ทำ ให้ ฅอ มัน พลัด ออก จาก แอก นั้น.
      บิด องค (365:5.26)
               บิด กาย, บิด ตัว, เปน คำ สูง สำรับ เจ้า, ถ้า เจ้า ท่าน เอี้ยว ตัว ไป ว่า เอี้ยว บิด พระองค
บุตร (365:1)
          ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า ลูก, พูด เปน คำ สุภาพ ไม่ อยาบ ลูก ว่า บุตร.
บุจฉา (365:2)
          ฯ, แปล ว่า ถาม.
บุษ (365:3)
          ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า ขาว, ของ ที่ มี ศรี ขาว, เหมือน ราชรถ สำรับ เสี่ยง ทาย หา พระ มหา กระษัตริย์, เชิญ มา ครอง เมือง นั้น, เขา เสี่ยง ทาย ด้วย ราชรถ, คือ รถ มี ของ ขาว, ใน เรื่อง ราว แต่ ก่อน ว่า, ถ้า เมือง ใด กระษัตริย์ สวรรคคต ไม่ มี ใคร จะ ครอง, เขา ก็ เสี่ยง ราชรถ, ถ้า รถ ไป สู่ สำนักนิ์ ผู้ ใด, เขา ก็ รับ ผู้ นั้น มา ครอง ราช สมบัติ.
บุษมาลิ (365:4)
          ฯ, แปล ว่า ดอก ไม้ ขาว.
บุษบา* (365:5)
          ฯ, เปน สับท แผลง แปล ดอก ไม้ มี ศรี ขาว.
บุษยาภิเศก* (365:6)
         คือ คน ได้ เปน กระษัตริย์, ได้ ราชา ภิเศก, เพราะ* เขา เสี่ยง ทาย ด้วย ราชรถ ได้ มา นั้น.
บุศบก (365:7)
         เปน ของ อย่าง หนึ่ง, มี บันลังก์ ถาน แล้ว มี เสา สี่ เสา, มี หลังคา เปน ยอด เหมือน ธรรมมาศ นั้น*.
บุศราคำ (365:8)
         คือ พลอย บุศ มี ศรี เหลือง เจือ แดง นั้น.
บุษบง (365:9)
         ว่า ดอก บัว ขาว, ดอก บัว อย่าง หนึ่ง มี ศรี ขาว เปน ชาติ บัวหลวง, มี กลิ่น หอม นั้น.
บุศ น้ำ ทอง (365:10)
         คือ เมล็ด พลอย บุศ มี ศรี เหมือน ศรี ทอง.
บูด (365:11)
         คือ เข้า สุก ฤๅ ของ กิน อย่าง อื่น ที่ เอา ไว้ แรม คืน ของ นั้น น่าว มี กลิ่น เหม็น กิน ไม่ ได้ นั้น.
      บูด เปรี้ยว (365:11.1)
               คือ* ของ เสีย น่าว มี กลิ่น เปรี้ยว เหมือน น้ำซ่ม สายชู* ที่ เสีย นั้น.
      บูดรา (365:11.2)
               บูด นั้น เช่น ว่า แล้ว, แต่ รา นั้น ของ เปน ต้น ว่า ขนม ครั้น เอา ไว้ หลาย วัน, ก็ เปน มลทิน ลออง ขึ้น ที่ น่า ขนม นั้น ว่า รา.
      บูด น่าว (365:11.3)
               คือ ของ บูด แล น่าว, เหมือน เข้า สุก ที่ บูด น่าว เสีย ไป นั้น.

--- Page 366 ---
เบ็ด (366:1)
         คือ เครื่อง มือ ของ สำรับ ตก ปลา, เขา ทำ ด้วย เหล็ก ขด เข้า ให้ งอ ที่ ปลาย, สำรับ เกี่ยว เหยื่อ ให้ ปลา มา ฮุบ กิน ติด อยู่.
      เบ็ด กุ้ง (366:1.1)
               คือ เบ็ด สำรับ ตก กุ้ง, เขา ทำ ด้วย ลวด ทอง เหลือง งอ เข้า แล้ว เกี่ยว เหยื่อ วาง ลง ใน น้ำ, ให้ กุ้ง มัน กิน ติด อยู่ นั้น.
      เบ็ดเตล็ด (366:1.2)
               คน พูด ถึง เรื่อง นิทาน เล็ก น้อย ฤๅ ของ เล็ก น้อย ว่า นิทาน เบ็ดเตล็ด, แล ของ เบ็ดเตล็ด นั้น.
      เบ็ด ตก ปลา (366:1.3)
               คือ เบ็ด สำรับ ตก ปลา นั้น,
      เบ็ด ทรง (366:1.4)
               คือ เบ็ด เขา ปัก ไว้ กลาง คืน กลาง วัน, ให้ ปลา มา กิน ติด เอง ไม่ ภัก วัด.
      เบ็ดเสร็จ (366:1.5)
               คือ คำ พูด ถึง การ สาระพัด ที่ แล้ว เสร็จ สิ้น นั้น
โบถ (366:2)
         (dummy head added to facilitate searching).
      โบถ ใหม่ (366:2.1)
               คือ โรง ที่ เขา สร้าง ลง ที หลัง, ว่า โบถ ใหม่.
      โบถ น้ำ (366:2.2)
               คือ โรง อุโบสถ ใน น้ำ นั้น.
      โบถ ร้าง (366:2.3)
               คือ โรง เช่น ว่า นั้น, อยู่ วัด ไม่ มี พระสงฆ โรง นั้น เปล่า ว่าง ร้าง อยู่,
บอด ตา ใส (366:3)
         คือ ตา ดี อยู่ แต่ แล ไม่ เหน อะไร.
บวช (366:4)
         คือ คน ถือ เพศ สมณะ รักษา ศีล, ไม่ มี เมีย ไม่ เที่ยว ทำ นา ค้าขาย, เลี้ยง ชีวิตร ได้ แต่ ฃอ กิน.
      บวช นาค (366:4.1)
               คือ คน อายุ ได้ ยี่ สิบ, ไป ฝึก สอน ใน การ ที่ จะ บวช นั้น, เขา เรียก ว่า เจ้า นาค, แล้ว เข้า ถือ เพศ สมณะ ว่า บวช นาค เปน ภิกษุ นุ่ง ห่ม ผ้า เหลือง.
      บวช เณร (366:4.2)
               คือ* คน อายุ กว่า หก ขวบ ขึ้น ไป, แล เขา ถือ เพศ เปน สามะเณร รักษา ศีล สิบ, นุ่ง ห่ม ผ้า เหลือง นั้น.
      บวช สงฆ (366:4.3)
               คือ ผู้ ชาย อายุ ยี่ สิบ ปี บริบูรณ, แล้ว ไป บวช เปน สงฆ ถือ นุ่ง ห่ม ผ้า เหลือง นั้น.
      บวช หลวง ชี (366:4.4)
               คือ หญิง อายุ สีบ*สี่สิบห้า ขึ้น ไป, แล พ่อ แม่ ยอม ให้ บวช, ไป บวช ถือ ศีล แปด นุ่ง ห่ม ผ้า ขาว นั้น.
      บวช (366:4.5)
                เปน เถร, คือ ผู้ ชาย ที่ บวช แล้ว สึก ออก มา เปน ฆะฤ หัฐ, ฤๅ คน ที่ ยัง ไม่ ได้ บวช เลย, แล ไป บวช เขา เรียก ว่า เถร,
บวด ฟักทอง (366:5)
         คือ เอา ฟักทอง มา ผ่า หั่น เปน ชิ้น ๆ, แล้ว เอา กะทิ ระคน เข้า กับ น้ำตาล, ใส่ ม่อ ตั้ง ไฟ ให้ สุก กิน เปน ของ หวาน นั้น.
บวด สาเก (366:6)
         เขา เอา ผล สาเก มา ทำ เหมือน กับ บวด ฟัก ทอง นั้น, ว่า แกง บวด* เพราะ ของ นั้น ต้ม สุก แล้ว ศรี เหลือง.
เบียด (366:7)
         เสียด, คือ ของ ตั้ง ชิด ๆ กัน, ฤๅ คน เดิน ฤๅ นั่ง ชิด ๆ กัน นั้น.
      เบียด กัน (366:7.1)
               คือ ของ ฤๅ คน อยู่ ชิด กัน เปน แถว, ฤๅ เปน กอง อยู่ นั้น.
      เบียด แซก (366:7.2)
               คือ คน ฤๅ ของ อยู่ ชีด ๆ กัน มาก, แล มี คน ฤๅ ของ อื่น มา อยู่ ที่ ระหว่าง กลาง อีก นั้น.
      เบียด บัง (366:7.3)
               คน พูด เปน คำ เปรียบ ถึง คน ที่ รับ เอา ของ หลวง ฤๅ ของ ฝาก ของ เพื่อน กัน, ของ นั้น มาก เก็บ เอา เสีย บ้าง, ว่า เบียด บัง เอา.
      เบียด เบียฬ (366:7.4)
               คือ คน ฤๅ สัตว กระทำ อันตราย กัน, ว่า ตี ฤๅ ขบ กัด นั้น.
      เบียด เสียด (366:7.5)
               เหมือน คน ฤๅ ของ อยู่ มาก, แล้ว มี มา แซก เข้า อีก นั้น.
บน (366:8)
         คือ ที่ อยู่ สูง ฤๅ ที่ ประเทศ เหนือ นั้น, ว่า ที่ นั้น อยู่ เบื้อง บน, แต่ บน สูง นั้น พูด โดย มาก.
      บน เขา (366:8.1)
               คือ ของ อยู่ ที่ ยอด ภูเขา, ฤๅ พื้น เขา นั้น.
      บน คำ คบ (366:8.2)
               ของ ที่ อยู่ ง่าม ต้น ไม้, เหมือน ต้น ไม้ เปน ลำดับ ขึ้น ไป, แล้ว มี กิ่ง แตก ออก เปน ง่าม ที่ ง่าม นั้น เรียก ว่า คำ คบ, ต่อ ขึ้น ไป ที่ กิ่ง ถึง จะ มี ง่าม, ก็ ไม่ เรียก ค่า คบ.
      บน จ้าว (366:8.3)
               คือ คน บน บาน ถือ จ้าว ผี, เขา เอา เครื่อง อาหาร ไป ตั้ง บน ศาล จ้าว, ที่ เขา ปลูก ไว้ เปน เรือน เล็ก ๆ, แล้ว ว่า ฃอ ให้ หาย โรค ฤๅ ให้ ได้ ของ ว่า บน จ้าว.
      บน ดิน (366:8.4)
               คือ บน แผ่น ดิน.
      บน บก (366:8.5)
               คือ ที่ บก ไม่ มี น้ำ.
      บน ฝั่ง (366:8.6)
               คือ ที่ บน ตลิ่ง.
      บน เคหา (366:8.7)
               คือ ที่ เรือน นั้น.
      บน หัว (366:8.8)
               คือ สิ่ง มี ผม อยู่ ที่ หัว นั้น, ใช่ ของ นั้น จะ อยู่ เหนือ หัว สูง ขึ้น ไป หา มิ ได้, แต่ เรียก ว่า บน หัว.
      บน ฟ้า (366:8.9)
               คือ ของ อยู่ ที่ ฟ้า, มี ดวง อาทิตย แล ดวง จันทร นั้น ใช่ ของ จะ อยู่ เหนือ ฟ้า ขึ้น ไป หา มิ ได้.
      บน สวรรค (366:8.10)
               คือ ของ อยู่ บน สวรรค นั้น, เหมือน พระ ที่นั่ง พระยะโฮวาเยซู นั้น, ใช่ พระที่นั่ง นั้น จะ อยู่ เหนือ สวรรค ขึ้น ไป นั้น หา มิ ได้.

--- Page 367 ---
      บน อากาศ (367:8.11)
               คือ ของ มี เมฆ อยู่ ที่ อากาศ นั้น, ใช่ เมฆ จะ อยู่ สูง พ้น อากาศ ขึ้น ไป หา มี ได้.
      บน บาน (367:8.12)
               คือ คน ป่วย ไข้ อยาก ให้ โรค หาย, ฤๅ อยาก ได้ สิ่ง ใด ๆ, เอา เครื่อง ของ กิน ไป ให้ เทวดา ที่ ต้น ไม้ ใหญ่, แล ว่า ฃอ ให้ โรค หาย ว่า บน บาน, แต่ บาน นั้น คำ สร้อย. อีก อย่าง หนึ่ง คน จะ ใคร่ เปน ขุนนาง, ไป ว่า ให้ เงิน กับ ท่าน ขอ ให้ ได้ เปน ก็ ว่า บน บาน แล.
      บน นาย (367:8.13)
               คือ คน เปน บ่าว เขา แล มี ธุระ ถ้อย ความ ไป ว่า กับ นาย ให้ ช่วย ความ ให้ สำเร็จ ชะนะ, ข้าพเจ้า จะ ให้ เงิน.
      บน ผี (367:8.14)
               คือ คน บน ปิศาจ ด้วย ของ กิน เปน เครื่อง เส้น, ว่า ขอ ให้ หาย ไข้ บ้าง, ให้ ได้ ของ อัน ใด ตาม ปราฐนา นั้น.
      บน พระ (367:8.15)
               เขา ป่วย เจ็บ แล บน ว่า ถ้า ข้า หาย โรค นี้, ข้า จะ สร้าง พระพุทธรูป องค หนึ่ง สอง องค นั้น.
      บน ตัว (367:8.16)
               เขา ป่วย ไข้ ด้วย โรค อัน ใด อัน หนึ่ง, แล ฃอ ว่า ให้ หาย โรค, ข้าพเจ้า จะ บวช, อย่าง นี้ ว่า* บน ตัว บวช.
บ่น (367:1)
         พูด ร่ำ ไร, คือ คน พูด ถึง อัน เดียว หลาย คำ บ่อย, ๆ, เหมือน คน คอย ถ้า คน อื่น ไม่ เหน มา, ว่า เมื่อ ไร จะ มา ๆ ว่า หลาย คำ ว่า บ่น.
      บ่น จู้ จี้ (367:1.1)
               คน เปน ลูก จ้าง ฤๅ เปน บ่าว ทำ การ ผิด พลั้ง ไป, ผู้ จ้าง ฤๅ นาย ว่า ติ เตียน มาก หลาย คำ, เขา ว่า บ่น จู้ จี้.
      บ่น ต่อ หน้า (367:1.2)
               คือ บ่น จำ เภาะ หน้า อยู่ ตรง หน้า กัน.
      บ่น ลับ หลัง (367:1.3)
               คือ บ่น ภาย หลัง นั้น.
      บ่น จุกจิก (367:1.4)
               คน พูด ถึง การ ที่ คน ทำ ผิด พลั้ง ว่า ด้วย คำ ติ เตียน ต่าง ๆ
      บ่น พึมพำ (367:1.5)
               คน เสียง ทุ้ม, พูด บ่น ถึง การ ที่ คน อื่น ทำ ผิด เสียง ไม่ ดัง แจ้ว ใส เสียง งึมงำ.
      บ่น บ้า (367:1.6)
               คือ บ่น ร่ำ เหมือน คน บ้า.
      บ่น ร่ำ ไร (367:1.7)
               คน เคือง ใจ กล่าว ติ เตียน, คน ทำ การ ผิด, ว่า แล้ว ว่า เล่า ว่า อีก นั้น.
      บ่น อู้ อี้ (367:1.8)
               คน ผู้ น้อย เคือง ผู้ เปน ใหญ่, เกรง อยู่ ไม่ อาจ ว่า กล่าว เสียง ดัง ว่า อยู่ แต่ เบา ๆ นั้น.
      บ่น ออด แอด (367:1.9)
               คน ป่วย อยู่ แล ขัด เคือง ผู้ อื่น, พูด ติเตียน ไม่ ดัง ชัด นัก นั้น
      บ่น อึกกะทึก (367:1.10)
               คือ คน บ่น อื้อ อึง นั้น.
      บ่น ถึง (367:1.11)
               คือ กล่าว ถึง พูด ถึง เนือง ๆ นั้น.
      บ่น หา (367:1.12)
               คือ ถาม หา เนือง ๆ นั้น.
บันลุ (367:2)
         ถึง, คือ มา ถึง ฤๅ ไป ถึง, คน ไป ทาง เรือ ฤๅ ทาง บก, ถ้า ถึง เข้า ที่ หวัง นั้น.
บันจุ (367:3)
         ฝัง ไว้, คน ก่อ พระ เจดีย์ ก่อ แล้ว นำ พระธาตุ มา ใส่ ไว้ ภาย ใน ว่า บัญจุ พระธาตุ ไว้.
บันจบ (367:4)
         ประสม, คือ คน นับ ของ ได้ สิบ แล้ว, นับ ประสม เข้า อีก ห้า ฤๅ สิบ, ว่า นับ บัน จบ เข้า ด้วย กัน.
บรรจง (367:5)
         ผจง, คน เขียน หนังสือ ค่อย เขียน ให้ ตัว งาม, ฤๅ ค่อย ทำ ของ ให้ งาม นั้น.
บันเจิด (367:6)
         คน ทำ ของ ให้ งาม ของ นั้น งาม วิเสศ แปลก ประ- หลาด นัก, ว่า ของ บันเจิด.
บัญชา (367:7)
         คือ บังคับ ว่า กล่าว ให้ ทำ นั้น.
บัญชร (367:8)
         คือ ช่อง น่า ต่าง ที่ มี ลูก กรง นั้น.
บันยะบันยัง (367:9)
         คือ ยั้ง กราน อัชฌาไศรย.
บันดา (367:10)
         คือ คน ภาษา เดียว กัน, ฤๅ อยู่ ใน ที่ อัน เดียว กัน, เขา ว่า คน ทั้ง หมด นั้น ว่า บันดา, ประสงค เอา ทั้ง สิ้น นั้น.
บรรดาการ (367:11)
         คือ กาน งาน ทั้ง ปวง นั้น.
บรรณาการ (367:12)
         คือ ของ ที่ เขา ให้ แก่ คน เปน ใหญ่, มี กระษัตริย์ ส่ง มา แต่ ต่าง ประเทศ เปน คราว ๆ นั้น, ว่า เครื่อง บรร ณาการ.
บรรณา (367:13)
          ฯ, แปล ว่า หนังสือ นั้น.
บรรดา ศักดิ์ (367:14)
         คือ บรรดา ยศศักดิ์.
บรรดา สัตว (367:15)
         คือ สัตว ทั่ว ไป นั้น, เหมือน อย่าง สัตว ทั้ง ปวง นั้น.
บันได (367:16)
         คือ ของ เขา ทำ ด้วย ไม้ ไผ่ บ้าง ไม้ จิง บ้าง เปน ขั้น ๆ แล ก่อ ด้วย อิฐ บ้าง, สำรับ ขึ้น เรือน นั้น.
บันดาน (367:17)
         คน มี ฤทธิ ทำ ให้ ป่วย หาย โรค, แล ทำ ของ อย่าง หนึ่ง ให้ เปน อย่าง อื่น, แล ทำ ของ น้อย ให้ มาก นั้น.
บรรณดุ กำพล (367:18)
         คือ ผ้ากำพล ศรี เหลือง เจือ ศรี แดง. อนึ่ง เปน แผ่น สิลา แห่ง พระอินทร.

--- Page 368 ---
บันดิตย (368:1)
          ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า คน มี ปัญญา, อาจ รู้ ใน* คะดี โลกย, แล คะดี ธรรม นั้น, คน ดำ เนิน ด้วย ปัญญา นั้น.
บันดิตย (368:2)
         เปน ชื่อ คน เปน นัก ปราช.
บันทิตย (368:3)
         นี่* ก็ เปน ชื่อ คน นัก ปราช.
บรรดุสุรสิงหราช (368:4)
         เปน สัตว สิงหราช แกล้ว กล้า, ศรี เหลือง แก่ นั้น.
บันทูล (368:5)
         คือ คำ สูง กระษัตริย์ เปน มหาอุปราช, กรมพระราช วังบวรสถานมงคล นั้น, เขา เรียก ว่า พระบันทูล บ้าง.
บันทม (368:6)
         คือ นอน เปน คำ สูง สำรับ กระษัตริย์ แล จ้าว, เขา พูด ว่า ท่าน บันทม อยู่, บันทม คำ นี้ เปน สยาม ภาษา.
บันเทา (368:7)
         คือ คลาย, เขา ถาม ว่า โรค นั้น บันเทา แล้ว ฤๅ, ว่า ค่อย ยัง ชั่ว ก็ ได้, ว่า บันเทา ก็ ได้, ว่า คลาย ก็ ได้.
บันทัด (368:8)
         คือ ไม้ ที่ คน ทำ ให้ ตรง มิ ให้ คด, ยาว คืบ เสศ สำรับ ขีด เส้น ให้ ตรง. อย่าง หนึ่ง เอา ด้าย ฟั่น ยาว ประมาณ สิบ สอง ศอก, ชุบ น้ำ ดำ ชัก ขึง ให้ ตรง แล้ว ดีดี ลง นั้น.
บันเดาะ (368:9)
         คือ เครื่อง ของ พราหมณ สำรับ ตี เมื่อ ประโคม เอา ฤกษ นั้น.
บันทุก (368:10)
         คือ เอา ใส่ ลง, คน ขน ของ มา ใส่ ลง ใน เรือ กำ ปั่น นั้น, ว่า บันทุก เรือ.
บันเทิง (368:11)
         ความ เบิก บาน, คือ ใจ รื่น เริง, คน ทำ สงคราม ได้ ไชยชำนะ, มี ใจ สบาย เบิก บาน นัก.
บันทึก (368:12)
         คือ จดหมาย ราย สิ่ง ของ อยิก เล็บ หมาย มือ ไว้, เหมือน คน ที่ ขะโมย ขึ้น เรือน เวลา กลาง คืน, ไม่ รู้ จัก ตัว, แล ไป หา นายอำเภอ ให้ จดหมาย ราย สิ่ง ของ ที่* หาย ไว้ นั้น.
บรรฐร (368:13)
         คือ ที่ บันทม จ้าว นั้น.
บรรพชา (368:14)
         ฯ ทรง ผนวช, ทรงพรต, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า บวช, มี เนื้อ ความ ว่า มา แล้ว, คือ คน เขา ถือ บวช นุ่ง ผ้า เหลือง นั้น.
บรรพชิต (368:15)
         นักบวช, เจ้า ภิกษุ, คือ ชื่อ คน ถือ เพศ บวช, โกน ผม โกน หนวด แล คิ้ว, นุ่ง ห่ม ผ้า เหลือง นั้น.
บรรพต (368:16)
          ฯ, คีรี, ภูผา, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า ภูเขา, ประเทศ ที่ มี ก้อน หิน เกิด ขึ้น จาก ดิน, สูง ขึ้น ไป กว่า เส้น นั้น, เรียก ว่า ภูเขา.
บรรพตา (368:17)
          ฯ, ศิขร, เนินไสล, เปน สับท์ แผลง, แปล ความ เช่น ว่า แล้ว.
บรรพสัตว (368:18)
         สรรพสัตว, สัตว นิกร, เปน คำ แผลง ว่า ถึง, บันดา คน ที่ มา จะ ฟัง เทศนา นั้น.
บัญญัติ (368:19)
         แต่ง ตั้ง, แปล ว่า ตั้ง* ไว้, เหมือน พระเจ้า จะ ให้ ฝูง คน ประฏิบัติ อย่าง ไร, ก็ ตรัส ตั้ง ไว้ อย่าง นั้น, ว่า บัญญัติ.
บรรณ ระศรี (368:20)
         วัน ที่ สิบ ห้า, วัน กลาง เดือน, วัน เพ็ญ, เปน สับท์ แปล ว่า วัน สิบ ห้า ค่ำ ก็ ว่า, วัน อุโบสถ ก็ ว่า, วัน เพ็ญ ก็ ว่า, เปน วัน บุญ ใหญ่.
บรรยาย (368:21)
          ฯ, แสดง, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า เหตุ, คำ โลกย พูด ว่า พรรณา บ้าง, ว่า บรรยาย บ้าง.
บันฦๅ (368:22)
         คือ เปล่ง เสียง, เหมือน ฟ้า ร้อง แล เมฆ ลั่น นั้น, อย่าง หนึ่ง เหมือน สัตว ใหญ่ มี ราชสีห์ มัน แผด เสียง นั้น.
บันลุ (368:23)
         คือ ถึง, เหมือน คน ไป ตาม ทาง ใกล้ แล ไกล, ถึง เข้า เมื่อ ใด ว่า บันลุ.
บันลังก์ (368:24)
         แท่น, คือ ของ คน ทำ ด้วย ไม้ ฤๅ ด้วย สิลา, เหมือน แท่น เขา ทำ ใส่ ใน เรือ หลวง ก็ มี บ้าง ใน ที่ อื่น บ้าง.
บันไลย (368:25)
         ประไลย*, มอศม้วย, คือ ตาย, เปน คำ เพราะ ใน เรื่อง หนังสือ ต่าง ๆ, ว่า บัน ไลย สิ้น ชีพย, คือ สิ้น ชีวิตร นั้น.
      บันไลยกัลป์ (368:25.1)
               คือ กัลป์ ฉิบ*หาย ด้วย ไฟ ไหม้ นั้น.
บันเลง (368:26)
         คือ คน ทำ ปี่พาทย เป่า ปี่ คน หนึ่ง, ตี ฆ้อง วง คน หนึ่ง, ตี ตะโพน คน หนึ่ง, ตี เปิ่ง หม่าง คน หนึ่ง, ตี รนาด คน หนึ่ง, เปน เพลง ต่าง ๆ ว่า บัน เลง เสียง ปี่พาทย.
บรรณศาลา (368:27)
         คือ สับท์ แผลง แปล ว่า ศาลา, คน มุง แล บัง ด้วย ใบ ไม้ นั้น.
บัณหา (368:28)
         คือ ข้อ ปฤษณา.
บัญหาร (368:29)
         รับ สั่ง, เปน คำ สูง สำรับ กระษัตริย์, ตรัส ประภาษ สั่ง ให้ คน ที่ กระษัตริย์ คำนับ, ให้ นั่ง นั้น ว่า บัญหาร.
บั่น (368:30)
         คือ การ ที่ คน ถือ ไม้ ไว้, มือ ข้าง หนึ่ง ถือ มีด, มือ ข้าง หนึ่ง ฟัน ให้ ไม้ ขาด ออก ไป นั้น.
      บั่น ข้อ (368:30.1)
               คือ ตัด ข้อความ ให้ สั้น นั้น.

--- Page 369 ---
      บั่น ทอน (369:30.2)
               คน ตัด ไม้ ยาว ออก เปน ท่อน ๆ หลาย ท่อน, เขา ว่า บั่น ทอน*.
      บั่น ฅอ (369:30.3)
               คือ ตัด ฅอ นั้น, เหมือน นาย เพ็ชฆาฏ บั่น ฅอ พวก นักโทษ นั้น.
      บั่น รอน (369:30.4)
               การ ที่ คน ตัด ไม้ เล็ก ๆ เท่า แขน, แต่ ยาว บั่น ออก ได้ เก้า ท่อน สิบ ท่อน นั้น.
      บั่น ตัด (369:30.5)
               คือ ตัด ขาด สอง ท่อน นั้น เหมือน ตัด รอน นั้น.
      บั่น หั่น (369:30.6)
               คือ ตัด หั่น เหมือน หั่น ยา สูบ นั้น.
บั้น (369:1)
         คือ ของ ส่วน หนึ่ง, เหมือน เข้า เปลือก ที่ เขา ตวง แปด สิบ สัจ เปน เกวียน หนึ่ง, ถ้า มี เข้า อยู่ สี่ สิบ สัจ, ว่า เข้า บั้น หนึ่ง คือ ครึ่ง เกวียน.
      บั้น กลาง (369:1.1)
               ท่อน กลาง, คือ ของ ส่วน ท่ำ กลาง, เหมือน คำภีร์ หนังสือ เรื่อง เดียว, มี หลาย คำภีร์ ๆ ต้น เรียก ว่า บั้น ต้น, คำภีร์* กลาง เรียก ว่า บั้น กลาง, คำภีร์ ปลาย เรียก ว่า บั้น ปลาย.
      บั้น ต้น (369:1.2)
               คือ หนังสือ พระธรรม บท คำภีร์ ต้น ยี่ สิบ ผูก ๆ หนึ่ง ยี่สิบ ลาน, เรียก ว่า บั้น ต้น.
      บั้น ปลาย (369:1.3)
               คือ หนังสือ พระธรรมบท คำภีร์* ปลาย, ยี่ สิบ ผูก เรียก ว่า ธรรมบท บั้น ปลาย นั้น.
      บั้น หนึ่ง (369:1.4)
               คือ ส่วน ตอน หนึ่ง.
      บั้น สอง (369:1.5)
               คือ ส่วน ตอน ที่ สอง.
      บั้น สาม (369:1.6)
               คือ ส่วน ตอน ที่ สาม.
      บั้น ท้าย (369:1.7)
               คือ เรือ เขา แบ่ง เปน ส่วน หัว ส่วน ท้าย, ตอน ท้าย เรียก ว่า บั้น ท้าย นั้น.
      บั้น หาง (369:1.8)
               ท่อน หาง, คือ ปลา ย่าง ที่ เขา ทำ ตัว หนึ่ง สอง ท่อน ๆ ข้าง หาง เรียก ว่า บั้น หาง นั้น.
      บั้น หัว (369:1.9)
               ท่อน หัว, คือ ปลา ย่าง ตัว หนึ่ง เขา ตัด เปน สอง ท่อน ๆ ข้าง หัว เขา เรียก ว่า บั้น หัว นั้น.
      บั้น เอว (369:1.10)
               ท่อนเอว, คือ ที่ เอว คน ๆ มี กาย สูง ยาว, กาย เบื้อง บน ตั้ง แต่ เอว ขึ้น ไป เปน ส่วน หนึ่ง, แต่ เอว ลง ไป เปน ส่วน หนึ่ง, ที่ กึ่ง กลาง ว่า เอว.
บาน (369:2)
         คลี่คลาย, คือ ดอก ไม้ ขยาย กลีบ กาง ออก แล้ว นั้น.
      บาน เช้า (369:2.1)
               คลี่คลาย เช้า, คือ ดอก ไม้ บาน เวลา เช้า นั้น.
      บาญชี (369:2.2)
               จดหมาย, คือ หนังสือ จดหมาย ราย สิ่ง ของ ฤๅ ราย ชื่อ คน ตำบล บ้าน นั้น.
      บาน น่า ต่าง (369:2.3)
               บาน พระแกล, บาน สิงห์บญชร, คือ กระดาน เขา ทำ ไว้ ที่ น่า ต่าง ข้าง ละ แผ่น, สำรับ ปิด แล เปิด นั้น.
      บาน ประตู (369:2.4)
               บาน ทวาร, คือ กระดาน แผ่น ใหญ่ เขา ทำ ไว ที่ ข้าง ประตู ข้าง ละ แผ่น, สำรับ ปิด เปิด.
      บาน คลี่ (369:2.5)
               คลี่คลาย, ขยาย แย้ม, คือ ดอก ไม้ ขยาย กลีบ แบะ ออก เมื่อ เวลา จะ บาน. อย่าง หนึ่ง ยอด กล้วย ที่ แรก ออก ยัง กลม สูง อยู่, ถึง กำหนฎ ก็ คลี่ กาง ออก.
      บาน เบิก (369:2.6)
               เบิก บาน, คือ คน ที่ มี ลาภ มี ยศ ได้ ใหม่ ๆ, มี หน้า ชื่น แช่ม โสมนัศ, หน้า มี อาการ เหมือน เบิก บาน นั้น.
      บาน แจ้ (369:2.7)
               บาน แปล้, บาน เต็ม ที่, คือ ดอก ไม้ บาน ถึง ที่. สิ้น ถ้า บาน ออก ไป อีก ไม่ ได้ นั้น ว่า บาน แจ้.
      บาน แบะ (369:2.8)
               บาน แบ, คือ ดอก ไม้ บาน ถึง ที่ จน กลีบ แบะ ไปล่ แปล้ ลง นั้น.
      บาน ทะโรค (369:2.9)
               ริทศิดวง งอก, เปน ชื่อ โรค อย่าง หนึ่ง, โรค นั้น เปน จำเภาะ ที่ ช่อง ทวาร หนัก, ชาย เปน ชุม นัก.
      บาน แผนก (369:2.10)
               คือ คน เปน ลูก ขุน ลง นั่ง ณ ศาลา หลวง ปฤกษา เนื้อ ความ, เขา จดหมาย ชื่อ ลง ใน บาญชี, ว่า จด ลง ใน บาน แผนก.
      บาน พับ (369:2.11)
               คือ ของ คน ทำ ด้วย ทอง เหลือง บ้าง, ทอง แดง บ้าง, เหล็ก บ้าง, สำรับ ติด บาน ประตู, แล บาน น่า ต่าง นั้น.
      บาน เอย็น (369:2.12)
               คือ ดอก ไม้ อย่าง หนึ่ง, เวลา อื่น ไม่ บาน เลย, จำ เภาะ บาน เวลา เอย็น บ่าย สี่ โมง เสศ.
      บาน มิรู้ โรย (369:2.13)
               บาน ไม่ รู้ โรย, ดอก ไม้ อย่าง หนึ่ง, บาน แล้ว ไม่ โรย ไม่ เหี่ยว เลย, ดอก ไม้ อย่าง อื่น บาน แล้ว โรย เหี่ยว แห้ง ไป.
      บาน แย้ม (369:2.14)
               บาน ขยาย, คือ ดอก ไม้ จะ บาน เวลา เช้า, แต่ เวลา เอย็น วัน นี้ ก็ ขยาย กลีบ เกือบ จะ บาน.
บ้าน (369:3)
         คือ ที่ ตำบล, ใด ๆ ที่ เขา ตั้ง เรือน ฤๅ โรง นั้น, อยู่* แต่ เรือน หนึ่ง สอง เรือน ขึ้น ไป เรียก ว่า บ้าน.
      บ้าน ช่อง (369:3.1)
               บ้าน นั้น ว่า แล้ว, แต่ ช่อง นั้น เปน คำ สร้อย.
      บ้าน ใน (369:3.2)
               คือ บ้าน อยู่ ใน กำแพง เมือง นั้น. ฤๅ บ้าน อยู่ ใน ค่าย นั้น.

--- Page 370 ---
      บ้าน นอก (370:3.3)
               คือ บ้าน อยู่ นอก กำแพง เมือง นั้น, ฤๅ บ้าน อยู่ นอก ค่าย นั้น.
      บ้าน ดง (370:3.4)
               คือ บ้าน อยู่ ใน ดง นั้น.
      บ้าน ดอน (370:3.5)
               คือ บ้าน อยู่ ที่ ดอน, คือ ที่ ไม่ ลุ่ม.
      บ้าน ป่า (370:3.6)
               คือ บ้าน อยู่ ใน ป่า.
      บ้าน เหนือ (370:3.7)
               คือ บ้าน อยู่ ฝ่าย ทิศ อุดร เปน ทิศ เหนือ, ฤๅ บ้าน อยู่ เหนือ น้ำ นั้น.
      บ้าน ใต้ (370:3.8)
               คือ บ้าน อยู่ ฝ่าย ทิศ ทักษิณ เปน ทิศ ใต้, ฤๅ บ้าน อยู่ ที่ ฃ้าง ใต้ น้ำ นั้น.
      บ้าน บน (370:3.9)
               คือ บ้าน อยู่ ที่ ข้าง เหนือ น้ำ, แต่ มิ ใช่ บน สูง เปน แต่ เหนือ น้ำ.
      บ้าน ล่าง (370:3.10)
               คือ บ้าน อยู่ ฝ่าย ข้าง ใต้ น้ำ ที่ น้ำ ไหล ลง ไป เพราะ บ้าน อยู่ ฝ่าย ใต้.
      บ้าน เมือง (370:3.11)
               นิคม, คือ บ้าน อยู่ ใน เมือง, ฤๅ บ้าน แล เมือง แล นิคม นั้น.
บิน (370:1)
         อาการ นก เมื่อ มัน จะ ไป, มัน ยก ปีก ทั้ง สอง ขึ้น แล้ว, กวัก ปีก ลง ทำ ให้ ตัว ลอย ไป ใน อากาศ นั้น, ว่า มัน บิน.
      บิน ขึ้น (370:1.1)
               อาการ นก เมื่อ มัน จะ ไป, มัน ทำ อาการ เช่น ว่า แล้ว นั้น.
      บิน โฉบ (370:1.2)
               อาการ นก มัน บิน มา ฤๅ ไป ใน อากาศ, ครั้น มัน เหน อาหาร อยู่ ที่ ดิน, มัน บิน วู่ สง มา เอา ภอ ได้ แล้ว บิน กลับ ขึ้น ไป.
      บิน โบย (370:1.3)
               คือ อาการ ที่ นก มัน บิน ลอย มา โดย กำลัง แรง รีบ เร็ว มา นั้น.
      บิน เฉี่ยว (370:1.4)
               อาการ เหยี่ยว มัน บิน อยู่ บน อากาศ ตาม คลอง น้ำ มัน เหน ปลา อยู่ ใน น้ำ, มัน บิน วู่ ลง เฉี่ยว ได้ ปลา แล้ว กลับ บิน ขึ้น ไป.
      บิน โบก (370:1.5)
               คือ นก มัน ยก ปีก ขึ้น กระพือ ไป มา นั้น.
      บิน ไป (370:1.6)
               คือ อาการ ที่ นก มัน จับ อยู่, แล้ว ผละ ออก บิน ไป จาก ที่ นั้น.
      บิน ถลา (370:1.7)
               คือ อาการ ที่ นก มัน บิน อยู่ สูง, แล้ว มัน บิน วู่ ลง มา แต่ ไม่ ตรง ลง, บิน เชือน ไกล ไป นั้น.
      บิน ร่อน (370:1.8)
               คือ อาการ นก มัน บิน ขึ้น ไป สูง, แล้ว มัน แผ่ หาง กาง ปีก รา อยู่ เปน วง บน อากาศ นั้น.
บินทบาตร (370:2)
         ภิกขาจาร, เที่ยว โคจร ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า ก้อน เข้า ตก ลง, คือ อาการ ที่ พระสงฆ ตื่น ขึ้น เวลา เช้า, เอา บาตร ไป รับ ก้อน เข้า แต่ ทา ยก ผู้ ให้ นั้น.
บิ่น (370:3)
         คือ การ ที่ บิ่น ออก ไป เหมือน เครื่อง เหล็ก, มี มีด* ที่ คน ฟัน ไม้, คม มัน บิ่น ออก ไป นั้น.
      บิ่น ยู่ (370:3.1)
               คือ การ ที่ เครื่อง เหล็ก มี คม มีด นั้น, มัน บู้ เบ้ ออก ไป นั้น.
      บิ่น ยับ (370:3.2)
               คือ การ ที่ มีด เขา ฟัน ไม้, เหล็ก มัน ห้าว ก็ ร้าว แตก ลิ ลั่น ออก ไป นั้น.
      บิ่น ริน ร่อย (370:3.3)
               คือ มีด มัน บิ่น หนิด หน่อย, ไม่ บิ่น มาก นั้น.
      บิ่น ร่อย (370:3.4)
               คือ การ ที่ มีด เล็ก ใหญ่ เครื่อง ใช้ สำรับ สับ ฟัน, คน ทำ มือ หนัก มัน ลิ หนิด ๆ แต่ ว่า หลาย แห่ง นั้น
บุน (370:4)
         อธิบาย ว่า เต็ม. อย่าง หนึ่ง คน หญิง ชาย ชื่อ บุน ก็ มี บ้าง. อย่าง หนึ่ง คน ทำ การ สุจริต นั้น.
      บุญานุภาพ (370:4.1)
               คือ มี บุญ แล อานุภาพ, เช่น คน เปน กระษัตริย์ นั้น, มี คน ใน อาณาจักร กลัว เกรง นั้น.
      บุญฤทธิ (370:4.2)
               คือ มี ฤทธิ แล มี บุญ, เหมือน พระยะโฮวา นั้น.
      บุญ (370:4.3)
               คือ การ คน กระทำ, ด้วย กาย สุจริต, วะจี สุจริต, แล มะโน สุจริต นั้น, ล้วน เปน บุญ สิ้น.
      บุญคุณ (370:4.4)
               คือ บุญ แล คุณ, เหมือน พระเยซูคฤษ, ทั้ง มี บุญ แล มี คุณ แก่ ฝูง ชน ด้วย, เพราะ ไถ่ โทษ.
      บุญนิธี (370:4.5)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า ขุม ทอง คือ บุญ, อธิบาย ว่า บุญ อาจ ให้ สำเร็จ ความ ปราฐนา ทุก ประการ นั้น.
      บุญกุศล (370:4.6)
               คือ การ บุญ อัน ตัด เสีย ซึ่ง การ บาป นั้น, เหมือน อย่าง ชำระ สันดาน ให้ บริสุทธิ์* นั้น.
      บุญธรรม (370:4.7)
               คือ การ บุญ เปน ธรรม อัน ชอบ ไม่ ผิด นั้น.
      บุญราศรี (370:4.8)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า กอง บุญ, คน กระทำ การ สุจริต ธรรม ไว้ มาก, ว่า เปน กอง แห่ง บุญ นั้น.
      บุญลาภ (370:4.9)
               แปล ว่า ได้ เพราะ บุญ, เช่น คน ได้* ขึ้น สวรรค เพราะ บุญ พระเยซู ช่วย นั้น.
      บุญาธิการ (370:4.10)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า คน กระทำ บุญ อัน ใหญ่ ยิ่ง, อย่าง หนึ่ง คน พูด ถึง คน มี วาศนา มาก, ว่า ท่าน มี บุญาธิ การ มาก นั้น.

--- Page 371 ---
บุรณปะติสังขร (371:1)
         คือ การ ที่ ซ่อม แปลง ที่ อัน ประหรัก หัก พัง เพราะ มัน เก่า คร่ำ คร่า ให้ ใหม่ ขึ้น นั้น.
      บูญทะริกะหัดถี (371:1.1)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า ช้าง มี ศรี แดง เรื่อ, ช้าง นี้ มี ใน พวก ช้าง สิบ ตระกูล, มี ช้าง ศรี ดำ นั้น.
      บุนะ บุนัง (371:1.2)
                ฯ, แปล ว่า เนือง ๆ, ว่า อีก ๆ, ว่า ใหม่ เล่า ๆ
      บุรณะมี (371:1.3)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า ใน วัน มี ดิฐี อัน เต็ม, คือ วัน ขึ้น สิบ ห้าค่ำ, ทุก เดือน นั้น ว่า วัน บุรณมี.
      บุญ หนัก ศักดิ์ ใหญ่ (371:1.4)
               เหมือน คน ที่ มี บุญ แล มี เกรียติยศ เหมือน พระยะโฮวา นั้น.
      บุรพชาติ์ (371:1.5)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า ชาติ์ ก่อน, คน เกิด มา ใน ชาติ์นี้, เพราะ จิตร จุติ มา แต่ ชาติ์ ก่อน มา บังเกิด นั้น.
      บุญาภิสังขาร (371:1.6)
                ฯ, แปล ว่า บุญ ตก แต่ง, คน ไท ถือ ว่า บันดา มนุษ แล สัตวดิรัจฉาน, ว่า บุญ แต่ง กรรม แต่ง ทั้ง สิ้น.
เบน (371:2)
         เปน ไม้ ใหญ่ อย่าง หนึ่ง, เขา เรียก ว่า ไม้ เบน, เนื้อ คล้าย กับ ไม้ ตาแบก, ทำ เสา เรือน ได้ แต่ ไม่ สู้ ยืน นัก.
      เบญจา (371:2.1)
               คือ เครื่อง ไม่ มี ใส่ เครื่อง สพ นั้น, เขา ทำ เปน ชั้น ๆ, ห้า ชั้น นั้น.
      เบญจะ (371:2.2)
                ฯ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า ห้า, คือ นับ แต่ หนึ่ง ถึง สอง สามสี่ห้า นั้น.
      เบญจางค์ ประดิฐ (371:2.3)
                ฯ, แปล ว่า ตั้ง ลง แห่ง องคห้า, คือ กราบ ไหว้ ลง, ทำ อะไวยะวะ ทั้ง ห้า คือ ฝ่ามือ สอง มือ, เข่า สอง หน้า ผาก ลง ถึง พื้น.
      เบญจะกัถยาณี (371:2.4)
                ฯ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า หญิง มี งาม ห้า แห่ง ก็ ว่า, งาม ห้า ประการ ก็ ว่า, คือ ผม งาม, คือ ฟัน งาม, คือ เนื้อ งาม, คือ อะไวยะ งาม, คือ ผิว หนัง งาม.
      เบญจางคิกะศีล (371:2.5)
                ฯ, แปล ว่า ศีล มี องคห้า, คือ เว้น จาก ฆ่า สัตว หนึ่ง, ลัก ทรัพย หนึ่ง, ผิด กับ เมีย เขา หนึ่ง, พูด ปด หนึ่ง, กิน เหล้า หนึ่ง.
      เบญจะขันธ์ (371:2.6)
                ฯ, เปน สับธ์ แปล ว่า ขันท์ ทั้งห้า, คือ รูป กอง หนึ่ง, เวทนา กอง หนึ่ง, สัญญา กอง หนึ่ง, สังขาร กอง หนึ่ง, วิญญา กอง หนึ่ง.
      เบญจะรง ศรี (371:2.7)
               อธิบาย ของ ห้า ศรี, เหมือน ชาม เบญจรง ศรี นั้น, มัน มี น้ำ ยา ห้า ศรี นั้น.
      เบญพรรณ มี ศรี ห้า อย่าง (371:2.8)
               ฯ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า ศรี ห้า อย่าง, มี ศรี ขาว นั้น. อย่าง หนึ่ง เขา เรียก ใหม มี ศรี* ห้า อย่าง, ว่า ใหม เบญพรรณ.
      เบญจะกามคุณ (371:2.9)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ของ สำรับ ความ รัก ใคร่, ห้า อย่าง คือ รูป หนึ่ง, เสียง หนึ่ง, กลิ่น หนึ่ง, รศ หนึ่ง, สำผัศ หนึ่ง, ห้า สิ่ง นั้น.
      เบญะภาษ (371:2.10)
               คือ สาย เชือก สำรับ ผูก เครื่อง ช้าง อย่าง หนึ่ง นั้น.
      เบญมาศ (371:2.11)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ ดอก เล็ก อย่าง หนึ่ง.
      เบญจะศก (371:2.12)
               คือ ปี ที่ ห้า นั้น.
      เบน ตัว (371:2.13)
               คือ คน เอน ตัว ไป ข้าง ซ้าย ฤๅ ข้าง ขวา หน่อย หนึ่ง ว่า เบน ตัว ไป.
      เบน กาย (371:2.14)
               คือ คน เอน กาย ไป ข้าง ซ้าย ฤๅ ข้าง ขวา หน่อย หนึ่ง นั้น, ว่า คน เบน กาย ไป นั้น.
      เบน ท้าย (371:2.15)
               คือ หัน เบือน ท้าย เรือ ไป, คน ไป เรือ แล จะ หลีก กัน ทำ ท้าย เรือ ให้ หัน ไป ข้าง ซ้าย ฤๅ ข้าง ขวา นั้น.
      เบน น่า (371:2.16)
               คือ บ่าย หัน น่า เรือ ไป, คน ไป เรือ แล จะ หลีก กัน ทำ น่า เรือ ให้ หัน บ่าย หลีก กัน นั้น.
แบน (371:3)
         คือ ของ รูป ต่ำ เช่น จาน ว่า ของ นั้น แบน.
บอน (371:4)
         เปน ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง เกิด ที่ โคลน, มี น้ำ ฦก คืบ หนึ่ง บ้าง ศอก หนึ่ง บ้าง, กิน ดิบ คัน ปาก ทำ ให้ สุก กับ ไฟ แล้ว กิน ไม่ คัน.
      บอน ขาว (371:4.1)
               เปน ต้น ผัก เช่น ว่า นั้น, แต่ กาบ มัน ศรี ขาว นั้น.
      บอน แดง (371:4.2)
                เปน ต้น ผัก เช่น ว่า นั้น, แต่ กาบ ต้น มัน ศรี แดง, เขา ทำ แกง เปน กับ เข้า กิน นั้น.
      บอน เปรี้ยว (371:4.3)
               คือ ต้น ผัก เช่น ว่า นั้น, แต่ มัน มี รศ เปรี้ยว.
บ่อน (371:5)
         ที่, คือ เปน ที่ ประชุม กัน เล่น การ พนัน ต่าง ๆ, ว่า โรง บ่อน ว่า ที่ เขา ใส่ บ่วน.
      บ่อน ไก่ (371:5.1)
               คือ ที่ เขา ชุมนุม พร้อม กัน มาก, ต่าง คน ต่าง เอา ไก่ อู ตัว ผู้ มา ให้ มัน ชน พนัน เอา เงิน กัน.
      บ่อน กำตัด (371:5.2)
               คือ ที่ ชุมนุม สิบ คน บ้าง สิบ สอง คน บ้าง, แล้ว สัญญา ว่า ข้า ถือ หน่วย, คือ ถือ หนึ่ง, คน หนึ่ง ถือ สอง, จน สิบ สอง เบี้ย, ถ้า กำ ออก มา แจง ไป ถ้า ออก ที่ ตัว ถือ ก็ ได้ กิน ตาม สัญญา กัน.

--- Page 372 ---
      บ่อน ถั่ว (372:5.3)
               คือ ที่ ประชุม คน มาก, แต่ มี คน กำ เบี้ย คน เดียว แจง ที่ ละ สี่ เบี้ย, คน ทั้ง ปวง เปน ผู้ แทง.
      บ่อน เบี้ย (372:5.4)
               คือ ที่ เขา เล่น ด้วย เบี้ย หลาย อย่าง ต่าง ๆ กัน, ว่า ที่ นั้น เปน บ่อน เบี้ย .
      บ่อน โป (372:5.5)
               คือ เปน ที่ ประชุม เล่น โป, จีน เอา ทอง เหลือง ทำ กว้าง แล ยาว สัก นิ้ว กึ่ง, รูป สี่เหลี่ยม ข้าง* ใน มี ศรี แดง อยู่ ข้าง หนึ่ง ขาว ข้าง หนึ่ง*, ขีด กัก ไว้ ที่ เสื่อ, แล้ว ผู้ แทง หัน ปั่น โป ได้ ที่ ก็ อยุด ตั้ง ไว้, แล้ว เอา เงิน แทง ลง, เปิด ขึ้น ถูก ขาว ผู้ แทง ได้, ถ้า ถูก แดง เสีย.
      บ่อน ไภ่ (372:5.6)
               คือ ที่ ประชุม เล่น ไภ่, จีน เอา กดา มา ทำ เปน ตัว ไภ่ กว้าง สัก นิ้ว หนึ่ง, ยาว สัก สอง นิ้ว แล้ว เล่น กัน.
      บ่อน หวย (372:5.7)
               คือ ที่ ประชุม เล่น หวย, จีน เอา กระดาน ทำ กว้าง สี่ นิ้ว ยาว สัก หก นิ้ว, แล้ว เขียน หนังสือ จีน ข้าง หนึ่ง ไท ข้าง หนึ่ง, แล้ว เอา ออก แขวน, อักษร เขียน กระดาน* ละ ตัว เปน สามสิบสี่* ตัว, เอา ออก แขวน เวลา ละ ตัว, ถ้า แทง ถูก ได้ สาม สิบ เท่า, ถ้า ผิด เจ้า มือ กิน เสีย.
บวน (372:1)
         เปน ชื่อ แกง อย่าง หนึ่ง, เขา เรียก แกง บวน เขา ใส่ เนื้อ หมู กิน รศ หวาน.
      บวน เนื้อ (372:1.1)
               เขา ทำ แกง กับ เนื้อ, ไม่ ใส่ เครื่อง เผ็ด ร้อน เขา ใส่ น้ำ ตาล บ้าง หนิด หน่อย มี รศ หวาน.
      บวน หมู (372:1.2)
               เขา ทำ แกง กับ เนื้อ หมู, ทำ เหมือน กับ แกง บวน เนื้อ นั้น, บวน จำเภาะ ทำ ได้ แต่ เนื้อ หมู, เนื้อ ปลา ทำ ไม่ ได้.
บ้วน (372:2)
         ถ่ม, คือ การ ที่ ทำ ให้ น้ำ ฤๅ น้ำ ลาย ออก จาก ปาก นั้น.
      บ้วน น้ำ ลาย (372:2.1)
               คือ คน ทำ ให้ น้ำ ลาย ที่ อยู่ ใน ปาก ให้ มัน ออก พ้น จาก ปาก นั้น.
      บ้วน น้ำ หมาก (372:2.2)
               คือ ทำ ให้ น้ำ หมาก ใน ปาก, ให้ มัน ออก จาก ปาก .
      บ้วน ปาก (372:2.3)
               คือ อาการ ที่ คน กิน อะไร อยู่ ใน ปาก ของ นั้น หมด แล้ว, เอา น้ำ ใส่ ใน ปาก บ้วน ออก มา, ล้าง ให้ ปาก หมด จด นั้น.
      บ้วน พระโอฐ (372:2.4)
               บ้วน เช่น ว่า แล้ว, แต่ พระ โอฐ นั้น แปล ว่า ปาก, เปน คำ สูง สำรับ เจ้า, โอฐ นั้น เปน คำ สับท์.
เบียน (372:3)
         คือ คน มา ฃอ ฤๅ มา ลัก ของ เล็ก น้อย เอา ไป, ว่า มา เบียฬ เอา ไป, เพราะ เอา ของ ให้ เปลือง ไป นั้น.
      เบียฬ คน ยาก (372:3.1)
               คือ เอา ของ ๆ คน จน นั้น, เหมือน อย่าง นาย ฉ้อ บ่าว นั้น.
      เบียน ตัว (372:3.2)
               คือ คน ทำ ประ กอบ การ ไม่ มี ประโยชน์, มี เล่น เบี้ย แล ทำ ให้ เปลือง ทรัพย ของ ตัว นั้น.
      เบียฬ ผู้ อื่น (372:3.3)
               ข่ม ขี่ ผู้ อื่น, ข่ม เหง ผู้ อื่น, คือ อาการ ที่ คน มา ข่ม เหง โดย มี วาศ นา, เก็บ เอา ของ เล็ก น้อย ฤๅ ของ มาก จาก คน อื่น นั้น.
      เบียฬ เพื่อน (372:3.4)
               ข่มเหง เพื่อน, กด ขี่ เพื่อน, คือ การ ที่ คน ฃอ ฤๅ ลัก เอา ของ เพื่อน บ้าน ฤๅ เพื่อน ชอบ กัน นั้น, ก็ ว่า เบียฬ เพื่อน กัน .
      เบียฬ พ่อ (372:3.5)
               ล้าง ผลาญ พ่อ, คือ การ ที่ คน เล่น เบี้ย นั้น, เสีย เงิน เขา ไม่ มี ให้ เขา, มา เอา เงิน ของ พ่อ ไป ให้ เขา นั้น.
      เบียฬ สัตว (372:3.6)
               คือ ทุบ ตี สัตว นั้น, เหมือน อย่าง คน ฆ่า สัตว ตัด ชีวิตร นั้น.
เบือน (372:4)
         (dummy head added to facilitate searching).
      เบือน เกษ (372:4.1)
               หัน ศีศะ, คือ หัน หัว ไป, คน เปน เจ้า แล หัน หัว ไป ว่า เบือน เกษ ไป.
      เบือน การ (372:4.2)
               คือ การ ที่ คน ทำ การ นาน ไม่ แล้ว, หลบ ลี้ ไป อื่น ว่า คน นั้น เบือน การ ไป.
      เบือน หนี (372:4.3)
               คือ เมิน หน้า หนี เสีย* นั้น.
      เบือน กาย (372:4.4)
               คือ อาการ ที่ คน เอี้ยว ตัว ไป, คน นั่ง นาน นัก ไม่ สบาย ตัว, แล เอี้ยว เยื้อง ตัว ไป ให้ หาย เมื่อย นั้น.
      เบือน หน้า (372:4.5)
               คือ อาการ ที่ คน หัน ผัน หน้า ไป, คน นั่ง อยู่ จะ ดู สิ่ง ใด ที่ อยู่ ข้าง ๆ ก็ เบือน หน้า ไป นั้น.
      เบือน บิด (372:4.6)
               คือ อาการ ที่ คน ผัน เยื้อง ตัว ไป, คน นั่ง ฤๅ ยืน อยู่ จะ มี ธุระ ที่ ข้าง ๆ ฤๅ ข้าง หลัง, ทำ ตัว เยื้อง เอี้ยว ไป.
บับ (372:5)
         เปน เสียง ดัง เช่น นั้น มี เสียง ตบ มือ นั้น.
บัพตา (372:6)
          ฯ, แปล ว่า ภู เฃา นั้น, เหมือน อย่าง บรรพด นั้น.
บัพชา (372:7)
          ฯ, แปล ว่า บวช นั้น, เหมือน อย่าง ทรง ผนวช นั้น.
บัพพาชะนิยะกรรม (372:8)
          ฯ, เนระเทศ, แปล ว่า ขับ เสีย นั้น, เหมือน อย่าง กำจัด เสีย นั้น.
บัพชิต (372:9)
          ฯ, แปล ว่า คน ถือ บวช นั้น, เหมือน อย่าง ทรง พรต นั้น.

--- Page 373 ---
บาป* (373:1)
          ฯ, แปล ว่า ลามก, ของ ที่ ไม่ ดี เปน ที่ พึง เกลียด, ฤๅ คน ประพฤติ การ ทุจริต นั้น ว่า บาป.
      บาป แก่ (373:1.1)
               ที่ ทำ บาป มาก แล เปน บาป นาน, เกือบ ถึง ปรับ โทษ, ว่า คน นั้น บาป แก่.
      บาป กรรม (373:1.2)
               ว่า คน กระทำ การ อัน ลามก น่า เกลียด, มี ทุจริต ด้วย กาย แล วา จา แล น้ำ ใจ นั้น.
      บาป กำเนิด (373:1.3)
               ว่า มี บาป แต่ กำเนิด นั้น.
      บาป หนา (373:1.4)
               บาป มาก, คือ คน ทำ การ ชั่ว ทุจริต สาม ประการ มาก นาน มา, ว่า คน นั้น มี บาป หนา, เกือบ ตก นรก แล้ว.
      บาป ลามก (373:1.5)
               คือ การ บาป พึง เกลียด โดย เปน การ ชั่ว ทุจริต มิ ใช่ เปน ของ โส โครก นั้น.
      บาพเคราะห์ (373:1.6)
               ว่า เคราะห์ อัน ลา มก นั้น, เหมือน อย่าง คน ถือ เอา ซึ่ง สิ่ง อัน ชั่ว นั้น.
บีบ (373:2)
         คือ การ ที่ คน ทำ มือ รัด เข้า, คน จะ คั้น น้ำ กะทิ ขูด มพร้าว ให้ เปน ไย ออก, แล้ว เอา น้ำ ใส่ ลง เอา มือ บีบ ให้ กทิ ออก.
      บีบ ขมับ (373:2.1)
               คือ เอา ไม้ คาบ เข้า ที่ ขมับ, แล้ว ผูก รวบ รัด หัว ท้าย เข้า นั้น, เหมือน อย่าง ผูก ผู้ ร้าย นั้น.
      บีบ เคล้น (373:2.2)
               คือ บีบ แน่น เข้า นั้น, เหมือน อย่าง พวก หมอ นวด นั้น.
      บีบ ขนมจีน (373:2.3)
               คือ บีบ แป้ง ให้ มัน เปน เส้น ขนม จีน นั้น.
      บีบ น้ำตา (373:2.4)
               คือ ร้อง ไห้ ทำ น้ำ ตา ให้ ไหล ออก นั้น, เหมือน อย่าง คน กลั้น ความ โศรก มิ ได้ นั้น.
      บีบ หนีบ (373:2.5)
               คือ บีบ คีบ ไว้ นั้น, เหมือน คิม* ตี เหล็ก นั้น.
บุบ (373:3)
         คือ คน เคาะ เบา ๆ เช่น คน จะ ตำ ลูก ไม้ นั้น, เขา กลัว มัน จะ กระ เด็น ไป, ตำ บุบ ๆ เบา ๆ ก่อน.
      บุบภาคย์ (373:3.1)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า ส่วน เบื้อง ต้น, เวลา เช้า เปน ส่วน เบื้อง ต้น แห่ง วัน.
      บุบผา (373:3.2)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า ดอกไม้, บันดา ดอก ไม้ ใน น้ำ ใน บก, เปน บุพผาชาติ.
      บุบเพสันนิวาศ (373:3.3)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า คน เคย อยู่ ร่วม สังวาศ เปน ผัว เมีย กัน, แต่ ใน ชาติ ก่อน นั้น.
      บุบ โพ (373:3.4)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า กาล ก่อน ก็ ได้. อย่าง หนึ่ง แปล ว่า น้ำ หนอง ก็ ได้, คำ นี้ เปน สับท์ มะคธ.
      บุพพันหะสมัย (373:3.5)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า กาละ เปน เบื้อง ต้น แห่ง วัน, คือ เวลา เช้า นั้น.
      บุบฉลาย (373:3.6)
               คือ เสีย อยู่ หลาย แห่ง นั้น, เหมือน อย่าง เขียน หนังสือ ตก นั้น.
      บุบ เดาะ (373:3.7)
               คือ ไม้ บุบ ค้าน นั้น, เหมือน อย่าง คาน เดาะ นั้น.
      บุพพะกาล (373:3.8)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า กาละ ก่อน ก็ ว่า, กาละ ใน หน ต้น ก็ ว่า, กาละ ที่ มี ใน ก่อน นั้น.
      บุบ เอา ภอ (373:3.9)
               คือ ท่าน ร่ำ เอา ภอ การ นั้น.
แบบ (373:4)
         คือ พิมพ์ คน จะ ทำ ตุก ตา เปน รูป ต่าง ๆ มี รูป คน นั้น, ก็ เอา ไม้ มา แกะ เปน รูป ก่อน, เรียก ว่า แบบ, แล้ว จึ่ง เอา ดิน ใส่ ลง ตี ไป.
      แบบ บาง (373:4.1)
               คือ รูป บอบ บาง นั้น, เหมือน อย่าง บัน ทัด นั้น.
      แบบ แผน (373:4.2)
               แบบ เช่น ว่า แล้ว, แผน นั้น คือ แผน ทำ อย่าง ที่ มี สัน ถาน โลกย์ นั้น.
      แบบ พาย (373:4.3)
               คือ พาย ท่าน ทำ ให้ เปน ตัว อย่าง นั้น.
      แบบ อย่าง (373:4.4)
               แบบ ว่า แล้ว, แต่ อย่าง นั้น เหมือน จะ ต้อง การ ของ อัน ใด, ให้ ทำ มา แต่ ต่าง ประเทศ, แล ทำ อย่าง ส่ง ออก ไป ให้ ทำ เข้า มา ให้ เหมือน นั้น.
      แบบ รูป ภาพ (373:4.5)
               คือ รูป คน ที่ ท่าน เขียน ให้ เปน ตัว อย่าง นั้น.
บอบ (373:5)
         คือ อ่อน ระทด ระทวย ไป, คน ที่ ถูก ทุบ ตี หนัก ฤๅ เจ็บ ไข้ หนัก, กาย แล จิตร อ่อน ระทวย ไป นั้น, ว่า คน นั้น บอบ.
      บอบ ใจ (373:5.1)
               คือ ช้ำ เจ็บ ใจ นั้น, เหมือน คน ที่ ต้อง ประหาร หนัก นั้น.
      บอบ ช้ำ (373:5.2)
               คือ อ่อน ระทวย แล กาย ฟก ช้ำ ด้วย, คน ที่ ถูก ทุบ ตี ฤๅ เดิน ทาง ไกล เหนื่อย นัก, ว่า คน นั้น บอบ ช้ำ.
      บอบ เต็ม ที (373:5.3)
               คือ ระกำ ช้ำ ตัว เต็ม ที นั้น, เหมือน อย่าง คน ต้อง ทุบ ถอง โบย ตี เกิน กำลัง นั้น.
      บอบ บาง (373:5.4)
               คือ อ่อน แล บาง, ของ อัน ใด ไม่ แน่นหนา, ฤๅ คน รูป เล็ก ๆ ไม่ ล่ำ สัน อ้วน พี, ว่า คน บอบ บาง.
      บอบ แบบ (373:5.5)
               คือ ออบ แอบ ของ ที่ อ่อน ป้อ แป้ ไม่ แขง แรง, ฤๅ คน รูป เล็ก ๆ ไม่ โต ใหญ่, ว่า รูป บอบ แบบ.
บวบ (373:6)
         เปน ชื่อ ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง, ต้น มัน เปน เถา เลื้อย ไป มา* ผล ยาว ต่าง ๆ, เขา ต้ม แกง กิน.

--- Page 374 ---
      บวบ ฃม (374:6.1)
               ต้น ผัก นี้ มัน เลื้อย ไป บน ต้น ไม้ อื่น, คน ไม่ ปลูก ลูก มัน รศ ขม นัก เขา ทำ ยา ได้ บ้าง.
      บวบ งู (374:6.2)
               ต้น ผัก นี้ มัน ก็ เลื้อย ไป บน เซิง บน ร้าน, คน ปลูก ไว้ ลูก ยาว มี สันถาน เหมือน งู เขา แกง กิน.
      บวบ จีน (374:6.3)
               ต้น ผัก นี้ มัน ก็ เลื้อย ไป, จีน มัก ปลูก ไว้ กิน ชุม มี ผล ยาว ๆ ต้ม แกง กิน รศ หวาน.
      บวบ เหลี่ยม (374:6.4)
               ต้น ผัก นี้ เปน เถา เลื้อย ไป บน ร้าน, คน ปลูก ไว้ ลูก มัน เปน เหลี่ยม แกง กิน ได้.
      บวบ หอม (374:6.5)
               ต้น ผัก นี้ เปน เถา เลื้อย ไป บน ร้าน, คน ปลูก ไว้ ลูก ใหญ่ เท่า ลำแขน, ยาว อย่อน ศอก บ้าง, ศอก หนึ่ง บ้าง, แกง กิน ได้.
      บวบ บ๋วย (374:6.6)
               เปน ชื่อ เมือง ต่าง ประเทศ มี บ้าง, ฤๅ เปน เสียง ที่ มัก จะ ดัง อย่าง นั้น บ้าง.
บ่ม (374:1)
         คือ การ ที่ คน ทำ ให้ ผล ไม้ มี มะ ม่วง นั้น ให้ สุก, ลูก มัน ยัง ดิบ เขา เก็บ มา แล้ว วาง เรียง ไว้, เอา ใบ ไม้ รอง แล้ว เอา ใบ ไม้ ปก ไว้ ข้าง บน นั้น.
      บ่ม กล้วย (374:1.1)
               การ ที่ คน ตัด เครือ มัน มา แล้ว ตัด ออก เปน หวี ๆ ใส่ ลง ใน ตุ่ม, แล้ว เอา ม่อ ใส่ ไฟ ตั้ง ปิด ไว้ บน ปาก ตุ่ม นั้น.
      บ่ม เขา (374:1.2)
               คือ อาการ ที่ เนื้อ กวาง เมื่อ มัน รู่น หนุ่ม, เขา มี เนื้อ หนัง หุ่ม อยู่, เปน เขา อ่อน เรียก เขา ตำแย, ครั้น เขา มัน แก่ มัน เจ็บ นัก ไม่ เที่ยว ไป ไหน เลย, กลัว ถูก อัน ใด จะ เจ็บ ว่า บ่ม เขา.
      บ่ม เปลี่ยว (374:1.3)
               อาการ ที่ งัว ฤๅ ควาย มัน ใหญ่, กำลัง หนุ่ม ฅอ มัน ขื้น เปลี่ยว อูม อยู่, เขา ยัง ไม่ ได้ ตอน ว่า บ่ม เปลี่ยว
      บ่ม ผิว (374:1.4)
               คือ อาการ ที่ คน ทำ ให้ ผิว หนัง งาม, คน ผู้ หญิง เอา ไม้ ทำ กระโจม กว้าง ศอก คืบ สูง สอง ศอก เสศ ตั้ง ไว้ กลาง แดด, แล้ว เอา ผ้า คลุม ให้ มิด รอบ, แล้ว เข้า นั่ง อยู่ ใน ให้ เหื่อ ตก, แล้ว ออก มา อาบ น้ำ ทำ ผิว หนัง ให้ หมด จด นั้น.
บุ่มบ่าม (374:2)
         คือ อาการ ที่ คน เดิน ก้าว ยาว ๆ เร็ว ว่า เดิน บุ่มบ่าม, เพราะ เขา จะ รีบ ไป ให้ ถึง เรว นั้น.
บวม (374:3)
         คือ เนื้อ ที่ ตัว คน ฟู สูง ขึ้น กว่า ปรกติ.
      บวม ขา (374:3.1)
               ฟก ขา, คือ อาการ คน เปน โรค, ขา พอง ขึ้น ไม่ เปน ปรกติ ว่า บวม ขา บ้าง, บาง ที พลาด ล้ม ลง ขา บวม.
      บวม เข่า (374:3.2)
               คือ อาการ ที่ คน เปน โรค ที่ เข่า, ให้ เนื้อ ที่ เข่า พอง ขึ้น นั้น.
      บวม เข้า สุก (374:3.3)
               คือ คน ฟื้น คลาย หาย โรค ขึ้น ใหม่ ๆ, กิน เข้า มาก แล้ว อ้วน ขึ้น นั้น.
      บวม แค่ง (374:3.4)
               ฟก แค่ง, คือ อาการ คน เปน โรค ที่ แค่ง, คน เจ็บ ฝี นั้น ให้ เนื้อ ที่ แค่ง พอง ขึ้น นั้น.
      บวม ข้อ (374:3.5)
               บวม ตีน, บวม คอ, บวม ตัว, บวม ท้อง, บวม ท้าว.
      บวม ตา ลิบ (374:3.6)
               คือ บวม จน ตา เล็ก เข้า นั้น, เหมือน อย่าง ตา เปน ฝี นั้น.
      บวม น้ำ เหลือง (374:3.7)
               คือ อ้วน ปุนุ* อยู่ ไม่ แน่น แฟ้น นั้น, เหมือน อย่าง ฝี พอง ขึ้น นั้น.
      บวม ลม (374:3.8)
               คือ อ้อน ฟู อยู่ ไม่ แน่น แฟ้น นั้น, เหมือน อย่าง ของ พอง ลม นั้น.
เบย (374:4)
         เปน เสียง ดัง เบย ๆ บ้าง, คน ไป เที่ยว ใน ป่า พรัด หลง เพื่อน* ไป ผู้ เดียว, เที่ยว ร้อง เรียก เสียง เบย ๆ .
บ่าย (374:5)
         เยื้อง, เปร ไป, คือ เวลา พระอาทิตย คล้อย จาก ที่ เที่ยง ลง ไป โมง หนึ่ง นั้น.
      บ่าย คล้อย (374:5.1)
               หัน คล้อย, คือ เวลา พระอาทิตย พ้น ตวัน เที่ยง เคลื่อน ลง ไป ข้าง ตวัน ตก นั้น.
      บ่าย ควาย (374:5.2)
               ควาย กลับ น่า, คือ เวลา บ่าย* สัก สี่ โมง นั้น, เขา ปล่อย ควาย ไป เที่ยว กิน หญ้า, เวลา นั้น มัน กลับ น่า เข้า มา บ้าน ว่า บ่าย ควาย.
      บ่าย หน้า (374:5.3)
               คือ หัน หน้า, คน ไป เรือ แต่ แรก ตรง ไป, ครั้น จะ กลับ ก็ ทำ ให้ ข้าง น่า เรือ หัน กลับ เบน มา นั้น.
      บ่าย บาก (374:5.4)
               คือ หัน เยื้อง ตัด ไป นั้น.
      บ่าย เบี่ยง (374:5.5)
               เบี่ยง บ่าย, คือ หัน เบน เปน คำ พูด เปรียบ ความ, เช่น คน จะ มี ธุระ อัน ใด, ว่า ให้ คน อื่น ช่วย ธุระ ว่า ช่วย แก้ ไข บ่าย เบี่ยง ด้วย.
บ้าย (374:6)
         ทา, เช็ด, คือ การ ที่ เช็ด เข้า นั้น, คน เอา ของ เปียก เหลว เหมือน* ดิน โคลน เช็ด เข้า นั้น.
      บ้าย ปูน (374:6.1)
               ทา ปูน, คือ การ ที่ คน ควัก ปูน ออก จาก เต้า*, แล้ว เช็ด เข้า ที่ ใบ พลู นั้น.
      บ้าย พลู (374:6.2)
               คือ การ ที่ คน ควัก เอา ปูน เช็ด เข้า ที่ ใบ พลู นั้น.

--- Page 375 ---
      บ้าย ทา (375:6.3)
               ทา บ้าย, เช็ด บ้าย, คือ การ ที่ คน ช่าง ถือ ปูน เอา ไม้ เกลียง ควัก ปูน, แล้ว บ้าย เข้า ที่ ฝา ผนัง นั้น.
บ่าว (375:1)
         คือ คน พล ไพร่, มี คน เปน นายหมวด, ฤๅ นาย กอง, นาย ร้อย นั้น, ว่า คน ไพร่ นั้น เปน บ่าว.
      บ่าว สาว (375:1.1)
               คือ ชาย หนุ่ม หญิง สาว นั้น.
      บ่าว ชะเลย (375:1.2)
               คือ คน ที่ เขา ไป ตี ทัพ จับ มา ได้, ว่า คน พล ไพร่ นั้น เปน บ่าว ชะ เลย, เรียก ชะเลย ได้ มา เปล่า.
      บ่าว น้ำ เงิน (375:1.3)
               คือ คน เสีย เงิน ค่า ตัว มา นั้น.
      บ่าว หนุ่ม (375:1.4)
               คือ คน หนุ่ม อายุ แต่ สิบหก ปี ขึ้น ไป, ถึง อายุ ยี่ สิบห้า ปี นั้น
      บ่าว ไพร่ (375:1.5)
               คือ คน ไพร่ ฟ้า ข้า แผ่น ดิน ทั่ว สิ้น นั้น, เว้น แต่ ขุน นาง, เขา ว่า เปน บ่าว ไพร่ หลวง สม กำลัง.
บุ้ย (375:2)
         คือ อาการ ที่ คน บอก ใบ้ ด้วย ปาก, คน ไม่ ชอบ ใจ จะ ให้ คน อื่น ได้ ยิน ได้ รู้, เขา ถาม ว่า เปน คน ไหน, ทำ แต่ บุ้ย ปาก ให้ ผู้ ถาม รู้ จัก ตัว.
      บุ้ย ปาก (375:2.1)
               คือ อาการ ที่ คน บอก ใบ้ เช่น ว่า แล้ว, ทำ บุ้ย ปาก บอก ให้ ผู้ อื่น รู้ จัก ตัว คน ที่ เขา ถาม หา นั้น.
โบย (375:3)
         ตี, รัน, คือ ตี คน ทำ ผิด, เขา ยึด ตีน ยึด มือ ให้ นอน คว้ำ ลง, แล้ว เอา หวาย ฤๅ ไม้ ตี ลง ที่ หลัง นั้น.
      โบย ตี (375:3.1)
               ตี โบย, หวด ตี, คือ ตี รัน คน ทำ ผิด, เขา ยึด ลง โบย บ้าง, บาง ที นั่ง อยู่ เขา เอา ไม้ ฤๅ หวาย หวด เอา บ้าง.
      โบย รัน (375:3.2)
               ทุบ รัน, ตี รัน, โบย เช่น ว่า แล้ว, แต่ รัน นั้น คน ตี ลูก ด้วย ไม้ เล็ก ๆ ที่ ก้น ว่า รัน เข้า, คือ ไม่ ได้ ยก ขึ้น สูง ไป ข้าง ๆ.
บ่อย (375:4)
         เนือง ๆ, แล้ว ๆ, เล่า ๆ, คือ การ ที่ คน ไป ฤๅ มา นั้น, เนือง ๆ เว้น สาม วัน บ้าง สี่ วัน บ้าง มา หน หนึ่ง, อย่าง นั้น หลาย ครั้ง ว่า บ่อย ๆ.
เบี้ยว (375:5)
         บิด, เบ้, คือ บิด เบือน ปาก ภาชนะ มี ถ้วย จาน นั้น, ไม่ กลม ดี แบ้ บิด ไป บ้าง.
      เบี้ยว ปาก (375:5.1)
               บิด ปาก, เบ้ ปาก, อาการ ที่ คน ทำ ปาก ของ ตัว ให้ แบะ บุ้ย ไป, เปน อาการ บอก ใบ้ นั้น.
      เบี้ยว บิด (375:5.2)
               อาการ ที่ คน พูด เปน คำ เปรียบ, คน พูด ไม่ ให้ ของ ว่า ไม่ ได้ ของ ยัง น้อย, ฤๅ มิ ใช่ ของ เรา เขา ฝาก ไว้ ดอก, แต่ ของ ก็ เปน ของ ตัว, ของ ป่า ยัง มาก.
      เบี้ยว บูด (375:5.3)
               คือ คน ไม่ สบาย เสีย ใจ, ทำ หน้า เบี้ยว บูด นั้น
เบี้ย (375:6)
         คือ เปลือก หอย เขา เอา มา ใช้ เปน คะแนน, นับ ได้ แปด ร้อย ว่า เปน เฟื้อง หนึ่ง เปน คำ โลกย์ พูด, แต่ เหน ว่า จะ ออก สับท์ ว่า รูปิยะ, ไท ว่า เบี้ย, อัง กฤษ ว่า รู เบีย นั้น.
      เบี้ย แก้ (375:6.1)
               คือ เบี้ย รูป มัน ดำ เนื้อ มัน หนา มี ลาย จุด ๆ, เปน เม็ด ที่ ข้าง ๆ ดำ ๆ อยู่.
      เบี้ย จั่น (375:6.2)
               คือ เบี้ย รูป แบน ๆ ข้าง หลัง มี* เม็ด, ข้าง ก้น ข้าง ซ้าย* เม็ด หนึ่ง, ข้าง ขวา เม๊ด* หนึ่ง เปน แง่ ขึ้น มา,
      เบี้ย ไท (375:6.3)
               คือ เบี้ย อย่าง หนึ่ง เรียก เบี้ยไท, มัน มี เส้น เหลือง อยู่ เปน วง บน หลัง มัน.
      เบี้ย ตุ้ม (375:6.4)
               คือ เบี้ย ผู้ แต่ เลือก เอา ที่ รูป มัน สั้น ๆ, เอา ไว้ สำรับ เปน เบี้ย กำถั่ว, เรียก ว่า เบี้ย ตุ้ม.
      เบี้ย โป่ง (375:6.5)
               คือ เบี้ย รูป มัน โต เท่า กำมือ เด็ก ๆ, มี ลาย กระ- จุก นั้น.
      เบี้ย ผู้ (375:6.6)
               คือ เบี้ย ที่ หลัง มัน มี เส้น เหลือง เปน วง รอบ, ผิว ศรี ขาว เลื่อม อยู่, ข้าง หน้า มัน มี รอย เขา ว่า ฟัน มัน.
      เบี้ย หมู (375:6.7)
               รูป มัน ยาว เช่น เมล็ด ซะระหม่า, ไม่ มี เส้น เหลือง ที่ หลัง, ศรี มัน เขียว โดย มาก นั้น.
      เบี้ย ฝอย (375:6.8)
               คือ เบี้ย เล็ก น้อย สาระพัด ทุกอย่าง ปน กัน อยู่ นั้น.
      เบี้ย หอย (375:6.9)
               คือ รูป เบี้ย เปน เปลือก* หอย นั้น.
      เบี้ย หมากรุก (375:6.10)
               คือ เบี้ย ที่ เขา ใส่ ลง ใน กระดาน เล่น หมากรุก กัน นั้น.
      เบี้ย บ่อน (375:6.11)
               คือ เบี้ย ใน บ่อน ถั่ว บ่อน กำตัด นั้น.
      เบี้ย ปรับ ไหม (375:6.12)
               คือ เงิน ที่ ปรับ เอา แก่ ผู้ ทำ ผิด นั้น.
      เบี้ย ทำ ขวัน (375:6.13)
               คือ เงิน ที่ เขา ทำ ขวัน ให้ กัน นั้น.
      เบี้ย ใบ้ (375:6.14)
               คือ เงิน ที่ พลอย เสีย กับ เขา, ตัว ไม่ มี ผิด, พลอย เสีย เงิน* รังวัด, ตี กัน ตาย ใน บ้าน, เขา วัด ออก ไป สาม สิบ ห้า เส้น นั้น.
      เบี้ย ปราณี* (375:6.15)
               คือ ความ ปราณี เหมือน ตัว ได้ ทำ ผิด, ไป ถึง ตระลาการ รับ เสีย ดี ๆ, เขา ลด ลง เอา เงิน แต่ น้อย, ว่า มี เบี้ย ปราณี.
      เบี้ย รุก เบี้ย ก่อ (375:6.16)
               คือ คน เปน ผู้ ก่อ ความ ให้ เกิด ความ วิวาท กัน ขึ้น นั้น.

--- Page 376 ---
      เบี้ย พก หมาก (376:6.17)
               คือ ได้ เงิน ค่า เหนื่อย น้อย, ว่า ภอ เปน เบี้ย พกหมากกิน.
      เบี้ย เหลือ แสน (376:6.18)
               คือ เงิน มาก ขึ้น ไป กว่า ตำ ลึง* ขึ้น ไป, ว่า เบี้ย เหลือ แสน.
      เบี้ย หวัด (376:6.19)
               คือ เงิน ที่ เจ้า นาย ขุนนาง ได้ รับ พระราชทาน ใน หลวง ปี ละ หน, ตาม บันดา ศักดิ์ นั้น.
เบื่อ (376:1)
         คือ คน เอา ยา เบื่อ เมา ใส่ ลง ใน หนอง น้ำ ฤๅ ใน บ่อ น้ำ ทำ ให้ ปลา เมา แล้ว จัป เอา. อย่าง หนึ่ง คน เอา ยา นั้น ใส่* ใน อาหาร, ให้ สัตว บก กิน เมา ตาย นั้น.
      เบื่อ การ (376:1.1)
               คือ การ ที่ คน หน่าย การ งาน, คน แต่ แรก มี ความ เพียร ทำ การงาน นัก, ครั้น ทำ นาน เข้า ๆ ก็ ระอา หน่าย การ งาน นั้น.
      เบื่อ กัน (376:1.2)
                คือ หน่าย กัน นั้น., เหมือน อย่าง คน รัก กัน, แล้ว กลับ เบื่อ จืด จาง ไป นั้น.
      เบื่อ กิน (376:1.3)
               คน กิน ของ แต่ อย่าง เดียว รำ ไป, เช่น พวก ยิศะ เอล กิน มา นา นั้น, เขา เบื่อ เพราะ กิน ซ้ำ อยู่.
      เบื่อ เข้า (376:1.4)
               เบื่อ อาหาร, เหม็น เข้า, คือ การ ที่ คน ป่วย ไข้, ให้ เหม็น เข้า ไม่ อยาก กิน เข้า, กิน เข้า ไป* ไม่ ได้ นั้น.
      เบื่อ เขียน (376:1.5)
               ขี้ เกียจ เขียน, คือ การ ที่ คน เขียน หนังสือ ฤๅ เขียน รูปภาพ นั้น, ระอา ขี้ เกียจ เขียน นั้น.
      เบื่อ ขับ (376:1.6)
               เบื่อ ไล่, คือ การ ที่ คน ทำ นา ขี้ เกียจ ขับ นก, เมื่อ เข้า ออก รวง สุก แล้ว, ต้อง ขับ นก ไล่ นก. อย่าง หนึ่ง ขับ เสภา นาน นัก ก็ เบื่อ ขับ.
      เบื่อ ไป (376:1.7)
               ขี้ เกียจ ไป, ขี้ คร้าน ไป, อาการ ที่ คน ต้อง ไป บ่อย ๆ, หน่าย ระอา ขี้ เกียจ จะ ไป นั้น.
      เบื่อ ความ (376:1.8)
               เกลียด ความ, ระอา ความ, คือ อาการ ที่ คน หน่าย ความ เพราะ ต้อง เปน ความ บ่อย ๆ. อย่าง หนึ่ง คน เปน เสนาบดี ผู้ ใหญ่, มี คน นำ เอา เนื้อ ความ มาเสนอ แจ้ง ให้ ฟัง บ่อย ๆ, ก็ ระอา หน่าย ใจ ขี้ เกียด ฟัง นั้น.
      เบื่อ ถาม (376:1.9)
               ขี้ เกียจ ถาม, คือ การ ที่ คน ระอา ขี้ เกียจ ถาม, คน เปน ตระลาการ ต้อง ถาม ความ ร่ำ ไป ทุก วัน, ฤๅ ถาม ความ กับ ลูก ความ เจ้า สำนวน, เขา ฟ้อง ว่า ตี เขา, รับ ว่า ตี จริง, แต่ ข้า ตี ไม่ ถูก, เปน สำนวน เช่น นี้ ผู้ ถาม เบื่อ หน่าย.
      เบื่อ เที่ยว (376:1.10)
               ไม่ อยาก เที่ยว, คือ การ ที่ คน เที่ยว ไป ไหน ๆ ทุก วัน ร่ำ ไป, ใจ ระ อา ขี้ เกียจ จะ เที่ยว ไป นั้น.
      เบื่อ หน่าย (376:1.11)
               คือ อาการ ที่ คน ระอา เข็ด การ สาระพัด ทุก อย่าง ใจ ไม่ อยาก ทำ เลย นั้น
      เบื่อ เบือน (376:1.12)
               เบื่อ พูด, เบื่อ ฟัง, เบื่อ* มา, เบื่อ ยา, เบื่อ ว่า, เบื่อ กล่าว.
เบื้อ (376:2)
         เปน สัตว มี ท้าว สอง, มือ สอง, รูป เหมือน คน มัน อยู่ ใน ป่า ใหญ่, มัน พูด ไม่ ได้ มัน กลัว คน นัก.
บัว (376:3)
         คือ ต้นฝัก มัน กลม ๆ เท่า นิ้ว มือ, ต้น เปน หนาม เกิด ใน น้ำ เปน ก่อ* ๆ, ต้น สูง เพียง สาม ศอก. ออก ดอก ที่ ก้าน ๆ ละ ดอก แก่ แล้ว เปน ฝัก,
      บัว ขาว (376:3.1)
               คือ บัวหลวง ศรี ขาว ที่ ดอก, ลำ ต้น แล ใบ ฝัก นั้น เขียว, คน รู้ ว่า บัวขาว แล แดง เพราะ สังเกต ดอก มัน นั้น.
      บัว เขียว (376:3.2)
               คือ บัว หลวง ศรี ดอก มัน เขียว, ลำ ก้าน มี หนาม เหง้า ราก ดอก ฝัก เหมือน กัน ต่าง แต่ ศรี ดอก นั้น.
      บัว แดง (376:3.3)
               คือ บัว หลวง มี ศรี แดง, คน ปลูก ก็ มี, มัน เกิด ใน หนอง น้ำ ที่ ทุ่ง นา บ้าง.
      บัว ผัน (376:3.4)
               บัว นี้ มิ ใช่ บัวหลวง, เปน อุบล ชาติ ต้น มัน เปน สาย เส้น ยาว ๆ, ไม่ มี หนาม ไม่ เปน ฝัก มัน เปน ลูก, เขา เรียก ลูก มัน ว่า โตนด บัว.
      บัว เผื่อน (376:3.5)
               บัว นี้ มิ ใช่ บัว หลวง, เปน อุบล ต้น ไม่ มี หนาม, เปน เส้น ยาว อ่อน ลมุน, ดอก นั้น ขาว ก็ มี เขียว ก็ มี บ้าง*.
      บัว ตุม (376:3.6)
               คือ ดอก บัว ยัง ไม่ บาน นั้น.
      บัว บาน (376:3.7)
               คือ ดอก บัว บาน กลีบ กระจาย อยู่ นั้น.
      บัว หลวง (376:3.8)
               บัว นี้ เช่น ว่า แล้ว, ต้น มี หนาม ดอก มี ศรี ต่าง ๆ มี เมล็ด ใน ฝัก คน กิน ก็ ได้, ราก เหง้า ก็ กิน ได้.
      บัว สัตบงกฎ* (376:3.9)
               เปน ชาติ บัวหลวง ดอก มี กลีบ ชั้น นอก ซ้อน กัน สอง ชั้น สาม ชั้น, ข้าง ใน เปน กลีบ เล็ก ๆ มี เกษร ที่ ปลาย ยัด กัน ไป.
      บัว สัตบุษ (376:3.10)
               เปน ชาติ อุบล, ต้น ไม่ มี หนาม เปน สาย ยาว สอง ศอก แล ศอก เสศ, ดอก นั้น แดง เหมือน ศรี ชาด นั้น.
      บัว สัตบรรณ (376:3.11)
               เปน ชาติ อุบล, ต้น ไม่ มี หนาม เปน สาย ไม่ สู้ ยาว, ดอก นั้น กลีบ นอก เขียว, กลีบ ใน เล็ก ๆ ศรี แดง เรื่อ ๆ นั้น.

--- Page 377 ---
      บัว ขม (377:3.12)
               ต้น บัว เช่น ว่า แล้ว, แต่ ต้น มัน เปน ส ย* ไม่ มี หนาม เหง้า มัน รศ ขม มี ดอก เหมือน กัน
      บัว แก้ว (377:3.13)
               คือ ดอค บัว เขา ทำ ด้วย แก้ว กระจก นั้น.
      บัว กิ่ง (377:3.14)
               คือ ดอก บัว กดาด เขา ทำ มี กิ่ง ออก นั้น.
      บัว คว้ำ (377:3.15)
               คือ ของ เขา ทำ สัณฐาน เหมือน กลีบ ดอก บัว, แต่ เอา ปลาย กลีบ ลง นั้น.
      บัว หงาย (377:3.16)
               คือ ของ มี สัณฐาน ดั่ง กลีบ ดอกบัว*, แต่ เอา ปลาย กลีบ ขึ้น นั้น,
      บัว รับ ผ้า (377:3.17)
               คือ ดอก บัว เขา ทำ ด้วย กดาด, ตั้ง ไว้ ซัก ผ้า บังสกุล สพ นั้น
      บัว ปลาย เสา (377:3.18)
               คือ ดอกบัว เขา* ปั้น ด้วย ปูน, ที่ ปลาย เสา โบถ นั้น.
เบอะ (377:1)
         เคอะ, เซอะ, คือ คน เคอะ, คน ปัญญา เขลา โง่ เงอะ งุน, ไม่ ใคร่ รู้ จัก ถ้อย ความ เปน คน เซอะ นั้น.
เบะ (377:2)
         เบ้, เปน คำ คน พูด ล้อ เลียว หลอก ผู้ อื่น, โดย ดู หมิ่น นั้น ว่า เบะ มี บ้าง.
แบะ (377:3)
         แบ้, คือ คน บิ ของ ให้ แบะ ออก ไป มาก. อย่าง หนึ่ง คน ชก มวย กัน สอง คน, ๆ หนึ่ง ทำ ท่า แยก แย่ ขา มือ ตก ห้อย ลง ให้, ว่า แบะ ให้.
เบาะ (377:4)
         คือ ของ ทำ ด้วย ผ้า รูป เปน สี่ เหลี่ยม, เย็บ ติด กัน โดย รอบ, ข้าง ใน เปน โพรง เอา นุ่น ยัด ข้าง ใน ใช้ รอง นั่ง นั้น.
      เบาะ เมาะ (377:4.1)
               คือ เบาะ เขา เย็บ เปน เมาะ, มัน ไม่ มี ลูก เหมือน ฟูก นั้น.
      เบาะ ผ้า (377:4.2)
               คือ ของ คน เอา ผ้า มา ทำ เปน สี่ เหลี่ยม, เย็บ แล้ว เอา นุ่น ยัด ข้าง ใน, ไว้ สำรับ รอง นั่ง นั้น.
      เบาะ อาน (377:4.3)
               คือ เบาะ รอง นั่ง บน หลัง ม้า นั้น.
      เบาะ หนัง (377:4.4)
               คือ ของ คน เอา หนัง ฟอก มา ตัด เปน สี่ เหลี่ยม, เย็บ แล้ว เอา นุ่น ยัด ไว้ ข้าง ใน อ่อน นุ่ม, ไว้ สำรับ รอง นั่ง.
บอ ๆ (377:5)
         คำ พูด ถึง คน เหมือน คน บ้า ๆ, ว่า บอ ๆ อยู่ นั้น.
บอ โละ (377:6)
         เปน คำ จีน ว่า เอา เท่า นั้น, ฤๅ ไม่ เอา แล้ว นั้น, จีน เล่น เบี้ย กัน ครั้น เขา แทง มาก ว่า ไม่ เอา นั้น.
บระมาน (377:7)
         คือ แป้ง เขา เปียก ขึ้น เปน บระ มาน, สำรับ ทา สมุด นั้น.
บระเพ็ช (377:8)
         เปน ชื่อ ต้น ยา อย่าง หนึ่ง, ต้น มัน เปน เถา มี หนาม หรุหระ, มี รศ ขม นัก นั้น.
บระมัตถ์ (377:9)
         คือ อรรถธรรม อย่าง ยิ่ง.
บอดินทร์ (377:10)
         (dummy head added to facilitate searching).
      บอดินทร์ เดชา (377:10.1)
                ฯ, แปล ว่า มี เดช ใหญ่, แต่ ก่อน เปน ชื่อ ท่าน ขุนนาง ใหญ่ คน หนึ่ง.
      บอดินทร์ ศูริย์ฯ* แผลง แปล ว่า คน (377:10.2)
                เปน ใหญ่ ยิ่ง แล แกล้วกล้า.
บรม (377:11)
         (dummy head added to facilitate searching).
      บรม ราชโองการ (377:11.1)
               ความ ว่า เปน คำ ที่ กระษัตริย์ วังหลวง กล่าว นั้น, เขา เรียก ว่า พระ บรม ราช โองการ.
      บรม ราชาภิเศก (377:11.2)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า ราชาภิเศก อย่าง ยิ่ง, คือ มงคล ราช พิทธี อัน ประเสริฐ, มี ตั้ง บันลังก์ แปด เหลี่ยม, แล บุษบก, แล เสวตรฉัตร, แล สง น้ำ มุระธาภิเศก นั้น, เปน การ สำรับ กระษัตริย์ จะ ขึ้น เสวย ราชสมบัติ ใหม่, วัง หลวง นั้น.
      บรม ราชวัง (377:11.3)
               ความ ว่า ราช วัง อย่าง ยิ่ง, เปน คำ เรียก ชื่อ พระราชวัง สำรับ กระษัตริย์ วังหลวง นั้น, ว่า บรม ราชวัง.
      บรม บอพิตร (377:11.4)
               เปน คำ สำรับ พระราชาคณะ ถวาย พระพร, พูด ออก ชื่อ มหา กระษัตริย์ นั้น.
      บรม ราชา (377:11.5)
               แปล ว่า พระยา อย่าง ยิ่ง.
      บรม โกฎ (377:11.6)
               คือ โกฎ อย่าง ยิ่ง.
      บรม ไท (377:11.7)
               คือ ท้าว ไท อย่าง ยิ่ง.
      บรม ธาตุ (377:11.8)
               คือ พระธาตุ อัน อย่าง ยิ่ง,
      บรม นารถ (377:11.9)
                ฯ, แปล ว่า ที่ พึ่ง อย่าง ยิ่ง.
      บรม บาท (377:11.10)
               คือ พระบาท อย่าง ยิ่ง.
      บรม ศุฃ (377:11.11)
               ว่า ความ ศุข อย่าง ยิ่ง.
      บรม สพ (377:11.12)
               คือ พระสพ อย่าง ยิ่ง.
บริ (377:12)
         (dummy head added to facilitate searching).
      บริกรรม (377:12.1)
               ว่า กระทำ ร่ำ ไป.
      บริขาร (377:12.2)
               ว่า เครื่อง ใช้ ของ สมณะ.
      บริคนห์ (377:12.3)
               ว่า ถือ เอา รอบ คอบ.
      บริจาค (377:12.4)
               ว่า เสีย สละ ของ.
      บริเฉท (377:12.5)
               ว่า ตัด ขาด.
      บริบาล (377:12.6)
               ว่า บำรุง รักษา.
      บริบูรณ (377:12.7)
               ว่า เต็ม เปี่ยม*.
      บริภาศ (377:12.8)
               ว่า กล่าว ตัด ภ้อ ประชด ประชัน.
      บริโภค (377:12.9)
               ว่า ใช้ สรอย แล กิน อี่ม.

--- Page 378 ---
      บริวัต (378:12.10)
               ว่า เปน ไป รอบ.
      บริรัก (378:12.11)
               ว่า รัก ทั่ว รอบ คอบ.
      บริวาร (378:12.12)
               ว่า แวด ล้อม รอบ คอบ.
      บริเวณ (378:12.13)
               ว่า ที่ จังหวัด รอบ คอบ.
      บริวาศกรรม (378:12.14)
               คือ พระสงฆ ธรมาน ชำระ โทษ ของ ตัว, อยู่ บริวาศกรรม.
      บริสัตว (378:12.15)
               ว่า ชน เปน บริสัตว.
      บริสุทธิ์ (378:12.16)
               ว่า หมด จด ทั่ว.
      บริหาร (378:12.17)
               ว่า นำ ไป ทั่ว.
บวร (378:1)
         ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า ประเสริฐ, คำ นี้ สำรับ เรียก สิ่ง ของ ใน วัง น่า, มี พระที่นั่ง นั้น.
      บวร ญาณ (378:1.1)
               ว่า ปัญญา ประเสริฐ*.
      บวร วงษ (378:1.2)
               ว่า วงษ ประเสริฐ.
      บวร ลักษณ์ (378:1.3)
               ว่า ลักษณะ ประเสริฐ
      บวร ราชาภิเศก (378:1.4)
                ฯ, เปน สับท์แผลง แปล ว่า การ มงคล ประเสริฐ. สำรับ วังน่า, เช่น ว่า แล้ว แต่ ต่ำ กว่า วังหลวง.
      บวร ราชโองการ (378:1.5)
               ความ ที่ อุปราช ตรัส ประพาษ อัน ใด อัน หนึ่ง, เขา เรียก ว่า บวรราชโองการ.
      บวร สถานมงคล (378:1.6)
                ฯ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า ที่ เปน ที่ อุปราช เสด็จ อยู่, เขา เรียก เช่น นั้น ตาม เกรียติยศ.
      บวระนิเวษ (378:1.7)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า ที่ เปน ที่ อยู่ อัน ประเสริฐ, คือ ที่ สำรับ อุปราช อยู่ นั้น.
บ่อพิตร (378:2)
         เปน คำ สูง สำรับ พระสงฆ สมะณะ เรียก ชื่อ เจ้า, แล ผู้ เปน อาธิบดี นั้น, ว่า บ่อพิตร ผู้ ประเสริฐ.
บ่อ (378:3)
         คือ ที่ ดิน คน ขุด กว้าง ศอก คืบ, ฤๅ สอง ศอก นั้น, สำรับ ให้* น้ำ ขัง อยู่ ได้ ตัก อาบ กิน นั้น.
      บ่อ น้ำ (378:3.1)
               คือ ที่ ดิน เขา ขุด ฦก สัก สอง ศอก ให้ น้ำ ขัง อยู่, ได้ อาบ กิน นั้น.
      บ่อ บึง (378:3.2)
               คือ บ่อ น้ำ แล บึง บาง นั้น.
      บ่อ ช้า (378:3.3)
               คือ ไม่ ช้า.
      บ่อ โทน (378:3.4)
               เปน ชื่อ คน สี พาย ที่ นั่ง อยู่ น่า กันยา นั้น, ถ้า เรือ รั่ว น้ำ มี ขึ้น มา, คน นั้น สำรับ วิด เหมือน นั่ง อยู่ ริม บ่อน้ำ ด้วย น้ำ ขัง อยู่ ที่ นั้น มาก.
      บ่อ ดี (378:3.5)
               คือ ไม่ ดี,
      บ่อ มิได้ (378:3.6)
               คือ หา มิได้
      บ่อ มี (378:3.7)
               คำ เปน ภาษา ลาว, คือ ว่า ภาษา ไท ว่า ไม่ มี เช่น ของ สิ่ง ใด ที่ หมด สิ้น ไม่ เหลือ เลย, ว่า ของ บ่อ มี.
      บ่อ โพง (378:3.8)
               คือ บ่อ เขา ขุด ไว้ ที่ เหนือ กรุง เก่า นั้น.
      บ่อ ร้าง (378:3.9)
               คือ ไม่ เปน, คน ถาม ว่า คน นั้น เปน คน บาป โทษ ฤๅ, คน เหน ว่า คน นั้น จะ ไม่ เปน คน บาป, ว่า บ่อร้าง จะ เปน.
      บ่อ ให้ (378:3.10)
               ไม่ ให้, คือ ไม่ ให้, เปน ภาษา ลาว ว่า บ่อ ให้, คน มา ฃอ ของ สิ่ง ใด สิ่ง หนึ่ง จะ ไม่ ให้, ลาว ว่า ค่อย บ่อ ให้ นั้น.
      บ่อ เหน (378:3.11)
               ไม่ เหน, คือ ไม่ เหน, คน ถาม ว่า เหน คน นั้น มา นี่ ฤๅ ไม่, ลาว ไม่ เหน มา บอก ว่า ค่อย บ่อ เหน มา นั้น.
      บ่อ หึง (378:3.12)
               ไม่ นาน, คือ ไม่ ช้า, คน มี ที่ ไป ฤๅ ทำ การ อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น, กลับ มา เร็ว ฤๅ แล้ว เร็ว นั้น ว่า ไป บ่อหึง.
      บ่อ ห่อน (378:3.13)
               เปน ภาษา ลาว ว่า ไม่ เปน, คือ การ อัน ใด ฤๅ เหตุ อัน ใด ที่ ไม่ เปน ขึ้น ไม่ มี ขึ้น นั้น, ว่า บ่อ ห่อน.
(378:4)
         
ปา (378:5)
         ขว้าง, ลิว, คือ ทิ้ง, คน จับ เอา ดิน เปียก ๆ กำ ให้ เต็ม มือ แล้ว ยก มือ เงื้อ ขึ้น ทิ้ง ไป นั้น, ว่า ปา ดิน ไป.
      ปากาโร (378:5.1)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า กำแพง, ของ ที่* คน เอา อิฐ มา ก่อ ขึ้น เช่น ฝาผนัง สูง สิบสอง ศอก, แล้ว โบก ปูน รอบ เมือง, สำรับ กัน ฆ่า ศึก จะ มา รบ นั้น.
      ปาณาติบาต (378:5.2)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า ทำ ให้ ชีวิตร สัตว แล มนุษ ให้ ตก ไป, คือ คน ฆ่า สัตว นั้น.
      ปาติปะเท (378:5.3)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า วัน ค่ำ หนึ่ง, เช่น ถึง วัน สิบห้า ค่ำ กลาง เดือน ฤๅ สิ้น เดือน, แล้ว ตั้ง หนึ่ง ใหม่, วัน นั้น เรียก ว่า วัน ค่ำ หนึ่ง.
      ปาฏิหาร (378:5.4)
                ฯ, เปน สับท์ แผลง, นำ เสีย ซึ่ง ฆ่า ศึก, แปล ว่า สำแดง อัศจรริย์ ต่าง ๆ, เปน การ ทำ ด้วย ฤทธ์* นั้น.
      ปาติโมกข์ (378:5.5)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า เปน ประธาน จำเภาะ, คือ ชื่อ หนังสือ ที่ เขียน จาน ศีล พระสงฆ์* นั้น.
      ปาโตวะ (378:5.6)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า เวลา เช้า, คือ เวลา ที่ เปน เบื้อง ต้น แห่ง วัน นั้น.

--- Page 379 ---
      ปาลีบุตร (379:5.7)
                ฯ, เปน สับท์, เปน ชื่อ เมือง แห่ง หนึ่ง มี ใน เรื่อง พระบาฬี, จะ อยู่ ใน ประเทศ ใด ไม่ รู้ แน่.
      ปาโมช (379:5.8)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า ชื่น ชม, ชื่น ชม อ่อน ๆ เช่น คน ตั้ง อ้อน วอน, แล ได้ เหน พระ ของ ตัว มา ปรากฏ ใน ใจ มี ความ ชื่น ชม นั้น.
      ปายาศ (379:5.9)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า เข้า ปา ยาศ, ภาษา ไท ว่า เข้า เปียก เค็ม ฤๅ หวาน นั้น.
      ปาร้า (379:5.10)
               คือ ปลา ใส่ เกลือ แช่ ไว้ นาน, แล้ว จึง ทำ ให้ สุก ด้วย ไฟ กิน กับ ฝัก.
      ปาละ (379:5.11)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า รัก ษา ก็ ได้, แปล ว่า เลี้ยง ก็ ได้, เหมือน คน เปน นาย โคบาล นั้น.
      ปาวะโก (379:5.12)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า ไฟ, บัน ดา ไฟ ที่ เกิด เพราะ หิน นั้น, เรียก ว่า ไฟ ปรกติ เว้น ไว้ แต่ ไฟ ฟ้า มิ* สับท์ อย่าง อื่น.
      ปาสาโณ (379:5.13)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า หิน, เช่น เขา เอา ลูก หิน กลม ๆ มี สัณฐาน เหมือน บาตร, เขา เอา มา ทำ ลูก นิมิตร เปน ที่* กำหนด แดน สี มา นั้น.
      ปาสาธิกะคุณ (379:5.14)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า คุณ, คือ ความ เลื่อม ใส.
      ปา เรือน (379:5.15)
               คือ คว่าง เรือน ทิ้ง เรือน.
      ปา หัว (379:5.16)
               คือ คว่าง หัว ทิ้ง หัว.
      ปา เอา (379:5.17)
               คือ คว่าง เอา ทิ้ง เอา นั้น.
ป่า (379:1)
         ดง, ไพร, คือ ที่ เปน ดง หญ้า นั้น เขา เรียก ว่า ป่า. อย่าง หนึ่ง เมื่อ ครั้ง เมือง กรุง ยัง ไม่ เสีย นั้น, เขา ขาย ของ อย่าง เดียว กัน ตั้ง อยู่ เปน แห่ง ๆ เรียก ตำบล นั้น ว่า ป่า ผ้าเหลือง นั้น.
      ป่า จาก (379:1.1)
               ดง จาก, ไร่ จาก, คือ ดง ต้น จาก ที่ ฝั่ง แม่ น้ำ เค็ม ลง ไป ใกล้ ทะเล, เขา ปลูก จาก เปน ดง ขึ้น นั้น.
      ป่า กล้วย (379:1.2)
               ดง กล้วย, ไร่ กล้วย, คือ ดง กล้วย ที่ เขา ทำ สวน กล้วย ขึ้น เปน ดง แต่ ล้วน กล้วย นั้น.
      ป่า กล้าย (379:1.3)
               ดง กล้าย, คือ ดง กล้าย ๆ นั้น มี อย่าง เดียว, ไม่ มี หลาย อย่าง เหมือน กล้วย.
      ป่า ช้า (379:1.4)
               ที่ ฝัง สพ, คือ ที่ เขา ทำ สำรับ เผา ฤๅ ฝัง สพ นั้น, ป่าช้า หลวง ทำ เมรุ มี สำสร้าง รอบ เมรุ นั้น.
      ป่า ชัด (379:1.5)
               ป่า ทึบ, ดง ชัด, คือ ป่า ไม้ ที่ มี ไม้ ชิด ติด กัน แน่น ไป นั้น.
      ป่า หญ้า (379:1.6)
               ดง หญ้า, ชัด หญ้า, คือ ดง หญ้า ตำบล ที่ มี พง หญ้า มาก นั้น.
      ป่า ดง (379:1.7)
               ป่าไม้, ไพวัณ, คือ พง ป่า ไม้ ต่าง ๆ ที่ ตำบล นั้น, มี แต่ ไม้ ใหญ่ น้อย สล้าง ไป นั้น.
      ป่า แดง (379:1.8)
               ป่า ละเมาะ, ป่า เสงเพรง, คือ ที่ ป่า ต้น ไม้ เล็ก น้อย, เปน สุมทุม ภุ่ม หนาม อยู่ ชาย ทุ่ง นา นั้น.
      ป่า ดอน. ป่าเนิน (379:1.9)
               ป่าสูง คือ ที่ ป่า ดง ไม้ ใหญ่ ชุม, แล้ว เปน เนิน สูง ขึ้นไม่ มี น้ำ นั้น.
      ป่า เต็ง (379:1.10)
               คือ ป่า ไม้ เต็ง ชุม, ป่า เต็ง นี้ เปน ป่า ใหญ่ ไกล บ้าน, เดิน ทาง คืน หนึ่ง บ้าง สอง คืน บ้าง.
      ป่า ตอง (379:1.11)
               คือ ที่ ป่า กล้วย.
      ป่า เตย (379:1.12)
               คือ ดง เตย.
      ป่า เหนือ (379:1.13)
               ป่า ใต้, ป่า ฝาง
      ป่า พง (379:1.14)
               คือ ที่ มี ดง อ้อ ดง แขม ชิด กัน แน่น ไป นั้น, ว่า ป่า พง เพราะ ป่า นั้น ทึบ ไป.
      ป่า ไผ่ (379:1.15)
               ดงไผ่, คือ ที่ มี กอ ไม้ ไผ่ ป่า เปน ดง ไป.
      ป่า โมก (379:1.16)
               คือ ชื่อ ประเทศ แห่ง หนึ่ง, มี อยู่ แขวง เมือง อ่าง* ทอง ต่อ กับ กรุง เก่า นั้น.
      ป่า ระหง (379:1.17)
               ไพร ระหง, คือ ดง ไม้ ห่าง ๆ ไม่ รก ทึบ, มี ต้น ไม้ ใหญ่ สูง ระหง เปล่า* ๆ, ไม้ เล็ก น้อย ไม่ สู้ มี นัก นั้น.
      ป่า รัง (379:1.18)
               คือ ไม้ อย่าง หนึ่ง* เขา เรียก ว่า ไม้ รัง, ดง ไม้ รัง นี้ เปน ไม้ ใหญ่ ไป ทาง คืน หนึ่ง บ้าง สอง คืน บ้าง จึง ถึง.
      ป่า ละเมาะ* (379:1.19)
               คือ ป่า ไม้ ย่อม ๆ มี อยู่ เปน เกาะ ๆ ติด กับ ทุ่ง นา นั้น.
      ป่า หวาย (379:1.20)
               คือ ที่ ตำบล นั้น มี แต่ ล้วน ต้น หวาย ๆ นั้น ต้น เปน กอ มี หนาม มาก ลูก เปน ช่อ เขา กิน ได้.
      ป่า เสงเพรง (379:1.21)
               คือ ป่า เล็ก น้อย, มี ต้น ไม้ เปน ภุ่ม ๆ นั้น.
      ป่า อ้อ (379:1.22)
               คือ พง ไม้ อ้อ ๆ นั้น ต้น มัน เล็ก เท่า นิ้ว มือ, เปน ปล้อง เหมือน ไม้ ไผ่ เกิด เปน* กอ.
ป้า (379:2)
         คือ ผู้ หญิง ที่ เปน พี่ ของ พ่อ ฤๅ เปน พี่ ของ แม่ นั้น.
      ป้า สะใพ้ (379:2.1)
               คือ หญิง ที่ เปน เมีย ของ ชาย ลุง นั้น.
      ป้า ตัว (379:2.2)
               คือ หญิง เปน* พี่ ของ พ่อ ฤๅ เปน พี่ ของ แม่ นั้น.
ปิละกาฯ (379:3)
         เปน สับท์ แปล ว่า ต่อม ๆ นั้น, เปน ตุ่ม ขึ้น เปน เมล็ด จำเริญ ขึ้น เหมือน ฝี นั้น.

--- Page 380 ---
ปิตุฆาฏ (380:1)
          ฯ, แปล ว่า ฆ่า พ่อ.
ปิยะบุตร (380:2)
          ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า ลูก เปน ที่ รัก, คือ บุตร ที่ ทำ ตาม โอวาท คำ สอน นั้น.
ปิตุฉา (380:3)
          ฯ, แปล ว่า อา, คือ คน ที่ เปน น้อง หญิง ฤๅ น้อง ชาย ของ พ่อ นั้น.
ปิโยรศ (380:4)
          ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า โอรศ อัน เปน ที่ รัก, ว่า เปน คำ เพราะ สำรับ เจ้า เปน ลูก.
ปิตุลา (380:5)
          ฯ, แปล ว่า ลุง, คือ ชาย ที่ เปน พี่ ของ พ่อ ฤๅ พี่ ของ แม่ นั้น.
ปิฐัง (380:6)
          ฯ, เปน สับท์ แปล* ว่า ตั่ง ๆ นั้น, เขา ทำ ด้วย ไม* จิง สัณ ฐาน เหมือน ม้า สำรับ รอง ท้าว นั้น.
ปิศาจ (380:7)
         คือ อะสุระกาย, คน ตาย ไป เกิด เปน ขึ้น นั้น.
ปี (380:8)
         คือ กาละ ที่ คน นับ ได้ ครบ สิบ สอง เดือน ว่า ปี หนึ่ง, เขา นับ เวลา ยี่สิบสี่ ชั่วโมง เปน วัน หนึ่ง, นับ ไป ได้ สาม สิบ วัน เปน เดือน, สิบสอง เดือน เปน ปี.
      ปี ก่อน (380:8.1)
               คือ ปี ที่ ล่วง ไป ปี หนึ่ง สอง ปี นั้น, ปี เช่น ว่า นั้น พ้น มา สอง ปี สาม ปี แล้ว, เขา ว่า ปี ก่อน.
      ปี กลาย (380:8.2)
               คือ ปี ล่วง ได้ ปี หนึ่ง, เขา นับ ปี เช่น ว่า นั้น สิบ สอง เดือน ล่วง ไป แล้ว เขา ว่า ปี กลาย.
      ปี นี้ (380:8.3)
               คือ เวลา ยัง อยู่ ใน สิบ สอง เดือน นี้, ยัง ไม่ ล่วง พ้น ไป จาก สิบ สอง เดือน, เขา ว่า ปี นี้.
      ปี ชวด (380:8.4)
               เปน ชื่อ ปี ต้น เดิม เขา ว่า เปน ชื่อ หนู, นับ ไป ครบ สิบ สอง ปี แล้ว ว่า มี ปี เท่า นั้น, กลับ นับ ปี ชวด ไป ใหม่, เขา เรียก สิบ สอง เดือน นัก สัตว, คือ ดาว ฤกษ เปน รูป สัตว สิบสอง ตัว, มี รูป หนู นั้น อยู่ ใน อากาศ เวียน รอบ ประจบ กัน นั้น.
      ปี ฉลู (380:8.5)
               เปน ชื่อ ปี ที่ สอง เขา ว่า เปน ชื่อ งัว, ปี นี้ ก็ นับ เข้า ใน ดาว สิบสอง นักสัตว, คือ ดาว มี ใน สิบ สอง ราศี นั้น.
      ปี ขาล (380:8.6)
               เปน ปี ที่ สาม, เขา ว่า เปน ชื่อ เสือ นั้น.
      ปี เถาะ (380:8.7)
               ปี ที่ สี่, เขา ว่า เปน ชื่อ กระต่าย นั้น.
      ปี มะโรง (380:8.8)
               ปี ที่ ห้า เขา ว่า เปน ชื่อ งู ใหญ่ นั้น.
      ปี มะเส็ง (380:8.9)
               ปี ที่ หก, เขา ว่า เปน ชื่อ งู เล็ก นั้น.
      ปี มะเมีย (380:8.10)
               ปี ที่ เจ๊ด, เขา ว่า เปน ชื่อ ม้า นั้น.
      ปี มะแม (380:8.11)
               ปี ที่ แปด, เขา ว่า เปน ชื่อ แพะ นั้น.
      ปี วอก (380:8.12)
               ปี ที่ เก้า, เขา ว่า เปน ชื่อ ลิง นั้น.
      ปี ระกา (380:8.13)
               ปี ที่ สิบ, เขา ว่า เปน ชื่อ ไก่ นั้น.
      ปี จอ (380:8.14)
               ปี ที่ สิบ เอ็ด, เขา ว่า เปน ชื่อ หมา นั้น.
      ปี กุญ (380:8.15)
               ปี ที่ สิบสอง, เขา ว่า เปน ชื่อ หมู นั้น, ชื่อ ปี เหล่า นี้ มิ ใช่ มะคธ, จะ เปน ภาษา อะไร ไม่ รู้ แน่.
ปีติ (380:9)
          ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า อี่ม, เช่น คน เดิน ทาง ไกล เมื่อ เวลา ร้อน, ครั้น ไป ถึง ที่ ต้น ไม้ ใหญ่, เข้าอยุด ภัก อาไศรย มี ลม พัด มา เอย็น เฉื่อย สบาย, แล ได้ กิน น้ำ อาบ น้ำ นั้น,
ปีศาจ (380:10)
         คือ ผี, คน ตาย ไป บังเกิด ใน กำเนิด อะสุระกาย. เขา เรียก ว่า ปีศาจ, ถ้า อยู่ เปน ปรกติ คน ไม่ เหน ตัว มัน, มัน เที่ยว หลอก คน ก็ ได้, สำแดง รูป ต่าง ๆ ให้ คน กลัว.
ปี่ (380:11)
         คือ ของ เขา ทำ ด้วย ไม้, เจาะ รวง ตลอด ยาว สัก คืบ เสศ, แล้ว เจาะ รู สำรับ นิ้ว เป่า เปน เพลง ต่าง ๆ.
      ปี่ แก้ว (380:11.1)
               คือ ปี่ เช่น ว่า เขา ทำ ด้วย แก้ว, เป่า ได้ เหมือน ปี่ ทำ ด้วย ไม้ นั้น.
      ปี่ กลาง (380:11.2)
               คือ ปี่ เช่น ว่า เสียง ไม่ ดัง นัก ไม่* เบา นัก, เปน เสียง กลาง นั้น.
      ปี่ ชะวา (380:11.3)
               คือ ปี่ เช่น ว่า, เขา เป่า เข้า กับ กลอง แขก คู่ หนึ่ง เปน สาม คน ทั้ง ปี่ นั้น, เขา เรียก ปี่ชะวา.
      ปี่ ใน (380:11.4)
               คือ ปี่ สำรับ เพลง ใน ตาม เพลง ปี่ ภาทย์ เมื่อ เขา เล่น โขน นั้น, ว่า เป่า ปี่ ใน.
      ปี่ นอก (380:11.5)
               คือ ปี่ สำรับ เพลง นอก, ตาม เพลง ปี่ ภาทย์ เมื่อ เขา เล่น โขน เล่น หนัง นั้น.
      ปี่ ภาทย์ (380:11.6)
               คือ ปี่ เช่น ว่า, แล มี ฆ้อง วง ๆ หนึ่ง, ตะโพน ใบ หนึ่ง, เปิง มาง ใบ หนึ่ง, ระนาด ราง หนึ่ง นั้น.
      ปี่ ไฉน (380:11.7)
               เปน ชื่อ ปี่ อย่าง หนึ่ง, เสียง มัน ไม่ เหมือน ปี่ภาทย์ เสียง มัน คล้าย ปี่ กลอง แขก นั้น.
ปี้ (380:12)
         คือ ของ ใช้ แทน เงิน, เขา เอา ทอง เหลือง มา หล่อ ทำ รูป แบน วง กลม คล้าย อิแปะ, ใช้ แทน เงิน เฟื้อง บ้าง, เงิน สลึง บ้าง, สำรับ ใช้ ใน บ่อน ถั่ว นั้น.
      ปี้ โกร่ง (380:12.1)
               คือ ปี้ รูป วง กลม เท่า แม่มือ, ข้าง ใน โปร่ง อยู่ เช่น นั้น มี บ้าง.
      ปี้ แก้ว (380:12.2)
               คือ ปี้ ที่ เขา ทำ ด้วย แก้ว, ใช้ แทน เงิน เฟื้อง แล เงิน สลึง ใน บ่อน ถั่ว นั้น, เขา เรียก ปี้ แก้ว.

--- Page 381 ---
      ปี้ กระเบื้อง (381:12.3)
               ปี้ ทำ ด้วย ดิน กระเบื้อง ถ้วยชาม ทำ มา แต่ เมือง จีน, ใช้ แทน เงิน เฟื้อง เงิน สลึง บ้าง.
      ปี้ ปลอม (381:12.4)
               คือ ปี้ มิ ใช้ ปี้ ของ นาย บ่อน, คน อน* ทำ เทียม เอา มา ปลอม ใช้ นั้น, เขา เรียก ปี้ ปลอม เข้า มา ใช้.
      ปี้ หยอด แก้ว (381:12.5)
               รูป ปี้ ทำ ด้วย ทอง เหลือง ที่ กลาง เอา แก้ว หยอด ลง ไว้, เพื่อ จะ ไม่ ให้ ทำ ปลอม ได้.
      ปี้ขา (381:12.6)
               คน เล่น โป แทง ถูก ได้ บาท เฟื้อง, แล้ว ยัง จะ เล่น กัน ต่อ ไป, เอา ไภ่ วาง ลง เอา อิแปะ วาง หมาย ไว้ บน ไภ่ เปน สำคัญ, ว่า เงิน บาท เฟื้อง ที่ เสศ เฟื้อง นั้น, เขา เรียก ว่า ปี้ ขา.
ปี๋ หุ้น (381:1)
         คำ นี้ เปน ภาษา จีน, เปน คำ ไท ว่า เข้า ทุน กัน.
ปุ (381:2)
         คือ การ ที่ คน เอา ผ้า อื่น ปะดาม ลง ที่ ผ้าเก่า ขาด ทะลุ, แล้ว เย็บ เข้า นั้น เขา เรียก ผ้า ปุ.
      ปุปะ (381:2.1)
               คือ ปะ ผ้า ที่ ผ้า ขาด ทะลุ, เขา เอา ผ้า อื่น ภอ เท่า กับ แผล ขาด ปู หาบ ลง เย็บ ให้ ติด กัน เข้า นั้น.
      ปุริษ (381:2.2)
                ฯ, แปล ว่า ผู้ชาย.
      ปุรุษ (381:2.3)
                ฯ, แปล ว่า ผู้ชาย.
ปู (381:3)
         เปน ชื่อ สัตว อย่าง หนึ่ง รูป มัน รี ๆ, ไม่ มี หัว มี ตีน ข้าง ละ สี่, ห้า ก้บ* ทั้ง ก้าม มัน อยู่ ชาย ทะเล น้ำ เค็ม มัน กิน โคลน,
      ปู เปี้ยว (381:3.1)
               คือ สัตว รูป มัน เช่น ว่า แล้ว, แต่ ก้าม มัน ศรี ขาว มัน อยู่ ที่ ทะเล.
      ปู ทะเล (381:3.2)
               เปน ชื่อ ปู เช่น ว่า ตัว มัน ที่* ขนาด โต, กว้าง สี่นิ้ว ยาว สัก ห้า นิ้ว หก นิ้ว เช่น ว่า แล้ว. อย่าง หนึ่ง คน เอา ผ้า ลาศ ลง ที่ ๆ นอน นั้น, ก็ ว่า ปู ผ้า.
      ปู ไก่ (381:3.3)
               รูป ปู มี ตีน ยาว, ว่า มี อยู่ แขวง เมือง จันทบุรี, คน กิน ได้.
      ปูนา (381:3.4)
               คือ ปู อยู่ ที่ นา ตัว มัน เล็ก ๆ กว้าง สัก นิ้ว กึ่ง ยาว สัก สอง นิ้ว เสศ, มัน คีบ ต้น เข้า อ่อน ๆ กิน.
      ปูเค็ม (381:3.5)
               คือ ปูแสม อยู่ ที่ น้ำ เค็ม, คน จับ มัน มา แช่ น้ำ เกลือ เค็ม นัก, จึ่ง เรียก มัน ว่า ปูเค็ม สำรับ เปน กับ เข้า.
      ปูนิ่ม (381:3.6)
               คือ ปู กระดอง มัน นิ่ม อ่อน ตัว มัน เท่า กับ ปูนา, อยู่ ที่ น้ำจืด, คน เขา กิน มัน เปน กับ เข้า นั้น.
      ปูป่า (381:3.7)
               คือ ปู อยู่ ดง มัน ขุด รู อยู่ ที่ ดิน ใน ป่า, คน จับ มัน มา ต้ม กิน กับ เข้า, มัน จำเภาะ อยู่ แต่ ใน ป่า.
      ปู ม้า (381:3.8)
               ปู ตัว มัน เล็ก กว่า ปู ทะเล, แต่ โต กว่า ปูนา, ที่ ก้าม มัน มี หนาม มัน อยู่ ทะเล น้ำ เค็ม.
      ปู ลม (381:3.9)
               ตัว มัน เล็ก เท่า ปูนา อยู่ หาดทราย ชาย ทะเล, มัน วิ่ง เร็ว นัก คน จับ ไม่ ใคร่ ทัน, จึ่ง เรียก ปูลม.
      ปู แสม (381:3.10)
               คือ ปู อยู่ ที่ ป่า แสม น้ำเค็ม, คน จับ เอา มา แช่ น้ำ เกลือ กิน เปน กับเข้า.
      ปู ลาศ (381:3.11)
               คือ เอา เสื่อ ฤๅ ผ้า นั้น, วาง ทอด แผ่ ลง ที่ พื้น ต่าง ๆ.
ปู่ (381:4)
         คือ คน ผู้ชาย ที่ เปน พ่อ ของ พ่อ, เปน ผัว ของ ย่า นั้น.
      ปู่ ย่า (381:4.1)
               คือ ผู้ชาย ที่ เปน พ่อ ของ พ่อ ว่า ปู่, ผู้ หญิง ที่ เปน แม่ ของ พ่อ ว่า ย่า, ตระกูล อื่น มา เปน ผัว เมีย ก็ เรียก เช่น นั้น ด้วย.
      ปู่ เจ้า (381:4.2)
               คือ ต้นไม้ ใหญ่ ใน ป่า ใหญ่ มี ต้น ไทร นั้น, เขา เรียก ว่า ไม้ ปู่ เจ้า, เปน ที่ นับ ถือ.
      ปู่ เจ้า ลอย ท่า (381:4.3)
               คือ ต้น แพงพวย, เปน ต้น ผัก เกิด ใน น้ำ ที่ ดิน โคลน, เขา กิน เปน กับ เข้า อย่าง เดียว.
      ปู่ ทวด (381:4.4)
               คือ คน ผู้ ชาย เปน พ่อ ของ ปู่ เปน ผัว ของ ย่าทวด, เขา เรียก ว่า ปู่ ทวด เพราะ เปน ปู่ คู่ สอง.
บู้ บี้ (381:5)
         คือ อยู้หยี้, เช่น ดอกไม้ ฤๅ ใบ ไม้ ที่ เหี่ยว อยู้หยี้ นั้น.
เปตะวิไสย (381:6)
         คือ วิไสย แห่ง เปรต มี การ อด อาหาร, ทน ทุกข ลำบาก นัก นั้น.
เป้ (381:7)
         คือ เซ ไป, ไม้ หลัก คน ปัก ไว้ แต่ เดิม ตรง อยู่, ครั้น นาน มา คน ทำ ฤๅ ถูก สิ่ง อัน ใด เข้า มัน เซ ไป, ว่า ไม้ นั้น เป้ ไป.
เป๋ (381:8)
         เปน ชื่อ คน อย่าง* นั้น บ้าง. อย่าง หนึ่ง ว่า ของ มัน เป๋ ไป๋ ไป นั้น.
แป (381:9)
         คือ ไม้ เครื่อง บน เรือน นั้น, คน ทำ ใส่ ไว้ ที่ หัวเสา นั้น, มัน ยาว ตลอด เรือน นั้น.
      แป ลาน (381:9.1)
               คือ ไม้ เครื่อง เรือน เปน เครื่อง บน, คน วาง ถัด แป หัว เสา เรียง ขึ้น ไป ต่อ ๆ ที่* หลัง คา นั้น.
      แป หัวเสา (381:9.2)
               คือ ไม้ เครื่อง บน เรือน นั้น, ที่ หัว เสา เช่น ว่า แล้ว นั้น, บาง ที่ เขา ทำ ด้วย ไม้ ไผ่ บ้าง ทำ ด้วย ไม้ จิง บ้าง.
ไป (381:10)
         คือ คน นั่ง อยู่ ฤๅ นอน อยู่, แล้ว ยก ท้าว ขึ้น ก้าว เดิน* ก้าว หนึ่ง ว่า ไป นั้น.

--- Page 382 ---
      ไป การ (382:10.1)
               คือ คน ไป ทำ การ ต่าง ๆ, คน ที่ ทำ นา ก็ ไป ทำ การ ที่ นา, คน ค้า ขาย ก็ เอา ของ ไป ขาย นั้น.
      ไป กับ (382:10.2)
               คือ คน ไป ด้วย คน อื่น, เช่น หมอ ไป บ้าน ล่าง แหม่ม ไป ด้วย ว่า ไป กับ หมอ.
      ไป ก่อน (382:10.3)
               คือ คน ไป เวลา โมงเช้า, คน หนึ่ง ไป เวลา สอง โมง เช้า, คน ไป เวลา เช้า โมง หนึ่ง นั้น, ว่า ไป ก่อน.
      ไป แรก (382:10.4)
               คือ ไป ก่อน คน ทั้ง ปวง นั้น.
      ไป แขก (382:10.5)
               คือ คน ไป ช่วย การ งาน มี โกน จุก นั้น.
      ไป ค้า ขาย (382:10.6)
               การ ที่ คน เปน แม่ ค้า, ไป เที่ยว ซื้อ ของ ต่าง ๆ ได้ แล้ว เอา ไป เที่ยว ขาย นั้น.
      ไป คอย หา (382:10.7)
               ไป งาน, ไป ดู, ไป ด้วย, ไป ตาม, ไป ถึง, ไป เถิด, ไป ทุ่ง ไป ทัพ, ไป ทัน, ไป ไหน, ไป นอก, ไป โน่น, ไป บ้าน, ไป ป่า, ไป เมือง, ไป แล้ว.
      ไป หลาย (382:10.8)
               คือ ไป มาก, คน ไป สาม คน สี่* คน นั้น, มี ผู้ ถาม ว่า ไป กี่ คน, เขา ว่า ไป หลาย คน นั้น.
      ไป สวด (382:10.9)
               ไป หา, ไป หาย, ไป เอา.
ไป๋ เป๋ (382:1)
         ความ เช่น เป๋ ไป๋, คือ ของ ตั้ง อยู่ ไม่ ตรง ไถล ไป นั้น.
ไป๋ (382:2)
         คือ โผล่ ไถล ไป.
โป (382:3)
         คือ ของ สิ่ง หนึ่ง จีน เอา ทอง เหลือง ทำ รูป เปน สี่ เหลี่ยม, มี ลิ้น แดง ขาว ใส่ ไว้ ข้าง ใน นั้น.
      โป ฉ้อ (382:3.1)
               คือ โป มี ไก หัน ได้, คน นักเลง แทง ถูก ลิ้น ขาว, มัน บิด ไก กลับ ให้ ถูก ลิ้น แดง มัน กิน เงิน เสีย.
      โป หลัง อ่อน (382:3.2)
               คือ โป จีน ทำ ที หลัง โป ให้ บาง กด ลง ถึง ลิ้น ได้, ถ้า คน แทง ถูก ขาว ไป เลีย ให้ ถูก ลิ้น แดง, มัน กิน เอา เงิน.
      โปดก (382:3.3)
                ฯ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า เด็ก, ถึง สัตว รุ่น ก็ ว่า เด็ก ได้, ต้นไม้ รุ่น ก็ ว่า เด็ก ได้.
เปา (382:4)
         คือ ปม ๆ นั้น, ที่ คน ก็ มี บ้าง, ที่ ต้น ไม้ ก็ มี บ้าง, ที่ มัน เปน ปุ่ม ขึ้น มา ที่* ข้อ ศอก ข้อ เข่า, แล ปม ที่ โคน ไม้ ใหญ่ บ้าง.
      เปา ปม (382:4.1)
               คือ มัน เกิด เปน ตุ่ม ตา ขึ้น ที่ ต้นไม้ ใหญ่ ๆ นั้น.
เป่า (382:5)
         คือ คน ทำ ให้ ลม ออก จาก ปาก, เช่น คน ก่อ ไฟ นั้น, แล เป่า ปี่ นั้น.
      เป่า ขลุ่ย (382:5.1)
               คือ เป่า เครื่อง เพลง มะโหรี นั้น.
      เป่า กล้อง (382:5.2)
               คือ พ่น ลม ออกมา จาก ปาก ให้ เข้า ใน รู กล้อง ๆ นั้น เขา เอา ไม้ รวก ฤๅ ไม้ จิง ยาว* สัก สาม ศอก, มา รวง ให้ ตลอด, แล้ว เอา ดิน ฤๅ ไม้ ใส่ เข้า เป่า สัตว.
      เป่า แตร (382:5.3)
               คือ พ่น เตบง ลม ปาก เข้า ใน แตร
      เป่า ปี่ (382:5.4)
               คือ พ่น ลม ปาก ให้ เข้า ใน รู ปี่ เปน เพลง ต่าง ๆ, เล่น โขน ฤๅ ละคอน นั้น.
      เป่า ลม (382:5.5)
               คือ พ่น ลม ปาก ออก มา นั้น.
      เป่า แล่น (382:5.6)
               คือ การ ที่ เขา เป่า ให้ แหวน ติด เปน วง ใน ไฟ, เขา ทำ* แหวน ตี ทอง ให้ กลม เปน ลวด ยาว ภอ รอบ นิ้ว มือ, แล้ว ขด เปน วง เอา น้ำ ประสาน ทา ที่ ต่อ, เอา เข้า ไฟ เป่า ให้ ติด กัน นั้น
      เป่า ไฟ (382:5.7)
               คือ พ่น ลม ปาก ให้ ถูก ไฟ นั้น.
      เป่า หลอด (382:5.8)
               คือ พ่น ลม ปาก เข้า ใน หลอด, ๆ นั้น เปน ไม้ ไผ่ เล็ก ๆ มี รู ปล้อง เดียว, ตัด ข้อ ข้าง โน้น ข้าง นี้ เสีย.
      เป่า ยา (382:5.9)
               คือ พ่น ลม ปาก ให้ ถูก ยา นั้น.
เป้า (382:6)
         คือ ของ ที่ เขา ทำ ด้วย กดาด เปน ที่ หมาย ยิง ปืน, เขา เอา กดาด ตัด ออก กว้าง ยาว สี่ นิ้ว, เอา หมึก ทา ไว้ ที่ กลาง ดำ อยู่ เท่า ลูก มขามป้อม นั้น.
ปำไป (382:7)
         คือ ขะมัม ไป นั้น. คน ล้ม ขว้ำ ไป.
ปะ (382:8)
         คือ ปุ ผ้า ขาด ทะลุ, เขา เอา ผ้า อื่น ภอ เท่า กับ รู ทะลุ ทาบ ดาม ลง แล้ว เย็บ ให้ ติด กัน นั้น.
ปะกัง (382:9)
         เปน ชื่อ โรค ลม ปวด หัว อย่าง หนึ่ง, ให้ ปวด เมื่อ เวลา พระอาทิตย์ ขึ้น, ว่า เปน ลม ปะกัง.
ปะกอบ (382:10)
         คือ ประสม ฤๅ ปรุง.
      ปะกอบ ยา (382:10.1)
               คือ ประสม ยา ฤๅ ปรุง ยา
ปะกาษ (382:11)
         เปน คำ คน เป่า ห้าม การ ทั้ง ปวง นั้น.
ปะกาย (382:12)
         คือ การ ที่ คน ตี เหล็ก แดง ชัก เหล็กแดง ออก จาก เตา แล้ว เอา ค้อน ตี ลง, ที่ มัน แตก กระจาย ไป เรียก ว่า ปะกาย.
      ปะกาย ไป (382:12.1)
               คือ เหล็ก เอา ใส่ เบ้า หลอม เปน ปะกาย ไป นั้น.
      ปะกาย หิน (382:12.2)
               คือ ช่อ ไฟ ออก จาก หิน ที่ เขา ตี เหล็ก ไฟ นั้น,
      ปะกาย พฤกษ (382:12.3)
               เปน ชื่อ ดาว ดวง ใหญ่, คือ ดาว พระสุกร นั้น.
ปะโกฏิ (382:13)
         คือ วิธี นับ เรียก ว่า สังขยา, คือ ตั้ง ๑๐๐๐๐๐๐๐ หนึ่ง ลง เอา ๑๐๐ คูน, เปน ปะโกฏิ นั้น.

--- Page 383 ---
ปะกวด (383:1)
         คือ อาการ ที่ คน แต่ง ตัว ไป อวด กัน, ว่า ใคร จะ งาม จะ ดี กว่า กัน นั้น, ว่า แต่ง ปะกวด กัน.
ปะกัน (383:2)
         คือ ไป ภบ กัน. อย่าง หนึ่ง ว่า เปน นาย ประกัน, เช่น เอา ลูกจ้าง มา ฝาก ทำ การ ของ หมอ, ๆ ไม่ รู้ จัก ผู้ นั้น รับ ว่า ผู้ นั้น เปน คน ชั่ว ไป ข้า รับ เอง.
ปะกิจ ปะกัน (383:3)
         ปะกิจ เปน คำ สร้อย, ปะกัน ว่า แล้ว.
ปะกบ (383:4)
         คือ ปะกับ, คน ทำ ปาก ไม้ ให้ ชิด เอา ปะกบ กัน เข้า ทั้ง สอง อัน นั้น.
      ปะกบ กัน (383:4.1)
               คือ ของ สอง อัน มัน ทาบ กัน เข้า, เช่น ว่าว คว้า ติด กัน ใน อากาศ มัน ซ้อน นั้น.
ปะกับ (383:5)
         คือ ทำ ไม้ สอง อัน ให้ เท่า กัน, เขา เอา ปะ กบ กัน เข้า ปรับ ดู นั้น*, เขา ว่า ปะกับ กัน.
      ปะกับ กัน (383:5.1)
               คือ ของ สอง อัน มัน ทาบ ชิด ติด กัน.
      ปะกับ ชิด (383:5.2)
               คือ ของ สอง อัน ปะกบ ติด กัน.
      ปะกับ ติด (383:5.3)
               คือ ของ สอง อัน ปะกบ ชิด กัน.
ปะกำ (383:6)
         คน ทำ ฝา* เรือน ด้วย ไม้ ไผ่, บาก ข้าง ต้น เปน ง่าม, ใส่ คาบ ลง กับ พรึง, เรียก ว่า ปะกำ พรึง
ปะเข้า (383:7)
         คือ เอา ดิน ปะ ปิด เข้า.
ปะขาว (383:8)
         คน ถือ เพศ บวช อย่าง หนึ่ง, นุ่ง ผ้าขาว ห่ม ผ้าขาว, กิน เข้า ลวง* เวลา ได้, เรียก ว่า ตาปะขาว.
ปะคำ (383:9)
         คือ ลูก ปะคำ, ๆ นั้น เขา เอา ตกั่ว แผ่ ออก เท่า เส้น ตอก เล็ก ๆ, แล้ว ตัด ออก สั้น ๆ, ภอ เขียน อักษร ได้ ตัว หนึ่ง, แล้ว ม้วน กลม เข้า เอา ขี้ รัก พอก เข้า ปั้น ให้ กลม, ได้ ร้อย แปด ลูก เอา ไว้ สำรับ กัน อาวุธ นั้น.
      ปะคำดีควาย (383:9.1)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง เขา ทำ ยา ได้, มัน เกิด ใน บ้าน บ้าง ใน ป่า บ้าง.
ปะคอง (383:10)
         คือ การ ที่ คน ยก มือ ทั้งสอง ป้องกรร ไว้, ว่า ปะคอง ไว้ มิ ให้ ล้ม ลง นั้น.
ปะเคน (383:11)
         คือ ยก ของ สอง มือ ส่ง ให้ นั้น.
ปะค่ำ ปะเคน (383:12)
         ปะค่ำ เปน คำ สร้อย.
ปะงับ ปะง่อน (383:13)
         คือ อาการ ที่ คน ป่วย หนัก, กำลัง น้อย ลุก นั่ง ตั้ง ตัว ไม่ ใคร่ ตรง เอน ไป ข้าง โน้น โอน มา ข้าง นี้ นั้น.
ปะจามิตร (383:14)
          ฯ, คือ สัตรู, คน ที่ คิด มุ่ง หมาย จะ ฆ่า นั้น, ฤๅ กระ ทำ ร้าย อย่าง ไร อย่าง หนึ่ง นั้น.
ปะจุ (383:15)
         คือ ใส่ เข้า ไว้, เหมือน ยิง ปืน เอา ดิน ดำ แล ลูก ปืน ใส่ เข้า ใน ลำ กล้อง ปืน นั้น.
      ปะจุ ปืน (383:15.1)
               คือ ยัด ปืน, เขา เอา ดิน แล ลูก ใส่ เข้า ใน รู ปืน, ภอ ได้ ที่ ยิง ได้ ที หนึ่ง นั้น, ว่า ปะจุ ปืน.
      ปะจุบัน (383:15.2)
               คือ เวลา ใน ทัน ใด นั้น, ขณะ นั้น, เวลา ที่ ล่วง ไป แล้ว, แล เวลา ที่ ยัง ไม่ มา ถึง นั้น, ไม่ เรียก ว่า ปะจุบัน.
      ปะจุขาด (383:15.3)
               คือ ความ ลา จาก ศีล นั้น.
      ปะจุ ผ้า (383:15.4)
               คือ ทำ ผ้า ที่ เปน ผ้าครอง, ให้ ออก เปน ผ้า อาไศรย นั้น.
ปะแจ (383:16)
         คือ ของ ที่ สำรับ ลั่น ใส่ ไว้ ที่ หู หีบ นั้น, ไม่ ให้ คน เอา ของ ใน หีบ ไป ได้, เขา ทำ เหล็ก บ้าง, ด้วย ทอง เหลือง บ้าง นั้น.
      ปะแจ* กล (383:16.1)
               คือ ปะแจ อย่าง ฝรั่ง, ไม่ เหมือน ปะแจ จีน ผิด อย่าง กัน นั้น, แต่ ใช้ ได้ เหมือน กัน.
ปะคิ่น วินชา (383:17)
         คือ ความ ประจง ด้วย อัชฌาไศรย นั้น.
ปะจำ (383:18)
         คือ อาการ ของ ติด อยู่ ไม่ ขาด, เช่น ผ้านุ่ง ผ้า ห่ม แล เสื้อ กางเกง, แล หมวก นั้น.
      ปะจำ ตัว (383:18.1)
               คือ ของ ติด อยู่ กับ ตัว, เหมือน อย่าง จำเภาะ ตัว นั้น เอง.
      ปะจำ ที่ (383:18.2)
               คือ ติด พันธ์ อยู่ กับ ที่, เหมือน อย่าง คน อยู่ ที่ เดียว นั้น.
      ปะจำ ท้อง (383:18.3)
               คือ ยา เขา กิน ทุก วัน สำรับ ให้ ท้อง สบาย นั้น.
      ปะจำ เมือง (383:18.4)
               คือ ดาว สำรับ เมือง นั้น ๆ.
      ปะจำ รุ่ง (383:18.5)
               คือ ดาว ขึ้น เมื่อ เวลา ใกล้ รุ่ง ทุก วัน นั้น.
      ปะจำ เรือน (383:18.6)
               คือ ของ สำรับ เรือน มี อยู่ ไม่ ใคร่ ขาด นั้น, มี ม่อเข้า ม่อแกง นั้น.
ปะจักษ (383:19)
         คือ อาการ ที่ ของ ปรากฎ ชัด, ของ สิ่ง ใด ที่ เหน แน่ แก่ ตา นั้น.
ปะจง (383:20)
         คือ อาการ ที่ ทำ การ อัน ใด ด้วย พินิจ พิจารณา, ค่อยๆ ทำ ไม่ ให้ ของ นั้น เสีย.
ปะเจียด (383:21)
         คือ ผ้า เครื่อง อย่าง หนึ่ง, ผ้า นั้น กว้าง ประมาณ ศอก เสศ ยาว สอง ศอก, เขียน อักษร แล ยัญ ไว้ ใน ผ้า นั้น.
ปะเจิด (383:22)
         คือ ความ อวด, คน มัก อวด มั่ง มี แล อวด ยศศักดิ์ นั้น, ว่า ปะเจิด ปะเจ้อ นั้น.

--- Page 384 ---
ปะเจกะโพทธิ์ (384:1)
          ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า รู้ อย่าง หนึ่ง, ต่าง จาก พระเจ้า นั้น, เปน พระ วิ เสศ องค หนึ่ง.
ปะจญ (384:2)
         คือ ความ ต่อ สู้ ธรมาน, เช่น พระยะโฮวา ทำ แก่ พวก ยิศราเอล นั้น.
      ปะจญ ฆ่าศึก (384:2.1)
                คือ สู้ รบ กับ ฆ่าศึก นั้น.
      ปะจัน (384:2.2)
               คือ กั้น, คน ทำ เรือน แล้ว ทำ ฝา กั้น ที่ ห้อง นั้น, เรียก ฝา ปะจัน ห้อง ไว้.
      ปะจัน ห้อง (384:2.3)
               คือ ฝา กั้น ห้อง.
      ปะจันตะคาม (384:2.4)
                ฯ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า บ้าน อยู่ ปลาย แดน, ที่ สุด เขตร เมือง นั้น.
      ปะจันตะประเทศ (384:2.5)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า ที่ เปน ที่ สุด แดน, แต* อยู่ ใน แว่น แคว้น เมือง หลวง.
      ปะจัญ รบ (384:2.6)
               คือ รบ โต้ตอบ กัน.
      ปะจัญ บาน (384:2.7)
               คือ ความ ต่อ สู้ สามารถ, ไม่ ถอย หนี ด้วย กำลัง กล้าแขง นั้น.
ปะจาน (384:3)
         คือ กล่าว คำ ถึง โทษ ชั่ว ที่ คน อื่น ทำ ให้ คน ทั้ง ปวง รู้. อย่าง หนึ่ง เปน โทษ หลวง ท่าน ให้ ร้อง กล่าว โทษ ของ ตัว เอง, ให้ คน ทั้ง ปวง รู้ นั้น.
      ปะจาน ตัว (384:3.1)
               คือ ทำ การ อัน ใด ไม่ สำเร็จ เพราะ ทรัพย น้อย, เหมือน ปะจาน ตัว ว่า จน นั้น.
ปะจบ (384:4)
         คือ ประสม, คน พูด ประสม เขา ว่า วัน นั้น ข้า ก็ ได้ เหน ได้ ฟัง นั้น. อย่าง หนึ่ง คน นับ ของ ได้ เก้า, แล้ว นับ เข้า อีก อัน หนึ่ง ครบ สิบ ว่า นับ ประจบ เข้า. อย่าง หนึ่ง ผ้า สั้น วง อ้อม ตัว คน ภอ ถึง กัน ว่า ประจบ.
      ปะจบ กัน (384:4.1)
               คือ รวบ รวม กัน เข้า.
      ปะจบ เข้า (384:4.2)
               ความ เหมือน กัน.
      ปะจบ ปะแจง (384:4.3)
               ปะแจง เปน คำ สร้อย.
ปะริม (384:5)
         เปน ชื่อ เมือง ประ จันตะประเทศ เมือง หนึ่ง, อยู่ ข้าง ทิศ ตวันออก.
ปะจิม ทิศ (384:6)
         เปน ชื่อ ทิศ ตวันตก, ทิศ มี แปด ทิศ, แต่ ทิศ ตวัน ตก เขา เรียก ว่า ปะจิม ทิศ คือ ทิศ หลัง.
ปะจิ้ม ปะจ่อง (384:7)
         คือ อาการ ที่ อยิบ หย่ง, อาการ ดัด จริต กรีด กราย นั้น.
ปะชา (384:8)
          ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า สัตว, บันดา สัตว ดิรัจฉาน, ฤๅ มนุษ เรียก สัตว สิ้น ด้วย กัน.
ปะจวบ (384:9)
         คือ ภอ ประสบ เข้า.
ปะชด (384:10)
         คือ อาการ ที่ เติม ของ ให้ มาก โดย โกรธ, คน ฃอ ของ เขา ให้ แล้ว, ยัง ว่า น้อย จะ เอา อีก, เจ้า ของ โกรธ อยิบ ของ ให้ จน เหลือ ประมาณ นั้น.
ปะจิด ปจง (384:11)
         คือ อาการ ดัด จริต กรีด กราย นั้น.
ปะชัน (384:12)
         คือ การ ที่ แข่ง กัน, คน เล่น โขน ฤๅ ละคอน ใน ที่ ใกล้ กัน ใน วัน เดียว กัน, จะ เอา ชะนะ ให้ เขา สรรเสิญ* ตัว ว่า ดี กว่า นั้น.
ปะเจิด ปะเจ้อ (384:13)
         คือ การ ที่ ทำ อวด ออก หน้า ตา นั้น.
ปะชวน (384:14)
         คือ ความ เจ็บ ไข้, พูด เปน คำ สูง เขา พูด ถึง เจ้า เจ็บ ไข้, ว่า เจ้า พระองค นั้น ประชวน ไป.
ปะช่ำ ปะชวน (384:15)
         ปะชำ เปน คำ สร้อย.
ปะจุสมัย (384:16)
          ฯ, คือ เวลา ใกล้ สว่าง นั้น.
ปะดาน้ำ (384:17)
         คือ คน ดำ น้ำ กลั้น หายใจ ได้ นาน กว่า ปรกติ, เที่ยว ดำ หา ของ ที่ ตก ลง ใน น้ำ ฦก นั้น.
ปะดา (384:18)
         คือ บัน ดา นั้น.
      ปะดา เสีย (384:18.1)
               คือ เสีย เช่น นั้น.
ปะดู่ (384:19)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ ใหญ่ อย่าง หนึ่ง, เกิด ใน ป่า ใหญ่ ดอก มัน หอม, เขา เอา มา ปลูก ที่ บ้าน มี บ้าง.
      ปะดู่ ซ่ม (384:19.1)
               คือ ไม้ ปะดู่ เช่น ว่า นั้น, แต่ แก่น มัน ไม่ เหมือน กัน, เอา แช่ น้ำ ไว้ น้ำ ที่ แก่น ออก นั้น เขียว.
      ปะดู่ ลาย (384:19.2)
               คือ ไม้ ปะดู่ เช่น ว่า นั้น, แต่ แก่น มัน ลาย, แช่ น้ำ ไม่ ออก ศรี เขียว เหมือน ปะดู่ซ่ม.
      ปะดู่ เสน (384:19.3)
               คือ ต้น ปะดู่ เช่น ว่า, แต่ แก่น มัน แดง ศรี อ่อน คล้าย ศรี เสน, เขา จึ่ง เรียก ว่า ปะดู่เสน.
ปะฉิมมะ (384:20)
          ฯ, แปล ว่า ที่ สุด ว่า เบื้อง หลัง.
ปะชี (384:21)
         คือ เอา ยวง ฝ้าย มา อยิบ คลี่ ออก นั้น.
ปะเชิญ (384:22)
         คือ เอา ผ้า เก่า ที่ กลาง หรือ บาง, แล เอา ชาย สอง ข้าง เย็บ ติด ต่อ กัน เข้า นั้น.
      ปะเชิญ น่า (384:22.1)
               คือ เอา น่า ต่อ น่า ผ้า เย็บ ติด ต่อ กัน เข้า นั้น.
      ปะเชิญ ผ้า (384:22.2)
               คือ ทำ ผ้า เช่น ว่า มา แล้ว.
      ปะเชิญ พยาน (384:22.3)
               คือ ภา คน โจท จำเลย ไป สืบ พยาน นั้น.

--- Page 385 ---
ปะเด (385:1)
         คือ ความ ปลง ธุระ ให้, คน จะ ต้อง ทำ ของ อัน ใด ๆ ไว้ ธุระ มอบ ให้ คน ที่ ชอบ กัน รับ ทำ หมด สิ้น ทั้ง นั้น, ว่า ปะเด ให้.
ปะดัก (385:2)
         คือ สำลัก น้ำ, คน ตก ใน น้ำ ฦก หยั่ง ไม่ ถึง, น้ำ เข้า ใน ปาก ใน จมูก, ทำ หน้า หงาย ขึ้น คว่ำ ลง นั้น.
ปะดัว ปะเดิด (385:3)
         คือ ความ ลำบาก, คน จะ ทำ การ สิ่ง ใด, ถ้า ทำ ไม่ สดวก ไม่ คล่อง นั้น.
ปะดง (385:4)
         เปน ชื่อ โรค อย่าง หนึ่ง, มัน ให้ ตัว ผื่น พรึง เปน เม็ด ๆ ขึ้น มา แล้ว คัน นัก นั้น.
      ปะดง ช้าง* (385:4.1)
               คือ โรก มี อาการ มัน ให้ คัน คล้าย ๆ กัน, แต่ เขา เอา ปลอก ที่ ใส่ ตีน ช้าง* มา ต้ม น้ำ อาบ หาย.
      ปะดง มด (385:4.2)
               โรค อาการ มัน ให้ คัน นัก, เขา เอา รัง มด ลี่* มา ต้ม น้ำ อาบ หาย, บาง ที ยา อื่น ด้วย.
      ปะดง เลือด (385:4.3)
               โรค อาการ เหมือน กัน, แต่ หมอ ประกอบ ยา ไป ทาง เลือด ให้ กิน หาย.
      ปะดง ลม (385:4.4)
               โรค อาการ เหมือน กัน มี ให้ คัน นั้น, หมอ ประ กอบ ยา ทาง ลม ให้ กิน หาย.
ปะดัง (385:5)
         คือ ความ ที่ คั่ง กัน, คน มา หลาย พวก มา ฃอ หนังสือ นั้น, มา พร้อม พรั่ง กัน นั้น.
      ปะดัง กัน (385:5.1)
               คือ มา พร้อม พรั่ง คั่ง กัน นั้น.
      ปะดัง พ้อง (385:5.2)
               คือ ปะดัง พร้อม กัน.
      ปะดัง พร้อม (385:5.3)
               คือ ปะ ดัง พร้อม กัน เข้า นั้น.
ปะดิษ (385:6)
         คือ คิด ฉลาด, คน เปน ช่าง มี ช่างเขียน นั้น, ถ้า ฉลาด วาด เขียน แปลก วิ เสศ ดี, ว่า เขา ช่าง ปะดิษ.
      ปะดิษฐาน (385:6.1)
                ฯ, แปล ว่า ตั้ง อยู่ จำเภาะ นั้น.
ปะแดง (385:7)
         เปน ชื่อ ขุน หมื่น, มี ใน กรมหัดไท นั้น, เปน พนักงาน ว่า ข้าง คน นั้น.
ปะเดียง (385:8)
         คือ ความ บอก แก่ พระสงฆ นั้น.
ปะดน (385:9)
         คือ ความ* ที่ เพิ่ม เติม ให้ สิน ค้า นอก จาก ราคา ซื้อ, คน ขาย ฟืน นั้น, ไม่ ให้ ผู้ ซื้อ เลือก ว่า เล็ก ใหญ่, ฃ* ให้ นอก จาก ราคา ซื้อ อีก ร้อย หนึ่ง สอง ร้อย นั้น.
ปะเด็น (385:10)
         คือ ข้อ คาม* ที่ ฟ้อง กัน, คน วิว าท กัน ตี หัว เขา แตก เขา เอา ความ ข้อ นั้น ไป ฟ้อง, ว่า ข้อ ปะเด็น.
ปะดอน (385:11)
         คือ ความ ที่ เอา ไม้ อุด เข้า ไว้, คน ขาย ไม้ ซุง ไม้ เปน โพรง เอา ไม้ อื่น อุด ยัด เข้า ให้ แน่น, ไม่ ให้ เหน โพรง นั้น.
ปะดวน (385:12)
         คือ ความ ที่ เขา เอา ไม้ แซ่ เสือก เข้า ใน รู ปืน, คน ยิง ปืน ใหญ่ เขา เอา แซ่ เสือก ยอน เข้า ชำระ ปืน, ว่า ปะ ดวน ปืน เข้า ไป.
ปะเดี๋ยว (385:13)
         คือ กาละ ใน ขณะ นั้น, คน พูด ว่า จะ ไป ปะเดี๋ยว นี้ นั้น.
      ปะเดี๋ยว ก่อน (385:13.1)
               คือ ความ ว่า สัก ปะเดี๋ยว ก่อน จึ่ง จะ ไป นั้น.
      ปะเดี๋ยว ใจ (385:13.2)
               คือ เวลา ใน ทัน ใด นั้น.
      ปะเดี๋ยว นี้ (385:13.3)
               คือ บัดนี้.
ปะเดิม (385:14)
         คือ ความ แรก ลง มือ ขาย ของ, คน แม่ค้า ขายของ แก่ ผู้ ซื้อ ก่อน คน ทั้ง ปวง, ว่า ขาย ปะเดิม.
ปะดับ (385:15)
         คือ ความ ที่ ลำดับ อักษรพิมพ์ นั้น, แล คน ตั้ง เครื่อง สพ แล้ว เอา เครื่อง ปะดับ ข้าง นอก นั้น.
      ปะดับ กาย (385:15.1)
               คือ การ ที่ ตกแต่ง กาย นั้น.
      ปะดับ ปะดา (385:15.2)
               ปะดา เปน คำ สร้อย.
      ปะดับ กระจก (385:15.3)
               คือ ตัด เอา กระจก เปน อัน ๆ, วาง ติด เข้า ที่ ตะลุ่ม นั้น.
ปะแดะ (385:16)
         คือ ของ เปน เครื่องมือ ช่างทอง อย่าง หนึ่ง, เขา ทำ ด้วย เขา กวาง มี ด้ำ ทำ เช่น ค้อน ตี ทอง.
ปะฏิกูล (385:17)
         ว่า พึง เกลียด น่า เกลียด.
ปติโลม (385:18)
          ฯ, ว่า ทวน ซึ่ง ขน.
ปะฏิมากร (385:19)
          ฯ, คือ รูป พระเจ้า, อธิบาย ว่า เขา ทำ เปน รูป เปรียบ เช่น รูป พระเจ้า นั้น, ว่า พระ ปะฏิ มากร.
ปะติสัณฐาน (385:20)
          ฯ, ว่า ต้อน รับ คน ผู้ มา ใหม่ นั้น.
ปติสังฃร (385:21)
          ฯ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า ซ่อมแปลง, ที่ อัน ยับ เยิน ปรัก หัก พัง นั้น.
ปะติเสท (385:22)
          ฯ, แปล ว่า ห้า มเสีย, ว่า ไม่ รับ.
ปะติสัมภิธาญาณ (385:23)
          ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า มี ปัญญา อัน แตก ฉาน พร้อม จำเภาะ, คือ ปัญญา ท่าน ผู้ วิเสศ นั้น.
ปะฏิยาน (385:24)
         ว่า ให้ รู้ จำเภาะ, คือ รับ คำ สัญญา ไว้ นั้น.
ปะฏิสนธิ (385:25)
          ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า สืบ ต่อ จำเภาะ, คือ จิตร แห่ง สัตว เคลื่อน ออก จาก ที่ แล้ว ไป ตั้ง ต่อ ไป นั้น.

--- Page 386 ---
ปะเตะ (386:1)
         คือ ยก ท้าว ขึ้น ฟาด ไป ให้ ถูก คน ฤๅ ของ นั้น.
ปะตู (386:2)
         คือ ช่อง ที่ ฝา เรือน ฤๅ บ้าน นั้น, สำรับ เดิน เข้า ออก นั้น, เปน คำ ภาษาไท มา แต่ ก่อน.
ปะทะ (386:3)
         คือ ปะ กัน, คน สอง ฝ่าย สอง พวก มา ใน หน ทาง อัน เดียว กัน, มา ถึง ที่ เดียว กัน ว่า มา ปะทะ กัน.
      ปะทะ กัน (386:3.1)
               คือ มา ปะ กัน.
      ปะทะ โดน (386:3.2)
               คือ มา ถึง ชน กัน เข้า นั้น.
      ปะทะ ปะทัง (386:3.3)
               คือ อาการ ไข้ ไม่ ซุด ลง ทรง อยู่ นั้น.
      ปะทะ ปะทับ (386:3.4)
               คือ ตี ตรา ลง ที่ ตัว อักษร นั้น.
      ปะทะ ปะปน (386:3.5)
               คือ ปน ระ คน กัน.
ปะทัง (386:4)
         คือ ทรง ดำรงค อยู่, เช่น คน ป่วย เจ็บ อาการ ไม่ หนัก ลง ไม่ คลาย ขึ้น เสมอ อยู่, ว่า ไข้ ปะทัง อยู่
ปะทัง (386:5)
         คือ ดำรงค อยู่ ทรง อยู่.
ปะเทือง (386:6)
         คือ พยุง ขึ้น, เช่น เรือ ปะทุก ของ เพียบ, ไป ถึง ที่ น้ำ ตื้น เรือ ติด เขา ประคอง ขึ้น ว่า ปะเทือง.
ปะทุก (386:7)
         คือ การ ที่ คน ขน ของ ใส่ ลง ใน เรือ นั้น, คน จะ มี ที่ ไป, ขน ของ มาก ใส่ ลง ใน เรือ ฤๅ ใน เกวียน นั้น.
ปะทาน (386:8)
         คือ ให้, คน เปน เจ้า ถ้า ให้ ของ สิ่ง ใด แก่ คน ต่ำ กว่า โดย วาศนา นั้น, ว่า ปะทาน.
ปะทุน (386:9)
         คือ สิ่ง ที่ เขา ทำ เปน หลังคา กัน ฝน แล แดด ที่ เรือ นั้น เขา เอา ไม้ ไผ่ ผ่า เปน ซีก ๆ, ขด ลง กับ กราบ เรือ แล้ว เอา จาก มุง นั้น.
ปะทวน (386:10)
         คือ ทำ แทน ไว้, คน ช่วย ทาษ ไว้ มี หนังสือ กรม ๆ นั้น หาย ไป, เมื่อ ทาษ จะ ส่ง เงิน ไป เขียน หนังสือ อื่น แทน ให้ ว่า ทำ ปะ ทวน ให้.
ปะทัด (386:11)
         คือ ของ ที่ ทำ ให้ ตรง นั้น, เขา เอา ไม้ ทำ ให้ แบน ให้ ตรง เสมอ สำรับ ทอด สมุด. อย่าง หนึ่ง เขา ฟั่น ด้าย เปน สาย ยาว ชุบ น้ำ ดำ สำรับ ตี ที่ ไม้ ซุง นั้น.
      ปะทัด จุด ไฟ (386:11.1)
               คือ ของ จีน ทำ ด้วย กดาด, เอา ดิน ดำ ใส่ ไว้* ข้าง ใน นั้น.
ปะเทศ (386:12)
         คือ ที่ ถาน ที่ ภูม ลำเนา สถาน ใด ๆ, ใน บ้าน ใน เมือง ฤๅ ใน ป่า ใน ทุ่ง, ว่า ปะเทศ.
ปะธรรมราศ (386:13)
         เปน ชื่อ ทอง คำ เนื้อ สุก ก่ำ นั้น.
ปะทับ (386:14)
         คือ แอบ เข้า, เช่น เรือ พระที่นั่ง เจ้า, จอด แอบ เข้า ว่า ปะทับ. อย่าง หนึ่ง เขา ตี ตรา ลง ที่ ใบ หนังสือ, ก็ ว่า ปะทับ ตรา ลง.
      ปะทับ อยุด (386:14.1)
               คือ อยุด แอบ เข้า นั้น.
      ปะทับ ปะทา (386:14.2)
               ปะ ทา เปน คำ สร้อย.
      ปะทับ ท่า (386:14.3)
               คือ เรือ แอบ เทียบ กับ ท่า น้ำ.
      ปะทับ พล (386:14.4)
               คือ อยุด ยั้ง พล ทหาร ไว้.
      ปะทับ ร้อน (386:14.5)
               คือ อยุด ให้ ร้อน หาย.
      ปะทับ แรม (386:14.6)
               คือ อยุด แรม คืน นั้น.
      ปะทับ ฟ้อง (386:14.7)
               คือ เจ้าพนักงาน เขียน หนังสือ ลง ที่ ใบ ฟ้อง, ว่า ความ นี้ อยู่ ศาล กระทรวง นั้น.
ปะทีป (386:15)
         คือ เตียง* ฤๅ เทียน นั้น, ของ ที่ จุด ไฟ ให้ สว่าง ได้, เรียก ปะทีป เว้น ไว้ แต่ คบ นั้น.
ปะเทียบ (386:16)
         คือ จัดแจง สิ่ง ของ เรียบ เรียง ไว้.
ปะทม (386:17)
         คือ นอน, พูด ถึง เจ้า นอน ว่า ปะทม เปน คำ สูง เพราะ คน นอก จาก เจ้า ว่า ปะทม ไม่ ได้, เพราะ ไม่ ควร.
ปะทุ (386:18)
         คือ ของ ถูก ไฟ แตก ดัง, เหมือน เกลือ ถูก ไฟ นั้น.
ปะทิว (386:19)
         เปน ชื่อ ประเทศ เมือง แห่ง หนึ่ง, เขา เรียก เมือง นั้น ว่า เมือง ปะทิว, อยู่ ฝั่ง ตวัน ตก ขึ้น กับ กรุงเทพ.
ปะติทิน (386:20)
          ฯ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า จำเภาะ. อย่าง หนึ่ง เรียก ฤกษ ที่ พวก โหร ทำ ถวาย เจ้า นั้น.
ปะนด (386:21)
         คือ ประนม มือ ไหว้, เปน คำ แผลง สำรับ แต่ง หนังสือ เรื่องราว ที่ เพราะ นั้น, เขา ว่า ปะนต
ปะนม (386:22)
         คือ ทำ กระพุ่ม มือ ไหว้, คน ประคอง มือ ทั้งสอง ขึ้น ไหว้ นั้น.
ปะนาม (386:23)
         คือ น้อม ตัว ลง ไหว้ ว่า นมัศการ ก็* ว่า, ว่า น้อม ไหว้ แก่ ท่าน ผู้ เปน ที่ คำรพย นั้น.
ปะน้อม (386:24)
         คือ โน้ม น้าว, คน ชวน ชัก คน ที่ โกรธ กัน อยู่ ให้ กลับ ดี เปน สามะคี รศ ชอบ กัน ต่อ ไป นั้น.
ปะนีต (386:25)
         คือ ของ ที่ คน แกล้ง ทำ ให้ ดี ให้ สอาด มี ของ กิน นั้น, เขา ทำ โดย ประจง นั้น.
ปะชุม (386:26)
         คือ ชุม นุม.
ปะตู ลม (386:27)
         คือ อะไวยวะ ที่ บาง ไม่ สู้ มี เนื้อ มาก นั้น.

--- Page 387 ---
ปะถวี (387:1)
         เปน ชื่อ ประเทศ แห่ง หนึ่ง, เขา เรียก ปะถวี, ที่ นั่น มี รูป พระเจ้า ปรากฏ อยู่ ที่ หิน
ปะถม (387:2)
          ฯ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า แรก เดิม, เช่น ของ อัน ใด เกิด ก่อน ว่า เกิด ปถม แล.
ปะทุม (387:3)
         คือ ดอก บัวหลวง.
      ปทุมชาติ (387:3.1)
                ฯ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า บัวหลวง บันเกิด* ขึ้น.
      ปะทุมเมศ (387:3.2)
               คือ ดอกบัว วิเสศ งาม นั้น.
      ปะทุม ถัน (387:3.3)
               คือ นม หญิง เปรียบ เหมือน ดอกบัวหลวง นั้น,
      ปะทุมธานี (387:3.4)
               เปน ชื่อ เมือง สามโคก ที่ มอญ อยู่ นั้น,
ปะภบ (387:4)
         คือ ภบปะ กัน.
ปะทุษฐร้าย (387:5)
         คือการ เบียนเบียฬ ต่าง ๆ, ทำให้ได้ ความ เจ็บปวด นั้น.
ปะ ผ้า (387:6)
         คือ เอา ผ้า อื่น ทาบ ลง เย็บ ไว้ ที่ ผ้า ผืน ขาด นั้น.
ปะปุ (387:7)
         คือ เอา ผ้า อื่น ปุปะ ลง ที่ ผ้า ผืน ขาด นั้น.
ปมาท (387:8)
         คือ ความ ดู หมิ่น, เช่น คน ไม่ นับถือ, แล คิด ว่า การ นั้น ทำ เสีย เปล่า ๆ, ไม่ มี ประโยชน์.
ปะหม่า (387:9)
         คือ จิตร กำเริบ ฟุ้งซ่าน, เช่น คน จะ สวด ฤๅ จะ เทศ ใน ที่ ไม่ เคย, มัก ให้ จิตร ฟุ้ง ขึ้น.
ปะพิม ปะพาย (387:10)
         คือ รูป ร่าง สัณฐาน นั้น.
ปะโมง (387:11)
         คือ คน จิตร มุ่ง จะ ฆ่า ปลา เปน นิจ, เช่น คน ชาว บ้าน ริม ทะเล, ฆ่า ปลา ไม่ ใคร่ เว้น วัน นั้น.
ปะมาณ (387:12)
         ความ คาด เอา, การ เดา, คือ ความ ที่ คะเน หมาย ตาม สังเกต ว่า ของ เท่า นี้, เหน จะ ราว ยี่สิบ ฤๅ สาม สิบ สี่สิบ นั้น.
ปะมูล (387:13)
         ทวี ขึ้น, คือ ความ เพิ่ม เติม มาก ขึ้น, คน ทำ อาการ เก็บ เงิน ส่ง ใน หลวง ปี ละ สิบชั่ง, คน อื่น เหน ว่า เก็บ เงิน มี เสศ อยู่ มาก, ไป ว่า ฃอ เพิ่ม ขึ้น อีก สิบชั่ง จะ ฃอ เข้า เก็บ นั้น.
ปะมวน (387:14)
         เข้า กัน, ปะสม กัน, คือ ความ รวม เข้า, คือ ของ มาก ฝาก เรี่ยราย ไว้ หลาย แห่ง, แล้ว เก็บ รวม เข้า ไว้ แห่ง เดียว กัน นั้น.
ปะเมิน (387:15)
         เลียบ เคียง, ประเปรย, คือ คำ ว่า เปรียบ ปราย, เช่น เขา ให้ ของ อะไร กัน ตัว อยาก ได้ บ้าง, ว่า กล่าว เลียบ เคียง ว่า เรา เปน คน วาศนา น้อย, เขา เหน จะ พึ่ง ไม่ได้, เรา จึ่ง ไม่ ได้ บ้าง.
ปะเหม่อ ปมก (387:16)
         ตก ตะลึง, ตก ปม่า, คือ ความ ที่ ไม่ คุ้น ไม่ เคย จิตร ใจ ตะลึง ไป, คน ไป ที่ ประชุม ไม* สู้ เคย ไป ใจ ไม่ ปรกติ อยู่ นั้น.
โปยค (387:17)
          ฯ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า ประกอบ เข้า, ท่าน ผู้ รู้ ผูก สับท์* เข้า หลาย สับท์, เปน โปยค หนึ่ง.
ปะยง (387:18)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง มี ดอก หอม, มัน มี ที่ ป่า, แต่ เขา เอา มา ปลูก ใน บ้าน ก็ มี บ้าง.
ปะเวศน์ (387:19)
          ฯ, แปล ว่า เข้า ไป.
ปะสูต (387:20)
         คือ คลอด, เปน คำ สูง ว่า ประ สูติ. เหมือน อย่าง ประ สูติ พระองคเจ้า นั้น.
ปะโยชน์ (387:21)
         คือ การ ที่ มี คุณ, การ สิ่ง ใด ที่ มี คุณ นั้น, รู้ หูง เข้า การ นั้น เปน ประโยชน์, คือ มี ผล เปน อัน ดี.
ปะราชิต (387:22)
          ฯ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า แพ้ แต่ พระสาศนา, คือ ไม่ อาจ รักษา ศีล ให้ บริสุทธิ์ ได้, ว่า คน นั้น เปน ปะราชิต.
ปะริญัติ (387:23)
          ฯ, เปน สับท์ แผลง* แปล ว่า เล่า เรียน. อย่าง หนึ่ง ว่า ปะริญัติ ธรรม, ว่า พระธรรม เปน ของ เล่า เรียน.
ปะราไชย (387:24)
         คือ ภ่าย แพ้,
ปะรามาศ (387:25)
          ฯ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า ลูบ คลำ, คน ยก มือ ขึ้น ลูบ ไป ที่ อะไวยวะ ฤๅ ที่ ใด ที่ หนึ่ง นั้น.
ปะราลี (387:26)
         คือ ยอด แหลม ๆ, เฃา ทำ เรียง ไว้ ที่ หลัง คา พระ ที่นั่ง บาง องค นั้น.
ปะรำ (387:27)
         คือ ที่ เขา ดาษ ด้วย ลำแพน, เขา จะ ผัด ช้าง เอา ไม้ ปัก เปน เสา ขึ้น หลาย ต้น, แล้ว เอา ไม้ ภาด ไว้ ข้าง บน, จึ่ง เอา ลำแพน ผืน ยาว ปู ดาษ ไว้, ครั้น ผัด ฬ่อ ช้าง มัน ไล่, ก็ วิ่ง เข้า ใน ปะรำ นั้น.
ปะระโลกย์ (387:28)
          ฯ, คือ โลกย์ อื่น.
ปะระมาภิเศก (387:29)
          ฯ, คือ ตรัส รู้ ซึ่ง ธรรม, เหมือน อภิเศก อัน ยิ่ง.
ประมรรถ (387:30)
          ฯ, แปล ว่า อรรถ อย่าง ยิ่ง.
ประสามหาว (387:31)
         คือ พูด ถึง ที่ ลับ ของ บุรุษย์ แล สัตรี, ว่า รูป มัน สั้น แล ยาว มัน เปน อย่าง นั้น มัน เปน อย่าง นี้ นั้น.
ปรัก หัก พัง (387:32)
         คือ ของ เก่า มัน ผุ พัง ลง, เช่น วิหาร ฤๅ โบถ นั้น, เก่า คร่ำ คร่า ผุ พัง ลง.

--- Page 388 ---
ปาแหรก บัง (388:1)
         คือ ไม้ เครื่อง เกวียน, คน ทำ เกวียน เอา ขา เกวียน ใส่ เข้า ที่ เพลา, แล้ว เอา ไม้ ใส่ กัน ขา เกวียน มิ ให้ มัน หลุด ออก มา นั้น, เขา เรียก ไม้ แปรกบัง.
ปะระมาณ* (388:2)
         คือ แป้ง ต้ม ขึ้น สุก เปน ปะระมาณู นั้น.
ปะราง (388:3)
         คือ เอา ดิน ฤๅ ขัน ปะ ปิด เข้า ที่ ราง รั่ว นั้น.
ปะระเมนทร์ (388:4)
         ตัด ออก เปน สอง คำ, ว่า ปะระมะ แล อินทร์, อธิบาย ว่า เปน ใหญ่ ยิ่ง.
ปะระนิมิตวะสะวัดิ (388:5)
          ฯ, เปน ชื่อ สวรรค ที่ หก.
ปรอด (388:6)
         คือ ของ ศรี เหมือน ดีบุก, แต่ มัน เหลว คว้าง เปน น้ำ อยู่, ทำ มัน ไม่ ใคร่ แขง นั้น.
ปะระปักษ (388:7)
          ฯ, แปล ว่า เปน ฝ่าย อื่น.
ปะเรียญติ์ (388:8)
         เปน ชื่อ พระสงฆ ที่ เรียน หนังสือ รู้ หนังสือ มาก, ท่าน ไล่ ดู แปล ได้ สาม โปยค นั้น.
ปะระภพ (388:9)
          ฯ, คือ ภพ อื่น.
ปริเฉท (388:10)
          ฯ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า กำหนด, เหมือน ของ มี กำหนด ขาด ลง, ว่า ปะริเฉท.
ปะริภาษ (388:11)
          ฯ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า ติ เตียน ก็ ได้, ว่า กล่าว ครอบงำ ก็ ได้, ว่า เยาะ เย้ย ก็ ได้.
ปะริโยสาน (388:12)
          ฯ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า ที่ สุด โดย รอบ, คือ สิ่ง ใด ที่ สิ้น สุด ที เดียว ไม่ มี อีก นั้น.
ปะริ (388:13)
          ฯ, แปล ว่า รอบ.
      ปะริวัฏ (388:13.1)
                ฯ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า เปน ไป รอบคอบ, เหมือน จักร หมุน เวียน ไป นั้น.
ปะริจา (388:14)
          ฯ, แปล ว่า บำเรอห์.
ปะริจาริกะฯ (388:15)
         แลว่า บำเรอห์.
ปะริภาชก (388:16)
         เปน ชื่อ คน พวก หนึ่ง, ว่า คน นั้น เปน คน นอก สาศนา, ถือ ลัทธิ อื่น นุ่ง ผ้า ศรี แดง อ่อน.
ปะรำ ปะรา (388:17)
          ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า อื่น อีก ๆ, อธิบาย ว่า เวลา สืบ ๆ กัน ก็ ได้, ว่า ต่อ ๆ ก็ ได้.
ปะระวาที (388:18)
          ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า คำ แห่ง ผู้ อื่น, เหมือน คน ผู้ เดียว สำแดง ความ เปน คำ ผู้ อื่น นั้น.
ปะริกรรม (388:19)
          ฯ, แปล ว่า กระทำ ร่ำ ไป.
ปะโรหิต (388:20)
         เปน ชื่อ คน ผู้ หนึ่ง, ใน เรื่อง ราว โบราณ ว่า ปะโรหิต นั้น, เปน ผู้ สั่งสอน พระ มหา กระษัตริย์.
ปะระมาณู (388:21)
         คือ ของ เปน ละออง เล็ก หนิด นัน* แล ไม่ เหน, ต่อ ของ นั้น ถูก ปล่อง ที่ ช่อง แดด จึ่ง เหน นั้น.
ปะริคณห์ (388:22)
          ฯ, แปล ว่า ถือ เอา ทั่ว รอบ.
ปะระนิมิตร (388:23)
          ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า คน อื่น จัด แจง ตกแต่ง ให้, ว่า เทวดา ชั้น นั้น มี รูป นั้น, ผู้ อื่น แต่ง ให้ ได้ ชม.
ปะรินายก (388:24)
          ฯ, แปล ว่า นำ ไป ทั่ว รอบ.
ปะริมณฑล (388:25)
         คือ ของ กลม รอบ, เหมือน ดวงพระจันทร์ นั้น, เรียก ว่า ปะริมณฑล.
ปะริ โพธกังวล (388:26)
          ฯ, แปล ว่า เปน ห่วง เกี่ยว ค่อง อยู่.
ปะเล้า* ปะโลม (388:27)
         คือ กล่าว คำ ปลอบ, คน มี ความ เศร้า โศรก ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง, มี ผู้ กล่าว ปลอบ ว่า ท่าน อย่า เศร้า โศรก เลย, ข้า จะ ช่วย.
ปะโลง (388:28)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ ชาย ทะเล อย่าง หนึ่ง.
ปลัด (388:29)
         เปน ชื่อ ขุนนาง ที่ สอง, เจ้า ท่าน ตั้ง คน เปน เจ้ากรม คน หนึ่ง, แล้ว ตั้ง อีก คน หนึ่ง เปน ที่ สอง ปลัดกรม นั้น.
      ปลัด กรม (388:29.1)
               เปน ชื่อ ขุนนาง เช่น ว่า นั้น. อย่าง หนึ่ง ปลัดเวน ที่ ต่ำ ลง มา กว่า ปลัดกรม นั้น, เปน คน เข้า เวน ออก เวน นั้น.
      ปลัด จางวาง (388:29.2)
               เปน ชื่อ ขุนนาง ใหญ่ กว่า ปลัดกรม, เปน ที่ รอง จางวาง* ลง มา, เรียก ว่า ปลัด จางวาง ใน กรม นั้น.
      ปลัด เวน (388:29.3)
               คือ คน เปน ที่ รอง นายเวน เช่น ว่า แล้ว นั้น, สำรับ คุม ลูกเวน, เข้า เวน ผลัด เปลี่ยน กัน นั้น.
      ปลัด ทัพ (388:29.4)
               คน ยก ทัพ ไป รบ ศึก, มี แม่ ทัพ ใหญ่ คน หนึ่ง, แล้ว มี นาย ที่ สอง รอง นาย ใหญ่. เรียก ว่า ปลัด ทัพ.
แปรศเล (388:30)
         เปน ชื่อ ครู มา แต่ อเมริกัน คน หนึ่ง นั้น.
ปะริรักษ* (388:31)
          ฯ, แผลง แปล ว่า รักษา รอบคอบ.
ปะริเทวะนาการ (388:32)
          ฯ, แปล ว่า ร้องไห้ ร่ำไร.
ปะริวาร (388:33)
          ฯ, ว่า แวด ล้อม โดย รอบ.
ปลาด (388:34)
         คือ ของ หลาก แก่ ใจ.
ปะลาศนาการ (388:35)
          ฯ, เปน สับท์ แผลง แปล, ว่า คน มี อาการ อัน หนี ไป นั้น.
ปะไลย (388:36)
         ว่า ไป ปะระโลกย์.
      ปะไลยกัลป์ (388:36.1)
               คือ กัลป์ ฉิบหาย ด้วย ไฟ ฤๅ ฉิบหาย ด้วย น้ำ ฤๅ ลม คราว หนึ่ง นั้น, ว่า ปะไลยกัลป์.

--- Page 389 ---
ปลับ เปลือก (389:1)
         คือ อาการ ที่ คน ทำ ตา หลับ ลง แล้ว ลืม ขึ้น, สอง หน สาม หน เมื่อ ใกล้ ตาย นั้น, ว่า ทำ ตา ปลับเปลือก,
ปแล่ม (389:2)
         คือ รศ หวาน หน่อย ๆ.
ปะลอม ๆ (389:3)
         คือ อาการ ที่ คน กิน เข้า ฤๅ กิน ของ มี ขนม นั้น, เร่ง กิน ด่วน ๆ ไม่ เปน ปรกติ นั้น.
ปลอ (389:4)
         คือ พูด จา เอา เนื้อ เอา ใจ ด้วย ความ ปราฐนา.
เปลาะ (389:5)
         คือ วาจา ที่ คน อยาก ได้ ของ, แล พูด จา เอา ใจ ไม่ ให้ เขา เคือง ใจ นั้น.
      เปลาะ แปละ (389:5.1)
               คือ ความ พูดจา ประสม ประสาน ให้ เขา ชอบใจ อยาก จะ เอา ของ นั้น.
ปะเพณีย์ (389:6)
          ฯ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า เยี่ยง อย่าง จริต, ฤๅ ธรรมเนียม นั้น.
ปะสาวะ (389:7)
         คือ น้ำ มูด.
ปะริสุทธิ์ (389:8)
         ว่า หมดจด รอบ คอบ.
ปะวิง (389:9)
         คือ แกล้ง หน่วง การ ไว้ ให้ เนิ่นช้า นั้น, คน เปน ความ กัน ฝ่าย ผู้ จะ แพ้ นั้น, ทำ เชือนแช ไม่ ใคร่ ว่า นั้น.
ปะริวิ ตก (389:10)
         ว่า วิตก ทั่ว ไป รอบคอบ.
ปะสาท (389:11)
         ว่า ความ เลื่อม ไส, คือ คน สวด อ้อนวอน พระเจ้า, ได้ เหน เหตุ อัศจรริย์ ปรากฎ จิตร ยินดี นั้น.
      ปะสาท ให้ (389:11.1)
               ว่า ประสิทธิ์ ให้.
ปะสระ ผม (389:12)
         คือ เอา เครื่อง มี มะกรูด แล ซ่มป่อย นั้น, ใส่ น้ำ ชำระ ให้ ผม หาย เหม็น นั้น.
ปะสะ เลือด (389:13)
         คือ ยา กิน ให้ เลือด สุก งาม นั้น.
ปะสะ เงิน ทอง (389:14)
         คือ ชำระ เงิน แล ทอง นั้น.
ปะสงค (389:15)
          ฯ เปน สับท์ แผลง แปล ว่า ต้อง การ, เขา จะ ต้อง การ สิ่ง ใด พูด ว่า ข้า ประสงค สิ่ง นั้น.
ปะสม (389:16)
         คือ ความ ระคน เข้า, พวก หมอ ทั้ง หลาย เอา ยา มา สอง สิ่ง สาม สิ่ง ปน เข้า นั้น.
ปะเสื้อ (389:17)
         คือ เอา ผ้า อื่น เล็ก น้อย ทาบ เย็บ ติด ลง ที่ เสื้อ ขาด นั้น.
ปะสบ (389:18)
         คือ ความ ภบ ปะ กัน, เขา ไป ตาม ทาง นั้น, ภบ ปะ กัน เข้า นั้น.
ปะสาน (389:19)
         คือ ปะสม ให้ ติด กัน เข้า นั้น.
ปะหัง (389:20)
         คือ ของ คน ทำ ใส่ หญ้า ให้ สัตว กิน มี โค เปน ต้น, เขา เอา ไม้ ไผ่ ผ่า เปน ซีก แล้ว ขด ขึ้น ภอ ใส่ หญ้า ได้ นั้น.
ปะหาร (389:21)
         คือ ความ ตี นั้น, คน ทุบ ตี แทง ฟัน กัน ต่าง ๆ ด้วย ไม้ ฤๅ มือ ฤๅ อาวุธ อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น.
ปะหัด ปะหาร (389:22)
         เปน สร้อย คำ ติด อยู่ ด้วย, คือ ความ ประหาร เช่น ว่า แล้ว นั้น, เขา พูด เปน คำ สร้อย,
ปะสิทธิ์ (389:23)
         ว่า สำเร็จ.
ปะสก (389:24)
         เปน คำ พระสงฆ เรียก คน ผู้ชาย ที่ เปน สัปรุษ นั้น, ท่าน เรียก ตาม บัญญัติ ของ พระ.
ปะโคม (389:25)
         คือ ทำ เพลง มะโหรี ปี่พาทย์ นั้น, ใน ที่ การ มงคล นั้น.
ปก (389:26)
         ปิด, คลุม, คือ ปิด คลุม นั้น, คน จะ บัง ของ อัน ใด อัน หนึ่ง เอา ผ้า นั้น คลุม ลง นั้น.
      ปก เกล้า ปก กระหม่อม (389:26.1)
               ปก เกล้า ปก ผม, ปก หัว, นี่ เปน คำ พูด เปรียบ, เขา พูด กับ เจ้า เปน คำ สูง เพราะ, ว่า ฃอ พระบาระมี ปก เกล้า ปก กระหม่อม.
      ปก เกษ (389:26.2)
               ปก เศียร, เปน คำ เปรียบ คำ สูง, เขา แต่ง หนังสือ เรื่อง ราว เพราะ ๆ, ว่า ฃอ บุญ ชนนี มา ปก เกษ, คือ ปก ผม นั้น.
      ปก ครอง (389:26.3)
               คือ ป้อง ปิด รักษา, คน กำพร้า มี สอง คน พี่น้อง, อุษส่าห์ ระวัง รักษา น้อง, ว่า ปก ครอง กัน นั้น.
      ปก คลุม (389:26.4)
               คือ ปก หุ้ม ลง.
      ปก ป้อง (389:26.5)
               คือ อาการ ปิด บัง, แม่ ไก่ กก ลูก มัน เอา ปีก ปิด ป้อง, ว่า ปก ป้อง ก็ ได้, ฤๅ คน เอา ผ้า ฤๅ สิ่ง อื่น ปิด บัง หน้า ก็ ได้, ว่า ปก ป้อง,
      ปก ปิด (389:26.6)
               คือ ปก บัง.
      ปก ผม (389:26.7)
               คือ ปิด บัง ผม, เหมือน เอา ผ้า ฤๅ ของ อื่น คลุม ผม ไว้ นั้น.
      ปก หัว (389:26.8)
               คือ การ ที่ ปิด บัง หัว, คน กลัว หัว จะ ถูก แดด ฤๅ ฝน, เอา ผ้า บัง หัว นั้น.
ปกะติ (389:27)
         คือ อาการ ที่ คน ไม่ เจ็บ ป่วย ดี เสมอ อยู่ นั้น.
ปัก (389:28)
         คือ คน เอา ไม้ แทง ฤๅ ตอก ลง ใน ดิน นั้น, คน จะ จอด เรือ อยู่ เอา หลัก ปัก ลง แล้ว ผูก ไว้.

--- Page 390 ---
      ปัก เกษ (390:28.1)
               คือ ปัก ผม, เขา เกล้า จุก เด็ก ๆ, แล้ว เอา ปิ่น ปัก ขัด ไว้ ไม่ ให้ ผม หลุด ออก นั้น.
      ปัก กรอง (390:28.2)
                คือ ปัก ผ้า กรอง, เขา เอา ไหม ฤๅ ด้าย มา ชุน เปน ผืน ผ้า, แล้ว เอา ด้าย อื่น ฤๅ ไหม อื่น มา ปัก เปน ดอก ใน พื้น ผ้า นั้น, เรียก ปัก กรอง.
      ปักขณะนา (390:28.3)
                ฯ, ว่า นับ ปัก คือ กึ่ง เดือน เปน ปักข์ หนึ่ง.
      ปัก กล้า (390:28.4)
               คือ ปัก ต้น เข้า อ่อน ลง ใน นา, คน เอา เข้า กล้า ถอน มา จาก ที่ ไว้ แล้ว, เอา ต้น หนึ่ง ปัก ลง ใน นา นั้น
      ปักข์ (390:28.5)
               ว่า เปน ฝ่าย.
      ปัก ชุน (390:28.6)
               คือ ปัก แล ชุน, เขา เอา ด้าย มา มาก แล้ว ชุน ไป เหมือน เขา ชุน แห นั้น.
      ปัก ตาข่าย (390:28.7)
               คือ เอา ด้าย ฤๅ ไหม ร้อย เปน ตา ข่าย ไป นั้น, ปัก แทง, คือ ทิ่ม แทง ที่ ดิน นั้น, คน จะ ขุด ดิน เอา พลั่ว แทง ลง ที่ ดิน นั้น.
      ปัก ปิ่น (390:28.8)
               คือ ปัก ก้าน ปิ่น เข้า ที่ ผม จุก, คน เกล้า ผม เด็ก เปน จุก จ่อม, แล้ว เอา ปิ่น ปัก ไม่ ให้ ผม หลุด.
      ปัก ผม (390:28.9)
               คือ เอา ปิ่น เสียบ เข้า ที่ ผม จุก นั้น.
      ปัก ผ้า (390:28.10)
               คือ เอา ด้าย ฤๅ ไหม ร้อย เข็ม แทง ลง ที่ ผืน ผ้า ทำ ให้ มัน เปน ดอก ต่าง ๆ นั้น.
      ปัก หลัก (390:28.11)
               คือ เอา ไม้ หลัก ทิ่ม ลง นั้น, เขา อยุด จอด เรือ จึ่ง เอา ไม้ หลัก แทง กด ลง ใน ดิน นั้น.
      ปัก อก (390:28.12)
               คือ แทง เข้า ที่ อก, คน สู้ รบ กัน เอา หอก นั้น, ทิ่ม แทง เข้า ที่ อก นั้น.
ปักษา (390:1)
          ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า นก, เพราะ มัน มี ปีก บิน ได้ ใน อากาศ, สัตว อื่น ถึง มี ปีก ก็ ไม่ เรียก ว่า ปักษา, จำเภาะ แต่ นก.
      ปักษี (390:1.1)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า นก ตัว เมีย นั้น.
      ปักษินทร์ (390:1.2)
                ฯ, แปล ว่า นก ใหญ่.
ปาก (390:2)
         โอฐ, คือ มุกขะ ทวาร, เปน ช่อง อยู่ ที่ ใต้ จมูก, มี ฟัน ข้าง ล่าง ข้าง บน ข้าง ใน มี ลิ้น นั้น.
      ปากกา (390:2.1)
               คือ ของ ที่ ทำ เขียน หนังสือ, มี สัณฐาน เหมือน ปาก กา, คน จะ เขียน หนังสือ ด้วย หมึก ทำ ปากกา ด้วย ไม้ บ้าง, ด้วย ทอง แดง บ้าง, ขน ห่าน บ้าง.
      ปาก ไก่ (390:2.2)
               คือ ของ ทำ เช่น ว่า นั้น, สำรับ เขียน หนังสือ ด้วย หมึก, เขา เรียก ว่า ปาก ไก่ บ้าง*.
      ปาก กะจับ (390:2.3)
               คือ ปาก ภาชนะ มี ภาน นั้น, ปาก มัน แฉก ปลาย แหลม นั้น.
      ปาก กิ่ง (390:2.4)
               เปน ชื่อ เมือง จีน แห่ง หนึ่ง, เมือง จีน มี หลาย เมือง แต่ เมือง* หลวง ชื่อ เมือง ปาก กิ่ง.
      ปาก เกร๊ด (390:2.5)
               เปน ชื่อ คลอง, ท่าน ขุด ลัด แม่น้ำ มี อยู่ เหนือ เมือง นนท์ นั้น.
      ปาก กล้า (390:2.6)
               คือ พูด ห้าว หาน ไม่ กลัว ผู้ ใด, คน มี ยศ ศักดิ์* มาก พูด จา ไม่ ย่อ ธ้อ ใคร นั้น.
      ปาก ขาด (390:2.7)
               คือ ปาก แหว่ง, คน เกิด มา มี ปาก ไม่ เต็ม บริบูรณ* หวะ เปน ช่อง อยู่ นั้น.
      ปาก แขง (390:2.8)
               คือ กล่าว คำ ทุ่ม เถียง กับ ผู้ ใด ไม่ เข็ด ถอย, เถียง ร่ำ ไป ไม่ นิ่ง.
      ปาก คม (390:2.9)
               คือ ปาก คน พูด เยาะ เย้ย ว่า กล่าว ให้ คน อื่น ได้ ความ อาย เคือง ใจ ด้วย เหตุ ต่าง ๆ นั้น, ว่า ปาก คม.
      ปาก กว้าง (390:2.10)
               คือ ปาก มี ช่อง ใหญ่, เหมือน ปาก ช้าง ฤๅ ปาก เรือ กำ ปั่น แล เรือ สำ เภา นั้น.
      ปาก ขวด (390:2.11)
               คือ ปาก แคบ ไม่ สม ตัว, ปาก คน ถ้า ช่อง แคบ ไม่ สม ตัว, เขา มัก เรียก คน นั้น ปาง* ขวด บ้าง.
      ปาก ฅอ เราะ ราย (390:2.12)
               คือ ปาก คน มัก พูด จา กับ ผู้ อื่น ง่าย ๆ นั้น.
      ปาก จาน (390:2.13)
               คือ ปาก กว้าง ใหญ่, คน ที่ ปาก กว้าง เขา เรียก ว่า คน นั้น ปาก จาน.
      ปาก จัด (390:2.14)
               คือ คน ฉลาด พูดจา ด้วย ถ้อย คำ ต่าง ๆ, พูด ถูก ความ ไม่ เกรง ขาม เข็ด ผู้ ใด นั้น.
      ปาก โจท (390:2.15)
               คือ ปาก คน ที่ ฟ้อง หา ความ คน นั้น, คน เกิด ความ วิวาท กัน ขึ้น, แล ปาก ผู้ ฟ้อง ว่า ปาก โจท.
      ปาก คลอง (390:2.16)
               คือ ปาก คลอง ที่ เขา ขุด เปน คลอง ย่อม ๆ เหมือน คลอง ตลาด นั้น, เพราะ เปน แต่ คลอง น้ำ.
      ปาก น้ำ (390:2.17)
               คือ ช่อง ที่ ใหญ่ ๆ เข้า มา จาก ทะเล, มี ปาก น้ำ เจ้าพระยา นั้น.
      ปาก น้ำ บางพุดซา (390:2.18)
               เปน ชื่อ ปากน้ำ แห่ง หนึ่ง อยู่ เหนือ เมือง กรุง เก่า, อยู่ ใน แขวง เมือง ลพบุรี นั้น.

--- Page 391 ---
      ปาก น้ำ เชิง ไกร (391:2.19)
               เปน ชื่อ ปากน้ำ แห่ง หนึ่ง อยู่ เหนือ เมือง สัน ใต้ เมือง พิศนุโลกย์ ลง มา นั้น.
      ปาก น้ำ โพ (391:2.20)
               อยู่ ใน แขวง เมือง อุดรดิฐ ทิศ เหนือ.
      ปาก น้ำ หู ชีบ (391:2.21)
               เปน ชื่อ ปากน้ำ แห่ง หนึ่ง, อยู่ แควสีกุก ตวัน กต* เมือง กรุง เก่า นั้น.
      ปาก บาง (391:2.22)
               คือ ต้น คลอง ที่ แวะ ออก จาก แม่ น้ำ ทุก แห่ง, ที่ เขา เรียก ว่า บาง มี บาง หลวง นั้น.
      ปาก เบ้า (391:2.23)
               คือ ปาก เบ้า ที่ สำรับ หล่อ หลอม เงิน แล ทอง นั้น,
      ปาก บอน (391:2.24)
               คือ ปาก คัน เหมือน บอน เปน ความ เปรียบ, คน เหน อัน ใด ฤๅ รู้ เหตุ อัน ใด, นิ่ง อยู่ ไม่ ได้ เอา ไป บอก กับ คน โน้น คน นี้ นั้น.
      ปาก แบะ (391:2.25)
               คือ ปาก คน แบะ กว้าง เหมือน จาน, เขา ว่า คน นั้น ปาก แบะ.
      ปาก เปียก (391:2.26)
               คน พูด มาก มี ทาษ มาก ฤๅ ลูก มาก, เหน เขา ทำ ไม่ ชอบ ใจ ว่า คน นี้ บ้าง ว่า คน โน้น บ้าง, เขา ว่า ปาก เปียก นั้น.
      ปาก โป้ง (391:2.27)
               คือ ปาก คน ที่ พูด มาก นัก นั้น, คน พูด เสียง ก้อง จน คน ฟัง เบื่อ หู นั้น.
      ปาก ปลา (391:2.28)
               คือ ข้าง หัว สำเภา, ที่ ว่าง เปล่า อยู่ ไม่ ได้ อุด กระดาน, เขา เรียก ปาก ปลา.
      ปาก พล่อย (391:2.29)
               คือ ปาก คน พูด พล่อย ๆ, คน นั้น เหน ไม่ เหน รู้ ไม่ รู้, ภอ ใจ พูด พล่อย ๆ พูด เอา ง่าย ๆ.
      ปาก มาก (391:2.30)
               คือ พูด มาก นั้น.
      ปาก หมด (391:2.31)
               คือ ปาก คน พูด ล่อน มัก ปด, เปน คน พูด ปด มาก กว่า จริง นั้น.
      ปาก ม้า (391:2.32)
               คือ ปาก ที่ ม้า, เขา พูด เปน ความ เปรียบ, ว่า คน นั้น ปาก เหมือน ปาก ม้า, เพราะ ปาก มัก พูด วา จา อยาบ.
      ปาก มอด (391:2.33)
               คือ ปาก มอด ตัว มัน เล็ก ๆ, มัน กัด ไม้ จิง ไม้ ไผ่ กิน นั้น.
      ปาก มอม (391:2.34)
               คือ ปาก เปื้อน ไม่ สอาด ติด สิ่ง ที่ คำ มี เขม่า นั้น, คน ที่ ทำ ครัว นั้น บาง ที่ ปาก เขม่า ติด อยู่ ริม ศี ปาก นั้น.
      ปาก ร้าย (391:2.35)
               คือ ปาก คน ที่ มัก ติ เตียน นินทา, แล ด่า ประจาน คน อื่น ให้ ได้ ความ เจ็บ แค้น เคือง ใจ นั้น.
      ปาก เราะราย (391:2.36)
               คือ ปาก คน มัก กล่าว ทัก ถาม ด้วย ถ้อย คำ อัน เพราะ, สมควร ไม่ เปน ที่ ขัด เคือง ใจ ผู้ ใด นั้น.
      ปาก เบี้ยว (391:2.37)
               คือ ปาก เบ้ แบะ ไป ข้าง ซ้าย ฤๅ ข้าง ขวา, บาง ที่ บุ้ย ไป ทั้ง ข้าง ล่าง ข้าง บน นั้น.
      ปาก แหว่ง (391:2.38)
               คือ ปาก ที่ มี ศี ปาก ขาด อยู่ ไม่ รอบ ถึง กัน, ไม่ เปน อัน เดียว กัน นั้น.
      ปาก เรือ (391:2.39)
               คือ บน เรือ ที่ เขา ทำ แคร่* แล กระดาน พื้น ปิด ไว้ นั้น.
      ปาก เร็ว (391:2.40)
               คือ ปาก คน รู้ ความ แล้ว นิ่ง ไว้ ไม่ ได้, เขา พูด ให้ ฟัง แล้ว ก็ เล่า ให้ คน อื่น ฟัง ต่อ ไป.
ปีก (391:1)
         คือ สิ่ง ที่ มี ขน เปน แผ่น อยู่ ข้าง ซ้าย ข้าง ขวา, ที่ ตัว นก ตัว กา นั้น.
      ปีก กา (391:1.1)
               คือ ของ เช่น ว่า อยู่ ที่ ตัว กา, สำรับ มัน กระพื กวัก ลง ทำ ให้ ตัว ลอย ไป ตาม ชอบ ใจ นั้น.
      ปีก ไก่ (391:1.2)
               คือ ของ เช่น ว่า ติด อยู่ ที่ ตัว ไก่, สำรับ มัน กระพื บิน ตาม วิ ไสย ของ มัน นั้น.
      ปีก ขวา (391:1.3)
               คือ ของ เช่น ว่า นั้น ติด อยู่ ข้าง ขวา สัตว. อย่าง หนึ่ง คน ตั้ง ค่าย ฤๅ จะ เข้า รบ ศึก, แยก ทหาร เปน ปีก ซ้าย แล ปีก ขวา นั้น.
      ปีก ซ้าย (391:1.4)
               คือ ปีก เช่น ว่า ติด อยู่ ที่ ข้าง ซ้าย ตัว นก ฤๅ ไก่ นั้น.
      ปีก นก เรือน (391:1.5)
               คือ หลัง คา ที่ ด้าน สกัด เรือน, เปน หลัง คา ซีก เดียว อยู่ น้อย เรียก ปีก นก,
      ปีก นก (391:1.6)
               คือ ของ เขา ทำ ไว้ ที่ เรือน เปน หลัง คา เล็ก, ๆ อยู่ ข้าง ด้าน สกัด เรือน นั้น.
      ปีก ไม้ (391:1.7)
               คือ เสศ ไม้, คน เลื่อย ไม้ ซุง จะ ทำ กระดาน, แรก เลื่อย อัน ที่ ติด กระพี้ ข้าง นอก นั้น, เรียก ว่า ปีก ไม้.
ปึก (391:2)
         คือ ของ ที่ ทำ คล้าย กับ งบ น้ำอ้อย, แต่ ไม่ แบน บาง เหมือน งบ น้ำอ้อย, ข้าง หนึ่ง น่า ราบ เสมอ, น่า ข้าง หนึ่ง สูง นูน ขึ้น เหมือน หลัง เต่า.
      ปึก น้ำตาล (391:2.1)
               คือ น้ำ ตาล ที่ แค่น แขง เปน งบ กลม เท่า ชาม นั้น.
      ปึก ขี้ ผึ้ง (391:2.2)
               คือ ขี้ ผึ้ง ที่ เขา หลอม หล่อ ใส่ ลง ใน ถ้วย ชาม เอย็น แล้ว เอา ออก ไว้ นั้น.

--- Page 392 ---
ปุก (392:1)
         จะ ว่า กระปุก ก็ ได้, ว่า เสียง คน ตำ เข้า ดัง ปุก ๆ ก็ ได้, ฤๅ ลูก ไม้ หล่น ลง ดัง ปุก, ฤๅ ของ ตก ลง ดัง ปุก.
เปก (392:2)
         เสียง ดัง เปก, คน ฟัน ไม้ ฤๅ เคาะ ไม้ เข้า หนัก ๆ เสียง ดัง เปก ๆ ก็ มี บ้าง
โปก (392:3)
         เปน เสียง ดัง โปก ๆ, เขา เคาะ ไม้ ฤๅ ฟัน ไม้ ดัง โปก ๆ อย่าง หนึ่ง เรียก อะไวยวะ ที่ ลับ ของ ชาย ว่า กะโปก,
      โปก เปก (392:3.1)
               เปน เสียง ที่ เขา เคาะ ไม้ ดัง เช่น นั้น บ้าง.
ปอก (392:4)
         การ ที่ คน ทำ ให้ เปลือก นอก ออก เสีย นั้น, คน จะ กิน ผลไม้ มี ซ่มโอ นั้น, ทำ ให้ เปลือก มัน ออก หมด, ยัง แต่ เนื้อ นั้น.
      ปอก หนัง (392:4.1)
               คือ ลอก หนัง ออก เสีย.
      ปอก กล้วย (392:4.2)
               คือ ลอก เปลือก กล้วย กิน แต่ เนื้อ นั้น, เขา เอา มือ ถือ ไว้ ข้าง หนึ่ง, มือ ข้าง หนึ่ง ทำ ให้ เปลือก มัน ออก.
      ปอก ลอก (392:4.3)
               เปน คำ พูด ถึง หญิง ชาย ที่ รัก ใคร่ กัน นัก, แล ฃอ เอา ทรัพย ไป ได้ มาก นั้น,
      ปอก เข้า หลาม (392:4.4)
               การ ที่ ทำ ให้ เปลือก เข้า หลาม ออก ยัง แต่ เข้า, เขา เอา มีด สับ ลง ลอก เปลือก ออก จึ่ง กิน เข้า นั้น.
      ปอก เปลือก (392:4.5)
               ปอก เช่น ว่า นั้น, คน จะ กิน อ้อย ตัด ออก เปน ท่อน, แล้ว เอา มีด เกลา เปลือก เสีย นั้น.
      ปอก อ้อย (392:4.6)
               คือ ทำ ให้ เปลือก มัน ออก หมด ยัง แต่ เนื้อ อ้อย, แล้ว ตัด สั้น ภอ ใส่ ปาก เคี้ยว กิน ได้ นั้น.
เปียก (392:5)
         คือ ของ มี ผ้า นั้น ถูก น้ำ ชุ่ม, น้ำ เข้า อยู่ ใน ผ้า นั้น, เขา ว่า ผ้า เปียก น้ำ.
      เปียก เปื้อน (392:5.1)
               คือ ที่ เปียก ด้วย ดิน แล โคลน นั้น.
      เปียก แฉะ (392:5.2)
               คือ ที่ พื้น ดิน เปียก น้ำ อยู่ หน่อย ๆ นั้น อย่าง หนึ่ง หูง เข้า สกัด น้ำ ไม่ แห้ง*, เมล็ด เข้า เปียก เปื่อย นั้น.
      เปียก เข้า (392:5.3)
               เขา เอา เข้า สาร ใส่ ม่อ, แล้ว เอา น้ำ ใส่ ลง ตั้ง บน เตา ไฟ, จน เมล็ด เข้า เปียก ออก เหลว ไม่ เปน เมล็ด อยู่ นั้น. อย่าง หนึ่ง น้ำ เข้า อยู่ ที่ เข้า ชุ่ม อยู่ ไม่ แห่ง* นั้น,
      เปียก เปรอะ (392:5.4)
               คือ ที่ เปียก แ* เปื้อน ด้วย ของ อัน ใด หรุ หระ อยู่ นั้น.
      เปียก น้ำ (392:5.5)
               คือ ของ มี ผ้า นั้น, มี น้ำ เข้า อยู่ ข้าง ใน ฤๅ ติด ซาบ อยู่ นั้น.
      เปียก เลอะ (392:5.6)
               คือ ที่ เปียก เขลอะ ขละ นั้น.
      เปียก แป้ง (392:5.7)
               คือ การ ที่ เขา เอา แป้ง ใส่ ใน ม่อ ฤๅ ใน กะทะ. เอา น้ำ* ใส่ ลง ตั้ง บน เตา ไฟ จน แป้ง นั้น สุก เปน บรมาณ* นั้น.
      เปียก ปอน (392:5.8)
               คือ เปียก ที่ คน คร่ำ* ฝน มา ผ้า ผ่อน เปียก นั้น.
      เปียก ชื้น (392:5.9)
               คือ ที่ เปียก น้ำ ยัง ชุ่ม อยู่ นั้น.
เปือก (392:6)
         คือ ดิน โคลน เหลว ๆ เอา ทา ฝา ฤๅ ทา เตา สำรับ* เผา ม่อ, แล ทา ยุ้ง สำรับ ใส่ เข้า เปลือก ไว้ นั้น.
      เปือก ตม (392:6.1)
               คือ ดิน เหลว กว่า โคลน, ๆ นั้น คือ ดิน ภอ ปั้น ได้ บ้าง ควา* ได้ บ้าง, ดิน เปน เปือก ตม เหลว นัก ตัก ได้ ปั้น ไม่* ได้.
      เปือก โคลน (392:6.2)
               เปือก นั้น คือ ดิน ที่ เหลว กว่า โคลน* นั้น, ๆ นั้น คือ ดิน แดน กว่า เปือก นั้น.
เปิก (392:7)
         คือ เลิก, เหมือน ท้าว คน ที่ สดุด เข้า, แล เล็บ ที่ นิ้ว ท้าว เลิก ออก ไป นั้น, ว่า เปิก ออก ไป
      เปิก เลิก ออก ไป (392:7.1)
               คือ เพิก ออก ไป, เหมือน ผ้า ที่ เขา ปิด แผล ฝี ไว้, แล้ว มัน ต้อง พาน อัน ใด เข้า, แล เลิก ล่อน ออก ไป นั้น.
      เปิก ปอก (392:7.2)
               คือ เลิก ลอก นั้น, คน ถูก ไฟ ไหม้ ที่ ตัว, แล หนัง ถลอก ปอก ออก ไป.
ปง (392:8)
         เปน เสียง ดัง เช่น นั้น เหน จะ มี บ้าง, ความ อื่น ไม่ มี.
      ปง ปัง (392:8.1)
               เปน เสียง ดัง เช่น นั้น มี บ้าง.
ปัง (392:9)
         เปน เสียง ดัง ปึง ปัง, คน ทำ ให้ เรือ ฤๅ ไม้ ใหญ่ ๆ ให้ โดน กระทบ กัน เข้า, ว่า ดัง เสียง ปัง.
      ปัง สกุล (392:9.1)
                ฯ, เปน สับท์ แผลง, แปล ว่า กลั้ว ติด ด้วย ฝุ่น,, พระ สงฆ ว่า ไป บังสกุล นั้น, ให้ พิจารณา ของ ที่ เขา ให้ นั้น, เหมือน ได้ ที่ กอง ฝุ่น นั้น.
      ปัง สุปิศาจ (392:9.2)
               เปน สับท์ แผลง, แปล ว่า ปิศาจ เที่ยว อยู่ ที่ กอง ฝุ่น, ฝูง ปิศาจ เกิด ที่ ริม กอง ฝุ่น นั้น.
ปาง (392:10)
         ครั้ง, คราว, คือ ครั้ง, บาง คน พูด ฤๅ อ่าน หนังสือ เรื่อง บุราณ, ว่า ปาง เมื่อ พระ มหา กระษัตริย์ เสด็จ ไป นั้น.
ป่าง (392:11)
         คราว, คือ ครั้ง, มี เนื้อ ความ ว่า ครั้ง เมื่อ กรุงศรีอยุธยา ยัง ไม่ เสีย กับ พะม่า นั้น.
      ป่าง ก่อน (392:11.1)
               คราว ก่อน, มี ความ ว่า เวลา ที่ ล่วง ไป แล้ว นั้น, เขา เรียก ว่า ป่าง ก่อน.

--- Page 393 ---
      ป่าง ใด (393:11.2)
               คราว ไหน, คราว ไร, คือ ครั้ง ใด, มี คำ เขา ถาม ว่า มนุษ นี้ มี มา แต่ ครั้ง ใด, เขา ตอบ ว่า มี มา แต่ ครั้ง สร้าง โลกย์ นั้น.
      ป่าง ตาย (393:11.3)
               แทบ ตาย, คือ ครั้ง ตาย, เขา ถาม ว่า ไม้ กางเขน นี้ มี มา แต่ ครั้ง ใด, เขา ว่า มี แต่ ก่อน ครั้ง พระเยซู ตาย.
      ป่าง นั้น (393:11.4)
               คราว นั้น, เมื่อ นั้น, คือ ครั้ง นั้น, มี ความ ว่า ครั้ง นั้น มี เสนา มนตรี คน หนึ่ง ชื่อ โยเซบ, ฃอ เอา ศภ พระเยซู ไป ฝัง ไว้.
      ป่าง เมื่อ (393:11.5)
               คราว เมื่อ, คือ ครั้ง เมื่อ, มี ความ ว่า ครั้ง เมื่อ ตั้ง กรุง ศรี อยุธยา นั้น, ท้าวอู่ทอง สร้าง.
      ป่าง หลัง (393:11.6)
               คราว หลัง, คือ ครั้ง หลัง, มี ความ ว่า กรุงเทพ มหานคร นี้, สร้าง ครั้ง หลัง กรุง ศรี อยุธยา.
ป้าง (393:1)
         โรค จุก กผาม ม้ำย้อย, คำ นี้ เปน ชื่อ โรค อย่าง หนึ่ง, เกิด ขึ้น ใน ท้อง ที่ ชาย โครง, ย้อย ห้อย อยู่ เหมือน ลิ้น โค.
ปิ้ง (393:2)
         คือ ย่าง ด้วย ไฟ, เขา เอา เนื้อ สด ๆ นั้น, วาง บน ร้าน ข่า* ใส่ ไฟ ข้าง ล่าง ย่าง ให้ เนื้อ สุก นั้น
      ปิ้ง จี่ (393:2.1)
               คือ การ ที่ เขา เอา ปลา นั้น วาง อัง เข้า ใกล้ ไฟ, เพื่อ จะ ให้ มัน สุก นั้น, จี่ คือ ทาบ ลง กับ ถ่าน ไฟ แดง.
      ปิ้ง ไก่ (393:2.2)
               คือ ย่าง ไก่ เขา เอา ไก่ มา ชำ ระ ขน แล เครื่อง ใน ให้ หมด จด, แล ทำ เช่น ว่า นั้น.
      ปิ้ง ขนม (393:2.3)
               คือ ย่าง ขนม เขา เอา ขนม ดิบ วาง ขึ้น บน ไม้ เรียบ เหนือ ถ่าน ไฟ ให้ สุก นั้น.
      ปิ้ง กล้วย (393:2.4)
               คือ ย่าง ลูก กล้วย ไว้ บน ไฟ นั้น.
      ปิ้ง ไฟ (393:2.5)
               คือ อัง เข้า ที่ ไฟ เพื่อ จะ ให้ ของ สุก นั้น.
      ปิ้ง เนื้อ (393:2.6)
               คือ ย่าง เนื้อ คน เอา เนื้อ สด ตัด เปน ชิ้น ๆ, แล้ว เอา ขึ้น วาง บน ร้าน ข่า* ใส่ ไฟ เข้า ข้าง ใต้ นั้น.
      ปิ้ง ไส้ กรอก (393:2.7)
               เขา เอา ไส้ หมู มา แล้ว เอา เครื่อง ปรุง กับ เนื้อ หมู, กรอก เข้า ใน ไส้ มัน, แล้ว ขด เปน วง ย่าง บน ไฟ ให้ สุก นั้น.
      ปิ้ง ปลา (393:2.8)
               คือ ย่าง ปลา, เขา ทำ ปลา ตัว ใหญ่ ตัด ออก เปน ท่อน ๆ, แล้ว วาง บน ร้าน ข่า ทำ เช่น ว่า นั้น.
ปึง (393:3)
         คือ น้ำ ไหล แรง นัก นั้น, เขา พูด ว่า น้ำ ไหล เชี่ยว ปึง ๆ
      ปึง ปัง (393:3.1)
               เปน เสียง ดัง ปึง ปัง, เหมือน คน ตบ ตี เข้า ที่ ฝา กระดาน นั้น.
ปึ่ง (393:4)
         คือ อ้ำ อึ้ง, คน ที่ มี ยศ ศักดิ์ มัก อ้ำ อึ้ง, ไม่ ใคร่ พูด กับ ผู้ ใด ด้วยไว้ ยศ นั้น.
      ปึ่งชา (393:4.1)
               คือ อึ้ง นิ่ง ทำ ที ไว้ ยศ, ไม่ ใคร่ พูด จา กับ ผู้ ใด นั้น, กลัว จะ เสีย เกรียติยศ นั้น.
ปึ๋ง ขาด (393:5)
         เปน เสียง ดัง ปึ๋ง แล้ว มัน ขาด ออก, เหมือน เชือก เขา ขึง ไว้ ตึง นัก, จน มัน ขาด ออก.
ปุงลึงค (393:6)
          ฯ, แปล ว่า เพศ แห่ง ชาย, คือ ผู้ ชาย.
เป่ง (393:7)
         เปน เสียง ดัง เป่ง, เหมือน เสียง เขา บุ ขัน นั้น.
เป้ง (393:8)
         เปน คำ พูด ว่า เสียง ดัง เป้ง, คน ยิง น่า ไม้ ลั่น ออก ไป เสียง ดัง เป้ง นั้น.
เป๋ง (393:9)
         เปน เสียง เขา ตี ทอง ทำ ขัน ฤๅ ลั่น น่า ไม้ ยิง สัตว นั้น.
แป่ง (393:10)
         เปน เสียง ดัง แผ่ง ๆ, คน ตี ม้า ฬ่อ เสียง ดัง แผ่ง ๆ, เขา ว่า ดัง แป่ง ๆ นั้น.
แป้ง (393:11)
         คือ ของ คน ทำ เลอียด เปน จุณ นั้น, เขา เอา เข้า นั้น ใส่ ครก ลง ตำ ให้ ป่น นั้น.
      แป้ง เข้า โภช (393:11.1)
               คือ จุณ ทำ ด้วย เข้า โภช นั้น, เขา เอา เมล็ด เข้า โภช มา ตำ ออก เลอียด เปน จุณ นั้น.
      แป้ง บัว (393:11.2)
               คือ แป้ง เปน เมล็ด ๆ เขา ทำ มา แต่ เมือง จีน, สำรับ ทำ ของ หวาน นั้น.
      แป้ง ถั่ว (393:11.3)
               คือ แป้ง เขา ทำ ด้วย ถั่ว, เขา เอา เมล็ด ถั่ว เขียว มา ตำ ให้ เลอียด นั้น.
      แป้ง มัน (393:11.4)
               คือ แป้ง เขา ทำ ด้วย หัวมัน, เขา เอา หัว มัน ปอก เปลือก แล้ว หั่น ตาก แห้ง*, แล้ว ตำ ออก ป่น นั้น.
      แป้ง ราก ไม้ ท้าว ยายม่อม (393:11.5)
               เขา เอา ราก ไม้ ท้าว ยายม่อม มา ตำ ทำ เลอียด นั้น.
      แป้งยวญ (393:11.6)
               คือ แป้ง เข้า, เขา เรียก แป้ง ยวญ เพราะ พวก ยวญ ทำ ชุม นั้น.
      แป้ง กระแจะ (393:11.7)
               คือ จุณ เครื่อง ทา หอม นั้น, จุณ กระแจะ เขา ทำ หอม นัก, เอา ทา เมื่อ อาบ น้ำ แล้ว นั้น.
      แป้ง นวน (393:11.8)
               คือ แป้ง ศรี ขาว เขา ทำ ไว้ สำรับ ผัด หน้า ให้ เปน นวน นั้น.
      แป้ง ทา (393:11.9)
               คือ แป้ง สำรับ ทา ตัว ให้ เอย็น ห้าม เหื่อ นั้น.
      แป้ง ผัด (393:11.10)
               คือ แป้ง สำรับ ผัด หน้า นั้น.

--- Page 394 ---
      แป้ง สาระภี (394:11.11)
               เขา เอา เกสร ดอก สาระภี มา ตำ เข้า กับ เข้า, เอา ไว้ สำรับ ทา เมื่อ อาบ น้ำ แล้ว นั้น.
      แป้ง หอม (394:11.12)
               คือ แป้ง เมล็ด เล็ก ๆ, เขา ทำ กับ ของ หอม มี ชะมด นั้น.
โปง (394:1)
         คน เอา ผ้า ผืน ใหญ่ ห่ม หุ้ม คลุม ตัว ให้ มิด ทั้ง หัว ด้วย, ว่า คลุม โปง.
โป่ง (394:2)
         คือ พอง ขึ้น, คน เอา ผ้า เปียก ๆ แผ่ ลง ที่ น้ำ, มี ลม อยู่ ข้าง ใน รวบ ชาย เข้า ผ้า พอง อยู่ นั้น, ว่า โป่ง อยู่.
      โป่ง ดิน (394:2.1)
               คือ ที่ ดิน ใน ป่า มัน เปน เนิน ขึ้น หน่อย ๆ, ที่ นั่น เค็ม ฝูง สัตว มี งัว นั้น มัน มา กิน.
โป้ง (394:3)
         คือ เสียง ดัง โป้ง, คน ฟัน ไม้ ฤๅ เคาะ ไม้ เสียง ดัง โกง ๆ ว่า ดัง โป้ง นั้น
      โป้ง เป้ง (394:3.1)
               คือ โยง เยง เหมือน คน รูป ผอม, แล สูง โทง เทง นั้น ว่า สูง.
      โป้ง โหยง (394:3.2)
               จองหอง, หยิ่ง ยศ คือ อาการ ที่ คน ลำพอง หยิ่ง สำแดง อาการ กิริยา ว่า ไม่ เกรง กลัว ผู้ ใด นั้น.
ปอง (394:4)
         นึก, หมาย, คือ ความ หวัง, คน คิด หวัง จะ ทำ ร้าย, ฤๅ จะ ฆ่า นั้น ว่า ปอง.
      ปอง ผลาญ (394:4.1)
               คิด ปะทุษฐร้าย, ผูก พยาบาท, คือ ความ* หวัง จะ ทำ ให้ ฉิบ หาย ด้วย ไภย ต่าง ๆ, มี เอา ไฟ เผา เรือน นั้น.
      ปอง หมาย (394:4.2)
               คือ มุ่ง หมาย จะ ให้ ผู้ อื่น ได้ ความ ทุกข ลำบาก ยาก แค้น นั้น.
      ปอง เอา (394:4.3)
               คือ หมาย หวัง จะ เอา, คน จะ ต้อง การ ของ สิ่ง ใด แล จิตร คิด จะ เอา นั้น.
      ปอง ร้าย (394:4.4)
               คิด ร้าย, มุ่ง ร้าย, คือ มุ่ง หมาย จะ ทำ ให้ เขา ฉิบหาย จาก ลาภ จาก ยศ นั้น.
ป่อง (394:5)
         คือ พอง ขึ้น, คน กิน อาหาร อิ่ม, ท้อง พอง ขึ้น เขา ว่า ท้อง ป่อง ขึ้น นั้น. อย่าง หนึ่ง หญิง มี ครรภ.
      ป่อง ร่า (394:5.1)
               คือ อาการ แห่ง คน ลำพอง คะนอง, ว่า ไม่ กลัว ใคร ทำ กิริยา จะ ชก ตี ชวน วิวาท กับ ผู้ อื่น อยู่ นั้น.
ป้อง (394:6)
         คือ กำบัง, คน แล ดู อัน ใด ไม่ สนัด, เอา มือ บัง หน้า กัน แดด จึ่ง แล เหน สนัด ว่า ป้อง.
      ป้อง ปก (394:6.1)
               คือ อาการ ที่* ปก ปิด, เหมือน แม่ ไก่ ลูก อ่อน มัน เอา ปีก คลุม ลง บน ลูก มัน นั้น.
      ป้อง กรร (394:6.2)
               คือ บัง กั้น, คน เอา มือ บัง กั้น แสง แดด, ก็ ว่า ป้อง กรร. อย่าง หนึ่ง คน ว่า กล่าว กีด กัน คน อื่น ให้ พ้น โทษ พ้น ผิด, ก็ ว่า ป้อง กรร.
      ป้อง ปิด (394:6.3)
               คือ บัง ปิด, เหมือน คน ชก มวย กัน, แล เอา มือ บัง ปิด ตัว นั้น.
      ป้อง หน้า (394:6.4)
               คือ บัง หน้า, คน แบ มือ บัง แสง พระอาทิตย* ไว้ ที่ หน้าผาก, ได้ แล เหน ของ ที่ ไกล สนัด นั้น.
      ป้อง ผ้า (394:6.5)
               คือ ป้อง บัง ด้วย ผ้า นั้น.
ป่วง (394:7)
         เปน ชื่อ โรค อย่าง หนึ่ง นั้น, โรค นั้น เมื่อ เกิด ขึ้น นั้น ทำ ให้ ลง ท้อง แล ราก ด้วย, ว่า เปน โรค ป่วง
      ป่วง ลิง (394:7.1)
               ป่วง นี้ ก็ ทำ ให้ ลง ราก นัก, แล้ว ทำ อาการ ให้ เส้น ผม ชัก รวบ รวม ประนม ไหว้ เข้า เหมือน หัว ลิง นั้น.
      ป่วง ลม (394:7.2)
               ป่วง นี้ ก็ ทำ ให้ ลง ราก นัก เหมือน กัน, แต่ เกิด เพื่อ ลม, จึ่ง เรียก ป่วง ลม.
เปิง (394:8)
         คือ หัก พัง ทำลาย เหมือน รั้ว พัง ออก ไป ประมาณ วา หนึ่ง สอง วา นั้น, ว่า รั้ว เปิง ไป.
      เปิง ขาด (394:8.1)
               คือ หัก พัง แล ขาด ออก ไป.
เปิ่ง (394:9)
         เปน เสียง ดัง เปิ่ง, คน ตี ตะโพน ฤๅ เปิง มาง นั้น, ว่า เสียง มัน ดัง เปิ่ง ๆ. อย่าง หนึ่ง คน ไป ใน ป่า หลง กัน เที่ยว เรียก กัน ดัง ๆ นัก, ว่า เรียก เปิ่ง ๆ.
      เปิ่ง มาง (394:9.1)
               เปน ชื่อ เครื่อง ใน วง ปี่พาทย, อย่าง หนึ่ง ทำ ด้วย ไม้ ใหญ่ สัก สอง กำ, ยาว สัก ศอก เสศ.
ปด (394:10)
         คือ พูด ความ เท็จ, คน ไม่ ได้ เหน กล่าว ว่า ได้ เหน, ฤๅ เขา ไม่ ได้ ทำ ก็ ว่า เขา ทำ นั้น.
      ปด โป้ (394:10.1)
               คือ พูด มุษา อึง โอ้ อยู่.
ปัด (394:11)
         คือ ผัด ไป, คน เอา มือ ฤๅ ชุม ปัด ผัด แผ้ว กวาด ไป นั้น.
      ปัด ที่ นอน (394:11.1)
               คือ ฟาด ที่ สำรับ นอน นั้น, คน ปู ที่ นอน นั้น, เมื่อ จะ ปู เอา ฟูก ปู ลง ก่อน แล้ว จึ่ง ปู ผ้า ชั้น บน แล้ว เอา ผ้า ฟาด นั้น.
      ปัด เป่า (394:11.2)
               ปัด คือ เอา มือ ปัด, เป่า คือ เป่า ด้วย ลม ปาก.
      ปัด ผง (394:11.3)
               คือ ฟาด ผง คน เหน ผง ตก รด เปื้อน ของ อัน ใด ๆ, เอา ผ้า ฤๅ แซ่ ฟาด ผง เสีย นั้น.
      ปัด แผ้ว (394:11.4)
               คือ ปัด กวาด ให้ ที่ ไม่ มี อยาก เยื่อ นั้น.

--- Page 395 ---
      ปัด พิศม์ (395:11.5)
               เปน กิจ ที่ เขา ทำ ที่ แผล งู กัด นั้น, เมื่อ งู กัด พิศม์ มัน แล่น ร้อน รุม เต็ม ที่ นั้น, เขา แก้ ด้วย พ่น ปัด, บริ กำ มนต์ แล้ว ปัด ไป ด้วย ใบ ไม้ นั้น.
      ปัจจามิตร (395:11.6)
                ฯ, ฆ่าศึก, อริ วิวาท, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า สัตรู, คน ที่ รบ ศึก กัน อยู่, เหมือน พวก อังกฤษ กับ พะม่า ทุก วัน นี้ นั้น.
      ปัจจุบัน (395:11.7)
               บัดนี้, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า เวลา ถึง เข้า บัด เดี๋ยว นี้, ฤๅ วัน นี้, ฤๅ เดือน นี้, ฤๅ ปี นี้ นั้น, ว่า ปัจจุบัน กาล
      ปัจฐรณ (395:11.8)
               อาศนะ ฯ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า เครื่อง ลาศ จำเภาะ, มี ผ้า สำรับ ปู ที่ นอน นั้น.
      ปัจจัย (395:11.9)
               เหตุ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า วัดถุ เปน ที่ บังเกิด แห่ง เหตุ, เหมือน จะ ทำ ขนม มี แป้ง เข้า สาลี เปน ปัจจัย, คือ เปน เชื้อ ทำ ขนม นั้น.
      ปัจฉา (395:11.10)
               ที หลัง, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า ภาย หลัง, คือ เวลา มา ถึง ที หลัง, เวลา ที่ มา ถึง ก่อน นั้น.
      ปัจฉิมะ (395:11.11)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า เบื้อง หลัง, เหมือน ทิศ ตวัน ตก เรียก ว่า ปัจฉิมะ ทิศ นั้น.
      ปัตฏิมากร (395:11.12)
               คือ รูป กระทำ เปรียบ, กระทำ แทน นั้น เหมือน อย่าง พุทธรูป นั้น.
      ปัตฏิญาณ (395:11.13)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า ให้ รู้ จำเภาะ, เหมือน กล่าว สัญญา ว่า เรา คง จะ ให้ ของ สิ่ง นั้น แก่ ท่าน นั้น.
      ปัตะบอ (395:11.14)
               เปน ชื่อ เมือง ฝ่าย เขมน เมือง หนึ่ง นั้น.
      ปัตะพี (395:11.15)
                ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า แผ่นดิน, ที่ ประเทศ ดิน ถึง จะ มี ทราย แล ภูเขา หิน อยู่, ก็ เรียก ว่า แผ่นดิน.
      ปัตนี (395:11.16)
               อธิบาย ว่า เมีย, มี ใน ตำรา หมอดู ทาย เคราะห์ ดี แล ร้าย นั้น.
      ปัดไถม (395:11.17)
               คือ มลทิน ที่ เบา ปาง* มี หนิด หน่อย, เหมือน นาก ที่ เฃา ทำ ตลับ นั้น, แต่ แรก ขัด ไว้ ใส สุก อยู่, ครั้น นาน เข้า ผิว ก็ คล้ำ มัว เปน ฝ้า, เรียก ปัดไถม.
      ปัถวีธาตุ (395:11.18)
               คือ ธาตุ ดิน, ว่า ธาตุ ดิน อธิบาย* ว่า ดีน* ทรง ไว้, ลักษณะ แห่ง ตน เช่น นั้น กระด้าง.
      ปัดธรรมราศ (395:11.19)
               เปน ชื่อ ทอง คำ อย่าง หนึ่ง, ทอง นั้น เนื้อ สุก ก่ำ แดง เข้ม เหมือน ศรี ใน ดวง พระอาทิตย นั้น.
      ปัสะตู (395:11.20)
               เปน ของ จีน, เนื้อ คล้าย สัก ลาด, แต่ อยาบ กว่า สัก ลาด, ว่า จีน ทำ ด้วย ขน สัตว ย้อม ศรี แดง.
      ปัฏิพัทธ (395:11.21)
               ว่า ใจ ติด พันธ์ รัก ใคร่ กัน, เหมือน อย่าง ชาย หนุ่ม รัก หญิง สาว นั้น.
      ปัฏเสท (395:11.22)
                ฯ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า ห้าม คือ ไม่ รับ, เขา ถาม ว่า ท่าน เปน สิษ ผู้ นั้น ฤๅ, ไม่ รับ ว่า ข้า มิ ใช่ ดอก.
      ปัสสาวะ (395:11.23)
               มูต, เยี่ยว, เปน สับท์ แปล ว่า เยี่ยว, คือ น้ำ มูต ใน กาย* ถ่าย ออก จาก ทวาร เบา, มี กลิ่น เหม็น นัก.
ปาด (395:1)
         ตัด, ฝาน, คือ กวาด, คน ตวง ของ ด้วย ถัง ฤๅ ทะนาน เต็ม แล้ว แต่ ยัง ไม่ เสมอ, เอา มือ ฤๅ ไม้ กวาด ให้ เสมอ กัน นั้น.
      ปาด เข้า (395:1.1)
               ตัด เข้า, คือ กวาด เข้า, เขา ตวง เข้า สาร นั้น, ใส่ เต็ม ภูล ทะนาน ยัง ไม่ เสมอ ปากทะนาน, เอา มือ กวาด ลง ให้ เสมอ ปาก ทะนาน นั้น.
      ปาด ตาล (395:1.2)
               คือ เชือด ฝาน นั้น, คน ทำ น้ำ ตาล ขึ้น ไป เชือด ฝาน งวง ตาล ให้ น้ำ ตาล ไหล ออก นั้น.
      ปาด เถือ (395:1.3)
               การ ที่ เอา มีด ปาดเถือ เนื้อ นั้น.
      ปาด น่า (395:1.4)
               คือ กวาด น่า ถัง น่า ทะนาน, คน ตวง เข้า ใส่ ลง เข้า ยัง ไม่ เสมอ ภูล อยู่, เอา มือ ฤๅ ไม้ กวาด น่า ให้ เสมอ กัน นั้น.
      ปาด ฝาน (395:1.5)
               คือ เอา มีด ปาด ฝาน ไป นั้น.
      ปาด หมุน (395:1.6)
               คือ กวาด เข้า ที่ ตวง, เขา ตวง เข้า ใส่ ลง ใน ถัง ภูล แล้ว, จึ่ง เอา ไม้ สำรับ กวาด ปาด หัน ไป, ให้ เข้า เสมอ ปาก ถัง นั้น.
ปิด (395:2)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ปิด กัน (395:2.1)
               คือ ปิด ป้อง ไว้, คน เอา มือ ฤๅ ผ้า บัง ป้อง ของ ฤๅ หน้า นั้น, ว่า ปิด กัน หน้า.
      ปิด เงิน (395:2.2)
               คือ เอา เงิน เปลว ปิด ธูป เทียน นั้น. อย่าง หนึ่ง เอา เงิน เฟื้อง นั้น ติด เข้า ที่ เล่ม เทียน ถวาย พระ เทศนา.
      ปิด ทอง (395:2.3)
               คือ เอา ทอง คำ เปลว ติด เข้า ที่ ใบ ลาน, ฤๅ รูป พระเจ้า นั้น, ว่า ปิด ทอง.
      ปิด ความ (395:2.4)
               คือ ซ่อน ความ, เหมือน ความ ลับ คน ไม่ บอก เล่า ให้ ผู้ ใด รู้ นิ่ง ไว้ ใน ใจ นั้น.
      ปิด หนัก (395:2.5)
               คือ ไม่ ถ่าย อุจาระ ออก ได้, เมื่อ ถึง เวลา เคย ออก เปน หลาย เวลา นั้น.

--- Page 396 ---
      ปิด เบา (396:2.6)
               คือ ไม่ ถ่าย ปัสสาวะ ออก ได้, เมื่อ เวลา เคย ออก เปน หลาย เวลา นั้น.
      ปิด หน้า (396:2.7)
               คือ บัง ชิด หน้า, คน เอา มือ ฤๅ ของ อื่น บัง ชิด ติด กับ หน้า ให้ มิด เช่น ว่า นั้น.
      ปิด ตา (396:2.8)
               คือ บัง ชิด หน่วย ตา, คน เอา มือ ฤๅ ของ อื่น บัง ชิด ติด กับ หน่วย ตา นั้น.
      ปิด ตัว (396:2.9)
               คือ บัง ตัว, คน เอา ผ้า ฤๅ ของ อื่น บัง ชิด ติด กับ ตัว มิด มิ ให้ เขา แล เหน นั้น.
      ปิด น้ำ (396:2.10)
               คือ ทำ มิ ให้ น้ำ ไหล ออก ได้ ด้วย สิ่ง ใด สิ่ง หนึ่ง นั้น.
      ปิด คลอง (396:2.11)
               คือ ทำ ไม่ ให้ น้ำ ไหล ไป มา ใน คลอง ได้, ด้วย ลง ทำนบ ไว้ นั้น.
      ปิด ปะตู ค้า (396:2.12)
               คือ ทำ สิน ค้า ให้ อยู่ ใน อำนาจ, ขาย แต่ ตัว ผู้ เดียว เหมือน เจ้า ภาษี มะพร้าว แต่ ก่อน นั้น.
      ปิด ประตู (396:2.13)
               คือ หับ ประตู, คน หับ ประตู ทำ บาน ประตู ให้ ชิด ทั้ง สอง บาน, ไม่ ให้ ใคร เข้า ออก ได้ นั้น.
      ปิด ขมับ (396:2.14)
               คือ เอา ยา ทา ผ้า ทำ เปน อัน เล็ก ๆ เท่า นิ้ว มือ, ติด เข้า ที่ ขมับ, ว่า แก้ ปวด หัว นั้น.
      ปิด ยา (396:2.15)
               คือ เอา ยา ปิด เข้า ที่ แผล ฝี เจ็บ นั้น,
      ปิด เนื้อ ความ (396:2.16)
               คือ บัง อำ เนื้อ ความ เสีย, คน ทำ ผิด ฤๅ รู้ ว่า ผู้ อื่น กระทำ ผิด, แล้ว อำ เนื้อ ความ นั้น เสีย
      ปิด บัง (396:2.17)
               คือ ป้อง กรร, คน ป้อง กรร ที่ หน้า ฤๅ ตัว. อนึ่ง ปิด อำ เนื้อ ความ เสีย ไม่ ให้ ใคร รู้ เหน นั้น,
      ปิด ปก (396:2.18)
               คือ เอา ของ คลุม แล งำ ไว้, เหมือน แม่ ไก่ กก ลูก อยู่ นั้น.
      ปิด ป้อง (396:2.19)
               คือ ปิด บัง, คน บัง กั้น ของ สิ่ง ใด ไว้ มิ ให้ ใคร เหน. อนึ่ง ปิด บัง อำ ความ เสีย นั้น.
      ปิด รู (396:2.20)
               คือ เอา ของ อัน ใด ๆ อุด เข้า ที่ รู, ไม่ ให้ เหน รู นั้น.
      ปิด มิด ชิด (396:2.21)
               คือ ปิด สนิท ชิด, เหมือน คน ปิด หีบ, แล กำ ปั่น นั้น.
ปุด (396:1)
         คือ ของ เดือด ปุด ขึ้น, คน เขี้ยว น้ำตาล, ฤๅ หูง เข้า นั้น, แรก มี ฟอง ผุด ขึ้น ก่อน นั้น ว่า* ปุด.
ปูด (396:2)
         คือ เสียง ดัง ปูด นั้น, คน ผาย ลม เสียง ดัง* ปูด บ้าง, เขา เป่า ทาง ปาก ดัง อย่าง นั้น บ้าง.
เป็ด (396:3)
         คือ สัตว สอง ท้าว อย่าง หนึ่ง, มัน มี ปีก ปาก มัน แบน, ตีน มัน แบน* เปน แผ่น มี นิ้ว ที่ ปลาย ตีน นั้น.
      เป็ด เทษ (396:3.1)
               เปน สัตว สอง ท้าว เช่น ว่า, แต่ ว่า รูป มัน โต กว่า เป็ด เมือง ไท, เขา เอา มา แต่ เมือง เทษ นั้น.
      เป็ด ผี (396:3.2)
               เปน สัตว เท่า ตักะแตน ใหญ่, มัน มัก ร้อง ใน เวลา ค่ำ ๆ นั้น.
      เป็ด น้ำ (396:3.3)
               คือ นก เป็ด น้ำ ปาก กับ ตีน เหมือน กับ เป็ด บก แต่ มัน บิน ได้ ไกล แล้ว หา ปลา กิน ได้ ดำ น้ำ* ทน ได้ นาน.
      เป็ด หนึ้ง (396:3.4)
               คือ เป็ด เขา หนึ้ง กิน กับ เข้า, เขา เอา เป็ด มา ทำ ให้ ขน หมด แล้ว เอา เครื่อง ใส่ ใน ตัว เป็ด ใส่ กะทะ หนึ้ง สุก นั้น.
แปด (396:4)
         เปน การ ที่ นับ แต่ หนึ่ง ไป ถึง แปด, เข้า ของ อัน ใด แต่ หนึ่ง สอง ไป จน ถึง แปด นั้น.
      แปด เก้า (396:4.1)
               คือ ไผ้ กะดาด เขา นับ แต้ม แต่ หนึ่ง ไป เพียง เก้า เท่า นั้น, ถ้า ได้ แต้ม มาก ถึง เก้า ได้ ชะนะ สิ้น.
      แปด ค่ำ (396:4.2)
               คือ นับ แต่ วัน ค่ำ หนึ่ง ไป จน ถึง วัน แปด วัน ว่า วัน นั้น เปน วัน แปด ค่ำ, ค่ำ นั้น คือ ดิฐี.
      แปด ทิศ (396:4.3)
               คือ นับ แต่ ทิศ ตวัน* ออก เปน ต้น ไป จน ถึง ทิศ อีศาน ตวัน ออก เฉียง เหนือ นั้น.
      แปด ปน (396:4.4)
               คือ ระคน กัน นั้น, เหมือน สิ่ง ใด ๆ คนระคน* กัน อยู่ นั้น.
      แปด เปื้อน (396:4.5)
               คือ เลอะ เปื้อน, เหมือน โคลน ติด ท้าว เปื้อน เลอะ อยู่.
      แปด สิบ (396:4.6)
               คือ นับ แต่ หนึ่ง จน แปด สิบ นั้น.
      แปด องค (396:4.7)
               คือ นับ พระสงฆ์ ฤๅ จ้าว ได้ ตั้ง แต่ หนึ่ง ถึง แปด นั้น.
ปวด (396:5)
         คือ เครื่อง ใน กาย มนุษ ฤๅ สัตว มี อาการ อัน หนึ่ง เขา เรียก ว่า ปอด นั้น, ๆ มี สันถาน เปน แผ่น ฟ่าม ๆ ศี แดง เรื่อ ๆ.
      ปวด แปด (396:5.1)
               คือ ของ ที่ มัน เหี่ยว บู้ บี้, เหมือน อะไวยะวะ มี เนื้อ แฃน เปน ต้น แห่ง คน ผู้ เฒ่า นั้น.
ปวด (396:6)
         เจ็บ, คือ อาการ ที่ เจ็บ มวน ใน ท้อง. อย่าง หนึ่ง คน ถูก ไม้ กะทับ เข้า หนัก ปวด คือ เจ็บ มาก กว่า เจ็บ เบา ๆ นั้น.

--- Page 397 ---
      ปวด กะดูก (397:6.1)
               เจ็บ กะดูก, คือ เจ็บ มี กำลัง กล้า นัก ใน กะดูก คน เปน โรค คน ชะรา เข้า ข้อ ให้ ปวด ใน กะดูก นัก.
      ปวด เจ็บ (397:6.2)
               เจ็บ ปวด, คือ ความ เจ็บ มี กำลัง, เหมือน อะสอระพิศม์ กัด พิศม์ มัน แล่น ทำ ให้ ปวด นัก.
      ปวด ฝี (397:6.3)
               คือ ความ เจ็บ ที่ หัว ฝี มี กำลัง, คน เปน ฝี หัว เดียว มัน ทำ พิศม์ ให้ ปวด กล้า นัก.
      ปวด หัว (397:6.4)
               คือ ความ เจ็บ ที่ หัว, คน เจ็บ ที่ ขมับ ทั้ง สอง ข้าง ฤๅ ข้าง เดียว นัก นั้น.
เปิด (397:1)
         คือ เผย เลิก ขึ้น, คน เผย บาน ประตู ฤๅ น่า ต่าง ฤๅ เลิก หมวก นั้น,
      เปิด เผย (397:1.1)
               คือ เอา มือ ผลัก ยก ขึ้น ซึ่ง บาน ประตู เปน ต้น.
      เปิด ของ (397:1.2)
               คือ เลิก เผย ฝา ภาชนะ มี ฝา ชี เปน ต้น ที่ เขา ปิด ของ กิน ไว้ เปน ต้น นั้น.
      เปิด หลัง คา (397:1.3)
               คือ ทำ ให้ หลัง คา เปน ช่อง แล เหน อากาศ นั้น.
      เปิด คุก (397:1.4)
               คือ เผย ประตู คุก ที่ สำรับ ขัง คน โทษ หลวง เอา มัน ออก ใช้ การ ต่าง ๆ นั้น.
      เปิด ทำนบ (397:1.5)
               คือ รื้อ ถอน เสา แล ไม้ ที่ เอา ลง ปิด กั้น ไว้ ขึ้น เสีย ให้ น้ำ ไหล ไป มา ได้ นั้น.
      เปิด คน (397:1.6)
               คือ ปล่อย คน ให้ ไป เหมือน กัก ขัง คน ไว้ มาก ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง แล้ว ปล่อย ไป นั้น.
      เปิด ความ (397:1.7)
               คือ ไข ความ อัน ใด อัน หนึ่ง ออก สำแดง ให้ แจ้ง กับ คน ทั้ง ปวง ให้ รู้ นั้น.
      เปิด ช่อง (397:1.8)
               คือ ทำ ของ ที่ ปิด ช่อง อยู่ ให้ ออก พ้น จาก ช่อง นั้น,
      เปิด น้ำ (397:1.9)
               คือ รื้ เลิก ทำนบ ที่ กั้น น้ำ, ฤๅ เปิด หัน ไก จักร ที่ พวย ถัง น้ำ ให้ น้ำ ออก นั้น.
      เปิด รู (397:1.10)
               คือ ทำ ให้ ของ ที่ มัน ปิด รู อยู่ ให้ มัน ออก พ้น จาก รู นั้น.
      เปิด ประตู (397:1.11)
               คือ เผย ประ ตู, คน ผลัก บาน ประตู ทั้ง สอง ข้าง ไว้ มิด, แล้ว ทำ ให้ บาน ทั้ง สอง ออก เสีย ให้ ผู้ ใด เข้า ออก ได้ นั้น.
      เปิด น่า ต่าง (397:1.12)
               เผย น่า ต่าง, เผย พระแกล, คือ เผย บาน ทำ ให้ น่า ต่าง เปน ช่อง ไม่ มี บาน บัง.
      เปิด ผ้า (397:1.13)
               เลิก ผ้า, คือ เลิก ผ้า คน เลิก เผย ผ้า ที่ ปิด บัง คลุม อัน ใด ไว้ นั้น.
      เปิด หมวก (397:1.14)
               เผย หมวก, เผยอ หมวก, คือ เลิก หมวก ขึ้น จาก ศี ศะ.
      เปิด มุ้ง (397:1.15)
               เผย มุ้ง, คือ เลิก* มุ้ง ออก.
      เปิด ม่าน (397:1.16)
               เผย ม่าน, คือ เลิก* ม่าน ขึ้น.
      เปิด โลกย์ (397:1.17)
               คือ กระทำ ให้ โลกย์ ทั้ง สาม คือ สวรรค์ มนุษ นรก ให้ สัตว แล เหน กัน แล กัน ตลอด ได้ นั้น.
ปน (397:2)
         ระคน, คละ, คือ ระคน กัน คน จะ ทำ ยา แล เอา เครื่อง ยา มา หลาย สิ่ง เอา ระคน กัน เข้า นั้น.
      ปน กัน (397:2.1)
               คละ กัน, ปริ คน กัน, คือ คละ กัน คน เอา ของ มา หลาย สิ่ง เอา ใส่ ลง ใน ที่ อัน เดียว กัน ให้ คละ เข้า ด้วย กัน นั้น.
      ปน ระคน กัน (397:2.2)
               คือ ปน คละ กัน, คน ทำ ของ หลาย สิ่ง ให้ คลุก เคล้า เข้า ด้วย กัน นั้น.
      ปน ละวน (397:2.3)
               คือ ปน คละ กัน ของ หลาย อย่าง คือ เสื้อ แล กัง เกง เปน ต้น คน ใส่ ไว้ ใน ที่ เดียว กัน ไม่ อยู่ เปน แผนก นั้น.
      ปน คละ กัน (397:2.4)
               คือ ปน เข้า ด้วย กัน, คน จะ ทำ ขนม เอา ของ หลาย สิ่ง มี แป้ง* เข้า สาลี เปน ต้น ให้ คละ กัน เข้า นั้น.
      ปน ปะ (397:2.5)
               คือ ของ ฤๅ คน เปน ต้น เข้า คละ ระคน กัน อยู่ นั้น,
      ปน เป กัน (397:2.6)
               คือ ปะปน กัน, คือ ของ หลาย สิ่ง ไม่ อยู่ เปน แผนก กัน นั้น.
ป่น (397:3)
         คือ ของ แหลก เลอียด, เช่น คน บด กาแฝ่ ฤๅ พริก ไทย ให้ แหลก เปน จุณ นั้น.
      ป่น แหลก (397:3.1)
               คือ ทำ เข้า เปน ต้น ให้ เลอียด เปน จุณ ออก นั้น.
      ป่น ปี้ (397:3.2)
               ป่น นั้น มี ความ เช่น ว่า แล้ว, แต่ ปี้ เปน สร้อย คำ เขา พูด คล่อง ปาก นั้น,
      ป่น (397:3.3)
                เปน แป้ง, คือ ทำ ของ มี แป้ง เปน ต้น ให้ แหลก เปน จุณะวิ จุล นั้น*.
      ป่น ยับ (397:3.4)
               คือ แหลก ยับ เยิน, ของ ที่ ใหญ่ เหมือน เรือ สำเภา มา โดน กะทบ แพ หัก ยับ เยิน เขา ว่า ป่น ยับ นั้น.
      ป่น ราว กะฝุ่น (397:3.5)
               คือ ทำ ของ ให้ แหลก เลอียด เหมือน กับ ฝุ่น ทราย นั้น.

--- Page 398 ---
      ป่น ระยำ (398:3.6)
               ป่น เปน จุณ, คือ แหลก ย่อย ของ ใหญ่ เช่น ว่า นั้น, โดน กะทบ กัน เข้า หัก แหลก ยิ่ง กว่า นั้น หน้อย หนึ่ง.
ปัน (398:1)
         แบ่ง, คือ แบ่ง ส่วน, คน ได้ ของ มา มาก จัด แจง แบ่ง ออก เปน สอง ส่วน เปน ต้น นั้น.
      ปัน กัน (398:1.1)
               แบ่ง กัน, แบ่ง สัน ปัน ครึ่ง, คือ แบ่ง ส่วน ของ ให้ แก่ กัน. เขา ได้ ของ ฝาก มา แต่ ไกล มาก แบ่ง ส่วน ให้ แก่ กัน นั้น
      ปัน การ (398:1.2)
               แบ่ง งาน, คือ แบ่ง การ งาน, คน จะ ทำ การ ด้วย กัน, การ นั้น มาก เขา แบ่ง เปน ส่วน กัน ทำ.
      ปัน เข้า ของ (398:1.3)
               แบ่ง สิ่ง ของ, คือ แบ่ง ของ, คน จัด แจง แบ่ง ของ ให้ แก่ กัน ตาม มาก แล น้อย นั้น.
      ปัน เขตร (398:1.4)
               แบ่ง แดน, แบ่ง แว่น แคว้น, คือ แบ่ง ที่, คน มี ที่ เปน แดน ต่อ กัน, เขา ปัก เสา หลัก กำหนฎ เขตร ไว้ นั้น.
      ปัน เงิน (398:1.5)
               แบ่ง เงิน, คือ แบ่ง เงิน, เขา ได้ เงิน รวม มา แห่ง เดียว กัน, เขา จัด แจง แบ่ง กัน นั้น.
ปัญจะ (398:2)
         เปน สับท์ แปล ว่า ห้า, เหมือน เขา นับ ของ เปน ต้น ตั้ง แต่ หนึ่ง ถึง ห้า นั้น.
      ปัญจะ กามคุณ (398:2.1)
               ของ ห้า สิ่ง คือ รูป หนึ่ง, เสียง หนึ่ง, กลิ่น หนึ่ง, รศ หนึ่ง, สำผัศ หนึ่ง, ที่ ซาบ ติด ใน ใจ เปน ที่ ใคร่ กัน นั้น.
      ปัญจะสาขา (398:2.2)
               ห้า กิ่ง, เปน สับท์ แปล ว่า มี กิ่ง ห้า, เหมือน ทารก ที่ อยู่ ใน ครรภ์ เดิม ว่า แตก ออก ห้า แห่ง คือ หัว แล มือ ทร้าย ขวา ท้าว ซ้าย ขวา นั้น.
      ปัญจุเร็จ (398:2.3)
               คือ ของ เครื่อง แต่ง ตัว แขก มลายู เขา ทำ ด้วย ผ้า ฟั่น พัน, เปน เกลียว ใส่ ไว้ ที่ หัว.
      ปัญจะศิล (398:2.4)
               เปน สับท์ แผลง แปล ว่า ศิล ห้า ๆ นั้น คือ ให้ เว้น จาก ฆ่า สัตว, ลัก ทรัพย์, หญิง มิ ใช่ เมีย, พูด ปด, กิน เหล้า, เรียก ว่า ศีล ห้า.
      ปัญจะมะ (398:2.5)
               แปล ว่า ที่ ห้า.
      ปัญจางคะปะดิฐ (398:2.6)
               เปน สับท์ แปล ว่า ตั้ง ลง แห่ง องค์ ห้า, เมื่อ จะ กราบ พระ นั้น คือ ให้ หน้า ผาก แล มือ ทั้ง สอง แล เข่า ตั้ง ลง ถึง พื้น นั้น.
ปัญา (398:3)
         ปรีญา, ปรีชา, คือ สิ่ง ใน กาย ที่ สำรับ รู้ กิจ คิด อ่าน รู้ สาระพัด การ ทั้ง ปวง มี รู้ ความ แล รู้ พูด เปน ต้น.
      ปัญา ดี (398:3.1)
               ปรีชา ดี, รู้ รอบ, คือ สิ่ง เช่น ว่า นั้น ดี, คน ที่ ฉลาด พูด แล อะธิบาย ถ้อย ความ เปน ต้น นั้น ว่า ปัญา ดี
      ปัญา ไว (398:3.2)
               คือ รู้ เร็ว, คน ได้ ยิน ฤๅ ได้ เหน อาจ รู้ ใน ขณะ นั้น, ว่า มี ปัญา ไว เร็ว นัก.
ปัญัติ (398:4)
         แปล ว่า ตั้ง ไว้.
ปัน น่า ที่ (398:5)
         คือ แบ่ง น่า ที่, เขา เกณท์ ราชการ มี ก่อ กำแพง เปน ต้น เขา กะ กำหนฎ ให้ โดย กว้าง แล ยาว นั้น
ปัณณะระศี (398:6)
         แปล ว่า วัน สิบ ห้า ค่ำ โลกย์ เขา เรียก ว่า วัน พระ.
ปัน แบ่ง (398:7)
         แจก ให้, แบ่ง ส่วน, คือ แบ่ง แล ปัน เปน ส่วน ๆ มี เกณท์ น่า ที่ เปน ต้น นั้น.
ปัน เบี้ย (398:8)
         คือ แบ่ง เบี้ย กัน, เขา ได้ เบี้ย แห่ง เดียว กัน มาก แล้ว เขา แบ่ง ออก เปน ส่วน ๆ นั้น.
ปัณหา (398:9)
         แปล ว่า ปฤษณา ๆ นั้น คือ ท่าน คิด ผูก ไว้ เปน เนื้อ ความ ลับ เปน ต้น ว่า มี แต่ หนึ่ง ไม่ มี สอง มี แต่ สอง ไม่ มี สาม นั้น จะ ได้ แก่ อัน ใด.
ปัน ให้ (398:10)
         คือ แบ่ง ให้, เขา ได้ ของ สิ่ง ใด มา มาก เขา ทำ เปน ส่วน ๆ แจก ให้ กัน นั้น.
ปัณหา ปฤษณา (398:11)
         เนื้อ ความ เช่น ว่า แล้ว, ปัณหา แปล ว่า ปฤษณา.
ปัน ออก (398:12)
         คือ แบ่ง ออก เปน ส่วน, เขา ทำ ออก เปน ส่วน ๆ ว่า ปัน ออก เปน ส่วน นั้น.
ปั่น (398:13)
         การ ที่ หัน หมุน ไป, เหมือน หมุน ไป เปน ต้น.
      ปั่น ข่าง. หมุน ข่าง (398:13.1)
               คือ หมุน ลูก ข่าง, เขา เล่น ข่าง เอา เชือก พัน ลูก ข่าง แล้ว ทิ้ง ลง ให้ มัน กลม นั้น.
      ปั่น ป่วน (398:13.2)
               หมุน เวียน, วน เวียน, คือ หัน หวน, เหมือน น้ำ ที่ ปาก คลอง บาง หลวง เปน ต้น อัน ป่วน หมุน เมื่อ เวลา น้ำ ไหล เชี่ยว* นั้น.
      ปั่น ฝ้าย (398:13.3)
               แกวง ไน, ควง ไน, การ ที่ เขา หมุน โครง ใน ทำ สำลี ให้ เปน เส้น ด้าย เขา เอา ยวง ฝ้าย มา ทำ สำลี แล้ว ปั่น หมุน โครง ไน ให้ เปน เส้น ด้าย.
      ปั่น ไหม (398:13.4)
               การ ที่ เขา เอา เส้น ไหม ใส่ ที่ ไน หัน ปั่น หมุน ทำ ให้ เปน เกลียว นั้น.

--- Page 399 ---
      ปั่น อี่ โปง (399:13.5)
               การ ที่ เขา หมุน อี่ โปง, คน เล่น อี่ โปง นั้น เอา นิ้ว มือ สอง นิ้ว จับ อี่ โปง ปั่น หมุน นั้น.
ปั้น (399:1)
         คือ ของ เขา เอา ดิน ทำ ให้ เปน รูป ม่อ ฤๅ รูป ตุก กะตา เปน ต้น นั้น.
      ปั้น การ ที่ คน ทำ ดิน ฤๅ ปูน ให้ (399:1.1)
                เปน รูป ม่อ ฤๅ รูป สัตว แล รูป ดอก ไม้ ใบ ไม้ ต่าง ๆ นั้น*.
      ปั้น ก้อน (399:1.2)
               คือ เอา ดิน เปน ต้น, มา ทำ ให้ เปน ก้อน นั้น. ตุก กะตา, ทำ เปน รูป ต่าง ๆ, คือ การ ที่ เขา ทำ รูป มี รูป คน เปน ต้น, เขา เอา ดิน มา ทำ ละมุน แล้ว ปั้น หัว แล มือ เปน ต้น.
      ปั้น เหน่ง (399:1.3)
               คือ ของ เปน เครื่อง คาด รัด ที่ เอว ตัว มัน เปน ทอง คำ บ้าง ทอง เหลือง บ้าง มี ส้าย* รัด ผูก.
      ปั้นม่อ (399:1.4)
               ทำ ม่อ, คือ ทำ ดิน ให้ เปน ม่อ, เขา เอา ดิน ที่ เหนียว มา ประสม กับ ทราย แล้ว ปั้น ตี เปน ม่อ นั้น.
      ปั้น รูป (399:1.5)
               ทำ*รูป, คือ ปั้น คน* เปน คน เปน ต้น, เขา เอา เหนียว ทำ ให้ อ่อน ละ มุน แล้ว ปั้น เปน หัว เปน ต้น นั้น.
ปาน (399:2)
         เหมือน, คือ ของ สิ่ง หนึ่ง, ติด อยู่ ที่ ผิว หนัง คน เหมือน ย้อม ไว้, บาง*ที ศรี แดง บาง* ที ศรี ดำ, มี มา แต่ กำเนิด บ้าง เกิด ขึ้น ผ่าย หลัง บ้าง.
      ปาน กัน (399:2.1)
               คล้าย กัน, แม้น กัน, คือ ความ ว่า เหมือน กัน, เหมือน ของ รูป เหมือน กัน เขา พูด ว่า รูป ร่าง ปาน กัน.
      ปาน ใด (399:2.2)
               เหมือน อย่าง ไร, แม้น ใคร, คือ เหมือน อัน ใด, เขา ถาม กัน ว่า คน นั้น รูป ร่าง ปาน ผู้ ใด เหมือน ผู้ ใด ดัง นี้ บ้าง.
      ปาน ดำ (399:2.3)
               คือ สิ่ง ที่ เกิด ติด อยู่ ที่ ผิว หนัง มี ศี ดำ, มี มา แต่ กำเนิด บ้าง เกิด ขึ้น ผ่าย หลัง บ้าง.
      ปาน ดังนี้ (399:2.4)
               คือ ปูน นี้, เช่น นี้, อย่าง นี้ นั้น, เหมือน อย่าง คำ ว่า เหน ปาน ดัง นี้ เปน ต้น.
      ปาน แดง (399:2.5)
               คือ สิ่ง ที่ เกิด ติด อยู่* ที่ ผิว หนัง คน มี ศี แดง เรื่อ ๆ มี แต่ กำเนิด บ้าง ผ่าย หลัง บ้าง.
      ปาน นี้ (399:2.6)
               เช่น นี้, เหมือน นี้, คือ เวลา เช่น นี้, เหมือน เขา พูด ว่า คน นั้น เวลา เหมือน เช่น นี้ เหน จะ นอน เปน ต้น.
      ปาน นั้น (399:2.7)
               เหมือน อย่าง นั้น, เช่น นั้น, คือ เหมือน นั้น, เขา พูด ถึง คน ที่ รูป ร่าง คล้าย ๆ กัน ว่า คน นั้น กับ คน นั้น ปาน กัน.
      ปาน ปูน (399:2.8)
               คล้าย กัน, คล้าย คลึง, คือ แม้น เหมือน, คน พูด ถึง ของ ที่ คล้าย กัน, ว่า ของ นั้น ปานปูน กัน ดังนี้ บ้าง.
      ปาน แม้น (399:2.9)
               ละม้าย เหมือน, ดุจ เดียว, คือ เหมือน แม้น, ของ ที่ คล้าย ๆ กัน ไม่ ผิด กัน นัก นั้น เขา ว่า ของ ปาน กัน แม้น กัน.
      ปาน เหมือน (399:2.10)
               คลับ คล้าย, คลับ คลา, คือ แม้น เหมือน, ของ ที่ คล้าย ๆ ไม่ ผิด กัน นัก นั้น, เขา ว่า ปาน กัน เหมือน กัน.
      ปาน เรา (399:2.11)
               คล้าย เรา, แม้น เรา, คือ เหมือน เรา, เขา* พูด ว่า คน นั้น ก็ แม้น ๆ กับ เรา, โดย ยศศักดิ์ ฤๅ สมบัติ พัศถาน*.
ป่าน (399:3)
         คือ ของ เปน เส้น เชือก ศี ขาว เหนียว นัก, คน ปลูก ที่ บ้าน, ไม่ มี ใน ป่า, เจ๊ก มัก เอา มา ขาย สำรับ เด็ก ชัก ว่าว เล่น.
      ป่าน กลุ่ม (399:3.1)
               คือ ป่าน ที่ เขา ม้วน ไว้ เปน กลุ่ม กลม นั้น.
      ป่าน ชัก ว่าว (399:3.2)
               คือ เชือก ป่าน เช่น ว่า, เจ๊ก ฟั่น เปน เกลียว ทำ เปน เข็ด เอา มา ฃาย แต่ เมือง จีน ชุม.
      ป่าน ต้น (399:3.3)
               คือ ต้น ป่าน ที่ พวก ไทย ฤๅ ลาว ปลูก, แล้ว เอา มา ทำ เปน เส้น มัด เอา มา ฃาย.
      ป่าน ใบ (399:3.4)
               คือ ป่าน กลีบ ยัง ไม่ ได้ ตี เกลียว เปน เส้น ยาว นั้น เอง.
      ป่าน นี้ (399:3.5)
               เวลา อย่าง นี้, คือ ป่าน อยู่ นี้, คำ เขา เรียก ป่าน ที่ อยู่ ใกล้ ตัว คน มี ป่าน อยู่ ใกล้ บอก กับ ผู้ อื่น นั้น.
      ป่าน เล็ก (399:3.6)
               คือ ป่าน เส้น เล็ก ๆ เส้น ประมาณ เท่า ก้าน ใบ พลู นั้น.
      ป่าน แลบ (399:3.7)
               คือ ป่าน เส้น เล็ก ลง ไป กว่า นั้น, เขา เรียก ว่า ป่าน แลบ.
ป้านลม (399:4)
         คือ ไม้ ต้าน ลม, คน ทำ หลัง คา เรือน ที่ จะ มุง จาก เปน ต้น, ทำ ไม้ ใส่ ไว้ สำรับ รับ ลม ที่ สุด ทั้ง สอง ข้าง นั้น.
      ป้าน (399:4.1)
               คือ รูป ป้าน ที่ ใส่ น้ำ ชา กิน, เจ๊ก ทำ มา แต่ เมือง จีน
      ป้าน ขัด (399:4.2)
               คือ รูป ป้าน เช่น ว่า เขา ขัด เหลื่อม เปน เงา นั้น, เขา เอา รูป ป้าน จีน ขัด ให้ เปน มัน นั้น.

--- Page 400 ---
      ป้าน ดิน (400:4.3)
               ทำ ด้วย ดิน, คือ รูป ป้าน ทำ ด้วย ดิน, จีน เอา ดิน ปั้น เปน รูป ม่อ แล้ว หู ติด พวย ทำ ปั้น.
      ป้าน ชา (400:4.4)
               คือ ป้าน ที่ สำรับ ใส่ ใบ ชา, คน กิน น้ำ ชา เอา ใบ ชา ใส่ ใน ป้าน แล้ว เอา น้ำ ร้อน เท ลง ริน กิน.
      ป้าน ทราย (400:4.5)
               คือ รูป ป้าน เล็ก ๆ อย่าง หนึ่ง, นักเลง นับ ถือ ชอบ ใจ นัก.
      ป้าน อย่าง (400:4.6)
               ป้าน ทำ ตาม อย่าง, คือ รูป ป้าน เขา ปั้น เปน ตัว อย่าง, ส่ง ไป เมือง จีน ให้ ทำ มา ให้ เหมือน นั้น.
ปิ่น (400:1)
         คือ ของ ที่ เขา ทำ ด้วย ทอง คำ เปน ต้น สำรับ ปัก จุก เด็ก, มี ก้าน มี จง กล มี ปรีก นั้น.
      ปิ่น ปัก ผม (400:1.1)
               คือ ของ เขา ทำ ด้วย ไม้ บ้าง ทอง เหลือง บ้าง ทอง คำ บ้าง, มัน มี ก้าน เท่า เหล็ก ไน สำรับ เสียบ เข้า ที่ จุก ผม.
      ปิ่น เกล้า (400:1.2)
               คือ ปิ่น สำรับ ปัก เกล้า ผม, สัณฐาน เขา ทำ เหมือน ๆ กัน ไม่ ผิด กัน.
      ปิ่น พิภพ (400:1.3)
               คือ คน ฤๅ เทวดา ที่ เปน จ้าว พิภพ, ผู้ นั้น เปรียบ เหมือน ปิ่น ที่ ปัก ผม นั้น.
      ปิ่น เกษ (400:1.4)
               คือ ปิ่น สำรับ ปัก ผม นั้น, แต่ เรียก เปน คำ สูง คำ จ้าว ว่า ปิ่น เกษ นั้น.
      ปิ่น โลกา (400:1.5)
               คือ คน ฤๅ เทวดา ที่ เปน ใหญ่ เปน จ้าว แห่ง โลกย์ นั้น, เปรียบ เหมือน ปิ่น เช่น ว่า นั้น.
      ปิ่น ทอง (400:1.6)
               คือ ปิ่น เขา ทำ ด้วย ทอง คำ, ปิ่น ที่ ทำ ด้วย ไม้ ก็ มี, ทำ ด้วย ทอง เหลือง ก็ มี บ้าง.
      ปิ่นฃ่น* (400:1.7)
               คือ ปิ่น เช่น ว่า, มี คัน มี จง กล แล ปรก, เขา ทำ ด้วย ทอง คำ ประดับ พลอย, เรียก ว่า ปิ่น ซ่น.
ปีน (400:2)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ปีน เกลียว (400:2.1)
               คือ เกลียว เชือก ไม่ ลง ตาม ร่อง เกลียว ค้าง อยู่ ข้าง บน, ว่า ฟั่น เชือก ปีน เกลียว อยู่.
      ปีน กำแพง (400:2.2)
               คือ ก้าว ท้าว ยาว เอยียบ ขึ้น บน กำแพง นั้น.
      ปีน ขึ้น (400:2.3)
               คือ ก้าว ท้าว ยาว เอยียบ ขึ้น ที่ สูง, มี ต้น ไม้ นั้น.
      ปีน ฝา (400:2.4)
               คือ ก้าว ท้าว ยาว เอยียบ ขึ้น บน ฝา นั้น.
      ปีน ต้น ไม้ (400:2.5)
               คือ ก้าว ท้าว ยาว เอยียบ ขึ้น ต้น ไม้, ทำ ให้ ตัว สอึก ขึ้น ไป บน ที่ สูง นั้น.
      ปีน ตลิ่ง (400:2.6)
               คือ ก้าว ท้าว ยาว เอยียบ ขึ้น ที่ ตลิ่ง นั้น.
      ปีน ป่าย (400:2.7)
               คือ ก้าว ท้าว ปีน ขึ้น, แล้ว จึ่ง เอา ท้าว ข้าง หนึ่ง อ้อม ต้น ไม้ ไป เอยียบ กิ่ง ข้าง หนึ่ง นั้น.
      ปีน บท ปีน บาท (400:2.8)
               คือ ผิด บท ผิด บาท, เหมือน อ่าน หนังสือ บท เพลง ผิด ไป ไม่ ถูก นั้น.
      ปีน ค่าย (400:2.9)
               คือ ก้าว ท้าว ยาว เต็ม ทยาน เอยียบ ขึ้น บน ปลาย ค่าย รบ ศึก นั้น.
      ปีน กฎ ปีน หมาย (400:2.10)
               คือ ตัด สีน ผิด กดหมาย นั้น.
ปืน (400:3)
         คือ อาวุธ ทาง ยาว เขา ทำ ด้วย เหล็ก บ้าง, ทอง เหลือง บ้าง* เปน ลำ กล้อง ที่ อย่าง เล็ก เท่า นิ้ว มือ ยาว สี่ คืบ เจ๊ด คืบ, ที่ ใหญ่ เจ๊ด กำ ยาว สาม วา บ้าง.
      ปืน คาบ ชุด (400:3.1)
               คือ ปืน เช่น ว่า มี นก สับ ลง กับ น่าเพลิง, แต่ เขา เอา ชุด จุด ไฟ ใส่ ไว้ ที่ ปาก นก ลั่น ลง.
      ปืน คาบ สิลา (400:3.2)
               คือ ปืน เช่น ว่า มี นก สับ* กับ น่า เพลิง, แต่ เขา เอา สิลา ใส่ ไว้ ที่ ปาก นก ลั่น ลง.
      ปืน จ่าวงค์* (400:3.3)
               คือ ปืน ลำ กล้อง สอง กำ เสศ, ยาว สอง ศอก เสศ ลูก เท่า ลูก ซ่ม เปลือก บาง, ไม่ มี นา* ไม่ มี ไก มี แต่ รู ชะ นวน เท่า นั้น.
      ปืน ใหญ่ (400:3.4)
               คือ ปืน โต ลำ กล้อง หก กำ เจ๊ด กำ, ลูก เท่า ผล ซ่มโอ, แต่ มี รู ชะนวน สำรับ จุด นั้น.
      ปืน ทอง ปราย (400:3.5)
               คือ ปืน ทำ ด้วย ทอง เหลือง, ไม่ ยาว นัก ลำ กล้อง สัก ศอก คืบ นั้น.
      ปืน แผด (400:3.6)
               คือ ปืน มี ลำ กล้อง สอง อัน ติด เปน คู่ กัน อยู่ ยิง ได้ พร้อม กัน.
      ปืน นก สับ (400:3.7)
               คือ ปืน คาบ ชุด แล ปืน คาบ สิลา นั้น, มี นก มี แหนบ มี ไก สำรับ ลั่น เมื่อ ยิง นั้น.
      ปืน ไฟ (400:3.8)
               คือ ปืน เล็ก ใหญ่ ทั้งสิ้น, เขา ยิง ไป ด้วย ไฟ นั้น,
      ปืน ตับ (400:3.9)
               คือ ปืน เขา เตรียม ไว้ พร้อม กัน ยี่ สิบ สาม สิบ บอก เมื่อ เวลา รบ นั้น.
      ปืน ยา (400:3.10)
               คือ น่า ไม้ ที่ เขา เอา ยา พิศม์ ใส่, ให้ ทำ พิศม์ ถึง หัวใจ คน ตาย, ยิง ถูก ภอ เลือด ออก ยา ก็ แล่น ตาม สาย เลือด.
      ปืน ล้อ (400:3.11)
               คือ ปืน ใหญ่ ที่ ใส่ บน ราง, มี ลูก ล้อ สอง ลูก สำรับ ลาก ให้ หมุน ภา ปืน ไป ไกล นั้น.
      ปืน หลัก (400:3.12)
               คือ ปืน ย่อม ๆ เท่า แขน, เขา ทำ หลัก สำรับ พาด ปืน ตั้ง ไว้ บน พื้น ดิน ยิง นั้น.

--- Page 401 ---
      ปืน เหล็ก (401:3.13)
               คือ ปืน บันดา ที่ ทำ ด้วย เหล็ก นั้น, ปืน ใหญ่ เขา หล่อ ด้วย เหล็ก, ปืน เล็ก เขา ตี นั้น.
      ปืน เล็ก (401:3.14)
               คือ ปืน หอยโข่ง บอก มัน สั้น, อย่าง หนึ่ง บอก มัน ยาว, แต่ ลำ กล้อง เล็ก เท่า นิ้วมือ นั้น.
      ปืน ขานกยาง (401:3.15)
               คือ ปืน บอก ย่อม เท่า แขน, มี หลัก ตั้ง บน พื้น ดิน, คล้าย กับ ปืน หลัก นั้น.
      ปืน หาม แล่น (401:3.16)
               คือ ปืน บอก ย่อม ภอ กำลัง สองคน หาม ไป ยิง แล้ว หาม กลับ มา ยัด แล้ว หาม ออก ไป ยิง อีก นั้น.
ปื้น (401:1)
         คือ แผ่น เลื่อย ที่ มี แต่ เหล็ก นั้น, เหล็ก เลื่อย เล็ก ใหญ่ ทั้ง สิ้น นั้น เรียก ว่า ปื้น.
      ปื้น ใหญ่ (401:1.1)
               คือ เหล็ก เลื่อย ปื้น ใหญ่, ที่ สำรับ เลื่อย ไม้ ซุง ต้น โต ๆ ออก เปน แผ่น นั้น.
      ปื้น เล็ก (401:1.2)
               คือ แผ่น เหล็ก เลื่อย อัน เล็ก, เลื่อย ปื้น ที่ อย่าง เท่า เส้น ตอก, สำรับ เลื่อย ดินสอหิน นั้น.
      ปื้น เลื่อย (401:1.3)
               คือ แผ่น เหล็ก เลื่อย เล็ก ใหญ่ เช่น ว่า แล้ว, สำรับ เลื่อย ไม้ เล็ก ใหญ่ นั้น.
ปูน (401:2)
         เปน ของ* อย่าง หนึ่ง, ศรี แดง เปียก เหมือน ดิน* โคลน, เขา กิน กับ หมาก พลู สบ กัน ดี ศรี แดง,
      ปูน กิน (401:2.1)
               คือ ปูน เขา ประสม กับ ขมิ้น นั้น, ศรี แดง สำรับ กิน กับ หมาก พลู นั้น.
      ปูนขาว (401:2.2)
               คือ ปูน ผง ศรี ขาว เขา ทำ ด้วย หิน บ้าง ทำ ด้วย หอย บ้าง, สำรับ ก่อ กำแพง นั้น.
      ปูน ทราย (401:2.3)
               คือ ปูน ที่ ประสม กับ ทราย, ภอ ถือ เข้า ไว้ ที่ พระเจดีย์ นั้น, ยัง ครุคระ อยู่ ยัง ไม่* ได้ ลง ปูน ผิว นั้น.
      ปูน แดง (401:2.4)
               คือ ปูน ที่ เขา กิน กับ หมาก พลู, เขา เอา ปูน ขาว ประสม กับ ขมิ้น, แล้ว ใส่ น้ำ ลง กวน ให้ เข้า กัน, เปียก เหมือน ดิน โคลน.
      ปูน นวน (401:2.5)
               คือ ปูน เปล่า ๆ ขาว เปน นวน อยู่ นั้น.
      ปูน หิน (401:2.6)
               คือ ปูน เขา เอา หิน ก้อน มา เผา ให้ สุก ยุ่ย, แล้ว เอา น้ำ รด ลง แตก กระจาย ออก เปน ผง นั้น.
      ปูน ผิว (401:2.7)
               คือ ปูน อย่าง* เลอียด ดี, เขา ฉาบ ทา พื้น นอก ให้ ขาว เปน นวน อยู่ นั้น.
      ปูน หอย (401:2.8)
               คือ ปูน ที่ จีน เผา ด้วย เปลือก หอย.
      ปูน ผง (401:2.9)
               คือ ปูน ไม่ เปน ก้อน เขา ทำ ป่น เปน จุณ อยู่ นั้น.
      ปูน บำเหน็จ (401:2.10)
               คือ เพิ่ม เติม เงิน รางวัล ให้ คน ทำ ราชการ มี ความ ชอบ, เจ้า นาย โปรด เพิ่ม เติม เงิน ให้ ตาม มาก แล น้อย, เรียก ว่า ปูน บำเหน็จ ให้.
เปน (401:3)
         คือ มี ชีวิตร อยู่, เช่น ไม้ สด มี ใบ แล ยอด เขียว ชื่น อยู่ ไม่ เหี่ยวแห้ง นั้น ว่า ยัง เปน.
      เปน กะไร (401:3.1)
               เปน คำ เขา ถาม ว่า เปน อย่าง ไร, คน ถาม ถึง คน ป่วย เจ็บ นั้น, ว่า คน นั้น เปน กะไร บ้าง.
      เปน การ (401:3.2)
               คือ เปน ประโยชน์, คน ทำ การ อัน ใด ถ้า แล การ นั้น สำเร็จ ได้, เขา ว่า เปน การ แล้ว.
      เปน กรรม (401:3.3)
               คน ที่ ได้ ความ ทุกข เวทนา นั้น, เขา ว่า เปน เพราะ กรรม ของ เขา ทำ ไว้ นั้น.
      เปนจะขันธ์ (401:3.4)
                ฯ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า เปน ท่อน, แล กอง ก็ ได้, เหมือน ไม้ ท่อน หนึ่ง, ฤๅ เข้า กอง หนึ่ง นั้น.
      เปน ใด (401:3.5)
               คือ เปน ผู้ ใด เฃา ถาม กัน ว่า คน นั้น เปน ผู้ ใด ฤๅ ถาม ว่า ผู้ นั้น เปน ใคร.
      เปน คุณ (401:3.6)
               คือ เปน ประโยชน์, เหมือน คน ไข้ กิน ยา ถ้า ยา นั้น บำบัด โรค ระงับ หาย ว่า เปน คุณ.
      เปน ใหญ่ (401:3.7)
               คือ เปน ประธาน, ฤๅ เปนนาย ฤๅ เปน สมภาร นั้น, คน ที่ ว่า นี้ ว่า เปน ใหญ่.
      เปน ไฉน (401:3.8)
               คือ เปน อย่าง ไร ฤๅ เปน เช่น ไหน, คน ถาม ว่า เปน เหตุ ไร จึ่ง ไม่ เหน มา นั้น.
      เปน ต้น (401:3.9)
               คือ เปน ที่ แรก ฤๅ ที่ เดิม ฤๅ ที่ หนึ่ง, เขา พูด ว่า เปน ต้น นั้น.
      เปน ใด (401:3.10)
               คือ ว่า เปน ไร.
      เปน เดิม (401:3.11)
               คือ เปน ต้น, เหมือน คน เปน ต้น แรก มา, ฤๅ แรก ไป เปน ต้น นั้น.
      เปน แต่ (401:3.12)
               คือ คำ พูด ว่า เปน แต่ เช่น นั้น.
      เปน ที่ (401:3.13)
               คือ เปน ตำแหน่ง ที่ ขุนนาง เข้า เฝ้า เจ้าชีวิตร ได้ นั้น.
      เปน ท่วง (401:3.14)
                เปน ที, คือ กิจการ เปน ที นั้น, สาระพัด การ ทั้ง ปวง มี ที ทุกอย่าง, คน ทำ การ อัน ใด ถ้า การ ที่ ทำ ที นั้น สำเร็จ ได้ ไม่ เสีย, ว่า ไม่ เสีย ที.

--- Page 402 ---
      เปน โทษ (402:3.15)
               คือ ต้อง โทษ, คน ทำ ความ ผิด อัน ใด อัน หนึ่ง ใน ราชอาชญา นั้น, ว่า เปน โทษ หลวง.
      เปน ทาน (402:3.16)
               คือ ให้ ของ สิ่ง ใด สิ่ง หนึ่ง แก่ คน จน ที่ มา ฃอ, ของ ที่ ให้ นั้น ว่า เปน ทาน นั้น.
      เปน ทุน (402:3.17)
               คือ ทรัพย มี เงิน นั้น, ที่ คน เอา ออก ใช้ ก่อน เมื่อ* ซื้อ ขาย นั้น, ว่า เปน เงิน ทุน.
      เปน ธรรม (402:3.18)
               คือ การ ที่ เปน สุจริต ด้วย กาย แล วาจา, ฤๅ จิตร นั้น.
      เปน นัก (402:3.19)
                เปน หนา, คือ ของ มาก หลาย, คน เหน ของ อัน ใด มาก, เขา ว่า ของ นั้น เปน นัก เปน หนา.
      เปน เนือง ๆ (402:3.20)
               คือ เปน บ่อย ๆ, เหมือน โรค อัน ใด นั้น เปน บ่อย ๆ, ว่า เปน เนือง ๆ.
      เปน นิจ (402:3.21)
               คือ กาละ เวลา ติด เนื่อง กัน นั้น, บาง ที ทุก เวลา บาง ที ทุก ปี, ทุก เดือน*, ทุก วัน, ทุก คืน, ก็ ว่า เปน นิจ.
      เปน นาย (402:3.22)
               เปน บ้า, เปน ใบ้, เปน บิด, เปน บาป, เปน แบบ, เปน บ่าว.
      เปน บ่อ เกิด (402:3.23)
               คือ ที่ เปน ที่ เกิด แห่ง ทอง แล แก้ว นั้น.
      เปน ไป (402:3.24)
               คือ การ ที่ คน ประพฤติ ไป, อย่าง หนึ่ง กาละ ฤๅ อายุ, ฤๅ รูป กาย นั้น หาก เปน ไป เอง.
      เปน ปรวด (402:3.25)
               คือ อาการ ฝี ที่ หนอง ออก แล้ว, ปาก แผล ปิด เข้า, กลับ เกิด หนอง ขึ้น ข้าง ใน นั้น.
      เปน ป้าง (402:3.26)
               เปน ชื่อ โรค อย่าง หนึ่ง, โรค นั้น เกิด ขึ้น ใน ท้อง อยู่ ที่ ชาย โครง, เหมือน ลิ้น โค นั้น
      เปน ผี (402:3.27)
               เปน ผล, เปน ไฝ.
      เปน ปราช (402:3.28)
               คือ คน มี ปัญญา ดำเนิน ใน คะดี โลกย์, แล คะดี ธรรม, แล ประพฤติ ชอบ ธรรม นั้น.
      เปน พาล (402:3.29)
               คือ คน ชั่ว, ๆ ด้วย กาย แล วาจา แล จิตร, คิด ทำ ชั่ว ลามก นั้น, ว่า เปน คน พาล.
      เปน มาร (402:3.30)
               เปน ยักษ, เปน ไร, เปน ลูก, เปน ลูง, เปน หลาน.
      เปน ลาภ (402:3.31)
               คือ ของ สิ่ง ใด มี ผ้า แล เงิน นั้น, ที่ คน ได้ ของ สิ่ง นั้น ว่า เปน ลาภ.
      เปน ว่า (402:3.32)
               คือ เปน, สัก แต่ ว่า กระทำ ได้, แต่ ไม่ สู้ ดี.
      เปน หวัด (402:3.33)
               เปน เวร, เปน ศุข.
      เปน สูริย์ (402:3.34)
               คือ เปน สุริยฆาฏ, โบราณ ว่า มี ราหู อสุริทร์ เข้า จับ มณฑล พระอาทิตย นั้น.*
      เปน เหตุ (402:3.35)
               เปน ปัจจัย, เปน อะไร, เปน เอก, เปน องค, เปน เอง.
แป้น (402:1)
         แบน, คือ ของ ที่ แบน เหมือน ช่อ ที่ เขา ปั้น ม่อ นั้น, ฤๅ ไม้ ที่ เขา ทำ สอย ลูก ไม้ เขา เรียก ว่า ไม้ แป้น.
      แป้น ชัก ลวด (402:1.1)
               คือ อัน เหล็ก กว้าง สัก สอง นิ้ว, ยาว สัก คืบ หนึ่ง เขา เจาะ รู ไว้ สำรับ ชัก ลวด นั้น.
โปน (402:2)
         บวม ขึ้น, คือ โพลน, ตา คน ที่ เปน โรค ซ้น โพลน ออก มา นั้น, เขา ว่า ตา โปน ออก มา.
ปอน (402:3)
         คือ เศร้า หมอง, เจ้าเณร เล็ก ๆ มี ผ้า นุ่ง ผ้า ห่ม ศรี มอม มัว ไม่ สุกใส นั้น, ว่า ผ้า ปอน.
      ปอน เปียก (402:3.1)
               คือ อาการ ที่ คน มี ผ้า นุ่งห่ม* เปียก ตร่ำ ฝน มา นั้น.
ป้อน (402:4)
         คอ อยิบ ถือ ให้ กิน, คน อยิบ เข้า ใส่ ใน ปาก ให้ ลูก เด็ก กิน, ฤๅ อยิบ หญ้า ใส่ ปาก ให้ สัตว กิน, ว่า ป้อน.
      ป้อน กล้วย (402:4.1)
               คือ จับถือ กล้วย ใส่ ปาก คน อื่น, คน มี ลูกอ่อน ฤๅ คน ป่วย หนัก ต้อง ถือ กล้วย ให้ กิน, ว่า ป้อน กล้วย.
      ป้อน เข้า (402:4.2)
               คือ ถือ เข้า ใส่ ปาก คน อื่น, คน มี ลูก อ่อน ฤๅ คน ป่วย หนัก, จับ ถือ เข้า ใส่ ปาก ให้ ว่า* ป้อน เข้า.
      ป้อน อ้อย (402:4.3)
               คือ จับ ถือ อ้อย ใส่ ปาก* คน ฤๅ สัตว, คน จับ ถือ ท่อน อ้อย ใส่ ปาก ช้าง ให้ มัน กิน นั้น.
      ป้อน ลูก (402:4.4)
               คือ จับ ถือ ของ กิน ใส่ ปาก ลูก, คน มี ลูก อ่อน ต้อง จับ ของ ใส่ ปาก ให้ กิน นั้น.
ป่วน (402:5)
         มวน, วน, คือ น้ำ วน ป่วน พล่าน, เหมือน น้ำ ที่ ปาก คลอง บาง หลวง นั้น.
      ป่วน น้ำ (402:5.1)
               คือ น้ำ ป่วน, น้ำ ที่ ไหล มา ปะทะ กัน, แต่ สอง แคว สาม แคว, แล ปะทะ กัน หวน วน นั้น.
      ป่วน ปั่น (402:5.2)
               คือ การ ที่ ลม พัด หวน หอบ ให้ เรือ วุ่น วาย ไป มา. อย่าง หนึ่ง มี ลม กำเริบ ทำ ให้ ใน ท้อง พลุก พล่าน นั้น.
      ป่วน ใจ (402:5.3)
               คิด วน เวียน, ใจ พลุ่ง พล่าน, คือ ใจ วุ่น วาย ฟุ้ง ซ่าน เหมือน คน เหียน ราก, ให้ คลื่น ไส้ คลื่น พุง นั้น.
ป้วน (402:6)
         คือ บ้วน บ่อย ๆ ปลา หมอ ฤๅ ปลา อื่น มัน ผุด บ้วน ปาก บ่อย ๆ, ว่า ปลา ผุด ป้วน ไป นั้น.

--- Page 403 ---
      ป้วน ทำ การ (403:6.1)
               คือ คน ที่ อุษส่าห์ เพียร กระทำ การ, เหนื่อย อยุด หน่อย แล้ว กระทำ ไป อีก บ่อย ๆ นั้น.
      ป้วน เปี้ยน (403:6.2)
               คือ บ่อย ๆ, เปี้ยน เปน คำ สร้อย, เหมือน คน พูด ความ อัน ใด ไม่ ชัด วน เวียน ไป, ว่า พูด ป้วน เปี้ยน ไป.
เปื้อน (403:1)
         คือ เลอะ เปรอะ ที่ มี พื้น เรือน นั้น, มี ดิน โคลน นั้น ติด เปน มลทิน อยู่ ไม่ สอาด นั้น.
      เปื้อน เลน (403:1.1)
               คือ เปื้อน ดิน ที่ มัน เหลว กว่า โคลน นั้น, เหมือน ดิน ใน ทะเล นั้น.
      เปื้อน โคลน (403:1.2)
               คือ ติด กลั้ว ด้วย ดิน แค่น เลน เลอะเทอะ นั้น, เหมือน อย่าง ติด แปด ไป ด้วย โคลน.
      เปื้อน เปรอะ (403:1.3)
               คือ เปื้อน มาก ที่ เรือน นั้น, มี ดิน ทราย นั้น ติด อยู่ มาก ว่า เปื้อน เปรอะ.
      เปื้อน ตม (403:1.4)
               คือ เปื้อน ดิน ที่ ระคน ด้วย น้ำ, เหลว เหมือน ดิน เทือก ที่ เขา จะ ปลูก เข้า นั้น
      เปื้อน เลื่อน (403:1.5)
               คือ การ เลอะเทอะ, คน ที่ บอก เล่า ถ้อย ความ อัน ใด ไม่ แน่ นอน.
ปบ (403:2)
         คือ คน แบ มือ ออก แล้ว ตบ ลง กับ พื้น นั้น ว่า ปบ. อย่าง หนึ่ง คน ลุก ขึ้น วิ่ง ไป เร็ว, ว่า แล่น ปบ ไป บ้าง.
      ปบ ไล่ (403:2.1)
               คือ อาการ ที่ คน รีบ ด่วน ๆ ลุก ขึ้น วิ่ง ไล่ อัน ใด ไป นั้น.
      ปบ ไป (403:2.2)
               คือ อาการ คน ที่ ผละ ออก ได้ แล่น ไป นั้น.
ปับ (403:3)
         เปน เสียง ดัง ปับ ๆ, คน ตบ มือ เข้า เสียง ดัง ปับ ๆ นั้น.
ปาบ (403:4)
         เปน เสียง ดัง ปาบ ๆ, เหมือน เป็ด* มัน ร้อง ดัง ปาบ ๆ บ้าง, เสียง อื่น ดัง อย่าง นั้น ก็ มี บ้าง.
ปีบ (403:5)
         เปน เสียง ดัง ปีบ ๆ, เสือ ฤๅ เนื้อ มัน ร้อง เสียง ดัง ปีบ ๆ นั้น.
      ปีบ เปิบ (403:5.1)
               เปน เสียง* ฟาน มัน ร้อง, เปน สัตว สี่ท้าว รูป เท่า หมา ใหญ่ ๆ, มัน ร้อง เช่น นั้น บ้าง.
      ปีบ ประ เปรี้ยง (403:5.2)
               เปน เสียง เสือ โคร่ง มัน คะนอง ร้อง ปีบ เปรี้ยง อยู่ ใน ป่า นั้น.
ปุบ ปับ (403:6)
         เสียง เขา เอา มือ ป้อม เข้า แล้ว ทุบ ลง ที่ ตัว คน อื่น, เหมือน จีน เขา โกน ผม ให้ กัน, แล้ว เขา ทำ เช่น นั้น.
แปบ (403:7)
         เปน ชื่อ ถั่ว อย่าง หนึ่ง ชื่อ ถั่ว แปบ, ต้น เปน เถา เลื้อย ไป มี ฝัก ยาว สัก สาม นิ้ว, เขา เอา มา ต้มแกง กิน.
แปบ แฟบ (403:8)
         คือ ลีบ เล็ก แบน เหมือน เข้า ลีบ นั้น.
ปอบ (403:9)
         เปน ชื่อ ผี ลาว อย่าง หนึ่ง เรียก ผี ปอบ, มัน ทำ คน ให้ ตาย ได้, พวก ลาว ไม่ ใช่ พวก ผีปอบ ก็ มี บ้าง.
      ปอบ ล้วงไส้ (403:9.1)
               คือ ผี ฝ่าย พวก ลาว มัน เที่ยว ล้วง เอา พุง ใคร ๆ ออก กิน ให้ ผู้ นั้น ตาย ได้.
เปิบ (403:10)
         อาการ ที่ คน ทำ คำ เข้า ใส่ ใน ปาก นั้น, คน กิน เข้า เอา มือ ทำ เข้า เปน คำ ใส่ ใน ปาก นั้น.
      เปิบ กิน (403:10.1)
               คือ คน เอา มือ จับ ทำ เข้า นั้น เปน คำ ๆ, ภอ ปาก แล้ว ยก ใส่ เข้า ใน ปาก นั้น.
ปม (403:11)
         คือ ต่อม ใหญ่ ฟก นูน ขึ้น เหมือน หัวฝี, โป โต เท่า ลูก หมาก นั้น.
      ปมเปา (403:11.1)
               ของ ที่ มัน บอม ฟก ขึ้น ที่ ตัว คน, เท่า ลูก หมาก ดิบ บ้าง โต กว่า นั้น บ้าง, บาง ที มัน เปน ขึ้น ที่ ต้นไม้ บ้าง.
      ปม ศอก (403:11.2)
               คือ มัน เปน ขึ้น ที่ ศอก เช่น ว่า นั้น.
      ปม ไม้ (403:11.3)
               คือ ต่อม ใหญ่ ฟก บวม ขึ้น ที่ ต้นไม้, ไป ขึ้น ที่ โคน บ้าง ที่ ค่า คบ บ้าง ที่ กิ่ง บ้าง.
      ปม หัวเข่า (403:11.4)
               คือ โป มัน ขึ้น ที่ เข่า เช่น ว่า นั้น.
      ปม สัตว (403:11.5)
               คือ ต่อม ใหญ่ เท่า ลูก หมาก โป ขึ้น ที่ ตัว สัตว ดิรัจฉาน มี ตัว โค ฤๅ แพะ นั้น.
ปัม (403:12)
         คือ คะมัม ไป, คน จะ ล้ม ก้ม หน้า ซวน ไป, แต่ ไม่ ล้ม ภอ ยั้ง ตัว ไว้ ได้ ว่า ปัม ไป.
ปาม (403:13)
         คือ การ ที่ คน โกย ของ ตรง หน้า, คน เอยียด แขน ทั้ง สอง ออก ไป ตรง หน้า, แบ มือ ออก โกย คร่า ของ เข้า มา นั้น.
ปิ่ม ปาน (403:14)
         คือ ราว กับ จะ ตาย, เหมือน คน ได้ ความ ยาก เหนื่อย ถึง สาหัศ นัก, ว่า ปิ่ม จะ ตาย.
ปิ้ม (403:15)
         คือ ปาน ฤๅ ราว, คน ทำ การ หนัก เหลือ กำลัง นั้น, พูด ว่า ปิ้ม ปาน จะ สิ้น* ชีวิตร นั้น.
      ปิ้ม ป้ำ (403:15.1)
               คือ ราว กับ จะ สิ้น ชีวิตร นั้น.
      ปิ้ม จะ แตก จะ ทำลาย (403:15.2)
               คือ ราว จะ แตก จะ ทำลาย, คน มี ความ ทุกข ใหญ่ ยิ่ง, ราว กับ กอ จะ แตก จะ ทำลาย.
      ปิ้ม ปาน ปนึ่ง ว่า (403:15.3)
               คือ เปรียบ ปาน จะ ดับ สูญ ไป.
ปุ่ม (403:16)
         ปม เปา, คือ ปม ที่ ต้นไม้ เปน ต่อม ปู่ม ตุ่ม โต โน ขึ้น ที่ โคน ฤๅ ที่ ค่า คบ ฤๅ กิ่ง นั้น.

--- Page 404 ---
      ปู่ม ประดู่ (404:16.1)
               คือ ปม ที่ ไม้ ประดู่ มัน เปน ต่อม โต โน ขึ้น ที่ โคน นั้น, มี แก่น เปน ลาย งาม.
      ปุ่ม ไม้ (404:16.2)
               ปม ไม้, คือ ปม ไม้ ต้น ไม้ ใหญ่ มี ปม โต ตั้ง ขึ้น ที่ โคน บ้าง, ที่ ค่าคบ บ้าง ที่ กิ่ง บ้าง.
ปุ้ม เปือก (404:1)
         คือ ต่อม ฟอง ที่ ตม นั้น, ที่ ดิน เหลว เปน เปือก ตม มี ต่อม ฟอง ขึ้น ว่า ปุ้ม เปือก.
ปุ๋ม (404:2)
         เปน สำเนียง ดัง ปุ๋ม ๆ ก็ มี บ้าง, เหมือน ของ ตก ลง ใน น้ำ นั้น.
ปูม (404:3)
         เปน ชื่อ ผ้า อย่าง หนึ่ง, ผ้า นั้น คน ทอ ด้วย ไหม ทำ เปน ลาย มี ศรี ต่าง ๆ, สำรับ ผู้ชาย นุ่ง.
      ปูม เขมน (404:3.1)
               คือ ผ้า ปูม เช่น ว่า, แต่ พวก เขมน ทำ, เอา มา แต่ เมือง เขมน, ทำ ด้วย ไหม เหมือน กัน นั้น.
      ปูม ไท (404:3.2)
               คือ ผ้า ปูม เช่น ว่า นั้น, แต่ พวก ไท ทอ ด้วย ไหม จีน บ้าง ไหม ลาว บ้าง คล้าย กัน.
      ปูม ลาว (404:3.3)
               คือ ผ้า ปูม เช่น ว่า นั้น, แต่ พวก ลาว ทอ ด้วย ไหม ลาว ล้วน, มี ลาย ต่าง ๆ ศรี ต่าง ๆ.
แปม ปน (404:4)
         ระคน คละ, คือ ระคน คละ กัน ของ ที่ คละระคน กัน มี เข้า นั้น ที่ ปน กัน อยู่ ว่า แปม ปน นั้น.
ปอมข่าง (404:5)
         เปน ชื่อ ปิงก่า, เปน คำ ลาว ชาว เหนือ เรียก ปิงก่า, ว่า ปอมข่าง นั้น.
ป้อม (404:6)
         เปน ชื่อ ที่ สำรับ รบ กับ ฆ่าศึก, อยู่ ที่ กำแพง นั้น, เขา ก่อ ด้วย* อิฐ มี ใบ เสมา ไว้ ช่อง สำรับ ยิง ปืน นั้น.
      ป้อม ล่อม (404:6.1)
               คือ ของ มี เข้า เปลือก นั้น ที่ เขา กอง เข้า ไว้ เปน ปะริมณฑล นั้น.
      ป้อม ผีเสื้อ สมุท (404:6.2)
               เปน ชื่อ ป้อม เช่น ว่า นั้น, ป้อม นั้น อยู่ ริม แม่น้ำ ใหญ่ จึ่ง ให้ ชื่อ อย่าง นั้น.
      ป้อม พระสุเมรุ (404:6.3)
               เปน ชื่อ ป้อม สูง กว่า ป้อม ทั้ง ปวง, จึ่ง ให้ ชื่อ ว่า ป้อม พระสุเมรุ.
      ป้อม เสือ ซ่อน เล็บ (404:6.4)
               เปน ชื่อ ป้อม เช่น ว่า นั้น, แต่ เปน ป้อม ลับ อยู่, เหมือน เล็บ เสือ* นั้น.
      ป๋วม (404:6.5)
               คือ ต๋วม, เปน เสียง ของ ตก ลง ใน น้ำ. อย่าง หนึ่ง คน เดิร* มา ที่ น้ำ ตื้น ภอ ก้าว มา ได้ มี เสียง ดัง ป๋วม ๆ นั้น.
เปี่ยม (404:7)
         บริบูรณ, เต็ม, คือ เสมอ ขอบ, เหมือน น้ำ เต็ม เสมอ ขอบ ฝั่ง ฤๅ เสมอ สระ ฤๅ เสมอ ขอบขัน เปน ต้น นั้น.
      เปี่ยม ขอบ (404:7.1)
               คือ เต็ม เสมอ ขอบ* มี ขอบ ขัน เปน ต้น นั้น.
      เปี่ยม เต็ม (404:7.2)
               คือ ของ เต็ม เสมอ ขอบ* ปาก ภาชนะ เปน ต้น
      เปี่ยม จาน (404:7.3)
               คือ เต็ม เสมอ ขอบ จาน, เขา เอา น้ำ ใส่ ลง ใน จาน, จน เต็ม เสมอ ขอบ* นั้น.
      เปี่ยม ปริ่ม (404:7.4)
               คือ น้ำ เต็ม ที่ เกือบ จะ ล้น ลง นั้น.
      เปี่ยม ตลิ่ง (404:7.5)
               คือ น้ำ เต็ม เสมอ ขอบ* ตลิ่ง, เหมือน น่า น้ำ เดือน สิบสอง, น้ำ เหนือ ขึ้น มาก เสมอ ตลิ่ง นั้น.
      เปี่ยม คลอง (404:7.6)
               คือ น้ำ ขึ้น มาก เต็ม ฝั่ง คลอง ปริ่ม ๆ นั้น.
      เปี่ยม ฝั่ง (404:7.7)
               คือ เต็ม เสมอ ขอบ ฝั่ง นั้น, น่า น้ำ เดือน สิบสอง น้ำ เหนือ มาก เสมอ ขอบ* ฝั่ง นั้น.
      เปี่ยม เพียบ (404:7.8)
               คือ น้ำ เขา บันทุก ลง ใน เรือ จน ปริ่ม ๆ ปาก เรือ นั้น.
ป่าย (404:8)
         ปีน, ขึ้น, คือ ก้าว ท้าว ยาว ขึ้น ที่ สูง มี ต้น ไม้ เปน ต้น, คน ขึ้น ต้น ไม้ ไม่ มี ที่ จะ เหยียบ ภอ ก้าว, ที่ ภอ จะ เหยียบ ได้ อยู่ ห่าง เอา ท้าว ก้าว จน เหยียบ ได้.
      ป่าย ขึ้น (404:8.1)
               ปีน ขึ้น, คือ ทำ ก้าว ท้าว ให้ ยาว หา ที่ ภอ เหยียบ ได้, จึ่ง ก้าว ท้าว สะอึก ตัว ขึ้น ไป นั้น.
      ป่าย ปีน (404:8.2)
               ขึ้น ปีน, คือ ทำ ท้าว ก้าว ทะยาน สะอึก ตัว ปีน ขึ้น ที่ สูง, คน ไม่ มี ที่ จะ เหยียบ ใกล้ ก้าว ท้าว ไป ถึง ที่ ภอ เหยียบ ได้.
      ป่าย เปะปะ (404:8.3)
               ปีน เปะปะ, คือ ก้าว ท้าว ยาว เหยียบ ลง ที่ นี่ บ้าง, ที่ นั่น บ้าง, หลาย ที่ จึ่ง ขึ้น ไป ได้.
ป้าย (404:9)
         ทา, บ้าย, คือ หนังสือ จีน ตี ตรา หมาย เมือง กำหนฎ ว่า จะ ไป เข้า เมือง นั้น ๆ มี สำรับ สำเภา ทุก ลำ เรียก ว่า ป้าย ตาม ภาษา จีน นั้น.
ปาว (404:10)
         คือ เสียง ดัง ง่าว ๆ คน พูด เสียง ดัง ง่าว ๆ ด้วย ความ อัน ใด อัน หนึ่ง ว่า พูด ปาว ๆ.*
ป่าว (404:11)
         แสดง, ประกาษ, คือ คำ ประกาษ, เขา จะ ให้ พวก ชาว บ้าน ทำ การ ตาม พระ บรม ราช โองการ มา ร้อง ประกาษ นั้น.
      ป่าว ร้อง (404:11.1)
               บอก กล่าว, ประกาษ, คือ คำ ร้อง ประกาษ, บอก ให้ ราษฎร ทั้ง ปวง ทำ การ หลวง เปน ต้น นั้น.
      ป่าว ประกาษ (404:11.2)
               คือ คำ เขา ร้อง บอก, ให้ คน ชาว บ้าน ทุก ตำบล, ทำ การ หลวง อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น.

--- Page 405 ---
      ป่าว ปี่ (405:11.3)
               คือ พ่น ลม ปาก ให้ เข้า ใน รู* ปี่, มี เสียง ดัง เปน เพลง ต่าง ๆ เมื่อ เล่น ละคอน เปน ต้น นั้น.
      ป่าว แตร (405:11.4)
               ประโคม แตร, คือ พ่น ลม ปาก ให้ เข้า ใน รู แตร, เขา จะ ประโคม สำรับ ราชการ เปน ต้น เขา ป่าว แตร.
      ป่าว สังข์ (405:11.5)
               ประโคม สังข์, คือ พ่น ลม ปาก เข้า ใน รู สังข์, เมื่อ เขา จะ ประโคม สำรับ ราชการ เปน ต้น เขา ป่าว สังข์.
ป้าว (405:1)
         คือ ของ ทำ สำคัญ หมาย ไว้ จะ ยิง ปืน, เขา เอา กะดาด หนา ๆ มา ทำ สี่ เหลี่ยม กว้าง สี่ นิ้ว ที่ กลาง ทา ดำ ไว้ เท่า ลูก มะ ฃาม ป้อม.
ปิ๋ว (405:2)
         เปน ชื่อ คน ชื่อ ปิ๋ว มี บ้าง, คน มี ลูก ชาย ฤๅ หญิง ให้ ชื่อ ลูก ว่า เจ้า บ้าง.
      ปิ๋ว เล็ก (405:2.1)
               คือ ของ จิ๋ว จ้อย เล็ก, เหมือน ของ มัน เคย ใหญ่, แต่ มัน ไม่ ใหญ่ มัน จ้อน อยู่ นั้น.
ปุย (405:3)
         คือ ของ เลอียด เปน ปุย ยวง, เบา นัก ลม พัด มา ปลีว ลอย ไป ตาม ลม ได้ นั้น.
      ปุย นุ่น (405:3.1)
               เนื้อ นุ่น, คือ ไย ยวง ใน ลูก นุ่น, นุ่น ที่ เปน ไย ยวง เลอียด เบา ปลีว ลอย ไป ตาม ลม นั้น ว่า ปุย นุ่น.
      ปุย สำลี (405:3.2)
               คือ ไย ยวง สำลี, สำลี ที่ คน เอา ฝ้าย มา หีบ เอา เล็ด ออก หมด เนื้อ เลอียด นั้น.
      ปุย ฝ้าย (405:3.3)
               คือ ยวง ฝ้าย, ฝ้าย นั้น มี ลูก แก่ แล้ว แตก ออก เปน ยวง ยัง ไม่ ได้ ทำ เปน สำลี นั้น.
ปุ่ย แก้ม (405:4)
         คือ แก้ม ตุ่ย, คน เอา อัน ใด ใส่ เข้า ใน ปาก อม ไว้ ข้าง แก้ม ๆ มัน ตุง ตุ่ย นั้น ว่า ปุ่ย แก้ม.
ปุ๋ย ขาด (405:5)
         คือ เชือก ฤๅ ป่าน มัน ขาด ออก ง่าย นั้น ว่า ปุ๋ย ขาด.
แปว (405:6)
         คือ เสียง ดัง แปว ๆ เขา ตี แมว มัน ร้อง เสียง ดัง แปว ๆ มี บ้าง.
แป้ว (405:7)
         คือ แหว่ง เข้า ไป นั้น, เหมือน เปน จันทรอังฆาฎ แรก แหว่ง เข้า ไป นั้น ว่า แป้ว ไป เปน ต้น นั้น.
      แป้ว เบี้ยว (405:7.1)
               คือ แหว่ง เวียด เบี้ยว ไป นั้น.
ปอย (405:8)
         คือ ของ เปน ปอย ฝอย ศัก กำ มือ น้อย ๆ เขา ทำ ด้าย ฤๅ ไหม ขาด ออก เปน ฝอย, กำ มือ หนึ่ง นั้น ว่า ปอย.
      ปอย ด้าย (405:8.1)
               คือ ด้าย เปน ฝอย ออก จาก เข็ด ด้าย ที่ เขา หวี นั้น, ว่า ปอย ด้าย.
      ปอย ผม (405:8.2)
               คือ ผม ที่ เขา หวี ขาด ออก จาก หัว ที ละ น้อย ๆ นั้น ว่า ปอย ผม.
      ปอย ไหม (405:8.3)
               คือ เส้น ไหม ที่ เขา หวี, มัน ขาด ออก จาก เข็ด ไหม ที ละ เล็ก ที ละ น้อย นั้น.
ป่วย (405:9)
         เจ็บ, ไข้, คือ ความ เจ็บ ไข้, คน เจ็บ ด้วย โรค อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น, ว่า ป่วย บ้าง.
      ป่วย การ (405:9.1)
               เสีย การ, ช้า การ, คือ ทำ การ ไม่ เปลือง, คน ทำ การ อัน ใด แล ไม่ ใคร่ ทำ การ นั้น เนิน ช้า นั้น.
      ป่วย ไข้ (405:9.2)
               เจ็บ ไข้, คือ เจ็บ ไข้, คน เจ็บ ด้วย โรค ให้ ครั่น ตัว ปวด หัว ตัว ร้อน เปน ต้น นั้น.
      ป่วย งาน (405:9.3)
               ป่วย การ, คือ ทำ การ ไม่ เปลือง คน ทำ การ อัน ใด ไม่ ทำ โดย ปรกติ เชือน ไป เที่ยว, ฤๅ ชัก พูด ให้ การ ขาด ไป นั้น.
      ป่วย เจ็บ (405:9.4)
               คือ เจ็บ ไข้, คน เปน โรค อัน ใด ฤๅ ถูก ต้อง อัน ตราย อัน ใด, เจ็บ ป่วย อยู่ นั้น.
เปี้ยว (405:10)
         คือ ชื่อ สัตว อย่าง หนึ่ง ตัว มัน คล้าย กับ ปู, แต่ ก้าม มัน ใหญ่ ศี ฃาว ๆ อยู่ ที่ ชาย ทะเล น้ำ เค็ม นั้น.
เปื่อย (405:11)
         คือ เนื้อ ที่ หัว ฝี เปน ต้น มัน เน่า แตก ออก ไป นั้น.
      เปื่อย พัง (405:11.1)
               คือ เปื่อย แตก แยก ทำลาย ออก ไป, เหมือน ฝี หัว ใหญ่ มัน แตก หนอง เนื้อ ตก ออก ไป นั้น.
      เปื่อย เน่า (405:11.2)
               คือ ยุ่ย เยอะ เหมน, เหมือน เนื้อ คน ฤๅ สัตว ที่ ตาย แล้ว หลาย วัน ก็ ยุ่ยเยอะ เขลอะคลัก มี กลิ่น เหมน นั้น.
      เปื่อย ไป (405:11.3)
               คือ ของ มี ผ้า เปน ต้น, ที่ มัน แช่ น้ำ อยู่ ช้านาน มัน ผุ ยุ่ย ไป นั้น.
      เปื่อย ยุ่ย (405:11.4)
               คือ เยอะ เขลอะคลัก, เหมือน เนื้อ ที่ ไม่ ได้ ใส่ เกลือ ทิ้ง ไว้ ก็ เปื่อย คลัก ออก นั้น.
เป๋อ เหลอ (405:12)
         คือ หน้า คน ไม่ งาม ไม่ ฉลาด นั้น.
เปีย (405:13)
         คือ แว่น วง กลม, เปน ภาษา จีน ว่า เปีย, เหมือน ผม เจ๊ก ทำ เปน วง ไว้ ที่ หัว นั้น.
เป้อ ๆ ป่ำ ๆ (405:14)
         คือ อาการ คน ที่ พล้ำ เผลอ มัก พูด ผิด ๆ ถูก ๆ ไม่ สู้ แม่น ยำ นั้น.
เปีย สอง แหยม (405:15)
         คือ เปีย ทำ ไว้ ที่ หัว ลูก เด็ก ๆ ลูก เจ๊ก ชุม, ลูก ไทย ก็ มี บ้าง มี สอง ข้าง ที่ หัว นั้น.
เป้อ เย้อ (405:16)
         คือ อาการ คน ที่ ทำ การ ตก แต่ง เกิน ตัว เกิน วาศนา.

--- Page 406 ---
แปะ (406:1)
         คือ อี่ แปะ, อี่ แปะ นั้น เขา ทำ ด้วย สังกระสี บ้าง ทอง เหลือง เปน แผ่น วง กลม เท่า ลูก สะกา แต่ ว่า บาง.
เปาะ แปะ (406:2)
         คือ เสียง คน ตี ทอง เปน ต้น, จะ ทำ รูป พรรณ ต่าง ๆ นั้น ว่า เสียง.
โปะ (406:3)
         คือ เฝือก เขา วง จับ ปลา ที่ ทะเล, คน เจ๊ก มัน จับ ปลา มัน เอา ไม้ ทำ เปน สี้ เล็ก ๆ แล้ว เอา ปอ มา ถัก ติด กัน เปน ผืน ใหญ่ มัน เอา ลง หลัก ปัก ไว้ ใน ทะเล ล้อม ปลา ไว้ นั้น.
เปาะ เหลาะ (406:4)
         คือ อาการ ที่ เด็ก ๆ อยาก ได้ ของ อัน ใด ๆ แล มัน พูด ให้ ถูก ใจ เจ้า ของ นั้น.
ปอ (406:5)
         คือ เชือก ที่ ยัง ไม่ ได้ ฟั่น เปน เกลียว, เปลือก ไม้ ที่ เหนียว ๆ คน ลอก เอา มา นั้น.
ปอ แดง (406:6)
         คือ เปลือก ไม้ ใน ป่า คี มัน แดง เหนียว, เขา ลอก เอา มา, เปน ปอ ฟั่น เชือก ใช้ ได้.
ปอ กะเจา (406:7)
         คือ ปอ ต้น เล็ก ๆ เขา ปลูก ลอก เอา เปลือก มา ฟั่น เชือก ใช้ ได้ นั้น, เขา เรียก ต้น กะเจา.
ป้อ แป้ (406:8)
         คือ อ่อน แอ แล ธ้อ แท้ นั้น.
ป้อ ยอ (406:9)
         คือ กล่าว ยก ย่อง ต่อ หน้า ว่า ผู้ นี้ ดี เฉลียว ฉลาด ทำ การ ดี เปน ต้น.
ปรากฎ (406:10)
         คือ ของ ที่ แล เหน แน่ กับ ตา, เหมือน ของ ที่ อยู่ ไกล, คือ พระจันทร์ พระอาทิตย์ เปน ต้น ก็ ว่า ปรากฎ เพราะ เหน แน่ ถนัด ชัด* ตา.
ปราการ (406:11)
         เปน สับท์ แผลง แปล ว่า กำแพง ๆ นั้น เขา ก่อ ด้วย อิฐ แล้ว ถือ ปูน ฃาว นั้น.
ปรานี (406:12)
         คือ ความ เอ็น ดู, เช่น คน ที่ ต้อง ทุกข์ อัน ใด อัน หนึ่ง มี ผู้ อื่น เอ็น ดู ช่วย แก้ ไข เปลื้อง ความ ทุกข์ นั้น.
      ปราโมช (406:12.1)
               ยินดี อ่อน, คือ ความ ชื่น ชม โสมนัศ, คน ที่ ยิน ดี ใน คำ โอวาท พระเยซู, ว่า เขา มี ความ ปราโมช ยินดี.
      ปรารพภ์ (406:12.2)
               กล่าว ถึง, คิด ถึง, คือ เลง เอา เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง กล่าว ขึ้น, เหมือน คน แรก พูด ถึง เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น.
      ปรารมณ์ (406:12.3)
               ความ วิตก, คือ ความ วิตก ด้วย ทุกข์ ธุระ อัน ใด อัน หนึ่ง, คน คิด กลัว ทุกข์ อันตราย นั้น.
      ปราไสย (406:12.4)
               คือ ปรานี เอ็น ดู, คน เหน ผู้ อื่น มา ถึง เรือน ยินดี พูดจา ทัก เชิญ ให้ นั่ง เปน ต้น นั้น.
ปริ (406:13)
         คือ แยก ออก น้อย ๆ เหมือน ตะเข็บ ที่ เสื้อ ฤๅ กังเกง เปน ต้น มัน แยก ออก น้อย ๆ ว่า ปริ ออก นั้น.
      ปริ หนัง (406:13.1)
               คือ หนัง แย้ม แยะ ออก, เหมือน กาย คน ที่ งู มี มี พิศม์ มัน กัด บอม เต็ม ที จน หนัง แยะ ออก นั้น.
      ปริ ปาก (406:13.2)
               คือ แรก เปิด ปาก ออก วาจา อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น.
ปรีเปรม (406:14)
         คือ ความ กระเสม ศุก ใจ, เหมือน คน บริบูรณ ด้วย อิศีริยศ แล ทรัพย์ สมบัติ มี ใจ ศุข กระเสม
ปรีชา (406:15)
         คือ ปัญญา รู้ รอบ คอบ, คน มี ปัญญา ฉลาด อาจ รู้ การ ทั้ง ปวง โดย มาก นั้น.
      ปรีชา หาร (406:15.1)
               ว่า รู้ โดย รอบ แล กล้า หาร นั้น.
ปรีดา (406:16)
         คือ ความ ยินดี, คน ยินดี ใน คุณพระ เปน ต้น, ฤๅ ยินดี ด้วย ยศศักดิ์ นั้น.
ปรีดี (406:17)
         คือ การ ชื่น ชม ดี ใจ นั้น, เหมือน อย่าง ความ อิ่ม ใจ เปน ต้น.
ปรีชาญาณ (406:18)
         คือ ปัญญา รู้ รอบ คอบ, คน มี ปัญญา รู้ ใน การ งาน ฤๅ รู้ ใน ธรรม คำ สั่งสอน เปน ต้น นั้น
ปรีชาชาญ (406:19)
         คือ การ ที่ ชำนาญ รู้ โดย รอบ คอบ นั้น เอง.
ปรี่ (406:20)
         คือ ริน ๆ ไหล น้ำ ที่ แนว เรือ รั่ว หนิด หน่อย นั้น, ไหล ปรี่ ๆ คือ ไหล ริน ๆ รี่ ๆ นั้น.
      ปรี่ ไหล (406:20.1)
               คือ ของ แยก มี น้ำ ไหล ออก นั้น, เหมือน ผล ไม้ มี มะม่วง เปน ต้น, มัน สุก งอม จน ปริ มี น้ำ ไหล ออก นั้น.
      ปรี่ ไหล (406:20.2)
               คือ ไหล ริน ๆ เร็ว, น้ำ ที่ ไหล จาก แนว เรือ รั่ว เปน ต้น, แต่ ไหล แรง เขา ว่า ไหล ปรี่.
ปรื (406:21)
         หัด, ศึกษา, เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ต้น ไม้ ใหญ่ ใน ป่า มี ใบ ยาว สัก สาม นิ้ว ดู งาม นั้น.
ปรื๋ (406:22)
         คือ บิน ไป เร็ว นก ฤๅ ไก่, แรก บิน ออก จาก ที่ เร็ว นัก, เขา ว่า มัน บิน ปรื๋ ไป.
ปรุ (406:23)
         คือ ของ ทะลุ หลาย รู, ผ้า ฤๅ กะดาด ทะลุ รู เล็ก ๆ มาก, เขา ว่า มัน ทะลุ ปรุ ไป.
      ปรุ การ ศึก (406:23.1)
               คือ คน รู้ วิธี การ สงคราม มาก มาย หลาย อย่าง หลาย กล นั้น, ว่า ปรุ โปร่ง ใน การ ศึก.
      ปรุ กะดาด (406:23.2)
               คือ ทำ กะดาด ให้ ทะลุ เปน รู เล็ก ๆ มาก, เขา ทำ เครื่อง ศพ เปน ต้น, เขียน ลาย ลง ใน กะดาด แล้ว เอา เหล็ก สำรับ ปรุ ตอก ลง ให้ ทะลุ ตาม ลาย เขียน นั้น.

--- Page 407 ---
      ปรุ ทะลุ (407:23.3)
               คือ การ ที่ เขา เอา เหล็ก สำรับ ปรุ เจาะ หนัง เปน ให้ มี รู มาก นั้น.
      ปรุ หนัง (407:23.4)
               คือ ทำ หนัง วัว ให้ เปน รู เช่น ว่า, เขา เขียน รูป ภาพ ลง ใน หนัง, แล้ว เอา เหล็ก ตอก ให้ เปน รู ตาม ลาย เขียน นั้น.
      ปรุ เปราะ (407:23.5)
               คือ การ ที่ ทะลุ โปร่ง เปน รู เล็ก ๆ น้อย ๆ นั้น.
      ปรุ โปร่ง (407:23.6)
               คือ เปน รู ตลอด, เขา ทำ รู ทะลุ เล็ก ๆ เช่น ว่า ตลอด แล ดู โปร่ง ไป นั้น.
ปรู (407:1)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ ใหญ่ อย่าง หนึ่ง, ต้น ปรู นั้น มี แก่น หอม เกิด อยู่ ใน ป่า นั้น.
      ปรู กัน เข้า มา (407:1.1)
               คือ คน มาก พรู พร้อม กัน เข้า มา นั้น.
เปร (407:2)
         คือ เซ, ต้น ไม้ เปน ต้น เอน เซ ไป. อย่าง หนึ่ง เปน เที่ยง แล้ว สัก สีบห้า นาที ว่า ตวัน เปร ไป.
      เปร ปรวน (407:2.1)
               คือ เบือน หัน ไป, เหมือน กำปั่น ทอด สมอ อยู่ ดี, ครั้น ลม ตี ก็ เบือน หัน ไป นั้น.
      เปร ไป (407:2.2)
               คือ เซ ไป, ต้น ไม้ เปน เอน เซ ไป นั้น.
      เปร หัน (407:2.3)
               คือ อาการ ที่ เร่ หัน ไป.
      เปร มา (407:2.4)
               คือ เซ มา, ต้น ไม้ เปน ต้น เอน เซ มา.
      เปร ปั่น (407:2.5)
               คือ เร่ หัน, เหมือน กำปั่น ทอด สมอ อยู่ ตรง ลำ, ครั้น ถูก ลม ก็ เร่ หัน ไป.
แปร (407:3)
         คือ ปรวน ไป, เหมือน เมื่อ สิ้น ระดู ฝน แล ล่วง เข้า ระดู หนาว เปน ต้น, เขา ว่า ระดู แปร ไป นั้น.
      แปร (407:3.1)
                เปน อื่น ไป, คือ อาการ เมื่อ ระดู ฝน สิ้น ลง แล้ว เข้า ระดู หนาว นั้น, ว่า แปร เปน ระดู อื่น.
      แปร กลับ (407:3.2)
               คือ อาการ ที่ หัน กลับ, เมื่อ ลม พัด มา แต่ ทิศ ใต้ แล้ว กลับ แปร พัด มา แต่ ทิศ เหนือ เปน ต้น นั้น.
      แปร ไข้ (407:3.3)
               คือ กลับ ไข้, หมอ ผู้ รักษา โรค คน ไข้ เหน โรค จะ หนัก วาง ยา ให้ โรค เบา นั้น.
      แปร ผัน (407:3.4)
               คือ อาการ ที่ หมอ ผู้ รักษา ครรภ์ เข้า ประคอง หัน ทารก ใน ครรภ์ ให้ เปน ปรกติ นั้น.
      แปร หนังสือ (407:3.5)
               คือ แปล หนังสือ, หนังสือ บาฬี เปน มัคะธะ ภาษา ว่า, อะหัง แปล ว่า ข้า, เมภาษา เปน ต้น นั้น.
      แปร แน่ (407:3.6)
               คือ แปล มั่นคง, ผู้ เรียน หนังสือ สติปัญญา ดี แปล แน่ นัก ไม่ ผิด พลั้น นั้น.
      แปร ไป (407:3.7)
               คือ ผวน ผัน เปน อย่าง อื่น, คน เดิม พูด ฤๅ คิด การ ไว้ อย่าง หนึ่ง, แล กลับ พูด ฤๅ คิด เปน อย่าง อื่น นั้น.
      แปร ปาก หลาก คำ (407:3.8)
               คือ พูด กลับ กลอก ไม่ ยั่ง ยืน, คน พูด ว่า ไม่ คบหาสมาคม กับ คน นี้ ต่อ ไป แล้ว, ผ่าย หลัง กลับ ว่า เขา เปน เมีย เล่า นั้น.
      แปร ธาตุ (407:3.9)
               คือ การ ที่ คน ทำ ธาตุ เงิน ให้ เปน ทอง, คน พวก นักเลง แปร ธาตุ เอา เงิน กับ ทอง ประสม หลอม เข้า ด้วย กัน แล้ว ซัด ยา นั้น.
      แปร ปรวน (407:3.10)
               คือ เปน อื่น ไป, เหมือน ระดู หนาว ไม่ หนาว กลับ ให้ ร้อน เปน ต้น นั้น.
      แปร หมาย (407:3.11)
               คือ แปลง หมาย, คน เปน ความ กัน ละลาการ ให้ เขียน หนังสือ หมาย ชื่อ มา เกาะ จำเลย, เขียน มา ไม่ ถูก ผู้ เปน นาย ฝ่าย จำเลย เขียน ลง ใน หนังสือ หมาย เปน ต้น ว่า คน ชื่อ นั้น ไม่ มี.
แปร่ เสียง (407:4)
         คือ เสียง แซ่ แปร๋, เหมือน เสียง ที่ เขา ผัด หลอด แล กรอ ไหม นั้น.
แป๋ร เสียง (407:5)
         คือ เสียง ช้าง มัน ร้อง เมื่อ โกรธ จะ ไล่ คน เปน ต้น.
แป๋ร แป้รน (407:6)
         เปน เสียง ข้าง มัน ร้อง เมื่อ มัน โกรธ จะ* แล่น ไล่ คน เปน ต้น.
ปรำ (407:7)
         คือ เขา ทำ ของ มี น้ำ เปน ต้น, ลง ใน ภาชนะ อื่น โดย เร็ว นั้น.
      ปรำ ปน กัน ลง (407:7.1)
               คือ เอา ของ อื่น เท ปรำ เร็ว ลง ปน กับ ของ อื่น นั้น.
ประ (407:8)
         พรม, คือ เอา นิ้ว มือ ฤๅ ของ อื่น จุ่ม น้ำ ลง แล้ว สั่น ทำ ให้ น้ำ ถูก ของ ฤๅ ตัว คน เปน ต้น, เพื่อ จะ ให้ เปียก หนิด หน่อย นั้น.
      ประกาษ (407:8.1)
               คือ ร้อง บอก ความ นั้น, คน ร้อง บอก ความ ราช การ ด้วย เสียง อัน ดัง นั้น.
      ประกิจ ประกัน (407:8.2)
               ประกิจ นี้ เปน คำ สร้อย, แต่ ประกัน นั้น* ใช้ เหมือน ประกัน คน เปน ต้น.
      ประกวด (407:8.3)
               ประชัน, ประขัน, คือ แข่ง อวด กัน, คน จะ ใป ดู งาน มี การ พระศพ เปน ต้น เขา แต่ง ตัว ไป อวด กัน นั้น.
      ประกัน (407:8.4)
               รับ ตัว, คือ รับ เอา เปน ธุระ, เหมือน คน เอา คน ไป ขาย แล มี ผู้ รับ ว่า ถ้า ตัว ทาษ หนี ไป เอา กัน ข้า นั้น.

--- Page 408 ---
ประการ (408:1)
         ความ อัน ใด อัน หนึ่ง อย่าง หนึ่ง นั้น, ข้อ หนึ่ง อาชา* โทษ หลวง ท่าน ลง พร้อม ห้า ประการ เปน ต้น บ้าง.
      ประการ หนึ่ง (408:1.1)
               คือ ข้อ ความ อย่าง หนึ่ง, คน พูด ข้อ ความ อัน ฤๅ เรื่อง ความ ข้อ หนึ่ง นั้น. อนึ่ง อาชา* หลวง เปน ต้น มี ห้า ประการ นั้น.
      ประการ ใด (408:1.2)
               คือ ความ นั่น เปน อย่าง ไร.
ประกบ (408:2)
         คือ* ปะทะ กัน, คน เล่น ว่าว ชัก คน ละ ตัว มัน ขึ้น ใป ซ้อน กัน เข้า ใน อากาษ ว่า ประกบ กัน.
ประกับ (408:3)
         คือ ประกอบ กัน, คน ทำ กะใด แม่ กะใด เปน ไม้ บาง อ่อน กลัว จะ หัก เอา ไม้ อื่น ที่ หนา ประกอบ ติด เข้า นั้น.
ประกอบ (408:4)
         คือ ทำ ให้ ติด กัน, คน เย็บ ผ้า ปู โต๊ะ เปน ต้น ไม่ แผ่ เต็ม โต๊ะ เอา ผ้า อื่น ติด เข้า ว่า ประกอบ.
      ประกอบ ยา (408:4.1)
               คือ เอา ยา หลาย สิ่ง มา ประสม เข้า ด้วย กัน.
ประกัม (408:5)
         คือ สรวม* ลง. คน ทำ ฝา เรือน ด้วย ไม้ ไผ่ ไม่ ใส่ แม่ฝา เอา ปาก ลูกตั้ง สรวม ลง กับ พรึง นั้น.
ประกอป ยศ (408:6)
         คือ ของ ที่ ดี ที่ งาม มี ผ้า นุ่ง ห่ม สม ยศศักดิ์ เปน ต้น.
ประกาย (408:7)
         เปน ช่อ, ช่อ ไฟ แดง ๆ นั้น, เขา ตี เหล็ก ไฟ ฤๅ ตี เหล็ก ที่ มัน กระจาย เปน ช่อ แดง แตก ออก นั้น ว่า ประกาย.
      ประกาย พฤก (408:7.1)
               ดาว พระสุกร์, เปน ชื่อ ดาว ดวง หนึ่ง ใหญ่ กว่า ดาว อื่น, คือ ดาว พระสุกร์ ที่ อยู่ ใน อากาษ นั้น.
      ประกาย มาศ (408:7.2)
               เปน ชื่อ ช้าง พลาย คือ ช้าง ตัว ผู้, ชื่อ พลาย ประกาย มาศ มี ใน เรื่อง พงษาวะดาร นั้น.
ประคำ ไก่ (408:8)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ ใหญ่ อย่าง หนึ่ง, เขา เก็บ เอา ใบ เอา ราก ทำ ยา ได้ ใบ มัน รี ๆ นั้น.
ประคำ ดี ควาย (408:9)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ ใหญ่ อย่าง หนึ่ง, เขา เก็บ เอา ลูก มัน ทำ ยา แก้ พิศม์ ได้.
ประคำ ร้อย (408:10)
         เปน ชื่อ ฝี อย่าง หนึ่ง, มัน ขึ้น เปน เม็ด ๆ ตาม เกลียว ฅอ รักษา ยาก.
ประค่ำ ประเคน (408:11)
         ประค่ำ นั้น เปน คำ สร้อย, แต่ ประเคน นั้น ใช้ เมื่อ กระหัฐ ส่ง ของ สอง มือ ให้ พระ นั้น.
ประคอง (408:12)
         ตระกอง, คือ อาการ ที่ คน เอา มือ ป้อง ไว้ นั้น, คน ป่วย กำลัง น้อย จะ นั่ง ตั้ง ตัว อยู่ ไม่* ได้, คน อื่น เอา มือ ยึด ป้อง ไว้ นั้น.
      ประคอง กอด (408:12.1)
               คือ อาการ ที่ คน เอา แขน อ้อม โอบ ตัว ผู้ อื่น แล้ว รวบ รัด ไว้ นั้น.
      ประคอง กาย (408:12.2)
               คือ อาการ ที่ ประคอง ตัว, คน ป่วย นัก กำลัง น้อย นั่ง ทรง ตัว ไม่ ได้ คน อื่น ยึด ตัว ไว้ นั้น.
      ประคอง ประคับ (408:12.3)
               ประคอง นั้น เช่น ว่า แล้ว, แต่ ประคับ เปน คำ สร้อย.
      ประคอง ใจ (408:12.4)
               คือ รักษา น้ำ ใจ, เอา ใจ ไว้ ว่า อย่า กลัว ไม่ เปน ไร ไม่ เปน ต้น นั้น.
      ประคอง องค์ (408:12.5)
               คือ ประคอง กาย, แต่ ว่า พูด เปน คำ สูง สำรับ จ้าว ฤๅ พระสงฆ์ เปน ต้น นั้น.
ประคิ่น (408:13)
         คือ มี อัฌา อาไศรย, เหมือน คน เดิร ใน หน ทาง ลื่น ค่อย ก้าว เดิร ไป กลัว จะ ล้ม, ฤๅ คอย ทำ การ กลัว ของ จะ เสีย นั้น.
      ประคิ่น วิ่นชา (408:13.1)
               คือ ความ ห้าม ไม่ ให้ เผลอ เลิน เล่อ นั้น.
ประเคน (408:14)
         คือ ส่ง ของ ให้ สอง มือ, คน ส่ง ของ กิน ให้ พระ สงฆ์ ด้วย มือ ทั้งสอง นั้น.
ประโคน (408:15)
         คือ เสา ปัก หมาย เขตร แดน ไว้, คน สอง ฝ่าย แบ่ง ที่ กัน ปัก เสา ใหญ่หมาย ไว้ เปน สำคัญ ว่า เสาประโคน.
ประคบ (408:16)
         คือ การ ที่ เขา เอา ผ้า ห่อ ยา เข้า แล้ว นึ่ง ให้ ร้อน แล้ว วาง เข้า ที่ กาย บวม นั้น, เพื่อ ให้ หาย บวม ฤๅ เพื่อ ให้ หาย เมื่อย นั้น.
ประคับ ประคอง (408:17)
         คำ ประคับ เปน คำ สร้อย, แต่ ประคอง นั้น เช่น ว่า มา แล้ว นั้น.
ประโคม (408:18)
         คือ เขา ทำ ปี่ภาษ เปน ต้น, เมื่อ พิทธี การ หลวง ว่า ประโคม ด้วย ปี่ภาษ เปน ต้น.
      ประโคม ยาม (408:18.1)
               คือ การ ที่ คน เมื่อ เวลา ถึง ยาม แล้ว ตี กลอง มะโหระทึก ขึ้น ที่ ใน พระราชวัง นั้น.
      ประโคม แตรสังข์ (408:18.2)
               คือ การ ที่ เขา เป่า แตรสังข์, เมื่อ เวลา จะ เอา ฤกษ ยาม เปน ต้น นั้น.

--- Page 409 ---
ประงา (409:1)
         ระงา, คือ การ ที่ เขา ทำ ให้ งา ช้าง สอง ตัว เข้า ใกล้ กัน, คน ขี่ ช้าง คน ละ ตัว ผูก ตีน มัน ไว้ ทั้งสอง ตัว แล้ว อย่อน เชือก ออก ภอ งา มัน ถึง กัน.
ประจ๋อ ประแจ๋ (409:2)
         กระหนอ กระแหน, คือ พูด จา ประเหลาะ ประ- แหละ, คน ชาย หญิง เด็ก หนุ่ม สาว, อยาก ได้ ของ เขา ชัก ชวน พูด อย่าง โน้น อย่าง นี้ นั้น.
ประจุ พระธาตุ (409:3)
         คือ เอา พระธาตุ เข้า ใส่ ไว้ ใน องค์ พระเจดีย์ เปน ต้น นั้น.
ประจามิต (409:4)
         คือ คน เปน สัตรู, คน สอง ฝ่าย ไม่ ชอบ โกรธ แค้น คิด คด ประทุษฐร้าย แก่ กัน นั้น.
ประจุ (409:5)
         คือ เอา ของ เข้า ใส่ ไว้ ใน ที่ ตาม ตำแหน่ง นั้น.
      ประจุ ปืน (409:5.1)
               คือ ยัด ลูก ดิน ปืน เท ใน ลำ ปืน, แล้ว เอา หมอน ใส่ เข้า นั้น.
      ประจุ บัน (409:5.2)
               คือ เวลา กาลบัดนี้.
      ประจุ พระ (409:5.3)
               คือ เอา พระ เข้า ใส่ ไว้ ใน ที่ เขา ก่อ พระเจดีย์, แล้ว เอา รูป พระ เข้า ตั้ง ไว้ ใน พระเจดีย์ นั้น.
      ประจุ ไสมย (409:5.4)
               ฯ แปล ว่า เวลา อาทิตย์ กำจัด เสีย ซึ่ง มืด นั้น.
ประแจ (409:6)
         เปน ของ ที่ ทำ ลั่น ไว้ ที่ หู หีบ, ฤๅ ที่ ประตู เพื่อ ไม่ ให้ คะโมย เปิด เอา ของ ได้ นั้น.
      ประแจ กล (409:6.1)
               คือ ประแจ มี ไก่ ใน ที่ สำรับ ไข นั้น.
      ประจำ (409:6.2)
               คือ ของ ที่ ติด กัน อยู่ เปน นิจ, เหมือน เสื้อ แล หมวก กังเกง มัก ติด อยู่ กับ ตัว หมอ เปน ต้น นั้น.
      ประจำ ที่ (409:6.3)
               คือ การ ที่ คน ผู้ ต้อง เกน ตาม ตำแหน่ง ไป อยู่ ตาม ที่ ของ ตัว นั้น.
      ประจำ การ (409:6.4)
               คือ คน มี การ ติด ตัว อยู่, เหมือน คน สำรับ เปน พนักงาน ตี กลอง บน หอ กลอง เช้า มืด เปน ต้น นั้น.
      ประจำ เฝ้า (409:6.5)
               คือ การ ที่ คน ไม่ ไป ไหน อยู่ คอย ดู แล ใน ที่ นั้น.
      ประจำ ของ (409:6.6)
               คือ เฝ้า ของ อยู่, คน ทำ ราชการ เปน ต้น นาย มอบ ให้ เฝ้า ของ อยู่ นั้น.
      ประจำ เมือง (409:6.7)
               คือ ดาว ฤกษ ดวง หนึ่ง ว่า เปน ดาว สำรับ บอก เหตุ ร้าย แล ดี ใน เมือง นั้น.
      ประจำ คน (409:6.8)
               คือ เฝ้า ดู คน อยู่, คน ราชการ นาย ให้ คุม คน ทำ งาน อยู่, ไม่ ให้ มัน หนี ได้ นั้น.
      ประจำ ตัว (409:6.9)
               คือ ของ มี เสื้อ แล กังเกง เปน ต้น, ที่ คน ใส่* ติด ตัว อยู่ เปน นิจ แล เปน นิจ นั้น.
      ประจำ งาน (409:6.10)
               คือ คน ติด ทำ การ อยู่, คน ราชการ นาย ให้ เล่น งาน หลวง อยู่, ไป ไหน ไม่ ได้ นั้น.
ประจัก (409:7)
         คือ เหน แน่ แก่ ตา, คน เหน ของ ที่ ใกล้ ที ไกล แน่ กับ ตา ไม่ สงไสย นั้น.
      ประจัก ใจ (409:7.1)
               คือ รู้ เหตุ อัน ใด พินิจ พิจารณา เหน จริง แจ้ง ใน ใจ นั้น.
      ประจัก แจ้ง (409:7.2)
               คือ เหน สิ่ง อัน ใด ด้วย ตา ปรากฎ จริง นั้น.
ประจง (409:8)
         คือ ทำ การ โดย ไม่ มัก ง่าย, คน กลัว ของ จะ เสีย ค่อย ทำ ไม่ ให้ ของ เสีย นั้น.
ประจำ ไว้ (409:9)
         คือ การ ที่ ให้ คน กำกับ อยู่, ด้วย กลัว จะ เสีย การ จะ เปน อื่น นั้น.
ประเจียด (409:10)
         คือ ผ้า เครื่อง อย่าง หนึ่ง สำรับ กัน ไภย, เขา เอา ผ้า ฃาว ยาว สอง ศอก กว้าง ศอก เศศ เขียน เลก ยัญ แล อักษร วิเศศ กัน ไภย ลง ไว้ นั้น.
ประจำ รุ่ง (409:11)
         คือ ดาว ดวง หนึ่ง, เคย ขึ้น เวลา รุ่ง เปน นิจ ตาม ระดู นั้น.
ประเจิด ประเจ้อ (409:12)
         คือ การ ที่ ไม่ กำบัง ปก ปิด, คน เอา ของ กิน นั้น ไป จาก บ้าน ไม่ ปก ปิด กำบัง ไป, ว่า ทำ ประเจิด ประเจ้อ ไป นั้น.
ประจญ สัตรู (409:13)
         คือ สู้ กับ สัตรู นั้น.
ประจญ กัน (409:14)
         คือ สู้ กัน รบ กัน นั้น, เหมือน อย่าง นาย ทหาร รบ กัน.
ประจญ (409:15)
         คือ ต่อ สู้ ธรมาน เหมือน พระยะโฮวา กระทำ แก่ พวก ยิศราเอล นั้น.
ประจัน (409:16)
         คือ โต้ ตอบ กัน นั้น.
      ประจัน บาน (409:16.1)
               คือ ความ ต่อ สู้ สามารถ ไม่ ถอย หนี, ด้วย มี กำลัง กล้า แขง เรี่ยว แรง นัก นั้น.
      ประจัน หน้า (409:16.2)
               คือ ประเชิญ หน้า กัน.
      ประจัน รบ (409:16.3)
               คือ รบ โต้ ตอบ กัน นั้น.
ประจาน (409:17)
         คือ กล่าว ถึง ความ ชั่ว* ของ ผู้ อื่น อื้อ อึง, ให้ คน ทั้ง ปวง รู้. อย่าง หนึ่ง เปน โทษ หลวง, ท่าน ให้ ร้อง กล่าว โทษ ตัว เอง ให้ เขา รู้ นั้น.

--- Page 410 ---
      ประจาน* ตัว (410:17.1)
               เหมือน ทำ การ อัน ใด เปน การ ใหญ่ การ นั้น ไม่ สำเร็จ ค้าง อยู่ เพราะ ความ จน, ว่า ทำ ประจาน ตัว.
ประจบ (410:1)
         คือ ประสม, คน ไม่ รู้ ไม่ เหน พูด ประจบ ว่า ข้า ก็ ได้ รู้ ได้ เหน ได้ ฟัง นั้น. อย่าง หนึ่ง นับ ของ ได้ เก้า แล้ว นับ เข้า อีก หนึ่ง เปน สิบ นั้น. อย่าง หนึ่ง* สั้น ภอ อ้อม วง รอบ ตัว ชาย ผ้า ภอ ถึง กัน.
      ประจบ ประ*แจง (410:1.1)
               คือ ประสม ประสาน ผู้ อื่น นั้น.
ประจวบ (410:2)
         คือ จวน จะ ถึง กัน, คน สอง ฝ่าย, ข้าง หนึ่ง ไป ข้าง หนึ่ง มา, ภอ ถึง ที่ เลี้ยว ก็ ถึง เข้า พร้อม กัน ที่ นั่น นั้น.
ประจิม (410:3)
         เปน ชื่อ ทิศ ตวันตก, ว่า โดย มะคธ ภาษา, ว่า ทิศ ประจิม. อย่าง หนึ่ง เมือง ชื่อ ประจิม.
      ประจิม ทิศ (410:3.1)
               คือ ทิศ ตวันตก นั้น.
ประชา (410:4)
          ฯ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า สัตว, บันดา สัตวดิรัจฉาน แล มนุษ, เรียก ว่า สัตว โดย มะคธ ภาษา นั้น.
      ประชา ราษฎร (410:4.1)
               คือ ชน ชาว พระนคร นั้น, เหมือน อย่าง ชาว เมือง ฤๅ คน อยู่ ใน แว่น แคว้น นั้น.
      ประชาชน (410:4.2)
               คือ ประชุม ชน นั้น.
ประชี (410:5)
         คือ ทำ ฝ้าย ให้ เปน สำลี, เขา เอา ยวงฝ้าย มา หีบ เมล็ด ออก หมด แล้ว ตี* ให้ เปน ไย ออก นั้น, ว่า ประชี ฝ้าย.
ประชด (410:6)
         คือ การ ที่ เติม ของ ให้ มาก โดย โกรธ, ลูก จะ เอา ของ ครั้น ให้ แล้ว ว่า น้อย จะ เอา อีก, เขา โกรธ อยิบ ฃอง ให้ จน เหลือ การ นั้น.
ประชิด (410:7)
         คือ ติดพันธ์ ใกล้ กัน, คน รบ ศึก สงคราม ยก ทหาร ไป ตั้ง ค่าย ใกล้ กัน เข้า, ว่า ตั้ง ค่าย ประชิด กัน.
ประชิด (410:8)
         คือ การ ติดพันธ์ กัน นั้น, เหมือน อย่าง ฆ่าศึก ประชิด กัน นั้น.
ประชัน (410:9)
         คือ การ แข่ง* กัน, เหมือน คน เล่น โขน ต่อ โขน นั้น ด้วย กัน ใน ที่ ใกล้ กัน เวลา เดียว กัน, ว่า ใคร จะ ดี กว่า กัน นั้น.
      ประชัน กัน (410:9.1)
               คือ การ ที่ แข่ง กัน, เหมือน การ เล่น มี ละคอน นั้น สอง โรง เล่น ใน ที่ ใกล้ กัน, ว่า ใคร* จะ ดี กว่า กัน นั้น.
ประชวน (410:10)
         คือ ความ เจ็บ. เขา พูด เปน คำ สูง สำรับ เจ้า, ว่า เจ้า ท่าน ประชวน ไป นั้น.
      ประชวน* พระยอด (410:10.1)
               คือ เจ็บ ฝี, มัน เปน หัว ขึ้น มา นั้น, เปน คำ หลวง.
ประช่ำ ประชวน (410:11)
         เปน คำ หลวง, เจ้า ป่วย ว่า ประช่ำ ประชวน อยู่ อย่า อื้ออึง ไป.
ประชุม (410:12)
         คือ มา พร้อม กัน มาก, คน มา จะ ฟัง เทศ ฤๅ จะ สวด นั้น, พร้อม กัน มาก นั้น.
ประเชิญ (410:13)
         คือ เย็บ ผ้า ติด ต่อ กัน, ผ้านุ่ง เก่า ขาด กลาง ผืน, เขา ฉีก ออก เอา ข้าง ดี ต่อ ดี เย็บ ต่อ ติด กัน เข้า นั้น.
      ประเชิญ น่า (410:13.1)
               คือ เอา น่า ต่อ น่า เข้า เย็บ ต่อ กัน.
ประเด ให้ (410:14)
         คือ มอบ ให้ ทั้ง หมด สิ้น, เหมือน เจ้าวิลาศ มอบ การงาน ฝั่ง มา ข้าง เมืองใหม่, ให้ เปน ธุระ เซอยอนเบาริง นั้น.
ประดา (410:15)
         คือ ประดัง, คน กรู กัน เข้า มา พร้อม กัน มาก คราว เดียว กัน, ว่า ประดา กัน เข้า มา นั้น.
      ประดา กัน เข้า ไป (410:15.1)
               คือ ให้ เข้า เสมอ หน้า กัน เข้า ไป.
      ประดา เสีย (410:15.2)
               คือ เสีย มาก, ของ อัน ใด ชั่ว ไม่ ดี มาก นั้น, ว่า พูด ว่า ชั่ว ประดา เสีย นั้น.
      ประดา น้ำ (410:15.3)
               คือ คน ที่ ดำ น้ำ ทน นาน กว่า คน อื่น นั้น.
ประดู่ (410:16)
         คือ เปน ชื่อ ต้นไม้ ใหญ่ อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ ป่า ใหญ่, ใบ เล็ก ดอก เหลือง แล หอม.
      ประดู่ เสน (410:16.1)
               เปน ชื่อ ต้นไม้ ใหญ่. อย่าง หนึ่ง มัน มี แก่น ศรี แดง, จึ่ง เรียก ประดู่ เสน.
ประดัก ๆ (410:17)
         คือ สำ ลัก น้ำ, คน ว่าย น้ำ ไม่ เปน ตก ลง ที่ น้ำ ฦก ยัง ไม่ จม ก่อน ทำ มือ ตกาย สำลัก ประดัก ๆ นั้น.
      ประดัก ประเดิด (410:17.1)
               คือ การ ที่ มี ความ ลำบาก หน่อย นั้น.
ประดง (410:18)
         เปน ชื่อ โรค อย่าง หนึ่ง, ผุด ขึ้น ที่ ตัว เปน ให้ แผ่น คัน นัก, ให้ เมื่อย ใน ฅอ ด้วย นั้น.
      ประดง ช้าง (410:18.1)
               คือ โรค อย่าง หนึ่ง มัน เกิด เปน เม็ด ผื่น พรึง ไป ที่ ตัว, มัน ให้ คัน ให้ เมื่อย, เขา เอา ปลอก ช้าง ต้ม กิน หาย นั้น.
ประดัง (410:19)
         คือ ประดา, คน มา จะ ฃอ หนังสือ นั้น, มา มาก อยาก ได้ ประดัง กัน เข้า มา นั้น.
      ประดัง พร้อม กัน (410:19.1)
               คือ สำเนียง ที่ คน ร้อง ขึ้น ว่า ร้อง.

--- Page 411 ---
ประดุง (411:1)
         คือ ทำนุกบำรุง, คน ตกแต่ง ตัว ด้วย อาบ น้ำ แล นุ่งห่ม หลับ นอน นั้น, ว่า บำรุง กาย.
      ประดุง การ (411:1.1)
               คือ เกื้อกูล การ งาน, แล ช่วย ขวนขวาย ใน การ งาน นั้น.
      ประดุง เลี้ยง (411:1.2)
               คือ บำรุง เลี้ยง แล ช่วย พิทักษ รักษา นั้น.
ประแดง (411:2)
         เปน ชื่อ คน ราชการ อย่าง หนึ่ง, มี ใน กรม ใหญ่ สำรับ บาญชีย เลก หลวง.
ประเคียง (411:3)
         คือ นิมนต พระสงฆ, พวก สังคะรี ข้าราชการ เปน พนักงาน นิมนต์ พระสงฆ, ว่า เปน ผู้ ประเดียง สงฆ.
ประฏิบัติ (411:4)
         คือ ปรนิบัติ.
ประดิฐ (411:5)
         คือ คิด ฉลาด, คน เปน ช่าง เขียน นั้น คิด เขียน แปลก วิเสศ ต่าง ๆ, เขา ว่า ช่าง ประดิฐ.
      ประดิฐ สร้าง (411:5.1)
               คือ การ ที่ คน ฉลาด ก่อสร้าง, เหมือน เรือน ที่ พวก หมอ ว่า ให้ นาย ช่าง ทำ นั้น.
      ประดิษฐาน (411:5.2)
                ฯ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า ตั้ง อยู่ จำเภาะ, คน ตั้ง ของ ไว้ จำเภาะ แก่ พระเจ้า นั้น.
      ประดิฐ ทำ (411:5.3)
               คือ ฉลาด ทำ ของ ให้ วิเสศ ต่าง ๆ, มิ วาด เขียน นั้น.
ประดุจ (411:6)
         เปน คำ อุประมา, เขา พูด ว่า ของ นี้ ดู รุ่ง เรือง ประดุจ แสง พระอาทิตย นั้น.
      ประดุจ ดั่ง (411:6.1)
               คือ เช่น แล อย่าง นั้น แล เหมือน, แล เหน ปาน นั้น เปน ต้น.
      ประดุจ หนึ่ง (411:6.2)
               ความ เหมือน ประดุจดั่ง นั้น.
ประดน (411:7)
         คือ ความ ที่ ให้ ของ นอก จาก ราคา ซื้อ, คน ขาย ฟืน นั้น ไม่ ให้ เลือก ว่า เล็ก ใหญ่, ให้ นอก จาก ราคา อีก ร้อย หนึ่ง นั้น.
ประเด็น (411:8)
         ข้อ ความ, คือ ข้อ ความ ที่ ฟ้อง กัน, คน วิวาท กัน ด้วย เหตุ อัน ใด เอา ความ นั้น ไป ฟ้อง, ความ นั้น เปน ข้อ ประเด็น.
ประดอน (411:9)
         คือ ความ ที่ เอา ไม้ อุด ไว้, คน ขาย ไม้ ซุง เปน โพรง เอา ไม้ อื่น อุด เข้า ไว้ ให้ แน่น นั้น.
ประดวน (411:10)
         คือ เอา ไม้ แยง เข้า ใน รู นั้น, คน ยัด ปืน เล็ก ใหญ่ เอา ใม้ แซ่ ยอน แยง เข้า ไป ว่า ประดวน.
ประดับ กระจก (411:11)
         คือ เอา กระจก รำดับ เข้า.
ประดับ (411:12)
         คือ จัด แจง ให้ เรียบ ร้อย, เหมือน คน จัด อักษร พิมพ์ ลำดับ ให้ เรียบ ดี นั้น.
      ประดับ เครื่อง (411:12.1)
               คือ เอา เครื่อง มี เครื่อง แต่ง ตัว นั้น ประดับ เข้า ที่ ตัว.
      ประดับ ประดา (411:12.2)
               ประดับ นั้น ว่า แล้ว, แต่ ประดา เปน คำ สร้อย.
      ประดับ พลอย (411:12.3)
               คือ หัวแหวน เก้าศรี ติด ฝัง เข้า กับ เรือน แหวน ทอง คำ นั้น.
      ประดับ เพ็ชร์ (411:12.4)
               คือ เอา เพ็ชร ฝัง ที่ เรือน แหวน นั้น.
      ประดับ มุก (411:12.5)
               คือ เอา มุก ประดับ เข้า ที่* รูป ตลุ่ม นั้น.
ประแดะ (411:13)
         คือ ของ เปน เครื่อง มือ ช่าง ทอง อย่าง หนึ่ง, เขา ทำ ด้วย เขากวาง, มี ด้ำ เหมือน ค้อน นั้น.
ประฎิพัทธ์ (411:14)
          ฯ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า ติด จำเภาะ, เหมือน หญิง กับ ชาย เหน กัน เข้า มี ใจ รัก ใคร่ กัน นั้น, ว่า มี ใจ ประฎิพัทธ์.
ประถม เหตุ (411:15)
         คือ เหตุ ที่ บังเกิด แรก แล้ว จึ่ง มี เหตุ เปน ที่ สอง ที่ สาม ต่อ ไป.
ประทา* ศี ประทา กล้อง (411:16)
         คือ ทอง คำ เปลว เปน อย่าง หนา เหมือน ทอง คำ เปลว หลวง นั้น.
ประเตะ (411:17)
         คือ ยก ท้าว ขึ้น หวด เข้า, คน ยก ท้าว ขึ้น หวด เข้า ที่ ตัว คน อื่น ด้วย โกรธ นั้น.
ประทะ ประทัง (411:18)
         คือ อาการ ดำรงค์ ทรง อยู่ นั้น.
ประทะ (411:19)
         คือ คน สอง พวก มา ถึง กัน เข้า, กอง ทัพ สอง ฝ่าย พวก หนึ่ง ไป, พวก หนึ่ง มา ถึง กัน เข้า, ว่า ปะทะ กัน.
      ประทะ ขึ้น มา (411:19.1)
               คือ ลม ใน กาย คน ที่ มัน แดก ขึ้น มา นั้น.
ประทุก (411:20)
         คือ เอา ของ มาก ขน ลง ใส่ ใน เรือ นั้น, คน จะ ไป ค้า ขน สีนค้า ใส่ ลง ใน เรือ นั้น.
      ประทุก ประทา (411:20.1)
               คือ การ ที่ บันทุก ของ ลง ใน เรือ นั้น.
ประทักษิณ (411:21)
         คือ เวียน ไป เบื้อง ขวา นั้น.
ประทัง (411:22)
         คือ ทรง อยู่, โรค คน ไข้ ไม่ หนัก ไม่ เบา เสมอ อยู่, ว่า โรค ประทัง อยู่.
ประเทือง (411:23)
         คือ พยุง เผยอ ขึ้น, เรือ หนัก ไป ถึง ที่ น้ำ ตื้น คน ลง พยุง ขึ้น ภอ ไป ได้ นั้น.*

--- Page 412 ---
ประทุม (412:1)
         คือ บัวหลวง ที่ มัน มี ดอก มี ฝัก ต้น เปน หนาม นั้น.
      ประทุมชาติ (412:1.1)
               คือ บัวหลวง มัน เกิด ขึ้น.
ประทัด (412:2)
         คือ ไม้ ฤๅ เส้น ด้าย ที่ ทำ ให้ ของ อื่น ตรง, คน จะ เขียน หนังสือ, เอา ไม้ ที่ เหลี่ยม ตรง วาง ลง ขีดเส้น ให้ ตรง ฤๅ จะ เลื่อย ไม้ เอา ด้าย ดำ ดีด เข้า นั้น.
ประทุษฐร้าย (412:3)
         คือ เบียด เบียฬ ต่าง ๆ นั้น, คน ร้าย ฤๅ สัตว ร้าย ทุบ ตี ฤๅ ขบ กัด นั้น.
ประทม ประโทฬ (412:4)
         คือ พระเจดีย์ ใหญ่ มี อยู่ ทิศ ตวันตก, ใกล้ เมือง นครไชศี นั้น.
ประเทศ (412:5)
         คือ ที่ ใด ๆ มี ที่ บ้าน ที่ เมือง, แล ที่ ลำเนา ทุ่งนา ป่า ดง นั้น.
ประทาน (412:6)
         คือ ให้, คน เปน เจ้า ให้ ของ แก่ คน ต่ำ กว่า โดย วาศนา นั้น, ว่า เจ้า ประทาน.
      ประทาน ของ (412:6.1)
               คือ ให้ ของ, เปน คำ หลวง ว่า ประทาน ของ.
ประทุน (412:7)
         คือ ของ เขา ทำ กั้น ฝน แล แดด ที่ เรือ, เขา เอา ไม้ ไผ่ ผ่า เปน ซี่ แล้ว ขด ลง ที่ เรือ, แล้ว เอา จาก มุง นั้น.
ประทวน (412:8)
         คือ ทำ ไว้ แทน กัน, ทาษ จะ ส่ง เงิน ค่าตัว หนังสือ กรม หาย ไป, เจ้าเงิน ทำ หนังสือ อื่น ให้, หนังสือ นั้น เรียก ว่า หนังสือ ประทวน.
ประทับ (412:9)
         คือ แอบ เข้า เหมือน* เรือ พระที่นั่ง เจ้า จอด เข้า, ว่า ประทับ เข้า. อย่าง หนึ่ง เขา ตี ตรา ลง ที่ ใบ หนังสือ ก็ ว่า ประทับ ตรา.
      ประทับ ตรา (412:9.1)
               คือ เอา ตรา ตี ลง ที่ หนังสือ นั้น.
      ประทับ ยั้ง (412:9.2)
               คือ อยุด ยั้ง เปน คำ หลวง ว่า.
      ประทับ พล (412:9.3)
               คือ ให้ พล อยุด ลง อยู่ นั้น.
      ประทับ ร้อน (412:9.4)
               คือ การ อยุด ให้ หาย ร้อน, เจ้า เสด็จ ไป เวลา กลาง วัน แดด ร้อน อยุด อยู่ ใน ที่ ร่ม, เปน คำ หลวง ว่า.
      ประทับ แรม (412:9.5)
               คือ อยุด นอน อยู่ คืน หนึ่ง นั้น, เปน คำ หลวง.
ประทีป (412:10)
         คือ เตกียง ฤๅ เทียน นั้น, บันดา ของ ที่ จุด ไฟ ให้ แสง สว่าง ได้ เรียก ว่า ประทีป, เว้น ไว้ แต่ คบ นั้น.
      ประทีป ด้ำ (412:10.1)
               คือ ประทีป ที่ ติด ปัก ลง กับ พื้น ได้ นั้น.
ประเทียบ (412:11)
         คือ เรียบ เรียง, คน จัด โต๊ะ จัด สำรับ, ก็ ว่า ประเทียบ โต๊ะ ประเทียบ สำรับ นั้น.
ประแปร้น เสียง (412:12)
         คือ เสียง ช้าง มัน ร้อง เมื่อ มัน โกรธ ฤๅ มัน เจ็บ นั้น.
ประทม (412:13)
         คือ นอน, เจ้า นอน เขา ว่า เจ้า ประทม, พูด เปน คำ สูง เปน คำ เพราะ นั้น.
ประธาน (412:14)
         คือ เปน เค้า เปน เดิม นั้น.
ประณิธาน (412:15)
          ฯ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า ตั้ง ไว้ ซึ่ง ความ ปราฐนา จะ เปน พระเจ้า นั้น.
ประ น้ำ (412:16)
         คือ เอา น้ำ ประ ไป เอา มือ วัก เอา น้ำ ประ ไป นั้น.
ประนินทิน (412:17)
         คือ หนังสือ ที่ พวก โหร ทำ เลข, ดู เทวดา จร ใน จักร สิบสอง ราศรี นั้น.
ประแป้ง (412:18)
         คือ ทำ แป้ง เปียก เข้า ที่ หน้า, ให้ แป้ง มัน ติด ขาว ๆ อยู่ นั้น.
ประนต (412:19)
         คือ ยก มือ ทั้งสอง ขึ้น เปน กระพุ่ม เสมอ หน้าผาก โดย เคารพย์ นั้น.
ประนี ประนอม (412:20)
         คือ การ ที่ โน้ม น้าว ให้ เปน สามะคี รศ ชื่นชม พร้อม เพรียง กัน.
ประนม (412:21)
         คือ ยก กระพุ่ม มือ ทั้งสอง ขึ้น เสมอ หน้าผาก, ไหว้ เคารพย์ แก่ บิดา มารดา นั้น.
      ประนม มือ (412:21.1)
               คือ ทำ นิ้วมือ ทั้ง ซ้าย ขวา ให้ เปน กระพุ่ม นั้น.
      ประนม กร (412:21.2)
               คือ ยก กระพุ่ม มือ ไหว้, คน เคารพย แก่ ผู้ ใหญ่ มี มารดา แล บิดา นั้น.
ประหนึ่ง (412:22)
         คือ ประดุจ หนึ่ง นั้น.
ประนาม (412:23)
         คือ ยก มือ ไหว้ แล้ว กราบ ลง โดย ใจ เคารพย แก่ ท่าน ผู้ แก่ ผู้ เฒ่า นั้น.
      ประนาม น้อม (412:23.1)
               คือ ยก กระพุ่ม นิ้วมือ ทั้งสอง ข้าง, แล้ว น้อม กาย ลง กราบ ไหว้ นั้น.
ประนอม (412:24)
         คือ ประนม มือ ทั้งสอง แล้ว โน้ม กาย อ่อน โอน ลง ไหว้ โดย ใจ เคารพย นั้น.
ประน้อม (412:25)
         ยอม กัน, คือ ความ ทำ สามักคีรศ, คน สอง ฝ่าย แตก ร้าว ขัด เคือง กัน ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง, มี ผู้ หนึ่ง ช่วย ว่า กล่าว ให้ ดี เปน สามักคี กัน นั้น.
ประนต กาย (412:26)
         คือ น้อม กาย ลง คำนับ นั้น.
ประเนาะประแนะ (412:27)
         คือ ประเลาะ ประและ, คน อยาก ได้ ประโยชน์ ชัก ชวน เขา พูด ต่าง ๆ นั้น.

--- Page 413 ---
ประ บ่า (413:1)
         คือ ผู้หญิง ไว้ ผม ยาว ถึง บ่า นั้น.
ประ ปราย (413:2)
         คือ หน้า คน ที่ มี แผล ฝี พร้อย ๆ เรี่ยราย นั้น, ว่า หน้า ออก ฝี ประปราย.
ประเพณีย (413:3)
         คือ จริต เยี่ยง อย่าง, การ ที่ มี มา แต่ โบราณ, ว่า การ นั้น เปน ประเพณีย.
ประพฤติ (413:4)
         คือ การ ที่ เปน ไป, คน ทำ การ อัน ใด ฤๅ ทำ ตาม โอวาท สั่ง*สอน นั้น.
ประพฤติ (413:5)
         คือ การ ที่ เปน ไป, คน ทำ การ อัน ใด ฤๅ ทำ ตาม โอวาท สั่งสอน นั้น.
ประพฤทธิ์ เหตุ (413:6)
         คือ เหตุ ที่ มัน เปน ไป นั้น.
ประพรั่น (413:7)
         คือ สะทก สะท้าน ใน ใจ หน่อย ๆ, เพราะ กลัว ไภย.
ประพาศ (413:8)
         คือ ไป เที่ยว เล่น, เหมือน พระ มหา กระษัตริย์ เสด็จ ไป เที่ยว เล่น ป่า, ว่า ประพาศ.
      ประพาศ ป่า (413:8.1)
               คือ ไป เที่ยว ชม ป่า เล่น, เปน คำ หลวง ว่า.
      ประพาศ เนื้อ (413:8.2)
               คือ ไป เที่ยว ยิง เนื้อ, เปน คำ หลวง ว่า.
ประเพศ (413:9)
         คือ อาการ คน ต่าง ๆ ภาษา, มี อาการ นุ่ง ห่ม นั้น, ภาษา ละ อย่าง นั้น.
ประไพ (413:10)
         คือ งาม, คนเจริญ อยู่ ใน ประถมไวย, มี ผิวพรรณ อัน งาม นั้น.
      ประไพ งาม (413:10.1)
               คือ ละไม งาม เหมือน ของ ที่ วิไลย งาม.
ประพัศษร (413:11)
         คือ แจ่ม ใส, เหมือน กระจก ที่ มี เงา กระจ่าง ดี ไม่ มัวหมอง นั้น.
ประพิมพ์ ประพาย (413:12)
         คือ รูป พรรณ สัณฐาน แห่ง คน.
ประพาร (413:13)
         เปน ชื่อ แก้ว อย่าง หนึ่ง, แก้ว นั้น มี ศรี แดง อ่อน ไม่ สุก นัก นั้น.
ประ พรม (413:14)
         คือ เอา มือ ชุบ น้ำ ประ ๆ ไป นั้น.
ประม่า (413:15)
         คือ จิตร ฟุ้ง ซ่าน อุทัด, เหมือน คน ใจ ไม่ องอาจ เข้า สู่ ที่ ประชุม จะ สำแดง ธรรม นั้น.
      ประม่า บ้าบิ่น (413:15.1)
               คือ อุทัด มี จิตร กำเริบ ฟุ้งซ่าน, ราว กับ จะ คลั่ง ไป นั้น.
ประหมาท ใจ (413:16)
         คือ ใจ ปมาท หมิ่น นั้น.
ประมาท (413:17)
         คือ ความ ดู หมิ่น เมา, คน ถือ ว่า ตัว ของ ตัว ดี อยู่ ยัง ไม่ ตาย ก่อน นั้น.
ประโมง (413:18)
         คือ คน มุ่ง แต่ จะ ฆ่า ปลา เปน นิจ นั้น, คน ชาว บ้าน ชาย ทะเล นั้น, มุ่ง แต่ จะ ฆ่า ปลา เปน นิจ, ว่า ชาว ประโมง.
ประมาณ (413:19)
         คือ กำหนฎ คาด ของ, คน เหน ของ อัน ใด มาก นั้น, ว่า แพ ไม้ ไผ่ ก็ คะเน คาด ประมาณ ว่า สัก เท่า นั้น เท่า นี้ นั้น.
      ประมาณ เท่า ไร (413:19.1)
               คือ มี มาก น้อย เท่า ไร, ฤๅ ใกล้ ไกล เท่า ไร นั้น.
      ประมาณ มิ ได้ (413:19.2)
               คือ คาด กำหนฎ มิ ได้ แน่.
      ประมาณ การ (413:19.3)
               คือ กำหนฎ การงาน ว่า การ น้อย แล มาก นั้น.
ประมูล (413:20)
         คือ เพิ่ม เติม เข้า, คน ทำ อากร เงิน หลวง อยู่, คน อื่น จะ ใคร่ ทำ, ไป เพิ่ม ประมูล ขึ้น อีก มาก กว่า คน เดิม นั้น.
      ประมูล ขึ้น (413:20.1)
               คือ ทวี เพิ่ม เติม ขึ้น, เหมือน เงิน อากร ฤๅ ภาษี หลวง, เดิม เขา เก็บ อยู่ สิบชั่ง, ผู้ อื่น อยาก จะ เก็บ บ้าง, ฃอ ทวี เพิ่ม ขึ้น สิบห้าชั่ง นั้น.
ประมวน (413:21)
         คือ รวบ รวม เข้า, ของ มาก เอา เรี่ยราย ไว้ หลาย แห่ง, แล้ว เก็บ เอา มา รวม ไว้ แห่ง เดียว กัน.
ประยุรวงษ (413:22)
         คือ สกูล วงษ, เปน คำ สูง คำเพราะ, เรียก คน ที่ เปน เชื้อวงษ ใน ราชินิกูล นั้น.
ประยูร ญาติ (413:23)
         คือ เผ่าพงษวงษ ญาติ, เปน คำ หลวง.
ประยูร (413:24)
         คือ สกูล, เปน คำ เรียก คน ที่ เปน เผ่าพันธุ ใน ราชินิกูล ที่ มี ยศ ใหญ่ นั้น.
ประโหยค (413:25)
         คือ ประกอบ, คน เปน นักปราช*, ผูกพันธ์ สับท์ มะคธ ภาษา เข้า เปน เรื่อง ยาว นั้น.
ประหยัด (413:26)
         คือ ให้ ระมัด ระวัง, เหมือน เดิน ทาง ไป ที่ ลื่น ต้อง ระวัง กลัว จะ ล้ม นั้น.
ประโยชน์ (413:27)
         คือ กิจการ ที่ มี คุณ, การ อัน ใด เปน ต้น ว่า หูง เข้า, การ นั้น เปน ประโยชน์ มี ผล.
ประยงค์ (413:28)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง ย่อม อย่าง หนึ่ง, ใบ มัน คล้าย ใบ แก้ว, มี ดอก หอม เปน ชาติ ไม้ ป่า.
ประหรัก หัก พัง (413:29)
         คือ ของ เก่า คร่ำ คร่า ทำลาย ลง, เหมือน ของ ใหญ่ มี โบถ นั้น, พัง ทำลาย ลง นั้น.
ประราลี (413:30)
         คือ ไม้ เล็ก ๆ, เท่า ขน ห่าน ปลาย มัน เรียว แหลม เหมือน เหล็ก ไน, เขา ปัก ไว้ ที่ หลังคา บุศบก นั้น.

--- Page 414 ---
ประแหรก (414:1)
         คือ ไม้ กรร ขา เกวียน มิ ให้ หลุด ออก มา นั้น, คน ทำ เกวียน กลัว ขา เกวียน จะ หลุด ออก, ทำ ไม้ ประแหรก ใส่ ไว้ นั้น.
ประรามาศ (414:2)
         แปล ว่า ลูบ คลำ*.
ประหรัด (414:3)
         คือ ข้าง, เขา เรียก พระตำหนัก ใน พระราชวัง, ที่ อยู่ ข้าง พระ มหาประสาท เรียก พระประหรัด.
ประริมณฑล (414:4)
         คือ ที่ วง รอบ เหมือน ดวง จันทร์ ดวง อาทิตย.
ประหรอด (414:5)
         คือ ของ ศรี เหมือน ดีบุก เหลว เปน น้ำ คว่าง อยู่, ทำ ให้ มัน แขง ไม่ ใคร่ ได้ นั้น.
ประหรวด (414:6)
         คือ น้ำ หนอง ที่ อยู่ ใน แผล ฝี นั้น, คน มี แผล ข้าง ปาก แผล หาย เข้า แล้ว ข้าง ใน ยัง มี หนอง อยู่ นั้น, ว่า เปน ประหรวด.
ประรืน นี้ (414:7)
         อีก สอง วัน, คือ วัน ถัด พรุ่ง นี้ ไป, เหมือน วัน มี วัน คั่น อยู่ วัน หนึ่ง, เขา เรียก วัน นั้น ว่า ประรืน นี้.
ประรำ (414:8)
         คือ ดาษ ด้วย ลำแพน, เขา จะ ผัด ฬ่อ ล้อ ช้าง, เขา ปัก ไม้ เสา ขึ้น หลาย เสา แล้ว เอา ลำแพน ขึ้น ดาษ ไว้ นั้น.
ประไลย (414:9)
         คือ ตาย ฤๅ ฉิบหาย, คน ตาย ไป ก็ ว่า ประไลย, กัลป์ ฉิบหาย ก็ ว่า ประไลย.
      ประไลยโลกย (414:9.1)
               คือ ให้ โลกย ฉิบหาย นั้น, เหมือน อย่าง น้ำ ประไลยโลกย นั้น.
      ประไลยกัลป์ (414:9.2)
               คือ ให้ กัลป์ ฉิบหาย นั้น, เหมือน อย่าง ไฟ ประไลยกัลป์ นั้น.
      ประไลยลาญ (414:9.3)
               คือ ตาย มาก หลาย.
ประโลม (414:10)
         คือ กล่าว ปลอบ โยน ว่า อย่า กลัว เรา จะ อยู่ เพื่อน, ฤๅ เรา จะ หา ให้ นั้น.
      ประโลม ปลอบ (414:10.1)
               คือ อาการ ที่ เคล้า คลึง แล กล่าว คำ เอา ใจ ต่าง ๆ นั้น, ว่า ไม่ เปน ไร นั้น.
      ประโลม เคล้า (414:10.2)
               คือ อาการ ที่ เคล้า คลึง สร้วม กอด นั้น.
      ประโลม ใจ (414:10.3)
               คือ การ ที่ กล่าว คำ เอา ใจ, ว่า ถึง ท่าน ทำ อย่าง นั้น จะ เปน ไร มี.
ประเล้า ประโลม (414:11)
         คือ คำ ปลอบ โยน, คน ทารก ร้องไห้ จะ เอา อัน ใด ฤๅ เพราะ กลัว, เขา ปลอบ ว่า เรา จะ หา ของ ให้ ฤๅ เรา จะ ไล่ มัน เสีย นั้น.
ประโลม ประเล้า (414:12)
         คือ อาการ ที่ เคล้าคลึง รึง รัด กัน นั้น, เหมือน คน พูด เอา เนื้อ เอา ใจ นั้น.
ประหลัด (414:13)
         คือ คน เปน ที่ สอง, คน เปน ขุนนาง ตั้ง อยู่ ใน ที่* สอง จาก ขุนนาง ใหญ่, เรียก ประหลัด.
ประลาศหนี (414:14)
          ฯ, เปน สับท์ ติด กับ คำ แปล เปน ไท, คือ หนี ไป นั้น.
ประหลาด (414:15)
         คือ ของ หลาก ๆ ฤๅ เหตุ หลาก ๆ, ของ แปลก พึง มี มา, ฤๅ เหมือน การ ที่ ทำ ถ่าย รูป นั้น.
      ประหลาด ใจ (414:15.1)
               คือ ความ พิศวง, มี แผ่นดิน ไหว นั้น เหมือน อัศจรริย์.
ประหลาศนาการ (414:16)
          ฯ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า มี อาการ จะ หนี, คน สำแดง อาการ จะ หนี, มี ตระเตรียม ตัว นั้น.
ประหลาดหลาก (414:17)
         คือ พิศวง แปลก ใจ, เหมือน ของ ที่ บังเกิด ใน อากาศ ต่าง ๆ, คน เหน พิศวง แปลก ใจ นั้น.
ประโล ประเล (414:18)
         คือ อาการ ที่ พูด จา ไม่ ชัด จัด แจ้ง, เหมือน จีน ที่ เขา มา แต่ เมือง จีน ใหม่ ๆ นั้น.
ประเหลาะ (414:19)
         คือ การ ที่ คน อยาก ได้ ของ, แล พูด ไม่ ให้ เจ้า ของ โกรธ ขัด เคือง, ด้วย คำ อ่อน หวาน นั้น.
      ประเหลาะ ประแหละ (414:19.1)
               คือ ประจ๋อ ประแจ๋ นั้น, คือ คน ชักชวน คน อื่น พูดจา ต่าง ๆ นั้น, ว่า พูด ประเหลาะ ประแหละ นั้น.
ประเพณีย (414:20)
          ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า เยี่ยงอย่าง จริต ฤๅ ธรรมเนียม มี มา แต่ ก่อน นั้น.
ประหวัติ (414:21)
         คือ กาละ เวลา ที่ เปน ไป นั้น, เวลา รุ่ง เช้า แล้ว สาย ขึ้น ถึง เที่ยง นั้น, ว่า กาละ เปน ไป.
ประเวษ (414:22)
          ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า เข้า ไป, คน เข้า ไป ใน บ้าน ใน เมือง ใน เรือน นั้น.
ประหวั่น ใจ (414:23)
         คือ ความ พรั่น กลัว, เหมือน คน มา จ้าง สอน หนังสือ หมอ, ใจ พรั่น กลัว ราชทัณฑ์ อยู่ นั้น.
ประหวั่น หวาด (414:24)
         คือ อาการ ที่ คน ตก ใจ เมื่อ ไภย อัน ใด, มี ราชไภย นั้น จะ มา ถึง ตัว นั้น.
ประวิง (414:25)
         คือ แกล้ง ทำ ให้ การ เนิ่น ช้า, คน เปน ความ กัน รู้ ว่า ความ จะ แพ้, แล แกล้ง เชือน เสีย ไม่ มา ว่า กล่าว นั้น, ว่า ทำ ประวิง เสีย.

--- Page 415 ---
ประเว่ ประวิง (415:1)
         คือ อาการ ที่ ทำ พว้า พวัง, มี จะ ไป แล้ว ไม่ ไป, แล จะ ให้ แล้ว ไม่ ให้ นั้น.
ประสา (415:2)
         คือ ตาม ที่ เปน ไป, คน มั่งมี ก็ อยู่ ตาม ประสา มั่งมี, คน จน ก็ อยู่ ตาม ประสา จน นั้น.
      ประสา เด็ก (415:2.1)
               คือ อาการ กิริยา ของ เด็ก นั้น, ฤๅ วิไลย แห่ง เด็ก มี คนอง เล่น นั้น.
ประศี* ประสา (415:3)
         ประศี เปน คำ ลร้อย, แต่ ประสา นั้น ความ เช่น อธิบาย แล้ว นั้น.
ประสะ (415:4)
         คือ ฟอก ชำระ, คน หูงดินประสิว ได้ มาก ยัง ไม่ ขาว ดี เอา ใส่ ใน กะทะ เอา น้ำ ใบไม้ ที่ กัด ใส่ ลง, ให้ มัน กัด มลทิน ขาว ออก ไป นั้น, ว่า ประสะ.
      ประสะ ฝี (415:4.1)
               คือ เอา น้ำยา พ่น ฤๅ ชะโลม หัว ฝีดาษ, จะ ให้ มัน มี หนอง ขึ้น นั้น.
ประสก (415:5)
         เปน คำ พระสงฆ เรียก ผู้ ชาย ฆะฤๅหัฐ, ว่า ประสก ตาม บัญญัติ พระเจ้า นั้น.
      ประสก สีกา (415:5.1)
               คือ คน เพศ ฆะฤๅหัฐ ชาย หญิง.
ประสัก (415:6)
         คือ ไม้ เขา ใส่ ที่ รู กง ตรึง ลง กับ พื้น เรือ นั้น, คน ทำ เรือ ใหม่ แรก ลง กง เหลา ไม้ เล็ก เท่า นิ้ว มือ, ตรึง กง ลง กับ เนื้อ เรือ นั้น, เรียก ลูก ประสัก.
      ประสัก เรือ (415:6.1)
               คือ ไม้ แก่น เล็ก ๆ เท่า นิ้วมือ, เขา ใส่ รู กง ตรึง ลง ที่ เนื้อ เรือ นั้น.
ประสงค์ (415:7)
         คือ ความ ต้องการ, แล ความ จะ เอา, แล ความ อยาก ได้, คน จะ เอา ของ สิ่ง ใด ว่า ประสงค์ สิ่ง นั้น.
ประสาท ทอง (415:8)
         คือ ประสาท ที่ เขา ปิด ทอง คำ เปลว นั้น.
ประสาท (415:9)
         ว่า เปน ที่ ยินดี. อย่าง หนึ่ง เปน ของ เรือน อย่าง ไท แล จีน, แล อังกฤษ, เขา ทำ สาม ชั้น ก็ มี, ห้า ชั้น ก็ มี, เจ๊ด ชั้น ก็ มี.
ประสาต ให้ (415:10)
         คือ ประสิทธิ์ ให้ เปน อัน ขาด ที เดียว.
ประสิทธิ์ (415:11)
         ว่า การ สำเร็จ, คน ทำ การ อัน ใด ถ้า การ นั้น แล้ว เสร็จ ว่า ประสิทธิ์. อย่าง หนึ่ง คน ทำ วิธี เสก เวทมนต์ อัน ใด เปน ได้ ก็ ว่า ประสิทธิ์.
      ประสิทธิ์ ประสาต (415:11.1)
               คือ ประสิทธิ์ ให้ ขาด, ตาม แต่ จะ ทำ ให้ สำเร็จ.
ประสูต (415:12)
         คือ คลอด บุตร, พูด* ถึง หญิง เมีย เจ้า คลอด บุตร ว่า ประสูตรบุตร.
      ประสูตร เจ้า (415:12.1)
               คือ คลอด บุตร เปน ลูก เจ้า, ว่า เปน คำ หลวง นั้น.
ประเสริฐ (415:13)
         คือ เลิศล้ำ, ของ ที่ ดี ยิ่ง ของ นั้น เขา ว่า เปน ของ ประเสริฐ นั้น.
      ประเสริฐ เลิศล้ำ (415:13.1)
               คือ สิ่ง ของ ที่ วิเสศ เลิศล้ำ ล่วง ซึ่ง สิ่ง ของ อื่น ๆ นั้น.
ประสาน (415:14)
         คือ สอด นิ้วมือ สอง ข้าง เข้า ติด กัน. อย่าง หนึ่ง ช่าง เขียน ๆ ศรี อากาศ, กวาด ให้ ศรี เครื่อง เขียน ประสาน กัน เข้า. อย่าง หนึ่ง ทำ บาดแผล ให้ หาย ด้วย เวทมนต์ เสก นั้น อย่าง หนึ่ง ร้อง ให้ เสียง เข้า กับ เพลง มะโหรี นั้น, ว่า ประสาน เสียง.
      ประสาน ศรี (415:14.1)
               คือ ประสม ศรี ขาว เขียว นั้น, คน ช่าง เขียน เคลือบ ศรี จะ ให้ เหมือน ศรี ฟ้า, เคลือบ กวาด ด้วย ภู่กัน ประสาน ศรี ต่าง ๆ นั้น.
      ประสานทอง (415:14.2)
               คือ เอา หัวบาด ต่อ หัวบาด ทาบ กัน เข้า, แล้ว เอา น้ำประสาน ทา เข้า แล้ว เอา เข้า ไฟ ทำ ให้ หัวบาด มัน ติด กัน เปน วงแหวน นั้น.
      ประสาน เสียง* (415:14.3)
               คือ ทำ เสียง ให้ เข้า กับ เพลง มะโหรี นั้น, ผู้ หญิง ร้อง ทำ เสียง ให้ เข้า กับ เสียง ขลุ่ย, ว่า ประสาน เสียง.
      ประสาน มือ (415:14.4)
               คือ สอด นิ้วมือ ทั้งสอง ข้าง เข้า ประจบ กัน นั้น.
      ประสาน หัดถ์ (415:14.5)
               คือ ประสาน มือ แต่ ว่า เปน คำ หลวง.
ประสบ (415:15)
         คือ ภบ กัน, คน หนึ่ง เดิน ไป, คน หนึ่ง เดิน มา ภบ กัน, ว่า มา ประสบ กัน.
      ประสบ กัน (415:15.1)
               คือ ภบ กัน ปะกัน นั้น, เหมือน อย่าง คน มา ประสบ กัน นั้น.
      ประสบ ตา (415:15.2)
               คือ แล ดู ภอ ตา สอง คน ถึง ตา ปะ ตา กัน นั้น.
      ประสบ เหน (415:15.3)
               คือ แล ดู ภอ เหน ประจวบ กัน เข้า นั้น.
ประสม (415:16)
         คือ เอา เข้า ด้วย กัน, คน หมอ เอา ยา มา หลาย สิ่ง รวม เข้า ด้วย กัน นั้น, ว่า ประสม กัน.
      ประสม โขลง (415:16.1)
               คือ เอา ฝูง ช้าง สอง ฝ่าย ไล่ มา เข้า เปน ฝูง เดียว กัน, ฝูง ช้าง เรียก ว่า โขลง.

--- Page 416 ---
      ประสม โรง (416:16.2)
               คือ เอา คน ที่ เปน ละคอน รำ นั้น, มา ประสม เล่น โรง เดียว* กัน.
ประหัศบดี (416:1)
         เปน ชื่อ วัน ๆ หนึ่ง, เขา นับ วัน ตั้ง แต่ วัน อาทิตย ไป ถึง วัน ที่ ห้า นั้น เปน วัน พฤหัศบดี.
ประหัด ประหาร (416:2)
         คือ ตี โบย, คน วิวาท กัน ด้วย ความ อัน ใด อัน หนึ่ง, ตี กัน ด้วย มือ นั้น.
ประหาร (416:3)
         คือ ตี รัน, คน วิวาท กัน, บันดาน โกรธ ต่าง คน ต่าง ตี รัน กัน นั้น.
ปรก (416:4)
         คือ ประปก, เหมือน ผม คน ไม่ ได้ หวี, ประปก ลง ถึง หน้า นั้น, เขา ว่า ผม ปรก.
      ปรก อยู่ กรรม (416:4.1)
               คือ ที่ เขา ทำ เปน อาสม เล็ก ๆ, สำรับ ให้ พระสงฆ ไป นั่ง ธรมาน กาย ลุแก่โทษ นั้น.
      ปรกติ (416:4.2)
               คือ คน อยู่ ดี ไม่ ป่วย ไข้ นั้น, คน เคย อยู่ อย่าง ไร ก็ อยู่ อย่าง นั้น, ว่า เปน ปรกติ อยู่.
      ปรกปรำ (416:4.3)
               คือ อาการ ที่ ทำ งาน หนัก, มี ผ้า นุ่ง ห่ม คี่ริ้ว เศร้า หมอง นั้น.
ปรัก (416:5)
         เปน ภาษา เขมน เรียก เงิน ว่า ปรัก, พวก เขมน เมือง กำภูชา นั้น, เงิน ว่า ปรัก.
ปริก (416:6)
         คือ ทอง คำ, ช่าง ทำ เปน ชั้น เปน เถา, ใส่ ที่ ฝาโถ ฤๅ ขวด ใส่ เครื่อง แป้ง น้ำมัน นั้น.
      ปริก ต้น (416:6.1)
               เปน ชื่อ ต้นไม้ ย่อม อย่าง หนึ่ง, ต้น มัน ขึ้น เปน กอ ใบ มัน เล็ก, เขา ทำ ยา ได้ บ้าง, อยู่ ริม ฝั่ง น้ำ.
      ปฤกษา (416:6.2)
               คือ หาฤๅ กัน, คน จะ ทำ การ สิ่ง ใด จะ ให้ ดี ให้ งาม เขา หาฤๅ กัน ว่า เรา จะ ทำ อย่าง ไร จึ่ง จะ ดี.
      ปฤก น้ำมัน (416:6.3)
               คือ น้ำมันยาง, เขา หูง เปน น้ำมันปฤก, สำรับ ทา เรือ ให้ เปน มัน งาม นั้น.
      ปฤกษา (416:6.4)
               คือ หา รือ*, คน จะ ทำ การฤๅ มี เหตุ อัน ใด ไต่ ถาม ปรอง ดอง กัน ว่า จะ ทำ อย่าง ไร ดี.
      ปฤกษา หาฤๅ (416:6.5)
               คือ การ ที่ เขา ไต่ ถาม ข้อ ความ สนทนา กัน เปน ต้น ว่า, อย่าง นั้น ถูก ฤๅ อย่าง นี้ ถูก นั้น.
ปรง (416:7)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, มี อยู่ ชาย ทะเล ที่ น้ำ เค็ม ใบ มัน ยาว เปน ทาง คล้าย ใบ จาก นั้น.
      ปรง ป่า (416:7.1)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ เช่น ว่า, แต่* มน มี ใน ป่า ดอง* ใบ เล็ก ๆ กว้าง* ปรง ชาย ทะเล.
ปรัง (416:8)
         คือ เข้า ปรัง แล หัว หอม ปรัง, เข้า นา ปรัง แล หัว หอม ปรัง, คือ เข้า ปลูก ใช่ เทษกา ฝน ว่า ปลูก ผิด ระดู.
ปราง (416:9)
         คือ ต้น ไม้ มะปราง ๆ นั้น, เปน ไม้ ใหญ่ มี ลูก สุก เหลือง กิน เปรี้ยว ๆ หวาน ๆ บ้าง หวาน ชิด บ้าง.
      ปรางค์ มาศ (416:9.1)
               คือ ประสาท ทอง, เปน คำ สับท์.
      ปรางค์ ประสาท (416:9.2)
               เปน ชื่อ ประสาท เหมือน ใน พระราชวัง, เขา ทำ มี ยอด เปน ชั้น ปิด ทอง ดู งาม นั้น.
      ปราง ทอง (416:9.3)
               คือ ประสาท ทอง นั้น.
ปริง (416:10)
         คือ ชื่อ ต้น ไม้ ปริง, คล้าย กับ ต้น มะปราง ผล กิน เปรี้ยว ไม่ หวาน เลย เขา ดอง กิน.
ปรุง (416:11)
         คือ แต่ง อยา ประสม เปน ต้น, คน เก็บ ทรัพอยา* มา หลาย สิ่ง, แล้ว จัด แจง แต่ง เข้า ด้วย กัน นั้น.
      ปรุง น้ำ อบ (416:11.1)
               คือ เขา เอา เครื่อง หอม หลาย สิ่ง มา ใส่ ลง ใน ที่ อบ ยัง ไม่ สู้ หอม หนัก นั้น.
      ปรุง แป้ง (416:11.2)
               คือ แต่ง แป้ง* ที่ หอม สำรับ ทา ตัว ให้ หอม เอย็น ชื่น ใจ เมื่อ ระดู ร้อน นั้น.
      ปรุง ปรับ (416:11.3)
               คือ จัด แจง แต่ง, แล ปรับ ตัว ไม้ ให้ ได้ กัน เปน ต้น นั้น.
      ปรุง อยา (416:11.4)
               คือ จัด แจง แต่ง อยา, เขา เก็บ เครื่อง อยา มา มาก หลาย สิ่ง แล้ว หั่น ฟัน สับ ออก ประสม เข้า ด้วย กัน นั้น.
      ปรุง เรือน (416:11.5)
               คือ แต่ง ตัว ไม้ จะ ปลูก เรือน พร้อม แล้ว, จัด ใส่ กัน เข้า ตาม ที่ ลอง ดู ถ้า ขัด ขวาง ก็ แก้ ไข ไป นั้น.
เปร็ง (416:12)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ เล็ก ๆ ย่าน ราก มัน เขา เอา มา ใช้* เปน รู ทำ กล้อง สำรับ สูบ อยา แดง.
แปรง (416:13)
         เปน ของ เขา ทำ ด้วย ฃน สัตว ฝัง เข้า กับ ไม้ สำรับ หวี ผม บ้าง, ทา เครื่อง เขียน บ้าง.
      แปรง หนึ่ง (416:13.1)
               คือ หนังสือ บาญชีย์, เขา เขียน เปน หลาย ยอด ๆ หนึ่ง, เรียก ว่า แปรง หนึ่ง บ้าง.
      แปรง หวี ด้าย (416:13.2)
               เปน ของ เขา ทำ ด้วย รกตาล สำรับ หวี ด้าย, คล้าย กับ แปรง หวี ผม.
      แปรง ม้า (416:13.3)
               คือ ขน ที่ ฅอ ม้า มัน มี เส้น แขง กระด้าง กว่า เส้น ขน ที่ อื่น มัน นั้น.
      แปรง หมู (416:13.4)
               คือ ขน หมู อยู่ ที่ ฅอ มัน, เปน ขน เส้น ใหญ่ ๆ แขง กว่า ขน ที่ อื่น มัน นั้น.

--- Page 417 ---
      แปรง หวี ผม (417:13.5)
               คือ แปรง ที่ พวก ชาว เมือง วิลาศ ฤๅ เมือง อะเมริกัน ทำ สราง ผม นั้น.
แปร่ง (417:1)
         คือ เสียง ไม่ ชัด, คน ชาว เมือง นอก มี เมือง ละคอน เปน ต้น, พูด ไม่ ชัด* ว่า เสียง* แปร่ง ไป.
      แปร่ง เสียง (417:1.1)
               คือ เสียง ที่ คน เปน ภาษา อื่น จะ ขืน พูด ภาษา อื่น ให้ ชัด มัน ไม่ ชัด นั้น.
โปร่ง (417:2)
         คือ ของ มี รู เล็ก ๆ มาก, เหมือน ผ้า ป่าน ที่ เขา ทำ มุ้ง ฤๅ ผ้า ที่ เขา ทำ มา แต่ ต่าง ประเทษ นั้น มี บ้าง.
      โปร่ง ขวด (417:2.1)
               คือ ขวด แก้ว ที่ แจ่ม ไสย ไม่ มัวหมอง แล ตลอด ไป นั้น.
      โปร่ง ผ้า (417:2.2)
               คือ ผ้า ปรุ เปน รู เล็ก ๆ แล ดู ปรุ อยู่ นั้น.
      โปร่ง ฟ้า (417:2.3)
               คือ กรวจ ลาว ยาว ศัก สอง ศอกเศศ. พวก ลาว ไข รู ชะนวน ตลอด หัว นั้น.
      โปร่ง ปรุ (417:2.4)
               คือ ที่ พื้น มี หนัง เปน ต้น, ที่ เขา ทำ ให้ เปน รู ทะ ลุะ เปน ช่อง เล็ก ๆ นั้น.
      โปร่ง เปร่ง (417:2.5)
               คือ โหรง เหรง, เหมือน ต้น เข้า ใน นา ที่ น้ำ แห้ง มัน เสีย ไป มี อยู่ แต่ ห่าง ๆ นั้น.
ปรอง ดอง (417:3)
         คือ ปฤกษา กัน, คน มี ธุระ อัน ใด ฤๅ การ อัน ใด, แล พูด ปฤกษา กัน ตก ลง ว่า เขา ปรอง ดอง กัน.
เปรียง (417:4)
         คือ ของ ที่ เขา เอา นมโค มา เขี้ยว เข้า เปน น้ำ มัน นั้น, เขา เรียก ว่า เปรียง อย่าง หนึ่ง เปน เถา อยา, เขา เรียก เถา วัน เปรียง.
      เปรียง พะโค (417:4.1)
               คือ น้ำนม โค ที่ เขา เอา มา เขี้ยว ให้ มัน เปน น้ำ มัน กับ เครื่อง ปรุง อื่น นั้น.
เปรี้ยง (417:5)
         คือ สำเนียง ที่ มัน ดัง เหมือน เสียง ฟ้า ผ่า นั้น.
เปรื่อง (417:6)
         เปน เสียง ดัง เปรื่อง ๆ เหมือน ถ้วย ชาม ตก ลง แตก ดัง เสียง เปรื่อง มี บ้าง.
      เปรื่อง ปราช (417:6.1)
               คือ รู้ วิชา ปรุ โปร่ง ชำนาญ, คน นักปราช* ฉลาด รู้ ดี ใน ธรรม ว่า เปรื่อง ปราช*.
ปราช* (417:7)
         คือ คน มี ปัญญา, คน ปัญญา ดี เรียน หนังสือ จำ ได้ แล ปรนิบัติ ใน ธรรม นั้น.
ปราด ไป (417:8)
         คือ ของ มี ส้ม เปน ต้น ที่ ผล มัน เปรี้ยว จน กิน ไม่ ได้ นั้น.
ปราถนา (417:9)
         คือ ความ อยาก ได้, คน อยาก ได้ สิ่ง อัน ใด เปน ต้น ว่า เงิน แล ทอง นั้น ว่า ปราถนา.
ปราด ปรุด (417:10)
         คือ เท น้ำ ลง ที่ ดิน เปน ต้น, ว่า เท น้ำ ปราด ลง, ปรูด นั้น เหมือน ปลา ไหล มัน เลื้อย ลง รู ดิน หาย ไป ว่า มัน ปรูด ไป.
ปราศจาก (417:11)
         คือ นิราศ ไป จาก กัน, คน ฤๅ ของ จาก กัน ไป เขา ว่า ปราศจาก ไป นั้น.
ปริด (417:12)
         ปรุด, คือ ฉีด, คน บีบ หัว ฝี ที่ มี หนอง แก่ หนอง ไหล ฉีด ออก มา, เขา ว่า หนอง ไหล ปริด ออก มา.
ปฤษนา (417:13)
         คือ ความ ว่า เปน ไนยะอุบาย, คน คิด ผูก เปน ไนย ว่า เปิด มิด ปิด สว่าง, แล้ว เอา ทรัพย์ ฝัง ไว้ ให้ คน คิด ว่า ถ้า คิด ถูก แล้ว ได้ ทรัพย์ นั้น ความ ที่ ผูก ไว้ เรียก ว่า ปฤษนา.
ปรีด (417:14)
         ปรูด, ฉูด, คือ ฉีด ออก, คน เอา ห่อ ของ กับ ทั้ง น้ำ แล้ว เอา มือ ฤๅ ไม้ บีบ คั้น หนัก เข้า น้ำ พุ่ง ฉีด ออก มา นั้น ว่า น้ำ ปรีด ออก.
ปรูด (417:15)
         คือ ฉูด ออก, เหมือน งู มัน เลื้อย เร็ว พุ่ง ออก จาก รู, เขา ว่า มัน เลื้อย ปรูด ออก มา นั้น.
เปรด (417:16)
         เปน ชื่อ สัตว จำพวก หนึ่ง, สัตว พวก นั้น มัน เที่ยว อยู่ บน ดิน กิน อาหาร ลามก มี เลือด แล น้ำ หนอง เปน ต้น.
      เปรดวิ ไสย (417:16.1)
               คือ ธรรมดา แห่ง เปรด นั้น, มัน ไม่ มี ผ้า หนุ่ง ห่ม, มัน อด อาหาร ที่ ดี มัน กิน แต่ ของ โสโครก นั้น.
      เปรดอะสุระกาย (417:16.2)
               เปรด นั้น ว่า แล้ว, แต่ อะสุระกาย คือ สัตว มัน มี รูป เปน อะสุระกาย แล ปิสาจ นั้น, มัน ไม่ มี ผ้า หนุ่ง ห่ม, กิน อาหาร เหมือน กับ เปรด นั้น, มัน อยู่ บน ดิน.
แปรด (417:17)
         คือ เสียง ดัง แปรด แปร้น, คน โทโส มาก ไม่ อด กลั้น ทะเลาะ เถียง ด่า กัน ด้วย เสียง ดัง แปรด ๆ บ้าง.
โปรฎ (417:18)
         คือ ความ ช่วย สงเคราะห์, พระเยซู สู้ ทนธอรมาน จน ถึง สิ้น ชีวิตร นั้น ว่า จะ โปรฎ คน ให้ พ้น โทษ.
      โปรฎ เกล้า (417:18.1)
               คือ การ สงเคราะห์* เปน คำ หลวง.
      โปรฎ ปราน (417:18.2)
               ความ โปรฎ เช่น ว่า แล้ว นั้น, แต่ ปราน นั้น เปน คำ สร้อย ที่ นี่ ไม่ เอา เนื้อ ความ,
      โปรฎ สัตว (417:18.3)
               คือ การ สงเคราะห์ แก่ สัตว ทั้ง ปวง เปน คำ หลวง.
      โปรฎ ช่วย (417:18.4)
               คือ การ สงเคราะห์ ช่วย อุปถัมภ์ เปน คำ หลวง.

--- Page 418 ---
ปรอด (418:1)
         คือ ของ เหลว เหมือน ดีบุก ละลาย คว่าง, คน ทำ ให้ มัน แขง ยาก หนัก.
ปรน (418:2)
         คือ ความ บำเร้อ, คน ให้ อาหาร เปน ต้น แก่ ผู้ อื่น โดย ชื่น ใจ รักษ ใคร่ นั้น. อย่าง หนึ่ง เอา ของ มี น้ำ เปน ต้น เท รวม ลง ใน ภาชนะ เดียว กัน.
      ปรน ปรุง (418:2.1)
               คือ เอา ของ ที่ ปรุง ไว้ เอา ใส่ รวม ลง ใน ที่ เดียว กัน นั้น.
      ปรนิบัติ (418:2.2)
               คือ กระทำ กิจ การ ทั้ง ปวง ใน การ บำรุง ฤๅ การ จัด แจง บูชา เปน ต้น.
      ปรนิบัติ ตาม (418:2.3)
               คือ การ ที่ คน กระทำ กิจ การ ตาม พระเจ้า เปน ต้น สั่งสอน นั้น.
      ปรน ปรื (418:2.4)
               ปรน นั้น มี ความ เช่น ว่า แล้ว, แต่ ปรื้ นี้ เปน สร้อย ดำ* ไม่ เอา ความ.
      ปรน กัน เข้า (418:2.5)
               คือ รวม กัน เข้า, คน เอา ของ มี เข้า เปน ต้น ที่ ราย อยู่ ที่ เอา เข้า รวม ไว้ ใน ที่ เดียว นั้น.
ปรัน* (418:3)
         คือ กะแทก เข้า ไป, คำ ปรัน นี้ เปน คำ หยาบ, คน ผู้ หญิง แพรษยา ร่วม ประเวณีย์ ด้วย ชาย สอง คน, ใน เวลา เดียว เปน ต้น, โทษ หลวง ให้ เอา หญิง ขึ้น บน ฃาหย่าง ให้ ม้า ปรัน เอา นั้น.
      ปรัน ให้ ภอ (418:3.1)
               คือ คำ ที่ คน พูด ถึง การ ที่ คน ชาย หลาย คน ทำ แก่ หญิง คน เดียว เปน การ ชั่ว ลามก นั้น.
      ปรัน ผู้ หญิง (418:3.2)
               คือ การ ที่ ชายหลาย กระทำ แก่ หญิง คน เดียว.
ปราน (418:4)
         คือ ลม หาย ใจ, คน เรียน วิชา ดู ให้ รู้ เหตุ อัน ลับ. อย่าง หนึ่ง ด้วย สังเกต ลม หาย ใจ ตาม วิชา. อย่าง หนึ่ง เมือง ฝ่าย ใต้ ชื่อ เมือง ปราน.
      ปรานโคต (418:4.1)
               ปราน นั้น เผ่าพันธุ โคต นั้น, คือ คน เปน เครือ ญาติ กัน นั้น.
ปรวน แปร (418:5)
         คือ เปลี่ยน ระดู เปน ต้น, เหมือน ระดู ฝน สิ้น ลง เข้า ถึง ระดู หนาว ว่า ระดู ปรวน แปร.
แปร้น (418:6)
         (dummy head added to facilitate searching).
      แปร้น เสียง (418:6.1)
               คือ เสียง ช้าง มัน ร้อง เมื่อ มัน โกรธ ฤๅ เมื่อ มัน เจ็บ นั้น.
      แปร้น แปร๋ (418:6.2)
               คือ เสียง ช้าง มัน ร้อง เมื่อ มัน โกรธ ออก วิ่ง ไล่ คน นั้น.
ปรบ (418:7)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ปรบ ไก่ (418:7.1)
               คือ เพลง ปรบ ไก่, คน สอง พวก หญิง พวก หนึ่ง, ชาย พวก หนึ่ง, ยืน ขึ้น เต้น ตบ มือ แล้ว ร้อง เพลง แก้ กัน นั้น ว่า เล่น ปรบ ไก่.
      ปรบ ปีก ตบ ปีก (418:7.2)
               คือ ตี ปีก กวัก ปีก, ไก่ มัน ยก ปีก ทั้ง สอง ขึ้น แล้ว กวัก ๆ ลง ที่ ตัว มัน นั้น ว่า ปรบ ปีก.
      ปรบ มือ (418:7.3)
               ตบ มือ, คือ ตบ มือ, คน ยก มือ ทั้งสอง ขึ้น แล้ว แบ ออก มือ ต่อ มือ ตี กัน เข้า ว่า ตบ มือ คือ ปรบ มือ.
ปรับ (418:8)
         คือ จัด แจง ตก แต่ง, คน แรก ทำ การ จัด ปรุง จะ ให้ ของ เรียบ ราบ สนิด ชิด ดี นั้น.
      ปรับ ชิด (418:8.1)
               ปรุง ชิด, คือ ทำ ของ สอง ข้าง ให้ สนิทร ชิด กัน มี กะดาน สอง แผ่น ให้ มัน ชิด กัน เปน ต้น นั้น.
      ปรับ กะดาน (418:8.2)
               คือ ทำ ให้ กะดาน ชิด ติด กัน เปน ต้น, คน จะ ต่อ เรือ แล เอา กะดาน ทำ ให้ เสมอ กัน นั้น.
      ปรับ ทุกข์ (418:8.3)
               คือ อาการ ที่ คน สอง คน เปน ต้น, เขา พูด ปฤกษา กัน ถึง ความ ทุกข์ ว่า เรา จะ ทำ อย่าง ไร ดี เปน* ต้น.
      ปรับ โทษ (418:8.4)
               คือ เอา โทษ ลง โทษ, คน ทำ ผิด เปน ต้น ว่า ล่วง ประเวณีย์ ท่าน ให้ ลง โทษ เอา เงิน แก่ ผู้ ผิด นั้น ว่า ปรับ โทษ.
      ปรับ ปรุง (418:8.5)
               คือ การ ที่ คน ช่าง ไม้, ปรับ ตัว ไม้ มี ชื่อ แล แป เปน ต้น แล้ว ปรุง เปน รูป เรือน เข้า ลอง ดู ก่อน.
      ปรับ พื้น (418:8.6)
               คือ ทำ พื้น กะดาน ให้ ราบ ให้ ชิด กัน, คน ปรับ พื้น เรือน, เอา กะดาน มา ถาก แล ไส กบ ทำ ให้ ราบ ชิด สนิทร ดี นั้น.
      ปรับ ไม้ (418:8.7)
               คือ การ ที่ เขา เอา ตัว ไม้ มา แต่ง ทำ เพื่อ จะ ให้ มัน ได้ ดี นั้น.
      ปรับ ไหม (418:8.8)
               คือ ลง โทษ แก่ คน ผิด, คน ละเมิด บังอาจ ทำ ผิด เปน ต้น ว่า ตี เขา หัว แตก, ท่าน ให้ เสีย* เงิน ให้ ผู้ เจ็บ ว่า ปรับ ไหม.
      ปรับ เอา (418:8.9)
               คือ การ ที่ ผู้ พนักงาน สำรับ ความ ตาม กฎหมาย ปรับ เอา นั้น.
ปราบ (418:9)
         คือ ทำ ให้ ราบ รื่น* คน ทำ ที่ ให้ เรียบ ดี ว่า ปราบ อย่าง หนึ่ง, คน ยก ทัพ ไป รำงับ ฆ่าศึก ให้ กลัว อยู่ ใต้ บังคับ ว่า ปราบ ฆ่าศึก.
      ปราบ ลง (418:9.1)
               คือ การ ที่ ทำ ที่ สูง ให้ ต่ำลง เสมอ กัน นั้น.

--- Page 419 ---
      ปราบ สัตรู (419:9.2)
               คือ กระทำ แก่ สัตรู ด้วย อาชญา, มี เฆี่ยน ตี นั้น.
      ปราบฎาภิเศก* (419:9.3)
               คือ ทำ ข่ม คน ผู้ เปน สัตรู แล้ว ได้ ราชสมบัติ, คน มี บุญ มาก ข่ม ฆ่า กำจัด ผู้ อื่น เสีย*, แล้ว ได้ เสวยราช สมบัติ.
      ปราบ ใจ (419:9.4)
               คือ สกด ใจ ลง, ไม่ ให้ ใจ วุ่น วาย ไป นั้น.
      ปราบ ที่ (419:9.5)
               คือ เกลี่ย ดิน ที่ สูง ลง ให้ ราบ เสมอ ที่ ต่ำ, คน เอา จอบ นั้น เกลี่ย ดิน ทำ ให้ พื้น เสมอ นั้น.
      ปราบ ประจามิตร (419:9.6)
               คือ ปราบ ฆ่าศึก.
      ปราบปราม (419:9.7)
               คือ ปราบ ห้าม, คน มี อานุภาพ มาก ปราบ ห้าม มิ ให้ ผู้ ใด ทำ เทียม ล่วง เกิน ด้วย อาชญา นั้น.
      ปราบราบ (419:9.8)
               คือ ปราบ แล้ว บังคับ ห้าม ไว้ นั้น.
      ปราบ โจร (419:9.9)
               คือ บำหราบ พวกโจร ลง, ท่าน ผู้ มี อาชญา ปราบ กำจัด พวก โจร มิ ให้ ทำ ร้าย แก่ ชาว บ้าน ชาว เมือง นั้น.
      ปราบ ดิน (419:9.10)
               คือ ทำ ที่ ดิน สูง ให้ มัน ต่ำ ลง นั้น.
      ปราบ พื้น (419:9.11)
               คือ ทำ พื้น มี พื้น ดิน นั้น ให้ เสมอ, คน ทำ พื้น อัน ใด ให้ ราบ เสมอ นั้น.
ปริบ ๆ (419:1)
         คือ พริบ ๆ, คน หลับ ตา ลง แล้ว ลืม ขึ้น บ่อย ๆ ว่า ปริบ หน่วย ตา. อย่าง หนึ่ง ฝน ตก น้อย ๆ ว่า ตก ปริบ ๆ.
      ปริบ ๆ ปรอย ๆ (419:1.1)
               คือ ฝน ตก ไม่ เปน ห่า มาก, เปน แต่ เม็ด เล็ก อยอย ๆ นั้น.
เปรียบ (419:2)
         เทียบ, คือ เทียบ ดู, คน จะ ทำ ของ ให้ เท่า กัน, ทำ แล้ว เอา เทียบ กัน เข้า ดู, ว่า เปรียบ ดู นั้น,
      เปรียบ กัน (419:2.1)
               คือ เทียบ กัน ดู, คน จะ ชกมวย กัน, ผู้ จัดแจง เอา คน ทั้งสอง มา ยืน เทียบ เปรียบ ดู ให้ เท่า กัน นั้น.
      เปรียบ มวย (419:2.2)
               คือ การ ที่ คน เอา คน ทั้งสอง มา เปรียบ ให้ เท่า กัน, เพื่อ จะ ให้ ชก มวย สู้ กัน นั้น.
      เปรียบ ความ (419:2.3)
               คือ เทียบ เนื้อ ความ, คน ชัก เนื้อ ความ เปรียบ คน นั้น ดุ ร้าย ราว กับ เสือ นั้น.
      เปรียบ เปรย (419:2.4)
               คือ การ คน พูด จา ว่า เปรียบ ผู้ อื่น ด้วย ความ ที่ เขา ทำ ผิด อัน ใด ไว้, แล ทำ เปน ว่า แก่ ผู้ อื่น นั้น.
      เปรียบ เทียบ (419:2.5)
               คือ เทียบ เปรียบ, คน พูด ชัก เนื้อ ความ มา ว่า คน นั้น รูป งาม ราว กับ เทวา นั้น.
      เปรียบ ปราย (419:2.6)
               คือ เปรียบ เปรย กระทบ, คน มี ใจ มุ่ง หมาย จะ ว่า คน นี้, แต่ แกล้ง เอา คน อื่น มา ว่า ให้ คน นั้น ได้ ยิน นั้น.
ปราม (419:3)
         คือ* ห้าม, คน เปน ตำหรวจ*, ปราม คน ไม่ ให้ เข้า ไป ใกล้ พระ มหา กระษัตริย์ นั้น.
      ปราม ปราบ (419:3.1)
               คือ ห้าม บำหราบ ลง ไว้ ด้วย วาจา นั้น, ว่า ถ้า ผู้ ใด ขืน ทำ เรา จะ เฆี่ยน นั้น.
ปริ่ม (419:4)
         คือ เปี่ยม, น้ำ ขึ้น มาก ถ้วม หลัก ที่ เขา ปัก ไว้, เกือบ จะ ถ้วม ปลาย หลัก มิด ยัง หนิด หนึ่ง, ว่า ยัง เหน ปริ่ม อยู่.
      ปริ่ม ยิ้ม (419:4.1)
               คือ ยิ้ม กริ่ม ยิ้ม อิ่ม ใจ.
เปรม (419:5)
         คือ ความ เกษม ศุข, คน ที่ บริบูรณ ด้วย ยศศัก บริวาร นั้น, มี ใจ เกษม ว่า เปรม.
      เปรม ใจ (419:5.1)
               คือ เกษม ใจ, คน แรก พึง บริบูรณ ขึ้น ใหม่ ๆ มี ใจ เกษม ชื่น นั้น.
      เปรมปรา (419:5.2)
               คือ ความ เกษม ยิน*ดี.
      เปรม ปรีดิ์ (419:5.3)
               คือ เกษม ยินดี, คน เดิม ขัดสน อยู่, ครั้น ได้ ดี มั่งมี ขึ้น ใหม่ ๆ, ใจ เกษม ยินดี นัก นั้น.
      เปรม ปริ่ม (419:5.4)
               คือ กระเษม เต็ม ที่.
      เปรี่ยม (419:5.5)
               คือ ปริ่ม, เหมือน น้ำ ที่ เต็ม เสมอ ขอบ ปาก ภาชนะ.
      เปรี่ยม เต็ม (419:5.6)
               คือ ปริ่ม เต็ม เพียบ เต็ม.
      เปรย (419:5.7)
               คือ พูด เฉย ๆ, คน พูด เฉย ๆ ว่า ใคร จะ ไป บ้าง, ฤๅ ใคร จะ กิน บ้าง นั้น, ว่า เขา พูด เปรย ๆ นั้น.
ปราย (419:6)
         คือ ซัด ไป โปรย ไป, คน หว่าน เข้า ในนา เขา เอา เข้า เปลือก ใส่ ลง ใน กระเช้า เล็ก เที่ยว โปรย ซัด ไป, ว่า ปราย ไป นั้น.
      ปราย โปรย (419:6.1)
               คือ เอา มือ กำ ของ มี เมล็ด เข้า นั้น ซัด ไป แล้ว โรย ลง บ้าง.
      ปราย เปรียบ (419:6.2)
               ปราย นั้น ว่า แล้ว, แต่ เปรียบ นั้น เหมือน เขา เอา ของ มา เคียง เทียบ เข้า ดู, ว่า อัน ไหน จะ ดี กว่า กัน นั้น.
      ปราย เปรย (419:6.3)
               คือ ปราย เฉย ๆ เลย ไป.
โปรย (419:7)
         คือ โรย ลง, คน เอา เข้า นั้น ใส่ ใน มือ แล้ว ยก ขึ้น ปล่อย ลง ให้ ร่วง จาก มือ นั้น, ว่า โปรย ลง.
      โปรย ปราย (419:7.1)
               คือ โปรย แล้ว ปราย ไป หว่าน ไป.

--- Page 420 ---
      โปรย เงิน โปรย ทอง (420:7.2)
               คือ เอา เงิน แล ทอง ออก โปรย โรย ไป.
ปรอย (420:1)
         คือ หน่วย ตา ลืม ไม่ เต็ม ที่ เปน ปรกติ นั้น, ว่า เขา ทำ ตา ปรอย ๆ นั้น.
ปร้อย (420:2)
         คือ ฃอง เหลว ไหล, คน ลง ท้อง ทุ่ง มี อาจม เหลว ไหล ออก ไม่ มาก ที ละ น้อย ๆ, ว่า ทุ่ง เหลวไหล ปร้อย ๆ อยู่,
      ปร้อยลง (420:2.1)
               คือ ลงท้อง บัด เดี๋ยว ๆ นั้น.
เปรียว (420:3)
         คือ ไม่ เชื่อง สนิทร เหมือน สัตว มี นก กา นั้น, ไม่ เข้า ใกล้ คน เพราะ มัน กลัว นั้น, ว่า มัน เปรียว.
      เปรียว อย่าง ไก่ เถื่อน (420:3.1)
               คือ อาการ ที่* ไม่ เชื่อง ไม่ คุ้น, เหมือน สัตว ป่า มี ไก่ นั้น, มัน หนี คน ไป ไกล นั้น.
เปรี้ยว (420:4)
         คือ รศ ซ่มมะนาว นั้น, รศ เช่น รศ ซ่ม ทั้ง ปวง เมื่อ มัน ยัง ดิบ นั้น, ว่า รศ นั้น เปรี้ยว.
      เปรี้ยว แจ๋ (420:4.1)
               คือ ของ ที่ มัน เปรี้ยว นัก กิน ไม่ ได้ นั้น.
      เปรี้ยว ปาก (420:4.2)
               คือ ปาก คน ไทย, เมื่อ กิน เข้า แล้ว ไม่ ได้ กิน หมาก ฤๅ สูบ บุรี มัน ให้ เปรี้ยว ไป นั้น,
เปราะ (420:5)
         คือ ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง, มัน มี หัว ใน ดิน ใบ มัน กิน ได้ หัว มัน เขา ทำ อยา ได้ ต้น เตี้ย อยู่ กับ ดิน.
      เปราะ แประ (420:5.1)
               คือ กาล เมื่อ ฝน ตก เปน เม็ด ห่าง ๆ ไม่ ตก ลง ซู่ ๆ นั้น ว่า ตก เปราะ แประ.
      เปราะ ป่า (420:5.2)
               คือ ต้น ผัก เช่น ว่า, มัน ขึ้น อยู่ ใน ป่า ชุม, เขา เอา ปลูก ไว้ ใน บ้าน ก็ มี บ้าง.
      เปราะ หัก (420:5.3)
               คือ ไม้ เปน ต้น ที่ มัน ไม่ เหนียว, มัน แห้ง เผาะ นั้น, มัน มัก หัก ง่าย นั้น.
      เปราะ หอม (420:5.4)
               คือ ต้น ผัก เช่น นั้น, แต่ หัว มัน หอม เขา ปลูก ไว้ ทำ อยา ใส่ ใน เครื่อง ย้อม ผ้า ดำ นั้น.
เปรอะ เปื้อน (420:6)
         คือ ที่ มัน รก เลอ เปอะ นั้น, เหมือน ที่ ไม่ สอาด เพรอ รก มี ของ เรี่ย* ราย อยู่ นั้น.
ปล้อ แปล้ (420:7)
         คือ ป้อ แป้, เหมือน คน ที่ ไม่ แขง แรง ฤๅ ไม่, ที่ ไม่ แขง แล อ่อน แอ นั้น.
ปลา (420:8)
         คือ สัตว อยู่ ใน น้ำ เปน นิจ, ขึ้น บน บก เปน อยู่ ไม่ ได้ ตาย สิ้น ทุก พรรค์ ปลา นั้น.
      ปลากา (420:8.1)
               คือ ปลา ตัว เล็ก ๆ เท่า ดั้ม สิ่ว มี เกล็ด ดำ เหมือน กา นั้น.
      ปลา กด (420:8.2)
               ปลา นี้ ตัว เท่า น่อง คน, ตัว มัน ไม่ มี เกล็ด มี แต่ หนัง มี เงี่ยง อยู่ น้ำ จืด บ้าง, อยู่ ทะเล น้ำเค็ม บ้าง.
      ปลา กัด (420:8.3)
               ตัว มัน เท่า นิ้ว มือ เด็ก ๆ คน จับ เอา มา เลี้ยง ให้ มัน กัด กัน, มัน อยู่ แต่ ใน น้ำ จืด.
      ปลา กริม (420:8.4)
               ตัว มัน เท่า กับ ปลา กัด, ตัว มัน มี เกล็ด มัน อยู่ แต่ ที่ น้ำ จืด มี ท้อง ร่อง สวน เปน ต้น.
      ปลา กราย (420:8.5)
               ตัว มัน ใหญ่ กว้าง ศัก แปด นิ้ว สิบ นิ้ว, ยาว ศัก สอก คืบ มี เกล็ด อยู่ น้ำ จืด.
      ปลา เขือ (420:8.6)
               ตัว มัน เท่า ดั้ม สิ่ว อยู่ น้ำ เค็ม ใน คลอง, วิ่ง ว่าย ไป ด้วย หู เร็ว ขึ้น ที่ น้ำ มี หนิด หน้อย ได้ บ้าง.
      ปลา ค้าว ตัว มัน ใหญ่ กว้าง ศัก ห้า นิ้ว หก นิ้ว (420:8.7)
               ยาว ศัก สอก คืบ ไม่ มี เกล็ด อยู่ น้ำ จืด.
      ปลา โคก (420:8.8)
               ตัว มัน กว้าง ศัก สาม นิ้ว ยาว ศัก หก นิ้ว, มี เกล็ด อยู่ น้ำ เค็ม ใน ทะเล นั้น.
      ปลา เค็ม (420:8.9)
               คือ ปลา ที่ เขา ใส่ เกลือ เค็ม นั้น.
      ปลา คาง เบือน (420:8.10)
               ตัว* มัน กว้าง ศัก สาม นิ้ว, ยาว ศัก สิบ นิ้ว, ที่ คาง มัน ไม่ ตรง ไม่ มี เกล็ด อยู่ น้ำ จืด นั้น.
      ปลา ร้า (420:8.11)
               คือ ปลา ที่ เขา ใส่ ไว้ ใน ไห, แล้ว เอา น้ำ เกลือ ใส่ แช่ ไว้ นั้น.
      ปลา เจ่า (420:8.12)
               คือ ปลา เขา ใส่ ส้ม หมัก ไว้, แล้ว เอา มา ใส่ ใน กะทะ ตั้ง ไฟ ให้ สุก นั้น.
      ปลา จ่อม (420:8.13)
               คือ ปลา ตัว เล็ก ๆ เท่า นิ้ว มือ เด็ก, เขา เอา มา มาก ใส่ ไห เอา เกลือ ใส่ ไว้ กิน ดิบ ๆ นั้น.
      ปลา ฉลาม (420:8.14)
               คือ ปลา ตัว ใหญ่ เท่า ตัว คน ไม่ มี เกล็ด อยู่ น้ำ เค็ม ใน ทะเล มัน กิน คน ได้.
      ปลา เงิน (420:8.15)
               คือ ปลา ตัว เล็ก เท่า นิ้ว มือ ศรี เกล็ด มัน เหมือน ศรี เงิน นั้น, เขา เลี้ยง ไว้ ดู ชม เล่น.
      ปลา ทอง (420:8.16)
               คือ ปลา ตัว เล็ก เท่า นิ้ว มือ เกล็ด มี ศรี เหมือน ทอง, เขา เลี้ยง ไว้ ชม เล่น นั้น.
      ปลา เข็ม (420:8.17)
               คือ ปลา ตัว มัน เล็ก ๆ เท่า เข็ม ใหญ่ นั้น อยู่ น้ำ จืด.
      ปลา ช่อน (420:8.18)
               คือ ปลา น้ำ จืด ตัว มัน เท่า น่อง เท่า แฃน, ตัว มัน มี เกล็ด ยาว ศัก ศอก เศศ.

--- Page 421 ---
      ปลา กะทิง (421:8.19)
               คือ ปลา ตัว มัน กว้าง ศัก สี่ นิ้ว, ยาว ศัก แฃน หนึ่ง, ลาย เหมือน งู เหลือม ไม่ มี เกล็ด
      ปลา ดุก (421:8.20)
               อยู่ น้ำ จืด ไม่ มี เกล็ด มี เงี่ยง ที่ ริม หู สอง ข้าง ตัว กว้าง ศัก สาม นิ้ว, ยาว ศัก คืบ หนึ่ง.
      ปลา แรด (421:8.21)
               คือ ปลา ตัว มัน โต เท่า สอง ฝ่า มือ แบน ๆ มี เกล็ด, อยู่ ข้าง เมือง เหนือ.
      ปลา แดง (421:8.22)
               คือ ปลา อย่าง หนึ่ง ไม่ มี เกล็ด, คล้าย กัน กับ ปลา เนื้อ อ่อน ปลา คาง เบือน, เขา เสียบ ไม้ ทำ ปลา ย่าง*, มา แต่ เมือง เหนือ.
      ปลา แดก (421:8.23)
               คือ ปลา ที่ พวก มอน ใส่ เกลือ ไว้ หลน กิน.
      ปลา ตะพง (421:8.24)
               ตัว ใหญ่ เท่า ฃา คน มี เกล็ด อยู่ น้ำ เค็ม ใน ทะเล, คน ลาก อวน จึ่ง จับ มัน ได้.
      ปลา ตะเพียน (421:8.25)
               เปน ปลา น้ำ จืด ตัว มัน กว้าง กว้าง ศัก หก นิ้ว ยาว ศัก แปล นิ้ว มี เกล็ด นั้น.
      ปลา ทุกัง (421:8.26)
               เปน ปลา อยู่ น้ำ เค็ม ใน ทะเล, ตัว โต เท่า ฃา คน ไม่ มี เกล็ด.
      ปลา ทู (421:8.27)
               เปน ปลา อยู่ ทะเล น้ำ เค็ม มี เกล็ด, ตัว มัน กว้าง ศัก สอง นิ้ว, ยาว ศัก สิบ นิ้ว.
      ปลา เนื้อ อ่อน (421:8.28)
               เปน ปลา เนื้อ ยุ่ย มัน ไม่ มี เกล็ด, ตัว กว้าง ศัก สาม นิ้ว, ยาว ศัก คืบ หนึ่ง อยู่ น้ำ จืด.
      ปลา บ้า (421:8.29)
               เปน ปลา น้ำ จืด ตัว เท่า แฃน ยาว คืบ เศศ, เนื้อ มัน กิน เมา, เมื่อ มัน กิน ลูก กะเบา นั้น.
      ปลา บึก (421:8.30)
               เปน ปลา น้ำ จืด มี อยู่ ที่ เมือง ลาว, ตัว โต เท่า ฃา ไม่ มี เกล็ด, ลาว จับ มา กิน มัน.
      ปลา แป้น (421:8.31)
               ตัว มัน แบน กว้าง ศัก สาม นิ้ว ยาว ศัก สี่ นิ้ว, ที่ น้ำ จืด ก็ มี, ที่ ทะเล น้ำ เค็ม ก็ มี.
      ปลา แปบ (421:8.32)
               ตัว มัน แบน เท่า กับ ปลา แป้น, อยู่ น้ำ เค็ม ใน ทะเล ตัว ไม่ มี เกล็ด.
      ปลา โลมา (421:8.33)
               เปน ปลา อยู่ น้ำ เค็ม ตัว เท่า ตัว เด็ก ไม่ มี เกล็ด, หัว เหมือน บาต พระสงฆ์ เขา เรียก โลมา หัว บาต.
      ปลา ไหล (421:8.34)
               ตัว ยาว เหมือน งู ไม่* มี เกล็ด มัน ชอน อยู่ ใต้ ดิน โคลน น้ำ จืด นั้น.
      ปลา ลัง (421:8.35)
               ตัว มัน เหมือน ปลา ทู, แต่ เล็ก กว่า ปลา ทู, อยู่ น้ำ เค็ม ใน ทะเล มี เกล็ด หนีด ๆ.
      ปลา หลด (421:8.36)
               ตัว เท่า นิ้ว มือ ยาว ศัก คืบ หนึ่ง, ไม่ มี เกล็ด มัน อยู่* น้ำ จืด ชอน อยู่ ใต้ ทราย.
      ปลา สะหลาด (421:8.37)
               ตัว มัน กว้าง ศัก หก นิ้ว, ยาว ศัก คืบ เศศ, มี เกล็ด หนิด ๆ มัน อยู่ น้ำ จืด.
      ปลา ลิ้น หมา (421:8.38)
               ตัว มัน แบน เล็ก กว้าง ศัก นิ้ว เศศ, ยาว ศัก สาม นิ้ว, มัน อยู่ น้ำ เค็ม รูป มัน คล้าย กับ ลิ้น สุนักข์ มัน ร้อง เหมือน พระสงฆ์ สวด.
      ปลา สลิด (421:8.39)
               ตัว มัน กว้าง สัก* หก นิ้ว, ยาว ศัก เจ็ด นิ้ว, มี เกล็ด อยู่ ที่ น้ำ จืด อย่าง เดียว.
      ปลา กำแบ (421:8.40)
               คือ ปลา ช่อน ตัว เล็ก ๆ เขา แล่ ออก ทำ ริ้ว ไม่ ได้ ใส่ เกลือ ตาก แดด ไว้ แห้ง นั้น.
      ปลา สด (421:8.41)
               คือ ปลา ยัง ไม่ แห้ง ยัง ไม่ ได้ ใส่ เกลือ, ปลา เขา จับ มา ใหม่ ๆ นั้น.
      ปลา กระสง (421:8.42)
               คือ ปลา ตัว มัน คล้าย กับ ปลา ช่อน แต่ หัว มัน เสิ้ยม* ๆ นั้น.
      ปลา หมอ (421:8.43)
               ตัว มัน เท่า สี่ นิ้ว, ยาว สัก ห้า นิ้ว เศศ, เกล็ด แขง อยู่ น้ำ จืด อย่าง หนึ่ง, อยู่ น้ำ เค็ม ตัว โต เท่า ฃา คน อย่าง หนึ่ง.
      ปลา หลาด (421:8.44)
               คือ ปลา ตัว มัน เล็ก ๆ ไม่ มี เกล็ด อยู่ น้ำ จืด.
      ปลา ย่าง (421:8.45)
               คือ ปลา ที่ เขา ย่าง จืด ๆ ไม่ ได้ ใส่ เกลือ นั้น.
      ปลา เสือ (421:8.46)
               ตัว มัน ลาย เหมือน เสือ, ตัว มัน แบน กว้าง ศัก สาม นิ้ว, ยาว ศัก ห้า นิ้ว, อยู่ น้ำ จืด บ้าง น้ำ เค็ม บ้าง.
      ปลา แห้ง (421:8.47)
               คือ ปลา ช่อน ที่ เขา ใส่ เกลือ ตาก แห้ง ไว้ นั้น.
      ปลา อุบ (421:8.48)
               ตัว เท่า แฃน คน ไม่ มี เกล็ด, มัน อยู่ น้ำ จืด, มัน ร้อง อุบ ๆ เขา จึ่ง เรียก ปลา อุบ.
ปลี (421:1)
         คือ ของ อ้วน ใหญ่ อยู่ ข้าง หนึ่ง หัว ท้าย ไม่ เท่า กัน, เหมือน ปลี กล้วย นั้น.
      ปลี กล้วย (421:1.1)
               คือ ดอก กล้วย ที่ มัน จะ เปน เครือ, มัน ออก ที่ ยอด มัน นั้น.
      ปลี กะหล่ำ (421:1.2)
               คือ ปลี ต้น กะหล่ำ, เปน ต้น ผัก เล็ก ๆ สูง ศัก สอก หนึ่ง, จีน ปลูก ชุม นั้น.
      ปลี แฃน (421:1.3)
               คือ เนื้อ ล่ำ ที่ ต้น แฃน เขา เรียก ว่า ปลี, เพราะ เนื้อ ที่ นั่น ล่ำ อยู่.

--- Page 422 ---
      ปลี น่อง (422:1.4)
               คือ เนื้อ ล่ำ อ้วน อยู่ ที่ ต้น น่อง, เขา เรียก ว่า ปลี, เพราะ ที่ นั่น มี เนื้อ อ้วน อยู่.
เปล (422:1)
         คือ ของ คน ผูก ข้าง หัว ข้าง ท้าย, ให้ แกว่ง โยน ไป มา ได้ สำรับ นอน นั้น.
      เปล สะดึง (422:1.1)
               คือ เปล ที่ เขา เอา ไม้ สัก ทำ กรอบ เปน สี่เหลี่ยม แล้ว เอา ด้าย ถัก เปน ตา ข่าย ติด กับ กะดาน พื้น นั้น.
      เปล ยวน (422:1.2)
               คือ เปล เช่น ว่า, แต่ พวก ยวน เอา ปอ ฤๅ ป่าน มา ถัก เปน* เปล ไว้ ขาย นั้น.
      เปล สาน (422:1.3)
               คือ เปล ทำ ด้วย ตอก, เขา เอา ไม้ ไผ่ มา จัก เปน เส้น ตอก แล้ว สาน เปน รูป เปล เข้า นั้น.
      เปล กรง (422:1.4)
               คือ เปล ทำ ด้วย ไม้ จริง, ต่อ เปน ลูก กรง มี กรอบ บน กรอบ ล่าง, มี กะดาน พื้น เอา เชือก ผูก เปน สาย นั้น.
      เปล ผ้า (422:1.5)
               คือ เปล เขา เอา ผ้า ผูก เปน เปล ภอ ให้ เด็ก นอน เวลา หนึ่ง, แล้ว แก้ เอา ผ้า ไป นุ่ง ห่ม เสีย นั้น.
      เปล ถัก (422:1.6)
               คือ เปล เขา ด้วย ด้าย, เขา เอา ด้าย มา ฟั่น แล้ว ร้อย เข้า ใน รู กะดาน ถัก เปน ตา ข่าย นั้น.
แปล (422:2)
         คน เปน ล่าม พนักงาน, เหมือน สุระสาคอร สำรับ แปล หนังสือ อังกฤษ เปน ต้น นั้น.
      แปล คาถา (422:2.1)
               คือ แปล คำ คาถา มะคะธะ ออก เปน คำ ไทย, เปน ต้น ว่า มะโน แปล ว่า ใจ นั้น.
      แปล หนังสือ (422:2.2)
               คือ แปล คำ บาฬี ออก เปน ภาษา ไทย, เปน ต้น ว่า อะหัง แปล ว่า เรา นั้น.
      แปล อรรถ (422:2.3)
               คือ แปล คำ อรรถ มะคะธะ เปน ต้น ว่า อัตโถ อัน ว่า แปล นั้น.
      แปล เนื้อ ความ (422:2.4)
               คือ แปล ความ ตาม คะดี โลกย์ บ้าง, ตาม คะดี ธรรม บ้าง นั้น.
      แปล โยชนา (422:2.5)
               คือ แปล คำภีร์ สำรับ แก้ ความ ที่ ฦก ให้ ตื้น ให้ รู้ ง่าย นั้น.
      แปล ภาษา (422:2.6)
               คือ แปล คำ พูด, เหมือน คำ กล่าว ว่า กำเฮีย, แปล เปน ภาษา ไทย ว่า มา นี่ นั้น.
      แปล บาฬี (422:2.7)
               คือ แปล คำ มะคะธะ เปน คำ พระเจ้า ตรัส ออก เปน ภาษา ไทย, เปน ต้น ว่า กุสะลา อัน ว่า กุศล นั้น.
แปล้ (422:3)
         คือ* ไปล่, เหมือน ใบ แจว ที่ บาง, ครั้น ใช้ ไป นาน มัน ก็ อ่อน แปล้ ไป นั้น.
ไปล่ (422:4)
         คือ แปล้, เหมือน คน เดิร ผม อยู่ ข้าง หน้า, แล้ว เขา หวี ให้ แปล้ ไป อยู่ ข้าง หลัง นั้น.
เปลา (422:5)
         คือ เปลือย, เหมือน ต้น ไม้ มี แต่ ลำ ต้น ขึ้น ไป ไม่ มี กิ่ง จน ยอด เขา ว่า ต้น มัน เปลา ขึ้น ไป.
      เปลา รหง (422:5.1)
               คือ ต้น ไม้ ที่ มัน ไม่ มี กิ่ง เปน ลำ ต้น สูง ขึ้น ไป มี กิ่ง ต่อ ปลาย นั้น.
เปล่า (422:6)
         คือ ไม่ มี อะไร, เหมือน อากาษ ไม่ มี สิ่ง ใด เปล่า โว่ง อยู่, ถึง จะ มี ลม ก็ แล ไม่ เหน นั้น.
      เปล่า อก (422:6.1)
               เปล่า ใจ, คือ อก ใจ คน ที่ เคย อยู่ ด้วย กัน มาก หลาย, เขา ไป เสีย* หมด สิ้น เหลือ อยู่ แต่ ตัว ผู้ เดียว นั้น.
      เปล่า เปลี่ยว (422:6.2)
               คือ คน ไป อยู่ ใน ที่ ป่า เปน ต้น, แต่ ผู้ เดียว ไม่ มี ผู้ ใด เลย นั้น.
เปล้า (422:7)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อยา อย่าง หนึ่ง, เขา เรียก เปล้า น้อย เปล้า ใหญ่. อย่าง หนึ่ง เปน ชื่อ นก เขา เรียก นก เปล้า.
      เปล้า ใหญ่ (422:7.1)
               เปน ต้น อยา อย่าง หนึ่ง, มัน มี ใน ป่า ใหญ่ เปน ต้น ไม้ ย่อม เขา เก็บ เอา มา ฃาย.
      เปล้า น้ำ เงิน (422:7.2)
               เปน ต้น อยา เช่น ว่า นั้น, แต่ ศี ผิว ลำ ต้น มัน ฃาว จึ่ง เรียก เปล้า น้ำ เงิน.
      เปล้า น้อย (422:7.3)
               เปน ชื่อ ต้น อยา เช่น ว่า นั้น, แต่ ต้น มัน เล็ก กว่า ต้น เปล้า ใหญ่ นั้น.
ปล้ำ (422:8)
         คือ คน สอง คน สู้ รบ กัน ด้วย กำลัง, เขา ไม่ ชก ไม่ ตี กัน เอา มือ กอด กัน จะ ทำ ให้ หนึ่ง ล้ม ลง อยู่ ข้าง ล่าง นั้น.
      ปล้ำ ผี ลุก ปลุก ผี นั่ง (422:8.1)
               คือ คน พยาบาล คน ไข้ หนัก, ประคับ ประคอง อยู่ นาน จน คน นั้น ตาย.
ปละ (422:9)
         ปล่อย, ละ, วาง, คือ ละวาง เสีย, คน ยึด อัน ใด ไว้ มั่นคง แล้ว ละวาง เสีย, เขา ว่า ปล่อย ปละ เสีย.
ปลก เปลี้ย (422:10)
         คือ เพลี้ย, คน เดิร ไป ใน หน ทาง ไกล เหนื่อย อ่อน ล้า เข่า ฃา เพลี้ย ไป ว่า เขา เดิร ปลก เปลี้ย.
ปลัก (422:11)
         คือ เปื้อน, คน ลง ที่ มี โคลน เหลว ตัว เปื้อน โคลน ว่า ปลัก โคลน. อย่าง หนึ่ง ที่ มี โคลน เหลว เปน แอ่ง ควาย มัน นอน เขา ว่า ที่ ปลัก ควาย.

--- Page 423 ---
      ปลัก ปลอม (423:11.1)
               คือ การ ที่ คน อุษส่าห์ เฝ้า พยาบาล รักษา อยู่ ไม่ ละทิ้ง เสีย นั้น.
      ปลัก แปลง (423:11.2)
               คือ ที่ ๆ เปน ที่ ควาย เปน ต้น, มัน ทำ เปน แอ่ง อู่ ลง อยู่ นั้น.
ปลีก (423:1)
         คือ แยก ออก อยู่ กอ ไม้ ไผ่ เปน ต้น, มี ไม้ ไผ่ ลำ หนึ่ง แยก ออก ไป อยู่ ลำ เดียว ว่า มัน ปลีก ออก ไป อยู่. อย่าง หนึ่ง เงิน สลึง เงิน เฟื้อน เรียก ว่า เงิน ปลีก, เพราะ มัน แตก ออก จาก เงิน บาต.
      ปลีก ตัว (423:1.1)
               หลีก ตัว, คือ หลีก ตัว ออก เพราะ กลัว ความ ผิด นั้น.
ปลุก (423:2)
         คือ ทำ ให้ คน ตื่น, คน นอน หลับ อยู่ เอา มือ จับ ตัว สั่น เข้า ฤๅ ร้อง เรียก ให้ ตื่น ขึ้น นั้น ว่า ปลุก ขึ้น.
      ปลุก ภูต (423:2.1)
               คือ คน เปน หมอ มี วิชา อาท จะ ทำ ให้ ผี ภูต ที่ มัน เฝ้า ทรัพย์ อยู่ ให้ มัน ขึ้น มา นั้น.
ปลูก (423:3)
         คือ ฝัง ลง ใน ดิน, เหมือน ปลูก ต้น ไม้ แล ปลูก เรือน เปน ต้น, เขา เอา เสา ฝัง ลง ใน ดิน นั้น.
      ปลูก เรือน (423:3.1)
               คือ เอา เครื่อง ไม้ เรือน มี เสา เปน ต้น, ปัก ลง ใน ดิน แล้ว สร้าง เปน เรือน ขึ้น นั้น.
แปลก (423:4)
         คือ จำ ไม่ สนัด, เหมือน คน เหน กัน อยู่ แล้ว ไป จาก กัน นาน หลาย ปี, มา เหน กัน จำ ไม่ ได้ สนัด ว่า จะ เปน คน นี้ ฤๅ มิ ใช่ คน นี้.
      แปลก ไป (423:4.1)
               คือ การ ที่ จำ ไม่ ได้ สนัด, เหน ตะคล้าบ ตะคล้าย นั้น.
      แปลก ใจ (423:4.2)
               คือ ใจ แปลก, คน เหน คน ที่ ไม่ เคย มา แล ผู้ นั้น มา ใน บ้าน ยัง ไม่ รู้ เหตุ ผล อัน ใด, ใจ นึก สงไสย อยู่ นั้น ว่า แปลก ใจ.
      แปลก ตา (423:4.3)
               คือ การ ที่ เคย เหน แต่ เล็ก ๆ เว้น ไป น่อย หนึ่ง คน นั้น ใหญ่ ขึ้น ว่า ดู แปลก ตา ไป.
      แปลก กัน (423:4.4)
               คือ คน เคย เหน กัน แต่ ก่อน, ครั้น จาก กัน ไป นาน จำ กัน ไม่ ใคร่ ได้ นั้น.
      แปลก ปลอม (423:4.5)
               คือ แปลก ทำ เทียม, คน มา แปลก ทำ เภท ให้ เหมือน คน ที่ อยู่ แล้ว ปน เข้า มา นั้น.
      แปลก เพื่อน (423:4.6)
               คือ คน เปน เพื่อน กัน, จาก กัน ไป ช้านาน จน แก่ ก็ จำ กัน ไม่ ได้ ว่า แปลก เพื่อน.
      แปลก หน้า (423:4.7)
               คือ คน พึ่ง มา ใหม่, เขา ว่า คน นั้น แปลก หน้า มา เรา พึ่ง เหน นั้น.
      แปลก มา ใหม่ (423:4.8)
               คือ คน มา ใหม่, เปน คน อื่น มา ผิด จาก คน ที่ เคย เหน กัน อยู่ นั้น.
ปลอก (423:5)
         คือ ของ เขา ทำ ใส่ ที่ ดั้ม สิ่ว ฤๅ ดั้ม มีด เปน ต้น, ทำ ด้วย ทอง เหลือง ด้วย เหล็ก บ้าง ด้วย หวาย บ้าง.
      ปลอก ตีน (423:5.1)
               คือ ของ ถัก ด้วย หวาย สำรับ ใส่ ตีน ช้าง นั้น.
      ปลอก ช้าง (423:5.2)
               คือ ของ เขา ทำ เปน วง กลม ใส่ ที่ ตีน ช้าง, เขา ถำ* หวาย ขด เปน วง ห่วง ใส่ ตีน ช้าง ให้ มัน เดิร ช้า นั้น.
      ปลอก แหวน (423:5.3)
               คือ แหวน ที่ เขา ทำ เปน พืด คล้าย กับ ปลอก.
      ปลอก ถัง (423:5.4)
               คือ ของ ที่ เขา ทำ สรวม ใส่ ถัง, เขา เอา เหล็ก ฤๅ ไม้ ทำ เปน วง ใส่ รัด กะดาน ถัง มี ให้ มัน ร่วง ออก นั้น.
      ปลอก หวาย (423:5.5)
               คือ ปลอก เขา ถัก ด้วย หวาย นั้น.
      ปลอก มือ (423:5.6)
               คือ ลอง เข้า ใส่ นิ้ว มือ เมื่อ เย็บ ผ้า, พวก ช่าง เย็บ ผ้า เอา ลอง ทอง เหลือง ใส่ นิ้ว เมื่อ เย็บ ผ้า กัน มือ มิ ให้ เจ็บ นั้น.
      ปลอก เหล็ก (423:5.7)
               คือ ปลอก ที่ เขา เอา เหล็ก มา ตี เปน พืด ขด วง เข้า นั้น.
      ปลอก มีด (423:5.8)
               คือ ของ เขา ทำ เปน วง ใส่ ไว้ ที่ ดั้ม มีด, ทำ ด้วย เหล็ก บ้าง ทอง เหลือง บ้าง.
      ปลอก ทอง (423:5.9)
               คือ ปลอก ที่ เขา ทำ ด้วย ทอง เหลือง, เหมือน ปลอก ทอง เหลือง ที่ เขา ใส่ ที่ งา ช้าง เปน ต้น.
ปลวก (423:6)
         คือ ดิน ตัว ที่ สัตว เล็ก ๆ มัน ขน ดิน ขึ้น ทำ ไว้ เปน จอม สูง ขึ้น สอง สอก สาม สอก นั้น.
เปลือก (423:7)
         คือ ของ ที่ อยู่ ชั้น นอก, เหมือน ต้น ไม้ มัน มี ผิว หนา อยู่ ชั้น นอก นั้น เขา ว่า เปลือก ไม้.
      เปลือก กล้วย (423:7.1)
               คือ ของ ชั้น นอก ลูก กล้วย นั้น, เขา เรือก ว่า เปลือก กล้วย เขา ไม่ กิน.
      เปลือก ไข่ (423:7.2)
               คือ สิ่ง ที่ มัน อยู่ ชั้น นอก ไข่, มัน แขง อยู่* ข้าง นอก คน ปอก ทิ้ง เสีย นั้น.
      เปลือก ผ้า (423:7.3)
               คือ ผ้า เนื้อ หยาบ ที่ เขา ห่อ เนื้อ ดี มา แต่ เมือง นอก นั้น, เรียก เปลือก ผ้า.
      เปลือก ไม้ (423:7.4)
               คือ สิ่ง ที่ อยู่ เปน ผิว ชั้น นอก ที่ ต้น ไม้ นั้น.

--- Page 424 ---
      เปลือง เมือง (424:7.5)
               คือ เมือง ที่ เสีย แก่ ฆ่าศึก, คน ชาว เมือง กระจัด กระจาย ไป, เมือง นั้น เขา เรียก ว่า เปลือก เมือง.
ปลง (424:1)
         คือ ยก ของ ลง, คน บันทุก ช้าง ฤๅ เกรียน เปน ต้น ไป ถึง ที่ อยุด เอา ของ ลง จาก ช้าง ฤๅ จาก เกรียน ว่า ปลง.
      ปลง ผม (424:1.1)
               คือ โกน ผม, ว่า ปลง ผม เปน คำ สม ควร กับ พระ.
      ปลง ของ (424:1.2)
               คือ เอา ของ ลง จาก ที่, เขา ทูล ของ ไป ด้วย หัว ถึง ที่ ยก ของ ลง จาก หัว ว่า ปลง ของ ลง.
      ปลง บริขาร (424:1.3)
               คือ พระสงฆ์ จะ ใกล้ ตาย, แล อะนุญาต เครื่อง บริขาร มี บาต เปน ต้น ให้ แก่ ผู้ อื่น นั้น.
      ปลง ใจ (424:1.4)
               คือ ใจ ยอม ลง, คน พูด ปฤกษา กัน ด้วย ข้อ ความ สิ่ง ใด, ถ้า เหน พร้อม กัน ลง ว่า เขา ปลง ใจ ลง.
      ปลง สังขาร (424:1.5)
               คือ การ ที่ ทอด อาไลย ใน กาย ของ ตน ว่า เรา คง จะ ตาย เปน แท้ แน่ แล้ว.
      ปลง ธุระ (424:1.6)
               คือ วาง ใจ ละ เสีย, เหมือน คน มี ลูก นี่ อยู่ แล เวียน ไป ทวง บ่อย* ๆ ไม่ ได้ ของ ทอด ธุระ เสีย ไม่ เอา นั้น.
      ปลง ม่อ (424:1.7)
               คือ การ ที่ ยก ม่อ ลง จาก เตา นั้น.
      ปลง ศพ (424:1.8)
               คือ เผา ผี, คน เอา ศพ ไป ถึง ป่า ช้า ไม่ ฝัง ช่วย กัน เผา เสีย นั้น.
      ปลง อาบัติ (424:1.9)
               คือ สำแดง ลุ แก่ โทษ ๆ ของ ตัว กับ เพื่อน สมะ ณะ เพื่อ จะ ให้ บริสุทธิ์ นั้น.
ปลั่ง (424:2)
         คือ เปล่ง ปลั่ง, คน เหน ของ มี ทอง ฤๅ นาก เปน ต้น, อัน ศุก ศี ไส งาม ว่า ศุก ปลั่ง.
      ปลั่ง เปล่ง (424:2.1)
               คือ ของ ที่ ครัด เคร่ง เต่ง อยู่, เหมือน ผลไม้ มี ผล มะม่วง เปน ต้น ที่ สุก เต็ม ที่ ยัง ไม่ เหี่ยว นั้น.
ปลิง (424:3)
         เปน ชื่อ สัตว อย่าง หนึ่ง ตัว มัน เท่า นิ้ว มือ อยู่ น้ำ จืด จำ พวก หนึ่ง, น้ำ เค็ม จำพวก หนึ่ง มัน เกาะกัด กิน เลือด คน.
      ปลิง เข็ม (424:3.1)
               เปน ชื่อ สัตว ใน น้ำ รูป เหมือน ใส้ เดือน มัน อยู่ ใน น้ำ มัน กิน เลือด คน ตัว มัน เล็ก เท่า เข็ม.
เปล่ง (424:4)
         คือ ปลั่ง เปล่ง, คน เหน พระอาทิตย์ เปน ต้น อัน แจม ไส ไม่ มี เมฆ นั้น ว่า เปล่ง ปลั่ง.
      เปล่ง ปลั่ง (424:4.1)
               ความ เหมือน กับ ปลั่ง เปล่ง นั้น.
      เปล่ง วาจา (424:4.2)
               คือ ออก วาจา, คน ออก วาจา ว่า กล่าว ด้วย เสียง อัน ดัง นั้น.
      เปล่ง อุทาน (424:4.3)
               คือ บันฦๅ เสียง ขึ้น ดัง ด้วย ความ ชอบ ของ ตัว อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น.
      เปล่ง เสียง (424:4.4)
               คือ ทำ เสียง ให้ ดัง, คน ร้อง ทำ เสียง ดัง ขึ้น กว่า ปรกติ ด้วย ความ ยินดี เปน ต้น.
      เปล่ง คัด (424:4.5)
               คือ เต่ง คัด, เหมือน นม หญิง ที่ มี ลูก อ่อน เมื่อ มี น้ำ นม คั่ง ขัง อยู่ ข้าง ใน นั้น.
      เปล่ง รัศมี (424:4.6)
               คือ กระทำ แผลง ให้ รัศมี ออก จาก ตัว, เหมือน ดวงจันทร ดวง อาทิตย นั้น.
แปลง (424:5)
         จำแลง, คือ กลับ เพศ ฤๅ ทำ รูป คน ให้ เปน รูป คน อื่น, คน มี ฤทธิ์ แกล้ง แปลง กาย เปน รูป ต่าง ๆ ได้.
      แปลง สถาน (424:5.1)
               คือ จาก ที่ นี่* ไป อยู่ ที่ อื่น, เหมือน คน ไท ป่วย เจ็บ, นาน มัก ออก จาก ที่ นั่น ไป อยู่ ที่ อื่น.
      แปลง ควาย (424:5.2)
               คือ ที่ แอ่ง ปลัก ควาย ที่ มี น้ำ ขัง อยู่, ควาย มัน ลง นอน แช่ เกลือก อยู่ ที่ นั่น, เรียก ว่า แปลงควาย.
      แปลง ปลอม (424:5.3)
               คือ ทำ เพศ ให้ ผิด จาก เพศ เดิม เปน เพศ อื่น, แล้ว ทำ เปน พวก เขา เข้า ไป ด้วย นั้น.
      แปลง ที่ (424:5.4)
               คือ ทำ ที่ ให้ เปน เสีย ใหม่, ที่ เดิม เปน ที่ นา, ทำ กลับ ที่ เสีย ให้ เปน ที่ สวน นั้น.*
      แปลง เปลี่ยน (424:5.5)
               คือ ทำ เพศ เช่น ว่า, แล้ว ให้ ผู้ อื่น ไป แทน นั้น.
      แปลง ตัว (424:5.6)
               คือ* ทำ กาย ให้ เปน รูป อื่น, คน มี ฤทธิ์ ฤๅ ปิศาจ* แกล้ง บันดาน ตัว ให้ เปน รูป ต่าง ๆ นั้น.
      แปลง สาร (424:5.7)
               คือ ทำ หนังสือ เดิม ให้ เปน ความ อย่าง อื่น, ดี ให้ เปน ร้าย ๆ ให้ ดี บ้าง.
      แปลง กาย (424:5.8)
               จำแลง กาย, คือ ทำ ตัว ให้ เปน รูป ต่าง ๆ, คน มี ฤทธิ์ ฤๅ ปิศาจ* แกล้ง ทำ ตัว ให้ เปน รูป ต่าง ๆ.
      แปลง เพศ (424:5.9)
               คือ แปลง อาการ ตัว ให้ เปน อย่าง อื่น, คน เดิม นุ่ง ห่ม นั้น อย่าง ฆะฤหัฐ, แล้ว ทำ เปน สมณะ นุ่ง ผ้าเหลือง นั้น.
      แปลง เสียง (424:5.10)
               คือ แสร้ง ทำ เสียง ให้ เปน เสียง คน อื่น, ไม่ ให้ เขา จำ เสียง ตัว ได้ นั้น.
      แปลง เรือ (424:5.11)
               คือ คน ทำ เรือ เก่า ให้ เปน เรือ ใหม่. คน ขะโมย เรือ เขา ไป ได้ กลัว เจ้าของ จะ จำ ได้, ก็ ทำ แปลง เสีย ใหม่ นั้น.

--- Page 425 ---
โปลง (425:1)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, มัน เกิด ที่ น้ำ เค็ม ชาย ทะเล คน ตัด เอา มา ทำ ตง เรือน บ้าง ทำ พื้น บ้าง.
โปล่ง (425:2)
         คือ เปน ช่อง โล่ง ไป, เหมือน ที่ ใน ถ้ำ ภูเขา แล ไม่ มี สิลา กีด กั้น อยู่ เปน ช่อง เปล่า โปล่ง ไป, ว่า ถ้ำ โปล่ง ไป.
ปล่อง (425:3)
         คือ ที่ โหล้ง โปล่ง ไป ไม่ มี อัน ใด กั้น อยู่, คือ ที่ ใน ถ้ำ เปน ช่อง ปล่อง เปล่า ไป นั้น. อย่าง หนึ่ง ที่ แผ่น ดิน เปน รู เท่า แขน ก็ เรียก ปล่อง บ้าง.
      ปล่อง ควัน (425:3.1)
               คือ ช่อง รู ที่ สำรับ ให้ ควัน พลุ่ง ไป.
ปล้อง (425:4)
         คือ ของ เปน ส่วน หนึ่ง ห้อง หนึ่ง, เหมือน ลำ ไม้ ไผ่ ยาว มี ข้อ คั่น อัน หนึ่ง*, เรียก ปล้อง หนึ่ง.
      ปล้อง งู (425:4.1)
               คือ ตัว งู ที่ มัน ยาว มัน มี ลาย เปน บ้อง ๆ, คือ บ้อง ขาว แล บ้อง ดำ นั้น.
      ปล้อง ฅอ (425:4.2)
               คือ ลำฅอ ที่ฅอ เปน อะไวยวะ ส่วน หนึ่ง, ใน กาย คน ฤๅ กาย สัตว, เขา เรียก ปล้อง ฅอ.
      ปล้องไม้ (425:4.3)
               คือ ปล้อง เช่น ว่า, มี ที่ ลำไม้ ไผ่ นั้น.
      ปล้อง อ้อย (425:4.4)
               คือ ของ เปน ส่วน ๆ, ลำ*อ้อย ยาว มี ข้อ คั่น อยู่ ข้าง โน้น ข้อ หนึ่ง, ข้าง นี้ ข้อ หนึ่ง, ว่า ปล้อง หนึ่ง.
เปลือง (425:5)
         คือ ของ สิ้น ไป ๆ, เดิม ของ มี มาก ครั้น นาน มา ของ นั้น สิ้น ไป น้อย ไป, ว่า เปลือง ไป.
      เปลือง กิน (425:5.1)
               คือ อาหาร ของ กิน ที่ หมด ๆ ไป นั้น.
      เปลือง เข้า (425:5.2)
               คือ เข้า สิ้น ไป ๆ, เดิม เข้า มี มาก นาน มา เข้า สิ้น เข้า ๆ หมด ไป, ว่า เข้า เปลือง ไป.
      เปลือง เวลา (425:5.3)
               คือ เวลา ที่ หมด ไป ๆ, เหมือน เวลา เช้า รุ่ง ขึ้น แล้ว ล่วง ไป บาต หนึ่ง สอง บาต นั้น.
      เปลือง เงิน (425:5.4)
               คือ เงิน สิ้น ไป ๆ, เดิม เงิน มี มาก, ครั้น ใช้ ไป เงิน สิ้น เข้า ๆ น้อย ไป, ว่า เปลือง ไป.
      เปลือง อายุ (425:5.5)
               คือ กาละ แห่ง อายุ ล่วง ไป ๆ นั้น.
      เปลือง ทอง (425:5.6)
               คือ ทอง สิ้น ไป ๆ, เดิม ทอง มี มาก, ครั้น ใช้ ไป ทอง สิ้น เข้า ๆ ร่อย หรอ ไป, ว่า เปลือง ไป.
      เปลือง ผ้า (425:5.7)
               คือ ผ้า สิ้น ไป ๆ เดิม ผ้า มี มาก, ครั้น นาน มา ใช้ ไป ๆ ผ้า สิ้น ไป, ว่า ผ้า เปลือง ไป.
      เปลือง ไม้ (425:5.8)
               คือ ไม้ สิ้น ไป ๆ เดิม ไม้ มี มาก, คน ทำ เรือน นั้น, จะ ให้ ดี ให้* งาม, เลือก เอา แต่ ไม้ ที่ ดี, ไม้ ภอ ใช้ ได้ ไม่ เอา ไม้ สิ้น มาก, ว่า เปลือง ไม้.
เปลื้อง (425:6)
         คือ ปลด ปลง ลง, คน ใส่ เครื่อง ประดับ กาย, ครั้น เสร็จ การ แล้ว ปลด เปลื้อง เสีย นั้น.
      เปลื้อง ปลด (425:6.1)
               คือ ทำ ของ มี ผ้า นั้น, อัน ห่ม คลุม ฤๅ ห้อย อยู่ ที่ บ่า นั้น, ให้ มัน ออก จาก บ่า นั้น.
      เปลื้อง การ (425:6.2)
               คือ ปลด การ, คน ทำ การ อัน ใด มาก การ นั้น ยัง ค้าง อยู่, คน นั้น เร่ง ทำ การ นั้น ให้ แล้ว, ว่า เปลื้อง การ นั้น.
      เปลื้อง ปลิด (425:6.3)
               คือ การ ที่ คน เลิก เถา ผัก ขึ้น จาก ที่, แล้ว เลือก ปลิด เอา ผล ฤๅ ใบ มัน นั้น.
      เปลื้อง เครื่อง (425:6.4)
               คือ ปลด เครื่อง ออก จาก ตัว, คน ใส่ เครื่อง ประดับ แล้ว ปลด ถอด ออก จาก ตัว นั้น.
      เปลื้อง ตน (425:6.5)
               คือ การ ที่ กล่าว แก้ ตัว ไม่ ให้ เสีย ไป นั้น, คือ อ้าง พยาน สม กับ คำ ตัว นั้น.
      เปลื้อง บัติญาณ (425:6.6)
               คือ การ ที่ ไป ฤๅ มา เพราะ จะ แก้ คำ สัญญา กำหนฎ ไว้, ว่า วัน นั้น จะ ไป จะ มา นั้น.
      เปลื้อง ทุกข (425:6.7)
               คือ ช่วย ให้ เขา พ้น ทุกข, คน มี ความ ทุกข อัน ใด มี ผู้ มา ช่วย ให้ พ้น ทุกข, ว่า เฃา ช่วย เปลื้อง ทุกข.
      เปลื้อง ผ้า (425:6.8)
               คือ ทำ ผ้า ให้ พ้น จาก ตัว นั้น, คน ห่ม ผ้า อยู่ แล ปลด ผ้า ให้ พ้น จาก ตัว นั้น.
ปลด (425:7)
         คือ ทำ ของ ห้อย ไว้ ให้ ลง ข้าง ล่าง นั้น, คน เอา ฃอ เกี่ยว ห้อย ของ ไว้, แล ยก ฃอ ขึ้น ให้ พ้น, ที่ ทำ ของ ให้ อยู่ ล่าง นั้น.
      ปลด ออก (425:7.1)
               คือ ทำ ให้ ของ อัน ใด ออก จาก ที่, เหมือน ปลา มัน ติด เบ็ด, แล เขา ทำ ให้ มัน หลุด ออก นั้น.
      ปลดเปลื้อง (425:7.2)
               คือ ทำ ของ ที่ มัน ห้อย แขวน อยู่ ให้ มัน ลง ที่ ต่ำ, แล้ว ยก ขึ้น เอา ออก เสีย นั้น.
      ปลด ของ (425:7.3)
               คือ ทำ ฃอง ที่ แขวน ไว้ ให้ ลง อยู่ ข้าง ล่าง, คน แขวน ของ ไว้ แล ทำ ให้ ของ ลง อยู่ ข้าง ล่าง นั้น.
ปลิด (425:8)
         คือ ทำ ให้ ของ มี ลูกไม้ ออก จาก ขวั้น นั้น, คน เอา มือ อยิบ ลูก ไม้ เข้า แล้ว ทำ ให้ มัน หลุด ออก นั้น.
      ปลิด ปลด (425:8.1)
               คือ การ ที่ เอา มือ อยิบ ของ มี ลูกไม้ นั้น, ทำ ให้ มัน หลุด ออก จาก ที่ นั้น, แล้ว ลด ลง ปลง ลง.
      ปลิด ดอกไม้ (425:8.2)
               คือ เอา มือ จับ ดอกไม้ แล้ว ทำ ให้ มัน หลุด ออก จาก ก้าร นั้น.

--- Page 426 ---
      ปลิด ลูกไม้ (426:8.3)
               คือ ทำ ให้ ลูก ไม้ หลุด ออก จาก ขั้ว, ฤๅ ทำ ให้ กล้วย ออก จาก หวี นั้น.*
      ปลิด ก้าร (426:8.4)
               คือ การ ที่ มือ จับ ก้าร ดอกไม้ เข้า แล้ว ทำ ให้ ดอก มัน หลุด ออก จาก ก้าน นั้น.
เปล็ด (426:1)
         คือ ความ ไม่ ให้ ของ แก่ ใคร นั้น, คน ตระหนี่ ไม่ ให้ ของ แก่ ผู้ ใด, เขา ว่า คน นั้น ไม่ เปล็ด ไปล่ เลย.
ปลอด (426:2)
         คือ ความ ไม่ ภบ ไม่ ถูก, คน เดิน ไป ใน หน ทาง ไม่ ภบ คน ฤๅ สัตว. อย่าง หนึ่ง ยิง ลูก ธนู ไป ไม่ ถูก อัน ใด นั้น.
      ปลอด ล้วน (426:2.1)
               คือ ของ ที่ ขาว ทั้ง ตัว, เหมือน ขน นกยาง นั้น, ว่า มัน ขาว ปลอด ขาว ล้วน ไม่ มี ศรี อื่น ปน นั้น.
      ปลอด โปล่ง (426:2.2)
               คือ การ ที่ ไป ทาง ใด ๆ, ไม่ ภบ สิ่ง ใด เลย ตลอด ไป นั้น.
ปล้น (426:3)
         คือ กลุ้ม รุม เข้า ริบ เอา ของ เขา, คน เปน โจร ตั้ง แต่ พวก ละ ห้า คน หก คน ขึ้น ไป, ชวน กัน เข้า ใน บ้าน ใน เรือน เขา เก็บ เอา ของ ไป นั้น.
      ปล้น บ้าน (426:3.1)
               คือ การ ที่ เข้า ลอบ ลัก ตี เอา คน ชาว บ้าน เก็บ เอา เข้า ของ ไป นั้น.
      ปล้น สดม (426:3.2)
               คือ สกด ปล้น, พวก โจร มัน ทำ ด้วย* วิชา ให้ คน หลับ, แล้ว เข้า เก็บ ของ ไป นั้น.
      ปล้น เมือง (426:3.3)
               คือ การ ที่ ลอบ เข้า ตี เมือง ไม่ ให้ คน ชาว เมือง ทัน รู้ ตัว นั้น.
ปลิ้น (426:4)
         คือ กลับ ข้าง ใน ออก ข้าง นอก เข้า, คน กิน มะม่วง สุก นั้น, ฝาน ออก เปน ซีก แล้ว ทำ ให้ เปลือก ออก กิน แต่ เนื้อ นั้น, ว่า ปลิ้น.
      ปลิ้น กิน (426:4.1)
               คือ ทำ กลับ ข้างใน ออก ข้างนอก เข้า, เหมือน คน ทำ มะม่วง กิน นั้น.
      ปลิ้น ปลอก (426:4.2)
               คือ ปลิ้น ปล้อน, คน พูดจา โป้ ปด มาก บัดเดี๋ยว พูด อย่าง หนึ่ง, ๆ นั้น.
      ปลิ้น ปล้อน (426:4.3)
               คือ การ ที่ ทำ ให้ เปลือก ผลไม้ ให้ มัน ออก เสีย แล้ว จุบ กิน แต่ เนื้อ มัน นั้น.
      ปลิ้น หนี (426:4.4)
               คือ ไพล่ หนี ไป, คน อยู่ บัดเดียว* คน ไม่ ทัน รู้ ออก ได้ ก็ หนี ไป, ว่า ปลิ้น หนี ไป.
      ปลิ้น ขึ้น มา (426:4.5)
               คือ ลื่น ขึ้น มา, เหมือน ที่ ศีปาก คน กระทบ อัน ใด เข้า, แล มัน บวม ลื่น ขึ้น มา นั้น.
      ปลิ้น ไป (426:4.6)
               คือ คน อยู่ บัดเดี๋ยว ก็ ไพล่ ไป นั้น.
      ปลิ้น ตา (426:4.7)
               คือ เอา มือ กลับ กลีบ หนัง ที่ สำรับ ปิด ตา, ให้ ข้าง ใน ออก ข้าง นอก เข้า.
      ปลิ้น มา (426:4.8)
               คือ อยู่ ดี ๆ, บัดเดี๋ยว ก็ ไพล่ มา นั้น.
      ปลิ้น ลูกไม้ (426:4.9)
               คือ การ ที่ ทำ เปลือก ผลไม้, มี กล้วย ฤๅ ซ่ม นั้น ให้ มัน ออก เสีย นั้น.
      ปลิ้น เตข็บ (426:4.10)
               กลับ เตข็บ, คือ กลับ เตข็บ ที่ เย็บ ผ้า นั้น, คน เย็บ ผ้า แล้ว กลับ เตข็บ ผ้า เอา ข้าง ใน ออก.
      ปลิ้น เสื้อ (426:4.11)
               กลับ เสื้อ, คือ กลับ ข้าง ใน ไว้ ข้าง นอก, คน เย็บ เสื้อ แล้ว กลับ ข้าง ใน ออก ข้าง นอก เข้า นั้น.
      ปลิ้น ให้ (426:4.12)
               กลับ ให้, คือ ลอบ ลัก ให้, คน กลัว ผู้ อื่น จะ รู้, ลอบ เอา ของ ให้ ไป แก่ คน อื่น นั้น.
      ปลิ้น เอา (426:4.13)
               กลับ เอา, คือ ลอบ ลัก เอา ของ, คน อยาก ได้ ของ แล ลอบ ลัก เอา มิ ให้ เจ้า ของ รู้ นั้น.
      ปลิ้น ออก (426:4.14)
               กลับ ออก, คือ ไพล่ ออก ไป, คน นั่ง อยู่ บัดเดี๋ยว ก็ รีบ ลุก ออก ไป, คน อื่น ไม่ ทัน รู้ นั้น.
แปลน (426:5)
         คือ ของ มี เนื้อ ฤๅ เปลือก หุ้ม ไม่ รอบ, เหมือน ยวง ทุเรียน มี เนื้อ หุ้ม ไม่ รอบ เมล็ด นั้น, ว่า ทุเรียน แปลน อยู่.
      แปลน ออก มา (426:5.1)
               คือ แลน ออก มา, เหมือน ยวง ทุเรียน ที่ เนื้อ มัน หุ้ม เมล็ด ไม่ รอบ เต็ม นั้น.
      แปลน คำ (426:5.2)
               คือ คำ คน ให้ การ พลั้ง กล่าว ออก มา, เขา ว่า ตัว ได้ เหน ฤๅ ไม่, เดิม ว่า ข้า ไม่ ได้ ไป, แล้ว ว่า ข้า ได้ เหน, ว่า คำ แปลน ออก นั้น.
      แปลน พูด (426:5.3)
               คือ การ ที่ คน จะ พูด จะ ซ่อน อำ ความ อัน ใด ๆ, แล พลั้ง กล่าว ออก ความ นั้น มา หนิด หน่อย นั้น.
ปล้อน (426:6)
         คือ ทำ ให้ เมล็ด ผลไม้ นั้น ออก นอก ปาก, คน กิน ลูก ใน้หน่า นั้น แล ทำ ให้ เมล็ด ออก จาก ปาก นั้น.
      ปล้อน กิน แต่ เนื้อ (426:6.1)
               คือ การ จุบ กิน แต่ เนื้อ, เหมือน คน กิน ลูกใน้หน่า ลอก จุบ เอา แต่ เนื้อ นั้น.
      ปล้อน ปลิ้น (426:6.2)
               คือ ทำ ให้ เปลือก ผลไม้ ล่อนออก แล้ว จุบกิน นั้น.
      ปล้อน เมล็ด (426:6.3)
               คือ ทำ ให้ เมล็ด ลูกไม้ ออก จาก ปาก, คน กิน พูทรา เดิม ใส่ ปาก เข้า ไป ทั้ง ลูก เคี้ยว กิน แต่ เนื้อ, ปล้อน เมล็ด ออก เสีย นั้น.
      ปล้อน ล่อน (426:6.4)
               คือ ปลิ้น เปลือก ออก ไม่ เหลือ เลย นั้น.

--- Page 427 ---
เปลี่ยน* (427:1)
         คือ แลก, คน มี ของ คน ละอย่าง เขา แลก เปลี่ยน กัน. อย่าง หนึ่ง คน นี้ เอา ผ้า ฃอง คน โน้น มา ห่ม, คน โน้น เอา ผ้า ของ คน นี้ มา ห่ม.
      เปลี่ยน กัน (427:1.1)
               คือ เอา ของ ๆ ตัว ให้ แก่ เขา, แล้ว เอา ของ ๆ เขา มา.
      เปลี่ยน การ (427:1.2)
               คือ แลก การ กัน ทำ, คน หนึ่ง ทำ การ อย่าง หนึ่ง, คน หนึ่ง ทำ อย่าง หนึ่ง, เขา แลก เปลี่ยน กัน ทำ นั้น.
      เปลี่ยน ชื่อ (427:1.3)
               คือ การ ที่ ไม่ เอา ชื่อ เก่า, แล ถือ เอา ชื่อ ใหม่ นั้น.
      เปลี่ยน แปลง (427:1.4)
               คือ ผลัด ชื่อ เสีย ใหม่, ให้ เปน ชื่อ อื่น ไป นั้น.
      เปลี่ยน ทอง (427:1.5)
               คือ แลก เอา ทอง, คน ช่าง ทำ รูปพรรณ, ฉ้อ เอา ทอง เนื้อสุก, เปลี่ยน เอา ทอง เนื้อ ไม่ สุก ให้ นั้น.
      เปลี่ยน ปลอม (427:1.6)
               คือ ผลัด เสีย แล้ว ปลอม อื่น ให้.
      เปลี่ยน เงิน (427:1.7)
               เปลี่ยน หนัง, เปลี่ยน คน, เปลี่ยน รูป, เปลี่ยน ตัว, ผลัด ตัว, เปลี่ยน ที่, ผลัด ที่, เปลี่ยน น้ำ, ผลัด น้ำ.
      เปลี่ยน ผลัด (427:1.8)
               ผลัด เปลี่ยน, คือ ผลัด เปลี่ยน, คน นุ่ง ห่ม ผ้า สำรับ นี้, อาบ น้ำ แล้ว ผลัด เปลี่ยน ผ้า สำรับ อื่น นั้น.
      เปลี่ยน แผ่นดิน (427:1.9)
               ผลัด แผ่นดิน, คือ เปลี่ยน ผลัด เจ้าแผ่นดิน ใหม่, เจ้าแผ่นดิน ก่อน ตาย, จึ่ง ตั้ง เจ้าแผ่นดิน ใหม่ นั้น.
ปลาบ (427:2)
         คือ แปลบ, คน ขาย* กัด ทำ พิศม์ ปวด ปลาบ ๆ. อย่าง หนึ่ง เปน ชื่อ ต้นย่า. อย่าง หนึ่ง เรียก ผักปลาบ.
      ปลาบ ปลื้ม (427:2.1)
               คือ แปลบ แล ยินดี, เหมือน คน รู้ ข่าว ถึง การ ที่ เปน ที่ ปราฐนา นัก, แล วาบ เข้า ใน ใจ มี ความ ชื่น ใจ.
      ปลาบ หัวใจ (427:2.2)
               คือ วาบ เข้า ใน หัวใจ, เหมือน ข่าว เช่น ว่า, แรก รู้ วาบ เข้า ใน หัวใจ,
แปลบ (427:3)
         คือ ปลาบ, เหมือน ฟ้าแลบ วับวาบ ปลาบ เข้า ตา, อย่าง หนึ่ง เจ็บ แปลบ นั้น.
แปลบ เสียว (427:4)
         คือ ปลาบ เสียว, เหมือน คน รู้ ข่าว ร้าย วาบ เข้า ใน หัวใจ, ๆ สดุ้ง วับ ขึ้น นั้น.
ปลอบ (427:5)
         คือ ประโลม, คน เหน ทารก ร้อง ไห้, แล กล่าว ถ้อยคำ อ่อน หวาน* เอา ใจ, ว่า ปลอบ.
      ปลอบ โยน (427:5.1)
               คือ ประโลม กล่าว เอา ใจ, แต่ คำ โยน นั้น เปน คำ สร้อย.
ปลั้ม (427:6)
         คือ ทำ ให้ ผู้ อื่น ลง อยู่ ข้าง ล่าง นั้น, คน สอง คน มี กำลัง ด้วย กัน, กอด กัน จะ ขืน ทำ ให้ ลง อยู่ ข้าง ล่าง นั้น.
      ปลั้ม ปลุก (427:6.1)
               คือ การ ที่ กอด รัด กัน แล เตือน ให้ ลุก ขึ้น.
      ปลั้ม กัน (427:6.2)
               คือ กอด กัน จะ ทำ ให้ ผู้ อื่น ลง อยู่ ข้าง ล่าง นั้น, เขา เอา มือ จับ กัน เข้า แล้ว จะ กด ลง ไว้ ล่าง นั้น.
      ปลั้ม ผี ลุก ปลุก ผี นั่ง (427:6.3)
               คือ การ ที่ คน ผู้ พยาบาล คน ป่วย ไข้, อุษส่าห์ พยุง ลุก พยุง นั่ง มา ช้านาน, จน คน ไข้ ตาย นั้น.
ปลื้ม (427:7)
         ชื่น, คือ ความ เกษม ยินดี, คน มี ความ ศุข สำราญ ด้วย เขา ได้ ลาภ นั้น.
      ปลื้ม ใจ (427:7.1)
               คือ ใจ เกษม ชื่น ยินดี, คน ได้ ลาภ ฤๅ ยศศักดิ์ ขึ้น ใหม่ ๆ นั้น มี ใจ ปลื้ม.
      ปลื้ม อาไลย (427:7.2)
               คือ มี ความ อาไลย ถึง คน ที่ จาก ไป ช้านาน, แล กลับ มา เหน กัน, ก็ มี ความ ยินดี นั้น.
      ปลื้ม อารมณ (427:7.3)
               ชื่น อารมณ, คือ ชื่น ใจ, คน ได้ อัน ใด สม ความ ปราฐนา, แล มี ใจ ปรีดา โสมนัศ นั้น.
ปลอม (427:8)
         คือ ลักเพศ, คน แสร้ง กระทำ เพศ ตัว ฤๅ เพศ ของ อื่น ให้ วิปริต ผิด เพศ เดิม นั้น.
      ปลอม เข้า ไป (427:8.1)
               คือ ลักเพศ เข้า ไป, คน ตัว เปน ผู้ชาย จะ เข้า ใน พระราชถาน ทำ ตัว เปน เพศ หญิง นั้น.
      ปลอม ของ (427:8.2)
               คือ เอา ของ อัน ใด ๆ ที่ มิ ใช่ ของ นั้น ใส่ เข้า กับ ของ นั้น.
      ปลอม พล (427:8.3)
               คือ แปลง เพศ ตัว ให้ เหมือน พล นั้น, คน จะ สืบ การ สงคราม, แปลง เพศ ให้ เหมือน พล พวก นั้น.
      ปลอม เงิน (427:8.4)
               คือ ทำ เทียม ทำ ด้วย ทอง แดง นั้น, เอา ปน เข้า กับ เงิน ดี นั้น.
      ปลอม หนังสือ (427:8.5)
               คือ ทำ หนังสือ ทำ เทียม, ใส่ เข้า กับ หนังสือ จริง นั้น.
      ปลอม แปลง (427:8.6)
               คือ ลัก เปลี่ยน เพศ, คน แสร้ง แปลง รูป อาการ ให้ เปน อื่น ผิด รูป แล อาการ เดิม ไป นั้น.
      ปลอม ปน (427:8.7)
               คือ เอา สิ่ง ของ อัน ใด ๆ ที่ ไม่ แท้, ใส่ เข้า กับ ของ แท้ นั้น.
ปลาย (427:9)
         คือ ที่ สุด ยอด ของ อยู่ ที่ สุด ที เดียว ใม่ มี อีก, เขา เรียก ว่า ที่ สุด ปลาย นั้น.
      ปลาย เข้า (427:9.1)
               คือ เมล็ด เข้า ที่ หัก แหลก เปน ท่อน สั้น นั้น.

--- Page 428 ---
      ปลาย เขตร (428:9.2)
               คือ ที่ สุด เขตร แดน, ประเทศ แว่น แคว้น เมือง กว้าง ยาว เท่า ใด มี ที่ สุด เขตร นั้น.
      ปลาย แดน (428:9.3)
               คือ ที่ สุด แดน, ประเทศ แว่น แคว้น เมือง กว้าง แล ยาว เท่า ใด มี ที่ สุด ลง นั้น.
      ปลาย อ้อ ปลาย แขม (428:9.4)
               คือ สุด ยอด อ้อ ฤๅ ต้น แขม นั้น. อย่าง หนึ่ง เขา พูด ถึง กาละ ที่ ตัว ยัง ไม่ ได้ มา เกิด นั้น, ว่า แต่ เรา ยัง อยู่ ปลาย อ้อ ปลาย แขม.
      ปลาย ทาง (428:9.5)
               คือ ที่ สุด ทาง, หน ทาง กว้าง ยาว เท่า ใด ไป ถึง ที่ สุด ลง ไม่ มี อีก นั้น.
      ปลาย น้ำ (428:9.6)
               ยอดน้ำ, คือ ที่ สุด แม่น้ำ ฤๅ คลอง นั้น, แม่น้ำ ฤๅ คลอง นั้น เปน ที่ สุด ลง นั้น.
      ปลาย ไม้ (428:9.7)
               ยอดไม้, คือ ที่ สุด ไม้, ต้นไม้ ใหญ่ เล็ก ขึ้น สูง ยาว มี ที่ สุด เพียง ไหน, ว่า ปลาย เพียง นั้น.
      ปลาย ยอด (428:9.8)
               ที่ สุด ยอด, คือ ที่ สุด จิ่ม, ต้นไม้ ฤๅ ของ ที่ สูง มี เจดีย นั้น, ที่ สูง ว่า ปลาย ยอด.
      ปลายมือ (428:9.9)
               สุด มือ, คือ ที่ สุด มือ, มือ มี นิ้ว ที่ สุด นิ้ว นั้น ว่า ปลาย มือ. อย่าง หนึ่ง คน อยู่ ด้วย กัน แต่ แรก ว่า ต้น มือ, ครั้น นาน ไป เวลา นั้น เรียก ปลาย มือ.
      ปลาย สุด (428:9.10)
               สุดยอด, คือ ปลาย จิ่ม, ของ ยาว สูง มี ที่ ปลาย จิ่ม, เขา ว่า ปลาย สุด นั้น.
ปล้าว (428:1)
         คือ ต้นยา ชื่อ ปล้าวน้อย ปล้าว*ใหญ่, แล ปล้าว น้ำเงิน, หนึ่ง เรียก ชื่อ นกปล้าว.
ปลิว (428:2)
         คือ ของ เบา ลอย ไป ตาม ลม, ของ เบา มี ปุยนุ่น นั้น ลอย ไป ตาม ลม, ว่า ปลิว ไป นั้น.
      ปลิว ไป ตาม ลม (428:2.1)
               คือ ของ เบา ลม พัด ภา เอา ให้ ลอย ไป ได้ นั้น.
เปลว (428:3)
         คือ ไฟ ที่ ลุก ติด อยู่ ที่ ประทีป แล คบ นั้น, เดิม ไฟ ดับ ไม่ มี เปลว ติด อยู่ กับ ถ่าน แล้ว, คน ก่อ ฤๅ ลมพัด ลุก ขึ้น นั้น.
      เปลว เพลิง (428:3.1)
               คือ ปลาย ยอด ที่ ไฟ เมื่อ ลุก โพลง อยู่ นั้น.
      เปลว ไฟ (428:3.2)
               คือ ไฟ ที่ ลุก โพลง อยู่ นั้น, คน เอา เชื้อ มี ใต้ นั้น, จุด เข้า ที่ ไฟ โพลง คือ เปลว นั้น.
      เปลว ควัน (428:3.3)
               คือ ปลาย ยอด ควัน นั้น.
      เปลว ประทีป (428:3.4)
               คือ ไฟ ลุก โพลง อยู่ ที่ เตกียง นั้น, คน เอา ด้าย ทำ ไส้ ใส่ ใน รู ลวด ที่ เตกียง, เอา ไฟ ลุก จุด โพลง ขึ้น นั้น.
      เปลว ปล่อง (428:3.5)
               คือ เปลว เช่น ว่า แล้ว, แล ที่ เปน รู ช่อง อยู่ ที่ พื้น ดิน ฤๅ ภูเขา หิน ที่ มัน มี ถ้ำ นั้น ว่า ปล่อง.
      เปลว หมู (428:3.6)
               คือ มัน หมู ที่ มี แต่ มัน ไม่ มี เนื้อ นั้น เรียก เปลว.
ปล่อย (428:4)
         คือ ละวาง เสีย, คน ยึด ถือ อัน ใด ไว้ แล้ว วาง มือ เสีย นั้น.
      ปล่อย นักโทษ (428:4.1)
               คือ การ ที่ ท่าน ให้ คน ต้อง โทษ อยู่, โปรด ให้ พ้น โทษ นั้น.
      ปล่อย คน (428:4.2)
               คือ ปละ ละ คน ที่ เอา ตัว ขัง ไว้ เสีย นั้น, คน เอา คน ขัง ไว้ ใน คุก นั้น, แล้ว ให้ ไป เสีย นั้น.
      ปล่อย นก (428:4.3)
               คือ เปลือย ลูกนก ไว้, ทำ ให้ มัน ไป ได้ ตาม ชอบ ใจ มัน นั้น.
      ปล่อย ใจ (428:4.4)
               คือ ตาม ใจ ของ ตัว เอง, คน คิด การ ดี ฤๅ ชั่ว, แล ทำ ตาม ใจ คิด นั้น.
      ปล่อย ตัว (428:4.5)
               คือ ละวาง ตัว คน ฤๅ สัตว เสีย นั้น, คน จับ ตัว คน ฤๅ สัตว ไว้ แล้ว ละวาง เสีย นั้น.
      ปล่อย ไก่ (428:4.6)
               คือ เปลือย ลูก ไก่ ฤๅ ไม่ ผูก ไก่ ไว้, ละ ให้ มัน ไป เสีย นั้น.
      ปล่อย ปละ (428:4.7)
               คือ ปล่อย ละ เสีย นั้น.
      ปล่อย ออก (428:4.8)
               คือ ทำ ให้ ออก จาก ที่ ขัง, คน ขัง สัตว มี นก แล ใก่ นั้น ใส่ กรง, แล้ว เปิด ให้ มัน ไป นั้น.
      ปล่อย วัต เสีย (428:4.9)
               คือ เอา สัตว มี ไก่ นั้น, ไป ไว้ ที่ ใน วัต นั้น.
เปลี่ยว (428:5)
         คือ คน อยู่ แต่ ผู้ เดียว, ฤๅ เรือน เดียว บ้าน เดียว นั้น, ว่า อยู่ เปลี่ยว.
      เปลี่ยว กันดาร (428:5.1)
               คือ ที่ ป่า ไม่ มี บ้าน เมือง, ไม่ มี ผู้ คน อยู่ แล ขัดสน ด้วย น้ำ นั้น.
      เปลี่ยว ฅอ อูม (428:5.2)
               คือ ที่ ฅอ งัว ฤๅ ควาย ที่ มัน กำลัง หนุ่ม, มัน โตใหญ่ กว่า ปรกติ นั้น.
      เปลี่ยวดำ (428:5.3)
               เปน ชื่อ โรค อย่าง หนึ่ง, คน กิน เหล้า เหลือ ประมาณ นั้น.
      เปลี่ยว กาย (428:5.4)
               คือ อยู่ แต่ ผู้ เดียว ใน ที่ ป่า นั้น.

--- Page 429 ---
      เปลี่ยว เปล่า (429:5.5)
               คือ อยู่ ผู้ เดียว เปล่า ไม่ มี ผู้ ใด, คน อยู่ ใน ป่า ฤๅ ใน ที่ ใด ที่ ไกล คน ทั้ง ปวง นั้น.
      เปลี่ยว วังเวง (429:5.6)
               คือ อยู่ แต่ ผู้ เดียว เงียบ สงัด ใน ที่ ป่า, ใจ อ้างว้าง อยู่ นั้น.
      เปลี่ยว ใจ (429:5.7)
               เปล่า ใจ, คือ เปล่า จิตร, คน อยู่ ใน ที่ แห่ง ใด ไม่ มี ผู้ ใด, จิตร วิเวก สงัด นั้น.
      เปลี่ยว อก (429:5.8)
               เปล่า อก, คือ เปล่า อก, คน อยู่ ใน ที่ สงัด ฤๅ คน มี ลูก ตาย หาย ไป นั้น, ว่า เปล่า อก.
เปลือย (429:1)
         คือ กาย ไม่ มี ผ้า นุ่ง แล ผ้า ห่ม, คน ไม่ นุ่ง ผ้า ห่ม ผ้า กาย เปล่า อยู่, ว่า กาย เปลือย อยู่.
      เปลือย เปล่า (429:1.1)
               คือ ที่ เปล่า ไม่ มี ผู้ คน นั้น.
      เปลือย กาย (429:1.2)
               คือ กาย เปล่า ไม่ มี สิ่ง ใด ปก หุ้ม กำบัง, คน ประพฤติ ไม่ นุ่ง ไม่ ห่ม ผ้า นั้น, ว่า เปลือย กาย.
เปลี้ย (429:2)
         คือ คน ท้าว วิกล สั้น เล็ก แบน แปะ อยู่ เดิน ได้ แต่ ไม่ เร็ว. อย่าง หนึ่ง คน เดิน ไป ไกล ท้าว เพลีย ไป นั้น.
      เปลี้ย น้ำ (429:2.1)
               คือ เรือ เพียบ กราบ สูง พ้น น้ำ อยู่ สัก สาม นิ้ว สี่ นิ้ว นั้น.
      เปลี้ย ง่อย (429:2.2)
               คือ คน ขาเพลี้ย จะ ย่าง ท้าว ไป เร็ว ไม่ ได้, ค่อย ขยด ถด ถัด ไป นั้น.
      เปลี้ย เพลี้ย (429:2.3)
               คือ แค่ง ขา ปลก เปลี้ย จะ เดิน ก้าว ท้าว ไป เร็ว ๆ ไม่ ได้ นั้น.
เปลาะ (429:3)
         คือ ผูก เปน ส่วน ๆ, คน มัด ใต้ นั้น เขา เอา ตอก ผูก เปน แห่ง ๆ, ว่า ผูก เปน เปลาะ ๆ.
(429:4)
         
ผา (429:5)
         หิน, สิลา, เปน ชื่อ สิลา ที่ ภูเขา นั้น, ว่า น่าผา ฤๅ เพิงผา เขา เรียก หิน ว่า ผา มี บ้าง นั้น.
      ผาศุข (429:5.1)
               ความ สบาย ฯ, เปน สับท์ แปล ว่า ความ ศุข สบาย, ไม่ มี ทุกข โศรก โรค ไภย อุปะทะวะ อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น.
ผ่า (429:6)
         คือ ทำ ของ ให้ เปน ส่วน ๆ สอง ซีก นั้น, คน เอา มีด ฟัน ลง ที่ ของ ให้ แยก ออก เปน สอง ภาคย์ นั้น.
      ผ่า ฝี (429:6.1)
               คือ เอา เครื่อง สำรับ ผ่า เชือด ลง ตรง หัวฝี, เพื่อ จะ ให้ หนอง ออก นั้น.
      ผ่าไม้ (429:6.2)
               แล่งไม้, คือ ทำ ลำไม้ ให้ แตก ออก เปน สอง ส่วน, คน เอา พร้า ฤๅ ขวาน แล่งฟัน ไม้ ให้ ออก เปน สอง ส่วน นั้น.
      ผ่า ฝูง (429:6.3)
               คือ เดิน เข้า ไป ใน ท่ำกลาง ฝูง คน มาก นั้น.
      ผ่า หวาย (429:6.4)
               คือ ทำ หวาย ให้ เปน สอง ซีก.
      ผ่า รก (429:6.5)
               คือ เดิน ตรง บุก เข้า ไป ใน ที่ รก ด้วย หญ้า แล ต้น ไม้ นั้น.
      ผ่าหัว (429:6.6)
               แล่งหัว, คือ ให้ แตก ออก เปน สอง ภาคย์ นั้น.
      ผ่าหมาก (429:6.7)
               จักหมาก, คือ ทำ ให้ ลูกหมาก แตก ออก ด้วย มีด ฤๅ ด้วย กันไกร นั้น.
      ผ่า อก (429:6.8)
               คือ ทำ อก ให้ แยก แตก ออก เปน สอง ภาคย์, คน ต้อง โทษหลวง ท่าน ให้ เอา ตัว ไป ผ่า อก เสีย นั้น.
ผ้า (429:7)
         คือ ของ สำรับ นุ่งห่ม เปน ผืน ๆ นั้น, ของ นั้น คน ทำ ด้วย ด้าย บ้าง ด้วย ไหม บ้าง, สำรับ นุ่งห่ม นั้น.
      ผ้า เกี้ยว (429:7.1)
               คือ ผ้า มี ลาย ทำ มา แต่ เมืองเทษ, สำรับ ผู้ชาย นุ่ง เปน ข้าราชการ มี งาน เฝ้า เจ้าชีวิตร นั้น.
      ผ้า ขาว (429:7.2)
               คือ ผ้า ศรี ขาว บริสุทธิ์ ไม่ ได้ ย้อม ศรี อัน ใด อัน หนึ่ง, ศรี ยัง ขาว เหมือน ปีก นกยาง นั้น.
      ผ้า ขาวม้า (429:7.3)
               คือ ผ้า ท่อนสั้น ภอ นุ่ง อาบน้ำได้, โจง กระเบน ไม่ ถึง นั้น.
      ผ้า เขียว (429:7.4)
               คือ ผ้า ย้อม ด้วย น้ำคราม. อย่าง หนึ่ง ย้อม ด้วย แกแล นั้น, ว่า ผ้าเขียว คราม แล ศรี ใบตอง.
      ผ้า ซับใน (429:7.5)
               คือ ผ้า ซ้อน ใน เพื่อ จะ ให้ มัน รับ เหื่อ นั้น.
      ผ้า ดิบ (429:7.6)
               คือ ผ้าด้ายดิบ ไม่ ได้ ฟอก, ผ้า เขา ทำ ที่ เมืองเทษ แต่ เขา ไม่ ได้ ฟอก ซัก ซ่าบู่ นั้น.
      ผ้า เช็ดหน้า (429:7.7)
               คือ ผ้า กว้าง สัก ศอก ยาว สัก ศอก ภอ เช็ด หน้า, เมื่อ เวลา ตื่น ขึ้น เช้า นั้น.
      ผ้า ตา (429:7.8)
               คือ ผ้า พื้น เปน เม็ด เล็ก, คน ไท ธอ สำรับ นุ่งห่ม ใช้ ใน เมือง ไท นี้, ไม่ ได้ เอา ไป ใช้ ใน เมือง อื่น.
      ผ้า เช็ด มือ (429:7.9)
               คือ ผ้า ท่อน สั้น ภอ เช็ด มือ ได้ นั้น.
      ผ้า เทษ (429:7.10)
               คือ ผ้า เขา ทำ มา แต่ เมือง ต่าง ประเทศ, มี ศรี ต่าง ๆ ลาย ต่าง ๆ แล ดอก ต่าง ๆ นั้น.
      ผ้า คลุม หัว (429:7.11)
               คือ ผ้า ปก ที่ ศีศะ คน เมื่อ เวลา แดด ร้อน นั้น, เอา ผ้า ปก ศีศะ ไว้ ไม่ ให้ แดด ร้อน นั้น.
      ผ้า นุ่ง (429:7.12)
               คือ ผ้า ที่ ทำ ไว้ เพียง เอว ลง ไป จน ที่ สุด น่อง นั้น, คน ไท นุ่ง เพียง เอว คลุม ลง ถืง น่อง นั้น.

--- Page 430 ---
      ผ้า ป่า (430:7.13)
               คือ ผ้า เขา เอา ทิ้ง ไว้ ให้ ทาน ใน ป่า นั้น. อย่าง หนึ่ง ผ้า เขา เอา ไป ไว้ ใน วัต ให้ พระสงฆ นั้น.
      ผ้า บังสกุล (430:7.14)
               คือ ผ้า ทิ้ง อยู่ ที่ กอง ฝุ่น มี ผ้า สพ ที่ ป่าช้า นั้น, บัญญัติ ให้ พระสงฆ เก็บ มา นุ่งห่ม สมควร.
      ผ้า ป่าน (430:7.15)
               คือ ผ้า ธอ ด้วย ป่าน, คน จีน เอา เส้น ป่าน มา ธอ เปน ผืน ผ้า, เขา ซื้อ มา ทำ มุ้ง นั้น.
      ผ้า ปู้ม (430:7.16)
               คือ ผ้า ไหม มี ลาย สำรับ ผู้ชาย นุ่ง.
      ผ้า ผุด ดอก (430:7.17)
               คือ ผ้า พื้นขาว มี ดอก ผุด ขึ้น มา นั้น.
      ผ้า ผ่อน (430:7.18)
               คือ ผ้า ที่ แขกตะนี เขา ทำ เปน ผ้า ถุง, เขา นุ่ง ผ่อน ได้ นั้น.
      ผ้า พ่วย (430:7.19)
               คือ ผ้า เย็บ สองชั้น เปน ผ้า สำรับ ห่ม นอน, คน เอา ผ้า อัตลัด นั้น เย็บ ซ้อน กัน เข้า ไว้ สำรับ ห่ม นอน นั้น.
      ผ้า แพร (430:7.20)
               คือ ผ้าไหม จีน ทำ มา แต่ เมืองจีน.
      ผ้า ฟ่าย (430:7.21)
               คือ ผ้า ธอ ด้วย ด้าย, คน ไท เอา ฟ่าย มา ปั่น เปน ด้าย แล้ว ธอ เปน ผืน ผ้า นั้น.
      ผ้า ยก (430:7.22)
               คือ ผ้า มี ดอก, คน ทำ ดอก ที่ ผืน ผ้า ด้วย ไหม บ้าง, ด้วย ด้าย บ้าง, ยก ขึ้น สูง พ้น พื้น ขึ้น มา นั้น.
      ผ้า ย่น (430:7.23)
               คือ ผ้า ย่อ เปน คลีบ ๆ, คน ทำ เสื้อ จีบ เอว เปน กลีบ ๆ นั้น, ว่า ผ้า ย่น เข้า,
      ผ้า ลาย (430:7.24)
               คือ ผ้า ที่ มี ดอก เปน ผ้า สำรับ นุ่ง นั้น, คน ทำ ผ้า มา แต่ เมืองเทษ เปน ดอก มั้น.
      ผ้า ไหว้ (430:7.25)
               คือ ผ้า สำรับ ให้ พ่อตา แล แม่ยาย นั้น, ชาย เมื่อ จะ มี เมีย ต้อง จัด ผ้า ให้ พ่อแม่ ข้าง ผู้หญิง นั้น, เรียก ผ้าไหว้.
      ผ้า สะไบ (430:7.26)
               คือ ผ้า บาง ๆ สำรับ ห่ม อย่าง เดียว, เขา เอา ผ้า ด้าย ที่ เนื้อ บาง ทำ เปน ผ้า สำรับ ห่ม นั้น.
      ผ้า สบง (430:7.27)
               คือ ผ้า สำรับ พระสงฆ นุ่ง นั้น, เขา เอา ผ้า ผืน มา ฉีก ออก ประกอบ รอบ เชิง ทั้ง สี่ ด้าน, เย็บ แล้ว ย้อม เหลือง นุ่ง นั้น.
      ผ้า ห่ม (430:7.28)
               คือ ผ้า อัน สำรับ ห่ม อย่าง เดียว*, คน เอา ผ้า แพร ฤๅ ผ้า ด้าย ทำ เปน ผ้า ห่ม อย่าง เดียว นั้น.
      ผ้า ห้อยหอ (430:7.29)
               คือ ผ้า สำรับ นุ่ง, ผู้หญิง วัด ให้ ผู้ชาย เมื่อ แรก ทำ งาน อยู่ กิน ด้วย กัน เปน ผัวเมีย นั้น.
ผิและ (430:1)
         แม้น และ, คือ ถ้า และ, คน พูด ว่า ถ้า และ ข้าพเจ้า กลับ ถ้อย คืน คำ ให้ แล้ว ว่า ไม่ ได้ ให้, จง ลง โทษ กับ ข้าพเจ้า เถิด.
      ผิ ว่า (430:1.1)
               คือ แม้น ว่า, คน พูด ว่า แม้น ท่าน โปรด สงเคราะห์ ได้ จริง อย่าง ว่า นั้น, ข้าพเจ้า จะ ทำ ตาม.
ผี (430:2)
         คือ ปิศาจ*, คน เรียก ซากสพ คน ตาย ว่า ผี บ้าง, เรียก ฝูง ปิศาจ* ที่ มัน เที่ยว หลอก ว่า ผี บ้าง.
      ผีดิบ (430:2.1)
               ผีห่า, คือ สพ ที่ ฝัง ไว้ ไม่ ได้ เผา, คน ตาย ลง เขา เอา สพ ไป ขุด หลุม ยก สพ ใส่ ลง กลบ ไว้ นั้น.
      ผีตาย (430:2.2)
               ผีกระสือ, คือ สพ คน ตาย.
      ผีปิศาจ* (430:2.3)
               ผี ท้อง เลว, คือ พวก ปิศาจ* ที่ เกิด เปน อสุระกาย มัน เที่ยว อยู่ บน ดิน, แต่ คน ไม่ เหน ตัว มัน นั้น.
      ผี โขมด (430:2.4)
               ผี ปอบ, คือ ปิศาจ* มัน อยู่ ตาม ทุ่งนา, ครั้น เวลา กลาง คืน มัน สำแดง เปน แสงไฟ ให้ เหน ที่ ทุ่งนา ภา ให้ คน หลง นั้น.
      ผี โป่ง (430:2.5)
               ผี ตะกละ, คือ ปิศาจ* มัน อยู่ ที่ โป่ง, ๆ นั้น เปน ที่ ดิน ทราย เลอียด เปน เนิน สูง ขึ้น หน่อย ๆ หนึ่ง, ดิน นั้น เค็ม ฝูง สัตว มี เนื้อ แล กวาง นั้น มา กัด กิน.
      ผี ป่า (430:2.6)
               คือ ปิศาจ* มัน เที่ยว อยู่ ใน ป่า, ปิศาจ* มัน ภอ ใจ อยู่ แต่ ใน ป่า, ไม่ ภอใจ ไป อยู่ ที่ อื่น นั้น.
      ผี ตายโหง (430:2.7)
               คือ ปิศาจ* ที่ คน ตาย ไม่ ดี, เหมือน คน คลอด ลูก ตาย ฤๅ ตก น้ำ ตาย ฤๅ เขา ฆ่า ตาย, ไป เกิด เปน ปิศาจ* นั้น.
      ผีเสื้อ (430:2.8)
               ผีพราย, คือ ปิศาจ* ที่ มัน เกิด อยู่ ใน สมุท ทะเล, ฤๅ เกิด ที่ ใน สระ ใน ป่า ใหญ่ นั้น, มัน กิน มนุษ แล สัตว เปน อาหาร นั้น.
      ผีห่า (430:2.9)
               คือ ปิศาจ* อะมนุษ ที่ มี ฤทธิ์ อาจ ทำ มนุษ แล สัตว ให้ เปน อันตราย แก่ ชีวิตร ได้ นั้น.
ผุ (430:3)
         คือ เปื่อย ยุ่ย, ไม้ ฤๅ ผ้า นั้น เก่า แก่ คร่ำคร่า ช้านาน พรุ่ย ยุ่ย ออก ไป นั้น, ว่า ผุ ไป.
      ผุ พัง (430:3.1)
               คือ ของ ตั้ง อยู่ ช้านาน เหมือน ไม้ นั้น, มัน เปื่อย ทำลาย ออก ไป นั้น.
      ผุผะ (430:3.2)
               คือ ของ เปื่อย พัง ออก ไป นั้น, เหมือน ไม้ ที่ ตรำ ฝน อยู่ นั้น.

--- Page 431 ---
ผู้ (431:1)
         คือ ส่วน ตัว คน, เขา เรียก ว่า ผู้ นั้น ผู้ นี้, เหมือน ฝ่าย แล ส่วน, คือ ฝ่าย นั้น ส่วน นั้น.
      ผู้คน (431:1.1)
               คือ ส่วน คน ฝ่าย คน, เฃา ว่า ผู้ คน แล ฝ่าย คน นั้น.
      ผู้ชาย (431:1.2)
               คือ ฝ่าย ชาย, เหมือน คน ปน กัน อยู่ ทั้งชาย ทั้งหญิง แต่ พวก ชาย ไป เขา ว่า ผู้ชาย ไป.
      ผู้หญิง (431:1.3)
               คือ ฝ่าย หญิง, เหมือน คน อยู่ ด้วย กัน ทั้ง หญิง ทั้ง ชาย, แต่ ฝ่าย หญิง ไป เขา ว่า ผู้ หญิง ไป.
      ผู้ดี (431:1.4)
               คือ ฝ่าย คน มั่งมี, เหมือน คน จน คน มั่งมี อยู่ ด้วย กัน แต่ ฝ่าย คน มั่งมี ไป เขา ว่า ผู้ดี ไป.
      ผู้ ใด (431:1.5)
               คือ ใคร, ใคร คน ใด คน ไร คน ไหน.
      ผู้ ตาย (431:1.6)
               คือ ฝ่าย คน ตาย, คน ถึง อนิจกรรม ตาย ไป แล้ว, มี ของ อยู่ เขา ว่า เปน ของ ผู้ ตาย.
      ผู้เฒ่า (431:1.7)
               คือ คน อายุ ล่วง เข้า ปะฉีมะไวย, คือ แปดสิบ เก้า สิบ* ปี นั้น.
      ผู้เฒ่า (431:1.8)
               ผู้แก่, คือ คน ชะรา แก่ เฒ่า. อย่าง หนึ่ง คน ชาย หญิง ผู้ ใหญ่ ที่ เขา วาน ให้ ฃอ ลูก สาว เปน เมีย นั้น.
      ผู้ ไถ่ (431:1.9)
               คือ ฝ่าย คน ไถ่, คน เอา เงิน ไถ่ ช่วย คน มา ตาม ค่า ตัว มาก แล น้อย, ว่า เปน ผู้ ไถ่.
      ผู้ นำ (431:1.10)
               คือ ฝ่าย คน ที่ นำ ทาง นั้น, คน ผู้ ใด เปน ผู้ นำ หน ทาง เขา ว่า คน นั้น เปน ผู้ นำ.
      ผู้ มี (431:1.11)
               คือ ผู้ มี ปัญญา นั้น, คน ปัญญา มาก ฤๅ มี ทรัพย มาก, ฤๅ มี ยศศักดิ์ บริวาร มาก นั้น.
      ผู้ ยาก (431:1.12)
               คือ คน มี ความ ยาก ลำบาก มาก นั้น, คน จน ขัดสน เปน ทาษ เขา, ๆ ใช้ ได้ ความ ลำบาก มาก นั้น เปน ผู้ ยาก.
      ผู้ ใหญ่ (431:1.13)
               คือ คน มี อายุ มาก, คน มี อายุ ตั้ง แต่ สามสิบ ขึ้น ไป นั้น, เขา เรียก ว่า คน ผู้ ใหญ่.
      ผู้ รั้ง (431:1.14)
               คือ คน เปน ผู้ รักษา ว่า ราชการ ใน เมือง เล็กน้อย, นอก จาก เมือง หลวง นั้น, ว่า คน นั้น เปน ผู้ รั้ง.
      ผู้ร้าย (431:1.15)
               คือ คน ที่ เปน โจร เปน ขะโมย นั้น.
      ผู้ ลัก (431:1.16)
               คือ คน เปน โจร, คน เปน ขะโมย ลัก เอา ทรัพย สิ่ง ของ ท่าน นั้น, ว่า ผู้ นั้น เปน ผู้ ลัก เบี้ย.
      ผู้ ลูก (431:1.17)
               คือ คน เปน บุตร, คน เปน ทารก เกิด จาก สามี ภรรยา นั้น, ว่า ผู้ นั้น เปน ผู้ ลูก.
      ผู้ ล่าม (431:1.18)
               คือ คน ผู้ รู้ พูด ภาษา ต่าง ๆ, แล ส่ง ภาษา ได้ อาจ บอก แก่ คน สอง ฝ่าย ที่ ไม่ รู้ ภาษา กัน, ให้ เขา รู้ เนื้อ ความ นั้น.
      ผู้ สร้าง (431:1.19)
               คือ คน เปน ผู้ แรก จัดแจง ให้ ทำ บ้าน เมือง นั้น.
      ผู้ สอดแนม (431:1.20)
               คือ คน มา คอย ฟัง เหตุ ผล ต่าง ๆ นั้น, เขา อยาก จะ รู้ ความ ใช้ ให้ คน ไป คอย ฟัง ความ นั้น, ว่า คน นั้น เปน ผู้ สอดแนม.
      ผู้ สืบ (431:1.21)
               คือ คน ผู้ ไต่ สวน, คน อยาก จะ รู้ เอง ฤๅ ผู้ อื่น อยาก จะ รู้ ให้ คน ไป ไต่ สวน ดู, คน นั้น เปน ผู้ สืบ.
      ผู้ หา ความ (431:1.22)
               คือ คน ผู้ ฟ้อง, คน วิวาท กัน ฝ่าย ข้าง หนึ่ง ไป ฟ้อง หา ความ, ว่า เปน ผู้ หา ความ.
      ผู้ ให้ (431:1.23)
               คือ คน เอา ฃอง ยอม ส่ง แก่ มือ ผู้อื่น, ว่า เปน ผู้ ให้.
      ผู้ เหน (431:1.24)
               คือ คน ผู้ ได้ ดู.
      ผู้ เอา (431:1.25)
               คือ ผู้ รับ สิ่ง ของ ไป.
แผ่ (431:2)
         คือ ทำ ให้ ของ คลี่ ออก, คน จะ ตาก ผ้า นั้น, เฃา คลี่ ขึง ผ้า ให้ แบ แผ่ ออก นั้น.
      แผ่ ไป (431:2.1)
               คือ คลี่ แบ ออก ไป.
      แผ่ พ่าน (431:2.2)
               คือ แผ่ซ่าน, เปน ความ เปรียบ เหมือน คำ ว่า มี กิติศรับท์ แผ่ ซ่าน ไป ทั่ว โลกย์ นั้น.
      แผ่ ซ่าน (431:2.3)
               คือ แผ่ พ่าน, เปน ความ ว่า ข่าว ดี ประเสริฐ เลื่อง ฦๅ ไป มาก, ว่า ข่าว นั้น แผ่ซ่าน ไป.
      แผ่ ทราบ (431:2.4)
               คือ แผ่ เอิบอาบ ไป, มี ความ ว่า กิติคุณ ประเสริฐ คน เลื่องฦๅ เล่า ต่อ ๆ ไป รู้ ทั่ว โลกย์ นั้น.
      แผ่ เงิน (431:2.5)
               คือ ทำ ให้ เงิน เปน แผ่น แบน บาง ๆ, คน จะ ทำ เครื่อง ประดับ ตัว เอา เงิน มา ตี ให้ แบน บาง นั้น.
      แผ่ ทอง (431:2.6)
               คือ ทำ ให้ ทอง แบน เปน แผ่น บาง ออก นั้น.
      แผ่ เผื่อ (431:2.7)
               คือ ใจ โอบอ้อม อารีย นั้น, คน ใจ ดี มี ความ เอื้อเฟื้อ คิด รัก เพื่อน บ้าน, ได้ ฃอง อัน ใด มา ก็ แจก แก่ เพื่อนบ้าน.
ไผ่ (431:3)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, มัน ขึ้น เปน กอ มี หน่อ แล ลำ มี แขนง เปน หนาม แหลม รก นั้น.
      ไผ่ ดำ (431:3.1)
               คือ ต้นไม้ ไผ่ ลำ ต้น มี ผิว ดำ, มัน เกิด เปน กอ หน่อ แล ลำหนาม แล แขนง เช่น ว่า แล้ว.
      ไผ่ จีน (431:3.2)
               เปน ต้น ไผ่ เล็ก ๆ ไม่ มี หนาม, เกิด เปน กอ มี หน่อ แล ลำ เขา เอา มา ทำ กล้อง แล คัน ร่ม นั้น.

--- Page 432 ---
      ไผ่ ขุย (432:3.3)
               คือ ไม้ ไผ่ มัน มี ลูก, ไผ่ ป่า เมื่อ คราว มัน มี ลูก ต้น ก็ ตาย, เขา เรียก ว่า ไผ่ ตาย ขุย นั้น.
      ไผ่ ตง (432:3.4)
               ต้น มัน เปน กอ มี หน่อ มี ลำ ๆ มัน ใหญ่ สัก สาม กำ ต้น ไม่ มี หนาม เขา ปลูก กิน หน่อ.
      ไผ่ ป่า (432:3.5)
               คือ ไม้ ไผ่ มัน ขึ้น เอง ที่ ป่า มัน มี กอ หน่อ หนาม หนา รก ชัด, ตัด ยาก ต้อง ชัก ด้วย ฃอ เหล็ก.
      ไผ่ ลำมะลอก (432:3.6)
               คือ ไม้ ไผ่ ที่ เขา ปลูก ใน บ้าน, ต้น ไม่ มี หนาม ลำ ย่อม ๆ ยาว สูง หก วา เจ็ด วา นั้น.
      ไผ่ สีสุก (432:3.7)
               คือ ไม้ ไผ่ เขา ปลูก ไว้ ใน บ้าน, ต้น มัน เปน กอ มี หนาม หนา รก ชัด ลำ ใหญ่ สัก สาม กำ นั้น.
โผ (432:1)
         โถม, กะโจม โจน, คือ ทำ ตัว ให้ ลอย ขึ้น จาก ที่ ตัว ยืน, เหมือน คน จะ ลง อาบ น้ำ แล ทำ ตัว ผวา ลอย ลง ใน น้ำ.
เผา (432:2)
         ไหม้, จุด, คือ ทำ ให้ ของ ไหม้ เปน เท่า ไป. คน เอา ไฟ ใส่ สุม เข้า ทำ ให้ ของ อัน ใด ไหม้ เปน จุณ ออก ไป นั้น.
      เผา เงิน (432:2.1)
               คือ เอา เงิน วาง เข้า ใน เตา ไฟ, เขา เผา เงิน นั้น เขา เอา ไฟ ติด เข้า ที่ เตา แล้ว เอา เงิน วาง ลง ไว้ นั้น.
      เผา ถ่าน (432:2.2)
               คือ เอา ไม้ มา เผา ใน ไฟ ให้ เปน ถ่าน นั้น.
      เผา ทอง (432:2.3)
               สุม ทอง, คือ เอา ทอง วาง เข้า ใน เตา ไฟ.
      เผา ทุ่ง (432:2.4)
               จุด ทุ่ง, คือ คลอก ทุ่ง, คน เอา ไฟ จุด เข้า ที่ ทุ่ง เมื่อ เวลา แล้ง ต้น หญ้า แห้ง, ไฟ ลุก ลาม ไกล ไป หลาย เส้น นั้น.
      เผา ป่า (432:2.5)
               คลอก ป่า, จุด ป่า, คือ คลอก ป่า นั้น, คราว ระดู แล้ง ใบ ไม้ แห้ง แล้ว, คน เอา ไฟ จุด เข้า ที่ ป่า, ไฟ ก็ ลุก ลาม ไป มาก นั้น.
      เผา ผี (432:2.6)
               ปลง สพ, คือ ทำ ให้ ซากสพ คน ตาย ถูก ไฟ ไหม้ เปน เท่า ไป, คน เอา สพ วาง ลง แล้ว เอา ฟืน ใส่ เข้า เอา ไฟ ใส่ เข้า ให้ ไหม้ นั้น.
      เผา ไฟ (432:2.7)
               คือ ใส่ ของ เข้า ใน ไฟ ให้ ไหม้.
      เผา เมือง (432:2.8)
               คลอก เมือง, คือ ทำ ให้ ไฟ ไหม้ เมือง, คน เปน ฆ่าศึก ตี บ้าน เมือง ได้ แล้ว เอา ไฟ จุด เผา เย่า เรือน ใน เมือง ขึ้น นั้น.
      เผา ราค (432:2.9)
               รอน ราค, คือ บำเพญฌาน กระทำ ให้ ความ กำนัศ ใน กิเลศ ให้ สิ้น สูญ* ขาด จาก สันดาน นั้น.
      เผา สพ (432:2.10)
               ประทาน เพลิง, คือ ทำ ให้ ซากศพ ไหม้ เปน จุล ไป, คน เอา ซากสพ วาง ลง แล้ว เอา ฟืน ใส่ ไฟ ติด เข้า เผา เสีย นั้น.
เผ่า (432:3)
         วงษ, คือ พงษ พันธุ์, บันดา คน ที่ เปน ญาติ กัน ใน เจ็ด ชั่ว ตระกูล* นั้น, ว่า เขา เปน เผ่าพันธุ์ กัน.
      เผ่า ปราน (432:3.1)
               เครือ ญาติ, คือ พงพันธุ์ เชื้อ สาย, บันดา คน ที่ เปน ญาติ สำพันธ์ เนื่อง กัน ใน เจ็ด ชั่ว ตระกูล* นั้น ว่า เผ่า ปราน.
      เผ่า ผู้ ดี (432:3.2)
               เครือ ญาติ, คือ พงษ คน ที่ มั่ง มี ทรัพย์, คน บันดา ที่ บรีบูรณ์ ด้วย สมบัติ แล เปน ญาติ กัน นั้น.
      เผ่า พงษ (432:3.3)
               สาขา ญาติ, คือ พงษพันธุ์ เชื้อ สาย, คน มี ญาติ สำพันธ์ ติด เนื่อง กัน ใน เจ็ด ชั่ว กระกูล นั้น ว่า เผ่า พงษ.
      เผ่า พันธุ์ (432:3.4)
               โคตร์, คือ วงษ ตระกูล* เชื้อ สาย, คน มี ญาติ สำพันธ์พงษ เนื่อง กัน ใน เจ็ด ชั่ว วงษ นั้น ว่า เผ่าพันธุ์.
ผะกา (432:4)
         กลีบ, เปน สับท์ แปล ว่า กลีบ, บันดา ดอก ไม้ มี สิ่ง ที่ เปน ใบ บาง ๆ อยู่ ที่ ริม เกสร นั้น เรียก ว่า กลีบ.
ผะงก (432:5)
         กะดก, เผยอ ขึ้น, คือ ยก ศีศะ ขึ้น, คน นอน อยู่ แล ได้ ยิน เสียง อัน ใด ไม่ สนด* ยก เผยอ หัว ขึ้น ฟัง นั้น.
ผะจน (432:6)
         ประจน, คือ ความ ต่อ สู้, คน สอง ฝ่าย มี ความ โกรธ กัน ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง แล ต่อ สู้ กัน นั้น ว่า ผะจน.
ผะเดียง (432:7)
         คือ ความ บอก นิมนต์, คน เปน สับปรุษ จะ เลี้ยง พระสงฆ์ ให้ มา ฉัน แล ไป บอก นิมนต์ ว่า ท่าน ผะเดียง.
ผะนึก (432:8)
         คือ ทำ ของ สอง อัน ให้ ติด กัน เข้า, เหมือน ทำ ใบ ปก หนังสือ เอา กะดาด ทำ ปะระมาณ ทาบ ติด กัน นั้น.
      ผะนึก ตรา (432:8.1)
               คือ เอา ยาง สำรับ ติด ผะนึก ตรา เข้า ไว้ เพื่อ ไม่ ให้ ผู้ อื่น เหน หนังสือ ใน นั้น.
ผะแนก (432:9)
         คือ เปน ส่วน ๆ คน แบ่ง ปัน ของ เปน ส่วน ๆ แจก ให้ แก่ คน หลาย แห่ง ต่าง ๆ กัน นั้น.
ผะนัก (432:10)
         คือ สิ่ง ที่ สำรับ พิง, คน เอา กะดาน ทำ บ้าง เอา ไม้ ไผ่ ผูก เปน ราว บ้าง สำรับ พิง เรียก ว่า ผะนัก.
      ผะนัก เรือ (432:10.1)
               คือ กะดาน กั้น ข้าง หลัง คน นั่ง ฤๅ กะดาน อยู่ ที่ กราบ เรือ ข้าง ซ้าย ข้าง ขวา นั้น.
      ผะนัก งาน (432:10.2)
               คือ การ เปน ส่วน ๆ จำเภาะ แก่ คน เปน พวก ๆ คน ข้าราชการ มี การ สำรับ ตัว เปน ตำแหน่ง นั้น.

--- Page 433 ---
      ผะนัก ผะน่วง (433:10.3)
               คือ อาการ ที่ พิน้าว พินึง มิ ใคร่ ให้ ไป เปน ต้น นั้น.
ผะหนัง (433:1)
         คือ ฝา ก่อ ด้วย อิฐ ถือ ปูน นั้น เขา ทำ ตึก ฤๅ โบฤ เปน ต้น, เอา อิฐ ก่อ ซ้อน กัน ขึ้น จน ได้ ที่ นั้น.
ผะนัก อิง (433:2)
         คือ กะดาน* สำรับ อิง พิง หลัง นั้น.
ผะหงะ (433:3)
         ผะพม*, คือ เจอะ กัน เข้า แล ยั้ง อยู่ นั้น, คน เดิน มา คน หนึ่ง เดิน ไป ถึง ที่ เลี้ยว ไม่ เหน กัน มา เจอะ กัน ผะหงะ อยู่ นั้น.
ผะเนียง (433:4)
         คือ ตุม ย่อม ๆ ใบ ละเฟื้อง, เขา ทำ ตุ่ม ใบ ย่อม ๆ มา นั้น, เขา เรียก ว่า ผะเนียง อย่าง หนึ่ง ดอก ไม้ ไฟ, เขา เรียก ไฟ ผะเนียง ด้วย รูป มัน คล้าย กับ ผะเนียง.
ผะนวช (433:5)
         คือ ความ บวช, คน เปน จ้าว ออก บวช, เขา ว่า จ้าว ทรง ผะนวช, พูด เปน คำ สูง เพราะ นั้น.
ผะนัน (433:6)
         คือ การ เล่น แข่ง กัน, เขา แข่ง เรือ ผะนัน กัน เปน ต้น, ถ้า ใคร ชะนะ ก็ ได้ เงิน ผู้ แพ้ เสีย เงิน.
ผะเนิน (433:7)
         คือ ค้อน เหล็ก ใหญ่ ที่ เขา ตี เหล็ก, ค้อน เหล็ก ใหญ่ สำรับ ตี เหล็ก นั้น หนัก เรียก ผะเนิน.
ผะนิด (433:8)
         คือ ปิด ให้ แน่น ไม่ ให้ ลม เข้า ได้ นั้น, คน ปิด ของ ทุกสิ่ง แน่น ชิด ดี ลม เข้า ไม่ ได้ นั้น.
ผะโยม (433:9)
         ฟ้า, คือ อากาศ, บันดา อากาศ สูง แล ต่ำ แล ยาว ไป ตาม กว้าง ขวาง ก็ ดี เรียก ผะโยม.
ผะผ่าว (433:10)
         คือ ร้อน วาบ ๆ นั้น.
ผะยัก (433:11)
         คือ ทำ หน้า เงย ขึ้น, คน พูด กัน เมื่อ คน หนึ่ง พูด มา ว่า ท่าน จง ไป เปน ต้น, คน หนึ่ง รับ คำ แต่ เขา ไม่ ออก วาจา ทำ หน้า เงย ขึ้น น่อย หนึ่ง นั้น.
ผะยัก ผะเยิด (433:12)
         คือ ทำ หน้า เงย ขึ้น ก้ม ลง หลาย หน นั้น, คน พูด กัน ว่า ท่าน จง ไป เปน ต้น เขา รับ คำ ด้วย ทำ เช่น ว่า นั้น.
ผะยับ (433:13)
         คือ คลุ้ม ไม่ มี แสง อาทิตย์ น้อย ๆ นั้น, เมื่อ เวลา ระดู หนาว แล ท้อง ฟ้า อับ เปน ผะยับ ไม่ มี แดด นั้น.
      ผะยับ แดด (433:13.1)
               คือ อากาศ เหน ฃาว เหมือน แม่น้ำ นั้น, คน เดิน ไป ใน ท้อง ทุ่ง เมื่อ ระดู แล้ง แดด กล้า, แล ไป แต่ ไกล เหน ฃาว ดาษ ไป เหมือน น้ำ, ครั้น ใกล้ เข้า หาย ไป นั้น.
      ผะยับ ฝน (433:13.2)
               คือ ฟ้า อับ แสง แดด เมื่อ ใกล้ ฝน จะ ตก นั้น, เมื่อ ใกล้ ฝน จะ ตก แล เมฆ กลบ ลบ แสง แดด นั้น.
ผะยุง (433:14)
         คือ ประคอง ไว้ มิ ให้ ล้ม เซ ไป นั้น.
ผะยับ ลม (433:15)
         คือ ฟ้า อับ ไม่ มี แสง แดด ไม่ มี ฝน เปน แต่ ลม พัด น่อย ๆ เขา ว่า เวลา นั้น เปน ผะยับ ลม.
ผะยอง (433:16)
         คือ ผัน ผะยอง, คน ฤๅ สัตว ผก ผัน หัน ตัว.
ผะยับ เมฆ (433:17)
         คือ เมฆ ตั้ง ขึ้น อากาศ คลุ้ม ขลัง แต่ ฝน ไม่ ตก นั้น, ไม่ มี ลม ด้วย เขา ว่า เวลา นั้น เปน ผะยับ เมฆ.
ผะแยะ (433:18)
         คือ อาการ ที่ เปิด ภาชนะ ขยับ ภอ แย้ม นั้น. อย่าง หนึ่ง ว่า ทำ ปาก ยิ้ม ผะแยะ แบะ นั้น.
ผะรุศวาศ (433:19)
         พูด หยาบ, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า คำ หยาบ, คน โกรธ ขึ้น มา แล กล่าว คำ ด่า เปน ต้น นั้น.
ผะรุง ผะรัง (433:20)
         ผะเร้อ ผะรัง, คือ รุง รัง รก ขึ้น คน นำ เอา ของ มา หลาย สิ่ง ถือ มา บ้าง ตะภาย มา บ้าง, เขา ว่า คน นั้น ทำ ผะรุง ผะรัง.
ผะลา (433:21)
         เปน สับท์ แปล ว่า ผล ๆ นั้น คือ ลูก ไม้ ๆ ว่า เปน ผล, เพราะ มัน เกิด แต่ เหตุ ๆ คือ ต้น มัน.
ผะวา (433:22)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ต้น ผะวา นั้น มี ผล สุก รศ หวาน ๆ เปรี้ยว ๆ คน ปลูก ใน สวน บ้าง.
      ผวา ตื่น (433:22.1)
               คือ ตก ใจ ตื่น ขึ้น, คน นอน หลับ อยู่ แล ได้ ยิน เสียง* เหมือน ไฟ ไหม้ เปน ต้น, ตก ใจ หวาด ตื่น ขึ้น นั้น
ผะวัก ผะวน (433:23)
         ห่วง หน้า ห่วง หลัง, คือ ใจ ป่วน ปั่น กังวน อยู่, คน มี ธุระ จะ ไป ไหน, แล เมีย เจ็บ อยู่ ฤๅ ลูก เจ็บ อยู่ ห่วง นัก ไป ไม่ สดวก นั้น.
ผะวง (433:24)
         เปน ห่วง อยู่, คือ งง อยู่, คน มี ธุระ จะ ไป, แล เปน ห่วง อยู่ ด้วย ไข้ เจ็บ ที่ เรือน, อาไลย อยู่ ไป ไม่ สดวก นั้น.
ผะสม ประสม (433:25)
         คือ ระคน ปน เข้า, คน ทำ อยา เปน ต้น เอา ทรัพยา มา หลาย สิ่ง ปน กัน เข้า นั้น.
ผะว้า ผะวัง (433:26)
         ละล้า ละลัง, ธุระ หลาย อย่าง, คือ ห่วง หน้า ห่วง หลัง อยู่, คน ภา ลูก สอง คน ข้าม น้ำ, เอา ลูก เล็ก ให้ นอน อยู่ ฝั่ง ข้าง หนึ่ง, อู้ม ลูก ใหญ่ ไป ฝั่ง ข้าง หนึ่ง, ใจ เปน ห่วง อยู่ ทั้งสอง ข้าง นั้น.
ผะอำ ผะอาก (433:27)
         คือ พูด จา ไม่ สนัด นั้น, คน รู้ ความ อัน ใด อยู่ ครั้น เขา ถาม เกรง ใจ ข้าง หนึ่ง อยู่ บอก ไม่ สนัด นั้น.
ผะเอิน (433:28)
         คือ บัง เหตุ ให้ เปน หาก ให้ เปน นั้น.

--- Page 434 ---
ผะอบ (434:1)
         คือ ของ ใส่ อยา สูบ กิน กับ หมาก เปน ต้น, ผะอบ นั้น เขา ทำ ด้วย ทอง เหลือง มี ฝาปิด มี ตีน ทำ ด้วย ไม้ บ้าง.
      ผะอบ อยา (434:1.1)
               คือ เครื่อง สำรับ ใส่ อยา สูบ นั้น, รูป มัน เท่า ถ้วย น้ำ ชา, มี เชิง มี ฝา ทำ ด้วย ทอง เหลือง เปน เครื่อง เฉี้ยน หมาก.
ผก (434:2)
         หก กลับ, หัน หก, คือ หก หวน, เหมือน งู มัน เลื้อย ไป, ครั้น คน ตี ลง ที่ ตัว มัน ๆ ยก หัว ขึ้น เลี้ยว กลับ หลัง นั้น.
      ผก ผัน (434:2.1)
               หก กลับ, หัน กลับ, คือ หก หัน, เหมือน งู มัน เลื้อย ไป, ครั้น คน ตี ลง ที่ ตัว มัน ๆ ยก หัว ชู ฅอ ขึ้น หัน มา ข้าง หลัง นั้น.
ผัก (434:3)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ เล็ก ๆ เขา เรียก ผัก, คือ มัน เปน ของ สำรับ กิน กับ เข้า เปน ธรรมดา นั้น.
      ผัก กะชับ (434:3.1)
               ต้น มัน สูง สัก สอก เศศ, ใบ มัน ใหญ่ มี ขน น่อย ๆ หนึ่ง ลูก เท่า ลูก พุทรา มี หนาม กิน ไม่ ได้.
      ผัก กาศ (434:3.2)
               คือ ต้น ผัก ต้น มัน เปน กาบ ใบ ติด กับ กาบ, มี หัว ใต้ ดิน เขา ทำ ของ หวาน ก็ ได้ แกง ก็ ได้.
      ผัก กาศ ฃาว (434:3.3)
               คือ ผัก กาศ จีน, ต้น มัน ศรี ฃาว, ใบ ติด กับ กาบ สูง สัก สอก หนึ่ง, ทำ ของ กิน ได้ เช่น ว่า นั้น.
      ผัก กาศ ดอง (434:3.4)
               คือ ผัก กาศ แช่ น้ำ เกลือ, เขา ถอน ต้น ผัก กาษ มา แล้ว เอา แต่ กาบ ใบ แช่ น้ำ เกลือ หมัก ไว้ นั้น.
      ผัก กาศ น้ำ (434:3.5)
               คือ ผัก กาศ ไท ต้น มัน เล็ก ๆ ขึ้น อยู่ ริม ตลิ่ง คลอง น้ำ, เขา เก็บ เอา มา ต้ม กิน บ้าง.
      ผัก กาศ หอม* (434:3.6)
               คือ ผัก กาษ มี กลิ่น หอม, คน จีน คน ไท ปลูก ชุม สำรับ เปน กับ เข้า นั้น.
      ผัก กาศ หัว (434:3.7)
               คือ ผัก กาศ ที่ มี หัว ใต้ ดิน, คน จีน ถอน เอา หัว มา แช่ น้ำ เกลือ กิน กับ เข้า ต้ม นั้น.
      ผัก กะเฉด (434:3.8)
               คือ ต้น ผัก เกิด อยู่ ใน น้ำ, ต้น มัน มี นม ใบ เล็ก ๆ ถ้า คน เอา ไม้ ระฟาด เข้า ใบ มัน ก็ หุบ เข้า บัดเดี๋ยว ก็ คลี่ ออก.
      ผัก กะโฉม (434:3.9)
               คือ ต้น ผัก เกิด อยู่ ที่ บก, ใบ ไม่ ใหญ่ นัก ไม่ เล็ก นัก, คน ปลูก ไว้ กิน กับ เข้า นั้น.
      ผัก กูด (434:3.10)
               คือ ต้น ผัก ขึ้น อยู่ ตาม ร่อง สวน, ต้น มัน เปน ทาง เหมือน ต้น จาก สูง สัก สอก หนึ่ง.
      ผัก ฃวง (434:3.11)
               คือ ต้น ผัก ขน อยู่ ตาม ชาย ตลิ่ง แล ที่ ท้อง ร่อง ที่ น้ำ แห้ง ไป ใหม่ ๆ รศ มัน ขม น่อย ๆ.
      ผัก หญ้า (434:3.12)
               คือ ต้น ผัก แล ต้น หญ้า นั้น.
      ผัก ชี (434:3.13)
               คือ ต้น ผัก คน เจ๊ก ปลูก ไว้ ที่ สวน แล้ว เก็บ ถอน เอา มา ขาย ใบ มัน หอม มี รศ นั้น.
      ผัก ชี ล้อม (434:3.14)
               คือ ผัก ชี ใบ มัน ใหญ่ น่อย หนึ่ง นั้น.
      ผัก ดอง (434:3.15)
               คือ ผัก ทุก อย่าง เขา แช่ น้ำ เกลือ หมัก ไว้ ให้ เค็ม เปรี้ยว สำรับ กิน กับ เข้า นั้น.
      ผัก ชี ลาว (434:3.16)
               คือ ผัก ชี พวก ลาว ปลูก ไว้ กิน นั้น.
      ผัก ตบ (434:3.17)
               คือ ต้น ผัก เปน กาบ กอ เกิด อยู่ ใน น้ำ เปน นิจ, มี ดอก เปน ช่อ ศี เขียว คราม ไม่ มี กลิ่น.
      ผัก หนอก (434:3.18)
               คือ ต้น ผัก เล็ก เปน กอ เปน เถา ติด อยู่ กับ ดิน, รศ ร้อน เขา กิน เปน อยา แก้ ลม ได้ บ้าง เขา เรียก บัว บก บ้าง.
      ผัก หนาม (434:3.19)
               คือ ต้น ผัก ต้น มี หนาม, มัน ขึ้น อยู่ ตาม ท้อง ร่อง สวน, เขา เก็บ เอา มา ดอง มา ต้ม กิน นั้น.
      ผัก บุ้ง (434:3.20)
               เปน ต้น ผัก เกิด ใน น้ำ แล ที่ ลุ่ม ๆ ไม่ มี น้ำ บ้าง เขา เก็บ เอา มา ต้ม แกง แล ดอง กิน กับ เข้า นั้น.
      ผัก เบี้ย (434:3.21)
               เปน ต้น เล็ก ๆ เรี่ย ๆ อยู่ กับ ดิน ใบ มัน หนิด ๆ มี สอง อย่าง เรียก ผัก เบี้ย ใหญ่ ผัก เบี้ย หนู.
      ผัก เป็ด (434:3.22)
               เปน ต้น โต กว่า ผัก เบี้ย, มัน ขึ้น ที่ บก เขา เก็บ มา กิน บ้าง เก็บ เอา มา ทำ อยา บ้าง.
      ผัก ปอด (434:3.23)
               เปน ผัก ต้น โต เท่า กับ ผัก เป็ด, ใบ มัน ยาว เขา ไม่ กิน, แต่ เก็บ เอา มา ทำ อยา ได้ บ้าง.
      ผัก ไห่ (434:3.24)
               เปน ผัก ต้น เปน เถา เลื้อย ไป ใบ มัน เปน แฉก ๆ ลูก มี รศ ขม เขา ต้ม กิน กับ เข้า ได้.
      ผัก โหม (434:3.25)
               เปน หญ้า ต้น สูง สัก* สอก เศศ มี หนาม อย่าง หนึ่ง, สอง อย่าง ไม่ มี หนาม เรียก ผัก โหม หิน ผัก โหม หัด นั้น.
ผาก (434:4)
         คือ ต้น ไผ่ ผาก อย่าง หนึ่ง, ต้น ไม่ มี หนาม ขึ้น เปน กอ ปล้อง ยาว ใบ ใหญ่ เขา ทำ กล้อง เป่า นก เล่น นั้น.
      ผาก แห้ง (434:4.1)
               คือ ที่ ดิน หม้าง ๆ ทับ ท้าน เกือบ แห้ง นั้น.
ผูก (434:5)
         มัด คือ เอา เชือก พัน รัด ทำ ของ อยู่ แน่น ใน ที่ เดียว*, รัด เข้า แล้ว เอา หัว เงื่อน สอง ข้าง เกี้ยว พัน กัน ไว้ นั้น.

--- Page 435 ---
      ผูก กรรม (435:5.1)
               เปน ความ เปรียบ, เหมือน ผูก ด้วย เชือก, คน โกรธ พยาบาท แก่ กัน ว่า จะ เบียด เบียฬ ไป ทุก ชาติ ๆ นั้น ว่า ผูก กรรม.
      ผูก กรรม จอง เวร (435:5.2)
               คือ ตั้ง* จิตร มุ่ง มาท* ทำ อัน ตราย แก่ ผู้ อื่น ใน ชาติ นี้ แล ชาติ หน้า นั้น.
      ผูก คน (435:5.3)
               คือ ผูก ทำ เช่น ว่า, เขา กลัว คน จะ หนี ไป แล เอา เชือก มา ผูก รัด มัด ตัว ไว้ ไม่ ให้ ไป ได้ นั้น.
      ผูก ฅอ (435:5.4)
               คือ เอา เชือก เปน ต้น* พัน เข้า ที่ ฅอ คน ฤๅ สัตว นั้น.
      ผูก เชือก (435:5.5)
               คือ เอา เชือก ผูก ของ อัน ใด ๆ มี เรือ เปน ต้น*, คน เอา เชือก ผูก เรือ ไว้ มิ ให้ ลอย ไป นั้น.
      ผูก ฅอ ตาย* (435:5.6)
               คือ คน ผูก ฅอ ตัว เอง เข้า ด้วย ปลาย เชือก ข้าง หนึ่ง, แล เอา ปลาย ข้าง หนึ่ง ผูก เข้า กับ กิ่ง ไม้ เปน ต้น*, โจน ลง ให้ ตัว ห้อย แล้ว ตาย ไป นั้น.
      ผูก พันท์ (435:5.7)
               คือ ผูก รัด หลาย รอบ นั้น ว่า ผูก พันท์, เขา เอา เชือก ผูก รัด ของ อัน ใด หลาย รอบ นั้น.
      ผูก หนังสือ (435:5.8)
               คือ หนังสือ ใบ ลาน, เขา นับ ได้ ยี่ สิบ สี่ ใบ แล้ว ผูก ไว้ ด้วย ไหม เส้น, ว่า ผูก หนึ่ง,
      ผูก ไมตรี (435:5.9)
               เปน ความ เปรียบ เหมือน ผูก ด้วย เชือก, คน ชอบ กัน สนิทร ด้วย ความ เมตา ว่า ผูก ไมตรี กัน.
      ผูก มัด (435:5.10)
               คือ ผูก มือ ทั้งสอง เข้า ด้วย กัน ไว้. อย่าง หนึ่ง เหมือน ผูก ไม้ ฟืน หลาย ดุ้น เปน ต้น ไว้ นั้น.
      ผูก พยาบาท (435:5.11)
               เปน ความ เปรียบ เหมือน ผูก ด้วย เชือก, คือ มุ่ง* ร้าย หมาย จะ ทำ อันตราย นั้น.
      ผูก ดอก เบี้ย (435:5.12)
               คือ คน ขาย ตัว เอง ฤๅ ขาย ผู้ อื่น ไว้ กับ ท่าน ไม่ ให้ ใช้, ฃอ ให้ เงิน ค่า ทำ การ ของ ท่าน ตาม ธรรมเนียม นั้น.
      ผูก รักษ (435:5.13)
               เปน ความ เปรียบ เหมือน ผูก ด้วย เชือก, คือ คิด รักษ พัวพันท์ ไม่ รู้ วาย หาย รักษ นั้น.
      ผูก สร่วย (435:5.14)
               คือ คน เปน ไพร่ หลวง ฤๅ เปน ข้า จ้าว บ่าว ขุนนาง นั้น ไม่ ให้ ใช้, ฃอ ให้ เงิน ค่า ใช้ สร่วย นั้น.
      ผูก เวร (435:5.15)
               เปน ความ เปรียบ เช่น ว่า นั้น, คือ คน ได้ ความ เจ็บ แค้น โกรธ ไม่ รู้ หาย หมาย จะ ประทุษฐร้าย.
      ผูก อาฆาฏ (435:5.16)
               คือ จอง เวร พยาบาท หมาย มุ่ง จะ กระทำ ร้าย, ใน ชาติ นี้ ฤๅ ชาติ หน้า นั้น.
      ผูก สมัค รักษ ใคร่ (435:5.17)
               คือ คน จะ ปราถนา ผล ประโยชน์ นั้น, แล คบ หา สมาคม เปน มิตร ให้ เข้า ของ เปน ต้น*.
      ผูก เหตุ (435:5.18)
               คือ ทำ เหตุ ให้ เกิด ขึ้น, คน แสร้ง ก่อ เหตุ อัน ดี แล ร้าย ให้ เกิด ขึ้น, ว่า ผูก เหตุ นั้น.
      ผูก อากร (435:5.19)
               คือ คน มี สวน ต้น* ผลไม้ มาก, ต้อง* เสีย เงิน ให้ ค่า ต้น* ผลไม้ มี มะพร้าว เปน ต้น นั้น.
เผือก (435:1)
         เผือก ยำ, คือ ของ ที่ ฃาว, เหมือน ช้าง ขาว แล กระบื ฃาว, เขา เรียก ว่า ช้าง เผือก กระบื เผือก. อย่าง หนึ่ง เรียก ต้น* เผือก มัน มี หัว ไต้* ดิน.
      เผือก เหลือง (435:1.1)
               คือ ต้น* เผือก แต่* เนื้อ มัน ศี เหลือง, คน ต้ม หัว มัน กิน กับ น้ำ ตาล* เปน ของ หวาน นั้น.
ผง (435:2)
         ละออง, ทุ ลี, ปะระมาณ, คือ สิ่ง ที่ เลอียด เปน จุณ, แต่* เขา เรียก ว่า ผง, เหมือน อยา ที่ แหลก เปน จุณ ว่า อยา ผง.
      ผง คลี (435:2.1)
               อะณู, คือ สิ่ง ที่ เลอียด เปน ผง, เขา เรียก สิ่ง ที่ แหลก เปน จุณ นั้น ว่า ผง คลี, เพราะ มัน ฟุ้ง ปลิว ไป ได้ นั้น.
ผัง (435:3)
         คือ ไม้ เปน ที่ หมาย, เขา จะ ปลูก เรือน ใหญ่ เขา เอา ไม้ ไผ่ ซีก ทำ แบบ ลง กับ พื้น ดิน หมาย ที่ ขุด หลุม. อย่าง หนึ่ง เขา ธอ ผ้า ทำ ไม้ ใส่ เข้า ที่ ผ้า ให้ ตึง ขึง นั้น.
ผาง (435:4)
         เปน เสียง ดัง ผาง มี บ้าง, คน เอา มือ ตี กัน ดัง ผาง, ของ ตก ลง ดัง เสียง ผาง ก็ มี บ้าง นั้น.
ผิง (435:5)
         อัง, ปิ้ง, คือ ทำ ให้ ตัว อุ่น, คน หนาว แล ออก ไป นั่ง ฤๅ ยืน อยู่ ที่ มี แสง อาทิตย สร่อง ถูก นั้น.
      ผิง แดด (435:5.1)
               อัง แดด, คือ ออก ไป อยู่ ที่ แดด ทำ ให้ ตัว อุ่น, คน หนาว แล ออก จาก ที่ ร่ม ไป อยู่ ที่ มี แสง แดด นั้น.
      ผิง ไฟ (435:5.2)
               อัง ไฟ, ปิ้ง ไฟ, คือ ทำ ให้ ตัว อุ่น ด้วย ไฟ, เมื่อ ระดูหนาว เขา ก่อ ไฟ ให้ โพลง แล้ว, เข้า นั่ง อัง ให้ ตัว อุ่น.
ผึง (435:6)
         เปน เสียง ดัง ผึง มี บ้าง, เหมือน ของ ตก ลง ว่า ดัง ผึง บ้าง. อย่าง หนึ่ง คน ตี กัน ดัง เสียง ผึง บ้าง.
ผึ่ง (435:7)
         คือ แผ่ ขึง, คน จะ ทำ ให้ ของ มี ผ้า แห้ง นั้น, เอา ออก แผ่ ขึง ไว้ เพื่อ จะ ทำ ให้ ของ แห้ง นั้น.
      ผึ่ง ถากไม้ (435:7.1)
               คือ เครื่อง เหล็ก รูป เหมือน จอบ, หนา มี ด้ำ ยาว สัก ศอก เสศ สำรับ ถากไม้ นั้น.

--- Page 436 ---
      ผึ่ง แดด (436:7.2)
               คือ เอา ของ ตาก ไว้ ที่ มี แดด, คน อยาก จะ ให้ ของ แห้ง, แล เอา ของ ออก ตาก ไว้ ที่ แดด หน่อย ๆ นั้น.
      ผึ่ง ผาย (436:7.3)
               คือ รูป คน ที่ อก กว้าง แผ่ อยู่ ไม่ แคบ นั้น.
      ผึ่ง ลม (436:7.4)
               คือ เอา ของ แผ่ วาง ไว้ ที่ มี ลม พัด, เขา จะ ให้ ของ แห้ง ด้วย ลม เอา ของ วาง ไว้ ที่ ลม พัด นั้น.
ผึ้ง (436:1)
         ผึ้ง ประดา, เปน ชื่อ* สัตว ตัว เล็ก ๆ เท่า แมลงวัน บ้าง โต กว่า บ้าง, มัน ทำ รัง กับ กิ่ง ไม้, ที่ รวง มี น้ำ หวาน.
      ผึ้ง โพรง (436:1.1)
               คือ ตัว ผึ้ง มัน ทำ รัง อยู่ ใน โพรง ไม้, ตัว มี พิศม์ ที่ เหล็กไน อยู่ ที่ ก้น มัน, มี น้ำ หวาน เพราะ รศ ดอกไม้ มัน เอา เกสร ดอกไม้ มา ทำ ขี้ มัน ทำ เทียน จุด ไฟ ได้.
      ผึ้ง น้ำ (436:1.2)
               ผึ้ง มิ้ม, คือ พวก ผึ้ง ที่ มัน จับ ทำ รัง อยู่ ที่ กิ่งไม้ ใต้ น้ำ นั้น.
      ผึ้ง วี (436:1.3)
               คือ ผึ้ง ตัว เล็ก ๆ ทำ รัง เล็ก ๆ รวง มัน มี น้ำหวาน, ขี้ มัน ทำ เทียน จุด ไฟ ได้, ตัว มัน มี พิศม์.
      ผึ้ง แล้ง (436:1.4)
               คือ พวก ผึ้ง ที่ มัน ทำ รัง เมื่อ น่า ระดู แล้ง นั้น.
      ผึ้ง หลวง (436:1.5)
               คือ ผึ้ง ตัว ใหญ่ รัง ใหญ่, รัง มัน กว้าง สัก สอง ศอก ยาว สัก สอง ศอก เสศ, จับ ที่ ต้นไม้ ใหญ่ ใน ป่า สูง, มัน มี พิศม์ มาก.
      ผึ้ง หอยโข่ง (436:1.6)
               คือ ผึ้ง รัง เล็ก จับ ทำ รัง ที่ ภุ่มไม้ เล็ก, มี หัวน้ำ แล ขี้ น้อย มี พิศม์ น้อย นั้น.
      ผึ้ง รวง (436:1.7)
               คือ พวก ผึ้ง ที่ มัน ทำ รวง รัง อยู่ นั้น.
แผง (436:2)
         คือ ของ สาน ด้วย ตอก เปน แผ่น ๆ กว้าง สัก สอง ศอก เสศ, เขา ปู ที่ ร้าน ขาย ของ นั้น.
โผง (436:3)
         เปน เสียง ดัง โผง, คน ฟัน ไม้ เสยง ดัง โผง บ้าง, ไฟ ไหม้ เสียง แตก ดัง โผง ๆ บ้าง นั้น.
ผ่อง (436:4)
         คือ แจ่มใส, เหมือน กระจก ที่ มัวหมอง, ครั้น เขา ขัดสี ออก ใหม่ ก็ ผ่องใส ออก นั้น.
      ผ่อง ผุด (436:4.1)
               คือ อาการ ที่ สะสวย สอาด งาม นั้น.
      ผ่อง แผ้ว (436:4.2)
               คือ ไม่ มี มลทิน เหมือน อากาศ เมื่อ ระดู เหมันต์, คือ ระดู หนาว, ปราศจาก เมฆหมอก นั้น.
      ผ่องใส (436:4.3)
               คือ อาการ ผ่องแผ้ว ไม่ มี มลทิน นั้น, เหมือน ดวง จันทร ปราศจาก เมฆ นั้น.
ผ้วง (436:5)
         ผ้วง ไม้, คือ ทำ ไม่ ให้ ไม้ มี เสา นั้น, ไม่ ให้ จม น้ำ ไป เสีย นั้น, คน เอา เชือก ผูก เสา เข้า กับ ไม้ ขวาง ไว้ บน ปากเรือ มิ ให้ จม ไป เสีย นั้น.
ผด (436:6)
         เปน ชื่อ โรค อย่าง หนึ่ง, มัน เกิด ขึ้น ที่ ตัวคน เปน เม็ด ๆ ขึ้น เท่า เมล็ด ทราย ให้ คัน นั้น.
ผัด (436:7)
         ทุเลา, คือ ฃอ ทุเลา, คน เปน ลูกนี่ เขา ทวง จะ เอา เงิน ยัง ไม่ มี ให้, ว่า ฃอ ทุเลา อีก สัก วัน จึ่ง จะ ให้ นั้น. อย่าง หนึ่ง เฃา เอา เนื้อ หมู นั้น ใส่ ใน กะทะ ทำ ให้ สุก นั้น*.
      ผัด นัด (436:7.1)
               กำหนด นัด, คือ ฃอ ทุเลา นัด กำหนด ว่า ขอ งด สัก สิบ วัน ฤๅ สิบห้าวัน นั้น, ข้า จึง จะ หา ให้ นั้น.
      ผัด หน้า (436:7.2)
               ทา หน้า, คือ ทำ ให้ หน้า เปน นวล เขา เอา แป้ง ศรี ขาว มา ทา ที่ หน้า, แล้ว เอา ผ้า เช็ด ให้ แป้ง ติด อยู่ ภอ นวล นั้น.
      ผัด แป้ง (436:7.3)
               ทาแป้ง, คือ เอา แป้ง นวล ทา ทำ ให้ ผิว ขาว อ่อน เปน นวล ไม่ สู้ ขาว นัก นั้น, ว่า ผัดแป้ง นั้น.
      ผัด ผิว (436:7.4)
               ทา ผิว, คือ ทา แป้ง ให้ ผิว หนัง นวล, คน เอา แป้ง ทา ที่ ผิว หนัง แล้ว เอา มือ ลูบ ไป ลูบ มา หลาย หน นั้น.
      ผัด เพี้ยน (436:7.5)
               คือ ผัด ไป แล้ว ผัด อีก, คน เปน ลูก นี่ เขา ทวง เอา เงิน เปน ต้น, ผัด ทุเลา บ่อย ๆ นั้น.
      ผัด หมี่ (436:7.6)
               ขั้ว หมี่, คือ ทำ ให้ สุก, คน ทำ หมี่ ฃาย, เอา กะทะ ตั้ง บน เตา ไฟ แล้ว เอา หมี่ ใส่ ลง ขั้ว ไป นั้น.
      ผัด หมู (436:7.7)
               ขั้ว หมู, คือ ทำ เนื้อ หมู ให้ สุก, คน ทำ หมู กิน, เอา กะทะ ตั้ง บน เตา ไฟ แล้ว หั่น หมู ใส่ ลง ขั้ว ไป นั้น.
ผาด (436:8)
         ผ่าน ไป, คือ ผ่าน ไป เร็ว, คน เดิน ขวาง ไป หน้าบ้าน เปน ต้น, เขา ว่า เดิน ผาด ไป หน้า บ้าน เปน ต้น.
      ผาด แผด (436:8.1)
               คือ ทำ เสียง ดัง ขู่ ตวาด, คน โกรธ แล ร้อง ตวาด ด้วย เสียง อัน ดัง, ว่า ร้อง ผาด แผด เสียง.
      ผาด ผัน (436:8.2)
               คือ เดิน ผ่าน ผัน หัน หน้า ไป, คน เดิน ผ่าน แล้ว หัน หน้า ไป, เขา ว่า เดิน ผาด ผัน ไป นั้น.
      ผาด โผน (436:8.3)
               คือ เผ่น โผน โลด โดด, คน ฤๅ สัตว มี เสือ เปน ต้น, เผ่น โผน ไป เร็ว แรง นั้น.
ผิด (436:9)
         เพี้ยน, คือ ไม่ ถูก ต้อง, คน ยิง ปืน เปน ต้น, ไม่ ถูก ของ ที่ หมาย เขา ว่า ยิง ปืน ผิด ไป นั้น.

--- Page 437 ---
      ผิด กัน (437:9.1)
               เพี้ยน กัน, ต่าง กัน, คือ ทำ การ บาป แก่ กัน, เหมือน ลัก ฉ้อ เอา ของ เพื่อน กัน ว่า ผิด กัน นั้น.
      ผิด ธรรมเนียม (437:9.2)
               ไม่ ต้อง ทำเนียบ, คือ ทำ ไม่ ถูก ตาม อย่าง โบราณ* ฤๅ ไม่ ถูก ตาม เยี่ยง อย่าง คน ภาษา อื่น นั้น, ว่า ทำ ผิด ธรรมเนียม.
      ผิด นัด (437:9.3)
               ผิด กำหนฎ, คือ ผิด สัญญา กัน, คน สัญญา กัน ว่า พรุ่ง นี้ จะ ไป เปน ต้น, แล วัน พรุ่ง นี้ ไม่ ได้ ไป ว่า ผิด นัด.
      ผิด เพศ (437:9.4)
               ผิด พรรค์, คือ ผิด อย่าง ผิด อาการ กัน, เหมือน คน ต่าง ภาษา กัน มี อาการ นุ่งห่ม เปน ต้น คน ละ อย่าง นั้น.
      ผิด วิไสย (437:9.5)
               ต่าง วิไสย, คือ วิไสย ไม่ เหมือน กัน, คือ* กิจ ที่ ประพฤษติ์ ไม่ เหมือน กัน, นก บาง จำพวก ทำรัง อยู่ บน ต้น ไม้, บาง จำพวก ทำ รัง อยู่ ใน โพรง ไม้ นั้น.
ผุด (437:1)
         คือ อาการ ที่ ทำ ให้ ตัว ทะลึ่ง ขึ้น, เหมือน คน ฤๅ ปลา ที่ ดำ อยู่ ใน น้ำ แล้ว ทำ ให้ ตัว ลอย ทะลึ่ง ชู หัว ขึ้น บน น้ำ นั้น.
      ผุด ขึ้น (437:1.1)
               คือ อาการ ที่ คน ลง อยู่ ใต้ น้ำ, แล้ว ทำ ให้ ตัว ทะลึ่ง* ขึ้น จาก น้ำ นั้น.
      ผุด ผาด (437:1.2)
               คือ อาการ สอาด ประหลาด* ขึ้น, คน เมื่อ แรก ทำ การ หา กิน อยู่ หา ได้ แต่ง ตัว ไม่, ครั้น ถึง วัน นะขัตะ ฤกษ ก็ แต่ง ตัว หมด จด ขึ้น นั้น.
      ผุด ผ่อง (437:1.3)
               คือ อาการ สะสรวย สอาจ งาม ขึ้น.
เผ็ด (437:2)
         คือ ของ ทำ ให้ ปาก ร้อน ให้ แสบ, เหมือน คน กิน พริก แล ปาก ร้อน วุ่น วาย ไม่ สบาย นั้น ว่า เผ็ด.
      เผ็ด ร้อน (437:2.1)
               เหมือน คน กิน พริก ไทย เข้า ไป, ถูก ลิ้น แล ทั้ง เผ็ด ทั้ง ร้อน นั้น.
แผด (437:3)
         (dummy head added to facilitate searching).
      แผด ร้อง (437:3.1)
               คือ เปล่ง เสียง ก้อง เหมือน ราชสีห์, เขา ว่า มัน แผด เสียง ดัง สนั่น ก้อง นั้น.
      แผด แสง (437:3.2)
               คือ แสง แดด กล้า เมื่อ เวลา เที่ยง นั้น. ว่า ดอง อาทิตย์ แผด แสง.
      แผด เสียง (437:3.3)
               คือ เปล่ง เสียง ดัง หนัก, เหมือน ราชสีห์ เขา ว่า มัน แผด เสียง ดัง ก้อง สนั่น นั้น.
      แผด ร้อง (437:3.4)
               คือ บันฦๅ เสียง ดัง หนัก นั้น.
เผือด (437:4)
         ซีด ไป, คือ ศี ซีด ลง, คน ป่วย ไข้ ลง แล ผิว หน้า สลด ซีด* ลง เขา ว่า หน้า เผือด ลง นั้น.
ผล (437:5)
         คือ สิ่ง ที่ บังเกิด แต่ เหตุ, เหมือน รวง เข้า เปน ต้น. เรียก ว่า ผล เพราะ เกิด แต่ เหตุ ๆ นั้น คือ ต้น เข้า.
      ผล กุศล (437:5.1)
               คือ ถือ ว่า บันดา คน ที่ ได้ ความ ศุข, แล ได้ ทรัพย์ สมบัติ ฤๅ ยศ ศักดิ์ เปน ต้น นั้น. เพราะ ผล แห่ง กุศล ที่ ได้ กระทำ ไว้.
      ผละ ไม้ (437:5.2)
               คือ ลูก ไม้, ลูก ก็ บังเกิด แต่ เหตุ คือ ต้น นั้น. อัน นี้ ว่า ถึง ของ สิ่ง อื่น ก็ เหมือน กัน.
      ผล ความ ชอบ (437:5.3)
               คือ การ ดี ที่ เปน สวัสดิ มงคล เจริญ นั้น. เพราะ ทำ ความ ชอบ สุจริต ธรรม นั้น.
      ผล กรรม (437:5.4)
               คือ ของ ที่ บังเกิด เพราะ กรรม. คน กระทำ บาป ไว้ ใน ชาติ นี้, ตาย ไป เกิด ชาติ ใหม่ เปน ไป ตาม ผล แห่ง บาป ที่ ทำ ไว้.
      ผล ประโยชน์ (437:5.5)
               คือ ผล เช่น ว่า แล ประโยชน, นั้น คือ บันดา สิ่ง ทั้ง ปวง ที่ ต้อง ประสงค์ นั้น.
      ผล บุญ (437:5.6)
               คือ สิ่ง ที่ บังเกิด เพราะ บุญ. คน ทำ บุญ ไว้ ชาติ นี้ ตาย ไป เกิด ชาติ ใหม่, ย่อม เปน ไป ตาม ผล แห่ง บุญ ที่ ตัว ได้ ทำ ไว้ นั้น.
      ผล อานิสงษ์ (437:5.7)
               คือ ผล เช่น ว่า, อานิสงษ์ นั้น, เหมือน คน ตั้ง จิตร เมตา แก่ ผู้ อื่น, แล ตัว ได้ ความ ศุข นั้น, ว่า อานิ สงษ์.
ผัน (437:6)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ผัน หน้า (437:6.1)
               คือ หัน หน้า, คน มี หน้า อยู่ ข้าง ตวัน ออก, แล้ว หัน หน้า มา ข้าง ซ้าย ฤๅ ฃว้า* นั้น.
      ผัน รอบ (437:6.2)
               คือ หัน รอบ นั้น, เหมือน อย่าง ผัน ม่อ นั้น.
      ผัน แปร (437:6.3)
               คือ หัน พลิก, คน เปน หมอ ตำแย, เหน ทารก ใน ครรภ ที่ อยู่ ไม่ ปรกติ, แล จับ หัน พลีก ให้ กลับ หัน มา อยู่ ที่ ดี นั้น.
      ผัน ผิน (437:6.4)
               คือ หัน ผิน นั้น, เหมือน อย่าง ผินผัน หัน หน้า นั้น.
      ผัน ผ่อน (437:6.5)
               คือ หัน ผ่อน, คน จะ วัด ผ้า ยาว, แล จะ ทำ หลาย ผืน ให้ ค่า กัน. เขา หัน เหลี่ยม ให้ ค่า กัน นั้น.
      ผัน ผาย (437:6.6)
               คือ หัน บ่าย, คน ไป เรือ ครั้น จะ กลับ เรือ, เขา ก็ หัน หัว เรือ บ่าย กลับ, ว่า ผันผาย.
      ผัน อักษร (437:6.7)
               คือ หัน แปร อักษร, คือ อาเทศ ตัว อักษร เหมือน เอา ตัว วะ เปน พะ ตาม สูตร นั้น.

--- Page 438 ---
      ผัน ผยอง (438:6.8)
               คือ หัน เรว แล้ว วิ่ง ไป, เนื้อ กวาง ใน ป่า มัน ตื่น ตกใจ, มัน ยก หัว หัน เรว แล้ว วิ่ง ไป นั้น.
      ผัน ม่อ หัน ม่อ เวียน ม่อ (438:6.9)
               คือ หัน ม่อ, คน หุง เข้า เช็ด น้ำ เข้า แล้ว ปลง ลง ตั้ง ไว้ บน ชาน เชิงกราน, แล้ว หัน ไป เพื่อ จะ ให้ สุก ทั่ว กัน นั้น.
ผาน (438:1)
         คือ ของ เขา ทำ ใส่ ที่ หัว หมู, เปน เครื่อง สำรับ ไถ นา, เขา ทำ หัว หมู เอา ไม้ มา ถาก แล้ว, เอา ผาน เหล็ก ใส่ เข้า ที่ ไม้ นั้น.
ผ่าน (438:2)
         คือ ผาด, คน เดิน ผาด ไป น่า บ้าน นั้น, เขา ว่า คน เดิน ผ่าน ไป น่า บ้าน นั้น.
      ผ่าน หน้า (438:2.1)
               คือ เดิน ขวาง ไป ข้าง หน้า, คน เดิน ขวาง ไป ข้าง น่า พลับพลา นั้น, ว่า เดิน ผ่าน ไป ข้าง หน้า นั้น.
      ผ่าน ไป (438:2.2)
               คือ เดิน ขวาง ไป, คน เดิน ขวาง ไป ข้าง น่า พลับ พลา, เขา ว่า คน เดิน ผ่าน ไป นั้น.
      ผ่าน แผ่ (438:2.3)
               คือ เดิน ขวาง แผ่ ไป.
      ผ่าน มา (438:2.4)
               คือ เดิน ขวาง มา, คน เดิน ขวาง น่า พลับพลา นั้น, เขา ว่า คน เดิน ผ่าน มา นั้น.
      ผ่าน เมือง (438:2.5)
               คือ ได้ ครอง ราช สมบัติ, เจ้า เมือง ตาย แล้ว ไม่ มี เจ้าเมือง, ผู้ ได้ สมบัติ ครอง เมือง ว่า ผ่าน เมือง นั้น.
      ผ่าน หลัง (438:2.6)
               คือ เดิน ขวาง ไป ข้าง หลัง, คน เดิน ขวาง ไป ข้าง หลัง เรือน นั้น.
ผ้าน (438:3)
         คือ กลุ้ม เกลื่อน, เขา ปล่อย ฝูง สัตว, มี แพะ แล โค นั้น, มัน ออก เที่ยว อยู่ มาก นั้น, ว่า ผ้าน อยู่.
ผิน (438:4)
         คือ ผัน, คน มี หน้า มา ทาง เฉพาะ ตวัน ออก, แล้ว ผัน หน้า ไป ซ้าย ฤๅ ขวา นั้น.
      ผิน ภักตร์ (438:4.1)
               คือ หัน หน้า, เปน คำ หลวง ว่า.
      ผิน หน้า (438:4.2)
               คือ หัน หน้า, คน หัน หน้า ไป ข้าง ซ้าย บ้าง ข้าง ขวา บ้าง นั้น.
      ผิน ผัน หัน หน้า (438:4.3)
               คือ อา การ ที่ คน ทำ หน้า ให้ ไป ข้าง นั้น มา ข้าง นี้ นั้น.
      ผิน ไป (438:4.4)
               คือ หัน ไป, คน เดิน หัน หน้า ไป ที่ ตรง หน้า, ฤๅ ยืน นั่ง หัน หน้า ไป ตรง หน้า นั้น.
      ผิน มา (438:4.5)
               คือ หัน มา, คน เดิน หัน หน้า มา ที่ ตรง หน้า, ฤๅ ยืน นั่ง หัน หน้า มา ตรง หน้า นั้น.
      ผิน หลัง (438:4.6)
               คือ หัน หลัง, คน มี หน้า เฉพาะ ตวัน ออก, แล้ว หัน หลัง มา ข้าง ตวัน ออก นั้น.
ผืน (438:5)
         แผ่น, คือ แผ่น, คน ธอ ผ้า ทำ เปน แผ่น ๆ, ว่า เขา ธอ ทำ เปน ผืน ๆ ผ้า นั้น.
      ผืน ผ้า (438:5.1)
               คือ แผ่น ผ้า คน ธอ ผ้า เปน แผ่น ยาว ภอ นุ่ง ได้ ห่ม ได้ คน หนึ่ง นั้น, ว่า ผืน ผ้า หนึ่ง.
      ผืน เสื่อ (438:5.2)
               คือ แผ่น เสื่อ, คน สาน เสื่อ ยาว ภอ นอน ได้ คน หนึ่ง นั้น, ว่า เสื่อ ผืน หนึ่ง.
ผื่น (438:6)
         คือ เปน เม็ด เล็ก ๆ ขึ้น มา ที่ ตัว คน, มัน เกิด ขึ้น ที่ หลัง บ้าง ที่ ขา บ้าง, มาก ตั้ง แต่ เก้า เม็ด สิบ เม็ด นั้น.
เผ่น (438:7)
         คือ โผน, คน จะ ขี่ ม้า เขา ทำ ให้ ตัว ลอย ขึ้น จน นั่ง บน หลัง ม้า ได้ นั้น, ว่า เขา เผ่น ขึ้น บน หลัง ม้า.
      เผ่น ไป (438:7.1)
               คือ โผน ไป, เหมือน ม้า มัน ยก ตีน หน้า สอง ตีน ขึ้น แล้ว ให้ ตัว ทยาน ไป นั้น.
      เผ่น มา (438:7.2)
               คือ โผน มา, ม้า มัน ยก สอง ตีน หน้า ขึ้น แล้ว ทำ ให้ ตัว ทยาน มา ข้าง หน้า นั้น.
      เผ่น ลง (438:7.3)
               คือ โผน ลง, ม้า มัน อยู่ ที่ สูง, มัน ยก ตีน หน้า ทั้ง สอง ขึ้น ทำ ให้ ตัว ทยาน สูง* นั้น.
แผน (438:8)
         แบบ, อย่าง, คือ แบบ อย่าง, เขา จะ ส้าง บ้าน เมือง, แล เขียน บ้าง ต่อ เปน รูป ด้วย ไม้ บ้าง นั้น.
      แผน ที่ (438:8.1)
               อย่าง ที่, แบบ ที่, คือ ทำ รูป แผ่น ดิน แล ทเล นั้น, ลาง ที เขียน บ้าง ลาง ที ตี พิมพ์ บ้าง, ให้ เปน รูป เหมือน นั้น.
      แผน ทาง (438:8.2)
               คือ ทำ อย่าง รูป หน ทาง, เขา เขียน เปน เส้น ภอ รู้ ว่า ทาง ออก จาก ประเทศ นี้, ไป ถึง ประเทศ โน้น นั้น.
      แผ่น แบน (438:8.3)
               คือ ของ แบน ๆ มี แผ่น อิฐ เปน ต้น. ของ ที่ แบน ๆ นั้น, คน ทำ บ้าง เปน เอง บ้าง นั้น.
      แผ่น กะดาน (438:8.4)
               คือ กะดาน แบน, คน เอา ไม้ ซุง ต้น กลม ๆ มา เลื่อย ให้ เปน แผ่น แบน บ้าง นั้น.
      แผ่น เงิน (438:8.5)
               คือ เงิน แบน บาง, เขา ทำ เปน เงิน เหรียน นั้น, เรียก ว่า แผ่น เงิน.
      แผ่น ดิน (438:8.6)
               คือ ดิน ที่ เรา อา ไศรย อยู่, เขา เข้า ใจ ว่า แบน เปน แผ่น, ไม่ กลม เหมือน ลูก ภิภพ นั้น.

--- Page 439 ---
      แผ่น ทอง (439:8.7)
               คือ ทอง แบน เปน แผ่น, คน ช่าง เอา ทอง มา ตี แผ่ ให้ แบน บาง จะ ทำ รูป พรรณ เครื่อง ใช้ นั้น.
      แผ่น ฟ้า (439:8.8)
               คือ ฟ้า แบน อยู่ นั้น, คน เหน ฟ้า อยู่ เบื้อง* บน สูง นั้น. เขา เข้า ใจ ว่า เปน แผ่น อยู่ นั้น.
      แผ่น สิลา (439:8.9)
               คือ หิน ที่ แบน บาง, เขา เรียก หิน ที่ ไม่ กลม เปน ก้อน, แล มัน แบน เปน แผ่น นั้น.
      แผ่น หิน (439:8.10)
               เรียก ว่า สิลา นั้น, เปน สับท์ คำ สยาม ภาษา, ไทย เรียก หิน ๆ ที่ แบน นั้น, เขา เรียก แผ่น หิน.
      แผ่น อิฐ (439:8.11)
               คือ อิฐ แบน นั้น, เขา ทำ แบบ เปน รูป อิฐ, แล้ว เอา ดิน ใส่ ลง ตี เปน รูป แบน ๆ บาง นั้น.
โผน (439:1)
         โจน, โลด, โดด, คอ เผ่น, คน จะ ขึ้น ม้า, แล ทำ ให้ ตัว ทยาน ลอย ขึ้น นั่ง บน หลัง ม้า ได้ นั้น.
      โผน ขึ้น โดด ขึ้น โลด ขึ้น โจน ขึ้น (439:1.1)
               คือ เผ่น ขึ้น, คน ยืน อยู่ ที่ ต่ำ แล ทำ ให้ ตัว ทลึ่ง ลอย ขึ้น ไป ข้าง บน นั้น, ว่า โผน ขึ้น
      โผน ลง (439:1.2)
               โจน ลง, โดด ลง, โลด ลง, คือ เผ่น ลง, คน ยืน อยู่ ที่ บน สูง, แล ทำ ให้ ตัว โลด ลอย ลง มา ที่ ต่ำ นั้น, ว่า โผน ลง.
      โผน มา (439:1.3)
               โจน มา, คือ เผ่น มา, คน ยืน อยู่* ห่าง กับ เรา, แล ทำ ให้ ตัว โลด ลอย มา ใกล้ เรา นั้น ว่า โผน มา.
      โผน ไป (439:1.4)
               โจน ไป, คือ เผ่น ไป, คน ยืน อยู่ ใกล้ เรา, แล ทำ* ให้ ตัว โลด ลอย ออก ไป ไกล เรา นั้น, ว่า โผน ไป.
ผ่อน (439:2)
         คือ ย่อน ที ละ น้อย ๆ, คน ผ่อน ฃอง มี ผ้า ฤๅ เชือก นั้น, อย่อน ที ละ น้อย นั้น.
      ผ่อน กัน (439:2.1)
               คือ การ ที่ เขา ค่อย เลื่อน กัน ไป, เหมือน คน มาก จะ ข้าม ไป ฟาก โพ้น, เรือ เล็ก จุ สอง คน สาม คน คอย รอ ไป ภอ กำลัง เรือ นั้น.
      ผ่อน เข้า (439:2.2)
               คือ อย่อน เข้า มา, คน ผ่อน ของ มี เชือก ฤๅ ผ้า นั้น, เข้า มา เขา อย่อน เข้า มา ที ละน้อย นั้น.
      ผ่อน ปรน (439:2.3)
               คือ การ ที่ รู้ จัก แบ่ง หนัก แล เบา นั้น. อย่าง หนึ่ง ว่า อย่อน รวม ลง ไว้.
      ผ่อน ออก (439:2.4)
               คือ อย่อน ออก, คน ผ่อน ของ มี ผ้า ฤๅ เชือก ออก ไป ทีละ น้อย ๆ นั้น.
      ผ่อน ผัน (439:2.5)
               คือ การ ที่ รู้ บด ทอน การ งาน, แล ถ้อย คำ ทั้ง ปวง นั้น, หนัก ให้ เปน เบา ๆ ให้ หาย นั้น.
      ผ่อน ผัด (439:2.6)
               คือ คำ ที่ คน ว่า กับ เจ้า นี่, ว่า งด อีก สัก วัน สอง วัน จึ่ง จะ ให้ เงิน นั้น.
      ผ่อน ไป (439:2.7)
               คือ ค่อย อย่อน ไป ที ละ น้อย, คน ค่อย อย่อน ของ มี ผ้า ฤๅ เชือก นั้น, ค่อย อย่อน ไป ที ละน้อย ๆ นั้น.
      ผ่อน สั้น (439:2.8)
               ผ่อน ยาว, คือ การ ที่ คน รู้ วิธี การ งาน, ว่า การ นี้ ควร จะ ทำ ก่อน, การ นี้ ถึง จะ ทำ ช้า ก็ ไม่ เปน ไร นั้น,
      ผ่อน มา (439:2.9)
               คือ ค่อย ๆ อย่อน มา ที ละ น้อย ๆ, คน ค่อย ๆ อย่อน ของ มี ผ้า ฤๅ เชือก มา ที ละ น้อย ๆ นั้น.
      ผ่อน ให้ (439:2.10)
               คือ การ ที่ คน ขัด สน ทรัพย์ สิน, แล ต้อง ค่อย ให้ แก่ เจ้า นี่ แต่ ที ละ น้อย ๆ นั้น.
ผวน (439:3)
         คือ คำ กลับ, คน พูด กลับ คำ, กลับ ตัว หนังสือ, กิน เข้า กลับ ว่า เกา ขิ้น, เช่น นี้ ว่า คำ ผวน.
      ผวน พูด (439:3.1)
               คือ พูด คำ ผวน ว่า กิน น้ำ, กลับ พูด ว่า กำนิ้น นั้น.
      ผวน คำ (439:3.2)
               คือ กลับ คำ, เขา พูด กัน เล่น, เปน ต้น ว่า กิน เข้า เกา ขิ้น, เช่น นี้ ว่า ผวน คำ นั้น.
      ผวน แปร (439:3.3)
               คือ ผวน คำ ออก แล้ว แปร, เปน ต้น ว่า โนมะ ว่า นโม, แปล ว่า น้อม ไว้. อย่าง หนึ่ง ความ เหมือน ผัน แปร.
เผื่อน (439:4)
         เปน ชื่อ อุบล อย่าง หนึ่ง, ต้น ไม่ มี หนาม เปน สาย ยาว มี ดอก ศรี ม่วง กลีบ นอก เขียว เกิด ใน น้ำ ตาม ท้อง นา.
เผิน (439:5)
         คือ ไม่ ฦก, คน ไถ นา เปน ต้น, หัว หมู เครื่อง ไถ ลง ใน ดิน ตื้น ไม่ ฦก นั้น ว่า ลง เผิน.
ผม (439:6)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ผม เกษา (439:6.1)
               คือ สิ่ง ที่ เปน เส้น ๆ อยู่ ที่ หัว. เขา เรียก ผม, ผิด กับ ขน ไม่ เหมือน กัน, เพราะ เส้น ยาว นั้น.
      ผม หงอก (439:6.2)
               คือ ผม ขาว, เดิม ผม เส้น ดำ อยู่ โดย ธรรมดา, ครั้น คน แก่ ชะรา ก็ กลาย ขาว ไป นั้น.
      ผม ดำ (439:6.3)
               คือ เส้น ผม ศี ดำ เหมือน ศี หมึก, เมื่อ แรก คน เปน ทารก นั้น ผม ยัง ดำ อยู่ ดี ไม่ ขาว นั้น.
      ผม แดง (439:6.4)
               คือ ผม ศี ไม่ ดำ สนิท, ศี แดง เรื่อ ๆ เหมือน ผม ลูก เบ้เบ๋ นั้น ว่า เส้น ผม แดง.
      ผม อยิก (439:6.5)
               คือ ผม เส้น งอ หงิก ขด ติด อยู่ ชิด กับ หนัง หัว, เหมือน แขก หัว พริก นั้น.
ผอม (439:7)
         คือ ร่าง กาย มี เนื้อ น้อย, เหมือน คน เดิม ดี อยู่ มี เนื้อ อ้วน พี, ครั้น โรค เบียด เบียฬ ก็ ซูบ ผอม ไป นั้น.

--- Page 440 ---
      ผอม ซูบ (440:7.1)
               คือ กาย มี เนื้อ น้อย ลง, คน เดิม รูป กาย มี เนื้อ เต็ม ดี พี อ้วน, ผ่าย หลัง เนื้อ น้อย ไป นั้น.
      ผอม ซีด (440:7.2)
               ซูบ ซีด, คือ ผอม เผือด ศี กาย ขาว ไป, คน เดิม กาย อ้วน พี ศรี เปน ปรกติ, อยู่ ผ่าย หลัง ร่าง กาย เผือด ขาว ไป นั้น.
      ผอม แห้ง (440:7.3)
               ซูบ แห้ง, คือ ร่าง กาย ผอม เหี่ยว ไป, เหมือน คน เปน โรค ริศดวง แห้ง, คน ให้ ไอ แห้ง นั้น.
เผย (440:1)
         เปิด, เบิก, คือ เปิด, คน เอา มือ จับ บาน น่า ต่าง ฤๅ ประ- ตู เปน ต้น ทำ ให้ บาน ออก ไป เสีย นั้น.
      เผย น่า ต่าง (440:1.1)
               คือ เปิด น่า ต่าง, คน เอา มือ จับ บาน น่า ต่าง แล้ว เปิด ผลัก ออก ไป เสีย นั้น.
      เผย ประตู (440:1.2)
               เปิด ประตู, คน เอา มือ จับ บาน ประตู แล้ว เปิด ผลัก ให้ บาน ออก ไป จาก ที่ นั้น.
      เผย ม่าน (440:1.3)
               เบิก ม่าน, แหวก ม่าน, คือ เปิด ม่าน, คน เอา มือ ยก ม่าน ขึ้น ฤๅ แหวก ม่าน ออก นั้น.
ผาย (440:2)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ผาย ระบาย (440:2.1)
               คือ บ่าย, เหมือน คน จับ วัว มา เทียม เกวียน เข้า, วัว มัน ยืน ไม่ เรียบ กับ เกวียน ก้น มัน ขวาง อยู่, ว่า มัน ผาย ก้น อยู่.
      ผาย ผัน (440:2.2)
               วิ่ง ไป, คือ ผาย หัน, คน จับ วัว มา เทียม เกวียน มัน ยืน ขวาง ตัว อยู่, ว่า มัน หัน ผาย อยู่ นั้น.
      ผาย ลม (440:2.3)
               ระบาย ลม, คือ ลม ออก จาก ทวาร หนัก ภา เอา กลิ่น อาจม มา นั้น, เปน คำ คน พูด ว่า ตด นั้น.
ผ่าย (440:3)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ผ่าย น่า (440:3.1)
               ข้าง น่า, คือ กาล เบื้อง น่า ฤๅ เวลา เบื้อง น่า นั้น.
      ผ่าย หลัง (440:3.2)
               ทีหลัง, คือ กาล เบื้อง หลัง ฤๅ คราว หลัง นั้น.
      ผ่าย ผัน (440:3.3)
               คือ บ่าย หัน จะ ไป นั้น.
ผิว (440:4)
         คือ สิ่ง ที่ อยู่ ผ่าย นอก สุด นั้น, เหมือน ไม้ ไผ่ ที่ มี ประกาน อยู่ ที่ สุด ผ่าย นอก นั้น, เรียก ว่า ผิว.
      ผิวหนัง (440:4.1)
               หนัง กำพร้า, คือ ที่ สุด ชั้น นอก กาย นั้น ว่า ผิว หนัง. คน มี กาย ย่อม หุ้ม ด้วย ผิว หนัง ที่ อยู่ ผ่าย นอก นั้น.
      ผิว เนื้อ (440:4.2)
               หนัง กำพร้า, คือ ที่ สุด ชั้น นอก เนื้อ นั้น, คน มี ผิว เนื้อ คือ ที่ สุด ภาย นอก เนื้อ นั้น, เรียก ว่า ผิว เนื้อ.
      ผิว ไม้ (440:4.3)
               เปลือกไม้ ชั้น นอก, คือ ฃอง ที่ สุด ชั้น นอก ไม้, เหมือน ไม้ ไผ่ มี ที่ สุด ชั้น นอก ไม่ มี อะไร อีก นั้น, ว่า ผิวไม้.
ผีว ปาก (440:5)
         คือ เสียง ที่ คน เป่า ลม* ออก จาก ปาก ดัง หวี่ ๆ นั้น, เขา ว่า คน ผีว ปาก นั้น.
ผุย ขาด (440:6)
         คือ ของ มี เชือก นั้น, ที่ คน ดัน ดึง ตึง นัก มัน ทน ไม่ ได้ มัน ขาด ผุย ออก เร็ว นั้น.
ผุย ผง (440:7)
         คือ ขุย ผง, ของ ที่ เปน จุณ เลอียด เปน ขี้ ขุย เหมือน คน เจาะ ไช ไม้ ด้วย สว่าน, ขี้ มัน ตก ออก มา นั้น ว่า ผุยผง
แผ้ว (440:8)
         กวาด, ปัด, ถาง, คือ กวาด, คน เอา ยุง ปัด กวาด ที่ ทาง ให้ หมด จด ไม่ มี ผง นั้น ว่า แผ้ว. อย่าง หนึ่ง หมอ ใส่ ยา ตา ให้ ตา สว่าง, ว่า ใส่ ยา แผ้ว.
      แผ้ว กวาด (440:8.1)
               คือ ปัด กวาด, คน เอา ยุงปัด ๆ กวาด พื้น ที่ เรือน นั้น ไม่ ให้ มี ผง ขยาก นั้น.
      แผ้ว ถาง (440:8.2)
               คือ ชำระ ฟัน ถาง, คน จะ ทำ หน ทาง นั้น, เขา เอา พร้า ฟัน ต้นไม้ ต้นหญ้า เสีย ไม่ ให้ มี อยู่ นั้น.
ผอย (440:9)
         หยอย, ๆ เหมือน เมล็ด ฝน ตก ลง เปน เมล็ด ๆ ห่าง ๆ นั้น, ว่า ฝน ตก ลง ผอย ๆ.
ผ่อย (440:10)
         ม่อย, คือ ม่อย หลับ, คน นอน เกือบ จะ หลับ แล ใจ เคลิ้ม ม่อย ลง จะ หลับ นั้น, ว่า ผ่อย ไป.
ผ้วย (440:11)
         ผ้า สอง ชั้น, ผ้า ห่ม นอน, คือ ผ้า สอง ชั้น สำรับ ห่มนอน นั้น, เขา เอา ผ้า อัตลัด ฤๅ ผ้า เข้มขาบ มา ทับ ซับ เข้า เย็บ เปน สอง ชั้น, เรียก ผ้าพ่วย.
เผื่อ (440:12)
         เอื้อ เฟื้อ, คือ เจือ เอื้อเฟื้อ, คน ได้ ของ สิ่ง ใด แล คิด ถึง คน อื่น เอา ของ มา ฝาก, เขา ว่า เอา มา เผื่อ.
      เผื่อ กัน (440:12.1)
               คือ เอื้อ เฟื้อ เจือ แก่ กัน, เขา ได้ ของ สิ่ง ใด แล้ว คิด ถึง เพื่อน เอา ของ นั้น มา ให้ กัน นั้น.
      เผื่อ แผ่ (440:12.2)
               คือ เอื้อ เฟื้อ, แต่ แผ่ เปน ความ เปรียบ เหมือน แผ่ ขึง ผ้า ออก นั้น, ใจ คน เอื้อ เฟื้อ กว้าง ไป นั้น.
      เผื่อ ไป (440:12.3)
               คือ ความ ว่า เอื้อ เฟื้อ ไป, เหมือน ตัว อยู่ ที่ นี่ แล มี ใจ เอื้อ เฟื้อ ฝาก ของ สิ่ง ใด ๆ ไป ให้ แก่ เพื่อน อยู่ ที่ อื่น.
      เผื่อ เพื่อน (440:12.4)
               คือ เอื้อ เฟื้อ ถึง เพื่อน, คน มี ใจ โอบ อ้อม อารีย คิด ถึง เพื่อน เอา ของ มา ให้ แก่ เพื่อน นั้น.
      เผื่อ ไว้ (440:12.5)
               คือ ให้ ของ ด้วย เอื้อ เฟื้อ ไว้ นั้น.
      เผื่อ ว่า (440:12.6)
               คือ เกลือก ว่า, คน ไป หา ผู้ อื่น จะ อยาก กลับ เร็ว. กลัว จะ ไม่ ภบ ต้อง ถ้า ช้า อยู่, จัดแจง เสบียง ไป ด้วย, เกลือก จะ ต้อง คอย ถ้า ข้า อยู่ นั้น, เขา พูด ว่า ไป เผื่อ ว่า ไม่ ภบ.

--- Page 441 ---
      เผื่อ ยาก (441:12.7)
               คือ คิด ถึง ความ ทุกขยาก ภาย น่า อุษส่า หา ทรัพย ไว้ นั้น.
เผื้อ (441:1)
         คือ ความ หวัง, คน มี ธุระ ไป จะ กลับ เร็ว, แต่ กลัว จะ ไม่ สำเร็จ การ ช้า อยู่, เอา เงิน ไป เผื้อ จะ ได้ ซื้อ อาหาร กิน.
เผอเรอ (441:2)
         ใจ เผลอ, คือ ไม่ เก็บ งำ ของ อัน ใด ๆ, คน ใจ เผลอ ไม่ รู้ เก็บ ข้าวของ ๆ ตัว, ทำ ให้ ตก หาย ไป เสีย นั้น.
ผัว (441:3)
         สามี, คือ ชาย ที่ อยู่ เปน คู่ กับ หญีง, เหมือน อาดำ ที่ เปน คู่ อยู่ กับ ฮาวา, จน มี บุตร ออก มา นั้น.
      ผัว แก่ (441:3.1)
               คือ ชาย ผู้ เปน ผัว หญิง, อายุ มาก จน ผมหงอก แล ฟัน หัก นั้น.
      ผัว เก่า (441:3.2)
               คือ ผัว ที่ อยู่ กับ หญิง แล้ว อย่า กัน เสีย, แล้ว หญิง ไป ได้ ผัว อื่น, ชาย คู่ ก่อน เรียก ผัว เก่า.
      ผัว ก่อน (441:3.3)
               คือ ชาย ที่ เปน ผัว หญิง คน แรก, แล้ว ไม่ อยู่ ด้วย กัน, หญิง ไป ได้ ผัว อีก, ชาย เดิม นั้น ว่า ผัว ก่อน.
      ผัว อย่า (441:3.4)
               คือ ชาย ผู้ ผัว ไม่ ชอบ ใจ อยู่ ด้วย หญิง, ทำ หนังสือ ว่า ข้าพเจ้า อย่า, ขาด จาก ผัว เมีย กัน นั้น.
      ผัว หนุ่ม (441:3.5)
               คือ ชาย หนุ่ม เปน ผัว หญิง, ว่า ผัว หนุ่ม.
      ผัว ใหม่ (441:3.6)
               คือ ผัว ที่ หญิง ได้ ชาย อื่น อีก นั้น, หญิง อย่า ผัว คน ก่อน เสีย แล ได้ ผัว อื่น คน หนึ่ง นั้น.
      ผัว ตาย (441:3.7)
               คือ ชาย เปน ผัว หญิง ตาย ไป, ว่า หญิง คน นั้น ผัว ตาย เสีย แล้ว. เปน หญิง ม่าย อยู่.
      ผัวร้าง (441:3.8)
               สามีร้าง, คือ หญิง ระหอง ระแหง กัน กับ ผัว, คือ เขา ไม่ สู้ ชอบ ใจ กัน, ชาย ไป เสีย ไม่ อยู่ หลับ นอน กับ หญิง นั้น.
เผาะ (441:4)
         เปน เสียง ดัง เผาะ ก็ มี บ้าง, เหมือน เสียง ที่ ข้อ ตีน เสือ เมื่อ มัน เดิน ดัง เสียง เผาะ ๆ นั้น.
ผลอ (441:5)
         ปะจบ ประแจง, คือ ตอบ โหว, เหมือน คน ฟัน หัก ปาก โหว นั้น. อย่าง หนึ่ง พูด ประสม ประสาน, ว่า พูด ผลอ เขา.
      ผลิ (441:5.1)
               แพลม, ปริ่ม, คือ พึ่ง ปริ ขึ้น มา, เหมือน หน่อไม้* แรก งอก ขึ้น มา ยัง จิ่ม หนิด อยู่ ใน วัน หนึ่ง สอง วัน, ว่า พึ่ง ผลิ ขึ้น มา.
      ผลิ ดอก (441:5.2)
               แพลม ดอก, เผล็ด ดอก, คือ ดอกไม้ แรก ออก มา จาก กิ่ง ก้าน นั้น.
      ผลิ ยอด (441:5.3)
               แพลม ยอด, เผล็ด ยอด, คือ ยอด ไม้ แรก ออก จาก ต้น นั้น.
ผลุ (441:6)
         เปน เสียง ดัง ผลุ มี บ้าง, คน ได้ ยิน เสียง เขา ทิ้ง อิฐ ก้อน เล็ก ถูก ฝา จาก นั้น, ว่า เสียง ผลุ*.
แผล (441:7)
         รอย, คน ที่ ตัว มี รอย ฝี นั้น, ฤๅ ต้นไม้ มี รอย มีด ฤๅ ขวาน นั้น เขา ว่า แผล.
ไผล (441:8)
         ไปล่, คือ ไปล่, เช่น คน ทำ หัวเรือ นั้น ให้ ไปล่แปล้ ไม่ เสมอ กัน, สูง ข้าง หนึ่ง ต่ำ ข้าง หนึ่ง นั้น.
โผล่ (441:9)
         ผุด, คือ ทะลึ่ง ขึ้น มา, คน ดำน้ำ อยู่ แล้ว ผุด ทะลึ่ง ทำ ให้ หัว พ้น น้ำ ขึ้น มา นั้น, ว่า ผุด โผล่ ขึ้น มา.
โผล้ (441:10)
         แฟ้ม, คือ ของ สาน อย่าง หนึ่ง. คน เอา เส้น ตอก สาน เปน รูป คล้าย ๆ ครุ, แต่ ปาก รอม เข้า หน่อย หนึ่ง นั้น.
ผล้ำ (441:11)
         มาก, คือ พูด มาก ไม่ อยุด คล้าย คน เสีย จริต, คน ดี ไม่ เปน บ้า แต่ ว่า พูด วุ่น วาย มาก นั้น.
ผละ (441:12)
         สละ, ละ ไว้, คือ คน สละ ละ ของ เสีย, เช่น คน ถือ ของ อัน ใด ไว้, แล ละ วาง ของ นั้น เสีย, ออก วิ่ง ไป เร็ว ๆ นั้น.
ผลก (441:13)
         บ่อย ๆ, เนือง ๆ, คือ ทำ ให้ บันได ล้ม ลง จาก ที่ ตั้ง, บันได เรือน เล็ก ๆ, เขา ทำ ด้วย ไม้ ไผ่, ครั้น เวลา ค่ำ แล้ว, เฃา กลัว ฃะโมย จะ ขึ้น เรือน เฃา ยกออก เสีย นั้น, ว่า ผลก บันได เสีย.
ผลัก (441:14)
         ไส, รุน, คือ รุน ไป, คน ไป เรือ นั้น, ครั้น เหน เรือ จะ โดน อัน ใด ๆ, ก็ เอา มือ จับ กัน ออก ไป นั้น ว่า ผลัก.
ผลุง (441:15)
         คือ เสียง ดัง ผลุง, เหมือน คน* โจน จาก ที่ สูง ฤๅ ตก ลง จาก ที่ สูง, ว่า เสียง ดัง ผลุง นั้น.
ผลุ้ง (441:16)
         พล่าน, คือ เสียง ดัง ผลุ้ง, คน เอา มือ ใส่ ลง ใน ม่อ, ล้วง อยิบ เอา ของ อัน ใด ขึ้น มา* จาก ม่อ เสียง ดัง ผลุ้ง ๆ นั้น
แผลง (441:17)
         แสดง, คือ แปลง, คน เขียน หนังสือ สับท์ เบือน ไป จาก ตัว เดิม หน่อย หนึ่ง, เหมือน เดิม ว่า ปัญจะ, เขียน เบือน เสีย ว่า เบญจะ นั้น.
      แผลง ผลาญ (441:17.1)
               แสดง ผลาญ, คือ สังหาร, คน ยิง ศร ไป ให้ ถูก มนุษ ฤๅ สัตว* ตาย นั้น, ว่า แผลง ผลาญ.
      แผลง ฤทธิ์ (441:17.2)
               แสดง ฤทธิ์, คือ สำแดง ฤทธิ์, คน มี ฤทธิ์ แล แกล้ง ทำ ฤทธี บันดาน ให้ คน ตาย ก็ ได้, ให้ เปน ขึ้น มา ก็ ได้ นั้น.

--- Page 442 ---
      แผลง* ศร (442:17.3)
               ยิง ศร ไป, คน เอา ลูก ศร วาง ใส่ ลง ที่ แล่ง แล้ว ลั่น สาย ให้ ลูก ศร ลอย ปลิว ออก ไป จาก แล่ง นั้น.
ผลัด (442:1)
         เปลี่ยน, คือ เปลี่ยน, คน นุ่ง ห่ม ผ้า สำรับ นี้ อยู่ นาน เวลา แล้ว, เอา ผ้า สำรับ อื่น เข้า นุ่ง ห่ม, เอา ผ้า สำรับ ก่อน ออก เสีย นั้น.
      ผลัด กัน (442:1.1)
               เปลี่ยน กัน, คือ เปลี่ยน กัน, เหมือน คน แจว เรือ ไป สอง คน, ๆ หนึ่ง แจว ไป คน หนึ่งไม่ได้ แจว นาน เข้า, คน ที่ ไม่ ได้ แจว ออก แจว ไป, ให้ คน แจว ก่อน นั้น อยุด เสีย.
      ผลัด เปลี่ยน (442:1.2)
               เปลี่ยน ผลัด, ผลัด นั้น เช่น ว่า แล้ว, แต่ เปลี่ยน ความ เหมือน แลก, คน หนึ่ง มี ของ อย่าง หนึ่ง, คน หนึ่ง มี ของ อย่าง หนึ่ง, เขา แลก ของ กัน นั้น.
      ผลัด ผ้า (442:1.3)
               เปลี่ยน ผ้า, คือ เอา ผ้า ที่ นุ่ง ห่ม อยู่ นั้น ออก เสีย, เอา ผ้า สำรับ อื่น เข้า นุ่งห่ม ไป นั้น, ว่า ผลัด ผ้า.
      ผลัด เสื้อ (442:1.4)
               เปลี่ยน เสื้อ, คือ เอา เสื้อ ที่ ใส่ ไว้ ก่อน นั้น ถอด เสีย, แล้ว เอา เสื้อ ตัว อื่น เข้า ใส่ แทน ไว้ นั้น.
      ผลัด เวน (442:1.5)
               เปลี่ยน เวน, คือ เปลี่ยน เวน กัน, คน ราชการ เดิม เวน เข้า ข้าง ขึ้น, แล้ว ฃอ เข้า เวน ข้าง แรม นั้น, ว่า ผลัด เวน กัน.
ผลุด (442:2)
         คือ ออก มา เร็ว, เช่น คน อยู่ ใน เรือน เดิน ออก มา เร็ว นัก นั้น. อย่าง หนึ่ง ลูก ใน ท้อง ออก มา เร็ว นั้น, ว่า ผลุด ออก มา นั้น.
ผลาญ (442:3)
         สังหาร, คือ ทำ ให้ ฉิบหาย, คน แกล้ง ทำ ให้ ของ อัน ใด เปน อัต ตะระธาน สูญ หาย ไป หมด สิ้น นั้น.
      ผลาญทรัพย (442:3.1)
               ล้าง ทรัพย, สังหาร ทรัพย, คือ ทำ ให้ ทรัพย ฉิบหาย ไป, คน มี ทรัพย อยู่ แล้ว ทำ ให้ ทรัพย ฉิบหาย วาย วอด ไป นั้น.
ผลุน (442:4)
         ผลุด, คือ ผละ หมุน ไป คน เดิม นั่ง อยู่, เขา มี ธุระ ร้อน นัก ลุก ขึ้น เร็ว วิ่ง หมุน ไป, ว่า ผลุน ไป.
      ผลุน ไป (442:4.1)
               ผลุด ไป, คือ ผละ หมุน ไป, คน นั่ง อยู่ ฤๅ ยืน อยู่ แล้ว ลุก ออก ได้ วิ่ง หมุน ไป เร็ว นัก, ว่า ผลุน ไป.
      ผลุน มา (442:4.2)
               ผลุด มา, คือ ผละ หมุน มา, คน เดิม นั่ง อยู่ ฤๅ ยืน อยู่, แล้ว ลุก ออก ได้ วิ่ง หมุน มา โดย เร็ว นัก, ว่า ผลุน มา.
      ผลุน วิ่ง (442:4.3)
               ผลุด วิ่ง, คน นั่ง อยู่ ฤๅ ยืน อยู่, มี ธุระ ร้อน ลุก ขึ้น วิ่ง ไป โดย เร็ว นั้น.
เผลอ (442:5)
         เลิน เล่อ, คือ สติ เลอะ ลอย ไป, คน มี สติ เลื่อนลอย จำ สังเกต อัน ใด ไม่ ได้ นัก นั้น, ว่า เปน คน เผลอ.
(442:6)
         
ฝา (442:7)
         คือ ของ ของ เขา สำรับ บัง ปิด ที่ เรือน นั้น. เพื่อ จะ บัง มิ ให้ ฝน สาด แดด สร่อง นั้น.
      ฝา กระดาน (442:7.1)
               คือ ฝา เขา ทำ ด้วย ไม้ จริง นั้น.
      ฝากา (442:7.2)
               คือ ของ เขา ทำ ปิด กา สำรับ ใส่ น้ำ กิน นั้น.
      ฝา จาก (442:7.3)
               คือ ฝา เขา กรุ ด้วย ใบ จาก มี ฝา เรือน นั้น.
      ฝา จาน (442:7.4)
               คือ ของ เขา ทำ สำรับ ปิด จาน นั้น.
      ฝา แตะ (442:7.5)
               คือ ฝา เขา ตี ด้วย ไม้ ไผ่ ซี่ เปน แตะ, เหมือน โรง เจ็ก นั้น.
      ฝาชาม (442:7.6)
               คือ ของ เขา ทำ สำรับ ปิด ชาม นั้น.
      ฝาผนัง (442:7.7)
               คือ ฝา ก่อ ด้วย อิฐ ถือ ปูน ด้วย นั้น, มี ฝา ตึก แล ฝา โบถ แล วิหาร นั้น.
      ฝา ตึก (442:7.8)
               คือ ฝาผนัง, ๆ นั้น เขา เอา อิฐ ก่อ แต่ ใน ดิน ขึ้น มา ก่อวาง อิฐ เปน ชั้น ซ้อน กัน แล้ว ถือ ปูน นั้น.
      ฝา เฝือง (442:7.9)
               เฝือง เปน คำ สร้อย ห้อย ท้าย.
      ฝา นม (442:7.10)
               คือ ฝ้า เยื่อ ข้น หนา ขึ้น มา นั้น, น้ำนมโค เขา รูด เอา ใส่ ภาชะนะ ไว้, ล่วง เวลา มัน ข้น เปน ฝ้า หนา อยู่ ข้าง บน นั้น.
      ฝารั่ง (442:7.11)
               เปน ชื่อ คน บ้าง, เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง บ้าง, มัน มี ผล กิน ได้.
      ฝา แฝด (442:7.12)
               คือ ฝา สอง ฝา ติด กัน เรียก ฝา แฝด. อย่าง หนึ่ง ผลไม้ มัน เคย มี ลูก เดียว เปน ธรรมดา, บาง ที มัน ออก ขั้ว เดียว กัน เปน สอง ลูก เรียก ฝาแฝด.
      ฝารั่งเสศ (442:7.13)
               เปน ชื่อ คน เช่น ภาษา บาดหลวง นั้น.
      ฝา เรือน (442:7.14)
               คือ ของ ที่ เขา ทำ ใส่ ที่ เรือน, คน ปลูก เรือน ขึ้น แล้ว กลัว อันตราย, มี ฝน แล แดด นั้น ทำ ฝา บัง ไว้ นั้น.
      ฝาละมี (442:7.15)
               คือ ฝา ปิด ม่อ นั้น, คน ทำ ม่อ เล็ก ใหญ่, แล้ว ทำ ฝา ปิด งำ ลง เพื่อ จะ กัน ผง นั้น.

--- Page 443 ---
      ฝาเซี้ยม (443:7.16)
               คือ ฝา มา แต่ เมือง จีน เปน อย่าง ประแจจีน, แต่ ไม่ สูง ตลอด ถึง ขื่อ ต่ำ ๆ นั้น.
ฝ่า (443:1)
         คือ มือ ที่ ต้น นิ้ว แบน อยู่, กว้าง สัก สี่ นิ้ว ยาว สัก ห้า นิ้ว ต่อ อยู่ กับ ข้อมือ ปลาย ศอก นั้น.
      ฝ่า คน (443:1.1)
               คือ เดิน ฝืน เข้า ไป ใน ท่ำกลาง ฝูง คน นั้น.
      ฝ่า ตีน (443:1.2)
               คือ อะไวยวะ ที่ ปลาย แค่ง, กว้าง สัก ห้านิ้ว ยาว สัก คืบ เสศ, แล้ว มี นิ้ว ข้าง ละ ห้านิ้ว นั้น.
      ฝ่า แดด (443:1.3)
               คือ เดิน ฝืน แดด กำลัง กล้า นัก นั้น, เพราะ สู้ ทน ร้อน เอา นั้น.
      ฝ่า มือ (443:1.4)
               คือ อะไวยวะ ที่ ปลาย ศอก, กว้าง สัก สี่นิ้ว ยาว สักห้า นิ้ว, แล้ว มี นิ้ว ข้าง ละ ห้านิ้ว นั้น.
      ฝ่า ฝืน* (443:1.5)
               คือ แขง ขืน, คน ที่ ได้ ฟัง คำ สั่งสอน แล้ว ไม่ ชอบ ใจ, ไม่ ประฏิบัติ ตาม นั้น.
      ฝ่า ท้าว (443:1.6)
               คือ ฝ่า ตีน เช่น ว่า แล้ว, แต่ เขา เรียก ว่า ฝ่าท้าว เปน คำ สุภาพ, ไม่ ให้ อยาบช้า นั้น.
      ฝ่า แผล (443:1.7)
               คือ ฝ้า หนอง เปน กล้าม ปิด อยู่ ที่ ปาก แผล นั้น.
      ฝ่า พระ บาท (443:1.8)
               คือ ฝ่าท้าว นั้น, แต่ เขา เรียก เปน คำ หลวง, สูง สม กับ คน มี บุญ มี เจ้า นั้น.
      ฝ่า ละออง ทุลี พระ บาท (443:1.9)
               เปน คำ หลวง เขา ออก ชื่อ เจ้ากรม ใหญ่, ๆ เขา เรียก โดย ความ เกรง กลัว ยิ่ง นั้น.
ฝ้า (443:2)
         คือ สิ่ง ที่ ปะ อยู่ ข้าง บน, เหมือน แผล ฝี แล มี สิ่ง ที่ เปน เยื่อ ขาว ปะ อยู่ ที่ บน ปาก แผล ฝี นั้น.
      ฝ้ากระจก (443:2.1)
               คือ ตา เปน ฝ้า ขาว ใส เหมือน พื้น กระจก นั้น.
      ฝ้า มัว (443:2.2)
               คือ เปน ฝ้า ไม่ กระจ่าง, คน ชะรา ฤๅ ตา เปน โรค เขา แล ไป เหน ไม่ สนัด ชัด เปน หมอก อยู่ นั้น.
      ฝ้า ฟาง (443:2.3)
               คือ ตา มัว เปน ฝ้า พร่าง แล ไม่ ใคร่ เหน อะไร นั้น.
      ฝ้า พร่าง (443:2.4)
               คือ ตา มัว หมอก ฟาง แล ไม่ ใคร่ เหน สนัด นั้น.
ฝี (443:3)
         คือ โรค มี ศิศะ*, โรค ฝี นั้น มัน ตั้ง หัว ขึ้น หัว เดียว บ้าง หลาย หัว บ้าง, แรก ตั้ง ขึ้น ยัง ไม่* มี หนอง ต่อ มัน แก่ เข้า จึง มี น้ำหนอง นั้น.
      ฝี ดาษ (443:3.1)
               คือ ฝี ธรพิศม์, มัน ขึ้น มาก เต็ม ทั่ว ตัว คน บ้าง, ขึ้น น้อย เม็ด บ้าง, ดา ดาษ ไป จึ่ง เรียก ว่า ฝีดาษ.
      ฝี ดิบ (443:3.2)
               คือ ฝี มัน ขึ้น ที่ ตัว หญิง คลอด ลูก แล เขา อัง อยู่ ไฟ ไม่ ใคร่ ได้. ถ้า มี ฝี หัว เดียว ขึ้น มา เรียก ว่า ฝี ดิบ นั้น.
      ฝี กาล (443:3.3)
               คือ ฝีพิศม์ ให้ ปวด ร้อน กระสับ กระส่าย ตาย เร็ว นั้น.
      ฝี มือ (443:3.4)
               คือ วิชา ทำ ด้วย มือ ดี, คน มี วิชา ช่าง มี ช่าง เย็บ ผ้า นั้น ทำ ดี ยิ่ง, เขา ว่า ช่าง คน นั้น มี ฝี มือ.
      ฝี ภุ (443:3.5)
               คือ หัว ฝี มัน ผุด ขึ้น ที่ กาย คน นั้น.
      ฝี พอง (443:3.6)
               คือ หัว ฝี มัน ภุพอง ขึ้น ที่ ตัว คน นั้น.
      ฝี ท้าว (443:3.7)
               คือ วิ่ง เร็ว, คน ฤๅ สัตว ถ้า วิ่ง ไป เร็ว วัน หนึ่ง ไป ได้ สอง โยชน์ นั้น, ว่า มี ฝีท้าว.
      ฝี ปาก (443:3.8)
               คือ ว่า กล่าว คำ บท กลอน เพลง นั้น เพราะ เสนาะ น่า ฟัง นั้น.
      ฝี ตีน (443:3.9)
               คือ วิ่ง เร็ว ฤๅ ไป ได้ ไกล นั้น, ว่า มี ฝี ตีน เปน คำ ต่ำ เลว นั้น.
      ฝี พาย (443:3.10)
               คือ คน นั้น เปน ผู้ พาย เรือ เปน นิจ, ธรรมดา เรียก ว่า เลก ฝีพาย นั้น, สำรับ พาย เรือ หลวง.
      ฝี มะเรง (443:3.11)
               คือ โรค ฝี อย่าง หนึ่ง, เปน ฝี ใหญ่ แผล ฦก เนื้อหนัง ที่ แผล นั้น เหนียว, น้ำ หนอง ไม่ ใคร่ มี.
ไฝ (443:4)
         คือ สิ่ง ที่ เกิด ขึ้น ที่ อะไวยวะ คน เม็ด ดำ ๆ ข้าง หลัง บ้าง, ข้าง หน้า บ้าง, เขา เรียก ใฝ*.
เฝ้า (443:5)
         คือ รักษา อยู่, คน ระวัง รักษา ของ อยู่ กับ ที่ ใม่* ไป เสีย นั้น, ว่า เขา เฝ้า ฃอง นั้น อยู่.
      เฝ้า ยาม (443:5.1)
               คือ นั่ง คอย ระวัง ดู นาฬิกา ที่ กำหนด โมงยาม นั้น.
      เฝ้า ของ (443:5.2)
               คือ อยู่ ระวัง รักษา, คน ทำ นา นั้น, แล กลัว สัตว จะ มา กิน เข้า เสีย แล อยู่ ระวัง นั้น.
      เฝ้า แย้ง (443:5.3)
               คือ คอย ที่ จะ ต่อ แย้ง, เหมือน เขา ว่า ฟ้อง นี้ ต้อง ด้วย กฎหมาย, คอย ขัด ว่า ไม่ ต้อง กฎหมาย นั้น.
      เฝ้า ทรัพย (443:5.4)
               คือ อยู่ ระวัง รักษา ทรัพย, มี เงิน แล ทอง นั้น.
      เฝ้า ล้อ (443:5.5)
               คือ คอย จะ ล้อ เล่น, คือ ทำ เปน จะ ส่ง ฃอง ให้, ครั้น เขา ยื่น มือ รับ กลับ ไม่ ให้ นั้น.
      เฝ้า เลียน (443:5.6)
               คือ คอย จะ เลียน, เหมือน คน หนึ่ง จะ พูด ฤๅ จะ ทำ กิริยา อย่าง ไร, ก็ แกล้ง พูด ตาม ทำ ตาม เล่น นั้น,
      เฝ้า พระ บรมกระษัตริย์ (443:5.7)
               คือ อยู่ ที่ ใกล้ พระ มหา กระษัตริย์, คอย ระวัง อันตราย จะ มี แก่ พระ มหา กระษัตริย์ นั้น.
      เฝ้า เจ้า (443:5.8)
               คือ การ ที่ เข้า ไป นั่ง คอย รับ ราชการ เจ้า จะ ใช้ สรอย นั้น.

--- Page 444 ---
      เฝ้า เรือน (444:5.9)
               คือ คอย ระวัง อยู่ ที่ เรือน มิ ให้ มี อันตราย, คน มี เรือน แล คอย ระวัง อยู่ นั้น.
      เฝ้า แหน (444:5.10)
               คือ เฝ้า หวง อยู่, คน มี ทรัพย แล ไม่ ปมาท อยู่ ระวัง ทรัพย มิ ให้ เปน อันตราย* นั้น.
ฝัก (444:1)
         คือ ของ หุ้ม อยู่ ชั้น นอก แต่ มี สัณฐาน ยาว เหมือน* แค มี* ฝัก ออก จาก ดอก นั้น.
      ฝักแค (444:1.1)
               คือ ฝัก ออก จาก ดอกแค, ต้นแค มี ผล ฝัก ออก จาก ดอก เปน ฝัก ยาว ๆ นั้น. อย่าง หนึ่ง คน เย็บ น่าผ้า ทำสัณ ฐาน เหมือน ฝักแค นั้น.
      ฝัก ถั่ว (444:1.2)
               คือ ฝัก ออก จาก ดอก ถั่ว, เถา ถั่ว แก แล้ว มี ผล เปน ฝัก ออก นั้น.
      ฝัก ฝ่าย (444:1.3)
               คือ ปักข์ ส่วน, คน เปน ญาติ ข้าง บิดา นั้น, ว่า เฃา เปน ฝัก ฝ่าย บิดา นั้น.
      ฝักดาบ (444:1.4)
               คือ ฃอง อยู่ ชั้น นอก หุ้ม ดาบ อยู่ นั้น, เขา ทำ ไม้ มี รูป เหมือน ฝักแค สำรับ ใส่ ดาบ ไว้ นั้น.
      ฝัก มีด (444:1.5)
               คือ ของ อยู่ ชั้น นอก หุ้ม มีด อยู่ นั้น, เขา ทำ ไม้ รูป สัณฐาน เหมือน มีด สำรับ ใส่ มีด นั้น.
      ฝัก พร้า (444:1.6)
               คือ ไม้ อยู่ ชั้น นอก หุ้ม พร้า อยู่, เขา เอา ไม้ ทำ รูป เหมือน พร้า สำรับ ใส่ พร้า เพื่อ จะ กัน คม พร้า นั้น.
      ฝัก หอก (444:1.7)
               คือ ไม้ อยู่ ชั้น นอก หุ้ม หอก อยู่ นั้น, เขา เอา ไม้ ทำ เปน รูป หอก, สอง ซีก ประกบ* กัน สำรับ ใส่ หอก นั้น.
ฝาก (444:2)
         คือ การ ที่ คน ไว้ ธุระ แก่ ผู้ อื่น นั้น.
      ฝาก การ (444:2.1)
               คือ มอบ การ อัน ใด แก่ คน อื่น ให้ เขา ช่วย ทำ นั้น.
      ฝาก กาย (444:2.2)
               คือ ฝาก ตัว, เขา มี วาศนา น้อย มอบ ตัว แก่ ผู้ มี วาศนา มาก, ให้ ใช้ หมาย พึ่ง วาศนา* ท่าน นั้น.
      ฝาก ของ (444:2.3)
               คือ ฝาก สิ่ง ใด ไว้, คน อะนาถา ไม่ มี เย่าเรือน เอา ของ ไป มอบ ฝาก ท่าน ไว้, ด้วย กลัว อันตราย นั้น.
      ฝาก เงิน (444:2.4)
               คือ มอบ ฝาก เงิน ไว้ กับ ท่าน ผู้ อื่น นั้น, คน ขัด สน เย่าเรือน ไม่ มั่น คง, เอา เงิน ไป ฝาก ท่าน ไว้ นั้น.
      ฝาก* ชีวิตร (444:2.5)
               คือ ฝาก จิตร ใจ ไว้ กับ ท่าน, คน มี โรค หนัก, ฝาก ชีวิตร กับ หมอ ตาม แต่ หมอ จะ จัดแจง นั้น.
      ฝาก หนังสือ (444:2.6)
               คือ มอบ หนังสือ อัน ใด ไป กับ ผู้ อื่น นั้น, คน อังกฤษ ทำ หนังสือ แล้ว มอบ ให้ เขา รับ ไป นั้น.
      ฝาก ฝัง (444:2.7)
               คือ ฝาก มอบ ไป, แต่ ฝัง นั้น เปน สร้อย คำ.
      ฝาก ลูก (444:2.8)
               คือ เอา ลูก มอบ แก่ ท่าน, คน จะ มี ธุระ ไป ฤๅ จะ ตาย นั้น, มอบ ลูก วาน ท่าน ช่วย รักษา ไว้ นั้น.
ฝึก (444:3)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ฝึก ปรื (444:3.1)
               คือ หัด สอน, คน เรียน วิชา สิลประสาตร อัน ใด, แล อุษส่าห์ เพียร กระทำ ตาม สอน นั้น, ว่า เขา ฝึก ปฦ*.
      ฝึก ช้าง (444:3.2)
               คือ สอน ช้าง ให้ รู้ การ ของ มนุษ, เขา สอน ช้าง ให้ รู้ ไหว้ ฤๅ อยิบ ของ ส่ง ให้ คน นั้น.
      ฝึก ใจ (444:3.3)
               คือ อุษส่าห์ ทำ ให้ ใจ นั้น ไป ตาม ความ ดี เนือง ๆ นั้น.
      ฝึก ทหาร (444:3.4)
               คือ สอน ทหาร ให้ รู้ ยิง ปืน นั้น, ครู พวก ทหาร ทำ ท่า ยิง ปืน ให้ สิษ รู้ นั้น.
      ฝึก ไป (444:3.5)
               คือ อุษส่าห์ หัด ใจ ให้ ละ ทิ้ง ความ บาป เสีย นั้น.
      ฝึก สอน (444:3.6)
               คือ หัด สอน, คน เปน ครู บอก สอน วิชา การ ต่าง ๆ แก่ สิษ ให้ จำ เอา นั้น.
      ฝึก หัด (444:3.7)
               คือ สอน หัด, คน เปน ครู สอน วิชา การ ต่าง ๆ แก่ สิษ, ว่า ท่าน จง ทำ อย่าง นี้* ๆ นั้น.
แฝก (444:4)
         เปน ชื่อ ต้น หญ้า อย่าง หนึ่ง. มัน ขึ้น เปน กอ อยู่ ตาม ทุ่งนา, มี ใบ ยาว ๆ ต้น เปน ปล้อง ๆ
      แฝกหอม (444:4.1)
               เปน ชื่อ ต้น แฝก เช่น ว่า นั้น, แต่ ว่า ต้น แล ใบ แล ราก มัน มี กลิ่น หอม, ทำ ยา ได้ บ้าง.
เฝือก (444:5)
         คน เอา ไม้ ไผ่ ผ่า เปน ซี่ เล็ก ๆ แล้ว ถัก ด้วย เชือก, ห่อ สพ บ้าง, กั้น จับ ปลา บ้าง นั้น.
ฝัง (444:6)
         คือ เอา ของ ลง ไว้ ใน ดิน, คน ขุด หลุม แล้ว เอา ของ ใส่* ลง แล้ว กลบ เสีย นั้น.
      ฝัง สพ (444:6.1)
               คือ ฝัง ผี, คน เอา สพ คน ตาย ไป ที่ ป่าช้า สำรับ ฝัง นั้น, แล้ว ขุด หลุม เอา สพ ใส่ ลง ไว้ นั้น.
ฝั่ง (444:7)
         ตลิ่ง, ที่ ริม น้ำ, คือ ที่ ริม แม่ น้ำ นั้น, เปน ที่ ดิน ฤๅ ทราย นั้น เขา เรียก ฝั่ง.
      ฝั่ง ทเล (444:7.1)
               คือ ที่ ดิน อยู่ ชาย ทเล นั้น, บันดา ที่ เปน แนว ไป ตาม ชาย ทเล ตลอด เรียก ฝั่ง ทเล.
      ฝั่ง นัทธี (444:7.2)
               คือ ที่ ริม ตลิ่ง แม่น้ำ นั้น, ว่า ฝั่ง นัทธี นั้น.
      ฝั่ง แม่น้ำ (444:7.3)
               ริม แม่ น้ำ, ที่ ดิน ฤๅ ทราย อยู่ ชิด ติด กับ น้ำ ที่ แม่น้ำ ตลอด ไป นั้น, เขา เรียก ฝั่ง แม่น้ำ ทั้ง สิ้น.
      ฝั่ง ฟาก ข้าง โน้น (444:7.4)
               ตลิ่ง ฟาก ข้าง โน้น, ริม น้ำ ฟาก ข้าง โน้น, คือ ฝั่ง โน้น ฝั่ง โพ้น, คน อยู่ ที่ ฝั่ง แม่น้ำ ข้าง นี้, เรียก ฝั่ง แม่น้ำ ฟาก โพ้น นั้น เปน ฝั่ง ฟาก ข้าง โน้น.

--- Page 445 ---
ฝาง (445:1)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, สัณฐาน ต้น ใบ มี หนาม เหมือน ต้น หาง นกยูง, แก่น มัน แตง, มี ใน ป่า ใหญ่.
      ฝาง ตำ (445:1.1)
               เปน ชื่อ ต้น ฝาง อย่าง หนึ่ง, ต้น ใบ เช่น ว่า แล้ว, แต่ แก่น มัน ดำ มี ใน ป่า ใหญ่.
      ฝาง เสน (445:1.2)
               เปน ชื่อ ต้น ฝาง เช่น ว่า แล้ว, แต่ แก่น มี ศรี แดง* อ่อน คล้าย ศรี เสน นั้น.
ฝูง (445:2)
         หมู่, คือ พวก, เหมือน พวก สัตว, มี แกะ แล โค เปน ต้น, มัน อยู่ มาก เปน พวก นั้น.
      ฝูง กา (445:2.1)
               หมู่ กา, คือ กา มัน อยู่ เปน พวก มาก นั้น.
      ฝูง ไก่ (445:2.2)
               หมู่ ไก่, คือ ไก่ มัน อยู่ เปน พวก มาก, ตั้ง แต่ สิบ ตัว ขึ้น ไป นั้น, เขา ว่า เปน ฝูง นั้น.
      ฝูง คน (445:2.3)
               พวก คน, คน พร้อม กัน อยู่ เปน พวก เปน หมู่ ตั้ง แต่ สิบ คน ขึ้น ไป นั้น, เขา ว่า คน เปน ฝูง.
      ฝูง นก (445:2.4)
               พวก นก, หมู่ นก, คือ พวก นก มัน อยู่ เปน หมู่ มาก กว่า สิบ ตัว ขึ้น ไป นั้น, เขา ว่า นก มัน อยู่ เปน ฝูง.
      ฝูง เนื้อ (445:2.5)
               พวก เนื้อ, หมู่ เนื้อ, คือ พวก เนื้อ มัน อยู่ เปน หมู่ มาก นั้น, ว่า เนื้อ มัน อยู่ เปน ฝูง นั้น.
      ฝูง หมา (445:2.6)
               หมู่ หมา, พวก หมา, คือ พวก หมา มัน อยู่ เปน หมู่ มาก นั้น, ว่า หมา มัน อยู่ เปน ฝูง.
      ฝูง หมู (445:2.7)
               พวก หมู, หมู่ หมู, คือ พวก หมู มัน อยู่ เปน หมู่ มาก กว่า สิบ ตัว ขึ้น ไป นั้น, ว่า หมู มัน อยู่ เปน ฝูง.
      ฝูง สัตว์ (445:2.8)
               หมู่ สัตว์, พวก สัตว์, คือ บันดา สัตว์ ดิรัจฉาน*, มัน อยู่ เปน พวก, ถึง มัน ต่าง เพศ กัน, ถ้า มัน อยู่ มาก ใน ที่ เดียว* กัน ว่า ฝูง นั้น.
แฝง (445:3)
         แอบ, คือ ลับ บัง ซ่อน เร้น, เหมือน คน ฤๅ สัตว์, ถ้า หนี เฃา ไป แอบ บัง ตัว อยู่ ใน ที่ มี ภุ่ม ไม้ เปน ต้น, ว่า แฝง อยู่ นั้น.
      แฝง เงา (445:3.1)
               บังเงา, คือ บังเงา เข้า มา.
      แฝง กาย (445:3.2)
               คือ ทำ ให้ กาย บัง อยู่ ไม่ให้ ใคร เหน นั้น, หฤๅ สัตว กลัว เฃา จะ เหน ตัว, แล ซ่อน ตัว ไม่ ให้ เขา เหน.
      แฝง ใต้ (445:3.3)
               คือ บัง เงา ใต้ เข้า มา.
      แฝง ฉาก (445:3.4)
               คือ เอา ฉาก บัง กาย นั้น.
      แฝง ม่าน (445:3.5)
               แอบ ม่าน, คือ เอา ม่าน บัง ตัว กลัว เขา จะ เหน นั้น.
      แฝง ตัว (445:3.6)
               คือ ทำ ตัว ให้ ลับ บัง อัน ใด ๆ เสีย นั้น.
      แฝง ไฟ (445:3.7)
               คือ บัง ไฟ เสีย นั้น.
      แฝง แอบ (445:3.8)
               คือ บัง แอบ, คน ซ่อน ตัว ไม่ ให้ ผู้ อื่น เหน นั้น.
เฝื้อง ฟุ้ง (445:4)
         คือ ฟุ้ง ขึ้น เหมือน ฝุ่น เมื่อ ระดู แล้ง แห้ง เปน ผง, ถูก ลม พัด ฟุ้ง ปลิว ไป นั้น.
ฝัด (445:5)
         กระพือ, คือ การ ที่ คน ทำ ให้ เปลือก เข้า ปลิว ออก จาก เม็ด เข้า สาร นั้น, เขา เอา เข้า กับ ทั้ง เปลือก ใส่ ลง ใน กระ- ด้ง, แล้ว ยก ขึ้น ฟาด ลง ให้ เปลือก ออก นั้น.
      ฝัด แกลบ (445:5.1)
               กระ พือ แกลบ, คือ การ ที่ คน ทำ ให้ เปลือก เข้า ปลิว ออก จาก เม็ด เข้า สาร นั้น.
      ฝัด เข้า (445:5.2)
               โบก เข้า, คือ การ ที่ คน ทำ ให้ ละออง เข้า ปลิว ออก ไป นั้น.
ฝาด (445:6)
         เฝื่อน, คือ รศ เฝื่อน เหมือน ลูก พลับ ดิบ* เปน ต้น, ลูก พลับ เมื่อ ยัง ดิบ อยู่, มี รศ เฝื่อน ฝาด นั้น.
      ฝาด เฝื่อน (445:6.1)
               เฝื่อน* ฝาด, คือ รศ เฝื่อน ฝาด เหมือน ลูก ฝาหรั่ง, เมื่อ ลูก ยัง ดิบ อยู่ นั้น, มี รศ ฝาด นัก.
ฝิด (445:7)
         เปน เสียง อย่าง หนึ่ง, คน พูด ว่า คน นั้น จาม เสียง ฉิด ๆ นั้น.
ฝืด (445:8)
         คือ ไม่ คล่อง ไม่ สดวก*, เหมือน คน ไป เรือ ถึง ที่ มี น้ำ น้อย เรือ ติด ไป ไม่ ใคร่ ได้* นั้น. อย่าง หนึ่ง คน กลืน ของ ฝาด เฝือ อยู่ ที่ ฅอ นั้น.
      ฝืด เคือง (445:8.1)
               ความ เหมือน ขัดสน ไม่ สู้ มี เงิน ทอง นั้น.
      ฝืด เฝือ (445:8.2)
               คือ ฝืน ฝ่า, เหมือน เรือ ไป ใน คลอง น้ำ ที่ มี สวะ แล จอก แหน มาก นั้น.
แฝด (445:9)
         ติด กัน เปน สอง, คือ ของ ติด กัน เปน คู่ อยู่ นั้น, เหมือน ผล ไม้ เคย มี ขั้ว ละ ลูก, แล มัน เปน ขั้ว เดียว สอง ลูก ว่า แฝด นั้น.
ฝน (445:10)
         น้ำ ฟ้า, คือ น้ำ เปน เม็ด เล็ก ๆ ตก ลง จาก อากาษ นับ ไม่ ถ้วน, เขา เรียก เม็ด น้ำ อากาษ ว่า ฝน.
      ฝน งาม (445:10.1)
               น้ำ งาม, คือ ฝน ดี ตก บริบูรรณ, ฝน ครั้น ถึง ระดู ก็ ตก มาก ไม่ สู้ เว้น ตก บ่อย ๆ นั้น ว่า ฝน งาม.
      ฝน ชะ ลาน (445:10.2)
               คือ ฝน ตก ลง เมื่อ เดือน สาม เมื่อ เขา ทำ ลาน นวด เข้า นั้น.

--- Page 446 ---
      ฝน ชุก (446:10.3)
               คือ ฝน ตก ไม่ ใคร่ เว้น วัน, เมื่อ* ระดู ฝน นั้น.
      ฝน เชย (446:10.4)
               คือ ฝน เมื่อ แรก ถึง ระดู ฝน แล ฝน ตก ลง น้อย ๆ นั้น.
ฝาน (446:1)
         คือ เชือด เถือ, คน เอา มีด เชือด ของ อัน ใด ๆ, มี ลูก ไม้ แล ขนม นั้น ให้ เปน ชิ้น.
      ฝาน บวบ (446:1.1)
               หั่น บวบ, คือ เชือด บวบ, คน เอา มีด เชือด ตัด ลูก บวบ, มี ลูก บวบเหลี่ยม แล บวบ งู นั้น.
      ฝาน ผัก หั่น ผัก (446:1.2)
               คือ เชือด ผัก ต่าง ๆ, คน ได้ ผัก อัน ใด เปน ต้น ว่า ผักบุ้ง เอา มา แล้ว เอา มีด ตัด ออก นั้น.
ฝิ่น (446:2)
         ยา, คือ ยา อาเพี่ยน, จีน เรียก ฝิ่น ว่า อาเพี่ยน, เฃา เอา มา แต่ ต่าง ประเทศ, มี เมือง บั้งกล่า เปน ต้น, ฝิ่น นั้น ทำ แล้ว ศรี ดำ เปน ยาง เหลว สูบ เมา นั้น.
      ฝิ่น ดิบ (446:2.1)
               ยา ดิบ, คือ ฝิ่น ยัง ไม่ ได้ หุง เปน ลูก กลม เท่า ลูก มะพร้าว ปอก แล้ว, เขา ว่า ฝิ่นดิบ.
      ฝิ่น ต้น (446:2.2)
               ยา ต้น, คือ ฝิ่น เปน ต้น ไม้ สูง สัก สามวา สี่วา. ลำ ต้น กลม โต เท่า เสา สามกำ สี่กำ, มี เปลือก หนา เปน ไม้ อยู่ ใน ป่า.
      ฝิ่น สุก (446:2.3)
               ยาสุก, คือ ฝิ่น ชำระ ต้ม แล้ว ยัง แต่ เนื้อ, เขา เอา ฝิ่น ลูก ดิบ ๆ มา ชำระ เอา เปลือก ออก, แล้ว ต้ม ให้ สุก.
ฝืน (446:3)
         ฝ่า, ขืน, คือ หมอ ตำแย ทำ ที่ ท้อง หญิง มี ครรภ, ให้ ทารก ใน ครรภ ขึ้น มา สู่ ที่ มิ ให้ ต่ำ ลง ไป นั้น.
      ฝืน ท้อง (446:3.1)
               คือ เอา มือ กด ลง ที่ ท้อง หญิง มี ครรภ, ทำ ให้ ทารก ใน ครรภ ที่ เคลื่อน ลง อยู่ ข้าง ล่าง, กลับ ขึ้น มา อยู่ ที่ นั้น.
      ฝืน ฝ่า (446:3.2)
               คือ อาจ ขืน, คน ได้ ฟัง บัญญัติ แล้ว, แล ไม่ กลัว เกรง ขืน อาจ ทำ ล่วง เกิน บัญญัติ นั้น.
      ฝืน สติ (446:3.3)
               คือ อุษส่าห์ ตั้ง สติ ให้ ดี เปน ปรกติ นั้น.
      ฝืน อารมณ์ (446:3.4)
               คือ อุษส่าห์ ตั้ง ใจ ที่ หน่วง เอา เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง ไว้, มี รูป เปน ต้น นั้น.
ฝุ่น (446:4)
         คือ ผงคลี ดินทราย เลอียด นั้น, ดิน ฤๅ ทราย ที่ เปน ผง แหลก เลอียด นั้น, เรียก ว่า ฝุ่น.
      ฝุ่น ขาว (446:4.1)
               คือ ของ เปน จุณ เลอียด ศรี ขาว, เฃา ทำ เปน เครื่อง เขียน รูปภาพ เปน ต้น, มา แต่ เมือง จีน.
      ฝุ่น จีน (446:4.2)
               คือ ของ เปน จุณ เลอียด, เช่น ว่า มา แต่ เมือง จีน นั้น.
      ฝุ่น ทราย (446:4.3)
               คือ ทราย ที่ เลอียด เปน จุณ นั้น, ทราย ขี้เป็ด ที่ เลอียด, ครั้น ถึง ระดู แล้ง แห้ง เปน ลออง ผง นั้น.
      ฝน ตก (446:4.4)
               คือ เม็ด น้ำ ใน อากาษ ตก ลง มา มาก แล น้อย นั้น.
      ฝน ทอง (446:4.5)
               คือ ของ ที่ มี ใน จินดามะนี เปน ที่ เสมียน สังเกต ใช้ อักษร ให้ ถูก ตาม บังคับ นั้น ดั่ง นี้ ฯ.
      ฝน ปรอย ๆ (446:4.6)
               คือ เม็ด ฝน เล็ก ๆ ตก ลง ไม่ มาก ภอ เปน ฝอย ๆ นั้น.
      ฝน พรำ (446:4.7)
               คือ ฝน ตก ไม่ มาก นัก แต่ ไม่ ใคร่ อยุด นั้น.
      ฝน ฟ้า (446:4.8)
               ฟ้า เปน คำ สร้อย, เขา มัก พูด ถึง ฝน ตก ชุก นัก ว่า ฝน ฟ้า อะไร, ตก ร่ำ ไป ที เดียว.
      ฝน แสนห่า (446:4.9)
               เปน ชื่อ ดอก ไม้ ไฟ อย่าง หนึ่ง นั้น, จุด มัน เข้า แล้ว มัน พุ่ง กะจาย ออก เหมือน สาย ฝน นั้น.
      ฝน แล้ง (446:4.10)
               คือ ฝน ไม่ ตก แห้ง ไป นั้น, เมื่อ ถึง ระดู ฝนตก, แล้ว ฝน ไม่ ตก แห้ง ไป, ว่า ฝน แล้ง นั้น.
      ฝน อยา (446:4.11)
               คือ เอา อยา ลง ถู ไป ที่ หิน หฤๅ กะเบื้อง สำหรับ ฝน อยา นั้น.
      ฝน หยิม ๆ (446:4.12)
               คือ เม็ด ฝน เล็ก ตก ห่าง ๆ ไม่ สู้ มาก นัก นั้น.
ฝัน (446:5)
         สุบิน, นิมิตร, คือ นอน หลับ แล้ว ให้ เหน ไป ใน ใจ ต่าง ๆ, บาง ที ให้ เหน ว่า ได้ กิน อาหาร นั้น.
      ฝัน ดี (446:5.1)
               นิมิตร ดี, คือ นอน หลับ แล้ว ให้ เหน นิมิตร ว่า ได้ เหน พระ เปน ต้น นั้น, ว่า เปน นิมิตร ว่า ฝัน ดี.
      ฝัน ถึง (446:5.2)
               นิมิตร ถึง, คือ ฝัน เหน คน นั้น, ฤๅ เหน บ้าน นั้น. ฤๅ เมือง นั้น, ที่ ตน ได้ เคย ไป เที่ยว, ฤๅ เคย ได้ ไป อยู่ นั้น.
      ฝัน ร้าย (446:5.3)
               นิมิตร ร้าย, นิมิตร ชั่ว, คือ ฝัน ชั่ว, คน นอนหลับ แล้ว จิตร ให้ เหน นิมิตร ชั่ว, คือ เหตุ ไม่ ดี เปน ต้น ว่า ไฟ ไหม้ นั้น.
      ฝัน เหน (446:5.4)
               นิมิตร เหน, คือ เหน ใน ใจ เมื่อ หลับ อยู่ นั้น, คน นอน หลับ แล้ว ให้ เหน เหตุ ต่าง ๆ เปน ต้น ว่า ได้ ของ นั้น,
ฝั้น (446:6)
         คือ การ ที่ ทำ ให้ เชือก นั้น เปน เกลียว, คน ทำ เชือก ให้ บิด เปน เกลียว ฤๅ ทำ ด้าย ไหม ให้ เปน เกลียว นั้น.
      ฝั้น เฟือน (446:6.1)
               คือ อาการ ที่ หลง ลืม เนื้อ ความ อัน ใด คิด ไม่ ใคร่ ออก นั้น.

--- Page 447 ---
      ฝั้น* เฝือ (447:6.2)
               คือ เนื้อ ความ ที่ ยอก ย้อน คิด จะ ให้ เหน แจ้ง ยาก นัก นั้น.
ฝุ่น ฝอย (447:1)
         คือ ขยากเล็ก น้อย เขา เรียก ฝุ่นฝอย, เหมือน ขยาก ที่ ตก อยู่ บน เรือน นั้น.
ฝ้อน (447:2)
         คือ การ ที่ คน เอา ซัง เข้า ทำ สาย รัด วาง ลง, แล้ว เกี่ยว เอา รวง เข้า วาง ลง ผูก รัด เข้า นั้น, ว่า ฟ่อนเข้า.
      ฝ้อนเข้า (447:2.1)
               มัดเข้า, คือ มัด เข้า*, คน ทำ เข้า ต้น ที่ เกี่ยว แล้ว ให้ เปน มัด ๆ เท่า กบุง, เอา ไว้ ใน นา นั้น.
      ฝ้อน หญ้า (447:2.2)
               มัด หญ้า, คือ มัดหญ้า, คน เปน พวก ตะพุ่น เปน ต้น, ทำ ต้นหญ้า ที่ เกี่ยว แล้ว ให้ เปน มัด นั้น.
เฝื่อน* (447:3)
         คือ รศ ฝาด, ผลไม้ มี ลูก พลับ ดิบ เปน ต้น มี รศ ฝาด นัก, ว่า รศ เฝื่อน.
      เฝื่อน ขม* (447:3.1)
               คือ ของ มี รศ ฝาด จน ออก ขม นั้น.
      เฝื่อน ฝาด (447:3.2)
               คือ รศ ฝาด เฝื่อน, เปลือก ไม้ มี เปลือก ต้นแค เปน ต้น มัน ฝาด นัก นั้น.
ฝาย (447:4)
         ทำนบ, กำบัง, คือ กำมือ หนึ่ง, คน เอา มือ ข้าง เดียว ทำ ให้ สิ่ง มี เม็ด เข้า เปน ต้น เต็ม ใน มือ ข้าง เดียว นั้น, ว่า ฝาย มือ หนึ่ง.
ฝ่าย (447:5)
         ข้าง, คือ ส่วน หนึ่ง, ข้าง หนึ่ง.
      ฝ่าย กุศล (447:5.1)
               ส่วน บุญ, คือ ส่วน การ บุญ, คน ทำ การ ที่ เปน บุญ มาก น้อย เท่า ใด, ว่า การ นั้น เปน ฝ่าย กุศล.
      ฝ่าย กรรม บถ (447:5.2)
               ส่วน ทาง การ บุญ บาป, คือ ส่วน ข้าง ทาง กระทำ การ ทั้ง สอง อย่าง, คือ การ บุญ แล บาป, ว่า การ นั้น เปน ฝ่าย กรรมบถ.
      ฝ่าย ข้า (447:5.3)
               ส่วน ข้า, ข้าง ข้า, คือ ข้าง ข้า, คน พูด เมื่อ จะ แบ่ง ปัน ของ กัน, เปน ต้น ว่า ส่วน ข้าง ข้า จะ เอา เท่า นั้น.
      ฝ่าย เขา (447:5.4)
               ส่วน เขา, ข้าง เขา, คือ ข้าง เขา, คน ว่า เมื่อ จะ ให้ ของ อัน ใด กัน เปน ต้น, ว่า ส่วน ข้าง เขา ให้ เท่า นั้น.
      ฝ่าย นี้ (447:5.5)
               ส่วน นี้, คือ ข้าง นี้, เหมือน ที่ มี มาก หลาย ตำบล เขา ว่า ที่ ข้าง นี้ เปน ของ ข้าง นี้ นั้น.
      ฝ่าย ปะเรียญติ (447:5.6)
               ส่วน ปะเรียญติ, คือ ข้าง พระ ปะเรียญติ, เหมือน จะ ถวาย ของ พระสงฆ หลาย จำพวก, ว่า ของ นี้ เปน ส่วน ข้าง ปะเรียญติ.
      ฝ่าย วิปัศะนา* (447:5.7)
               ข้าง วิปัศะนา, คือ พระสงฆ เปน ข้าง พวก เรียน ทาง วิปัศะนา, ด้วย พระสงฆ มี หลาย จำพวก, จึ่ง ว่า ฝ่าย นั้น ฝ่าย นี้.
      ฝ่าย สัมะถะ (447:5.8)
               ข้าง สัมะถะ, คือ พระสงฆ เปน ข้าง พวก เรียน ทาง สัมะถะ, ด้วย พระสงฆ เรียน ธรรม ต่าง ๆ กัน, จึ่ง ว่า ข้าง นั้น ข้าง นี้ นั้น.
ฝ้าย (447:6)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, เฃา เอา ลูก มัน ทำ เปน ด้าย ธอ เปน ผ้า สำรับ นุ่ง ห่ม นั้น.
      ฝ้าย แดง (447:6.1)
               คือ ต้นไม้ เช่น ว่า เรียก ว่า ต้นฝ้าย* นั้น มี ดอก แดง เขา จึ่ง เรียก ฝ้าย แดง.
      ฝ้าย เทษ (447:6.2)
               คือ ต้น ฝ้าย เขา เอา มา แต่ เมือง เทษ, เอา มา ปลูก ขึ้น เอา ผล ทำ ด้าย ธอ ผ้า นั้น.
      ฝ่าย ไท (447:6.3)
               คือ ฝ้าย มี ต้น เกิด อยู่ ที่ เมือง ไท นี้, เอา พันธุพืชน์ มัน ปลูก, เอา ผล ทำ ผ้า นุ่ง ห่ม นั้น.
ฝอย (447:7)
         คือ สิ่ง ที่ เปน เส้น เล็ก ๆ, คน ทำ ขนม อย่าง หนึ่ง เอา แป้ง ทำ เปน เส้น เล็ก ๆ ใส่ เข้า ที่ ขนม นั้น.
      ฝอย ทอง (447:7.1)
               คือ ทอง ที่ เปน เส้น เล็ก ๆ. อย่าง หนึ่ง ทำ ดอกไม้ จุด ไฟ มัน พลุ่ง เปน ประกาย ออก เปน ฝอย ไฟ นั้น, เรียก ฝอย ทอง.
      ฝอย ฝน (447:7.2)
               คือ เม็ด ฝน หนิด ๆ ตก ลง เปน ฝอย ลออง ปลิว ไป นั้น.
เฝือ (447:8)
         คือ ของ มาก ฟูม ฟาย, เหมือน คน ไป เรือ ใน ลำ บึง ฤๅ หนอง มี จอก แหน มาก, เรือ ฝ่า ไป ไม่ ใคร่ ได้ นั้น, ว่า เฝือ อยู่ ด้วย จอก.
      เฝือ ฝืด (447:8.1)
               คือ เฝือ ติด, เหมือน เข็น เรือ บน บก ไป ไม่ คล่อง นั้น.
ฝ่อ (447:9)
         คือ เหี่ยว ยูบ ลง, คน เปน โรค ฝี เมื่อ แรก มัน ขึ้น บวม เต่ง อยู่, ครั้น พอก ยา เข้า มัน ยุบ ลง นั้น.
      ฝ่อ แฝ่ (447:9.1)
               คือ เหี่ยว แฟบ เข้า, เหมือน ลูกไม้ ที่ มัน เหี่ยว แฟบ เข้า นั้น.
      ฝ่อ แฟบ (447:9.2)
               คือ เหี่ยว ลีบ เล็ก เข้า นั้น.
      ฝ่อ ลง (447:9.3)
               คือ เหี่ยว ยุบ เข้า เล็ก เข้า นั้น.
      ฝ่อ ยุบ (447:9.4)
               คือ เหี่ยว ยุบ ลง ไม่ คง อยู่ กับ ที่ นั้น.

--- Page 448 ---
(448:1)
         
พา (448:2)
         คือ เอา ฤๅ นำ, คน ยัง ไม่ เคย มา, มี ผู้ เอา มา ฤๅ นำ มา เขา ว่า เอา มา ฤๅ นำ มา นั้น.
      พาชี (448:2.1)
               ฯ เปน สับท์ แปล ว่า ม้า, ๆ เปน ชื่อ* สัตว สี่ ท้าว, ตัว มัน เท่า โค หาง มี ขน ยาว วิ่ง เร็ว นัก.
      พาที (448:2.2)
               ฯ เปน สับท์ แปล ว่า กล่าว ถ้อย คำ, คน พูด จา ว่า กล่าว ถ้อย คำ นั้น.
      พาธา (448:2.3)
               ฯ เปน สับท์, แปล ว่า เบียตเบียฬ. คน ฤๅ สัตว กระ- ทำ ร้าย แก่ กัน มี ตี แล ขบ กัต เปน ต้น.
      พานร (448:2.4)
               ฯ เปน สับท์ แผลง, แปล ว่า ลิง. เปน ชื่อ* สัตว สี่ ท้าว, ขึ้น ต้น ไม้ เรว กว่า สัตว ทั้ง ปวง นั้น.
      พานเรศ (448:2.5)
               ฯ เปน สับท์ แปล ว่า ลิง เปน นาย ฝูง ลิง.
      พานรินท์ (448:2.6)
               ฯ เปน สับท์ แปล ว่า ลิง เปน ใหญ่ กว่า ลิง ทั้ง ปวง, มี ลิง ทโมน เปน ต้น นั้น.
      พานิช (448:2.7)
               ฯ แปล ว่า พ่อ ค้า, เหมือน อย่าง พวก เจ้า ตะเภา แล นาย กำปั่น. แล ขาย ของ ต่าง ๆ นั้น.
      พารา (448:2.8)
               ฯ เปน ชื่อ เมือง, คน แต่ง หนังสือ, เอา คำ พารา นี้ ใช้ เปน ชื่อ* เมือง เพราะ เมือง พารานะศรี เปน ต้น.
      พารานะศรี (448:2.9)
               ฯ เปน ชื่อ เมือง ใหญ่, ว่า มี อยู่ ฝ่าย ทิศ ตวัน ตก ว่า เปน ท่ำ กลาง แผ่น ดิน* นั้น.
      พาลา (448:2.10)
               ฯ แปล ว่า คน โอยกเอยก, คือ คน โกง, คน เกเร, ฤๅ คน ที่ มี ปัญญา อ่อน ไม่ รู้ จัก คุณ แล โทษ.
      พาลี (448:2.11)
               เปน ชื่อ พระยา ลิง ใน เรื่อง รามเกียรติ์, คน หนึ่ง กาย เปน ลิง มี ฤทธิ์ มาก นัก.
      พาโล (448:2.12)
               ฯ เปน สับท์, แปล ว่า คน โอยกเอยก. ทำ การ ที่ ชั่ว* ประพฤษดิ ชั่ว, ว่า เปน คน พาล นั้น.
      พาละ (448:2.13)
               ฯ เปน แต่ เขา พูด ถึง หนุ่ม นัก. ว่า ใจ เขา ยัง เปน พาละ อยู่.
      พาละ มนุษย์ (448:2.14)
               ฯ แปล ว่า มนุษย์ เปน คน โอยกเอยก ไม่ อยู่ ใน ถ้อย คำ ผู้ ใด นั้น.
      พาษี (448:2.15)
               คือ พะลี, แปล ว่า เครื่อง บูชา, เขา ใช้ เปน ภาษี, คือ ของ เฃา เกบ เปน ของ สำรับ จับ จ่าย ใน การ แผ่นดิน*.
      พาษี เกลือ (448:2.16)
               คือ เงิน ค่า ซื้อ ขาย เกลือ, ราษฎร ค้า เกลือ ก็ ต้อง เก็บ เงิน ของ หลวง เปน พาษี.
      พาษี จาก (448:2.17)
               คือ เงิน ค่า ขาย จาก. เขา เก็บ เอา เปน ของ หลวง สิบ ชัก สอง นั้น.
      พาษี น้ำ ตาล (448:2.18)
               คือ เงิน ค่า ขาย น้ำ ตาล ทราย, เขา เก็บ เอา เปน ของ หลวง หาบ ละ หก บาท.
      พาษี ฟืน (448:2.19)
               คือ เงิน ค่า ขาย ฟืน, เขา เก็บ เอา เปน ของ หลวง สิบ ดุ้น*, เขา เอา ดุ้น หนึ่ง นั้น.
      พาหา (448:2.20)
               ฯ เปน สับท์ แปล ว่า แขน ทั้งสอง นั้น.
      พาหุ (448:2.21)
               ฯ เปน สับท์ แปล ว่า แขน ทั้ง สอง นั้น.
      พาหุ รัด (448:2.22)
               ฯ คือ เครื่อง ประดับ สำรับ รัต ที่ ต้น แขน นั้น, คำ* ไพร่ ว่า ทอง ต้น แขน.
      พาหะนะ (448:2.23)
               ฯ แปล ว่า เปน ผู้ นำ ไป, ฤๅ ภา ไป, เหมือน อย่าง พวก ราชยาน ฤๅ พวก ฝีภาย นั้น.
      พาเหียร (448:2.24)
               ฯ แปล ว่า ฝาย นอก, เหมือน อย่าง คำ ที่ เปน ภาย นอก สาสนา นั้น.
พ่า (448:3)
         คือ ของ ธอ ด้วย* ด้าย ฤๅ ไหม สำหรับ นุ่งห่ม นั้น.
      พิการ (448:3.1)
               คือ คน ที่ มี อาการ วิบัติ ต่าง ๆ, เหมือน อย่าง คน ขา หัก ฤๅ แขน หัก นั้น.
พิกล (448:4)
         ฯ แปล ว่า เปน ต่าง ๆ, คน ที่ เกิด มา มี หู ตา ไม่ อยู่ ที่ เปน ปรกตี นั้น.
พิกัด (448:5)
         กำหนต ขาด, เหมือน คำ กตหมาย บังคับ เจ้า ตลาด ว่า ราษฎร ผู้ ใด ไม่ ยอม ให้ เบิก, ไม่ ให้ เงิน ค่า ธรรมเนียม ให้ เจ้า ตลาด เก็บ เอา นั้น.
พิกุล (448:6)
         คือ ดอก ไม้ อย่าง หนึ่ง, มี รศ หอม จน แห้ง, วิเสศ กว่า ดอก ไม้ อื่น ๆ ทั้ง ปวง นั้น.
พิจิตร (448:7)
         คือ เปน ชื่อ หัว เมือง แห่ง หนึ่ง. อีก อย่าง หนึ่ง, คือ สิ่ง ของ ที่ กระทำ วิเสศ นั้น.
พิฆาฏ (448:8)
         ฯ เปน สับท์ แปล ว่า ฆ่า, เหมือน คน ทำ ผิต เปน มะ หันต์ โทษ ๆ ถึง ตาย ท่าน ฆ่า เสีย นั้น.
พินาศ (448:9)
         ฯ แปล ว่า ฉิบหาย, คน มี ทรัพย์ ถึง ความ อันตราย ด้วย* ไฟ นั้น.
พิมล (448:10)
         ฯ คือ ปราษจาก มลทิน, เหมือน อย่าง ของ บริสุทธิ์ หมตจด ไม่ เปื้อน นั้น.
พิทักษ์ รักษา (448:11)
         ว่า ดู แล รักษา เอา ใจ ใส่ นั้น.

--- Page 449 ---
พิไนย (449:1)
         คือ เงิน ที่ ปรับ ไหม เอา แก่ ผู้ แพ้ ความ นั้น เปน พิไนย หลวง.
      พิไนยกัน (449:1.1)
               คือ หนังสือ สัญญา ที่ ผู้ จะ ใกล้ ตาย นั้น, เชิญ ตระลาการ มา นั่ง เปน พยาน แล้ว ทำ หนังสือ ไว้, เพื่อ จะ ไม่ ให้ ชิง มรฎก กัน นั้น.
      พิไนย หลวง (449:1.2)
               คือ เงิน พิไนย เปน ของ หลวง นั้น.
พินาศ (449:2)
         คือ ความ ฉิบหาย ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน วินาศ ฉิบหาย ด้วย ราช ไภย นั้น.
พินิจ (449:3)
         ฯ ว่า นึก ตรึก ตรอง ดู, คน มี เหตุ การ บังเกิด ขึ้น, แล้ว นึก รำพึง ดู ถึง เหตุ การ นั้น.
      พินิจ (449:3.1)
               พิเคราะห์, คือ ความ พิจารณา ตัดสีน โดย ละเอียด นั้น.
พินอบ พิเทา (449:4)
         คือ การ คำรพ นบนอบ นั้น, เหมือน อย่าง ข้า กับ เจ้า บ่าว กับ นาย นั้น.
พิเนศกรม (449:5)
         ฯ คือ การ ออก ยิ่ง นั้น, เหมือน อย่าง พระเจ้า ออก บวช นั้น.
พิบัติ (449:6)
         ฯ คือ การ วิบัติ แปรปรวน ไป ต่าง ๆ นั้น, เหมือน อย่าง มั่งมี แล กลับ จน ไป นั้น.
พิบูรณ์* (449:7)
         ฯ คือ เปน ชื่อ ตำแหน่ง ขุนนาง คน หนึ่ง, เหมือน อย่าง พระยา ไพยบูรรณ* สมบัติ นั้น.
พิเพก (449:8)
         คือ เปน ชื่อ ยักษ์ ตน หนึ่ง, มี อยู่ ใน เรื่อง รามเกียรติ์ อนึ่ง เปน ชื่อ ไม้ อย่าง หนึ่ง, เรียก ว่า สมอ พิเพก นั้น.
พิภัก พิภ่วน (449:9)
         คือ การ ที่ คน เปน ห่วง หน้า ระวัง หลัง นั้น.
พิภากษา (449:10)
         ฯ คือ ว่า กล่าว ตัดสีน ถ้อย* ความ ชี้ ขาด ซึ่ง ความ ชอบ แล ผิด ของ คน สอง ฝ่าย นั้น.
พิภัทธ์ มงคล (449:11)
         ฯ คือ ความ เจริญ สวัศดิ นั้น, เหมือน อย่าง คน ทำ มา ค้า เกิด นั้น.
พิภพ (449:12)
         ฯ คือ ที่ เปน ที่ อยู่ แห่ง สัตว, มี เทวดา แล มนุษย์ เปน ต้น. เรียก ว่า พิภพ เพราะ บังเกิด ขึ้น นั้น.
พิมุข มนตรี (449:13)
         ฯ คือ เปน ที่ ตำแหน่ง เสนา บดี วัง หน้า, เหมือน เจ้าพระยา พิมุข มนตรี นั้น.
พิมาน (449:14)
         ฯ คือ เปน ที่ อยู่ แห่ง เทวดา นั้น.
พิมล ธรรม (449:15)
         ฯ คือ เปน ชื่อ พระ ราชา คณะ องค์ หนึ่ง นั้น.
พิโยค (449:16)
         คือ ประกอบ ยักย้าย เปน ไป ต่าง ๆ นั้น, เหมือน อย่าง คน พรัด พราก จาก กัน ไป นั้น.
พิไรย (449:17)
         คือ ตบอย* ว่า, คน มี ความ เคือง ใจ ไม่ หาย, แล บ่น ร่ำ ว่า แก่ ผู้ ทำผิด ทำ ให้ เคือง ใจ นั้น.
พิรากล (449:18)
         ฯ คือ มารยา, คน ทำ อุบาย ต่าง ๆ เพื่อ จะ ฬ่อ ลวง ให้ คน ทั้ง ปวง ลุ่ม หลง เสีย ท่วง ที นั้น.
พิรุทธ์ (449:19)
         คือ ความ ผิด, คน เปน โจร ลัก ของ เขา ๆ ถาม ไม่ รับ ปัตติเสธ ว่า ไม่ ได้ เอา, แต่ ได้ เข้า ไป ที่ ของ นั้น.
พิโรทธ์ (449:20)
         คือ ความ โกรธ, คน เหน คน อื่น ทำ ข่มเหง ฤๅ ทำ ให้ ของ เสีย เปน ต้น, แล โกรธ ขึ้น นั้น.
พิรุน (449:21)
         คือ น้ำ ค้าง นั้น, เหมือน อย่าง น้ำ ค้าง ที่ ตก เมื่อ ระดู หนาว นั้น.
พิราบป่า (449:22)
         คือ เปน ชื่อ อสุร ยักษ์ ตน หนึ่ง, มี อยู่ ใน เรื่อง ราม เกียรติ์ นั้น.
พิปราย (449:23)
         คือ ความ ที่ พูด เปรียบปราย เกลี่ยไกล่ นั้น.
พิเคราะห์ (449:24)
         คือ พิจารณา ดู, เหมือน การ อัน ใด บังเกิด ขึ้น ยัง ไม่ รู้ ว่า จะ เปน ประการ ใด, แล คิด ดู นั้น,
พิลาไลย (449:25)
         ฯ คำ ตลาด ว่า, ทำ ลาย ขันธ์ ไป ปะระโลก นั้น, เหมือน อย่าง คน ตาย ไป แล้ว นั้น.
พิฦก (449:26)
         คือ ความ ที่ น่า กลัว นั้น, เหมือน อย่าง ไฟ ไหม้ เมือง นั้น.
พิลาป (449:27)
          ฯ เปน สับท์ แผลง, แปล ว่า ร้อง ให้ ร่ำไร รำพัน ถึง คน ตาย, ฤๅ พรัดพราก จาก ไป นั้น.
พิเศศ (449:28)
         คือ ความ ที่ แปลก ๆ, ที่ เหลือ ออก ไป ต่าง ๆ, ที่ เปน ฃอง วิเศศ, เหมือน อย่าง วิญญาณ นั้น.
พิศาฬ (449:29)
         คือ ความ ที่ กว้าง ฃวาง นั้น. เหมือน อย่าง พระ ที่ นั่ง ไพศาฬ ทักษิณ นั้น.
พิไสย (449:30)
         คือ ฃอง ที่ นอน ดอง อยู่ ใน สันดาร นั้น, เหมือน อย่าง คำ เขา พูด ว่า วิไสย เรา ไม่ ชอบ นั้น.
พิสูต (449:31)
         คือ ทดลอง ดู, คน เปน ความ กัน ฟ้อง ว่า คน หนึ่ง ตี เพลาค่ำ ไม่ มี พยาณ ผู้ ตี ไม่ รับ, ขัน ต่อ พิสูต ดำ น้ำ ด้วย กัน ใคร พุด ขึ้น ก่อน เปน แพ้ เขา.
พิหาร (449:32)
         ฯ แปล ว่า ที่ เปน ที่ อยู่, เหมือน ที่ พระ อยู่ เรียก วิหาร จึ่ง ควร ที่ อื่น เรียก วิหาร ไม่ สมควร จะ เปน เสมอ กับ ที่ พระ นั้น.

--- Page 450 ---
พิพิทธ์ โพไคย (450:1)
         คือ เปน เจ้าฃอง โภคสมบัติ มี ประการณ ต่าง ๆ นั้น, เหมือน อย่าง พระยา พิพิทธ์ โภไคย นั้น.
พิภาศ ป่า (450:2)
         คือ เที่ยว ประภาศ ป่า, เหมือน อย่าง พระ มหา กระ- สัตริย์, เที่ยว เล่น ชม ป่า นั้น.
พี (450:3)
         คือ อ้วน, คน ฤๅ สัตว มี ตัว บริบูรณ ด้วย เนื้อ หนัง นั้น.
พี่ (450:4)
         คือ คน ที่ เกิด แต่ ท้อง มารดา เดียว กัน, แต่ คน นั้น เกิด ก่อน, เขา จึ่ง เรียก ว่า พี่ นั้น.
      พี่ เขย (450:4.1)
               คือ ชาย เปน ผัว ของ พี่ หญิง, เขา เรียก ว่า พี่ เขย.
      พี่ ชาย (450:4.2)
               คือ คน เกิด แต่ มารดา เดียว กัน, แต่ ชาย นั้น เกิด ก่อน จึ่ง เรียก ว่า พี่ ชาย นั้น.
      พี่ หญิง (450:4.3)
               คือ คน หญิง ที่ เกิด ร่วม ท้อง มารดา เดียว กัน, แต่ หญิง นั้น เกิด ก่อน จึ่ง เรียก ว่า พี่ สาว นั้น.
      พี่ ตัว (450:4.4)
               คือ พี่ เกิด ร่วม ท้อง มารดา เดียว กัน, จึ่ง เรียก ว่า พี่ ตัว นั้น.
      พี่ นาง เธอ (450:4.5)
               เปน คำ สูง สำหรับเจ้า, เรียก เจ้า หญิง ที่ เปน พี่ ใน หลวง นั้น.
      พี่ น้อง (450:4.6)
               คือ คน ที่ เกิด ก่อน เช่น ว่า นั้น, แต่ น้อง นั้น คือ คน เกิด มา ผ่ายหลัง, เรียก ว่า น้อง นั้น.
      พี่ผัว (450:4.7)
               คือ คน เปน พี่ ฃอง ผัว, หญิง นั้น ต้อง เรียก คน ผู้ พี่ แห่ง ผัว นั้น, ว่า พี่ ผัว.
      พี่ เมีย (450:4.8)
               คือ คน เปน พี่ ของ ภรรยา, เขา เรียก ว่า พี่ เมีย.
      พี่ยา (450:4.9)
               คำ เรียก พี่, ใส่ ยา เข้า นั้น, เปน คำ สูง สำหรับ กระ- ษัตริย์, เรียก พี่ ชาย ว่า พระ พี่ ยา นั้น.
      พี่ เลี้ยง (450:4.10)
               คือ คน เปน ผู้ เลี้ยง, ชาย ฤๅ หญิง ที่ เปน ผู้ เลี้ยง มิ ใช่ พี่ เกิด มารดา เดียว กัน นั้น ว่า พี่ เลี้ยง.
      พี่ สะใภ้ (450:4.11)
               คือ หญิง ที่ เปน เมีย ของ พี่* ชาย นั้น เรียก ว่า พี่ สะ ใภ้ นั้น.
      พี่สาว (450:4.12)
               คือ พี่ หญีง, เพราะ หญิง เกิด ก่อน จึ่ง เรียก ว่า พี่ สาว นั้น.
พุ (450:5)
         คือ ช่อง ที่ น้ำ พุ* ขึ้น มา, น้ำ ที่ ดัน มา ใต้ ดิน, มา ทลุ ขึ้น ที่ ไหน เขา ว่า ที่ นั้น เปน พุ ขึ้น แห่ง หนึ่ง.
      พุ กร่าง (450:5.1)
               คือ ที่ พุ เช่น ว่า นั้น, แต่ ที่ ต้น ไม้ กร่าง เปน สำคัญ, เขา เรียก ที่ พุ นั้น, ว่า พุ กร่าง.
      พุ แค (450:5.2)
               เปน ชื่อ พุ เช่น ว่า นั้น, แต่ ที่ นั้น มี ต้น แค จึ่ง เรียก ว่า พุแค.
      พุ เปื่อย (450:5.3)
               คือ สิ่ง ที่ พุเปื่อย ออก มา นั้น.
      พุพะ (450:5.4)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ มัน พุพะ ทลุ ขึ้น มา นั้น.
      พุ พัง (450:5.5)
               คือ สิ่ง ทั้ง ปวง ที่ พุพัง ออก มา นั้น
      พุ พอง (450:5.6)
               คือ โรค เกิด ที่ ตัว คน, ให้ เปน เม็ด ขึ้น มา ที่ แฃน ที่ ขา เปน ต้น, เกิด น้ำ หนอง ใน เม็ด นั้น.
      พุ นก ยุง (450:5.7)
               เปน ชื่อ พุ เช่น ว่า แล้ว, แต่ ที่ นั่น มี นก ยูง อาไศรย อยู่ มาก, เขา จึ่ง เรียก พุ นั้น ว่า พุ นกยุง.
      พุไหล (450:5.8)
               คือ ของ ที่ พุ ไหล ออก มา นั้น, เหมือน อย่าง น้ำ พุ ที่ ภู เขา นั้น.
พู (450:6)
         คือ กลีบ ใหญ่, เหมือน ลูก ทู่เรียน ที่ เปน กลีบ ๆ มี ยวง อยู่ ข้าง ใน นั้น เขา เรียก ว่า พู.
พู่ (450:7)
         คือ ของ เขา ทำ ติด ไว้ ที่ มุม ผ้า ห่ม นอน เปน ต้น, ทำ ด้วย ด้าย บ้าง ด้วย ไหม บ้าง เปน สังเกต ข้าง ศีศะ นั้น. อย่าง หนึ่ง ทำ ด้วย ขน หาง ม้า ห้อย ไว้ ที่ หัว เรือ โขน นั้น.
      พู่กัน (450:7.1)
               เปน ของ เฃา ทำ เปน พู่ ใส่ ไม้ ด้ำ สำหรับ เขียน รูป ภาพ, จีน ทำ สำหรับ เขียน หนังสือ* เรียก ว่า พู่ กัน.
      พู่ กลิ่น (450:7.2)
               คือ ของ เขา ทำ ด้วย ดอก ไม้ ร้อย เปน พวง ห้อย แขวน ไว้ บูชา พระ เมื่อ ทำ การ มงคล เปน ต้น นั้น.
      พู่ ห้อย (450:7.3)
               คือ พู่ เช่น ว่า นั้น, เขา แขวน ที่ หู ช้าง แล หู ม้า นั้น.
เพกา (450:8)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ต้น สูง ชะลูด ขึ้น ไป ไม่ มี กิ่ง, มี ดอก ออก เปน ฝัก ยาว กว่า สอก แบน ๆ คน กิน ได้.
      เพดาน (450:8.1)
               คือ ของ คน ทำ ไว้ ที่ บน สูง มี ที่ เรือน เปน ต้น, ที่ บน หลัง ขื่อ นั้น เขา ทำ ด้วย ไม้ ฤๅ ด้วย แผง บ้าง.
      เพโทบาย (450:8.2)
               คือ ทำ อุบาย มารยา, ไม่ เจ็บ แกล้ง ทำ แสดง อา การ เหมือน เจ็บ ไม่ ตาย เหมือน ตาย.
      เพลา (450:8.3)
               คือ กาละ, กาล เช้า, ว่า เพลา เช้า, กาละ เที่ยง, ว่า เพ ลา เที่ยง นั้น.
      เพสัช (450:8.4)
               ฯ เปน สับท์ แปล ว่า ยา, สิ่ง สรรพ ที่ เปน ยา ทั้ง ปวง โดย ที่สุด ว่า หมาก พลู เรียก ยา.
แพ (450:9)
         คือ ไม้ ที่ ควบ เข้า หลาย ลำ หลาย ต้น มัด เอา ไว้ ใน น้ำ เขา เรียก แพ.

--- Page 451 ---
      แพ ขอน สัก (451:9.1)
               คือ ไม้ ซุง สัก เขา ผูก เข้า หลาย ต้น ติด ๆ กัน นั้น, ว่า แพ ซุง.
      แพ ไม้ (451:9.2)
               คือ ไม้ ทุก สิ่ง เขา มัด ผูก เข้า มาก เอา ล่อง น้ำ มา นั้น
      แพ เสา (451:9.3)
               คือ ไม้ เขา ตัด ได้ มาก มัด ล่อง มา ใน น้ำ, เปน เสา เรือน เปน ต้น นั้น.
แพ้ (451:1)
         ปราไชย, คือ ต่อ สู้* ไม่ ได้ แล้ว หนี ไป, คน สอง คน ฤๅ สอง ฝ่าย สู้ รบ กัน ข้าง ผู้ กำลัง น้อย ถอย หนี ว่า แพ้ นั้น.
      แพ้ รู้ เสีย รู้ (451:1.1)
               คือ รู้ ไม่ เท่า ไม่ ทัน เขา, ว่า ข้าง หนึ่ง ทำ อุ บาย ฬ่อ ลวง ได้, ข้าง หนึ่ง รู้ ไม่ เท่า ทัน, ว่า แพ้ รู้.
      แพ้ แรง (451:1.2)
               เสีย แรง, คือ กำลัง น้อย ถอย ไป, เหมือน คน ทำ การ หนัก เต็ม ที่ มี กำลัง สิ้น หิว อ่อน ไป, ว่า แพ้ แรง.
      แพ้ เปรียบ (451:1.3)
               เสียเปรียบ, คน เอา คน สอง คน ให้ สู้ รบ กัน, เอา เปรียบ กัน ดู, ฝ่าย ข้าง ผู้ เล็ก กว่า เตี้ย กว่า ว่า แพ้เปรียบ.
      ไพยทุริย์ (451:1.4)
               เปน ชื่อ แก้ว อย่าง หนึ่ง, ว่า ศรี เหมือน ใบ ไผ่, แล ใบ เข้า กล้า นั้น.
ไพบูรณ (451:2)
         อะธิบาย ว่า เต็ม กว้าง ขวาง
      ไพยรำ (451:2.1)
               คือ ของ แหลก เปน เม็ด เล็ก ๆ, เหมือน การบูน เปน ต้น นั้น.
      ไพโรจ (451:2.2)
               ว่า รุ่งเรือง.
      ไพเราะห์ (451:2.3)
               ว่า สเนาะห์ ว่า เพราะ, เหมือน อย่าง เครื่อง มะโหรี ฤๅ หีบ เพลง นั้น.
      ไพยสาลี (451:2.4)
               ฯ เปน ชื่อ* เมือง ใหญ่ เมือง หนึ่ง, มี ใน บาฬี เรียก เมือง เวสาฬี นั้น.
      ไพยสาฬ (451:2.5)
               ฯ แปลว่า กว้าง ขวาง ใหญ่, ของ ที่ กว้าง ขวาง ใหญ่ เหมือน มหา สมุท นั้น.
ไพ่ (451:3)
         เปน กดาด ที่ จีน ทำ เปน ใบ รี ๆ ตี พิมพ์ ด้วย น้ำ หมึก, เปน ลาย ต่าง ๆ ตัด ออก เปน ใบ เล่น กัน.
      ไพ่ จีน (451:3.1)
               เปน กดาด จีน ทำ เปน ใบ รี ๆ ตี พิมพ์ ด้วย น้ำ หมึก ดำ เปน ลาย ๆ ตัด ออก เปน ใบ เล่น กัน.
      ไพ่ ไท (451:3.2)
               เปน งาช้าง* เขา ทำ เปน อัน ๆ ยาว สัก สอง นิ้ว เสศ, กว้าง สัก นิ้ว หนึ่ง, เจาะ เปน รู ๆ แต้ม ดำ บ้าง แดง บ้าง, แล้ว เล่น กัน เอา เงิน.
โพ (451:4)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ ใหญ่ อย่าง หนึ่ง, ใบ มน ๆ ยาว สัก หก นิ้ว กว้าง สัก สี่ นิ้ว, มี ปลาย เปน หาง แหลม
โพคา (451:5)
         ฯ แปล ว่า สมบัติ สำรับ ใช้ สรอย ต่าง ๆ, เปน ต้น ว่า ผ้า นุ่ง ห่ม ก็ เรียก ว่า โพคา.
โพชะนา (451:6)
         ฯ แปล ว่า ของ กิน, แต่ จำเภาะ เอา เข้า, บันดา เข้า ทั้ง สิ้น เรียก ว่า โพชนา นั้น.
โพทาราม (451:7)
         เปน ชื่อ วัต อย่าง หนึ่ง, อธิบาย ว่า เปน อาราม เปน ที่ เล่า เรียน ให้ รู้ ธรรม ของ พระเจ้า นั้น.
โพไทยธิบาทว์ (451:8)
         เปน ชื่อ ตำ รา สำรับ ดู อุบาทว์, เหมือน อย่าง อุกาบาทว์ ตก ลง มา จาก ท้องฟ้า, ฤๅ ผึ้ง แล ต่อ จับ บ้าน เรือน เปน ต้น.
โพธิ (451:9)
         คือ ต้น โพ, เปน ไม้ ที่ พระ ใด้ นั่ง ตรัสรู้ นั้น.
      โพธิญาณ (451:9.1)
               ฯ แปล ว่า ปัญญา อัน รู้ ทุก สิ่ง, มี พระธรรม เปน ต้น นั้น.
      โพธิ ปัก ขิยะธรรม (451:9.2)
               คือ ธรรม เปน ฝ่าย จะ ให้ ตรัสรู้ ธรรม วิเสศ นั้น, คือ สติปฐาน ๔ สัมมัปะธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อัดฐังคิกะมรรค ๘.
      โพธิสัต (451:9.3)
               ฯ แปล ว่า ค่อง อยู่ ใน ที่ จะ ตรัส*รู้ ธรรม อัน วิเสศ กว่า ธรรม ทั้ง ปวง อื่น นั้น.
โพบาย (451:10)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, คล้าย กับ ต้น มหาโพธิ ที่ เปน ที่ พระเจ้า ได้ ตรัสรู้ นั้น.
โพระโดก (451:11)
         คือ ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง เสียง เพราะ, มัน ย่อม อาไศรย อยู่ ใน ดง.
โพระไน (451:12)
         คือ โรค อย่าง หนึ่ง, มัน ผุด ขึ้น เปน วง ๆ แล้ว เปน ลาม ไป ตาม ผิวหนัง, เหมือน อย่าง ขี้กลาก นั้น.
โพ เรียง (451:13)
         คือ ชื่อ พวก ใน กรม ฝีพาย นั้น, เพราะ พวก ฝีพาย บ้าน ใหม่ โพ เรียง นั้น.
โพสภ (451:14)
         เปน ชื่อ เข้า ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน อย่าง คำ ตลาด เขา พูด กัน ว่า, เรา ได้ อาไศรย แม่ โพสภ เลี้ยง ชีวิตร นั้น.
พำนักนิ์ (451:15)
         ว่า เปน ที่ สำนักนิ์ อาไศรย. อย่าง หนึ่ง ว่า เปน ที่ พึ่ง.
พำ พึม (451:16)
         เปน เสียง ทุ้ม ไม่ ดัง แจ้ว เปน กระแสง นั้น, เหมือน คน แก่ มัก บ่น เสียง พึม พำ นั้น.
พะ (451:17)
         คือ เพิง, คน ปลูก เรือน ขึ้น, แล้ว ปลูก เพิง ต่อ ออก ไป ข้าง ด้าน สกัด, เปน เพิง เรียก พะ บ้าง.
พะกา (451:18)
         ฯ แปล ว่า กลีบ, ของ ที่ เปน อันเล็ก, อยู่ ที่ ดอกไม้ นั้น เรียก ว่า กลีบ

--- Page 452 ---
พะงา (452:1)
         ว่า นาง งาม, บันดา นารี ที่ รุ่น สาว รูป สรวย งาม นั้น, เรียก ว่า พะงา งาม ตาม* โบราณ.
พะจง (452:2)
         คือ บันจง, ว่า แกล้ง เขียน ให้ ดี ให้ งาม นั้น.
พะดุง (452:3)
         ว่า บำรุง นั้น, เหมือน อย่าง ช่วย ทำนุก บำรุง การ งาน ทั้ง ปวง เปน ต้น นั้น.
พะเดียง (452:4)
         คือ ความ ที่ ไป พูด นิมนต์ พระสงฆ ว่า ให้ ไป สวด เปน ต้น.
พณหัวเจ้าท่าน (452:5)
         เปน คำ เรียก ขุนนาง ใหญ่, มี เจ้า พระยา กะ ลาโหม เปน ต้น.
พะนา ดอน (452:6)
         คือ แนว ป่า ดอน นั้น เหมือน ป่า ดอน ตาม ภูเขา ฝ่าย เหนือ นั้น.
      พะนาลี (452:6.1)
               ฯ คือ ป่า ไม้ เปน ที่ อยู่ แห่ง สัตว ใหญ่ น้อย นั้น.
      พะนาไลย (452:6.2)
               ฯ คือ ป่า ไม้ ใหญ่ สูง เปน ที่ อยู่ แห่ง สัตว ดิรัจฉาน, มี เสือ แล ช้าง เปน ต้น นั้น.
      พะนาวัน (452:6.3)
               ฯ แปล ว่า ป่า น้อย แล ป่า ใหญ่ นั้น, มี ป่า* ระหง ฤๅ ป่า แดง เปน ต้น นั้น.
      พะนาวาศ (452:6.4)
               ฯ ว่า ป่า เปน ที่ อยู่, เหมือน ชาว ป่า นั้น.
      พะนาเวศร์ (452:6.5)
               ฯ ว่า ป่า เปน อิศร ใหญ่.
      พะนาสัณฑ์ (452:6.6)
               ฯ คือ แดนดง พง ป่า, ๆ ที่ เปน แถวแนว ราว เนื่อง ติด กัน ยืด ยาว ไป นั้น.
พะนิดา (452:7)
         ฯ แปล ว่า นาง, ๆ นั้น หญิง สาว หนุ่ม, อายุ ยัง ไม่ แก่ นั้น.
พะนัก (452:8)
         คือ ที่ สำรับ พิง นั้น, เขา ทำ ด้วย กระดาน บ้าง ด้วย ไม้ กลม ยาว บ้าง, สำรับ พิง นั้น.
      พนักงาน (452:8.1)
               คือ คน สำรับ ทำ ประจำ การ ต่าง ๆ ใน ราชการ เปน ต้น, ว่า เปน ผู้ เฝ้า ประตู นั้น.
พะแนก (452:9)
         คือ แยก ออก ต่าง ๆ กัน, เหมือน ลูกขุน ผู้ ชำระ ความ ลง มา นั่ง กี่ คน ใน เวลา นั้น เขา จด ชื่อ ลง ใน บาญชี ว่า ชื่อ* อยู่ ใน บาน แพนก นั้น.
พะหนัง (452:10)
         คือ ฝา ที่ เขา ก่อ ด้วย อิฐ ถือ ปูน, มี ฝา โบถ ฤๅ ตำหนัก เจ้า เปน ต้น, เรียก ฝาผนัง นั้น.
พะแนง (452:11)
         เปน ชื่อ แกง อย่าง หนึ่ง, เปน ของ แขก เทษ, มี แกง ไก่ พะแนง เปน ต้น.
พะเนียง (452:12)
         คือ ม่อ นางเลิ้ง, โต เท่า ตุ่ม ใบ ละ เฟื้อง, แต่ รูป เปน ม่อ คะนน, สำรับ ใส่ น้ำ.
พะหนวช (452:13)
         เปน คำ สูง ศักดิ์ ว่า ถึง เจ้า บวช, เรียก* ว่า เจ้า ท่าน ทรง ผนวช* เปน พระ ฤๅ เปน สามเณร.
พะเนียด (452:14)
         คือ ที่ เขา ทำ คอก เล้า, ใหญ่ กว้าง เส้น เสศ ยาว สัก สามสิบวา, ปัก ล้อม ด้วย ไม้ ซุง รอบ สำรับ จับ ช้าง นั้น, อย่าง หนึ่ง ทำ คล้าย กรง ต่อ นก.
พะนัน (452:15)
         คือ การ เล่น เอา เงิน, เปน ต้น ว่า แข่ง เรือ, ของ ใคร ชะนะ ก็ ได้ เงิน, ถ้า แพ้ ก็ เสีย เงิน เขา.
พะเนิน (452:16)
         คือ ค้อน ใหญ่ ที่ เขา ตี เล็ก, เขา เรียก พะเนิน เพราะ มัน ใหญ่ กว่า ค้อน, ต้อง* ยก สอง มือ.
พะนม (452:17)
         ฯ แปล ว่า ป่า ๆ มี มาก นัก, เพราะ อาเทศ อักษร ทำ ตาม คำภีร์ มูล นั้น.
      พะนม ศพ (452:17.1)
               คือ การ ชัก ศพ แห่ ไป เผา นั้น.
พะนัศ (452:18)
         ฯ แปล ว่า ป่า ไม้ ใหญ่ ไกล บ้าน เมือง, เปน ที่ อยู่ แห่ง สัตว ต่าง ๆ.
      พะนัศะนิคม (452:18.1)
               ว่า เปน บ้าน ใหญ่ อยู่ ใน ป่า นั้น, เหมือน อย่าง เมือง พะนัศะนิคม นั้น.
พะ พิง (452:19)
         คือ อิง เอน อาไศรย อยู่ นั้น, เหมือน คน ได้ พึ่ง พา อา ใศรย กัน นั้น.
พะเพิง (452:20)
         คือ หลังคา ที่ ท้าย เรือน แล ข้าง น่า เรือน นั้น, เหมือน ร้าน ตลาด นั้น.
พะพาน (452:21)
         คือ แม่เบี้ย ที่ งู, มัน โกรธ มัน ทำ แผ่ แบน ออก ที่ หัว มัน. อนึ่ง คือ ภบ พาน กัน นั้น.
พะม่า (452:22)
         เปน ชื่อ คน อยู่ ใน เมือง อังวะ, คน เมือง นั้น เอา ผม ไว้ ยาว ทั้ง หัว เกล้า ไว้ เปน จอม สูง เปน ธรรมดา.
พะมร (452:23)
         เปน ชื่อ เครื่อง สำหรับ กลึง ของ ใช้ ต่าง ๆ มี ตลับ ขี่ ผึ้ง บ้าง ใส่ อย่า สูบ บ้าง นั้น.
พะยา (452:24)
         เปน ชื่อ ข้า ราชการ, ท่าน ตั้ง ให้ เปน ที่ พระยา ตาม ตำแหน่ง.
พะยากรณ์ (452:25)
         คือ ทำนาย, ความ ที่ คน กล่าว คำ ทาย เปน ต้น ว่า ผู้ นั้น จะ ใด้ เปน ใหญ่ นั้น.
พะยาบาท (452:26)
         ว่า ผูก เวรุ มุ่ง จะ กระทำ ร้าย นั้น, เหมือน คำ แช่ง ว่า ฃอ ให้ มัน ฉิบ*หาย ๆ เปน ต้น.

--- Page 453 ---
      พะยา บาท ฆาฏเวรุ (453:26.1)
               คือ ผูก ใจ มุ่งหมาย จะ ฆ่า เสีย นั้น, เหมือน อย่าง คำ ว่า ให้ มัน ตาย จาก กัน ไป.
พะยาบาล (453:1)
         คือ ประฏิบัติ คน ไข้, คน ผู้ บำรุง รักษา ประฏิบัติ คน ป่วย ไข้ นั้น, ว่า เปน ผู้ พยา บาล นั้น.
พะยาธิ (453:2)
         ฯ แปล ว่า เบียดเบียฬ, เหมือน โรค เกิด ขึ้น ใน กาย ให้ เจ็บ ปวด ทน ทุกข ลำบาก นั้น.
พยา มัจจุ ราช (453:3)
         ฯ แปล ว่า ความ ตาย, คือ คน สิ้น ชีวิตร์ ถึง อะ นิจกรรม ตาย นั้น.
พะยา มือเหล็ก (453:4)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, คือ ขม เหมือน ยา คีนิน, สำหรับ ใช้ ทำ ยา.
พะยา ยักษ (453:5)
         เปน ชื่อ ยักษ เปน พระยา ใหญ่, เปน นาย พวก ยักษ ทั้ง ปวง นั้น, พวก ยักษ เหล่า นี้ ว่า อยู่ ใน ป่า ใหญ่ แล ภูเขา ใหญ่ นั้น.
พยายม (453:6)
         ใน หนังสือ ว่า เปน ชื่อ นาย นะรก ขุม หนึ่ง, เปน ผู้ ไต่ ถาม แล บังคับ ให้ ทำ โทษ แก่ สัตว์ นะรก นั้น.
พะยายาม (453:7)
         คือ ความ เพียร อุษส่าห์ ไม่ ใคร่ อยุดอย่อน, คน ทำ การ ไม่ เกียจ คร้าน, ว่า พยายาม.
พะยา รักษ (453:8)
         เปน ชื่อ คน เปน ขุนนาง ใน ราชการ, เปน พะนัก งาน ว่า กล่าว จัด แจง ใน วัง หลวง เปน ที่ พระยา.
พะยาลอ (453:9)
         เปน ชื่อ ไก่ จำพวก หนึ่ง, เรียก ไก่ พะยาลอ, รูป มัน เหมือน ไก่ บ้าน แต่ ขน มัน เขียว มาก.
พะยุหะ (453:10)
         คือ กระ บวน จะ ยก พล ทหาร ไป รบ ศึก, เปน ต้น ว่า จัด พล ม้า พล ช้าง พล รถ พล เดิน ท้าว นั้น.
      พะยุหะ บาตรา (453:10.1)
               คือ การ ที่ ประชุม คน มาก จะ ยก กอง ทัพ ไป รบ ศึก เปน ต้น นั้น.
      พะยุหะ โยธา (453:10.2)
               ฯ คือ การ ที่ ประชุม พล โยธา ทหาร การ ศึก นั้น
      พะยุหะ ยาตรา (453:10.3)
               คือ ดำเนิน พล ให้ ออก เดิน เปน กระบวน ศึก สงคราม ตาม วิธี ทัพ นั้น.
พะยะโต (453:11)
         ฯ แปล ว่า ฉลาด, คน มี ปัญญา ตี อาจ คิด การ วิ เสศ ต่าง ๆ, ฤๅ คิด ข้อ ความ ที่ ฦก ล้ำ ได้ นั้น.
พะยะ สะนัง (453:12)
         ฯ แปล ว่า ความ ฉิบหาย, คือ สิ่ง ของ มี เรือน เปน ต้น, คือ ไฟ ไหม้ เสีย นั้น.
พะยัก (453:13)
         คือ อาการ ที่ ทำ ศรีศะ ให้ เงย ขึ้น นั้น.
      พะยัก หน้า (453:13.1)
               คือ ทำ ให้ หน้า เงย ขึ้น นั้น.
      พะยัก พะเยิด (453:13.2)
               คือ อาการ ที่ คน ทำ หัว แล หน้า ให้ เงย ขึ้น สอง หน สาม หน นั้น.
      พะยัก หัว (453:13.3)
               คือ อา การ ที่ ทำ หัว เงย ขึ้น นั้น.
พะยัคฆ* (453:14)
         ฯ แปล ว่า เสือ โคร่ง เปน เสือ ใหญ่ กัด คน แล วัว ควาย กิน ได้ ใหญ่ กว่า เสือ อย่าง อื่น.
      พะยัคฆา (453:14.1)
               ฯ แปล ว่า เสือ โคร่ง นั้น, เหมือน เสือโคร่ง ใน ดง เปน ต้น นั้น.
      พะยัคฆี (453:14.2)
               ฯ แปล ว่า เสือโคร่ง ตัวเมีย, อิถีลึงค์ ตาม บทะมาล นั้น.
พะยุง (453:15)
         คือ ประคอง คน ไข้ ให้ นั่ง ฤๅ ให้ ยืน ให้ ก้าว ไป นั้น
      พะยุง ขึ้น (453:15.1)
               คือ ประคอง ขึ้น, เขา เอา มือ ยึด เข้า ที่ ตัว คน มี กำลัง น้อย, แล้ว ทำ ดำรง ให้ ยืน ขึ้น เปน ต้น.
      พะยุง ยก (453:15.2)
               คือ ประคอง ยก* ขึ้น นั้น, เหมือน คน ไม่ มี แรง ล้ม ลง, แล้ว เขา ช่วย พะยุง ยก ตั้ง ขึ้น นั้น.
พะยนต์ (453:16)
         คือ รูป ภาพ พะยนต์ ที่ เขา ชัก เรียก หุ่น นั้น.
พะยาน (453:17)
         คือ คน เปน ผู้ รู้ เรื่อง ความ, เขา เปน ความ กัน อ้าง เอา ผู้ ใด, ว่า ผู้ นั้น เปน พะยาน.
พะยุน (453:18)
         เปน ชื่อ ปลา ใหญ่ ใน ทะเล น้ำ เคม อย่าง หนึ่ง นั้น, หัว มัน มี งวง มี งา มี อาการ คล้าย ๆ กับ ช้าง นั้น.
พะยับ (453:19)
         คือ แสง แดด อับ ไป เหมือน ฝน จะ ใกล้ ตก นั้น. อย่าง หนึ่ง คลุ้ม มัว ทั่ว อากาศ ไม่ มี แสง แดด นั้น.
      พะยับ พะโยม (453:19.1)
               คือ เวลา เมื่อ อากาศ, มัว คลุ้ม ด้วย เงา ลม ตั้ง ขึ้น เปน ต้น นั้น.
พะเยิบ (453:20)
         อาการ ที่ หาบ มัน อย่อน ลง แล สูง ขึ้น นั้น. อนึ่ง เหมือน อย่าง เรือ ต้อง คลื่น เปน ต้น.
พะยัมหัง (453:21)
         ฯ แปล ว่า วิ มาน, คือ เรือน เปน ที่ อยู่ แห่ง เทวดา คำ โลกย์ พูด วิ มาน เทวดา.
พะยั้ม เผยอ (453:22)
         คือ อาการ ที่ คน พูด มาก, พูด แล้ว พูด อีก ไม่ ใคร่ อยุด ลง นั้น.
พะโยม (453:23)
         คือ อากาศ.
      พะโยม เมฆ (453:23.1)
               คือ อากาศ มี เมฆ ตั้ง ขึ้น, เหมือน อย่าง เมฆ ฝน นั้น.
พะยอม (453:24)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ ป่า อย่าง หนึ่ง มี ดอก หอม เปลือก รศ ฝาด ทำ ยา ได้ บ้าง

--- Page 454 ---
พะยศ (454:1)
         คือ การ ที่ คน ฤๅ สัตว ทำ วุ่นวาย ไม่ เปน ปรกติ, เหมือน ม้า มัก เผ่น โผน โจน ขบ กัด เปน ต้น นั้น.
      พะยศ ชั่ว (454:1.1)
               มี อาการ เช่น ว่า แล้ว นั้น, เหมือน ม้า พะยศ ร้าย ฤๅ กิริยา หญิง ชั่ว เปน ต้น นั้น.
      พะยศ ร้าย (454:1.2)
               เหมือน กับ ว่า แล้ว นั้น, เช่น คน พาล สันดาน ชั่ว เปน ต้น นั้น.
พะเหยอ (454:2)
         เผยอ, คือ ยก ขยับ ของ อัน ใด ขึ้น น่อย ๆ หนึ่ง นั้น เหมือน คน เผยอ ยก ตัว ขึ้น นั้น.
      พะเหยอ หยิ่ง (454:2.1)
               เผยอ, คือ อาการ, ที่ คน ไพร่ ได้ เปน ขุนนาง, ขยับ ไว้ ยศ นั้น เอง.
พรุศะ วาจา (454:3)
         ฯ แปล ว่า คำ ร้าย คำ อยาบ, มี คำ ด่า เปน ต้น ว่า อ้าย คน ถ่อย คน ชั่ว นั้น.
พรุศะวาท (454:4)
          ฯ แปล ว่า กล่าว คำ ร้าย กาจ อยาบ นั้น.
พะลา กร (454:5)
         คือ หมู่ พล, บันดา พล โยธา มี เก้า พวก สิบ พวก เปน ต้น นั้น.
พะลา พล (454:6)
         คือ พล นิกาย หมู่ พล น้อย ใหญ่, พวก พล ทั้ง หลาย หมู่ มาก บ้าง น้อย บ้าง นั้น.
พะลาหก (454:7)
         เปน ชื่อ เมฆ, ชื่อ วะษะพะลาหก สำหรับ ยัง ฝน ให้ ตก, วาตะวะลาหก ยัง ลม ให้ พัด กล้า.
พะลีกรรม (454:8)
         คือ กระทำ การ บวงสรวง เทวดา นั้น, เหมือน คน แก้ สินบน บวงสรวง จ้าว นาย.
พะไล (454:9)
         คือ เฉลียง* นั้น, เหมือน คน ทำ พะเพิง เปน หลังคา ต่อ น่า เรือน ออก ไป นั้น.
      พะไล รอบ (454:9.1)
               คือ เฉลียง รอบ เรือน ใหญ่ นั้น, เหมือน พะไล รอบ ศาลา โรง ธรรม นั้น.
พะลึก (454:10)
         เปน ชื่อ แก้ว อย่าง หนึ่ง ศรี มัน ใส เงา เหมือน น้ำ.
พะลัง (454:11)
         ฯ แปล ว่า กำลัง นั้น, เหมือน คำ เขา พูด กัน ว่า เขา มี กำลัง พะลัง มาก นัก.
พะลาน (454:12)
         คือ น่าพระลาน ใน พราชวัง, ที่ เปน ลาน เลี่ยน เตียน อยู่ นั้น.
พะสุธา (454:13)
         ฯ แปล ว่า แผ่น ดิน. บันดา แผ่นดิน ทั่ว ตลอด จบ มณฑล เรียก ว่า พะสุธา.
พะหิ (454:14)
         ฯ แปล ว่า ผ่าย นอก. บันดา ที่ ข้าง นอก มี นอก เมือง เปน ต้น, เขา เรียก ว่า ผ่าย นอก นั้น.
พะหูสูตร์ (454:15)
         ฯ แปล ว่า ได้ ฟัง มาก, คน ได้ ฟัง ธรรม มาก เนือง ๆ นั้น ว่า เปน คน พะหูสูตร์.
พะหล โยธา (454:16)
         คือ โยธา มี กำลัง นั้น, เหมือน พวก ทหาร ที่ เข้ม แขง เปน ต้น.
พะโอง (454:17)
         คือ ไม้ ไผ่ ลำ ที่ เขา ทำ ภาด ขึ้น ต้น ตาล เปน ต้น นั้น คน จะ รอง น้ำ ตาล เอา ไม้ ไผ่ ตัด แขนง ไว้ ยาว ห้า นิ้ว, เอา ทาบ เข้า กับ ต้น ตาล ผูก รัด ด้วย ตอก นั้น.
พะอืด พะอม (454:18)
         คือ อาการ คลื่น ไส้ พุง นั้น.
พะเอิน (454:19)
         คือ บังเหตุ ให้ เปน ไป, บันดาล ให้ เปน ไป เปน ต้น.
พก (454:20)
         คือ ผ้า คน นุ่ง ทำ พก ไว้ ที่ ท้อง ตรง หน้า ตาม ธรรมเนียม ไทย นั้น, คน ภาษา อื่น ไม่ ใคร่ มี.
      พก เงิน (454:20.1)
               คือ เอา เงิน ใส่ ไว้ ใน พก นั้น, คน นักเลง เมื่อ ไป เที่ยว เล่น เบี้ย เปน ต้น นั้น พก เงิน ไป.
      พก นุ่น (454:20.2)
               คือ เอา นุ่น ใส่ พก ไว้ ว่า เปน ของ เบา, คน พูด เปรียบ ความ ว่า พูด อย่า ให้ เบา เหมือน พก นุ่น*.
      พก เบี้ย (454:20.3)
               คือ เอา เบี้ย* ใส่ ใน พก ไป, คน เด็ก มี เบี้ย น้อย จะ ไป เที่ยว เล่น กับ เพื่อน, เอา เบี้ย ใส่ พก ไป.
      พก หมาก (454:20.4)
               คือ เอา หมาก ใส่ พก ไป, คน มี ที่ ไป ไม่ ไกล นัก เอา หมาก ใส่ พก ไป ภอ กิน คำ หนึ่ง นั้น.
พัก (454:21)
         คือ เหนื่อย อยุด ที หนึ่ง, คน เดิน ฤๅ ทำ การ เต็ม เหนื่อย อยุด ที หนึ่ง นั้น.
      พัก หนึ่ง (454:21.1)
               คือ เหนื่อย อยุด ที หนึ่ง นั้น.
      พักพา (454:21.2)
               คือ ชัก พา ไป เปน ต้น, คน ยัง ไม่ เคย ไป ฤๅ ยัง ไม่ เคย มา มี ผู้ ชัก นำ พา ไป ฤๅ พา มา นั้น.
      พัก พวก (454:21.3)
               คือ คน มิ ใช่ ญาติ เปน แต่ คน ชอบ อัชฌา ไสย กัน เหมือน เพื่อน รัก เรียก ว่า พรรค พวก กัน.
      พัก พล (454:21.4)
               คือ อยุด พล ไว้ ที หนึ่ง ก่อน, เหมือน มหา กระษัตริย์ อยุด ประทับ ร้อน ฤๅ ประทับ แรม นั้น.
      พัก อยุด (454:21.5)
               ทอด อยุด ไว้ ที หนึ่ง, เหมือน คน เดิน ทาง อยุด พัก ภอ หาย เหนื่อย นั้น.
      พัก ว่า (454:21.6)
               คือ ไม่ ต้อง การ ว่า, เขา ถาม ว่า เจ็ก กิน หมู ได้ ฤๅ ไม่, เจ็ก ว่า พัก ว่า.
พักษา (454:22)
         แปล ว่า กิน, เหมือน คำ ว่า, พักษาหาร สุกร, ว่า กิน เนื้อ หมู เปน อาหาร นั้น.

--- Page 455 ---
พาก (455:1)
         ว่า กล่าว ถ้อย คำ, เขา เล่น โขน แล กล่าว แทน โขน. เขา ว่า คน พากโขน นั้น.
      พาก หนัง (455:1.1)
               คือ พูด แทน หนัง, เขา เล่น หนัง กลาง คืน, ครั้น เชิด อยุด แล้ว, คน ก็ กล่าว แทน ว่า พาก หนัง.
      พาก พื้น (455:1.2)
               คือ พื้น แต่ พาก นั้น เปน สร้อย คำ. พื้น นั้น เปน พื้น แผ่น ดิน, แล พื้น เรือน เปน ต้น.
      พากเพียร (455:1.3)
               พาก เปน คำ สร้อย, แต่ เพียร นั้น คือ ความ อุษ่าห์ ไม่ เกียจ คร้าน งาน ทำ การงาน.
พุก (455:2)
         คือ ไม้ ที่ เขา ติด กับ เนื้อ เรือ ที่ ใส่ หลัก แจว, เขา เรียก ว่า ติด พุก, เปรียบ เหมือน หนู พุก นั้น.
โพก (455:3)
         คลุม, คือ พัน ผ้า คลุม ปก ศีศะ. เหมือน พวก แขก นั้น.
      โพก กะบาล (455:3.1)
               คือ โพก ศีศะ.
      โพก ผ้า เหลือง (455:3.2)
               คือ พัน ผ้า เหลือง ไว้ ที่ ศีศะ, เหมือน พวก โจร โพก ผ้า เหลือง ใน เรื่อง สามก๊ก.
      โพก ศีศะ (455:3.3)
               พัน ศีศะ, คลุม ศีศะ, คือ พัน หุ้ม คลุม ศีศะ, คน กลัว แดด ร้อน, เอา ผ้า ปก พัน คลุม ศีศะ ไว้.
      โพก หัว (455:3.4)
               พัน หัว, คลุม หัว, คือ พัน หุ้ม คลุม หัว, คน กลัว แดต ร้อน, เอา ผ้า ปก พัน คลุม ศีศะ ไว้ นั้น.
พอก (455:4)
         หุ้ม ห่อ, คือ หุ้ม ห่อ รอบ คอบ,
      พอก ไข่ (455:4.1)
               หุ้ม ห่อ ไข่, คือ หุ้ม ห่อ มิด ปิด คลุม. เขา เอา ดิน กับ เท่า ปน กัน แล้ว หุ้ม เข้า ที่ ลูก ไข่ ให้ มิด นั้น.
      พอก แป้ง (455:4.2)
               หุ้มห่อ ด้วย แป้ง, คือ เอา แป้ง มา ปะ หุ้ม เข้า, คน ป่วย ให้ บวม คัน ที่ ตัว, เขา ว่า ต้อง รำเพรำพัด, ว่า เปน เพราะ ปิสาจ มัน ทำ, จึง เอา แป้ง ปะ หุ้ม เข้า ที่ แผล นั้น.
      พอก ยา (455:4.3)
               หุ้มห่อ ด้วย ยา, คือ เอา ยา ปะ หุ้ม เข้า, คน ป่วย เปน ฝี เปน ต้น. แล เอา ยา ปะ หุ้ม เข้า ว่า พอก ยา.
พวก (455:5)
         คือ เปน หมู่ กัน เชื้อ สาย กัน, คน ฤๅ สัตว เปน เชื้อ สาย แล เปน เพื่อน กัน สนิท นั้น.
      พวก เก่า (455:5.1)
               คือ พวก ก่อน พวก เดิม นั้น.
      พวก กัน (455:5.2)
               คือ คน เปน เชื้อ สาย กัน, คน นับ เข้า ใน วง ญาติ ฤๅ มิตร สหาย กัน นั้น.
      พวก ก่อน (455:5.3)
               คือ ไม่ ใช่ พวก หลัง นั้น, เหมือน พวก เดิม พวก แรก พวก เก่า นั้น.
      พวก เฃา (455:5.4)
               คือ คน เปน เชื้อ สาย ของ คน อื่น, มิ ใช่ เชื้อ สาย มิตร สหาย ของ เรา นั้น.
      พวก พ้อง (455:5.5)
               คือ คน เปน เชื้อ สาย แล เปน เพื่อน บ้าน สนิท มิตร สหาย กัน.
      พวก เพื่อน (455:5.6)
               คือ คน เปน เชื้อ สาย เพื่อน ฝูง กัน นั้น.
      พวก พาล (455:5.7)
               คือ พวก ที่ มี ปัญญา อ่อน นั้น, เหมือน เด็ก อ่อน ๆ ฤๅ พวก นักเลง โกง เกะกะ นั้น.
      พวก ใหม่ (455:5.8)
               คือ พวก ที่ มา ถึง ผ่าย หลัง นั้น, เหมือน พวก หมอ ทั้ง ปวง ที่ เข้า มา ใหม่ นั้น.
      พวก เรา (455:5.9)
               คือ ไม่ ใช่ พวก อื่น นั้น. เหมือน พี่ น้อง เพื่อน ฝูง ฃอง เรา นั้น.
      พวก หลัง (455:5.10)
               คือ มิ ใช่ พวก ก่อน นั้น, เหมือน พวก หมอ ทั้ง ปวง ที่ พึ่ง เข้า มา นั้น.
      พวก อื่น (455:5.11)
               คือ คน ไม่ ได้ เปน เพื่อน เชื้อ สาย, เปน แต่ ผู้ อื่น นั้น.
พง (455:6)
         คือ ที่ รก ด้วย ต้น แฝก อ้อ แล กอ เลา เปน ต้น, เขา เรียก ว่า พง นั้น.
      พง แขม (455:6.1)
               คือ ป่า แฃม ทั้ง ปวง นั้น.
      พง พี (455:6.2)
               คือ ป่า ดง ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน เขา ว่า เข้า ดง พงพี นั้น.
      พง พะนัศ (455:6.3)
               คือ ป่า พง ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน ดง พยา ไฟ เปน ต้น นั้น.
      พง พาง (455:6.4)
               คือ ไม้ ไผ่ ทุ่น เขา มัด เปน พวง ไว้. อย่าง หนึ่ง เฃา เอา เรือ ทอด สมอ ไว้ ทำ ทุ่น.
      พง ไพร (455:6.5)
               คือ พง ป่า นั้น, เหมือน เขา พูด ว่า ป่า ดง พงไพร นั้น.
พงษ (455:7)
         พันธุ, คือ เครือ ญาติ, คน เกิด ใน เชื้อ สาย อัน เดียว กัน นั้น.
      พงษ กระษัตริย์ (455:7.1)
               คือ คน เชื้อ ราช วงษ, คน เกิด ใน ตระกูล* กระษัตริย์, เรียก ว่า พงษ กระษัตริย์ นั้น.
      พงษ พรหมเมศร์ (455:7.2)
               คือ พราหมณ ทุก สกูล, แปล ว่า ลูก หลาน หว่าน เครือ เนื่อง มา แต่ ท้าว มหา พรหม นั้น.
      พงษาวดาร (455:7.3)
               คือ เรื่อง วงษ กระษัตริย์, ที่ ล่วง ไป แล้ว เก่า ใหม่ หลาย ชั่ว อา ยุ พ้น มา นั้น.
พง อ้อ (455:8)
         คือ ป่า อ้อ ทั้ง ปวง นั้น.

--- Page 456 ---
พัง (456:1)
         คือ ทำลาย ลง, เหมือน โบสถ์ ครั่มคร่า ผุพัง ลง ทำลาย ลง นั้น.
      พังงา (456:1.1)
               ว่า นาง งาม, หญิง สาว รูป สรวย งาม, เขา ทำ แต่ง เรื่อง หนังสือ เพลง ว่า พังงางาม นั้น.
      พัง ทลาย (456:1.2)
               คือ เกลื่อน ยุบ หัก โค่น* ลง นั้น, เหมือน อย่าง กำ แพง หัก พัง ทำ ลาย ลง นั้น.
      พังผืด (456:1.3)
               คือ ผิว ที่ อยู่ ใน เนื้อ เปน ผิว บาง ๆ, แต่ มิ ใช่ เนื้อ มัน บาง เหมือน กะดาด นั้น.
      พังภาบ (456:1.4)
               คือ อาการ ที่ เขา นอน ขว้ำ, เอา อก ลง กับ พื้น นั้น ว่า นอน พังภาบ.
พั้งพาน (456:2)
         แผ่ แม่ เบี้ย, ฉก ตวัก, คือ ที่ หัว งู มัน แผ่ ให้ แบน ออก เมื่อ มัน โกรธ จะ สู้ คน แล มัน ทำ แปน แผ่ ออก นั้น, เรียก ว่า พั้งพาน.
พั้งภอน (456:3)
         เปน ชื่อ* สัตว อย่าง หนึ่ง, ตัว มัน มี ขน ศรี แดง กร้ำกรุ่น มัน มี ท้าว สี่, มี หาง ยาว สัก สอก หนึ่ง.
พาง เพียง (456:4)
         ราว กะ, คือ ว่า ราว กับ, เหมือน คน แบก หาม ของ หนัก เตม ที, ว่า ราว กับ จะ ตาย ว่า พาง เพียง จะ ตาย.
พิง (456:5)
         อิง, คือ เอา หลัง เอน ทับ เข้า ที่ พนัก เปน ต้น.
      พิง เขนย (456:5.1)
               อิงเขนย, คือ อิง หมอน, คำ ภาษา เขมน เรียก หมอน ว่า เขนย, พูด ว่า เขนย เปน คำ สูง สำหรับ เจ้า.
      พิง พะนัก (456:5.2)
               อิง พะนัก, คือ อิง เอน ตัว ทับ เข้า ที่ ไม้ พะนัก เปน ต้น, เขา ว่า พิง พะนัก นั้น.
พึง (456:6)
         คือ ภอ ใจ แล ชอบ ใจ, ของ สิ่ง ใด เปน ที่ ชอบ ใจ ถูก ต้อง ใจ. เขา ว่า ของ นั้น เปน ที่ พึง ใจ.
      พึง เกลียด (456:6.1)
               คือ น่า เกลียด นั้น, เหมือน อย่าง คน เหน ซาก ผี เน่า พอง ขึ้น เปน ต้น นั้น.
      พึง เข้า ใจ เถิด (456:6.2)
               คือ ภอ จะ เข้า ใจ ได้ อยู่ นั้น, เหมือน หย่าง คำ เฃา ว่า, พึง เข้า ใจ เถิด ท่าน คง จะ ตาย เปน แท้.
      พึง ใจ (456:6.3)
               คือ ภอ ใจ, ของ อัน ใด เปน ที่ ชอบ ใจ ถูก ต้อง ใจ, เขา ว่า ของ นั้น เปน ที่ พึง ใจ.
      พึงได้ (456:6.4)
               คือ ได้ ใหม่ ๆ คน แรก ได้ ฃอง ใหม่ ว่า พึง ได้ ฃอง นั้น, ถึง เคย ได้ แต่ นาน ๆ จึ่ง ได้, เหมือน ทำ นา ปี ละ หน แรก ได้ นั้น.
      พึง ตา (456:6.5)
               คือ ของ เปน ที่ ชอบ ตา, คน ได้ ฃอง เปน ที่ รัก ดี ต้อง ตา, ว่า ของ นั้น พึง ตา.
      พึง มา (456:6.6)
               คือ จะ มา ใหม่ ฤๅ ภอ มา นั้น, เหมือน คน มา ใหม่ เปน ต้น.
      พึง รู้ (456:6.7)
               คือ จะ รู้ ความ ใหม่ ฤๅ พึง รู้ นั้น, เหมือน คน เรียน หนังสือ ภอ จะ รู้ นั้น.
      พึง รัก (456:6.8)
               คือ จะ รัก ฤๅ ภอ รัก นั้น, เหมือน คน เมื่อ คบ กัน ใหม่ ๆ เปน ต้น นั้น.
พึ่ง (456:7)
         คือ แรก แล ใหม่, แล ได้ ของ อัน ใด ใหม่ ว่า พึ่ง ได้.
      พึ่ง (456:7.1)
               เปน ชื่อ ตัว สัตว เล็ก ๆ อย่าง หนึ่ง, ตัว มัน คล้าย แมลงวัน, มัน ทำ รัง อยู่ ที่ ต้นไม้ บ้าง ใน โพรง ไม้ บ้าง, มัน เอา เกสร ดอกไม้ ไป ทำ รศ หวาน,
      พึ่ง เงิน (456:7.2)
               คือ อ* ไศรย์ เงิน กัน นั้น, เหมือน คน ได้ พึ่ง ยิบ ยืม เงิน ทอง กัน นั้น.
      พึ่ง ทอง (456:7.3)
               คือ ได้ อาไศรย์ ทอง กัน นั้น.
      พึ่ง บาระมี (456:7.4)
               เปน คำ สูง, เหมือน คน พึ่ง บุญ เจ้า, ว่า พึ่ง พระ บาระมี, เพราะ เปน เจ้า นั้น.
      พึ่ง บุญ (456:7.5)
               เปน คำ ต่ำ กว่า นั้น, เปน แต่ พึ่ง ขุนนาง ผู้ ใหญ่ ผู้ น้อย, ว่า พึ่ง บุญ.
      พึ่ง ไป (456:7.6)
               คือ ไป บัดเดี๋ยว นี้, คน นั่ง อยู่ แล้ว ลุก ขึ้น ไป ใน ขะ ณะ นั้น.
      พึ่ง โพธิ สมภาร (456:7.7)
               เปน คำ สูง ยิ่ง กว่า พึ่ง บาระมี นั้น, คือ คน ต่าง ประเทศ, เข้า มา อาไศรย์ อยู่ ใน พระ นคร พระ มหา กระษัตริย์, ว่า พึ่ง พระโพธิ สมภาร.
      พึ่ง พระ เดช พระคุณ (456:7.8)
               คน พึ่ง เจ้า, ข้า เจ้า มี ธุระ อัน ใด พึ่ง เจ้า ได้, ว่า พึ่ง พระเดช พระคุณ นั้น.
      พึ่ง ภา อาไศรย์ (456:7.9)
               คือ ฃอ ให้ ผู้ อื่น สงเคราะห์ ฤๅ ให้ เขา กระทำ อุปะการะ ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น.
      พึ่ง มี พึ่ง มา (456:7.10)
               คือ ของ มี ขึ้น ใหม่ มี ผลไม้ เปน ต้น, ถ้า แรก มี ใหม่ ๆ, เขา ว่า พึ่ง มี มา นั้น.
      พึ่ง ร้อน (456:7.11)
               คือ ตัว ได้ ความ ทุกข ร้อน แล้ว วิ่ง มา พึ่ง ท่าน นั้น.
      พึ่ง วาศนา (456:7.12)
               คือ ได้ อาไศรย์ วาศนา ท่าน นั้น, เหมือน คน พึ่ง วาศนา เจ้า นาย ที่ มี วาศนา เปน ต้น นั้น.

--- Page 457 ---
      พึ่ง ให้ (457:7.13)
               จะ ให้, คือ แรก ให้ ใหม่ ๆ, เหมือน คน มา ฃอ ของ เรา อยิบ ให้ แก่ ผู้ แรก ฃอ ว่า พึ่ง ให้.
      พึ่ง เหน (457:7.14)
               จะ เหน, คือ แรก เหน ใหม่ ๆ, คน ต่าง ๆ ประเทศ เข้า มา ถึง ใหม่ แล เหน บ้าน เมือง นั้น, ว่า พึ่ง เหน.
      พึง เอย็น (457:7.15)
               คือ อาไศรย์ ภอ ได้ ความ เอย็น นั้น, เหมือน คน หนี ร้อน มา พึ่ง เอย็น นั้น.
พุง (457:1)
         เปน ชื่อ เครื่อง ใน ท้อง อย่าง หนึ่ง, เปน แผ่น ฟ่าม ๆ อยู่ กับ ตับ ปอด เขา เรียก พุง.
      พุง กะทิ (457:1.1)
               ท้อง คน ที่ ป่อง ใหญ่ ไม่ สม กับ รูป นั้น, บาง คน เปน โรค ท้อง ป่อง อยู่ เขา ว่า พุง กะทิ.
      พุงดอ (457:1.2)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง*, ต้น มัน เปน เครือ พุ่ม มี หนาม ใบ มัน มน ๆ มี หนาม ที่ ปลาย ใบ.
      พุง ทะลาย (457:1.3)
               เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, มี ที่ เมือง จันทบุรี, เอา ลูก มัน แช่ น้ำ ลง, แล้ว ไหน้* ยุ่ย มาก ออก, เขา ใส่ ใน น้ำ กะทิ กิน ได้.
      พุง ป่อง (457:1.4)
               คือ ท้อง คน ป่อง ใส, บาง คน มี โรค ทำ ให้ ท้อง เปล่ง ใส, เขา ว่า พุง ป่อง นั้น.
      พุง ปลา (457:1.5)
               คือ เครื่อง ใน ท้อง ปลา, ปลา เล็ก ใหญ่ มี เครื่อง ใน ทุก ตัว, เขา เรียก พุงปลา.
      พุง โร (457:1.6)
               คือ ท้อง พอง ไม่ สม รูป กาย, คน เปน โรค ใน ท้อง ทำ ให้ ท้อง พอง ใส อยู่ นั้น,
พู่ง (457:2)
         คือ คน ถือ หอก ยก ขึ้น, แล้ว ปล่อย ไป ให้ ถูก สัตว ฤๅ คน, ทำ เช่น นั้น ว่า พุ่ง.
      พุ่ง ไป (457:2.1)
               คือ ซัด ไป นั้น, เหมือน ทหาร พุ่ง หอก ซัด บน หลัง ม้า, ฤๅ พุ่ง หอก เข้า รก เปน ต้น นั้น.
      พุ่ง ฟืน (457:2.2)
               คือ จับ ดุ้น ฟืน เข้า แล้ว ยก ขึ้น ทิ้ง ไป นั้น.
      พุ่ง ไม้ (457:2.3)
               คือ จับ ท่อน ไม้ เข้า, แล้ว ยก ขึ้น ทำ ให้ ท่อน ไม้ ไป ตก ข้าง หน้า นั้น.
      พุ่ง แหลน (457:2.4)
               จับ แหลน, คือ ไม้ เสี้ยม แหลม เรียก ว่า แหลน, จับ ยก ขึ้น ทิ้ง ไป ข้าง หน้า.
      พุ่ง หลาว (457:2.5)
               ซัด หลาว, คือ จับ ไม้ หลาว ที่ เสี้ยม แหลม ทำ ให้ ไป ตก ข้าง หน้า นั้น.
      พุ่ง หอก (457:2.6)
               ซัด หอก, คือ จับ หอก ขึ้น แล้ว ปล่อย ให้ มัน ไป ตก ข้าง หน้า.
เพง (457:3)
         เต็ม, บริบูรณ, ว่า เต็ม, คือ ดวง พระจันทร์ เมื่อ วัน ขึ้น สิบห้าค่ำ ดวง พระจันทร์ เต็ม ดี นั้น.
      เพง กลาง เดือน (457:3.1)
               คือ พระจันทร์ เมื่อ วัน ขึ้น สิบห้าค่ำ มี วง เต็ม บริบูรณ นั้น.
เพ่ง (457:4)
         พิศ, คือ เล็ง เขม้น ดู, คน แล ดู เขม้น ไม่ พริบ ตา นั้น ว่า เพ่ง ดู ไม่ วาง ตา นั้น.
      เพ่ง ดู (457:4.1)
               คือ เล็ง เขม้น ดู คน บาง ที โกรธ ผู้ อื่น เล็ง เขม้น ไม่ พริบ ตา นั้น.
      เพ่ง พิศ (457:4.2)
               คือ เล็ง พิเคราะห์ ดู, คน ดู ฃอง ที่ เลอียด แล ดู ไม่ พริบ ตา พิจารณา ดู นั้น.
      เพ่ง เอา (457:4.3)
               คือ เล็ง เอา ด้วย ตา แล ใจ ผูกพันธ์ อยู่ มิ ได้ คิด อัน ใด อื่น นั้น.
แพง (457:5)
         คือ ราคา ของ มาก, เหมือน เข้า สาร แรก ถัง ละ สลึง, นาน มา ราคา มาก ขึ้น, ถัง ละ สามสลึง ว่า ราคา แพง.
      แพงพวย (457:5.1)
               เปน ชื่อ ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง, เปน ผัก เกิด ใน น้ำ, ต้น มัน มี นม, เลื้อย ไป บน หลัง น้ำ.
แพ่ง (457:6)
         เปน ชื่อ รูป ความ อย่าง หนึ่ง, เรียก ความ แพ่ง, มี ขูนศาล สำรับ ว่า ความ นั้น.
โพง (457:7)
         วิด, ขอด, คือ ไม้ เฃา สาน คล้าย ครุ สำรับ โพง น้ำ ใน บ่อ, มี คัน ยาว ผูก เข้า กับ คัน ตัก น้ำ นั้น.
      โพง น้ำ (457:7.1)
               วิด น้ำ, สาด น้ำ, เขา ตัก น้ำ ขึ้น จาก บ่อ ด้วย โพง นั้น, ปัก หลัก ขึ้น ริม บ่อ น้ำ ที่ ฦก เก้าศอก สิบศอก เอา โพง ผูก เข้า กับ คัน ตัก น้ำ.
      โพงพาง (457:7.2)
               เปน ไม้ ไผ่ เขา มัด เปน แพ เล็ก ๆ ทอด ไว้ ที่ แม่น้ำ เก้า แพ สิบ แพ ห่าง ๆ กัน, ไว้ ช่อง สำรับ ดัก กุ้ง ปลา.
      โพง เหล้า (457:7.3)
               ขวด เหล้า, คือ ขวด ที่ เขา ตวง เหล้า, เขา เอา ขวด กระเบื้อง จีน ทำ ที่ สำรับ ตวง เหล้า นั้น.
      โพง วิด (457:7.4)
               คือ ตัก น้ำ ใน เรือ เท ออก ข้าง นอก, ว่า โพง วิด สาด น้ำ ออก เสีย จาก เรือ นั้น.
      โพง สาด (457:7.5)
               วิดสาด, คือ ตัก น้ำ สาด ให้ ออก จาก เรือ, เพราะ เรือ รั่ว กลัว จะ ล่ม จม น้ำ ไป นั้น, ว่า โพง สาด.
      โพง ให้ (457:7.6)
               คือ โกย ให้, คน ให้ ของ เขา แล โกย ออก ให้ มาก ๆ เขา ว่า โพง ออก ให้ นั้น.

--- Page 458 ---
      โพง เอา (458:7.7)
               คือ โกย เอา, คน โกย เอา ของ มาก ๆ ด้วย กะบุง ตร้า นั้น, ว่า โพง เอา นั้น.
พอง (458:1)
         คือ บวม ขึ้น, คน ตาย แล้ว เอา สพ ไว้ คืน หนึ่ง สอง คืน แล บวม ขึ้น ว่า พอง ขึ้น. อย่าง หนึ่ง มือ ฤๅ ท้าว ถูก ไฟ พอง ขึ้น นั้น.
      พอง แก้ม (458:1.1)
               โป่ง แก้ม, คือ คน ทำ กะพุ้ง แก้ม สอง ข้าง พอง เหมือน คน เป่า ปี่ นั้น.
      พอง ขน (458:1.2)
               คือ ขน ชัน ขึ้น, เหมือน ไก่ เมื่อ มัน จะ ชน กัน มัน ทำ ขน ให้ ชัน ขึ้น นั้น.
      พอง ขึ้น (458:1.3)
               คือ โป่ง ขึ้น นั้น, เหมือน ปากเป้า พอง ลม เปน ต้น.
      พอง ตัว (458:1.4)
               คือ ตัว พอง ขึ้น, เหมือน สัตว ที่ เขา เรียก อึ่งอาง, คน ถูก มัน เข้า มัน ทำ ตัว พอง ขึ้น นั้น.
      พอง พุ (458:1.5)
               คือ พอง แล้ว พุ ขึ้น นั้น, เหมือน คน เปน ฝี พุพอง ฤๅ ละลอก แก้ว เปน ต้น นั้น.
      พอง ลม (458:1.6)
               โป่ง ลม, เปน ชื่อ ต้น หญ้า อย่าง หนึ่ง, มัน เกิด ใน น้ำ ต้น มี กาบ พอง ลม อยู่ นั้น.
พ้อง (458:2)
         ประดัง, คือ ถูก กัน ร่วม กัน พร้อม กัน, คน ชื่อ เหมือน กัน ถูก กัน ว่า ชื่อ พ้อง กัน. มา ภบ กัน พร้อม เข้า ว่า มา พ้อง กัน.
      พ้อง กัน (458:2.1)
               คือ ร่วม ชื่อ เดียว กัน, เขา ว่า ชื่อ พ้อง กัน, คน มา ถึง พร้อม กัน เขา ว่า มา พ้อง กัน เข้า
      พ้อง ประดัง (458:2.2)
               คือ พร้อม ปะ ภบ เหมือน กัน เข้า นั้น, เหมือน ผล มะม่วง ที่ สุก พ้อง ประดัง กัน.
พวง (458:3)
         กลุ่ม, คือ ของ มี ก้าน อัน เดียว กัน, แล มี ดอก มาก นั้น, ว่า พวง ดอกไม้ เปน ต้น.
      พวง แก้ว (458:3.1)
               กลุ่ม แก้ว, คือ ดอก แก้ว มี ก้าน อัน เดียว มี ลูก มาก มี ดอก มาก, ด้วย ช่าง เขา ทำ เปน หลาย อย่าง ต่าง ๆ นั้น.
      พวง เงิน (458:3.2)
               กลุ่ม เงิน, คือ เงิน มี ก้าน อัน เดียว, คน ทำ เปน ช่อ เปน พวง มาก, หลาย เฟื้อง หลาย สลึง นั้น.
      พวง ดอกไม้ (458:3.3)
               กลุ่ม ดอกไม้, คือ ดอกไม้ มี ก้าน ร่วม กัน อัน เดียว มี ดอก พัว พันธ์ มาก หลาย ดอก นั้น.
      พวง ทอง (458:3.4)
               กลุ่ม ทอง, คือ ทอง มี ก้าน อัน เดียว, คน ทำ เปน ดอก ฤๅ เปน เฟื้อง เปน สลึง มาก นั้น.
      พวง ผล (458:3.5)
               กลุ่ม ผล, คือ พวง ผลไม้, ลูก ไม้ มี ก้าน อัน เดียว แล มี ลูก มาก ดก พัวพันธ์ อยู่ นั้น.
      พวง มาไลย (458:3.6)
               กลุ่ม มาไลย, คือ ดอกไม้ ที่ คน เก็บ เอา มา ร้อย มาก ทำ เปน วง ใส่ สรวม ฅอ* บ้าง, ข้อ มือ บ้าง เปน ต้น นั้น.
พ่วง (458:4)
         ห้อย, พี, คือ การ ที่ คน ทำ ประกอบ เข้า กับ เรือ เปน ต้น คน เอา ไม้ พาด บน ปาก เรือ ขวาง ไว้, แล้ว เอา เชือก ผูก เสา ฤๅ ไม้ อื่น เข้า กับ ไม้ ขวาง ปาก เรือ นั้น.
      พ่วง กลาง (458:4.1)
               พี กลาง, เปน รูป ป่อง กลาง อ้วน กลาง เหมือน ไม้ คัน ชั่ง นั้น, เฃา ว่า พ่วง กลาง.
      พ่วง ข้าง (458:4.2)
               ห้อย ข้าง, คือ การ ที่ คน ทำ ประกอบ เข้า กับ ข้าง เรือ เปน ต้น, คน เอา ไม้ ผูก เข้า กับ ข้าง เรือ นั้น.
      พ่วง ต้น (458:4.3)
               คือ โต ข้าง ต้น, เหมือน ไม้ เสา ข้าง ต้น อ้วน โต นั้น, เขา ว่า พ่วง ต้น.
      พ่วง ท้าย (458:4.4)
               ห้อย ท้าย, คือ* การ ที่ ทำ ประกอบ เข้า ที่ ท้าย เรือ เหมือน ทำ ประกอบ เข้า ที่ ท้าย เรือ สำเภา นั้น.
      พ่วง ปลาย (458:4.5)
               คือ พ่วง ของ ปลาย ไม้ อัน ใด, เขา ทำ ปลาย อ้วน โต กว่า ข้าง ต้น แล กลาง, ว่า ไม้ นั้น พ่วง ปลาย.
      พ่วง พี (458:4.6)
               อ้วน พี, คือ รูป คน อ้วน นั้น, คน มี รูป กาย มี เนื้อ หนัง เต็ม บริบูรณ นั้น.
      พ่วง แพ (458:4.7)
               คือ แพ เล็ก ๆ เขา ทำ รับ กระดาน ตะพาน ที่ ลง ท่า น้ำ นั้น.
      พ่วง พอง (458:4.8)
               คือ พอง ขึ้น พ่วง อยู่ นั้น, เหมือน คน แก้ม พ่วง เป่า ปี่ ทำ ให้ พอง ขึ้น เปน ต้น นั้น.
      พ่วง ไม้ (458:4.9)
               ห้อย ไม้, คือ การ ที่ ทำ ประกอบ เข้า กับ แพ ไม้ ใผ่ เอา ไม้ น่า* ผูก พ่วง มา ใน น้ำ นั้น.
      พ่วง เรือ (458:4.10)
               ห้อย เรือ, คือ การ ที่ ทำ ประกอบ เข้า กับ เรือ เขา เอา ไม้ ที่ หนักผูก เข้า กับ เรือ ภา มา นั้น.
      พ่วง เสา (458:4.11)
               คือ เอา เสา ผูก ห้อย ไว้ สอง ข้าง เรือ นั้น, เหมือน คน เอา เรือ พ่วง เสา เปน ต้น นั้น.
เพียง (458:5)
         เท่า, คือ ขนาด นี่ เท่า นี้, เหมือน คน กะหมาย ลง ที่ ไม้ เปน ต้น ว่า จะ เอา เท่า นี้ นั้น.
      เพียง ฅอ (458:5.1)
               คือ เสมอ ฅอ, เหมือน น้ำ ฦก ท่วม ถึง ฅอ เสมอ ฅอ, เขา ว่า น้ำ ท่วม เพียง ฅอ นั้น.

--- Page 459 ---
      เพียง* ใด (459:5.2)
               เท่า ใด, คือ ถาม ว่า เพียง ใด, ฤๅ น้ำ ฦก เพียง ใด, เขา บอก ว่า ฦก เพียง นั้น เพียง นี้.
      เพียง หน้า (459:5.3)
               คือ เสมอ หน้า, เขา ปลูก ศาล เทพารักษ สูง เสมอ ตา เสมอ หน้า นั้น.
      เพียง นี้ (459:5.4)
               เสมอ นี้, คือ ชี้ บอก ว่า เพียง นี้, เขา ถาม ว่า เพียง ไหน, คน หนึ่ง ชี้ เข้า ที่ ตัว หมาย ว่า เพียง นี้.
      เพียง ไหน (459:5.5)
               เสมอ ไหน, คือ ถาม ว่า ที่ เพียง ไหน, คน ไม่ รู้ ว่า ที่ กว้าง ยาว สัก เท่า ไร, ถาม ผู้ รู้ ว่า ที่ เพียง ไหน.
      เพียง นั้น (459:5.6)
               เสมอ นั้น, คือ ชี้ บอก ว่า เพียง นั้น, เขา ถาม ว่า เพียง ไหน, ผู้ หนึ่ง ชี้ ไป แล้ว บอก ว่า เพียง นั้น.
      เพียง โน้น (459:5.7)
               เสมอ โน้น, คือ ชี้ บอก ว่า เพียง โน้น, คือ ที่ ไกล กว่า เพียง นั้น น่อย หนึ่ง นั้น.
      เพียง อก (459:5.8)
               เสมอ อก, คือ เสมอ อก ฤๅ น้ำ เสมอ อก, เขา บอก ว่า ของ สูง เสมอ อก ฤๅ น้ำ ฦก เสมอ อก.
เพี้ยง หาย (459:1)
         คือ คำ เขา เสก มนต์ พ่น ปัด ด้วย เวทมนต์, เป่า ลง ที่ โรค เปน ต้น ว่า เพี้ยง หาย, เมื่อ ที่ สุด คำ ท้าย นั้น.
เพิง (459:2)
         พะ, พะไล, คือ หลัง คำ ข้าง เดียว, เขา ทำ ร้าน ตลาด มี หลังคา ข้าง เดียว ชุม, เรียก เพิง นั้น.
      เพิง พะ (459:2.1)
               คือ หลังคา ข้าง เดียว, เขา ทำ ไว้ ข้าง ด้าน สกัด เรือน, เรียก พื้น นั้น ว่า พะ, หลังคา นั้น เรียก เพิง*.
      เพิง พะไล (459:2.2)
               คือ หลัง คา เฉลียง ต่อ เพิง ออก ไป นั้น, เหมือน หลังคา เพิง พะไล เรือน เปน ต้น นั้น.
พด (459:3)
         คือ ทำ ของ ที่ รูป ตรง ให้ คด งอ เข้า, คน ทำ รูป เงิน บาท เงิน สลึง เงิน เฟื้อง นั้น.
      พด ด้วง (459:3.1)
               คือ ทำ รูป เงิน ให้ งอ เข้า, เดิม เขา หลอม เงิน เปน รูป เหมือน ตัว ด้วง, แล้ว ทำ ให้ งอ เข้า ว่า พด ด้วง.
      พด เบ็ด คด เบ็ด (459:3.2)
               คือ ทำ เหล็ก ลวด ให้ งอ เข้า เปน เบ็ด, เขา เอา เหล็ก ลวด มา ทำ ให้ มัน งอ เข้า ว่า พด เบ็ด.
      พจนา (459:3.3)
               ฯ เปน สับท์ แปล ว่า ถ้อยคำ, เหมือน คน พูด กัน เปน ต้น นั้น.
      พจนาท (459:3.4)
               ว่า เปล่ง วาจา, ว่า บันฦๅ วาจา นั้น, เหมือน พระ มหา กระษัตริย์ ตรัส สั่ง เปน ต้น นั้น.
พัช (459:4)
         คือ ของ ทำ สำรับ โบก กระพื* ลม, คน ปราฐนา จะ ให้ เอย็น แล เอา ของ นั้น โบก กระ พื* ลม นั้น.
      พัด กดาด (459:4.1)
               คือ ของ ทำ ด้วย กดาด สำรับ กระ พื โบก ลม, เรียก ว่า พัด นั้น.
      พัด ขน นก (459:4.2)
               คือ พัด ทำ ด้วย ขน นก, เขา เอา ฃน ปีก นก มา เรียง รำดับ เข้า ตาม ที่ มัน, แล้ว เย็บ ร้อย เข้า นั้น.
      พัดชะนี (459:4.3)
               คือ พัด ทำ ด้วย ผ้า บ้าง แพร บ้าง, มี รูป ใหญ่ กว่า พัด ขน นก, สำรับ พระ สงฆ มี วาศนา ถือ นั้น.
      พัดด้ำจิ้ว (459:4.4)
               คือ พัด ทำ ไม้ เปน ซี่ ๆ ปิด ด้วย กดาด, หุบ ได้ กาง ได้ เจ็ก ทำ มา แต่ เมือง จีน นั้น.
      พัด ใบตาล (459:4.5)
               คือ พัด ทำ ด้วย ใบ ตาล, เขา ตัด ใบ ตาล อ่อน ๆ มา เปน ใบ เปน ด้ำ สำรับ พัด นั้น.
      พัด โบก (459:4.6)
               คือ พัด ด้ำ ยาว สัก สาม ศอก, สำรับ โบก ลม ให้* ถูก คน อยู่ ที่ สูง นั้น.
      พัฒเสมา (459:4.7)
               คือ จูป* เสมา, เหมือน ใบ เสมา บน สุด กำ แพง, เขา ทำ ใส่ ที่ แดน อุโบสถ ทั้ง แปด ทิศ, เรียก พัฒเสมา, แปล ว่า เสมา อัน เจริญ.
      พัศดา (459:4.8)
               ฯ สามี, ผัว, คือ ชาย ที่ เปน ผัว เรียก ว่า พัศดา, เปน สับท์ แผลง อธิ บาย ว่า เปน ผู้ เลี้ยง นั้น.
      พัศดี (459:4.9)
               เปน ชื่อ ขูนนาง ใน กรม นครบาล ชื่อ พัศดี, คือ เปน ผู้ เลี้ยง ดู รักษา คน โทษ ใน คุก.
      พรรษ (459:4.10)
               ฯ แปล ว่า ฝน ก็ ได้, ว่า ปี ก็ ได้, เหมือน คำ ว่า จำ พรรษา เปน ต้น นั้น.
พาด (459:5)
         พิง, คือ ของ ให้ เอน พิง แล ทอด ลง, เหมือน คน เอน บันได เข้า กับ เรือน. อย่าง หนึ่ง ทอด มือ ฤๅ ท้าว เปน ต้น บน หมอน นั้น ว่า พาด ลง.
      พาด กาย (459:5.1)
               คือ เอา ผ้า เปน ต้น ทอด ลง ที่ กาย, ว่า พาด ลง ฤๅ เอา ไม้ เปน ต้น ทอด ลง บน กาย นั้น.
      พาด ควาย (459:5.2)
               คือ พาด ไว้ เหมือน หาง ควาย, คือ พระสงฆ วาง ผ้า จีวร พาด บ่า ไม่ ได้ คลี่ ออก นั้น.
      พาด บ่า (459:5.3)
               ห้อย บ่า คือ ทำ ของ มี ผ้า เปน ต้น ให้ ทอด ลง ที่ บ่า นั้น.
      พาด พิง (459:5.4)
               เหมือน คน เอา บันได เอน อาไศรย เรือน ไว้ นั้น.
      พาด อก (459:5.5)
               คือ ทอด ไว้ บน อก, คน ทอด มือ ฤๅ ผ้า เปน ต้น ไว้ บน อก นั้น.

--- Page 460 ---
พิด (460:1)
         อักษร ด สกด นี้ เปน ตัว เดิม, จะ ใช้ สถาน ใด ยัง ไม่ ได้ เพราะ ยัง ไม่ มี อักษร สกด บังคับ นั้น.
      พิททูล (460:1.1)
               คือ บรรยาย ความ ชี้ แจง เหตุ ต่าง ๆ นั้น, เหมือน อย่าง ราช บุรุษย ทูล ราย งาน เปน ต้น.
      พิศณุโลกย์ (460:1.2)
               คือ เปน ชื่อ เมือง ฝ่าย เหนือ แห่ง หนึ่ง, คือ เมือง พิศณุโลกย์ ที่ เขา ส้าง พระ ชิน ศรี นั้น.
      พิศดู (460:1.3)
               คือ พินิจ ดู นั้น, เหมือน ช่าง แก้ว ดู หัว แหวน ฤๅ คน ดู เงิน ตรา นั้น.
      พิศนาด (460:1.4)
               คือ เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, สำ หรับ ใช้ เปน เครื่อง ยา นั้น.
      พิศ เพ่ง (460:1.5)
               คือ พิจารณา เล็ง ดู นั้น, เหมือน คน เขม้น แล ดู กัน เปน ต้น นั้น.
      พิศม์ (460:1.6)
               คือ ฃอง ที่ ถูก เข้า, เจ็บ ปวด ผ่าว* ร้อน กล้า เหลือ ทน เหมือน ถูก ไฟ ร้อน แรง นัก นั้น.
      พิศม์กาล (460:1.7)
               คือ พิศม์ ฝี กาล, ฝี นั้น มี พินม์ ทำ ให้ กำเริบ ร้อน จน คน สลบ บ้าง, ถึง กาล มรณะ บ้าง.
      พิศม์ ไข้ (460:1.8)
               คือ ไข้ มี พิศม์ ให้ ร้อน กล้า นัก, ลาง ที ให้ คลั่ง เพ้อ สิ้น สะติ ลาง ที ให้ เชื่อม มึน ว่า พิศม์ ไข้ ทำ.
      พิศม์ งู (460:1.9)
               เมื่อ งู มัน กัด เข้า ที่ ไหน ๆ, แล้ว พิศม์ มัน แล่น ตลอด ไป ให้ ปวด ร้อน ผะผ่าว ราว กับ ถูก ไฟ นั้น.
      พิศม์ ฝี (460:1.10)
               คน เมื่อ มี ฝี บังเกิด ขึ้น, หัว ใหญ่ มัน มี พิศม์ ร้อน แรง นัก ให้ ปวด เหลือ ทน นัก.
      พิศม์ ยา (460:1.11)
               คน ถูก ยา มี สาน หนู เปน ต้น, ครั้น กิน เข้า ไป ตก ถึง ท้อง มัน ทำ ให้ ราก เปน ต้น จน ถึง ตาย นั้น.
      พิศมร (460:1.12)
               คือ เปน เครื่อง อย่าง หนึ่ง, เหมือน พิศมร ที่ ใส่ หญิง มี ครรภ์ เปน ต้น, ทำ ด้วย เงิน บ้าง ทอง แดง บ้าง.
      พิศม์ แสลง (460:1.13)
               คือ พิศม์ ที่ บังเกิด เพราะ ของ แสลง นั้น. เหมือน คน ไข้ ที่ กิน ของ ผิด สำแลง ตาย เปน ต้น.
      พิศมัย (460:1.14)
               สมสู่, คือ ความ สังวาศ เปน ผัว เมีย กัน, ชาย หนุ่ม หญิง สาว ร่วม รัก กัน แต่ แรก นั้น.
      พิศวาดิ์ (460:1.15)
               น่า เอน ดู น่า รัก, คือ รัก ใคร่ ไหล หลง, คน ชาย หญิง หนุ่ม สาว แรก ร่วม สังวาศ อยู่ ด้วย กัน, แล มี ความ รัก กัน เต็ม ที นั้น.
      พิศวง (460:1.16)
               ความ ฉงล, ความ งง งวย, คือ ความ ฉงล ใน ใจ ถึง เหตุ ที่ ประหลาด อัน เกิด ขึ้น, เหมือน เหน ดาว กลาง วัน นั้น.
      พิจารณา (460:1.17)
               คือ พิเคราะห์ ดู เพ่ง ด้วย ตา. อย่าง หนึ่ง คิด ด้วย ใจ ตรึก ตรอง ถึง เหตุ การ ว่า พิ จารณา.
      พิชะบูรณ์ (460:1.18)
               คือ เปน ชื่อ หัว เมือง ฝ่าย ตะวัน ออก เฉียง เหนือ แห่ง หนึ่ง นั้น, คือ เมือง เพช บูรณ นายม* นั้น.
      พิทธี (460:1.19)
               คือ กิจ มี ประ การ ต่าง ๆ, คน ทำ กิจ อัน หนึ่ง ว่า เปน พิธี อัน หนึ่ง, เหมือน พราหมณ์ ทำ กิจ การ ชิงช้า ว่า เปน พิท ธี ชิง ช้า นั้น.
      พิศดาร (460:1.20)
               วิ ฐาร, กว้าง, แปล ว่า กว้าง ขวาง, คน ทำ เรื่อง หนังสือ อัน ใด ไม่ ย่อ นั้น.
      พิศเคราะห์ (460:1.21)
               พิจารณา, ตรึก ตรอง, คือ พิจารณา ด้วย ตา บ้าง ด้วย คิด ตรึก ตรอง ด้วย ใจ นั้น.
      พิศดู (460:1.22)
               เพ่ง ดู, คือ เพ่ง ดู, คน แล เลง เพ่ง เอา ของ อัน ใด ด้วย ตา นั้น.
พืด (460:2)
         คือ ของ เปน แผ่น, คน ทำ เหล็ก เปน แผ่น กว้าง ประมาณ สี่ นิ้ว ห้า นิ้ว ยาว กว่า ศอก นั้น เรียก พืด.
      พืด เหล็ก (460:2.1)
               คือ แผ่น เหล็ก ที่ เขา ตี ทำ ให้ กว้าง ยาว เช่น ว่า แล้ว, สำรับ รัด เสา กระโดง เปน ต้น นั้น.
      พืชน (460:2.2)
               คือ เม็ด มี เม็ด เข้า เปน ต้น ว่า พืชน, เพราะ จะ เปน พัน ปลูก ต่อ ไป ให้ เปน ต้น ลำ ได้ นั้น.
      พืชนคาม (460:2.3)
               คือ เม็ด พืชน็* พัน ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน เม็ด เข้า ปลูก, ฤๅ ถั่ง งา เต้าแตง แฟง ฟัก เปน ต้น.
      พืชน์ ดิน (460:2.4)
               คือ เชื้อ ดิน นั้น, เหมือน อย่าง พืชน์ ดิน อุดม แล ไม่ อุดม เปน ต้น นั้น.
      พืชน์ พันธุ (460:2.5)
               คือ ญาติ สาย โลหิต ที่ เปน เผ่า พันธุ บังเกิด ต่อ ๆ กัน มา นั้น.
พุด (460:3)
         คือ เปน ชื่อ ต้นไม้ ศรี ดอก ขาว มี หลาย อย่าง, เหมือน ต้น พุดซ้อน เปน ต้น.
      พุดจีบ (460:3.1)
               คือ พุด ดอก มัน เปน กลีบ บิด เหมือน คน จีบ ไว้, จึ่ง เรียก พุด จีบ, ดอก มี กลิ่น หอม เอย็น.
      พุด ซ้อน (460:3.2)
               คือ พุด มี ดอก กลีบ ซ้อน กัน หลาย ชั้น, มี* กลิ่น* หอม นั้น.

--- Page 461 ---
      พุด ตาล (461:3.3)
               เปน ชื่อ ต้น พุด มัน มี ใบ เหมือน ใบ ตาล, ดอก ใหญ่ ศรี ชมภู แต่ ไม่ มี กลิ่น.
      พุทชาติ (461:3.4)
               เปน ชื่อ ต้นไม้ มี สอง อย่าง, เปน ต้น อย่าง หนึ่ง, * เปน เครือ เลื้อย อย่าง หนึ่ง, มี ดอก หอม ศรี ขาว ดอก เล็ก ๆ.
      พุดทรา (461:3.5)
               เปน ชื่อ ต้นไม้ ใหญ่ มี หนาม ผล มัน กิน เปรี้ยว ๆ.
      พุดลา (461:3.6)
               เปน ชื่อ ต้น พุด อย่าง หนึ่ง ต้น ย่อม ๆ, มี ดอก ศรี ขาว มี กลิ่น หอม นั้น.
      พุทธมารดา (461:3.7)
               คือ มารดา ของ พระพุทธเจ้า, เหมือน พระศิริมะ หามายา เปน ต้น นั้น.
      พุดไธ สวรรค์ (461:3.8)
               คือ เปน ชื่อ พระที่นั่ง องค์ หนึ่ง, มี อยู่ ใน พระ บรมราชวัง, คือ พระที่นั่ง พุธัยสวรรค์ นั้น.
พุทธะ (461:1)
         ฯ แปล ว่า ตรัสรู้, เหมือน พระเจ้า กระทำ ความ เพียร จน ได้ ตรัสรู้ พระธรรม.
      พุทธกาล (461:1.1)
               ฯ คือ เวลา ของ ท่าน ผู้ รู้ นั้น, เหมือน ครั้ง เมื่อ พระพุทธเจ้า ยัง ทรง พระชนม์ อยู่ เปน ต้น.
      พุทธคุณ (461:1.2)
               คือ คำ กล่าว สรรเสริญ แห่ง พระเจ้า เปน ต้น.
      พุทธจักร์ (461:1.3)
               คือ จักร ของ พระพุทธเจ้า นั้น, เหมือน อาชญา ฤๅ ข้อ บัญญัติ แต่ง ตั้ง, และ* อะนุสาศนิ ปาฏิหาริย์ เปน ต้น นั้น.
      พุทธฎีกา (461:1.4)
               คือ คำ ที่ พระพุทธเจ้า ตรัส จาก พระโอษฐ นั้น.
      พุทรักษา (461:1.5)
               เปน ชื่อ ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง, เหมือน พุทรักษา แดง ฤๅ เหลือง เปน ต้น นั้น.
      พุทธศักราช (461:1.6)
               คือ ศักราช ฃอง พระพุทธเจ้า นั้น, เหมือน ศักราช ที่ นับ ตั้ง แต่ วัน ปะรินิพาน มา เปน ต้น.
      พูทธโอวาท (461:1.7)
               คือ คำ กล่าว สอน ของ พระพุทธเจ้า นั้น, เหมือน พระองค์ สอน ว่า ท่าน อย่า ปมาท เปน ต้น.
      พุทธสาศนา (461:1.8)
               คือ คำ สั่งสอน ของ พระพุทธเจ้า นั้น, เหมือน พระองค สอน ให้ ละ บาป, ให้ บำเพญ บุญ เปน ต้น นั้น.
      พุทธบัญญัติ (461:1.9)
               คือ คำ แต่ง ตั้ง ของ พระพุทธเจ้า นั้น, เหมือน พระองค บัญญัติ วิ ไนย สิกขา บท เปน ต้น.
      พุทธญาณ (461:1.10)
               คือ ปัญญา ที่ รู้ สาระพัด ทุก สิ่ง ทุก อย่าง, ฝ่าย คะดี โลกย คะดีธรรม ไม่ เหลือ เลย นั้น.
      พุทธทำนาย (461:1.11)
               คือ คำ ทำนาย ของ พระพุทธเจ้า นั้น, เหมือน สุเมธดาบศ ได้ ทำนาย ว่า จะ ได้ ตรัส เปน พระเจ้า, แต่ พระ ทิปังกร เปน ต้น นั้น.
      พุทธโฆษาจาริย์ (461:1.12)
               ฯ แปล ว่า เปน อาจาริย์ กึกก้อง ไป ด้วย รู้ พระ ธรรม ของ พระเจ้า นั้น
      พุทธางกูร (461:1.13)
               ฯ แปล ว่า หน่อ พระพุทธเจ้า, คือ คน ผู้ สร้าง พระ บารมี จะ ได้ ตรัส เปน พระเจ้า นั้น.
      พุดไทมาต (461:1.14)
               คือ เปน ชื่อ เมือง แห่ง หนึ่ง อยู่ ทิศ ตวันออก, เหมือน เมือง พุดไทมาต ปากน้ำ ยวญ เปน ต้น นั้น.
      พุทธพงษ (461:1.15)
               ฯ แปล ว่า วงษ แห่ง พระเจ้า, คือ คน ผู้ สร้าง พระ บารมี จะ เปน พระเจ้า.
      พุทธปัฏิมากร (461:1.16)
               ฯ แปล ว่า รูป พระ ที่ คน กระทำ เปรียบ ด้วย รูป พระพุทธเจ้า นั้น.
      พุดธันดร (461:1.17)
               คือ กาล ใน ระหว่าง แห่ง พระพุทธเจ้า นั้น, เหมือน กาล ตั้ง แต่ พระพุทธกสป, มา จน ถึง พระโคตะมะ เปน ต้น นั้น.
      พุทธวิไสย (461:1.18)
               ฯ แปล ว่า เปน วิไสย แห่ง พระพุทธเจ้า, การ ที่ รู้ ทุก สิ่ง สรรพ ทั้ง ปวง ไม่ เหลือ เลย นั้น, เปน ของ พระเจ้า องค เดียว.
      พุทธัง (461:1.19)
               คือ ท่าน ผู้ รู้ ซึ่ง ของ อัน จริง นั้น, เหมือน พระพุทธเจ้า เปน ต้น.
      พุทธรูป (461:1.20)
                ฯ แปล ว่า รูป พระเจ้า, คน ทำ รูป ให้ เหมือน รูป พระ พุทธเจ้า นั้น.
      พุทธาธิบาย (461:1.21)
               คือ ความ อธิ บาย ของ ท่าน ผู้ รู้ นั้น, เหมือน คำ อธิบาย ของ พระพุทธเจ้า, ว่า นี่ คือ ศิล, นี่ สะมาธิ, นี่ ปัญญา เปน ต้น.
      พุทธ ฤทธิ์ (461:1.22)
               ฯ แปล ว่า ฤทธิ แห่ง พระพุทธเจ้า, พระองค แสดง ฤทธิ์ ต่าง ๆ, เปน ต้น ว่า เหาะ ไป ได้ ใน อากาศ นั้น.
      พุทธบาท (461:1.23)
               ฯ คือ ท้าว ของ ท่าน ผู้ รู้ นั้น, เหมือน พระบาท ของ พระพุทธเจ้า เปน ต้น.
      พุทธ อำนาท (461:1.24)
               ฯ แปล ว่า อำนาท แห่ง พระเจ้า, คือ สรรพ สัตว กลัว เกรง นั้น.

--- Page 462 ---
      พุทโธวาท (462:1.25)
               ฯ คือ โอวาท ของ ท่าน ผู้ รู้ นั้น, เหมือน คำ โอวาท ของ พระพุทธเจ้า, ว่า สิ่ง นี้ ควร ทำ, สิ่ง นี้ ไม่ ควร ทำ เปน ต้น.
      พุทธ บุตร (462:1.26)
               ฯ แปล ว่า ลูก พระเจ้า, คน เกิด มา ใน มารดา ที่ เปน มะเหษี ของ พระองค, เมื่อ พระองค ยัง ไม่ ได้ ตรัส เปน พระเจ้า ใน ชาติ นั้น.
      พุทธปริหาร (462:1.27)
               ฯ คือ คำ ที่ พระพุทธเจ้า นำ มา กล่าว นั้น.
      พุทธบิดา (462:1.28)
               ฯ แปล ว่า พ่อ พระเจ้า, คน เปน บิดา ใน ชาติ ที่ ได้ ตรัส* นั้น.
      พุทธปริสัตว (462:1.29)
               ฯ คือ พวก บริสัตว ของ ท่าน ผู้ รู้ นั้น, เหมือน ผู้ ฟัง คำ สั่ง สอน ของ พระพุทธเจ้า เปน ต้น นั้น.
      พุทธองค (462:1.30)
               ฯ แปล ว่า องค พระพุทธเจ้า, คือ รูป กาย แห่ง พระ พุทธเจ้า.
      พุทธภูม (462:1.31)
               ฯ แปล ว่า ที่ พื้น แห่ง พระเจ้า, ประสงค์ เอา บารมี ที่ ทำ ด้วย ปราฐนา จะ เปน พระเจ้า นั้น.
      พุทธ ลิลาศ (462:1.32)
               ฯ คือ ดำเนิน แห่ง พระพุทธเจ้า นั้น, เหมือน พระ พุทธองค ทรง พระดำเนิน เปน ต้น.
พูด (462:1)
         คือ ถ้อย คำ ที่ ออก จาก ปาก คน, คน กล่าว วาจา ออก มา จาก ปาก ว่า พูด นั้น.
      พูด กัน (462:1.1)
               คน กล่าว วาจา แก่ กัน, คน เจรจา ด้วย กัน นั้น, ว่า พูด กัน.
      พูด โกง ๆ (462:1.2)
               คือ พูด โกหก ฤๅ พูด ไม่ ตรง นั้น, เหมือน คน พาล สันดาน คด พูดจา โกง ๆ นั้น.
      พูด ข้าง ๆ (462:1.3)
               คือ พูด ไม่ ตรง ความ นั้น, เหมือน คน พูด ไพล่ เผล่ เปน ต้น นั้น.
      พูด ขวาง (462:1.4)
               พูด เกเร, คือ เจรจา ขัด ขวาง ผู้ อื่น, คน สอง คน วิวาท ติด เงิน กัน, มี ผู้ บัญชา ลูก ให้ ชำระ ตัด สีน ให้, ลูก กลับ ว่า คน หนึ่ง จะ เอา, คน หนึ่ง ไม่ ให้, ว่า ข้า ตัดสีน ไม่ ได้ ลูก พูด เช่น นี้ ว่า พูด ขวาง.
      พูด ขัด ฅอ (462:1.5)
               คือ เจรจา ว่า กล่าว ขัด ขืน, เขา ว่า ของ นี้ ดี, ขัด ว่า ไม่ ดี, ผู้ อื่น ว่า ได้, ขัด ว่า ไม่ ได้ เปน ต้น.
      พูด เสียบ แทง (462:1.6)
               คือ คน พูด เสียดแทง กัน ด้วย หอก คือ ปาก นั้น, เหมือน พูด กระทบ กระเทียบ นั้น.
      พูด ปราไศรย (462:1.7)
               คือ พูดจา ไต่ ถาม ถึง ทุกข แล ศุข นั้น, ว่า ท่าน* สบาย อยู่ ฤๅ เปน ต้น.
      พูด จา (462:1.8)
               คือ เจรจา กัน, คน กล่าว สั่ง สนทะนา กัน ด้วย คะดี โลกย ฤๅ คะดีธรรม นั้น.
      พูด เปรย ๆ (462:1.9)
               คือ พูด กัน เฉย ๆ, แล พูด กัน บ้าง เล็ก น้อย นั้น, เหมือน คน รู้ จัก กัน แต่ ไม่ สู้ คุ้น เคย กัน.
      พูด ดี (462:1.10)
               คือ พูด ถูก ไม่ มุษา, คน ใจ สัจซื่อ กล่าว ถ้อย คำ จริง วาจา อ่อน หวาน ไม่ อยาบ นั้น.
      พูด เภ้อเจ้อ (462:1.11)
               คือ พูด เลอะเทอะ ไม่ เปน ธรรม ไม่ เปน ประโยชน์ เหมือน พูด ตลก คะนอง ฤๅ เปน บ้า น้ำลาย.
      พูด บ้า ๆ (462:1.12)
                คือ พูด ไม่ เหมือน คน ดี, พูด เหมือน คน เสีย
      พูดพราย (462:1.13)
               คือ พูดผี ที่ มัน เกิด เพราะ คน ตาย ไม่ ดี, มี หญิง คลอด ลูก ตาย เปน ต้น นั้น. จิตร คลุ้ม คลั่ง ไม่ ได้ ความ นั้น.
      พูด พร่ำพรู (462:1.14)
               พูด ผิด, คือ พูด มาก เหลวไหล ไม่ มี ประโยชน์ นั้น, เหมือน คน เมา เหล้า พูดจา พร่ำพรู เลอะเทอะ.
      พูด พลู่ม พล่าม (462:1.15)
               คือ พูด คล้าย ๆ คน บ้า ว่า ต่าง, ๆ บัดเดี๋ยว ว่า อย่าง นี้ บัดเดี๋ยว ว่า อย่าง อื่น.
      พูด เหลาะแหละ (462:1.16)
               คือ พูดจา ไม่ ยั่ง ยืน* ไม่ มั่นคง นั้น, เหมือน พูด กับ บ้า เจรจา กับ เด็ก.
      พูด อยาบ (462:1.17)
               คือ พูด วา จา ด่า ถึง ผู้ อื่น, ฤๅ ดู หมิ่น ผู้ อื่น ว่า อะไร กะ มัน เปน อะไร ได้ นั้น.
      พูด โอหัง (462:1.18)
               คือ พูด จองหอง, ถือ ตัว ฤๅ ยก ตัว ข่ม ท่าน นั้น, เหมือน คน พูด ว่า ตัว เรา นี้ ดี ยิ่ง กว่า คน อื่น ทั้ง ปวง.
      พูด ตลก (462:1.19)
               คือ พูด ขัน ๆ, เหมือน หมอ พูด ว่า เจ้าคุณ เอา เงิน ค่าเช่า ที่ มาก ราว กับ กลืน หมอ เข้า ไป นั้น.
      พูด ไหล เล่อ (462:1.20)
               คือ พูด พล้ำ เผลอ ไม่ เปน ปรกติ นั้น, เหมือน คน บ้า ฤๅ คน ผี สิง พูด ไหล เล่อ.
      พูด ร่ำไร (462:1.21)
               คือ พูด แล้ว พูด อีก ด้วย เรื่อง ความ อัน เดียว นั้น.
      พูด ยก ตน ข่ม ท่าน (462:1.22)
               คือ พูดจา ดูหมิ่น ดู ถูก ท่าน นั้น, เหมือน คำ ว่า ทำไม กะมัน เรา ดี กว่า มัน มาก.
      พูด เหลวไหล (462:1.23)
               คือ พูด ไม่ ได้ จริง สัก คำ, ไม่ ได้ ความ สัก คำ นั้น.

--- Page 463 ---
      พูด เลอะเทอะ (463:1.24)
               คือ พูด ว่า อย่าง นี้, บัด เดี๋ยว* กลับ ว่า ไม่ อย่าง นั้น ดอก เปน อย่าง นี้ ดอก, เอา แน่ ไม่ ได้ นั้น.
      พูด อุบอิบ (463:1.25)
               คือ พูด งุบงิบ พูด ไม่ สละ สลวย นั้น, เหมือน คน เปน อ่าง ฤๅ ใบ้ เปน ต้น* นั้น.
      พูด อุตริ (463:1.26)
               คือ พูด ให้ ยิ่ง กว่า เหตุ นั้น, เหมือน คน พูด ว่า เรา จะ เปน พระเจ้า ฤๅ เรา เปน ทูต สวรรค นั้น.
      พูด อ้ำ อึ้ง (463:1.27)
               คือ พูด ออก ไม่ ใคร่ ได้ ด้วย ต่อ คิด ใน ใจ, คน มา ฃอ ของ มี น้อย ครั้น จะ ให้ เร็ว ๆ, ก็ กลัว จะ สิ้น ต้อง ค่อย* คิด ว่า จะ ให้ ดี ฤๅ อย่า ให้ ดี, แล้ว จึ่ง พูด.
      พูด ผี (463:1.28)
               พูด ปิศาจ, คือ ปิศาจ, เขา เรียก ว่า พูด ผี บ้าง, เขา ฝัง ทรัพย ไว้, คน นั้น ตาย ไป เขา ว่า ไป เกิด เปน พูด ผี เฝ้า ทรัพย นั้น ก็ มี บ้าง.
      พูด สำราก (463:1.29)
               คือ พูด ด้วย คำ ดัง กระชาก กระชั้น ขู่ ออก มา ด้วย กำ ลัง โกรธ, ว่า มิ เอา ไย มิ ไป ไย เปน ต้น.
      พูด นอก ทาง (463:1.30)
               คือ พูด ไม่ เข้า ทาง นั้น, ว่า พ่อแม่ มี คุณ แก่ ลูก อย่าง ไร.
      พูด โว้เว้ (463:1.31)
               คือ พูด วุ่นวาย, เหมือน คน กิน เหล้า เมา พูด อวก บ้าง, บังอาจ ทุบ ตี ฟัน แทง ผู้ อื่น บ้าง.
      พูด ลำเอียง (463:1.32)
               คือ พูด เข้า กับ คน ฝ่าย ข้าง หนึ่ง, เหมือน คน สอง คน วิวาท กัน พูด เข้า กับ ฝ่าย หนึ่ง นั้น.
      พูด โอ้ อวด (463:1.33)
               คือ พูด ยก ตน ข่ม ท่าน สรรเสิญ ตัว นั้น.
      พูด อาสัจ (463:1.34)
               คือ พูด ไม่ เปน คำ จริง พูด มุสา เปน คำ เท็จ นั้น.
      พูด มุสา (463:1.35)
               คือ คน คิด แล้ว พูด ปด ออก มา นั้น, เหมือน คน มุสาวาท กล่าว คำ เท็จ นั้น.
      พูด เล่น (463:1.36)
               คือ พูด ไม่ มี ประโยชน์ เลย, เหมือน คน เปน จำ อวด พูด ว่า อ้าย ตลก พ่อ คน เจรจา เปน ต้น นั้น
      พูด ปลับ เปลือก (463:1.37)
               คือ คน พูด ทำ ตา ค้อน ๆ ดวัก* นั้น, เหมือน หญิง แสน* งอน พูด ทำ ปลับ เปลือก นั้น.
      พูด โลน (463:1.38)
               คือ พูด ประสามหาว, พูด ถึง ของ ที่ ลับ แห่ง ชาย แล หญิง, ว่า โต ว่า เล็ก ว่า สั้น แล ยาว เปน ต้น นั้น
เพด (463:1)
         นี้ เปน อักษร เดิม, ยัง ไม่ มี อักษร ลักษณะ บังคับ เข้า, ยัง ไม่ มี ความ ก่อน.
เพ็ด ทูล (463:2)
         คือ คน รับ เรื่อง ราว ต่าง ๆ ไป บอก เล่า แก่ ท่าน ผู้ เปน ใหญ่ นั้น, เหมือน เพ็ด ทูล กับ พระ มหา กระษัตริย์.
เพท (463:3)
         ฯ แปล ว่า แตก หัก ทำ ลาย ก็ ได้, แปล ว่า ต่าง ก็ ได้, ตาม อธิบาย นั้น.
      เพ็ศลูกรรม (463:3.1)
               คือ เปน ชื่อ เถาวัล อย่าง หนึ่ง, เหมือน อย่าง เถา ตานหม่อน. อนึ่ง เปน ชื่อ แห่ง พระวิศุกรรม เทวบุตร นั้น.
      เพ็ชร์ (463:3.2)
               คือ แก้ว วิเชียร, แด่ บันดา แก้ว แปด ประการ ไม่ เสมอ แก้ว วิเชียร คือ เพ็ชร์.
      เพ็ชฆาฏ (463:3.3)
               คือ ผู้ ที่ สำรับ ฆ่า คน นั้น, เหมือน นาย เพ็ชฆาฏ ที่* สำรับ ประหาร ชีวิตร พวก นักโทษ.
      เพ็ชร โหร่ง (463:3.4)
               คือ เพ็ชร์ ใส เปน กระจก ดู โปร่ง แล ตลอด เหมือน เปน ช่อง ว่าง เปล่า อยู่ นั้น.
      เพ็ชหลีก (463:3.5)
               คือ เปน ชื่อ ว่าน อย่าง หนึ่ง, ชื่อ ว่าน* เพ็ชหลีก, ที่ เขา ใช้ เปน เครื่อง แคล้ว คลาศ นั้น.
      เพศ ชาย (463:3.6)
               คือ อาการ ที่ เปน ชาย, มี อะไวยวะ ที่ ลับ เปน ต้น แล กิริยา ที่ เดิน แล นั่ง เปน ต้น.
      เพ็ชหึง (463:3.7)
               คือ เปน ชื่อ ว่าน อย่าง หนึ่ง, เหมือน ลม เพ็ชหึง นั้น
      เพศ หญิง (463:3.8)
               คือ อาการ เปน หญิง มี อะไวยวะ ที่ ลับ เปน ต้น, แล กิริยา ที่ เดิน เปน ต้น นั้น.
      เพ็ชปาณี (463:3.9)
               เปน ชื่อ ตำแหน่ง ขุนนาง ใน กรมเมือง คน หนึ่ง, เขา เรียก พระยาเพ็ชปาณี.
      เพศ มนุษ (463:3.10)
               คือ อาการ แล รูป ผิด กับ สัตว ดิรัจฉาน, แล กาย สูง ตรง ขึ้น ไป เปน ธรรมดา.
      เพ็ชบุรีย (463:3.11)
               เปน ชื่อ เมือง เพ็ชบุรีย นั้น, เหมือน เมือง พิชพรี มี น้ำตาล มาก นั้น.
      เพศ เทวดา (463:3.12)
               คือ อาการ แล รูป ผิด กับ มนุษ, คือ ไม่ พริบ หน่วย ตา, แล มี ผิว หนัง ท้าว ศรี เหมือน ศรี ท้าว นกพิราบ เปน ต้น นั้น.
      เพ็ชร์ น้ำค้าง (463:3.13)
               คือ* แก้ว ศรี ขาว อย่าง หนึ่ง, เขา ใช้ ทำ หัว แหวน เปน ต้น.
      เพศ สัตว (463:3.14)
               คือ อาการ ไม่ มี ผม เหมือน มนุษ, แล รูป กาย ขวาง แผ่นดิน ไป, ไม่ ตรง สูง ขึ้น ไป เหมือน มนุษ* นั้น
      เพ็ชตา (463:3.15)
               คือ ชื่อ ตำแหน่ง* ขุนนาง ใน กรม นครบาล คน หนึ่ง.
แพทย์ (463:4)
         ฯ เปน คำ แผลง อธิบาย ว่า เปน คน รู้ วิชา, เหมือน ชื่อ* หมอ หลวง ชื่อ สิทธิแพทย์,

--- Page 464 ---
แพสยา (464:1)
          ฯ, เปน คำ แผลง จาก สับท์, อธิบาย ว่า หญิง แพสยา คือ หญิง นั้น ร่วม สังวาศ กับ ชาย ใน เวลา เดียว สอง คนเปน ต้น.
โพทธิสมภาร (464:2)
         คือ คน สร้าง บาระมี เพื่อ จะ เปน พระเจ้า. อย่าง หนึ่ง ว่า คน ต่าง ประเทศ เข้า มา อาไศรย ๆ อยู่ ใน เมือง เปน ศุข, ว่า พึ่ง โพทธิสมภาร อยู่.
โพธิญาณ (464:3)
         คือ ปัญญา ที่ ตรัส* รู้ พระธรรม เปน อะริยะบุคคล อัน ประเสริฐ, ไม่ มี ผู้ ใด เสมอ สอง.
โพธิวงษ (464:4)
         คือ วงษ ที่ จะ ตรัสรู้ เปน พระเจ้า, ความ ประสงค พระโพธิสัต ยัง สร้าง บารมี อยู่ นั้น.
พล (464:5)
         คือ กำลัง นั้น, เหมือน พล ช้าง พล ม้า พล รถ พล เดิน ท้าว เปน ต้น นั้น.
      พล เทพ (464:5.1)
               คือ เปน ชื่อ ตำแหน่ง ขุนนาง ใน กรมนา คน หนึ่ง, ชื่อ เจ้าพระยา พลเทพ เปน ต้น.
      พล เสนา (464:5.2)
               คือ เสนา มี กำ ลัง นั้น, เหมือน พล เสนา ช้าง เปน ต้น* นั้น.
      พล แสน (464:5.3)
               คือ มี กำลัง แสน หนึ่ง นั้น, เหมือน คำ ว่า โยธา พล แสน เปน ต้น นั้น.
      พล นิกาย (464:5.4)
               ฯ เปน คำ แผลง อธิบาย ว่า เปน หมู่ แห่ง พล เปน เหล่า แห่ง พล โยธา นั้น.
      พล ไพร่ (464:5.5)
               คือ ชน ราษฎร พลเรือน, มิ ใช่* เจ้า มิ ใช่* ขุนนาง, เปน ชาว บ้าน ชาว เมือง เปน ปรกติ นั้น.
      พล ม้า (464:5.6)
               คือ เสนา ขี่ ม้า นั้น, เหมือน พวก กรม ม้า ทั้ง ปวง เปน ต้น นั้น.
      พลไกร (464:5.7)
               คือ ยิ่ง ด้วย กำลัง ฤๅ มี กำลัง ยิ่ง นั้น, เหมือน ทหาร มี กำลัง อัน ยิ่ง เปน ต้น.
      พลพลากร (464:5.8)
               คือ พวก พล น้อย ใหญ่, พล โยธา กอง น้อย กอง ใหญ่ ที่ ยก ทัพ ไป รบ กับ ฆ่าศึก.
      พล ขันธ์ (464:5.9)
               คือ กอง พล นั้น, เหมือน กอง ทัพ ฤๅ พวก ทหาร เปน ต้น นั้น.
      พล ทหาร (464:5.10)
               คือ พวก ทหาร เรียก ว่า พล โยธา ทหาร ที่ ฝึก หัด ยิง ปืน, แล หัด ถ้า อาวุธ ต่าง ๆ, มี หอก ดาบ เปน ต้น.
      พล รถ (464:5.11)
               คือ พวก เสนา ขี่ รถ นั้น, เหมือน พวก พล ขี่ รถ เปน ต้น.
      พล เมือง (464:5.12)
               คือ ราษฎร ชาว เมือง, บันดา ชาย ไพร่ ที่ อยู่ ใน เมือง มาก น้อย เท่า ใด, เรียก พล เมือง ทั้ง สิ้น.
      พล บทจร (464:5.13)
               คือ พวก พล ที่ เดิน ไป ด้วย ท้าว นั้น, เหมือน กอง ทัพ บก เปน ต้น นั้น.
      พล อาษา (464:5.14)
               คือ พล โยธา รับ อาษา เปน กอง สำ บ ออก น่า ก่อน โยธา ทั้ง ปวง นั้น.
      พล ความ (464:5.15)
               คือ สร้อย ความ นั้น, เหมือน คำ ที่ ไม่ ใช่ ใจ ความ ไม่ใช่ ข้อ ความ นั้น.
      พล รบ (464:5.16)
               คือ โยธา ทหาร สำรับ เกณฑ์ ไป รบศึก, ทุก แห่ง ทุก ตำบล บก แล เรือ นั้น
      พลเรือน (464:5.17)
               คือ พวก ฝ่าย มหาดไท นั้น, เหมือน สนม พลเรือน ฤๅ คน พลเรือน เปน ต้น นั้น.
      พล พรรค (464:5.18)
               คือ พวก พล ฤๅ หมู่ พล นั้น, เหมือน คำ ว่า พวก พลพรรค นั้น.
      พล โยธา (464:5.19)
               คือ พวก โยธา มี กำลัง นั้น, เหมือน คำ ว่า ยก พล โยธา ทัพ ไป นั้น.
พ่น (464:6)
         คือ อาการ ที่ เป่า ไป ด้วย ปาก นั้น, เหมือน พ่น พิศม์ พ่น ควัน พ่น ยา พ่น ตา นั้น.
      พ่น ควัน (464:6.1)
               คือ การ ที่ เป่า ควัน ออก ไป นั้น, สูบ บู้หรี่ ฤๅ สูบ กล้อง แล กันชา เปน ต้น.
      พ่น น้ำ (464:6.2)
               คือ การ ที่ เป่า น้ำ ออก ไป นั้น, เหมือน ปลาวาน พ่น น้ำ, ฤๅ ปลาเสือ พ่น น้ำ เปน ต้น นั้น.
      พ่น พิศม์ (464:6.3)
               คือ การ ที่ เป่า พิศม์ ออก ไป นั้น, เหมือน พระยา นาค พ่น พิศม์ เปน ต้น นั้น.
      พ่น ยา (464:6.4)
               คือ การ ที่* เป่า ยา ออก ไป นั้น, เหมือน คน พ่น ยา คน ไข้ เปน ต้น* นั้น.
พ้น (464:7)
         คือ ล่วง ข้าม ไป ได้ นั้น, เหมือน คน หนี ไภย, เอา ตัว รอด ได้ พ้น ทุกข พ้น ไภย พ้น สังสารวัฎ เปน ต้น*.
      พ้น ทุกข (464:7.1)
               คือ ล่วง ข้าม ความ ทุกข ไป ได้ นั้น, เหมือน คน พ้น ทุกข จาก ทาษ เขา เปน ต้น นั้น.
      พ้น ยาก (464:7.2)
               คือ ล่วง ข้าม ยาก ไป ได้ นั้น, เหมือน คน พ้น ยาก จาก ทุกข เปน ต้น นั้น.
      พ้น ตัว* (464:7.3)
               คือ ความ ที่ ปลด เปลื้อง ล่วง ข้าม ไป จาก ตัว นั้น, เหมือน ผู้ร้าย ซัด แก้ ไข พ้น ตัว* ไป ได้ เปน ต้น นั้น.

--- Page 465 ---
      พ้น นี่ (465:7.4)
               คือ คน พ้น จาก เปน นี่ เขา นั้น, เหมือน คน พ้น จาก ยาก ได้ เปน ไท แล้ว เปน ต้น นั้น.
      พ้น แล้ว (465:7.5)
               คือ ล่วง ข้าม พ้น ได้ แล้ว นั้น, เหมือน คน พ้น แล้ว จาก ทุกข จาก ไภย เปน ต้น นั้น.
      พ้น บุญ (465:7.6)
               พ้น บาป, พ้น ศุข, พ้น ทุกข, คือ สิ่ง ที่ เขา เรียก ว่า พระ นิพาน นั้น, เพราะ ออก จาก ทุก ทั้ง ปวง ได้ แล้ว.
พัน (465:1)
         คือ นับ ตั้ง แต่ หนึ่ง ถึง ร้อย, สิบ ร้อย นับ ว่า พัน นั้น.
      พรรค (465:1.1)
               อธิบาย ว่า หมู่, เหมือน ฝูง สัตว ต่าง ๆ มัน อยู่ เปน หมู่ นั้น.
      พรรณะ (465:1.2)
               อธิบาย ว่า ศรี, คือ ศรี เขียว ขาว เหลือง แดง ดำ, แล ศรี หงษิยบาท* คือ ศรี ชมภู แก่.
      พรรณรังษี (465:1.3)
               ว่า ศรี รัศมี นั้น, เหมือน ฉพรรณ*รังษี พระ รัศมี หก ประการ นั้น.
      พันธ์ (465:1.4)
               คือ ผูก, คน ผูก เรือ ฤๅ ผูก สัตว ด้วย เชือก นั้น, ว่า พันธ์ ไว้ มั่นคง นั้น.
      พรรณราย (465:1.5)
               ว่า ศรี เรี่ย ราย พราย พร้อย, เหมือน พระปราง ที่ ท่าน ประดับ ด้วย กะเบื้อง ถ้วย นั้น.
      พันธุ (465:1.6)
               คือ เผ่า พันธุ พี่ น้อง ลูก หลาน เชื้อ เครือ ญาติ สกูล วงษ อัน เดียว เนื่อง กัน นั้น.
      พันธนาการ (465:1.7)
               คือ อาการ ที่ เฃา ผูก มัด รัด รึง นั้น, เหมือน อ้าย พวก นักโทษ ที่ ต้อง จำ ห้า ประการ นั้น.
      พรรษ (465:1.8)
               อธิบาย* ว่า ปี แล ว่า ฝน, เหมือน คน เรียก ว่า เข้า พรรษา นั้น.
      พรรษา (465:1.9)
               ว่า ปี ว่า ฝน ทั้ง หลาย นั้น, เหมือน คำ ว่า ปะวาระณา พรรษา นั้น.
      พัน เชือก (465:1.10)
               คือ ผูก ด้วย เชือก, ว่า ผูก พันธ์ ด้วย เชือก ก็ ได้, ว่า มัด ด้วย เชือก ก็ ได้.
      พัละวัน (465:1.11)
               คือ พัวพันธ์ กัน, เหมือน ป่าน ว่าว สอง ตัว มัน ติด* พัน กัน ยุ่ง ลง อยู่ นั้น.
      พันธ์ ผูก (465:1.12)
               คือ ทำ เชือก ให้ รอบ แล้ว ทำ เงื่อน สอง ข้าง ให้ รัด รึง เข้า ด้วย กัน, กระสัน ไว้ ให้ แน่น นั้น.
      พัละวัน พัละเก (465:1.13)
               ความ เหมือน ว่า ก่อน แล้ว, ต่าง* แต่* คำ, เหมือน งู พัน กัน นั้น.
พาน (465:2)
         คือ ภาชนะ มี ท้าว, เขา ทำ ด้วย ทอง เหลือง บ้าง, ทำ ด้วย ทอง ขาว บ้าง, ทอง คำ บ้าง, เงิน บ้าง, ที่ ใหญ่ กว้าง ประมาณ สิบหก นิ้ว, ที่ อย่าง เล็ก สัก สอง นิ้ว, สูง ภอ สมควร สำรับ ใส่ ผ้า ใส่ หมาก เปน ต้น.
      พาล (465:2.1)
               คือ เปน คน โหยกเหยก เหน ผิด เปน ชอบ, ประพฤติ แต่ การ ทุจริต ชั่ว เช่น นั้น.
      พาน ขึ้น (465:2.2)
               คือ เด็ก หญิง ชาย เมื่อ อายุ ได้ สิบสี่ ปี สิบห้า ปี มี นม ลื่น ขึ้น, อาการ เหมือน จะ บอก ว่า จะ เปน ผู้ ใหญ่ ขึ้น.
      พาน เชือก (465:2.3)
               คือ เอา เชือก ขึง ไว้ ยาว แล้ว ไล่ สัตว มี งัว เปน ต้น*, ให้ วิ่ง มา ถูก เชือก เข้า ล้ม นั้น.
      พาน ชุด (465:2.4)
               คือ ภาชนะ ทำ เช่น ว่า นั้น, รูป เล็ก ๆ กว้าง สัก สาม นิ้ว สำรับ ใส่ ชุด จุด บู้หรี่ นั้น.
      พาน เงิน (465:2.5)
               คือ รูป ภาชนะ เช่น ว่า แล้ว, เขา ทำ ด้วย เงิน รูป ย่อม ๆ ไว้ ใส่ หมาก เปน ต้น นั้น.
      พาน ทอง (465:2.6)
               คือ รูป ภาชนะ เช่น ว่า แล้ว, เฃา ทำ ด้วย ทอง คำ สำรับ ใส่ ผ้า เปน ต้น* นั้น.
      พาน ถม (465:2.7)
               คือ รูป ภาชนะ ที่ เรียก ว่า พาน นั้น, เฃา ทำ ด้วย เงิน แล้ว เอา ยา ถม ทา เข้า เปน ลาย ดำ นั้น.
      พาน นาก (465:2.8)
               คือ รูป พาน เขา ทำ ด้วย นาก, ๆ นั้น เขา เอา ทอง แดง กับ ทอง คำ ประสม ปน กัน เข้า เปน นาก.
      พาน นม (465:2.9)
               คือ นม ขึ้น ลื่น ๆ เมื่อ อายุ ได้ สิบ สี่ สิบห้า ปี เช่น ว่า นั้น, เหมือน เด็ก ที่ นม ขึ้น แขง เปน ได นั้น.
      พาน พิภพ (465:2.10)
               คือ คน ได้ ราชสมบัติ เปน เอกราช ใน แว่น แคว้น อัน หนึ่ง, เหมือน กรุงศีอยุทธยา เปน ต้น.
      พาล พาโล (465:2.11)
               คือ ใส่ ความ ชั่ว ความ ร้าย ต่าง ๆ แก่ กัน นั้น, เหมือน คน ขี้ ฉ้อ หมอ ความ เปน ต้น นั้น.
      พาน หมาก (465:2.12)
               คือ พาน รูป ย่อม ๆ สำรับ ใส่ หมาก พลู ให้ แขก กิน ฤๅ ถวาย พระสงฆ เปน ต้น.
      พาน แป้ง (465:2.13)
               คือ พาน ที่ สำรับ ใส่ แป้ง นั้น, เหมือน พาน ที่ ใส่ แป้ง หอม น้ำมัน เปน ต้น* นั้น.
      พาน พระศี (465:2.14)
               คือ พาน ทำ ด้วย ทอง คำ, ใหญ่ ประมาณ สี่ กำเลศ เปน เครื่อง เจ้า สำรับ ใส่ มาก เสวย.
      พาน กลีบ บัว (465:2.15)
               คือ พาน ที่ เขา สลัก เปน กลีบ บัว นั้น, เหมือน พาน พระศี เปน ต้น* นั้น.

--- Page 466 ---
พ่าน (466:1)
         คือ ของ เที่ยว เรี่ยราย อยู่, เหมือน สัตว มี งัว เปน ต้น, มัน เที่ยว อยู่ แห่ง ละ ตัว สอง ตัว ใน ทุ่งนา, ว่า มัน เที่ยว พ่าน อยู่.
      พ่าน หน้า (466:1.1)
               คือ เรี่ยราย อยู่ ข้าง หน้า, ฝูง สัตว ต่าง ๆ เที่ยว อยู่ ข้าง หน้า คน เดิน ไป ว่า พ่าน หน้า.
      พ่าน ไป (466:1.2)
               คือ ของ เรี่ยราย ไป ฤๅ สัตว เรี่ยราย แห่ง ละ ตัว* บ้าง สอง ตัว บ้าง ใน ทุ่ง นา ว่า พ่าน ไป.
      พ่าน มา (466:1.3)
               คือ สัตว มี แพะ แกะ เปน ต้น, มัน เที่ยว มา แห่ง ละ ตัว สอง ตัว ว่า พ่าน มา.
      พ่าน เมือง (466:1.4)
               คือ คน เดิน อยู่ ใน เมือง, ไป มา คราว ละ สี่ คน บ้าง ห้า คน บ้าง เปน ต้น, ว่า เที่ยว พ่าน ไป ใน เมือง.
      พ่าน เพ่น (466:1.5)
               คือ เครือ เขา เถาวัล มัน เลื้อย ไป ข้าง นี้ บ้าง ข้าง โน้น บ้าง, ว่า มัน เลื้อย เพ่น พ่าน อยู่.
พิน (466:2)
         พิณพาทย, เปน ชื่อ เครื่อง ดีด สี ตี เป่า, เขา ทำ ด้วย ไม้ คล้าย กระจับ ปี่* มี นม มี สาย นั้น เรียก ว่า พิณ.
      พินโท (466:2.1)
               ไม้ โท, คือ ไม้ ราชปักษี, ที่ คล้าย หัว นก, เรียก ตาม บท บังคับ ใน จีนดามะณี นั้น, เรียก พิน โท ว่า พิน ที่ สอง.
      พิญโย (466:2.2)
               ยิ่ง ใหญ่, ฯ แปล ว่า ยิ่ง, ฃอง อัน ใด งาม กว่า เพื่อน ว่า ของ นั้น พิญโย.
      พินเอก (466:2.3)
               ไม้ เอก, คือ ไม้ เอก, สัณฐาน คล้าย กับ ไม้ค้อน, ที่ ลง ตาม ตัว อักษร บังคับ นั้น, เรียก พินธ์เอก คือ เปน ที่ หนึ่ง.
พื้น (466:3)
         แผ่น, คือ ภูมมีภาคย, เหมือน แผ่นดิน นั้น เรียก ว่า พื้น, ด้วย เปน แผ่น รอง ของ ต่าง ๆ.
      พื้น กระดาน (466:3.1)
               คือ ที่ เขา ทำ เรือน เอา กระดาน เรียบ ติด ชิด กัน เปน พืด แผ่น สำรับ เดิน เปน ต้น, ว่า พื้น กระดาน.
      พื้น แผ่นดิน (466:3.2)
               คือ ภูมมีภาคย พะสุธา, เขา เรียก เปน คำ สับท์ คือ แผ่นดิน โลกย.
      พื้น ปัตะพี (466:3.3)
               คือ น่า แผ่นดิน ฤๅ พื้น แผ่นดิน นั้น, เหมือน คำ ว่า สัตว มี อยู่ ทั่ว พื้น ปัตะพี นั้น.
      พื้น ขาว (466:3.4)
               คือ ของ มี ผ้า เปน ต้น, ที่ เปน ผ้าขาว เขา ตี พิมพ์ เปน ลาย มี ดอก ต่าง ๆ, เขา ว่า ผ้า พื้น ฃาว.
      พื้น บ้าน (466:3.5)
               คือ พื้น แผ่นดิน ที่ ตั้ง บ้าน อยู่ นั้น. เช่น พื้น บ้าน ทั้ง ปวง นั้น.
      พื้น เขียว (466:3.6)
               คือ ผ้า ศรี เขียว, เขา ทำ เปน ลาย ต่าง ๆ เข้า ใน ผืน ผ้า นั้น ด้วย ศรี แดง เปน ต้น ว่า พื้น เขียว.
      พื้น เมือง (466:3.7)
               คือ พื้น ที่ ตั้ง เมือง นั้น, เหมือน อาณา ประชา ราษ ฎร ที่ อยู่ ตาม พื้น เมือง นั้น.
      พื้น ดำ (466:3.8)
               คือ ของ ที่ มี ศรี ดำ, เหมือน ผ้า เช่น ว่า นั้น, แต่ เปน ศรี ดำ, เขา ทำ ลาย เข้า ว่า พื้น ดำ.
      พื้น เพ (466:3.9)
               คือ พื้น ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน พื้น เรือ ฤๅ พื้น เรือน นั้น
      พื้น แดง (466:3.10)
               คือ ผ้า เปน ต้น, ที่ เดิม มี ศรี แดง แล เขา ทำ ลาย เปน ศรี ต่าง ๆ เข้า นั้น, ว่า พื้น แดง.
      พื้น ฟาก (466:3.11)
               คือ พื้น ที่* ปู ด้วย ไม้ ฟาก นั้น.
      พื้น น้ำ เงิน (466:3.12)
               คือ มี ศรี เหมือน น้ำ เงิน, ที่ เขา หลอม ละลาย คว้าง อยู่, แล เขา ทำ ลาย เข้า อีก ด้วย ศรี อื่น, ว่า ผ้า พื้น น้ำ เงิน.
      พื้น ราบ เสมอ (466:3.13)
               คือ พื้น ราบ รื่น เสมอ นั้น, เหมือน พื้น น่า* กลอง ฤๅ พื้น ลาน วัด นั้น.
      พื้น ม่วง (466:3.14)
               คือ ผ้า ศรี ม่วง เขา ทำ เปน ลวด ลาย เช่น ว่า แล้ว, ถ้า แล ผ้า ศรี ขาว เปน ต้น, ขาว ล้วน* ทั้ง ผืน, เขา ไม่ เรียก พื้น ฃาว, เขา เรียก ว่า ผ้า ขาว, ต่อ มี ศรี อื่น เปน ลาย จึ่ง เรียก ว่า ผ้า พื้น ขาว,
      พื้น หิน (466:3.15)
               คือ ภูม ที่ มี ลาย ล้วน, ไม่ มี สิ่ง อื่น ปนระคน อยู่, เขา เรียก ว่า พื้น หิน.
      พื้น ลุ่ม ๆ ดอน ๆ (466:3.16)
               คือ พื้น ที่ ต่ำ บ้าง สูง บ้าง นั้น, เหมือน พื้น ไม่ เสมอ นั้น.
      พื้น อิฐ (466:3.17)
               คือ ภูม ที่ ล้วน มี แต่ อิฐ, ไม่ มี สิ่ง อื่น เข้า ปน อยู่, เขา เรียก ที่ นั้น ว่า พื้น อิฐ นั้น.
พูน (466:4)
         คือ ทำ ที่ ลุ่ม ที่ ต่ำ ให้ สูง ขึ้น, เขา จะ ทำ ให้ สูง ขึ้น, ขน เอา ดิน ฤๅ สิ่ง อื่น ไป ถม ลง จน สูง ว่า พูน ขึ้น.
      พูน ดิน (466:4.1)
               คือ เอา ดิน มา ถม ให้ พูน* ขึ้น นั้น, เหมือน คน พูน โคก นั้น.
      พูน โคก (466:4.2)
               คือ ทำ ที่ พื้น เสมอ ให้ สูง ขึ้น มาก กว้าง ใหญ่ ภอ อา- ไศรย อยู่ ได้, เขา ขน ดิน ทิ้ง ถม ลง จน สูง, ว่า พูน เปน โคก นั้น.
      พูน ขึ้น (466:4.3)
               คือ ทำ สิ่งฃอง ทั้ง ปวง ให้ พูน* สูง ขึ้น นั้น เหมือน ถม เชิงเทิล นั้น.

--- Page 467 ---
      พูน ปาก (467:4.4)
               คือ ของ ล้น ปาก สูง ขึ้น กว่า ปาก, เหมือน ตวง เข้า ๆ ล้น สูง ขึ้น กว่า ปาก ถัง, ว่า พูน ปาก.
      พูน เปี่ยม (467:4.5)
               คือ ตวง ของ ที่ เปน น้ำ ทั้ง ปวง ให้ เต็ม มูน นั้น, เหมือน อย่าง เท น้ำ ลง ใน ขัน สำฤทธิ์ ให้ พูน เปี่ยม นั้น.
      พูน ทวี (467:4.6)
               คือ มูล มาก ขึ้น ทวี ขึ้น ๆ นั้น, เหมือน คน เปน โรค ทวี มาก ขึ้น, ฤๅ ความ ทุกข์ มาก ขึ้น นั้น.
      พูน ถนล (467:4.7)
               คือ ขน ดิน ถม ลง ให้ ที่ สูง, จะ ก่อ ถนล ด้วย อิฐ
      พูน ทะเวศ (467:4.8)
               คือ ความ เดือด ร้อน มาก ขึ้น นั้น. เหมือน อย่าง คน ทุกข์ โสก พูน ทวี นั้น.
เพน (467:1)
         เวลา, เวลา เที่ยง, คือ เพลา เที่ยง, เรียก ว่า เพน, เพราะ เปน เพลา พระสงฆ์ ฉัน เพลา ที่ สอง นั้น.
เพ่นพ่าน (467:2)
         คือ เถาวัล เลื้อย ไป ข้าง โน้น บ้าง เลื้อย มา ข้าง นี้ บ้าง อย่าง หนึ่ง เชือก เขา ยัง ไม่ ได้ ม้วน รุยราย อยู่ นั้น.
แพน (467:3)
         เปน ชื่อ เครื่อง เป่า, ของ ลาว ๆ ทำ ด้วย ไม้ ลำ เล็ก ๆ เป่า เปน เพลง ลาว, เฃา เรียก แพน.
โพนเพน (467:4)
         คือ ไม้ หลัก เล็ก ๆ ปัก อยู่ ที่ น้ำ เชี่ยว มัน สั่น ไป มา นั้น.
      โพน เที่ยว (467:4.1)
               นี้ เปน ชื่อ อักษร เดิม, เปน ชื่อ ตะโพน เปน เครื่อง พิณพาทย์, สำหรับ เล่น โขน เปน ต้น นั้น,
      โพน ช้าง (467:4.2)
               เที่ยว คล้อง ช้าง, คือ เที่ยว คล้อง ช้าง เถื่อน, เขา เอา ช้าง ต่อ ไป หลาย ตัว บังไพร เข้า คล้อง ช้าง เถื่อน นั้น.
      โพน ทะนา (467:4.3)
               นินทา, ติเตียน, เปน คำ ติเตียน นินทา ประจาน ลับ หลัง, คือ คน กล่าว ลับ หลัง ดัง ๆ ว่า คน นั้น ทำ ชั่ว.
โพ้น (467:5)
         โพ้, พุ้น, โน้น, เปน คำ ภาษา ลาว ว่า โน้น, พวก ลาว ว่า ถึง, ของ อยู่ ไกล ว่า อยู่ โพ้น, ไท ว่า อยู่ โน้น.
พอน (467:6)
         เปน อักษร เดิม ว่า พอน, มี คน ชื่อ พอน มี บ้าง, ยา เรือ ทา ทั่ว ไป มาก เขา ว่า ลาพอน บ้าง.
พร (467:7)
         นี้ ว่า ประเสิฐ, เหมือน จะ ไป รบ ศึก เปน ต้น, แล ผู้ เปน ใหญ่ กล่าว ให้ ได้ ไชย ชะนะ, นั้น ว่า ให้ ความ ประเสิฐ.
      พร อิศวร (467:7.1)
               คือ อิศวร ให้ พร, เหมือน อย่าง นนทุกข์ ได้ พร อิศวร เปน ต้น นั้น.
พวน (467:8)
         คือ เชือก ใหญ่ สำหรับ ผูก ลาก ไม้ ซุง, แล ไม้ ที่ ใหญ่ นั้น, พวน นั้น เส้น โต เท่า แขน บ้าง, โต กว่า แขน บ้าง
      พวน เล็ก (467:8.1)
               คือ เชือก พวน เล็ก ๆ นั้น.
      พวน ใหญ่ (467:8.2)
               คือ เชือก เกลียว ใหญ่ นั้น.
      พวน ดิน (467:8.3)
               คือ พูน ดิน ขึ้น ที่ โคน ต้นไม้, คน จะ ให้ ไม้ งาม เจริญ ขึ้น ขน ดิน ใส่ เข้า พูน ขึ้น, ว่า พวน ดิน.
      พวน เหล็ก (467:8.4)
               คือ พวน ทำ ด้วย เหล็ก นั้น, เหมือน เหล็ก สาย โซ่ กำ ปั่น นั้น.
เพียร (467:9)
         หมั่น, ขยัน, อุษ่าห์, คือ อุษ่าห์ ใน การ งาน ทั้ง ปวง นั้น, คน ทำ การ สาระพัด ทุก อย่าง, มี การ นา เปน ต้น, อุษ่าห์ ว่า เพียร.
      เพียร ทำ (467:9.1)
               หมั่น ทำ, ขยัน ทำ, อุษ่าห์ ทำ, คือ อุษ่าห์ ทำ, คน ประกอบ การ ทุก อย่าง, เหนื่อย แล้ว อยุด เสีย แล้ว ทำ ต่อ ไป ไม่ ละ ทิ้ง เสีย ที เดียว นั้น, ว่า เพียร ทำ.
      เพียร ไป (467:9.2)
               หมั่น ไป, อุษ่าห์ ไป, คือ อุษ่าห์ เดิน ไป, คน เดิน ทาง บก ฤๅ ทาง น้ำ, เหนื่อย แล้ว อยุด, แล้ว เดิน ต่อ ไป นั้น.
      เพียร มา (467:9.3)
               คือ อุษ่าห์ เดิน มา, คน เดิน มา ทาง บก ฤๅ ทาง น้ำ, เหนื่อย อยุด แล้ว เดิน ต่อ มา, ว่า เพียร มา.
เพี้ยน (467:10)
         เพลี้ยน, เปลี่ยน, คือ เบือน ไม่ เหมือน ไม่ คล้าย อย่าง, คน หัด ทำ นอง สวด ฤๅ ทำ รูปะพรรณ์ อัน ใด ไม่ เหมือน อย่าง ว่า เบือน ไป จาก อย่าง.
      เพี้ยน อย่าง (467:10.1)
               เปลี่ยน อย่าง, เพลี้ยน อย่าง, คือ เบือน ไป จาก อย่าง, คน หัด ทำ การ อัน ใด, ฤๅ หัด สวด เปน แต่ คล้าย อย่าง ว่า เพี้ยน อย่าง.
เพื่อน (467:11)
         คือ คน อายุ คราว กัน เสมอ กัน, ด้วย ทรัพย์ ด้วย ยศ เปน ต้น, ว่า เปน เพื่อน กัน.
      เพื่อน กิน (467:11.1)
               คือ คน ที่ รุ่น ราว คราว กัน, มี เข้า ปลา อาหาร สู่ กัน กิน นั้น. เหมือน เพื่อน นักเลง กัน นั้น.
      เพื่อน กัน (467:11.2)
               คือ คน อายุ เท่า ๆ กัน, มี ทรัพย์ สมบัติ ยศ ศักดิ์ เสมอ กัน ชอบ กัน ว่า เพื่อน กัน นั้น.
      เพื่อน กลาง หน (467:11.3)
               คือ คน ชอบ กลาง ทาง นั้น, เหมือน อย่าง เพื่อน เรือ ฤๅ เพื่อน ภบ ปะ กัน ตาม ทาง นั้น.
      เพื่อน ตาย (467:11.4)
               คือ คน ไป ที่ กันดาร, สอง คน ด้วย กัน, ถ้า เกิด ไพย อัน ใด ถึง ด้วย กัน, ว่า เพื่อน ตาย.
      เพื่อน นอน (467:11.5)
               คือ คน ที่ นอน เปน เพื่อน กัน นั้น.

--- Page 468 ---
      เพื่อน ทุกข์ (468:11.6)
               คือ คน มี บุตร ภรรยา เปน ต้น, ไป ด้วย* กัน ฤๅ อยู่ ด้วย กัน, เมื่อ คราว ต้อง ทุกข์ อัน ใด ๆ นั้น.
      เพื่อน บ้าน (468:11.7)
               คือ คน ที่ บ้าน เรือน อยู่ ใกล้ เคียง กัน นั้น, เหมือน คน อยู่ บ้าน เดียว คลอง เดียว กัน นั้น.
      เพื่อน ฝูง (468:11.8)
               คือ คน เปน เพื่อน ร่วม กิน ร่วม นอน, เที่ยว เล่น ด้วย กัน นั้น.
      เพื่อน เล่น (468:11.9)
               คือ คน ที่ เคย เล่น ด้วย* กัน นั้น, เหมือน พวก เด็ก ๆ มัน เล่น ด้วย กัน นั้น.
      เพื่อน ร่วม ใจ (468:11.10)
               คือ เพื่อน ที่ มี อัทยา ไศรย ถูก ต้อง กัน นั้น, เหมือน เพื่อน ที่ ปฤกษา เหน พร้อม ใจ กัน นั้น.
      เพื่อน ยาก (468:11.11)
               คน มี บุตร ภรรยา เปน ต้น, ไป ด้วย* กัน ฤๅ อยู่ ด้วย กัน ใน เวลา ถึง ความ ยาก นั้น, ว่า เพื่อน ยาก.
      เพื่อน ศุข (468:11.12)
               คือ เปน เพื่อน กัน แต่ เมื่อ คราว ศุข สบาย นั้น, ครั้น ต้อง ไภย ได้ ทุกข์ แล้ว ทำ เหมือน ไม่ รู้ จัก กัน นั้น.
      เพื่อน รัก (468:11.13)
               คือ คน อื่น ใช่ ญาติ ใช่ บุตร ภรรยา, แต่ ว่า รัก กัน ชอบ กัน ทุกข์ ร้อน ช่วย กัน, ว่า เพื่อน รัก.
      เพื่อน เรือ (468:11.14)
               คือ เพื่อน ที่ ไป เรือ ภบ ปะ กัน ตาม ทาง, เหมือน อย่าง เพื่อน เรือ ไป เที่ยว ค้า ขาย นั้น.
พบ (468:1)
         ปะ, ประสบ, คือ ไป มา ถึง ได้ เหน กัน, คน ไป หา กัน แล ไป ถึง ได้ เหน กัน พูด จา กัน, ว่า พบ นั้น.
      พบ กัน (468:1.1)
               คือ คน ไป หา กัน, ฤๅ คน ข้าง หนึ่ง ไป, ข้าง หนึ่ง มา เหน กัน ที่ หน ทาง, ว่า ภบ กัน.
      พบปะ (468:1.2)
               คือ คน ข้าง หนึ่ง ไป ข้าง หนึ่ง มา. ถึง กัน ได้ พูด กัน ถึง ไม่ ได้ พูด กัน แต่ เหน กัน ก็ ว่า ภบ ปะ.
พับ (468:2)
         คือ ทบ เข้า, เหมือน มีด เล็ก ๆ เขา ไม่ ต้อง การ ใช้ ทบ เข้า เสีย กับ ด้ำ นั้น, ว่า พับ ไว้.
      พับ แก่ (468:2.1)
               พับ เงิน, คือ ควร แก่ เจ้า เงิน นั้น, เหมือน สารกรม ธรรม์ แก่ เกิน พระ ราช กำหนด นั้น.
      พับ ขา (468:2.2)
               คือ ทบ ขา เข้า, คน เอยียด ขา อยู่, แล้ว งอ ทบ ขา เข้า นั้น, เขา ว่า พับ ขา เข้า นั้น.
      พับ เขียง (468:2.3)
               คือ ห่ม ผ้า ไว้ เฉียง ข้าง หนึ่ง นั้น, เหมือน พวก ผู้ หญิง ห่ม ผ้า สะใบ เฉียง นั้น.
      พับ ผ้า (468:2.4)
               ทบ ผ้า, คือ ทบ ผ้า เข้า เปน ชั้น ๆ, คน จะ เก็บ ผ้า ไว้ ไม่ นุ่ง ห่ม แล ทบ ผ้า เข้า ไว้ นั้น.
      พับ พะแนง เชิง (468:2.5)
               คู้ ขา เข้า โดย รอบ, คือ นั่ง ขัศมาธิ์, คน นั่ง ขัศมาธิ์ ทบ ขา เข้า ทั้งสอง ข้าง ซ้อน กัน นั้น.
      พับ เพียบ (468:2.6)
               คือ นั่ง พับ ขา ทั้ง สอง ข้าง, เหมือน ผู้ หญิง นั่ง ชุม เปน ธรรมดา นั้น, ว่า พับ เพียบ.
เพียบ (468:3)
         คือ ของ เต็ม ลำ เรือ ๆ ยัง เหลือ พ้น น้ำ อยู่ สัก สาม นิ้ว สี่ นิ้ว, ว่า เรือ เพียบ.
      เพียบ ลำ (468:3.1)
               คือ เรือ คน บัน ทุก ของ ลง เต็ม, เรือ ยัง สูง พ้น น้ำ อยู่ สัก สาม นิ้ว สี่ นิ้ว นั้น.
      เพียบ แต้ (468:3.2)
               คือ เพียบ หนัก เหมือน เรือ บันทุก เกลือ, เขา บันทุก กราบ เรือ สูง พ้น น้ำ สัก สาม นิ้ว สี่ นิ้ว นั้น.
พิมพ์ (468:4)
         แบบ, คือ แบบ, คน ทำ รูป ของ ต่าง ๆ มี รูป ตัว อักษร เปน ต้น แล้ว ตี ลง เปน รูป เหมือน แบบ ว่า พิมพ์.
      พิมพาภรณ์ (468:4.1)
               เครื่อง ประดับ, แปล ว่า เครื่อง ยัง ศริระ* ที่ พร้อง ให้ เตม คือ เครื่อง ประดับ กาย, มี กำไล แล ลูก ปล่ำ
      พิมเสน (468:4.2)
               คือ ของ อย่าง หนึ่ง, มี กลิ่น หอม สำหรับ ทำ ยา แก้ ลม ดี นัก, มา แต่ ต่าง ประเทศ. อย่าง หนึ่ง เปน ต้น ไม้ ใบ มัน หอม คล้าย พิมเสน เทษ มี ที่ เมือง ไท นี้.
      พิม หัว (468:4.3)
               คือ พิม ที่ ตัว อักษร, แม่ ละ สี่ พินธุ เปน ต้น, เขา เรียก ว่า พินธุ หัว, เพราะ มัน อยู่ บน ตัว อักษร นั้น.
      พิม ขนม (468:4.4)
               แบบ ขนม, คือ แบบ รูป ขนม ต่าง ๆ, เขา จะ ทำ ฃนม ให้ เปน รูป ๆ, เขา แกะ รูป ลง ที่ ไม้ เปน รูป ตาม ชอบ ใจ, แล้ว เอา แป้ง ใส่ ลง ใน รู พิมพ์ ให้ แน่น แล้ว เอา ออก.
พึม (468:5)
         งึม, เปน เสียง คน พูด ดัง เสียง พึม ๆ เช่น นั้น มี บ้าง, เปน เสียง สัตว์ ก็ มี บ้าง.
      พึม พำ (468:5.1)
               เปน เสียง ดัง พึมพำ, คน พูด ดัง พึมพำ บ้าง, เสียง สัตว์ ร้อง พึมพำ ก็ มี บ้าง.
      พุมพำ (468:5.2)
               คือ เสียง ดัง พุมพำ นั้น, เหมือน อย่าง เสียง คน แก่ บ่น พึมพำ นั้น.
พุ่ม (468:6)
         คือ สุมทุม ไม้ รก ด้วย ต้น ไม้ แล เถาวัล ต่าง ๆ พัน ขึ้น เปน ซุ้ม เซิง พัว พัน อยู่.
      พุ่ม ดอกไม้ (468:6.1)
               คือ ต้น ดอกไม้ เอา ไฟ จุต* นั้น. อย่าง หนึ่ง เขา เอา กิ่ง ดอก ไม้ มา เสียบ เปน ต้น ไม้ พุ่ม.
      พุ่ม เข้า บิณฑ์ (468:6.2)
               คือ พุ่ม เขา ปัก ไว้ ที่ ก้อน เข้า บูชา นั้น.

--- Page 469 ---
      พุ่ม ไม้ (469:6.3)
               คือ สุมทุม ไม้ รก ด้วย ต้น ไม้ แล กิ่ง ไม้, แลเครือ เขา เถาวัล พัน พัว รก เปน ซุ้ม เซิง นั้น.
      พุ่ม หนาม (469:6.4)
               คือ เซิงหนาม ที่ รก เปน พุ่ม อยู่ นั้น, เหมือน พุ่ม หนาม พุงดอ นั้น.
      พุมมะ (469:6.5)
               ฯ แปล ว่า พระ อังคาร, เปน ชื่อ พระ อังคาร นับ เข้า ใน เทวดา นพ เคราะห์ เก้า องค์ นั้น.
      พุมมะรินท์ (469:6.6)
               แมลง ผึ้ง, แมลง ภู่, แปล ว่า มะแลงภู่ ตัว ใหญ่, เปน ตัว สัตว มี ปีก ศรี ดำ เอา เกสร ดอก ไม้.
พ้อม (469:1)
         เปน ของ สาน ด้วย เส้น ตอก สำหรับ ใส่ เข้า เปลือก ที่ ใหญ่ ประมาณ สี่ อ้อม ห้า อ้อม.
      พ้อม เข้า (469:1.1)
               เปน พ้อม สำหรับ ใส่ เข้า เปลือก เข้า สาร, แล้ว เอา ขี้ วัว ทา ข้าง นอก, เพื่อ จะ มิ ให้ เมล็ด เข้า รั่ว ออก มา ได้ นั้น.
เพิ่ม (469:2)
         คือ เติม, คน แจก ของ อัน ใด ให้ กัน, เหน ยัง น้อย ให้ ซ้ำ อีก ว่า เพิ่ม ให้.
      เพิ่ม ลง (469:2.1)
               คือ เติม ลง นั้น, เหมือน ให้ เพิ่ม เติม ลง อีก นั้น.
      เพิ่ม เติม (469:2.2)
               คือ เติม ให้ มาก น่อย หนึ่ง, เฃา แจก ของ กัน เหน ยัง น้อย ให้ ซ้ำ มาก ขึ้น น่อย หนึ่ง นั้น.
      เพิ่ม ให้ (469:2.3)
               คือ เติม ให้ นั้น, เหมือน ขุนนาง ทำ ราช การ คือ พระ ราช ทาน เบี้ย หวัศ เพิ่ม ให้.
      เพิ่ม พูน (469:2.4)
               คือ เดิม ให้ เต็ม ภาชนะ ล้น, ว่า เติม ให้ ของ อัน ใด จน เต็ม ล้น นั้น.
      เพิ่ม เอา (469:2.5)
               คือ เติม เอา นั้น, เหมือน ข้า สอง เจ้า ผู้ ที่ สาร กรม ธรรม์ อ่อน, ต้อง เพิ่ม เอา ผู้ ที่ สาร กรม แก่ นั้น.
เพย (469:3)
         คือ คำ รับ คำ ภากหนัง เปน ต้น, คน หนึ่ง พูด แทน หนัง อยุด ลง คราว หนึ่ง. มี ผู้ อื่น หลาย คน ร้อง รับ ว่า เพย นั้น.
พาย (469:4)
         พุ้ย, คือ ไม้ ทำ สำหรับ พุ้ย น้ำ ให้ เรือ ไป, ไม้ นั้น เขา ทำ เปน ด้ำ กลม ยาว ประมาณ สอง สอก เสศ, แต่ ข้าง พุ้ย น้ำ นั้น, ทำ แบน กว้าง ศัก หก นิ้ว.
      พาย โกลน (469:4.1)
               คือ ไม้ เช่น ว่า นั้น, เขา ตัด ใหม่ ๆ ยัง ทำ ไม่ แล้ว ภอ เปน รูป พาย, เรียก ว่า พาย โกลน.
      พาย คิ้ว (469:4.2)
               คือ ไม้ พาย เขา ทำ ด้ำ เล็ก ๆ, มี ใบ ยาว ศัก สอก คืบ, ที่ กลาง ใบ เซราะ เปน ลวด ตลอด จน ปลาย ใบ, แล้ว ทำ ไว้ เหมือน คิ้ว นั้น.
      พาย ทุ้ย (469:4.3)
               คือ ไม้ พาย ใบ สั้น ศัก สอก เสศ, ด้ำ ยาว ศัก สอง สอก ผู้ ชาย ใช้ ชุม นั้น.
      พาย แบบ (469:4.4)
               คือ ไม้ พาย ใบ สั้น สอก เสศ, แต่ ใบ ใหญ่ ปลาย ใบ ใหญ่ มน อยู่ เปน แบบ หลวง.
      พาย เรือ (469:4.5)
               พุ้ย เรือ, คือ คน เอา ไม้ พาย ๆ เรือ ไป, คน ลง ใน เรือ แล้ว จับ ไม้ พาย สอง มือ พุ้ย น้ำ ให้ เรือ ไป.
      พาย แพ (469:4.6)
               พุ้ย แพ, คือ คน เอา ไม้ พาย ๆ แพ ไป, คน นั่ง บน แพ แล้ว จับ ไม้ พาย สอง มือ พุ้ย น้ำ ให้ แพ ไป.
พ่าย (469:5)
         (dummy head added to facilitate searching).
      พ่าย แพ้ (469:5.1)
               แพ้ พ่าย, คือ การ ที่ สู้ รบ ไม่ ได้, ออก หนี ไป, คน รบ ศึก สงคราม เปน ต้น ปรา ไชย ออก หนี ไป นั้น.
      พ่าย หนี (469:5.2)
               คือ แพ้ ออก หนี ไป นั้น, คน รบ ศึก เปน ต้น, สู้ รบ ไม่ ได้ ออก หนี ไป นั้น.
พุ้ย (469:6)
         พาย ลง, จ้ำ ลง, คือ คน พาย ถือ ท้าย เรือ, เขา พาย หนัก ๆ ส่ง ท้าย เรือ แรง ๆ ว่า พุ้ย ท้าย เรือ.
      พุ้ย เข้า ต้ม (469:6.1)
               พาย เข้า ต้ม, คือ เจ็ก เอา ไม้ ตะเกียบ สอง อัน, ทำ ให้ เข้า ต้ม ใน ชาม, เข้า ใน ปาก เร็ว ๆ นั้น, ว่า พุ้ย เข้า ต้ม.
      พุ้ย น้ำ (469:6.2)
               คือ เอา ไม้ พาย ทำ ให้ น้ำ ไป ข้าง หลัง แรง ๆ, จะ ให้ เรือ แล่น ไป โดย เร็ว นั้น.
      พุ้ย พาย เรือ แรง (469:6.3)
               คือ คน พาย เรือ พุ้ย น้ำ แรง ๆ นั้น, เหมือน คน แข่ง เรือ ผะนัน กัน นั้น.
แพ่ว (469:7)
         กวาด, ถาง, คือ ปัด กวาด ขยาก แล ผง เปน ต้น มิ ให้ รก อยู่ ทำ ให้ ที่ เตียน ไป นั้น.
      แพ่ว กวาด (469:7.1)
               คือ ปัด กวาด ผง แล อยาก เยื่อ ให้ ปลิว ไป มิ ให้ มี ที่ พื้น เรือน เปน ต้น นั้น.
      แพ่ว ถาง (469:7.2)
               คือ เอา มีด ฤๅ พร้า ฟัน ต้น หญ้า แล ต้นไม้ ที่ รก ให้* เตียน ไป นั้น.
      แพ่ว มรรคา (469:7.3)
               ถาง มรรคา, คือ ถาง หน ทาง, เหมือน ทาง นั้น รก อยู่, แล เอา ยุง ปัด กวาด แล ฟัน ต้น ไม้ แล หญ้า ทาง
      แพ่ว หน ทาง (469:7.4)
               กวาด หน ทาง, คือ ทำ หน ทาง ให้ หมด จด ไม่ ให้ ต้น ไม้ แล ใบ หญ้า รก รื้น อยู่ นั้น.
แพ้ว (469:8)
         คือ การ ที่ เฃา ทำ รูป คน เปน ต้น, เอา ไว้ ที่ นา ฤๅ สวน ให้ สัตว์ กลัว เพื่อ จะ ไม่ ให้ มัน กิน ผลไม้.

--- Page 470 ---
      แพ้ว นก (470:8.1)
               คือ การ ที่ คน ทำ ไม้ ให้ ลม พัด หัน ไป แล มี เสียง ดัง ไว้ ที่ นา ให้ นก กลัว นั้น, ว่า แพ้ว นก.
      แพ้ว เนื้อ (470:8.2)
               คือ ทำ รูป คน ไว้ ให้ เนื้อ กลัว, เพื่อ จะ ไม่ ให้ มัน เข้า กิน ผล ไม้ ใน นา เปน ต้น นั้น.
      แพ้ว หมู (470:8.3)
               คือ ทำ รูป คน ไว้ ให้ หมู เถื่อน มัน กลัว, จะ ไม่ ให้* มัน เข้า ใน นา เปน ต้น นั้น.
โพย (470:1)
         คือ โบย ตี, คน ต้อง ตี โบย, ว่า คน นั้น ต้อง โพย. อนึ่ง โพย เปน คำ สร้อย.
      โพย ไพย (470:1.1)
               โพย เปน คำ สร้อย, แต่ ไพย นั้น, อธิบาย ว่า พึง กลัว สิ่ง ที่ ต้อง กลัว เรียก ว่า ไพย.
พวย (470:2)
         คือ รู หลอด เขา ทำ ไว้ ที่ กา ฤๅ ป้าน แล จิบเจี๋ยว เพื่อ จะ ริน น้ำ ออก นั้น เรียก พวย.
      พวย หนี (470:2.1)
               คือ ความ ที่ รีบ หนี ไป โดย เร็ว นั้น, เหมือน อย่าง คน โทษ หนี คุก หนี ตราง นั้น.
      พวย กา (470:2.2)
               คือ หลอด เขา ทำ ไว้ ที่ กา, สำหรับ ริน น้ำ ออก จาก กา นั้น.
      พวย พุ่ง (470:2.3)
               คือ ความ ที่ พุ่ง ขึ้น ไป เรว นั้น, เหมือน ดวง อาทิตย์ พวย พุ่ง ขึ้น มา ใน ท้อง ฟ้า นั้น.
      พวย ไข น้ำ (470:2.4)
               คือ รู หลอด เขา ทำ ติด ไว้, มี ม่อ ตรอง น้ำ สำ หรับ ให้ น้ำ ไหล ออก แล้ว ปิด บิด ไก ไม่ ให้ น้ำ ออก นั้น.
      พวย เข้า ไป (470:2.5)
               คือ รีบ เข้า ไป โดย เรว, คน มา ถึง บ้าน หมอ แล้ว ไม่ ค่อย อยุด ยั้ง, รีบ เข้า ไป โดย เรว นั้น.
      พวย ออก ไป (470:2.6)
               คือ รีบ ออก ไป โดย เรว, คน อยู่ ใน เรือน แล้ว ลุก ขึ้น ออก ไป โดย เรว นั้น.
พ่วย (470:3)
         ผ้า สอง ชั้น, คือ ผ้า พ่วย ๆ นั้น, เขา เอา ผ้า สอง ผืน ซ้อน กัน เยบ เปน ผืน เดียว ไว้ สำหรับ ห่ม นอน.
      พ่วย ห่ม นอน (470:3.1)
               คือ ผ้า สอง ผืน, เขา ทาบ เข้า เปน ผืน เดียว สอง ชั้น สอง ศรี*, ให้ หนา สำหรับ ห่ม นอน ให้ อุ่น.
เพื่อ (470:4)
         คือ ความ หวัง, คน หวัง ใจ นึก ใน ใจ จะ ทำ การ อัน ใด ๆ นั้น ว่า เพื่อ.
      เพื่อ จะ ได้ (470:4.1)
               คือ เพราะ จะ ใคร่ ได้ นั้น, เหมือน คน อุส่าห์ ทำ การ จ้าง เพื่อ จะ ได้ ค่า จ้าง นั้น.
      เพื่อ จะ กิน (470:4.2)
               คือ หวัง ใจ จะ กิน, คน หุง เข้า ด้วย หวัง จะ กิน นั้น.
      เพื่อ ร้อน (470:4.3)
               คือ เพราะ เหตุ ร้อน นั้น, เหมือน โรค บังเกิด เพื่อ ร้อน นั้น.
      เพื่อ ประ โยชน์ (470:4.4)
               คือ หวัง ประโยชน์, คน ทำ นา ค้า ขาย ฤๅ ทำ สวน, ก็ เพราะ หวัง ผล ประโยชน์.
      เพื่อ ว่า (470:4.5)
               คือ เพราะ ว่า นั้น, เหมือน คน ประกอบ การ ค้า ขาย เพื่อ จะ ได้ เงิน นั้น.
      เพื่อ กรรม (470:4.6)
               คือ การ เปน เพื่อ กรรม, เหมือน โรค เกิด ขึ้น คือ ลง แล ราก นั้น, ว่า เกิด เพื่อ กรรม แห่ง สัตว์.
      เพื่อ โลหิต (470:4.7)
               คือ ความ ว่า เพราะ เลือด นั้น. เหมือน คำ ว่า โรค บังเกิด เพื่อ โลหิต นั้น.
      เพื่อ เหตุ (470:4.8)
               คือ การ เกิด เพราะ เหตุ, เหมือน ผล เกิด เพราะ ต้น นั้น.
      เพื่อ กำ เดา (470:4.9)
               คือ เพราะ ร้อน นั้น, เหมือน คำ ว่า โรค บังเกิด เพื่อ กำเดา นั้น
เพ่อ ก่อน (470:5)
         เปน คำ ห้าม ว่า อยุด ก่อน, คน หนึ่ง จะ ไป, คน หนึ่ง ห้าม ว่า อย่า เพ่อ ไป ก่อน.
เพ้อ (470:6)
         พร่ำ พรู, ไหลเล่อ, คือ ถ้อย คำ คน บ้า บ่น ฤๅ คน คลั่ง คน เมา สุรา, เพ้อ ไป ต่าง ๆ นั้น.
พัว (470:7)
         รุงรัง, คือ รกปรก, เหมือน ขน สุนักข จู นั้น.
      พัว พันท์ (470:7.1)
               คือ รก ปรก ฝั้น เฝือ, เหมือน ขน ชุมภา แล ขน แกะ นั้น.
แพะ (470:8)
         เปน ชื่อ สัตว์ จำพวก หนึ่ง, ตัว มัน โต เท่า สุนักข์ มี เฃา สอง เขา คน เลี้ยง ไว้ รูด นม กิน.
เพาะ (470:9)
         ปลูก, หว่าน, คือ เครื่อง ท้อง ที่ เปน ที่ อาหาร เข้า ไป อยู่ นั้น. อย่าง หนึ่ง ของ สำหรับ ตวง เข้า, เรียกว่า กะเพาะ
      เพาะ เข้า (470:9.1)
               ปลูก เข้า, หว่าน เข้า, คือ เอา เข้า ปลูก ที่ จะ ทำ นา ใส่ ลง ใน ที่ แล้ว รด น้ำ ให้ เปียก ชุ่ม, ให้ งอก พลิ ราก แล ต้น เล็ก ๆ นั้น.
      เพาะ งา (470:9.2)
               คือ เอา เมล็ด งา ที่ เปน พืชน์ จะ ปลูก ใส่ ลง ใน ที่ จะ เพาะ ให้ พลิ ราก แล ต้น นั้น.
      เพาะ ถั่ว (470:9.3)
               คือ เอา ถั่ว ที่ เปน พืชน์ จะ ปลูก ใส่ ลง เพาะ ให้ พลิ ราก แล ต้น นั้น.
พอ (470:10)
         ควร, คือ ฃอง ไม่ มาก ไม่ น้อย สมควร นั้น ว่า พอ, คน จะ ทำ เปน ต้น ขนม แล เอา แป้ง ใส่ ภอ สมควร นั้น.

--- Page 471 ---
      พอ การ (471:10.1)
               ควร การ, คือ ของ ไม่ มาก ไม่ น้อย สม กับ การ ที่ จะ ทำ นั้น.
      พอ กิน (471:10.2)
               ควร กิน, คือ ของ สมควร ที่ อิ่ม มื้อ หนึ่ง นั้น.
      พอ แรง (471:10.3)
               ควร แรง, คือ ของ สม กับ กำลัง, คน จะ แบก หาม ของ สิ่ง ใด ไป, แล เอา ของ นั้น ไป เต็ม กำลัง นั้น.
พ่อ (471:1)
         บิดา, ชะนก, คือ ชาย ที่ เปน สามี ของ มารดา ที่ ตัว บังเกิด นั้น, คน ทั้ง ปวง เรียก ว่า พ่อ แล.
      พ่อ เกลอ (471:1.1)
               คือ ชาย ที่ เปน มิตร สหาย ของ พ่อ นั้น, คน เรียก ว่า พ่อ เกลอ นั้น.
      พ่อ ค้า (471:1.2)
               นาย ห้าง, คือ ชาย ที่ เปน คน ค้า ขาย ของ มาก เหมือน นาย กำปั่น, แล นาย สำเภา นั้น.
      พ่อ คุณ (471:1.3)
               เปน คำ เรียก คน ชาย ที่ มี คุณ ว่า พ่อ คุณ นั้น.
      พ่อ ครัว (471:1.4)
               หัว ป่า, คือ คน ชาย เปน ผู้ ช่าง ทำ ของ กิน มี หุง เข้า ฤๅ แกง แล ทำ ของ หวาน เปน ต้น.
      พ่อ ตา (471:1.5)
               บิดา ภรรยา, คือ ชาย ที่ เปน พ่อ ฃอง เมีย, คน เรียก พ่อ* ตา นั้น.
      พ่อ เจ้า เรือน (471:1.6)
               คือ ชาย ที่ เปน ใหญ่ อยู่ ใน เรือน นั้น, เหมือน คำ ว่า คะหะบดี, พ่อ เจ้า เรือน นั้น.
      พ่อ ทูน หัว (471:1.7)
               คือ บิดา ราว กะ ว่า จะ ตั้ง ไว้ บน ศีศะ นั้น, เหมือน คำ ยก ยอ ว่า พ่อ ทูน หัว.
      พ่อ หนู (471:1.8)
               คือ เปน คำ เรียก เด็ก ๆ ที่ เปน ลูก ผู้ มี สักดิ์ นั้น, เหมือน คำ ว่า พ่อ หนู แดง นั้น.
      พ่อ เฒ่า (471:1.9)
               คือ ชาย ที่ เปน บิดา มี อายุ มาก เจ็ด สิบ แปด สิบ ขึ้น ไป นั้น.
      พ่อ ม่าย (471:1.10)
               คือ ชาย ที่ มี เมีย แล้ว เมีย ตาย เสีย นั้น, เรียก ชาย นั้น ว่า เปน พ่อ ม่าย.
      พ่อ เลี้ยง (471:1.11)
               คือ ชาย มา เปน ผัว ของ แม่, เมื่อ ตัว เกิด กับ พ่อ อื่น แล้ว, แม่ มี ผัว ใหม่, ชาย นั้น เรียก ว่า พ่อ เลี้ยง.
พรรค์ (471:2)
         หมู่, พวก, ใน จินดามุณี, อธิบาย ว่า หมู่, ว่า พวก, คือ เกิด แต่ สับท์ ว่า วัค นั้น แปล ว่า หมู.
พรรณ (471:3)
         แปล ว่า ศรี, มี ศรี ขาว เปน ต้น, ใน จินดา มุณี แปล ว่า พรรณ์.
พรรณราช (471:4)
         เปน ชื่อ เครื่อง ราชูปรี โภค, คือ เครื่อง ใช้ ของ พระ มหา กระษัตริย์, เรียก สุพรรณ ราช, คือ กะ โถน ปาก แกร ใหญ่.
พรรณา (471:5)
         แสดง, บรรยาย, คือ คำ กล่าว เรื่อง เนื้อ ความ มาก ให้ กว้าง ขวาง ให้ ตื้น ให้ เหน ความ โดย ง่าย นั้น.
พรรศดา (471:6)
         สามี, ฯ แปล ว่า ผัว, คือ ชาย ผู้ เลี้ยง หญิง เปน เมีย นั้น.
พร้า (471:7)
         มีด, คือ เครื่อง เหล็ก ใช้ สำรับ สับ ฟัน เปน ต้น, มี ด้ำ ทำ ด้วย ไม้, มี คม ข้าง เดียว.
      พร้าโต้ (471:7.1)
               มีดโต้, คือ พร้า น่า ไก่, ยาว สัก สีบแปด นิ้ว สิบเก้า นิ้ว, กว้าง สัก สาม นิ้ว เสศ, มี ด้ำ สัก สี่ นิ้ว.
      พร้ากราย (471:7.2)
               มีด กราย, คือ พร้า รูป เพรียว ยาว สัก ศอก เสศ, ทำ ด้ำ มี ปลอก มี ฝัก, เรียก พร้า กราย เพราะ ถือ กรีดกราย.
      พร้าหวด (471:7.3)
               คือ พร้า รูป เพรียว ยาว สัก* ศอก คืบ, มี ด้ำ ยาว สัก คืบ เสศ สำรับ หวด หญ้า ที่ นา นั้น.
      พร้า หัว เสียม (471:7.4)
               คือ พร้า ข้าง ปลาย แบน โต, มี คม สำรับ ขุด ดิน ได้, จึ่ง เรียก พร้า หัว เสียม.
พรู (471:8)
         คือ กรู, คน ฤๅ สัตว มาก นับ สิบ เปน ต้น, ภอ คน เปิด ประตู แล พรั่ง พร้อม กัน เข้า มา นั้น, ว่า พรู กัน มา.
      พรู พร่ำ (471:8.1)
               คือ คน พูด มาก นั้น, เหมือน คน พูดจา พร่ำ พรู* เปน บ้า น้ำลาย นั้น.
      พรู วิ่ง (471:8.2)
                คือ การ ที่ วิ่ง พรู มา พร้อม กัน นั้น, เหมือน ฝูง ไก่ วิ่ง ชิง กัน กิน เข้า นั้น.
แพร (471:9)
         ผ้าห่ม, คือ ผ้า เขา ธอ ด้วย ไหม, เขา ทำ มา แต่ เมือง จีน แต่ ล้วน เปน ผ้า สำรับ ห่ม.
      แพร จินเจา (471:9.1)
               ผ้า จินเจา, คือ ผ้า แพร ชาติ หนา มี ดอก เปน ลาย ใหญ่ โต, สำรับ เปน ผ้า ห่ม มี ศรี ต่าง ๆ
      แพร หนังไก่ (471:9.2)
               คือ ผ้า แพร เนื้อ พื้น คล้าย กับ หนังไก่, มี ศรี แล ดอก ต่าง ๆ สำรับ ห่ม นั้น.
      แพร ปังศี (471:9.3)
               คือ แพร เนื้อ เลี่ยน* ไม่ มี ดวง ผืน ไม่ กว้าง นัก, เปน แพร สำรับ ห่ม เบา ๆ.
      แพร ย่น (471:9.4)
               คือ แพร เนื้อ เปน ม็ค* เกลียว เล็ก ๆ หนา, ไม่ มี ดอก เปน ผ้า สำรับ ห่ม.

--- Page 472 ---
แพร่ (472:1)
         ต่อ, หลาย, คือ กระจาย เรี่ยราย ไป, เหมือน ของ เดิม มี แต่ แห่ง เดียว, พายหลัง มี จาก ของ เดิม นั้น ต่อ ๆ ไป, ว่า ของ นั้น แพร่ ออก ใป. อย่าง หนึ่ง เปน ชื่อ เมือง ลาว อยู่ ฝ่าย เหนือ ชื่อ เมือง แพร่.
      แพร่ ต่อ ไป (472:1.1)
               เหมือน คำ โอวาท พระเยซู, เดิม มี น้อย นาน มา ก็ แพร่ แผ่ ออก ไป มาก นั้น.
      แพร่ หลาย ไพบูรณ (472:1.2)
               คือ แผ่ มาก เต็ม ออก ไป, เหมือน พวก สิษ พระเยซู ที่ เกิด ขึ้น ต่อ ๆ กัน ออก ไป มาก.
ไพร (472:2)
         คือ ป่า ไม้ ใหญ่ เปน ดง ไป เขา เรียก ไพร. อย่าง หนึ่ง กบุง ที่ สาน ด้วย ตอก เส้น* ใหญ่, แล้ว ถึง ตอก เส้น เล็ก ว่า ไพร มัน.
      ไพร พนม (472:2.1)
               คือ ป่า ใหญ่ ไพร สูง นั้น, เหมือน เขา พนมโยง เปน ต้น,
      ไพรบูรณ (472:2.2)
               ว่า เต็ม ดี, เหมือน ทรัพย สมบัติ ของ คน มี บุญ มาก, มี พระยาจักรพรรดิ นั้น.
      ไพร วัน (472:2.3)
               คือ ป่า ไม้ ต่าง ๆ ทั้ง ปวง นั้น.
      ไพรเราะห์ (472:2.4)
               คือ เสนาะห์ หู, เหมือน เสียง คน ที่ ดี เปน ที่ จับ ใจ คน ทั้ง ปวง, ว่า เสียง ไพรเราะห์.
      ไพร สณฑ์ (472:2.5)
               คือ ประเทศ ราว ป่า ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน แนว ป่า ฤๅ หมู่ ไม้* ไพร สณฑ์ นั้น.
      ไพรเพราะ (472:2.6)
               คือ เพราะ น่า ฟัง เหมือน เสียง หีบ เพลง นั้น, ว่า เสียง ไพร เพราะ เสนาะห์หู.
      ไพรศาล (472:2.7)
               คือ ป่า กว้าง นั้น, เหมือน ดง พระยาไฟ, ฤๅ ดง พระยา กลาง นั้น.
      ไพร เขียว (472:2.8)
               คือ ป่า ไม้ ทั้ง ปวง ที่ มี ใบ เขียว นั้น, เหมือน เขา เขียว ฤๅ ป่า ไม้ ไพร เขียว นั้น.
ไพร่ (472:3)
         คือ คน ราษฎร ที่ เปน ชาว เมือง, มิ ใช่ ขุนนาง, เปน แต่ พลเรือน.
      ไพร่ บ้าน พล เมือง (472:3.1)
               อาณา ประชา ราษฎร, คือ ชน ชาว เมือง มิ ใช่ คน มี บุญ มาก เปน พระยา พระ หลวง นั้น.
      ไพร่ ฟ้า ข้า แผ่นดิน (472:3.2)
               ราษฎร ชาว เมือง, คือ คน บันดา อยู่ ใน ขอบ ขัณฑเสมา ของ พระ มหา กระษัตริย์ ทั้ง สิ้น นั้น
      ไพร่ หลวง (472:3.3)
               เลก กอง กลาง, คือ คน ที่ เขา ศักข้อมือ, มิ ใช่ ข้า จ้าว แล ทาษ ทนาย ขุนนาง เปน คน ใน ส่วน หลวง นั้น,
      ไพร่ กะดุมภี (472:3.4)
               คือ คน พล เมือง ที่ มี เงิน ภอ ใช้ เลี้ยง ชีวิตร ไม่ เปน ทาษ บุคคล ผู้ ใด นั้น.
เพรา (472:4)
         คือ เวลา เช้า, เขา กิน เข้า ใน เวลา เช้า, เขา ว่า กิน เข้า เพรา ว่า กิน เข้า เช้า นั้น.
      เพรา งาย (472:4.1)
               คือ เวลา เช้า สาย, คน กิน เข้า เวลา เช้า แต่ สาย หน่อย หนึ่ง ว่า กิน เข้า เพรา งาย.
      เพรา ตา (472:4.2)
               คือ ของ ดี งาม สรวย ตา, ว่า ของ นั้น เพรา ตา, งาม ตา, เพราะ ฃอง นั้น ดี สอาด.
      เพรา พริ้ง (472:4.3)
               คือ ของ ฤๅ รูป คน ที่ งาม ที่ ดี ดู สอาด ตา, ว่า รูป เพรา พริ้ง.
พรำ (472:5)
         คือ ฝน ตก ไม่ หนัก ไม่ มาก, เปน แต่ เม็ด เล็ก ๆ, แต่ ไม่ อยุด ตก ไป นาน.
พร่ำ (472:6)
         บ่อย ๆ, เนือง ๆ, คือ ร่ำ, คน จะ กล่าว ถึง ความ อัน ใด ๆ แล กล่าว ร่ำ ไป ไม่ ใคร่ อยุด นั้น ว่า พร่ำ.
      พร่ำ กล่าว (472:6.1)
               คือ กล่าว ร่ำ ไป บ่อย ๆ ว่า แล้ว ว่า อีก ไม่ รู้ แล้ว.
      พร่ำ ด่า (472:6.2)
               คือ ด่า ร่ำ ไป บ่อย ๆ, ด่า แล้ว ด่า อีก ไม่* รู้ แล้ว, เขา ว่า คน นั้น พร่ำ ด่า ไป นั้น.
      พร่ำ บ่น (472:6.3)
               ร่ำ บ่น, คือ บ่น ร่ำ ไป บ่อย ๆ บ่น แล้ว ไม่ รู้ แล้ว บ่น อีก นั้น ว่า บ่น ร่ำ ไป.
      พร่ำ* ว่า (472:6.4)
               ร่ำ ว่า, คือ ว่า ร่ำ* ไป บ่อย ๆ ว่า แล้ว ไม่ รู้ แล้ว ว่า อีก ร่ำ ไป.
      พร่ำ สอน (472:6.5)
               ร่ำ สอน คือ สอน ซ้ำ ร่ำ ไป บ่อย ๆ, สอน แล้ว สอน อีก ร่ำ ไป.
      พร่ำพรู (472:6.6)
               พูด มาก, คือ คน พูด ร่ำ ซ้ำซาก น้ำลาย ออก ฟูม ปาก นั้น.
พระ (472:7)
         ประเสริฐ, อธิบาย ว่า ประเสริฐ, เปน คำ สับท์ แผลง ออก จาก วร สับท์.
      พระ เกษ (472:7.1)
               คือ พระเกษา, เปน คำ สูง คำ เพราะ สำรับ เจ้า นั้น.
      พระ โกษฐ (472:7.2)
               คือ ของ สำรับ ใส่ พระสพ, เขา เอา ไม้ ต่อ เปน รูป สูง สัก สอง ศอก เสศ มี ฝา เปน ยอด แหลม, เปน เหลี่ยม สิบสอง เหลี่ยม ภอ ใส่ สพ ได้.
      พระ กรรณ (472:7.3)
               พระโสตร, คือ พระ หู, พระ นั้น เปน คำ สูง, กรรณ เปน สับท์ แผลง แปล ว่า หู.

--- Page 473 ---
      พระ กรรฐ (473:7.4)
               คือ พระ แก้ม, พระ เปน คำ สูง, แต่ กรรฐ แปล ว่า แก้ม.
      พระ กาล (473:7.5)
               ความ ตาย, เปน ชื่อ เทวดา องค หนึ่ง, เทวดา นี้ คน ว่า มี ฤทธิ์ มาก อาจ สัง*หาญ ผลาญ ชีวิตร มนุษ ได้.
      พระ กาย (473:7.6)
               พระองค, คือ พระ ตัว พระรูป, พระ เปน คำ สูง สำรับ เจ้า, แต่ กาย นั้น คือ ตัว แล รูป.
      พระ ขรรค (473:7.7)
               คือ พระแสงขรรค, คือ อาวุธ รูป เหมือน หอก, แต่ ด้ำ สั้น ประมาณ เจ๊ด นิ้ว แปด นิ้ว.
      พระ เขี้ยว แก้ว (473:7.8)
               คือ เขี้ยว ใน ปาก, ที่ มี ข้าง บน สอง ข้าง ล่าง สอง, ปลาย แหลม ต้น กลม ไม่ แบน เหมือน ฟัน.
      พระ* ทันตะธาตุ (473:7.9)
               คือ ฟัน นั้น.
      พระ เงิน (473:7.10)
               คือ รูป พระ ทำ ด้วย เงิน, คน เอา เงิน บุ ฤๅ หล่อ เปน รูป แทน รูป พระเจ้า นั้น,
      พระ เขนย (473:7.11)
               คือ พระ หมอน, พระ นั้น เปน คำ สูง, แต่ เขนย นั้น เปน คำ เขมร, ไท ว่า หมอน.
      พระ ขนง (473:7.12)
               คือ พระ คิ้ว, เรียก ว่า ขนง นี้ เปน คำ เขมร, เพราะ จะ เรียก เปน คำ สูง.
      พระ เจ้า (473:7.13)
               คือ ผม จุก เจ้า, เขา เรียก ว่า พระเจ้า. อย่าง หนึ่ง เปน นาม พระเจ้า ที่ เฃา นับถือ.
      พระ เจดีย (473:7.14)
               คือ ของ ที่ เปน คำรพย, เขา เอา อิฐ ก่อ เปน รูป สูง เรียว ปลาย แหลม ไว้ สำรับ บูชา.
      พระ เจ็ก (473:7.15)
               ห้วยเสี้ยว, คือ รูป เขียน ฤๅ ปั้น, พวก จีน ทำ ไว้ คำรพย นับถือ ว่า รูป พระเจ้า โปรด ให้ พ้น ทุกฃ ไป สวรรค ได้.
      พระ จันทร์ (473:7.16)
               เดือน, คือ ปะริมณฑล ดวง เหลือง สำรับ ให้ สว่าง ใน กลาง คืน นั้น.
      พระ จอมเกล้า (473:7.17)
               เปน คำ เขา เรียก พระ มหา กระษัตริย์, เปน ความ เหมือน จอม ผม ที่ เกล้า ไว้ บน หัว.
      พระ ฉาย (473:7.18)
               คือ เงา ๆ คน ที่ มี วาศนา บุญ มาก เปน เจ้า เปน ต้น เรียก ว่า พระฉาย.
      พระ ชนม์ (473:7.19)
               คือ อายุ ของ เจ้า เปน ต้น, ที่ เกิด มา ได้ ตั้ง แต่ ปี หนึ่ง ขึ้น ไป นั้น.
      พระ ชนก (473:7.20)
               พระบิดา, คือ คน ชาย ที่ เปน พ่อ, ถ้า พ่อ เจ้า เปน ต้น เรียก ว่า พระชนก, อธิบาย ว่า ยัง ลูก ให้ บังเกิด.
      พระ ชนนี (473:7.21)
               พระมารดา, คือ หญิง ที่ เปน แม่, ถ้า เปน แม่ เจ้า เปน ต้น เรียก ว่า พระชนนี.
      พระ ชินศี (473:7.22)
               เปน พระนาม พระเจ้า, เรียก พระชินศี, อธิบาย ว่า พระองค ชะนะ แก่ หมู่ มาร.
      พระ ชินราช (473:7.23)
               เปน พระนาม พระเจ้า, อธิบาย ว่า พระองค ประเสิฐ มหา กระษัตริย์* องค ใด สู้ เสมอ พระองค มิ ได้,
      พระญาติวงษ (473:7.24)
               คือ คน เปน เชื้อ สาย เผ่า พันธุ* กับ เจ้า เปน ต้น, เรียก ว่า พระญาติวงษ เปน คำ สูง.
      พระ ไตรย โลกย์ นารถ (473:7.25)
               เปน ชื่อ พระเจ้า, อธิบาย* ว่า พระองค เปน ที่ พึ่ง แก่ สัตว ใน สาม ภพ, คือ กามภพ หนึ่ง, รูปภพ หนึ่ง, อะรูปภพ หนึ่ง.
      พระ เถร (473:7.26)
               คือ พระภิกษุ, มี ศิล เปน ต้น มั่นคง ใน สันดาน, จึ่ง ได้ ชื่อ ว่า พระเถร นั้น.
      พระ ทอง (473:7.27)
               คือ รูป พระเจ้า, เขา ทำ ด้วย ทอง คำ ฤๅ ทอง เหลือง ทอง แดง ฤๅ ไม้ ปิด ทอง.
      พระ ทนต์ (473:7.28)
               ฟัน, คือ ฟัน ใน ปาก, เรียก พระทนต์ เปน คำ สูง.
      พระไทย (473:7.29)
               ฯ ใจ, แปล ว่า หัว ใจ เรียก ว่า พระไทย, เปน คำ สูง สำรับ เจ้า เปน ต้น.
      พระ ธาตุ (473:7.30)
               กระดูก, คือ กระดูก, เรียก ว่า ธาตุ เพราะ เปน ปัถวีธาตุ, เรียก พระธาตุ เปน คำ สูง นั้น.
      พระ ธรรม (473:7.31)
               ทรง ไว้ ตาม ปรกติ, การ ดี ทั้ง ปวง, คือ พระ ไตรยปิฎก ทั้ง สิ้น เรียก พระธรรม, อธีบาย ว่า ทรง ตัว เอง.
      พระ เนตร (473:7.32)
               จักษุ, ตา, คือ หน่วย ตา เจ้า เปน ต้น, เรียก ว่า พระเนตร เปน คำ สูง นั้น.
      พระ นนท์ (473:7.33)
               เปน ชื่อ พระภิกษุ* องค หนึ่ง, เปน วงษ ศักะยะราช เปน บุตร ของ อา แห่ง พระเจ้า.
      พระ นม (473:7.34)
               แม่ นม, คือ หญิง เปน แม่ นม เจ้า เปน ต้น, เขา เรียก พระ นม เปน คำ สูง.
      พระ นาม (473:7.35)
               ชื่อ, คือ ชื่อ, เรียก ว่า พระนาม เปน คำ สูง.
      พระ นาย (473:7.36)
               เปน คำ เรียก ชาย ที่ มี ยศศักดิ์ เปน ขุนนาง, มี จะหมื่นไววรนารถ เปน ต้น.
      พระ นาง (473:7.37)
               เปน ชื่อ หญิง ใน สกูล กระษัตริย์, เรียก ว่า พระนาง เจ้า, ตาม ยศถาศักดิ์ นั้น.

--- Page 474 ---
      พระ บาง (474:7.38)
               คือ คำ เรียก เมือง ลาว ที่ อยู่ ฝ่าย เหนือ, ชื่อ เมือง หลวงพระบาง นั้น.
      พระ บาท (474:7.39)
               ท้าว, ตีน, คือ ท้าว เรียก ว่า พระบาท เปน คำ สูง
      พระ บาท สมเด็จ พระ จอม เกล้า เจ้า อยู่ หัว (474:7.40)
               เปน คำ คน เรียก พระ มหา กระษัตริย์, เปน ความ เปรียบ ว่า พระ งค* ท่าน เหมือน กับ จอม ผม ที่ คน เกล้า ไว้ ที่ บน หัว นั้น.
      พระ บาท สมเด็จ พระ ปิ่น เกล้า เจ้า อยู่ หัว (474:7.41)
               เปน คำ คน เรียก พระ มหาอุปราช, เปรียบ เหมือน ปิ่น ทอง ที่ ปัก อยู่ ที่ จอม ผม ที่ บน หัว คน นั้น.
      พระ บาระมี (474:7.42)
               คือ ตัว บุญ ที่ คน กระทำ, ตัว บุญ นั้น เรียก ว่า บาระมี, เพราะ เปน เหตุ จะ ส่ง ให้ ถึง ฟาก ฝั่ง, คือ พระ นิพาน นั้น.
      พระ เดชาดิศร (474:7.43)
               เปน ชื่อ เจ้า ตาม ยศถาศักดิ์, อธิบาย ว่า เปน ผู้ มี เดช เปน อิศร อย่าง ยิ่ง.
      พระ เดช พระ คุณ (474:7.44)
               เปน คำ ข้า เรียก เจ้า ฃอง ตัว ไม่ ออก ชื่อ, เรียก แต่ ว่า พระเดช พระคุณ โดย คำรพย นั้น.
      พระ ดิษเถร (474:7.45)
               เปน ชื่อ พระ ภิกษุ องค หนึ่ง ใน พระสาศนา, สำรับ เปน อุปะฌา บวช กุลบุตร นั้น.
      พระ ดาบศ (474:7.46)
               ฤๅษี, เปน ชื่อ คน บวช นอก สาศนา, ถือ ศิล อยู่ ผู้ เดียว ใน ป่า กิน ผลไม้ เปน อาหาร.
      พระ ปะระมานุชิตชิ โนรศศีสุคตขัติยวงษ (474:7.47)
               เปน ชื่อ เจ้า องค หนึ่ง, บวช เปน สมณะ ตั้ง อยู่ ใน ยศ ถา ศักดิ์* ชื่อ นั้น, อธิบาย ว่า พระองค ท่าน เปน วงษ กระษัตริย์, ออก บวช เปน ลูก พระเจ้า มี พระ ดำเนิน อัน งาม อย่าง ยิ่ง, แล ชะนะ เนือง ๆ แก่ หมู่ มาร นั้น.
      พระ ฝาง (474:7.48)
               เปน ชื่อ เจ้า เมือง ลาว เมือง หนึ่ง ชื่อ เมือง ฝาง, มี อยู่ ฝ่าย เหนือ, ใกล้ กับ เมือง เวียงจันท์ นั้น.
      พระ เพลา (474:7.49)
               คือ ตัก, คน นั่ง อยู่ ที่ บน ขา นั้น เรียก ว่า ตัก, ถ้า เปน ของ เจ้า เปน ต้น เรียก ว่า พระเพลา
      พระ พิพิทธโพค ภูเบนทร์ (474:7.50)
               เปน ชื่อ เจ้า องค หนึ่ง ตาม ยศถานา ศักดิ์, ชื่อ นั้น อธิบาย ว่า เจ้า นั้น มี สมบัติ ต่าง ๆ, เปน ใหญ่ ใน แผ่นดิน.
      พระ โพธิสัต (474:7.51)
               เปน ชื่อ คน ผู้ สร้าง พระบาระมี, ปราฐนา จะ เปน พระเจ้า.
      พระ หน่อ พุทธังกูร (474:7.52)
               เปน หน่อ ท่าน ที่ เปน พระเจ้า นั้น.
      พระ โพธิญณ (474:7.53)
               คือ ปัญญา ที่ ตรัสรู้ ธรรม, อธิบาย ว่า คน มี ปัญญา อาจ รู้ ธรรม วิเสศ ต่าง ๆ นั้น.
      พระ ทศพล (474:7.54)
               เปน ชื่อ พระเจ้า, อธิบาย ว่า พระเจ้า ท่าน มี ปัญญา มี กำลัง สิบ ประการ, มี สัพพัญู ตัญาน* เปน ต้น.
      พระ ภักตร์ (474:7.55)
               วง หน้า, เรียก ว่า พระภักตร์ เปน คำ สูง นั้น.
      พระ ภาคย์ (474:7.56)
                ฯ, ท่าน ผู้ แบ่ง ส่วน, เปน สับท์ แผลง แปล ว่า มี ส่วน พระ บระมี ธรรม บริบูรณ นั้น.
      พระ พาย (474:7.57)
               พะยุ, ลม, คือ ลม, เรียก ว่า พระพาย, เปน คำ แผลง มา จาก สับท์ ว่า วายุ นั้น แปล ว่า ลม.
      พระ มาไลย (474:7.58)
               เปน ชื่อ พระ ภิกษุเถร องค หนึ่ง, มี อยู่ ใน ลังกา ทวีป, ชื่อ พระมาไลยเถร นั้น.
      พระ เมรุ (474:7.59)
               สิเนรุ, เขา พระเมรุ, เปน ชื่อ ภูเขา ใหญ่ เขา หนึ่ง, เปน หลัก โลกย ใน จักรวาฬ, ชื่อ เขา สิเนรุ.
      พระ เยซู (474:7.60)
               พระยะโฮวา, เปน ชื่อ พระเจ้า ของ พวก คน อังกฤษ, เปน พระ ชาว ทวีป อะเมริ กา แล ประเทศ ยูรบ นับถือ นัก.
      พระ ราช ประสงค์ (474:7.61)
               เปน คำ สูง ความ ว่า พระ มหา กระสัตริย์ จะ เอา ของ อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น.
      พระ ราม (474:7.62)
               เปน ชื่อ กระสัตริย์ องค์ หนึ่ง, คำ บูราณ ว่า อยู่ ใน เมือง ศรี อยุทธะยา นั้น.
      พระ ลักษณ์ (474:7.63)
               เปน ชื่อ กระษัตริย์ เปน น้อง พระราม นั้น. ความ ว่า ได้ ทำ สงคราม กับ พวก ยักษ ใน เกาะ ลังกา.
      พระ หลัก เมือง (474:7.64)
               เปน ชื่อ เทพา รักษ คือ เทวดา รักษา เมือง, เขา ทำ ไม้ หลัก ปัก ไว้ ใน เมือง, ถือ ว่า เทวดา เขา สิง สู่ อยู่ ที่ ไม้ หลัก.
      พระ ลาน (474:7.65)
               คือ ที่ ใน พระราชวัง พระ มหา กระษัตริย์, เขา ทำ ให้ เตียน กว้าง ขวาง ไว้ สำหรับ ทรง เล่น.
      พระ วัศษา (474:7.66)
               คือ ปี เปน คำ ติด สับท์ คำ สูง สำหรับ ทูล กับ เจ้า ว่า โดย คำ นับ.
      พระ สาริกะ บรม ธาตุ (474:7.67)
               คือ พระ อัฐิ พระเจ้า, เขา เรียก เช่น นั้น, เปน คำ สูง สมควร แก พระเจ้า.
      พระ สาริบุตร (474:7.68)
               เปน ชื่อ พระภิกขุ องค์ หนึ่ง, เปน สิษ ผู้ ใหญ่ ใน สาศนา ของ พระเจ้า ไท นั้น.

--- Page 475 ---
      พระ ศรี รัตนะ สาศดา ราม (475:7.69)
               เปน ชื่อ วัด หลวง วัด หนึ่ง, มี อยู่ ใน พระ บรม ราชวัง ที่ ข้าง น่า, เขา เรียก วัต พระ แก้ว
      พระ ศรี วิสุทธิ วงษ (475:7.70)
               เปน ชื่อ พระ ภิขุ อง หนึ่ง, เจ้า ชีวิตร ตั้ง ไว้ ให้ เปน ใหญ่, ที่ ราชา คะณะ เปน สมเดจ์ เจ้า, อะธิบาย ความ ตาม ชื่อ นั้น, ว่า ท่าน เปน วงษ หมด จด แล มี ศรี ด้วย.
      พระ ศรี ภูริ ปรีชา (475:7.71)
               เปน ชื่อ ขุนนาง คน หนึ่ง, เปน เจ้า กรม ใน พวก อาลักษณ์, เปน พนัก งาน เขียน อักษร แล แต่ง หนัง สือ ถวาย เจ้า ชีวิตร, ชื่อ นั้น อธิบาย ว่า เปน ผู้ เขียน.
      พระ สุเมรุ (475:7.72)
               เปน ชื่อ ภูเขา ใหญ่ เขา หนึ่ง, ว่า เปน หลัก โลกย์, ตั้ง อยู่ กลาง แผ่น ดิน, มี เกาะ สี่ เกาะ ล้อม อยู่ สี่ ด้าน* นั้น.
      พระ โสดา (475:7.73)
               เปน ชื่อ พระ อาริยะ บุกคล จำพวก ที่ หนึ่ง, ชื่อ นั้น มี อธิบาย ว่า ท่าน นั้น มี กระแส สันดาน, เกิด ไป ใน ภพ อีก เจ็ด ชาติ ก็ จะ เข้า พระ นิพพาน.
      พระ สักกิธาคา (475:7.74)
               เปน ชื่อ พระ อาริยะ บุกคล จำพวก ที่ สอง ชื่อ นั้น อะธิบาย ว่า, ท่าน จะ มา เกิด อีก ชาติ เดียว ก็ จะ เข้า พระ นิพพาน.
      พระ สุกร์ (475:7.75)
               เปน ชื่อ เทวดา องค์ หนึ่ง อยู่ ใน สวรรค์, โหร ว่า ท่าน เสวย อายุ มนุษ ยี่สิบ เอด ปี ทุก คน.
      พระ เสาร์ (475:7.76)
               เปน ชื่อ เทวดา องค หนึ่ง อยู่ ใน สวรรค์, พวก โหร ว่า ท่าน เสวย อายุ มนุษ สิบ ปี ทุก คน.
      พระ สาง (475:7.77)
               หวี, เปน ชื่อ หวี สำหรับ หวี ผม, ถ้า เปน ของ เจ้า เรียก พระสาง เปน คำ สูง.
      พระ แสง (475:7.78)
               เปน ชื่อ เครื่อง ใช้ ของ เจ้า ว่า ดาบ, เรียก พระ แสง ดาบ เปน คำ สูง.
      พระ เศียร (475:7.79)
               หัว, คือ หัว เรียก ว่า เศียร เปน คำ สูง สำหรับ เจ้า ว่า พระเศียร.
      พระ ศอ (475:7.80)
               ฅอ, คือ ฅอ, เรียก พระศอ, เปน คำ สูง สำหรับ เจ้า นั้น ว่า พระ ศอ.
      พระ รัศมี (475:7.81)
               แสง, คือ แสง มี แสง อาทิตย์ เปน ต้น, เรียก พระ รัศมี เปน คำ สูง คำ เพราะ. อย่าง หนึ่ง เขา ทำ เปน ยอด แหลม ที่ บน ปลาย พระเศียร พระ พุทธ รูป นั้น.
      พระ สงฆ์ (475:7.82)
               หมู่, คือ แปล ว่า หมู่ พระ ภิกขุ มี พร้อม สี่ รูป ใน ที่ เดียว จึ่ง เรียก ว่า พระสงฆ์, ถ้า มี แต่ สาม รูป ลง มา ไม่ เรียก ว่า สงฆ์.
      พระ สรวล (475:7.83)
               ทรง สำราญ*, คือ หัวเราะ, เขา เรียก ว่า ทรง พระ สรวล นั้น เปน คำ สูง สำหรับ เจ้า.
      พระ ศริ สุคต (475:7.84)
               เปน ชื่อ พระเจ้า ไท, เปน สับท์ แปล ว่า พระ องค์ เลดจ์ เดิน งาม, คือ เข้า ลู้* พระ นิพพาน.
      พระ สรรพ พรรญู* (475:7.85)
                ฯ เปน ชื่อ พระเจ้า ของ ไท, แปล ว่า ตรัส รู้ สรรพ สิ่ง ทั้ง ปวง ไม่ เหลือ เลย.
      พระ สยัม ภู (475:7.86)
               เปน ชื่อ พระเจ้า ไท, แปล ว่า พระองค์ ตรัส รู้ ธรรม ด้วย พระองค์ เอง ไม่ มี ผู้ สอน เลย.
      พระ สาศดา (475:7.87)
               ฯ เปน ชื่อ พระเจ้า ไท, แปล ว่า พระองค์ เปน ครู สั่ง สอน เทวดา แล มนุษ ทั้ง ปวง.
      พระ สัมมา สัมพุทธเจ้า (475:7.88)
               ฯ เปน ชื่อ พระเจ้าไท, แปล ว่า พระ องค์ ตรัส รู้ ธรรม ทั้ง ปวง พร้อม เอง.
      พระ หัตถ์ (475:7.89)
               มือ, ฯ แปล ว่า มือ, เปน คำ สูง คำ เพราะ สำหรับ เจ้า* นั้น.
      พระ หฤไทย (475:7.90)
               หัว ไจ, ฯ แปล ว่า หัว ใจ, เปน คำ สูง คำ เพราะ สำหรับ เจ้า นั้น.
      พระ สังฆ ราช (475:7.91)
               ฯ แปล ว่า เปน พระยา พวก พระสงฆ์, เรียก พระสังฆ ราช, เปน คำ สูง.
      พระ ราชา คะณะ (475:7.92)
               สมเดจ์ เจ้า, ฯ แปล ว่า เปน พระยา ใน หมู่ เรียก พระ ราชา คะณะ ตาม สับท์ เปน คำ สูง.
      พระ อุระ (475:7.93)
               อก, ฯ แปล ว่า อก, เปน คำ สูง สำหรับ เจ้า นั้น.
      พระ อาทิตย์ (475:7.94)
               ร้อน เปน ต้น, แปล ว่า ร้อน, เปน ชื่อ เทวดา องค์ หนึ่ง.
      พระ โอรศ (475:7.95)
               ลูก ชาย, แปล ว่า ลูก ชาย, เรียก พระ โอรศ เปน คำ สูง สำหรับ กระษัตริย์.
      พระ อัคะ บุกคล (475:7.96)
               บุกคล อัน เลิศ, ฯ แปล ว่า บุกคล อัน เลิศ คือ พระ อาริยะ เจ้า, มี พระ โสดาบัน บุกคล เปน ต้น นั้น.
      พระ อัค สาวก (475:7.97)
               ผู้ ฟัง อัน เลิศ, ฯ แปล ว่า พระ สาวก อันเลิศ, คือ สิษ ที่ หนึ่ง ที่ สอง ของ พระ ไทย.
      พระ องค์ (475:7.98)
               ตัว, คือ พระกาย, เรียก พระองค์, เปน คำ สูง คำ เพราะ สำรับ เจ้า นั้น.

--- Page 476 ---
      พระ อังษา บ่า (476:7.99)
               แปล ว่า บ่า, เรียก พระ อังษา เปน คำ สูง.
      พระ โองการ (476:7.100)
               แปล ว่า ถ้อย คำ, คือ เจ้า ชีวิตร ตรัส, เรียก ว่า พระ ราช โองการ.
      พระ อัฐิ (476:7.101)
               กะดูก, คือ กะดูก, เรียก พระ อัฐิ, เปน คำ สูง นั้น.
      พระ โอฐ (476:7.102)
               ปาก, แปล ว่า ปาก เรียก พระโอฐ เปน คำ สูง นั้น.
      พระ อินทร์ (476:7.103)
               เปน ชื่อ เทวดา อยู่ ใน สวรรค์ ชั้น สอง, เรียก พระ อินทร์ อะธิบาย ว่า เปน ใหญ่.
พราก (476:1)
         จาก, คือ บำ ราษ ให้ จาก กัน ไป, ไม่ ให้ อยู่ ใน ที่ เดียว ร่วม กิน อยู่ หลับ นอน ด้วย กัน.
      พราก จาก กัน (476:1.1)
               คือ ทำ ให้ พลัด ไป จาก กัน นั้น.
      พราก ผัว (476:1.2)
               คือ บำราษ เอา แต่ ผัว ให้ ไป อื่น จาก เมีย นั้น.
      พราก เมีย (476:1.3)
               คือ บำ ราษ เอา แต่ เมีย ให้ ไป จาก ผัว นั้น.
      พราก พ่อ (476:1.4)
               จาก พ่อ, คือ บำราษ เอา แต่ พ่อ ให้ จาก ลูก นั้น.
      พราก แม่ (476:1.5)
               จาก แม่, คือ บำราษ เอา แต่ แม่ ไป จาก ลูก นั้น.
      พราก พรัด (476:1.6)
               คือ พรัด พราก ไป จาก กัน นั้น.
      พราก ไฟ (476:1.7)
               ราไฟเสีย, คือ การ ชัก ดุ้น พื้น ที่ ติด ไฟ อยู่ ใน เตา นั้น, ออก จาก เตา ทำ ให้ เปลว ไฟ น้อย ลง นั้น.
พริก (476:2)
         เปน ชื่อ ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ เล็ก สูง สัก สอง ศอก มี ผล เปน เมล็ด รศ เผ็ด ร้อน เปน เครื่อง กิน กับ เข้า.
      พริก ขี้ หนู (476:2.1)
               ต้น มัน เท่า กัน, แต่ เมล็ด นั้น เล็ก เท่า แท่ง ดินสอ ดำ, รศ เผ็ด กว่า พริก ใหญ่ นัก, เพราะ เมล็ด มัน เล็ก จึ่ง เรียก พริก ขี้ หนู.
      พริก ตุ้ม (476:2.2)
               ต้น ใบ เหมือน กัน, แต่ เมล็ด มัน สั้น* กลม เหมือน ลูก มะเขือ ฝารั่ง มี รศ เผ็ด.
      พริก ไท (476:2.3)
               พริก ล่อน. ต้น มัน เลื้อย เปน เถา เหมือน เถา พลู, ต้อง ปัก ไม้ เปน หลัก ให้ มัน ขึ้น, ออก ผล เปน ช่อ เมล็ด มัน เล็ก ๆ มี รศ เผ็ด ร้อน นัก.
      พริก เทษ (476:2.4)
               ต้น ใบ เหมือน พริก ตุ้ม, แต่ เมล็ด มัน ใหญ่ เท่า ด้ำ มีด หมาก, สุก ศรี แดง รศ เผ็ด เปน เครื่อง กับ เข้า.
      พริก ชี้ ฟ้า (476:2.5)
               ต้น ใบ เหมือน กัน, แต่ เมล็ด สุก แดง บ้าง ศรี เหลือง บ้าง เมล็ด มัน มี ปลาย ชี้ ขึ้น ไป หา ฟ้า, เผ็ด กล้า นัก นั้น.
      พริก หยวก (476:2.6)
               ต้น ใบ เหมือน กัน, แต่ เมล็ด ไม่ สู้ เผ็ด, เขา เอา ทำ ผัก แกง เปน กับ เข้า กิน ได้.
      พริก ล่อน (476:2.7)
               คือ เมล็ด พริก* ไท ที่ สุกงอม เปลือก มัน ล่อน หลุด หมด ยัง แต่ เมล็ดไน มัน นั้น.
      พริก หอม (476:2.8)
               ต้น ใบ เหมือน กัน, แต่ เมล็ด มัน เล็ก เท่า เมล็ด พริก ชี้ฟ้า, มี กลิ่น หอม ทำ ยา ได้.
พฤกษา (476:3)
         แปล ว่า ต้นไม้, บันดา ต้น ไม้ ใหญ่ น้อย มี ใน ป่า ใน บ้าน, เรียก ว่า พฤกษา หมด.
      พฤกษาชาติ์ (476:3.1)
               คือ ต้นไม้ ทั้ง ปวง ที่ บังเกิด นั้น, เหมือน ต้นไม้ ใน ป่า ดง นั้น.
      พฤกษ ไพร (476:3.2)
               คือ ต้นไม้ ใน ป่า ทั้ง ปวง นั้น, เหมือน อย่าง หมู่ ไม้ ใน ดง นั้น.
พรุก ปะรืน นี้ (476:4)
         คือ เวลา รุ่ง ขึ้น ใน ที่ สาม นั้น, เหมือน คำ เขา นัด กัน ว่า พรุก ปะรืนนี้ เรา จะ ไป หา นั้น.
      พรูกนี้ (476:4.1)
               คือ เวลา รุ่ง ขึ้น เช้า วัน ที่* สอง, เขา ว่า เวลา พรูกนี้, เปน คำ ลาว คน เมือง เหนือ นั้น.
แพรก (476:5)
         คือ คลอง ฤๅ หน ทาง บก, เดิม เปน คลอง เดียว ทาง เดียว, ครั้น ต่อ ไป ปลาย แยก ออก เปน สอง ที่ นั่น เรียก ว่า แพรก.
โพรก (476:6)
         คือ ที่พาย ใน ไม่ แน่น ไม่ ตัน, เหมือน ผล แตงโม ที่ ดี เปน ปรกติ นั้น แน่น ตัน, ครั้น เอา ไว้ นาน เกือบ จะ เสีย ข้าง ใน เปน น้ำ เหลว ออก ไป นั้น, ว่า แตง โพรก.
      โพรก หลวม (476:6.1)
               คือ ของ ที่ ไม่ แน่น แล้ว หลวม ด้วย นั้น, เหมือน กะบวย แกว่ง ตุ่ม เปน ต้น.
      โพรกเพรก (476:6.2)
               คือ ของ ที่ ไม่ แน่น ไม่ ตึง นั้น, เหมือน เสา หลวม หลุม ฤๅ ปู โพรก นั้น.
เพรียก (476:7)
         คือ สำเนียง เสียง มาก, มี เสียง นก ร้อง มาก ๆ พร้อม กัน, ว่า เสียง ร้อง เพรียก ไป.
      เพรียก พร้อง (476:7.1)
               คือ เสียง ที่ ดัง เซ็งแซ่ ขึ้น พร้อม กัน นั้น, เหมือน เสียง จักระจั่น เรไร ร้อง หริ่ง ใน ดง นั้น.
พรั่งพรู (476:8)
         เหมือน คน มา มาก ตั้ง แต่ สิบ คน ขึ้น ไป, เข้า มา พร้อม กัน ตาม กัน เข้า มา พรั่งพรู* เข้า มา.
พราง (476:9)
         อำ เสีย, ปิด เสีย*, คือ อำ ความ เสีย, มี ผู้ มา ถาม หา คน อยู่ บน เรือน, ตัว ก็ รู้ ว่า คน นั้น อยู่, แต่ แสร้ง* บอก ว่า ไม่ อยู่ ว่า บอก พราง เสีย*.

--- Page 477 ---
      พราง กัน (477:9.1)
               พูด อำ กัน, เหมือน คน พวก เดียว ฤๅ เพื่อน กัน, มา ถาม หา ผู้ ใด ผู้ หนึ่ง, แล บอก อำ เช่น ว่า นั้น, ว่า บอก พราง กัน เอง.
      พราง ความ (477:9.2)
               พูด อำ ความ, เขา ถาม ความ ข้อ คะดี อัน ใด อัน หนึ่ง*, ตัว รู้ อยู่ แต่ ไม่ บอก ว่า พราง ความ เสีย.
พร่าง (477:1)
         พราย, พร้อย, เหมือน คน แก่ ฤๅ คน หาวนอน นั้น*, หน่วย ตา ดู เหน สิ่ง เดียว เปน สอง เปน สาม ไป นั้น, ว่า ตา พร่าง ไป.
      พร่าง พราย (477:1.1)
               เหมือน คน ชะรา, ตา ดู สิ่ง ใด ก็ ไม่ เหน แจ้ง กระจ่าง เหมือน ตา คน หนุ่ม เพรอะ* ติด กัน ไป.
      พร่าง พร้อย (477:1.2)
               เหมือน ตา คน แก่ เกือบ จะ ต้อง ใส่ แว่น, แล ดู หนังสือ เพรอะ* ติด กัน ไป นั้น, ว่า ตา พร่าง พร้อย ไป.
พริ้ง (477:2)
         งอน, คือ ของ ที่ งาม สรวย, เหมือน ผู้ หญิง สาว เล็ก ๆ รูป* สรวย ทำ กิริยา จริต ด้วย ว่า งาม พริ้ง.
      พริ้ง เพริศ (477:2.1)
               คือ สิ่ง ของ ที่ งาม พร้อม นั้น, เหมือน ผู้ หญิง ที่ งาม งอน ดู เพริศ พริ้ง นั้น.
      พริ้ง (477:2.2)
               เปน ไม้ กระดาน น่า ใหญ่ สัก แปด นิ้ว, น่า เล็ก สัก สอง นิ้ว ยาว แล กว้าง ภอ ได้ กับ วง เรือน, เขา ทำ รัด รอบ เสา เรือน ทั้ง สี่ ด้าน. อย่าง หนึ่ง เปน โรค ผุด เปน เมด เล็ก ๆ ขึ้น ที่ ตัว คน.
พรุ่ง (477:3)
         พรุก, รุ่ง, คือ เพลา รุ่ง เช้า วัน ที่* สอง, เปน สยาม ภาษา มี ภาษา ลาว เปน ต้น, เขา พูด ว่า พรุ่ง นี้ เช้า.
      พรุ่ง นี้ (477:3.1)
               พรุก นี้, คือ เพลา รุ่ง เช้า วัน ที่ สอง, เขา พูด ว่า พรุ่ง นี้ เช้า.
แพร่ง (477:4)
         แพรก, คือ กะจาย ฟุ้งเฟื่อง, เปน ความ เปรียบ ว่า ความ ลับ อย่า พูด ให้ คน อื่น ๆ รู้ ต่อ ๆ ไป, ว่า อย่า ให้ ความ แพร่ แผ่ ไป.
      แพร่ง พราย (477:4.1)
               แผ่ ไป, คือ กระจาย แพร่ แผ่ ไป, เหมือน ความ อัน ใด เปน ความ ลับ, แล มิ ให้ พูด กัน ให้ คน อื่น รู้ ต่อ ๆ ไป มาก นั้น.
โพรง (477:5)
         คือ ที่ ต้น ไม้ ใหญ่ เปน ต้น, แล มี รู โต เปน ช่อง ใหญ่ เท่า ชาม ใส่ แกง เรียก ว่า โพรง ไม้ นั้น.
      โพรง ปลา (477:5.1)
               คือ รู ช่อง ที่ ใน ดิน ใน น้ำ, ปลา มัน เข้า อาไศรย์ อยู่ นั้น, เขา เรียก ว่า โพรง ปลา.
      โพรง ไม้ (477:5.2)
               คือ รู ช่อง โต มี อยู่ ที่ โคน ต้น ไม้ ต้น ใหญ่ นั้น,
พร่อง (477:6)
         คือ น้ำ ไม่ เต็ม ที่ มี ม่อ เปน ต้น, ว่า น้ำ พร่อง อยู่ ไม่ เต็ม ม่อ นั้น.
      พร่อง (477:6.1)
               ยุบ, คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ยุบ พร่อง* ลง นั้น, เหมือน น้ำ ใน หนอง พร่อง ยุบ ลง เมื่อ ระดู แล้ง* นั้น.
      พร่อง กะละ ออม (477:6.2)
               คือ น้ำ ไม่ เต็ม กะละ ออม, คือ ม่อ เขา ทำ คอ ยาว กว่า ม่อ เข้า สำหรัป ใส่ น้ำ มนต์ นั้น.
      พร่อง ม่อ (477:6.3)
               คือ น้ำ ไม่ เต็ม ม่อ ถึง ขอบ ปาก, ต่ำ กว่า ขอบ ปาก ม่อ อยู่ สัก นิ้ว สอง นิ้ว นั้น, ว่า น้ำ พร่อง ม่อ นั้น.
      พร่อง ไห (477:6.4)
               คือ น้ำ ไม่ เต็ม ไห ถึง ขอบ ปาก, ต่ำ กว่า ขอบ
      พร่อง บก (477:6.5)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ บก พร่อง ลง นั้น, เหมือน ผู้ หญิง ที่ มี อายุ ลี่ สิบ ปี นั้น.
      พร่อง ชลที (477:6.6)
               คือ พร่อง แม่ น้ำ นั้น, เหมือน น้ำ ลด เมื่อ ระดู แล้ง นั้น.
      พร่อง โอ่ง (477:6.7)
               บก โอง, คือ น้ำ ไม่ เต็ม โอ่ง ถึง ขอบ ปาก, ต่ำ กว่า ขอบ ปาก สัก นิ้ว สอง นิ้ว นั้น.
พร้อง (477:7)
         พ้อง, คือ กล่าว วาจา, ว่า พร้อง เปน สยาม ภาษา, มี ภา ษา ลาว เปน ต้น นั้น.
เพรียง (477:8)
         เพียง, คือ สัตว เกิด ใน น้ำ, เปน ตัว ยาว สัก เจ็ด นิ้ว แปด นิ้ว, ปาก มี ฟัน แขง กัด ไม้ เรือ ได้ นั้น.
      เพรียง น้ำ เค็ม (477:8.1)
               คือ ตัวเพรียง มัน เกิด อยู่ ใน น้ำ เค็ม, ปาก มัน มี ฟัน แขง กัด ไม้ กิน ได้.
      เพรียง น้ำ จืด (477:8.2)
               คือ ตัว เพรียง มัน เกิด อยู่ ใน น้ำ จืด, ปาก มัน มี ฟัน แขง กัด ไม้ กิน ได้
      เพรียง หู (477:8.3)
               คือ ค่า หู ฤๅ เพียง หู นั้น, เหมือน คำ ว่า ควาย เขา ค่า หู ฤๅ เตะ ถูก เพียง หู นั้น.
พรต (477:9)
         บวช, คือ บวช*, คน ภาษา ใด ไม่ ว่า, ถ้า ออก บวช เรียก ว่า ทรง พรต ทั้ง สิ้น นั้น.
      พรัด พราก (477:9.1)
               พลัด จาก, นิราษ ร้าง, คือ นิราษ ออก จาก กัน ไป เหมือน คน สอง คน เปน ต้น, เดิม ไป ด้วย กัน ภาย หลัง กระจัด กระจาย พลัด ออก จาก กัน.
พราด (477:10)
         คือ เสียง ดัง พราด, คน ถ่าย อุจาระ ลง ท้อง, มี เสียง ดัง พราด ๆ อย่าง นั้น มี บ้าง.

--- Page 478 ---
พริดพรี (478:1)
         เปน ชื่อ เขา เรียก เมือง เพชร์ บูรีย์, ว่า เมือง พริด พรี อย่าง นี้ ก็ มี บ้าง.
พฤฒฒา จาริย (478:2)
         คือ อาจาริย ผู้ เฒ่า นั้น, เหมือน คำ ว่า พุฒฒา จาริย นั้น.
พฤฒฒา มาตย (478:3)
         แปล ว่า คน เปน อำมาตย อัน เจริญ, ของ พระ มหา กระษัตริย์ นั้น.
พรูด พราด (478:4)
         คือ สิ่ง ของ ที่ ไม่ แน่น แฟ้น ไม่ กะชับ เปน ปรกติ นั้น, เหมือน ลง ท้อง พรูด พราด นั้น,
แพรศยา (478:5)
         คือ หญิง มี วิชา หญิง เจ้า เล่ห์ นั้น, เหมือน หญิง คน ชั่ว มาก ชู้ หลาย ผัว นั้น.
เพริด (478:6)
         คือ ของ สะสรวย เฉิดฉาย, คน* ที่ รูป งาม แล ไม่ หมอง มัว, สอาด ละออ นั้น.
      เพริด เพรา (478:6.1)
               คือ ของ ฤๅ คน ที่ เฉิดฉาย นั้น, บำรุง กาย ให้ สอาด หมด จด ไม่ เศร้าหมอง นั้น.
      เพริด พริ้ง (478:6.2)
               คือ สิ่ง ของ ที่ งาม เฉิดฉาย นั้น, เหมือน ผู้ หญิง สวย ที่ งาม งอน นั้น.
      เพริด พราย (478:6.3)
               ของ ที่ งาม เหมือน มหา ประสาท หลวง เปน ต้น
      เพริด แพรว (478:6.4)
               คือ สิ่ง ของ ที่ ประดับ ด้วย เพ็ชร์ พลอย ดู งาม นั้น, เหมือน พระ มหามงกุฏ นั้น.
พรั่น (478:7)
         คร้าม, เกรง, คือ ใจ ที่ คิด หวั่น กลัว น่อย ๆ คน ไม่ เคย ไป เรือ เล่น ทะเล กลัว เรือ จะ ล่ม ไป นั้น.
      พรั่น ใจ (478:7.1)
               คร้าม ใจ, หวั่น ใจ, คือ ใจ คน คิด วิตก กลัว ไภย ต่าง ๆ มี คลื่น ใน ทะเล เปน ต้น กลัว เรือ จะ ล่ม นั้น.
      พรั่น พรึง (478:7.2)
               ครั่น คร้าม, หวาด หวั่น, คือ ใจ ครั่น คร้าม กลัว ใน หน ทาง เปลี่ยว ไป ผู้ เดียว, ไม่ รู้ ว่า สัตว ร้าย จะ มา เวลา ไร นั้น.
พราน (478:8)
         คน ยัง สัตว ให้ ตาย, คือ คน เที่ยว ใน ป่า ยิง สัตว มี เนื้อ เปน ต้น มัก เที่ยว ไป เนือง ๆ นั้น.
      พราน นก (478:8.1)
               คน ยัง นก ให้ ตาย, คือ คน เที่ยว ใน ป่า, ยิง ปืน เปา* กล้อง ดัก แร้ว แล ตลบ ด้วย ข่าย จับ นก เนือง ๆ นั้น.
      พราน เนื้อ (478:8.2)
               คน ยัง เนื้อ ให้ ตาย, คือ คน เที่ยว ใน ป่า ยิง แทง ดัก สัตว เนือง ๆ.
      ข้า พราน ช้าง (478:8.3)
               คน ยัง ช้าง ให้ ตาย, คือ คน เที่ยว ใน ป่า ยิง แทง ช้าง, เอา งา มา ขาย เนือง ๆ นั้น.
      พราน เบ็ด (478:8.4)
               คน ตก เบ็ด, คือ คน เที่ยว ตก เบ็ด จับ ปลา ตาม ทะเล แล แม่ น้ำ ห้วย หนอง เนือง ๆ นั้น.
      พราน ปลา (478:8.5)
               คือ คน เที่ยว ทอด แห แล แทง ฉมวก แล สุ่ม จับ ปลา เนือง ๆ นั้น
พรึน (478:9)
          เปน เม็ด, คือ สิ่ง ของ ที่ เปน เม็ด พรึน ขึ้น มา นั้น, เหมือน คน เปน ผด ฤๅ เปน หัด นั้น
พรุน (478:10)
         เปน ตัว สัตว อย่าง หนึ่ง, รูป มัน เหมือน หมวก ยีโบ, มัน ลอย อยู่ ใน น้ำ เค็ม ใน ทะเล บ้าง ใน คลอง บ้าง. อย่าง หนึ่ง ที่ พื้น กะดาน เปน ต้น ไม่ เกลี้ยง อรุอระ อยู่ นั้น.
พรวน (478:11)
         กะดึง เล็ก, คือ ลูก พรวน, เขา ทำ ด้วย ทอง เหลือง มี เม็ด ทอง เหลือง อยู่ ใน สั่น ดัง กริ่ง ๆ.
พริบ ตา (478:12)
         คือ ลับ ตา ลง แล้ว ลืม ขึ้น เร็ว นั้น. คน ทำ ตา ปริบ ๆ ว่า พริบ ตา ลง.
พรึบ พร้อม (478:13)
         คือ การ ที่ เดิน ไป พร้อม กัน มาก เสียง พรึบ ๆ นั้น เหมือน แห่ เลียบ พระ นะคร นั้น.
พรม (478:14)
         คือ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ต้น มี หนาม ดอก หอม, ต้น สูง สัก สาม สอก.
      พรม เจียม (478:14.1)
               คือ เครื่อง ลาด ที่ ทำ ด้วย ขน สัตว นั้น, เหมือน พรม เจียม ที่ มา แต่ เมือง จีน นั้น.
      พรม น้ำ (478:14.2)
               คือ เอา น้ำ ประ ลง ที่ ของ มี กะดาด เปน ต้น, เพื่อ จะ ให้ เปียก น่อย ๆ นั้น.
      พรม ประ (478:14.3)
               คือ ประพรม นั้น, เหมือน คน ประ แป้ง ฤๅ พรม น้ำ, ฤๅ น้ำ ค้าง พรม ประ นั้น.
      พรม ยา (478:14.4)
               ประ ยา, เหมือน ยา ที่ เขา มวน บูหรี่ มัน แห้ง มวน ยาก, พรม น้ำ ให้ ชุ่ม จะ ได้ มวน ง่าย.
พรหม (478:15)
         เปน เทวดา พวก หนึ่ง ชื่อ พรหม, ว่า อยู่ ชั้น สูง กว่า เทวดา อื่น นั้น.
      พรหม พงษ (478:15.1)
               คือ วงษ ของ พรหม นั้น, เหมือน อย่าง พวก พราหมณ ทั้ง ปวง ฤๅ ทศ กรรฐ์ นั้น.
      พรหม โลกย์ (478:15.2)
               คือ ชั้น สวรรค์ สูง กว่า สวรรค ชั้น เทวดา อื่น, มี พระอินท์ เปน ต้น.
      พรหม วิมาน (478:15.3)
               คือ วิมาน ของ พรหม นั้น, เหมือน วิมาน แห่ง เทพ บุต ทั้ง ปวง นั้น.

--- Page 479 ---
      พรหม วิหาร (479:15.4)
               คือ อยู่ ใน ที่ อัน ประเสิฐ, ฤๅ อยู่ ใน ที่ ราว กะ พรหม นั้น, เหมือน เจริญ เมตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เปน ต้น นั้น.
      พรหม จารีย์ (479:15.5)
               คือ หญิง สาว ที่ ยัง ไม่ ได้ สำผัศ ถูก ต้อง กับ ชาย, ว่า เขา ประพฤษดิ์ เหมือน กับ พรหม นั้น, เพราะ พวก พรหม ไม่ เสพ กาม คุณ.
      พรหม จรรย์ (479:15.6)
               คือ เขา ประพฤษดิ์ เหมือน อย่าง พรหม เปน ต้น.
พรัม (479:1)
         คือ ฝน ตก หนัก แล้ว ไม่ หาย ที เดียว, ตก เม็ด เล็ก ๆ ปรอย ๆ ไป ไม่ ใคร่ อยุด นั้น.
พราหมณ (479:2)
         คือ คน สกูล หนึ่ง, ถือ เพศ ไว้ ผม มวย นุ่ง ผ้า ขาว ห่ม ผ้า ขาว ใส่ สังวาร เปน ธรรมดา.
      พราหมณี (479:2.1)
               คือ นาง พราหมณี นั้น, เหมือน พราหมณ เกสร ใน เรื่อง ลักษณ วงษ เปน ต้น.
      พราหมณ เทษ (479:2.2)
               คือ พราหมณ ทั้ง ปวง ที่ มา แต่ เมือง เทษ นั้น, เหมือน พราหมณ์ เมือง กะบิละพัตถ์ นั้น.
พริ้ม เพริศ (479:3)
         คือ คน ยิ้ม แย้ม ดู งาม ละม่อม ละไมย นั้น, เหมือน หญิง งาม เสงี่ยม เปน ต้น.
      พริ้มพราย (479:3.1)
               คือ คน แย้ม ยิ้ม ดู งาม, เหมือน หญิง สาว ชาว วัง, ทำ กิริยา อาการ ยิ้ม แย้ม นั้น.
พร้อม (479:4)
         คือ คน ตั้ง แต่ สอง คน ขึ้น ไป, มา คราว เดียว กัน,
      พร้อม กัน (479:4.1)
               ร่วม กัน, คือ คน มาก มา ถึง ขะณะ เดียว กัน.
      พร้อม ใจ (479:4.2)
               ร่วม ใจ, คือ คน คิด การ อัน ใด แล เหน ลง ทุก คน เสมอ กัน นั้น.
      พร้อม บริบูรณ (479:4.3)
               คือ พร้อม กัน เต็ม โดย รอบ นั้น, เหมือน เกณฑ์ กอง ทัพ มา ถึง พร้อม บริบูรณ นั้น. ไป คราว เดียว กัน เปน ต้น นั้น.
      พร้อม พรั่ง (479:4.4)
               คือ คน มาก มา ถึง ใน ขะณะ นั้น นั่ง พร้อม กัน สลอน อยู่ นั้น.
      พร้อม พรัก (479:4.5)
               คือ พรัก พร้อม กัน นั้น, เหมือน พ่อ แม่ พี่ น้อง พวก พ้อง เผ่าพันธุ มา ถึง พร้อม กัน นั้น.
      พร้อม เพรียง (479:4.6)
               คือ คน มา มาก ถึง ใน ขะณะ เดียว กัน นั่ง พร้อม เรียง สลอน อยู่ นั้น.
      พร้อม หน้า (479:4.7)
               คือ คน มาก มา นั่ง สลอน มาก หลาย คน หลาย หน้า, ว่า มา พร้อม หน้า กัน.
      พร้อม มูล (479:4.8)
               บริบูรณ, คือ คน นัด กำหนฎ กัน จะ สวด ฤๅ จะ ทำ บุญ ใน ที่ แห่ง หนึ่ง พร้อม กัน นั้น.
พราย (479:5)
         คือ ของ เล็ก ๆ, เหมือน เกล็ด หอย หลัง หีบ ยี่ปุ่น ศรี พราย ๆ นั้น.
      พราย ตา (479:5.1)
               เหมือน คน แล ดอกไม้ ไฟ ที่ เปน ช่อ ๆ กระจาย ประ- จักษ์ ตา นั้น.
      พราย พรรณ์ (479:5.2)
               คือ ของ เล็ก แล เหน มาก ดู ศรี ต่าง ๆ, เหมือน กระ เบื้อง ถ้วย ประดับ ที่ พระ เจดีย์ นั้น.
      พราย พราว (479:5.3)
               คือ ดาว แล เพชร์ หลาย เม็ด ด้วย กัน ศรี สว่าง แวว วาว นั้น, ฤๅ แสง หิ่ง ห้อย ที่ ต้น ลำภู นั้น.
      พราย แพรว (479:5.4)
               คือ ศรี สว่าง วาวแวว นั้น, เหมือน ปลา พ่น น้ำ เค็ม ใน ทะ เล เมื่อ เวลา กลาง คืน ดู พราย แพรว นั้น.
      พราย พร้อย (479:5.5)
               วาวแวว, คือ ของ เล็ก ๆ หนิด ๆ แล เหน มาก เหมือน กระเบื้อง ถ้วย ประดับ ที่ พระ ปรางค์ นั้น.
      พราย เพริศ (479:5.6)
               คือ แสง แก้ว ที่ ประดับ ใน สิ่งฃอง ต่าง ๆ ดู งาม เพริศ พราย นั้น, เหมือน แสง แก้ว ที่ ประดับ น่า มุข ที่ พระ มหา ปราสาท นั้น.
พราว (479:6)
         พราย, พร่าง, คือ ของ เล็ก ๆ หนิด ๆ, เหมือน ประกาย ดอกไม้ ไฟ ที่ ตก ลง นั้น, ว่า ตก พราว ๆ นั้น.
      พราว ตา (479:6.1)
               พราย ตา, พร่าง, คือ ประกาย ดอก ไม้ ไฟ ที่ ตก ลง แล เหน พร้อย ๆ หยอย ๆ ลง มา จาก ต้น นั้น.
พร้าว (479:7)
         คือ เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ชื่อ ต้น มะพร้าว มี ผล เปน พวง ทำ น้ำ มัน ได้, ลำ ต้น ใหญ่ สี่ กำ ห้ากำ, สูง สัก หก วา ใบ มัน เปน ทาง ยาว สัก สิบ สอก.
แพร พรัน (479:8)
         แพร ศรี, คือ ผ้า ธอ ด้วย ไหม, คน เรียก ผ้า แพง แต่ พรัน เปน สร้อย คำ.
พร้อย (479:9)
         คือ ฃอง ประ ๆ กระ ๆ, เหมือน ถ้ำ ใส่ ใบ ชา มา แต่ เมือง จีน เรียก ว่า สิลา ทอง เปน ต้น นั้น.
      พร้อย พราย (479:9.1)
               คือ ของ กระ ศรี ลาย พราย พร้อย นั้น, เช่น สิ ลา ลาย ฤๅ แก้ว แกม ทอง เปน ต้น นั้น.
      พร้อย ลาย (479:9.2)
               คือ ของ ศรี ลาย พร้อย เช่น นั้น, เหมือน ไข่ นก กรอด ลาย พร้อย ๆ นั้น.
      พร้อย ด่าง (479:9.3)
               คือ ของ ศรี ลาย ด่าง กระ ๆ จุด ๆ นั้น, เหมือน วัว ตัว ลาย พร้อย ด่าง เปน ต้น นั้น.

--- Page 480 ---
เพรียว (480:1)
         คือ ของ มี เรือ เปน ต้น, ที่* รูป ไม่ แบน กว้าง นัก นั้น, เขา เรียก เรือ เพรียว นั้น.
เพรื่อ (480:2)
         การ ที่ น้ำ เปียก ที่ พื้น เรือน เรี่ย ราด เปน ต้น นั้น.
เพราะ (480:3)
         คือ เหตุ การ บังเกิด ขึ้น แต่ สิ่ง นั้น. อย่าง หนึ่ง ว่า เสียง เพราะ คือ เสียง ที่ น่า ฟัง นั้น.
      เพราะ กรรม (480:3.1)
               คือ การ ที่ คน ได้ ความ ยาก ลำบาก เวทนา ใน นรก เปน ต้น, ว่า เพราะ กรรม.
      เพราะ หย่าง นี้ (480:3.2)
               คือ เหตุ อย่าง นี้, คำ ว่า เพราะ เหตุ อย่าง นี้ จึ่ง* ไม่ สำเรทธิ์ เปน ต้น นั้น.
      เพราะ ฉะนี้ (480:3.3)
               คือ เหตุ เช่น นี้, คำ ว่า เพราะ เหตุ อย่าง นี้ จึ่ง เวียน เกิด ๆ ตาย ๆ ไม่ อยุด เปน ต้น นั้น.
      เพราะ เจ้า (480:3.4)
               เปน คำ คน พูด เมื่อ เหตุ เกิด ขึ้น แต่ บุตร ภรรยา เปน ต้น, ว่า ความ เกิด ขึ้น เพราะ เจ้า.
      เพราะ บุญ (480:3.5)
               เปน คำ พูด ว่า คน ได้ เปน กระษัตริย์ เปน ต้น, ว่า การ สำเรทธิ์ ได้ เพราะ บุญ หลัง.
      เพราะ บาป (480:3.6)
               เปน คำ พูด แห่ง คน ได้ ความ ทุกข์ มา ถึง ตัว ว่า เปน เพราะ บาป แต่ หน หลัง.
      เพราะ ว่า (480:3.7)
               คือ เหตุ ว่า เช่น คำ ว่า, เพราะ ว่า ท่าน กระ ทำ บาป จึ่ง ไป นรก นั้น.
      เพราะ อะไร (480:3.8)
               คือ เหตุ อัน ใด นั้น, เหมือน คำ ว่า การ ที่ เปน ไป ทั้ง นี้ เพราะ เหตุ อะไร เปน ต้น.
      เพราะ หู (480:3.9)
               คือ เหตุ หู นั้น ว่า, ได้ ยิน เสียง ก็ เพราะ หู เปน ต้น นั้น.
      เพราะ เหตุ (480:3.10)
               คือ คน ประพฤษดิ์ การ สุจริต แล การ ทุจรีต แล ได้ ดี แล ชั่ว, ว่า เพราะ เหตุ ดี แล ชั่ว นั้น.
      เพราะ ใจ (480:3.11)
               คือ เหตุ ด้วย ใจ, เช่น คำ ว่า จะ เปน บุญ เปน บาป ก็ เพราะ ใจ เปน ต้น.
พล่า (480:4)
         ของ คาว คือ เนื้อ แล ปลา ที่ เขา ทำ ดิบ ๆ คั้น ด้วย* น้ำ ส้ม ให้ สิ้น คาว, แล ใส่ เครื่อง ปรุง ลง กิน กับ เข้า นั้น.
      พล่า กุ้ง (480:4.1)
               ยำกุ้ง, ของ กับ เข้า ทำ ด้วย กุ้ง ดิบ, เขา เอา เนื้อ กุ้ง สด ดิบ ๆ มา ฟั้น กับ น้ำ ส้ม ให้ ซีด แล้ว, ใส่ เครื่อง ปรุง ลง กิน เปน กับ เข้า.
      พล่า เนื้อ (480:4.2)
               ยำ เนื้อ, คือ ของ กับ เข้า, ทา ด้วย เนื้อ วัว เนื้อ แพะ เปน ต้น, เขา เอา เนื้อ สด ๆ มา หั่น เปน ชิ้น ๆ, แล้ว ฟั้น กับ น้ำ ส้ม ให้ สิ้น เลือด สิ้น คาว, แล้ว ใส่ เครื่อง ปรุง ลง กิน กับ เข้า.
พลี (480:5)
         บูชา, คือ ของ บูชา, เขา จะ ทำ ยา ให้ ประสิทธิ์ หาย โรค, เขา เอา หมาก พลู คำ หนึ่ง. ไป บูชา ที่ ต้น ไม้, จะ ทำ ยา แล้ว ถาม ว่า จะ เชิญ ไป รักษา โรค จะ หาย ฤๅ ไม่ หาย, ผู้ นั้น ว่า เอง ว่า หาย, แล้ว จึ่ง เอา มา ว่า ทำ พลี.
      พลีกรรม (480:5.1)
               คือ กะทำ การ บูชา, เขา บน ไว้ กับ เทวดา ฃอ ยศ แล ลาภ, ถ้า ได้ สำเรทธิ์, แล้ว ไป บูชา ว่า ทำ พลี กรรม.
พลุ (480:6)
         คือ ดอก ไม้ ไฟ อย่าง หนึ่ง เรียก พลุ, เขา จุด ดัง เหมือน เสียง ปืน, มี ดอก ช่วง โด่ง ขึ้น ไป บน อากาศ สูง นัก มี แสง ส่อง สว่าง, เหมือน แสง พระ จันท์. อย่าง หนึ่ง ที่ ดิน มี น้ำ โคลน คน เอยียบ ผลุ ลง นั้น.
พลู (480:7)
         เปน ชื่อ เถาวัล อย่าง หนึ่ง ใบ มี รศเผด เขา กิน กับ หมาก สำหรับ แก้ เปรี้ยว ปาก นั้น.
      พลู แก (480:7.1)
               คือ เถาวัล ต้น เล็ก ๆ อย่าง หนึ่ง, เขา กิน แทน พลู ใหญ่, เขา ปลูก ทำ ยา บ้าง ไม่ มี มาก.
      พลู กลุ่ม (480:7.2)
               คือ พลู ที่ ห่อ เปน กลุ่ม ๆ นั้น, เช่น คน ทำ กลุ่ม พลู เปน ต้น นั้น.
      พลู กะต่อย (480:7.3)
               คือ เถา พลู ขึ้น ใน ป่า เลื้อย ขึ้น ต้น ไม้ ใหญ่, ใบ มัน โต กว่า พลู อื่น.
      พลู จีน (480:7.4)
               คือ เถา พลู เช่น ว่า นั้น, แต่ พวก จีน ปลูก เอา ไม้ ปัก สำหรับ ให้ มัน เลื้อย ขึ้น ไป, เรียก ว่า พลู จีน.
      พลู จีบ (480:7.5)
               คือ พลู ที่ เขา จิบ เปน คำ ๆ นั้น, เช่น พลู จีบ ที่ พวก ไท กิน เปน ต้น.
      พลู ไท (480:7.6)
               คือ เถา พลู เช่น ว่า นั้น, แต่ พวก ไท ชาว สวน ปลูก ให้ มัน เลื้อย ขึ้น ต้น ไม้ ใหญ่ ไม่ ปัก ไม้.
      พลู ทอง (480:7.7)
               คือ เถา พลู เช่น ว่า, แต่ ใบ มัน เหลือง, จึ่ง เรียก พลู ทอง, จีน ปลูก ชุม เพราะ ราคา แพง.
      พลู นาบ (480:7.8)
               คือ พลู ที่ เขา นาบ ให้ สุก นั้น, เช่น พลู นาบ ที่ เขา เอา ไป ขาย เมือง เหนือ นั้น.
      พลู ใบ (480:7.9)
               คือ พลู ที่ ยัง เปน ใบ อยู่ ยัง ไม่ ได้ จีบ นั้น.

--- Page 481 ---
      พลู เรียง (481:7.10)
               คือ พลู ที่ ซ้อน กัน เปน เรียง ๆ นั้น, เช่น พลู เรียง ที่ เขา ขาย ตาม ท้อง ตลาด เปน ต้น นั้น.
ไพล (481:1)
         คือ ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง, เขา ปลูก ทำ ยา ชุม มี* หัว เง่า ใต้ ดิน, รศ เผ็ด ขม ร้อน ทา แก้ ลม ดี.
      ไพล ม่วง (481:1.1)
               คือ ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง สูง สัก สอง สอก เสศ, มี หัว ใน ดิน กิน เผ็ด ร้อน แต่ เนื้อ ใน หัว ศรี ม่วง.
ไพล่ (481:2)
         คือ เลี้ยว ไพล่, เขา จับ แขน ไพล่ ไป ข้าง หลัง ทั้ง สอง ข้าง ซ้าย ขวา ว่า ไพล่.
      ไพล่ ออก (481:2.1)
               คือ ลอบ ออก มา นั้น, เช่น คน ไพล่ ออก จาก คุก ลอบ หนี ไป นั้น.
      ไพล่ ขา (481:2.2)
               คือ เอา ขา ไพล่ เสีย นั้น, เช่น ผู้ หญิง อังกฤษ ขี่ ม้า เปน ต้น.
      ไพล่ หนี (481:2.3)
               คือ การ ที่ คน นั่ง อยู่ แล้ว ลุก ขึ้น ไป ผู้ อื่น ไม่ ทัน รู้, คือ บ่าว ลอบ หนี นาย เปน ต้น.
      ไพล่ เผล (481:2.4)
               คือ ความ ที่ หลบ เลื่อม หนี ไป นั้น, เช่น บ่าว ไพล่ เผล หนี นาย ไป นั้น.
      ไพล่ หลัง (481:2.5)
               คือ เขา ทำ แขน ทั้ง ซ้าย ขวา ไคว่ ไป ไว้ เบื้อง หลัง นั้น, เขา ว่า ไพล่ หลัง.
      ไพล่ หน้า (481:2.6)
               คือ ความ ที่ หลบ หน้า ไพล่ ไป เสีย นั้น, เช่น คน ไพล่ หน้า หลบ ตัว เสีย นั้น.
โพล่ (481:3)
         คือ ของ สาน ด้วย ตอก รูป คล้าย กับ ครุ, แต่ โพล่ นี้ เขา ทำ ใส่ เข้า สาร.
โพล้เพล้ (481:4)
         คือ เวลา ขมุก ขมัว นั้น, เช่น เวลา พลบ ค่ำ จุด ตะ เกียง เปน ต้น นั้น.
เพลา (481:5)
         แกน ใน, คือ ไม้ สำหรับ สอด ใส่ เข้า ใน รู ดุม, แล รู หลอด จังหัน นั้น เรียก เพลา.
      เพลา เกวียน (481:5.1)
               คือ ไม้ เล็ก เท่า ดั้ม ภาย นั้น, สำหรับ สอด ร้อย เข้า ใน รู ดุม เกวียน, ให้ ขา เกวียน ติด กับ ทูบ เรือน เกวียน หัน ไป นั้น.
      เพลา จังหัน (481:5.2)
               คือ ไม้ เล็ก เถ้า ด้ำ ภู่กัน สำหรับ สอด ร้อย เข้า ใน รู หลอด จังหัน ให้ หัน ไป ได้.
      เพลา ใบ (481:5.3)
               คือ ไม้ ที่ ติด อยู่ กับ ใบ แล่น เรือ ข้าง บน อัน หนึ่ง ข้าง ล่าง อัน หนึ่ง, สำหรับ ม้วน แล คลี่ ใบ นั้น.
      เพลา รถ (481:5.4)
               คือ ไม้ ที่ ใส่ รู ดุม ขา รถ, ให้ ฃา รถ หัน ภา เรือน รถ ไป ได้ นั้น.
พล่ำ (481:6)
         คือ ถ้อยคำ คน พูด ร่ำ ไป ไม่ ใคร่ อยุด, พูด ได้ ความ บ้าง ไม่ ได้ ความ บ้าง นั้น.
พล้ำ เผลอ (481:7)
         คือ คน มัก หลง ลืม, เอา ของ วาง ไว้ บัดเดี๋ยว ก็ ลืม ไม่ รู้ ว่า เอา ลืม ไว้ ที่ ไหน.
พลิก (481:8)
         คือ กลับ, คน นอน หน้า อยู่ ข้าง ซ้าย, แล ทำ ให้ หน้า กลับ ไป ข้าง ฃวา นั้น ว่า พลิก.
      พลิก ขึ้น (481:8.1)
               คือ กลับ ขึ้น นั้น, เช่น คน นอน คว่ำ อยู่ พลิก หงาย ขึ้น นั้น.
      พลิก คว่ำ (481:8.2)
               คือ กลับ กาย, คน นอน อยู่ ทำ หน้า ลง ข้าง ล่าง แล้ว ทำ ตัว ให้ มี หน้า ขึ้น เบื้อง บน.
      พลิก ตัว (481:8.3)
               คือ กลับ ตัว นั้น เอง, เหมือน อย่าง คน นอน หลับ ไป แล้ว ตื่น ขึ้น พลิก ตัว นั้น.
      พลิก หงาย (481:8.4)
               คือ กลับ กาย คว่ำ ลง, คน นอน ทำ หน้า อยู่ ข้าง บน, แล้ว ทำ ตัว ให้ มี หน้า ลง เบื้อง ต่ำ.
      พลิก ตะแคง (481:8.5)
               กลับ ตะแคง, คือ ทำ ให้ สีข้าง ลง อยู่ ข้าง ล่าง คน นอน หงาย อยู่ แล้ว ทำ ให้ ตัว มี สีข้าง ลง อยู่ ที่ พื้น นั้น.
      พลิก ไป (481:8.6)
               กลับ ไป, คือ นอน อยู่ แล้ว ทำ ตัว ให้ มี หน้า ไป ข้าง หนึ่ง นั้น ว่า พลิก ไป.
      พลิก แพลง (481:8.7)
               กลับ แพลง, คือ นอน อยู่ แล้ว ทำ ให้ ตัว ตะแคง บิด อยู่ ครึ่ง หนึ่ง นั้น, ว่า พลิก แพลง.
      พลิก มา (481:8.8)
               ตะแคง มา, คือ นอน อยู่ แล้ว ทำ ให้ กาย มี หน้า มา อยู่ ข้าง หนึ่ง นั้น.
พลุก (481:9)
         (dummy head added to facilitate searching).
      พลุก พล่าน (481:9.1)
               คือ คน เข้า มา วุ่น วาย หลาย คน, ใน ที่ เรือน เดียว เปน ต้น นั้น.
      พลุก พลัก (481:9.2)
               คือ คน หลาย คน เข้า มา วุ่นวาย, เดิน ไป ข้าง นี้ บ้าง ข้าง โน้น บ้าง, ว่า พลุกพลัก.
โพลก (481:10)
         หลวม, คือ ของ ที่ หลวม, คน เข้า ผ่า เปน ต้น, ทำ เดือย เล็ก กว่า รู หลวม ไป, ว่า หลวม โพลก.
      โพลกเพลก (481:10.1)
               คือ ของ ที่ หลวม รู, คน ทำ ฝา เปน ต้น, ทำ เดือย เล็ก หลวม ไป, ว่า หลวม โพลก เพลก.

--- Page 482 ---
พลวก (482:1)
         พลาด, พลัด, คือ ภาชนะ มี ม่อ เข้า เปน ต้น, เขา ตั้ง ไว้ บน ก้อน เส้า, แล หมิ่น พลาด ลง จาก ก้อน เส้า, ว่า ม่อ พลวก ลง.
พลั่ง (482:2)
         หลั่งไหล, คือ น้ำ ไหล ลง จาก พวย กา เปน ต้น, ว่า น้ำ ไหล พลั่ง ๆ ออก มา นั้น.
พลั้ง (482:3)
         (dummy head added to facilitate searching).
      พลั้ง พลาด (482:3.1)
               คือ คำ คน ที่ เรียก ชื่อ คน ฤๅ อ่าน หนังสือ, จะ ออก ชื่อ คน นี้ เปน ชื่อ คน อื่น, จะ อ่าน ตัว นี้ เปน ชื่อ ตัว อื่น ไป.
      พลั้ง ปาก เสีย ศีล (482:3.2)
               พลาด ปาก เสีย ศีล, คือ ออก วาจา ว่า จะ ให้ ของ แก่ เขา ด้วย มิ ทัน พิจารณา, ครั้น มา เหน ของ นั้น ดี มี ราคา, จะ ไม่ ให้ ก็ อาย แก่ ใจ อยู่, จึ่ง ต้อง ให้ นั้น.
      พลั้ง ตีน ตก ต้น ไม้ (482:3.3)
               พลาด ตีน ตก ต้น ไม้, คือ การ ที่ คน ขึ้น ต้น ไม้, ครั้น เท้า ก้าว พลาด ผิด กิ่ง ไม้ ก็ พลัด ตก ลง นั้น
พลาง (482:4)
         ด้วย, การ ที่ คน ทำ การ สิ่ง นี้ ด้วย สิ่ง นั้น ด้วย, คือ เขียน หนังสือ แล มือ หนึ่ง ไกว เปล ลูก, ว่า เขียน พลาง, ไกว พลาง นั้น.
พลุ่ง (482:5)
         พล่าน, คือ ม่อ น้ำ ตั้ง อยู่ บน เตา ไฟ ลุก, แล มี ฟอง ผุด ขึ้น มา, ว่า ม่อ น้ำ เดือด พลุ่ง ขึ้น มา นั้น.
      พลุ่ง พล่าน (482:5.1)
               ป่วน พล่าน, คือ ว่า การ ที่ น้ำ มัน ฤๅ น้ำ ตาล ที่ อยู่ ใน กะทะ ฤๅ ใน ม่อ บน เตาไฟ ลุก เดือด ปุด ผุด เปน ฟอง มาก ใน กะทะ ฤๅ ใน ม่อ นั้น.
พลุ้ง พลั้ง (482:6)
         เปน เสียง คน เปิด ม่อ ที่ มี สิ่ง อัน ใด ปิด ปาก อยู่, เขา ว่า เสียง ดัง พลุ้ง พลั้ง นั้น.
เพลง (482:7)
         กลอน, คือ คน กล่าว คำ เปน กลอน รับ กัน ไป, เหมือน คำ ว่า ยะโฮวา มี ฤทธา นุภาพ สุด เปน ต้น.
      เพลง เกี่ยว เข้า (482:7.1)
               กลอน เกี่ยว เข้า, คือ คำ เพลง เขา ร้อง แก้ กัน สอง คน, คน เกี่ยว เข้า หญิง คน หนึ่ง ชาย คน หนึ่ง ขับ ตอบ กัน.
      เพลง ขัน (482:7.2)
               คือ คำ ที่ คน ร้อง เพลง เปน ทำนอง อย่าง หนึ่ง, ชื่อ เสพา ว่า ด้วย เรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน, มี แต่ ครั้ง กรุง เก่า ยัง ไม่ เสีย แก่ พะม่า นั้น.
      เพลง ครึ่ง ท่อน (482:7.3)
               กลอน ครึ่ง ท่อน, คือ คำ เพลง เขา ว่า เปน ท่อน, มี นาย เพลง ว่า คน เดียว ก่อน, แล้ว มี คน อื่น เปน ลูกคู่ เก้า คน สิบ คน รับ ร้อง พร้อม กัน มี กรับ พวง ตี ด้วย.
      เพลง ชิง ชู้ (482:7.4)
               กลอน ชิง ชู้, คือ คำ เพลง คน สาม พวก, หญิง พวก หนึ่ง, ชาย สอง พวก มา ชิง กัน เกี้ยว หญิง ว่า เปน ชู้.
      เพลง ตี มัก ผัว (482:7.5)
               กลอน ตี มัก ผัว, คือ คำ เพลง คน สาม พวก เปน ชาย ผัว พวก หนึ่ง, หญิง สอง พวก ว่า ชิง ผัว กัน นั้น.
      เพลง ปรบไก่ (482:7.6)
               กลอน ปรบไก่, คือ คำ เพลง คน สอง พวก, ชาย พวก หนึ่ง, หญิง พวก หนึ่ง, ตบ มือ พร้อม ๆ กัน,
      เพลงยาว (482:7.7)
               กลอน ยาว, คือ คำ เพลง เขา แต่ง เปน กลอน ยืด ยาว, ชาย ทำ ให้ หญิง, ๆ ทำ ให้ ชาย, เกี้ยว กัน จน รัก ใคร่ กัน นั้น.
      เพลง ปีพาทย (482:7.8)
               กลอน ปี่พาทย, คือ ทำนอง เพลง เขา ทำ ประโคม ปี่พาทย, ยัก ทำนอง หนึ่ง ว่า เปน เพลง หนึ่ง นั้น.
      เพลง มะโหริ* (482:7.9)
               กลอน มะโหรี, คือ ทำนอง เพลง มะโหรี, มี สีซอ คัน หนึ่ง, กระรับปี่ อัน หนึ่ง, ทับ อัน หนึ่ง, โทน อัน หนึ่ง, รัมะนา อัน หนึ่ง, กรับ อัน หนึ่ง, พร้อม แล ทำ เปน ทำนอง ต่าง ๆ นั้น.
แพลง (482:8)
         เพล็ด, ตะแคง, คือ คน เดิน ท้าว พลิก ตะแคง ไป, ว่า ท้าว แพลง ไป, แล้ว กลับ เดิน เปน ปรกติ นั้น.
โพลง (482:9)
         โชต ช่วง, คือ เปลว ไฟ ที่ เตกียง เปน ต้น ติด โชต อยู่, ว่า ไฟ เตกีง* ติด โพลง สร่อง สว่าง อยู่ นั้น.
โพล่ง (482:10)
         เปน เสียง ดัง โพล่ง, ของ อัน ใด โต ตก ลง ใน น้ำ ดัง นั้น.
โพล้ง (482:11)
         เปน คำ เรียก เบี้ย อย่าง หนึ่ง, มัน มี เปลือก บาง กว่า เบี้ย อื่น, เขา เรียก เบี้ย โพล้ง.
พลอง (482:12)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, ต้น มัน เท่า แขน มัน เหนียว แขง คั่ด* ไม้ ซุง ใหญ่ ได้.
พล่องแพล่ง (482:13)
         กะก้อง กะแก้ง, คือ อาการ คน ที่ มี กำลัง น้อย, เหมือน เด็ก จะ ยก จะ หาม ของ หนัก, ทน ทาน ไม่ ใคร่ ได้ เดิน โซเซ ไป นั้น.
พลวง (482:14)
         เปน ฃอง สิ่ง หนึ่ง คล้าย กับ ดีบุก, แต่ แขง กว่า ดีบุก เนื้อ เปน ส้วง ๆ นั้น.
เพลี่ยง (482:15)
         พลาด ไป, คือ ไพล่ ผิด, คน เขา ยิ่ง ปืน ฤๅ ธะนู พลัด ผิด ที่ หมาย ไป เลี่ยง ไป.
      เพลี่ยง พล้ำ (482:15.1)
               พลาด ถลำ, คือ ถ้อย คำ ที่ พลาด ผิด ไป, เช่น คน เปน ความ กัน เขา ให้ การ พลาด ไพล่ ไป.

--- Page 483 ---
เพลิง (483:1)
         ไฟ, คือ ไฟ, เปน คำ ภาษา เขมร เรียก เพลิง, คำ ไท ว่า ไฟ, คำ สับท์ ว่า อัคคี.
      เพลิง ไหม้ (483:1.1)
               ไฟ ไหม้, คือ ไฟ ลุก โพลง เผา ผลาญ, ที่ ป่า ฤๅ ที่ บ้าน เรือน เปน ต้น นั้น.
      เพลิง ลาม (483:1.2)
               ไฟ ลาม, คือ ไฟ ลุก โพลง ขื้น* แล้ว ไหม้ ต่อ ๆ ไป ไม่ อยุด นั้น.
พลัด (483:2)
         คือ พลาด ลง จาก ที่, คน เอา รอด เปน ต้น ใส่ รู หลุด ลง ว่า พลัด ลง จาก ที่.
      พลัด กัน (483:2.1)
               คือ ไพล่ ไป อื่น จาก กัน, คน ไป ด้วย กัน, คน หนึ่ง ไพล่ ไป จาก กัน ว่า พลัด กัน.
      พลัด ตก (483:2.2)
               คือ พลาด ตก ลง, ของ อยู่ บน ที่ สูง แล พลาด ตก ลง จาก ที่ นั้น.
      พลัด ที่ (483:2.3)
               คือ การ ที่ ต้อง ไป จาก ที่ นั้น, เช่น คน ต้อง พลัด ที่ ไป เปน ต้น.
      พลัด บ้าน (483:2.4)
               คือ ต้อง ไป จาก บ้าน นั้น, เช่น คน ต่าง ประเทศ พลัด บ้าน เมือง มา นั้น.
      พลัด พ่อ (483:2.5)
               คือ ไพล่ ไป จาก พ่อ, คน เปน ลูก ไป กับ พ่อ แล้ว ไพล่ ไป จาก พ่อ นั้น.
      พลัด เมือง (483:2.6)
               คือ ต้อง ไป จาก เมือง นั้น, เช่น คน เมือง แตก ต้อง พลัด เมือง ไป เปน ต้น นั้น.
      พลัด มือ (483:2.7)
               คือ ของ พลาด หลุด ลง จาก มือ, คน ถือ ของ ไว้ แล้ว ของ พลาด หลุด ลง.
      พลัด แม่ (483:2.8)
               คือ พลัด แม่, คน เปน ลูก ไป กับ แม่ แล้ว พลัด ไป, เหมือน พระเยซู ยัง เล็ก ๆ ไป กับ แม่, แล พลัด ไป อยู่ กับ ฝูง คน ที่ วิหาร นั้น, ว่า พลัด แม่.
      พลัด ไพล่ (483:2.9)
               คือ พลัด หลุด ไพล่ หนี ไป ได้ นั้น, เช่น คน ตะครุบ จับ กระต่าย, มัน ไพล่ หนี* ไป ได้ เปน ต้น นั้น.
      พลัด พลาด (483:2.10)
               คือ หลุด พลาด นั้น.
พลาด (483:3)
         คือ คลาศ ที่ ไป, คน เดิน ยก ท้าว ก้าว ไป แล คลาศ จาก ที่ ตัว เอยียบ ไป ว่า พลาด.
      พลาด ตก (483:3.1)
               คือ คลาศ ตก, คน เอา ของ วาง ไว้ ที่ สูง แล ของ นั้น พลัด ตก ลง ว่า พลาด ตก.
      พลาด แพลง (483:3.2)
               คือ คน เดิน พลาด ตีน* แพลง ไป นั้น, เช่น คน เดิน ไถล ล้ม ลง เปน ต้น นั้น.
      พลาด พลั้ง (483:3.3)
               คือ คลาศ ผิด ไป, คน ว่า กล่าว คำ ผิด ไพล่ ไป- ไม่ เหมือน คำ ที่ จะ ว่า นั้น.
      พลาด ลง (483:3.4)
               คือ พลาด ตก ลง นั้น, เช่น คน เดิน พลาด ถลำ ล่อง ลง เปน ต้น.
      พลาด ล้ม (483:3.5)
               แพลง ล้ม, คือ คลาศ ที่ ล้ม ลง, คน เดิน ยก ท้าว ก้าว คลาศ ที่ จะ เอยียบ แล ล้ม ลง.
พลอด (483:4)
         พูด เพราะ, คือ คำ พูด, คน กล่าว วาจา อัน ใด ๆ ถ้อย คำ นั้น ว่า คน พลอด ออกมา.
เพลิด เพลิน (483:5)
         รื่น เริง, คือ ความ เจริญ ใจ รื่น เริง ไป, เฃา ดู ฤๅ กิน สิ่ง ที่ ชอบ ใจ, ดู กิน ไม่ เบื่อ สบาย ไป, ว่า เพลิด เพลิน ไป.
พลัน (483:6)
         เร็ว, ไว, คือ เร็ว, คน ไป เร็ว มา เร็ว ว่า เฃา ไป พลัน มา พลัน นั้น.
      พลัน แก่ (483:6.1)
               เร็ว แก่, ไว แก่, คือ แก่ เร็ว, คน บาง คน แก่ เร็ว, บาง คน แก่ ช้า, ที่ แก่ เร็ว ว่า พลัน แก่ นั้น.
      พลัน เกิด (483:6.2)
               เร็ว เกิด, คือ เกิด เร็ว, คน ตาย ลง แล เกิด ขึ้น ใน ขณะ นั้น, ว่า พลัน เกิด.
      พลัน ได้ (483:6.3)
               เร็ว ได้, คือ ได้ เร็ว, คน เรียน วิชา มี หนังสือ เปน ต้น จำ ได้ เร็ว.
      พลัน ตาย (483:6.4)
               เร็ว ตาย, คือ ตาย เร็ว, คน เกิด ขึ้น มา แล้ว ไม่ เปน อยู่ นาน เท่า ใด ก็ ตาย ไป นั้น.
      พลัน เสีย (483:6.5)
               เร็ว เสีย, คือ ของ เสีย เร็ว, เช่น น้ำนม โค เปน ต้น เอา ไว้ ไม่ อุ่น ไฟ ก็ เสีย เร็ว.
พล่าน (483:7)
         พลุ่ง, ซ่าน, คือ ซ่าน ออก, เหมือน น้ำนม หญิง มี ลูกอ่อน น้ำนม คั่ง อยู่, ภอ เด็ก ดูด ก็ เร่ง ไหล ออก เร็ว นัก นั้น.
      พล่าน ไป (483:7.1)
               พลุ่ง ไป, ซ่าน ไป, คือ ซ่าน ไป, คน เดิน ไป มาก หลาย คน วุ่น วาย ซน ซ่าน ไป ใน บ้าน เปน ต้น, ว่า เที่ยว พล่าน ไป.
      พล่าน มา (483:7.2)
               พลุ่ง มา, ซ่าน มา, คือ ซ่าน มา, คน มา มาก หลาย คน เข้า มา เที่ยว ซน ซ่าน ไป มา, ว่า เที่ยว พล่าน มา.
พลุ้น (483:8)
         คือ ผล มะพร้าว ที่ ยัง อ่อน ข้าง ใน ยัง ไม่ มี เนื้อ นั้น มี แต่ น้ำ, เขา เรียก ว่า พลุ้น.

--- Page 484 ---
พลอน (484:1)
         ชอน, ฟอน, คือ บ่อน ชอน ไป, คน เปน ฝี หัว ใหญ่ ขึ้น, แล มี น้ำ หนอง กิน ชอน ไป มาก นั้น, ว่า พลอน.
      พลอน มะพร้าว (484:1.1)
               อย่าง หนึ่ง เขา เอา ผล มะพร้าว แก่ อ่อน มา ทำ เปลือก ให้ ออก บ้าง ติด ไว้ บ้าง, ว่า พลอน มะพร้าว.
เพลี้ยน (484:2)
         เพี้ยน, ผิด, คือ ผิด เบือน ไป, เช่น คน พูด คำ ก่อน อย่าง หนึ่ง คำ หลัง อย่าง อื่น ไป.
เพลิน (484:3)
         รื่น เริง, บันเทิง, คือ ความ ชอบ ใจ เสมอ ร่ำ ไป, กิน ฤๅ ดู เปน ต้น, เรื่อย เฉื่อย สบาย ไป ว่า เพลิน.
      เพลินใจ (484:3.1)
               บันเทีงใจ, รื่นเริงใจ, คือ ความ ชอบ ใจ เสมอ ร่ำ ไป, การ กิน การ นอน สบาย มี ความ ชื่น ชอบ ใจ เรื่อย ไป นั้น.
พลบ (484:4)
         โพล้ เพล้, ฉมุก ฉมัว, คือ เวลา เอย็น สิ้น แสง พระ อาทิตย ฉมุก ฉมัว แล ไป ไม่ รู้ จัก หน้า คน นั้น.
      พลบ ค่ำ (484:4.1)
               มืด มัว, คือ เวลา สิ้น แสง อาทิตย มัว มืด ไม่ รู้ จัก หน้า ว่า คน นั้น คน นี้,
พลับ (484:5)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, ต้น โต เท่า ตุ่ม ใหญ่ มี ผล เมื่อ ดิบ ฝาด ครั้น สุก หวาน น่อย ๆ.
      พลับ จีน (484:5.1)
               คือ ผล พลับ เอา มา แต่ เมือง จีน, เฃา เอา ลูก สด มา บ้าง แห้ง มา บ้าง นั้น, เรียก พลับ จีน.
      พลับพลา (484:5.2)
               ที่ ประชุม พล, คือ ที่ สำรับ ขุนหลวง แล เจ้า, ประทับ ทอด พระเนตร การ สมโพช ใหญ่ เปน ต้น.
      พลับพลึง (484:5.3)
               คือ เปน ชื่อ ต้น หญ้า ใหญ่ อย่าง หนึ่ง, ต้น เปน กาบ ชั้น ๆ คล้าย ต้น กล้วย*.
      พลับ สด (484:5.4)
               คือ ผล พลับ ที่ เขา เก็บ มา ใหม่ ๆ มัน ยัง ไม่ เหี่ยว แห้ง นั้น.
พลั่ม (484:6)
         พร่ำ พรู, พูด มาก, คือ กิน ฤๅ พูด ไม่ ใคร่ อยุด, บัด เดี๋ยว กิน สิ่ง นี้ บ้าง พูด อย่าง นี้ บ้าง, ว่า พลั่ม ไป.
พลาม (484:7)
         คือ คน กิน อาหาร แล ของ สิ่ง อื่น ๆ, แล กิน เกิน ประมาณ ว่า กิน พลาม ๆ.
พลู่มพล่าม (484:8)
         ซู่มซ่าม, กิริยา ชั่ว, คือ จริต กิริยา คน ไม่ สู้ ดี, ดู เหมือน คน เสีย จริต, บัดเดี๋ยว ทำ อย่าง นี้ บัดเดี๋ยว ทำ อย่าง นั้น ทำ ต่าง ๆ นั้น.
แพลม (484:9)
         แปลบ, ปลาบ, คือ ของ ใส่ สอด เข้า ใน รู ทะลุ ทั้ง สอง ข้าง, ภอ ของ นั้น ฬ่อ ออก มา ว่า แพลม ออก มา. อย่าง หนึ่ง เหมือน คังคก กิน แมลงเม่า, มัน แลบ ลิ้น แพลม ๆ ตอด เอา ตัว แมลงเม่า นั้น.
พลอม แพลม (484:10)
         ลอม แลม, คือ กิริยา อาการ คน ไม่ ปรกติ, บัด เดี๋ยว* บวช บัดเดี๋ยว ศึก บัดเดี๋ยว เปน สมะณะ, ว่า ทำ พลอม แพลม.
พลาย (484:11)
         ชาย, ตัวผู้, คือ ชาย, ช้าง ตัว ผู้, เขา เรียก ว่า ช้าง พลาย, คน แต่ ก่อน ชื่อ พลายแก้ว มี บ้าง.
พลิ้ว (484:12)
         บิด, ไผล่ เผล, คือ ของ บิด เปน เกลียว ไป, เหมือน ธงตขาบ ยาว อยู่ ปลาย เสา กระโดง เรื้อย ยาว ลง มา ถูก ลม ก็ บิด พลิ้ว* ไป นั้น.
พลุ่ย (484:13)
         คือ ของ ที่ ใส่ เข้า ใน รู มัน หลวม เข้า ไป, เขา ว่า ของ พลุ่ย เข้า ไป.
พลุ้ย (484:14)
         คือ รูป อ้วน ยุ้ย นั้น, เช่น คน อ้วน ท้อง พลุ้ย เปน ต้น นั้น.
พลอย (484:15)
         หัวแหวน, เพ็ชร, คือ พึ่ง ไป กับ ผู้ อื่น ว่า พลอย ไป กับ เขา. อย่าง หนึ่ง ของ ที่ ประดับ ใน เรือน แหวน, มี เพ็ชร นิล เปน ต้น, เขา เรียก พลอย คือ มัน พลอย เข้า กับ ทอง.
      พลอย กระจก (484:15.1)
               คือ พลอย เช่น ว่า, เขา ทำ ด้วย กระจก เรียก พลอย หูง, มี ศรี แดง เปน ต้น นั้น.
      พลอย กิน (484:15.2)
               คือ อาไศรย กิน ด้วย เขา นั้น, เช่น คน พลอย กิน กับ เพื่อน เปน ต้น นั้น.
      พลอย จันทบุรีย (484:15.3)
               คือ พลอย เช่น ว่า, เกิด แต่ สิลา ที่ เมือง จันทบุรีย, จึ่ง เรียก พลอย จันทบุรีย.
      พลอย ตาย (484:15.4)
               คือ ความ ที่ ต้อง ตาย ด้วย เพราะ เขา นั้น, พ่อ เปน ขบถ แล้ว ลูก ต้อง พลอย ตาย ด้วย.
      พลอย ทำ (484:15.5)
               ทำ ด้วย เขา, คือ คน เหน ผู้ อื่น ทำ การ มี การ บุญ เปน ต้น, ก็ ไป ทำ กับ เขา บ้าง ว่า พลอย ทำ.
      พลอย ธรรมราศ (484:15.6)
               หัวแหวน ธรรมราศ, คือ ดวง แก้ว มี ศรีสุก แดง ก่ำ ล้ำ เนื้อ ทอง ที่ สุก อย่าง ยิ่ง นั้น, ว่า พลอยธรรมราศ.
      พลอย ไป (484:15.7)
               ไป ด้วย เขา, คือ คน เหน เขา ไป ก็ ไป บ้าง, ว่า พลอย ไป กับ เขา. อย่าง หนึ่ง ลง เรือ ไป กับ เขา นั้น.
      พลอย (484:15.8)
                เปน, คือ ความ ที่ อาไศรย เปน ด้วย เขา นั้น, เช่น ผัว เปน เจ้าพระยา เมีย พลอย เปน ท่าน ผู้หญิง นั้น.

--- Page 485 ---
      พลอย พูด (485:15.9)
               คือ พูด ตาม ๆ เขา ไป นั้น, เช่น คำ สุภาสิต ว่า อย่า ยิน ยล ฟัง คน พลอย พูด นั้น.
      พลอย มา (485:15.10)
               มา ด้วย, ตาม เขา มา, คือ คน เหน เขา มา ก็ ตาม เขา มา. อย่าง หนึ่ง ลง เรือ มา กับ เขา.
      พลอย เมือง (485:15.11)
               คือ พลอย เช่น ว่า, ตก อยู่ เมือง กรุง เก่า, แต่ ครั้ง เสีย แก่ พะม่า, เขา ทิ้ง ไว้ แล้ว เขา ไป ร่อน ได้ นั้น.
      พลอย อยู่ (485:15.12)
               อยู่ ด้วย, คือ อาไศรย เขา อยู่, คน จน ขัด สน เหน เขา ปลูก เรือน ขึ้น แล้ว มา อาไศรย อยู่, ว่า พลอย อยู่.
      พลอย พลอด (485:15.13)
               คือ พลอย พูด ตาม เขา ไป นั้น, เช่น คำ ว่า อย่า ยล ฟัง คน พลอย พลอด นั้น.
      พลอย ให้ (485:15.14)
               ให้ ด้วย เขา, ให้ ตาม เขา, คน มา ฃอทาน อาหาร เปน ต้น กับ คน อื่น, คน* ที่ จะ เอา ผล บุญ มี ของ อยู่ ก็ ให้ บ้าง นั้น,
      พลอย หิน (485:15.15)
               คือ พลอย เช่น ว่า, เกิด แต่ สิลา มี ศรี งาม แดง ดี กว่า พลอย หูง, เขา ประดับ ใน เรือน แหวน นั้น.
      พลอย หูง (485:15.16)
               คือ พลอย เขา ทำ ด้วย กระจก มี ศรี แดง เปน ต้น, เอา ประดับ เข้า ใน เรือน แหวน นั้น.
      พลอย เอา (485:15.17)
               เอา ด้วย เฃา, เอา ตาม เขา, คน เหน ผู้ อื่น เขา เอา ก่อน, ตัว ก็ เอา ที หลัง บ้าง, ว่า ผู้ นั้น พลอย เอา.
พล่อย (485:1)
         ล่อย, ง่าย, คือ ล่อย, คน พูด ง่าย เหน ไม่ เหน ไม่ ตฤกตรอง ให้ แน่ ก่อน พูด เอา ง่าย ๆ นั้น, ว่า พูด พล่อย ๆ.
เพลีย (485:2)
         เมื่อย ล้า, คือ คน มี แข้ง ขา เมื่อย ล้า, คน เดิน ไป ไกล นัก ไม่ ไหว, แข้ง ขา เมื่อย ล้า ไป นั้น ว่า เพลีย เปน ต้น*.
เพลี้ย (485:3)
         หนอน กัด เข้า, คือ ตัว สัตว เล็ก คล้าย ตัว หนอน นั้น, กัด กิน ต้น เข้า แล ต้น ผัก ต้น หญ้า นั้น, เรียก ว่า ตัวเพลี้ย.
      เพลี้ยไฟ (485:3.1)
               คือ ตัว สัตว เช่น ว่า, แต่ ตัว มัน แดง เหมือน ไฟ, จึ่ง เรียก ว่า เพลี้ยไฟ.
พลั่ว (485:4)
         คือ เหล็ก คล้าย กับ เสียม สำรับ แทง ดิน อ่อน ๆ ขุด ขึ้น เปน แท่ง จาก คลอง เปน ต้น.
แพละ โลม (485:5)
         ประเล้า ประโลม, ประโลม เอา ใจ, คือ พูด จา เกี้ยว หญิง, ประเล้า ประโลม ฬ่อ ใจ ให้ หญิง ยินดี ชอบ ใจ ด้วย ถ้อย คำ นั้น.
เพลาะ (485:6)
         ต่อ ติด กัน, ต่อ กลาง, คือ ของ สอง อัน เปน ต้น, ทำ ให้ ติด ต่อ กัน มี ผ้า เย็บ ต่อ ติด กัน เปน ต้น.
      เพลาะ ผ้า (485:6.1)
               ต่อ ผ้า, คือ ผ้า สอง ผืน เขา เย็บ ข้าง ต่อ ข้าง ให้ ให้ ติด ต่อ กัน เข้า ให้ กว้าง ออก นั้น, ว่า เพลาะ ผ้า.
      เพลาะ ไม้ (485:6.2)
               ต่อ ไม้ ติด กัน เข้า, คือ ไม้ กระดาน* สอง แผ่น เขา ทำ ติด ต่อ กัน เข้า ให้ กว้าง ออก นั้น, ว่า เพลาะ ไม้.
พล้อ (485:7)
         กระบอก เล็ก, กระบอก นัด ยา, คือ ไม้ ไผ่ เขา ตัด ปล้อง หนึ่ง เหมือน กระบอก, แต่ ปาด ปาก ให้ แป้ว อยู่ ข้าง หนึ่ง, เรียก ว่า พล้อ.
(485:8)
         
ฟ่า (485:9)
         มัว, หมอง, คือ พังผืด ที่ เกิด ขึ้น ปะ ปิด อยู่ ที่ หน่วย ตา อย่าง หนึ่ง เปน ไม้ กระดาน แผ่น เล็ก, เขา ทำ ใส่ รอง กระ- เบื้อง บน หลังคา นั้น.
      ฟ่า เพดาน (485:9.1)
               คือ ไม้ กระดาน เขา ปู บน หลัง ขื่* เต็ม สำรับ กัน ผง เปน ต้น นั้น, ว่า ฟ่า เพดาน.
      ฟ่า ใน ตา (485:9.2)
               คือ* โทษ โรค บังเกิด ขึ้น ใน ตา, เปน ไย พังผืด ปะปิด ทำ ให้ ตา มัว ไป นั้น.
ฟ้า (485:10)
         คือ อากาศ ที่ เหน เปน ฟ่า บัง อยู่ สูง ไกล เหน เปน พื้น ขาว อยู่, เรียก ว่า ฟ้า.
      ฟ้า คะนอง (485:10.1)
               คือ เสียง ฟ้า ลั่น ก้อง ร้อง ดัง, เมื่อ วัน ฝน ตก เสียง ลั่น ไม่ ใคร่ อยุด ลง นั้น.
      ฟ้าผ่า (485:10.2)
               คือ สาย อสนีบาต, มี เสียง ดัง สนั่น ลั่น ก้อง มี ขวาน ฟ้า ตก ลง ถูก ที่ ต่าง ๆ นั้น.
      ฟ้าผี่ (485:10.3)
               คือ คำ ผู้หญิง สบด มัก ว่า ฟ้าผี่ เสีย ด้วย กลัว จะ ผ่า เข้า ไป ตาย นั้น, ว่า ฟ้าผี่.
      ฟ้าฟาด (485:10.4)
               คือ สาย ฟ้า ฟาด ลง ถูก ของ สิ่ง ใด ๆ นั้น, เช่น สาย ฟ้า ฟาด ลง ถูก คน เปน ต้น นั้น.
      ฟ้าร้อง (485:10.5)
               ฟ้า คะนอง, คือ เสียง ดัง ลั่น ก้อง ใน ท้อง อากาศ, เมื่อ ขณะ ฝน ตก นั้น.
      ฟ้า ลั่น (485:10.6)
               คือ เสียง สนั่น ดัง พิฦกษ คฤกครื้น ใน อากาศ เมื่อ ฝน ตก นั้น.
      ฟ้าแลบ (485:10.7)
               คือ สาย ฟ้า ปรากฎ เมื่อ ใกล้ ฝน จะ ตก บ้าง ฝน ตก อยู่ บ้าง, ดู เปน แสง เหมือน เปลว ไฟ นั้น
ฟุฟะ (485:11)
         คือ ฃอง ไม่ แน่น แฟ้น กรับ แกร่ง นั้น, เข้า เฟื้อ เปน ใบ ฟุฟะ ไม่ แกร่ง เปน ต้น นั้น.

--- Page 486 ---
ฟู (486:1)
         คือ นูน ขึ้น, เหมือน ขนม เมื่อ ยัง เปน แป้ง ดิบ อยู่ นั้น, ยัง ยอบ อยู่, ครั้น ถูก ไฟ ร้อน สุก เข้า ก็ นูน ขึ้น นั้น.
      ฟู ฟอง (486:1.1)
               คือ สูง ขึ้น เปน ฟอง, เช่น ระลอก ใหญ่ ใน มหา สมุท นั้น. อนึ่ง เช่น แพ ลูก บวบ โพงพาง เปน ต้น.
      ฟู ขึ้น (486:1.2)
               คือ นูน สูง ขึ้น*, ขนม เมื่อ ยัง ดิบ อยู่ ก็ ยอบ อยู่, ครั้น ร้อน ด้วย กำลัง ไฟ แรง สุก เข้า ก็ นูน ขึ้น นั้น.
      ฟู ลอย (486:1.3)
               คือ นูน สูง ขึ้น ลอย อยู่ บน หลัง น้ำ นั้น, เช่น ไม้ โสน ลอย น้ำ เปน ต้น นั้น.
      ฟู เฟื่อง (486:1.4)
               เปน คำ เปรียบ, เช่น คน เดิม ตัว ขัด สน อยู่, ครั้น ได้ ลาภ ได้ ยศ เปน ขุนนาง ขึ้น, ว่า เขา ฟูเฟื่อง ขึ้น.
      ฟู เต็ม กอง (486:1.5)
               คือ คน ที่ รวย บริบูรณ ทั้ง ยศ ศักดิ์ ศฤงฆาร บริ วาร เงิน ทอง นั้น. อนึ่ง เหมือน ขนม ใส่ เชื้อ เปน ต้น.
ฟุ่ (486:2)
         คือ ซู่ ขึ้น, เช่น ไฟ ที่ ติด ที่ ดอก ไม้ ไฟ, แรก ติด ก็ ซู่ ขึ้น ก่อน, เขา ว่า ไฟ ติด ฟู่ ขึ้น. อย่าง หนึ่ง เสียง งู ร้อง ขู่ ดัง, เสียง ฟู่ นั้น.
ไฟ (486:3)
         เพลิง, คือ ไฟ ที่ อาไศรย หุง ต้ม แล เผา สิ่ง สาระพัด ทั้ง ปวง, มี ไม้ แล ภูเขา ให้ สำเรทธิ์ ประโยชน์ นั้น.
      ไฟ กรวด (486:3.1)
               คือ ไฟ ที่ เขา จุด ดอก ไม้ กรวด มัน ติด โพลง อยู่ ใน กระบอก กรวด นั้น.
      ไฟ ดอก ไม้ (486:3.2)
               คือ ไฟ ที่ ติด ไหม้ เผา ชื้อ* คือ ดิน ประสิว ที่ เขา ประสม สุพรรณ ถัน กับ ถ่าน นั้น.
      ไฟ เตกียง (486:3.3)
               เพลิง เตกียง, คือ ไฟ ที่ ไหม้ เชื้อ, คือ ไส้ ตะ เกียง ลุก เปน เปลว โพลง แสง สว่าง อยู่ นั้น.
      ไฟ นรก (486:3.4)
               เพลิง นรก, คือ ไฟ ใน นรก, ลุก รุ่ง เรือง ไม่ รู้ ดับ ทั้ง กลาง วัน กลาง คืน นั้น.
      ไฟ ประไลกัลป์ (486:3.5)
               เพลิง ประไลกัลป์, คือ ไฟ บังเกิด ขึ้น เมื่อ กัลป์ จะ ฉิบหาย, ไหม้ สิ้น ทั้ง แผ่น ดิน, แล ภูเขา เปน ต้น นั้น.
      ไฟ ผะเนียง (486:3.6)
               เพลิง ผะเนียง, คือ ไฟ ไหม้ เผา ดิน ประสิว ใน กระบอก ไม้ หนา ที่ เขา ยัด เข้า ไว้, เรียก ว่า ไฟ ผะเนียง, เพราะ กระบอก ไม้ คล้าย กับ ผะเนียง นั้น.
      ไฟ ธาตุ (486:3.7)
               เพลิง ธาตุ, คือ เตโช ธาตุ ที่ มี ใน กาย คน แล สัตว. สำหรับ เผา อาหาร แหลก ออก เปน มูต แล คูธ นั้น.
      ไฟ ฟ้า (486:3.8)
               คือ ไฟ เกิด ติด ขึ้น ที่ ต้น ไม้ ฤๅ ที่ เชื้อ, คือ เครื่อง ไม้ มี ปราสาท แล มณฑป เปน ต้น. อนึ่ง เปน เครื่อง อย่าง อังกฤษ ทำ ให้ เกิด ไฟ ขึ้น นั้น.
      ไฟ ฟาง (486:3.9)
               คือ ไฟ ไหม้ ฟาง ลุก วับ ๆ หาย นั้น.
      ไฟ ไหม้ (486:3.10)
               เพลิง ไหม้, คือ ไฟ ติด ลุก ขึ้น ที่ เรือน ชาว บ้าน เผา ผลาญ จน ไม้ เปน เท่า เปน ถ่าน มอด ม้วย ไป.
      ไฟ ป่า (486:3.11)
               เพลิง ป่า, คือ ไฟ ติด ขึ้น ใน ป่า เมื่อ ระดู แล้ง, ครั้น ถึง เดือน สาม เดือน สี่ สิ้น ระดู ฝน แล้ว, คน ก็ เอา ไฟ จุด เผา ป่า หา เต่า กิน.
      ไฟ ดับ (486:3.12)
               คือ ไฟ ระงับ สิ้น ถ่าน สิ้น เปลว ไป ไม่ มี ไฟ นั้น, แล เปลว ตะเกียง เปน ต้น, ให้ ไฟ ระงับ สูญ ไป ไม่ มี ควัน แล เปลว นั้น.
      ไฟ สุม ขอน (486:3.13)
               คือ ไฟ ติด ครุ่น อยู่ ที่ ขอน ไม้ ใหญ่ มิ ใคร่ ดับ นั้น.
      ไฟ ลุก (486:3.14)
               คือ ไฟ ติด เชื้อ โพลง โชต ขึ้น เปน เปลว มี แสง สว่าง* ใน กลาง คืน แล กลาง วัน นั้น.
      ไฟ ลวก (486:3.15)
               คือ ไฟ ไหม้ ลน ไป นั้น, เหมือน อย่าง ไฟ ไหม้ ป่า ลวก ใบ ไม้ ตาย นึ่ง เปน ต้น นั้น.
      ไฟ ลาม (486:3.16)
               คือ ไฟ ติด ลุก ขึ้น แล้ว ลาม กิน ต่อ ไป, แต่ แรก มัน ติด ต่อ ไหม้ เนื่อง ไป นั้น.
      ไฟ ลน (486:3.17)
               ไฟ เลีย, คือ ไฟ ลวก ลน เอา ห่าง ๆ นั้น เอง, เหมือน อย่าง ไฟ ไหม้ ไต้ ลน นั้น.
ฟก (486:4)
         คือ บวม ขึ้น, คน ตัว ถูก ชก ฤๅ ถูก ตี, แล ที่ กาย ถูก นั้น, บวม ขึ้น น่อย ๆ ว่า ฟก ขึ้น.
      ฟก ช้ำ (486:4.1)
               คือ บวม ช้ำ นั้น, เหมือน อย่าง คน ถูก ตบ ถูก ต่อย ฟก ช้ำ ดำ เขียว นั้น.
      ฟก บวม (486:4.2)
               คือ บวม ฟก นั้น, เหมือน งู กัด เท้า เปน ต้น.
ฟัก (486:5)
         คือ ฟุบ อยู่ นาน, เหมือน แม่ ไก่ เปน ต้น, มัน ไข่ สิ้น สุด แล้ว, มัน ก็ ฟุบ อยู่ บน ไข่ มัน ว่า ฟัก.
      ฟัก ไข่ (486:5.1)
               นอน ก็ก ไข่, คือ แม่ ไก่ ฤๅ แม่ กา เปน ต้น, มัน ทำ เช่น ว่า นั้น, เฃา ว่า มัน ฟัก ไข่, คือ มัน ฟุบ ให้ อบ อุ่น อยู่ นั้น.
      ฟัก ขม (486:5.2)
               คือ เปน ชื่อ ต้น ผัก อัน หนึ่ง, ต้น มัน เปน เถา เลื้อย ไป ใน ป่า ลูก มัน มี รศฃม เขา ทำ ยา ได้.

--- Page 487 ---
      ฟัก ฟูม (487:5.3)
               คือ การ ที่ ช่วย โอบ อุ้ม นั้น, เหมือน อย่าง เข้า รับ รอง ประคอง สู้ เปน ต้น นั้น.
      ฟัก เขียว (487:5.4)
               ฟักเหลือง, คือ เถา ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง, คน ปลูก ไว้ ผล มัน โต สัก สาม กัม ยาว สัก สอก เสศ, เขา ต้ม แกง กิน เปน กับ เข้า ก็ ได้.
      ฟัก ทอง (487:5.5)
               เปน ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง, ผล มัน สั้น กลม เปน เฟือง ๆ เนื้อ เหลือง เขา ต้ม แกง กิน กับ เข้า ก็ ได้, แกง บวด ใส่ น้ำ ตาล เปน ของ หวาน ได้.
ฟาก (487:1)
         ฝั่ง, ฝ่าย, เหมือน ฝ่าย, คือ ฝั่ง ฝ่าย อื่น อยู่ ใกล้ บ้าง อยู่ ไกล บ้าง นั้น, เขา เรียก ฟาก นั้น.
      ฟาก ข้าง โน้น (487:1.1)
               ฝั่ง ข้าง โน้น, คือ ฝั่ง ฝ่าย ข้าง โพ้น, คือ ฝั่ง แม่ น้ำ ฝ่าย ข้าง โพ้น, เขา เรียก ฟาก ข้าง โน้น.
      ฟาก ฝั่ง (487:1.2)
               คือ ฝั่ง ฝ่าย ข้าง หนึ่ง นั้น, ฝั่ง ฝ่าย* ข้าง อื่น มิ ใช่ ฝั่ง ที่ เรา อยู่ นั้น, เขา เรียก ฟาก ฝั่ง.
      ฟาก ฟ้า (487:1.3)
               คือ ฝ่าย ฟ้า, คน ทำ หนังสือ เรื่อง ราว ที่ เพราะ สูง ทรง นั้น, มัก ว่า ใน ฟาก ฟ้า นั้น.
      ฟาก เรือน (487:1.4)
               คือ ไม้ ไผ่ ทั้ง ลำ, เขา ตัด เปน ท่อน ๆ แล้ว สับ แตก ออก เปน อัน เล็ก ติด กัน อยู่ แบ ออก เปน แผ่น ปู เปน พื้น เรือน.
ฟูก (487:2)
         คือ ที่ สำหรับ นอน นั้น, เขา เอา ผ้า เย็บ ให้ ยาว ภอ นอน ได้ ใส่ นุ่น เหมือน ถุง.
      ฟูก หมอน (487:2.1)
               คือ เครื่อง รอง นอน, ฟูก นั้น ใหญ่ นอน สอง คน ก็ ได้, แต่ หมอน นั้น สำหรับ หนุน หัว.
      ฟูก (487:2.2)
               เมาะ, เบาะ, หมอน, คือ ฟูก* ที่ คน นอน, เบาะ นั้น ที่ เขา ใส่ บน หลัง ม้า, เมาะ ที่ เด็ก นอน.
      ฟูก นอน (487:2.3)
               คือ ฟูก สำหรับ รอง นอน นั้น, เหมือน อย่าง ฟูก ลิ้น เปน ต้น.
      ฟูก ลูก (487:2.4)
               คือ ฟูก เขา เย็บ เปน ลูก ๆ นั้น, เหมือน ฟูก ที่ นอน ใหญ่ เปน ต้น นั้น.
      ฟูก ลิ้น (487:2.5)
               คือ ฟูก ที่ เขา เย็บ เปน ลิ้น ๆ นั้น, เหมือน ฟูก ที่ นอน ใหญ่ เปน ต้น นั้น.
ฟอก (487:3)
         คือ เอา เครื่อง ฟอก มี ซ่า บู่ เปน ต้น, ใส่ ลง ใน ผ้า แล้ว แช่ ใส่ น้ำ หมัก ไว้ แล้ว ซัก เสีย นั้น.
      ฟอก ผ้า (487:3.1)
               คือ เขา เอา เครื่อง สำหรับ ฟอก มี ซ่า บู่ เปน ต้น, ใส่ ลง ใน ที่ ฟอก แล้ว, เอา ผ้า ใส่ แช่ น้ำ หมัก ไว้ แล้ว ซัก เสีย นั้น.
      ฟอก หนัง (487:3.2)
               คือ เขา เอา เครื่อง สำหรับ ฟอก ใส่ ลง แล้ว, เอา หนัง ใส่ ลง แช่ น้ำ หมัก ไว้.
ฟัง (487:4)
         ได้ ยิน, คือ เงี่ย หู ลง ฟัง เสียง ต่าง ๆ, มี เสียง สวด แล เสียง คน เทศ เปน ต้น นั้น ว่า ฟัง.
      ฟัง การ (487:4.1)
               ได้ ยิน การ, คือ คอย สดับ ฟัง ที่ เขา จะ บอก การ งาน ต่าง ๆ มี การ เย็บ แล การ ตี พิมพ์ เปน ต้น นั้น.
      ฟัง คารม. ได้ ยิน คารม (487:4.2)
               คือ คอย ฟัง สำนวน ทั้ง หญิง แล ชาย, แล ถ้อย คำ ใน หนังสือ แต่ง เรื่อง อัน ใด ที่ เขา จะ ทำ ให้ เพราะ เสนาะ นั้น.
      ฟัง ข่าว (487:4.3)
               ได้ ยิน ข่าว, คือ การ ที่ คอย ฟัง เหตุ ที่ มา แต่ เมือง ต่าง ประเทศ, มี เกาะ อะเมริกา เปน ต้น นั้น.
      ฟัง คำ (487:4.4)
               ได้ ยิน คำ, คือ ฟัง ถ้อย คำ ที่ เขา พูด จา ออก จาก ปาก มี คำ ร้อง เรียก ชื่อ ตัว เปน ต้น นั้น.
      ฟัง ความ (487:4.5)
               ได้ ยิน ความ, คือ สดับ เอา เนื้อ ความ, เช่น คะ ดี อัน ใด อัน หนึ่ง บังเกิด ขึ้น แล เงี่ย หู ฟัง นั้น.
      ฟัง เทศ (487:4.6)
               สดับ แสดง, คือ สดับ เสียง ที่ เขา สำแดง คำ โอวาท สั่ง สอน สมควร จะ เชื่อ ฟัง นั้น.
      ฟัง ธรรม (487:4.7)
               สดับ ธรรม, คือ สดับ เสียง ที่ เขา กล่าว สำแดง ศีล แล ข้อ ประฏิบัติ ที่ จะ ได้ ไป สวรรค์ นั้น.
      ฟัง หนังสือ (487:4.8)
               ได้ ยิน หนังสือ, คือ สดับ เสียง ที่ เขา แปล หนัง สือ ฤๅ สวด หนังสือ เปน ต้น นั้น.
      ฟัง เรื่อง ราว (487:4.9)
               ได้ ยิน เรื่อง ราว, คือ สดับ เสียง ที่ เขา อ่าน คำ สำแดง เรื่อง ราว บุราณ บ้าง, เรื่อง ใน บัดเดี๋ยว นี้ บ้าง นั้น.
      ฟัง เหตุ (487:4.10)
               ได้ ยิน เหตุ, คือ สดับ ความ ดี แล ร้าย, ที่ เกิด ขึ้น ใน เมือง บ้าง นอก เมือง บ้าง, ใน เมือง อื่น บ้าง.
      ฟัง เสียง (487:4.11)
               ได้ ยิน เสียง, คือ สดับ แต่ เสียง* เปน ต้น ว่า ฆ้อง กลอง แล ปี่ เปน ต้น, ไม่ เอา เนื้อ ความ นั้น.
      ฟัง สำเนียง (487:4.12)
               ได้ ยิน สำเนียง, คือ สดับ เอา แต่ เสียง เปน ต้น ที่ สำแดง ธรรม เอา แต่ กระแส เสียง ไม่ เอา เนื้อ ความ นั้น.

--- Page 488 ---
      ฟัง เสนาะ (488:4.13)
               ได้ ยิน เพราะ, คือ สดับ เพราะ หู, คน ฟัง เสียง มี เสียง หญิง เปน ต้น, ที่ ร้อง เพลง ต่าง ๆ นั้น.
ฟาง (488:1)
         คือ ต้น เข้า ที่ เขา เอา เมล็ด เข้า ออก เสีย แล้ว ยัง แต่ ต้น นั้น, เขา เรียก ว่า ฟาง.
      ฟาง เข้า (488:1.1)
               คือ ต้น เข้า ที่ เกี่ยว แล้ว เอา เมล็ด ออก เสีย สิ้น นั้น, เช่น ฟาง เข้า ที่ เขา นวด แล้ว นั้น.
      ฟาง เข้า เจ้า (488:1.2)
               คือ ต้น เข้า เจ้า ที่ เขา เอา เมล็ด ออก หมด แล้ว นั้น, เหลือ อยู่ แต่ ต้น นั้น, เขา เรียก ฟาง เข้า เจ้า นั้น.
      ฟาง เข้าเหนียว (488:1.3)
               คือ ต้น เข้า เหนียว ที่ เขา เอา เมล็ด ออก หมด แล้ว นั้น.
      ฟาง ใน ตา (488:1.4)
               คือ ตา มัว ไม่ ใคร่ เหน นั้น.
      ฟาง ไฟ (488:1.5)
               คือ หน่วย ตา แล ดู ของ อยู่ ใกล้ ไฟ ไม่ ใคร่ เหน, เช่น กอง ไฟ ลุก อยู่ ตรง หน้า เรา ห่าง ๆ, เรา แล ข้าม กอง ไฟ ไป ข้าง โน้น ไม่ เหน ได้ ว่า ฟาง ไฟ.
      ฟาง ฝ้า (488:1.6)
               คือ ตา แก่ แล ไป, เปน หมอก ฝ้า ฟาง อยู่ นั้น.
ฟุ้ง (488:2)
         คือ เฟื่อง, เหมือน ที่ มี ฝุ่น มาก, คน เอา ก้อน ดิน ฤๅ ท่อน ไม้ ทิ้ง ลง แล ฝุ่น กระจุย เฟื่อง ขึ้น, ว่า ฟุ้ง ขึ้น.
      ฟุ้ง ขึ้น (488:2.1)
               คือ เฟื่อง ขึ้น, ความ เช่น ว่า แล้ว นั้น.
      ฟุ้ง กลิ่น (488:2.2)
               คือ ดอก ไม้ เขา ร้อย เปน พวง ต่าง ๆ มี กลิ่น หอม ตลบ กลบ ไป, เขา เรียก ว่า ฟุ้ง กลิ่น.
      ฟุ้ง ซ่าน (488:2.3)
               คือ ฟุ้ง กระจาย ไป นั้น, เช่น ข่าว ช้าง เผือก ฤๅ ฟุ้ง ซ่าน ทั่ว ไป เปน ต้น นั้น.
      ฟุ้ง ขจร (488:2.4)
               คือ กลิ่น หอม ตลบ อบ ไป, ว่า กลิ่น ฟุ้ง ขจร ไป, อย่าง หนึ่ง เปน ความ เปรียบ ว่า, เนื้อ ความ ฟุ้ง ขจร เขา ฦๅ เลื่อง ไป นั้น.
      ฟุ้ง พลุ่ง (488:2.5)
               คือ ฟุ้ง โพลง ขึ้น นั้น, เช่น เปลว ไฟ พลุ่ง ขึ้น เปน ต้น นั้น.
      ฟุ้ง เฟื่อง (488:2.6)
               คือ กลิ่น ดอก ไม้ เปน ต้น ที่ ฟุ้ง ไป. อนึ่ง เปน ความ เปรียบ ว่า เนื้อ ความ ฟุ้งเฟื่อง เลื่อง ฦๅ ไป นั้น.
      ฟุ้ง อบ (488:2.7)
               คือ ฟุ้ง ตลบ กลบ ไป ใน ที่ คับ แคบ นั้น, เช่น กลิ่น หอม ฟุ้ง อบ ไป เปน ต้น นั้น.
แฟง (488:3)
         คือ เถา ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง มี ผล เล็ก กว่า ฟัก แต่ เขา ต้ม แกง กิน ได้ เช่น ผล ฟัก เขียว นั้น.
ฟอง (488:4)
         ไข่, คือ บุ่ม ที่ เกิด ขึ้น ใน น้ำ, เมื่อ ฝน ตก ถูก น้ำ ก็ เปน ฟอง ผุด ขึ้น. อย่าง* หนึ่ง ต้ม น้ำ เดือด ก็ เปน ฟอง ขึ้น นั้น.
      ฟอง ไก่ (488:4.1)
               คือ ไข่ ไก่, เขา เรียก เปน ความ เปรียป ด้วย ฟอง, เพราะ ว่า คำ ว่า ไข่ นั้น เปน คำ อยาบ, เลง เอา ลูก อัณฑ ฃอง บุรุษ นั้น.
      ฟอง ฟูม (488:4.2)
               คือ น้ำ มี ระลอก เปน ฟอง มาก นั้น, เช่น คลื่น ซัด เปน ฟอง ฟูม ขึ้น บน ตลิ่ง เปน ต้น.
      ฟอง น้ำ (488:4.3)
               คือ บุ่ม เกิด ขึ้น ที่ น้ำ เพราะ ฝน แล ลม เปน ต้น นั้น เขา เรียก ฟอง ตาม บุราณ น้ำ นั้น.
      ฟอง ทะเล (488:4.4)
               คือ ฟอง น้ำ ที่ แห้ง แขง เปน ก้อน คล้าย กับ หิน นั้น อยู่ ใน ทะเล. อนึ่ง ฟอง ทะเล ที่ สำหรับ ชุบ น้ำ นั้น.
      ฟอง ฟัก (488:4.5)
               ไข่ ฟัก, คือ ไก่ มัน ไข่ สิ้น สุด แล้ว, มัน ฟุบ อยู่ บน ไข่ ให้ อุ่น อยู่ เพื่อ จะ ให้ ลูก มัน ออก ว่า ฟัก ฟอง.
      ฟอง มัน (488:4.6)
               ฟองดัน, คือ รูป สำคัญ เขา เขียน ไว้ ใน สมุด หนังสือ จินดามณี รูป ดังนี้ ๏ ที่ ต้น บันทัด หนังสือ นั้น.
      ฟอง ลม (488:4.7)
               คือ ฟอง ที่ ลม เข้า ขัง อยู่ นั้น เอง, เช่น ที่ พอง* ลม เปน ต้น นั้น.
ฟ่อง (488:5)
         คือ ของ เบา ลอย ฟู สูง อยู่ ใน น้ำ, มี เรือ กำปั่น เปน ต้น ที่ ไม่ เพียบ ลอย ลำ เปล่า อยู่ นั้น, ว่า ลอย ฟ่อง อยู่.
      ฟ่องฟู (488:5.1)
               คือ ลอย สูง อยู่, เช่น เรือ ใหม่ ยก ลง น้ำ ยัง เบา สูง น้ำ นั้น.
ฟ้อง (488:6)
         คือ ข้อ ความ ที่ เขา กล่าว โทษ ผู้ กระทำ ผิด ต่าง ๆ นั้น, เขา บอก แจ้ง แก่ ตระสาการ นั้น.
      ฟ้อง แก้ เกี้ยว (488:6.1)
               คือ ฟ้อง แก้ ตัว, คือ เขา ฟ้อง ว่า ด่า เขา กลับ ฟ้อง ว่า เขา ตี ก่อน, ว่า ฟ้อง แก้ เกี้ยว.
      ฟ้อง แก้ ตัว (488:6.2)
               คือ เขา ฟ้อง ตัว ก่อน, แล้ว ตัว รื้อ ไป ฟ้อง เขา บ้าง นั้น.
      ฟ้อง ความ (488:6.3)
               คือ หา ความ กล่าว โทษ ผู้ อื่น, ว่า เขา ประทุษฐ ร้าย แก่ ตัว.
      ฟ้อง น่า โรง (488:6.4)
               คือ ฟ้อง ที่ ศาล หลวง นั้น.
      ฟ้อง แย้ง (488:6.5)
               คือ ฟ้อง ผ่าย หลัง, มี ผู้ ฟ้อง ก่อน แล้ว, ผู้ ต้อง ฟ้อง นั้น กลับ ทำ เรื่อง ราว ฟ้อง กล่าว โทษ เขา บ้าง.
      ฟ้อง ร้อง (488:6.6)
               คือ ฟ้อง ร้อง ด้วย เสียง นั้น, เช่น คน ทำ เรื่อง ราว ร้อง ทุกข์ เปน ต้น นั้น.

--- Page 489 ---
      ฟ้อง ลาก หนาม จุก ช่อง (489:6.7)
               คือ ฟ้อง กัน ไว้ กลัว เขา จะ ฟ้อง, คือ วิวาท ตัว คิด จะ ว่า, ที่ อื่น แต่ ไป ฟ้อง ก่อน กัน ไว้ เพื่อ จะ ไม่ ให้ เขา ฟ้อง ตัว ได้ นั้น.
      ฟ้อง หา กล่าว โทษ (489:6.8)
               คือ ข้อ ความ ที่ เขา กล่าว โทษ ผู้ กระทำ ความ ผิด, แก่ ผู้ เปน กระลาการ นั้น.
      ฟ้อง อุทอน (489:6.9)
               คือ ฟ้อง หา ความ แก่ กระลาการ, ว่า เขา ว่า ความ ลำเอียง เข้า กับ ข้าง ฝ่าย หนึ่ง นั้น.
เฟือง (489:1)
         คือ ของ ฤๅ ผล ไม้ ที่ เปน ร่อง ๆ เปน นูน ขึ้น, เช่น ลูก มะเฟือง แล ลูก มะยม นั้น.
      เฟือง หู หีบ (489:1.1)
               คือ เฟือง เขา ทำ ไว้ ที่ หู หีบ, เช่น เฟือง หู หีบ ฝ้าย เปน ต้น นั้น.
      เฟือง มะยม (489:1.2)
               คือ ของ เขา ทำ เปน เฟือง เหมือน ลูก มะยม.
เฟื่อง* (489:2)
         คือ ฟุ้ง ขึ้น, เช่น ที่ มี ฝุ่น มาก แล มี ผู้ เอา ก้อน ดิน ฤๅ ท่อน ไม้ ทิ้ง ลง ฝุ่น ฟุ้ง ขึ้น นั้น. อย่าง หนึ่ง หมอ ไท มัก พูด ว่า เสมหะ เฟื่อง นั้น.
      เฟื่อง ฟุ (489:2.1)
               คือ ฟุ้ง ฟู ขึ้น นั้น, เปรียบ เช่น คน ที่ มั่ง มี เฟื่องฟู หนัก เปน ต้น นั้น.
      เฟื่อง ฟุ้ง (489:2.2)
               คือ ฝุ่น เช่น ว่า นั้น. อย่าง หนึ่ง เปน ความ เปรียบ ว่า ความ จะ เฟื่อง ฟุ้ง ไป นั้น.
      เฟื่อง ขจร (489:2.3)
               คือ ฟุ้ง ตลบ กลบ ไป ใน ที่ ต่าง ๆ นั้น, เช่น ข่าว ฦๅ เฟื่อง ขจร ไป ทุก แห่ง เปน ต้น นั้น.
เฟื้อง* (489:3)
         เปน ชื่อ เงิน เล็ก ๆ เขา เรียก ว่า เงิน เฟื้อง, สอง เฟื้อง จึ่ง เปน เงิน สลึง, แปด เฟื้อง เปน บาท.
ฟัด (489:4)
         กะทบ, กะทั่ง, คือ ของ ห้อย อยู่ คู่ หนึ่ง เปน ต้น, แล ถูก ลม พยุ ฤๅ แผ่นดิน ไหว เปน ต้น, ของ นั้น แกว่ง โยน กะทบ กัน นั้น, ว่า ฟัด กัน.
      ฟัด กัน (489:4.1)
               กะทบ กัน, คือ ของ ห้อย อยู่ คู่ หนึ่ง, ถูก ลม โยน กะทบ กัน, แกว่ง กะทบ กัน นั้น.
      ฟัด กลอน (489:4.2)
               กะทบ กลอน, คือ กลอน ที่ เขา แต่ง เรื่อง หนังสือ เปน คำ ฉันท์, เปน เพลง แล กลอน ถูก สำผัต กัน, เช่น ยิโฮวา มี ฤทธา นุภาพ สุด นั้น
      ฟัด ตัว (489:4.3)
               คือ การ ที่ คน ทำ ตัว ให้ กะทบ เข้า กับ ไม้ เปน ต้น, เมื่อ เวลา โทมะ นัศ ทุกข์ โศก แล ขัด เคือง นั้น.
      ฟัด ลง (489:4.4)
               คือ ทำ ให้ ของ ฤๅ ตัว สัตว์ ภาด ลง กับ พื้น ดิน เปน ต้น นั้น.
      ฟัด เหวี่ยง (489:4.5)
               คือ การ ที่ คน ทำ ตัว ให้ ฟาด ไป ข้าง นี้ ข้าง โน้น, ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง ที่ ไม่ สบาย ใจ นั้น.
      ฟัดฟาด (489:4.6)
               คือ หวด ภาด ลง กับ พื้น ไป เปน ต้น นั้น, เช่น คน ฟาด เข้า ฤๅ ช้าง เอา งวง ฟัด ฟาด หญ้า เปน ต้น นั้น.
      ฟัด อก (489:4.7)
               กะทบ อก, คือ นม หญิง ที่ กลิ้ง อยู่ ที่ อก, เขา ว่า นม ยาน ฟัด อก, เปน แต่ ที่ หญิง มี นม ใหญ่ ยาน นั้น.
ฟาด (489:5)
         หวด ลง, คือ การ ที่* คน ทำ ผ้า เปน ต้น ให้ หวด ลง กับ พื้น เปน ต้น นั้น.
      ฟาด เข้า (489:5.1)
               หวด เข้า, คือ การ ที่ เขา เอา เข้า ตัด มา ทั้ง ต้น แล้ว ฟาด เอา แต่ เมล็ด ว่า ฟาด เข้า, เขา เอา กะด้ง โบก ให้ ลีบ ออก นั้น.
      ฟาด งวง (489:5.2)
               คือ อาการ ที่ ช้าง ทำ ให้ งวง ทอด ลง เบื้อง ต่ำ นั้น, ช้าง มัก ยก งวง ขึ้น บน หัว แล้ว หวด งวง ลง กับ พื้น นั้น.
      ฟาด ลง (489:5.3)
               คือ หวด ภาด ลง นั้น, เช่น ช้าง เอา งวง จับ สิ่ง ของ ต่าง ๆ ฟาด ลง เปน ต้น นั้น.
      ฟาด ฟัน (489:5.4)
               คือ การ ที่ คน ถือ ดาบ เงื้อ ขึ้น แล้ว หวด ฟัน ลง นั้น, เช่น ทำ นา หวด ด้วย พร้า หวด นั้น.
ฟูด (489:6)
         คือ ฟู ขึ้น, เช่น ของ ที่ เขา หมัก ไว้, มัน ล้น ฟู ขึ้น นั้น, เช่น แป้ง ทำ ขนม ใส่ เชื้อ เปน ต้น นั้น.
      ฟูดฟาด (489:6.1)
               เปน เสียง เมื่อ คน ผุด ขึ้น จาก น้ำ นั้น, ฤๅ ช้าง ฟาด งวง ทำ เสียง ดัง อย่าง นั้น.
ฟิด (489:7)
         เปน เสียง มี เสียง แมว มัน จาม เปน ต้น, มัน ทำ เสียง ดัง ฟิด ๆ สัตว์ อื่น ก็ มี บ้าง.
เฟ็ด (489:8)
         คือ อาการ ที่ คน จะ ข้าม น้ำ ฦก เพียง ต้น ขา, เขา กลัว ผ้า จะ เปียก แล ทำ ให้ ผ้า เลิก ขึ้น พ้น น้ำ ได้ นั้น
ฟอด (489:9)
         คือ เสียง ดัง ฟอด, คน จูบ กัน ดัง เสียง เช่น นี้ มี บ้าง, อย่าง หนึ่ง คน ทำ ใน น้ำ ให้ ฟอง เสียง ดัง ฟอด บ้าง.
      ฟอด ปลาไหล (489:9.1)
               คือ ดิน โคลน ที่ เปน รู ปลา ไหล มัน อาไศรย อยู่ นั้น, เช่น โคลน ที่ ฟูด ขึ้น เปน ต้น นั้น.
      ฟอด แฟด (489:9.2)
               คือ ท้อง คน ไม่ สบาย ด้วย โรค มัน ไม่ แน่น เปน ปรกติ, มัน น่วม ฟ่าม อยู่ นั้น เอง.

--- Page 490 ---
ฟัน (490:1)
         กราม, คือ ฟัน ซี่ ใหญ่ ๆ ต่อ เขี้ยว เข้า ไป จน ที่ สุด กะ ดูก ขา ตะไกร นั้น, มี ทั้ง ข้าง ซ้าย ข้าง ขวา ล่าง แล บน นั้น.
      ฟัน กะต่าย (490:1.1)
               คือ ซี่ ฟัน ที่ ตัว กะต่าย. อนึ่ง เปน เหล็ก เขา ทำ สำหรับ ขูด เยื่อ มะพร้าว คล้าย กับ ฟัน เลื่อย นั้น.
      ฟัน กัน (490:1.2)
               ฟาด กัน, หวด กัน, คือ อาการ ที่ คน สอง คน ถือ อา วุธ เข้า เงื้อ ฟาด หวด ให้ ถูก กัน และ กัน นั้น.
      ฟัน ขาว (490:1.3)
               ทนต์, คือ ซี่ ฟัน ใน ปาก คน มี ศรี ขาว, เช่น คน จีน แล คน อังกฤษ ฟัน ขาว นั้น.
      ฟัน คน (490:1.4)
               ฆ่า คน, คือ อาการ ที่ เขา เงื้อ ดาบ ฤๅ มีด เปน ต้น ฟาด ลง ที่ ตัว คน ๆ โทษ ถึง ตาย เขา เอา ไป ฆ่า เสีย นั้น.
      ฟัน โค่น (490:1.5)
               คือ ฟัน มัน ถอน โค่น ขึ้น มา ที เดียว นั้น, เช่น คน แก่ ที่ ฟัน โค่น ถอน ไป นั้น.
      ฟัน ฅอ (490:1.6)
               บั่น ฅอ, คือ อาการ ที่ เขา เงื้อ อาวุธ ขึ้น ฟาด ลง ที่ ฅอ สัตว์ ฤๅ คน เปน ต้น นั้น.
      ฟัน ดำ (490:1.7)
               คือ ซี่ ฟัน ใน ปาก คน ศรี ดำ, คน ไทย กิน หมาก แล สี่ ชี่* มี ซี่ ฟัน ดำ นั้น.
      ฟัน ฟืน (490:1.8)
               คือ การ ที่ เขา เอา พร้า ฤๅ ขวาน เปน ต้น เงื้อ ขึ้น ฟาด ลง ที่ ท่อน ไม้ จะ ใส่ ไฟ นั้น.
      ฟัน ฟาด (490:1.9)
               คือ การ ที่ คน จับ พร้า ฤๅ ขวาน ดาบ เปน ต้น, เงื้อ ขึ้น หวด ฟาด ลง ที่ ไม้ ฤๅ คน เปน ต้น นั้น.
      ฟัน ไม้ (490:1.10)
               คือ การ ที่ คน เอา พร้า เปน ต้น, เงื้อ ขึ้น หวด ลง ที่* ไม้, เพื่อ จะ ทำ การ เรือน เปน ต้น.
      ฟัน หลุด (490:1.11)
               คือ อาการ ที่ ชัก มัน ออก มา ไม่ ติด อยู่ เลย นั้น, เช่น คน แก่ ที่ ฟัน หลุด ถอน นั้น,
      ฟัน เลื่อย (490:1.12)
               คือ ซี่ ฟัน ที่ เหล็ก เขา ทำ สำหรับ ชัก ไป ชัก มา ทำ ให้ ไม้ ผ่า ออก เปน สอง ซีก นั้น.
      ฟัน สี (490:1.13)
               คือ ซี่ ฟัน ที่ เขา ทำ สำหรับ ทำ เข้า เปลือก, ให้ เปลือก แตก ออก เปน เข้า สาร นั้น.
      ฟัน หัก (490:1.14)
               คือ ฟัน น้ำ นม มัน ออก เสีย, จะ เกิด ฟัน ใหม่ นั้น, เช่น คน แก่ ที่ ฟัน โค่น หลุด ไป เปน ต้น นั้น.
ฟั่น (490:2)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ฟั่น เชือก (490:2.1)
               คือ บิด เชือก ให้ เปน กลม เกลียว, ฟั่น สอง เกลียว บ้าง สาม เกลียว บ้าง เปน เส้น เชือก ยาว นั้น.
      ฟั่น เกลียว (490:2.2)
               คือ บิด เกลียว เชือก นั้น, เช่น คน ฟั่น เชือก ให้ เปน เกลียว เปน ต้น.
      ฟั่น ด้าย (490:2.3)
               คือ ทำ ด้ ย หลาย เส้น ให้ มัน รวม เข้า เปน เส้น เดียว นั้น.
      ฟั่น เทียน (490:2.4)
               คือ ฟั่น ขี้ ผึ้ง ให้ มัน เปน เล่ม เทียน, เขา เอา ขี้ผึ้ง ลน ไฟ ฤๅ ผึ่ง แดด ให้ อ่อน แล้ว หุ้ม ด้าย เข้า, ทำ เปน ไส้ แล้ว คลึง ลง กับ กระ*ดาน รีด ให้ ยาว.
      ฟั่น เฝือ (490:2.5)
               ฟั่น นั้น เช่น ว่า แล้ว, แต่ เฝือ นั้น เหมือน คลองน้ำ ที่ มี ต้น จอก อยู่ มาก อัด แน่น ไป, ครั้น เรือ จะ ไป ก็ ติด ปะ อยู่, เช่น นั้น ว่า เฝือ อยู่.
      ฟั่น เฟือน (490:2.6)
               เคลือบ เคลิ้ม, ฟั่น* เช่น ว่า แล้ว, แต่ เฟือน เคลิ้ม ลืม ที่ ไป นั้น, บาง ที ใช้ เปน ความ เปรียบ บ้าง, เหมือน บท หนังสือ ที่ ได้ เล่า เรียน แล้ว, ครั้น นาน มา เคลือบ เคลิ้ม ไป ว่า ฟั่น เฟือน ไป.
ฟั้น (490:3)
         ขยำ, นวด, คือ กำ ขยำ เข้า, เขา จะ คั้น น้ำ กะทิ เอา มือ กำ กาก มะพร้าว แล้ว คั้น บิด ให้ น้ำ กะทิ ออก นั้น.
ฟาน (490:4)
         เปน ชื่อ สัตว สี่ ท้าว รูป คล้าย สุนักข์, แต่ โต กว่า หมา น่อย หนึ่ง, มัน อยู่ ป่า ใหญ่ ไกล บ้าน.
ฟืน (490:5)
         คือ ไม้ เล็ก ใหญ่ ที่ สด ฤๅ แห้ง, เขา เอา ไว้ สำรับ เปน เชื้อ ใส่ ให้ ไฟ ลุก เปน เปลว ขึ้น นั้น,
      ฟืน ขนาด (490:5.1)
               คือ ดุ้น ฟืน ยาว สี่ ศอก, เรียก ว่า ฟืน ขนาด ส่ง ขาย ที่ โรง จีน ต้ม เหล้า นั้น.
      ฟืน ตอง (490:5.2)
               ฟืน ว่า แล้ว, แต่ ตอง เปน สร้อย คำ ไม่ มี ความ.
      ฟืน ไฟ (490:5.3)
               ความ ว่า แล้ว, แต่ เขา มัก พูด เปน คำ คล้อง ติดกัน ว่า ฟืน ไฟ ไฟ ฟืน นั้น.
      ฟืน รอน (490:5.4)
               คือ ดุ้น ฟืน เขา บั่น เปน ท่อน ๆ ภอ หูง เข้า ได้ นั้น.
      ฟืน โพรง (490:5.5)
               คือ ดุ้น ฟืน เขา บั่น เอา ไม้ ที่ มัน เปน โพรง เพราะ ต้น มัน แก่ ผุ นั้น.
      ฟืน แสม (490:5.6)
               คือ ไม้ อย่าง หนึ่ง เกิด ที่ ชาย ทะเล ชุม, เขา ตัด เอา มา ทำ ฟืน เช่น ว่า นั้น.
      ฟืน สด (490:5.7)
               คือ ไม้ เปน ๆ เขา ตัด เอา มา ยัง ไม่ แห้ง ใส่ ไฟ ยัง ไม่ ติด ไฟ นั้น.
      ฟืน หูงเข้า (490:5.8)
               คือ ไม้ ทุก สิ่ง ทุก อย่าง สด ฤๅ แห้ง ที่ เขา ตัด มา ทำ เชื้อ ใส่ ไฟ หูง เข้า เปน ต้น นั้น.
      ฟืน แห้ง (490:5.9)
               คือ ไม้ สาระพัด ทุก อย่าง ที่ มัน แห้ง, เขา เอา มา ทำ เชื้อ ใส่ ไฟ นั้น.

--- Page 491 ---
ฟื้น (491:1)
         คือ การ ที่ คน เอา จอบ ฟัน ดิน ให้ เปน ก้อน ขึ้น นั้น. อย่าง หนึ่ง คน สลบ ไป แล้ว มี สติ คืน ขึ้น นั้น.
      ฟื้น ไข้ (491:1.1)
               คือ อาการ ที่ โรค บันเทา แล คลาย ขึ้น นั้น, เช่น คน ฟื้น ไข้ ใหม่ เปน ต้น นั้น.
      ฟื้น ขึ้น (491:1.2)
               คือ อาการ ที่ คน สลบ ม่อย ผ่อย ไป, แล้ว กลับ* มี สติ คืน ขึ้น มา ลุก ขึ้น ได้ นั้น.
      ฟื้น ดิน (491:1.3)
               คือ การ ที่ เขา เอา จอบ จวก ฟัน ที่ ดิน ให้ เปน ก้อน ๆ ขึ้น เล็ก ฤๅ ใหญ่ นั้น, ว่า ฟื้น ดิน.
      ฟื้น ตัว (491:1.4)
               คือ คน เดิม ขัดสน อยู่, ครั้น นาน มา ตัว ค่อย มั่งมี ขึ้น, ว่า ฟื้น ตัว.
      ฟื้น ที่ (491:1.5)
               คือ เขา เอา จอบ ฟัน ขึ้น ที่ สวน เปน ต้น, เพื่อ จะ ปลูก ต้น ผลไม้ ฤๅ จะ ปลูก เรือน นั้น.
      ฟื้น ฝอย หา เตข็บ (491:1.6)
               คำ อัน นี้ เขา พูด เปน ความ เปรียบ, เหมือน ตัว เตข็บ เล็ก ๆ มัน อยู่ ใต้ กอง ฝอย, คน ไป เขี่ย ที่ กอง ฝอย หา เตข็บ นั้น, เหมือน ความ ที่ มี โทษ, ตัว ได้ ทำ ไว้ ล่วง ไป หลาย ปี ลี้ ลับ ไป แล้ว, รื้อ กลับ เอา ความ นั้น ขึ้น มา พูด อีก นั้น.
      ฟื้น เฟื่อง (491:1.7)
               คือ ฟุ้ง เฟื่อง นั้น, เช่น คน ฟื้น ที่ จน ดิน นั้น เฟื่อง ไป เปน ต้น นั้น.
      ฟื้น สติ (491:1.8)
               คือ กลับ ได้ สติ ขึ้น นั้น, เช่น คน สลบ สิ้น สติ แล้ว กลับ ฟื้น ได้ สติ ขึ้น มา เปน ต้น นั้น.
      ฟื้น หา (491:1.9)
               คือ ฟัน ดิน ขึ้น กระจาย ค้น หา ทรัพย เงิน ทอง ที่ ตัว ฝัง ไว้ หลง ลืม เฟือน ที่ เสีย* นั้น.
      ฟื้น องค (491:1.10)
               คือ เจ้า สลบ แล้ว กลับ ได้ สติ สมประดี ขึ้น, ว่า ฟื้น องค ขึ้น.
ฟอน (491:2)
         กัด, บ่อน, คือ บ่อน, เหมือน หนู ฤๅ กะรอก มัน กัด ลูกไม้ ลง จาก ต้น มาก นั้น.
      ฟอน กัด (491:2.1)
               คือ บ่อน กัด, เหมือน สัตว เช่น ว่า มัน บ่อน กัด ผลไม้ เช่น ว่า แล้ว นั้น.
      ฟอน กิน (491:2.2)
               คือ บ่อน กิน, เช่น สัตว มี นก แล หนู เปน ต้น, มัน บ่อน ผลไม้ เช่น ว่า นั้น.
      ฟอน บ่อน (491:2.3)
               คือ กัด ลูกไม้ เล็ก ๆ หล่น ลง มาก, เช่น กะรอก กัด ลูกหมาก อ่อน ลง นั้น.
      ฟอน หา (491:2.4)
               คือ การ ที่ ค้น หา มาก นั้น, เช่น สัตว เที่ยว บ่อน กัด หา ของ กิน เปน ต้น.
ฟ่อน (491:3)
         มัด, คือ มัด, เขา ทำ ต้น เข้า ฤๅ ต้น หญ้า ที่ เกี่ยว ไว้ ได้ มาก นั้น เปน มัด ๆ เท่า กบุง.
      ฟ่อน เข้า (491:3.1)
               มัด เข้า, คือ มัด เข้า, เขา ทำ ต้น เข้า ที่ เขา เกี่ยว ไว้ ได้ มาก ทำ เปน มัด ๆ เช่น ว่า นั้น.
      ฟ่อน หญ้า (491:3.2)
               มัด หญ้า, คือ มัด หญ้า, เขา มัด ต้น หญ้า ที่ เขา เกี่ยว ไว้ มาก ให้ เปน มัด.
ฟ้อน (491:4)
         รำ, คือ รำ ละคอน, คน รำ ละคอน เปน ถ้า ทาง ต่าง ๆ เรียก ว่า ฟ้อน เปน คำ สูง เพราะ.
      ฟ้อน ปีก (491:4.1)
               คือ รำแพน ด้วย ปีก, เหมือน นกยูง ฟ้อน ด้วย ปีก นั้น.
      ฟ้อน รำ (491:4.2)
               ระบำ รำ, ฟ้อน กับ รำ ความ อัน เดียว กัน, แต่ ฟ้อน เปน คำ สูง เพราะ, รำ นั้น เปน คำ ตลาด ต่ำ.
      ฟ้อน หาง (491:4.3)
               ระบำ หาง, คือ นกยูง มัน แผ่ หาง ออก รำ ตาม วิไสย สัตว, เขา ว่า นกยูง ฟ้อน หาง นั้น.
เฟือน (491:5)
         เคลือบ เคลิ้ม, คือ เคลิ้ม หลง สงไสย, ไม่ กำหนด ได้ ว่า จะ เปน ที่ นี่ ฤๅ ที่ ไหน ไม่ รู้ แน่ นั้น.
      เฟือน ที่ (491:5.1)
               คือ เคลิ้ม หลง ที่ ไป, เขา ฝัง เงิน ทอง ไว้ ใน ดิน, ครั้น นาน มา หลาย ปี หลง ที่ ไป นั้น.
      เฟือน ทาง (491:5.2)
               คือ เคลือบ เคลิ้ม หน ทาง ไป, เช่น เดิน ไป ทาง บก ฤๅ ทาง น้ำ จำ ไม่ ได้ ว่า ทาง ไหน นั้น.
      เฟือน บ้าน (491:5.3)
               คือ เคลิ้ม หลง บ้าน ไป, เช่น คน เคย มา บ้าง คราว หนึ่ง, ไป พาย หลัง จำ ไม่ ถนัด ว่า จะ เปน บ้าน ไหน นั้น.
      เฟือน ฟั่น (491:5.4)
               คือ ฟั่นเฟือน หลง ตำแหน่ง ไป นั้น, เช่น คน เคลือบ เคลิ้ม หลง ลืม เปน ต้น.
      เฟือน สติ (491:5.5)
               คือ หลง ลืม สติ น้อย ไป นั้น, เช่น คน บ้า เฟือน สติ ไป เปน ต้น นั้น.
ฟิบ (491:6)
         แฟบ, คือ แฟบ, คน มี จมูก แฟบ ยุบ ลง ไม่ อยู่ เปน ปรกติ นั้น.
ฟุบ (491:7)
         หมอบ, คือ อาการ สัตว ฤๅ คน ที่ คุก คู้ เข่า เข้า, แล้ว นอน คุด คู้ อยู่ เหมือน แมว แล เสือ นั้น.

--- Page 492 ---
      ฟุบ นอน (492:7.1)
               คือ คน ฤๅ สัตว คุก คู้ เข่า เข้า, แล้ว ทำ ให้ ท้อง อยู่ ที่ พื้น, งอ ท้าว ทั้ง สี่ เข้า นอน นิ่ง อยู่ นั้น.
      ฟุบ ฟับ (492:7.2)
               เปน เสียง เขา จุด ชะนวน ฤๅ ฝักแค ดิน ปืน นั้น, เช่น จุด ดิน ฝักแค ลั่น ฟุบ ฟับ เปน ต้น นั้น.
      ฟุบ หมอบ (492:7.3)
               ยุบ หมอบ, คือ ทำ อาการ เช่น ว่า, ลง หมอบ อยู่ ไม่ เอยียด ท้าว ทั้ง สี่ ออก งอ ไว้ นั้น, ว่า ฟุบ หมอบ.
แฟบ (492:1)
         คือ จมูก คน ฟิบ แบน อยู่ กับ พื้น หน้า นั้น. อย่าง หนึ่ง เหมือน ลูกไม้ ไม่ เปล่ง ปลั่ง แบน อยู่, ว่า ผลไม้ แฟบ อยู่.
      แฟบ แบน (492:1.1)
               คือ ลีบ แบน นั้น, เช่น ถั่ว แปบ เปน ต้น.
ฟืม (492:2)
         คือ ของ เปน เครื่อง ธอผ้า, เมื่อ ธอผ้า เขา จับ กระทบ ให้ เส้น ด้าย เข้า ชิด ติด กัน เปน เนื้อ ผ้า นั้น.
      ฟืม ขัน (492:2.1)
               คือ ฟืม ที่ ตกอ* มัน ถี่ ๆ นั้น, เช่น ฟืม ขัน สำรับ ธอ ผ้า เนื้อ ดี เปน ต้น นั้น.
ฟุ่ม เฟือย (492:3)
         คือ ของ เหลือ เฟือ ฤๅ บริบูรณ นั้น, เช่น ของ กิน มี อยู่ ฟุ่ม เฟือย เปน ต้น นั้น.
ฟูม (492:4)
         คือ ไหล โทรม มาก, เหมือน คน แล่น เรือ ไป น้ำ ไหล แรง เกิด ลม ละลอก หนัก เรือ ฝ่า ละลอก ไป, ว่า ฟูม ละลอก ไป.
      ฟูม ฟาย (492:4.1)
               คือ เหลือ เฟือ นั้น, เช่น คำ ว่า ใช้ สรอย ฟูม ฟาย เปน ต้น นั้น.
      ฟูม หน้า (492:4.2)
               คือ น้ำ ตา ไหล โทรม อาบ หน้า, คน มี ความ ทุกข เศร้า โศรก ฤๅ เจ็บ ป่วย ร้อง ไห้ น้ำตา ไหล ลง โทรม หน้า.
      ฟูม น้ำ (492:4.3)
               คือ เดิน ฝ่า น้ำ ไป นั้น, เช่น คน เดิน ลุย ฟูม น้ำ ไป นั้น.
      ฟูม หนอง (492:4.4)
               คือ หนอง ฟูม อยู่ นั้น, เช่น คน เปน ฝี ฟูม หนอง อยู่.
      ฟูม เฝ้า (492:4.5)
               คือ ฝ่า เฝ้า อยู่ นั้น, เช่น คำ ว่า ฟูม เฝ้า เช้าเอย็น เปน ต้น นั้น.
      ฟูม ฟัก (492:4.6)
               คือ ฟัก ฟูม นั้น, เช่น แม่ไก่ ฟักไข่ นั้น.
      ฟูม ฟอง (492:4.7)
               คือ เรือ ฝ่า คลื่น ละลอก แตก เปน ฟอง นั้น.
      ฟูม เลี้ยง (492:4.8)
               คือ ฝ่า เลี้ยง นั้น, เช่น คำ ว่า ฟูม เลี้ยง มา แต่ เล็ก จน โต นั้น.
      ฟูม เลือด (492:4.9)
               คือ เลือด ฟูม อยู่ นั้น, เช่น ถูก ฟัน ฟูม เลือด อยู่
แฟ้ม (492:5)
         คือ ของ สาน ด้วย เส้น ตอก อย่าง หนึ่ง รูป คล้าย กับ ครู, แต่ มี ฝา, เฃา สาน สำรับ ใส่ เข้าสาร ไป กิน เมื่อ ไป ทัพ นั้น.
ฟาย (492:6)
         คือ ทำ นิ้วมือ ให้ ชิด, แล้ว ถือ เอา เข้า สาร เปน ต้น, ภอ เต็ม ใน อุ้ง มือ ข้าง เดียว นั้น, ว่า ฟาย มือ หนึ่ง.
      ฟาย มือ (492:6.1)
               คือ ทำ นิ้วมือ ให้ ชิด กัน ทั้ง ห้านิ้ว, ทำ มือ ให้ เปน ซอง รอง รับ ของ มี เข้าสาร เปน ต้น, ว่า ฟายมือ หนึ่ง.
ฟ่าย (492:7)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, สูง สัก สี่ ศอก มี ลูก แก่ แล้ว แตก ออก เยื่อ ใน ขาว, เขา เก็บ เอา มา ทำ เปน เส้น ด้าย ธอ ผ้า นั้น.
      ฟ่าย แดง (492:7.1)
               คือ ต้นไม้ เช่น ว่า นั้น, ดอก แดง ใบ แดง แต่ เยื่อ ใน ขาว, เขา เก็บ มา ทำ เส้น ด้าย ธอ ผ้า นั้น.
      ฟ่าย ไท (492:7.2)
               คือ ต้น ฟ่าย มี* ใน เมือง ไท, เขา เก็บ เอา ลูก แก่ ๆ มา ทำ เส้น ด้าย อ เปน ผ้า นั้น.
      ฟ่าย เทษ (492:7.3)
               คือ ฟ่าย เขา เอา มา แต่ เมือง เทษ, เขา เก็บ เอา ลูก แก่ ๆ มา ทำ ด้าย ธอ เปน ผ้า นั้น.
ฟุย ฟาย (492:8)
         คือ ฟูมฟาย นั้น, เช่น คำ ว่า เงิน ทอง ใช้ สรอย ฟุย ฟาย เปน ต้น นั้น.
เฟือย (492:9)
         คือ หญ้า แล ผัก ที่ งอก เลื้อย ออก มา ตาม เชิง เลน นั้น, เช่น ชาย เฟือย เปน ต้น นั้น.
เฟื้อย (492:10)
         คือ เลื้อย, เช่น เสื้อ ที่ พวก แหม่ม ใส่ สรวม แต่ บ่า ลง ไป จน ตลอด ท้าว นั้น, ว่า ครุย เฟื้อย.
      เฟื้อย ยาว (492:10.1)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ยาว เฟื้อย นั้น, เช่น หาง เปีย เฟื้อย ยาว เปน ต้น.
เฟื้อ (492:11)
         คือ เอื้อ อาไลย, คน ใจ ดี อารีย คิด ถึง คุณ อุประการะ ผู้ อื่น แล คิด จะ เกื้อ กูล อุดหนุน นั้น.
เฟ้อ (492:12)
         เอ้อ เรื้อ, คือ อาการ ที่ ท้อง เกิด ลม ทำ ให้ อิ่ม เอ้อ เร้อ ไม่ ใคร่ จะ อยาก อาหาร แต่ ให้ หิว อก หิว ใจ บ้าง.
แฟะ (492:13)
         แฉะ, คือ สิ่ง ของ ที่ เน่า แฟะ อยู่ นั้น, หญ้า เน่า แฟะ เปน กะบิ อยู่ ใน ลำ บึง เปน ต้น นั้น.
      ฟ้อ (492:13.1)
               เขียว สด, คือ ชาย รุ่น หนุ่ม มี อายุ สิบ หก สิบ เจ๊ด ปี, เขา แต่ง ตัว สรวย ด้วย เครื่อง นุ่ง ห่ม เปน ต้น.
      ฟ้อ แฟ้ (492:13.2)
               สรวย สด, เปน คำ พูด ถึง คน ชาย หญิง มี อายุ หนุ่ม เช่น ว่า เขา ตก แต่ง ตัว สรวย, ว่า ฟ้อ แฟ้ นั้น.
(492:14)
         
ภา (492:15)
         นำ, คือ นำ ไป ฤๅ เอา ไป, คน นำ คน อื่น ไป เที่ยว ฤๅ เอา ของ อัน ใด ไป นั้น.

--- Page 493 ---
      ภา กัน ไป (493:15.1)
               นำ กัน ไป, คือ นำ คน อื่น ไป, เช่น คน หนึ่ง ไม่ รู้ แห่ง, แล ผู้ รู้ แห่ง นำ ไป ให้ รู้ แห่ง ว่า ภา กัน ไป.
      ภา เข้า ไป (493:15.2)
               นำ เข้า ไป, คือ นำ คน อื่น ไป, เช่น คน หนึ่ง ไม่ เคย เข้า ไป ใน เมือง เขา นำ เข้า ไป นั้น.
      ภา คน มา (493:15.3)
               นำ คน มา, คือ นำ คน อื่น มา, เขา ภา คน ที่ ยัง ไม่ เคย มา บ้าน เรือน แล นำ มา ให้ รู้ แห่ง นั้น.
      ภา เงิน หนี (493:15.4)
               คือ คน ทาษ มี ค่า ตัว, หนี เจ้า เงิน ไป. อนึ่ง ว่า มัน ภา เอา เงิน หนี ไป.
      ภา เชือน แช (493:15.5)
               นำ เชือน แช, คือ คน นำ คน อื่น ไม่ ตรง ไป, นำ เที่ยว ไป ที่ นี่ บ้าง ที่ โน่น บ้าง.
      ภา ซุกซน (493:15.6)
               นำ ซุกซน, คือ นำ ให้ คน อื่น เที่ยว เล่น เบี้ย บ่อน แล เล่น ชู้ สาว เปน การ ชั่ว นั้น, ว่า ภา ซุกซน.
      ภา เดิน (493:15.7)
               นำ เดิน, คือ คน นั่ง ฤๅ นอน อยู่, แล มี ผู้ นำ ออก เดิน ไป นั้น, ว่า ภา เดิน.
      ภา เที่ยว (493:15.8)
               นำ เที่ยว, คือ นำ หน้า ผู้ อื่น เดิน เร่ ร่ำ ไป ตาม ทาง บก แล ทาง เรือ นั้น, ว่า ภา เที่ยว.
      ภา หนี (493:15.9)
               คือ นำ หน้า ผู้ อื่น ที่ เปน ทาษ เขา เปน ต้น, หลบ หลีก ไม่ ให้ ผู้ ใด เหน, เร้น ซ่อน ไป นั้น.
      ภานุมาศ (493:15.10)
               แปล ว่า ดวง อาทิตย์ นั้น เอง, เช่น คำ ว่า เมื่อ ยาม ย่าง เข้า สายันห์ ย่ำ ยอ แสง สหัศ ภาณุมาศ เปน ต้น.
      ภารา (493:15.11)
               กรุง, นคร, ธาณี, เปน ชื่อ เมือง, เหมือน เมือง ใหญ่ ๆ ใช่ บ้าน เล็ก เมือง น้อย, เขา เรียก ภารา.
      ภาราณะศีย์ (493:15.12)
               เปน ชื่อ* เมือง หลวง เมือง หนึ่ง, ใน หนังสือ ว่า เปน มา แต่ ปะถม กัลป, ใหญ่ กว่า เมือง อื่น ทั้ง สิ้น
      ภาระธุระ (493:15.13)
               อุด หนุน ธุระ, แปล ว่า ธุระ อัน หนัก, คน มี ธุระ สำคัญ ใหญ่ หลวง นั้น.
      ภาวะนา (493:15.14)
               เจริญ, ให้ เกิด ขึ้น, แปล ว่า ยัง ธรรม วิเสศ ให้ บัง เกิด ขึ้น ใน ตัว เพื่อ จะ พ้น ทุกข์ นั้น.
      ภาษา (493:15.15)
               กล่าว, แปล ว่า กล่าว ถ้อย คำ, เหมือน ภาษา ไท เปน ต้น นั้น.
      ภาษา เด็ก (493:15.16)
               คือ คำ พูด ของ เด็ก, ฤๅ ตาม วิไสย แห่ง เด็ก นั้น, เช่น ทารก เล่น กัน ตาม ภาษา เด็ก.
      ภาษา ไท (493:15.17)
               คือ วาจา ที่ คน ไทย กล่าว เปน เรื่อง ต่าง ๆ นั้น.
ภาษี (493:1)
         คือ เครื่อง บูชา คน เก็บ เงิน ภาษี ต่าง ๆ มี ภาษี เกลือ เปน ต้น, คือ สิบ อยิบ เอา เปน ของ หลวง หนึ่ง นั้น.
      ภาษี จาก (493:1.1)
               คือ เก็บ เอา เงิน แต่ คน ขาย จาก สิบ ตับ เอา ตับ หนึ่ง เปน ของ หลวง นั้น.
      ภาษี ชัน (493:1.2)
               คือ เก็บ เอา เงิน แต่ ผู้ ขาย ชัน, ว่า สิบ หยิบ เอา หนึ่ง, คิด เปน เงิน ถวาย เปน หลวง.
      ภาษี ได้ (493:1.3)
               คือ เก็บ เอา เงิน แต่ ผู้ ขาย ได้, สิบ หยิบ เอา หนึ่ง, คิด เปน เงิน ถวาย เปน หลวง.
      ภาษี น้ำ มัน (493:1.4)
               คือ เขา เก็บ เอา เงิน แต่ ผู้ ขาย น้ำ มัน, สิบ คะ นาน เอา คะนาน หนึ่ง, คิด เงิน ส่ง ใน หลวง.
      ภาษี น้ำ ตาล (493:1.5)
               คือ เขา เก็บ เอา เงิน แต่ ผู้ ขาย น้ำ ตาล, สิบ ส่วน เอา ส่วน หนึ่ง, คิด เปน เงิน หลวง.
      ภาษี ฝาง (493:1.6)
               คือ เขา เก็บ เอา เงิน แต่ ผู้ ขาย ฝาง, สิบ ดุ้น เอา ดุ้น หนึ่ง, คิด เปน เงิน หลวง.
      ภาษี ยา (493:1.7)
               คือ เขา เก็บ เอา เงิน แต่ ผู้ ขาย ยา, สิบ กลุ่ม เอา กลุ่ม หนึ่ง, คิด เปน เงิน หลวง.
      ภาษี พริก ไทย (493:1.8)
               คือ เขา เก็บ เอา เงิน แต่ ผู้ ขาย พริกไทย สิบ หาบ เอา หาบ หนึ่ง, คิด เปน เงิน หลวง.
      ภาษี เร่ว (493:1.9)
               คือ เขา เก็บ เอา เงิน แต่ ผู้ ขาย เร่ว, สิบ หาบ เอา หาบ หนึ่ง, คิด เปน เงิน หลวง.
      ภาษี เกลือ (493:1.10)
               คือ เก็บ เงิน เปน ของ หลวง แต่ คน ผู้ ขาย เกลือ สิบ อยิบ หนึ่ง นั้น.
      ภาษี เสา (493:1.11)
               คือ เขา เก็บ เอา เงิน แต่ ผู้ ขาย เสา, สิบ ต้น เอา ต้น หนึ่ง, คิด เปน เงิน ถวาย หลวง.
      ภาษี อ้อย (493:1.12)
               คือ เขา เก็บ เอา เงิน แต่ ผู้ ขาย อ้อย, สิบ ลำ เอา ลำ หนึ่ง, คิด เปน เงิน ถวาย หลวง.
ภิ (493:2)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เขา เรียก ต้น ภิกุล ต้น ใหญ่ เจ็ด กำ แปด กำ มี ดอก เล็ก ๆ หอม.
ภี (493:3)
         อ้วน, คือ คน ฤๅ สัตว มี กาย อ้วน เนื้อ หนัง เต็ม บริบูรณ นั้น, เขา ว่า ผู้ นั้น ฤๅ ตัว นั้น ภี.
ภุ (493:4)
         ดุขึ้น, คือ น้ำ เซาะ มา ใต้ ดิน ฤๅ ใต้ หิน เปน ต้น, ดุ ดัน ขึ้น ที่ แห่ง ใด แห่ง หนึ่ง นั้น, ว่า น้ำ ภุ ขึ้น. อย่าง หนึ่ง โรค อย่าง หนึ่ง เปน เม็ด ผุด ขึ้น ที่ ตัว คน.

--- Page 494 ---
ภู (494:1)
         กลีบ, ลีบ, คือ ของ เปน กลีบ ๆ นูน ขึ้น, เหมือน ผล ทู่เรียน นั้น ว่า ภู. อนึ่ง ที่ โคน ต้น ไม้ ใหญ่ มี ทอง หลาง เปน ต้น, เปน กลีบ ๆ เรียก ว่า ภู.
      ภู เขา (494:1.1)
               คือ ที่ เขา สิลา เกิด ขึ้น เปน หลืบ ๆ ใหญ่ แล เปน ระ หว่าง ลง แล้ว สิลา เปน สัน คั่น สูง ขึ้น ว่า ภู เขา.
      ภู ผา (494:1.2)
               บรรพต, สิงขร, คือ ภูเขา, ภูเขา คือ หิน เปน หลืบ ๆ เปน จอม สูง ขึ้น แล ลาด ลง เปน ร่อง ๆ ว่า ภูผา.
      ภู ต้น ไม้ (494:1.3)
               คือ ต้น ไม้ ทั้ง ปวง ที่ เปน ภู นั้น, เช่น ภู ต้น ทอง หลาง เปน ต้น นั้น.
ภูบดิ ราช หฤไทย (494:2)
         แปล ว่า คน เปน เหมือน ใจ ขุนหลวง ผู้ เปน ใหญ่ ใน พื้น แผ่น ดิน, แต่ ผูก เปน พระ นาม เจ้า.
ภูบดี (494:3)
         คือ ท่าน ที่ เปน ใหญ่ ใน แผ่น ดิน นั้น, เช่น พระ มหา กระษัตริย์ เปน ต้น นั้น.
ภูบดินท์ (494:4)
         คือ ท่าน ที่ เปน อิศร* ใน แผ่น ดิน นั้น, เช่น พระ มะ หา กระษัตริย์ เปน ต้น นั้น.
ภูเบศร์ (494:5)
         แปล ว่า คน เปน อิศระ ใน แผ่น ดิน นั้น.
ภูบาล (494:6)
         แปล ว่า คน เปน ผู้ เลี้ยง รักษา แผ่น ดิน.
ภูเบนทร์ (494:7)
         แปล ว่า คน ผู้ เปน ใหญ่ ใน พื้น แผ่น ดิน.
ภูมิศระ (494:8)
         แปล ว่า คน ผู้ เปน อิศระ ใน พื้น แผ่น ดิน.
ภูมี* (494:9)
         ว่า พื้น แผ่น ดิน, บันดา ประเทษ เขตร แว่น แคว้น ทั้ง สิ้น นั้น ว่า ภูมิ.
ภู ไม้ (494:10)
         คือ ไม้ ที่ เปน ภู นั้น, เช่น ภู ไม้ ตะแบก แล ไม้ สำโรง เปน ต้น นั้น.
ภูมินทร์ (494:11)
         แปล ว่า คน ผู้ เปน ใหญ่ ใน พื้น แผ่น ดิน.
ภูริ (494:12)
         แปล ว่า แผ่น ดิน, บันดา ประเทศ ที่ เปน พื้น แผ่น ดิน, เรียก ว่า ภูริ.
ภูริทัต (494:13)
         คือ เปน ชื่อ พระยา นาค คน* หนึ่ง นั้น, เช่น ภูริทัต ใน เรื่อง ชาฎก เปน ต้น.
ภูวะมณฑล (494:14)
         คือ มณฑล แห่ง แผ่นดิน นั้น, เช่น ที่ กลม รอบ แห่ง แผ่น ดิน เปน ต้น นั้น.
ภูวะไนย (494:15)
         แปล ว่า คน ผู้ สั่งสอน ฝูง ชน ทั้ง ปวง ใน พื้น แผ่น ดิน, คือ กระษัตริย์ นั้น,
ภูวะดล (494:16)
         คือ พื้น ของ แผ่นดิน นั้น, เช่น พระ มหา กระษัตริย์ รักษา พื้น แผ่น ดิน เปน ต้น นั้น.
ภูวะเนตร์ นรินทร์ ฤทธิ์ (494:17)
         แปล ว่า คน เปน ผู้ สั่งสอน แนะ นำ มหา ชน ผู้ มี ฤทธิ์, ผูก เปน พระนาม เจ้า องค หนึ่ง.
ภูวะนารถ (494:18)
         แป ว่า คน เปน ที่ พึ่ง แก่ มหา ชน ใน พื้น แผ่น ดิน.
ภูมิภากย์ (494:19)
         คือ ส่วน แห่ง พื้น ดิน นั้น, เช่น คำ ว่า ภูมิ ภาคย์ ปัตะพี เปน ต้น นั้น.
ภูษา (494:20)
         แปล ว่า ผ้า ธอ ด้วย ด้าย ฤๅ ด้วย ไหม เปน ต้น, เรียก เปน สับท์ ว่า ภูษา.
ภูสิต (494:21)
         แปล ว่า ผ้า เปน เครื่อง สำหรับ ประดับ กาย, คือ นุ่ง ห่ม ว่า ภูสิต เปน คำ สูง เพราะ.
เภกา (494:22)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ต้น มัน สูง สัก ห้า วา มี ฝัก ยาว สอก เสศ แบน กว้าง สัก สี่ นิ้ว, รศ ขม เขา กิน เปน ผัก กับ เข้า บ้าง.
เภสัช (494:23)
         ยา, แปล ว่า ยา แก้ โรค คน ไข้, บันดา ยา ทุก สิ่ง จน หมาก ก็ เรียก เภสัช.
เภสลาด (494:24)
         ไม่ อ่อน นัก, คือ ใบ ไม้ ไม่ อ่อน ที เดียว เกือบ จะ แก่, แต่ ยัง ไม่ แก่ นัก, เรียก ว่า ใบ ไม้ เภสลาด.
แภ (494:25)
         คือ ไม้ ไผ่ ฤๅ ไม้ รวก เปน ต้น, เขา ตัด เอา มา มาก แล้ว มัด เข้า ร้อย ลำ ล่อง มา ใน น้ำ, เรียก ว่า แภ
ไภย (494:26)
         คือ สิ่ง ที่ ต้อง กลัว, สิ่ง ที่ เปน อันตะราย ต่าง ๆ ควร จะ พึง กลัว, เรียก ว่า ไภย, มี ราช ไภย เปน ต้น.
      ไภยพาล (494:26.1)
               คือ ไภย บังเกิด, แต่ คน พาล ชั่ว ร้าย นั้น, ไภย ที่ ผู้ ร้าย ซัด เปน ต้น นั้น.
      ไภยันตราย (494:26.2)
               คือ ไภย ที่ จะ ให้ เจ็บ ปวด เปน ต้น นั้น, อัน ตะ ราย ที่ บังเกิด แต่ โจร เปน ต้น.
      ไภย รี (494:26.3)
               คือ เวรี นั้น, คน ที่ มี เวร กัน เปน ต้น นั้น.
      ไภรินทร์ (494:26.4)
               คือ เวรี ใหญ่ นั้น, เปน กอง ทัพ ที่ ฆ่าศึก นั้น.
โภคา (494:27)
         คือ เครื่อง ใช้ มี ผ้า นุ่ง ห่ม เปน ต้น, เขา เรียก โภค สม บัติ, คือ ทรัพย เครื่อง กิน แล ใช้ นั้น.
      โภไคยสูริย์ (494:27.1)
               คือ ทรัพย์ สมบัติ เครื่อง เปน ของ ใหญ่ วิเสศ ดี, เปน ที่ ปราฐนา เปน คำ สูง, ว่า โภไคยสูริย์.
      โภชนา (494:27.2)
               คือ เข้า เปน ต้น, เพราะ เปน ของ เครื่อง กิน, โภช นา, แปล ว่า กิน เรียก ติด กับ สับท์ นั้น.
ภะคีนี (494:28)
         น้อง สาว, แปล ว่า น้อง หญิง, คน เรียน หนังสือ ว่า, ภะคีนี ดูกร น้อง หญิง.

--- Page 495 ---
ภก (495:1)
         คือ ผ้า ที่ คน ผูก ผ้า นุ่ง รัด เข้า กับ ตัว ที่ ท้อง ตรง สะดือ ข้าง หน้า, ย้อย อยู่ นั้น.
      ภก นุ่น (495:1.1)
               คือ เอา นุ่น ห่อ ภก ไว้ นั้น, ความ ที่ เปรียบ เทียบ ด้วย คน ใจ เบา ไม่ หนัก แน่น เปน ต้น.
      ภก เบี้ย (495:1.2)
               คือ เอา เบี้ย ห่อ ภก ไว้ นั้น, เหมือน เด็ก ภก เบี้ย เล่น เปน ต้น นั้น.
      ภก หมาก (495:1.3)
               คือ เอา หมาก ห่อ ภก ไว้ นั้น, พวก ขุนนาง ภก หมาก เข้า เฝ้า เปน ต้น นั้น.
      ภก หิน (495:1.4)
               คือ* เอา หิน ห่อ ภก ไว้ นั้น, เช่น ความ ที่ เปรียบ ด้วย คน ใจ หนัก แน่น เปน ต้น นั้น.
ภัก (495:2)
         คือ เหนื่อย อยุด ที หนึ่ง, คน เดิน ฤๅ ทำ การ อัน ใด ๆ เหนื่อย อยุด ที หนึ่ง ว่า ภัก หนึ่ง.
      ภักตร์ (495:2.1)
               คือ หน้า นั้น, คำ ว่า ดู กร เจ้า ผู้ มี ภักตร์ อัน เจริญ เปน ต้น.
      ภัคย์ (495:2.2)
               แปล ว่า บารมี ธรรม, เช่น ว่า พระ ผู้ ทรง ภาคย์, คือ พระ บาระมี.
      ภัคะวา (495:2.3)
               เปน ชื่อ พระ เจ้า นั้น, คำ ว่า พระ ผู้ มี พระ ภาคย์ เจ้า.
      ภักดี (495:2.4)
               แปล ว่า เลี้ยง, คน ทำ ความ ชอบ เลี้ยง รักษา บำรุง ว่า เขา ภักดี.
      ภัก หนึ่ง (495:2.5)
               คือ เหนื่อย กำลัง น้อย เข้า, แล อยุด ที หนึ่ง นั้น, ว่า ภัก หนึ่ง.
      ภักตรา (495:2.6)
               คือ หน้า, เรียก ภักตรา, เปน คำ สูง เพราะ สำหรับ กระสัตริย์ เปน ต้น*.
      ภักษา หาร (495:2.7)
               ว่า กิน อาหาร นั้น, เช่น คำ ว่า บริโภก เปน ภัก ษา หาร นั้น.
      ภักษา (495:2.8)
               บริโภค, กิน, แปล ว่า กิน, บันดา ที่ กิน ของ ทั้ง หมด นั้น. ว่า ภักษา.
ภาก เสศ (495:3)
         แบ่ง ไม่ รับ, คือ คำ ที่ เหลือ นอก จาก ใจ ความ เช่น ข่าว ว่า ทอง บังเกิด ขึ้น ใน ประเทศ นั้น, ประสงค์ เอา ที่ ทอง บังเกิด ขึ้น, คำ นอก นั้น เปน ภาก เสศ.
ภิกขุ (495:4)
         พระ สงฆ์, สมณะ, เปน ชื่อ คน บวช ใน สาศนา, ตั้ง แต่ พระ พุทธ เจ้า ยัง มี พระ ชนม์ อยู่ มา นั้น, เรียก ชื่อ ภิกขุ อธิบาย หลาย อย่าง, ว่า เปน คน เหน ไภย ใน สงสาร เปน ต้น.
ภิกขะเว (495:5)
         แนะ ภิกขุ ทั้ง หลาย, มี อะธิบาย เช่น ว่า แล้ว, แต่ คำ ว่า ภิกขะเว นี้, ให้ แปล ว่า ดูกร ภิกขุ.
ภิกษุ (495:6)
         คือ ออก จาก ภิกขุ สับท์ นั้น, คือ เอา ขะ อักษร ทำ อา เทษ เปน ษะ นั้น.
โภคะลาภ (495:7)
         ได้ กาม คุณ อัน บุกคล พึง บริโภค, แปล ว่า ได้ ทรัพย์ สมบัติ เปน เครื่อง ใช้ ฤๅ เปน เครื่อง กิน.
โภก (495:8)
         (dummy head added to facilitate searching).
      โภก ผ้า (495:8.1)
               คลุม หัว ด้วย ผ้า, คือ คน ทำ ผ้า ให้ คลุม ฤๅ พัน ไว้ ที่ หัว, เหมือน คน แขก เทษ เปน ต้น นั้น.
      โภก หัว (495:8.2)
               คลุม หัว, คือ เอา ผ้า คลุม ลง ที่ หัว ฤๅ พัน พอก เข้า ที่ หัว, เหมือน พวก แขก เทษ.
เภิก (495:9)
         เลิก, ถอน, คือ เลิก ถอน, คน เลิก สิ่ง ของ อัน ใด ขึ้น จาก ที่ มี เถา ผัก เปน ต้น. อย่าง หนึ่ง เปน ความ เปรียบ, เหมือน เขา เลิก ความ อัน ใด เสีย นั้น.
ภง (495:10)
         คือ ดง อ้อ แขม, ต้น หญ้า มี อ้อ เปน ต้น มัน ขึ้น มา เปน ดง อยู่, เรียก ว่า ภง
ภัง (495:11)
         คือ ทำลาย ลง, เหมือน ของ อยู่ สูง แล เกลื่อน ทำลาย กระ- จาย ลง, ว่า ภัง ลง.
      ภังภาน (495:11.1)
               คือ แม่ เบี้ย, แห่ง พระยา นาค นั้น, คำ ว่า พระยา นาก ผก ภังภาน เปน.
ภัทธ์ (495:12)
         แปล ว่า เจริญ, เหมือน คน เดิม เปน ทารก เล็ก ๆ อยู่ ค่อย โต ขึ้น นั้น.
      ภัตตัง (495:12.1)
               แปล ว่า เข้า, เพราะ เข้า เปน ของ สำหรับ กิน, ถึง ของ อื่น เปน ของ กิน จะ ว่า ภัตตัง ก็ ได้.
ภันเต (495:13)
         แปล ว่า ข้า แต่ พระ ผู้ เปน เจ้า ผู้ เจริญ.
ภาน (495:14)
         คือ ภาชนะ เครื่อง ใช้, เขา ทำ ด้วย ทอง คำ บ้าง ทอง ขาว บ้าง, มัน โต กว้าง สัก* สิบ หก นิ้ว, มี ตีน สูง สัก คืบ เสศ สำหรับ ใส่ หมาก.
      ภานพิภพ (495:14.1)
               คือ ได้ เสวย ราช สมบัติ มนุษ เปน กระสัตริย์.
ภูน (495:15)
         มูน, คือ ล้น, คน ตวง เข้า เปน ต้น, ใส่ เข้า ลง ใน ทะ นาน เต็ม แล้ว เติม ใส่ ลง จน ล้น. อย่าง หนึ่ง คน จะ ทำ พื้น ที่ ให้ สูง ขึ้น, แล ขน เอา มูล ดิน มา ใส่ ลง จน ที่ สูง ขึ้น นั้น, ว่า ภูน ที่ ขึ้น นั้น.
ภพ (495:16)
         คือ บังเกิด, คน ตาย ลง แล้ว ไป ปะติสนธิ์ ตั้ง ขึ้น อีก นั้น ว่า ภพ คือ บังเกิด นั้น.

--- Page 496 ---
ภบ ปะ (496:1)
         คือ ปะ ภบ กัน เข้า นั้น, คน เดิน ไป ภพ ปะ กัน เข้า กลาง ทาง เปน ต้น นั้น.
ภพ ใหม่ (496:2)
         คือ บังเกิด, คน ฤๅ สัตว์ ตาย ลง แล้ว ไป ตั้ง ปะติ สนธิ์ ขึ้น อีก นั้น, ว่า ภพ ใหม่.
ภพ ไตรย์ (496:3)
         คือ ภพ ทั้ง สาม นั้น, กาม ภพ, รูป ภพ, อะรูป ภพ, เปน ต้น นั้น.
ภับ เภียบ (496:4)
         คือ นั่ง ภับ, คู้ เข่า เข้า ทั้ง สอง ข้าง ทำ ให้ แค่ง ทั้ง สอง เรียบ เรียง เคียง กัน อยู่ นั้น.
ภาพ (496:5)
         คือ ภาวะ, แปล ว่า เนื้อ ความ ก* อย่าง.
ภุมมะ (496:6)
         วัน อังคาร, พื้น, เปน ชื่อ เทวดา องค์ หนึ่ง, คือ พระ อังคาร, เปน เทวดา นับ เข้า ใน เทวดา เก้า องค์.
      ภุมรา (496:6.1)
               แปล ว่า แมลง ภู่ ๆ ตัว มัน ดำ ๆ มี ปีก บิน ได้, มัน เอา เกษร ดอก ไม้ ไป กิน นั้น.
      ภุมเรียง (496:6.2)
               คือ เปน ชื่อ ต้น ผล ไม้ นั้น, ภุมเรียง ป่า ภุมเรียง บ้าน เปน ต้น นั้น.
      ภุมรินทร์ (496:6.3)
               แปล ว่า แมลง ภู่* ใหญ่, มัน เอา ชาติ ละออง เก ษร ดอก ไม้ ไป กิน นั้น.
      ภุมเรศร์ (496:6.4)
               คือ สัตว์ ที่ เปน ใหญ่ อยู่ ใน พวก แมลง ผึ้ง นั้น, คำ ว่า ภุมเรศร์ ร่ำ ร้อง เปน ต้น นั้น.
      ภูม (496:6.5)
               พื้น, คือ พื้น, บันดา ของ ที่ เปน พื้น ข้าง บน ข้าง ล่าง อยู่ แห่ง ใด ๆ เรียก ภูม.
      ภูม เจ้า ที่ (496:6.6)
               คือ เทพา รักษ ที่ สิง สู่ อยู่ ที่ บ้าน เรือน เปน ต้น นั้น เรียก ว่า ภูม เจ้า ที่.
      ภูม ใหญ่ (496:6.7)
               พื้น ใหญ่, คือ พื้น ใหญ่. อย่าง หนึ่ง เปน ความ เปรียบ ด้วย คน ที่ มี ยศ ศัก มาก กว่า ผู้ นั้น, มี ภูม ใหญ่.
      ภูม ถาน (496:6.8)
               พื้น ที่, คือ พื้น ที่. อย่าง หนึ่ง เปน ความ เปรียบ คน มี วาศนา ยศ มาก, ว่า ผู้ นั้น มี ภูม ถาน.
      ภูม ธรรม (496:6.9)
               พื้น ธรรม, คือ ความ ที่ สำแดง ธรรม, เปน เนื้อ ความ ไม่ ทิ้ง บาฬี ธรรม นั้น, ว่า สำแดง ความ เปน ภูม ธรรม.
      ภูม บ้าน (496:6.10)
               พื้น บ้าน, คือ พื้น บ้าน, บันดา บ้าน ทั้ง สิ้น บ้าน น้อย แล บ้าน ใหญ่, เปน พื้น ภูม ดี นั้น.
      ภูม เมือง (496:6.11)
               พื้น เมือง, คือ ลำเนา ที่ เมือง, บันดา เมือง ใหญ่ น้อย ทั้ง สิ้น ที่ มี อยู่ นั้น. มี ลำเนา เมือง สิ้น.
      ภูม วัต (496:6.12)
               พื้น อาวาศ, คือ พื้น ลำ เนาว์ ที่ รอบ อาราม, พื้น อาราม ที่ เปน ปะริมณฑล มี เขื่อน คู ฤๅ กำแพง นั้น, ว่า ภูม วัต.
ภาย (496:7)
         คือ ไม้ เขา ทำ สำรับ พุ้ย น้ำ ให้ เรือ ไป, เขา เอา ไม้ สัก ฤๅ ไม้ ตเคียน เปน ต้น ทำ ข้าง จะ ถือ ให้ กลม, ภอ ถือ กำ รอบ ยาว สัก สอง ศอก, ข้าง จะ พุ้ย น้ำ นั้น แบน.
      ภาย ใน (496:7.1)
               คือ เบื้อง ใน เปน ต้น.
      ภาย นอก (496:7.2)
               คือ เบื้อง นอก ฤๅ ข้าง นอก นั้น, คำ ว่า ภาย นอก พระนคร เปน ต้น นั้น.
      ภาย ภาคย น่า (496:7.3)
               คือ เบื้อง ส่วน ข้าง น่า นั้น.
      ภาย เรือ (496:7.4)
               คือ เขา เอา ไม้ ภาย นั้น, พุ้ย น้ำ ที่ ริม เรือ ทำ ให้ ไป ทวน น้ำ บ้าง, แล่น ไป ตาม น้ำ บ้าง นั้น.
      ภาย หลัง (496:7.5)
               คือ เบื้อง หลัง ฤๅ ข้างหลัง นั้น. คำ ว่า ครั้น อยู่ มา ภาย หลัง ฤๅ ภาย หลัง เปน ต้น นั้น.
ภ่าย (496:8)
         คือ ปะราไชย, คือ สู้ รบ ไม่ ได้, เหมือน คน สอง ฝ่าย ยก พล ทหาร มา รบ กับ, ฝ่าย ข้าง หนึ่ง สู้ ไม่ ได้ แพ้ ไป แตก หนี ไป, ว่า ภ่าย ไป.
      ภ่าย แพ้ (496:8.1)
               คือ ความ ที่ สู้ รบ ไม่ ได้ แตก หนี ไป. อย่าง หนึ่ง พูดจา ถุ้ง เถียง ไม่ ได้ นิ่ง ไป นั้น, ว่า ภ่าย แพ้.
เภอ เรอ เภอ เจ่อ (496:9)
         คือ ของ ไม่ มี สิ่ง ใด ปก ปิด กำบัง นั้น, เหมือน ของ พึ่ง เอา ขึ้น จาก กำปั่น ทิ้ง อยู่ ยัง ไม่ ได้ ปกปิด นั้น.
เภ่อ (496:10)
         รอ ก่อน, นี่ เปน คำ เขา พูด ห้าม กัน, ว่า อย่า เภ่อ ไป เปน ต้น, ให้ คน นั้น อยุด อยู่ ฤๅ นิ่ง อยู่ นั้น.
เภ้อ (496:11)
         (dummy head added to facilitate searching).
      เภ้อ ไป (496:11.1)
               คือ สติ สิ้น ไป ไม่ ใคร่ มี ให้ เผลอ ละเมอ พูด ต่าง ๆ ไม่ ได้ เรื่อง ถ้อย ความ เปน ประโยชน์ เลย.
      เภ้อ พก (496:11.2)
               ละเมอ, ละล่ำ ละลัก, คือ ความ เผลอ ละเมอ สิ้น สติ เช่น ว่า นั้น, แต่ พก นั้น เปน สร้อย คำ คล่อง ปาก นั้น.
เภาะ (496:12)
         ปลูก, คือ เอา พืชน มี เข้า ปลูก เปน ต้น, ลง หว่าน โปรย ไว้ ที่ ดิน แต่ น้อย, เพื่อ จะ ให้ งอก เปน ต้น* แล้ว จึ่ง กลั่น เอา ไป ปลูก ที่ อื่น นั้น.
ภอ (496:13)
         ชอบ, คือ ของ มี เข้า เปน ต้น, คน หูง กิน อิ่ม นั้น ว่า ภอ. อย่าง หนึ่ง พูดจา ว่า กล่าว เต็ม ประโยชน์ นั้น.
      ภอ การ (496:13.1)
               คือ การ ภอ แล้ว นั้น, คำ พูด กัน ว่า เรา ได้ ลาภ ภอ การ เปน ต้น นั้น.

--- Page 497 ---
      ภอ กิน (497:13.2)
               คือ กิน ภอ นั้น, คำ ว่า เขา เลี้ยง ดู ภอ กิน ดอก เปน ต้น นั้น.
      ภอ ควร (497:13.3)
               คือ สมควร นั้น, คน ดี พูด จา ภอ ควร ไม่ มาก ไม่ น้อย เปน ต้น นั้น.
      ภอ ใจ (497:13.4)
               คือ ความ ชอบใจ สมัค รักใคร่, คน เหน สิ่ง ของ ที่ เปน ที่ รัก ที่ ชอบใจ, ว่า ภอ ใจ.
      ภอ ใช้ (497:13.5)
               คือ ความ ที่ ภอ ใช้ ได้ นั้น, ของ เขา ทำ ภอ ใช้ เปน ต้น นั้น.
      ภอ ดี (497:13.6)
               คือ ของ มี เสื้อ แล กังเกง เปน ต้น, คน เย็บ แล้ว ใส่ เข้า ที่ ตัว ไม่ หลวม ไม่ คับ ภอ ใส่ ได้ นั้น.
      ภอ ดู (497:13.7)
               เหมือน ของ ที่ ดี ไม่ ชั่ว ไม่ เลว, เขา ว่า ของ นั้น ดู ได้. อย่าง หนึ่ง คน รำ ละคอน ดี, ก็ ว่า รำ ภอ ดู ได้ ไม่ ชั่ว.
      ภอ ตัว (497:13.8)
               คือ คน มี วิชา ความ รู้ ต่าง ๆ, เปน ต้น ว่า เขียน หนังสือ ดี สวด ดี, ก็ ว่า วิชา ภอ ตัว เขา นั้น.
      ภอ เพียง (497:13.9)
               คือ ภอ เพียง นี้ นั้น, คำ ว่า เลี้ยง ดู ภอ เพียง กัน แล้ว ฤๅ เปน ต้น นั้น.
      ภอ แรง (497:13.10)
               คือ เต็มแรง นั้น, คน แบก ของ ภอ แรง ฤๅ กิน ภอ แรง เปน ต้น นั้น.
      ภอ ว่า ภอ กล่าว (497:13.11)
               คือ ภอ สั่ง ภอ สอน นั้น, เช่น ลูกสิษ ว่า ง่าย ภอ ว่า ภอ กล่าว เปน ต้น นั้น.
      ภอ อด ภอ ทน (497:13.12)
               คือ การ ที่ เปน ที่ ลำบาก แต่ ไม่ เหลือ กำลัง, ภอ กลั้น ภอ ธาร ได้, ว่า ภอ อด ภอ ทน.
ภรร* (497:1)
         พืชน, คือ พืชน, เหมือน พืชน มี เข้า ปลูก เปน ต้น, เขา เอา ที่ เมล็ด แก่ ไว้ จะ ปลูก นั้น.
ภรรยา (497:2)
         เมีย, เพื่อน ศาลา, คือ หญิง ที่ ชาย ฃอ มา เลี้ยง เปน เมีย, เรียก หญิง นั้น ว่า เปน ภรรยา, เพราะ ชาย ต้อง เลี้ยง.
      ภรรยา เก่า (497:2.1)
               เมีย เก่า, คือ หญิง เปน เมีย อยู่ ก่อน, เรียก หญิง นั้น ว่า เปน ภรรยา เก่า นั้น.
      ภรรยา ทาษ (497:2.2)
               เมีย ทาษ, คือ หญิง มี ค่า ตัว, แล ชาย ช่วย ไถ่ หญิง นั้น มา เลี้ยง เปน เมีย, เรียก ภรรยา ทาษ.
      ภรรยา น้อย (497:2.3)
               เมีย น้อย, คือ ชาย ที่ มี เมีย คน หนึ่ง แล้ว, ได้ หญิง มา เลี้ยง เปน เมีย อีก คน หนึ่ง นั้น.
(497:3)
         
มา (497:4)
         คือ คน อยู่ ที่ อื่น แล ออก จาก ที่ นั่น, เดิน ฤๅ ลง เรือ ภาย จน ถึง บ้าน อื่น ฤๅ ที่ อื่น ว่า มา.
      มา ก็ (497:4.1)
               คำ พูด เล่า เรื่อง อัน ใด ๆ, ว่า มา ก็ เปน อย่าง นั้น.
      มา ถึง (497:4.2)
               คือ ออก จาก อื่น จน กระทั่ง ที่ อื่น.
มาตุคาม (497:5)
         ฯ แปล ว่า หญิง แม่ บ้าน นั้น, แม่ เจ้า เรือน เปน ต้น นั้น.
      มาตุโครธร (497:5.1)
               ฯ แปล ว่า อุธร ของ แม่ นั้น, ครรภ แห่ง มารดา เปน ต้น นั้น.
      มาตุฆาฏ (497:5.2)
               ฯ แปล ว่า ฆ่า แม่ เสีย นั้น, คน ฆ่า มารดา เปน ต้น.
      มาตุฉา (497:5.3)
               ฯ แปล ว่า เปน น้า นั้น, คน เปน น้อง ของ มารดา นั้น.
      มาตุภาตา (497:5.4)
               ฯ แปล ว่า พี่ชาย ของ แม่ นั้น.
      มาตุโล (497:5.5)
               ฯ แปล ว่า ลุง นั้น, คือ พี่ชาย ของ มารดา เปน ต้น นั้น.
      มาตุรงค (497:5.6)
               ฯ แปล ว่า องค แห่ง มารดา นั้น, คือ ตัว ของ แม่ เปน ต้น นั้น.
      มาตุเรศร (497:5.7)
               ฯ แปล ว่า แม่ เปน ใหญ่ นั้น, เช่น มารดา ผู้ เปน ใหญ่ เปน ต้น นั้น.
      มาตุลี (497:5.8)
               เปน ชื่อ เทวดา องค หนึ่ง, เปน บริวาร ของ พระอินทร นั้น.
มา แต่ ไหน (497:6)
         เปน คำ ถาม ว่า ท่าน มา แต่ ไหน.
มา นี่ (497:7)
         คือ ว่า ออก* จาก ที่ นั่น จน ถึง ที่ นี่. ภาษา อังกฤษ ว่า คำเฮีย นั้น.
มานะ (497:8)
         (dummy head added to facilitate searching).
      มานะ กระษัตริย์ (497:8.1)
               คือ ความ ถือ ตัว ว่า ตน เปน กระษัตริย์.
      มานะ จิตร (497:8.2)
               คือ ใจ, ถือ ตัว ใจ กระด้าง ดื้อดึง นั้น, คำ ว่า เขา ก็ เขา เรา ก็ เรา เปน ต้น นั้น.
มานพ (497:9)
         คือ ชาย หนุ่ม ๆ นั้น, เรื่อง ความ มาคมานพ เปน ต้น นั้น.
มา ปะ (497:10)
         คือ มา ภบ กัน นั้น, เช่น คน เดิน มา ปะ กัน ตาม ทาง เปน ต้น นั้น.
มารา (497:11)
         คือ พวก มาร ทั้ง ปวง นั้น, เช่น กิเลศ มาร เปน ต้น นั้น.
      มาราธิราช (497:11.1)
               คือ พระยามาร เปน ใหญ่ ยิ่ง นั้น เทวบุตร มาร ชื่อ ว่า มาราธิราช เปน ต้น นั้น.

--- Page 498 ---
มาระ (498:1)
         คือ มาร อัน ยัง สัตว ให้ ตาย นั้น, พวก กิเลศ มาร เปน ต้น นั้น.
      มาระเสนา (498:1.1)
               คือ มาร เปน เสนาบดี* นั้น, เสนา ใหญ่ ของ มาร คือ ความ ชรา พะยาธิมรณะ เปน ต้น.
      มาระยาต (498:1.2)
               คือ กาย สะมาจาร, ว่า ประพฤติ ดี แห่ง กาย นั้น, คน ดี มี อาชา เปน ต้น นั้น.
      มาระศรี (498:1.3)
               คือ หญิง สาว งาม นั้น, คำ ว่า มาระศรี ผู้ ยอด เสน่หา เปน ต้น.
มาลา (498:2)
         ดอกไม้ พวง, คือ พวง ดอกไม้ มาก ที่ ร้อย นั้น, พวง อุบะ แล พวง มาลา พวง ลาไลย เปน ต้น นั้น.
มาไลย (498:3)
         พวง ดอกไม้, คือ พวง ดอกไม้ ทั้ง ปวง ที่ ร้อย กรอง นั้น, พวงมาไลย ใส่ ฅอ เปน ต้น นั้น.
มาสะ (498:4)
         ฯ แปล ว่า เดือน นั้น, คำ ว่า เดือน สี่ เดือน ห้า เปน ต้น.
มา หา (498:5)
         คือ มา ถึง สำนักนิ์ ผู้ นั้น ด้วย ประสงค์ สิ่ง ใด สิ่ง หนึ่ง นั้น, มา หา เพื่อน บ้าน เปน ต้น นั้น.
มา เหน (498:6)
         มา ทัน, คือ คน อยู่ ที่ อื่น แล ออก จาก ที่ นั่น, คน เดีน* มา ปะ กัน ตาม ทาง เปน ต้น นั้น.
มา เอา (498:7)
         คือ คน ออก จาก ที่ ที่ ตน อยู่, เดีน ฤๅ ลง เรือ ภาย จน ถึง ที่ อื่น ได้ เหน กัน ว่า มา เหน.
มา เอง (498:8)
         คือ คน จะ ต้อง การ ของ อัน ใด แล ไม่ ใช้ ให้ ผู้ อื่น มา ตัว เดิน มา ฤๅ ลง เรือ มา นั้น, ว่า มา เอง
ม่า (498:9)
         เปน ชื่อ พะม่า, พวก พะม่า นี้ อยู่ เมือง อังวะ เปน ต้น.
ม้า (498:10)
         ภาชี, เปน ชื่อ สัตว สี่ท้าว, รูป คล้าย กับ โค แต่ ไม่ มี เขา ขน หาง มัน พัว ไม่ เปน ช่อ เหมือน หาง โค.
      ม้า แก้ว (498:10.1)
               คือ เปน ชื่อ มัน มิ ใช่ ตัว มัน จะ เปน แก้ว หา มิ ได้, ม้า แก้ว คือ ม้า สำรับ พระยา จักรพรรติ.
      ม้า ขาว (498:10.2)
               คือ ม้า เช่น ว่า นั้น, แต่ พื้น ตัว มัน มี ขน ขาว ทั่ว ทั้ง ตัว, เขา จึ่ง เรียก มัน ว่า ม้า ขาว.
      ม้า คอย เพลิง (498:10.3)
               คือ ม้า ที่ คน สำรับ ขี่, คอย ระวัง เมื่อ เพลิง บังเกิด ที่ ไหน ควบ ไป สืบ ได้ ความ แน่ แล้ว, กลับ มา บอก เจ้าพนักงาน กราบ ทูล.
      ม้า ใช้ (498:10.4)
               คือ ม้า สำรับ ใช้ ให้ คอย ระวัง สืบ ข่าว, มี ไฟ ไหม้ เปน ต้น, มิ ใช่ ม้า พระที่นั่ง นั้น.
      ม้า แซง (498:10.5)
               คือ ม้า เขา ให้ คอย เมื่อ ตี ทัพ รบศึก, ให้ แซก เข้า ช่วย เมื่อ* กำลัง รบ พุ่ง กัน ติด พันธ์ อยู่.
      ม้า ดำ (498:10.6)
               คือ ม้า ศรี พื้น ตัว มัน มี ขน ดำ ทั่ว ทั้ง ตัว, จึ่ง เรียก ว่า ม้า ดำ, ๆ เหมือน ศรี เขม่า นั้น.
      ม้า แดง (498:10.7)
               คือ ม้า เช่น ว่า, ศรี พื้น ตัว มัน มี ขน แดง ทั่ว ทั้ง ตัว, เขา จึ่ง เรียก ว่า ม้า แดง.
      ม้า ตั้ง ของ (498:10.8)
               คือ ไม้ กระดาน, เขา ทำ ขา สี่ ขา สำรับ รับ รอง เข้า ของ นั้น, เช่น ม้า รอง นั่ง เปน ต้น นั้น.
      ม้า ต้น (498:10.9)
               คือ ม้า เช่น ว่า, เปน ม้า พระที่นั่ง สำรับ ขุนหลวง ขี่ เรียก ม้า ต้น, คือ เขา ฝึก สอน ไว้ ดี เปน ที่ หนึ่ง.
      ม้า เทษ (498:10.10)
               คือ ม้า เขา เอา มา แต่ เมือง ต่าง ประเทศ, มี เมือง วิลาศ เปน ต้น, รูป โต กว่า ม้า ใน เมือง ไท.
      ม้า เทียม รถ (498:10.11)
               คือ ม้า คู่ หนึ่ง เขา เอา มา ผูก ใน รถ เล่ม เดียว กัน, เรียก ม้า เทียม รถ.
      ม้า น้ำ (498:10.12)
               คือ ม้า เกิด อยู่ ใน น้ำ, ตัว เปน ม้า มี ท้าว น่า สอง ท้าว ท่อน ท้าย เปน หาง เหมือน หาง ปลา.
      ม้า ทรง (498:10.13)
               คือ ม้า พระที่นั่ง สำรับ ขุนหลวง ขี่, จึ่ง เรียก ม้าทรง เขา ฝึก สอน ไว้ เชื่อง ชำนาญ ดี.
      ม้า ห้อ (498:10.14)
               คือ ม้า มี คน ขี่ บน หลัง ตี ลง ด้วย แซ่ ควบ ใหญ่ ปล่อย ให้ มัน วิ่ง เร็ว ที่ สุด นั้น.
      ม้า ฬ่อ (498:10.15)
               คือ เครื่อง ประโคม ของ จีน, รูป เหมือน ถาด ทำ ด้วย ทอง เหลือง, จีน ตี เอา ฤกษ.
หมา (498:11)
         คือ ชื่อ สัตว สี่ท้าว, คน เลี้ยง ใว้ ใน บ้าน มี โดย มาก, มัน กิน เข้า กิน เนื้อ ปลา เห่าหอน กัด คน ก็ ได้.
      หมา กะหร่อง (498:11.1)
               คือ หมา ผอม อด โซ นัก, ไม่ ใคร่ ได้ กิน อาหาร เรียก หมา กะหร่อง.
      หมา ขาว (498:11.2)
               คือ หมา มี ขน ที่ ตัว มัน ศรีขาว เหมือน ผ้า ขาว นั้น.
      หมา เขียว (498:11.3)
               คือ หมา มัน ฃน ตัว ศรี เขียว คล้ำ เหมือน ผ้า ที่ ไม่ สู้ เขียว ดี เรียก หมา เขียว.
      หมา จู (498:11.4)
               คือ หมา เขา เอา มา แต่ เมือง จีน, มัน มี ขน ยาว ปิด น่า ปิด ตา บ้าง ตัว มัน เล็ก ๆ.
      หมา จิ้งจอก (498:11.5)
               คือ หมา อยู่ ใน ป่า ใหญ่, มัน อยู่ เปน หมู่ เปน ฝูง เที่ยว กัด เนื้อ กิน.
      หมา ติด เก้ง (498:11.6)
               คือ หมา มัน ถึง สัด ติด กัน.

--- Page 499 ---
      หมา ไน (499:11.7)
               คือ หมา มัน อยู่ ใน ป่า, ตัว มัน เท่า หมา จู, แต่ ขน มัน เกรียน สั้น ศรี แดง* มัน อยู่ เปน ฝูง.
      หมา เนื้อ (499:11.8)
               คือ หมา มัน วิ่ง เร็ว ไล่ ทัน เนื้อ กัด เอา ได้ นั้น.
      หมา บ้า (499:11.9)
               คือ หมา ไม่ มี สติ เหมือน หมา ดี*, มัน เดิน* หาง ตก ลง น้ำลาย ยืด ย้อย อยู่ ที่ ปาก, มัน ปะ คน ก็ กัด ปะ หมา ดี* กัด, มัน กัด แผล หาย แล้ว ไป สาม เดือน ทำ พิศม์ ขึ้น อีก ก็ ตาย,
      หมา ล่า (499:11.10)
               เปน ชื่อ สัตว ตัว เล็ก ๆ, มัน มี ปีก มัน ขน ดิน มา ทำ รัง ที่ ฝา เรือน คน.
      หมา หลึ่ง (499:11.11)
               คือ หมา มัน อยู่ ใน ป่า, ตัว มัน เล็ก นั้น.
      หมา เห่า (499:11.12)
               คือ หมา มัน ทำ เสียง ดัง* หุก ๆ นั้น.
      หมา หอน (499:11.13)
               คือ หมา มัน ทำ เสียง ดัง* โฮ ๆ เรื่อย ไป ยาว นั้น.
หม่า (499:1)
         คือ หมัก ของ ไว้, เขา เอา เชื้อ ประสม เข้า แล้ว งด ไว้ คืน หนึ่ง เปน ต้น, ว่า เขา หม่า ไว้.
      หม่า แป้ง (499:1.1)
               คือ เขา เอา แป้ง ประสม กับ เชื้อ แล้ว งด หมัก ไว้, แล้ว จึ่ง เอา ออก ทำ ขนม, ว่า หม่า ไว้.
      หม่า ปูน (499:1.2)
               คือ ปูน ที่ คน เอา น้ำ เชื้อ ใส่ ลง แล้ว หมัก ไว้ ค้าง ปี ก็ มี บ้าง, เพื่อ จะ ให้ ระคน เข้า กัน ดี ทำ ไว้ ไต้ ทน อยู่ นาน นั้น.
      หม่า ไว้ (499:1.3)
               คือ หมัก ไว้ นั้น, เขา หม่า ปูน ไว้ เปน ต้น.
มิ (499:2)
         คน ชื่อ มิ ก็ มี บ้าง. อย่าง หนึ่ง คน นิ่ง ไม่ ใคร่ พูด จา อัน ใด, เขา ว่า คน นั้น นิ่ง มิ อยู่.
      มิ ช้า มิ นาน (499:2.1)
               คือ ไม่ ช้า ไม่ นาน นั้น, คำ ว่า ครั้น อยู่ มา น่อย หนึ่ง เปน ต้น นั้น.
      มิ ใช่ (499:2.2)
               ไม่ ใช่, คือ ไม่ ใช่, เช่น คน เหน ของ อัน ใด ไม่ แน่ เหน ผิด ไป, ว่า ของ อัน นั้น มิ ไช่.
      มิ ได้ (499:2.3)
               คือ ไม่ ได้, เช่น คน ไป รับ ทาน เปน ต้น, เปล่า ไป ของ หา ถึง ตัว ไม่.
      มิ (499:2.4)
                เปน ดั่ง นั้น, คือ ไม่ เปน เช่น นั้น, คำ ว่า ไม่ เปน อย่าง นั้น ดอก เปน ต้น.
      มิ ให้ (499:2.5)
               คือ ไม่ ให้, เช่น คน มา ฃอ ของ มี ยา เปน ต้น, หมอ ไม่ ให้ ว่า หมอ มิ ให้.
      มิ เหน (499:2.6)
               มิ ได้ เหน, คือ ไม่ เหน, คน แล ไป แต่ ที่ ไกล เหลือ วิไสย จักษุ ไม่ อาจ เหน ได้ ว่า มิ เหน.
มี (499:3)
         เกิด, คือ ไม่ เปล่า, คน แล ไป เหน ของ ปรากฎ อยู่ กับ* จักษุ ว่า ของ มี อยู่.
      มี กำไร (499:3.1)
               เกิด ยิ่ง, คือ เงิน ที่ คน ซื้อ ของ ขาย ได้ เงิน เกิน ทุน มาก, เงิน เสศ นั้น ว่า กำไร.
      มี กำลัง (499:3.2)
               เกิด กำลัง, คือ การ ที่ คน หิว อด อาหาร อยู่, ครั้น ได้ กิน อาหาร อิ่ม บริบูรณ มี แรง ขึ้น นั้น.
      มี กำหนฏ (499:3.3)
               คือ การ ที่ คน สัญญา กัน ว่า ต่อ เวลา นั้น ฤๅ วัน นั้น เดือน* นั้น, จึ่ง จะ ไป เปน ต้น นั้น, ว่า มี กำหนฎ.
      มี การ (499:3.4)
               เกิด การ, มี งาน, คือ มี การ ต่าง ๆ, เปน ต้น ว่า เขียน หนังสือ ฤๅ เย็บ นั้น.
      มี ของ (499:3.5)
               เกิด ของ, คือ คน มี เรือน, ไน เรือน ไม่ เปล่า เอา สิ่งฃอง อัน ใด วาง ไว้ ใน ห้อง นั้น.
      มี ครรภ์ มี ท้อง (499:3.6)
               ทรง ครรถ์, คือ หญิง มี ท้อง ลูก ใน ครรภ นั้น, ว่า มี ครรภ์.
      มี คุณ (499:3.7)
               มี อุปการะ, คือ การ ที่ คน ได้ ทำ อุปการะ ไว้ แก่ กัน, เปน ต้น ว่า เลี้ยง รักษา อู้ม ชู, การ ที่ ทำ นั้น ว่า มี คุณ.
      มี เงิน (499:3.8)
               คือ คน ได้ เงิน, เขา ฝาก มา ให้ เอา เงิน เก็บ ไว้ ใน เรือน, เขา ว่า คน นั้น มี เงิน อยู่.
      มี ใจ (499:3.9)
               เหมือน คน ที่ มี ชีวิตร อยู่ หายใจ ได้, ว่า คน นั้น มี ใจ อยู่,
      มี ที่ (499:3.10)
               เกิด ที่, คือ มี พื้น แผ่นดิน เปน ที่ ปลูก เรือน แล ที่ ทำ สวน, แล ที่ ทำ นา ทำ ไร่ เปน ต้น.
      มี ท้อง. ตั้ง ครรภ์ (499:3.11)
               คือ หญิง มี ลูก เกิด ขึ้น ใน ท้อง นั้น, ไท ทั้ง ปวง เรียก ว่า หญิง นั้น มี ท้อง.
      มี หน้า มี ตา (499:3.12)
               คือ การ ที่ คน มี ทรัพย ฤๅ มี วิชา หมอ เปน ต้น. เขา ว่า คน นั้น เปน คน มี หน้า มี ตา.
      มี น้ำ ใจ (499:3.13)
               คือ ใจ คน ที่ ได้ ลาภ ฤๅ คำ ยกยอ เปน ต้น, เหมือน* ลูกจ้าง ทำการ ได้ เงิน นอก จาก ค่าจ้าง เปน รางวัล ยินดี นั้น
      มี บาญชีย (499:3.14)
               คือ จดหมาย ราย สิ่ง ของ ฤๅ ราย ชื่อ คน, ตำบล บ้าน ไว้ นั้น.
      มี ผล (499:3.15)
               เกิด ผล, คือ ลูกไม้ ออก มา ที่ ต้น, ฤๅ คน ทำ สวน ทำ นา มี ผลไม้ ออก มา ฤๅ เข้า ออก รวง มา ว่า มี ผล.
      มี ประโยชน์ (499:3.16)
               เกิด ประโยชน์, คือ คน คบ หา นับ ถือ ได้ ทำ

--- Page 500 ---
      มี อุปการะ แก่ กัน (500:3.17)
               ฤๅ แจก หนังสือ คำ สั่งสอน แล มี คน เชื่อ ถือ นั้น, ว่า มี ประโยชน์.
      มี ริทธิ์ (500:3.18)
               คือ คน ฤๅ เทวดา ที่ อาจ สามารถ เหาะ ไป ได้ ใน อากาศ ฤๅ เดิน ไป บน น้ำ ได้ เปน ต้น.
      มี ลาภ (500:3.19)
               คือ ได้ ทรัพย อัน ใด อัน หนึ่ง ที่ ไม่ ต้อง ลง ทุน นั้น, เปน ต้น ว่า ของ ท่าน ให้.
      มี ศุข (500:3.20)
               คือ ได้ ความ สบาย, โดย การ กิน อยู่ แล หลับนอน ไม่ รำคาญ เคือง ใจ เลย นั้น.
      มี* เหตุ (500:3.21)
               คือ เกิด ความ แล ธุระ สิ่ง ใด ขึ้น, การ ที่ ไม่ ควร จะ เปน ก็ เกิด ขึ้น นั้น.
      มี อำนาท (500:3.22)
               คือ อานุภาพ ของ คน ผู้ เปน อิศราธิบดี, จะ ว่า กล่าว บังคับ บัญชา ได้ เหมือน ใจ นั้น, ว่า ผู้ นั้น มี อำนาท.
หมี (500:1)
         เปน ชื่อ สัตว สี่ ท้าว, ตัว เท่า ลูก โค ฃน มัน ดำนิล ทั้ง ตัว, มัน กิน ผึ้ง อยู่ ป่า ใหญ่ ไม้ สูง.
มือ (500:2)
         คือ อะไวยวะ ที่ ปลาย แขน, ๆ มี นิ้ว มือ ห้า นิ้ว ติด อยู่ ด้วย.
      มือขวา (500:2.1)
               คือ มือ ที่ ทำ อัน ใด สนัด ไม่ พลัด ไม่ ไพล่ นั้น, เหมือน มือ ข้าง ขวา เปน ต้น นั้น.
      มือซ้าย (500:2.2)
               คือ มือ ที่ ทำ อัน ใด ไม่ สนัด นั้น, เช่น มือ ข้าง ซ้าย ฝ่าย ทิศอุดร เปน ต้น นั้น.
      มือ ด้วน (500:2.3)
               คือ มือ ขาด ไป เหลือ แต่ แขน นั้น, เช่น พวก นักโทษ ที่ ต้อง ตัด มือ เปน ต้น นั้น.
      มือ ลิง (500:2.4)
               คือ ไม้ กง ที่ เขา ติด กราบ เรือ เข้า กับ ลำ มาด เรือ นั้น. อนึ่ง เปน มือ ของ พานร เปน ต้น นั้น.
มื้อ (500:3)
         (dummy head added to facilitate searching).
      มื้อ เดียว (500:3.1)
               คือ ครั้ง คราว เดียว นั้น, เช่น คน กินเข้า มื้อ เดียว เปน ต้น นั้น.
      มื้อ หนึ่ง (500:3.2)
               คือ กิน เวลา เดียว หน เดียว นั้น, เช่น คน กิน ฃอง มื้อ หนึ่ง เปน ต้น.
มุ (500:4)
         คือ ใจ คน โทโส มาก, เช่น คน เปน นักเลง เล่น เบี้ย, ถ้า ยิ่ง เสีย ยิ่ง แทง ลง มาก นั้น.
      มุ ขึ้น มา (500:4.1)
               คือ ใจ ดุ ขึ้น มา นั้น, เช่น คน ใจ มุทะลุ กลาง ปล้อง เปน ต้น นั้น.
มุขัง (500:5)
         ฯ แปล ว่า หน้า, สับท์ นี้ เฉภาะ แปล ว่า หน้า, มี หน้า คน เปน ต้น นั้น.
มุทะลุ (500:6)
         คือ ใจ โกรธ หุน ขึ้น มา นั้น, เช่น คน ใจ ฉุน เฉียว ภุ ข้าง เปน ต้น นั้น.
มุทุตา (500:7)
         ฯ แปล ว่า อ่อน, คน มี ใจ อ่อน ใจ ไม่ กระด้าง กล้าแขง ไม่ อยาบ มี ความ เมตตา มาก นั้น.
มุนี (500:8)
         ฯ แปล ว่า คน เปน นักปราช ประพฤติ์ ดี นิ่ง อด กลั้น นั้น.
มุมะ (500:9)
         คือ เกิด โทโส ขึ้น มา นั้น, เช่น คน โกรธ ง่าย มุมะ ไม่ คิด ใคร เปน ต้น.
มุลิกา (500:10)
         คือ อยู่ ใกล้ แทบ ท้าว นั้น, เช่น ข้า ทูล ลออง ทุลี พระบาท เปน ต้น.
มุสาวาท (500:11)
         ฯ แปล ว่า กล่าว คำ ปด, คน ลุ อำนาท แก่ โทโส, มัก กล่าว คำ ปด นั้น.
มุสิกะ (500:12)
         ฯ แปล ว่า หนู, เหมือน ปีชวด เปน ต้น ปี สิบ สอง ชื่อ นั้น, ชื่อ ว่า มุสิกะ.
      มุสิกะทันต์ (500:12.1)
               ฯ แปล ว่า ไม้ ฟัน หนู นั้น, เช่น พิมพ์ มี ไม้ ฟันหนู สอง อัน เปน ต้น.
มูระธาภิเศก (500:13)
         ฯ แปล ว่า น้ำ สำรับ สรง มหา กระษัตริย์ เมื่อ วัน ขึ้น เสวยราชสมบัติ นั้น.
มูละ (500:14)
         ฯ แปล ว่า ราก ว่า เง่า, เปน ความ เปรียบ ว่า เปน ต้น เปน เดิม เปน ประธาร.
      มูละคะดี (500:14.1)
               คือ ราก เหตุ ที่ จะ ให้ ก่อ เกิด ข้อ ความ แก่ กัน แล กัน, บาง ที เกิด เพราะ โลภ เปน ต้น.
      มูละเหตุ (500:14.2)
               คือ ราก เดิม เมื่อ จะ ก่อ เหตุ ร้าย แล ดี, ฤๅ มี ความ วิวาท จน ถึง รบ ศึก สงคราม กัน.
มู่ลี่ (500:15)
         คือ ฃอง จีน ทำ ด้วย ซี่ ไม้ ไผ่ เล็ก ๆ, ถัก เปน แผ่น เหมือน ผืน เสื่อ สำรับ บัง ที่ หน้า ต่าง นั้น.
หมู (500:16)
         เปน ชื่อ สัตว สี่ ท้าว จำพวก หนึ่ง, ตัว มัน โต กว่า สุนักข, ใน ตัว มัน มี มัน มาก กว่า สัตว อื่น.
      หมู แนม (500:16.1)
               คือ เนื้อ หมู เขา ทำ เปน ของ กิน, เอา เครื่อง อื่น ใส่ เข้า ด้วย หลาย สิ่ง, จึ่ง เรียก หมูแนม.
หมู่ (500:17)
         คือ พวก ฤๅ เหล่า เปน ต้น นั้น.
      หมู่ ทหาร (500:17.1)
               คือ พวก ทหาร นั้น, เช่น พวก พล รบ ใน สงคราม นั้น.
      หมู่ หมวด (500:17.2)
               คือ ของ เปน พวก เปน กลุ่ม นั้น, เช่น พวก นาย กอง เปน ต้น นั้น.

--- Page 501 ---
      หมู่ สัตว (501:17.3)
               คือ ฝูง สัตว ทั้ง ปวง นั้น, เช่น พวก สัตว ดิรัจฉาน ทั้ง หลาย เปน ต้น นั้น.
เม (501:1)
         ฯ แปล ว่า ข้า, ว่า เรา. ว่า ข้าพเจ้า, ตั้ง เปน บทมาลา, ตั้ง อัมะหะ เอา อัมะห สับท์ กับ สะ วิพัติ เปน เม นั้น.
เมโท (501:2)
         ฯ แปล ว่า มันคน, คน ฤๅ สัตว ย่อม มี มันค่น อยู่ ใน กาย ทุก คน ทุก ตัว สัตว.
เมทะนิ (501:3)
         ฯ แปล ว่า แผ่นดิน, แผ่นดิน ที่ สัตว ทั้ง หลาย อาไศรย อยู่ เปน ต้น นั้น.
เมถุน (501:4)
         ฯ แปล ว่า คู่, เมถุนะ ธรรม, จึ่ง แปล ว่า เปน ธรรม แห่ง บุคคล อัน เปน คู่, คือ เล็ง เอา การ สังวาศ แห่ง ชาย กับ หญิง นั้น.
      เมถุน ธรรม* (501:4.1)
               ฯ แปล ว่า เปน ธรรม แห่ง คน อัน เปน คู่.
      เมถุน ราศรี (501:4.2)
               ว่า จักราศรี มี อยู่ ใน อากาศ มี สิบ สอง ราศรี, เม ถุน ราศรี เปน ที่ สาม.
เมธา (501:5)
         ฯ แปล ว่า ธรรมโมชะปัญญา, คือ ปัญญา บุคคล ที่ รู้ ใน ธรรม เหมือน ปัญญา นักปราช.
เมรุ (501:6)
         คือ ชื่อ ภูเขา ใหญ่, ว่า เปน หลัก โลกย, มี อยู่ ยอด เขา ตรีกูฎ ท่ำกลาง แผ่นดิน นั้น.
      เมรุมาศ (501:6.1)
               ว่า เมรุ ทอง นั้น, เมรุ ทอง ชั้น ใน ที่ สำรับ ไว้ พระสพ เปน ต้น นั้น.
      เมรุราช (501:6.2)
               ว่า พระยา เขา สุเมรุ นั้น, เขา พระสุเมรุ ที่ เขา ถือ ว่า เปน หลัก โลกย นั้น.
เมไร (501:7)
         คือ น้ำ เมา, เขา ดอง ด้วย เครื่อง เปลือกไม้ เปน ต้น.
เม้ (501:8)
         เปน ชื่อ คน ชื่อ เม้ มี บ้าง, ความ อื่น จะ ใช้ ด้วย คำ ว่า เม้ นั้น ไม่ เหน ใช้ เลย,
เหม่ (501:9)
         อุแหม่, เปน คำ คน พูด ขู่ โดย เคือง ใจ, คน เหน ผู้ อื่น ทำ การ ชั่ว ร้อง ขู่ ว่า เหม่ ๆ นั้น.
แม (501:10)
         เปน คำ คน เรียก ปี, ๆ หนึ่ง ว่า ปี มะแม, ๆ นี้ นับ เข้า ใน ปี สิบสอง นักสัตว, ปี ชื่อ แพะ นั้น.
แม่ (501:11)
         คือ มารดา นั้น.
      แม่ ไก่ (501:11.1)
               คือ ไก่ ตัว เมีย ที่ มัน มี ลูก แล้ว, จึ่ง เรียก แม่ ไก่, ถึง ไก่ ตัว เมีย ถ้า มัน ยัง ไม่ มี ลูก ก็ ไม่ เรียก แม่ ไก่.
      แม่ กะได (501:11.2)
               คือ ไม้ ยาว ที่ เขา เอา ลูกกะได ใส่ เข้า ทำ เปน คั่น ๆ นั้น.
      แม่ แคร่ (501:11.3)
               คือ ไม้ ที่ เขา เจาะ เข้า แล้ว ใส่ กัน เข้า, เปน สี่เหลี่ยม สี่ด้าน, เพื่อ จะ ทำ แคร่ นั้น.
      แม่ กอง (501:11.4)
               นาย กอง, คือ คน ที่ เขา ตั้ง ให้ เปน นาย สำเรทธิ์ ราช การ บังคับ ว่า กล่าว ใน ราช การ มี ก่อ กำแพง เปน ต้น.
      แม่ กด (501:11.5)
               คือ ลัทธิ การ ใน หนังสือ ไทย ที่ สั่งสอน* เล่าเรียน กัน ตั้ง เปน แม่ ๆ คือ กด นั้น ให้ สะกด ด้วย อักษร ดอ.
      แม่ กน (501:11.6)
               นั้น ให้ สกด ด้วย อักษร นอ, คน ครู แต่ ก่อน สอน มา ดังนี้ เพื่อ จะ ได้ ใช้ เปน เนื้อ ความ.
      แม่ กบ (501:11.7)
               นั้น ให้ สกด ด้วย อักษร บอ, ท่าน แต่ ก่อน สอน มา ดัง นี้.
      แม่ กม (501:11.8)
               นั้น ให้ สกด ด้วย อักษร มอ, ท่าน สอน มา ดังนี้.
      แม่ เกย (501:11.9)
               นั้น ให้ สกด ด้วย อักษร ยอ, ท่าน ทำ ลัทธิ ต่าง ๆ ดังนี้, เพื่อ จะ ให้ ใช้ ใน เนื้อ ความ ต่าง ๆ.
      แม่ ขา (501:11.10)
               เปน คำ เขา เรียก โดย คำรพย์ แก่ หญิง ผู้ เปน มารดา ถึง หญิง อื่น ที่ มี อายุ คราว แม่ ก็ เรียก แม่ ได้.
      แม่ ขัน (501:11.11)
               เช่น ขัน ใหญ่ โต สี่ กำ ห้า กำ, เขา เรียก ว่า แม่* ขัน, เพราะ ขัน ใหญ่ นั้น.
      แม่ ค้า (501:11.12)
               หญิง ซื้อ ขาย, คือ หญิง เปน ผู้ ขาย ของ สินค้า ต่าง ๆ นั้น, เรียก แม่ ค้า, ถ้า เปน ผู้ ชาย เรียก พ่อ ค้า.
      แม่ เจ้า (501:11.13)
               คือ คำ เรียก หญิง ที่ เปน เจ้า, ลาง ที เขา พูด เปน คำ ติด ตก ใจ พูด ว่า แม่ เจ้า นั้น.
      แม่ ชี (501:11.14)
               นาง ชี, หลวงชี, คือ หญิง ที่* ถือ บวช นุ่ง ผ้า ขาว ห่ม ผ้า ขาวมี ผ้า อังสะ แล รัตะคด ทำ เพศ คล้าย สำมเณร นั้น.
      แม่ กะแชง (501:11.15)
               ปลา สลิด ใหญ่, คือ ปลา สลิด ที่ ตัว มัน โต กว่า เพื่อน นั้น, เรียก แม่ กะแชง.
      แม่ ซื้อ (501:11.16)
               เปน ชื่อ ปิสาจ พวก หนึ่ง, คน ทั้ง ปวง เขา ว่า มัน มี อยู่ สำหรับ รักษา ลูก อ่อน, ถ้า ทารก พึ่ง ออก จาก ท้อง ได้ เก้า วัน สิบ วัน เปน ต้น, ถ้า เจ็บ ป่วย ไม่ สบาย เขา ทำ เข้า สามปั้น ศรี ดำ แดง เหลือง, ทิ้ง ข้าม หลัง คา ที่ ทารก อยู่ เมื่อ เวลา จะ ค่ำ ว่า หาย โรค.
      แม่ ตีน (501:11.17)
               หัว แม่ ตีน, คือ นิ้ว ใหญ่ ที่ ท้าว, เรียก แม่ ตีน เพราะ นั่น มัน โต กว่า นิ้ว อื่น นั้น.

--- Page 502 ---
      แม่ เถา (502:11.18)
               ต้น เถา, คือ เรือ มาด เปน เรือ โกลน เขา ยัง ทำ ไม่ แล้ว, ตัด มา จาก ป่า ใหม่ ๆ, ที่ ลำ ใหญ่ เรียก แม่ เถา เพราะ มี ลำ เล็ก ๆ รอง ลง มา หลาย ลำ นั้น.
      แม่ ทัพ (502:11.19)
               คือ คน เปน นาย ใหญ่, คุม พล ทหาร ไป รบ ศึก สง คราม นั้น, เรียก คน นั้น ว่า แม่ ทัพ.
      แม่ ทูน หัว (502:11.20)
               เปน คำ พูด โดย รัก, คำรพย์ ดุจ เอา หญิง ไว้ บน หัว นั้น, คำ ว่า แม่ ทูน หัว ของ พี่ เปน ต้น.
      แม่ น้ำ (502:11.21)
               นัทธี, คือ ลำ น้ำ ที่ ใหญ่ กว้าง แต่ สิบ วา เปน ต้น, เขา เรียก แม่ น้ำ เพราะ กว้าง ใหญ่ นั้น.
      แม่ นม (502:11.22)
               คือ หญิง ที่ เขา หา มา ให้ ลูก อ่อน กิน นม, ลาง ที ทารก นั้น แม่ ตาย ฤๅ น้ำ นม ไม่ ออก นั้น.
      แม่ ประตู (502:11.23)
               คือ ไม้ ใหญ่ อยู่ สอง ข้าง ประตู นั้น, ไม้ เช็ด น่า ประตู นั้น.
      แม่ ป้า (502:11.24)
               คือ หญิง ที่ เปน ป้า, ได้ เอา ทารก นั้น ไป เลี้ยง แต่ เล็ก ๆ เลี้ยง ไว้ นาน จึ่ง เรียก แม่ ป้า.
      แม่ ผัว (502:11.25)
               คือ* แม่ ของ ชาย ที่ เปน ผัว หญิง นั้น, มารดา ของ สามี นั้น.
      แม่ ฝา (502:11.26)
               คือ ตัว ไม้ ที่ ใหญ่ ยาว, เขา ทำ ใส่ เข้า ที่ ฝา กะดาน เปน ต้น, เขา เรียก แม่ ฝา, เพราะ มัน ใหญ่ ยาว นั้น.
      แม่ โพสพ (502:11.27)
               เปน คำ เขา ร้อง เรียก เข้า เปลือก*, ที่ อยู่ ใน นา ว่า แม่ โพสพ นั้น.
      แม่ มด (502:11.28)
               ยาย มด, คน ทรง, คือ หญิง เปน คน สำหรับ ทำ ให้ ผี เข้า สิง ใน ตัว, แล้ว บอก เหตุ การ อัน ใด ๆ, ว่า ผี มา บอก.
      แม่ มือ (502:11.29)
               คือ นิ้ว มือ ที่ ใหญ่ กว่า ทุก นิ้ว ใน มือ อัน เดียว กัน, เขา เรียก แม่ มือ เพราะ มัน ใหญ่ นั้น.
      แม่ ม่าย (502:11.30)
               คือ หญิง ผัว ตาย ฤๅ ผัว อย่า, ไม่ มี ผัว นั้น, เขา เรียก ว่า แม่ ม่าย ทุก คน.
      แม่ ยาย (502:11.31)
               มารดา ภรรยา, คือ หญิง ที่ เปน แม่ ของ หญิง ที่ เปน เมีย ชาย ๆ นั้น ต้อง เรียก ว่า แม่ ยาย.
      แม่ รัก (502:11.32)
               หญิง สหาย, คือ หญิง ที่ เปน เมีย ของ ชาย ที่ เปน เกลอ, เรียก แม่ รัก, เกลอ คือ ผู้ อื่น ใช่ ญาติ, แล สะ บถ สาบาล ต่อ กัน, ว่า จะ ซื่อ ตรง ต่อ กัน, ไม่ ประทุษฐร้าย แก่ กัน เลย.
      แม่ เลี้ยง (502:11.33)
               คือ หญิง มา เปน เมีย พ่อ, เรียก หญิง นั้น ว่า เปน แม่ เลี้ยง. อย่าง หนึ่ง เขา ฝาก ตัว เปน แม่ เลี้ยง ลูก เลี้ยง แก่ กัน นั้น.
      แม่ ลา (502:11.34)
               คือ แม่ ลา. อย่าง หนึ่ง ประเทศ ชื่อ แม่ ลา, อยู่ หน ทาง พระ บาท นั้น.
      แม่ เหล็ก (502:11.35)
               คือ เหล็ก เปน เหมือน เหล็ก ที่ เขา เปน สำหรับ ดุ ทิศ นั้น, เรียก แม่ เหล็ก.
      แม่ แรง (502:11.36)
               คือ แม่ มี กำลัง นั้น, เช่น แม่ แรง เหล็ก ที่ เขา ดีด ของ หนัก ๆ นั้น.
      แม่ แร่ (502:11.37)
               คือ ก้อน แร่ ที่ ใหญ่ ๆ, มี แร่ ดีบุก เปน ต้น, แร่ นั้น จม อยู่ ใต้ ดิน เปน ก้อน แขง.
      แม่ สื่อ (502:11.38)
               คือ หญิง ที่ เอา ความ ไป บอก แก่ หญิง ชาย ให้ รัก กัน นั้น, เช่น แม่ สื่อ พูด ผู้ หญิง เปน ต้น.
      แม่ สดึง ไม้ (502:11.39)
               คือ ไม้ เขา ทำ เปน สี่*เหลี่ยม, เหมือน แม่ แคร่ แต่ ตัว ไม่ ใหญ่ เหมือน แม่ แคร่, ตัว ไม้ เล็ก ๆ ภอ รึง กรึง ผ้า ไว้ ได้ แล้ว ปัก ร้อย นั้น.
แม้ ว่า (502:1)
         เปน คำ ใช้ ว่า เหมือน, ผิ* ว่า นั้น, คำ ว่า แม้ ว่า จะ ไป ด้วย ก็ ตาม ใจ เถิด.
ไมตรี (502:2)
         คือ ความ เมตา กัน แล กัน นั้น
ไม่ (502:3)
         คือ เปน คำ ปัติเสธ ว่า ไม่ มี, ไม่ ได้ ไม่ ไป เปน ต้น นั้น.
      ไม่ ได้ (502:3.1)
               คือ การ ไม่ สำเรทธิ์ ดัง ประสงค์ นั้น, เช่น คน มา ไม่ ได้ นั้น.
      ไม่ มา (502:3.2)
               คือ หา มา ไม่ นั้น, เช่น คน ที่ นัด กัน ไว้ แล้ว ไม่ มา ตาม นัด นั้น.
      ไม่ รู้ (502:3.3)
               คือ หา รู้ ไม่ นั้น, คน โง่ ไม่ รู้ จัก เหนือ ใต้ เปน ต้น นั้น
      ไม่ ว่า (502:3.4)
               คือ หา ว่า ไม่ นั้น, คน ไม่ ว่า ไม่ กล่าว นั้น.
      ไม่ เอา (502:3.5)
               คือ หา เอา ไม่ นั้น, คน ที่ ไม่ เอา ธุระ ปะปัง ของ ผู้ ใด เปน ต้น นั้น.
ไม้ (502:4)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ไม้ กง (502:4.1)
               คือ ไม้ ที่ หญิง ทำ เหมือน คัน ธะนู, สำหรับ ดีด ตี ให้ ฝ้าย ละเอียด เปน ปุย ออก นั้น.
      ไม้ เรียว (502:4.2)
               คือ ไม้ เขา เหลา ข้าง ต้น ใหญ่ ข้าง ปลาย เล็ก ลง เปน ลำดับ นั้น.
      ไม้ กงพัด (502:4.3)
               คือ ไม้ ที่ หญิง ปั่น ฝ้าย เปน เส้น ด้าย เต็ม ไน แล้ว, เมื่อ จะ ทำ ด้าย ให้ เปน เข็ด, แล พัด ไป พัด มา ให้ เต็ม ไม้.

--- Page 503 ---
      ไม้ กากะบาท (503:4.4)
               คือ เขียน ไว้ อย่าง นี้,  ไม้ ตีน กา เปน ต้น.
      ไม้ กาง เขน (503:4.5)
               คือ ไม้ ที่ เขา เอา ไม้ ทำ ไว้ เหมือน คน ยืน กาง แขน สอง ข้าง อยู่ นั้น, เรียก ไม้ กาง เขน.
      ไม้ แก่น (503:4.6)
               คือ ไม้ ที่ มัน แขง อยู่ ไส้ ใน นั้น, ไม้ แก่น มี ไม้ ชิง ชัน เปน ต้น นั้น.
      ไม้ เกต (503:4.7)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เขา เรียก ต้น ไม้ เกต, ต้น มัน ตา อรุ อระ ลูก มี รศ หวาน เปน ไม้ ป่า.
      ไม้ กราด (503:4.8)
               คือ ไม้ ที่ พระ ทำ, มี ด้ำ ยาว สำหรับ กวาด วัด นั้น
      ไม้ ขา ทราย (503:4.9)
               คือ ไม้ ที่ เขา ทำ ค้ำ ไว้ ที่ ไม้ สะพอง เกวียน, เล่ม หนึ่ง มี สี่ อัน ค้ำ ไว้ ทั้ง ซ้าย ขวา นั้น.
      ไม้ ราช ปักษี (503:4.10)
               คือ ไม้ หัว นก อย่าง นี้, เขา เรียก ไม้ โท บ้าง นั้น.
      ไม้ ขา อย่าง (503:4.11)
               คือ ไม้ เขา ผูก ปลาย รัด รวบ เข้า สาม อัน, ทำ ข้าง ต้น ไม้ ให้ ถ่าง กาง ออก ไว้ ตั้ง ขึ้น มิ ให้ ล้ม นั้น.
      ไม้ จัตวา (503:4.12)
               คือ ไม้ กากะบาท อย่าง นี้  นั้น, เขา เรียก ว่า ไม้ ตีน กา ฤๅ ไม้ จัตวา นั้น.
      ไม้ จริง (503:4.13)
               คือ ไม้ นอก จาก ไม้ ไผ่ ทั้ง ปวง, มี ไม้ สัก เปน ต้น, เขา เรียก ชื่อ ไม้ จริง สิ้น.
      ไม้ ฉำ ฉา (503:4.14)
               คือ ไม้ เจ็ก เอา ทำ เรือ สามป้าน มา แต่ เมือง จีน, ลาง ที ต่อ เปน หีบ มา แต่ เมือง จีน บ้าง นั้น.
      ไม้ ตรี (503:4.15)
               คือ ความ เมตา. อย่าง หนึ่ง เขียน อย่าง นี้  เปน ต้น นั้น.
      ไม้ ซ่าว (503:4.16)
               คือ ไม้ ไผ่ โต เท่า ด้ำ ภาย, ยาว สัก* สาม วา, เขา ทำ สำหรับ ใส่ พะเนียด ต่อ นก เขา นั้น.
      ไม้ เชียงชัน (503:4.17)
               คือ ไม้ แก่น แขง, เขา เอา มา กลึง เปน ตลับ แล ปี่ เป่า เพลง ปี่ภาทย์ นั้น.
      ไม้ ซุง (503:4.18)
               คือ ต้น ไม้ สัก ใน ป่า ใหญ่, เขา ตัด มัด เปน แพ ล่อง ลง มา แต่ เมือง ฝ่าย เหนือ นั้น.
      ไม้ ธัณฑ ฆาฎ (503:4.19)
               คือ รูป ไม้ เขา เขียน อย่าง นี้  นั้น, อ่าน ไม่ ออก เสียง นั้น.
      ไม้ ตาย คู้ (503:4.20)
               คือ ไม้ ที่ ท่าน เขียน ไว้ ใน จินดา มุณี, มี สันถาน รูป ดังนี้*,  สำหรับ ใช้ ให้ คำ สั้น นั้น.
      ไม้ โท (503:4.21)
               คือ ไม้ มี รูป สันถาน เหมือน หัว นก เรียก ไม้ ราช ปัก ษี บ้าง, เรียก ไม้ โท คือ ใส่ สำหรับ อักษร ที่ สอง นั้น.
      ไม้ ประทัด (503:4.22)
               คือ ไม้ สำหรับ ทอด บรรทัด ให้ เขียน หนังสือ กรง ได้.
      ไม้ ท้าว (503:4.23)
               คือ ไม้ ที่ คน แก่ เดิน ไม่ สนัด กลัว จะ ล้ม, สำหรับ จะ ได้ ท้าว ยัน ไว้ ไม่ ให้ ล้ม นั้น.
      ไม้ น่า* (503:4.24)
               คือ ไม้ เอ้ เปน ต้น, ที่ เขา เขียน ไว้ น่า อักษร นั้น, อย่าง หนึ่ง ไม้ จริง เขา ถาก เปน สี่ เหลี่ยม นั้น.
      ไม้ ประดู่ (503:4.25)
               คือ ต้น ไม้ ใหญ่ มี แก่น แขง, เปน ชาติ ไม้ ป่า มี ดอก ออก เปน ช่อ ศรี เหลือง หอม นั้น.
      ไม้ หันะกาษ (503:4.26)
               คือ ไม้ ผัด รูป อย่าง นี้  นั้น.
      ไม้ไผ่ (503:4.27)
               คือ ต้น ไม้ เปน ลำ ๆ, ข้าง ใน กลวง เปน ปล้อง ๆ, มี ข้อ คั่น ตลอด ปลาย, มี แขนง มี หนาม.
      ไม้ วา (503:4.28)
               คือ ไม้ เขา ทำ กำหนฎ สี่ สอก เปน วา หนึ่ง, สำหรับ วัด ที่ เปน ต้น.
      ไม้ มลาย (503:4.29)
               คือ ไม้ เขียน รูป อย่าง นี้, ไ ไม้ ใน จินดา มุณี, สำ หรับ บังคับ ใช้ ตัว อักษร ให้ ถูก นั้น.
      ไม้ สอย (503:4.30)
               คือ ไม้ เล็ก ๆ เขา ทำ เท่า เหล็ก ใน, สำหรับ ทำ เส้น ผม ให้ เรียบ เรียง ดี นั้น.
      ไม้ ม้วน (503:4.31)
               คือ ไม้ เขา เขียน ดัง นี้, ใ มี ใน จินดา มุณี, สำ หรับ บังคับ ใช้ ตัว อักษร ให้ ถูก นั้น.
      ไม้ หอม (503:4.32)
               คือ ไม้ มี แก่น หอม นั้น, เช่น กฤษนา เนื้อ ไม้ เปน ต้น นั้น.
      ไม้ เอก (503:4.33)
               คือ ไม้ มี สันถาน ดัง นี้, มี ใน จินดา มุณี, สำ* หรับ บังคับ อักษร ที่ หนึ่ง นั้น.
      ไม้ ตะบอง (503:4.34)
               คือ ไม้ เขา ทำ กำหนฎ สี่ สอก สำ*หรับ ตี, ลาง ที สั้น สัก สอก หนึ่ง มี บ้าง.
ไหม (503:1)
         คือ ใย ออก จาก ตัว สัตว์, เหมือน ตัว หนอน, เขา เลี้ยง ไว้ ชัก เอา ใย มัน เหนียว กว่า ด้าย
      ไหม ขาว (503:1.1)
               คือ ใย นั้น ศรี ขาว, เขา ยัง ไม่ ได้ ย้อม ตัว สัตว์ นั้น, คน เจ็ก เลี้ยง บ้าง, ลาว เลี้ยง บ้าง, เขมน บ้าง, ยวน บ้าง.
      ไหม เขียว (503:1.2)
               คือ เส้น ไหม ที่ เขา ย้อม ด้วย น้ำ ย้อม ศรี เขียว นั้น.
      ไหม แดง (503:1.3)
               คือ เส้น ไหม เขา ย้อม ด้วย น้ำ ย้อม ศรี แดง.
      ไหม ดำ (503:1.4)
               คือ เส้น ไหม เขา ย้อม ด้วย น้ำ ย้อม ศรี ดำ.

--- Page 504 ---
      ไหม เหลือง (504:1.5)
               คือ เส้น ไหม เขา ย้อม ด้วย น้ำ ย้อม ศรี เหลือง.
ไหม้ (504:1)
         คือ เผา ไฟ ลุก ติด เชื้อ, มี ไม้ แห้ง เปน ต้น, แล้ว เผา ลาม ไป นั้น.
      ไหม้ เกรียม (504:1.1)
               คือ ไฟ ไหม้ ภอ ของ เกือบ จะ เปน เชื้อ ติด ไฟ ขึ้น นั้น.
      ไหม้ ลาม ไป (504:1.2)
               คือ ไฟ เดิม ลุก ขึ้น แต่ น้อย ก่อน, แล้ว ไหม้ ต่อ ๆ ออก ไป นั้น.
ใหม่ (504:2)
         คือ ของ สาระพัด ทุก สิ่ง, มี ผ้า เปน ต้น, ที่ เขา ทำ แรก ยัง ไม่ ได้ ใช้ นุ่ง ห่ม นั้น.
โม มา (504:3)
         เปน คำ เฃมน ว่า มา, เหมือน คน ไทย เรียก สุนักข์ ให้ มัน มา ว่า โม ๆ นั้น.
โมทนา (504:4)
         แปล ว่า ชื่น ชม โสมนัศ, คน ไทย กล่าว คำ รับ ส่วน บุญ กัน ว่า โมทนา.
      โมทนา คุณ (504:4.1)
               คือ ชื่น ชม ด้วย คุณ ต่าง ๆ นั้น, คุณ พระ เจ้า เปน ต้น.
      โมทนา บุญ (504:4.2)
               คือ ชื่น ชม ด้วย การ บุญ นั้น, เรา พลอย ยินดี ด้วย คน ใจ บริสุทธิ์ เปน ต้น นั้น.
โมรา (504:5)
         คือ เปน ของ อย่าง หนึ่ง, เขา เอา มา แต่ เมือง เทศ, เปน ชาติ เกิด แต่ สิลา มี ศรี ต่าง ๆ เรียก ว่า โมรา นั้น.
โมโร (504:6)
         ฯ แปล ว่า นก ยุง ๆ มัน มี ขน งาม เปน ลาย ทอง มัน รำ ได้ ตาม ภาษา มัน.
โมลี (504:7)
         เมาลี ฯ คือ มวย ผม, คน พะม่า เกล้า ผม เปน จอม ไว้ ที่ กระหม่อม สูง อยู่ นั้น, เรียก มวย ผม.
โมโห (504:8)
         ฯ แปล ว่า หลง, คือ ใจ คน หลง รัก ใคร่ ใน ทรัพย์ สมบัติ แล บุตร ภรรยา เปน ต้น นั้น.
โมหะ (504:9)
          ฯ แปล ว่า หลง ใน กิเลศ กาม พัศดุ* กาม นั้น, คน ไม่ รู้ คน โง่ เปน ต้น นั้น.
      โมหะ คะดี (504:9.1)
               ฯ คือ ใจ ลุ อำนาท แก่ ความ หลง, เหมือน ไม่ อยุด ยั้ง ใจ ปล่อย ใจ ให้ หลง ไป นั้น.
โม่ (504:10)
         คือ หิน สอง อัน เปน เครื่อง ใช้ ทำ เข้า สาร ให้ ละเอียด เปน แป้ง, เขา ทำ ด้วย หิน เอา มา แต่ เมือง จีน รูป กลม ๆ.
เมา (504:11)
         คือ ความ มึน มัว, เช่น คน กิน เหล้า, แล สะติ เสีย คลั่ง เคลิ้ม กอบ ด้วย ความ ประมาท มาก นั้น.
      เมา ขึ้น (504:11.1)
               คือ อาการ ที่ เมา มาก ขึ้น นั้น, เช่น คน เมา เหล้า เปน ต้น นั้น
      เมา คลื่น (504:11.2)
               คือ มึน มัว เพราะ คลื่น, คน ไป เรือ ใน ทะเล แล เรือ โคลง แคลง ไป เพราะ คลื่น ใหญ่, คน ทน ทาน ไม่ ได้ ไส้ พุง กระฉ่อน เหียน ราก ว่า เมา คลื่น.
      เมา เบื่อ (504:11.3)
               คือ อาการ ไม่ เมา เหมือน เมา เหล้า, มัน เมา เช่น เมา ลูก ลำโพง นั้น.
      เมา ยศ (504:11.4)
               คือ หลง รัก ยศ, เช่น คน เดิม ตัว มี ยศ หนิด น่อย ครั้น ได้ ยศ ศักดิ์ มาก ขึ้น ก็ ทำ อานุภาพ ต่าง ๆ โดย เมา นั้น.
      เมา ทั่ว (504:11.5)
               คือ เมา มาก หลาย คน นั้น, เช่น เมา ทั่ว กัน ไป ทุก คน นั้น.
      เมา ลาภ (504:11.6)
               คือ หลง รัก ใน ที่ ได้ ของ สาระพัด ทุก สิ่ง ที่ เปน ที่ ปราฐนา, ว่า เมา ใน ลาภ นั้น.
      เมา ยา (504:11.7)
               คือ* เมา ยา สูบ บู่หรี่ เปน ต้น, เช่น คน เมา ยา เบื่อ ฤๅ เมา ยา ฝิ่น นั้น.
      เมา ใน ไวย (504:11.8)
               คือ หลง ใน การ ที่ เจริญ ขึ้น, ตั้งแต่ เปน ทารก รู้ ความ ว่า ใหญ่ ขึ้น นั้น ดี, ก็ มี ความ รัก ใน ที่ จะ ใหญ่ ขึ้น ว่า เมา ใน ไวย แล.
      เมา สุรา (504:11.9)
               คือ เมา เหล้า นั้น, เช่น คน กิน เหล้า เมา สุรา นั้น.
      เมา ใน ชีวิตร์ (504:11.10)
               คือ หลง รัก ใน การ ที่ เปน อยู่, เช่น คน เกิด มา แล้ว เปน อยู่ ก็ หลง รัก ใคร่ ไป ใน การ ที่ เปน อยู่ ว่า เมา ใน ชีวิตร.
      เมา ใน ไม่ มี โรค (504:11.11)
               คือ เมา ผ่าย ใน หา โรค มิ ได้ นั้น, คน สำ คัญ ว่า ตัว สะบาย เปน ต้น.
      เมา ทะเล (504:11.12)
               คือ คน ไม่ เคย เหน ทะเล เลย, พึ่ง เหน เข้า ก็ ให้ มัว มึน คลื่น เหียน ราก นั้น.
      เมา มัว (504:11.13)
               คือ เมา ง่วง เหงา ไป นั้น, เช่น มัว เมา เชื่อม มึน ไป นั้น.
      เมา เหล้า (504:11.14)
               คือ ความ มัว มืน บังเกิด เมื่อ กิน เหล้า, ถ้า คน กิน สุรา แล้ว ให้ เสีย สะติ เคลิ้ม* คลั่ง ไป นั้น.
      เมาลี (504:11.15)
               แปล ว่า มวย ผม นั้น, เช่น พระ เกษ เกล้า เมาลี นั้น.
เม้าเค้า (504:12)
         คือ หน้า เง้า, คน หน้า งอ หัก เรียก หน้า เม้าเค้า. อย่าง หนึ่ง คน ชื่อ เม้า ก็ มี บ้าง.

--- Page 505 ---
เหมา (505:1)
         คือ ว่า จ้าง การ ทำ เท่า นั้น, จะ ให้ เงิน ค่า จ้าง เท่า นั้น, ว่า ทำ เหมา กัน.
มะกา (505:2)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ เขา ทำ ยา ได้, เปน ต้น ไม้ ย่อม อย่าง กลาง มี รศ ขม ใบ มัน ใหญ่.
มะกอก (505:3)
         เปน ชื่อ* ต้น ไม้ ใหญ่, มี ผล กิน เปรี้ยว ๆ หวาน ๆ เขา กิน เปน กับ เข้า ได้.
มะกล่ำ (505:4)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน เถา เครือ อย่าง หนึ่ง.
มะก่อ (505:5)
         เปน ชื่อ ลูก ไม้ มี ใน เมือง จีน, กิน หวาน คล้าย กับ หัว แห้ว นั้น.
มะเกลือ (505:6)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ ใหญ่ อย่าง หนึ่ง, มี ลูก เปน ยาง ดำ เขา ย้อม ผ้า ดำ ได้.
มะกรูด (505:7)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, มี หนาม ผล รศ เปรี้ยว มี กระแสง แรง ฉุน เปน ยา* แก้ ลม ได้.
มะเขก (505:8)
         คำ พูด ถึง คน, เอา มือ ชก ต่อย ลง ที่ หัว กัน ดัง เหงก ๆ, ว่า ถูก ลูก มะเขก.
มะขบ (505:9)
         เปน ชื่อ ต้น ตะขบ ต้น มี หนาม ผล สุก กิน หวาน ติด ฝาด, เขา กิน เปน ของ หวาน.
มะโขก (505:10)
         เปน คำ พูด เช่น ว่า แล้ว นั้น, เช่น คน ที่ โขก หัว กัน ดัง โขก นั้น.
มะขาม (505:11)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ ใหญ่ ใบ มัน เล็ก ๆ, มี ฝัก เปน ข้อ ๆ ละ เมลด เปน กับ เข้า ได้.
      มะขาม กะดาน (505:11.1)
               คือ มะ ขาม มัน มี ฝัก แบน ๆ เขา เรียก มะ ขาม กะดาน.
      มะขาม เทศ (505:11.2)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ ใหญ่ อย่าง หนึ่ง, ต้น มัน มี หนาม, เปน ฝัก หวาน น่อย ๆ
      มะขาม เปียก (505:11.3)
               คือ ฝัก มะขาม สุก มัน เปียก อยู่ นั้น, มะขาม เปียก ที่ แกง กิน เปน ต้น.
      มะขาม ป้อม (505:11.4)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ ใหญ่ อย่าง หนึ่ง, ผล มัน กลม ๆ เท่า ลูก พุดทรา ใหญ่ กิน เปรี้ยว ติจ ขม ทำ ยา ได้.
      มะขาม* คี่ แมว (505:11.5)
               คือ ฝัก มะขาม มัน เปน ข้อ ๆ เหมือน คี่ แมว นั้น.
      มะขาม กรอก (505:11.6)
               คือ ฝัก มะขาม ที่ แห้ง กรอก นั้น, เช่น มะขาม เปียก นั้น.
      มะขาม คราบ หมู (505:11.7)
               คือ มะขาม เนื้อ มัน เปน กล้าม คล้าย คราบ หมู นั้น, เช่น มะขาม ห่าม นั้น.
มะเขือ (505:12)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ ขนาด เล็ก, เขา ปลูก ไว้ เปน ผัก กิน กับ เข้า แกง ก็ ได้.
      มะเขือ ขาว (505:12.1)
               เปน ชื่อ ต้น มะเขือ, ลูก มัน ยาว ศรี ขาว, จึ่ง เรียก มะเขือ ขาว, เปน ผัก ได้.
      มะเขือ เทศ (505:12.2)
               เปน ชื่อ มะเขือ เขา เอา พรรค์ มา แต่ เมือง เทศ ปลูก ไว้ ใน เมือง ไทย, จึ่ง เรียก มะเขือ เทศ.
มะขวิด (505:13)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ ใหญ่ กิ่ง มี หนาม, ผล มัน สุก รศ เปรี้ยว ๆ หวาน ๆ.
มะคธ (505:14)
         เปน ภาษา ชาว เมือง มะคะธะ มี มา แต่ โบราณ, คือ ว่า อะหัง เปน ต้น นั้น.
มะเขือ ขื่น (505:15)
         เปน ชื่อ ต้น ผัก เรียก มะเขือ มัน มี ลูก เล็ก ๆ เท่า ลูก พุทรา, เมล็ด มัน มาก ลูก เดียว เมล็ด นับ ไม่ ถ้วน มี รศ ขื่น นัก.
มาค่า (505:16)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ ใหญ่ แก่น แขง นัก อยู่ ป่า ใหญ่ สูง นั้น.
มะคำไก่ (505:17)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ ใหญ่ อย่าง หนึ่ง, เขา ปลูก ไว้ ทำ ยา ว่า แก้ ฝี ใน ท้อง, มี ลูก เล็ก ๆ.
มะคะ (505:18)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ ย่อม อย่าง หนึ่ง, ใบ มัน เขา กิน เปน กับ เข้า ได้.
มะฆะวา (505:19)
         ฯ แปล ว่า พระอิทร, คือ เทวดา ชื่อ พระอินทร ว่า เธอ เปน ใหญ่ ใน ชั้น ดาวดึงษ.
มะฆะวาน (505:20)
         เปน ชื่อ พระอินทร เปน พระยา แห่ง เทวดา ชั้น ดาวดึงษ.
มะงั่ว (505:21)
         เปน ชื่อ ต้น ส้ม อย่าง หนึ่ง เปรี้ยว* นัก, เขา ปลูก ไว้ ทำ ยา ผล โต เท่า ลูก ส้มโอ ย่อม ๆ.
มะซาง (505:22)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ ใหญ่ สัก สิบ สอง สิบสาม กำ, มี ผล รศ หวาน น่อย ๆ, ผล โต เท่า* ลูก หมาก สุก, มี ยาง นั้น.
มะดูก (505:23)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ เปน กลาง มี ผล รศ หวาน, เปลือก แขง จึ่ง เรียก มะดูก, สุก ศรี เหลือง.
มะดัน (505:24)
         เปน ชื่อ ต้นใม้ ย่อม มี ผล เปรี้ยว, เขา ใส่ แกง กิน บ้าง, แช่อิ่ม เปน ของ หวาน บ้าง.
มะเดื่อ (505:25)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ ใหญ่ มี ผล สุก แล้ว เกิด เปน ตัว แมลง หวี่ ใน ไส้, รศ หวาน น่อย ๆ.

--- Page 506 ---
      มะเดื่อ เทษ (506:25.1)
               เปน ต้น มะเดื่อ เหมือน กัน กับ มะเดื่อไท, เขา เอา พันธ์ มา แต่ เมือง เทษ,
มะต้อง (506:1)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ ใหญ่ มี ผล รศ เปรี้ยว นัก, เขา ไม่ ต้อง การ นัก ทำ ยา ได้ บ้าง.
มะตาด (506:2)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ ใหญ่ มี ผล สุก ก็ เปรี้ยว ดิบ ก็ เปรี้ยว, เขา ทำ ยา ได้ บ้าง.
มะธุรศ (506:3)
         ฯ แปล ว่า น้ำ หวาน ก็ ได้, ว่า น้ำ ผึ้ง ก็ ได้, เพราะ รศ หวาน นั้น.
มะธุระกะถา (506:4)
         ฯ แปล ว่า ถ้อย คำ อัน ไพเราะห์, เช่น คน พูด เพราะ อ่อน* หวาน.
มะระ (506:5)
         เปน ชื่อ ต้น* ผัก ลูก มี รศ ขม มัน เปน เถา เลื้อย, เปน ของ จีน บ้าง ของ ไท บ้าง,
มะธุปายาศ (506:6)
         ฯ แปล ว่า เข้า เปียก หวาน, คือ เขา หูง ใส่ น้ำตาล ทำ* เปียก ค่น นั้น.
มะรุม (506:7)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ ย่อม อย่าง หนึ่ง, มี ฝัก กลม ๆ ยาว เขา แกง กิน ได้ อร่อย.
มะปริง (506:8)
         เปน ต้นไม้ ย่อม อย่าง หนึ่ง, มี ลูก เล็ก กว่า มะปราง กิน เปรี้ยว ๆ, เขา ดอง เปน กับเข้า.
มะณี (506:9)
         ฯ แปล ว่า แก้ว มณี, ๆ มี ศรี แสง ใส เหมือน กระจก.
มะพูด (506:10)
         เปน ต้นไม้ ย่อม มี ลูก เท่า ผลหมาก ใหญ่ ๆ รศ เปรี้ยว ๆ หวาน ๆ.
มะนิน มะนา (506:11)
         เปน คำ โลกย พูด ว่า มะนิม มะนา, ว่า ไป มา มา เร็ว ๆ รีบ ไป รีบ มา.
มะพลับ (506:12)
         เปน ต้นไม้ ใหญ่ มี ลูก รศฝาด ถ้า สุก หวาน หนิดน่อย.
มะโน (506:13)
         ฯ แปล ว่า ใจ, ๆ นี้ ว่า จิตร ก็ ได้, ว่า วิญญาณ ก็ ได้, ว่า นามธรรม ก็ ได้.
มะนุษ (506:14)
         ฯ เปน ชื่อ คน, ที่ มิ ใช่ ดิรัจฉาน นั้น, มะนุษ คือ สัตว ใจ สูง เปน ต้น นั้น.
มะนา (506:15)
         ฯ แปล ว่า ใจ เช่น ว่า แล้ว.
มะโนสาเร่ (506:16)
         คำ พูด ถึง เล็ก น้อย ทั้ง ปวง มิ ใช่ ข้อ สำคัญ นั้น.
มะโนภิรมย (506:17)
         ฯ แปล ว่า มี ใจ ยินดี, ว่า โสมนัศ ยิ่ง ก็ ได้, แต่ ทับ สับท์ อยู่.
มะโนรา (506:18)
         เปน* ชื่อ กีนอน นาง หนึ่ง มี ใน เรื่อง หนังสือ โบราณ.
มะโนไม (506:19)
         ฯ แปล ว่า แล้ว ไป ด้วย ใจ ก็ ได้, สำเร็จ ด้วย ใจ ก็ ได้, การ บุญ แล บาป ทั้ง สอง ย่อม สำเร็จ ด้วย ใจ นั้น.
มะโนรศ (506:20)
         ฯ แปล ว่า ความ ปราฐนา แห่ง ใจ.
มะโนรมย (506:21)
         ฯ แปล ว่า ใจ ยินดี. อย่าง หนึ่ง เปน ชื่อ เมือง ข้าง เหนือ เมือง หนึ่ง, เรียก เมือง มะโนรมย.
มะนาว เทษ (506:22)
         เปน ต้นไม้ เส็ก, มี ลูก รศ หวาน เผ็ด ๆ
มะนะสิการะ (506:23)
         ฯ แปล ว่า กระทำ ไว้ ใน ใจ, มี ความ กำหนด นึก ไว้ ใน ใจ เปน ต้น.
มะนะโช (506:24)
         ฯ แปล ว่า เกิด แต่ ใจ, เช่น การ ชั่ว การ ดี เปน ต้น ย่อม เกิด แต่ ใจ นั้น.
มะฝ่อ (506:25)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, เขา ทำ ยา ได้ บ้าง, มี อยู่ ตาม ลำ น้ำ ฝ่าย เหนือ.
มะไฟ (506:26)
         เปน ต้น ใม้ ย่อม ลูก มัน รศ เปรี้ยว ๆ หวาน ๆ.
มนุษ (506:27)
         คือ คน บังเกิด แต่ มะนุษ โคตร, บันดา คน ทั้ง หมด มิ ใช่ สัตว ดิรัจฉาน, เรียก มนุษ เพราะ ใจ สูง.
มะเฟือง (506:28)
         เปน ต้นไม้ ย่อม ลูก เปน เฟือง, รศ เปรี้ยว ก็ มี หวาน ก็ มี บ้าง.
มะนัง (506:29)
         ฯ แปล ว่า ใจ, บันดา ใจ ทุก อย่าง คือ ใจ มนุษ ฤๅ ใจ สัตว, เรียก ว่า ใจ.
มะพร้าว (506:30)
         เปน ต้นไม้ มี ผล มัน หวาน, ต้น มัน สูง ก็ มี ต่ำ ก็ มี, เขา คั้น ทำ น้ำ กะทิ รศ มัน
มะนาว (506:31)
         เปน ชื่อ ต้น ส้ม อย่าง หนึ่ง, ผล เท่า ลูก หมาก มี รศ เปรี้ยว ต้น มี หนาม, กิน เปน กับ เข้า.
มะปราง (506:32)
         เปน ต้นไม้ อย่าง กลาง มี รศ หวาน บ้าง เปรี้ยว บ้าง.
มะลิลา (506:33)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ ดอก อย่าง หนึ่ง ต้น* เล็ก ๆ, มี ดอก แล กลีบ ไม่ ซ้อน, จึ่ง เรียก มะลิลา กลิ่นหอม เขา ทำ ยา ได้.
มะยุระฉัตร (506:34)
         คือ พนม หาง นกยูง, เปน เครื่อง สูง สำรับ แห่ ใน หลวง.
มะลิวัน (506:35)
         คือ ต้น มะลิ เปน เถา เลื้อย, มี ดอก แล กลีบ ไม่ สู้ ซ้อน หอม นัก เขา ทำ ยา ได้.
มะยง (506:36)
         คือ ผล มะปราง ที่ เปรี้ยว ๆ หวาน ๆ นั้น.
มะไลย (506:37)
         เปน ชื่อ* ประเทศ แห่ง หนึ่ง, มี อยู่ ใน เกาะ ลังกา, เรียก ว่า มะไลย ประเทศ.

--- Page 507 ---
มะยม (507:1)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง กลาง, ลูก เปน เฟือง ๆ รศ เปรี้ยว ๆ.
มะเลือง (507:2)
         คือ แสง เลื่อม เปน เงา เหมือน อาวุธ, มี ดาบ ที่ เขา อาบ* เปน เงา วับ นั้น, ว่า มะเลือง แสง.
มะยุรา (507:3)
         แปล ว่า นกยูง ทั้ง หลาย.
มะแลงวัน (507:4)
         คือ สัตว เล็ก ๆ มัน มี ปีก บิน ได้, ภอ ใจ แต่ ของ เน่า, มัน จำเพาะ มา แต่ เวลา กลาง วัน, เขา จึ่ง เรียก แมลงวัน.
มะยุเรศร์ (507:5)
         ฯ แปล ว่า นกยูง เปน ใหญ่.
มะเล็ด (507:6)
         นี่ เปน คำ โบราณ เรียก เม็ด ผลไม้ มี เมล็ด มะม่วง เปน ต้น, แต่ ทุก วัน นี้ เขา เรียก ว่า เล็ด.
มะไล นี้ (507:7)
         พูด ถึง วัน ที่ สี่ ว่า ต่อ มะไล นี้ จึ่ง จะ ไป เปน ต้น.
มะลื่น (507:8)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, คำ โบราณ เรียก มะลื่น, ทุก วัน นี้ หา ปรากฏ ว่า เปน ผลไม้ อย่าง ไร ไม่.
มะรืน นี้ (507:9)
         พูด ถึง วัน ที่ สอง นั้น, เช่น คำ ว่า มะรืน นี้ เรา จะ ไป หา.
มะแว้ง (507:10)
         เปน ต้นไม้ เล็ก อย่าง หนึ่ง, มี ลูก เปน ช่อ รศ ขื่น, กิน เปน กับ เข้า บ้าง ทำ ยา บ้าง นั้น.
มะเหมี่ยว (507:11)
         เปน ชื่อ ยา มา แต่ เมือง เทษ อย่าง หนึ่ง, ว่า กิน แก้ โลหิต ช้ำ ใน ดี.
มะแว้งเครือ (507:12)
         เปน ต้น มะแว้ง เช่น ว่า, แต่ ต้น มัน เปน เถา เลื้อย มี ดอก มี ลูก กิน ได้ ทำ ยา ก็ ได้.
มะเร็ง (507:13)
         เปน ชื่อ โรก ร้าย อย่าง หนึ่ง, มัน ให้ เปน แผล เปื่อย พัง รักษา ยาก นัก.
มะริด (507:14)
         เปน ชื่อ เมือง ขึ้น แก่ เมือง พะม่า เมือง หนึ่ง อยู่ ทิศใต้.
มะตูม (507:15)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ มี หนาม, ผล โต เท่า ลูก มะขวิด แต่ ยาว รศ ขม หวาน น่อย.
มะโรง (507:16)
         เปน ชื่อ ปี ที่ ห้า, ตาม ธรรมเนียม ไท ปี หนึ่ง นั้น.
มะลัง (507:17)
         เปน ไม้ ย่อม มี หนาม คล้าย กับ มขวิด, ลูก เล็ก กว่า มขวิด รศ เปรี้ยว มี ไน ป่า.
มะเส็ง (507:18)
         เปน ชื่อ ปี ที่ หก, ไท ว่า ปี นั้น เปน งู เล็ก, ว่า ตาม ตำรา ไท เปน โหรา นับ ถือ นั้น.
มะฤคะ (507:19)
         ฯ แปล ว่า เนื้อ นั้น, มี เนื้อ กว้าง* เนื้อ ทราย เปน ต้น.
มะหา (507:20)
         ฯ แปล ว่า ใหญ่, เหมือน แผ่นดิน ใหญ่ ว่า มหา ปัถวี, มหา สมุท ว่า สมุท ใหญ่.
      มะหา บุรุษ (507:20.1)
               ฯ แปล ว่า บุรุษ ใหญ่.
      มะหา กรุณา (507:20.2)
               ฯ แปล ว่า มี ความ กรุณา ใหญ่, คือ เมตตา สงสาร สัตว ใหญ่ หลวง ใช่ หนิด น่อย.
      มะหา ไชย (507:20.3)
               ฯ แปล ว่า มี ไชยชะนะ ใหญ่. อย่าง หนึ่ง เปน ชื่อ คลอง ใหญ่ อยู่ ฝ่าย ใต้.
      มะหา นคร (507:20.4)
               คือ เมือง ใหญ่, มี เมือง วิลาศ ฤๅ เมือง ศรีอยุทธ ยา เปน ต้น, เรียก มหา นคร ได้.
      มะหา ชาติ (507:20.5)
               เปน เรื่อง หนังสือ ชาดฎ* เรื่อง หนึ่ง ชื่อ อย่าง นั้น.
      มะหา ดาพนรก (507:20.6)
               เปน ชื่อ นรก ขุม ใหญ่ เรียก ดาพนรก, เพราะ มี แต่ การ ร้อน การ ไฟ มาก.
      มะหา นิล (507:20.7)
               เปน ยา ขนาน หนึ่ง ชื่อ เช่น นั้น.
      มะหา ภูตะรูป (507:20.8)
               ฯ แปล ว่า รูป บังเกิด ใหญ่, มหาภูตะรูป สี่, คือ ปัถวี อาโป เตโช วาโย, มี ใน กาย ทั่ว ทุก คน.
      มะหา พรหม (507:20.9)
               เปน ชื่อ ท้าว พรหม ใหญ่. อนึ่ง ความ ว่า ประเสริฐ ใหญ่ นั้น.
      มะหา เมฆ (507:20.10)
               คือ เมฆ ใหญ่, น่า ระดู ฝน ฤๅ กาล เมื่อ กัลป์ จะ ฉิบหาย, แล มี เมฆ ใหญ่ ตั้ง ขึ้น นั้น,
      มะหา สมบัติ (507:20.11)
               ฯ แปล ว่า สมบัติ ใหญ่ นั้น, มี คลัง มหาสมบัติ เปน ต้น นั้น.
      มะหา สะดำ (507:20.12)
               เปน ชื่อ ต้นไม้ ใหญ่ ใน ป่า อย่าง หนึ่ง, ชื่อ ต้น มหาสะดำ เขา ใช้ แต่ ทำ ยา นั้น.
      มะหา สาร (507:20.13)
               ฯ แปล ว่า แก่นสาร ใหญ่, มี พราหมณ มหาสาร เปน ต้น นั้น.
มะสุ (507:21)
         ฯ แปล ว่า หนวด, คน มี หนวด เครา เช่น พวก แขก เปน ต้น นั้น.
มฤคี (507:22)
         ฯ แปล ว่า แม่ เนื้อ.
มะฤคราช (507:23)
         ฯ แปล ว่า พระยา เนื้อ, มี พระยา ละมั่ง ทอง ฤๅ พระยา กวาง ทอง เปน ต้น นั้น
มะหาหิงค์ (507:24)
         เปน ชื่อ ยา อย่าง หนึ่ง, เปน ของ มา แต่ เมือง เทษ ว่า แก้ โรค ลม มี กลิ่น เหม็น.
มะหิงษ (507:25)
         ฯ แปล ว่า ควาย ว่า กระบือ, ภาษา เขมร ว่า กาษร เปน สัตว สี่ ท้าว, มี แต่ ดำ กับ เผือก.

--- Page 508 ---
มะหิมา (508:1)
         ฯ แปล ว่า ใหญ่, เช่น ของ ที่ โต ใหญ่, ว่า ของ นั้น มะหิมา.
มะหิศเรศร์ (508:2)
         ฯ แปล ว่า เปน ใหญ่ เปน อิศระ.
มะหิศโร (508:3)
         ฯ แปล ว่า คน เปน ใหญ่ ยิ่ง, ว่า ผู้ นั้น มี มะเหศระ ภาพ.
มะหิทฤทธิ์ (508:4)
         ฯ แปล ว่า มี ฤทธิ์ ใหญ่, เช่น เทวดา มี ฤทธิ์ มาก นั้น.
มะหุตตัง (508:5)
         ฯ แปล ว่า กาล ครู่ หนึ่ง, คือ เวลา ประมาณ สัก สาม นาที* นาฬิกา ของ หมอ.
มะหุติฤกษ (508:6)
         ฯ แปล ว่า ฤกษ ใหญ่ ฤกษ งาม ยาม ดี.
มะเหศักดา (508:7)
         ฯ แปล ว่า มี ศักดา ใหญ่, เช่น พระเยซู นั้น, ว่า มี ศักดา ใหญ่ ได้.
มะเหศวร (508:8)
         ฯ แปล ว่า ท้าว มเหศวร, เช่น พระอิศวร เปน เจ้า.
มะเหษี (508:9)
         ฯ แปล ว่า แสวง หา ศิลาธิคุณ. อย่าง หนึ่ง* เปน ชื่อ หญิง ที่ เปน คู่ ครอง ของ พระ มหา กระษัตริย์.
มะไหยสมบัติ (508:10)
         ฯ แปล ว่า สมบัติ ใหญ่ นั้น, เช่น คลัง มหา สมบัติ.
มะไหสวรรย (508:11)
         ฯ แปล ว่า อิศระภาพ ใหญ่, คน เปน กระษัตริย ว่า เสวย มะไหสวรรย.
มะโหรี (508:12)
         เปน ชื่อ เครื่อง ประโคม ขับ กล่อม สำรับ บำเรอห์ ผู้ มี บุญ มี วาศนา ใหญ่ นั้น.
มะโหระธึก (508:13)
         ว่า กึกก้อง ใหญ่, เช่น ตี กลอง มะโหระทึก ที่ เขา ทำ ด้วย ทอง เหลือง, มา แต่ เมือง ธ่า เปน ต้น.
มะโหระศพ (508:14)
         คือ การ สมโภช ฉลอง มี การ สพ ใหญ่, คือ พระ บรมสพ เปน ต้น.
มะโหรนพ (508:15)
         ฯ แปล ว่า ห้วง อัน ใหญ่ นั้น, มี โอฆ สงสาร เปน ต้น นั้น.
มะโหฬาร (508:16)
         ฯ แปล ว่า ล้ำ เลิศ ใหญ่ ยิ่ง, เปน ของ มี เครื่อง ของ พระ มหา กระษัตริย์, เปน ของ ดี วิเสศ นั้น.
มะโหสถ (508:17)
         เปน ชื่อ นักปราช คน หนึ่ง, มี ใน เรื่อง ชาฎก อัน หนึ่ง.
มะหิ (508:18)
         ฯ แปล ว่า แผ่นดิน, บันดา ภูม ประเทศ ใน น้ำ บน บก, เรียก ว่า มะหิ ทั้ง สิ้น.
มะหิษร (508:19)
         ฯ แปล ว่า เปน ใหญ่ เปน อิศระ, เช่น ท้าว เทวราช ผู้ มี ฤทธิ์ มาก นั้น.
มะหาด (508:20)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ ใหญ่ อย่าง หนึ่ง, มี ผล รศ เปรี้ยว ๆ, แก่น มัน ทำ ยา ได้.
มะหิษี (508:21)
         คือ มะเหษี นั้น, เช่น พระ อรรคมะเหษี ของ สมเด็จ บรมกระษัตริย์ เปน ต้น นั้น.
มะหาดไท (508:22)
         คือ คน ฝ่าย หนึ่ง เรียก กรมมหาดไท*, ขึ้น กับ ขุนนาง ใหญ่ ฝ่าย ซ้าย.
มะหันนะวะ (508:23)
         ฯ แปล ว่า ห้วง ใหญ่ นั้น, เช่น ท้อง มหา สมุท นั้น.
มะหาดเลก (508:24)
         คือ คน ข้า ราชการ สำรับ เจ้า, ฤๅ ขุนหลวง ใช้ ไกล้ พระองค เข้า เวน ออก เวน.
มะหรรณพ (508:25)
         ฯ แปล ว่า ห้วง ใหญ่ นั้น, เช่น ท้อง ทะเล หลวง.
มะหิทฤทธิ์ (508:26)
         ฯ แปล ว่า มี ฤทธิ์ ใหญ่ หลวง, เหมือน พระเจ้า มี ฤทธิ์ นั้น.
มะหันตะทุกข (508:27)
         ฯ แปล ว่า ความ ทุกข ใหญ่ นั้น, เช่น ทุกข ที่ จำ จะ ต้อง ตาย นั้น.
มะหันต (508:28)
         ฯ แปล ว่า ใหญ่, บันดา ของ ที่ ใหญ่ มี แผ่นดิน เปน ต้น.
      มะหันตโทษ (508:28.1)
               ฯ แปล ว่า โทษ ใหญ่ นั้น, คือ โทษ ขบถ ต่อ แผ่นดิน เปน ต้น.
มะอึก (508:29)
         เปน ต้นไม้ เล็ก อย่าง หนึ่ง, มี ผล เท่า ผล พุทรา, รศ มัน ขื่น กิน เปน ผัก ได้.
หมก (508:30)
         คือ ปก ลง, คน ฤๅ สัตว จะ ซ่อน ของ เปน ต้น, แล เอา ดิน ปก ทับ ของ ไว้.
      หมก ซ่อน (508:30.1)
               คือ การ ที่ คน เอา ของ วาง ก่อน แล้ว เอา ของ อื่น ปก กำบัง ไว้ นั้น, หมก ทราย ไว้ เปน ต้น.
      หมก แกลบ (508:30.2)
               คือ การ ที่ คน เอา ของ วาง ลง ไว้, แล้ว เอา แกลบ ปก ทับ ไว้ ข้าง บน นั้น.
      หมก เท่า (508:30.3)
               คือ การ ที่ คน เอา เท่า ปก ของ ไว้ นั้น, เช่น แมว ขี้ แล้ว มัน หมก เท่า เสีย.
      หมก เข้า (508:30.4)
               คือ การ ที่ คน เอา ของ กับ เข้า วาง มง แล้ว เอา เข้า ปก ทับ ลง, ทำ เปน ใส่ ใน ปาก นั้น.
      หมก ไฟ (508:30.5)
               คือ เอา ไฟ ปก ของ อื่น ไว้ เพื่อ จะ ให้ ของ สุก นั้น, เช่น กะทือ หมก ไฟ เปน ต้น.

--- Page 509 ---
      หมก ไหม้ (509:30.6)
               คือ คน อยู่ ใน ไฟ นรก มี ไฟ กำมถัน แล ถ่าน เพลิง ปก ทับ ให้ ไหม้ อยู่ นั้น.
      หมก ไว้ (509:30.7)
               คือ ปก ไว้, เช่น คน เอา ถ่าน เพลิง มา หมก ไว้ ใน เท่า นั้น.
      หมก หมุ่น (509:30.8)
               คำ นี้ เปน ความ เปรียบ, เช่น คน มี โทโส โกรธ วุ่นวาย ไม่ ใคร่ รู้ แล้ว นั้น ว่า หมก หมุ่น. อย่าง หนึ่ง คน กวาด ขยาก เข้า มาก แล้ว สุม เข้า ไว้ นั้น.
มัก (509:1)
         คือ อยาก ได้ เปน ต้น, มัก นี้ เปน ภาษา ลาว ว่า มัก ก็ ได้, ว่า รัก ก็ ได้, ว่า อยาก ก็ ได้.
      มรรค สี่ ผล สี่ (509:1.1)
               ฯ แปล ว่า มรรค มี สี่ อย่าง, ผล มี สี่ อย่าง นั้น, เหมือน พระอะริยะมรรค อะริยะผล เปน ต้น.
      มัก กิน (509:1.2)
               คือ อยาก กิน บ่อย ๆ ฤๅ ภอ ใจ กิน, เหน คน เขา กิน อยาก จะ ใคร่ กิน บ้าง, ว่า มัก กิน.
      มรรค ญาณ (509:1.3)
               คือ มรรค ปัญญา, คือ ปัญญา เกิด ขึ้น ตัด บาป ธรรม นั้น.
      มัก ได้ (509:1.4)
               คือ ใจ อยาก ได้ ร่ำ ไป, เหน เขา ได้ ของ สิ่ง ใด ถึง ไม่ ต้อง การ ก็ อยาก ได้ จะ เอา บ้าง.
      มัก น้อย (509:1.5)
               คือ มี ความ ปราฐนา น้อย นั้น, เช่น คน ที่ ไม่ สู้ โลภ เปน ต้น นั้น.
      มัก เที่ยว (509:1.6)
               คือ ใจ อยาก เที่ยว เนือง ๆ, ไม่ ใคร่ จะ อยู่ ที่ เดียว ได้ ชอบ ใจ เที่ยว ไป มาก.
      มัก ฟัง (509:1.7)
               คือ อยาก ใคร่ ฟัง นั้น, เช่น คน ภอ ใจ ฟัง เสียง ต่าง ๆ มี เสียง ขับ เปน ต้น.
      มัก* ง่าย (509:1.8)
               คือ ใจ เกียจคร้าน เหน แต่ ความ สบาย, ของ ควร จะ เก็บ ก็ ไม่ ใคร่ เก็บ ทิ้ง ไว้ ด้วย เกียจคร้าน.
      มัก เบา (509:1.9)
               คือ อยาก ที่ ของ เบา ๆ นั้น. อนึ่ง เยี่ยว บ่อย ๆ.
      มัก นอน (509:1.10)
               คือ ใจ ขี้ นอน เนือง ๆ ไม่ ไคร่ จะ นั่ง อยู่ ได้, บัด เดี๋ยว ลง นอน บ่อย ๆ, วัน หนึ่ง นับ หน ไม่ ถ้วน.
      มัก เล่น (509:1.11)
               คือ ใจ ขี้ เล่น, บัดเดี๋ยว เล่น อย่าง นี้, บัดเดี๋ยว เล่น อย่าง อื่น ไม่ ใคร่ อยุด นั้น.
      มัก มาก (509:1.12)
               คือ ความ ปราฐนา มาก นั้น, เช่น หญิง ชั่ว มาก ชู้ หลาย ผัว.
หมัก (509:2)
         คือ เอา ของ มี ผ้า เปน ต้น, ซัก แล้ว ไม่ บิด ตาก ทำ ให้ ชุ่ม น้ำ เปียก ทิ้ง ไว้ นั้น.
      หมัก แช่ (509:2.1)
               คือ เอา ของ เคล้า เข้า กับ น้ำ แล้ว สะสม ไว้ นั้น, เช่น ส่าเหล้า ดอง เปน ต้น นั้น.
      หมัก เชื้อ (509:2.2)
               คือ หมัก เชื้อ อัน ใด อัน หนึ่ง ไว้, ว่า หมัก ไว้ เพื่อ จะ ให้ ระคน ปน กัน ให้ ดี นั้น.
      หมัก โคลน (509:2.3)
               คือ เอา โคลน ปก ของ อื่น ลง ไว้ นาน ๆ นั้น, คน เอา ผ้า หมัก ไว้ ใน โคลน เปน ต้น.
      หมัก แป้ง (509:2.4)
               ความ เหมือน หม่า แป้ง ไว้, เพื่อ จะ ให้ ระคน ปน กัน เข้า ให้ สนิทร ดี นั้น.
      หมัก ส่า (509:2.5)
               คือ เอา ส่าเหล้า สะสม ลง ไว้ ค้าง คืน นั้น, เช่น คน ดอง ส่า ต้ม เหล้า นั้น.
      หมัก หมม (509:2.6)
               คือ ของ ที่ คน หมัก ไว้ แล้ว ทิ้ง ละ เมิน ไว้ จน ผง ไผ่ ตก ลง เต็ม ไป นั้น.
มาก (509:3)
         คือ ของ มิ ใช่ แต่ สิ่ง เดียว แล อัน เดียว, มี ตั้ง แต่ สอง ทวี ขึ้น ไป จน ถึง ร้อย พัน นั้น.
      มาก เกิน (509:3.1)
               คือ มาก เกิน กำหนด, เช่น สิ่ง ของ มาก เหลือ หลาย นั้น.
      มาก กว่า (509:3.2)
               คือ มาก ยิ่ง, เหมือน ใน เมือง นี้ มี ไท มาก ยิ่ง กว่า พวก ชาว อะเมริกา อังกฤษ นั้น.
      มาก น้อย เท่าไร (509:3.3)
               เปน คำ ถาม ว่า ของ นั้น มี มาก ฤๅ สัก เท่าไร.
      มาก นัก (509:3.4)
               คือ ฃอง นับ ด้วย หมื่น ด้วย แสน, เช่น เมล็ด ไข่ ปลา* ฤๅ ไข่ กุ้ง เปน ต้น นั้น.
      มาก มี (509:3.5)
               คือ มี มาก อยู่ นั้น, เช่น ของ มาก มาย ฤๅ มาก มูล เปน ต้น นั้น.
      มาก มาย (509:3.6)
               คำ มาก นั้น อะธิบาย แล้ว, แต่ คำ ว่า มาย นั้น เปน คำ สร้อย, เขา พูด ภอ คล่อง ปาก.
      มาก มูล (509:3.7)
               คือ มาก พูล ไป นั้น, เช่น ภูเฃา ฤๅ เนิน ทราย นั้น.
      มาก หลาย (509:3.8)
               คือ มาก หลาย คน ฤๅ หลาย สิ่ง หลาย อัน หลาย ตัว นั้น.
      มาก ชู้ หลาย ผัว (509:3.9)
               คือ หญิง นักเลง ภอ ใจ มี ผัว มี ชู้ นั้น.
      มาก ความ (509:3.10)
               คือ คน พูด แก้ ตัว, เมื่อ มี ความ ผิด กลัว เขา จะ ไม่ เชื่อ พูด อย่าง นี้ บ้าง อย่าง โน้น บ้าง นั้น.
หมาก (509:4)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, ไท อยาก เอา ผล เคี้ยว อม ไว้ ให้ หาย ปาก เปรี้ยว มัน ทำ ให้ ฟัน ดำ ด้วย.

--- Page 510 ---
      หมาก เก็บ (510:4.1)
               เปน ของ เครื่อง เล่น ของ เด็ก ๆ, มัน โยน แล้ว รับ กัน เล่น.
      หมาก ดิบ (510:4.2)
               คือ ลูก หมาก อ่อน ยัง ไม่ เปน หมาก สง, เปลือก ยัง เขียว เยื่อ ใน ยัง ไม่ แขง นั้น.
      หมาก กล (510:4.3)
               คือ หมาก รุก เขา ตั้ง เปน กล, ว่า สอง ที่ หมาก หนี, สาม ที หมาก ไล่ ให้ จน กัน.
      หมาก ทุย (510:4.4)
               คือ ลูก หมาก ลีบ ลูก ยาว ไม่ เปน ปรกติ, เยื่อ ใน ก็ มี หนิด หนึ่ง กิน ไม่ ได้ นั้น.
      หมาก ทะลาย หนึ่ง (510:4.5)
               คือ ที่ ต้น มี อัน หนึ่ง ว่า หมาก ทะลาย หนึ่ง.
      หมาก ผู้ (510:4.6)
               คือ ต้น หมาก เช่น ว่า นี้.
      หมาก เมีย (510:4.7)
               คือ ต้น หมากเมีย ต้น มัน ๆ, ใบ มัน ยาว เรียว, เขา ทำ ยา ได้ นั้น.
      หมาก กรอก (510:4.8)
               คือ ลูก หมาก เช่น ว่า, แต่ มัน แก่ เขา ลอก แต่ เปลือก ชั้น นอก ออก ตาก ไว้, จน เนื้อ ใน เหี่ยว เล็ก เข้า เปลือก พอง อยู่ สั่น มัน คลอน ดัง กรอก ๆ นั้น.
      หมาก เขี่ย (510:4.9)
               คือ เปน * ชื่อ เครื่อง เล่น ของ เด็ก นั้น.
      หมาก พร้าว (510:4.10)
               คือ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, มี ลูก โต สัก สาม กำ มี น้ำ ขัง อยู่ ข้าง ใน, เขา เอา เยื่อ ทำ น้ำ มัน ได้.
      หมาก ดัน (510:4.11)
               คือ หมาก รุก แรก เดิน ขึ้น ดน กัน อยู่ นั้น.
      หมาก รุก (510:4.12)
               คือ ของ เปน เครื่อง สำรับ เล่น, ถือ ข้าง ละ สิบ หก ตัว เดิน พะ นัน* เอา เงิน กัน นั้น.
      หมาก แยก (510:4.13)
               คือ เขา ตั้ง ลง ข้าง สิบ หก ตัว, แล้ว เดิน แยก ออก เล่น กัน จน แพ้.
      หมาก ยับ (510:4.14)
               คือ ลูก หมาก เช่น ว่า นั้น, เขา เอา เก็บ ไว้ จน แก่, แล้ว ใส่ ที่* ไห ที่ ตุ่ม จน เปลือก ยับ นั้น.
      หมาก เมี่ยง (510:4.15)
               หมาก นั้น ว่า แล้ว, แต่ เมี่ยง เปน ของ กิน กลาง วัน, เขา ทำ มะพร้าว ขั้ว เปน ต้น.
      หมาก สง (510:4.16)
               คือ ลูก หมาก แก่ สุก เปลือก แดง, เขา เรียก หมากสง เพราะ เปลือก มัน แดง.
มิคสิระ (510:1)
         เปน ชื่อ เดือน ๆ หนึ่ง, คือ เดือน อ้าย เรียก มิคสิระมาศ, เพราะ พระจันทร เสวย มิคสิระฤกษ.
หมึก (510:2)
         คือ ของ ศรี ดำ สำรับ เขียน หนังสือ เปน ต้น, ของ จีน ทำ เปน แท่ง, ของ อังกฤษ เปน เม็ด เล็ก ๆ. อย่าง หนึ่ง เปน สัตว มี สาย อยู่ ทะเล, พวก ไท จับ มา กิน เปน กับ เข้า ได้.
      หมึก แท่ง (510:2.1)
               คือ หมึก จีน ที่ เขา ทำ เปน ลิ่ม ๆ นั้น.
      หมึก หอม (510:2.2)
               คือ หมึก จีน มี กลิ่น หอม นั้น.
มุก (510:3)
         คือ ตัว หอยมุก เปลือก มัน เขา เก็บ เอา มา ทำ ช้อน, แล ประดับ เครื่อง ภาชนะ มี ตลุ่ม เปน ต้น.
      มุกขะ (510:3.1)
               ฯ แปล ว่า หน้า, มี หน้า คน เปน ต้น, บาง ที แปล ว่า เปน ประธาร บ้าง.
      มุขเสนาบดี (510:3.2)
               เปน เบื้อง น่า เสนาบดี นั้น, เปน ประธาร เสนา บดี เปน ต้น.
      มุขมาตยา (510:3.3)
               คือ คน เบื้อง น่า แห่ง อำมาตย ทั้ง ปวง นั้น, มี อัคมหา เสนา บดี เปน ต้น นั้น.
      มุขมนตรี (510:3.4)
               คือ คน ราชการ ผู้ มี ความ คิด สติปัญญา, เปน เบื้อง น่า คน ราชการ ทั้ง ปวง.
      มุกดาหาร (510:3.5)
               เปน ชื่อ แก้ว อย่าง หนึ่ง, ชื่อ แก้ว มุกดาหาร นั้น.
      มุขอำมาตย (510:3.6)
               คือ คน ราชการ ที่ อยู่ กับ พระ มหา กระษัตริย์, เปน เบื้อง น่า คน ราชการ ทั้ง ปวง.
มูก (510:4)
         คือ น้ำ ออก จากจมูก เปน น้ำ เลือก* ๆ. บาง ที ตก ออก จาก ทวาร หนัก กับ อาจม บ้าง นั้น.
      มูก มวก (510:4.1)
               คือ น้ำ เปน มูกมวก เหมือน น้ำ แช่ ไม้ โมง นั้น.
เมฆ (510:5)
         คือ ของ ที่ ตั้ง ขึ้น ใน อากาศ อู้ม ทรง ไว้ ซึ่ง น้ำ, ยัง ห่า ฝน ให้ ตก ลง.
      เมฆลา (510:5.1)
               เปน ชื่อ นาง เทพธิดา องค์ หนึ่ง. อย่าง หนึ่ง แปล ว่า เครื่อง ประดับ ใน ที่ ลับ นาง.
      เมฆฉาย (510:5.2)
               คือ เงา เมฆ, คน มี วิชา อย่าง หนึ่ง, ทำ เมฆ ให้ เปน รูป คน ดู ดี แล ร้าย เปน ต้น.
      เมฆหมอก (510:5.3)
               คือ เมฆ แล หมอก ตก ลง แต่ อากาศ นั้น.
โมก (510:6)
         เปน ต้นไม้ เปน กลาง อย่าง หนึ่ง, มี ดอก หอม คน มัก ปลูก ไว้ ริม เรือน ชุม นั้น.
โมกโคก (510:7)
         คือ ที่ ลับ แห่ง หญิง, หน้า ผาก ใหญ่ มัก โมกโคก ชอบ ใจ ชาย.
โมกมัน (510:8)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, เขา ทำ ยา บ้าง ตัด มา ทำ พาย บ้าง.
โมคลา (510:9)
         เปน ชื่อ พระ มหาเถร องค หนึ่ง ใน พุทธสาศนา นั้น, เพราะ ท่าน เปน ผู้ ฟัง ที่ สอง ของ พระ.

--- Page 511 ---
โมฆบุรุษ (511:1)
         ฯ แปล ว่า บุรุษ เปล่า จาก ธรรมวิเสศ.
หมอก (511:2)
         คือ หิมะ เปน ละออง ฝอย กลุ้ม อยู่ ใน อากาศ, เมื่อ ระดู หนาว นั้น.
      หมอก กลุ้ม (511:2.1)
               คือ ละออง น้ำ ค้าง กลุ้ม กลัด นั้น, เช่น หมอก กลุ้ม เมื่อ ระดู ฝน นั้น,
      หมอก มืด (511:2.2)
               คือ หิมะ เช่น ว่า นั้น, ตก หนัก* จน แล ไม่ เหน ฝั่ง แม่น้ำ นั้น.
      หมอก ขาว (511:2.3)
               คือ หมอก ศรีขาว นั้น, เช่น หมอก ลง เมื่อ ระดู หนาว นั้น.
      หมอก* มัว (511:2.4)
               คือ หิมะ เช่น ว่า, ตก ไม่ มาก นัก ตก น้อย ๆ ไม่ ถึง มืด ภอ มัว เหน ได้ บ้าง.
มวก (511:3)
         คือ น้ำ เปน ฟอง เลือก ลื่น เหมือน น้ำ ที่ แช่ โมง นั้น, เขา ว่า น้ำ นั้น เปน มวก.
      มวก ปลาไหล (511:3.1)
               คือ น้ำ ที่ ออก จาก ตัว ปลาไหล เปน เลือก ลื่น อยู่ นั้น.
หมวก (511:4)
         คือ ของ ที่ เขา ทำ ใส่ หัว, คน ฝรั่ง อังกฤษ, แล จีน แล แขก ใส่ ชุม นั้น.
      หมวก กบัง (511:4.1)
               คือ หมวก มี กบัง กัน หน้า นั้น, เช่น หมวก ที่ พวก อังกฤษ ใช้ นั้น.
เมือก (511:5)
         คือ น้ำ ไม่ มี ฟอง แต่ เปน เลือก ลื่น, เช่น น้ำ ที่ แช่ ไม้ โมง นั้น, เขา ว่า น้ำ เปน เมือก.
มงกุฎ (511:6)
         คือ ของ สำรับ กระษัตริย์ ใส่ ศีศะ, เมื่อ* ครั้ง ได้ เสวย ราช สมบัติ ใหม่ ๆ นั้น, เขา ทำ ด้วย ทอง คำ นั้น.
      มงคล (511:6.1)
               คือ ด้าย ที่ เขา ทำ เปน วง ภอ ใส่ ศีศะ ได้, แล้ว เศก ด้วย เวท มนต์ ว่า กรร สาระพัด ไภย อันตราย, มี ปิศาจ แล สาตราวุธ ต่าง ๆ เปน ต้น, เรียก ว่า มงคล, คือ ถึง ซึ่ง เจริญ.
      มง คร่อ (511:6.2)
               คือ โรค ให้ ผอม แห้ง แล เกิด ไอ บ่อย ๆ นั้น.
มังกุ (511:7)
         คือ เรือ มังกุ, รูป เหมือน เรือ โขนด ยา, แต่ หัว เปน สาม เส้า นั้น.
มังกร (511:8)
         คือ รูป สัตว มี ท้าว สี่ แต่ ตัว ยาว คล้าย กับ งู ใหญ่, ว่า มี ใน ทะเล ประเทศ จีน นั้น.
มังกง (511:9)
         เปน ชื่อ ปลา อย่าง หนึ่ง, มัน อยู่ น้ำ เค็ม ตัว มัน คล้าย กับ ปลา ทุกัง.
มังคุด (511:10)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ เปน กลาง อย่าง หนึ่ง, มี ผล กิน เปรี้ยว ๆ, หวาน ๆ นั้น.
มังคะหล่า (511:11)
         เปน ชื่อ เมือง ใน ประเทศ ตวัน ตก, ว่า อยู่ ฝ่าย ปากน้ำ เมือง พารานะศรี นั้น.
มังษา (511:12)
         มังษะ, มังสัง, ฯ แปล ว่า เนื้อ, บันดา เนื้อ คน ฤๅ เนื้อ สัตว ทั้ง ปวง, เรียก ว่า เนื้อ ลิ้น ทั้งนั้น เว้น ไว้ แต่ เนื้อไม้.
มั่ง (511:13)
         คือ อ้วน, เหมือน ไม้ คันชั่ง ที่ จีน ทำ สำรับ ชั่ง ของ, มี หมู เปน ต้น* นั้น, ข้าง ตอน ค่อน ไป ข้าง ต้น นั้น อ้วน อยู่ เขา ว่า มั่ง อยู่ นั้น.
      มั่ง คั่ง (511:13.1)
               คือ ความ มั่งมี เงิน ทอง นั้น, เช่น เสรฐี แล นายห้าง เปน ต้น นั้น.
      มั่ง มี (511:13.2)
               คือ คน มี ทรัพย มาก บริบูรณ, เหมือน คน เปน เสรฐี มี ทรัพย นับ ด้วย โกฏิ เหรียน นั้น.
หมาง (511:14)
         กระดาก, คือ ความ แรวง แคลง กิน ใจ ด้วย ความ ชั่ว, มี ผู้ มา ยุยง บอก ไว้, แต่ ยัง ไม่ เชื่อ ที เดียว ยัง แรวง แคลง หมาง หมอง ใจ อยู่.
      หมาง กัน (511:14.1)
               กระดาก กัน, คือ คน เพื่อน ชอบ กัน, แต่ รู้ ความ ชั่ว ฝ่าย ข้าง หนึ่ง กระทำ* แก่ ตัว, ก็ หมอง ใน ใจ กัน.
      หมาง ใจ (511:14.2)
               กระดาก ใจ, คือ ใจ ระคาง หมาง หมอง ด้วย ความ ร้าย มี แก่ ตัว, ได้ ยิน เข้า หู ตัว ก็ มี ใจ ระคาง เคือง นั้น.
      หมาง หน้า (511:14.3)
               กระดาก หน้า, คือ ติเตียน นินทา กัน ลับ หลัง ทั้งสอง ฝ่าย ครั้น เหน หน้า กัน ก็ ระคาง หมาง นั้น.
      หมาง หมอง (511:14.4)
               ขุ่น เคือง, คือ ความ ขุ่น มัว ใน ใจ ด้วย ความ ร้าย อัน ใด อัน หนึ่ง, คน เดิม ชอบ กัน มี ความ เคือง กัน ใน ใจ นั้น.
มิ่ง (511:15)
         คือ สิ่ง ที่ ถือ ว่า เปน มงคล, แต่ เปน สิ่ง ที่ ไม่ มี รูป พรรณ สัณฐาน, แต่ เขา เข้า ใจ ว่า สิ่ง นั้น มี เหมือน ศิริ ที่ ไม่ เหน.
      มิ่ง ขวัน (511:15.1)
               คือ สิ่ง ที่ ว่า แล ขวัน สิ่ง ทั้ง สอง นี้ ไม่ มี รูปพรรณ สัณฐาน, แต่ เขา ถือ ว่า มี, เหมือน ทารก ตก ใจ ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง, เขา ร้อง เรียก ว่า ขวัน เอ๋ย มา นั้น.
      มิ่ง เมีย (511:15.2)
               คือ เมีย ที่ มี สิริ มงคล จะ ให้ ถึง ซึ่ง ความ เจริญ.
      มิ่ง มงคล (511:15.3)
               คือ สิ่ง เช่น ว่า นั้น, เขา ถือ ว่า เปน ที่ เจริญ สิริ สมบัติ พัศถาน แล ศฤงฆาร บริวาร นั้น.

--- Page 512 ---
      มิ่งมะเหษี (512:15.4)
               คือ สัตรีภาพ ที่ เปน เมีย บริ บูณ ด้วย สิวิวิลาศ อัน ดี นั้น.
      มิ่ง เมือง (512:15.5)
               มงคล เมือง, คือ ขวัน เมือง. เขา สมโภช มี งาน โขน หุ่น แล ละคอน หนัง เช่น ว่า นั้น, ว่า ทำ มิ่ง ขวัน เมือง ให้ เปน มงคล เจริญ.
มึง (512:1)
         เอง, นี่ เปน คำ อยาบ, คน ผู้ เปน ใหญ่ พูด กับ คน ต่ำ บันดาศักดิ์ ฤๅ เด็ก เปน ต้น, ว่า มึง ทำ ชั่ว นั้น.
      มึง ไม่ ดี (512:1.1)
               เอง ไม่ ดี, คน มี ยศ ศักดิ์ เหมือน คน เปน ขุนนาง ผู้ ใหญ่, ว่า กับ ทาษ ว่า มึง ทำ การ ไม่ ดี นั้น.
      มึง เอง (512:1.2)
               คน เปน นาย ว่า กับ บ่าว ว่า การ นี้ คน อื่น เขา ไม่ ได้ ทำ, มึง ทำ เอง เปน การ ไม่ ดี.
มุง (512:2)
         (dummy head added to facilitate searching).
      มุง กระเบื้อง (512:2.1)
               คลุม กระเบื้อง, คือ เอา กระเบื้อง สำรับ มุง หลังคา ขึ้น ลำดับ เรียบ เรียง บน กลอน, มิ ให้ ฝน แล แดด ถูก ได้.
      มุง เข้า มา (512:2.2)
               กลุ้ม เข้า มา, คือ คน มาก หลาย คน, เขา มา พร้อม กัน, ว่า เปน ความ เปรียบ เหมือน มุง หลังคา นั้น.
      มุง จาก (512:2.3)
               ปิด ด้วย จาก, คือ เอา ตับ จาก ขึ้น วาง บน ไม้ กลอน แล้ว เอา ตอก บิด รัด ไว้ กับ กลอน ให้ มั่นคง นั้น.
      มุง แฝก (512:2.4)
               ปิด ด้วย แฝก, คือ เอา ตับ แฝก ขึ้น วาง บน กลอน แล้ว เอา ตอก แทง สอด รัด เข้า ให้ มั่น กับ กลอน.
      มุง ถี่ (512:2.5)
               ปิด ถี่, คือ มุง ตับ จาก ฤๅ ตับ แฝก ชิด ๆ กัน เปน ลำดับ เพื่อ จะ ให้ ทน อยู่ ช้านาน นั้น.
      มุง หลังคา (512:2.6)
               ปิด หลังคา, คือ มุง เช่น ว่า ที่ เครื่อง บน เรือน เพื่อ จะ กัน ฝน แล แดด, เรียก ว่า หลังคา เพราะ แต่ เดิม เขา มุง ด้วย ตับ คา เปน ต้น นั้น.
      มุง ห่าง (512:2.7)
               ปิด ห่าง, คือ มุง เช่น ว่า, แต่ มุง ตับ จาก ฤๅ ตับ แฝก ไม่ สู้ ชิด ดี*, เพราะ เปน แต่ การ จะ รื้อ เร็ว เอา ไว้ ไม่ นาน นั้น.
มุ่ง (512:3)
         (dummy head added to facilitate searching).
      มุ่ง ขะเม่น (512:3.1)
               คือ มอง เพ่ง ไม่ พริบ หน่วย ตา, คน จะ ยิง ปืน ให้ ถูก ที่ ตัว หมาย, ต้อง มุ่ง แล เลง ไม่ เมิน นั้น.
      มุ่ง มอง (512:3.2)
               ขะเม่น มอง, คือ ขะเม่น เลง ไม่ พริบ ตา, คน จะ ดู ถ้ำ มอง เล่น, ต้อง แล ขะเม่น ตาม ช่อง รู ถ้ำ นั้น.
      มุ่ง มาต (512:3.3)
               ขะเม่น หมาย, คือ มุ่ง หมาย*, เหมือน คน โกรธ พยา บาท กัน, ด้วย ข้อ ขัด ใจ อัน ใด อัน หนึ่ง แล มุ่ง หมาย นั้น.
      มุ่ง หมาย (512:3.4)
               คือ มุ่ง มาต, เหมือน คน แค้น เคือง กัน ด้วย ข้อ ขัด ใจ, แล หมาย* มาต จะ ทำ ร้าย นั้น.
      มุ่ง ร้าย หมาย ขวัน (512:3.5)
               คือ ผูก พยา บาท หมาย จะ ทำ อันตะราย ต่าง ๆ นั้น, มี คน คิด คอย ฆ่า เปน ต้น.
มุ้ง (512:4)
         คือ ของ สำหรับ กัน ยุง ริ้น, เขา ทำ ด้วย ผ้า ด้าย หฤา* ผ้า ไหม ผ้า ป่าน, เปน รูป สี่ เหลี่ยม มี สาย ผูก กาง กัน ยุง นั้น
      มุ้ง ป่าน (512:4.1)
               คือ ของ เช่น ว่า นั้น, เขา ทำ ด้วย ผ้า ป่าน, เอา มา เย็บ เปน สี่ เหลี่ยม กาง สำหรับ กัน ยุง.
      มุ้ง ผ้า (512:4.2)
               คือ มุ้ง เขา ทำ ด้วย ผ้า ด้าย, เขา เอา ผ้า มา ตัด เปน ท่อน ๆ แล้ว เยบ ติด กัน เข้า เปน สี่ มุม นั้น.
      มุ้ง แพร (512:4.3)
               คือ มุ้ง เขา ทำ ด้วย แพร, เขา เอา ผ้า แพร มา ตัด เปน ท่อน ๆ แล้ว เย็บ ติด กัน เปน สี่ มุม นั้น.
เมง มอญ (512:5)
         รามัญ, คือ คน ภาษา เมง อย่าง หนึ่ง, ภาษา มอญ อย่าง หนึ่ง, เปน คน มา แต่ เมือง อื่น มา อยู่ ใน เมือง นี้.
เหม็ง (512:6)
         เปล่า, เปน ภาษา จีน เล่น โป กัน, แทง โป อย่าง หนึ่ง เรียก ว่า แทง เหม็ง ถ้า ผิด ก็ เจ้า มือ ได้, ถ้า ถูก ผู้ แทง ได้ นั้น.
เหม่ง (512:7)
         ฆ้อง, เปน เสียง กลอง เขา ตี ที่ สพ ผี ตาย, เปน ที่ ประโคม สพ ตาม ธรรมเนียม ไท ใน เมือง นี้.
แมง (512:8)
         แมลง, คือ คำ เรียก ตัว สัตว์ เล็ก ๆ หลาย จำพวก, เขา เรียก ตาม ภาษา ไท มา แต่ ก่อน.
      แมง กะชอน (512:8.1)
               คือ สัตว์ ตัว เล็ก มัน มุด ชอน ไป ใต้ ดิน, ตัว มัน เล็ก ๆ เท่า นิ้ว ก้อย นั้น.
      แมง แกลบ (512:8.2)
               แมลง แกลบ, ตัว มัน คล้าย แมง สาบ มี ปีก บิน ได้, แต่ มัน มัก อยู่ ใต้ ดิน แล ขยาก ผง นั้น.
      แมง คา* เรือง (512:8.3)
               แมลงคา เรือง, ตัว มัน เล็ก ๆ เท่า เส้น ด้าย มี ตีน มาก ตลอด ตัว ๆ มัน ยาว สัก สอง นิ้ว, ถ้า ถูก มัน เข้า มี ศรี เรือง ๆ นั้น.
      แมง ดา (512:8.4)
               เปน สัตว์ อยู่ ใน ทะเล, ตัว มัน กลม เหมือน ชาม ควั่ม ไว้, มัน หาง แขง แหลม แทง ได้.
      แมง ดา ถ้วย (512:8.5)
               คือ แมงดา เล็ก ตัว มัน เท่า ถ้วย, มี หาง แขง แหลม แทง คน ก็ ได้, มัน กิน โคลน ทะเล.
      แมง ดา นา (512:8.6)
               ตัว มัน คล้าย แมงสาบ, แต่ โต กว่า แมง สาบ ต่อ น่า ฝน มัน เกิด มี ที่ นา เขา กิน ได้.

--- Page 513 ---
      แมง ทับ (513:8.7)
               แมลง ทับ, ตัว มัน เท่า นิ้ว ชี้, มี ปีก บิน ได้, ศรี มัน เหมือน ศรี ทอง งาม, เด็ก ๆ มัน จับ มา เลี้ยง ไว้ ดู เล่น นั้น.
      แมง ป่อง (513:8.8)
               แมลง ป่อง, ตัว มัน เล็ก กว่า นิ้ว มือ, มี ตีน หลาย ตีน, มี หาง ยาว งอน ที่ ปลาย หาง, มี จะ ง้อย แหลม แทง คน ทำ พิศม์ ปวด นัก.
      แมง ป่อง ช้าง (513:8.9)
               แมลง ป่อง ช้าง, ตัว มัน โต เท่า นิ้ว มือ ศรี ดำ เขียว, มี จะงอย* ที่ ปลาย หาง แหลม แทง คน ทำ พิศม์ หนัก นั้น.
      แมง พึ่ง (513:8.10)
               แมลง พึ่ง, ตัว มัน โต เท่า แมงวัน บ้าง, พึ่ง หลวง ตัว โต กว่า นั้น, ที่ ก้น มัน มี เหล็ก ใน แทง คน มี พิศม์ กล้า นัก.
      แมง ภู่ (513:8.11)
               แมลง ภู่, ตัว มัน โต เท่า นิ้ว มือ, มี ปีก บิน ได้ เที่ยว ไป ตัว เดียว อาบ เอา เกษร ดอก ไม้ แล ดอก บัว ไป ทำ รัง.
      แมง เม่า (513:8.12)
               แมลง เม่า, มัน เปน สัตว์ ตัว เล็ก เท่า กับ มด แดง มี ปีก บิน ได้, ถ้า ฝน ตก ลง แล้ว ซา ลง มัน ก็ ออก บิน ชุม, แล มัน มัก ตอม ที่ ไฟ.
      แมง มุม (513:8.13)
               แมลง มุม, ตัว มัน เท่า แม่ มือ, มัน ชัก ใย อยู่ ที่ เรือน คน, มัน มี ใย เปน เส้น สาย ออก จาก กัน, ทำ เปน ตะราง ดัก สัตว์ กิน เปน นิจ.
      แมง หวี่ (513:8.14)
               ตัว มัน หนิด นัก มี ปีก บิน ได้, มัก ตอม หน่วย ตา คน เมื่อ เจ็บ มี ขี้ ตา, เปน ตา แดง แฉะ นั้น.
      แมง วัน (513:8.15)
               เปน สัตว์ เล็ก อย่าง หนึ่ง, มัน ย่อม มา ไต่ ตอม แต่ ใน เพลา กลาง วัน, กลาง คืน มัน ไม่ มา เลย.
      แมง ปอ (513:8.16)
               แมลง ปอ, ตัว มัน ยาว เล็ก ก้น เรียว, มี ปีก สี่ ปีก เที่ยว บิน กิน ยุง ตาม ริม บ้าน เรือน ก็ มี, ที่ ทุ่ง นา ก็ มี.
      แมง ปะทุน (513:8.17)
               ตัว มัน คล้าย กับ แมง ปอ, มี ปีก ตัว ยาว ราว กัน, เที่ยว กิน ยุง ตาม บ้าน แล ทุ่ง นา ชุม.
      แมงลัก (513:8.18)
               คือ ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง, ใบ มัน กิน เปน กับ เข้า, ลูก เมลด มัน เขา กิน เปน ของ หวาน ได้.
      แมง สาบ (513:8.19)
               ตัว มัน เล็ก เท่า นิ้ว มือ มี ศรี แดง หลัว ๆ มี ปีก มัน เที่ยว อยู่ ใน หีบ ฤๅ ใน สมุก ชุม นั้น.
โมง (513:1)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เขา เอา แช่ ทำ น้ำ เชื้อ ใส่ กับ ปูน ขาว. อย่าง หนึ่ง เรียก เวลา ว่า โมง, คือ สิบ สอง โมง เปน วัน หนึ่ง นั้น.
      โมง หนึ่ง (513:1.1)
               คือ เวลา นาฬิกา ได้ สิป บาตร นั้น.
โม่ง (513:2)
         คือ ไม้ เสา ที่ เขา ปลูก เรือน ฝัง ดิน อยู่, ข้าง บน กิ่ว เล็ก ข้าง ล่าง โต อยู่, เขา ว่า ข้าง ล่าง โม่ง* อยู่.
โหม่ง* (513:3)
         เปน เสียง ฆ้อง ดัง เช่น นั้น บ้าง, มี เสียง ฆ้อง โหม่ง เมื่อ ยก กอง ทัพ เปน ต้น นั้น.
      โหม่ง ครุ่ม (513:3.1)
               เปน คน หลาย คน เต้น เปน ท่า ทาง แล้ว เอา ไม้ เคาะ ตี ไม้ ต่อ ไม้ แล้ว ตี กลอง ตี ฆ้อง นั้น.
มอง (513:4)
         ดู, คือ ส่อง ตา ดู อยู่, คน จะ ดู ถ้ำ มอง สำหรับ แล ดู เล่น ซึ่ง สิ่ง ที่ เขา ทำ ไว้ ต่าง ๆ มี รูป คน เปน ต้น.
      มอง ขะเม่น (513:4.1)
               คือ สอง ตา เพ่ง ดู อยู่, คน จะ ยิง ปืน ให้ ถูก เป้า ที่ ตัว หมาย, ต้อง เพ่ง เลง ดู ไม่ พริบ ตา นั้น.
      มอง ด้อม (513:4.2)
               คือ ตา มอง ดู แล ทำ กาย ให้ ยอบ กำบัง คอย ดู เพื่อ จะ ไม่ ให้ เขา เหน นั้น.
      มอง ดู (513:4.3)
               คือ มุ่ง ดู, คน คอย ดู อัน ใด ๆ แต่ ไม่ สู้ เพ่ง นัก, เปน แต่ แล ดู ภอ เหน นั้น ว่า มอง ดู.
      มอง เมียง (513:4.4)
               ดู พลาง, คือ มุ่ง ดู พลาง เดิน เข้า ใกล้, คน จะ คิด ลัก ของ เปน ต้น, เดิน มุ่ง เข้า ใกล้ หมาย จะ เอา ของ นั้น.
หมอง (513:5)
         คือ มัว เสร้า, เหมือน กระจก คน ไม่ ได้ ปิด บัง วาง ไว้ เปล่า ๆ มี ละออง ผง ตก ลง ถูก นั้น.
      หมอง หมาง (513:5.1)
               คือ ใจ คน ขุ่น เคือง เดียดฉัน นั้น, เช่น คน ชอบ กัน แล้ว กลับ ขัด เคือง กัน บ้าง นั้น.
      หมอง ใจ (513:5.2)
               คือ เสร้า ใจ, เปน ความ เปรียบ เหมือน กระจก ที่ เสร้า มัว ด้วย ผง เช่น ว่า นั้น.
      หมอง ศรี (513:5.3)
               คือ ศรี เสร้า มัว คล้ำ ดำ ไป นั้น, เช่น ทอง คำ ที่ ศรี มัว หมอง ไป นั้น.
      หมอง มัว (513:5.4)
               คือ มัว เสร้า, ของ เอา ไว้ ถูก ละออง ผง ตก ลง คร่ำ อยู่ เสร้า มัว ไม่ ผ่อง ใส สะอาด นั้น.
      หมอง ภักตร์ (513:5.5)
               คือ หน้า มัว เสร้า ไป นั้น, เช่น คน ต้อง ไภย ได้ ทุกข์ หน้า เสร้า หมอง นั้น.

--- Page 514 ---
      หมอง อารมณ์ (514:5.6)
               เปน ความ เปรียบ*, คน ที่ มี ใจ เสร้า มัว ด้วย ความ ไม่ สบาย อัน ใด อัน หนึ่ง, ว่า หมอง อารมณ์.
หม่อง ๆ (514:1)
         เปน เสียง ฆ้อง ย่อม ๆ เขา ตี ดัง เสียง เช่น นั้น, เช่น ฆ้อง ตะเวน นั้น.
ม่วง (514:2)
         มะม่วง, เปน ชื่อ ต้น ไม้ มี ผล อย่าง หนึ่ง, เปน ขนาด ใหญ่, ผล เมื่อ ดิบ รศ เปรี้ยว ครั้น สุก รศ หวาน, เขา กิน เปน กับ เข้า ได้, เปน ของ หวาน ก็ ได้. อย่าง หนึ่ง เปน ศรี แดง เจือ น้ำ คราม นั้น ว่า ศรี ม่วง.
เมียง (514:3)
         คือ เดิน เข้า ใกล้, แต่ ค่อย ๆ เดิน ชาย ไป ช้า ๆ ไม่ เข้า ตรง หน้า นั้น, เขา ว่า เดิน เมียง เข้า มา.
      เมียง มอง (514:3.1)
               คือ เดิน เข้า ใกล้ ๆ แล เลี่ยง มอง ดู นั้น, เช่น คน เดิน เลียบ ชาย ดู นั้น.
เมี่ยง (514:4)
         เมี่ยง อม, คือ ของ กิน อย่าง หนึ่ง, ไม่ เปน ของ คาว ไม่ เปน ของ หวาน, เขา ทำ ด้วย มะพร้าว ขั้ว เปน ต้น นั้น.
      เมี่ยง ส้ม (514:4.1)
               คือ เมี่ยง เช่น ว่า นั้น, แต่ เขา เอา ส้ม เปรี้ยว ๆ ใส่ เข้า กิน ด้วย, เขา ประกอบ ของ หลาย สิ่ง.
      เมี่ยง แนม (514:4.2)
               คือ เมี่ยง คล้าย กับ เมี่ยง เช่น ว่า, แต่ เขา ทำ คล้าย หมูแนม, เขา กิน กับ ใบ ทอง หลาง.
      เมี่ยง ใบ (514:4.3)
               คือ เมี่ยง เช่น ว่า, แต่ เขา ไม่ กิน กับ ส้ม, เขา กิน กับ ใบ ไม้, จึ่ง เรียก ว่า เมี่ยง ใบ นั้น.
      เมี่ยง หมาก (514:4.4)
               เมี่ยง แล หมาก นั้น ก็ มิ เช่น ว่า แล้ว, แต่ มัก พูด ติด กัน เปน สร้อย คำ ว่า เมี่ยง หมาก
เมือง (514:5)
         กรุง, คือ ประเทศ ที่ เขา ก่อ กำแพง อิฐ ฤๅ สิลา ล้อม รอบ ทำ ประตู สำหรับ เข้า ออก นั้น.
      เมือง เก่า (514:5.1)
               กรุง เก่า, คือ เมือง เขา สร้าง ไว้ นาน หลาย ปี, คน เปน กระสัตริย์ สั่ง ให้ เสนา บดี ก่อ ส้าง นั้น.
      เมือง กรุง (514:5.2)
               คือ เมือง ศรี อยุทธยา เก่า มี ฝ่าย เหนือ เสีย กับ พะม่า นาน แล้ว, เขา เรียก ว่า เมือง กรุง.
      เมือง กรุง เทพ (514:5.3)
               คือ กรุง ไทย นี้.
      เมือง โกสินะราย (514:5.4)
               กรุง กุสินะราย, เปน ชื่อ เมือง หนึ่ง มี ใน บาฬี, ว่า อยู่ ทิศ ตะวัน ตก เมือง ภาราณศรี ว่า พระเจ้า ไทย ไป นิพพาน ที่ เมือง นั้น.
      เมือง กำภูชา ธิบดี (514:5.5)
               กรุง กำภูชา ธิบดี, คือ เมือง เขมน อยู่ ฝ่าย ทิศ ตะวัน ออก ต่อ ใกล้ กับ เมือง ไส้ ง่อน เมือง ญวน นั้น.
      เมือง กึงตั๋ง (514:5.6)
               คือ เมือง จีน เรียก เมือง กวางตุ้ง บ้าง, ว่า เปน เมือง ปาก น้ำ เมือง ปะกิ่ง เมือง หลวง จีน นั้น.
      เมือง กวางตุ้ง (514:5.7)
               เปน เมือง จีน* เรียก เมือง กึงตั๋ง บ้าง, ว่า เปน เมือง ปาก น้ำ ขึ้น กับ เมือง ปะกิ่ง นั้น
      เมือง โกลัมภี (514:5.8)
               นคร โกสัมภี, เปน ชื่อ เมือง มี ใน บาฬี, ว่า มี อยู่ ฝ่าย ทิศ ตวัน ตก เฉียง เหนือ เมือง ไทย นี้.
      เมือง เขมน (514:5.9)
               คือ เมือง กำภูขา ธิบดี เช่น ว่า แล้ว อยู่ ฝ่าย ทิศ ตะวัน ออก กรุง ศรี อยุทธยา นี้.
      เมือง แขก (514:5.10)
               มี เปน อัน มาก มี เมือง ตานี เปน ต้น, พวก แขก อยู่ เปน เจ้าเมือง, ไม่ ถือ สาสนา ไทย.
      เมือง ขึ้น (514:5.11)
               เมือง ออก, บันดา เมือง เมือง เล็ก จัด เปน เมือง เอก, เมือง โท, เมือง ตรี จัตวา, มา สามีภักดิ์ กับ กรุง ศรี อยุทธยา นี้, ว่า เปน เมือง ขึ้น ทั้ง นั้น.
      เมือง ขอม (514:5.12)
               เมือง เขมน, คือ เมือง พุทไธย มาศ, เมือง ญวน อยู่ ฝ่าย ทิศ ตะวัน ออก เมือง ไทย นี้.
      เมือง โคราช (514:5.13)
               เปน เมือง ขึ้น กรุง เทพ มหา นะคร, อยู่ ฝ่าย ทิศ ตะวัน ออก เฉียง เหนือ เมือง นี้.
      เมือง นะคร ราช เสมา (514:5.14)
               คือ เมือง โคราช นั้น, แต่ ไพร่ พล เมือง เรียก เมือง โคราช บ้าง, แต่ ใช้ ใน ท้อง ตรา หลวง ว่า เมือง นะคร ราช เสมา.
      เมือง จำปาสัก (514:5.15)
               เปน เมือง ลาว มี อยู่ ฝ่าย ทิศ เหนือ กรุง เทพ มหา นะคร นี้, ต่อ ไป แต่ เมือง โคราช.
      เมือง จัตวา (514:5.16)
               เปน ชื่อ เมือง ที่ สี่, เพราะ ธรรมเนียม ไทย มี เมือง ขึ้น กับ เมือง หลวง สี่ คือ เอก โท ตรี จัตวา นั้น.
      เมือง จันทะ บูรีย์ (514:5.17)
               เปน เมือง ขึ้น กรุง เทพ มหา นะคร, อยู่ ฝ่าย ทิศ ตะวัน ออก เฉียง ใต้, คน เปน ไทย บ้าง ชอง บ้าง อยู่ เมือง นั้น.
      เมือง จันทะ คาม (514:5.18)
               เปน เมือง ขึ้น แก่ กรุง เทพ มหา นะคร มี ฝ่าย ทิศ ตะวัน ออก, มี คน ไทย อยู่ นั้น.
      เมือง เชียง เงิน (514:5.19)
               เปน เมือง ลาว อยู่ ฝ่าย เหนือ, มา ขึ้น กับ เมือง เทพ มหา นะคร, มี แต่ พวก ลาว ทั้ง นั้น,
      เมือง เชียง ทอง (514:5.20)
               เปน เมือง ลาว อยู่ ฝ่าย เหนือ ขึ้น กับ กรุง เทพ มหา นะคร, มี คน ลาว อยู่ ทั้ง นั้น.

--- Page 515 ---
      เมือง เชียง ใหม่ (515:5.21)
               เปน เมือง ลาว, อยู่ ฝ่าย เหนือ, เปน เมือง ใหญ่ มา แต่ ก่อน นั้น.
      เมือง เชียง ตุง (515:5.22)
               เปน เมือง เลว ลาว อยู่ เปน เจ้า เมือง ไม่ มา ขึ้น กับ เมือง ไทย, ว่า ตั้ง อยู่ ใน วง ภูเขา.
      เมือง เชียง รุ้ง (515:5.23)
               เปน เมือง ลาว อยู่ ฝ่าย ตวัน ตก เฉียง เหนือ ต่อ แต่ เมือง เชียง ตุง ขึ้น ไป นั้น.
      เมือง เชียง ราย (515:5.24)
               เปน เมือง ลาว มี อยู่ ฝ่าย ทิศ เหนือ, คำ บู ราณ ว่า เดิม เปน เมือง หลวง, มี เมือง ขึ้น อยู่ ใต้ บังคับ หลาย เมือง เหมือน กรุง เทพ นะคร นี้.
      เมือง เชียงแสน (515:5.25)
               เปน เมือง ลาว อยู่ ฝ่าย ทิศ เหนือ, คำ บูราณ ว่า เดิม เปน เมือง หลวง มี เมือง ขึ้น นั้น.
      เมือง ฉลาง (515:5.26)
               เปน เมือง เกาะ อยู่ ฝ่าย ทิศ ตะวัน ออก เฉียง ใต้ มี คน ไทย อยู่, แต่ เปน ชาว ฉลาง.
      เมือง เชียง ไตร (515:5.27)
               เปน เมือง ลาว อยู่ ทิศ เหนือ, แต่ ต่ำ ลง มา ใกล้ กว่า เมือง เชียง แสน เมือง เชียง ราย นั้น.
      เมือง* เชียง ตราน (515:5.28)
               เปน เมือง ลาว อยู่ ใกล้ กับ เมือง เชียง ไตร นั้น, เปน เมือง เล็ก น้อย นั้น.
      เมือง เชียง อินท์ (515:5.29)
               เปน เมือง ลาว อยู่ ฝ่าย ทิศ เหนือ ใกล้ กับ เมือง เชียง แสน เมือง เชียง ราย, เมือง ขึ้น กรุง นี้.
      เมือง ใญกัตรา (515:5.30)
               คือ เมือง เกาะ กะหลาป๋า, เปน เมือง แขก แต่ พวก จีน อยู่ มาก, อยู่ ฝ่าย ใต้ กรุง.
      เมือง ตะกั่ว ทุ่ง (515:5.31)
               เปน เมือง ไทย อยู่ ฝ่าย ทิศ ตวัน ตก เฉียง ใต้ เปน เมือง ทำ ดีบุก ถวาย กรุง นี้.
      เมือง ตะกั่ว ป่า (515:5.32)
               เปน เมือง ใกล้ กัน กับ เมือง ตะกั่ว ทุ่ง, สำ หรับ ทำ ดีบุก ถวาย, เปน คน ไทย อยู่.
      เมือง ตะนี (515:5.33)
               เปน เมือง แขก อยู่ ฝ่าย ข้าง ทิศ ใต้ ต่อ เนื่อง กับ เมือง สังขลา, ขึ้น กรุง เทพ นี้.
      เมือง ตะน้าว (515:5.34)
               เปน เมือง พวก ภาษา ตะน้าว, อยู่ ฝ่าย ทิศ ตะ วัน ตก เฉียง ใต้, เปน เมือง ขึ้น กับ พะม่า.
      เมือง ตะหนะ (515:5.35)
               เปน เมือง ไทย, อยู่ ฝ่าย ตะวัน ตก เฉียง ใต้ ขึ้น กับ กรุง ไทย, ทำ สร่วย ดีบุก ถวาย.
      เมือง ตะลุง (515:5.36)
               เปน เมือง ไทย ชาว เมือง นั้น, มี อยู่ ฝ่าย ทิศ ใต้ ใกล้ กับ เมือง มี ปาก น้ำ อัน เดียว กัน.
      เมือง ตรี (515:5.37)
               เปน เมือง ที่ สาม นั้น.
      เมือง ทะวาย (515:5.38)
               เปน เมือง คน ภาษา หนึ่ง, อยู่ ฝ่าย ทิศ ตะวัน ตก, ใกล้ เมือง มฤทธิ์ ขึ้น กับ พม่า นั้น.
      เมือง ทุ่ง ยั้ง (515:5.39)
               เปน เมือง ไทย ชาว เหนือ อยู่ ฝ่าย ทิศ เหนือ, เขา ตัด ซุง สัก ถวาย ขาย บ้าง.
      เมือง ไชย นาท บูรีย์ (515:5.40)
               เปน เมือง ไทย อยู่ ฝ่าย ทิศ เหนือ, เขา ทำ นา ทำ ไร่ ค้า ขาย เลี้ยง ชีวิตร ขึ้น กรุง.
      เมือง ธน บูรีย์ (515:5.41)
               บางกอก, คือ เมือง บางกอก นี้, เดิม เมื่อ กรุง เก่า ยัง ตั้ง ดี อยู่ ที่ นี่ เปน หัว เมือง ชื่อ ธน บูรีย์.
      เมือง ราช ธาณี (515:5.42)
               เปน ชื่อ เมือง เปน พระ นะคร กว้าง ใหญ่ ไพ สาฬ, แล มั่ง คั่ง ด้วย พล ช้าง พล ม้า พล รถ พล เดิน เท้า เปน ต้น.
      เมือง นนท์ บูรีย์ (515:5.43)
               เปน เมือง ที่ เขา เรียก ตลาด ขวัน, เดิม เมื่อ กรุง เก่า ยัง ตั้ง ดี เปน ขึ้น ชื่อ นนท์ บูรีย์.
      เมือง ธาณี (515:5.44)
               คือ หัว เมือง ฝ่าย เหนือ แห่ง หนึ่ง ตั้ง ไว้ แทน ศุ โข ไทย, เปน หัว เมือง ขึ้น กับ กรุง นี้.
      เมือง ประทุม ธาณี (515:5.45)
               คือ เมือง สาม โคก ที่ พวก มอญ* อยู่ ฝ่าย ทิศ เหนือ เตร็ด ขึ้น ไป, เขา ทำ อิฐ ขาย.
      เมือง ปะทิว (515:5.46)
               เปน เมือง ไทย อยู่ ฝ่าย ฝั่ง ทะเล ข้าง ตะวัน ตก, เขา ตัด เรือ โกลน มา ฃาย, ขึ้น เมือง ไทย.
      เมือง ฝรั่ง (515:5.47)
               เปน เมือง ต่าง ประเทศ, มี เมือง ฝรั่ง เสศ เปน ต้น.
      เมือง พะนัศ นิคม (515:5.48)
               เมือง ไทย กับ ลาว อยู่ ปน กัน, อยู่ ฝ่าย ทิศ ตะวัน ออก กรุง นี้, เขา ทำ ไต้ น้ำ มัน ยาง ขาย.
      เมือง พนมเปน (515:5.49)
               คือ เมือง ใน แขวง เขตร แดน เมือง กำภูชา บดี, เปน เมือง ขึ้น ข้าง เมือง เขมร นั้น.
      เมือง ภูม (515:5.50)
               เปน เมือง เขมร ขึ้น แก่ เมือง กำภูชาบดี, มี พวก เขมร อยู่ ใน เมือง นั้น.
      เมือง ใหม่ (515:5.51)
               คือ เมือง ที่ สร้าง ขึ้น ใหม่, เหมือน เมือง สิงกะ โประ เปน ต้น นั้น, ว่า เมือง ใหม่.
      เมือง มะลิวัน (515:5.52)
               เปน เมือง ตั้ง ใหม่ อยู่ ฝ่าย ทิศ ตวัน ตก, ตอ ไป ข้าง เมือง ปราน ปลาย เมือง เพ็ชบุรีย.
      เมือง มุกดาหาร (515:5.53)
               เปน เมือง ลาว กับ เขมรตง* อยู่ ด้วย* กัน, ต่อ แต่ เมือง โคราช ไป ทิศ เหนือ.

--- Page 516 ---
      เมือง ยศโสธร (516:5.54)
               เปน เมือง ลาว กับ เขมรดง อยู่ ด้วย กัน, ต่อ แต่ เมือง มุกดาหาร ไป นั้น.
      เมือง น่าน (516:5.55)
               เปน เมือง ลาว, อยู่ ฝ่าย ทิศ เหนือ เปน เมือง ขึ้น กรุง เทพมหานคร นี้.
      เมือง แพร่ (516:5.56)
               เปน เมือง ลาว ล้วน อยู่ ใกล้ กัน กับ เมือง น่าน, ขึ้น กรุง เทพมหานคร นี้.
      เมือง พิ ไชย (516:5.57)
               คือ เมือง ไท ชาว เหนือ, อยู่ ทิศ เหนือ ขึ้น กับ กรุง เทพมหานาคร, เขา ตัด ไม้ ซุง สัก ถวาย บ้าง ขาย บ้าง.
      เมือง เพ็ชบูรณ (516:5.58)
               เปน เมือง ไท อยู่ ปลาย น้ำ แคว ป่า สัก, เขา ทำ สร่วย ใบ ลาน แล ปลูก ยา สูบ ขาย.
      เมือง พิจิตร (516:5.59)
               เปน เมือง ไท อยู่ ฝ่าย เหนือ, เขา ตัด ไม้ ซุง สัก ถวาย แล ซื้อ ขาย เปน ประโยชน์ บ้าง.
      เมือง พิศนุโลกย (516:5.60)
               เปน เมือง ไท อยู่ ฝ่าย เหนือ, เดิม ว่า เปน เมือง หลวง, มี เมือง ขึ้น เปน อัน มาก.
      เมือง เพ็ชบูรีย (516:5.61)
               เมือง พิชพรี, เปน เมือง ไท อยู่ ตวัน ตก เฉียง ใต้, เขา ทำ น้ำ ตาล โตนด บ้าง ทำ นา บ้าง.
      เมือง มะโนรมย (516:5.62)
               เปน เมือง ไท อยู่ เหนือ เมือง กรุง, เปน เมือง เล็ก น้อย ชาว เมือง ทำ นา กิน.
      เมือง พรหมบูรีย (516:5.63)
               เมือง ไท อยู่ ฝ่าย เหนือ, ชาว เมือง ทำ นา บ้าง ตัด ไม้ บ้าง ทำ น้ำ ตาล บ้าง*.
      เมือง กาญจนะบูรีย (516:5.64)
               เปน เมือง ไท อยู่ ตวัน ตก กรุงเทพ, ชาว เมือง ทำ ไร่ ทำ นา บ้าง ตัด เสา ตัด ไม้ ไผ่ บ้าง.
      เมือง นคร เขื่อนขันท์ (516:5.65)
               เปน เมือง มอญ, ไท อยู่ ด้วย กัน อยู่ ฝ่าย ใต้, ใกล้ กับ ปากน้ำ เจ้าพระยา นั้น.
      เมือง นครศรีธรรมราช (516:5.66)
               เปน เมือง ไท แต่ พูด เปน เสียง ขาว นอก, ชาว เมือง ทำ นา ทำ ไร่ ตัด มาดเรือ ขาย, อยู่ ฝ่ายใต้ ใกล้ กัน กับ เมือง สังขลา นั้น.
      เมือง นครนายก (516:5.67)
               เปน เมือง ไท อยู่ ทิศ ตวันออก เฉียง เหนือ, ชาว เมือง ทำ นา ทำ ไร่ ตัด ไม้ ขาย บ้าง.
      เมือง นคร ไชยศรี (516:5.68)
               เปน เมือง อยู่ ตวัน ตก เฉียง เหนือ, ชาว เมือง ทำ ไร่ นา ปลูก อ้อย ขาย.
      เมือง ราชบูรี (516:5.69)
               เมือง ราชพรี, เปน เมือง ไท อยู่ ฝ่าย ทิศ ตวัน ตก กรุงเทพมหานคร, ชาว เมือง ทำ ไร่ นา ตัด ไม้ เสา ขาย.
      เมือง ลพบูรีย (516:5.70)
               เมือง ละโว้, เปน เมือง ไท อยู่ ฝ่าย เหนือ ชาว เมือง ทำ นา ทำ สวนไน้หน่า แล กล้วยไข่* ซื้อ ขาย.
      เมือง กำแพงเพ็ชร (516:5.71)
               เปน เมือง ชาว เหนือ ลาว มี บ้าง, ชาว เมือง ทำ นา ตัด เสา ทำ น้ำมันยาง ขาย.
      เมือง นครไท (516:5.72)
               เมือง ละคร ไท, เปน เมือง ไท อยู่ ฝ่าย เหนือ, ไท บ้าง ลาว บ้าง ทำ ไร่ นา ตัด ไม้ ตัด เสา ขาย.
      เมือง นครสวรรค (516:5.73)
               เปน เมือง ไท อยู่ ฝ่าย ทิศเหนือ, ชาว เมือง ทำ ไร่ นา ตัด ไม้ ฟัน เสา ขาย.
      เมือง ชลบูรีย (516:5.74)
               เมือง บางปะส้อย, เปน เมือง ไท อยู่ ฝ่าย ทิศ ตวันออก เฉียง ใต้ ติด กับ ฝั่งทเล ที่ เขา เรียก ว่า บางปะส้อย
      เมือง ซะเซิงเซา (516:5.75)
               เมือง แปดริ้ว, เปน เมือง ไท อยู่ ฝ่าย ทิศ ตวัน ออก กรุง, ชาว เมือง ทำ นา ทำ สวน ตัด ไม้ ขาย.
      เมือง เว้ (516:5.76)
               เมือง ยวญ, คือ เมือง เวียดนาม, พวก ยวญ อยู่ ทั้งนั้น, อยู่ ทิศ ตวันออก.
      เมือง เวียงจันท์ (516:5.77)
               เมือง ลาว เปน เมือง หลวง ลาว ล้วน อยู่ ทิศ ตวันออก เฉียง เหนือ ชาว เมือง ทำ ไร่ ทำ นา.
      เมือง สุวรรณ ภูมบูรีย (516:5.78)
               เปน เมือง ลาว กับ เขมรดง อยู่ ด้วย กัน, ชาว เมือง ทำ ไร่ นา ตัด ไม้ ขาย.
      เมือง สาครบูรีย (516:5.79)
               เปน เมือง มี แต่ โบราณ มี ชื่อ ปรากฎ ใน เรื่อง บาฬี, จะ กำหนด ทิศ ไม่ ได้.
      เมือง สากะละนคร (516:5.80)
               เปน เมือง มี แต่ โบราณ, มี แต่ ชื่อ ปรากฏ ใน เรื่อง บาฬี, กำหนด ทิศ ไม่ ได้.
      เมือง สวรรคไลกย (516:5.81)
               เมือง สังคะโลกย, เปน เมือง ไท อยู่ ทิศ เหนือ, เดิม ว่า เปน เมือง หลวง ชาว เมือง ตัด ไม้ ซุง.
      เมือง สระบูรีย (516:5.82)
               เปน เมือง ไท อยู่ ทิศ ตวัน ตก เฉียง เหนือ, แต่ พวก ลาว อยู่ มาก, ชาว เมือง ทำ ไร่ นา ตัด ไม้ เสา ขาย. เมือง สมุทปราการ, เมือง ปากน้ำ เจ้าพระยา, เปน เมือง ไท อยู่ ทิศใต้ คือ เมือง ที่ ปาก น้ำ เจ้า พระยา ที่ จะ เข้า มา กรุง นี้.
      เมือง สมุทสงคราม (516:5.83)
               เมือง แม่คลอง, เปน เมือง ไท อยู่ ทิศ ตวัน ตก เฉียง ใต้ ใกล้ ทเล, ชาว เมือง ทำ ปลา ซื้อ ขาย, เขา เรียก เมือง แม่ กลอง นั้น.
      เมือง สมุทสาคร (516:5.84)
               เมือง ท่าจีน*, เปน เมือง ไท ใกล้ ทเล ทิศ ตวัน ตก เฉียง ใต้, ชาว เมือง ทำ ปลา ขาย เปน ต้น, เขา เรียก เมือง ท่าจีน นั้น.

--- Page 517 ---
      เมือง ศุโขไท (517:5.85)
               เมือง โสกะไท, เปน เมือง ไท อยู่ ฝ่าย เหนือ กรุง, ชาว เมือง ตัด ไม้ ซุง บ้าง ทำ ไร่ นา บ้าง.
      เมือง สวาง บูรีย (517:5.86)
               เมือง ฝาง, เปน เมือง ลาว อยู่ ฝ่าย เหนือ, ชาว เมือง ทำ ไร่ นา ตัด ไม้ ค้า ขาย ต่าง ๆ.
      เมือง หงษาวะดี (517:5.87)
               เปน เมือง มอญ มี แต่ โบราณ ชาว เมือง เปน มอญ ล้วน, แต่ บัดนี้ ร้าง แล้ว.
      เมือง อะมรแมน (517:5.88)
               เมือง มระแหม่ง, เปน เมือง มอญ มา แต่ ก่อน, แต่ บัดนี้ อังกฤษ ตี ได้ ก็ ขึ้น แก่ อังกฤษ.
      เมือง อังวะ (517:5.89)
               เมือง พะม่า เปน เมือง หลวง, พวก พะม่า อยู่ โดย มาก, ภาษา อื่น น้อย.
      เมือง หลวงพระบาง (517:5.90)
               เปน เมือง ลาว เดิม เปน เมือง หลวง อยู่ ทิศ เหนือ, ชาว เมือง เปน ลาว มาก ภาษา อื่น น้อย.
      เมือง เสียมราบ (517:5.91)
               เปน เมือง เขมร อยู่ ทิศ ตวันออก กรุง เทพ มหานคร, ขึ้น กับ กำภูชาบดี นั้น.
      เมือง หลวง (517:5.92)
               คือ เมือง ใหญ่, มี กระษัตริย์ เปน เอกะราช, มี เมือง ขึ้น อยู่ ใน ใต้ บังคับ เปน อัน มาก นั้น.
      เมือง ขึ้น (517:5.93)
               คือ เมือง ที่ อยู่ ใต้ บังคับ เมือง หลวง, ๆ เกณฑ เอา ราชการ สร่วย สาอากร ได้ นั้น.
      เมือง ออก (517:5.94)
               เปน เมือง ถวาย ดอกไม้ เงิน ทอง ทุก ปี, แต่ ไม่ ต้อง กะเกณฑ ราชการ สิ่ง ใด.
      เมือง เอก (517:5.95)
               คือ เมือง ที่ หนึ่ง จาก เมือง หลวง, มี เมือง วิศ นุ โลกย์ เปน ต้น, เรียก ว่า เมือง เอก.
      เมือง โท (517:5.96)
               คือ เมือง ที่ สอง จาก เมือง หลวง, มี เมือง เพชร์ เปน ต้น.
      เมือง ตรี (517:5.97)
               คือ เมือง ที่ สาม จาก เมือง หลวง, มี เมือง สะมุท ปราการ เปน ต้น.
      เมือง จัตวา (517:5.98)
               คือ เมือง ที่ สี่ จาก เมือง หลวง, มี เมือง นะคร เขื่อน ขันธ์ เปน ต้น.
เหมือง (517:1)
         คือ คลอง เล็ก ๆ เขา ขุด ไข น้ำ ให้ เข้า นา, ชาว นา เขา ขุด เอา น้ำ จาก แม่ น้ำ ให้ เข้า นา นั้น.
มด (517:2)
         คือ ตัว สัตว์ เล็ก ๆ มัน ทำ รัง รู อยู่ ใน ดิน บ้าง, อยู่ ที่ ต้น ไม้ บ้าง, เอา ใบ ไม้ ห่อ ทำ รัง นั้น.
      มด คัน (517:2.1)
               มัน มี ศรี ตัว ไม่ สู้ ดำ นัก มัก อยู่ รัง ที่ ดิน, ขุด ดิน เปน ขุย เม็ด เล็ก ๆ, มัน กัด คัน นั้น.
      มด ง่าม (517:2.2)
               คือ มด คัน แต่ ตัว มัน ใหญ่ กว่า เพื่อน, ปาก มัน มี เขี้ยว เปน ง่าม อยู่ จึ่ง เรียก มด ง่าม.
      มด ดำ (517:2.3)
               คือ มด ตัว เล็ก ๆ ตัว มัน ดำ, มัน ทำ รัง อยู่ บน ต้น ไม้, มัน เยี่ยว ใส่ ตา คน แสบ นัก.
      มด แดง (517:2.4)
               คือ มด ตัว มัน แดง, มัน ห่อ ใบ ไม้ เข้า ทำ รัง, มัก อยู่ บน มะม่วง ชุม นั้น.
      มด ดีด (517:2.5)
               คือ มด ตัว หนิด ๆ มัน ทำ รัง อยู่ บน ยอด ไม้.
      มด ตา ลาน (517:2.6)
               คือ มด ตัว เขื่อง มัน มัก อาไศรย อยู่ เรือน มัก วิ่ง ลน ลาน ไป, เรียก มด ตาลาน.
      มด ไฟ (517:2.7)
               คือ มด ตัว เล็ก ศรี มัน แดง มี พิศม์, ถ้า มัน กัด แล้ว ทั้ง ปวด ทั้ง คัน นัก.
      มด หมอ (517:2.8)
               เปน คำ เรียก หมอ, แต่ คำ ว่า มด ติด ต้อย เปน สร้อย คำ.
      มด ยอบ (517:2.9)
               เปน ชื่อ ยา เครื่อง เทศ อย่าง หนึ่ง.
      มด ลี่ (517:2.10)
               คือ มด ตัว หนิด ๆ มี อยู่ ป่า ฝ่าย เหนือ, มัน ทำ รัง อยู่ ใต้ ดิน, คน เก็บ เอา ไข่ มา ดอง กิน.
      มด เล็ก (517:2.11)
               คือ มด ตัว เล็ก ๆ บันดา มด ตัว เล็ก ทั้ง สิ้น. เขา เรียก ว่า มด เล็ก.
หมด (517:3)
         สิ้น, ไม่ มี, คือ สิ้น ของ บันดา มี อยู่ เดิม, ครั้น นาน มา คน กิน ฤๅ ใช้ สอย สิ้น ไป ว่า หมด.
      หมด การ (517:3.1)
               ไม่ มี การ, สิ้น การ, คือ ทำ การ สาระพัด ทุก อย่าง. มี การ ตี พิมพ์ เปน ต้น, ทำ นาน มา สิ้น เข้า ว่า หมด การ.
      หมด ของ (517:3.2)
               ไม่ มี ของ, สิ้น ของ, คือ* ของ สาระพัด ทุก สิ่ง* เดิม มี มาก กว่า หมื่น กว่า แสน, นาน มา ของ สิ้น ไป นั้น.
      หมด คน (517:3.3)
               ไม่ มี คน, สิ้น คน, คือ คน เดิม อยู่ มาก นับ ร้อย นับ พัน, ครั้น อยู่ มา คน ไป ฤๅ ตาย สิ้น ไป ว่า คน หมด ไป
      หมด เงิน (517:3.4)
               ไม่ มี เงิน, สิ้น เงิน, คือ เงิน สิ้น ไป, เดิม เงิน มี มาก พัน เหรียน ห้า ร้อย เหรียน, นาน มา ใช้ สิ้น ไป ว่า หมด เงิน.
      หมด จด (517:3.5)
               บริสุทธิ์, คือ ผ่อง ใส, เหมือน ของ มี เครื่องแก้ว เปน ต้น, ครั้น ขัด สี ชำระ ก็ ผ่อง ใส, ว่า หมด จด.
      หมด ทั้ง นั้น (517:3.6)
               คือ สิ้น ทั้ง นั้น, คำ ว่า หมด ทั้ง บ้าน ทั้ง เมือง เปน ต้น นั้น.

--- Page 518 ---
      หมด หน้า (518:3.7)
               คือ คน มี ของ ดี มี ผ้า นุ่ง ผ้า ห่ม เปน ต้น, สอาด งาม, ว่า คน นั้น มี ของ หมด หน้า ของ ตัว.
      หมด บ้าน (518:3.8)
               สิ้น ทั้ง บ้าน, คือ คน เดิม อยู่ ใน บ้าน เดียว กัน มาก หลาย คน, ครั้น นาน มา คน ไป สิ้น ไม่ เหลือ, ว่า ไป หมด บ้าน.
      หมด ไป (518:3.9)
               สิ้น ไป, เปลือง ไป, คือ ของ ฤๅ คน สิ้น ไป, เดิม ของ ฤๅ คน มี อยู่ มาก, ครั้น นาน ของ ฤๅ คน สิ้น ไป นั้น.
      หมด ฝน (518:3.10)
               ไม่ มี ฝน, สิ้น ฝน, คือ เมื่อ สิ้น ระดู ฝน ๆ เหือด ลง ตก ไม่ มาก ตก หนิด หน้อย, ว่า ฝน สิ้น หมด ฝน นั้น.
      หมด เมือง (518:3.11)
               คือ สิ้น ทั้ง เมือง, เหมือน เมื่อ ครั้ง กรุง เก่า เสีย กับ พะม่า, คน ใน เมือง สิ้น ไป ว่า หมด เมือง.
      หมด ม้วย (518:3.12)
               คือ หมด ไม่ เหลือ นั้น, คำ ว่า ฉิบหาย มอด ม้วย เปน ต้น นั้น.
      หมด แล้ว (518:3.13)
               คือ ของ สิ่ง ใด ๆ เดิม มี มาก ครั้น นาน มา, ของ นั้น สิ้น ไม่ เหลือ เลย, ว่า หมด แล้ว.
      หมด สิ้น (518:3.14)
               คือ หมด ไม่ มี อีก นั้น.
      หมด ใส (518:3.15)
               แจ่ม ใส, คือ ของ ผ่อง บริสุทธิ์ สอาด, เหมือน ของ มี ภาชนะ เปน ต้น, คน ขัด สี หมด สิ้น มลทิน ผ่อง ใส สอาด นั้น.
มัด (518:1)
         ผูก รัด, คือ รวบ รัด, ของ สิ่ง เดียว หลาย อัน ฤๅ ของ หลาย อย่าง, ตั้ง แต่ สอง อัน ขึ้น ไป, คน เอา รวบ รัด เข้า เปน อัน เดียว กัน ว่า มัด.
      มัด ตีน (518:1.1)
               ผูก ตีน, คือ เอา ตีน ทั้ง สอง ข้าง รวบ รัด ผูก เข้า ไว้ ด้วย กัน ติด กัน อยู่ ชิด กัน, ว่า มัด ตีน ไว้ นั้น.
      มัด มือ (518:1.2)
               ผูก มือ, คือ เอา มือ ทั้ง สอง ผูก รัด เข้า ให้ ชิด ติด กัน, ด้วย เชือก ฤๅ ด้วย ผ้า นั้น.
มัจจุราช (518:2)
         ฯ เปน สับท์ แผลง, แปล ว่า พะยา มัจจุ ราช, คือ ความ ตาย, เรียก ติด สับท์ ว่า พระยา มัจจุ ราช.
มัด จำ (518:3)
         คน จะ ซื้อ ของ ที่ ใหญ่ มี ราคา มาก เหมือน เรือ เปน ต้น, เขา ยัง ไม่ ได้ ให้ ราคา, ให้ แต่ เงิน เปน มัดจำ ไว้ แต่ น้อย ก่อน นั้น.
มัจฉีริย์ (518:4)
         ฯ ตะหนี่, เหนียว แน่น, แปล ว่า ตะหนี่, ความ ที่ คน หวง ของ ไม่ ให้ แก่ ผู้ อื่น นั้น.
มัจฉา (518:5)
         ฯ ปลา, แปล ว่า ปลา, บันดา ปลา มี ใน น้ำ จืด น้ำ เคม ทั้ง สิ้น, เรียก เปน สับท์ ว่า มัจฉา
มัชฌิมา (518:6)
         ฯ แปล ว่า เปน ท่ำ กลาง, เปน อย่าง กลาง นั้น.
มัชฌิมะ ประเทศ (518:7)
         ฯ คือ ประเทศ เปน ท่ำ กลาง นั้น, มี เมือง กะบิลพัศดุ์ เปน ต้น นั้น.
มัชฌันติกะไสมย (518:8)
         ฯ แปล ว่า เพลา อาทิตย์ ตั้ง อยู่ ใน ท่ำ กลาง คือ เวลา เที่ยง.
มัตถะเก (518:9)
         ฯ แปล ว่า กระหม่อม นั้น, เช่น คำ ว่า กระหม่อม กลาง หัว นั้น.
มัทธะยัต (518:10)
          ฯ คือ การ เปน ท่ำ กลาง, คน มี ใจ ไม่ รัก ไม่ ชัง เฉย อยู่ นั้น, ว่า มัทธะยัต.
มัตถะลุงค์ (518:11)
         ฯ แปล ว่า สมอง ใน กระหม่อม นั้น, เช่น สมอง ใน กระบอก ศีศะ นั้น.
มัทธะยม (518:12)
         คือ การ เปน ท่ำ กลาง, เหน เขา รัก กัน ฤๅ ชัง กัน ก็ เพิก เฉย อยู่ นั้น.
มัด ฟ่อน (518:13)
         คือ ผูก รัด ฟ่อน เข้า นั้น, พวก ชาว นา มัด ฟ่อน เข้า เปน ต้น นั้น.
มัด หวาย (518:14)
         คือ เอา หวาย ลำ มาก หลาย เส้น, แล้ว ผูก รวบ รัด เข้า เปน กำ อัน เดียว, ว่า มัด หวาย
มัด รัด (518:15)
         คือ รวบ รัด ผูก เข้า ไว้ นั้น, เช่น คน ผูก มัด รัด ของ ทั้ง ปวง เปน เปลาะ ๆ นั้น.
มัศสุ (518:16)
         ฯ แปล ว่า หนวด, คือ ขน ยาว แล สั้น ขึ้น อยู่ ที่ ริม ปาก แล ที่ คาง นั้น.
มัศหรู่ (518:17)
         เปน ชื่อ ผ้า ไหม มา แต่ เมือง เทศ อย่าง หนึ่ง.
หมัด (518:18)
         คือ กำ มือ, คน จะ สู้ รบ ชก ต่อย กัน แล กำ มือ เข้า ไว้ เขา เรียก ว่า กำหมัด.
      หมัด หมา (518:18.1)
               เปน ตัว สัตว์ หนิด ๆ อย่าง หนึ่ง, มัน แซก อยู่ ใน ขน หมา, มัน กิน เลือด หมา นั้น.
มาด (518:19)
         เรือ โกลน, เรือ ลูก หมู, คือ เรือ โกลน ที่ เขา ตัด ลง แล้ว เจาะ ราง เบิก ภอ แบะ น่อย ๆ, ยัง ไม่ ได้ ทำ ให้ บาง ไม่ ได้ ติด กราบ.
มาศ (518:20)
         ดิน ทอง, คือ กำมะถัน, กำมะถัน มี สอง อย่าง, แดง อย่าง หนึ่ง เหลือง อย่าง หนึ่ง, เขา ประสม ดิน ประสิว ทำ ดิน ยิง ปืน บ้าง.

--- Page 519 ---
มาติยา (519:1)
         คือ ปัญญา* รอบ รู้ ใน การ งาน ทั้ง ปวง แห่ง กระษัตริย์.
มาตรา หนึ่ง (519:2)
         เหมือน หนึ่ง, คือ แม่ หนึ่ง. เหมือน กระบวน วิธี, ตั้ง แม่ หนังสือ, มี แม่ กก แล แม่ กง เปน ต้น.
มาทะว่า (519:3)
         เปน คำ พูด ว่า ถึง ว่า ฤๅ แม้น ว่า, เขา พูด ว่า, แม้น เปน เช่น นั้น, ก็ เปน คน บาป จริง.
มาด เรือ (519:4)
         คือ รูป เรือ โกลน ที่ ยัง ไม่ ได้ ใส่ กราบ มัน นั้น เอง.
มาท แม้น (519:5)
         ถ้า เหมือน, คือ คน พูด ว่า ถ้า แม้น อยู่ บ้าน เรา เมือง เรา, ถ้า ทำ แก่ เรา เช่น นี้ เรา ก็ จะ เอา ให้ ถึง ตาย.
มาด หมาย (519:6)
         มุ่ง หมาย, คือ มุ่ง ร้าย, เหมือน คน มี ความ เจ็บ แค้น ยัง ไม่ มี ช่อง ตอบ แทน ไม่ ได้, คิด ผูก พยาบาท ไว้ นั้น.
มาด ไว้ (519:7)
         มุ่ง ไว้, คือ คิด ร้าย ไว้, คน มี วาศนา น้อย มี ผู้ ข่มเห่ง ยัง ตอบ ไม่ ได้, แล คิด ไว้ ว่า คง จะ ทำ ร้าย นั้น
หมาด (519:8)
         คือ ของ ผึ่ง แดด ไว้ ยัง ไม่ แห้ง ที เดียว, แต่ เกือบ จะ แห้ง ยัง ชุ่ม ชื้น น่อย ๆ, ว่า ของ หมาด.
      หมาด ม้@น (519:8.1)
               คือ ของ พึง ทับ ท้าน เกือบ จะ แห้ง เข้า นั้น, เช่น ปลา ชำลา เปน ต้น.
มิด (519:9)
         คือ ลับ บัง, เช่น ฃอง เขา ปก ปิด ไว้ ใน ที่ กำบัง คน แล ไม่ เหน นั้น, ว่า ฃอง มิด อยู่.
มิตร (519:10)
         คือ คน รัก เปน เกลอ กัน นั้น, เช่น มิตรสหาย เปน ต้น.
มิจฉาจาร (519:11)
         ฯ แปล ว่า ประพฤติ ผิด นั้น, เช่น คน ประพฤติ ล่วง ประเวณี ภรรยา ท่าน เปน ต้น นั้น.
มิจฉาทิฐิ (519:12)
         ฯ แปล ความ เหมือน กัน กับ มฤจฉาทฤษดี นั้น.
มิด ชิด (519:13)
         คือ มิด สนิทร ไม่ มี ช่อง เลย, เช่น ช่างไม้ เข้า ฝา บัง ใบ มิด ชิด เปน ต้น นั้น.
มิด ตัว (519:14)
         คือ ลับ ตัว. คน ลง ใน น้ำ แต่ แรก ยัง ไม่ มิด ตัว ก่อน, ครั้น ลง ไป จน น้ำ ท่วม ถึง ฅอ ว่า มิด ตัว.
มิตร ไมตรี (519:15)
         คือ มิตรสหาย รัก ใคร่ กัน นั้น, เช่น เพื่อน ที่ มี จิตร เมตตา ต่อ กัน เปน ต้น.
มฤจฉาทฤษดี (519:16)
         ฯ แปล ว่า เหน ผิด ใน ใจ, สิ่ง การ ที่ เปน บาป ถือ ว่า ไม่ มี บาป เปน ต้น นั้น.
มิตร สหาย (519:17)
         คือ คน เปน เกลอ รัก กัน, คน ชาย สอง คน มิ ใช่ ญาติ เปน ผู้ อื่น, แต่ อายุ คราว กัน มี ความ รัก กัน สบถ ว่า เปน เกลอ เจ็บ ร้อน ด้วย กัน.
มิด หัว (519:18)
         คือ ลับ หัว, คน ลง ไป ใน น้ำ แต่ แรก ยัง ไม่ ท่วม หัว, ครั้น ลง ไป ฦก จน น้ำ ท่วม ศีศะ หมด, แล ไม่ เหน ว่า มิด หัว.
มีด (519:19)
         พร้า, คือ ของ เขา ทำ ด้วย เหล็ก มี คม ข้าง หนึ่ง, สำรับ ตัด เชือด เถือ สับ ฟัน เปน ต้น.
      มีด โกน (519:19.1)
               คือ มีด เล็ก ๆ เขา ทำ ด้วย เหล็ก บ้าง ทำ ด้วย ทอง เหลือง บ้าง, สำรับ ใช้ โกน ผม แล หนวด.
      มีด แกะ (519:19.2)
               คือ มีด เล็ก ๆ เขา ทำ ด้วย เหล็ก เอา ไว้ สำรับ แกะ ของ เลอียด, มี งา ทำ ตรา นั้น.
      มีด แขก (519:19.3)
               คือ มีด เล็ก ๆ เขา ทำ ปลาย แหลม มี ด้ำ, ตัว มัน ยาว สัก คืบ เสศ สำรับ เชือด ฝาน ของ นั้น.
      มีด ตอก (519:19.4)
               คือ มีด ย่อม ๆ ด้ำ มัน ยาว ใช้ สำรับ เหลา ไม้, เช่น มีด ที่ เขา เหลา ตอก เปน ต้น.
      มีด บิ่น (519:19.5)
               คือ มีด เหล็ก ที่ คม นั้น ลิ ออก ไป เล็ก น้อย ร่อยหรอ ไป, จะ เชือด จะ ตัด อะไร ไม่ ดี นั้น.
      มีด ผ่า ฝี (519:19.6)
               คือ มีด เล็ก ๆ ที่ ผ่า ฝี นั้น, มีด ที่ สำรับ ผ่า ฝี ที่ พวก หมอ ใช้ อยู่ เปน ต้น.
      มีด พับ (519:19.7)
               คือ มีด เล็ก ๆ เขา ทำ มา แต่ เมือง เทษ, มัน มี ด้ำ เปน ร่อง อยู่, ครั้น พับ ตัว มัน ก็ ทบ ลง กับ ร่อง ที่ ด้ำ นั้น.
      มีด พร้า (519:19.8)
               คือ* มีด เขื่อง ๆ สำรับ ฟัน ไม้ นั้น.
      มีด เหน็บ (519:19.9)
               พร้า เหน็บ, คือ พร้า รูป สั้น กว่า พร้า กราย, สำรับ เหน็บ เข้า กับ เกลียว ผ้า ที่ พัน เอว เปน อาวุธ ได้.
      มีด หมอ (519:19.10)
               คือ มีด รูป สั้น เล็ก แต่ ด้ำ นั้น ทำ วิชา เลข ยัญต์ ผง ดินสอ ใส่ ไว้ สำรับ กรร ไภย ได้ นั้น.
      มีด หมาก (519:19.11)
               คือ มีด เล็ก ๆ ปลาย งอน สำรับ ใช้ ผ่า หมาก เจียน หมาก ดิบ เปน ต้น นั้น.
      มีด กราย (519:19.12)
               พร้ากราย, คือ* พร้า ยาว สัก ศอก เสศ ยาว คล้าย ดาบ, สำรับ ถือ กราย เปน อาวุธ นั้น.
      มีด หัว ปลาหลด (519:19.13)
               พร้า หัว ปลาหลด, คือ พร้า เล็ก ๆ แต่ หัว มัน ซุ่ม ไม่ แหลม นัก, เหมือน หัว ปลาหลด นั้น.
      มีด หัว เสียม (519:19.14)
               พร้า หัว เสียม, เปน พร้า ชาว สวน เขา ทำ ปลาย มัน คม สำรับ ขุด ก็ ได้ ฟัน ก็ ได้ คล้าย เสียม.
      มีด อะรัญะวาศี (519:19.15)
               คือ มีด เล็ก ๆ แต่ เขา ทำ รูป เหมือน พร้า ใหญ่, ถวาย พระสงฆ อยู่ ใน ป่า สำรับ เหลา ไม้ สีฟัน นั้น.

--- Page 520 ---
มืด (520:1)
         คือ เวลา สิ้น แสง อาทิตย ตลอด ไป จน เวลา อาทิตย ขึ้น มา คือ มืด แต่ พลบ ค่ำ ไป จน รุ่ง นั้น.
      มืด แล้ว (520:1.1)
               คือ เวลา พลบ ค่ำ แล้ว นั้น, เวลา ค่ำ มืด ประมาณ ทุ่ม หนึ่ง เปน ต้น นั้น.
      มืด คลุ้ม (520:1.2)
               คือ เวลา เมฆ ตั้ง ขึ้น เมื่อ ฝน จะ ตก, แล เหมือน วัน ที่ เขา ตรึง พระเยซู ที่ ไม้ กางเขน นั้น.
      มืด หน้า มัว ตา (520:1.3)
               คือ โรค ลม มัน ให้ ตา มัว หน้า มืด ไป นั้น, เช่น คน เปน ลม วิง เวียน หน้า มืด มัว ตา.
      มืด ค่ำ (520:1.4)
               คือ แต่ เวลา พลบ โพล้ เพล้ ฉมุก ฉมัว จะ เข้า ใต้ เข้า เพลิง นั้น.
      มืด มน (520:1.5)
               มน เปน คำ สร้อย, เช่น เมฆ หมอก ปก ปิด ดวง จันทร ให้ มืด มน เปน ต้น.
      มืด มัว (520:1.6)
               คือ เวลา ยัง ไม่ ค่ำ ดี ยัง ไม่ สว่าง ดี. อย่าง หนึ่ง เข้า ไป ใน ถ้ำ ที่ ภูเขา ที่ มี ปล่อง เปน แต่ มัว.
มุด (520:2)
         คือ ทำ ตัว ให้ น้อม ก้ม ลง แล้ว เดิน ลอด ไป บ้าง. อย่าง หนึ่ง ทำ ตัว ไป ใน น้ำ เช่น นั้น บ้าง.
      มุจลินท์ (520:2.1)
               เปน ชื่อ สระ ใหญ่ ว่า มี ใน ป่า หิมภาร, เพราะ ตาม ขอบ ฝั่ง สระ นั้น ประกอบ ไป ด้วย ต้น จิก มาก นัก.
      มุด หัว (520:2.2)
               คือ ทำ หัว ให้ ก้ม ต่ำ ลง ที่ บน บก ฤๅ ใน น้ำ นั้น. อย่าง หนึ่ง มุด หัว ลง นอน ไป ว่า มุด หัว.
      มุด โคลน (520:2.3)
               คือ ดำ ลง ใน โคลน เหลว นั้น, เช่น ปลาไหล เลื้อย ไช ไป ใน โคลน นั้น.
หมุด (520:3)
         คือ ไม้ เขา เหลา เล็ก ๆ ใส่ เข้า ใน รู, เช่น หมุด เขา ใส่ รู กลอน ฝา เปน ต้น นั้น.
      หมุด ด้าย (520:3.1)
               คือ ด้าย เขา ฟั่น เปน เกลียว ทา ขี้ ผึ้ง ใส่ ใน รู แผล ฝี นั้น.
      หมุด ตรึง (520:3.2)
               คือ ไม้ หมุด เขา ใส่ ตอก ตรึง โลง ใส่ ผี เปน ต้น. อย่าง หนึ่ง เปน หมุด ทำ ด้วย กดาด สำรับ ตรึง กดาด.
      หมุด โสน (520:3.3)
               คือ ไม้ โสน เขา ทำ ให้ มัน กลม ทา ขี้ ผึ้ง ใส่ ที่ รู แผล ฝี นั้น.
      หมุด ใส่ ฝี (520:3.4)
               คือ ด้าย เขา ฟั่น แล้ว ทา ยา, มี ขี้ ผึ้ง เปน ต้น ใส่ เข้า ใน รู แผล ฝี. อย่าง หนึ่ง ทำ ด้วย ไม้ โสน นั้น.
      หมุด กุด (520:3.5)
               คือ ของ ที่ มัน สั้น, เขา ว่า มัน สั้น ตะหมุดกุด, เช่น นิ้วมือ ขาด เสีย ครึ่ง หนึ่ง นั้น.
มูต (520:4)
         คือ เยี่ยว, บันดา คน ฤๅ สัตว์ ถ่าย น้ำ ปศาวะ ออก โดย ทวาร เบา ว่า เยี่ยว สิ้น.
      มูต กริด (520:4.1)
               เปน ชื่อ โรค เกิด โดย ทาง ปศาวะ แห่ง หญิง อย่าง หนึ่ง, คือ ปศาวะ ขาว เหมือน ดินสอพอง เปน ต้น.
      มูต ดอง (520:4.2)
               คือ น้ำ มูต โค เขา แช่ กับ สรรพยา มี ผล สมอ แล มะขามป้อม เปน ต้น, เรียก มูต ดอง.
      มูต ฆาฏ (520:4.3)
               โรค เกิด แก่ หญิง คล้าย กับ มูตกริด นั้น, คือ น้ำ ปศาวะ ไม่ ปรกติ, เปน ศรี ขาว บ้าง เหลือง บ้าง ดำ บ้าง เปน ต้น.
เม็ด (520:5)
         คือ เมล็ด ผลไม้ ทุก อย่าง, ฤๅ แป้ง ที่ เขา ทำ เปน ลูก หนิด ๆ, ฤๅ ยา ทำ เปน ลูก เล็ก นั้น เรียก เมล็ด.
เมตไตรย (520:6)
         คือ พระนาม ของ พระ ที่ จะ มา ตรัส ใน โลกย ต่อ ไป ใน เบื้อง น่า นั้น, เพราะ ท่าน ยิ่ง ด้วย ความ เมตตา จึ่ง เรียก ว่า เมตไตรย.
เมตตา (520:7)
         แปล ว่า เอนดู ว่า ไมตรี, คน มี ใจ เอนดู แก่ คน ฤๅ สัตว์ ว่า มี เมตตา
      เมตตา ปรานี (520:7.1)
               คือ ความ เอนดู สงสาร นั้น, เช่น คน ที่ มี ใจ ปรานี ไม่ มี ไภย มี เวรุ แก่ สัตว์ อื่น เปน ต้น.
      เมตตา จิตร (520:7.2)
               คือ จิตร เอน ดู ปรานี นั้น, เช่น คน ที่ ไม่ ได้ ผูก เวรุ แก่ สัตว์ อื่น, อยาก ให้ เขา มี ความ ศุข เหมือน กับ ตัว.
เม็ด ยา (520:8)
         คือ เม็ด ยา ที่ เขา ปั้น เปน เม็ด เล็ก ๆ นั้น, เขา เรียก ว่า เม็ด ยา เพราะ มัน เล็ก.
โหมด (520:9)
         คือ ผ้า ไหม ศรี เหมือน ทอง, เขา ธอ เปน ผืน ผ้า มี ศรี ต่าง ๆ, มี ศรี เหลือง เปน ต้น เขา เอา มา แต่ เมือง จีน, แล เมือง แขก นั้น.
      โหมด ขาว (520:9.1)
               โหมด เขียว, โหมด ดอก, โหมด แดง.
มอด (520:10)
         เปน ชื่อ ตัว สัตว์ ตัว เล็ก ๆ อย่าง หนึ่ง, มัน กัด กิน ไม้ ที่ คน ตัด มา ทั้ง ไม้ จิง ไม้ ไผ่.
หมวด (520:11)
         คือ เปน จุก เปน กำ, เหมือน หอม แล กะเทียม, เขา รวบ ต้น มัน เข้า หลาย ต้น ผูก ไว้ เปน จุก หนึ่ง, ว่า หมวด หนึ่ง นั้น.
      หมวด กอง (520:11.1)
               คือ คน เขา ตั้ง ไว้ เปน พวก ๆ เปน เหล่า ๆ, พวก ละ ร้อย คน ฤๅ สองร้อย เปน ต้น, ว่า เปน หมวด เปน กอง

--- Page 521 ---
      หมวด หอม (521:11.2)
               คือ กำ หัว หอม นั้น, หัวหอม ที่ เขา กำ เปน หมวด ๆ มา แต่ ป่า หอม เปน ต้น นั้น.
      หมวดยอบ (521:11.3)
               คือ มดยอบ, เปน ยา อย่าง หนึ่ง, เขา เอา มา แต่ ต่าง ประเทศ, ใน เมือง นี้ ไม่ มี.
      หมวด ผม (521:11.4)
               คือ กำ ผม ผูก ผม มุ่น ผม นั้น, เช่น คน กระหมวด ผม ทำ เปน แหยม, ฤๅ เกล้า จุก เปน ต้น.
      หมวด หมู่ (521:11.5)
               คือ หมู่ เหล่า, หมวด นั้น คือ เหล่า แล พวก, หมู่ นั้น คือ ฝูง, เช่น คน เปน ลูก เกิด จาก คน เปน ตัว เลก ว่า เปน ลูกหมู่.
เหมือด (521:1)
         คือ ของ เปน เครื่อง ปรุง ลง ภายหลัง ที่ ของ กิน, เช่น เขา ยำ ทำ กับ เข้า เอา กุ้ง แล ถั่ว ใส่ ลง ที หลัง นั้น.
      เหมือด คน* (521:1.1)
               คือ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, มี อยู่ ใน ป่า สำรับ ใช้ ทำ ยา เปน ต้น.
      เหมือด ขนม จีน (521:1.2)
               คือ กุ้ง ผัด แล ถั่วงอก แล ใบ มังลัก, ที่ เขา ปรุง ลง ที หลัง เมื่อ จะ ใส่ น้ำ ยา ลง กิน นั้น, เขา เรียก เหมือด.
เหมิด เมิน (521:2)
         นิ่ง ดู, เหมิด นั้น เฉย เสีย, เมิน นั้น คือ* ทำ หน้า เบิ่ง แล ไป ที่ อื่น, ว่า เหมิด เมิน เสีย.
มน (521:3)
         คือ ของ ไม่ ยาว ไม่ สั้น นัก, เช่น ใบ ทอง หลาง อย่าง หนึ่ง ไม่ รี ไม่ กลม นัก คล้าย ใบ โพธิ์, ว่า ทอง หลาง ใบ มน.
      มน กลม (521:3.1)
               คือ* ของ ที่ กลม ไม่ ยาว รี นั้น, คำ ว่า ทอง หลาง ใบ มน ฤๅ หน้า มน เปน ต้น.
มนตร์ (521:4)
         คือ เศก คาถา อ่าน อาคม, เปน วิชา แสดง คุณ วิเสศ ต่าง ๆ เปน ต้น.
      มนตร์ ดน (521:4.1)
               คือ คาถา, แต่ ดน เปน คำ สร้อย, เช่น สวด มนตร์ เศก คาถา.
มนตรี (521:5)
         คือ ชื่อ คน เปน ข้าราชการ ใน พระ มหา กระษัตริย์, ชื่อ เสนามนตรี แล มุกขมนตรี นั้น.
มนตรา (521:6)
         คือ มนตริ์* คาถา, สำรับ เศก ให้ กรร ไภย ต่าง ๆ นั้น, เช่น ร่าย มนตร์ นั้น.
มนทา (521:7)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ ใน สวรรค อย่าง หนึ่ง, ว่า มี กลิ่น หอม นัก ดอก โต ทำ ร่ม กั้น ได้ นั้น.
      มนทาทิพ (521:7.1)
               เปน ชื่อ ต้นไม้ ดอก ใน สวรรค ชั้น ดาวดึงษ นั้น, เช่น มนทาทิพ ที่ ตก ลง มา เมื่อ นิพาน
มนโท (521:8)
         เปน ชื่อ นาง คน หนึ่ง, ว่า เปน เมีย พระยา ยักษ ชื่อ ทศกรรฐ, เปน ใหญ่ กว่า ยักษ ใน เกาะ ลงกา.
มนทก (521:9)
         เปน ชื่อ ปืน ขนาด ย่อม อย่าง หนึ่ง, ใหญ่ กว่า ปืน คาบ ชุด คาบ สิลา ต้อง ใส่ ล้อ ลาก ไป.
มณฑล (521:10)
         คือ ของ กลม เปน ต้น, เช่น วง ดวง พระจันทร, แล อาทิตย นั้น, ว่า มณฑล.
มลทิน (521:11)
         คือ สนิม, เช่น ภาชนะ เครื่อง ใช้ แล เครื่อง เหล็ก, มี มีด พร้า เปน ต้น ทิ้ง ไว้, แล เกิด สนิม ขึ้น ว่า มลทิน.
มณเทียร (521:12)
         คือ เรือน หลวง ใน พระราชวัง ขุนหลวง นั้น, เขา เรียก ว่า พระราชมณเทียร.
      มณเทียร ปราสาท (521:12.1)
               คือ เรือนหลวง, เรียก เปน คำ สูง เพราะ นั้น.
      มณเทียร สถาน (521:12.2)
               คือ พระที่นั่ง เรือน หลวง นั้น, เช่น พระ มหา มณเทียร นั้น.
      มณเทียร บาล (521:12.3)
               เปน ชื่อ ขุนนาง ฝ่าย* กรมวัง ๆ น่า นั้น.
หม่น (521:13)
         มอ, คือ ศรี เขียว เจือ เหลือง ฤๅ แดง นั้น, เรียก ศรี หม่น, เหมือน โค ศรี มัน เช่น ว่า นั้น ว่า ศรี หม่น.
      หม่น หมอง (521:13.1)
               คือ ศรี หม่น แล เศร้า หมอง. อย่าง หนึ่ง ว่า ด้วย ใจ คน ที่ เศร้า โทรมนัศ, ว่า หม่น หมอง ใจ.
      หม่น มัว (521:13.2)
               มัว หมอง, คือ ศรี หม่น แล มัว เศร้า. อย่าง หนึ่ง คน เศร้า เสีย ใจ ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น.
      หม่น ไหม้ (521:13.3)
               คือ ใจ เกรียม กรม ด้วย ความ ทุกข อัน ใด อัน หนึ่ง เปน ความ ทุกข สำคัญ นั้น.
มรฎป (521:14)
         เปน ที่ เขา ทำ รูป เหมือน ธรรมาศน์ ที่ พระสงฆ นั่ง แสดง ธรรม. อย่าง หนึ่ง เช่น เขา ทำ สรวม พระบาท นั้น.
มัน (521:15)
         คือ ราก เง่า ที่ ต้น เถาวัน, แต่ ว่า มัน เปน หัว โม่ง ๆ โต ๆ เท่า จาว มะพร้าว บ้าง นั้น.
      มัน เขางัว (521:15.1)
               คือ หัว เง่า เกิด จาก ราก เถาวัน เช่น ว่า นั้น, แต่ มี สัณฐาน เหมือน เขางัว นั้น.
      มัน แขก (521:15.2)
               มัน สำโรง, คือ มัน ที่ เขา เอา มา แต่ เมือง แขก, เขา ปลูก ไว้ ที่ เมือง ไท นี้, เช่น มัน สำโรง.
      มัน แจว (521:15.3)
               มัน แกว, หัว มัน เท่า กับ ลูก หมาก ใหญ่, ก้น มัน แหลม ๆ, เขา กิน ดิบ ก็ ได้ แกง กับ กุ้ง ก็ ได้.

--- Page 522 ---
      มัน เทษ (522:15.4)
               มัน ยวญ, มัน มา แต่ เมือง เทษ, เขา ปลูก ไว้ เปน พืชน์พันธ์ ต่อ กัน มา, เปลือก มัน แดง ก็ มี ขาว ก็ มี เนื้อ ก็ เหมือน กัน.
      มัน เทียน (522:15.5)
               ต้น มัน เปน เถา หัว กลม ยาว เหมือน เล่ม เทียน โต เท่า นิ้วมือ เขา ต้ม กิน.
      มัน นก (522:15.6)
               ต้น มัน เปน เถา หัว มัน ที่ โต เท่า ข้อ แขน ขึ้น ริม ทุ่ง นา, ต้ม กิน ดี เนื้อ เหนียว นั้น.
      มัน นัก (522:15.7)
               คือ ของ ที่ มัน ๆ, เช่น น้ำมัน หมู ฤๅ น้ำมันมะพร้าว.
      มัน จาว มะพร้าว (522:15.8)
               ต้น เปน เถา หัว มัน กลม คล้าย กับ จาว มะ พร้าว, แกงบวด ก็ ได้ ต้ม กิน ก็ ได้.
      มัน น้ำ เต้า (522:15.9)
               ต้น เปน เถา หัว กลม ๆ คล้าย กับ ผล แห่ง น้ำเต้า นั้น.
      มัน มือเสือ (522:15.10)
               ต้น เปน เถา หัว มัน เปน เหมือน* นิ้วมือเสือ, มี ราก รุง รัง เขา ต้ม กิน.
      มัน* เลี่ยน (522:15.11)
               คือ ของ ที่ มัน ๆ ไม่ จัด นัก, มัน ๆ น้อย ๆ นั้น, เช่น หมู ต้ม เค็ม เปน ต้น นั้น.
      มัน เสา (522:15.12)
               ต้น เปน เถา หัว มัน โต เท่า เสา, มัน ยาว หยั่ง ลง ใน ดิน ฦก, แกงบวด ก็ ได้ ต้ม ก็ ได้.
      มัน สำโรง (522:15.13)
               มัน เปน ต้น, ใบ มัน คล้าย กับ ใบ สำโรง, หัว มัน เปน เง่า ยาว ได้ แต่ ต้ม กิน.
      มัน อ้อน (522:15.14)
               ต้น มัน เปน เถา หัว มัน เล็ก ๆ, สัณฐาน คล้าย กับ มัน มือเสือ, เนื้อ อ่อน ยุ่ย ต้ม กิน นั้น.
มั่น (522:1)
         คือ แน่น แฟ้น, เช่น กำปั่น ที่ แน่นหนา นั้น. อย่าง หนึ่ง เหมือน ป้อม ใหญ่ นั้น.
      มั่น คำ (522:1.1)
               คือ ถ้อย คำ มั่นคง ไม่ คลอน แคลน นั้น, เช่น คน กล่าว คำ ยั่งยืน วาจา สัจ นั้น.
      มั่นคง (522:1.2)
               คือ ของ แน่นหนา ว่า ของ มั่นคง. อย่าง หนึ่ง คน พูด จา สัญญา กัน ว่า ท่าน ว่า ให้ มั่นคง.
      มั่น แม่น (522:1.3)
               เปน คำ เขา พูด ว่า ท่าน ว่า ให้ มั่น แม่น, อย่า กลับ ถ้อย คืน คำ, เหมือน กับ ของ ที่ มั่นคง.
หมัน (522:2)
         คือ ฃอง ที่ เขา ทำ ตอก เข้า ใน แนว กำปั่น ฤๅ สำเภา เปน ต้น นั้น, เขา เรียก ว่า หมัน. อย่าง ต้นไม้ ใหญ่ อย่าง หนึ่ง เรียก ว่า ต้น หมัน, เปลือก เหนียว ฟั่น เชือก ได้. อย่าง หนึ่ง หญิง ชาย ที่ ไม่ มี ลูก, ว่า เปน คน หมัน.
หมั่น (522:3)
         ขยัน, อุษส่าห์, คือ ความ เพียร อุษส่าห์ ทำ การ งาน ถึง เหนื่อย ก็ อยุด หนิด น่อย แล้ว เพียร ทำ ต่อ ไป.
      หมั่น ทำการ (522:3.1)
               ขยัน ทำ การ, อุษส่าห์ ทำ การ, คือ มี ความ เพียร ไม่ ใคร่ อยุด การ งาน, ถึง เหนื่อย ก็ อยุด พัก ไม่ นาน.
      หมั่น เล่าเรียน (522:3.2)
               เพียร เล่า เรียน, อุษส่าห์ เล่า เรียน, คือ มี ความ เพียร พยายาม ใน การ สึกสา เล่า เรียน วิชา ต่าง ๆ มี หนังสือ เปน ต้น*.
      หมั่น หา กิน (522:3.3)
               เพียร หา กิน, อุษส่าห์ หา กิน, คือ มี ความ อุษส่าห์ ขวน ขวาย ใน การ ที่ จะ หา ทรัพย์ มา เลี้ยง ชีวิตร นั้น
หมั้น ใจ (522:4)
         แน่ ใน ใจ, คือ ความ แน่ แก่ ใจ, เหมือน ความ อัน ใด อัน หนึ่ง บังเกิด ขึ้น เหน ประจักษ แก่ ใจ นั้น.
มาร (522:5)
         คือ หมู่ มาร, ว่า เปน เทวดา พวก หนึ่ง, เปน ใจ บาป อยาบช้า มาก ไป ด้วย ความ ริศยา อาธรรม, มี แต่ จะ เบียด เบียฬ ประทุษฐ ร้าย แก่ สัตว์ อื่น เปน ธรรมดา.
      มารดา (522:5.1)
               คือ แม่, หญิง ที่ เปน ที่ บังเกิด แห่ง บุตร ชาย หญิง ทั้ง ปวง นั้น, เรียก มารดา.
      มาร ดน ใจ (522:5.2)
               คือ มาร ริศยา ทำ ให้ ฤทธิ์ เข้า ทำ ใน หัวใจ คน ให้ เขา เหน ผิด เปน ชอบ เปน ต้น.
      มาน น้ำ (522:5.3)
               โรค มัน ทำ ให้ ท้อง พอง* เต็ม* ด้วย น้ำ นั้น.
      มาร ผจญ (522:5.4)
               คือ มาร ต่อ สู้ ทำ การ รบ พุ่ง ต่าง ๆ ด้วย ความ ริศยา มี มาร ประจญ พระพุทธเจ้า เปน ต้น.
      มารยา (522:5.5)
               คือ อุบาย ต่าง ๆ, คน ฤๅ เทวดา ฤๅ มาร คิด อ่าน ทำ กลอุบาย มี จำแลง รูป กาย ด้วย หมาย จะ เบียด เบียฬ นั้น.
      มารยา หญิง (522:5.6)
               คือ อาการ กิริยา หญิง, ที่ แสร้ง ทำ* อุ บาย ให้ ชาย รู้ ว่า รัก นั้น.
      มาน ลม (522:5.7)
               เปน ชื่อ โรค มัน ทำ ให้ ท้อง พอง ใหญ่ ขึ้น อยู่ นั้น.
      มาน เลือด (522:5.8)
               คือ โรค มัน ทำ ให้ ท้อง พอง ขึ้น, ว่า เกิด โรค เพราะ โลหิต.
      มาน ทลุน (522:5.9)
               คือ โรค มัน ทำ ให้ ท้อง มูน พลุ้น อยู่ ไม่ ใคร่ รู้ ว่า มัน จะ เปน อะไร แน่.
      มาน* หิน (522:5.10)
               คือ โรค มัน ทำ* ให้ ท้อง ถ่วง หนัก เหมือน ก้อน หิน นั้น.
ม่าน (522:6)
         คือ ผืน ผ้า ที่ เขา เย็บ เปน ผืน ใหญ่ ใส่ หู ห่วง สำรับ ร้อย สาย ขึง ออก บัง ที่ วิหาร เปน ต้น นั้น.

--- Page 523 ---
      ม่าน ทอง (523:6.1)
               คือ ผืน ม่าน เขา เอา ทอง เข้า ติด ประดับ ไว้, สำรับ ผูก บัง ถวาย เจ้า เปน ต้น.
      ม่าน* กั้น (523:6.2)
               คือ ม่าน ขึง บัง สำรับ ห้อง เปน ต้น, เช่น ม่าน กั้น ห้อง กั้น หอ นั้น.
      ม่าน ลาย (523:6.3)
               คือ ม่าน เขา ทำ ด้วย ผ้า ลาย มี ดอก ต่าง ๆ, สำรับ ขึง ออก บัง ได้ ทั้ง ผู้ ดี เข็ญ ใจ นั้น. อีก อย่าง หนึ่ง คือ สัตว อยู่ ใน น้ำ, ตัว เหมือน เต่า จ้น ละเม็ด เปน ต้น นั้น.
ม้าน (523:1)
         คือ รวง เข้า เมล็ด ลีบ ไม่ มี เข้า สาร ข้าง ใน, เพราะ ฝน* แล้ง ฤๅ น้ำ แห่ง ดิน แตก ระแหง ไป.
      ม้าน แห้ง (523:1.1)
               คือ รวง เข้า ไม่ มี เมล็ด, ลีบ มาก เมล็ด ที่ มี เข้า สาร หนิดน่อย, เพราะ ไม่ มี น้ำ แล ฝน นั้น รวง เข้า แห้ง ไป.
มิ้น (523:2)
         คือ ผึ้ง อย่าง หนึ่ง ตัว เล็ก ๆ มัน มัก ทำ รวง รัง อยู่ ตาม พง แขม นั้น, เช่น ผึ้ง หวี่ ผึ้ง หอยโข่ง เปน ต้น นั้น.
หมิ่น (523:3)
         คือ ของ วาง ไว้ ริม นัก ไม่ ถึง กลาง, เขา วาง ของ บน โต๊ะ ริม สุด โต๊ะ ใกล้ จะ พลัด ตก ลง นั้น ว่า วาง หมิ่น.
      หมิ่น เหม่ (523:3.1)
               คือ ของ วาง ไว้ หมิ่น นัก. อย่าง หนึ่ง เหมือน หมอ บอก ให้ รักษา แผล ฝี ด้วย เข้า เปียก ทา, แล เอา ผ้า ชุบ น้ำ พัน ไว้ ว่า แผล หาย, ว่า ทำ หมิ่น เหม่ นัก.
มึน (523:4)
         คือ ลม ทำ ใน กาย คน ให้ ศีศะ วิง งวย ง่วง งุย ไป, เหมือน มัว นอน นั้น. เขา ว่า มึน ไป.
      มึน ใจ (523:4.1)
               คือ ใจ หมาง ระคาง เคย พูด จา วิสาสะ ต้อน รับ เชื้อ เชิญ, ก็ ทำ ตึง บึ่ง เสีย นั้น ว่า มึน ใจ.
      มึนชา (523:4.2)
               คือ อาการ ที่ เหน็บ ชา ไป, เช่น คน ที่ เปน ลม อำมะ พาธ, มัน ทำ ให้ มือ แล ท้าว มึนชา ไป เปน ต้น.
      มึน ตึง (523:4.3)
               คือ อาการ คน ที่ มี ความ เดือด ใน ใจ, แล ควร จะ พูด ก็ ไม่ พูด ด้วย, ควร จะ หัวเราะ ก็ ไม่ หัวเราะ ด้วย, ทำ อ้ำ อึ้ง ตึง เฉย ไม่ ทักทาย นั้น.
      มึน หน้า (523:4.4)
               คือ ลม ใน กาย ทำ ให้ หน้า ตึง ง่วง เซา อยู่, มิ ใคร่ ให้ พูด จา ว่า กล่าว อัน ใด นั้น.
      มึนมัว (523:4.5)
               คือ* ตึง หน้า ตา มัว อยู่ นั้น, เช่น คน เบื่อ เมา โหรา ยาพิศม์ เปน ต้น นั้น.
      มึน หัว (523:4.6)
               คือ ลม ทำ ให้ หัว ซุน ซบ ไป, มิ ใคร่ ตั้ง ศีศะ อยู่ ได้ ไม่ ใคร่ อยาก พูดจา กับ ใคร่ นั้น.
      มึน อก (523:4.7)
               คือ ลม ทำ ให้ อก ตึง แน่น ไป นั้น.
หมื่น (523:5)
         เปน ชื่อ คน ทำ ราชการ, ท่าน ตั้ง ให้ เปน นาย หมื่น บ้าง นาย* พัน บ้าง. อย่าง หนึ่ง นับ แต่ หนึ่ง ถึง หมื่น นั้น.
      หมื่น จ่า (523:5.1)
               เปน ชื่อ ขุนนาง ชื่อ หมื่นจ่า นั้น.
มุนนาย (523:6)
         เปน คำ สร้อย ว่า มุน, แต่ นาย นั้น เปน คำ พูด จะ เอา การ นั้น, เช่น นาย เดิม เปน ต้น นั้น.
มุ่น (523:7)
         คือ เอา ของ ทำ ให้ กอง เข้า, เช่น คน ทำ นา เกี่ยว เข้า แล้ว มัด เปน ฟ่อน, แล้ว ยก เก็บ ฟ่อน เข้า วาง สุม ไว้ แห่ง เดียว นั้น.
      มุ่น ใจ (523:7.1)
               คือ ใจ ไม่ สบาย วุ่นวาย ไป ด้วย โทโส ไม่ * ใคร่ หาย, เคือง ขุ่น อยู่ ใน ใจ ร่ำ ไป นั้น.
      มุ่น จุก (523:7.2)
               คือ ขมวด ผม ที่ หัว เด็ก ให้ เปน จอม อยู่ นั้น.
      มุ่น ตะรัง (523:7.3)
               คือ คน ใจ โกรธ ร้าย วุ่นวาย นัก, ถึง จะ มี ผู้ ใด ห้าม ปราม ว่า ฃอ โทษ เสีย เถิด ก็ ไม่ ฟัง, ขืน โกรธ ตบึง ไป นั้น.
      มุ่น ไป (523:7.4)
               คือ ใจ คน ที่ โท โส มาก, แล โกรธ ผู้ ใด ผู้ หนึ่ง โกรธ ไม่ รู้ หาย วุ่น วาย นัก นั้น.
      มุ่น พง (523:7.5)
               คือ พง หญ้า ที่ ตัด ต้น มัน ขาด แล้ว, ชัก เก็บ เอา มั่ว สุม เข้า นั้น.
      มุ่น มุ (523:7.6)
               คือ โทโส มัน ทำ ให้ คน ดู ทลุ ขึ้น นั้น, เช่น คน โกรธ หมก มุ่น ไป นั้น.
      มุ่น หมก (523:7.7)
               คือ ใจ ไม่ สบาย เพราะ มี ผู้ มา ทำ ให้ ใจ วุ่นวาย* นั้น, เช่น คน โกรธ หมก มุ่น อยู่ ใน ใจ เปน ต้น.
      มุ่น มัว (523:7.8)
               คือ มืด มัว ใจ ไป นั้น, เช่น คน ที่ เมา ไป ด้วย กิเลศ กาม แล พัศดุ กาม, มุ่น มัว ไป นั้น.
      มุ่น อก (523:7.9)
               คือ อก ไม่ สบาย วุ่นวาย ไป ด้วย โทโส, ให้ อก ตึก ตัก คึกคัก ไป ไม่ ใคร่ หาย นั้น.
หมุน (523:8)
         คือ หัน เวียน ร่ำ ไป, เช่น เข็ม ที่ นาฬิกา แล แผ่นดิน โลกย เปน ต้น, ที่ หมุน ไม่ รู้ อยุด นั้น.
      หมุน กลิ้ง (523:8.1)
               คือ กลิ้ง กลม ไป เหมือน พะมอน ที่ เขา กลึง ของ นั้น.
      หมุน เวียน (523:8.2)
               คือ หัน หมุน วง รอบ ไป นั้น, เช่น รูป โลกย ทั้ง หมุน ทั้ง เวียน นั้น.
มูน (523:9)
         คือ ของ มี ดิน ทราย แล เข้าเปลือก เปน ต้น, เขา ขน มา เท กอง เปน จอม ขึ้น ว่า มูน ขึ้น.

--- Page 524 ---
มูล (524:1)
         ต้น, ราก, คือ ต้น ราก, เหมือน ราก ไม้ ฤๅ โคน ไม้ นั้น, มูล นี้ เปน สับท์ แปล ว่า ราก ว่า โคน.
      มูล คะคี (524:1.1)
               ต้น คะดี, คือ ราก ความ ต้น ความ, เหตุ อัน ใด ที่ เกิด ขึ้น ก่อน นั้น, เรียก มูล คะดี เดิม.
      มูล ความ (524:1.2)
               เดิม ความ, ต้น ความ, คือ เดิม เหตุ ที่ ให้ เกิด ความ ติด ต่อ ฬ่อ ลาม ไป นั้น, ว่า เหตุ นั้น เปน มูล ความ.
      มูล ไถ (524:1.3)
               คือ ดิน ขี้ ไถ ที่ เขา ไถ ขึ้น นั้น, เช่น มูล ไถ ที่ ทุ่ง นา นั้น.
      มูล เหตุ (524:1.4)
               คือ ราก เหตุ เดิม เหตุ, เขา ผู้ เปน ตระลาการ, เมื่อ จะ พิจารณา ความ ย่อม ถาม หา มูล เหตุ ก่อน นั้น.
      มูล ดิน (524:1.5)
               คือ ขี้ ดิน ที่ เขา ขุด ขึ้น นั้น, เช่น มูล ดิน ที่ เขา ขุด คลอง เปน ต้น.
      มูน กะทิ (524:1.6)
               คือ เคล้า น้ำ กะทิ, คน นึ่ง เข้าเหนียว จะ ทำ ของ ขาย ให้ มัน, เอา มะพร้าว ขูด คั้น เปน น้ำ กะทิ, แล้ว เอา เคล้า เข้า กับ เข้าเหนียว ให้ มัน, ว่า มูน กะทิ นั้น.
      มูล มอง (524:1.7)
               ถม ไป, ไม่ ตรึก, คือ ของ กอง ไว้ มาก, เขา ว่า ของ มูลมอง ไป, มอง เปน คำ สร้อย.
เมน (524:2)
         โรง ทึม, สามสร้าง, คือ โรง ร่ม สำรับ เผา สพ, แต่ เขา ทำ ต่าง ๆ กัน, มี ยอด บ้าง ไม่ มี ยอด บ้าง, เรียก ว่า เมรุ คือ เปรียบ เขา สุเมรุ นั้น.
เม่น (524:3)
         เปน ชื่อ สัตว์ สี่ ท้าว จำพวก หนึ่ง, ฃน มัน แขง แหลม นัก สำรับ เปน อาวุธ ของ มัน, ขน นั้น ขาว ข้าง ปลาย ต้น ดำ
เม้น (524:4)
         เล็ม, กล้ำ, คือ เอา ที่ ริม ผ้า ซ่อน เข้า เสีย น่อย หนึ่ง, แล้ว เย็บ เข้า ให้ มั่น เพื่อ จะ มิ ให้ ด้าย ที่ ริม ล้น ออก มา.
      เม้น ผ้า (524:4.1)
               เล็ม ผ้า, กล้ำ ผ้า, คือ ทำ ที่ ริม ผืน ผ้า เช่น ว่า นั้น, คน ช่าง เย็บ มี ช่าง สน เปน ต้น จะ มิ ให้ ด้าย ล้น, เขา ก็ เม้น เสีย เช่น ว่า นั้น.
      เม้น ริม (524:4.2)
               กล้ำ ริม, เล็ม ริม, คือ ทำ ริม ผ้า เช่น ว่า, บาง ที เขา เม้น ข้าง น่า ผ้า ก็ มี บ้าง, จึ่ง ว่า เม้น ริม นั้น.
เหม็น (524:5)
         คือ กลิ่น ของ ที่ เน่า มี ซาก สุนักข เปน ต้น, ฤๅ สิ่ง อื่น มี กะบี แล ปลาร้า นั้น.
      เหม็น ขื่น (524:5.1)
               คือ เหม็น กลิ่น ที่ ซาก โครง สัตว์, มี ซาก โค เปน ต้น ที่ มัน เน่า ไม่ มี เนื้อ เปน แต่ ซาก อยู่ นั้น.
      เหม็น เขียว (524:5.2)
               คือ กลิ่น เสือ ฤๅ กลิ่น จรเข้ แล กลิ่น น้ำมัน ช้าง ที่ มัน ตก มัน นั้น, ว่า เหม็น เขียว
      เหม็น บูด (524:5.3)
                คือ เหม็น กลิ่น เข้า ฤๅ ขนม ที่ บูด เปน ต้น นั้น, เช่น แกง บูด แรม คืน นั้น.
      เหม็น โขง (524:5.4)
               คือ กลิ่น ซาก สุนักข เปน ต้น, ที่ มัน เน่า หลาย วัน จน ซาก โซม ยุบ ลง กลิ่น นั้น เหม็น โขง.
      เหม็น คลุ้ง (524:5.5)
               คือ เหม็น กลิ่น น้ำ ปลา ที่ มัน เสีย หลาย วัน แล้ว นั้น.
      เหม็น คาว (524:5.6)
               คือ เหม็น กลิ่น ปลาสด เปน ต้น, มัน ยัง ไม่ เน่า นั้น ว่า เหม็น คาว ทั้ง ดิบ แล สุก นั้น.
      เหม็น เปรี้ยว (524:5.7)
               คือ เหม็น กลิ่น เปรี้ยว มี น้ำซ่มสาย*ชู เปน ต้น นั้น.
      เหม็น รา (524:5.8)
               คือ กลิ่น ของ ที่ มัน รา ฟุ้ง มา เข้า จมูก นั้น, กลิ่น ขนม ที่ รา ขึ้น เปน ต้น นั้น.
      เหม็น เน่า (524:5.9)
               คือ กลิ่น ของ เน่า มา เข้า ใน* จมูก, คน ที่ มี กลิ่น ของ เน่า มี กลิ่น สุนักข เน่า เปน ต้น, พัง เข้า มา ใน จมูก, ว่า เหม็น เน่า.
      เหม็น สาง (524:5.10)
               คือ กลิ่น เกิด เมื่อ คน เจ็บ ป่วย หนัก เกือบ จะ ตาย นั้น มา ถึง จมูก.
      เหม็น สาบ (524:5.11)
               คือ กลิ่น สาบ มา เข้า ใน จมูก, เหมือน กลิ่น แร้ง ฤๅ กลิ่น ผ้า ที่ คน นุ่ง ห่ม ไม่ ซัก, หมัก ไว้ นาน ฟุ้ง มา เข้า จมูก ว่า เหม็น สาบ.
      เหม็น ผี (524:5.12)
               คือ เหม็น ซาก สพ.
      เหม็น อับ (524:5.13)
               คือ กลิ่น ของ ที่ อับ เข้า ใน จมูก, กลิ่น เข้า สาร ที่ คน ไม่ ได้ ตาก, ทิ้ง ไว้ จน อับ กลิ่น อับ ฟุ้ง มา เข้า จมูก, ว่า เหม็น อับ นั้น.
เหม่น เหม่ (524:6)
         ไม่ มั่นคง, ไม่ แน่ นอน, คือ การ ที่ คน พูด ไม่ ควร จะ เชื่อ ฟัง นั้น, คน นำ เอา มา พูด เหมือน ว่า เหน คน เหาะ ได้ นั้น, ว่า ความ เหม่น เหม่.
แมน (524:7)
         มี คน ภาษา หนึ่ง ชื่อ ว่า แมน, ว่า อยู่ ใน เมือง หนึ่ง ชื่อ เมือง แมน. อย่าง หนึ่ง คน ชื่อ แมน มี บ้าง.
แม่น (524:8)
         แน่, แท้, คือ แน่, คน ยิง ปืน ฤๅ ทิ้ง ลูก ขลุบ ลูกข่าง แน่ เปน ต้น, เขา ว่า คน นั้น ยิง ทิ้ง แม่น.
      แม่น คำ (524:8.1)
               แน่ คำ, มั่นคง คำ, คือ ถ้อยคำ แน่ นอน ไม่ เปน คำ ปด คำ เท็จ, เปน ถ้อย คำ อัน จริง อัน แน่ นั้น.

--- Page 525 ---
      แม่น มั่น (525:8.2)
               แม่น แท้, มั่นคง, คือ การ อัน ใด ที่ จริง ที่ แน่, ว่า เปน การ อัน แม่น มั่น, เช่น คน ไป ฃอ ลูก สาว เขา ว่า จะ เลี้ยง เปน ภรรยา, ให้ ไป ว่า แต่ ปาก เปล่า* กลัว จะ ไม่ มั่นคง, จึ่ง แต่ง ขันหมาก มั่น ให้ ไป ว่า กล่าว นั้น
      แม่น ปืน (525:8.3)
               ยิง ปืน แม่น, ชำนาญ ปืน คือ ยิง ปืน แน่, เช่น คน ทหาร ชำนาญ ปืน ยิง หมาย ที เดียว ถูก ว่า แม่น ปืน
      แม่น หมื่น เพ็ชฆ์ (525:8.4)
               เปน ชื่อ คน ราชการ คน หนึ่ง, เปน ผู้ คุม ใหญ่ ใน กรม กลาโหม ชื่อ เช่น นั้น.
      แม่น ยำ (525:8.5)
               มั่นคง, ยั่ง ยืน, คือ มั่น ดี, คน พูด จา ไม่ เหลาะ แหละ พูด ได้ ความ จริง มั่นคง ไม่ เคลื่อน คลาศ นั้น.
      แม่น แท้ (525:8.6)
               ยั่งยืน*, มั่นคง, คือ การ ฤๅ ความ สัจ ยั่งยืน, ไม่ ถอย หน้า ถอย หลัง กลับ กลอก หลอก หลอน นั้น.
แม้น (525:1)
         เหมือน, คล้าย, คือ คำ เขา พูด ว่า ธรรมเนียม ไท กับ ธรรมเนียม อังกฤษ, บาง ที ก็ แม้น กัน.
      แม้น กัน (525:1.1)
               คำ เขา พูด ถ ม กัน ว่า คน นี้ กับ คน นั้น ดู แม้น ๆ กัน, เขา เปน พี่ น้อง กัน ฤๅ.
      แม้น คล้าย (525:1.2)
               เช่น คำ เขา ว่า กลิ่น เหม็น คล้าย กับ กลิ่น นั่น กลิ่น นี่ นั้น.
      แม้น ได้ (525:1.3)
               เหมือน ได้, คำ เขา พูด กัน ว่า ท่าน ไป แล้ว เอา ของ สิ่ง นั้น มา ให้ เรา ด้วย, เขา ว่า ถ้า แม้น ได้ เรา จะ เอา มา ให้.
      แม้น (525:1.4)
                เปน, เหมือน เปน, ถ้า เปน, เขา พูด กัน ว่า เมีย เรา ตาย เสีย แล้ว, เรา จะ หา เมีย ใหม่, ถ้า แม้น เปน เช่น ว่า เรา จึ่ง จะ มา.
      แม้น ว่า (525:1.5)
               ถ้า ว่า, เหมือน ว่า, เปน คำ พูด ว่า เรา จะ ไป หา เมีย ใหม่ สัก คน อีก, แม้น ว่า เรา หา ได้ เรา จึ่ง จะ กลับ มา.
      แม้น เอา (525:1.6)
               ถ้า เอา, เหมือน เอา, คือ เขา พูด ว่า ของ นี้ ท่าน จะ ต้องการ ฤๅ, แม้น จะ เอา ก็ ได้ ไม่ เปน ไร.
มอน (525:2)
         เปน คน ไท, แต่ เขา ให้ ชื่อ ว่า เจ้า มอน บ้าง, ชื่อ ว่า นาง มอน บ้าง นั้น.
      มอญ (525:2.1)
               รามัญ, มอญ ที่ สกด ญ ใหญ่ เช่น นี้ เล็ง เอา คน ภาษา มอญ, คือ แผลง จาก คำ ว่า* รามัญ นั้น.
      มอญ (525:2.2)
               เม็ง, มอญ ว่า แล้ว, แต่ เม็ง เปน คำ สร้อย.
      มอญ เก่า (525:2.3)
               คือ พวก มอญ ที่ ยก เข้า มา สวามีภักดิ์ แต่ ครั้ง เมือง หงษาวะดี ยัง ปรกติ อยู่ นั้น, เขา เข้า มา อยู่ ช้านาน แล้ว จึ่ง เรียก มอญ เก่า.
      มอญ รำ (525:2.4)
               คือ พวก ละคอน มอญ ที่ เต้น รำ นั้น.
      มอญ ใหม่ (525:2.5)
               คือ พวก มอญ ที่ พึ่ง เข้า มา ใน เวลา เร็ว ๆ พาย หลัง พวก มอญ เก่า นั้น.
หมอน (525:3)
         เขนย, คำ เขมร, หมอน คือ ของ เขา ทำ หนุน หัว เอา ผ้า เย็บ ติด กัน เข้า แล้ว เอา นุ่น ยัด เข้า ไว้ ข้าง ใน สำรับ หนุน หัว นั้น.
      หมอน ข้าง (525:3.1)
               คือ หมอน เขา เย็บ ยาว สัก ศอก เสศ, สำรับ ไว้ หนุน ข้าง ๆ ซ้าย ขวา นั้น.
      หมอน ขวาน (525:3.2)
               คือ หมอน รูป เปน สาม เหลี่ยม เหมือน รูปขวาน.
      หมอน อิง (525:3.3)
               คือ หมอน สี่ เหลี่ยม สำรับ อิง นั้น.
      หมอน หนุน ตีน (525:3.4)
               คือ หมอน ทำ ด้วย ผ้า ฤๅ หนัง, ไว้ สำรับ หนุน ตีน ไม่ ใช้ หนุน อื่น เลย.
      หมอน หนุน หัว (525:3.5)
               คือ หมอน ผ้า แล หนัง สำรับ หนุน หัว อย่าง เดียว ไม่ ได้ ใช้ หนุน อื่น เลย.
      หมอน หนัง (525:3.6)
               คือ หมอน เขา ทำ ด้วย หนังฟอก, เปน หมอน รี บ้าง หมอน ขวาง บ้าง ต่าง ๆ กัน.
      หมอน เรือ (525:3.7)
               คือ ไม้ ท่อน ภอ หนุน รอง เรือ ไว้ ให้ สูง พ้น ดิน.
      หมอน ลม (525:3.8)
               คือ หมอน แพร อย่าง หนึ่ง, เขา ทำ มา แต่ เมือง นอก, ไม่ ได้ ยัด อะไร ข้าง ใน, เมื่อ จะ หนุน เขา เป่า ลม เข้า ไป ให้ มัน พอง ขึ้น นั้น.
      หมอน กลม (525:3.9)
               คือ หมอนรูป กลม เหมือน ผล แตงโม ที่ กลม สั้น สำรับ หนุน ศอก.
มวน (525:4)
         คือ เขา ม้วน ให้ ของ กลม เข้า, เช่น เขา เอา ฝ้าย มา ทำ เปน สำลี แล้ว ม้วน เปน ลูก สำลี ยาว ไว้ ปั่น ด้าย นั้น.
      มวน จุก (525:4.1)
               คือ พัน จุก ผม เด็ก ๆ ที่ มัน ไว้ จุก. อนึ่ง ปวด มวน จุก ใน อก นั้น.
      มวน ท้อง (525:4.2)
               คือ ปวด ใน ท้อง แต่ ปวด ปั่น เวียน อยู่ แห่ง เดียว, ไม่ ใคร่ ปวด ทั่ว ไป นั้น ว่า ปวด มวน ท้อง.
      มวน พัน (525:4.3)
               คือ หัน หมุน ผ้า ฤๅ เชือก เข้า นั้น. อนึ่ง มวน พัน บู้หรี่ เปน ต้น นั้น.

--- Page 526 ---
      มวน บู้หรี่ (526:4.4)
               คือ เขา เอา ใบ ตอง ตัด ออก ยาว สัก สอง นิ้ว กว้าง นิ้ว เสศ, แล้ว เอา ยาสูบ ใส่ เข้า ม้วน นั้น ว่า มวน บู้หรี่.
ม้วน (526:1)
         คือ หัน หมุน ผ้า ที่ ยาว ม้วน ให้ น้อย เข้า นั้น, เช่น แพร ม้วน เปน ต้น.
      ม้วน กดาด (526:1.1)
               พัน กดาด, คือ เอา กดาด มา พัน ให้ กลม แต่ เล็ก ๆ ก่อน, แล้ว ม้วน ให้ กลม เข้า จน โต ขึ้น สิ้น กดาด.
      ม้วน ผ้า (526:1.2)
               พับ ผ้า, คือ เขา ทำ ผ้า ที่ ผืน ยาว ให้ กลมโต ขึ้น เท่า แขน เท่า ขา, ว่า เอา มา แต่ เมือง อรอบ นั้น.
      ม้วน หูก (526:1.3)
               พัน หูก, คือ การ ที่ คน ทำ ด้าย ใน ฟืม ให้ เปน ม้วน กลม เข้า นั้น.
เมี้ยน (526:2)
         คือ หมด, เช่น ของ หมด สิ้น ไป, เขา ว่า หมด เมี้ยน ฤๅ หมด ม้วย.
      เมี้ยน มิด (526:2.1)
               คือ มิด หมด, การ ที่ คน ซ่อน ของ อัน ใด ไม่ ให้ ใคร่ เหน เลย นั้น.
เหมือน (526:3)
         คล้าย, ดุจจะ, คือ สิ่ง ของ ที่ คล้าย ๆ ไม่ ผิด กัน นั้น. ฤๅ คน รูป ร่าง หน่า ตา คล้าย ๆ กัน.
      เหมือน กัน (526:3.1)
               คือ สิ่ง ของ ไม่ ผิด กัน, แม้น กัน, เช่น เดียว กัน, อย่าง เดียว กัน, ว่า เหมือน กัน.
      เหมือน กับ (526:3.2)
               คือ ของ เหมือน กับ ของ สิ่ง นั้น, เช่น คำ ว่า เหมือน กับ สิ่ง นั้น สิ่ง นี้ นั้น.
      เหมือน คน (526:3.3)
               ดุจ คน, ดั่ง คน, คือ เช่น คน แม้น คน เปน ต้น*, เขา เหน สัตว์ มี ลิง เปน ต้น, มัน ทำ อาการ แม้น คน นั้น.
      เหมือน เงิน (526:3.4)
               ดุจ เงิน, ราว กะ เงิน, คือ แม้น เงิน คล้าย เงิน.
      เหมือน ทอง (526:3.5)
               คือ แม้น ทอง คล้าย ทอง.
      เหมือน หนึ่ง (526:3.6)
               คือ เหมือน ดั่ง นั้น ดั่ง นี้ นั้น, เช่น คำ ว่า เหมือน หนึ่ง สิ่ง นั้น สิ่ง นี้,
      เหมือน พ่อ (526:3.7)
               ราว กับ พ่อ, ดุจ พ่อ, คือ คล้าย กับ พ่อ ฤๅ แม้น กับ พ่อ.
      เหมือน แม่ (526:3.8)
               ราว กะ แม่, ดั่ง แม่, คือ แม้น กับ แม่ ฤๅ คล้าย กับ แม่.
      เหมือน อย่าง (526:3.9)
               คือ แม้น กับ รูป ของ ที่ ทำ ไว้ เปน แบบ, คน จะ ต่อ กำปั่น, เฃา ทำ รูป ให้ ดู ว่า ให้ ทำ รูป เช่น นี้ นั้น.
      เหมือน ว่า (526:3.10)
               คือ เหมือน คำ ที่ ว่า นั้น.
เมิน (526:4)
         คือ ทำ หน้า ไม่ ให้ ตรง ไม่ แล ดู, บาง ที เมิน ด้วย ใจ, คือ ทำ เพิก เฉย ทั้ง ตา ทั้ง ใจ.
      เมิน หน้า (526:4.1)
               คือ ทำ หน้า ผัน ไป อื่น เสีย นั้น
      เมิน เฉย (526:4.2)
               คือ เพิก เฉย ไม่ แล ดู ด้วย ตา ไม่ เอา ใจ ใส่, ถึง อยู่ ใกล้ ก็ ไม่ รู้ ไม่ เหน นั้น.
      เมิน เสีย เถิด อ้าย หนุ่ม (526:4.3)
               เปน คำ เขา พูด เปน ทาง เล่น, ว่า ชาย หนุ่ม อยาก ได้ เมีย, เขา เหน ว่า จะ ไม่ ได้ เขา พูด คำ นั้น.
มับ (526:5)
         คือ ความ เพียบ, ว่า เต็ม, ว่า กบ, เขา บันทุก ของ มา เพียบ เรือ เปน ต้น, ว่า ของ มับ นั้น.
      มับ แต้ (526:5.1)
               คือ เพียบ เต็ม ที นั้น, คำ ว่า บันทุก เรือ เพียบ มับ แต้ เปน ต้น.
      มับ โรง (526:5.2)
               เต็ม โรง, กบ โรง, คือ ของ เต็ม โรง, แน่น โรง, อัด โรง, เขา เอา ของ ใส่ ไว้ ใน โรง เต็ม กบ โรง ว่า มับ โรง.
      มับ เรือ (526:5.3)
               กบ เรือ, คือ กบ เรือ, คน เอา ของ อัน ใด ๆ ใส่ ลง เพียบ เรือ, ว่า ของ มับ เรือ.
มาบ (526:6)
         ลำ ราง, ลาด, คือ ที่ ลำลาบ ลุ่ม กว้าง ใหญ่, ที่ อื่น ถึง จะ เปน ลำลาบ ก็ ไม่ เรียก มาบ, เหมือน กระทง นา ที่ เล็ก ๆ ไม่ เรียก มาบ, อัน ที่ กว้าง ยาว ใหญ่ จึ่ง เรียก มาบ.
      มาบ เหมือง (526:6.1)
               ลำ ราง เหมือง, คู เหมือง, คือ ทำเน ที่ น้ำ ไหล เปน ที่ ลุ่ม เรียก มาบ, แต่ เหมือง ชาว นา ขุด เปน คลอง เล็ก ๆ สำรับ ไข น้ำ เข้า นา นั้น.
มอบ (526:7)
         เวน, ปลง ให้, คือ ปลง ธุระ ไว้ ให้ กับ ผู้ อื่น. อย่าง หนึ่ง เปน ของ สาน รูป คล้าย หมวก สำรับ ใส่ สรวม ปาก งัว ไว้ มิ ให้ มัน กิน เข้า, เมื่อ เวลา นวด เข้า ใน ลาน นั้น.
      มอบ การ (526:7.1)
               เวน การ, ปลง การ ให้, คือ ปลง ธุระ ไว้ ธุระ กิจ การ ไว้ ให้ กับ ผู้ อื่น ทำ แทน, ดู แทน, ว่า กล่าว แนท* นั้น.
      มอบ ของ (526:7.2)
               เวน ของ, ปลง ของ ไว้, คือ ปลง สิ่ง ของ ไว้, ว่า ของ นี้ เรา มอบ ไว้ กับ ท่าน, เรา จะ มี ธุ ระ ไป แล้ว จึ่ง จะ มา เอา ของ เรา.
      มอบ เงิน (526:7.3)
               คือ ปลง เงิน ไว้, ว่า ของ เรา ฝาก ไว้ กับ ท่าน เรา จะ มี ธุระ ไป แล้ว จะ มา เอา นั้น.
      มอบ ตัว (526:7.4)
               คือ เอา ตัว คน ไป ส่ง ให้ ทำ การ เปน ต้น, ว่า มอบ ตัว ให้.

--- Page 527 ---
      มอบ ท้อง (527:7.5)
               คือ ว่า ท้อง ลูก นี้ เพราะ ท่าน.
      มอบ บ้าน (527:7.6)
               ปลง บ้าน ไว้, เวน บ้าน ไว้, คือ ปลง บ้าน ฝาก ไว้, ว่า บ้าน นี้ เรา ฝาก ไว้ กับ ท่าน, เรา มี ธุระ ไป แล้ว จึ่ง จะ มา เอา.
      มอบ เมือง (527:7.7)
               เวน เมือง ไว้, ฝาก เมือง ไว้, คือ ปลง เมือง ฝาก ไว้, ว่า เมือง นี้ เรา ฝาก ไว้ กับ ท่าน, เรา มี ธุระ ไป, แล้ว จึ่ง จะ มา เอา.
      มอบ ราชสมบัติ (527:7.8)
               เวน ราชสมบัติ, ปลง ราชสมบัติ ให้, คือ ปลง ฝาก ราชสมบัติ, ว่า ราชสมบัติ เรา ฝาก ไว้ กับ ท่าน, แล้ว จึ่ง จะ มา เอา.
      มอบ เวน (527:7.9)
               เวน ให้, ปลง ให้, คือ มอบ ให้ เปน สิน* ใช้, เช่น คน ยืม ของ ไป ทำ สลาย แตก พัง, เจ้า ของ มอบ ให้ ไม่ รับ เอา จะ เอา ของ ให้ ดี นั้น.
      มอบ หมาย (527:7.10)
               คือ มอบ ด้วย มี กำหนด จดหมาย สิ่ง ของ ตาม ของ มี มาก แล น้อย นั้น.
      มอบ ไว้ (527:7.11)
               คือ มอบ ฝาก ไว้, ว่า ของ นี้ เรา ปลง ธุระ ฝาก ไว้ กับ ท่าน ด้วย, กว่า เรา จะ กลับ มา.
      มอบ ให้ (527:7.12)
               คือ ยอม ให้ อะนุญาต ให้ ขาด ไม่ กลับ คืน มา เอา, ว่า ของ นี้ เรา ให้ ท่าน แล้ว.
หมอบ (527:1)
         คือ อาการ ที่ คุกเข่า ท้าว ศอก ทั้ง สอง ลง กับ พื้น เรียบ ราบ ดี นั้น, ว่า เขา หมอบ.
      หมอบ กราน (527:1.1)
               คือ ฟุบ ลง, แล้ว เอา มือ กราน ไว้ นั้น, เช่น คน หมอบ กราน คลาน ไป ด้วย ศอก.
      หมอบ เฝ้า (527:1.2)
               คือ อาการ ที่ ฟุบ ลง คำนับ เจ้า เปน ต้น นั้น, เช่น ขุนนาง หมอบ เฝ้า พระ มหา กระษัตริย์.
ม้าม (527:2)
         คือ อาการ ใน กาย คน มี สามสิบสอง สิ่ง, ม้าม นี้ ด้วย เปน ปัถ*วีธาตุ.
มิ้ม (527:3)
         คือ อาการ ที่ คน อม น้ำ ไว้ ใน ปาก, แล ทำ สีปาก ให้ ชิด มุ้ม มิ ให้ น้ำ รั่ว ออก ได้ นั้น, ว่า มิ้ม ปาก.
มุม (527:4)
         คือ ที่ สุด หัว ประจบ ทั้ง สอง ข้าง, เหมือน เรือน ที่ สุด ด้าน ยาว กับ ด้าน สกัด ประจบ กัน นั้น.
      มุม กำแพง (527:4.1)
               เหลี่ยม กำแพง, คือ ที่ สุด หัว ประจบ ทั้ง สอง ด้าน กำแพง, คือ ด้าน ยาว แล สกัด ประจบ กัน ที่ เขา ก่อ กำแพง นั้น.
      มุม เมือง (527:4.2)
               คือ ที่ สุด หัว ประจบ ทั้ง สอง ด้าน เมือง, คือ ด้าน ยาว แล ด้าน สกัด เมือง.
      มุมมาม (527:4.3)
               คือ อาการ ที่ ทำ เลอะ เทอะ นั้น, เช่น คน ที่ ประฤพติ* ไม่ สอาด เปน ต้น นั้น.
มุ่ม (527:5)
         คือ ของ ไม่ แหลม, ทู่ อยู่ เหมือน ปาก งูเขียว จำพวก หนึ่ง เรียก งูเขียว ปาก มุ่ม.
มุ้ม (527:6)
         คือ งุ้ม, ของ ไม่ ตรง งุ้ม ลง ข้าง ล่าง, เหมือน จะง้อย ปาก แร้ง นั้น, เขา ว่า ปาก มุ้ม.
      มุ้ม ปาก (527:6.1)
               คือ ทำ ปาก เหมือน อม น้ำ นั้น, เช่น คน เป่า ปี่ ตะ ใบ ลม เปน ต้น นั้น.
แหม่ม (527:7)
         เปน คำ เขา เรียก แม็ดด้ำ, หญิง อังกฤษ ว่า แหม่ม, เปน คน เลว เรียก ง่าย ๆ
มอม (527:8)
         ดำ มัว, คือ ของ เปื้อน สิ่ง ที่ ดำ มี เขม่า ม่อ เปน ต้น, เหมือน พวก ยวญ ตี เหล็ก เปน ต้น.
      มอม ไก่ (527:8.1)
               คือ ทำ ให้ ไก่ ที่ แดง ฤๅ เขียว, ให้ มัน ดำ แปลก ศรี ไป เพื่อ จะ ให้ ไก่ ตัว แพ้ กลับ สู้.
      มอม กัน (527:8.2)
               คือ คน ต่อ คน แกล้ง เอา เขม่า ทา ที่ หน้า เปน ต้น, ให้ เปื้อน ดำ ไป นั้น.
      มอม แมม (527:8.3)
               มอ ซอ, คือ ของ มัว หมอง ติด เปื้อน ด้วย สิ่ง มี ศรี ดำ เปน ต้น นั้น.
หม่อม (527:9)
         จอม, เปน ชื่อ ชาย หญิง ที่ มี บันดา ศักดิ์ เปน เชื้อสาย คน มี ยศ มี* วาศนา, เขา เรียก หม่อม.
      หม่อม เจ้า (527:9.1)
               เปน ชื่อ คน ที่ เปน ลูก เจ้า ที่ เปน กรม, เขา ให้ เรียก แต่ หม่อมเจ้า ตาม บันดา ศักดิ์
      หม่อม ฉัน (527:9.2)
               เปน คำ พูด ถึง ตัว ว่า กระหม่อม ฉัน, เพราะ พูด กับ เจ้า เปน ต้น.
      หม่อม อยู่ งาน (527:9.3)
               จอม อยู่ งาน, คือ ผู้ หญิง เปน เมีย ขุนหลวง เปน ผู้ สำรับ พัด เปน ต้น, ว่า หม่อม อยู่ งาน พัด นั้น.
      หม่อม ห้าม (527:9.4)
               คือ ผู้ หญิง เปน เมีย เจ้า เปน ต้น, เรียก หม่อม ห้าม เพราะ เขา ห้าม มิ ให้ ออก จาก ประตู แต่ ลำพัง.
      หม่อม แม่ (527:9.5)
               คือ ผู้หญิง เปน แม่ เจ้า นั้น, เขา เรียก หม่อมแม่ เพราะ มี ลูก เปน เจ้า นั้น.
      หม่อม พี่ (527:9.6)
               คือ ผู้หญิง ฤๅ ชาย ที่ มี บันดา ศักดิ์, อายุ ควร จะ เรียก พี่ เขา ก็ เรียก หม่อม พี่.

--- Page 528 ---
      หม่อม ป้า (528:9.7)
               คือ หญิง ที่ อายุ สมควร จะ เปน ป้า, แต่ เปน คน มี บันดา ศักดิ์, เขา เรียก หม่อม ป้า.
      หม่อม น้า (528:9.8)
               คือ หญิง ชาย อายุ สมควร จะ เปน น้า, เปน คน มี วาศนา บันดา ศักดิ์ เขา เรียก หม่อม น้า.
      หม่อม อา (528:9.9)
               คือ หญิง ชาย อายุ สมควร จะ เปน อา, เปน คน มี วาศนา บันดา ศักดิ์ เขา เรียก หม่อม อา.
เมย เฉย (528:1)
         คือ อาการ ที่ เมิน เฉย นั้น, คน ที่ เฉย เมย ไม่ ดู แล งาน การ เปน ต้น.
เม้ย (528:2)
         เปน ชื่อ คน ชื่อ เม้ย* ก็ มี บ้าง แต่ ไม่ สู้ มี นัก, เพราะ เปน ชื่อ ไม่ เพราะ เปน ชื่อ ภาษา มอญ.
ม่าย (528:3)
         คือ หญิง ฤๅ ชาย ที่ ผัว เมีย อย่า ขาด จาก เปน ผัว เมีย กัน ฤๅ ผัว เมีย ตาย นั้น ว่า เปน ม่าย.
      ม่าย ผัว ตาย (528:3.1)
               คือ หญิง มี ผัว แล้ว ผัว ตาย. หญิง บาง คน มี ผัว เมื่อ อายุ ยัง น้อย ผัว ตาย ก่อน, ว่า หญิง นั้น เปน ม่าย ผัว ตาย.
      ม่าย ผัว อย่า (528:3.2)
               คือ หญิง มี ผัว, แล ผัว อย่า ด้วย ไม่ ชอบ ใจ จะ อยู่ ด้วย กัน, ว่า ม่าย ผัว อย่า.
      ม่าย ผัว ร้าง (528:3.3)
               คือ หญิง มี ผัว แล ผัว ไม่ อย่า, แกล้ง ทิ้ง ไว้ เริด ร้าง ไม่ ไป มา, ว่า ม่าย ผัว ร้าง.
      ม่าย ลูก ติด (528:3.4)
               คือ หญิง ม่าย ผัว อย่า ฤๅ ผัว ตาย, แล้ว มี ลูก อยู่ ด้วย นั้น, ว่า ม่าย ลูก ติด.
หมาย (528:4)
         สำคัญ, คือ การ ที่ จะ ทำ ฝา เปน ต้น, แล เอา น้ำ ดำ ขีด กะ ลง ไว้ ว่า จะ เอา กว้าง แล ยาว เท่า นั้น ๆ
      หมาย ใจ (528:4.1)
               คือ คาด ใจ กะ ใน ใจ, คิด กำหนด ใน ใจ, คะเน ใน ใจ.
      หมาย ว่า (528:4.2)
               สำคัญ ว่า, คือ คาด ความ ตาม ใจ กำหนด นั้น, เหมือน อย่าง คิด สำคัญ ใน ใจ ว่า จะ เปน อย่าง นี้ เปน ต้น.
      หมาย ไว้ (528:4.3)
               คือ อาการ ที่ เขา ขีด ไว้ เพื่อ จะ รู้ นั้น, นึก สำคัญ ว่า จะ ได้ ยิน ข่าว เปน ต้น.
แมว (528:5)
         วิลา, เปน ชื่อ สัตว สี่ ท้าว จำพวก หนึ่ง, เปน สัตว บ้าน ใน ป่า ไม่ มี, คน เลี้ยง ไว้ ให้ มัน กัด หนู.
      แมว ขะโมย (528:5.1)
               คือ แมว มัน เที่ยว ขะโมย ปลา ฤๅ เนื้อ ที่ เรือน เขา ๆ ไม่ ได้ เลี้ยง มัน นั้น.
      แมว คราว (528:5.2)
               คือ แมว ตัว ผู้ ที่ มัน แก่ เปน แมว ใหญ่, เขี้ยว แล เล็บ มัน ยาว หนวด มัน ยาว.
      แมว ด่าง (528:5.3)
               คือ แมว ที่* ศรี ขน ตัว มัน ขาว เปน แห่ง ๆ, ดำ เปน แห่ง ๆ, เขา เรียก แมว ด่าง.
      แมวเซา ขาว (528:5.4)
               เปน ชื่อ มม่วง* อย่าง หนึ่ง, ลูก มัน สั้น กลม รศ หวาน ดี.
      แมว ชะมด (528:5.5)
               คือ แมว ศรี ขน ตัว มัน ลาย หม่น มัว เปน แห่ง ๆ ลาย เหมือน ชะมด เรียก แมว ชะมด.
      แมวเซา ดำ (528:5.6)
               เปน ชื่อ มม่วง* อย่าง หนึ่ง เช่น ว่า, แต่ ศรี เปลือก ลูก มัน ดำ.
      แมว ลาย (528:5.7)
               คือ แมว ศรี ขน ตัว มัน มี ขน ศรี ต่าง ๆ, หลาย ศรี พร้อย อยู่ นั้น.
ม่อย (528:6)
         คือ อาการ ที่ คน นอน เกือบ หลับ จิตร ง่วง เซา เข้า, แต่ ยัง ไม่ หลับ ว่า นอน.
      ม่อย ผ่อย (528:6.1)
               คือ อาการ ที่ ใจ ม่อย เคลิ้ม จะ หลับ ไป, เช่น เกือบ จะ หลับ ภอ เคลิ้ม สติ ลง.
      ม่อย เคลิ้ม (528:6.2)
               คือ อาการ ที่ คน นอน จิตร ผ่อย ลืม สติ, บาง ที ให้ เหน เปน นิมิต เหตุ ดี เหตุ ร้าย บ้าง นั้น.
      ม่อย ไป (528:6.3)
               คือ หลับ ผ่อย ไป นั้น, เช่น คน นอน เคลิ้ม สติ ม่อย ไป นั้น.
      ม่อย (528:6.4)
               หลับ, คือ อาการ ที่ คน นอน ใจ เคลิ้ม ๆ เกือบ จะ หลับ แต่ หน่วย ตา แล ใจ เกือบ จะ หลับ นั้น.
      ม่อย ลง (528:6.5)
               คือ ผ่อย ลง เกือบ หลับ นั้น, คน นอน ม่อย ลง ภอ เคลิ้ม สติ เปน ต้น.
หมอย (528:7)
         คือ ขน ใน ที่ ลับ แห่ง ชาย แล หญิง, เดิม เมื่อ คน อายุ ยัง น้อย เปน เด็ก อยู่, ขน นั้น ยัง ไม่ มี, ต่อ อายุ สิบ หก ปี จึ่ง มี.
      หมอย เข้า โภชน์ (528:7.1)
               จุก เข้า โภชน์, คือ ฝอย ไหม ที่ ปลาย ดอก เข้า โภชน์, มัน เปน เส้น* เล็ก ๆ เหมือน กับ ไหม นั้น.
มวย (528:8)
         ชก กัน, ต่อย กัน, คือ เปน ชื่อ การ สู้ รบ กัน อย่าง หนึ่ง, คน มือ เปล่า ไม่ ได้ ถือ อาวุธ กำ มือ ทั้ง สอง เข้า แล้ว ก็ เสือก หมัด ให้ ถูก กัน.

--- Page 529 ---
      มวย ปล้ำ (529:8.1)
               มวย เช่น ว่า แล้ว, แต่ ปล้ำ นั้น คน สอง คน สู้ กัน ด้วย กำลัง เอา มือ กอด รัด กัน แล้ว, จะ ทำ กัน ล้ม ลง ข้าง ล่าง นั้น.
      มวย ผม (529:8.2)
               คือ ผม ที่ ผูก พัน รวบ รัด ไว้ ที่ ท้าย ทอย ต่อ ฅอ ขึ้น มา, เหมือน คน พราหมณ์ นั้น.
      มวย หมู่ (529:8.3)
               ต่อย หมู่, คือ คน สอง พวก ๆ ละ เก้า คน สิบ คน เปน ต้น, สู้ รบ กัน ด้วย กำ มือ เปล่า นั้น.
ม้วย (529:1)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ม้วย หมด (529:1.1)
               คือ สิ้น สุด ไม่ มี หลอ เหลือ, เหมือน ของ เดิม มี มาก หลาย ครั้น นาน มา ของ นั้น สิ้น ไม่ เหลือ เลย.
      ม้วย ชีวา (529:1.2)
               คือ ดับ จิตร์ ตาย, คน สิ้น ชีวิตร์ นั้น.
      ม้วย มรณ์ (529:1.3)
               คือ ตาย สิ้น ชีวิตร์ นั้น.
      ม้วย บันไลย (529:1.4)
               คือ สิ้น ชีวิตร์ ไป นั้น, คน ตาย หมด ไป นั้น.
      ม้วย มอด (529:1.5)
               คือ ของ วอด วาย ไป, เหมือน ของ เดิม มี มาก, นาน มา หมด สิ้น วอด วาย ไป.
      ม้วย มอด วอด วาย (529:1.6)
               คือ ความ ฉิบหาย ตาย สิ้น นั้น, ฉิบหาย วาย ป่วง เปน ต้น นั้น.
เมื่อย (529:2)
         เจ็บ, ขบ, คือ ความ เจ็บ ด้วย เหตุ มี โรค เปน ต้น, ลาง ที นั่ง นาน ให้ เจ็บ ที่ กระดูก สันหลัง ตรง เอว นั้น.
      เมื่อย ขา (529:2.1)
               เจ็บ ขา, ขบ ขา, คือ ความ เจ็บ ที่ ขา, เพราะ เดิน นาน เดิน ไกล, เจ็บ เช่น นั้น ว่า เมื่อย ขา.
      เมื่อย แข้ง (529:2.2)
               เจ็บ แข้ง, ขบ แข้ง, คือ ความ เจ็บ ที่ แข้ง, เพราะ เดิน นาน เดิน ไกล, เจ็บ เช่น นั้น ว่า เมื่อย แข้ง.
      เมื่อย แขน (529:2.3)
               เจ็บ แขน, คือ เจ็บ ที่ แขน, คน ทำ การ เปน ต้น, ว่า ฟัน ไม้ ฤๅ แจว เรือ นาน นัก ให้ เจ็บ ที่ แขน นั้น.
      เมื่อย ฅอ (529:2.4)
               เจ็บ ฅอ, คือ เจ็บ ที่ ฅอ, คน นั่ง นัก ฤๅ นอน นัก, ให้ เจ็บ ที่ ฅอ นั้น, ว่า เมื่อย ฅอ.
      เมื่อย ตีน (529:2.5)
               ระบม ตีน, คือ เจ็บ ที่ ตีน, คน เดิน นัก เจ็บ เลื่อย ระบม ตีน นั้น.
      เมื่อย ตัว (529:2.6)
               คือ เจ็บ ระบม ที่ ตัว, คน ทำ การ งาน เปน ต้น, ว่า แบก หาม ของ ที่ หนัก ให้ เจ็บ ระบม ตัว นั้น.
      เมื่อย ระบม (529:2.7)
               คือ อาการ เช่น ว่า แล้ว, แล มัน ป่วย รุ่ม อยู่ นั้น.
      เมื่อย หลัง (529:2.8)
               คือ เจ็บ เลื่อย ที่ หลัง, คน นั่ง เขียน หนังสือ เปน ต้น, นาน นัก เจ็บ เลื่อย ที่ หลัง นั้น.
      เมื่อย ล้า (529:2.9)
               คือ อาการ ป่วย เช่น ว่า, แล จะ ลุก ไป ไม่ ใคร่ ไหว นั้น.
เหมื่อย (529:3)
         คือ ความ ที่ มี อยู่ เสมอ, มี เรื่อย ไป ไม่ ขาด นั้น, คำ ว่า คน เขา มา เหมื่อย ไป ไม่ ขาด.
เมีย (529:4)
         คือ หยิง ที่ ฃอ สู่ มา ฤๅ ได้ กัน เอง, มา อยู่ เปน คู่ ฆะรา วาศ นั้น, ว่า เปน เมีย.
      เมีย แก่ (529:4.1)
               ภรรยา แก่, คือ หญิง แก่ ชาย เลี้ยง ไว้ เปน ภรรยา อา ยุ มาก จน ผม หงอก นั้น, ว่า เมีย แก่.
      เมีย เก่า (529:4.2)
               ภรรยา เก่า, เพื่อน สาลา เก่า, คือ หญิง เปน เมีย ชาย อยู่ ก่อน แล้ว, ชาย ผัว ได้ หญิง อื่น เปน เมีย อีก เมีย ก่อน นั้น ว่า เมีย เก่า.
      เมีย ก่อน (529:4.3)
               ภรรยา ก่อน, ภรรยา เดิม, คือ หญิง เปน ภรรยา ชาย, แล้ว ผ่าย หลัง ชาย* ผัว ได้ เมีย ใหม่ อีก, หญิง ภรรยา เดิม นั้น, ว่า เปน เมีย ก่อน.
      เมีย ฃอ (529:4.4)
               ภรรยา ฃอ, ภรรยา สู่, คือ หญิง ที่ ชาย ให้ ไป สู่ ฃอ ต่อ ผู้ ใหญ่ มี บิดา มารดา เปน ต้น, ได้ มา เลี้ยง เปน เมีย นั้น.
      เมีย ข้า (529:4.5)
               ภรรยา ทาษ, ทาษ ภรรยา, คือ หญิง มี ทุกขะยาก ชาย ช่วย ไถ่ มา ด้วย เงิน, ได้ มา เลี้ยง เปน เมีย นั้น.
      เมีย ฉะเลย (529:4.6)
               คือ หญิง ที่ ชาย ไป ตี บ้าน ตี เมือง, ได้ หญิง มา เลี้ยง เปน ภรรยา, เรียก ว่า เปน เมีย ฉะเลย.
      เมีย ช่วย (529:4.7)
               ภรรยา ช่วย, คือ หญิง ที่ มี ทุกขะยาก, ชาย ไถ่ มา ด้วย เงิน เลี้ยง เปน ภรรยา.
      เมีย ชู้ (529:4.8)
               เมีย ลอบ ลัก, คือ หญิง ที่ มี ผู้ รักษา, แล ชาย สม รัก ลัก ลอบ กับ หญิง นั้น, ว่า เมีย ชู้ อยู่ ด้วย กัน.
      เมีย น้อย (529:4.9)
               ภรรยา น้อย, คือ หญิง มา เปน ภรรยา ชาย ต่อ ผ่าย หลัง เมีย ที่ ชาย เลี้ยง เปน เมีย อยู่ ก่อน นั้น.
      เมีย หลวง (529:4.10)
               คือ หญิง เปน เมีย ชาย อยู่ ก่อน, แล้ว ชาย ได้ หญิง อื่น มา เปน ภรรยา อีก เมีย ก่อน ว่า เปน เมีย หลวง.
      เมีย ใหญ่ (529:4.11)
               คือ เมีย เปน หญิง ผู้ ใหญ่ นั้น, เช่น เมีย หลวง เปน ต้น.
เมื่อ (529:5)
         ขณะ, คือ เวลา เปน ประจุ บัน, คือ ขณะ นั้น, บัดเดี๋ยว นั้น, ใน ทันใด นั้น, ว่า เมื่อ นั้น.

--- Page 530 ---
      เมื่อ กี้ (530:5.1)
               ครั้ง ก่อน, คือ เวลา ล่วง บัดเดี๋ยว หนึ่ง, ประมาณ ศัก กึ่ง นาที เล็ก, ว่า เมื่อ กี้ เพราะ เร็ว นัก.
      เมื่อ ก่อน (530:5.2)
               เมื่อ กี้, คือ เวลา มา ถึง โมง หนึ่ง, แล้ว มา ถึง เวลา สอง โมง, เวลา โมง หนึ่ง นั้น ว่า เมื่อ ก่อน.
      เมื่อ คืน นี้ (530:5.3)
               ขณะ คืน นี้, คือ เวลา ใน กลาง คืน, ครั้น รุ่ง ขึ้น เปน เพลา เช้า วัน ที่ สอง, เรียก เวลา ใน กลาง คืน นั้น, ว่า เมื่อ คืน นี้.
      เมื่อ เช้า (530:5.4)
               คือ ดวง อาทิตย์ แรก ขึ้น มา ก่อน สว่าง แจ้ง, ว่า เมื่อ เช้า, เหมือน คน ไป ใน เวลา เช้า เปน ต้น, ครั้น ล่วง มา เวลา บ่าย เขา ว่า ไป เมื่อ เช้า.
      เมื่อ ตะกี้ (530:5.5)
               คือ เวลา เดี๋ยว นี้. อนึ่ง คือ เมื่อ แต่ ก่อน นั้น.
      เมื่อ ใด (530:5.6)
               คือ เวลา ไร, เขา จะ ไป ใน เวลา ใด นั้น, มี ผู้ มา ถาม ว่า จะ ไป เวลา ใด ว่า จะ ไป เมื่อ ไร.
      เมื่อ น่า (530:5.7)
               คือ เวลา ผ่าย น่า นั้น, คำ ว่า สืบ ไป เมื่อ น่า เปน ต้น นั้น.
      เมื่อ นั้น (530:5.8)
               คือ เวลา นั้น, เขา ถาม ว่า จะ ไป เมื่อ ไร, ผู้ จะ ไป บอก ว่า ท่าน มา เมื่อ ไร เรา จะ ไป เมื่อ นั้น.
      เมื่อ กะนั้น (530:5.9)
               คือ เมื่อ ก่อน นั้น, คำ ว่า เมื่อ กระนั้น เรา ได้ ไป เนือง ๆ เปน ต้น.
      เมื่อ ไร (530:5.10)
               คือ เวลา ไร, เขา ถาม ว่า ท่าน จะ ไป เวลา ใด นั้น.
เมื้อ (530:1)
         เปน ภาษา ลาว ว่า ไป, ลาว พูด ถาม กัน ว่า ท่าน จะ เมื้อ เวลา ไร, คือ ว่า จะ ไป เมื่อ ไร.
มัว (530:2)
         คือ เวลา เปน จะ พลบ ค่ำ ลง เปน ต้น ว่า มัว. อย่าง หนึ่ง เหมือน ของ มี กระจก ถูก ละออง ผง ว่า มัว.
      มัว ตา (530:2.1)
               คือ อาการ ที่ ตา เปน ฝ้า อยู่ นั้น, เช่น ปวด หัว มัว ตา เปน ต้น.
      มัว หมอก (530:2.2)
               คือ เวลา ใกล้ ฝน จะ ตก ไม่ มี แสง แดด, แล มี หมอก ลง ด้วย ว่า มัว หมอก.
      มัว หมอง (530:2.3)
               คือ เส้า หมอง นั้น, คน ต้อง ไภย ได้ ทุกข์ หน้า ตา มัว หมอง เปน ต้น นั้น.
      มัว มืด (530:2.4)
               คือ เวลา จะ พลบ ค่ำ ลง, ว่า มัว มืด. อย่าง หนึ่ง ว่า เข้า ใน ถ้ำ ที่ มืด ว่า มัว มืด.
      มัว ไป (530:2.5)
               คือ เปน หมอก ไป นั้น, คน เมา มัว ไป ด้วย โลภะ โทษะ โมหะ เปน ต้น นั้น.
      มัว หม่น (530:2.6)
               คือ ของ ศรี เทา คล้ำ เขียว เจือ กับ ศรี แดง อ่อน, ฤๅ เหลือง อ่อน, ว่า ศรี มัว หม่น.
      มัว ฟ้า มัว ฝน (530:2.7)
               คือ เกิด พะยับ บน อากาษ เมื่อ ฝน จะ ตก นั้น, ว่า มืด ฟ้า มัว ฝน เปน ต้น นั้น.
      มัว เมา (530:2.8)
               เปน คำ พูด ถึง คน หลง รัก ยศ ศักดิ์ ฤๅ หลง รัก ผู้ หญิง เปน ต้น, ว่า มัว เมา ไป.
      มัว เมฆ (530:2.9)
               คือ พะยับ เมฆ มัว อยู่ นั้น, พระ จันท์ มัว อยู่ ด้วย เมฆ ปิด บัง เปน ต้น.
      มัว นอน (530:2.10)
               คือ อาการ เมื่อ คน ตื่น ขึ้น จาก หลับ, ยัง ไม่ ส่าง เหานอน ง่วง งุน อยู่ นั้น ว่า มัว นอน.
      มั่ว กวาด (530:2.11)
               คือ กวาด มุ่น เข้า ไว้ นั้น, เช่น คน กวาด เข้า ลอม ไว้ เปน ต้น นั้น.
      มั่ว สุม (530:2.12)
               คือ มุ่น สุม เข้า ไว้, เช่น มั่ว สุม ประชุม กัน เปน ต้น นั้น.
เหม่อ (530:3)
         คือ เลินเล่อ เผลอ แล ดู อัน ใด เลย ไป, เหมือน คน ภาย เรือ ไป เปน ต้น, แล ดู อัน ใด เผ่อ เลย ไป ลืม ตัว ว่า เหม่อ.
เหมอะหมะ (530:4)
         คือ คน เบอะบะ นั้น, เช่น คน ชาว ป่า เข้า เมือง เปน ต้น นั้น.
เมาะ (530:5)
         เบาะ, คือ ของ เขา เย็บ ด้วย ผ้า เปน ต้น, เปน สี่ เหลี่ยม บ้าง ยาว รี บ้าง, เอา นุ่น ใส่ ไว้ ข้าง ใน, ไม่ ตรึง เหมือน ลูก ฟูก, สำหรับ ให้ เด็ก นอน.
เหมาะ (530:6)
         งาม, คือ ของ งาม ดี, เหมือน ของ มี มีด สวม ดั้ม เข้า ภอ ได้ สม กัน, ว่า ภอ เหมาะ.
      เหมาะ เจาะ (530:6.1)
               คือ ของ ภอ ดี ภอ งาม นั้น, ว่า เหมาะ เจาะ.
      เหมาะ เหมง (530:6.2)
               งาม ดี, เหมาะ มี ความ เช่น ว่า แล้ว, แต่ เหมง เปน คำ สร้อย.
      เหมาะ ใจ (530:6.3)
               งาม ใจ, คือ ถูก ใจ, เหมือน คน คิด คาด การ งาน อัน ใด ๆ การ เปน ได้ เหมือน ใจ คิด.
      เหมาะ ตา (530:6.4)
               งาม ตา, คือ ของ ถูก ต้อง ตา, คน เหน ของ อัน ใด ภอ ดู ได้ ไม่ ขัด หน่วย ตา ว่า เมาะ ตา.
เหมาะตะหมะ (530:7)
         เมือง มอญ, เปน ชื่อ เมือง มอญ เมือง หนึ่ง, อยู่ ทิศ ตะวัน ตก เมือง ไท, อยู่ ใน แดน เมือง พะม่า.

--- Page 531 ---
เหมาะลำเลิง (531:1)
         เมือง รามัญ, เปน ชื่อ เมือง มอญ เช่น ว่า แล้ว, แต่ อยู่ ฝ่าย เหนือ เมือง เหมาะตะมะ นั้น.
มรกู่ (531:2)
         คือ บูหรี่ ใบ ยา มา แต่ เมือง นอก นั้น, เช่น พวก แขก สูบ มระกู่ เปน ต้น นั้น.
มรกฎ (531:3)
         คือ ชื่อ หัว แหวน ศรี เขียว อย่าง หนึ่ง, เหมือน พระ แก้ว มรกฎ เปน ต้น นั้น.
มรคา (531:4)
         ฯ แปล ว่า หน ทาง นั้น, เช่น คำ ว่า เดิน ตาม มรคา เปน ต้น นั้น.
มอ ด้าย (531:5)
         คือ ย้อม ทำ เส้น ด้าย ขาว ให้ เปน ศรี ฟ้า แล ศรี น้ำ เงิน ด้วย คราม นั้น, ว่า มอ ด้าย.
มอ ซอ (531:6)
         คือ ของ ศรี ดำ มัว นั้น ว่า ดำ มอซอ, เช่น แร้ง กิน ผี เปน ต้น นั้น.
มรฎก (531:7)
         คือ ทรัพย์ เปน ของ ๆ คน ตาย นั้น, เช่น ทรัพย์ มระ ฎก ของ บิดา เปน ต้น นั้น.
มรฎป (531:8)
         คือ โรง มี ยอด เหมือน บุษบก, แต่ ว่า ใหญ่ เช่น มระฎป ที่ พระบาท นั้น.
มรณะ (531:9)
         ฯ แปล ว่า ความ ตาย นั้น, เช่น สัตว์ ที่ ถึง มรณะ กาล เปน ต้น นั้น.
      มรณา (531:9.1)
                ฯ แปล ว่า ตาย ก็ ได้, ว่า จาก ความ ตาย ก็ ได้.
      มรณัง (531:9.2)
               ฯ แปล ว่า ซึ่ง ความ ตาย นั้น.
มอ หม่น (531:10)
         คือ ศรี มอ ไม่ เขียว นัก เหมือน ศรี ผ้า ย้อม คราม แก่ ภอ เปน ศรี น้ำ เงิน แล ศรี ฟ้า.
มรสุม (531:11)
         คือ ระดู ก็ ว่า, คราว ก็ ว่า, เช่น คำ ว่า สำเภา ค้าง มรสุม นั้น.
ม่อ (531:12)
         คือ ภาชนะ สำหรับ ใส่ น้ำ แล หุง เข้า เปน ต้น, มี รูป ต่าง ๆ สูง ก็ มี ต่ำ ก็ มี บ้าง นั้น.
      ม่อ แกง (531:12.1)
               คือ ม่อ รูป แป้น ๆ ต่ำ ๆ ปาก กว้าง มี หลาย, สำ หรับ แกง เนื้อ แล ปลา เปน ต้น นั้น.
      ม่อ กรัน (531:12.2)
               คือ ม่อ รูป เกลี้ยง ฅอ ยาว สำหรับ ใส่ น้ำ ไว้ ให้ เอย็น ใส สอาด กิน ชื่น ใจ นั้น.
      ม่อ เข้า (531:12.3)
               คือ ม่อ รูป กลม สูง เกลี้ยง บาง, สำหรับ หุง เข้า, มี ฝา ละมี ปิด สำรับ สะกัด เมล็ด เข้า นั้น.
      ม่อ ใหญ่ (531:12.4)
               คือ ม่อ อย่าง ใหญ่, บันดา ม่อ ที่ ว่า นั้น เปน อย่าง เล็ก ก็ มี, อย่าง ย่อม แล อย่าง ใหญ่ นั้น.
      ม่อ ดิน (531:12.5)
               คือ ม่อ เขา ทำ ด้วย ดิน, เขา เอา ดิน ละเอียด* เหนียว มา ประสม เข้า กัป ทราย ทำ เปน ม่อ นั้น.
      ม่อ ตาล (531:12.6)
               คือ ม่อ สำหรับ ใส่ น้ำ ตาล อย่าง เดียว, ม่อ นั้น มี พิกัด ให้ จุ น้ำ ตาล สอง ทะนาน ครึ่ง.
      ม่อ ทีพย์ (531:12.7)
               คือ ม่อ ว่า มี อาหาร เกิด ขึ้น ใน ม่อ นั้น เอง, ไม่ ภัก เอา เข้า ใส่ ลง เหมือน ม่อ ชาว อุดรกะโร.
      ม่อ ทอง (531:12.8)
               คือ รูป ม่อ เขา ทำ ด้วย ทอง เหลือง นั้น.
      ม่อ น้ำ (531:12.9)
               คือ ม่อ ที่ สำหรับ ใส่ น้ำ ขัง ไว้ ให้ นาน, น้ำ นั้น เอย็น ใส สอาด ปราษ จาก มลทิน กิน เอย็น นัก.
      ม่อ ยา (531:12.10)
               คือ ม่อ ใส่ ยา นั้น.
      ม่อ เหล็ก (531:12.11)
               คือ ม่อ เขา ทำ ด้วย เหล็ก นั้น, ม่อ เหล็ก ที่ มา แต่ เมือง จีน เปน ต้น นั้น.
หมอ (531:13)
         แพช, แพทย์, เปน ชื่อ คน มี วิชา ความ รู้ ต่าง ๆ เขา เปน คน รู้ ประกอบ ยา แก้ โรค ต่าง ๆ มี ปวด หัว เปน ต้น.
      หมอ กอก (531:13.1)
               วิชา กอก, คน รู้ กอก, คือ คน รู้ การ รักษา, ทำ ให้ เลือด ชั่ว ร้าย, ให้ โทษ เกิด ใน กาย คน, ออก เสีย ได้ หาย เจ็บ นั้น.
      หมอ ความ (531:13.2)
               คน รู้ ความ, คือ คน รู้ กฎหมาย มาก แล เที่ยว ก่อ ความ ให้ เกิด ขึ้น จะ เอา ชะนะ ได้ เงิน ค่า ปรับ ไหม นั้น.
      หมอ งู (531:13.3)
               คือ เปน หมอ จับ เอา งู เปน ๆ มา เล่น ได้ นั้น.
      หมอ ดู (531:13.4)
               คือ คน เปน ผู้ รู้ คัมภีร์ เลข, เปน ผู้ รู้ ทาย เคราะห์ ดี แล ร้าย, เรียก ว่า โหรา.
      หมอ ช้าง (531:13.5)
               คือ คน เปน ผู้ รู้ การ ที่ จะ ผูก ช้าง ฤๅ จับ ช้าง นั้น.
      หมอ เฒ่า (531:13.6)
               คือ พวก หมอ รู้ คล้อง ช้าง, เช่น หมอ เฒ่า เที่ยว โพน ช้าง นั้น.
      หมอ นวด (531:13.7)
               คือ คน รู้ จัก เส้น ใน ตัว คน, ว่า เจ็บ อย่าง นี้, เปน เพราะ เส้น อัน นั้น ให้ โทษ, นวด ให้ หาย ได้.
      หมอ น้อย (531:13.8)
               ปล่อย ปลิง, คือ หญิง รู้ กอก โลหิต, แล ปล่อย ปลิง เข้า ที่ ตัว คน, ให้ มัน กิน เลือด หาย โรค นั้น.
      หมอ ตัมแย (531:13.9)
               คือ หมอ สำหรับ รักษา แก้ไข, เมื่อ หญิง จะ คลอด บุตร, รู้ วิธี ว่า ขัด ขวาง อย่าง นั้น อย่าง นี้ แก้ ให้ ลูก ออก นั้น.
      หมอ เสน่ห์ (531:13.10)
               คือ หมอ รู้ วิชา ทำ ให้ คน รัก กัน นั้น.

--- Page 532 ---
      หมอ บาด แผล (532:13.11)
               คือ หมอ รู้ รักษา แผล, ที่ มีด บาด ฤๅ ขวาน บาด เปน ต้น, ด้วย ยา แล อาคม นั้น.
      หมอ ผี (532:13.12)
               คน มี วิชา ขับ ผี, คือ หมอ รู้ วิธยา อาคม ขับ ผี ที่ มัน เข้า สิง ใน ตัว คน ให้ มัน ออก ได้ นั้น.
      หมอ ฝี (532:13.13)
               คือ หมอ รู้ รักษา โรค ฝี ต่าง ๆ, เขา พอก ยา บ้าง ผ่า หัว ฝี บ้าง, บ่ง ฝี บ้าง, ปิด ขี้* ผึ้ง กัด บ้าง.
      หมอ ยา (532:13.14)
               คน รู้ รักษา, คือ หมอ รู้ ประกอบ ยา ให้ กิน เปน ต้น, รักษา ให้ คน เจ็บ ไข้ หาย โรค ต่าง ๆ นั้น.
      หมอ ยาตา (532:13.15)
               คน รู้ รักษา ตา, คือ หมอ เปน ผู้ รักษา โรค ใน จักษุ อย่าง เดียว, รักษา โรค อื่น ไม่ ได้, ว่า หมอ ยา ตา.
      หมอ โหร (532:13.16)
               คน รู้ ใน เบื้อง น่า นั้น, คือ หมอ รู้ คำภีร์ เลข, รู้ จัก ฤกษ ดี วันดี แล ยาม ดี, เขา เรียก หมอ โหร.
(532:1)
         
ยา (532:2)
         รักษา, คือ ของ ที่ สำหรับ บำบัติ โรค, ถ้า คน ป่วย ไข้ ลง เขา เอา สิ่ง นั้น กิน กำจัด ให้ โรค หาย ได้ บ้าง.
      ยา ขี ผึ้ง (532:2.1)
               คือ ขี ผึ้ง เขา หุง ปน กับ น้ำ มัน เปน ต้น, ไว้ ทา ผ้า ปิด แผล ฝี เปน ต้น นั้น.
      ยา เขียว (532:2.2)
               คือ ยา เขา ทำ ด้วย ใบ ไม้ ล้วน, แปด สิบ สิ่ง ร้อย สิ่ง เปน ยา เอย็น, สำหรับ แก้ ร้อน.
      ยา ชั่ง (532:2.3)
               คือ ยา สูบ อย่าง เลว นั้น, เพราะ ชั่ง ขาย จึ่ง เรียก ยา ชั่ง, เหมือน ยา ก้อน ที่ มา แต่ บาง ประส้อย เปน ต้น นั้น
      ยา ขาว (532:2.4)
               คือ ยา ศรี ขาว ชื่อ มหา คงคา เปน ยา เอย็น สำหรับ แก้ ร้อน เมื่อ โรค บังเกิด.
      ยาคู (532:2.5)
               คือ เข้า ยาคู, เขา เอา แป้ง ละลาย น้ำ แล เอา น้ำตาล ใส่ ระคน กัน หุง ให้ สุก นั้น, เขา เรียก เข้า ยาคู.
      ยาจก (532:2.6)
               ฯ เปน สับท์ แผลง, แปล ว่า ฃอ, พวก คน ขัด สน อาหาร เปน ต้น, เที่ยว ฃอ กิน นั้น, ว่า เปน ยาจก.
      ยา เกาะกร่าง (532:2.7)
               คือ ยาสูบ ดี มี กลิ่น ฉุน, เขา ซื้อ มา แต่ เกาะ กร่าง, แขวง เมือง กานจณ บูรีย์ นั้น.
      ยา เข้า เอย็น ใต้ (532:2.8)
               เปน ชื่อ เง่า ไม้ อย่าง หนึ่ง, มี รศ หวาน เมา แก้ โรค มี ตัว เหมือน ขี้ กลาก, มัน มี อยู่ ป่า ข้าง ใต้ จึ่ง เรียก เช่น นั้น.
      ยาจะนะ กะถา (532:2.9)
               ฯ แปล ว่า คำ อ้อน วอน, คำ ฃอ อัน ใด ๆ นั้น.
      ยา เข้า เอย็น เหนือ (532:2.10)
               เปน ชื่อ เง่า ไม้ อย่าง หนึ่ง, มี รศ เมา แก้ โรค มี ตัว เช่น ว่า นั้น, มี อยู่ ป่า เหนือ จึ่ง เรียก เช่น นั้น.
      ยา แดง เส้น (532:2.11)
               เปน ยา สูบ เส้น เล็ก ๆ, เจ็ก ทำ มา แต่ เมือง จีน บ้าง, มัน ทำ ที่ บาง ประส้อย บ้าง.
      ยา ดำ (532:2.12)
               คือ ยา ศรี ดำ เรียก มหา นิล เปน ต้น, แก้ กาล มี พิศม์. อย่าง หนึ่ง ยา มา แต่ เมือง เทศ, ศรี ดำ รศ ขม หนัก กิน ลง ท้อง.
      ยา แดง (532:2.13)
               ยา แท่ง, ยา ทา, ยา ทุเลา, ยา กลั่น, คือ ยา เขา ใส่ ลง ใน ม่อ, แล้ว เอา น้ำ ใส่ ลง เอา หวด ตั้ง ชั้น* บน ให้ อาย พลุ่ง ขึ้น, มี น้ำ เหื่อ ไหล ออก ทาง ธ่อ รอ เอา นั้น.
      ยา ถ่าย (532:2.14)
               คือ ยา ที่ กิน ให้ ชำระ ท้อง ถ่าย ถอน อาหาร เก่า เสีย* นั้น.
      ยา นัด (532:2.15)
               คือ ยา ทำ ละเอียด เปน ผง, สำหรับ ใส่ กล้อง เป่า เข้า โดย ช่อง จะมูก แก้ ลม นั้น, เรียก ยา นัด.
      ยาปะจุ (532:2.16)
               คือ ยา ที่ กิน ให้ ชำระ โรค ผ่าย ใน ท้อง ให้ ไหล ลง ออก มา นั้น.
      ยา ผาย (532:2.17)
               คือ ยา ให้ ท้อง ลง อา จม เหลว ภอ เปน มูล โค, ไม่ เปน น้ำ กราก ที เดียว เรียก ยา ผาย.
      ยา ธาตุ (532:2.18)
               คือ สำรับ อุดหนุน ธาตุ ทั้ง สี่, คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ, ให้ มี กำลัง ขึ้น นั้น.
      ยา ฝี (532:2.19)
               คือ ยา แก้ โรค ฝี มี หลาย อย่าง, ยา กิน ก็ มี ยา พอก ก็ มี ยา ปิด ก็ มี, ยา เกลื่อน ก็ มี.
      ยา พอก (532:2.20)
               คือ ยา เขา ตำ เปน ยา สด ให้ ละเอียด, แล้ว เอา ปะ เข้า ที่ หัว ฝี, แล้ว พัน ไว้ จน แห้ง นั้น.
      ยา เบื่อ (532:2.21)
               คือ ยา เขา ประกอบ ด้วย สรรพ ยา อัน มี พิศม์ มี สาร หนู เปน ต้น, ให้ กิน ตาย นั้น.
      ยา พิศม์ (532:2.22)
               คือ ยา มี ฤทธิ์ ร้าย กาจ, เหมือน สาร หนู เปน ต้น, คน กิน ถึง ตาย นั้น, เขา เรียก ยา พิศม์.
      ยา ภอน (532:2.23)
               คือ เขา เอา ชัน กับ น้ำ มัน ยาง ละลาย ให้ เหลว แล้ว ทา เข้า ที่ เรือ นั้น.
      ยา แฝด (532:2.24)
               คือ ยา อย่าง หนึ่ง หญิง ทำ ให้ ผัว กิน หลง รัก ตัว มาก กว่า คน อื่น, เครื่อง ยา อย่าง ไร เรา ไม่ รู้.

--- Page 533 ---
      ยา ฝิ่น (533:2.25)
               คือ ตัว ฝิ่น, เขา เรียก ยา ฝิ่น, เพราะ มัน เปน ยา แก้ โรค ได้ บ้าง, ถ้า ยา แทรก ฝิ่น เขา ว่า ดี ทุก อย่าง.
      ยา เมา (533:2.26)
               คือ ยา กิน เมา เหมือน กัน ชา เปน ต้น นั้น.
      ยา บิด (533:2.27)
               คือ ยา แก้ โรค บิด มี หลาย อย่าง, เขา ต้ม บ้าง ทำ แท่ง ไว้ บ้าง หลาม กิน บ้าง นั้น.
      ยา หยอด (533:2.28)
               คือ ยา เขา หยอด ใน หู ใน ตา เพื่อ จะ ให้ หาย โรค นั้น
      ยา ปิด (533:2.29)
               คือ ยา แก้ ลง, คน ลง ท้อง ไม่ ใคร่ อยุด, เขา เอา ยา ให้ กิน ลง อยุด ว่า เปน ยา ปิด.
      ยา รุ (533:2.30)
               คือ ยา ชำระ ล้าง ท้อง ให้ หาย โรค ผ่าย ใน นั้น.
      ยา เลือด (533:2.31)
               คือ ยา แก้ โลหิต แห่ง หญิง นั้น.
      ยา ดอง (533:2.32)
               คือ ยา เขา แช่ น้ำ ต่าง ๆ คือ น้ำ เหล้า, น้ำ เกลือ น้ำ ส้ม น้ำ ตาล สด, แช่ ไว้ ค้าง คืน ค้าง วัน นั้น.
      ยา ลม (533:2.33)
               คือ ยา แก้ วาโยธาตุ ใน ผ่าย ใน ให้ หาย วิกาล กำเริบ นั้น.
      ยา ต้ม (533:2.34)
               คือ ยา ที่ เขา ปรุง แล้ว หลาย สิ่ง, เอา ใส่ ม่อ ตั้ง บน เตา ไฟ ใส่ น้ำ ภอ สมควร เขี้ยว ไป.
      ยา สวน (533:2.35)
               คือ ยา เขา ทำ ให้ เข้า ไป ทาง ทะวาร อุจจาระ สำหรับ ล้าง ท้อง, เพื่อ จะ ให้ อุจจาระ ออก ง่าย นั้น.
      ยา สูบ (533:2.36)
               คือ ยา สำหรับ สูบ มี หลาย อย่าง นั้น.
      ยา รม (533:2.37)
               ยา หอม ลม, ยา โรย, ยา ซาง, ยา หยอด, ยา กวาด, ยา ลง.
      ยา มา (533:2.38)
               คือ ชั้น สวรรค์ ที่ สี่ ชื่อ อย่าง นั้น.
      ยา ยี (533:2.39)
               เบียด เบียฬ, คือ การ ที่ คน อื่น กระทำ พละ การ ข่ม เหง เบียด เบียฬ ต่าง ๆ ให้ ได้ ความ เดือด ร้อน นั้น.
      ยา เอย็น (533:2.40)
               ยา ร้อน, ยา สุกขุม, ยา หอม, ยาอม.
ย่า คา (533:1)
         คือ ต้น หญ้า อย่าง หนึ่ง, ต้น มัน กลม สูง สัก สอง สอก เสศ, เขา ตัด มา เย็บ เปน ตับ เหมือน ใบ จาก มุง เรือน ได้ นั้น.
อย่า (533:2)
         เปน คำ ห้าม ปราม มิ ให้ ผู้ ใด ๆ กะทำ อัน ใด เปน ต้น.
      อย่า กิน (533:2.1)
               นี้ เปน คำ ห้าม มิ ให้ คน กิน, เหมือน ของ คน กิน เกิด โทษ, เขา ห้าม ว่า อย่า กิน, คำ ห้าม อย่าง นี้ ต้อง ใส่
      อย่า กวน (533:2.2)
               คือ คำ ห้าม, ว่า อย่า กวน, เหมือน มา รบ ฃอ ยา เปน ต้น, ห้าม ว่า อย่า รบ กวน นั้น.
      อย่า เกิน (533:2.3)
               คือ ห้าม ว่า อย่า ว่า กล่าว เกิน เลย, คือ ว่า เปน คำ อยาบ, มี ว่า อ้าย จองหอง เปน ต้น.
      อย่า แขง (533:2.4)
               เปน คำ ห้าม เด็ก, ว่า อย่า เล่น แขง กระด้าง, เหมือน เล่น รังแก ทำ แต่ ให้ เขา ขัด ใจ, ห้าม มัน ว่า อย่า แขง นั้น.
      อย่า งอแง (533:2.5)
               เปน คำ ห้าม ว่า โกง อยุก อยิก ยุ่ยี่ เขา, การ ที่ กอแก จู้ จี้ นั้น เปน การ งอแง.
      อย่า เพ่อ (533:2.6)
               เปน คำ ห้าม ไว้ ว่า อย่า กิน ก่อน เปน ต้น, คน จะ กิน เข้า ด้วย กัน หลาย คน ยัง ไม่ มา พร้อม กัน, ห้าม ว่า อย่า เพ่อ กิน ก่อน นั้น.
      อย่า ร่ำ ไร (533:2.7)
               เปน คำ* ห้าม ว่า อย่า ร่ำ ร้อง บ่น พร้ำ พรู พรรณนา ไป เลย นั้น.
      อย่า ลุก ลน (533:2.8)
               เปน คำ* ห้าม ว่า อย่า ทำ ลนลาน กระเสือก กระสน ไป นั้น.
      อย่า นม (533:2.9)
               ละ นม เสีย, คือ อาการ ที่ ทารก เด็ก กิน นม อยู่ อายุ แก่ ขึ้น มาก ไม่ อยาก จะ กิน นม ละ กิน นม เสีย นั้น.
      อย่า เมีย (533:2.10)
               ละเมีย, คือ การ ที่ คน ชาย หน่าย กับ เมีย, แล ให้ หนังสือ สัญญา ไม่ อยู่ เปน ผัว หญิง ต่อ ไป นั้น.
      อย่า เลย (533:2.11)
               ละเลย, ทิ้ง เลย, เปน คำ กล่าว ห้าม ว่า อย่า ไป เลย, อย่า อยู่ เลย, อย่า กิน เลย, อย่า นอน เลย นั้น.
      อย่า ว่า (533:2.12)
               เปน คำ ห้าม ว่า, ท่าน อย่า ว่า กล่าว เขา, คน จะ ทำ การ ดี แล ชั่ว ก็ ช่าง เขา, อย่า ว่า เขา.
      อย่า ซุก ซน (533:2.13)
               คือ เด็ก ฤๅ ผู้ ใหญ่, ที่ ทำ การ ที่ ไม่ ควร กระ- ทำ, เขา ห้าม ว่า อย่า ซุกซน นั้น.
      อย่า เสเพล (533:2.14)
               เปน คำ เขา ห้าม คน ใจ โลเล เลว, ทาษ ทำ การ ฤๅ พูด ไม่ มี ประโยชน์ นั้น.
      อย่า โหด ร้าย (533:2.15)
               เปน คำ ห้าม คน ใจ ดุ ร้าย มัก ถือ โทษ โกรธ ร้าย, ไม่ ใคร่ มี ใจ เอื้อเฟื้อ กับ ใคร นั้น.
      อย่า อวด รู้ (533:2.16)
               เปน คำ ห้าม คน ที่ ปัญญา เบา เตง, มัก พูด สำ แดง ความ รู้ แก่ เขา ที่ ไม่ ได้ ถาม ตัว นั้น.
      อย่า ฮึกฮัก (533:2.17)
               เปน คำ ห้าม คน ที่ ถือ ว่า ตัว เปน คน มี ฝี มือ ไม่ เกรง กลัว ผู้ ใด นั้น, ว่า อย่า วุ่นวาย.
ยี่ (533:3)
         ขะยี่, คือ เอา มือ ข้าง เดียว ฤๅ ทั้ง สอง ข้าง, กำ ของ เข้า ขะยี่ ลง กับ พื้น, เพื่อ จะ ให้ ของ นั้น แหลก.

--- Page 534 ---
ยี (534:1)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ยี ขนม จีน (534:1.1)
               คือ ขะยี่ แป้ง ที่ เขา จะ ทำ ขนม จีน, ฤๅ ขะยี่ ลูก ตาล สุก จะ ทำ ขนม ตาล นั้น ว่า ยี่,
      ยี แป้ง (534:1.2)
               คือ ขะยี่ แป้ง ด้วย มือ ทั้ง สอง เพื่อ จะ ผัด หน้า แล ทา ตัว, ฤๅ เพื่อ จะ ทำ ขนม เปน ต้น นั้น.
      ยี หัว (534:1.3)
               คือ คน จะ สะ ผม ที่ มี กลิ่น เหมน สาบ ให้ หาย เหมน เขา เอา เครื่อง สะ ขะยี่ เข้า ที่ หัว นั้น.
      ยี ยวน (534:1.4)
               คือ ชาย หญิง เขา แรก สมัค รัก ใคร่ กัน, แล มา ประสบ ภบ กัน มี ความ กระสัลย์ นั้น.
ยี่เข่ง (534:2)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, มี ดอก เปน ช่อ ศรี ชมพู บ้าง, ศรี อินทนิล บ้าง, เปน ไม้ ย่อม ไม่ มี กลิ่น.
ยี่ภู่ (534:3)
         ปน ชื่อ* เครื่อง ลาศ สำหรับ เจ้า เปน ต้น.
ยี่โถ (534:4)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ ย่อม อย่าง หนึ่ง, มี ดอก เปน ช่อ ดอก มี กลิ่น, คน ปลูก ไว้ เอา ดอก ไม่ มี ลูก.
ยี่หวา (534:5)
         คน เรียก ดวง ชีวิตร ว่า ดวง ยี่หวา มี โดย มาก.
ยี่สน (534:6)
         คือ ชื่อ ปลา ทะเล น้ำ เคม อย่าง หนึ่ง.
ยี่สุ่น (534:7)
         คือ ชื่อ ต้น ไม้ เล็ก อย่าง หนึ่ง มี ดอก ไม่ มี ลูก, ดอก ศรี แดง บ้าง, ศรี แดง อ่อน มี บ้าง.
ยีสั้ว (534:8)
         คือ เส้น แป้ง สุก เหมือน เส้น ขนม จีน, เจ็ก มัน ทำ ขาย ชุม.
ยี่ สิบ (534:9)
         คือ สอง สิบ, เขา นับ ว่า ยี่สิบ, ยี่ นั้น ภาษา จีน ว่า สอง, ไท จึ่ง นับ สอง สิบ ว่า ยี่สิบ นั้น.
ยี่หุบ (534:10)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ มา แต่ ต่าง ประเทศ, ดอก มี กลิ่น หอม ชื่น ใจ, เปน ต้น เล็ก อย่าง หนึ่ง.
ยี่ฮ่อ (534:11)
         คือ ชะนิด ดี, คือ อย่าง ดี, คือ เช่น ดี, ยี่ฮ่อ เปน ภา ษา จีน, ภาษา ไท ว่า ชะนิด ดี, แล เช่น ดี, แล อย่าง ดี.
ยื้ (534:12)
         แย่ง, คือ ฉุด ชัก ลาก คร่า, คน เขา ติด เงิน ฤๅ ของ อัน ใด, ฝ่าย ข้าง หนึ่ง ไม่ มี ให้, ข้าง เจ้า ของ เข้า ฉุด คร่า เอา ผ้า เปน ต้น นั้น.
      ยื้ ผ้า (534:12.1)
               แย่ง ผ้า, คือ ฉุด ฉวย เอา ผ้า, คน ติด เงิน กัน เปน ต้น, ทวง เอา ไม่ ได้ ภบ เข้า ฉวย คร่า เอา ผ้า นั้น.
      ยื้ คร่า (534:12.2)
               คือ ฉุด ลาก, คน ภบ ลูก นี่ เข้า ฉุด ลาก เอา ตัว ไป, ว่า ของ ๆ ตัว ติด พันธ์ อยู่, ว่า เขา ยื้ คร่า.
      ยื้ เอา (534:12.3)
               คือ เขา ฉุด ชัก มือ ฤๅ ผ้า ด้วย จะ เอา ของ ที่ ผู้ นั้น.
ยุ (534:13)
         คือ คำ กล่าว ให้ ท้าย, เหมือน คน หนึ่ง โกรธ อยู่, มี ผู้ มา ว่า กล่าว ว่า นั่น แน่ เขา ด่า ให้ นั้น.
      ยุ ข้าง โน้น ยุ ข้าง นี้ (534:13.1)
               คือ ความ คน เอา ไป บอก คน สอง ฝ่าย, เพื่อ จะ ให้ เขา โกรธ กัน เปน ต้น.
ยุคุณธร (534:14)
         ฯ เปน สับท์, แปล ว่า ภูเขา ชื่อ ยุคุณธร, ภูเขา นี้ เปน ที่ สอง ลำดัพ เขา สิเนรุ บรรพต นั้น.
ยุบล (534:15)
         คือ ข้อ คะดี เรื่อง ความ, คน เอา เนื้อ ความ มา เล่า ให้ ฟัง อย่าง ไร อย่าง หนึ่ง, ว่า ยุบล.
      ยุบล แจ้ง (534:15.1)
               คือ ข้อ เรื่อง ความ ต่าง ๆ เขา ชี้ แจง.
ยุพา (534:16)
         ฯ เปน คำ ใน ราชา สับท์, อะทิ บาย ว่า นาง หญิง งาม, นาง หญิง สาว, นาง หญิง สรวย นั้น.
      ยุพาพาห* (534:16.1)
                ฯ ว่า นาง งาม นั้น, นาง ที่ มี อายุ ได้ สิบ หก ปี, เปน ต้น นั้น.
      ยุพาพินท์ (534:16.2)
               ฯ ว่า นาง งาม นั้น, นาง กระษัตริย์ ที่ เปน อิศร เปน ต้น นั้น.
ยุยง (534:17)
         คือ คำ กล่าว ให้ ท้าย เติม เพิ่ม เข้า ว่า เขา นินทา ว่า ท่าน ทำ ชั่ว อย่าง นั้น ๆ, ด้วย จะ ให้ ผู้ นั้น โกรธ แรง ขึ้น.
ยุ แอย่ (534:18)
         คือ ความ ยุ เช่น ว่า, ประดา เขา จะ นิ่ง เสีย, เอา ความ ไป บอก เข้า อีก, เหมือน เอา ไม้ ไป แอย่ ไฟ เข้า.
ยุ แยง (534:19)
         คือ แค่น ว่า กล่าว ถึง ผู้ นั้น ไม่ โกรธ, ก็ ซ้ำ เพิ่ม เติม ว่า แล้ว ว่า อีก* จะ ให้ ผู้ นั้น โกรธ นัก.
ยุระยาตรา (534:20)
         ฯ คือ ดำเนิน นาด, เดิน เยื้อง กราย งาม ตาม วิ ไสย คน มี ประยุรวงษ์ ยศ ศักดิ์.
ยุวา (534:21)
         ฯ แปล ว่า ชาย หนุ่ม.
ยู่ (534:22)
         คือ บู้, เหมือน เหล็ก อ่อน คน ทำ มีด เปน ต้น, แล ฟัน ไม้ เหล็ก นั้น บู้แบ้ ไป นั้น.
      ยู่ บิ่น (534:22.1)
               คือ เหล็ก มี คม มี มีด เปน ต้น, คน ฟัน ถูก ไม้ ที่ แขง แล มัน แบ้ ไป แล กะเทาะ ไป นั้น.
      ยู่ยี่ (534:22.2)
               คือ บู้บี้, เปน ของ มี ภาชนะ ที่ เขา ทำ ด้วย ดีบุก บาง ๆ กะทบ ถูก อัน ใด เข้า แล บู้บี้ ไป.
      ยู่ ย่น (534:22.3)
               คือ ยู่ เช่น ว่า นั้น, ย่น นั้น ย่อธ้อ ไป นั้น.
อยู่ (534:23)
         คือ ของ ฤๅ คน ที่ ไม่ ไป ไหน, มี ใน ที่ เดียว ฤๅ ใน เรือน เดียว นั้น, ว่า อยู่ นั้น.
      อยู่ กิน (534:23.1)
               คือ เขา ว่า อยู่ กิน เปน ผัว เมีย กัน.

--- Page 535 ---
      อยู่ กรรม (535:23.2)
               คือ อยู่ บริวาศ กรรม, การ นี่ เปน กิจ ของ ภิขุ จะ ชำระ โทษ ที่ ตัว ทำ พลั้ง พลาด นั้น.
      อยู่ ดี ฤๅ (535:23.3)
               เปน คำ ถาม โดย ปราไสย ไมตรี, คน ภบ กัน เข้า ใหม่ ๆ ก็ ทัก ถาม ว่า อยู่ ดี ฤๅ.
      อยู่* นี่ (535:23.4)
               เปน คำ บอก ว่า, ของ ฤๅ คน นั้น อยู่ นี่, มี คน มา ถาม หา ว่า คน นั้น อยู่ ไหน ว่า อยู่ นี่.
      อยู่ ไหน (535:23.5)
               เปน คำ ถาม ว่า ของ นั้น อยู่ นั้น. อย่าง หนึ่ง ถาม ว่า คน นั้น อยู่ ไหน เล่า จึ่ง ไม่ เหน.
      อยู่ ภัก (535:23.6)
               คือ อยุด ภัก นั้น, เช่น ผึ้ง จับ ภัก เปน ต้น นั้น.
      อยู่ คง (535:23.7)
               คือ คน ทำ ด้วย ความ รู้ วิชา, ให้ ฟัน แทง ยิง ไม่ เข้า ใน กาย นั้น.
      อยู่ บ้าน (535:23.8)
               เปน คำ บอก ว่า อยู่ บ้าน.
      อยู่ ป่า (535:23.9)
               คือ ใน ป่า นั้น.
      อยู่ เพื่อน (535:23.10)
               เปน คำ บอก ว่า อยู่ เพื่อน, คน หนึ่ง อยู่ ผู้ เดียว ไม่ ได้, วาน คน หนึ่ง มา อยู่ เปน เพื่อน.
      อยู่ ไฟ (535:23.11)
               คือ แม่ หญิง คลอด บุตร์ ออก แล้ว, นอน ผิง ไฟ อยู่ หลาย วัน ตาม ธรรมเนียม ไท นั้น.
      อยู่ มา (535:23.12)
               คือ อยู่ นาน มา, เหมือน พวก ครู อะเมริกา มา อยู่ ใน กรุง เทพ มหา นคร นี้, ว่า อยู่ มา.
      อยู่ เอย็น (535:23.13)
                เปน ศุข, คือ อยู่ สะบาย มี ความ ศุข มาก นั้น, คน ปราศจาก ทุกข์ โศก โรค ไภย เปน ต้น.
      อยู่ วัด (535:23.14)
               คือ อยู่ ใน วัด นั้น, พวก เด็ก โยม วัด ฤๅ เถร เณร เปน ต้น นั้น.
      อยู่ เวน (535:23.15)
               คือ ไป อยู่ ที่ เข้า เวน, คน ทำ ราช การ ผลัด เปลี่ยน กัน ทำ คน ละ สิบ วัน, แล ไป เข้า เวน อยู่ นั้น.
เยเซ (535:1)
         คือ ซวนเซ, เหมือน ของ มี เรือน เปน ต้น, ที่ ซวนเซ ไป นั้น, เช่น เรือน ซุดเซ นั้น.
เย้ (535:2)
         คือ เซ, เหมือน เรือน เปน ต้น, คน ปลูก ไม่ ดี ขุด ฝัง เสา ตื้น, เสา เรือน ซวนเซ ไป นั้น.
เหยเป๋ (535:3)
         คือ ของ ที่ แบ้เบี้ยว ไป. อย่าง หนึ่ง คน เมา เหล้า พูด เลอะเทอะ นั้น, เหมือน คน เมา ซาน เปน ต้น นั้น.
แยแส (535:4)
         เปน คำ โลกย์ เขา พูด ว่า ไม่ ทะแยแส, คือ ไม่ เอื้อเฟื้อ อาไลย นั้น
แย่ (535:5)
         คือ ทำ ขา ให้ แยก ต่ำ ลง ทั้ง ตัว ว่า แย่ แต้, คือ คน จะ ชกมวย ฤๅ จะ ทำ ถ้า ละคอน แย่ ขา ลง.
      แย่ แต้ (535:5.1)
               คือ* คน แบก หาม ของ หนัก เต็มที, ดัน จน ตัว ย่อ ลง นั้น.
แย้ (535:6)
         เปน ชื่อ สัตว์ สี่ ท้าว จำพวก หนึ่ง, ตัว มัน ยาว คล้าย ตุก แก แต่ มัน เปน สัตว์ ป่า วิ่ง เรว นั้น.
ไย (535:7)
         คือ เส้น สาย เล็ก ๆ เหมือน ที่ ใน ลำ หยวก นั้น, เขา เรียก ว่า ไย, เพราะ เปน สาย เส้น หนิด ๆ นั้น.
      ไยดี (535:7.1)
               คือ* ความ เอื้อเฟื้อ อาไลย*, เหมือน คน ที่ วาศนา น้อย ไป หา ผู้ มี วาศนา มาก เขา ไม่ เอื้อเฟื้อ นั้น, ว่า ไม่ ใยดี.
      ไย บัว (535:7.2)
               คือ สาย เส้น อยู่ ใน ต้น บัว, ถ้า หัก ออก แล้ว ก็ มี สาย เส้น เล็ก ๆ อยู่ ใน นั้น, เรียก ไย บัว.
      ไย ฟ้า (535:7.3)
               คือ ไย ปลิว มา กับ หมอก ใน อากาศ, เลือก ที จึ่ง มี บ้าง นั้น.
      ไย ไภย (535:7.4)
               คือ ความ เยาะ เย้ย, เหมือน คน ทำ สงคราม ได้ ไชย ชำนะ แล กล่าว คำ เยาะเย้ย เปน ต้น, ว่า ฝี มือ เขา ดี จริง นั้น.
      ไย แมงมุม (535:7.5)
               คือ สาย เส้น ที่ ตัว แมลงมุม มัน ทำ ไว้ สำหรับ ดัก สัตว์ ตัว เล็ก, ติด แล้ว มัน จับ กิน นั้น.
      ไยยะธรรม (535:7.6)
               แปล ว่า ธรรม อัน บุคคล พึ่ง รู้.
      ไย หยวก (535:7.7)
               คือ สาย เส้น ใน ต้น กล้วย, เมื่อ ตัด ต้น ออก มี สาย เส้น เล็ก ๆ หนิด ๆ อยู่ นั้น.
      ไย ยอง (535:7.8)
               ไย นั้น เช่น ว่า แล้ว, แต่ ยอง เปน สร้อย คำ พูด.
      ไย เยื่อ (535:7.9)
               ไย นั้น เปน เส้น ฝอย เล็ก ๆ เช่น ว่า แล้ว, แต่ เยื่อ เปน เหมือน เนื้อ ใน ลูก มะพร้าว อ่อน นั้น.
โยคา วะจร (535:8)
         ฯ แปล ว่า ภิขุ ประพฤษดิ์ ซึ่ง ความ เพียร ก็ ว่า, มี ความ เพียร เปน เครื่อง ประดับ ก็ ว่า.
โยคี (535:9)
         ฯ แปล ว่า พระ โยคา วะจร, คือ ภิขุ ประพฤษดิ์ ซึ่ง ความ เพียร ใน สมณะ ธรรม นั้น.
โยทะกา (535:10)
         เปน คำ เรียก ของ สำหรับ ทอด สมอ ให้ เรือ อยู่, แต่ มัน มี สันถาน เหมือน หนาม ต้น โยทะกา.
โยธา (535:11)
         คือ พล ทหาร สำหรับ รบ กับ ฆ่าศึก, เรียก ว่า โยธา ด้วย อาถมาท ใน การ สงคราม.
      โยธา ทัพ (535:11.1)
               คือ พล โยธา รบ ศึก นั้น.

--- Page 536 ---
      โยธา หาร (536:11.2)
               คือ พล ทหาร สำหรับ รบ ศึก สงคราม นั้น.
      โยธี (536:11.3)
               คือ โยธา นั้น, คำ ว่า พวก พล โยธา เปน ต้น นั้น.
โยนิ มุเข (536:1)
         ฯ แปล ว่า ใน ปาก แห่ง ที่ กำเนิด แห่ง สัตว์ นั้น. อนึ่ง คือ ปาก สำคัญ ที่ ลับ ของ หญิง เปน ต้น.
โยนิโส (536:2)
         ฯ แปล ว่า ปัญญา, คือ คน มี ปัญญา จำ ฤๅ คิด อ่าน ใน ทาง ธรรม เปน ต้น นั้น.
โยนี (536:3)
         ฯ แปล ว่า กำเนิด, คือ เกิด, ถ้า เกิด เปน มนุษย์ เปน ต้น, ก็ ว่า เอา กำเนิด เปน มนุษย์ นั้น.
โย หนัก (536:4)
         เปน คำ คน พูด ถึง ยวง ใน ลูก ทู่เรียน, ที่ มัน มี ห่าง ๆ มี น้อย นั้น, ว่า มัน โย นัก.
โยโส (536:5)
         ฯ แปล ว่า โย ว่า* ใด, โส ว่า นั้น, แต่ คน ใน โลกย์ มัก พูด ถึง คน เย่อหยิง, ว่า เปน คน โยโส.
โยเย (536:6)
         คือ โซเซ, เหมือน คน เมา เดิน ไม่ ใคร่ ตรง ทาง ซวน ไป ข้าง โน้น บ้าง ข้าง นี้ บ้าง, ว่า โยเย.
โย้ (536:7)
         คือ ขัก โยก ยัก มา ให้ ตรง, เหมือน เรือน ซวน ไป ไม่ ตั้ง ตรง อยู่ ที่, แล้ว เอา พวน ผูก ชัก ให้ มัน กลับ มา ที่ นั้น.
      โย้เย้ (536:7.1)
               คือ ซวน เซ นั้น, เช่น เสา เรือน เรรวน ปรวนเปร เปน ต้น.
เยาว (536:8)
         (dummy head added to facilitate searching).
      เยาว ปัญญา (536:8.1)
               คือ ปัญญา หนุ่ม ปัญญา อ่อน นั้น, เช่น คน ปัญญา อ่อน คิด การ มิ ใคร่ ตลอด เปน ต้น, ว่า เยาว ปัญญา.
      เยาวะ ภานี (536:8.2)
               เปน ชื่อ เครื่อง ยา เปน เครื่อง เทษ, เขา เรียก เทียร เยาวะภานี, เปน เมล็ด เล็ก ๆ นั้น.
      เยาวะ ภาล (536:8.3)
               ว่า หญิง หนุ่ม งาม นั้น, เช่น หญิง สาว อายุ สิบ ห้า ปี เปน ต้น นั้น.
      เยาวะ มาลย์ (536:8.4)
               เปน คำ เรียก หญิง สาว, ที่ เปน ลูก ผู้ ดี มี สะ กูล รูป งาม, คำ นี้ มี ใน เรื่อง ราชา สับท์ นั้น.
      เยาวะ ยอด (536:8.5)
               ว่า หญิง รุ่น สาว ยอด รัก นั้น, คำ เขา พูด ว่า เยาวะ ยอด เสน่หา เปน ต้น นั้น.
      เยาวะเรศร์ (536:8.6)
               ว่า หญิง สาว สรวย มี อิศร ภาพย์ เปน ใหญ่ นั้น.
      เยาว ความ (536:8.7)
               คือ ยัง ไม่ สู้ รู้ ความ, เหมือน เด็ก หนุ่ม.
เย่า เรือน (536:9)
         เย่า นั้น เปน คำ สร้อย, แต่ เรือน นั้น มี ความ อะธิ บาย แล้ว.
เย้า (536:10)
         คือ ยั่ว หยอก, เช่น เด็ก ชาย ภอ รุ่น หนุ่ม ยัง ไม่ ควร จะ มี เมีย, แล เขา ยั่ว ว่า หญิง คน นั้น เปน เมีย เด็ก ชาย นั้น อาย, เขา ว่า ยั่ว บ่อย ๆ หยอก เล่น เช่น นั้น, ว่า เย้า.
      เย้า หยอก (536:10.1)
               คือ ยั่ว หยอก ก็ ว่า, เปน ความ สัพะยอก ก็ ว่า, เช่น ว่า ยั่ว เด็ก ชาย รุ่น เช่น ว่า แล้ว นั้น.
      เย้า เล่น (536:10.2)
               คือ เยาะ เล่น.
      เย้า ยี้ (536:10.3)
               คือ เยาะ แล้ว เย้า อีก ไม่ ใคร่ รู้ แล้ว.
ยำ (536:11)
         พล่า, เปน ชื่อ* ของ กับเข้า อย่าง หนึ่ง, เขา เอา ของ หลาย สิ่ง ปน ระคน ขยำ เข้า ด้วย กัน นั้น.
      ยำ* เกรง (536:11.1)
               ยำ นี้ เปน คำ สร้อย, แต่ เกรง นั้น เอา ความ คล้าย กับ กลัว, คือ กลัว หนิด น่อย นั้น.
      ยำ กบ (536:11.2)
               เปน ชื่อ ของ กับเข้า อย่าง หนึ่ง, ของ นั้น มิ ใช่ กบ เปน ขนุน อ่อน เอา มา ยำ ทำ เทียม เนื้อ กบ.
      ยำ ใหญ่ (536:11.3)
               เปน ยำ ที่ พวก ยวญ ทำ กิน, ครั้น จะ เรียก ยำยวญ ก็ รังเกียจ ด้วย ชื่อ ตัว เขา ติด อยู่ ด้วย, จึ่ง ยัก เรียก ว่า ยำ ใหญ่.
      ยำ เต่า (536:11.4)
               เปน ของ กับ เข้า เขา เอา เนื้อ เต่า มา ตัม, แล้ว จึ่ง ทำ ยำ ด้วย เครื่อง ปรุง หลาย สิ่ง.
      ยำ ผัก (536:11.5)
               เปน ชื่อ กับเข้า อย่าง หนึ่ง เขา เรียก ยำ, คือ เอา แตง กวา เปน ต้น มา ซอย, แล้ว ใส่ เครื่อง ปรุง ลง นั้น.
      ยำ ยวญ (536:11.6)
               เปน ยำ อย่าง ยวญ ทำ กิน ตาม ภาษา, ครั้น พวก ไท ยำ เช่น นั้น บ้าง จึ่ง เรียก ยำ ยวญ.
      ยำ เยง (536:11.7)
               คือ ยำเกรง คำรพย นั้น, เช่น คำ ว่า ยำเยง เกรงกลัว เปน ต้น นั้น.
      ยำ เยีย (536:11.8)
               คือ ยำ ทำ การ ต่าง ๆ นั้น, ทำ ด้วย กลัว ด้วย คำรพย เปน ต้น นั้น.
ย่ำ (536:12)
         คือ เอยียบ, แต่ เอยียบ ลง แล้ว ยก ท้าว ขึ้น, แล้ว เอยียบ ลง อีก ทำ ร้อย หน พัน หน นั้น ว่า ย่ำ.
      ย่ำ ค่ำ (536:12.1)
               คือ ย่ำ ฆ้อง เวลา ค่ำ, เขา ตั้ง นาฬิกา ที่ ใน วัง สำรับ ดู ทุ่มโมง, วัน หนึ่ง สิบ สอง โมง, ครั้น ถึง เวลา ค่ำ ถ้วน สิบสอง โมง แล้ว, เขา ก็ ตี ฆ้อง เข้า หก ที, คือ นับ ตั้ง แต่ บ่าย โมง หนึ่ง ไป จน หก โมง ค่ำ, เขา ตี ฆ้อง เข้า หก ที ที่ สุด นั้น ตี ถี่ ๆ เข้า กว่า ยี่สิบ สามสิบ ที เรียก ว่า ย่ำ ค่ำ นั้น.
      ย่ำ โคลน (536:12.2)
               คือ คน เดิน ที่ มี โคลน เอยียบ โคลน ท้าว เปื้อน มา เขา ว่า ย่ำ โคลน มา ท้าว เปรอะ เปื้อน นั้น.

--- Page 537 ---
      ย่ำ ฆ้อง (537:12.3)
               คือ ตี ฆ้อง ถี่ ๆ กว่า ยี่สิบ * สามสิบ ที, เมื่อ เวลา เที่ยง แล เวลา ค่ำ เช่น ว่า แล้ว นั้น.
      ย่ำ เทือก (537:12.4)
               เอยียบ เทือก, คือ เขา ย่ำ ดิน โคลน ที่ จะ ทำ นา ให้ อ่อน เหลว ภอ ฝั่ง ต้น เข้า กล้า ได้ นั้น.
      ย่ำ ยาม (537:12.5)
               คือ ย่ำ ฆ้อง เมื่อ ถึง เวลา ได้ ยาม หนึ่ง ย่ำ ที่ หนึ่ง, คือ ตี ร่ำ ถี่ เข้า นั้น, เวลา สอง ยาม ย่ำ ครั้ง หนึ่ง, ครั้น ถึง ยาม ย่ำ ไป ทุก ยาม นั้น.
      ย่ำ รุ่ง (537:12.6)
               คือ ย่ำ ฆ้อง เขา ตี ร่ำ ถี่ ๆ เข้า เมื่อ ยาม รุ่ง นั้น.
      ย่ำ ยี (537:12.7)
               คือ ย่ำ ด้วย ท้าว ขยี้ ไป. อย่าง หอึ่ง* คน อื่น มา กระทำ ข่มเหง นั้น, ก็ ว่า เขา ทำ ย่ำ ยี นัก นั้น.
      ย่ำ ยับ (537:12.8)
               คือ เอยียบ ยับ เยิน ของ เสีย ไป.
      ย่ำ เอยียบ (537:12.9)
               คือ เอา ท้าว เอยียบ ถี่ ๆ ไป เช่น ว่า. อย่าง หนึ่ง ว่า คน ทำ ข่มเหง ว่า ทำ ย่ำ เอยียบ.
      ย่ำสนทยา (537:12.10)
               ย่ำค่ำ, คือ เวลา พลบ ค่ำ ลง จะ ต้อง จุด ใต้ เพลิง นั้น, ว่า เวลา สนทยา เข้า ราตรี นั้น.
ย้ำ (537:1)
         คือ เคี้ยว ถี่ ๆ เบา ๆ, เช่น สุนักข มัน ย้ำ หมัด นั้น.
      ย้ำ หมัด (537:1.1)
               คือ กัด ย้ำ, ๆ เหมือน สุนักข มัน กัด ตัว หมัด ที่ มัน กัด แซก อยู่ ใน ขน ที่ ตัว มัน นั้น.
      ย้ำ เหยอ (537:1.2)
               คือ พูดจา เลอะเทอะ เหมือน คน เมา เหล้า.
ยะหรัน (537:2)
         เปน ชื่อ คน แขก มี ใน เรื่อง* อิเหนา คน หนึ่ง.
      ยะหริ่ง (537:2.1)
               เปน ชื่อ เมือง แขก เมือง หนึ่ง อยู่ ทิศใต้ นั้น.
      ยะมะกะปาฏิหาริยะ (537:2.2)
               ฯ ว่า สำแดง การ เปน อัษจรริย์ กระทำ เปน คู่ ๆ, คือ เปน ท่อ น้ำ แล ท่อ ไฟ พร้อม กัน นั้น.
      ยะถากรรม (537:2.3)
               ว่า ไป ตาม กรรม ของ ตัว นั้น, คำ เขา ว่า ทำ ไว้ อย่าง ไร ก็ ได้ อย่าง นั้น.
ยก (537:3)
         คือ เพิก ถอน เสีย, เช่น การ อัน ใด เปน ต้น ว่า ภาษี เคย มี มา แล ไม่ ให้ มี, เลิก เสีย นั้น ก็ เลิก ถอน เสีย.
      ยก ตน ข่ม ท่าน (537:3.1)
               คือ ว่า ตัว ดี กว่า เขา อื่น นั้น, เช่น คน ยก ตัว ขึ้น กด ท่าน ลง นั้น.
      ยก การ (537:3.2)
               คือ การงาน ทั้ง ปวง ทุก อย่าง, เขา เลิก เสีย ไม่ ให้ คน ทำ ต่อ ไป ว่า ยก การ นั้น เสีย.
      ยก ย่อง (537:3.3)
               คือ กล่าว สรรเสิญ, เช่น ยก ขึ้น ด้วย มือ นั้น, ยก ย่อง พระ สาศนา เปน ต้น นั้น.
      ยก กระบัตร (537:3.4)
               เปน ชื่อ ขุนนาง อยู่ แขวง เมือง ขึ้น, ยกกระบัต. เปน ขุนนาง ที่ สาม สำรับ กำกับ การ ใน หัว เมือง.
      ยก เนื้อ ยก ตัว (537:3.5)
               คือ กล่าว ว่า ตัว ดี ต่าง ๆ นั้น, คน พูดจา* อวด ตัว เปน ต้น นั้น.
      ยก ขันหมาก (537:3.6)
               คือ ยก เอา* ของ มี กล้วย แล ขนม เปน ต้น, เปน ของ เจ้าบ่าว ไป ให้ แก่ พ่อ แม่ ฝ่าย เจ้าสาว, เมื่อ สู่ ฃอ จะ อยู่ เปน ผัว เมีย กัน.
      ยก ทัพ (537:3.7)
               คือ ยก พลทหาร จะ ไป ทำ ศึก สงคราม กับ ฆ่าศึก, ว่า ยก ทัพ.
      ยก พล (537:3.8)
               คือ ยก พวก ทหาร ไป เพื่อ จะ ทำ การ สงคราม ทาง บก แล ทาง เรือ เปน ต้น นั้น.
      ยก ยอ (537:3.9)
               คือ ยก เครื่อง ที่ สำรับ จับ ปลา. อย่าง หนึ่ง เปน เครื่อง ชุน เปน ตา ตะราง ทำ ด้วย ด้าย, เปน สี่เหลี่ยม สี่มุม มี คัน ทั้ง สี่มุม จม ลง ไว้ ใน น้ำ, ปลา เข้า แล้ว ยก ขึ้น จับ เอา นั้น.
      ยก ให้ ยก ปัน (537:3.10)
               คือ ยอม ให้ ยอม ปัน.
      ยก ยอ ฃอ ให้ (537:3.11)
               คือ คน ยอม ให้ ลูก สาว ให้ แก่ คน วาศนา มาก เพื่อ จะ พึ่ง บุญ นั้น.
      ยก ให้ (537:3.12)
               คือ ยก ของ ฤๅ ลูก สาว เปน ต้น ให้ เขา, เขา ไม่ ได้ สู่ ฃอ, เอา ไป ยก ให้ ด้วย ปราฐนา จะ พึ่ง นั้น.
      ยก โทษ (537:3.13)
               คือ ไม่ เอา โทษ นั้น, มี พระ มหา กระษัตริย์ ทรง พระ กรุณา ยก โทษ โปรด ปล่อย คน คุก เปน ต้น.
      ยก อธิกร (537:3.14)
               คือ กล่าว ถึง โทษ เขา ขึ้น นั้น, เช่น คน ยก โทษ ขึ้น ปรับไหม เปน ต้น นั้น.
      ยก เสีย (537:3.15)
               คือ ให้ ยก ของ ไป. อย่าง หนึ่ง อด งด โทษ เสีย นั้น, คน ยก สิ่ง ของ ละ ไว้ เปน ต้น นั้น.
หยก (537:4)
         เปน ของ สิ่ง หนึ่ง, ศรี ขาว นวล คล้าย สิลา อ่อน, จีน มัก ใช้ ทำ ของ ต่าง ๆ.
ยัก (537:5)
         คือ ตัว เอา ของ ไว้ ใน ที่ นี่ แล้ว เอา ออก ไว้ ใน ที่ อื่น. อนึ่ง คน เอา เงิน ฤๅ ปี้ สกา ที่ เขา แทง ถั่ว ไว้ ที่ เส้น, ยัก ออก ไว้ ที่ เปล่า นั้น.
      ยักษ (537:5.1)
               เปน ชื่อ พวก ยักษ มี ฤทธิ, เหาะ เหิน เดิน อากาศ ได้ ก็ มี, ไม่ เหาะ ได้ ก็ มี, กิน เนื้อ มนุษ เนื้อ สัตว เปน อาหาร.

--- Page 538 ---
      ยักขินี (538:5.2)
               แปล ว่า ยักษ ผู้ หญิง, เช่น นาง ยักษี เปน ต้น นั้น.
      ยักษา (538:5.3)
               คือ พวก ยักษ มาก หลาย คน, ตั้ง แต่ สอง ขึ้น ไป ว่า ยัก*ษา, เปน พะหูวัจนะ ตาม บทมาลา.
      ยักษี (538:5.4)
               คือ พวก ยักษ ผู้หญิง, เรียก ตาม บทมาลา ว่า เปน อิถีลึงค์, คือ เปน อิกะรันตะ นั้น.
      ยัก ไหล่ (538:5.5)
               คือ คน ทำ หัวไหล่ ให้ ข้าง หนึ่ง ไป ข้าง หน้า, ข้าง หนึ่ง มา ข้าง หลัง นั้น.
      ยัก กิน (538:5.6)
               คือ ย้าย กิน, เดิม กิน กับ เข้า ตาม ธรรมเนียม ตัว, ครั้น นาน เบื่อ เข้า จัดแจง กิน อย่าง อื่น นั้น.
      ยัก หล่ม (538:5.7)
               คือ ข้าง หลัง คน ที่ สบัก เปน รอย บุ้ม อยู่ สอง ข้าง.
      ยัก คิ้ว (538:5.8)
               คือ ทำ ให้ คิ้ว เลิก ขึ้น, แล้ว กลับ คืน ลง อยู่ ที่ นั้น.
      ยักษ มาร (538:5.9)
               คือ พวก ยักษ พวก มาร ไป ใน อากาศ ได้, มิ ฤทธิ คล้าย เทวะดา นั้น.
      ยัก คอ (538:5.10)
               คือ ทำ ฅอ ให้ หัน ไป ข้าง โน้น ข้าง นี้ นั้น.
      ยัก หน้า (538:5.11)
               คือ ทำ หน้า ให้ หัน ไป หัน มา นั้น, เช่น คน พยัก หน้า เปน ต้น นั้น.
      ยัก ที่ (538:5.12)
               คือ ย้าย ที่ เดิม อยู่ ที่ ล่าง, ครั้น นาน มา ขยาย มา อยู่ ที่ ข้าง บน นั้น.
      ยัก ยอก (538:5.13)
               คือ ยัก ของ ยัก ความ, คน เอา ของ จำนำ ไว้, แล้ว มา ยืม เอา ไป จำนำ ที่ อื่น นั้น.
      ยัก ไป (538:5.14)
               คน จะ เดิน เปน ต้น, มี ผู้ อื่น กีด ขวาง อยู่ เขา ว่า ยัก ไป ข้า* จะ เดิน. อย่าง หนึ่ง คือ ยก ไป.
      ยัก เยื้อง (538:5.15)
               คือ ยัก เยื้อง, กราย มือ แล ท้าว ก้าว เปน ขบวน เมื่อ จะ รำ เต้น เล่น ละคอน นั้น.
      ยัก เพลง (538:5.16)
               คือ เปลี่ยน ทำนอง สวด คำ เพลง เปน ทำนอง ต่าง ๆ เช่น ทำ เพลง ปี่ภาทย เปน ต้น.
      ยัก ยี ยัก เหยา (538:5.17)
               คือ พูด จะ เอา ของ, พูด แล้ว พูด อีก หลาย หน นั้น, เช่น พูด เซ้า ซี้ เปน ต้น นั้น.
      ยัก ย้าย (538:5.18)
               คือ ยัก ย้าย, เหมือน เดิม อยู่ ที่ นี่, แล้ว ออก จาก ที่ นี่ ไป อยู่ ที่ อื่น, ว่า เขา ยัก ย้าย ไป.
      ยัก เหยา เซ้า ซี้ (538:5.19)
               ยักเหยา เหมือน ว่า แล้ว, แต่ เซ้า ซี้ คือ ซ้ำ ซาก, เช่น คน พูด ไม่ รู้ แล้ว นั้น.
      ยัก แยก (538:5.20)
               คือ เดิม คน อยู่ ด้วย กัน ใน บ้าน เดียว, ครั้น นาน มา ภา กัน ไป อยู่ ที่ อื่น, ไม่ ไป อยู่ แห่ง เดียว กัน, คน หนึ่ง ไป อยู่ ที่ อื่น ว่า ยัก แยก ไป.
      ยัก ไว้ (538:5.21)
               คือ เอา ของ ออก แอบ ไว้ เสีย.
หยัก (538:1)
         คือ ทำ ไม้ เปน ต้น ให้ เปน ข้อ ขึ้น น่อย หนึ่ง, เหมือน หัว คาน ที่ เขา ทำ หาบ ของ นั้น.
      หยัก ควั่น (538:1.1)
               เหมือน ที่ ปลาย หลัก แจว นั้น หยัก รอบ, ว่า เช่น นั้น.
      หยัก สก (538:1.2)
               คือ ผม คน ที่ งอ น่อย ๆ ไม่ งอ อยิก ที เดียว, เขา เรียก ว่า ผม หยัก สก.
      หยัก ขุนเพ็ด (538:1.3)
               คือ เอา มีด ควั่น ที่ ไม้ กลม ๆ ทำ เหมือน อะไวย วะ ที่ ลับ แห่ง ชาย เรียก เช่น นั้น.
      หยัก เงี่ยง (538:1.4)
               คือ ทำ ที่ เบ็ด เปน ต้น, คน พด* เบ็ด นั้น เอา ลวด เหล็ก มา ทำ ที่ ปลาย ให้ เปน ฃอ นั้น.
      หยัก ไว้ (538:1.5)
               คือ ทำ เช่น ว่า เอา เก็บ ไว้ นั้น, เช่น คน หยัก เงี่ยง เบ็ด ไว้ เปน ต้น นั้น.
      หยัก เหยา (538:1.6)
               คือ เซ้า ซี้, คน พูด จา ที่ ล้อ เลียน ไม่ รู้ แล้ว, เซ้า ซี้ ว่า แล้ว ว่า อีก นั้น, ว่า พูด หยัก เหยา.
      หยัก อย่อน (538:1.7)
               คือ ทำ การ ไม่ ใคร่ รู้ แล้ว นั้น, เหมือน คน ทำ การ ขยักขย่อน ไม่ เสมอ เปน ต้น.
ยาก (538:2)
         ลำบาก, คือ ความ ลำบาก ประดัก ประเดิด, เหมือน คน ทำ การ สิ่ง ใด ประดัก ประเดิด ว่า ยาก.
      ยาก เข็ญ ใจ (538:2.1)
               ลำบาก เข็ญ ใจ, คือ ความ ประดัก ประเดิด แล ไร้ ทรัพย, ด้วย ขัด สน เงิน ทอง จะ ใช้ ซื้อ หา กิน นั้น.
      ยาก แค้น (538:2.2)
               คือ ความ ลำบาก แล ได้ ความ โทรมนัศ น้อย ใจ, ด้วย เขา ใช้ ให้ ทำ การ แล้ว ด่า ว่า ให้ ด้วย นั้น.
      ยาก จน (538:2.3)
               ขัด สน, คือ ความ ลำบาก ยาก ไร้ ทรัพย, ไม่ มี เงิน ที่ จะ ซื้อ เข้า ปลา อาหาร เปน ต้น, แล ต้อง ทำ การ ประดัก ประเดิด ด้วย.
      ยาก เอย็น (538:2.4)
               คือ ความ ลำบาก, แต่ คำ เอย็น นั้น เปน สร้อย.
      ยาก ไร้ (538:2.5)
               คือ ความ จน ไม่ มี ทรัพย นั้น.
หยาก (538:3)
         ใคร่, คือ ความ ใคร่ ความ ปราฐนา, บันดา ความ ใคร่ แล ความ ปราฐนา ว่า หยาก ทั้ง สิ้น.
      หยาก กิน (538:3.1)
               ใคร่ กิน, คือ* ความ ใคร่ กิน ปราฐนา กิน นั้น.

--- Page 539 ---
      หยาก ได้ (539:3.2)
               ใคร่ ได้, คือ ความ ใคร่ ได้, คน เหน สิ่ง ของ อัน ใด แล มี ใจ ใคร่ จะ เอา นั้น.
      หยาก เข้า (539:3.3)
               คือ ใคร่ จะ เอา เข้า กิน, เขา เรียก ว่า หยาก เข้า เพราะ ปราฐนา นั้น.
      หยาก ทำ (539:3.4)
               ใคร่ ทำ, คือ ความ ใคร่ ทำ, ปราฐนา ทำ การ งาน ทั้ง ปวง ทุก อย่าง นั้น ว่า* หยาก ทำ.
      หยาก น้ำ (539:3.5)
               คือ ความ ใคร่ จะ ดื่ม น้ำ, คน เดิน ไป หน ทาง ไกล, อด น้ำ ไม่ ได้ กิน แล ปราฐนา กิน น้ำ.
      หยาก ไป (539:3.6)
               ใคร่ ไป, คือ ความ ใคร่ ไป, เหมือน พวก ครู อเม ริ กา เข้า มา อยู่ เจ็บ ป่วย ไม่ สบาย ใคร่ ไป นั้น.
      หยาก อยู่ (539:3.7)
               ใคร่ อยู่, คือ ความ ใคร่ อยู่, เหมือน พวก ครู อเม ริ กา มา อยู่ สบาย ไม่ ป่วย ไข้ ใคร่ อยู่ ต่อ ไป.
      หยาก เยื่อ (539:3.8)
               คือ ขยาก มี ฝอย ขี้ กบ เปน ต้น, เขา เรียก หยาก เยื่อ. อย่าง หนึ่ง ใบไม้ แห้ง เปน อัน มาก เรียก หยาก เยื่อ.
      หยาก เหน (539:3.9)
               คือ ความ ใคร่ ดู ให้ ประจักษ, เช่น คน ไม่ เคย เหน พระบาท เปน ต้น จะ ใคร่ เหน นั้น.
หยิก (539:1)
         คือ เอา เล็บ นิ้วมือ สอง นิ้ว ทำ เนื้อ อยู่ กลาง, แล้ว บีบ เข้า ให้ เล็บ บาด เนื้อ เข้า นั้น.
      หยิก ข่วน (539:1.1)
               คือ เอา มือ สอง นิ้ว บีบ หนีบ ที่ ตัว คน, ข่วน คือ เอา เล็บ มือ เกา กระชาก เข้า แรง ๆ นั้น.
      หยิก ทึ้ง (539:1.2)
               คือ เอา สอง นิ้ว มือ ทำ เช่น ว่า, แล้ว ชัก ออก แรง ๆ เร็ว นัก นั้น.
ยุก เข็ญ (539:2)
         คือ เวลา กาล ที่ โลกย ไม่ เจริญ, มี แต่ ความ ร้าย ต่าง ๆ โดย มาก เหมือน ทุก วัน นี้.
หยุก หยิก (539:3)
         คือ จุกจิก, คน มัก เล่น ฤๅ มัก ได้ กวน รบ ฃอ ของ บ้าง, เอา มือ จี้ ไช บ้าง บ่อย ๆ นั้น.
หยุก หยุย (539:4)
         เหมือน ผม เปน ต้น ที่ มัน ยุ่ง ยิ่ง อยู่, ไม่ ได้ หวี สราง นั้น.
หยูก ยา (539:5)
         คือ ยา, แต่ หยูก เปน คำ สร้อย*.
แยก (539:6)
         คือ ความ พราก แตก แหก, เหมือน แผ่นดิน แตก ออก แล แหก ออก เปน ต้น นั้น.
      แยก กัน (539:6.1)
               คือ ต่าง คน ต่าง ไป, เดิม คน เดิน มา มาก, ครั้น ถึง บ้าน ใคร ๆ ก็ ไป, ว่า แยก กัน ไป.
      แยก ยัก (539:6.2)
               คือ แยก เอา ของ เปน ต้น ออก เอา ไว้ ที่ แห่งอื่น บ้าง.
      แยก แย้ง (539:6.3)
               คือ กล่าว คำ แก่ง แย่ง กัน ไม่ เหน ลง ด้วย กัน.
      แยก ย้าย (539:6.4)
               ความ ว่า แยก ไป แล ย้าย ไป, เดิม มา ด้วย กัน, ครั้น ถึง ที่ ของ ตัว แล้ว ต่าง คน ต่าง ไป นั้น.
      แยก หมู่ แยก คณะ (539:6.5)
               คือ คน มาก, เดิม อยู่ ใน ที่ แห่ง เดียว กัน, แล้ว แบ่ง ภา กัน ไป เปน พวก ๆ นั้น.
      แยก มา (539:6.6)
               คือ เดิม มา ใน กำปั่น ลำ เดียว กัน, ครั้น มา ถึง ปากน้ำ ลง เรือ ล่อง บด มา คน ละลำ นั้น.
      แยก แหวก (539:6.7)
               คือ ให้ ต้นหญ้า ฤๅ ต้น เข้า ให้ มัน ออก จาก กัน, แล้ว เอา มือ ทั้งสอง เบิก ออก ไบ.
โยก (539:7)
         คือ อาการ ตัว คน ฤๅ ต้นไม้ เปน ต้น, ไม่ นิ่ง อยู่ งุบ โอน ไป ข้าง หน้า บ้าง ข้าง หลัง บ้าง, เหมือน* นั่ง ใน เรือ ไม่ ได้ พิง อัน ใด, ครั้น เรือ ไป ตัว ก็ งุบ ไป มา นั้น.
      โยก โคลง (539:7.1)
               คือ คน นั่ง ใน เรือ ที่ คน ภาย มาก ตัว โงก ไป นั้น.
      โยก ตัว (539:7.2)
               คือ อาการ ที่ คน ฤๅ สัตว ทำ ตัว ให้ งุบ โงก ไป ข้าง โน้น บ้าง ข้าง นี้ บ้าง นั้น, ว่า โยก ตัว.
      โยก ไป โยก มา (539:7.3)
               คือ โงก ไป โงก มา นั้น, ไม้ หลัก ปัก ไว้ ที่ น้ำ ไหล เชี่ยว โยก ไป โยก มา เปน ต้น นั้น.
      โยก เยก (539:7.4)
               คือ โงก เงก, การ ที่ คน เอา ไม้ ปัก ไว้ ใน ที่ น้ำ เชี่ยว, น้ำ ไหล แรง พัด เอา ไม้ โย้ ไป โย้ มา นั้น.
      โยก คลอน (539:7.5)
               เหมือน เสากระโดง ที่ เรือ เขา ปัก ไม่ แน่น, มัน โยก โขลก เขลก อยู่ นั้น, เหมือน ฟัน ที่ โยก คลอน เปน ต้น.
โหยก เหยก (539:8)
         คือ อาการ คน ที่ กิน เหล้า เมา สุรา, จะ พูด จา ก็ เกะกะ จะ เดิน ก็ เกะกะ ไม่ ตรง ทาง นั้น.
ยอก (539:9)
         คือ เสียด แทง, เหมือน คน เจ็บ ให้ เสียว เสียด ใน กาย ต่าง ๆ ว่า ยอก ไป. อย่าง หนึ่ง หนาม แทง ก็ ว่า หนาม ยอก.
      ยอก กากเข้า (539:9.1)
               คือ ตำ เข้า เปลือก ที่ ฝัด ร่อน ออก จาก เข้า ที่ ตำ เปน เข้าสาร มาก แล้ว นั้น.
      ยอก ย้อน (539:9.2)
               คือ ความ เช่น ว่า แล้ว, ย้อน นั้น เหมือน คน ถาก เกล็ด ปลา ถาก แต่ หาง ขึ้น มา นั้น.
      ยอก หลัง (539:9.3)
               คือ อาการ ที่ เสียด อยู่ ที่ สันหลัง ว่า ยอก หลัง นั้น.
      ยอก ใน อก (539:9.4)
               คือ อาการ ที่ ให้ เสียด อยู่ ที่ อก, ว่า ยอก ใน อก นั้น.
หยอก (539:10)
         (dummy head added to facilitate searching).
      หยอก กัน (539:10.1)
               คือ อาการ ที่ คะนอง มือ แล ท้าว ชก กัน บ้าง ปะเตะ กัน บ้าง, เล่น ต่าง นั้น.

--- Page 540 ---
      หยอก หยิก (540:10.2)
               คือ อาการ ที่ ทำ คะนอง เช่น ว่า, แล เอา นิ้วมือ สอง นิ้ว หนีบ บีบ เอา ผู้ อื่น นั้น.
      หยอก เย้า (540:10.3)
               คือ ทำ คะนอง เล่น กัน แล้ว เยาะ ยั่ว เด็ก ๆ, เล่น จี้ หยอก กัน เปน ต้น นั้น.
      หยอก ลูก อ่อน (540:10.4)
               คือ อาการ ที่ คน อู้ม ทารก เล็ก ๆ, แล้ว ทำ ให้ มัน หัวเราะ นั้น, ว่า หยอก ลูกอ่อน.
หยวก (540:1)
         คือ ไส้ ต้น กล้วย ที่ อยู่ ใน ไม่ เปน กาบ นั้น, เรียก หยวก ต้ม แกง กิน ได้.
      หยวก กล้วย (540:1.1)
               คือ ลำ ต้น* ไส้ ใน กล้วย นั้น, กาบ กล้วย ขาว ๆ ใน ลำ ต้น นั้น.
      หยวก คา ฅอ (540:1.2)
               คือ ไส้ ต้น กล้วย ที่ มัน จะ เปน เครือ ลูก, แล มัน เลื่อน ขึ้น มา จาก โคน มา ถึง ที่ ปลาย, คน เหน นั้น.
      หยวก ปลี (540:1.3)
               คือ หยวก ที่ มัน เปน ปลี จะ เปน เครือ หวี จะ มี ลูก นั้น.
      หยวก ผ้า (540:1.4)
               คือ ไส้ ต้น กล้วย ที่ มัน แก่ จะ เปน ใบ ตอง อ่อน นั้น, เรียก ว่า หยวก ผ้า เพราะ มัน คล้าย กับ ผ้า.
เยือก (540:2)
         คือ ยวบ, เหมือน เรือน เขา ทำ ด้วย ไม้ ไผ่, ภอ ลม พัด หนัก ก็ โยก ยวบ ๆ นั้น.
      เยือก เอย็น (540:2.1)
               คือ คำ สอง คำ ประกอบ กัน เข้า, เรือน ที่ มี คน แต่ สอง คน ฤๅ สาม คน, ถ้า ตาย ลง คน หนึ่ง เอา สพ ไป เสีย แล้ว, ว่า เรือน เยือก เอย็น.
      เยือก ไหว (540:2.2)
               คือ ที่ สะเทือน เรือน หวั่น เปน ต้น.
ยง (540:3)
         ยิ่ง, คือ เอา จอบ ขุด ดิน ที่ โคน ต้นไม้ พูน ขึ้น ที่ โคน นั้น. อย่าง หนึ่ง คน เปน ขะโมย ดั้ง* ขะโมย บ่อย ๆ, เขา ว่า มัน ยง. อย่าง หนึ่ง เสือ มัน กัด คน บ่อย ๆ, เขา ว่า มัน ยง.
      ยง ยิ่ง (540:3.1)
               คือ ยง นัก. อย่าง หนึ่ง กล่าว เปน คำ สรรเสิญ ว่า ยง ยิ่ง ข้าง การ ดี ก็ ว่า ได้ นั้น.
      ยง ยืน (540:3.2)
               คือ ยั่ง ยืน นั้น, คำ เขา ว่า อายุ ยืน ยง คง อยู่ นาน เปน ต้น นั้น.
หย่ง (540:4)
         คือ ผม เปน ต้น คน หวี เดิม ราบ แล้ว เอา หวี ทำ ให้ ผม หน้า สูง ขึ้น, ว่า ทำ ให้ ผมหย่ง.
      หย่ง ผม (540:4.1)
               คือ ทำ ผม ให้ มัน ฟู อยู่, ไม่ ให้ ราบ ลง นั้น.
      หย่ง ขึ้น (540:4.2)
               คือ ทำ ผม ให้ สูง ขึ้น ข้าง หน้า, ว่า ทำ ให้ ผม หย่ง ขึ้น ด้วย ถือ ใน ใจ ว่า เช่น นั้น งาม.
      หย่ง โห้ย (540:4.3)
               คือ นั่ง ไม่ ราบ นั่ง หย่อง หย่ง ขา สูง ขึ้น น่อย หนึ่ง ขา ไม่* สู้ สูง นัก นั้น, ว่า หย่ง โห้ย.
      หย่ง หยิบ (540:4.4)
               หย่ง เช่น ว่า แล้ว, แต่ หยิบ นั้น คือ หอบ ของ. อย่าง หนึ่ง ทำ การ ค่อย จับ ค่อย ต้อง นั้น, ว่า ทำ หย่งอยิบ.
ยัง (540:5)
         คือ คน ฤๅ ของ มี อยู่ เขา ว่า ยัง อยู่, มี ผู้ ถาม ว่า ของ นั้น หมด ฤๅ, ตอบ ว่า ยัง นั้น.
      ยัง ก่อน (540:5.1)
               เปน คำ บอก ว่า ยัง ก่อน, เขา ถาม ว่า แล้ว ฤๅ บอก ว่า ยัง ก่อน.
      ยัง ค่ำ (540:5.2)
               คือ สิ้น กลาง วัน ยัง แต่ เวลา กลางคืน นั้น, คน ทำ การ ใน เวลา กลาง วัน จน พลบ, ว่า ทำ ยัง ค่ำ นั้น.
      ยัง เงียบ (540:5.3)
               เปน คำ พูด ถึง เหตุ การ อัน ใด อัน หนึ่ง, มี การ ทัพ เปน ต้น ว่า กอง ทัพ รับสั่ง ให้ กลับ ฤๅ, เขา ว่า ยัง ไม่ ได้ ยิน ว่า รับสั่ง ให้ กลับ, ว่า ยัง เงียบ อยู่.
      ยัง ชั่ว (540:5.4)
               คลาย ลง, เหมือน คน ป่วย อยู่ มี ผู้ ถาม ว่า คน ป่วย นั้น ค่อย บันเทา คลาย แล้ว ฤๅ, ถ้า ไข้ นั้น ค่อย เบาบาง ออก เขา บอก ว่า ยัง ชั่ว.
      ยัง มี (540:5.5)
               คือ คำ ตอบ ว่า ของ ยัง อยู่, เขา ถาม ถึง ของ ใด ๆ, มี เข้าสาร เปน ต้น* ว่า เข้า หมด ฤๅ, ตอบ ว่า ยัง มี อยู่.
      ยัง อยู่ (540:5.6)
               มี ผู้ ถาม พวก ครู อเมริกา ไป หมด แล้ว ฤๅ, พวก ครู ยัง ไป ไม่ หมด, เขา ตอบ ว่า ยัง อยู่ บ้าง.
      ยัง (540:5.7)
                เปน, เหมือน คนป่วย อยู่ มี ผู้ ถาม ว่า คน ป่วย นั้น ยัง เปน อยู่ ฤๅ, เขา ตอบ ว่า คน นั้น ยัง เปน อยู่
      ยัง รุ่ง (540:5.8)
               คือ ยัง แต่ จะ สว่าง เช้า. อย่าง หนึ่ง ว่า เวลา แต่ หัว ค่ำ ไป เกือบ รุ่ง เช้า, เหมือน คำ ว่า นอน ยัง รุ่ง, คือ นอน ให้ สว่าง นั้น,
      ยัง เหน (540:5.9)
               เปน ความ* ตอบ เหมือน คน ถาม ว่า ที่ สำเภา ล่ม เหน แต่ เสา กระโดง นั้น, ทุก วัน นี้ ยัง เหน อยู่ ฤๅ. บอก ว่า ยัง เหน อยู่.
ยั่ง ยืน (540:6)
         มั่นคง, คือ แน่ นอน เหมือน ว่าว คุลา ที่ เขา ชัก คว้า กับ อีป้าว, ๆ มัน แทง ทลุ ก็ ไม่ ดก* นั้น, ว่า ยั่งยืน. อย่าง หนึ่ง คน ไม่ พูด มุสา ไม่ พูดเท็จ ไม่ พูด โกหก, พูด ได้ ความ จริง ถึง จะ ซัก ถาม ก็ ไม่ พูด กลับ ถ้อย คำ นั้น, ว่า เขา พูด จา ยั่ง ยืน.

--- Page 541 ---
ยั้ง (541:1)
         อยุด, คือ อยุด, คน เดิน ไป ตาม หน ทาง ไป ปะ ที่ ชะวาก เหว อยุด ชะงัก อยู่ นั้น ว่า ยั้ง. อย่าง หนึ่ง* เกิด โทโส ขึ้น มา คิด จะ ว่า ให้ เจ็บ ปวด หนัก, แต่ งด เสีย ไม่ ว่า นั้น, ก็ ว่า ยั้ง.
      ยั้ง ถ้า (541:1.1)
               คอย ถ้า, เช่น คน จะ ไป ด้วย กัน, แต่ ฝ่าย ผู้ หนึ่ง นั้น ไม่ สิ้น ธุระ, ผู้ จะ ไป ต้อง คอย ถ้า นั้น.
      ยั้ง คอย (541:1.2)
               รอ คอย, คือ ยั้ง ถ้า, เช่น คน จะ ไป ฤๅ จะ กิน เปน ต้น ด้วย กัน, ฝ่าย ข้าง หนึ่ง ยัง ไม่ มา อยุด ถ้า อยู่ นั้น.
      ยั้ง อยู่ (541:1.3)
               คือ อยุด อยู่, เหมือน คน จะ มี ธุระ ไป แต่ การ ที่ บ้าน* นั้น ยัง ไม่ แล้ว, ก็ อยุด อยู่ ยัง ไม่ ไป นั้น.
      ยั้ง อยุด (541:1.4)
               ยั้ง นั้น, คือ เงื้อ ขึ้น จะ ตี เปน ต้น แล้ว งด ไว้, อยุด คือ พัก เสีย นั้น, คำ ว่า อยุด ยั้ง* ชั่ง ใจ ดู เปน ต้น.
หยั่ง (541:2)
         คือ ทำ ให้ รู้ ว่า น้ำ ฦก เท่า ไร, เขา เอา พาย ทิ่ม ลง บ้าง เอา ถ่อ ฤๅ สาย ดิ่ง ทิ้ง ลง บ้าง ก็ รู้ นั้น.
      หยั่ง ใจ (541:2.1)
               คือ คาด ใจ, คน คิด ล่วง รู้ ใน ใจ คน ด้วย เหตุ การ ต่าง ๆ นั้น, ว่า หยั่ง ใจ คน.
      หยั่ง ดู (541:2.2)
               คือ ทำ เช่น ดู ใน น้ำ นั้น, คน เอา สาย ดิ่ง ทอด หยั่ง ดู ใน น้ำ เปน ต้น นั้น.
      หยั่ง นี้ (541:2.3)
               คือ อย่าง นี้, คน ถาม ว่า ของ นั้น เขา ทำ อย่าง ไร, ผู้ รู้ บอก ว่า เขา ทำ อย่าง นี้ นั้น.
      หยั่ง น้ำ (541:2.4)
               คือ เอา ไม้ เปน ต้น แทง ลง ใน น้ำ ดู ว่า น้ำ ฦก เท่า ไร, คน เอา สาย ดิ่ง หยั่ง น้ำ เปน ต้น นั้น.
      หยั่ง นั้น (541:2.5)
               คือ อย่าง นั้น, คน ถาม ว่า ของ มี นาฬิกา เปน ต้น เขา ทำ อย่าง ไร, ตอบ ว่า เขา ทำ อย่าง นั้น.
      หยั่ง รู้ (541:2.6)
               คือ ความ ล่วง รู้ เหตุ ต่าง ๆ นั้น, คำ ถาม ว่า ท่าน ได้ หยั่ง รู้ หยั่ง เหน อย่าง ไร บ้าง.
      หยั่ง เหน (541:2.7)
               คือ ล่วง เหน โดย ปัญญา นั้น, ปัญญา ที่ พิจารณา หยั่ง เหน ตาม กระแส ความ นั้น.
ยาง (541:3)
         คือ น้ำ ที่ มี ใน ต้น ไม้, มี ที่ เปลือก บ้าง, ที่ ก้าน บ้าง, ที่ ราก บ้าง, ที่ กิ่ง บ้าง, มี ศรี เหมือน น้ำ นม เปน ต้น นั้น.
      ยาง กรอก (541:3.1)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, ตัว มี ขน ไม่ ขาว บริสุทธิ์ เปน สาย มัว ๆ เช่น นก ยาง กรอก ตาม ท้อง ทุ่ง เปน ต้น.
      ยาง ขาว (541:3.2)
               คือ ยาง ที่ มี ศรี เหมือน น้ำ นม นั้น. อนึ่ง เปน ชื่อ บ้าน ฝ่าย เหนือ แห่ง หนึ่ง, ชื่อ อย่าง นั้น.
      ยาง แดง (541:3.3)
               คือ ยาง ที่ มี ศรี แดง เหมือน น้ำ ฝาง นั้น. อนึ่ง เปน ชื่อ ต้น ยาง ที่ มี น้ำ มัน ยาง ศรี แดง เปน ต้น นั้น.
      ยาง ไม้ (541:3.4)
               คือ น้ำ ที่ มี ใน ต้น ไม้, ครั้น มัน แห้ง เข้า มัน เหนียว เหมือน น้ำ รัก ดำ ๆ นั้น.
      ยาง เสวย (541:3.5)
               เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, คล้าย กับ ยาง กรอก นั้น นก ยาง เสวย ที่ กิน ปลา นั้น.
ย่าง (541:4)
         คือ ก้าว เท้า ไป ก้าว หนึ่ง, เขา ว่า ก้าว ไป อย่าง หนึ่ง เปน ต้น นั้น, เรียก ก้าว บ้าง ย่าง บ้าง.
      ย่าง กุ้ง (541:4.1)
               เปน ชื่อ เมือง ขึ้น กับ เมือง อังวะ พะม่า นั้น, คือ เมือง ย่างกุ้ง ที่ ใกล้* กัน กับ เมือง อมร แมน นั้น.
      ย่าง ขึ้น (541:4.2)
               คือ ก้าว ขึ้น บน คั่น บันได เปน ต้น, เขา ว่า ย่าง ขึ้น บน คั่น บันได เปน ต้น นั้น.
      ย่าง เดิน (541:4.3)
               คือ ยก ท้าว ก้าว ไป ก้าว หนึ่ง เปน ต้น.
      ย่าง ตีน (541:4.4)
               คือ ยก เท้า ก้าว ไป, คน จะ ไป ที่ อื่น แล ยก ท้าว ก้าว ไป นั้น.
      ย่าง เท้า (541:4.5)
               ก้าว ตีน, คือ ยก ตีน ก้าว ไป, คน จะ ไป ที่ อื่น แล ยก ตีน ก้าว ไป นั้น, ว่า เขา ย่าง เท้า ไป นั้น.
      ย่าง เนื้อ (541:4.6)
               ปิ้ง เนื้อ, คือ ทำ เนื้อ ให้ สุก ด้วย ถ่าน ไฟ, คน ตัด เนื้อ สด เปน ชิ้น ๆ ออก แล้ว, เอา ไม้ สี่ อัน ทำ ขา หย่าง ขึ้น แล้ว, เอา ไม้ ภาด ทำ เปน ร้าน วาง เนื้อ ลง ใส่ ถ่าน ไฟ ข้าง ล่าง.
      ย่าง บาท (541:4.7)
               คือ ยก เท้า ก้าว ไป นั้น, เช่น พระ มะหา กระสัตริย์ ย่าง บาท ทรง พระ ราช ดำเนิน เปน ต้น นั้น.
      ย่าง ปลา (541:4.8)
               ปิ้ง ปลา, เขา ก็ ทำ ขาหย่าง ขึ้น เหมือน ย่าง เนื้อ ใส่ ไฟ เข้า ข้าง ใต้ ร้าน กว่า ปลา จะ สุก นั้น.
      ย่าง ทราย (541:4.9)
               คนที* เขมา, เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เขา เรียก ต้น ย่าง ทราย, เปน พัน ไม้ ใหญ่ ใน ป่า นั้น.
      ย่าง เยื้อง (541:4.10)
               ก้าว เยื้อง, คือ เดิน ย่าง เยื้อง กรีด กราย, เหมือน คน รำ ทำ บท เล่น ละคอน ฤๅ โขน นั้น.
อย่าง (541:5)
         คือ แบบ ฉะนิด เยี่ยง.
      อย่าง เก่า (541:5.1)
               คือ ของ มี แบบ พิมพ์ อักษร เปน ต้น, ที่ ทำ ไว้ ก่อน นั้น, ว่า เปน หย่าง เก่า นั้น.
      อย่าง กลาง (541:5.2)
               ฉะนิด กลาง, คือ ของ ไม่ ดี นัก ไม่ ชั่ว นัก, ว่า เปน อย่าง กลาง นั้น.

--- Page 542 ---
      อย่าง ดี (542:5.3)
               คือ สาระพัด ที่ ดี ที่ งาม นั้น, เรียก ว่า เปน ของ หย่าง ดี.
      อย่าง นี้ (542:5.4)
               แบบ นี้, เปน คำ พูด บอก ว่า หย่าง นี้, มี ผู้ ถาม ว่า จะ เอา หย่าง ไร, บอก ว่า จะ เอา ของ หย่าง นี้.
      อย่าง นั้น (542:5.5)
               แบบ นั้น, เปน คำ พูด ว่า, ข้า จะ ต้องการ ของ อย่าง นั้น, เพราะ เขา ชี้ บอก ของ ที่ เหน อยู่ นั้น.
      อย่าง น้อย (542:5.6)
               ฉะนิด น้อย, เหมือน เสื้อ เช่น หมอ ใส่ เรียก ว่า เสื้อ หย่าง น้อย คือ มิ ใช่ เสื้อ ใหญ่ เหมือน เสื้อ ยี้ปุ่น นั้น.
      อย่าง ใหญ่ (542:5.7)
               ฉะนิด ใหญ่, คือ ของ ที่ ใหญ่, เขา ว่า จะ ต้อง การ ของ หย่าง ใหญ่ นั้น.
      อย่าง เล็ก (542:5.8)
               ฉะนิด เล็ก, คือ ของ ไม โต ไม่ ใหญ่, เปน ของ เล็ก นั้น.
      อย่าง เดียว (542:5.9)
               คือ ของ ไม่ มี หลาย สิ่ง, เช่น ของ มี ผ้า เปน ต้น, มี แต่ อย่าง หนึ่ง นั้น.
      อย่าง แบบ (542:5.10)
               คือ อย่าง รูป อักษร เปน ต้น, ว่า แบบ อักษร ก็ ได้ ว่า พิมพ์ ก็ ได้, เหมือน แบบ อย่าง เปน ต้น นั้น.
      อย่าง เยี่ยง (542:5.11)
               เยี่ยง อย่าง, คือ เยี่ยง อย่าง, สอง คำ นี้ เนื้อ ความ อันเดียว กัน, แต่ เปน คำ สร้อย นั้น.
      อย่าง ไร (542:5.12)
               ฉะนิด ไร, คือ คำ ถาม ว่า อย่าง ใด ฤๅ อย่าง ไหน นั้น.
      อย่าง เลว (542:5.13)
               ฉะนิด เลว, อย่าง ซาม, คือ ของ สาระพัด ที่ เปน ของ ไม่ สู้ ดี, ของ ไม่ ประนิต เปน ของ อย่าง ต่ำ นั้น.
      อย่าง เอก (542:5.14)
               ฉะนิด เอก, อย่าง ดี, คือ ของ ทุก สิ่ง เปน ของ ดี เปน ของ ประนิต วิเสศ นั้น, ว่า เปน ของ อย่าง เอก.
ยิง (542:1)
         แผลง, ปล่อย, คือ กระทำ ลูก อาวุธ ให้ มัน แล่น ลอย ไป ถูก คน ฤๅ ถูก สัตว์, ให้ เจ็บ ฤๅ ตาย นั้น.
      ยิง กะสุน (542:1.1)
               คือ ก่ง คัน กะสุน ขึ้น, แล้ว เอา ลูก ปั้น ด้วย ดิน กลม ๆ เหมือน ลูก ปืน ใส่ เข้า ที่ รัง มัน, แล้ว น้าว มา แรง แล้ว ปล่อย ไป.
      ยิง กา (542:1.2)
               คือ ทำ ให้ ลูก สัตราวุธ ออก จาก ที่ ลอย แล่น ไป ถูก กา ให้ เจ็บ ฤๅ ตาย นั้น.
      ยิง เขี้ยว (542:1.3)
               แยก เขี้ยว, คือ แยก เขี้ยว อาการ ที่ คน ทำ สี ปาก ให้ แบะ ออก สำแดง เขี้ยว ให้ ผู้ อื่น เหน นั้น.
      ยิง ฟัน (542:1.4)
               คือ แยก ริม สีปาก ออก สำแดง ฟัน ให้ ผู้ อื่น เหน.
      ยิง ช้าง (542:1.5)
               คือ เอา อาวุธ ปืน ปน ต้น, ใส่ ดิน ใส่ ลูก เข้า แล้ว ลั่น นก สับ ลง ให้ ลูก ไป ถูก ข้าง.
      ยิง นก (542:1.6)
               คือ เอา อาวุธ มี น่าไม้ เปน ต้น, มา ก่ง ขึ้น แล้ว เอา ลูก มัน ใส่ เข้า ลั่น ไก ให้ มัน ลอย ไป ถูก นก.
      ยิง เนื้อ (542:1.7)
               คือ เอา อาวุธ มี ธะนู เปน ต้น, ก่ง ขึ้น แล้ว เอา ลูก มัน ภาด สาย ปล่อย ไป ให้ ถูก เนื้อ นั้น.
      ยิง ปืน (542:1.8)
               แผลง ศร, คือ เอา ปืน มา แล้ว เอา ดิน ใส่ เข้า ใน ลำ กล้อง ใส่ ลูก ใส่ หมอน แล้ว, ลั่น นก สับ ลง ให้ ลูก มัน ออก ไป นั้น.
      ยิง ยอม (542:1.9)
               คือ ยอม ไม่ สู้ รบ, ผู้ ชะนะ นั้น ยิ่ง เบียด เบียฬ หนัก, ก็ ยอม นัก เข้า, ว่า ยิง ยอม.
ยิ่ง (542:2)
         ดี กว่า, คือ สิ่ง ของ สารพัด ทุก อย่าง, ฤๅ คน ที่ ไม่ มี อื่น สู้ ได้ นั้น, ว่า ของ ฤๅ คน นั้น เปน ยิ่ง.
      ยิ่ง กว่า (542:2.1)
               คี ล้ำ, คือ ยิ่ง เกิน, เหมือน คน มี มะหา กระสัตริย์ เปน ต้น, ยิ่ง กว่า คน ด้วย บุญญา ธิการ นั้น.
      ยิ่ง ชั่ว (542:2.2)
               ชั่ว ล้ำ, คือ ชั่ว เกิน, คน ฤๅ ของ ชั่ว กว่า เพื่อน, ว่า ยิ่ง ชั่ว, ถ้า ของ ฤๅ คน ไม่ ชั่ว กว่า เพื่อน ไม่ ว่า ยิ่ง ชั่ว.
      ยิ่ง ดี (542:2.3)
               ดี ล้ำ, คือ คน เรียน หนังสือ เปน ต้น, แต่ แรก เรียน รู้ ก็ ดี อยู่, ครั้น เพียร เรียน รู้ มาก ขึ้น, ว่า ยิ่ง ดี ขึ้น นั้น.
      ยิ่ง ทำ (542:2.4)
               คือ ทำ กิจ การ อัน ใด มี ผล มี ประโยชน์, ก็ อุษ่าห์ ทำ ต่อ ๆ ไป นั้น.
      ยิ่ง ยง (542:2.5)
               คือ ของ ฤๅ คน ที่ ดี, ว่า ยิ่ง ยง, ยง นั้น คือ ใจ กำ เริบ ทำ บ่อย ๆ เนือง ๆ ไป นั้น.
      ยิ่ง ยวต (542:2.6)
               ยิ่ง นั้น คือ ดี กว่า กัน เปน ต้น, ยวด เปน สร้อย คำ.
      ยิ่ง รัก (542:2.7)
               คือ คน ดี โดย รูป ฤๅ โดย วิ ชา ความ รู้ ดี เปน ที่ รัก แห่ง คน ๆ ยิ่ง รัก มาก ขึ้น นั้น.
      ยิ่ง ว่า ยิ่ง (542:2.8)
                เปน, เปน คำ เขา พูด ถึง คน ที่ ว่า ยาก สอน ยาก ห้าม ไม่ ฟัง นั้น, ยิ่ง ห้าม ก็ ยิ่ง ทำ.
หยิ่ง (542:3)
         จองหอง, ลำพอง, คือ คน มี มานะ นับถือ ตัว ไม่ คิด เกรง ผู้ ใด จองหอง ลำพอง ทะนง ศักดิ์ ว่า ตัว ดี กว่า นั้น.
      หยิ่ง เผยอ (542:3.1)
               คือ หยิ่ง เย่อ เป้อเย้อ, เหมือน เขา เปิด ฝา ภาชะ นะ ขึ้น น่อย หนึ่ง.

--- Page 543 ---
      หยิ่ง ยศ (543:3.2)
               จองหอง ถือ ยศ, เมา ยศ, คือ มานะ กล้า ใน สัน ดาร, เหน ว่า ตัว เปน ที่ พระ หลวง ขุน หมื่น, เปน ขุนนาง เจ้า ชีวิตร ตั้ง แตง ไว้.
      หยิ่ง เย่อ (543:3.3)
               หยิ่ง มี ความ เช่น ว่า แล้ว, แต่ เย่อ นั้น เปน คำ สร้อย.
ยุง (543:1)
         เปน ชื่อ สัตว์ เล็ก พวก หนึ่ง, มัน มี ปีก บิน ได้ มัน กัด กิน เลือด คน เปน ต้น.
      ยุง กัด (543:1.1)
               คือ สัตว์ เล็ก ๆ มัน กัด กิน เลือด ที่ ตัว คน เปน ต้น
      ยุง ก้น ปล่อง (543:1.2)
               คือ สัตว์ ชื่อ ยุง นั้น, เมื่อ มัน กัด กิน เลือด อยู่ นั้น มัน* ขี้ ออก ทาง ก้น พลาง นั้น
      ยุง จาก (543:1.3)
               คือ ยุง ที่ ป่า จาก, มัน กัด คัน นัก, มัน มี ชุม นัก, ปัด ไม่ ใคร่ ทัน, เรียก ยุง จาก.
      ยุง ปัด (543:1.4)
               คือ ไม้ สำหรับ กวาด มี ต่าง ๆ เช่น ยุง ปัด งวง จาก ที่ สำหรับ ปัด ยุง เปน ต้น นั้น.
      ยุง หัว ตะกั่ว (543:1.5)
               คือ* ยุง ที่ หัว มัน เปน เกล็ด ขาว อยู่ หน่อย หนึ่ง* นั้น.
ยุ่ง (543:2)
         สับสน, คือ ด้าย เปน ต้น มัน พัว พัน กัน เปน ปุม ตุม, แก้ ไม่ ใคร่ ออก นั้น.
      ยุ่งเก๋ (543:2.1)
               คือ เส้น ด้าย เปน ต้น, มัน พัละวัน กัน กว่า ก่อน นั้น, ว่า ยุ่ง เก๋.
      ยุ่ง ย่าง (543:2.2)
               คือ อาการ เช่น ตีน แมง มุม นั้น.
      ยุ่งยิ่ง (543:2.3)
               คือ เส้น ด้าย เปน ต้น, มัน พัวพัน กัน เปน ตรุม* ตุม นั้น, ว่า ยุ่งยิ่ง.
      ยุ่ง หยอง (543:2.4)
               ยุ่ง นั้น คือ ของ ฟั่นเฝือ, เหมือน ผม ที่ ทิ้ง ไว้ ไม่ ได้ หวี สาง นั้น, หยอง นั้น ขน ไก่ เปน ต้น อย่าง* ขึ้น นั้น.
      ยุ่ง เหยิง (543:2.5)
               คือ เส้น ด้าย เปน ต้น, มัน พัน พัว กัน หนัก แก้ ไม่ ได้ นั้น, ว่า ยุ่ง เหยิง.
      ยุ่ง หยาบ (543:2.6)
               ยุ่ง เช่น ว่า แล้ว, แต่ หยาบ นั้น เหมือน แป้ง เปน ต้น ที่ มัน ไม่ สู้ ละเอียด นั้น.
ยุ้ง (543:3)
         ฉาง, คือ ที่ เขา ทำ ไว้ ใส่ เข้า เปน ต้น, เขา ปลูก ขึ้น เหมือน เรือน ไม่ กั้น ห้อง* สำหรับ ไว้ เข้า เปน ต้น.
      ยุ้ง เข้า (543:3.1)
               ฉาง เข้า, คือ เรือน ที่ ใส่ เข้า, เขา ปลูก ขึ้น เปน เปน เรือน สอง ห้อง เปน ต้น ทำ ฝา รอบ ไม่ มี ฝา กั้น ห้อง ขน เข้า ใส่ ไว้ นั้น.
      ยุ้ง เกลือ (543:3.2)
               ฉาง เกลือ, คือ เรือน ที่ ใส่ เกลือ, เขา ปลูก เปน เรือน สอง ห้อง เปน ต้น, เช่น ว่า นั้น สำหรับ ใส่ เกลือ.
เหยง (543:4)
         เหมือน กุ้ง มัน เต้น ขึ้น ฤๅ คน โดด ขึ้น, ว่า เต้น เหยง ๆ โดด เหยง ๆ.
แยง (543:5)
         คือ เอา ไม้ เปน ต้น ทิ่ม แหย่ เข้า ไป ใน ที่ ใด, มี รู ปืน เปน ต้น, เพื่อ จะ ชำ ระ นั้น.
      แยง ดู (543:5.1)
               คือ ทิ่ม แหย่ เข้า ไป ดู นั้น, เช่น คน แยง แย้ ดู นั้น.
      แยง หนู (543:5.2)
               คือ เอา ไม้ แทง ทิ่ม เข้า ไป ที่ ใน รู หนู นั้น.
      แยง มุม (543:5.3)
               คือ เอา ไม้ เปน ต้น, วาง ลง ที่ มุม เรือน เพื่อ จะ วัด ดู กว้าง แล แคบ นั้น.
      แยง แหย่ (543:5.4)
               แหย่ แยง, คือ แยง แล้ว ตำ ๆ เข้า เบา ๆ หลาย ที นั้น.
      แยง แย้ (543:5.5)
               แหย่ แย้, คือ อาการ ที่ คน ตำ ไม้ เข้า ที่ รู แย้ มัน ทำ อยู่ ที่ ดิน นั้น.
      แยง หู (543:5.6)
               แหย่ หู, คือ เอา ไม้ ฤๅ มือ แหย่ เข้า ที่ หู, เพื่อ จะ ให้ หาย คัน นั้น, ว่า แยง หู.
แย่ง (543:6)
         คือ ชิง กัน, คน อยาก ได้ ของ สิ่ง ใด ๆ มี ลูก ท่าน เปน ต้น, เข้า กลุ้ม รุม ชิง กัน นั้น.
      แย่ง กระหนก (543:6.1)
               คือ ลาย ผ้า เปน ต้น, เปน ลาย ก้าน แย่ง เขา ทำ เปน ตัว กระหนก นั้น.
      แย่ง กัน (543:6.2)
               คือ คน ตั้ง แต่ สอง คน เปน ต้น, ต่าง คน อยาก ได้ เข้า กลุ้ม รุม ชิง กัน มาก นั้น.
      แย่ง ของ (543:6.3)
               คือ คน ชิง ของ ที่ เขา เอา มา ถวาย เปน หลวง, เปน แต่ ของ กิน ถวาย นอก พระ ราชวัง นั้น
      แย่ง เงิน (543:6.4)
               คือ คน ชิง เงิน กัน, เหมือน คน เล่น เบี้ย บ่อน มาก เกิด ชิง พลบ กัน ขึ้น นั้น.
      แย่ง ที่ (543:6.5)
               ชิง ที่, คือ ชิง เอา ที่ กัน, เหมือน จะ นั่ง ดู การ เล่น เปน ต้น, ชิง เอา ที่ ร่ม ที่ ดู สะบาย นั้น.
      แย่ง แบ่ง (543:6.6)
               คือ ชิง แล้ว ปัน กัน, เหมือน คน แย่ง ชิง ของ ได้ แล้ว, เขา แบ่ง ปัน กัน ออก นั้น.
      แย่ง มรดก (543:6.7)
               คือ เขา ชิง เอา ของ แห่ง คน ตาย นั้น, เช่น พี่ น้อง ลูก หลาน แย่ง ทรัพย์ มรดก กัน นั้น.
      แย่ง ยื้อ (543:6.8)
               คือ อาการ ที่ คน ฉุด ชัก ชิง ของ กัน, เช่น เจ้า ตลาด ยื้อ แย่ง พวก ลูก ค้า เปน ต้น นั้น.

--- Page 544 ---
      แย่ง รื้อ (544:6.9)
               คือ การ ที่ เขา ชัก เย่อ เปน ต้น นั้น, เช่น คน แย่ง รื้อ เรือน เมื่อ ไฟ ไหม้ เปน ต้น.
      แย่ง ไว้ (544:6.10)
               ชิง ไว้, คือ ชิง ไว้ ฉุด ชัก ไว้, คน ติด เงิน ทอง กัน ทวง ไม่ ได้, ภบ เข้า ต่าง คน ต่าง ฉุด ชิง ไว้.
      แย่ง สพ (544:6.11)
               ชิง สพ, คือ ยื้อ เย่อ สพ กัน, คน พวก มอญ ถ้า สมภาร เจ้า วัด ตาย ลง แล้ว ชิง กัน จะ เอา สพ ไป เผา นั้น.
แย้ง (544:1)
         โต้, คือ ขัด ขวาง กัน ไม่ เหน ตาม กัน, คน หนึ่ง เหน อย่าง หนึ่ง, คน หนึ่ง เหน อย่าง หนึ่ง นั้น.
      แย้ง กัน (544:1.1)
               คือ ไม่ เหน ร่วม กัน ไม่ เหน เหมือน กัน, เช่น ลูก ขุน ตัด สีน เนื้อ ความ แก่ง แย่ง กัน นั้น.
      แย้ง ขึ้น (544:1.2)
               คือ เขา กล่าว คำ ขึ้น ว่า, ที่ ท่าน ว่า อย่าง นั้น ไม่ ถูก, เช่น คน ฟ้อง แย้ง กัน ขึ้น เปน ต้น.
      แย้ง เข้า มา ว่า (544:1.3)
               โต้ เข้า มา ว่า, คือ คำ ตัด สีน ว่า นี้ ถูก แล้ว มี ผู้ หนึ่ง สอด เข้า มา ว่า อย่าง นี้ จึ่ง ถูก, ว่า แย้ง เข้า มา ว่า นั้น.
      แย้ง คำ (544:1.4)
               โต้ คำ, คือ มี ถ้อย คำ แก่งแย่ง กัน ไม่ ถูก ต้อง กัน, ต่าง คน ต่าง ว่า อย่าง นี้ ถูก, อย่าง นี้ ถูก.
โยง (544:2)
         ชัก, คือ ผูก โยง กัน ขึ้น ไว้, เขา เอา เชือก ผูก ข้อมือ ทั้ง สอง ข้าง แล้ว ชัก ขึ้น แขวน ไว้. อย่าง หนึ่ง เหมือน อย่าง ที่ คลอง โยง, เขา ผูก เรือ ติด เนื่อง กัน, ให้ ควาย มัน ลาก ไป นั้น.
      โยง ชัก (544:2.1)
               คือ ผูก โยง ลาก ไป, เขา ผูก เรือ เปน ต้น แล้ว ให้ ควาย มัน ลาก ไป นั้น, ว่า โยง ชัก.
      โยง ตะเภา (544:2.2)
               คือ ผูก เรือ ตะเภา เข้า แล้ว ชัก ไป ด้วย เรือ ลำ อื่น, เพื่อ จะ ให้ มัน ไป ตรง.
      โยง ผูก (544:2.3)
               คือ เขา ผูก เติ่ง ด้วย เชือก ยาว ขึง ไว้, เช่น ผูก โยง ไว้ เปน ต้น นั้น.
      โยง ไป (544:2.4)
               คือ ผูก ของ มี เรือ เปน ต้น ให้ ติด เนื่อง ๆ กัน หลาย ลำ, แล้ว ให้ ควาย ลาก ไป.
      โยง มือ (544:2.5)
               เขา ผูก มือ ทั้ง สอง ข้าง เข้า ด้วย กัน, แล้ว เอา ปลาย เชือก ข้าง หนึ่ง แขวน ขึ้น ไว้ สูง นั้น.
      โยง เรือ (544:2.6)
               เขา เอา เชือก ผูก เรือ แล้ว ลาก ไป บน ฝั่ง นั้น, เขา ลาก เรือ ตาม ทาง โยง เปน ต้น.
      โยง เยง (544:2.7)
               คือ ของ ฤๅ คน สูง นัก, เหมือน เสา กระโดง ปัก อยู่ ที่ เรือ นั้น, ว่า สูง โยง เยง.
      โยง เสา (544:2.8)
               เขา ผูก เสา ชัก ขึ้น ผูก ไว้ สูง นั้น. อนึ่ง เช่น เชือก รยางค์ เสา กระโดง เปน ต้น นั้น.
ย่อง (544:3)
         เดิน เบา ๆ, คือ คน ค่อย ยก ท้าว ก้าว วาง ลง แต่ เบา ๆ นั้น, คน เปน โจร ขะโมย มัน กลัว เจ้า ของ ทรัพย จะ ตื่น, มัน ค่อย ยก ท้าว เช่น นั้น.
      ย่อง เข้า ไป (544:3.1)
               คือ คน ค่อย ยก ท้าว เช่น ว่า, เข้า ไป ใน เรือน เขา, ฤๅ เข้า ไป จะ ยิง เนื้อ เปน ต้น นั้น.
      ย่อง ตอด (544:3.2)
               คือ ค่อย ยก ท้าว ไป เช่น ว่า, เหมือน นกยาง มัน ย่อง เข้า ไป จิก สัตว ตัว เล็ก ๆ, ที่ มัน จับ อยู่ ที่ ตัว โค นั้น.
      ย่อง เบา (544:3.3)
               คือ ย่อง แต่ เบา ๆ กลัว เจ้าของ เรือน จะ ตื่น, ใน เวลา กลาง คืน เมื่อ มัน ขึ้น ขะโมย นั้น.
      ย่อง เยื้อง (544:3.4)
               คือ เขา ยก ท้าว ค่อย วาง ลง แล้ว เบือน ตัว ไป, เช่น คน ย่าง สาม ขุม เข้า แทง หมู ใน ซุ้ม.
      ย่อง เนื้อ (544:3.5)
               คือ ค่อย ย่อง เข้า ไป ยิง เนื้อ, คน เปน พราน ยิง เนื้อ เมื่อ จะ เข้า ไป ให้ ใกล้ ก็ ค่อย ย่อง นั้น.
      ย่อง มอง (544:3.6)
               เขา ยก ท้าว ค่อย วาง ลง แล้ว มุ่ง ดู นั้น, เช่น พวก สอด แนม คอย ฟัง ความ เปน ต้น นั้น.
      ย่อง เอยียบ (544:3.7)
               คือ ค่อย ยก ท้าว เอยียบ ลง ด้วย กลัว เสียง ท้าว จะ ดัง, หวัง จะ ไม่ ให้ คน รู้ นั้น.
หยอง (544:4)
         คือ แหยง แปรง, เหมือน ขน สุนักขจู อยู่ ที่ เรือน หมอ นั้น, ว่า มัน ขน หยอง.
      หยอง เกล้าว (544:4.1)
               คือ อาการ เมื่อ คน ตก ใจ กลัว ไภย แล ขนลุก ขึ้น นั้น, ว่า ขน หัว พอง เปน ต้น*.
หย่อง (544:5)
         เหย่า, คือ ของ สำรับ ใส่ หมาก. อย่าง หนึ่ง ทำ ด้วย ทอง เหลือง รูบ คล้าย กับ ภาร เล็ก ๆ. อย่าง หนึ่ง ว่า คน นั่ง หย่อง, คือ เขา นั่ง ไม่ ราบ, ท้าว ทั้ง สอง เอยียบ พื้น ตั้ง เข่า ไว้.
      หย่อง ๆ ไป (544:5.1)
               คือ เดิน รีบ ไป เร็ว ๆ แต่ ไม่ วิ่ง, เขา ว่า คน นั้น เดิน หย่อง ๆ ไป นั้น.
      หย่อง เช็ด น่า (544:5.2)
               คือ ไม้ ที่ เขา ทำ ลาย ต่าง ๆ, ใส่ รอง รับ เช็ด น่า น่าด่าง นั้น.

--- Page 545 ---
      หย่อง ๆ มา (545:5.3)
               คือ รีบ เดิน ไป เร็ว ๆ มา แต่ ไม่ วิ่ง เปน แต่ ก้าว ถี่ ๆ, เขา ว่า คน นั้น เดิน หย่อง ๆ มา.
      หย่อง ใส่ หมาก (545:5.4)
               เปน ของ รูป เหมือน ถ้วย มี ตีน สำรับ ใส่ หมาก, เขา ทำ ด้วย ทอง เหลือง ทอง ขาว เปน ต้น,
ยวง (545:1)
         คือ สิ่ง ที่ อยู่ ใน ลูก ไม้ เปน ต้น, เหมือน เยื่อ ที่ มัน หุ้ม เมล็ด ขนุน ฤๅ ทุเรียน นั้น.
      ยวง ขนุน (545:1.1)
               คือ เยื่อ ที่ มัน หุ้ม ขนุน อยู่ นั้น, เหมือน เนื้อ ใน สมอ ฝ้าย ก็ เรียก ยวง.
      ยวง ทุเรียน (545:1.2)
               คือ เยื่อ ที่ มัน หุ้ม เมล็ด ทุเรียน อยู่ นั้น, เช่น เนื้อ ใน ลูก นุ่น ก็ เรียก ยวง.
      ยวง ฝ้าย (545:1.3)
               คือ เนื้อ ใน ผล ฝ้าย นั้น, ปุยฝ้าย ที่ เปน ยวง อยู่ เปน ต้น นั้น.
      เยี่ยง (545:1.4)
               อย่าง, คือ อย่าง, ของ สิ่ง ใด สิ่ง หนึ่ง เรียก ว่า อย่าง อัน หนึ่ง, เหมือน ธรรมเนียม หนึ่ง ก็ ว่า อย่าง หนึ่ง.
      เยี่ยง อย่าง (545:1.5)
               คือ ของ เช่น ว่า เปน รูป พรรณ สิ่ง ของ ก็ มี, เปน แต่ อาการ ก็ มี, เรียก เยี่ยง อย่าง.
เยื้อง (545:2)
         คือ ไม่ ตรง กัน, เหมือน คน ทำ ปากไม้ เปน ต้น จะ ให้ ตรง กัน, แต่ มัน ไม่ ใคร่ ตรง กัน เข้า นั้น.
      เยื้อง กราย (545:2.1)
               คือ เขา เดิน เยื้อง ตัว แล กราย แขน ทั้ง สอง นั้น, พวก ขุนนาง เดิน เมื่อ อยู่ บ้าน ของ ตัว เปน ต้น.
      เยื้อง กัน (545:2.2)
               คือ* ของ อยู่ ไม่ ตรง กัน, เหมือน ป้อม นี้ กับ วัต พระเชตุพน ฟาก ข้าง โน้น.
      เยื้อง ย่อง (545:2.3)
               คือ เดิน เบือน ตัว ไป แล ค่อย ก้าว วาง ท้าว ลง เบา, ๆ เช่น นาย เพ็ชฆาฏ เยื้อง ย่อง เข้า ประหาร นักโทษ.
      เยื้อง ยัก (545:2.4)
               คือ ของ มี ปากไม้ เปน ต้น ไม่ ตรง กัน, เขา ว่า มัน เยื้อง ยัก กัน อยู่.
      เยื้อง ย้าย (545:2.5)
               เยื้อง ว่า แล้ว, แต่ ย้าย นั้น คือ ก้าว ท้าว ไป ไม่ ปรกติ แกว่ง ก้น ไป.
      เยื้อง ย่าง (545:2.6)
               คือ ยก ท้าว* ก้าว* ทำ อาการ เหมือน รำ เล่น ละคอน, แกล้ง ทำ ดัด แปลง นั้น.
      เยื้อง ไป (545:2.7)
               คือ ของ ไม่ ตรง กัน เพลี่ยง ไป นั้น.
เหยิง ยุ่ง (545:3)
         คือ ของ ยุ่ง รุง รัง นัก, เช่น* รัง นก กระจาบ เปน ต้น.
ยด (545:4)
         คือ อักษร ตัว ตัน*, มี คน ชื่อ ยด บ้าง, แต่ ประสงค เอา ยศถาศักดิ์ เปน แต่ ชื่อ นั้น.
ยศ (545:5)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ยศถา (545:5.1)
               คือ คน ที่ มี ยศ นั้น, เช่น เจ้า นาย แล ขุนนาง ทั้ง ปวง เปน ต้น นั้น.
      ยศถาศักดิ์ (545:5.2)
               คือ คน ได้ เปน ใหญ่ มี เปน นาย เปน ต้น, ก็ มี สง่า อานุภาพ เปน ที่ ยำเกรง นั้น.
      ยศ อย่าง (545:5.3)
               คือ คน ทำ ตาม อย่าง มี ยศ น้อย แล มาก นั้น, เช่น ข้า ทำ กับ จ้าว บ่าว ทำ กับ นาย เปน ต้น.
      ยศศักดิ์ (545:5.4)
               คือ คน ได้ เปน ที่ ขุนนาง, ท่าน ตั้ง ให้ เปน พระยา ฤๅ พระหลวง ขุน หมื่น นั้น.
หยด (545:6)
         ย้อย, คือ อยาด น้ำ เมื่อ ฝน อยุด แล้ว, ยัง มี อยาด น้ำ ย้อย อยู่ ที่ ชายคา นั้น, ว่า น้ำ หยด.
      หยด ไหล (545:6.1)
               คือ อยาด เม็ด น้ำ ตก ลง ที่ พื้น แล้ว ไหล ไป นั้น.
      หยด ลง (545:6.2)
               คือ อยาด น้ำ ตก ลง นั้น.
      หยด แปะ ๆ (545:6.3)
               คือ อยาด น้ำ เม็ด ใหญ่ หยด ลง มา จาก ที่ สูง ลง ที่ พื้น เสียง มัน ดัง แปะ ๆ นั้น.
      หยด หยาด (545:6.4)
               คือ เม็ด ห้อย อยู่ ที่ ก้น ภาชนะ เมื่อ เขา ตัก น้ำ นั้น.
ยัด (545:7)
         คือ เอา ของ ใส่ เข้า ใน ของ อื่น.
      ยัด กัน (545:7.1)
               เหมือน เขา มา มาก หลาย คน เบียด เสียด กัน น ก* นั้น, ว่า มา ยัด กัน
      ยัด กะเภาะ (545:7.2)
               คือ การ ที่ เขา เอา ของ ยัด เข้า ใน กะเภาะ, เช่น เอา นุ่น ยัด เข้า ใน ผ้า หมอน เปน ต้น.
      ยัด เข้า (545:7.3)
               คือ เอา เข้า ใส่ ใน รู ไม้ จะ ทำ เข้า หลาม นั้น. อนึ่ง คน ยัด หมอน เปน ต้น.
      ยัด ปืน (545:7.4)
               คือ การ ที่ เขา เอา ดิน ใส่ ใน ลำกล้อง ปืน, แล้ว เอา ไม้ แยง เข้า ไป นั้น, เช่น ทหาร ยัด ปืน เปน ต้น.
      ยัด แพ (545:7.5)
               คือ* การ ที่ คน เอา ไม้ ไผ่ มา แล้ว เอา ไม้ เก่า ที่ รอง แพ ออก เสีย, เอา ไม้ ใหม่ ใส่ ไว้ แทน นั้น.
      ยัด ฟูก (545:7.6)
               คือ เอา นุ่น ฤๅ ขน สัต ใส่ เข้า ใน ผ้า ที่ เย็บ ไว้ เปน ที่ สำรับ รอง นอน นั้น.
      ยัด หมอน (545:7.7)
               คือ เอา นุ่น ฤๅ ขน สัตว ใส่ เข้า ใน ผ้า ที่ เย็บ ไว้ เปน ที่ สำรับ รอง ศีศะ นอน นั้น.
      ยัด เยียด (545:7.8)
               คือ คน เบียด เสียด แอ อัด กัน มาก หลาย คน นั้น, เขา ว่า ยัด เยียด กัน.
      ยัด รู (545:7.9)
               คือ การ ที่ เอา ของ เท ใส่ ใน รู, แล้ว เอา ไม้ แยง อัด เข้า ไป นั้น.

--- Page 546 ---
      ยัด ห่า (546:7.10)
               คือ การ ที่ คน กิน ของ มาก เกิน ประมาณ กว่า ปรกติ, เขา ว่า กิน เปน ยัด ห่า.
หยัด (546:1)
         คือ หยด, เช่น น้ำ ที่ เปน เม็ด หยด หนึ่ง นั้น, ว่า น้ำ หยัด หนึ่ง นั้น.
      หยัด ไหล (546:1.1)
               คือ หยด ไหล นั้น, เช่น คน ทำ กระบอก น้ำ หยัด ให้ ไหล รด กิ่ง ไม้ ที่ ตอน เปน ต้น นั้น.
      หยัด หยด (546:1.2)
               คือ เม็ด น้ำ เช่น ว่า หยด ย้อย ลง นั้น, น้ำค้าง ที่ หยัด หยด จาก ใบไม้ เปน ต้น.
      หยัด หยาด (546:1.3)
               คือ หยัด น้ำ ที่ หยด ย้อย ที่ หิน ตรอง น้ำ เปน ต้น.
ยาตรา (546:2)
         คือ ไป, เปน คำ ตาม ตำรา ว่า, ถ้า ไป ได้ ฤกษ นั้น แล้ว ไป ดี ไม่ มี อันตราย นั้น.
      ยาตรา พยุหะ (546:2.1)
               คือ ยก พล ทหาร ออก เดิน, คน เดิน ขบวน แห่ หยุห์ ยาตรา* เปน ต้น.
      ยาตรา พระราม (546:2.2)
               เปน ชื่อ ฤกษ สำรับ ไป ไหน ๆ นั้น, คือ เขา ถือ เปน ตำรา มา ว่า พระราม ยาตรา นั้น, เปน ฤกษ ดี เปน ต้น.
หยาด (546:3)
         คือ หยด, เหมือน น้ำ ย้อย ลง หยด หนึ่ง ฤๅ หยัด หนึ่ง นั้น. ว่า น้ำ หยาด หนึ่ง.
      หยาด น้ำ (546:3.1)
               คือ หยด ฤๅ หยัด น้ำ, เขา เรียก ว่า หยาด น้ำ ก็ ได้ ด้วย น้ำ ย้อย เปน เม็ด นั้น.
      หยาด ฝน (546:3.2)
               คือ หยด น้ำ ฝน ที่ ตก ลง ติด ห้อย ที่ ปลาย ใบ จาก ที่ ชาย คา นั้น, เรียก หยาด ฝน.
      หยาด น้ำค้าง (546:3.3)
               คือ หยด น้ำค้าง ที่ ลง ติด อยู่ ที่ ปลาย ใบไม้ แล ใบ หญ้า นั้น.
      หยาด ฟ้า (546:3.4)
               คือ หยด ลง จาก ฟ้า, เขา เหน ของ ฤๅ คน ที่ งาม นัก นั้น, เขา พูด ว่า ราว กับ หยาด ฟ้า.
ยึด (546:4)
         จับ, ถือ, คือ จับ ถือ ไว้, คน จับ ถือ สิ่ง อัน ใด ไว้, ว่า เขา ยึด สิ่ง นั้น ไว้.
      ยึด ตัว ไว้ (546:4.1)
               จับ ตัว ไว้, กุม ตัว ไว้, คือ จับ ถือ ตัว คน ฤๅ สัตว ไว้, เหมือน เขา อู้ม กัน ฤๅ อู้ม ลูก เปน ต้น
      ยึด ผ้า (546:4.2)
               กุม ผ้า, จับ ผ้า, คือ จับ ถือ ผ้า ไว้, คน ถือ ผ้า ฉุด ชัก ไว้, ฤๅ ถือ ห่อ ผ้า ของ นาย เปน ต้น.
      ยึด มือ (546:4.3)
               จับ มือ, กุม มือ, คือ จับ ถือ มือ ไว้, บาง ที จับ ถือ มือ ของ ตัว, บาง ที จับ ถือ มือ คน อื่น ไว้.
      ยึด หน่วง (546:4.4)
               จับ หน่วง, กุม เหนี่ยว, คือ จับ ถือ สิ่ง อัน ใด, * แล้ว ไม่ วาง ถือ หน่วง ชัก ไว้.
      ยึด ราว (546:4.5)
               คือ จับ ถือ ไม้ ฤๅ เชือก ที่ เขา ผูก ไว้ ที่ ตะพาน เปน ต้น นั้น.
      ยึด ไว้ (546:4.6)
               คือ จับ ถือ ของ อัน ใด ได้ แล้ว ไม่ วาง ฉุด ถือ ไว้ นั้น.
      ยึด เอา (546:4.7)
               คือ จับ ถือ ของ อัน ใด ได้ ไม่ วาง ทำ ไว้ เปน ของ ๆ ตัว นั้น.
ยืด (546:5)
         ยาว, นาน, คือ ยาว เหมือน ของ มี เชือก เปน ต้น, ว่า ของ นั้น เปน ยืด ไป.
      ยืด การ (546:5.1)
               เนิน การ, นาน การ, คือ เนิ่น นาน การ ไม่ รู้ แล้ว ว่า ยืด การ นั้น.
      ยืด ความ (546:5.2)
               ยาว ความ, คือ ถอย ความ อัน ใด ว่า กัน ที หนึ่ง แล้ว, ไม่ แล้ว กัน ต้อง ว่า อีก นั้น, ว่า ยืด ความ.
      ยืด ยาว (546:5.3)
               คือ หน ทาง ไกล ฤๅ กาล ละ เวลา นาน นั้น, เขา ก็ ว่า ยืด ยาว, เปน ความ เปรียบ เหมือน เชือก ยาว.
      ยืด ยืน (546:5.4)
               คือ ยืน นาน ยืน ยาว นั้น, คน คบ หา กัน ยืด ยืน นาน เปน ต้น นั้น.
ยุทธ์ (546:6)
         ฯ คือ สู้ รบ กัน, คน สอง ฝ่าย เช่น กอง ทัพ สอง ข้าง เปน ฆ่าศึก สัตรู มา สู้ รบ กัน นั้น.
      ยุทธนาการ (546:6.1)
               ฯ คือ อาการ รบ พุ่ง กัน นั้น, พวก กอง ทัพ ทำ สงคราม กัน เปน ต้น นั้น.
      ยุติกาล (546:6.2)
               ฯ แปล ว่า กาล อัน ควร ฤๅ เวลา อัน สมควร, คือ เวลา ไม่ เร็ว นัก ไม่ มาก นัก นั้น.
      ยุทธภูม (546:6.3)
               ฯ คือ ที่ สำรับ รบ กัน นั้น, พื้น ที่ สนาม รบ ทั้ง ปวง เปน ต้น นั้น.
      ยุด หน่วง (546:6.4)
               คือ จับ ถือ ฉุด ไว้ ไม่ วาง, คน เขา จับ ถือ สิ่ง อัน ใด ไว้ ไม่ ละ วาง นั้น, ว่า ยุด หน่วง.
      ยุติธรรม (546:6.5)
               ฯ คือ เปน ธรรม อัน ควร นั้น, มี ความ ชอบ ทั้ง ปวง ที่ ท่าน ผู้ รู้ กล่าว ดี กล่าว ควร เปน ต้น.
หยุด (546:7)
         ยั้ง, งด, คือ ไม่ ทำ การ ฤๅ ไม่ เดิน เปน ต้น, ว่า หยุด, เขา ทำ การ ยัง ไม่ แล้ว ละ การ นั้น ลง นั่ง นอน เสีย นั้น.
      หยุด การ (546:7.1)
               ยั้ง การ, งด การ, คือ ไม่ ทำ การ ละ วาง การ เสีย, เขา ทำ การ ยัง ไม่ สำเร็จ ละการ ลง นั่ง เสีย.

--- Page 547 ---
      หยุด กิน (547:7.2)
               ยั้ง กิน, งด กิน, คือ กิน อาหาร อยู่ ยัง ไม่ อิ่ม ก็ ละ เว้น เสีย ไม่ กิน, นิ่ง อยู่ นั้น, ว่า หยุด กิน.
      หยุด เกณฑ (547:7.3)
               คือ เขา เกณฑ ราชการ * อัน ใด อัน หนึ่ง เส็จ แล้ว, เขา หยุด เกณฑ เสีย.
      หยุด ก่อน (547:7.4)
               คือ อยุด ลง ก่อน คน, ๆ ทำ การ เปน ต้น, เขา ยัง ทำ ไม่ หยุด, คน นั้น หยุด ลง
      หยุด เกวียน (547:7.5)
               ยั้ง เกวียน, ภัก เกวียน, คือ เขา ปลง เกวียน เหมือน คน เข็น ของ ด้วย เกวียน, บาง ที ยัง ไม่ ถึง ที่ ก็ ปลง เกวียน ภัก โค ไว้.
      หยุด งาน (547:7.6)
               คือ ภัก การ งาน ที่ ทำ มา, คน กระทำ งาน อัน ใด เหนื่อย แล ภัก หยุด อยู่ ว่า หยุด งาน.
      หยุด ช้า (547:7.7)
               ยั้ง ช้า, ภัก ช้า, คือ ภัก ช้า, เหมือน ทำ การ งาน อัน ใด, ครั้น เหนื่อย ก็ ภัก อยู่ นาน ว่า หยุด ช้า.
      หยุด นิ่ง (547:7.8)
               ยั้ง นิ่ง, ภัก นิ่ง, คือ ทำ การ อัน ใด อยู่, ครั้น เหนื่อย ก็ หยุด นิ่ง ไม่ ทำ นั้น.
      หยุด นั่ง (547:7.9)
               ยั้ง นั่ง, ภัก นั่ง, คือ เดิน ฤๅ ยืน เปน ต้น, ครั้น เหนื่อย ก็ หยุด ลง นั่ง นั้น.
      หยุด นอน (547:7.10)
               ยั้ง นอน, ประทับ นอน, คือ หยุด แล้ว เอน ตัว ลง กับ พื้น นั้น.
      หยุด บ้าน (547:7.11)
               คือ ไป หน ทาง ถึง บ้าน ใด ๆ, ก็ แวะ เข้า อา ไศรย ภัก อยู่ นั้น.
      หยุด บ่อย (547:7.12)
               ประทับ บ่อย, ยั้ง บ่อย, คือ คน ทำ การ เปน ต้น, หยุด บัด เดี๋ยว ๆ นั้น, ว่า คน นั้น หยุด บ่อย.
      หยุด ภัก (547:7.13)
               คือ หยุด หาย เหนื่อย หน หนึ่ง, คน ทำ งาน การ แล หยุด จน หาย เหนื่อย นั้น, ว่า หยุด ภัก หนึ่ง.
      หยุด ยั้ง (547:7.14)
               คือ หยุด ไว้ ที่ หนึ่ง, ยัง จะ ไป อีก เปน ต้น.
      หยุด ร่ม (547:7.15)
               ประทับ ร่ม, คือ หยุด ใน ร่ม, มี ร่ม ไม้ เปน ต้น, คน เดิน ทาง แดด ร้อน แล เข้า หยุด ร่ม.
      อยุด แล้ว (547:7.16)
               ประทับ แล้ว, คือ ไม้ ไป ฤๅ ใม่ ไหล เปน ต้น, คน เดิน ไป แล ไม่ เดิน ไป, น้ำ ไหล เข้า เรือ แล ไม่ ไหล เข้า นั้น.
      อยุด ไว้ (547:7.17)
               งด ไว้, ยั้ง ไว้, คือ งด ไว้, เหมือน สอน ให้ เด็ก เปน ต้น อ่าน หนังสือ, ครั้น ถึง กำหนด เวลา งด ไว้.
      อยุด สบาย (547:7.18)
               ยั้ง สบาย, คือ เดิน ไป นาน ฤๅ ทำ การ นาน นัก แล้ว ก็ ลง นั่ง นอน เสีย ไม่ ทำ การ, จน ค่อย หาย เหนื่อย เมื่อย ล้า นั้น.
      อยุด หาย เหนื่อย (547:7.19)
               ยั้ง ภอ หาย เหนื่อย, คือ เดิน ทาง ฤๅ ทำ การ อัน ใด อัน หนึ่ง นาน นัก, แล้ว ลง นั่ง นอน เสีย จน สิ้น เหนื่อย นั้น.
      อยุด เอน หลัง (547:7.20)
               ยั้ง เอน หลัง, คือ งด การ งาน เปน ต้น, แล้ว ทำ ตัว ให้ ทอด ลง กับ พื้น เพื่อ ศุข นั้น
เย็ด (547:1)
         เอา กัน, คือ อาการ ที่ ชาย หญิง ร่วม สังวาศ กัน นั้น.
โยชน์* (547:2)
         คือ ที่ ไกล วัด ได้ สี่ ร้อย เส้น, เขา นับ สิบสอง นิ้ว เปน คืบ, สอง คืบ เปน ศอก, สี่ ศอก เปน วา, ยี่ สิบ วา เปน เส้น, สี่ร้อย เส้น เปน โยชน์.
ยอด (547:3)
         ที่ สุด, เลิศ, คือ ที่ สุด ปลาย ต้นไม้ เปน ต้น, ถึง เปน ของ อื่น เขา ก็ เรียก ยอด บ้าง เพราะ ดี เลิศ.
      ยอด เขา (547:3.1)
               จอม เขา, ที่ สุด เขา, คือ ที่ สุด ปลาย จอม เขา, เขา เรียก ว่า ยอด เพราะ เปน ที่ สุด, ไม่ มี ต่อ ไป อีก นั้น.
      ยอด คน (547:3.2)
               อัคบุคคล, คน ดี ที่ สุด, คือ คน ดี ที่ สุด ไม่ มี ใคร เสมอ ด้วย คุณ ดี มี ศีล คุณ เปน ต้น นั้น ว่า ยอด คน.
      ยอด นพสูญ (547:3.3)
               คือ ที่ สุด ปลาย พระเจดีย ฤๅ มรรฎบ เปน ต้น เรียก ยอด นพสูญ.
      ยอด ไม้ (547:3.4)
               ปลาย ไม้, ที่ สุด ไม้, คือ ที่ สุด ปลาย ไม้, คนพูด ว่า ขึ้น เขา ขึ้น ต้น ไม้ สุด ยอด, คือ คน ได้ เปน ขุนหลวง เปน ต้น.
      ยอด เสา กระโดง (547:3.5)
               คือ ที่ สุด ปลาย เสา กระโดง.
หยอด (547:4)
         ใส่ ลง, หยด ลง, คือ เอา ของ มี น้ำ เปน ต้น แต่ ช้อน น้อย ๆ ค่อย เท ลง ใน ปาก คน ป่วย หนัก นั้น.
      หยอด เข้า (547:4.1)
               คือ เอา เข้า ต้ม เปน ต้น, ค่อย เท ลง ใน ปาก คน ป่วย หนัก ที่ ตัก กิน เอง ไม่ ได้ นั้น.
      หยอด ฅอ (547:4.2)
               คือ เอา น้ำ หยด ลง ใน ปาก ถึง ฅอ นั้น, คน เอา เข้า แล น้ำ หยอด ลง ไป ใน ฅอ เปน ต้น.
      หยอด น้ำ (547:4.3)
               คือ เอา น้ำ แต่ ช้อน น้อย ๆ, ค่อย ริน เท ลง ใน ปาก คน ป่วย หนัก นั้น.
      หยอด ยา (547:4.4)
               คือ เอา ยา หยด ลง ที่ แผล เปน ต้น นั้น, คน หยอด ยา ตา เปน ต้น นั้น.

--- Page 548 ---
      หยอด หู (548:4.5)
               หยด ลง ที่ หู, ใส่ ลง ใน หู, คือ เอา ยา สำรับ รักษา หู, เอา สำลี ชูบ ให้ อิ่น* น้ำ ยา แล้ว บีบ ใส่ ลง ใน รู หู นั้น.
ยวด (548:1)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ยวด ยิ่ง (548:1.1)
               คือ ของ ฤๅ คน เปน ต้น, เปน เอก นัก ไม่ ใคร่ จะ มี* ผู้ ใด สู้ เสมอ ได้ นั้น.
      ยวด ยง (548:1.2)
               คือ คน ยง นัก มัก ขะโมย เปน ต้น. หนึ่ง เปน คน มี ฝีมือ ยิ่ง ยง ทหาร เอก เปน ต้น.
      ยวด ยาน (548:1.3)
               บท นี้ ยวด เปน คำ สร้อย, แต่ ยาน คือ ของ สำรับ ขี่ ไป ทาง น้ำ ทาง บก นั้น, ว่า ยาน.
เยียด (548:2)
         เบียด, ยัด, คือ เบียด สี, คน มา มาก เหมือน ครั้ง พระเยซู รักษา คน โรค ต่าง ๆ นั้น, ว่า ยัด เยียด กัน.
      เยียด ยัด (548:2.1)
               เบียด ยัด, อัดแอ, คือ เบียด เสียด แสรก กัน แน่น อัด, มา มาก คับ คั่ง กัน จน หลีก กัน ไม่ ได้ นั้น.
เอยียด (548:3)
         ทำ ให้ ตรง, คือ ทำ มือ ฤๅ แขน ฤๅ ท้าว ที่ หด งอ คู้ อยู่ ให้ ตรง ออก โดย ยาว นั้น, ว่า เอยียด.
      เอยียด กาย (548:3.1)
               นอน ตัว ตรง, ยืด กาย, คือ ทำ ตัว ให้ เอน ทอด ยาว คือ นอน ลง นั้น.
      เอยียด ขา (548:3.2)
               ยืด ขา, คือ ทำ ขา ที่ งอ คู้ อยู่ ให้ ออก ไป ยาว นั้น
      เอยียด แข้ง (548:3.3)
               ยืด แข้ง, คือ ทำ ให้ แข้ง ที่ คู้ อยู่ ให้ ทอด ยาว ออก นั้น.
      เอยียด ท้าว (548:3.4)
               คือ ทำ ขา ให้ ตรง ทอด ยาว ออก นั้น, เดิม ขา คู้ อยู่ แล คน ทำ ให้ มัน ซื่อ ออก นั้น.
      เอยียด เบง คง เบง (548:3.5)
               เขา ทำ วิธี เลข คูณ หาร. อย่าง หนึ่ง ทำ เลข ห้า คง เปน เลข ห้า.
      เอยียด มือ (548:3.6)
               คือ ทำ แขน กับ ทั้ง มือ ให้ ซื่อ ตรง ออก ไป นั้น.
      เอยียด ออก (548:3.7)
               คือ ทำ สิ่ง ของ ที่ คู้ อยู่ ให้ เอยียด ตรง ออก ไป นั้น, เช่น เอยียด แขน ออก เปน ต้น.
ยน (548:4)
         แยบ, นี้ เปน อักษร ตัว ต้น, ไม่ มี ความ อัน ใด, ต่อ เปลี่ยน ตัว สกด จึ่ง มี ความ.
ยนต์ (548:5)
         กล, ไก, คือ รูป หุ่น มี สาย ยนต์, ครั้น คน จับ ชัก* เข้า แล รูป นั้น ทำ อาการ ต่าง ๆ, มี พยัก หน้า เปน ต้น.
ยล (548:6)
         เหน, แล ดู, คือ เหน, คน แล เหน ว่า คน ยล, แต่ ไม่ ใคร่ ใช้ พูด จา เปน แต่ คำ แต่ง หนังสือ ชุม.
ย่น (548:7)
         ย่อ, คือ ย่อ, คน ทำ ผ้า แพร ด้วย ไหม ทำ ให้ เส้น มัน ย่อ เข้า ไม่ ให้ คลี่ อยู่ นั้น.
      ย่น เหตุ (548:7.1)
               ย่อ เหตุ, คือ ย่น เหตุ ให้ สั้น เข้า, เหมือน เหตุ บังเกิด ขึ้น ตัด รอน เสีย นั้น.
      ย่น ความ (548:7.2)
               ย่อ ความ, คือ ทำ ความ ให้ สั้น, เดิม ความ ยืด ยาว มาก มาย แล้ว เขา ตัด ให้ สั้น เข้า นั้น.
      ย่น เข้า. ย่อ เข้า (548:7.3)
               คือ ทำ ความ ที่ ยาว ให้ น้อย เข้า ฤๅ ตัด ร่น ย่น ย่อ เข้า, ว่า ย่น เข้า.
      ย่น คน (548:7.4)
               ย่อ คน, คือ ทำ คน ที่ อยู่ ยืด ยาว ให้ สั้น เข้า, เดิม คน มาก เดิน ยืด ยาว แล ทำ ให้ สั้น นั้น.
      ย่น งาน (548:7.5)
               ย่อ งาน, คือ ทำ งาน การ ให้ น้อย เข้า, เดิม กำ หนด งาน ไว้ มาก, ภาย หลัง กำหนด ให้ น้อย เข้า.
      ย่น ทาง (548:7.6)
               คือ ทำ หน ทาง ที่ ไกล ยืด ยาว ให้ ใกล้ เข้า, เดิม ทาง อ้อม ไป ไกล แล ทำ ให้ ใกล้ นั้น.
      ย่น มรรคา (548:7.7)
               ย่อ ทาง, คือ ทำ หน ทาง ที่ ไกล ให้ ใกล้ เข้า นั้น, ตัด ทาง อ้อม ให้ ตรง เปน ต้น นั้น.
      ย่น ย่อ (548:7.8)
               ย่อ ย่น, คือ ย่น ท้อ, คน ทำ ของ มี ยัด ดอกไม้ เทียน เปน ต้น, ทำ ไม่ ดี มัน ก็ ย่น ท้อ ไป นั้น.
      ย่น หนัง ไก่ (548:7.9)
               แพร ย่น, คือ ผ้า แพร จีน ย่น เหมือน หนังไก่, คือ ไม่ ย่น นัก เหมือน แพร ย่น แท้ นั้น.
      ย่น หลัง ซ้น หลัง (548:7.10)
               ย่อ หลัง, คือ* ย่อ หลัง เข้า, เดิม หลัง ตรง ฃื่อ* ดี อยู่, ครั้น มา ตก ลง จาก ที่ สูง ก้น กะแทก ลง กับ พื้น หลัง ย่น เข้า นั้น.
      ย่น องค์ (548:7.11)
               ย่อ ตัว, คือ ย่อ ตัว เข้า, เดิม ตัว ซื่อ ตรง งาม มา ภาย หลัง ก็ กลัว จะ เสมอ กับ พระเจ้า, ท่าน ย่อ องค์ ท่าน ให้ ต่ำ เสีย.
      ย่น ไว้ (548:7.12)
               ย่อ ไว้, คือ คน ทำ ของ มี ด้าย เปน ต้น ให้ ย่น ไว้, เพื่อ จะ จับ เปน มงคล ใส่ ให้ ตัว เจริญ นั้น.
ยัน (548:8)
         เมา, คือ เมา หมาก, คน กิน หมาก ที่ ยัน มี อาการ เหมือน เมา, คล้าย กับ เปน ลม นั้น.
      ยัญ (548:8.1)
               นี่ อธิบาย ว่า ยัญ ของ คน ทำ ด้วย* วิชา ประกอบ อักษร มาก เลข บ้าง, ว่า กรร ปิศาจ เปน ต้น นั้น.
      ยัน หมาก (548:8.2)
               เมา หมาก, คือ เมา หมาก, คน กิน หมาก ที่ ยัน มี อาการ คล้าย กับ เมา แล เปน ลม นั้น.

--- Page 549 ---
      ยัน เอา (549:8.3)
               ยืน ยัน เอา, คือ คน เอา ท้าว ฤๅ ไม้ เปน ต้น ค้ำ ลง ที่ พื้น เพื่อ จะ ฝืน ตัว ไว้ ไม่ ให้ ล้ม ซวน. อย่าง หนึ่ง คน ผู้ หนึ่ง ทำ ความ ผิด, มี ลัก ของ เปน ต้น เขา ถาม ไม่ รับ, ผู้ เหน ว่า เอา ไป ข้า ได้ เหน, เช่น นั้น ก็ ว่า ยัน เอา.
ยั่น (549:1)
         คือ ธ้อ ถอย ไม่ ใคร่ สู้ รบ, เหมือน คน จะ สู้ รบ กัน แล มี ใจ พรั่น คั่น* คร้าม กลัว อยู่ นั้น.
      ยั่น เต็ม ที (549:1.1)
               คือ ขยั้น กลัว นัก นั้น, คน อ่อน คน ขลาด, ให้ ครั้น คร้าม ฆ่า ศึก เต็ม ที เปน ต้น
      ยั่น ความ (549:1.2)
               คือ พรั่น เกรง ความ อัน ใด อัน หนึ่ง, กลัว เขา จะ ฟ้อง ว่า กล่าว ขึ้น จะ สู้ ไม่ ได้.
      ยั่น อยู่ (549:1.3)
               คือ ธ้อ ใจ อยู่ นั้น, คน ใจ ขลาด ออก ทำ การ สงคราม ให้ หด ห่อ ธ้อ ถอย เปน ต้น นั้น.
ยาน (549:2)
         หย่อน, ห้อย, คือ ของ ห้อย เลื้อย ลง ต่ำ, เหมือน นม หญิง เมื่อ ยัง สาว เต่ง ตั้ง อยู่ ดี, ครั้น แก่ ชะรา มี ผัว มี บุตร นม ก็ ลด เคลื่อน ลง จาก ที่ ถาน ห้อย ลง นั้น.
      ยาน คล้อย (549:2.1)
               คือ เคลื่อน ลด ลง จาก ที่ เดิม, เหมือน นม หญิง ที่ มี ผัว มี ลูก นม ก็ ลด ลง ห้อย อยู่ นั้น.
      ยาน โตงเตง (549:2.2)
               คือ ของ มี นม หญิง เปน ต้น, ลด ลง ห้อย อยู่ ทั้ง คู่, ว่า นม ยาน โตงเตง อยู่ นั้น.
      ยาน เทิบ ทาบ (549:2.3)
               คือ หย่อน ลง ทอด ทาบ อยู่, เชือก สาย ระ ยาง หย่อน ยาน เทิบ ทาบ อยู่ เปน ต้น.
      ยานุ มาศ (549:2.4)
               คานหาม ทอง, เปน* ชื่อ พระที่นั่ง สำรับ กระษัตริย์ ทรง เสด็จ โดย ทาง บก, มี คาน สอง ข้าง นั้น.
ย่าน (549:3)
         คือ ของ ที่ ตรง ยาว, เหมือน ย่าน ต้นไม้ ไทร ยาว สอง ศอก สาม ศอก เปน เหมือน ราก แต่ มัน อยู่ บน ดิน.
      ย่าน กว้าง (549:3.1)
               คือ ที่ เปน ที่ ระวาง ไกล ยาว นั้น, คำ ว่า ย่าน กว้าง ทาง ไกล เปน ต้น นั้น.
      ย่าน กลาง (549:3.2)
               คือ ที่ เปน ระวาง อยู่ ท่ำ กลาง นั้น, คำ พูด ว่า ตอน กลาง เปน ต้น นั้น.
      ย่าน ซื่อ (549:3.3)
               คือ หน ทาง ที่ ตรง ไป ไกล, เหมือน แม่น้ำ ที่ ตรง ไป ไม่ คด นั้น, เรียก ว่า ย่าน ซื่อ.
      ย่าน ไทร (549:3.4)
               คือ ของ ที่ ออก มา จาก ต้นไม้ ไทร ยืน ยาว ลง มา ดู คล้าย กับ ราก, เรียก ว่า ย่าน ไทร.
      ย่าน บ้าน (549:3.5)
               คือ ที่ มี เรือน แล บ้าน เปน แถว ติด เนื่อง กัน ไป พวก หนึ่ง นั้น.
      ย่าน น้ำ (549:3.6)
               แถว น้ำ, คือ ที่ ตรง ยืด ยาว ไป ใน แม่น้ำ, ที่ แห่ง หนึ่ง แห่ง ใด นั้น, เรียก ว่า ย่าน น้ำ.
      ย่าน ยาว (549:3.7)
               แถว ยาว, คือ ที่ แม่น้ำ เปน ต้น, ที่ มัน ตรง ยืน ยาว ไป ไกล นั้น.
ยิน (549:4)
         ฟัง, คือ สำเนียง เข้า ใน หู คน ได้ ฟัง. อย่าง หนึ่ง เปน จะ ง้อย เขา ทำ ไว้ ที่ ฃอ สำรับ เกี่ยว หัว ช้าง นั้น.
      ยินดี (549:4.1)
               คือ ความ ชื่น ชม อิ่ม ใจ, เหมือน ปราฐนา อัน ใด แล ได้ สม ความ ปราฐนา, มี ความ ชื่น ชม.
      ยิน ร้าย (549:4.2)
               คือ ความ เสีย น้ำใจ, คน ได้ ยิน ข่าว เปน ที่ ขัด เคือง ใจ แล เกิด ความ โทรมนัศ.
      ยิน ลาภ ขาก ดี (549:4.3)
               คือ ความ ชื่น ชม, เพราะ ได้ ทรัพย สิ่ง ของ* ทอง เงิน เปน ต้น นั้น.
ยืน (549:5)
         ตั้ง, คือ คน ทำ ท้าว ทั้ง สอง ให้ เอยียบ ยัน อยู่ กับ พื้น ไม่ ยก ท้าว ก้าว ไป อื่น นั้น.
      ยืน กีด (549:5.1)
               ตั้ง กีด, คือ คน ทำ ท้าว ทั้ง สอง ให้ อยู่ กับ ที่ เดียว, กั้น เสีย มิ ให้ ใคร เดิน ไป ได้ นั้น.
      ยืน กั้น ไว้ (549:5.2)
               ตั้ง กั้น ไว้, คือ คน ไม่ ยก ท้าว ก้าว ไป อื่น, ทำ ให้ ท้าว ตั้ง อยู่ ใน ที่ เดียว, ตัด มิ ให้ เดิน ได้ นั้น.
      ยืน กิน (549:5.3)
               คือ ทำ ท้าว ให้ อยู่ กับ ที่ เดียว แล กิน อาหาร ด้วย อย่าง หนึ่ง คน เล่น โป ฤๅ ถั่ว เปน ต้น, มัน ออก ซ้ำ ที่ แห่ง เดียว อีก สอง หน เปน ต้น นั้น.
      ยืน* ขึ้น (549:5.4)
               คือ เอา ท้าว ทั้ง สอง ให้ มัน เอยียบ กับ พื้น ขึ้น นั้น.
      ยืน ฉะง้ำ (549:5.5)
               ตั้ง ฉะง้ำ, คือ ยืน เงื้อม เข้า มา สูง ที่ คน นั่ง อยู่, ฤๅ นอน อยู่ ที่ ต่ำ เปน ต้น นั้น.
      ยืน ฉะโงก (549:5.6)
               ตั้ง ฉะโงก, คือ ยืน ง้ำ ที่ น่าต่าง ฤๅ ประตู เปน ต้น นั้น.
      ยืน ฉะเง้อ (549:5.7)
               ตั้ง ฉะเง้อ, คือ ยืน ทำ ฅอ ให้ สูง ขึ้น, เช่น คน ยืน อยู่ พื้น ต่ำ แล จะ ใคร่ ดู ของ อยู่ ที่ สูง, ยืน ส่ง ฅอ ขึ้น ให้ สูง นั้น.
      ยืน ฉะแง้ (549:5.8)
               ตั้ง ฉะแง้, คือ ยืน แล เบือน หน้า ตา ดู ของ ที่ อยู่ เบือน ไป เบื้อง หลัง นั้น.

--- Page 550 ---
      ยืน ฉะงัก (550:5.9)
               ตั้ง ฉะงัก, คือ ยืน ผงะ อยู่, เหมือน คน เดิน ไป ถึง ที่ เปน ฝั่ง ฤๅ เหว ฦก กลัว จะ ตก, ยืน ผงะ อยู่ นั้น.
      ยืน แขง (550:5.10)
               คือ รูป คน ที่ เขา ปั้น, ฤๅ รูป ที่ ต้อง สราบ ที่ ตาย แล้ว, แล ยืน แขง อยู่ ไม่ ไป ได้ นั้น.
      ยืน ขึง (550:5.11)
               คือ ยืน นิ่ง บึ้ง อยู่ นั้น. อนึ่ง ตัว หนัง ที่ ยืน ขึง อยู่ กับ จอ เปน ต้น.
      ยืน คำ (550:5.12)
               คือ กล่าว คำ เปน คำ เดียว, เขา ถาม เนื้อ ความ ผู้ ร้าย* เปน ต้น, ให้ การ กล่าว อยู่ คำ เดียว นั้น.
      ยืน เขย่ง (550:5.13)
               คือ ยืน เอา ปลาย ท้าว ปัก ลง อยู่ ไม่ ปรกติ นั้น, คน เตี้ย ยืน เขย่ง ให้ สูง ขึ้น เปน ต้น.
      ยืน ดู (550:5.14)
               คือ ยืน แล, ฤๅ ยืน มอง, คน ไป ดู การ มะโหระสพ มี ละคอน เปน ต้น, แล ยืน มอง นั้น.
      ยืน หน้า (550:5.15)
               ตั้ง หน้า, คือ ทำ หน้า ให้ ส่ง ขึ้น แล เหน, เหมือน คน ยืน อยู่ พื้น ล่าง แล ส่ง หน้า ขึ้น ไป บน นั้น.
      ยืน เฝ้า (550:5.16)
               ตั้ง เฝ้า, คือ ยืน คอย ดู ของ อัน ใด ๆ มี เข้า เปน ต้น เหมือน ยืน คอย ดู เข้า ใน นา กลัว สัตว จะ กิน นั้น.
      ยืน ฟัง (550:5.17)
               ตั้ง ฟัง, คือ ยืน สดับนิ์ สำเนืยง* เสียง อัน ใด อัน หนึ่ง มี เสียง หีบ เพลง เปน ต้น, ว่า ยืน ฟัง.
      ยืน แฝง (550:5.18)
               ตั้ง แฝง, คือ ยืน แอบ ยืน มี ของ บัง ตัว อยู่, คน จะ ซ่อน ตัว มิ ให้ ใคร เหน, แล ยืน ใน ที่ มี ของ บัง นั้น.
      ยืน ม้า (550:5.19)
               คือ ขี่ ม้า แล้ว ชัก ให้ มัน ยืน อยู่ ที่ เดียว, มิ ให้ มัน เดิน ต่อ ไป ที่ อื่น ได้ นั้น, ว่า ยืน ม้า.
      ยืน ยั้ง (550:5.20)
               คือ ยืน อยุด อยู่ ที่ หนึ่ง ก่อน นั้น, คน ยืน ยั้ง อยุด คอย ฟัง เหตุ ผล ต่าง ๆ เปน ต้น นั้น.
      ยืน อยู่ (550:5.21)
               คือ ยืน ยั้ง ใน ที่ เดียว ไม่ เดิน ต่อ ไป อีก นั้น.
      ยืน หย่ง (550:5.22)
               คือ ยืน ทำ ท้าว โขย่ง อยู่ ไม่ ราบ นั้น, คน ตีน เปน คุทราด ยืน หย่ง อยู่ เปน ต้น นั้น.
      ยืน ยาว (550:5.23)
               คือ กาล เวลา นาน ช้า ยืด ยาว, เหมือน อายุ คน แต่ ก่อน, มี อัปราฮาม เปน ต้น นั้น.
      ยืน เล่น (550:5.24)
               คือ ยืน มิ ได้ ทำ อะไร, ชัก ว่าว เปน ต้น นั้น.
      ยืน สำรวม (550:5.25)
               คือ ยืน ก้ม หน้า ไม่ เหลือบ แล ไป ฃ้าง ซ้าย ข้าง ขวา ข้าง หน้า ข้าง หลัง, เช่น พระสงฆ ที่ สำรวม.
      ยืน ยัน (550:5.26)
               คือ ทำ ท้าว ให้ ยืน หยั่ง ลง กับ พื้น มิ ให้ พลาด, เช่น คน ยืน ดัน แบก เรือ เปน ต้น.
      ยืน เอา (550:5.27)
               คือ ยัน เอา, คน ผู้ เหน ว่า กล่าว กับ ผู้ เปน โจร มั่นคง ว่า เจ้า เอา ไป, ข้า* เหน อยู่.
ยื่น (550:1)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ยื่น ของ ให้ (550:1.1)
               คือ ส่ง ของ อัน ใด ให้ กับ คน อื่น นั้น.
      ยื่น หน้า (550:1.2)
               คือ ส่ง หน้า ออก จาก น่าต่าง เปน ต้น นั้น, ว่า* ยื่น หน้า ออก.
      ยื่น บาญชีย (550:1.3)
               คือ เอา จดหมาย ราย สิ่ง ของ เปน ต้น ส่ง ให้ กัน ยื่น บาญชีย สำมะโนครัว เปน ต้น.
      ยื่น ปาก (550:1.4)
               คือ พูด ออก วาจา, เหมือน เขา พูด กัน อยู่ สอง คน เปน ต้น, แล มี ผู้ อื่น สอด ว่า เข้า ไป นั้น.
      ยื่น ฟ้อง (550:1.5)
               คือ เอา หนังสือ เขียน คำ กล่าว โทษ ผู้ ทำ ร้าย ต่าง ๆ ไป ส่ง ให้ แก่ ตระลาการ นั้น
      ยื่น มือ (550:1.6)
               คือ ส่ง มือ เข้า ไป ฤๅ ออก ไป เอื้อม เอา สิ่ง ของ อัน ใด นั้น.
      ยื่น หมู ยื่น แมว (550:1.7)
               คือ คน สอง คน ต่าง คน ต่าง ส่ง ของ ให้ แก่ กัน, ฤๅ ถ้อย ที ถ้อย ให้ ของ แก่ กัน นั้น.
      ยื่น ให้ (550:1.8)
               ส่ง ให้, คือ ส่ง ให้, คน จะ ให้ ของ สิ่ง ใด แก่ เขา, อยิบ ของ ส่ง ให้ เขา.
      ยื่น หัว (550:1.9)
               ส่ง หัว, คือ ส่ง หัว ออก มา, คน ฤๅ สัตว ทำ แต่ หัว ให้ ออก จาก ที่ ออก มา น่อย หนึ่ง นั้น.
หยุ่น (550:2)
         นุ่ม, คือ สิ่ง ที่ ฟู อยู่, เหมือน ฟอง น้ำ ที่ สำรับ กรอง น้ำ, แล ถูก เข้า น่วม ๆ อยู่ นั้น
เอย็น (550:3)
         หนาว, คือ ของ ที่ ไม่ ร้อน, เหมือน น้ำ ใน แม่น้ำ เปน ต้น. อย่าง หนึ่ง เวลา สัก ห้า โมง นั้น ว่า เปน เวลา เอย็น.
      เอย็น ใจ (550:3.1)
               คือ อาการ ฉ่ำ เฉื่อย ชุ่ม ชื่น ใน ใจ สบาย หาย ร้อน นั้น.
      เอย็น (550:3.2)
                เปน เหน็บ, คือ หนาว จน กาย เปน ตะคริว ชา ไป นั้น, เช่น คน แช่ น้ำ เมื่อ ระดู หนาว เปน ต้น นั้น.
      เอย็น ทั่ว (550:3.3)
               คือ อาการ เอย็น เช่น ว่า, เกิด มี ทุก แห่ง ทุก ตำบล นั้น, ว่า เอย็น ทั่ว.
      เอย็น ฉ่ำ (550:3.4)
               คือ หนาว ชุ่ม ด้วย น้ำค้าง เปน ต้น นั้น, เช่น คน นอน ตาก น้ำค้าง นั้น.
      เอย็น ค่ำ (550:3.5)
               คือ เวลา ค่ำ ย่ำ ฆ้อง ค่ำ หกโมง, สิ้น แสง อาทิตย เอย็น สิ้น ร้อน นั้น. ว่า เอย็น ค่ำ.

--- Page 551 ---
      เอย็น เฉื่อย (551:3.6)
               คือ หนาว เพราะ ลม พัด เรื่อย อยู่ นั้น, เช่น คน นอน ตาก ลม เมื่อ ระดู ร้อน นั้น.
      เอย็น ย่ำ (551:3.7)
               คือ เวลา บ่าย หก โมง ค่ำ ย่ำ ฆ้อง สิ้น แสง อาทิตย ไม่ มี ร้อน, เอย็น เปน ปรกติ นั้น, ว่า เอย็น ย่ำ
      เอย็น ตลอด หัวใจ (551:3.8)
               คือ หนาว เข้า ถึง ใจ นั้น, เช่น คน อาบ น้ำ ใน ลำ ห้วย, เมื่อ ระดู หนาว นั้น.
      เย็น แล้ว (551:3.9)
               คือ เวลา บ่าย ห้า โมง เศส, สิ้น ร้อน เพราะ แสง อาทิตย นั้น, เขา ว่า เอย็น แล้ว.
      เอย็น เยือก (551:3.10)
               คือ หนาว น้ำค้าง ตก ถูก ตัว เปียก นั้น, เช่น คน นอน ตาก น้ำค้าง เมื่อ ระดู หนาว.
      เอย็น หลาย (551:3.11)
               คือ เอย็น มาก, เหมือน เวลา เอย็น มาก หลาย วัน นั้น.
      เอย็น เสียว (551:3.12)
               คือ หนาว จน เสียบ แทง ใน อก นั้น, เช่น คน อาบ น้ำ ใน ลำ ธาร เมื่อ ระดู หนาว เปน ต้น.
โยน (551:1)
         ทิ้ง, คือ ทิ้ง ของ ออก ไป จาก มือ, คน ยืน อยู่ กับ ที่ แล จับ เอา ของ มี ก้อน ดิน เปน ต้น, ทิ้ง ออก ไป นั้น.
      โยน ไป (551:1.1)
               ทิ้ง ไป, คือ จับ เอา ของ มี ก้อน ดิน เปน ต้น ทิ้ง ออก ไป จาก มือ นั้น, ว่า โยน ไป.
      โยน มา (551:1.2)
               ทิ้ง มา, คือ ผู้ อื่น จับ เอา ของ อัน ใด ๆ ทิ้ง มา ที่ เรา ยืน ฤๅ นั่ง อยู่ นั้น, ว่า เขา โยน มา.
      โยน เยน (551:1.3)
               โยก เยก, คือ โอน เอน, เหมือน ยอด ไม้ ที่ โอน เอน ไป มา เพราะ ลม พัด ถูก นั้น, ว่า โยนเยน.
      โยน โยก (551:1.4)
               โงก เงก, คือ ไหว สะเทือน, ยอด ไม้ เปน ต้น ต้อง ลม โอน สะเทือน ไป มา นั้น, ว่า โยน โยก.
      โยน ให้ (551:1.5)
               คือ ทิ้ง ให้, คน จะ ให้ ของ กัน, อยิบ เอา ของ นั้น ทิ้ง ให้ แต่ ไม่ เงื้อ มือ ขึ้น สูง นั้น.
      โยน ยาน (551:1.6)
               คือ ของ มี เชือก เปน ต้น อย่อน แกว่ง ไป มา นั้น, เช่น เชือก ชิงช้า เปน ต้น นั้น.
      โยน ยาว (551:1.7)
               เสียง เขา ร้อง เมื่อ พาย เรือ พร้อม กัน หลาย คน เพื่อ จะ พาย ลง ให้ พร้อม กัน.
ยอน (551:2)
         คือ เอา ไม้ เปน ต้น แยง เข้า* ไป ใน รู ช่อง อัน ใด ๆ มี รู หู เปน ต้น นั้น.
      ยอน ทวน (551:2.1)
               คือ แยง ยอน เข้า ไป นั้น.
      ยอน หู (551:2.2)
               คือ เอา ไม้ สำรับ ยอน หู ฤๅ ขน ไก่ เปน ต้น, ใส่ เข้า* รู หู ชำระ ให้ หาย คัน นั้น.
      ยอน ฅอ (551:2.3)
               แยง ฅอ, คือ แยง ฅอ, เหมือน คน ป่วย ฅอ ข้าง ใน, แล เอา ยา ทา ขนไก่ เปน ต้น ใส่ ใน คอ นั้น.
ย่อน ๆ (551:3)
         คือ ขย้อน เหมือน หาบ ของ ที่ มัน เยิ่น ขึ้น เยิ่น ลง นั้น.
ย้อน (551:4)
         ถอย, ทวน, คือ ทวน ถอย คืน มา ข้าง ที่ เข้า ไป, เหมือน เรือ เข้า ไป ใน คลอง เล็ก กลับ ลำ เรือ ไม่ ได้, ถอย หลัง คืน ออก มา ทาง ที่ เข้า ไป เดิม นั้น.
      ย้อน เกล็ด (551:4.1)
               ทวน เกล็ด, ถอย เกล็ด, คือ ทวน เกล็ด, เหมือน คน ทำ ปลา สด ให้ หมด เกล็ด, แล เอา มีด ถาก ทวน เกล็ด ขึ้น มา นั้น.
      ย้อน กลับ (551:4.2)
               คือ ทวน ถอย กลับ ออก มา ข้าง ทาง ที่ เข้า ไป นั้น.
      ย้อน ถาม (551:4.3)
               คือ เขา ถาม ก่อน ไม่ บอก กลับ ถาม ไป บ้าง นั้น.
      ย้อน ออก (551:4.4)
               เหมือน เดิน เข้า ไป, แล้ว กลับ ออก มา ที่ ทาง เข้า ไป นั้น.
      ย้อน เนื้อ (551:4.5)
               คือ ไม้ ที่ มี ตา แล เนื้อ ทวน ไป ทวน มา ไม่ ตรง ที เดียว นั้น, ว่า ย้อน เนื้อ.
      ย้อน ยัก (551:4.6)
               คือ ยัก ยอก เอา ของ ไป ซุก ซ่อน เสีย ที่ อื่น ๆ นั้น, เช่น คน ย้อน ยัก ของ ฝาก เปน ต้น.
      ย้อน ไป (551:4.7)
               คือ ตรง มา แล้ว ทวน ถอย คืน ไป, เหมือน เรือ ที่ เข้า มา ตาม คลอง แล้ว ทวน ออก ไป ตาม ทาง ที่ เข้า มา นั้น.
      ย้อน ยอก (551:4.8)
               คือ ทำ ซ่อน เงื่อน บัง เค้า นั้น, คน ขี้ช่อ เปน ต้น.
      ย้อน มา (551:4.9)
               คือ ตรง ไป แล้ว ทวน ออก มา ทาง เดิม นั้น, เหมือน เรือ เข้า ไป แล้ว ทวน คืน ออก มา นั้น.
      ย้อน ว่า (551:4.10)
               คือ มี ผู้ ว่า ตัว ว่า ชั่ว, กลับ ว่า เขา ชั่ว บ้าง, เขา ว่า ตัว เปน โจร, ถึง เขา ไม่ เปน โจร ก็ ว่า เขา เปน โจร บ้าง.
      ย้อน รอย (551:4.11)
               คือ กลับ ทวน รอย เดิม, เหมือน หมูป่า มัน เจ็บ แล มัน สวน มา ขวิด คน นั้น
      ย้อน ให้ (551:4.12)
               คือ ด่า ว่า สวน คำ, เขา ด่า ว่า ตัว เปน คน ถ่อย, สวน คำ ด่า ว่า คะ ข้า มัน คน ถ่อย.
      ย้อน เอา (551:4.13)
               คือ สวน คำ คน ด่า ว่า, เขา ด่า ว่า เปน คน โง่ เปน ต้น, ว่า สวน คำ คะ ข้า มัน เปน คน โง่.
หยอน กลัว (551:5)
         คือ แพ้ แล กลัว เขา ย่อ ธ้อ เต็ม ที นั้น.

--- Page 552 ---
หย่อน (552:1)
         (dummy head added to facilitate searching).
      หย่อน คลาย (552:1.1)
               คือ อาการ ค่อย บันเทา* ทุเลา ลง นั้น. เช่น เชือก ที่ ค่อย หย่อน คลาย ออก นั้น.
      หย่อน ลด (552:1.2)
               คือ ทำ ให้ เชือก ที่ ชัก ใบ สำรับ แล่น เรือ, เลื่อน ลง มา จาก ที่ นั้น.
      หย่อน เชือก (552:1.3)
               คือ ทำ ให้ เชือก ที่ ผูก ไว้ ตึง ผ่อน ยาน ลง นั้น. อนึ่ง หย่อน เชือก ลง ใน น้ำ เปน ต้น.
      หย่อน ลง (552:1.4)
               คือ ผ่อน เชือก ที่ ผูก ตึง ให้ มัน ทอด ทาบ ลง นั้น, อนึ่ง คน โกรธ นัก ค่อย หย่อน ลง เปน ต้น.
      หย่อน ให้ (552:1.5)
               คือ ถือ เชือก ไว้ ตึง แล้ว ผ่อน ให้ เขา นั้น. อนึ่ง เช่น คน เถียง กัน ดื้อดึง แล้ว ข้าง หนึ่ง หย่อน ให้ เปน ต้น นั้น.
ยวญ (552:2)
         เปน ชื่อ คน ภาษา หนึ่ง อยู่ ประเทศ ทิศ ตวันออก, ทำ เภศ ไว้ ผม เกล้า มวย ไว้ ท้าย ทอย พูด คล้าย กับ จีน.
      ยวญ แกว (552:2.1)
               เปน คน ยวญ ภาษา หนึ่ง, แม่ เปน ยวญ, พ่อ เปน ลาว, เขา เรียก อย่าง นั้น.
      ยวญ พ่าย (552:2.2)
               คือ ยวญ แพ้, มี ใน เรื่อง หนังสือ เก่า ฉบับ หนึ่ง เรียก ยวญ พ่าย, คือ ทำ ศึก กัน ยวญ แพ้ ไป นั้น.
      ยวญ ตังเกี๋ย (552:2.3)
               คือ คน ยวญ ทั้ง พ่อ ทั้ง แม่, แล้ว อยู่ ที่ เมือง ตังเกี๋ย เปน ต้น นั้น.
ยวน (552:3)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ยวน ใจ (552:3.1)
               กำนัศ ใจ, คือ ใจ กำนัศ ด้วย ความ สัง วาศ, เหมือน ชาย หนุ่ม กับ หญิง สาว เข้า ใกล้ เคียง รัก กัน นั้น.
      ยวน ยี (552:3.2)
               คือ ใจ กำนัศ ใน การ จะ สังวาศ, เหมือน ชาย หญิง หนุ่ม สาว เข้า ใกล้ ถูก ต้อง ตัว กัน.
      ยวน เย้า (552:3.3)
               คือ ยั่ว หยอก, ชาย หญิง หนุ่ม สาว พูดจา เกี้ยว กัน เพื่อ จะ ร่วม สังวาศ, มี คำ ว่า ข้า รัก เจ้า เปน ต้น นั้น.
      ยวน ยั่ว (552:3.4)
               ความ เหมือน ยวน ยี, ชาย หนุ่ม เคล้า คลึง หญิง สาว เปน ต้น นั้น.
เยียน (552:4)
         เยี่ยม, คือ ไป ดู กัน ว่า อยู่ ดี ฤๅ เจ็บ ไข้ เปน อย่าง ไร บ้าง อย่าง หนึ่ง คน ป่วย อยู่ แล ไป ดู นั้น.
      เยียน คน ไข้ (552:4.1)
               เยี่ยม คน ไข้, ดู คน ไข้, คือ ไป ดู คน ป่วย ไข้ เพื่อ จะ รู้ อาการ ว่า ไข้ นั้น หนัก ไป ฤๅ คลาย ขึ้น นั้น.
เยือน (552:5)
         คือ เยี่ยม, คน ป่วย ไข้ ฤๅ ไม่ ได้ เหน กัน นาน แล้ว, แล ไป ดู กัน ว่า จะ เปน อย่าง ไร.
      เยือน ไข้ (552:5.1)
               คือ ไป ดู อาการ คน ป่วย ไข้ นั้น, คน ไป เยี่ยม คน ไข้ เปน ต้น นั้น.
      เยือน บ้าน (552:5.2)
               คือ ไป ดู บ้าน ที่ เคย อยู่ เปน คราว ๆ นั้น.
      เยือน เยี่ยม (552:5.3)
               ความ อย่าง เดียว กัน เช่น ว่า แล้ว ต่าง แต่ คำ.
เยื้อน (552:6)
         คือ เอื้อน ออก วาจา, คน ที่ ขัด เคือง ใจ มิ ใคร่ จะ พูดจา ด้วย เสีย ไม่ ได้, เอื้อน คำ พูด ด้วย นั้น.
      เยื้อน พูด (552:6.1)
               เอื้อน พูด, คือ เอื้อน ออก คำ พูด, คน ที่ เกลียด ชัง กัน, ครั้น มา ถาม ไต่, ผู้ นั้น เอื้อน เสีย มิ ใคร่ พูด นั้น.
เยิน (552:7)
         ย่น, ยับ, คือ ย่น, เหมือน พะเนิน ที่ ตี เหล็ก นั้น. อย่าง อนึ่ง เหมือน หัว เหล็ก สกัด.
      เยิน ยับ (552:7.1)
               คือ ยุน ยับ, ของ ทุก สิ่ง ที่ คร่ำ คร่า ยุบ ยุ่ย ไป นั้น, เขา ว่า ของ นั้น ยับ เยิน.
      เยิน (552:7.2)
                เปน ไม้ สีฟัน, คือ ย่น บาน เหมือน ไม้ สีฟัน ที่ เขา ทุบ ยับ เยิน นั้น.
เยิ่น (552:8)
         เนิ่น, ยาว, คือ เนิ่น นาน, กาลเวลา ที่ เนิ่น นาน นั้น. อย่าง หนึ่ง ของ ยาว ว่า เยิ่น.
      เยิ่น การ (552:8.1)
               เนิ่น การ, นาน การ, คือ การงาน ที่ ทำ นาน แล้ว เขา ว่า เนิ่น การ ช้า การ นั้น, ว่า เยิ่น การ.
      เยิ่น ความ (552:8.2)
               คือ ยาว ความ, เหมือน ความ ภอ ที่ จะ แล้ว เร็ว แล เขา ทำ ไม่ ให้ แล้ว เร็ว นั้น.
      เยิ่น เดือน (552:8.3)
               คือ เดือน เนิ่น, เหมือน เขา กำหนด เดือน จะ มา เปน ต้น, สัก สามสี่ เดือน ว่า เนิ่น เดือน.
      เยิ่น ไป (552:8.4)
               คือ เนิ่น ไป นาน ไป. อย่าง หนึ่ง คือ ของ ยาว ไป, เขา ว่า เวลา แล ของ เยิน ไป.
      เยิ่น ปี (552:8.5)
               คือ กำหนด ปี ไว้ สาม สี่ ปี นั้น, ว่า เยิ่น ปี.
      เยิ่น พ้น (552:8.6)
               คือ เนิ่น กำหนด เวลา ฤๅ กำหนด ของ สั้น แล ยาว เปน ต้น นั้น.
      เยิ่น มา (552:8.7)
               คือ เนิ่น มา นาน มา, เวลา ที่ ล่วง มา ช้า นาน นั้น, เขา ว่า เวลา เยิ่น มา.
      เยิ่น ยาว (552:8.8)
               คือ กาล เนิ่น นาน นั้น, กาล ยืด ยาว เปน ต้น นั้น.
      เยิ่น เย้อ (552:8.9)
               คือ ของ อัน ใด ที่ ยาว เกิน ประมาณ เกิน กำหนด นั้น, เขา ว่า ยาว เยิ่น เย้อ.
      เยิ่น วัน (552:8.10)
               คือ เนิ่น* วัน, เขา กำหนด เก้า วัน สิบ วัน นั้น, ยัง อีก หลาย วัน เปน ต้น นั้น.
      เยิ่น อ่อน (552:8.11)
               เหมือน หาบ ของ หนัก, คาน อ่อน ลง แล้ว กลับ ขึ้น บัดเดี๋ยว ๆ นั้น.

--- Page 553 ---
ยับ (553:1)
         คือ ยุบ ยุ่ย, เหมือน ของ เดิม มั่นคง เปน ปรกติ ดี อยู่, ภาย หลัง มา ก็ คร่ำ คร่า ยุบ ยอบ ไป นั้น.
      ยับ ยาบ (553:1.1)
               คือ เขา ทำ พัด โบก ไป โบก มา นั้น, ว่า เขา พัด ยับ ยาบ.
      ยับ เยิน (553:1.2)
               คือ ยุบ ย่อย, สิ่ง* ของ* เดิม เปน ปรกติ* ดี อยู่, ไม่ บุบ ฉลาย นาน มา วิบัดิ โทรม ซุด ไป นั้น.
      ยับ ยั้ง (553:1.3)
               คือ ยั้ง อยู่ นั้น, เช่น คน เดิน ทาง อยุด พัก ฤๅ ประทับ ร้อน ประทับ แรม เปน ต้น* นั้น.
      ยับ ระยำ (553:1.4)
               คือ ยุบ ย่อย, สิ่ง ของ แต่ แรก ดี อยู่ เปน ปรกติ, ครั้น นาน มา ของ นั้น เก่า คร่ำคร่า, แหลก เลอียด เปน ท่อน น้อย ท่อน เล็ก ใช้ ไม่ ได้ นั้น.
      ยับ ย่อย (553:1.5)
               คือ ยับ เยิน นั้น, คน ย่อย ทอง เปน ต้น นั้น.
      ยับ ลง (553:1.6)
               ยับ หัก, คือ ยุบ โทรม ลง, เหมือน เรือน เปน ต้น* แรก ปลูก สร้าง นั้น มั่นคง ดี อยู่, นาน มา เก่า คร่ำ คร่า ผุ พัง ชำรุท ซุด เซ ลง นั้น, ว่า ยับ ลง.
      ยับ เอง (553:1.7)
               ทำลาย เอง, คือ ของ ยุบ โทรม ลง ลำ พัง ไม่ มี ผู้ ใด ยื้อ แย่ง ยับ เยิน ไป ด้วย สิ้น กำลัง ไม้ นั้น.
หยับ (553:2)
         กวัก, เหยิบ, คือ ของ ขึ้น ๆ ลง ๆ, เหมือน คน หาบ ของ ไบ, แล ปลาย คาน ข้าง หน้า ข้าง หลัง มัน งุบ ลง แล กลับ ขึ้น นั้น.
ยาบ (553:3)
         ว่อน, คือ โบก ไป โบก มา, เหมือน ธง ถูก ลม ปลิว อยู่ ไป มา, ฤๅ คน พัด โบก ไป มา, ว่า ปลิว ยาบ ๆ โบก ยาบ ๆ นั้น.
อยาบ (553:4)
         คือ สิ่ง ของ ที่ ไม่ เลอียด, เหมือน แป้ง เข้า* สาลี เปน ต้น, เมื่อ แรก เปน เม็ด โต ๆ ว่า อยาบ อยู่ นั้น.
      อยาบ คาย (553:4.1)
               คือ ของ อยาบ เช่น ว่า แล้ว, แต่ คาย นั้น เหมือน ละออง เข้า เปลือก นั้น.
      อยาบ ช้า (553:4.2)
               คือ การ อยาบ ชั่ว, เขา เหน คน ทำ การทุจริต เปน ต้น ว่า ชก ดี, เขา ว่า ทำ อยาบ ช้า ทารุณ นั้น.
      อยาบ หยาม (553:4.3)
               คือ คำ ด่า ร้ายกาจ คา ปมาท ดู หมิ่น ต่าง* ๆ นั้น.
      อยาบ ยุ่ง (553:4.4)
               คือ ทำ การ ชั่ว* ทุจริต, ว่า ทำ อยาบ ยุ่ง นั้น, เช่น พวก เสนา ช่อ ราษ ช่อ หลวง เปน ต้น นั้น.
ยิบ (553:5)
         พราย, คือ ทำ ฤๅ กิน, เปิบ เข้า ถี่ ๆ เร็ว ๆ บัด เดี๋ยว ๆ คำ นั้น, เขา ว่า เปิบ ยิบ ๆ ไป.
      ยิบ ถี่ (553:5.1)
               พร่อย ถี่, คือ ทำ การ ฤๅ กิน เข้า ทำ เช่น ว่า นั้น, ทำ เร็ว ๆ บัด เดี๋ยว ๆ, ว่า ถี่ ยิบ ไป.
อยิบ (553:6)
         ฉวย, จับ, คือ เอา นิ้วมือ จับ เอา ของ มี เมล็ด เข้า เปน ต้น*, คน จะ ต้อง การ ของ แต่ น้อย เอา นิ้วมือ จับ เอา นั้น
      อยิบ ของ (553:6.1)
               ฉวย ของ, คือ เอา นิ้ว สอง นิ้ว สาม นิ้ว จับ ของ มี เมล็ด เข้า เปน ต้น นั้น, ว่า อยิบ ของ.
      อยิบ เงิน (553:6.2)
               ฉวย เงิน, คือ จับ เอา เงิน ด้วย มือ, คน จะ ต้อง การ เงิน แต่* น้อย แล อยิบ เอา.
      อยิบ ฉวย (553:6.3)
               คือ จับ เอา ของ ที่ ใหญ่ กว่า เมล็ด เข้า มี ผ้า เปน ต้น* นั้น, ว่า อยิบ ฉวย.
      อยิบ ได้ (553:6.4)
               คือ จับ เอา ของ ได้, คน จับ เอา ของ ที่ ใหญ่ ฤๅ เล็ก นั้น, ว่า อยิบ ได้.
      อยิบ หนึ่ง (553:6.5)
               คือ เอา นิ้ว มือ สามนิ้ว จับ เอา ของ นั้น, ว่า อยิบ หนึ่ง.
      อยิบ ผิด (553:6.6)
               คือ คอย จับ เอา ความ ผิด ผู้ อื่น นั้น. เช่น คน คอย อยิบ แยบ เปน ต้น*.
      อยิบ ฟาย (553:6.7)
               อยิบ ว่า แล้ว, แด่* ฟาย นั้น คือ ของ เต็ม* ซอง มือ ข้าง หนึ่ง* นั้น.
      อยิบ มือ (553:6.8)
               คือ ทำ นิ้ว สอง นิ้ว สาม นิ้ว จับ เอา ของ มี เมล็ด เข้า เปน ต้น, ว่า อยิบ มือ หนึ่ง.
      อยิบ ไม้ (553:6.9)
               คือ จับ ไม้, เขา จะ ต้อง การ ของ มี ไม้ เล็ก แล ใหญ่ นั้น, ว่า อยิบ ไม้.
      อยิบ หยี (553:6.10)
               คือ ปริบ ปรี่, คน เจ็บ ตา ลืม ไม่ ใคร่ ขึ้น ทำ ตา ปริบ อยู่ ๆ นั้น.
      อยิบ ยืม (553:6.11)
               คือ อยิบ เอา ของ ยืม ไป นั้น, เช่น อยิบ ยืม เงิน ทอง กัน ใช้ สรอย เปน ต้น นั้น.
      อยิบ แยบ (553:6.12)
               คือ คน คอย หา ความ ผิด ผู้ อื่น, ว่า เขา ว่า คน อื่น, ก็ พาโล ว่า เขา ว่า ตัว นั้น.
      อยิบ เอา (553:6.13)
               คือ จับ เอา, คน ต้อง* การ สัตว มี ไก่ เปน ต้น, เอา มือ จับ เอา ว่า หยิบ เอา.
ยุบ (553:7)
         คือ ยอบ, คน เปน ฝี หัว ใหญ่ เปน ต้น, ครั้น ฝี หัว มัน แก่ แล้ว หนอง ออก ก็ ยุบ ลง นั้น.
      ยุบ โทรม (553:7.1)
               เหมือน ต้น* ผัก เปน เถาเลื้อย อยู่ มาก เปน ซุ้ม เซิง ครั้น ด้น มัน แก่ มัน ก็ ซุด โทรม ลง นั้น.

--- Page 554 ---
      ยุบ ยับ (554:7.2)
               คือ ยุบ ย่อย ไป, เหมือน คน ที่* แต่ แรก มั่ง มี เงิน ทอง บ่าว ทาษ มาก, มา ภาย หลัง ยาก จน ไป ไม่ มี ทรัพย, ว่า ยุบ ยับ ไป.
      ยุบ ยอบ (554:7.3)
               เหมือน หัว ฝี ที่ หนอง มัน แตก มัน คลาย ลง นั้น.
      ยุบ ลง (554:7.4)
               คือ ยอบ ลง, เหมือน ฝี ที่ บวม เปล่ง ยัง ไม่ ออก หนอง, ครั้น หนอง ออก ก็ ยอบ ลง.
      ยุบ หวำ (554:7.5)
               คือ ต่ำ ลง กว่า ปรกติ นั้น, เช่น แผล ที่ ลุ่ม ฦก ลง ไป นั้น.
      ยุพะเยาว (554:7.6)
               เปน คำ เรียก หญิง สาว งาม นั้น, เช่น คำ ว่า ยุพ เยาว ผู้ ยอด เสน่หา เปน ต้น นั้น.
      ยุบ เหี่ยว (554:7.7)
               คือ ยอบ ยุบ ซีด เศร้า ยู่ยี่ ไป, เหมือน ดอก ไม้ ที่ แต่ แรก สด ฟู อยู่ ครั้น ล่วง เวลา ก็ ยุบ ยู่ยี่ ไป.
      ยุพะราช (554:7.8)
               เปน คำ เรียก หญิง กระษัตริย์ เช่น นั้น บ้าง.
      ยุบ แห้ง (554:7.9)
               คือ ยอบ ลง มาก ยัง บวม น้อย, เหมือน หัว ฝี ที่ หนอง ออก มา ยัง บวม หนิด น่อย นั้น.
      ยุบ หาย (554:7.10)
               คือ ยอบ ลง มาก หมด ไม่ บวม เลย, ฝี ที่ หนอง ออก หมด สิ้น ไม่ บวม หาย ดี นั้น.
หยุบ (554:1)
         คือ อยอด ลง, เช่น เขา ทุบ ของ ใด ๆ, แต่ แรก ทุบ เบา ๆ ก่อน, ว่า ตี หยุบ ๆ ลง.
      หยุบ ลง (554:1.1)
               คือ เด็ก เล่น ดีด เบี้ย, ค่อย ดีด แต่ เบา ๆ นั้น, เช่น คำ ว่า ค่อย หยุบ ลง เบา ๆ เปน ต้น นั้น.
เย็บ (554:2)
         คือ เอา เขม ร้อย ด้าย แล้ว แทง เข้า ที่ ผ้า เปน ต้น, มิ ให้ เส้น ด้าย ล้น ออก มา ฤๅ ให้ มัน ติด กัน.
      เย็บ เข้า ถ้ำ (554:2.1)
               คือ เย็บ เสื้อ สอง ชั้น เปน ต้น, เขา ปลิ้น ตะ เข็บ เข้า ไว้ ข้าง ใน นั้น.
      เย็บ ด้น (554:2.2)
               คือ ไม่ เย็บ พัน เย็บ แทง เข็ม ขึ้น ๆ ลง ๆ ตรง ไป เช่น เย็บ ด้วย จักร์ นั้น.
      เย็บ ตะเข็บ (554:2.3)
               คือ เย็บ มี ผ้า เปน สัน ไป นั้น.
      เย็บ ใบ (554:2.4)
               คือ เอา เชือก ร้อย เข้า ใน เข็ม ใหญ่, แล้ว แทง เข้า ที่ เสื่อ ให้ ติด กัน เปน ผืน ใหญ่ สำหรับ กาง แล่น เรือ นั้น.
      เย็บ ผ้า (554:2.5)
               คือ เอา ด้าย ร้อย เข้า ใน ช่อง เข็ม, แล้ว แทง เข้า ที่ ผ้า, เพื่อ มิ ให้ ล้น ฤๅ ให้ ติด กัน เข้า นั้น.
      เย็บ มุ้ง (554:2.6)
               คือ เอา เข็ม เย็บ ผ้า ฤๅ ผ้า ป่าน ฤๅ แพร ติด กัน สี่ เหลี่ยม สำหรับ กาง กัน ยุง นั้น.
      เย็บ เสี้ยว (554:2.7)
               คือ เย็บ ไม้ ตรง ไป, เย็บ เรียว ไป ข้าง หนึ่ง.
แยบ (554:3)
         เล่ห์, กล, คือ เล่ห์ กล อุบาย, เช่น คน ทำ อุบาย ด้วย กาย ฤๅ วาจา ต่าง ๆ เปน ทาง ฬ่อ ลวง นั้น.
      แยบ คาย (554:3.1)
               แยบ ยนต์, เล่ห์ กล, คือ กล อุบาย, แต่ คาย นั้น เปน คำ สร้อย, คน มัก พูด อย่าง นั้น.
      แยบ ยนต์ (554:3.2)
               กล ไกย, คือ กล อุบาย, แต่ ยนต์ นั้น เปรียบ สาย ยนต์ ที่ เขา ร้อย ใน รูป หุ่น ชัก ให้ ทำ รำ ฟ้อน นั้น.
      ยอบ กาย (554:3.3)
               ต่ำ ตัว, ถ่อม ตัว, คือ ทำ ตัว ให้ เล็ก เข้า, คน ฤๅ เสือ ครั้น เหน สัตว์ จะ ทำ ร้าย แล้ว, ทำ กาย ให้ เล็ก เข้า นั้น.
      ยอบ ตัว (554:3.4)
               คือ ยอบ กาย, คน ฤๅ สัตว์ ทำ กาย ให้ เล็ก ให้ ย่อม เข้า, เหมือน เสือ จะ จับ เนื้อ นั้น.
      ยอบ ผอม (554:3.5)
               คือ ลด ผอม ลง นั้น, เช่น คน ป่วย ไข้ ซูบ ผอม ลง กว่า ปรกติ เปน ต้น นั้น.
      ยอบ ยุบ (554:3.6)
               เหมือน หัว ฝี แก่ หนอง ออก, แล มัน ลด เล็ก ลง นั้น.
      ยอบ แยบ (554:3.7)
               คือ ของ มี เข้า เปน ต้น, ไม่ เต็ม บริบูรณ, เขา ว่า เข้า มี ยอบแยบ น้อย อยู่ น่อย หนึ่ง.
      ยอบ ลง (554:3.8)
               ถ่อม ลง, ต่ำ ลง, คือ ยุบ ลง ย่อม ลง, เหมือน หัว ฝี เดิม เปล่ง โต อยู่, ครั้น หนอง ออก ยุบ ลง นั้น.
      ยอบ องค์ (554:3.9)
               ถ่อม กาย, เจียม ตัว, คือ ยอบ ถ่อม กาย ลง ว่า องค์ นั้น คำ สูง ก็ คือ กาย ตัว นั้น.
ยวบ (554:4)
         ไหว หวั่น, เยือก ๆ, คือ อาการ ที่ สวบ ลง, เช่น คน โห่ม ต้น ไม้ ไหว เยือก ๆ, ว่า ต้น ไม้ ไหว ยวบ ๆ.
      ยวบ ยาบ (554:4.1)
               โยนเยน, โยกเยก, คือ ยวบ ๆ หลาย หน, คน เดิน ที่ พื้น ปู ด้วย ฟาก ฤๅ เรือก ไหว เยือก ๆ นั้น.
เยียบ เอย็น (554:5)
         เงียบ เหงา, วังเวง ใจ, คือ เงียบ สงัด แล เอย็น ไป, เช่น คน เดิน ไป ใน ทาง ป่า เปลี่ยว คน เดียว แล เงียบ เยือก เอย็น.
เหยียบ (554:6)
         ย่ำ, นวด, คือ เอา เท้า วาง ลง เหนือ พื้น อัน ใด ๆ, คน ยก ท้าว วาง ลง เพื่อ จะ ย่ำ ฤๅ จะ เดิน เปน ต้น.
      เหยียบ กัน (554:6.1)
               ย่ำ กัน, นวด กัน, คือ ยก เท้า วาง ลง บน ตัว กัน, คน หนึ่ง ป่วย เมื่อย ตัว เปน ต้น, ให้ เพื่อน ฤๅ หมอ เอยียบ นั้น.

--- Page 555 ---
      เหยียบ ขา (555:6.2)
               ย่ำ ขา, นวด ขา, คือ ยก เท้า ขึ้น วาง ลง บน ขา เพื่อน กัน, คน เมื่อย ขา แล ให้ คน อื่น ขึ้น เหยียบ ขา นั้น
      เหยียบ แค่ง (555:6.3)
               ย่ำ แค่ง, นวด แค่ง, คือ ยก เท้า วาง ลง ที่ แค่ง เพื่อน กัน, คน เมื่อย แค่ง แล ให้ ผู้ อื่น ขึ้น ยืน บน แค่ง นั้น.
      เหยียบ คน (555:6.4)
               เดิน ลุย คน, ย่ำ คน ไป, คือ คน ต่อ คน เหยียบ กัน, คน หนึ่ง นอน อยู่, คน หนึ่ง ไม่ ทัน เหน เหยียบ กัน ลง นั้น.
      เหยียบ ชาน เมือง (555:6.5)
               ย่ำ ชาน เมือง, คือ ฆ่า ศึก ยก พล ทหาร ล่วง ข้าม เข้า มา ใน เขตร์ แดน ได้, ว่า เข้า เหยียบ ชาน เมือง.
      เหยียบ ดิน (555:6.6)
               คือ ยก เท้า ก้าว วาง ลง ที่ พื้น ดิน, คน จะ ทำ ม่อ แล เอา วาง ลง บน พื้น เอา เท้า ถีบ ไป ว่า เหยียบ ดิน.
      เหยียบ เต่า ไว้ เต็ม ตีน (555:6.7)
               เปน คำ เขา พูด เปรียบ ความ, เหมือน จับ ทาษ มา ไว้ ไต้ แล้ว ไม่ ต้อง ให้ มี ผู้ ช่วย นั้น.
      เหยียบ บ้าน (555:6.8)
               ย่ำ บ้าน, คือ ยก ท้าว วาง ลง ที่ บ้าน, คน จะ สร้าง บ้าน ใหม่, แล ปัก เหยียบ ที่ บ้าน ใหม่ นั้น.
      เหยียบ เมือง (555:6.9)
               ย่ำ เมือง, คือ ฆ่า ศึก ยก พล โยธา เข้า ไต้ ถึง ใน เมือง ด้วย* ไม่ เกรง กลัว นั้น.
      เหยียบ ย่ำ (555:6.10)
               ย่ำ เหยียบ, คือ ยก ท้าว ทั้ง สอง เหยียบ ลง แล้ว ยก ขึ้น เหยียบ ลง อีก ๆ นั้น, ว่า เหยียบ ย่ำ.
      เหยียบ หัว (555:6.11)
               ย่ำ หัว, คือ เอา เท้า วาง ลง ถูก หัว ผู้ อื่น, ผู้ นั้น ว่า เหยียบ หัว เรา ไป นั้น, ว่า เหยียบ หัว.
ยมะนานัทธี (555:1)
         แม่ น้ำ ยมนา, เปน ชื่อ แม่ น้ำ ใหญ่ แห่ง หนึ่ง, มี ใน คำภีร์ บาฬี, แต่ ผู้ ใด ทุก วัน นี้ ไม่ ได้ เหน.
ยมะบาล (555:2)
         เปน ชื่อ นาย นิฤบาล, คือ ผู้ รักษา สัตว์ เฝ้า ดู* แล และ ทำ โทษ แก่ สัตว์ นรก นั้น.
ยมะพะบาล (555:3)
         เปน ชื่อ นาย สัตว์ ใน นรก, จำ พวก หนึ่ง, เช่น พวก ผู้ คุม นัก โทษ นั้น.
ยมะโลกย์ (555:4)
         โลกย์ ของ พะยา ยม, เปน ชื่อ ขุม นะรก ตำแหน่ง หนึ่ง, เปน ที่ พระยา ยม ได้ บังคับ บันชา ว่า กล่าว นั้น.
ยมะราช (555:5)
         พะยา ยม, เปน ชื่อ พะยา ยม, เปน ใหญ่ ใน นะ รก, สำหรับ ว่า กล่าว ให้ ทำ โทษ แก่ สัตว์* นะรก นั้น.
ยัม (555:6)
         พล่า, ซ่า, เปน ชื่อ กับ เข้า อย่าง หนึ่ง, เขา เอา ผัก ดิบ ๆ ฤๅ เนื้อ ดิบ ๆ, มี แตง กวา ฤๅ มะม่วง เปน ต้น, มา สับ ซอย ให้ เปน ชิ้น เล็ก ๆ, แล้ว เอา เครื่อง ปรุง ขยัม นั้น.
      ยัม เกรง (555:6.1)
               กลัว เกรง, คร้าม เกรง, คือ เกรง ขาม, คน เปน ผัว เมีย กัน เปน ปรกติ ไม่ กลัว กัน นัก, แต่ เกรง ใจ กัน นั้น.
ยั่ม (555:7)
         เหยียบ, คือ ยก เท้า ข้าง หนึ่ง ขึ้น เหยียบ ลง แล้ว ยก ข้าง หนึ่ง ขึ้น เหยียบ ลง หลาย หน นั้น.
      ยั่ม ยี (555:7.1)
               นวต ยี, คือ เหยียบ ขะยี่ เท้า ลง. อย่าง หนึ่ง คน ทำ ข่มเหง, ว่า ยั่ม ยี.
      ยั่ม เหยียบ (555:7.2)
               เหยียบ ยั่ม, คือ เหยียบ ยั่ม ด้วย เท้า ที ละ ข้าง นั้น. อย่าง หนึ่ง คน ทำ ข่มเหง, ว่า ยั่ม เหยียบ.
ยั้ม (555:8)
         ขบ หนุบ ๆ, คือ เอา ฟัน กัต เบา ๆ ถี่ ๆ เหมือน สุนักข์ มัน กัต ยั้ม ตัว หมัต นั้น.
      ยั้ม หมัด (555:8.1)
               ขบ หมัต หนุบ ๆ, คือ เอา ฟัน กัต เบา ๆ ถี่ ๆ, เช่น สุนักข์ มัน กัด ยั้ม ตัว หมัต ที่ ตัว มัน นั้น.
      ยั้ม เลีย (555:8.2)
               ขบ เลีย, คือ ยั้ม แล้ว แลบ ลิ้น เลีย, เช่น สุนักข์ มัน กัต ยั้ม เลีย ตัว มัน นั้น.
ยาม (555:9)
         เวลา, คือ เวลา ไต้ สาม โมง ฤๅ สาม ทุ่ม นั้น, ว่า เปน ยาม หนึ่ง ตาม ภาษา ไท.
      ยาม กลาง คืน (555:9.1)
               เวลา กลาง คืน, คือ เวลา ไต้ สาม ทุ่ม ใน กลาง คืน นั้น, ว่า ยาม กลาง คืน.
      ยาม กิน (555:9.2)
               เวลา กิน, คือ เวลา ที่ เคย กิน, เช่น คน กำหนด เวลา ไว้ ครั้น ถึง กำหนด แล้ว กิน.
      ยาม เดิน* (555:9.3)
               เวลา เดิน*, คือ เวลา ที่ เคย เดิน*, คน กำหนด เว ลา ไว้ ว่า จะ เดิน* เวลา นั้น, ครั้น ถึง เข้า แล้ว เดิน นั้น.
      ยาม เที่ยว (555:9.4)
               เวลา เที่ยว, คือ เวลา ที่ เคย เที่ยว, คน กำ หนด ไว้ ว่า เวลา เท่า นั้น จะ ไป เที่ยว, ถึง เข้า แล้ว ไป เที่ยว นั้น.
      ยาม นั่ง (555:9.5)
               คราว นั่ง, เพลา, นั่ง, คือ เวลา เมื่อ นั่ง อยู่, คน กำหนด เวลา ไว้, ว่า ถึง เวลา นั้น จะ นั่ง, ถึง เข้า แล นั่ง อยู่ นั้น.

--- Page 556 ---
      ยาม นอน (556:9.6)
               เวลา นอน, คือ เวลา เมื่อ นอน อยู่, เขา กำหนด ไว้ ว่า เวลา นั้น จะ นอน, ครั้น ถึง เข้า ก็ นอน นั้น.
      ยาม หนึ่ง (556:9.7)
               เวลา หนึ่ง, คราว หนึ่ง, คือ ยาม แรก ยาม หัว ค่ำ, เรียก ว่า ยาม หนึ่ง. อย่าง หนึ่ง ทำ การ อยู่ สิ้น ยาม หนึ่ง นั้น.
      ยาม ต้น (556:9.8)
               คือ ปะถมะ ยาม ๆ ที่ หนึ่ง, เรียก ว่า ยาม ต้น, เพราะ ว่า วัน มี ยาม ถึง สี่ ยาม นั้น.
      ยาม กลาง (556:9.9)
               คือ ยาม ที่ สอง, เรียก ว่า ยาม กลาง นั้น.
      ยาม ปลาย (556:9.10)
               คือ ยาม ที่ สุด ยาม รุ่ง นั้น.
      ยาม เอย็น (556:9.11)
               คือ ยาม สิ้น ร้อน ด้วย แสง อาทิตย์, เปน เพลา ห้า โมง เสศ นั้น.
      ยาม ร้อน (556:9.12)
               คือ เวลา เมื่อ แดด กล้า, แล ร้อน ทั่ว ทุก แห่ง นั้น, เรียก ว่า ยาม ร้อน.
      ยาม อาทิตย์ (556:9.13)
               คือ ยาม ที่ หนึ่ง, เพราะ เขา นับ วัน หนึ่ง แปด ยาม, มี ยาม อาทิตย์ เปน ต้น จน ค่ำ นั้น.
      ยาม ศุกระ (556:9.14)
               คือ ยาม ที่ หก, เขา เรียก ว่า ยาม ศุกระ, คือ กำหนด เอา ชื่อ เทวะดา ที่ ชื่อ พระ ศุกระ นั้น.
      ยาม พุฒ (556:9.15)
               คือ ยาม สี่, เขา เรียก ว่า ยาม พุฒ, คือ อ้าง เอา ชื่อ เทวะดา, ที่ ชื่อ พระ พุฒ นั้น.
      ยาม จันท์ (556:9.16)
               คือ ยาม ที่ สอง, เรียก ว่า ยาม จันท์ นั้น, คือ อ้าง เอา ชื่อ เทวะดา ที่ ชื่อ พระ จันท์ นั้น.
      ยาม เสาร์ (556:9.17)
               คือ ยาม ที่ เจ็ด, เรียก ว่า ยาม เสาร์ นั้น, คือ เอา นาม ชื่อ เทวะดา ที่ ชื่อ พระ เสาร์ นั้น.
      ยาม ครู (556:9.18)
               คือ ยาม พฤหัศ บดี เปน ยาม ที่ ห้า, คือ นาม ชื่อ เท วะดา ที่ ชื่อ พระ พฤหัศ บดี นั้น.
      ยาม อังคาร (556:9.19)
               คือ ยาม ที่ สาม เรียก เปน ยาม ตาม ลำดัพ วัน ทั้ง เจ็ด, เปน ชื่อ เทวะดา ทั้ง เจ็ด ชื่อ.
      ยาม ทุกข์ (556:9.20)
               คราว ทุกข์, คือ เมื่อ คราว ต้อง ทุกข์ ลำบาก นั้น.
      ยาม ศุข (556:9.21)
               คราว ศุข, คือ เมื่อ คราว ได้ ความ ศุข นั้น.
      ยาม สะบาย (556:9.22)
               คราว สะบาย, คือ เวลา ที่ มี ความ สะบาย ใจ นั้น.
      ยาม สาม ตา (556:9.23)
               คำ นี้ เปน ชื่อ ยาม ลัทธิ หมอ ดู เคราะห์ แล ไข้ เจ็บ เปน ต้น นั้น, เรียก ยาม สาม ตา.
ย่าม (556:1)
         เหิม, ฮึก, คือ ของ ทำ ด้วย ผ้า เปน ต้น, มี ตัว มี สาย เขา ทำ สำหรับ ใส่ หมาก พลู เปน ต้น นั้น.
      ย่าม ใจ (556:1.1)
               เหิม ใจ, ฮึก ใจ, คือ ทะนง องอาจ ใจ, เช่น คน ได้ ที มี ไชย ได้ ชะนะ, มี ใจ เหิม ฮึก ไม่ เกรง กลัว นั้น.
      ย่าม ตะเครียว (556:1.2)
               คือ ย่าม เขา ชุน ด้วย ด้าย ฤๅ ไหม เปน ตา ตะ ราง, แล้ว ทำ เปน สาย สำหรับ ตะภาย.
      ยาม ละว้า (556:1.3)
               คือ ยาม ทำ ด้วย ผ้า ละว้า, เปน ผ้า เนื้อ หยาบ หนา กว่า ผ้า นุ่ง ห่ม, เปน ย่าม สำหรับ คน จน.
      ย่าม หัก ทอง ขวาง (556:1.4)
               คือ ย่าม อย่าง ดี มี ราคา มาก เขา ทำ มา แต่ เมือง จีน, มี ตัว มี สาย ปัก ด้วย ไหม ทอง สำหรับ พระ สงฆ์ ใช้ นั้น.
หยาม น้ำ หน้า (556:2)
         คือ เขา แกล้ง ทำ ฤๅ แกล้ง ว่า ให้ ได้ อาย ด้วย ไม่ เกรง ใจ, มี อยอก เมีย ต่อ หน้า ผัว เปน ต้น นั้น.
ยิ้ม (556:3)
         แย้ม, คือ ทำ ริม สีปาก แย้ม ไม่ เหน ฟัน, ด้วย ความ ชอบ ใจ ยินดี นั้น, เขา ว่า ยิ้ม มิ ใช่ หัวเราะ.
      ยิ้ม อยู่ ใน หน้า (556:3.1)
               คือ ยิ้ม แต่ หนิด น่อย ไม่ สำแดง อาการ ให้ ปรากฏ แก่ ตา คน นั้น, ว่า ยิ้ม ใน หน้า.
      ยิ้ม ย่อง (556:3.2)
               ยิ้ม ว่า แล้ว, แต่ ย่อง เปน คำ สร้อย.
      ยิ้ม ละไม (556:3.3)
               คือ ยิ้ม แล้ว ทำ หน้า เบือน ไป มา, ไม่ ใคร่ ให้ ผู้ ใด เหน นั้น, ว่า ยิ้ม ละไม.
      ยิ้ม หัว (556:3.4)
               คือ ยิ้ม แล หัวเราะ เสียง ดัง สำแดง ฟัน, คน ได้ ยิน ได้ ฟัง ฤๅ เหน ของ ที่ ขัน ๆ ยิ้ม หัวเราะ นั้น.
ยืม (556:4)
         คือ ฃอ เอา ของ มี เครื่อง มือ เปน ต้น, เอา ไป ใช้ การ แล้ว เอา ส่ง คืน นั้น, ว่า ฃอ ยืม.
      ยืม ของ (556:4.1)
               คือ มา ฃอ เอา ของ ไป ทำ การ แล้ว, เอา ของ กลับ มา ส่ง คืน กับ เจ้า ของ นั้น, ว่า ยืม ของ.
      ยืม เงิน (556:4.2)
               คือ คน มา บอก ว่า ข้า จะ ต้อง การ เงิน ไป ใช้ แล้ว จะ หา เงิน มา คืน ให้ แก่ ท่าน นั้น.
      ยืม อยิบ (556:4.3)
               คือ ยืม แล้ว อยิบ เอา ของ ไป นั้น, เช่น อยิบ ยืม เข้า ของ กัน ใช้ สอย เปน ต้น.
      ยืม ทอง (556:4.4)
               คือ คน มา ว่า ข้า จะ ต้อง การ ทอง เอา ไป ใช้ สรอย แล้ว ข้า จะ หา มา ส่ง คืน ให้ แก่ ท่าน นั้น.
      ยืม ให้ (556:4.5)
               คือ ช่วย ยืม ของ ให้ เขา นั้น, เขา วาน ช่วย ยืม ของ ให้ เปน ต้น นั้น.

--- Page 557 ---
หยุม หยิม (557:1)
         หยุกหยิก, คือ อาการ พูด จา ฤๅ อาการ ที่ ทำ, คน พูด จุกจิก จู้ จี้, ให้ เขา รำคาน* ใจ นั้น, ว่า หยุมหยิม.
ยุ่มย่าม (557:2)
         งู่มง่าม, คือ ซู่มซ่าม, คน มี หนวด รู่มร่าม ฤๅ คน เข้า มา หา หลาย คน, ถาม อะไร บ้าง อยิบ ฉวย เอา ของ อะไร บ้าง นั้น.
แย้ม (557:3)
         ขยาย, คล้าย, คือ แยก สี*ปาก ออก ภอ ประมาณ ไม่ เหน ไร ฟัน นั้น.
      แย้ม ความ (557:3.1)
               คือ ขยาย เนื้อ ความ ออก เล็ก น้อย นั้น.
      แย้ม กลีบ (557:3.2)
               เช่น ดอก ไม้ เกือบ จะ บาน, มัน ทำ กลีบ ขยาย น่อย ๆ นั้น.
      แย้ม บาน (557:3.3)
               คือ คลี่ บาน, เหมือน ดอก ไม้ ขยาย กลีบ เกือบ จะ บาน นั้น.
      แย้ม เกษร (557:3.4)
               ดอก ไม้ ใกล้ จะ บาน ขยาย กลีบ ภอ เหน เกษร นั้น.
      แย้มยิ้ม (557:3.5)
               คือ แย้ม สี ปาก ออก ภอ ปรากฏ แต่ ไม่ สำแดง จน เหน ฟัน นั้น.
      แย้ม ให้ (557:3.6)
               คือ ทำ ปาก ยิ้ม ให้ เขา เหน นั้น, เช่น คน ทำ อาการ ยิ้ม ๆ ราว กะ จะ แย้ม ความ ให้ เขา เปน ต้น.
      แย้ม หัว (557:3.7)
               คือ แย้ม ปาก สรวล, คน ชอบ ใจ การ อัน ใด อัน หนึ่ง, แล เหน ขัน ๆ แล หัวเราะ นั้น.
      แย้ม แจ่ม (557:3.8)
               เช่น ดวง จันท์ พึ่ง ฬ่อ ออก จาก เมฆ นั้น.
      แย้ม พราย (557:3.9)
               คือ ยิ้ม แล้ว บอก ความ, คน ยิ้ม แล้ว บอก เนื้อ ความ ตาม รู้ ตาม เหน นั้น.
แหยม (557:4)
         เปน ชื่อ คน ชื่อ แหยม มี บ้าง อย่าง หนึ่ง คน ไว้ ผม เปน อย่อม แหยม ที่ หัว มี บ้าง.
โยม (557:5)
         คน อุปถาก, คือ หญิง ชาย ที่ เปน บิดา มารดา ของ ลูก ชาย ที่ บวช เปน ภิกขุ, คือ พระสงฆ์ นั้น.
      โยม พระ (557:5.1)
               คน บำเรอห์ พระ, คือ ชาย หญิง ที่ เปน บิดา มารดา มี ลูก บวช เปน ภิกขุ สงฆ์ นั้น.
      โยม วัต (557:5.2)
               ลูก สิษ วัต, คือ เด็ก ที่ มัน อยู่ กับ พระ สงฆ์ ใน วัต นั้น, เขา เรียก โยม วัต.
      โยม สงฆ์ (557:5.3)
               คือ คน ผู้ ใหญ่ เปน เลข, ท่าน ให้ สัก ค่อ มือ ไว้ ให้ พระ สงฆ์ ใช้ สำหรับ วัต.
      โยม อุปะถาก (557:5.4)
               คือ คน ชาย หญิง มิ ใช่ ญาติ์, แต่ เขา ว่า ฃอ เปน โยม สำหรับ ปะติบัติ พระ สงฆ์ นั้น.
ยอม (557:6)
         ตาม, ไม่ ขัด ขืน, คือ ไม่ ขัด ขืน ทำ ตาม ใจ ฤๅ ให้ ตาม ใจ กัน เปน ต้น นั้น.
      ยอม กัน (557:6.1)
               ตาม กัน, อะนุญาต กัน, คือ ไม่ ขัด ขืน อะนุญาต ตาม ใจ มี ให้ ของ เปน ต้น.
      ยอม ด้วย (557:6.2)
               ยอม ตาม, ยอม บ้าง, คือ เปน ผู้ อื่น เขา ยอม ก็ ยอม ด้วย, ยอม ตาม เขา นั้น.
      ยอม ตาย (557:6.3)
               สมัก ตาย, อยาก ตาย ด้วย, คือ อยาก ตาย, เหมือน คน แพ้ ใน การ สงคราม ความ ลำบาก, อยาก ให้ เขา ฆ่า เสีย นั้น.
      ยอม ตาม (557:6.4)
               คือ ยอม ไป ตาม ใจ ผู้ อื่น ไม่ ขัด ขืน, คน จะ ไป สู่ ที่ อื่น แล เขา จะ เอา ไป ก็ ไป ตาม ใจ นั้น.
      ยอม ตัว (557:6.5)
               คือ อาการ ไม่ ขัด ขืน, เขา ไป ตาม ใจ เขา, เหมือน พระ เยซู นั้น.
      ยอม ไป (557:6.6)
               ยอม เปน, ยอม มา.
      ยอม อย่า (557:6.7)
               คือ ผัว ฤๅ เมีย ไม่ สมัก จะ อยู่ ด้วย กัน, แล ชวน พราก จาก กัน, ทำ หนังสือ สัญญา อย่า กัน.
      ยอม อยู่ (557:6.8)
               ยอม รับ, ยอม แล้ว.
      ยอม ว่า (557:6.9)
               คือ ไม่ ขัด ว่า แก่ กัน, คน มี ผู้ สั่ง ให้ ว่า กล่าว ธุระ อัน ใด ๆ, แล ผู้ นั้น ไม่ ขัด รับ ว่า กล่าว นั้น.
      ยอม ไว้ (557:6.10)
               คือ ไม่ ขัด รับ ทำ หนังสือ ยอม ไว้, คน สอง ฝ่าย เปน ความ กัน, แล มี ผู้ ตัด สีน เหน ดี ด้วย กัน ทำ หนังสือ ยอม กัน, ว่า ทำ ยอม ไว้.
      ยอม ให้ (557:6.11)
               ยอม ตาม, คือ ไม่ ขัด แล อนุญาต นั้น, มี ผู้ มา ฃอ ของ แก่ เมีย ๆ ต้อง บอก ผัว ๆ ให้ นั้น.
      ยอม เอา (557:6.12)
               รับ เอา, คือ ไม่ ขัด แล รับ ของ ไว้, เขา เอา ของ ที่ ยืม ไป ใช้ บุบ ฉลาย หนิด น่อย ก็ รับ ไว้ นั้น.
ย่อม (557:7)
         คือ ของ ไม่ โต ไม่ เล็ก เปน กลาง นั้น.
      ย่อม ทำ (557:7.1)
               คือ ต้อง ทำ จำ ทำ นั้น, เช่น พวก เพ็ช ฆาฏ ย่อม ประหาร พวก นักโทษ ให้ สิ้น ชีวิตร์ เปน ต้น.
      ย่อม (557:7.2)
                เปน ไป, คือ หาก เปน ไป เอง, เหมือน การ ฤๅ เหตุ ที่ หาก เกิด ขึ้น, หาก เปน ขึ้น นั้น.

--- Page 558 ---
      ย่อม เบี้ย (558:7.3)
               คือ เขา ลด ราคา เบี้ย ให้ แก่ ผู้ ซื้อ ไม่ เอา เต็ม รา คา นั้น.
      ย่อม มี มา (558:7.4)
               คือ หาก มี มา เอง, เหมือน ระดู ฤๅ ปี เดือน วัน คืน เปน ต้น, ที่ หาก มี มา นั้น.
      ย่อม เหน (558:7.5)
               คือ จำ เหน จำ เปน ดู นั้น, คำ ว่า เขา ย่อม เหน มา แล้ว เปน ต้น นั้น.
      ย่อม เยา (558:7.6)
               เบา ราคา, คือ ของ ที่ โต ไม่ ใหญ่ อย่าง หนึ่ง ของ ที่ มี ราคา ไม่ สู้ แพง นั้น, ว่า ย่อม เยา.
      ย่อม* รู้ (558:7.7)
               ต้อง รู้, คือ หาก รู้ เอง เช่น ทารก เล็ก ๆ ที่ เกิด ได้ วัน หนึ่ง สอง วัน แล มัน รู้ จัก กิน.
      ย่อม ว่า (558:7.8)
               ต้อง ว่า, คือ หาก ว่า, คน จะ มา เก็บ เอา ของ ใน บ้าน มี ดอก ไม้ เปน ต้น, เจ้า ของ ต้อง ว่า นั้น.
ย้อม (558:1)
         คือ จัด แจง ทำ ให้ ผ้า เปน ต้น มี ศรี ต่าง ๆ, มี ศรี เขียว เปน ต้น, ด้วย น้ำ สำหรับ ย้อม นั้น.
      ย้อม กรัก (558:1.1)
               คือ เอา น้ำ แก่น ขนุน มา แล้ว เอา ผ้า เปน ต้น ชุบ ลง ให้ ศรี ผ้า นั้น เหลือง ไป นั้น, น้ำ แก่น ขนุน นั้น, เรียก น้ำ กรัก.
      ย้อม ใจ (558:1.2)
               คือ จัด แจง แต่ง ตั้ง ใจ ที่ เปน บาป มี มลทิน อยู่, ให้ เปน ใจ บุญ ได้ นั้น, ว่า ย้อม แปลง ใจ.
      ย้อม ครั่ง (558:1.3)
               คือ เอา น้ำ ครั่ง มา แล้ว เอา ผ้า เปน ต้น, มา ชุบ ลง ให้ มี ศรี แดง เปน ศรี ครั่ง นั้น.
      ย้อม คราม (558:1.4)
               คือ เอา น้ำ คราม มา ใส่* ที่ ลง แล้ว เอา ผ้า เปน ต้น ชุบ ลง ให้ ศรี ผ้า นั้น เขียว ไป นั้น.
      ย้อม ทอง (558:1.5)
               คือ เขา เอา เครื่อง ยา ละลาย เปน น้ำ, แล้ว เอา ทอง คำ เผา ให้ แดง แล้ว ชุบ ลง ใน น้ำ* ยา นั้น.
      ย้อม ดิน แดง (558:1.6)
               คือ เอา ดิน แดง เทษ ฤๅ ไท มา ฝน ใส่ น้ำ ลง แล้ว เอา ผ้า ชุบ ลง ให้ ศรี แดง นั้น.
      ย้อม แมว ขาย (558:1.7)
               เปน คำ เขา พูด เปรียบ ว่า เหมือน ย้อม แมว ขาย, คือ เอา ของ ชั่ว เสีย เอา มา แต่ง ขาย, แล้ว ของ นั้น กลับ เสีย ไป นั้น.
      ย้อม ผ้า (558:1.8)
               คือ เอา น้ำ สำหรับ ย้อม อัน ใด ๆ ใส่ ที่ ลง แล้ว, เอา ผ้า เปน ต้น ชุบ ลง ให้ เปน ศรี ต่าง ๆ นั้น.
      ย้อม ฝาง (558:1.9)
               คือ เอา น้ำ ฝาง ใส่ ที่ ลง แล้ว, เอา ผ้า เปน ต้น ชุบ ลง ให้ เปน ศรี แดง เปน ฝาง นั้น.
      ย้อม ยำ (558:1.10)
               คือ ซัก ซ้อม เนื้อ ความ กัน, คน มี ความ แล เสี้ยม สอน กัน ให้ ว่า ตาม ชอบ ใจ นั้น.
      ย้อม ศรี (558:1.11)
               คือ เอา น้ำ สำหรับ ย้อม ศรี ต่าง ๆ ใส่ ที่ ลง แล้ว เอา ผ้า เปน ต้น ชุบ ลง ให้ เปน ศรี ต่าง ๆ
หยอม แหยม (558:2)
         คือ ของ มี หญ้า เปน ต้น, มัน ขึ้น อยู่ หนิด น่อย กะหรอม กะแหรม นั้น.
หย่อม (558:3)
         หมู่, จุก, คือ เปน จอม ขึ้น นั้น, เหมือน ต้น เข้า ฤๅ หญ้า เปน ต้น, เปน จอม สูง ขึ้น อยู่ เปน หมู่
      หย่อม หญ้า (558:3.1)
               หมู่ หญ้า, คือ เปน จอม สูง ขึ้น นั้น, ต้น หญ้า ที่ มัน ขึ้น สูง กว่า เพื่อน เปน หมู่ อยู่, ว่า หย่อม หญ้า.
      หย่อม บ้าน (558:3.2)
               หมู่ บ้าน, คือ บ้าน ตั้ง อยู่ เปน หมู่ เปน เหล่า เปน แห่ง ๆ นั้น, เรียก ว่า หย่อม บ้าน นั้น.
      หย่อม ไม้ (558:3.3)
               หมู่ ไม้, คือ ต้น ไม้ ที่ มัน ขึ้น สูง กว่า เพื่อน เปน หมู่ เปน เหล่า นั้น, ว่า หย่อม ไม้ นั้น.
เยี่ยม (558:4)
         เยียน, คือ เยียน, เหมือน คน ป่วย ไข้ ฤๅ ไม่ ได้ เหน กัน นาน แล ไป ดู ให้ รู้ เหตุ ว่า เปน อย่าง ไร นั้น.
      เยี่ยม กราย (558:4.1)
               คือ เยียน กราย, คน ไป เยียน คน ป่วย ไข้ เปน ต้น, ว่า ไป เยียน กราย คน ป่วย นั้น.
      เยี่ยม ไข้ (558:4.2)
               เยียน ไข้, ดู ไข้, คือ ไป ดู คน ไข้, คน เปน เพื่อน กัน ฤๅ เปน ญาติ์ กัน, ป่วย ไข้ ลง แล คน ไป ดู ว่า จะ เปน อย่าง ไร นั้น.
      เยี่ยม ดู (558:4.3)
               เยียน ดู, คือ ไป เยียน ดู, คน เปน เพื่อน ฤๅ เปน ญาติ์ กัน นาน แล้ว แล ไป ดู นั้น.
      เยี่ยม หน้า (558:4.4)
               ยื่น หน้า, คือ ฉะโงก ส่ง หน้า ออก ไป นั้น, เพื่อ จะ ดู ของ สิ่ง ใด ที่ อยู่ ข้าง ล่าง ฤๅ ข้าง นอก นั้น.
      เยี่ยม น่า ต่าง (558:4.5)
               ฉะโงก น่า ต่าง, เพื่อ จะ ดู สิ่ง อัน ใด ๆ นั้น, ว่า เยี่ยม น่า ต่าง.
      เยี่ยม บ้าน (558:4.6)
               เยียน บ้าน, ไป ดู บ้าน, คน มา จาก บ้าน ข้า นาน แล้ว ไม่ ได้ เหน ก็ ไป ดู บ้าน ของ ตัว.
      เยี่ยม เมือง (558:4.7)
               เยียน เมือง, คือ มา จาก เมือง ช้า นาน แล้ว ไม่ ได้ เหน ก็ ออก ไป ดู เมือง ที่ ตัว เคย อยู่ นั้น.
      เยี่ยม เยียน (558:4.8)
               คือ ไป ดู คน ป่วย ไข้ เปน ต้น, คน มี มิตร์ แล ญาติ์ ป่วย ไข้ ก็ ออก ไป ดู ว่า จะ เปน อย่าง ไร นั้น

--- Page 559 ---
      เยี่ยม ลูก (559:4.9)
               คือ ไป ดู บุตร์ ของ ตัว, คน มี บุตร์ อยู่ ที่ อื่น ระฦก ถึง ก็ ออก ไป เยี่ยม นั้น.
      เยี่ยม ออก มา (559:4.10)
               คือ ฉะโงก หน้า ออก มา, คน อยาก ดู อัน ใด ๆ ตัว อยู่ ข้าง ใน แล ยื่น* หน้า ออก ไป นั้น.
เยิ้ม (559:1)
         (dummy head added to facilitate searching).
      เยิ้ม น่า (559:1.1)
               คือ น้ำ ออก มา เปียก อยู่, เช่น ทำ น้ำ ตาล เขา เอา มีด ฝาน เข้า ที่ งวง ตาล มี น้ำ ออก ซาบ อยู่ นั้น.
      เยิ้ม เปียก (559:1.2)
               คือ ซาบ เปียก อยู่ นั้น, น้ำ ที่ ไหล เยิ้ม เปียก อยู่ ที่ งวง ตาล เปน ต้น นั้น.
      เยิ้ม ไหล (559:1.3)
               คือ ซาบ ไหล อยู่ นั้น, เช่น โลหิต ที่ เยิ้ม ไหล ออก จาก ปาก แผล เปน ต้น นั้น.
เย้ย (559:2)
         เยาะ, แดก ดัน, คือ กล่าว คำ เยาะ, คน เปน ฆ่าศึก ทำ สงคราม กัน, ฝ่าย ผู้ มี ไชย ชำนะ ว่า กล่าว ว่า นี้ ของ ใคร ๆ นั้น.
      เย้ย หยัน (559:2.1)
               เยาะ หยัน, คือ เย้ย หยาม, คน เปน ฆ่าศึก กัน ทำ สงคราม กัน ได้ ไชย ชำนะ, แล กล่าว คำ ว่า ฝีมือ ท่าน ดี จริง, เรา สู้ รบ ไม่ ได้ แล้ว.
      เย้ยเยาะ (559:2.2)
               เยาะเย้ย, คือ ยั่ว เยาะ, คน เปน ฆ่าศึก กัน เปน ต้น, แล มี ไชย ชำนะ, ว่า กล่าว ว่า ท่าน เปน คน ดี มี สะติ ปัญญา มาก, เรา สู้ ท่าน ไม่ ได้ แล้ว นั้น.
      เย้ย ไยไภย (559:2.3)
               เยาะ ไยไภย, คือ เยาะ ยั่ว สำแดง ไภย, คน มี ไชย ชำนะ ศึก เปน ต้น, แล้ว ว่า ท่าน มี ฝีมือ ดี เรา สู้ ไม่ ได้, ถ้า ได้ ช่อง เหน จะ* ถึง ชีวิตร์.
ยาย (559:3)
         มารดา ของ แม่, คือ หญิง ชะรา ฟัน หัก ผม หงอก อายุ มาก สัก ห้าสิบ เสศ นั้น, เขา เรียก ว่า ยาย.
      ยาย แก่ (559:3.1)
               คือ หญิง ชะรา ฟัน หัก ผมหงอก อายุ มาก คราว แม่ ของ แม่ นั้น, เรียก ว่า ยาย แก่.
      ยาย เกิด (559:3.2)
               คือ หญิง ชะรา ชื่อ ยาย เกิด. อย่าง หนึ่ง หญิง แก่ ตาย ไป ปัติ สนธิ ใน ชาติ์ อื่น นั้น.
      ยาย เฒ่า (559:3.3)
               คือ หญิง คร่ำคร่า ชะรา หนัก, เขา เรียก ยาย เฒ่า เพราะ อายุ เกิน แก่ ไป นั้น.
      ยาย ทวด (559:3.4)
               คือ หญิง รูป คร่ำคร่า ชะรา หนัก, แต่ หญิง นั้น เปน แม่ ของ ยาย, เปน ยาย ที่ สอง นั้น.
      ยาย ท้าว (559:3.5)
               ท่าน ท้าว, นาง ท้าว, คือ หญิง แก่ ชะรา, แต่ เปน คน ทรง, คือ ทำ ให้ ผี เข้า สิง อยู่ ใน ตัว, แล บอก เหตุ ผล ต่าง ๆ ที่ คน อื่น ไม่ ล่วง รู้ ล่วง เหน.
      ยาย ชี (559:3.6)
               หลวง ชี, นาง ชี, คือ หญิง แก่ ชะรา แล ไป บวช เปน รูป ชี นุ่ง ผ้า ขาว ห่ม ผ้าขาว ถือ ศีล แปด ตัว นั้น.
      ยาย มด (559:3.7)
               แม่ มด, นาง มด, คือ หญิง แก่ ชะรา, เปน คน ทรง สำหรับ ผี สิง, แล้ว บอก เหตุ ผล ที่ ผู้ อื่น ไม่ ล่วง รู้ ได้.
ย้าย (559:4)
         ยัก, ร่าย, คือ ยัก อย่าง, เหมือน คน ทำ เพลง ปี่ภาทย เปน ต้น, แล เพลง นี้ แล ยัก ไป ทำ เพลง อื่น นั้น.
      ย้าย การ (559:4.1)
               ยัก การ, ร่าย การ, คือ ยัก อย่าง, เหมือน คน ทำ การ สิ่ง นี้, แล วาง เสีย ไป ทำ การ อื่น ๆ ต่อ ไป ว่า ย้าย การ.
      ย้าย เจ้า (559:4.2)
               ยักเจ้า, ร่าย เจ้า, คือ ร่าย เจ้า, คน เดิม อยู่ กับ เจ้า องค์ นี้, แล เจ้า องค์ ยัง อยู่ ก็ ไม่ อยู่ ด้วย, ร่าย ไป อยู่ กับ เจ้า อื่น ต่อ ไป.
      ย้าย บ้าน (559:4.3)
               คือ ตั้ง อยู่ บ้าน นี้ แล้ว ออก จาก บ้าน นั้น แล้ว ไป ตั้ง บ้าน อื่น นั้น, ว่า ย้าย บ้าน.
      ย้าย ที่ (559:4.4)
               คือ ตั้ง อยู่ ที่ นี่ แล้ว ไป ตั้ง อยู่ ที่ อื่น นั้น.
      ย้าย ไป (559:4.5)
               คือ ร่าย ออก จาก ที่ นี่ ไป, คน เดิม อยู่ ที่ นี่ แล้ว รื้อ เร่ ร่าย ไป อยู่ ที่ อื่น นั้น.
      ย้าย ทาง (559:4.6)
               คือ ทำ ทาง อื่น จาก ทาง เก่า นั้น.
      ย้าย มา (559:4.7)
               ร่าย มา, ยัก มา, คือ ร่าย ออก จาก ที่ โน้น มา ตั้ง อยู่ ที่ นี่ นั้น.
      ย้าย ยัก (559:4.8)
               ยัก ย้าย, ร่าย ย้าย, คือ ร่าย เร่ ออก จาก ที่ เดิม เปน ต้น, แล้ว ไป ที่ อื่น ต่อ ไป นั้น, ว่า ยัก ย้าย.
      ย้าย หา (559:4.9)
               ยัก หา, ร่าย หา, คือ ร่าย หา, คน จะ สอด ไม้ ฤๅ เงื่อน เชือก เข้า ใน รู อัน ใด ๆ ไม่ ตรง เข้า แล ร่าย หา รู นั้น
ยาว (559:5)
         ยืด ไกล, ไม่ สั้น, คือ ยืด ไกล ฤๅ กาล นาน, ของ ไม่ สั้น ยืด ไป นั้น, ฤๅ กาล เวลา นาน นั้น.
      ยาว กว่า (559:5.1)
               ยืด ไกล กว่า, คือ ของ ที่ ยาว ยืด เกิน กัน, เหมือน ไม้ สอง อัน เปน ต้น, ครั้น เอา เทียบ เปรียบ กัน เข้า ดู อัน หนึ่ง สั้น, อัน หนึ่ง เกิน ออก ไป ว่า ยาว กว่า.
      ยาว ความ (559:5.2)
               ยืด ความ, มาก ความ, คือ ความ อัน ใด ยืด ยาว มาก นั้น, ว่า ยาว ความ นั้น.

--- Page 560 ---
      ยาว ยืด (560:5.3)
               ยืด ยาว, คือ ของ ฤๅ เรื่อง นิทาน ที่ มาก ไม่ ใคร่ จบ ลง ฤๅ แม่ น้ำ ลำ คลอง ที่ ไป ไกล นั้น.
      ยาว เยิ่น เย้อ (560:5.4)
               คือ ยาว เกิน ประมาณ, ของ ที่ ควร จะ ยาว แต่ เพียง นั้น, แล ของ นั้น ยาว ออก ไป มาก นั้น
      ยาว รี (560:5.5)
               เหมือน เรือน มัน ทอด ไป ตาม คลอง เปน ต้น, ว่า มัน รี ไป ตาม คลอง.
      ยาว เอยียด (560:5.6)
               ยืด เอยียด, คือ ยาว ซื่อ ทอด ออก ไป, เช่น เรือ พระ ที่ นั่ง เปน ต้น, ที่ ยาว กว่า เพื่อน นั้น.
ยุ่ย (560:1)
         คือ ของ ผุพรุ่ย เหมือน กะพี้ ไม้ ที่ แช่ อยู่ ใน น้ำ นาน, แล ผุ พรุ่ย เปื่อย อยิก ออก นั้น.
      ยุ่ย ยับ (560:1.1)
               คือ ของ มี เรือน เปน ต้น, มัน ยับ เยิน ลง นั้น, เช่น เรือ ผุ ยับ ยุ่ย ลง.
      ยุ่ย สุก (560:1.2)
               คือ สุก เปื่อย เหมือน ผล ไม้ เปน ต้น, ที่ มัน สุก เอง ฤๅ เขา ต้ม มัน สุก นั้น.
      ยุ่ย เปื่อย (560:1.3)
               คือ ผุ พรุ่ย, เหมือน ก้อน ดิน แห้ง แขง ฤๅ ก้อน ปูน ขาว, ที่ ถูก น้ำ แล ไน่ ออก ไป นั้น.
      ยุ่ย อ่อน (560:1.4)
               คือ ไน่ อ่อน, เช่น ของ มี หัว มัน เปน ต้น, เขา ต้ม มัน ไน่ อ่อน ไป นั้น.
ยุ้ย (560:2)
         คือ ย้อย ยาน ลง, เหมือน ท้อง หมู ที่ ตัว มัน อ้วน, แล ย้อย ยาน ลง อุ้ยอ้าย อยู่ นั้น.
      ยุ้ย อ้วน (560:2.1)
               คือ อ้วนพลุ้ย, คน อ้วน ท้อง ใหญ่ นั้น.
แหยว (560:3)
         แผล็ว, คือ แหวว, เหมือน กุ้ง ปลา ตัว เล็ก ๆ มัน โดด ขึ้น, แล้ว กลับ ลง ใน น้ำ เร็ว ๆ นั้น, ว่า มัน โดด แหยว ๆ.
      แหยว ไป (560:3.1)
               แผล็ว ไป, คือ แหวว ไป, เหมือน กุ้ง ปลา ตัว เล็ก ๆ มัน โดด ขึ้น แล้ว กลับ ลง ไป ใน น้ำ เร็ว ๆ นั้น.
      แหยว มา (560:3.2)
               แผลว มา, คือ แหวว มา, กุ้ง ฤๅ ปลา ตัว เล็ก ๆ มัน ทำ อาการ เหมือน ว่า นั้น แต่ โดด มา นั้น.
ย่อย (560:4)
         แหลก, แตก ป่น, คือ ทำ ให้ ของ แหลก เปน ผง ละ- เอียด, มี ก้อน เหล็ก แล ก้อน ดิน เปน ต้น นั้น, ว่า ย่อย.
      ย่อย ยับ (560:4.1)
               แหลก ยับ, ป่น ยับ, คือ ของ แหลก ละเอียด เปน ผง. อย่าง หนึ่ง ของ อัน ใด เสีย ไป, มี เสื้อ ผ้า เปน ต้น, ว่า ย่อย ยับ.
      ย่อย เหล็ก (560:4.2)
               แหลก เหล็ก, ป่น เหล็ก, คือ เอา เหล็ก ก้อน มา ทำ ให้ แหลก, คน เอา เหล็ก ก้อน ฤๅ เหล็ก แผ่น มา ทุบ ต่อย ให้ แหลก ออก นั้น.
      ย่อย แหลก (560:4.3)
               แหลก ย่อย, ป่น ย่อย, คือ ทำ ให้ แหลก แตก เปน เล็ด น้อย เล็ด ใหญ่, คน เอา ของ มา ทุบ ทำ ให้ ละ- เอียด นั้น.
      ย่อย หาย (560:4.4)
               แหลก หาย, ป่น หาย, คือ แหลก สูญ ไป, คือ ของ ที่ คน ทำ ให้ แหลก เลอียด เปน อะณู ปะระมานู ณูญ ไป.
ย้อย (560:5)
         คือ อยาด ห้อย, เหมือน ฝน ตก ลง, แล มี อยาด น้ำ ห้อย อยู่ ปลาย จาก ชาย คา นั้น.
      ย้อย ยาน (560:5.1)
               คือ หญิง ผู้ ใหญ่ มี ลูก นม มัน คล้อย ห้อย ลง นั้น.
      ย้อย แก้ม (560:5.2)
               คือ อยาด น้ำ ตา ย้อย ติด อยู่ ที่ แก้ม, คน ร้อง ให้ มี น้ำ ตา ไหล ติด อยู่ ที่ แก้ม นั้น.
      ย้อย หยด (560:5.3)
               คือ เม็ด น้ำ ที่ มัน ห้อย ย้อย อยู่ แล้ว ตก ลง นั้น, เช่น น้ำ ย้อย ชาย คา เปน ต้น.
      ย้อย คาง (560:5.4)
               ห้อย คาง, หยด คาง, คือ อยาด น้ำ ย้อย อยู่ ที่ คาง, คน กิน หมาก น้ำ หมาก หยด ห้อย อยู่ ที่ คาง นั้น.
      ย้อย ไหล (560:5.5)
               คือ หยด ไหล ห้อย อยู่, น้ำ ที่ เปน อยาด ห้อย แล้ว ไหล ลง นั้น.
      ย้อย ลง (560:5.6)
               คือ ห้อย ลง, เช่น อยาด น้ำ ที่ มัน ห้อย ลง อยู่ นั้น.
      ย้อย ออก (560:5.7)
               ห้อย ออก, หยด ออก, คือ น้ำ อยด ออก จาก งวง ตาล เปน ต้น, คน เอา มีด ปาด เข้า ที่ งวง ตาล แล้ว มี น้ำ อยด ออก นั้น.
หยอย (560:6)
         ผอย, คือ น้ำ เปน เม็ด ฝอย ๆ เล็ก ๆ ตก ลง, เหมือน เม็ด ฝน ตก ลง ห่าง ๆ ยัง ไม่ ถี่ หนัก นั้น.
      หยอย ตก (560:6.1)
               ผอย ตก, คือ น้ำ เปน เม็ด ฝอย เล็ก ๆ ตก ลง, น้ำ ฝน ที่ เปน เม็ด เล็ก ๆ ตก ลง ห่าง ๆ นั้น, ว่า หยอย ตก.
หย่อย (560:7)
         (dummy head added to facilitate searching).
      หย่อย ไป (560:7.1)
               ผ่อย ไป, อ่อย ไป, คือ อ่อย เอื่อย ไป, คน ให้ ของ กัน ฤๅ ไป หา กัน, และ ให้ บ่อย ๆ ที ละ น้อย ๆ ฤๅ ไป ที ละ คน นั้น.
      หย่อย มา (560:7.2)
               อ่อย มา, คือ อ่อย เอื่อย มา, คน จะ มา มาก แต่ ไม่ มา คราว เดียว พร้อม กัน ค่อย มา แต่ ที ละ คน ๆ นั้น.
      หย่อย หาย (560:7.3)
               อ่อย หาย, คือ อ่อย เอื่อย หาย ไป, คือ ของ ค่อย หาย ไป ที ละ เล็ก ละ น้อย นั้น.

--- Page 561 ---
ย้วย (561:1)
         ยาว ยื่น, คือ ยาว ยาน เกิน นั้น, เช่น ชาย ผ้า ฤๅ เสื้อ, ชาย หนึ่ง ย้อย ยาว ยาน กว่า กัน นั้น.
      ย้วย มุม (561:1.1)
               คือ ยาน ยาว ที่ มุม เกิน นั้น, เช่น มุม ผ้า สี่ มุม พับ เข้า ให้ เท่า กัน, แล มุม หนึ่ง ยาว ยื่น กว่า กัน นั้น, ว่า ย้วย มุม.
      ย้วย เสี้ยว (561:1.2)
               คือ ชาย ธง ที่ มัน ไม่ เปน สี่ เหลี่ยม, แล มัน เปน สาม มุม นั้น.
      ย้วย หน้า (561:1.3)
               ห้อย ย้อย หน้า, คือ ชาย ผ้านุ่ง ข้าง หน้า ห้อย ย้อย ลง นั้น.
      ย้วย ริม (561:1.4)
               ยาว ยื่น ตาม ริม, คือ ที่ ริม ผ้า ห้อย ย้อย ลง นั้น.
เยียว ยา (561:2)
         ยา เรือ, เยียว เปน คำ สร้อย, แต่ เหมือน ยา เรือ เปน ต้น, แล ยา ที่ แก้ โรค นั้น.
เยี่ยว (561:3)
         ปะสาวะ, เบา, คือ น้ำ มูต ที่ ออก ทาง ทวาร เบา, เรียก ว่า น้ำ ปะสาวะ บ้าง, คำ โลกย เรียก ว่า เยี่ยว.
      เยี่ยว ค่น (561:3.1)
               มูต ค่น, เบา ค่น, คือ น้ำ มูต ไม่ ใส ขุ่น ข้น เปน เพราะ โทษ โรค, มี โรค กล่อน เปน ต้น.
      เยี่ยว แดง (561:3.2)
               คือ น้ำ มูต มี ศรี แดง, คน มี โรค ใน ภาย ใน, น้ำ มูต ไม่ เปน ปรกติ ศรี วิปริต ไป นั้น.
      เยี่ยว แตก (561:3.3)
               คือ เยี่ยว ที่ คน กลั้น ไว้ เต็ม ที ทน อยู่ ไม่ ได้ มัน ขืน ดัน ออก มา นั้น.
      เยี่ยว เหลือง (561:3.4)
               คือ น้ำ มูต มี ศรี เหลือง, เกิด เพราะ โรค ใน ทาง ปสาวะ, มี ทั้ง ชาย หญิง นั้น.
      เยี่ยว เล็ด (561:3.5)
               คือ เยี่ยว ที่ มัน ออก ไม่ ใคร่ ได้, มัน หยด ออก หนิด ๆ นั้น.
      เยี่ยว หยด (561:3.6)
               เบา หยด, มูต หยด, คือ น้ำ มูต ไม่ ออก สดวก ค่อย ออก ที ละ น้อย หยด ย้อย ที ละ หยาด ๆ นั้น.
      เยี่ยว ไม่ ออก (561:3.7)
               เบา ไม่ ออก, คือ น้ำ มูต คั่ง ขัง อยู่, เมื่อ คน ไป เบา น้ำ มูต ไม่ ไหล ออก ได้ นั้น.
เหยี่ยว (561:4)
         เปน ชื่อ นก มี ปีก บิน ได้, มัน มี เล็บ ยาว จะง้อย ปาก คม นัก.
      เหยี่ยว ตะไกร (561:4.1)
               เปน ชื่อ นก มี ปีก บิน ได้, เขา เรียก ว่า เหยี่ยว ตะไกร นั้น.
      เหยี่ยว นก เขา (561:4.2)
               คือ เหยี่ยว ตัว มัน เท่า นกเขา มัน มี เล็บ ตีน ยาว, จะง้อย ปาก คม นัก นั้น.
      เหยี่ยว หะนุมาน (561:4.3)
               คือ นก, แต่ มัน เปน ชาติ เหยี่ยว, รูป ไม่ ใหญ่ นัก ไม่ เล็ก นัก เปน กลาง นั้น.
เยีย (561:5)
         คือ ทำ, คน ทำ การ สิ่ง ใด ๆ, มี ทำ กับ เข้า ฤๅ ของ หวาน เปน ต้น, เขา ว่า เยีย.
      เยีย ใด (561:5.1)
               คือ ทำ ไม, คน ทำ การ สิ่ง ใด ๆ, มี การ เย็บ ผ้า เปน ต้น, มี ผู้ ถาม ว่า เยีย ใด นั้น.
      เยียระยง (561:5.2)
               คือ ของ งาม เพริศ พริ้ง, เหมือน ของ มี เครื่อง ประดับ สพ เปน ต้น ว่า งาม เยียระยง.
เยื่อ (561:6)
         คือ ของ เปน เนื้อ น่อย ๆ, เช่น ผลไม้ เมื่อ ผล ยัง อ่อน มี เนื้อ บาง ๆ เปน ผิว หนิด น่อย นั้น.
      เยื่อ ใน กระดูก (561:6.1)
               คือ ของ ที่ มัน อยู่ ใน กระดูก แขน ขา เปน ต้น เปน ไส้ มัน อยู่ นั้น.
      เยื่อ มะพร้าว (561:6.2)
               คือ เนื้อ ใน ลูก มะพร้าว, เมื่อ มัน ยัง อ่อน แรก มี เนื้อ บาง ๆ เปน ผิว อยู่ นั้น.
      เยื่อ ใย (561:6.3)
               เยื่อ ว่า แล้ว, แต่ ใย นั้น มัน เปน เส้น หนิด ๆ เช่น ใย แมลงมุม เปน ต้น.
      เยื่อ ไม้ ไผ่ (561:6.4)
               คือ สิ่ง ที่ อยู่ ใน ลำ ไม้ ไผ่, คน ผ่า ลำไม้ ไผ่ ออก, แล มี ผิว ขาว บาง, เช่น กะดาด อยู่ ใน ปล้อง ไม้ ไผ่ นั้น.
      เยื่อ ยาง (561:6.5)
               เยื่อ ว่า แล้ว, แต่ ยาง เช่น ยาง ไม้ นั้น.
เหยื่อ (561:7)
         คือ สิ่ง ที่ เปน อาหาร, เขา เอา เบ็ด เกี่ยว ของ เข้า แล้ว ทิ้ง ลง จม น้ำ ไว้, เพื่อ จะ ให้ ปลา กิน เบ็ด เกี่ยว ปาก ไว้.
      เหยื่อ กุ้ง (561:7.1)
               คือ ของ กิน เขา เอา เบ็ด เกี่ยว ตก กุ้ง นั้น.
      เหยื่อ เกี่ยว เบ็ด (561:7.2)
               เชื้อ เกี่ยว เบ็ด, คือ สิ่ง ที่ คน เอา มา แล้ว เอา เบ็ด เกี่ยว เข้า ไว้, แล้ว ทิ้ง ลง ใน น้ำ เพื่อ จะ ตก ปลา.
      เหยื่อ ตก ปลา (561:7.3)
               เชื้อ ตก ปลา, คือ สิ่ง ที่ เขา เอา มา แล้ว เอา เบ็ด เกี่ยว เข้า, แล้ว ทิ้ง ลง น้ำ นั้น เพื่อ จะ ตก ปลา.
      เหยื่อ กา (561:7.4)
               อาหาร กา, คือ ของ ที่ เปน อาหาร กา, ของ อัน ใด อัน หนึ่ง ที่ กา กิน ได้ นั้น, ว่า เปน เหยื่อ กา.
      เหยื่อ เต่า (561:7.5)
               อาหาร เต่า, คือ ต้น ผัก ที่ เปน อาหาร, เช่น ปลูก ต้น บัว ไว้ ไม่ ระวัง รักษา, ก็ จะ เปน เหยื่อ เต่า.
      เหยื่อ หนู (561:7.6)
               อาหาร หนู, คือ เปน อาหาร แห่ง หนู, เหมือน ปลูก เข้า ฤๅ เข้า โภช เปน ต้น, ไม่ รักษา ก็ เปน เหยื่อ หนู.
      เหยื่อ นก (561:7.7)
               อาหาร นก, คือ ของ เปน อาหาร แห่ง นก, คน ปลูก เข้า ไว้ ไม่ ระวัง รักษา, ก็ จะ เปน เหยื่อ นก นั้น.

--- Page 562 ---
      เหยื่อ ปลา (562:7.8)
               อาหาร ปลา, คือ ของ เปน อาหาร แห่ง ปลา, คน ปลูก เข้า ไว้ ที่ น้ำ ท่วม ปลา มา กิน ได้, ว่า เปน เหยื่อ ปลา.
      เหยื่อ แร้ง (562:7.9)
               อาหาร แร้ง, คือ เนื้อ สัตว ตาย, เปน อาหาร แห่ง แร้ง, คน เถือ เนื้อ สัตว ฤๅ คน ให้ เปน เหยื่อ แก่ แร้ง.
เย่อ (562:1)
         คร่า, ทึ้ง, คือ การ ที่ คน เอา มือ จับ เข้า แล้ว คร่า ลาก มา นั้น.
      เย่อ กัน (562:1.1)
               คร่า กัน, ทึ้ง กัน, คือ คน สอง คน ต่าง คน ต่าง จับ กัน กระชาก มา คร่า ไป นั้น.
      เย่อ ฉุด (562:1.2)
               คร่า ฉุด, ทึ้ง ฉุด, คือ กระ ชาก ฉวย จับ ไว้, คน จับ ของ อัน ใด ๆ แล้ว ชัก ดึง ไว้ นั้น, ว่า เย่อ ฉุด
      เย่อ ชัก (562:1.3)
               คร่า ชัก, ฉุด ชัก, คือ ดึง รั้ง, คน เอา มือ จับ ของ อัน ใด ๆ แล้ว ดึง รั้ง หน่วง ไว้ นั้น.
      เย่อ ชิง (562:1.4)
               ฉุด ชิง, ทึ้ง ชิง, คือ ชัก ดึง ชิง กัน, คน สอง คน เปน ต้น ต่าง คน ต่าง ชัก ดึง ชิง ของ กัน นั้น.
      เย่อ ทึ้ง (562:1.5)
               ฉุด ทึ้ง, คร่า ทึ้ง, คือ ชัก ดึง แล้ว ทึ้ง ออก ไป, คน ชัก เอา ฃอง อัน ใด ๆ ได้ แล้ว แล้ว ทึ้ง เสีย นั้น
      เย่อ ผ้า (562:1.6)
               ฉุด ผ้า, คร่า ผ้า, คือ ฉวย ฉุด รั้ง เอา ผ้า, คน เอา มือ จับ ผ้า แล้ว ฉุด รั้ง ดึง ไว้ นั้น, ว่า เย่อ ผ้า.
      เย่อ ยื้อ (562:1.7)
               คือ เหนี่ยว ฉุด กัน, คือ คน เปน นี่ ติด ทรัพย กัน, มา ภบ กัน แล เหนี่ยว ฉุด กัน.
      เย่อ แย่ง (562:1.8)
               คือ เหนี่ยว แย่ง ชิง กัน, คน เปน ผู้ เก็บ เงิน ค่า ตลาด, แล เหนี่ยว ชิง ของ กัน นั้น.
      เย่อ ลาก (562:1.9)
               คือ กระชาก ลาก นั้น, คน ยื้อ แย่ง ฉุด ลาก กัน เปน ต้น นั้น.
      เย่อ หยิ่ง (562:1.10)
               เผยอ หยิ่ง, จองหอง หยิ่ง, คือ คน จองหอง, คน มี ทรัพย ฤๅ มี ยศ, มี มานะ ถือ ตัว ว่า เปน คน มั่งมี นั้น.
เหยอ (562:2)
         เหลอ, คือ เหยอ แหยะ, คน กิน อาหาร มิ ใคร่ ได้, เคี้ยว ผยำ แผยะ นั้น, ว่า เคี้ยว เหยอ แหยะ.
เยอะ (562:3)
         คือ เลอะ ออก, แผล ที่ ตัว คน มี แผล ฝี เปน ต้น, แล มัน เฉอะ ชื้น ออก นั้น.
      เยอะ แผล (562:3.1)
               คือ แผล เปื่อย ออก นั้น, แผล มะเร็ง ดอก บุก เปน ต้น.
ยั่ว (562:4)
         เย้า, เย้ย, คือ เย้ย เล่น, เล่น การ พะนัน เปน ต้น, ได้ ไชย ชะนะ แล เย้ย เล่น, ว่า เขา ดี จริง หนอ.
      ยั่ว ใจ (562:4.1)
               เย้า ใจ, เย้ย ใจ, คือ เย้ย เล่น ให้ เจ็บ ใจ, คน เล่น การ พะนัน เปน ต้น ได้ ชะนะ, แล แกล้ง ว่า เขา ดี นัก เรา สู้ ไม่ ได้.
      ยั่ว ฆ่าศึก (562:4.2)
               เย้า ฆ่าศึก, เย้ย ฆ่าศึก, คือ เยาะ เย้ย คน เปน เวร กัน, เขา สู้ รบ กัน ผู้ ได้ ชะนะ เยาะเย้ย นั้น.
      ยั่ว ทัพ (562:4.3)
               เย้า ทัพ, เย้ย ทัพ, คือ เย้ย ฆ่าศึก กอง ทัพ, คน สอง ฝ่าย ยก พล ทหาร มา สู้ รบ กัน, ยัง อยู่ ใน ทัพ ใน ค่าย แล เยาะ เย้ย กัน นั้น.
      ยั่ว เย้า (562:4.4)
               เย้ย เย้า, คือ เยาะ เย้ย, คน มี ไชย ได้ ชะนะ ด้วย การ ใด ๆ แล เยาะ เย้ย เล่น เช่น ว่า นั้น.
      ยั่ว ยวน ใจ (562:4.5)
               คือ ทำ ให้ ใจ กำเริบ ด้วย ความ กระสัลย ใน กาม คุณ มี แสดง อาการ ใน ที่ ลับ เปน ต้น.
      ยั่ว หยัน (562:4.6)
               คือ ยั่ว เยาะ นั้น, เช่น* คน พูดจา ถาก ถาง ให้ เกิด โทโษ เปน ต้น นั้น.
      ยั่ว เยาะ (562:4.7)
               คือ เย้า ยั่ว, คน มี ไชย ได้ เปรียบ ด้วย การ อัน ใด อัน หนึ่ง แล เย้า ยั่ว เล่น นั้น.
      ยั่ว หยอก (562:4.8)
               คือ ล้อ ยอ เล่น กัน เปน ต้น ว่า แกล้ง พูด ว่า เขา ดี เปน ต้น.
แยะ (562:5)
         แตก, ร้าว, คราก, คือ แยก, เช่น กำแพง แตก ออก ก็ ว่า แยก. อย่าง หนึ่ง ฝาผนัง ร้าว แตก นั้น.
      แยะ คราก (562:5.1)
               แตก คราก, ร้าว คราก, คือ ร้าว แยก, เช่น กำแพง ฤๅ ฝาผนัง เปน ต้น มัน ร้าว แยก ออก มาก นั้น.
แยะ แยก (562:6)
         แตก แยก, คราก แยก, คือ ร้าว แยะ แบะ, กำแพง ฤๅ ฝา ผนัง เปน ต้น มัน ร้าว คราก ว่า แยะ แยก.
      แยะออก (562:6.1)
               แตกออก, ครากออก, คือ แยะ แบะ คราก, กำแพง แล ฝาผนัง เปน ต้น มัน ร้าว คราก แยก นั้น.
แหยะ (562:7)
         แบะ, แฉะ, คน ทำ การ อัน ใด ไม่ รู้ แล้ว, ว่า ผู้ นั้น ทำ หยำ แหยะ ทำ ฉำแฉะ นั้น.
เยาะ (562:8)
         (dummy head added to facilitate searching).
      เยาะ หยัน (562:8.1)
               เย้ย หยัน, ถาก ถาง, คือ เย้ย หยัน, คน มี ไชย ได้ ชะนะ ศึก เปน ต้น, แล กล่าว คำ เย้ย หยาม เช่น ว่า แล้ว, ให้ เจ็บ ใจ นั้น.
      เยาะ เย้ย (562:8.2)
               คือ เย้ย หยาม, คน มี ไชย ชะนะ สงคราม เปน ต้น, แล กล่าว คำ เย้ย หยาม นั้น.

--- Page 563 ---
      เยาะ ไยไภย (563:8.3)
               คือ เย้ย พลาง แสดง ไภย พลาง นั้น, เช่น คน พูด เยาะ เย้ย ตะคอก หลอก หลอน ต่าง ๆ.
      เยาะ เล่น (563:8.4)
               สัพยอก เล่น, เย้ย เล่น, คือ เย้ย เล่น, คน มี ไชย ได้ ที แล้ว ว่า กล่าว ว่า เขา มี ฝีมือ นัก, เรา สู้ รบ เขา ไม่ ได้ นั้น.
เหยาะ (563:1)
         เหย่า, เติม ลง, คือ เหย่า, คน เดิน เร็ว ๆ ไม่ วิ่ง นั้น, ว่า เดิน เหยาะ ๆ. อย่าง หนึ่ง วิ่ง ช้า ๆ, ว่า วิ่ง เหยาะ ๆ
      เหยาะ* แหยะ (563:1.1)
               ไม่ แขง แรง, เบา บาง, คือ ทำ* การ งาน ไม่ เข้ม แขง ทำ อ่อน แอ ง่อนแง่น นั้น, เขา ว่า ทำ การ เหยาะแหยะ.
      เหยาะ เหย่า (563:1.2)
               เดิน หย่อง ๆ, เดิน ด่อง ๆ, คือ เดิน ฤๅ วิ่ง ไม่ เร็ว นัก, คน มี ธุระ ด่วน แล วิ่ง ไม่ สู้ เร็ว นัก ไม่ ช้า นัก นั้น.
ยอ (563:2)
         ยก ย่อง, สรรเสอญ, คือ กล่าว คำ สรรเสอญ, ว่า ท่าน ผู้ นั้น ใจ ดี เปน ต้น, เขา ว่า พูด ยอ อย่าง เปน ชื่อ ต้นไม้ ชื่อ ต้น ยอ นั้น.
      ยอ กร (563:2.1)
               คือ ยก มือ ขึ้น ไหว้, มี คำ ว่า ข้า ยอ หัตถ์ เปน ต้น.
      ยอ กัน (563:2.2)
               คือ กล่าว คำ สรรเสอญ กัน ว่า คน นั้น รู้ หนังสือ ดี, ฤๅ มี* วิชา เปน ช่าง ดี มี ช่าง ทำ เรือ เปน ต้น นั้น.
      ยอ เข่า (563:2.3)
               คือ งอ เข่า ยก ขึ้น นั้น, เช่น คน ชกมวย ยอ กัน ด้วย เข่า เปน ต้น นั้น.
      ยอ ครู (563:2.4)
               คือ กล่าว สรรเสอญ คน ผู้ เปน ครู, ว่า ครู ของ เรา ดี ไม่ มี คน อื่น เสมอ เลย นั้น.
      ยอ ขึ้น (563:2.5)
               คือ ยก ขึ้น นั้น, บ้า ยุ ยอ ขึ้น เปน ต้น นั้น.
      ยอ เพื่อน (563:2.6)
               คือ กล่าว ยก สรรเสอญ เพื่อน, ว่า เพื่อน เรา คน นั้น มี วิชา ความ รู้ ไม่ มี ใคร สู้ ได้.
      ยอ พระเกรียติ (563:2.7)
               คือ สรรเสอญ เกรียติยศ แห่ง กระษัตริย นั้น.
      ยอ ยก (563:2.8)
               คือ กล่าว ยก ย่อง ผู้ ใด ผู้ หนึ่ง, ว่า คน นั้น เขา ดี จริง ไม่ มี ใคร สู้ รบ ได้ เลย.
      ยอ บ้าน (563:2.9)
               คือ ต้นไม้ ชื่อ ต้น ยอ, มี อยู่ แต่ ที่ บ้าน ไม่ มี ใน ป่า.
      ยอ ป่า (563:2.10)
               เปน ชื่อ ต้นไม้, เขา เรียก ต้น ยอ ป่า เพราะ มัน มี อยู่ ใน ป่า นั้น เปน ธรรมดา.
      ยอ มิตร (563:2.11)
               คือ กล่าว คำ ยก คน ที่ เปน มิตร สหาย, ว่า มิตร สหาย เรา ดี นัก.
      ยอ สรรเสอญ (563:2.12)
               คือ กล่าว คำ ยก ย่อง ขึ้น นั้น, คำ ว่า สรรเสอญ เยิน ยอ เปน ต้น นั้น.
      ยอ แสง (563:2.13)
               คือ ดวง อาทิตย ส่ง แสง เมื่อเวลา บ่าย* ห้า โมง เสศ นั้น, ว่า ยอ แสง.
ย่อ (563:3)
         คือ ทำ ตัว ให้ ต่ำ ลง, คน ตัว สูง เข้า ยืน เปรียบ จะ ชกมวย กัน, แล ถ่อม ตัว ลง นั้น.
      ย่อ เข่า (563:3.1)
               คือ งอ เข่า ให้ ต่ำ ลง, คน สูง แล จะ ทำ ให้ ตัว ต่ำ ลง น่อย หนึ่ง* แล ย่อ งอ เข่า เข้า นั้น.
      ย่อ เข้า (563:3.2)
               คือ ย่น เข้า, เช่น ทอง อังกฤษ ที่ จีน ย่น เอา มา ขาย แต่ เมือง จีน นั้น.
      ย่อ ความ (563:3.3)
               คือ ทำ ให้ เรื่อง ความ น้อย เข้า, เช่น เรื่อง ความ ยาว แล ตัด ลัด ให้ สั้น นั้น.
      ย่อ ต่ำ (563:3.4)
               คือ ทำ ตัว ให้ ย่น ต่ำ ลง นั้น, คน ย่อ ตัว ต่ำ ลง พูด กับ ขุนนาง เปน ต้น นั้น.
      ย่อ ตัว (563:3.5)
               คือ ทำ ให้ ตัว ต่ำ ลง, คน ตัว สูง แล แกล้ง ทำ ตัว ให้ ต่ำ ลง นั้น.
      ย่อ เตี้ย (563:3.6)
               คือ ย่น ต่ำ ตัว ลง นั้น, เช่น คน ก้ม ตัว ใน ท่ำ กลาง ที่ ประชุม* ขุนนาง เปน ต้น นั้น.
      ย่อ ท้อ (563:3.7)
               คือ ท้อ แท้ ใจ ไม่ องอาจ นั้น, แม่ ทัพ ที่ ไม่ องอาจ แล ย่อท้อ ฆ่าศึก เปน ต้น.
      ย่อ ทาง (563:3.8)
               คือ ทำ หน ทาง ไกล ย่น ให้ ใกล้ เข้า นั้น, คือ เทวะดา กระทำ, ได้ มี มา แต่ ก่อน.
      ย่อ ไม้ สิบสอง (563:3.9)
               คือ ทำ ที่ เหลี่ยม มุม ให้ บุ้ม ลด ว้ำ เข้า, มี น่า กระดาน เปน ไม้ สิบสอง นั้น.
      ย่อ แย่ (563:3.10)
               คือ ท้อ แท้ ใจ ย่อ หย่อน ไป นั้น, เช่น แม่ ทัพ ทำ สงคราม ไม้ เข้ม แขง เปน ต้น นั้น.
      ย่อ ย่น (563:3.11)
               คือ ท้อ ถอย หด หู่ นั้น, เช่น หนัง สัตว เผา ไฟ, ฤๅ ทหาร ถอย ทัพ เปน ต้น นั้น.
      ย่อ หย่อน (563:3.12)
               ท้อ ถอย, คือ ย่น หย่อน, คน ขึง เชือก ไว้ ตึง แล้ว ผ่อน ให้ ทอด ทาบ ลง นั้น, ว่า หย่อน.
      ย่อ ลง (563:3.13)
               คือ ทำ ตัว ให้ ต่ำ ลง, ย่อ ตัว ลง ฤๅ ย่อ เข่า ลง เปน ต้น นั้น.
      ย่อ เหลี่ยม (563:3.14)
               คือ ทำ ที่ เหลี่ยม ให้ ว้ำ เข้า น่อย หนึ่ง, คือ ก่อ ถาน พระเจดีย เปน ต้น, แล ทำ ที่ เหลี่ยม มุม นั้น ให้ ว้ำ เข้า นั้น.

--- Page 564 ---
      ย่อ ไว้ (564:3.15)
               ย่น ไว้, คือ ย่น ไว้, คน ทำ ไม้ ฤๅ เหลี่ยม กำแพง เปน ต้น, ให้ เหลี่ยม บุ้ม ว้ำ ลด เข้า นั้น.
      ย่อ องค (564:3.16)
               ลด องค, คือ ย่อ ตัว, เรียก ว่า ย่อ องค นั้น เปน คำ สูง นั้น
      ย่อ อ่อน (564:3.17)
               คือ ย่น อ่อน ไป นั้น. คน อิด โรย ทำ การ ท้อ ถอย ไม่ แขง แรง เปน ต้น นั้น.
ย้อ แย้ (564:1)
         คือ อาการ ที่ เดิน เหมือน เป็ด นั้น. อนึ่ง เดิน เช่น คน เปน ฝี ที่ ก้น นั้น.
(564:2)
         
รา (564:3)
         คือ รั้ง ฉุด ไว้, ว่า รา ไว้. อย่าง หนึ่ง ของ มี รา ขึ้น เหมือน ของ กิน มี เข้า เปน ต้น ที่ ทิ้ง ไว้.
      รา กัน ไป (564:3.1)
               คือ คน ฉุด รั้ง กัน ไป, คน มา จับ ตัว คน, ครั้น ภบ ตัว ก็ รั้ง เอา ตัว ไป นั้น, ว่า รา กัน ไป.
      รา คอ (564:3.2)
               คือ ขัด คาน ไว้, คน ปลูก เรือน ยก เสา ใส่ ลง หลุม, เสา หลวม หลุม เอน ไป ข้าง โน้น, โอน มา ข้าง นี้, เขา เอา ไม้ ใส่ ลง ขัด คาน ไว้ ที่ ปาก หลุม นั้น, ว่า ราคอ เสา ไว้.
ราคา (564:4)
         คือ ค่า ของ ทุก อย่าง มี ผ้า เปน ต้น ว่า ราคา, คน จะ ซื้อ ของ ถาม กัน ว่า ราคา เท่า ไร นั้น.
      ราคา ทิกิเลศ (564:4.1)
               ฯ แปล ว่า ของ ไม่ มี รูป, มี ใน กาย มนุษ ฤๅ สัตว ดิรัจฉาน, มี ความ กำนัศ เปน ต้น เปน การ ที่ จะ ให้ รูป กาย เสร้าหมอง นั้น, ว่า ราคาทิกิเลศ.
ราคี (564:5)
         คือ ของ เปน มลทิน มี สนิม เปน ต้น, เช่น ของ เดิม ใหม่ มา ภาย หลัง มัว หมอง ไป, ว่า มี ราคี ขึ้น นั้น
ราคะ ตัณหา (564:6)
         ฯ คือ ความ อยาก ที่ มัน ค่อง อยู่ ใน ใจ นั้น, เช่น คน อยาก ได้ กามคุณ ต่าง ๆ เปน ต้น นั้น.
ราชา (564:7)
         ฯ แปล ว่า คน เปน พระยา, คน มี กุศล ได้ ทำ ไว้ ใน ชาติ ก่อน ให้ ผล ได้ เปน ขุนหลวง นั้น.
      ราชาคณะ (564:7.1)
               คือ หมู่ แห่ง ราชาคณะ นั้น, มี พระราชาคณะ มี สมเด็จ พระสังฆราช เปน ต้น.
      ราชาธิราช (564:7.2)
               ฯ แปล ว่า พระยา อย่างยิ่ง กว่า พระยา อื่น, เหมือน พระยา จักรพรรติ.
      ราชาภิเศก (564:7.3)
               ฯ แปล ว่า รด น้ำ ลง สมมุติ ว่า คน นั้น เปน พระยา ครอง ราชสมบัติ ใน เมือง หลวง นั้น.
      ราชาศรับท์ (564:7.4)
               คือ สำเนียง ของ พระยา นั้น, พูด คำ ท้าว คำ พระยา เปน ต้น นั้น.
      ราชาวะดี (564:7.5)
               คือ เปน ชื่อ การ กระทำ ถมยา นั้น, มี คำ ว่า ถมรา ชาวะดี, ฤๅ เจ้า ราชาวะดี เขมร เปน ต้น นั้น.
      ราชามาตย (564:7.6)
               เปน ชื่อ ตำแหน่ง ที่ ขุนนาง น้อย ๆ นั้น, เช่น จะหมื่น ราชามาตย ปลัด ตำรวจ เปน ต้น นั้น.
ราชู (564:8)
         คือ ของ พระยา นั้น.
ราไชย (564:9)
         คือ พระยา เปน ใหญ่ นั้น.
ราโชวาท (564:10)
         คือ โอวาท ของ พระยา นั้น.
ราเชนทร์ (564:11)
         คือ ชื่อ เครื่อง หอม อย่าง หนึ่ง นั้น. มี คำ ว่า ชะ มด ภิมเสน ราเชนทร์ กฤษนา เปน ต้น.
ราตรี (564:12)
         คือ เวลา ค่ำ มืด นั้น, เช่น คำ ว่า เที่ยง คืน ราตรี, ฤๅ ประ*ทับ แรม มา หลาย ราตรี เปน ต้น นั้น.
      ราตรี กาล (564:12.1)
               คือ เวลา ค่ำ นั้น, มี เวลา กลาง คืน เปน ต้น นั้น.
      ราตรี ภาคย (564:12.2)
               คือ ส่วน แห่ง ราตรี นั้น, เช่น คำ ว่า ให้ ยับ ยั้ง อาไสรย อยู่ สิ้น ส่วน แห่ง ราตรี เปน ต้น.
ราโท (564:13)
         คือ ไม้ ราโท ที่ เสิม เปน ลวด อยู่ ตาม ข้าง ตะเภา ทั้ง สอง ข้าง นั้น, คำ ว่า ราโท ตะเภา เปน ต้น.
รา น้ำ (564:14)
         คือ สิ่ง ของ ที่ รา ทวน น้ำ อยู่ นั้น, เช่น คน ลง รอ รา น้ำ ฤๅ เอา ภาย ราน้ำ เปน ต้น นั้น.
รา บูด (564:15)
         คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ บูด แล้ว รา ด้วย นั้น, ขนม ของ กิน รา บูด อยู่ หลาย วัน เปน ต้น.
รา ไป (564:16)
         คือ ความ ที่ เหือด ซา น้อย ลง นั้น, เช่น คน ทำ การ รา ไป ฤๅ ไฟ รา ไป เปน ต้น นั้น.
รา ไฟ (564:17)
         คือ การ ที่ ทำ ไฟ ให้ รา เหือด ลง นั้น, เช่น รา ไฟ ที่ เตา น้ำตาล ทราย เปน ต้น นั้น.
รามัญ (564:18)
         เปน คน ภาษา หนึ่ง, คือ มอญ คน จำพวก นี้ เกิด ใน รามัญ ประเทศ นั้น.
รา รอ (564:19)
         คือ การ ที่* คน เอา ภาย ลง รอ รา น้ำ ไว้ นั้น.
รา รั้ง (564:20)
         คือ การ ที่ คน เอา ไม้ ลง ปัก รา รั้ง ไว้ นั้น, เช่น ลง เฝือก รา รั้ง ไว้ เปน ต้น.
รา แรม (564:21)
         คือ รา ค้าง อยู่ นั้น, เช่น ว่า ประทับ ร้อน แรม มา หลาย วัน เปน ต้น.

--- Page 565 ---
รา เริด (565:1)
         คือ การ ที่ รา ห่าง ไป นั้น, เช่น คน ทำ การ รา เริด ร่วง โรย ไป เปน ต้น.*
รา โรย (565:2)
         คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ รา แล้ว โรย ไป นั้น, เช่น เห็ด รา โรย เปน ต้น.
รา เรือ (565:3)
         คือ การ ที่ รอ* เรือ ไว้ นั้น, คน รอ* เรือ เพื่อ จะ ให้ อยุด เปน ต้น.
ราศรี (565:4)
         ฯ แปล ว่า กอง, ใน ตำรา คัมภีร์ โหร ว่า มี สิบสอง ราศรี คือ ห้อง เปน สวน ๆ นั้น.
      ราศี เมศ (565:4.1)
               คือ ราศรี มี ใน อากาศ, สิบ สอง ราศรี ว่า หัน เวียน ใน อากาศ วัน ละ รอบ, มี ราศรี เมศ เปน ต้น มี ดาว ฤกษ สาม ฤกษ นั้น.
      ราศรี พฤกศภ (565:4.2)
               เปน ราศรี ที่ สอง, มี ดาว ฤกษ สอง ฤกษ กึ่ง, คือ กิติกา แล โรหินี แล มิคะเศียร นั้น.
      ราศรี เมถุน (565:4.3)
               เปน ราศรี ที่ สาม, มี ดาว ฤกษ สาม ฤกษ, คือ มิคะเศียร, แล อัทธะระ, แล บุณะพะษุ.
      ราศรี กระกฏ (565:4.4)
               เปน ราศรี ที่ สี่, มี ดาว ฤกษ สาม, คือ บุณะ พะสุ, แล บุศะยะ, แล อัศเล็ข.
      ราศรี สิงห์ (565:4.5)
               เปน ราศรี ที่ ห้า, มี ดาว ฤกษ สอง ฤกษ, คือ มาฆะ ฤกษ, แล บุพผละคุณี.
      ราศรี กัญ (565:4.6)
               เปน ราศรี ที่ หก, มี ดาว ฤกษ สาม, ตะระผละคุ ณี, แล หัศะถะ, แล จิตระ.
      ราศรี ดุลย์ (565:4.7)
               เปน ราศรี ที่ เจ็ด, มี ดาว ฤกษ สอง ฤกษ, คือ สวัฎิ ฤกษ หนึ่ง, วิศาขะ ฤกษ หนึ่ง.
      ราศรี พิจิตร์ (565:4.8)
               เปน ราศรี ที่ แปด, มี ดาว ฤกษ สอง คือ อะ นุราธะ ฤกษ, แล เชฐ ฤกษ.
      ราศรี ธะนู (565:4.9)
               เปน ราศรี ที่ เก้า, มี ดาว ฤกษ สอง, คือ มูละ ฤกษ, แล บุพพา สาฬหะ.
      ราศรี มังกร (565:4.10)
               เปน ราศรี ที่ สิบ, มี ดาว ฤกษ สาม, คือ อุตะรา สาฬหะ, แล สาวะนะ, แล ธะนิศะ.
      ราศรี กุมภ์ (565:4.11)
               เปน ราศรี ที่ สิบ เอ็ด, มี ดาว ฤกษ สอง, คือ สัตะพิศะ, แล บุพพัฒ ฤกษ.
      ราศรี มิญ (565:4.12)
               เปน ราศรี ที่ สิบ สอง, คือ อุตะระพัฒฤกษ, แล เรวะดีฤกษ.
รา วี (565:5)
         คือ เบียด เบียฬ กัน ด้วย มือ ฤๅ อาวุธ ต่าง ๆ, ให้ ได้ ความ เวทนา ต่าง ๆ นั้น.
รา ไว้ (565:6)
         คือ การ ที่ รอ รา ไว้ นั้น, คน รา เรือ ลง ไว้ ฤๅ รา ไฟ ไว้ เปน ต้น นั้น.
ราหู (565:7)
         เปน ชื่อ อะสูร ตน หนึ่ง, อยู่ ใน อะสุระภพ เที่ยว ไป ใน อากาศ เบียด เบียฬ พระ จันท์ พระ อาทิตย์ นั้น.
ร่า (565:8)
         เหิม ฮึก, เริง, คือ กำเริบ จิตร์, คน มี ใจ กำเริบ ห้าว ฮึก ไม่ กลัว คน ที่ สเหมอ กัน ฤๅ ต่ำ กว่า ตัว นั้น.
      ร่า ป่อง (565:8.1)
               เหิม ลำพอง คะนอง ใจ, เหน ผู้ ใด ก็ ทำ อาการ เหมือน จะ ชก ต่อย นั้น, ว่า ร่า ป่อง.
      ร่า เริง (565:8.2)
               คือ กำเริบ คะนอง รื่น เริง ใจ, คน โหยกเหยก มี ใจ กำเริบ ลำพอง ไม่ เกรง กลัว ผู้ ใด นั้น.
ร้า เอา ภอ การ (565:9)
         คือ การ ที่ เขา หัก ราน เอา มาก นั้น, เช่น คน เก็บ ผล ไม้ ป่า เข้า ร้า เอา ภอ การ เปน ต้น.
ริ (565:10)
         คิด ก่อน, คือ แรก, คน จะ ทำ การ สิ่ง ใด, แล แรก คิด ขึ้น นั้น, ว่า เขา ริ ขึ้น เพื่อ จะ ทำ กิจ การ นั้น.
      ริ ขึ้น (565:10.1)
               คิด ขึ้น, แรก คิด, คือ แรก คิด ขึ้น, ของ สิ่ง ใด แล มี ผู้ ทำ ขึ้น ก่อน เปน ที แรก นั้น, ว่า ริ ขึ้น.
      ริ ทำ (565:10.2)
               คิด ทำ, แรก ทำ, คือ แรก ทำ การ อัน ใด ขึ้น, เหมือน คน ฉลาด คิด แรก ทำ กำปั่น ไฟ เปน ต้น นั้น.
      ริปุ (565:10.3)
               ฆ่าศึก ฯ แปล ว่า ฆ่าศึก สัตรู, คน เปน สัตรู คอย จะ ประทุษฐ ร้าย เบียดเบียน กัน นั้น.
      ริ เล่น (565:10.4)
               คิด เล่น, คือ แรก นำ การ เล่น, มี เล่น โป แล หวย เปน ต้น, ผู้ แรก นำ คน ให้ เล่น นั้น, ว่า ริ เล่น.
      ริ อ่าน (565:10.5)
               คิด อ่าน, คือ แรก คิด อ่าน, คน จะ ทำ การ สาระ พัด ทุก อย่าง, แล แรก เขา คิด อ่าน ก่อน นั้น.
รี (565:11)
         คือ ของ ที่ ยาว ไป ไม่ สั้น ไม่ กลม นั้น, เหมือน เรือน เปน ต้น ที่ ยาว ไป, ว่า รี ไป นั้น.
      รี ยาว (565:11.1)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ไม่ กลม ไม่ สั้น นั้น, มี แม่ น้ำ แล ห้วย หนอง คลอง บึง บาง เปน ต้น นั้น.
      รีรอ (565:11.2)
               คือ รั้ง รอ อยู่ นั้น, คน ทำ การ จะ ทำ แล้ว ไม่ ทำ เล่า เปน ต้น.
รี่ (565:12)
         เรื่อย, เฉื่อย, คือ เรว, เหมือน เรือ แล่น ใบ เรว เรื่อย ไป, คน มา เรือ มี ใบ ชัก ขึ้น ถูก ลม เรว นั้น.

--- Page 566 ---
      รี่ เข้า ไป (566:12.1)
               คือ เรว เข้า ไป, คน เข้า ไป ใน ห้อง เรือน เปน ต้น แล เดิน ไม่ อยุด เรื่อย เข้า ไป นั้น.
      รี่ ไป (566:12.2)
               คือ การ ที่ เรว เรื่อย ไป นั้น, เช่น เรือ แล่น ใบ ฤๅ กำ ปั่น ไฟ เปน ต้น นั้น.
      รี่ เรว (566:12.3)
               คือ เรว เรื่อย, คน เดิน ไม่ อยุด ยั้ง เรว เข้า ไป ใน ห้อง เปน ต้น นั้น, ว่า รี่ เรว.
      รี่ เรื่อย (566:12.4)
               คือ เฉื่อย เรื่อย, คน เดิน ไม่ อยุด ยั้ง รีบ เข้า ไป ใน ห้อง เปน ต้น, ว่า รี่ เรื่อย.
หรี่ (566:1)
         คือ การ ที่ ไม่ สว่าง แล ไม่ สู้ กว้าง นั้น, เช่น คำ ว่า ไฟ ลุก หรี่ ๆ ฤๅ หาว นอน ตา หรี่ ๆ เปน ต้น นั้น.
รี้ พล (566:2)
         รี้ นี้ เปน คำ สร้อย, แต่ พล นั้น ได้ แก่ พล โยธา ทะ หาร ที่ ไป ทัพ ศึก นั้น.
รื้อ* เสีย (566:3)
         คือ การ ทะลาย เสีย นั้น, เช่น คน ทำ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง แล้ว รื้อ เสีย เปน ต้น นั้น.
หรื (566:4)
         เปน ประการ ใด, คือ วาจา ที่ เปน คำ ถาม นั้น, ถาม ว่า ท่าน จะ ไป ด้วย ฤๅ อย่างไร เปน ต้น นั้น.
รุ (566:5)
         คือ ชำระ เสีย, เหมือน ของ เก่า ใช้ การ ไม่ ดี แล้ว, เอา ออก เสีย เอา ของ ใหม่ ใส่ ไว้ นั้น.
      รุ เข้า (566:5.1)
               คือ ทำ เม็ด เข้า ให้ กระจาย ร่วง ออก จาก ต้น, เขา นวด เข้า, เมื่อ วัว ฤๅ ควาย ย่ำ ไป ได้ สัก ครึ่ง เวลา ภอ เข้า รวง ออก บ้าง เขา อยุด ไว้ ยง สง เข้า เลีย ที หนึ่ง นั้น.
      รุ จี (566:5.2)
               ฯ แปล ว่า รุ่ง เรื่อง, ของ ที่ มี รัศมี ศรี แสง แจ่ม จำ หรัศ นั้น, ว่า รุจี.
      รุ จาก (566:5.3)
               คือ การ ที่ รื้อ จาก เก่า ที่ มุง หลัง คา เสีย นั้น.
      รุ ถ่าย (566:5.4)
               ชำระ ถ่าย, คือ ชำระ ท้อง ด้วย ยา ให้ อาจม เหลว ไหล ออก จาก ท้อง โดย มาก นั้น, ว่า รุ ถ่าย.
      รุ ท้อง (566:5.5)
               ชำระ ท้อง, คือ กิน ยา ที่ กระทำ ให้ อาจม เหลว ไหล ออก จาก ท้อง เพื่อ จะ ให้ หาย โรค นั้น.
      รุ ยา (566:5.6)
               คือ กิน ยา ที่ กระ ทำ ให้ อาจม เหลว, แล้ว ขับ ไล่ ให้ ออก จาก ท้อง นั้น.
      รุ หลัง คา (566:5.7)
               คือ ชำระ รื้อ จาก ที่ มุง ไว้ เก่า คร่ำ คร่า ออก เสีย แล้ว, มุง เข้า ใหม่ ให้ ร่ม ดี นั้น, ว่า รุ หลัง คา.
      รุ เสีย (566:5.8)
               คือ คน กิน ยา รุ ท้อง ให้ ลง เสีย นั้น.
รู (566:6)
         ช่อง, คือ ช่อง กลวง ตลอด ไป, ลาง ที เปน เพราะ คน เจาะ, ลาง ที เปน เอง เหมือน รู ที่ ปล้อง ไม้.
      รู ก้น (566:6.1)
               คือ ช่อง ทะวาร หนัก, คำ สับท์ เรียก เว็จมัค บ้าง, คำ ภาษา โลกย์ เรียก ว่า รู ตูด บ้าง.
      รู ขุด (566:6.2)
               คือ รู ที่ สัตว์ ต่าง ๆ ขุด เปน ช่อง ไป นั้น.
      รู งู (566:6.3)
               คือ รู ที่ งู ทั้ง ปวง อาไศรย์ อยู่ นั้น.
      รู จะมูก (566:6.4)
               คือ ช่อง จมูก, คำ สับท์ เรียก ว่า ช่อง นาสิก บ้าง, แต่ คำ ภาษา โลกย์, พูด ว่า รู จมูก บ้าง.
      รู เจาะ (566:6.5)
               คือ รู ที่ คน เจาะ ด้วย สิ่ว นั้น.
      รู คะนอน* (566:6.6)
               คือ รู ปืน ทั้ง ปวง ที่ สำหรับ ใส่ ดิน หู นั้น.
      รู ไช (566:6.7)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เขา ไช เปน รู นั้น, รู สว่าน แล รู เหล็ก หมาด เปน ต้น นั้น
      รู หนู (566:6.8)
               คือ ช่อง ปล่อง ที่ หนู มัน ขุด ไว้ ที่ ดิน สำหรับ อาไศรย นั้น
      รู ปู (566:6.9)
               คือ รู ที่ ปู มัน ขุด สำหรับ อาไศรย อยู่ ที่ ดิน ปู เล็ก ปู ใหญ่ มัน ทำ ช่อง ปล่อง อยู่ ที่ ดิน นั้น.
      รู ไม้ (566:6.10)
               คือ รู ช่อง มี ที่ ลำ ไม้ ไผ่ เปน ต้น, ที่ ว่า มัน เปน เพราะ พระ ยะโฮวา จัดแจง ให้ เปน นั้น.
      รู เรี้ยว (566:6.11)
               รู นั้น เหมือน อะธิบาย แล้ว, แต่ คำ ว่า เรี้ยว นั้น, เปน คำ สร้อย ไม่ มี ความ.
      รู หู (566:6.12)
               คือ ช่อง รู ที่ หู, คำ สับท์ เรียก ว่า ช่อง โศตร์ ช่อง กัณ, แต่ คำ โลกย์ เรียก ว่า รูหู นั้น.
      รู่ (566:6.13)
               ครูด, คือ ระ ครู่, เช่น คน เอา ของ อัน ใด มี เหล็ก เปน ต้น, ผ่น* ระ ครูด เข้า ที่ หิน เปน ต้น.
      รู่ กระเบื้อง (566:6.14)
               คือ ฝน ระ เข้า ที่ กระเบื้อง, คน เอา ของ มี ทอง เปน ต้น ฝน ระ เข้า ที่ น่า กระเบื้อง นั้น.
      รู่ ด้าย (566:6.15)
               ถู ด้าย, คือ ถู เข้า ที่ เส้น ด้าย, คน ฟั่น ด้าย แล เอา ขี ผึ้ง เปน ต้น รูด ถู เข้า ที่ เส้น ด้าย นั้น.
      รู่ ไป (566:6.16)
               คือ ถู รูด ไป นั้น.
      รู่ มา (566:6.17)
               คือ ถู รูด มา นั้น.
      รู่ ไหม (566:6.18)
               คือ ถู รูด เข้า ที่ เส้น ไหม, คน ฟั่น ไหม แล เอา ขี ผึ้ง ถู รูด เพื่อ จะ ไม่ ให้ คลาย เกลียว นั้น.
รู้ (566:7)
         คือ ลักษณะ ที่ คน ตื่น อยู่ ไม่ หลับ รู้ สาระพัด การ ทั้ง ปวง นั้น ประจักษ แก่ ใจ แก่ ตา แก่ หู นั้น.

--- Page 567 ---
      รู้ กล (567:7.1)
               เข้า ใจ, คือ รู้ อุบาย แยบ ยนต์, เหมือน คน เล่น กล ทำ เล่ห์ เล่น ดอกไม้ กล ทำ รูป คน เล็ก ๆ, ให้ มัน ฝัด เข้า สี เข้า แล โหน โยน ชิงช้า เปน ต้น, ผู้ ใด ล่วง รู้ ว่า รู้ กล.
      รู้ การ (567:7.2)
               เข้า ใจ การ คือ รู้ กิจการ ทุก อย่าง, คน รู้ ทำ การ มี การ เปน ช่าง เย็บ ช่าง ปัก เปน ต้น นั้น
      รู้ คุณ (567:7.3)
               คือ คน ทั้ง ปวง ที่ มี กะตัญ ญู รู้ คุณ ท่าน นั้น, คน ที่ รู้ จัก คุณ บิดา มารดา เปน ต้น นั้น.
      รู้ ความ (567:7.4)
               คือ คน ที่ รู้ จัก ความ นั้น, เด็ก ที่ รู้ ความ ฤๅ คน หมอ ความ เปน ต้น นั้น.
      รู้ จำ (567:7.5)
               คือ รู้ แล้ว กำหนด ไว้ ใน ใจ, คน ทำ ผิด ต้อง โทษ หลวง พ้น โทษ แล้ว กำหนด ไว้ ใน ใจ นั้น.
      รู้ จัก (567:7.6)
               คือ คน รู้ ว่า สิ่ง นี้ เปน เงิน เปน ต้น. อย่าง หนึ่ง คน คุ้น เคย ไป มา รู้ ว่า คน นี้ ชื่อ นั้น เปน ต้น ว่า เขา รู้ จัก.
      รู้ สึก (567:7.7)
               คือ ความ ที่ รู้ จัก สำนึก นั้น, คน ที่ หลง ไป แล้ว กลับ รู้ สึก ตัว เปน ต้น นั้น.
      รู้ ตาม (567:7.8)
               คือ ความ ที่ รู้ สิ่ง* ฃอง ตาม ที่ เปน จริง อย่าง ไร ก็ รู้ ตาม อย่าง, คน รู้ ตาม ลักษณะ สาม อย่าง เปน ต้น.
      รู้ จริง (567:7.9)
               คือ รู้ การ มี หนังสือ เปน ต้น, แม่น มั่น ใน ใจ ไม่ สงไสย เคลือบ แคลง เลย นั้น, ว่า รู้ จริง.
      รู้ ตัว (567:7.10)
               คือ ความ ที่ รู้ สึก ตัว นั้น, คน รู้ ตัว ว่า ได้ ทำ ผิด แล้ว ฤๅ ตัว จะ ต้อง ตาย แน่ เปน ต้น นั้น.
      รู้ แจ้ง (567:7.11)
               เข้า ใจ แจ้ง, คือ รู้ กระหนัก แน่ ใน ใจ ว่า เหตุ ผล นี้ บังเกิด เพราะ เหตุ นั้น.
      รู้ ใจ (567:7.12)
               แจ้ง ใจ, คือ รู้ ใน ใจ ผู้ อื่น, ว่า ผู้ นี้ พูด อย่าง นี้ ฤๅ ทำ อย่าง นี้, ใน ใจ คิด ปราฐนา อย่าง นั้น ๆ.
      รู้ จิตร (567:7.13)
               แจ้ง จิตร, คือ รู้ ใน วาร จิตร ผู้ อื่น, ว่า ผู้ มา แสดง อาการ กิริยา อย่าง นี้, คือ ปราฐนา อย่าง นั้น.
      รู้ จบ (567:7.14)
               แจ้ง จบ, คือ รู้ ถ้วน ครบ, เช่น คน เรียน หนังสือ รู้ ตั้ง แต่ กอ ไป จน ฮอ นั้น, ว่า รู้ จบ.
      รู้ ชัด (567:7.15)
               แจ้ง ชัด, คือ รู้ แน่ รู้ แท้, คน รู้ วิชา อัน ใด เปน ต้น, เปน คน รู้ แท้ แน่ นอน มั่นคง นั้น.
      รู้ ชอบ (567:7.16)
               เข้า ใจ ชอบ, คือ รู้ การ ที่ ไม่ มี โทษ, คน เรียน สิลประสารท มี การ ช่าง มี ช่าง ไม้ เปน ต้น นั้น, ว่า รู้ ชอบ.
      รู้ ธรรม (567:7.17)
               เข้า ใจ ใน ความ ขอบ, คือ รู้ พระ ธรรม มี ศีล เปน ต้น คน รู้ บาฬี ที่ แสดง ศีล สีบ ประการ เปน ต้น นั้น.
      รู้ หนังสือ (567:7.18)
               เข้า ใจ อักษร, คือ รู้ อักษร ที่ จดหมาย การ งาน ทั้ง ปวง แล สำรับ เขียน เรื่อง มี ข้อ บัญัติ เปน ต้น.
      รู้ บุญ (567:7.19)
               แจ้ง ใน กุศล, คน รู้ ว่า ทำ อย่าง นี้ เปน บุญ, ประ- ติบัติ ประพฤติ อย่าง นี้ เปน บุญ นั้น.
      รู้ บาป (567:7.20)
               แจ้ง ใน บาป, คือ รู้ จัก การ บาป, คน รู้ ว่า ทำ อย่าง นี้ เปน บาป, ประพฤติ อย่าง นี้ เปน บาป นั้น.
      รู้ รอบ (567:7.21)
               มี ปัญญา, คือ รู้ ทั่ว ไป ทั้ง การ กิน การ นอน, แล กิจ ที่ จะ อยู่ จะ ไป เปน ต้น นั้น.
      รู้ เล่น (567:7.22)
               ฉลาด เล่น, คือ รู้ ใน การ เล่น สาระพัด ทุก อย่าง, ไม่ โง่ ไม่ เสีย เปรียบ กับ ผู้ ใด นั้น, ว่า รู้ เล่น.
      รู้ สาระพัด (567:7.23)
               เข้า ใจ หมด, คือ รู้ การ ทุก สิ่ง ทุก อย่าง, แล รู้ กาล เวลา ใน อดีต แล ปัจจุบัน แล อะนาคต นั้น.
      รู้ อะริยะสัจ (567:7.24)
               แจ้ง ของ จริง ประเสริฐ, คือ รู้ สัจ อัน เปน ที่ ยิ่ง ประเสริฐ, คือ รู้ มูล เหตุ ที่ เกิด แห่ง กองทุกข เปน ต้น.
เรณู (567:1)
         คือ นวล ละออง เกสร ดอกไม้ ทั้ง ปวง นั้น, เรณู นวล ผกา เกสร ดอก บัวหลวง เปน ต้น นั้น.
      เรไร (567:1.1)
               คือ เครื่อง สำรับ เป่า อย่าง หนึ่ง เสียง เพราะ นัก, เรไร ที่ เขา เป่า เมื่อ พระ เทศนา นั้น.
      เร รวน (567:1.2)
               คือ เซซวน, เหมือน ไม้ เดิม ที คน ปัก ไว้ ตรง, นาน มา ไม้ เอน เซ ซวน ไป นั้น.
      เรไร ร้อง หริ่ง ๆ (567:1.3)
               คือ เรไร ที่ ร้อง เสียง ดัง หริ่ง นั้น, เสียง จักระจั่น ร้อง ใน ดง เปน ต้น นั้น.
เร่ (567:2)
         (dummy head added to facilitate searching).
      เร่ ฃอ (567:2.1)
               ร่าย ฃอ, เตร่ ฃอ, คือ เตร่ ฃอทาน, คน อะนาถา ขัด สน แล เที่ยว เตร่ ไป ฃอ, คือ ไป แห่ง โน้น บ้าง แห่ง นี้ บ้าง.
      เร่ ไป (567:2.2)
               ร่าย ไป, เตร่ ไป, คือ เตร่ ไป, คน อะนาถา ยาจก แล เที่ยว เตร่ ไป ฃอ ทาน บ้าน โน้น บ้าน นี้ นั้น.
      เร่ ร่อน (567:2.3)
               เที่ยว ร่อน, เตร่ ร่อน, คน เที่ยว ไป อยู่ ที่ โน่น บ้าง, แล้ว ไป อยู่ ที่ นี่ บ้าง, ว่า เที่ยว เร่ ร่อน.
      เร่ หา (567:2.4)
               เตร่ หา, แสวง หา, คือ เตร่ หา, คน เที่ยว แสวง หา ของ อัน ใด มี ยา เปน ต้น นั้น, ว่า เร่ หา.

--- Page 568 ---
แร (568:1)
         ขีด, เขียน, คือ เขียน เปน ตา ตะราง หนิด ๆ, คน ช่าง เขียน, ๆ เปน ดอกไม้ แล ขีด แร พื้น เสีย ให้ เหน ดอก กระ- จ่าง นั้น.
      แร ดอก (568:1.1)
               ขีด เส้น เล็ก ๆ ที่ ดอก, เขียน เส้น เล็ก ๆ ที่ ดอก, คือ เขียน เปน ตา หนิด ๆ ถี่ ๆ, ช่าง เขียน ๆ เปน ดอกไม้ แล ขีด เส้น เล็ก ๆ.
      แร ใบ (568:1.2)
               ขีด เส้น ที่ ใบ, เขียน เส้น ที่ ใบ, คือ เขียน เปน ใบ ไม้, แล เขียน แร เพื่อ จะ ให้ เหน ใบไม้ กระจ่าง ถนัด นั้น.
แร่ (568:2)
         ก้อน หิน, คือ ของ เปน ก้อน เท่า กำมือ, แล เล็ก กว่า กำมือ บ้าง, คล้าย หิน อยู่ ใน ดิน นั้น.
      แร่ ตกั่ว (568:2.1)
               คือ ก้อน แร่ เช่น ว่า นั้น, ครั้น คน ขุด เอา ขึ้น มา ถลุง กับ ไฟ มี น้ำ ดีบุก ไหล ออก นั้น*.
      แร่ เงิน (568:2.2)
               คือ ก้อน เช่น ว่า นั้น, ครั้น เขา ขุด เอา มา เข้า ไฟ สูบ ถลุง ไป มี น้ำ เงิน ไหล ออก นั้น.
      แร่ ทอง แดง (568:2.3)
               คือ ก้อน แร่ เช่น ว่า นั้น, ครั้น เขา ขุด เอา มา ย่อย ใส่ เบ้า เข้า เตา ไฟ สูบ ร่ำ ไป, จน ละลาย เปน น้ำ ทอง แดง ออก.
      แร่ ทอง เหลือง (568:2.4)
               คือ ก้อน แร่ เช่น ว่า, เขา เอา มา ถลุง ใน ไฟ จน น้ำ ทอง เหลือง ไหล ออก นั้น.
      แร่ ทอง คำ (568:2.5)
               คือ ก้อน แร่ เช่น ว่า นั้น, เขา เอา มา ถลุง ใน ไฟ จน น้ำ ทอง คำ ไหล ออก นั้น.
      แร่ เหล็ก (568:2.6)
               คือ ก้อน แร่ เช่น ว่า นั้น, เขา เอา มา ถลุง ใน เตา ไฟ จน น้ำ เหล็ก ไหล ออก นั้น.
      แร่ ไป (568:2.7)
               รี่ ไป, คือ รี่ รีบ ไป คน ด่วน ๆ รีบ ไป เร็ว ถึง ที่ แห่ง ใด ๆ นั้น, ว่า เขา แร่ ไป.
      แร่ มา (568:2.8)
               รี่ มา, คือ รี่ รีบ มา, คน ด่วน ๆ รีบ มา เร็ว ถึง ที่ แห่ง ใด ๆ นั้น, เขา ว่า แร่ มา นั้น.
ไร (568:3)
         เปน ชื่อ สัตว หนิด ๆ แล ไม่ ใคร่ เหน, มัน มัก เกิด ขึ้น ใน ผ้า มี ผ้า เช็ด หน้า เปน ต้น นั้น.
      ไร ไก่ (568:3.1)
               คือ ตัว ไร เล็ก ๆ ที่ มัน เกิด ที่ ตัว ไก่ นั้น, ไร แม่ ไก่ ฟัก นั้น.
      ไร เกษ (568:3.2)
               คือ รอย วง รอบ ที่ ศีศะ นั้น, คน ปราฐนา จะ จัดแจง ให้ งาม แล เอา แหนบ ถอน ผม ให้ เปน วง รอบ ที่ ศีศะ นั้น.
      ไร จุก (568:3.3)
               รอย จุก, คือ รอย วง รอบ ที่ ตีน ผม จุก เด็ก ๆ นั้น, เขา ทำ ผม ทารก ให้ เปน จอม ขึ้น, มี วง รอบ ที่ ริม ตีน ผม นั้น.
      ไร ถอน (568:3.4)
               คือ ไร ที่ เขา ถอน นั้น, เช่น พวก ไท ถอน ผม เปน ไร จุก ไว้ ที่ หัว เปน ต้น.
      ไร ผม (568:3.5)
               รอย ผม, คือ รอย รอบ ริม เชิง ผม จุก ฤๅ รอย รอบ ที่ ผม ผู้ใหญ่ นั้น, เรียก ไร ผม นั้น.
ไร่ (568:4)
         คือ ที่ เขา ทับ ล้อม ด้วย เรียว หนาม เปน ต้น, เปน วง รอบ ขอบ คัน, ข้าง ใน นั้น ปลูก ผัก เปน ต้น.
      ไร่ กล้วย (568:4.1)
               สวน กล้วย, ป่า กล้วย, คือ ที่ ทับ ล้อม เช่น ว่า, แล้ว เอา หน่อ กล้วย มา ปลูก เต็ม ที่ นั้น, เรียก ไร่ กล้วย.
      ไร่ เข้า (568:4.2)
               นา เข้า, คือ ที่ ล้อม ด้วย เรียว หนาม เปน ต้น, รอบ ขอบ คัน, ใน ที่ นั้น เขา ปลูก เข้า ไร่ นั้น.
      ไร่ เข้าโภช (568:4.3)
               ที่ เข้าโภช, คือ ที่ ล้อม เช่น ว่า, เขา ปลูก เข้า โภช นั้น.
      ไร่ เข้า ฟ่าง (568:4.4)
               ที่ เข้า ฟ่าง, คือ ที่ ล้อม เช่น ว่า, สำรับ ปลูก เข้า ฟ่าง นั้น.
      ไร่ แตง (568:4.5)
               ที่ แตง, คือ ที่ ล้อม เช่น ว่า สำรับ ปลูก แตง นั้น.
      ไร่ ถั่ว (568:4.6)
               คือ ที่ ทับ ล้อม เช่น ว่า สำรับ ปลูก ถั่ว นั้น.
      ไร่ นา (568:4.7)
               คือ เขา ทำ ไร่ ไว้ กลาง ทุ่ง นา นั้น, คน ทำ ไร่ เข้าโภช ฤๅ ไร่ แตง เปน ต้น นั้น.
      ไร่เผือก (568:4.8)
               ที่ เผือก, คือ ที่ ล้อม เช่น ว่า สำรับ ปลูก เผือก นั้น.
      ไร่ ฝ้าย (568:4.9)
               ป่า ฝ้าย, คือ ที่ ล้อม เช่น ว่า สำรับ ปลูก ฝ้าย นั้น.
      ไร่ มัน (568:4.10)
               สวน มัน, คือ ที่ ล้อม เช่น ว่า สำรับ ปลูก มัน นั้น.
      ไร่ อ้อย (568:4.11)
               สวน อ้อย, คือ ที่ ล้อม เช่น ว่า สำรับ ปลูก อ้อย นั้น.
ไร้ (568:5)
         ไม่ มี, คือ ไม่ มี, คน ไม่ สู้ มี ของ สิ่ง ใด ๆ นั้น ว่า ไร้, คน อะนาถา ขัดสน ไม่ มี ทรัพย นั้น.
      ไร้ ญาติ (568:5.1)
               ไม่ มี ญาติ, คือ คน มี ญาติ น้อย นั้น, ญาติ วิบัติ ตาย ไป บ้าง พรัด พราก ไป บ้าง นั้น.
      ไร้ ทรัพย (568:5.2)
               ไม่ มี ทรัพย, คือ ไม่ สู้ มี ทรัพย, คน ยาก จน ขัด สน ทรัพย สมบัติ ไม่ สู้ มี นั้น, ว่า ไร้ ทรัพย.
      ไร้ บุตร (568:5.3)
               ไม่ มี ลูก, คือ ไม่ มี ลูก, คน ชาย หญิง เปน หมัน ถึง อยู่ เปน ผัว เมีย นาน หลาย ปี ไม่ มี ลูก, ว่า ไร้ บุตร.

--- Page 569 ---
      ไร้ พ่อ (569:5.4)
               คือ ไม่ มี พ่อ, คน เกิด มา ไม่ มี พ่อ เพราะ แม่ เปน คน ไม่ ดี มัก ง่าย, มี ท้อง ลูก ขึ้น ชาย ไม่ รับ ว่า เปน ผัว, ว่า ลูก ไร้ พ่อ.
      ไร้ เมีย (569:5.5)
               คือ คน ที่ ไม่ มี เมีย ฤๅ หา เมีย ไม่ ได้ นั้น.
      ไร้ แม่ (569:5.6)
               ไม่ มี มารดา, คือ หญิง ใจ ไม่ มัก ง่าย, มี ครรภ ขึ้น มา กลัว จะ อาย เขา เอา ไป ทิ้ง เสีย.
โร (569:1)
         คือ ท้อง ป่อง ไม่ เปน ปรกติ, คน ป่วย เปน ไข้ เหนือ ไข้ ป่า ครั้น หาย แล้ว ท้อง ป่อง เปาะ นั้น.
      โรคา (569:1.1)
               ไข้, ฯ แปล ว่า โรค บังเกิด มาก มาย หลาย ประการ, ป่วย อย่าง นั้น บ้าง อย่าง นี้ บ้าง นั้น.
      โรคา พะยาธิ (569:1.2)
               ป่วย ไข้, ฯ แปล ว่า โรค ให้ จุก เสียด เสียบ แทง แล ป่วย ไข้ ต่าง ๆ นั้น.
      โรคี (569:1.3)
               ฯ แปล ว่า โรค สำรับ หญิง, มี มุตกฤต มุตฆาฏ เปน ต้น ว่า โรคี.
      โรโค (569:1.4)
               ไข้ เสียบแทง, ฯ แปล ว่า เสียบแทง แล จุก เสียด ใน ภาย ใน ท้อง เปน ต้น นั้น.
      โร ท้อง (569:1.5)
               คือ คน ท้อง โร นั้น, เช่น คน ท้อง มาน ฤๅ คน เปน ไข้ ป่า พุง โร เปน ต้น นั้น.
      โร เร (569:1.6)
               รวน เร, คือ หิว อก หิว ใจ, เพราะ กิน อาหาร ได้ น้อย คน มี โรค ให้ เหม็น เบื่อ เข้า, กิน ได้ น้อย หิว โหย ไป, ว่า โร เร.
      โร รูปะนรก (569:1.7)
               เปน ชื่อ ขุม นรก ขุม หนึ่ง, เปน สัตว ไป ทน ทุกข เวทนา ด้วย เพลิง เปน ต้น.
      โรหินี (569:1.8)
               ดาว จมูก ม้า, เปน ชื่อ ดาว ฤกษ ดวง หนึ่ง, โลกย เขา เรียก ว่า ดาว จมูก ม้า มี ศรี แดง นั้น.
โร่ (569:2)
         (dummy head added to facilitate searching).
      โร่ ไป (569:2.1)
               เร็ว ไป, เรื่อย ไป, คือ วิ่ง ไป, เช่น คน กลัว ไภย ฤๅ อยาก ได้ ของ วิ่ง เร็ว ไป นั้น, ว่า วิ่ง โร่ ไป.
      โร่ มา (569:2.2)
               เร็ว มา, คือ มา เร็ว วิ่ง มา, คน กลัว ไภย มี เสือ ร้าย ช้าง ร้าย เปน ต้น แตก ทัพ ศึก มา, ว่า วิ่ง โร่ มา.
โหร่ (569:3)
         ขี้ริ้ว, คือ ขี้ริ้ว, เหมือน คน เด็ก ใหญ่ เล่น เข้า หลุม แล พุ่ง ไม้ ฟืน เปน ต้น, ถ้า ออก อยู่ นอก อีตัว ของ เพื่อน, ว่า หมา โหร่.
เรา (569:4)
         ข้า, กู, คือ ตัว ของ ตัว เอง, คน ถ้า มี ผู้ ถาม ว่า ของ นี้ เปน ของ ใคร, ผู้ เปน เจ้าของ บอก ว่า ของ เรา นั้น.
เร่า (569:5)
         ดิ้น ยัน, หรบ, คือ ระรัว, คน ตี ปลา เปน ต้น แล สัตว นั้น ครั้น มัน ถูก เจ็บ เข้า, มัน ดิ้น ระรัว นั้น.
      เร่า ร้อง (569:5.1)
               รัว ร้อง, คือ ระรัว แล ร้อง, เหมือน นก กระเหว่า เมื่อ ระดู น่า แล้ง มัน เร่ง ร้อง เมื่อ เวลา รุ่ง นั้น.
      เร่า ร้อน (569:5.2)
               แรง ร้อน, คือ ระรัว ตัว ร้อน, เหมือน คน จับ ไข้ ตัว สั่น รัว ระริก แล ร้อน ด้วย นั้น, ว่า เร่า ร้อน.
เร้า (569:6)
         คือ เร่ง ตัก เตือน* เหมือน มา เกาะ ตัว คน ภบ ตัว แล้ว เร่ง รัด ว่า มา ไป ๆ นั้น, ว่า เร้า.
      เร้า รุก (569:6.1)
               คือ ที่ เร่ง รุก เข้า ไป นั้น, เช่น นก ดี ตี เปน ต่อ ฤๅ ไก่ ชน เปน ต่อ เปน ต้น นั้น.
      เร้า เร่ง (569:6.2)
               คือ เตือน ถี่ ๆ, คน ถือ รับ สั่ง มา โดย การ ร้อน แล เร่ง รัด ว่า, มา ไป เร็ว ๆ, ช้า ไม่ ได้ นั้น.
      เร้า รบ (569:6.3)
               คือ การ ที่ เร่ง รบ นัก นั้น, แม่ ทัพ ได้ ที แล้ว เร่ง รบ เปน ต้น นั้น.
รำ (569:7)
         คือ ฟ้อน, คน เล่น ละคอน แล ฟ้อน โดย ขบวน ต่าง ๆ, มี กรีด กร ช้อน มือ เปน ต้น นั้น, ว่า รำ.
      รำ กระบี่ (569:7.1)
               คือ รำ ถ้า อาวุธ, คน จับ กระบี่ เข้า แล้ว ลุก ขึ้น เยื้อง กราย ทำ ตาม เพลง อาวุธ นั้น.
      รำ กระบอง (569:7.2)
               ควง กระบอง, คือ จับ ไม้ กระบอง กลม โต กว่า ด้ำ ภาย, ยาว สี่ ศอก เปน กระบอง ยาว, กระบอง สั้น ศอก คืบ, แล้ว ขึ้น ควง หมุน ไป รอบ ตัว ตาม เพลง กระบอง.
      รำ เข้า เจ้า (569:7.3)
               คือ ละออง ร่า เข้า เจ้า นั้น, เช่น รำ เข้า ซ้อม เปน ต้น.
      รำ เขนง (569:7.4)
               คือ รำ เมื่อ ทำ พิทธี ชิงช้า, ถึง เดือน ยี่ เปน กาล พิทธี ชิงช้า สาม เวลา, แล้ว พวก พราหมณ รำ ตาม เพลง เขา นั้น.
      รำคาญ (569:7.5)
               คือ ความ ไม่ สบาย ใน ใจ, แต่ ไม่ เปน ความ ใหญ่ นัก เปน แต่ ความ เล็ก น้อย นั้น.
      รำคาญ ใจ (569:7.6)
               คือ ความ ไม่ สบาย ใน ใจ นั้น, เช่น ต้อง เกาะ กัก ขัง ไว้ นั้น.
      รำคาญ ตา (569:7.7)
               คือ ความ ที่* ไม่ ชอบ ตา นั้น, เช่น คน เหน ฆ่า ศึก ฤๅ คน ผง เข้า ตา นั้น.
      รำคาญ หู (569:7.8)
               คือ ความ ที่ ไม่ ชอบ หู นั้น, คน ที่ ได้ ฟัง เขา กล่าว คำ เสียบแทง เปน ต้น นั้น.

--- Page 570 ---
      รำ โคม (570:7.9)
               คือ เอา มือ ถือ โคม ข้าง ละ ใบ แล้ว เต้น ไป ตาม กัน, เหมือน พวก ยวญ เล่น นั้น.
      รำ ง้าว (570:7.10)
               คือ ถือ ง้าว, เปน อาวุธ ของ จีน เปน ธรรมดา, แต่ ภาษา อื่น ทำ ใช้ บ้าง, เขา รำ เพลง จีน นัก.
      รำ จวญ ครวญ (570:7.11)
               คือ ความ กระศัลย เปน ทุกข แล้ว คร่ำครวญ นั้น, เช่น ชู้ สาว คิด ถึง กัน เปน ต้น.
      รำ จวญ ใจ (570:7.12)
               คือ ใจ คิด กระศัลย โศรก ถึง กัน นั้น, ผัว เมีย ที่ รัก พรัด พราก จาก กัน ไป เปน ต้น นั้น.
      รำ ช้อย (570:7.13)
               คือ ความ ที่ นาง ฟ้อน อ่อน กาย ทำ ช้อย ชด นั้น.
      รำใญ (570:7.14)
               เปน ชื่อ ต้น ผลไม้ ใหญ่ อย่าง หนึ่ง, มี ผล เท่า พุทรา สุก เปน น้ำ เยื่อ หวาน.
      รำดวน (570:7.15)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง มี ดอก สาม กลีบ หอม ดี ไม่ มี ผล, คน เก็บ ดอก บูชา พระ.
      รำดับ (570:7.16)
               ลำดับ, คือ จัดแจง ของ เรียบ เรียง ไว้ ตาม ชอบ ใจ, คน มี ของ อัน ใด เรี่ย ราย อยู่ แล จัด ไว้ ดี นั้น.
      รำ ทำ (570:7.17)
               คือ กะทำ ย่ำยี, คน มี ไชย ได้ ที แล ข่มเหง ผู้ อื่น ต่าง ๆ มี ทุบ ตี ให้ เจ็บ เปน ต้น.
      รำ ทวน (570:7.18)
               ระบำ ทวน, คือ จับ ทวน ด้ำ ยาว กว่า ด้ำ หอก, คน ถือ ทวน ด้ำ รำ เปน ขบวน เพลง อาวุธ นั้น.
      รำ ไป (570:7.19)
               คือ การ ที่ คน รำ แล้ว เดิน ไป นั้น, พวก ละคอน รำ เพลง เดิน เปน ต้น นั้น.
      รำ ผี (570:7.20)
               คือ การ ที่ รำโรง ลง ผี นั้น, เช่น พวก คน ทรง ลง มด ลง ท้าว ฤๅ พวก มอญ รำ ผี เปน ต้น นั้น.
      รำเพรำพัด (570:7.21)
               คือ ความ เจ็บ ป่วย เกิด ขึ้น ใน กาย เปน ปัจจุบัน ว่า เปน เพราะ ผี ทำ ให้ เปน ๆ ต้น.
      รำพึง (570:7.22)
               คือ คิด ถึง การ ฤๅ ความ เปน ต้น, คน มี ธุระ กิจการ แล คิด วิตก ตรึก ตรอง เปน ต้น นั้น.
      รำพึง คิด (570:7.23)
               คือ ความ ที่ คำนึง คิด นั้น, เช่น ความ วิตกวิจารณ์ ตรึกตรอง นั้น.
      รำพรรณ์ (570:7.24)
               คือ พรรณนา, คน พูด ถึง ความ ข้อ เดียว เรื่อง เดียว ร่ำ ไป นั้น.
      รำแพน (570:7.25)
               คือ การ ที่ เขา รำ ด้วย แพน นั้น, เช่น นก ยูง รำ แพน ฤๅ หก ขะเมน ต่าย ลวด รำแพน เปน ต้น.
      รำเพย พัด (570:7.26)
               คือ ลม พัด เฉื่อย ๆ เรื่อย ๆ ภา เอา กลิ่น* ดอก ไม้ ต่าง ๆ มา ฟุ้ง ขะจร นั้น.
      รำพาย หวน (570:7.27)
               คือ การ ที่ ลม รำเพย หวน นั้น, เช่น ลม บ้า หมู ฤๅ ลม หัว ต้อน* เปน ต้น.
      รำฟ้อน (570:7.28)
               คือ กระบวน เล่น ละคอน เล่น โขน เปน ต้น, คน เปน ผู้ รำ นั้น, ว่า คน ฟ้อน นั้น.
      รำภาย พัด (570:7.29)
               คือ การ ที่ พระภาย พัด มา เฉื่อย ๆ นั้น, เช่น ลม รำภาย ชาย พัด ตาม ชาย เขา เปน ต้น นั้น.
      รำมะนา (570:7.30)
               เปน ชื่อ เครื่อง มะโหรี อย่าง หนึ่ง, เขา เอา ไม้ ทำ เปน วง กลม น่า หนึ่ง ขึง ด้วย หนัง.
      รำมะนาฎ (570:7.31)
               คือ โรค เกิด ที่ เหงือก ไร ฟัน มี น้ำ หนอง น้ำ เลือด ให้ ปวด หนัก, ยัง ความ ยินดี ให้ ฉิบหาย เสีย.*
      รำโรง (570:7.32)
               คือ การ ที่ คน รำ ลง โรง นั้น, พวก ยาย มด ยาย ท้าว รำโรง ลง ผี เปน ต้น นั้น.
      รำ ละคอน (570:7.33)
               คือ การ ที่ พวก ละคอน เขา รำ นั้น, เช่น คน รำ ละคอน ไท ฤๅ ละคอน ชาตรี เปน ต้น นั้น.
      รำสับรำส่าย (570:7.34)
               คือ ความ ที่ กระวน กระวาย นั้น, เช่น คน ไข้ เมื่อ ใกล้ ตาย กระสับกระส่าย เปน ต้น.
ร่ำ (570:1)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ร่ำ บ่น (570:1.1)
               พร่ำ บ่น, คือ ว่า บ่อย ๆ, เช่น คน ต่อ หนังสือ อา จาริย์ ผู้ สอน ให้ ว่า อักษร เดียว ร้อย หน พัน หน นั้น.
      ร่ำ ไป (570:1.2)
               คือ ความ ที่ มี การ เสมอ ไป ไม่ อยุด นั้น, เช่น คน ทำ การ ร่ำ ไป ตาปี ตาชาติ เปน ต้น นั้น.
      ร่ำ ผ้า (570:1.3)
               อบ ผ้า, คือ ย้อม ผ้า ร่ำ ไป, ด้วย ใส่ เครื่อง อบ หอม คน ย้อม ผ้า ดำ มะเกลือ แล ใส่ เครื่อง หอม ย้อม ร่ำ ไป นั้น.
      ร่ำ รี้ ร่ำ ไร (570:1.4)
               คือ ความ ที่ พูดจา เซ้าซี้ ไม่ รู้ แล้ว นั้น, เช่น คน เมา เหล้า พูด ร่ำรี้ร่ำไร นั้น.
      ร่ำ ไร (570:1.5)
               คือ พูด ซ้ำ ๆ ร่ำ ไป ไม่ ใคร่ อยุด พูด เซ้าซี้ ไม่ รู้ แล้ว พูด แล้ว พูด อีก ด้วย ความ เรื่อง เดียว.
      ร่ำ รัก (570:1.6)
               คือ ความ ที่ คน รัก ร่ำ ไป ต่าง ๆ ไม่ อยุด นั้น, เช่น มารดา ร่ำ รัก บุตร์ ที่ ตาย ไป เปน ต้น.
      ร่ำ ร้อง (570:1.7)
               คือ ร้อง รำพรรณ์ ความ เรื่อง เดียว. อีก อย่าง หนึ่ง คน ร้อง ให้ ร่ำไร ไม่ ใคร่ อยุด นั้น.
      ร่ำ เรียน (570:1.8)
               คือ เรียญ วิชา ต่าง ๆ มี หนังสือ เปน ต้น, ผู้คน เรียน อุษ่าห์ เพียร ร่ำ ไป, ว่า ร่ำเรียน.

--- Page 571 ---
      ร่ำ ว่า (571:1.9)
               พร่ำ ว่า, คือ พร่ำ ว่า, เช่น คน สั่ง สอน บุตร์ เล็ก ๆ ห้าม ว่า การ นี้ ชั่ว เจ้า อย่า ทำ, ว่า บัดเดี๋ยว ๆ นั้น.
      ร่ำ สั่ง (571:1.10)
               พร่ำ สั่ง, คือ พร่ำ สั่ง, เช่น คน จะ มี ที่ ไป ไกล, แล มี ผู้ สั่ง ความ ว่า ท่าน อย่า ลืม อย่า ประหมาท, ว่า แล้ว ว่า เล่า นั้น.
      ร่ำ สอน (571:1.11)
               พร่ำ สอน, คือ พร่ำ สอน. คน เรียน หนังสือ เปน ต้น, จำ ไม่ ใคร่ ได้ ครู สอน แล้ว สอน อีก นั้น.
      ร่ำ ไห้ (571:1.12)
               พร่ำ ไห้, คือ ร่ำ ร้อง ไห้, คน มี ความ ทุกข โทมะ นัศ เพราะ พรัด พราก จาก กัน เปน ต้น, แล ร่ำ ร้อง ไห้ ไม่ อยุด นั้น.
ระ (571:1)
         คือ เอา ไม้ ทำ ที่ รั้ว ฤๅ ที่ ต้น ไม้, ให้ ลูก ฤๅ ใบ หล่น ร่วง ลง นั้น, ว่า ระ เข้า นั้น.
      ระกา (571:1.1)
               เปน ชื่อ ปี ระกา เปน ปี ที่ สิบ ว่า เปน ชื่อ ไก่ นั้น.
      ระกำ (571:1.2)
               คือ ระกำ ไหม, ผ้า ที่ มี ดอก เปน ไหม ข้าง หนึ่ง ๆ ไม่ เปน ดอก เปน ซัง ไหม นั้น. อย่าง หนึ่ง ว่า เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ชื่อ ต้น ระกำ นั้น.
      ระกะ (571:1.3)
               คือ ของ ตั้ง อยู่ มาก เกะกะ, เหมือน ตอ ไม้ ใน คลอง ที่ มี ต้น ไม้ ชุม, แล หัก โค่น ไป ยัง แต่ ตอ ตั้ง อยู่ สะพรั่ง, ว่า ตั้ง อยู่ ระกะ นั้น.
      ระ ขึ้น มา (571:1.4)
               คือ การ ที่ กระทบ กระทั่ง เรียด ขึ้น มา นั้น, เช่น เรือ ลอยระ กะทบ ระ ขึ้น มา ตาม ตลิ่ง เปน ต้น.
      ระคน (571:1.5)
               คือ ปน กัน, เหมือน เขา จะ ทำ ขนม เปน ต้น, เอา แป้ง เข้า สาลี ปน เข้า กับ เชื้อ นั้น.
      ระคาย (571:1.6)
               คือ ของ มี ละออง เข้า เปลือก เปน ต้น, ที่ คาย คัน นั้น, ถ้า ปลิว มา ติด ตัว ให้ คาย คัน นั้น.
      ระแคะ ระคาย (571:1.7)
               คือ ความ ว่า, คน มี ธุระ กิจ อัน ใด อัน หนึ่ง ที่ บ้าน อื่น เปน ต้น, ใช้ ให้ คน ไป ฟัง ดู ว่า เขา จะ พูดจา ว่า กล่าว ประการ ใด แต่ ลอบ ฟัง อย่า ให้ เขา รู้ นั้น, ว่า ฟัง ระ แคะ ระคาย ดู.
      ระฆัง (571:1.8)
               คือ ของ หล่อ ด้วย ทอง เหลือง รูป เหมือน กะบุง กะ ทาย, ถึง เวลา แล้ว เขา ตี เปน ธรรมดา นั้น.
      ระงับ (571:1.9)
               คือ ดับ ลง, เช่น เพลิง ลุก พลุง โพลง อยู่ แล มี ฝน ตก ลง ฤๅ คน เอา น้ำ รด ลง แล เหือด ลง นั้น.
      ระโช (571:1.10)
               ฯ แปล ว่า ทุลี, เช่น ผง หนิด ๆ แล ไม่ ใคร่ เหน ปลิว เปน ละออง อยู่ นั้น.
      ระดู (571:1.11)
               คือ น่า หนาว น่า ร้อน น่า ฝน, เรียก ระดู หนาว ระดู ร้อน ระดู ฝน นั้น.
      ระดะ (571:1.12)
               คือ ระกะ แล ดาดาษ ไป, เช่น ของ มี เต็ม ติด ต่อ กัน เนื่อง ไป นั้น.
      ระดับ (571:1.13)
               คือ ของ ที่ ทำ เปน ที่ สังเกต, ทำ ให้ ที่ ลุ่ม ที่ ดอน สูง อยู่ จะ ปัก เสา เรือน เปน ต้น, ให้ เสมอ กัน นั้น.
      ระดม (571:1.14)
               คือ ประชุม ช่วย กัน มาก, เช่น มี การ อัน ใด เดิม ทำ อยู่ น้อย คน, การ ไม่ ใคร่ แล้ว, ผ่าย หลัง เกณฑ์ คน มา ประชุม ช่วย กัน มาก นั้น
      ระทด (571:1.15)
               คือ สลด ใจ, คน ทำ ศึก สงคราม เปน ต้น, ครั้น เหน พวก พล ของ ตัว เปลือง ไป ก็ เศร้า ใจ สลด ใจ นั้น.
      ระทม (571:1.16)
               คือ ยุบ ยับ ระยำ, เหมือน ต้น ไม้ ใหญ่ ฤๅ เรือน เปน ต้น มี ฝน ตก ลม พะยุ ใหญ่ พัด.
      ระทวย (571:1.17)
               คือ ละหวย อ่อน ใจ, คน เปน โรค ป่วย ไข้ แล บอบ ช้ำ กำลัง น้อย ลง.
      ระแนง (571:1.18)
               คือ ไม้ ระแนง ที่ พาด ไว้ บน กลอน สำรับ มุง กระเบื้อง นั้น, ระแนง โรง ธรรม เปน ต้น นั้น.
      ระนาด (571:1.19)
               คือ เรือก ที่ เขา ถัก กรอง รอง ท้อง เรือ เปน ต้น นั้น.
      ระเนียด (571:1.20)
               คือ รั้ว กะดาน, เขา ทำ ที่ วัง เจ้า เปน ต้น นั้น, เอา ไม้ กะดาน ผนึก ติด กัน เปน พืด ไป รอบ วัง นั้น.
      ระเนน (571:1.21)
               คือ เอน ล้ม ลง ทอด ทับ กัน, เช่น ต้น เข้า เปน ต้น, ถูก ลม พะยุ แล ล้ม ระทม ทับ กัน นั้น.
      ระนาว (571:1.22)
               คือ เอน โอน ทอด ทับ กัน มาก, มี ต้น เข้า เปน ต้น ล้ม เอน ทับ กัน ไป มาก นั้น, ว่า ระนาว.
ระบุ (571:2)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ระบุ ความ (571:2.1)
               คือ ความ ถะลุ ผุด ขึ้น มา นั้น, เช่น อ้าย ผู้ ร้าย มา ระบุ ความ ลุกะโทษ เปน ต้น นั้น.
      ระบุ งอก (571:2.2)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ งอก ระบุ ขึ้น พร้อม กัน นั้น, ถั่ว งอก ฤๅ เข้า กล้า ระบุ งอก เปน ต้น นั้น.
      ระบุ แจ้ง (571:2.3)
               คือ ความ ที่ ถะลุ ผุด มา จะแจ้ง นั้น.
      ระบุ ชื่อ (571:2.4)
               คือ ความ ที่ ร้อง ออก ชื่อ นั้น, คน ร้อง ระบุ บอก ออก ชื่อ อ้าย ผู้ ร้าย เปน ต้น.

--- Page 572 ---
      ระบุ ระบัด (572:2.5)
               คือ เส้น หญ้า, แล ใบ ไม้ ที่ งอก ระบุ ระบัด ขึ้น พร้อม กัน นั้น, ต้น ไม้ ออก ใบ อ่อน เปน ต้น นั้น.
ระบำ* (572:1)
         รำ, ฟ้อน, คือ รำ ร้อง, เมื่อ เขา จะ มี งาน เล่น โขน ฤๅ หนัง, แรก จะ ลง เล่น นั้น เขา แต่ง ตัว เปน หญิง นาง รำ พวก หนึ่ง, เปน ชาย พวก หนึ่ง ลง ร้อง รำ จับ เปน คู่ ๆ กัน แรก เริ่ม ก่อน แล้ว, จึ่ง จับ เรื่อง ต่อ ไป.
      ระบำ ขับ (572:1.1)
               คือ การ ที่ รำ ฟ้อน พลาง ทาง ขับ ร้อง ด้วย นั้น, มี พวก นักเลง เพลง ปรบไก่ เปน ต้น นั้น.
      ระบำ รำ (572:1.2)
               คือ การ ที่ ฟ้อน รำ ตาม เพลง นั้น, โขน จับ ระบำ เปน ต้น นั้น.
      ระบำ ร้อง (572:1.3)
               คือ การ ที่ ฟ้อน รำ พลาง ทาง ร้อง ด้วย นั้น, พวก ละคอนชาตรี เปน ต้น นั้น.
ระเบียง (572:2)
         คือ เฉลียง, คน ปลูก เรือน ใหญ่ ขึ้น แล้ว ยก พื้น ต่อ ออก ไป แล มุง หลังคา มี ฝา ด้วย นั้น.
ระบัด (572:3)
         คือ ต้น หญ้า ขึ้น ใหม่ เมื่อ แรก ฝน ตก ลง ต้น ระดู นั้น, เรียก ว่า ระบัด หญ้า อ่อน นั้น,
      ระบัด ขน (572:3.1)
               คือ ขน สัตว ทั้ง ปวง ที่ งอก ขึ้น มา ใหม่ อ่อน ๆ นั้น ขน ระบัด ลูก นก เปน ต้น นั้น.
      ระบัด ใบ (572:3.2)
               คือ ต้น หญ้า แล ใบไม้ ออก ใบ ระบัด นั้น, เส้น หญ้า แล ต้นไม้ แล ต้น ไม้ แตก ใบ อ่อน เปน ต้น.
ระบาด (572:4)
         คือ กระจัก กระจาย ไป, เหมือน คน เปน ข้า เจ้า บ่าว ขุนนาง, ครั้น นาย ตาย แล้ว ต่าง คน ต่าง ไป นั้น, ว่า ระบาด ไป.
ระเบิด (572:5)
         คือ เพิก ถอน, เช่น เขา ทำ กอ ไม้ ไผ่ ให้ ไป พ้น จาก ที่, ขุด รุ้ง เข้า ภาย ใต้ แล้ว เอา ดิน ปืน ใส่ เข้า ใต้ นั้น, ปิด ผนิด จุด ไฟ ให้ กอ ไผ่ ถอน ระเบิด ขึ้น นั้น.
      ระเบิด ถ้ำ (572:5.1)
               คือ การ ที่ ระเบิด ถ้ำ ให้ ทำลาย นั้น, คน เอา ดิน ดำ ใส่ เข้า เกิน ขนาด ระเบิด ถ้ำ ให้ แตก เปน ต้น นั้น.
      ระเบิด ปืน (572:5.2)
               คือ การ ที่ คน จะ ระเบิด ปืน ให้ แตก ออก ไป นั้น, เช่น คน เอา ดิน ดำ ใส่ เข้า มาก, ระเบิด ให้ ทำลาย เปน ต้น นั้น.
      ระเบิด หิน (572:5.3)
               คือ คน เจาะ หิน เอา ดิน ใส่ เอา ไฟ จุด ให้ หิน ทำ ลาย นั้น, เช่น คน ระเบิด ภูเขา เปน ต้น นั้น.
ระบบ (572:6)
         คือ ธรรมเนียม, การ สิ่ง ใด ที่ มี อย่าง เยี่ยง ธรรมเนียม มา แต่ ก่อน นั้น.
      ระบบ ธรรมเนียม (572:6.1)
               คือ ขนบ ธรรมเนียม นั้น, คำ ว่า ตาม อย่าง ธรรมเนียม ฤๅ ขนบ ธรรมเนียม เปน ต้น.
      ระบบ ใบ ไม้ (572:6.2)
               คือ ใบ ไม้ ที่ หล่น ลง มา สะสม ซ้อน กัน อยู่ เปน ชั้น ๆ นั้น, ระบบ หญ้า เปน ต้น นั้น.
ระบอบ (572:7)
         คือ อย่าง ธรรมเนียม, การ ที่ เขา ทำ เปน ฉบับ มา แต่ โบราณ นั้น
      ระบอบ ความ (572:7.1)
               คือ เรื่อง ความ ทั้ง ปวง นั้น, เช่น คำ ว่า จะ นิ พนธ์ ตาม ยุบล ระบอบ ความ เปน ต้น.
      ระบอบ เบื้อง ต้น (572:7.2)
               คือ เรื่อง ความ เบื้อง ต้น นั้น, เช่น เรื่อง นรายน์ สิบ ปาง ครั้ง ปะถม กัลป เปน ต้น นั้น.
ระเบียบ (572:8)
         คือ ถ้อง แล้ว*, ของ ตั้ง อยู่ เรียบ เรียง กัน เปน แนว แถว เนื่อง กัน ไป เปน ลำดับ นั้น.
      ระเบียบ ฟัน (572:8.1)
               คือ ฟัน ที่ เรียบเรียง กัน เปนแถว อยู่ ใน ปาก นั้น, ระเบียบ ฟัน คน เปน ต้น นั้น.
ระบม (572:9)
         คือ ครั่น คร้าม กาย เมื่อย กาย, เช่น ทำ การหนัก ครั้น อยุด แล้ว ให้ เจ็บ คร้าม เมื่อย ตัว นั้น.
      ระบม กรม (572:9.1)
               คือ ความ ที่ เจ็บ ช้ำ กลัด เปน หนอง อยู่ นั้น.
      ระบม กาย (572:9.2)
               คือ ความ ที่ เจ็บ ช้ำ ตัว นั้น, เช่น คน ที่ ต้อง ทุบ ถอง ตี โบย หนัก นั้น ระบม กาย เปน ต้น.
      ระบม ใจ (572:9.3)
               คือ ความ เจ็บ ช้ำ น้ำ ใจ นั้น, คน ที่ เขา ว่า กล่าว กระทบ กระเทียบ เสียบ แทง เปน ต้น นั้น.
      ระบม ช้ำ (572:9.4)
               คือ ความ ที่ เจ็บ ช้ำ นั้น, เช่น คน ที่ ต้อง ทุบ ถอง ตี โบย สะบักสะบอม เปน ต้น นั้น.
      ระบม ตัว (572:9.5)
               คือ ความ ที่ เจ็บ ช้ำ ตัว นั้น, เช่น คน ที่ ต้อง แบก หาม ของ หนัก เกิน กำลัง เปน ต้น.
      ระบม หนอง (572:9.6)
               คือ การ ที่ เจ็บ ช้ำ เปน หนอง นั้น, เช่น ฝี ที่ ยัง ไม่ แตก หนอง เปน ต้น นั้น.
      ระบม บาตร (572:9.7)
               คือ การ ที่ สุมบาตร เหล็ก ให้ ศรี เขียว นั้น.
      ระบม บอบ (572:9.8)
               คือ การ ที่ เจ็บ ปวด บอบ ช้ำ นั้น, เช่น คน ที่ ตก ต้น ไม้ บอบ ช้ำ เปน ต้น นั้น.
      ระบม ฝี (572:9.9)
               คือ ความ ที่ เจ็บ ช้ำ ด้วย ฝี นั้น, เช่น คน เปน ฝี ระ บม หนอง เปน ต้น นั้น.

--- Page 573 ---
ระโบม โลม (573:1)
         คือ การ สังวาศ เคล้า คลึง นั้น.
ระบาย (573:2)
         คือ ค่อย ผ่อน ลม หายใจ เข้า ออก นั้น. อย่าง หนึ่ง เขา ทำ ไว้ ที่ ชาย พระกลด เปน ต้น นั้น. อย่าง หนึ่ง คน ช่าง เขียน เขา ร่าง ลง ก่อน แล้ว ลง เส้น ทา เครื่อง* ศรี นั้น.
      ระบาย เขียน (573:2.1)
               คือ การ ที่ เขียน ลาย ระบาย ประสาน ศรี ต่าง ๆ นั้น, คน เขียน รูปภาพ เปน ต้น นั้น.
      ระบาย ช้าง (573:2.2)
               คือ การ ที่ ไล่ กรร ฝูง ช้าง ให้ ออก ไป นั้น, หมอ เฒ่า ระบาย ช้าง โคลง ออก จาก เพนียด เปน ต้น นั้น.
      ระบาย ท้อง (573:2.3)
               คือ การ ที่ กิน ยา ไถ่ ท้อง นั้น, คน กิน ยารุ ให้ ท้อง เดิน เปน ต้น นั้น.
      ระบาย น่า มุ้ง (573:2.4)
               คือ ผ้า ระบาย ที่ ห้อย อยู่ น่า มุ้ง นั้น, ผ้า ระบาย น่า มุ้ง เจ็ก เปน ต้น.
      ระบาย ผ้า (573:2.5)
               คือ ระบาย ทำ ด้วย ผ้า นั้น, ระบาย ผ้า น่า โรง โขน โรง หุ่น เปน ต้น นั้น.
      ระบาย ลม (573:2.6)
               คือ การ ที่ ระบาย ลม ออก มา นั้น, คน ระบาย หายใจ ผ่อน ลม ออก มา เปน ต้น นั้น.
      ระบาย ลาย (573:2.7)
                คือ การ ที่ เขียน เปน ลาย ระบาย นั้น, คน เขียน ระ บาย ลาย ฉัตรเบญจรงค์ เปน ต้น นั้น.
      ระบาย หายใจ (573:2.8)
               คือ การ ที่ คน ระบาย หาย ใจ ออก มา นั้น.
ระบือ (573:3)
         คือ ความ ฦๅ เลื่อง, คน พูดจา เล่า บอก กัน, มี การ ราชาภิเศก เปน ต้น.
ระ ไป ทุกแห่ง (573:4)
         คือ ความ ที่ เที่ยวแวะ ระ ไป ทุก แห่ง นั้น, พวก พระสงฆ เที่ยว บิณฑบาต ระ ไป ทุก แห่ง เปน ต้น.
ระมัด (573:5)
         คือ ระวัง ตัว ไม่ ปมาท, คน ไม่ ปมาท กลัว จะ พลั้ง พลาด ด้วย เหตุ อัน ใด นั้น.
ระย้า (573:6)
         คือ ของ ห้อย เรื้อย ลง, มี เครื่อง แก้ว ที่ เขา แขวน ไว้ แล มี สร้อย ห้อย ลง นั้น.
ระยำ (573:7)
         คือ ยุบ ยับ, เหมือน ของ เก่า คร่ำ คร่า ผุ รา ทำลาย ยับ เยิน นั้น, ว่า ระยำ,
ระยะ (573:8)
         คือ จังหวะ, เขา วาง ของ เปน ถ้อง แถว แล ไว้ จังหวะ เหมือน ลูก กรง เปน ต้น นั้น.
ระรี่ เรื่อย (573:9)
         คือ เสียง ที่ ดัง คร่ำ ครวญ ฉ่ำเฉื่อย อ่อน เสนาะ เพราะ หู นั้น, ว่า เสียง ระรี่ เรื่อย.
ระริก (573:10)
         คือ เสียง ซิก ซี้ ขิก ขัก, คน ชอบ ใจ ของ อัน ใด ที่ ดู ขัน เปน ต้น, แล หัวเราะ ขิก ขัก นั้น.
ระ ราน (573:11)
         คือ ความ ที่ กระทบ กระทั่ง ระราน ชาว บ้าน นั้น, พวก คน พาล เที่ยว ระราน เปน ต้น นั้น.
ระ รื่น (573:12)
         คือ ชื่น ระเริง ใจ, คน มี ความ ยินดี ปรีดา ร่า เริง บันเทิง ใจ ด้วย การ สม ปราฐนา เปน ต้น.
ระหรุบ (573:13)
         คือ ของ ร่วง ตก ลง พรู ๆ, เหมือน ใบไม้ ที่ แก่ แล หล่น ร่วง ลง พรู ๆ, ว่า ร่วง ระหรุบ.
ระรัว (573:14)
         คือ สั่น รัว ๆ, เหมือน กาย คน จับไข้, เมื่อ เวลา จับ ตัว สั่น ท้าว ๆ เริ้ม ๆ นั้น, ว่า สั่น* ระรัว.
ระรั้ว (573:15)
         คือ ความ ที่ คน เอา ไม้ กรีด ไป ตาม รั้ว นั้น, ควาย เขา เกก ระ รั้ว เปน ต้น นั้น.
ระฦก (573:16)
         คือ นึก ตฤก ตรอง ถึง การงาน ฤๅ ถึง คน เปน ที่ รัก, มี บุตร ภรรยา เปน ต้น นั้น.
ระลอก (573:17)
         คือ คลื่น ที่ ซัด มา เบื้อง บน เปน ฟอง ฟู นั้น, เรียก ว่า ระลอก เพราะ แรก ขาว เปน ฟอง นั้น.
ระ ลง ไป (573:18)
         คือ ความ ที่ ถูก ต้อง ระลง ไป นั้น, คน ต้อง ถูก ว่า กล่าว ระ ลง ไป เปน ต้น. อย่าง หนึ่ง เปน เครื่อง ปี่พาทย์, ชื่อ ระนาด นั้น.
ระเหิด หัน (573:19)
         คือ วิ่ง ระเสิด ระสัง ไป นั้น, ฝูง เนื้อ ตก ใจ ตื่น คน, วิ่ง ระเหิด หัน ไป เปน ต้น นั้น.
ระบือ ทั่ว (573:20)
         คือ ความ ที่ เขา เล่า ฦๅ กัน ทั่ว ไป นั้น, เช่น ช้าง เผือก ฤๅ ข่าว ทัพ ศึก เปน ต้น นั้น.
ระ ลัก (573:21)
         คือ สวด ครั่นครวน เสียง, คน จะ สวด ฤๅ จะ เทศ ให้ เพราะ แล สวด เทศ ครั่นครวน เสียง นั้น.
ระบือ ฦๅ ลั่น (573:22)
         คือ ความ ที่ เขา พูดจา กัน กึกก้อง สนั่น ไป นั้น, เช่น ว่า ผู้ มี บุญ บังเกิด เปน ต้น.
ระเลิง (573:23)
         คือ ฉล้า ทะนง ใจ, คน แต่ แรก เข้า ใน พระราช ถาน ยัง ไม่ คุ้น เคย มี ความ เกรง มาก, ครั้น ชำนาญ เจน เข้า ก็ ทะนง ใจ ไม่ เกรง นั้น, ว่า ระเลิง ใจ.
ระบือ ฦๅ เลื่อง (573:24)
         ความ เลื่อง ฦๅ กัน ไป นั้น, เช่น พระ เยซู มา บังเกิด เปน ต้น นั้น.
ระเลียด (573:25)
         คือ เบียก* บ้าย ให้ เล็ก น้อย, คน ได้ ของ ปลาด แต่ ไม่ มาก อุษ่าห์ แบ่ง ให้ แห่ง ละเล็ก ละน้อย นั้น.

--- Page 574 ---
ระดา ดาษ (574:1)
         คือ สิ่ง ของ ที่ มี เรี่ยราย ทั่ว ไป นั้น, เช่น ดอก บัว ระดา ดาษ ใน ท้อง ทุ่ง เปน ต้น นั้น.
ระว้า (574:2)
         เปน คน ภาษา หนึ่ง เรียก ว่า ละว้า, เปน ชาติ คน ชาว ป่า คล้าย กับ พวก คน กะเหรี่ยง นั้น.
ระวิ (574:3)
         ฯ แปล ว่า อาทิตย์, วัน มี หมด ด้วย กัน เจ็ด วัน, นับ วัน อาทิตย์ เปน ต้น นั้น.
ระดม การ (574:4)
         คือ ลง มือ กระทำ การ ทั้ง ปวง พร้อม กัน นั้น, ระ ดม คน มา มาก ทำ ราชการ หลวง เปน ต้น นั้น.
ระไว (574:5)
         คือ ระวัง, คน เปน ผู้ เฝ้า ของ หลวง เปน ต้น, แล คอย ดู ไม่ ประมาท นั้น.
ระดม ทัพ (574:6)
         คือ ระดม เกณฑ์ คน เข้า กระบวน ทัพ นั้น, เช่น ระดม ทัพ เข้า ปล้น เมือง เปน ต้น นั้น.
ระวัง (574:7)
         คือ ระไว, คน คอย ดู ของ กลัว จะ หาย ไม่ ประมาท นั้น.
ระเดน มนตรี (574:8)
         คือ เปน ชื่อ แขก ใน เรื่อง อีเหนา นั้น.
ระวาง (574:9)
         คือ จังหวะ แล ระยะ, คน ทำ ลูก กรง ฝา เรือน เปน ต้น เว้น ไว้ เปน ระยะ ๆ นั้น.
ระดู น้ำ (574:10)
         คือ น่า น้ำ นั้น, เช่น เดือน สิบ สอง เปน ต้น นั้น.
ระ หว่าง (574:11)
         คือ เว้น ที่ ไว้ แล้ว จึ่ง วาง กง ลง เปน ต้น, เช่น เขา ต่อ กำปั่น เปน ต้น นั้น.
ระดู แล้ง (574:12)
         คือ น่า เทศกาล แห้ง นั้น, น่า ระดู เดือน สี่ เดือน ห้า เปน ต้น นั้น.
ระวิง (574:13)
         คือ ของ เครื่อง ทำ ด้าย จะ ธอ ผ้า, เขา เอา ไม้ มา ทำ เปน สอง เสา แล้ว ทำ ไม้ โครง สำหรับ ใส่ เข็ด ด้าย, แล้ว เสาะ สาว ไป นั้น.
ระดู ลม (574:14)
         คือ น่า เทศกาล ลม พัด หนัก นั้น, เช่น น่า หนาว เปน ต้น นั้น.
ระแวง (574:15)
         คือ แคลง ใจ กริ่ง ใจ, เหมือน ของ หาย มี คน มา หลาย คน นึก แคลง ว่า จะ เปน ผู้ ใด เอา ไป หนอ. อย่าง หนึ่ง คน ไถ นา, แล รอย ไถ ไม่ เรียบ เรียง ชิด กัน ไป รอย ห่าง กัน ไป บ้าง นั้น.
ระดู วรรษ (574:16)
         คือ น่า ฝน นั้น.
ระส่ำ ระสาย (574:17)
         คือ ทุรนทุราย กระวนกระวาย, คน ป่วย เจ็บ ไข้ แล ให้ ร้อน กระวนกระวาย นั้น.
ระดู เหมันต์ (574:18)
         คือ น่า ระดู น้ำ ค้าง ตก หนัก นั้น, เช่น ระดู หนาว น่า เดือน ยี่ เดือน สาม เปน ต้น นั้น
ระดู คิมหันต์ (574:19)
         คือ น่า ระดู ร้อน นั้น, เหมือน อย่าง ระดู เดือน สี่ เดือน ห้า เปน ต้น นั้น.
ระเสิด ระสัง (574:20)
         คือ เซอซัง ระเบ้อระบง, เหมือน สัตว์ ป่า หลง เข้า มา ที่ แดน คน, แล มัน เที่ยว เซอซัง ไป นั้น.
ระดู ผู้ หญิง (574:21)
         คือ ผู้ หญิง มี ระดู มา นั้น, เช่น คำ ตลาด เขา พูด กัน ว่า ผู้ หญิง ถึง ผ้า เปน ต้น นั้น.
ระเหระหน (574:22)
         คือ เที่ยว หา ที่ จะ อาไศรย ไม่ ได้, แล เที่ยว เตร่ เร่ร่าย ไป แห่ง โน้น แห่ง นี้
ระดู มา ไม่ ปรกติ (574:23)
         คือ ระดู มี ไม่ ต้อง ตาม ธรรมดา นั้น, เช่น ระดู หนาว กลับ ร้อน ระดู แล้ง ฝน ตก ชุก เปน ต้น นั้น.
ระหก ระเหิน (574:24)
         คือ ไม่ มี ที่ จะ อาไศรย, ต้อง เที่ยว ไป หา ที่ ต่าง ๆ นั้น.
ระหง (574:25)
         คือ สูง ทรง, เช่น เรือ พระที่ นั่ง, เรียก ว่า เรือ กิ่ง ฤๅ เรือ เอกะ ไชย นั้น, ว่า ระหง.
      ระหง เปลา (574:25.1)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ สูง เปล่า* นั้น, เช่น คัน ฉัตร์ ฤๅ ไม้ กะทั่งหัน เปน ต้น นั้น.
ระแหง (574:26)
         คือ ดิน แตก ร้าว ออก, เมื่อ ระดู แล้ง ดิน แห้ง แล้ว แยก แตก ออก นั้น.
ระโหถาน (574:27)
         คือ ที่ สงัด เงียบ ร่มรื่น สะบาย นั้น, เช่น ที่ ลาน วัต พวก พระสงฆ์ สัมถะ เปน ต้น นั้น.
ระหอง ระแหง (574:28)
         คือ ความ ทะเลาะ เบาะ เถียง เล็ก น้อย, คน มี ผัว เมีย กัน เปน ต้น, ขัด เคือง กัน เถียง บ้าง นั้น.
ระหก ระเหิน (574:29)
         คือ ความ ที่ ตก ทุกข ได้ ยาก ลำบาก ต่าง ๆ นั้น เช่น คน พลัด ที่ นา คา ที่ อยู่ เปน ต้น นั้น.
ระหัศ (574:30)
         ฯ อะธิบาย ว่า ความ ลับ, เช่น คน มี ความ ใน ใจ ไม่ ควร จะ บอก ผู้ ใด ได้ นั้น. อย่าง หนึ่ง เปน ของ เครื่อง ใช้ บีบ เยื่อ ฝ้าย ให้ เล็ด ออก เสีย นั้น. อย่าง หนึ่ง เปน เครื่อง วิด น้ำ เข้า นา.
      ระหัศ ระเหียน (574:30.1)
               มี ความ ว่า, คน มี ธุระ ด้วย ความ สำคัญ บังเกิด ขึ้น เปน ความ ร้าย ตัว คอย เงี่ย ฟัง ความ นั้น, ว่า ฟัง ระหัศระเหียน.

--- Page 575 ---
ระงม (575:1)
         คือ การ ที่ ร้อน รุ่ม พร้อม กัน อยู่ นั้น, มี ผลไม้ สุก ระงม อยู่ เปน ต้น นั้น.
ระเห็จ (575:2)
         คือ โดด โลด ไป โดย เรว, คน จะ เร่ง รีบ ไป แล รีบ โดด โลด ไป นั้น, ว่า ระเห็จ ไป.
ระเหิด ระหง (575:3)
         คือ การ ที่ สูง เริด อยู่ นั้น, เช่น ควาย เบิ่ง เปน ต้น นั้น.
ระหาย น้ำ (575:4)
         คือ อยาก กิน น้ำ บ่อย ๆ บัดเดี๋ยว ๆ, คน ป่วย ไข้ ให้ อยาก น้ำ กิน บัดเดี๋ยว อยาก นั้น.
ระหาย หิว (575:5)
         คือ การ ที่ อยาก น้ำ หนัก แล้ว หิว ด้วย นั้น, เช่น คน เปน โรค ลง ราก ให้ ระหาย น้ำ หิว อ่อน ไป เปน ต้น.
ระหุย (575:6)
         คือ ความ ที่ ล้ม ตาย ร่วง โรย ไป นั้น, เช่น เขา ว่า ตาย ออก เปน ระหุย ไป เปน ต้น นั้น.
ระเหย (575:7)
         คือ กลิ่น ของ ออก ไป เสีย จาก ของ, เหมือน ของ มี เหล้า เปน ต้น, คน เปิด ไว้ ไม่ ปิด กลิ่น ออก ไป เสีย นั้น, ว่า ระเหย.
ระโหย หวน (575:8)
         คือ ความ ที่ หิว อ่อน คร่ำครวญ อยู่ นั้น, เช่น ฉะ นี ร้อง โหย หวน เปน ต้น.
ระหวย (575:9)
         คือ หิว อ่อน อิดโรย ไป, คน ทำ การ หนัก เร่ง รัด ไป, เช่น ภาย เรือ ไป ไกล ไม่ ได้ อยุด อย่อน, แล ให้ อ่อน ธ้อแท้ ใจ ไป ไม่ มี แรง หิว โหย นั้น.
ระอา (575:10)
         คือ เข็ด ขยาด เบื่อ หน่าย, คน ถูก การ งาน หนัก, แล เบื่อ หน่าย ใจ ขยาด ไม่ ใคร่ ทำ อีก นั้น.
      ระอา ใจ (575:10.1)
               คือ ความ ที่ เบื่อ ใจ ธ้อ ใจ นั้น, คลาย จาก ความ เพียร ให้ ธ้อ ถอย ระอา ใจ เปน ต้น.
      ระอา อ่อน (575:10.2)
               คือ การ ที่ ธ้อ ถอย เบื่อ หน่าย อ่อน ไป, เช่น คน เดิร ทาง ไกล เกิน กำลัง เปน ต้น.
      ระอา ระอม (575:10.3)
               คือ ความ เบื่อ หน่าย นั้น, เช่น ระอมระอา ใน เปน ต้น นั้น.
ระอิด (575:11)
         คือ ระอา, คน เบื่อ รังเกียจ, เช่น คน เหน คน ขี้เมา เหล้า โอยกเอยก มา ทำ ให้ รำคาญ ใจ นั้น.
ระโอดระอง (575:12)
         คือ รูป สูง ทรง สรวย ไม่ อ้วน ไม่ พี นัก, คน ที่ รูป งาม ทรง ไม่ สูง นัก ไม่ ต่ำ นัก นั้น.
ระอม ระอา (575:13)
         คือ ความ ที่ เบื่อ หน่าย เต็ม ที นั้น, เช่น คน ไม่ อยาก ให้ นาย ใช้ เปน ต้น นั้น.
รก (575:14)
         คือ ที่ มี ขยาก ผง ฤๅ มี หญ้า เปน ต้น อยู่ มาก นั้น. อย่าง หนึ่ง ของ ที่ หุ้ม ห่อ ทารก เมื่อ อยู่ ใน ครรภ์ นั้น.
      รก คน (575:14.1)
               คือ ความ ที่ คน มาก นัก เกิน ประมาณ นั้น, คำ ว่า รก คน ดี กว่า รก หญ้า เปน ต้น นั้น.
      รก ใจ (575:14.2)
               คือ ข้อ ความ มี ใน ใจ หลาย ข้อ. อย่าง หนึ่ง มี คน หลาย คน รุม กัน ว่า นา ๆ ต่าง ๆ แก่ คน ๆ เดียว.
      รก ชัด (575:14.3)
               คือ ป่า ที่ แน่น อัด ยัดเยียด ด้วย ต้น ไม้ ใหญ่ มาก มาย นั้น, ว่า รก ชัด.
      รก หญ้า (575:14.4)
               คือ หญ้า รก หนักหนา นั้น, รก หญ้า ที่ ท้อง ทุ่ง แสน แสบ เปน ต้น นั้น.
      รก ที่ (575:14.5)
               คือ ที่ ใด ที่ หนึ่ง, เต็ม ไป ด้วย อยากเยื่อ เฟื้อฝอย แล หญ้า แล ต้น ไม้ เปน ต้น นั้น.
      รก หนาม (575:14.6)
               คือ ความ ที่ หนาม รก หนัก นั้น, เช่น เซิง หวาย โป่ง ฤๅ กอ ไผ่ ป่า เปน ต้น นั้น.
      รก บ้าน (575:14.7)
               คือ ที่ บ้าน เต็ม ไป ด้วย หญ้า เปน ต้น, ไม่ เลี่ยน เตียน นั้น.
      รก ร้าง (575:14.8)
               คือ ความ ที่ ร้าง รก อยู่ นั้น, เช่น บ้าน รก ร้าง ฤๅ ที่ นา รก ร้าง เปน ต้น นั้น.
      รก รุงรัง (575:14.9)
               คือ รก ขยุก ขยุย อยู่, เหมือน นก พิราบ มัน เข้า มา ทำรัง อยู่ ใน เรือน นั้น.
      รก เรือน (575:14.10)
               คือ เรือน เต็ม ด้วย ผง เล็ก น้อย แล อยาก เยื่อ แล ตั้ง ของ ใช้ ไว้ รุงรัง นั้น.
      รกเรี้ยว (575:14.11)
               คือ ความ ที่ มัน เรี้ยว รก หนัก นั้น, เช่น คน เดิน บุก หนาม ตาม ป่า ละเมาะ เปน ต้น นั้น.
      รกเรื้อ (575:14.12)
               คือ ความ ที่ รก เรื้อรัง อยู่ นั้น, เช่น ดง ดิบ ที่ รก เรื้อ ไฟ ป่า ไม่ ไหม้ เปน ต้น นั้น.
      รก ห้อง (575:14.13)
               คือ ใน ห้อง ไม่ เตียน, เต็ม ไป ด้วย ผง ไผ่ ฤๅ ภาช นะ เครื่อง ใช้ เปน ต้น นั้น.
รัก (575:15)
         คือ ต้น ไม้ เขา เรียก ว่า ต้น รัก. อย่าง หนึ่ง ยาง ไม้ ดำ นัก เรียก น้ำ รัก นั้น.
      รัก (575:15.1)
               เมตา, กรุณา, เอน ดู, คือ รัก ใคร่ กัน, เช่น หญิง สาว ชาย หนุ่ม ฤๅ เช่น มารดา กับ บุตร์ เปน ต้น นั้น.
      รัก กัด (575:15.2)
               คือ รัก ดำ ๆ ลาง คน เหน มัน เข้า, มัน ทำ ให้ ตัว คน นั้น ผื่น พรึง บวม ขึ้น นั้น.

--- Page 576 ---
      รัก กัน (576:15.3)
               คือ คน มี ความ เสน่หา อาไลย ต่อ กัน แล กัน นั้น, ว่า รัก กัน.
      รัก ขาว (576:15.4)
               คือ รัก ต้น ที่ ใบ ศรี ขาว ๆ นั้น, เช่น รัก ขาว ที่ เขา เอา ดอก มา ร้อย, เปน พวง อุบะ เปน ต้น นั้น.
      รัก ใคร่ (576:15.5)
               เสน่หา อาไลย, คือ ความ รัก แล้ว หวัง จะ ชม เชย แล จะ บริโภค ของ อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น.
      รัก ใจ (576:15.6)
               คือ ความ ที่ คน รัก ใคร่ น้ำ ใจ กัน นั้น, เช่น มิตร์ สหาย เพื่อน ร่วม ใจ กัน เปน ต้น นั้น.
      รัก จีน (576:15.7)
               คือ น้ำ รัก ที่ เขา เอา มา แต่ เมือง จีน, น้ำ รัก นั้น ศรี ไม่ สู้ ดำ นัก ขาย แพง.
      รัก ซ้อน (576:15.8)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ รัก มี สอง อย่าง ๆ หนึ่ง ดอก ไม่ ซ้อน อย่าง หนึ่ง ดอก มัน ซ้อน.
      รัก ต้น (576:15.9)
               คือ เปน ต้น รัก มิ ใช่ น้ำ รัก, รัก ต้น มัน ขึ้น อยู่ ริม ตลิ่ง ใน น้ำ มี ยาง นั้น.
      รักแร้ (576:15.10)
               คือ อะไวยวะ ที่ ตัว คน, คือ ที่ ใน ใต้ ต้น แขน ว้ำ ฦก เข้า ไป แล มี ขน นั้น.
      รัก ร่วม (576:15.11)
               คือ สิ่ง ของ ที่ รัก ร่วม ใจ กัน เข้า นั้น, เช่น ผู้ หญิง คน เดียว ชาย ชู้ รัก ร่วม กัน สอง คน เปน ต้น.
      รักษา (576:15.12)
               พยาบาล, คือ อะภิ บาล บำรุง, เช่น คน หนึ่ง ป่วย ไข้, แล ผู้ หนึ่ง ให้ กิน ยา นั้น.
      รักษา ศีล (576:15.13)
               ถือ ศิล, คือ ระวัง กลัว จะ ทำ ผิด ล่วง ศีล ที่ ตน สมา ทาน ถือ เอา ไว้ จะ ขาด นั้น.
      รักษา อุโบสถ (576:15.14)
               สมาทาน อุโบสถ, คือ คน ถือ เอา อุโบสถ ศีล แล้ว แล ไม่ ประมาท ระวัง กลัว จะ ล่วง เกิน นั้น.
      รัก อาไลย (576:15.15)
               คือ ความ อาไล รักใคร่ นั้น, เช่น ผัว เมีย ที่ รัก ใคร่ อาไลย ถึง กัน เปน ต้น นั้น.
      ราก (576:15.16)
               คือ มูล ที่ ต้นไม้ มัน งอก ต่อ เหง้า ยาว เลื้อย ออก ไป นั้น. อย่าง หนึ่ง คน คลื่น เหียน อาเจียร ออก ทาง ปาก นั้น.
      ราก กำแพง (576:15.17)
               คือ การ ที่ ทำ ราก ตอก เข็ม จะ ก่อ กำแพง นั้น.
      ราก แก้ว (576:15.18)
               คือ ราก ไม้ ทั้ง ปวง ที่ เปน ราก ใหญ่ หยั่ง ลง ตรง กลาง นั้น, เช่น พะยา ราก เดียว เปน ต้น.
      ราก คน (576:15.19)
               คือ อวก อาหาร ใหม่ ออก มา ทาง ปาก, คน คลื่น เหียน อาเจียร ออก ทาง ปาก นั้น.
      ราก ตึก (576:15.20)
               คือ การ ที่ คน ขุด ดิน ตอก เข็ม ทำ ราก จะ ก่อ ตึก นั้น, เช่น ทำ ราก ก่อ กำแพง เปน ต้น.
      ราก ไม้ (576:15.21)
               คือ มูล ที่ มัน งอก ออก จาก เง่า ต้น ไม้ แล้ว ชอน ไป ใต้ ดิน นั้น, เรียก ว่า ราก ไม้.
      ราก เลือด (576:15.22)
               คือ การ ที่ อาเจียร เปน โลหิต ออก มา นั้น, เช่น คน ที่ ต้อง ประหาร หนัก ราก เลือด ออก มา เปน ต้น.
      ราก ลม (576:15.23)
               คือ คน อวก ลม ออก ทาง ปาก ไม่ มี อาหาร นั้น, คน ป่วย ไข้ ให้ อาเจียร อวก ลม นั้น.
      รากโษษ (576:15.24)
               คือ ผี เสื้อ น้ำ นั้น, เช่น ยักษ์ ที่ ได้ พร อิศวร แล้ว มา รักษา ศระ ใน เรื่อง นิทาน ต่าง ๆ นั้น.
      รากเหียน (576:15.25)
               คือ การ ที่ ให้ อวก อาเจียร เหียน ราก นั้น, เช่น อวก ลม เปน ต้น นั้น.
      ราค (576:15.26)
               คือ ความ กำหนัด, คน หนุ่ม สาว นั้น มี ความ กำหนัด กล้า แรง นัก นั้น.
      ราค จริต (576:15.27)
               คือ อัทยาไสย ของ คน ที่ ค่อง อยู่ ใน กิเลศ กาม นั้น เช่น คน ที่ มี ใจ มัก รัก ของ ที่ งาม ที่ สอาจ เปน ต้น.
ริก ๆ (576:1)
         คือ ดิ้น เร่า ๆ, เช่น ปลา คน ทุบ ตี ลง แล มัน เจ็บ นัก เหลือ ทน แล ดิ้น เร่า ๆ นั้น.
หริก (576:2)
         คือ ความ ที่ รื่น เริง, มัก หัวเราะ ทำ เสียง หริก ๆ นั้น, เช่น หญิง หน้า เปน เล่น ตัว เปน ต้น นั้น.
รุก (576:3)
         คือ ขู่ ตวาด ว่า กล่าว ด้วย คำ อยาบ, ว่า อ้าย คน ถ่อย เปน ต้น นั้น.
      รุก เข้า ไป (576:3.1)
               คือ การ ที่ ขยับ ประชิด เข้า ไป ใกล้ นั้น, เช่น ทหาร ยก รุกรบ เข้า ไป ใกล้ เปน ต้น นั้น.
      รุกขะชาติ (576:3.2)
                ฯ แปล ว่า ต้น ไม้, บันดา ต้น ไม้ ใช่ ต้น หญ้า นั้น อยู่ ใน สับท์ รุกขะชาติ สิ้น.
      รุก ฆาฏ (576:3.3)
               คือ เปน ชื่อ การ เล่น หมาก รุก นั้น, เช่น คำ ว่า รุก ฆาฏ กิน โคน จน หมด เม็ด เปน ต้น นั้น.
      รุกขะ เทวะดา (576:3.4)
               คือ เทวะดา มี วิมาน อยู่ ที่ ต้นไม้, บันดา เท วะดา มี วิมาน อยู่ ที่ ต้น ไม้ เรียก เช่น นั้น.
      รุก บุก (576:3.5)
               คือ การ บุกรุก นั้น, คน ทำ รุก ที่ รุก ดิน ฤๅ ทำ เบี้ย รุก เบี้ย ก่อ เปน ต้น นั้น.
      รุกขพิมาน (576:3.6)
               คือ วิมาน เรือน เทวดา ตั้ง อยู่ ที่* ต้น ไม้, บันดา วิมาน ตั้ง อยู่ ที่ ต้นไม้ เรียก เช่น นั้น.

--- Page 577 ---
      รุก เอา (577:3.7)
               คือ การ ที่ ว่า กล่าว ขู่ รู่ คุก คาม เอา นั้น, เจ้า นาย ว่า กล่าว รุก เอา บ่าว เปน ต้น นั้น.
      รุกขะมูล (577:3.8)
               คือ ที่ ใกล้ ต้นไม้, เช่น พระสงฆ์ ไม่ อยู่ ใน กุฎิ์ วิหาร เที่ยว ไป อยู่ ใน ป่า ไม้, ว่า เที่ยว ไป ธรมาน กาย ใน รุก ขะมูล นั้น.
      รุกขะฉายา (577:3.9)
               คือ เงา แห่ง ต้นไม้ ทั้ง ปวง นั้น, ร่ม ไม้ ต่าง ๆ เปน ต้น นั้น.
      รุก ดีน (577:3.10)
               คือ ขยับ แดน ดิน ของ ตัว เข้า ไป ใน แดน ดิน ของ เขา, เพื่อ จะ ให้ ดิน ของ ตัว กว้าง.
      รุกขา (577:3.11)
               คือ พฤกษา ต่าง ๆ นั้น, ต้นไม้ ทั้ง หลาย ทั้ง ปวง เปน ต้น
      รุก ที่ (577:3.12)
               รุกแดน, คือ ขยับ แดน ที่ ของ ตัว ล้ำ เกิน เข้า ไป ใน แดน ที่ ของ ผู้ อื่น เพื่อ จะ ให้ ที่ ของ ตัว กว้าง.
      รุก บ้าน (577:3.13)
               คือ ขยับ ที่ บ้าน ของ ตัว ให้ ล้ำ เกิน เข้า ไป ใน แดน ที่ บ้าน ของ เขา นั้น, ว่า รุก บ้าน.
      รุก ราน (577:3.14)
               ไล่ หักหาญ, คือ บุก บัน, คน ทำ ศึก เปน ต้น ได้ ไชยชะนะ, แล รีบ เข้า ไล่ บุกบัน นั้น.
      รุก ร้น (577:3.15)
               คือ รุก เร่ง ให้ ไป, เช่น เดิน ไป ด้วย กัน มาก เขา รุก เร่ง ให้ รีบ ไป นั้น.
      รุก ราชบาด (577:3.16)
               คือ รุก ริบ เอา, คำ ราชบาด นี้ เปน สร้อย.
      รุก รุย (577:3.17)
               คือ ว่า คน เลว คน เสเพล, คน ที่ ต่ำช้า บันดา ศักดิ์ เปน แต่ พล ไพร่ นั้น, ว่า คน รุกรุย.
แรก (577:1)
         เดิม, ต้น, คือ พึง ทำ จับ ทำ, เช่น คน จะ ไถ นา เปน ต้น, วัน เมื่อ จะ จับ ลง ไถ นั้น.
      แรก เกิด (577:1.1)
               เดิม เกิด, คือ พึง เกีด ใหม่ ๆ, ของ สาระพัด พึง บังเกิด ขึ้น นั้น, ว่า แรก เกิด ขึ้น.
      แรก เข้า (577:1.2)
               คือ พึง ลง มือ เกี่ยว เข้า เปน ต้น, คน ทำ นา เข้า ออก รวง สุก, แล ลง มือ เกี่ยว นั้น.
      แรก ทำ (577:1.3)
               เดิม ทำ, คือ พึง จับ การงาน สาระพัด ทุก อย่าง, เปน ต้น ว่า ทำ บ้าน ทำ เรือน นั้น, ว่า แรก ทำ.
      แรก นา (577:1.4)
               คือ พึง ลง ไถ วัน ต้น นั้น, คน จะ ทำ นา ต้น ปี จะ ลง จับ ไถ นั้น, ว่า แรก นา.
      แรก ไป (577:1.5)
               คือ พึง ไป ที่ เดิม นั้น, คน ได้ ไป ที่ ไหน ๆ ตั้ง แต่ สอง หน เปน ต้น, ไป หน เดิม นั้น ว่า แรก ไป.
      แรก มา (577:1.6)
               คือ พึง ได้ มา แรก มา, คน อยู่ ประเทศ อื่น แล มา สู่ ประเทศ นี้, หน เดิม นั้น ว่า แรก มา.
      แรก ภบ (577:1.7)
               เดิม ภบ กัน, คือ พึง เหน ประสบ กัน, คน เมื่อ พึง ภบ เหน กัน หน เดิม นั้น, ว่า แรก ภบ กัน.
      แรก เดิม (577:1.8)
               คือ ปถม เหตุ, ของ ที่ หนึ่ง เปน ต้น นั้น.
      แรก มี (577:1.9)
               เดิม มี, คือ พึง มี, เช่น ของ สินค้า แต่ มา ต่าง ประเทศ, พึง มี มา ใหม่ นั้น.
      แรก รัก (577:1.10)
               เดิม รัก, คือ พึง รัก กัน ใหม่ ๆ, คน เปน มิตร สัณฐะวะ พึง จะ คบ หา กัน ใหม่ ๆ.
      แรก เริ่ม (577:1.11)
               คือ แต่ พึ่ง ประเดิม, เช่น คน คิด แล ทำ การ ใหม่ ๆ นั้น, ว่า แรก เริ่ม.
      แรก เริ่ม เดิม ที (577:1.12)
               คือ การ ที่ แรก ทำ เปน ปถม นั้น, คำ ถาม ว่า แรก เริ่ม เดิม ที นั้น ทำ อย่าง ไร กัน เปน ต้น.
      แรก หัว ที (577:1.13)
               เดิม หัว ที, คือ พึ่ง กระทำ ที่ แรก เดิม นั้น, คน พึ่ง กระทำ การ งาน อัน ใด แต่ ก่อน นั้น.
โรค (577:2)
          ฯ, แปล ว่า เสียบ แทง, คือ มี ความ ป่วย ไข้ ขึ้น ใน กาย คน เปน ต้น นั้น.
      โรค โรคา (577:2.1)
               คือ โรค ที่ เสียบ แทง ใน กาย นั้น, คน เปน พยาธิ เจ็บ ไข้ ต่าง ๆ เปน ต้น นั้น.
      โรค ไภย (577:2.2)
               คือ โรค เช่น ว่า แล้ว, แล ความ ไภย มี ราชไภย แล โจรไภย เปน ต้น นั้น.
      โรค ริศสิดวง (577:2.3)
               คือ โรค ที่ ผอม แห้ง เกิด ไอ ให้ เปน เสมหะ เหม็น คาว ใน ฅอ เปน ต้น นั้น.
      โรค ร้าย (577:2.4)
               คือ โรก พยาธิ, คือ เรื้อน กุฐัง มัน กิน ให้ เล็บ มือ เล็บ ท้าว เหี้ยน เกรียน ไป นั้น.
โอรก เอรก (577:3)
         คือ การ ที่ ซูบ ผอม ไม่ มี แรง นั้น. คน หิว โร เร สิ้น กำลัง เปน ต้น.
รอก (577:4)
         คือ ไม้ เขา ทำ กลม ใส่ สลัก ไว้ ให้ มัน หมุน ได้, แล้ว เอา เชือก พวน ใส่ เข้า ชัก ของ ที่ หนัก ที่ ใหญ่ ให้ ขึ้น ง่าย.
      รอก ตัว สัตว (577:4.1)
               เปน ชื่อ สัตว สี่ ท้าว ตัว มัน เท่า หนู พูก, หาง มัน เปน พวง มัน อยู่ บน ต้นไม้, กิน ลูกไม้ นั้น.
      รอก แฝด (577:4.2)
               คือ รอก ที่ ติด กัน เปน คู่ นั้น, รอก แฝด ที่ เรือ กำปั่น นั้น.

--- Page 578 ---
      รอก โทน (578:4.3)
               คือ ลูก รอก ที่ ออก ตัว เดียว ฤๅ อยู่ ตัวเดียว นั้น, รอก โทน ใน สวน เปน ต้น นั้น.
รวก (578:1)
         เปน ชื่อ ไม้ อย่าง หนึ่ง, เขา เรียก ว่า ไม้ รวก, มัน เปราะ นัก, ผ่า ออก มัน คม กว่า ไม้ อื่น นั้น.
เรียก (578:2)
         คือ ออก วาจา ว่า พ่อ แม่ ขา เปน ต้น นั้น. อย่าง หนึ่ง อ้าง ถึง ว่า น้ำ ฤๅ ดิน เปน ต้น นั้น.
      เรียก กัน (578:2.1)
               คือ ออก วาจา ถึง ชื่อ ผู้ อื่น จะ ให้ มา เปน ต้น, ว่า เจ้า จง มา นี่ เปน ต้น นั้น
      เรียก คน (578:2.2)
               คือ เปล่ง เสียง ออก ดัง, ว่า เจ้ายิ้ม โวย มา นี่ เถิด โวย เปน ต้น นั้น.
      เรียก เงิน (578:2.3)
               คือ การ ที่ คน เอา ลูกนี่ ไป เร่ง เงิน นั้น, เช่น ตระลาการ เรียก เงิน ตาม สาร กรมธรรม เปน ต้น.
      เรียก ตะโกน (578:2.4)
               คือ คน ร้อง เรียก กัน ด้วย เสียง ดัง เต็ม ที นั้น เช่น คน ตะโกน เรียก กัน ให้ ขาน รับ เปน ต้น.
      เรียก มา (578:2.5)
               ให้ หา มา, คือ ออก วาจา ถึง ชื่อ ผู้ อื่น, ว่า จง มา นี่ ฤๅ พ่อ แม่ จง มา นี่ เถิด.
      เรียก ร้อง (578:2.6)
               คือ ร้อง ว่า จง มา นี่, คน ออก ปาก ร้อง ถึง ชื่อ ผู้ อื่น ว่า เจ้า ชื่อ นั้น มา นี่.
      เรียก ลูก (578:2.7)
               ให้ หา ลูก มา, คือ ร้อง ว่า ลูก จง มา นี่, คน เปน พ่อ เปน แม่ ออก ปาก ว่า ลูก จง มา นี่.
      เรียก หา (578:2.8)
               คือ เรียก จะ ให้ ภบ ตัว, คน ยัง ไม่ เหน ตัว กัน แล ร้อง เรียก ชื่อ จะ ให้ เหน ตัว นั้น
      เรียก ขวัน (578:2.9)
               คือ รับ ขวัน, คน ทำ ขวัน ให้ กับ บุตร เปน ต้น, ร้อง รับ ขวัน ว่า ขวัน เอ๋ย มา เถิด มา อยู่ กับ ตัว เจ้า.
      เรียก เอา เงิน (578:2.10)
               คือ ความ ที่ เรียก เขา ให้ เอา เงิน มา ให้ ตัว นั้น, เช่น เจ้านี่ ทวง ลูกนี่ เปน ต้น
เรือก (578:3)
         คือ ไม้ ระนาด, คน เอา ไม้ ไผ่ มา ผ่า ออก เปน ซีก ๆ เล็ก ๆ แล้ว ปู เปน พื้น เรือน ถัก ด้วย หวาย.
      เรือก ดัก ปลา (578:3.1)
               คือ เฝือก ที่ เขา ดัก ปลา นั้น, เช่น คน ลง เฝือก ทำ สุ่ม ดัก ปลา เปน ต้น.
      เรือก ตะภาน (578:3.2)
               คือ ตะภาน เรือก นั้น, แม่ ทัพ ทำ ตะภาน เรือก ข้าม แม่น้ำ นั้น.
      เรือก สวน (578:3.3)
               เรือก นี้ เปน คำ สร้อย, แต่ สวน นั้น คือ ที่ ๆ เขา ปลูก ต้น ดอกไม้ เปน ต้น นั้น.
เริกษ (578:4)
         คือ เวลา ดี แล ร้าย, ถ้า เวลา ดี ถึง เข้า ว่า ฤกษ ดี, ถ้า เวลา ร้าย ถึง เข้า ว่า ฤกษ ชั่ว.
      เริกษ ไชย (578:4.1)
               คือ เวลา ฤกษ ที่* มี ไชยชะนะ นั้น, คน คอย หา ฤกษ ไชย จะ ยก ทัพ เปน ต้น นั้น*.
      เริกษ เช้า (578:4.2)
               คือ เวลา เช้า, ถ้า เวลา เช้า ดี ก็ ว่า ฤกษ เช้า ดี, ถ้า เวลา ใด ดี ก็ ว่า เวลา นั้น ฤกษ ดี.
      เริกษ ใหญ่ (578:4.3)
               ดาว ใหญ่, คือ ฤกษ ใน คัมภีร์ โหรา สาตร, พวก โหร เขา ดู ตาม คัมภีร์ มี ฤกษ ยก ทัพ เปน ต้น นั้น.
      เริกษ ดี (578:4.4)
               เริกษ งาม ยาม ดี, คือ เวลา ดี, คน เขา นับ ถือ ตาม โหรา สาตร ธรรมเนียม ไท, ว่า ถ้า ทำ การ ใหญ่ มี การ จะ ต่อ กำปั่น เปน ต้น, หา ฤกษ ที่ ดี.
      เริกษ บน (578:4.5)
               ดาว เบื้อง บน, คือ ฤกษ ใน สิบสอง ราศรี มี ใน อากาศ สวรรค ชั้น บน นั้น, เขา เรียก ว่า ฤกษ บน นั้น.
      เริกษ พระ (578:4.6)
               เวลา พระ, คือ เวลา ปัจจุศมัย ใกล้ จะ สว่าง, เรียก ว่า ฤกษ พระ, คือ เปน เวลา พระเจ้า ได้ ตรัส นั้น.
      เริกษ ภา นาที (578:4.7)
               คือ เวลา กำหนด ฤกษ บน นั้น, คน หา ฤกษ ภา นาที จะ โกน จุก เปน ต้น นั้น.
      เริกษ ร้าย (578:4.8)
               ฤกษ ไม่ ดี, คือ ฤกษ ชั่ว, ถ้า ทำ การ อัน ใด ใน ฤกษ นั้น ให้ เกิด อันตราย ต่าง ๆ, ว่า ฤกษ ร้าย.
      เริกษ กลาง (578:4.9)
               คือ ฤกษ ใน อัฐทิศ ทั้ง แปด, มี ทิศ บูรพา เปน ต้น นั้น, ว่า ฤกษ กลาง.
      เริกษ สาย (578:4.10)
               เวลา ดี มี สาย, คือ ฤกษ มี ใน เวลา สาย, คือ เวลา โมง เสศ สอง โมง นั้น, ว่า ฤกษ สาย.
รง (578:5)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, เขา เรียก ว่า ต้น รง, มัน มี ยาง เหลือง เขา เอา ทำ เครื่อง เขียน.
      รง กา (578:5.1)
               คือ ต้น รง ที่ มี ยาง ศรี เขียว ๆ นั้น, รง กา ที่ มา แต่ เมือง เขมร เปน ต้น นั้น.
      รง ทอง (578:5.2)
               คือ ต้น รง ที่ มี ยาง ศรี เหลือง ดี นั้น, รง ทอง ที่ สำรับ เขียน หนังสือ เปน ต้น.
รัง (578:6)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง เปน ชาติ ไม้ ใหญ่, มี แก่น แขง นัก เขา ตัด ทำ เสา เรือน ทน.
      รัง กา (578:6.1)
               คือ กา มัน เอา กิ่ง ไม้ เล็ก ๆ, ไป ทำ ที่ บน ต้นไม้ อาไศรย ออก ไข่ แล ลูก มัน นั้น.

--- Page 579 ---
รังแก (579:1)
         รบกวน, คือ พวก แก ตัว เล็ก ๆ มัน เอา กิ่ง ไม้ ไป ทำ ที่ ต้นไม้ อาไศรย ไข่ ฟัก ลูก นั้น. อย่าง หนึ่ง เปน คน มัก ริศยา เพื่อน.
      รังกะตุ๋ย (579:1.1)
               ขี้ ริ้ว ขี้ เหร่, นี่ เปน คำ คน อุตริ พูด ตาม คะนอง, ถ้า เหน คน ทุพลภาพ ด้วย ผ้า นุ่ง ห่ม เปน ต้น ขี้ ริ้ว, มัก ว่า เปน รังกะตุ๋ย.
      รังเกียจ (579:1.2)
               คือ นึก แหนง แคลง ใจ อยู่, เช่น คน มัก ลัก ของ ต่าง ๆ, เขา รู้ เขา นึก ไม่ ใคร่ ให้ เข้า ใน บ้าน เปน ต้น นั้น.
      รังแค (579:1.3)
               คือ มลทิน ที่ ติด กรัง อยู่ ที่ หนังหัว, เมื่อ โกน ผม มี ละออง ติด อยู่ ที่ หนัง ศีศะ ไป.
      รัง แช่ง (579:1.4)
               คือ คน เปน ที่ เขา ภอ ใจ แช่ง, คน โอยก เอยก มัก ประทุษฐร้าย เขา, ๆ มัก แช่ง ว่า ให้ มัน ฉิบหาย ตายโหง เปน ต้น นั้น.
      รัง ด่า (579:1.5)
               คือ คน เปน ที่ เขา ภอ ใจ ด่า, คือ คน ไม่ ดี โอยกเอยก มัก เบียดเบียฬ เขา, ๆ มัก ด่า ให้ นั้น.
      รัง ดุม (579:1.6)
               คือ รัง ที่ สำรับ ใส่ ลูกดุม นั้น, รังดุม เสื้อ ทั้ง ปวง เปน ต้น นั้น.
      รัง แตน (579:1.7)
               คือ ที่ แตน มัน อาไศรย นั้น, รังแตน ควาย ที่ มัน ทำ อยู่ ตาม ท้อง ทุ่ง นั้น.
      รัง นก (579:1.8)
               คือ น้ำลาย ที่ นก มัน ทำ รัง ใน ถ้ำ นั้น, รัง นก อีแอ่น ที่ เขา ต้ม น้ำตาล ทราย กิน เปน ต้น* นั้น.
      รัง ผึ้ง (579:1.9)
               คือ รวง ผึ้ง ทั้ง ปวง นั้น.
      รัง พา (579:1.10)
               คือ การ ที่ คน ไป เที่ยว เรี่ยไร ฃอทาน เขา นั้น, คน เที่ยว ร้อง เพลง เรี่ย ไร เงิน ว่า จะ บวช ตัว นั้น.
      รังรวง (579:1.11)
               คือ รวง รัง ทั้ง ปวง นั้น, รัง รวง ผึ้ง โพรง เปน ต้น นั้น.
      รัง ว่า (579:1.12)
               คือ เปน ที่ เขา มัก ว่า กล่าว บ่อย ๆ, คือ คน ใจ ร้าย อยาบ นัก เขา มัก ว่า อ้าย นี่ ชั่ว นัก หนา.
      รัง วัด (579:1.13)
               คือ เปน ที่ เขา มัก วัด, เช่น คน ฆ่า คน ตาย ลง ใน ที่ ใด ไม่ มี ใคร่ ช่วย ห้าม ปราม ว่า กล่าว, แล ฆ่า กัน ตาย ลง, เขา วัด ที่ ออก ไป สาม เส้น ให้ คน เรือน อยู่ ใน ที่ นั้น เสีย เงิน ด้วย.
      รังวัล (579:1.14)
               คือ ทรัพย เขา ให้ ด้วย ชอบ ใจ, เช่น คน เล่น ละคอน เปน ต้น, เขา ชอบ ใจ ให้ ทรัพย กัน ระวาง เล่น อยู่ นั้น.
      รัง ควาน (579:1.15)
               คือ ผี ตาย ไม่ ดี, มี ตก ต้น ไม้ ฤๅ ตก น้ำ ตาย เปน ต้น ว่า ผี นั้น มัน เที่ยว อยู่ ทุก แห่ง, ถ้า มัน เหน คน ตก ต้น ไม้ เปน ต้น มัน ก็ เข้า ใน ตัว คน สิ่ง นั้น.
      รัง สรรค (579:1.16)
               คือ ความ ตก แต่ง นั้น, แล นฤมิต เปน ต้น.
      รังสี (579:1.17)
               คือ รัศมี ทั้ง ปวง นั้น, คำ ว่า สหัศรงงษี* มี รัศมี ได้ พัน หนึ่ง เปน ต้น นั้น
รั้งรอ (579:2)
         คือ อยุด ยั้ง คอย อยู่, คน มี ความ โกรธ ขึ้น ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง, แล อยุด งด เงือด ไว้ นั้น.
      รั้ง เซ (579:2.1)
               คือ เรือน ที่ ร้าง แล้ว เซ ด้วย นั้น.
ราง (579:3)
         คือ ไม้ ที่ เขา ทำ ไว้ สำรับ รอ น้ำ ฝน เปน ต้น นั้น. อย่าง หนึ่ง เขา ทำ ไว้ สำรับ ใส่ น้ำ ให้ สัตว กิน.
      ราง เก็บ ตัว อักษร พิมพ์ (579:3.1)
               เมื่อ เขา จะ ตี พิมพ์ หนังสือ, เขา จัด ตัว อักษร แบบ ใส่ ลง* ใน ราง, เรียง ตาม เรื่อง ราว นั้น ก่อน.
      ราง เข้าเม่า (579:3.2)
               คือ เอา กระเบื้อง ตั้ง ขึ้น บน เตา, ก่อ ไฟ ให้ ลุก แล้ว เอา เข้า เม่า ใส่ ลง ขั้ว ไป นั้น.
      ราง โค (579:3.3)
               คือ ไม้ ที่ เขา ทำ สำรับ ใส่ น้ำ ให้ โค กิน, เขา เอา ไม้ มา ขุด ด้วย สิ่ว เจาะ เปน ร่อง ลง นั้น.
      ราง ทอง (579:3.4)
               คือ ราง ทั้ง ปวง ที่ เขา ทำ ด้วย ทอง นั้น, อู่ ทอง ทั้ง หลาย เปน ต้น นั้น.
      ราง ปืน (579:3.5)
               คือ ไม้ ที่ เขา ทำ ราง ใส่ ปืน ทั้ง ปวง นั้น, ราง ปืน นก สับ เปน ต้น นั้น.
      ราง น้ำ (579:3.6)
               คือ ราง ที่ สำรับ รอง น้ำ ฤๅ ราง น้ำ ตาม ท้อง ทุ่ง นั้น, ราง น้ำ ตาม ชายคา แล ราง น้ำ ตาม มาบ เปน ต้น นั้น.
      ราง ไม้ (579:3.7)
               คือ ไม้ ที่ เขา ขุด เจาะ ด้วย สิ่ว ให้ เปน ร่อง ภอ ขัง น้ำ ได้, ทำ ไว้ สำรับ ใส่ ผ้า ลง ย้อม นั้น.
      ราง หมู (579:3.8)
               คือ ไม้ ราง สำรับ ขุน หมู, คน เลี้ยง หมู แล เอา ไม้ มา เจาะ ขุด เปน ร่อง ใส่ อาหาร ให้ หมู กิน นั้น.
      ราง ระนาด (579:3.9)
               คือ ราง ที่ สำรับ ขึง ระนาด นั้น, ราง ระนาด เครื่อง มะโหรี เปน ต้น นั้น.
      ราง รอง น้ำ (579:3.10)
               คือ ไม้ เขา ทำ เปน ร่อง สำรับ รอง น้ำ ฝน ที่ ชาย คา นั้น, เขา เรียก ราง รอง น้ำ.
      รางวี่ รางวัล (579:3.11)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ให้ โดย ชอบ ใจ นั้น, เช่น ตก รางวัล ละคอน เปน ต้น.

--- Page 580 ---
      ราง วัด (580:3.12)
               คือ การ ที่ ลง กระแส เส้น เชือก วัด ดู, ให้ รู้ ตาม กว้าง แล ยาว นั้น, คน ต้อง เสีย ราง วัด เปน ต้น นั้น.
ร่าง (580:1)
         คือ โกลน ก่อน, เช่น คน จะ เขียน ฉาก รูป ภาพ, แล เอา ดินสอ เขียน โกลน ลง ก่อน นั้น.
      ร่าง กาย (580:1.1)
               คือ รูป กาย, ตัว คน ฤๅ ตัว สัตว เปน ต้น นั้น, ว่า ร่างกาย ก็ ได้ ว่า รูป กาย ก็ ได้.
      ร่าง เขียน (580:1.2)
               คือ ลง มือ เขียน ด้วย เส้น ดินสอ ก่อน, แล้ว เขา ลง ภู่กัน ลาก เส้น ลง เครื่อง เขียน นั้น.
      ร่าง หนังสือ (580:1.3)
               คือ หนังสือ ที่ เขา ร่าง ลง ไว้ ยัง ไม่ ได้ ลง เส้น หมึก นั้น, หนังสือ กาก ร่าง ทั้ง ปวง เปน ต้น.
      ร่าง น้อย (580:1.4)
               คือ คน ที่ รูป ร่าง ไม่ สู้ ใหญ่ โต นัก นั้น, คน เอว บาง ร่าง น้อย เปน ต้น นั้น.
      ร่างแห (580:1.5)
               คือ รูป แห ทั้ง ปวง ที เขา ทอด กุ้ง ทอด ปลา นั้น, ร่าง แห ที่ เขา ใช้ ตอก หมัน กำปั่น เปน ต้น นั้น.
ร้าง (580:2)
         คือ ทิ้ง เสีย ไม่ อยู่, เช่น ตัว ผึ้ง มัน ทำ รวง รัง อยู่, แล้ว มัน ภา กัน ไป ที่ อื่น นั้น, ว่า รัง ร้าง
      ร้าง การ (580:2.1)
               คือ ทำ การ อัน ใด ยัง ไม่ สำเร็จ, คน ผู้ ทำ ทิ้ง ละ ไป เสีย นั้น, ว่า เขา ร้าง การ ไป.
      ร้าง เซ (580:2.2)
               คือ การ ที่ ละ ทิ้ง สิ่ง ของ ให้ ทรุด เซ ไป นั้น, บ้าน เรือน ร้าง เซ เปน ต้น นั้น.
      ร้าง บ้าน (580:2.3)
               คือ ละ ทิ้ง บ้าน เสีย ไป อยู่ ที่ อื่น นั้น.
      ร้าง ไป (580:2.4)
               คือ ทิ้ง เลิก ไป, คน อยู่ ฤๅ ทำ การ อัน ใด ๆ ใน ป่า เปน ต้น แล ละ เลิก ไป นั้น.
      ร้าง เมีย (580:2.5)
               คือ ละ ทิ้ง เมีย เสีย ไม่ ไป มา หา สู่* กัน, แต่ เขา ยัง ไม่ ได้ อย่า กัน, เปน แต่ ละเมิน เสีย นั้น.*
      ร้าง อย่า (580:2.6)
               * อย่า ร้าง, คือ ร้าง ทิ้ง เสีย แล้ว จึ่ง อย่า กัน, คน เปน ผัว เมีย กัน แล ผัว ละ ทิ้ง ไว้ แล้ว อย่า นั้น.
      ร้าง รัก (580:2.7)
               คือ ความ ที่ รัก กัน อยู่ แล้ว ร้าง ไป นั้น, เช่น ผัว เมีย ทิ้ง กัน เสีย ฤๅ ชู้ สาว ร้าง กัน ไป เปน ต้น นั้น.
      ร้าง แรม (580:2.8)
               คือ การ ที่ ละ ทิ้ง แรม ร้าง ค้าง อยู่ นั้น, สิ่ง ของ ที่ ร้าง ค้าง แรม ปี เปน ต้น.
      ร้าง เริศ (580:2.9)
               เริศ ร้าง, ค้าง อยู่, คือ ทิ้ง ทอด ไว้ นาน นั้น.
      ร้าง ลูก (580:2.10)
               ไป จาก ลูก, คือ ละ ทิ้ง ลูก ไว้ ไม่ ไป มา หา สู่ นั้น.
      ร้าง เสีย (580:2.11)
               คือ การ ที่ ละ ร้าง เสีย นั้น, สิ่ง ของ ทั้ง ปวง มี บ้าน เมือง เปน ต้น ร้าง เสีย ไป นั้น.
หริ่ง (580:3)
         เปน ชื่อ หนู ตัว เล็ก ๆ หนิด ๆ, ว่า หนู หริ่ง อย่าง หนึ่ง เมือง แขก ชื่อ เมือง ยะหริ่ง.
รึง (580:4)
         ผูก รัด, คือ กวด รัด เข้า, คน เขา มัด ผ้า เปน ต้น, เอา เชือก ฤๅ ด้าย รัด กวด เข้า ให้ มั่น นั้น.
      รึง มัด (580:4.1)
               คือ การ ที่ มัด ผูก รัด รึง ลง ไว้ นั้น, คน ขนาบ ฟาก เรือน ผูก มัด รัด รึง ลง ไว้ ให้ แน่น เปน ต้น.
      รึง รัด (580:4.2)
               ผูก มัด, คือ กวด รัด เข้า, คน จะ มัด ห่อ ผ้า เปน ต้น, แล เอา เชือก ฤๅ ด้าย กวด รัด ไว้ นั้น.
      รึง รัง (580:4.3)
               คือ กวด รั้ง เข้า, คน จะ มัด ห่อ ผ้า เปน ต้น, แล เอา เชือก ฤๅ ด้าย กวด รั้ง ให้ มั่น นั้น.
รุง รัง (580:5)
         รก เรี้ยว, คือ นุง นัง รุ่มร่าม อยู่, เช่น ขน หนวด คน ฤๅ สัตว รก รุ่มร่าม อยู่, ว่า รุง รัง อยู่.
รุ่ง (580:6)
         สว่าง, คือ เวลา ตี สิบเอ็ด ทุ่ม เสศ เกือบ สว่าง, เช่น เวลา ที่ ยิง ปืน แล ตี กลอง นั้น.
      รุ่ง ขึ้น (580:6.1)
               สว่าง ขึ้น, คือ เวลา สว่าง ขึ้น แจ้ง เข้า, ครั้น เวลา สว่าง แจ้ง แต่ ยัง ไม่ มี แสง แดด นั้น.
      รุ่ง เช้า (580:6.2)
               วัน ใหม่, คือ เวลา สว่าง ได้ อารุณ ภอ แล เหน รู้ จัก ใบ ไม้ อ่อน แล แก่ สนัด นั้น, ว่า รุ่ง เช้า.
      รุ่ง พรุ่ง นี้ (580:6.3)
               สว่าง ขึ้น ใหม่, คือ รุ่ง สว่าง ขึ้น เปน วัน หนึ่ง นั้น. อย่าง หนึ่ง เขา ว่า เรา จะ ไป ต่อ รุ่ง พรุ่ง นี้ นั้น.
      รุ่ง โรจ (580:6.4)
               ช่วง โชติ, คือ การ ที่ แสง สว่าง ช่วง โชติ นั้น, ไฟ ไหม้ บ้าน แสง สว่าง รุ่ง โรจ ใน เวลา กลาง คืน เปน ต้น นั้น.
      รุ่ง เรื่อง (580:6.5)
               แสง สว่าง, คือ รุ่ง โรจ โชติ ช่วง เหมือน แสง ไฟ ที่ ลุก โพลง มี แสง สร่อง สว่าง นั้น.
      รุ่ง แล้ว (580:6.6)
               สว่าง แล้ว, คือ เวลา ได้ อารุณ แล้ว, แล เหน ใบ ไม้ แก่ อ่อน ชัด สนัด ดี แต่ ยัง ไม่ มี แสง แดด.
      รุ่ง แจ้ง (580:6.7)
               สว่าง แจ้ง, คือ รุ่ง แสง สว่าง แต่ ยัง ไม่ มี แสง แดด. แต่ ว่า แล เหน ของ สาระพัด ชัด ดี นั้น.
      รุ่ง สว่าง (580:6.8)
               แจ้ง สว่าง, คือ เวลา รุ่ง แจ้ง แสง แจ่ม ใส, แล เหน ของ ทั้ง ปวง สนัด ชัด ดี นั้น, ว่า รุ่ง สว่าง.
      รุ่ง สราง (580:6.9)
               สว่าง สราง, คือ เวลา รุ่ง ยัง ไม่ ได้ อารุณ ยัง มัว อยู่ น่อย ๆ หนึ่ง นั้น, ยัง แล เหน อะไร ไม่ ชัด นั้น.

--- Page 581 ---
      รุ่ง แสง (581:6.10)
               สว่าง รัศมี, คือ รุ่ง ด้วย แสง รัศมี อาทิตย เปน ต้น เช่น กับ รุ่ง แจ้ง แสง แจ่ม ใส นั้น.
รุ้ง (581:1)
         อินท์ธะนู, คือ ของ เปน สาย ผ่าน ข้าม ไป ใน อากาศ, มี ศรี แดง อ่อน แล ศรี น้ำ เงิน ติด กัน เปน วง บ้าง.
      รุ้ง กิน น้ำ (581:1.1)
               อินท์ธะนู, คือ รูป สาย รุ้ง นั้น, ย่อม เปน เมื่อ ระดู ฝน ๆ ตก อยุด แล้ว, จึ่ง เกิด มี รุ้ง นั้น, จึ่ง ว่า รุ้ง กิน น้ำ.
      รุ้ง เข้า ไป (581:1.2)
               คือ หลุม ที่ เขา ขุด จะ ฝัง สพ ผี แขก, เดิม ขุด ตรง ลง ไป แล้ว แสะ ให้ เปน เงื้อม เข้า ไป นั้น.
      รุ้ง (581:1.3)
                เปน คุ้ง เข้า ไป, คือ อาการ ที่ กว้าง อ้อม โค้ง ไป นั้น, เช่น ทาง ฟาก ข้าง ท้อง คุ้ง ตาม แม่ น้ำ เปน ต้น นั้น
      รุ้ง แวง (581:1.4)
               รุ้ง นั้น คือ วัด นา กะทง หนึ่ง โดย กว้าง, แวง นั้น คือ วัด นา กะทง โดย ยาว นี่ ใช้ แต่ วัด นา.
เรง (581:2)
         คือ ถี่ ๆ, เปน ต้น ว่า พูดจา ถ้า กล่าว ว่า ถี่ ๆ ก็ ว่า เขา พูด เรง นัก, ฤๅ พาย เรือ เปน ต้น ถ้า เขา พาย ถี่ ๆ ว่า เขา พาย เรง นัก.
เร่ง (581:3)
         เร็ว, คือ รีบ จัด จะ ให้ เร็ว, เช่น คน ทำ การงาน เปน ต้น แล กลัว การ จะ เนิ่น ช้า, แล รีบ ทำ เร็ว นั้น.
      เร่ง การ (581:3.1)
               รีบ ทำ, คือ รีบ รัด ทำ การ จะ ให้ แล้ว เร็ว นั้น, คน ทำ ราชการ มี ผู้ มา ตักเตือน ให้ รีบ ทำ เร็ว นั้น.
      เร่ง เก็บ (581:3.2)
               รีบ เก็บ, คือ เร่ง อยิบ ฤๅ เด็ด เอา, คน จะ เอา ของ อัน ใด ฤๅ จะ เอา ดอกไม้, แล เร่ง อยีบ ฤๅ เร่ง เด็ด เอา นั้น.
      เร่ง ขน (581:3.3)
               รีบ ขน, คือ เร่ง เอา ไป หลาย หน หลาย เที่ยว, เช่น ของ มี มาก ต้อง เอา ไป หลาย เที่ยว นั้น.
      เร่ง ขวนขวาย (581:3.4)
               รีบ ขวนขวาย, คือ รีบ รัด แสวง หา, คน จะ ต้อง การ ของ อัน ใด, แล เร่ง สืบ เสาะ แสวง หา ของ สิ่ง นั้น
      เร่ง คน (581:3.5)
               คือ ตักเตือน ให้ คน ทำ การ งาน เปน ต้น, มิ ให้ ผู้ ทำ นั้น เชือน แช ให้ การ ช้า นั้น.
      เร่ง เงิน (581:3.6)
               เรียก เงิน, คือ เร่ง เอา เงิน, เช่น คน เปน เจ้านี่ แล เตือน เอา เงิน กับ ลูก นี่ นั้น.
      เร่ง ทำ (581:3.7)
               รีบรัด ทำ, คือ รีบ ทำ การ อัน ใด, คน ทำ การ อัน ใด อัน หนึ่ง, จะ ให้ แล้ว เร็ว แล รีบ ทำ นั้น.
      เร่ง ไป (581:3.8)
               รีบ ไป, คือ รีบ ไป, คน จะ ไป ให้ ถึง เร็ว, แล รีบ ไป ไม่ อยุด อย่อน เลย เดิน รีบ ไป นั้น.
      เร่ง พล (581:3.9)
               รีบ พล, คือ ตักเตือน พล ไพร่ ให้ รีบ ไป ไม่ ให้ อยุดอย่อน ลง นั้น.
      เร่ง ไฟ (581:3.10)
               คือ ทำ ไฟ ให้ ลุก โพลง แรง ขึ้น, คน จะ หุง เข้า เปน ต้น, แล เอา ฟืน ใส่ เข้า ใน ไฟ มาก นั้น.
      เร่ง ภาย (581:3.11)
               รีบ ภาย, คือ รีบ ภาย, คน จะ ให้ ถึง เร็ว แล รีบ ภาย ไป ไม่ อยุด อย่อน อยู่ เลย นั้น, ว่า เร่ง ภาย.
      เร่ง มือ (581:3.12)
               คือ การ ที่ รีบ เร่ง ทำ สิ่ง ของ ด้วย มือ นั้น, คน เร่ง มือ ทำ การ ให้ แล้ว เปน ต้น.
      เร่ง ไม้ (581:3.13)
               รีบ เตือน ไม้ เข้า, คือ หวด เคาะ ไม้ ที่ บีบ หัว คน โทษ เข้า นั้น, คน เปน ผู้ ร้าย เปน โจร, เขา จับ ตัว ได้ ใส่ คา เอา ไม้ บีบ ขมับ ผูก เข้า แล้ว, เอา ไม้ หวด เข้า ที่ ไม้ บีบ ขมับ นั้น.
      เร่ง ยา (581:3.14)
               รีบ ให้ กิน ยา, คือ รีบ ให้ กิน ยา, เช่น คน ป่วย ไข้ กิน ยา ชอบ หาย เข้า บ้าง, แล เขา รีบ ให้ กิน ยา นั้น.
      เร่ง รัด (581:3.15)
               รีบ รัด, คือ เร่ง รีบ, คน จะ มี ธุระ ไป เร็ว ด่วน จะ ไป, ออก จาก ที่ เร่ง รีบ ไป นั้น. อย่าง หนึ่ง คน เตือน เร้า เร่ง นั้น, ว่า เร่ง รัด.
      เร่ง ระวัง (581:3.16)
               รีบ ระวัง, คือ รีบ คอย ดู กลัว ของ จะ เสีย, คิด ไม่ ไว้ ใจ เหน คน เข้า มา บ้าน, คอย ดู มิ ให้ เอา ของ ไป ได้ นั้น.
      เร่ง รีบ (581:3.17)
               รีบ เร่ง, คือ รีบ ด่วน ๆ คน จะ ไป ฤๅ จะ ทำ การ เปน ต้น, แล ไป ด่วน ๆ ทำ เร็ว ๆ นั้น.
      เร่ง หา (581:3.18)
               รีบ หา, คือ รีบ รัด หา, คน ของ หาย ไป, แล เร่ง รีบ หา ด้วย กลัว ของ จะ สูญ เสีย เปล่า นั้น.
แรง (581:4)
         กำลัง, คือ กำลัง ใน กาย คน มี มาก, คน เมื่อ หนุ่ม อา ยุ ยี่สิบ ปี ขึ้น ไป จน สามสิบ ปี, ว่า เขา แรง.
      แรง กรรม (581:4.1)
               กำลัง กรรม, คือ กำลัง กรรม กล้า แขง, เช่น คน ต้อง ทน ทุกข์ ลำบาก ใน นะรก ไฟ กำมะถัน เช่น ว่า นั้น.
      แรง คน (581:4.2)
               กำลัง คน, คือ กำลัง ใน กาย คน, คน กิน ได้ มาก นอน หลับ มี กำลัง มาก, ว่า คน นั้น มี แรง นั้น.
      แรง ช้าง (581:4.3)
               กำลัง คช สาร, คือ กำลัง สัตว์ สี่ เท้า ตัว มัน โต กว่า สัตว์ อื่น ที่ มี อยู่ บน บก, เขา ว่า มัน มี กำลัง มาก.

--- Page 582 ---
      แรง บุญ (582:4.4)
               กำลัง บุญ, คือ กำลัง กุศล ที่ คน ได้ ทำ ไว้, คน ที่ มี สมบัติ พัศ ถาน บริบูรณ นั้น, ว่า เพราะ แรง บุญ.
      แรง ม้า (582:4.5)
               กำลัง ม้า, คือ กำลัง ม้า, ม้า มัน มี กำลัง มาก กว่า กำลัง คน, แต่ น้อย กว่า กำลัง ช้าง.
แร่ง (582:1)
         แร่ง ริ้ว, คือ เนื้อ หนัง ที่ เปน สัน เลื้อย มา แต่ ต้น คาง โค จน ถึง อก มัน นั้น เรียก แร่ง. อย่าง หนึ่ง คน ร่อน ระ แนง ยา นั้น.
      แร่ง ริ้ว (582:1.1)
               คือ แพร แร่ง ที่ เปน ริ้ว นั้น, * เช่น แพร ริ้ว ที่ มา แต่ เมือง จีน เปน ต้น.
แร้ง (582:2)
         คือ สัตว์ สอง เท้า มัน มี ปีก นับ เข้า พวก นก, มัน กิน เนื้อ คน ฤๅ เนื้อ สัตว์ ตาย, มัน มี กลิ่น กาย เหม็น สาบ กว่า นก อื่น นัก.
      แร้ง กิน ผี (582:2.1)
               เปน ชื่อ สัตว์ นั้น, ครั้น คน จะ เผา สพ เขา เอา ลง เถือ เนื้อ ทิ้ง, มัน ลง กิน นั้น.
โรง (582:3)
         คือ ที่ เขา ปลูก ขึ้น เหมือน เรือน, มี พื้น ดิน ฤๅ ยก พื้น ไม้ ขึ้น ต่ำ ๆ มี ฝา บ้าง ไม่ มี ฝา บ้าง นั้น.
      โรง การ (582:3.1)
               คือ โรง สำหรับ ทำ การ งาน อัน ใด ๆ นั้น, จะ ทำ การ มี การ สพ เปน ต้น, แล ปลูก ขึ้น นั้น.
      โรง โขน (582:3.2)
               คือ โรง เขา ปลูก ขึ้น, ยก พื้น สำหรับ เล่น โขน เปน การ สมโภช สพ เปน ต้น นั้น.
      โรง โค (582:3.3)
               คือ โรง ไม่ มี พื้น, เขา ทำ เปน โรง ร่ม ภอ ให้ พวก โค อาไศรย พ้น ที่ โคลน เปน ต้น นั้น.
      โรง เครื่อง (582:3.4)
               คือ โรง เปน ที่ สำหรับ ทำ เครื่อง กระยา เสวย นั้น เช่น โรง เครื่อง ตาม วัง เจ้า เปน ต้น นั้น.
      โรง ครัว (582:3.5)
               คือ โรง สำหรับ หุง เข้า เปน ต้น, เขา จะ ทำ งาน อัน ใด, แล ปลูก โรง สำหรับ หุงเข้า เปน ต้น นั้น.
      โรง งัว (582:3.6)
               คือ โรง เขา ปลูก เปน โรง ร่ม สำหรับ ไว้ ให้ พวก งัว มัน อาไศรย ร่ม ฝน เปน ต้น นั้น.
      โรง ทอง (582:3.7)
               คือ โรง เขา ปลูก ขึ้น ทำ ของ รูประพรรณ์ เปน ทอง คำ สำหรับ ประดับ เบญจา เปน ต้น.
      โรง ทาน (582:3.8)
               คือ โรง สำหรับ ทำ ทาน, ท่าน จะ ทำ ทาน ให้ ทาน แล ให้ ปลูก โรง ไว้ สำหรับ นั้น.
      โรง ธรรม (582:3.9)
               คือ โรง เปน ที่ แสดง ธรรม นั้น, เช่น โรง ธรรม สะภาคะ ศาลา ฤๅ กรรมเรียญติ์ เปน ต้น นั้น.
      โรง บ่อน (582:3.10)
               คือ โรง เขา ใส่ บ่อน, คน จะ ตั้ง บ่อน เล่น เบี้ย, แล ปลูก โรง ยก พื้น ขึ้น ต่ำ ๆ นั้น.
      โรง ไป (582:3.11)
               โรง เหล้า, โรง ม้า, โรง ช้าง, โรง ไม้, โรง หมี่, โรง หมอ, โรง หล่อ, โรง รถ.
      โรง ปืน (582:3.12)
               คือ โรง เปน ที่ สำหรับ ไว้ ปืน ทั้ง ปวง นั้น, เช่น โรง ปืน เมือง สมุท ปราการ เปน ต้น นั้น.
      โรง พิธี (582:3.13)
               คือ โรง เขา ปลูก ขึ้น มี พื้น ต่ำ ๆ สำหรับ การ พิธี, มี พิธี ตรุศ เปน ต้น ทุก ปี นั้น.
      โรง พิมพ์ (582:3.14)
               คือ โรง เปน ที่ สำหรับ ตี พิมพ์ หนังสือ นั้น, เช่น โรง พิมพ์ พวก หมอ อะเมริกัน เปน ต้น.
      โรง โม่ (582:3.15)
               คือ โรง เปน ที่ สำหรับ โม่ แป้ง ฤๅ สำหรับ ทำ โม่ นั้น, เช่น โรง โม่ ขนม จีน เปน ต้น นั้น.
      โรง รับ แขก (582:3.16)
               คือ โรง เปน ที่ สำหรับ รับ คน มา แต่ ต่าง ประ- เทศ นั้น, เช่น โรง รับ แขก เมือง เปน ต้น.
      โรง เรือ (582:3.17)
               คือ โรง เปน ที่ สำหรับ ไว้ เรือ นั้น, เช่น โรง ที่ บาง ยี่ขัน เปน ต้น นั้น.
      โรง ละคอน (582:3.18)
               คือ โรง เปน ที่ สำหรับ เล่น ละคอน นั้น, เช่น โรง ละคอน ที่ บ้าน เจ้า คุณ กะลาโหม เปน ต้น.
      โรง เลื่อย (582:3.19)
               คือ โรง เปน ที่ สำหรับ เลื่อย ไม้ ฤๅ สำหรับ ทำ เลื่อย นั้น, เช่น โรง เลื่อย ไม้ ขาย เปน ต้น.
      โรง วินิจไฉย (582:3.20)
               คือ โรง เปน ที่ สำหรับ พิภากษา ตัดสีน ความ นั้น, มี ศาลา ลูก ขุน เปน ต้น นั้น.
      โรง วิเสศ (582:3.21)
               คือ โรง ครัว ใน หลวง, ท่าน ให้ ปลูก โรง สำหรับ หุงเข้า เปน ต้น, เปน ของ หลวง นั้น.
      โรง สี (582:3.22)
               คือ โรง สำหรับ สี เข้า เปลือก, เขา จะ ทำ เข้า เปลือก ให้ เปน เข้า สาร แล ปลูก โรง ขึ้น ทำ นั้น.
      โรง แสง (582:3.23)
               คือ โรง ที่ สำหรับ ไว้ ปืน แดง นั้น.
      โรง ศาล (582:3.24)
               คือ โรง ที่ เปน ศาล สำหรับ ชำระ ความ ต่าง ๆ นั้น, เช่น โรง ศาล ใน พระ บรม มะหา ราชวัง เปน ต้น.
      โรง เหล็ก (582:3.25)
               คือ โรง เปน ที่ สำหรับ ตี เหล็ก ฤๅ ไว้ เหล็ก นั้น, เช่น โรง เหล็ก ตาม ตะภาน หัน เปน ต้น.
      โรง หุ่น (582:3.26)
               คือ โรง สำหรับ เล่น หุ่น, เขา จะ มี งาน การ เล่น มะโหระศพ, แล ให้ ปลูก โรง เล่น หุ่น นั้น.

--- Page 583 ---
      โรง อาลักษณ์ (583:3.27)
               คือ โรง สำหรับ ไว้ หนังสือ ไท, ใน หลวง ท่าน ให้ ปลูก โรง ใน พระ ราชวัง สำหรับ ไว้ หนังสือ หลวง, แล ให้ คน เขียน หนังสือ หลวง อาไศรย.
โหรง บาง (583:1)
         คือ สิ่ง ของ ที่ บาง โหรงเหรง นั้น, เช่น แพร แส ฤๅ ผ้ามุ้ง บาง ๆ นั้น.
รอง (583:2)
         คือ เอา ของ ไว้ ใต้ ของ อัน ใด ๆ นั้น, เช่น ตั้ง โต๊ะ ไว้ สำ หรับ วาง เครื่อง โต๊ะ, มี จาน แล ชาม เปน ต้น นั้น.
      รอง การ (583:2.1)
               คือ ของ มี ไม้ เปน ต้น, จัดแจง เอา ไว้ เผื่อ จะ ทำ การ นั้น, คน จะ ไป ไกล เอา ของ ไป สำหรับ จะ ทำ การ อัน ใด นั้น.
      รอง งาน (583:2.2)
               คือ ที่ มี โรง เปน ต้น, คน ปลูก ไว้ สำหรับ อาไศรย ไว้ ของ แล ทำ งาน การ นั้น.
      รอง เงิน (583:2.3)
               คือ ของ เอา ไว้ ใต้ เงิน นั้น. อย่าง หนึ่ง คน จะ ซื้อ สินค้า ไม่ มี เงิน, แล ยืม เงิน คน อื่น ซื้อ ก่อน นั้น, ว่า เขา รอง เงิน ให้ นั้น.
      รอง จ่าเมือง (583:2.4)
               คือ เปน ชื่อ กรมการ หัว เมือง คน หนึ่ง นั้น, เช่น พระยา ราช รอง เมือง ใน กรุง เปน ต้น.
      รอง ช้ำ (583:2.5)
               คือ อาการ เปน รอง ช้ำ อยู่ ที่ พื้น ฝ่า ตีน นั้น, เช่น คน เปน รอง ช้ำ ที่ ตีน เปน ต้น.
      รอง ท้อง (583:2.6)
               คือ การ ที่ คน กิน ของ รอง ท้อง ไว้ บ้าง นั้น, เช่น คน กิน ของ เล็ก น้อย ภอ แก้ หิว เปน ต้น.
      รอง ทรง (583:2.7)
               คือ ของ ขุน หลวง มี สอง อัน ๆ หนึ่ง ท่าน ใช้ อยู่ แล้ว, ยัง อัน หนึ่ง เปน ที่ สอง ลง มา นั้น.
      รอง นา (583:2.8)
               คือ เปน ชื่อ กรมการ หัว เมือง ฝ่าย กรมนา คน หนึ่ง นั้น, เช่น รองนา เปน ที่ สอง ของ หลวง นา.
      รอง น้ำ (583:2.9)
               คือ เอา ภาชนะ อัน ใด รอ น้ำ ฝน ตก เปน ต้น, แล คน เอา ภาชนะ เข้า รอ ที่ ราง เปน ต้น.
      รอง นอน (583:2.10)
               คือ ของ มี ฟูก เปน ต้น, เขา ปู ไว้ เปน ที่ นอน นั้น.
      รอง บ่อน (583:2.11)
               คือ ของ สำหรับ บ่อน, คน ตั้ง บ่อน ชน นก เปน ต้น, เลี้ยง นก ไว้ เล่น สำหรับ บ่อน นั้น.
      รอง ปลัด (583:2.12)
               คือ เปน ชื่อ กรมการ หัว เมือง คน หนึ่ง นั้น, เช่น เปน ปลัด, ที่ สอง ของ หลวง ปลัด นั้น.
      รอง พื้น (583:2.13)
               คือ ของ มี รอด เปน ต้น, สำหรับ รับ พื้น เรือน นั้น.
      รอง แพ่ง (583:2.14)
                คือ เปน ชื่อ กรมการ หัว เมือง คน หนึ่ง นั้น.
      รอง ไว้ (583:2.15)
               คือ ความ ที่ รับ สิ่ง ของ ไว้ นั้น, เช่น คน รอง น้ำ ตาล เปน ต้น นั้น.
      รอง สินค้า* (583:2.16)
               คือ การ ที่ เอา เงิน ออก รับ สินค้า ต่าง ๆ ไว้ นั้น, เช่น พวก พ่อ ค้า ลง ทุน รอง สินค้า ทั้ง ปวง ไว้ เปน ต้น
      รององค์ (583:2.17)
               คือ รอง ตัว, ว่า รอง องค์ นั้น เปน คำ สูง นั้น
ร่อง (583:3)
         คือ ที่ ขุด ลง ฦก ลุ่ม น่อย หนึ่ง ยาว เปน ราง ไป, คน จะ ให้ น้ำ ไหล ไป นั้น.
      ร่อง คู (583:3.1)
               คือ ร่อง ที่ เปน ลำ คู ไป นั้น, เช่น ลำ กะโดง ใน สวน เปน ต้น นั้น.
      ร่อง คลื่น (583:3.2)
               หว่าง คลื่น, คือ ใน ระวาง ลูก คลื่น, ลม พัด กล้า แม่น้ำ ฤๅ ทะเล เกิด เปน ลูก คลื่น ใน ระวาง นั้น ว่า ร่องคลื่น
      ร่อง น้ำ (583:3.3)
               คือ ที่ ดิน คน ขุด เพื่อ จะ ให้ น้ำ ไหล เปน ราง ไป นั้น.
      ร่อง มด (583:3.4)
               คือ ร่อง ที่ มด มัน เดิน นั้น, เช่น ร่อง มด ตาม เขา กวาง เขา เนื้อ เปน ต้น นั้น.
      ร่อง แร่ง (583:3.5)
               คือ สิ่ง ของ ที่ ห้อย กะต่อง กะแต่ง อยู่ นั้น, สมอ ร่องแร่ง เปน ต้น นั้น.
      ร่อง สวน (583:3.6)
               ลำราง สวน, คือ ที่ เขา ขุด ไว้ ตาม สวน ให้ น้ำ อยู่ เปน ลำราง คลอง เล็ก ๆ นั้น, ว่า ร่อง สวน.
หร่อง (583:4)
         คือ ความ ที่ ผอม แห้ง อยู่ นั้น, หมา ผอม กะหร่อง เปน ต้น นั้น.
ร้อง (583:5)
         คือ คน เปล่ง เสียง ดัง ออก จาก ปาก, คน ถูก ตี เปน ต้น, แล เจ็บ เขา เปล่ง เสียง ออก นั้น.
      ร้อง ขาน ยาม (583:5.1)
               คือ ร้อง รับ คำ เขา เรียก, คน มี โทษ ติด อยู่ ใน คุก ถึง ยาม เขา เรียก ชื่อ ตรวจ, แล ร้อง รับ นั้น.
      ร้อง ฃอ (583:5.2)
               คือ เปล่ง วาจา ออก ฃอ ของ อัน ใด ๆ นั้น, คน อยาก ได้ เข้า สาร เปน ต้น แล ออก วาจา ฃอ ของ นั้น.
      ร้อง ฎี กา (583:5.3)
               คือ ร้อง เรื่อง ความ ทุกข์ ของ ตัว ให้ เจ้า ชีวิตร ทราบ คน มี ถ้อย ความ ขัด ข้อง ร้อง ถวาย ฎีกา นั้น.
      ร้อง ด่า (583:5.4)
               คือ ความ ที่ คน ร้อง ด่า กัน ด้วย คำ อยาบ นั้น, คน ร้อง ด่า โคตร เค้า เฒ่า แก่ กัน เปน ต้น นั้น.
      ร้อง ทุกข (583:5.5)
               คือ ร้อง เรื่อง ความทุกข ของ ตัว ให้ เจ้าชีวิตร ทราบ คน มี ความ ขัด ข้อง ร้อง ถวาย ฎีกา ขึ้น นั้น.
      ร้อง โยน ยาว (583:5.6)
               คือ เสียง ร้อง บอก ยาว ลาก ๆ ช้า ๆ นั้น, พวก ฝี พาย* เรือ พระที่นั่ง ร้อง โยน ยาว เปน ต้น นั้น.

--- Page 584 ---
      ร้อง แรก แหก กะเชอ (584:5.7)
               คือ การ ที่ ร้อง ด้วย เสียง ดัง เต็ม ที นั้น, ขะโมย เข้า ข่ม ขืน เปน ต้น นั้น.
      ร้อง เรียก (584:5.8)
               คือ ออก ปาก ถึง ชื่อ คน เปน พ่อ แม่ เปน ต้น, ว่า พ่อ ขา ฤๅ แม่ ขา เปน ต้น นั้น, ว่า ร้อง เรียก.
      ร้อง เรียน (584:5.9)
               คือ การ ที่ เล่า บอก เรื่อง ความ ต่าง ๆ ให้ ขุนนาง ฟัง นั้น, ทำ หนังสือ ร้อง เรียน พณะหัวเจ้าท่าน เปน ต้น
      ร้อง ละคอน (584:5.10)
               คือ ร้อง ตาม เรื่อง ราว เมื่อ ร้อง ละคอน, เขา เล่น เรื่อง อัน ใด ก็ ร้อง ตาม เรื่อง นั้น.
      ร้อง ว่า (584:5.11)
               กล่าว ว่า, คือ ร้อง ออก วาจา นั้น, คน จะ พูด กับ* เขา ด้วย ความ อัน ใด อัน หนึ่ง, แล กล่าว คำ ออก นั้น.
      ร้อง สักระวา (584:5.12)
               คือ ร้อง เพลง อย่าง หนึ่ง, เรียก ว่า เพลง สักระวา, มี ต้น บท คน หนึ่ง มี ลูก คู่ รับ หลาย คน นั้น.
      ร้อง หา (584:5.13)
               คือ ความ ที่ ร้อง หา บิดา มารดา นั้น ลูก อ่อน ร้อง หา แม่ กีน* นม เปน ต้น นั้น.
      ร้อง ไห้ (584:5.14)
               คือ ร้อง เพราะ ความ โศรก เศร้า, คน มี ความ เจ็บ ปวด ฤๅ ความ วิโยค พรัด พราก เปน ต้น, แล เศร้า โศรก ร่ำ ไร นั้น.
      ร้อง อึง (584:5.15)
               คือ เสียง ที่ คน ร้อง ดัง อื้อ อึง นั้น, เสียง ขะโมย เข้า ปล้น ฤๅ เสือ เข้า บ้าน เปน ต้น นั้น.
      ร้อง เอะอะ (584:5.16)
               คือ คน ร้อง เกะกะ ดัง นัก, เมื่อ เรือ เกือบ จะ โดน กัน เปน ต้น.
รวง (584:1)
         คือ ช่อ พวง, ของ เปน ช่อ พวง เหมือน เข้า เมื่อ ออก ผล นั้น, ว่า รวง เข้า.
      รวง ก้น (584:1.1)
               คือ การ ที่ เขา ไช ก้น เสีย นั้น, เขา รวง ก้น หวด น้ำตาล ทราย เปน ต้น นั้น.
      รวง เข้า (584:1.2)
               คือ พวง ช่อ เมล็ด เข้า, เมื่อ เข้า ต้น แก่ ออก ผล เปน ช่อ พวง, ว่า รวง เข้า.
      รวง เข้า ไป (584:1.3)
               คือ การ ที่ เขา ไช เข้า ไป นั้น, ช่าง กลึง รวง ไม้ เข้า ไป เปน ต้น นั้น.
      รวง ปี่ (584:1.4)
               ไช รู ปี่, คือ เจาะ รู ปี่, คน จะ ทำ ปี่ เอา ไม้ แก่น มา กลึง ให้ กลม ดี, แล้ว เอา เหล็ก แหลม เจาะ ไช ให้ เปน รู ตลอด นั้น.
      รวง ผึ้ง (584:1.5)
               รัง ผึ้ง, คือ รัง ผึ้ง, ตัว ผึ้ง นั้น มัน อยู่ เปน หมู่ มาก นับ ร้อย นับ พัน, มัน ทำ รัง เปน ที่ อาไศรย นั้น, ว่า รวง ผึ้ง.
      รวง ไม้ (584:1.6)
               ไช รู ไม้, คือ ทะลวง ข้อ ไม้ ให้ เปน รู กลวง ตลอด นั้น, คน จะ ทำ กล้อง เป่า เปน ต้น, แล เจาะ ทะลวง ข้อ ไม้ นั้น.
ร่วง (584:2)
         หลุด, คือ ของ หลุด หล่น ลง จาก ที่, เช่น กลีบ ดอกไม้ ฤๅ ใบ ไม้ ที่ หลุด หล่น ลง มาก นั้น.
      ร่วง ตก (584:2.1)
               หลุด ตก, คือ ร่วง หล่น ลง, เช่น ของ มี ใบ ไม้ เปน ต้น, ที่ มัน แก่ แล ตก ลง พรู ๆ นั้น.
      ร่วง โรย (584:2.2)
               หล่น โรย, คือ ดอกไม้ ร่วง มี กลิ่น สิ้น เสีย ไป, แล้ว หลุด หล่น ลง จาก ที่ มัน นั้น, ว่า ร่วง โรย.
      ร่วง หล่น (584:2.3)
               หลุด หล่น, คือ ร่วง หลุด ลง นั้น, ของ มี ใบ ไม้ เปน ต้น มัน แก่ เข้า แล หลุด ออก จาก ที่ ตก ลง นั้น.
เรียง (584:3)
         เคียง, คือ เคียง ต่อ กัน ไป, เช่น ของ ฤๅ ต้น ไม้ เปน ต้น, งอก ตั้ง ขึ้น เคียง เนื่อง กัน ไป นั้น.
      เรียง กัน (584:3.1)
               เคียง กัน, คือ เคียง เนื่อง ต่อ กัน, เช่น ของ แล ต้นไม้ ตั้ง งอก ขึ้น เคียง กัน ติด ต่อ ไป นั้น.
      เรียง ของ (584:3.2)
               คือ เอา ของ สารพัด ทุก อย่าง วาง เคียง กัน ติด* ต่อ เนื่อง ไป นั้น, ว่า เรียง ของ.
      เรียง คู่ (584:3.3)
               คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ตั้ง เรียง กัน เปน คู่ ๆ นั้น, เรือ คู่ ชัก นำ เสด็จ ทาง ชลมารค วิถี เปน ต้น นั้น.
      เรียง คน (584:3.4)
               คือ ให้ คน อยู่ เรียง ติด ต่อ กัน, เช่น จะ แห่ มี การ บรมสพ เปน ต้น, แล ให้ คน ยืน เคียง ต่อ ๆ นั้น.
      เรียง เคียง (584:3.5)
               คือ สิ่ง ของ ที่ เรียง เคียง กัน ไป นั้น, ตำ*หรวจ เดิน เคียง กัน ไป เปน คู่ ๆ เปน ต้น
      เรียง ตัว (584:3.6)
               คือ ให้ ตัว เคียง กัน, เช่น เสียบ ปลา จะ ตาก ให้ แห้ง*, แล เอา ตัว มัน เคียง กัน เข้า นั้น.
      เรียง หน้า (584:3.7)
               คือ ให้ หน้า เคียง ติด ต่อ เนื่อง กัน, เหมือน เขา เอา หน้า โขน แขวน ห้อย เคียง กัน นั้น.
      เรียง หนังสือ (584:3.8)
               ลำดับ หนังสือ, คือ เรียง ตัว อักษร พิมพ์. อย่าง หนึ่ง จัด ตัว อักษร ที่ ออก หวย เล่น นั้น เคียง กัน ไว้.
      เรียง หนึ่ง (584:3.9)
               คือ สิ่ง ของ ที่ เรียง ซ้อน ๆ กัน ไว้ อัน หนึ่ง นั้น, พลู เรียง หนึ่ง เปน ต้น นั้น.
      เรียง ปืน (584:3.10)
               ลำดับ ปืน, คือ ว่า ปืน วาง เคียง ๆ กัน ติด เนื่อง, มี ปืน มาก แล วาง เคียง ไว้ เปน แถว ๆ นั้น, ว่า เรียง ปืน.

--- Page 585 ---
      เรียง พลู (585:3.11)
               คือ การ ที่ ลำดับ พลู เรียง เรียง ซ้อน กัน อยู่ นั้น, คน เรียง พลู ขาย เปน ต้น นั้น.
      เรียง พี่ เรียง น้อง (585:3.12)
               คือ คน ผู้ เปน พี่ มี บุตร ๆ นั้น เขา เรียก ว่า ลูก ผู้ พี่, น้อง มี บุตร ๆ นั้น เขา เรียก ลูก ผู้ น้อง, บุตร ทั้ง สอง ฝ่าย นั้น เรียก ว่า เรียง พี่ เรียง น้อง กัน,
      เรียง เรียบ (585:3.13)
               คือ การ ที่ ลำดับ กัน เรียบ เรียง ไว้ นั้น
      เรียง รัน (585:3.14)
               คือ เรียง เรียบ, สิ่ง ของ เขา จัด วาง ไว้ มี สมุด หนังสือ เปน ต้น, เปน แถว ดี นั้น.
      เรียง ราย (585:3.15)
               คือ สิ่ง ของ ที่ ราย เรียง กัน ไป นั้น, เรือน ตั้ง เรียง ราย กัน ไป ตาม แนว น้ำ เปน ต้น นั้น.
      เรียง ไว้ (585:3.16)
               เคียง ไว้, คือ วาง เคียง ไว้, คน จัด ของ อัน ใด วาง ไว้ ต่อ เนื่อง กัน เปน แถว นั้น, ว่า เรียง ไว้.
      เรียง ความ (585:3.17)
               ลำดับ ความ, คือ จัดแจง ทำ ราว ความ ตาม มี มาก แล น้อย, คน ติด ต่อ เรื่อง นั้น ว่า เรียง ความ.
      เรียง ไสว (585:3.18)
               คือ ของ เขา จัด ไว้ สะพรั่ง, เหมือน ดอกไม้ ไฟ ที่ เขา จุด แล้ว มัน กระจาย ออก ไหว อยู่ นั้น.
เรือง (585:1)
         สว่าง, คือ แสง สว่าง เรื่อ ๆ ไม่ สว่าง มาก, เช่น แสง ไฟ แล แสง อาทิตย, สว่าง น้อย ๆ เหมือน แสง หิ่งห้อย นั้น.
      เรือง รอง (585:1.1)
               เรือง นั้น มี ความ เช่น ว่า แล้ว, แต่ รอง เปน คำ สร้อย.
      เรือง รัศมี (585:1.2)
               รุ่ง แสง, คือ แสง รุ่ง เพราะ รัศมี อาทิตย, เวลา เมื่อ อาทิตย จะ ใกล้ ขึ้น เปล่ง รัศมี นั้น.
      เรืองฤทธิ (585:1.3)
               คือ อำนาท ฤทธิ สว่าง ไป นั้น, คำ เพลง ว่า พระ เจ้า เรือง ฤทธิ เปน ต้น นั้น.
      เรือง โรจ (585:1.4)
               คือ แสง สว่าง รุ่ง โรจ นั้น, แสง ไฟ ดอกไม้ เทียน เปน ต้น นั้น.
      เรือง รุ่ง (585:1.5)
               แสง สว่าง, คือ แสง ทอง เรื่อ ขึ้น มา เมื่อ เวลา ใกล้ รุ่ง จะ สว่าง แจ้ง นั้น, มี แสง ทอง ขึ้น มา นั้น.
      เรือง ศรี (585:1.6)
               สว่าง แสง, คือ เรือง แสง สว่าง น่อย ๆ ไม่ มี แสง สว่าง มาก, เหมือน แสง ไฟ แล แสง อาทิตย.
      เรือง สว่าง (585:1.7)
               รุ่ง สว่าง, คือ รุ่ง เรื่อ ขึ้น มา เมื่อ ใกล้ สว่าง นั้น, เมื่อ เกือบ จะ สว่าง แล แสง ที่ ที่ ฟ้า ที่ อาทิตย ขึ้น รุ่ง เรื่อ ๆ ขึ้น มา นั้น,
      เรือง แสง (585:1.8)
               รุ่ง แสง, คือ แสง แดง เรื่อ ๆ ขึ้น มา เมื่อ เวลา ใกล้ รุ่ง, เพราะ แสง อาทิตย หาก ให้ เปน นั้น.
เรื่อง (585:2)
         คือ ราว ความ, เช่น เนื้อ ความ อัน ใด มี ขึ้น ตาม มาก แต่* น้อย นั้น, ว่า เรื่อง นั้น.
      เรื่อง เก่า (585:2.1)
               คือ ราว เนื้อ ความ โบราณ มี แต่ ก่อน, เช่น พงษา วะดาร เปน ต้น นั้น, ว่า เรื่อง เก่า.
      เรื่อง ก่อน (585:2.2)
               คือ เรื่อง ต้น เรื่อง เดิม, เช่น เรื่อง เปน ที่ หนึ่ง นั้น, ว่า เรื่อง ก่อน, เรื่อง ที่ สอง ว่า เรื่อง หลัง.
      เรื่อง ขัน ๆ (585:2.3)
               ความ ขัน ๆ, คือ เรื่อง อัน ใด ที่ น่า หัวเราะ เช่น คน พวก จำอวด ชัก นำ เอา มา กล่าว ให้ คน หัวเราะ นั้น.
      เรื่อง โขน (585:2.4)
               ความ โขน, คือ เรื่อง รามเกรีติยศ นั้น, ว่า มี ราช กุมาร สอง องค์ ชื่อ ราม แล ลักษณ ทำ สงคราม กับ ยักษ ชื่อ ทศกรรฐ นั้น.
      เรื่อง เขียน (585:2.5)
               ความ เขียน ไว้, คือ เรื่อง ที่ เขา เขียน ใน ฉาก มี รูป ภาพ ต่าง ๆ, มี รูป มนุษ แล เทวะดา เปน ต้น นั้น.
      เรื่อง เดียว (585:2.6)
               ความ เดียว, คือ คะดี เรื่อง เดียว, มี ข้อ เนื้อ ความ อัน เดียว, เขา ว่า เนื้อ ความ เรื่อง เดียว นั้น.
      เรื่อง นิทาน (585:2.7)
               คือ เรื่อง นิยาย ต่าง ๆ นั้น, เรื่อง ราว เก่า ๆ, มี เรื่อง ชาฎก เปน ต้น นั้น.
      เรื่อง หนังสือ (585:2.8)
               คือ หนังสือ เรื่อง ราว ต่าง ๆ นั้น, หนังสือ ราช พงษาวะดาร ต่าง ๆ เปน ต้น.
      เรื่อง ใหม่ (585:2.9)
               ความ ใหม่, คือ เรื่อง เนื้อ ความ เกิด ขึ้น อีก ฤๅ ความ พึ่ง เกิด ขึ้น, ยัง ไม่ เคย มี เลย นั้น.
      เรื่อง ราว (585:2.10)
               ราว ความ, คือ เรื่อง เปน ลำดับ กัน ไป ยืด ยาว, เปรียบ เช่น ไม้ ราว ที่ เขา ทำ ไว้ สำรับ ยึด นั้น.
      เรื่อง โลกย (585:2.11)
               คือ เรื่อง คะดี โลกย ต่าง ๆ นั้น, กล่าว ถึง เรื่อง สร้าง โลกย เปน ต้น.
      เรื่อง ความ (585:2.12)
               ราว ความ, คือ จัดแจง ลำดับ เนื้อ ความ, คน เปน เสมียร ยก ข้อ ความ ฝ่าย โจท แล จำเลย, ทำ ให้ เปน ลำดับ ไป นั้น.
      เรื่อง สาศนา (585:2.13)
               ความ ใน สาศนา, คือ เรื่อง ความ แสดง คำ สั่ง สอน ต่าง ๆ ถึง ข้อ ปรนิบัติ เอา ตัว ให้ พ้น โทษ ไป สวรรค์.
เริง (585:3)
         คือ คะนอง ลำพอง, เช่น คน มี ความ ชื่น ชอบ ใจ, เปน ต้น ว่า เล่น การ พะนัน นั้น ได้ ทรัพย.

--- Page 586 ---
      เริง ใจ (586:3.1)
               คือ ความ บรรเทิง ใจ นั้น, เช่น นาย ทหาร ชะนะ ฆ่า ศึก เปน ต้น นั้น.
      เริง ร่า (586:3.2)
               คือ ลำพอง ไม่ คิด เกรง ผู้ ใด, คน โอยก เอยก เสพย สุรา ยา เมา แล ใจ เหิม ฮึก คะนอง นั้น.
      เริง ราง (586:3.3)
               คือ เปน ชื่อ ตำบล บ้าน แห่ง หนึ่ง นั้น, บ้าน เริงราง แขวง เมือง สระบุรี นั้น.
      เริง ร้อง (586:3.4)
               คือ เหิม ใจ คะนอง ร้อง อื้อ อึง, คน สติ น้อย แล ได้ ความ เขษม ใจ ร้อง ร่า เริง บรรเทิง นั้น.
      เริง รื่น (586:3.5)
               คือ รื่น เริง บันเทิง ใจ นั้น, คน แสวง หา ลาภ ยศ ได้ เปน ขุนนาง ขึ้น ใหม่ ๆ เปน ต้น นั้น.
รด (586:1)
         คือ โกรก น้ำ ลง, คน เท น้ำ ลง โตรด, เช่น คน จะ ให้ ต้นไม้ แตก ใบ แตก ยอด งาม โตรด น้ำ ลง นั้น
      รด สวน (586:1.1)
               คือ การ ที่ คน รด ต้น ผล ไม้ ใน สวน นั้น.
รถ (586:2)
         รถ ตัว นี้ สกด ตัว ถ, อะธิบาย ว่า รถ ยาน ที่ เขา ขี่ ไป เที่ยว แห่ง ใด ๆ, มี สวน เปน ต้น นั้น.
      รถ ขี่ (586:2.1)
               คือ การ ที่ ขี่ รถ นั้น, พระ มหา กระษัตริย์ ทรง รถ, ฤๅ คน ขี่ รถ กลไฟ เปน ต้น นั้น.
รศ (586:3)
         ตัว นี้ สกด ด้วย ศ, รศ อย่าง นี้ อะธิบาย ว่า รศ โภชนา หาร เปน ต้น. อนึ่ง คือ รศ หวาน รศ จืด.
      รศ อาหร่อย (586:3.1)
               คือ อาหาร ทั้ง ปวง ที่ โอชา รศ นั้น, ของ ชอบ ได้ กิน เมื่อ กำลัง อยาก ฤๅ ของ ทิพ เปน ต้น.
      รศ โอชา (586:3.2)
               คือ รศ อาหร่อย นั้น, เขา ว่า อาหาร ทิพ ของ เทวะดา ฤๅ ของ ชอบ ใจ กิน เมื่อ อยาก เปน ต้น นั้น.
รจนา (586:4)
         คือ ตก แต่ง, เหมือน ท่าน ผู้ จัดแจง แต่ง เรื่อง ความ ตาม บาฬี นั้น, ว่า รจนา.
รถ ไฟ (586:5)
         คือ รถ ที่ เขา ใส่ ไฟ ให้ จักร เดิน นั้น, รถ ไฟ เมือง อะเมริกา แล เมือง วิลาศ เปน ต้น นั้น.
รศ สุคนธ์ (586:6)
         ฯ แปล ว่า รศ กลิ่น อัน ดี เปน ที่ ชื่น ใจ, คือ รศ กลิ่น อัน หอม นั้น.
รศ แกง (586:7)
         คือ รศ สุปะ, มี เค็ม แล เปรี้ยว เปน ต้น, คน เปน พ่อ ครัว แล ทำ แกง มี รศ ต่าง ๆ นั้น.
รศ เข้า (586:8)
         คือ โอชะ เข้า สุก, คน เปน ผู้ ทำ ครัว แล หูง เข้า สุก ดี กิน มี โอชะ อัน ดี นั้น.
รศ เค็ม (586:9)
         คือ โอชะ อัน เค็ม, เหมือน เกลือ ที่ เขา ทำ ด้วย น้ำ เค็ม ใน ทะเล นั้น, ว่า รศ เค็ม.
รศ ขม (586:10)
         คือ โอชา อัน ขม, ต้นไม้ แล เครือ เขา ที่ เปน ยา มี ต้น พยา มือ เหล็ก แล เครือ เถา บอระเพ็ด เปน ต้น
รศ ขื่น (586:11)
         คือ โอชะ ที่ ขื่น, เช่น ลูก มะเขือ ขื่น เปน ต้น, คน กิน ให้ ขื่น ที่ ลิ้น ที่ ฅอ นั้น.
รศ จืด (586:12)
         คือ โอชะ อัน จืด, เช่น รศ น้ำ ฝน แล น้ำ ใน แม่น้ำ น้อย ใหญ่ ที่ น้ำ เค็ม ขึ้น ไม่ ถึง นั้น.
รศ ดี (586:13)
         คือ รศ ที่ อาหร่อย, รศ ที่ ไม่ บูด ไม่ เหม็น, เปน รศ ของ เขา ทำ ใหม่ ๆ, มี แกง เปน ต้น นั้น.
รศ ธรรม (586:14)
         คือ โอชะ พระธรรม, เหมือน คน ผู้ ได้ ฟัง ธรรม, แล ยัง ปัญญา ตาม พระธรรม แล มี ความ ปีติ ยินดี นั้น.
รศ เปรี้ยว (586:15)
         คือ โอชะ อัน เปรี้ยว, เหมือน ต้นไม้ มี ซ่มกรูด มะนาว เปน ต้น, คน กิน เข็ด ฟัน นั้น.
รศ เผ็ด (586:16)
         คือ โอชะ อัน เผ็ด, มี พริกเทษ แล พริกชี้ฟ้า นั้น เปน ต้น คน กิน เผ็ด นัก ไป.
รศ เอย็น (586:17)
         คือ โอชะ ใบ ไม้ ที่ เอย็น, มี ใบ ตำลึง เปน ต้น คน ประกอบ ยา ที่ จะ ให้ เอย็น, เก็บ เอา ใบ ไม้ ที่ มี โอชะ อัน เอย็น มา ทำ นั้น.
รศ ร้อน (586:18)
         คือ โอชะ อัน ร้อน, เช่น สิ่ง ที่ ร้อน มี พริกไท เปน ต้น นั้น.
รศ หวาน (586:19)
         คือ โอชะ อัน หวาน, เช่น สิ่ง ที่ หวาน มี น้ำตาล ทราย ฤๅ น้ำ อ้อย เปน ต้น นั้น.
รัด (586:20)
         คือ กวด เข้า, คน จะ มัด ฟืน เปน ต้น, แล เอา เชือก คาด มัด กวด ให้ ตึง นั้น, ว่า รัด เข้า.
      รัด ของ (586:20.1)
               * คือ กวด รึง ของ เข้า, คน จะ ผูก มัด ของ อัน ใดๆ แล เอา เชือก คาด กวด เข้า ให้ ตึง นั้น, ว่า รัด ของ.
      รัด ฅอ (586:20.2)
               คือ เอา เชือก ผูก ที่ ฅอ แล้ว ตรึง เข้า ให้ แน่น. อย่าง หนึ่ง เอา มือ กอด ฅอ ผู้ อื่น กวด รัด เข้า นั้น.
      รัด จุก (586:20.3)
               คือ กวด ที่ ผม จุก เด็ก ที่ ไว้ จุก, เขา เกล้า จุก เด็ก แล กวด ผม เข้า ให้ ตึง นั้น.
      รัด เชือก (586:20.4)
               คือ เอา เชือก มัด เข้า, แล้ว กวด ดึง ให้ ตึง แน่น มั่น คง นั้น, ว่า รัด เชือก เข้า.

--- Page 587 ---
      รัด ใหญ่ (587:20.5)
               คือ รวบ สิริ เข้า มาก, คน ทำ บาญชี ของ อัน ใด ๆ แล เก็บ ของ ราย เล็ก รวบ เข้า มาก นั้น.
      รัด ท้อง (587:20.6)
               คือ เอา เชือก คาด ท้อง เข้า, แล้ว กวด เข้า ให้ ตึง แน่น, เพื่อ จะ แก้ ปวด ท้อง นั้น.
      รัด ผูก (587:20.7)
               คือ การ ที่ คน รัด ผูก เข้า ให้ แน่น นั้น, คน รัด ผูก ลูก บวบ ขันชะเนาะ ให้ แน่น เปน ต้น นั้น.
      รัด พัน (587:20.8)
               คือ การ ที่ รัด เข้า แล้ว พัน ด้วย นั้น, เถาวัล รัด พัน ที่ ต้น ไม้ ทั้ง ปวง เปน ต้น นั้น.
      รัด มั่น (587:20.9)
               คือ รึง มั่น, คน จะ ผูก ของ อัน ใด มี อ้อย ฤๅ ฟืน เปน ต้น, แล เอา เชือก รึง* แน่น นั้น.
      รัด เร่ง (587:20.10)
               คือ การ ที่ คน รัด เข้า แล้ว เร่ง ด้วย นั้น, พวก คน ช่าง ลาน เอา ใบ ลาน รัด เข้า แล้ว เร่ง ด้วย ลิ่ม ให้ แน่น เปน ต้น นั้น.
      รัดรึง (587:20.11)
               คือ รัด ดึง ให้ มัน ตึง, คน จะ ผูก มัด ของ อัน ใด ๆ, แล เอา เชือก กวด ดึง ให้ แน่น นั้น.
      รัด รวบ (587:20.12)
               คือ การ ที่ รวบ รัด เข้า นั้น. คน เกี่ยว เข้า ได้ เต็ม กำ มือ, แล้ว รัด รวบ มัด ไว้ เปน กำ ๆ เปน ต้น นั้น.
      รัด ไว้ (587:20.13)
               คือ การ ที่ รัด เข้า ไว้ ให้ แน่น นั้น, ปลอก รัด ถัง ไว้ ให้ ตึง เปน ต้น นั้น.
      รัด ให้ สั้น เข้า (587:20.14)
               คือ คน ทำ การ เร่ง รัด ให้ สั้น เข้า เปน ต้น นั้น. คน กะ การ ไว้ ช้า, แล้ว รัด เร่ง ทำ ให้ แล้ว เร็ว สั้น เวลา มา นั้น.
      รัด อก (587:20.15)
               * คือ สิ่ง ของ ที่ สำรับ รัด อก นั้น, รัตะคต อก พระ สงฆ์ เปน ต้น นั้น.
      รัด โอบ (587:20.16)
               คือ การ ที่ โอบ รัด เข้า ไว้ นั้น, เหล็ก พืด ที่ รัด ห่อ ผ้า มา แต่ เมือง นอก เปน ต้น นั้น.
      รัตะกำพล (587:20.17)
               คือ ผ้า ศรี แดง ทำ ด้วย ขน สัตว นั้น, ผ้า รัตะกำ พล แดง ฤๅ ผ้า ส่าน เปน ต้น นั้น.
      รัตะคต (587:20.18)
               คือ ของ ที่ รัด ตัว, เช่น พระสงฆ์ เอา ผ้า แพร ทำ เปน สาย ยาว ภอ รอบ ตัว แล้ว คาด ไว้ นั้น
      รัตะนะ บรรลังก์ (587:20.19)
               คือ บรรลังก์ แก้ว นั้น, รัตะนะบรรลังก์ ที่ ควง ไม้ มหาโพทธิ เปน ต้น นั้น.
      รัตะนา (587:20.20)
               คือ แก้ว ทั้ง หลาย ทั้ง ปวง นั้น, แก้ว วิเชียร เปน ต้น นั้น.
รัตะนาไตรย (587:1)
         ฯ แปล ว่า แก้ว ทั้ง สาม, ความ เปรียบ ด้วย แก้ว สาม, คือ พระไตรยสะระณาคม.
      รั* ถา (587:1.1)
               คือ รถ ทั้ง หลาย ทั้ง ปวง นั้น, ราช รถ ทรง ฤๅ รถ ฝรั่ง เปน ต้น นั้น.
      รัศมี (587:1.2)
               คือ ศรี แสง, เช่น อาทิตย แล ดวง จันทร์, ที่ เปล่ง แสง ศรี สว่าง กระจ่าง นั้น, ว่า รัศมี.
ราด (587:2)
         คือ เท พราด เพรื่อ ไป, คน เท น้ำ ทำ พราด เพรื่อ ไป เรี่ย ราย นั้น, ว่า ราด นั้น.
      ราด น้ำ (587:2.1)
               รด น้ำ, คือ เท น้ำ พราด เพรื่อ ไป เรี่ย ราย ไป นั้น, ว่า ราด น้ำ.
      ราชกิจ (587:2.2)
               กิจ ของ กระษัตริย์, คือ ธุระ ของ เจ้าชีวิตร ทั้ง สิ้น นั้น, เรียก* ว่า ราชกิจ นั้น.
      ราชการ (587:2.3)
               การ ของ กระษัตริย์, คือ การ ของ เจ้าชีวิตร, บัน ดา การ หลวง ทั้ง สิ้น นั้น, เรียก ว่า ราชการ ทั้ง นั้น.
      ราชคฤห์ (587:2.4)
               คือ เปน ชื่อ เมือง ใน โสฬศ มะหา นะคร นั้น, เมือง ราช คฤห์ ของ พระยา พิมภิสาร เปน ต้น นั้น.
      ราช ดัด (587:2.5)
               คือ เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง นั้น, เช่น ต้น ราช ดัด ที่ เขา ใช้ ทำ ยา เปน ต้น นั้น.
      ราชถาน (587:2.6)
               ที่ ของ กระษัตริย์, คือ ที่ ของ เจ้าชีวิตร, บันดา ที่ ของ เจ้าชีวิตร ทั้ง สิ้น นั้น, เรียก ราชถาน.
      ราช ทัณฑ์ (587:2.7)
               อาญา หลวง, คือ อาญา แห่ง เจ้าชีวิตร, มี เฆี่ยน ตี แล จำ ไว้ ใน คุก นั้น เรียก ราช อาญา.
      ราชทูต (587:2.8)
               คน นำ ข่าว สาศน์ ของ กระษัตริย์, คือ คน เปน ผู้ นำ เรื่อง ราว ข่าว สาศน์ ฃอง ขุนหลวง เจ้าชีวิตร นั้น, เรียก ราชทูต.
      ราช ทรัพย (587:2.9)
               ของ หลวง, คือ สมบัติ ของ เจ้าชีวิตร, บันดา สมบัติ ของ เจ้า ชีวิตร ทั้ง นั้น, เรียก ราช ทรัพย.
      ราชธิดา (587:2.10)
               ธิดา ของ กระษัตริย์, คือ ลูก หญิง ของ เจ้า ชีวิตร เรียก ว่า พระราช ธิดา
      ราช ธรรม (587:2.11)
               คือ ความ ชอบ ของ สมเด็จ บรม กระษัตริย์ ทั้ง ปวง นั้น, เช่น คำ ว่า ตั้ง อยู่ ใน ทศพิธ ราช ธรรม เปน ต้น.
      ราช นิพนธ์ (587:2.12)
               คือ เรื่อง ความ ที่ พระ มะหา กระษัตริย์ ทรง นำ ออก มา ผูก พันธ์ เปน เรื่อง ความ นั้น.

--- Page 588 ---
ราชนัดา (588:1)
         หลาน หลวง, คือ คน เปน หลาน ของ เจ้าชีวิตร, บันดา คน เปน หลาน หลวง เรียก เช่น นั้น.
      ราช บุรุษ (588:1.1)
               คือ บุรุษ ของ พระ มะหา กระษัตริย์ นั้น, เช่น พวก ข้า ราช การ เปน ต้น นั้น.
      ราช บูริย์ (588:1.2)
               คือ เปน ชื่อ หัว เมือง ฝ่าย ตะวัน ตก แห่ง หนึ่ง นั้น, เช่น คำ ตลาด เขา เรียก ว่า ราชพรี เปน ต้น นั้น.
      ราช บัณทิตย์ (588:1.3)
               นักปราช หลวง, คือ คน ผู้ ชาย เปน คน รู้ แปล หนังสือ, แล เปน ข้า ทำ ราชการ ฝ่าย หนังสือ ฃอม นั้น, ชื่อ ราชบัณดิตย์
      ราช บิดา (588:1.4)
               พระเจ้าพ่อ, คือ เจ้า ชีวิตร เปน พ่อ, เหมือน เจ้า ชีวิตร มี ลูก ออก มา, เจ้า ชีวิตร นั้น เปน ราช บิดา
      ราช บุตร์ ลูก หลวง (588:1.5)
               เจ้า ลูก เธอ, คือ ลูก เจ้า ชีวิตร, บัน ดา ลูก หญิง ชาย ฃอง เจ้า ชีวิตร นั้น, เรียก ราชบุตร.
      ราช ประสงค์ (588:1.6)
               คือ เจ้า ชีวิตร ต้อง การ, บันดา สิ่ง ที่ เจ้า ชีวิตร ต้อง การ นั้น, เรียก ราช ประสงค์.
      ราชพฤกษ์ (588:1.7)
               คือ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ดอก เปน พวง ศรี เหลือง ฝัก ยาว ๆ นั้น, เช่น ไม้ คูน เปน ต้น นั้น.
      ราช ไภย (588:1.8)
               คือ อันตะราย มี พระ มะหา กระษัตริย์ กริ้ว ให้ ลง พระราช อาญา มี ริบ เปน ต้น, เรียก ราชไภย.
      ราช ภักดี (588:1.9)
               คือ เปน ชื่อ เจ้า พะนัก งาน คลัง มะหา สมบัติ คน หนึ่ง นั้น, เช่น ท่าน พระยา ราช ภักดี เปน ต้น.
      ราช ไมตรี (588:1.10)
               คือ เจ้า ชีวิตร ต่อ เจ้า ชีวิตร สอง เมือง, มี ความ เมตตา ต่อ กัน นั้น, เรียก ราช ไมตรี.
      ราช ยาน (588:1.11)
               คือ พาหะนะ ของ เจ้า ชีวิตร, บันดา พาหะนะ มี ช้าง เปน ต้น นั้น, เรียก ว่า ราช ยาน.
      ราช รถ (588:1.12)
               คือ รถ ของ พระยา นั้น, เช่น รถ ของ พระ มะหา กระ- ษัตริย์ เปน ต้น นั้น.
      ราช ฤทธิ์ (588:1.13)
               คือ อำนาท อานุภาพ ของ เจ้า ชีวิตร, เหมือน เจ้า ชีวิตร จะ สะเด็จ ไป มี คน กลัว เกรง นั้น, เพราะ ราช ฤทธิ์.
      ราชรินทร์ (588:1.14)
               คือ เปน ชื่อ ตำแหน่ง เจ้า กรม ตำหรวจ คน หนึ่ง นั้น เช่น พระ ราช รินทร์ เปน ต้น.
      ราช วราณุกูร (588:1.15)
               คือ เปน ชื่อ ขุนนาง ฝ่าย มหาดไทย คน หนึ่ง นั้น เช่น พระยา ราชา ณุกูร เปน ต้น นั้น.
      ราช วงษ์ (588:1.16)
               คือ วงษ์ แห้ง เจ้า ชีวิตร, บันดา คน เกิด แต่ เชื้อ สาย ญาติ แห่ง เจ้า ชีวิตร, เรียก ว่า ราช วงษ์.
      ราช วัง (588:1.17)
               คือ ที่ เจ้า ชีวิตร ตั้ง บ้าน อยู่, บ้าน ที่ เจ้า ชีวิตร ปลูก เรือน แล ก่อ กำแพง ล้อม รอบ อยู่ นั้น.
      ราชวัฏ (588:1.18)
               คือ แผง เขา ทำ เปน แผ่น ๆ เมื่อ มี การ ใหญ่ แล้ว ทำ ไว้ ริม ทาง, เช่น รั้ว นั้น ว่า ราชวัฏ.
      ราช สีห์ (588:1.19)
               คือ พระยา ไกรสร สิ ห ราช นั้น, เช่น สิงห์ โต เมือง อะเมริ กา เปน ต้น นั้น.
      ราช สงคราม (588:1.20)
               คือ การ ศึก รบ พุ่ง บังเกิด แก่ เจ้า ชีวิตร, บัน ดา การ นรงค์ แห่ง เจ้า ชีวิตร, เรียก ว่า ราช สงคราม.
      ราช สิทธิ์ (588:1.21)
               เปน ชื่อ วัด หลวง อาราม หนึ่ง, อยู่ ฝั่ง ข้าง ทิศ ตะ วัน ตก กรุง เทพ ฯ นั้น.
      ราช สมบัติ (588:1.22)
               คือ สมบัติ ของ เจ้า ชีวิตร นั้น, เรียก ราช สม บัติ.
      ราช สาศน์ (588:1.23)
               คือ หนังสือ ใช้ ให้ ราช ทูต ถือ ไป เมือง ต่าง ประ- เทศ มี เมือง ปะกิ่ง เปน ต้น นั้น.
      ราษฎร (588:1.24)
               คือ คน เปน ไพร่ หลวง ชาว บ้าน ชาว เมือง, บันดา ขึ้น อยู่ ใน ขอบ ขัณฑ เษมา นั้น, เรียก ราษฎร.
ริด (588:2)
         คือ คน ชื่อ ริด มี บ้าง, เพราะ ประสงค์ เอา อักษร ตัว เดิม ที่ สะกด ด้วย อักษร ดอ นั้น.
ริดสี่ดวง (588:3)
         เปน ชื่อ โรค อย่าง หนึ่ง, ให้ ผอม แห้ง ให้ ไอ หอบ อย่าง หนึ่ง ให้ จมูก เปื่อย ภังค์ ออก นั้น.
      ริดสี่ดวง งอก (588:3.1)
               คือ เปน ชื่อ โรค สี่* ดวง ที่ มี ฤทธิ์, มัน งอก ขึ้น นั้น, เช่น โรค ริด สี่ ดวง ที่ งอก ตาม ทะวาร เปน ต้น.
      ริดสี่ดวง พลวก (588:3.2)
               คือ เปน ชื่อ โรค สี่ ดวง ให้ ลง ท้อง พลวก ไป นั้น, เช่น คน ที่ เปน โรค ริด สี่ดวง ให้ ลง ท้อง เปน ต้น.
      ริดสี่ดวง แห้ง (588:3.3)
               คือ เปน ชื่อ โรค สี่ดวง ที่ มี ฤทธิ์ นั้น, เช่น โรค ริดสี่ดวง ที่ ทำ คน ให้ ผอม แห้ง ไป เปน ต้น.
ฤทธิ์ (588:4)
         ที่ สกด ด้วย อักษร เช่น นี้, ต้อง อะธิบาย ว่า ศักดา นุ ภาพ บันดาล ทำ ได้ ต่าง ๆ นั้น.
      ฤทธิ์ เดช (588:4.1)
               คือ ฤทธิ์ แล เดช อำนาท, เช่น ผู้ มี อานุภาพ มาก อาจ จะ บันดาล ได้ ต่าง ๆ นั้น.
      ฤทธิ์ ศักดิ์ (588:4.2)
               คือ ศักดา เดช แห่ง ฤทธิ์ นั้น, เช่น ฤทธิ์ ศักดิ์ ของ บรม จักรพรรดิ์ เปน ต้น นั้น.

--- Page 589 ---
      ฤทธิ์ อำนาท (589:4.3)
               คือ การ ที่ เปน ไป ด้วย อำนาท แห่ง ฤทธิ์ นั้น, พระ วิญาณ บันดาล ให้ เปน ไป เปน ต้น.
ฤทธานุภาพ (589:1)
         คือ มี ฤทธิ์ แล อานุภาพ อำนาท มาก, มี คน ยำ เกรง กลัว บุญญา ธิการ นั้น.
ริสยา (589:2)
         คือ ความ ชัง รังแก แล แกล้ง จังทาน ทำ ให้ ผู้ อื่น ได้ ความ โทมะนัศ ขัด แค้น นั้น.
รีด (589:3)
         คือ บีบ รูด เข้า, เช่น คน เอา มือ บีบ รูด เอา น้ำ นม โค ฤๅ นม แพะ เปน ต้น นั้น.
      รีด ท้อง (589:3.1)
               คือ การ ที่ รีด ตาม ท้อง นั้น, รีด ลูก เปน ต้น.
      รีด* น้ำ (589:3.2)
               คือ บีบ รูด น้ำ, เช่น คน มี ผม ยาว เช่น ผม จุก เด็ก น้ำ เข้า ชุ่ม อยู่ แล บีบ รูด ออก นั้น.
      รีด น้ำนม (589:3.3)
               คือ การ ที่ บีบ รูด น้ำ นม นั้น, เช่น คน รีด น้ำนม โค ขาย เปน ต้น นั้น.
      รีด ออก (589:3.4)
               คือ การ ที่ รีด ออก นั้น, เช่น คน รีด* นม ออก มา เปน ต้น นั้น.
      รีด ผ้า (589:3.5)
               คือ การ ที่ คน คลี่ ผ้า รีด ไป มิ ให้ ห่อหู่ นั้น, เช่น พวก เจ๊ก ซัก ผ้า รีด ผ้า ด้วย อุดเตา เปน ต้น นั้น.
รุด (589:4)
         ตะบึง, คือ รีบ ตะบึง ไป, คน ด่วน ๆ จะ ไป โดย เร็ว ด้วย ธุระ ร้อน, แล รีบ ตะบึง ไป นั้น.
      รุด หนี (589:4.1)
               คือ การ ที่ หนี รุด รีบ ไป นั้น, เช่น คน รุด หนี ไป ไม่ กลับ เปน ต้น นั้น.
      รุด ไป (589:4.2)
               คือ รีบ ตะบึง ไป ไม่ อยุดอย่อน, คน มี ธุระ ร้อน* มี หนี เขา เปน ต้น, แล รีบ ตะบึง ไป.
      รุด รีบ (589:4.3)
               คือ การ ที่ รีบ รุด ไป นั้น, เช่น ฆ่าศึก รุดรีบ หนี ไป เปน ต้น นั้น.
      รุด เร็ว (589:4.4)
               คือ รีบ เร่ง ไป ไม่ อยุด ยั้ง, คน มี ธุระ ด่วน ๆ จะ หนี เขา เปน ต้น, แล รีบ เร่ง ไป นั้น.
      รุด ลง (589:4.5)
               รีบ ลง, คือ รีบ ลง, เช่น น้ำ เกิด เปน สอง น้ำ คือ วัน หนึ่ง ขึ้น สอง เพลา แล รีบ ไหล ลง นั้น.
รูด (589:5)
         คือ เอา มือ จับ เข้า แล้ว บีบ ลาก ลง มา, คน จะ ทำ ปลา ไหล ให้ มัน หมด ผิว ดำ แล รีด นั้น.
      รูด เข้า (589:5.1)
               คือ การ คน ทำ เมล็ด เข้า ออก จาก ต้น, แล เอา มือ จับ รวบ รีด ให้ เมล็ด เข้า ร่วงออก นั้น.
      รูด ขึ้น (589:5.2)
               คือ รวบ แล้ว รีด ขึ้น, คน จะ เกล้า ผม จุก เด็ก เปน ต้น, แล จับ ผม รวบ รีด ขึ้น นั้น.
      รูด โคลน (589:5.3)
               คือ เอา มือ จับ เข้า ที่ ขา เปื้อน โคลน เปน ต้น, แล้ว รีด ลง เพื่อ จะ ให้ โคลน ออก นั้น.
      รูด น้ำ (589:5.4)
               รีด น้ำ, คือ เอา มือ รวบ รีด ทำ ให้ น้ำ ที่ ชุ่ม อยู่ ใน ผม ฤๅ ผ้า เปน ต้น, ออก จาก ผม ฤๅ ผ้า นั้น.
      รูด นม วัว (589:5.5)
               รีด นม วัว, คือ รีด เอา น้ำ นม โค, คน เอา มือ จับ ที่ นม แม่ โค แล้ว รีด ลง ใน ภาชนะ ที่ รอง นั้น.
      รูด ไป รูด มา (589:5.6)
               คือ การ ที่ คน รูด ไป แล้ว รูด มา อีก นั้น, เช่น รูด ด้าย ให้ เขม็ง เปน ต้น นั้น.
      รูด ปลา ไหล (589:5.7)
               คือ การ ที่ คน รูด ปลา ไหล ให้ สิ้น คาว* นั้น, คน ถู ปลาไหล แกง กิน เปน ต้น นั้น.
      รูด ม่าน (589:5.8)
               ชัก ม่าน, คือ ทำ ให้ ม่าน ที่ กาง แผ่ อยู่ รวบ เข้า, คน เอา มือ จับ ม่าน ที่ แผ่ ขึง อยู่ ให้ รวบ หุบ เข้า นั้น.
      รูด รีด (589:5.9)
               คือ การ ที่ รูด รีด ออก มา นั้น, เช่น คน รูด รีด ไล้ หมู ทำ ไส้ กรอก เปน ต้น นั้น.
แรด (589:6)
         เปน ชื่อ สัตว์ สี่ ท้าว มัน มี เขา อัน เดียว อยู่ ที่ หน้า ผาก รูป คล้าย กับ ช้าง แต่ ไม่ มี งวง.
      แรด ไฟ (589:6.1)
               เปน ชื่อ สัตว์ เช่น ว่า, แต่ นอ ที่ หัว มัน ลุก แดง เหมือน แสง ไฟ.
รอด (589:7)
         คือ มี ชีวิตร อยู่, คน เปน โรค เจ็บ ป่วย ลง เกือบ จะ ถึง* ตาย, เขา รักษา หาย เปน อยู่ นั้น.
      รอด เงิน (589:7.1)
               รักษา เงิน ไว้ ได้, คือ ไม่ เสีย เงิน, เหมือน คน ไม่ เล่น โป ฤๅ หวย เปน ต้น, ไม่ ได้ เสีย เงิน นั้น.
      รอด จาก ทุกข์ (589:7.2)
               พ้น จาก ทุกข์, คือ พ้น จาก ทุกข์, คน ต้อง ทน ทุกข์ เวทนา อยู่ ด้วย อาญา เปน ต้น, แล พ้น ออก นั้น.
      รอด ชีวิตร (589:7.3)
               พ้น ความ ตาย, คือ มี ชีวิตร อยู่, คน เมื่อ คราว โรค ใหญ่ มี มา คน ตาย มาก, ผู้ ใด ไม่ ตาย ว่า รอด ชีวิตร อยู่
      รอด ได้ (589:7.4)
               พ้น ได้, คือ ไม่ ตาย ฤๅ พ้น จาก ทุกข์, คน ป่วย เปน ต้น, แล ไม่ ตาย กลับ มี ชีวิตร อยู่ นั้น.
      รอด ตาย (589:7.5)
               พ้น ตาย, คือ พ้น จาก ความ ตาย, คน ป่วย เปน ต้น, แล ไม่ ตาย พ้น จาก ความ ตาย นั้น.
      รอด ตัว (589:7.6)
               พ้น ตัว, คือ คน ฆ่าศึก จับ ได้ แล แก้ ไข หนี มา ได้ เปน ต้น นั้น, เขา ว่า คน นั้น รอด ตัว มา.

--- Page 590 ---
      รอด นี่ (590:7.7)
               พ้น นี่, คือ พ้น จาก เปน นี่ เขา, คน มี ทุกขะยาก เขา ติด เงิน อยู่ แล ได้ เงิน มา ใช้ นี่ เขา แล้ว นั้น.
      รอด ไป (590:7.8)
               พ้น ไป, คือ พ้น ไป หลุด ไป, เช่น สัตว์ มี นก ฤๅ ปลา เปน ต้น, เข้า ติด แห ฤๅ ข่าย เปน ต้น, มาก ตัว ใด หลุด ไป ได้ ว่า มัน รอด ไป ได้.
      รอด พ้น (590:7.9)
               ล่วง พ้น, คือ หลุด ลอด ไป ได้, เช่น สัตว์ มี นก แล ปลา เปน ต้น, ที่ มัน หลุด จาก แห แล ข่าย นั้น.
      รอด มา (590:7.10)
               ล่วง พ้น มา, คือ หลุด มา พ้น มา ได้, เช่น คน ที่ พะม่า มัน จับ เอา ไป, แล กลับ มา ได้ นั้น, ว่า รอด มา.
      รอด อยู่ (590:7.11)
               มี ชีวิตร อยู่, คือ เปน อยู่ ไม่ ตาย, คน ป่วย ไข้ นัก, แต่ ไม่ ถึง ตาย มี ชีวิตร อยู่ ว่า รอด อยู่.
      รอด เรือน (590:7.12)
               คือ ไม้ รอด ที่ รับ พื้น เรือน ทั้ง ปวง ไว้ นั้น, เช่น รอด เรือน ที่ รับ ตง แล พื้น ไว้ เปน ต้น.
      รอด แล้ว (590:7.13)
               พ้น แล้ว, คือ เปน อยู่ ไม่ ตาย, คน ป่วย ไข้ นัก ถึง สลบ แต่ ฟื้น ขึ้น ไม่ ตาย ว่า รอด แล้ว.
รวด (590:1)
         รัด รอบ, คือ เร็ว. อย่าง หนึ่ง คือ รัด ผูก รอบ ๆ หนึ่ง, ว่า ผูก รวด หนึ่ง, ถ้า ผูก สอง รอบ ว่า สอง รวด.
      รวด เดียว (590:1.1)
               รอบ หนึ่ง, คือ รัด รอบ หนึ่ง, คน ผูก มัด อัน ใด ๆ เขา มัด รัด รอบ หนึ่ง, ว่า รัด รวด เดียว.
      รวด หนึ่ง (590:1.2)
               รัด รอบ หนึ่ง, คน มัด ผูก ของ อัน ใด ๆ มี ไม้ ฟืน เปน ต้น, เขา รัด รอบ หนึ่ง นั้น, ว่า รวด หนึ่ง.
      รวด เร็ว (590:1.3)
               ว่อง ไว, คือ เร็ว ว่องไว, เช่น คน ว่องไว ด้วย เดิน เปน ต้น, ว่า คน นั้น เดิน รวดเร็ว นั้น.
เรียด (590:2)
         เสมอ ไป, คือ ของ คน ทิ้ง ไป ทอย ไป ชิด ดิน ฤๅ น้ำ นั้น, คน ทอย กระเบื้อง เปน ต้น, ไป ชิด พื้น นั้น, ว่า ทอย เรียด ไป.
      เรียด ไป (590:2.1)
               ราย เสมอ ไป, คือ เปน ทิว แถว ไป, ต้น ไม้ ฤๅ แพ เปน ต้น, อยู่ เปน แถว ไป นั้น, ว่า เรียด ไป.
      เรียด มา (590:2.2)
               คือ เปน ทิว แถว มา, ต้น ไม้ ฤๅ แพ เปน ต้น, ตั้ง อยู่ เปน แถว ตลอด มา ว่า เรียด มา.
      เรียด เสมอ (590:2.3)
               คือ ความ ที่ เรื่อย เสมอ ไป นั้น, เช่น คน ทอย เรียด เสมอ ไป เปน ต้น นั้น.
เรือด (590:3)
         นี่ เปน ชื่อ สัตว์ เล็ก พวก หนึ่ง, ศรี มัน แดง เรื่อ ๆ มัน มัก อยู่ ที่ ใกล้ ที่ คน นอน, มี ฟูก หมอน เปน ต้น.
      เรือด ไร (590:3.1)
               คือ เรือด แล ไร ทั้ง ปวง นั้น, เช่น เรือด ไร ตัว เล็ก ๆ เปน ต้น นั้น.
เริด (590:4)
         ค้าง, ห่าง, คือ ละ เลย ไป, คน จะ ทำ การ อัน ใด ๆ ลาง ที ได้ อยุด ลง แล้ว ก็ ละ เลย ไป มิ ใคร่ ได้ จับ ทำ นั้น
      เริด กัน (590:4.1)
               ห่าง กัน, คือ คน เคย อยู่ ด้วย กัน เปน ต้น, แล ร้าง ห่าง รา กัน มิ ใคร่ ได้ อยู่ ด้วย กัน เปน ต้น นั้น, ว่า เริด กัน.
      เริด การ (590:4.2)
               คือ การ ที่ เริศ ร้าง ไป นั้น, เช่น ทำ การ ทั้ง ปวง ไม่ สำเร็ทธิ์ ค้าง อยู่ เปน ต้น นั้น.
      เริด ค้าง (590:4.3)
               คือ ละเลย ร้าง รา อยู่, คน ทำ การ อัน ใด แล ยัง ไม่ แล้ว แล ละ เฉย ไว้ นั้น.
      เริด ไป (590:4.4)
               คือ ห่างเหิน ไป นั้น, เช่น คน ที่ ไป ฃอ เมีย นัด งาน กัน ไว้ แล้ว เริด กัน ไป เปน ต้น นั้น.
      เริด รา (590:4.5)
               คือ การ ทั้ง ปวง ที่ ค้าง ช้า อยู่ นั้น, เช่น คน ทำ การ เริด รา ช้า ลง เปน ต้น นั้น.
      เริด ร้าง (590:4.6)
               คือ ละ เลย ค้าง คา อยู่, คน ทำ การ อัน ใด ยัง ไม่ สำเร็ทธิ์ แล ละเลย เสีย นั้น.
      เริด ห่าง (590:4.7)
               คือ ไม่ ชิด สนิท ดี, คน ทำ ปาก กบ ปาก ไม้, มัน เข้า ไม่ ชิด ดี ยัง ห่าง อยู่ นั้น.
      เริด ออก (590:4.8)
                คือ ไม่ ชิด แล ถอย ออก, คือ ทำ ปาก ไม้ ไม่ ชิด กลับ สะท้อน คืน ถอย ออก มา นั้น.
รน (590:5)
         คือ รีบ ร้อน, คน ด่วน ๆ จะ ไป เปน ต้น, แล รีบ ร้อน เร่ง จะ ไป นั้น, ว่า รน จะ ไป.
      รน เข้า (590:5.1)
               คือ อยาก รีบ เข้า, คน อยาก จะ รีบ เข้า ใน วัง เปน ต้น, แล ด่วน ๆ เข้า นั้น, ว่า รน เข้า.
      รน จะ ไป (590:5.2)
               คือ ร่าน อยาก จะ ไป, คน อยาก จะ รีบ ไป แห่ง ใด ๆ แล ด่วน ๆ ไป นั้น, ว่า รน จะ ไป.
      รณณรงค์ (590:5.3)
               คือ การ ที่ ทำ สงคราม ประจน ฆ่าศึก นั้น, เช่น แม่ ทัพ ออก รณณรงค์ ใน ที่ รบ เปน ต้น นั้น.
      รน เที่ยว (590:5.4)
               คือ ร่าน อยาก รีบ จะ เที่ยว, คน เคย เที่ยว แล ด่วน ๆ จะ ไป เที่ยว โดย เร็ว นั้น.
      รน มา (590:5.5)
               คือ ความ ที่ คน รน จะ มา นั้น, เช่น คน ไป ทาง ไกล รน มา บ้าน เปน ต้น นั้น.

--- Page 591 ---
      รน ร้อน (591:5.6)
               คือ ความ ร้อน รน นั้น, เช่น พวก นักโทษ รน ร้อน จะ รีบ ออก จาก คุก เปน ต้น นั้น.
      รน เล่น (591:5.7)
               คือ การ ที่ ดิ้น รน จะ ไป เล่น นั้น, เช่น เด็ก เล็ก ๆ รน จะ ไป เล่น เปน ต้น นั้น.
      รน หา (591:5.8)
               คือ การ ที่ เสือก ซน หา นั้น, เช่น สัตว์ ที่ ต้อง ขัง อยู่ ใน กรง รน หา ช่อง จะ ออก เปน ต้น.
      รน ออก (591:5.9)
               คือ ร่าน อยาก รีบ จะ ออก, คน คิด อยาก จะ ออก ไป แล ด่วน ๆ จะ ไป แล ออก นั้น.
ร่น (591:1)
         คือ ถอย เลื่อน, คน ถอย เลื่อน นั้น, ฤๅ ขยับ ไป มา นั้น ว่า ร่น.
      ร่น การ (591:1.1)
               คือ ถอย การ งาน, คน จะ ทำ การ มี กำหนด มาก ใหญ่, แล เหน ยืด ยาว นัก ขยับ ให้ น้อย เข้า นั้น.
      ร่น เข้า (591:1.2)
               คือ ถอย เข้า ขยับ เข้า, คน จะ ทำ การ อัน ใด แล ทำ การ ที่ มาก ให้ น้อย ที่ ใหญ่ ให้ เล็ก.
      ร่น เดือน (591:1.3)
               คือ ทำ เดือน หก เปน เดือน ห้า, เหมือน ที่ มี อะธิ กะ มาศ, มี เดือน แปด สอง หน นั้น.
      ร่น ปี (591:1.4)
               คือ ถอย ปี เข้า มา, เช่น กำหนด ไว้ ว่า ต่อ ปี น่า จึ่ง จะ ทำ การ, ครั้น มา ถอย เข้า มา ทำ เสีย ปี นี้ นั้น.
      ร่น ไป (591:1.5)
               คือ การ ที่ ขยับ รุก ร่น ไป นั้น, เช่น นาย ทะหาร ผ่อน คน ร่น ไป เปน ต้น นั้น.
      ร่น มา (591:1.6)
               คือ การ ที่ ขยับ ถอย หลัง ร่น มา นั้น, เช่น คน หนี ฆ่าศึก ร่น มา เปน ต้น.
      ร่น วัน (591:1.7)
               คือ ถอย วัน กำหนด เข้า มา, เขา กำหนด ไว้ ว่า ต่อ วัน อาทิตย์ น่า จึ่ง จะ สวด, แล ถอย เข้า มา สวด อาทิตย์ นี้.
      ร่น ออก (591:1.8)
               คือ การ ที่ ถอย หลัง ร่น ออก มา นั้น, เช่น ข้า ราช การ คลาน ออก จาก เฝ้า เปน ต้น.
ร้น (591:2)
         คือ ขยับ, คน นั่ง อยู่ มาก, มี การ พร้อม กัน ที่ คับแคบ เบียด เสียด กัน คน ข้าง น่า สิ้น ธุระ แล้ว ถอย ขยับ ออก มา นั้น, ว่า ร้น.
      ร้น เข้า (591:2.1)
               คือ ถด ถอย เข้า ไป, เช่น คน มา ทำ การ พร้อม กัน มาก หลาย คน, ข้าง น่า สิ้น ธุระ แล้ว ภา กัน ถอย ออก มา ข้าง นอก, ภา กัน ขยับ เข้า นั้น.
      ร้น หนัง (591:2.2)
               คือ การ ที่ คน กด ให้* หนัง ร้น เข้า ไป นั้น, เช่น คน ถลก หนัง กะรอก เปน ต้น นั้น.
      ร้น ออก (591:2.3)
               คือ ขยับ ถอย ออก เช่น คน มาก มี การ พร้อม กัน ที่ คับแคบ พวก ใน สิ้น ธุระ แล้ว ถอย ออก มา นั้น, ว่า ร้น ออก.
รัน (591:3)
         คือ ตี โบย, คน เอา ไม้ ตี ลง ที่ ตัว คน ฤๅ ตัว สัตว์ แล ที่* ใด ๆ เปน ต้น, ว่า รัน ลง,
      รัน เข้า ไป (591:3.1)
               คือ ตี เข้า ไป นั้น, เช่น ฆ่าศึก รัน เข้า ไป เปน ต้น นั้น.
      รัน ลง (591:3.2)
               โบย ลง, คือ ตี โบย ลง, คน เอา ไม้ ตี ลง ที่ ตัว คน ฤๅ ตัว สัตว์ แล ที่ ใด ๆ นั้น, ว่า เขา รัน ลง.
      รัน หลัง (591:3.3)
               โบย หลัง, คือ ตี ลง ที่ หลัง, คน จับ ไม้ ตี ลง ที่ หลัง คน ฤๅ หลัง สัตว์ นั้น, ว่า รัน หลัง.
รั้น (591:4)
         คือ ดื้อ, คน ใจ ดื้อ มี ความ โกรธ ฤๅ หลง เปน ต้น, มี ผู้ ห้ามปราม มิใคร่ ฟัง นั้น.
      รั้น ดื้อ (591:4.1)
               ดึงดื้อ, คือ ดื้อ ดึง, คน ใจ ดื้อ มี โกรธ เปน ต้น, แล มี ผู้ อื่น ห้าม ปราม ว่า กล่าว ไม่ ฟัง นั้น.
      รั้น ดุ (591:4.2)
               คือ ความ ที่ ดื้อ ดึง ดุดัน นั้น, เช่น หมู แล แพะ ที่ รั้น ดุ เปน ต้น นั้น.
      รั้น เบื้อง (591:4.3)
               ดื้อ เต็ม ที, คือ ดื้อ แขง แรง นัก, คน ใจ มุทะลุ โทโษ มาก, มี ผู้ อื่น ว่า ห้าม ไม่ เชื่อ ฟัง นั้น.
ราน (591:5)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ราน กิ่ง (591:5.1)
               หัก กิ่ง, ตัด กิ่ง, คือ ขึ้น ฟัน กิ่ง ต้น ไม้, มิ ใช่ ฟัน แต่ กิ่ง หนึ่ง สอง กิ่ง, ฟัน กิ่ง เสีย มาก นั้น, ว่า ราน กิ่ง
      ราน เพื่อน (591:5.2)
               หัก เพื่อน, ข่มเหง เพื่อน, คือ ข่มเหง เพื่อน ทำ พะละ การ ต่าง ๆ, คน ชั่ว ใจ บาป เที่ยว กวน ข่มเหง เพื่อน นั้น.
      ราน รอน (591:5.3)
               หัก รอน, ตัด รอน, คือ ตัด รอน เสีย, คน ขึ้น ฟัน กิ่ง ไม้ ลง มา มาก แล้ว บั่น เปน ท่อน นั้น.
      ราน ร้าว (591:5.4)
               คือ แตก ร้าว, เช่น ภาชนะ มี ม่อ เปน ต้น, มัน แตก ร้าว, ว่า ราน ร้าว.
      ราน หัก (591:5.5)
               คือ การ ที่ หัก ราน นั้น, เช่น ลม พะยุ ใหญ่ พัด กิ่ง ไม้ ราน หัก ไป เปน ต้น นั้น.
ร่าน (591:6)
         เปน ชื่อ สัตว์ ตัว เล็ก อย่าง หนึ่ง, ตัว มัน เท่า ด้ำ ปาก กา ยาว สัก นิ้ว เสศ มี ขน, ถูก คน เข้า ให้ คัน นัก.
      ร่าน กิน (591:6.1)
               คือ รีบ ขยับ แต่ ที่ จะ กิน, คน อยาก จ้อง จะ กิน ของ อัน ใด ที่ อยาก นั้น.

--- Page 592 ---
      ร่าน เข้า มา (592:6.2)
               คือ อยาก รน เร่ง จะ เข้า มา, คน ประเทศ อื่น อยาก จะ เข้า มา ประเทศ นี้.
      ร่าน ดู (592:6.3)
               คือ เร่ง อยาก ดู, คน ไม่ เคย เหน ของ ประหลาด อัศ จรรย์, แล อยาก จะ เหน นั้น.
      ร่าน ทำ (592:6.4)
               อยาก ทำ, คือ คอย เร่ง จะ ทำ, คน อยาก จะ ทำ การ อัน ใด ๆ นั้น, ว่า เขา ร่าน ทำ.
      ร่าน ไป (592:6.5)
               อยาก ไป, คือ คอย จ้อง จะ ไป, คน อยาก กระหยิก กระยาน ที่ จะ ไป นั้น, ว่า ร่าน ไป.
      ร่าน มา (592:6.6)
               อยาก มา, คือ คอย ขยิก ขะยาน ที่ จะ มา, เหมือน คน อยาก มา, แล รน ขยิก ขะยาน มา นั้น.
      ร่าน อยู่ (592:6.7)
               อยาก อยู่, คือ รน จะ อยู่ ไม่ อยาก จะ ไป, คน อยาก จะ อยู่ ไม่ อยาก จะ ไป ไหน ๆ นั้น, ว่า ร่าน อยู่.
      ร่าน อยาก (592:6.8)
               คือ ความ ที่ อยาก ร่าน หนัก นั้น, เช่น คน อยาก ร่าน ว่าว ลง มา เปน ต้น นั้น.
      ร่าน ริ้น (592:6.9)
               คือ ร่าน แล ริ้น ทั้ง ปวง นั้น, เช่น ร่าน ตัว เขียว ๆ มี พิศม์ แล ริ้น ที่ กัด คัน เปน ต้น.
      ร่าน เร่ง (592:6.10)
               คือ การ ที่ เร่ง ร่าน หนัก นั้น, เช่น คน ร่าน เร่ง จะ หา เมีย เปน ต้น นั้น.
      ร่าน ลง (592:6.11)
               อยาก ลง, คือ รน จะ ลง, เช่น คน จะ งม หอย เปน ต้น, แล รน รีบ จะ ลง ไป นั้น, ว่า ร่าน ลง.
      ร่าน ออก (592:6.12)
               อยาก ออก, คือ รน จะ ออก, เช่น คน อยู่ ใน ที่ กัก ขัง เบื่อ หน่าย รำคาญ ใจ อยาก จะ ออก นัก นั้น.
ร้าน (592:1)
         คือ ที่ เขา ปลูก ขึ้น ยก พื้น สูง ฤๅ ต่ำ มุงหลังคา บ้าง ไม่ มุง หลังคา บ้าง นั้น, เรียก ร้าน.
      ร้าน ขับ นก (592:1.1)
               คือ ร้าน ที่ เขา อาไศรย นั่ง ขับ นก นั้น, เขียง ขับ นก ของ ชาว นา เปน ต้น นั้น.
      ร้าน ขาย ของ (592:1.2)
               แคร่ ขายของ, คือ ร้าน เขา ปลูก ใส่ สินค้า* ไว้ ขาย ของ นั้น.
      ร้าน ชำ (592:1.3)
               ร้าน ประจำ, คือ ร้าน ที่ เขา ตั้ง ของ ขาย เปน นิจ นั้น, เรียก ร้าน ชำ.
      ร้านใหญ่ (592:1.4)
               แคร่ ใหญ่, คือ ร้าน ที่ มี พื้น กว้าง ขวาง มิ ใช้ ร้าน แผง นั้น, เขา ตั้ง ของ ขาย ไม่ ขาด นั้น.
      ร้าน เดียว (592:1.5)
               แคร่ หนึ่ง, คือ ร้าน หนึ่ง ไม่ มี ร้าน อื่น เปน สอง, คน ปลูก ร้าน ขึ้น ร้าน หนึ่ง ว่า ร้าน เดียว.
      ร้าน ตลาด (592:1.6)
               แคร่ ตาม ตลาด, คือ ร้าน ที่ เขา ปลูก เปน แถว ติด กัน มาก, แล ร้าน ปู แผง เปน ที่ ประชุม ขาย ซื้อ นั้น.
      ร้าน น้ำ (592:1.7)
               คือ ร้าน เขา ตั้ง ม่อ น้ำ ไว้ เปน ทาน อย่าง หนึ่ง มี งาน ใหญ่ ท่าน เกณฑ์ ให้ ตั้ง ร้าน ไว้ ม่อ น้ำ ให้ ทาน นั้น.
      ร้าน นั่ง (592:1.8)
               คือ ร้าน ที่ เขา ปลูก ไว้ สำรับ นั่ง* นั้น, ร้าน ขาย ของ เปน ต้น.
      ร้าน ผ้า (592:1.9)
               แคร่ ขาย ผ้า, คือ ร้าน ที่ เขา วาง ผ้า ขาย นั้น.
      ร้าน ผัก (592:1.10)
               แคร่ ขาย ผัก, คือ ร้าน ที่ เขา วาง ผัก ขาย, คน เปน แม่ ค้า แล ทำ สำรับ วาง ผัก ขาย นั้น.
      ร้าน ม้า (592:1.11)
               คือ ร้าน ที่ คน ทำ วาง สพ เผา, แล เอา ไม้ ทำ เปน ร้าน ขึ้น นั้น.
      ร้าน หมาก (592:1.12)
               คือ ร้าน เอา ลูก หมาก ผึ่ง แดด, คน จะ ตาก หมาก ปลูก ร้าน ขึ้น สำรับ.
      ร้าน ห้าง (592:1.13)
               คือ ร้าน ห้าง เฝ้า สวน ฤๅ ร้าน ห้าง ขาย ของ นั้น.
ริน (592:2)
         ค่อย เท, คือ ทำ ให้ น้ำ ค่อย ไหล ออก, คน จะ เอา น้ำ ที่ ใส แล ค่อย เท ให้ ไหล ออก.
      ริน น้ำ (592:2.1)
               คือ เท ค่อย ๆ ช้า ๆ ให้ น้ำ ไหล ออก, คน จะ เอา น้ำ ที่ ใส สอาด เขา ค่อย เท ให้ ออก นั้น.
      ริน ไหล (592:2.2)
               คือ ความ ที่ ไหล ริน ๆ นั้น, น้ำ ไหล ริน ๆ ตาม ลำ ธาร ฤๅ น้ำ ที่ ริน ไหล ออก จาก กา เปน ต้น.
ริ้น (592:3)
         เปน ชื่อ สัตว ตัว เล็ก ๆ อย่าง หนึ่ง, มัน บิน ได้, ถ้า ที่ ใกล้ ทะเล มัน เกิด ชุม, มัน กัด กิน เลือด คน คัน นัก.
      ริ้น ร่าน (592:3.1)
               คือ สัตว ตัวเล็ก ๆ ที่ เขา เรียก ว่า ริ้น แล ร่าน ทั้ง ปวง นั้น.
รื่น (592:4)
         คือ ความ ชื่น มื่น, เช่น ที่ ร่ม ไม้ ไม่ มี แดด, มี ลม พัด เรื่อย เฉื่อย ๆ นั้น ว่า รื่น.
      รื่น เตียน (592:4.1)
               คือ ประเทศ ที่ เตียน รื่น ทั้ง ปวง นั้น, ที่ ลาน วัด ฤๅ ที่ ท้อง ทุ่ง เมื่อ ระดู แล้ง เปน ต้น นั้น.
      รื่น เริง (592:4.2)
               คือ ความ ดี ใจ ความ สบาย ใจ ความ บันเทิง ใจ นั้น, นาย ทหาร ชะนะ ฆ่าศึก เปน ต้น นั้น.
      รื่น ร่ม (592:4.3)
               คือ ที่ ร่ม รื่น ชื่น ชื้อ, ที่ อัน ใด มี ต้นไม้ ใหญ่ ใบ ชัด ชิด สนิท ดี มี ลม พัด ชื่น ชื้อ นั้น.
รุน (592:5)
         คือ เสือก ไป รุน ไป, คน จะ จับ กุ้ง เล็ก ๆ แล เอา กระดาน วาง ลง บน เลน แล้ว เสือก ไป นั้น.

--- Page 593 ---
      รุน ก้น (593:5.1)
               คือ การ ที่ เสือก ก้น รุนส่ง ไป นั้น, คน รุน กุ้ง ทั้ง ปวง เปน ต้น นั้น.
      รุน ขึ้น (593:5.2)
               คือ การ ที่ รุน กลับ ขึ้น ไป นั้น, คน รุน กุ้ง ทวน น้ำ ขึ้น ไป เปน ต้น นั้น
      รุน หน้า (593:5.3)
               คือ คน เอา มือ จับ เข้า ข้าง หน้า ตัว คน, แล้ว ดัน ให้ คน นั้น ถอย หลัง ไป นั้น, ว่า รุน หน้า.
      รุน ยา (593:5.4)
               คือ การ ที่ กิน ยา รุน ให้ อุจจาระ ออก มา นั้น, คน กิน ยา ถ่าย ท้อง เปน ต้น นั้น.
      รุน หลัง (593:5.5)
               ดัน หลัง, คือ คน เอา มือ จับ ที่ หลัง คน อื่น, แล้ว ดัน ให้ ไป ข้าง หน้า นั้น, ว่า รุน หลัง.
รุ่น (593:1)
         คือ กิ่งไม้ ที่ มัน แตก เปน หน่อ ขึ้น มา ใหม่ อ้วน งาม นั้น, ว่า รุ่น ไม้ แต่ มิ ใช่ หน่อ มัน.
      รุ่น ตะกอ (593:1.1)
               คือ คน แล สัตว ทั้ง ปวง ที่ พึ่ง รุ่น หนุ่ม ขึ้น มา นั้น, คน อายุ สิบ สี่ ปี สิบห้า ปี เปน ต้น นั้น.
      รุ่น หนุ่ม (593:1.2)
               คือ เด็ก ชาย อายุ สิบ หก สิบ เจ๊ด ปี, ว่า รุ่น หนุ่ม.
      รุ่น ราว คราว กัน (593:1.3)
               คือ คน ทั้ง ปวง ที่ เปน หนุ่ม รุ่น ขึ้น คราว เดียว กัน, เช่น คน อายุ เท่า กัน เปน ต้น.
      รุ่น สาว (593:1.4)
               คือ เด็ก หญิง อายุ สิบสี่ สิบห้า ปี, แตก เนื้อ สาว งาม สรวย นั้น.
เร้น (593:2)
         ซ่อน, คือ ทำ ตัว ให้ ลับ มี สิ่ง บัง ปิด อยู่, คน จะ ซ่อน ตัว มิ ให้ ผู้ อื่น เหน แล บัง ตัว เสีย นั้น.
      เร้น ซ่อน (593:2.1)
               ซุก ซ่อน, คือ ทำ ตัว ให้ กำบัง มิ ให้ ผู้ ใด เหน, คน จะ หลบ หนี เขา แล เอา สิ่ง อัน ใด บัง ไว้.
      เร้น หนี (593:2.2)
               ซ่อน หนี, ซุก หนี, คือ หลบ ทำ ตัว ให้ ลับ ลี้ อยู่, คน จะ หนี เขา แล หลบ ซ่อน ตัว มิ ให้ ผู้ ใด เหน นั้น.
      เร้น อยู่ (593:2.3)
               ซ่อน อยู่, ซุก อยู่, คือ หลบ ทำ ตัว ให้ อยู่ ใน ที่ ลับ, คน จะ เล่น ซ่อน หา กัน เปน ต้น แล หลบ อยู่ นั้น.
      เร้น หลบ (593:2.4)
               ซ่อน หลบ, ลี้ หลบ, คือ หลบ ซ่อน ตัว กลัว ผู้ อื่น จะ เหน, คน จะ หนี เขา มิ ให้ จับ ตัว ได้, แล ซ่อน ตัว อยู่ นั้น.
รอน (593:3)
         คือ บั่น ไม้ ให้ เปน ท่อน ๆ, คน ตัด ไม้ จะ ทำ ฟืน เปน ต้น, แล บั่น ไม้ ยาว ให้ เปน ท่อน ๆ.
      รอน ตัด (593:3.1)
               คือ การ ที่ ตัด รอน สิ่ง ของ ทั้ง ปวง นั้น, คน ตัด ฟืน รอน เปน ต้น นั้น.
      รอน ฟืน (593:3.2)
               คือ รอน บั่น ไม้ ที่ จะ ทำ ฟืน, คน เดิม ตัด ไม้ ไว้ ยาว แล้ว บั่น ให้ เปน ท่อน สั้น ๆ นั้น.
      รอน ไม้ (593:3.3)
               คือ การ ที่ คน ทอน ไม้ เปน ท่อน ๆ นั้น, คน ทำ ฟืน รอน เปน ต้น นั้น.
      รอน แรม (593:3.4)
               คือ ค้าง แรม ราตรี อยู่, เช่น คน ไป แห่ง ใด ๆ, แล ไป อยู่ คืน หนึ่ง สอง คืน เปน ต้น นั้น.
      รอน ราน (593:3.5)
               คือ การ ที่ รอน ราน กิ่ง ไม้, ฤๅ คน ทำ รอน ราญ ฆ่าศึก ปัจจามิตร เปน ต้น นั้น.
ร่อน (593:4)
         แรนง, คือ แรนง, คน เอา ของ สำรับ แร่ง มี ตะแกรง* มา ใส่ เข้า เปน ต้น, แล แรนง นั้น.
      ร่อน เข้า (593:4.1)
               คือ แรนง เข้า, คน ทำ เข้า สาร แล เอา เข้าเปลือก มา สี ฤๅ ตำ ให้ เปลือก ออก, แล้ว ระแนง นั้น.
      ร่อน ทอง (593:4.2)
               คือ เอา เครื่อง สำรับ ร่อน เขา เรียก ว่าน, ทำ ด้วย ไม้ จิง รูป เหมือน ฝาชี, ไป ร่อน เอา ทอง นั้น.
      ร่อน บิน (593:4.3)
               คือ ไป ใน อากาศ โดย ปีก เรื่อย ๆ นั้น, เช่น นก แร้ง ไป ด้วย ปีก เรื่อย ๆ ไป นั้น.
      ร่อน แป้ง (593:4.4)
               คือ แรนง แป้ง, คน จะ ทำ ขนม มี แป้ง เข้า อยาบ อยู่, แล เอา แร่ง แรนง ให้ เลอียด นั้น.
      ร่อน ปูน (593:4.5)
               คือ แรนง ปูนขาว, คน จะ ถือ ปูน ที่ ฝาผนัง เปน ต้น มี ปูนขาว อยาบ แล แรนง ไป นั้น.
      ร่อน มีด (593:4.6)
               คือ การ ที่ คน ลับ มีด ร่อน วน ลง ที่ หิน นั้น, คน ร่อน มีดโกน ฤๅ ร่อน เข้า เปน ต้น.
      ร่อน ทราย (593:4.7)
               คือ แร่ง แรนง ทราย, คน จะ ต้องการ ทราย ละ- เอียด, เอา ตะแกรง แร่ง เอา แต่ เลอียด นั้น.
      ร่อน รา (593:4.8)
               คือ การ ที่ รา ปีก ร่อน ไป นั้น, เหยี่ยว บิน ร่อน รา อยู่ บน เวหา เมื่อ ระดู หนาว เปน ต้น นั้น.
      ร่อน เร่ (593:4.9)
               เดิน วน เวียน, คือ เที่ยว ไป ไม่ อยู่ ที่ เดียว, คน ไม่ มี ที่ อยู่ เปน ปรกติ, เที่ยว ไป หา ที่ ข้าง โน้น ข้าง นี้.
      ร่อน รำ (593:4.10)
               คือ แรนง เอา ละออง เข้า, คน ตำ เข้าสาร เอา เปลือก ออก, แล้ว เอา ตะแกรง แรนง เอา รำ ออก นั้น.
      ร่อน รับ ร่อน เร (593:4.11)
               วน ไป เวียน มา, คือ เที่ยว ไป ข้าง โน้น บ้าง ข้าง นี้ บ้าง, ไม่ ได้ อยู่* ที่ เดียว เปน ปรกติ ได้ นั้น.
ร้อน (593:5)
         คือ ความ กระวน กระวาย, เหมือน ถูก ไฟ ฤๅ แสง แดด กล้า เวลา เที่ยง นั้น.

--- Page 594 ---
      ร้อน กาย (594:5.1)
               คือ กาย ร้อน, คน มี ตัว ถูก ไฟ ฤๅ ถูก แดด กล้า เมื่อ เวลา เที่ยง, แล กระวน กระวาย นั้น.
      ร้อน กล้า (594:5.2)
               คือ ความ ที่ ร้อน แขง แรง นัก นั้น, ร้อน กล้า เมื่อ เวลา ระดู ร้อน เปน ต้น.
      ร้อน เต็ม ที (594:5.3)
               คือ ความ ที่ ร้อน เต็ม ประดา นั้น, พวก นักโทษ ที่ จะ ต้อง ประหาร ชีวิตร เปน ต้น นั้น.
      ร้อน ใจ (594:5.4)
               คือ กระวน กระวาย ในใจ, เหมือน ไฟ อยู่ ใกล้ หัวใจ. อย่าง หนึ่ง ความ ทุกข มี ใน ใจ นั้น.
      ร้อน เผ็ด (594:5.5)
               คือ รศ ที่* เผ็ด ร้อน, ฤๅ ถ้อยคำ ที่ เผ็ดร้อน นั้น, พริก ไท แล คำ อยาบ เปน ต้น นั้น.
      ร้อน จิตร (594:5.6)
               คือ กระวน กระวาย ใน จิตร, เหมือน จิตร อยู่ ใกล้ ไฟ. อย่าง หนึ่ง ทุกข ใหญ่ มี อยู่ ใน ใจ นั้น
      ร้อน แสบ (594:5.7)
               คือ การ ที่ แสบ ร้อน ทั้ง ปวง นั้น, คน ที่ ไฟ ลวก ลน ร้อน แสบ เปน ต้น นั้น.
      ร้อน ตัว (594:5.8)
               คือ กระวน กระวาย ที่ กาย, เหมือน กาย อยู่* ใกล้ ไฟ. อย่าง หนึ่ง ทำ ความ ชั่ว ไว้, ครั้น ได้ ยิน เขา ว่า ถึง ความ ของ ตัว ก็ ไม่ สบาย นั้น.
      ร้อน สุขุม (594:5.9)
               คือ การ ที่ ร้อน เลอียด นั้น, ยา สุขุม เปน ต้น.
      ร้อน ทั้ง บ้าน (594:5.10)
               ขุ่น เคือง ทั้ง บ้าน, คือ เกิด ไฟ ไหม้ บ้าน ฤๅ ชาว บ้าน ต้อง ราชการ, เกณฑ์ ให้ คน ใน บ้าน ช่วย กัน ทำ นั้น.
      ร้อน แดด (594:5.11)
               คือ ร้อน ด้วย แสง อาทิตย, เมื่อ เวลา อาทิตย ขึ้น สูง แดด กล้า ไม่ มี เมฆ ปก ปิด นั้น.
      ร้อน ไฟ (594:5.12)
               คือ ร้อน ด้วย กำลัง ไฟ ลุก มาก, เช่น ไฟ ติด ขึ้น ไหม้ เผา ผลาญ สังหาร บ้าน เปน ต้น.
      ร้อน รน (594:5.13)
               กระวน กระวาย*, ทุรน ทุราย, คือ ร้อน ทุรน ทุราย เหมือน เวลา ระดู คิมหันต์ เดือน ห้า นั้น.
      ร้อน อก (594:5.14)
               กลุ้ม ทรวง, คือ ร้อน ใน ทรวง อก, ด้วย กำลัง โรค อัน ใด อัน หนึ่ง. อย่าง หนึ่ง คน มี ความ ทุกข ใหญ่.
รวน (594:1)
         คือ ปรวน เปร, เช่น ไม้ รั้ว ฤๅ เขื่อน ที่ คน ปัก ลง ใน ดิน นาน เข้า เก่า มาก, ก็ ปรวน เซ ไป.
      รวน ไก่ (594:1.1)
               คือ การ ที่ เอา ไก่ มา สับ ขั้ว รวน ไว้ แต่ ภอ สุก มิ ให้ เน่า นั้น, คน รวน ปลาไหล เปน ต้น นั้น.
      รวน แกง (594:1.2)
               คือ ทำ เนื้อ สด ฤๅ ปลา สด ให้ สุก ไว้ จะ แกง ต่อ พรุ่ง นี้ นั้น, เปน ชิ้น ๆ แล้ว ทำ ไว้ ให้ สุก ยัง ไม่ ใส่ เครื่อง แกง.
      รวน กุ้ง (594:1.3)
               คือ การ ที่ คน เอา กุ้ง มา สับ รวน ไว้ ให้ สุก นั้น, รวน ไก่ เปน ต้น
      รวน กัน (594:1.4)
               คือ คน ประชุม กัน มาก, ใน ที่ มี งาน ละคอน เปน ต้น, แล กิน เหล้า เมา เกือบ จะ วิวาท ตี กัน นั้น.
      รวน เนื้อ (594:1.5)
               คือ การ ที่ คน เอา เนื้อ สด มา หัน ออก เปน ชิ้น ๆ, แล้ว ผัด ให้ สุก นั้น, คน รวน กุ้ง เปน ต้น นั้น.
      รวน ไป (594:1.6)
               คือ เปร ไป เซ ไป, เช่น ไม้ เดิม ปัก* ไว้ ตรง อยู่, ครั้น นาน มา มัน ซวน เซ ไป นั้น.
      รวน เป็ด (594:1.7)
               คือ การ ที่ คน เอา เป็ด สด มา หั่น ออก แล้ว รวน แต่ ภอ สุก นั้น, คน รวน ไก่ เปน ต้น นั้น.
      รวน มา (594:1.8)
               คือ ซวน มา, ไม้ ที่ เขา ปัก ไว้ เดิม ตรง ดี อยู่, ครั้น นาน มา มัน ปรวน เปร เซ ซวน นั้น.
      รวน ปลา (594:1.9)
               คือ การ ที่ คน เอา ปลา สด มา หั่น ออก แล้ว รวน ไว้ ภอ สุก นั้น, คน รวน กุ้ง เปน ต้น นั้น.
      รวน เร (594:1.10)
               ปรวน เปร, คือ ไม่ ตั้ง อยู่ เปน ปรกติ, เช่น คน ใจ ไม่ ตั้ง อยู่ เปน ปรกติ, คิด จะ อยู่ ฤๅ จะ ไม่ อยู่ เปน ต้น.
ร่วน (594:2)
         ซุย, คือ พรุ่ย ยุ่ย ของ ที่ ไม่ แน่น เหนียว, เช่น ดิน ปน ทราย แล จะ ปั้น เปน ก้อน* ไม่ ได้ นั้น.
      ร่วน ซุย (594:2.1)
               คือ ร่วน พรุ่ยยุ่ย, เช่น ดิน กับ ทราย ระยอ ปน กัน ฤๅ ที่ ดิน ขี้ เป็ด แล ที่ ทราย นั้น.
      ร่วน เปื่อย (594:2.2)
               คือ การ ที่ เปื่อย ร่วน ไป นั้น, ปลาร้า ร่วน เปื่อย ไป เปน ต้น นั้น.
      ร่วน ยุ่ย (594:2.3)
               คือ ร่วน เปื่อย, เช่น ก้อน ดิน แห้ง ฤๅ ก่อน ปูนขาว เขา เอา ลง แช่ น้ำ ไว้ นั้น.
เรียน (594:3)
         คือ สึกษา วิชา ใน สำนักนิ์ ครู นั้น.
      เรียน ความ รู้ (594:3.1)
               คือ เล่า เรียน คาถา เวทมนต์ พ่น ปัด พิศม์ งู, ฤๅ พิศม์ ไฟ เปน ต้น นั้น.
      เรียน เจ้าคุณ (594:3.2)
               คือ การ ที่ คน เล่า เรื่อง ความ ต่าง ๆ ให้ เจ้าคุณ ฟัง นั้น, คน เอา ความ เรียน เจ้าคุณ เปน ต้น.
      เรียน หนังสือ (594:3.3)
               คือ เล่า ฤๅ อ่าน เขียน เปน ต้น ใน สำนักนี้* ครู, คน อยาก รู้ หนังสือ แล เล่า อ่าน นั้น.

--- Page 595 ---
      เรียน นาย (595:3.4)
               คือ การ ที่* บ่าว เก็บ เอา เรื่อง บอก แก่ นาย นั้น, คน เอา ความ เรียน นาย เปน ต้น.
      เรียน ภาษา (595:3.5)
               คือ ความ ที่ คน หัด พูด ภาษา ต่าง ๆ นั้น, เรียน ภาษา ไท ภาษาจีน เปน ต้น นั้น.
      เรียน วิชา (595:3.6)
               คือ เรียน คาถา อาจ ทำ ให้ ตัว เปน เสือ เปน ช้าง, ฤๅ ทำ ภาพยนตร์ นั้น.
      เรียน เล่า (595:3.7)
               คือ การ ที่ เล่า เรียน วิชา การ ทั้ง ปวง นั้น, คน เรียน เล่า หนังสือ บาฬี เปน ต้น นั้น.
      เรียน ลูกคิด (595:3.8)
               คือ เรียน เลข จีน ดีด ลูก คิด ประสม สิ่ง ของ ทอง เงิน เปน ต้น นับ ร้อย นับ พัน นั้น.
      เรียน ร่ำ (595:3.9)
               คือ การ ที่ ร่ำ เรียน ความ รู้ ต่าง ๆ นั้น, เด็ก ๆ ร่ำ เรียน เขียน อ่าน เปน ต้น.
      เรียน เลข (595:3.10)
               คือ เลข ไท, คน อยาก รู้ คิด อ่าน ประสม ของ เปน ร้อย เปน พัน เปน ต้น.
      เรียน โหร (595:3.11)
               เรียน ดู ข้าง น่า, คือ เลข คัมภีร์ โหร, ให้ รู้ ทาย เคราะห์ ดี แล ร้าย จะ ได้ ลาภ ฤๅ ทุกข เปน ต้น.
เหรียน (595:1)
         หิรัญะ, เปน ชื่อ เงิน อย่าง หนึ่ง, เปน เงิน แผ่น หนัก เจ๊ด สลึง, เขา เอา มา แต่ เมือง นอก นั้น.
เรือน (595:2)
         ที่ อยู่, คือ ที่ คน ปลูก ขึ้น ด้วย ไม้ สำรับ อาไศรย อยู่, ถึง ก่อ เปน ตึก อยู่ ก็ ว่า เรือน.
      เรือน แก้ว (595:2.1)
               ที่ อาไศรย เปน แก้ว, คือ คน เขียน รูป พระเจ้า, แล ใน เบื้อง บน เขียน เปน ช่อ เครือ พระรัศมี นั้น.
      เรือน เก่า (595:2.2)
               เคหา เก่า, คือ เรือน ปลูก ไว้ นาน คร่ำคร่า นั้น.
      เรือน เกวียน (595:2.3)
               โครง เกวียน, คือ เรือน ที่ เกวียน เขา ทำ เปน ลูก กรง เรียง ๆ ไป ตาม ทูบ เกวียน เปน แถว นั้น.
      เรือน เงิน (595:2.4)
               คือ ค่า ตัว คน มาก แล น้อย เปน เงิน ตรา นั้น, ว่า เงิน นั้น เปน เรือน เงิน นั้น.
      เรือน ไฟ (595:2.5)
               คือ เรือน ครัว ที่ สำหรับ หุง เข้า แล ต้ม แกง นั้น.
      เรือน แพ (595:2.6)
               แพ ยก พื้น, คือ เรือน อยู่ บน หลัง แพ, คน เอา ไม้ ไผ่ ทำ เปน แพ แล้ว ปรุง เครื่อง เรือน ปลูก ขึ้น บน นั้น.
      เรือน มุง กะเบื้อง (595:2.7)
               เรือน หลังคา กะเบื้อง, คือ เรือน มี หลัง คา มุง ด้วย กระเบื้อง, เขา ปลูก เปน เครื่อง ไม้ จริง เอา กระเบื้อง มุง นั้น.
      เรือน มุง จาก (595:2.8)
               เรือน หลังคา จาก, คือ เรือน มี หลังคา มุง ด้วย ใบ จาก, เขา ปลูก เรือน เครื่อง ไม้ ไผ่ มุง ด้วย ใบ จาก
      เรือน มุง แฝก (595:2.9)
               เรือน หลังคา แฝก, คือ เรือน มี หลังคา มุง ด้วย* ต้น แฝก, เขา ตัด เอา ต้น แฝก มา เย็บ เปน ตับ มุง
      เรือน หูก (595:2.10)
               เรือน ธอ ผ้า, คือ เรือน ที่ สำรับ ธอผ้า. อย่าง หนึ่ง ตัว หูก คือ ฟืม* ที่ สำรับ สืบ ต่อ ด้าย เข้า ธอ นั้น.
      เรือน ฝากระดาน (595:2.11)
               คือ เรือน เขา ทำ ด้วย ไม้* จริง มี ไม้ สัก เปน ต้น, ฝา ก็ แล้ว ด้วย กะดาน นั้น.
      เรือน ฝา ขัด แตะ (595:2.12)
               คือ เรือน เครื่อง ไม้ ไผ่, เขา เอา ไม้ ไผ่ มา ทำ เปน ซีก เล็ก ๆ แล้ว ขัด เปน ฝา นั้น.
      เรือน ฝา จาก (595:2.13)
               คือ เรือน เครื่อง ไม้ ไผ่, เขา เอา ใบ จาก เย็บ เปน ตับ ๆ กรุ เปน ฝา นั้น.
      เรือน เบี้ย (595:2.14)
               คือ ตัว คน ที่ เขา ขาย เปน ทาษ ได้ รับ เงิน นั้น, คำ เขา พูด กัน ว่า ตัว เรือน เบี้ย เปน ต้น นั้น.
      เรือน ฝา กระแชง อ่อน (595:2.15)
               คือ เรือน ฝา กรุ ด้วย ใบ จาก อ่อน, คน เอา ใบ จาก อ่อน, มา เย็บ ผนึก เข้า เปน แผ่น, แล้ว กรุ ฝา นั้น.
      เรือน ผม (595:2.16)
               คือ ทรง ผม คน ทั้ง ปวง นั้น, ผม พวก ไท ที่ ตัด ไว้ กลาง หัว เปน ต้น นั้น.
      เรือน ฝา สำหรวด (595:2.17)
               คือ เรือน ฝา เอา ไม้ จริง เปน ลูก ตั้ง เรียง กัน ไป ไม่ มี กระดาน, กรุ ด้วย จาก.
      เรือน เพ็ชร์ (595:2.18)
               คือ เรือน แหวน ทอง ที่ ทำ ไว้ สำรับ รอง เพ็ชร์ นั้น, เรือน แหวน เพ็ชร์ เปน ต้น นั้น.
      เรือน สอง ห้อง (595:2.19)
               คือ เรือน มี เสา หก ต้น, ใน ระวาง เสา เรียก ห้อง หนึ่ง, หก เสา มี ห้อง สอง.
      เรือน แหวน (595:2.20)
               คือ แหวน ที่ เขา ทำ กะเปาะ ไว้ สำรับ ใส่ พลอย นั้น, แหวน เรือน เทษ เปน ต้น นั้น.
      เรือน เย่า (595:2.21)
               คือ เย่า เรือน ทั้ง ปวง นั้น, เรือน เย่า ราษฎร ทั้ง ปวง เปน ต้น นั้น.
      เรือน หอ (595:2.22)
               คือ เรือน ที่ เขา ทำ เปน หอ นั้น, เรือน หอ เจ้าบ่าว ฤๅ เรือน หอนั่ง เปน ต้น นั้น.
      เรือน หลวง (595:2.23)
               เรือน ใหญ่, คือ เรือน เจ้าชีวิตร ให้ ทำ ไว้ สำรับ แขก เมือง มา แต่ ต่าง ประเทศ, ได้ อาไศรย.

--- Page 596 ---
เรื้อน (596:1)
         เปน ชื่อ โรค ร้าย อย่าง หนึ่ง, ชื่อ โรค ขี้ เรื้อน มัน ทำ ให้ เนื้อ เหน็บชา ไป นั้น.
      เรื้อน น้ำเต้า (596:1.1)
               เปน ชื่อ โรค เรื้อน อย่าง หนึ่ง นั้น, โรค เรื้อน น้ำเต้า ที่ มัน เปน ขาว ไป เปน ต้น.
รบ (596:2)
         เร้า, การ ศึก, คือ สู้ ต่อ ยุทธ. อย่าง หนึ่ง ทารก อ้อนวอน แม่ เพื่อ จะ กิน อาหาร ฤๅ นม นั้น.
      รบ กัน (596:2.1)
               ทำ ศึก กัน, คือ ต่อ สู้ กัน, เช่น กอง ทัพ สอง ฝ่าย เปน ฆ่าศึก ต่อ กัน, แล รบ พุ่ง กัน นั้น.
      รบ กิน (596:2.2)
               กวน กิน, เร้า กิน, คือ กวน จะ กิน, เช่น ทารก แสบ ท้อง อยาก อาหาร แล อ้อนวอน แม่ นั้น.
      รบ กวน (596:2.3)
               เร้า กวน, คือ รบ เร้า อ้อนวอน, เช่น คน อยาก ได้ ของ อัน ใด ๆ แล อ้อนวอน เจ้าของ นั้น.
      รบ แขก (596:2.4)
               ทำ ศึก กับ แขก, คือ ยก ทัพ ไป ตี เมือง แขก, บาง ที แขก เมือง ขึ้น แขง เมือง, ต่อ สู้ รบ พุ่ง กับ เมือง หลวง นั้น.
      รบ เขมร (596:2.5)
               ตี เขมร, คือ ยก พล ทะหาร ไป ปราบ ปราม เมือง เขมร, ลาง ที เมือง เขมร แขง เมือง ต้อง ไป ตี นั้น.
      รบ ทัพ (596:2.6)
               ตี ทัพ, จับ ศึก, คือ ยก พล ทะหาร ไป ทำ สงคราม กับ กอง ทัพ โยธา ทหาร เมือง สัตรู นั้น.
      รบ พะม่า (596:2.7)
               ตี พะม่า, คือ ยก พล ทหาร ไป ทำ สงคราม กับ กอง ทัพ โยธา ทะหาร เมือง พะม่า นั้น.
      รบ ยวญ (596:2.8)
               คือ ยก พล ทะหาร ไป ทำ ศึก กับ กอง ทัพ โยธา ทะ หาร เมือง ยวญ ทั้ง ปวง นั้น.
หรบ ๆ (596:3)
         คือ การ ที่ ดิ้น หรบ ๆ อยู่ นั้น, เช่น คน ทุบ ปลา ลง ชัก ดิ้น หรบ ๆ เปน ต้น นั้น.
รับ (596:4)
         คือ เอา มือ จับ เอา, มี ผู้ ส่ง สิ่ง อัน ใด มา, แล คน ยื่น มือ ออก จับ เอา สิ่ง นั้น.
      รับ กัน (596:4.1)
               คือ ความ ที่ คน ต้อน รับ กัน นั้น, เช่น คน นั่ง พูด รับ แขก เปน ต้น นั้น.
      รับ แขก (596:4.2)
               ต้อน รับ แขก, คือ ต้อน รับ ผู้ ที่ มา สู้ สำนักนิ์ ด้วย คำ ว่า, เชิญ ฤๅ จับ มือ กัน ฤๅ จุบ นั้น.
      รับ ของ (596:4.3)
               คือ ยื่น มือ ออก รับ เอา ของ, มี ผู้ ส่ง ของ อัน ใด มา, แล ยื่น มือ ออก จับ เอา ของ นั้น.
      รับ ขาด (596:4.4)
               คือ รับ ธุระ เด็ด ขาด, คน มี ธุระ มา พึ่ง กับ ผู้ หนึ่ง แล ผู้ นั้น รับ ว่า จะ สงเคราะห์ ให้ ได้ นั้น.
      รับ ขน (596:4.5)
               คือ รับ จะ เอา ของ มาก ไป ให้ หมด, ของ มี มาก ต้อง เอา ไป หลาย เที่ยว มี ผู้ รับ เอา ไป นั้น.
      รับ คำ (596:4.6)
               คือ การ ที่ รับ คำ สั่งสอน ทั้ง ปวง นั้น, เช่น ลูก รับ คำ พ่อ แม่ เปน ต้น นั้น.
      รับ ค้าง (596:4.7)
               คือ รับ ธุระ ที่ ติด พันธ์ กัน อยู่, เช่น คน เปน ลูก นี่ แล มี ผู้ รับ จะ ใช้ นี่ แทน นั้น.
      รับ เงิน (596:4.8)
               คือ รับ เอา เงิน, คน เอา เงิน มา ส่ง ให้, แล ยื่น มือ ออก รับ เอา ฤๅ ว่า ให้ วาง ไว้ นั้น.
      รับ งาน (596:4.9)
               คือ รับ กิจ การ อัน ใด อัน หนึ่ง, เช่น คน เปน ละคอน เขา มา หา ให้ ไป เล่น แล รับ นั้น.
      รับ จ้าง (596:4.10)
               คือ รับ การ จ้าง, คน มี การ อัน ใด, แล ว่า กับ ผู้ อื่น ว่า ให้ มา ทำ, แล้ว เรา จะ ให้ เงิน นั้น.
      รับ ขวัน (596:4.11)
               คือ คน เชิญ ขวัน, คน โกน จุก บุตร ฤๅ จะ ให้ บุตร บวช, แล ทำ การ อันเชิญ* ขวัน.
      รับ ใช้ (596:4.12)
               คือ ความ ที่ คน รับ ใช้ การ งาน ทั้ง ปวง นั้น, เช่น บ่าว รับ ใช้ การ นาย เปน ต้น นั้น.
      รับ เชิญ (596:4.13)
               คือ ต้อน รับ ผู้ เพื่อน บ้าน ที่ มา หา, เปน ปัติ สะ ถาน ด้วย ให้ ที่ นั่ง เปน ต้น นั้น.
      รับ ตัว (596:4.14)
               คือ รับ ประกัน ตัว, เช่น คน มี ทุกข ยาก* ไป ขาย ตัว อยู่ กับ ผู้ อื่น, แล มี ผู้ รับ ว่า ถ้า ผู้ นี้ หนี หาย ไป เอา กับ ข้า นั้น.
      รับ ทำ (596:4.15)
               คือ รับ ทำ การ งาน สาระพัด, มี ผู้ มา วาน ให้ ทำ การ งาน แล มี ผู้ รับ ทำ นั้น.
      รับ ทุกข์ (596:4.16)
               รับ โทษ, คือ รับ เอา ความ ทุกข์, คน มี โทษ หลวง เปน ต้น, แล มี ลูก หลาน เข้า รับ แทน นั้น.
      รับ ท้อง (596:4.17)
               คือ รับ ธุระ ด้วย ท้อง, คน ไป คบ หา ลอบ ลัก หลับ นอน กับ หญิง จน มี ครรภ์, แล ออก รับ เอา ว่า มี ครรภ์ เพราะ ตัว นั้น.
      รับ ทาน (596:4.18)
               รับ ให้, คือ รับ เอา ของ ที่ ท่าน ให้ จะ มี บุญ มี ผล ผ่าย น่า นั้น.
      รับ ทัพ (596:4.19)
               คือ รับ สู้ รบ ทำ สงคราม กับ กอง ทัพ ฆ่าศึก, คน รับ อาษา ออก ต่อ สู้ ฆ่าศึก นั้น, ว่า รับ ทัพ.

--- Page 597 ---
      รับ หน้า (597:4.20)
               คือ ออก ข้าง หน้า เพื่อน. อย่าง หนึ่ง คน พิรุธ ด้วย โทษ อัน ใด อัน หนึ่ง ซ่อน ตัว อยู่, ครั้น ชำระ โทษ แล้ว ออก สำแดง ตัว นั้น.
      รับ เน่า (597:4.21)
               คือ รับ โทษ ผิด ความ ชั่ว, คน กระทำ ความ ผิด ไว้ แล มี ผู้ เข้า รับ เอา นั้น, ว่า รับ เน่า เปน ความ เปรียบ.
      รับ น้ำ (597:4.22)
               คือ รอง น้ำ, เช่น ฝน ตก ลง เขา ทำ ราง รอง น้ำ ที่ ชาย คา. อย่าง หนึ่ง* คน ย้อม ผ้า ด้วย น้ำ ย้อม, น้ำ ที่ ย้อม แล้ว เอา ผ้า อื่น ย้อม อีก, ว่า รับ น้ำ.
      รับ บน (597:4.23)
               คือ รับ สีนบน, คน มี ธุระ ถ้อย ความ อัน ใด, ไป ว่า กับ ผู้ จะ รับ ธุระ ให้ ช่วย ได้ จะ ให้ เงิน นั้น.
      รับ ปี่พาทย์ (597:4.24)
               คือ การ ที่ คน รับ ลำนำ ด้วย ปี่พาทย์ นั้น, เช่น คน ส่ง เสภา รับ ปี่พาทย์ เปน ต้น นั้น.
      รับ ปาก (597:4.25)
               คือ คำ รับ สั่ง ว่า จะ ทำ ตาม คำ ท่าน สั่ง.
      หรับ หรบ (597:4.26)
               คือ การ ที่ ดิ้น ร่าว ๆ นั้น, คน ตี ปลา ดิ้น หรับ หรบ เปน ต้น นั้น.
      รับ (597:4.27)
                เปน สัจ, คือ รับ ตาม ความ จริง, เช่น คน เปน โจร มี ตระลาการ ถาม รับ ตาม จริง นั้น.
      รับ บาป (597:4.28)
               คือ รับ เอา การ บาป, คน ไท กล่าว คำ สาบาล ว่า ถ้า ทำ อย่าง นั้น ให้ บาป ที่ ท่าน ทำ ได้ กับ ข้า เถิด.
      รับ ผิด (597:4.29)
               คือ การ ที่ คน สาระภาพ รับ ความ ผิด นั้น, เช่น พวก ลุกะโทษ, ทั้ง ปวง เปน ต้น นั้น.
      รับ แพ้ (597:4.30)
               คือ กะ ทำ การ สงคราม เปน ต้น, แล ฝ่าย ข้าง หนึ่ง สู้ ไม่ ได้ ธ้อ ถอย หนี ฤๅ แตก กระจัด กระจาย ไป นั้น.
      รับ พร (597:4.31)
               คือ รับ เอา การ มงคล, มี ผู้ ให้ พร ว่า ให้ จะเริญ อา ยุ ศุขะพะละ เถิด รับ ว่า สาธุ ดี แล้ว.
      รับ เพลง (597:4.32)
               คือ การ ที่ ปี่พาทย์ รับ เพลง นั้น, เช่น คน เล่น เพลง ส่ง ปี่พาทย์ เปน ต้น นั้น.
      รับ มา (597:4.33)
               คือ รับ มา บ้าน ตัว, เช่น บุตร เปน ต้น ไป อยู่ บ้าน อื่น, ครั้น ถึง เวลา แล้ว ก็ ไป รับ มา นั้น.
      รับ มือ (597:4.34)
               คือ ต่อ สู้ กัน. อย่าง หนึ่ง คน ทำ การ อัน ใด ยัง ไม่ สำเร็ทธิ์ ค้าง อยู่, มี ผู้ รับ ทำ ต่อ ไป นั้น.
      รับ รอง ประคอง สู้ (597:4.35)
               คือ คำ เขา ผู้ เปน เจ้า ของ บ้าน เปน ต้น, ได้ รับ คน ผู้ มา อาไศรย อยู่ แล เกื้อ หนุน ต่าง ๆ นั้น.
      รับ ไว้ (597:4.36)
               คือ รับ เก็บ ไว้, มี ผู้ เอา ของ มา ให้ ฤๅ เอา มา ส่ง แล ผู้ นั้น เอา ของ นั้น เก็บ ไว้, ว่า รับ ไว้.
      รับ เวร (597:4.37)
               คือ รับ ราช การ ที่ เปน เวร ผลัด เปลี่ยน กัน เข้า ทำ นั้น, คือ เข้า ทำ สิบ วัน แล้ว ออก ไป นั้น.
      รับ วัต (597:4.38)
               คือ พระสงฆ์ เขา นิมนต์ มา สวด สพ วัต ละ สอง องค์ ให้ เข้า สวด ด้วย กัน นั้น, ว่า รับ วัต.
      รับ เสภา (597:4.39)
               คือ การ ที่ รับ เขา ขับ เสภา นั้น, เหมือน อย่าง ปี่ พาทย์ รับ เสภา เปน ต้น นั้น.
      รับ สู้ (597:4.40)
               คือ การ ที่ ต่อ สู้, เช่น มี สัตรู มา แล ออก ต่อ สู้ นั้น.
      รับ ศีล (597:4.41)
               คือ รับ สิกขา บท, คน จะ รักษา ศีล, ไป สู้ สำนักนิ์ พระสงฆ์ ฃอ รับ เอา ศีล.
      รับ สั่ง (597:4.42)
               คือ คำ รับ ว่า ฃอ รับ, ว่า เจ้า คะ, ว่า พักคะ, ว่า เออ, แก่ คน ผู้ สั่ง การ งาน อัน ใด ๆ นั้น.
      รับ ไหว้ (597:4.43)
               คือ รับ ไหว้ ตอบ, มี ผู้ มา ไหว้ แล ผู้ นั้น ยก มือ ขึ้น ไหว้ ผู้ มา ไหว้ นั้น บ้าง, ว่า รับ ไหว้.
      รับ เหมา (597:4.44)
               คือ รับ ใน การ จ้าง ว่า ข้า จะ ทำ การ เท่า นี้ ให้ สำ เร็ทธิ์, แล้ว จะ เอา เงิน ค่า จ้าง เท่า นั้น.
      หรับ หรุบ (597:4.45)
               คือ การ ตอด หรุบหรับ นั้น, ปลา ซิว ตอด หรับ หรุบ เปน ต้น.
      หรับ วิ่ง (597:4.46)
               คือ การ ที่ วิ่ง หรับ นั้น, เช่น ม้า ย่าง น้อย ฤๅ ควาย สะบัด ย่าง เปน ต้น นั้น.
ราบ (597:1)
         คือ ที่ ไม่ ลุ่ม ไม่ ดอน เสมอ ดี, คน ทำ ที่ ลุ่ม ที่ ดอน ให้ เสมอ กัน เปน พื้น ไป.
      ราบ (597:1.1)
                เปน น่า กลอง, เปน คำ พูด ถึง ที่ อัน ปราบ ที่ เสมอ, ว่า ที่ นั้น ราบ ราว กับ น่า กลอง นั้น.
      ราบ คาบ (597:1.2)
               คือ ราบ เรียบ เสมอ, แต่ คาบ นั้น คำ สร้อย ไม่ มี เนื้อ ความ.
      ราบ เรียบ (597:1.3)
               คือ ราบ เสมอ ไม่ มี ที่ ลุ่ม ดอน เลย นั้น, เช่น พื้น น่า พะลาน เปน ต้น นั้น.
      ราบ รื่น (597:1.4)
               คือ ที่ ไม่ สูง ไม่ ต่ำ มี พื้น เสมอ, แล ร่ม ด้วย ใบ ไม้ มี กลิ่น ดอก ไม้ หอม ชื่น นั้น.
      ราบ ปราบ (597:1.5)
               คือ ทุบ ปราบ ราบ เสมอ ดี นั้น, พื้น ลาน นวด เข้า ที่ เขา ปราบ ราบ เปน ต้น นั้น.

--- Page 598 ---
      ราบ เสมอ (598:1.6)
               คือ ราบ เปรียบ เช่น พื้น น่า กลอง, ที่ เขา ปราบ ที่ สูง ให้ ต่ำ เสมอ นั้น.
ริบ (598:1)
         คือ เก็บ เอา ของ, คน เปน โทษ หลวง, ขุนหลวง สั่ง ให้ ไป เก็บ เอา ของ หมด นั้น.
      ริบ ของ (598:1.1)
               คือ เก็บ เอา ของ โดย พะละการ, คน ต้อง ราชทัณฑ์ อาญา หลวง ให้ เก็บ ของ นั้น.
      รีบ เร็ว (598:1.2)
               คือ รีบ รัด ไป นั้น, คน รับ เร็ว ไป ตาม ควาย หาย เปน ต้น นั้น.
      ริบ ราช บาทว์ (598:1.3)
               คือ ริบ ทรัพย์ เข้า ของ โดย อาญา หลวง, คน ต้อง โทษ หลวง ท่าน ให้ เก็บ เอา ของ เสีย นั้น.
      ริบ รอม (598:1.4)
               คือ เอา ของ อัน ใด ๆ มา รวบ รวม ไว้ นั้น.
      ริบ เครื่อง ยศ (598:1.5)
               คือ ริบ ของ พระราช ทาน สำหรับ ยศ, มี ถาด หมาก แล คนโท เปน ต้น นั้น.
      รีบ (598:1.6)
               คือ เร่ง ให้ เร็ว ไป.
      รีบ เร่ง (598:1.7)
               คือ ด่วน ๆ เร่ง เร็ว ๆ นั้น.
รีบ รุด ไป (598:2)
         คือ อาการ ที่ เร่ง ร่ำ ไป เร็ว ๆ นั้น, มี คน หนี พวก สัตรู เปน ต้น นั้น.
หรุบ (598:3)
         คือ ของ ตก ร่วง ลง มาก ใน คราว เดียว กัน ตก ลง พรู ๆ นั้น, ว่า ร่วง ลง หรุบ.
      หรุบ หรับ (598:3.1)
               คือ อาการ ที่ ด่วน ๆ จะ ไป เปน ต้น, โดย เร็ว ๆ นั้น.
รูป (598:4)
         คือ สิ่ง ของ บันดา มี ที่ มี วิญาณ บ้าง, ไม่ มี วิญาณ บ้าง นั้น, เปน รูป เว้น แต่ ลม แล จิตร์ เปน ต้น นั้น.
      รูป กาย (598:4.1)
               คือ รูป เปน ที่ ประชุม อาการ สามสิบ สอง ประการ มี เกษา ผม, โลมา ขน เปน ต้น.
      รูป แกะ (598:4.2)
               คือ รูป เขา เอา ไม้ ฤๅ หิน เปน ต้น มา แกะ ไว้.
      รูป เขียน (598:4.3)
               คือ รูป ที่ เขา ลง ภู่กัน ลาก เส้น ฤๅ วาด ด้วย ดิน สอ เปน ต้น นั้น, ว่า รูป เขียน.
      รูป คำรพย์ (598:4.4)
               คือ รูป ที่ เขา ทำ ไว้ ไหว้ แล บูชา*, คน ทำ รูป ต่าง ๆ หล่อ บ้าง เขียน บ้าง ปั้น บ้าง แกะ บ้าง ไว้ เปน ที่ ไหว้ บูชา นั้น.
      รูป คน (598:4.5)
               คือ รูป มะนุษ, บันดา มะนุษ ที่ เกิด มา ใน โลกย์ นี้ เปน รูป เปน กาย สิ้น, ว่า รูป คน.
      รูป งาม (598:4.6)
               คือ รูป ที่ ดี ที่ สอาจ สรวย, บันดา สรรพ สิ่ง ทั้ง ปวง มี รูป คน เปน ต้น ที่ ดี สรวย นั้น.
      รูป เจ้า (598:4.7)
               คือ รูป ร่าง เจ้า, คน ที่ เปน วงษ์ กระษัตริย์ นั้น, เขา เรียก เจ้า, พระองค์ ของ ท่าน นั้น เรียก พระรูป.
      รูป ฉาก (598:4.8)
               คือ รูป เขา เขียน ไว้ ใน ฉาก ที่ เขา เอา ไม้ ทำ โครง เข้า แล้ว, เอา กะดาด ฤๅ ผ้า ขึง ไว้ นั้น.
      รูป ชัก (598:4.9)
               คือ รูป ที่ เขา ทำ วิธี อย่าง ฝรั่ง เสศ ทำ ให้ รูป เข้า ไป อยู่ ใน แผ่น เงิน เปน ต้น.
      รูป ชั่ว (598:4.10)
               คือ รูป สาระพัด ที่ ไม่ ดี ไม่ งาม สุหรุสุหระ ตุตะ นั้น, บันดา รูป ที่ ขี้ ริ้ว ว่า รูป ชั่ว.
      รูป ดี (598:4.11)
               คือ รูป งาม รูป สรวย, บันดา รูป ของ ทุก สิ่ง มี รูป คน เปน ต้น ที่ งาม สรวย นั้น.
      รูป ทรง (598:4.12)
               คือ รูป สัณฐาน ซวด ทรง, คน มี รูป สูง เขา ว่า ทรง สูง, คน ที่ รูป ต่ำ ว่า ทรง ต่ำ.
      รูป ธรรม (598:4.13)
               คือ รูป อักษร ที่ เขียน พระ ธรรม คือ ตัว อักษร ขอม นั้น.
      รูปปะฏิมากร (598:4.14)
               แปล ว่า รูป เขา ทำ เปรียบ แทน รูป พระ เปน ต้น นั้น.
      รูป พระ (598:4.15)
               คือ รูป ที่ เขา เอา อัน ใด ๆ มี ไม้ เปน ต้น, แกะ สลัก เปน รูป พระ นั้น.
      รูปพรรณ์ (598:4.16)
               คือ รูป ร่าง ศรี สรรพ วรรณะ, บันดา ของ ที่ เปน รูป มี ศรี แสง วรรณะ นั้น, ว่า รูปพรรณ์
      รูป พรหม (598:4.17)
               คือ รูป เปน เทวะดา, แต่ เขา เขียน ฤๅ แกะ สลัก ให้ มี หน้า สี่ หน้า ให้ เหน แปลก จาก รูป เทวะดา นั้น.
      รูป ภาพ (598:4.18)
               คือ รูป ที่ เขา เขียน, เปน รูป มะนุษ เปน ต้น นั้น, เรียก รูป ภาพ เพราะ เหมือน ตัว คน.
      รูป ภาพะยนต์ (598:4.19)
               คือ รูป มะนุษ ที่ เขา ทำ ด้วย ไม้ มี สาย ยนต์ คน ชัก ให้ มัน ยก มือ รำ ฟ้อน ได้ นั้น.
      รูป ร่าง (598:4.20)
               คือ ร่าง กาย, บันดา มะนุษ ฤๅ วัตถุ สิ่ง ของ ที่ เปน สิ่ง นั้น, ว่า รูป ร่าง เว้น แต่ ลม เปน ต้น.
      รูป หล่อ (598:4.21)
               คือ รูป ที่ เขา เอา ทอง ฤๅ เงิน เปน ต้น หล่อ เปน รูป อัน ใด ๆ นั้น.
      รูป วาด (598:4.22)
               คือ รูป ที่ เขา เขียน ร่าง ยัง ไม่ สู้ ดี, โกลน ไว้ ก่อน นั้น.

--- Page 599 ---
      รูป สัตว์ (599:4.23)
               คือ รูป สัตว์ ดิรัจฉาน ต่าง ๆ มี รูป ราชสีห์ เสือ แล ช้าง เปน ต้น นั้น.
      รูป หุ่น (599:4.24)
               คือ รูป คน ที่ เขา ทำ ด้วย ไม้, เรียก ว่า หุ่น เพราะ เปน รูป เหมือน คน, เขา ชัก สาย ให้ มัน ยก มือ รำ ได้ นั้น.
รอบ (599:1)
         คือ วง เข้า ประจบ กัน, คือ แล่น กำปั่น ไป เปน วง เวียน จน ถึง ที่ เดิม นั้น, ว่า รอบ.
      รอบ ค่าง (599:1.1)
               คือ ทำ หัว เงื่อน เชือก ให้ วง ตัว รอบ ค่าง จน หัว เงื่อน ถึง กัน นั้น.
      รอบ คอบ (599:1.2)
               คือ ทำ เชือก อ้อม เข้า จน ประจบ เงื่อน นั้น, แต่ คำ ว่า คอบ นั้น เปน คำ สร้อย.
      รอบ บ้าน (599:1.3)
               คือ วง เวียน ตาม แนว รั้ว เขตร์ บ้าน จน ถึง ที่ ประ- จบ กัน นั้น.
      รอบ เมือง (599:1.4)
               คือ วง เวียน ตาม ขอบ กำแพง เมือง จน ถึง ที่ ประ- จบ กัน.
      รอบ รู้ (599:1.5)
               คือ รู้ ทั่ว รู้ มาก, คน รู้ สรรพ วิชา การ ต่าง ๆ มาก ทั่ว ไป ตาม ปัญญา ของ ตัว นั้น.
      รอบ องค์ (599:1.6)
               คือ รอบ กาย, ว่า องค์ นั้น เปน คำสูง นั้น,
รวบ (599:2)
         คือ เอา มือ กวาด กำ เข้า, คน จะ เก็บ เบี้ย แล เอา มือ กวาด กอง เบี้ย รวม เข้า นั้น.
      รวบ กอง ไว้ (599:2.1)
               คือ เอา มือ กวาด เบี้ย กอง กระจาย อยู่ ให้ รวม เข้า เปน กอง เก็บ ไว้ นั้น.
      รวบ กัน เข้า (599:2.2)
               คือ จับ เอา เชือก ฤๅ ด้าย กระจาย เปน ต้น, ให้ รวม เข้า อยู่ เปน อัน เดียว กัน.
      รวบควบ (599:2.3)
               คือ จับ เอา เชือก ฤๅ ด้าย เปน ต้น, มี หลาย เส้น เอา กำ เข้า เปน อัน เดียว กัน.
      รวบ ผูก (599:2.4)
               คือ จับ เอา เส้น เชือก ฤๅ ด้าย หลาย เส้น เข้า เปน อัน เดียว แล้ว ผูก เข้า ไว้.
      รวบ รวม (599:2.5)
               คือ รวบ ของ เข้า ให้ อยู่ ใน ที่ แห่ง เดียว กัน นั้น.
เรียบ (599:3)
         คือ เอา ซี่ ไม้ วาง เรียง ๆ กัน ติด ไป เปน พื้น เรือน ฤๅ พื้น ร้าน โรง เปน ต้น นั้น.
      เรียบ กะดาน (599:3.1)
               คือ เอา กะดาน เปน แผ่น ๆ มา วาง เรียง ติด กัน เปน พื้น เรือน เปน ต้น นั้น.
      เรียบ ฟาก (599:3.2)
               เรียบ พื้น, คือ เอา ไม้ ไผ่ ผ่า สับ เปน แผ่น เหมือน กะดาน, แล้ว เอา มา วาง เรียง ติด กัน เปน พื้น นั้น.
      เรียบ เรียง (599:3.3)
               คือ จัด วาง เปน ลำดับ ถ้องแถว, คน จัด ของ วาง เรียง ไป เปน แถว นั้น, ว่า เรียบ เรียง.
      เรียบ ราบ (599:3.4)
               คือ พื้น ดิน เปน ต้น, ที่ มัน ไม่ ต่ำ ไม่ สูง กว่า กัน แล เลี่ยน เสมอ ดี นั้น.
      เรียบ ร้อย (599:3.5)
               เรียบ นั้น มี ความ เช่น ว่า แล้ว, แต่ ร้อย นั้น เปน คำ สร้อย.
      เรียบ เสมอ (599:3.6)
               คือ ราบ เสมอ. อย่าง หนึ่ง เขา เอา ของ มาก วาง ให้ เรียง เรียบ เสมอ ดี นั้น.
      เรียบ สิลา (599:3.7)
               คือ เอา แผ่น สิลา มา วาง ลำดับ เปน พื้น ไป ใน ที่ ดิน เปน ต้น นั้น.
      เรียบ หิน (599:3.8)
               คือ เอา แผ่น หิน ฤๅ หิน ก้อน มา วาง ลำดับ เปน พื้น ฤๅ เปน ถนล นั้น.
      เรียบ อิฐ (599:3.9)
               คือ เอา อิฐ แผ่น มา วาง เปน พื้น ฤๅ ถนล ยืด ยาว ไป นั้น.
รม (599:4)
         อบ, คือ ทำ ของ ให้ อยู่ บน ควัน ไฟ, ลาง ที เขา ธระมาน เด็ก เอา หน้า คว่ำ ลง ที่ ควัน นั้น, ว่า รม เด็ก.
      รม กะบอก (599:4.1)
               อบ กะบอก, คือ เอา กะบอก ที่ รอง น้ำ ตาล เพื่อ จะ ไม่ ให้ กะบอก ติด รศ เปรี้ยว แล คว่ำ ไว้ ที่ รู ควัน.
      รม ควัน (599:4.2)
               อบ ควัน, คือ เอา ของ อัน ใด ๆ วาง ไว้ ตรง ควัน พลุ่ง ขึ้น เพื่อ จะ ให้ ของ ทน นั้น.
      รมะนา (599:4.3)
               คือ ของ เครื่อง มะโหรี อย่าง หนึ่ง, รูป มัน เหมือน ตะบะ กลม ๆ น่า มัน เขา ขึง ด้วย หนัง ตี ดัง เพราะ.
      รม ไฟ (599:4.4)
               คือ เอา ของ วาง ไว้ ที่ มี เปลว ไฟ พลุ่ง โพลง ขึ้น นั้น, เพื่อ จะ ให้ ของ นั้น แห้ง.
      รม ยา (599:4.5)
               คือ เอา ยา ใส่ ใน ม่อ ตั้ง บน เตา ไฟ ให้ มี อาย ควัน ขึ้น ถูก ตัว เพื่อ จะ ให้ หาย โรค นั้น.
ร่ม (599:5)
         คือ ใน เงา ที่ ไม่ ถูก แดด ฝน นั้น, ที่ ใน ใต้ หลังคา ฤๅ ใต้ ต้น ไม้ เปน ต้น นั้น.
      ร่ม เกล้า (599:5.1)
               คือ ร่ม หัว, ว่า ร่ม เกล้า นั้น, คือ เลง เอา ผม ที่ เกล้า ขึ้น ไว้ ที่ หัว นั้น.
      ร่ม กะดาด (599:5.2)
               คือ ร่ม เขา เอา ไม้ ทำ เปน โครง ร่ม แล้ว เอา กะ ดาด ปิด, เปน ร่ม ที่ เอา มา แต่ เมือง จีน นั้น.
      ร่ม เกษ (599:5.3)
               คือ ร่ม ผม, ประสงค์ เอา หัว นั้น, ว่า ร่ม เกษ, เพราะ ผม อยู่ ที่ หัว.

--- Page 600 ---
      ร่ม กาย (600:5.4)
               คือ ร่ม ตัว, คน กั้น ร่ม ฤๅ เข้า อยู่ ใน ชาย คา ฤๅ ใต้ ร่ม ไม้ นั้น.
      ร่ม ขี ผึ้ง (600:5.5)
               คือ รูป ร่ม เขา ทำ ด้วย ไม้ เปน โครง ร่ม, แล้ว บุ มุง ด้วย แพร ฤๅ ผ้า แล้ว อาบ ด้วย ขี ผึ้ง นั้น.
      ร่ม ของ (600:5.6)
               คือ เงา บัง ของ อยู่, ของ ที่ คน วาง ไว้ ใน ที่ ใต้ หลังคา ฤๅ ใต้ ต้น ไม้ ใบ ชิด นั้น.
      ร่ม เงา (600:5.7)
               คือ ร่ม มี เพราะ เงา, มี เงา หลังคา แล เงา ไม้, แล เงา ภู เขา เปน ต้น นั้น.
      ร่ม แดด (600:5.8)
               คือ มี สิ่ง ที่ กั้น บัง มิ ให้ แดด ถูก ต้อง ส่อง ลง มา ได้ นั้น.
      ร่ม ธง (600:5.9)
               คือ ใน เงา ธง, มี บุญ มาก ได้ เปน ใหญ่ มี ธง ไชย เปน สำคัญ, ผู้ น้อย เข้า พึ่ง อยู่ ว่า อยู่ ใน ร่ม ธง.
      ร่ม ปีก คังคาว (600:5.10)
               คือ ร่ม เขา เอา ไม้ ฤๅ หวาย ตะค้า ทำ โครง ขึ้น แล้ว บุ ด้วย แพร ดู คล้าย ปีก คังคาว.
      ร่ม ผ้า (600:5.11)
               คือ ร่ม ทำ ด้วย ผ้า. อย่าง หนึ่ง ที่ ใต้* ผ้า นุ่ง ที่ กาย คน นั้น, เขา เรียก ว่า ใต้* ร่ม ผ้า.
      ร่ม ฝน (600:5.12)
               คือ มี สิ่ง ที่ กั้น บัง มิ ให้ ฝน ตก ถูก ต้อง, มี ร่ม เรือน แล ร่ม ต้น* ไม้ ใบ ชิด เปน ต้น.
      ร่ม โพธิ์ (600:5.13)
               คือ ใน เงา ต้น โพธิ์ ๆ ที่ โต ใหญ่ มี เงา กว้าง ขวาง แผ่ ออก ไป นั้น.
      ร่ม ไม้ (600:5.14)
               เงา ไม้ บัง, คือ เงา ไม้ บัง อยู่, บันดา ที่ เงา ไม้ ใหญ่ น้อย บัง กั้น อยู่ นั้น.
      ร่ม ยี่ปุ่น (600:5.15)
               คือ ร่ม มา แต่ เมือง ยี่ปุ่น, คน ชาว เมือง ยี่ปุ่น เอา ไม้ ทำ โครง รูป แล้ว บุ ด้วย แพร นั้น.
รัม (600:1)
         คือ ละออง เข้าสาร ที่ เขา ร่อนแรนง เอา เปลือก เข้า ออก เอา แต่ ละออง นั้น, ว่า รัม.
      รัม ละคอน ฟ้อน ละคอน (600:1.1)
               คือ ฟ้อน, คน เปน พวก เล่น ละ- คอน แล ทำ ถ้า ทาง ขะบวน ต่าง ๆ นั้น.
      รัม เพลง (600:1.2)
               เต้น เพลง, คือ ขะบวน รำ ต่าง* ๆ คน เล่น เพลง ปรบไก่ เปน ต้น, ยก มือ แล ท้าว ทำ ถ้า ต่าง ๆ นั้น.
      รัม กระบี่ (600:1.3)
               คือ เพลง ขะบวน อาวุธ, เอา มือ จับ กระบี่ แล้ว กวัด แกว่ง เยื้อง กราย นั้น.
      รัม กะบอง (600:1.4)
               คือ ทำ ถ้า แกว่ง กะบอง, คน จับ ไม้ กะบอง แล้ว ควง หมุน รอบ ตัว นั้น.
      รัม ทวน (600:1.5)
               คือ ทำ ถ้า ถือ ทวน, แล้ว กวัด แกว่ง ทำ ถ้า ขะบวน แทง แล ลวง ฬ่อ นั้น.
      รัมะนิยะถาน (600:1.6)
               คือ ประเทศ เปน ที่ สนุกนิ์ สบาย แล เพลิดเพลิน.
      รัมไร (600:1.7)
               คือ แล เหน ไกล สุด สาย ตา, เหน ทิว ไม้ ไม่ รู้ จัก ว่า เปน ต้นไม้ อัน ใด นั้น, ว่า เหน รำไร.
      รัมะสูร (600:1.8)
               เปน ชื่อ อะสุร ตน หนึ่ง ชื่อ รามสูร เหาะ ได้, มี ขวาน เปน อาวุธ หน้า เปน ยักษ.
รั่ม (600:2)
         (dummy head added to facilitate searching).
      รั่ม ร้อง (600:2.1)
               ครวญ ร้อง, คือ ร้อง คร่ำ ครวญ หลาย คำ, เช่น คน ร่ำ ร้องไห้ ด้วย ทุกข เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น.
      รั่ม ไห้ (600:2.2)
               คือ ร่ำ ร้องไห้ พิ ไร รำพรรณ ต่าง ๆ, คน มี ความ วิ โยค พรัด พราก จาก กัน แล ร่ำ ร้องไห้ นั้น.
ราม (600:3)
         คือ ชื่อ คน, ชื่อ ว่า ราม มี บ้าง. อย่าง หนึ่ง ผลไม้ ที่ ไม่ โต ไม่ เล็ก เปน กลาง นั้น ลูก ราม ๆ.
      รามะนาฏ (600:3.1)
               เปน ชื่อ โรค เปน ที่ เหงือก ไร ฟัน, เกิด น้ำหนอง มัน ให้ แก้ม บวม ฟก ขึ้น นั้น.
ริม (600:4)
         คือ ชิด ขอบ ฤๅ ชิด ฝั่ง เปน ต้น, เช่น ฃอง อัน ใด อยู่ ใกล้ ชิด กับ ฝั่ง น้ำ ว่า อยู่ ริม น้ำ.
      ริม กัน (600:4.1)
               คือ ของ สอง อย่าง สอง อัน อยู่ ใกล้ ชิด กัน.
      ริม กาย (600:4.2)
               คือ ชิด กาย, เช่น* ของ อัน ใด ตั้ง อยู่ ชิด ตัว เคียง ตัว* ว่า ริม กาย.
      ริม ข้าง (600:4.3)
               เคียง ข้าง, คือ ชิด ข้าง เคียง ข้าง, บันดา ของ วาง อยู่ ชิด ข้าง เคียง ใกล้ ข้าง นั้น.
      ริม น้ำ (600:4.4)
               คือ ของ สิ่ง ใด ๆ อยู่ ใกล้ ชิด กับ น้ำ นั้น.
      ริม บ้าน (600:4.5)
               เคียง บ้าน, คือ ใกล้ ชิด ติด กับ บ้าน, บันดา ของ สิ่ง ใด อยู่ ใกล้ เคียง บ้าน นั้น.
      ริม ฝา (600:4.6)
               เคียง ฝา, คือ ใกล้ กับ ฝา, บันดา ของ สิ่ง ใด ที่ ตั้ง อยู่ ใกล้ เคียง ฝา นั้น.
      ริม เมือง (600:4.7)
               เคียง เมือง, คือ ใกล้ กับ เมือง. บันดา ของ อัน ใด ตั้ง อยู่ ใกล้ เคียง เมือง นั้น.
      ริม เรือน (600:4.8)
               ชิด เรือน, คือ ใกล้ ชิด กับ เรือน, บันดา ของ อัน ใด ตั้ง อยู่ ใกล้ เคียง เรือน นั้น.
      ริม รั้ว (600:4.9)
               ชิด รั้ว, คือ ใกล้ ชิด กับ รั้ว, บันดา ของ อัน ใด ตั้ง อยู่ แทบ เคียง รั้ว นั้น.

--- Page 601 ---
      ริม สีปาก (601:4.10)
               คือ ชิด กับ สีปาก, บันดา สิ่ง* ที่ ชิด สีปาก มี ไฝ เปน ต้น, ว่า ริม สีปาก.
รุม (601:1)
         กลุ้ม, คือ ระดม พร้อม, เช่น ประชุม พร้อม กัน มาก, บันดา ที่ พร้อม กัน นั้น.
      รุม กัน (601:1.1)
               คือ ชุมนุม พร้อม กัน, เช่น บันดา คน ชุมนุม พร้อม กัน นั้น.
      รุม กัน จับ (601:1.2)
               คือ หลาย คน ช่วย กัน กลุ้ม รุม จับ เอา ตัว คน เปน ต้น.
      รุม กัน ตี (601:1.3)
               คือ หลาย คน ช่วย กัน ตี เปน ต้น.
      รุม ทำ (601:1.4)
               คือ ระดม พร้อม กัน ทำ การ งาน, เช่น คน ชุมนุม พร้อม ช่วย กัน ทำ การ นั้น.
      รุม ไฟ (601:1.5)
               คือ เอา ฟืน ใส่ ใน เตา ไฟ มาก หลาย ดุ้น รวม เข้า ไว้, เพื่อ จะ ให้ ของ สุก เปน ต้น นั้น.
      รุม รึง (601:1.6)
               คือ รุม รุ่ม อยู่*, เช่น คน บาป ตก อยู่ ใน ขุม นรก ที่ มี ไฟ กำมะถัน ไม่ รู้ ดับ นั้น.
      รุม ร้อน (601:1.7)
               คือ ร้อน ร่ำ อยู่ ไม่ รู้ หาย, เช่น คน บาป ตก อยู่ ใน ขุม นรก ถ่าน เพลิง ไม่ รู้ ดับ.
รุ่ม (601:2)
         คือ ระบม, เช่น คน ตี กลอง เปน ต้น เข้า ถี่ ๆ ร่ำ ระบม ไป ไม่ ใคร่ อยุด นั้น.
      รุ่ม ร่าม (601:2.1)
               คือ ของ มี มาก, เช่น เส้น หนวด มาก มัน ยาว ห้อย ลง อยู่ ตาม รีม สีปาก สัก เกรียก หนึ่ง นั้น.
      รุ่ม รัก (601:2.2)
               คือ มี ความ รัก ร่ำ ไป ไม่ หาย รัก เลย นั้น.
หรุ่ม (601:3)
         เปน ชื่อ เมือง ต่าง ประเทศ แห่ง หนึ่ง ว่า ชื่อ เมือง หรุ่ม. อย่าง หนึ่ง ของ กิน เรียก ว่า หรุ่ม.
แรม (601:4)
         คือ ค้าง ล่วง ราตรี หนึ่ง เปน ต้น. เช่น คน ไป ประเทศ อื่น ไกล, กลับ ใน วัน นั้น ไม่ ทัน แล อยู่ ล่วง คืน หนึ่ง เปน ต้น ว่า แรม.
      แรม ค่ำ หนึ่ง (601:4.1)
               คือ วัน ที่ สอง จาก วัน เพญ, ฤๅ วัน เดือน ดับ สมมุติ ว่า สิ้น เดือน นั้น.
      แรม คืน (601:4.2)
               คือ ล่วง ราตรี คืน หนึ่ง เปน ต้น, คน ไป สู่ ประเทศ ไกล กลับ ใน วัน นั้น ไม่ ทัน อยู่ ล่วง ราตรี นั้น.
      แรม เดือน (601:4.3)
               คือ กาล ล่วง เดือน ไป เดือน หนึ่ง เปน ต้น, เช่น กำหนด การ จะ ทำ เดือน นี้ ไม่ ได้ ทำ, ไป ทำ ต่อ เดือน น่า ว่า แรม เดือน.
      แรม ทาง (601:4.4)
               ค้าง ทาง, คือ เดิน ทาง ไป ไม่ ตลอด, ไป ต้อง นอน อยู่ กลาง ทาง คืน หนึ่ง เปน ต้น,
      แรม ปี (601:4.5)
               ค้าง ปี, คือ กำหนด การ ไว้ ใน ปี นี้ ไม่ ได้ ทำ, ได้ ทำ ต่อ ปี น่า, เขา ว่า การ นั้น แรม ปี อยู่.
      แรม รา (601:4.6)
               คือ ค้าง คืน ค้าง วัน.
      แรม ร้าง (601:4.7)
               คือ ค้าง คืน ค้าง วัน ไป ช้า นาน นับ ปี นั้น.
      แรม ร้อน (601:4.8)
               คือ เวลา ค้าง คืน ค้าง วัน แล ร้อน รน ด้วย นั้น.
      แรม โรย (601:4.9)
               คือ ดอก ไม้ ที่ มัน บาน ค้าง คืน ค้าง วัน แล้ว โรย ไป.
      แรม วัน (601:4.10)
               ค้าง วัน, คือ เวลา ล่วง ไป วัน หนึ่ง, เฃา กำหนด การ อัน ใด วัน นี้ ไม่ ได้ ทำ, ไป ได้ ทำ ต่อ พรุ่ง นี้ นั้น.
โรม (601:5)
         คือ เสียง ที่ คน โทโษ มาก โกรธ ขึ้น มา แล้ว ว่า กล่าว เสียง ดัง นั้น, ว่า เสียง โรม ๆ นั้น.
      โรมจักร (601:5.1)
               เมือง มี ชื่อ ใน หนังสือ อ่าน แต่ จะ กำหนด ว่า อยู่ ทิศ ใด ไม่ ได้.
      โรม รัน (601:5.2)
               คือ รุม ตี คน หลาย คน ช่วย กัน ตี นั้น.
      โรม วิไสย (601:5.3)
               มี ใน เรื่อง หนังสือ, ว่า เปน ชื่อ เมือง อยู่ ฝ่าย ทิศ ตวัน ตก กรุงเทพ นี้.
โหรม ๆ (601:6)
         คือ เสียง คน โทโษ มาก เปน คน เจ้า คารม, โกรธ ขึ้น มา นัก มัก บ่น อื้อ อึง นั้น.
รอม (601:7)
         คลุ่ม, คือ ขลุ้ม เข้า, เช่น ครุ ฤๅ ปาก โพล่ ปาก แฟ้ม, เขา สาร ให้ ปาก มัน รอม.
      รอม ปาก (601:7.1)
               คลุ่ม ปาก, คือ คน ทำ ปาก ตัว ให้ หุบ เข้า น่อย หนึ่ง ไม่ มิด ที เดียว, ภอ ดูด น้ำ กิน ได้ นั้น.
ร่อม (601:8)
         คือ พร่อง, เช่น น้ำ คน ใส่ ม่อ เปน ต้น, น้ำ ไม่ เต็ม ถึง ปาก ม่อ ต่ำ น่อย หนึ่ง นั้น.
      ร่อม ตลิ่ง (601:8.1)
               คือ น้ำ ใน แม่ น้ำ เปน ต้น, ไม่ เปี่ยม พร่อง ตลิ่ง น่อย หนึ่ง ไม่ พร่อง มาก นัก นั้น.
      ร่อม ฝั่ง (601:8.2)
               คือ น้ำ ใน แม่ น้ำ เปน ต้น, ไม่ เต็ม เปี่ยม พร่อง อยู่ ศัก ศอก หนึ่ง นั้น, ว่า ร่อม ฝั่ง.
รวม (601:9)
         ปะริคณห์, คือ รวบ เข้า ไว้ ใน ที่ แห่ง เดียว กัน. อย่าง หนึ่ง คน ต้ม ยา เอา สัพยา ใส่ ลง ใน ม่อ เดียว กัน เปน ต้น.
      รวม กัน (601:9.1)
               ปะริ คณห์ กัน, คือ รวบ เข้า มั่ว มูล ไว้ ใน ที่ แห่ง เดียว กัน เปน ต้น, ฤๅ รวบ ไว้ ใน ม่อ เปน ต้น นั้น.

--- Page 602 ---
      รวม เข้า (602:9.2)
               ประสม เข้า, คือ เอา ฃอง ที่ อยู่ ต่าง ๆ กัน ให้ เข้า มั่ว มูล อยู่ ใน ภาชนะ เดียว เปน ต้น นั้น.
      รวม ของ (602:9.3)
               สริ ของ, คือ ทำ ของ ให้ เข้า มั่วสุม อยู่ ใน ที่ แห่ง เดียว มิ ให้ เรี่ย ราย อยู่ ต่าง กัน นั้น.
      รวม คน (602:9.4)
               ประชุม คน, คือ ทำ คน ที่ อยู่ ใน ที่ ต่าง ๆ กัน เปน แห่ง ๆ ให้ มา ชุมนุม อยู่ ใน ที่ แห่ง เดียว.
      รวม เงิน (602:9.5)
               ประสม เงิน, คือ ทำ เงิน ที่ กระจัด กระจาย อยู่ ต่าง แห่ง ให้ เข้า มั่ว สุม อยู่ ใน ที่ แห่ง เดียว นั้น.
      รวม เบี้ย หวัด (602:9.6)
               คือ รวบ เงิน ใส่ ถุง ลง ไว้, คน ข้า ราชการ มา รับ เบี้ย หวัด ไม่ ทัน เขา รวบ เงิน ไว้ นั้น.
      รวม มา (602:9.7)
               คือ เอา มา, คน เปน พะนักงาน เอา เงิน เข้า ไป แจก เบี้ย หวัด รับ รวม เอา กลับ มา นั้น.
      รวม ไว้ (602:9.8)
               คือ รับ รวบ ไว้, คน เจ้าพะนักงาน แจก เบี้ยหวัด, คน มา รับ ไม่ ทัน รื้อ กลับ รวบ รับ ไว้ นั้น.
      รวม ให้ (602:9.9)
               คือ รวบ ให้, คน เจ้า พะนักงาน แจก เบี้ยหวัด เท ลง จาก กระดาน. นับ แล้ว รวบ ให้ นั้น.
      รวม เอา (602:9.10)
               คือ รวบ เอา, คน เจ้า พะนักงาน แจก เบี้ยหวัด, คน มา รับ ไม่ ทัน ผู้ แจก รับ รวบ เอา ไว้.
ร่วม (602:1)
         ด้วย, คือ คน นั่ง ฤๅ นอน เปน ต้น ใน ที่ อัน เดียว กัน, คน เปน ผัว เมีย กัน แล นั่ง นอน ใน ที่ เดียว กัน นั้น.
      ร่วม กัน (602:1.1)
               ด้วย กัน, คือ คน สอง คน เปน ต้น, แล กิน ฤๅ ลง เรือ ไป ลำ เดียว กัน เปน ต้น, ว่า เขา ร่วม กัน.
      ร่วม กิน (602:1.2)
               กิน ด้วย กัน, คือ กิน ใน โต๊ะ อัน เดียว กัน, คน หลาย คน มา กิน โต๊ะ พร้อม กัน ใน ที่ เดียว นั้น.
      ร่วม คิด (602:1.3)
               คิด ด้วย กัน, คือ คิด การ อัน เดียว ด้วย กัน, คน จะ ทำ การ อัน ใด อัน หนึ่ง แล เขา คิด ด้วย กัน นั้น.
      ร่วม คู่ (602:1.4)
               คือ ร่วม เข้า กับ คน อีก คน หนึ่ง, เช่น อาดาม เดิม มี อยู่ คน เดียว, มา ภาย หลัง ได้ ฮาวา มา เปน สอง นั้น.
      ร่วม ใจ (602:1.5)
               พร้อม ใจ, คือ เหน พร้อม ใจ กัน, คน หลาย คน จะ ทำ การ อัน ใด เปน ต้น เหน พร้อม ใจ กัน นั้น.
      ร่วม จิตร (602:1.6)
               คือ ร่วม ใจ, คน ทำ อัน ใด พร้อม จิตร กัน, เขา หลาย คน ทำ อัน ใด ยอม พร้อม กัน.
      ร่วม ชีวิตร (602:1.7)
               ชีวิตร เดียว กัน, เขา ว่า ชีวิตร เดียว กัน, เปน แต่ คำ พูด, แต่ ที่ จริง คน สอง คน จะ มี ชีวิตร ร่วม กัน ไม่ มี.
      ร่วม ท้อง (602:1.8)
               ท้อง เดียว กัน, คือ คน เกิด ใน ท้อง มารดา เดียว กัน, คน สอง คน เปน ต้น ย่อม เกิด ใน ท้อง แม่ เดียว กัน
      ร่วม ทุกข (602:1.9)
                คือ คน มี ความ ทุกข พร้อม กัน, เช่น คน ไป ใน กำปั่น ลำ เดียว กัน นั้น.
      ร่วม บิดา (602:1.10)
               บิดา เดียว กัน, คือ เกิด เพราะ พ่อ คน เดียว กัน, คน มาก หลาย คน เกิด เพราะ พ่อ คน เดียว นั้น.
      ร่วม พ่อ (602:1.11)
               พ่อ เดียว กัน, คือ เกิด เพราะ พ่อ คน เดียว, เช่น เสร้า กับ สะไผ นั้น, ต่าง มารดา แต่ ร่วม พ่อ กัน.
      ร่วม ฟูก (602:1.12)
               คือ นอน บน ฟูก อัน เดียว กัน, คน มาก น้อย เท่า ไร แล นอน ที่ ฟูก เดียว กัน.
      ร่วม มารดา (602:1.13)
               คือ เกิด ใน ท้อง มารดา เดียว กัน.
      ร่วม หมอน (602:1.14)
               คือ นอน ที่ หมอน เดียว กัน.
      ร่วม อยู่ (602:1.15)
               คือ อยู่ ใน ที่ เดียว กัน, คน มา อยู่ ใน ประเทศ แห่ง เดียว กัน นั้น.
      ร่วม รู้ (602:1.16)
               คือ รู้ เหตุ อัน ใด ๆ ด้วย กัน. อย่าง หนึ่ง เปน คำ เลมียด ว่า ถึง การ สังวาศ.
      ร่วม รศ (602:1.17)
               คือ การ สังวาศ ด้วย กัน, แล กิน อาหาร จืด เค็ม เหมือน กัน, ว่า ร่วม รศ.
      ร่วม เรือน (602:1.18)
               คือ อยู่ เรือน เดียว กัน, คน มาก น้อย เท่า ไร มา อยู่ ใน เรือน เดียว กัน นั้น.
      ร่วม รัก (602:1.19)
               คือ คน สอง คน รัก ใคร่ กัน, แล น้ำใจ เหมือน กัน.
      ร่วม สนีท เสน่หา (602:1.20)
               คือ คน ร่วม รัก สนิท กัน เช่น หญิง ชาย เปน ผัว เมีย กัน นั้น.
      ร่วม ศุข (602:1.21)
               คือ มี ความ ศุข พร้อม กัน, คน ไป เรือ ลำ เดียว กัน เปน ต้น ไม่ มี ไภย อันตราย นั้น.
      ร่วม ห้อง (602:1.22)
               คือ อยู่ ใน ห้อง เดียว กัน, คน อยู่ ห้อง เดียว กัน, ถึง ไม่ อยู่ เวลา เดียว พร้อม กัน, ก็ ว่า ร่วม ห้อง ได้.
      ร่วม อาศน์ (602:1.23)
               คือ ขึ้น นั่ง บน ที่นั่ง เปน ต้น, เปน ที่ สำรับ ผู้ ใด ผู้ หนึ่ง เคย นั่ง นั้น.
      ร่วม องค์ (602:1.24)
               คือ นับถือ พระเจ้า องค์ เดียว กัน, คน ทั้ง หลาย ถ้า ถือ พระเจ้า องค์ เดียว กัน ว่า ถือ ร่วม.

--- Page 603 ---
เรียม (603:1)
         เรา, คือ เรา, เรียม เปน คำ ชาย หนุ่ม เกี้ยว หญิง สาว, ว่า เรียม รัก เจ้า ฤๅ พี่ รัก เจ้า นั้น.
      เรียม คิด (603:1.1)
               ข้า คิด, คือ พี่ คิด ถึง, ชาย หนุ่ม* เกี้ยว แพละ* โลม หญิง สาว, ว่า พี่ คิด ถึง เจ้า เปน ใจ จะ ขาด.
      เรียม ฟัง (603:1.2)
               เรา ฟัง, คือ พี่ ได้ ฟัง, ชาย หนุ่ม พูดจา เกี้ยว หญิง สาว จะ ให้ เขา รัก, ว่า พี่ ได้ ฟัง เสียง เข้า เพราะ จับ ใจ เรา นัก.
      เรียม หมาย (603:1.3)
               ฉัน หมาย, คือ พี่ มุ่ง หมาย เจ้า, ชาย หนุ่ม พูด เกี้ยว พาล หญิง สาว, ว่า พี่ มาด หมาย เจ้า ไว้.
      เรียม สวาดิ์ (603:1.4)
               ฉัน สวาดิ์, คือ พี่ รัก เจ้า, เปน คำ ชาย หนุ่ม พูดจา ให้ หญิง สาว รัก, ว่า พี่ ฤๅ รัก เจ้า นั้น.
เรี่ยม (603:2)
         เกลี้ยง เกลา, คือ เกลี้ยง เลี่ยน, คน ทำ ที่ อัน ใด เกลี้ยง เลี่ยน ไม่ มี สุรุ สุระ แล หลัก ตอ นั้น.
เริม (603:3)
         เปน ชื่อ โรค อย่าง หนึ่ง, เปน เม็ด ผุด ขึ้น ที่ สีข้าง เปน แถว ไป ถึง หลัง มัน มี พิศม์.
เริ่ม (603:4)
         คือ แรก เดิม, คน จะ ทำ การ อัน ใด เมื่อ เวลา แรก ลง มือ จับ ทำ ฤๅ แรก สั่ง แรก ว่า นั้น.
      เริ่ม การ (603:4.1)
               คือ แรก ปฤกษา ปรารพภ์, เช่น เวลา แรก ลง มือ จับ การ อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น.
      เริ่ม คิด (603:4.2)
               คือ แรก คิด สรรพ การ ทั้ง ปวง, คน จะ ประกอบ การ แล เวลา เมื่อ แรก คิด นั้น.
      เริ่ม เดิม (603:4.3)
               คือ เวลา แรก จับ ทำ การ เปน ต้น.
      เริ่ม ทำ (603:4.4)
               แรก ทำ, คือ แรก ทำ สาระพัด การ, คน จะ ปรุง เรือน เปน ต้น, ถึง วัน แรก จับ ทำ นั้น, ว่า เริ่ม ทำ.
      เริ่ม ริ (603:4.5)
               คือ แรก ดำริห์ ตริ การงาน อัน ใด เปน ต้น.
      เริ่ม รัก (603:4.6)
               คือ เวลา แรก รัก ใคร่ นั้น, เหมือน ชาย ต่อ ชาย แรก คบ กัน.
      เริ่ม แรก (603:4.7)
               เดิม แรก, อัน นี้ เปน ความ อัน เดียว กัน ทั้ง สอง คำ, แต่ เขา พูด เปน คำ สร้อย นั้น.
เริ้ม (603:5)
         เริ้ม รัว, เริ้ม สั่น, คือ รัว ๆ, เช่น คน เจ็บ จับไข้ ตัว สั่น รัว ๆ อยู่ นั้น, เขา ว่า ตัว สั่น เริ้ม อยู่ นั้น.
ราย (603:6)
         คือ เรี่ย ราด, เช่น ของ มาก หลาย สิ่ง ไม่ อยู่ ใน ที่ แห่ง เดียว, กระจัด กระจาย อยู่ นั้น.
      ราย กัน (603:6.1)
               คือ เรี่ย ราด กัน อยู่, ของ มาก หลาย สิ่ง ไม่ อยู่ ใน ที่ เดียว เที่ยว เรี่ย ราด อยู่.
      ราย ขัด ข้อง (603:6.2)
               คือ ความ ที่ หมาย เกาะ แล ไม่ ได้ ตัว มา นั้น.
      ราย ของ (603:6.3)
               คือ เอา ของ วาง ไว้ หลาย แห่ง, คน จัด โต็ะ เขา เอา ของ หลาย สิ่ง วาง ต่าง ๆ กัน.
      ราย ขวาก (603:6.4)
               คือ วาง ขวาก ไว้ หลาย แห่ง, เขา จะ ดัก เนื้อ กวาง เปน ต้น, เอา ขวาก วาง ไว้ มาก.
      ราย คน (603:6.5)
               คือ วาง คน ไว้ ใน ที่ หลาย แห่ง, คน จะ จับ โจร ผู้ ร้าย, แล วาง คน ไว้ หลาย แห่ง นั้น.
      ราย งาน (603:6.6)
               คือ จด หมาย งาน การ ไว้, คน เปน นาย งาน แล ทำ บาญชีย ว่า วัน นี้ ทำ ได้ เท่า นั้น.
      ราย เงิน (603:6.7)
               คือ จดหมาย เงิน ไว้ ใน บาญชีย, คน เสมียร เขา จดหมาย จำนวน เงิน ไว้ นั้น.
      ราย จ่าย (603:6.8)
               คือ การ จำหน่าย ของ ฤๅ เลก เข้า เดือน, แจก ให้ ไป หลาย ราย นั้น.
      ราย ใหญ่ (603:6.9)
               คือ รัด ใหญ่ จำ ใหญ่, คน เปน เสมียร ทำ บาญชีย เปน แผนก, เปน รัด น้อย รัด ใหญ่ นั้น.
      ราย เดียว (603:6.10)
               คือ ราย หนึ่ง รัด หนึ่ง, คน เปน ผู้ ทำ บาญชีย จดหมาย ราย สิ่งฃอง ไว้ รัด เดียว นั้น.
      ราย ตาย (603:6.11)
               คือ การ จดหมาย ชื่อ คน ตาย หลาย คน นั้น.
      ราย ตัว (603:6.12)
               คือ ทุก ตัว จำนวน ตัว, คน เปน ผู้ ทำ บาญชีย จด หมาย ราย ตัว คน ไว้ ว่า เปน คน เท่า นั้น.
      ราย ทาง (603:6.13)
               คือ ตาม ระยะ ทาง น้ำ ทาง บก นั้น.
      ราย นี้ (603:6.14)
               คือ จำนวน วัน นี้.
      ราย หนี (603:6.15)
               คือ จำนวน คน หนี.
      ราย หนึ่ง (603:6.16)
               คือ จำนวน หนึ่ง.
      ราย บาญชีย (603:6.17)
               คือ บาญชีย ต่าง ๆ.
      ราย บ้าน (603:6.18)
               คือ ทุก บ้าน จำนวน บ้าน, เฃา เปน ผู้ จดหมาย บาญชีย ชื่อ บ้าน ทุก ตำบล นั้น.
      ราย ไป (603:6.19)
               คือ เรี่ย ราย ไป.
      ราย เรียง (603:6.20)
               คือ เรียง ราย อยู่ นั้น.
      ราย เรี่ย (603:6.21)
               คือ เรี่ย ราย กระจัด กระจาย นั้น.
ร่าย (603:7)
         คือ เร่ เตร่, เช่น ลิง มัน เที่ยว อยู่ บน ยอด ไม้, มัน อยู่ ที่ ต้น นี้ บัดเดี๋ยว โผน ไป ต้น โน้น.

--- Page 604 ---
      ร่าย เจ้า (604:7.1)
               คือ เร่ เจ้า, คน ยาก เปน ทาษ สิน ถ่าย, เดิม อยู่ กับ นาย นี้ แล้ว ส่ง เงิน ไป อยู่ นาย อื่น ต่อ ไป,
      ร่าย ที่ (604:7.2)
               คือ เตรจ เตร่ เร่ ที่, คน เดิม อยู่ ที่ นี่ ภาย หลัง มา ไป อยู่ ที่ โน่น, ออก จาก ที่ โน่น ไป อยู่ ที่ อื่น.
      ร่าย ไป (604:7.3)
               คือ เร่ ไป, เช่น วานร เปน ต้น มัน เที่ยว ไป, วิ ไสย วานร ไม่ นิ่ง อยู่ ที่ เดียว ได้ นั้น.
      ร่าย เพลง (604:7.4)
               คือ ทำ เพลง ผลัด เปลี่ยน ไป หลาย เพลง.
      ร่าย มา (604:7.5)
               คือ เร่ มา, เช่น วานร เปน ต้น มัน เตร่ เร่ มา, วิ ไสย ลิง มัน นิ่ง อยู่ ที่ เดียว ไม่ ได้.
      ร่าย ไม้ (604:7.6)
               คือ เตร่ เร่ ไป ต้น ไม้ นี้ ต้นไม้ โน้น เปน ต้น.
      ร่าย อยู่ (604:7.7)
               คือ เตร่ เร่ อยู่, ชิงช้า เมื่อ คน ขึ้น ถีบ นั้น มัน เร่ ร่ำ อยู่, กว่า กำลัง จะ อ่อน ลง อยุด นั้น.
      ร่าย อาจารริย์ (604:7.8)
               คือ เร่ อาจารริย์, คน เดิม อยู่ ใน สำนักนิ์ อาจารริย์ นี้, มา กาล น่อย หนึ่ง ไป อยู่ อาจารริย์ โน้น.
ร้าย (604:1)
         ดุ, คือ ดุ ดัน, เช่น สุนัข เปน ต้น มัน เหน คน แปลก หน้า มา, แล้ว มัน ไล่ กัด นั้น.
      ร้าย กาจ (604:1.1)
               คือ ดุ นัก, เช่น สุนัข ที่ มัน ดุ ยิ่ง, มัน เหน คน มัน ไล่, ถ้า คน หนี ขึ้น ที่ สูง มัน ทะยาน ติด ตาม นั้น.
      ร้าย ดุ (604:1.2)
               คือ การ ที่ ฉกาจ ฉกรรจ นัก นั้น.
      ร้าย รอง (604:1.3)
               คำ ร้าย อะธิบาย แล้ว, แต่ รอง นั้น เปน คำ สร้อย.
ราว (604:2)
         คือ เชือก ฤๅ ไม้ ที่ เขา ทำ ไว้ สำรับ ยึด หน่วง ที่ ตะพาน เปน ต้น นั้น.
      ราว กะ ว่า (604:2.1)
               ความ อุประมา, เหมือน เช่น ดุจ แม้น เปน ต้น.
      ราว ข้อ คะดี (604:2.2)
               คือ เรื่อง เนื้อ ความ วิวาท ฟ้อง หา กล่าว โทษ กัน, ด้วย ภูม ประเทศ เขตร แดน เปน ต้น นั้น.
      ราว ความ (604:2.3)
               คือ เรื่อง แถว เนื้อ ความ, คน ทำ เรื่อง เนื้อ ความ ยืด ยาว ติด ต่อ กัน สืบ ไป นั้น.
      ราว ความ เก่า (604:2.4)
               เรื่อง ความ เก่า, คือ เรื่อง พงษาวะดาร, มี เรื่อง ท้าว อู่ทอง สร้าง กรุง ศีอะยุทธยา เปน ต้น.
      ราว ตาก ผ้า (604:2.5)
               คือ ไม้ ฤๅ เชือก ที่ เขา ทำ ไว้ สำรับ ตาก ผ้า นั้น.
      ราว พระแสง (604:2.6)
               คือ ไม้ หลัก สอง อัน ฝัง เข้า กับ ไม้ ธรณี, ข้าง น่า สูง ข้าง ท้าย ต่ำ ตั้ง ไว้ สำรับ รับ พระแสง ง้าว เปน ต้น.
      ราว บัน ได (604:2.7)
               คือ ไม้ สำรับ ยึด ที่ ข้าง บันได นั้น.
      ราว ป่า (604:2.8)
               คือ แถว แนว ไม้ ใน ป่า, ๆ มี ต้น ไม้ ใหญ่ เกิด ขึ้น เปน แถว ไป นั้น.
      ราว ผ้า (604:2.9)
               คือ ราว สำรับ ตาก ผ้า, เขา เอา เชือก หวาย สาย สะ เดียง ขึง ไว้ สำรับ ตาก ผ้า.
      ราว ไม้ (604:2.10)
               คือ เขา เอา ไม้ เล็ก ๆ ผูก ไว้ เปน ราว สำรับ ตาก ผ้า, ฤๅ ยึด นั้น.
      ราว เรื่อง (604:2.11)
               สำเนา ความ, คือ เรื่อง ความ อัน ใด ๆ นั้น, บัน ดา เนื้อ ความ ที่ ยืด ยาว นั้น.
ร่าว ๆ (604:3)
         หรบ ๆ, คือ ดิ้น ริก ๆ รัว ๆ, เช่น คน ทุบ ปลา เปน มัน ดิ้น ระรัว หรบ ๆ นั้น.
ร้าว (604:4)
         ราน, ฉาน, คือ ภาชนะ ลั่น, เช่น ม่อ เปน ต้น ไม่ แตก ออก ที เดียว เปน แต่ ลั่น นั้น.
      ร้าว ฉาน (604:4.1)
               คือ ร้าว แตก ออก เปน แผล ใหญ่, เช่น ม่อ เปน ต้น ถูก กะทบ หนัก ร้าว รอย ใหญ่.
      ร้าว แตก (604:4.2)
               คือ ของ ภาชนะ ที่ มัน ลั่น ออก ไป, แต่ มัน ยัง ไม่ ออก ทีเดียว นั้น.
      ร้าว ราน (604:4.3)
               คือ ม่อ เปล่า ไม่ ใส่ น้ำ เอา ตั้ง ขึ้น บน เตา ไฟ, แล มัน ลั่น ราน เปน หลาย รอย นั้น.
ริ้ว (604:5)
         คือ เปน แร่ง ๆ เหมือน ปลา ที่ เขา แล่ ออก แล้ว เอา มีด เชียด* ให้ เปน แร่ง ๆ นั้น.
      ริ้ว กลาง (604:5.1)
               คือ แร่ง กลาง, เช่น ปลา แห้ง เขา ทำ เปน สาม ริ้ว ๆ ที่ อยู่ สอง ข้าง ว่า ริ้ว ริม ริ้ว ที่ อยู่ หว่าง ริ้ว ทั้งสอง นั้น ว่า ริ้ว กลาง.
      ริ้ว ทอง (604:5.2)
               คือ ผ้า เขา ทำ ด้วย ไหม ทอง เปน ริ้ว ๆ เปน ผ้า สำ หรับ ห่ม อย่าง ดี นั้น.
      ริ้ว ปลา (604:5.3)
               คือ ปลา ช่อน เปน ต้น เขา แล่ ผ่า ออก แล้ว, เชือด แฉก ออก เปน ริ้ว นั้น.
      ริ้ว ผ้า (604:5.4)
               คือ ผืน ผ้า ที่ เขา ธอ ด้วย เส้น ด้าย เล็ก ๆ แถว หนึ่ง เส้น ด้าย ใหญ่ ๆ แถว หนึ่ง นั้น.
      ริ้ว มะปราง (604:5.5)
               คือ ผ้า บาง เปน ริ้ว ๆ เขา ธอ ด้วย ด้าย เปน ผ้า สำหรับ ห่ม, อย่าง กลาง นั้น.
      ริ้ว แร่ง (604:5.6)
               คือ ริ้ว แร่ง เปน คำ สร้อย ใน ที่ คำ นี้.
      ริ้ว รอย (604:5.7)
               คือ รอย ที่ ตัว คน ที่ ถูก หนาม ฤๅ ถูก เล็บ เปน ต้น, แล เปน รอย ยาว ๆ ไป นั้น.

--- Page 605 ---
รุ่ย (605:1)
         คือ พรุ่ย ร่วน, เช่น ก้อน ดิน แห้ง ฤๅ ก้อน ปูน ขาว, ที่ ถูก น้ำ เข้า แล้ว ร่วน ออก นั้น.
      รุ่ย ร่วน (605:1.1)
               คือ พรุ่ย ย่อย ออก ไป, เช่น ก้อน ปูน ขาว ที่ มัน ถูก น้ำ เข้า นั้น.
      รุ้ย ไป (605:1.2)
               คือ รุด ไป, เช่น คน เดิน ทาง ไกล ไม่ อยุด อย่อน เร่ง รีบ ตะบึง ไป จะ ให้ ถึง นั้น.
เร็ว (605:2)
         คือ ด่วน ๆ คน เร่ง รีบ ด่วน ๆ ทำ การ ฤๅ เดิน เปน ต้น.
      เร็ว พลัน (605:2.1)
               คือ เวลา ไม่ ช้า, อยู่ ใน นาที หนึ่ง สอง นาที เปน ต้น นั้น.
      เร็ว ไป (605:2.2)
               คือ ด่วน ๆ ไป, คน จะ ไป ด้วย ธุระ ร้อน ด้วย ไข้ เจ็บ เปน ต้น, แล รีบ ด่วน ๆ ไป นั้น.
      เร็ว มา (605:2.3)
               คือ ด่วน ๆ มา, เช่น คน มี ธุระ ร้อน ด้วย ความ ไข้ เจ็บ เปน ต้น, แล รีบ ตะบึง มา นั้น.
      เร็ว รวด (605:2.4)
               คือ ความ พลัน นั้น.
      เร็ว รีบ (605:2.5)
               คือ เร็ว เร่ง รัด ไป.
เร่ว (605:3)
         เปน ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง เขา เรียก เร่ว, เปน ต้น ไม้ เล็ก, เช่น ต้น ข่า มี ลูก ที่ โคน นั้น.
แร้ว (605:4)
         บ่วง, เปน ของ คน ทำ สำหรับ ดัก สัตว์ มี นก กา เปน ต้น เขา เอา เชือก ผูก ปลาย ไม้ ทำ บ่วง ไว้, แล้ว ขัด ไก ไว้ ให้ ลั่น นั้น.
      แร้ว ดัก ไก่ (605:4.1)
               บ่วง ดัก ไก่, คือ บ่วง แร้ว สำหรับ ดัก ไก่, เขา จะ จับ ไก่ ป่า เปน ต้น, แล เอา ไม้ เปน คัน ผูก บ่วง เข้า.
      แร้ว ดัก นก (605:4.2)
               บ่วง ดัก นก, คือ บ่วง แร้ว สำหรับ ดัก นก.
      แร้ว ดัก เนื้อ (605:4.3)
               บ่วง ดัก เนื้อ, คือ บ่วง แร้ว สำหรับ ดัก เนื้อ.
โรย (605:5)
         ร่วง, คือ ดอก ไม้ ที่ บาน แล้ว ล่วง ไป วัน หนึ่ง สอง วัน มี กลีบ แล เกสร ร่วง หล่น ไป นั้น.
      โรย เข้า (605:5.1)
               คือ ทำ ให้ ลีบ เข้า ออก เสีย นั้น, เขา ทำ ไม้ ขา อย่าง ขึ้น แล้ว เอา เมล็ด เข้า ใส่ กะเช้า ขึ้น ไป เท ลง นั้น.
      โรย ขนม จีน (605:5.2)
               คือ เขา เอา แว่น กับ ผ้า ห่อ แป้ง ที่ ระคน กับ น้ำ ภอ บีบ ออก ได้, แล บีบ ราย ไป ใน ม่อ นั้น.
      โรย เชือก (605:5.3)
               คือ ค่อย ๆ อย่อน เชือก ลง, เช่น เขา ชัก เชือก ยก เสา ฉัตร์ เปน ต้น ถึง ที่ แล้ว ค่อย ๆ อย่อน วาง เชือก นั้น.
      โรย ดอก ไม้ (605:5.4)
               คือ ดอก ไม้ ที่ มัน บาน เต็ม ที่ แล้ว กลับ ถอย กลิ่น ถอย ศรี, มี กลีบ หู่ เหี่ยว ไป นั้น.
      โรย น่า (605:5.5)
               คือ เอา ของ มี แป้ง เปน ต้น เรี่ย ราย ลง บน พื้น น่า ขนม หิน ฝน ทอง เปน ต้น นั้น.
      โรย โปรย (605:5.6)
               คือ เอา มือ จับ เอา ของ อัน ใด ๆ มี เมล็ด เข้า เปน ตน, ชู สูง ขึ้น แล้ว ปล่อย ลง นั้น.
      โรย ฝอย (605:5.7)
               คือ ทำ ฝอย ขนม, เขา เอา แป้ง ละลาย น้ำ ออก แล้ว ใส่ ใน ตรวย ใบ ตอง ถือ ให้ เรี่ย ราย ไป ใน กะทะ น้ำ มัน ตั้ง บน เตา นั้น.
      โรย ยา (605:5.8)
               คือ เอา มือ จับ ยา ผง เรี่ย ราย ไป, คน เปน โรค แผล, แล เขา เอา ยา ผง ทำ ให้ เรี่ย ราย ที่ แผล.
      โรย รา (605:5.9)
               คือ ดอก ไม้ ที่ มัน โรย จน เปน รา ขึ้น นั้น.
      โรย ร่วง (605:5.10)
               คือ ดอก ไม้ บาน แล้ว ล่วง เพลา มา, ก็ มี กลีบ แล เกสร หลุด หล่น ลง จาก กิ่ง ก้าน นั้น.
      โรย แรม (605:5.11)
               คือ ดอก ไม้ ที่ มัน โรย อยู่ แรม คืน เกสร ร่วง กลีบ ร่วง นั้น.
      โรย ราย (605:5.12)
               คือ โรย เรี่ย ราย, เช่น ดอก ไม้ บาน แล้ว ล่วง เวลา มา หลาย วัน, แล มัน หล่น ราย ไป.
      โรย ลง (605:5.13)
               คือ เอา ของ ชู ขึ้น สูง แล้ว วาง ปล่อย มัน ลง.
รอย (605:6)
         คือ แผล ปรากฏ อยู่ ที่ ดิน เปน ต้น, ด้วย เพราะ คน ฤๅ สัตว์ ทำ ไว้ เปน ต้น นั้น.
      รอย ไก่ (605:6.1)
               คือ ที่ แผล ไก่ มัน เขี่ย ลง ที่ ดิน ที่ ทราย นั้น.
      รอย ขีด (605:6.2)
               คือ แผล ที่ เขา เอา มีด ฤๅ ไม้ เปน ต้น, ทำ ให้ เปน รอย ลง ไว้ ใน ที่ อัน ใด ๆ นั้น.
      รอย เขียน (605:6.3)
               คือ แผล ที่ เขา เอา ดิน สอ เปน ต้น, เขียน ลง ไว้ นั้น.
      รอย คน (605:6.4)
               คือ แผล คน ทำ ไว้ ที่ ดิน เปน ต้น.
      รอย ช้าง (605:6.5)
               คือ แผล ที่ ช้าง ทำ ไว้, ช้าง มัน เที่ยว หา กิน ใน ป่า, แล มัน หัก ไม้ ฤๅ ฉุด ดิน เปน แผล นั้น.
      รอย ตีน (605:6.6)
               คือ แผล ที่ ท้าว ก้าว ลง ปรากฏ ที่ ตีน เปน ต้น.
      รอย ไถ (605:6.7)
               คือ แผล ที่ หัว หมู สำหรับ ไถ, มัน ระเบิด ดิน ขึ้น นั้น.
      รอย เท้า (605:6.8)
               คือ แผล ปรากฎ ที่ ดิน เปน ต้น, เพราะ ตีน คน ฤๅ สัตว์ นั้น.
      รอย แผล (605:6.9)
               คือ รอย ที่ มัน ตื้น ๆ ลง ไป หนิด น่อย, แผล นั้น มัน ฦก กว่า รอย ใหญ่ กว่า รอย.

--- Page 606 ---
      รอย พระ บาท (606:6.10)
               คือ แผล ปรากฏ ที่ ดิน เปน ต้น เพราะ เท้า, แต่ เรียก ว่า พระบาท เปน คำ สูง.
      รอย มะนุษ (606:6.11)
               คือ แผล ที่ มะนุษ ทำ ไว้ นั้น.
      รอย เย็บ (606:6.12)
               คือ แผล ที่ เขา เอา เข็ม แทง ร้อย ไป ที่ ผ้า เปน ต้น นั้น.
      รอย สัตว (606:6.13)
               คือ แผล ที่ สัตว์ ดิรัจฉาน ทำ ไว้ นั้น.
ร่อย (606:1)
         คือ ลิ เปน แผล หนิด ๆ, เช่น คม มีด พร้า ที่ คน ฟัน หนัก ๆ แล ลิ เปน แผล นั้น.
      ร่อย บิ่น (606:1.1)
               คือ ร่อย แล ลิ ออก ใหญ่ กว่า ฟัน เลื่อย นั้น, ว่า ร่อย บิ่น, คน เอา พร้า ฟัน ไม้ แก่น แขง, พร้า ลิ ที่ คม ออก ไป โต เท่า เมล็ด เข้า เม่า นั้น.
      ร่อย หรอ (606:1.2)
               คือ ร่อย เหี้ยน เกรียน กร่อน ไป, เช่น จอบ ที่ สำ หรับ ขุด ดิน แล มัน ศึก กร่อน ไป นั้น.
ร้อย (606:2)
         คือ เขา เอา ด้าย สอด เข้า ใน ช่อง ก้น เข็ม เปน ต้น, ก็ ว่า ร้อย นั้น. อย่าง หนึ่ง สิบ ควบ สิบ หน.
      ร้อย กรอง (606:2.1)
               คือ สอด ด้าย ร้อย เปน ตา ช่อง เล็ก ๆ ชุน เปน ตา ตะเครียว นั้น, ว่า ร้อย กรอง.
      ร้อย คน (606:2.2)
               คือ คน นับ แต่ หนึ่ง ถึง สิบ ๆ หน ว่า เปน คน ร้อย หนึ่ง นั้น.
      ร้อย เชือก (606:2.3)
               คือ จับ เชือก สอด เข้า ที่ รู อัน ใด ๆ ที่ เจาะ ไว้ ฤๅ ที่ มัน เปน รู อยู่ เอง นั้น.
      ร้อย ดอก ไม้ (606:2.4)
               กรอง ดอก ไม้, คือ เอา ดอก ไม้ มา มาก แล้ว เอา ด้าย เปน ต้น สอด เข้า ที่ ก้าน ฤๅ ที่ ดอก นั้น.
      ร้อย เดียว (606:2.5)
               คือ นับ แต่ หนึ่ง ถึง สิบ ๆ หน ๆ เดียว ว่า ร้อย เดียว นั้น.
      ร้อย ตัว (606:2.6)
               คือ นับ สัตว์ ดิ รัจฉาน มี ปลา เปน ต้น, เขา นับ ปลา แต่ หนึ่ง ถึง สิบ ๆ หน นั้น.
      ร้อย ท่อน (606:2.7)
               คือ นับ ไม้ ท่อน เปน ต้น, เขา นับ ท่อน ไม้ แต่ หนึ่ง ถึง สิบ ๆ หน นั้น.
      ร้อย หนึ่ง (606:2.8)
               คือ นับ แต่ หนึ่ง ถึง สิบ ๆ หน ว่า ร้อย หนึ่ง นั้น.
      ร้อย บ้าน (606:2.9)
               คือ นับ บ้าน, นับ แต่ บ้าน หนึ่ง จน ถึง สิบ บ้าน, นับ ไป สิ้น บ้าน สิบ หน นั้น.
      ร้อย ปลา (606:2.10)
               คือ เอา เชือก เปน ต้น สอด เข้า ใน รู ที่ เจาะ ไว้ ที่ ตัว ปลา ทำ ให้ เปน พวง ไว้ นั้น.
      ร้อย พวง มาไลย (606:2.11)
               คือ เก็บ ดอก ไม้ มา มาก, แล้ว เอา ด้าย สอด เข้า ที่ ดอก ไม้ ให้ ชิด กัน, แล้ว ทำ เปน วง กลม เข้า นั้น.
      ร้อย ลูก ประคำ (606:2.12)
               คือ เอา ด้าย สอด เข้า ใน รู ลูก ประคำ สาย สะ ร้อย แปด ลูก นั้น.
      ร้อย เอ็ด (606:2.13)
               คือ นับ ถ้วน ร้อย แล้ว มี อีก หนึ่ง นั้น.
รวย (606:3)
         คือ คน ได้ ของ เปน ลาภ มา มาก โดย การ เล่น พะนัน เปน ต้น นั้น, เขา ว่า รวย นั้น
      รวย ของ (606:3.1)
               คือ ได้ ของ มาก, คน ไป ค้า ขาย เปน ต้น, ได้ ของ อัน ใด มาก ตั้งแต่ ยี่สิบ ขึ้น ไป นั้น.
      รวย ขึ้น (606:3.2)
               คือ คน เมื่อ เดิม แรก ขัดสน จน อยู่, ครั้น มา ผ่าย หลัง ค่อย หา ทรัพย์ ได้ มั่ง มี ขึ้น, ว่า คน นั้น รวย ขึ้น.
      รวย คน (606:3.3)
               คือ ได้ คน มาก, คน ไป ตี บ้าน เมือง ได้ คน ชะเลย มาก กว่า ยี่สิบ สามสิบ คน นั้น.
      รวย ครัน (606:3.4)
               คือ รวย มาก แต่ ไม่ มาก นัก.
      รวย เงิน (606:3.5)
               ได้ เงิน มาก, คือ ได้ เงิน มาก, คน เล่น โป ฤๅ เล่น หวย เปน ต้น, ถูก แล เขา ได้ เงิน มาก เร็ว นั้น.
      รวย ทอง (606:3.6)
               ได้ ทอง มาก, คือ ได้ ทอง มาก, เช่น คน เขา เกณฑ์ ไป ร่อน ทอง, เปน คราว โชก ดี ร่อน ได้ มาก นั้น.
      รวย หนัก (606:3.7)
               มั่งมี หนัก, คือ ได้ ของ ทุก สิ่ง สาระพัด มาก, คน มี ลาภ สิ่ง ของ มา เพราะ บุญ หน หลัง ตัว ได้ ทำ ไว้ มาก นั้น.
      รวย ผ้า (606:3.8)
               ได้ ผ้า มาก, คือ ได้ ผ้า มาก เปน คราว, เช่น คน มี วาศนา มาก จะ ทำ การ สพ, เขา เอา ผ้า มา ให้ มาก นั้น.
      รวย เมีย (606:3.9)
               ได้ เมีย มาก, คือ ได้ เมีย มาก หลาย คน, เช่น คน มั่ง มี หา เงิน ได้ มาก, แล เอา เงิน ซื้อ ผู้ หญิง มา เปน เมีย ได้ มาก นั้น.
      รวย รื่น (606:3.10)
               คือ ระรื่น ชื่น ใจ สะบาย นั้น.
เรียว (606:4)
         คือ ที่ เล็ก ลง รีด ออก ไป นั้น, เช่น ของ มี ไม้ เปน ต้น แล ข้าง ต้น โต แล้ว เล็ก รีด ออก ไป.
      เรียว หนาม (606:4.1)
               คือ ปลาย ไม้ ไผ่ ที่ มัน เล็ก ๆ ลง โดย ลำดับ ออก ไป จน ที่ สุด นั้น.
      เรียว ใบ (606:4.2)
               คือ ใบ ไม้ ที่ มัน เล็ก ลง ตลอด ปลาย มัน, เหมือน ใบ อ้อย เปน ต้น นั้น.

--- Page 607 ---
      เรียว ปลาย (607:4.3)
               คือ ของ มี ไม้ เปน ต้น, ข้าง ต้น นั้น โต ลั่ง อยู่, ครั้น ต่อ ออก ไป ปลาย ก็ รีด เล็ก ลง นั้น.
      เรียว ไม้ (607:4.4)
               คือ ปลาย ไม้, เช่น ไม้ ไผ่ เขา ตัด เอา แต่ ข้าง ปลาย ที่ เล็ก ออก ไป ตลอด นั้น.
      เรียว แหลม (607:4.5)
               คือ ที่ ป่า แนว ฝั่ง ทะเล คน แล เหน แต่ ไกล, มัน เล็ก ต่ำ ลง โดย ลำดัพ ตลอด จน ที่ สุด ปลาย มัน นั้น.
เรี้ยว รก (607:1)
         เรี้ยว เปน คำ สร้อย, แต่ รก นั้น, คือ ที่ เต็ม ด้วย อยาก เยื่อ เฟื้อ ฝอย เปน ต้น นั้น.
เรี่ยว แรง (607:2)
         กำลัง มาก, เรี่ยว คำ นั้น เปน คำ สร้อย, แต่ แรง นั้น คือ กำลัง, คน กิน อาหาร ได้, กำลัง หนุ่ม ว่า มี แรง มาก
เรื่อย (607:3)
         คือ เฉื่อย ไป ไม่ อยุด ไม่ ติด อัน ใด, เช่น ไป เรื่อย ไม่ ขัด ขวาง อัน ใด เฉื่อย ไป นั้น.
      เรื่อย แก้ว (607:3.1)
               คือ เรื่อย เอก ไป ไม่ ติด ค้าง อยู่, คน ไป ทาง เรือ เปน ต้น ไม่ อยุด ยั้ง เฉื่อย ไป หนัก นั้น.
      เรื่อย เฉื่อย (607:3.2)
               คือ เรื่อย เจื้อย ไป ไม่ ติด ค้าง อัน ใด, คน ไป เรือ เปน ต้น ไม่ อยุด ขัด ข้อง อัน ใด นั้น.
      เรื่อย รี่ (607:3.3)
               คือ อาการ ที่ เรื่อย เฉื่อย เร็ว ไป, เหมือน กำปั่น ไฟ ไป นั้น.
เรื้อย (607:4)
         คือ ล่าม ไว้, เช่น วัว เปน ต้น, เขา ผูก เชือก เส้น ยาว เงื่อน ข้าง หนึ่ง ไม่ ผูก กับ อาไร นั้น.
เรี่ย (607:5)
         คือ เวลา น้ำ ขึ้น มาก แล มัน ถ้วม ขึ้น มา ประ พื้น เรือน ที่ ใต้ ถุน นั้น.
      เรี่ย ราด (607:5.1)
               คือ เรี่ย ราย ไป, เช่น คน โปรย หว่าน พืชนะ มี เมล็ด เข้า เปน ต้น นั้น.
      เรี่ย ราย (607:5.2)
               คือ ราย ไป คน ทำ การ งาน, มี กะ ที่ ปัก กรุย ไป ตาม ทาง แห่ง ละอัน ๆ นั้น.
เรี้ย (607:6)
         คือ เหรีย ๆ เช่น กะรอก มัน ไต่ ไป บน กิ่ง ไม้ ใหญ่ น้อย เร็ว ๆ ไป นั้น.
เรือ (607:7)
         คือ ไม้ ที่ เขา เอา มา ทำ เปน ของ สำหรับ ไป ใน น้ำ, เปน ต้น ว่า ชื่อ กำปั่น แล สำเภา นั้น.
      เรือ กุแหละ (607:7.1)
               คือ เรือ ที่ มี หัว ท้าย เท่า กัน, เขา ทำ ที่ หัว ท้าย เปน สัน เหลี่ยม เท่า กัน นั้น.
      เรือ กำปั่น (607:7.2)
               คือ เรือ รูป สูง ใหญ่ เปน เรือ อย่าง ฝรั่ง, เรือ แน่น หนา หนัก มี เสา กะโดง สาม เสา ใบ มาก.
      เรือ กะเชียง (607:7.3)
               คือ เรือ ที่ เขา ใส่ กะเชียง ตี ไป นั้น.
      เรือ กิ่ง (607:7.4)
               คือ เรือ หัว ท้าย ทำ เปน กิ่ง, เขา แกะ เปน ขนก ยาว สูง เหมือน ปัก ธง ไว้, จำเภาะ มี แต่ ใน หลวง, นอก นั้น ถึง เจ้า ก็ ไม่ มี.
      เรือ เก๋ง (607:7.5)
               คือ เรือ สำป้าน ทำ หลังคา คลุ่ม ๆ เปน อย่าง จีน จึ่ง เรียก เรือ เก๋ง ตาม ภาษา จีน นั้น.
      เรือ กัน (607:7.6)
               คือ เรือ ดั้ง เขา ขี่ ไป ป้อง กัน ไภย ใน ราชการ, เรือ นั้น หัว ท้าย เปน โขมดยา, แต่ ข้าง หัว ใหญ่ ข้าง ท้าย เล็ก ยาว สัก สิบ วา สิบสอง วา.
      เรือ กันยา (607:7.7)
               คือ เรือ ที่ เขา ทำ กันยา ๆ นั้น รูป เหมือน หลังคา เรือน แต่ เขา ปู ด้วย กะแชง กะเปียะ.
      เรือ โกลน (607:7.8)
               คือ เรือ แรก ทำ มา แต่ ป่า ยัง กลม อยู่ ยัง ไม่ ได้ เบิก. อย่าง หนึ่ง ถึง เบิก แล้ว แต่ ยัง ทำ ไม่ แล้ว นั้น.
      เรือ โขมด ยา (607:7.9)
               คือ เรือ มี หัว ท้าย เหมือน กัน, แต่ ข้าง หัว ใหญ่ ท้าย เล็ก, ทำ ที่ หัว ท้าย เปน สัน สูง ขึ้น ที่ กลาง บ่า สอง ข้าง ต่ำ เสมอ กัน.
      เรือ โขน (607:7.10)
               คือ เรือ ที่ หัว ท้าย มี ไม้ ทับ แล ไม้ ขวาง เนื้อ ต่อ เข้า นั้น, เรือ นั้น ยาว ที่ สุด เส้น เสศ เปน เรือ หลวง.
      เรือ คู่ ชัก (607:7.11)
               คือ เรือ ตั้ง* แต่ เปน เรือ สำหรับ แห่ นำ เสด็จ น่า เรือ พระที่ นั่ง ขุนหลวง สอง ลำ เคียง กัน ไป.
      เรือ คอน (607:7.12)
               เปน เรือ หัว ม่วง, แต่ เล็ก ยาว สัก เจ็ด สอก ขี่ ได้ คน เดียว สำหรับ หัด ฝีภาย คอน.
      เรือ แจว (607:7.13)
               คือ เรือ เขา ไป ด้วย แจว, เรือ ที่ เขา เอา ไม้ ทำ เปน หลัก ปัก ลง ข้าง หัว ฤๅ ท้าย เอา แจว ใส่ เข้า, แจว ไป นั้น.
      เรือ ฉล้า (607:7.14)
               คือ เรือ รูป ยาว ต่ำ ๆ ไม่ มี กง ไม่ มี กราบ บ้าง, เปน เรือ อย่าง เลว สำหรับ พล ไพร่ ใช้ ประทุก ของ นั้น.
      เรือ ฉลอม (607:7.15)
               คือ เรือ ต่อ ตั้ง ทวน หัว ท้าย, แล้ว เอา กะดาน ต่อ ประกอบ เข้า ชาว ทะเล* ใช้ ชุม.
      เรือ ใหญ่ (607:7.16)
               คือ เรือ ทุก อย่าง ที่ ลำ ใหญ่, ตั้ง แต่ หก วา เจ็ด วา ขึ้น ไป จน เส้น เสศ นั้น, เปน เรือ ใหญ่.
      เรือ ดั้ง (607:7.17)
               คือ เรือ รูป ยาว แปด วา เก้า วา. หัว ท้าย ทำ เปน โขมดยา, แต่ ศีศะ ใหญ่ กว่า ข้าง ท้าย นั้น.

--- Page 608 ---
      เรือ ตา ร้าย (608:7.18)
               คือ เรือ ลำมาด มี ตา ไม้ อยู่ ที่ โฉลก ร้าย, เขา ถือ ว่า เช่น นั้น ให้ โทษ ต่าง ๆ มี ฉิบหาย เปน ต้น.
      เรือ เท้ง (608:7.19)
               คือ เรือ รูป เปน เรือ ยวญ, แต่ ทำ เปน ห้อง หับ สำหรับ รับ ผู้ ชาย ไว้ หลับ นอน เอา ค่า จ้าง นั้น.
      เรือ นำ (608:7.20)
               คือ เรือ สำหรับ นำ เสด็จ ขุนหลวง เปน ต้น, ลาง ที เจ้า ที่ มี กรม ใหญ่ ก็ มี เรือ นำ เสด็จ บ้าง.
      เรือ บันลังก์ (608:7.21)
               คือ เรือ ใส่ บันลังก์ ตั้ง กลาง มี กันยา บันลังก์ นั้น เขา ทำ เหมือน แท่น มี จะมูก สิงห์, เปน อย่าง สูง มี แต่ เรือ หลวง นั้น.
      เรือ เป็ด (608:7.22)
               คือ เรือ ไม่ มี กราบ หัว ท้าย ทำ กะดาน เปน จับปิ้ง มี ประทุน ชุม ไม่ มี บ้าง.
      เรือ พาลี (608:7.23)
               คือ เรือ ศีศะ เปน รูป พาลี มี มงกุฎ, พาลี นี้ หน้า เปน วานร ใส่ มงกุฏ ว่า เปน ทะหาร พระ ราม.
      เรือ แพ (608:7.24)
               คือ เรือ แล แพ, คน มัก พูด ติด ปาก ว่า เรือ แพ, จะ ว่า แต่ เรือ มัก เอา แพ ใส่ เข้า ด้วย.
      เรือ พระ ที่ นั่ง (608:7.25)
               คือ เรือ สำหรับ เจ้า เปน ต้น ขี่, รูป เรือ นั้น มี ต่าง ๆ เปน เรือ โขน บ้าง โขมดยา บ้าง เรือ กิ่ง บ้าง.
      เรือ ภาย (608:7.26)
               คือ เขา ใช้ ด้วย ภาย โดย มาก ไม่ ได้ ใช้ แจว ฤๅ ถ่อ นั้น.
      เรือ ภาย ม้า (608:7.27)
               คือ เรือ หัว ท้าย คล้าย เรือ โขน แต่ ไม่ ได้ ต่อ โขน มี ประทุน บ้าง ไม่ มี บ้าง นั้น.
      เรือ หมู (608:7.28)
               คือ เรือ กุแหละ เล็ก เจ๊ก ขี่ คน เดียว เที่ยว คอน ขาย หมู, อยู่ ตาม แม่ น้ำ ทุก วัน นั้น.
      เรือ หมาก รุก (608:7.29)
               คือ ของ เปน เครื่อง เล่น หมาก รุก, ว่า มี เรือ ข้าง ละ สอง ลำ, เฃา กลึง กลม คล้าย ลูก สักกา, ใส่ ลง เล่น กัน.
      เรือ มังกุ (608:7.30)
               คือ เรือ หัว ท้าย ทำ เปน โขมด ขึ้น สาม เส้า, รูป เหมือน เรือกุ และ แต่ ก่อน มี ชุม, ทุก วัน นี้ ไม่ สู้ มี.
      เรือ ม่วง (608:7.31)
               คือ เรือ รูป เพรียว, แต่ หัว ท้าย ทำ คล้าย กับ เรือ มังกุ, เปน เรือ เล็ก ย่อม ๆ เขา มัก ภาย เล่น.
      เรือ มาด (608:7.32)
               คือ เรือ ขุด ไม่ มี กราบ, เขา ตัด โกลน มา แต่ ป่า แต่ เบิก แล้ว บ้าง ยัง ไม่ ได้ เบิก บ้าง นั้น.
      เรือ ม่าน (608:7.33)
               คือ เรือ โขน มี กันยา เปน เรือ ใน หลวง, เขา ผูก ม่าน สำหรับ ผู้ หญิง เปน เจ้า มี บุญ ไป ไหน ๆ.
      เรือ อย่าง (608:7.34)
               คือ เรือ กุไหล่ สำหรับ รบ ศึก ใน ทาง ทะเล, มี เสา กะโดง สอง เสา, เขา ต่อ เปน ตัว อย่าง.
      เรือ ยวญ (608:7.35)
               คือ เรือ เปน รูป อย่าง เรือ ที่ คน ยวญ ทำ ใช้ ใน เมือง ยวญ, มี เสา กะโดง มี ใบ มี หาง เสีย.
      เรือ ยาว (608:7.36)
               คือ เรือ โขน ยาว แต่ เจ็ด วา ขึ้น ไป จน เส้น เศศ, มี แคร่ มี กันยา เปน เรือ สำหรับ ยศ.
      เรือ รบ (608:7.37)
               คือ เรือ กุไหล่ สำหรับ ไป รบ ศึก ทาง ทะเล, แล ลาด ตะเวร จับ พวก สลัด โจร ใน ทะเล.
      เรือ เร็ว (608:7.38)
               คือ เรือ เพรียว เปน เรือ โขน ยาว เจ็ด วา แปด วา, ไป ราชการ สืบ ข่าว ร้อน ได้ โดย เร็ว นั้น.
      เรือ รั่ว (608:7.39)
               คือ เรือ แตก ร้าว ฤๅ ทะลุ น้ำ ไหล เข้า ได้ ใน ลำ นั้น.
      เรือ สุครีพ (608:7.40)
               คือ เรือ ศีศะ ทำ เปน รูป สุครีพ, มี มงกุฎ, หน้า เปน วานร เปน ทะหาร นารายน์.
      เรือ เสา (608:7.41)
               คือ เรือ มี เสา กะโดง มิ ใช่ กำปั่น มิ ใช่ สำเภา, เปน เรือ ย่อม นอก นั้น แต่ มี เสา มี ใบ นั้น.
      เรือ สำป้าน (608:7.42)
               เปน เรือ อย่าง เรือ เจ๊ก ทำ ใช้ ที่ เมือง จีน ไม่ มี กราบ แต่ ไท ทำ เอา อย่าง ทำ ติด กราบ เข้า.
      เรือ ศรี (608:7.43)
               คือ เรือ หัว ท้าย ทำ โขมดยา, แต่ ลำ เรือ นั้น ลง รัก เขียน เปน ลาย รด น้ำ ปิด ทอง เปน เรือ พระ ที่ นั่ง เจ้า ชีวิตร เปน ต้น.
      เรือ เหรา (608:7.44)
               คือ เรือ ศีศะ เปน รูป เหรา, รูป คล้าย กับ มังกร เปน เรือ สำหรับ ราช การ หลวง มี การ แห่ เปน ต้น.
      เรือ หงษ์ (608:7.45)
               คือ เรือ ศีศะ ทำ เปน หัว หงษ์, ท้าย หาง ทำ เปน ขนก ลง รัก ปิด ทอง เปน เรือ หลวง.
      เรือ เอกะไชย (608:7.46)
               คือ เรือ กิ่ง, เดิม ไม่ มี กิ่ง ทั้ง หัว ทั้ง ท้าย ชื่อ เรือ เอกะไชย, ครั้น มา ทำ กิ่ง ใส่ เข้า, จึ่ง เรียก เรือ ที่ นั่ง กิ่ง นั้น.
เรื่อ (608:1)
         คือ ศรี แสง เรื่อ ๆ, เช่น เวลา อาทิตย์ เกือบ จะ ขึ้น, มี แสง อารุณ ขึ้น มา เรือง ๆ นั้น.
      เรื้อ ไป (608:1.1)
               คือ ละ ทิ้ง ไว้, เช่น วิชา ต่าง ๆ เปน ต้น ว่า เขียน หนังสือ, ถ้า ละ ทิ้ง เสีย นาน ไป จับ ทำ เข้า ไม่ ว่อง ไว ไม่ คล่อง แคล้ว นั้น.
เรื้อ รั้ง (608:2)
         คือ รั้ง อยู่, เช่น เมล็ด เข้า เปลือก ตก อยู่ ใน ท้อง นา ครั้น น่า ฝน ปี ใหม่ งอก ขึ้น นั้น.

--- Page 609 ---
เรอ (609:1)
         คือ ลม ออก จาก ปาก ภา เอา กลิ่น อาหาร ใหม่ ออก มา ด้วย ต่อ ป่วย จึ่ง มัก เปน เช่น นั้น.
      เรอ ลม (609:1.1)
               คือ ลม ผ่าย ใน ท้อง พลุ่ง ออก กับ ด้วย กลิ่น อาหาร ใหม่ ที่ มัน เกือบ จะ แปร เปน กริศ* นั้น.
      เรอ หาว (609:1.2)
               คือ อาการ ที่ มี ลม ผ่าย ใน ท้อง พลุ่ง ออก จาก ปาก แล ให้ หาว ด้วย.
เร่อ (609:2)
         เซ่อ, คือ เรื่อย ไป, เช่น คน เดิน เลย เฉย เฉื่อย ไป สะ บาย ไม่ ขัด ค่อง คล่อง ไป นั้น.
      เร่อ ร่ำ (609:2.1)
               คือ หัวเราะ เสียง ดัง รื่น* เริง สนุกนิ์ สุข ใจ, คน ได้ ของ ที่ ชอบ ใจ เปน ต้น แล รื่น เริง หัวเราะ หนัก.
รัว (609:3)
         คือ สั่น รัว, เหมือน ไม้ หลัก ปัก ที่ น้ำ ไหล เชี่ยว แรง แล มัน สั่น รัว ๆ อยู่ นั้น.
      รัว ริก (609:3.1)
               คือ ริก ๆ, เหมือน ปลา เปน ที่ คน ตี ทุบ ด้วย ไม้, มัน ดิ้น ริก ๆ. อย่าง หนึ่ง เหมือน คน จับ ไข้ ตัว สั่น*.
รั่ว (609:4)
         คือ น้ำ เข้า ได้ ฤๅ ลง ได้, เช่น เรือ ทะลุ ร้าว แตก น้ำ เข้า ได้ ฤๅ หลังคา ทะลุ เปน รู, น้ำ ลง ได้ นั้น.
      รั่ว ไหล (609:4.1)
               คือ ของ มี เรือ เปน ต้น, ที่ มัน ร้าว ทะลุ มี รู น้ำ ไหล เข้า ได้ นั้น.
      รั้ว (609:4.2)
               คือ ของ ที่ เขา ทำ ล้อม บ้าน, เปน เหล็ก บ้าง, ไม้ ไผ่ บ้าง, ไม้ จรีง บ้าง, เพื่อ จะ กัน สัตว์ ฤๅ มะนุษ นั้น.
รั้ว ไก่ (609:5)
         คือ รั้ว ที่ เขา ขัด เปน ตะราง, ขัด ด้วย ไม้ ไผ่ ซี่ เล็ก ๆ สำรับ กั้น เมื่อ มี การงาน นั้น.
แระ (609:6)
         คือ แสะ รุ้ง เข้า ไป, คน ขุด ดิน แล จะ ให้ หลุม กว้าง ข้าง แล เอา จอบ แสะ รุ้ง เข้า ไป นั้น.
เราะ (609:7)
         คือ เคาะ ที ละ น้อย, เช่น คน ทำ ขวด แก้ว ให้ ปาก กว้าง แล เจาะ เคาะ ไป นั้น.
      เราะ ถั่ว (609:7.1)
               คือ ทำ ให้ เปลือก ถั่ว เขียว ที่ ขั้ว สุก แล้ว ให้ ออก จาก เนื้อ มัน นั้น.
      เราะ ราย (609:7.2)
               คือ ปาก คน ที่ เหน ผู้ อื่น ไป มา แล้ว ทัก ถาม ไถ่ ปราไศรย นั้น.
รอ (609:8)
         คือ รับ รอง, เช่น คน เอา ราง ฤๅ ภาชนะ อัน ใด รอง น้ำฝน ที่ ชายคา นั้น.
      รอ กัน อยู่ (609:8.1)
               คือ คน มา มาก จะ รับ ทาน ที่ เขา แจก ให้, แล แน่น คับ คั่ง รั้ง คอย กัน อยู่ นั้น.
      รอ คอย (609:8.2)
               คือ ยั้ง ถ้า อยู่, คน มี ธุระ จะ ไป ด้วย กัน, ฝ่าย ข้าง หนึ่ง จัดแจง ยัง ไม่ สำเร็จ ให้ คน หนึ่ง ยั้ง ถ้า อยู่ นั้น.
      รอ ใจ (609:8.3)
               คือ รั้ง ใจ ไว้ ยั้ง ใจ ไว้, บาง ที คน จะ ตาย, แล ยัง คิด อยู่ ถึง ผู้ ใด ผู้ หนึ่* ยั้ง อยู่ สิบ นาที สิบห้า นา ที บ้าง.
      รอ ถ้า (609:8.4)
               คือ ยั้ง ถ้า อยู่, คน มี ธุระ จะ ไป ด้วย กัน จัดแจง ตัว ยัง ไม่ แล้ว ให้ คน หนึ่ง คอย ถ้า อยู่ นั้น.
      รอ หน้า (609:8.5)
               คือ เข้า มา อยู่ ใกล้ ๆ กัน, ว่า เข้า มา รอ หน้า กัน อยู่ นั้น.
      รอ น้ำ (609:8.6)
               คือ เอา ภาชนะ อัน ใด ๆ รอง รับ เอา น้ำฝน ที่ ชายคา เปน ต้น นั้น.
      รอ ปัก (609:8.7)
               คือ เขา เอา ไม้ ยาว ภอ น้ำ ถ้วม ไม่ ได้, ใหญ่ สัก กำ สอง กำ เปน ต้น, ปัก กัน น้ำ ไว้ ไม่ ให้ ตลิ่ง พัง นั้น.
      รอ ปาก (609:8.8)
               คือ ยั้ง อยุด ปาก ไว้ ไม่ ว่า ก่อน, ไม่ กิน ก่อน เปน ต้น
      รอ รา (609:8.9)
               คือ รอ ถ้า, คน มี ธุระ จะ ไป ด้วย กัน, ฝ่าย ข้าง หนึ่ง ยัง จัดแจง ไม่ แล้ว สั่ง ให้ รอ ช้า อยู่ นั้น.
      รอ รับ (609:8.10)
               คือ ยับ ยั้ง คอย จะ รับ เอา คน ฤๅ เอา ของ สิ่ง ใด นั้น.
      รอ รั้ง (609:8.11)
               คือ รอ คอย อยู่, คน ด่วน จะ ไป แล ฝ่าย ข้าง หนึ่ง จะ ไป ด้วย, ให้ ยับ ยั้ง คอย อยู่ นั้น.
      รอ เรือ (609:8.12)
               คือ รา เรือ ยั้ง ไว้, คน ไป ใน เรือ จะ จอด ฤๅ คับ แคบ คั่ง กัน อยู่ แล เอา พาย รา น้ำ ไว้ นั้น.
ร่อ (609:9)
         คือ จ่อ ๆ ริม ๆ, เช่น คน จะ แทง หัว ฝี ที่ มี หนอง แก่ ด้วย เครื่อง มือ, ทำ ร่อ ๆ จ่อ นั้น.
      ร่อ กัน อยู่ (609:9.1)
               คือ ชาย หนุ่ม กับ หญิง สาว ทำ หน้า รอ ยิ้ม กัน, ด้วย ความ รัก ใคร่ กัน นั้น.
      ร่อ จ่อ (609:9.2)
               คือ รอ อยู่ ชิด ๆ กัน, เช่น คน อยู่ ใน ที่ ใกล้ กัน มี ที่ บ้าน ต่อ บ้าน เปน ต้น, ว่า อยู่ จ่อ ร่อ กัน.
      ร่อ แร่ (609:9.3)
               คือ จวน ฤๅ เกือบ ใกล้, เช่น คน อีก สัก ชั่ว โมง ฤๅ สามสิบ นาที จะ ตาย นั้น.
      ร่อ หัว (609:9.4)
               คือ คน เอา มือ ฤๅ ไม้ ทำ ไว้ ใกล้ เกือบ จะ ถูก หัว แต่ ยั้ง ไว้ เพียง นั้น.
หรอ (609:10)
         ร่อย, คือ ของ มี ผ้า เปน ต้น, ที่ มัน บาง นัก แล โปร่ง ไป นั้น.
      หรอ บาง (609:10.1)
               ความ เหมือน ว่า แล้ว.

--- Page 610 ---
      หรอ ร่อย (610:10.2)
               คือ ร่อย หรอ, เช่น คม มีด เปน ต้น, ที่ มัน บาง กร่อน แกร่น นั้น.
(610:1)
         
ลา (610:2)
         คือ บอก กล่าว ว่า จะ ไป ฤๅ สำแดง อาการ กิริยา ด้วย ไหว้ กราบ ให้ ผู้ อยู่ รู้ ว่า จะ ไป นั้น.
      ลา (610:2.1)
               คือ ของ ไม่ งอ นัก, งอ น้อย ๆ นั้น ว่า ของ นั้น ลา อยู่.
      ลา หนึ่ง (610:2.2)
               คือ ที หนึ่ง หน หนึ่ง โสต หนึ่ง.
      ลา นาย (610:2.3)
               คือ บอก กล่าว ฤๅ ทำ อาการ เช่น ว่า, กับ คน ผู้ เปน นาย นั้น.
      ลา ตาย (610:2.4)
               คือ รู้ ว่า ตัว จะ ตาย, แล บอก ว่า ข้า ป่วย ครั้ง นี้ หนัก เต็ม ที, เหน จะ ไม่ รอด จะ ลา ไป แล้ว.
      ลา ไป (610:2.5)
               คือ ออก วาจา ฤๅ แสดง อาการ เช่น ว่า แล้ว ไป, คน จะ ไป ว่า กุดมอนิ่ง, แล จับ มือ กัน นั้น.
      ลา บิดา (610:2.6)
               คือ ลา พ่อ, คน ผู้ เปน ลูก มา หา พ่อ ฤๅ จะ ไป ไหน, ว่า กล่าว ฤๅ ไหว้ พ่อ ให้* รู้ ว่า ตัว จะ ไป นั้น.
      ลา ผนวด (610:2.7)
               คือ ลา บวช, ลา ผนวด นั้น เปน คำ สูง ศักดิ์ สำรับ เจ้า เปน ต้น นั้น.
      ลา พรรษา (610:2.8)
               คือ ออก พรรษา, พระสงฆ์ อยู่ จำ พรรษา สาม เดือน ครบ แล้ว, บาฬี ว่า ออก พรรษา นั้น.
      ลา พ่อ (610:2.9)
               คือ ลา บิดา, คน จะ ไป จาก บิดา แสดง อาการ ไหว้ ฤๅ ว่า กล่าว ว่า ฉัน จะ ลา ไป แล้ว นั้น.
      ลา พอน (610:2.10)
               คือ เอา น้ำมัน กับ ชัน เหลว ลูบ ไล้ ไป ทั่ว ทั้ง ลำเรือ.
      ลา พี่ (610:2.11)
               คือ ลา พี่, คน จะ ไป จาก พี่, แล แสดง อาการ ไหว้ ฤๅ ว่า บอก กล่าว ว่า ฉัน จะ ไป แล้ว.
      ลา แม่ (610:2.12)
               คือ ลา มารดา, คน ผู้ ลูก จะ ไป จาก แม่, แล แสดง อาการ ไหว้ ฤๅ กล่าว ลา ว่า ฉัน จะ ไป แล้ว.
      ลา มารดา (610:2.13)
               คือ ลา แม่, ว่า มารดา นั้น เปน คำ สับท์ แผลง, คน ผู้ ลูก จะ ไป จาก แม่ แล อำลา เช่น ว่า นั้น
      ลา อยู่ (610:2.14)
               คือ บอก ลา ว่า จะ ไม่ ไป, เช่น คน จะ มี ธุระ ไป ด้วย กัน คน ผู้ จะ ไม่ อยาก ไป บอก ว่า ฉัน จะ ฃอ อยู่ นั้น.
      ลา ออก (610:2.15)
               คือ ลา ออก จาก ที่ ขุนนาง ฤๅ ออก จาก ที่ อยู่ จะ ไป อยู่ ที่ อื่น เปน ต้น ว่า ลา ออก นั้น.
ล่า (610:3)
         คือ แล่ ลี้ ท้อ ถอย, คน ทำ ศึก สงคราม โต้ ทาน ไม่ ใคร ได้ ถอย หลัง แล ย่น ย่อ คืน มา นั้น.
      ล่า เขา (610:3.1)
               คือ สู้ เขา ไม่ ได้ ถอย คืน หลัง สู้ นั้น, คน รบ ศึก สู้ รบ เขา ไม่ ได้ ย่อ ท้อ ถอย หลัง สู้ นั้น.
      ล่า ทัพ (610:3.2)
               คือ ยก พล ถอย, คน ไป รบ ศึก ด้วย พล ทหาร มาก เปน กอง ทัพ ใหญ่ ต่อ ต้าน ไม่ ได้, ยก พล ทหาร ถอย มา
      ล่า นก (610:3.3)
               คือ เที่ยว หา นก ใน ป่า, เช่น พราน แร้ว พราน ปืน นั้น.
      ล่า เนื้อ (610:3.4)
               คือ เที่ยว แสวง หา เนื้อ ใน ป่า, คน เปน พราน ไล่ ยิง เนื้อ ใน ป่า นั้น.
      ล่า ไป (610:3.5)
               คือ ถอย หลัง สู้ รบ ไป พลาง, คน ยก พล ทหาร ไป รบ ศึก ต่อ สู้ ไม่ ได้ ถอย แล่ หลัง คืน แต่ ยัง สู้ อยู่.
      ล่า มา (610:3.6)
               คือ ถอย หลัง มา แต่ ยัง สู้ รบ อยู่, เช่น คน ยก พล ทหาร ไป รบ ศึก สู้ ไม่ ได้ ถอย หลัง สู้ นั้น.
      ล่า มรสุม (610:3.7)
               คือ เวลา เกือบ สิ้น มรสุม, คือ คราว ฤๅ ระดู นั้น.
      ล่า ออก (610:3.8)
               คือ ถอย ออก จาก ที่, คน ยก กอง ทัพ ทหาร ไป สู้ ศึก, อยู่ ใน ค่าย เหน จะ ต่อ สู้ ไม่ ได้ ยก ออก เลื่อน จาก ค่าย นั้น.
ล้า (610:4)
         คือ อ่อน ใจ ถอย ท้อ ย่อ อย่อน, เช่น คน เดิน ทาง ไป นาน เวลา แต่ เช้า จน เอย็น แค่ง ขา อ่อน เพลีย ไป นั้น.
      ล้าต้า (610:4.1)
               คือ ภาษา จีน, ว่า นาย บาญชีย.
      ล้า อยู่ (610:4.2)
               คือ เพลี่ย แล่ อยู่, คน มาก หลาย คน เดิน ไป ทาง ไกล ที่ แขง แรง ล่วง ไป, ที่ อ่อน เพลีย แล่ อยู่.
      ล้า หลัง (610:4.3)
               คือ เพลีย แล่ อยู่ ภาย หลัง เขา, คน หลาย คน เดิน ทาง ไกล ที่ แขง แรง ไป เร็ว, ที่ อ่อน เพลีย แล่ อยู่ ภาย หลัง นั้น.
      ล้า เลื่อย (610:4.4)
               คือ เพลีย เมื่อย แค่ง ขา, คน เดิน ทาง ไกล นัก จน แค่ง ขา เมื่อย ชา ปลก เปลี้ย เพลีย นั้น.
      ล้า เต็ม ที (610:4.5)
               คือ เดิน ขืน มา ไม่ ใคร่ ไหว นั้น.
ลิ (610:5)
         คือ หัก แตก บิ่น ออก หนิด น่อย, เช่น คม มีด เปน ต้น, คน ฟัน หนัก แล คม แตก บิ่น ออก น้อย นั้น.
      ลิขิต (610:5.1)
               คือ เขียน หนังสือ, ที่ พระสงฆ์ ให้ มี หนังสือ ไป ถึง ผู้ ใด ๆ นั้น.
      ลิ แตก (610:5.2)
               คือ บิ ลิ แตก ออก นั้น.

--- Page 611 ---
      ลิ บิ่น (611:5.3)
               คือ แตก กระเด็น ออก, เช่น คม มีด เปน ต้น, คน ฟัน ถูก แก่น ไม้ แขง มัน แตก กะเทาะ นั้น
      ลิลา (611:5.4)
               คือ เดิน เยื้อง กราย, คน กิริยา ดี ไม่ ตะผลี ตะผลาม ค่อย เดิน เยื้อง กราย นาด แขน ไป นั้น.
      ลิลาศ (611:5.5)
               คือ ดำเนิน กรีด กราย ทอด แขน ไป มา, คน กิริยา ดี ค่อย ทอด แขน ซ้าย ขวา เดิน ไป นั้น.
      ลิลิต (611:5.6)
               คือ คำ กลอน อย่าง หนึ่ง, แล เรื่อง ราว ต้อง เขียน หนังสือ เปน ต้น.
เลลัง (611:1)
         คือ ไม่ แน่ นอน, คน ว่า จะ ไป เปน ต้น แต่ การ ที่ จะ ไป ยัง ไม่ แน่ ได้.
เลหลัง (611:2)
         คือ คน มี ทรัพย์* สิ่ง ของ มาก, แล จะ ไม่ อยู่ ใน เมือง นี้, ไป จะ ไม่ กลับ มา แล เป่า ร้อง ให้ คน มา ซื้อ ของ เร่ง ขาย เสีย นั้น.
เล่ห์ (611:3)
         คือ อุบาย ต่าง ๆ, เช่น คน รบ ศึก สงคราม ฬอ ลวง ฆ่าศึก ให้ ตก เหว ฤๅ หลุม นั้น.
      เล่ห์ กล (611:3.1)
               คือ ทำ มารยา จะ เอา การ ให้ ได้ ไชยชะนะ, ทำ อุบาย ว่า เจ็บ ป่วย ฤๅ ล่า หนี นั้น.
      เล่ห์ ลม (611:3.2)
               คือ จะ ดู ลิ้น ลม จะ ว่า กล่าว ประการ ใด ก่อน จึ่ง จะ ตาม ต่อ ไป.
      เล่ห์ เหลี่ยม (611:3.3)
               คำ พูด ว่า เรา จะ ดู เล่ห์ เหลี่ยม ก่อน.
เล้ เต้ (611:4)
         คือ ล้า ต้า อยู่ หลัง, คน เดิน ฤๅ ทำ การ อัน ใด ฤๅ เดิน เปน ต้น, ล้า เลื้อย อยู่ นั้น.
แล (611:5)
         คือ ลืม ตา ขึ้น ดู, คน จะ ใคร่ เหน สิ่ง อัน ใด แล ลืม ตา ขึ้น มอง ดู ให้ เหน นั้น.
      แล ฉะม้าย (611:5.1)
               ดู ชำเลือง, ชาย หาง ตา, คือ ลืม ตา ขึ้น แล้ว ไม่ ดู ตรง หน้า ฉะม้อย ดู ด้วย หาง ตา นั้น.
      แล ฉะม้อย (611:5.2)
               ชาย ตา ดู, คือ ลืม ตา ขึ้น, แล้ว ไม่ ดู ตรง หน้า, ฉะม้าย ดู ด้วย หาง ตา นั้น.
      แล ฉะแง้ (611:5.3)
               ตั้ง ตา ดู, คือ ลืม ตา ขึ้น แล้ว เบือน หน้า ดู เงย หน้า ขึ้น น่อย หนึ่ง นั้น.
      แล ดู (611:5.4)
               แล เหน, คือ ลืม ตา ขึ้น ดู ตรง หน้า, คน อยาก เหน อัน ใด แล ลืม ตา ขึ้น มอง ดู ตรง นั้น.
      แล ไป (611:5.5)
               คือ ดู ไป, คน อยาก จะ เหน อัน ใด แล ลืม ตา ขึ้น แล้ว ดู ไป ตรง ๆ นั้น.
      แล มา (611:5.6)
               คือ ดู มา, คน อยู่ ที่ อื่น จะ อยาก เหน ของ อยู่ ที่ นี่, แล ลืม ตา ขึ้น มา ดู นั้น.
      แล เหลียว (611:5.7)
               เหลียว ดู, คือ ลืม ตา ขึ้น แล้ว แล เบือน บิด คอ ไป ข้าง หลัง, เพื่อ จะ ดู ของ เบื้อง หลัง.
      แล สุด สาย ตา (611:5.8)
               ดู สุด ลูก ตา, คือ ลืม ตา ขึ้น ดู ไป ไกล นัก คน จะ อยาก เหน ของ ที่ อยู่ ไกล แล มุ่ง แล ไป นั้น.
      แล หา (611:5.9)
               คือ ลืม ตา ขึ้น ดู ของ ที่ ตัว ยัง ไม่ เหน, คน ต้อง การ ของ อัน ใด ยัง ไม่ เหน และ แล ดู นั้น.
      แล เหน (611:5.10)
               ดู เหน, คือ ลืม ตา ขึ้น ดู ของ อัน ใด ๆ นั้น, คน อยาก เหน ของ แล ดู ไป เหน นั้น.
แล่ (611:6)
         ล่า, คือ ล่า, แล่ กับ ล่า ความ อย่าง เดียว กัน, เหมือน คน รบ ศึก ท้อ ถอย หลัง มา นั้น.
      แล่ การ (611:6.1)
               ทำ การ ล่า, คือ ทำ การ ไม่ ทัน เพื่อน, ทำ พร้อม กับ เพื่อน เขา ทำ เกือบ แล้ว, ตัว การ ยัง มาก.
      แล่ น่า ที่ (611:6.2)
               น่า ที่ ล่า, คือ ล้า หลัง เพื่อน, เขา เกณฑ ให้ ทำ กำแพง เปน ต้น, ปัก ปัน น่า ที่ ให้ ทำ พร้อม กัน, ตัว ทำ ได้ น้อย กว่า เพื่อน.
ไล่ (611:7)
         ขับ, คือ ขับ ให้ ไป, เช่น กา ไก่ มัน มา กิน เข้า ที่ ตาก ไว้ เปน ต้น, แล คน ขับ ให้ มัน ไป นั้น.
      ไล่ กัน (611:7.1)
               คือ คน ต่อ คน วิ่ง ไป ตาม ขับ ให้ ผู้ ไป วิ่ง หนี ไป, เช่น คน ไล่ จับ กัน.
      ไล่ ขับ (611:7.2)
               คือ เร่ง ตัก เตือน ให้ ไป จาก บ้าน เปน ต้น.
      ไล่ ควาย (611:7.3)
               ขับ ควาย, คือ ขับ ต้อน ควาย ไป, คน จะ ทำ นา แล ขับ ควาย ให้ มัน ไป เพื่อ จะ เอา มัน เทียม ไถ ๆ นา นั้น.
      ไล่ งัว (611:7.4)
               คือ ขับ ต้อน งัว ไป, คน จะ ทำ นา แล ขับ งัว ให้ มัน ไป ที่ นา, เพื่อ จะ เอา มัน เทียม ไถ นา นั้น.
      ไล่ ดู (611:7.5)
               คือ ซัก ไซ้ ไต่ ถาม เนื้อ ความ ดู นั้น, เช่น ตระลาการ ชำระ ผู้ ร้าย.
      ไล่ ตี (611:7.6)
               คือ ไล่ เอา ไม้ หวด ลง, คน โกรธ ผู้ อื่น ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง, แล เอา ไม้ ไล่ หวด ไป นั้น.
      ไล่ ตาม (611:7.7)
               คือ วิ่ง ไป ข้าง หลัง จะ ให้ ทัน คน ไป น่า นั้น.
      ไล่ ติด ตาม (611:7.8)
               คือ ไล่ ติด พันธ์ ไป เบื้อง หลัง เช่น คน ไล่ ผู้ ร้าย วิ่ง ราว นั้น.

--- Page 612 ---
      ไล่ ต่อย (612:7.9)
               คือ วิ่ง ไป เพื่อ จะ ต่อย, คน โกรธ ฤๅ จะ อยอก กัน เล่น แล วิ่ง ไป เบื้อง หลัง เพื่อ จะ ต่อย นั้น.
      ไล่ เตะ (612:7.10)
               คือ วิ่ง ไป เบื้อง หลัง, เพื่อ จะ เตะ เอา ให้ เจ็บ โดย โท โษ นั้น.
ลิ ออก (612:1)
         คือ แตก กะเทาะ ออก, คน เอา มีด เปน ต้น ฟัน ไม้ แก่น แขง คม กะเทาะ ออก นั้น.
ลี่ (612:2)
         คือ บี้, คน ที่ หู ไม่ เปน ปรกติ มี ตำหนิ หลุบลู่ บู้ บี้ นั้น ว่า หูลี่. อย่าง หนึ่ง ตัว มด เล็ก ๆ เขา เรียก มด ลี่.
ลี้ (612:3)
         หลบ, คือ หลบ เล้, คน ทำ การ งาน เปน ต้น, แล เกียจ คร้าน แล เล้ หลบ ไป ไม่ ใคร่ ทำ การ นั้น.
      ลี้ การ (612:3.1)
               หลบ การ, คือ เล้ หลบ การ งาน, คน เกียจ คร้าน ไม่ อยาก ทำ การ ครั้น ทำ หนีด น่อย แล้ว เล้ หลีก ไป นั้น.
      ลี้ ตัว (612:3.2)
               หลบ ตัว, คือ หลบ ตัว, คน ทำ การ อัน ใด แล ทำ ตัว ให้ ลับ ไม่ ให้ ใคร เหน ด้วย กลัว เขา จะ เอา ตัว ใช้ นั้น.
      ลี้ ไป (612:3.3)
               หลบ ไป, คือ หลบ ไป, คน เฃา ใช้ ให้ ทำ การ อัน ใด, แล เกียจ คร้าน ไม่ อยาก ทำ แล ลี้* หลบ ไป นั้น.
      ลี้ มา (612:3.4)
               คือ หลบ เล้ มา, เช่น อยู่ ที่ นี่ เขา เอา ตัว ไป ใช้ เกียจ คร้าน นาน เวลา เข้า แล เล้ มา นั้น.
      ลี้ เร้น (612:3.5)
               คือ ซ่อน เร้น.
      ลี้ หลบ (612:3.6)
               หนี หลบ, คือ เล้ ให้ ลับ, คน กลัว เขา จะ ใช้ การ แล เล้ ให้ ตัว ลับ ไม่ ให้ ผู้ ใด แล เหน นั้น.
      ลี้ ลับ (612:3.7)
               หลบ ลับ, คือ ลับ อยู่, เหมือน ของ ที่ เร้น ซ่อน อยู่ ไม่ มี ผู้ ใด เหน นัก อย่าง หนึ่ง คน บุญ น้อย นั้น.
      ลี้ ออก (612:3.8)
               หนี ออก, คือ เล้ หลบ ออก, คน เขา ใช้ ให้ เข้า ทำ การ อยู* ใน ที่ ใด ที่ หนึ่ง เกียจ คร้าน แล เล้ ออก นั้น.
ลือ (612:4)
         เล่า, อื้อ อึง, คือ คำ คน พูด ถึง เหตุ ใหญ่ หลาย คน, ความ อัน เดียว เขา เล่า กัน ต่อ ๆ ไป นั้น.
      ลือ กัน (612:4.1)
               คือ คน พูด ถึง ความ อัน ใด เปน ความ ใหญ่, มี การ ศึก สงคราม เปน ต้น ต่อ ๆ ไป นั้น.
      ลือ ขจร (612:4.2)
               คือ เล่า ข่าว กัน ไป มาก, เหมือน ใน หลวง ท่าน ได้ ช้าง เผือก แล ช้าง เนียม นั้น.
      ลือ ข่าว (612:4.3)
               คือ เหตุ บังเกิด ขึ้น ใน ประเทศ ไกล, คน ใน ประเทศ ไม่ ได้ เหน เปน แต่ พูด ต่อ ๆ นั้น.
      ลือ ฉาว (612:4.4)
               คือ เล่า อื้อ อึง, ความ อัน ใด บังเกิด ขึ้น คน รู้ เข้า มาก พูด ไม่ อำ พูด โด่ง ดัง นั้น.
      ลือ ชา (612:4.5)
               คือ ฦๅ ข่าว ดี, ของ คน ที่ ดี นั้น, แล มี วิชา ต่าง ๆ.
      ลือ ทั่ว (612:4.6)
               เล่า ทั่ว, คือ ความ ใหญ่ บังเกิด ขึ้น, แล เขา พูด เล่า กัน ต่อ ๆ ทั่ว ไป ใน ประเทศ น้อย ใหญ่ ทั้ง สิ้น นั้น.
      ลือ ไป (612:4.7)
               เล่า ไป, คือ เลื่อง ลือ ไป, เหมือน ความ อัษจรริย์ คน เล่า ต่อ ๆ ไป ว่า ข้า ได้ ยิน ความ อย่าง นี้.
      ลือ มา (612:4.8)
               เล่า มา, คือ เลื่อง ลือ ความมา, เหมือน ความ บังเกิด ใน ประเทศ ไกล คน เล่า บอก กัน ต่อ ๆ มา นั้น
      ลือ เลื่อง (612:4.9)
               คือ ลือ กระเดื่อง ทั่ว, คน รู้ เหตุ อัน ใด ๆ, แล เล่า ลือ กึก ก้อง ไป ฟุ้ง เฟื่อง นั้น.
      ลือ ว่า (612:4.10)
               เล่า ว่า, เปน คำ เขา พูด ว่า, ได้ ยิน เขา ลือ ว่า คน นั้น ประพฤตี ผิด ใน ราชการ นั้น.
      ลือ อึง (612:4.11)
               เล่า อึง, คือ ลือ กึก ก้อง อื้อ อึง. คน รู้ เหตุ สารพัด แล เล่า ลือ ฟุ้ง เฟื่อง สนั่น ไป นั้น.
ลุ (612:5)
         ถึง, คือ ถึง ที่ สุด, คน ไป ตาม ทาง ใกล้ ฤๅ ไกล ภาก เพียร เดิน ไป ถึง ที่ หวัง นั้น.
      ลุ ล่วง (612:5.1)
               คือ ถึง แล้ว เกิน ไป, คน ไป ทาง บก ฤๅ ทาง เรือ, อุษส่าห์ เดิน ไป จน ถึง ที่ แล้ว ล่วง เลย ไป.
      ลุ อำนาท (612:5.2)
               คือ ถึง ตั้ง อยู่ ใน บังคับ บัญชา ผู้ อื่น, เช่น ชาย รัก ภรรยา แล ตั้ง อยู่ ใน บังคับ ภรรยา นั้น.
ลู่ (612:6)
         คือ โอน เอน ล้ม ราบ ไป, เช่น ต้น หญ้า ฤๅ ต้น เข้า เปน ต้น แล เอน ระเนน ไป.
      ลู่ ไป (612:6.1)
               คือ ล้ม ระเนน เอน ทอด ราบ ไป กับ พื้น, เช่น หญ้า ที่ ล้ม ทอด ราบ ไป นั้น.
      ลู่ มา (612:6.2)
               คือ ล้ม ระเนน เอน มา, เช่น ต้นไม้ ฤๅ ต้น หญ้า ที่ ล้ม ทอด ราบ มา นั้น.
      ลู่ หลี่ (612:6.3)
               คือ ใจ เหี้ยม โทโษ ร้าย, โกรธ แล้ว มิ ได้ คิด ชีวิตร นั้น.
      ลู่ ล้ม (612:6.4)
               คือ ทอด ราบ อยู่ บน ดิน ฤๅ กับ น้ำ เปน ต้น, ต้น หญ้า ระเนน อยู่ กับ ดิน นั้น.
หลู่ (612:7)
         คือ การ ดู หมิ่น ดู ถูก, แล กล่าว คำ ปมาท นั้น.
      หลู่ คุณ (612:7.1)
               คือ ดู หมิ่น ถึง คุณ ที่ ท่าน กระทำ แก่ ตัว ว่า มี คุณ อะไร กับ เรา.

--- Page 613 ---
ไล่ (613:1)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ไล่ ถอง (613:1.1)
               วิ่ง ตาม ถอง, คือ ไล่ วิ่ง ไป เพื่อ จะ ประหาร ด้วย ศอก, คน วิ่ง ไล่ ไป ทัน แล้ว งอ ศอก เข้า กะแทก ลง นั้น.
      ไล่ ถีบ (613:1.2)
               คือ วิ่ง ไล่ ไป เพื่อ จะ ประหาร ด้วย เท้า, คน วิ่ง ไล่ ไป ทัน แล้ว ยก เท้า ขึ้น กะแทก เอา.
      ไล่ ทุบ (613:1.3)
               วิ่ง ตาม ทุบ, คือ วิ่ง ไล่ ไป ทัน ประหาร ด้วย กำ มือ คน วิ่ง ไล่ ไป ทัน แล้ว กำ มือ เข้า ฟาด ลง นั้น.
      ไล่ หนู (613:1.4)
               วิ่ง ตาม หนู, คือ ขับ ต้อน หนู, คน เหน หนู กลัว มัน จะ กัด เข้า ของ แล เอา ไม้ แอย่ แยง ให้ มัน ไป นั้น.
      ไล่ นก (613:1.5)
               คือ ขับ นก, คน เหน นก กลัว มัน จะ กิน เข้า ฤๅ ลูก ไม้, แล ร้อง ขับ ด้วย เสียง เปน ต้น นั้น.
      ไล่ หนังสือ (613:1.6)
               คือ ให้ ผู้ เรียน หนังสือ เข้า แปล ให้ ผู้ รู้ ฟัง, ว่า ผู้ นั้น แปล ดี ฤๅ ยัง นั้น.
      ไล่ ไป (613:1.7)
               คือ วิ่ง ตาม ไป, เช่น สู้ รบ กัน คน แพ้ วิ่ง หนี ไป, ผู้ ชะนะ นั้น วิ่ง ติด ตาม ไป เบื้อง หลัง นั้น.
      ไล่ มา (613:1.8)
               คือ เขา วิ่ง ติด ตาม มา, คน หนี มา คน หนึ่ง จะ ทำ อัน ตะราย ให้ ได้ วิ่ง ตาม มา นั้น.
      ไล่ เลียง (613:1.9)
               คือ ไล่ ขับ เขี้ยว, เช่น ตะลาการ แค่น ขืน ซัก ไซ้ จะ เอา เนื้อ ความ ให้ แน่ นั้น.
      ไล่ เลี่ย (613:1.10)
               เปน คำ พูด ถึง ของ ที่ คล้าย คลึง กัน, ว่า ไล่ เลี่ย กัน นั้น.
      ไล่ เสีย (613:1.11)
               คือ เขา ขับ เสีย ไม่ ให้ อยู่ ด้วย นั้น, เช่น ลูก เขย กระทำ การ ชั่ว ไม่ ให้ อยู่ กับ ลูก สาว.
      ไล่ ให้ จน (613:1.12)
               คือ ซัก ถาม ความ ให้ ผู้ บอก ๆ ไป ไม่ ได้ นั้น.
ไล้ (613:2)
         ทา, คือ เปื้อน เลอะ แล ลูบ ทา, คน ยา เรือ ละลาย ชัน ให้ เหลว แล้ว ลูบ ลาภอน ไป ที่ พื้น ลำ เรือ นั้น.
      ไล้ แก้ม (613:2.1)
               ทา แก้ม, คือ เปื้อน เลอะ ที่ แก้ม, เช่น ทารก มัน ร้อง ไห้, น้ำ มูก น้ำ ตา เปื้อน เลอะ ที่ แก้ม นั้น.
      ไล้ คาง (613:2.2)
               ทา คาง, คือ เปื้อน เลอะ ที่ คาง, คน กิน หมาก น้ำ หมาก ไหล เลอะ ที่ คาง นั้น.
      ไล้ ทา (613:2.3)
               ลูบ ทา, คือ ทา ลูบ ไป, เช่น ทา แป้ง แล เอา แป้ง ละลาย น้ำ แล้ว ลูบ ทา ไป ที่ ตัว นั้น.
      ไล้ หน้า (613:2.4)
               คือ เลือน เปื้อน หน้า, คน เอา แป้ง เปน ต้น, ทา เลือน หน้า เลอะ หน้า, เพื่อ จะ ให้ เขา หัวเราะ นั้น.
      ไล้ ละเลง (613:2.5)
               คือ เขา ทำ เหมือน ลาภอน เรือ นั้น.
      ไล้ ลูบ (613:2.6)
               ทา ลูบ, คือ ละเลง ลูบ ทา, คน ทา ละเลง ลูบ ที่ ของ ใด ๆ, เช่น คน ทำ ลาน เข้า ถาก หญ้า แล้ว ทา ด้วย ขี้* วัว นั้น.
ไหล (613:3)
         คือ เลื่อน ไป, เช่น น้ำ เลื่อน เรื่อย มา สู่ ที่ ลุ่ม, น้ำ ข้าง ที่ ดอน ฝ่าย เหนือ เลื่อน รี่ เรื่อย ลง ที่ ลุ่ม.
      ไหล เข้า (613:3.1)
               คือ ไหล ลง ที่ ช่อง รู, เช่น น้ำ ใน แม่ น้ำ ใหญ่ ไหล เข้า ใน ที่ ลุ่ม มี ท้อง นา แล บึง บาง เปน ต้น.
      ไหล ขึ้น (613:3.2)
               คือ ไหล กลับ ขึ้น ไป ฝ่าย เหนือ, เช่น เวลา น้ำ ทะ เล ขึ้น มาก, น้ำ กลับ ไหล ทวน ขึ้น ไป นั้น.
      ไหล เชี่ยว (613:3.3)
               คือ ไหล เปน เกลียว แรง นัก, เช่น น้ำ เหนือ เกิด มาก เพราะ น้ำ ฝน ตก หนัก แล ไหล แรง นัก นั้น.
      ไหล เซาะ (613:3.4)
               คือ น้ำ ไหล แซก เข้า จน ดิน ร่วง ไป นั้น.
      ไหล ไป (613:3.5)
               คือ ไหล ออก จาก ปาก คลอง เล็ก น้อย รี่ เรื่อย ลง ไป สู่ ที่* ลุ่ม, คือ ฝ่าย ข้าง ทะเล เปน ต้น นั้น.
      ไหล เพรื่อ (613:3.6)
               คือ น้ำ ไหล ทั่ว ไป มาก ที่ บน พื้น ชาน เปน ต้น นั้น
      ไหลภุ (613:3.7)
               คือ ไหล ดุ ขึ้น มา จาก ดิน, เช่น น้ำ เซาะ ซึม มา ใต้ ดิน แล้ว ดุ ดัน ขึ้น ใน ที่ ราบ นั้น.
      ไหล มา (613:3.8)
               คือ ไหล ลง จาก เหนือ เรื่อย รี่ ลง มา หา ที่ ลุ่ม. อย่าง หนึ่ง น้ำ ที่ หลังคา ไหล ลง มา นั้น.
      ไหล หยด (613:3.9)
               คือ ไหล ย้อย เปน อยาด ๆ, เช่น น้ำ ฝน เกือบ จะ อยุด แล ไหล ที ละ น้อย ที่ ชาย คา นั้น.
      ไหล รด (613:3.10)
               คือ ไหล ลง ถูก, เช่น น้ำ ไหล ลง จาก ที่ สูง ตก ถูก สิ่ง ใด ๆ ใน ที่ ต่ำ เข้า นั้น.
      ไหล ลง (613:3.11)
               คือ เรื่อย รี่ ลง, เช่น น้ำ บน หลังคา ที่ เรื่อยรี่ ลง มา สู่ แผ่น ดิน นั้น.
      ไหลหลง (613:3.12)
               คือ น้ำ ขึ้น มา นาน เต็ม ที่ แล้ว ยัง ไหล เลย ต่อ ไป อีก นั้น. อย่าง หนึ่ง คน รัก ของ หนัก เต็ม ที นั้น.
      ไหล หลั่ง (613:3.13)
               คือ น่า น้ำ ไหล ถั่ง มา แต่ ฝ่าย เหนือ นั้น.
      ไหล ออก (613:3.14)
               คือ เรื่อย รี่ ออก, เช่น น้ำ เรื่อยรี่ ออก จาก แม่ น้ำ ฤๅ จาก ทุ่ง ลง ไป สู่ ทะเล นั้น.
      ไหล อาบ (613:3.15)
               คือ ไหล ลง โซม แก้ม, ว่า ไหล อาบ แก้ม นั้น.
ไหล่ (613:4)
         คือ อะไวยวะ คน ที่ ถัด บ่า ลง ไป นั้น. อย่าง หนึ่ง ที่ ภู เขา ที่ ถัด ยอด เขา ลง มา น่อย นั้น.

--- Page 614 ---
      ไหล่ ขวา (614:4.1)
               คือ อะไวยวะ เช่น ว่า อยู่ ข้าง ขวา ที่ ทำ อาไร สนัด, แต่ อยู่ เบื้อง หลัง คน ทุก คน นั้น.
      ไหล่ ซ้าย (614:4.2)
               คือ อะไวยวะ เช่น ว่า อยู่ ข้าง ซ้าย, ที่ ทำ อาไร ไม่ สนัด นั้น, แต่ อยู่ เบื้อง หลัง นั้น.
      ไหล่ ตั้ง (614:4.3)
               คือ ไหล่ ไม่ ลด ต่ำ ลง, มี ทรง เสมอ เปน ปรกติ ดี ทั้ง ซ้าย ขวา, ดู ดี เสมอ นั้น.
      ไหล่ ลู่ (614:4.4)
               คือ ไหล่* ลด ต่ำ ลง, ไม่ มี ทรง เสมอ เปน ปรกติ ทั้ง ซ้าย ขวา, ดู ไม่ เสมอ นั้น.
      ไหล่ ลด (614:4.5)
               คือ ไหล่ ลู่ ลง, ไม่ ตั้ง อยู่ เปน ปรกติ ทั้งสอง ข้าง ซ้าย ขวา, ดู ผิด ปรกติ นั้น.
      ไหล่ หัก (614:4.6)
               คือ ไหล่ สลด ลง, เช่น คน ที่ ไหล่ นั้น มี คน ทุบ ตี ฤๅ ไม้ ตก ถูก แล สลด ต่ำ ลง.
      ไหล่ ห่อ (614:4.7)
               คือ ไหล่ ลู่* หลอบ เข้า ทั้ง ซ้าย ขวา, คน มี อะไวยวะ เช่น ว่า นั้น, ว่า คน นั้น ไหล่ ห่อ.
โหล (614:1)
         คือ กลวง โถ้ เข้า ไป นั้น.
โลกา (614:2)
         ฯ แปล ว่า โลกย์, คือ แผ่น ดิน เปน ที่ ว่าง สว่าง อยู่ เปน ธรรมดา นั้น.
โลกีย์ (614:3)
         มาหา ชน, ฯ แปล ว่า เปน ไป ใน โลกย์, อะธิบาย ว่า ปรากฏ ใน โลกย์ นั้น.
โลกีย จิตร์ (614:4)
         คือ จิตร์ บุถุ ชน นั้น.
โลเก (614:5)
         ฯ แปล ว่า ใน โลกย์ ตาม บท มาลา, ท่าน บังคับ ให้ ลง สมิง สัตะมี วิภัติ นั้น,
โลโก (614:6)
         ฯ แปล ว่า อัน ว่า โลกย์ หนึ่ง, เพราะ ลง ปะถะมา วิ ภัติ, คือ สิ เอา สิ เปน โอ้.
โลกัง (614:7)
         ฯ แปล ว่า ซึ่ง โลกย์ หนึ่ง, เพราะ ลง ทุติยา วิภัติ, คือ อัง วิภัติ นั้น.
โลกันต์ (614:8)
         ฯ คือ ที่ เปน ระหว่าง แห่ง โลกย์.
โลกัตถะจะริยา (614:9)
         ฯ แปล ว่า ประพฤษดิ์ ให้ เปน ประโยชน์ แก่ โลกย์, คือ พระ โพธิสัตว์ ประพฤษดิ์ จะ ตรัส เปน พระ เจ้า โปรด สัตว์ นั้น.
โลกุตร (614:10)
         ฯ แปล ว่า ขึ้น จาก โลกย์. อะธิบาย ความ ว่า ธรรม เปน เหตุ ที่ ล่วง ข้าม จาก โลกย์.
      โลกุตรมรรค (614:10.1)
               ฯ คือ มรรค อัน ตัด กิเลศ ขาด ยัง บุคคล ให้ ขึ้น จาก โลกย์ นั้น.
โลมา (614:11)
         ฯ แปล ว่า ขน หลาย เส้น, บันดา ขน ที่ ขึ้น ที่ ตัว มะนุษ ฤๅ ตัว สัตว์ นั้น.
โลมะ ชาติ์ (614:12)
         ฯ แปล ว่า ขน บังเกิด ขึ้น แห่ง ขน, บันดา ขน ที่ ขึ้น ใน กาย มะนุษ ฤๅ สัตว์ นั้น.
โลเล (614:13)
         เหลาะแหละ, ไม่ ยั่ง ยืน, คือ เหลาะแหละ ไม่ ยั่ง ยืน, เช่น คน ใจ ไม่ แน่ นอน มั่น คง, ว่า จะ ทำ การ สิ่ง* นี้ ให้ สำเร็ทธิ์, ครั้น เพียร ไป นาน เหน การ ไม่ สำเร็ทธิ์ ก็ ละ ทิ้ง เสีย.
โลหะ (614:14)
         ฯ เหล็ก, ทอง แดง, แปล ว่า ทอง แดง ก็ ได้, ว่า เหล็ก ก็ ได้, แล ทอง ขาว ทอง เหลือง สงเคราะห์ เข้า ใน โลหะ สับท์ สิ้น.
      โลหะ กุมภี (614:14.1)
               ฯ แปล ว่า ม่อ ทอง แดง ฤๅ เหล็ก ก็ ได้, บันดา ทอง เช่น ว่า อยู่ ใน โลหะ สิ้น.
โลหิต (614:15)
         ฯ แปล ว่า เลือด, บันดา น้ำ เลือด มี ใน กาย มะนุษ ฤๅ สัตว ดิรัจฉาน ทั้ง ปวง นั้น.
โล่ (614:16)
         คือ ของ สำหรับ กัน อาวุธ ต่าง ๆ มี ดาบ เปน ต้น, ของ นั้น ทำ ด้วย ไม้ จริง, รูป กลม เหมือน กะด้ง ฤๅ ตะแกรง นั้น.
      โล่ เขน (614:16.1)
               คือ เครื่อง สำหรับ กัน อาวุธ ต่าง ๆ เขา ทำ ด้วย ไม้ สัณฐาน เหมือน กะโล่ ที่ เขา สาน ด้วย เส้น ตอก.
      โล่ ดั้ง (614:16.2)
               โล่ เช่น ว่า แล้ว, ดั้ง นั้น รูป ยาว สัก ศอก เสศ มัน กลม เหมือน กาบ กล้วย.
โล้ (614:17)
         คือ เอา ไม้ ใส่ เข้า ที่ ท้าย เรือ สำป้าน แล้ว คน หลาย คน ช่วย กัน ผลัก กะเดือก ไป.
      โล้ ชิงช้า (614:17.1)
               คือ ขึ้น โหน ชิงช้า ทำ ให้ มัน โยน ไป มา, เหมือน พราหมณ์ โล้ ชิงช้า นั้น.
      โล้ เรือ (614:17.2)
               เหมือน กับ พวก จีน โล้ เรือ สำป้าน ถอน สมอ.
      โล้เล้ (614:17.3)
               คือ อาการ คน ใจ ไม่ ยั่งยืน มัก เปน ไป ตาม เขา นั้น.
      โล้ สำป้าน (614:17.4)
               คือ เอา ไม้ ใส่ ที่ ท้าย เรือ สำป้าน แล้ว กะเดือก ไป. อย่าง หนึ่ง เขา ถีบ ชิงช้า ก็ ว่า โล้ ไป.
เลา (614:18)
         คือ ต้น หญ้า อย่าง หนึ่ง คล้าย กับ ต้น อ้อ เรียก ต้น เลา. อย่าง หนึ่ง ลอง ใน ดุม ที่ ขา เกวียน เรียก ว่า เลา.
      เลา ความ (614:18.1)
               คือ รูป ความ ราว ความ, เช่น ลักษณ์ ความ เปน อย่าง นั้น อย่าง นี้, ว่า เลา ความ.

--- Page 615 ---
เล่า (615:1)
         (dummy head added to facilitate searching).
      เล่า แกล้ม (615:1.1)
               คือ ของ เขา กิน กับ เหล้า มี เนื้อ พล่า ปลา ยัม เปน ต้น นั้น.
      เล่า ความ (615:1.2)
               คือ นำ เอา เรื่อง ความ บอก, คน รู้ เรื่อง ความ อัน ใด แล้ว นำ เอา เนื้อ ความ มา บอก เขา นั้น
      เล่า ถึง (615:1.3)
               คือ กล่าว ถึง คน นั้น คน นี้, เช่น มี ผู้ กล่าว ถึง คน แต่ ก่อน ฤๅ คน ทุก วัน นี้ นั้น.
      เล่า เถื่อน (615:1.4)
               คือ น้ำ สุรา ที่ คน ลอบ ทำ กิน ตาม บ้าน เรือน, มิ ใช่ เหล้า โรง อากร นั้น.
      เล่า นิทาน (615:1.5)
               คือ นำ เอา ตำนาน นิทาน มา เล่า ให้ เขา ฟัง, เช่น นำ เอา เรื่อง พัทธิภาซัน มา เล่า นั้น.
      เล่า นิยาย (615:1.6)
               คือ นำ เอา เรื่อง ราว บุราณ, เช่น เรื่อง โยนา เปน ต้น, มา บอก กล่าว ให้ คน อื่น ฟัง.
      เล่า บอก (615:1.7)
               คือ พรรณนา แจ้ง ความ ต่าง ๆ, แล รู้ เหตุ สิ่ง ใด ๆ มา บอก แก่ กัน นั้น.
      เล่า ยา (615:1.8)
               คือ น้ำ เหล้า ที่ เขา ทำ เปน ยา, แล สรรพ สิ่ง ที่ เปน ยา แช่ ลง ใน น้ำ เหล้า.
      เล่า เรียน (615:1.9)
               คือ เล่า ท่อง เรียน ต้อง มี ครู อาจาริย์ บอก ให้ นั้น
      เล่า โรง (615:1.10)
               คือ น้ำ สุรา ใน โรง อากร, ซื้อ ขาย กัน กิน ใน กรุง เทพฯ นั้น.
      เล่า ว่า (615:1.11)
               คือ กล่าว ว่า, คน เอา เนื้อ ความ มา พูด ว่า, เรา ได้ เหน ฤๅ ได้ ฟัง สิ่ง นั้น เรื่อง นี้ นั้น.
      เล่า ให้ ฟัง (615:1.12)
               คือ เอา ความ อัน ใด มา สำแดง บรรยาย ให้ ผู้ อื่น ฟัง นั้น.
      เล่า อะหนี (615:1.13)
               คือ เหล้า อย่าง ฝรั่ง เข้ม นัก จุด ไฟ ลุก เหมือน น้ำ มัน.
เล้า (615:2)
         คอก, คือ คอก เขา เอา ไม้ ปัก ล้อม เปน คอก สำหรับ ขัง ไก่ ขัง หมู ทำ ให้ ไก่ เปน ต้น มัน อยู่.
      เล้า ไก่ (615:2.1)
               คือ คอก ไก่, เขา เอา ไม้ มา ปัก ล้อม ให้ รอบ คอบ แล้ว ให้ ไก่ มัน อาไศรย อยู่ ใน นั้น.
      เล้า เป็ด (615:2.2)
               คอก เป็ด, คือ คอก ไว้ เป็ด, เขา เอา ไม้ ทำ เปน สี้ เล็ก ๆ ปัก ลง วง ล้อม รอบ ให้ เป็ด อาไศรย อยู่.
      เล้า หมู (615:2.3)
               คอก หมู, คือ คอก หมู, คน เอา ไม้ ท่อน มา ทำ คล้าย กับ กรง นก ไว้ ที่ แผ่นดิน ให้ หมู มัน อยู่.
      เล้า โลม (615:2.4)
               คือ ประเล้า ประโลม, เปน ต้น ว่า ท่าน อย่า กลัว เลย นั้น.
เหลา (615:3)
         คือ เอา มีด ฤๅ พร้า ทำ ให้ คม ถูก ไม้ ด้วย มือ ข้าง หนึ่ง, มือ ข้าง หนึ่ง จับ ไม้ ให้ มั่น ลาก ไม้ มา นั้น.
      เหลา ชะโอน (615:3.1)
               คือ ต้น ไม้ ต้น คล้าย ต้น หมาก, แต่ เนื้อ มัน เสี้ยน แขง นัก.
      เหลา ตอก (615:3.2)
               คือ ทำ เช่น ว่า แล้ว, คน จะ จัก ตอก เอา ไม้ ไผ่ ผ่า เปน ซีก, แล้ว จัก เกรียก ออก เปน เส้น ตอก แล้ว เหลา นั้น.
      เหลา ไม้ (615:3.3)
               คือ ทำ เช่น ว่า ก่อน นั้น, คน จะ เหลา ไม้ ให้ กลม เกลี้ยง, เอา พร้า ฤๅ มีด เหลา ลาก มา ให้ เกลี้ยง นั้น.
      เหลา หลก (615:3.4)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เหมือน ต้น หมาก ใบ ลูก ก็ เหมือน หมาก รศ ฝาด น่อย ๆ.
      เหลา หวาย (615:3.5)
               คือ ทำ อาการ เช่น ว่า, คน จะ จัก หวาย ทำ ให้ มัน เปน เส้น เกลี้ยง เอา มีด ถือ เข้า เหลา นั้น.
เหล่า (615:4)
         หมู่, คือ ของ อยู่ ที่ แห่ง เดียว เปน หมู่ ๆ นั้น, เช่น ต้น ไม้ ฤๅ ต้น หญ้า เปน ต้น อยู่ เปน หมู่.
      เหล่า กอ (615:4.1)
               คือ กอ ไม้ ขึ้น อยู่ เปน หมู่ ใน ที่ แห่ง เดียว กัน, อย่าง หนึ่ง เปน คำ พูด เปรียบ ว่า, คน นั้น เปน โคตร์ เผ่า เหล่า กอ ใคร.
      เหล่า ชา (615:4.2)
               เปน คำ พูด ถึง กรรม พืชน์ ว่า ผู้ นั้น เขา เกิด แต่ สกูล ไหน นั้น.
      เหล่า นี้ (615:4.3)
               พรรค์ นี้, แผลง ว่า คือ หมู่ นี้, เช่น คน ชี้ บอก กัน ถึง ต้น ไม้ ฤๅ บ้าน เปน ต้น, ว่า ต้น ไม้ ฤๅ บ้าน เหล่า นี้ นั้น.
      เหล่า ไหน (615:4.4)
               หมู่ ไหน, คือ เหล่า ไร, เปน คำ ถาม ว่า บ้าน เหล่า ไหน ฤๅ ต้น ไม้ เหล่า ไหน เปน ต้น นั้น.
      เหล่า นั้น (615:4.5)
               หมู่ นั้น, คือ เหล่า ที่ อยู่ ที่ ใกล้, คน ชี้ บอก บ้าน เปน ต้น, แก่ คน ถาม ถึง หมู่ บ้าน เปน ต้น ว่า หมู่ นั้น.
      เหล่า โน้น (615:4.6)
               พรรค โน้น, คือ เหล่า ที่ อยู่ ไกล กว่า นั้น, คน ชี้ บอก แก่ ผู้ ถาม ถึง บ้าน เปน ต้น, ว่า บ้าน เหล่า โน้น.
      เหล่า บ้าน (615:4.7)
               พวก บ้าน, คือ หมู่ บ้าน, เช่น บ้าน มี เรือน มาก ตั้งแต่ ยี่สิบ สามสิบ ขึ้น ไป, ว่า หมู่ บ้าน.

--- Page 616 ---
      เหล่า ปราน (616:4.8)
               เผ่า ปราน, คือ วงษวาน คน, เช่น เกิด มา เปน ญาติ วงษา กัน, ว่า โคตร เผ่า เหล่า ปราน กัน.
      เหล่า พ่อ (616:4.9)
               พรรค์ พ่อ, คือ ญาติ ฝ่าย ข้าง พ่อ, คน เกิด มา ใน วงษ ญาติ ฝ่าย ข้าง พ่อ นั้น, ว่า เหล่า พ่อ
      เหล่า แม่ (616:4.10)
               พรรค์ มารดา, คือ ญาติ ฝ่าย ข้าง แม่, คน เกิด* มา ใน วงษ ญาติ ฝ่าย ข้าง แม่ นั้น, ว่า เหล่า แม่.
เหล้า (616:1)
         สุรา บาน, น้ำ จัณฑ์, คือ สุรา ๆ นั้น เขา ทำ ด้วย แป้ง เข้า เปน เชื้อ ใส่ ลง ต้ม กลั่น เอา แต่ น้ำ กิน เมา.
      เหล้า เข้ม (616:1.1)
               คือ สุรา ที่ เขา กลั่น เปน หัว เหล้า รศ แรง นัก, คน กิน น้อย ก็ เมา, ว่า เหล้า เข้ม.
      เหล้า เจ๊ก (616:1.2)
               น้ำ เหล้า ที่ เจ๊ก ขาย นั้น.
      เหล้า เถื่อน (616:1.3)
               คือ เหล้า คน ลัก ลอบ ทำ ตาม บ้าน มิ ให้ นาย อา กร แล เจ้า ภาษี รู้, ลอบ ซื้อ ขาย กัน กิน นั้น.
      เหล้า บรั่นดี (616:1.4)
               คือ เหล้า ฝรั่ง จุด ไฟ ลุก.
      เหล้า โรง (616:1.5)
               คือ เหล้า เขา ทำ ที่ โรง นาย อากร, ต้อง เสีย เงิน เก็บ เปน เงิน อากร หลวง นั้น.
      เหล้า อะหนี (616:1.6)
               เหล้า เข้ม แรง นัก มา แต่ เมือง นอก.
ลำ (616:2)
         คือ ตัว เรือ, เช่น ตัว เรือ, มี เรือ กำปั่น ฤๅ สำเภา เปน ต้น เรียก ลำเรือ อย่าง นั้น, เช่น ต้น ไม้ ไผ่ เปน ต้น นั้น, เรียก ว่า ลำ ไม้.
      ลำ ขา (616:2.1)
               คือ ท่อน ขา ที่ กลม นั้น, ขา นั้น ตั้ง แต่ ตะคาก ลง ไป ตะลอด จน ถึง เข่า นั้น.
      ลำเข็น (616:2.2)
               คือ ตัว เข็น เช่น ความ ลำบาก สิ่ง ใด บังเกิด ขึ้น นั้น.
      ลำ แขน (616:2.3)
               คือ ท่อน แขน ที่ กลม นั้น, แขน นั้น ตั้งแต่ บ่า ลง ไป จน ตลอด ถึง ข้อ ศอก นั้น.
      ลำ เครื่อง (616:2.4)
               คือ ลำ เรือ ที่ บันทุก เครื่อง ต่าง ๆ, มี เครื่อง สาตราวุธ เปน ต้น, เรียก ลำเครื่อง.
      ลำเจียก (616:2.5)
               เปน ชื่อ* ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง มี ดอก หอม, ต้น มัน คล้าย กับ ต้น เตย.
      ลำนำ (616:2.6)
               คือ ทำนอง, บันดา ทำนอง มี ทำนอง สวด เปน ต้น, เรียก ว่า ลำนำ ได้ สิ้น.
      ลำฦก (616:2.7)
               คือ ความ ระฦก ถึง อัน ใด ๆ นั้น, เช่น ผู้ ชาย กับ ผู้ หญิง จาก กัน ไป.
      ลำ กะโดง (616:2.8)
               คือ คลอง เล็ก ๆ ที่ เขา ขุด ไข น้ำ จาก แม่น้ำ ให้ เข้า สวน, ตัว คลอง ตลอด นั้น เรียก ลำกะโดง.
      ลำ ฅอ (616:2.9)
               คือ ปล้อง ฅอ, คือ อะไวยวะ ตั้ง แต่ อก แล บ่า ตลอด ขึ้น ไป จน ถึง ต้น คาง, แล ท้าย กำด้น* นั้น.
      ลำ คลอง (616:2.10)
               คือ ตัว คลอง, มี คลอง บางหลวง เปน ต้น, ตั้ง แต่ ปาก คลอง จน ถึง ด่าน นั้น.
      ลำดับ (616:2.11)
               คือ เรียบ เรียง ของ ตาม ใหญ่ แล เล็ก, จัด เอา ของ ที่ ดี ที่ ใหญ่ วาง ไว้ เบื้อง ต้น ก่อน นั้น.
      ลำ ตาล (616:2.12)
               คือ ต้น ตาล ตั้ง แต่ โคน ขึ้น ไป ตลอด ถึง ฅอ ปัด นั้น เรียก ว่า ลำ ต่อ ขึ้น ไป นั้น ยอด.
      ลำ ธาร (616:2.13)
               คือ ท่อ น้ำ ไหล, เช่น ลำ คลอง เล็ก ๆ มี ใน ดง ใน ป่า, คลอง ย่อม ๆ ไม่ กว้าง ใหญ่ นัก.
      ลำ เนา (616:2.14)
               คือ ตำแหน่ง ตำบล, เช่น ประเทศ บ้าน นอก ขอบ ชนบท นั้น, เรียก บ้าน ว่า ภูม ลำเนา.
      ลำ น้ำ (616:2.15)
               คือ ตาม ย่าน แม่น้ำ, บันดา แถว ย่าน คลอง ฤๅ แม่ น้ำ ตลอด ไป นั้น เรียก ลำ น้ำ.
      ลำบาก (616:2.16)
               คือ ความ ประดัก ประเดิด, เช่น ทำ การ อัน ใด ไม่ คล่อง ขัด ข้อง ต่าง ๆ นั้น
      ลำ บาง (616:2.17)
               คือ ที่ ย่าน คลอง ตาม ลำ คลอง นั้น.
      ลำ บึง (616:2.18)
               คือ ย่าน บึง ตาม ยาว แล สั้น.
      ลำไพ่ (616:2.19)
               คือ ทรัพย์ ที่ เขา ทำ ได้ นอก จาก บังคับ, เช่น ทาส ฤๅ ลูก ทำ ได้ ทรัพย์ เปน ส่วน ของ ตัว นั้น.
      ลำ เรือ (616:2.20)
               คือ ตัว เรือ ตาม เล็ก แล ใหญ่ นั้น.
      ลำเลิก (616:2.21)
               คือ ว่า ขึ้น ถึง คุณ ที่ ได้ ทำ ไว้. อย่าง หนึ่ง พรรณนา ถึง ชาติ ตระกูล เปน ต้น ชั่ว.
      ลำ ลาบ (616:2.22)
               คือ โรค พุพอง เปื่อย พัง มัน ลาม ต่อ ไป, ว่า มัน เปน ลำลาบ ไป.
      ลำเลียบ (616:2.23)
               คือ การ ที่ ตี เหล็ก เปน มีด พร้า เปน ต้น, แต่ ว่า เอา เมื่อ ตี เปน รูป ไว้ แล้ว เอา มา ตี อีก เมื่อ มัน เอย็น แล้ว.
      ลำ ลอง (616:2.24)
               คือ เขา ไป แต่ ลำพัง ผู้ ชาย เดิน ตัว เปล่า ไม่ หาม หาบ อัน ใด, ว่า เดิน แต่ ลำ ลอง นั้น.
      ลำ เลียง (616:2.25)
               คือ เอา ของ บันทุก ลง ใน เรือ เล็ก, แล้ว ค่อย ผ่อน ไป ถ่าย ลง เรือ ใหญ่ นั้น.
      ลำ ห้วย (616:2.26)
               คือ ที่ ย่าน ท้อง ห้วย ตาม ใกล้ แล ไกล นั้น

--- Page 617 ---
      ลำเอียง (617:2.27)
               คือ เข้า กับ ฝ่าย ข้าง นี้ ฤๅ ฝ่าย ข้าง โน้น, ไม่ ทำ ใจ ให้ ตรง อยู่ ได้ นั้น.
      ลำ อ้อย (617:2.28)
               คือ ต้น อ้อย ทั้ง ต้น นั้น.
ล่ำ (617:1)
         คือ รูป ร่าง อ้วน นั้น.
      ล่ำ สัน (617:1.1)
               คือ รูป ร่าง อ้วน พี กำยำ ใหญ่ นั้น.
ล้ำ (617:2)
         คือ ล่วง เกิน ที่ เข้า ไป นั้น.
ละ (617:3)
         คือ ปล่อย วาง เสีย, เช่น คน จับ ถือ ของ อัน ใด ไว้ แล้ว, วาง เสีย นั้น.
      ละ การ (617:3.1)
               คือ ปล่อย การ งาร เสีย, คน ทำ การ อัน ใด แล วาง ปล่อย ทิ้ง การ อยุด เสีย นั้น
      ละ กรรม (617:3.2)
               คือ ทิ้ง การ ที่ เปน บาป, การ สิ่ง ใด ที่ ไม่ ตั้ง อยู่ ใน ศิล เปน ต้น, ไม่ กระทำ การ นั้น ว่า ละ กรรม.
      ละ ของ (617:3.3)
               คือ สละ ทิ้ง ของ เสีย, คน วาง ของ เสีย ไม่ ถือ ไว้ ฤๅ เกิด ไภย ขึ้น ทิ้ง ของ เสีย ไม่ เอา ไป.
      ละ ขาด (617:3.4)
               งด ขาด, คือ ทิ้ง อยุด เสีย ที เดียว ไม่ อาไลย, เช่น คน ตาย แล ไม่ ได้ ของ อัน ใด ไป เลย นั้น.
ละคอน (617:4)
         คือ คน ฟ้อน รำ, คน ฟ้อน ขับ รำ ทำ ขะบวน เยื้อง กราย มี ผู้ ตี กรับ รับ ร้อง นั้น.
ละ คอน ชาตรี (617:5)
         คือ พวก ละคอน ชาว นอก, มี เมือง สังขลา เปน ต้น, เปน ละคอน เลว นั้น.
ละ งาน (617:6)
         งด การ คือ ละ อยุด การ สาระพัด ทุก อย่าง วาง เว้น เสีย ไม่ กระทำ นั้น.
ละ จิตร (617:7)
         คือ ละ ใจ ปล่อย ใจ ไป, คน ตาม ใจ ของ ตัว, เช่น กิจ ปรนิบัติ ที่ กระทำ ยาก ลำบาก, ไม่ ขืน ใจ ให้ กระทำ ปล่อย จิตร เสีย นั้น.
ละ เจ้า (617:8)
         คือ ทิ้ง เจ้า ของ ตัว เสีย, เช่น ใน ที่ มี ไภย อันตราย แล ตก ใจ ทิ้ง เจ้า เสีย, หนี ไป เอา ตัว รอด.
ละดาวัล (617:9)
         ฯ แปล ว่า เครือ เถาวัล, เขา เอา มา ตั้ง พระนาม เจ้า มี บ้าง
ละ ได้ (617:10)
         คือ ทิ้ง เสีย ได้ ไม่ ลำภา อาไลย, เช่น คน เดิม ถือ ลัทธิ อย่าง อื่น แล้ว กลับ ถือ อย่าง อื่น นั้น.
ละดา ชาติ (617:11)
         คือ ชาติ เถาวัล, มิ ใช่ ชาติ ต้นไม้.
ละ ทิ้ง (617:12)
         คือ ละคว่าง เสีย, เช่น คน เหน ลัทธิ ที่ ตัว ถือ มา ว่า ไม่ ดี แล ละ คว่าง เสีย นั้น.
ละบือ (617:13)
         คือ ฦๅ เลื่อง.
ละ บ้าน (617:14)
         สละ บ้าน, คือ ทอด ทิ้ง บ้าน เสีย, คน อยู่ ใน บ้าน ครั้น เกิด ไภย มี ไฟ เปน ต้น, แล ทิ้ง วิ่ง ออก จาก บ้าน.
ละ บาป (617:15)
         สละ การ ชั่ว, คือ ละ การ อัน เปน บาป, คือ การ ชั่ว เปน ต้น, ว่า ไม่ ทำ ตาม บัญญัติ คำ สั่งสอน ของ พระเจ้า นั้น.
ละ ไป (617:16)
         สละ ไป, คือ ปล่อย ไป สละ ไป, เช่น คน ขัง สัตว ไว้ ภาย หลัง มา ไม่ ขัง ไว้ ปล่อย ไป นั้น.
ละ พ่อ (617:17)
         สละ บิดา, คือ ทิ้ง พ่อ เสีย, คน อยู่ กับ บิดา แล้ว ทิ้ง พ่อ ของ ตัว เสีย ไป สู่ ที่ อื่น นั้น.
ละ พวก (617:18)
         สละ พวก, คือ ทิ้ง พวก เสีย, คน อยู่ ด้วย พวก มาก หลาย คน, แล้ว ทิ้ง เสีย ไป สู่ ที่ อื่น.
ละ เพื่อน (617:19)
         สละ เพื่อน, คือ ทิ้ง เพื่อน เสีย, คน อยู่ ด้วย เพื่อน มาก หลาย คน, แล้ว ทิ้ง เพื่อน เสีย ไป สู่ ที่ อื่น.
ละไม (617:20)
         ละม่อม, ละ เมียด, คือ ละมุน ละม่อม, เช่น หญิง มี กิริยา ดี ท่วง ที ไม่ กระด้าง กระเดื่อง, เช่น หญิง ใน พระ ราชวัง นั้น.
ละมั่ง (617:21)
         เปน ชื่อ สัตว สี่ ท้าว อย่าง หนึ่ง, มัน มี รูป เหมือน กวาง มัน อยู่ ใน ป่า นั้น.
ละเมียง ละมาย (617:22)
         คือ คำ สุภาพ ไม่ อยาบ ไม่ ประ สำหาว, ว่า เปน คำ เลมียด ละมาย.
ละมุด (617:23)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน พัน ไม้ มี ผล รศ หวาน กิน ได้, ครั้น ลูก สุก ศรี แดง คล้ำ.
ละเมียด (617:24)
         คือ คำ สุภาพ, คน พูดจา ไม่ อยาบช้า สำหาว กล่าว ถ้อย คำ เสมอ เปน ปรกติ นั้น.
ละแมะ (617:25)
         เปน เครื่อง มือ ทำ ด้วย เหล็ก, คล้าย จอบ สำรับ ถาก เรือ โกลน เปน ต้น นั้น.
ละเมิด (617:26)
         คือ ทำ โดย พะละการ อำเภอ ใจ, คน ใจ อยาบ มี กำลัง พวก พ้อง มาก, โกรธ ผู้ อื่น ทุบ ตี เอา ตาม ชอบ ใจ นั้น.
ละมาน (617:27)
         เปน ชื่อ ต้น หญ้า อย่าง หนึ่ง, ต้น มัน คล้าย กับ ต้น เข้า มัน ขึ้น อยู่ ตาม ทุ่ง นา นั้น.
ละ เมิน (617:28)
         คือ ละ แล้ว เฉย เสีย ไม่ ดู ไม่ แล ไม่ ลำพา นั้น.
ละมุน (617:29)
         คือ อ่อน ละม่อม, เหล็ก ที่ เขา เผา ไฟ ให้ มัน อ่อน, ดัด ไป ดัด มา ได้ นั้น.

--- Page 618 ---
ละม่อม ละไม (618:1)
         คือ กิริยา คน ที่ อ่อน นุ่ม ไม่ กระด้าง กระเดื่อง
ละโมบ (618:2)
         คือ โลภ เอา ของ มาก, คน ปราฐนา กล้า เหน แต่ จะ ได้ ไม่ สู้ มี ความ ละอาย อยาก เอา ของ มาก นั้น.
ละเมอ (618:3)
         คือ อาการ ที่ นอน หลับ ไป, แล้ว พูด ทั้ง หลับ อยู่ เปน ต้น นั้น.
ละม่อม (618:4)
         คือ เสงี่ยม ละมุน, เช่น สัตรี มี สกูล กิริยา ดี ไม่ กระด้าง กระเดื่อง เชื่อม ช้า นั้น.
ละ เมาะ ป่า (618:5)
         มี ความ ว่า ก่อน แล้ว นั้น.
ละ เล้า ละลุม (618:6)
         คือ คล่ำ อยู่ ใน บ้าน.
ละล่ำ ละลัก (618:7)
         คือ คน สติ ไม่ ตั้ง อยู่ เปน ปรกติ, จะ พูดจา ว่า กล่าว มัก พลั้ง ผิด บ่อย นั้น.
ละลุม ละเล้า (618:8)
         ความ เช่น ว่า แล้ว นั้น.
ละลอก (618:9)
         คือ ลูก คลื่น ที่ แตก เปน ฟอง ฉ่า ๆ. อย่าง หนึ่ง หัว ฝี ที่ มัน ขึ้น หัว เดียว เปน ต้น นั้น.
ละ หลวม (618:10)
         คือ อาการ ที่ ดูหมิ่น ปมาท นั้น.
ละลอก แก้ว (618:11)
         คือ หัว ฝี หัว เดียว มัน ขึ้น แสรก เมื่อ ฝีดาษ มัน ขึ้น อยู่ นั้น, ฝี จร ขึ้น มา ว่า ฝี ละลอก แก้ว.
ละ ลิบ (618:12)
         คือ ของ อยู่ ไกล แล ดู เหน ลิบ ๆ.
ละล้า ละลัง (618:13)
         คือ ด่วน ๆ, คน มี ธุระ จะ ไป เร็ว แล รีบ จัดแจง การ ที่ จะ ไป เอา ของ สิ่ง นั้น, วาง อยิบ ของ สิ่ง นี้ ไป.
ละ เลง (618:14)
         คือ ละลาย แป้ง ทำ ขนม เบื้อง เปน ต้น นั้น.
ละ เลีง (618:15)
         คือ ใจ กำเริบ ลำพอง, คน มี ไชย ได้ ชะนะ โดย การ เล่น พะนัน เปน ต้น, แล มี ใจ กำเริบ นั้น.
ละเลิง หลง (618:16)
         คือ ใจ เพลิด เพลิน หลง ไป นั้น.
ละลาด (618:17)
         เปน คำ คน เรียก หน้า ผาก ว่า ละลาด บ้าง, ที่ จะ อาไศรย มัดทะ แต่ ไม่ ถูก, มัดทะ ว่า นะลาต.
ละลิ่ว (618:18)
         คือ ของ อยู่ ที่ สูง นัก ว่า สูง ละ ลิ่ว.
ละลาน ใจ (618:19)
         คือ ปลื้ม ใจ, คน เที่ยว ใน ป่า ไม้ มี ดอก ดาษ เต็ม ไป ใน ดง, ปลื้ม ใจ อยาก ได้ นั้น.
ละเลาะ (618:20)
         คือ ค่อย บรรเทา เปลื้อง ไป นั้น.
ละลม ละลาย (618:21)
         คือ ของ ให้ คน ยืม ไป ใช้, แล ของ นั้น ยับ ย่อย ไป ไม่ ได้ คืน, ว่า ฃอง ละลม ละลาย ไป.
ละเลย (618:22)
         คือ ทิ้ง เฉย ไป.
ละลาย (618:23)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ละลาย น้ำ (618:23.1)
               คือ ของ เช่น ปูน ฤๅ แป้ง เปน ต้น, ใส่ ลง ใน น้ำ กวน คน ให้ มัน เหลว ระคน เข้า กับ น้ำ นั้น.
      ละลาย คำ (618:23.2)
               คือ กล่าว คำ ค้าน คำ ตัด ห้าม ถ้อย คำ ผู้ อื่น เสีย.
ละเล้า ละ ลุม (618:24)
         คือ คน เข้า มา ใน บ้าน ใน เรือน มาก เปน ต้น, บัด เดี๋ยว เที่ยว ไป ข้าง โน้น ข้าง นี้ นั้น.
ละลาย ไป (618:25)
         คือ ของ ละลาย ไป กับ น้ำ, เหมือน เกลือ แช่ ไว้ ใน น้ำ นั้น.
ละ เลาะ (618:26)
         คือ ค่อย เปลื้อง ไป เบา ไป, เช่น คน มี นี่ แล ค่อย หา ทรัพย ผ่อน ให้ เขา ที ละ น้อย นั้น.
ละลาย ยา (618:27)
         คือ เอา ยา ใส่ ลง ใน น้ำ ให้ มัน เหลว ออก ไป นั้น.
ละว้า (618:28)
         คือ คน ภาษา หนึ่ง ชื่อ ละว้า, คน ภาษา นี้ ไม่ มี เมือง มี แต่ บ้าน เที่ยว อาไศรย เมือง ท่าน อยู่.
ละ ไว้ (618:29)
         คือ เว้น วาง ไว้ นั้น.
ละโว้ (618:30)
         เปน ชื่อ ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง ชื่อ มะเขือ ละโว้ ลูก มัน เล็ก เท่า ผล พุทรา พัน มา แต่ เมือง ละโว้.
ละแวก (618:31)
         คือ แว่น แคว้น เมือง กำภูชา, ใน พงษาวะดาร เรียก ว่า เมือง ละแวก, คือ พวก เขมร.
ละวิง (618:32)
         เปน เครื่อง มือ ที่ เขา ทำ ด้าย ธอผ้า, เขา ทำ ด้วย ไม้ เปน เขียง แล้ว ปัก เสา ลง บน เขียง, แล้ว ทำ ไม้ เปน โครง ใส่ ด้าย เสาะ ไป.
ละ วาง (618:33)
         สละ วาง, คือ เว้น วาง เสีย, คน จับ ของ อัน ใด ไว้ แล้ว ปล่อย วาง เสีย ไม่ ถือ ไว้ อีก นั้น.
ละแวง (618:34)
         คือ เสียง ดัง เปน กังวาน ก้อง ไพเราะห์, เช่น เสียง สัตรี สาว ที่ ขับ มะโหรี นั้น.
ละเสีย (618:35)
         คือ เว้น วาง เสีย นั้น.
ละหุ (618:36)
         ฯ แปล ว่า เบา, เช่น ปุยนุ่น เปน ต้น นั้น, ว่า เปน ละหุ อย่าง หนึ่ง แปล ว่า พลัน.
ละหุ่ง (618:37)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ ย่อม อย่าง หนึ่ง, มี ลูก เปน ช่อ เปน ขน หรุ หระ เฃา เก็บ มา ทำ น้ำมัน ได้.
ละหาน (618:38)
         ลำมาบ, ลำ ห้วย, คือ ลำธาร ที่ ใน ป่า ใน ดง, บาง ที เรียก ว่า ลำ ห้วย มี อยู่ ที่ แดน ป่า ไม้ ระหง นั้น.
ละห้อย (618:39)
         กระศัลย์, คือ การ ที่ โศรกเศร้า น่อย ๆ คิด ถึง คน ที่ ตาย ฤๅ พรัด พราก ไป นั้น.

--- Page 619 ---
ละเหี่ย (619:1)
         ละหวย, อีด โรย, คือ อ่อน อก ใจ, เช่น คน ภาย เรือ ไป ทาง ไกล, แล หิว อ่อน ท้อ แท้ เต็ม ที นั้น.
ละออง (619:2)
         คือ ผง ทุลี ที่ ปลิว ลอย อยู่ เปน นิจ, มัก ตก ลง ถูก ของ มี กระจก เปน ต้น ให้ มัว หมอง นั้น.
      ละออง ทุลี (619:2.1)
               คือ ของ ที่ ละเอียด ป่น เปน อะณู ปะระมาณู นั้น.
ละเอียด (619:3)
         คือ ของ ป่น, เช่น คน ทำ ลูก กาแฝ่* เปน ต้น ให้ แหลก ป่น เหมือน แป้ง เข้า สาลี นั้น.
      ละเอียด ละออ (619:3.1)
               คือ สิ่ง ที่ เปน จุณวิจุล นั้น.
ละอาย (619:4)
         คือ ความ อาย, เช่น คน ถ้า จะ แก้ ผ้า นุ่ง ออก เสีย ไม่ ได้ เพราะ เหตุ อัน ใด เหตุ นั้น แล เรียก ว่า ละอาย.
ละเอียด (619:5)
         เปน แป้ง, คือ ของ ที่ ป่น เปน ผง นั้น.
ละออ (619:6)
         คือ สอาจ หมด จด ผ่อง ใส, เช่น คน รูป สรวย สอาจ งาม ไม่ มน หมอง ว่า รูป ละออ.
      ละออ อ่อง (619:6.1)
               คือ ของ ที่ ดี เอี่ยม งาม น่า รัก นั้น.
หลก (619:7)
         ถลก, เลิก, คือ ถก, คน ทำ เนื้อ เปน ต้น แล ถลก หนัง ให้ ออก จาก ตัว มัน. อย่าง หนึ่ง ถลก ผ้า ที่ นุ่ง อยู่ ให้ เหน ขา นั้น.
      หลก ขา (619:7.1)
               ถลก ขา, เลิก ขา, คือ ถลก ขา, คน เลิก ถก ผ้า นุ่ง ขึ้น จะ ข้าม น้ำ เปน ต้น, จน เหน ขา นั้น.
      หลก แค่ง (619:7.2)
               ถลก แค่ง, เลิก แค่ง, คือ ถก แค่ง, คน เลิก ถก ผ้า ฤๅ กังเกง ที่ นุ่ง อยู่ ให้ พ้น แค่ง, เพื่อ จะ ข้าม น้ำ เปน ต้น นั้น.
      หลก ผ้า (619:7.3)
               ถก ผ้า, เลิก ผ้า, คือ ถลก ผ้า นุ่ง อยู่ กับ ตัว, คน จะ ข้าม น้ำ ที่ ตื้น ๆ ไม่ ฦก นัก, แล ถลก ผ้า นุ่ง ขึ้น นั้น.
      หลก เสื้อ (619:7.4)
               ถลก เสื้อ, เลิก เสื้อ, คือ เลิก ลอก เสื้อ ที่ แขน ฤๅ ที่ ตัว ขึ้น จน เหน เนื้อ หนัง, เพื่อ จะ เกา เปน ต้น นั้น.
ลัก (619:8)
         ขะโมย, เปน โจร, คือ ขะโมย, คน เปน โจร เที่ยว ขะ โมย ทรัพย์ สีน ของ ผู้ อื่น เอา มา เปน ของ ตัว นั้น.
      ลัก กิน (619:8.1)
               ขะโมย กิน, เบียด บัง กิน, คือ ขะโมย ของ กิน, คน อยาก กิน ของ อัน ใด แล ไม่ ฃอ เจ้า ของ ขะโมย กิน.
      ลักขณะ (619:8.2)
               คือ อะไวยวะ มี หน้า แล ตา เปน ต้น, ที่ ได้ ส่วน ดี มี ไม่ สั้น นัก* ไม่ ยาว นัก นั้น.
      ลัก ขะโมย (619:8.3)
               คือ เก็บ เอา ฃอง ๆ เขา ที่ เจ้า ของ ไม่ รู้ ไม่ เหน นั้น.
      ลักขณะ โจร (619:8.4)
               คือ ความ ว่า อย่าง โจร, เปน ต้น ให้ ส่ง มัน จำ ไว้ ใน คุก นั้น.
      ลักขณะ ทาษ (619:8.5)
               คือ ความ ว่า ตาม อย่าง ทาษ, มี ทาษ สิน ไถ่ เปน ต้น นั้น.
      ลัก ของ (619:8.6)
               คือ ขะโมย ของ มี เสื้อ ผ้า เปน ต้น, คน เปน โจร เที่ยว ขะโมย เอา ของ ผู้ อื่น นั้น.
      ลัก คน (619:8.7)
               คือ ขะโมย คน เขา ไป, คน เปน โจร เที่ยว ลัก ภา เอา คน ของ เขา ไป นั้น.
      ลัก เงิน (619:8.8)
               คือ ขะโมย เงิน, คน เปน โจร เที่ยว ขะโมย เงิน เขา กลาง คืน บ้าง กลาง วัน บ้าง นั้น.
      ลักะจันทน์ (619:8.9)
               เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, มี แก่น แดง เขา เอา มา ทำ ยา ได้ นั้น.
      ลัก ซ่อน (619:8.10)
               คือ ขะโมย ได้ เอา ของ ไป ไว้ ใน ที่ ลับ, คน เปน โจร เที่ยว ลัก ทรัพย ได้, เอา ซุก ไว้ ที่ ลับ.
      ลัก ภา (619:8.11)
               คือ ขะโมย ได้ แล้ว เอา ไป, คน เปน โจร เที่ยว ขะโมย ได้ ของ แล้ว เอา ไป เปน ของ ตัว.
      ลัก ลอบ (619:8.12)
               คือ ด้อม มอง เข้า ขะโมย ไม่ ให้ ผู้ ใด เหน, คน เปน โจร เที่ยว ด้อม มอง ขะโมย ของ เขา นั้น.
      ลัก ลั่น (619:8.13)
               คือ ของ ไม่ เสมอ กัน ต่ำ ๆ สูง ๆ กว่า กัน, เหมือน ลูก ไม่ เสมอ กัน เปน ต้น นั้น.
      ลัก เลียม (619:8.14)
               คือ เลียม ขะโมย, เช่น คน จะ ขะโมย ของ สิ่ง นี้ แล เก็บ เอา ซ่อน ไว้ ก่อน, เหน ว่า เจ้าของ ลืม แล้ว, ก็ ขะโมย เอา เสีย ที เดียว นั้น.
      ลักษณะ ผัว เมีย (619:8.15)
               คือ ความ ว่า ตาม อย่าง ผัว เมีย จะ อย่า กัน เปน ต้น.
      ลักษณะ กู้ นี่ ถือ สีน (619:8.16)
               คือ ความ ว่า ตาม อย่าง กู้ เงิน กัน, มี ต้อง เสีย ดอก เบี้ย ให้ ใน เดือน หนึ่ง* นั้น.
      ลัก หา ภา หนี (619:8.17)
               คือ ชาย หนุ่ม หญิง สาว สมัค รัก ใคร่ ลัก หญิง ภา หนี ไป นั้น.
      ลัก เอา ไป (619:8.18)
               คือ ขะโมย เอา ของ ไป.
หลัก (619:9)
         คือ ไม้ ใหญ่ เล็ก ที่ เขา ปัก ลง ไว้ สำรับ ผูก เรือ ฤๅ แพ เปน ต้น. อย่าง หนึ่ง ปัก ไว้ ที่ เขตร แดน.
      หลัก กะทู้ (619:9.1)
               คือ ไม้ ที่ เขา ปัก ไว้ เปน เสา ๆ เรียง ไป ที่ ล้อม ด้วย รั้ว นั้น ทำ ด้วย ไม้ จริง ฤๅ ไม้ ไผ่ นั้น.

--- Page 620 ---
      หลัก แจว (620:9.2)
               คือ ดุ้น ไม้ เขา ปัก ไว้ ที่ ริม กราบ เรือ, สำรับ ใส่ ตัว แจว ๆ เรือ นั้น.
      หลัก ไชย (620:9.3)
               เปน ชื่อ กฏหมาย เรื่อง หนึ่ง นั้น.
      หลัก แพ (620:9.4)
               คือ ไม้ สำรับ ปัก ไว้ ผูก แพ ให้ มัน อยู่ นั้น.
      หลัก เมือง (620:9.5)
                คือ ไม้ เสา ที่ ท่าน ปัก ไว้ ใน พระ นคร, เปน ที่ นับ ถือ ว่า สถาน เปน ที่ เทพารักษ สิง สู่ อยู่.
      หลัก เรือ (620:9.6)
               คือ ไม้ สำรับ ปัก ไว้ ผูก เรือ นั้น.
      หลัก โลกย์ (620:9.7)
               คือ ของ ฤๅ คน ที่ ดี ล้ำ เลิศ ล่วง คน ทั้ง ไตรย โลกย์, ไม่ มี ผู้ ใด เสมอ นั้น ว่า เปน หลัก โลกย์, เปน คำ เปรียบ เหมือน หลัก.
      หลัก แหล่ง (620:9.8)
               คือ ไม้ หลัก ที่ เขา ปัก ไว้ สำรับ ผูก งัว ให้ มัน นอน ประจำ เปน นิจ ทุก คืน วัน นั้น.
      หลัก แหลม (620:9.9)
               คือ ไม้ หลัก อัน ใด ทุก อย่าง ที่ เขา เอา พร้า ฤๅ ขวาน ถาก เสี้ยม ให้ เรียว แหลม นั้น.
      หลัก หลาย (620:9.10)
               มั่นคง, คือ หลัก มาก, มี นับ ได้ สิบ ได้ ร้อย. อย่าง หนึ่ง เขา พูด ว่า หลัก หลาย.
      หลัก ลอย (620:9.11)
               เหลว ไหล, คือ หลัก หลุด อยู่ บน หลัง น้ำ, เช่น หลัก ตก ลง ไม่ จม น้ำ ฟู่ ฟ่อง อยู่ นั้น.
ลาก (620:1)
         คือ คร่า ถู ไป, คน จะ เอา ไม้ ซุง ขึ้น แล เอา เชือก พวน ผูก ไม้ ซุง เข้า คร่า ชัก มา.
      ลาก เข็น (620:1.1)
               คือ ลาก ฉุด คร่า เอา บ่า ดัน เรือ เปน ต้น นั้น.
      ลาก ข้าง (620:1.2)
               เขียน ต่อ ออก จาก ตัว อักษร, เช่น ตัว ก แล เขียน อา สระ ใส่ เข้า ให้ เปน กา นั้น.
      ลาก ซุง (620:1.3)
               คือ ลาก ไม้ ซุง สัก ด้วย เชือก พวน เปน ต้น นั้น.
      ลาก ไม้ (620:1.4)
               ฉุด ไม้, คือ เอา มือ คร่า ไม้ มา, คน จะ เอา ไม้ ขึ้น จาก น้ำ เปน ต้น, เอา เชือก ผูก ไม้ คร่า ขึ้น นั้น.
      ลาก เรือ (620:1.5)
               ฉุด เรือ, คือ คร่า เรือ, เช่น คน เอา เชือก ผูก เรือ แล้ว คร่า มา ฤๅ เอา มือ คร่า ไป.
หลาก (620:2)
         อัษจรริย์, คือ ประหลาด, เช่น คน เหน การ ที่ ไม่ เคย เหน, เช่น เหน ของ ใน อากาศ เปน ต้น นั้น.
      หลาก ใจ (620:2.1)
               อัษจรริย์ ใจ, คือ ประหลาด ใน ใจ, เช่น คน ได้ ยิน ได้ ฟัง ข่าว ที่ ไม่ เคย ได้ ยิน ได้ ฟัง นั้น.
หลีก (620:3)
         เลี่ยง, เลี่ยง เลื่อม, คน ไป ใน ที่ ประชุม ใหญ่, แล แล เหน คน มี บุญ มาก มี วาศนา มาก มา, แล เลี่ยง ไป เสีย นั้น.
      หลีก กัน (620:3.1)
               เลี่ยง กัน, คน ไป เรือ ภบ กัน, ข้าง โน้น ไป ข้าง นี้ มา แล เลี่ยง หลบ กัน ไป นั้น.
      หลีก การ (620:3.2)
               เลี่ยง การ, คือ หลบ ลี้ การ, คน ทำ การ งาน นาน นัก แล เกียจ คร้าน แล ลี้ ไป เสีย นั้น.
      หลีก เกวียน (620:3.3)
               เลี่ยง เกวียน, คือ เลี่ยง เกวียน เสีย, คน เดิน ไป ภบ เกวียน มา ก็ เลี่ยง ไป นั้น.
      หลีก คน (620:3.4)
               หลบ คน, คือ เลี่ยง คน, เช่น เดิน ไป ภบ คน อื่น เดิน มา, เรา เดิน ไป ภบ กัน เลี่ยง กัน เสีย มิ ให้ โดน กัน นั้น.
      หลีก เจ้า (620:3.5)
               หลบ เจ้า, คือ เลี่ยง หลบ เจ้า เสีย, คน เดิน ไป เจ้า เดิน มา ตรง กัน เข้า, คน นั้น เลี่ยง หลบ เสีย นั้น.
      หลีก ตัว (620:3.6)
               หลบ ตัว, คือ หลบ ตัว เสีย, เช่น ที่ เขา ใช้ การ งาน อยู่ หลาย คน เขา ให้ มา พร้อม กัน, แต่ คน หนึ่ง ลี้ เสีย ไม่ ไป นั้น.
      หลีก หนี (620:3.7)
               เลี่ยง หนี, คือ หลบ หนี ไป, คน เปน บ่าว ทาษ ท่าน ทน การ งาน ไม่ ได้ เปน ต้น แล หลบ หนี ไป นั้น.
      หลีก บาป (620:3.8)
               เลี่ยง บาป, คือ หลบ การ ที่* เปน บาป, เช่น เขา ชวน ทำ การ ที่ เปน บาป มี กิน เหล้า เปน ต้น, แล ไม่ กิน หลบ เสีย นั้น.
      หลีก ไป (620:3.9)
               หลบ ไป, คือ หลบ ไป, คน กลัว ไภย เปน ต้น, แต่ ตัว หลบ ออก จาก ที่ อยู่, แล้ว หลบ ไป เสีย นั้น.
      หลีก เพื่อน (620:3.10)
               หลบ เพื่อน, คือ หลบ เพื่อน ไป เสีย, เช่น คน อยู่ กับ พวก เพื่อน มาก ๆ, แล เลี่ยง หลบ เพื่อน ไป ไม่ ให้ เขา เหน นั้น.
      หลีก มา (620:3.11)
               เลี่ยง มา, คือ หลบ มา, คน อยู่ ที่ อื่น แล ออก จาก ที่ อยู่ แล หลบ มา ที่ เรา อยู่ นี้, ว่า หลีก มา.
      หลีก หลบ (620:3.12)
               คือ หลบ หลีก, คน เดิน ทาง ไป แล ภบ ผู้ อื่น เดิน สวน มา, แล หลบ หลีก เสีย นั้น.
      หลีก ลี้ (620:3.13)
               คือ หลีก แล้ว เร้น ซ่อน เสีย มิ ให้ ผู้ ใด เหน, ต่อ เสร็จ การ แล้ว จึ่ง สำแดง ตัว.

--- Page 621 ---
      หลีก เลี่ยง (621:3.14)
               คือ หลีก หลบ, คน กลัว เขา จะ จับ ตัว ไป ทำ โทษ เปน ต้น, แล หลีก หลบ เสีย นั้น.
      หลีก เสีย (621:3.15)
               คือ ขยับ เสีย อย่า ให้ กีด ขวาง เขา, เช่น คน เขา ทำ การ คน มา กีด ขวาง อยู่ นั้น.
      หลีก ออก (621:3.16)
               เลี่ยง ออก, คือ หลบ ออก, คน อยู่ ใน หมู่ ใน คะณะ ไม่ ชอบ ใจ จะ อยู่ ก็ ออก จาก หมู่ จาก คะณะ ไป นั้น.
ลึก (621:1)
         ลุ่ม, คือ ที่ ต่ำ ลง ไป ข้าง ล่าง, เช่น ที่ มี สะมุท ทะเล เปน ต้น, ที่ ต่ำ ลง ร้อย เส้น พัน เส้น นั้น.
      ลึก ซึ้ง (621:1.1)
               คือ ฦก เซาะ รุ้ง เข้า ไป, เช่น ที่ แม่ น้ำ ใหญ่ ที่ เปน ที่ วัง จรเข้ เปน ต้น นั้น.
      ลึก ล้ำ (621:1.2)
               ลุ่ม ฦก, คือ ฦก กว่า ที่ ทั้ง ปวง, เช่น ที่ ท้อง มะหา สะมุท ฦก ที่ สุด กว่า ที่ ทุก แห่ง นั้น.
      ลึก ลับ (621:1.3)
               คือ ที่ ฦก แล ไม่ เหน, เช่น ของ อัน ใด ที่ เกิด ขึ้น หลาย ชั่ว อายุ คน.
ลุก (621:2)
         คือ ทำ ตัว ให้ พ้น ขึ้น จาก ที่ นั่ง ฤๅ ที่ สำหรับ นอน เปน ต้น.
      ลุก ขึ้น (621:2.1)
               คือ ทำ ตัว ให้ ลุก ขึ้น พ้น จาก ที่ นั้น, คน ไม่ นอน ไม่ นั่ง แล ทำ ตัว ให้ พ้น จาก ที่ นั้น.
      ลุก นั่ง (621:2.2)
               คือ ทำ กาย ให้ ขึ้น นั่ง อยู่ นั้น, เช่น คน นอน อยู่ แล้ว ลุก ขึ้น นั่ง.
      ลุก ไป (621:2.3)
               คือ ทำ ตัว ให้ ขึ้น แล้ว ไป, เช่น คน จะ ไม่ อยู่ ใน ที่ นั่ง เปน ต้น, แล ทำ ตัว ให้ ขึ้น ไป.
      ลุก (621:2.4)
                เปน ไฟ, คือ ความ เปรียบ ว่า เขา โกรธ โทโษ ขึ้น ราว กับ ไฟ นั้น.
      ลุก มา (621:2.5)
               คือ ทำ ตัว ให้ ขึ้น แล้ว มา, เช่น คน จะ มา หา เรา, แล ทำ ตัว ให้ ขึ้น จาก ที่ มา นั้น.
      ลุก ยืน (621:2.6)
               คือ ทำ กาย สูง ขึ้น, แค่ง ขา เอยียด ตรง นั้น.
      ลุก ล้ม (621:2.7)
               คือ ลุก ขึ้น แล้ว ล้ม ลง, เช่น คน เจ็บ ไม่ มี แรง อยาก ลุก ขึ้น.
หลุกหลิก (621:3)
         ลอกแลก, วอกแวก, คือ อาการ คน ลุกลน เหลือก ลาน ไม่ เรียบ ร้อย นั้น.
ลูก (621:4)
         บุตร์, คือ ทารก เด็ก ที่ บังเกิด แต่ หญิง ชาย ที่ เปน สามี ภรรยา กัน, ทารก นั้น ว่า เปน ลูก.
      ลูก กา (621:4.1)
               คือ ตัว กา เล็ก ๆ ที่ มัน พึ่ง ออก จาก กะเปาะ ไข่ แม่ มัน นั้น.
      ลูก ไก่ (621:4.2)
               คือ ตัว ไก่ เล็ก ๆ ที่ มัน พึ่ง ออก จาก กะเปาะ ไข่ แม่ มัน นั้น.
      ลูก กำพร้า (621:4.3)
               คือ ลูก ที่ พ่อ ตาย ฤๅ แม่ ตาย ฤๅ ตาย ทั้ง พ่อ ทั้ง แม่ นั้น.
      ลูก กะสุน (621:4.4)
               คือ ดิน กลม ๆ เท่า ผล พูดทรา ใหญ่ ๆ คน จะ ยิง สัตว มี กา เปน ต้น.
      ลูก กะดอ (621:4.5)
               คือ ลูก อัณฑะ เมื่อ คน ยัง เปน ทารก อายุ เก้า ขวบ* สิบ ขวบ* เรียก อย่าง นั้น.
      ลูก กะดุม (621:4.6)
               คือ ของ ที่ คน ทำ ใส่ ไว้ ที่ เสื้อ สำหรับ ขัด กับ รัง มัน, มิ ให้ เสื้อ แตก แยก ออก จาก ที่ ต่อ กัน.
      ลูก กะโปก (621:4.7)
               คือ ลูก อัณฑะ เรียก ตาม คำ สับท์, มัน เปน แฝด ห้อย อยู่ ที่ ใต้ องคะชาติ ชาย นั้น.
      ลูก กรอก (621:4.8)
               คือ ลูก คน ที่ ตัว เล็ก ๆ, ยัง ไม่ ถึง กำหนด จะ คลอด มัน ออก มา ตาย นั้น, คน เอา มัน เก็บ ไว้ เส้น ด้วย ของ กิน ถือ ว่า มัน ให้ คุณ.
      ลูก กุญแจ (621:4.9)
               คือ ลูก เหล็ก ฤๅ ทอง เหลือง เขา ทำ ไว้ สำหรับ ไข กุญแจ ที่ ใส่ ลั่น ไว้ นั้น.
      ลูก แก้ว (621:4.10)
               คือ แก้ว ที่ เขา ทำ กลม ๆ, คน เปน ช่าง ทำ แก้ว เอา สิลา มา ทำ แก้ว แล้ว ทำ เปน ลูก กลม ๆ นั้น.
      ลูก ข่าง (621:4.11)
               คือ ลูก เขา ทำ ด้วย ไม้, สัณฐาน เหมือน ลูก ข่าง เสี้ยม, เอา เหล็ก เปน คม เหมือน ปาก สิ่ว* ใส่ เข้า ไว้ เพื่อ จะ ทิ้ง ให้ ถูก ข้าง อื่น แตก.
      ลูก ขุน (621:4.12)
               คือ คน เปน ผู้ พิภาก ชี้ ขาด เนื้อ ความ นั้น, คน เปน ขุนนาง ทำ ราชการ, เปน ผู้ ตัด สีน ชี้ ขาด, ว่า ผู้ นี้ แพ้ ผู้ นี้ ชะนะ นั้น.
      ลูก เขย (621:4.13)
               คือ ชาย ที่ เปน ผัว ของ ลูก สาว, เช่น คน มี ลูก หญิง สาว มี ผัว ๆ นั้น ว่า เปน ลูก เขย.
      ลูก ค้า (621:4.14)
               วานิช, คือ คน ชาย หญิง ที่ ซื้อ ขาย นั้น, คน ขวน ขวาย หา ทรัพย์ ด้วย ซื้อ ขาย นั้น.
      ลูก ครอก (621:4.15)
               คือ ลูก ทาษ เกิด ใน เรือน เบี้ย, คน หญิง ชาย ขาย ตัว เปน ทาษ อยู่ กับ เขา เกิด ลูก เปน ลูกครอก.
      ลูก คลี (621:4.16)
               คือ ลูก ไม้ ที่ เขา ทำ กลม ๆ เท่า ลูก ส้ม เกลี้ยง, แล้ว วาง ลง, คน ขึ้น ม้า เอา ไม้ คลี ตี ลูก นั้น ไป.

--- Page 622 ---
      ลูก คลัก (622:4.17)
               คือ ลูก เหยื่อ ที่ เขา ลอย ตะกาง ไว้ กลาง น้ำ ให้ จร เข้ กิน ติด คา ฅอ นั้น, คน เอา ไม้ ทำ เปน กางเขน แล้ว เอา เหยื่อ หุ้ม ไว้.
      ลูก คิด (622:4.18)
               คือ ลูก ไม้ กลม เท่า ลูก สะกา เขา ใส่ ไว้ ใน ราง สำ หรับ ดีด คิด เงิน เปน ต้น นั้น.
      ลูก ฆ้อง (622:4.19)
               คือ ลูก ทอง เหลือง เขา ทำ เปน อย่าง ใหญ่ เท่า กะ ด้ง อย่าง เล็ก เท่า ปึก ขี้ผึ้ง* สำหรับ ตี ประจำ ยาม เปน ต้น นั้น
      ลูก จ้าง (622:4.20)
               คือ คน มา ทำ การ เอา ค่า จ้าง อยู่ ใน สำนักนิ์ คน ผู้ จ้าง, คน ผู้ อยาก ได้ เงิน ไป ทำ การ ให้ ผู้ จ้าง นั้น.
      ลูก ฉลาก (622:4.21)
               คือ ลูก ไม้ มี มะกรูด มะ นาว เปน ต้น, ที่ เขา เขียน ชื่อ ของ ใส่ เข้า ไว้ ข้าง ใน เพื่อ จะ ทิ้ง ให้ เปน ทาน นั้น.
      ลูก ชู้ (622:4.22)
               คือ ลูก ของ หญิง ที่ ไม่ มี ผัว แล เปน ชู้ กับ ชาย นั้น.
      ลูก ชาย (622:4.23)
               คือ ลูก คลอด ออก มา เปน ผู้ ชาย นั้น.
      ลูก หญิง (622:4.24)
               คือ ลูก คลอด ออก มา เปน ผู้ หญิง นั้น.
      ลูก ดิ่ง (622:4.25)
               คือ ลูก ตุ้ม เขา ผูก เชือก ยาว สำหรับ หยั่ง น้ำ นั้น.
      ลูก โดด (622:4.26)
               คือ ลูก ปืน เขา ใส่ เข้า ยิง แต่ ลูก เดียว นั้น.
      ลูก เดือย (622:4.27)
               คือ ลูก ต้น หญ้า อย่าง ใหญ่ อย่าง หนึ่ง* เขา กิน ได้, อย่าง หนึ่ง ชื่อ เดือย หิน กิน ไม่ ได้.
      ลูก ตา (622:4.28)
               คือ ลูก หน่วย ตา, คือ จักษุ เรียก ตาม สับท์ ภาษา มะคธ, ภาษา โลกย์ ว่า ตา.
      ลูก เต้า (622:4.29)
               คือ ลูก, แต่ เต้า นั้น เปน คำ สร้อย ไม่ มี ความ.
      ลูก แตก (622:4.30)
               คือ ลูก ปืน ยิง ไป แล้ว ตก ลง แตก กระจาย ออก นั้น.
      ลูก ตุ้ม (622:4.31)
               คือ ลูก ทำ ด้วย ทอง เหลือง ให้ ใช้ สำหรับ ถ่วง นาฬิ กา, ฤๅ ถ่วง ท้าย ชั่ง แล ตราชู นั้น.
      ลูก ตัว (622:4.32)
               คือ ลูก เกิด แต่ ตัว มิ ใช่ ลูก คน อื่น นั้น.
      ลูก ท่าน (622:4.33)
               คือ ลูก คน ที่ มี ทรัพย์ มาก ฤๅ มี วาศนา มาก, คน เกรง ต้อง เรียก เขา ว่า ลูก ท่าน นั้น.
      ลูก ธะนู (622:4.34)
               คือ ลูก เหมือน ลูกศร แต่ เขา ใส่ ที่ คัน ธะนู นั้น.
      ลูก นี่ (622:4.35)
               คือ คน ที่ มา กู้ เอา เงิน ท่าน ไป, คน นั้น ว่า เปน ลูก นี่ ท่าน.
      ลูก หนู (622:4.36)
               คือ ลูก สัตว สี่ ท้าว ตัว มัน เล็ก ๆ มัน เที่ยว อาไศรย อยู่ ที่ นา ก็ มี ที่ บ้าน เรือน คน บ้าง.
      ลูก ใน (622:4.37)
               คือ เมล็ด ใน มี เมล็ด ส้ม ฤๅ เมล็ด ไน้หน่า เปน ต้น, ฤๅ ผล มะพร้าว ที่ มี ลูก อยู่ ใน นั้น.
      ลูก นก (622:4.38)
               คือ ลูก สัตว มี ปีก สอง มี เท้า สอง, มัน เกิด ออก จาก ไข่ เปน ตัว บิน ไป นั้น.
      ลูก น้อง (622:4.39)
               คือ ลูก ของ คน ที่ เปน ลูก พ่อ แม่ เดียว กัน, แต่ เปน ผู้ เกิด ผ่าย หลัง นั้น.
      ลูก นาย (622:4.40)
               คือ ลูก ท่าน ผู้ เปน เจ้า เงิน, ฤๅ เปน นาย ใน ราช การ เปน ต้น, เรียก ลูก นาย.
      ลูก บุญ ธรรม (622:4.41)
               คือ ลูก เด็ก ที่ มี ผู้ ยก ให้ เลี้ยง เปน ลูก นั้น.
      ลูก บาตร (622:4.42)
               คือ ลูก ทำ ด้วย งา ช้าง เปน เหลี่ยม เจาะ เปน รู เหลี่ยม ละ รู ไป จน หก รู นั้น.
      ลูก บิด (622:4.43)
               คือ ลูก ทำ ด้วย งา ช้าง* เปน ลูก ยาว สำหรับ ใส่ ที่ สี ซอ สำหรับ ขัน บิด สาย ให้ ตึง นั้น.
      ลูก บ้าน (622:4.44)
               คือ คน ทั้ง ปวง ที่ มิ ใช่ นาย บ้าน, อยู่ ใน บ้าน นั้น.
      ลูก บัว (622:4.45)
               คือ เมล็ด ใน ฝัก บัว, ต้น บัว หลวง มัน ขึ้น เปน กอ มี หน่อ เง่า แล ดอก ฝัก มี เมล็ด ใน ฝัก นั้น
      ลูก ประคำ (622:4.46)
               คือ ลูก เครื่อง มี กำหนฎ ร้อย แปด ลูก, คน เขา เอา ดีบุก แผ่ ออก ลง คุณ พระ, แล้ว เอา ขี้ รัก ปั้น หุ้ม เข้า นั้น.
      ลูก ประคำ ดี ควาย (622:4.47)
               เปน ลูก ไม้ อย่าง หนึ่ง สำหรับ ทำ ยา, มัน ขึ้น เอง ใน ป่า บ้าง, ใน บ้าน ก็ มี บ้าง นั้น.
      ลูก ประคบ (622:4.48)
               คือ ลูก เขา เอา ผ้า ห่อ ยา ไว้ ข้าง ใน, แล้ว นึ่ง ขึ้น ให้ ร้อน แล้ว เอา มา กด ประคบ เข้า ที่ ตัว เพื่อ จะ ให้ หาย เมื่อย ขบ นั้น.
      ลูก ปัด (622:4.49)
               คือ ของ เปน ลูก เล็ก ๆ เจ๊ก ทำ มา ขาย แต่ เมือง จีน ศรี มัน ใส เปน เงา คล้าย กับ ศรี แก้ว นั้น.
      ลูก ปืน (622:4.50)
               คือ ลูก เหล็ก ฤๅ ดี บุก ที่ เขา หล่อ ให้ กลม, ที่ อย่าง ใหญ่ เท่า ลูก มะพร้าว, ที่ อย่าง เล็ก เท่า ลูก กระสุน.
      ลูก ปราย (622:4.51)
               คือ ลูก ปืน อย่าง เล็ก เท่า ลูก พุดทะรักษา เขา ยิง ที หนึ่ง ใส่ ยี่สิบ สามสิบ ลูก, เพื่อ จะ ให้ ถูก มิ ให้ ผิด ดี กว่า ลูก โดด นั้น.
      ลูก ผัก (622:4.52)
               คือ ลูก ผัก สาระพัด มี ลูก ผัก ชี เปน ต้น, บันดา เมล็ด ผัก ทั้ง ปวง ที่ มี ใน ฝัก ใน ลูก นั้น.

--- Page 623 ---
      ลูก แฝด (623:4.53)
               คือ ลูก เกิด ใน ครรภ พร้อม กัน คราว เดียว กัน, ออก เนื่อง กัน นั้น.
      ลูก ไฟ (623:4.54)
               คือ ละออง ปลิว มา เมื่อ ไฟ ไหม้, ครั้น ไฟ เกิด ขึ้น ไหม้ บ้าน เรือน มาก แล้ว มี ละออง ที่ ไฟ ติด ปลิว มา.
      ลูก ฟูก (623:4.55)
               คือ ฟูก ที่ เขา เอย็บ เปน ลูก ๆ นั้น.
      ลูก ไม้ (623:4.56)
               คือ ผล ไม้, บันดา ไม้ น้อย ใหญ่ ใน ป่า แล ใน บ้าน, มัน มี ผล ออก มา ตาม ระดู กาล ของ มัน นั้น.
      ลูก มะหวด (623:4.57)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, มี ผล กลม รี สุก มี รศ หวาน น่อย ๆ
      ลูก หมาก (623:4.58)
               คือ ผล หมาก, ลาง ที เขา กลึง ไม้ เปน ลูก กลม คล้าย ลูก หมาก, ก็ เรียก ว่า ลูก หมาก เปน ความ เปรียบ บ้าง.
      ลูก หมึก (623:4.59)
               คือ ไม้ ลูก ชุบ หมึก สำหรับ คลึง กลิ้ง ทา ตัว พิมพ์ อักษร ให้ ดำ แล้ว ตี พิมพ์ หนังสือ นั้น.
      ลูก มือ (623:4.60)
               คือ คน ทำ การ สิ่ง ใด, แล ตัว เปน นาย ช่าง จะ ทำ การ ให้ แล้ว เร็ว, แล หา เอา คน อื่น มา ช่วย เข้า นั้น
      ลูก ยาง (623:4.61)
               เปน ลูก ต้น ไม้ ใหญ่ อย่าง หนึ่ง เรียก ต้น ยาง, ลูก มัน มี กลีบ เปน ปีก ยาว ๆ นั้น.
      ลูก ย่าง (623:4.62)
               คือ ลูก โซ่ เหล็ก เขา ทำ ใส่ ไว้ ที่ กรวน สำหรับ จำ คน มี คู่ ละ สี่ ลูก ภอ ให้ เดิน ย่าง ได้ นั้น.
      ลูก โยน (623:4.63)
               คือ ลูก ดิน เขา ปั้น ให้ กลม เท่า ลูก หมาก แล้ว เอา ต้น หญ้า, ยาว สัก ศอก เสศ ใส่ เข้า เปน หาง สำหรับ ทิ้ง ไล่ นก ลง กิน เข้า ใน นา นั้น.
      ลูก รัก (623:4.64)
               คือ ลูก ไม้ อย่าง หนึ่ง, มัน ขึ้น อยู่ ตาม ฝั่ง น้ำ แนว คลอง มัน มี ยาง ขาว แต่ กิน ไม่ ได้ นั้น.
      ลูก รอก (623:4.65)
               คือ ลูก สัตว สี่ เท้า จำพวก หนึ่ง มัน อาไศรย อยู่ แต่ บน ปลาย ไม้ ไม่ ใคร่ ลง ดิน นั้น. อย่าง หนึ่ง เขา ทำ ไม้ สำ หรับ ชัก พวน นั้น.
      ลูก เล็ก (623:4.66)
               คือ ลูก สิ่ง ของ ทั้ง ปวง มี ถ้วย จาน เปน ต้น, ฤๅ ผล ไม้ อัน ใด ฤๅ ลูก คน แล ลูก สัตว ที่ เล็ก นั้น.
      ลูก แล่ง (623:4.67)
               คือ คน เปน ลูก มือ เขา, เช่น คน เปน นาย พราน เที่ยว ยิง เนื้อ มี คน เปน ลูก มือ สำหรับ ใช้ นั้น.
      ลูก เลี้ยง (623:4.68)
               คือ ลูก มิ ใช่ เกิด แต่ ตัว, เกิด เพราะ คน อื่น เขา ให้ เปน ต้น.
      ลูก หลาน (623:4.69)
               คือ คน เปน ลูก ของ ลูก เปน ต้น, เรียก ว่า ลูก หลาน, คน อยู่ ใน วงษ ญาติ แต่ อายุ อ่อน น้อย เปน เด็ก นั้น.
      ลูก วัต (623:4.70)
               คือ คน บวช เปน พระ อยู่ ใน อาราม, แต่ ไม่ ได้ เปน สมภาร เปน แต่ อันดัพ นั้น.
      ลูก สิษ (623:4.71)
               คือ คน ที่ มา เรียน ความ รู้ วิชา ต่าง ต่าง, มี หนังสือ เปน ต้น, มา อยู่ ใน สำนักนิ์ บ้าง เช้า มา ค่ำ ไป บ้าง.
      ลูก ศร (623:4.72)
               คือ ลูก อาวุธ ชื่อ ศร, เขา ทำ ด้วย ไม้ ปลาย แหลม คม มี เงี่ยง สอง ข้าง นั้น.
      ลูก สาว (623:4.73)
               ธิดา, คือ ลูก หญิง ที่ อายุ ตั้ง แต่ สิบ ห้า ปี ขึ้น ไป ถึง ยี่ สิบ ปี, ถ้า มาก กว่า นั้น ไม่ เรียก สาว.
      ลูก เสือ (623:4.74)
               เปน ลูก สัตว สี่ ท้าว จำพวก หนึ่ง, มัน อยู่ ป่า ใหญ่* มัน กิน มนุษ กิน เนื้อ กวาง.
      ลูก สะบ้า (623:4.75)
               เปน ลูก เถา วัล อย่าง หนึ่ง มัน กลม ๆ, เด็ก เก็บ มา ล้อ เล่น. อย่าง หนึ่ง เขา ทำ ด้วย ไม้ กลม เหมือน งบ น้ำอ้อย นั้น.
      ลูก ล้อ (623:4.76)
               คือ ลูก ขา*ลี่, ที่ เขา ทำ สำรับ ลาก ไม้ เปน ต้น นั้น.
      ลูก เห็บ (623:4.77)
               คือ เม็ด ฝน ที่ แค่น ค่น ตก ลง ถึง พื้น แล้ว ละลาย ไป เปน น้ำ นั้น.
      ลูก อ่อน (623:4.78)
               คือ ทารก ที่ มัน ออก จวก ท้อง แม่, ตั้ง แต่ วัน หนึ่ง ขึ้น ไป จน อายุ ถึง ขวบ เสศ นั้น.
เลก (623:1)
         คือ ตัว เลข, มี เก้า แม่ ตั้ง แต่ ๑ จน ถึง ๙ อย่าง นี้ นั้น.
      เลข คูณ (623:1.1)
               คือ เลข ที่ ทวี ขึ้น, ตั้ง เลข หนึ่ง ลง แล้ว เอา เลข สอง ทวี ลง ที่ เลข หนึ่ง เปน สอง ขึ้น, เลข สอง นั้น เปน เลข คูณ.
      เลก ทนาย (623:1.2)
               คือ คน สัก ไว้ ให้ ขุนนาง ได้ ใช้ สำรับ ตัว. เช่น มหาดเลก เจ้า นั้น.
      เลก ทาษ (623:1.3)
               คือ ทาษ ต้อง สัก ข้อ มือ ไว้ รับ ราชการ ใน หลวง บ้าง นั้น.
      เลข ผา นาที (623:1.4)
               เลฃ เช่น ว่า แล้ว, แต่ คำ ว่า ผา นาที นั้น เปน คำ สร้อย.
      เลข ยัญ (623:1.5)
               คือ ตัว เลข มี เก้า ตัว, แต่ ยัญ นั้น เขา เขียน รูป ต่าง ๆ มี อย่าง นี้ เปน ต้น.

--- Page 624 ---
      เลข ลับ (624:1.6)
               คือ เลข เขา คิด หา ตัว เลข ให้ เรียก กัน ทำ ขาด ตัว ได้ นั้น.
      เลก หลวง (624:1.7)
                คือ คน ไพร่ หลวง มิ ใช่ เลก สม ของ เจ้า แล ขุนนาง นั้น.
      เลข หาร (624:1.8)
               คือ เลข เขา เขียน ไว้ เบื้อง ต่ำ เลข ตั้ง, แล้ว หา เลข ลับ เขียน ลง ข้าง ใต้ จึ่ง เรียก กัน นั้น.
      เลก อาษา (624:1.9)
               คือ ไพร่ หลวง รับ อาษา ทำ ศึก เปน ต้น นั้น.
เล็ก (624:1)
         คือ ของ มี อย่าง หนึ่ง, เช่น เข็ม เย็บ ผ้า นั้น.
      เล็ก น้อย (624:1.1)
               คือ ลูก ยัง เด็ก เล็ก อยู่ นั้น.
เหล็ก (624:2)
         คือ ขอ แขง กระด้าง ต่อ ถูก ไฟ เข้า จึ่ง อ่อน, ตี เปน มีด เปน พร้า เปน ต้น นั้น.
      เหล็ก กล้า (624:2.1)
               คือ เหล็ก แขง นัก, ทำ เปน มีด พร้า เปน ต้น, ชุบ น้ำ ทั้ง ร้อน จึ่ง แขง คม ฟัน ไม้ ได้ นั้น.
      เหล็ก ค้อน (624:2.2)
               คือ ค้อน เหล็ก เขา ทำ สำรับ ตี เหล็ก นั้น.
      เหล็ก จึ้ง (624:2.3)
               คือ เหล็ก เขา ทำ ปลาย แหลม คม สำรับ เจาะ ไม้ ไช รู ไม้ ฤๅ ทำ เรือ เข้า ไม้ เรือ นั้น.
      เหล็ก จาน (624:2.4)
               คือ เหล็ก เล็ก เท่า ต้น คา เอา ไม้ ใส่ ทำ ด้ำ ฝน ให้ แหลม, แทง ใบ ลาน ทำ อักษร นั้น.
      เหล็ก ไช (624:2.5)
               คือ เหล็ก แหลม สำรับ เจาะ ไม้ ทำ การ อัน ใด ๆ นั้น.
      เหล็ก ชุ่ย (624:2.6)
               คือ เหล็ก ไม่ มี หัว เห็ด เหมือน ตะปู นั้น.
      เหล็ก แซ่ (624:2.7)
               คือ เหล็ก ทำ กลม ยาว สำรับ กะทุ้ง ดิน เมื่อ ยัด ปืน นั้น.
      เหล็ก ตะปู (624:2.8)
               คือ เหล็ก อ่อน แต่ เขา ตี ให้ เล็ก ยาว องคุลี หนึ่ง บ้าง, อย่าง ใหญ่ สิบ แปด นิ้ว สิบ เก้า นิ้ว มี บ้าง.
      เหล็ก ไน (624:2.9)
               คือ เหล็ก เขา ทำ ปลาย เรียว แหลม เล็ก, เช่น หาง หนู แล ใส่ เข้า ใน ไม้ สำรับ ปั่น ด้าย นั้น.
      เหล็ก บิด (624:2.10)
               คือ เหล็ก มี เฟือง เปน เกลียว, มี ด้ำ เขา หัน บิด เจาะ ไม้ ทำ การ อัน ใด นั้น.
      เหล็ก (624:2.11)
                เปน, คือ แม่ เหล็ก ที่ มัน รู้ หัน เวียน ไป หา เหล็ก ที่ เขา ล่อ มัน, เหมือน เข็ม สำรับ เขา เดิน เรือ นั้น.
      เหล็ก พืด (624:2.12)
               คือ เหล็ก เปน แผ่น แต่ ทำ ยาว สำรับ เปน ปลอก รัด เสากระโดง เปน ต้น นั้น.
      เหล็ก ไฟ (624:2.13)
               คือ เหล็ก ที่ เขา ตี เข้า กับ หิน ให้ เกิด ไฟ ตีด* ขึ้น, หูง เข้า ก็ ได้ จุด ประทีป สร่อง ให้ สว่าง ก็ ได้ นั้น.
      เหล็ก หมาด (624:2.14)
               คือ เหล็ก แหลม สำรับ เจาะ ไม้ ทำ การ อัน ใด, แต่ เขา ปั่น หัน เอา ด้วย มือ.
      เหล็ก ไหล (624:2.15)
               คือ เหล็ก เปน ก้อน แร่ ใน ดิน, เขา ขุด เอา มา ใส่ ไฟ สุม เข้า เนื้อ เหล็ก ก็ ไหล ออก มา.
      เหล็ก ลาน (624:2.16)
               คือ เหล็ก บาง, เขา ทำ เปน ขด ม้วน เข้า หลาย ชั้น สำรับ ใส่ ใน นาฬิกา นั้น.
      เหล็ก สกัด (624:2.17)
               คือ เหล็ก มี คม ที่ เขา สับ ตะใบ เปน ต้น นั้น.
      เหล็ก สว่าน (624:2.18)
               คือ เหล็ก แหลม มี ด้ำ แล สาย สำรับ หัน เจาะ ไม้ อัน ใด ๆ นั้น.
      เหล็ก อ่อน (624:2.19)
               คือ เหล็ก ไม่ แขง นัก, ทำ เครื่อง ใช้ เปน ต้น ว่า มีด พร้า ฟัน สับ ไม้ ไม่ เข้า อ่อน ยู่ ไป นั้น.
แลก (624:3)
         เปลี่ยน, คือ เปลี่ยน กัน, คน หนึ่ง มี ของ อย่าง หนึ่ง, ๆ เขา เปลี่ยน กัน นั้น.
      แลก กัน (624:3.1)
               เปลี่ยน กัน, คือ เปลี่ยน ของ กัน, เช่น คน หนึ่ง มี ผ้า นุ่ง อยาก ได้ กังเกง, เอา ผ้า เปลี่ยน เอา กังเกง.
      แลก เข้า (624:3.2)
               หา เข้า, คือ เปลี่ยน ของ อื่น กะ เข้า, คน มี หมาก พลู เปน ต้น, เปลี่ยน เอา เข้า ตาม มาก แล น้อย.
      แลก ฃอง (624:3.3)
               เปลี่ยน ของ, คือ ของ ต่อ ของ เปลี่ยน กัน, คน หนึ่ง มี ขนม เปน ต้น แล เปลี่ยน เอา ผล ซ่ม นั้น.
      แลก เงิน (624:3.4)
               เปลี่ยน เงิน, คือ เงิน กับ เงิน เปลี่ยน กัน, คน หนึ่ง มี เงิน เหรียญ ฃอ เปลี่ยน เอา เงิน บาท นั้น.
      แลก ช้าง (624:3.5)
               เปลี่ยน ช้าง, คือ เอา ของ อื่น เปลี่ยน เอา ช้าง, คน มี กระบือ อยาก ได้ ช้าง, เอา กระบือ เปลี่ยน เอา นั้น.
      แลก ทอง (624:3.6)
               เปลี่ยน ทอง, คือ เอา ฃอง อื่น เปลี่ยน เอา ทอง, คน มี ของ เปน ต้น ว่า เข้า ปลา ฃอ เปลี่ยน เอา ทอง นั้น.
      แลก เปลี่ยน (624:3.7)
               คือ ของ สารพัด เปลี่ยน กัน, คน มี ของ ต่าง ๆ แล อยาก ได้ ของ อย่าง อื่น เปลี่ยน เอา นั้น.
      แลก ผ้า (624:3.8)
               คือ เอา ของ อื่น เปลี่ยน เอา ผ้า, คน มี งาช้าง เปน ต้น อยาก ได้ ผ้า เปลี่ยน เอา นั้น.
      แลก ม้า (624:3.9)
               คือ เอา ของ อื่น เปลี่ยน เอา ม้า, คน มี กระบือ อยาก ได้ ม้า เอา กระบือ เปลี่ยน เอา นั้น.

--- Page 625 ---
      แลก เรือ (625:3.10)
               คือ เอา ของ อื่น เปลี่ยน เอา เรือ, คน มี แพ อยาก ได้ เรือ แล เอา แพ เปลี่ยน เอา นั้น.
      แลก แหวน (625:3.11)
               คือ เอา ของ เปลี่ยน เอา แหวน นั้น.
      แลก เอา (625:3.12)
               คือ เปลี่ยน เอา, คน เปลี่ยน เอา ของ อัน ใด ๆ กับ ผู้ อื่น, ผู้ เจ้า ของ ยอม ให้ แล ถือ เอา นั้น.
แหลก (625:1)
         ป่น, คือ เลอียด เปน ผง, เขา ป่น ของ มี ลูก กาแฝ่ เปน ต้น ให้ เลอียด เปน จุณ ไป นั้น.
      แหลก (625:1.1)
                เปน จุณ, ป่น เปน จุณ, คือ แหลก ป่น เปน ผง, คน ตำ ชัน จะ ยา เรือ เปน ต้น ทำ ให้ ชัน แหลก ป่น นั้น.
      แหลก ป่น (625:1.2)
               ป่น เลอียด, คือ แหลก เลอียด เช่น แป้ง เข้า สาลี ๆ นั้น แหลก เลอียด นัก.
      แหลก ยับ (625:1.3)
               ป่น ยับ, เช่น ของ มี ประทุน เรือ เปน ต้น, ที่ ไป ใน ช่อง แคบ* เบียด กัน ระยำ เยิน นั้น.
      แหลก ย่อย (625:1.4)
               ป่น ย่อย เช่น เขา ทุบ เหล็ก กระทะ จะ ทำ ดอกไม้ ไฟ พะเนียง, เขา ทุบ แหลก ย่อย ไป นั้น.
      แหลก (625:1.5)
                เปน ผง, ป่น เปน ผง, เช่น เขา บด ลูก กาแฝ่ เปน ต้น ให้ มัน แหลก ป่น เปน ผง เพื่อ จะ กิน นั้น.
      แหลก เลอียด (625:1.6)
               ป่น เลอียด, คือ แหลก เปน จุณ, เช่น กับ ฝุ่น ขาว ที่ เปน เครื่อง เขียน มา แต่ จีน นั้น.
      แหลก เหลว (625:1.7)
               เช่น ชัน ที่ เขา ละลาย ด้วย น้ำมันยาง จะ ยา ลา พอน เรือ ให้ ทั่ว ทั้ง นอก ทั้ง ใน นั้น.
โลกย (625:2)
         คือ ที่ ว่าง เปน ที่ เปล่า ทั่ว ทั้ง พิภพ, มี พื้น แผ่นดิน แล ภูเขา แล มหาสมุท เปน ที่ สัตว อาไศรย นั้น.
      โลกยกะบาล (625:2.1)
               ฯ เปน สับท์ แปล ว่า เลี้ยง รักษา โลกย, คือ เทวดา เปน ผู้ เลี้ยง รักษา โลกย.
      โลกย เทวดา (625:2.2)
               คือ โลกย ชั้น บน เปน ที่ เทวดา อาไศรย อยู่, มี วิมาน น้อย ใหญ่ แล สระ สวน ต่าง ๆ นั้น.
      โลกย ธรรม (625:2.3)
               คือ ธรรม แปด ประการ, คือ ลาโภ หนึ่ง* อะลาโภ* หนึ่ง, ยะโส หนึ่ง อะยะโส หนึ่ง, นินทา หนึ่ง ปะสังโส หนึ่ง, ศุโข หนึ่ง ทุกโข หนึ่ง, ว่า เปน ไป ใน โลกย เปน ธรรมดา.
      โลกธาตุ (625:2.4)
               คือ พิภพ โลกย ที่ ดำรงค์ ทรง ตน อยู่ เอง นั้น.
      โลกย นี้ (625:2.5)
               คือ ปัจจุบัน ชาติ นี้, คือ ชน ทั้ง ปวง เปน อัน มาก
      โลกย พิภพ (625:2.6)
               คือ พิภพ เปน ที่ โลกย.
      โลกย มะนุษ (625:2.7)
               คือ โลกย ชั้น ล่าง เปน ที่ อาไศรย แห่ง มะนุษ, มี บ้าน เมือง น้อย ใหญ่ แลนิคม ธานี นั้น.
      โลกย โวหาร (625:2.8)
               คือ ถ้อย คำ ของ เหล่า โลกย ทั้ง ปวง, มิ ใช่ คำ พระเจ้า นั้น.
      โลกย สัณฐาน (625:2.9)
               คือ แผน ที่ โลกย, ว่า มี สิ่ง นั้น ๆ.
ลอก (625:3)
         ถลอก, คือ ปอก ถลก, คน จะ ทำ การ อัน ใด ด้วย ต้น กล้วย, แล ตัด เอา ต้น มัน บ่อก เอา กาบ นั้น.
      ลอก คราบ (625:3.1)
               ถลก คราบ เก่า เสีย, เปลี่ยน หนัง เก่า เสีย, คือ ลอก หนัง ออก เสีย, เช่น งู มัน ลอก หนัง เก่า ออก เสีย นั้น, ว่า ลอก คราบ.
      ลอก หนัง (625:3.2)
               คือ ทำ ให้ หนัง ออก จาก ตัว สัตว เปน ต้น, เช่น คน จะ กิน เนื้อ แพะ แล ทำ หนัง ให้ ออก นั้น.
      ลอก หนังสือ (625:3.3)
               คือ เขียน จำลอง หนังสือ ออก ตาม ฉบับ นั้น.
      ลอก ที่ (625:3.4)
               ลอก ท้อง ร่อง, ขุด ท้อง ร่อง, คือ เขา ทำ ที่ สวน เปน ต้น, เขา เอา จอบ ตัก เอา ดิน โคลน ใน ท้อง ร่อง ขึ้น ไว บน หลัง ร่อง นั้น.
      ลอก ปอก (625:3.5)
               คือ ลอก ปอก, เช่น คน ทำ ต้น กล้วย ไม่ ให้ มี กาบ นั้น.
      ลอก เปลือก (625:3.6)
               คือ ลอก เอา เปลือก ไม้ ออก, เช่น คน จะ ฟั่น เชือก แล เอา ต้น ปอ มา ลอก เอา เปลือก นั้น.
หลอก (625:4)
         หลอน, ลวง, คือ แสดง ความ ไม่ จริง, เช่น ปิศาจ มัน ทำ มายา ทำ รูป ให้ เปน เสือ ช้าง เปน ต้น นั้น.
      หลอก กัน (625:4.1)
               หลอน กัน, ลวง กัน, คือ แสดง ความ ไม่ จริง แก่ กัน, ให้ เพื่อน เหน ว่า จริง. อย่าง หนึ่ง พูด ฬ่อ ลวง ด้วย ความ เท็จ.
      หลอก กิน (625:4.2)
               หลอน กิน, ฬ่อ กิน, คือ ลวง กิน, เช่น พูด กัน ว่า ถ้า ท่าน ให้ เรา กิน อิ่ม แล้ว, ข้า จะ ไป ด้วย เปน ต้น ครั้น กิน แล้ว ก็ ไม่ ไป นั้น.
      หลอก ข้า (625:4.3)
               หลอน ข้า, ลวง ข้า, คือ เขา พูด ว่า คน นั้น พูด ลวง ข้า ว่า จะ ให้ ของ สิ่ง นั้น แล้ว ไม่ ให้. อย่าง หนึ่ง บอก ว่า ผี มัน ลอก ข้า.

--- Page 626 ---
      หลอก ใคร (626:4.4)
               หลอน ใคร, ลวง ใคร, คือ เขา พูด ว่า จะ มา ลอก ใคร, เช่น คน พูด ปด ว่า เรา ได้ เหน เทวดา เปน ต้น, คน ไม่ เชื่อ กลับ ว่า จะ มา หลอก ใคร.
      หลอก เจ้า (626:4.5)
               ลวง เจ้า, หลอน เจ้า, คือ ปด เจ้า ลวง เจ้า, คน ขี้ ปด มัก ลวง เจ้า, เช่น เจ้า ใช้ ไป ราชการ อัน ใด ตัว ไม่ ได้ ไป ปด ว่า ดี ฉัน ไป แล้ว.
      หลอก นาย (626:4.6)
               ลวง นาย, โกหก นาย, คือ ลวง นาย, เช่น คน ไป หน ทาง กับ นาย ถึง ที่ ไม่ มี สัตว ร้าย, ลวง นาย ว่า ที่ นี่ มี สัตว ร้าย.
      หลอก เรา (626:4.7)
               โกหก เรา, โกง เรา, คือ ลวง เรา, มี คน มา พูด ลวง ว่า จะ ให้ ของ เปน ต้น, แล้ว ภาย หลัง ไม่ ให้ ว่า ลวง เรา
      หลอก ลวง (626:4.8)
               หลอน ลวง, ฬ่อ ลวง, คือ ความ เจือ กัน อยู่ ทั้ง สอง คำ ความ คล้าย กัน, ลวง เรา ว่า หลอก เรา ก็ ได้ นั้น.
      หลอก เล่น (626:4.9)
               โกหก เล่น, โกง เล่น, คือ เขา พูด ลวง ว่า เรา ได้ เที่ยว ไป ใน ป่า, เรา ได้ เหน เทวะดา มา พูด จา กับ เรา, แต่ ความ ไม่ จริง เลย.
      หลอก หลอน (626:4.10)
               นี่ ก็ เปน ความ คล้าย กัน ทั้ง สอง คำ, แต่ คำ หลอน นั้น มี ความ ว่า เหมือน ม่อ ใหม่, คน แรก หูง เข้า เอา ตั้ง บน เตา ไฟ เร่ง ไฟ ให้ ม่อ เข้า เดือด เร็ว นั้น.
      หลอก ให้ (626:4.11)
               โกหก ให้, โกง ให้, คือ เขา ลวง ได้, เช่น คน มี ผู้ มา ว่า กล่าว ลวง ด้วย ความ เท็จ อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น.
      หลอก เอา (626:4.12)
               ลวง เอา, ฬ่อ เอา, คือ เขา ลวง เอา ของ ได้ มี ผู้ อื่น มา พูด ปด ว่า เจ้า รับ สั่ง ให้ หา ผู้ นั้น ก็ ไป, ว่า ลวง เอา ได้.
ลวก (626:1)
         ลน, คลอก, คือ เอา น้ำ ร้อน เท รด ลง ที่ ผ้า ฤๅ ใบ ไม้ เปน ต้น, เพื่อ จะ ให้ ชำระ ผ้า ให้ สิ้น มลทิน ฤๅ ให้ ใบไม้ ตาย จะ กิน เปน ต้น.
      ลวก น้ำ ร้อน (626:1.1)
               สุ น้ำ ร้อน, คือ เอา น้ำ ร้อน เท รด ลง ที่ ของ เช่น ว่า, มี ผ้า เปน ต้น เพื่อ จะ ชำระ ผ้า ให้ หมด จด นั้น.
      ลวก ลน (626:1.2)
               คือ เอา น้ำ ร้อน เท รด ลง ที่ ของ, แล้ว เอา ของ ออก อัง ไฟ เพื่อ จะ ให้ ของ นั้น แห้ง*.
เลือก* (626:2)
         จัด, สัน, คือ จัด สัน เอา แต่ ของ ที่ ดี, เช่น คน จะ ซื้อ ของ ที่ มี มาก, แล จัด เอา แต่ ของ ที่ ดี.
      เลือก การ (626:2.1)
               คือ การ มี หลาย อย่าง, เปน การ หนัก บ้าง เบา บ้าง, แล เอา แต่ การ ที่ เบา นั้น.
      เลือก คน (626:2.2)
               คือ เอา คน ที่ ชอบ ใจ ไว้, คน ที่ ไม่ ชอบ ใจ ไม่ เอา นั้น.
      เลือก เงิน (626:2.3)
               สัน เงิน, คือ จัด เอา แต่ เงิน ที่ ดี, เช่น เงิน ดี ปน อยู่ กับ เงิน ไม่ ดี, แล คน จัด เอา เงิน ดี นั้น.
      เลือก เจ้า (626:2.4)
               สัน หา เจ้า, จัด หา เจ้า, คือ คน จะ เข้า อยู่ กับ เจ้า เอา เปน ที่* พึ่ง, เขา เลือก สัน เอา ที่ เจ้า มี บุญ มาก ไม่ ให้ คน ข่มเหง ได้ นั้น.
      เลือก ดู (626:2.5)
               คือ จัด สัน เอา, คน จะ หา ของ อัน ใด ที่ ปน กัน อยู่ ทั้ง ชั่ว ทั้ง ดี, เขา จัด ดู แต่ ที่ ของ ดี ๆ นั้น.
      เลือก ที่ (626:2.6)
               คือ เอา แต่ ที่ เปน ที่ ชอบ ใจ นั้น.
      เลือก หน้า (626:2.7)
               คือ จัด สัน เอา คน ที่ หน้า ดี, คน จะ ให้ ของ แก่ คน มาก หลาย คน, จัด ของ ให้ ดี ๆ แก่ คน ที่ ชอบ กัน นั้น.
      เลือก ไป (626:2.8)
               คือ จัด ซัด ไป นั้น.
      เลือก ลาน (626:2.9)
               สัน เอา ลาน, คือ เลือก ใบ ลาน, เขา เลือก ลาน เอา แต่ ใบ ดี ๆ ไม่ แตก ร้าว นั้น.
      เลือก ไว้ (626:2.10)
               จัด ไว้, สัน ไว้, คือ จัด สัน ไว้, คน เก็บ ของ อัน ใด ไว้ ตาม อย่าง ดี แล ชั่ว เปน อย่าง ๆ นั้น.
      เลือก วัน (626:2.11)
               สัน หา วัน, คือ พิจารณา เอา วัน, เช่น เขา จะ ทำ การ เปน มงคล, เขา พิจารณา วัน มี ฤกษ ดี ยาม ดี นั้น.
      เลือก สัน (626:2.12)
               คือ พิจารณา สัน เอา ของ อัน ใด ที่ ดี ๆ, ถ้า ของ อัน ใด ไม่ ดี ก็ เอา ออก เสีย คัด เอา แต่ ดี นั้น.
      เลือก หา (626:2.13)
               สัน หา, คือ พิจารณา ค้น เอา แต่ ของ ดี, เช่น ของ ชั่ว กับ ดี ปน คละ กัน อยู่, เขา ค้น เอา แต่ ของ ที่ ดี นั้น.
      เลือก ให้ (626:2.14)
               จัด ให้, คือ จัด สัน เอา ของ ให้ แก่ คน ทั้ง ปวง ที่ ชอบ กัน, ก็ จัด เอา ของ ที่ ดี ให้, ที่ ไม่ ชอบ กัน ก็ เอา ของ ที่ ชั่ว ให้ นั้น.
      เลือก แห่ง (626:2.15)
               บาง แห่ง, คือ จัด ให้ ของ เปน แห่ง ๆ, เช่น รู้ จัก คน มาก หลาย บ้าน, จัด ของ ให้ เปน แห่ง ๆ นั้น.
      เลือก หวง (626:2.16)
               คือ พิจารณา หวง เอา, เช่น จะ หวง สิ่ง ของ ไว้, แล พิจารณา จัด สัน เอา แต่ ที่ ของ ชอบ ใจ นั้น.

--- Page 627 ---
      เลือก เอา (627:2.17)
               สัน เอา, จัด เอา, คือ จัด เอา ตาม ชอบ ใจ, คน จะ ต้อง การ ของ อัน ใด ๆ แล ดู จัด สัน เอา ตาม ชอบ ใจ รัก นั้น.
      เลือก ออก (627:2.18)
               สัน ออก, คือ พิจารณา จัด เอา ของ ที่ ชั่ว ออก เสีย นั้น.
      เลือก อัน (627:2.19)
               บาง อัน, คือ จัด เอา ที ละ อัน. อย่าง หนึ่ง คน พูด ถึง นา ที่ เปน กะทง ๆ, ฤๅ ทะลาย หมาก แล ทะลาย มะพร้าว ที่ ใหญ่ เล็ก ว่า อัน ใหญ่.
เหลือก ตา (627:1)
         คือ แกล้ง ทำ ตา ดำ ให้ ค่อน ขึ้น ไป อยู่ ข้าง บน นั้น.
เลิก (627:2)
         คือ อยุด ไม่ ทำ การ ต่อ ไป ฤๅ ไม่ เล่น ต่อ ไป เปน ต้น นั้น.
      เลิก การ (627:2.1)
               คือ รื้อ ถอน เสีย ไม่ ทำ การ ต่อ ไป, คน ทำ การ อัน ใด แล้ว เสร็จ ไม่ ทำ การ นั้น ต่อ ไป อีก นั้น.
      เลิก ความ (627:2.2)
               คือ ความ แล้ว แก่ กัน ไม่ ว่า กัน นั้น.
      เลิก งาน (627:2.3)
               คือ รื้อ ถอน งาน การ อยุด เสีย, คน ให้ มี งาน โขน หนัง ฤๅ ละคอน เปน ต้น เสร็จ แล้ว อยุด เสีย นั้น.
      เลิก ธรรมเนียม (627:2.4)
               คือ เลิก อย่าง ก่อน นั้น เสีย.
      เลิก ทัพ (627:2.5)
               อย่า ทัพ, คือ ตั้ง ทัพ ค่าย จะ รบ กัน, แล รื้อ ถอน ทัพ ไป จาก กัน นั้น.
      เลิก บ้าน (627:2.6)
               ละ บ้าน, คือ รื้อ ถอน บ้าน เสีย ไม่ ตั้ง บ้าน เรือน อยู่ ต่อ ไป นั้น.
      เลิก ไป (627:2.7)
               รื้อ ไป, คือ รื้อ ถอน ไป. คน ตั้ง เรือน อยู่ ที่ นี่ นาน แล้ว รื้อ เรือน ไป อยู่ ที่ อื่น นั้น.
      เลิก พล (627:2.8)
               ยก พล, คือ รื้อ ถอน พวก พล ทหาร ที่ ตั้ง อยู่ แล้ว ไป จาก ที่ ตั้ง อยู่ นั้น.
      เลิก มา (627:2.9)
               ยก มา, คือ คน ยก ทัพ ไป ทำ สงคราม สำเร็จ แล้ว รื้อ ทัพ กลับ มา เมือง ที่ ตัว อยู่ นั้น.
      เลิก หมวก (627:2.10)
               เปิด หมวก, คือ เปิด หมวก, คน เอา หมวก สวม ไว้ ที่ หัว แล้ว เปิด หมวก ขึ้น จาก หัว นั้น.
      เลิก หมด (627:2.11)
               คือ อยุด หมด สิ้น, คน ทำ การ มาก หลาย คน แล้ว อยุด เสีย นั้น.
      เลิก ม่าน (627:2.12)
               เผย ม่าน, คือ เลิก* เปิด ม่าน, คน จะ เข้า ไป ใน ม่าน แล เอา มือ เลิก* ม่าน เข้า ไป นั้น.
      เลิก แล้ว (627:2.13)
               เสร็จ แล้ว, คือ เสร็จ การ แล้ว ไม่ ทำ นั้น, คน ทำ การ อัน ใด สำเร็จ แล้ว, แล อยุด เสีย ไม่ ทำ, ว่า เลิก แล้ว.
      เลิก เสีย (627:2.14)
               งด เสีย, คือ มี การ งาน แล้ว อยุด เสีย ไม่ ทำ ต่อ ไป. อย่าง หนึ่ง คน ปลูก แตง เปน เถา เลื้อย ไป มี ลูก สิ้น แล้ว, เขา เพิก เถา เสีย นั้น.
      เลิก ผ้า (627:2.15)
               เปิด ผ้า, คือ ทำ ให้ ผ้า ที่ ปู ปก ที่ ฟูก สำรับ นอน ให้ มัน ขึ้น พ้น ที่ นอน. อย่าง หนึ่ง เวิก ผ้า ที่ นุ่ง อยู่ ขึ้น นั้น.
      เลิก มุ้ง (627:2.16)
               เปิด มุ้ง, คือ เวิก มุ้ง ขึ้น, คน จะ เข้า ใน มุ้ง แล จับ ชาย มุ้ง เวิก ขึ้น, แล้ว เข้า ไป ใน มุ้ง นั้น.
      เลิก เสื่อ (627:2.17)
               เพิก เสื่อ, คือ ทำ เสื่อ ที่ ปู ไว้ กับ พื้น. อย่าง หนึ่ง ว่า เวิก เพิก เสื่อ ที่ ปู ไว้ กับ พื้น ให้ พ้น นั้น.
ลง (627:3)
         ลด, ถอย, คือ ไป ข้าง เบื้อง ต่ำ, เช่น คน อยู่ บน เรือน แล เดิน ไป ตาม บันได, ไป สู่ เบื้อง ต่ำ นั้น ว่า ลง ไป.
      ลง กง (627:3.1)
               คือ เอา ไม้ กง เรือ ที่ ทำ ไว้ สำเร็จ วาง ทาบ กับ พื้น เรือ ให้ ชิด ดี แล้ว, จึ่ง เอา เหล็ก บิด ไช ตรึง ไว้ นั้น.
      ลง กัน (627:3.2)
               ยอม กัน, คือ เหน ด้วย กัน เหน พร้อม ใจ กัน, ไม่ แก่ง แย่ง กัน นั้น.
      ลง ข้อ (627:3.3)
               คือ เหน ใน ข้อ ความ อัน เดียว พร้อม ใจ กัน, คน หลาย คน ปฤกษา ความ ข้อ หนึ่ง เหน ด้วย กัน นั้น.
      ลง โคลน (627:3.4)
               ลง เลน, ลง ตม, คือ ก้าว ท้าว ไป สู่ เบื้อง ต่ำ ใน ที่ โคลน, เช่น เรือ ติด น้ำ น้อย, คน ลง ไป ใน โคลน เพื่อ จะ เข็น เรือ นั้น,
      ลง เงิน (627:3.5)
               คือ เอา เงิน ทำ ทุน หลาย คน เข้า ส่วน กัน เล่น โป เปน ต้น, ทุก คน ตาม มาก แล น้อย นั้น.
      ลง ใจ (627:3.6)
               คือ ใจ ยอม ลง, เช่น หญิง มี ขาย มา สู่ ฃอ จะ เลี้ยง เปน เมีย แล หญิง ยอม ลง นั้น.
      ลง จาก เรือน (627:3.7)
               คือ เขา เดิน ไป ตาม บันได จน ถึง พื้น ล่าง นั้น.
      ลง ด้วย (627:3.8)
               คือ ลง กับ เขา, เช่น คน จะ ลง ใน น้ำ ฤๅ ใน ถ้ำ เปน ต้น หลาย คน ๆ หนึ่ง ลง ด้วย นั้น.
      ลง พระ ราช อาญา (627:3.9)
               คือ ใน หลวง บังคับ ให้ ทำ โทษ มี เฆี่ยน เปน ต้น นั้น.
      ลง ตัว (627:3.10)
               ตัว ซูบ ลง, คือ ตัว ยุบ ยอบ ลง, คน ชาย หญิง เมื่อ แรก เปน หนุ่ม สาว เต็ม ที่, ครั้น แก่ ตัว เข้า แล้ว ย่อม ยุบ ลง น่อย นั้น.

--- Page 628 ---
      ลง ท่า (628:3.11)
               ลง อาบ น้ำ, คือ ลง ท่า น้ำ, คน ทำ การ มงคล ให้ กับ บุตร ที่ อายุ สอง ขวบ สาม ขวบ จน ถึง สิบ ขวบ, ตั้ง สวด มนต์ เลี้ยง พระ สงฆ์ แล้ว อู้ม ลง อาบ น้ำ ใน ท่า.
      ลง ทอง (628:3.12)
               คือ เอา ทอง ทำ เครื่อง ประดับ กาย, มี แหวน เปน ต้น ต้อง เอา ทอง ทำ ตาม ชอบ ใจ.
      ลง โทษ (628:3.13)
               ปรับ โทษ, คือ ลง อาญา ตาม โทษ หนัก แล เบา, คน ทำ ผิด จาก บัญญัติ, แล ท่าน ลง อาญา หลวง มี เฆี่ยน เปน ต้น
      ลง ทุน (628:3.14)
               ลง เงิน, คือ เอา เงิน ออก ซื้อ ของ ขาย เปน ต้น, คน จะ ค้า ขาย ต้อง เอา เงิน ออก ซื้อ ก่อน นั้น.
      ลง ท้าว (628:3.15)
               ลง จ้าว, ลง ผี, คือ เชิญ ผี เชิญ จ้าว ให้ มา เข้า สิง ใน ตัว คน ทรง, สำรับ ให้ ผี เข้า สิง ว่า ลง ท้าว.
      ลง นา (628:3.16)
               ทำ นา, การ นา, คือ ลง ทำ นา, คน ชาว นา ครั้น ถึง ระดู ฝน แล้ว จัดแจง หา เครื่อง ไถ, ลง จับ การ หว่าน เข้า นั้น.
      ลง น้ำ (628:3.17)
               คือ คน จะ อาบ น้ำ, แล ลง ไป ใน น้ำ. อย่าง หนึ่ง คน เปน ความ ไม่ ตก ลง กัน, ต้อง ลง ดำ น้ำ กัน ใคร ผุด ก่อน เปน แพ้.
      ลง นั่ง (628:3.18)
               ลด นั่ง, คือ ยืน อยู่ ฤๅ เดิน อยู่, แล้ว ทำ ให้ ตัว อย่อน ลง สู่ พื้น นั้น.
      ลง นอน (628:3.19)
               เอน หลัง, คือ นั่ง อยู่ แล้ว เอน ตัว ทอด ลง ยาว, เอยียด ท้าว เอยียด มือ ออก แล้ว ทอด อยู่ นั้น ว่า ลง นอน.
      ลง ไป (628:3.20)
               ไป ล่าง, คือ ตัว อยู่ ที่ สูง แล้ว ทำ ให้ ตัว ไป ถึง ที่ ต่ำ ข้าง ล่าง นั้น.
      ลง ฝัก (628:3.21)
               คือ โรค เกิด เพราะ เส้น เลื่อน ลง ใน ลูก อัณฑะ, มัน ทำ ให้ ลูกอัณฑะ โต ขึ้น, เรียก กร่อน ลง ฝัก นั้น.
      ลง มา (628:3.22)
               คือ ผู้ อยู่ ที่ สูง แล ทำ ให้ ตัว มา สู่ ที่ ต่ำ นั้น.
      ลง มือ (628:3.23)
               คือ แรก จับ ทำ การ งาน อัน ใด นั้น.
      ลง มด (628:3.24)
               คือ เชิญ ผี ให้ มา เข้า หญิง ผู้ เปน คน ทรง, แล้ว ถาม การ ที่ คน ไม่ ล่วง รู้ นั้น, หญิง นั้น เขา เรียก แม่มด.
      ลง ราก (628:3.25)
               คือ อาการ ถ่าย อุจจาระ เปน น้ำ เหลว ไหล ออก มาก ๆ แล ให้ ราก อาหาร ออก จาก ปาก ด้วย.
      ลง เรือ (628:3.26)
               ลง นาวา, คือ จะ ต้อง การ ไป ทาง น้ำ แล ออก จาก เรือน ไป สู่ เรือ, ให้ กาย นั่ง อยู่ บน เรือ นั้น.
      ลง อวน (628:3.27)
               ลง ข่าย, ลง แห, คือ เอา อวน ทิ้ง ลง ใน น้ำ เพื่อ จะ จับ ปลา, อวน นั้น เขา เอา ด้าย ชุน เปน ตา ข่าย เหมือน แห นั้น.
หลง (628:1)
         ลืม, เฟือน, คือ คน ไป สู่ ทาง แล เคลิ้ม ลืม ฟั่น เฟือน ใน ใจ ว่า เรา จะ ไป ทาง ไหน ดี. อย่าง หนึ่ง มี เมีย สอง คน รัก คน หนึ่ง มาก, เขา ว่า หลง คน นั้น.
      หลง กล (628:1.1)
               เคลิ้ม กล, เสีย กล, คือ รู้ ไม่ ถึง อุบาย, เช่น เขา รบ พุ่ง กัน แล ทำ อุบาย ฝัง ดิน ปืน ไว้ ใน ค่าย, แล้ว ทำ เปน แตก ออก จาก ค่าย ให้ ฆ่า ศึก อาไศรย, มี ไฟ ลุก ขึ้น ใน ค่าย นั้น.
      หลง กิน (628:1.2)
               มัว กิน, เผลอ กิน, คือ โลภ ใน อาหาร, กิน ร่ำ ไป จน มี ไภย แก่ ตัว บ้าง, บาง คน กิน อาหาร ที่ ชอบ ใจ มาก จน ลำบาก กาย นั้น.
      หลง เกิน (628:1.3)
               หลง เลย ไป, คือ หลง เกิน ที่ ตัว จะ ไป, เช่น คน จะ ไป เพียง บ้าน นี้, หลง เลย ไป นั้น.
      หลง เข้า มา (628:1.4)
               ลืม เลย เข้า มา, คือ หลง เลย มา แต่ อื่น แล เข้า มา ใน บ้าน, เช่น จะ ไป วัต แล หลง เข้า มา ใน บ้าน.
      หลง คอย (628:1.5)
               ลืม คอย, คือ สำคัญ ผิด ว่า เขา จะ มา แล ยั้ง ถ้า อยู่, คน นัด กัน ว่า จะ ไป ด้วย กัน, ให้ คน หนึ่ง ถ้า อยู่ คน นั้น ไม่ มา, คน หนึ่ง ถ้า อยู่ ช้า นาน.
      หลง เงิน (628:1.6)
               คือ หลง เพราะ เหน กับ เงิน อยาก ได้ เงิน, เช่น คน ว่า จะ ให้ เงิน คน หนึ่ง อยาก ได้ แล อยู่ ด้วย ช้า นาน นั้น.
      หลง ทาง (628:1.7)
               คือ ไป ตาม ทาง แล้ว ลืม ทาง ที่ ตัว จะ ไป นั้น เสีย ไป ไม่ ถูก นั้น.
      หลง ไป (628:1.8)
               ลืม ไป, คือ ไป ทาง ลืม ตำแหน่ง ที่ ตัว จะ ไป เสีย, เลย ไป อื่น ต่อ ไป ไม่ รู้ จัก แห่ง ที่ ตัว จะ ไป นั้น.
      หลง มา (628:1.9)
               ลืม มา, คือ คน จะ มา หา หมอ มะตูน แล เขา ลืม ไป ไม่ รู้ ว่า จะ อยู่ บ้าน ไหน ก็ หลง เข้า มา ใน บ้าน นี้ นั้น.
      หลง แม่ (628:1.10)
               ลืม แม่, คือ คน เปน ลูก ไป ไหน กับ แม่ แล พรัด กัน ไป, แม่ ไป ข้าง หนึ่ง ลูก ไป ข้าง หนึ่ง นั้น.
      หลง มาก (628:1.11)
               ลืม สะติ มาก, คือ คน หลง นัก, เช่น คน หลง รัก เมีย รัก ผัว เปน ต้น นัก นั้น ว่า หลง มาก.
      หลง เมีย (628:1.12)
               รัก เมีย หลง ไป, คือ รัก เมีย มาก นัก, ถึง เมีย จะ ทำ ผิด ก็ ไม่ ว่า ผิด, ถ้า ทำ ชอบ ก็ ยิ่ง ชอบ ใจ หนัก ขึ้น.

--- Page 629 ---
      หลง อยู่ (629:1.13)
               อยู่ จน หลง, คือ หลง อยู่ ใน ที่ บ้าน เรือน เปน ต้น เช่น คน มี บ้าน แล เรือน ตัว สร้าง ไว้ ดี, เปน ที่ ชอบ ใจ แล อยาก อยู่ ไป นาน ๆ นั้น.
      หลง รัก (629:1.14)
               รัก จน หลง, คือ รัก สิ่ง ของ ทุก อย่าง มี ความ รัก ผูก พันธ์ ฟั่น เฝือ นัก จะ สะละ ออก ไม่ ได้ เลย นั้น.
      หลง เรือ (629:1.15)
               ลืม เรือ, คือ คน เอา เรือ จอด ไว้ ใน ท่า แห่ง เดียว กัน มาก หลาย ลำ, ตัว สำคัญ เรือ เขา อื่น ว่า เปน เรือ ของ ตัว นั้น.
      หลง เล่ห์ (629:1.16)
               คือ ลง กล, เช่น คน หลง มารยา สัตรี แกล้ง ทำ กระบวน เล่ห์ ให้ เหน ว่า รัก นั้น.
      หลง ละลาน (629:1.17)
               คือ อาการ ที่ ลืม ละเลิง เคลิ้ม เผลอ ไป.
      หลง ลิ้น (629:1.18)
               คือ เชื่อ เอา ถ้อย คำ กระบวน พูด, คน ได้ ยิน คำ พูด ถึง ความ อัน ใด เหน ด้วย, เชื่อ ว่า ความ นั้น จริง มั่น เหมาะ.
      หลง ละเลิง (629:1.19)
               คือ อาการ ที่ เพลิน ละลาน ไป นั้น, เช่น เด็ก หนุ่ม ครั้น เที่ยว นัก ก็ ละเลิง ไป นั้น.
      หลง โลภ (629:1.20)
               คือ ความ ปราถนา กล้า แขง แรง นัก, ได้ แล้ว อยาก เอา อีก, ได้ อีก แล้ว อยาก เอา อีก ต่อ ๆ ไป นั้น.
      หลง หลอ (629:1.21)
               คือ หลง เหลือ อยู่ นั้น, เช่น ของ ใช้ ไป ว่า หมด แล้ว ครั้น ไป ดู ยัง เหลือ อยู่.
      หลง ลาภ (629:1.22)
               หยาก ได้ เกิน ประมาณ, คือ ได้ ทรัพย์ แล้ว อยาก เอา อีก, ยิ่ง ได้ ของ อัน นี้ อยาก ได้ ของ อัน โน้น, ได้ ส่วน หนึ่ง จะ เอา อีก ร้อย ส่วน พัน ส่วน.
      หลง ลม (629:1.23)
               คือ หลง ลม ปาก, คน ช่าง พูด ๆ จา เพราะ มี คา ระวะ เคารพย์ นบนอบ อ่อน หวาน คน ชอบ นัก นั้น.
      หลง ลืม (629:1.24)
               คือ เคลิ้ม หลง สติ ไป, เช่น คน เอา ของ วาง ไว้ ที่ นี่ แล้ว หลง ไป หา ที่ อื่น.
      หลง เลย (629:1.25)
               ลืม เลย, คือ หลง ล่วง เกิน ไป, คน เดิน ทาง น้ำ ฤๅ ทาง บก ลาง ที หลง ล่วง เกิน ที่ ต้อง การ ไป.
      หลง ไหล (629:1.26)
               ลืม ไหล เล่อ, คือ หลง เลย ไป, คน เดิน ทาง หลง เลย เกิน ที่ ปราถนา จะ อยุด ไป เปรียบ เหมือน น้ำ ไหล.
      หลง เลอะ (629:1.27)
               ลืม เลอะ, คือ หลง วุ่นวาย ไป ไม่ ได้ เรื่อง ราว, ของ ไม่ ควร จะ หลง ก็ หลง รัก เอา เปน หนัก หนา นั้น.
      หลง หา (629:1.28)
               หลง แสวง, คือ หลง ฝ่าย ฝัน อยาก ได้, เช่น คิด จะ ฆ่า ปรอด ให้ มัน ตาย แขง, หลง แสวง จะ เอา ยา ต่าง ๆ นั้น.
      หลง เอา (629:1.29)
               หลง เก็บ ไว้, คือ หลง เก็บ ของ ทอง เงิน ไว้ เปน หมื่น เปน แสน, ได้ แล้ว อยาก ได้ อีก ร่ำ ต่อ ๆ ไป นั้น.
      หลง ละเลิง (629:1.30)
               ลืม ละเลิง, คือ หลง เพลิน ใจ ไป, คน เปน ขุนนาง หา ทรัพย์ ได้ โดย ผล ราชการ เพลิดเพลิน ไป นั้น.
ลัง (629:1)
         คือ ของ เขา เอา ตอก สาน เปน สี่ มุม คลาย หีบ, เขา ทำ สำหรับ ใส่ ของ มี ยา แดง มา แต่ เมือง จีน เปน ต้น นั้น.
      ลังกาภรณ์ (629:1.1)
               แปล ว่า เครื่อง ประดับ ยัง ศะริระ ให้ เต็ม.
      ลังกา (629:1.2)
               เปน ชื่อ เกาะ แห่ง หนึ่ง, อยู่ ทิศ ตวัน ตก เฉียง ใต้ กรุง ศรี อะยุทธยา คน พูด ภาษา สิงหล.
      ลังเล (629:1.3)
               คือ ความ ยัง ไม่ แน่ ใจ เปน ต้น ว่า จะ ไม่ จริง ดอก กระ- มัง.
      ลัง ซ่ม (629:1.4)
               คือ ของ เขา สาน ด้วย ตอก เปน สี่ มุม รูป รี, เช่น หีบ เขา ทำ สำหรับ ใส่ ของ มี ซ่ม จีน เปน ต้น นั้น.
      ลังไหล (629:1.5)
               คือ ของ อาการ ด้วย ที่ น้ำ ไหล ลง แรง นั้น.
      ลัง ยา (629:1.6)
               คือ ของ เช่น ว่า เขา ทำ สำหรับ ใส่ ยา สูบ, คน เปน แม่ ค้า ขาย ยา เอา ใส่ ยา มา ขาย นั้น.
      ลังสาด (629:1.7)
               เปน ชื่อ ต้น ผล ไม้ อย่าง หนึ่ง, มี ที่ สวน รศ เปรี้ยว ๆ หวาน ๆ.
ลั่ง (629:2)
         คือ อ้วน, ของ เปน ไม้ เสา เปน ต้น, ถ้า มัน อ้วน หัว ท้าย ไม่ สู้ เรียว นัก ว่า ไม้ นั้น ลั่ง.
      ลั่ง เสมอ (629:2.1)
               คือ ไม้ มี เสา เปน ต้น เท่า ต้น เท่า ปลาย นั้น.
      ลั่ง ต้น (629:2.2)
               พ่วง ต้น, คือ ไม้ อ้วน ข้าง ต้น, เช่น ไม้ เสา เปน ต้น, ถ้า ข้าง ต้น มัน อ้วน กว่า ข้าง ปลาย นั้น, ว่า ลั่ง ต้น.
      ลั่ง ปลาย (629:2.3)
               พี ปลาย, คือ ไม้ ข้าง ปลาย ไม่ สู้ เล็ก เรียว นัก อ้วน อยู่ น่อย หนึ่ง นั้น, เขา ว่า ไม้ มัน ลั่ง ปลาย.
หลัง (629:3)
         ปฤษฎางค์, คือ อะไวยวะ ใน กาย ที่ อยู่ ฝ่าย เบื้อง หน้า ตรง กัน นั้น.
      หลัง กุ้ง (629:3.1)
               หลัง โกง, คือ หลัง ดุ้ง อยู่, เช่น คน หลัง โกง ด้อง อยู่ ดู คล้าย กับ หลัง กุ้ง, ว่า คน นั้น หลัง กุ้ง.
      หลัง โกง (629:3.2)
               หลัง ขด, คือ หลัง งอ ค้อม มา ข้าง หน้า คล้าย กับ กง ที่ เขา ทำ ใส่ เรือ นั้น.

--- Page 630 ---
      หลัง แขง (630:3.3)
               หลัง ซื่อ, คือ หลัง คน ป่วย ไหว ตัว ไม่ ใคร่ ได้ ให้ เสียด ยอก อยู่ นั้น, เขา ว่า คน หลัง แขง.
      หลัง ขด (630:3.4)
               หลัง งอ, คือ หลัง งอ คู้ เข้า มาก, คน หลัง คู้ งอ เข้า มาก เหยียด ยืด ไม่ ใคร่ ขึ้น นั้น, ว่า หลัง ขด.
      หลัง ขาด (630:3.5)
               หลัง หวะ, คือ หลัง หวะ คน ถูก เฆี่ยน ด้วย ไม้ ฤๅ หวาย หนัง หลัง หวะ ลง ไป นั้น, ว่า หลัง ขาด นั้น.
      หลัง คา (630:3.6)
               มุง ด้วย คา, คือ ของ เขา ทำ ให้ ร่ม เรือน, มิ ให้ น้ำ ฝน แล แดด ลง ถูก พื้น เรือน ได้, เรียก ว่า หลังคา นั้น, เพราะ เดิม พวก ลาว ชาว เมือง เหนือ เขา มุง ด้วย ต้นคา.
      หลัง ค่อม (630:3.7)
               หลัง ขด, คือ หลัง คู้ สั้น ต่ำ เตี้ย, คน ชาย หญิง เกิด มา หลัง คู้ ต่ำ เตี้ย แคระ, เปน คน จ้อน มา แต่ เดิม, กำเนิด บ้าง เปน เมื่อ ใหญ่ บ้าง นั้น.
      หลัง งอ (630:3.8)
               หลัง กู้ง, คือ หลัง ขด คู้. คน ชาย หญิง เปน มา แต่ กำเนิด บ้าง, บาง คน เปน เมื่อ ใหญ่ ก็ มี บ้าง.
      หลัง ตีน (630:3.9)
               หลัง ท้าว, คือ ที่ เบื้อง บน ท้าว, ๆ นั้น ตรง กับ ฝ่า ท้าว อยู่ ฝ่าย ข้าง บน เรียก หลัง ตีน.
      หลัง ตา (630:3.10)
               บน ตา, คือ ที่ เบื้อง บน ตา, ๆ มี หนัง ปก ปิด ลูก ตา เมื่อ คน หลับ ตา ลง นั้น.
      หลัง เต่า (630:3.11)
               คือ ที่ เบื้อง บน กระดอง เต่า, มัน เปน สัตว สี่ ตีน อยู่ ใน น้ำ, แต่ เปน คำ เปรียบ เรียก ที่ นูน ว่า หลัง เต่า.
      หลัง ท้าว (630:3.12)
               หลัง พระ บาท, คือ หลัง ตีน, แต่ เขา เรียก เปน คำ เพราะ สุภาพ ไม่ อยาบ คาย, ตาม สับท์ ว่า หลัง ท้าว นั้น.
      หลัง น้ำ (630:3.13)
               คือ ที่ เบื้อง บน น้ำ, เช่น น้ำ ใน แม่น้ำ ฤๅ ใน สมุท ทะเล ที่ เบื้อง บน สุด นั้น เรียก หลัง น้ำ.
      หลัง หนึ่ง (630:3.14)
               เขา เรียก ว่า หลัง หนึ่ง, เช่น เรือน หลัง หนึ่ง ฤๅ มุ้ง หลัง หนึ่ง เปน ต้น.
      หลัง บ้าน (630:3.15)
               หลัง เรือน, คือ ที่ ปละ ข้าง ฝ่าย ที่ ตรง กัน กับ น่า บ้าน, เช่น บ้าน ที่ หมอ อยู่ นี้, ปละ ฝ่าย ข้าง คลอง เรียก น่า บ้าน, เพราะ น่า เรือน อยู่ ข้าง นั้น, ฝ่าย ปละ ข้าง วัง เรียก หลัง บ้าน.
      หลัง มือ (630:3.16)
               หลัง หัดถ์, คือ ที่ ฝ่าย ตรง กัน กับ ฝ่า มือ, ๆ มัน อยู่ ข้าง บน นั้น เรียก หลัง มือ.
      หลัง เมือง (630:3.17)
               หลัง กรุง, คือ ที่ ฝ่าย* ตรง กับ น่า เมือง, เช่น ที่ ฝ่าย ข้าง แม่น้ำ ตลอด ไป นั้น เรียก น่า เมือง, ที่ ฝ่าย ข้าง ตรง กับ น่า เมือง จน วัตสะเกษ นั้น เปน หลัง เมือง
      หลัง ลอก (630:3.18)
               หลัง ถก, คือ ที่ หลัง หนัง ปอก ออก, เช่น คน ที่ ถูก เฆี่ยน มาก หนัง ถลอก นั้น.
      หลัง ลวด (630:3.19)
               เหนือ ลวด, คือ บน หลัง ลวด, คน จะ ไต่ ลวด เอา ไม้ ทำ ขา อย่าง สาม ขา, แล้ว เอา เส้น ลวด โต เท่า นิ้ว มือ ขึง ขึ้น ยาว สิบ ศอก ไต่ ไป บน หลัง.
      หลัง ลาย (630:3.20)
               หลัง เลอะ, คือ หลัง คน ที่ ถูก เฆี่ยน มี รอย หวาย เปน แผล ขวาง สันหลัง อยู่ นั้น.
หลั่ง (630:1)
         ถั่ง, เท ลง, ริน ลง, คือ ถั่ง เท ลง, เช่น น้ำ ที่ ถั่ง ออก จาก ภาชนะ มี กา สำรับ ใส่ น้ำ เปน ต้น นั้น.
      หลั่ง น้ำ (630:1.1)
               เท น้ำ ลง, ริน น้ำ ลง, คือ หล่อ น้ำ ออก จาก ภาชนะ มี ขัน เปน ต้น, คน เอา ใส่ น้ำ แล้ว หล่อ ออก นั้น
      หลั่ง ไหล (630:1.2)
               ถั่ง ไหล, เท ไหล, คือ ถั่ง พลั่ง ไหล ลง, เช่น น้ำ ไหล ลง จาก ห้วย ธาร ที่ เนิน ใน ป่า ดอน เปน ต้น
ลาง (630:2)
         บาง, เลือก, คือ คน เปน ช่าง ถาก เรือ โกลน นั้น, เขา เรียก ช่าง ลาง. เช่น คน จะ มี ธุระ ไป ไกล มี รบ ศึก เปน ต้น, ถ้า เหน คน ตาย ว่า เปน ลาง ที จะ แพ้ เขา.
      ลาง คน (630:2.1)
               บาง คน, เลือก คน, คือ บาง คน ฤๅ เลือก คน, เช่น คน กิน อาหาร เปน ต้น, กิน ได้ มาก บ้าง น้อย บ้าง, ว่า ลาง คน กิน ได้ มาก ลาง คน กิน น้อย.
      ลาง เจ้า (630:2.2)
               บาง เจ้า, เลือก เจ้า, คือ เจ้า บาง องค์, คน พูด ว่า เจ้า บาง องค์ ก็ ได้ เปน กรม, บาง องค์ ก็ ไม่ ได้ เปน กรม นั้น.
      ลาง ตัว (630:2.3)
               บาง ตัว, เลือก ตัว, คือ บาง ตัว ฤๅ เลือก ตัว, เช่น สัตว มี นก แล ปลา เปน ต้น, บาง ตัว เล็ก บาง ตัว โต นั้น.
      ลาง ที (630:2.4)
               บาง ที, เลือก ที, คือ บาง เวลา ฤๅ บาง คราว, เช่น คน ทำ การ งาน บาง เวลา ดี แล้ว เร็ว, บาง เวลา ช้า นั้น.
      ลาง ที่ (630:2.5)
               บาง ที่, เลือก ที่, คือ ที่ บาง แห่ง, เช่น ที่ มี หลาย ตำบล, มี ของ วิเสศ บ้าง ไม่ มี บ้าง
      ลาง บาง (630:2.6)
               บาง พวก, เลือก พวก, คือ บาง จำพวก, เช่น คน มี หลาย จำพวก ภาษา ต่าง ๆ กัน, มี คน จีน แล แขก เปน ต้น.

--- Page 631 ---
      ลาง พวก (631:2.7)
               คือ เลือก พวก, เช่น คน หลาย หมู่ หลาย เหล่า กิน อาหาร ไม่ เหมือน กัน, เลือก พวก กิน หมู เลือก พวก ไม่ กิน หมู.
      ลาง เรือน (631:2.8)
               คือ บาง เรือน เลือก เรือน, เช่น ของ วิเสศ มี เพ็ชร์ เปน ต้น, บาง เรือน มี บาง เรือน ไม่ มี นั้น.
      ลาง หลาก (631:2.9)
               คือ ความ ประหลาด ใจ.
      ลาง แห่ง (631:2.10)
               คือ ความ ว่า มี แห่ง หนึ่ง บ้าง, ไม่ มี ทั่ว ไป นั้น.
      ลาง องค์ (631:2.11)
               บาง องค์, เลือก องค์, คือ เจ้า บาง องค์ มี ยศ มาก ได้ เปน กรม, บาง องค์ ไม่ ได้ เปน กรม.
ล่าง (631:1)
         ใต้, ต่ำ, คือ เบื้อง ต่ำ, บันดา ที่ ต่ำ พาย ใต้, เช่น พื้น ใต้ ถุน ว่า ล่าง.
ล้าง (631:2)
         คือ ชำระ ด้วย น้ำ ให้ หมด จด, คน เอา น้ำ ชำระ ถู ให้ พื้น เรือน เปน ต้น สอาจ นั้น.
      ล้าง กัน (631:2.1)
               คือ ฆ่า กัน, ว่า ล้าง กัน บ้าง
      ล้าง ของ (631:2.2)
               ชำระ ของ ด้วย น้ำ, คน เหน ของ มี ภาชนะ สำรับ ใช้ เปื้อน เปรอะ และ ชำระ ด้วย น้ำ นั้น.
      ล้าง คน (631:2.3)
               ฆ่า คน, คือ ล้าง ตัว คน ชำระ ตัว คน, เช่น กาย เด็ก มัน เปื้อน โสโครก*, แล เขา เอา น้ำ ชำระ นั้น.
      ล้าง ใจ (631:2.4)
               คือ ชำระ ใจ, เช่น คน มี ใจ เปน บาป อยู่, แล เอา คำ สั่ง สอน เข้า กำจัด การ บาป ใน ใจ เสีย นั้น.
      ล้าง ตัว (631:2.5)
               คือ ชำระ ตัว, คน มี ตัว มัวหมอง ด้วย เหื่อ ไคล เปน ต้น, แล เขา เอา น้ำ ชำระ ให้ หมด จด นั้น.
      ล้าง บาป (631:2.6)
               คือ ความ ที่ กลับ ตั้ง ใจ เสีย ใหม่ เชื่อ ถือ พระเยซู นั้น.
      ล้าง หน้า (631:2.7)
               คือ ชำระ หน้า, เช่น คน นอน หลับ แล้ว ตื่น ขึ้น เวลา เช้า เอา น้ำ ชำระ หน้า ให้ หมด ใส นั้น.
      ล้าง ปาก (631:2.8)
               คือ บ้วน ปาก เสีย ด้วย น้ำ ทำ ให้ ปาก หมด จด นั้น.
      ล้าง ผลาญ (631:2.9)
               คือ ทำ ให้ ฉิบหาย ยาก ไร้, ล้าง นั้น เปน ความ เปรียบ เหมือน ล้าง เสีย ด้วย น้ำ.
      ล้าง ตีน (631:2.10)
               คือ ชำระ ท้าว, ว่า ล้าง ตีน นั้น พูด เปน คำ ต่ำ อยาบ, ว่า ชำระ ท้าว นั้น เปน คำ ดี.
      ล้าง มือ (631:2.11)
               คือ ชำระ มือ, คน มือ เปื้อน โคลน เปน ต้น, แล เขา เอา น้ำ ชำระ ให้ มือ หมด จด นั้น.
      ล้าง เรือน (631:2.12)
               คือ ชำระ เรือน, ๆ เปื้อน เปรอะ ด้วย มลทิน ดิน โคลน เปน ต้น, แล ชำระ เสีย นั้น.
      ล้าง เรือ (631:2.13)
               คือ ชำระ เรือ, เรือ เปื้อน เปรอะ ด้วย มลทิน อัน ใด แล เขา เอา น้ำ ชำระ นั้น.
      ล้าง โลกย (631:2.14)
               คือ ชำระ โลกย, เหมือน ครั้ง ก่อน นั้น พระยะโฮวา บันดาน ให้ ฝน ตก ลง ล้าง โลกย.
      ล้าง ไห (631:2.15)
               ชำระ ไห, คือ ชำระ ภาชนะ เรียก ว่า ไห ๆ นั้น เขา ทำ ด้วย ดิน, รูป คล้าย โอ่ง แต่ มัน เล็ก เหมือน ไห จีน ใส่ กะเทียม* ดอง
      ล้าง โอ่ง (631:2.16)
               ชำระ ตุ่ม, คือ ชำระ โอ่ง, โอ่ง เปื้อน ด้วย มลทิน ดิน ทราย เปน ต้น, แล เฃา เอา น้ำ ใส่ ลง ชำระ เสีย นั้น.
ลิง (631:3)
         วานร, กะบี, เปน ชื่อ สัตว สี่ ท้าว จำพวก หนึ่ง, มัน อาไศรย อยู่ บน ต้น ไม้ เปน ธรรมดา อยู่ ใน ป่า เปน นิจ.
      ลิง จุ่น (631:3.1)
               คือ ลิง มี หาง สั้น ไม่ ยาว เหมือน ลิง ใหญ่, มัน ก็ อาไศรย อยู่ ต้น ไม้ กิน ผล ไม้ ใน ป่า นั้น.
      ลิง ลม (631:3.2)
               คือ ลิง ลอย ไป ด้วย ลม ได้, เหมือน มัน อยู่ ที่ ต้นไม้ นี้, ครั้น ลม พัด มา มัน ลอย ไป กับ ลม สู่ ต้นไม้ โน้น.
      ลิง โลด (631:3.3)
               คือ ลิง ป่า มัน อยู่ ต้นไม้ นี้, ครั้น คน ไล่ มัน โลด โผน ไป ต้น โน้น
      ลิง สระเสน (631:3.4)
               คือ ลิง ตัว โต, มัน เปน ชาติ วานร แต่ มัน โต กว่า ลิง ทั้ง ปวง, มัน อยู่ ป่า เปน นิจ.
      ลิง แสม (631:3.5)
               คือ ลิง มือ ดำ ตีน ดำ มัน อาไศรย อยู่ ที่* ป่า แสม กิน ปู เปน อาหาร.
ลุง (631:4)
         คือ ชาย เปน พี่ ของ พ่อ ฤๅ เปน พี่ ของ แม่, บันดา ชาย ที่ เปน พี่ ของ พ่อ ของ แม่ ว่า เปน ลุง.
ลุ้ง (631:5)
         คือ ของ รูป คล้าย ถัง แต่ ต่ำ กว่า ถัง มี ฝา, เขา ทำ มา แต่ เมือง จีน บ้าง, เมือง พะม่า บ้าง สำรับ ใส่ ของ กิน.
เล็ง (631:6)
         คือ เพ่ง, คน จะ เขียน หนังสือ ฤๅ รูปภาพ เปน ต้น, ฤๅ การ เย็บ ผ้า แล เพ่ง ดู ด้วย ตา นั้น.
      เล็ง ดู (631:6.1)
               คือ เพ่ง ดู, คน จะ ดู สุริย ฆาฏ จันทฆาฏ เปน ต้น, แล เพ่ง ดู ด้วย จักษุ นั้น.
      เล็ง แล (631:6.2)
               เล็ง เหน, คือ เพ่ง แล, คน จะ ดู ของ ที่ ไกล ประมาณ เส้น หนึ่ง* ฤๅ สอง เส้น, แล เพ่ง ดู นั้น.

--- Page 632 ---
แลง (632:1)
         คือ หิน แลง, เปน ของ เกิด ใน ดิน จะ เปน สิลา แท้ ก็ ใช่, มัน ปรุ เปน รู เหมือน ไม้ เพรียง กิน, ศรี มัว ๆ นั้น.
      แลง กิน ฟัน (632:1.1)
               คือ ตัว หนอน อย่าง หนึ่ง, อาไศรย อยู่ ใน เหงือก กิน ราก ฟัน ให้ ฟัน หัก นั้น.
แล่ง (632:2)
         คือ ทะนาน เล็ก ๆ, ที่ เขา ตวง เข้า สาร นั้น, คน ทำ กะ ลา มะพร้าว เปน ทะนาน สำรับ ตวง เข้าสาร หูง นั้น.
      แล่ง ผ่า (632:2.1)
               คือ ไม้ ฟืน ดุ้น โต ๆ, คน เอา มา จะ หูง เข้า, เอา ขวาน แล่ง ผ่า ออก เปน ซีก.
แล้ง (632:3)
         คือ น่า ระดู ร้อน ฝน ไม่ ตก, ครั้น ถึง เดือน สาม เดือน สี่ สิ้น ระดู ฝน แล้ว, ว่า เปน ระดู แล้ง นั้น.
แหล่ง (632:4)
         คือ หลัก เขา ปัก ไว้ สำรับ ผูก ให้ สัตว มัน นอน ประจำ อยู่ ทุก วัน นั้น, เขา เรียก หลัก นั้น ว่า แหล่ง.
      แหล่ง ปืน (632:4.1)
               คือ เขา ทำ ไม้ สำรับ ใส่ ลูก ปืน ดิน ปืน นั้น.
      แหล่ง หล้า (632:4.2)
               คือ ที่ ภาค พื้น ดิน ใต้ โลกย สวรรค ทั่ว ไป ใน จักระวาฬ ทั้ง สิ้น, แผ่นดิน ทั้ง หมด นั้น.
      แหล่ง ศร (632:4.3)
               คือ ที่ สำรัป ใส่ ลูก ศร นั้น.
โลง (632:5)
         คือ ไม้ เขา ทำ รูป เหมือน หีบ, แต่ ปาก บน กว้าง กว่า ข้าง ล่าง, เรียก ว่า ก้น โลง นั้น.
      โลง ผี (632:5.1)
               คือ โลง สำรับ ใส่ สพ นั้น.
โล่ง (632:6)
         คือ ที่ เตียน ตะโหล้ง ไม่ มี สิ่ง ใด กีด กั้น อยู่, เช่น ที่ ทุ่ง นา ที่ ไม่ มี ต้นไม้ แล ใบ หญ้า นั้น.
      โล่ง เตียน (632:6.1)
               คือ ที่ โปร่ง เปล่า เลี่ยน อยู่ นั้น.
      โล่ง เปล่า (632:6.2)
               คือ ที่ ตะหล่ง เลี่ยน เตี่ยน ไม่ มี อัน ใด กีด กำบัง อยู่, เช่น ท้อง ทุ่ง ที่ เปล่า นั้น.
      โล่ง โถง (632:6.3)
               คือ ที่ ใน เรือน ไม่ มี ฝา ปิด บัง, แล โปร่ง เปล่า อยู่ นั้น.
โล้ง (632:7)
         คือ เลี่ยน โล่ง, เช่น คน หัว ล้าน ไม่ มี ผม เลย แล เลื่อม เปน มัน อยู่ นั้น.
      โล้ง โต้ง (632:7.1)
               คือ โล่ง เลี่ยน, เหมือน หัว คน ที่ ล้าน เกลี้ยง ไม่ มี เส้น ผม เลย นั้น.
ลอง (632:8)
         คือ ของ เขา ทำ ไว้ ชั้น ใน ของ ที่ ดี, เช่น โกษฐ ที่ ทำ ใส่ สพ เจ้า เปน ต้น, เขา ทำ รูป โกษฐ เลว ไว้ ชั้น ใน นั้น ว่า ลอง.
      ลอง กา (632:8.1)
               คือ ทำ กล ไว้ ดู, ว่า กา มัน จะ กลัว ฤๅ ไม่ กลัว, เขา เอา ไม้ ก่ง เปน คัน แร้ว ไว้ ลอง ดู นั้น. อย่าง หนึ่ง กาน้ำ ทำ ใหม่ ใส่ น้ำ ดู ว่า จะ รั่ว ฤๅ ไม่.
      ลอง ใจ (632:8.2)
               คือ ดู ใจ, เช่น คน จะ ดู ใจ คน ด้วย พิจารณา, ว่า คน นี้ จะ ซื่อ ฤๅ ใจ จะ เปน คน โกง, แล เอา ของ ทิ้ง ไว้ ดู ว่า คน นั้น จะ เอา ฤๅ ไม่ เอา นั้น.
      ลอง ดี (632:8.3)
               คือ ทำ ดู ว่า จะ ดี จริง ฤๅ ไม่ ดี, เช่น ปืน เปน ต้น เขา ว่า ดี ทาง ตรง คน เอา มา ยิง ดู นั้น.
      ลอง ดู (632:8.4)
               คือ ทำ ดู ที หนึ่ง ก่อน, เช่น จัด ตัว อักษร พิมพ์ ใส่ ลง ใน ราง แล้ว ตี ดู ที หนึ่ง ก่อน, ว่า จะ ดี ฤๅ ไม่ ดี นั้น.
      ลอง ทำ (632:8.5)
               คือ ทำ ลอง ดู, เช่น ของ ที่ ยัง ไม่ เคย ทำ เลย, แรก จะ สอน ทำ นั้น ก็ เอา มา ทำ ดู นั้น.
      ลอง ใน (632:8.6)
               คือ รูป ที่ มี เปน สอง ชั้น, มี สำรับ ใส่ ไว้ ข้าง ใน อีก รูป หนึ่ง เหมือน โกษฐ เปน ต้น นั้น.
      ลอง น้ำ (632:8.7)
               คือ ชิม ดู ว่า น้ำ นี้ จะ จืด ฤๅ เค็ม นั้น.
      ลอง มือ (632:8.8)
               คือ ปรับ กับ นิ้ว มือ, คน ทำ แหวน ใส่ นิ้ว มือ, ทำ ขึ้น ใหม่ ๆ เอา วง แหวน ใส่ ดู ว่า จะ คับ ฤๅ หลวม นั้น.
ล่อง (632:9)
         คือ พื้น เปน ช่อง. อย่าง หนึ่ง คน ไป เรือ ตาม น้ำ ไป ว่า ล่อง น้ำ ไป นั้น.
      ล่อง คี่ (632:9.1)
               คือ ช่อง ที่ พื้น เรือน สำรับ ถ่าย อุจจาระ นั้น, คน ป่วย ไข้ ไป ทุ่ง ไกล ไม่ ได้ นั้น.
      ล่อง ซุง (632:9.2)
               คือ เอา ไม้ ซุง ลง ใน แม่ น้ำ แล ลำ คลอง, แล้ว ลง มา ตาม กระแส น้ำ นั้น.
      ล่อง แพ (632:9.3)
               คือ เอา แพ ไม้ ลอย มา ตาม กระแส น้ำ นั้น
      ล่อง เยี่ยว (632:9.4)
               คือ ช่อง ที่ พื้น เรือน สำรับ ถ่าย ปะสาวะ นั้น.
      ล่อง ลม (632:9.5)
               คือ ไป ตาม ลม นั้น.
ลวง (632:10)
         ปด, โกหก, คือ กล่าว คำ เท็จ, เช่น พูด ไว้ ว่า จะ ให้ ของ เปน ต้น, แล้ว ภาย หลัง มา ไม่ ให้ นั้น.
      ลวง เล่น (632:10.1)
               ปด เล่น, โกหก เล่น, คือ พูด หลอก เล่น ว่า เรา ไป ที่ นั่น ผี มัน ทำ เปน รูป เสือ รูป ช้าง ไล่ เรา, แต่ ความ นั้น ไม่ จรีง.
      ลวง ฬ่อ (632:10.2)
               ปด ฬ่อ, โกหก ฬ่อ, คือ พูด ว่า เรา จะ ให้ ของ สิ่ง นั้น แก่ ท่าน, แต่ ท่าน ไป กับ เรา เถิด, ครั้น เขา ไป ด้วย แล้ว ไม่ ให้.

--- Page 633 ---
ล่วง (633:1)
         เกิน, เลย, คือ เกิน เลย ไป พ้น, เช่น คน ไป ปากน้ำ แล ล่อง เรือ เกิน ปากลัด ลง ไป ว่า ล่วง ปากลัด ไป.
      ล่วง กาล (633:1.1)
               เกิน กาล, เสีย กาล, คือ ล่วง เวลา, เช่น น้ำ นม โค เก็บ ไว้, ครั้น ล่วง เวลา ก็ เสีย ไป นั้น.
      ล่วง กำหนด (633:1.2)
               พ้น กำหนด, เกิน กำหนด, คือ พ้น กำหนด, คน สัญญา กัน ไว้ ว่า ให้ มา แต่ เช้า เปน ต้น, แล ผู้ หนึ่ง มา สาย ไป นั้น.
      ล่วง กฏหมาย (633:1.3)
               เกิน กฎหมาย, พ้น กฎหมาย, คือ ล่วง พระ ราช บัญญัติ ที่ พระ มหา กระษัตริย์ ท่าน ตั้ง ไว้ สำรับ แผ่นดิน, ว่า อย่า ลัก ของ เขา จะ ต้อง จำ ใน คุก, ผู้ ขืน กระทำ ว่า ล่วง กฎหมาย.
      ล่วง เข้า (633:1.4)
               คือ ร่วม เข้า, คน แก่ อายุ ล่วง เข้า หก สิบ เปน ต้น นั้น.
      ล่วง เขตร (633:1.5)
               พ้น เขตร, คือ ล่วง แดน, เช่น คน ไป ทัพ ศึก แล ไป พ้น แดน เมือง ของ ตัว* เข้า แดน เมือง อื่น นั้น.
      ล่วง คำ (633:1.6)
               เกิน คำ, คือ เกิน คำ สั่ง, เช่น เจ้า นาย สั่ง ให้ ทำ การ แต่ เพียง นั้น แล ทำ เกิน สั่ง นั้น.
      ล่วง บังคับ (633:1.7)
               เกิน บังคับ, คือ เกิน บังคับ, เขา ให้ ทำ แต่ เพียง นี้ แล ผู้ ทำ ๆ เกิน ไป นั้น.
      ลวง ประเพณีย (633:1.8)
               เกิน ธรรมเนียม, คือ ทำ เหลือ เยี่ยง อย่าง, เช่น คน ทำ การ อัน ใด เกิน ธรรมเนียม นั้น.
      ล่วง พ้น (633:1.9)
               เกิน พ้น, คือ ล่วง เกิน, คน ไป ทาง บก ฤๅ เรือ, แล ข้าม ด่าน ขนอน ไป ว่า ล่วง เกิน ไป.
      ล่วง ไภย (633:1.10)
               พ้น ไภย, คือ พ้น ไภย, เช่น คน ไป ใน ที่ มี เปน ต้น ว่า สัตว ร้าย เบียด เบียฬ แล พ้น ไป ได้ นั้น.
      ล่วง มา (633:1.11)
               คือ ล่วง หน ทาง มา, เช่น คน มา แต่ เมือง อะเมริกา มา จน ถึง เมือง ไท ว่า ล่วง หน ทาง มา,
      ล่วง ลับ (633:1.12)
               คือ เกิน ลับ ไป นั้น.
      ล่วง แล้ว (633:1.13)
               พ้น แล้ว, คือ เกิน แล้ว, เช่น ศักราช ที่ เกิน มา สอง พัน สาม ร้อย ปี เสศ ที่ ปี พ้น ไป ว่า ล่วง แล้ว.
      ล่วง ว่า (633:1.14)
               ว่า เกิน, คือ ว่า เกิน, เช่น การ อัน ใด ใช่ ธุระ ของ ตัว ใช่ พะนักงาน ของ ตัว, แล บังอาจ ว่า กล่าว นั้น.
      ล่วง วัน (633:1.15)
               วัน เกิน ไป, คือ วัน ล่วง ไป, เช่น วัน จันทร์ นี้ ถึง เช้า นั้น, ว่า ล่วง พ้น วัน อาทิตย มา แล้ว นั้น.
      ล่วง สงสาร (633:1.16)
               คือ พ้น การ ที่ ท่อง เที่ยว อยู่ ใน สังสารวัฏ, เปน ที่ วน เวียน เอา กำเนิด เกิด ตาย ใน ภพ นั้น.
      ล่วง รู้ (633:1.17)
               อาจ รู้, คือ อาจ รู้ การ ทั้ง ปวง ใน เบื้อง น่า, เช่น คน มี ปัญญา ฉลาด อาจ รู้ เหตุ การ อัน จะ มี เบื้อง น่า นั้น.
      ล่วงเหน (633:1.18)
               อาจ เหน, คือ อาจ เหน เหตุ ใน เบื้อง น่า ด้วย ปัญญา คน มี ปัญญา ฉลาด อาจ เหน เหตุ เบื้อง น่า นั้น.
      ล่วง อาญา (633:1.19)
               เกิน อาญา, คือ ทำ เกิน อาญา, คน เลมิด บังอาจ ทำ การ ไม่ กลัว อาญา ที่ กระษัตริย, ฤๅ พระ เจ้า ตั้ง ห้าม ไว้ นั้น.
ล้วง (633:2)
         ควัก, ควาน, คือ เอา มือ ใส่ ลง ใน ม่อ เปน ต้น อยิบ เอา ของ มี เข้าสุก เปน ต้น, ว่า ล้อง* เอา ของ นั้น.
      ล้วง กิน (633:2.1)
               ควัก กิน, ควาน กิน, คือ เอา มือ ทำ เช่น ว่า, เอา ของ ขึ้น มา จาก ภาชนะ มี ม่อ เปน ต้น, แล้ว ใส่ ใน ปาก กลืน กิน นั้น.
      ล้วง เข้า (633:2.2)
               คือ เอา มือ ใส่ ลง ใน ม่อ เอา เข้า สุก ขึ้น มา นั้น, คน ขี้เกียจ คด เข้า ด้วย จ่า แล ทำ เช่น ว่า นั้น.
      ล้วง ควัก (633:2.3)
               คือ เอา มือ ใส่ ลง ใน ภาชนะ แล้ว อยิบ ของ อัน ใด ขึ้น มา นั้น.
      ล้วง ของ (633:2.4)
               คือ เอา มือ ใส่ ลง ใน ภาชนะ มี ม่อ เปน ต้น, อยิบ เอา ของ ขึ้น จาก ม่อ นั้น.
      ล้วง ตับ (633:2.5)
               คือ ล้วง เอา ตับ, เช่น งูเขียว มัน เอา หัว ใส่ เข้า ใน ปาก ตุกแก เอา ตับ มัน กิน นั้น.
      ล้วง มือ (633:2.6)
               ควัก มือ, คือ เอา มือ ล้วง ลง ใน ภาชนะ รูป เหมือน ม่อ, ถ้า ภาชนะ แบน เหมือน จาน ถึง อยิบ เอา ก็ ไม่ ว่า ล้วง ดอก.
      ล้วง เอา (633:2.7)
               ควาน เอา, คือ ล้วง เอา ของ ใน ภาชนะ เช่น ว่า, คน จะ เอา ของ อัน ใด อยู่ ใน ม่อ เปน ต้น ว่า ล้วง เอา.
หลวง (633:3)
         ใหญ่, คือ เปน ชื่อ ขุนหลวง ท่าน ตั้ง เปน ที่ ขุนนาง ตั้ง อยู่ ใน ยศ ศักดิ์. อย่าง หนึ่ง ภิกษุ เขา เรียก หลวง มี บ้าง นั้น.
      หลวง คลัง (633:3.1)
               เปน ชื่อ กรมการ หัว เมือง, สำรับ พะนักงาน ฝ่าย คลัง, ที่ ใน เมือง หลวง ไม่ มี.
      หลวง นา (633:3.2)
               เปน ชื่อ กรมการ หัว เมือง ว่า ฝ่าย กรมนา, ใน เมือง หลวง ท่าน ไม่ ตั้ง นั้น.

--- Page 634 ---
      หลวง เมือง (634:3.3)
               เปน ชื่อ กรมการ หัว เมือง สำรับ พะนักงาน ฝ่าย เมือง, ชำระ ถ้อย ความ ราษฎร นั้น.
      หลวง วัง (634:3.4)
               เปน ชื่อ กรมการ หัว เมือง เปน พะนักงาน ว่า ฝ่าย จวน วัง เจ้า เมือง นั้น.
เลียง (634:1)
         เปน ชื่อ แกง อย่าง หนึ่ง, เขา เรียก แกง เลียง, เขา ไม่ ใส่ พริก ให้ เผ็ด ร้อน นั้น.
      เลียง บวบ (634:1.1)
               คือ แกง เลียง บวบเหลี่ยม บวบหอม บวบงู, เขา ไม่ ใส่ เครื่อง เผ็ด ร้อน นั้น.
      เลียง ทอง (634:1.2)
               คือ เขา เอา ทอง ใส่ ลง ใน เบ้า, แล้ว ตั้ง ใน เตา ไฟ สูบ ไป นาน ๆ นั้น.
      เลียง น้ำเต้า (634:1.3)
               คือ แกง เลียง น้ำเต้า ขาว, เขา ไม่ ใส่ เครื่อง เผ็ด นั้น.
      เลียง ผัก (634:1.4)
               คือ แกง ผัก ไม่ ใส่ พริก นั้น.
      เลียงผา (634:1.5)
               เปน ชื่อ สัตว สี่ ท้าว จำพวก หนึ่ง, มัน โต เท่า แพะ มี เขา คล้าย แพะ เปน สัตว ป่า.
      เลียง ฟักทอง (634:1.6)
               คือ แกง เลียง ฟักทอง ที่ เนื้อ มัน เหลือง เหมือน ศรี ทอง, ไม่ ใส่ เครื่อง เผ็ด.
เลี่ยง (634:2)
         คือ หลีก เยื้อง ไป, เช่น เรือ จะ โดน สิ่ง อัน ใด มี เรือ ต่อ เรือ เปน ต้น แล หลีก เยื้อง กัน นั้น.
      เลี่ยง การ (634:2.1)
               คือ อาการ คน ที่ ไม่ ใคร่ เข้า จับ งาน การ นั้น.
      เลี่ยง หลีก (634:2.2)
               คือ หลีก เยื้อง กัน เสีย, เช่น คน เดิน ไป คน หนึ่ง เดิน มา เบือน หลีก กัน นั้น.
      เลี่ยง หลบ (634:2.3)
               หลีก หลบ, คือ หลีก หลบ, เช่น คน วาศนา น้อย เหน คน มี ยศ ศักดิ์ มาก มา ก็ หลีก หลบ ไป นั้น.
      เลี่ยง เลี้ยว (634:2.4)
               หลีก เลี้ยว, คือ หลีก เยื้อง แล้ว เลี้ยว ไป, เช่น คน ไป ทาง เรือ ฤๅ ทาง บก กลัว จะ โดน อัน ใด, แล หลีก เลี้ยว ไป.
      เลี่ยง ว่า (634:2.5)
               หลีก ว่า, คือ เยื้อง ว่า, เช่น คน เกรง ใจ จะ ว่า ความ ที่ ไม่ เปน ที่ ชอบ ใจ เขา, แล ว่า เปน ผู้ อื่น กระทำ นั้น.
      เลี่ยง เหน (634:2.6)
               หลีก เหน, คือ เหน ไม่ ตรง เหน เบือน ไป, เช่น ดวง อาทิตย เวียน ภูเขา สุเมรุ นั้น ว่า เหน เลี่ยง ไป.
      เลี่ยง เอา (634:2.7)
               หลีก เอา, คือ หลีก เอา, เช่น เลือก เอา ของ อัน ใด แล คัด เลือก เอา แต่ ที่ ของ ดี ตาม ชอบ ใจ.
      เลี่ยง ออก (634:2.8)
               หลีก ออก, คือ หลีก ออก, คน อยู่ ใน ที่ ประชุม คน มาก, แล ไม่ ชอบ ใจ อยู่ ลุก หลีก ออก ไป นั้น.
เลี้ยง (634:3)
         ขุน, รักษา, คือ ขุน คือ ให้ อาหาร กิน, คน เลี้ยง บุตร ชาย หญิง เปน ต้น ด้วย ให้ กิน เข้า แล นม นั้น.
      เลี้ยง ไก่ (634:3.1)
               รักษา ไก่, คือ ให้ มัน กิน อาหาร, คน เลี้ยง ไก่ แล เอา มัน ขัง ไว้ ใน เล้า เปน ต้น, แล้ว ให้ เข้า น้ำ มัน กิน.
      เลี้ยง กัน (634:3.2)
               รักษา กัน, คือ ผัว เมีย กับ บุตร ชาย หญิง อยู่ ด้วย กัน, แล ทำ ขนม ขึ้น มาก ภอ อิ่ม กัน, แล้ว กิน ด้วย กัน นั้น.
      เลี้ยง แขก (634:3.3)
               ให้ แขก กิน เข้า, คือ ให้ คน ที่ นาน ๆ มา หา กัน เปน คน ควร จะ ให้ กิน อาหาร นั้น. อย่าง หนึ่ง เขา ทำ มงคล การ เปน ต้น ว่า โกน จุก, เขา มา ช่วย แล เลี้ยง นั้น.
      เลี้ยง คน (634:3.4)
               รักษา คน, คือ ให้ คน กิน อาหาร, เช่น ทำ การ สพ เมรุ จะ เผา สพ แล ให้ ผู้ มา ช่วย กิน อาหาร นั้น.
      เลี้ยง ช้าง (634:3.5)
               รักษา ช้าง, คือ เอา หญ้า ให้ ช้าง กิน ฤๅ ภา ช้าง ไป ให้ กิน หญ้า กิน น้ำ ใน ทุ่ง นา ป่า ดง นั้น ว่า เลี้ยง ช้าง.
      เลี้ยง ดู (634:3.6)
               คือ เลี้ยง เช่น ว่า แล้ว, แต่ คำ ว่า ดู นั้น เปน คำ สร้อย.
      เลี้ยง เด็ก (634:3.7)
               รักษา เด็ก, คือ ให้ ทารก กิน เข้า ฤๅ นม เปน ต้น, แล อู้ม ชู พิทักษ รักษา ให้ อาบ น้ำ แล นอน.
      เลี้ยง ตน (634:3.8)
               รักษา ตน, คือ เลี้ยง ตัว เอง, คน ประฏิบัติ ตัว ด้วย กิน อาหาร แล อาบ น้ำ หลับ นอน นั้น.
      เลี้ยง โต๊ะ (634:3.9)
               เชิญ เขา มา กิน โต๊ะ, คือ จัดแจง ของ ใส่ โต๊ะ ลง พร้อม, แล้ว เชิญ กัน มา กิน หลาย คน นั้น ว่า เลี้ยงโต๊ะ.
      เลี้ยง น้อง (634:3.10)
               รักษา น้อง, คือ คน ให้ เด็ก กิน อยู่ หลับ นอน อู้ม ชู ภา เที่ยว เร ไป นั้น.
      เลี้ยง บ่าว (634:3.11)
               เลี้ยง ไพร่, เลี้ยง คน, คือ เลี้ยง ผู้ เปน บ่าว, ให้ กิน อาหาร แล หลับ นอน ตาม ชอบ ใจ นั้น.
      เลี้ยง ปาก (634:3.12)
               คือ เอา ของ ใส่ ปาก ตัว กลืน กิน แล ดื่มน้ำ, แล หลับ นอน เปน ต้น นั้น.
      เลี้ยง ผี (634:3.13)
               คือ เขา เอา ปีศาจ ที่ มัน มี ชีวิตร มา รักษา ไว้, ว่า ใช้ มัน ได้ ต่าง ๆ.
      เลี้ยง พระ (634:3.14)
               คือ เอา ของ กิน ให้ พระสงฆ์ ฉัน, แล พระสงฆ์ ก็ ฉัน ใน เวลา เที่ยง นั้น.

--- Page 635 ---
      เลี้ยง* พราย (635:3.15)
               คือ เอา ผี ตายโหง มี หญิง ออก ลูก ตาย เปน ต้น, เอา มา รักษา ไว้ ใช้ ได้ ต่าง ๆ.
      เลี้ยง เพื่อน (635:3.16)
               รักษา เพื่อน, คือ ให้ เพื่อน ทั้ง หลาย มา กิน พร้อม กัน, เพื่อน ก็ มา กิน ด้วย กัน นั้น
      เลี้ยง ฟูม ฟาย (635:3.17)
               ให้ กิน เหลือ เฟือ, คือ เลี้ยง กัน ฟุ่ม เฟือย*, คือ ของ มี มาก เหลือ กิน, ๆ อิ่ม ทั่ว กัน ทุก คน นั้น.
      เลี้ยง ม้า (635:3.18)
               คือ คน เอา หญ้า ให้ ม้า มัน กิน แล อาบ น้ำ, แล เอา มัน เข้า ที่ ให้ หลับ นอน.
      เลี้ยง หมู (635:3.19)
               ขุน หมู, คือ ขุน หมู, คน เลี้ยง หมู แล้ว ให้ อาหาร กิน นั้น.
      เลี้ยง แม่ (635:3.20)
               รักษา มารดา, คือ เลี้ยง รักษา ประฏิบัติ แม่, คน ผู้ เปน ลูก ขวน ขวาย หา อาหาร เปน ต้น ให้ แม่ กิน นั้น.
      เลี้ยง ไม้ (635:3.21)
               คือ เอา ไม้ กลม เหมือน ไม้ ท้าว ยาว สัก สี่ ศอก ตั้ง ไว้ บน นิ้ว มือ เดียว, แล รักษา ไว้ มิ ให้ ล้ม นั้น.
      เลี้ยง เมีย (635:3.22)
               ขุน เมีย, คือ ให้ อาหาร เปน ต้น แก่ เมีย, คน เปน สามี ขวน ขวาย หา สิ่ง ของ กิน แล ผ้า นุ่ง ห่ม เปน ต้น, ให้ กับ ภรรยา นั้น.
      เลี้ยง ญาติ (635:3.23)
               สงเคราะห์ ญาติ, คือ ให้ อาหาร เปน ต้น แก่ คน ผู้ เปน ญาติ, ๆ ที่ อะนาถา ขัดสน มา อาไศรย อยู่ แล สง เคราะห์ ด้วย กิน เปน ต้น.
      เลี้ยง รักษา (635:3.24)
               บำรุง รักษา, คือ หา อาหาร ให้ กิน แล รักษา ให้ หาย โรค ด้วย, เช่น มารดา เลี้ยง รักษา บุตร นั้น
      เลี้ยง เหล้า (635:3.25)
               ให้ กิน เหล้า, คือ ให้ เพื่อน กิน เหล้า, คน มี เพื่อน มาก แล เขา นัด กัน มา พร้อม, แล้ว ให้ กิน เหล้า นั้น.
      เลี้ยง ลูก (635:3.26)
               รักษา ลูก, คือ จัดแจง ให้ ลูก กิน อยู่ อาบน้ำ หลับ นอน, บำรุง พิทักษ รักษา ให้ มี ความ ผาศุข นั้น.
      เลี้ยง ลุง (635:3.27)
               ทะนุ บำรุง ลุง, คือ บำรุง ประฏิบัติ ชาย ผู้ เปน พี่ ของ พ่อ ฤๅ ของ แม่ นั้น.
      เลี้ยง หลาน (635:3.28)
               บำรุง หลาน, คือ บำรุง หลาน ด้วย ให้ กิน อาหาร เปน ต้น, คน ผู้ เปน ลุง บำรุง ให้ หลาน กิน อยู่ นั้น.
      เลี้ยง แล้ว (635:3.29)
               ให้ กิน แล้ว, คือ คน ให้ อาหาร กัน กิน แล้ว, คน บอก เพื่อน บ้าน แล ญาติ พี่ น้อง มา ช่วย งาน การ, แล้ว ให้ กัน กิน นั้น.
      เลี้ยง เหลือ (635:3.30)
               ให้ กิน จน เหลือ, คือ ให้ กัน กิน แล้ว, ของ ยัง เหลือ อยู่ นั้น, คน จัดแจง อาหาร สู่ กัน กิน อิ่ม แล้ว ของ เหลือ นั้น.
      เลี้ยง ไว้ (635:3.31)
               รักษา ไว้ คือ เอา ตัว พิทักษ รักษา ไว้, เช่น คน ได้ ลูก เด็ก ฤๅ สัตว มี งัว เปน ต้น เลี้ยง ไว้ นั้น.
      เลี้ยง เสร็จ (635:3.32)
               ให้ กิน สำเร็จ, คือ เลี้ยง สำเร็จ, คน ทำ การ ใหญ่ เปน การ มงคล, แล เขา เลี้ยง กัน แล้ว นั้น.
      เลี้ยง องค์ (635:3.33)
               รักษา กาย, คือ เลี้ยง ตัว, ว่า เลี้ยง องค์ เปน คำ สูง สำรับ เจ้า เปน ต้น นั้น.
เลื่อง (635:1)
         (dummy head added to facilitate searching).
      เลื่อง ฦๅ (635:1.1)
               * เล่า ฦๅ, คือ คำ ฦๅ แต่ เลื่อง นั้น เปน สร้อย, เช่น เหตุ การ ใหญ่ เขา พูด เล่า กัน ต่อ ๆ ไป.
      เลื่อง ชื่อ ฦๅ ชา (635:1.2)
               เปน คน มี ชื่อ เสียง, คือ คำ คน พูด สรรเสิญ คน ที่ มี คุณ วิเสศ กว่า* คน ทั้ง หลาย ทั้ง ปวง ว่า วิเสศ นั้น.
เหลือง (635:2)
         คือ ศรี ขมิ้น เปน ต้น, บาง ที ดอกไม้ ศรี เหลือง มี ดอก บวบ เปน ต้น, ศรี เช่น นั้น ว่า เหลือง.
      เหลือง แก่ (635:2.1)
               เช่น ศรี ผ้า เหลือง ที่ พระสงฆ์ นุ่ง ห่ม. อย่าง หนึ่ง เช่น ศรี ทอง คำ ว่า ศรี เหลือง แก่.
      เหลือง ขมิ้น (635:2.2)
               คือ ศรี เหลือง สด, เช่น หัว ขมิ้น สด อยู่ ใน ดิน นั้น.
      เหลือง อ่อน (635:2.3)
               คือ ศรี เหลือง จาง ๆ ศรี ไม่ สู้ เข้ม, ศรี เช่น ศรี ดอก บวบ แล ศรี บานเอย็น เปน ต้น นั้น.
เหลิง (635:3)
         เจิ้ง, คือ น้ำ ที่ ไหล ถ้วม ที่ ดอน เปน คราว ๆ, เช่น น้ำ เดือน สิบสอง เปน ธรรมดา นั้น.
      เหลิง ไป (635:3.1)
               คือ พูด เกิน ตัว ถึง การ วิชา ต่าง ๆ เปน ต้น ว่า เรา เศก ไม่ ให้ คน เหน ตัว ก็ ได้ นั้น.
ลด (635:4)
         ถอย, อย่อน, คือ ปลด อย่อน ลง, เช่น น้ำ เดือน สิบ สอง ข้าง ฝ่าย เหนือ ที่ น้ำ ทะเล ไม่ ขึ้น ถึง นั้น, ถ้า ถอย น้อย ลง เขา ว่า น้ำ ลด ลง.
      ลด กัน (635:4.1)
               ถอย กว่า กัน, คือ ถอย ลง, เช่น คน ต้อง เกณฑ์ ราชการ เท่า กัน, เปน ต้น ว่า ถูก ก่อ กำแพง, คน ที่* ชอบ กับ ผู้ เกณฑ์ ๆ ให้ ทำ ถอย น้อย ลง นั้น.
      ลด การ (635:4.2)
               อย่อน การ, คือ ถอย อย่อน การ งาน ลง ไม่ คง ที่ นั้น, เช่น การ เคย ทำ มาก แล้ว ถอย ลง เอา แต่ น้อย.

--- Page 636 ---
      ลด ค่า จ้าง (636:4.3)
               ถอย ค่า จ้าง, อย่อน ค่าจ้าง, คือ ถ่อม ถอย ค่า จ้าง ลง เช่น คน ว่า จ้าง กัน เดือน ละ หก บาท, ครั้น ทำ จ้าง ไม่ เต็ม, เขา ให้ เงิน ถอย ลง ไม่ ถึง หก บาท นั้น
      ลด ค่า เช่า (636:4.4)
               ถอย ค่า เช่า, อย่อน ค่า เช่า, คือ ถ่อม ถอย ค่า เช่า ลง, เดิม ว่า เช่า ของ มี เรือ เปน ต้น ว่า เดือน ละ สาม บาท, ครั้น เช่า ไป ไม่ เต็ม เดือน ให้ เงิน น้อย ลง.
      ลด คน (636:4.5)
               ถอย คน ลง, อย่อน คน ลง, คือ เกณฑ์ คน ใน ราชการ มาก ร้อย คน เปน ต้น. ครั้น การ น้อย ลง เขา ก็ ถอย ให้ คน น้อย ลง นั้น.
      ลด เงิน (636:4.6)
               อย่อน เงิน ลง, ถอย เงิน ลง, คือ ซื้อ ของ ให้ อย่อน ราคา ลง, เช่น ผ้า เดิม ราคา มาก, ครั้น ผ้า นั้น ทะลุ ขาด เขา ให้ เงิน น้อย ลง กว่า ราคา เดิม นั้น.
      ลด จาก ที่ (636:4.7)
               ยุบ จาก ที่, พร่อง จาก ที่, คือ ถอย ลง จาก ที่ มี นั่ง เปน ต้น. อย่าง หนึ่ง ตัว เปน ขุนนาง ที่ สูง, ครั้น ทำ ความ ผิด ท่าน ให้ ถอย ลง อยู่ ที่ ต่ำ กว่า เก่า นั้น,
      ลด ทอน (636:4.8)
               อย่อน ขาด ลง, คือ ถอย เลื่อน ให้ สั้น ให้ น้อย ลง, เช่น ไม้ ยาว เกิน การ จะ ต้อง การ แต่ สั้น บั่น ทอน ลง นั้น.
      ลด ธรรมเนียม (636:4.9)
               เช่น ธรรมเนียม เดิม ค่า ปาก เรือ กำปั่น คราว ละ พัน เจ๊ด ร้อย บาท, แผ่นดิน นี้ ท่าน เอา พัน หนึ่ง นั้น.
      ลด ใบ (636:4.10)
               คือ อย่อน ใบ ลง จาก ปลาย เสากะโดง เปน ต้น.
      ลด ไป (636:4.11)
               อย่อน ไป, คือ คน ศรี สัน พรรณะ เสื่อม ถอย ไป, เดิม คน หนุ่ม เนื้อ หนัง ผิว นวล ผ่อง ใส งาม, ครั้น แก่ ชะรา เข้า ผิว พรรณ ก็ เสื่อม นั้น.
      ลด อย่อน (636:4.12)
               ลด อ่อน, คือ ลด ถอย ลง, เดิม ของ มี ราคา มาก, ครั้น ของ นั้น เก่า คร่ำ คร่า เข้า ราคา ก็ น้อย ลง นั้น.
      ลด ราคา (636:4.13)
               ถอย ราคา, คือ ของ มี ราคา มาก, ครั้น ของ นั้น บุบ ฉลาย ไป, ราคา ก็ ต่ำ ถอย น้อย ลง ไม่ คง อยู่ ตาม ที่ เดิม นั้น.
      ลด ลง (636:4.14)
               อย่อน ลง, ถอย ลง, คือ ปลง ลง, เช่น คน ไป เรือ แล่น ใบ ไป, ครั้น เกิด ลม กล้า นัก เขา ซา ใบ ปลง ใบ ลง น้อย นั้น.
      ลด เลี้ยว (636:4.15)
               คด เคี้ยว, คือ หน ทาง ไม่ ตรง อ้อม เอี้ยว ไป, นั้น.
      ลด ไว้ (636:4.16)
               อย่อน ไว้, คือ อย่อน ถอย ลง, เช่น คน แล่น ใบ ไป เรือ, ครั้น เกีด ลม พะยุ แรง ก็ ลด ซา ใบ ลง ไว้ นั้น.
      ลด วัน (636:4.17)
               อย่อน วัน, น้อย วัน, คือ อย่อน วัน ลง, เช่น เดือน หนึ่ง สาม สิบ วัน, ยี่สิบ เก้า วัน เปน เดือน ว่า ลด วัน.
      ลด ให้ (636:4.18)
               อย่อน ให้, ผ่อน ให้, คือ อย่อน ให้, เช่น คน ขาย ตัว ผูก ดอก เบี้ย เดือน ละ บาท, เขา อย่อน เอา แต่ สาม สลึง นั้น.
      ลด องค์ (636:4.19)
               ถอย องค์, คือ อย่อน องค์ ลง นั่ง, เช่น เจ้า เปน ต้น จะ นั่ง แล อย่อน ตัว ลง บน อาศนะ ที่ นั่ง นั้น.
ลัด (636:1)
         ตัด ตรง ไป, เช่น คน ไป ทาง น้ำ ฤๅ ทาง บก, เหน ว่า อ้อม ไป แล ตัด ตรง ไป นั้น.
      ลัด เก่า (636:1.1)
               คือ คลอง ที่ ตรง ไป ใกล้ เร็ว ถึง นั้น, เช่น ที่ จะ ลง ไป ปาก น้ำ เจ้าพระยา นั้น, ไป ตาม แม่น้ำ อ้อม ไกล นัก, ท่าน ขุด คลอง ลัด ไว้ เดิม นั้น.
      ลัด เข้า มา (636:1.2)
               ตัด ตรง เข้า มา, คือ คน มา เรือ แต่ ปากน้ำ เปน ต้น, แล ไม่ เข้า มา ตาม แม่น้ำ กลัว จะ อ้อม, แล เขา มา ทาง ลัด นั้น.
      ลัด เดิน (636:1.3)
               ตัด ทาง ตรง เดิน, คือ ตัด เดิน ทาง อ้อม ให้ ตรง, เช่น ทาง อ้อม ไป ข้า ถึง แล เขา ตัด ลัด ไป ตาม ตรง นั้น.
      ลัด ตาม (636:1.4)
               ตัด ทาง ตรง ตาม, คือ คน เดิน ตาม ทาง ไป ด้วย กัน สอง คน, คน หนึ่ง ไป ก่อน น่า ไกล, คน ไป ที หลัง จะ ให้ ทัน ลัด ตาม ไป นั้น.
      ลัด ทาง (636:1.5)
               คือ ตัด ทาง อ้อม ไกล, คน เหน ว่า หน ทาง เดิม อ้อม แล ตัด ทาง ลัด ใหม่ นั้น.
      ลัด ทุ่น (636:1.6)
               คือ ลัด เข้า ใน ทุ่น, เช่น เขา เอา เรือ ทอด สมอ ไว้ สำรับ ห้าม มิ ให้ คน ล่วง เข้า ไป ใกล้, น่า ที่ นั่ง ขุนหลวง ที่ ตำหนัก น้ำ นั้น.
      ลัทธิ (636:1.7)
               คือ อาการ ที่ ถือ วิชา อย่าง ใด อย่าง หนึ่ง นั้น, มี เศก น้ำ ล้าง หน้า เปน ต้น.
      ลัด เนื้อ สาว (636:1.8)
               คือ หญิง เมื่อ แรก รุ่น เปน สาว ขึ้น นั้น.
      ลัด บน (636:1.9)
               ตัด ทาง ตรง ข้าง บน, คือ ปาก คลอง ลัด ข้าง เหนือ ท่าน ให้ ขุด คลอง ลัด แม่ น้ำ อ้อม ไกล ปาก คลอง เหนือ นั้น, เรียก ลัด บน.

--- Page 637 ---
      ลัด บ้าน (637:1.10)
               ตัด ตรง เข้า ใน บ้าน, คือ ลัด เข้า ใน บ้าน, คน เดิน ทาง มา แล จะ ไป เร็ว, แล บ้าน เขา อยู่ มาก ก็ เข้า ใน บ้าน เดิน ไป.
      ลัด ป่า (637:1.11)
               ตัด ตรง ไป ใน ป่า, คือ ตัด ไป ใน ป่า, คน เดิน ไป ใน ทาง ป่า แล เปน ทาง อ้อม, เขา เดิน ตัด ตรง ไป ไม่ อ้อม นั้น.
      ลัด ไป (637:1.12)
               ตัด ตรง ไป, คือ ตัด เดิน ตรง ไป, คน เดิน ไป ใน หน ทาง อ้อม เหน จะ ช้า, เขา เดิน ตัด ไป โดย ตรง ไม่ คด นั้น.
      ลัด มา (637:1.13)
               ตัด ตรง มา, คือ ตัด ทาง เดิน ตรง มา, คน เดิน มา เหน ว่า ทาง อ้อม ไม่ ตรง, เหน จะ ช้า ถึง เดิน ตัด ตรง มา นั้น.
      ลัทธิ (637:1.14)
               คือ ถือ ใน ใจ ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง, เช่น คน จะ ตี เอา น้ำผึ้ง บน ต้น ไม้ อ้อม ไม่ รอบ โต ใหญ่ นัก, เขา ทำ ไม้ เช่น ลูก ประศัก เรือ, ตอก เข้า ที่ ต้นไม้ อัน ละ สาม ที แล้ว, ขึ้น ไป ได้ นั้น.
      ลัด ล่วง (637:1.15)
               ตัด ตรง พ้น ไป, คือ ตัด เกิน ไป, เช่น เขา เดิน ทาง หมาย จะ ลัด ให้ ตรง เข้า ที่ จะ ไป, แล มัน ออก เกิน ไป นั้น.
      ลัด แลง (637:1.16)
               ตัด ตรง ไป, คือ ลัด ตัด ไป, แต่ แลง นั้น เปน คำ สร้อย.
      ลัด เลี้ยว (637:1.17)
               ตัด ตรง เลี้ยว ไป, คือ เดิน ตัด ที่ เลี้ยว ตรง ไป, ตัด ทาง เลี้ยว เดิน ไป นั้น, ว่า ลัด เลี้ยว.
      ลัด หา (637:1.18)
               คือ ตัด เข้า หา ทาง หลวง เปน ต้น, คน เดิน ไป ใน ทาง เล็ก น้อย เปน ทาง รก อ้อม, แล ตัด เข้า หา ทาง หลวง นั้น.
      ลัด เอา (637:1.19)
               ตัด ตรง เอา, คือ คน พูด ตัด เอา ตาม ชอบ ใจ ไม่ ถือ เอา อย่าง ธรรมเนียม, เช่น ท่าน ตั้ง กฎหมาย ไว้ แล ไม่ ว่า ตาม กฎหมาย ว่า ลัด เอา นั้น.
      ลัด ออก (637:1.20)
               ตัด ตรง ออก, คือ เดิน ลัด ออก, คน เดิน ไป ป่า ดง เหน จะ ช้า, เขา เดิน ตัด ทาง ออก กลาง ทุ่ง เปน ต้น นั้น.
หลัด ๆ (637:1)
         บัดเดี๋ยว, คือ พูด อยู่ บัดเดี๋ยว ๆ, ฤๅ เหน อยู่ บัด เดี๋ยว ๆ, เขา ว่า พูด อยู่ หลัด ๆ เหน อยู่ หลัด ๆ, แล้ว ตาย ไป.
ลาด (637:2)
         คือ ที่ ลาด ไสล, เช่น ที่ เปน เนิล สูง ขึ้น แล้ว ต่ำ ลง ๆ ที ละ น้อย ๆ นั้น.
      ลาชะโด (637:2.1)
               เปน ชื่อ บ้าน ตำบล หนึ่ง, อยู่ แขวง กรุง เก่า นั้น.
      ลาด เตวน (637:2.2)
               คือ เที่ยว ไป แสวง ดู ฆ่าศึก, แล โจร มัน จะ ล่วง ลอบ เข้า มา ทำ อันตะราย แก่ คน ใน เขตร์ แดน, เช่น พวก ชาว ด่าน เที่ยว เตวน ทั่ว ไป นั้น.
      ลาด น้ำเค็ม (637:2.3)
               เปน ชื่อ ที่ ตำบล หนึ่ง, เปน ท้อง ทุ่ง ลำลาบ ไป ไม่ เปน เนิล สูง เปน ที่ น้ำ ขัง นั้น.
      ลาด ปู (637:2.4)
               ดาษ ปู, คือ เอา เครื่อง สำหรับ ลาด ลง ปู บน พื้น ฟูก ฤๅ พื้น เสื่อ เปน ต้น นั้น.
      ลาด อาศะนะ (637:2.5)
               ดาษ ปู อาศะนะ, คือ เอา เครื่อง ลาด ปู ไป บน พื้น เรือน เปน ต้น เพื่อ จะ ให้ เปน ที่ นั่ง ที่ นอน นั้น.
ลิด (637:3)
         ตัด, ฟัน, คือ เอา มีด พร้า ฟัน ระ ที่ ลำ ไม้ มี กิ่ง, ให้ มัน ขาด ตก ไป ทำ ให้ ลำ ไม้ เกลี้ยง นั้น.
      ลิด ก้าน (637:3.1)
               เด็ด ก้าน, ตัด ก้าน, คือ เอา มือ เด็ด ก้าน ใบ ไม้ เอา ไว้ แต่ กิ่ง นั้น.
      ลิด แขนง (637:3.2)
               เด็ด แขนง, ตัด แขนง, คือ เอา มีด ตัด แขนง ไม้ ไผ่ ให้ เกลี้ยง, กิ่ง ไม้ ไผ่ เขา เรียก แขนง.
      ลิด กิ่ง (637:3.3)
               ตัด กิ่ง, เด็ด กิ่ง, คือ เอา มีด ฤๅ พร้า ฟัน ฉะ ระ ที่ กิ่ง ต้นไม้, ให้ กิ่ง ขาด ตก ไป นั้น.
      ลิด ตีน ปู (637:3.4)
               เด็ด ตีน ปู, คือ เอา มือ หัก ตีน ปู เสีย, เขา หัก ตีน เสีย หมด นั้น.
      ลิด หนาม (637:3.5)
               ตัดหนาม, คือ เอา มีด ฤๅ พร้า เปน ต้น ตัด ฉะระ หนาม ที่ ต้น ไม้ มี หนาม เหมือน ต้น ระกำ นั้น.
      ลิด ไม้ (637:3.6)
               ตัด ไม้, ฟัน ไม้, คือ ตัด ฉะระ ที่ ต้นไม้ ทุก อย่าง เปน ต้น นั้น.
หลุด (637:4)
         ไม่ ติด กัน, คือ ออก พ้น จาก กัน, เช่น มี สุรียฆาฏ ฤๅ จันทฆาฏ จับ แล้ว แล ออก พ้น กัน นั้น.
      หลุด กัน (637:4.1)
               คือ ไม่ ติด กัน, เช่น คน ติด เงิน กัน เปน ต้น แล เขา ใช้ กัน แล้ว, ว่า หลุด กัน.
      หลุด ขึ้น (637:4.2)
               คือ เคลื่อน ถอน ขึ้น, เช่น ไม้ หลัก เขา ปัก ไว้ ที่ ดิน มัน เคลื่อน ถอน ขึ้น นั้น.
      หลุด ถอน (637:4.3)
               คือ พ้น จาก กัน แล้ว ขึ้น จาก ที่, เช่น ไม้ หลัก ที่ เขา ปัก ไว้ มัน เคลื่อน ขึ้น จาก ที่ นั้น.

--- Page 638 ---
      หลุด จาก กัน (638:4.4)
               คือ เคลื่อน ออก จาก กัน นั้น.
      หลุด ไป (638:4.5)
               ถอน ไป, คือ เคลื่อน พ้น ไป, เช่น เรือ เปน ต้น ที่ เขา ผูก ไว้ แล มัน เคลื่อน พ้น ไป นั้น.
      หลุด พ้น (638:4.6)
               พลัด พ้น, คือ เคลื่อน จาก ที่ ไป, เช่น ว่าว ที่ เขา ชัก มัน ติด กัน ใน อากาศ, แล้ว มัน เคลื่อน ออก จาก กัน นั้น.
      หลุด มา (638:4.7)
               ถอน มา, คือ พ้น ออก จาก ที่ มา, เช่น คน เขา จับ ตัว ไป จำ ฤๅ มัด ไว้ แล พ้น ออก มา ได้ นั้น.
      หลุด ลุ่ย (638:4.8)
               คือ หลุด เลื่อน ลง, เช่น ผ้า ที่ คน นุ่ง ห่ม อยู่ หลุด เลื่อน ตก ลง จาก ตัว คน นั้น.
      หลุด แล้ว (638:4.9)
               คือ เคลื่อน พ้น แล้ว, เช่น เรือ ที่ เขา ทอด สมอ ไว้, แล เขา ชัก ถอน สมอ ขึ้น จาก ที่ แล้ว นั้น.
      หลุด ลอย (638:4.10)
               คือ เคลื่อน แล้ว ลอย อยู่, เช่น เรือ เขา ผูก ไว้ กับ หลัก แล เคลื่อน ออก พ้น แล้ว ลอย ไป นั้น.
      หลุด มือ (638:4.11)
               พลัด มือ, คือ เคลื่อน พ้น ไป จาก มือ, เช่น คน ยึด ถือ ของ อัน ใด ไว้ แล ของ นั้น เคลื่อน พ้น มือ นั้น.
      หลุด หาย (638:4.12)
               พลัด หาย, คือ หลุด ไป หา ไม่ เหน, เช่น หลัก ที่ เขา ปัก ไว้ มัน เคลื่อน ที่ ไป.
      หลุด ออก (638:4.13)
               ถอน ออก, คือ เคลื่อน พ้น ออก, เช่น เรือ เขา ผูก ไว้ แล มัน เคลื่อน ออก นั้น.
เล็ด (638:1)
         เมล็ด, เม็ด, คือ สิ่ง ที่ เปน ดูก แขง อยู่ ใน ลูก ไม้ ต่าง ๆ เช่น ซ่ม โอ เปน ต้น นั้น.
      เล็ด ผลไม้ (638:1.1)
               เม็ด ผลไม้, เมล็ด ผลไม้, คือ เม็ด ที่ เปน ดูก แขง อยู่ ใน ผลไม้ นั้น.
      เล็ด มะม่วง (638:1.2)
               เม็ด มะม่วง, เมล็ด มะม่วง, คือ เม็ด ใน ผล ไม้ ม่วง นั้น.
      เล็ด ลอด (638:1.3)
               แอบ ลอด, เล็ด นั้น เปน คำ สร้อย, แต่ ลอด นั้น คือ คน ก้ม ตัว ลง ไป โดย ช่อง แคบ นั้น.
      เล็ด ออก มา (638:1.4)
               เปน เม็ด ออก มา, เมล็ด ออก มา, เช่น น้ำ ตา ที่ เผล็ด ออก จาก หน่วย ตา เปน เม็ด ออก มา หนิด น่อย ยัง ไม่ ไหล ออก มาก นั้น.
โลด (638:2)
         โดด, โผน, คือ ทำ ให้ ตัว ลอย ขึ้น แล้ว ตก ลง ที่ พื้น เช่น ปลา มัน โดด ขึ้น แล้ว ตก ลง นั้น.
      โลด ขึ้น (638:2.1)
               คือ โดด ขึ้น, เช่น ปลา มัน เข้า ตะแกรง ที่ คน ช้อน แล มัน โดด หนี ขึ้น นั้น.
      โลด โจน (638:2.2)
               คือ ทำ ตัว ให้ ลอย ขึ้น แล้ว เผ่น ลง นั้น.
      โลด โดด (638:2.3)
               โดด โผน, ทั้ง สอง คำ นี้ ความ เปน อัน เดียว กัน, คือ คน ฤๅ สัตว ทำ ให้ ตัว ลอย ขึ้น ไป นั้น.
      โลด เต้น (638:2.4)
               โดด เต้น, คือ โดด ขึ้น แล้ว กลับ ลง มา หลาย หน แล้ว ๆ เล่า ๆ นั้น.
      โลด ทะนง (638:2.5)
               อ้าย ทอก งา เดียว, เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปลือก มี กลิ่น หอม ทำ ยา ได้ แต่ เขา ไม่ ปลูก ไว้.
      โลด ทะยาน (638:2.6)
               โดด ทะยาน, โผน ทะยาน, คือ โดด ทำ ให้ ตัว ยืด สูง ขึ้น นั้น.
      โลด หนี (638:2.7)
               โดด หนี, คือ โดด หนี, เช่น ปลา มัน เข้า ใน ตะ แกรง ที่ คน ช้อน แล้ว มัน โดด ออก หนี ไป.
      โลด ทะลึ่ง (638:2.8)
               โผน ทะลึ่ง, คือ โดด ให้ ตัว ทยาน ขึ้น, เช่น คน โดด สอึก ตัว ลอย ขึ้น สูง น่อย นั้น.
      โลด ทะลวง (638:2.9)
               โดด ทะลวง, คือ โดด แล้ว วิ่ง ไป น่อย หนึ่ง, คน โดด ขึ้น สูง แล้ว เดิน ไป นั้น.
      โลด ไป (638:2.10)
               ทะลึ่ง ไป, คือ โดด ไป, คน โดด ทำ ให้ ตัว ลอย ขึ้น สูง สัก ศอก เสศ แล้ว เดิน ไป นั้น.
      โลด โผน (638:2.11)
               โดด เผ่น, คือ โดด ให้ ตัว ลอย ขึ้น สูง สัก ศอก เสศ แล้ว จึ่ง เดิน ไป นั้น.
      โลด ออก (638:2.12)
               โดด ออก, คือ โดด ออก, เช่น ปลา มัน เข้า ใน ที่ เขา ดัก มัน กลัว ติด อยู่ มัน ทำ ให้ ตัว ลอย ออก นั้น.
ลอด (638:3)
         ก้ม ตัว, คือ ก้ม ตัว ลง แล้ว ออก ไป ตาม ช่อง เปน ต้น นั้น.
      ลอด ช่อง (638:3.1)
               ออก ตาม ช่อง, คือ ก้ม ตัว ลง แล้ว ออก ไป ตาม ช่อง คับ แคบ, บาง ที ก็ คลาน ออก ไป.
      ลอด บ่วง (638:3.2)
               ไป ตาม บ่วง, คือ ลอด ไป ทาง ช่อง บ่วง, เขา ทำ บ่วง ไว้ เปน การ เล่น, อย่าง ไม้ สูง เจ๊ด บ่วง ให้ คน ขึ้น ลอด ดู เล่น นั้น.
      ลอด ไป (638:3.3)
               มุด ไป, คือ ลอด ไป โดย ช่อง, คน เดิน ทาง แล ลอด ช่อง ไป เปน ต้น
      ลอด ฝา (638:3.4)
               คือ ฝา มี ช่อง ภอ ลอด ได้, คน จะ ออก ไป ฤๅ จะ เข้า มา แล ลอด ไป มา ที่ ฝา นั้น.

--- Page 639 ---
      ลอด มา (639:3.5)
               คือ ลอด มา โดย ช่อง, คน เดิน ทาง แล ลอด มา นั้น.
      ลอด ลัด (639:3.6)
               คือ ลอด ตัด ทาง ไป นั้น.
      ลอด เล็ด (639:3.7)
               ลอด นั้น ความ เช่น ว่า แล้ว, แต่ เล็ด นั้น เปน คำ สร้อย,
      ลอด รั้ว (639:3.8)
               คือ ก้ม ตัว ลง แล้ว ออก ไป ตาม ช่อง รั้ว นั้น.
      ลอด หัว (639:3.9)
               มุด หัว, คือ ยื่น หัว ออก ไป ทาง ช่อง น่าต่าง เปน ต้น.
      ลอด ออก ไป (639:3.10)
               คือ ตัว อยู่ ข้าง ใน ให้ ออก ไป โดย ช่อง นั้น.
หลอด (639:1)
         คือ ปล้อง ไม้ ลำ เล็ก ๆ เท่า กับ ต้น ขน ห่าน, เขา ตัด ไม่ ให้ มี ข้อ นั้น.
      หลอด จังหัน (639:1.1)
               คือ ไม้ หลอด เขา ใส่ ที่ กลาง ตัว จังหัน เพื่อ จะ เอา เพลา ใส่ เข้า ให้ มัน หัน นั้น.
      หลอด ชุด (639:1.2)
               คือ ไม้ เล็ก ๆ สำรับ ใส่ ชุด ให้ ไฟ ดับ นั้น.
      หลอด ทอง แดง (639:1.3)
               คือ ลำ หลอด เขา ทำ ด้วย ทอง แดง นั้น.
      หลอด ด้าย (639:1.4)
               คือ หลอด เช่น ว่า, แต่ เขา เอา สรวม เข้า กับ เหล็ก ไน ผัด ผัน ให้ ด้าย พัน เข้า นั้น.
      หลอด ไหม (639:1.5)
               คือ ไม้ หลอด เช่น ว่า นั้น.
      หลอด ยานัด (639:1.6)
               คือ ไม้ หลอด เขา ทำ ปล้อง เดียว ให้ มี รู ที่ ข้อ สำรับ ให้ น้ำ ลง ใน รู จมูก นั้น.
      หลอด ลำกะโดง (639:1.7)
               คือ คลอง เล็ก ที่ เขา ขุด ให้ น้ำ ไหล ไป ใน สวน เปน ต้น นั้น.
      หลอด เหล็ก (639:1.8)
               คือ หลอด เหล็ก วิลาศ เปน ต้น, เช่น หมอ ทำ ให้ น้ำ ไหล ลง ตุ่ม ที่ ชายคา.
      หลอด หูก (639:1.9)
               คือ หลอด ที่ เขา เกาะ ด้าย ธอ หูก นั้น.
      หลอด อังแพลม (639:1.10)
               คือ ไม้ หลอด ที่ คน ขะโมย ย่อง เบา ลัก ขึ้น เรือน เวลา กลาง คืน, มัน ทำ สำรับ ซ่อน อังแพลม.
ลวด (639:2)
         เส้น, สาย, สิ่ง ที่ เขา ทำ ด้วย ทอง เหลือง บ้าง, ด้วย เงิน บ้าง ด้วย ทอง คำ บ้าง.
      ลวด เงิน (639:2.1)
               เส้น เงิน, สาย เงิน, คือ เส้น ลวด เช่น ว่า, เขา ทำ ด้วย เงิน เพื่อ จะ ทำ เครื่อง ประดับ นั้น.
      ลวด ทอง คำ (639:2.2)
               เส้น ทอง คำ, สาย ทอง คำ, คือ เส้น ลวด เช่น ว่า, เขา ทำ ด้วย ทอง คำ เปน เครื่อง แต่ง ตัว นั้น.
      ลวด ดอกไม้ ไหว (639:2.3)
               คือ ลวด ทอง เหลือง แต่ เส้น เล็ก เท่า ปลาย เข็ม ทราย, สำรับ ทำ ก้าน ดอกไม้.
      ลวด ทอง แดง (639:2.4)
               คือ ลวด ทำ ด้วย ทอง แดง, โต เท่า นิ้วมือ สำรับ ไต่ เล่น.
      ลวด ทอง เหลือง (639:2.5)
               คือ ลวด ทำ ด้วย ทอง เหลือง, อย่าง โต เท่า นิ้วมือ, อย่าง เล็ก เท่า เข็ม เย็บ ผ้า.
      ลวด หนัง (639:2.6)
               คือ ลวด ทำ ด้วย หนัง งัว หนัง ควาย นั้น.
      ลวด ลาย (639:2.7)
               คือ ลาย ที่ เขา เขียน เปน เส้น สาย คล้าย ลวด นั้น.
      ลวด เหล็ก (639:2.8)
               คือ ลวด ทำ ด้วย เหล็ก นั้น.
เลือด (639:3)
         โลหิต, คือ น้ำ ศรี แดง ๆ, ที่ มี ใน กาย คน ฤๅ สัตว, ถ้า ถูก คม มีด เปน ต้น น้ำ นั้น ก็ ไหล ออก มา นั้น.
      เลือด กำเดา (639:3.1)
               โลหิต กำเดา, คือ เลือด ที่ ไหล ออก โดย ช่อง จมูก, ไม่ มี บาด แผล ก็ ไหล ออก มา นั้น, เรียก เลือด กำเดา.
      เลือด คน (639:3.2)
               คือ เลือด ใน กาย มนุษ นั้น,
      เลือด ตก ยาง ออก (639:3.3)
               คือ เลือด ออก จาก แผล อัน ใด ๆ, เขา พูด ว่า เลือด ตก ยาง ออก.
      เลือด ไม้ (639:3.4)
               คือ สัตว เล็ก ๆ ศรี ขาว ๆ, มัน จับ ที่ แขนง ไม้ ไผ่, เขา เรียก ว่า เลือด ไม้ ไผ่ นั้น.
      เลือด แรด (639:3.5)
               คือ เลือด ใน ตัว แรด, คน ฆ่า มัน เอา เลือด ตาก ให้ แห้ง แล้ว เอา มา ทำ ยา นั้น.
      เลือด ไหล (639:3.6)
               โลหิต ไหล, คือ เลือด ที่ ออก มา จาก ตัว คน ฤๅ สัตว นั้น.
      เลือด สด (639:3.7)
               คือ เลือด แรก ออก มา ใหม่ ๆ, เข่า ว่า เลือด ไหล ออก มา สด ๆ นั้น.
      เลือด สัตว (639:3.8)
               คือ เลือด ใน กาย สัตว, เว้น แต่ สัตว ตัว เล็ก มี มด เปน ต้น,
      เลือด แห้ง (639:3.9)
               คือ เลือด ออก มา นาน เวลา, ก็ แค่น ค่น ไม่ เปน น้ำ เหลว อยู่ นั้น.
      เลือด ออก (639:3.10)
               คือ เลือด ไหล ออก จาก ปาก แผล บาด เจ็บ ฤๅ แผล ฝี เปน ต้น.
      เลือด อาบ ไป (639:3.11)
               คือ เลือด ไหล โทรม ไป นั้น.
เลิด (639:4)
         คือ ประเสริฐ, เช่น ของ สิ่ง ใด ที่ เปน ของ วิเสศ ประเสริฐ ของ นั้น ว่า เลิศ.
      เลิศไตรย (639:4.1)
               คือ ว่า เลิศ ใน ไตรยภพ, ๆ นั้น แปล ว่า เปน ใหญ่ ใน ภพ สาม.

--- Page 640 ---
      เลิศ ฟ้า (640:4.2)
               คือ เลิศ ประเสริฐ สูง วิเสศ กว่า เพื่อน ทั้ง นั้น, เปน คำ คน พูด สรรเสริญ ว่า เลิศ ฟ้า.
      เลิศ ล้ำ (640:4.3)
               คือ ของ ที่ วิเสศ เลิศ มี หลาย มาก ด้วย กัน, แต่ อัน ใด ที่ วิเสศ กว่า เพื่อน นั้น ว่า เลิศ ล้ำ.
      เลิศ ล้น (640:4.4)
               คือ เลิศ เหลือ, ของ ฤๅ คน ที่ เปน อย่าง ดี วิเสศ ประเสริฐ เหลือ ว่า เลิศ ล้น,
      เลิศ ประเสริฐ (640:4.5)
               คือ เลิศ วิเสศ นัก.
      เลิศ แล้ว (640:4.6)
               คือ เลิศ ล้วน, ของ ที่ วิเสศ ล้วน สำเร็จ ไป ด้วย แก้ว แล ทอง นั้น ว่า เลิศ แล้ว.
      เลิศ* ล่า (640:4.7)
               คือ ของ ฤๅ คน ที่ ดี ประเสริฐ ใน ใต้ ฟ้า, มี บน พื้น สุธา โลกย มนุษ นั้น.
ลน (640:1)
         คือ เอา ของ อัน ใด จะ ทำ ให้ ร้อน, แต่ เอา ของ นั้น อัง เข้า ที่ ถ่าน เพลิง นั้น.
      ลน ควัน (640:1.1)
               คือ อัง ควัน, เช่น หญิง เอา ฝา โถ ลน ควัน เทียน ใส่ ผม ให้ ดำ นั้น.
      ลน ควัน ไต้ (640:1.2)
               อัง ควัน ไต้, คือ อัง เปลว ควัน ไต้ จุด ไฟ ไว้ นั้น, คน ทำ ยา กรับ ใส่ เจ็บ ตา แดง เขา อัง เปลว ไต้ นั้น.
      ลน ควัน เทียน (640:1.3)
               อัง ควัน เทียน, คือ อัง ควัน เปลว เทียน ที่ ไฟ ติด อยู่ นั้น.
      ลน ไฟ (640:1.4)
               คือ อัง ไฟ, คน จะ ฟั่น เทียน แล เอา ขี้*ผึ้ง เข้า อัง ให้ อ่อน นั้น.
      ลน ไม้ (640:1.5)
               คือ อัง ไม้ เข้า ที่ ไฟ.
      ลน ลาน (640:1.6)
               ตะลี ตะลาน, ขมี ขมัน, คือ ทำ ลุก ลน, คน รีบ จะ ไป แล จัด ของ ต่าง ๆ บัดเดี๋ยว วาง สิ่ง นี้ จับ สิ่ง นั้น
      ลน ลวก (640:1.7)
               อัง ลวก, คือ เอา เข้า ลน ไฟ แล้ว น้ำ ร้อน ลวก, คน จะ กิน ยอด ไม้ ใบ สะเดา เปน กับ เข้า, เอา มา ทำ เช่น ว่า นั้น.
ล้น (640:2)
         พูน, เปี่ยม, คือ เต็ม* พูน จน ตก ลง ไหล ลง, เช่น คน เท น้ำ ลง ใน ภาชนะ ฤๅ ตวง เข้า ลง ใน ถัง จน ตก แล ไหล ลง นั้น.
      ล้น เกล้า (640:2.1)
               ล้น หัว, เปน คำ เขา พูด กับ เจ้า โดย คำนับ ยำเกรง ว่า ถึง ตัว เจ้า ว่า ตั้ง อยู่ ล้น เกล้า.
      ล้น กระหม่อม (640:2.2)
               พูน กระหม่อม, เปน คำ เขา พูด กับ เจ้า โดย คำรพ เกรง บุญ, ว่า ถึง ตัว เจ้า ว่า อยู่ เหนือ กระหม่อม.
      ล้น จาน (640:2.3)
               เปี่ยม จาน, คือ ของ พูน จาน จน ตก ลง จาก จาน นั้น.
      ล้น ชาม (640:2.4)
               พูน ชาม, คือ ของ พูน ชาม จน ตก จาก ชาม นั้น.
      ล้น ถัง (640:2.5)
               พูน ถัง, คือ เต็ม พูน ปาก ถัง จน ตก ลง นั้น.
      ล้น ไป (640:2.6)
               คือ ล้น ตก ไป, คน ใส่ ของ อัน ใด ลง ใน ภาชนะ จน เต็ม พูน ตก ไป นั้น.
      ล้น เปี่ยม (640:2.7)
               คือ ล้น พูน มูน จน ไหล ลง จาก ที่ นั้น.
      ล้น พ้น (640:2.8)
               พูน พ้น, คือ ล้น เกิน, เช่น ของ คน ตวง ใส่ ใน ภาชนะ จน เกิน ปาก นั้น.
      ล้น เหลือ เปี่ยม เหลือ (640:2.9)
               คือ ล้น แล้ว ของ ยัง เหลือ, คน ตวง ฃอง ใส่ ใน ภาชนะ จน เต็ม พูน แล้ว ของ ยัง เหลือ นั้น.
หลน (640:3)
         หลอม, ต้ม, เคี่ยว, คือ คน เอา กะทะ ตั้ง ขึ้น บน เตา ไฟ เอา น้ำ ใส่ มี กาว เปน ต้น. ใส่ ลง ให้ มัน ละลาย เหลว ออก นั้น.
      หลน ปลาเจ่า (640:3.1)
               ต้ม ปลา เจ่า, นึ่ง ปลาเจ่า, คือ เอา กะทะ ตั้ง ขึ้น บน เตาไฟ, แล้ว เอา ปลา ที่ เขา ใส่ ซ่ม ไว้ ใส่ ลง ตั้ง ไว้ จน สุก นั้น.
      หลน ปลา แดก (640:3.2)
               ต้ม ปลา แดก, คือ ปลากะดี่ เขา ใส่ เกลือ ไว้ ใน ไห หลาย วัน, แล้ว เอา ขึ้น ใส่ กะทะ ตั้ง ไฟ ให้ สุก.
      หลน ปลาร้า (640:3.3)
               ต้ม ปลาร้า, คือ ปลาดุก เขา หมัก เกลือ ไว้ ใน ไห แล้ว เอา ใส่ กะทะ ตั้ง ไฟ ให้ สุก นั้น.
หล่น (640:4)
         ร่วง, ตก, คือ หลุด ตก ลง, เช่น ผลไม้ ที่ แก่ สุก กับ ต้น แล หลุด ตก ลง นั้น.
      หล่น กลาด (640:4.1)
               ร่วง กลาด, คือ หลุด ตก ลง ดาษ ไป บน พื้น ดิน เต็ม ไป นั้น.
      หล่น กลิ้ง (640:4.2)
               ตก กลิ้ง, คือ ผลไม้ ตก ลง ทิ้ง อยู่ กับ ดิน นั้น.
      หล่น เกลื่อน (640:4.3)
               ตก เกลื่อน, คือ ผลไม้ ตก ลง กลุ้ม กลาด ไป นั้น.
      หล่น ลง (640:4.4)
               คือ หล่น ตก ลง.
      หล่น ร่วง (640:4.5)
               คือ หลุด ลง มาก พร้อม กัน, เช่น* ดอกไม้ ฤๅ ผลไม้ ที่ ต้อง ลม แล หลุด ตก ลง เปน คราว.
ลัน (640:5)
         อีจู้, เปน ของ เขา ทำ ดัก ปลา, เขา เอา ไม้ ไผ่ ผ่า ทำ เปน ซี่ แล้ว ถัก เปน งาแซง, ใส่ ไว้ ที่ ปล้องไม้ นั้น.

--- Page 641 ---
      ลัน ดัก ปลาไหล (641:5.1)
               คือ เครื่อง สำรับ ดัก ปลาไหล เอา ปล้องไม้ มา แขวะ เปน ช่อง ไว้ น่อย หนึ่ง, ทำ งา เซง ใส่ ไว้ มิ ให้ ออก ได้ นั้น.
      ลัน ไต (641:5.2)
               คือ เสื่อ เขา สาน ด้วย หวาย ตะค้า เปน ซีก ๆ นั้น.
ลั่น (641:1)
         คือ รอย ร้าว, เช่น ภาชนะ มี ชาม เปน ต้น, มัน ไม่ แตก ออก ที เดียว เปน แต่ รอย ร้าว นั้น.
      ลั่น ปืน (641:1.1)
               คือ ทำ ให้ นก ปืน มัน สับ ลง.
      ลั่น ฆ้อง (641:1.2)
               คือ ตี ฆ้อง เข้า ให้ ดัง, คน ทำ สัญญา เปน ต้น แล เขา ตี ฆ้อง เข้า เมื่อ ถึง กำหนด.
      ลั่นทม (641:1.3)
               เปน ชื่อ ต้นไม้ ดอก อย่าง หนึ่ง ไม่ มี ผล นั้น.
      ลั่น ดัง (641:1.4)
               คือ ดัง กึกก้อง, เหมือน เสียง ฟ้า ดัง สนั่น เมื่อ เวลา ฝน ตก หนัก, ว่า ฟ้า ลั่น.
      ลั่น นก (641:1.5)
               ลั่น ไก, คือ เอา มือ เหนี่ยว ไก ให้ นก ปืน สับ ลง ที่ รู ชนวน ให้ ติด ไฟ นั้น.
      ลั่น ปาก (641:1.6)
               ออก ปาก, คือ ออก วาจา พูด ไป, คน จะ ให้ ของ แก่ ผู้ อื่น, แล ออก วาจา ให้ ของ แก่ เขา นั้น.
      ลั่น วาจา (641:1.7)
               ออก วาจา, คือ ปาก พูด ออก ไป, คน ออก ปาก จะ ให้ ของ เปน ต้น นั้น.
      ลั่น กุญแจ (641:1.8)
               ใส่ กุญแจ, คือ เอา กุญแจ ใส่ เข้า ที่ โซร่ เปน ต้น, แล ให้ จำปา มัน เข้า ไป ใน แม่ มัน นั้น.
      หลั่น แหล่ง (641:1.9)
               ผูก ไว้ ที่ แหล่ง, คือ เอา กุญแจ สรวม ใส่ เข้า ใน ลูก โซร่ จำ คน ไว้ ที่ เคย นอน นั้น.
      ลั่น สนั่น (641:1.10)
               ดัง สนั่น, คือ เสียง ดัง ก้อง ครั่น ครื้น, เช่น ฟ้า ร้อง เสียง เปรี้ยง เปรื่อง นั้น.
      ลั่น ออก ไป (641:1.11)
               คือ ทำ ให้ ลูก ปืน ออก ไป จาก ลำ กล้อง ปืน นั้น คน จะ ยิง ปืน แล เหนี่ยว ไก นก สับ ลง, ให้ ลูก ออก นั้น.
หลั่น (641:2)
         ชั้น, คั่น, คือ ชั้น ที่ เปน ชั้น ๆ, เช่น คั่น บันได เปน ต้น, ที่ นั่น ว่า เปน ชั้น กัน ไป นั้น.
      หลั่น หลด (641:2.1)
               ชั้น ลด, คั่น ลด, คือ ชั้น ลด ลง มา, เช่น ภู เขา สัตะปะริภัณฑ์ ที่ วง ล้อม เขา พระสุเมรุ ทั้ง เจ๊ด นั้น.
ลาน (641:3)
         ที่ กระบาน, พื้น, คือ ที่ เปล่า เตียน เลี่ยน โล่ง ไม่ มี สิ่ง ใด รก กีด ขวาง อยู่.
      ลาน กา (641:3.1)
               ลาน อย่าง เล็ก, คือ ต้น ลาน เล็ก ศรี ต้น แล ก้าน ใบ ดำ, ใบ ไม่ ใหญ่ เท่า ลาน จาน หนังสือ นั้น.
      ลาน กว้าง (641:3.2)
               พื้น กว้าง, ที่ บ้าน กว้าง, คือ ที่ เปน ลาน เลี่ยน เช่น ว่า, แต่ กว้าง ออก ไป มาก มี เส้น หนึ่ง สอง เส้น เปน ต้น นั้น.
      ลาน กลาง แจ้ง (641:3.3)
               พื้น กลาง แจ้ง, กะบาน กลาง แจ้ง, คือ ที่ ลาน ไม่ มี ร่ม เงา อัน ใด ปิด บัง, เปน แต่ อากาศ เปล่า โล่ง อยู่ นั้น.
      ลาน เข้า (641:3.4)
               คือ ลาน เขา ทำ ที่ พื้น ดิน สำรับ ไว้ ฟ่อน เข้า, ลาน นั้น เขา ถาก หญ้า ให้ หมด นั้น.
      ลาน ใจ (641:3.5)
               คือ เคลิ้ม เพลิน ไป เมื่อ เหน เปน อัน มาก นั้น.
      ลาน ตา (641:3.6)
               คือ แล ดู ของ ที่ งาม ดี มี มาก นั้น, ตา ดู ไม่ ทัน.
      ลาน ตากฟ้า (641:3.7)
               เปน ชื่อ ตำบล แห่ง หนึ่ง อยู่ ทิศ ตวันตก เฉียง เหนือ ปลาย คลอง โยง, ทาง ไป เมือง นครไชยศรี, ไป จาก ที่ นี่ ทาง วัน หนึ่ง นั้น.
      ลาน นวด เข้า (641:3.8)
               คือ ที่ ลาน เช่น ว่า แล้ว, ปัก เสา เกียด ลง กลาง นั้น.
      ลาน บ้าน (641:3.9)
               คือ ที่ ชาน บ้าน, เช่น บ้าน หมอ เปน ที่ เปล่า นอก จาก เรือน จาก สวน ดอกไม้ นั้น ว่า ลาน บ้าน.
      ลาน โบส (641:3.10)
               ที่ กะบาน โบส, คือ ที่ เปล่า ริม โบส ใน อาราม, เช่น ที่ ใกล้ โรง อุโบสถ เตียน อยู่ นั้น.
      ลาน พระ (641:3.11)
               ที่ อุปะจาน พระ, คือ ที่ ใน อาราม ใกล้ วิหาร พระ, เปน ที่ ทำเน เปล่า เตียน นั้น.
      ลาน พระเจดีย (641:3.12)
               พื้น พระเจดีย, คือ ที่ ใกล้ เจดีย เปน ที่ ว่าง เปล่า ไม่ มี ต้นไม้ นั้น.
      ลาน มะขวิด (641:3.13)
               เปน ชื่อ ตำบล หนึ่ง อยู่ ใน แขวง เมือง นนท์บุรีย เปน ที่ สนาม วิ่ง ควาย นั้น.
      ลาน วิหาร (641:3.14)
               พื้น วิหาร, คือ ที่ ใกล้ วิหาร เปน ที่ เตียน เปล่า อยู่ ไม่ มี ต้นไม้ เปน ต้น นั้น.
      ลาน วัต (641:3.15)
               พื้น อาวาศ, คือ ที่ ใน อาราม เปน ที่ ว่าง เปล่า เตียน อยู่ ไม่ มี ต้นไม้ กีด ฃวาง นั้น.
      ลาน ศรีมะหาโพธิ์ (641:3.16)
               พื้น ที่ ใน อาราม เปน ที่ ว่าง เตียน เปล่า อยู่ ใกล้ ต้น โพธิ์ ใหญ่ นั้น.
      ลาน อุโบสถ (641:3.17)
               พื้น ที่ โรง อุโบสถ, คือ ลาน ที่ ใกล้ โบส, ใน อาราม เปน ที่ เปล่า เตียน ไม่ มี ต้นไม้ เปน ต้น.

--- Page 642 ---
ล่าน (642:1)
         คือ น่วม นุ่ม ของ มี ผลไม้, คือ ลูก จัน เปน ต้น, คน เอา มือ บีบ มัน น่วม ไป นั้น.
      ล่าน ร้าว (642:1.1)
               คือ น่วม แล เปน รอย อยู่, เช่น ลูกไม้ สุก ที่ คน บีบ อ่อน ออก ไป นั้น.
ล้าน (642:2)
         โกร๋น, เปน ชื่อ นับ คน ตั้ง แต่ หนึ่ง ถึง สิบ แสน เรียก ว่า ล้าน. อย่าง หนึ่ง คน หัว ไม่ มี ผม นั้น.
      ล้าน ช้าง (642:2.1)
               เปน ชื่อ เมือง หนึ่ง ชื่อ ว่า เมือง ล้าน ช้าง, เปน เมือง ลาว.
      ล้าน ง่าม (642:2.2)
               คือ หัว คน ที่ หน้าผาก เข้า ไป, แต่ ริม แง่ สอง ข้าง มี ผม อยู่ บ้าง เล็ก น้อย นั้น.
      ล้าน หน้า (642:2.3)
               โกร๋น หน้า, คือ หัว คน ล้าน แต่ ข้าง หน้า, ฝ่าย ข้าง หลัง ดี มี ผม บริบูรณ นั้น.
      ล้าน ปัตหลอด (642:2.4)
               โกร๋น ปัตหลอด, คือ หัว คน ล้าน แต่ ข้าง หน้า ตะหลอด ไป จน ท้าย กำด้น นั้น.
      ล้าน หลัง (642:2.5)
               เกลี้ยง หลัง, คือ หัว คน ล้าน ข้าง ท้าย ทอย ไม่ มี ผม, ฝ่าย ข้าง หน้า นั้น ดี มี ผม เปน ปรกติ นั้น.
หลาน (642:3)
         นัดา, คือ คน เปน ลูก ของ ลูก ชาย หญิง เปน ต้น นั้น.
      หลาน เขย (642:3.1)
               คือ คน ชาย ใน สกูล อื่น มา เปน ผัว ของ หลาน หญิง ผู้ ใด ว่า เปน หลาน เขย ผู้ นั้น.
      หลาน ชาย (642:3.2)
               คือ ผู้ ชาย ที่ เปน ลูก ของ ลูก ชาย ฤๅ ลูก หญิง เปน ต้น ว่า หลาน ชาย.
      หลาน ตัว (642:3.3)
               คน เปน ลูก ของ ลูก เปน ต้น ว่า หลาน ตัว, ถ้า เปน ลูก เลี้ยง ของ ลูก เปน หลาน เลี้ยง.
      หลาน ผัว (642:3.4)
               คือ คน ชาย หญิง เปน ลูก ของ ลูก เปน ต้น ข้าง ฝ่าย ผัว นั้น.
      หลาน เมีย (642:3.5)
               คือ คน ชาย หญิง เปน ลูก ของ ลูก เปน ต้น ข้าง ฝ่าย ภรรยา นั้น.
      หลาน รัก (642:3.6)
               นัดา ที่ รัก, คือ คน ชาย หญิง ที่ เปน หลาน เปน คน ดี มี ปัญญา ฉลาด ว่า ง่าย สอน ง่าย เปน ที่ รัก.
      หลาน เหลน (642:3.7)
               คือ คน ชาย หญิง เปน ลูก ของ หลาน นั้น, ว่า เปน เหลน.
      หลาน สะใพ้ (642:3.8)
               คือ หญิง สกูล อื่น มา เปน เมีย ของ หลานชาย นั้น.
      หลาน สาว (642:3.9)
               คือ หลาน หญิง, ๆ เปน ลูก ของ ลูก เปน ต้น, ว่า หลาน สาว.
      หลาน หัวปี (642:3.10)
               คือ ลูก คน แรก ของ ลูก นั้น.
ลินลา (642:4)
         เดิน, ไป, คือ เดิน ไป, เปน สยาม ภาษา เปน คำ เพราะ สำรับ เจ้า เปน ต้น นั้น.
ลินลาศ (642:5)
         คือ อาการ ต่าง ๆ มี เดิน เปน ต้น, เช่น จะ แสดง ธรรม ก็ ว่า ลินลาศ.
ลิ่น (642:6)
         เปน ชื่อ สัตว สี่ ท้าว อย่าง หนึ่ง, ตัว มัน เปน เกล็ด นั้น.
ลิ้น (642:7)
         ชิวหา, คือ อะไวยวะ ที่ อยู่ ใน ปาก, สำรับ กลอก อาหาร แล พูดจา เปน ต้น นั้น.
      ลิ้น ไก่ (642:7.1)
               คือ ลิ้น อัน เล็ก ที่ อยู่ ใน ฅอ นั้น, ถ้า คน ลิ้น เล็ก นั้น พิกาล แล้ว พูด ไม่ ชัด.
      ลิ้นจี่ (642:7.2)
               เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, ลูก อรุอระ ศรี แดง กิน หวาน มาก กว่า เปรี้ยว นั้น.
      ลิ้น กระบือ (642:7.3)
               คือ ลิ้น ควาย. อย่าง หนึ่ง เขา จะ ต่อ กระดาน พื้น เรือน เปน พืด, เจาะ ไม้ ใส่ ลิ่ม เข้า นั้น.
      ลิ้น กระด้าง (642:7.4)
               ชิวหา กระด้าง, คือ ลิ้น คน ที่ ป่วย เกือบ ตาย, มัน ทำ ให้ ลิ้น แขง คาง แขง พูด ไม่ ได้ นั้น.
      ลิ้น งูเห่า (642:7.5)
               เปน ชื่อ ต้น ยา อย่าง หนึ่ง, ใบ เรียว ยาว เช่น ลิ้น งูเห่า, จึ่ง เรียก เช่น นั้น.
      ลิ้น ชัก (642:7.6)
               คือ ไม้ เขา ทำ ใส่ ที่ ตู้ สำรับ ใส่ ของ เล็ก น้อย, มี กระดาด ฤๅ ขวด ยา เปน ต้น นั้น.
      ลิ้น ทะเล (642:7.7)
               คือ กะดอง หมึก ขาว ๆ, ข้าง หนึ่ง เปน เช่น ดิน สอพอง มัน อ่อน พรุ่ย อยู่ นั้น.
      ลิ้น ทะเล วน (642:7.8)
               คือ ลิ้น คน ที่ พูด มุษา กลับ กลอก ไม่ ยั่ง ยืน, บัด เดี๋ยว ว่า อย่าง นี้ บัด เดี๋ยว ว่า อย่าง นั้น.
      ลิ้น หมา (642:7.9)
               คือ ลิ้น สุนัข. อย่าง หนึ่ง ปลา ชื่อ ลิ้นหมา นั้น.
      ลิ้น มังกร (642:7.10)
               คือ เหล็ก เครื่อง กลึง เขา ทำ เปน ลิ้น ยาว เท่า ใบ เข้า, งอ ๆ ไว้ สำรับ กลึง ตลับ นั้น.
      ลิ้น เสือ (642:7.11)
               คือ ใบไม้ ชื่อ ใบ ลิ้น เสือ มัน คม คาย ขัด ไม้ ได้,
      ลิ้น ปี่ (642:7.12)
               คือ กำพวด เขา ทำ ด้วย ใบตาล, เปน ลิ้น สำรับ ใส่ เข้า ใน ปี่ เป่า จึ่ง ดัง เปน เพลง นั้น.
      ลิ้น หด (642:7.13)
               คือ ลิ้น สั้น เข้า ไป, เช่น คน ใกล้ ตาย พูดจา ล่อแล่ ลิ้น สั้น นั้น.

--- Page 643 ---
ลิ้น (643:1)
         หีบ, กรี หีบ, คือ ไม้ เขา ทำ ใส่ หีบ ชั้น ใน, สำรับ ใส่ ของ เล็ก น้อย ต่าง ๆ มี ทุก ใบ หีบ นั้น.
หลิน (643:2)
         แพร, เปน ชื่อ แพร จีน บาง เนื้อ น้อย อย่าง หนึ่ง หนา, อย่าง หนึ่ง บาง.
      หลิน น่า กระจก (643:2.1)
               เปน แพร มา แต่ เมือง จีน อย่าง หนึ่ง, เปน แพร เลี่ยน ขนาด เล็ก พื้น มัน เลื่อม ๆ
      หลิน ปักเถา (643:2.2)
               คือ แพร หลิน อย่าง หนา, มี ลาย เปน ดอก ดวง นั้น.
หลิ้น (643:3)
         เปน ชื่อ สัตว สี่ ท้าว จำพวก หนึ่ง, ตัว เท่า แมว มี ท้าว สี่ มี หาง ตัว เปน เกล็ด, เปน สัตว อยู่ ใน ป่า.
ลื่น (643:4)
         คือ ที่ มี โคลน เหลว, เหยียบ ลง มัก พลาด ไถล เลื่อน ไป ให้ ล้ม ลง เช่น นั้น ว่า ลื่น.
      ลื่น ไถล (643:4.1)
               คือ ที่ เช่น ว่า คน เอยียบ ลง พลาด เท้า ไถล ไป นั้น.
      ลื่น พลาด (643:4.2)
               คือ ที่ มี ตะไคล น้ำ คน เอยียบ ลง พลาด ล้ม ลง.
      ลื่น ไหล (643:4.3)
               คือ ที่ ลื่น มี น้ำ ไหล ไป นั้น.
      ลื่น เลือก (643:4.4)
               คือ ที่ มี โคลน เขลอะ ขละ, คน วาง ท้าว ลง มัก ล้ม ไถล เปน เมือก อยู่ เหมือน น้ำ แช่ ไม้ โมง นั้น.
      ลื่น เลอะ (643:4.5)
               คือ ที่ ลื่น เปื้อน เขลอะขละ, ถ้า คน เอยียบ ลง ไม่ ระวัง ตัว มัก พลาด ล้ม ลง นั้น.
ลื้น (643:5)
         * คือ บวม ขึ้น น่อย ๆ, เช่น คน ถูก ไม้ ฤๅ เปน ฝี แรก เปน ยัง เล็ก อยู่ นั้น.
ลุ่น (643:6)
         กุด, คือ หมด สิ้น ไป, เช่น หาง ไก่ เปน ต้น, ที่ คน ถอน ขน หาง หมด ไม่ เหลือ นั้น.
      ลุ่น โตง (643:6.1)
               คือ ลุ่น เลี่ยน* เหมือน หาง ไก่ ที่ เขา ถอน ขน หาง เสีย สิ้น นั้น.
      ลุ่น ตุ้น (643:6.2)
               คือ ลุ่น เลียน* เตียน ไม่ มี สัก ขน เดียว นั้น, เช่น หาง ไก่ เปน ต้น ที่ คน ถอน สิ้น ไม่ เหลือ นั้น.
      ลุ่น ท้าย (643:6.3)
               คือ ของ มี เรือ เปน ต้น, เขา ทำ ข้าง* หัว เปน ที่ สูง ระหง ลอย ขึ้น แต่ ท้าย นั้น ไม่ มี อัน ใด นั้น.
      ลุ่น โปง (643:6.4)
               คือ ลุ่น โล้ง, เช่น คน ที่ เขา ตัด มือ เท้า สิ้น ทั้ง ยี่ สิบ นิ้ว ไม่ เหลือ เลย นั้น.
      ลุ่น หัว (643:6.5)
               คือ เรือ เปน ต้น, ข้าง หัว ไม่ มี รูป อัน ใด, แต่ ข้าง ท้าย เขา ทำ เปน หาง สูง ขึ้น นั้น.
หลุน ๆ (643:7)
         คือ อาการ ที่ ฉุด ลาก ไป เร็ว ๆ, ว่า ลาก ไป หลุน ๆ.
เลน (643:8)
         คือ โคลน ที่ โขด ทะเล, ดิน โคลน ไม่ เหลว นัก ไม่ ข้น นัก เกิด ขึ้น เปน หาด ที่ ทะเล นั้น.
เล่น (643:9)
         คือ การ ประกอบ ด้วย ความ สนุกนิ์, ใช่ การ ทำ มา หา กิน มี ทำ ใส่ บ่อน โป ฤๅ หวย เปน ต้น นั้น.
      เล่น ไก่ (643:9.1)
               คือ เลี้ยง ไก่ เอา ให้ มัน ชน กัน พะนัน เอา เงิน กัน, ถ้า ไก่ ของ ใคร แพ้ ผู้ นั้น ต้อง เสีย เงิน.
      เล่น กวน กัน (643:9.2)
               คือ เล่น จู้ จี้ รบ กวน กัน, เช่น คน หนึ่ง ยัง จะ ไม่ เล่น, คน หนึ่ง รบ เร้า ท้า ทาย ว่า, เจ้า กล้า ดี มา สู้ กัน เรา ไม่ กลัว เจ้า.
      เล่น กล (643:9.3)
               คือ เล่น เปน มารยา การ ไม่ จริง, เช่น ผู้ เล่น กล บอก ว่า จะ กลืน เรือ เปน ต้น, แล้ว สำแดง ให้ เหน เปน กลืน เรือ นั้น.
      เล่น แขง (643:9.4)
               คือ ทารก เล่น ซุกซน, เปน ต้น ว่า ชิง เอา ของ เครื่อง เล่น ของ เพื่อน ฤๅ เล่น อยาบ นั้น.
      เล่น งาน (643:9.5)
               คือ เล่น โขน ละคอน ฤๅ เล่น หนัง เพลา กลาง คืน เปน ต้น นั้น.
      เล่น ชู้ (643:9.6)
               คือ คน ชาย หญิง ลอบ ลัก รัก ใคร่ กัน, เช่น หญิง มี ผัว แล้ว ไป รัก ชาย อื่น นั้น.
      เล่น ด้วย (643:9.7)
               คือ เล่น กับ กัน, เช่น เขา เล่น กัน อยู่ มาก หลาย คน แล้ว ตัว พลอย เล่น กับ เขา นั้น.
      เล่น ตัว (643:9.8)
               เปน คำ พูด ถึง คน เจ้า กระบวน, เช่น ตัว รู้ อัน ใด ฤๅ มี ของ อัน ใด ดี เปน ต้น, แล คน อื่น จะ ฃอ ดู ทำ อำพราง ส้อน ไม่ ให้ ดู นั้น.
      เล่น ถั่ว (643:9.9)
               คือ เล่น ด้วย กำ เบี้ย ออก มา มาก แล้ว แจง ที ละ สี่ เบี้ย, คน อื่น ถัว กัน เอา เงิน วาง ลง ว่า ข้า แทง ครบ แทง หน่วย แทง สอง แทง สาม นั้น.
      เล่น เบี้ย (643:9.10)
               คือ เล่น เอา เบี้ย มา กำ มา แจง แล แทง กอง กัน ตาม สัญญา กัน มาก แล น้อย นั้น.
      เล่น โป (643:9.11)
               คือ การ เล่น เปน เครื่อง เล่น อย่าง จีน, เขา เอา ทอง เหลือง หล่อ เปน สี่ เหลี่ยม กว้าง สอง นิ้ว, ทำ ลิ้น* แดง ขาว ไว้ ข้าง ใน, ถ้า แทง ถูก ข้าง ขาว ผู้ แทง ได้.
      เล่น พะนัน (643:9.12)
               เช่น เล่น วิ่ง วัว วิ่ง ควาย แข่ง กัน ฤๅ ชน ไก่ ชน นก เปน ต้น, ของ ใคร ชนะ ได้ เงิน.

--- Page 644 ---
      เล่น หมาก รุก (644:9.13)
               คือ เล่น ด้วย เอา ไม้ ฤๅ งา ช้าง ทำ รูป ต่าง ๆ ข้าง ละ สิบ หก ตัว เดิน กัน จน ถึง แพ้ แล ชนะ, เอา เงิน กัน ตาม สัญญา นั้น.
      เล่น ละคอน (644:9.14)
               คือ คน เล่น เต้น รำ ร้อง เรื่อง ต่าง ๆ นั้น.
      เล่น สะกา (644:9.15)
               คือ เล่น เดิน ทอด ลูก บาตร ๆ นั้น มี แต้ม แต่ หนึ่ง จน ถึง หก แต้ม, แล้ว เดิน ลูก สะกา ตาม แต้ม ลูก บาตร ที่ ทอด ลง นั้น.
      เล่น หวย (644:9.16)
               คือ เล่น ทาย อักษร เขียน ชื่อ คน เจ๊ก, ฝ่าย ไท เขียน ชื่อ อักษร มี ตัว กอ เปน ต้น, เอา ตัว เดียว ถ้า ใคร แทง ถูก ได้ เงิน สามสิบ ส่วน นั้น.
      เล่น หัว (644:9.17)
               เปน คำ พูด ว่า เล่น หัว อาไร.
เล็น (644:1)
         เปน ชื่อ สัตว จำพวก หนึ่ง, ตัว มัน เล็ก เท่า ตัว เรือด มัน ศรี ขาว มัก เกิด อยู่ ที่ ผ้า นุ่ง ผ้า ห่ม คน นั้น.
      เล็น กัด (644:1.1)
               คือ ตัว เล็น มัน เกิด อยู่ ที่ ผ้า นุ่ง ผ้า ห่ม, เพราะ เหงื่อ ไคล อาไศรย กัด กิน เลือด คน นั้น.
      เล็น กิน (644:1.2)
               คือ ตัว เล็น มัน กัด คน กิน เลือด, ตัว เล็น มัน เร้น อยู่ ที่ ผ้า นุ่ง ผ้า ห่ม กิน เลือด คน.
เหลน (644:2)
         คือ ลูก ของ หลาน นั้น เอง.
แหลน (644:3)
         คือ เหล็ก แหลม, เขา เอา เหล็ก ตี ให้ ปลาย แหลม กลม ยาว สำหรับ แทง สัตว.
แล่น (644:4)
         วิ่ง, คือ วิ่ง ไป โดย เร็ว, เช่น คน วิ่ง ไป เร็ว นัก นั้น.
      แล่น ก้าว (644:4.1)
               คือ วิ่ง ก้าว ยก เท้า ไป โดย เร็ว. อย่าง หนึ่ง คน แล่น เรือ ทวน ลม, แล เรือ ขวาง ไป ขวาง มา ให้ ขึ้น ไป ที ละ น้อย ๆ.
      แล่น เข้า ไป (644:4.2)
               คือ วิ่ง เข้า ไป โดย เร็ว นั้น.
      แล่น เข้า หา กัน (644:4.3)
               คือ วิ่ง เข้า หา กัน, อย่าง แล่น เรือ เข้า หา กัน.
      แล่น หนี (644:4.4)
               คือ วิ่ง หนี เขา. อย่าง หนึ่ง แล่น เรือ หนี เขา ไป.
      แล่น น้ำ บาตร ตรี (644:4.5)
               คือ เป่า น้ำ ประสาน ให้ ทอง ฤๅ เงิน เปน ต้น ติด กัน, เช่น ช่าง ทอง ทำ วง แหวน นั้น.
      แล่น ใบ (644:4.6)
               คือ ไป ด้วย ใบ กิน ลม, คน ไป เรือ มี ใบ ชัก ใบ กาง ขึ้น ทำ ให้ เรือ ไป โดย เร็ว นั้น.
      แล่น ไป (644:4.7)
               คือ วิ่ง ไป เร็ว, คน มี ธุระ จะ รีบ ไป เร็ว, แล วิ่ง ไป เร็ว นัก ไม่ ช้า อยู่ ได้ นั้น.
      แล่น มา (644:4.8)
               คือ แล่น เรือ มา. อย่าง หนึ่ง คน มี ธุระ ไป ทาง บก วิ่ง มา ฤๅ มา ทาง น้ำ แล่น เรือ มา.
      แล่น เรือ (644:4.9)
               คือ ชัก ใบ ขึ้น ที่ เสา กระโดง ใช้ ใบ ให้ เรือ ไป เร็ว นั้น.
      แล่น ไล่ (644:4.10)
               คือ วิ่ง ไล่. อย่าง หนึ่ง แล่น เรือ ไล่ นั้น.
      แล่น เสียด (644:4.11)
               คือ แล่น เฉลียง ทวน ลม ขึ้น ไป นั้น.
      แล่น เล่น (644:4.12)
               คือ วิ่ง เล่น ฤๅ ใช้ ใบ ให้ เรือ ไป สนุกนิ์ ใจ เล่น นั้น.
แหลน (644:5)
         คือ หลาว, เขา ทำ ด้วย เหล็ก ฤๅ ไม้ สำรับ แทง ปลา, ฤๅ แทง ฟ่อน เข้า ปลาย แหลม.
      แหลน แทง ปลา (644:5.1)
               คือ ของ เขา ทำ ด้วย เหล็ก ยาว คืบ เสศ ปลาย แหลม เอา ไม้ ทำ ด้ำ, สำรับ แทง ปลา นั้น.
โลน (644:6)
         คือ คน มัก พูด คนอง ให้ ขัน เขา หัวเราะ เล่น นั้น.
      โลน เต็ม ที (644:6.1)
               คือ คน มัก พูด ประสำหาว นั้น, ฤๅ ทำ อาการ โลน ด้วย กาย กิริยา นั้น.
โล้น (644:7)
         เกลี้ยง, คือ เกลี้ยง เตียน, เช่น คน โกน ผม หมด เกลี้ยง ว่า หัว โล้น นั้น.
ลอน (644:8)
         ตอน, คือ ของ เปน ตอน, เช่น หัว มัน ที่ ยาว แล้ว คอด กิ่ว ลง น่อย หนึ่ง, แล้ว โต ขึ้น นั้น ว่า เปน สอง ลอน.
      ลอน ใหญ่ (644:8.1)
               คือ ตอน ใหญ่. เช่น หัวมัน เปน ต้น เปน เช่น ว่า, เปน ตอน ๆ เปน ลอน ๆ
      ลอน โต (644:8.2)
               คือ ตอน โต, เช่น ถุง เขา ใส่ เบี้ย ขาย, ตอน ละ เฟื้อง, ถุง ใบ หนึ่ง ได้ สี่ ตอน ห้า ตอน.
      ลอน เล็ก (644:8.3)
               คือ ตอน เล็ก, เช่น หัว มัน ที่ เปน ตอน, บาง ที เปน ตอน เล็ก ลาง ที ตอน ใหญ่.
ล่อน (644:9)
         คือ เปลือก กะเทาะ ออก, เช่น พริกไท เปน ต้น เมล็ด มัน เปลือก หลุด ไป หมด นั้น.
      ล่อน กะดูก (644:9.1)
               คือ กะดูก ไม่ มี เนื้อ ติด เลย นั้น.
      ล่อน กะเป๋า (644:9.2)
               คือ หมด สิ้น ไม่ มี ติด กะเป๋า* เลย นั้น.
      ล่อน แก่น (644:9.3)
               คือ ต้นไม้ มี แก่น, ครั้น มัน แก่ ต้น ยืน ตาย อยู่ นาน จน กะพี้ ผุ ไป สิ้น นั้น.
      ล่อน จ้อน (644:9.4)
               คือ ล่อน ไม่ มี อะไร ติด เลย, เช่น คน ไม่ มี ผ้า นุ่ง ผ้า ห่ม ติด ตัว เลย นั้น.
      ล่อน ถุง (644:9.5)
               คือ ไม่ มี ติด ถุง.

--- Page 645 ---
      ล่อน ม่อ (645:9.6)
               คือ คด เข้า สุก ออก จาก ม่อ ไม่ มี เมล็ดเข้า ติด ก้น ม่อ สัก เมล็ด เดียว นั้น.
หลอน (645:1)
         คือ หลอก, เช่น ถือ ว่า ผี มัน แสดง อาการ ต่าง ๆ, บาง ที ทำ เปน เสือ เปน ช้าง ให้ คน กลัว นั้น.
หล่อน จ๋า (645:2)
         คือ อ่อน จ๋า, เปน คำ ผู้ ดี ผู้ ชาย เรียก นาง เมีย.
ลวน ลาม (645:3)
         คือ ทำ อาการ ไม่ เกรง ขาม, เช่น ชาย หนุ่ม กับ ญิง สาว, เมื่อ แรก ยัง ไม่ เหน ใจ ก็ เกรง, ครั้น เหน ใจ ว่า หญิง จะ เอนดู ก็ ค่อย จับ ต้อง ลูบ คลำ เข้า นั้น
ล้วน (645:4)
         ทั้ง นั้น, มี แต่, คือ ของ ที่ มี อย่าง เดียว ไม่ มี ของ อย่าง อื่น ปน เลย นั้น, ว่า แต่ ล้วน แต่ ของ สิ่งเดียว นั้น.
      ล้วน เขมร (645:4.1)
               มี แต่ เขมร, คือ คน เขมร ประชุม อยู่ พร้อม ไม่ มี คน ภาษา อื่น ปน เลย แต่ สัก คน เดียว นั้น.
      ล้วน แขก (645:4.2)
               มี แต่ แขก, คือ มี แต่ คน แขก ไม่ มี คน ภาษา อื่น ปน อยู่ เลย, เช่น พวก แขก มา ประชุม อยู่ แต่ ลำพัง นั้น.
      ล้วน เจ๊ก (645:4.3)
               ทั้ง นั้น เจ๊ก, คือ คน เจ๊ก มา อยู่ พร้อม แต่ ลำพัง ไม่ มี คน ภาษา อื่น ปน อยู่ เลย แต่ คน เดียว นั้น.
      ล้วน ไท (645:4.4)
               ไท ทั้ง นั้น, คือ คน ไท มา อยู่ พร้อม แต่ ลำพัง คน ไท, ไม่ มี คน ภาษา ไหน เข้า อยู่ ปะปน นั้น.
      ล้วน มอญ (645:4.5)
               มอญ ทั้งนั้น, คือ คน ภาษา มอญ มา อยู่ พร้อม, ไม่ มี คน ภาษา อื่น เข้า อยู่ ปน แต่ สัก คน หนึ่ง นั้น.
      ล้วน ลาว (645:4.6)
               ลาว ทั้งนั้น, คือ คน ลาว สิ้น ที่ มา ชุมนุม กัน อยู่, ไม่ มี คน ภาษา อื่น เข้า แปลก ปน อยู่ สัก คน หนึ่ง นั้น.
เลียน (645:5)
         ว่า ตาม, คือ พูด ตาม คน อื่น ที่ พูด ไม่ ชัด, แกล้ง ทำ ถ้อย คำ แล สำเนียง ให้ คล้าย ล้อ หัวเราะ เล่น นั้น.
      เลียน พูด (645:5.1)
               กล่าว ตาม, คือ พูด ตาม คำ ทำ สำเนียง ให้ เหมือน ผู้ อื่น ที่ พูด ภาษา อื่น ไม่ ชัด ตาม ภาษา ของ ตัว.
      เลียน ล้อ (645:5.2)
               พูด ล้อ, คือ เลียน เช่น ว่า แล้ว, กล่าว คำ ล้อ เขา ว่า, ท่าน พูด ดี จริง ชัด จริง เรา พูด ไม่ เหมือน เลย.
      เลียน หลอก (645:5.3)
               พูด หลอก, คือ เลียน แล้ว พูด ปด หลอก ว่า, ท่าน พูด ชัด ทีเดียว. อย่าง หนึ่ง ทำ อาการ ด้วย มือ แล เท้า เหมือน จะ ชก ต่อย ปะเตะ นั้น.
เลี่ยน (645:6)
         เกลี้ยง, เตียน, คือ พื้น ที่ เตียน เกลี้ยง ไม่ ครุคระ หรุหระ, เช่น พื้น ผ้า แพร แล กะดาด เปน ต้น นั้น.
      เลี่ยน ตลอด (645:6.1)
               เกลี้ยง ตลอด, คือ เลี่ยน ไป จน ที่ สุด นั้น, เช่น ที่ ใน อาราม ท่าน ชำระ กวาด แผ้ว ไว้ จน สุด ที่ นั้น.
      เลี่ยน เตียน (645:6.2)
               เกลี้ยง เตียน, คือ พื้น ดิน ฤๅ ทราย เปน ต้น, ที่ เขา ชำระ ปัด กวาด สอาจ ไม่ มี รก รุงรัง, ด้วย ของ สิ่ง ใด สิ่ง หนึ่ง นั้น.
      เลี่ยน เสมอ (645:6.3)
               เตียน เสมอ, คือ ที่ พื้น ดิน ฤๅ ทราย เปน ต้น, ที่ เขา ปราบ ราบ รื่น เปน อัน ดี, ไม่ มี หลัก ตอ หรุหระ ขึ้น นั้น.
      เลี่ยน หัว (645:6.4)
               หัว เลี่ยน, คือ หัว เลี่ยน ล้าน ไม่ มี ผม, คน ที่ หัว ล้าน โล้ง โต้ง แล เปน เงา ราว กับ ขัด สี ไว้ นั้น.
      เลี่ยน อก (645:6.5)
               คือ อก เตียน ไม่ มี ขน รก รุง รัง, ลาง คน ที่ อก รก รุง รัง ด้วย ขน มัน ขึ้น มาก นั้น.
เลือน (645:7)
         คือ ลบ เปื้อน, คน ลบ สมุด ฤๅ กะดาน หนังสือ, ลบ ลูบ ไป ไม่ หมด จด เลือน เลอะ อยู่ นั้น.
      เลือน ลบ (645:7.1)
               คือ ลบ เปื้อน เลอะ ไป.
      เลือน เลอะ (645:7.2)
               คือ ลบ เลือน ไป.
เลื่อน (645:8)
         เคลื่อน, คลาศ, คือ เขยื้อน ไป น่อย ๆ, เช่น ลาก ไม้ ซุง เปน ต้น, แล มัน เขยื้อน ไป ตาม คน ชัก นั้น.
      เลื่อน การ (645:8.1)
               คือ ถอย การ ออก ไป, เช่น เขา กำหนด ว่า เดือน ฤๅ ปี ฤๅ วัน จะ ทำ การ แล ไม่ ได้ ทำ ตาม กำหนด ไว้, ต้อง ทำ เวลา อื่น ต่อ ออก ไป.
      เลื่อน เข้า (645:8.2)
               คือ ถอย เข้า, เช่น เขา กำหนด เวลา ไว้ ว่า วัน นั้น เปน ต้น จะ ทำ การ, แล ร่น ถอย เข้า มา ทำ เร็ว เข้า นั้น
      เลื่อน ของ (645:8.3)
               คือ เอา ของ ไป ให้ เพื่อ จะ บอก การ งาน ฤๅ ยก ขยับ ของ ต่อ ไป น่อย ๆ นั้น.
      เลื่อน ขึ้น (645:8.4)
               คือ ถอย ขยับ ขึ้น, เช่น คน เปน ที่ ขุนหมื่น เล็ก น้อย, แล้ว ได้ เปน ที่ ขุนนาง ใหญ่ ขึ้น นั้น.
      เลื่อน จาก ที่ (645:8.5)
               คลาศ จาก ที่, คือ ถอย จาก ที่ อยู่ เดิม, เช่น เรือ กำปั่น เปน ต้น ที่ ทอด สมอ อยู่ แล ถอย จาก ที่ นั้น.
      เลื่อน ถอย (645:8.6)
               คือ เคลื่อน ถอย ไป เช่น เรือ แล แพ เดิม จอด ที่* นี่ แล้ว เลื่อน ถอย ไป.
      เลื่อน ที่ (645:8.7)
               ขยับ จาก ที่, คือ เคลื่อน จาก ที่ เก่า ไป, เช่น คน เดิม อยู่ ที่ นี่ ครั้น นาน มา ถอย เคลื่อน ไป อยู่ อื่น.

--- Page 646 ---
      เลื่อน ทัพ (646:8.8)
               เคลื่อน ทัพ, คือ เคลื่อน ทัพ ไป, เช่น กอง ทัพ ยก ไป ตั้ง ค่าย อยู่, แล้ว ยก เคลื่อน ต่อ ไป นั้น.
      เลื่อน ไป (646:8.9)
               ขยับ ไป, คือ เคลื่อน คลา, เช่น เดิม คน ตั้ง บ้าน เรือน อยู่ ที่ นี่, ผ่าย หลัง ถอย เคลื่อน ไป.
      เลื่อน เปื้อน (646:8.10)
               เลอะเทอะ, คือ ลบ เปื้อน, เช่น คน ลบ หนัง สือ ที่ สมุด ฤๅ ที่ กะดาน เปน ต้น ไม่ หมด จด นั้น.
      เลื่อน พล (646:8.11)
               ยก พล, คือ เคลื่อน พล ทะหาร, เช่น เดิม คุม พล ทะหาร ตั้ง อยู่ ที่ นี่, แล้ว เคลื่อน พล ไป นั้น.
      เลื่อน มา (646:8.12)
               ยก มา, คือ เคลื่อน มา, เช่น เรือ เดิม จอด อยู่ ไกล, แล้ว เขา เคลื่อน เรือ มา เข้า ใกล้ นั้น.
      เลื่อน เรือ (646:8.13)
               ขยับ เรือ, คือ เคลื่อน เรือ ถอย ไป, เช่น เรือ เดิม จอด ทอด อยู่ ฝ่าย ใต้, แล้ว ถอย เคลื่อน ไป.
      เลื่อน ลง (646:8.14)
               คือ เคลื่อน ลง, เช่น กระเบื้อง มุง หลังคา, นาน เข้า ก็ เลื่อน ลุด ลง นั้น.
      เลื่อน เลอะ (646:8.15)
               คือ เปื้อน เปรอะ, เช่น ที่ อัน ใด เปื้อน เปรอะ ด้วย ดิน โคลน เปน ต้น ว่า เช่น นั้น.
      เลื่อน หา กัน (646:8.16)
               ขยับ หา กัน, คือ เคลื่อน หา กัน, เช่น ลูก คิด ที่ จีน ทำ มา ขาย มี ลูก อยู่ ข้าง หนึ่ง, ห้า ลูก ข้าง หนึ่ง, สอง ลูก อยู่ ใน ราง มัน เคลื่อน ไป มา หา กัน.
      เลื่อน ออก (646:8.17)
               เคลื่อน ออก, คือ เคลื่อน ออก, เช่น ทารก ที่ อยู่ ใน ครรภ์, เมื่อ ถึง เวลา จะ ออก มัน เคลื่อน ออก จาก ที่
เลิน เล่อ (646:1)
         เผอเรอ, คือ ความ เผลอ ประมาท, เช่น คน ไม่ ระ วัง ตัว ด้วย ไภย อันตราย ต่าง ๆ นั้น.
ลบ (646:2)
         คือ ลูบ ไป, เช่น คน จะ ทำ ให้ เส้น ดิน สอ ใน กะดาด ฤๅ สมุด ให้ หาย เอา มือ ลูบ ไป นั้น.
      ลบ คุณ (646:2.1)
               คือ ทำ ลาย คุณ หลู่ คุณ, เช่น คน ดูหมิ่น ผู้ มี คุณ มี บิดา มารดา เปน ต้น.
      ลบ หนังสือ (646:2.2)
               คือ ลูบ เส้น ดินสอ ไม่ ให้ มี อยู่ ใน กะดาน ฤๅ สมุด นั้น.
      ลบ บาญชีย์ (646:2.3)
               คือ ลูบ ลง ที่ สมุด สำหรับ เขียน บาญชีย์, เช่น สมุด ที่ เขียน จดหมาย ราย สิ่ง ของ ไว้ ไม่ ต้อง การ แล้ว, ลูบ เสีย นั้น.
      ลบ เปื้อน (646:2.4)
               คือ ลบ เลือน, เช่น ตัว อักษร เขียน ไว้ นาน ด้วย เส้น ดิน สอ เลือน เข้า หา กัน.
      ลบ หลู่ (646:2.5)
               คือ ความ ดู หมิ่น.
      ลบ ล้าง (646:2.6)
               คือ ลบ แล้ว ล้าง เสีย ด้วย, เช่น กะดาน ฉะนวน หิน ที่ เขียน ด้วย ดินสอ หิน ลบ แล้ว ต้อง ล้าง ด้วย นั้น.
      ลบ เลือน (646:2.7)
               คือ ลบ เลอะ, เช่น ตัว อักษร เขา เขียน ไว้ ใน สมุด ดำ ครั้น เก็บ ไว้ นาน มัน ลบ มัว เลอะ ไป นั้น.
      ลพ บูรีย์ (646:2.8)
               เปน ชื่อ เมือง ๆ หนึ่ง อยู่ เหนือ กรุง เก้า* นั้น.
หลบ (646:3)
         คือ ลี้ หลีก, เช่น คน กลัว เขา ผู้ เปน นาย, เปน ต้น จะ ทำ โทษ แล ลี้ หลีก ไป เสีย. อย่าง หนึ่ง คน มุง หลังคา แล้ว เอา ตับ จาก ครอบ ลง ที่ บน สุด.
      หลบ กะเบื้อง (646:3.1)
               คือ มุง เบื้อง บน ที่ สุด หลังคา นั้น.
      หลบ การ (646:3.2)
               หลีก การ, คือ หลีก การ, คน เกียจ คร้าน จะ ทำ การ อัน ใด ๆ แล หลีก ลี้ หนี ไป ไม่ ทำ การ นั้น.
      หลบ เข้า ท้อง (646:3.3)
               หลีก เข้า ท้อง, คือ ตลบ เข้า ใน ฝ่าย ใน อุทร เช่น คน ออก ฝีดาษ แล หัด, ครั้น หัว ลด ลง แล้ว กลับ เข้า ทำ โทษ ใน ท้อง นั้น.
      หลบ เจ้า นี่ (646:3.4)
               หลีก เจ้า นี่, คือ แอบ ซ่อน เสีย ไม่ ให้ เจ้า นี่ ภบ ตัว, เช่น คน ไป กู้ เงิน เปน ลูก นี่ เขา ไม่ มี เงิน ใช้ เขา แล หลีก เลี่ยง เสีย นั้น.
      หลบ ตัว (646:3.5)
               ลี้ ตัว, คือ ส้อน ตัว ไม่ ให้ ใคร เหน, เช่น คน หนี เขา อยู่ ครั้น เขา มา ตาม ส้อน ตัว เสีย.
      หลบ หน้า (646:3.6)
               หนี หน้า, คือ ส้อน หน้า เสีย ไม่ ให้ ใคร เหน หน้า เช่น คน หนี เขา อยู่ กลัว เขา ส้อน หน้า เสีย นั้น.
      หลบ หนี (646:3.7)
               หลีก หนี, คือ หลีก ให้ ตัว ลับ ไป ไม่ ให้ ใคร เหน ตัว, คน เปน ทาษ เขา เปน ต้น, กลัว นาย หนี ส้อน ตัว เสีย นั้น.
      หลบ นอน (646:3.8)
               หลีก นอน, คือ หลีก ลี้ ไป นอน เสีย, คน ทำ การ อัน ใด อยู่ แล เกียจ คร้าน ลี้ ไป นอน เสีย นั้น.
      หลบ นาย (646:3.9)
               หนี นาย, คือ หลีก ให้ ลับ ตา นาย ไม่ เหน ได้ นั้น คน หนี นาย แล หลีก ไม่ ให้ นาย เหน นั้น.
      หลบ ไป (646:3.10)
               หลีก ไป, คือ หลีก ให้ ลับ ไป ไม่ ให้ ผู้ ใด เหน, คน กลัว เขา ไม่ ให้ เขา เหน, อยู่ ไม่ ได้ หลีก ไป นั้น.
      หลบ มา (646:3.11)
               ไผล้ มา, คือ ลี้ หลีก มา, คน กลัว เขา ด้วย ไภย อัน ใด อัน หนึ่ง แล หลีก ล้อน มา ไม่ ให้ เหน นั้น.

--- Page 647 ---
      หลบ อยู่ (647:3.12)
               เร้น อยู่, คือ ส้อน ตัว อยู่, เหมือน คน นาย จะ เอา ตัว ไป ใช้ ด้วย มี ธุระ ราชการ อัน ใด, แล คน นั้น ส้อน ตัว อยู่ ไม่ ไป.
      หลบ เรือ (647:3.13)
               หลีก เรือ, คือ หลีก เรือ, เช่น เรือ ต่าง ๆ มา ตาม ทาง เดียว กัน, ภบ ปะทะ กัน แล หลีก กัน นั้น.
      หลบ ลี้ (647:3.14)
               หลีก ลี้, คือ ส้อน เร้น ให้ ลับ ไม่ ให้ เขา เหน ตัว, คน หนี เขา กลัว เขา จะ เหน ตัว แล หลีก ให้ ลับ นั้น.
      หลบ หลีก (647:3.15)
               ลี้ เลี่ยง, คือ หลบ เลี่ยง, เช่น เรือ เปน ต้น, ภบ ปะ จะ โดน กัน แล ต่าง ลำ ต่าง หลีก กัน นั้น.
      หลบ หลัง คา (647:3.16)
               คือ มุง กะเบื้อง บน ที่ สุด หลัง คา, ด้วย จาก บ้าง, ด้วย กะเบื้อง บ้าง นั้น.
      หลบ เหลื้อม ไป (647:3.17)
               หนี ไผล้ ไป, คือ หลบ ไป อยู่ แต่ ใกล้ ๆ คอย ฟัง ข่าว ดี ฤๅ ร้าย อยู่ ยัง ไม่ หนี ไป ทีเดียว นั้น.
      หลบ หาย (647:3.18)
               หนี หาย, คือ หลีก เลี่ยง เบี่ยง ไป ไม่ ให้ เหน ตัว คน ที่ มี อะธิกรณ์ โทษ ฤๅ ไภย แล หนี ไป จน ไม่ เหน ตัว.
      หลบ แอบ (647:3.19)
               หลีก แฝง, คือ หลีก แฝง ตัว อยู่, คน กลัว เขา จะ ทำ โทษ เปน ต้น, แล ไป หลีก แฝง เร้น อยู่ นั้น.
ลับ (647:1)
         บัง, ถา, คือ บัง. อย่าง หนึ่ง เอา มีด ฤๅ พร้า เปน ต้น เสือก ถู ไป มา บน น่า หิน เพื่อ จะ ให้ คม นั้น
      ลับ กาย (647:1.1)
               บัง กาย, คือ บัง กาย, คน กลัว ไภย เปน ต้น แล ทำ กาย ให้ มี สิ่ง อัน ใด อัน หนึ่ง ปก บัง อยู่ นั้น.
      ลับ คน (647:1.2)
               บัง คน, คือ บัง คน, ที่ อัน ใด คน ดู ไม่ เหน ฤๅ คน อยู่ ใน ที่ นั้น, คน อื่น แล ไม่ เหน นั้น.
      ลับ ตา (647:1.3)
               บัง ตา, คือ ที่ ตา ไม่ เหน ได้, คน มี อธิกรณ์ เหตุ อัน ใด ที่ ตัว อยู่, แล ไป ส้อน เร้น อยู่ ที่ นั้น.
      ลับ ตัว (647:1.4)
               บัง ตัว, คือ ตัว ลับ บัง ไป, เช่น คน เดิน ไป ฤๅ ไป เรือ, เรื่อย ไป คน ที่ อยู่ กับ ที่ แล ดู ไม่ เหน นั้น.
      ลับ หน้า (647:1.5)
               บัง หน้า, คือ บัง หน้า, คน กลัว เขา จะ เหน หน้า แล เอา สิ่ง ของ มี ผ้า เปน ต้น ปิด บัง หน้า เสีย นั้น.
      ลับ บ้าน (647:1.6)
               บัง บ้าน, คือ บัง ไม่ เหน บ้าน, คน เดิน ไป ฤๅ ไป เรือ เรื่อย เกิน บ้าน ไป จน แล ไม่ เหน บ้าน นั้น.
      ลับ ไป (647:1.7)
               แล ไม่ เหน, คือ ไป ลับ, เช่น คน ไป เกิน ล่วง ทาง คน อยู่ กับ ที่ แล ดู ไม่ เหน นั้น, ว่า ลับ ไป.
      ลับ อยู่ (647:1.8)
               บัง อยู่, คือ ของ ที่ มี ของ อื่น ทับ บัง อยู่, เช่น ตอ ไม้ อยู่ ใต้ น้ำ, คน เหน ไม่ ได้ นั้น, ว่า มัน ลับ อยู่.
      ลับ ลี้ (647:1.9)
               บัง หลีก, คือ ส้อน ลับ เร้น อยู่, เช่น คน อะนาถา เข็ญ ใจ ไร้ ทรัพย์, เขา ไม่ นับถือ ดู หมิ่น นั้น.
      ลับ แล (647:1.10)
               คือ ที่ ตำแหน่ง หนึ่ง ชื่อ ลับแล, ว่า เปน บ้าน เมือง อยู่ ใน ป่า, คน เที่ยว หลง ไป ภบ ครั้น กลับ บ้าน แล้ว ตรง ไป ที่ นั้น ไม่ ภบ, เขา เรียก ลับแล
      ลับ ฦก (647:1.11)
               คือ ลับแล ฦก ซึ้ง นั้น.
      ลับ หลัง (647:1.12)
               บัง หลัง, คือ ที หลัง, เช่น จะ ว่า ต่อ หน้า เมื่อ คน นั้น อยู่ ก็ เกรง ใจ ไม่ ว่า, ต่อ คน นั้น ไป แล้ว จึ่ง ว่า ผ่าย หลัง นั้น.
      ลับ เลย (647:1.13)
               ล่วง ลับ, คือ ลับ ล่วง, เช่น เดิน ไป ฤๅ ไป ใน เรือ, ไป ถึง แห่ง หนึ่ง แล้ว ล่วง เกิน ไป นั้น.
      ลับ องค์ (647:1.14)
               บัง องค์, คือ บัง องค์ ไม่ ให้ ผู้ ใด เหน, เรียก ว่า ลับ องค์ เปน คำ สูง สำหรับ พระเจ้า เปน ต้น.
หลับ (647:2)
         ปิด ตา ลง, คือ หลับ ตา ลง แล้ว จิตร ก็ เคลิ้ม ม่อย ผ่อย ไป ไม่ รู้ ศึก ตัว*, ใคร พูด ที่ ใกล้ ก็ ไม่ ได้ ยิน ไม่ รู้ นั้น.
      หลับ ตา (647:2.1)
               ปิด ตา, คือ ทำ ให้ กลีบ ตา นั้น ชิด ลง ไม่ เหน หน่วย ตา นั้น, คือ เมื่อ คน จะ นอน หลับ แล หลับ ตา ลง ก่อน นั้น.
      หลับ นิ่ง (647:2.2)
               ปิด ตา ลง นิ่ง, คือ หลับ เช่น ว่า, แล้ว นอน นิ่ง มือ ท้าว ไม่ กระสับ กระส่าย ขวักไขว่ ดิ้น รน นิ่ง อยู่ นั้น.
      หลับ เนตร (647:2.3)
               ไม่ ลืม ตา, คือ หลับ ตา ลง เช่น ว่า, เรียก ว่า เนตร นั้น, เปน ติด สับท์ ว่า เปน คำ เพราะ สูง นั้น.
      หลับ นาน (647:2.4)
               ม่อย ไป นาน, คือ นอน อยู่ นาน, คน หาว นอน แล เข้า ที่ นอน แล้ว เอน ตัว ลง นอน ไป นาน นั้น.
      หลับ นอน (647:2.5)
               นอน หลับ, เปน คำ พูด ว่า นอน หลับ ไม่ ได้ สม ประฤๅ ดี, ผ้า นุ่ง ห่ม ไม่ ติด ตัว เปลือย อยู่ นั้น.
      หลับ ไป (647:2.6)
               นอน สนิท ไป, คือ นอน แล้ว หลับ สนิท ไม่ รู้ ศึก ตัว, ถึง เขา จะ พูด ที่ ใกล้ ก็ ไม่ ได้ ยิน ไม่ รู้ นั้น.
      หลับ เภ้อ (647:2.7)
               คือ หลับ ละเมอ พูดจา ต่าง ๆ นั้น.
      หลับ สนิท (647:2.8)
               คือ นอน หลับ สนิท ไม่ รู้ ศึก ตัว, ถ้า เปน คน ขี้ เซา ก็ ไม่ ใคร่ จะ ตื่น ขึ้น นั้น.

--- Page 648 ---
ลาภ (648:1)
         คือ สิ่ง ของ ที่ คน ได้, เช่น คน ได้ เงิน เปน ต้น นั้น, เรียก ว่า ลาภ.
      ลาภ ใหญ่ (648:1.1)
               ได้ มาก, คือ ได้ ลาภ มาก, ฤๅ ได้ สิ่ง ที่ เปน ของ ดี วิเสศ หา ได้ ด้วย ยาก นั้น, ก็ ว่า ลาภ ใหญ่.
      ลาภ มาก (648:1.2)
               ได้ หลาย, คือ ได้ ลาภ หลาย มี เก้า อัน สิบ อัน เปน ต้น, เช่น คน ได้ สิ่ง ของ หลาย นับ ร้อย นับ สิบ นั้น.
      ลาภ สการ (648:1.3)
               คือ ของ เครื่อง บูชา อัน คน นำ มา ให้ ด้วย คุณ วิ ชา ต่าง ๆ.
หลาบ (648:2)
         เข็ด, ขยาด, คือ เข็ด ขยาด ธ้อ ถอย ใจ, เช่น คน ที่ เขา ลง อาญา โทษ หลวง เปน ต้น, ผ่าย หลัง ขาม เข็ด ไม่ ทำ ผิด อีก.
      หลาบ เข็ด (648:2.1)
               เข็ด หลาบ, คือ ระอา ขยาด ธ้อ ใจ, เช่น คน ที่ ต้อง โทษ ท่าน โบย ตี, แล้ว ไม่ คิด ทำ ชั่ว อีก นั้น.
      หลาบ จำ (648:2.2)
               เข็ด จำ, คือ เข็ด แล้ว ก็ จำ ไว้ ด้วย, เช่น คน ทำ ความ ชั่ว, เขา จับ ได้ เฆี่ยน ตี แล้ว จำ ความ ไว้ ไม่ ทำ ชั่ว อีก.
      หลาบ แล้ว (648:2.3)
               เข็ด แล้ว, คือ ทำ ชั่ว ร้าย, เขา จับ ได้ เฆี่ยน ตี แล้ว ปล่อย ไป, คน นั้น ไม่ ทำ ความ ชั่ว อีก เลย นั้น.
ลิบ (648:3)
         ไกล, คือ แล เหน ของ อยู่ ไกล มี ดาว ลูก เล็ก ๆ เปน ต้น, คน แล ดู ไม่ ใคร่ เหน, ว่า ดาว อยู่ ไกล ลิบ ๆ.
      ลิบ ไกล (648:3.1)
               คือ ของ แล ไป เหน ลิบ ๆ, เช่น ดู ไป ใน ทะเล แล ท้อง ทุ่ง เหน ทิว ไม้ ลิบ ๆ นั้น.
      ลิบ ตา (648:3.2)
               คือ ตา คน ป่วย ด้วย ถูก อัน ใด อัน หนึ่ง, ตา คน นั้น บวม ขึ้น แทบ แล ไม่ เหน นั้น, ว่า ลิบ ตา.
      ลิบ ลับ (648:3.3)
               คือ แล เหน ลิบ ๆ แล้ว ล่วง ลับ ไป, เช่น ดาว ดวง เล็ก ใน อากาศ ไกล แล ลิบ ๆ แล้ว ลับ ไป.
      ลิบ ลิ่ว (648:3.4)
               คือ ของ ลอย สูง ลิ่ว, เช่น ยอด ไม้ แล ยอด พระ ปรางค์ วัต อัน สูง นั้น.
ลีบ (648:4)
         แปบ, แคบ, เช่น เข้า พึ่ง ออก รวง อยู่ ที่ ทุ่ง นา ยัง ไม่ มี เนื้อ เข้า สาร เปน แต่ เยื่อ หนิด น่อย นั้น, ว่า เข้า ลีบ.
      ลีบ ซุย (648:4.1)
               แบน แปบ ร่วน, คือ ผล พืชนะ ไม่ เปน ปรกติ เสีย มี เยื่อ หนิดน่อย, เช่น เข้า ลีบ ฤๅ มะพร้าว ทุย เปน ต้น นั้น.
      ลีบ ไป (648:4.2)
               คือ ของ ไม่ เปน ปรกติ เหมือน เข้า เปลือก ที่ ไม่ มี เนื้อ เข้า สาร อยู่ ใน นั้น.
      ลีบ ผี (648:4.3)
               เปน ชื่อ ที่ ตำบล หนึ่ง, มี อยู่ ฝ่าย แม่ น้ำ เมือง เวียง จัน ข้าง ทิศ ใต้, เปน เกาะ แก่ง เรือ ขึ้น ไป ยาก นัก นั้น.
หลีบ (648:5)
         หลืบ, กลีบ, คือ กลีบ, เช่น ผล ไม้ มี ส้ม เปน กลีบ ๆ ฤๅ ที่ ผ้า คน จีบ ไว้ เปน ขนบ นั้น.
      หลืบ เขา (648:5.1)
               กลีบ เขา, คือ ที่ ภูเขา ที่ เปน เนิล เปน หุบ มี ต้นไม้ ขึ้น อยู่ เปน ชั้น ๆ ตาม พื้น หุบ หิน นั้น
      หลืบ ผา (648:5.2)
               หลืบ หิน, คือ กลีบ หิน ๆ นั้น เขา เรียก ผา บ้าง, ทำนอง เปน คำ สร้อย, ว่า หิน ผา นั้น.
      หลืบ หิน (648:5.3)
               หลืบ ผา, คือ ที่ ภูเขา มี หุบ ชะวาก หิน เปน กลีบ หลั่น เปน ชั้น ๆ ติด เนื่อง กัน ไป นั้น.
      หลืบ เหว (648:5.4)
               คือ หุบ เหว ๆ นั้น เปน ฝั่ง ตรง ลง ไป ไม่ ยืด ยาว เปน ลำ คลอง เช่น ลำห้วย.
      หลืบ ห้วย (648:5.5)
               คือ ที่ ท้อง ลำ ห้วย ๆ นั้น เปน คลอง กว้าง กว่า ลำ ธาร, เปน ที่ แคบ เข้า นั้น.
หลุบ (648:6)
         คือ หลอบ, เช่น ไก่ ที่ มัน แพ้, มัน กลัว อ้าย ตัว อื่น แล มัน หลอบ ขน เข้า นั้น.
      หลุบ ขน (648:6.1)
               ลู่ ขน, คือ หลอบ หุบ ขน เข้า เช่น ไก่ เปน ต้น ที่ มัน แพ้ กลัว เพื่อน กัน แล หุบ ขน หนี.
      หลุบ ตุบ (648:6.2)
               คือ คน อ้วน กลม ตะหลุ้ม ตุ้ม นั้น.
      หลุบ ผม (648:6.3)
               ลู่ ผม, คือ ผม ที่ ไป ปรกติ ตัว, คน ไม่ ได้ ตก แต่ง ตัด หวี สราง, เช่น พวก ชาย ชาว เมือง อะเมริกา นั้น.
      หลุบ ลู่ (648:6.4)
               คือ ซุบ ซู่, เช่น คน ฤๅ สัตว ที่ ถูก ตาก อยู่ กลาง ฝน หนาว ทำ ซุบ ซู่ อยู่ นั้น.
      หลุบ หัว (648:6.5)
               ผม ตก แสก, คือ หลอบ หัว, เช่น ไก่ ที่ มัน กลัว เพื่อน กัน นั้น.
ลูบ (648:7)
         ไล้, คือ แบ มือ วาง ลง ที่ ตัว ของ ตัว เปน ต้น, แล้ว เลื่อน ฝ่า มือ ไป ให้ ทั่ว นั้น เขา ว่า ลูบ.
      ลูบ เกษ (648:7.1)
               ทา เกษ, คือ แบ ฝ่า มือ วาง ลง แล้ว ลาก ไป ที่ ผม ผม ว่า เกษ นั้น, เปน คำ สับท์.
      ลูบ ขน (648:7.2)
               ทา ขน, คือ เอา ฝ่ามือ วาง ลง แล้ว ไล้ ไป ที่ ขน, เช่น คน เลี้ยง ม้า ฤๅ โค เอา มือ ลูบ ขน นั้น.
      ลูบ คลำ (648:7.3)
               ไล้ คลำ, คือ ลูบ แล้ว จับ ต้อง ไป มา, เช่น คน หา ของ มี ผ้า เปน ต้น ใน ที่ มืด จับ เลือก ไป มา.

--- Page 649 ---
      ลูบ จับ (649:7.4)
               คือ ลูบ แล้ว จับ ถือ, เช่น คน เอา มือ แบ ออก แล้ว ไล้ ไป จับ ได้ ของ นั้น.
      ลูบ ตัว (649:7.5)
               ชำระ ตัว, คือ แบ ฝ่า มือ ออก ไล้ ไป ที่ ตัว, คน จะ อาบ น้ำ เปน ต้น แล ลูบ ไล้ ไป มา นั้น.
      ลูบ ท้อง (649:7.6)
               คลำ ท้อง, คือ เอา ฝ่า มือ ไล้ ไป ที่ ท้อง, เช่น คน เจ็บ ท้อง แล เอา มือ แบ ออก ไล้ ไป มา นั้น.
      ลูบ ผม (649:7.7)
               คลำ ผม, คือ แบ มือ ไล้ ไป ที่ ผม, คน แต่ง ผม ให้ เรียบ ร้อย เอา ฝ่า มือ ไล้ ไป ที่ เส้น ผม นั้น.
      ลูบ มือ (649:7.8)
               คือ แบ มือ ไล้ ไป ที่ มือ, คน จะ ล้าง มือ เปน ต้น แล เอา มือ ข้าง หนึ่ง ไล้ ไป บน มือ ข้าง หนึ่ง.
      ลูบ ไล้ (649:7.9)
               คือ ลูบ ไล้ ไป, เช่น คน ทา แป้ง ฤๅ ถือ ปูน เอา เกรียง ไล้ ไป นั้น.
      ลูบ หน้า (649:7.10)
               ทา หน้า, คือ แบ ฝ่า มือ ไล้ ไป ที่ หน้า, เช่น คน ตื่นนอน แล้ว จะ ล้าง หน้า เอา มือ แบ ออก ไล้ ไป ที่ หน้า นั้น.
      ลูบ ไหล่ (649:7.11)
               คลำ ไหล่, คือ แบ มือ ออก ไล้ ไป ที่ ไหล่, เช่น คน คัน ไหล่ แล เอา มือ แบ ออก ไล้ ไป มา นั้น.
      ลูบ หลัง (649:7.12)
               คลำ หลัง, คือ แบ มือ ออก ไว้ ไป ที่ หลัง, เช่น คน คัน หลัง แล เอา มือ ไล้ หลัง นั้น.
      ลูบ หัว (649:7.13)
               คลำ หัว, คือ เอา มือ แบ ออก ไล้ ไป ที่ หัว, เช่น คน คัน ศีศะ เอา มือ ทำ เช่น ว่า นั้น.
      ลูบ อก (649:7.14)
               คลำ อก, คือ แบ มือ ไล้ เข้า ที่ อก, เช่น คน คัน ฤๅ แค้น เมื่อ กลืน น้ำ เอา มือ ทำ เช่น นั้น.
เล็บ (649:1)
         นักขา, คือ อาการ ที่ อยู่ ปลาย นิ้ว มือ นิ้ว ท้าว แขง กระ- ด้าง มิ ใช่ เนื้อ มิ ใช่ หนัง อยู่ หลัง นิ้ว.
      เล็บ กาบ อ้อย (649:1.1)
               คือ เล็บ นิ้ว มือ คน ที่ กลม ห่อ อยู่ คล้าย กาบ อ้อย เรียก เช่น ว่า นั้น.
      เล็บ ครุทธ์ (649:1.2)
               คือ ของ เช่น ว่า อยู่ ที่ ท้าว ครุทธ์. อย่าง หนึ่ง เปน ชื่อ ต้นไม้ ใบ คล้าย กับ เล็บ ครุทธ์.
      เล็บ ครบ (649:1.3)
               เล็บ ท่วน, คือ ช้าง ที่ มัน มี เล็บ ทั้ง สี่ ท้าว, เขา เรียก เล็บ ครบ.
      เล็บ จอบ (649:1.4)
               คือ เล็บ ปลาย บาน เช่น ปาก จอบ ที่ เขา ขุด ดิน จึ่ง เรียก เล็บ จอบ.
      เล็บ ตีน (649:1.5)
               เล็บ มือ, คือ เล็บ มี ที่ นิ้ว มือ นิ้ว ท้าว คน, ย่อม มี อยู่ ข้าง ละ ห้า เล็บ นั้น.
      เล็บ มือ นาง (649:1.6)
               เปน ชื่อ เครือ เขา อย่าง หนึ่ง สำรับ ทำ ยา, เขา ปลูก ไว้ ที่ บ้าน.
      เล็บ เหยี่ยว (649:1.7)
               เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง มัน มี หนาม ๆ เหมือน เล็บ เหยี่ยว เกิด อยู่ ชาย ทุ่ง นา.
      แลบ (649:1.8)
               แวบ, วับ, คือ แวบ ๆ วับ ๆ มี แสง รุ่ง เรือง, เช่น แสง เพลิง ใน อากาศ เรียก ฟ้า แลบ นั้น.
      แลบ ลิ้น (649:1.9)
               แลบ ชิวหา, คือ ทำ ลิ้น ให้ แวบ ออก จาก ปาก, แล้ว หด กลับ เข้า ไป เสีย, คน ทำ เช่น นั้น ว่า แลบ ลิ้น.
      แลบ ออก (649:1.10)
               แวบ ออก, คือ แวบ วับ แล้ว หาย ไป, เช่น แสง ฟ้า เมื่อ ระดู ฝน แล ฟ้า เปน เช่น นั้น.
โลภ (649:2)
         อยาก ได้, คือ อยาก ได้ ของ สาระพัด มี เงินทอง เปน ต้น.
      โลภ เกิน (649:2.1)
               คือ อยาก ได้ ของ ทุก อย่าง, มี เงิน แล ทอง เปน ต้น ยิ่ง นัก นั้น.
      โลภ เจตนา (649:2.2)
               คือ ความ ประสงค์ อยาก ได้ ของ นั้น.
      โลภ ทรัพย (649:2.3)
               คือ ความ อยาก ได้ บังเกิด กล้า แขง ใน ใจ นั้น.
      โลภ ล้น (649:2.4)
               อยาก ได้ เกิน ประมาณ, คือ อยาก ได้ ทรัพย สมบัติ มี ทอง แล เงิน เปน ต้น เกิน ประมาณ นั้น.
      โลภ ลาภ (649:2.5)
               อยาก ได้ ลาภ, คือ ความ อยาก ได้ สิ่ง ของ ที่ เปน ที่ ได้ แห่ง คน นั้น.
      โลภ อาหาร (649:2.6)
               คือ อยาก กิน อาหาร มาก, เช่น คน กิน จุ เหน อาหาร น้อย ก็ ไม่ สบาย นั้น.
ลอบ (649:3)
         ดอด, คือ ด้อม ดอด, คน กลัว ผู้ อื่น จะ เหน แล ลัก ด้อม ดอด เข้า ไป. อย่าง หนึ่ง เปน ชื่อ ของ ที่ เขา ดัก ปลา.
      ลอบ เข้า ไป (649:3.1)
               ดอด เข้า ไป, คือ ดอด เข้า ไป ไม่ ให้ ใคร รู้ เหน คน จะ ลัก ของ กลัว เขา เหน แล ดอด เข้า ไป.
      ลอบ จับ (649:3.2)
               ดอด จับ, คือ ด้อม เข้า จับ เอา ตัว คน เปน ต้น, เช่น เขา จะ จับ คน แล ด้อม แอบ เข้า จับ นั้น.
      ลอบ ตี (649:3.3)
               ดอด ตี, คือ ลัก ตี ไม่ ให้ ผู้ ใด เหน ตัว, เช่น คน ชั่ว กลัว เขา จะ เหน แล ด้อม ตี เขา เวลา กลางคืน นั้น.
      ลอบ ดัก ปลา (649:3.4)
               คือ เครื่อง สำรับ ดัก ปลา, เขา ทำ ด้วย ซี่ ไม้ ไผ่ มี งาแซง ปลา ออก ไม่ ได้ นั้น.
      ลอบ ถาม (649:3.5)
               ดอด ถาม, คือ ลัก ถาม ลับ หลัง, คน มี ความ ลับ จะ ถาม ต่อ หน้า ไม่ ได้, กลัว เขา จะ รู้ แล ลัก ถาม.

--- Page 650 ---
      ลอบ ทำ (650:3.6)
               ดอด ทำ, คือ ลัก ทำ ลับ หลัง, คน มี การ ของ ตัว เปน การ ซ่อน แล ทำ ลับ หลัง ไม่ ให้ เขา เหน นั้น.
      ลอบ หนี (650:3.7)
               คือ ดอด หนี, คน กลัว เขา จะ เหน จะ รู้, แล หนี ไป ไม่ ให้ ผู้ ใด ล่วง รู้ นั้น.
      ลอบ ไป (650:3.8)
               คือ ดอด ไป, คน กลัว ผู้ อื่น จะ รู้ จะ เหน แล ค่อย ดอด ไป ไม่ ให้ ใคร รู้ นั้น
      ลอบ มา (650:3.9)
               แอบ มา, คือ ดอด มา, คน กลัว เขา จะ รู้ จะ เหน แล ค่อย ดอด มา ไม่ ให้ ใคร รู้ นั้น.
      ลอบ ลัก (650:3.10)
               แฝง ลัก, คือ ดอด ลัก, คน ชั่ว กลัว เขา จะ รู้ จะ เหน แล ขะโมย ดอด ลัก เอา นั้น.
      ลอบ เล่น (650:3.11)
               แอบ เล่น, คือ ดอด ลัก เล่น, คน จะ เล่น แล กลัว เขา จะ รู้ จะ เหน นั้น.
      ลอบ ให้ (650:3.12)
               ดอด ให้, คือ ลัก ให้ ของ, คน กลัว ฝ่าย ข้าง หนึ่ง อยู่, จะ ให้ ของ กัน แล เอา ให้ ลับ หลัง.
      ลอบ ออก (650:3.13)
               ดอด ออก, คือ ลัก ออก ไป, คน กลัว เขา จะ เหน แล ค่อย ดอด หลีก ออก ไป จาก ที่ นั้น.
หลอบ (650:1)
         (dummy head added to facilitate searching).
      หลอบ หู (650:1.1)
               หู ตก, คือ ทำ หู ลู่ ลง, เช่น สัตว มี สุนัข เปน ต้น, มัน ชม เจ้าของ ทำ หู หลุบ ลง นั้น.
      หลอบ หาง (650:1.2)
               คือ ทำ หาง ลู่ ลง, เช่น สุนัข บ้า มัน ทำ อาการ ไม่ ปรกติ หาง มัน ตก ลง.
      หลอบ หัว (650:1.3)
               คือ ทำ หัว ลู่ ลง, เช่น สุนัข มัน ทำ กิริยา เมื่อ มัน กลัว แล เข้า หา เจ้าของ นั้น.
เลียบ (650:2)
         เคียง, คือ เดิน ที่ แคบ หมิ่น มี กระดาน แผ่น เดียว เปน ที่ สำรับ เดิน ไต่ จำเภาะ นั้น.
      เลียบ เข้า ไป (650:2.1)
               เคียง เข้า ไป, คือ ไต่ เข้า ไป, เช่น คน เดิน ที่ แคบ มี ตะภาน เปน ต้น จะ เข้า ไป ใน เมือง
      เลียบ เคียง (650:2.2)
               เลียม ใกล้, คือ เลียบ ไต่ ไป, เช่น คน เดิน ไต่ เลียบ ไป ใกล้ ผู้ อื่น ที่ เดิน ไป ด้วย กัน.
      เลียบ คู่ (650:2.3)
               คือ ไต่ เลียม เข้า หา คู่, เช่น นก มัน จับ ที่ กิ่ง ไม้ มัน ไต่ เข้า หา คู่ มัน.
      เลียบ ค่าย (650:2.4)
               คือ ไต่ เลียบ ไป ริม ค่าย, คน เปน ทหาร กล้า เวลา กลาง คืน ขี่ ม้า ไป ริม ค่าย ฆ่า ศึก นั้น.
      เลียบ ชาย (650:2.5)
               คือ เลียบ ฉะม้าย ชาย ตา ดู นั้น.
      เลียบ เดิน (650:2.6)
               คือ ไต่ เดิน เลียบ ไป, คน เดิน ไต่ ไป ตาม ที่ แคบ ภอ จะ* เดิน ได้ คน เดียว.
      เลียบ ตลิ่ง (650:2.7)
               ไต่ ตาม ตลิ่ง, คือ เดิน ไป ตาม ตลิ่ง, คน เดิน ไป ใน ที่ ใกล้ ตลิ่ง นั้น.
      เลียบ ไต่ (650:2.8)
               เดิน ไต่, คือ เดิน ไป ที่ แคบ หมิ่น, เช่น นก มัน ไต่ เดิน บน กิ่ง ไม้ ค่อย ๆ ไต่ ไป นั้น.
      เลียบ ตาม (650:2.9)
               ไต่ ตาม, คือ เดิน ไต่ ตาม ไป, เช่น มี คน อื่น เดิน ไป ข้าง หน้า แล ติด ตาม ไป นั้น.
      เลียบ ถาม (650:2.10)
               ไต่ ถาม, คือ เลียบ* ถาม, คน จะ ใคร่ รู้ เนื้อ ความ แล เลียม แกะ และ ถาม นั้น.
      เลียบ ฝั่ง (650:2.11)
               ไต่ ตาม ฝั่ง, คือ เดิน ไต่ ไป ริม ฝั่ง น้ำ, คน เดิน ไป ที่* ริม ฝั่ง น้ำ นั้น.
      เลียบ พระนคร (650:2.12)
               เสด็จ ดำเนิน ตาม พระนคร, คือ ประทักษิณ เมือง, ท่าน ที่ ได้ ครอง เมือง ใหม่, แล ออก เที่ยว รอบ เมือง ด้วย ขัติยศศักดิ์ นั้น.
      เลียบ เมือง (650:2.13)
               คือ เที่ยว ประทักษิณ พระนคร, ท่าน ได้ เสวย ราชสมบัติ ใหม่ ออก เที่ยว ด้วย ราชา นุภาพ บริวาร ยศ นั้น.
      เลียบ เลียม (650:2.14)
               คือ เดิน ไต่ ไป ริม ของ ที่ อัน ใด ๆ แล ล่วง เข้า ไป นั้น.
เหลือบ (650:3)
         ชำ เลือง, เปน ชื่อ สัตว จำพวก หนึ่ง, ตัว เหมือน แมลงวัน แต่ ตัว โต, มัน กิน เลือด คน แล งัว ควาย มี อยู่ ที่ ทุ่ง นา.
      เหลือบ กัด (650:3.1)
               คือ ตัว เหลือบ เช่น ว่า นั้น, มัน กิน เลือด ที่ ตัว คน ฤๅ ตัว สัตว นั้น.
      เหลือบ ชะม้าย (650:3.2)
               ชำเลือง ชะม้าย, คือ ชาย ตา ดู ไม่ เต็ม ตา, คน ดู สิ่ง ใด ไม่ แล เต็ม ตา ถนัด นั้น.
      เหลือบ ชะม้อย (650:3.3)
               ชาย ตา ชะม้อย, คือ ชาย ตา ดู, คน จะ ดู สิ่ง ใด ดู ไม่ เต็ม ตา แล ดู แต่ กึ่ง ตา นั้น.
      เหลือบ ดู (650:3.4)
               ชำเลือง ดู, คือ ชำเลือง ตา ดู, คน ดู สิ่ง อัน ใด มี หน้า คน เปน ต้น แล ดู แต่ กึ่ง ตา นั้น.
      เหลือบ ตา (650:3.5)
               ชาย ตา, คือ ชำ เลือง ตา ดู, คน ดู สิ่ง อัน ใด มี หน้า คน เปน ต้น แต่ กึ่ง ตา นั้น.
      เหลือบ ไป (650:3.6)
               แล ชะม้าย ไป, คือ ชะม้อย ตา ดู, คน จะ ดู อัน ใด ไม่ ดู เต็ม ตา, ดู แต่ กึ่ง ตา นั้น.

--- Page 651 ---
      เหลือบ มา (651:3.7)
               ชำเลือง มา, คือ ชะม้าย ตา ดู, คน จะ ดู อัน ใด แล ดู ไม่ เต็ม ตา ดู กึ่ง ตา นั้น.
      เหลือบ แล (651:3.8)
               ชำเลือง แล คือ ชะม้าย ตา แล ดู, คน จะ ดู อัน ใด แล ไม่ เต็ม ตา, ดู กึ่ง ตา นั้น.
      เหลือบ เหลียว (651:3.9)
               ชะม้อย เหลียว, คือ ชม้าย เหลียว, คน จะ ดู อัน ใด มี หน้า คน ที่ ไม่ ชอบ กัน, ดู แต่ กึ่ง ตา นั้น.
      เหลือบ เหน (651:3.10)
               ชำเลือง เหน, คือ แล ชะม้าย เหน, คน จะ ดู อัน ใด ที่ ไม่ ภอ ใจ ดู แล ดู ด้วย กึ่ง ตา นั้น.
      เหลือบ ออก ไป (651:3.11)
               ชำเลือง ออก ไป, คือ แล ชะม้าย ตา ออกไป นอก เรือน เปน ต้น นั้น.
ลม (651:1)
         คือ ฃอง ที่ พัด มา ใน อากาศ, คน แล ไม่ เหน, ต่อ พัด มา ถูก ตัว ฤๅ ถูก ใบไม้ ไหว สั่น จึง รู้ นั้น.
      ลม กิน ใบ (651:1.1)
               คือ ลม พัด ถูก ต้อง ใบ เรือ นั้น
      ลม เข้า ข้อ (651:1.2)
               คือ ลม ที่ อยู่ ใน ตัว คัน* เขา ว่า มัน ไป ทั่ว ตัว แต่ มัน เข้า ใน ข้อ นั้น.
      ลม ขึ้น (651:1.3)
               คือ ลม พัด ขึ้น มา แต่ ทิศ ใต้ นั้น.
      ลม จุก (651:1.4)
               คือ ลม เกิด ใน ตัว คน, ให้ แน่น อก ฤๅ ใน ท้อง, เหมือน กับ เขา เอา อัน ใด ยัด เข้า.
      ลม จับ (651:1.5)
               คือ ลม มัน ทำ ให้ หน้า มืด ตา มัว สิ้น สติ ไม่ รู้ ตัว, เหมือน กับ หลับ ไป นั้น.
      ลม แดก (651:1.6)
               คือ ลม ดัน ใน อก, คน มี ลม เกิด ภาย ใน มัน ดัน ที่ น่าอก ป่วน ขึ้น มา นั้น.
      ลม แดง (651:1.7)
               เปน ลม ภาย นอก กาย มนุษ, มัน เกิด ใน ทิศ ต่าง ๆ พัด กล้า นัก.
      ลม ตวันออก (651:1.8)
               คือ ลม พัด มา แต่ ทิศ บูรพา นั้น.
      ลม ตะคริว (651:1.9)
               เปน ลม ใน กาย มนุษ, มัน เกิด ขึ้น ทำ ให้ ชัก มือ แล ท้าว เสียว ริว ๆ ให้ มือ งอ ท้าว งอ.
      ลม บ้าหมู (651:1.10)
               เปน ลม ใน กาย มนุษ, เมื่อ มัน เปน นั้น, คน ไม่ รู้ สึก ตัว สิ้น สติ ล้ม ลง น้ำลาย ออก จาก ปาก. ลม ปะกัง, คือ ลม ให้ ปวด ที่ ใน ศีศะ แก่ มัน ให้ ปวด เวลา เช้า เมื่อ อาทิตย ขึ้น สาย นั้น.
      ลม ปาก (651:1.11)
               คือ ลม ออก จาก ปาก. อย่าง หนึ่ง ว่า ลม คือ วาจา ถ้อย คำ ที่ คน กล่าว นั้น.
      ลม พะยุ (651:1.12)
               คือ ลม หมู่ ใหญ่ ลม กอง ใหญ่, ถ้า แล ลม ตั้ง กอง ใหญ่ หมู่ ใหญ่ พัด มา แรง กล้า นัก นั้น.
      ลม แล้ง (651:1.13)
               คือ ลม น่า ระดู ร้อน ไม่ มี ฝน นั้น.
      ลม ล่อง (651:1.14)
               คือ ลม ที่ มัน พัด ลง ไป ตาม น้ำ นั้น.
      ลม ว่าว (651:1.15)
               คือ ลม น่า ระดู หนาว มัน พัด มา แต่ ฝ่าย ทิศ อีศาน, มัก ให้ เกิด ความ หนาว เอย็น นัก.
      ลม สลัก รอก (651:1.16)
               คือ ลม พัด มา ขวาง ลำ เรือ, เมื่อ คน แล่น ใบ นั้น.
      ลม สีปาก (651:1.17)
               คือ ถ้อย คำ แล คารม ฤๅ สำนวน นั้น.
      ลม สันดาน (651:1.18)
               คือ ลม มัน ให้ จุก เสียด ใน อก เปน ครั้ง ๆ, เว้น ไป เดือน หนึ่ง สอง เดือน เปน หน หนึ่ง.
      ลม หวน (651:1.19)
               เปน ลม ภาย นอก, เช่น ลม พัด มา ถูก ที่ กระทบ พัด ไป ไม่ สดวก แล พัด หมุน นั้น.
      ลม เหียน (651:1.20)
               คือ ลม หวน, ลม นั้น พัด มา กระทบ ที่ อัน ใด มี ภูเขา เปน ต้น แล มัน หัน ไป มา นั้น.
      ลม หอบ (651:1.21)
               คือ ลม พัด อู้ม เอา น้ำ ใน ทะเล เปน ต้น ให้ ขึ้น ไป อากาศ, บาง ที พัด เอา ฝุ่น ให้ ฟุ้ง ขึ้น.
      ลม หาย ใจ (651:1.22)
               คือ ลม ที่ ออก โดย ช่อง จมูก ซ้าย ขวา, เมื่อ คน ยัง มี ชีวิตร เข้า ออก เปน นิจ ทั้ง ตื่น แล หลับ.
      ลม อัศาสะปัศาสะ (651:1.23)
               คือ ลม ระบาย หายใจ ออก เข้า, เขา เรียก ลม อัศาสะ ปัศาสะ เปน คำ สับท์ แปล ว่า ออก เข้า.
      ลม อุตรา (651:1.24)
               คือ ลม มา แต่ ทิศ ตวัน ออก, ย่อม พัด หอบ เอา ขี้ เมฆ เกลื่อน ไป ใน อากาศ.
      ลม อัมพฤกษ (651:1.25)
               คือ ลม เกิด ใน กาย มนุษ ที่ มี ชีวิตร เปน ปรกติ เต้น อยู่ เปน นิจ นั้น, คน จวน จะ ดับ จิตร เรียก ลม ฤตะ, คือ มัน ไม่ รู้ ตาย เต้น อยู่.
ล่ม (651:2)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ล่ม จม (651:2.1)
               คือ เรือ ล่ม ลง แล มิด หาย ไป ใน น้ำ นั้น.
      ล่ม เรือ (651:2.2)
               คือ ทำ ให้ ลำ เรือ จม ลง ใน น้ำ, เช่น คน จะ ล้าง เรือ ให้ มด จด นั้น.
ล้ม (651:3)
         คือ ท้าว พลาด จาก พื้น, ตัว ลง เอน นอน กับ พื้น นั้น.
      ล้ม คว่ำ (651:3.1)
               คือ คน ล้ม เอา หน้า ลง เบื้อง ต่ำ กับ พื้น.
      ล้ม ควาย (651:3.2)
               คือ เขา ฆ่า ควาย กิน นั้น.
      ล้ม งัว (651:3.3)
               คือ ฆ่า งัว กิน นั้น.
      ล้ม ไม้ (651:3.4)
               คือ ทำ ต้นไม้ ให้ มัน ทอด นอน ลง นั้น.

--- Page 652 ---
ลัม (652:1)
         คือ ของ ที่ กลม แล ยาว, เช่น ลำ ไม้ ไผ่ แล เรือ ก็ เรียก ว่า ลำ.
      ลัม ฅอ (652:1.1)
               คือ อะไวยวะ ที่ ฅอ ลง มา จาก ศีศะ จน อก ข้าง หน้า ข้าง หลัง นั้น.
      ลัม ต้น (652:1.2)
               คือ ต้นไม้ ที่ กลม ยาว ขึ้น ไป จน ตลอด ยอด นั้น, เขา เรียก ว่า ลำ ต้น เพราะ มิ ใช่ กิ่ง นั้น.
      ลัมแพน (652:1.3)
               คือ แผง ที่ เขา สาน ด้วย ตอก เปน ผืน ๆ นั้น.
      ลัม พวน (652:1.4)
               คือ ฅอเข้า ลีบ กับ เข้า ดี ปน หนิด น่อย, เมื่อ เขา ทำ ลาน นวด เข้า คัด ออก เก็บ เอา นั้น.
      ลัมพัง (652:1.5)
               คือ ไป เปน ต้น แต่ พวก เด็ก ฤๅ หญิง, ว่า ไป เปน ต้น แต่ ลำพัง นั้น.
      ลัมโพง (652:1.6)
               เปน ชื่อ ต้นไม้ เล็ก อย่าง หนึ่ง, ลูก มัน กิน เมา ให้ คลุ้ม คลั่ง ราว กับ คน บ้า นั้น.
      ลัมพอง (652:1.7)
               คือ คะนอง ละเลิง ใจ, เช่น คน โอยก เอยก ได้ ชะนะ การ พะนัน แล พูด โอ้ อวด ต่าง ๆ นั้น.
      ลัม ไม้ (652:1.8)
               คือ ต้นไม้ เช่น ว่า, มี ไม้ ไผ่ แล ไม้ อ้อ เปน ต้น เรียก ว่า ลำ
      ลัม ภู (652:1.9)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, มัก ขึ้น ที่ โคลน ชาย น้ำ ชาย เลน นั้น.
      ลัม ภู่กัน (652:1.10)
               คือ สิ่ง ที่ มี ใน อากาศ เปน เส้น ยาว นับ โยชน์, พุ่ง ภู่ ผ่าน ไป ใน อากาศ นั้น.
      ลัมเภาภาล (652:1.11)
               ว่า นาง นารีย มี รูป ศิริ วิลาศ อัน งาม นั้น.
      ลัมภูน (652:1.12)
               เปน ชื่อ เมือง ลาว อยู่ ฝ่าย เหนือ ใกล้ กับ เมือง เชียง ใหม่ นั้น.
      ลัม หวาย (652:1.13)
               คือ ต้น หวาย ทั้ง ยาว ทั้ง กลม เรียก ว่า ลำ. อย่าง หนึ่ง คลอง ฤๅ น้ำ ก็ เรียก ลำ.
      ลัม อ้อย (652:1.14)
               คือ ต้น อ้อย, ๆ ตั้ง แต่ ต้น จน ตลอด ปลาย นั้น, เรียก ว่า ลำ เพราะ มัน กลม ยาว นั้น.
ลั้ม (652:2)
         คือ เกิน เลย เข้า ไป, เช่น เขา กะ กำหนด ไว้, แล ทำ เกิน เข้า ไป นั้น.
      ลั้ม เลิศ (652:2.1)
               คือ การ ที่ เลิศ ยิ่ง กว่า เพื่อน นั้น.
ลาม (652:3)
         คือ กิน ต่อ ๆ ไป, เช่น ไฟ ไหม้ ติด ต่อ ๆ ไป. อย่าง หนึ่ง โรค กลาก มัน กิน ต่อ ไป.
      ลาม เข้า มา (652:3.1)
               คือ ไฟ ไหม้ เดิม ติด ลุก ขึ้น แต่ ท ไกล, แล้ว ไหม้ ต่อ ๆ มา จน ใน บ้าน นั้น.
      ลาม ไป (652:3.2)
               คือ ไฟ ไหม้ ต่อ ๆ ไป, เช่น ไฟ เดิม ติด ลุก ขึ้น ที่ นี่ ก่อน แล้ว ก็ ไหม้ ต่อ ๆ ไป.
      ลาม ปาม (652:3.3)
               คือ ติด ต่อ เนื่อง กัน ไป, เช่น ไฟ ไหม้ เดิม ติด ขึ้น น้อย ค่อย ติด ต่อ ไป มาก ไป นั้น.
      ลาม ไหม้ (652:3.4)
               คือ ไฟ ไหม้ ต่อ ไป, เช่น ไฟ เดิม ลุก ขึ้น ใน ที่ แห่ง ใด แห่ง หนึ่ง แล้ว ไหม้ ต่อ ไป.
      ลาม ลวน (652:3.5)
               คือ อาการ ที่ คน ไม่ เกรง ทำ โดย บังอาจ, เช่น ชาย ไพร่ ล่วง อยอก เจ้า หญิง นั้น.
      ลาม ลุก (652:3.6)
               คือ ไฟ ติด ขึ้น แล้ว ลุก ต่อ ๆ ไป. อย่าง หนึ่ง เปน ความ เปรียบ เนื้อ ความ ว่า ถ้า เกิด ขึ้น แล้ว ลุก ลาม ไป.
      ลาม ออก (652:3.7)
               คือ ไฟ ที่ ติด ขึ้น ใน เมือง เปน ต้น ก่อน แล้ว ลุก ไหม้ ต่อ ๆ ออก ไป นอก เมือง นั้น.
ล่าม (652:4)
         ผูก หย่อน ไว้, คือ เรื้อย, เช่น เขา ผูก วัว ไว้ ด้วย เชือก แล เชือก ข้าง หนึ่ง ปล่อย ไว้ นั้น.
      ล่าม เชือก (652:4.1)
               คือ เรื้อย เชือก ไว้, คน ผูก สัตว มี โค เปน ต้น, แล ปลาย เชือก ข้าง หนึ่ง ไม่ ได้ ผูก ไว้.
      ล่าม โซร่ (652:4.2)
               คือ เรื้อย สาย โซร่ ไว้ จะ ไม่ ให้ ขะโมย เอา ได้ นั้น.
      ล่าม พูด ภาษา (652:4.3)
               คือ คน เปน พนักงาน รู้ พูด ภาษา ต่าง ๆ, แล คอย พูด ส่ง ภาษา ให้ คน สอง ฝ่าย เข้า ใจ.
หลาม (652:5)
         หูง, ต้ม, คือ ทำ ของ มี เข้า เปน ต้น ให้ สุก กับ ไฟ, หลาม ด้วย กระบอก ไม้ นั้น.
      หลาม เข้า (652:5.1)
               ต้ม เข้า, คือ เขา เอา เข้า สาร ใส่ ลง ใน กระบอก ไม้, เอา น้ำ ใส่ แล้ว เอา เผา ไฟ ให้ สุก นั้น
      หลาม ยา (652:5.2)
               เขา เอา ยา มี ใบ ไม้ สด เปน ต้น ใส่ ใน กระบอก ไม้ เอา น้ำ ใส่ ด้วย เผา ไฟ ให้ สุก นั้น.
หลิม (652:6)
         คือ แหลม, เช่น หัว คน แหลม เล็ก ว่า หัว หลิม อยู่.
ลิ่ม (652:7)
         กลอน, สลัก, คือ ไม้ ที่ ใส่ ใน รู ไม้ ธรณี ประตู ฤๅ น่า ต่าง มิ ให้ เปิด เข้า มา ได้ นั้น, เรียก ว่า ลิ่ม.
      ลิ่ม กลอน (652:7.1)
               สลัก กลอน, คือ ไม้ ที่ ใส่ ขวาง ที่ บาน ประตู เปน ต้น, คน กลัว ขะโมย จะ เปิด เข้า มา ได้, ทำ ไว้ เช่น นั้น.
      ลิ่ม เงิน (652:7.2)
               คือ เงิน เขา ทำ รูป เหมือน ลิ้น กระบือ นั้น.

--- Page 653 ---
      ลิ่ม ตี หนังสือ (653:7.3)
               ไม้ อัด หนังสือ, คือ ไม้ ที่ ใส่ เข้า ใน ไม้ ครง ตี ลง แรง เร่ง ให้ ใบ ลาน ที่ จาน หนังสือ อัด แน่น นั้น.
      ลิ่ม ทอง (653:7.4)
               แท่ง ทอง, คือ แท่ง ทอง, คน ทำ ทอง ให้ เปน แท่ง สี่เหลี่ยม บ้าง กลม บ้าง ตัน แน่น นั้น.
      ลิ่ม น่าต่าง (653:7.5)
               สลัก น่าต่าง, คือ ไม้ ที่ ใส่ ใน รู ธรณี น่าต่าง เพื่อ จะ มิ ให้ โจร เปิด เข้า ได้ เขา ทำ ไว้ นั้น.
      ลิ่ม ประตู (653:7.6)
               คือ ไม้ ที่ ใส่ ใน รู ธรณี ประตู เพื่อ จะ มิ ให้ เปิด ออก ได้ นั้น เขา เรียก ลิ่ม ประตู.
      ลิ่ม สลัก (653:7.7)
               กลอน สลัก, คือ ไม้ ลิ่ม ประตู เปน ต้น เช่น ว่า นั้น, เขา เรียก ลิ่ม บ้าง เรียก สลัก ประตู บ้าง.
ลิ้ม (653:1)
         ลอง, ชิม, คือ เอา ของ อัน ใด มา เปน ของ กิน, จะ ใคร่ รู้ รศ ว่า เปน อย่าง ไร แล เอา ปลาย ลิ้น จด เข้า ดู นั้น.
      ลิ้ม ชิม (653:1.1)
               ลอง ชิม, คือ เอา ปลาย ลิ้น จด เข้า ที่ ของ เพื่อ จะ รู้ ว่า รศ เปรี้ยว ฤๅ เค็ม นั้น.
      ลิ้ม ดู (653:1.2)
               คือ ชิม ดู, เขา เอา ของ อัน ใด จด เข้า ที่ ลิ้น ดู ว่า รศ จะ เปน อย่าง ไร นั้น.
      ลิ้ม ลอง (653:1.3)
               คือ ลิ้ม ดู รศ ของ ด้วย ปลาย ลิ้น, คน จะ ใคร่ รู้ รศ ของ กิน เปน ต้น แล เอา ปลาย ลิ้น จด เข้า ดู นั้น.
      ลิ้ม เลีย (653:1.4)
               ชิม เลีย, คือ แลบ ลิ้น ออก เลีย ของ, คน จะ กิน ของ อัน ใด แล แลบ ลิ้น ออก จาก ปาก เลีย ของ.
ลืม (653:2)
         เคลิ้ม, หลง, คือ เคลิ้ม หลง สติ ระฦก ไม่ ออก ได้, เช่น คน เรียน หนังสือ เปน ต้น หลง ระฦก ไม่ ออก.
      ลืม การ (653:2.1)
               เคลิ้ม การ, คือ เผลอ หลง ระฦก การ ที่ ตัว ค้าง อยู่ เช่น คน ทำ การ อัน ใด อยู่ คิด การ ไม่ ออก นั้น.
      ลืม กิน (653:2.2)
               คือ เก็บ ไว้ ลืม เอา มา กิน, คน เอา ของ เก็บ ไว้ ไม่ ได้ ระฦก นั้น.
      ลืม เก็บ (653:2.3)
               คือ หลง เคลิ้ม ไม่ ได้ เอา ของ เข้า ไว้, คน ตาก ของ ไว้ แล้ว เผลอ ไม่ ได้ เก็บ.
      ลืม ของ (653:2.4)
               หลง ของ, คือ เคลิ้ม หลง สติ ไม่ ได้ คิด ถึง ที่ ตัว เอา ของ ไว้ นั้น.
      ลืม คำ (653:2.5)
               เผลอ คำ, คือ หลง คำ ที่ คน พูด จา กัน ไว้ นั้น.
      ลืม เงิน (653:2.6)
               หลง เงิน, คือ หลง เคลิ้ม เงิน ที่ ตัว เก็บ ไว้ นั้น.
      ลืม เคลิ้ม (653:2.7)
               เคลือบ เคลิ้ม, คือ หลง เผลอ ไป, คน จะ ทำ การ เปน ต้น แล เขา หลง สติ ระฦก การ นั้น ไม่ ได้.
      ลืม ตา (653:2.8)
               เปิด ตา, คือ ทำ ตา ไม่ ให้ กลีบ ปก ปิด ลูก ตา ลง, มี ตา แจ่ม ใส ดู ของ ได้ นั้น.
      ลืม ตน (653:2.9)
               เคลิ้ม ตัว, คือ หลง เคลิ้ม ตัว ของ ตัว, เช่น คน นอน หลับ สนิท ไป ไม่ รู้ สึก ตัว ของ ตัว นั้น.
      ลืม ตาย (653:2.10)
               ไม่ ได้ คิด ถึง ความ ตาย, คือ เคลิ้ม หลง ความ ตาย, คน ตาย แล้ว มา เกิด ชาติ นี้ เคลิ้ม หลง ความ ตาย ก่อน นั้น เสีย.
      ลืม ตัว (653:2.11)
               ลืม องค์, คือ เคลิ้ม สติ ถึง ตัว, เช่น คน นอน หลับ ม่อย ผ่อย ไป ไม่ รู้ เหตุ การ อัน ใด นั้น,
      ลืม ธรรม (653:2.12)
               หลง ธรรม เสีย, คือ เคลิ้ม หลง พระธรรม เสีย, คน รู้ ธรรม วิเสศ ครั้น นาน มา หลง เคลิ้ม ระฦก ไม่ ได้.
      ลืม ไป (653:2.13)
               เคลิ้ม ไป, คือ หลง เคลิ้ม ไป, คน หลง เคลิ้ม สติ คิด อัน ใด ไม่ ออก ระฦก ไม่ ได้ ว่า ลืม ไป.
      ลืม พ่อ (653:2.14)
               หลง พ่อ, คือ หลง เคลิ้ม สติ ไม่ ได้ คิด ถึง บิดา นั้น.
      ลืม แม่ (653:2.15)
               หลง แม่, คือ เคลิ้ม หลง แม่, คน ไป จาก มารดา แต่ เล็ก ๆ เคลิ้ม หลง จำ แม่ ไม่ ได้ นั้น.
      ลืม หลง (653:2.16)
               คือ เคลิ้ม ลืม ไม่ มี สติ, คน ระฦก เหตุ การ อัน ใด ไม่ ออก ด้วย สติ เผลอ นั้น.
      ลืม องค์ (653:2.17)
               เคลิ้ม กาย, คือ ลืม ตัว เช่น ว่า แล้ว, แต่ เรียก ว่า องค์ เปน คำ สูง สำรับ เจ้า เปน ต้น นั้น
ลุมพะลี (653:3)
         เปน ชื่อ ทุ่ง นา ตำบล หนึ่ง มี อยู่ แขวง กรุง เก่า, เปน ที่ ไชยภูม ทัพ เมือง หงษา มา ตี กรุง, มัก ตั้ง ค่าย ที่ นั้น.
ลุ่ม (653:4)
         คือ ที่ ตำ ฦก ลง กว่า ที่ อื่น, เช่น ที่ ดอน สูง เสมอ กัน, แต่ ที่ ตรง นั้น ต่ำ ลง กว่า นั้น.
      ลุ่ม ต่ำ (653:4.1)
               คือ ที่ ลาด ฦก ลง ต่ำ, ที่ อื่น นอก นั้น เสมอ ดี แต่ ที่ เหล่า นั้น ฦก ลง น่อย หนึ่ง.
      ลุ่ม เนื้อ (653:4.2)
               คือ เนื้อ สด ฤๅ ปลา สด ที่ มัน ตาย อยู่ นาน เวลา, คล้ำ เข้า จะ เน่า นั้น.
      ลุ่ม ฦก (653:4.3)
               คือ ที่ ลาด ฦก ลง ไป มาก นั้น.
      ลุ่ม หลง (653:4.4)
               ฦก หลง, คือ หลง ไหล, คน ใจ เคลิ้ม หลง เช่น คน ไท ได้ เมีย ใหม่ แล รัก นัก ตาม ใจ เมีย นั้น.
หลุม (653:5)
         บ่อ, คือ ที่ คน ขุด ลง ใน ดิน ให้ ฦก กว่า พื้น เสมอ ตั้ง แต่ องคุลี หนึ่ง ลง ไป นั้น.

--- Page 654 ---
      หลุม ถ่าน เพลิง (654:5.1)
               ขุม ถ่าน เพลิง, เปน ชื่อ นรก ขุม หนึ่ง เต็ม ไป ด้วย ถ่าน ไฟ รุ่ง เรือง อยู่ เปน นิจ.
      หลุม ฝัง สพ (654:5.2)
               คือ ที่ เขา ขุด ลง ที่ พื้น ดิน ฦก ภอ ฝัง สพ นั้น.
      หลุม พราง (654:5.3)
               ขุม พราง, คือ หลุม เขา ขุด ไว้ ไม่ ฝัง อัน ใด ขุด แล้ว กลบ ไว้ เปล่า ๆ แล้ว ขุด หลุม อื่น ฝัง ทรัพย ไว้.
เล็ม (654:1)
         เก็บ, และ, คือ เอา หนิด น่อย, เช่น สัตว มัน กิน หญ้า มี ไม่ มาก มัน กัด แทะ ได้ หนิด น่อย นั้น.
      เล็ม เก็บ (654:1.1)
               และ เก็บ, คือ เด็ด ได้ หนิด น่อย, คน เก็บ ดอก ไม้ เปน ต้น ที่ มี หนิด น่อย ค่อย เด็ด เก็บ เอา นั้น.
      เล็ม* น่า ผ้า (654:1.2)
               คือ เย็บ น่าผ้า เพื่อ จะ มิ ให้ เส้น ด้าย ล้น ออก มา นั้น.
      เล็ม ล่า (654:1.3)
               คือ อาการ ที่ สัตว ดิรัจฉาน มัน กัด กิน ต้น หญ้า เปน อาหาร นั้น.
      เล็ม และ (654:1.4)
               เก็บ และ, คือ เล็ม แทะ เอา, เช่น คน เที่ยว เก็บ ผัก เปน ต้น ที่ มัน มี หนิด น่อย ค่อย เก็บ แทะ นั้น.
      เล็ม หา (654:1.5)
               และ หา, คือ แทะ หา เอา, เช่น คน เที่ยว หา และ เล็ม เอา ต้น ผัก เปน ต้น ที่ มัน มี อยู่ น้อย นั้น.
      เล็ม แห่ง ละ เล็ก ละ น้อย (654:1.6)
               เก็บ แห่ง ละ เล็ก ละ น้อย, คือ เที่ยว เก็บ ได้ ที่ แห่ง โน้น น่อย ที่ นี่ น่อย หนึ่ง, เพราะ ของ ไม่ มี ใน ที่ แห่ง เดียว มาก นั้น.
เล่ม (654:2)
         อัน, คือ ของ ที่ กลม ยาว, เช่น เข็ม เปน ต้น ที่ กลม ยาว, ถึง ของ ไม่ กลม แต่ ยาว เรียก ว่า เล่ม.
      เล่ม เกวียน (654:2.1)
               เรือน เกวียน, คือ ตัว เกวียน, เกวียน ที่ เขา ทำ ขึ้น สำรับ บันทุก ของ นั้น เรียก เล่ม ทั้ง สิ้น.
      เล่ม เดียว (654:2.2)
               อัน เดียว, คือ ของ อัน ใด ที่ เปน เล่ม มี แต่ อัน เดียว นั้น.
      เล่ม* หนึ่ง (654:2.3)
               อัน หนึ่ง, คือ ของ ที่ เปน เล่ม มี แต่ อัน เดียว นั้น.
      เล่ม เล็ก (654:2.4)
               อัน เล็ก, คือ ของ ที่ เปน เล่ม แต่ ไม่ มี ใหญ่ ไม่ มี ย่อม, มี แต่ เล่ม เล็ก เขา เรียก เช่น นั้น.
      เล่ม สมุด (654:2.5)
               สมุด เล่ม หนึ่ง, คือ สมุด หัว หนึ่ง, สมุด ดำ แล ขาว แล เล็ก ใหญ่ นั้น เขา ว่า สมุด ทั้ง นั้น.
แล้ม (654:3)
         หวาน น้อย ๆ, คือ ของ กิน ที่ มี รศ หวาน น่อย ๆ ไม่ หวาน เข้ม เช่น น้ำ ผึ้ง น้ำตาล, ว่า หวาน แล้ม ๆ.
แหลม (654:4)
         ไม่ ป้าน, คือ ของ ที่ มี ปลาย เสี้ยม เสียบ, เช่น เหล็ก หมาด เปน ต้น ว่า ปลาย มัน แหลม.
      แหลม แท่น (654:4.1)
               เปน ชื่อ ตำบล หนึ่ง เปน ฝั่ง ทะเล, ที่ มัน ยื่น ออก มา ไป* เปน อ่าว เปน ท้องคุ้ง นั้น.
      แหลม ฟ้า ผ่า (654:4.2)
               คือ ที่ ตำบล หนึ่ง เปน เช่น ว่า มัน มี อยู่ ที่ ปาก น้ำเจ้าพระยา, เมือง สมุทปราการ นั้น.
      แหลม สิงห์ (654:4.3)
               เปน ชื่อ ตำบล หนึ่ง อยู่ ฝั่ง ทะเล, มัน ยื่น ออก มา กว่า ที่ อื่น* ไม่ เปน อ่าว เปน คุ้ง.
โลม (654:5)
         คือ ขะบวน* ที่ ประโลม, เช่น คน รำ ทำ ขะบวน ชวน นาง ด้วย เคล้า คลึง นั้น.
      โลม นาง (654:5.1)
               คือ ขะบวน ชวน ชม ประโลม, คน เปน ละคอน เปน ต้น แล* เล้า โลม เช่น ว่า นั้น.
      โลม ไล้ (654:5.2)
               คือ ประโลม แล้ว ยก มือ ลูบ ไล้ ลา เพ ไป นั้น.
      โลม เล้า (654:5.3)
               คือ ทำ อาการ* เช่น จะ เข้า กอด รัด เคล้า คลึง, คน เล่น ละคอน เปน ต้น มัก ทำ เช่น นั้น.
      โลม เล้า เอา ใจ* (654:5.4)
               คือ เอา มือ ล้อม ลูบ เฃ้า, แล้ว ว่า ไม่ เปน ไร อย่า กลัว เลย เอา ไว้ เปน ธุระ เรา นั้น.
      โลม ลูบ (654:5.5)
               คือ ประโลม แล้ว เอา มือ ลูบ ไป นั้น.
ล่อม (654:6)
         กอง, คือ มั่ว สุม ของ ไว้, คน เก็บ ของ มาก เอา วาง เข้า มั่ว สุม ไว้ เปน กอง ใหญ่ นั้น, ว่า ล่อม ไว้.
      ล่อม กอง (654:6.1)
               กอง ล่อม, คือ เอา ของ เข้า มั่ว สุม มูล ไว้, คน เก็บ ของ ที่ มี มาก นับ ร้อย นับ พัน, เอา เข้า มั่ว สุม ไว้ นั้น.
      ล่อม เข้า (654:6.2)
               กอง เข้า, คือ สุม เข้า ฟ่อน ไว้, คน ขน ฟ่อน เข้า ที่ มัด ไว้ ใน นา ทำ ให้ มั่ว สุม เปน กอง นั้น
      ล่อม เข้า (654:6.3)
               รวบ รวม เข้า, คือ มุ่น เข้า ไว้, คน มี เข้า เปลือก มาก อยู่ ใน ลาน, แล เขา โกย เข้า เท กอง ไว้ เปน แห่ง ๆ นั้น.
      ล่อม ฟาง (654:6.4)
               กอง ฟาง, คือ หอบ ขน เอา ฟาง เข้า วาง สุม ไว้ มาก, คน มี ฟาง มาก เอา ไม้ ลำ ปัก เปน ชะโลง, แล้ว เอา ฟาง เข้า สุม ขึ้น ตาม ไม้ นั้น.
      ล่อม ไม้ (654:6.5)
               กอง ไม้, คือ เอา ไม้ เข้า กอง สุม ไว้ มาก นับ สิบ นับ ร้อย นั้น.

--- Page 655 ---
ล้อม (655:1)
         วง รอบ, คือ วง รอบ ด้วย ไม้ เปน ต้น, คน เอา ไม้ ปัก ลง เรียง กัน ให้ เปน รอบ เว้น กลาง ไว้ นั้น.
      ล้อม กั้น (655:1.1)
               คือ ล้อม บัง, คน จะ เลี้ยง สัตว มี แกะ เปน ต้น แล เอา ไม้ ปัก ลง วง กั้น บัง ไว้ นั้น.
      ล้อม ของ (655:1.2)
               คือ ป้อง กรร ของ ไว้, เช่น ทำ ไร่ มี ของ ปลูก ต้น ผลไม้ ไว้ แล ปัก ป้อง กรร ไว้ เปน วง นั้น.
      ล้อม คอก (655:1.3)
               คือ ตั้ง รั้ว ล้อม เหมือน คอก งัว เปน ต้น นั้น.
      ล้อม ค่าย (655:1.4)
               คือ ตั้ง ค่าย ล้อม เข้า, เช่น ไป ทัพ อยุด อยู่ ที่ ใด ตัด ไม้ มา ปลูก เปน ค่าย ที่ นั้น.
      ล้อม จับ (655:1.5)
               คือ วง เข้า รอบ แล้ว จับ ตัว* คน เปน ต้น, คน จับ ผู้ ร้าย เรี่ย ราย คน มาก วง รอบ นั้น.
      ล้อม บ้าน (655:1.6)
               วง รอบ บ้าน, คือ ทำ รั้ว วง รอบ บ้าน, คิด กลัว โจร ผู้ ร้าย ฤๅ สัตว ร้าย, แล ทำ รั้ว รอบ บ้าน นั้น.
      ล้อม เมือง (655:1.7)
               วง เมือง, คือ ก่อ กำแพง รอบ เมือง เขา จะ กรร ฆ่าศึก เปน ต้น ก่อ กำแพง รอบ เมือง นั้น.
      ล้อม เรือน (655:1.8)
               วง รอบ เรือน, คือ ทำ รั้ว ฤๅ กำแพง วง เรือน ไว้ นั้น.
      ล้อม รอบ (655:1.9)
               วง รอบ, คือ วง รอบ, เช่น คน จะ จับ ปลาทู ใน ทะเล, เขา เอา อวน กว้าง ยาว ยี่ สิบ สาม สิบ วา วง ปลา เข้า รอบ นั้น.
      ล้อม รั้ว (655:1.10)
               วง รั้ว, คือ ทำ รั้ว ล้อม, เขา ตั้ง บ้าน เรือน เปน ต้น เขา ทำ รั้ว วง รอบ ด้วย ไม้ ฤๅ เหล็ก นั้น.
      ล้อม หลัง (655:1.11)
               คือ วง อ้อม เบื้อง หลัง, เช่น เขา ทำ ศึก สงคราม ตั้ง ค่าย อยู่, แล ฝ่าย ข้าง หนึ่ง ทำ ค่าย วง อ้อม เข้า ข้าง หลัง นั้น.
      ล้อม ไว้ (655:1.12)
               คือ วง อ้อม เข้า ไว้.
      ล้อม วง (655:1.13)
               วง ล้อม, คือ ตั้ง เปน วง รอบ, เช่น ขุนหลวง เสด็จ จาก พระ ราช วัง ไป แห่ง ใด เขา ตั้ง แวด วง รอบ นั้น.
      ล้อม วัง (655:1.14)
               วัง ล้อม, คือ ตั้ง กำแพง ฤๅ ระเนียด วง รอบ วัง, เขา ทำ วัง เจ้า เปน ต้น เขา ก่อ กำแพง วง รอบ นั้น.
      ล้อม สวน (655:1.15)
               คือ ทำ รั้ว วง รอบ สวน, เขา กลัว ขะโมย จะ ลัก ผลไม้ เปน ต้น เขา ตั้ง รั้ว วง รอบ สวน นั้น.
      ล้อม ห้อม (655:1.16)
               คือ ล้อม หู้ม เข้า ไว้.
      ล้อม องค์ (655:1.17)
               แวด องค์, คือ แวด ล้อม ตัว เจ้า เปน ต้น, เรียก ว่า องค์ นั้น, เปน คำ สูง สำรับ เจ้า เปน ต้น นั้น.
หลอม (655:2)
         สุม, หล่อ, คือ เอา ของ มี ดีบุก เปน ต้น ใส่ ใน เบ้า แล้ว เอา เข้า วาง ใน เตา ก่อ ไฟ ให้ ลุก จน ดีบุก ละลาย นั้น.
      หลอม เงิน (655:2.1)
               สุม เงิน, คือ เอา เงิน ใส่ ลง ใน เบ้า แล้ว เอา เข้า กลาง เตา ทำ ไฟ ให้ ลุก จน เงิน ละลาย นั้น.
      หลอม ดีบุก (655:2.2)
               คือ เอา ดีบุก ใส่ ลง ใน เบ้า ฤๅ ใน กะทะ แล้ว ยก ตั้ง ขึ้น บน เตาไฟ จน ละลาย นั้น.
      หลอม ตะกั่ว (655:2.3)
               คือ หลอม ดีบุก, คน เอา ตะกั่ว ใส่ ลง ใน เบ้า ฤๅ ใน กะทะ ตั้ง ขึ้น บน เตาไฟ ให้ ละลาย นั้น.
      หลอม ทอง (655:2.4)
               สุม ทอง, คือ เอา ทอง ใส่ เบ้า แล้ว ตั้ง ใน เตา ไฟ, คน ช่าง ทำ รูปพรรณ เอา ทอง ใส่ เบ้า ทำ เช่น นั้น.
      หลอม เหล็ก (655:2.5)
               สุม เหล็ก, คือ ย่อย เหล็ก ใส่ ใน เบ้า, แล้ว เอา เข้า เตาไฟ สูบ ให้ ละลาย คว่าง, เช่น จีน หล่อ กะทะ
      หลอม หล่อ (655:2.6)
               หล่อ หลอม, คือ หลอม ขึ้น เช่น ว่า, ครั้น ทอง ละลาย แล้ว เขา ยก เบ้า เท ริน ใน รูป หุ่น นั้น.
      หลอม สังกะสี (655:2.7)
               คือ เอา สังกะสี ใส่ ใน กะทะ แล้ว เอา ตั้ง ขึ้น บน เตาไฟ, คน จะ หล่อ พิมพ์ ตัว อักษร ต้อง หลอม สังกะสี เข้า ด้วย.
ล่วม (655:3)
         คือ เครื่อง สำรับ ใส่ หมาก เปน ต้น, เขา เอา ผ้า อย่าง ดี มา เย็บ ข้าง บน สั้น ข้าง ล่าง ยาว, สำรับ จะ พัน ม้วน ห่อ นั้น.
      ล่วม หมาก (655:3.1)
               คือ ของ เขา ทำ เช่น ว่า นั้น. เช่น เขา มี ธุระ จะ ไป รับ ราชการ เปน ต้น เอา ล่วม ใส่ หมาก ไป กิน นั้น
      ล่วม ยา (655:3.2)
               คือ ของ เขา ทำ เช่น ว่า นั้น, เช่น คน พวก หมอ ทำ ล่วม เล็ก ๆ สำรับ ห่อ ยา นั้น.
      ล่วม อัตหลัด (655:3.3)
               คือ ล่วม เขา ทำ ด้วย อัตหลัด, เปน ผ้า ดอก ศรี เปน ทอง คำ พื้น แดง บ้าง เขียว บ้าง.
หลวม (655:4)
         ไม่ คับ, คือ ของ เล็ก ไม่ ภอ ดี ไม่ คับ, เช่น เสื้อ ฤๅ กังเกง เปน ต้น ที่ จีน ทำ มา ขาย นั้น.
      หลวม ตัว (655:4.1)
               ไม่ คับ ตัว, คือ ช่อง กว้าง, คน ลอด เข้า ไป ไม่ คับ ไม่ ครื นั้น.
      หลวม ไป (655:4.2)
               คือ รู ใหญ่ ไม้ เล็ก, ใส่ เข้า ไม่ เต็ม โคลกเคลก อยู่ นั้น.

--- Page 656 ---
      หลวม โพลก เพลก (656:4.3)
               คือ ของ หลวม โขลก เขลก, เช่น รู เสา กว้าง, ตัว รอด บาง ใส่ ใน รู เสา มัน หลวม พลิก แพลง นั้น.
      หลวม ม่อ (656:4.4)
               คือ เอา เข้า ใส่ ใน ม่อ น้อย ไม่ เต็ม ม่อ, คน หูง เข้า เอา เข้า ใส่ ไม่ เต็ม ม่อ นั้น.
      หลวม รู (656:4.5)
               ไม่ คับ รู, คือ ไม่ คับ เต็ม รู, เช่น รู เสา ที่ เขา เจาะ รู ไว้ ใส่ รอด ตะพาน กว้าง รอด เล็ก ไม่ คับ เต็ม รู นั้น.
      หลวม หลุม (656:4.6)
               ไม่ คับ กับ หลุม, คือ หลุม ใหญ่ กว้าง, เสา เล็ก ใส่ ลง ไม่ ภอ ดี ไม่ คับ ตั้ง ตรง อยู่ ได้ นั้น.
เลียม (656:1)
         และ, คือ อยาก ได้ ของ ไม่ ว่า ฃอ ตรง ๆ พูด จา เปน อุบาย ว่า ของ นี้ ถ้า เรา ได้ แล้ว ดี ที เดียว.
      เลียม และ (656:1.1)
               คือ อยาก ได้ ของ เขา, ครั้น จะ ฃอ ตรง ๆ ก็ อาย แก่ ใจ, ต้อง ว่า ซื้อ เทียม ฃอ เขา นั้น.
เลี่ยม (656:2)
         คือ เอา ของ อื่น ใส่ เข้า ริม รอบ ติด เข้า ไว้ นั้น.
      เลียม เงิน (656:2.1)
               คลีบ เงิน, คือ ของ มี ถ้วย สำรับ กิน น้ำชา เปน ต้น, คน เอา เงิน แผ่ ให้ บาง แล้ว ใส่ เข้า ที่ ปาก ถ้วย นั้น.
      เลี่ยม จอก (656:2.2)
               คลิบ จอก, คือ เอา เงิน ฤๅ ทอง แผ่ บาง ยาว ภอ รอบ ปาก จอก แก้ว เปน ต้น, แล้ว ใส่ รอบ กวด ไว้.
      เลี่ยม จาน (656:2.3)
               คลีบ จาน, คือ เอา เงิน แล ทอง แผ่ บาง ยาว ภอ รอบ ปาก จาน, แล้ว ใส่ เข้า รอบ ปาก กวด เข้า ไว้ นั้น.
      เลี่ยม ถ้วย (656:2.4)
               คลิบ ถ้วย, คือ เอา เงิน ฤๅ ทอง แผ่ ออก บาง ยาว เปน เส้น ภอ รอบ ปาก ถ้วย, แล้ว ใส่ กวด เข้า ไว้.
      เลี่ยม ทอง (656:2.5)
               คลิบ ทอง, คือ ทอง แผ่ ออก บาง ยาว เปน เส้น ภอ รอบ ภาชนะ ที่ จะ เลี่ยม นั้น, แล้ว ใส่ เข้า กวด ไว้.
      เลี่ยม ป้าน (656:2.6)
               คลิบ ป้าน, คือ เอา ทอง ตี ให้ ยาว แล้ว แผ่ บาง ภอ รอบ ปาก ป้าน, แล้ว ใส่ เข้า กวด ไว้ แน่น นั้น.
      เลี่ยม พาน (656:2.7)
               คลิบ พาน, คือ เอา ทอง แผ่ ให้ บาง ยาว ภอ วง รอบ ปาก พาน, แล้ว เอา ทาบ กวด เข้า ไว้ นั้น.
เหลี่ยม (656:3)
         มุม, คือ มุม, เช่น ของ มี โต๊ะ ไม้ เปน ต้น, เขา ทำ สี่ ด้าน สี่ มุม นั้น, ว่า เปน เหลี่ยม.
      เหลี่ยม หนึ่ง (656:3.1)
               มุม หนึ่ง, คือ ด้าน หนึ่ง, เช่น กำแพง เมือง ที่ เปน เหลี่ยม ๆ ต้น นั้น, นับ เปน หนึ่ง.
      เหลี่ยม สี่ (656:3.2)
               มุม ที่ สี่, คือ ด้าน ต่อ ด้าน ที่ สาม นั้น, เรียก เหลี่ยม สี่.
      เหลี่ยม สอง (656:3.3)
               มุม ที่ สอง, คือ ด้าน ที่ สอง, เช่น กำแพง เมือง เปน ต้น, ที่ เปน เหลี่ยม ๆ สอง นั้น, นับ ว่า เปน เหลี่ยม สอง.
      เหลี่ยม สาม (656:3.4)
               มุม ที่ สาม, คือ ด้าน ต่อ ไป จาก ด้าน สอง, เช่น กำแพง เมือง เปน ต้น, ด้าน ต่อ ที่ ด้าน สอง นั้น, เรียก เหลี่ยม สาม.
เลื่อม (656:4)
         เปน มัน, คือ ของ ที่ เปน มัน, เช่น โต๊ะ ฤๅ เก้าอี้ เปน ต้น, ที่ คน หมั่น เช็ด ถู ดู เปน มัน นั้น.
      เลื่อม พราย (656:4.1)
               เปน มัน พราย, คือ ของ ที่ เปน มัน แล พร้อย ยิบ ๆ นั้น, เช่น ถ้ำ ใส่ ใบ ชา เรียก สีลา ทอง นั้น, ว่า เลื่อม พราย.
      เลื่อม พร้อย (656:4.2)
               เปน เงา พร้อย, คือ ของ ที่ เปน มัน แล พราย ๆ ยิบ ๆ อยู่, เช่น ถ้ำ ชา สีลา ทอง เปน ของ จีน ทำ มา นั้น.
      เลื่อม ใส (656:4.3)
               คือ เลื่อม ผ่อง แจ่ม นั้น, ลาง ที พูด เปน คำ เปรียบ ด้วย ใจ ที่ ผ่อง ใส โสมะนัศ นั้น.
      เลื่อม แสง (656:4.4)
               คือ ของ เลื่อม แล เปน เงา ศรี แสง แดง ดี นั้น.
เหลื่อม (656:5)
         ถด ถอย, คือ ถด ถอย หา กัน, เช่น จะ ทำ ของ มี ผ้า เปน ต้น ให้ ค่า กัน, แล ขยด ถด ถอย ผ่อน หา กัน นั้น.
      เหลื่อม กัน (656:5.1)
               ไม่ เสมอ กัน, คือ ของ เกิน กัน ไม่ ค่า กัน นั้น, เช่น วัด ผ้า สอง ผืน ๆ หนึ่ง ยาว อยู่ ว่า ยัง เหลื่อม กัน อยู่.
      เหลื่อม เกิน (656:5.2)
               เลื่อน เกิน, คือ ขยับ เลื่อน เกิน ออก ไป, คน วัด ผ้า เปน ต้น, แล ชาย ผ้า ไม่ เสมอ เลื่อน เกิน ออก ไป นั้น.
      เหลื่อม การ (656:5.3)
               เลื่อน การ, คือ เลื่อน การ ที่ จะ ทำ, เช่น กำ หนฎ ไว้ ว่า จะ ทำ เดือน นี้ เปน ต้น, ไม่ ได้ ทำ ขยับ เลื่อน ออก ไป ทำ เดือน น่า นั้น.
      เหลื่อม เข้า (656:5.4)
               คือ ขยับ เลื่อน เข้า มา, คือ คน เลื่อน กำหนด การ เข้า มา เร็ว ใกล้ วัน ทำ เปน ต้น.
      เหลื่อม บัง (656:5.5)
               คือ เลื่อน ขยับ เข้า บัง ไว้ นั้น.
      เหลื่อม ปี (656:5.6)
               เลื่อน ขยับ ปี, คือ เลื่อน ขยับ ปี ออก เข้า, เขา กำหนด ว่า ปี นี้ จะ ทำ การ อัน ใด ๆ, แล ไม่ ได้ ทำ ใน ปี นั้น เลื่อน ไป ทำ ปี อื่น นั้น.
      เหลื่อม ไป (656:5.7)
               ถอย ขยับ ไป, คือ เลื่อน ขยับ ไป, คน กำหนด ไว้ ว่า จะ เอา เพียง นี้, แล้ว ไม่ เอา เลื่อน ต่อ ไป นั้น.

--- Page 657 ---
      เหลื่อม มา (657:5.8)
               เลื่อน มา, คือ ขยับ เลื่อน มา, เช่น คน จะ วัด ผ้า เปน ต้น แล เขา วัด เลื่อน มา นั้น.
      เหลื่อม เรือ (657:5.9)
               เลื่อน เรือ, คือ เลื่อน ขยับ เรือ ไป มา, คน จอด เรือ อยู่ ไกล กัน แล เขา เลื่อน ขยับ เรือ ให้ ใกล้ กัน เข้า นั้น
      เหลื่อม ออก (657:5.10)
               ขยับ ออก, คือ เลื่อน ขยับ ออก, เขา จะ ไป แล เลื่อน ขยับ เรือ ออก เปน ต้น, ว่า เหลื่อม ออก.
เลย (657:1)
         ล่วง, เกิน, คือ ล่วง พ้น ไป, เช่น คน ไป เรือ ว่า จะ ไป แต่ เพียง บ้าน นี้ เปน ต้น, แล ล่วง พ้น ไป นั้น.
      เลย เกิน (657:1.1)
               เกิน เลย, คือ ล่วง ต่อ พ้น ไป, เช่น เขา เดิน พ้น ไป, คน ว่า จะ ไป เพียง นั้น แล ล่วง พ้น ไป.
      เลย เข้า ไป (657:1.2)
               เกิน เข้า ไป, คือ ล่วง เกิน เข้า ไป, เช่น คน จะ ไป แต่ นอก เมือง เปน ต้น, แล ล่วง เข้า ไป ถึง ใน เมือง นั้น.
      เลย บ้าน (657:1.3)
               เกิน บ้าน, คือ เกิน บ้าน ไป, เช่น คน มี ธุระ ไป แล้ว กลับ มา เปน เพลา ค่ำ มืด ไป เกิน บ้าน ไป.
      เลย ไป (657:1.4)
               เกิน ไป, คือ เกิน ไป, คน จะ ไป มี กำหนด ว่า จะ ไป แต่ เพียง ที่ นั้น, แล ล่วง เกิน ที่ นั่น ไป.
      เลย พ้น (657:1.5)
               ล่วง พ้น, คือ ล่วง เกิน ไป, เช่น คน จะ ไป แต่ เพียง นี้ แล ไม่ อยุด ล่วง พ้น ไป นั้น.
      เลย มา (657:1.6)
               คือ เกิน มา พ้น มา, คน มี ธุระ จะ มา แต่ เพียง นั้น แล เขา ล่วง พ้น ที่ นั้น ต่อ มา นั้น.
      เลย อยู่ (657:1.7)
               เกิน อยู่, คือ อยู่ เกิน กำหนด ไว้ ว่า จะ อยู่ สัก วัน หนึ่ง เปน ต้น แล อยู่ เกิน ไป.
      เลย ละ (657:1.8)
               คือ เลย สละ ละ ทิ้ง เสีย, เช่น คน เล่า เรียน สิ่ง ใด แล้ว มิ ได้ ทำ ทิ้ง เลย เสีย นั้น.
      เลย ให้ (657:1.9)
               ให้ เกิน, คือ ยอม ให้, เช่น คน ยืม ของ อัน ใด ไป ครั้น แล้ว ผู้ เจ้า ของ ก็ ยอม ให้ เสีย ไม่ เอา คืน.
      เลย เอา (657:1.10)
               เอา เลย เสีย, คือ เอา ไว้ เสีย, เช่น คน ยืม ของ ไป ใช้ แล้ว, ครั้น นาน มา เหน เจ้า ของ ลืม ก็ เอา เสีย.
ลาย (657:2)
         ด่าง, พร้อย, คือ พร้อย ด่าง, เช่น ผ้า ที่ เปน ดอก ดวง เปน ตา เล็ก แล ใหญ่ พร้อย นั้น, เรียก ผ้า ลาย.
      ลาย กุดั่น (657:2.1)
               คือ ลาย คล้าย กับ ลาย ดุน, เขา เปน ช่าง ทอง ทำ รูปะพรรณ เปน เครื่อง ประดับ ดุน นั้น.
      ลาย กำมะลอ (657:2.2)
               คือ ลาย เขา เขียน ด้วย เครื่อง เขียน เจือ ด้วย น้ำ มัน, ถึง ถูก น้ำ ก็ ไม่ ลบ เลือน นั้น.
      ลาย ขวด (657:2.3)
               คือ ขวด มี ลาย, ขวด เขา ทำ เปน ลาย ต้นไม้ ดอก ฤๅ เครือ วัล เปน ต้น นั้น.
      ลาย เขียน (657:2.4)
               คือ ลาย ที่ คน เขียน, เช่น ของ มี ฉาก เปน ต้น เปน ลาย ต่าง ๆ นั้น.
      ลาย จาน (657:2.5)
               คือ จาน มี ลาย, เช่น จาน เขา ทำ มา แต่ เมือง จีน เปน ต้น, มี ลาย ต่าง ๆ นั้น.
      ลาย จีน (657:2.6)
               คือ เขา เขียน เปน อย่าง ของ จีน, มี มังกร แล สิง โต เปน ต้น.
      ลาย ชาม (657:2.7)
               คือ ชาม มี ลาย, ชาม เขา ทำ มา แต่ เมือง จีน เปน ต้น, มี ลาย ต่าง ๆ สิ้น ทั้งนั้น
      ลาย ดุน (657:2.8)
               คือ ลาย สลัก ดัน ขึ้น มา, คน เปน ช่าง ทอง ทำ รูปะพรรณ ต่าง ๆ มี ดาบ* เปน ต้น, เขา เอา ทอง มา ตี แผ่ ให้ บาง, แล้ว เอา ทาบ ลง กับ ขี้ ครั่ง ตอก สิ่ว ลง นั้น.
      ลาย ตีน (657:2.9)
               คือ ลาย ต่าง ๆ มี อยู่ ที่ ฝ่า ตีน นั้น.
      ลาย ถม (657:2.10)
               คือ ลาย ที่ เขา เอา น้ำ ยา เขียว แดง ถม ลง, เช่น ของ มี พาน เปน ต้น, ตัว พื้น เงิน เอา ทอง ถม ลง นั้น.
      ลาย ถ้วย (657:2.11)
               คือ ลาย มี อยู่ ที่ ถ้วย, คน ทำ ถ้วย เขา เขียน เปน รูป ต่าง ๆ นั้น.
      ลาย แทง (657:2.12)
               ไม่ เปน ลาย ดุน, คือ เขา เอา ลวด ทอง ถัก เปน ลูก ดุม ตาม อย่าง ไท, สำหรับ ติด เข้า กับ ตัว เสื้อ นั้น.
      ลาย ทอง (657:2.13)
               คือ ของ มี ถ้วย ชาม เปน ต้น, ที่ เขา เขียน ด้วย น้ำ ทอง นั้น.
      ลาย เทษ (657:2.14)
               คือ ลาย ใบ ไม้ เทษ เปน ต้น, ลาย นั้น เขา ทำ ตาม อย่าง ฝรั่ง มา แต่ ต่าง ประเทศ นั้น.
      ลาย น้ำ เงิน (657:2.15)
               คือ ลวด ลาย ระบาย เขียน ลง ที่ พื้น, มี ภาชะ นะ ถ้วย โถ โอ จาน เปน ต้น ด้วย เครื่อง เขียน ศรี เงิน.
      ลาย น้ำ จืด (657:2.16)
               คือ ผ้า ลาย เขา ทำ ที่ เมือง ไท นี้, ซัก น้ำ ลาย มัน หลุด ไป หมด นั้น.
      ลาย น้ำ ทอง (657:2.17)
               คือ ลวด ลาย ระบาย เขียน, แล้ว ด้วย เครื่อง เขียน เปน ศรี ทอง คำ นั้น.
      ลาย เบญ จะ รงศ์ (657:2.18)
               คือ ลาย เขียน ด้วย เครื่อง เขียน ห้า ศรี นั้น
      ลาย มือ (657:2.19)
               คือ รอย เส้น ที่ มี อยู่ ที่ ฝ่า มือ นั้น.

--- Page 658 ---
      ลาย ย่ำมะหวาด (658:2.20)
               คือ ผ้า ลาย ชะนิด หนึ่ง มี ดอก ด่าง ๆ เขา ทำ มา แต่ เมือง แขก มาก นั้น.
      ลาย อยวก (658:2.21)
               คือ เขา เอา กาบ อยวก มา แทง เปน ลาย เครือวัล ต่าง ๆ ประดับ ใน การ มงคล เปน ต้น.
      ลาย อย่าง (658:2.22)
               คือ ลาย ผ้า, พวก ไท ทำ อย่าง ให้ ตาม ชอบ ใจ, ฝ่าย คน เมือง นอก ทำ ให้ ตาม ใจ นั้น.
      ลาย แย่ง (658:2.23)
               คือ ลาย ก้าน แย่ง, เขา ทำ ที่ กะดาด เปน เครื่อง สพ เผา ผี เปน ต้น* นั้น.
      ลาย รด น้ำ (658:2.24)
               คือ ลาย ปิด ทอง มี ลาย ตู้ เปน ต้น*, เขา เขียน ที่ พื้น ตู้* แล้ว เอา ทอง คำ เปลว ปิด, แล้ว เอา น้ำ รด ล้าง ให้ ลาย ผุด.
      ลาย ลักษณ์ (658:2.25)
               คือ ลาย รอย มี อยู่ ที่ มือ แล เท้า, เรียก ว่า ลาย ลักษณ.
      ลาย สอ (658:2.26)
               เปน ชื่อ งู อย่าง หนึ่ง ตัว* เท่า คันร่ม ที่ ฅอ มัน แดง เหมือน ทา ชาด นั้น.
      ลาย เส้น เดียว (658:2.27)
               คือ ลาย เขียน ที่ ไม่ ได้ แต้ม* ศรี เขียว ศรี แดง เปน ต้น นั้น.
หลาย (658:1)
         มิ ใช่ สิ่ง เดียว, คือ มาก, เช่น ของ อัน ใด มี นับ สิบ นับ ร้อย ขึ้น ไป นั้น, เขา ว่า ของ หลาย.
      หลาย ก๊ก (658:1.1)
               หลาย เมือง, หลาย แซ่, คือ หลาย วงษ สกูล, แต่* คำ ว่า ก๊ก นี้ เปน ภาษา จีน, เช่น เรียก สาม ก๊ก นั้น.
      หลาย กั๊ก (658:1.2)
               คือ สี่ แพร่ง สี่ แจง, เช่น กั๊ก ที่ เขา ขีด ลง ที่ เสื่อ สำหรับ เล่น ถั่ว กัน นั้น.
      หลาย กล (658:1.3)
               คือ กะบวน, เช่น คน เล่น กล ทำ ให้ เหน ว่า เหาะ ขึ้น ไป บน อากาศ เปน ต้น* นั้น.
      หลาย คน (658:1.4)
               คือ คน มาก, เช่น คน ตั้ง* แต่* ห้า คน ขึ้น ไป จน ถึง อะสงไขย นั้น, ว่า คน หลาย.
      หลาย ครั้ง (658:1.5)
               คือ หลาย คราว หลาย หน นั้น.
      หลาย ใจ (658:1.6)
               คือ ใจ มาก, เช่น คน หนึ่ง มี ใจ อัน หนึ่ง, หลาย คน ก็ เปน หลาย ใจ.
      หลาย ตำบล* (658:1.7)
               คือ ที่ หลาย แห่ง, เช่น ที่ มี ชื่อ ต่าง* ๆ ที่ สิ้น ชื่อ ลง แห่ง หนึ่ง, เรียก ตำบล* หนึ่ง.
      หลาย พวก (658:1.8)
               คือ คน ฤๅ สัตว ประชุม กัน อยู่, ตั้งแต่ ห้า คน ฤๅ ห้า ตัว ขึ้น ไป นั้น มี หลาย กอง, ว่า หลาย พวก.
      หลาย พรรค์ (658:1.9)
               คือ หลาย วัค, เช่น ตัว อักษร ใน กะขะ มี ส่วน ภาคย์ ละห้า ๆ เปน ห้า วัค นั้น.
      หลาย อย่าง (658:1.10)
               คือ มาก อย่าง นั้น, เช่น นาย ห้าง ขาย ของ มี หลาย สิ่ง เปน ต้น.
      หลาย เล่ห์ (658:1.11)
               เช่น หลาย กล นั้น, เช่น แม่ ทัพ รู้ กระบวน ศึก หลาย อย่าง นั้น.
      หลาย ลิ้น (658:1.12)
               คือ ลิ้น มาก. อย่าง หนึ่ง คน พูด หลาย อย่าง ใน เรื่อง ความ อันเดียว.
      หลาย ส่วน (658:1.13)
               คือ ของ มี เปน แผนก ๆ เปน อัน ๆ เท่า กัน ๆ นั้น, ว่า เปน ส่วน ๆ มี หลาย ส่วน นั้น.
      หลาย แห่ง (658:1.14)
               คือ หลาย ที่, เช่น คน อยู่ ใน ที่ หนึ่ง ๆ, ว่า อยู่ แห่ง หนึ่ง ๆ นั้น.
      หลาย หน (658:1.15)
               คือ หลาย ที, เช่น คน นับ ของ แล้ว สงไสย นับ อีก ว่า หลาย หน.
      หลาย องค์ (658:1.16)
               คือ หลาย คน, เรียก ว่า องค์ เปน คำ เพราะ คำ สูง สำหรับ เรียก เจ้า เปน ต้น.
ลาว (658:2)
         ลาโว้, เปน ชื่อ คน ภาษา หนึ่ง, อยู่ ฝ่าย ข้าง เมือง เหนือ มี เมือง เชียง ใหม่ เปน ต้น นั้น.
      ลาว พุงดำ (658:2.1)
               ลาโว้ พุงดำ, คือ พวก ลาว ที่ สัก ตัว* ท้อง ดำ, ดู เช่น เอา กังเกง ดำ เข้า ใส่ ไว้ นั้น.
      ลาว พวน (658:2.2)
               ลาโว้ พวน, คือ พวก ลาว อยู่ เมือง พวน เหนือ เมือง เวียงจัน ขึ้น ไป พวก พุงดำ บ้าง ขาว บ้าง.
      ลาว เวียงจัน (658:2.3)
               ลาโว้ เวียงจัน, คือ พวก ลาว ชาว เมือง เวียง จัน, ที่ บูราณ เรียก เมือง ศรี สัตนา คะนะหุด นั้น.
หลาว (658:3)
         คาน ปลาย แหลม, คือ ไม้ แหลม, คน ทำ ไม้ หลาว เสี้ยม ปลาย แหลม สำหรับ แทง สัตว* นั้น.
      หลาว ชะโอน (658:3.1)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ต้น* เช่น ต้น หมาก มี เสี้ยน แก่ ดำ แขง กว่า ไม้ หมาก นั้น.
      หลาว หลก (658:3.2)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้* อย่าง หนึ่ง, ต้น* เช่น ต้น หมาก มี ผล เปน ทะลาย เหมือน ทะลาย หมาก รศ ฝาด.
      หลาว เหล็ก (658:3.3)
               คือ หลาว เขา ทำ ด้วย เหล็ก, แหลม เปน อาวุธ แทง คน ฤๅ สัดว ได้ นั้น.
      หลาว แหลน (658:3.4)
               คือ เครื่อง อาวุธ เขา ทำ ด้วย เหล็ก, มี ด้ำ ยาว คล้าย ทวน แต่* ปลาย เปน เหล็ก แหลม.

--- Page 659 ---
ลิ่ว (659:1)
         ขว้าง, คือ ทิ้ง ไป, เช่น คน เอา ก้อน อิฐ เปน ต้น, เควี่ยง คว่าง ทิ้ง ไป สูง นั้น, ว่า ลิ่ว ไป.
      ลิ่ว ไป (659:1.1)
               คือ ของ ไป สูง กว่า พื้น ขึ้น ไป เส้น หนึ่ง เปน ต้น, เช่น ยอด พระปรางค์ สูง นั้น.
      ลิ่ว ปลิว (659:1.2)
               คือ เลื่อน ลอย ลิบ ๆ ไป บน อากาศ นั้น.
      ลิ่ว ลอย (659:1.3)
               ลอย ลิ่ว, คือ ลอย ปลิว ไป ใน อากาศ สูง สุด สาย ตา, เช่น แร้ง มัน บิน ขึ้น ไป ร่อน อยู่ นั้น.
      ลิ่ว ลอย ไป ใน อากาศ (659:1.4)
               คือ ของ ไป สูง ใน อากาศ ลอย ไป, เช่น โคม เขา ทำ ให้ มัน ขึ้น ลอย ไป สูง ใน อากาศ นั้น.
หลิ่ว (659:2)
         เหล่, คือ หลับ ตา ลง ข้าง หนึ่ง ตา ข้าง หนึ่ง ดู เพื่อ จะ ให้ ของ ตรง, คน เปน ช่าง ไม้ จะ ทำ ไม้ ให้ ตรง มัก หลิ่ว ตา ดู เช่น นั้น.
      หลิ่ว แกม กุก (659:2.1)
               คือ นก เขา มัน ขัน เสียง ไม่ ลง กุก, ครั้น ขัน นาน ไป ก็ มี กุก บ้าง, ว่า แกม กุก นั้น.
      หลิ่ว ตา (659:2.2)
               เหล่ ตา, คือ ทำ หน่วย ตา ให้ หลับ ลง ข้าง หนึ่ง*, ข้าง หนึ่ง ลืม อยู่ เลง ดู เพื่อ จะ ให้ ของ ตรง นั้น.
ลุย (659:3)
         เดิน เอยียบ ไป, คือ ฝ่าฝืน, เช่น ที่ หน ทาง มี สิ่ง อัน ใด อยู่ เพียง น่อง เพียง เข่า, แล สู้ ฝ่า บุกบัน ไป นั้น.
      ลุย เข้า ไป (659:3.1)
               เดิน บุก ไป, คือ บุกบัน ฝ่าฝืน เข้า ไป, คน เดิน ทาง ที่ มี สิ่ง อัน ใด อยู่ ถ้วม น่อง ถ้วม ขา, เขา ฝ่า บุก เข้า ไป นั้น.
      ลุย โคลน (659:3.2)
               เดิน บุก โคลน, คือ ฝ่า บุก โคลน ไป, คน เดิน ทาง ที่ มี โคลน มาก, แล เขา สู้ บุกบัน ฝ่า โคลน ไป.
      ลุย ตม (659:3.3)
               บุก ตม, คือ บุก ฝ่า ตม ไป, ตม นั้น คือ โคลน ที่ เหลว คว้าง ไม่ แค่น, เช่น โคลน เขา บุก ไป.
      ลุย น้ำ (659:3.4)
               คือ บุก ฝ่า น้ำ ไป, เช่น ทาง มี น้ำ ถ้วม เพียง น่อง เพียง เข่า, เขา เดิน บุก ฝ่า ไป นั้น.
      ลุย ไฟ (659:3.5)
               คือ เดิน ฝ่า ฟูม ไป บน ถ่าน ไฟ แดง ๆ นั้น.
      ลุย ไล่ (659:3.6)
               บุก ไล่, คือ บุก ฝ่า ไล่ คน เปน ต้น ไป, เช่น คน หนี ไป ตาม ทาง ที่ มี สิ่ง อัน ใด มี น้ำ เปน ต้น, แล ผู้ ไล่ บุก ฝ่า ติด ตาม ไป นั้น.
ลุ่ย (659:4)
         หลุด ลง, คือ หลุด เลื่อน ลง, เช่น ของ มี เชือก เปน ต้น คน ผูก ไว้ ไม่ แน่น ไม่ มั่น แล มัน หลุด ลง นั้น.
      ลุ่ย ภก (659:4.1)
               หลุด ภก, คือ ลุด จาก ภก ตก ไป, คน ภก ของ สิ่ง อัน ใด ไว้, แล คน เหนบ ไม่ แน่น, แล มัน หลุด ลง จาก ภก นั้น.
      ลุ่ย หลุด (659:4.2)
               หลุด ลุ่ย, คือ หลุด ลุ่ย, เช่น ผ้า ที่ คน นุ่ง ไม่ แน่น ไม่ มั่น คง, แล มัน เคลื่อน เลื่อน หลุด ลง.
ลุ้ย (659:5)
         คือ ตะบัน ตะบึง ไป, เช่น คน พูดจา ร่ำ ไป, เช่น มี วาศนา มาก ไม่ คิด ละอาย ถึง ความ ผิด, ก็ พูดจา ว่า เอา ตาม ชอบ ใจ นั้น.
      ลุ้ย ไป (659:5.1)
               คือ ตะบัน ตะบึง ไป นั้น, ไม่ ใคร่ ละอาย เขา เลย.
เลว (659:6)
         ซาม, คือ ของ อย่าง พน อย่าง ต่ำ, เช่น สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ฤๅ คน แล สัตว ที่ อย่าง ต่ำ นั้น.
      เลว ทาษ (659:6.1)
               ทาษ ขี้ ริ้ว, คือ ของ ชั้น ต่ำ, เช่น คน เปน ทาษ เขา นั้น.
เหลว (659:7)
         ไม่ ค่น, คือ ของ ที่ เปน น้ำ, เช่น ของ มี แป้ง เปน ต้น ที่ เขา ระคน ด้วย น้ำ นั้น.
      เหลว คว้าง (659:7.1)
               ละลาย เหลว, คือ ของ ที่ ละลาย คว้าง, เช่น ของ มี ดีบุก เปน ต้น ที่ เขา หลอม ละลาย คว้าง นั้น.
      เหลว (659:7.2)
                เปน น้ำ, ละลาย เปน น้ำ, คือ ของ ที่ เขา ละลาย ออก คล้าย กับ น้ำ, บันดา ของ ที่ เขา ทำ ให้ ละลาย เช่น นั้น.
      เหลว ไหล (659:7.3)
               คือ ของ ที่ ละลาย ออก นัก จน ไหล ไป เช่น น้ำ, บันดา ของ ที่ ละลาย นัก เช่น ว่า นั้น.
      เหลว แหลก (659:7.4)
               คือ ของ ที่ เปน ผง เขา ละลาย น้ำ คว้าง ออก นั้น.
แล้ว (659:8)
         เสร็จ, คือ สำเร็ทธิ์, เช่น การ อัน ใด ทุก อย่าง คน ทำ มา จน เปน ที่ สุด สำเร็ทธิ์ นั้น.
      แล้ว กิจ (659:8.1)
               คือ สิ่ง ที่ ควร จะ กะ ทำ นั้น เสร็จ แล้ว นั้น.
      แล้ว กัน (659:8.2)
               เสร็จ กัน, คือ คน เขา พูด ปฤกษา หา ฤๅ กัน สอง คน เปน ต้น, ตก ลง เหน พร้อม ใจ ด้วย กัน นั้น.
      แล้ว การ (659:8.3)
               คือ การ สำเร็ทธิ์, บันดา การ สารพัด ที่ เขา ทำ มา นาน แล การ ที่ ทำ นั้น สำเร็ทธิ์ ลง.
      แล้ว ก็ (659:8.4)
               สำเร็ทธิ์ บ้าง, คือ พูด ว่า แล้ว ก็ จะ ไป เปน ต้น, คน ทำ การ อัน ใด อยู่ บอก เขา ว่า แล้ว ก็ จะ ไป นั้น.

--- Page 660 ---
      แล้ว ความ (660:8.5)
               สำเร็ทธิ์ ความ, คือ ความ สำเร็ทธิ์, คน สอง ฝ่าย เปน ความ ฟ้อง หา กล่าว โทษ กัน, ว่า กล่าว สำเร็ทธิ์ ลง นั้น.
      แล้ว งาน (660:8.6)
               เสร็จ งาน, คือ งาน สำเร็ทธิ์, คน เล่น งาน มี โขน แล ละคอน เปน ต้น, เล่น สำเร็ทธิ์ ลง นั้น
      แล้ว ด้วย เงิน (660:8.7)
               คือ ของ กะทำ ด้วย* เงิน ทั้ง นั้น.
      แล้ว ด้วย ทอง (660:8.8)
               คือ ของ ที่ กะทำ ด้วย ทอง ทั้ง นั้น.
      แล้ว ไป (660:8.9)
               คือ การ สำเร็ทธิ์ ไป, คน ทำ การ อัน ใด, แล เขา ทำ จน การ นั้น เสร็จ สำเร็ทธิ์ แล้ว ไป นั้น.
      แล้ว พลัน (660:8.10)
               คือ แล้ว เร็ว, คน ทำ การ อัน ใด, แล เขา ทำ ไม่ ข้า เร่ง รีบ ทำ ให้ แล้ว เร็ว นั้น.
      แล้ว ละ (660:8.11)
               เสร็จ ละ, คือ แล้ว และ, มี ผู้ ถาม ว่า การ ที่ ทำ นั้น แล้ว ฤๅ, เขา บอก ว่า แล้ว และ.
      แล้ว สำเร็ทธิ์ (660:8.12)
               สำเร็ทธิ์ เสร็จ, คือ แล้ว เสร็จ, คน ทำ การ เสร็จสัพ ไม่ มี ค้าง เกิน อยู่ เลย, ว่า แล้ว สำเร็ทธิ์.
ลอย (660:1)
         ไม่ จม, คือ ของ อยู่ บน หลัง น้ำ, บันดา ของ มี เรือ แล แพ เปน ต้น, อยู่ บน หลัง น้ำ ไม่ จม ลง อยู่ ใต้ น้ำ นั้น.
      ลอย กะทง (660:1.1)
               คือ เอา กะทง จุด ไฟ แล้ว ลอย ไป, คน ถึง เดือน สิบเอ็ต กลาง เดือน, แล เดือน สิบสอง กลาง เดือน, เขา เอา ใบ ตอง ทำ กะทง เอา เทียน ใส่ จุด ไฟ ลอย ไป, ว่า บูชา พระบาท เมือง นาค นั้น.
      ลอย ขึ้น (660:1.2)
               ปลิว ขึ้น คือ เลื่อน ขึ้น บน อากาศ, เช่น โคม่ ลอย เปน ต้น, เขา จุด ไฟ ให้ มัน ขึ้น ไป บน อากาศ นั้น.
      ลอย คว้าง (660:1.3)
               คือ ลอย รี่ ลง มา บน หลัง น้ำ, เช่น มี แพ ไม้ ซุง เปน ต้น, เขา ปล่อย รี่ เร็ว มา นั้น.
      ลอย ชาย (660:1.4)
               คือ นุ่ง ผ้า แล้ว ไม่ เหนบ ชาย ไม่ โจง กระเบน ทิ้ง ชาย ผ้า ที่ นุ่ง นั้น, ไว้ ให้ มัน ห้อย อยู่ นั้น.
      ลอย ช้อน (660:1.5)
               คือ เขา เอา ช้อน เปน เครื่อง จับ ปลา ที่ เขา ถัก เปน ตา ข่าย เช่น ตา แห, เอา ไม้ ทำ เปน คัน ลง ลอย คอย จับ ปลา นั้น.
      ลอย เท้งเต้ง (660:1.6)
               คือ ลอย โคลงเคลง ไม่ ใคร่ ไป ไหน, เช่น เรือ กำปั่น ฤๅ สำเภา ที่ ไม่ มี ลม นั้น.
      ลอย หน้า (660:1.7)
               คือ คน ทำ หน้า ตา ยัก เยื้อง กลอก ไป กลอก มา นั้น.
      ลอย น้ำ (660:1.8)
               คือ ลอย ไป ตาม สาย น้ำ, เช่น ของ ตก ลง บน หลัง น้ำ, แล ลอย ไป ตาม สาย น้ำ.
      ลอย บาป (660:1.9)
               คือ ถือ ว่า ที่ ท่า น้ำ เปน ที่ ล้าง ลอย บาป ให้ พ้น ไป จาก ตัว ได้, ว่า มี อยู่ ใน แม่ น้ำ คงคา เปน ต้น นั้น.
      ลอย ไป (660:1.10)
               คือ ลอย พ้น ไป, เช่น ของ ลอย ลง มา แล้ว ลอย เกิน พ้น ต่อ ไป จาก ที่ เรา อยู่ นั้น.
      ลอย แพ (660:1.11)
               คือ ใส่ คน ลง ใน แพ แล้ว ให้ ลอย น้ำ ไป, ว่า เสีย เคราะห์ เมือง ทำ แต่ ก่อน บ้าง.
      ลอย ฟ้า (660:1.12)
               คือ เลื่อน ล่อง อยู่ บน ฟ้า, เหมือน อาทิตย์ เปน ต้น นั้น.
      ลอย ฟู (660:1.13)
               คือ ลอย ฟ่อง อยู่, เหมือน นก กะทุง ที่ มัน ลอย อยู่ บน น้ำ นั้น.
      ลอย ฟ่อง (660:1.14)
               คือ ลอย ฟู อยู่ เหมือน เรือ ยก ลง น้ำ ใหม่.
      ลอย เรือ (660:1.15)
               คือ เอา เรือ ลง ไว้ บน หลัง น้ำ, คน อยู่ ใน เรือ ใน น้ำ, ว่า คน นั้น ลอย เรือ อยู่ นั้น.
      ลอย ลง (660:1.16)
               คือ เลื่อน ลง, เช่น ของ อยู่ ข้าง บน แล้ว เลื่อน ลง ไป ตาม น้ำ นั้น.
      ลอย ล่อง (660:1.17)
               คือ เลื่อน ล่อง, เช่น ของ อยู่ เหนือ น้ำ, แล มัน เลื่อน ลง ไป ตาม น้ำ นั้น.
      ลอย ลม (660:1.18)
               คือ เลื่อน ไป ตาม ลม, เช่น ปุย นุ่น ฤๅ สำลี ครั้น ถูก ลม แล้ว ก็ ลอย ไป.
      ลอย หาย (660:1.19)
               คือ ลอย ลับ ไป ไม่ เหน, เช่น ของ อัน ใด ที่ ลง ลอย ไป ตาม น้ำ แล ลับ ไป นั้น.
      ลอย อากาศ (660:1.20)
               คือ เลื่อน อยู่ ใน อากาศ.
เลี้ยว (660:2)
         ล่อย ๆ, คือ ที่ คด ไม่ ตรง นั้น, บันดา ทาง น้ำ แล ทาง บก ที่ คด อ้อม ไป นั้น, ว่า ทาง เลี้ยว.
      เลี้ยว ฅอ (660:2.1)
               เหลียว ฅอ, คือ ทำ ฅอ ให้ กลับ เบือน เอี้ยว มา ข้าง หลัง, เช่น งู มัน ทำ ฅอ เอี้ยว มา ข้าง หลัง นั้น.
      เลี้ยว หน้า (660:2.2)
               เบือน หน้า, คือ ทาง น้ำ ที่ คด มี อยู่ ที่ ต่อ ไป ข้าง หน้า, คน ไป ใน เรือ ที่ แม่ น้ำ คด อยู่ หน้า นั้น.
      เลี้ยว นี้ (660:2.3)
               แวะ นี้, คือ ที่ คด นี้, เช่น คน ไป ทาง แม่ น้ำ ถึง ที่ คด, เขา ว่า เลี้ยว นี้ นั้น.
      เลี้ยว โน้น (660:2.4)
               คด โน้น, เปน คำ เขา พูต บอก กัน ว่า เลี้ยว โน้น คือ ไป ยัง ไม่ ถึง ยัง อีก สัก สอง สาม เลี้ยว นั้น.

--- Page 661 ---
      เลี้ยว ไป (661:2.5)
               คด ไป, คือ ไป ที่ ทาง คด, เมื่อ ถึง ที่ คด แล้ว เขา ก็ ต้อง ไป ตาม ทาง คด นั้น.
      เลี้ยว มา (661:2.6)
               คด มา, คือ มา ตาม ทาง คด, เมื่อ มา ถึง ที่ คด แล้ว, เขา ก็ ต้อง มา ตาม ทาง คด นั้น.
      เลี้ยว ลด (661:2.7)
               คือ เดิน ตาม เนิล ใน ป่า มี เนิล เขา เปน ต้น, เขา เดิน ที่ คด เลี้ยว ลง ต่ำ นั้น, ว่า เลี้ยว ลด.
      เลี้ยว ลัด (661:2.8)
               คือ เดิน เลี้ยว ตัด หน ทาง ไป นั้น.
เหลียว (661:1)
         (dummy head added to facilitate searching).
      เหลียว กลับ (661:1.1)
               คือ เอี้ยว ฅอ กลับ, คน จะ แล ดู ของ ที่ อยู่ เบื้อง หลัง, แล เขา เบือน หน้า เอี้ยว ฅอ ไป ข้าง หลัง นั้น.
      เหลียว ซ้าย แล ขวา (661:1.2)
               คือ ทำ หน้า ที่ อยู่ เบื้อง ขวา ให้ กลับ มา อยู่ ข้าง ทร้าย นั้น.
      เหลียว ดู (661:1.3)
               กลับ ดู, คือ เบือน หน้า เอี้ยว ฅอ กลับ ดู, คน จะ ดู ของ อยู่ เบื้อง หลัง, แล เบือน หน้า ไป ข้าง หลัง นั้น.
      เหลียว หน้า (661:1.4)
               กลับ หน้า, คือ เอี้ยว ฅอ เบือน หน้า ไป ข้าง หลัง, คือ คน มี ผู้ อยู่ เบื้อง หลัง ร้อง เรียก เขา เบือน หน้า หา นั้น
      เหลียว ไป (661:1.5)
               เบือน ไป, คือ เบือน หน้า ไป เบื้อง หลัง, คือ คน จะ ดู ของ อยู่ เบื้อง หลัง แล เอี้ยว ฅอ เบื้อน หน้า ไป.
      เหลียว มา (661:1.6)
               กลับ หน้า มา, คือ เบือน หน้า มา, เช่น คน ยืน อยู่ หัน หน้า ไป ข้าง หนึ่ง, เขา เรียก ข้าง เบื้อง หลัง เอี้ยว ฅอ เบือน มา.
      เหลียว แล (661:1.7)
               กลับ หน้า ดู, คือ เอี้ยว ฅอ เบือน ไป เบื้อง หลัง แล ดู อัน ใด นั้น.
      เหลียว หา (661:1.8)
               เบือน หา, คือ เหลียว แล หา จะ ต้อง การ ของ เช่น ไป ด้วย กัน, คน หนึ่ง หาย ไป ผู้ ไป น่า เอี้ยว ฅอ เบือน มา แสวง ดู นั้น.
      เหลียว หลัง (661:1.9)
               กลับ หน้า ดู ข้าง หลัง, คือ เอี้ยว ฅอ เบือน หน้า ไป ข้าง หลัง, คน จะ ต้อง การ อัน ใด อยู่ เบื้อง หลัง เปน ต้น, แล เขา ทำ เช่น ว่า นั้น.
      เหลียว เหน (661:1.10)
               แล เหน, คือ เอี้ยว ฅอ เบือน หน้า ไป เบื้อง หลัง ดู เหน นั้น.
      เหลียว หาย (661:1.11)
               แล หาย, คือ เหลียว ดู หาย ไป, คน ตาม กัน คน หนึ่ง ไป เสีย ที่ อื่น คน หนึ่ง เหลียว ดู ไม่ เหน นั้น.
เลื่อย (661:2)
         คือ เสือก ไป ไส มา, เช่น คน เลื่อย ไม้ ซุง เปน ต้น นั้น. อนึ่ง เปน ของ เขา เอา เหล็ก ตี ให้ แบน บาง, กว้าง สัก สอง นิ้ว บ้าง สาม นิ้ว บ้าง, ยาว สัก สอง ศอก บ้าง สาม ศอก บ้าง แล้ว จัก เปน ฟัน แหลม ๆ เอา ไม้ ทำ โครง อก สำหรับ เลื่อย ไม้.
      เลื่อย กะดาน (661:2.1)
               คือ เอา กะดาน เลื่อย ออก ทำ การ ต่าง ๆ อย่าง หนึ่ง เลื่อย ไม้ ซุง ออก เปน แผ่น กะดาน.
      เลื่อย ใหญ่ (661:2.2)
               คือ เลื่อย ปื้น ใหญ่ ที่ สำหรับ เลื่อย ไม้ ซุง นั้น.
      เลื่อย ไม้ (661:2.3)
               ชัก ไม้, คือ เอา เลื่อย ๆ ไม้ เสือก ไป ชัก มา นั้น.
      เลื่อย มือ (661:2.4)
               คือ เลื่อย มี แต่ ปื้น กับ ที่ มือ ถือ, เช่น เลื่อย วิ ลันดา นั้น.
      เลื่อย ล้า (661:2.5)
               คือ อาการ ที่ เมื่อย ล้า, เหมือน คน เดิน ไป ไกล นาน เจ็บ ระบม ที่ ขา นั้น.
เลื้อย (661:3)
         คลาน, คือ ไป ด้วย อก เหมือน งู. อย่าง หนึ่ง ต้น เถา วัล มี ต้น เสาวะรศ เปน ต้น มัน ไป นั้น.
      เลื้อย เจื้อย (661:3.1)
               คลาน ยาว ไป, คือ เลื้อย ยาว, เช่น ผม เจ็ก ที่ มัน ถัก เปน หาง ยาว เลื้อย นั้น, ว่า เลื้อย เจื้อย.
      เลื้อย ไป (661:3.2)
               คลาน เสือก ไป, คือ เลื้อย ออก แล้ว ก็ เลื้อย ต่อ ไป, เช่น อะสระ พิศม์ มัน ออก แล้ว เลื้อย ไป.
      เลื้อย พ่าน (661:3.3)
               เลื้อย เพ่น ไป, คือ เลื้อย หลาย ยอด, เช่น ต้น เถาวัล มี หลาย ยอด หลาย เถา มัน เลื้อย ออก เต็ม ไป นั้น.
      เลื้อย มา (661:3.4)
               คลาน มา, คือ เลื้อย ไม่ ไป อื่น เลื้อย ใกล้ เข้า กับ ที่ เรา อยู่ นั้น.
      เลื้อย เร็ว (661:3.5)
               เลื้อย ไม่ ช้า, คือ เลื้อย ฉูด ๆ ไป พลัน ๆ ไม่ ช้า เช่น งู มัน กลัว คน แล มัน เลื้อย หนี ไป พลัน ๆ.
      เลื้อย ล้า (661:3.6)
               เดิน ล้า, คือ เมื่อย ล้า, เช่น คน เดิน ทาง ไกล ไป จน ขา แค่ง เมื่อย ระบม ก้าว ไม่ ใคร่ ออก นั้น.
      เลื้อย ออก (661:3.7)
               เดิน ออก, คือ เลื้อย ออก จาก ที่, เช่น งู มัน อยู่ ใน รู แล มัน จะ ไป มัน ก็ เลื้อย ออก จาก ที่ ไป.
เลีย (661:4)
         ลิ้ม กิน, คือ แลบ ลิ้น ออก จาก ปาก แล้ว กวาด เอา สิ่ง ของ มี น้ำ เปน ต้น*, เช่น สัตว มี สุนักข์ มัน แลบ ลิ้น กิน น้ำ นั้น.
      เลีย กิน (661:4.1)
               กิน ด้วย ลิ้น, คือ เลีย แล้ว กลืน เข้า ไป, คน อยาก กิน ของ อัน ใด ที่ เปน น้ำ ค่น อยู่ เลีย แล้ว กลืน นั้น.

--- Page 662 ---
      เลีย ตีน (662:4.2)
               คือ แลบ ลิ้น ออก เลีย ตีน, เช่น สัตว มี แมว แล สุนักข์ เปน ต้น มัน เลีย ตีน มัน.
      เลีย ปาก (662:4.3)
               เช่น สัตว มี แมว แล สุนักข์ เปน ต้น, มัน แลบ ลิ้น ออก เลีย ปาก มัน นั้น.
      เลีย แผล (662:4.4)
               สัตว มัน แลบ ลิ้น ออก เลีย ที่ แผล เจ็บ มัน นั้น.
      เลีย มือ (662:4.5)
               คือ แลบ ลิ้น ออก เลีย มือ, เช่น คน กิน ของ อัน ใด ติด มือ อยู่ แล เลีย มือ นั้น.
      เลีย ลิ้ม (662:4.6)
               คือ แลบ ลิ้น ออก เลีย ชิม ของ นั้น, เช่น คน ลอง สาน ส้ม ว่า จะ แท้ ฤๅ ไม่ แท้.
      เลีย หู (662:4.7)
               คือ แลบ ลิ้น เลีย ที่ หู, เช่น สัตว มัน เลีย หู ให้ ตัว อื่น ที่ มัน เปน เพื่อน กัน.
      เลีย หัว (662:4.8)
               คือ แลบ ลิ้น เลีย ที่ หัว, เช่น สัตว มัน เลีย หัว ให้ ตัว อื่น ที่ มัน เปน พวก กัน.
เหลือ (662:1)
         เกิน, คือ ของ มาก ภอ การ แล้ว ของ ยัง ไม่ หมด, เช่น เมื่อ ครั้ง พระ เยซู ให้ เลี้ยง คน ด้วย ขนม นั้น.
      เหลือ กิน (662:1.1)
               เกิน กิน, คือ ของ กิน มี มาก คน กิน อิ่ม แล้ว, ของ ยัง ไม่ หมด, เช่น เมื่อ ครั้ง พวก อิศราเอล กิน มานา ฤๅ นก กะทา นั้น.
      เหลือ เกิน (662:1.2)
               เกิน เหลือ, คือ ของ มี มาก, คน ใช้ สอย แล้ว ของ ยัง ไม่ หมด. อย่าง หนึ่ง คน ว่า กล่าว คำ อยาบ นั้น, ว่า เหลือ เกิน นั้น.
      เหลือ การ (662:1.3)
               เกิน การ, คือ ของ มาก ภอ การ แล้ว, ของ ยัง ไม่ หมด สิ้น นั้น.
      เหลือ คน (662:1.4)
               เกิน คน, คือ ของ มาก แจก ปัน ให้ คน ทั่ว แล้ว ของ ยัง เหลือ อยู่. อย่าง หนึ่ง คน ทำ การ ดี ฤๅ ชั่ว นัก นั้น, ว่า ทำ เหลือ คน ไป นั้น.
      เหลือ โง่ (662:1.5)
               เกิน โง่, คือ คน ปัญญา น้อย โฉด เขลา กว่า คน อื่น, เขา ว่า คน นั้น โง่ เหลือ โง่ ไป นั้น.
      เหลือ ใจ (662:1.6)
               คือ เกิน เลย ใจ ไป.
      เหลือ ดี (662:1.7)
               คือ เกิน ดี, เช่น คน ทำ การ อัน ใด ไม่ ทำ แต่ ภอดี, ทำ จน การ เหลือ ไป นั้น.
      เหลือ ตา (662:1.8)
               คือ ของ หลง หลอ อยู่, คน ดู ของ อัน ใด ๆ ดู ไม่ ทั่ว ตลอด ไป ของ มี นอก ออก ไป นั้น.
      เหลือ ตรา (662:1.9)
               คือ เหลือ เกิน จะ จดหมาย นั้น.
      เหลือ บ่า กว่า แรง (662:1.10)
               เกิน บ่า กว่า แรง, คือ ของ หนัก เกิน กำ ลัง ที่ จะ แบก จะ หาม ไป, เพราะ ของ นั้น ใหญ่ ฤๅ มาก.
      เหลือ ปัญญา (662:1.11)
               คือ เกิน จะ คิด ให้ เหน ได้, เช่น ข้อ ความ ที่ ฦก ลับ เกิน กำลัง ปัญญา จะ รู้ นั้น.
      เหลือ เฟือ (662:1.12)
               คือ เหลือ อยู่ มาก.
      เหลือ มือ (662:1.13)
               เกิน มือ, คือ ของ มาก เกิน ที่ จะ ถือ เอา ไป ได้, เช่น ของ มาก จะ ถือ ไป ไม่ หมด นั้น.
      เหลือ ล้น (662:1.14)
               คือ ของ เขา ใส่ ใน ภาชนะ อัน ใด อัน หนึ่ง, มี เท น้ำ ลง ใน ตุ่ม เปน ต้น, น้ำ ล้น ลง นั้น.
      เหลือ หลอ (662:1.15)
               คือ เหลือ เว้น หลง อยู่ นั้น.
      เหลือ เสศ (662:1.16)
               คือ ของ ภอ แล้ว ยัง มี เสศ หนิด น่อย, เช่น หล่อ อักษร พิมพ์ เท ดี บุก ลง เกิน นั้น.
      เหลือ หลาย (662:1.17)
               คือ ของ มี มาก นับ สิบ นับ ร้อย, คน จะ ต้อง การ แต่ เก้า อัน สิบ อัน ยัง อยู่ นอก นั้น มาก.
หลัว (662:2)
         คือ ศรี ที่ ไม่ สู้ แดง นัก เปน ต้น, ว่า ศรี หลัว ๆ.
เล่อ (662:3)
         (dummy head added to facilitate searching).
      เล่อ เซ่อ (662:3.1)
               คือ เซ่อ, คน ไป ใน ที่ ตัว ไม่ เคย ไป, เช่น ที่ พระ ราช วัง เปน ต้น แล พิศวง งง ไป นั้น.
      เล่อ ล่า (662:3.2)
               คือ เซ่อซ่า, คน ไป ใน ที่ ตัว ไม่ เคย ไป, เช่น ที่ พระ ราช วัง แล พิศวง งง ไป นั้น.
      เล่อ ไหล (662:3.3)
               คือ อาการ ที่ ละเมอ เลอไหล ไป นั้น.
เหลอ (662:4)
         คือ เผลอ, คน สติ มี น้อย ให้ ไหล เล่อ เคลิ้ม หลง ไป มัก ลืม ของ เปน ต้น นั้น.
      เหลอ เต๋อ (662:4.1)
               คือ เล่อ เผลอ, คน ใจ เบา ใจ เผลอ ไม่ สู้ มี ปัญญา ตรึก ตรอง การงาน ทั้ง ปวง นั้น.
      เหลอ เป๋อ (662:4.2)
               คือ เผอเรอ, เหมือน หน้า คน ที่ ไม่ ฉลาด โง่ แล ไม่ งาม เปน หน้า เลว นั้น.
เลอะ (662:5)
         คือ เปื้อน เขลอะ, เช่น ของ เหลว มี โคลน เปน ต้น, คน เอา ขึ้น ทา ฝา ยุ้ง เข้า นั้น.
      เลอะ เทอะ (662:5.1)
               คือ เปื้อน เขลอะขละ, คน เอา ของ เหลว มี ขี้ วัว เปน ต้น ทำ ให้ เหลว ทา ลาน เข้า นั้น.
      เลอะ เปื้อน (662:5.2)
               คือ เลอะ เปรอะ นั้น.
      เลอะ เพอะ (662:5.3)
               ความ เหมือน กับ เลอะเทอะ.
      เลอะ เปรอะ (662:5.4)
               คือ เปื้อน เปรอะ, คน เอา ของ มี น้ำ ไม่ สอาจ เปน ต้น เท ราด ไว้ ที่ พื้น เปื้อน เปรอะ นั้น.

--- Page 663 ---
      เลอะ ละ (663:5.5)
               คือ ของ เปื้อน เปรอะ นั้น.
และ (663:1)
         คือ แกะ แทะ เอา, เช่น คน จะ ต้อง การ แก่น ไม้ จะ ทำ ยา แก่น มัน แขง แกะและ เอา ด้วย มีด พร้า นั้น.
      และ ตีน เสา (663:1.1)
               คือ ไม้ กะดาน กลม, เขา ใส่ ก้น หลุม รอง ตีน เสา มิ ให้ มัน ซุด ลง นั้น.
      และ เนื้อ หนัง (663:1.2)
               คือ แกะ เถือ เอา นั้น
เลาะ (663:2)
         คือ เดิน ลีก* ลัด ไป, คน เดิน ใน ป่า ไม่ ไป ตาม ทาง หลีก ลัด ตัด ต้น* ไป เร็ว นั้น.
      เลาะ เดิน (663:2.1)
               เลียบ เดิน, คือ ลัด เดิน, คน ไป ใน ป่า ดง แล ลัด เดิน ไม่ อ้อม ไป ตาม ทาง เพื่อ เร็ว นั้น.
      เลาะ ไป (663:2.2)
               เลียบ ไป, คือ ลัด ไป, คน เดิน ใน ทาง ป่า เปน ต้น, จะ ไป เร็ว รีบ ลัด ตัด ตรง ไป นั้น.
      เลาะ ผ้า (663:2.3)
               คือ ทำ ผ้า ที่ มี ตะเข็บ เย็บ ไว้ แล้ว ทำ ให้ มัน หลุด ออก จาก กัน คือ เอา เข็ม สอย ออก นั้น.
      เลาะ มา (663:2.4)
               คือ ลัด มา, คน เดิน มา ใน ป่า รก เปน แห่ง ๆ แล เขา หลีก ลัด รีบ เร็ว มา นั้น.
      เลาะ ลัด (663:2.5)
               เดิน ลัด, คือ เดิน เลี่ยง ลัด ไป, คน เดิน ใน ป่า ละเมาะ เกริ่น เดิน เลี่ยง ลัต ตัด ด้น ไป เร็ว นั้น.
      เลาะ และ (663:2.6)
               คือ พูด ไม่ เที่ยง ธรรม ไม่ ยั่งยืน, พูด มัก กลับ กลอก.
เหลาะแหละ (663:3)
         ความ เหมือน กับ เลาะและ นั้น.
ล่อ (663:4)
         คือ เอา ของ ออก ให้ เหน, แต่ ไม่ ให้ ทำ เหมือน จะ ให้, เหมือน คน จะ จับ สุนักข์, แล ถือ ก้อน เข้า ทำ เหมือน จะ ให้ มัน, ให้ มัน มา นั้น.
      ล่อ ปลา (663:4.1)
               คือ เอา เหยื่อ ใส่ เข้า ที่ เบ็ด ทิ้ง ลง ใน น้ำ เพื่อ จะ ให้ ปลา มัน กิน ติด เบ็ด นั้น.
      ล่อ แล่ (663:4.2)
               คือ คำ คน พูจ ไม่ ชัด, เช่น คน ลิ้น ใหญ่ คับ ปาก. อย่าง หนึ่ง เช่น คน จะ ใกล้ ตาย นั้น
      ล่อ หลอก (663:4.3)
               คือ ความ ยั่ว, แล ลวง เล่น ว่า จะ ให้ ของ แล้ว นิ่ง เสีย
      ล่อ ลวง (663:4.4)
               คือ เอา ของ ออก ให้ เหน ทำ เหมือน จะ ให้ แล้ว ไม่ ให้. อย่าง หนึ่ง พูจ ว่า จะ ให้ ของ แล้ว ไม่ ให้ นั้น.
      ล่อ เล่น (663:4.5)
               คือ พูจ ว่า กล่าว ยั่ว เล่น นั้น.
หลอ หลง (663:5)
         คือ ความ เหลือ หลอ อยู่, เช่น ของ สำคัญ ว่า หมด แล้ว แต่ ยัง เหลือ อยู่.
      หลอ เหลือ (663:5.1)
               คือ เหลือ หลง อยู่.
ล้อ (663:6)
         คือ ลูก ล้อ, คน ทำ ไม้ เปน แผ่น กะดาน ให้ กลม, เช่น ขา เกวียน ใส่ เข้า ที่ เรือน ล้อ สำหรับ ใส่ ของ ลาก ไป นั้น.
      ล้อ เกวียน (663:6.1)
               คือ ล้อ เช่น ว่า, แล เกวียน คน มัก พูจ ติด กัน ว่า ล้อ เกวียน เปน คำ สร้อย นั้น.
      ล้อ ไป (663:6.2)
               คือ กลิ้ง ลูก ล้อ ไป นั้น.
      ล้อ ปืน (663:6.3)
               คือ ขา ล้อ ที่ สำหรับ ลาก ปืน ไป นั้น.
      ล้อ หลอก (663:6.4)
               คือ ยั่ว เย้ย แล หลอก ลวง นั้น.
      ล้อ เล่น (663:6.5)
               คือ คน ล้อ ลูก สะบ้า เล่น, คน เอา ไม้ ทำ เปน วง กลม เปน ลูก ล้อ สำหรับ ล้อ เล่น สะบ้า กัน นั้น.
      ล้อ เลียน (663:6.6)
               คือ คน แส้ง พูจ ล้อ เลียน, เช่น เขา เหน ว่า ผู้ อื่น ทำ อัน ใด ไม่ ดี เปน ต้น, แส้ง ยอ ว่า ท่าน ทำ ดี จริง เรา ทำ สู้ ท่าน ไม่ ได้ นั้น.
หล่อ (663:7)
         คือ ริน ลง เท ลง, เช่น เขา เอา ทอง แดง เปน ต้น ใส่ ใน เบ้า หลอม ขึ้น ให้ ละลาย คว้าง แล้ว เท ลง นั้น.
      หล่อ กะทะ (663:7.1)
               เท ทำ กะทะ, เช่น พวก จีน ทำ กะทะ เหล็ก, เจ๊ก มัน เอา พิมพ์ กะทะ วาง คว่ำ ลง, แล้ว หลอม เหล็ก ให้ ละลาย เท ลง.
      หล่อ ขัน (663:7.2)
               เท ทอง ทำ ขัน, คือ คน เอา ขี้* ผึ้ง ทำ เปน รูป ขัน มี ดิน เปน แกน ใน, สำรอก ขี้*ผึ้ง ออก แล้ว หลอม ทอง ให้ ละลาย คว้าง ริน เท ลง นั้น.
      หล่อ ปืน (663:7.3)
               ทำ ปืน, คือ เอา เหล็ก ฤๅ ทอง เหลือง ใส่ เบ้า ใน ไฟ ให้ ละลาย คว้าง แล้ว เท ลง ใน รูป หุ่น ปืน นั้น.
      หล่อ พระ (663:7.4)
               เท ทอง ทำ พระ, คือ เฃา ปั้น เปน รูป หุ่น พระ เช่น ว่า แล้ว, เอา ทอง ฤๅ เงิน เปน ต้น ทำ เช่น ว่า นั้น.
      หล่อ ระฆัง (663:7.5)
               คือ เขา ปั้น เปน รูป หุ่น ระฆัง แล้ว, เอา ทอง เหลือง หลอม หล่อ เท ลง ใน หุ่น นั้น.
      หล่อ รูป (663:7.6)
               คือ หล่อ รูป ต่าง ๆ เช่น ว่า มา แล้ว นั้น, คง อยู่ ใน หล่อ รูป สิ้น ทั้ง นั้น.
      หล่อ หลอม (663:7.7)
               คือ หลอม หล่อ, คน เอา ทอง เหลือง ฤๅ ทอง แดง เปน ต้น ใส่ ใน เบ้า ตั้ง ไฟ ให้ ละลาย เท ลง นั้น.

--- Page 664 ---
(664:1)
         
วา (664:2)
         คือ ยาว สี่ ศอก เรียก วา หนึ่ง, คน จะ วัด อัน ใด มี ไม้ ซุง เปน ต้น, ทำ ไม้ วา ไว้ สำหรับ วัด นั้น.
วาจา (664:3)
         ฯ แปล ว่า ถ้อย คำ, คน กล่าว ถ้อย คำ เปน ต้น ว่า ร้อง เรียก พ่อ แม่ นั้น.
      วาจา กรรม (664:3.1)
               ฯ คือ กล่าว วาจา นั้น, บันดา วาจา ที่ คน กล่าว นั้น, เรียก ว่า วาจา กรรม ทั้ง สิ้น.
      วาจา ดี (664:3.2)
               ฯ คือ กล่าว คำ ดี, คำ ไพรเราะห์ เปน ต้น ว่า พ่อ ขา แม่ ขา นั้น.
      วาจา โวหาร (664:3.3)
               ฯ คือ กล่าว ถ้อย คำ อย่าง หนึ่ง คน กล้า กล่าว เหตุ ที่ ตัว รู้ ไม่ สู้ แน่ นั้น
วาจี กรรม (664:4)
         ฯ คือ กะทำ ถ้อย คำ, คน ออก ปาก พูจจา กล่าว ถ้อย คำ อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น.
วาตา (664:5)
         ฯ แปล ว่า ลม, บันดา ลม ผ่าย นอก แล ลม ผ่าย ใน กาย นั้น, เรียก วาตา.
วาที (664:6)
         ฯ แปล ว่า ถ้อย คำ, คน ออก วาจา กล่าว คำ อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น, ว่า วาที.
วานรินทร์ (664:7)
         เปน ชื่อ นาง วานรินทร์ นาง หนึ่ง, ใน หนังสือ ไท ว่า นาง นี้ เปน เมีย หะณุมาน ใน เรื่อง รามเกียรติ์ นั้น.
วานะเรศร์ (664:8)
         คือ ลิง นาย ฝูง, ลิง เปน อิศร ใน ฝูง ลิง.
วา หนึ่ง (664:9)
         คือ กำหนด ยาว สี่ ศอก นั้น.
วานิช (664:10)
         ฯ แปล ว่า ซื้อ ขาย, บันดา การ ซื้อ ขาย ของ สาระ พัด ทุกสิ่ง, ว่า วานิช นั้น.
วานร (664:11)
         ฯ แปล ว่า ลิง, บันดา ลิง ต่าง ๆ จำ พวก, คือ ลิง จุ่น ฤๅ ลิง ลม เปน ต้น นั้น.
วายาโม (664:12)
         ฯ แปล ว่า ความ พะยายาม แล ความ เพียร, คน มี ความ อุษ่าห์ กะทำ การ งาน ต่าง ๆ นั้น.
วายุ (664:13)
         ฯ แปล ว่า ลม ว่า พระพาย.
      วายุกูล (664:13.1)
               เปน คำ สยาม ภาษา อธิบาย ว่า แบ่ง ภาคย์, เหมือน นารายน์ แบ่ง ภาคย์ ลง มา เกิด ใน มะนุษ นั้น.
      วายุ บุตร (664:13.2)
               ฯ แปล ว่า ลูก ลม คือ หณุมาน.*
      วายุ ภักษ์ (664:13.3)
               ฯ แปล ว่า กิน ลม, ว่า มี ลม เปน ภักษา หาร อย่าง หนึ่ง ว่า เปน ชื่อ นก พวก หนึ่ง.
      วายุ เวศร์ (664:13.4)
               แปล ว่า ลม ใหญ่
วาโย (664:14)
         ฯ แปล ว่า ลม, บันดา ลม ผ่าย นอก กาย แล ผ่าย ใน กาย นั้น, เรียก ตาม สับท์ ว่า วาโย.
      วาโย ธาตุ (664:14.1)
               ฯ แปล ว่า ลม ธรง ไว้ ซึ่ง ตน ของ ตน, บันดา ลม ที่ มี ใน โลกย์ ย่อม ทรง ซึ่ง ลักขะณะ ของ ตน.
วารี (664:15)
         ฯ แปล ว่า น้ำ, บันดา น้ำ มี ใน โลกย์ เปน ต้น ว่า น้ำ ท่า แล น้ำ ฝน นั้น, เรียก ตาม สับท์ ว่า วารี.
วาระ (664:16)
         คือ ครั้ง คราว หน ที.
      วาระ นี้ (664:16.1)
               ฯ คือ ครั้ง นี้, คราว นี้, หน นี้, ที นี้.
วาศุกกรี (664:17)
         ฯ แปล ว่า นาค, คือ พวก งู ทุก อย่าง ว่า เปน กำ พืชนะ นาค เชื้อ นาค.
วาฬะวิชะนี (664:18)
         ฯ แปล ว่า ขน หาง จามจุรี เขา ถัก เปน แซ่ สำ หรับ ปัด พัด โบก ลม นั้น.
หวา (664:19)
         (dummy head added to facilitate searching).
      หวา เต็ม ที (664:19.1)
               คือ คำ พูจ, คน เหน ของ อัน ใด หนัก เหลือ กำลัง เขา ว่า หวา หนัก เต็ม ที นั้น.
      หวา มาก นัก (664:19.2)
               คือ คำ พูจ เขา เหน ของ ที่ จะ ต้อง การ แต่ น้อย คน หนึ่ง เอา มาก นัก, เขา ว่า เช่น นั้น.
ว่า (664:20)
         คือ กล่าว วาจา, คน กล่าว วาจา บังคับ บัญชา คน ทั้ง ปวง ให้ ทำ การ งาน นั้น.
      ว่า กะไร (664:20.1)
               เปน คำ ถาม ว่า ๆ กะไร, เช่น คำ คน พูจ ไม่ ทัน ได้ ยิน นั้น.
      ว่า การ (664:20.2)
               คือ กล่าว คำ บังคับ การ, คน เปน นาย เปน เจ้า กล่าว วาจา บังคับ ให้ ทำ การ.
      ว่า กล่าว (664:20.3)
               คือ พูจจา, คน เปน ผู้ บังคับ ว่า กล่าว, แล พูจจา ว่า คน ให้ ทำ การ งาน นั้น.
      ว่า ขาน (664:20.4)
               คือ ออก วาจา ขาน ที่ เขา เรียก, เช่น มี ผู้ ร้อง เรียก ชื่อ แล ผู้ นั้น ร้อง รับ ว่า ฃา นั้น.
      ว่า คุกคาม (664:20.5)
               คือ กล่าว ขู่ ด้วย วาจา ว่า ท่าน ทำ อะไร อย่าง นั้น จะ ต้อง ตี แล้ว เปน ต้น นั้น.
      ว่า ความ (664:20.6)
               คือ กล่าว ชำระ เนื้อ ความ ที่ เขา ฟ้อง หา กล่าว โทษ กัน สอง ฝ่าย โจท แล จำเลอย นั้น.

--- Page 665 ---
      ว่า ความ ศาล หลวง (665:20.7)
               คือ คน เปน ขุนศาล ตาม กระทรวง ความ แพ่ง แล ความ อาญา เปน ต้น.
      ว่า ที่ (665:20.8)
               คือ คน ยัง ไม่ ได้ เปน ที่ ขุนนาง ตำแหน่ง นั้น, แต่ เขา ว่า ราชการ ใน ตำแหน่ง นั้น.
      ว่า ไป (665:20.9)
               คือ คำ เตือน ผู้ อื่น ที่ มา พูจ ความ อัน ใด อยุด ลง แล้ว ว่า ๆ ไป นั้น.
      ว่า ไป ว่า* มา (665:20.10)
               คือ พูจ ไป พูจ มา, เช่น คน สอง คน เถียง กัน.
      ว่า ไร (665:20.11)
               เปน คำ คน พูจ ซัก ถาม ว่า ๆ กะไร, คน ฟัง ยัง ไม่ ยิน สนัด ชัด แล ถาม ว่า ๆ กะไร นั้น.
      ว่า ราชการ (665:20.12)
               คือ คน เปน ขุนนาง ว่า กล่าว บังคับ บัญชา สั่ง ข้อ ราชการ ใน หลวง นั้น.
      ว่า หลาย ครั้ง (665:20.13)
               กล่าว หลาย ครั้ง, คือ พูจจา ว่า กัน หลาย หน คน ได้ ว่า กล่าว เปน หลาย หน นั้น.
      ว่า แล้ว (665:20.14)
               กล่าว แล้ว, คือ พูจจา แล้ว, คน พูจ กัน ตก ลง แล้ว, คน หนึ่ง ขืน ทำ เปน ต้น เขา ว่า เรา ว่า แล้ว.
      ว่า อีก (665:20.15)
               คือ พูจ ซ้ำ พูจ อีก, คน พูจ กัน แล้ว กลัว ฝ่าย ข้าง หนึ่ง จะ ลืม เสีย ซ้ำ ว่า อีก นั้น.
ว้าเหว่ (665:1)
         คือ ความ ที่ ไม่ มี ที่ หวัง, เช่น เรื่อง ลูก คน ป่า สอง คน เมื่อ พ่อ แม่ ตาย แล้ว มัน ไม่ มี ที่ หวัง นั้น.
      ว้าวุ่น (665:1.1)
               คือ อาการ ที่ คน มี ธุระ ร้อน อัน ใด อัน หนึ่ง, มี ไฟ ไหม้ ใกล้ บ้าน เปน ต้น.
      ว้าว่อน (665:1.2)
               คือ อาการ ที่ แร้ง กา มัน ลง ตอม กิน ทราก สพ วุ่นวาย นั้น.
วิกล (665:2)
         คือ วิปริต, เช่น คน พิกาล, คน ทั้ง หลาย เขา มี อาการ เปน ปรกติ, คน ที่ มี นิ้ว มือ เปน สิบเอด นิ้ว เปน ต้น.
      วิกาล (665:2.1)
               คือ ใช่ เวลา, ผิด เวลา, เหมือน เคย ทำ การ อัน นี้ ใน เวลา นี้ แล ไม่ ได้ ทำ ไป ทำ เวลา อื่น นั้น.
      วิเคราะห์ (665:2.2)
               ฯ คือ ถือ เอา ต่าง ๆ. อย่าง หนึ่ง ว่า พิเคราะห์ คน พูจ ว่า พิจารณา ความ วิเคราะห์ มี ใน คัมภีร์ มูล มาก.
      วิ จารณ (665:2.3)
               ฯ แปล ว่า ตฤกตรอง ซึ่ง เหตุ อัน ใด ๆ นาน ๆ นั้น.
      วิ จารณา (665:2.4)
               คือ พิจารณา สิ่ง ของ อัน ใด ด้วย จักขุ ฤๅ พิจารณา เนื้อ ความ อัน ใด ด้วย ปัญญา
      วิ จิ กิจฉา (665:2.5)
               ฯ แปล ว่า สงไสย ฉงน เคลือบแคลง ว่า ความ ที่ เขา สะแดง จะ จริง ฤๅ ไม่ จริง ดอกกระมัง.
      วิจิตร (665:2.6)
               คือ ของ ที่ วิเสศ เหมือน ของ ที่ เขา เขียน เปน ลาย ด้วย ศรี ต่าง ๆ ดู งาม นั้น.
      วิชา (665:2.7)
               ฯ แปล ว่า รู้, คน รู้ กิจการ ทั้ง ปวง เปน ต้น, ว่า คน ผู้ นั้น มี วิชา นั้น.
      วิชา การ (665:2.8)
               คือ รู้ การ สารพัด ต่าง ๆ คน รู้ เวท มนต์ คาถา แล สำแดง ได้ ต่าง ๆ นั้น.
      วิชาธร (665:2.9)
               เปน ชื่อ คน จำพวก หนึ่ง ว่า เฃา ฆ่า ปรอด ตาย แขง มัน ภา คน ให้ เหาะ ไป ใน อากาศ ได้ นั้น.
      วิไชย ฤกษ (665:2.10)
               คือ ฤกษ ใหญ่ ที่ จะ อาจ ให้ มี ไชย ชะนะ ศึก เปน ต้น.
      วิเชียร (665:2.11)
               คือ เพชร์, คน เรียก แก้ว วิเชียร ว่า เพชร์ ๆ นั้น เปน พลอย มี ราคา กว่า พลอย อื่น นั้น.
      วิตก (665:2.12)
               คือ ข้อ แรก คิด ขึ้น นั้น, เช่น เสียง ระฆัง ที่ คน ตี แต่ แรก นั้น เสียง ที่ ครวญ นั้น เหมือน ความ วิจารณ.
      วิถี (665:2.13)
               ฯ คือ ถนล คน พูจ เปน คำ ติด สับท์ ว่า วิถี ทาง, เช่น ที่ ๆ เปน ทาง อาทิตย์ แล จันท์ นั้น ก็ ว่า วิถี.
      วิถาร (665:2.14)
               ฯ แปล ว่า กว้าง ยืด ยาว, เช่น เรื่อง ความ อัน ใด เขา สำแดง มาก นั้น.
      วิธี (665:2.15)
               ฯ คือ การ อัน ใด สิ้น ลง เรื่อง หนึ่ง, เช่น ท่าน ชัก โคม ขึ้น บูชา ปี ละ หน, ว่า เปน วิธี โคม.
      วินา (665:2.16)
               ฯ แปล ว่า เว้น แล้ว, เหมือน คน เว้น เสีย ละ เสีย ไม่ ทำ นั้น.
      วินาที (665:2.17)
               คือ นาที เล็ก ที่ นับ ว่า หกสิบ นาที เปน โมง หนึ่ง นั้น, ฝ่าย ไท นับ ว่า หกสิบ นาที เปน วัน หนึ่ง.
      วิไนย (665:2.18)
               ฯ แปล ว่า ธรรม เปน ที่ นำ เสีย ซึ่ง โทษ อัน เกิด ใน กาย ใน จิตร.
      วิไนย กรรม (665:2.19)
               ฯ แปล ว่า กระทำ ตาม บท พระ วิไนย, เปน ต้น ว่า ไม่ ให้ ฆ่า สัตว นั้น.
      วิไนย ธร (665:2.20)
               ฯ แปล ว่า ทรง ไว้ ซึ่ง พระ วิไนย, คือ ภิกขุ ผู้ รู้ ข้อ ความ ที่ พระเจ้า บัญญัติ, แล จำ ไว้ ทำ ตาม นั้น.
      วิไนย ธรรม (665:2.21)
               ฯ แปล ว่า มี วิไนย เปน ธรรม สำหรับ รักษา.
      วินิจ (665:2.22)
               ฯ แปล ว่า พิจารณา, คน พิจารณา เหตุ ผล ด้วย* ใจ บ้าง จักษุ บ้าง.

--- Page 666 ---
      วินิจไฉย (666:2.23)
               ฯ แปล ว่า คน เปน ผู้ ตัดสีน ถ้อย ความ ชี้ เสร็จ เด็ด ฃาด นั้น.
      วินันตก (666:2.24)
               เปน ชื่อ ภูเขา สัตะ บริ ภัณฑ์ ชั้น สุด นั้น.
      วินาศ (666:2.25)
               ฯ แปล ว่า ความ ฉิบหาย, เช่น คน มี ทรัพย์ แล้ว ประไลย ไป หมด วอด ไป.
      วิบาก (666:2.26)
               ฯ แปล ว่า ผล แห่ง กุศล แล อกุศล ให้ ได้ ความ ศุข แล ทุกข์ นั้น.
      วิบาก กรรม (666:2.27)
               ฯ แปล ว่า บาป ที่ คน กระทำ ไว้ นั้น, ตาม ทัน ให้ ผล เปน โทษ ใหญ่ ใน นรก เปน ต้น.
      วิบัติ (666:2.28)
               ฯ แปล ว่า ถึง วิปริต แปรปรวน เปน ไป ต่าง ๆ เช่น คน เมื่อ หนุ่ม ผม ดำ ครั้น แก่ เข้า ผม ฃาว ไป.
      วิบัติ จาก อุบาศก (666:2.29)
               คือ คน ชาย ประพฤติ์ กิจ ผิด จาก อุบาศก ธรรม นั้น.
      วิบูลย์ (666:2.30)
               ฯ ว่า ไพรบูลย์ กว้างขวาง, ความ เหมือน บริบูรณ.
      วิปริต (666:2.31)
               ฯ แปล ว่า เปน ไป ต่าง ๆ ของ ฤๅ คน ถึง ซึ่ง ความ ต่าง ๆ ไม่ ตั้ง อยู่ เปน ปรกติ.
      วิปะลาศ (666:2.32)
               คือ การ ที่ เหน เคลื่อน คลาศ ไป, เหมือน คน ถือ รูป ปาละ ว่า พระเจ้า นั้น.
      วิ ปัศะนา (666:2.33)
               ฯ แปล ว่า เหน ธรรม วิเสศ ด้วย ปัญญา, คน กะ ทำ ความ เพียร เพื่อ พระ นิพพาน นั้น, ย่อม มี ปัญญา เช่น ว่า นั้น.
      วิภูสิต (666:2.34)
               ว่า ผ้า* เครื่อง ประดับ ต่าง ๆ บันดา เงิน แล ทอง แก้ว แหวน ประดับ ใน กาย นั้น.
      วิภรรติ์ (666:2.35)
               ว่า จำแนก แจก ออก ต่าง ๆ บันดา สิ่ง ทั้ง ปวง แจก ออก เปน พวก ๆ นั้น.
      วิมาลา (666:2.36)
               เปน ชื่อ นาง คน หนึ่ง, มี ใน เรื่อง หนังสือ นิทาน แต่ ก่อน นั้น.
      วิมุติ์ (666:2.37)
               ฯ แปล ว่า ความ สงไสย, คน มี ความ สงไสย ว่า โลกย์ นี้ มี ผู้ สร้าง จริง ฤๅ หนอ.
      วิมาน (666:2.38)
               ฯ อธิบาย ว่า เรือน เปน ที่ อยู่ แห่ง เทวดา แล มหา พรหม นั้น.
      วิมาน สวรรค์ (666:2.39)
               คือ เรือน เปน ที่ อยู่ แห่ง เทวดา ใน สวรรค.
      วิมล (666:2.40)
               ฯ แปล ว่า ปราศจาก มลทิน, เช่น ของ มี เครื่อง แก้ว เปน ต้น ที่ ผ่อง ใส นั้น.
      วิมล โฉม (666:2.41)
               ว่า คน รูป งาม ปราศจาก มลทิน, มี ไฝ แล ปาน เปน ต้น.
      วิโยค (666:2.42)
               ฯ แปล ว่า พลัดพราก จาก กัน, คือ ประกอบ ต่าง จาก กัน.
      วิริยะ (666:2.43)
               ฯ แปล ว่า ความ เพียร, คือ อุษ่าห์ พะยา ยาม กระทำ การ ไม่ ใคร่ อยุด อย่อน นั้น.
      วิ รุฬหก (666:2.44)
               เปน ชื่อ เทวดา เปน ผู้ รักษา โลกย์ องค์ หนึ่ง, ว่า อยู่ ใน สวรรค์ ชั้น ต้น ชื่อ จาตุ มหา ราช นั้น.
      วิลา (666:2.45)
               ฯ แปล ว่า แมว มัน เปน สัตว สี่ เท้า.
      วิไลย (666:2.46)
               ว่า เลิศ ดี, เช่น ของ ที่ ดี ที่ งาม เสียง ที่ ดี ที่ เพราะ เปน ที่ เพลิน ใจ นั้น.
      วิลันดา (666:2.47)
               เปน ชื่อ คน ต่าง ประเทศ จำพวก หนึ่ง.
      วิลาศ (666:2.48)
               คือ อาการ ที่ คน นั่ง ฤๅ เดิน ดู งาม ละมุน ละม่อม ไม่ แขง ไม่ กะด้ ง* ดู งาม จเริญ นั้น.
      วิว หะ มงคล (666:2.49)
               ฯ คือ การ ช ย* หนุ่ม กับ หญิง สาว แรก สู่ ฃอ ปลูก หอ ปลูก เรือน อยู่ เปน ผัว เมีย กัน.
      วิเวก (666:2.50)
               ฯ แปล ว่า สงัด เงียบ, คือ ปราศ จาก เสียง อื้อึง นั้น.
      วิเวก วังเวง (666:2.51)
               ฯ คือ สงัด เงียบ บอก ใจ อ้าง ว้าง อยู่ แต่ ผู้ เดียว ใน ป่า สูง ป่า ใหญ่ นั้น.
      วิวาท (666:2.52)
               ฯ แปล ว่า มี ถ้อย คำ ต่าง ๆ, ธรรมดา คน โกรธ กัน ย่อม มี ถ้อย คำ ต่าง ๆ กัน.
      วิวาท (666:2.53)
               บาศ คล้อง, คือ ความ ทะเลาะ วิวาท กัน, คำ ว่า บาศ คล้อง เปน คำ สร้อย.
      วิวาท วาทา (666:2.54)
               คือ กล่าว คำ ถุ้งเถียง กัน, ด้วย ความ อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น.
      วิสาสะ (666:2.55)
               ฯ แปล ว่า คุ้น เคย, เช่น คน เคย ไป มา หา กัน.
      วิไสย (666:2.56)
               ฯ คือ ประเพศ อาการ เหมือน นก มัน บิน ไป ใน อา กาศ, ฝูง ปลา ว่าย ไป ใน น้ำ นั้น.
      วิสํ*ชนา (666:2.57)
               ฯ แปล ว่า สละ ออก สำแดง เนื้อ ความ เรื่อง ด้วย วาจา เพื่อ จะ ให้ ผู้ อื่น รู้ นั้น
      วิสัญญี (666:2.58)
               ฯ แปล ว่า ปราศจาก สัญญา, คือ ความ สลบ ไป ไม่ มี สัญญา.
      วิสุทธิ (666:2.59)
               ฯ แปล ว่า หมด จด สอาจ, เช่น ของ มี ผ้า ขาว เปน ต้น, ที่ ยัง ใหม่ ไม่ เสร้า หมอง นั้น.

--- Page 667 ---
      วิสูตร (667:2.60)
               ว่า ม่าน พูด เปน คำ หลวง, เปน ของ สำหรับ เจ้า ปิต บัง*, ว่า พระวิสูตร.
      วิสันชะนี (667:2.61)
               ฯ คือ สิ่ง ที่ ทำ เปน สำคัญ เมื่อ จบ ตัว อักษร มี รูป เช่น นี้ ะ นั้น, ว่า ปล่อย ทิ้ง ออก ไป เช่น คำ ว่า กะ เปน ต้น นั้น.
      วิเสศ (667:2.62)
               ฯ แปล ว่า แปลก ปลาด กว่า เพื่อน, ของ อย่าง เดียว* กัน แต่ อัน ไหน ตี* ปลาด กว่า เพื่อน, ว่า เปน ของ วิเสศ.
      วิศาข บูชา (667:2.63)
               ฯ คือ กะทำ การ บูชา ใน วัน เพง เดือน หก นั้น.
      วิหะระ (667:2.64)
               ฯ แปล ว่า อยู่, คือ ที่ ใด* เปน ที่ อยู่ ที่ นั้น ว่า วิหะระ.
      วิหาร (667:2.65)
               ฯ แปล ว่า ที่ เปน ที่ อยู่, เช่น ที่ เปน โรง ใหญ่ มิใช่ โบศ สำหรับ ไว้ พระพุทธรูป นั้น.
      วิหก (667:2.66)
               ฯ อะธิบาย ว่า นก, บัน* ดา สัตว สอง เท้า บิน ได้ ใน อา กาศ นั้น.
วี (667:1)
         คือ พัด แกว่ง กวัด ไป กวัด มา เพื่อ จะ ให้ หาย ร้อน ให้ เอย็น นั้น.
วี่แวว (667:2)
         คือ การ ที่ คน มา บัดเดี๋ยว แล้ว กลับ ไป นั้น, ว่า เขา วี่ แวว มา บัดเดี๋ยว แล้ว ไป.
หวี (667:3)
         คือ ของ ที่ เฃา จัก เปน ซี่ ๆ เล็ก ๆ สำหรับ สาง ผม, เขา ทำ ด้วย ไม้ บ้าง ด้วย เฃา บ้าง ด้วย กระ บ้าง นั้น.
      หวี กล้วย (667:3.1)
               คือ ที่ ขั้ว ลูก กล้วย มัน ติด อยู่ ดู อาการ เช่น หวี ที่ คน หวี ผม นั้น.
      หวี ด้าย (667:3.2)
               คือ สาง ด้าย*, คน เอา แปรง สาง ด้าย, เขา เอา งก ตาล ทำ แปรง สาง ด้าย*.
      หวี ผม (667:3.3)
               คือ เอา หวี เช่น ว่า นั้น, สาง ชำระ ให้ เส้น ผม สะละ สลวย สรวย สอาจ เรียบ เรียง เส้น นั้น.
      หวี เสนียด (667:3.4)
               คือ รูป หวี ที่ เขา ทำ มี ไม้ อยู่ กลาง มี ฟัน ทั้ง สอง ข้าง, สำหรับ หวี สาง ชำระ ผม นั้น.
      หวี หัว (667:3.5)
               คือ เอา หวี เสย สาง ที่ ผม ที่ หัว นั้น, แต่ ลาง ที เฃา เรียก หวี หัว ก็ มี บ้าง นั้น.
วู (667:4)
         คือ พรู ลง, เช่น คน ลงท้อง อาจม เหลว เปน น้ำ ลง ฉูด ๆ นั้น ว่า ลงท้อง วู ไป.
วู่วาม (667:5)
         คือ ไฟ เมื่อ ถูก ลม ภัต หนัก เปลว ไป ตาม ลม แรง หนัก ว่า ไฟ วู่วาม ไป นั้น.
เวไชยันต์ (667:6)
         ฯ เปน ชื่อ ทิพ ปราสาท ของ เทวดา* ชื่อ พระอินท์, มี อยู่ ใน สวรรค์ ชื่อ ดาวะดึงษ์*.
      เวนี (667:6.1)
               ฯ แปล ว่า มวย ผม, แปล ว่า กำ ว่า เรียง, เช่น เขา เก็บ เข้า เปน กำ ๆ.
      เวไนย (667:6.2)
               ฯ แปล ว่า นำ ไป, เหมือน ความ ว่า เวไนย สัตว, คือ สัตว ที่ ควร พระ จะ นำ ไป สู่ พระ นิพพาน.
      เวไนยสัตว (667:6.3)
               ฯ แปล ว่า สัตว อัน พระเจ้า จะ โปรด* ได้.*
      เวทนา (667:6.4)
               ฯ แปล ว่า เสวย, เช่น คน ได้* ความ ทุกข์ ว่า เสวย ทุกข์, ได้* ความ ศุข ว่า เสวย ศุข.
      เวรา (667:6.5)
               ฯ แปล ว่า เวร, คือ คน ทำ กรรม อกุศล มี ฆ่า สัตว เปน ต้น, ไป ชาติ น่า ก็ จะ มี ผู้ ฆ่า ตัว เช่น นั้น บ้าง เปน ต้น.
      เวรา กรรม (667:6.6)
               คือ การ บาป มี ฆ่า สัตว เปน ต้น ที่ จะ ให้ เกิด* เวร นั้น.
      เวรานุเวร (667:6.7)
               ฯ คือ เวร ใหญ่ แล น้อย, เช่น คน ทำ บาป น้อย บ้าง มาก บ้าง.
      เวรี (667:6.8)
               คือ คน ผูก เวร แก่ กัน, เช่น แรก เติม คน หนึ่ง ฆ่า เขา ก่อน แล้ว ก็ ตั้ง จิตร ผูกพันท์ ไว้ จะ ฆ่า บ้าง นั้น.
      เวระมะณี (667:6.9)
               ฯ แปล ว่า มี เว้น เปน ปรกติ, คือ บุกคล ถือ ศีล เฃา เว้น จาก ฆ่า สัตว เปน ต้น เปน ธรรมดา*.
      เวลา (667:6.10)
               คือ กาละ, เช่น กาละ เช้า, ว่า เวลา เช้า, กาละ เที่ยง เปน ต้น, ก็ ว่า เวลา เที่ยง เปน ต้น.
      เวลา เช้า (667:6.11)
               คือ เวลา อาทิตย์ ขึ้น มา ประมาณ แต่ นาที หนึ่ง จน โมง เสศ นั้น.
      เวลา สาย (667:6.12)
               คือ เวลา เช้า โมง เสศ ไป จน เวลา ห้า โมง เสศ นั้น.
      เว วัจนะ (667:6.13)
               ฯ แปล ว่า ถ้อย คำ ต่าง กัน.
      เวสาลี (667:6.14)
               เปน ชื่อ เมือง หนึ่ง มี ใน หนังสือ ว่า, มี อยู่ ทิศ ตวัน ตก เฉียง เหนือ นั้น.
      เวหา (667:6.15)
               ฯ คือ อากาศ, บันดา* เปน ที่ อากาศ เปล่า ไม่ มี สิ่งใด* นั้น ถึง ใน เรือน เปน ต้น, ก็ เรียก เวหา.
      เวหน (667:6.16)
               ฯ คือ เวหา อากาศ นั้น.
      เวหับผล (667:6.17)
               ฯ เปน ชื่อ ชั้น พรหม ชั้น หนึ่ง.
      เวหาศ (667:6.18)
               ฯ คือ ห้อง ท้อง อากาศ นั้น.
เว้ (667:7)
         เปน ชื่อ เมือง ยวญ เมือง หนึ่ง, เรียก ว่า เมือง เว้ นั้น.

--- Page 668 ---
แหว ๆ (668:1)
         คือ เสียง ดัง แปร๋ ๆ, เช่น เสียง ช้าง มัน ร้อง เมื่อ มัน โกรธ ฤๅ เมื่อ มัน เจ็บ นั้น.
ไว (668:2)
         คือ ฉับ ไว ฤๅ เร็ว, คน ฤๅ สัตว ที่ ไป เร็ว เปน ต้น นั้น, ว่า ไป ไว เปน ต้น นั้น.
      ไวยใหญ่ ขึ้น (668:2.1)
               คือ อาการ ที่ คน เกิด แล้ว จเริญ ขึ้น นั้น.
      ไวว่อง (668:2.2)
               คือ ฉับพลัน คล่องแคล่ว, เช่น คน จะ ทำ การ อัน ใด แล ฉับพลัน คล่อง นั้น.
ไว้ (668:3)
         คือ เก็บ ของ เข้า วาง ใน ที่, คน มี ของ อัน ใด ๆ ใหญ่ แล เล็ก, เขา เก็บ เข้า วาง ใน ที่ นั้น.
      ไว้ ของ (668:3.1)
               คือ เอา ของ วาง ใน ที่, คน มี ของ มาก แล เอา ของ เก็บ วาง ใน ที่, เพื่อ จะ มิ ให้ เสีย หาย.
      ไว้ ใจ (668:3.2)
               คือ เชื่อ ใจ กัน, คน เคย เหน ใจ กัน ว่า เปน คน ไม่ ขี้ ฉก ลัก ของ ก็ เชื่อ ใจ ไม่ สู้ ระวัง.
      ไว้ ตัว (668:3.3)
               คือ ถือ ตัว, เช่น คน เปน ผู้ ดี มี วาศนา ฤๅ เปน หญิง ใน วัง เปน ต้น ตั้ง ภูม ตัว นั้น.
      ไว้ ทาง (668:3.4)
               คือ เว้น ที่ ให้ เปน หน ทาง, เช่น คน ทำ ที่ ไร่ สวน เปน ต้น, และ เว้น ที่ ไว้ เปน ทาง เดิน.
      ไว้ หน้า (668:3.5)
               คือ เหน แก่ หน้า คน อื่น, เช่น คน จะ ให้ ของ เปน ต้น, ครั้น เหน ที่ ชอบ กัน ก็ ให้ ของ มาก นั้น.
ไหว (668:4)
         คือ หวั่น สะเทือน, เช่น แผ่นดิน เปน ต้น, สะเทือน ยวบ ๆ เยือก ๆ นั้น.
      ไหว กาย (668:4.1)
               คือ กาย หวั่น สะเทือน, เช่น คน เปน ไข้ จับ สั่น ระรัว ๆ ว่า กาย ไหว นั้น.
      ไหว ติง (668:4.2)
               คือ หวั่น มั่น, เช่น คน ทำ กาย ให้ หวั่น มั่น อยู่, ด้วย ความ สดุ้ง เปน ต้น นั้น.
      ไหว ตัว (668:4.3)
               คือ ทำ ตัว ให้ หวั่น, เช่น คน พลิก ตัว เอี้ยว ตัว ไป ข้าง ซ้าย ฤๅ ข้าง ขวา นั้น.
      ไหว เนื้อ ไหว ตัว (668:4.4)
               คือ อาการ ที่ คน ฤๅ สัตว ทำ กาย ให้ ไป ข้าง โน้น มา ข้าง นี้ นั้น.
      ไหว มือ (668:4.5)
               คือ ทำ มือ ให้ หวั่น, คือ ทำ มือ ขึ้น จะ ทำ การ งาน อัน ใด มี เขียน หนังสือ เปน ต้น.
      ไหว หวาด (668:4.6)
               คือ ใจ คน ตก ใจ หวั่น, เช่น คน ได้ ยิน เสียง ปืน ใหญ่ ตก ใจ กลัว แต่ ฆ่าศึก นั้น.
      ไหว หวั่น (668:4.7)
               คือ การ ที่ แผ่นดิน ไหว, ต้นไม้ แล เรือน เปน ต้น สะท้าน หวั่น นั้น.
      ไหว องค์ (668:4.8)
               คือ หวั่น ตัว คน เปน เจ้า เปน ต้น, แล ทำ กาย ให้ หวั่น สั่น สะทก นั้น.
ไหว้ (668:5)
         คือ ยก มือ ทั้ง สอง ประชุม นิ้ว เข้า เสมอ กัน, ยก ขึ้น เสมอ หน้า ผาก เปน ต้น, เรียก ว่า กระภุ่ม* มือ.
      ไหว้ กราบ (668:5.1)
               คือ อาการ ที่ ยก มือ ขึ้น ทั้งสอง ประนม แล้ว กราบ ลง นั้น.
      ไหว้ คุณ (668:5.2)
               คำนับ คุณ, คือ ทำ มือ เช่น ว่า แล ระฦก ถึง คุณ ท่าน ผู้ มี คุณ, มี บิดา มารดา เปน ต้น, ว่า ท่าน ได้ อุ้ม อุทร เลี้ยง รักษา มา จน ใหญ่ นั้น.
      ไหว้ เจ้า (668:5.3)
               คำนับ เจ้า, คือ จัดแจง ตั้ง เครื่อง พลี มี ขนม แล เหล้า เข้า เป็ด ไก่ แล หัวหมู เปน ต้น จุด ธูป เทียน บูชา นั้น.
      ไหว้ นะมัศการ (668:5.4)
               คือ กระทำ น้อม ไหว้ นั้น.
      ไหว้ พระ (668:5.5)
               คำนับ พระ, คือ ยก กระภุ่ม มือ ขึ้น เพียง ศีศะ แล้ว กราบ ลง ใจ ปลง ถึง พระพุทธิเจ้า นั้น.
      ไหว้ พ่อ (668:5.6)
               คือ ยก กระภุ่ม มือ ขึ้น ประนม เพียง ศีศะ ฉะเภาะ หน้า ที่ บิดา อยู่. อนึ่ง บิดา ล่วง ไป แล้ว แล ไหว้ ระฦก ถึง คุณ นั้น.
      ไหว้ แม่ (668:5.7)
               คือ ยก ยอ กร ประนม ขึ้น เพียง ศีศะ จำเภาะ หน้า ที่ มารดา อยู่. อนึ่ง มารดา ล่วง แล้ว ไหว้ ด้วย ระฦก ถึง คุณ ท่าน นั้น.
      ไหว้ วันทา (668:5.8)
               คือ อาการ ที่ ยืน ขึ้น ประนม มือ ทั้งสอง ร้อง วันทา พระ นั้น.
โว (668:6)
         โอ้ อวด, คือ เสียง ดัง โอ้, เช่น คน พูจ เสียง ดัง โว โอ้ หนัก, เขา ว่า คน นั้น พูจ โว ไป นั้น.
      โวหาร (668:6.1)
               กล่าว, แปล ว่า กล่าว ถ้อย คำ, เช่น กล่าว ถ้อย คำ เรียก เปน คำ สับท์ ว่า โวหาร.
      โว้เว้ (668:6.2)
               คือ โอ้เอ้ แวะ เชือน ไป. อย่าง หนึ่ง ว่า เปน คน โอยก เอยก เกะกะ โดย กีริยา เปน ต้น นั้น.
โหว (668:7)
         คือ การ ที่ ของ โหล หวำ ฦก เข้า ไป นั้น.
โหว่ (668:8)
         คือ โหล กลวง, เช่น จะมูก คน ที่ เปน โรค ริด สี่ดวง มัน กิน จน สิ้น โครง จมูก กลวง อยู่ นั้น.
โหว้ (668:9)
         คือ การ ที่ ของ เปน รู หวำ เข้า ไป.

--- Page 669 ---
เวาวับ (669:1)
         คือ ของ ที่ เปน แสง แวว ๆ วับ ๆ, เช่น แก้ว ฤๅ กระ- จก นั้น.
      เวาแวว (669:1.1)
               คือ ของ เปน แก้ว ฤๅ กระจก ที่ มี เงา เปน แสง วาบ วับ นั้น.
เว้า (669:2)
         เปน คำ ภาษา ลาว พูจ ว่า เว้า, ว่า พูจจา กัน.
      เว้า แหว่ง (669:2.1)
               คือ บุ้ม แหว่ง, เช่น วงจันทร์ เมื่อ ข้าง แรม ที่ แล ดู สิ้น เข้า ไป นั้น, ว่า เว้าแหว่ง.
      เว้า วอก (669:2.2)
               คือ บุ้ม พร่อง, เช่น หน้า คน แก่ ชะรา, เมื่อ ยัง หนุ่ม หน้า ตา เต็ม บริบูรณ เปน ปรกติ, ครั้น แก่ ชะรา ลง หน้า บุ้ม พร่อง นั้น.
หวำ (669:3)
         คือ ที่ เปน ขุม ลุ่ม ลง น่อย ๆ, เช่น ที่ บุ้ม ลง น่อย ๆ ไม่ ฦก นัก ว่า หวำ เข้า ไป.
      หวำ (669:3.1)
                เปน รู, คือ ที่ ลุ่ม เข้า ไป น่อย ๆ ไม่ สู้ ฦก นัก นั้น.
      หวำวะ (669:3.2)
               คือ ที่ บุ้ม เปน แผล, เช่น รอย ถูก คม มีด คม ขวาน เช่น คน ฟัน ต้น ไม้ เปน รอย อยู่ นั้น.
วะ (669:4)
         เปน คำ พูจ ว่า วะ บ้าง, เมื่อ เหน คน ทำ ไม่ ชอบ ใจ เปน ต้น, กล่าว ว่า วะ ทำ อะไร เช่น นั้น.
วะจี (669:5)
         ฯ แปล ว่า ถ้อย คำ ที่ คน กล่าว, บันดา ถ้อย คำ ที่ คน กล่าว นั้น, อยู่ ใน วะจี สับท์ สิ้น.
      วะจี เภท (669:5.1)
               ฯ คือ เปล่ง ออก ซึ่ง ถ้อย คำ.
วะนา (669:6)
         ฯ แปล ว่า ป่า ทุก อย่าง.
      วะนาวาศ (669:6.1)
               ฯ แปล ว่า อยู่ ใน ป่า.
      วะนาเวศร์ (669:6.2)
               ฯ แปล ว่า อยู่ ใน ป่า ใหญ่.
      วะนาสัณฑ์ (669:6.3)
               ฯ แปล ว่า ป่า ดง, ว่า ราว ป่า.
วะษา (669:7)
         ฯ แปล ว่า ปี.
วะนิดา (669:8)
         ฯ แปล ว่า นาง หญิง, คน แต่ง เรื่อง หนังสือ สำ หรับ อ่าน เล่น, เรียก ชื่อ นาง ว่า วะนิดา ดวง สมร.
วะรา (669:9)
         ฯ แปล ว่า ประเสริฐ, เช่น สิ่ง ใด ที่ ยิ่ง กว่า สิ่ง ทั้ง ปวง นั้น.
      วะราหะโร (669:9.1)
               ฯ แปล ว่า นำ ไป ทั่ว ประเสริฐ, ประสงค์ เอา ความ ว่า สำแดง แนะนำ ซึ่ง ธรรม ประเสริฐ.
วะโร (669:10)
         ฯ แปล ว่า ประเสริฐ, ถ้า วะโร สับท์ นี้, เขา ประ- กอบ เข้า กับ บท ใด เอา ความ ว่า ของ นั้น ประเสริฐ.
วะระโฉม (669:11)
         อธิบาย ว่า รูป สรวย, วะระ นั้น ว่า ประเสริฐ ยิ่ง, โฉม นั้น ว่า รูป มิ ใช่ สับท์ มะคะธะ เปน คำ สยาม ภาษา นั้น.
วะระโท (669:12)
         ฯ แปล ว่า ให้ ประเสริฐ, ประสงค์ เอา ที่ ให้ ซึ่ง ธรรม อัน ประเสริฐ นั้น.
วะรัญู (669:13)
         ฯ แปล ว่า รู้ โดย ปรกติ ประเสริฐ, ประสงค์ เอา ที่ รู้ ธรรม ที่ พระเจ้า ตรัศ เทศนา นั้น.
วะลาหก (669:14)
         เปน ชื่อ เทวดา เปน ผู้ บันดาล ให้ ฝน ตก องค์ หนึ่ง, อยู่ ใน สวรรค์ นั้น.
วะลี (669:15)
         ฯ แปล ว่า เครือ เขา เถาวัล.
วะว่อน (669:16)
         คือ การ ที่ แร้ง กา เปน ต้น มัน บิน วู่ ว่อน อยู่ นั้น.
วะวาบ (669:17)
         คือ แสง เงา ที่ กระจก เมื่อ ถูก แสง แดด.
วะแวบ (669:18)
         คือ แสง แดง วับ ๆ เมื่อ ฟ้า แลบ นั้น.
วะวาว (669:19)
         คือ แสง เปน เงา วาว ๆ เหมือน แสง ใน กระจก นั้น.
วะแวว (669:20)
         คือ แสง แก้ว ฤๅ เพ็ชร์ ที่ มี แสง น้อย ๆ นั้น.
หวะ (669:21)
         คือ รอย แผล แหวะ, เช่น แผล รอย ที่ เขา ฟัน ที่ ต้นไม้ เปน ต้น, เปน รอย แผล แหวะ นั้น.
      หวะ เต็ม ที (669:21.1)
               เปน คำ คน ว่า เมื่อ เหน ของ อัน ใด หนัก, ว่า หวะ หนัก เต็ม ที.
วก (669:22)
         ฯ คือ หก เวียน มา ข้าง หลัง, เช่น คน วิ่ง ไป แล้ว หก เวียน มา เบื้อง หลัง นั้น.
      วก กลับ (669:22.1)
               คือ เวียน กลับ, เช่น คน วิ่ง เหียน หวน กลับ เลี้ยว มา ข้าง หลัง, ว่า วก กลับ.
      วก เข้า (669:22.2)
               คือ หันเหียน เข้า, คน วิ่ง หันเหียน เข้า ใน บ้าน เปน ต้น นั้น, ว่า วิ่ง วก เข้า.
      วก ไป (669:22.3)
               คือ หันเหียน กลับ ไป, คน วิ่ง ตรง หน้า ไป ตาม ทาง แล้ว หัน เวียน กลับ ไป นั้น.
      วก เฝือก (669:22.4)
               คือ วง เฝือก ที่ เขา ทำ ดัก ปลา, คน เอา ไม้ ไผ่ ทำ เปน ซี่ เล็ก ๆ แล้ว ถัก เปน เฝือก ยาว เก้า วา ยี่สิบ วา เอา ลง วง ฝูง ปลา ใน น้ำ นั้น.
      วก มา (669:22.5)
               คือ เหียน วง มา, คน วิ่ง ตรง หน้า ไป ตาม ทาง, แล้ว หัน เวียน กลับ มา หลัง นั้น.
      วก หลัง (669:22.6)
               คือ เหียน เวียน มา หลัง, คน เดิน ฤๅ วิ่ง ไป แล้ว, หัน เวียน มา เบื้อง หลัง นั้น.

--- Page 670 ---
      วก เวียน (670:22.7)
               คือ หวน เวียน, คน เดิน ฤๅ วิ่ง ไป แล้ว, หวน เวียน กลับ หลัง มา นั้น.
      วก แห (670:22.8)
               คือ เอา แห วง เข้า นั้น.
วัก (670:1)
         คือ เอา มือ แบ ออก แล้ว จุ่ม ลง ใน น้ำ แล้ว งอ มือ เข้า ทำ ให้ น้ำ ขึ้น มา ใส่ ปาก กิน เปน ต้น นั้น.
      วัก ถั่ว (670:1.1)
               คือ ฝัก ถั่ว, คน พูจ ถึง ทำ ไร่ ปลูก ผัก กิน, ว่า เรา จะ ปลูก ผัก วัก ถั่ว กิน นั้น.
      วัก น้ำ (670:1.2)
               คือ ทำ มือ เช่น ว่า, คน จะ ต้อง การ น้ำ ไม่ มาก เอา แต่ ภอ ลูบ ตัว เปน ต้น แล วัก น้ำ นั้น.
      วัก สาด (670:1.3)
               คือ เอา มือ วัก เอา น้ำ เช่น ว่า แล้ว แล สาด ออก ไป.
      วัคคะ (670:1.4)
               แปล ว่า เปน พวก, เปน เหล่า, เปน หมู่.
แหวก (670:2)
         แยก, คือ เวิก ออก, คน เอา มือ ทั้ง สอง ข้าง ทำ ผ้า ที่ ประตู มุ้ง เปน ต้น ให้ เปน ช่อง ออก นั้น.
      แหวก ผ้า (670:2.1)
               แยก ผ้า, คือ แยก ผ้า, เช่น จะ เยี่ยว แล เอา มือ แยก ผ้า นุ่ง ตรง ภก ลง ไป ให้ เปน ช่อง นั้น.
      แหวก ผม (670:2.2)
               แยก ผม, คือ แยก ผม, เช่น คน ดู อัน ใด มี ฝี เปน ต้น อยู่ ใต้ ผม ที่ หัว แล แยก ผม นั้น.
      แหวก ม่าน (670:2.3)
               แยก ม่าน, คือ เวิก ม่าน, คน อยู่ ใน ม่าน จะ ดู อัน ใด ฤๅ จะ ออก มา, เอา มือ ทำ ที่ ม่าน เช่น ว่า นั้น.
      แหวก ว่าย (670:2.4)
               แหก ว่าย, คือ แยก น้ำ แล้ว ว่าย ไป, เช่น ปลา อยู่ ใน น้ำ มัน ดำ แถก แหวก ว่าย ไป นั้น.
      แหวก แหก (670:2.5)
               คือ เอา มือ ทั้งสอง แยก แล้ว แหก ออก นั้น, เหมือน แหก ลูก ทู่เรียน.
      แหวก ออก มา (670:2.6)
               คือ แยก ออก มา, คน อยู่ ที่ กำบัง ด้วย ผ้า แล เอา มือ แยก ผ้า ทั้งสอง ข้าง ให้ เปน ช่อง ออก.
วอก (670:3)
         เปน ชื่อ ปี ที่ เก้า, เขา เรียก ชื่อ ปีวอก, อธิบาย ว่า ปี ลิง จะ เปน สับท์ ก็ มิ ใช่, เรียก ตาม กัน มา แต่ โบราณ
      วอก แวก (670:3.1)
               คือ คน ทำ ตา เลือก ลาน แล ดู ข้าง โน้น ข้าง นี้ นั้น.
เวิก (670:4)
         คือ เลิก ขึ้น, เช่น คน อยู่ ใน ที่ วง ล้อม ด้วย ม่าน ผ้า, เมื่อ จะ ออก มา เขา เลิก ขึ้น นั้น.
      เวิก คลอง นา (670:4.1)
               คือ เบิก เลิก คลอง นา ให้ น้ำ ไหล ไป นั้น.
วง (670:5)
         คือ ของ กลม รอบ, เช่น วงจันทร์ แล อาทิตย์ เปน ต้น. อย่าง หนึ่ง เช่น ฟองดัน นั้น.
      วงกฎ (670:5.1)
               เปน ชื่อ ภูเขา ใหญ่ เขา หนึ่ง, ใน หนังสือ ว่า มี ใน ป่า หิมพานต์ นั้น.
      วง กลม (670:5.2)
               ดวง กลม, คือ วง ไม่ รี, วง หัวเงื่อน ประจบ กัน, เช่น วง พระอาทิตย์ แล จันทร์, เช่น ว่า แล้ว นั้น.
      วง จันทร์ (670:5.3)
               คือ วง ดวง มณฑล กลม พระจันทร์, เช่น อะธิบาย มา แล้ว ไม่ ผิด กัน นั้น.
      วง เดือน (670:5.4)
               คือ มณฑล กลม แห่ง ดวง จันทร์, คน ไท ทั้ง ปวง เรียก ดวง จันทร์ ว่า เดือน บ้าง.
      วง บ้าน (670:5.5)
               คือ จังหวัด บริเวณ รอบ บ้าน, เช่น บ้าน ที่ เขา ทำ รั้ว วง ไว้ รอบ คอบ นั้น.
      วง ไป (670:5.6)
               คือ อ้อม ไป ตาม ที่ อ้อม เหมือน แม่ น้ำ ที่ ใต้ ปาก ลัด บน เหนือ ปาก ลัด ล่าง นั้น ที่ กรุง เทพฯ.
      วง รอบ (670:5.7)
               คือ อ้อม ไป รอบ, เหมือน คลอง ดู ที่ วง รอบ เมือง เปน ต้น.
      วง วัต (670:5.8)
               คือ ปริ* มณฑล อาราม, เขา ทำ เขื่อน ฤๅ กำแพง แล คู อ้อม วง ล้อม ไว้ นั้น.
      วงษ วาน (670:5.9)
               เปน คำ พูจ ว่า คน นี้ เปน วงษวาน ว่าน เครือ ผู้ ใด นั้น.
      วง แหวน (670:5.10)
               คือ แหวน ที่ เขา ขด เข้า เปน วง กลม, เอา หัว บาศ ต่อ ประจบ กัน เข้า แล้ว เชื่อม ประสาน ให้ ติด กัน
      วง เวียน (670:5.11)
               คือ คน เดิน เวียน ไป รอบ ที่ อัน อ้อม เปน วง กลม นั้น.
      วง อาทิตย์ (670:5.12)
               ดวง อาทิตย์, คือ ปริ* มณฑล ดวง อาทิตย์ อัน ธรรมดา อาทิตย์ มี ทุก โลกย์ เปน วง กลม นั้น.
      วงษ (670:5.13)
               คือ พงษ เผ่า พันธุ เครือ ญาติ, บันดา คน เปน ญาติ กัน เจ็ด ชั่ว เจ็ด ต่อ นั้น, ว่า พงษา.
      วงษ กระกูล (670:5.14)
               คือ คน เปน เครือ ญาติ เดียว กัน, เกิด เปน สาขา ญาติ, เปน กิ่ง ก้าน ต่อ กัน ออก ไป นั้น.
      วงษ กระษัตริย์ (670:5.15)
               คือ คน เกิด เปน ญาติ กับ มหา กระษัตริย์, คำ หลวง ว่า เปน บรม วงษานุวงษ นั้น.
      วงษา นุ วงษ (670:5.16)
               คือ วงษ ใหญ่ วงษ น้อย นั้น.
วัง (670:6)
         คือ ที่ เปน ที่ อยู่ วิเสศ แปลก กว่า ที่ อื่น ๆ, เช่น ที่ บ้าน เจ้า เขา ล้อม ด้วย กำแพง ฤๅ ระเนียด กะดาน นั้น. อย่าง หนึ่ง เช่น ที่ ลำ แม่ น้ำ ที่ เอิ้งเวิ้ง ฦก จรเข้ มัก อยู่ นั้น.

--- Page 671 ---
      วัง กะโดน (671:6.1)
               เปน ชื่อ ที่ ตำบล หนึ่ง อยู่ ฝ่าย เหนือ, เปน แอ่ง เวิ้ง ฦก ซึ้ง มี ใน ลำ แม่ น้ำ นั้น.
      วัง ไก่ เถื่อน (671:6.2)
               เปน ชื่อ ที่ ตำบล หนึ่ง มี อยู่ ฝ่าย ทิศ เหนือ กรุง เทพ ฯ นั้น.
      วัง เจ้า (671:6.3)
               คือ บ้าน เจ้า, อัน ธรรมดา บ้าน ที่ เจ้า อยู่, เขา เรียก วัง ตาม ยศ ศักติ์* เจ้า นั้น.
      วัง ช้าง (671:6.4)
               เปน ชื่อ ที่ ตำบล หนึ่ง อยู่ ทิศ เหนือ กรุง เทพฯ มี ช้าง อาไศรย อยู่ บ้าง.
      วัง ตะม่อ (671:6.5)
               เปน ชื่อ ตำบล หนึ่ง, อยู่ ฝ่าย ทิศ เหนือ กรุง เทพ ฯ นั้น.
      วัง น่า (671:6.6)
               คือ พระราช วัง สำหรับ มหา อุปราช อยู่, เขา ทำ วิเสศ แปลก กว่า วังเจ้า นั้น.
      วัง นอก (671:6.7)
               คือ วัง เจ้า ลูก ขุนหลวง, แต่ เขา ร้อง เรียก ไม่ ออก พระ นาม ด้วย* เกรง จึ่ง ร้อง เรียก ว่า วัง นอก.
      วัง บน (671:6.8)
               คือ วัง อยู่ ฝ่าย เหนือ, เขา เรียก วัง บน, ถ้า วัง อยู่ ฝ่าย ใต้, เขา เรียก วัง ล่าง นั้น.
      วัง แม่ ลูกอ่อน (671:6.9)
               เปน ชื่อ ที่ แห่ง หนึ่ง อยู่ ฝ่าย ทิศ เหนือ กรุง เทพ ฯ มี หญิง แม่ ลูก อ่อน อยู่ บ้าง.
      วัง หลัง (671:6.10)
               คือ วัง เปน ที่ สาม เปน ลำดัพ ถัต วัง น่า ลง มา นั้น แต่ วิเสศ แปลก กว่า วัง เจ้า นั้น.
      วัง หลวง (671:6.11)
               คือ วัง เปน ที่ อยู่ ขุนหลวง, ที่ เปน ใหญ่ ใน ประ- เทศ แว่น แคว้น อัน หนึ่ง นั้น.
      วังเวง (671:6.12)
               เปลี่ยว ใจ, คือ อ้างว้าง วังเวก ใจ อยู่, เช่น คน อยู่ แต่ ผู้ เดียว* ใน ป่า ดง* พง ชัฎ สงัต* เงียบ ใจ นั้น.
      วัง วน (671:6.13)
               ล้อม วน, คือ ที่ วัง จรเข้ ใน แม่ น้ำ เช่น ว่า แล้ว, แต่ ที่ นั้น มี น้ำ ไหล ไม่ ตรง ไป ไหล เวียน อยู่ นั้น.
หวัง (671:1)
         หมาย, คือ คิต ปอง, คน คิด ปอง ด้วย ประโยชน์ อัน ใด* อัน หนึ่ง ต่าง ๆ, มี ปอง หา อาหาร เปน ต้น.
      หวัง ใจ (671:1.1)
               หมาย ใจ, คือ ปอง อยู่ ใน ใจ, คน คิต ปอง อยู่ แต่ ใน ใจ ยัง ไม่ ได้* ทำ ฤๅ ยัง ไม่ ได้* ให้ เปน ต้น นั้น.
      หวัง จะ ให้ (671:1.2)
               หมาย จะ ให้, คือ นึก ปอง จะ ให้ ของ แก่ ผู้ อื่น, คน คิต ถึง บิดา* มารดา เปน ต้น, แล เก็บ ของ ไว้ ให้ นั้น.
      หวัง อยู่ ว่า (671:1.3)
               คือ คิด* ปอง อยู่ ว่า จะ ไป, เช่น คน คิด* ปอง อยู่ ว่า จะ ทำ การ งาน อัน ใด* อัน หนึ่ง เปน ต้น นั้น.
      หวัง ว่า (671:1.4)
               คือ คิด ประสงค์ จะ เอา สิ่ง อัน ใด* ฤๅ เพื่อ เหตุ อัน ใด นั้น.
      หวัง เอา (671:1.5)
               หมาย เอา, คือ นึก เอา สิ่ง อัน ใด อัน หนึ่ง, มี นึก ปอง เอา คุณ พระ เปน ที่ พึ่ง เปน ต้น นั้น.
วาง (671:2)
         ละ, คือ ละ เสีย, เช่น คน ถือ ของ อัน ใด* ไว้ แล้ว ปล่อย ละ ของ นั้น ลง จาก มือ นั้น.
      วาง การ (671:2.1)
               ละ การ, คือ ละ การ ที่ ตัว ทำ กับ มือ นั้น, คน ทำ การ อัน ใด* อยู่ แล ปล่อย ละ การ นั้น เสีย.
      วาง ของ (671:2.2)
               ละ ของ, คือ ปล่อย ละ ของ ที่ ตัว ถือ อยู่, คน เอา มือ ถือ ของ อัน ใด* ไว้, แล้ว ปล่อย ละ ของ นั้น.
      วาง เงิน (671:2.3)
               ละเงิน, คือ ปล่อย ละ เงิน ที่ ตัว ถือ ไว้. อย่าง หนึ่ง เอา เงิน ไป ซื้อ คน มา เปน ทาษ, ว่า วาง เงิน.
      วาง ใจ (671:2.4)
               คือ ไว้ ใจ, เช่น คน เคย จ้าง มา ทำ การ, มี ตี พิมพ์ หนังสือ เปน ต้น, ไว้ ใจ ว่า เขา เคย ทำ ตี* มา แล้ว นั้น.
      วาง เนื้อ วาง ใจ (671:2.5)
               คือ การ ที่ เชื่อ ถือ เอา เปน แท้ เปน หนึ่ง, เช่น พวก คน ต่าง ๆ ที่ ถือ พระ ของ ตัว นั้น.
      วาง ปืน (671:2.6)
               คือ ถือ ปืน อยู่ แล้ว เอา ปืน ละ ลง ไว้ นั้น.
      วาง มือ (671:2.7)
               คือ ปล่อย ละ สิ่ง ที่ ยึต* ไว้ เสีย, คน เอา มือ ยึต* ถือ ของ อัน ใด* ไว้ แล้ว ปล่อย ละ เสีย นั้น.
      วาง ยา (671:2.8)
               คือ พวก หมอ ไป รักษา คน ไข้ ได้* ให้ ยา กิน, เขา ว่า หมอ ได้* วาง ยา แล้ว.
      วาง ไว้ (671:2.9)
               ละ ไว้, คือ เก็บ ของ ไว้, คน เก็บ เอา ของ ไว้ ด้วย* มือ, ครั้น ของ ถึง ที่ แล้ว ปล่อย ลง ไว้ นั้น. วาง ให้, ละ ให้, คือ ปล่อย ให้ ละ ให้, คน หยิบ เอา ของ ให้ ไม่ ถึง มือ บ้าง ถึง มือ บ้าง, แล้ว ปล่อย ลง ให้ นั้น.
ว่าง (671:3)
         เว้น, เปล่า, คือ เวลา ที่ ไม่ มี การ อัน ใด*, เว้น อยู่ ไม่ ได้* ทำ การ อัน ใด*อัน หนึ่ง, ว่า เวลา ว่าง อยู่ นั้น.
      ว่าง การ (671:3.1)
               ไม่ มี การ, เว้น การ, คือ เวลา ที่ เปล่า อยู่ ไม่ ได้ ทำ การ อัน ใด*อัน หนึ่ง, คน ไม่ ได้* ทำ การ อัน ใด* เปล่า อยู่ นั้น.
      ว่าง คน (671:3.2)
               เปล่า คน, คือ เวลา ที่ คน ไม่ ได้* ไป ไม่ ได้* มา, เวลา นั้น ว่า ว่าง คน อยู่ ไม่ มี ผู้ ใด* ไป มา หา นั้น.
      ว่าง ตา (671:3.3)
               คือ ที่ เปล่า ไม่ มี อัน ใด*, คน แล ดู* เคย เหน สิ่ง ของ อยู่, ผ่าย หลัง สิ่ง ของ นั้น ไม่ มี ใน ที่ นั้น, ว่า ว่าง ตา ไป.

--- Page 672 ---
      ว่าง เตียน (672:3.4)
               คือ ที่ เปล่า แล เลี่ยน ไม่ มี ต้น หญ้า นั้น.
      ว่าง ไป (672:3.5)
               คือ ที่ เปล่า ไป, คน เคย เหน ที่ เต็ม ไป ด้วย ของ มี เข้า ใน นา เปน ต้น, ผ่าย หลัง ที่ นั้น ไม่ มี เข้า นั้น.
      ว่าง เปล่า (672:3.6)
               เปล่า ว่าง, คือ ที่ เปน ระวาง เปล่า ไม่ มี ของ สิ่ง อัน ใด ที่ นั้น เปล่า อยู่, ว่า ที่ ว่าง เปล่า นั้น.
      ว่าง มือ (672:3.7)
               คือ คน ทำ การ มี เย็บ ผ้า เปน ต้น, ครั้น อยุด ลง น่อย หนึ่ง ว่า ว่าง มือ ลง.
      ว้าง เวิ้ง (672:3.8)
               เปล่า ว่าง, คือ ที่ เอิ้งเวิ้ง, ที่ อัน ใด ใหญ่ กว้าง เปน ทำ เน เปล่า, ว่า ที่ นั้น กว้าง ว้างเวิ้ง อยู่.
      ว่าง เว้น (672:3.9)
               คือ ที่ เปน ระวาง เปล่า, แล คน ละ เลย เสีย, ไม่ ได้ ทำ อัน ใด ลง ใน ที่ นั่น นั้น.
      ว่าง สาศนา (672:3.10)
               เปล่า จาก คำ สั่งสอน, คือ กาล เมื่อ ไม่ มี พระ เจ้า มา ตรัศ โปรด สัตว, ต่อ ไป อีก จึ่ง มี พระ สาศนา นั้น.
หว่าง (672:1)
         ระแวก, คือ ที่ มี บ้าน ฤๅ วัต* เปน ต้น, ตั้ง อยู่ แล้ว เว้น ไป ไม่ มี อัน ใด, เปน ที่ เปล่า อยู่ แล้ว จึ่ง มี บ้าน ฤๅ วัต* เปน ต้น ที่ เปล่า อยู่ นั้น, เรียก ว่า หว่าง.
      หว่าง เกล้า (672:1.1)
               กลาง หัว, คือ หว่าง ผม บน ศีศะ, เช่น หัว คน ที่ มี ผม เกล้า ไว้ ใน ท่ำ กลาง ผม เกล้า นั้น.
      หว่าง กลาง (672:1.2)
               ระแวก กลาง, คือ ที่ เปน ที่ เปล่า อยู่ ท่ำ กลาง เช่น บ้าน ฤๅ วัต* เปน ต้น, ที่ ไม่ มี อัน ใด อยู่ นั้น.
      หว่าง การ (672:1.3)
               ระวาง การ, คือ ทำ การ แล้ว เวลา นั้น ว่า หว่าง อยู่, แล้ว จึ่ง ทำ การ นั้น อีก, เวลา ที่ อยุด นั้น, ว่า หว่าง การ.
      หว่าง ขา (672:1.4)
               ระวาง ฃา, คือ ฃา มี สอง ข้าง ที่ ท่ำกลาง นั้น เรียก ว่า หว่าง, เช่น คน มี ขา สอง ขา, ที่ กลาง หว่าง นั้น ว่า หว่าง ขา.
      หว่าง เขา (672:1.5)
               ระแวก เขา, คือ ที่ มี ภูเขา อยู่ สอง ข้าง ที่ ท่ำกลาง นั้น, เรียก ว่า หว่าง เขา. อย่าง หนึ่ง เขา แพะ ฤๅ เขา โค มี สอง เขา ที่ หัว มัน, ที่ ท่ำกลาง ว่า หว่าง เขา.
      หว่าง คน (672:1.6)
               ระวาง คน, คือ ที่ มี คน อยู่ มาก ที่ เว้น อยู่ ไม่ มี คน นั้น, ว่า ที่ หว่าง คน. อย่าง หนึ่ง ไม่ มี ผู้ ใด ไป มา เวลา นั้น ว่า หว่าง คน.
      หว่าง ช่อง (672:1.7)
               ระวาง ช่อง, คือ ที่ เปน ช่อง อยู่ ท่ำกลาง ช่อง นั้น ว่า หว่าง ช่อง, คน ทำ ที่ เปน ช่อง ไว้ ที่ รั้ว เปน ต้น, มี ท่ำ กลาง นั้น ว่า หว่าง.
      หว่าง บ้าน (672:1.8)
               ระแวก บ้าน, คือ ที่ มี บ้าน อยู่ สอง ข้าง, ที่ เว้น อยู่ นั้น ว่า หว่าง บ้าน.
      หว่าง* เมือง (672:1.9)
               ระวาง นคร, คือ ที่ มี เมือง อยู่ กับ เมือง เปน ต้น ที่ เว้น อยู่ กลาง นั้น, ว่า หว่าง เมือง นั้น.
      หว่าง องค์ (672:1.10)
               ระหว่าง องค์, คือ องค์ พระพุทธ รูป เปน ต้น, คน ตั้ง ไว้ มาก หลาย องค์, ที่ เว้น ว่าง อยู่ นั้น, ว่า หว่าง องค์.
วิง (672:2)
         เวียน หมุน, คือ ตา คน เมื่อ เปน ลม เกิด ขึ้น ที่ หัว, มัน ให้ ตา ไม่ เปน ปรกติ หมุน เวียน อยู่ นั้น.
      วิง ใน ตา (672:2.1)
               เวียน หมุน ใน ตา, คือ ที่ จักษุ ดู อัน ใด เหน หมุน เวียน ไป, เพราะ ลม เกิด ขึ้น ใน ศีศะ นั้น.
      วิง วอน (672:2.2)
               อ้อน วอน, คือ อ้อน วอน, เช่น คน ปรารถนา ของ อัน ใด ฤๅ จะ เอา เปน ที่ พึ่ง แล ว่า ฃอ ด้วย กล่าว คำ มาก นั้น.
      วิง เวียน (672:2.3)
               หมุน เวียน, คือ ลม ทำ ให้ มึน ศีศะ ดู สิ่ง ใด ให้ หมุน เวียน ไป, เช่น จังหัน ที่ ถูก ลม พัด นั้น.
วิ่ง (672:3)
         คือ ยก เท้า ก้าว ถี่ ๆ ไป ด้วย กำลัง แรง เร็ว นัก นั้น.
      วิ่ง ควาย (672:3.1)
               คือ คน จับ เชือก ที่ ผูก ควาย, ฉุด ลาก ภา ให้ ควาย มัน วิ่ง ไป เพื่อ จะ วิ่ง แข่ง กัน นั้น.
      วิ่ง ตาม (672:3.2)
               คือ จะ ตาม คน ที่ หนี ไป หน้า นั้น, คน รีบ เร่ง ยก เท้า ก้าว ไป ถี่ ๆ ทำ ให้ ตัว ไป เร็ว ๆ นั้น.
      วิ่ง หนี (672:3.3)
               คือ คน กลัว เขา จะ เบียดเบียฬ ทุบ ตี, แล วิ่ง ไป เบื้อง หน้า โดย กำลัง แรง เร็ว นั้น.
      วิ่ง ไป (672:3.4)
               คือ คน ยก เท้า ก้าว ไป เร็ว ๆ คน ไป โดย กำลัง แรง เร็ว นัก ไม่ ธ้อ ถอย นั้น.
      วิ่ง ไป วิ่ง มา (672:3.5)
               คือ วิ่ง ออก จาก ที่ นี่ ไป ที่ โน่น, แล้ว วิ่ง ออก จาก ที่ โน่น มา สู่ ที่ นี่ นั้น.
      วิ่ง ผลุน (672:3.6)
               คือ คน ผละ ออก วิ่ง หมุน ไป นั้น.
      วิ่ง พ้น. แล่น พ้น (672:3.7)
               คือ วิ่ง เกิน ไป, เช่น วิ่ง หนี เขา ไป เกิน ล่วง ไป ได้ นั้น.
      วิ่ง มา (672:3.8)
               แล่น มา, คือ ยก เท้า ก้าว เร็ว ๆ มา นั้น.
      วิ่ง เร็ว (672:3.9)
               แล่น เร็ว, คือ แล่น เร็ว นัก, วิ่ง นั้น คำ ภาษา ลาว พูจ ว่า แล่น, คน จะ ไป เร็ว แล แล่น ไป นั้น.

--- Page 673 ---
      วิ่ง เล่น (673:3.10)
               แล่น เล่น, คือ วิ่ง เที่ยว ไป ไม่ มี ประโยชน์, เช่น พวก ทารก วิ่ง เที่ยว ตาม ขะนอง เล่น นั้น.
      วิ่ง ไล่ (673:3.11)
               แล่น ไล่, คือ วิ่ง ไป เบื้อง หลัง เพื่อ จะ ให้ ทัน คน ที่ หนี ไป เบื้อง หน้า นั้น.
      วิ่ง วัว (673:3.12)
               คือ เอา วัว เทียม เกวียน เข้า เล่ม ละ สอง ตัว เกวียน สอง เล่ม, วัว สี่ ตัว วิ่ง แข่ง กัน.
วุ้ง (673:1)
         คุ้ง, คือ ฉะวาก, ที่ อัน ใด เปน ฉะวาก, เช่น ที่ เปน ทุ่ง นา แล มี ป่า อยู่ ข้าง ซ้าย ขวา เปน อ่าว แอ่ง เข้า ไป, หว่าง นั้น ว่า วุ้ง.
      วุ้ง เวิ้ง (673:1.1)
               คุ้ง เวิ้ง, คือ ที่ เปน ฉะวาก เปล่า เอิ้งเวิ้ง, เช่น ที่ น้ำ แล ที่ บก เปน ทำเน, มี ป่า ข้าง ซ้าย ขวา เช่น ว่า นั้น, ว่า ที่ เปน วุ้ง เวิ้ง.
แวง (673:2)
         โดย ยาว, เปน คำ พูด ตาม วิธี พวก รั้ง วัด นา, จะ เรียก เอา ค่า นา, ส่ง เปน เงิน หลวง นั้น, วัด โดย ยาว เรียก ว่า แวง นั้น.
แว้ง (673:3)
         เลี้ยว, คือ เหวี่ยง วัด, เช่น จรเข้ มัน จะ กัด คน เปน ต้น, มัน กัด ตรง เช่น หมา ไม่ ได้, แว้ง กัด เอา, คือ มัน ทำ หัว ให้ เสมอ ของ แล้ว เอี้ยว ฅอ มา คาบ เอา นั้น.
      แว้ง กัด (673:3.1)
               เลี้ยว กัด, คือ เหวี่ยง ปาก ไป กัด ข้าง ๆ, จรเข้ มัน จะ กัด สิ่ง ใด ๆ, มัน ทำ หัว ให้ เกิน ของ แล้ว เอี้ยว ฅอ มา กัด เอา นั้น.
      แว้ง กัน (673:3.2)
               เหวี่ยง กัน, คือ เหวี่ยง เอา กัน, เช่น หมู มัน สู้ กัน, มัน ไม่ กัด ตรง เช่น หมา มัน เอี้ยว ฅอ ต่อ สู้ กัน
      แว้ง ขวา (673:3.3)
               เหวี่ยง วัด เบื้อง ขวา, คือ เหวี่ยง ข้าง ขวา, เช่น จรเข้ มัน จะ กัด อัน ใด ๆ, มัน ทำ หัว ให้ เกิน ของ นั้น แล้ว เอี้ยว ฅอ มา กัด เอา นั้น.
      แว้ง ขบ (673:3.4)
               เลี้ยว ขบ, คือ เหวี่ยง ปาก ไป ขบ ข้าง ๆ, จรเข้ มัน จะ กัด อัน ใด ๆ มัน ทำ อาการ เช่น ว่า นั้น.
      แว้ง งับ (673:3.5)
               เลี้ยว งับ, คือ เหวี่ยง ปาก ไป งับ ข้าง ๆ, ลาง ที* สุนักข์ มัน เอี้ยว ฅอ มา อ้า ปาก คาบ เอา มี บ้าง.
      แว้ง จับ (673:3.6)
               เลี้ยว จับ, คือ เหวี่ยง ไป จับ ข้าง ๆ, เช่น คน เอี้ยว ตัว ไป ข้าง ๆ แล้ว จับ เอา ตัว คน เปน ต้น นั้น.
      แว้ง มา (673:3.7)
               เลี้ยว มา, คือ เหวี่ยง มา ข้าง ๆ, คน เหวี่ยง เอี้ยว ตัว มา ข้าง ๆ เพื่อ จะ จับ เอา สิ่ง อัน ใด ๆ นั้น.
      แว้ง วัด (673:3.8)
               เลี้ยว วัด, คือ เหวี่ยง วัด, คน เหวี่ยง ตัว เอี้ยว มา ทำ ศอก ฤๅ แขน ให้ ถูก คน อื่น เจ็บ ปวด นั้น.
      แว้ง หาง (673:3.9)
               เลี้ยว หาง, คือ วัด เหวี่ยง หาง ไป ข้าง ซ้าย ฤๅ ขวา นั้น.
      แว้ง หัว (673:3.10)
               เลี้ยว หัว, คือ เหวี่ยง วัด หัว ไป อย่าง จรเข้ เช่น ว่า แล้ว นั้น.
แหว่ง (673:4)
         คือ สั้น* เข้า ไป, เช่น มี สุริย์ ฆาฏ ฤๅ จันท์ ฆาฏ มี มณ ฑล สิ้น แป้ว ไป นั้น.
      แหว่ง กึ่ง ดวง (673:4.1)
               คือ เงา แผ่นดิน บัง ดวง จันทร์ ฤๅ ดวง อาทิตย์ ครึ่ง ดวง นั้น.
      แหว่ง กลาง (673:4.2)
               ขาด กลาง, คือ แป้ว ท่ำกลาง, เช่น จันท์ฆาฏ สิ้น เข้า ไป แป้ว กึ่ง กลาง นั้น.
      แหว่ง ก้น (673:4.3)
               ขาด ก้น, คือ สิ้น แป้ว ไป ข้าง ก้น, เช่น ภาชนะ ที่ คน ใช้ มี ขัน เปน ต้น, มัน สึก แป้ว ไป ข้าง ก้น นั้น.
      แหว่ง ข้าง (673:4.4)
               ขาด ข้าง, คือ แป้ว สิ้น ไป ที่ ข้าง ๆ, เช่น ครก ที่ สำหรับ ตำ เข้า เปน ต้น, มัน สึก แป้ว ข้าง ๆ นั้น.
      แหว่ง มุม (673:4.5)
               ขาด มุม, คือ แป้ว สิ้น ไป ที่ มุม, เช่น ของ ใช้ ที่ มี มุม มี สมุก เปน ต้น, มัน แป้ว ไป ที่ มุม นั้น.
      แหว่ง ริม (673:4.6)
               ขาด ริม, คือ แป้ว สิ้น ไป ที่ ริม, เช่น ภาชนะ เครื่อง ใช้ มี ถาด เปน ต้น มัน สึก แป้ว ริม นั้น.
      แหว่ง หู (673:4.7)
               คือ หู แป้ว สิ้น ไป, เช่น คน ที่ ใบ หู เกิด โรค มัน กิน ใบ หู สิ้น แป้ว ไป นั้น.
โหวง (673:5)
         คือ ของ เบา นัก, เขา พูจ ว่า เบาโหวง ทีเดียว.
ว่อง (673:6)
         คือ เบา, ของ ที่ เบา ว่า เบา ว่อง, เช่น เรือ ใหม่ ๆ, อ่อง ลอย บน น้ำ ฟ่อง อยู่ นั้น.
      ว่อง เบา (673:6.1)
               คือ ของ เบา ว่อง, เหมือน ยก กระชุก นุ่น นั้น.
      ว่อง ไว (673:6.2)
               รวด เร็ว, คือ เร็ว คล่อง, เช่น คน เด็ก หนุ่ม มัน รวด เร็ว ใน การ จะ ลุก จะ นั่ง เปน ต้น นั้น.
      ว่อง แวว (673:6.3)
               ระแคะ ระคาย, เปน คำ พูจ ถึง ถ้อย ความ อัน ใด อัน หนึ่ง ที่ ยัง ไม่ รู้ ไม่ เหน, ถาม กัน ว่า ท่าน เหน ว่องแวว บ้าง ฤๅ หา ไม่ นั้น.
เวียง (673:7)
         เมือง, วัง, เปน ชื่อ เมือง, ภาษา ลาว เรียก เมือง ว่า เวียง นั้น.

--- Page 674 ---
      เวียง จัน (674:7.1)
               เปน ชื่อ เมือง ลาว เปน เมือง ใหญ่ อยู่ ฝ่าย เหนือ ทิศ อิสาน คือ ทิศ ตวัน ออก เฉียง เหนือ.
      เวียง ไชย (674:7.2)
               นคร ไชย, คือ เมือง ที่ มี ไชย ชะนะ แก่ ฆ่า ศึก เมือง ที่ ฆ่า ศึก มา ตี กลับ พ่าย แพ้ ไป นั้น.
      เวียง วัง (674:7.3)
               พระราช วัง, เปน คำ เรียก เมือง แล วัง, คน พูจ เปน คำ สร้อย ถึง เมือง แล วัง ว่า เวียง วัง.
เหวี่ยง (674:1)
         คือ สบัด ฟัด ไป, เช่น คน จับ ของ อัน ใด แล ซัด ฟัด ไป พ้น มือ ไม่ ถือ ไว้ นั้น.
      เหวี่ยง* ของ (674:1.1)
               คว่าง ของ, คือ สบัด ฟัด ของ ไป, เช่น คน จับ ของ มี มีด พร้า เปน ต้น ฟัด ทิ้ง ออก ไป นั้น.
      เหวี่ยง คว่าง (674:1.2)
               คือ จับ ของ ซัด ทิ้ง ไป โดย ขวาง นั้น.
      เหวี่ยง ตัว (674:1.3)
               ทิ้ง ตัว, คือ ทำ ตัว ให้ ทอด ทิ้ง ไป ข้าง ซ้าย ฤๅ ข้าง ขวา นั้น.
      เหวี่ยง ทิ้ง (674:1.4)
               คว่าง ทิ้ง, คือ ซัด ทิ้ง ออก ไป, คน จับ เอา ของ อัน ใด ไม่ ทิ้ง ไป ตรง หน้า ซัด ไป ข้าง ๆ นั้น.
      เหวี่ยง หน้า (674:1.5)
               สบัด หน้า, คือ สบัด หน้า เบือน ไป ข้าง ซ้าย ฤๅ ข้าง ขวา นั้น.
      เหวี่ยง ไป (674:1.6)
               ซัด ไป, คือ ซัด ทิ้ง ของ ออก ไป, คน จับ เอา ของ อัน ใด แล้ว ซัด ออก ไป ข้าง ๆ นั้น.
      เหวี่ยง มา (674:1.7)
               ซัด มา, คือ ซัด ทิ้ง ของ มา ข้าง หลัง, คน จับ เอา ของ แล้ว ซัด ออก มา ข้าง หลัง นั้น.
      เหวี่ยง ย่าม (674:1.8)
               วัด ย่าม, คือ ซัด ทิ้ง ย่าม ฟัด วัด ไป มา, คน มี ย่าม ห้อย อยู่ ที่ มือ ฟัด ฟาด ไป นั้น.
      เหวี่ยง วัด (674:1.9)
               สลัด ซัด, คือ ซัด วัด ทิ้ง, คน จับ เอา ของ อัน ใด แล้ว ซัด ไป ข้าง ๆ นั้น.
      เหวี่ยง เสีย (674:1.10)
               ซัด เสีย, คือ ซัด วัด ทิ้ง ไป ข้าง ๆ, คน จับ เอา ของ อัน ใด แล้ว ซัด สลัด เสีย.
      เหวี่ยง ให้ (674:1.11)
               ซัด ให้, คือ สลัด ซัด ไป ข้าง ๆ ทิ้ง ให้, คน จะ ให้ ของ อัน ใด เขา แล สลัด ซัด ให้.
เวิ่ง (674:2)
         ว่าง เปล่า, คือ ที่ ว่าง เปล่า, เช่น ที่ ชาย ป่า ฤๅ เนิล เขา มี ป่า บ้าง ที่ ว่าง เปล่า บ้าง.
เวิ้ง (674:3)
         คือ ที่ ว่าง ใหญ่ กว้าง, เช่น ที่ ป่า ดง แล มี ป่า บ้าง, ว่าง เปล่า อยู่ กว้าง บ้าง.
      เวิ้ง วุ้ง (674:3.1)
               คือ ที่ ว่าง เปล่า เปน ชะวาก ว่าง อยู่ นั้น.
วัด (674:4)
         เทียบ กัน, คือ สบัด ฟัด ออก ไป. อย่าง หนึ่ง ทำ ของ สอง อัน เปน ต้น, ที่ มัน ไม่ เสมอ กัน เทียบ เคียง* กัน เข้า ให้ ค่า นั้น.
      วัด กัน (674:4.1)
               สอบ กัน, คือ ทำ ของ ที่ ยาว สั้น เทียบ เคียง กัน เข้า ทำ ให้ มัน เสมอ กัน บ้าง, ดู ว่า อัน ไหน จะ ยาว จะ สั้น บ้าง
      วัด ขึ้น (674:4.2)
               คือ หวิด ขึ้น, เช่น คน ตก ปลา เอา เหยื่อ เกี่ยว ที่ เบ็ด ทิ้ง ลง น้ำ ครั้น ปลา ฉวย ก็ วัด ขึ้น.
      วั จะนะ (674:4.3)
                ฯ แปล ว่า ถ้อย คำ ที่ คน กล่าว มี คำ หนึ่ง เปน ต้น ว่า วั จะนะ.
      วัฒฒะนา (674:4.4)
               ฯ แปล ว่า จำเริญ, คน ที่ เกิด ออก จาก ครรภ์ มารดา แล้ว โต ใหญ่ ขึ้น นั้น.
      วัด ดู (674:4.5)
               คือ วัด สอบ ดู ว่า อัน ไหน จะ สั้น อัน ไหน จะ ยาว นั้น.
      วัฎปรนิบัติ (674:4.6)
               คือ ถึง จำเภาะ ซึ่ง ข้อ ประพฤติ์ เพื่อ ความ ชอบ ธรรม.
      วัตถา (674:4.7)
               ฯ แปล ว่า ผ้า, บันดา ผืน ผ้า เช่น ผ้า ทำ ด้วย ไหม เปน ต้น เรียก ว่า ผ้า แพร.
      วัตถา ลังกาภรณ์ (674:4.8)
               ฯ แปล ว่า ผ้า แล เครื่อง สำหรับ ยัง ศริระ ให้ เต็ม นั้น.
      วัตถุ (674:4.9)
               ฯ แปล ว่า สิ่ง ของ มี ที่ เปน ต้น, เช่น ที่ ไร่ สวน ฤๅ นา เปน ต้น อยู่ ใน วัตถุ นั้น.
      วัตถุ ปัจไจย (674:4.10)
               ฯ คือ ของ อัน ใด ๆ มี เงิน เปน ต้น, ที่ มัน ให้ สำเรทธิ์ ประโยชน์ ได้ ต่าง ๆ นั้น.
      วัด ที่ วัด ทาง (674:4.11)
               คือ การ ที่ เขา เอา ไม้ วา เปน ต้น วาง ทาบ ลง ต่อ ๆ ไป ให้ รู้ ว่า ที่ ทาง ยาว เท่า นี้ เท่า นั้น ๆ.
      วัด ไม้ (674:4.12)
               คือ เอา ไม้ วา สำหรับ วัด ไม้ ซุง เปน ต้น, ทาบ ลง ที่ ไม้ ซุง แล้ว ทาบ ต่อ ไป ให้ รู้ ว่า ไม้ ซุง ยาว เท่าไร นั้น.
      วัด วา (674:4.13)
               คือ วัด ด้วย ไม้ วา. อย่าง หนึ่ง เขา พูจ ถึง วัต อาราม ที่ พระ สงฆ์ อยู่ ใส่ คำ สร้อย ว่า วัตวา นั้น.
      วัตวา อาราม (674:4.14)
               คือ คำ เขา พูจ ถึง วัต ว่า วัตวา อาราม ๆ เปน คำ สร้อย.
      วัด เหวี่ยง (674:4.15)
               คือ ทำ มือ ให้ ซัด ฟัด ไป ข้าง ๆ คน ซัด ฟัด ของ อัน ใด ไป ข้าง ๆ ว่า วัด เหวี่ยง.
      วัฏ สงสาร (674:4.16)
               ฯ แปล ว่า ท่อง เที่ยว วน เวียน, คือ ความ ว่า เวียน ตาย เวียน เกิด นั้น.

--- Page 675 ---
      วัศะวะลาหก (675:4.17)
               ฯ เปน ชื่อ เทวดา เปน ผู้ บันดาล ให้ ฝน ตก องค์ หนึ่ง, อยู่ ใน สวรรค์ นั้น.
      วัศษา (675:4.18)
               ฯ แปล ว่า ปี, เหมือน พระสงฆ์ บวช เข้า ได้ ปี หนึ่ง เขา ว่า บวช ได้ วัศษา หนึ่ง.
      วัตสันตะ ระดู (675:4.19)
               ฯ คือ กาละ เปน น่า ฝน, ถึง กาละ กำหนด เดือน แปด วัน สิบ ห้า ค่ำ กลาง เดือน, ลิ้น ระดู ร้อน วัน เดือน แปด แรม ค่ำ หนึ่ง ไป, เปน ระดู ฝน ไป จน ถึง วัน สิบ ห้า ค่ำ กลาง เดือน สิบสอง นั้น.
      วัตสันตะติลก (675:4.20)
               ฯ เปน ชื่อ คำ ฉันท์ คาถา หนึ่ง, บาท หนึ่ง สิบเอ็ด อักษร, ครบ สี่ บาท เปน คาถา หนึ่ง.
หวัด หนังสือ (675:1)
         คือ เขียน ไม่ ประจง เปน ตัว เล็ก ภอ อ่าน ได้ ความ ไม่ เอา งาม นั้น.
หวัด ไอ (675:2)
         เปน ชื่อ โรค อย่าง หนึ่ง, มัน ให้ ไอ แล ปวด ศีศะ มี น้ำ มูก ออก ทาง จะมูก เสมหะ เกิด ใน ฅอ ด้วย.
วาด (675:3)
         คือ เอา มือ จับ ดินสอ ฤๅ พู่กัน วาง ลง ลาก เปน เส้น ไป ที่ พื้น เหมือน ช่าง เขียน ๆ นั้น.
      วาด เขียน (675:3.1)
               คือ ทำ* เช่น ว่า นั้น, คน เปน ช่าง เขียน เมื่อ จะ เขียน นั้น ต้อง วาด รูป ร่าง เสีย ก่อน.
      วาด จำลอง (675:3.2)
               คือ จะ วาด เขียน รูป อัน ใด, เอา รูป นั้น มา วาง แล้ว พิจารณ์ เขียน ไป ตาม อย่าง นั้น.
      วาด รูป (675:3.3)
               คือ เขียน เอา รูป อัน ใด ๆ ที่ งาม แก่ ตา วาด เอา มา ให้ เหมือน รูป นั้น.
      วาด เรือ (675:3.4)
               คือ ภาย เรือ ทำ ให้ ท้าย เรือ หัน เข้า ฤๅ ให้ หัว เรือ หัน เข้า นั้น, คน ไป ใน เรือ ทำ เช่น นั้น.
      วาศนา (675:3.5)
               คือ ผล ที่ กระทำ ให้ คน ได้ ยศ ศักดิ์, เช่น คน เดิม เปน พลเรือน อยู่, ครั้น ถึง วาระ กุศล ส่ง ให้ ผู้ นั้น ก็ ได้ ยศ ศักดิ์ ท่าน ตั้ง แต่ง ให้.
      วาศนา หา ไม่ (675:3.6)
               คือ คน ไม่ ได้ เปน ที ขุนนาง ใหญ่ น้อย, แต่ ทำ ราชการ เสมอ มิ ได้ ขาด นั้น.
      วาด หัว วาด ท้าย (675:3.7)
               คือ คน อยู่ ข้าง หัว ข้าง ท้าย เอา ภาย ๆ น้ำ ให้ หัว หัน ท้าย หัน เข้า นั้น.
หวาด (675:4)
         คือ ตก ใจ แต่ แรก ๆ, เช่น คน ได้ ยิน เสียง เขา ร้อง ว่า ไฟ ไหม้, แรก ตก ใจ ขึ้น นั้น.
      หวาด ไหว (675:4.1)
               คือ มี ความ ตก ใจ เช่น ว่า แล้ว, ไหว กาย จะ ลุก ขึ้น ไป ดู เปน ต้น นั้น.
      หวาด หวั่น (675:4.2)
               พรั่น พรึง, คือ แรก ตกใจ ไหว ตัว, คน แรก ได้ ยิน เขา ร้อง ว่า ไฟ ไหม้ ที่ ใกล้ ๆ, ใจ หวาด กลัว ตัว สั่น นั้น.
      หวาด เสียว (675:4.3)
               สดุ้ง ตกใจ, คือ ตัว ไหว ใจ หวิว วับ, เช่น คน ขึ้น ไป บน ที่ สูง แล ลง มา ข้าง ล่าง, ดู เหมือน ตัว จะ ตก ลง มา ใจ หวิว วับ.
วิด (675:5)
         คือ เอา มือ วัก น้ำ แล้ว สาด ไป. อย่าง หนึ่ง คน เอา แครง เปน ต้น ตัก น้ำ ใน เรือ ออก เสีย นอก เรือ นั้น.
      วิทธยาคม (675:5.1)
               คือ วิชา ความ รู้ แล คาถา อาคม ที่ เศก ให้ อยู่ คง เปน ต้น.
      วิด น้ำ (675:5.2)
               คือ เอา มือ วัก น้ำ สาด ไป, คน จะ รด น้ำ ต้น ไม้ เปน ต้น, แล วัก น้ำ สาด ไป นั้น.
      วิด วัก (675:5.3)
               คือ วัก วิด เช่น ว่า, คน จะ ทำ น้ำ ให้ ออก จาก เรือ เปน ต้น, แล วิด วัก ตัก น้ำ ออก นั้น.
      วิด สาด (675:5.4)
               คือ เอา มือ ฤๅ กะลา เปน ต้น, ตัก เอา น้ำ ทำ ให้ ออก ไป พ้น เรือ เปน ต้น นั้น.
      วิด แห้ง (675:5.5)
               คือ วิด น้ำ ใน เรือ หมด ไป นั้น.
หวีด ร้อง (675:6)
         คือ เสียง ร้อง หวีด, เมื่อ หญิง ฤๅ เด็ก ตก ใจ อัน ใด นั้น.
วุดโต ไทย (675:7)
         คือ หนังสือ วุดโด* สำหรับ บังคับ ให้ แต่ง คำ ฉันท์, แล สำแดง คะณะ ทั้ง แปด เปน ต้น.
      วุด ไฟ (675:7.1)
               คือ เป่า ไฟ จะ ให้ ลุก ที่ ชุด กะดาด, คน จะ ติด ไฟ แล เอา กะดาด ชุด วุด ไฟ ขึ้น นั้น.
เวไชยันต พิมาน (675:8)
         ฯ เปน ชื่อ วิมาน ใหญ่ ของ พระอินท์ อัน เปน พระยา แห่ง เทวดา ชั้น ดาวดึงษ นั้น.
      เวชะกรรม (675:8.1)
               ฯ คือ กะทำ เยียวยา เพื่อ จะ นำ เสีย ซึ่ง โรค แห่ง คน ไข้ เพื่อ จะ ให้ อยู่ สบาย นั้น.
      เวตะระณี (675:8.2)
               ฯ เปน ชื่อ นะรก ขุม หนึ่ง, ว่า มี แม่ น้ำ มี หนาม หวาย กรฏ สำหรับ ยอก แทง สัตว ใน นรก นั้น.
      เวทะนา (675:8.3)
               ฯ แปล ว่า เสวย ทุกข์, เช่น คน มี ความ เจ็บ ป่วย ด้วย โรค อัน ใด อัน หนึ่ง, ว่า เสวย ทุกข์ นั้น.

--- Page 676 ---
      เวทางค์ สาตร์ (676:8.4)
               คือ คำภีร ไตรย เพท สำหรับ พราหมณ์ ทิศา ป่า โมขาจาริย์ นั้น.
เวทมนตร์ (676:1)
         แปล ว่า กล่าว คาถา วิชา ที่ ตัว รู้ เพราะ ได้ เล่า เรียน ไว้ นั้น.
      เวศสุวรรณ (676:1.1)
               เปน ชื่อ เทวดา องค์ หนึ่ง, เปน ผู้ รักษา โลกย์, ว่า เปน ใหญ่ กว่า ฝูง ยักษ ทั้ง ปวง.
      เวศสันดร (676:1.2)
               เปน ชื่อ กระษัตริย์ องค์ หนึ่ง, แต่ ก่อน มี ใน หนังสือ เรื่อง นิทาน นั้น.
เว็จ (676:2)
         คือ ที่ ทำ ไว้ สำหรับ ถ่าย อุจาระ แล ปะสาวะ นั้น.
      เว็จ ขี้ (676:2.1)
               คือ ที่ เขา ทำ ไว้ เพื่อ ถ่าย อุจาระ ปะสาวะ นั้น.
แวด (676:3)
         คือ เดิน มา ใกล้ ๆ คอย เวียน วน ดู อัน ใด ๆ นั้น.
      แวด ชาย (676:3.1)
               คือ เวียน มา ใกล้ ๆ, เช่น คน จะ ดู อัน ใด, แล เดิน เร่ ร่าย มา ใกล้ ๆ ที่ นั้น.
      แวด ล้อม (676:3.2)
               วง รอบ, คือ วง ล้อม, คน ทำ ที่ บ้าน เปน ต้น, แล ทำ รั้ว เหล็ก เปน ต้น วง ล้อม รอบ นั้น.
      แวด วง (676:3.3)
               ล้อม รอบ, คือ เวียน วง, คน ทำ กำแพง เมือง เปน ต้น, ก่อ ด้วย อิฐ ถือ ปูน วง ล้อม รอบ นั้น.
วอด (676:4)
         ดับ, ม้วย, คือ มอด ม้วย, เช่น ของ มี ผลไม้ เปน ต้น, เปน ผล ออก มา ครั้น สิ้น ระดู หมด ไป นั้น.
      วอด ดับ (676:4.1)
               คือ มอด ดับ, เช่น ไฟ ที่ เขา ก่อ ติด สุม ไว้, ครั้น นาน มา สิ้น เชื้อ แล้ว มอด ดับ นั้น.
      วอด ม้วย (676:4.2)
               คือ หมด สิ้น.
      วอด วาย (676:4.3)
               หมด สิ้น, คือ สิ้น หมด ไป, เช่น ผลไม้ ครั้น เปน ผล ออก มา แก่ สุก สิ้น ระดู แล้ว หมด วาย ไป.
วน (676:5)
         เวียน, คือ เวียน หมุน, เช่น น้ำ ที่ เปน วัง อ่าว ซึ้ง, น้ำ มัก ไหล ไม่ สดวก หมุน เวียน อยู่ นั้น.
      วน ไป (676:5.1)
               คือ การ ที่ คน เดิน ทาง กลาง ป่า หลง เวียน อยู่ ไม่ ไป ตรง ได้, เดิน ออก ไป แล้ว กลับ เวียน ไป.
      วน มา (676:5.2)
               คือ การ ที่ คน เวียน มา, คน เดิน ทาง กลาง ป่า ดง ใหญ่, เดิน ออก ไป แล้ว กลับ หลง วง เวียน มา นั้น.
      วน เวียน (676:5.3)
               คือ เวียน วง อยู่.
      วน หา (676:5.4)
               คือ เดิน วง เวียน แสวง หา ของ สิ่ง ใด ๆ นั้น.
วรรณะ (676:6)
         ฯ แปล ว่า ศรี, บันดา ศรี ขาว ฤๅ ศรี เขียว เปน ต้น อยู่ ใน วรรณะ ทั้ง นั้น.
      วรรณะ พฤกษ์ (676:6.1)
               ฯ แปล ว่า พรรณ ต้น ไม้ ต่าง ๆ ใน ป่า อัน ทรง ดอก ออก ผล เปน ต้น.
      วรรณ สะถาน (676:6.2)
               ฯ แปล ว่า ศรี สรรค์ แล ซวด ทรง.
      วัณ ณา (676:6.3)
               ฯ แปล ว่า ศรี สัน พรรณ.
วัน (676:7)
         วาร, คือ วาระ เวลา หนึ่ง, วัน หนึ่ง ตั้ง แต่ รุ่ง เช้า ได้ อา รุณ สว่าง ไป ประจบ รอบ ถึง อารุณ น่า* นั้น.
      วัน โกน (676:7.1)
               คือ วัน ขึ้น สิบ สี่ ค่ำ, แรม สิบ สี่ ค่ำ, เปน วัน กำ หนด ที่ พวก พระ แล เณร โกน ผม นั้น.
      วัน จันทร์ (676:7.2)
               สสิ วาระ, คือ วัน ที่ สอง, เขา เรียก วัน จันทร์ นั้น เพราะ อาไศรย อ้าง เอา ชื่อ เทวดา, อยู่ ใน ปริ มณฑล วิมาน นั้น.
      วัน ดี (676:7.3)
               คือ วัน มี มงคล ฤกษ, เช่น วัน สิทธิ โชก ฤๅ วัน มหา สิทธิ โชก เปน ต้น นั้น.
      วัน ตาย (676:7.4)
               คือ วัน ที่ คน ตาย, วัน ใด วัน หนึ่ง ใน เจ็ด วัน มี วัน อาทิตย์ เปน ต้น, คน ตาย ลง วัน ใด ว่า วัน นั้น เปน วัน ตาย.
      วัน ตัว (676:7.5)
               คือ วัน ที่ คน เกิด, คน เกิด ใน วัน ใด วัน หนึ่ง ใน เจ็ด วัน นั้น, ว่า วัน นั้น เปน วัน ตัว.
      วันทา (676:7.6)
               ฯ แปล ว่า ไหว้, เช่น คน จะ เข้า บวช ยืน ขึ้น ประ- นม มือ ไหว้ นะมัศการ นั้น.
      วันทนา การ (676:7.7)
               ฯ แปล ว่า มี อาการ คือ ไหว้.
      วันณิพก (676:7.8)
               ฯ คือ คน กล่าว พรรณา สรรเสิญ ให้ พร เพื่อ จะ ฃอ ทาน นั้น.
      วันา สณฑ (676:7.9)
               ฯ แปล ว่า ราว ป่า ฤๅ ป่า ดง นั้น.
      วันนาวัน (676:7.10)
               ฯ แปล ว่า ป่า แล ใช่ ป่า.
      วัน น่า (676:7.11)
               คือ วัน จะ มี มา ใน เบื้อง น่า, มี วัน พรุ่ง นี้ เปน ต้น นั้น.
      วัน นี้ (676:7.12)
               คือ วัน บัดเดี๋ยว นี้ ที่ ปรากฎ อยู่, โลกย์ ว่า เปน วัน ประจุบัน, นับ ว่า เปน วัน นี้ นั้น.
      วัน พระ (676:7.13)
               คือ วัน ขึ้น สิบ ห้า ค่ำ ฤๅ แรม สิบ ห้า ค่ำ, ถ้า เดือน ขาด วัน สิบ สี่ ค่ำ สิ้น เดือน, เปน วัน พระ เฃา เรียก ว่า วัน พระ เพราะ เปน วัน พระเจ้า ประสูต เปน ต้น.
      วัน เพญ (676:7.14)
               คือ วัน ที่ ปริมณฑล ดวง จันทร์ เต็ม บริบูรณ, ถ้า กาล ข้าง แรม ไม่ เรียก วัน เพญ.

--- Page 677 ---
      วัน พฤหัศ บดี (677:7.15)
               ครู วาร, คือ วัน ที่ ห้า, เฃา นับ เช่น ว่า นั้น ด้วย กำหนด เอา เทวดา นพ เคราะห์ นั้น.
      วัน พุทธ (677:7.16)
               พุทธ วาร, คือ วัน ที่ สี่, เขา นับ แต่ วัน อาทิตย์ เปน วัน ที่ หนึ่ง เปน ต้น, วัน จันทร์ เปน ที่ สอง, วัน อังคาร เปน ที่ สาม, วัน พุทธ ที่ สี่.
      วัน ร้าย (677:7.17)
               คือ วัน ที่ เขา ว่า เปน วัน ชั่ว มัก ให้ เกิด โทษ ต่าง ๆ เปน ต้น ว่า ให้ เจ็บ ป่วย นั้น.
      วัน เสาร์ (677:7.18)
               โสร วาร, เปน ชื่อ วัน ที่ เจ็ด, โลกย์ เขา นับ เช่น ว่า นั้น, เปน ชื่อ เทวดา ประจำ วัน ที่ เจ็ด.
      วัน สุกร (677:7.19)
               สุกร วาร, คือ เปน ชื่อ วัน ที่ หก, เขา นับ เช่น ว่า แล้ว.
      วัน อาทิตย์ (677:7.20)
               ระวิวาร, คือ วัน ที่ หนึ่ง, เฃา เรียก วัน อาทิตย์ นั้น, เพราะ กำหนด เอา ชื่อ เทวดา อยู่ ใน ปริมณฑล วิมาน นั้น.
      วัน อังคาร (677:7.21)
               ภุมมะ วาร, คือ วัน ที่ สาม, เฃา เรียก วัน อังคาร นั้น, เพราะ อาไศรย อ้าง เอา ชื่อ เทวดา เช่น ว่า นั้น.
หวั่น (677:1)
         สั่น, คือ สั่น ระรัว, เหมือน ต้น ไม้ ต้อง ลม ฤๅ คน จับ ต้น เข้า สั่น นั้น, ว่า ต้น ไม้ หวั่น.
      หวั่น ใจ (677:1.1)
               พรั่น ใจ, คือ พรั่น ใจ, เช่น คน แล่น เรือ ไป เหน เมฆ ตั้ง เปน พยุ ฝน แล ใจ พรั่น กลัว.
      หวั่น ไหว (677:1.2)
               คือ สะเทือน สะท้าน, เช่น แผ่นดิน กำเริบ สะท้าน สะ เทือน เรือน เย่า ไหว เปน ต้น.
      หวั่น หวาด (677:1.3)
               สดุ้ง ตก ใจ, คือ สั่น แล หวาด, เช่น ใจ คน ที่ ต้อง ทุกข์ ไภย เคย ถูก มี ไฟ ไหม้ เปน ต้น, ภอ ได้ ยิน เสียง อึง ใจ พรั่น ตก ใจ วับ ขึ้น นั้น.
วาน (677:2)
         คือ การ ที่ ว่า ให้ เขา ช่วย ไม่ ได้ จ้าง, วาน เขา ให้ มา ช่วย การ อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น.
      วาน ฃอ (677:2.1)
               คือ ว่า ให้ ผู้ อื่น ช่วย ฃอ ของ อัน ใด ๆ นั้น.
      วาน คน (677:2.2)
               คือ คำ บอก ให้ เขา มา ช่วย ทำ การ, มี การ สพ เปน ต้น นั้น.
      วาน ใช้ (677:2.3)
               คือ ว่า ให้ เฃา มา ช่วย ทำ การ อัน ใด ๆ นั้น.
      วาน ซืน นี้ (677:2.4)
               คือ วัน ล่วง แล้ว ถัด วาร นี้ ไป นั้น.
      วาน ทำ (677:2.5)
               ให้ ช่วย ทำ, คือ วาน ให้ เขา มา ช่วย ทำ การ เปล่า ๆ ไม่ ต้อง เสีย ค่า จ้าง นั้น.
      วาน นี้ (677:2.6)
               คือ วัน ที่ ล่วง แล้ว วัน หนึ่ง นั้น, เขา เรียก วัน ที่ ล่วง ไป แล้ว วัน หนึ่ง นั้น, ว่า วาน นี้.
ว่าน (677:3)
         คือ ต้น หญ้า อย่าง หนึ่ง, เช่น ต้น ขมิ้น มัน มี หัว มี เง่า ใต้ ดิน กิน รศ ขม ๆ บ้าง.
      ว่าน กะสือ (677:3.1)
               คือ ของ เปน ต้น ว่าน เช่น ว่า นั้น, ถ้า คน เอา หมู แขวน ไว้ เอา หมู วาง ข้าง ล่าง แล้ว ยืด เขียว ลง มา กิน เพราะ วิ ไสย กะสือ มัน เปน ธรรมดา.
      ว่าน กีบ แรด (677:3.2)
               คือ ของ เปน ต้น ว่าน สัณฐาน ดัง กีบ ที่ เท้า แรด นั้น.
      ว่าน ค้างคก (677:3.3)
               คือ ต้น ว่าน เช่น ว่า, แต่ หัว มัน มี ผิว ย่น ๆ ครุคระ อยู่ ดู เหมือน หนัง ค้างคก.
      ว่าน ต่าง ๆ (677:3.4)
               คือ ของ ที่ ต้น มัน ขึ้น มา, เช่น ต้น ขมิ้น แล ต้น ข่า* มี หัว ใต้ ดิน นั้น.
      ว่าน น้ำ (677:3.5)
               คือ ต้น ว่าน เกิด อยู่ ใน น้ำ ริม ตลิ่ง, ต้น ใบ มัน คล้าย ต้น เข้า ใบ เข้า นั้น.
      ว่าน เพ็ช หลีก (677:3.6)
               คือ ต้น ว่าน เกิด บน บก ติด* อยู่ กับ ต้น ไม้, เขา ว่า มี ฤทธิ์ อาจ จะ ให้ อาวุธ หลีก ไป ได้ นั้น.
      ว่าน เพ็ช กลับ (677:3.7)
               คือ ว่าน เกิด ติด อยู่ กับ ต้น ไม้, เขา ว่า มัน มี ฤทธิ์ ยัง อาวุธ ให้ กลับ ได้ นั้น.
      ว่าน เพ็ชหึง (677:3.8)
               คือ ต้น ว่าน เกิด ที่ บก ติด กับ ต้น ไม้, ว่า มัน มี ฤทธิ์ มาก นัก, ถ้า มัน มา แล้ว เหมือน ลม พยุ ใหญ่ ต้น ไม้ แล เย่า เรือน ล้ม วินาศ ไป.
      ว่าน หณุมาน (677:3.9)
               คือ ต้น ว่าน มี หัว เง่า, เช่น หัว ลิง ที่ มัน อ้า ปาก อยู่, เฃา ทำ ยา ได้ บ้าง นั้น.
หวาน (677:4)
         เอมโอช, มะธุ, คือ รศ ที่ ดี เปน ที่ ชื่น ชู ใจ, เช่น รศ น้ำ ผึ้ง แล รศ น้ำ ตาน ทราย เปน ต้น นั้น.
      หวาน เข้ม (677:4.1)
               หวาน แก่, คือ รศ หวาน ยิ่ง นัก, เช่น รศ น้ำ ตาล เปน ต้น ที่ ยัง ไม่ ได้ เอา น้ำ เจือ ลง นั้น.
      หวาน น้ำ ตาล (677:4.2)
               คือ รศ หวาน เกิด แต่ ต้น ตาล, คน ทำ น้ำ ตาล เอา กระบอก รอ เอา น้ำ มา เขี้ยว ข้น ขึ้น นั้น.
      หวาน น้ำ ผึ้ง (677:4.3)
               มะธุ, คือ รศ หวาน เกิด แต่ รวง ผึ้ง, เช่น ผึ้ง มัน เอา เกสร ดอก ไม้ ทำ รัง, มี น้ำ หวาน ใน รัง นั้น.
      หวาน น้ำ อ้อย (677:4.4)
               มะธุ ผานิต, คือ รศ หวาน เกิด แต่ ลำ อ้อย, คน ปลูก ต้น อ้อย แล้ว เอา ลำ มัน หีบ รอง เอา น้ำ หวาน นั้น.

--- Page 678 ---
      หวาน ลูก ไม้ (678:4.5)
               หวาน อ่อน ๆ, คือ รศ หวาน เกิด แต่ ผล ไม้, เช่น ผล มะม่วง แล ผล ธู่เรียน เปน ต้น, ว่า หวาน ลูก ไม้.
      หวาน แล้ม ๆ (678:4.6)
               หวาน ปะแล่ม ๆ, หวาน อ่อน ๆ, มี อะธิ บาย ความ เช่น กัน, รศ ที่ หวาน หนัก นั้น, เอา น้ำ ใส่ ลง รศ หวาน จาง ออก ถด รศ ลง, ยัง หวาน น่อย ๆ นั้น, ว่า เช่น นั้น.
      หวาน สนิท (678:4.7)
               หวาน ชิด, คือ รศ หวาน ไม่ เจือ รศ เปรี้ยว, เช่น รศ ผล ไม้ ที่ เปรี้ยว ๆ หวาน ๆ, มี กล้วย เปน ต้น นั้น, หวาน ไม่ สนิท, เช่น รศ น้ำ ผึ้ง* นั้น หวาน สนิท
      หวาน แสบ ฅอ (678:4.8)
               หวาน แหลม, คือ รศ หวาน ยิ่ง นัก จน แสบ ฅอ, เช่น รศ น้ำ ผึ้ง ฤๅ น้ำ อ้อย นั้น.
หว่าน (678:1)
         โปรย, คือ ซัด โปรย ไป, คน ทำ ไร่ เขา หว่าน โปรย เมล็ด ถั่ว ฤๅ งา เขา ทำ นา ซัด เมล็ด เข้า ลง ใน นา นั้น.
      หว่าน กล้า (678:1.1)
               ตก กล้า, คือ ซัด โปรย เข้า เมล็ด ที่ เภาะ ขึ้น เปน หน่อ หนิด ๆ, ให้ ตก ลง ใน เนื้อ นา งอก ยาว เปน ต้น กล้า นั้น.
      หว่าน เข้า (678:1.2)
               โปรย เข้า, คือ ซัด* พืชนะ เมล็ด เข้า เปลือก ที่ ไม่ ได้ เภาะ ลง ใน ที่ นา ไถ ไว้ เพื่อ จะ ให้ เปน ผล มาก นั้น.
      หว่าน งา (678:1.3)
               โปรย งา, คือ ซัด* พืชนะ เมล็ด งา ลง ใน ที่ ไร่, เช่น คน จะ เอา ผล มาก, แล เอา เมล็ด งา โปรย ซัด ลง ใน ไร่ นั้น.
      หว่าน ถั่ว (678:1.4)
               โปรย ถั่ว, คือ ซัด พืชนะ เมล็ด ถั่ว ลง ใน ที่ ไร่ เช่น คน อยาก ได้ ผล มาก นั้น.
      หว่าน นา (678:1.5)
               คือ หว่าน ซัด เมล็ด เข้า ลง ใน นา, คน อยาก ได้ ผล ต่อ ไป มาก นั้น.
      หว่าน โปรย (678:1.6)
               คือ เอา มือ กำ ของ มี เมล็ด พืชนะ เปน ต้น ซัด โปรย ไป นั้น.
      หว่าน พืชนะ (678:1.7)
               โปรย ปราย พืชนะ, คือ เอา สาระพัด พืชนะ เมล็ด ของ ทุก สิ่ง, ซัด โปรย ลง ใน นา ใน ไร่ ใน เรือก สวน นั้น.
      หว่าน เมล็ด (678:1.8)
               ปราย เมล็ด, คือ เอา สรรพ พืชนะ ที่ เปน เมล็ด ซัด โปรย ไป, คน ทำ นา ทำ ไร่ แล หว่าน พืชนะ เมล็ด ลง นั้น.
วิญญา (678:2)
         คือ ประสงค์ เอา จิตร ใจ. อย่าง หนึ่ง แปล ว่า รู้ ต่าง ๆ รู้ โดย วิเสศ.
วิญญาณัญจายะ ตะ นะ ภูม (678:3)
         นี้ เปน ชื่อ ชั้น อะรูปะ พรหม, เปน ชั้น ที่ สอง, อะธิบาย ความ ว่า ชั้น นั้น เปน ที่ พรหม มี แต่ อายะตะนะ คือ วิญญาณ ไม่ มี รูป กาย.
วิญญาณ (678:4)
         คือ จิตร, บันดา คน ที่ เปน มี ชีวิตร อยู่ นั้น มี วิญ ญาณ คือ ใจ ทุก คน ๆ นั้น.
วิ่น (678:5)
         ฉีก, ฃาด, คือ ฉินท์ ขาด, เช่น คน ฉีก ผ้า ครั้น ฉีก เกือบ จะ ถึง ที่ สุด ฉีก ออก ทีเดียว นั้น.
      วิ่น ขาด (678:5.1)
               ฉีก ขาด, คือ ฉินท์ ขาด, เช่น คน ฉีก ผ้า ขาด ออก มาก แล้ว ยัง ไม่ ว่า วิ่น, ต่อ ขาด ออก จาก กัน จึ่ง ว่า วิ่น.
      วิ่น หวะ (678:5.2)
               ฉีก หวะ, คือ ฉินท์ ขาด แหวะ, คน ฉีก ผ้า เปน ต้น มัน ขาด แหวะ ออก จาก กัน นั้น.
วุ่น (678:6)
         คือ การ อุตลุด ต่าง ๆ, เช่น คน มี การ หลาย สิ่ง ไม่ เปน ปรกติ นั้น.
      วุ่น ใจ (678:6.1)
               คือ ใจ กำเริบ ฟุ้ง ซ่าน นั้น.
      วุ่น ไป (678:6.2)
               คือ การ น้อย ฤๅ มาก เปน ต่าง ๆ, บัดเดี๋ยว เปน อย่าง นี้ บัดเดี๋ยว เปน อย่าง โน้น.
      วุ่น วาย (678:6.3)
               คือ การ เล็ก ฤๅ ใหญ่ เปน อย่าง โน้น บ้าง อย่าง นี้ บ้าง เปน ต่าง ๆ นา ๆ นั้น.
วุ้น (678:7)
         คือ ของ กิน เขา เอา มา แต่ เมือง จีน เปน เส้น, เช่น สา หร่าย เขี้ยว ออก เปน เนื้อ เยื่อ ลูก ตาล อ่อน รศ จืด เย็น.
      วุ้น ซอย (678:7.1)
               คือ วุ้น ที่ เจ๊ก เอา มา แต่ เมือง จีน, มัน เปน ฝอย ๆ อยู่ เขา เขี้ยว เปน ปึก แล้ว ซอย เปน ชิ้น กิน นั้น.
      วุ้น แท่ง (678:7.2)
               คือ วุ้น ที่ เขา เขี้ยว ใส่ น้ำ ตาน ทราย ลง รศ หวาน นัก, แล้ว ทำ เปน แท่ง ไว้ นั้น.
      วุ้น ลาย (678:7.3)
               คือ วุ้น เขา เขี้ยว เปน เยื่อ แล้ว เอา ไข่ ใส่ ลง ตัด ออก เปน อัน ๆ ดู ลาย อยู่ นั้น.
      วุ้น หวาน (678:7.4)
               คือ วุ้น เขา ทำ เช่น ว่า แล้ว, แล ไม่ ใส่ อัน ใด อื่น ใส่ แต่ น้ำ ตาน ทราย นั้น.
      วุ้น เส้น (678:7.5)
               คือ วุ้น เขา ทำ มา แต่ เมือง จีน, ทำ เปน เส้น เล็ก ๆ ยาว เช่น เส้น ลวด นั้น.

--- Page 679 ---
เวน (679:1)
         วาร, คือ วาระ ผลัด เปลี่ยน กัน, คน ผูก เวร กัน, เช่น คน หนึ่ง ทำ ประทุษฐ ร้าย เปน ต้น, ว่า กะทำ ด้วย กาย ฤๅ วา จา ให้ ได้ ความ ทุกข์ ถึง ชีวิตร เปน ต้น, ผู้ เจ็บ นั้น ผูก ใจ หมาย มั่น จะ ทำ ตอบ แทน บ้าง นั้น.
      เวร กรรม (679:1.1)
               คือ การ บาป มี ฆ่า สัตว เปน ต้น ที่ จะ ให้ เกิด เวร นั้น.
      เวน เข้า (679:1.2)
               วาระ เข้า คือ วาระ ที่ เข้า ทำ การ โดย ผลัด เปลี่ยน กัน, เช่น คน ทำ ราชการ ผลัด กัน คน ละ สิบ วัน นั้น.
      เวน ขึ้น (679:1.3)
               วาระ ข้าง ขึ้น, คือ เวร เข้า ข้าง เดือน ขึ้น, เช่น วัน ขึ้น ค่ำ หนึ่ง เปน ต้น ไป จน ถึง วัน สิบห้า ค่ำ นั้น, คน ทำ รับ ราช การ ใน สิบ ห้า วัน นั้น, แล้ว ออก ไป นั้น.
      เวน แรม (679:1.4)
               วาระ แรม, คือ เวร เข้า ข้าง เดือน แรม, วัน แรม ค่ำ หนึ่ง ตลอด ไป จน แรม สิบห้า ค่ำ, เปน เวร เข้า นั้น.
      เวน ออก (679:1.5)
               คือ กาล สิ้น กำหนด เวร ออก ไป นั้น, คน รับ ราชการ เข้า เวร สิบ วัน ฤๅ สิบ ห้า วัน ออก ไป นั้น.
เว้น (679:2)
         คือ ไม่ ทำ ฤๅ ไม่ นับ เปน ต้น, เช่น คน ทำ การ อัน ใด ๆ แล อยุด เสีย ไม่ ทำ วัน หนึ่ง แล้ว จึ่ง ทำ ต่อ ไป, ว่า วัน อยุด นั้น เปน วัน เว้น.
      เว้น การ (679:2.1)
               คือ วาง ละ การ เสีย น่อย หนึ่ง แล้ว, จึ่ง ทำ ต่อ ไป นั้น.
      เว้น จาก (679:2.2)
               คือ ละ เสีย ไม่ ทำ บาป เปน ต้น, คน กลัว โทษ ใน ผ่าย น่า แล ละ วาง การ บาป เสีย นั้น.
      เว้น แต่ (679:2.3)
               ละ ไว้ แต่, คือ ละ เว้น แต่ พวก นั้น ฤๅ อัน นั้น เปน ต้น, เช่น สั่ง ว่า เอา แต่ พวก นั้น ฤๅ อัน นั้น เปน ต้น.
      เว้น ตาม (679:2.4)
               ละ ตาม, คือ ละ วาง เสีย ตาม บัญญัติ คำ สั่ง สอน คน ทำ ตาม โอวาท สั่งสอน, แล ละ วาง การ บาป เสีย นั้น
      เว้น ไป (679:2.5)
               ละ ไป, คือ ละ วาง ไป, คน ทำ การ อัน ใด อยู่, แล เขา ละ วาง การ นั้น เสีย แล้ว จึ่ง ไป นั้น.
      เว้น ไว้ (679:2.6)
               ละ ไว้, คือ ละ วาง เก็บ ไว้, คน เอา สิ่ง ของ อื่น ๆ ไป, แต่ ของ สิ่ง หนึ่ง, เขา เอา ละ วาง ไว้ ไม่ เอา ไป นั้น.
      เว้น ว่าง (679:2.7)
               คือ เว้น วาง มือ เสีย ก่อน แล้ว จึ่ง ทำ ต่อ ไป
      เว้น เสีย (679:2.8)
               คือ ละ เสีย ไม่ ให้, เช่น คน ห้า คน แจก เงิน ให้ แต่ สี่ คน นั้น.
      เว้น ให้ (679:2.9)
               ละ ให้, คือ ละ วาง ให้, เช่น ผู้ เกณฑ์ ราชการ อัน ใด อัน หนึ่ง ถูก ทั่ว กัน, แต่ ผู้ เกณฑ์ เอนดู ละ วาง เสีย บ้าง นั้น.
      แว่น (679:2.10)
               วง, ดวง, คือ แก้ว เกิด แต่ สิลา บ้าง เปน แก้ว หุง บ้าง, เขา ทำ เปน รูป สัณฐาน เช่น หน่วย ตา แล้ว เอา เงิน เปน ต้น ทำ เปน กรอบ* สำหรับ ใส่ ที่ ตา คน แก่, ให้ แล เหน ได้ นั้น.
      แว่น แก้ว (679:2.11)
               ดวง แก้ว, คือ แว่น เช่น ว่า นั้น, แต่ ทำ ด้วย แก้ว. อย่าง หนึ่ง เปน แว่น เขา ทำ ด้วย ทอง แดง เปน วง กลม เท่า งบ น้ำ อ้อย, เจาะ รู ไว้ มาก สำหรับ ทำ ขนม จีน. อย่าง หนึ่ง ทำ ด้วย ทอง เหลือง เปน ต้น, สำหรับ ติด เทียน เวียน เมื่อ ทำ ขวัน.
      แว่น แคว้น (679:2.12)
               เขตร แดน, คือ ที่ เปน จังหวัด เขตร แดน เมือง เปน ต้น, เรียก แว่นแคว้น.
      แว่น ตา (679:2.13)
               ดวง ตา, คือ แว่น สำหรับ ใส่ หน่วย ตา, คน แก่ ตา ดู ไม่ ใคร่ เหน เอา แว่น ใส่ เข้า จึ่ง เหน สนัด.
      แว่น ทอง (679:2.14)
               คือ แว่น สำหรับ เวียน เทียน ๆ นั้น เขา เอา ทอง เหลือง มา ทำ เปน รูป เช่น จ่ามอน นั้น.
      แว่น ฟ้า (679:2.15)
               คือ พาน ประดับ มุก กับ กระจก, เปน พาน สำหรับ ใส่ ผ้า เปน ต้น, เขา เอา มุก ทำ เปน ขอบ นอก ใน นั้น ใส่ กะ จก นั้น.
      แว่น ไฟ (679:2.16)
               คือ แว่น ที่ เขา สร่อง ถูก แสง แดด ให้ เกิด ไฟ ขึ้น ได้ นั้น.
แหวน (679:3)
         ธรรมรงค์, คือ เครื่อง ประดับ นิ้ว มือ, เขา ทำ ด้วย ทอง คำ โดย มาก, เอา ทอง มา ตี เปน วง กลม สำหรับ สวม ใส่ นิ้ว มือ เปน เครื่อง ประดับ.
      แหวน กัน (679:3.1)
               วง ลูก กัน, คือ แหวน ลูก เล็ก ๆ เขา ทำ ใส่ นิ้ว นอก แหวน วง ใหญ่ กัน ไว้ ด้วย กลัว จะ ตก นั้น.
      แหวน ก้าน พลู (679:3.2)
               คือ แหวน รูป ทำ คล้าย กับ ก้าน พลู เล็ก ๆ ใส่ เด็ก แล ผู้ ใหญ่ นั้น.
      แหวน ก้อย (679:3.3)
               ธรรมรงค์ ใส่ ก้อย, คือ แหวน สำหรับ ใส่ นิ้ว ก้อย เปน ธรรมดา, คน ผู้ ชาย ทำ แหวน สำหรับ ใส่ นิ้ว ก้อย ชุม.

--- Page 680 ---
      แหวน งู (680:3.4)
               คือ แหวน รูป เหมือน งู มี หัว มี ลิ้น มี หาง, ทำ ขด วง กลม สอง รอบ นิ้ว มือ นั้น.
      แหวน นพเก้า (680:3.5)
               คือ แหวน เขา ฝัง พลอย เก้า อย่าง, คือ เพ็ชร์ หนึ่ง, นิล หนึ่ง, มรกฎ หนึ่ง, โกเมน หนึ่ง, ปะธรรม ราศ หนึ่ง, ทับทิม หนึ่ง, เพชร์ ไพรยทุริย์ หนึ่ง, บุด หนึ่ง มุกดา หนึ่ง, เปน เก้า อย่าง นี้.
      แหวน เพ็ชร์ (680:3.6)
               คือ แหวน เรือน ทอง คำ, แต่ ตาม วง นั้น เขา เอา เพ็ชร์ ฝัง ลง เรียง รอบ นั้น.
      แหวน แมงดา (680:3.7)
               คือ แหวน ทำ ด้วย ทอง คำ, เขา ทำ เปน รูป ปีก แมงดา ประดับ พลอย บ้าง.
      แหวน แมง ปอ (680:3.8)
               คือ แหวน ทำ ด้วย ทอง คำ, ทำ เปน รูป แมง ปอ ประดับ พลอย บ้าง.
      แหวน หัว (680:3.9)
               คือ แหวน ทำ ด้วย ทอง คำ, ทำ เปน กะเปาะ ใหญ่ ใส่ ฝัง พลอย ใหญ่ หัว เดียว.
      แหวน หัว พิ รอด (680:3.10)
               คือ แหวน ทำ ด้วย ทอง คำ, เขา ชัก เปน เส้น ลวด เล็ก ๆ แล้ว ถัก ประสาน เปน หัว นั้น.
วอน (680:1)
         คือ อ้อน, เช่น ทารก รู้ พูจ จะ เอา ของ กิน ฤๅ ของ เล่น เปน ต้น รบ อ้อน วอน จะ เอา นั้น.
      วอน ฃอ (680:1.1)
               คือ ค่อน ฃอ ของ อัน ใด ๆ ของ ผู้ อื่น ด้วย กล่าว คำ ฃอ หลาย คำ นั้น.
      วอน ว่า (680:1.2)
               พิไร ว่า, คือ อ้อน ด้วย วาจา, เช่น ลูก อ้อน ว่า กับ พ่อ แม่, ว่า ฉัน จะ ฃอ ของ สิ่ง นี้ สิ่ง นั้น ๆ.
      วอน ไหว้ (680:1.3)
               ร่ำ ไหว้, คือ อ้อน ด้วย ถ้อย คำ ต่าง ๆ แล ยก มือ ขึ้น ประนม ไหว้, เพื่อ จะ ฃอ ของ อัน ใด นั้น.
      วอน วิง (680:1.4)
               วิง วอน, คือ อ้อน ด้วย วาจา, แต่ วิง เปน คำ สร้อย นั้น.
ว่อน (680:2)
         ร่อน, คือ บิน มาก กลุ้มกลั้ม ไป, เช่น นก ฤๅ กา มัน บิน มา มาก หลาย ตัว เพื่อ อาหาร นั้น.
      ว่อน บิน (680:2.1)
               ร่อน บิน, คือ บิน ว่อน*, นก ฤๅ กา มัน บิน มา มาก เพื่อ อาหาร เปน ต้น, บ้าง บิน ไป บ้าง บิน มา นั้น.
เวียน (680:3)
         หมุน, คือ วง หมุน รอบ, เช่น แผ่นดิน โลกย์ ฤๅ ดวง จันทร์ ที่ หมุน วง รอบ อาทิตย์ นั้น.
      เวียน เกิด (680:3.1)
               คือ อาการ ที่ ตาย แล้ว เกิด ๆ แล้ว ตาย ร่ำ ไป นั้น.
      เวียน เข้า (680:3.2)
               คือ เวียน เข้า ใน, เช่น คน หาม สพ ไป ถึง เมรุ แล้ว หาม เวียน เข้า ใน เมรุ นั้น.
      เวียน ตาม (680:3.3)
               คือ เวียน ตาม วิถี, เช่น อาทิตย์ แล จันทร์, อัน หัน เวียน ตาม วิถี เปน นิจ นั้น.
      เวียน เทียน (680:3.4)
               คือ เอา เทียน จุด ไฟ เข้า ติด ที่ แว่น, ส่ง กัน วก เวียน ไป, เฃา ทำ การ มี โกน จุก เปน ต้น, แล ให้ บุตร ที่ โกน ผม จุก แล้ว นั่ง อยู่ กลาง, แล้ว จุด เทียน เวียน ไป รอบ นั้น.
      เวียน ไป (680:3.5)
               หมุน ไป, คือ เวียน ออก ไป, เช่น มณฑล ดวง อาทิตย์ แล ดวง จันทร์ เวียน ออก ไป นั้น.
      เวียน มา (680:3.6)
               หมุน มา, คือ เวียน เข้า มา, เช่น มณฑล ดวง* อา ทิตย์ แล ดวง จันทร์ เปน ต้น นั้น.
      เวียน หมุน (680:3.7)
               วน หมุน, คือ หัน เวียน, เช่น แผ่นดิน โลกย์ ที่ ผัด ผัน หัน เวียน ดวง อาทิตย์ นั้น.
      เวียน รับ (680:3.8)
               หัน รับ, คือ รับ ร่ำ ไป, เช่น คน รับ ราชการ เข้า เวร ครั้น กำหนด มา รับ เวร เปน นิจ นั้น.
      เวียน รอบ (680:3.9)
               วน รอบ, คือ เวียน มา จน ประจบ ที่ เดิม, เช่น แผ่นดิน โลกย์ เวียน มา ประจบ ที่ เดิม นั้น.
      เวียน วง (680:3.10)
               คือ เวียน รอบ, เช่น แผ่นดิน โลกย์ ที่ หมุน เวียน วัน ละ หน นั้น.
      เวียน วน (680:3.11)
               คือ เวียน หมุน, เช่น น้ำ ที่ วน ไหล ไป ไม่ สดวก ไม่ คล่อง, เพราะ สาย น้ำ ไหล เปน สอง สาย กะทบ ปะทะ กัน นั้น.
      เวียน ว่อน (680:3.12)
               คือ เวียน ไป แล้ว เวียน มา วุ่นวาย นั้น.
      เวียน ส่ง (680:3.13)
               หัน ส่ง, คือ ส่ง ร่ำ ไป, เช่น คน รับ ราชการ เข้า เวร แล้ว, ถึง เวร ออก ต้อง ส่ง เวร เขา นั้น.
      เวียน หา (680:3.14)
               เดิน วง หา, คือ วง หา ทรัพย์, เช่น คน เกิด มา แล้ว, ต้อง ขวน ขวาย หา ทรัพย์, เพื่อ จะ เลี้ยง รักษา ตัว ร่ำ ไป นั้น.
      เวียน ให้ (680:3.15)
               หมุน ให้, คือ ให้ เขา ร่ำ ไป, เช่น คน เปน ราษฎร ใน แผ่นดิน, ต้อง เอา เงิน ให้ เขา ร่ำ ไป ไม่ รู้ แล้ว นั้น.
      เวียน หัน (680:3.16)
               หมุน ผัน, คือ เวียน ผัน ไป, เช่น จังหัน ที่ เขา ทำ แพ้ว ไว้ ให้ นก มัน กลัว, มัน ผัน เวียน อยู่ นั้น.

--- Page 681 ---
      เวียน หัว (681:3.17)
               เวียน ศีศะ, คือ วิง หัว เพราะ โรค ลม, คน มัก เกิด โรค ลม ขึ้น ใน หัว มัน ให้ ตา วิง มึน ไป นั้น.
วับ (681:1)
         คือ วุบแวบ, เช่น ฟ้าแลบ แวบ ๆ นั้น, ว่า ฟ้า แลบ วับ ๆ ก็ ได้ มี ความ อย่าง เดียว กัน.
      วับ วาบ (681:1.1)
               เหมือน แสง แดด ที่ ส่อง ถูก พื้น กะจก แล่น มา เข้า ตา ปลับปลาบ นั้น.
      วับ แวบ (681:1.2)
               คือ วุบวับ, เช่น ฟ้า เมื่อ ฝน ตก แล มี เมฆ ตั้ง มืด ขึ้น, ฟ้าแลบ แสง วุบวับ นั้น.
      วับ แวม (681:1.3)
               เหมือน แสง หิ่งห้อย ที่ มัน ทำ ให้ เหน แสง แวววับ ใน เพลา ค่ำ คืน นั้น.
      วับ แวว (681:1.4)
               วุบวับ, คือ วับ แล้ว เปน แสง ดวง น้อย ๆ, เช่น ฟ้าแลบ วับ ขึ้น แล้ว มี แสง แดง เปน ดวง น้อย ๆ นั้น.
วาบ (681:2)
         คือ วูบ, เช่น เปลว ไฟ ที่ ไหม้ มาก มี เปลว ปู ไป ตาม ลม วูบ ไป ติด ที่ อื่น นั้น.
      วาบ วับ (681:2.1)
               คือ แสง สาย ฟ้า แลบ ที่ วาบ สว่าง ใน อากาศ นั้น.
      วาบ วูบ (681:2.2)
               คือ วูบ วับ ไป, เช่น เปลว ไฟ ที่ โพลง ไหม้ มาก มี เปลว ปู ไป ติด ไหม้ ขึ้น ที่ อื่น นั้น.
      วาบ แวบ (681:2.3)
               คือ อาการ ที่ หญิง พวก ทะวาย นุ่ง ผ้า ภอ ประจบ, เดิน ไป ภอ แล เหน ต้น ขา แวบ ๆ นั้น.
      วาบ เสียว ใจ (681:2.4)
               คือ ใจ คน ที่ พลัด ตก ลง จาก ที่ สูง, แต่ แรก หวาด เสียว นั้น.
วูบ (681:3)
         คือ เปลว ไฟ โพลง ปู ไป, เช่น เปลว ไฟ ที่ ลุก โพลง ไหม้ มาก เปลว ปู ไป นั้น.
      วูบ วับ (681:3.1)
               คือ อาการ ที่ ลม พัด กะโชก หนัก มา วูบ วับ นั้น.
      วูบ วาบ (681:3.2)
               คือ เปลว ไฟ ปู วูบ ไป, เช่น เปลว ไฟ ที่ โพลง ไหม้ ขึ้น มาก เปลว ปู วูบวับ ไป นั้น.
แวบ (681:4)
         แวม, คือ ฟ้า เปล่ง แสง ออก จาก ระหว่าง เมฆ วับ ๆ นั้น, เฃา ว่า ฟ้าแลบ แวบ ๆ บ้าง.
      แวบ วับ (681:4.1)
               คือ วับ ๆ, เช่น ฟ้า แลบ แสง สว่าง ออก จาก เมฆ วาบ วับ นั้น.
      แวบ สว่าง (681:4.2)
               คือ แวบ แล้ว มี แสง สว่าง, เช่น แสง ไฟ ดู รุ่ง เรือง อยู่ ที่ อากาศ นั้น.
      แวบ แสง (681:4.3)
               คือ แวบ แล้ว มี แสง รุ่ง เรือง, เช่น ฟ้า แลบ แวบ แสง แดง ดัง แสง ไฟ นั้น.
      แวบ หาย (681:4.4)
               คือ วับ หาย, เช่น ฟ้า แลบ ออก จาก ระหว่าง เมฆ มี แสง แดง วับ แล้ว หาย.
      แวบ ออก (681:4.5)
               คือ วับ ออก จาก เมฆ, เช่น ฟ้า แลบ ออก จาก เมฆ มี แสง วับ แล้ว หาย ไป.
      วาม วับ (681:4.6)
               คือ แสง ไฟ ที่ ดวง ประทีบ ฤๅ สาย ฟ้า เมื่อ เปล่ง สว่าง แล้ว ดับ ไป นั้น.
วาม แวม (681:5)
         คือ แสง สว่าง น่อย ๆ, เช่น แสง ไฟ เปน ต้น ที่ มี แสง น้อย ๆ นั้น.
แวม ๆ (681:6)
         คือ แสง สว่าง น้อย ๆ เช่น แสง ไฟ เปน ต้น, แล เหน แต่ ไกล น้อย ๆ.
เหวย (681:7)
         เปน คำ ชวน กัน, เช่น คน จะ ไป เปน ต้น, แล ร้อง ชวน กัน ว่า ไป เหวย.
วาย (681:8)
         หมด, สิ้น, คือ สิ้น คราว, เช่น ผล ไม้ ที่ ออก ตาม ระ ดู หนึ่ง, สิ้น ระดู ผลไม้ หมด ไป นั้น.
      วาย การ (681:8.1)
               เหือด การ, คือ การ เหือด ลง, เช่น การ อัน ใด ที่ เขา ทำ มา เกือบ จะ แล้ว ลง นั้น.
      วาย ฃอ (681:8.2)
               คือ ฃอ เหือด ลง, เช่น คน ยาก เที่ยว ฃอ ทาน เดิม มี ชุม มา ค่อย เหือด ห่าง ลง.
      วาย คิด (681:8.3)
               ห่าง คิด, คือ คิด น้อย ลง, เช่น คน คิด ถึง ญาติ ที่ พรัด ไป ฤๅ ตาย เปน ต้น, เดิม คิด มาก ผ่าย หลัง คิด ถอย น้อย ลง นั้น.
      วาย คน (681:8.4)
               คือ คน เกือบ หมด, เช่น คน มา ดู การ เล่น ประชุม กัน มาก แล้ว ไป เกือบ เข้า นั้น.
      วาย ชนม์ (681:8.5)
               คือ ความ ตาย ไป นั้น.
      วาย ชีพ (681:8.6)
               คือ สิ้น ชีวิตร ไป นั้น.
      วาย ทุกข์ (681:8.7)
               คือ ความ ทุกข์ น้อย ไป ๆ, เช่น คน เดิม มี ความ ทุกข์ มาก ผ่าย หลัง ทุกข์ เหือด ไป นั้น.
      วาย ปราณ (681:8.8)
               คือ ลม หาย ใจ ออก เข้า ขาด สูญ สิ้น นั้น.
      วาย แล้ว (681:8.9)
               เขา พูจ ถึง ผลไม้ เปน ต้น ว่า วาย แล้ว, เช่น ผล ไม้ เปน ต้น, ผล สิ้น น้อย ไป นั้น.
      วาย วอด (681:8.10)
               คือ สิ้น ม้วย มอด, เช่น ไฟ ดับ มอด ไป ไม่ หลอ เหลือ นั้น.
      วาย เหือด (681:8.11)
               ห่าง เหือด, คือ ห่าง น้อย ลง, เช่น ของ มี ผล ไม้ เปน ต้น, สิ้น เทศกาล ระดู ผล น้อย ลง นั้น.

--- Page 682 ---
ว่าย (682:1)
         คือ ลง ใน น้ำ แล้ว เอา มือ แล เท้า ตะกุย ตะกาย ไป เพื่อ จะ มิ ให้ ตัว จม น้ำ. อย่าง หนึ่ง ปลา ทำ หาง หู ภาย นั้น.
      ว่าย กระทุ่ม (682:1.1)
               คือ ลง ใน น้ำ แล้ว เอา มือ ว่าย งอ เท้า ทั้งสอง ทุ่ม ลง ที่ น้ำ เพื่อ จะ ให้ ตัว เลื่อน ไป.
      ว่าย น้ำ (682:1.2)
               ลอย น้ำ, คือ ทำ เพียร ใน น้ำ เช่น ว่า แล้ว, เช่น ปลา มัน กาง หู หาง โบก ภาย ว่าย อยู่ ใน น้ำ นั้น.
      ว่าย ไป (682:1.3)
               ลอย ไป, คือ ทำ เพียร ใน น้ำ เช่น ว่า แล้ว, เช่น คน ฤๅ ปลา เปน ต้น นั้น.
      ว่าย มา (682:1.4)
               ลอย ฅอ มา, คือ ทำ เพียร ใน น้ำ เช่น ว่า นั้น, คน ฤๅ สัตว ทำ เพียร มา ใน น้ำ เช่น ว่า นั้น.
หวาย (682:2)
         คือ เส้น เครือ เขา เหนียว เลื้อย ไป ใน ป่า ยาว เก้า วา สิบ วา, มัน เกิด เอง คน ไม่ ได้ ปลูก สร้าง นั้น.
      หวาย ขม (682:2.1)
               คือ เส้น เครือ เขา เหนียว เปน หนาม เลื้อย ไป ยาว ประมาณ เก้า วา สิบ วา เช่น ว่า นั้น.
      วาย ชุมภอน (682:2.2)
               คือ เส้น หวาย เช่น ว่า มี ใน เมือง ชุมภอน เขา ตัต* เอา มา ขาย นั้น.
      หวาย ตะค้า (682:2.3)
               คือ เครือ หวาย ลำ ใหญ่ เท่า นิ้ว มือ, ศรี ขาว เหลือง มี ใน เมือง อื่น ใน เมือง ไทย ไม่ มี, เขา ขาย แพง
      หวาย เทษ (682:2.4)
               คือ เครือ เถา, หวาย เขา เอา มา แต่ เมือง เทษ, ลำ มัน โต เท่า ไม้ ท้าว ศรี แดง ๆ นั้น.
      หวาย น้ำ (682:2.5)
               คือ เครือ หวาย ลำ เล็ก เท่า นิ้ว มือ มี หนาม, มัน เหนียว แต่ ผิว ลำ มัน ขาว นั้น.
      หวาย โป่ง (682:2.6)
               คือ เครือ เถา หวาย, เท่า ลำ หวาย เทษ ย่อม ๆ แต่ ศรี ขาว ไม่ สู้ เหนียว เขา มัก เอา มัต แพ ไม้ ไผ่ มา นั้น.
      หวาย ลิง (682:2.7)
               คือ เส้น หวาย เล็ก ๆ มี ที่ ป่า ชาย ทะเล น้ำ เค็ม ไม่ สู้ เหนียว นัก, เขา เอา มา เย็บ จาก ได้ บ้าง.
      หวาย สะเตา (682:2.8)
               คือ หวาย ลำ ใหญ่ เขา ผ่า แล้ว บิต กลม ขด เปน วง กลม เท่า ถาด เล็ก ๆ เอา มา ขาย.
      หวาย หิน (682:2.9)
               คือ เส้น หวาย คล้าย กับ หวาย น้ำ, แต่ เส้น แน่น หนัก เหนียว เขา ตัด เอา มา ขาย.
วาว (682:3)
         แวว, คือ แสง ไฟ เหน แต่ ไกล เปน ดวง* เล็ก ๆ เท่า ดวง* ไต้ นั้น, ว่า แล เหน วาว ๆ นั้น.
      วาว วับ (682:3.1)
               แวว วับ, คือ แสง ไฟ ดวง เล็ก เท่า ดวง* ไฟ ได้*, แลเหนแต่ ไกล เปน แสง แดง* วูบวับ อยู่ นั้น.
      วาว แวว (682:3.2)
               แวว วาว, คือ แสง ไฟ เปน ต้น, คน แล เหน แต่ ไกล ดู* เหน วูบ วับ ๆ อยู่ เพราะ ต้อง ลม นั้น.
ว่าว (682:4)
         คือ ของ ที่ เขา ทำ ด้วย ไม้, เอา กะดาด ปิด* เข้า แล้ว ผูก ด้วย เส้น ป่าน ปล่อย ลอย อยู่ ที่ อากาศ.
      ว่าว กุลา (682:4.1)
               คือ ว่าว รูป หาง เปน ง่าม เช่น หาง ปลา, มี ปีก ยาว ออก ทั้งสอง ข้าง ซ้าย ขวา, มี หัว ยาว ยื่น ออก เช่น ปาก กา มี เสียง ดัง อูด ๆ นั้น.
      ว่าว ตุ๋ยตุ่ย (682:4.2)
               คือ ว่าว รูป เหมือน แมงดา* มี หาง สี่ หาง, ถ้า ถูก ลม กล้า แล้ว ดัง เสียง ตุ๋ยตุ่ย เหมือน คน เป่า.
      ว่าว ปากป้าว (682:4.3)
               คือ ว่าว รูป เปน สี่ เหลี่ยม, มี หาง ผ้า ยาว สัก สี่ ศอก ห้า ศอก, เขา ชัก ฬ่อ กับ ว่าว กุลา นั้น.
      ว่าว แมงดา (682:4.4)
               คือ ว่าว รูป เช่น ตัว แมงดา ที่ ทะเล, มี หาง เช่น ว่าว ปากป้าว ชัก ลอย ลม ใน อากาศ นั้น.
      ว่าว อีลุ้ม (682:4.5)
               คือ ว่าว รูป สี่เหลี่ยม ไม่ มี หาง, มี ตุ้ม ข้าง ปลาย ปีก ทั้งสอง ซ้าย ขวา, เขา ชัก เล่น ใน อากาศ.
หวิว (682:5)
         หวิด, คือ หวิด ไป, เช่น ของ อัน ใด มี ก้อน ดิน* เปน ต้น. คน ทิ้ง หวิด* ไป เกือบ จะ ถูก สิง ที่ คน จะ ทิ้ง ให้ ถูก นั้น
      หวิว ใจ (682:5.1)
               ใจ หวิว, คือ ใจ หวิด ๆ เช่น คน อยู่ ที่ สูง แล้ว แล ลง ไป ที่ ฦก เช่น เหว แล ใจ หวาด* เสียว นั้น.
แวว (682:6)
         วาว, คือ ของ อยู่ ไกล คน แล เหน เล็ก ๆ หนิด ๆ เช่น ดาว ดวง เล็ก ๆ อยู่ ใน อากาศ นั้น.
      แวว กะจก (682:6.1)
               วาว กะจก, คือ กะจก เล็ก ๆ ที่ เขา ทำ ใส่ ไว้ ที่ ภาชนะ เครื่อง ใช้ มี พาน ไม้ เปน ต้น, เหน หนิด* ๆ นั้น.
      แวว ขน นก ยุง (682:6.2)
               วาว ขน นก ยุง, คือ ลาย ที่ ขน หาง นก ยุง เปน วง กลม ศรี เหลื่อม งาม คล้าย ศรี ปีก แมง ทับ นั้น.
      แวว จะ ได้* (682:6.3)
               เกือบ จะ ได้*, คือ เหน จะ ได้, เช่น คน อยาก ได้* ของ อัน ใด*ๆ, แล ถาม เขา ว่า เหน จะ ได้ ฤๅ ไม่ ได้* เขา บอก ว่า แวว จะ ได้ อยู่ นั้น.
      แวว ตา (682:6.4)
               ดวง* ตา, คือ แก้ว แวว ตา ที่ อยู่ กลาง หน่วย ตา มี เงา รูป คน อยู่ นั้น, เขา เรียก แวว ตา นั้น.
      แวว อยู่ (682:6.5)
               เหน จะ อยู่, คือ คำ พูจ กัน, เช่น เขา ถาม กัน ว่า เรา จะ ไป เอา ของ สิ่ง นั้น ๆ ท่าน เหน จะ ได้ ฤๅ ไม่ ได้, ผู้ นั้น เหน ว่า จะ ได้*, บอก ว่า แวว อยู่.

--- Page 683 ---
      แวว วับ (683:6.6)
               วับ แวว, คือ วาบ วับ, เช่น กะจก ที่ ถูก แสง แดด, คน ถือ พลิก ไป พลิก มา นั้น.
      แวว วาว (683:6.7)
               คือ วาบ วาว, เช่น เงา ดวง อาทิตย์ ที่ ลง ปรากฎ อยู่ ใน น้ำ แล วูบ วาบ อยู่ นั้น.
      แวว หัว หนังสือ (683:6.8)
               คือ ที่ วง กลม, เมื่อ แรก ตั้ง เขียน ตัว อัก ษร ที่ มี ศีศะ นั้น.
แว่ว (683:1)
         คือ เสียง ที่ คน ได้ ยิน น้อย ไม่ สู้ สนัด*, เช่น คน ร้อง เรียก มา แต่ ไกล ไม่ ได้ ยิน สนัต* นั้น.
      แว่ว สำเนียง (683:1.1)
               คือ เสียง แว่ว, เช่น เสียง ที่ คน ฟัง ไม่ สนัด* เปน แต่ ผาด แผ่ว ไป นั้น.
      แว่ว เสียง (683:1.2)
               คือ ได้ ยิน เสียง ไม่ สู้ สนัด* เปน เสียง แผ่ว พาด* ไป นั้น.
      แว่ว หู (683:1.3)
               คือ แผ่ว หู เช่น เสียง ดัง มา ถึง หู คน ได้ ยิน ไม่ สนัด* ผาด แผ่ว ไป นั้น.
แหวว (683:2)
         คือ หัว เรือ ยวญ, คน ทำ เรือ ยวญ, เขา ทำ เปน ฅอ ลง ต่ำ, ที่ หัว มัน สูง นั้น.
โวย (683:3)
         คือ คำ เรียก แล คำ รับ ขาน. คน เรียก กัน ว่า มา นี่ โวย, คำ รับ ขาน ว่า โวย นั้น.
โหว่ย (683:4)
         เปน คำ ขาน เมื่อ เขา ร้อง เรียก มา แต่ ที่ ไกล, รับ ขาน ว่า โหว่ย บ้าง.
วัว (683:5)
         โค, เปน ชื่อ สัตว สี่ เท้า ที่ เขา เลี้ยง ไว้ รูด เอา น้ำ นม กิน, ตัว มัน โต เท่า กับ ม้า, มัน มี เขา ที่ หัว.
      วัว ดำ (683:5.1)
               โค ดำ, เปน สัตว ชื่อ วัว แต่ ศรี ดำ ที่ หนัง กับ ทั้ง ขน มัน มี เขา ตัว ละ สอง เขา ทั้ง ตัว ผู้ ตัว เมีย.
      วัว ถึก (683:5.2)
               โค ถึก, คือ วัว หนุ่ม มี กำลัง มาก แขง แรง, ลูก โค ที่ มัน สื่อ กำลัง หนุ่ม เรี่ยว แรง นั้น.
แวะ (683:6)
         หลีก, คือ เว้ ออก, คน เดิน ไป เปน ต้น แล ยัง ไป ไม่ ถึง ที่ จะ อยุด แล เว้ ออก จาก ทาง นั้น.
      แวะ เข้า (683:6.1)
               คือ เว้ เข้า, คน ไป ตาม ทาง บก ฤๅ ทาง น้ำ ไป ยัง ไม่ ถึง ที่ ปราถนา แล เว้ เข้า ที่ ใด ที่ หนึ่ง นั้น.
      แวะ เข้า ไป (683:6.2)
               คือ เว้ เข้า ไป, เช่น เดิน เรือ ฤๅ ทาง บก ไป ยัง ไม่ ถึง ที่, แล เว้ เข้า ไป ที่ ใด ๆ นั้น.
      แวะ จอด (683:6.3)
               คือ เว้ จอด เรือ เปน ต้น, คน ไป ตาม ทาง บก ด้วย เกวียน ว่า จอด เมื่อ อยุด เกวียน, ไป ทาง น้ำ ด้วย เรือ เมื่อ อยุด เรือ เข้า ริม ฝั่ง ว่า จอด เรือ.
      แวะ ไป (683:6.4)
               คือ เว้ ไป, เช่น คน จะ มี ธุระ ไป อื่น, แต่ ว่า ไป กลาง ทาง ก็ เว้ ไป น่อย หนึ่ง นั้น.
      แวะ มา (683:6.5)
               หลีก มา, คือ เว้ มา, คน มี ธุระ จะ ไป อื่น แล ต้อง การ อัน ใด ๆ แล เว้ มา ที่ เรา อยู่ นั้น.
      แวะ อยู่ (683:6.6)
               หลีก อยู่, คือ เว้ อยู่, คน มี ธุระ จะ ไป อื่น แล คิด จะ ต้อง การ อัน ใด ๆ แล เว้ อยู่ นั้น.
      แวะ เวียน (683:6.7)
               คือ เว้ เวียน ไป นั้น.
      แวะ ออก (683:6.8)
               หลีก ออก, คือ เว้ ออก, เช่น คน มี ธุระ จะ ไป ที่ อื่น,* แล ยัง ไม่ ถึง ที่ ต้อง การ เขา เว้ ออก นั้น.
แหวะ (683:7)
         แขวะ, คือ แขวะ, คน จะ แล่ ท้อง สัตว มี ปลา เปน ต้น เขา เอา มีด แขวะ ออก นั้น.
      แหวะ ช่อง (683:7.1)
               แขวะ ช่อง, คน จะ ทำ ช่อง ที่ แห่ง ใด ๆ แล เขา เอา มีด เปน ต้น แขวะ ออก นั้น.
      แหวะ ท้อง (683:7.2)
               แขวะ พุง, คือ แขวะ ท้อง, คน จะ แล่ สัตว มี ปลา เปน ต้น, แล เขา เอา มีด แขวะ ท้อง นั้น.
      แหวะ ฝา (683:7.3)
               แขวะ ฝา, คือ แขวะ ฝา, เช่น คน เปน โจร จะ ลัก ทรัพย์ ใน เรือน เขา แล มัน เอา มีด แขวะ ฝา นั้น.
      แหวะ พุง (683:7.4)
               แขวะ ท้อง, คือ แขวะ พุง, คน จะ แล่ สัตว มี ปลา เปน ต้น, แล เขา เอา มีด แขวะ พุง นั้น.
      แหวะ ออก (683:7.5)
               แขวะ ออก, คือ แขวะ ออก, เช่น คน จะ ทำ ช่อง แล เอา เครื่อง มือ มี มีด เปน ต้น, แขวะ ออก นั้น.
วอ (683:8)
         คือ ของ ที่ เขา ทำ เปน แคร่ รี มี หลังคา บุ ด้วย ผ้า. อย่าง หนึ่ง บุ ด้วย กะแชง มี ช่อ ฟ้า หาง หงษ์.
      วอ เจ้า (683:8.1)
               คือ วอ เช่น ว่า, ดาษ มุง ด้วย ผ้า สำหรับ เจ้า ขี่, มี คน หาม สี่ คน, มี คาน สอง อัน ข้าง หน้า ข้าง หลัง นั้น.
      วอ หลวง (683:8.2)
               คือ วอ เขา ทำ ดี กว่า วอ สำหรับ เจ้า มี ช่อ ฟ้า ใบระ กา แล หาง หงษ์ วิเสศ ปิด ทอง นั้น.
      วอ สพ (683:8.3)
               คือ วอ สำหรับ ใส่ สพ ผู้ ดี, มี เจ้า จอม หม่อม ห้าม เปน ต้น, เมื่อ จะ เอา สพ ไป เผา นั้น.
หวอ (683:9)
         โหว, คือ หวำ โหว, ของ ที่ ไม่ เสมอ บุบ หวำ เข้า ไป, เช่น หน้า ตา คน แก่ ชะรา เข้า นั้น.

--- Page 684 ---
      หวอ กลวง (684:9.1)
               คือ โหว กลวง, เช่น รอย ที่ คน ถูก อาวุธ ปืน เปน แผล โหว้ นั้น.
วอระนุช (684:1)
         ฯ แปล ว่า นาง น้อง, รูป งาม รูป สรวย วิเสศ ล้ำ เลิศ นั้น.
วอระไตร (684:2)
         ฯ อธิบาย ว่า สิ่ง ประเสริฐ ทั้ง สาม.
วอระวงษ (684:3)
         ว่า วงษ์ ประเสริฐ นั้น, มี วงษ์ กระษัตริย์ เปน ต้น.
วอ แว (684:4)
         งอ แง, เปน คำ คน พูจ พาล พูจ อยาบ ช้า ท้า ทาย ชวน วิวาท อวด อิศร์ ดี กว่า คน ทั้ง ปวง เปน ต้น.
(684:5)
         
สา (684:6)
         เปน ชื่อ สา มี บ้าง, คน ชาย หญิง เขา ให้ ชื่อ เจ้า สา บ้าง, ชื่อ นาง สา มี บ้าง.
      สาเก (684:6.1)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ อย่าง กลาง ใบ มัน เปน แฉก ๆ มี ผล กิน ได้, เขา ปลูก ใน บ้าน ที่ ป่า ไม่ มี นั้น.
      สา กะใจ (684:6.2)
               สม กะใจ, คือ ให้ เจ็บ ใจ ให้ หนำ* ใจ, เช่น คน โกรธ แล ว่า กล่าว ให้ เจ็บ ใจ นั้น.
      สากล (684:6.3)
                ฯ ทั้ง ปวง, ทั้ง สิ้น, แปล ว่า ทั้งสิ้น ทั้ง ปวง, เช่น ของ สิ้น ทั่ว โลกย์ พระ ยะโฮวา สร้าง นั้น.
      สาฃา (684:6.4)
               ฯ กิ่ง, แปล ว่า กิ่ง, บันดา ยอด ไม้ ที่ งอก แตก ออก จาก ลำต้น นั้น, ว่า กิ่ง.
      สาคเรศร์ (684:6.5)
               มหา นัทธี, ฯ แปล ว่า แม่ น้ำ ใหญ่, เขา แต่ง หนังสือ ว่า ถึง แม่ น้ำ เปน คำ เพราะ.
สาคู (684:7)
         คือ ของ เขา ทำ เปน เม็ด เล็ก ๆ เอา ยอด ต้น สาคู มา ทำ เอา มา แต่ จีน บ้าง วิลาด บ้าง นั้น.
      สาคู เปียก (684:7.1)
               คือ เอา สาคู เช่น ว่า, ใส่ ลง ใน ม่อ ฤๅ กะทะ เอา น้ำ ใส่ ตั้ง บน เตา ไฟ ต้ม ให้ สุก.
      สาคู ลวก (684:7.2)
               คือ เขา เอา น้ำ ร้อน รด ลง ที่ เม็ด สาคู ทำ ให้ มัน สุก, กิน เปน ของ หวาน.
      สาคู วิลาด (684:7.3)
               คือ สาคู เม็ด เล็ก ๆ เท่า เม็ด ไข่ ปลา ช่อน เขา ทำ มา แต่ เมือง วิลาด นั้น.
      สาคู ลาน (684:7.4)
               คือ ยอด ลาน, เขา ตัด เอา ยอด ลาน มา ผ่า เอา ใส้ มัน ทำ เปน เม็ด เล็ก ๆ นั้น.
สาคร (684:8)
         สมุทธ์, ฯ แปล ว่า แม่ น้ำ, เขา แต่ง เรื่อง หนัง สือ เปน คำ ติด สับท์ เพราะ ว่า ถึง แม่ น้ำ ว่า สาคร บ้าง.
สาไถ (684:9)
         โอ้ อวด, แปล ว่า แง่ งอน, เช่น คน แง่ งอน โดย พูจ จา ก็ เปน, เช่น เขา ว่า จะ ให้ ฃอง ว่า จะ เอา ฤๅ, เขา รับ ว่า ให้ ก็ เอา ไม่ ให้ ก็ ไม่ เอา.
สาธาระณะ (684:10)
          ฯ แปล ว่า ทั่ว ไป, เช่น คน ให้ ของ อัน ใด แจก ให้ ทั่ว ไป ทุก คน.
สาธุ (684:11)
          ฯ แปล ว่า ดี, เช่น ฟัง สวด ฟัง เทศ เขา กล่าว ว่า สา ธุ ๆ นั้น.
      สาธุ การ (684:11.1)
               ฯ แปล ว่า กระทำ ดี, คน ฟัง สำแดง ธรรม, แล กล่าว ว่า กระทำ ดี นั้น.
      สาธุ โมทนา (684:11.2)
               ฯ แปล ว่า ชื่น ชม ดี, เหมือน คน ได้ ฟัง คำ ที่ เขา สำแดง ธรรม รับ ว่า สาธุ โมทนา นั้น.
      สาธุสะ (684:11.3)
                ฯ เปน คำ คน กล่าว รับ, เมื่อ มี ผู้ สำแดง ธรรม ว่า ดี นั้น.
สานุสิษ (684:12)
         ฯ แปล ว่า สึก สอน ตาม, เช่น คน เปน สิษ เล่า เรียน ตาม อาจาริย์.
สาบาล (684:13)
         แปล ว่า แช่ง, เช่น คน โกรธ แล กล่าว ว่า ให้ มัน ฉิบหาย ๆ นั้น.
สาพิภักดิ์ (684:14)
         ฯ คือ คน มี ใจ จง รักษ ภักดี แก่ ผู้ อื่น, ที่ เขา มี คุณ นั้น.
สามิโก (684:15)
         ฯ แปล ว่า คน ผู้ เปน เจ้า, เช่น คน เปน นาย เงิน เปน ต้น นั้น.
สามี (684:16)
         ฯ แปล ว่า เจ้า, คน ผู้ เปน เจ้า, เช่น คน เปน เจ้า เงิน ช่วย ไถ่ มา ด้วย ทรัพย์ นั้น.
      สามี จีกรรม (684:16.1)
               ฯ แปล ว่า กระทำ ท่าน ให้ เปน เจ้า โดย กล่าว ถ้อย คำ เคารพ นั้น.
      สามี ภิริยา (684:16.2)
               ฯ แปล ว่า คน ผัว แล เมีย นั้น.
      สามี ภักดิ์ (684:16.3)
               ฯ แปล ว่า เลี้ยง บำเรอ คน ผู้ เปน เจ้า, คน เข้า มา พึ่ง บุญ หมาย จะ บำรุง รักษา ท่าน ผู้ เปน เจ้า.
สามะคีรศ (684:17)
         ฯ แปล ว่า อยู่ สมัค พร้อม เพรียง ไม่ วิวาท แก่ง แย่ง กัน นั้น.
สามเณร (684:18)
         ฯ แปล ว่า คน บวช เปน สามะเณร รักษา ศีล สิบ บท นั้น.

--- Page 685 ---
สามเณรี (685:1)
         ฯ แปล ว่า หญิง สาว บวช เปน นาง สำมะเณรี มี ศีล สิบ นั้น.
สามะโน ครัว (685:2)
         คือ บาญชีย์ เขา จดหมาย ว่า, คน ชาย ชื่อ นั้น มี เมีย ชื่อ นั้น มี ลูก เท่า นั้น อยู่ บ้าน นั้น ๆ.
สามารถ (685:3)
         ฯ แปล ว่า องอาจ, เช่น คน กล้า ทำ การ ณรงค์ สงคราม นั้น.
      สามารถ อาจ หาร (685:3.1)
               ฯ คือ คน กล้า หาญ องค์ อาจ นัก นั้น.
สามนต ราช (685:4)
         เปน ชื่อ พระยา ทั้ง ปวง ที่ ไม่ เปน พระยา เอกราช เปน แต่ พระยา น้อย ๆ นั้น.
สามัญ (685:5)
         ฯ แปล ว่า ทั่ว ไป, ว่า ทั้ง ปวง, เช่น คำ ว่า สัตว ทั้ง ปวง ว่า ทั่ว ไป.
สามาร (685:6)
         ชั่ว ร้าย, คือ ความ ชั่ว, เขา พูจ ว่า เปน คน สามาร บันดา คน โอยกเอยก ชั่ว นั้น.
สายัณห์ (685:7)
         ฯ แปล ว่า เวลา เอย็น, เวลา ตวัน บ่าย สี่ โมง จน ค่ำ นั้น.
สายัณหะ ไสมย (685:8)
         ฯ แปล ว่า เวลา เอย็น, เพลา ตั้ง แต่ บ่าย สี่ โมง ลง ไป นั้น.
สารานิยะ กะถา (685:9)
         ฯ แปล ว่า กล่าว ถ้อย คำ ควร จะรฦก, คือ คำ สุจริต เปน ธรรม มี สั่งสอน ด้วย ศีล เปน ต้น.
สารานิยะ ธรรม (685:10)
         ฯ เปน ธรรม ควร จะรฦก, มี ศีล เปน ต้น.
สาริริกะ ธาตุ (685:11)
         ฯ คือ พระ อัฐิ ใน องค์ พระ เจ้า, คำ นี้ เปน คำ สับท์ แปล ว่า พระธาตุ ใน พระองค์ พระ.
สาริบุตร์ (685:12)
         เปน ชื่อ พระ มหา อักคสาวก ของ พระเจ้า, จัด ไว้ ว่า เปน สาวก เบื้อง ขวา นั้น.
สาระ (685:13)
         ฯ แปล ว่า แก่น, เช่น ไม้ ที่ มี เนื้อ แขง อยู่ ใน ลำ ต้น นั้น, เรียก ว่า แก่น.
      สาระโกก (685:13.1)
               คือ คน โกง เกะกะ ไม่ เข้า เพื่อน โดย พูจจา เปน ต้น นั้น.
      สาระถี (685:13.2)
               แปล ว่า นาย รถ, เปน คน ขับ ม้า ที่ เขา เทียม รถ, นั่ง อยู่ บน รถ นั้น.
      สาระทุกข์ (685:13.3)
               คือ ความ ทุกข์ เปน แก่น เก่ง กาจ นัก นั้น.
      สาระแหน่ (685:13.4)
               คือ คน พูจ บอก เล่า ความ อัน ใด ๆ ที่ เปน ทาง ยุ ยง เขา ที่ เขา ไม่ ได้ ไต่ ถาม นั้น.
      สาระบาล (685:13.5)
               ฯ แปล ว่า รักษา อักษร, เช่น อักษร ที่ เขา เขียน ไว้ ที่ หัว ใบ ลาน, ตัว หนึ่ง สำหรับ หมาย มิ ให้ อักษร ใน ใบ ลาน มาก ฟั่นเฟือน นั้น.
      สาระบาญชีย์ (685:13.6)
               เปน ชื่อ ศาลา แห่ง หนึ่ง สำหรับ ไว้ บาญชีย์ จ่าย เลก.
      สาระพากร (685:13.7)
               เปน ชื่อ ขุน นาง ผู้ เก็บ เงิน อากร ส่ง หลวง นั้น.
      สาระพาเห่โล้ (685:13.8)
               เปน คำ เพลง เขา ร้อง เมื่อ ชัก ลาก ไม้ ซุง ใหญ่ ร้อง เพื่อ จะ ฉุด ชัก ลาก พร้อม กัน.
      สาระพางค์ (685:13.9)
               คือ อะไวยะวะ น้อย ใหญ่ ใน กาย, มือ แล เท้า เปน ต้น ใน กาย นั้น, เรียก อะไวยวะ.
      สาระพัด (685:13.10)
               คือ ของ ทุกสิ่ง, เช่น ของ มี ใน เรือน มาก หลาย สิ่ง, เขา ว่า ของ สาระพัด.
      สาระพรรค์ (685:13.11)
               คือ ของ ทุกสิ่ง ทุก อย่าง, เช่น ของ มี หลาย สิ่ง หลาย อย่าง เขา ว่า สาระพรรค์.
      สาระภี (685:13.12)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, มี ดอก หอม มี ลูก กิน ได้ บ้าง, เปน ไม้ เขา ปลูก ที่ วัด ที่ บ้าน บ้าง.
      สาระภาพย์ (685:13.13)
               คือ รับ เอา ความ ผิด ที่ ตัว ทำ, เช่น คน ได้ ทำ ความ ผิด มี ผู้ ถาม รับ ตาม จริง นั้น.
      สาระวัด (685:13.14)
               คือ คน สำหรับ ตรวจ ตรา เที่ยว หา คน, เช่น คน เขา ตั้ง ไว้ ให้ ตรวจ, ถ้า ใคร ไม่ มา ให้ ไป เอา ตัว มา นั้น.
สาแหรก (685:14)
         เปน ชื่อ ของ เช่น ว่า แล้ว นั้น.
      สาแหรก ขาด (685:14.1)
               เปน ชื่อ ของ เขา ทำ ด้วย เส้น หวาย ฤๅ เส้น ตอก, เปน สี่ มุม สี่ สาย สำหรับ หาบ ของ, มัน ขาด ออก นั้น.
สาหร่าย (685:15)
         เปน ชื่อ ผัก เปน เครือ ฝอย อยู่ ใน น้ำ ที่ นา เปน ต้น.
      สาหร่าย ทะเล (685:15.1)
               คือ ตัว สัตว มัน เปน เส้น สาย ลอย อยู่ ใน น้ำ เค็ม ใน ทะเล นั้น.
      สาหร่าย นา (685:15.2)
               คือ ต้น ผัก เช่น ว่า มัน อยู่ ใน น้ำ ที่ ท้อง นา นั้น.
      สาหร่าย ยำ (685:15.3)
               คือ สาหร่าย, เขา เอา มา แต่ เมือง จีน เขา ยำ กิน กับ เข้า นั้น.
สาลา (685:16)
         คือ โรง เปน ที่ สำนักนิ์ อาไศรย, เขา ทำ ที่ ไว้ สำหรับ คน ไป มา อาไศรย ปลูก เปน เรือน มี พื้น เตี้ย ๆ บ้าง, ไม่ มี พื้น บ้าง นั้น.

--- Page 686 ---
      สาลา ฉ้อทาน (686:16.1)
               คือ ศาลา โรง สำหรับ ให้ เข้า น้ำ เปน ทาน แก่ คน จน นั้น.
      สาลา น้ำ (686:16.2)
               คือ ศาลา อยู่ ริม ฝั่ง น้ำ เพื่อ คน ได้ อาไศรย เมื่อ อาบ น้ำ เปน ต้น.
      สาลา ปรก (686:16.3)
               คือ ที่ โรง เขา ทำ ไว้ ไกล บ้าน ไกล วัต, สำหรับ พระสงฆ์ ไป ชำระ โทษ ตัว นั้น.
      สาลา โรง ธรรม (686:16.4)
               คือ ศาลา สำหรับ มี เทศนา ธรรม นั้น.
      สาลา ลูก ขุน (686:16.5)
               คือ ศาลา ใหญ่ สอง หลัง ใน วัง หลวง สำหรับ กรม* มหาดไทย หลัง หนึ่ง, กรม กลาโหม หลัง หนึ่ง.
      สาลา วัต (686:16.6)
               คือ ศาลา โรง เขา ปลูก สร้าง ไว้ ใน วัต สำหรับ คน ไป มา อาไศรย.
สาลิกา (686:1)
         เปน ชื่อ นก จำพวก หนึ่ง, ตัว ดำ ๆ ปาก เหลือง หู เหลือง, ตัว มัน โต เท่า นก เอี้ยง, เขา สอน มัน พูจ ได้ เหมือน คน.
สาลี (686:2)
         ฯ แปล ว่า เข้า สาลี, คือ เข้า เจ้า, บันดา เข้าเจ้า ทุก อย่าง นั้น, เขา เรียก เข้า สาลี.
สาไลยกะ สูตร (686:3)
         ฯ คือ ชื่อ เรื่อง เทศนา เรื่อง หนึ่ง, ว่า พระ เจ้า สำแดง โปรฎ ชาว บ้าน สาไลยกะ คาม นั้น.
สาวก (686:4)
         ฯ เปน ชื่อ คน ผู้ เปน บริสัช แห่ง พระเจ้า, เรียก ว่า สาวก เพราะ เขา เชื่อ ฟัง ถ้อย คำ พระเจ้า นั้น.
สาวิก (686:5)
         คือ หญิง เปน ผู้ เชื่อ ฟัง คำ สั่งสอน ของ พระเจ้า นั้น.
สาวัดถี (686:6)
         ฯ เปน สับท์ ท่าน ให้ เปน ชื่อ เมือง ๆ หนึ่ง ว่า เปน เมือง ใหญ่ มี วัต เปน ที่ พระเจ้า อยู่.
สาสมใจ (686:7)
         คือ การ ทำ เบียด เบียฬ ให้ เจ็บ ใจ ต่าง ๆ มี เปรียบ กะทบ กะเทียบ เปน ต้น.
สาเหตุ (686:8)
         ฯ คือ อาการ ที่ มี เหตุ พยาบาท แก่ กัน, เปน ต้น ว่า โกรธ แล้ว ลอบ ทำ ร้าย แก่ เขา นั้น.
สาหัศ (686:9)
         ว่า หนัก, เหมือน คน ประพฤติ์ เปน โจร ฆ่า คน ปล้น เอา ทรัพย์ เปน ต้น, ว่า เปน กระทำ กรรม สาหัศ.
      สาหัศ สากรรจ (686:9.1)
               คือ การ ที่ กระทำ ร้าย เขา จน หัว แตก ฤๅ แขน หัก ขา หัก เปน ต้น นั้น.
ส่า (686:10)
         คือ สิ่ง ที่ มัน เปน ก่อน, มัน มี อาการ คล้าย ๆ กับ ของ ที่ เปน แท้ เปน จริง นั้น.
      ส่า ขนุน (686:10.1)
               คือ ลูก ขนุน เมื่อ จะ เปน ผล, มัน มี ลูก พราง เทียม คล้าย กับ ผล จริง ก่อน แล้ว หล่น ไป, ผ่าย หลัง ผล แท้ จึ่ง ออก.
      ส่า ฝีดาษ (686:10.2)
               คือ ฝี เปน เม็ด เล็ก ๆ ผื่น พรึง ขึ้น เมื่อ คน ออก ฝี ดาษ หาย แล้ว มัน มา ขึ้น ที่ หลัง นั้น.
      ส่า เหล้า (686:10.3)
               คือ เดน กาก เข้า ที่ เขา ทำ เหล้า แล้ว, คน ทำ น้ำ สุรา ด้วย เข้า กับ น้ำ เชื้อ น้ำ อ้อย, แล้ว เอา เข้า กาก ออก นั้น เรียก ส่า เหล้า.
      ส่า สาเก (686:10.4)
               คือ สิ่ง ที่ มัน ออก ที่ ต้น สาเก ก่อน เมื่อ ระดู ออก ผล เปรียบ เช่น ดอก แต่ มิ ใช่ ดอก.
      ส่า เห็ด (686:10.5)
               คือ สลึง มี ที่ หัว เห็ด ๆ เมื่อ มัน ขึ้น จาก ดิน มี ก้าน มี หมวก หุ้ม เปน ชั้น บน ที่ ตรง หมวก หุ้ม นั้น.
ส้า (686:11)
         ชา, คือ ชา เหน็บ, เช่น คน นั่ง อยู่ นาน ไม่ เปลี่ยน อิริยา บถ, คือ นอน แล เดิน เปน ต้น, อยู่ แล ที่ เท้า ให้ ตึง ชา เหน็บ นั้น.
      ส้า (686:11.1)
                เปน เหน็บ, คือ เหน็บ ชา ไป, เช่น คน ตั้ง อยู่ ใน อิริยา บถ เดียว นาน นัก มัก เปน เช่น ว่า นั้น.
สิเนรุ (686:12)
         ฯ แปล ว่า เขา พระ สุเมรุ ๆ นั้น ว่า โลกย์ หนึ่ง มี เขา หนึ่ง นั้น.
สินะ (686:13)
         มาสิ, เปน คำ ตัก เตือน คน ให้ ทำ การ เปน ต้น, ว่า สิ นะ มา ซิ้*.
สิเนรุ ราช (686:14)
         ฯ แปล ว่า พระยา ภูเขา เช่น ว่า แล้ว นั้น.
สิเนหะ (686:15)
         ฯ แปล ว่า ความ ปัฏิพัทธ รัก ใคร่, เหมือน ชาย หนุ่ม กับ หญิง สาว รัก กัน นั้น.
สิวา (686:16)
         แปล ว่า กเษม ศุข นั้น, เช่น ที่ ใด เปน ที่ มี ความ สบาย มาก นั้น.
      สิวา สาตร์ (686:16.1)
               คือ พิธี ไสย สาตร, มี ยก โคม แล โล้ ชิงช้า อัน พราหมณ์ กระทำ ให้ จำเริญ แก่ บ้าน เมือง เปน ต้น.
สี (686:17)
         คือ เอา มือ ถู ไป ถู มา หนัก ๆ นั้น.
      สีกา (686:17.1)
               ฯ เปน คำ พระ ภิกขุ ท่าน เรียก ผู้ หญิง หนุ่ม แก่ แล ปาน กลาง โดย อายุ นั้น.
      สีกุก (686:17.2)
               เปน ชื่อ ที่ ตำบล หนึ่ง, อยู่ ฝ่าย ตวัน ตก เมือง กรุง เก่า, ที่ นั้น มี คลอง น้ำ เปน สาม แพรก เปน ที่ พะ ม่า มัน ตั้ง ค่าย ใหญ่ เมื่อ ล้อม กรุง.

--- Page 687 ---
      สีขร (687:17.3)
               ฯ แปล ความ มาก ถ้า เปน ไก่ ว่า หงอน, ถ้า ภู ฃา ว่า ชะ ง่อน ผา, ถ้า ไฟ แปล ว่า เปลว นั้น.
      สีขรินทร์ (687:17.4)
               แปล ว่า ยอด ชะง่อน ภูเขา ใหญ่.
      สี เข้า (687:17.5)
               คือ การ ที่ เขา เอา เข้า ใส่ ลง ใน สี แล้ว ชัก* ไม้ คัน สี ทำ ให้ สี หัน หมุน ไป รอบ ๆ ทำ ให้ เปลือก เข้า ออก นั้น.
      สีขัด (687:17.6)
               คือ ขัด สี, เช่น ถู ภาชนะ อัน ใด ๆ เพื่อ จะ ให้ ผ่อง ใส นั้น.
      สี จักร์ (687:17.7)
               คือ ผม คน วน วง เปน ขวัน อยู่ ที่ หน้า ผาก นั้น.
      สี ซอ (687:17.8)
               เปน ชื่อ เครื่อง มโหรี, เปน เครื่อง สำหรับ ประโคม, เมื่อ เขา ทำ การ มงคล บ้าง, ขับ กล่อม บำเรอ คน มี วาศนา บ้าง.
      สี ดีด (687:17.9)
               คือ สี ซอ แล ดีด สาย กะจับปี่ นั้น.
      สี ตัว (687:17.10)
               คือ เอา มือ ถู ไป ที่ ตัว เพื่อ จะ ชำระ มลทิน นั้น.
      สีทันดร (687:17.11)
               ฯ เปน ชื่อ แม่ น้ำ เจ็ด ชั้น ที่ วง รอบ ภูเขา สิเนรุ นั้น ชื่อ สิ ทันดร เพราะ อยู่ ใน หว่าง ภูเขา ทั้ง เจ็ด นั้น.
      สี ปาก (687:17.12)
               คือ เนื้อ ริม ปาก บน ล่าง ที่ หุ้ม ปิด ฟัน, คน มี เนื้อ เบื้อง บน เบื้อง ล่าง ปิด หุ้ม ฟัน.
      สี ฝัด (687:17.13)
               คือ สี สำหรับ กำจัด พัด ให้ เปลือก เข้า ออก ไป เสีย ให้ คง อยู่ แต่ เมล็ด เข้า สาร นั้น.
      สี ไฟ (687:17.14)
               คือ จับ ไม้ ไผ่ ซีก เข้า สอง มือ แล้ว เสือก ไป ไส มา ที่ บน หลัง ไม้ ไผ่ ซีก, ที่ แขวะ ช่อง ไว้ กลาง เพื่อ จะ ให้ ไฟ ติด ขึ้น นั้น.
      สี ภาย (687:17.15)
               คือ คน รู้ จัก ท่า ที ภาย เรือ ทั้ง งาม ทั้ง แรง ดี เหมือน คน สี ภาย เรือ พระ ที่ นั่ง หลวง นั้น.
      สีมา (687:17.16)
                ฯ แปล ว่า แดน, เช่น เมือง มี กำแพง เปน ต้น เปน แดน, ที่ บ้าน มี รั้ว เปน ต้น เปน แดน นั้น.
      สี ไม้ สี มือ (687:17.17)
               คือ การ ที่ ตี ด้วย ไม้ หนัก ว่า สี ไม้, สี มือ เช่น ว่า แล้ว นั้น.
      สี มือ (687:17.18)
               คือ มือ คน นั้น ทำ การ อัน ใด ๆ ดี งาม หมด จด นั้น.
      สี มือ ดี (687:17.19)
               คือ วิชา มือ คน ทำ การ อัน ใด ๆ ดี นั้น.
      สี ยา ฟัน (687:17.20)
               คือ เอา ยา สำหรับ สี ฟัน, ถู สี เข้า ที่ ฟัน ให้ ฟัน ดำ เปน แสง ถือ ว่า งาม นั้น.
      สีวิกา (687:17.21)
               เปน ชื่อ วอ เปน เครื่อง หาม นาง ข้าง ใน ฤๅ เจ้า หญิง นั้น.
      สี สำราญ (687:17.22)
               คือ ที่ เว็จ เขา ทำ ไว้ ที่ วัง สำหรับ พวก ผู้ หญิง ใน วัง มา ขี้ มี ทาง เปน อูโมง นั้น.
      สี เสียด (687:17.23)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ ใหญ่ อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ ใน ป่า เปลือก มัน ฝาด กิน ได้ ดอก มัน หอม.
      สีโห (687:17.24)
               ฯ แปล ว่า ราชสีห์, เปน สัตว มี สะกูล กว่า สัตว สิ* เท้า ทั้ง สิ้น
      สีหะนาท (687:17.25)
               ฯ คือ เสียง บันฦๅ ลั่น สนั่น* ก้อง, เช่น เสียง แผด ร้อง แห่ง ราชสีห์ นั้น.
      สีห บัญชร (687:17.26)
               ฯ คือ ช่อง น่าต่าง ข้าง ล่าง เขา ทำ เปน จมูก สิงห์ ข้าง บน มี ลูก กรง นั้น.
      สีหะละทิเป (687:17.27)
               ฯ คือ เกาะ ลังกา ทวีบ, ว่า ชาว เกาะ นั้น พูจ เปน สีหะ ละ ภาษา นั้น.
      ศิริ วิลาศ (687:17.28)
               คือ ศรี สรรค์ พรรณ แห่ง คน ที่ มี ผิว พรรณ รูป ร่าง กำลัง สาว หนุ่ม งาม นั้น.
      ศิโรดม (687:17.29)
               ฯ คือ น้อม ไหว้ ด้วย ศีศะ นั้น.
      ศรี กร้ำกรุ่น (687:17.30)
               คือ ศรี ไม่ สู้ แดง นัก แดง เรื่อ ๆ, บันดา ศรี แดง เช่น ว่า นั้น, ว่า ศรี กร้ำกรุ่น.
      ศรี ขาว (687:17.31)
               คือ ศรี ที่ เช่น ปูน ขาว ฤๅ ผ้า ขาว นั้น เปน ต้น.
      ศรี เขียว (687:17.32)
               คือ ศรี ที่ เช่น ใบ ไม้ สด เปน ต้น.
      ศรี ขาบ* (687:17.33)
               คือ ศรี เหมือน ศรี ขน ปีก นก ขาบ, คือ ศรี เกิด แต่ ศรี คราม จีน ทำ มา แต่ เมือง จีน นั้น.
      ศรี คราม (687:17.34)
               คือ ศรี ที่ เช่น ศรี น้ำ คราม นั้น.
      ศรี ซีด เผือด (687:17.35)
               คือ ศรี ที่ แต่ แรก แดง ดี, ครั้น นาน มา ถูก แดด ถูก ลม ศรี นั้น จาง ลง ไม่ คง ดั่ง เก่า นั้น.
      ศรี ดำ (687:17.36)
               คือ ศรี เช่น ศรี เขม่า ฤๅ ครี* มึก เปน ต้น, ศรี ดำ เขา ทำ ด้วย ควัน ไฟ เปน ต้น.
      ศรี แดง (687:17.37)
               คือ ศรี เช่น ศรี ชาด ฤๅ ศรี ไฟ, แล ศรี ดวง อา ทิตย์ เปน ต้น นั้น, เขา เรียก ศรี แดง.
      ศรี ต่าง ๆ (687:17.38)
               คือ ศรี แดง บ้าง ศรี เขียว บ้าง เปน ต้น.
      ศรี ทอง (687:17.39)
               คือ ศรี เหลือง, เช่น ศรี หัว ขมิ้น แล ศรี ใบ ไม้ ที่ สุก เหลือง นั้น, ว่า ศรี ทอง.
      ศรี ธรรมราช (687:17.40)
               เปน ชื่อ คน กระลาการ ผู้ พนัก งาน รับ ฟ้อง ของ ราษฎร คน หนึ่ง ศาล หลวง นั้น.

--- Page 688 ---
      ศรี นาก (688:17.41)
               คือ ศรี เช่น ศรี ทอง แดง ที่ เขา เจือ ปน กับ ทอง คำ ไม่ เปน ศรี ทอง แดง แท้ นั้น.
      ศรี เผือก (688:17.42)
               คือ ศรี ขาว ผ่อง เช่น ช้าง เผือก เปน ต้น.
      ศรี ฟ้า (688:17.43)
               คือ ศรี น้ำ เงิน, เมื่อ เขา หลอม เงิน ละลาย คว้าง วั่ง อยู่ ใน เบ้า ใน ไฟ นั้น.
      ศรี ม่วง (688:17.44)
               คือ ศรี คราม เจือ กับ ศรี แดง นั้น.
      ศี ละ (688:17.45)
                ฯ แปล ว่า ธรรม เปน ที่ เอย็น, เปน ที่ กระเษม ศุข สนุกนิ์ สบาย นั้น.
      ศี ละกะถา (688:17.46)
               ฯ แปล ว่า กล่าว พรรณนา ซึ่ง ศีล นั้น.
      ศรี เหลือง (688:17.47)
               คือ ศรี เช่น ศรี ทอง คำ แล ศรี ขมิ้น แล ศรี ดวง จันทร์ นั้น, เขา เรียก ศรี เหลือง.
      ศรี ลาย (688:17.48)
               คือ ศรี เช่น ศรี กดาด ที่ เขา ทำ มา แต่ เมือง นอก ที่ ทำ ใบ ปก หลัง สมุด นั้น.
      ศรี ใส (688:17.49)
               คือ ศรี ผ่อง อยู่ ดู เหมือน ศรี แก้ว แล กะจก นั้น.
      ศรี สรรค์ (688:17.50)
               คือ ศรี แสง แจ่ม ใส ผุด ผ่อง นั้น.
      ศรี สุก (688:17.51)
               คือ ศรี แดง สุก, เหมือน ผล ไม้ ที่ มัน สุก แดง อยู่ นั้น.
      ศรี สด (688:17.52)
               คือ ศรี สด ชื่น อยู่ เหมือน ศรี ดอก ไม้ สด นั้น.
      ศีศะ (688:17.53)
               ฯ แปล ว่า หัว ๆ นั้น อยู่ เบื้อง บน เปน ธรรมดา คน แล สัตว ก็ เหมือน กัน.
      ศีศะ น้ำ มัน ยาง (688:17.54)
               คือ น้ำ มัน ยาง ที่ ใส นั้น.
      ศีศะ ป่า (688:17.55)
               คือ หัว ป่า, เช่น ใน หลวง จะ เสด็จ พระราช ดำเนิน ที่ ใด หา สัตว ป่า มา ถวาย เปน เครื่อง เสวย นั้น.
      ศรี อะยุทธยา (688:17.56)
               เปน ชื่อ กรุง อะยุทธยา อัน มี ศิริ นั้น.
      ศรี อะโยทธยา (688:17.57)
               ฯ เปน ชื่อ กรุง เก่า, ถ้า จะ แปล ความ ว่า เมือง ไม่ มี ผู้ ใด จะ สู้ รบ ผะ จน ได้ นั้น.
สี่ (688:1)
         คือ นับ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, เขา นับ ตั้งแต่ หนึ่ง ไป จน ถึง ที่ สี่, ว่า หนึ่ง สอง สาม สี่ นั้น.
      สี่ ข้อ (688:1.1)
               คือ เนื้อ ความ สี่ บท ๆ หนึ่ง เรียก ข้อ หนึ่ง. อย่าง หนึ่ง ไม้ ไผ่ มี สี่ ข้อ นั้น.
      สี่ คำ (688:1.2)
               คือ คำ เข้า ฤๅ คำ พูจ, คน เปิบ เข้า ใส่ ใน ปาก ที หนึ่ง ว่า คำ หนึ่ง, พูจ ออก ท หนึ่ง ว่า คำ หนึ่ง.
      สี่ คน (688:1.3)
               คือ นับ คน ตั้งแต่ หนึ่ง ถึง สี่, เขา นับ คน มี หลาย คน, ว่า คน หนึ่ง สอง คน สาม คน สี่ คน.
      สี่ คืน (688:1.4)
               คือ สี่ เวลา ค่ำ, เวลา ค่ำ มืด ลง เรียก ว่า คืน นั้น, เพราะ เมื่อ แรก โลกย์ ตั้ง, ยัง ไม่ มี อาทิตย์ แล จันทร์ นั้น, โลกย์ มืด อยู่ มา มี อาทิตย์ ส่อง สว่าง แล้ว ลับ ไป, โลกย์ ก็ กลับ คืน มืด ไป จึ่ง เรียก เวลา นั้น ว่า คืน.
      สี่ ประการ (688:1.5)
               คือ สี่ อย่าง, เช่น คน ต้อง โทษ หลวง เขา ทำ อา. ญา มี จำ ด้วย โซ่ ตรวน นั้น, ว่า ถูก อาญา ประการ หนึ่ง
      สี่ พัน (688:1.6)
               คือ นับ ตั้งแต่ หนึ่ง ถึง สิบ ร้อย, จึ่ง นับ ว่า พัน หนึ่ง นั้น.
      สี่ ร้อย (688:1.7)
               คือ นับ ตั้ง แต่ หนึ่ง ถึง สิบ ๆ หน นั้น, จึ่ง นับ ว่า ร้อย นั้น.
      สี่ สิบ (688:1.8)
               คือ นับ แต่ หนึ่ง ถึง สิบ ได้ สี่ ที นั้น.
      สี่ หน (688:1.9)
               คือ นับ ที หนึ่ง ไป ได้ สี่ ที, เหมือน เฃา ถาม ว่า ได้ ไป ขี่ ที เปน ต้น บอก ว่า ได้ ไป สี่ หน นั้น.
      สี่ องค์ (688:1.10)
               คือ นับ พระ ฤๅ เจ้า ว่า สี่ องค์, พูจ ถึง พระ ฤๅ เจ้า องค์ นั้น เปน คำ สูง เพราะ.
สี้ (688:2)
         คือ ของ แบน เปน ซีก ๆ ถ้า ของ กลม ไม่ เรียก สี้, ต่อ ไม้ แบน เปน ซีก ๆ จึ่ง ว่า สี้.
      สี้ โครง (688:2.1)
               คือ กะดูก ที่ มี แต่ อก ยาว ลง ไป ถึง สี ข้าง นั้น, เขา เรียก สี้ โครง คน แล สัตว มี เหมือน กัน.
      สี้ เฝือก (688:2.2)
               คือ ซีก ไม้ ไผ่ ที่ เขา ผ่า แล้ว ถัก ด้วย เชือก แผ่ เปน แผ่น ห่อ หุ้ม สพ คน จน ไป นั้น.
      สี้ ฟาก (688:2.3)
               คือ ไม้ ไผ่ เขา ผ่า ออก เปน อัน เล็ก ๆ ฤๅ สับ เปน อัน เล็ก ๆ ปู เรือน เปน ต้น นั้น.
      สี้ ฟัน (688:2.4)
               คือ ฟัน อัน ละ อัน เรียก สี้ ฟัน, บันดา ซีก ฟัน อัน หนึ่ง ๆ นั้น, เรียก ว่า สี้ ฟัน*.
      สี้ ลอบ (688:2.5)
               คือ สี้ ไม้ ไผ่ เขา ผ่า ออก เปน อัน เท่า นิ้ว มือ แล้ว ถัก เข้า เช่น รูป ตะโภน สำหรับ ดัก ปลา นั้น.
      สี้ สุ่ม (688:2.6)
               คือ ซีก ไม้ ไผ่ เขา ผ่า ออก ทำ เปน อัน เล็ก ๆ เช่น เส้น ตอก เขา สาน เปน กระโจม เท่า ตุ่ม ใหญ่ ใส่ น้ำ, สำหรับ ไล่ ครอบ สุ่ม ปลา นั้น.
สื่อ (688:3)
         คือ เปน คน นำ เอา ความ ของ คน สอง ฝ่าย ไป บอก กับ ข้าง หนึ่ง แล้ว นำ เอา ความ ของ ข้าง หนึ่ง, ไป บอก กับ ข้าง หนึ่ง นั้น.

--- Page 689 ---
      สื่อ ข่าว (689:3.1)
               คือ เอา เรื่อง ความ ข่าว มา บอก แก่ ฝ่าย ข้าง หนึ่ง บ้าง, เอา เรื่อง ความ ข่าว ไป บอก ข้าง หนึ่ง บ้าง.
      สื่อ ความ (689:3.2)
               คือ เอา ความ ไป บอก แก่ ฝ่าย ข้าง นี้ บ้าง, เอา ความ แต่ ฝ่าย ข้าง นี้ ไป บอก แก่ ข้าง โน้น บ้าง.
      สื่อ ไป (689:3.3)
               คือ เอา ความ แต่ คน นี้ ไป บอก แก่ คน โน้น, เอา ความ แต่ คน โน้น มา บอก คน นี้.
      สื่อ มา (689:3.4)
               คือ เอา ความ แต่ ฝ่าย โน้น มา บอก แก่ ฝ่าย นี้ เอา ความ แต่ ฝ่าย นี้ ไป บอก แก่ ฝ่าย โน้น.
      สื่อ สาร (689:3.5)
               คือ ถือ เอา หนังสือ สารตรา ภา ไป แจ้ง แก่ เมือง นี้ แล้ว เอา สารตรา แต่ เมือง นี้ ไป แจ้ง แก่ เมือง โน้น.
      สื่อ หา กัน (689:3.6)
               คือ เกิด ความ ร้าย อัน ใด อัน หนึ่ง ทั้ง สอง ฝ่าย เขา เที่ยว สืบ สู่ หา กัน เพื่อ จะ รู้ ความ นั้น.
สุ (689:1)
         คือ ของ มี ผล ไม้ เปน ต้น มัน เสีย ไป แต่ ยัง ไม่ เน่า. อย่าง หนึ่ง ต้ม น้ำ ร้อน ขึ้น ซัก ผ้า นั้น.
      สุกร (689:1.1)
               ฯ แปล ว่า หมู, คือ ตัว สัตว สี่ เท้า ที่ เจ๊ก มัน เลี้ยง มี บ้าง มัน มี ใน ป่า บ้าง นั้น.
      สุขุม (689:1.2)
               แปล ว่า ละเอียด อ่อน หนุ่ม นั้น, เช่น คน ปัญญา ดี มี ความ ตฤกตรอง มาก ว่า ปัญญา สุขุม.
      สุขุม ฦกล้ำ (689:1.3)
               คือ ข้อ ความ ละเอียด* ฦก ลับ, คน คิด พิจารณา ไม่ ใคร่ เหน โดย ปัญญา นั้น.
      สุคะติ (689:1.4)
               ฯ คือ ที่ เปน ที่ ไป ดี, เช่น ที่ สวรรค์ นั้น.
      สุ คนธ์ (689:1.5)
               แปล ว่า กลิ่น หอม, บันดา กลิ่น ดี เปน ที่ ชื่น ใจ มี กลิ่น ดอก มะลิ เปน ต้น นั้น, ว่า กลิ่น หอม.
      สุจะนี (689:1.6)
               คือ ผ้า สำหรับ ปู บน ที่ นอน, เปน คำ หลวง เรียก.
      สุจริต (689:1.7)
               ฯ แปล ว่า ประพฤติ์ ดี, เช่น คน กระทำ การ ดี ชอบ มิ ได้ ล่วง บัญญัติ.
      สุ จิ (689:1.8)
               ฯ แปล ว่า สอาจ, เช่น ของ ฃาว ปราศจาก มลทิน แล กลิ่น อัน ชั่ว นั้น.
      สุดา (689:1.9)
               ฯ แปล ว่า นาง หญิง สาว, เขา แต่ง คำ ทำ หนังสือ เปน คำ เพราะ ว่า สุดา ดวง สมร.
      สุดา จันทร์ (689:1.10)
               คือ นาง เปรียบ ด้วย ดวง จันทร์.
      สุดา โฉม (689:1.11)
               คือ รูป นาง งาม เจริญ รุ่น ประถม ไวย, มี ผิว แล กาย เปล่งปลั่ง บริบูรณ นั้น.
      สุดา ดวง (689:1.12)
               คือ นาง เปรียบ ด้วย ดวง ใจ, เช่น ชาย ว่า ข้า รัก หญิง เหมือน ดวง ใจ.
      สุทัศนะ (689:1.13)
               ฯ แปล ว่า ดู ดี ดู งาม, เช่น เมือง เทวดา ชั้น ที่ สอง ดาวะดึงษ์ ชื่อ เมือง สุทัศนะ นั้น.
      สุนิสา (689:1.14)
                ฯ แปล ว่า ลูก สะใพ้, คน หญิง ที่ เปน เมีย ของ ลูก ชาย นั้น, ว่า ลูก สะใพ้.
      สุเน่า (689:1.15)
               คือ ผล ไม้ ที่ ควร จะ สุ, มี ผล มะ ขวิด เปน ต้น, มัน เสีย ไป แต่ ยัง ไม่ ถึง เน่า นั้น.
      สุนักข์ (689:1.16)
               ฯ แปล ว่า หมา, รู้ จัก ฟัง เสียง เจ้า ของ เรียก กระ- ดิก หาง ทำ อาการ ตาม ภาษา สัตว.
      สุนักข์ จิ้งจอก (689:1.17)
               คือ หมา มัน อยู่ ใน ป่า เปน ธรรมดา รูป คล้าย กับ หมา บ้าน.
      สุนักข์ ป่า (689:1.18)
               คือ หมา มัน อยู่ ใน ป่า เปน ปรกติ, คือ หมา จิ้ง จอก แล หมา ไน.
      สุนัศ (689:1.19)
               ว่า สดับ ฟัง, คือ มิ ได้ มี คำ ตอบ นิ่ง ฟัง อยู่ นั้น.
      สุบัณ (689:1.20)
               ฯ แปล ว่า พระยา ครุธ, เปน สัตว สอง เท้า มี ปีก บิน ได้ อยู่ ชาน เขา สุเนรุ.
      สุบินนิมิตร (689:1.21)
               ฯ แปล ว่า เหตุ ที่ คน ฝัน เหน ใน ใจ เปน เรื่อง ราว อย่าง ไร อย่าง หนึ่ง นั้น.
      สุ ผ้า (689:1.22)
               คือ การ ที่ เขา มี ผ้า เก่า ใช้ แล้ว บ้าง, เขา เอา น้ำ ร้อน เท ใส่ ลง ใน ราง เอา ผ้า ใส่ ลง ฝอก ไป นั้น.
      สุพรรณ์ (689:1.23)
               ฯ แปล ว่า ทอง คำ, แปล ว่า มี ศรี เหลือง อัน งาม บริสุทธิ์ นั้น.
      สุพรรณ บูรีย์ (689:1.24)
               เปน ชื่อ เมือง ขึ้น กับ กรุง เทพ ฯ อยู่ ฝ่าย ทิศ ตวัน ตก เฉียง เหนือ กรุง เทพฯ.
      สุพรรณบัต (689:1.25)
               ฯ คือ แผ่น ทอง ที่ เขียน จาฤก พระนาม เจ้า ที่ ตั้ง เปน กรม นั้น.
      สุพรรณ ภาชนะ (689:1.26)
               ฯ ว่า ภาชนะ อัน แลว ด้วย ทอง คำ.
      สุพรรณ ราช (689:1.27)
               คือ กะโถน ทอง คำ ใหญ่ สำหรับ รับ น้ำ เมื่อ เวลา เสวย พระ อาหาร เจ้า, เรียก เปน คำ หลวง.
      สุพรรณ ศรี (689:1.28)
               คือ พาน สำหรับ เจ้า เสวย หมาก, เรียก เปน คำ หลวง ว่า.
      สุภาวะ (689:1.29)
               คือ สุภาพ, ว่า ความ ดี, เช่น คน กิริยา แล พูจจา ดี เปน ต้น.

--- Page 690 ---
      สุภา สิต (690:1.30)
               ฯ คือ ถ้อย คำ ที่ บุกคล กล่าว ดี เปน ต้น ว่า อย่า ประพฤติ์ ชั่ว นั้น.
      สุ*ภาพย์ (690:1.31)
               คือ ความ ดี, คน ประพฤติ์ ความ ดี, ไม่ โอยก เอยก ไม่ เยื่อ ไม่ หยิ่ง นั้น.
      สุมาลี (690:1.32)
               ฯ แปล ว่า ดอก ไม้ งาม ดี ประกอบ ด้วย ศรี แล กลีบ นั้น.
      สุมามาลย์ (690:1.33)
               ฯ แปล ว่า พวง ดอก ไม้ อันดี
      สุเมรุมาศ (690:1.34)
               ฯ แปล ว่า ภูเขา ชื่อ สิเนรุ มี ศรี เปน ทอง คำ เปน คำ สำหรับ แต่ง หนังสือ.
      สุเมรุราช (690:1.35)
               ฯ เปน ชื่อ พระยา เขา สุเมรุ, เขา อัน ใด ใน จักร วาฬ นี้ ไม่ เท่า จึ่ง ชื่อ ว่า สุเมรุ ราช.
      สุรา (690:1.36)
               ฯ แปล ว่า แกล้ว กล้า, เหล้า ว่า สุรา, เพราะ คน กิน เหล้า แล้ว ใจ มัน กล้า ขึ้น.
      สุรา บาน (690:1.37)
               ฯ แปล ว่า น้ำ เหล้า อัน บุกคล พึ่ง ดื่ม, สิ่ง ใด เปน น้ำ เมา แล้ว เรียก ว่า สุราบาน, ปานะ สอง ตัว นี้ แปล ว่า น้ำ,
      สุรา รักษ (690:1.38)
               อธิบาย ว่า เทพา รักษ, เช่น เทวดา อยู่ ที่ ศาล แล ต้น ไม้ ใหญ่ นั้น.
      สุราไลย (690:1.39)
               ฯ แปล ว่า ที่ เปน ที่ อยู่ แห่ง เทวดา ว่า สวรรค์ ชั้น ฟ้า ก็ ได้.
      สุริย์ วงษ (690:1.40)
               ฯ แปล ว่า วงษ แห่ง กระษัตริย์ ใน ต้น กัลป ทรง นาม ชื่อ ท้าว อาทิจจะ วงษ นั้น.
      สุริยา (690:1.41)
               ฯ แปล ว่า อาทิตย์, สุริยา ก็ แปล ว่า กล้า หาญ เพราะ เมื่อ ยัง ไม่ มี ดวง อาทิตย์, มืด อยู่ คน ขลาด กลัว อยู่ ครั้น มี ดวง อาทิตย์ คน จึ่ง กล้า ขึ้น.
      สุระ (690:1.42)
               ฯ แปล ว่า แกล้วกล้า, เช่น ตั้ง ชื่อ คน ชื่อ ว่า ขุน สุระ สาคร, อธิบาย ว่า กล้า ใน ท้อง ทเล.
      สุระ โยธา (690:1.43)
               ว่า เปน โยธา อัน กล้า หาญ
      สุระ เสนา (690:1.44)
               คือ คน เสนา ข้า ราชการ อัน แกล้ว กล้า นั้น.
      สุระเสียง (690:1.45)
               คือ เสียง ที่ คน กล่าว ด้วย แกล้ว กล้า นั้น.
      สุรางคนาง (690:1.46)
               เปน คำ ท่าน ผู้ รู้ แต่ ก่อน จัด ไว้ เปน ชื่อ บท ใน หนังสือ สวด อย่าง หนึ่ง นั้น.
      สุรัศ (690:1.47)
               เปน ชื่อ เมือง เทษ เมือง หนึ่ง ชื่อ เมือง สุรัศ.
      สุรัศวดี (690:1.48)
               คือ คน เปน ขุนนาง เจ้า กระทรวง จำนวน ตัว เลก, คือ คน ไพร ฟ้า ข้า แผ่น*ดิน คน หนึ่ง นั้น.
      สุวรรณ์ (690:1.49)
               ฯ แปล ว่า ทอง คำ, บันดา ทอง คำ ตั้ง แต่ เนื้อ สี่ ตลอด ถึง เนื้อ เก้า นั้น, สงเคราะห์ เข้า ใน สุวรรณ์.
      สุ เสีย แล้ว (690:1.50)
               คือ คำ บอก ว่า มัน สุ เสีย แล้ว, เขา เหน ผลไม้ ที่ มัน สุ เสีย แล้ว แล บอก เช่น นั้น
สู (690:1)
         เปน คำ เก่า บูราณ ชาว บ้าน นอก, พูจ ถึง คน อื่น อ้าง ว่า สู กิน แล้ว ฤๅ, คือ ว่า เจ้า กิน แล้ว ฤๅ
      สู เจ้า (690:1.1)
               คือ คำ เก่า เช่น ว่า แล้ว, แต่ ทุก วัน นี้ เขา ทิ้ง ละเสีย ไม่ สู้ กล่าว, แต่ ชาว บ้าน นอก พูจ อยู่ บ้าง.
      สู จะ ไป ไหน (690:1.2)
               เปน คำ ทัก ถาม เมื่อ ภบ ปะ กัน ว่า เธอ ว่า เจ้า ว่า ท่าน จะ ไป ไหน นั้น, เปน คำ เก่า.
      สู ทั้ง หลาย (690:1.3)
               คือ เจ้า ทั้ง หลาย, สู นั้น เปน คำ คน บูราณ พูจ ว่า เจ้า ว่า เอง นั้น
      สูปะ (690:1.4)
               ฯ แปล ว่า แก่ง, แต่ บันดา สิ่ง ของ มี หมู แล ไก่ ใส่ ใน ม่อ เปน ชิ้น ละลาย เครื่อง ปรุง ใส่ ว่า สูปะ
      สูรู้ ปั้นล่ำ (690:1.5)
               คือ อาการ ที่ คน อวด รู้ ถือ ตัว ว่า ตัว เปน คน ดี นั้น.
      สูรางคนารี (690:1.6)
               คือ นาง เทวะธิดา นาง ฟ้า นาง สวรรค์.
สู่ (690:2)
         คือ เสพย์, คน พูจ ว่า ของ นี้ สู ชาว เจ้า เอา ไป กิน ด้วย กัน เจ้า กิน บ้าง ให้ เขา กิน บ้าง.
      สู่ กัน กิน (690:2.1)
               คือ เอา ของ อัน ใด เปน ของ กิน วาง ลง แล้ว กิน ไป ด้วย กัน
      สู่ ฃอ (690:2.2)
               คือ ไป หา เขา ถึง ที่ เขา อยู่ แล้ว, ว่า ฃอ ของ อัน ใด เขา ว่า สู่ ฃอ ของ นั้น.
      สู่ บ้าน (690:2.3)
               คือ เข้า ไป ถึง ใน บ้าน, คน มา แต่ ทาง ใกล้ ฤๅ ไกล แล เข้า ไป บ้าน นั้น.
      สู่ เมือง (690:2.4)
               คือ เข้า ไป ถึง ใน เมือง, คน เดิน ทาง บก ฤๅ ทาง น้ำ ถึง แล เข้า ใน เมือง นั้น.
      สู่ เรือน (690:2.5)
               คือ มา ยัง ที่ เรือน ฤๅ ไป ยัง ที่ เรือน นั้น ๆ.
      สู่ สำนักนิ์ (690:2.6)
               คือ ถึง ที่ เปน ที่ อยู่ แห่ง เขา, คน ไป ทาง ถึง ที่ อยู่ แห่ง ผู้ อื่น นั้น.
      สู่ สวรรค์ (690:2.7)
               คือ ไป ยัง สวรรค์.

--- Page 691 ---
      สู่ สม (691:2.8)
               คือ สู่ เสมอ, สู่ สมัค รัก ใคร่ เช่น หญิง ชาย บิดา มาร ดา ยก ให้ แล้ว อยู่ ด้วย กัน.
      สู่ หา (691:2.9)
               คือ คบ หา กัน ส้อง เสพย์ เปน มิตร สัณฐะวะ รัก ใคร่ กัน เปน ที่ ไป มา หา สู่ กัน.
สู้ (691:1)
         คือ ถ้อย ที ถ้อย ตี กัน, ถ้อย ที ถ้อย ด่า กัน, ถ้อย ที ถ้อย รบ กัน เปน ต้น นั้น, ว่า สู้ กัน.
      สู้ กัน (691:1.1)
               คือ ถ้อย ที ถ้อย ตี กัน, เช่น คน สอง คน โกรธ กัน ต่าง ตี ต่าง ด่า กัน เปน ต้น.
      สู้ ความ (691:1.2)
               คือ วิวาท กัน, แล ฟ้อง ร้อง หา ความ กล่าว โทษ แห่ง กัน แล กัน ทั้ง สอง ฝ่าย นั้น.
      สู้ จน (691:1.3)
               คือ อด ทน ความ จน, เหมือน คน ยาก จน ไม่ มี ทรัพย์ แล กล้น ทน เอา ความ จน.
      สู้ ได้ (691:1.4)
               คือ ต่อ รบ กัน ได้, เช่น คน ฤๅ สัตว รูป ร่าง เท่า กัน กำลัง ทัด กัน สู้ กัน ได้
      สู้ ต้าน ทาน (691:1.5)
               คือ ตั้ง ต่อ รบ รับ ประจัน บาน นั้น.
      สู้ ตาย (691:1.6)
               คือ อด ทน จน ถึง ตาย, เช่น คน มี มานะ กล้า ถึง เล็ก กว่า สู้ ไม่ ได้ แต่ รบ จน ตัว ตาย.
      สู้ ทน (691:1.7)
               คือ อด ทน อุษ่าห์ ทน, เช่น คน ถึง จะ ถูก ฝน ถูก แดด ก็ อุษ่าห์ กลั้น เอา.
      สู้ รบ (691:1.8)
               คือ รบ สู้ ตาม ธรรมดา, เช่น คน กอง ทัพ ทั้ง สอง ฝ่าย รบ เอา ไชย ชนะ แก่ กัน.
      สู้* เสีย ชีวิตร (691:1.9)
               คือ สู้ ตาย, เช่น คน มี ใจ มานะ นัก, ถึง ชี วิตร จะ ตาย ก็ ไม่ เสีย ดาย สู้ ละ เสีย.
      สู้ เสีย สะละ (691:1.10)
               คือ สู้ ทอด ทิ้ง ละ เสีย, เช่น อาบะรา ฮาม รัก พระเจ้า ของ ตน จน สู้ สะละ ลูก เผา ถวาย นั้น.
      สู้ อด กลั้น (691:1.11)
               คือ อุษ่าห์ อด กลั้น, คน มี ความ ทุกข์ ร้อน ด้วย เหตุ อัน ใด อด กลั้น ไว้ ใน ใจ ไม่ ออก วาจา นั้น.
เส (691:2)
         คือ เว้แวะ ไป, เช่น คน เดิม ตั้ง ใจ จะ มา หา หมอ ครั้น มา ถึง กลาง ทาง เว้ ไป อื่น น่อย หนึ่ง นั้น.
เสโท (691:3)
         ฯ แปล ว่า เหงื่อ, น้ำ ที่ เม็ด ไหล ออก จาก กาย คน เมื่อ ทำ การ เหนื่อย เปน ต้น นั้น.
เสนา (691:4)
         ฯ แปล ว่า พล โยธา ทหาร, เช่น คน ยก กอง ทัพ ไป จะ รบ ศึก พล ทหาร นั้น, เรียก เสนา.
      เสนา บดี (691:4.1)
               ฯ คือ คน เปน เสนา ผู้ ใหญ่ ใน ราช การ หลวง นั้น.
      เสนา มาตย์ (691:4.2)
               คือ คน เปน เสนา อำมาตย์ ข้า ราช การ เปน ขุน นาง ใน ตำแหน่ง เฝ้า ขุนหลวง นั้น.
      เสนา มนตรี (691:4.3)
               ฯ คือ คน เปน เสนา มี สติ ปัญญา คิด อ่าน ข้อ ราชการ ถวาย ขุนหลวง นั้น.
เสนี (691:5)
          ฯ แปล เอา ความ เช่น กัน กับ เสนา ที่ ว่า แล้ว นั้น, แต่ เปลี่ยน แต่ ถ้อย คำ.
เสนก (691:6)
         เปน ชื่อ คน แต่ ก่อน มี ใน เรื่อง ราว ชาฎก นิทาน, ว่า มี คน เปน อาจาริย์ ชื่อ เสนก.
เสนางคนิกร (691:7)
         ฯ คือ หมู่ แห่ง องค์ เสนา สี่, คือ พล ช้าง พล ม้า พล รถ พล เดิน เท้า นั้น.
      เส ไป (691:7.1)
               คือ เว้แวะ ไป, เช่น คน ทำ เช่น ว่า นั้น บ้าง. อย่าง หนึ่ง เฃา พูจ เส บ้าง, จะ ออก ชื่อ คน นี้ แล้ว แกล้ง ไป ออก ชื่อ คน อื่น เสีย.
เสเพล (691:8)
         คือ คน เปน นักเลง กิน เหล้า โอยกเอยก ไม่ มี ชาติ ไม่ มี สกูล พูจ เอา จริง ไม่ ใคร่ ได้.
เส พูจ (691:9)
         คือ พูจ ไพล่ คำ ไป, เช่น คน พูจ ติ เตียน คน นั้น อยู่ ภอ คน นั้น มา ถึง เข้า, แกล้ง กลับ พูจ เปน คำ อื่น เสีย นั้น.
เสภา (691:10)
         เปน เพลง ขับ ว่า ด้วย เรื่อง ขุน ช้าง ขุน แผน แต่ ครั้ง กรุง ศรี อยุทธยา ยัง ตั้ง ตี อยู่ นั้น.
เสมา (691:11)
         คือ เร่ มา เว้ มา, เช่น คน เดิน ทาง บก ฤๅ ทาง น้ำ จะ ไป อื่น แวะ เว้ มา บ้าน เรา.
      เสมา กำแพง (691:11.1)
               คือ รูป ใบ เษมา เขา ทำ ไว้ บน ปลาย กำแพง นั้น.
      เสมา ไชย (691:11.2)
               คือ รูป เษมา เฃา ทำ ด้วย* หิน ตั้ง ไว้ ตรง น่า โบศถ์ สำหรับ หมาย เขตร แดน โรง อุโบศถ นั้น.
เสลา (691:12)
         ฯ แปล ว่า หิน, เช่น หิน ที่ ภูเขา บน บก แล ใน น้ำ ทเล ว่า เสลา ทั้ง หมด.
      เสลา ปัตะพี (691:12.1)
               ฯ คือ หิน ดิน* อ่อน สำหรับ รับ รอง บัง สุปั ตะพี ผง คลี แผ่น ดิน โลกย์ อยู่ เบื้อง ต่ำ ถัต น้ำ ขึ้น มา นั้น.
เสวะกา ข้า เฝ้า (691:13)
         คือ คน เปน ข้า ราชการ, อยู่ ใน อำนาท ขุน หลวง คอย ฟัง กระแส รับ สั่ง.
เสวะกา มาตย์ (691:14)
         ฯ แปล ว่า คน เปน อำมาตย์ ข้า เฝ้า ของ ท่าน เปน ขุน หลวง.

--- Page 692 ---
เส แส้ง (692:1)
         คือ แกล้ง ไพล่ เสีย, เช่น คน พูจ ไพล่ เช่น ว่า แล้ว บ้าง, ทำ อาการ บิด ไพล่ บ้าง, คือ นอน อยู่ กลัว เขา จะ ว่า ทำ ลุก ขึ้น บ้าง.
เส ออก (692:2)
         คือ เว้ เร่ ออก, เช่น คน เฃา ใช้ อยู่ มาก ด้วย กัน, แล ผู้ หนึ่ง เกียจ คร้าน เว้ ออก.
แส่ (692:3)
         คือ ส่อ ความ, เช่น คน เปน คน แหย่ ขี้ ยุ ขี้ ส่อ, แล แกล้ง ไป กระซิบ ความ ร้าย นั้น.
      แส่ ความ (692:3.1)
               คือ ยุ ความ, เช่น คน วิวาท กัน เกือบ จะ สงบ เงียบ ลง แล ยุ ยง ส่อ ความ เข้า ให้ โกรธ กัน.
      แส่ ตีน (692:3.2)
               คือ แอย่ ตีน, คน เอา ตีน ทำ เสือก ไป น่อย ๆ หนึ่ง ที่ คน เปน ต้น นั้น.
      แส่ หา (692:3.3)
               คือ สืบ หา, คน เสาะ สืบ หา ของ อัน ใด ที่ เปน ของ ซ่อน ของ อำ ของ บัง นั้น.
แส้ (692:4)
         คือ สำเนียง อื่ออึง. อย่าง หนึ่ง คน เกิด เปน เชื้อ* วงษ์ เหมือน สกูล เบญมิน เปน ต้น.
      แส้เซง (692:4.1)
               คือ ความ อื้ อึง, เหมือน เด็ก ๆ เล่น อื้ออึง, เขา ว่า เสียง เซงแส้ นั้น.
      แส้ เดียว กัน (692:4.2)
               คือ เชื้อ สาย วงษ์ เดียว กัน, เหมือน คน เปน เชื้อ เครือ กิ่ง ญาติ กัน ต่อ ๆ นั้น.
      แส้ ปัด ยุง (692:4.3)
               เปน ของ ถัก ด้วย เส้น ขน หาง ม้า, ทำ ด้ำ สำ หรับ ถือ สนัด ปัด ยุง นั้น.
      แส้ ม้า (692:4.4)
               เปน ไม้ เขา ทำ ถัก สำหรับ ตี ม้า, เขา เอา หวาย ลำ เล็ก ๆ ทำ เปน ด้ำ ถัก ด้วย ด้าย นั้น.
      แส้ ม้า ทะลาย (692:4.5)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, มี ใน ป่า หมอ เก็บ เอา มา ประกอบ ยา ได้ นั้น.
      แส้ หวาย (692:4.6)
               คือ ไม้ แส้ เขา เอา หวาย ทำ ด้ำ, เอา ด้าย ถัก เปน เกลียว เรียว ตี ม้า.
ไส (692:5)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ไส ฅอ (692:5.1)
               คือ เสือก ที่ ฅอ ไป นั้น, เช่น ว่า จะ ไป ฟ้อง คน หนึ่ง ว่า ไส ฅอ ไป เถิด.
      ไส ช้าง (692:5.2)
               คือ คน ขี่ บน ฅอ ช้าง แล้ว ทำ ให้ โยก เสือก ให้ ช้าง มัน ไป เร็ว ๆ นั้น.
      ไส ไป (692:5.3)
               คือ เสือก ไป, เช่น คน ไส กบ ไม้ นั้น.
      ไส เสือก (692:5.4)
               คือ เสือก ไส, เช่น ไส ช้าง ฤๅ ไส กบ นั้น.
      ไส หัว (692:5.5)
               เปน คำ อยาบ ขับ ไล่, ว่า เอา มือ ไส หัว มัน ไป เสีย ให้ พ้น บ้าน นั้น.
ไสยเพศ (692:6)
         คือ เพศ แห่ง พราหมณ์ อัน ถือ พระ อิศวร แล นารายน์ เปน ต้น นั้น.
ไส้ (692:7)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ไส้ เดือน (692:7.1)
               คือ ตัว สัตว เปน สาย ยาว เท่า เหล็ก ใน มัน อยู่ ใต้ ดิน นั้น.
      ไส้ เดียว กัน (692:7.2)
               คือ คน เกิด ใน ท้อง แม่ เดียว กัน, เฃา ว่า เกิด ไส้ เดียว กัน.
      ไส้ ตะเกียง (692:7.3)
               คือ เส้น ด้าย ดิบ ที่ เขา ใส่ ใน กระจูบ น้ำ มัน จุด ไฟ ลุก โพลง นั้น.
      ไส้ ตรอก (692:7.4)
               เปน ชื่อ ของ กับ เข้า เขา เอา ไส้ หมู มา ชำระ หมด จด แล้ว, เอา เนื้อ มัน เคล้า กับ เครื่อง เผ็ด ยัด เข้า ปิ้ง ให้ สุก กิน นั้น.
      ไส้ เทียน (692:7.5)
               คือ ด้าย ดิบ ที่ เขา ใส่ ไว้ ใน กลาง เล่ม เทียน สำ หรับ จุด ไฟ นั้น.
      ไส้ เลื่อน (692:7.6)
               เปน ชื่อ โรค อย่าง หนึ่ง, มัน เกิด ที่ เส้น ใน ท้อง ผู้ ชาย, มัน เลื่อน ขึ้น เลื่อน ลง ได้ ที่ ไข่ ดัน.
ใส (692:8)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ใส แจ่ม (692:8.1)
               คือ เครื่อง แก้ว ที่ ชำระ ขัด สี สิ้น มลทิน นั้น.
      ใส ผ่อง (692:8.2)
               เช่น เครื่อง แก้ว อัน ชำระ หมด จด เช่น ว่า แล้ว นั้น.
      ใส สว่าง (692:8.3)
               คือ กาล อัน แจ่ม* ใส, เช่น ดวง อาทิตย์ อัน ปราศ จาก เมฆ เมื่อ ระดู หนาว นั้น.
      ใส สอาจ (692:8.4)
               คือ ผ่อง หมด จด, เช่น น้ำ ที่ ใส่ ใน ม่อ กรอง แล้ว ไข ออก มา นั้น.
      ใส สุก (692:8.5)
               คือ ของ เปน มัน เหลื่อม มี ศรี แดง นั้น.
      ใส ศัทธา (692:8.6)
               คือ คน มี ศัทธา เชื่อ ถือ เปน แน่ มี ใจ อัน ผ่อง ใส ใน การ ทำ บุญ นั้น.
ใส่ (692:9)
         คือ สรวม เข้า, เหมือน ใส่ เสื้อ* ฤๅ ใส่ หมวก เปน ต้น นั้น.
      ใส่ ความ (692:9.1)
               คือ การ อัน ใด ที่ เขา ไม่ ได้ ทำ, ผู้ อื่น ว่า คน นั้น ทำ การ นั้น เปน ต้น.
      ใส่ ใจ (692:9.2)
               คือ การ ที่ ชาย แล หญิง คิด เข้า ใจ ตัว ว่า คน นั้น รัก ตัว นั้น, เขา จะ รัก ฤๅ ไม่ รัก ก็ ไม่ รู้ แน่.
      ใส่ เสื้อ (692:9.3)
               คือ เอา เสื้อ สรวม เข้า ที่ ตัว นั้น.
โส (692:10)
         แปล ว่า นั้น, เหมือน สับท์ ว่า โสชะโน, แปล ว่า คน นั้น.

--- Page 693 ---
      ไสย สาตร (693:10.1)
               ฯ แปล ว่า คน ถือ ตาม เพศ พราหมณ์ เช่น ว่า นั้น
      ไสยา (693:10.2)
               แปล ว่า นอน, เช่น คน เอน กาย ลง แล้ว ระงับ ใจ หลับ ตา นิ่ง อยู่ นั้น.
      ไสยาศน์ (693:10.3)
               ฯ แปล ว่า นอน เหนือ อาศนะ.
      โสกา (693:10.4)
               แปล ว่า ความ ร้อง ไห้ ร่ำ ไร เศร้า โศก ถึง ของ ต่าง ๆ นั้น.
      โสกี (693:10.5)
               ฯ แปล เอา ความ เหมือน กัน กับ โสกา สับท์, ว่า เศร้า โศก ใจ เหือด แห้ง.
      โสกันต์ (693:10.6)
               คือ โกน ผม ตัด ผม, เขา พูจ เปน คำ สูง สำหรับ เจ้า เปน ต้น, ตัด ผม จุก ว่า โสกันต์.
      โสโครก (693:10.7)
               คือ ของ น่า เกลียด, เช่น คน มี ตัว เปน โรค ร้าย เปื่อย เน่า พุพัง น้ำ หนอง ไหล.
      โสดา (693:10.8)
               แปล ว่า กระแส, เหมือน คน ได้ ซึ่ง ธรรม ชื่อ ว่า โส ดา นั้น, ว่า มี กระแส ไป ใน วัฏ สงสาร ยัง น้อย มี ชาติ เดียว เปน ต้น.
      โสดา ผล (693:10.9)
               ฯ แปล ว่า ได้ ประโยชน์ ต่อ ไป แต่ เวลา ขณะ เมื่อ ได้ พระธรรม โสดา มรรค แล้ว นั้น.
      โสดา มรรค (693:10.10)
               แปล ว่า ขณะ เมื่อ ได้ ซึ่ง ธรรม อัน ชื่อ ว่า โสดา มี เนื้อ ความ เช่น ว่า แล้ว.
      โสโน (693:10.11)
               ฯ แปล ว่า โสนะ, เปน ชื่อ คน พระ สาวก ของ พระ เจ้า องค์ หนึ่ง ชื่อ โสนะ เถร นั้น.
      โสภา (693:10.12)
               ฯ แล ว่า งาม ว่า ดี, มี เนื้อ ความ เช่น ว่า แล้ว นั้น, ไม่ ผิด กัน นั้น.
      โสภี (693:10.13)
               ฯ แปล ว่า งาม.
      โสภณ (693:10.14)
               ฯ แปล ว่า งาม ดี, เหมือน ของ ที่ ดี ที่ งาม, แล คน ประพฤติ์ ชอบ ดี นั้น.
      โสโม (693:10.15)
               ฯ แปล ว่า ดวง จันทร์, คือ มี ศรี เหลือง มี ศรี ทอง นั้น, จึ่ง เรียก โสโม.
      โสฬศ (693:10.16)
               ฯ แปล ว่า สิบหก, นับ แต่ หนึ่ง ไป จน ถึง สิบหก, ว่า โสฬศ.
      โสฬศ นคร (693:10.17)
               ฯ แปล ว่า เมือง สิบหก, เขา นับ เมือง หนึ่ง จน ถึง สิบหก เมือง.
      โสฬศ มหา พรหม (693:10.18)
               ฯ แปล ว่า ชั้น พรหม สิบหก ชั้น, ตาม หนังสือ ว่า ไว้ นั้น.
      โสมนัศ (693:10.19)
               ฯ แปล ว่า มี ใจ ยินดี, ว่า ใจ ดี, เช่น คน ได้ ของ อัน ใด ดี ใจ นั้น.
โส้ (693:1)
         คือ สาย เหล็ก เขา ทำ เปน ลูก รี ๆ ต่อ ๆ ค่อง กัน ไป เช่น สาย โส้ กำปั่น.
      โส้ เรือ (693:1.1)
               คือ สาย โส้ เหล็ก เขา ร้อย ใส่ เรือ ไว้ เพื่อ จะ มิ ให้ ขะ โมย ลัก เรือ ไป ได้.
      โส้ เหล็ก (693:1.2)
               คือ สาย เหล็ก เขา ทำ เปน ลูก รี ๆ เกี่ยว กัน ไป ยาว เช่น โส้ กำปั่น.
เสา (693:2)
         คือ ไม้ เฃา ตัด ต้น ตัด ปลาย, แล้ว เอา ไว้ ใช้ เปน เสา สำ หรับ ปลูก เรือน เปน ต้น.
      เสา กะโดง (693:2.1)
               คือ ไม้ เสา เขา ปัก กลาง แล หัว ท้าย กำปั่น ฤๅ ตะเภา เอา ใบ ชัก ขึ้น แล่น นั้น.
      เสา กาง มุ้ง (693:2.2)
               คือ เสา ไม้ เล็ก ๆ เขา ปัก ที่ สี่ มุม เตียง แล้ว ผูก มุ้ง กาง กัน ยุง นั้น.
      เสา เกียด (693:2.3)
               คือ ไม้ เสา เขา ปัก ไว้ กลาง ลาน, เอา วัว ผูก ให้ มัน เดิน เวียน ให้ เมล็ด เข้า ร่วง ออก นั้น.
      เสา เขื่อน (693:2.4)
               คือ ไม้ เสา ที่ เขา ปัก วง ล้อม อาราม เปน ต้น, เพื่อ จะ มิ ให้ วัว ควาย เข้า วัด * ได้ นั้น.
      เสา คอก (693:2.5)
               คือ ไม้ เสา ที่ เขา ปัก วง ล้อม ให้ วัว ฤๅ ควาย มัน อยู่ เพื่อ จะ ไม่ ให้ ผู้ ร้าย เอา ได้ เปน ต้น นั้น.
      เสา โคม (693:2.6)
               คือ ไม้ เสา ที่ เขา ปัก ชัก โคม ขึ้น แขวน ตาม ไฟ บูชา พระเจ้า นั้น.
      เสา ค่าย (693:2.7)
               คือ ไม้ เสา ที่ เขา ปัก ล้อม บ้าน ล้อม เมือง ฤๅ ล้อม พล ไพร่ เมื่อ รบ กับ ฆ่าศึก นั้น.
      เสา โด่ (693:2.8)
               คือ ไม้ เสา ที่ เขา ปัก ข้าง หัว เรือ ท้าย เรือ สำหรับ ภาด ไม้ ราว กาง กะแชง เปน ต้น.
      เสา ดั้ง (693:2.9)
               คือ ไม้ เสา เขา ใส่ ที่ กลาง รอด เรือน ปลาย มัน สูง ขึ้น ไป กว่า เสา เรือน มุง หลังคา นั้น.
      เสา เตา ม่อ (693:2.10)
               คือ เสา ที่ เขา ปัก ริม เตา ที่ เขา เผา ม่อ. อย่าง หนึ่ง เสา ที่ เขา ปัก ค้ำ จุน เรือน เปน ต้น, เรียก เสา เตา ม่อ เพราะ มัน สั้น เหมือน เสา เตา ม่อ นั้น.

--- Page 694 ---
      เสา ตำหนัก (694:2.11)
               คือ เสา ที่ เฃา ปลูก เรือน เจ้า เปน ต้น นั้น, เรียก ว่า ตำหนัก เปน คำ สูง เพราะ.
      เสา ตะภาน (694:2.12)
               คือ เสา ที่ เขา ปัก ลง ริม แม่ น้ำ ฤๅ ริม คลอง, ภาด ไม้ รอด แล กะดาน สำหรับ จะ ข้าม เปน ต้น นั้น.
      เสา ตะลุง (694:2.13)
               คือ เสา ที่ เขา ปัก ไว้ เปน หลัก สำหรับ ผูก ข้าง, ไม่ ให้ มัน ไป ได้ นั้น.
      เสา ธง (694:2.14)
               คือ ไม้ เสา ที่ เขา ปัก ไว้ สำหรับ ชัก ธง นั้น, เสา ธง นี้ พวก เมือง อังกฤษ นับ ถือ,
      เสา ประโคน (694:2.15)
               หลัก ประโคน, คือ เสา ที่ เขา ปัก ไว้ ที่ แดน ต่อ แดน, เปน ที่ สังเกต ปัน ที่ กัน ว่า ข้าง นี้ เปน ส่วน ข้าง นี้ ข้าง โน้น เปน ส่วน ข้าง โน้น
      เสา โพงพาง (694:2.16)
               หลัก โพงพาง, คือ ไม้ เสา ที่ เขา ปัก ไว้ ใน แม่ น้ำ สำหรับ ดัก กุ้ง ดัก ปลา นั้น.
      เสา พระ เมรุ (694:2.17)
               คือ ไม้ เสา ใหญ่ ที่ เขา ฝัง ลง จะ ยก เครื่อง บน เมื่อ ทำ เมรุ สำหรับ ถวาย พระเพลิง พระสพ นั้น.
      เสา พลับพลา (694:2.18)
               คือ เสา ที่ เขา ปลูก เรือน เปน ที่ ภัก สำหรับ เจ้า เปน ต้น, เปน แต่ เรือน พื้น ต่ำ ๆ.
      เสา ไม้ จิง (694:2.19)
               คือ เสา ไม้ เตง ไม้ รัง เปน ต้น.
      เสา ไม้ ไผ่ (694:2.20)
               คือ ไม้ ไผ่ เขา ทำ เปน เสา.
      เสา หมอ (694:2.21)
               คือ เสา สั้น ๆ เขา ปัก ลง ไว้ ก่อน เมื่อ จะ ปลูก เรือน ใหญ่ ใส่ เสา หมอ, เพราะ จะ ได้ ยก เสา ใหญ่ ง่าย.
      เสา โรง (694:2.22)
               คือ เสา ที่ เขา ปลูก คล้าย กับ เรือน แต่ เดี่ยว สูง กว่า เรือน มี พื้น ดิน บ้าง ยก พื้น ขึ้น บ้าง.
      เสา ร้าน (694:2.23)
               คือ เสา ที่ เขา ปลูก เปน เพิง มี หลังคา ข้าง เดียว บ้าง ไม่ มี บ้าง, ยก พื้น ต่ำ สำหรับ นั่ง ขาย ของ นั้น.
      เสา เรือน (694:2.24)
               คือ เสา ที่ เขา ปลูก เรือน ๆ สอง ห้อง มี เสา หก เสา สาม ห้อง มี เสา แปด เสา นั้น.
      เสาวะคนธ์ (694:2.25)
               แปล ว่า กลิ่น หอม.
      เสาวะนา การ (694:2.26)
               ฯ แปล ว่า อาการ คือ ได้ ฟัง, คน ได้ ฟัง เสียง ด้วย โศตร, ว่า อาการ ที่ ได้ ฟัง.
      เสาวะนี (694:2.27)
               ฯ คือ ถ้อย คำ ที่ พระนาง ราช มเหษี กล่าว ออก มา, เรียก พระเสาวะนี ตาม เกียรติ์ ยศ.
      เสาวะโปฏก (694:2.28)
               ฯ แปล ว่า ลูก นก แขก เต้า.
      เสาวะภาคย์ (694:2.29)
               ฯ แปล ว่า มี หน้า อัน งาม มี ภักตร์ อัน ดี.
      เสาวะรศ (694:2.30)
               เปน ชื่อ เครือ ลัดา อย่าง หนึ่ง มี ดอก หอม, เปน ของ คน ปลูก เอา ดอก บูชา พระ นั้น.
      เสา ส้าง (694:2.31)
               คือ ไม้ ที่ เขา ทำ เสา เช่น ว่า นั้น, แต่ ส้าง เปน คำ สร้อย.
      เสา หิน (694:2.32)
               คือ เขา เอา หิน มา ทำ เปน เสา นั้น.
      เสา เอก (694:2.33)
               คือ เสา คู่ แรก สอง เสา นั้น, เรียก ว่า เสา เอก คู่ หนึ่ง เพราะ นับ ถือ ว่า เปน เสา ดี.
      เสา อิฐ * (694:2.34)
               คือ เสา เขา ก่อ ด้วย อิฐ*, เช่น เสา โบศถ์ เปน ต้น นั้น.
เส่า (694:1)
         กะสาบ, คือ สำ* เนียง คน พูจ กระซิบ เบา ๆ, เขา ว่า คน นั้น พูจ เสียง กะเส่า ๆ นั้น.
เส้า (694:2)
         คือ เศร้า หมอง ฤๅ เศร้า โศก. อย่าง หนึ่ง เขา เรียก กะลา ที่ เขา ทำ ซอ ว่า เส้า น้ำ สาม เส้า นั้น.
      เส้า กะทุ้ง (694:2.1)
               คือ ไม้ เส้า ที่ สำหรับ กะทุ้ง ลง ที่ เรือ ดั้ง นำ แห่ เสด็จ ขุนหลวง นั้น.
      เส้า ต่อ นก (694:2.2)
               คือ ไม้ ไผ่ เล็ก ๆ เท่า ดั้ม ภาย, ยาว สัก สิบ ศอก สิบเอด ศอก, สำหรับ ชู พะเนียด นก ต่อ ขึ้น บน ต้น ไม้ นั้น.
เสร้า (694:3)
         (dummy head added to facilitate searching).
      เสร้า หมอง (694:3.1)
               คือ หมอง มัว, เช่น ของ มี กระจก เปน ต้น ถูก ควัน ไฟ ฤๅ ผง ตก ลง รด มัว ไป นั้น.
      เสร้า ศรี (694:3.2)
               คือ ศรี มัว หมอง, เช่น ต้น ไม้ คน ขุด เอา มา ปลูก ลง ใหม่ มัน ยัง ไม่ ลัด ขึ้น นั้น.
      เสร้า โศก (694:3.3)
               คือ อาการ ที่ กระทำ ให้ ใจ แห้ง เหือด ไป, คน เมื่อ มี ความ ทุกข์ ไภย มา ถึง แล ใจ เปน เช่น นั้น.
      เสร้า ศร้อย (694:3.4)
               คน มี ใจ โทมนัศ เสีย น้ำ ใจ ด้วย ความ ทุกข์ อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น.
สำ (694:4)
         สำ กัน, คือ อาการ ที่ ซ้ำ สะสม ลง, เช่น เรือ ไป มาก ถึง ที่ น้ำ น้อย คลอง ตื้น เดิม ติด เก้า ลำ สิบ ลำ, ครั้น ติด อยู่ หลาย เวลา เรือ อื่น มา อีก ว่า เรือ สำ มา ๆ นั้น.
สำคัญ (694:5)
         คือ คะเณ หมาย ใน ใจ, เช่น คิด ว่า เวลา พรุ่ง นี้ เหน ฝน จะ ตก เปน ต้น นั้น.
      สำคัญ หนัก (694:5.1)
               คือ ความ อัน ใด ที่ เปน ข้อ ใหญ่ ใจ ความ ฤๅ โรค ใหญ่ เปน ต้น เกิด ขึ้น นั้น.

--- Page 695 ---
      สำคัญ ว่า (695:5.2)
               คือ การ ที่ คน คะเณ หมาย เอา ผิด บ้าง ถูก บ้าง นั้น, ว่า สำคัญ ว่า เปน เช่น นั้น.
สำแดง (695:1)
         คือ ชี้ แจง ให้ เขา เหน เหตุ ผล อัน ใด อัน หนึ่ง ด้วย กาย แล วาจา เปน ต้น นั้น.
      สำแดง กาย (695:1.1)
               คือ กะทำ รูป กาย ให้ ปรากฎ แก่ ตา โลกย์ นั้น.
      สำแดง ความ (695:1.2)
               คือ กล่าว ดำเนิน เรื่อง เนื้อ ความ อัน ใด ๆ ให้ เขา ฟัง นั้น.
      สำแดง ธรรม (695:1.3)
               คือ วิสัชะนา ดำเนิน เรื่อง ธรรม เทศนา ให้ เขา ฟัง นั้น.
      สำแดง ฤทธิ์ (695:1.4)
               คือ แผลง ฤทธิ์, เหมือน พระ ยะโฮวา บันดาล การ อัศจรรย์ ต่าง ๆ มี ห่าม น้ำ ทะเล* เปน ต้น.
      สำแดง ไว้ (695:1.5)
               คือ การ ที่ ทำ ให้ ปรากฎ ไว้ เหมือน สร้าง โลกย์ เปน ต้น นั้น.
      สำแดง องค์ (695:1.6)
               คือ การ ที่ กระทำ รูป กาย ให้ ปรากฎ, เหมือน พระเยซู เปน ขึ้น จาก ตาย สำแดง กาย ให้ เขา เหน นั้น.
สำทับ (695:2)
         คือ การ ที่ กะทำ ให้ ผู้ อื่น กลัว แล้ว ซ้ำเติม ว่า กล่าว ซึ่ง เหตุ ให้ กลัว ไป ผ่าย น่า นั้น อีก.
สำเนา (695:3)
         คือ เรื่อง ความ หนังสือ เขา แต่ง มี ราช สาสน์ เปน ต้น, แล รูป ความ ใน หนังสือ, เขา เขียน ออก ไว้ ชะบับ หนึ่ง นั้น, เรียก สำเนา.
      สำเนา ความ (695:3.1)
               คือ เขียน จด หมาย เรื่อง ความ แต่ ย่อ ๆ ไว้ ที่ ต้น สมุด ก่อน เปน ต้น นั้น.
      สำเนา นอก (695:3.2)
               คือ เขียน จดหมาย เรื่อง ความ ย่อ ๆ ไว้ นอก ชะ บับ ใหญ่ นั้น.
สำนักนิ์ (695:4)
         คือ ที่ เปน ที่ คน อาไศรย อยู่ มี เรือน เปน ต้น, มี ผู้ มา พึ่ง ภัก อยู่ ใน ที่ นั้น, ว่า อยู่ ใน สำนักนิ์,
สำนึก (695:5)
         คือ รฦก ถึง ความ ที่ เคย อยู่ ศุข สบาย มา แต่ ก่อน, คน เคย อยู่ ศุข สบาย, ครั้น ไป ได้ ความ ทุกข์ ลำบาก กลับ คิด ถึง ที่ เคย ศุข นั้น.
สำเหนียก (695:6)
         คือ สังเกต ไว้, เช่น คน สังเกต กำหนฎ ว่า เรา จะ ทำ การ เช่น นี้ เหน เปน การ ดี นั้น
สำเนียง (695:7)
         คือ เสียง, บันดา เสียง ทั้ง ปวง มี เสียง คน ฤๅ เสียง สัตว เปน ต้น นั้น, เรียก ว่า สำเนียง.
      สำเนียง ร้อง (695:7.1)
               คือ เสียง ร้อง, บันดา เสียง เรียก ว่า สำเนียง ทั้ง สิ้น.
สำนวน (695:8)
         คือ พูจ บิดพลิ้ว, เช่น เขา ถาม ว่า ผู้ นั้น เจ็บ หนัก เจ็บ มาก อยู่ ฤๅ, บอก ว่า เจ็บ คน เดียว.
สำบุก สำบัน (695:9)
         คือ รุก ร้น, เช่น คน องอาจ มี ความ โกรธ กล้า เข้า ไล่ รุก บุก บัน ทำ ร้าย เขา นั้น.
สำปะชัญญะ (695:10)
         ฯ แปล ว่า รู้ โดย รอบ พร้อม, เหมือน ตื่น อยู่ รู้ โดย ปรกติ นั้น.
สำปั้น (695:11)
         คือ เรือ สำป้าน, เดิม เรือ สำป้าน นี้ เปน เรือ อย่าง เรือ เมือง จีน เขา ต่อ ใช้ สอย ก่อน, ไท ได้ อย่าง มา ทำ ขึ้น บ้าง นั้น.
สำปลื้ม (695:12)
         เปน ชื่อ ที่ ตำบล หนึ่ง อยู่ คน ละ ฟาก คลอง กับ กำ แพง กรุง เทพ ฯ ติด ต่อ ขึ้น มา จาก สำเพ็ง นั้น.
สำผัศ (695:13)
         ฯ แปล ว่า ถูก ต้อง, เหมือน คน ห่ม ผ้า ๆ ถูก กาย นั้น ว่า สำผัศ
สำเพ็ง (695:14)
         เปน ชื่อ ตำบล หนึ่ง อยู่ ใต้ กรุง เทพ ฯ ประมาณ สิบ เส้น เปน ตลาด มี พวก จีน อยู่ มาก นั้น.
สำพันธ์ (695:15)
         ฯ แปล ว่า ติด พันธ์ กัน, เหมือน คน เปน ญาติ เนื่อง ต่อ ๆ นั้น.
สำภาระ (695:16)
         คือ ประกอบ ด้วย* ภาระ ธุระ เหมือน ภิกขุ เปน สมภาร มี ธุระ มาก นั้น.
สำเภา (695:17)
         คือ เรือ ใหญ่ เปน อย่าง เรือ เมือง จีน, เขา ต่อ ติด ด้วย ไม้ กะดาน ยาว ๆ นั้น.
สำมา (695:18)
         (dummy head added to facilitate searching).
      สำมา กำมันโต (695:18.1)
               ฯ แปล ว่า ทำ การ ดี ทำ การ ชอบ ประกอบ ด้วย องค์ สาม, คือ เว้น จาก กาย ทุจริต นั้น.
      สำมา ทิฐิ (695:18.2)
               ฯ แปล ว่า เหน ใน ใจ ด้วย ปัญญา ชอบ ไม่ ผิด, ลาง จำพวก เหน ที่ ผิด ว่า ถูก เหน ที่ ถูก เที่ยง แท้ ว่า ผิด ไม่ มี พยาน.
      สำมา วาจา (695:18.3)
               ฯ แปล ว่า กล่าว ดี กล่าว ชอบ ประกอบ ด้วย สุ ภาสิต มิ ได้ พูจ เปน คำ มุสา เจรจา แต่ จริง.
      สำมา วายาโม (695:18.4)
               ฯ แปล ว่า มี ความ เพียร ดี ชอบ, สิ่ง ใด ที่ ไม่ รู้ เพียร ให้ รู้.
      สำมา สำพุทโธ (695:18.5)
               ฯ แปล ว่า รู้ พร้อม เอง, เหมือน พระเจ้า นั้น.

--- Page 696 ---
      สำมา สติ (696:18.6)
               ฯ แปล ว่า มี สติ ดี ชอบ, คือ ไม่ ทำ การ บาป อยาบ ช้า นั้น.
      สำมา สะมาธิ (696:18.7)
               ฯ แปล ว่า จิตร ตั้ง มั่น เสมอ ดี.
      สำมา สังกับโป (696:18.8)
               ฯ แปล ว่า คิด ถูก คิด ชอบ ประกอบ ใน สิ่ง อัน เปน ประโยชน์.
      สำมา อาชีโว (696:18.9)
               ฯ แปล ว่า เลี้ยง ชีวิตร ดี ชอบ, คือ ทำ ไร่ นา แล สวน เปน ต้น.
สำมะยำ (696:1)
         คือ ของ ปูยี่ ปูยำ, เหมือน เข้า ของ มี หลาย สิ่ง ไม่ จัด ไว้ เปน แผนก คละ ปน ระคน กัน อยู่ นั้น.
สำมะรศ (696:2)
         เปน ชื่อ ต้น ผัก มี ผล สุก กิน รศ เปรี้ยว ๆ หวาน ๆ เปน กับ เข้า ได้ เปน ของ หวาน ได้
สำมะเล (696:3)
         คือ คบ หา กัน เปน เพื่อน นักเลง โลเล เล่น เบี้ย แล กิน เหล้า ด้วย กัน เที่ยว ด้วย กัน.
      สำมะเล เท เมา (696:3.1)
               คือ คน โหยกเหยก มัก คบ กัน กิน เหล้า เมา ยา เปน เพื่อน ชอบ กัน เที่ยว ด้วย กัน นั้น.
สำมะลอ (696:4)
         เปน ชื่อ ต้น ผลไม้ อย่าง หนึ่ง, ว่า ต้น ขนุน สำมะ ลอ เมล็ด มัน เฃา ต้ม กิน ดี อยู่ นั้น.
สำเหร่ (696:5)
         เปน ชื่อ ที่ ตำบล หนึ่ง, อยู่ ใต้ เมือง อยู่ ฟาก ตวัน ตก, เรียก สำเหร่ เปน ที่ ฆ่า คน.
สำเรา (696:6)
         คือ ตัว คน เปน ไข้ แรก เจ็บ ลง ใหม่ ๆ ตัว ยัง ไม่ ร้อน แรง ร้อน น่อย ๆ นั้น, ว่า สำเรา.
สำราก (696:7)
         คือ ขู่ ด้วย เสียง ดัง, คน เหน ผู้ อื่น ทำ การ ไม่ ชอบ ใจ แล ว่า กล่าว ด้วย คำ หยาบ เสียง ดัง แรง นั้น.
สำรอก (696:8)
         คือ ราก ออก. อย่าง หนึ่ง เหมือน วัว ควาย มัน กิน หญ้า เข้า ไป ไว้, ครั้น เวลา ค่ำ มัน นอน มัน คืน เอา ออก มา เคี้ยว อีก นั้น.
สำโรง (696:9)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, ใบ มัน เปน แฉก ๆ ดอก มัน เหม็น เหมือน อาจม.
สำรอง (696:10)
         คือ เอา ของ ตระเตรียม ไว้, เหมือน เรือ สำเภา เปน ต้น, จะ ไป ไกล แล จัด แจง เชือก แล ไม้ พัง งา หาง เสือ เปน ต้น เอา ไป นั้น.
สำเริง (696:11)
         คือ สำราญ รื่นเริง, เหมือน คน สู้ รบ ศึก สงคราม แล ได้ ไชย ชะนะ มี ใจ รื่น* เริง นั้น.
      สำเริง ร้อง (696:11.1)
               คือ การ ที่ รื่น เริง ร้อง เล่น ต่าง ๆ นั้น.
สำหรวจ (696:12)
         คือ ตรวจ ตรา ดู, เช่น เขา ตรวจ ดู ม่อ ใส่ น้ำ ตาล เปน ต้น ไม่ ให้ เล็ก ใหญ่ กว่า กัน นั้น.
สำราญ (696:13)
         คือ สบาย ใจ คน มี ความ ผาศุข สบาย, ไม่ มี ไภย อัน ใด แล ไม่ มี โรค ใน กาย เปน ต้น.
      สำราญ พระไทย (696:13.1)
               คือ สะบาย รื่น เริง พระไทย เปน คำ หลวง ว่า นั้น.
สำรวญ สรวล (696:14)
         คือ หัว เราะ ว่า สำราญ นั้น เขา พูจ เปน คำ สูง สำหรับ เจ้า เปน ต้น เพราะ มี บุญ.
สำฤทธิ์ (696:15)
         คือ ทอง อย่าง หนึ่ง มี ศรี ดำ, ด้วย เขา ประกอบ เครื่อง ยา หลาย อย่าง เจือ ทอง คำ ด้วย เขา นับถือ ว่า ใส่ น้ำ เปน มงคล นัก.
สำเร็ทธิ์ (696:16)
         คือ แล้ว เสร็จ, เหมือน การ กิจ อัน ใด ที่ คน ทำ มี ตี พิมพ์ หนังสือ เปน ต้น แล้ว เสร็จ นั้น.
      สำเร็ทธิ์ การ (696:16.1)
               คือ การ แล้ว, เช่น คน ทำ การ สิ่ง ใด แล้ว ว่า สำเร็ทธิ์ แล้ว.
      สำเร็ทธิ์ ศก (696:16.2)
               คือ นับ ปี จุล ศักราช แต่ หนึ่ง จน ถึง สิบ นั้น, ว่า ปี สำเร็ทธิศก.
สำรับ (696:17)
         คือ เครื่อง ภาชนะ ที่ เขา จัด แจง โต๊ะ ทอง ขาว เท้า ช้าง ใบ หนึ่ง, แล้ว เอา ถ้วย จาน ใส่ ตั้ง ลง สำหรับ ใส่ ของ กิน.
      สำรับ หนึ่ง (696:17.1)
               คือ ของ หลาย สิ่ง ฤๅ ของ สิ่ง เดียว มาก ประกอบ เข้า ใน การ ที่ เดียว กัน ว่า ของ นั้น.
สำหรับ (696:18)
         คือ ของ มี ผ้า ห่ม ผ้า นุ่ง เปน ต้น, ที่ เฃา ห่ม นุ่ง นั้น, ว่า ผ้า นั้น เปน ของ สำหรับ ตัว นั้น.
      สำหรับ กัน (696:18.1)
               คือ ของ ที่ ต้อง ประกอบ เข้า ด้วย กัน, เช่น หญิง กับ ชาย ภาย กับ เรือ นั้น.
สำรวม (696:19)
         คือ ไม่ สู้ เหลียว แล ทำ ตา เหลือก ลาน, มี กิริยา อา การ ดี เสมอ เปน ปรกติ, เหมือน ภิกขุ แต่ ก่อน แล ไป ชั่ว แอก หนึ่ง นั้น.
      สำรวม อินทรีย์ (696:19.1)
               คือ ห้าม ฤๅ กั้น ตา หู ลิ้น จมูก แล กาย ไม่ ให้ ยินดี ใน ดู รูป, แล ฟัง เสียง, แล กิน รศ, แล ดม กลิ่น, แล สำผัศ.
สำลี (696:20)
         คือ เยื่อ เนื้อ ฝ้าย ที่ เขา เก็บ ขี้ แล ผง ออก แล้ว หีบ เอา แต่ เนื้อ ดีด ประชี ให้ เปน ใย นั้น.

--- Page 697 ---
สำลัก (697:1)
         คือ น้ำ เข้า ไป ใน จมูก ตลอด จน ท้าย หัว, มัน ให้ ปวด ใน ศีศะ ไม่ สบาย นั้น.
      สำลัก น้ำ (697:1.1)
               คือ น้ำ เข้า ใน รู จมูก, มัน แล่น ถึง สมอง หัว นั้น
สำแลง (697:2)
         คือ กิน ของ ที่ นาน ๆ มี มา ที หนึ่ง นั้น, คน กิน ของ ประจำ อยู่ ทุกวัน ไม่ ว่า สำแลง. อนึ่ง เปน แสลง เมื่อ เจ็บ ไข้ นั้น.
สำลาน (697:3)
         คือ ศรี ปลาด เหลือง, เช่น ศรี ผิว ผล ไม้ ม่วง เปน ต้น, ศรี แดง สำลาน ดัง ศรี หลัง ปาด นั้น.
ส่ำ เสือก (697:4)
         เปน คำ เขา ด่า คน ที่ ซุกซน ไม่ เอา การ เอา งาน ได้ เปน นักเลง เล่น เบี้ย เปน ต้น.
สำเสร็จ (697:5)
         คือ กิน ของ ไม่ เลือก สิ่ง เลือก อย่าง, เช่น กิน ของ คาว ปน กับ ของ หวาน นั้น.
สำเส็ด (697:6)
         คือ ต้น ไม้ เล็ก ๆ อย่าง หนึ่ง, ลูก เหมือน ชุมภู่ เทษ มี อยู่ ตาม สวน นั้น.
สำส่อน (697:7)
         คือ คบ คน ไม่ เลือก หน้า ไม่ เลือก ภาษา ว่า เจ๊ก ว่า ยวญ ว่า ลาว ว่า มอญ ว่า ไท นั้น.
สำหาว (697:8)
         คือ พูจ คำ อยาบ อ้าง ถึง ที่ ลับ แห่ง หญิง ฤๅ ชาย ที่ ไม่ ควร คน ดี จะ กล่าว นั้น.
สำหวย (697:9)
         เปน ชื่อ ผี หวย ที่ เจ๊ก มัน เอา ออก มา ทาย กัน เล่น ถ้า ว่า เปน อักษร ไท คือ ตัว กอ.
สำอาง (697:10)
         คือ ความ สอาจ สอ้าน, เช่น คน ไม่ สกกระปรก, เปน คน อุษ่าห์ อาบ น้ำ ชำระ กาย เปน ต้น นั้น.
      สำอาง องค์ (697:10.1)
               คือ การ ที่ คน อาบ น้ำ ชำระ กาย แล้ว ลูบ ไล้ ชะ โลม ทา เครื่อง หอม เปน ต้น, ว่า เปน คำ หลวง.
      สำอาง อ่อง (697:10.2)
               ความ เหมือน กับ สำอาง เอี่ยม นั้น.
      สำอาง เอี่ยม (697:10.3)
               คือ การ ที่ คน อาบ น้ำ ชำระ บำรุง กาย เช่น ว่า แล้ว, แล ดู เขา สอาจ อยู่ นั้น.
สำออย (697:11)
         คือ การ ที่ พูจ พร่ำ รำพรรณ ความ ให้ ผัว ฤๅ พ่อ แม่ เปน ต้น ฟัง นั้น.
ส่ำ (697:12)
         คือ ชาติ, เช่น คน มี ชาติ เชื้อ กำพืชน์ กำเนิด เกิด มา เปน ชาย เปน หญิง นั้น.
      ส่ำ สม (697:12.1)
               คือ หอมหยับ, คือ คน เที่ยว หา ได้ ทรัพย์ ที ละเล็ก ละ น้อย แล้ว เก็บ ไว้ ๆ นั้น.
      ส่ำ สาม (697:12.2)
               คือ คน ชาติ ไม่ ดี ชะนิด ไม่ ดี เช่น ชั่ว นั้น.
      ส่ำ เสีย (697:12.3)
               คือ ชาติ เสีย, เช่น คน ดี อยู่ แต่ เดิม, ครั้น มา ผ่าย หลัง ประพฤติ์ ชั่ว ไป นั้น.
สะกา (697:13)
         คือ ลูก สะกา, เขา เอา งา ช้าง กลึง กลม ๆ เท่า ลูก สะ บ้า เล็ก ๆ ที่ เด็ก เล่น นั้น.
สะการะ บูชา (697:14)
         คือ กะทำ การ บูชา ถวาย โดย นับถือ นั้น.
สะแก (697:15)
         คือ ลูก สะกา, เขา เอา งา ช้าง มา กลึง เปน ลูก กลม ๆ เท่า ลูก สบ้า ที่ เด็ก ทำ เล่น นั้น. อนึ่ง เปน ชื่อ ไม้ สะ แก มี บ้าง.
สากุณ (697:16)
         ฯ แปล ว่า นก, เพราะ ความ ที่ มัน อาจ เพื่อ จะ ไป ได้ ใน อากาศ นั้น.
สะกุณ ชาติ (697:17)
         คือ นก เปน กำเนิด นก.
สะกุณา (697:18)
         ฯ แปล ว่า นก ทั้ง หลาย.
สะกุณี (697:19)
         แปล ว่า นก ตัว เมีย, ใช่ นก ตัว ผู้ ตาม สับท์ มะคธ
สะกด (697:20)
         เช่น ชะบับ อักษร ตั้งแต่ กก จน ถึง แม่ เกย นั้น, มี ตัว อักษร สกด ต่าง ๆ กัน มี ตัว กอ นั้น.
      สะกด ใจ (697:20.1)
               คือ ข่ม ใจ ลง ไว้, เช่น ใจ ฟุ้ง ซ่าน ด้วย กลัว ฤๅ ด้วย กำหนัด เปน ต้น แล ข่ม ลง ไว้ นั้น.
      สะกด รอย (697:20.2)
               คือ การ ที่ คน ไป ตาม แกะ ฤๅ วัว มัน หนี แล สัง เกต ดู รอย มัน ไป นั้น.
      สะกด หลับ (697:20.3)
               คือ คน มี วิชา ความ รู้, แกล้ง ทำ ให้ คน หลับ สนิท ไม่ รู้ สึก ตัว ใน เพลา กลาง คืน นั้น.
สะกัด (697:21)
         คือ เหล็ก มี ปาก เหมือน สิ่ว เขา เอา ไม้ ทำ ตับ คาบ เข้า สำหรับ ตอก เหล็ก ตะไบ เปน ต้น. อย่าง หนึ่ง คน วิ่ง ออก รับ ต้าน ทาน คน ฤๅ สัตว ที่ วิ่ง มา นั้น.
      สะกัด กั้น (697:21.1)
               คือ คอย อยู่ ดู แล ไม่ ให้ หลบ หนี ไป ได้ นั้น.
      สะกัด ขวาง (697:21.2)
               คือ ออก ยืน ขวาง ไว้ ไม่ ให้ ไป นั้น.
      สะกัด ทาง (697:21.3)
               คือ เขา ไป คอย ดู อยู่ ที่ หน ทาง จะ จับ เอา ตัว นั้น.
      สะกัด หน้า (697:21.4)
               คือ ออก ยืน ขวาง หน้า อยู่ นั้น.
      สะกัด น้ำ มัน (697:21.5)
               คือ ทำ บิด บีบ ให้ น้ำ มัน ๆ ออก, เช่น ทำ น้ำ มัน ถั่ว, เขา เอา เมล็ด ถั่ว ใส่ เข้า อัด, เช่น ควง อัด หนัง สือ นั้น.
      สะกัด ไล่ (697:21.6)
               คือ ออก สะกัด แล้ว วิ่ง ไล่ ไป, เช่น คน วิ่ง ไป ทาง นี้ คน หนึ่ง สกัด ทาง โน้น จับ ตัว นั้น.

--- Page 698 ---
สะกิด (698:1)
         คือ เอา มือ ยก ขึ้น แกะ เข้า ที่ ตัว คน เปน ต้น เพื่อ จะ บอก ฤๅ จะ พูจ ความ อัน ใด ๆ นั้น.
สะเก็ด (698:2)
         คือ ชิ้น ไม้, ที่ เขา ถาก ออก จาก ท่อน ไม้ เปน ต้น. อย่าง หนึ่ง ฝ้า หนอง ฝี ดาษ, ที่ มัน แห้ง กรับ อยู่ ที่ ปาก แผล นั้น
สะกรรธ (698:3)
         คือ คน หนุ่ม อายุ แต่ ยี่สิบ ปี ขึ้น ไป จน อายุ สามสิบ นั้น, เขา เรียก ชาย สะกรรธ.
สะเกษ (698:4)
         เปน ชื่อ อาราม แห่ง หนึ่ง, เปน วัต หลวง มี อยู่ นอก เมือง ข้าง ทิศ ตะวัน ออก นั้น.
สะการ (698:5)
         คือ กระทำ บูชา, เช่น คน แต่ง เครื่อง เข้า ของ สำ หรับ บูชา แล้ว ตั้ง บูชา ไว้ นั้น.
      สะการ สพ (698:5.1)
               คือ การ ที่ เขา ไป ช่วย กัน เมื่อ วัน จัดแจง ฝัง สพ ฤๅ เผา สพ นั้น.
สะกล (698:6)
         ฯ แปล ว่า ทั้ง ปวง ทั้งสิ้น, เช่น คำ ว่า สกละโลกะ ธาตุ ว่า ทั่ว โลกย์.
สะกูล (698:7)
         คือ คน มี วงษ ญาติ วงษ หนึ่ง, ว่า สะกูล หนึ่ง, แต่ ว่า ที่ คน ดี มิ ใช่ คน จัณฑาน นั้น.
สระแก้ว (698:8)
         คือ สระ ที่ เขา จัดแจง ขุด ไว้ ขัง น้ำ, เปน อย่าง ดี นั้น, เขา ขนาน ชื่อ ให้ เพราะ ว่า สระแก้ว.
สะเกล้า (698:9)
         คือ การ ชำระ ผม, คน เอา ใบ มะกรูด ส้ม ป่อย ใส่ ลง ใน น้ำ ใน ขัน สำฤทธ์, แล้ว ยี สี ที่ ผม ให้ สิ้น สาบ กลิ่น เหมน ว่า สะเกล้า นั้น.
สะขนาน (698:10)
         คือ การ ที่ เอา ช้าง ออก มาก, ให้ ขุนนาง แต่ง ตัว ขึ้น ขี้ ฅอ ช้าง มี พลไพร่ ตาม มา เปน พวก ๆ นั้น.
สะขา (698:11)
         ฯ แปล ว่า ชาว เกลอ ๆ นั้น เปน ผู้ อื่น มิ ใช่ ญาติ แต่ เขา ผูก รัก กัน นัก เจ็บ ร้อน ด้วย กัน ได้ นั้น.
สะคร้อ (698:12)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ ใหญ่ อย่าง หนึ่ง, มี ผล คน กิน ได้, เปน ไม้ มี ใน ป่า ชุม นั้น.
สะคราญ (698:13)
         คือ สะสรวย, เช่น คน รูป สะสรวย, แล แต่ง ตัว สอาจ หมด จด นั้น.
สะค้าร (698:14)
         เปน ชื่อ เถา ยา อย่าง หนึ่ง, เขา เก็บ เอา มา จาก ป่า ประกอบ ยา แก้ ธาตุ อย่อน นั้น.
สง่า (698:15)
         คือ อานุภาพ, เช่น คน มี บุญ ฤๅ มี วาศนา, แล มี อา นุภาพ คน กลัว เกรง นั้น.
      สง่า งาม (698:15.1)
               คือ เวลา เงียบ สงัด ไม่ มี เสียง ผู้ คน นั้น.
      สง่า ราศรี (698:15.2)
               คือ เจ้า ที่ หนุ่ม แล มี บุญ เปน เจ้า ฟ้า บ่าว ข้า มี มาก นั้น.
สงัด (698:16)
         คือ เงียบ ไม่ มี เสียง อัน ใด อัน หนึ่ง อึงอื้อ, เช่น เมื่อ เวลา เที่ยง คืน นั้น.
      สงัด คน (698:16.1)
               คือ เงียบ คน เปน ที่ กลาง ป่า แล เวลา ดึก สงัด เสียง สัตว แล คน เปน ต้น.
สง่าน (698:17)
         คือ ที่ อัน ใด ที่ สูง เงื้อม เหมือน วิหาร ที่ สูง เปน ต้น นั้น ว่า สูง.
สงวน (698:18)
         คือ ถนอม, เช่น คน รัก สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ถึง จะ ใช้ สรอย ก็ ค่อย ประคิน นั้น.
สงบ (698:19)
         คือ สงัด, เช่น น้ำ ใน ม่อ ตั้ง บน เตาไฟ แรง พลุ่ง พล่าน ป่วนปั่น, ครั้น ยก ลง จาก เตา ค่อย เอย็น เข้า นั้น, ว่า สงบ.
เสงี่ยม (698:20)
         คือ อาการ กิริยา ที่ สงบ เรียบร้อย ไม่ คะนอง มือ คะ นอง เท้า นั้น.
สะดายุ (698:21)
         เปน ชื่อ นก ตัว หนึ่ง มี ใน เรื่อง รามเกียรติ์ นั้น.
สะเดา (698:22)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ ใหญ่ อย่าง หนึ่ง มี ดอก ลูก แล ใบ รศ ขม, แต่ คน เก็บ กิน เปน กับ เข้า ได้ บ้าง.
      สะเดา ดิน (698:22.1)
               เปน ต้น ไม้ สะเดา เปน ไม้ ใหญ่ ลูก ใบ* มัน กิน ขม มัน มี ใน บ้าน บ้าง ใน ป่า บ้าง.
สะดวก (698:23)
         คือ ไม่ ขัด ข้อง, เช่น คน เจ็บ ท้อง จะ ถ่าย อุจาระ ฤๅ ปะสาวะ คล่อง แคล่ว นั้น.
      สะดวก ดาย (698:23.1)
               คือ การ ที่ คล่อง แล ง่าย ดาย นั้น.
สะดึง (698:24)
         คือ ไม้ เขา ทำ สี่ อัน แล้ว ประกอบ กัน เปน สี่ ด้าน, เช่น เขา ทำ ไม้ ขอบ เปล เด็ก นั้น.
      สะดึง รึงไหม (698:24.1)
               คือ ไม้ แม่ สะดึง ที่ สำหรับ เขา กรอง ด้าย แล ไหม นั้น.
สะดุ้ง (698:25)
         คือ สะดุ้ง ใจ ฤๅ สะดุ้ง กาย, สะดุ้ง ใจ นั้น, เช่น คน เปน โจร ได้ ลัก ของ เขา ไว้, เขา ว่า ถึง ความ ผู้ ร้าย ตก ใจ ขึ้น นั้น, สะดุ้ง กาย, เช่น คน ไม่ รู้ ตัว มี คน เอา มือ จี้ เข้า แล ทำ ตัว ขะเยื่อน ขึ้น.
      สดุ้ง เยือก (698:25.1)
               คือ อาการ ที่ ตก ใจ ตัว ไหว เยือก นั้น.

--- Page 699 ---
สะแดง (699:1)
         คือ สำแดง, คน ชี้ แจง ด้วย มือ ฤๅ พูจ แนะ นำ ด้วย วาจา, ให้ ผู้ อื่น รู้ เหน เหตุ ผล นั้น.
      สะแดง ความ (699:1.1)
               คือ สำแดง ความ, เช่น คน เล่า เรื่อง ราว ให้ เขา ฟัง.
      สะแดง ธรรม (699:1.2)
               คือ สำแดง ธรรม, เช่น พระ ขึ้น สู่ ที่ อัน สม ควร แล้ว ถือ หนังสือ ใบ ลาน สำแดง ไป ตาม เรื่อง นั้น.
      สะแดง เหตุ (699:1.3)
               คือ สำแดง เหตุ, เช่น การ ต่าง ๆ ที่ ตน ไม่ เคย เหน มา ปรากฎ แก่ ตา นั้น.
สะเดียง (699:2)
         คือ สาย หวาย ที่ เฃา ขึง ออก ไว้ ยาว ที่ บ้าน ที่ ใน เรือน, สำหรับ ตาก ผ้า เปน ต้น นั้น.
สเด็จ (699:3)
         คือ ไป แล มา, เช่น เจ้า เปน ต้น จะ ไป, เขา ว่า เจ้า สะเด็จ ไป, เจ้า มา เขา ว่า เจ้า สะเด็จ มา, ว่า เปน คำ สูง ตาม เกียรติยศ.
      สะเด็จ กลับ (699:3.1)
               คือ การ ที่ เจ้า สะเด็จ ไป แล้ว, สะเด็จ กลับ มา นั้น.
สะดุด (699:4)
         คือ กะทั่ง เข้า ชน เข้า ฉุด เข้า, คน เดิน ไป แล เอา เท้า ไป กะทั่ง ชน อัน ใด มี อิฐ ถนล เปน ต้น นั้น.
สะดับ (699:5)
         อะธิบาย ว่า ฟัง, คน ได้ ฟัง สำเนียง เสียง อัน ใด ๆ ด้วย โศตร นั้น, ว่า ได้ สะดับ.
      สะดับ ความ (699:5.1)
               คือ ฟัง ความ, เช่น ลูก ขุน ฟัง อ่าน ฟ้อง ท้อง สำนวน ฤๅ สิษ คอย ฟัง หมอ สั่งสอน นั้น.
สะดมภ์ (699:6)
         คือ สกด แล้ว ขะโมย เอา ของ, คน โจร มัน ทำ การ ใน เวลา กลาง คืน, คน นอน มัน ทำ ให้ เจ้า ของ ทรัพย์ หลับ สนิท ไม่ รู้ สึก ตัว แล้ว มัน เก็บ เอา ทรัพย์ ไป นั้น.
      สะดมภ์ ปล้น (699:6.1)
               คือ โจร มัน ทำ ด้วย วิชา ให้ คน หลับ แล้ว เก็บ ทรัพย์ ไป.
สะดัมภ์ (699:7)
         เปน ชื่อ พระสงฆ์ เปน ที่ ขุนนาง ใน สมเด็จ พระสังฆ ราช นั้น.
สะเดาะ (699:8)
         คือ เป่า ลม ปาก ด้วย เวท มนตร์, ทำ ให้ ลูก กุญแจ ที่ ลั่น ไว้ ให้ หลุด ออก ได้ นั้น.
      สะเดาะ เคราะห์ (699:8.1)
               คือ อาการ ที่ เขา ทำ วิธี เสีย, เคราะห์ ร้าย ให้ สูญ หาย ไป นั้น.
สะดือ (699:9)
         คือ ที่ นาภี ที่ ท่ำกลาง กาย เปน รู หวำ อยู่ นั้น, เขา เรียก สดือ คำ สับท์ ว่า นาภี นั้น
สะติ (699:10)
         ฯ คือ เจตะสิกะธรรม, ที่ ทำ ใจ ไม่ ให้ เผลอ ไม่ ให้ หลง ลืม ให้ รู้ เหน ด้วย ใจ อยู่ นั้น.
      สะติ ปัญญา (699:10.1)
               ฯ สะติ ว่า แล้ว, แต่ ปัญญา นั้น, ว่า รู้ รอบ คอบ ทุกสิ่ง นั้น.
      สะติ เสีย (699:10.2)
               คือ สิ่ง ที่ อยู่ ใน ตัว มัน ทำ ให้ ใจ ให้ หลง ลืม เผลอ ไป นั้น.
      สะติ อารมณ์ (699:10.3)
               ฯ สะติ ว่า แล้ว, แต่ อารมณ์ นั้น, มี รูป เปน ต้น ที่ ใจ หน่วง เอา นั้น.
สะตุ (699:11)
         คือ เอา ของ มี เกลือ เปน ต้น ใส่ กะเบื้อง ลง แล้ว เอา ตั้ง บน เตาไฟ ไม่ ใส่ น้ำ เขี้ยว ไว้ จน ของ นั้น สุก แห้ง.
      สะตุ น้ำ ประสาน (699:11.1)
               คือ ลน น้ำ ประสาน ให้ สุก ระอุ นั้น.
สะตู ก้อน (699:12)
         สะตู ผง, คือ เข้า สุก เขา ตาก แห้ง แล้ว ขั้ว ตำ เคล้า กับ น้ำ ตาล ทำ เปน ก้อน บ้าง เปน ผง บ้าง นั้น.
สะตะ (699:13)
         ฯ แปล ว่า ร้อย, คน นับ แต่ หนึ่ง ถึง สิบ ๆ หน จึง ว่า เขา นับ ถึง ร้อย.
สะตัง (699:14)
         ฯ แปล ว่า ร้อย, ทำ ตัว สตัง สับท์ ตาม บท มาลา นั้น, เอา ทะสะ แปล ว่า ร้อย เปน สะตัง.
สะตอ (699:15)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, มี อยู่ ที่ เมือง นคร ศรี ธรรมราช ชุม มี ผล กิน ได้, ใบ เหมือน ใบ มขาม.
สะตือ (699:16)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ ใหญ่ อย่าง หนึ่ง, มี ผล แล ดอก กิน ไม่ ได้ มี ใบ ร่ม ชิด ดี นั้น.
สะตือ นก (699:17)
         เปน ชื่อ นก จำพวก หนึ่ง, ตัว มัน เท่า แร้ง ขน มัน ดำ มัว, ปาก จะง้อย ยาว, มัน เที่ยว กิน ปลา ตาม ทุ่ง นา.
สะถาปะนา (699:18)
         คือ ก่อ สร้าง สะถาน อาราม แล เจดีย์อุโบศถ แล วิหาร ไว้ ให้ จีระฐีติกาล นั้น.
สะถิตย์ (699:19)
         ฯ แปล ว่า ตั้ง อยู่, เช่น คน อยู่ ใน ที่ ใด มี เรือน เปน ต้น, ว่า สถิตย์ อยู่ ก็ ได้ นั้น.
สะถาน (699:20)
         คือ ที่ ของ ตน, บันดา ที่ อัน ใด ที่ เปน ที่ มี เจ้า ของ เรียก ว่า สะถาน ที่ อยู่.
      สะถาน ใด (699:20.1)
               คือ ที่ ใด นั้น, เช่น ถาม ว่า ท่าน อยู่ สถาน ใด คือ ที่ ไหน.
สะถุน (699:21)
         คือ ต่ำ ช้า, คน หินะชาติ เปน ทาษ ทาษา แล คน ข่า อยู่ ใน ป่า ดง นั้น, ว่า ชาติ สะถุน.

--- Page 700 ---
สะถูบ (700:1)
         คือ เขา เอา อิฐ ก่อ เปน รูป สูง ทรง คล้าย พระเจดีย์ เปน ที่ ไหว้ ที่ บูชา สาธุ นั้น.
สะเถียร (700:2)
         เปน คำ แผลง, อธิบาย ว่า ตั้ง อยู่, เขา แต่ง เรื่อง หนังสือ เปน คำ เพราะ ว่า สะเถียร บ้าง.
สะถล (700:3)
         (dummy head added to facilitate searching).
      สะถล มารรค (700:3.1)
               ฯ แปล ว่า หน ทาง บก, เขา พูจ เปน คำ สูง ว่า ทาง สถล มารรค์.
      สะถล วิถี (700:3.2)
               ฯ คือ แถว ทาง ถนล นั้น, เช่น ที่ คน ถาก แล ทุบ ปราบ เปน ทาง นั้น.
สถิล (700:4)
         ฯ แปล ว่า อย่อน, คือ อักษร ที่ อ่าน ว่า กอ เปน อักษร กลาง นั้น.
สะทก (700:5)
         คือ อาการ ที่ ชัก เหมือน สดุ้ง นั้น.
สะท้าน (700:6)
         คือ อาการ ที่ สั่น หวั่น ไหว, เช่น ตัว คน หนาว สั่น เริ้ม ๆ อยู่ นั้น.
      สะท้าน สะทก (700:6.1)
               คือ อาการ ที่ สั่น สดุ้ง นั้น.
สะท้อน (700:7)
         คือ ย้อน กลับ, เช่น เขา ทิ้ง ก้อน ดิน เปน ต้น, มัน ไป กะทบ อัน ใด เข้า แล้ว กลับ คืน ออก มา นั้น.
      สะท้อน ใจ (700:7.1)
               คือ ใจ สะทึก นึก กลัว แต่ ไภย ต่าง ๆ มี ราช ไภย เปน ต้น นั้น.
      สะท้อน ต้น (700:7.2)
               คือ ต้น ไม้ สะท้อน เปน ต้นไม้ ใหญ่, มัน มี ผล รศ เปรี้ยว ๆ หวาน ๆ นั้น.
สะเทือน (700:8)
         คือ อาการ หวั่น เยือก ๆ เช่น คน เดิน บน เรือน เท้า หนัก เรือน หวั่น เยือก ๆ นั้น.
      สะเทือน หวั่นไหว (700:8.1)
               คือ สะท้าน หวั่นไหว นั้น.
สะเทิน (700:9)
         คือ คน สื่อ ฤๅ รุ่น หนุ่ม* รุ่น สาว, ผู้ ชาย ที่ สื่อ รุ่น หนุ่ม ผู้ หญิง สื่อ รุ่น สาว ขึ้น นั้น.
      สะเทิน ใจ (700:9.1)
               คือ ใจ กะดาก, เช่น คน ลอบ ลัก พูจ เกี้ยว เมีย เขา, ผู้ นั้น ภบ ผัว เข้า ก็ มี ใจ กระดาก นั้น.
      สะเทิน หนุ่ม (700:9.2)
               คือ สื่อ หนุ่ม, คน ฤๅ สัตว ที่ มัน สื่อ ถึก เถลิง หนุ่ม สาว ขึ้น นั้น.
สะธรรม (700:10)
         คือ ธรรม ที่ เปน แก่น สาร วิเสศ เปน เหตุ ที่ จะ ให้ สำเร็ทธิ์ แก่ พระ มหา นิพพาน นั้น.
สะพรั่ง (700:11)
         คือ ไสว, เช่น ดอก ไม้ ออก มา ดู ไสว อยู่ นั้น.
      สะพรั่ง พร้อม (700:11.1)
               คือ ดอก ไม้ ออก ดอก ไสว อยู่ ทุก กิ่ง ก้าน.
สพรืบ พร้อม (700:12)
         คือ อาการ ที่ คน ไป กับ ด้วย บ่าว ไพร่ มาก, เช่น เมื่อ เวลา เขา แต่ง ตัว ไป ถือ น้ำ กับ บ่าว นั้น.
สะพรุ่ม (700:13)
         คือ อาการ ที่ ของ มี มาก เช่น ดอก ไม้ มัน ออก สะ พรุ่ม อยู่ นั้น.
สะภาวะ (700:14)
         ฯ แปล ว่า ความ เช่น ว่า บุริศ ภาวะ คือ ความ ที่ เปน ชาย นั้น.
เสน่ห์ (700:15)
         แปล ว่า ความ รัก ใคร่ กัน, เช่น คน หนุ่ม สาว เหน กัน แล รัก ใคร่ กัน นั้น.
      เสน่ห์ เล่ห์ ลม (700:15.1)
               คือ คน กระทำ ด้วย วิชา ให้ เขา หลง รัก ใคร่ นั้น.
      เสน่หา (700:15.2)
               แปล ว่า ความ รัก ใคร่, เช่น คน งาม ทั้ง หญิง ชาย เปน ที่ รัก ใคร่ นั้น.
โสน (700:16)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ พัน เล็ก หย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ เกิด ใน น้ำ มี ดอก เขา กิน เปน กับ เข้า ได้.
      โสน หาง ไก่ (700:16.1)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ เล็ก อย่าง หนึ่ง, เปน ต้น ไม้ เกิด ใน น้ำ ไม่ มี ดอก มี ยอด กิน ได้.
สะนะ (700:17)
         เปน ชื่อ คน จีน แล ไท รับ เปน พนักงาน ช่าง เย็บ ผ้า ใน หลวง นั้น.
สะนุกนิ์ (700:18)
         คือ ความ เปรมปรี ดา ชื่น ชม ยินดี, เช่น คน เที่ยว ไป เหน ที่ ระโหถาน ว่า เปน ที่ สนุกนิ์ เปรมปรี นั้น.
สนอง (700:19)
         คือ ตอบ แทน คุณ, คน เปน ลูก เปน ต้น, แล เปน คน กตัญู* ตอบ แทน คุณ พ่อ แม่ นั้น.
      สนอง คุณ (700:19.1)
               คือ ตอบ แทน คุณ, คน เปน สิษ แล รู้ คุณ ท่าน ผู้ อาจาริย์ กะทำ การ แทน คุณ.
      สนอง ถ้อย คำ (700:19.2)
               คือ ตอบ ถ้อย คำ โดย พูจจา ปราไศรย กัน นั้น.
      สนอง พระองค์ (700:19.3)
               คือ เสื้อ ทรง สำหรับ กระษัตริย์ นั้น, เรียก เปน คำ หลวง.
สนัด (700:20)
         คือ ยึด ถือ ไม่ พล่องแพล่ง ถือ มัน คง, เช่น คน จับ ถือ สิ่ง ของ ด้วย มือ ขวา นั้น.
      สนัด ขวา (700:20.1)
               คือ มือ ขวา จับ ถือ ของ อัน ใด มั่น คง กว่า มือ ข้าง ซ้าย นั้น, ว่า สนัด ขวา นั้น.
      สนัด ครบ (700:20.2)
               คือ การ ที่ คน รู้ ทำ การ ทุกสิ่ง นั้น.
      สนัด เจน (700:20.3)
               คือ การ ที่ รู้ การ ทุกสิ่ง แล ชำนาญ ด้วย นั้น.

--- Page 701 ---
      สนัด (701:20.4)
               คือ ของ ใหญ่, เช่น เรือ กำปั่น ฤๅ สำเภา เปน ของ ใหญ่ กว่า พวก เรือ อื่น, เขา ว่า ใหญ่ สนัด บ้าง.
      สนัด ตีน (701:20.5)
               คือ เท้า เอยียบ ยัน ที่ อัน ใด แน่น แฟ้น ไม่ พลาด ไพล่ นั้น, ว่า สนัด ตีน.
      สนัด ทร้าย (701:20.6)
               คือ มือ ซ้าย จับ ถือ ของ อัน ใด ๆ มั่น คง แน่น แฟ้น กว่า มือ ขวา นั้น.
      สนัด นัก (701:20.7)
               คือ การ ที่ ชำนาญ นัก.
      สนัด มือ (701:20.8)
               คือ มือ จับ ถือ อัน ใด ไม่ หมิ่น ถือ มั่น คง แน่นแฟ้น ไม่ ลุด มือ นั้น, ว่า สนัด มือ.
      สนัด สนี่ (701:20.9)
               สนัด ความ ว่า แล้ว, แต่ คำ สนี่ นั้น เปน คำ สร้อย
เสนียด (701:1)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ ย่อม ๆ อย่าง หนึ่ง, มัน งอก เปน กอ, เขา ทำ ยา ได้ มี แต่ ดอก ไม่ มี ผล.
      เสนียด จังไร (701:1.1)
               คือ ความ อุปัทะวะ, จะ ให้ เกิด ความ รำคาน เล็ก ๆ น้อย ๆ ต่าง ๆ นั้น.
สนิท (701:2)
         คือ ชิด ดี, เช่น ของ แตก ออก แล้ว แล เขา เอา ยาง ใส่ ฤๅ บัด ตรี เข้า ชิด สนิท ดี. อย่าง หนึ่ง เช่น ผล ไม้, มี ลูก อิน ตะผา ลำ ฤๅ ลูก พลับ จีน เปน ต้น เขา ว่า หวาน สนิท
      สนิท เสน่หา (701:2.1)
               คือ รัก ใคร่ กัน สนิท, เช่น ผัว กับ เมีย เมื่อ แรก รัก กัน นั้น.
      สนิท สนม (701:2.2)
               คือ คน ชอบ ชิด สนิท ภักดิ์ นั้น.
สนน (701:3)
         คือ ถนล ของ ที่ คน เอา อิฐ ก่อ ลำดับ เปน แถว ไป ตาม หน ทาง ฤๅ เอา ดิน พูน ขึ้น ตลอด ไป ตาม ทาง นั้น.
      สนน ราคา (701:3.1)
               สนน นั้น เปน คำ สร้อย, แต่ ราคา นั้น เปน ค่า ของ ทุก อย่าง.
สนั่น (701:4)
         คือ เสียง ดัง นัก, เช่น คน ยิง ปืน ใหญ่ เปน ต้น, สำ เนียง ดัง ก้อง นั้น.
      สนั่น ก้อง (701:4.1)
               คือ เสียง ดัง นัก, เช่น เสียง ปืน ใหญ่ ที่ ได้ ยิน ใกล้ ๆ นั้น.
      สนั่น ดง (701:4.2)
               คือ เสียง ดัง ก้อง ใน ดง, เช่น เสียง ปืน ที่ ดัง ครื้น ครั่น สนั่น ไป ใน ดง.
      สนั่น หวั่นไหว (701:4.3)
               คือ เสียง ดัง หนัก แล สท้าน สเทือน นั้น.
สนาน (701:5)
         คือ อาบ น้ำ, เช่น กระษัตริย์ อาบ น้ำ, ว่า สง สนาน น้ำ, เขา พูจ เปน คำ สูง นั้น.
      สนาน ชล (701:5.1)
               คือ อาบ น้ำ เปน คำ หลวง.
      สนาน ต้น (701:5.2)
               คือ ต้น สนาน มี บ้าง มัก เกิด อยู่ ริม ตลิ่ง.
      สนาน น้ำ (701:5.3)
               คือ อาบ น้ำ เปน คำ หลวง.
      สนาน สนุกนิ์ (701:5.4)
               สนาน เปน คำ สร้อย, แต่ สนุกนิ์ คือ ความ ปรีเปรม กระเษม ใจ นั้น.
สนุ่น (701:6)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง เกิด ริม ฝั่ง น้ำ, เขา ถาก เอา เปลือก ประกอบ ยา บ้าง.
สนวน (701:7)
         คือ หน ทาง ที่ เขา ทำ ที่ พระ บรม ราชวัง, สำหรับ ผู้ หญิง ชาว วัง เดิน ลง มา ตำหนัก น้ำ เปน ต้น นั้น.
สนับ (701:8)
         คือ ใบ ลาน เฃา ซ้อน เข้า เก้า ใบ สิบ ใบ สำหรับ รอง ใบ ลาน จาน หนังสือ นั้น.
      สนับ เพลา (701:8.1)
               คือ กางเกง ชั้น ใน, เช่น คน แต่ง ตัว จะ เล่น ลคอน เล่น โขน, เขา เอา กางเกง ใส่ ชั้น ใน แล้ว จึ่ง นุ่ง ผ้า ทับ ข้าง นอก นั้น.
      สนับ มือ (701:8.2)
               คือ ของ เขา ทำ ด้วย ใบ ลาน ซ้อน กัน เก้า ใบ สิบ ใบ, สำหรับ รอง ใบ ลาน จาน หนังสือ นั้น.
      สนับ สนุน (701:8.3)
               คือ สวะ หญ้า ใหญ่ ที่ ลอย ทับ ซับซ้อน กัน อยู่ หลาย ชั้น. อย่าง หนึ่ง คน ผู้ ดี ที่ มี ญาติ อยู่ ใน วัง นอก วัง มาก, ว่า ผู้ นั้น มี สนับ สนุน.
สนม (701:9)
         คือ หญิง ที่ เปน เมีย น้อย ขุนหลวง ๆ มี เมีย เอก เปน มะเหษี, เมีย น้อย ๆ ร้อง เรียก นาง สนม.
      สนม กรม ใน (701:9.1)
               คือ หญิง ที่ เปน หม่อม ห้าม อยู่ ใน วัง น่า วัง หลวง นั้น.
สนาม (701:10)
         คือ ที่ เขา จัดแจง เปน ที่ วิ่ง วัว แข่ง ควาย แข่ง กัน เปน ต้น, บาง ที เปน สนาม วิ่ง วัว คน นั้น.
      สนาม คลี (701:10.1)
               คือ ที่ เขา ทำ ไว้ กว้าง ยาว สำหรับ ขี่ ม้า ตี คลี นั้น.
      สนาม ควาย (701:10.2)
               คือ ที่ สำหรับ วิ่ง ควาย แข่ง พนัน กัน เล่น นั้น.
      สนาม เพลาะ (701:10.3)
               คือ การ เมื่อ เข้า รบ ศึก บน บก ยัง ไม่ ได้ ตั้ง ค่าย เขา ขุด ดิน ขึ้น ทำ เปน คัน ภอ บัง ตัว สูง สัก ศอก สอง ศอก นั้น.
      สนาม ม้า (701:10.4)
               คือ ที่ เขา ทำ ไว้ กว้าง สัก ห้า วา ยาว สัก สาม เส้น สำหรับ วิ่ง ม้า แข่ง กัน เล่น นั้น.
      สนาม มวย (701:10.5)
               คือ ที่ สำหรับ เล่น ชก มวย, เช่น สนาม น่า พลับ พลา นั้น.
      สนาม รบ (701:10.6)
               คือ ที่ สำหรับ รบ ศึก นั้น.

--- Page 702 ---
      สนาม วัว เกวียน (702:10.7)
               คือ ที่ เขา ทำ ไว้ กว้าง สัก หก วา เจ็ด วา, ยาว สัก สาม เส้น สี่ เส้น, สำหรับ แข่ง วัว เกวียน กัน เล่น นั้น.
สนิม (702:1)
         คือ มลทิน, เช่น เหล็ก ฤๅ ทอง แดง ขัด สี แล้ว ทิ้ง ไว้, ผ่าย หลัง มี มลทิน ขึ้น นั้น.
สนอม (702:2)
         คือ สงวน, คน รัก ของ อัน ใด เปน ต้น ว่า เครื่อง ใช้ มีดพร้า ที่ ดี ค่อย สงวน ใช้ ไม่ หักหาญ นั้น.
เสนอ (702:3)
         คือ สำแดง ความ อัน ใด แก่ ท่าน ผู้ ใหญ่, เช่น เขา เอา ความ นำ ขึ้น แจ้ง แก่ ลูก ขุน นั้น.
      เสนอ ความ (702:3.1)
               คือ เอา เนื้อ ความ ขึ้น แจ้ง แก่ ท่าน เปน อธิบดี มี ท่าน ลูก ขุน สำหรับ ตัด สีน ชี้ ขาด นั้น.
      เสนอ ลูกขุน (702:3.2)
               คือ นำ ข้อ คะดี ขึ้น แจ้ง แก่ ท่าน ลูกขุน ที่ เปน ผู้ ตัด สีน ชี้ ขาด เนื้อ ความ ของ ราษฎร นั้น.
เสนาะ (702:4)
         คือ เพราะ ไพรเราะห์, เช่น เสียง ที่ เพราะ มี เสียง ขับ ร้อง แล เสียง สำแดง ธรรม เปน ต้น.
สะบ้า (702:5)
         คือ ลูก ล้อ ที่ เด็ก ๆ ล้อ แล ยิง ดีด สะบ้า ต่อ สะบ้า ฤๅ ก้อน อิฐ เปน ต้น นั้น.
      สะบ้า ฝัก (702:5.1)
               คือ ลูก เถาวัล บันได ลิง, มัน มี ฝัก ยาว ๆ มี ลูก กลม ๆ อยู่ ใน ฝัก เขา เก็บ มา เล่น นั้น.
      สะบ้า หัว เข่า (702:5.2)
               คือ กะดูก กลม เหมือน ลูก สะบ้า มัน มี อยู่ ที่ หัว เข่า คน ทุกคน นั้น.
สะไบ (702:6)
         คือ ผ้า ห่ม ภอ สะภัก เฉียง ได้ ไม่ ยาว ไม่ สั้น, พระ ภิกขุ ที่ เคร่ง โดย ประฏิบัติ มัก ห่ม มัก ใช้.
      สะไบ เฉียง (702:6.1)
               คือ ห่ม ผ้า ข้าง หนึ่ง สอด ชาย ผ้า ไป ใต้ รักแร้ อ้อม ไป ภาด เหนือ บ่า ข้าง หนึ่ง นั้น.
      สะไบ บาง (702:6.2)
               คือ ผ้า แถบ แคบ ๆ สำหรับ เปน ผ้า ห่ม นั้น.
สะบัก (702:7)
         คือ อไวยวะ มี ที่ ใต้ บ่า ลง ไป มี สัณฐาน เช่น ผาน ที่ เขา ใส่ หัว หมู ไถ นา นั้น.
      สะบัก จม (702:7.1)
               คือ ยอก ที่ ชาย สะบัก ถัด บ่า ลง ไป สัก หก นิ้ว เจ็ด นิ้ว นั้น.
      สะบัก สะบอม (702:7.2)
               คือ ความ ลำบาก บอบ ช้ำ, คน ที่ ได้ ความ ลำบาก เจ็บ ป่วย เพราะ เขา ทุบ ตี เปน ต้น.
สะบง (702:8)
         คือ ผ้า นุ่ง พระสงฆ์ ที่ เปน ผ้า ครอง อย่าง หนึ่ง, เขา เย็บ ที่ ริม รอบ ทั้ง สี่ ด้าน กว้าง สี่ นิ้ว เปน สอง ชั้น.
      สะบง ครอง (702:8.1)
               คือ ผ้า เขา เย็บ ริม รอบ ประกอบ เปน สอง ชั้น สำหรับ พระสงฆ์ นุ่ง นั้น.
สะเบียง (702:9)
         คือ ของ กิน มี เข้า ปลา เปน ต้น, เมื่อ คน เอา ไป กิน เมื่อ ไป ทาง น้ำ ฤๅ ทาง บก นั้น.
      สะเบียง กรัง (702:9.1)
               คือ ของ เหมือน แป้ง เข้า สาลี ที่ เก็บ ไว้ กิน นาน ได้ นั้น.
สะบด (702:10)
         คือ สาบาน, คน ทำ ผิด ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง แล กลัว ความ ผิด จะ ต้อง โทษ, แล กล่าว คำ สาบาน ปัติญาณ ตัว ว่า ถ้า ข้า ได้ ทำ เช่น นั้น ให้ ข้า ไป ตก นะรก.
      สบด สาบาน (702:10.1)
               เปน คำ เขา สาบาน ตัว ว่า ถ้า ไม่ จริง อย่าง นั้น ให้ ข้า ไป ตก นะรก เปน ต้น นั้น.
สะบัด (702:11)
         คือ สะลัด, เช่น คน ยิบ ผ้า เข้า สลัด เพื่อ จะ ให้ ผง คลี ออก จาก ผ้า นั้น.
      สะบัด คม มีด (702:11.1)
               คือ ลับ มีด แล้ว เอา คม มัน ปัด ลง ที่ ฝ่า มือ เพื่อ จะ ให้ มัน คม นั้น.
      สะบัด ดี สะบัด ร้าย (702:11.2)
               คือ อาการ คน ที่ คลุ้ม ดี คลุ้ม ร้าย บัดเดี๋ยว ดี บัดเดี๋ยว โกรธ นั้น.
      สะบัด ตัว (702:11.3)
               คือ สลัด ขน ที่ ตัว, เช่น สัตว มี สุนักข์ เปน ต้น มัน สบัด ขน ที่ ตัว มัน นั้น.
      สะบัด ผ้า (702:11.4)
               คือ จับ ผ้า ขึ้น แล้ว สลัด ฟัด ไป นั้น.
      สะบัด ผง (702:11.5)
               คือ สลัด ผง ที่ มัน ติด อยู่ ที่ ผ้า เปน ต้น.
      สะบัด ย่าง (702:11.6)
               คือ ยก ย่าง ก้าว ท้าว ไป, เช่น วัว ที่ เขา เทียม เกวียน แล เขา ไล่ ให้ มัน รีบ เดิน นั้น.
      สะบัด ร้อน สะบัด หนาว (702:11.7)
               คือ อาการ โรค ที่ บัดเดี๋ยว ให้ ร้อน บัดเดี๋ยว มัน ให้ หนาว นั้น.
      สะบัด ลุก สบัด นั่ง (702:11.8)
               คือ อาการ ที่ บัดเดี๋ยว มัน ให้ ลุก ขึ้น บัด เดี๋ยว มัน ให้ นั่ง ลง นั้น, เพราะ ไม่ สบาย.
      สะบัด สะบิ้ง (702:11.9)
               คือ กิริยา หญิง แสน*งอน จะ พูจ จา ฤๅ กิริยา ทำ กะ ตุ้ง กะติ้ง นั้น, ว่า สบัด สะบิ้ง.
สะโบด (702:12)
         เปน ชื่อ ตำบล บ้าน แห่ง หนึ่ง, อยู่ ข้าง ทิศ เหนือ กรุงเทพ ๆ นี้.
สะบั้น หัก (702:13)
         คือ หัก สบั้น, เช่น ต้นไม้ มัน โค่น ล้ม ลง แล หัก ออก เปน ท่อน ๆ นั้น.
สะเบย (702:14)
         คือ ความ สะบาย เปน ศุข.

--- Page 703 ---
สะบาย (703:1)
         คือ ความ ปรี เปรม สำราญ ใจ, เช่น คน ไม่ มี ความ เจ็บ ป่วย ไม่ มี อุปัทะวะ อัน ใด.
      สะบาย กาย (703:1.1)
               คือ กาย มี ความ ศุข, ไม่ มี โรค สิ่ง ใด เบียด เบียฬ นั้น.
      สะบาย ใจ (703:1.2)
               คือ มี ความ ศุข ใจ นั้น.
      สะบาย ตัว (703:1.3)
               คือ มี ความ ศุข ใน ตัว ไม่ มี ความ เจ็บ ป่วย นั้น.
สะบัว (703:2)
         คือ สะ ที่ เขา ปลูก ต้น บัว หลวง, คน ขุด เปน แอ่ง ใหญ่ ใส่ น้ำ แล้ว ปลูก บัว ไว้ นั้น.
สะปายัง (703:3)
         ฯ แปล ว่า สะบาย, เช่น คน ไม่ มี โรค อุปัทะวะ อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น.
สะใพ้ (703:4)
         คือ หญิง เปน เมีย ของ ลูก ชาย นั้น.
สะพัด (703:5)
         คือ สะภาย, เช่น คน เอา ของ มี ยาม เปน ต้น ใส่ บ่า คล้อง เฉียง ลง ไป ที่ ข้าง ๆ.
สะภาย แล่ง (703:6)
         คือ สะพัด เฉียง, เช่น คน เอา ของ มี ย่าม เปน ต้น ใส่ เฉียง บ่า ตะภาย ไป นั้น.
สมาคม (703:7)
         คือ การ ที่ คบ หา กัน, เช่น คน รัก กัน หมั่น ไป มา หา กัน นั้น.
สะมาทาน (703:8)
         ฯ แปล ว่า ถือ เอา ด้วย ดี, เช่น คน จะ ถือ ศีล แล รับ เอา ด้วย ดี.
สะมา โทษ (703:9)
         คือ การ ที่ ฃอ ให้ เฃา อด โทษ, เช่น ทำ การ ล่วง เกิน แล้ว ฃอ ษะมา โทษ นั้น.
สะมาธิ (703:10)
         แปล ว่า ตั้ง อยู่ มั่น แน่ แน่ว, เช่น ใจ คน ที่ จำเริญ อะธิฐาน ด้วย ใจ เปน อัน หนึ่ง อัน เดียว.
สะมาบัติ (703:11)
         ฯ แปล ว่า ถึง พร้อม ถึง ด้วย ดี, อธิบาย ว่า เข้า เช่น คน วาง ใจ ใน ธรรม เปน อันดี นั้น.
สมี (703:12)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ สมี อย่าง หนึ่ง เปน ต้น ย่อม ๆ ใบ มัน เหมือน ใบ คราม มัน มี ฝัก นั้น.
แสม (703:13)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ต้น ไม้ อย่าง กลาง เกิด ที่ ริม ฝั่ง น้ำ เค็ม ชาย ทะเล นั้น.
      แสม ฃาว (703:13.1)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ แสม เช่น ว่า นั้น, แต่ ผิว เปลือก มัน ขาว เขา ตัด ทำ ฟืน ใส่ ไฟ ชุม.
      แสม ดำ (703:13.2)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ แสม เช่น ว่า นั้น, แต่ ผิว เปลือก มัน ดำ ทำ ฟืน ไม่ ใคร่ ติด ไฟ, เขา ไม่ ใคร่ ตัด ทำ ฟืน.
      แสม ทเล (703:13.3)
               เปน ชื่อ ไม้ แสม มัน งอก อยู่ ใน ป่า ริม ฝั่ง ทะเล น้ำเค็ม นั้น.
      แสม สาร (703:13.4)
               เปน ชื่อ ไม้ แก่น เหนียว เฃา มัก เอา ทำ ลูก ประ- สัก ตรึง กง เรือ, ใบ มัน คล้าย ใบ ขี้ เหล็ก.
สมุละแวง (703:14)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปลือก มี กลิ่น หอม เขา ทำ ยา ได้.
สมุห นายก (703:15)
         ฯ เปน ชื่อ คน เปน อักคะ มหา เสนา บดี, คือ ที่ จักกรี แล เจ้า พระยา กะลาโหม นั้น.
สะมุห์ บาญชีย์ (703:16)
         คือ คน เปน พะนักงาน ถือ บาญชีย์, ที่ ประ- ชุม คน นั้น.
ไสมย (703:17)
         ฯ แปล ว่า กาละ ว่า คราว, ความ คล้าย กับ ระดู มี ระดู ร้อน เปน ต้น.
สะโมษร (703:18)
         ฯ แปล ว่า รวม ลง ใน ที่ พร้อม. อย่าง หนึ่ง ว่า ประชุม ความ คล้าย กัน.
สะมะณะ (703:19)
         ฯ แปล ว่า ระงับ บาป, คน บวช ตั้ง อยู่ ใน ศีล มี จิตร์ ระงับ บาป.
สะมณาจาริย์ (703:20)
         คือ สมะณะ ที่ เปน อาจาริย์ นั้น.
สะมะโท (703:21)
         ฯ แปล ว่า ประกอบ ด้วย ความ เมา, คือ คน มัก เมา ด้วย ประหมาท.
สมุก (703:22)
         คือ ของ สาน ด้วย เส้น ตอก, รูป สี่ เหลี่ยม บ้าง รี บ้าง สำหรับ ใส่ ของ เล็ก น้อย นั้น.
สมัค (703:23)
         คือ ความ ยินดี ยอม ใจ ลง, เช่น คน ปราถนา จะ อยู่ ฤๅ จะ ไป เปน ต้น นั้น.
      สมัค พัคพวก (703:23.1)
               คือ คน ใช่ ญาติ แต่ เปน คน ชอบ ใจ รัก ใคร่ กัน นั้น.
      สมัค เต็ม ใจ (703:23.2)
               คือ เต็ม ใจ รัก ใคร่ กัน.
      สมัค รัก ใคร่ (703:23.3)
               คือ การ ที่ ชอบ ภอ รัก ใคร่ กัน.
      สมัค สะมา (703:23.4)
               คือ คน เปน ที่ ชอบ อัชฌา ไศรย กัน, ว่า เปน คน สมัค สะมา กัน.
      สมัค สมาน (703:23.5)
               คือ การ เปน สามักคีรศ รัก ใคร่ กัน, คน โกรธ กัน แล มี ผู้ ว่า กล่าว ให้ ดี กัน.
      สมัค สังวาศ (703:23.6)
               ฯ แปล ว่า สมัค รัก, ที่ จะ อยู่ ร่วม รัก เปน ผัว เมีย กัน นั้น.

--- Page 704 ---
สมิง (704:1)
         เปน ชื่อ วิภัติ หมู่ หนึ่ง, วิภัติ มี เจ็ด หมู่, มี สิ วิภัติ แล โย วิภัติ เปน ต้น, ตาม บท มาลา มี สมิง วิภัติ เปน ที่ เจ็ด
      สมิง พระราม (704:1.1)
               เปน ชื่อ มอญ เปน ทหาร พระเจ้า ราชา ธิราช กระษัตริย์ เมือง หงษา วะดี มอญ.
      สมิง ลัง (704:1.2)
               เปน ชื่อ งู, มัน อยู่ ใน น้ำ เค็ม ทะเล มี พิศม์ มัน กัด ตาย.
โสมง (704:2)
         คือ หัว เรือ ที่ สุด ปลาย นั้น เรียก หัว โสมง.
สมอง (704:3)
         คือ ของ ที่ เปน เยื่อ อยู่ ที่ ศีศะ ฤๅ ใน ท่อน กระดูก แขน ฤๅ แข้ง ขา นั้น.
      สมอง หัว (704:3.1)
               คือ เยื่อ อยู่ ใน ศีศะ นั้น.
สมัด (704:4)
         คือ รวบ รัด เข้า ไว้, เช่น เขา ทำ หมาก ขาย เปน คำ ๆ คือ เขา ใส่ พร้อม, ทั้ง ปูน แล พลู แล ยา แล หมาก พร้อม เปน คำ หนึ่ง นั้น.
สมุด (704:5)
         คือ กะดาด หนา เขา ทำ พับ เปน ขนบ ๆ สามสิบ ขนบ บ้าง สี่สิบ ขนบ บ้าง, ศรี ขาว ศรี ดำ บ้าง สำหรับ เขียน หนังสือ.
เสม็ด (704:6)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เกิด อยู่ ใน ป่า ใบ มัน กิน ได้ เปลือก มัน ทำ ไต้ ได้.
สมุท (704:7)
         คือ มหา สมุท, ห้วง น้ำ อัน ใหญ่, ใน หนัง สือ ว่า โลกย์ หนึ่ง มี มหา สมุท สี่ สมุท นั้น.
      สมุทธ ปราการ (704:7.1)
               เปน ชื่อ เมือง อยู่ ฝ่าย ปาก น้ำ กรุง เทพ ฯ นั้น.
      สมุทธ สาคร (704:7.2)
               เปน ชื่อ เมือง ท่า จีน นั้น.
      สมุทธ สงคราม (704:7.3)
               เปน ชื่อ เมือง แม่ กลอง นั้น.
สมุทย์ (704:8)
         แปล ว่า บังเกิด พร้อม, เช่น ความ ว่า สมุทยะสัจ คือ เหตุ เปน ที่ เกิด แห่ง ทุกข์ ต่าง ๆ.
สมัน (704:9)
         เปน ชื่อ สัตว สี่ เท้า จำพวก หนึ่ง, ตัว มัน เท่า ลูก โค ย่อม ๆ มี เขา สอง อัน ที่ หัว มัน, อยู่ ใน ป่า เปน นิจ นั้น.
สมาน (704:10)
         คือ บัตรี ของ ที่ ร้าว ราน ให้ ชิด ติด เปน เนื้อ เดียว กัน อย่าง หนึ่ง คน ว่า กล่าว ชัก โยง ให้ คน ที่ โกรธ เปน ดี กัน.
สมุน (704:11)
         คือ สวะ หญ้า ใหญ่ อยู่ ชาย ฝั่ง น้ำ นั้น. อนึ่ง เปน กะ แชง เล็ก ๆ สำหรับ หลบ หลังคา.
สมวน (704:12)
         คือ ตัว สัตว เล็ก ๆ คล้าย ๆ ตัว หนอน, ตัว มัน เปน ขน, มัน เกิด ใน ปลา ที่* เขา ใส่ เกลือ ตาก แห้ง มัน รา ผุ นั้น.
เสมียน (704:13)
         คือ คน รู้ เขียน หนังสือ ภอ ใช้ ได้ แต่ ไม่ สู้ ดี, เช่น คน อาลักษณ์ ไม่ สู้ รู้ จัก ไม้ เอก ไม้ โท.
      เสมียน ตรา (704:13.1)
               คือ นาย เสมียร ใหญ่ มี ตรา สำหรับ ตี ประจำ หนังสือ ใน มือ นั้น.
เสมือน (704:14)
         คือ เช่น นั้น, ดัง นั้น, ดุจ นั้น, อย่าง นั้น.
สมร (704:15)
         คือ หญิง รูป สรวย เปน สาว, เขา แต่ง หนังสือ มี เพลง ยาว เปน ต้น, กล่าว ถึง หญิง เช่น ว่า ๆ ดวง สมร แม่ นั้น.
สมระ ภูม (704:16)
         คือ ที่ เปน ที่ สนาม รบ, เช่น เมื่อ ครั้ง พระราม ทำ สงคราม กับ ยักษ ชื่อ ทศกรรฐ ที่ เกาะ ลง กา นั้น, ที่ สนาม รบ เรียก ที่ สมร ภูม.
เสมอ (704:17)
         คือ เท่า กัน ค่า กัน* ฤๅ ถึง ที่ พร้อม กัน, เช่น ไม้ ฤๅ เชือก เปน ต้น ที่ เขา ตัด ให้ เท่า กัน.
      เสมอ ใจ (704:17.1)
               เปน ชื่อ ขุน นาง นาย มหาด เล็ก* คน หนึ่ง.
      เสมอ ตัว (704:17.2)
               คือ การ ค้า ขาย ฤๅ การ เล่น พะนัน เปน ต้น ไม่ มี กำไร นั้น.
      เสมอ ไหน (704:17.3)
               เปน คำ คน จะ เล่น ชน ไก่ เปน ต้น, ถาม ผู้ อื่น ว่า จะ ถือ เอา ข้าง ตัว ไหน นั้น.
      เสมอ น้ำ เสมอ เนื้อ (704:17.4)
               คือ น้ำ เนื้อ ทัด เทียม กัน.
      เสมอ นอก (704:17.5)
               คือ การ เล่น พนัน ไม่ ได้ เข้า ใน ทุน เดิม พันท์ ชวน ผู้ อื่น เล่น เอา ข้าง นอก นั้น.
      เสมอ สม่ำ (704:17.6)
               คือ น้ำ เนื้อ เสมอ กัน.
สมอ (704:18)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ อย่าง กลาง เกิด ใน ป่า ผล มัน รศ ขม เขา ทำ ยา ได้. อย่าง หนึ่ง เปน เครื่อง เรือ ที่ เขา ทอด ลง กับ พื้น ดิน ให้ เรือ อยุด นั้น.
      สมอ เก่า (704:18.1)
               คือ ทอด สมอ ลง ไม่ อยู่ ได้, เรือ มัน ภาด รูด ไป นั้น.
      สมอ ดี งู (704:18.2)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ สมอ ผล มัน เล็ก* ๆ เท่า ปลาย ก้อย นิ้ว มือ, รศ มัน ขม หนัก ทำ ยา ได้ นั้น.
      สมอ ไทย (704:18.3)
               คือ ต้น สมอ ที่ มี ผล มี เปลือก ทำ ยา ได้, กิน เปน กับ เข้า ก็ ได้, เกิด มี ใน ป่า กิน มาก ลง ท้อง.
      สมอ เทษ (704:18.4)
               คือ ต้น สมอ ที่ เขา เอา มา แต่ เมือง เทษ, ผล มัน โต กว่า สมอ ดี งู, เฃา ทำ ยา ได้ นั้น.

--- Page 705 ---
      สมอ พิเพก (705:18.5)
               คือ ต้น ไม้ สมอ ที่ เขา ปลูก ไว้ ทำ ยา ที่ บ้าน, จะ กิน เปน กับ เข้า ไม่ ได้ ๆ แต่ ทำ ยา ได้.
      สมอ เรือ (705:18.6)
               คือ สมอ สำหรับ ทอด ที่ เรือ ที่ มี สาย เปน โซร่ บ้าง เปน เชือก ปอ บ้าง นั้น.
      สมอ เหล็ก (705:18.7)
               คือ สมอ เขา ทำ ด้วย เหล็ก, สำหรับ ทอด ที่ เรือ เล็ก ใหญ่.
สยะแสยง (705:1)
         คือ อาการ ที่ เกลียด สอิด สะเอียน, เหมือน คน เดิน ไป เอยียบ ที่ โสโครก ด้วย อาจม เปน ต้น นั้น.
แสยก (705:2)
         คือ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ต้น ไม้ อย่าง เล็ก มี ยาง ขาว เหมือน น้ำ นม กิน ลง ท้อง นัก.
แสยง (705:3)
         คือ ขน ชัน ขึ้น เช่น แปรง หมู, คือ ขน เส้น ใหญ่ ๆ ที่ ฅอ หมู เมื่อ มัน จะ สู้ กัน, มัน ชู ชัน ขึ้น, ว่า แสยง.
      แสยง ขน (705:3.1)
               คือ ขน ชัน ขึ้น, เช่น คน เคี้ยว เข้า กิน แล เคี้ยว ปะ ก้อน กรวด เข้า, แล ขน ลุก ชัน ขึ้น นั้น.
สยอง (705:4)
         คือ แสยง ขน ขึ้น เช่น ว่า แล้ว, คน ไท มี ความ สดุ้ง กลัว ผี มัน หลอก แล ขน แสยง ชัน ขึ้น.
      สยอง เกล้า (705:4.1)
               คือ เส้น ผม ลุก ชัน ขึ้น, เมื่อ คราว มี ความ กลัว แต่ สิง สัตว ฤๅ ปีศาจ นั้น.
      สยอง ขน (705:4.2)
               คือ ขน ชัน ขึ้น, เช่น คน เปน ไข้ จวน จะ จับ นั้น.
สยด (705:5)
         (dummy head added to facilitate searching).
      สยด แสยง (705:5.1)
               คือ อาการ คน เหน สิ่ง ที่ น่า กลัว แล มี ขน อัน ลุก ชัน ขึ้น นั้น.
      สยด สยอง (705:5.2)
               คือ ขน ลุก ขน พอง สดุ้ง กลัว แต่ ไภย อัน ใด อัน หนึ่ง, มี เสือ แล ช้าง เปน ต้น.
สยอน (705:6)
         คือ คน สยอน ใจ, เช่น คน เหน คน ที่ เขา เอา ไป จะ ฆ่า เมื่อ เขา เงื้อ ดาบ ขึ้น จะ ตัด หัว นั้น.
สยบ (705:7)
         คือ สงบ ซบ ฤๅ สลบ, เช่น คน มี ความ โศก ใน ใจ ๆ แห้ง ซบ เซา นั้น.
สะยัมภู (705:8)
         ฯ แปล ว่า รู้ เอง เหน เอง ไม่ มี ผู้ ใด เปน ครู เปน อาจาริย์ สั่ง สอน.
สะยัม ภูวะญาณ (705:9)
         ฯ แปล ว่า มี ปัญญา อัน รู้ เอง ไม่ มี ผู้ ใด สั่ง สอน นั้น.
สะยัมภูวะนารถ (705:10)
         ฯ แปล ว่า ผู้ รู้ เอง เปน ที่ พึ่ง นั้น.
สยาม (705:11)
         คือ สามัญ ภาษา ๆ ไท นี้, คน ประเทศ อื่น เรียก ไท ว่า เสียม.
      สยาม ประเทศ (705:11.1)
               คือ ประเทศ ไท นี้.
      สยาม พิภพ (705:11.2)
               คือ พิภพ ไท นี้.
สยุม ภร (705:12)
         คือ มงคล การ ใหญ่, มี การ ราชา ภิเศก เปน ต้น, เฃา เรียก การ สยุมภร.
สยาย (705:13)
         คือ คลี่ กระจาย ออก, เช่น คน เศร้า โศก ด้วย ความ ทุกข์ แล คลี่ คลาย กระจาย ผม ออก นั้น.
      สยาย เกษ (705:13.1)
               คือ คลี่ มวย ผม ออก สาง. อย่าง หนึ่ง เกิด ความ ทุกข์ โศก เปน ต้น.
      สยาย ผม (705:13.2)
               คือ คลี่ คลาย มวย ผม ออก หวี ใส่ น้ำ มัน นั้น.
แสยะ (705:14)
         คือ แบะ ปาก, เช่น เขา ปั้น รูป ยักษ์ ทำ หน้า แบะ ปาก แยก เขี้ยว, ว่า หน้า แสยะ.
      แสยะ หน้า (705:14.1)
               คือ หน้า แอยะแบะ, เช่น คน เสีย ใจ นั้น.
      แสยะ ยิ้ม (705:14.2)
               คือ ปาก แบะ แอยะ ยิ้ม, เช่น ปาก ยักษ์ มัก แสยะ นั้น.
      แสยะ โอฐ (705:14.3)
               คือ ปาก แบะ แอยะ นั้น.
สริ (705:15)
         คือ ศรี สรรพ วรรณ ผ่อง ใส, เช่น คน ตั้ง อยู่ ใน ความ ศุข มี วิลาศ ลักษณะ อัน ดี.
สริ เข้า กัน (705:16)
         คือ รวบ รวม เข้า ด้วย กัน, เช่น ของ หลาย สิ่ง มี บาญชีย์ เงิน นั้น.
สริระ (705:17)
         แปล ว่า ตัว นั้น.
      สะริระ กิจ (705:17.1)
               คือ กิจ ที่ ตัว, เช่น กิจ เปน ต้น ว่า อาบ น้ำ ฤๅ ล้าง หน้า เปน ต้น นั้น, ว่า สะริระ กิจ.
      สะริระกาย (705:17.2)
               คือ ตัว คน แล ร่าง กาย นั้น.
สะระ (705:18)
         คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ, เรียก ว่า สะระ ย่อม เปน ที่ อาไศรย แห่ง เพียญชะนะ, คือ ตัว อักษร ทุก ตัว นั้น.
สะระณาคม (705:19)
         ฯ แปล ว่า ถึง ซึ่ง เปน ที่ ระฦก, เช่น คน ถึง ซึ่ง พระพุทธิเจ้า เปน ที่ ระฦก นั้น.
สะระณัง (705:20)
         ฯ แปล ว่า ระฦก, เช่น คน ระฦก ถึง สิ่ง ที่ ควร จะ ระฦก นั้น.
สะระบับ (705:21)
         คือ ชะบับ หนังสือ จดหมาย คู่ ความ ที่ เปน กัน เสร็จ แล้ว ส่ง ให้ แก่ เจ้า พนัก งาน นั้น.
สะระพิศม์ (705:22)
         คือ พิศม์ งู ร้าย กล้า นัก นั้น.
แสรก (705:23)
         คือ ของ เขา ทำ เปน สาย สี่ มุม, สำหรับ ใส่ ของ มี กระบุง ฤๅ กระจาด เปน ต้น แล หาย ไป.

--- Page 706 ---
สรูบ (706:1)
         คือ รวบ สูบ เอา ความ เข้า ไว้ ใน ที่ อัน เดียว, เช่น เรื่อง เนื้อ ความ มี มาก, แล ศิริ รวบ เข้า ไว้ ใน ที่ เดียว โดย ย่อ นั้น.
สระ (706:2)
         คือ ที่ พื้น ดิน เขา ขุด ให้ ฦก ลง กว้าง สัก ห้า วา ขัง น้ำ ไว้ ได้ เขา มัก ขุด ไว้ ใน อาราม เปน ต้น นั้น
      สระ ใหญ่ (706:2.1)
               คือ ที่ ลุ่ม ฦก กว้าง ลาง ที คน ขุด ไว้, ใน หนังสือ ว่า เปน มา แต่ ตั้ง แผ่นดิน โลกย์ บ้าง.
สระโบก ขรณี (706:3)
         ฯ คือ สระ ใหญ่ เต็ม ไป ด้วย ดอก บัว หลวง นั้น.
สะลา (706:4)
         ภาษา เขมร ว่า หมาก พลู.
สลาตัน (706:5)
         เปน ชื่อ ลม จำพวก หนึ่ง, ภัด มา แต่ ฝ่าย ทิศ ใต้ นั้น.
ไสล (706:6)
         คือ ที่ ลาด ไถล ลุ่ม ลง นั้น, เช่น ที่ ลาด ลุ่ม ลง ที ละ น้อย ๆ ไม่ ชัน ชะงัก ค่อย เรื่อย ๆ ลง นั้น.
เสลา สะล่าง (706:7)
         คือ สะพร้อม สะพรั่ง นั้น.
สละ (706:8)
         คือ ละ ฤๅ บริจาก, เช่น เสีย สละ คน ปราถนา จะ สร้าง บาระมี ธรรม สู้ เสีย สละ นั้น.
สะละวน (706:9)
         คือ อาการ ที่ คน ใจ ผูก อยู่ ด้วย การ อัน ใด มาก ไม่ สู้ เอา ใจ ใส่ การ อื่น นั้น.
สละ สลวย (706:10)
         คือ พูจ จา ไม่ ขัด ข้อง คล่อง ลิ้น ไม่ อึด อัด กะอัก กะไอ, เขา ว่า พูจ จา สละสลวย.
สลัก (706:11)
         คือ จำหลัก เช่น คน เอา เครื่อง มือ มี สิ่ว เปน ต้น เจาะ ลง ที่ พื้น ไม้ กะดาน เปน ต้น, ทำ ให้ เปน ดอก ไม้ แล เครือ วัล เปน ต้น. อย่าง หนึ่ง เช่น ไม้ เขา ทำ ใส่ ที่ ธรณี ประตู มิ ให้ เปิด ได้ เปน ต้น นั้น
      สลัก เพ็ชร (706:11.1)
               คือ อไวยวะ ที่ ตะโพก, ที่ เปน ที่ ขา ยัก ไป ยัก มา นั้น.
      สลัก รูป (706:11.2)
               คือ จำหลัก รูป, เช่น เขา สลัก รูป นารายน์ เปน ต้น ใน หนัง โค นั้น.
      สลัก หลัง (706:11.3)
               คือ จาฤก ฉลาก ชื่อ หนังสือ ไว้ ที่ หลัง สมุด นั้น.
      สลัก สำคัญ (706:11.4)
               คือ การ ที่ จดหมาย เอา ถ้อย คำ ไว้ เปน สลัก สำ คัญ. อย่าง หนึ่ง จับ ของ ได้ ที่ โจร, ว่า ได้ ของ สลัก สำ คัญ ไว้.
      สลัก เสลา (706:11.5)
               เขา พูจ ถึง การ สลัก ว่า สลัก เสลา บ้าง.
สลากภัต (706:12)
         คือ เขา จัด แจง แต่ง สำรับ คาว หวาน มาก ด้วย กัน เอา ไป ใน วัต พร้อม กัน, แล้ว เขียน ชื่อ เจ้า ของ ให้ พระ สงฆ์ จับ ถูก ชื่อ ใคร ให้ คน นั้น ถวาย องค์ นั้น.
เสลือก สลน (706:13)
         คือ อาการ ที่ คน ตก ใจ วุ่น วาย ลุก ลน ไป นั้น.
สะล่าง (706:14)
         คือ สะพรั่ง, เช่น ของ ที่ สูง ๆ แล สะพรั่ง อยู่, เช่น ต้น หมาก ใน สวน, มี มาก ฤๅ เสา กะโดง เมื่อ เรือ มา จอด มาก นั้น.
สลึง (706:15)
         เปน ชื่อ เงิน สลึง นั้น, สี่ สลึง จึ่ง เปน เงิน บาท ๆ หนึ่ง. เงิน สอง เฟื้อง จึ่ง เปน สลึง.
แสลง (706:16)
         คือ ของ ผิด สำแลง, เช่น ของ นาน ๆ จึ่ง มี มา เปน คราว ๆ คน กิน เข้า ไป มื้อ หนึ่ง นั้น.
      แสลง ใจ (706:16.1)
               ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง รศ ขม นัก.
      แสลง พัน (706:16.2)
               คือ ปอ อย่าง หนึ่ง, เขา ลอก เอา มา แต่ เถา แสลง พัน ใน ป่า นั้น.
สลอง (706:17)
         คือ ฉลอง เหมือน สร้าง วัต ขึ้น แล้ว, จัด แจง การ สมโภช มี งาน การ บูชา เพื่อ วัต ที่ สร้าง นั้น.
เสลียง (706:18)
         คือ หลังคา ที่ ของ ใหญ่, แต่ มิ ใช่ หลังคา ใหญ่ ใน ประทาน, เปน แต่ หลังคา ระเบียง, เรียก ว่า เฉลียง.
สลด (706:19)
         คือ ระทด ธ้อ ใจ, เช่น คน เปน คน ใจ อ่อน เหน ผู้ อื่น ถึง ทุกข์ ลำบาก ระทด ธ้อ ใจ นั้น.
      สลด ใจ (706:19.1)
               คือ สังเวศ ระทด ใจ นัก, เช่น คน เปน โพธิ สัตร เหน ฝูง สัตว เวียน เกิด ตาย อยู่ ใน ภพ น้อย ภพ ใหญ่, ไม่ รู้ สิ้น รู้ สุด, ท่าน สังเวศ ระทด ใจ นัก นั้น
สลัด (706:20)
         คือ สะบัด, เช่น คน ยก มือ ขึ้น ฟัด ลง ๆ นั้น. อย่าง หนึ่ง จับ ผ้า ขึ้น ฟัด สะบัด ไป.
      สลัด ได (706:20.1)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ ไม่ มี ใบ มี แต่ หนาม มาก ยาง มัน ขาว เผ็ด ร้อน นัก.
      สะลัด ตี เรือ (706:20.2)
               คือ คน เปน พวก โจร ใน ทะเล นั้น.
      สลัด ทิ้ง (706:20.3)
               คือ สะบัด ทิ้ง เสีย, เช่น ของ แช่ น้ำ ไว้ แล้ว อยิบ ขึ้น สลัด ทิ้ง นั้น.
      สลัด ผง (706:20.4)
               คือ สะบัด ผง เสีย, เช่น ผ้า ฤๅ เสื้อ ถูก ผง นั้น.
      สลัด มือ (706:20.5)
               คือ สะบัด มือ, เช่น คน ยก มือ ขึ้น แล้ว ฟัด ลง ๆ เพื่อ จะ ให้ น้ำ ที่ ติด มือ ตก ไป นั้น.

--- Page 707 ---
สลาด (707:1)
         เปน ชื่อ ปลา อย่าง หนึ่ง, เปน ปลา อยู่ น้ำ จืด, ตัว มัน ยาว สัก สิบหก นิ้ว กว้าง สัก หก นิ้ว.
สลิด (707:2)
         เปน ชื่อ ปลา อย่าง หนึ่ง, เปน ปลา น้ำ จืด, ตัว มัน ยาว สัก หก นิ้ว กว้าง สัก สี่ นิ้ว.
เสลด (707:3)
         คือ เสมหะ, เรียก ตาม สับท์, คือ สิ่ง ที่ ข้น เหนียว เช่น น้ำ มูก เกิด ใน ฅอ นั้น.
      เสลด ตี ขึ้น (707:3.1)
               คือ เสลด มัน ปะทะ ขึ้น มา ใน อก ถึง ฅอ เมื่อ คน จะ ตาย นั้น.
      เสลด หาง วัว (707:3.2)
               คือ เสลด ขึ้น ที่ ใน ลำ ฅอ เมื่อ คน จะ ตาย นั้น เพราะ มัน เหนียว ติด กัน ยืด ยาว จึ่ง เรียก เช่น นั้น.
สลอด (707:4)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ ย่อม ๆ อย่าง หนึ่ง, ลูก แล ใบ มัน ทำ ยา ได้, แต่ ให้ ลง ท้อง นัก.
สลอน (707:5)
         คือ สะพรั่ง, แต่ เปน ของ ไม่ สูง, เช่น คน นั่ง อยู่ มาก, เขา ว่า นั่ง สลอน อยู่.
สลบ (707:6)
         คือ อาการ ที่ คน สิ้น สมประดี, คือ ปราศจาก สะติ จิตร์ สลบ ไป นั้น.
      สลบ ซบ เซา (707:6.1)
               คือ อาการ ที่ คน สลบ แล ซบ ลง นั้น.
      สลบ ไสล (707:6.2)
               คือ อาการ คน ที่ สลบ แล นอน ไถล อยู่ นั้น.
สลับ (707:7)
         คือ ซับ ซ้อน, เช่น เขา จัด แจง ทำ เครื่อง สพ, ทำ ดอก ไม้ ประดับ เปน ศรี ต่าง ๆ ซ้อน กัน ที ละ ศรี ๆ นั้น.
      สลับ กัน (707:7.1)
               คือ ซับ ซ้อน กัน เปน ชั้น ๆ, เช่น เฃา ทำ ดอก ไม้ กะดาด ศรี ต่าง ๆ เอา ศรี เขียว ซ้อน ศรี แดง, เอา ศรี แดง ซ้อน ขาว นั้น.
      สลับ ซ้อน (707:7.2)
               คือ ซ้อน สอด ศรี เปน ชั้น ๆ คือ ศรี แดง ซ้อน ศรี เงิน ศรี ทอง ซ้อน ศรี แดง เขียว เปน ต้น นั้น.
      สลับ ไพ่ (707:7.3)
               คือ ลำดับ ไพ่, เขา จะ เล่น ไพ่ กัน จัด แจง ดู ลำดับ ใบ ไพ่ ให้ มัน ครบ ถ้วน นั้น.
      สลับ ศรี (707:7.4)
               คือ ลำดับ ศรี ต่าง ๆ มี ศรี แดง ซ้อน ทับ ศรี เขียว ศรี เหลือง ซ้อน ทับ ศรี ชมภู เปน ต้น นั้น.
สลุบ (707:8)
         คือ เรือ ใหญ่ คล้าย กับ เรือ กำปั่น, เขา ต่อ มา แต่ เมือง วิลาศ เปน ต้น, เรียก เรือ สลุบ.
สลาย (707:9)
         คือ แตก ร้าว ทำ ลาย, เช่น หัว นิล หัว เพ็ชร์ ฤๅ มระ กฎ เปน ต้น, ที่ แตก ร้าว ทำลาย นั้น.
สลวย (707:10)
         คือ ผม ที่ ยาว เปน ผม มวย ฤๅ ผม คน ที่ เขา ไว้ ยาว ประ บ่า, แล เฃา หวี เส้น ไม่ งอ คด นั้น.
สลัว (707:11)
         คือ ศรี แดง หนิด น่อย.
สวา วานร (707:12)
         คือ ลิง อยู่ ใน ไพร พง นั้น, สวา เปน คำ เขมร วา นร เปน คำ มคธ ทั้งสอง บท แปล ว่า ลิง.
สวามี เจ้า (707:13)
         คือ คน เปน เจ้า. อย่าง หนึ่ง ว่า คน ชาย ผู้ เปน ผัว หญิง.
สวาหะ (707:14)
         คือ สำเร็ทธิ์, เช่น คน เศกมนต์ เป่า ปัด พิศม์ จะ ขาบ ฤๅ งู เปน ต้น, ว่า สวาหะ นั้น.
เสว (707:15)
         แปล ว่า ใน วัน พรุ่ง, คือ เวลา เช้า พรุ่ง นี้
ไสว (707:16)
         คือ ห้อย ระย้า, เช่น ดอก ไม้ ดก ระย้า ย้อย มี ดอก ยี่ โถ เปน ต้น, ว่า แล ดู ดก ไสว นั้น.
      ไสว สูง (707:16.1)
               คือ สพรั่ง สูง, เช่น ต้นไม้ สูง สะพรั่ง.
สวะ (707:17)
         คือ พง หญ้า ที่ ลอย อยู่ บน หลัง น้ำ นั้น, ถ้า น่า ระดู ฝน น้ำ เหนือ มาก พัด ภา เอา พง หญ้า ลอย มา นั้น.
      สวะ เสวิง (707:17.1)
               คือ พง หญ้า ใหญ่ ที่ มัน ลอย อยู่ บน หลัง น้ำ นั้น.
สวก (707:18)
         คือ สวิง ๆ นั้น เขา เอา เชือก ฤๅ ป่าน เส้น เล็ก ๆ ชุน เปน ตา ข่าย, แล้ว เอา ไม้ ทำ คัน วง รอบ เปน ขอบ สำหรับ ตัก ปลา.
สว่าง (707:19)
         คือ แจ่ม แจ้ง, เช่น เพลา ค่ำ มืด, คน จุด ประทีบ เปลว ไฟ โพลง ขึ้น มี แสง สร่อง ให้ แจ้ง. อย่าง หนึ่ง เพลา รุ่ง แสง อาทิตย สร่อง แจ้ง ทั่ว โลกย์ นั้น.
      สว่าง ใจ (707:19.1)
               คือ ใจ คน มี ความ ร้อน อัน หาย แล้ว.
สวิง (707:20)
         คือ เครื่อง สำหรับ ซ่อน ช้อน เอา ปลา ใน น้ำ รูป เช่น ฝา ชี ใหญ่ ๆ มี ขอบ คัน สำหรับ ช้อน ปลา เช่น ว่า แล้ว นั้น.
      สวิง ช้อน ปลา (707:20.1)
               คือ ของ เปน ตา ข่าย เขา ทำ ไม้ เปน ขอบ วง รอบ เข้า กับ ตา ข่าย, ก้น มัน เปน ถุง นั้น.
      สวิง สวาย (707:20.2)
               คือ ความ หิว ละหวย ใน หัว ใจ, คน ลุก ขึ้น เมื่อ เพลา เช้า ยัง ไม่ ได้ กิน เข้า, เปน ที่ เช่น ลม จะ จับ หิว อก หวิว ใจ นั้น.
แสวง (707:21)
         คือ สืบ เสาะ ขวนขวาย, เช่น วัว ฤๅ แพะ แกะ หาย ไป แล คน เที่ยว ค้น หา นั้น.
      แสวง หา (707:21.1)
               คือ การ ที่ เสาะ หา, เช่น คน มี ความ ต้อง การ อยู่ ใน ใจ นั้น.

--- Page 708 ---
เสวียง (708:1)
         คือ ฝ่าย ซ้าย, เช่น ท่าน ตั้ง พระสงฆ์ ให้ เปน สังฆ์ ราช องค์ หนึ่ง, แล้ว ตั้ง พระสงฆ์ อีก สอง องค์ เปน ฝ่าย ซ้าย ฝ่าย ขวา, แต่ ฝ่าย ซ้าย ภาษา เขมร ว่า เสวียง นั้น.
สะวิญญาณกะทรัพย์ (708:2)
         คือ สัตว สี่ เท้า สอง เท้า มี ช้าง ม้า วัว ควาย เปน ต้น, เพราะ มัน มี จิตร วิญญาณ.
สวาด ต้น (708:3)
         คือ เถา ต้น สวาด, ต้น มัน เปน หนาม มี ลูก เท่า ผล พุดทรา เปลือก แขง.
สวาดิ (708:4)
         คือ ความ รัก เสน่หะ, เปน คน รัก ใคร่ เสน่หา โดย ปราถนา สังวาศ รศ นั้น.
      สวาดิ รัก ใคร่ (708:4.1)
               คือ ความ เสน่หะ รัก ใคร่, เช่น คน ผัว เมีย แรก อยู่ ด้วย กัน.
เสวตร (708:5)
         ฯ แปล ว่า ศรี ขาว, เหมือน ช้าง เผือก ขาว ให้ ชื่อ พระยา เสวตร กุญชร นั้น.
      เสวตรฉัตร (708:5.1)
               ฯ แปล ว่า ฉัตร ขาว, เช่น ฉัตร ขาว ที่ พระ ที่ นั่ง ขุนหลวง, เรียก ว่า เสวตร ฉัตร นั้น.
สว่าน (708:6)
         คือ เหล็ก สำหรับ เจาะ ไม้, เขา ทำ ต่าง ๆ ตาม* ภาษา พวก ไท ทำ มี สาย พัน ชัก ให้ หัน เจาะ ไม้ ทะลุ.
      สว่าน ยนต์ (708:6.1)
               คือ เหล็ก สว่าน ที่ เขา ทำ มี ลูก ตุ้ม ถ่วง รูด ขึ้น รูด ลง, เมื่อ เขา เจาะ ไม้ นั้น.
เสวียน (708:7)
         คือ เตี่ยว สำหรับ รอง วาง ม่อ มิ ให้ พื้น เปื้อน ดำ, เขา ทำ ด้วย หญ้า ด้วย ฟาง เปน วง กลม ๆ นั้น.
สวาบ (708:8)
         คือ ที่ กาย สัตว มี โค เปน ต้น, อยู่ ที่ ใต้ ระวาง ชาย โครง กับ หัว ตะคาก นั้น, เรียก สวาบ.
สวรรค์ (708:9)
         คือ สุ คติ, ว่า ที่ เปน ที่ ไป อัน กระเษม ศุข สำราญ รื่น ชื่น ใจ อยู่ เปน นิจ กาล นั้น.
      สวรรคาไลย (708:9.1)
               แปล ว่า ไป สวรรค์.
      สวรรคโลกย์ (708:9.2)
               เปน ชื่อ เมือง อยู่ ฝ่าย เหนือ กรุง เทพ ฯ นี้.
      สวรรคต (708:9.3)
               ว่า ไป สู่ สวรรด์*, เช่น กระษัตริย์ เจ้า แผ่น ดิน สิ้น พระชนม์ แล้ว, ว่า สวรรคต.
สวรรยา (708:10)
         คือ สวรรค์ ชั้น แผ่น ดิน เหมือน กระษัตริย์ ได้ ผ่าน สมบัติ นั้น.
สวัสดิ์ (708:11)
         คือ ความ จำเริญ ศิริ โสภาค มงคล, เช่น พระสงฆ์ สวด อวย พร แก่ ฝูง คน ผู้ ทำ ทาน, ว่า ด้วย มคธะ ภาษา ว่า โสถิภะวันตุเต นั้น.
      สวัสดิ มงคล (708:11.1)
               คือ ความ สวัสดิ ให้ ถึง จำเริญ นั้น.
      สวัสดิ รักษา (708:11.2)
               แปล ว่า รักษา ความ สวัสดิ์ เปน, ว่า เศก น้ำ ล้าง หน้า เมื่อ เวลา เช้า ตื่น จาก นอน นั้น.
เสวย (708:12)
         คือ เสพย์ ฤๅ กิน, เช่น เทวดา เปน ต้น อยู่ ใน สวรรค์ ชั้น ใด ชั้น หนึ่ง นั้น.
      เสวย ทุกข์ (708:12.1)
               คือ ได้ ความ ทุกข์ ลำบาก ต่าง ๆ นั้น, เช่น คน มี ความ เจ็บ ไข้ เปน ต้น.
      เสวย ราช (708:12.2)
               คือ คน ได้ ครอง ราช สมบัติ เปน กระษัตริย์ ใน แผ่น ดิน.
      เสวย รมย์ (708:12.3)
               คือ ได้ ความ ยินดี ปรีดา นั้น.
      เสวย สมบัติ (708:12.4)
               คือ ได้ สมบัติ มี มะนุษ สมบัติ เปน ต้น.
      เสวย ศุข (708:12.5)
               คือ ได้ ความ ศุข สะบาย, เช่น คน มี กุศล มี ทรัพย์ มาก นั้น.
สวาย (708:13)
         เปน ชื่อ ปลา อย่าง หนึ่ง, ตัว มัน โต สัก สาม กำ ยาว สัก ศอก คืบ ไม่ มี เกล็ด อยู่ น้ำ จืด.
สะสรง (708:14)
         คือ อาบ น้ำ เปน คำ หลวง.
สะสาง (708:15)
         คือ ชำระ สาง, เช่น คน ที่ ผม ยุ่ง เหยิง เหมน สาบ แล ชำระ สะ ด้วย น้ำ ให้ สิ้น กลิ่น เหมน สาบ, แล้ว สาง ด้วย หวี.
สะสม (708:16)
         คือ เก็บ ของ อัน ใด ๆ ประสม เข้า ไว้ นั้น.
สะสวย (708:17)
         คือ สอาจ สวย, เช่น คน ที่ มี ตัว เศร้า หมอง อยู่, แล ชำระ สอาจ เพริศ พริ้ง อยู่ นั้น.
สะหัศ เนตร (708:18)
         แปล ว่า มี ตา พัน หนึ่ง, เช่น เทวะดา ชื่อ พระ อินทร์, อาจ รู้ เหตุ พัน หนึ่ง ด้วย เร็ว พลัน นั้น.
สะหาย (708:19)
         คือ คน เปน เกลอ กัน ราว กับ จะ ตาย ด้วย กัน ได้, คน มี อายุ เสมอ กัน, แล มี จิตร รัก ใคร่ กัน หนัก โดย สัจ ซื่อ นั้น.
สะหัว (708:20)
         คือ ชำระ ผม, เช่น คน เอา น้ำ ผิว ลูก มะกรูด แล ฝัก ส้ม ป่อย ใส่ ลง แล้ว รด ล้าง ซัก ผม นั้น.
สอึก (708:21)
         คือ อาการ ที่ ลม กะทบ กะทำ เช่น จะ เรอ, ลาง ที* มี เสียง ดัง นัก ลาง ที เสียง ไม่ ดัง นัก นั้น.
      สอึก ต้น (708:21.1)
               คือ ต้น สอึก, ต้น มัน มี หนาม ลูก มัน เปน ขน แขง แทง มือ ได้, ลูก มัน กิน ได้ เปน กับ เข้า.

--- Page 709 ---
      สะอึก สอื้น (709:21.2)
               คือ อาการ ที่ ร้อง ไห้ ร่ำ ไร ไม่ ใคร่ หาย, แล มัน ให้ สะทก ใน อก ใน ฅอ นั้น.
สะอิ้ง (709:1)
         คือ สาย สร้อย กับ กระจับ ปิ้ง เปน เครื่อง ประดับ ใน ที่ ลับ สำหรับ หญิง นั้น.
สะอาจ (709:2)
         คือ หมด จด ผ่อง ใส, เช่น สิ่ง ของ มี ภาชนะ เปน ต้น ที่ เขา ชำระ ดี ไม่ มี ราคี นั้น.
      สอาจ สอ้าน (709:2.1)
               คือ ที่ ฤๅ ของ ที่ หมดจด สอาจ ไม่ แประประ นั้น.
สอิด (709:3)
         คือ ชุ่ม น่อย ๆ ไม่ ชุ่ม โซก, เช่น ผ้า ที่ ถูก น้ำ เปียก ชุ่ม น่อย ๆ นั้น, ว่า ผ้า สะอิด.
สะอิด สะเอียน (709:4)
         ขยะ แขยง, คือ เกลียด น่อย ๆ, เช่น คน เหน ของ ที่ ตัว เคย เกลียด, แล ถูก ต้อง เข้า ให้ สยด แสยง ขน นั้น.
สะอื้น (709:5)
         คือ ถอน ใจ ใหญ่ ให้ สะท้อน ใน อก, เช่น มี ความ ทุกข โศก ไม่ รู้ หาย ให้ สะท้อน ใน อก เฮือก ๆ.
สะอาย (709:6)
         คือ เปลว ละออง กลิ่น เกิด ขึ้น ใน ของ บูด รา ออก กลิ่น ฟุ้ง ขึ้น มา นั้น.
สะเอว (709:7)
         คือ เอว, เช่น อะไวยวะ ที่ กึ่ง กลาง เพียง ที่ ผ้า นุ่ง นั้น, ว่า บั้น เอว.
สะเออะ (709:8)
         คือ ของ คาว เปน กับ เข้า อย่าง หนึ่ง, เขา เอา ไข่ มา ทุบ เอา แต่ เนื้อ ไข่ ใส่ ใน กะทะ ตั้ง บน เตา ไฟ ให้ สุก.
      สะเออะ หน้า (709:8.1)
               คือ เผยอ หน้า ขึ้น, เช่น คน ชาย หญิง ไม่ เจียม ตัว เหน ผู้ อื่น ดี กว่า ตัว, เขา พูจ กัน แล เผยอ เสือก ดวง หน้า พลอย พูจ กับ เขา.
สก (709:9)
         คือ เสด็ด น้ำ, เช่น คน จะ ทำ แป้ง เอา เข้า สาร ลง แช่ น้ำ แล้ว สง ขึ้น ใส่ ตะแกรง ไว้ จน สิ้น น้ำ เสด็ด น้ำ, ว่า น้ำ สก
สกกะปรก (709:10)
         คือ การ ที่ โสโครก ไม่ สอาจ นั้น.
สัก (709:11)
         คือ เอา* เหล็ก เล็ก ๆ ยาว ลง ตำ ใน น้ำ ฤๅ ใน ดิน เพื่อ จะ หา ของ ที่ ตก ฤๅ ของ ที่ ฝัง อยู่ ใน ดิน. อย่าง หนึ่ง เขา เอา เหล็ก แหลม แทง ที่ ข้อ มือ คน เปน ตัว อักษร.
สักกา (709:12)
         คือ ลูก สักกา ที่ เขา เอา งา ช้าง กลึง เปน ลูก กลม เท่า ลูก สะบ้า ที่ เด็ก มัน เล่น นั้น.
สักโก (709:13)
         ฯ แปล ว่า พระอินทร์, เปน พระยา เทวดา ใน ชั้น ดา วะดึงษ์.
สักกะราช (709:14)
         คือ ความ กำหนด ตั้ง แต่ วัน พระเจ้า นิพพาน มา จน ถึง ทุก วัน นี้, ว่า เปน ปี เปน เดือน เปน วัน เท่า นี้.
สักกระวา (709:15)
         เปน คำ ต้น บท เพลง อย่าง หนึ่ง, เรียก ว่า สัก กระวา นั้น.
สักขา (709:16)
         คือ การ ที่ เอา เหล็ก แหลม แทง ที่ ขา ภอ เลือด ออก ซิบ ๆ, แล้ว เอา เขม่า มึก ทา ให้ ดำ, เช่น พวก ลาว ทำ ที่ ขา นั้น.
สักขี (709:17)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง กลาง อย่าง หนึ่ง, เปน ต้นไม้ ใน ป่า มัน เกิด เอง คน เอา มา ทำ ยา ได้ นั้น.
สัก ข้อ มือ (709:18)
         คือ เขา เอา เหล็ก สำหรับ สัก แทง ลง ตาม เส้น หมึก ที่ เขียน ลง ที่ ข้อ มือ, ว่า เปน บ่าว นาย นั้น.
สัก ชะรา (709:19)
         คือ คน แก่ อายุ มาก กว่า เจ็ดสิบ, เขา สัก ที่ ข้อ มือ ว่า เปน คน ชะรา ไม่ ใช้ ราชการ นั้น.
สัก ดำ (709:20)
         คือ เขา เอา เหล็ก สำหรับ สัก แทง ที่ ข้อ มือ ภอ เลือด ออก ซิบ ๆ แล้ว เอา หมึก ทา ลง นั้น.
สัก แดง (709:21)
         คือ เอา เหล็ก สำหรับ สัก แทง ลง ที่ ข้อ มือ ภอ เลือด ออก ซิบ ๆ แล้ว เอา ชาด ทา ลง นั้น.
สัก แต่ ว่า (709:22)
         คือ เปนแต่ว่า.
สัก เท่า ไร (709:23)
         คือ ประมาณ เท่า ไร.
สัก หน้า (709:24)
         คือ เอา เหล็ก สำหรับ สัก แทง ลง ที่ หน้า. แล้ว เอา หมึก ทา ลง, สัก หน้า นี้ แต่ คน ต้อง โทษ หลวง นั้น.
สัก หนิด สักน่อย (709:25)
         คือ ของ ประมาณ หนิด ประมาณ น่อย หนึ่ง นั้น.
สัก น้อย (709:26)
         คือ ประมาณ เวลา น่อย หนึ่ง นั้น.
สัก ประเดี๋ยว (709:27)
         คือ ประมาณ เวลา บัดเดี๋ยว.
สัก พิกาล (709:28)
         คือ พิกาล เปน คน ขา หัก เปน ต้น, เขา สัก ไว้ ไม่ เกณฑ์ ราชการ นั้น.
สัก เล็ก สัก น้อย (709:29)
         คือ ประมาณ เล็ก ประมาณ น้อย หนึ่ง นั้น.
สัก สิทธิ์ (709:30)
         คือ การ สำเร็ทธิ์ ประจักษ์, เช่น คน ไท บน เจ้า ผี ฃอ ให้ การ ของ ตัว สำเร็ทธิ์, การ นั้น สำเร็ทธิ์, ว่า บน นั้น สักสิทธิ์.
สัก หา ของ (709:31)
         คือ เอา เหล็ก เท่า เหล็ก แซ่ ปืน, ปลาย มัน แหลม แทง ลง ที่ พื้น ดิน, เพื่อ จะ หา ของ ที่ ฝัง ไว้ ลืม ที่ ไป นั้น.

--- Page 710 ---
ศักขี พยาน (710:1)
         คือ บุคคล เปน ผู้ อาจ เพื่อ จะ รู้ ใน มูล ความ ที่ เกิด ขึ้น นั้น.
ศักดิ (710:2)
         คือ คน ที่ ตั้ง อยู่ ใน ที่ ทำ ราชการ, เปน ขุนหมื่น เปน ต้น, ว่า เปน คน มี ศักดิ นา นั้น.
      ศักดิ์ ใหญ่ (710:2.1)
               คือ ยศ ศักดิ์ ใหญ่ เช่น ขุนนาง ท่าน ตั้ง เปน เจ้าพระ ยา นา หมื่น นั้น.
      ศักดิ นา (710:2.2)
               คือ ถานา ศักดิ, เช่น คน เปน ขุนหมื่น เปน ต้น, ว่า เปน คน มี ศักดิ นา นั้น.
      ศักดิ์ ไม้ (710:2.3)
               คือ ปรับ เอา ทรัพย์ ตาม ถาน ทำ ด้วย ไม้, ตาม กฎ หมาย นั้น.
      ศักดิ์ มีด (710:2.4)
               คือ ปรับ เอา ทรัพย์ ตาม ถาน กระทำ เขา ด้วย เหล็ก นั้น, จะ ปรับ แยก ตาม เครื่อง อาวุธ หามิได้.
      ศักดิ์ มือ (710:2.5)
               คือ ความ ปรับ ไหม, เช่น คน วิวาท กัน แล ชก ตี กัน, ฝ่าย ข้าง หนึ่ง มี รอย บาด แผล เพราะ มือ, ก็ ปรับ ผู้ ทำ นั้น เปน ถาน ศักดิ์ มือ, คือ ปรับ เอา ทรัพย์ แต่ น้อย, ถ้า มี บาด แผล เพราะ ไม้ ฤๅ เหล็ก ก็ ปรับ มาก กว่า ทำ ด้วย มือ, ถ้า มี แผล เพราะ เหล็ก ปรับ มาก กว่า มือ กว่า ไม้ นั้น.
      ศักดิ์ เหล็ก (710:2.6)
               คือ ปรับ ไหม เอา ทรัพย์ ตาม ถาน ที่ กระทำ กับ เขา ด้วย เหล็ก มาก กว่า ทำ ด้วย มือ แล ไม้ นั้น.
      ศักดิ์ แสง (710:2.7)
               คือ คน มี บันดา ศักดิ์, เขา ว่า คน นั้น มี ศักดิ์ แสง นั้น.
      ศักดิ์ ศรี (710:2.8)
                คือ คน มี ยศ ศักดิ์, เขา ว่า ผู้ นั้น มี ศักดิ์ มี ศรี นั้น.
      ศักดิ์ หิน (710:2.9)
               คือ ปรับ ไหม ด้วย ศักดิ์ ไม้, เช่น คน ต้อง ปรับ เพราะ ทำ เขา ด้วย หิน ก็ ปรับ เสมอ ด้วย ศักดิ์ ไม้ นั้น.
      ศักดิ์ อิฐ (710:2.10)
               คือ ปรับ ไหม ด้วย ศักดิ์ ไม้, คน ทำ เขา มี บาด แผล เพราะ อิฐ ก็ ปรับ เสมอ ศักดิ์ ไม้.
ศักดา (710:3)
         คือ ฤทธิ์ เดช, เช่น คน ที่ มี ฤทธิ์ เดชา นุภาพ แต่ ก่อน นั้น, เขา ว่า มี ศักดา นุภาพ.
      ศักดา นุภาพ (710:3.1)
               คือ คน มี อานุภาพ เพราะ มี ยศ ศักดิ์ นั้น.
สาก (710:4)
         คือ ไม้ ฤๅ หิน ฤๅ เหล็ก, ที่ เขา ทำ กลม ๆ ยาว สัก สอง ศอก คืบ, แล คืบ เสศ, แล หก นิ้ว, สำหรับ ตำ ของ ใน ครก นั้น.
      สาก กะเดื่อง (710:4.1)
               คือ ของ ที่ เขา ทำ ไม้ เปน คัน, ใส่ เข้า ใน มัน เอยียบ ลง ด้วย ตีน ให้ มัน กะดก ขึ้น ตำ ลง ใน ครก นั้น.
      สาก กะเบื้อง ถ้วย (710:4.2)
               คือ สาก เขา ทำ ด้วย ดิน กระเบื้อง ถ้วย, สำ หรับ กวน ยา เปน ต้น, ใน ชาม สำหรับ กวน นั้น.
      สาก กะเบือ (710:4.3)
               คือ ไม้ สาก ที่ สำหรับ ตำ กับ ครก กะเบือ, ตำ พริก ใน ครัว ไฟ นั้น.
      สากะยะ บุตร์ (710:4.4)
               ฯ ว่า คน เปน ลูก พระ สากยะ มุนี ธรรม นั้น.
      สากะยะ มุนี (710:4.5)
               ฯ ว่า เปน ชื่อ แห่ง คน เปน มุนี, เชื้อ วงษ สาก ยะราช นั้น.
      สากะยะ ราช (710:4.6)
               ฯ เชื้อ วงษ กระษัตริย์ ที่ ไม่ ให้ สกุล วงษ อื่น เข้า ร่วม วงษ เปน ผัว เมีย แต่ ใน พวก วงษ สกูล เดียว กัน นั้น.
      สาก ไม้ (710:4.7)
               คือ ของ ที่ เขา เอา ไม้ มา ทำ สำหรับ ตำ ของ มี เข้า เปน ต้น ใน ครก ให้ แหลก นั้น.
      สาก เหล็ก (710:4.8)
               คือ สาก เขา ทำ ด้วย เหล็ก สำหรับ ตำ กับ ครก เหล็ก นั้น.
      สาก แห้ง (710:4.9)
               คือ ของ เขา ตาก ไว้ แห้ง ทับท้าน เข้า, เช่น ของ มี ใบ ไม้ เปน ต้น, มัน แห้ง ใหม่ ๆ เขา ว่า แห้ง ผาก ๆ.
      สาก หิน (710:4.10)
               คือ สาก เขา ทำ ด้วย หิน สำหรับ ตำ กับ ครก หิน นั้น.
สิก (710:5)
         คือ เสียง ดัง สิก ๆ, เช่น คน มี ความ ทุกข์ เศร้า โศก แล ร้องไห้ ซิก ๆ นั้น.
สิกขา (710:6)
         ฯ แปล ว่า สำเนียก, ความ คล้าย กับ สังเกต แล แล* กำหนด, เช่น คน จำ ได้ ว่า เรา เคย นุ่ง ผ้า ห่ม ผ้า กิริยา อย่าง นั้น เปน ต้น.
      สิกขา บท (710:6.1)
               ฯ แปล ว่า บท แห่ง สิกขา, มี ศีล ห้า เปน ต้น นั้น.
สึกษา หาฤๅ (710:7)
         คือ ปฤกษา กัน ด้วย ข้อ ความ อัน ใด ๆ ว่า ผู้ ใด จะ เหน อย่าง ไร บ้าง นั้น.
ศึก (710:8)
         คือ ร่อย หรอ เหี้ยน หมด เข้า ไป, เช่น คม มีด เปน ต้น, ลับ ถา* มัน เหี้ยน เข้า ไป ว่า ศึก อย่าง หนึ่ง คน บวช เปน ภิกขุ ฤๅ สำมะเณร, แล้ว ลา สิกขา บท มา เปน คฤหัฐ นั้น.
      ศึก หน้า เมีย (710:8.1)
               คือ การ รบ พุ่ง ต่อ หน้า ภรรยา, มี ความ มานะ กล้า อยาก จะ เอา ไชย ชะนะ นั้น.
      ศึก ไป (710:8.2)
               คือ ของ ที่ ใช้ มัน ร่อย หรอ เหี้ยน ไป นั้น.
      ศึก สงคราม (710:8.3)
               คือ ทำ การ รบ พุ่ง ยุทธ สู้ กัน, เช่น ต่าง คน ต่าง เกณฑ์ พล ทหาร เข้า สู้ รบ กัน นั้น.

--- Page 711 ---
      ศึก เสือ เหนือ ใต้ (711:8.4)
               คือ คำ พูจ ถึง การ ศึก สงคราม, ว่า มี ศึก เสือ เหนือ ใต้ อย่าง นี้ บ้าง.
สุก (711:1)
         คือ เข้า เขา หุง สุก ฤๅ ผล ไม้ มัน แก่ ห่าม แล้ว สุก มี รศ หวาน. อย่าง หนึ่ง ศรี สุก ใส นั้น.
      สุกกรม (711:1.1)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ ใหญ่ ใน ป่า, ใบ มัน รี ๆ มี ผล สุก แดง เขา ทำ ยา ได้ นั้น.
      สุกร (711:1.2)
               ฯ แปล ว่า หมู, เปน สัตว สี่ เท้า เนื้อ เปน น้ำ มัน กิน มี รศ กว่า สัตว ทั้ง ปวง.
      สุกรี (711:1.3)
               เปน หมู ตัว เมีย นั้น.
      สุคะติ (711:1.4)
               คือ ที่ เปน ที่ ไป ดี, เช่น โลกย์ มะนุษ ฤๅ โลกย์ สวรรค์ ฤๅ โลกย์ พรหม นั้น.
      สุก งอม (711:1.5)
               คือ ผลไม้ ที่ สุก เต็ม ที เกือบ จะ เน่า นั้น.
      สุก จำบ่ม (711:1.6)
               คือ ผลไม้ ที่ มัน ยัง ไม่ แก่ ดี, คน เก็บ เอา มา บ่ม มัน จำสุก ไม่ สู้ ดี นั้น.
      สุก ดิบ (711:1.7)
               คือ ผลไม้ ที่ สุก แล ดิบ.
      สุก ใส (711:1.8)
               คือ ของ ที่ ศรี แสง แดง แจ่ม ใส, เช่น ดวง อาทิตย เปน ต้น, เมื่อ เมฆ หมอก ไม่ ปิด บัง นั้น.
      สุก ศรี (711:1.9)
               คือ ศรี แสง สุก ใส, เช่น ของ มี ผ้า ศรี แดง เปน ต้น คน เหน ศรี สุก แดง งาม นั้น.
      สุกอร่าม (711:1.10)
               คือ ของ ที่ เขา เอา ทอง ปิด เข้า ไว้ เหน เหลือง เรือง รอง อยู่ ฤๅ ผล ไม้ ที่ สุก เหลือง นั้น.
ศุข (711:2)
         อะธิบาย ว่า คน มี ความ สะบาย ไม่ มี ทุกข โศก โรค ไภย อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น.
      ศุข แก่ ใจ (711:2.1)
               คือ คน รูป กาย เศร้า หมอง, แต่ ใจ นั้น มี ความ ศุข สะบาย ชื่น ชม อยู่ นั้น.
      ศุข แก่ ตา (711:2.2)
               คน มี ความ ทุกข ยาก ใจ ไม่ สะบาย, แต่ รูป กาย ตก แต่ง สะสรวย งาม นั้น.
      ศุข กระเษม (711:2.3)
               คือ ปรี เปรม ชื่น รื่น เริง ใน ใจ, ด้วย ไม่ มี ไภย อุปัทะวะ อัน ใด เข้า เบียดเบียฬ นั้น.
      ศุข กระเษม เปรมปรีดิ์ (711:2.4)
               คือ ความ ยินดี ปรีเปรม ใน ใจ นั้น.
      ศุขี (711:2.5)
               แปล ว่า มี ความ ศุข นั้น.
      ศุโขไทย (711:2.6)
               เปน ชื่อ เมือง ใหญ่ เมือง หนึ่ง, อยู่ ฝ่าย ข้าง ทิศ เหนือ มี ไม้ ซุง สัก มาก นั้น.
      ศุกขะปักขะ (711:2.7)
               คือ กาล ข้าง เดือน ขึ้น สิบห้า วัน, ถึง วัน เมื่อ เดือน เพง เต็ม สิบห้า วัน นั้น.
      ศุข สำราญ (711:2.8)
               คือ ความ ชื่น รื่น ขะเษม ใจ, เช่น คน มี ใจ ปรี ดา ปราโมช เพราะ ได้ ลาภ เปน ต้น.
      ศุข สะบาย (711:2.9)
               คือ ความ ผา ศุข ชื่น ชม ปรีดา ปราโมช, ไม่ มี ความ อันตราย มา ย่ำ ยี ให้ ได้ ความ เดือด ร้อน นั้น.
เสกข บุคคล (711:3)
         คือ บุคคล ที่ ยัง ต้อง ฝึก สอน เล่า เรียน อยู่ เพื่อ จะ ให้ ถึง ซึ่ง มัค แล ผล นั้น.
เศก (711:4)
         คือ คน มี วิชา ทำ การ อ่าน สวด เวท มนต์ พ่น ปัด ดับ พิศม์ เปน ต้น, ให้ พิศม์ หาย นั้น.
      เศก คาถา (711:4.1)
               คือ โอม อ่าน บริกรรม คาถา, เช่น คน จะ ทำ การ เปน ต้น, ว่า ทำ ตัว ให้ อยู่ คง ฟัน แทง ไม่ เข้า แล สวด บริ กรรม คาถา.
      เศก น้ำ (711:4.2)
               คือ เอา น้ำ ใส่ ภาชนะ ลง แล้ว บริกรรม คาถา เพื่อ จะ ให้ มี คุณ ต่าง ๆ นั้น.
      เศก น้ำ มนตร์ (711:4.3)
               คือ ตั้ง ม่อ น้ำ ไว้ แล้ว อ่าน มนตร์ หวัง จะ ให้ น้ำ มี วิเสศ เปน มงคล จำเริญ.
      เศก สรรพ์ (711:4.4)
               คือ แกล้ง กล่าว ว่า ความ ไม่ จริง ใส่ ให้, เขา ว่า คน นั้น แกล้ง เศกสรรพ์ พรรณนา นั้น.
      เศก อาคม (711:4.5)
               คือ อ่าน มนตร์ บริกรรม บท มนตร์, เพื่อ จะ ทำ วิธี ความ รู้ ให้ กัน อันตราย.
แสก (711:5)
         คือ ที่ ตรง กะดูก สอง อัน ต่อ กัน ประสาน กัน เปน ต้น, ถึง ของ อื่น ก็ เรียก แสก,
      แสก กระบาน ศีศะ (711:5.1)
               คือ ที่ แผ่น กะดูก หัว สอง อัน ต่อ กัน ติด ประจบ กัน ที่ ตรง กลาง หัว นั้น.
      แสก แถก (711:5.2)
               คือ เอา มีด สำหรับ โกน ผม แถก ลง ตรง แสก ผม นั้น.
      แสก หน้า (711:5.3)
               คือ ที่ ตรง หน้า ผาก ที่ ตรง กลาง ระหว่าง นั้น, ถึง ไม่ เหน รอย แสก ก็ เรียก แสก หน้า.
      แสก ผม (711:5.4)
               คือ หว่าง เส้น ผม ตรง กลาง หว่าง กระบาน หัว นั้น ถึง ไม่ เหน รอย ผม แหวก ก็ เรียก แสก ผม.
      แสก หัว (711:5.5)
               คือ ที่ ระหว่าง กลาง ศีศะ, บันดา คน ชาย หญิง ทั้ง หมด ย่อม มี แสก ที่ หัว ทุก คน.

--- Page 712 ---
โสก (712:1)
         แห้ง, คือ ความ เศร้า ใจ, อะธิบาย ตาม สับท์ ว่า ความ ที่ กระทำ ใจ ให้ เหือด แห้ง ไป นั้น.
      โสก ถึง (712:1.1)
               คือ ความ โศก เช่น ว่า, บังเกิด ขึ้น เพราะ คิด ถึง เหตุ ที่ เปน ที่ รัก เปน ต้น นั้น.
      โสก โสกา (712:1.2)
               คือ ความ เศร้า โศก ทะวี ยิ่ง นั้น.
      โสก โสกี (712:1.3)
               คือ หญิง มี ความ โศก เศร้า นั้น.
      โสก เศร้า (712:1.4)
               คือ ความ โศก บังเกิด ขึ้น แล้ว มี ใจ เหงา ซบเซา ไป ไม่ เปน ปรกติ อยู่ นั้น.
      โสก ศัลย์ (712:1.5)
               คือ ความ โศก เช่น ว่า นั้น, แต่ คำ ศัลย์ นั้น, ว่า เสียบ แทง ใน ใจ เปน นิจ นั้น.
      โสก หา (712:1.6)
               คือ ใจ เศร้า โศก เพราะ ความ วิโยค พรัดพราก จาก บุตร ภรรยา แล เที่ยว หา เปน ต้น นั้น.
สอก (712:2)
         คือ อะไวยะวะ ที่ กาย มนุษ, ตั้ง แต่ ข้อ กลาง ต่อ แขน ออก ไป ตลอด จน ปลาย นิ้ว กลาง นั้น.
      สอก กำมา (712:2.1)
               คือ ศอก เช่น ว่า, แต่ ไม่ เอา ทั้ง เหยียด นิ้ว มือ เอา เพียง ที่ กำ นิ้ว มือ เข้า ไว้ นั้น, เรียก ศอก กำมา แล.
      สอก ขนาด (712:2.2)
               คือ ศอก กำหนด เอา ศอก อย่าง ไม้ วา, ตาม มี ใน ที่ ใช้ วัด อัน ใด ๆ ใน ราช การ นั้น.
      สอก หลวง (712:2.3)
               คือ ศอก ขนาด เขา ใช้ วัด ของ อัน ใด ๆ มี วัด สวน ฤๅ นา เปน ต้น นั้น.
เสือก (712:3)
         คือ รุน ฤๅ ไส, เช่น คน ช่าง ไม้ ที่ เอา กบ เสือก รุน ไป จะ ให้ กะดาน เกลี้ยง.
      เสือก เข้า (712:3.1)
               คือ ใส่ ซน เข้า.
      เสือก ไป (712:3.2)
               คือ ซน รุน ไป, เช่น คน ซน รุน ดุ้น ฟืน เข้า ใน เตา ไฟ เพื่อ จะ หุง ต้ม นั้น.
      เสือก มา (712:3.3)
               ไส มา รุน มา, เช่น คน ไส ไม้ เปน ต้น, มา ข้าง เรา นั้น.
      เสือก ร้น เข้า ไป (712:3.4)
               เสือก ซน เข้า ไป.
      เสือก ไส (712:3.5)
               เสือก ส่ง, อาการ ที่ คน จับ เอา กบ เครื่อง มือ แล้ว รุน ไป เสือก ไป เพื่อ จะ ทำ ให้ ไม้ เกลี้ยง นั้น.
      เสือก ส่ง เสีย (712:3.6)
               อาการ ที่ คน ไส ส่ง ไป เสีย.
      เสือก สน (712:3.7)
               อาการ ที่ คน วุ่นวาย, เช่น คน มี ธุระ ร้อน แล้ว เที่ยว ไป มา หา คน โน้น คน นี้.
      เสือก ให้ (712:3.8)
               เสือก ไส, อาการ ที่ คน ไส ให้ รุน ให้, คน จับ เอา ของ แล้ว ซน ให้ รุน ให้ ไส ให้ นั้น.
      เสือก ออก (712:3.9)
               ไส ออก, อาการ ที่ คน ไส ออก ซน ออก, คน จับ เอา ของ แล้ว ไส ออก ซน ออก นั้น.
สง (712:4)
         เปน ชื่อ คน อย่าง นี้ บ้าง. อย่าง หนึ่ง เขา เอา เข้า แช่ น้ำ ไว้ แล้ว เอา ขึ้น จาก น้ำ, ว่า สง เข้า ขึ้น ไว้ นั้น.
สงกรานต์ (712:5)
         คือ กาล เมื่อ ถึง เดือน ห้า, แล พวก โหร ทำ เลข คูณ หาร รู้ เวลา อาทิตย์ ย้าย ราศรี, คือ ยก จาก ราศรี มิญ ไป สู่ ราศรี เมศ ปี ละ หน นั้น.
สงขลา (712:6)
         เปน เมือง แห่ง หนึ่ง, อยู่ ทิศ ใต้ ใกล้ กับ เมือง นะ คร ศรี ธรรมราช อยู่ ใกล้ ทะเล.
สงคราม (712:7)
         คือ การ รบ พุ่ง ทำ ศึก กัน นั้น.
สงเคราะห์ (712:8)
         ถือ เอา พร้อม, ยัง ประโยชนะ แห่ง ผู้ อื่น ให้ สำ เร็ทธิ์, โดย ความ เมตตา ปรานี นั้น.
สงฆ์ (712:9)
         เปน ชื่อ สาวก ของ พระเจ้า, บันดา สาวก ของ พระ เจ้า ที่ บวช เปน ภิกขุ นั้น.
      สงฆ สาวก (712:9.1)
               คือ พระสงฆ์ ที่ เปน ผู้ เชื่อ ฟัง คำ พระเจ้า นั้น.
สง น้ำ (712:10)
         อาบ น้ำ, คือ อาการ ที่ คน อาบ น้ำ, เรียก ว่า สง น้ำ, ว่า เปน คำ สูง สำหรับ เจ้า เปน ต้น.
สง พระ ภักตร์ (712:11)
         คือ ล้าง หน้า, เรียก ว่า สง พระ ภักตร์, ว่า เปน คำ สูง สำหรับ เจ้า เปน ต้น.
สงสาระวัฏ (712:12)
         คือ การ ที่ คน ตาย แล้ว เกิด ๆ แล้ว ตาย เวียน อยู่ ใน ภพ น้อย ภพ ใหญ่ นั้น.
สงไสย (712:13)
         คือ ความ ฉงน สนเท่ห์, เช่น คน สงไสย ใน เหตุ ต่าง ๆ มี ฟ้า แล ดิน เปน ต้น.
      สงไสย สนเท่ห์ (712:13.1)
               คือ ความ ฉงน คิด สงไสย อัน ใด ๆ นั้น.
สง สนาน (712:14)
         อาบ น้ำ, คือ อาบ น้ำ แล มี เครื่อง สำหรับ ขัดสี, เช่น ซ่าบู่ เปน ต้น, ว่า สง สนาน นั้น เปน คำ สูง, สำหรับ เจ้า เปน ต้น.
สงสาร เอ็น ดู (712:15)
         คือ ความ เมตตา กรุณา, เช่น คน เหน คน ที่ ต้อง ทุกข ร้อน แล คิด ปรานี เมตตา นั้น.
ส่ง (712:16)
         ยื่น, คือ ยื่น ของ ให้,* อย่าง หนึ่ง เขา ร้อง บท ลคอน, ฤๅ เสภา ที่ คำ สุด ให้ เขา ตี ปี่พาทย์ รับ นั้น.

--- Page 713 ---
      ส่ง กัน (713:16.1)
               ยื่น ให้ กัน, คือ ยก ของ ขึ้น ยื่น ให้ แก่ กัน. ฤๅ เอา เรือ รับ คน ข้าม น้ำ ไป ให้ ขึ้น ถึง ฟาก ข้าง โน้น นั้น.
      ส่ง ของ (713:16.2)
               คืน ของ, คือ ยก ของ อัน ใด ๆ ส่ง ยื่น ไป, คน จะ มี ที่ ไป แล หยิบ ยก เอา ของ ยื่น ไป นั้น.
      ส่ง ขวัน เข้า (713:16.3)
               การ ที่ เขา เอา บายศรี แล ขนม กับ หัว หมู ไป ให้ กับ หมอ ผู้ รักษา โรค หาย นั้น.
      ส่ง คน (713:16.4)
               คือ เอา ตัว คน ไป มอบ ให้ กับ ผู้ อื่น, เช่น มี ความ ที่ ตัว คน แล เขา เร่ง เอา ตัว, ผู้ หนึ่ง เอา ตัว คน ผู้ นั้น ไป มอบ ให้.
      ส่ง ความ (713:16.5)
               คือ ส่ง ข้อ คะดี* เนื้อ ความ ให้ คน อื่น, เช่น คน เปน ขุนศาล ผู้ ชำระ, เอา ข้อ ความ ส่ง ให้ ลูกขุน ผู้ ชี้ ขาด ตัด สิน.
      ส่ง ตัว (713:16.6)
               คือ นำ เอา ตัว ไป มอบ ให้, เช่น สู่ ฃอ เปน ผัว เมีย กัน, แล ถึง วัน กำหนด เขา นำ เอา ตัว หญิง ไป มอบ ให้ แก่* ศย* นั้น.
      ส่ง ทุกข (713:16.7)
               คือ การ ที่ ใป ถ่าย อุจจาระ นั้น.
      ส่ง ไป (713:16.8)
               คือ นำ ของ สาระพัด ทุก อย่าง ไป ให้, ฤๅ หยิบ ยก ฃอง ทุก อย่าง ยื่น ไป ให้ เฃา นั้น.
      ส่ง มา (713:16.9)
               คือ เขา นำ เอา ของ มา ให้, ฤๅ หยิบยก เอา ของ อัน ใด ยื่น มา นั้น.
      ส่ง แล้ว (713:16.10)
               คือ ส่ง คน ฤๅ ส่ง ของ ไป แล้ว ฤๅ ส่ง มา เสร็จ สำเร็จ ไม่ มี เหลือ นั้น.
      ส่ง ไว้ (713:16.11)
               มอบ ไว้, การ ที่ เอา ของ ฤๅ คน ฤๅ สัตว์ ไป มอบ ไว้ ใน ที่ ใด ที่ หนึ่ง, มี บ้าน เรือน เปน ต้น.
      ส่ง เสียง (713:16.12)
               คือ ร้อง ด้วย เสียง ดัง, เพื่อ จะ ให้ ผู้ อื่น ได้ ยิน นั้น
      ส่ง สัจ (713:16.13)
               คือ ส่ง ข้อความ ที่ พิจารณา เปน สัจ แล้ว, ไป ให้ ลูก ขุน เปน ผู้ ปรับ นั้น.
      ส่ง ลาน (713:16.14)
               การ ที่ เขา นำ เอา ใบลาน มา แต่ ป่า, เอา มา ส่ง มอบ เจ้าพนักงาน สำหรับ จาน หนังสือ หลวง เปน ต้น นั้น.
      ส่ง ส่วย (713:16.15)
               คือ นำ เอา ของ หลวง ที่ เกณฑ์ เอา แก่ ราษฎร, มี เงิน คน ละ สาม ตำลึง เปน ต้น, ไป มอบ ให้ แก่ เจ้าพนักงาน, ปี ละ หน นั้น.
      ส่ง เสีย (713:16.16)
               คือ การ ที่ ส่ง ให้ คน ไป สู่ ที่ อื่น นั้น.
      ส่ง ให้ (713:16.17)
               ยื่น ให้, การ เขา นำ เอา คน, ฤๅ หยิบ เอา ของ ไป มอบ แก่ ผู้ รับ เปน ต้น * นั้น.
      ส่ง ออก ไป (713:16.18)
               ยื่น ออก ไป, การ ที่ เขา นำ เอา ตัว คน ฤๅ หยิบ ยก เอา ของ ออก จาก เมือง ออก จาก บ้าน ไป เปน ต้น นั้น.
สัง (713:1)
         คน ชื่อ สัง มี บ้าง, คน ทั้ง ปวง มี ชื่อ ต่าง ๆ เปน ต้น ว่า ชื่อ มี ชื่อ มา ชื่อ สัง บ้าง.
สังกิเลศ (713:2)
         ฯ แปล ว่า, ของ สำหรับ ให้ เศร้า หมอง พร้อม, ของ นั้น คือ โลโภ เปน ต้น.
สังกะระณี (713:3)
         คือ ของ เปน ต้น ไม้ เครื่อง อยา อย่าง หนึ่ง, มี ใน ป่า เขา เก็บ เอา มา ทำ อยา บ้าง.
สังกะสี (713:4)
         คือ ของ เปน เนื้อ แน่น ศรี คล้าย กับ ดีบุกข์, เขา เอา มา ประกอบ กับ ดีบุกข์ ให้ แขง, หล่อ ตัว อักษร พิมพ์ บ้าง นั้น.
สังกัด (713:5)
         การ ที่ คน สะกัด กั้น, เช่น คน ฤๅ สัตว มัน วิ่ง มา, สะกัด ไว้ จะ ไม่ ให้ มัน ไป นั้น.
สังเกต (713:6)
         คือ ความ กำหนด หมาย สิ่ง ใด สิ่ง หนึ่ง, มี เวลา ฤๅ หนัง สือ เปน ต้น นั้น.
      สังเกต ดู (713:6.1)
               คือ การ ที่ คอย กำหนด ดู พิเคราะห์ ดู นั้น.
      สังเกต ตาม (713:6.2)
               คือ การ ที่ กำหนด หมาย ตาม เวลา, ฤๅ ความ อัน ใด เปน ต้น นั้น.
      สังเกต สังกา (713:6.3)
               คือ ความ กำหนด หมาย เช่น ว่า นั้น, แต่ สัง กา นั้น เปน คำ สร้อย.
สังข (713:7)
         รูป หอย สังข์, เขา ถือ ว่า มัน เปน มงคล อาจ ให้ ถึง ความ เจริญ ด้วย เอา น้ำ ใส่ ลง ใน มัน แล้ว รด ลง ที่ ตัว คน.
สังขารา (713:8)
         ฯ เปน ของ ไม่ มี รูป, เรียก ว่า เจตะสิก, มี โลโภ, แล โทโส, แล โมโห, เปน ต้น, เรียก ว่า เจตะสิก เพราะ ของ สาม สิ่ง เปน ต้น นี้, มัน เกิด กับ ดับ พร้อม กับ ด้วย จิตร.
สังขาระทุกข์ (713:9)
         ฯ ว่า ความ ทุกข์ เกิด ขึ้น เพราะ มี รูป นั้น.
สังขาร (713:10)
         ฯ คือ รูป กาย บ้าง.
      สังขาร ธรรม (713:10.1)
               ฯ ว่า รูป กาย บ้าง.
สังขลา (713:11)
         เปน ชื่อ เมือง ขึ้น อยู่ ฝ่าย ใต้ กรุงเทพ, เมือง หนึ่ง.

--- Page 714 ---
สังขยา (714:1)
         ฯ แปล ว่า นับ ตั้ง แต่ หนึ่ง เปน ต้น. อย่าง หนึ่ง เปน ชื่อ ของ หวาน. อย่าง หนึ่ง เขา ทำ ด้วย ไข่ กับ น้ำ ตาน ทราย.
สังขะลิก (714:2)
         ฯ แปล ว่า โซ่ กรวน, เปน เครื่อง จำ, เปน คำ ทับ ศับท์.
สังเขป แปล ว่า ย่อ (714:3)
         เช่น เรื่อง ความ, ใน หนังสือ ตำนาน นิทาน มี มาก แต่ เขา ว่า แต่ น้อย, รวบ รัด เข้า ภอ ให้ จบ นั้น.
สังคะโลกย์ (714:4)
         เปน ชื่อ เมือง ใน กรุงเทพ, อยู่ ฝ่าย เหนือ เมือง หนึ่ง.
สังคะหะ (714:5)
         ฯ แปล ว่า ถือ เอา พร้อม, เช่น คน จัดแจง ธุระ ต่าง ๆ ให้ แก่ คน เปน ต้น นั้น.
สังคีต (714:6)
         แปล ว่า เพลง ขับ บันดา ที่ เขา ร้อง เปน คำ เพลง, มี เสภา เปน ต้น นั้น.
สังฆาฏิ (714:7)
         ฯ เปน ชื่อ ผ้า สำหรับ พระสงฆ์ ห่ม.
สังฆาฏะนะรก (714:8)
         ฯ เปน ชื่อ นะรก ขุม หนึ่ง, ขุม นั้น มี นาย นิริยบาล เที่ยว ไล่ ฟัน แทง ทุบ ตี ฝูง สัตว ใน นะรก ขุม นั้น, เปน นิจ.
สังฆายะนาย (714:9)
         ฯ แปล ว่า, ร้อย กรอง จัดแจง ลำ ดับ เรียบ เรียง เรื่อง ราว ไว้ ให้ ดี นั้น.
สังฆาราม (714:10)
         ฯ ว่า วัต เปน ที่ อยู่ แห่ง สงฆ์.
สังฆะ (714:11)
         แปล ว่า หมู่, ภิกษุ ตั้ง แต่ สี่ รูป ว่า สังฆะ.
      สังฆะกิจ (714:11.1)
               ฯ แปล ว่า กิจ แห่ง หมู่ ภิกขุ, กระทำ ตาม โอวาท ที่ บัญญัติ เปน ต้น*.
      สังฆกรรม (714:11.2)
               ฯ ว่า กิจ การ แห่ง สงฆ์.
      สังฆะ ทาน (714:11.3)
               ฯ คือ เข้า แล น้ำ เปน ต้น เขา ให้ แก่ สงฆ์.
      สังฆะเภท (714:11.4)
               ฯ คือ ทำ ให้ พระ สงฆ์* แตก จาก กัน ไม่ ประพฤติ์ เปน อัน เดียว กัน.
      สังฆะราช (714:11.5)
               ฯ แปล ว่า เปน พระยา สงฆ์, คือ คน บวช เปน ภิกขุ ท่าน ตั้ง ให้ เปน พระยา, ได้ ว่า กล่าว บังคับ ปก ครอง พระสงฆ์.
      สังฆะราศ* (714:11.6)
               ฯ แปล ว่า เปน พระยา แห่ง สงฆ์, แต่ ไม่ เสมอ พระ สังฆะราช, ว่า ได้ แต่ เปน แห่ง ๆ นั้น.
สังฆัง (714:12)
         ฯ แปล ว่า หมู่.
สังโยค (714:13)
         ฯ แปล ว่า ประกอบ พร้อม.
สังวัทยาย (714:14)
         ฯ ว่า ท่อง, เช่น คน เล่า เรียน หนังสือ, เขา เล่า ผสม ไว้ ได้ หลาย บท แล้ว, ถึง เวลา เช้า ฤๅ เอย็น, เล่า แต่ ต้น มา จน ถึง ที่ จะ ต่อ ไป นั้น.
สังเวียน (714:15)
         คือ ที่ เขา ทำ ด้วย ไม้ ไผ่, ตี แตะ เปน วง กลม รอบ สำหรับ วาง ไก่ ให้ มัน ชน กัน.
สังวร (714:16)
         ฯ แปล ว่า สำรวม ๆ คือ ห้าม ปาก มิ ให้ กล่าว คำ เท็จ เปน ต้น, มิ ให้ กระทำ การ เปน บาป ด้วย กาย นั้น.
สังวรศีล (714:17)
         ฯ แปล ว่า สำรวมศีล, คือ ถือ ศีล แล้ว อุส่าห์ รักษา ศีล มิ ให้ ขาด นั้น.
สังวัจฉระ (714:18)
         ฯ แปล ว่า ปี.
สังวาร (714:19)
         คือ สาย สร้อย สน เปน เครื่อง แต่ง ประดับ กาย เขา ใส่ สะภาย แล่ง นั้น.
      สังวาร แฝด (714:19.1)
               คือ สาย สังวาร สอง สาย, เขา ทำ ติด กัน เปน คู่ นั้น.
สังวาศ (714:20)
         ฯ แปล ว่า อยู่ ร่วม พร้อม จิตร ใจ, เปน ผัว เมีย กัน เปน ต้น.
สังเวศ (714:21)
         ฯ ความ สลด ใจ, เช่น คน เหน สัตว ที่ ท่อง เที่ยว เวียน เกิด เวียน ตาย อยู่ เพราะ ความ ทุกข นั้น, ก็ สลด ใจ นัก.
สังสาระจักร์ (714:22)
         ฯ คือ ที่ เปน ที่ เที่ยว เวียน หัน, เหมือน กง จักร นั้น,
สังสาระธรรม (714:23)
         ฯ คือ ธรรม คือ สังฃาร แห่ง มนุษ.
สังสะระนาการ (714:24)
         ฯ แปล ว่า อาการ อัน ท่อง* เที่ยว, เอา กำเนิด เกิด ตาย ร่ำ ไป ใน ภพ น้อย ภพ ใหญ่ นั้น.
สังษกฤษ (714:25)
         คือ อักษร สังษกฤษ, เปน ต้น ว่า พุทธรรม สรณัม นั้น.
สังหร (714:26)
         ฯ คือ อธิบาย ว่า นำ ไป พร้อม, เช่น คน เอา ของ นำ ไป พร้อม ใน ที่ ใด ๆ นั้น.
สังหาร (714:27)
         ฯ คือ เผา ผลาญ ฆ่า ฟัน, เช่น คน เปน ฆ่า ศึก ผูก เวร กัน แล เบียด เบียฬ กัน นั้น.
สั่ง (714:28)
         คือ ทำ ให้ น้ำ มูก ออก จาก จมูก. อย่าง หนึ่ง จุด ปืน มัน ฟูด ออก ทาง รู ชนวน. อย่าง หนึ่ง คน บอก กัน ว่า ให้ การ เปน ต้น.

--- Page 715 ---
      สั่ง การ (715:28.1)
               คือ บอก กำชับ ว่า ให้ ทำ การ อัน ใด ๆ ฤๅ บอก ว่า ไป เถิด เปน ต้น นั้น.
      สั่ง ขี้มูก (715:28.2)
               คือ ทำ ให้ น้ำ มูก มัน ออก จาก รู จมูก นั้น.
      สั่ง ขาด (715:28.3)
               คือ สั่ง ความ อัน ใด เปน คำ ขาด ไม่ สั่ง ซ้ำ อีก นั้น.
      สั่ง ความ (715:28.4)
               คือ บอก กำชับ ว่า เรื่อง ราว มัน เปน เช่น นี้, เจ้า นำ เอา ไป บอก กับ คน นั้น ๆ.
      สั่ง งาน (715:28.5)
               คือ บอก กำชับ ว่า ให้ จัดแจง, จะ มี งาน ลคอน เปน ต้น วัน นั้น, ให้ ไป เล่น เถิด.
      สั่ง ไป (715:28.6)
               คือ บอก ว่า ไป กับ ผู้ อื่น, ว่า ให้ คน ชื่อ นั้น ทำ การ อัน นั้น เปน ต้น ฤๅ ให้ มา นั้น.
      สั่ง มา (715:28.7)
               คือ ว่า มา กับ ผู้ อื่น, ว่า ท่าน จง ไป บอก กับ คน ชื่อ นั้น ๆ ให้ มา หา เรา เปน ต้น.
      สั่งระเสิญ (715:28.8)
               คือ กล่าว คำ ยก ยอ ถึง ความ ดี ความ ชอบ แห่ง บุคคล ที่ มี ความ ดี ความ ชอบ นั้น.
      สั่ง แล้ว (715:28.9)
               บอก แล้ว, คือ บอก กำชับ แล้ว, เช่น คน จะ ทำ การ อัน ใด ๆ แล ว่า กล่าว บังคับ แล้ว นั้น.
      สั่ง ไว้ (715:28.10)
                คือ จะ มี ธุระ ไป แล สั่ง ความ อัน ใด ๆ ไว้ นั้น.
      สั่ง สอน (715:28.11)
               ให้ โอวาท, คือ กล่าว ว่า ท่าน จง ประพฤติ์ ให้ ชอบ ฤๅ ว่า ท่าน จง เล่า หนังสือ, ตัว เขียน เช่น นี้ ก เขา ว่า ตัว กอ นั้น.
      สั่ง สม ทรัพย์ (715:28.12)
               คือ ได้ ทรัพย์ อัน ใด มา แล้ว ผสม รวบ รวม เก็บ ไว้ นั้น.
      สั่ง เสีย (715:28.13)
               คือ ความ สั่ง, แต่ เสีย นั้น เปน คำ สร้อย.
สาง (715:1)
         คือ เอา มือ ถือ หวี เข้า ครูด ของ มี ผม เปน ต้น, ลง มา จน ที่ สุด ปลาย เพื่อ จะ ไม่ ให้ ผม ยุ่ง หยอง นั้น.
      สาง กลิ่น (715:1.1)
               คือ กลิ่น ฟุ้ง ออก จาก ตัว คน ไข้ หนัก เกือบ จะ ตาย นั้น, ว่า เหมน สาง นั้น.
      สาง ด้าย (715:1.2)
               การ ที่ คน เอา มือ จับ แปรง แล้ว ครูด ลาก ลง มา เพื่อ จะ ให้ เส้น ด้าย กระจาย หาย ยุ่ง นั้น.
      สาง ผี (715:1.3)
               สาง เปน คำ สร้อย, แต่ ผี นั้น คือ ซาก สพ. อย่าง หนึ่ง คือ ปิศาจ นั้น.
      สาง ผม (715:1.4)
               การ ที่ คน เอา มือ จับ หวี เข้า ข้าง หนึ่ง, มือ ข้าง หนึ่ง ถือ กำ ผม แล้ว ครูด ลาก ลง มา นั้น
      สาง รุ่ง ขึ้น (715:1.5)
               คือ เวลา อารุณ ใกล้ จะ สว่าง แจ้ง นั้น.
      สาง เสย (715:1.6)
               คือ เอา หวี สาง ผม แล้ว เสย ขึ้น, เช่น คน ไท ทำ ผม ที่ หัว นั้น.
      สาง หัว (715:1.7)
               คือ สาง ผม ที่ หัว, คน เหน เขา สาง ผม แล้ว พูจ ว่า คน นั้น สาง หัว บ้าง นั้น.
ส่าง (715:2)
         จาง, คือ จาง จืด เสื่อม คลาย, เช่น ความ เมื่อ แรก เกิด นั้น วุ่นวาย หนัก, ครั้น นาน ก็ กระจาย จาง นั้น.
      ส่าง ไข้ (715:2.1)
               คลาย, คือ ความ ไข้ ค่อย บันเทา น้อย ลง, เช่น คน ไข้ หนัก แล้ว ความ ไข้ ค่อย น้อย ลง.
      ส่าง จับ (715:2.2)
               อาการ ที่ คน มี ความ ไข้, ถึง เวลา ไข้ มัน กำเริบ ทำ ให้ ตัว หนาว ครั่น คร้าม สั่น หนัก ถึง เวลา จะ อยุด ก็ ค่อย ซา ลง ๆ ว่า ส่าง จับ.
      ส่าง เมา (715:2.3)
               คือ ความ เมา ค่อย ซา จาง ไป ไม่ เมา เช่น เมื่อ แรก เมา คน เมา สาระพัด ค่อย จาง ออก
      ส่าง เหล้า (715:2.4)
               คือ ความ เมา เหล้า ค่อย ซา เสื่อม ลง, ไม่ เมา หนัก เช่น เมื่อ แรก เมา นั้น.
      ส่าง แสง (715:2.5)
               คือ แสง เดิม ศรี แดง เข้ม นัก, ครั้น เวลา ล่วง ไป ก็ จาง ออก นั้น.
      ส่าง เสื่อม (715:2.6)
               คือ คลาย ลง บันเทา ลง, เช่น อาการ เมา ที่ ซา ลง เหือด ลง นั้น.
      ส่าง โศก (715:2.7)
               คือ ความ โศก ค่อย จาง ห่าง ออก บันเทา ลง นั้น.
ส้าง (715:3)
         ทำ, การ ที่ เขา ก่อ ตั้ง แรก ทำ ของ อัน ใด ๆ, เช่น คน แรก จับ ก่อ ตั้ง ของ ที่ โต ใหญ่ นั้น.
      ส้าง กุศล (715:3.1)
               คือ ทำ การ ที่ เปน บุญ เปน ต้น ว่า รักษา ศีล นั้น.
      ส้าง กรรม (715:3.2)
               การ ที่ คน แรก ก่อ กระทำ การ ที่ เปน อะกุศล เปน ต้น ฆ่า สัตว ฤๅ ลัก ทรัพย์ ของ เขา นั้น.
      ส้าง คำภีร์ (715:3.3)
               คือ ส้าง หนังสือ, อักษร อัน จาฤก คำ สั่ง สอน ของ พระ เจ้า.
      สร้าง ตึก (715:3.4)
               คือ ก่อ ราก ทำ ตึก แล้ว ด้วย อิฐ ปูน เปน ต้น.
      ส้าง บุญ (715:3.5)
               คือ ทำ การ ที่ เปน กุศล, เปน ต้น ว่า ประพฤติ์ สุจริต ธรรม.
      ส้าง บ้าน (715:3.6)
               คือ ก่อ ตั้ง ภูม ที่ บ้าน, เปน ต้น ว่า ทำ รั้ว ฤๅ กำ แพง วง ล้อม อ้อม รอบ ที่ นั้น.
      ส้าง พระ (715:3.7)
               คือ ก่อ ตั้ง รูป พระ ทำ ด้วย อิฐ ด้วย ปูน บ้าง ทำ ด้วย ไม้ บ้าง, บุ ด้วย ทอง คำ บ้าง, หล่อ ด้วย ทอง เหลือง บ้าง.

--- Page 716 ---
      สร้าง เมือง (716:3.8)
               คือ ก่อ ตั้ง กำแพง แล คู ประตู ป้อม, แล เชิง เทิล แล หอ รบ เปน ต้น นั้น.
      สร้าง เรือน (716:3.9)
               ทำ เรือน, คือ ก่อ ตั้ง เสา แล พื้น แล ฝา แล บาน ประตู แล บาน น่าต่าง เปน ต้น นั้น.
      สร้าง โลกย์ ทำ โลกย์ (716:3.10)
               คือ การ ที่ ทำ ให้ เกิด เปน ภูม พื้น แผ่น ดิน เปน ที่ อยู่ แก่ มนุษ แล สัตว เปน ต้น นั้น.
      สร้าง วัต (716:3.11)
               คือ ก่อ ตั้ง กำแพง แล เขื่อน โบศ แล วิหาร การบุ เรียญ เปน ต้น นั้น.
      สร้าง สม (716:3.12)
               คือ หา เงิน ทอง ได้ แล้ว เก็บ รวบ รวม เข้า ไว้ นั้น
สิง (716:1)
         เปน ชื่อ คน เช่น นั้น มี บ้าง. อย่าง หนึ่ง ว่า สิง สู่, เช่น ที่ ต้น ไม้ ว่า เทวดา สิง อยู่.
สิงขร (716:2)
         ฯ คือ ชง่อน ภูเฃา นั้น.
      สิงขร บรรพต (716:2.1)
               ฯ คือ สีลา เปน ชง่อน หงอน, อยู่ บน ยอด ภูเขา นั้น.
สิงคลี (716:3)
         คือ การ ที่ คน วิ่ง วุ่น วาย อื้อ อึง นั้น.
สิงคโประ (716:4)
         คือ เปน ชื่อ เมือง เกาะ แห่ง หนึ่ง, ชื่อ เมือง สิงค โประ, อยู่ ทะเล ทิศ ใต้ เมือง ไทย.
สิงฆาละ (716:5)
         ฯ แปล ว่า หมา จิ้ง จอก, อัน หมา จิ้ง จอก นั้น มัน เปน สัตว อยู่ ใน ป่า ใหญ่ นั้น.
      สิงฆาละ ศติ (716:5.1)
               * คือ สัตว สี่ท้าว, เปน ชาติ สุนักข์ จิ้ง จอก ใน ป่า นั้น,
      สิงฆาละ มานพ (716:5.2)
               ฯ คือ เรื่อง นิทาน ใน หนังสือ. ว่า มี ชาย หนุ่ม ชื่อ สิงฆาล นั้น.
สิงฆราน* (716:6)
         คือ สมบัติ พัศถาน ต่าง ๆ เช่น คน ที่ มั่ง มี ทรัพย์ บริบูรณ ว่า มี สิงฆราน.
สิงฆาร บริวาร (716:7)
         ฯ คือ สมบัติ พัศถาน, แล บรีวาร ทั้ง ปวง นั้น.
สิงโต (716:8)
         เปน ชื่อ สัตว สี่ท้าว อย่าง หนึ่ง, มี ใน ประเทศ จีน แล ประเทศ อังกฤษ, ใน ประเทศ ไทย ไม่ มี.
สิง สู่ (716:9)
         คือ เข้า สู่ ใน ตัว, เช่น คน ศย* หญิง เปน คน ทรง สำหรับ ผี เข้า, แล ผี มัน เข้า ใน ตัว.
สิงห์ (716:10)
         เปน คำ เรียก สัตว สี่ท้าว คือ ราชสีห์, ตาม คำ มคธ นั้น.
      สิงหนาท (716:10.1)
               ฯ คือ สำเนียง ที่ ราชสีห์. มัน แผด ร้อง ก้อง สนั่น นั้น, ว่า เสียง นั้น ดัง นัก สัตว อยู่ ใก้ล หู แตก ตาย.
      สิงห บูรีย์ (716:10.2)
               เปน ชื่อ เมือง ชื่อ ว่า เมือง สิงห์, อยู่ ฝ่าย ทิศ เหนือ กรุง เทพ, ไป สัก สาม วัน ถึง.
      สิงห บัญชร (716:10.3)
               ฯ คือ ช่อง น่า ต่าง ที่ มี ลูกกรง, แล เขา ทำ ที่ ใต้* เช็ด น่า นั้น, เปน สัณฐาน จมูก สิงห์.
      สิงหรา (716:10.4)
               ฯ คือ ราชสีห์ นั้น.
      สิงหราช (716:10.5)
               ฯ แปล ว่า พระยา สิห์, ชื่อ สัตว ชื่อ สิงห์ มัน เปน ใหญ่ กว่า ฝูง สิงห์ ทั้ง ปวง.
      สิงหาศน์ (716:10.6)
               ฯ คือ ที่ สำหรับ นั่ง นอน, ทำ เปน แท่น ฤๅ เตียง จมูกสิงห์ นั้น.
สิงหล (716:11)
         เปน ชื่อ เกาะ ลังกา, เขา เรียก สิงหละ ทวีป, ว่า เดิม เกาะ นี้ เปน ที่ อยู่ แห่ง ฝูง ยักษ์, พระพุทธเจ้า เสด็จ ไป ธรมาน ยักษ์ หนี ไป.
      สิงหล ภาษา (716:11.1)
               คือ ภาษา คน ใน สิงหล ทวีป นั้น.
      สิงหล ภาคย์ (716:11.2)
               คือ คำ ภาษา ศว* เมือง สิหล ลังกา ทวีป นั้น.
สิง อยู่ (716:12)
         คือ เข้า อยู่, เช่น คน หญิง ชาย, เปน คน ทรง สำหรับ ผี เข้า, แล ผี เข้า อยู่ ใน ตัว นั้น.
สิ่ง (716:13)
         คือ สิ่ง อย่าง หนึ่ง ๆ เรียก ว่า สิ่ง หนึ่ง ๆ บันดา ของ ทั้ง ปวง มี ใน โลกย์ เรียก สิ่ง สิ้น ทั้ง นั้น.
      สิ่ง ของ (716:13.1)
               คือ วัตถุ ต่าง ๆ มี ผ้า เปน ต้น.
      สิ่ง ใด (716:13.2)
               คือ วัตถุ อัน ใด นั้น.
      สิ่ง สิน (716:13.3)
               คือ ทรัพย์ สมบัติ ทั้ง ปวง สิ้น นั้น.
สุงสุมารี (716:14)
         ฯ แปล ว่า จรเข้, เปน สัตว สี่ท้าว ตัว มัน ยาว หาง มัน ยาว มัน อยู่ ใน น้ำ จืด น้ำ เค็ม.
สุงสิง (716:15)
         คือ หยิ่ง จองหอง, เช่น คน ภอ มี เงิน ทอง ขึ้น เล็ก น้อย, มัน เปน คน ตื่น หยิ่ง เผยอ นั้น.
สูง (716:16)
         คือ ของ ที่ ขึ้น ไป มาก บน อากาศ, เช่น เสา กะโดง กำปั่น, ฤๅ ยอด ปรางค์ เปน ต้น นั้น.
      สูง ขึ้น (716:16.1)
               คือ เจริญ ขึ้น ไป บน อากาศ นั้น.
      สูง ตระกูล (716:16.2)
               คือ สกูล กระษัตริย์ เปน ต้น ว่า เปน สกูล สูง, เขา พูจ เปน ความ เปรียบ เหมือน ของ ที่ สูง นั้น.
      สูง ลิ่ว (716:16.3)
               คือ สิ่ง ที่ มัน สูง เหมือน ยอด ภูเฃา เปน ต้น.

--- Page 717 ---
      สูง สุด (717:16.4)
               คือ ที่ สุด อากาศ เบื้อง บน นั้น, เช่น อากาศ ที่ เปน ชั้น พรหม โลกย์ นั้น.
      สูง ศักดิ์ (717:16.5)
               คือ มี ยศศักดิ์ ยิ่ง กว่า คน, เช่น คน เปน เสนา บดี ใหญ่, ว่า มี ยศศักดิ์ สูง นั้น.
      สูง อายุ (717:16.6)
               คือ อายุ คน มาก เจ็ดสิบ ปี แปดสิบ ขึ้น ไป นั้น.
เส็ง (717:1)
         คือ เก่ง ดุ, คน ที่ โอยก เอยก เกะ กะ, มัน กิน เหล้า แล้ว เที่ยว ข่มเหง คน นั้น.
      เส็ง นัก (717:1.1)
               คือ เก่ง นัก, คน ที่ ประพฤติ์ เปน คน เกะกะ กิน เหล้า แล้ว เที่ยว พาล ตี ด่า เขา นั้น.
      เส็งเพร็ง (717:1.2)
               คือ คน ฤๅ ต้น ไม้ ที่ ไม่ เปน สำคัญ เปน อย่าง เลว นั้น, ว่า เปน คน เส็งเพร็ง เปน ต้น นั้น.
เส้ง* (717:2)
         เปน ชื่อ คน ว่า เส้ง มี บ้าง. อย่าง หนึ่ง เปน ต้น ปอ เปน ต้น ไม้ เล็ก เขา เรียก ว่า เส้ง.
      เส้ง ต้น (717:2.1)
               คือ ต้น กะเจา ที่ เขา เอา เปลือก มัน ทำ เชือก นั้น, เขา เรียก ต้น เส้ง บ้าง.
แสง (717:3)
         คือ รัศมี, เช่น ดวง อาทิตย์ ที่ มี รัศมี สร่อง จำหรัด ออก มา สว่าง เปน ต้น นั้น.
      แสง แก้ว (717:3.1)
               คือ รัศมี แก้ว, บันดา แก้ว ที่ มี รัศมี เปล่ง สร่อง สว่าง เช่น ดาว เปน ต้น.
      แสง ขรรค์ (717:3.2)
               คือ พระขรรค์, เปน อาวุธ สำหรับ กระษัตริย์ ถือ นั้น.
      แสง โคม (717:3.3)
               รัศมี โคม, คือ รัศมี ไฟ ที่ ใน โคม สร่อง สว่าง แจ่ม จำหรัด ออก มา จาก ลูก โคม นั้น.
      แสง เงิน (717:3.4)
               คือ รัศมี เงิน. อย่าง หนึ่ง เช่น เมื่อ เวลา ใกล้ สว่าง เช้า มืด แล มี ศรี ขาว ขึ้น ก่อน อาทิตย์ นั้น.
      แสง เงิน แสง ทอง (717:3.5)
               คือ ศรี ที่ ฟ้า ฝ่าย ทิศ ตะวัน ออก มี เมื่อ เวลา จะ รุ่ง สว่าง แล ขาว แดง ขึ้น มา นั้น.
      แสง จันทร์ (717:3.6)
               รัศมี จันทร์, คือ รัศมี มี ดวง จันทร์, เช่น เมื่อ เวลา กลาง คืน ดวง จันทร์ เปล่ง รัศมี นั้น.
      แสง ฉาย (717:3.7)
               ศรี ฉาย, คือ รัศมี จันทร์ เมื่อ วัน เพง สิบ ห้า ค่ำ แล ดวง จันทร์ บ่าย คล้อย ลง น่อย หนึ่ง นั้น.
      แสง แดด (717:3.8)
               รัศมี แดด, คือ รัศมี อาทิตย์ ที่ สร่อง สว่าง ลง มา ร้อน กล้า อาจ สามารถ ทำ ของ เปียก ให้ แห้ง.
      แสง เดือน (717:3.9)
               รัศมี เดือน, คือ รัศมี จันทร์, ที่ แสง สร่อง สว่าง เพลา กลาง คืน, ธรรมดา ว่า รัศมี จันทร์ สว่าง ได้ แต่ กลาง คืน.
      แสง ดาว (717:3.10)
               รัศมี ดาว, คือ รัศมี ดวง ดาว, อัน ธรรมดา ดวง ดาว ย่อม มี รัศมี แต่ ใน เวลา ราตรี นั้น.
      แสง ไต้ (717:3.11)
               คือ แสง ไฟ ที่ ไต้, เช่น เขา เอา ไต้ จุด ไฟ ให้ ติด ลุก โพลง มัน มี รัศมี นั้น.
      แสง ตวัน (717:3.12)
               คือ รัศมี ดวง อาทิตย์ นั้น, เรียก ดวง อาทิตย์ ว่า ตวัน นั้น, เพราะ มี ดวง อาทิตย์ มา มี วัน ต่อ ไป นั้น.
      แสง ทอง (717:3.13)
               ศรี ทอง, คือ รัศมี ที่ ทอง. อย่าง หนึ่ง เช่น เมื่อ เวลา จะ ใกล้ สว่าง, แล มี ศรี เหลือง ขึ้น ก่อน ดวง อาทิตย์ บ้าง.
      แสง เทียน (717:3.14)
               ศรี เทียน, คือ รัศมี ไฟ ที่ ติด กับ เทียน, เขา เหน รัศมี ไฟ ที่ ติด อยู่ กับ เทียน, ว่า แสง เทียน.
      แสง เพลิง (717:3.15)
               ศรี เพลิง, คือ รัศมี ไฟ, เรียก เพลิง, เปน คำ ภาษา เขมร, แต่ ไท เอา มา พูจ ตาม บ้าง.
      แสง พระอาทิตย์ (717:3.16)
               ศรี ตวัน, คือ รัศมี อาทิตย์, คน ทั้ง ปวง เหน รัศมี อาทิตย์ สร่อง สว่าง เรียก แสง อาทิตย์.
      แสง ไฟ (717:3.17)
               ศรี ไฟ, คือ รัศมี ไฟ, เรียก ไฟ, เปน คำ ภาษา ไท พูจ ตาม กัน มา แต่ โบราณ นั้น.
แส้ง (717:4)
         แกล้ง, คือ ทำ ด้วย อุบาย มารยา, อาการ ฤๅ กิริยา ที่ คน ทำ ด้วย กล เปน ต้น, ว่า สำแดง กีริยา ที่ รัก ใคร่ เปน ชู้ กัน.
แส้ง (717:5)
         คือ ทำ อาการ ด้วย อุบาย เล่ห์ กล, เปน ต้น ว่า ทำ อาการ ให้ รู้ ว่า รัก ใคร่ กัน นั้น.
      แส้ง ทำ (717:5.1)
               คือ ทำ ด้วย อุบาย มารยา ต่าง ๆ นั้น.
      แส้ง ว่า (717:5.2)
               คือ แกล้ง ว่า กล่าว นั้น.
สอง (717:6)
         คือ คำนับ พ้น จาก ที่ หนึ่ง, ถึง อีก ที่ หนึ่ง นั้น, ธรรม ดา คน นับ ตั้ง ต้น แต่ หนึ่ง ถึง สอง ไป นั้น.
      สอง กระษัตริย์ (717:6.1)
               คู่ กระษัตริย์, คน เปน กระษัตริย์ สอง องค์ เรียก ว่า กระษัตริย์ เพราะ คน นั้น เปน ใหญ่ ใน เขตร ใน แว่น แคว้น นั้น.
      สอง แขน (717:6.2)
               แขน ทั้ง สอง ซ้าย ขวา, ธรรมดา คน ๆ หนึ่ง ย่อม มี แขน สอง ข้าง นั้น.

--- Page 718 ---
      สอง คน (718:6.3)
               คน คู่ หนึ่ง, คน เขา นับ ตั้งแต่ คน หนึ่ง เปน ต้น, ไป จน ถึง อีก คน หนึ่ง.
      สอง ง่าม (718:6.4)
               ของ ที่ เปน เช่น ก้าม ปู นั้น, ว่า เปน ง่าม. อย่าง หนึ่ง เหล็ก เขา ทำ ใส่ ที่ ต้น ถ่อ เช่น เฃา ควาย.
      สอง เดือน (718:6.5)
               นับ วัน ได้ สาม สิบ วัน เปน เดือน หนึ่ง, นับ อีก สาม สิบ วัน เปน สอง เดือน.
      สอง ตา (718:6.6)
               ตา คู่ หนึ่ง, ตา สอง ข้าง ซ้าย ขวา, อัน ธรรมดา คน ๆ หนึ่ง ย่อม มี ตา สอง ตา นั้น.
      สอง เนตร์ (718:6.7)
               ฯ สอง ตา, เรียก ว่า เนตร นั้น, เปน คำ สับท์ แผลง ตาม ภาษา มคธ.
      สอง ปี (718:6.8)
               นับ ปี ตั้ง แต่ หนึ่ง จน ถึง อีก ปี หนึ่ง, เปน สอง ปี ตาม นับ ภาษา ไท.
      สอง เมือง (718:6.9)
               เมือง สอง เมือง, เช่น นับ เมือง แห่ง หนึ่ง แล้ว นับ ไป อีก เมือง หนึ่ง นั้น.
      สอง รา (718:6.10)
               สอง คน, ว่า สอง รา นั้น เปน คำ กล่าว เปน บท กลอน เปน ต้น นั้น.
      สอง เสียง (718:6.11)
               เสียง คน หนึ่ง พูจ สำเนียง เปน สอง เสียง ลาง ที ดัง เปน ปรกติ ลาง ที* เสียง แหบ เครือ ไป นั้น.
      สอง องค์ (718:6.12)
               สอง ตน, เขา พูจ เปน คำ สูง สำหรับ เจ้า เปน ต้น ตาม คำ โลกย์ นั้น.
ส่อง (718:1)
         มุ่ง มอง, เช่น ตั้ง หน้า ให้ ตรง ของ ที่ จะ ดู แล้ว ทำ หน่วย ตา ให้ เพ่ง มุ่ง ดู นั้น.
      ส่อง กะจก (718:1.1)
               มุ่ง เพ่ง ดู เงา ใน กะจก, เช่น คน อยาก จะ เหน เงา ตัว ใน กะจก แล มุ่ง ดู ที่ กะจก นั้น.
      ส่อง กล้อง (718:1.2)
               มุ่ง ดู ตาม รู กล้อง, คน อยาก ดู ของ ที่ อยู่ ไกล ให้ เหน ชัด สนัด แล มุ่ง ดู ตาม รู นั้น.
      ส่อง โคม (718:1.3)
               การ ที่ เขา ถือ เอา โคม ไฟ แล้ว นำ ไป เพื่อ จะ ให้ แสง ไฟ ไป ถูก ต้อง ของ ที่ เขา จะ ดู นั้น.
      ส่อง ไต้ (718:1.4)
               การ ที่ เขา ถือ เอา ไต้ ไฟ แล้ว นำ ไป เพื่อ จะ ให้ แสง ไฟ ไป ถูก ของ ที่ จะ ดู นั้น.
      ส่อง ญาณ (718:1.5)
               การ ที่ เขา ตั้ง ปัญญา พิจารณา เหตุ ผล ทั้ง ปวง เช่น คน ยาก จะ รู้ เหตุ แล ตั้ง ปัญญา พิจารณา.
      ส่อง เทียน (718:1.6)
               การ ที่ เขา ถือ เอา เล่ม เทียน ติด ไฟ นำ ไป เพื่อ จะ ให้ แสง ไฟ ไป ถูก ของ ที่ จะ ดู นั้น.
      ส่อง ทิพย์ จักษุ (718:1.7)
               มุ่ง มอง ด้วย ตา อัน เปน ทิพ, เช่น ตา เท วะดา ว่า เปน ตา ทิพ, อาจ จะ เหน ของ ใน ที่ ไกล แล ของ ที่ บัง อยู่.
      ส่อง ไฟ (718:1.8)
               การ ที่ เขา เอา ไฟ อัน ใด อัน หนึ่ง, มี ไฟ ตะเกียง เปน ต้น, นำ ไป หน้า เพื่อ จะ ดู สิ่ง ของ ทั้ง ปวง.
      ส่อง แสง (718:1.9)
               แสง ที่ ออก มา จาก ดวง อาทิตย์ เปน ต้น, ว่า อา ทิตย์ สร่อง แสง มา เหน แจ้ง.
      ส่อง สว่าง (718:1.10)
               รัศมี ของ อัน ใด อัน หนึ่ง, ที่ มี รัศมี มี ดวง อา ทิตย์ เปน ต้น มา ถึง แจ่ม แจ้ง นั้น.
ส้อง (718:2)
         เปน ชื่อ ที่ ตำบล หนึ่ง, ที่ นั้น เปน ที่ นอก เมือง นอก บ้าน อยู่ ชาย ทุ่ง ชาย ป่า, เขา ตั้ง อยู่ ตาม ผู้ มี วาศนา ใหญ่ ให้ ตั้ง ไว้ คอย รับ คน หลบ หนี เจ้า นาย เข้า มา อา ไศรย อยู่, ใคร เอา ไม่ ได้ กลัว เขา.
      ส้อง สาธุการ (718:2.1)
               คำ เสิม ส้อง ร้อง สาธุการ, แปล ว่า เขา ร้อง ซ้อง แซ่, ว่า ท่าน กะทำ อย่าง นี้ ดี.
      ส้อง สุม (718:2.2)
               ชุมนุม, ประชุม, การ ที่ คอย รับ ประชุม ชน ที่ มา สำนักนิ์ อาไศรย พึ่ง อยู่, เช่น คน เสีย เมือง กับ เขา แล้ว ออก ไป ตั้ง เกลี้ย กล่อม ให้ ชน เข้า อยู่ เปน พวก ตัว
สวง (718:3)
         ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เรียก ต้น สวง เปน ผัก เกิด ใน น้ำ เมื่อ ระดู ฝน ระดู น้ำ มาก นั้น.
เสียง (718:4)
         สำเนียง, คือ สำเนียง ที่ คน เปล่ง ออก จาก ปาก เปน ต้น ฤๅ คน ดีด สี ตี เป่า ทำ ให้ มี เสียง ดัง นั้น.
      เสียง กา (718:4.1)
               สำเนียง กา, คือ เสียง กา มัน ร้อง ออก จาก ปาก ดัง กา ๆ นั้น.
      เสียง ไก่ (718:4.2)
               สำเนียง ไก่, คือ สำเนียง ไก่ มัน ร้อง ออก เมื่อ ถึง ทุ่ม ยาม. อย่าง หนึ่ง มัน ไข่ ออก แล้ว, มัน ร้อง ดัง กะ ตาก ๆ นั้น.
      เสียง กลอง (718:4.3)
               สำเนียง กลอง, คือ สำเนียง ดัง ออก จาก กลอง เมื่อ คน เอา ไม้ ตี ลง มี สำเนียง ดัง ตูม ๆ นั้น.
      เสียง กบ (718:4.4)
               สำเนียง กบ, คือ สำเนียง ที่ ตัว กบ เปน สัตว มี ตีน สี่ ตีน, อยู่ ใน รู ที่ ดิน, เมื่อ ระดู ฝน ระดู น้ำ มัน ร้อง ออบ ๆ นั้น.
      เสียง คน (718:4.5)
               สำเนียง คน, คือ สำเนียง ดัง ออก จาก ปาก คน, เปน ต้น ว่า ร้อง เรียก ชื่อ คน ฤๅ สวด เทศ นั้น.

--- Page 719 ---
      เสียง คลื่น (719:4.6)
               สำเนียง คลื่น, คือ สำเนียง ดัง ออก จาก ลูก คลื่น ใหญ่ ใน ท้อง มหา สมุท ดัง สนั่น นัก นั้น.
      เสียง ฆ้อง (719:4.7)
               คือ สำเนียง ดัง ออก จาก ลูก ฆ้อง, เมื่อ คน เอา ไม้ ตี ลง แล มัน มี เสียง ดัง นั้น.
      เสียง แจ่ม (719:4.8)
               สำเนียง แจ่ม, คือ สำเนียง ไม่ เครือ ไม่ แหบ, สำเนียง แจ้ว, เช่น สำเนียง ปี่ เปน ต้น นั้น.
      เสียง แจ้ว (719:4.9)
               สำเนียง แจ้ว, คือ สำเนียง ดัง แจ่ม ใส ไม่ แหบ เครือ, เช่น เสียง ชาย หญิง ที่ ยัง หนุ่ม สาว นั้น.
      เสียง ช้าง (719:4.10)
               สำเนียง คชสาร, คือ สำเนียง ช้าง มัน ร้อง ออก จาก ปาก, ธรรมดา ช้าง เมื่อ คน เอา ฃอ สับ ลง มัน เจ็บ ก็ ร้อง อูม แปร๋ นั้น.
      เสียง ดี (719:4.11)
               คือ สำเนียง เพราะ เสนาะ หู, เช่น เสียง ปี่ ฤๅ หีบ เพลง เปน ต้น. อนึ่ง เสียง คน ชาย หญิง ที่ เสียง เพราะ น่า ฟัง นั้น.
      เสียง แตก (719:4.12)
               คือ เสียง คน ที่ ไม่ กลม เกลี้ยง แล แปร่ง ฤๅ เสียง ของ ตก ลง แตก ออก นั้น.
      เสียง ประสาน (719:4.13)
               คือ เสียง ของ สอง อย่าง สาม อย่าง, คือ ขลุ่ย แล กระจับปี่ สีซอ, ดัง พร้อม กัน เข้า กลม กล่อม กัน นั้น.
      เสียง เพราะ (719:4.14)
               คือ สำเนียง ของ เครื่อง ประโคม มี ปี่ เปน ต้น, ฤๅ เสียง คน ผ่อง ใส ไพเราะห์ นั้น.
      เสียง ฟ้า (719:4.15)
               คือ สำเนียง สนั่น ดัง ลั่น ก้อง ใน ท้อง อากาศ เมื่อ ระดู ฝน ๆ ตก หนัก นั้น.
      เสียง ร้อง (719:4.16)
               คือ เสียง ที่ คน ร้อง เพลง เปน ต้น นั้น.
      เสียง ร้อง ไห้ (719:4.17)
               คือ สำเนียง เมื่อ คน มี ความ ทุกข์ ร้อน เพราะ เขา ตี รัน ฤๅ วิโยค พรัด พราก จาก คน เปน ที่ รัก, แล รำไร ถึง นั้น.
      เสียง แห้ง (719:4.18)
               สำเนียง แห้ง, คือ สำเนียง ผาก แผ่ว ไป ไม่ ดัง ออก หนัก ได้ นั้น.
      เสียง แหบ (719:4.19)
               สำเนียง แหบ, คือ สำเนียง ดัง เช่น เมื่อ คน เจ็บ เปน หวัด เสมหะ เกิด ใน ฅอ มาก นั้น.
      เสียง อึกกะทึก (719:4.20)
               สำเนียง อื้ออึง, คือ สำเนียง ร้อง อื้ออึง, คน อื้ออึง ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง, มี ความ วิวาท กัน เปน ต้น นั้น.
      เสียง ฮึกฮัก (719:4.21)
               คือ สำเนียง ที่ คน กล่าว ขู่ กันโชก สำราก ด้วย คำ อยาบ เปน ต้น ว่า กู มึง.
เสี่ยง (719:1)
         ตาม แต่ จะ เปน, คือ ความ ที่ ตั้ง ใจ ว่า, ถ้า แล บุญ ของ เรา มี ฃอ ให้ ได้ ของ สิ่ง นั้น ๆ เถิด.
      เสี่ยง กุศล (719:1.1)
               คือ ตั้ง อะธิฐาน จิตร ว่า, เดช บุญ ที่ เรา ได้ กะ ทำ ไว้ แต่ ก่อน ก็ ฃอ ให้ สม ความ ปราถนา เถิด.
      เสี่ยง กรรม (719:1.2)
               คือ ความ ตั้ง ใน ใจ ว่า, ถ้า กรรม เรา ได้ เคย กะทำ มา ก็ ให้ เปน ไป ตาม กรรม เถิด.
      เสี่ยง เคราะห์ (719:1.3)
               ตาม แต่ เคราะห์, คือ ตั้ง จิตร คิด ใน ใจ ว่า, ถ้า เคราะห์ ดี ก็ ได้, ถ้า เคราะห์ ร้าย ก็ ไม่ ได้.
      เสี่ยง ทาย (719:1.4)
               ความ ที่ คน ตั้ง ใจ ทำ ตาม ลัทธิ กัน มา แต่ ก่อน เช่น คน ไป สู่ ที่ ไกล, ไม่ รู้ ว่า จะ อยู่ ดี ฤๅ ร้าย, แล จุด เทียน ขึ้น ตั้ง อะธิฐาน, ถ้า ร้าย ฃอ ให้ เทียน ยัง ไม่ สิ้น ก็ ดับ ไป.
      เสี่ยง บาระมี (719:1.5)
               คือ เสี่ยง บุญ เสี่ยง กุศล, เช่น ว่า แล้ว นั้น, เรียก ว่า เสี่ยง บาระมี นั้น พูจ เปน คำ สูง.
      เสี่ยง บุญ (719:1.6)
               คือ ตั้ง จิตร อะธิฐาน ว่า, เดช กุศล ที่ ข้าพเจ้า ได้ ทำ ไว้ แต่ ชาติ ก่อน, ก็ ฃอ ให้ ได้ ความ จำเริญ เถิด.
      เสี่ยง บาป (719:1.7)
               คือ ตั้ง อะธิฐาน ใน ใจ, ว่า ถ้า ข้าพเจ้า ได้ ทำ กรรม ไว้ ก็ ฃอ ให้ เปน ไป ตาม กรรม เถิด.
      เสี่ยง วาศนา (719:1.8)
               ตาม แต่ วาศนา, การ ที่ คน ตั้ง อะธิฐาน จิตร ว่า, ถ้า ข้าพเจ้า จะ มี วาศนา ได้ เปน ที่ มี ยศ ศักดิ์, ฃอ ให้ ทำ ราชการ แคล่ว คล่อง เถิด.
      เสี่ยง สัตย์ (719:1.9)
               คือ ตั้ง ความ สัตย์ อะธิฐาน ว่า, ด้วย ผล ความ สัตย์ ที่ ข้าพเจ้า ได้ ทำ, มี ไม่ กิน เหล้า เปน ต้น ฃอ ให้ สำ เร็ทธิ์ ดัง ปราถนา,
      เสี่ยง สาร (719:1.10)
               คือ ตั้ง อะธิฐาน เมื่อ จะ ปล่อย หนังสือ สาร ตรา ไป ว่า เดช บุญ ของ ข้าพเจ้า ฃอ ให้ สาร นี้ ไป ถึง ผู้ นั้น ๆ เถิด.
      เสี่ยง ศร (719:1.11)
               การ ที่ คน เมื่อ จะ แผลง ศร, แล ตั้ง อะธิฐาน ว่า ฃอ ให้ ศร นี้ ไป สังหาร ผลาญ คน ผู้ คิด ร้าย เถิด.
      เสี่ยง หัว แตก (719:1.12)
               เช่น หัว แตก แผล. อนึ่ง ว่า หัว แตก เสี่ยง หนึ่ง นั้น.
      เสี่ยง หัว ลง (719:1.13)
               คือ เอา มีด สับ หัว ลง นั้น, เช่น อย่าง เขา เสี่ยง หัว พวก นักโทษ เปน ต้น.

--- Page 720 ---
สด (720:1)
         คือ ชุ่ม ชื่น อยู่, เช่น ต้น ไม้ ใบ หญ้า ที่ มัน ชุ่ม ชื่น อยู่ ฤๅ เนื้อ ปลา ที่ ยัง ไม่ เน่า เปื่อย ยัง ใหม่ อยู่ ว่า สด อยู่.
      สด ชื่น (720:1.1)
               คือ ต้น ไม้ ต้น หญ้า เปน ต้น, ที่ มัน เปน อยู่ ไม่ เหี่ยว แห้ง นั้น.
      สด ใส (720:1.2)
               ของ ชุ่ม ชื่น ครัด เคร่ง เปล่ง ปลั่ง. เช่น ดอก บัว ที่ ติด อยู่ กับ ก้าน กอ ใน น้ำ นั้น
      สด สอาจ (720:1.3)
               ของ ชุ่ม ชื่น หมด จด แจ่ม ใส, เช่น ดอก ไม้ อัน ยัง ติด ต้น เปล่ง ปลั่ง อยู่ นั้น.
      สด ส่าง (720:1.4)
               ของ ที่ ชู่ม ชื่น ศรี สอาจ ไม่ มัว หมอง, เช่น ดอก ไม้ ที่ ติด ต้น ชื่นชู ดอก อยู่ นั้น.
      สด ศรี (720:1.5)
               คือ สด สุก ใส อยู่, เช่น ดอก ไม้ เปน ต้น, ที่ มัน ติด อยู่ กับ ต้น ชุ่ม ชื่น แจ่ม ใส อยู่ นั้น.
สัจ (720:2)
         ความ จริง, เช่น เขา พูจ จา ว่า กล่าว ถ้อย คำ, จริง ไม่ เปน คำ เท็จ ไม่ เปน คำ มุสา นั้น.
      สัจจานุสัจ (720:2.1)
               ความ สัจ อย่าง น้อย แล ใหญ่ นั้น.
      สัจจะ คาระวะ (720:2.2)
               คำรพย์ โดย จริง, ทั้ง กาย แล วาจา นั้น.
      สัจจัง (720:2.3)
               การ ที่ คน พูจ ไม่ ปด นั้น,
      สัจ จริง (720:2.4)
               คำ พูจ จริง แท้ ไม่ เปน คำ เท็จ คำ สอง, คำ พราง คำ ปด เลย นั้น.
      สัจ ซื่อ (720:2.5)
               อาการ ที่ คน ตรง พูจ ไม่ เท็จ นั้น.
      สัจ ธรรม (720:2.6)
               ความ เที่ยง ธรรม ที เดียว ไม่ กลับ กลาย, เช่น เกิด มา แล้ว คง ตาย แท้ นั้น.
สัชนาไลย (720:3)
         ฯ เปน ชื่อ เมือง มี แต่ บุราณ, อยู่ ฝ่าย เหนือ กรุงเทพ.
สัด (720:4)
         ของ สาน สำหรับ ตวง เข้า อย่าง หนึ่ง, เขา เอา ตอก สาน เปน รูป สูง, เช่น กะบุง แต่ จุ เข้า ยี่สิบห้า ทนาน นั้น.
      สัด จอง (720:4.1)
               เรือ เล็ก ๆ ที่ เขา เอา ใส่ ไป ใน เรือ กำปั่น ฤๅ สำเภา เปน ต้น, เพื่อ จะ ได้ ใช้ สรอย นั้น.
      สัด ไป (720:4.2)
               ซัด พรัด ไป, เช่น เรือ แล่น ไป ใน ทะเล, และ เกิด ลม พยุ คลื่น ใหญ่ ซัด เอา เรือ ไป ใน ที่ อื่น ๆ นั้น.
      สัด ไป สัด มา (720:4.3)
               ของ เร่ไป เร่มา, เหมือน ภะมอร เครื่อง กลึง ที่ มัน ไม่ กลม เที่ยง นั้น.
สัตถา (720:5)
         ฯ แปล ว่า ครู เปน ผู้ สั่ง สอน, บันดา คน เปน ผู้ สั่ง สอน สาระพัด วิชา ทุก สิ่ง นั้น.
สัตรี (720:6)
         คือ หญิง, บันดา ผู้ หญิง มนุษ, คำ ไทย เรียก ว่า สัตรี ท่าน แต่ง เรื่อง เพราะ มัก ว่า สัตรี.
      สัตรี ภาพ (720:6.1)
               คือ อาการ คน ที่ เปน หญิง. ผิด กับ อาการ ชาย นั้น.
สัตรู (720:7)
         คน เปน ฆ่าศึก มุ่ง แต่ ที่ จะ คิด ประทุษฐ ร้าย แก่ กัน, เปน เวร พยาบาท แก่ กัน นั้น.
      สัตรู ไภย (720:7.1)
               คน เปน ปจามิตร ฆ่าศึก จะ ทำ ไภย ต่าง ๆ นั้น.
สัตตะบงกช (720:8)
         ดอก บัว หลวง ที่ มัน มี กลีบ เล็ก ๆ สั้น อั้น อยู่ ใน กลีบ ใหญ่ มาก นั้น.
สัตตะบัน (720:9)
         บัว ชาติ อุบล บัว ต้น เปน สาย ยาว ตาม นา มาก แล น้อย, ดอก มัน มี กลีบ เล็ก ๆ มาก, ยัด อัด แน่น ไป, ศรี แดง เรื่อ ๆ นั้น.
สัตตะบุษ (720:10)
         ดอก บัว ชาติ อุบล ต้น เปน สาย ยาว ไม่ มี หนาม, ดอก ศรี แดง คล้าย กับ ชาด นั้น.
สัตตะภัณฑ์ (720:11)
         เปน ชื่อ ภูเฃา เจ็ด ชั้น ที่ วง ล้อม เฃา สุเมรุ นั้น.
      สัตตะภัณฑ์ บรรพต (720:11.1)
               ฯ เฃา สัตตะภัณฑ์, แปล ว่า ภูเขา* เจ็ด คำ ใน หนังสือ ว่า มี ภูเฃา ใหญ่, ยาว วง รอบ เฃา สุเมรุ เจ็ด ชั้น
สัตะมะ (720:12)
         ฯ คำ นับ ตาม มคธ ที่ เจ็ด นั้น.
สัตยา (720:13)
         แปล ว่า ความ สัจธรรม นั้น.
สัตยาธิฐาน (720:14)
         ฯ แปล ว่า ตั้ง ความ สัจ, เช่น คน มี ความ ทุกข ไภย ตั้ง ความ สัจ อธิฐาน ฃอ ให้ พ้น ไภย นั้น,
สัตว (720:15)
         ความ ประสงค์ เอา สัตว เดียระฉาน เปน ต้น, บันดา ที่ เกิด มา ใน โลกย์ มนุษ โลกย์ สวรรค์ ชั้น พรหม, เปน สัตว ทั้ง สิ้น, แต่ เปน เดียระฉาน บ้าง ไม่ เปน บ้าง.
      สัตว ใหญ่ (720:15.1)
               ช้าง ฤๅ ปลาวาน, ช้าง เปน สัตว สี่ ท้าว ตัว มัน ใหญ่ คน ได้ เหน มาก, แต่ ปลาวาน คน ไม่ ใคร่ ได้ เหน.
      สัตว เดียระฉาน (720:15.2)
                ฯ สัตว ไป โดย ขวาง, แปล ว่า สัตว มี ตัว ไป ขวาง แผ่นดิน, บันดา สัตว มี ตัว ไป ขวาง สิ้น, เว้น แต่ มนุษ นั้น.
      สัตว โต (720:15.3)
               คือ ช้าง นั้น.
      สัตว ต่าง ๆ (720:15.4)
               สัตว สี่ ท้าว แล สัตว สอง ท้าว แล สัตว มี ท้าว มาก, แล สัตว ไม่ มี ท้าว นั้น.

--- Page 721 ---
      สัตว นิกร (721:15.5)
               ฯ แปล ว่า หมู่ สัตว, เช่น สัตว มัน อยู่, เปน หมู่ ๆ ว่า เปน คำ สับท ว่า สัตว นิกร.
      สัตว น้ำ (721:15.6)
               สัตว อาไศรย อยู่ ใน น้ำ หลาย อย่าง, มี ปลา แล เต่า แล จรเข้ แล มังกร เปน ต้น นั้น.
      สัตว นะรก (721:15.7)
               สัตว ไม่ มี อำนาท, คือ สัตว อยู่ ใน นะรก เรียก ว่า สัตว นะรก นั้น, คือ สัตว นั้น ปราศจาก อำนาท.
      สัตว บก (721:15.8)
               สัตว อยู่ ได้ แต่ บน บก ลง อยู่ ใน น้ำ ไม่ ได้, คือ นก เนื้อ แล งู เปน ต้น,
      สัตว บ้าน (721:15.9)
               สัตว ที่ มัน อาไศรย คน อยู่ ใน บ้าน เปน นิจ, มี หมา แล แมว เปน ต้น นั้น.
      สัตว บาป (721:15.10)
               คน มาก ด้วย การ บาป หยาบ ช้า ธารุณ, มิ ได้ ตั้ง อยู่ ใน ศีล ห้า เปน ต้น นั้น.
      สัตว ป่า (721:15.11)
               สัตว ที่ มัน อาไศรย อยู่ ใน ป่า เปน ธรรมดา, มี เนื้อ เสือ แล ข้าง เปน ต้น นั้น.
      สัตว ร้าย (721:15.12)
               สัตว ที่ มัน มัก ทำ ร้าย แก่ คน, มี งู แล เสือ เปน ต้น.
      สัตว เล็ก (721:15.13)
               คือ สัตว ที่ มี ตัว เล็ก, เช่น สัตว มี ยุง แล ตักกะ แตน เปน ต้น นั้น.
      สัตว สี่ ตีน (721:15.14)
               วัว แล แพะ แกะ เปน ต้น.
      สัตว สอง ตีน (721:15.15)
               มี นก แล ไก่ เปน ต้น.
สัทธา (721:1)
         ฯ แปล ว่า เชื่อ, ความ ที่ คน เชื่อ มั่น ใน ใจ แท้, เช่น พวก หมอ อะเมริกา เชื่อ ใน พระยะโฮวา.
      ศัทธา เลื่อม ใส (721:1.1)
               ความ เชื่อ แล ยินดี นับถือ, ใจ ใส สว่าง เปน เงา เหมือน แว่น กระจก
สัทธิงวิหาริก (721:2)
         ลูกสิษ แปล ว่า คน เปน ผู้ อยู่ กับ ท่าน, คือ คน เปน เช่น สิษ กับ อาจาริย์.
สัษสัตะทฤษดิ (721:3)
         ความ เหน ว่า โลกย์ เที่ยง, แปล ว่า เหน ด้วย ใจ, ว่า โลกย์ เที่ยง ไม่ แปร ปรวน, ตั้ง อยู่ เปน นิจ กาล,
สัศสุโร (721:4)
         ฯ บิดา ของ สามี, แปล ว่า พ่อ ผัว, บันดา ชาย ที่ เปน พ่อ ของ ผัว หญิง, เปน คำ สับท ว่า สัศสุโร ทั้ง สิ้น.
สัศศะดี (721:5)
         เปน ชื่อ คน ข้า* ราชการ, เปน พนักงาน ฝ่าย เลก, คือ ไพร่ ที่ สัก ไว้ นั้น.
สับท (721:6)
         สำเนียง, คำ ว่า สับท, แปล ออก ว่า เสียง, คำ สับท นั้น คือ เสียง ที่ สำแดง ความ ต่าง ๆ นั้น.
สาด (721:7)
         วิด, วัก, อาการ ที่ น้ำ ฝน มี ลม พัด ให้ ปลิว เข้า ไป ใน ที่ ฝน ตก ไม่ ถึง, มี ใต้ ถุน เรือน เปน ต้น นั้น.
      สาด กัน (721:7.1)
               วัก รด กัน, คือ คน วิด น้ำ ให้ ถูก กัน แล กัน, คน ลง อาบ น้ำ ด้วย กัน แล วัก น้ำ ขึ้น ทำ ไห้ ถูก กัน นั้น.
      สาด น้ำ (721:7.2)
               คือ วัก น้ำ วิด ไป, คน จะ รด ต้น ผัก เปน ต้น, แล วัก น้ำ วิด ไป ให้ ถูก ต้น ไม้ นั้น.
สาตรา (721:8)
         แปล ว่า อาวุธ ต่าง ๆ มี หอก แล ดาบ เปน ต้น.
      สาตราคม (721:8.1)
               เปน ชื่อ เครื่อง พระ สาตราคม, สำหรับ กัน อาวุธ มี ประคำ ทอง เปน ต้น.
      สาตราวุธ (721:8.2)
               ฯ คือ เครื่อง อาวุธ มี คม มี ดาบ เปน ต้น.
สารท (721:9)
         คือ กาล เมื่อ ถึง เดือน สิบ สิ้น เดือน, นับ แต่ เดือน ห้า มา จน สิ้น เดือน สิบ ได้ ครึ่ง ปี, เปน เวลา เขา ทำ บุญ คราว หนึ่ง ว่า สารท ถึง.
สาทยาย (721:10)
         ฯ ท่อง หนังสือ, คือ ท่อง หนังสือ เปน ต้น, เขา ต่อ เล่า หนังสือ ไว้ ได้ ใหม่ ๆ มาก, แล จับ เล่า แต่ ต้น มา จน ถึง ที่ จะ ต่อ ไป.
สาศดา (721:11)
         ฯ แปล ว่า คน ผู้ เปน ครู บา อาจาริย์.
      สาศดา จาริย์ (721:11.1)
               ฯ แปล ว่า คน เปน ครู บา อาจาริย์.
สาศนา (721:12)
         ฯ แปล ว่า ความ สั่ง สอน, เช่น พระเจ้า ตรัส บัญ ญัติ โอวาท คำ สั่ง สอน ไว้ ยัง ตั้ง อยู่, ชื่อ ว่า สาศนา ยัง ตั้ง ดี อยู่.
สิด (721:13)
         เปน ชื่อ คน ชื่อ สิด มี บ้าง, บันดา คน เกิด มา ใน โลกย์ ทั้ง สิ้น ย่อม มี ชื่อ ต่าง ๆ เปน ธรรมดา.
สิด ฃาด (721:14)
         คือ เด็ด ฃาด, เช่น เขา ให้ ของ สิ่ง ใด แก่ กัน, ไม่ กลับ คืน เอา อีก แล้ว นั้น.
สิทธาจาริย์ (721:15)
         ฯ เปน ชื่อ พระ ฤาษี ผู้ เปน อาจาริย์.
สิทธิ (721:16)
         ฯ แปล ว่า สำเร็ทธิ์, ตาม คำ โลกย์ ภาษา ไทย พูจ ถึง การ ที่ แล้ว นั้น.
      สิทธิการิย (721:16.1)
               ฯ เปน คำ ท่าน ทำ ไว้ ต้น คำภีร์ ตำรา, แปล ความ ว่า ฃอ กระทำ ให้ สำเร็ทธิ์.
      สิทธิ เวทย์ (721:16.2)
               อธิบาย ว่า มี วิชา ให้ สำเร็ทธิ์.

--- Page 722 ---
สิษย์ (722:1)
         อันเตวาสิก, คือ คน ผู้ เข้า ไป สู่ สำนักนิ์ อาจาริย์, แล อาไศรย เล่า เรียน หนังสือ เปน ต้น นั้น.
สีด* (722:2)
         สูด, คือ สูด ทาง จมูก, เช่น คน เจ็บ โรค หวัด, น้ำ มูก ไหล ออก แล สูด เข้า ทาง จมูก นั้น.
      สีด เข้า ไป (722:2.1)
               สูด เข้า ไป, คือ สูด เข้า ไป, เช่น คน เปน หวัด น้ำ มูก ไหล ออก แล สูด เข้า ไป โดย ช่อง จมูก นั้น.
สุด* (722:3)
         คือ ที่ ปลาย สิ้น ไม่ มี ต่อ ออก ไป อีก แล้ว, เช่น เชือก ยาว แล ไป สิ้น ลง ว่า สุด.
      สุด กำลัง (722:3.1)
               คือ สุด แรง, เช่น คน จะ ตี ฤๅ จะ ฟัน เปน ต้น, เงื้อ ขึ้น จน เต็ม ที ตี ฟัน ลง นั้น.
      สุด ขัด (722:3.2)
               คือ ความ จน ทุก อย่าง, จะ ต้อง การ ของ สิ่ง ใด ก็ ไม่ ได้ สำเร็ทธิ์ ดั่ง ความ ปราถนา นั้น.
      สุด คิด (722:3.3)
               คือ ความ คิด จะ ให้ รู้ เหตุ ผล อัน ใด, ฤๅ จะ ต้อง การ ของ สิ่ง ใด จน สิ้น ความ คิด.
      สุด แค้น (722:3.4)
               คือ ความ คับ คั่ง ใน ใจ, เช่น มี ผู้ มา ข่ม เหง ให้ ได้ ความ เคือง ขุ่น ใน ใจ หนัก นั้น.
      สุด ใจ (722:3.5)
               คือ อาการ ที่ เชื่อ ถือ, ฤๅ ที่ รัก, ฤๅ ที่ ปราถนา เปน ต้น, เปน อย่าง เอก ไม่ มี ที่ จะ เชื่อถือ เปน ต้น อีก นั้น.
      สุด ดี (722:3.6)
               คือ ของ ที่ ดี, ไม่ มี ของ อัน ใด ที่ จะ ดี ยิ่ง กว่า อีก, เปรียบ แสง สว่าง, ไม่ มี อัน ใด เสมอ, แสง ดวง อาทิตย นั้น.
      สุด แดน (722:3.7)
               คือ ที่ เปน ที่ สุด เขตร แดน นั้น.
      สุด ตา (722:3.8)
               คือ ของ ที่ อยู่ ไกล ที่ สุด, เช่น อากาศ ที่ อยู่ ไกล, แล ดู เหน เปน ฝ้า อยู่ นั้น.
      สุด แต่ ใจ (722:3.9)
               คือ ตาม ใจ, เช่น คน ปราถนา จะ ทำ การ สิ่ง ใด ทำ ตาม อำเภอ ใจ ตัว, ไม่ ได้ ทำ ตาม บังคับ ผู้ อื่น นั้น.
      สุด ท้อง (722:3.10)
               คือ ทารก ที่ เกิด เบื้อง หลัง, ไม่ มี เกิด อีก นั้น, ว่า คน นั้น เปน สุด ท้อง.
      สุด ท้าย (722:3.11)
               คือ คน ที่ มา ผ่าย หลัง คน นั้น. อนึ่ง ที่ สิ้น ท้าย เรือ ลง นั้น.
      สุด ปัญญา (722:3.12)
               สิ้น ปัญญา, คือ เอา ปัญญา คิด พิจารณา เหตุ การ อัน ใด จน สิ้น ปัญญา จะ พิจารณา นั้น.
      สุด ปลาย (722:3.13)
               คือ สุด ยอด, เช่น ต้น ไม้ มี ยอด เปน ที่ สุด เบื้อง บน นั้น.
      สุด มือ (722:3.14)
               คือ ของ อยู่ สูง เอื้อม จน สุด มือ, ฤๅ หมอ แก้ โรค จน สิ้น อยา นั้น ว่า สุด มือ.
      สุด รัก (722:3.15)
               คือ ความ รัก ยิ่ง นัก, เช่น แม่ รัก ลูก ฤๅ คน รัก พระเจ้า ของ ตัว นั้น.
      สุด แล้ว (722:3.16)
               คือ ความ แล้ว ลง สิ้น เท่า นั้น, คน ทำ ของ สิ่ง ใด สำเร็ทธิ์ เสร็จ แล้ว ไม่ ต้อง ทำ อีก นั้น.
      สุด แล้ว แต่ ควร (722:3.17)
               คือ เหน ควร เพียง ไร ก็ ทำ เพียง นั้น, เขา พูจ สุด แล้ว แต่ สม ควร นั้น.
      สุด แล้ว แต่ งาม (722:3.18)
               คือ เหน งาม เพียง ไร ก็ ทำ เพียง นั้น, เขา พูจ ว่า ท่าน จง ทำ เถิด สุด แท้ แต่ งาม นั้น.
      สุด แล้ว แต่ ใจ (722:3.19)
               คือ ปราถนา จะ ทำ สิ่ง ใด ก็ ทำ ตาม แต่ ใจ ปราถนา จะ ทำ เปน ต้น นั้น.
      สุด แล้ว แต่ จะ โปรด (722:3.20)
               ตาม แต่ จะ ชอบ, คือ ตาม แต่ ใจ จะ เอนดู, จะ เมตตา, ฤๅ สงเคราะห์ แก่ ผู้ ขัด สน นั้น.
      สุด แล้ว แต่ ท่าน (722:3.21)
               เปน คำ พูจ ยอม กัน ว่า สุด แต่ ใจ ท่าน นั้น.
      สุด สวาดิ (722:3.22)
               ยอด รัก, คือ สุด รัก, เช่น คน ชาย หญิง ที่ หนุ่ม สาว เปน ผัว เมีย แรก รัก ใคร่ กัน ใหม่ ๆ นั้น.
      สุด สิ้น (722:3.23)
               คือ สิ้น สุด, เหมือน ของ หมด สิ้น นั้น.
      สุด สาย ตา (722:3.24)
               สิ้น สาย ตา, คือ แล ดู ของ อัน ใด ที่ อยู่ ไกล นัก, เช่น จะ ดู ดวง อาทิตย์ เปน ต้น นั้น.
      สุด หา (722:3.25)
               สิ้น ที่ หา, คือ แสวง หา ของ อัน ใด ที่ ปราถนา นัก, มี เพ็ชร เปน ต้น จะ เอา ที่ โต ยิ่ง หา ไม่ ได้ นั้น.
      สุด อาย (722:3.26)
               สิ้น อาย, คือ เหตุ ที่ จะ ต้อง อาย เขา เปน ที่ สุด ไม่ มี เหตุ ที่ จะ อาย เขา ยิ่ง กว่า นั้น ๆ.
สุทธา รศ (722:4)
         คือ น้ำ ชา เปน เครื่อง ขุนหลวง เสวย นั้น.
      สุทธาวาศ (722:4.1)
               เปน ชื่อ ชั้น พรหม หนึ่ง นั้น.
สุทธิ (722:5)
         คือ ความ หมด จด, เช่น ของ มี ผ้า ขาว เปน ต้น, ที่ มัน ไม่ เปื้อน เปรอะ มัว มอม นั้น.
สุทัศษา (722:6)
         เปน ชื่อ ชั้น พรหม ชั้น หนึ่ง นั้น.
สุทธศรี (722:7)
         เปน ชื่อ ชั้น พรหม ชั้น หนึ่ง นั้น.
สุภะกิณหะกา (722:8)
         ฯ เปน ชื่อ ชั้น พรหม ชั้น หนึ่ง นั้น.
สูด (722:9)
         สีด, คือ สีด, เช่น คน เจ็บ โรค หวัด, น้ำ มูก ไหล แล สีด น้ำ มูก เข้า ไป โดย รู จะมูก นั้น.

--- Page 723 ---
      สูด กลิ่น (723:9.1)
               สีด กลิ่น, คือ สีด กลิ่น มี กลิ่น ดอก ไม้ หอม เปน ต้น, คน อยาก ดม กลิ่น หอม แล สีด เข้า โดย จะมูก นั้น.
      สูด ดม (723:9.2)
               สีด ดม, คือ สีด ดม เอา กลิ่น, คน เอา ดอก ไม้ ที่ กลิ่น หอม รอ จะมูก แล้ว สีด ดม ให้ ชื่น ใจ นั้น.
      สูด ยา นัด (723:9.3)
               คือ ทำ ลม จะมูก ให้ มัน ภา เอา ยา นัด เข้า ใน จะ* จมูก นั้น.
      สูด ลม (723:9.4)
               สีด ลม, คือ สีด ลม หาย ใจ เข้า ไป โดย ช่อง จมูก เช่น สีด ลม โดย ช่อง จมูก นั้น.
สูตร (723:1)
         คือ บท มูล ที่ ท่าน ทำ ไว้, จะ ให้ รู้ ใน บท มาลา เปน ต้น ว่า, อัตโถ อักขะ ระ สัญญา โต, แปล ว่า ความ ใน บา ฬี ทั้ง หลาย ท่าน พึง หมาย ด้วย อักขะระ นั้น.
      สูตร เลข (723:1.1)
               คือ บท ที่ เขา เล่า จะ เรียน เลข, เปน ต้น ว่า เอ กา ๆ หนึ่ง โท เอกา โท สอง นั้น.
เสร็จ (723:2)
         คือ สำเร็ทธิ์. เช่น การ ทุก อย่าง ใหญ่ ฤๅ น้อย, ถ้า การ นั้น สำเร็ทธิ์* ว่า เสร็จ แล้ว.
      เสร็จ ความ (723:2.1)
               คือ แล้ว ความ
      เสร็จ สับ (723:2.2)
               คือ การ งาน เสร็จ แล้ว นั้น.
เสศ (723:3)
         เหลือ, คือ ของ เหลือ, เช่น เขา จะ ทำ ขนม, แล เอา แป้ง ขนม ใส่ ลง ใน จาน เปน ต้น, เต็ม จาน แล้ว แป้ง ยัง ไม่ หมด นั้น.
      เสศ กรรม (723:3.1)
               คือ กรรม ที่ น้อย ลง, เหลือ อยู่ บ้าง เล็ก น้อย เช่น กรรม ใหญ่ ให้ ไป ตก ใน นะรก ช้า นาน, กรรม ค่อย น้อย เข้า ให้ มา เกิด เปน เปรต นั้น.
      เสศ เงิน (723:3.2)
               เงิน ที่ เหลือ, คือ เงิน เล็ก น้อย ที่ เหลือ อยู่, เช่น เขา สร้าง รูป พระ หนัก บาท หนึ่ง. แล เงิน ที่ เหลือ หนิด น่อย นั้น.
      เสศ เดน (723:3.3)
               คือ ของ เปน ของ เหลือ จาก ที่ เขา กิน แล้ว นั้น.
      เสศ เดือน (723:3.4)
               เดือน ที่ เหลือ, คือ เดือน ที่ เหลือ ออก มา จาก ปี หนึ่ง ฤๅ สองปี, เดือน ฤๅ สอง เดือน เปน ต้น.
      เสศ ทอง (723:3.5)
               ทอง ที่ เหลือ, คือ ทอง เล็ก น้อย ที่ เหลือ ออก จาก ทอง, ที่ หล่อ รูป พระ เปน ต้น นั้น เขา ว่า เสศ ทอง.
      เสศ บาป (723:3.6)
               คือ บาป ที่ เหลือ อยู่ เบา บาง เล็ก น้อย, บาป ใหญ่ ให้ ไป ตก นะรก ช้า นาน, แล บาป ค่อย น้อย เข้า, ให้ มา เกิด เปน เปรต นั้น.
      เสศ ปี (723:3.7)
               เกิน ปี, คือ จะ นับ ปี ให้ ครบ ห้า พัน วัสศา, แต่ ปี ล่วง แล้ว สองพัน สาม ร้อย เก้าสิบเจ็ด, ยัง อีก สาม ปี จึ่ง ครบ สี่ร้อย นั้น ว่า เสศ.
      เสศ ผ้า (723:3.8)
               คือ ผ้า ที่ เหลือ จาก ผ้า, ที่ เย็บ เสื้อ ฤๅ กังเกง เปน ต้น นั้น, คน ตัด เสื้อ เปน ต้น ผ้า ที่ ตัด ทิ้ง เสีย นั้น.
      เสศ ไม้ (723:3.9)
               คือ ไม้ ที่ เหลือ จาก ไม้, ที่ เขา ทำ การ แล้ว นั้น.
      เสศ โมง (723:3.10)
               คือ ครบ วัน แล้ว มี เสศ อีก โมง หนึ่ง นั้น.
      เสศ เหลือ (723:3.11)
               คือ ของ ยัง ไม่ หมด มี อยู่, เช่น เขา ทำ ของ สิ่ง ใด ภอ การ แล้ว, ของ นั้น ยัง ไม่ หมด นั้น.
      เสศ วัน (723:3.12)
               คือ วัน ที่ เหลือ จาก เดือน, มี วัน มาก ฤๅ น้อย นั้น, เขา ว่า เสศ วัน, เพราะ วัน ยัง ไม่ ครบ สามสิบ เปน เดือน.
เศรษฐี (723:4)
         คือ คน มั่ง มี ทรัพย์ มาก, นับ โกฏิ เหรียญ เปน อัน มาก, มิ ใช่ คน ทำ ราชการ นั้น.
แสด (723:5)
         คือ ศรี แดง อ่อน เช่น ศรี เสน, เขา ย้อม ผ้า ด้วย ลูก คำ ไท ไม่ แดง นัก นั้น ว่า ศรี แสด.
      แสด สอด เข้า มา (723:5.1)
               คือ การ ที่ คน พูจ สอด เข้า มา นั้น.
      แสด ศรี (723:5.2)
               คือ ศรี แสด.
โสด (723:6)
         คือ กระแส หนึ่ง, สาย หนึ่ง, เส้น หนึ่ง, เช่น นา เส้น หนึ่ง ยาว เก้า กะทง สิบ กะทง นั้น.
      โสด สรง (723:6.1)
               คือ เอา น้ำ รด ลง อาบ, เรียก ว่า โสดสรง เปน คำ สูง, คือ ไม่ ลง อาบ ใน น้ำ, เอา น้ำ โรย รด ลง บน ตัว นั้น.
โสตร (723:7)
         คือ ช่อง หู ก็ ว่า, ว่า สาย หนึ่ง, ว่า เส้น หนึ่ง บ้าง.
สอด (723:8)
         คือ ร้อย เชือก, เช่น คน เอา เชือก ร้อย เข้า ใน รู รอก, ที่ กำปั่น เปน ต้น นั้น.
      สอด แคล้ว กิน แหนง (723:8.1)
               มี ความ สงไสย, คือ ใจ นึก แหนง, เช่น คน ให้ ท่าน แล้ว คิด ว่า, ไป ผาย น่า ผล จะ มี ฤๅ ไม่ มี ดอก กระมัง.
      สอด ดู (723:8.2)
               คือ ลอด มอง, ดู การ งาน ที่ คน อื่น ทำ ดี แล ชั่ว นั้น.

--- Page 724 ---
      สอด ตา (724:8.3)
               คือ ทำ ตา ให้ ลอด แล ดู, เช่น คน สอด แล ดู ของ สิ่ง ใด ตาม ช่อง ฝา เปน ต้น.
      สอด ถาม (724:8.4)
               คือ สอด* สืบ ถาม, เช่น คน จะ ใคร่ รู้ ความ ลับ แล คอย ลัก สอด* ถาม นั้น.
      สอด แนม (724:8.5)
               คือ ให้ คน ไป คอย ลอบ ลัก สืบ เอา ถ้อย ความ, เช่น ให้ คน ไป สืบ ความ ใหญ่ นั้น.
      สอด พูจ (724:8.6)
               คือ พูจ ลอด จังหวะ ระวาง เขา พูจ กัน อยู่ นั้น,
      สอด มอง (724:8.7)
               คือ ลอด ตา มอง ดู ตาม ช่อง เล็ก ๆ นั้น.
      สอด รู้ (724:8.8)
               คือ ลัก ล่วง รู้ ความ ลับ ของ คน ทั้ง ปวง นั้น.
      สอด ว่า (724:8.9)
               ลอด ว่า, คือ สอด พูจจา กับ เขา ใช่ การ ของ ตัว, เขา พูจจา ตาม ภาษา เขา, แล พูจ ลอด เข้า ไป นั้น.
      สอด ส่อง (724:8.10)
               คือ พิจารณา ถ้อย ความ, ทั้ง ปวง เหน ด้วย ปัญญา*
      สอด ใส่ (724:8.11)
               สวม ใส่, คือ ลอด แขน เข้า ใน แขน เสื้อ, แล้ว ใส่ เสื้อ เปน ต้น, คน ทำ การ อื่น ๆ ก็ เหมือน กัน
      สอด เหน (724:8.12)
               คือ ลัก ล่วง เหน สิ่ง เขา แอบ ทำ นั้น.
สวด (724:1)
         คือ เปล่ง เสียง สำแดง, กล่าว คำ เปน ทำนอง หลาย อย่าง ต่าง ๆ มี กล่าว ว่า ยะโฮวา, มี ฤทธานุภาพ สุด เปน ต้น นั้น.
      สวด กะถิน (724:1.1)
               คือ สวด เมื่อ เขา เอา ผ้า กะถิน, ไป ทอด ถวาย พระสงฆ์ ใน อาราม.
      สวด นาค (724:1.2)
               คือ พระ คู่ สวด, ท่าน สวด เมื่อ จะ บวช กุลบุตร ให้ เปน ภิกขุ ขึ้น ใหม่ นั้น.
      สวด หนังสือ (724:1.3)
               คือ กล่าว คำ สำแดง บท เปน ทำนอง, เปน เนื้อ ความ คำ ไทย, เปน ต้น ว่า นะโม ข้า จะ ไหว้ นั้น.
      สวด บรรยาย (724:1.4)
               คือ สวด พรรณนา เปน อัน มาก.
      สวด พระธรรม (724:1.5)
               คือ เปล่ง เสียง สำแดง เปน คำ บาฬี, มี กุสะลา ธัมมา เปน ต้น นั้น.
      สวด พิธี (724:1.6)
               คือ สวด เมื่อ เขา ตั้ง พิธี ตรุศ เปน ต้น.
      สวด ภาวะนา (724:1.7)
               คือ สวด บริกำ จำเริญ มนต์ นั้น.
      สวด มาไลย (724:1.8)
               อ่าน มาไลย, คือ เปล่ง เสียง กล่าว ถึง เรื่อง พระเถร มาไลย, เหาะ ขึ้น ไป สวรรค์ แล ลง ไป ดู นะรก นั้น.
      สวด มนต์ (724:1.9)
               สรพัญยะ, คือ เปล่ง เสียง สำแดง คำ บาฬี เปน ต้น ว่า, เอวัมเมสุตัง, เอกังสะมะยัง, นั้น.
      เสียด (724:1.10)
               คือ เสียบ แทง ใน อุทร ฤๅ ใน อุระ, เพราะ โรค ลม เปน ต้น นั้น.
      เสียด กัน (724:1.11)
               คือ แทรก กัน, เช่น คน อยู่ ใน ที่ เต็ม แล้ว เข้า ไป อีก นั้น.
      เสียด เข้า ไป (724:1.12)
               คือ แทรก เข้า ไป, เช่น ดู งาน มี ละคอน เปน ต้น นั้น.
      เสียด จุก (724:1.13)
               คือ จุก แดก ให้ ท้อง แน่น อก แน่น, เพราะ โรค ลม ฤๅ คุณ ไสย นั้น.
      เสียด แซก (724:1.14)
               แซก เสียด, คือ เบียด เสียด เข้า ไป กลาง หว่าง เช่น คน เขา อยู่ มาก, แล เสียด เสือก เข้า หว่าง กลาง เขา นั้น.
      เสียด แทง (724:1.15)
               คือ เสียด ยอก ใน ท้อง ฤๅ ใน อก. อย่าง หนึ่ง คน ว่า กล่าว ให้ เจ็บ ใน ใจ ต่าง ๆ นั้น.
      เสียด ท้อง (724:1.16)
               คือ โรค มัน ให้ แทง ยอก ใน ท้อง.
      เสียด เบียด (724:1.17)
               เบียด เสียด, คือ แซก เบียด เข้า ไป, เช่น คน เขา อยู่ มาก, แล แซก เบียด เข้า ไป หว่าง นั้น.
      เสียด สี (724:1.18)
               คือ เบียด เฉียด เช็ด ไป, เช่น เดิน เฉียด ครูด ไป ภอ ถูก ตัว กัน หนิด น่อย นั้น.
      เสียด ส่อ (724:1.19)
               คือ กล่าว คำ ยุยง ผู้ อื่น ใน ที่ ลับ หลัง, ให้ เขา โกรธ กัน ฤๅ ว่า เขา หนี กัน ไป, แล รู้ เอา เนื้อ ความ ไป บอก นั้น.
สน (724:2)
         ร้อย, คือ สอด ร้อย เข้า ที่ รู, เช่น คน ร้อย ด้าย ฤๅ ไหม เข้า ใน รู ก้น เข็ม เปน ต้น นั้น.
      สน เข็ม (724:2.1)
               ร้อย เข็ม, คือ สอด ร้อย ด้าย ฤๅ ไหม เข้า ใน รู ช่อง ก้น เข็ม นั้น.
      สน ใจ (724:2.2)
               การ ที่ คน เหน ของ อัน ใด ภอ จะ ใช้ ทำ ยา ได้, แล เก็บ เอา มา ไว้ เพื่อ จะ ต้อง การ นั้น.
      สน จีน (724:2.3)
               คือ ต้น ไม้ เปน ต้น ย่อม ๆ เขา เอา มา แต่ เมือง จีน ยาง มัน ใช้ บาด ตรี ขัน แตก ได้ นั้น.
      สน ตะภาย (724:2.4)
               คือ เอา เชือก ตะภาย ยาว สัก สอง ศอก เสศ สอด ร้อย เข้า ที่ จมูก วัว ฤๅ ควาย สำหรับ ผูก เชือก ยาว, ให้ มัน อยู่ นั้น.
สนเท่ห์ (724:3)
         คือ ความ สง ไสย, เช่น คน คิด ใน ใจ ว่า, บันดา โลกย์ นี้ จะ มี ผู้ สร้าง จริง ฤๅ หนอ.

--- Page 725 ---
สนทะนา (725:1)
         คือ เขา พูจจา กัน สอง คน ด้วย ข้อ ความ, มี ข้อ ปรฏิบัติ ฤๅ ประพฤติ์ เปน ต้น.
      สนทะนา กัน (725:1.1)
               คือ พูจจา กัน ด้วย ถาม แล ตอบ กัน.
      สนทะนา ปราไศรย (725:1.2)
               คือ พูจจา กัน ไป มา ด้วย ไมตรี นั้น.
สนทยา (725:2)
         คือ เพลา พลบ ค่ำ* ลง, เพลา เมื่อ สิ้น แสง อาทิตย์ ฉมุก ฉมัว มัว มืด นั้น.
      สนทยา ค่ำ (725:2.1)
               คือ เวลา ค่ำ ประกอบ ด้วย มืด
      สนทยา บาต (725:2.2)
               คือ เวลา ประกอบ ด้วย มืด ตก ลง นั้น.
      สนทยา ราตรี (725:2.3)
               คือ เวลา ประกอบ ด้วย มืด พลบ ค่ำ นั้น.
สน เทษ (725:3)
         คือ ต้น ไม้ เขา เอา มา แต่ เมือง เทษ, ยาง* มัน ประสม กับ ตะกั่ว บาด ตรี ได้ นั้น.
สนธิ์ (725:4)
         เปน ชื่อ คำภีร์ มูล เบื้อง ต้น คำภีร์ หนึ่ง.
ส้น (725:5)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ส้น* กล้อง (725:5.1)
               คือ ทอง ฤๅ เงิน ที่ เขา ทำ ใส่ ที่ ท้าย กล้อง เขา สำ หรับ สูบ ยา แดง นั้น.
      ส้น ตีน (725:5.2)
               คือ ที่ สุด ตีน ข้าง ไม่ มี นิ้ว มู่ ทู่ อยู่, มี หนัง หนา กว่า ที่ อื่น นั้น, เขา เรียก ส้น เท้า.
      ส้น เท้า (725:5.3)
               ส้น ตีน, คือ สุด ตีน ข้าง หลัง ที่ ไม่ มี นิ้ว, มัน มู่ ทู่ อยู่ หนัง มัน หนา กว่า ที่ อื่น, เขา เรียก ส้น ตีน.
      ส้น ทอง (725:5.4)
               คือ ข้าง ต้น ที่* ทำ ด้วย ทอง คำ มี แซร่ เปน ต้น.
      ส้น ปืน (725:5.5)
               คือ ข้าง ต้น ท้าย ปืน นั้น.
สัญญา (725:6)
         คือ กำหนด ว่า แก่ กัน ว่า, วัน พรุ่ง นี้ จึ่ง จะ ให้ เปน ต้น นั้น.
สัญญี (725:7)
         แปล ว่า รู้ ดี.
สัณฐะวะ (725:8)
         แปล ว่า สรรเสิญ กับ ด้วย กัน, คน ชอบ อัทยา- ไศรย กัน, พูจ สรรเสิญ กัน นั้น.
สัณฐัต (725:9)
         ฯ แปล ว่า ผ้า สำหรับ ลาศ ปู เปน ที่ นั่ง นั้น.
สัณฐาน (725:10)
         ฯ ว่า ทรวดทรง.
สัน (725:11)
         คือ ที่ มัน เปน คัน หนา อยู่, เช่น มีด พร้า ข้าง หนึ่ง เปน คม บาง ข้าง หนา อยู่ เรียก สัน.
      สัน กลาง (725:11.1)
               คือ นา ที่ เปน คัน คั่น ข้าง หนึ่ง มี กะทง นา คัน นั้น, เรียก สัน กลาง นั้น.
สันจร (725:12)
         คือ เดิน เที่ยว ไป, เช่น คน เที่ยว ไป ข้าง โน้น เที่ยว มา ข้าง นี้ ว่า สันจร.
      สันจร ไกล (725:12.1)
               คือ เที่ยว ไป ไกล นั้น.
      สันจร ใน ท้อง ฟ้า (725:12.2)
               คือ เที่ยว ไป ใน ท้อง ฟ้า, เช่น อย่าง พระ จันทร์ เปน ต้น นั้น.
สันชาติ (725:13)
         คือ คำ เขา พูจ ถึง คน ที่ ไม่ ชอบ ใจ กัน, ว่า ขึ้น ชื่อ ว่า สัน ชาติ อี คน เช่น นั้น, แล้ว ไม่ ให้ มัน เข้า บ้าน.
สัน ชีพ นรก (725:14)
         ฯ เปน ชื่อ นรก ขุม หนึ่ง, มี ลม เอย็น เปน อาวุธ พัด ให้ สัตว นรก กะดูก แตก ตาย.
สันดอน (725:15)
         คันดอน, คือ ที่ ใน น้ำ ฤๅ ที่ บก, เปน โขด คัน เช่น ที่ หลัง เต่า ที่ ปาก น้ำ เจ้า พระยา นั้น.
สัน ดาบ (725:16)
         หลัง ดาบ, คือ ที่ ตัว ดาบ ที่ มัน หนา ไม่ เปน คม บาง นั้น, ข้าง หนึ่ง เปน คม บาง นั้น.
สันดาร (725:17)
         คือ จิตร สันตะติ, อะธิบาย ว่า สืบ ต่อ แห่ง จิตร คน พูจ เล็ง เอา อาการ วิไสย แห่ง คน
      สันดาร สืบ ๆ กัน มา (725:17.1)
               แปล ว่า สืบ ต่อ กัน ไป.
สันโดษฐ (725:18)
         ฯ แปล ว่า ยินดี พร้อม, เช่น คน ไม่ มัก มาก ยิน ดี เอา แต่ ของ ที่ มี อยู่ แล้ว นั้น.
      สันโดษฐ เดี่ยว (725:18.1)
               คือ ยินดี อยู่ แต่ ผู้ เดียว.
สันตะวา (725:19)
         เปน ชื่อ ผัก อย่าง หนึ่ง, มัน เกิด อยู่ ที่ ดิน มี น้ำ ถ้วม อยู่ ประมาณ สอง ศอก สาม ศอก นั้น.
สันทัด (725:20)
         คือ เจน แล ชำนาญ, เช่น คน ทำ การ อัน ใด มี วาด เขียน เปน ต้น ชำนาญ เจน นั้น.
สันนิฐาน (725:21)
         ฯ แปล ว่า เข้า ใจ, คน รู้ การ สิ่ง ใด ด้วย ปัญญา นั้น ว่า เข้า ใจ.
สันนิบาตร (725:22)
         ฯ แปล ว่า ประชุม พร้อม, เช่น คน มาก อยู่ ใน ที่ เดียว พร้อม กัน.
สันนิวาศ (725:23)
         ฯ คือ อยู่ กับ ด้วย กัน.
สัน มีด (725:24)
         คือ ที่ ตัว มีด ที่ มัน หนา อยู่, ที่ มัน บาง นั้น, เขา เรียก ว่า คม ที่ หนา นั้น ว่า สัน.
สรรเพ็ช ดาญาณ (725:25)
         ฯ เปน ชื่อ พระเจ้า, อะธิบาย ว่า รู้ ทุก สิ่ง สรรพ ทั้ง ปวง.
สัน หลัง (725:26)
         คือ ที่ ตรง กลาง หลัง ที่ มี กระดูก เปน ข้อ ๆ ตั้ง แต่ ก้น กบ จน ถึง ต้น ฅอ นั้น.
สรรพ (725:27)
         (dummy head added to facilitate searching).
สรรพ ยุทธ์ (725:28)
         คือ เครื่อง อาวุธ สำหรับ รบ พุ่ง กัน ทั้ง ปวง.
สรรพ สิ่ง (725:29)
         คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง, บันดา ฃอง อัน ใด ทั้ง สิ้น ที่ เขา มี อยู่ นั้น, เรียก ว่า สรรพสิ่ง.

--- Page 726 ---
สรรพ สัตว (726:1)
         คือ สัตว ทั้ง ปวง, บันดา สัตว ทั้ง ปวง ที่ เกิด มา ใน โลกย์ ว่า สรรพ สัตว.
สรรเสิญ (726:2)
         คือ กล่าว ยก ยอ เปน สำมา วาจา กล่าว ถ้อย คำ ให้ คน พึ่ง ยินดี.
สั่น (726:3)
         งก ๆ, คือ เริ้ม ๆ รัว ๆ, เช่น คน ป่วย โรค ไข้ จับ เปน เพลา มัน ให้ หนาว กาย หวั่น รัว ๆ.
      สั่น งก (726:3.1)
               คือ สั่น งัก ๆ, เช่น คน แก่ ชะรา จะ เดิน ก้าว เท้า ก็ สั่น จะ จับ ถือ มือ ก็ สั่น นั้น.
      สั่น โดกเดก (726:3.2)
               คือ สั่น โพนเพน, เช่น ไม้ ยาว เขา ปัก ไว้ ที่ น้ำ ไหล เชี่ยว มัน สั่น โอนเอน ไป มา นั้น.
      สั่น เทิ้ม ๆ (726:3.3)
               คือ สั่น เริ้ม ๆ, เช่น คน ป่วย จับ ไข้ มัน ให้ หนาว ตัว หวั่น เริ้ม ๆ.
      สั่น ท้าว ๆ (726:3.4)
               คือ สั่น หวั่น หนาว ระรัว ทั่ว ทั้ง กาย, เช่น คน ลง อาบ น้ำ น่า ระดู หนาว ตัว สั่น นั้น.
      สั่น ระริก (726:3.5)
               คือ อาการ ที่ สั่น ระรัว อยู่ นั้น.
      สั่น ระเริ้ม (726:3.6)
               คือ อาการ สั่น เช่น ว่า, แต่ เขา พูจ ต่าง ๆ คำ กัน ตาม สนัด ปาก เฃา.
      สั่น ระรัว (726:3.7)
               คือ อาการ กาย หวั่น ๆ เพราะ ความ หนาว เปน ต้น, เช่น ว่า ตาม สนัด เขา นั้น.
      สั่น ไหว ๆ (726:3.8)
               คือ สั่น รัว ๆ, เช่น คน จับ ต้น ไม้ ฤๅ กิ่ง ไม้ เข้า แล้ว สั่น ทำ ให้ ไหว ๆ นั้น.
      สั่น หวั่น ไหว (726:3.9)
               คือ อาการ หวั่น สะท้าน รัว นั้น.
      สั่น ศีศะ (726:3.10)
               อาการ ที่ คน ทำ หัว ให้ หัน มา, ลาง ที เขา ถาม ว่า จะ ให้ ฤๅ ไม่ ให้ จะ ไม่ ให้ ทำ หัว หัน สั่น นั้น.
      สั่น หัว (726:3.11)
               คือ ทำ ศีศะ ให้ หัน ไป มา, ลาง ที เขา ถาม ว่า จะ ไป ฤๅ ไม่ ไป เปน ต้น, จะ ไม่ ไป ก็ สั่น ศีศะ เช่น นั้น.
สั้น (726:4)
         ไม่ ยาว, คือ ของ มี รูป ไม่ ยาว, เช่น เรือน ฤๅ เรือ เปน ต้น, ที่ รูป ไม่ ยาว, เช่น เรือน อื่น ๆ ที่ ยาว เก้า วา สิบ วา นั้น.
      สั้น เต็ม ที (726:4.1)
               คือ สั้น กว่า เพื่อน, เช่น ของ อัน ใด มัน ยาว สาม วา สี่ วา เปน ต้น, อัน ไหน ที่ ยาว แต่ วา หนึ่ง ว่า มัน สั้น เต็ม ที.
      สั้น หนัก (726:4.2)
               คือ สั้น กว่า เพื่อน, เช่น ของ อัน ใด มี แต่ ยาว สี่ ส่วน ห้า ส่วน, อัน นั้น ยาว แต่ ส่วน หนึ่ง.
สาน (726:5)
         การ ที่ เขา เอา เส้น ตอก เปน ต้น ก่อ ตั้ง ขัด กัน แล กัน ให้ เปน แผ่น แผง นั้น.
      สาน กะด้ง (726:5.1)
               คือ ของ เขา สาน เปน รูป แบน เช่น แผง แล้ว, เอา ไม้ ทำ เปน ขอบ, ดัด ให้ กลม เอา ไว้ สำหรับ ฝัด เข้า เปน ต้น.
      สาน กะบุง (726:5.2)
               คือ ของ เขา สาน รูป สูง ขึ้น คล้าย ครุ สำหรับ ใส่ ของ ต่าง ๆ มี เข้า สาร เปน ต้น.
      สาน กะบาย (726:5.3)
               คือ ของ เขา สาน เปน รูป ต่ำ ๆ ย่อม ๆ สำหรับ ใส่ เข้า สุก ฤๅ เข้า สาร นั้น.
      สาน ตะกร้า (726:5.4)
               คือ ของ เขา สาน เปน รูป คล้าย กะบุง แต่ รูป มัน ต่ำ ก้น มัน มี รู สำหรับ ใส่ ปูน ขาว เปน ต้น นั้น.
      สาน หนู (726:5.5)
               เปน ชื่อ สาน อย่าง หนึ่ง, ศรี มัน แดง หลัว ๆ คน กิน ตาย เฃา เอา มา แต่ เมือง จีน นั้น.
      สาน ปาก นก (726:5.6)
               เปน ชื่อ สาน อย่าง หนึ่ง, ศรี มัน แดง แก่ เช่น ศรี ปาก นก แก้ว เขา ทำ ยา ได้ นั้น.
      สาน แผง (726:5.7)
               คือ เอา ตอก สาน เปน แผ่น เข้า นั้น.
      สานพร้า นาง แอ (726:5.8)
               เปน ชื่อ ต้นไม้ เล็ก ๆ อย่าง หนึ่ง, พวก หมอ เก็บ เอา มา ทำ ยา ได้ นั้น.
      สานพร้า หอม (726:5.9)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ เล็ก ๆ อย่าง หนึ่ง, เขา ปลูก ไว้ ประกอบ ยา เขียว เปน ต้น นั้น.
      สาน ส้ม (726:5.10)
               คือ สาน ที่ ศรี มัน ฃาว เช่น น้ำ ตาน กรวด, รศ มัน เปรี้ยว ใส่ ที่ น้ำ ขุ่น ให้ ใส ได้ นั้น.
      สาร กรม ธรรม์ (726:5.11)
               คือ หนังสือ เขา ทำ ไว้ ให้ กัน เมื่อ ขาย ตัว เปน ต้น, มี ความ ว่า คน นี้ มิ ได้ เปน บ่าว ทาษ ของ ผู้ ใด เปน ต้น.
      สาร หนังสือ (726:5.12)
               คือ หนังสือ สาร ตรา นั้น.
      สาล เจ้า (726:5.13)
               คือ เรือน ที่ เขา ปลูก เช่น ศาลา เล็ก ๆ ทำ ไว้ เปน ศาล เท*พา รักษ, เปน ที่ นับ ถือ ว่า ให้ คุณ สำเร็ทธิ์ สักสิทธิ์ นั้น.
      สาล ชำระ ความ (726:5.14)
               โรง ชำระ ความ, คือ ที่ เปน ศาลา สำหรับ ถาม แล พิจารณา ความ ราษฏร ฟ้อง หา กัน นั้น.
      สาล เทพา รักษ (726:5.15)
               คือ ที่ เขา ปลูก ขึ้น เช่น ศาลา เล็ก ๆ สำหรับ เปน ที่ เทวดา อยู่ นั้น.

--- Page 727 ---
      สาล พระภูม (727:5.16)
               คือ เรือน ที่ เขา ทำ เปน เช่น ศาล เล็ก ๆ ภอ ยก คน เดียว ได้, ทำ ให้ พระภูม เทวดา อยู่ รักษา บ้าน.
ส่าน (727:1)
         เปน ชื่อ ผ้า อย่าง หนึ่ง เขา ธอ ด้วย ขน สัตว มี ราคา แพง เขา เอา มา แต่ เมือง เทษ
      ส่าน สุรัศ (727:1.1)
               คือ ผ้า ส่าน* มา แต่ เมือง สุรัศ, เขา ธอ ด้วย ฃน สัตว เปน ส่าน ราคา เยา นั้น.
ส้าน (727:2)
         ซาบ, คือ ส้าน ฟุ้ง, เช่น ใจ คน กำเริบ วุ่นวาย ไม่ เปน ปรกติ ด้วย เหตุ ดี ฤๅ ร้าย นั้น.
      ส้าน เซน (727:2.1)
               คือ น้ำ ที่ คน เท สาด แล น้ำ กะเดน เซน ส้าน ออก ไป เปน เม็ด ฝอย เล็ก ๆ นั้น.
      ส้าน ซึม (727:2.2)
               คือ น้ำ ฟุ้ง แล้ว อาบ เทราะ เซิบ ไป ใน พื้น ดิน เปน ต้น นั้น.
      ส้าน ทราบ (727:2.3)
               คือ น้ำ ฟุ้ง กะเซน แล้ว ซึม อิ่ม ลง ที่ พื้น, เช่น น้ำ หมึก ที่ ฟุ้ง ส้าน แล้ว อาบ เอิบ ลง ที่ พื้น กะดาด.
      ส้าน ไป (727:2.4)
               คือ น้ำ ฟุ้ง กระเซน ไป, เช่น น้ำ ที่ คน ทำ เท กระ- เซน ไป นั้น.
      ส้าน ออก (727:2.5)
               เช่น โรค มี ใน กาย, แล มัน ผุด ออก มา ผ่าย นอก มี เม็ด ฝี เล็ก ๆ เปน ต้น.
สิน (727:3)
         สิ่ง ของ, คือ ทรัพย์ สมบัติ, บันดา ของ ใช้ สรอย แล ของ กิน นั้น.
      สิน ค้า (727:3.1)
               ฃอง ขาย, คือ ของ ที่ เขา จะ ขาย มี ผ้า แล ของ กิน มี เข้า เปน ต้น นั้น.
      สิน จ้าง (727:3.2)
               ค่า จ้าง, คือ ค่า จ้าง เช่น เฃา จ้าง คน มา ทำ การ ต่าง ๆ เปน ต้น ว่า ตัก น้ำ, ให้ สิ่ง ใด เปน ค่า เหนื่อย นั้น, ของ นั้น เรียก สิน จ้าง.
      สิน ใช้ (727:3.3)
               ของ ต้อง ใช้, คือ ทรัพย์ สิ่ง ของ มี เงิน ทอง เปน ต้น ที่ คน ยืม ของ เขา มา, ทำ ให้ แตก หัก หาย เปน ต้น นั้น, แล ต้อง ใช้ เฃา.
      สิน เดิม (727:3.4)
               ของ เดิม, คือ ทรัพย์ สิ่ง ของ ทอง เงิน เปน ต้น, ที่ เขา เอา มา แต่ แรก เมื่อ มา อยู่ เปน ผัว เมีย กัน นั้น.
      สิน ตัด (727:3.5)
               คือ ตัด สิน, คน จะ ทำ ไม้ ให้ ป้าน, แล เอา พร้า ฤๅ ขวาน ตัด ฟัน ไม้ ให้ ป้าน นั้น.
      สิน เทา (727:3.6)
               เปน ชื่อ เกลือ อย่าง หนึ่ง, เขา หุง ด้วย ดิน โป่ง มี ข้าง เมือง เหนือ เขา ทำ ยา บ้าง.
      สิน ทพ (727:3.7)
               เปน ชื่อ ม้า จำพวก หนึ่ง มี ใน หนังสือ เรื่อง บุราณ ว่า มัน เกิด แทบ ฝั่ง แม่ น้ำ สินทะวะ นัทธี นั้น.
      สิน ทรัพย์ (727:3.8)
               คือ ทรัพย์ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง.
      สินธุ (727:3.9)
               แปล ว่า น้ำ.
      สิน บน (727:3.10)
               คือ ทรัพย์ สิ่ง ของ ที่ คน ว่า บน ไว้ แก่ เขา เมื่อ เกิด ความ ทุกข์ ให้* เขา แก้ ไข ให้ ตัว พ้น ทุกข์ แล ให้ เขา นั้น.
      สิลประสาตร (727:3.11)
               เปน คำ เรียก วิชา ความ รู้ ต่าง ๆ มี รู้ อ่าน หนังสือ เปน ต้น นั้น.
      สิน มรฎก (727:3.12)
               คือ ทรัพย์ ทั้ง ปวง ที่ เมื่อ คน ตาย แล้ว, แล ทรัพย์ ของ ผู้ ตาย เรียก อย่าง นั้น.
      สิน ไม้ (727:3.13)
               คือ ฟัน ตัด ไม้ ที่ แหลม ทำ ให้ ป้าน, เขา จะ ตัด ไม้ ให้ เปน น่า แว่น เสมอ แล ตัด ฟัน ไม้ นั้น.
      สิน ไหม (727:3.14)
               คือ ทรัพย์ ที่ คน ต้อง เอา เสีย ให้ เขา เมื่อ แพ้ ความ เขา, ต้อง ปรับ มาก แล น้อย นั้น.
      สินระบาต (727:3.15)
               คือ ทรัพย์ สิ่ง ของ ที่ เจ้า ของ ตาย นั้น, กระจัด กระจาย ไป.
      สิน สอด (727:3.16)
               คือ ทรัพย์ เงิน ที่ คน ให้ แก่ กัน เมื่อ จะ อยู่ เปน ผัว เมีย กัน ให้ เปน ทุน ขาด แก่ หญิง คืน เอา ไม่ ได้ นั้น.
      สิน สมรศ (727:3.17)
               คือ ทรัพย์ เมื่อ คน ชาย หญิง อยู่ กิน เปน ผัว เมีย กัน แล้ว ทำ มา หา ได้ นั้น.
สิ้น (727:4)
         หมด, คือ หมด, เช่น ของ เดิม มี มาก, ครั้น กิน มา เปน ต้น, ของ หมด ไป นั้น.
      สิ้น กรรม (727:4.1)
               คือ สิ้น บาป บุญ ที่ ตน กะทำ ไว้ นั้น.
      สิ้น ความ (727:4.2)
               คือ หมด เรื่อง ความ ลง นั้น.
      สิ้น ใจ (727:4.3)
               คือ คน ฤๅ สัตว มัน ตาย ไป, เขา ว่า มัน สิ้น ใจ ไป ชาติ หนึ่ง ก่อน, แล้ว ไป เกิด อีก.
      สิ้น ชีวิตร (727:4.4)
               คือ สิ้น ที่ เปน อยู่ นั้น.
      สิ้น ชาติ (727:4.5)
               คือ สิ้น การ ที่ เกิด ก่อ ต่อ สืบ ไป อีก.
      สิ้น ตัว (727:4.6)
               คือ สิ้น เข้า ของ หมด, เหลือ อยู่ แต่ กาย เปล่า, แต่ ผ้า จะ นุ่ง ห่ม ก็ ไม่ มี นั้น.
      สิ้น ทุน (727:4.7)
               หมด ทุน, คือ สิ้น เงิน ที่ เขา เอา ไว้ สำหรับ ซื้อ ของ รอง สิน ค้า นั้น.

--- Page 728 ---
      สิ้น บุญ (728:4.8)
               หมด กุศล, คือ หมด กุศล ที่ เขา ได้ ทำ ไว้, แล นาน มา กุศล ให้ ผล, ให้ ได้ ไป เสวย สมบัติ มนุษ, สมบัติ สวรรค์ สิ้น ไป นั้น.
      สิ้น หมด (728:4.9)
               คือ ไม่ เหลือ หลอ, เช่น ของ สารพัด ทุกอย่าง, มี เข้า เปน ต้น, เดิม ที มี มาก ผ่าย หลัง นาน มา กิน หมด นั้น.
      สิ้น แล้ว (728:4.10)
               คือ ของ มาก อยู่ ผ่าย หลัง หมด ไป นั้น.
      สิ้น วัน (728:4.11)
               หมด วัน, คือ หมด วัน ที่ มี สำหรับ โลกย์ ทุก เดือน ทุก ปี, ครั้น ถึง กาล เมื่อ โลกย์ จะ ฉิบหาย ไม่ มี วัน ไม่ มี คืน นั้น ว่า สิ้น วัน ไป.
      สิ้น สังขาร (728:4.12)
               สิ้น ชีวิตร, คือ ดับ สังขาระธรรม, คือ จิตร แล เจตะสิก, แล รูป กาย ดับ ลง ชาติ หนึ่ง, นั้น.
      สิ้น เสร็จ (728:4.13)
               หมด สำเร็ทธิ์, คือ จัด แจง ทำ การ อัน ใด ๆ แล้ว สำเร็ทธิ์ นั้น.
      สิ้น สูญ (728:4.14)
               หมด สูญ, คือ สูญ สิ้น, เช่น ถึง กาล โลกย์ ฉิบ หาย นั้น, สิ่ง ของ อัน ใด ไม่ มี หลอ เหลือ เลย นั้น.
      สิ้น สุด (728:4.15)
               คือ ของ เดิม มี มาก, มา ผ่าย หลัง หมด สิ้น ไป ไม่ เหลือ.
      ศีล (728:4.16)
               ปรกติ, คือ การ สุจจิต, คน ประพฤติ ดี ด้วย กาย แล วาจา, แล จิตร นั้น.
      ศีล ขาด (728:4.17)
               คือ ผู้ รักษา ศีล, แล ประพฤติ ล่วง ศีล, ไม่ กระทำ ตาม บท ศีล.
      ศีล แปด (728:4.18)
               คือ สุจริต การ แปด อย่าง, คือ นับ เอา ศีล ห้า เช่น ว่า แล้ว, กับ ศีล อีก สาม, คือ ไม่ กิน เข้า เปน ต้น ใน เวลา บ่าย สัก เส้น ผม หนึ่ง, แล ไม่ ทัด ทรง ดอก ไม้ แล ทา เครื่อง หอม หนึ่ง, ไม่ นั่ง นอน เหนือ อาศนะ อัน สูง อัน มี ราคา มาก หนึ่ง.
      สิ้นเนื้อ ประดา ตัว (728:4.19)
               เช่น คน ไป ไน ทาง ทะเล, เที่ยว ค้า ฃาย เกิด เหตุ เรือ ล่ม ของ ฉิบหาย หมด ตัว รอด มา ได้, เขา พูจ อย่าง นั้น.
      ศีละ พัตะปรามาศ (728:4.20)
               คือ จับ ต้อง ถือ เอา สิ่ง ที่ ใช่ ศีละธรรม ว่า เปน ศีล, มี กิน อาหาร ทำ อาการ เช่น สุนักข เปน ต้น นั้น.
      ศีล พร (728:4.21)
               เปน คำ เขา พูจ ประกอบ เข้า ทั้ง ศีล ทั้ง พร.
      ศีล สี่ (728:4.22)
               ปรกติ สี่ อย่าง, คือ ศีล สี่ อย่าง, คือ เลี้ยง ชีวิตร ชอบ ธรรม หนึ่ง, คือ รักษา ศีล สอง ร้อย ยี่สิบเจ็ด หนึ่ง, คือ สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ไว้ ดี หนึ่ง, คือ พิจารณา อา หาร แล ผ้า แล ที่ แล ยา, ว่า เปน ของ พึง เกลียด หนึ่ง
      ศีล สองร้อย ยี่สิบเจ็ด (728:4.23)
               คือ ศีล สำหรับ พระสงฆ์ ประพฤติ, มี ศีล ปาราชิก สี่ เปน ต้น, อะธิกรณสมถะ เจ็ด เปน ที่ สุด นั้น.
      ศีล สิบ (728:4.24)
               คือ ศีล ห้า กับ ศีล แปด เช่น ว่า, แต่ แยก ออก ที่ ดู เล่น เต้น รำ เปน หนึ่ง, แล ไม่ ทัด ทา เครื่อง หอม หนึ่ง, แล ไม่ เก็บ สะสม เงิน ทอง หนึ่ง.
      ศีล ห้า (728:4.25)
               ปรกติ ห้า, คือ สุจริต การ ห้า อย่าง, ไม่ ฆ่า สัตว หนึ่ง, ไม่ ลัก ทรัพย์ หนึ่ง, ไม่ ผิด ผัว เมีย เขา หนึ่ง, ไม่ พูจ ปด หนึ่ง, ไม่ กิน เหล้า หนึ่ง.
      สุนธร (728:4.26)
               ฯ ความ งาม, แปล ว่า ดี, บันดา ของ อัน ใด ที่ ดี ว่า เช่น นั้น.
      สุนธร วาจา (728:4.27)
               ฯ แปล ว่า ถ้อย คำ ดี ไพรเราะห์.
      สุนธร โวหาร (728:4.28)
               ฯ ว่า คำ เขา กล่าว ดี.
      สุนธรา (728:4.29)
               ฯ แปล ว่า ดี มาก ดี หลาย คน, เช่น คน ฤๅ ของ มี ดี มาก นั้น.
      สุนธะโร (728:4.30)
               ฯ แปล ว่า ดี อัน เดียว, เช่น คน ฤๅ ของ ฤๅ สัตว ดี อัน เดียว นั้น.
      สุนธรัง (728:4.31)
               ฯ แปล ตาม บทมาลา, ว่า เหน ซึ่ง ของ ฤๅ คน ดี เพราะ ลง อัง วิภัติ.
      สุนธะเรศ (728:4.32)
               ฯ ว่า ดี ยิ่ง.
      สุ่น (728:4.33)
               เปน ชื่อ ต้น ดอก ไม้ บ้าง ชื่อ คน ก็ มี บ้าง, ต้น ยี่สุ่น นั้น มัน เปน ต้น ย่อม เล็ก มี ดอก งาม.
      สุ้น (728:4.34)
               เปน ชื่อ คน บ้าง, คน เปน เชื้อ จีน เกิด ที่ เมือง นี้, เขา มัก ให้ ชื่อ เจ้า สุ้น ชุม นั้น.
      สูญ (728:4.35)
               คือ ของ ที่ อันตร ธาน สิ้น, ไม่ มี อัน ใด สัก เท่า อนู แล ประมานู เหลือ อยู่ เลย นั้น.
      สูญ กลาง (728:4.36)
               คือ ที่ กลาง ใจ ดำ, เหมือน ของ อย่าง นี้ O ที่ ตรง กลาง นั้น เรียก สูญ กลาง สูญ ไส้ ก็ ได้.
      สูญ กัน (728:4.37)
               คือ ของ หาย ไป, คน มี ของ เปน ต้น ว่า ทาษ ชาย หญิง, มัน หนี ไป หา ไม่ ได้, เขา ว่า สูญ กัน.

--- Page 729 ---
      สูญ ไป (729:4.38)
               สิ้น ไป, หมด ไป, คือ หาย ไป, เช่น ของ ต่าง ๆ เปน วิญญาณกะทรัพย์, อะวิญญาณกะทรัพย์ หาย ไป.
      สูญ เปล่า (729:4.39)
               สิ้น เปล่า, เช่น ทราก สพ คน ฤๅ สัตว ที่ เขา ฝัง ไว้, ฤๅ เขา เผา อยู่ นาน เข้า หาย ไป หมด สิ้น นั้น.
      สูน แผ่นดิน (729:4.40)
               คือ แผ่นดิน สิ้น ฉิบหาย ไป นั้น. อีก อย่าง หนึ่ง คือ กลาง แผ่น ดิน.
      สูญ เพลิง (729:4.41)
               สิ้น ไป ใน ไฟ, คือ การ ที่ เงิน ฤๅ ทอง เขา หล่อ หลอม, ไฟ เผาผลาญ สิ้น ไป บ้าง เล็ก น้อย.
      สูญ หมด (729:4.42)
               สิ้น หมด, คือ ของ สูญ สิ้น, เช่น ของ สรรพ ทุก อย่าง, ถึง ซึ่ง วินาศ ฉิบ หาย ไป สิ้น นั้น.
      สูญ สิ้น (729:4.43)
               สิ้น สูญ, คือ ของ สูญ หมด, เช่น ของ สรรพ ทุก สิ่ง, ถึง ซึ่ง ฉิบหาย ประไลย ไป หมด.
      สูญ สาบ (729:4.44)
               คือ หาย ไป, แต่ สาบ นั้น เปน คำ สร้อย.
      สูญ เสื่อม (729:4.45)
               คือ เสื่อม หาย ไป นั้น.
      สูญ หาย (729:4.46)
               หาย หมด, คือ หาย สูญ, เช่น ของ ฤๅ คน ฤๅ สัตว, ไป หาย สูญ ไม่ มี หลอ เหลือ,
      สูรย์ (729:4.47)
               ว่า ดวง อาทิตย์
      เสน (729:4.48)
               คือ ของ เปน เครื่อง สำหรับ เขียน รูป ภาพ เปน ต้น, ศรี มัน แดง อ่อน เปน จุณ ละเอียด, เขา ทำ มา แต่ เมือง จีน นั้น.
      เสน ทอง (729:4.49)
               คือ ของ เปน เครื่อง เขียน เช่น ว่า, แต่ ศรี ศุก ราว กับ ศรี ทอง, เปน จุณ ละเอียด มา แต่ เมือง จีน.
      เส้น (729:4.50)
               เอ็น, คือ ของ เปน สาย ยาว ๆ เช่น ด้าย แล ไหม แล เชือก ปอ เปน ต้น นั้น.
      เส้น กลาง (729:4.51)
               สาย กลาง, คือ เส้น ที่ อยู่ กลาง เพื่อน, เช่น ไร่ นา มี อยู่ ห้า เส้น, ที่ มี เส้น นา อยู่ ข้าง ละคู่.
      เส้น ชัก (729:4.52)
               คือ เส้น ใน กาย มัน ชัก สะทก, เช่น คน เปน โรค บาท ยักษ นั้น.
      เส้น เชือก (729:4.53)
               สาย เชือก, คือ เชือก ยาว สี่ วา สามวา เปน ต้น บ้าง, ใหญ่ แล เล็ก เรียก เส้น เชือก.
      เส้น ด้าย (729:4.54)
               สาย ด้าย, คือ สาย ด้าย, เช่น ด้าย เขา ปั่น เปน เส้น, แล้ว พัด ทำ เปน เข็ด ไว้ นั้น.
      เส้น เทพจร (729:4.55)
               เอ็น เทพจร, คือ สาย เส้น มนุษ, ที่ เต้น อยู่ ที่ ข้อ มือ เปน ต้น เมื่อ คน เปน อยู่.
      เส้น หนึ่ง (729:4.56)
               คือ ที่ พื้น ยาว ยี่สิบ วา เรียก ว่า เส้น หนึ่ง, นับ ไป สี่ร้อย เส้น นั้น เปน โยชน์ หนึ่ง.
      เส้น บันทัด (729:4.57)
               คือ เส้น ด้าย ที่ เขา ทำ ไว้ สำหรับ ตี ไม้ ฤๅ ใบ ลาน, จะ เลื่อย ไม้ ให้ ตรง ฤๅ เขียน หนังสือ ให้ ตรง.
      เส้น ป่าน (729:4.58)
               สาย ป่าน, คือ เส้น ป่าน ที่ เปน เส้น เล็ก ๆ เด็ก ชัก ว่าว เล่น เมื่อ น่า ลม เข้า นั้น.
      เส้น ผี (729:4.59)
               ให้ ผี กิน, คือ การ ที่ คน เอา ของ อาหาร ใส่ ลง ใน กะบาน แล้ว เอา ไป วาง ที่ ริม หลุม ฝัง สพ, ว่า ให้ ผี มัน กิน.
      เส้น ผม (729:4.60)
               คือ เส้น ที่ มัน เกิด ที่ หัว คน ยาว ๆ ฃาว ดำ นั้น.
      เส้น สูญ (729:4.61)
               คือ เส้น ใน กาย มนุษ, มัน อยู่ กลาง ท้อง ตลอด ไป ตาม ยาว เบื้อง ต่ำ นั้น.
      เส้น สาย (729:4.62)
               เปน คำ พูจ ถึง เส้น, บาง ที ก็ เอา คำ สาย ใส่ ด้วย.
      เส้น อำมะพฤกษ (729:4.63)
               เอ็น อำมะพฤกษ, คือ เส้น ที่ มัน เต้น ดุบ ๆ อยู่ เคียง เส้น สูญ ที่ ท้อง เมื่อ คน เปน อยู่ นั้น.
      เส้น เอ็น (729:4.64)
               สาย เอ็น, คือ เส้น ที่ เปน เส้น ใหญ่ เหนียว, เช่น เอ็น เนื้อ ที่ พวก เจ็ก ซื้อ ไป เมือง จีน นั้น.
แสน (729:1)
         คือ นับ ได้ สิบ หมื่น, ว่า แสน หนึ่ง นั้น.
      แสน โกฏิ์ (729:1.1)
               คือ นับ แต่ หนึ่ง ถึง โกฏิ์ ๆ นั้น นับ ไป ได้ ถึง แสน หนึ่ง, จึ่ง เรียก แสน โกฏิ์.
      แสน กัป (729:1.2)
               แสน กัลป, คือ แสน กับ, ความ ก็ เช่น แสน กัลป, คือ ปัน กาล อัน นาน กำหนด กับ เช่น ว่า แล้ว, นับ ได้ แสน หนึ่ง.
      แสน กล (729:1.3)
               คือ กล อุบาย นับ ด้วย แสน นั้น.
      แสน กัลป (729:1.4)
               คือ นับ กัลป, คือ กาล นาน เปน สี่ ส่วน เท่า กัน ที หนึ่ง นับ เปน หนึ่ง ไป จน ถึง แสน นั้น.
      แสน เข็ญ (729:1.5)
               ลำบาก นัก, คือ ความ ลำบาก, แสน กันดาร, ประดัก ประเดิด, คือ ต้อง เดิน ฤๅ แบก หาม ของ หนัก เปน ต้น นั้น.
      แสน แค้น (729:1.6)
               แค้น นัก, คือ ความ คับ แค้น เคือง ใจ จะ ตอบ แทน ไม่ ได้, ถึง แค้น ขัด ใจ มาก เท่า ไร ก็ ตอบ แทน ไม่ ได้.

--- Page 730 ---
      แสน งอน (730:1.7)
               คือ อาการ คน ทำ มารยา กระบวน, เช่น เขา แจก ของ ให้ คน มาก, ถ้า เขา ไม่ ออก ชื่อ ตัว แล้ว ไม่ เอา.
      แสน ดี (730:1.8)
               ดี หนัก, คือ สิ่ง ที่ ดี ยิ่ง, เช่น ของ อัน ใด ที่ ดี ยิ่ง, เขา ชม ด้วย ออก ปาก ว่า แสน ดี นั้น.
      แสน ทวี (730:1.9)
               มาก นัก หนา, คือ แสน เท่า, เช่น ความ ที่ ดี ฤๅ ชั่ว มาก กว่า เก้า หมื่น ส่วน นั้น ว่า แสน ทวี.
      แสน หนึ่ง (730:1.10)
               คือ นับ แต่ หนึ่ง จน ถึง สิบ หมื่น นั้น, เขา นับ ว่า สิบ ร้อย เปน พัน, สิบ พัน เปน หมื่น, สิบ หมื่น เปน แสน.
      แสน รู้ (730:1.11)
               คือ คน มี ปัญญา* ฉลาด รู้ มาก นั้น.
      แสน รักษ์ (730:1.12)
               รักษ์ หนัก, คือ ความ รักษ เกิด มาก, นับ ด้วย แสน ส่วน นั้น.
      แสน เล่ห์ (730:1.13)
               แสน กล, คือ คน เจ้า เล่ห์ เจ้า กล, คือ คิด อุ บาย จะ เบียด เบียฬ เปน ต้น.
      แสน สา หัศ (730:1.14)
               ลำบาก หนัก, คือ การ ที่ ถูก ต้อง เบียด เบียฬ ขับ เฆี่ยน จำ จอง, ไว้ ใน คุก ใน ตะราง เปน ต้น นั้น.
      แสน สลด (730:1.15)
               สังเวศ หนัก, คือ ความ สลด รันทด ใจ, เช่น ความ สังเวศ บังเกิด ขึ้น, เพราะ ความ สงสาร นัก นั้น.
      แสน สวาดิ* (730:1.16)
               รักษ หนัก, คือ ความ รักษ มี กำลัง นัก, เช่น คน รักษ บุตร ภรรยา เปน ที่ ยิ่ง, ว่า แสน สวาดิ.
      แสน สงสาร (730:1.17)
               สงสาร หนัก, คือ ความ เมตตา กรุณา แก่ ชน มนุษ ทั้ง ปวง, ที่ เปน คน บาป อยาก จะ ให้ เขา พ้น บาป ได้ ความ ศุข.
      แสน แสบ (730:1.18)
               แสบ หนัก, คือ ชื่อ ทุ่ง นา ตำบล หนึ่ง, อยู่ ฝ่าย ทิศ ตวัน ออก เฉียง เหนือ กรุง เทพ มหา นคร นี้. อย่าง หนึ่ง ความ แสบ หนัก เหลือ ทน.
      แสน โศรก (730:1.19)
               โศรก หนัก, คือ ความ เศร้า โศรก หนัก, เช่น คน มี ความ ทุกข ร้อน เหลือ กำลัง นั้น.
      แสน อาไลย (730:1.20)
               รักษ หนัก, คือ ความ เอื้อ เฟื้อ คิด ถึง ด้วย เสน่หา รักษ หนัก, เช่น คน คิด ถึง คน เปน ที่ รักษ ที่ พรัด พราก จาก ไป นั้น.
สอน (730:1)
         (dummy head added to facilitate searching).
      สอน (730:1.1)
               ให้ โอวาท, คือ ความ ที่ บอก ให้ รู้ หนังสือ เปน ต้น, เช่น คน เปน ครู อาจาริย์ บอก แก่ สิษ.
      สอน คน (730:1.2)
               หัด คน, คือ บอก วิชา อัน ใด ๆ ให้ คน รู้, เช่น คน ไม่ รู้ การ วิชา อัน ใด แล มี ผู้ สอน ให้ รู้.
      สอน ใจ (730:1.3)
               เตือน สติ ตน เอง, เช่น คน เหน ทุกข์ เหน ไภย แล้ว เตือน สติ ตัว เอง, ให้ ประพฤติ ดี นั้น.
      สอน เด็ก (730:1.4)
               คือ บอก ให้ เด็ก รู้ หนังสือ เปน ต้น, คน เปน ครู สอน ให้ เด็ก เล่า เรียน นั้น.
      สอน ตัว (730:1.5)
               ให้ โอวาท ตัว เอง, คือ เตือน สติ ตัว เอง, เช่น คน เหน ผิด แล ชอบ รู้ แล้ว เตือน ตัว เอง ให้ ทำ การ ดี.
      สอน หนังสือ (730:1.6)
               หัด หนังสือ, คือ บอก ให้ รู้ หนังสือ มี กุลบุตร มา พึ่ง เล่า เรียน หนังสือ ต่าง ๆ แล บอก ให้ รู้ นั้น.
      สอน พูจ (730:1.7)
               คือ ทารก แรก รู้ พูจ เจรจา นั้น.
      สอน ลูก (730:1.8)
               คือ บอก ลูก ให้ รู้ หนังสือ เปน ต้น, คน เปน พ่อ แม่ แล สอน ลูก ให้ เรียน.
      สอน วิชา (730:1.9)
               หัด ความ รู้ ให้ เขา, คือ บอก ให้ คน รู้ ศิลประ- สาตร ต่าง ๆ มี วิชา หนังสือ เปน ต้น นั้น.
      สอน สั่ง (730:1.10)
               คือ สอน สั่ง ให้ จำ เอา หนังสือ เปน ต้น.
      สอน สิษ (730:1.11)
               หัด ลูก สิษ, คือ บอก คน สิษ ที่ มา เล่า เรียน ให้ รู้ วิชา สรรพ ต่าง ๆ ตาม ธรรมเนียม นั้น.
      สอน สาศนา (730:1.12)
               หัด ใน การ สาศนา, คือ นำ เอา ความ บัญญัติ แล คำ สั่งสอน ไป เที่ยว สอน, คน ทั้ง หลาย ทั้ง ปวง ด้วย ความ เมตตา นั้น.
      สอน ให้ รู้ (730:1.13)
               บอก ให้ รู้, คือ กล่าว คำ สอน ว่า ทำ อย่าง นี้ เปน บาป, ทำ อย่าง นี้ เปน บุญ จะ พ้น ทุกข์ ได้ ความ ศุข.
สอร (730:2)
         ธนู, คือ ศร ธนู เปน อาวุธ อย่าง หนึ่ง, ศร นั้น มี คัน เช่น ธนู มี ลูก ปลาย แหลม.
ส่อน (730:3)
         เหล่, หลิ่ว, คือ ตา คน เหล่ วิกล ไม่ เปน ปรกติ ดี, เช่น คน ที่ ตา เหล่ ข้าง หนึ่ง นั้น. อย่าง หนึ่ง เปน ชื่อ คน ชื่อ ส่อน บ้าง.
ส้อน (730:4)
         เก็บ ไว้ ไม่ ให้ เหน, คือ การ ที่ คน เอา ของ เก็บ ไว้ ใน ที่ ลับ, แล เอา ของ อัน ใด ปก ปิด ไว้ ฤๅ ทำ ตัว ให้ มิด กำบัง ไม่ ให้ คน เหน.
สวน (730:5)
         อุทธยาน, คือ ที่ ๆ เขา วง ล้อม ด้วย รั้ว เปน ต้น, แล้ว ขุด เปน ร่อง ยก เปน คัน สันดอน ปลูก ต้น ไม้ ต่าง ๆ,

--- Page 731 ---
      สวน กล้วย (731:5.1)
               ไร่ กล้วย, คือ ที่ เขา ทำ เช่น ว่า แล้ว ปลูก แต่ ล้วน ต้น กล้วย มาก, ต้น ไม้ อื่น มี หนิด น่อย.
      สวน ดอก ไม้ (731:5.2)
               ที่ ปลูก ต้น ดอก ไม้, เช่น สวน ที่ พวก หมอ วง ล้อม ปลูก ต้น ไม้ มี ดอก ต่าง ๆ, หอม บ้าง ไม่ หอม บ้าง นั้น.
      สวน ทู่เรียน (731:5.3)
               ดง ทู่ เรียน, คือ ที่ เช่น ว่า เขา ปลูก ต้น ทู่เรียน มาก กว่า ต้น ผลไม้ อื่น ๆ ปลูก บ้าง แต่ น้อย.
      สวน หมาก (731:5.4)
               ดง หมาก, คือ ที่ เช่น ว่า, เขา ปลูก ต้น หมาก มาก กว่า ต้น ไม้* อื่น นั้น.
      สวน มา (731:5.5)
               คือ เดิน ไป บัด เดี๋ยว แล้ว กลับ ย้อน มา นั้น, ว่า กลับ สวน มา.
      สวน มะพร้าว (731:5.6)
               ดง มะพร้าว, คือ ที่ เช่น ว่า, เขา ปลูก ต้น มะพร้าว มาก ชุม กว่า ต้น ไม้ อื่น นั้น.
      สวน ยา เข้า ไป (731:5.7)
               คือ ทำ ให้ ยา เข้า โดย ทาง ทวาร หนัก, ว่า สวน นั้น, เพราะ ยา ทวน เข้า ไป นั้น.
      สวน ลำไย (731:5.8)
               คือ ที่ เขา ทำ เช่น ว่า, เขา ปลูก ต้น ลำไย ชุม มาก กว่า ไม้ อื่น นั้น.
      สวน หลวง (731:5.9)
               สวน ใหญ่, สวน พระ มหา กระษัตริย์, คือ สวน ของ ขุนหลวง, มิใช่ สวน ของ ราษฏร ชาว บ้าน ชาว เมือง ทั้ง ปวง นั้น.
      สวน สัน (731:5.10)
               ว่า หัวเราะ, เปน คำ หลวง ว่า, สรวลสัน นั้น.
      สวน ไป (731:5.11)
               คือ เดิน มา บัดเดี๋ยว แล้ว กลับ ย้อน ไป นั้น, ว่า สวน ไป.
      สวน ส้ม (731:5.12)
               ไร่ ส้ม, คือ ที่ เขา ทำ เช่น ว่า, แล ปลูก ต้น ส้ม ทั้ง นั้น ไม่ มี ต้น ไม้ อื่น นั้น.
      สวน อุทธยาน (731:5.13)
               คือ ที่ สวน เปน ที่ เที่ยว ไป ชม ดอก ไม้ เปน ต้น ใน เบื้อง บน นั้น.
ส่วน (731:1)
         แผนก, ที่, คือ ของ เขา แบ่ง ปัน ออก ไว้ เปน แห่ง ๆ เช่น ของ มี เข้า เปน ต้น, เขา แบ่ง ออก ไว้ เปน แห่ง ๆ.
      ส่วน กลาง (731:1.1)
               คือ ของ เขา แบ่ง ปัน กัน ทั่ว แล้ว เปน ส่วน ๆ, แล ของ ยัง เหลือ อยู่ เขา ตั้ง ไว้ เปน ส่วน หนึ่ง อีก, คน ทั้ง นั้น ใช้ ได้ เปน ต้น นั้น.
      ส่วน เดียว (731:1.2)
               ที เดียว, คือ ส่วน หนึ่ง, เช่น ของ เขา ตั้ง ไว้ เปน ส่วน หนึ่ง เพื่อ คน ๆ หนึ่ง นั้น.
      ส่วน ตัว (731:1.3)
               ฝ่าย ตัว, คือ ของ ที่ คน เอา ไว้ เปน ส่วน ของ ตัว นั้น.
      ส่วน น้อง (731:1.4)
               ฝ่าย น้อง, คือ ของ ที่ คน ตั้ง ไว้ เปน ส่วน ของ น้อง นั้น.
      ส่วน แบ่งปัน (731:1.5)
               แผนก แบ่งปัน, คือ ของ อัน ใด ที่ เขา ปัน เปน ส่วน ออก แล้ว, แล คน ได้ ไป เปน ส่วน ของ ตัว นั้น.
      ส่วน พี่ (731:1.6)
               ข้าง พี่, คือ ของ ที่ เขา ตั้ง ไว้ เปน ส่วน ของ พี่ นั้น.
      ส่วน พ่อ (731:1.7)
               ข้าง พ่อ, คือ ของ ที่ เปน ส่วน ของ พ่อ, ไม่ ทั่ว ไป แก่ ลูก ใหญ่ น้อย ชาย หญิง ทั้ง ปวง นั้น.
      ส่วน มรฎก (731:1.8)
               คือ ทรัพย์ เปน ของ คน ตาย. บันดา ทรัพย์ ของ คน ตาย, เรียก ว่า เปน ส่วน มรฎก.
      ส่วน แม่ (731:1.9)
               แผนก แม่, คือ ของ ที่ เปน ส่วน ของ แม่, ไม่ ทั่ว ไป แก่ พวก ลูก ชาย หญิง ทั้ง ปวง นั้น.
      ส่วน ลูก (731:1.10)
               แผนก ลูก, คือ ของ ที่ พ่อ แม่ ยก ให้ เปน ส่วน ของ ลูก, ไม่ ได้ ไป เอา มา ระคน ปน กับ ของ เปน ส่วน ของ ตัว นั้น.
      ส่วน หลาน (731:1.11)
               แผนก หลาน, คือ ของ ที่ เปน ส่วน ของ หลาน, คือ คน เปน ลูก ของ ลูก ฤๅ เปน ลูก ของ พี่ เปน ต้น นั้น.
      ส่วน สัจ (731:1.12)
                คือ ของ เปน แห่ง ๆ เปน กอง ๆ สัจ เปน คำ สร้อย.
      ส่วน อาการ (731:1.13)
               คือ อาการ เปน แห่ง ๆ เปน พวก ๆ นั้น.
เสียร (731:2)
         ศีศะ, เกล้า, คือ หัว, เรียก ว่า ศิระ, เปน คำ แผลง ว่า เศียร, เรียก เปน คำสูง ติด สับท์ นั้น.
      เสียรเกล้า (731:2.1)
               เกล้า กระหม่อม, คือ หัว ที่ มี ผม เกล้า อยู่ นั้น, เรียก เศียร เกล้า เปน คำ เพราะ.
      เสียร ขาด (731:2.2)
               ศีศะ ขาด, คือ หัว ขาด, เช่น คน เขา ตัด เอา หัว ออก เสีย จาก ตัว แล้ว, เรียก ว่า เศียร ขาด.
เสี้ยน (731:3)
         หนาม, คือ ไม้ ที่ เปน ปลาย แหลม อยู่ ประมาณ เท่า ไม้ กลัด, ติด อยู่ กับ ซีก ไม้ ไผ่ เปน ต้น นั้น.
      เสี้ยน หนาม (731:3.1)
               หนาม เสี้ยน, คือ เสี้ยน ไม้ เช่น ว่า แล้ว, แต่ หนาม นั้น มัน เกิด กับ ชาติ ต้น ไม้ ที่ มี หนาม นั้น.
      เสี้ยน หนาม แผ่นดิน (731:3.2)
               หนาม เสี้ยน แผ่นดิน, คือ คน เปน สัตรู ต่อ เจ้า แผ่นดิน, เปน คน คิด ขบถ จะ ประทุษฐ ร้าย เจ้า ชีวิตร.

--- Page 732 ---
      เสี้ยน ยอก (732:3.3)
               หนาม ยอก, คือ ไม้ เช่น ว่า เสียบ ถูก ที่ ท้าว, เปน ต้น นั้น.
      เสี้ยน สัตรู (732:3.4)
               ฆ่าศึก สัตรู, คือ คน คิด ประทุษฐ ร้าย แก่ กัน, เปน คำ เขา พูจ เปรียบ เช่น เสี้ยน ที่ ยอก นั้น.
      เสี้ยน สาศนา (732:3.5)
               ฆ่าศึก สาศนา, คือ คำ ที่ เปน ฝ่าย อื่น ไม่ ถูก ต้อง กับ คลอง ธรรม*, อัน สม ควร จะ ประฏิบัติ นั้น.
สบ (732:1)
         ปะภบ, คือ ภบ ปะ กัน แล ภอ จำเภาะ ภอ ดี กัน, คน ไป ตาม ทาง ภอ ภบ กัน เข้า นั้น. อย่าง หนึ่ง เขา เจาะ รู จะ ใส่ ด้ำ ภอ ดี กัน นั้น.
      สบ กัน (732:1.1)
               คือ ภอ ดี กัน, เช่น คน กิน หมาก, ปูน กับ พลู แล หมาก ภอ ดี กัน นั้น.
      สบ ใจ (732:1.2)
                คือ ถูก ใจ ต้อง ใจ ชอบ ใจ.
      สบ ช่อง (732:1.3)
               คือ จำ เภาะ ช่อง, เช่น คน ทิ้ง อัน ใด ไป, แล ของ นั้น ภอ จำ เภาะ เข้า ใน ช่อง. อย่าง หนึ่ง พูจ เปน ความ เปรียป*, ว่า เรา คอย อยู่ ภอ สบ ช่อง ภบ เข้า นั้น.
      สบ ตา (732:1.4)
               คือ แล ไป ภอ ปะตา กัน.
      สบ ประสงค์ (732:1.5)
               คือ สม ความ ปราถนา นั้น.
      สบ ปาก (732:1.6)
               คือ ของ ชอบ ปาก, คน ภอ ใจ กิน นั้น.
      สบ ปูน พลู (732:1.7)
               คือ หมาก กับ ปูน กัป* พลู, คน ใส่ เข้า ใน ปาก เคี้ยว เข้า ไม่ มาก ไม่ น้อย ภอ ดี กัน.
      สบ พระ ไทย (732:1.8)
               คือ ชอบ ใจ ถูก ต้อง ใจ, เปน คำ หลวง ว่า สบ พระไทย.
      สบ เหมาะ (732:1.9)
               คือ สบ งาม เข้า, เช่น คน ทำ การ อัน ใด เปน ต้น, ปรับ ปาก ไม้ ภอ ได้ กัน.
      สบ เสีย (732:1.10)
               ชอบ ภอ, คือ ความ โปรด ปราน, พูจ เปน คำ สูง โดย คำนับ, เช่น คน ที่ ขุนหลวง ชอบ พระไทย
      สพ (732:1.11)
               คือ ทราก คน ตาย, รูป กาย คน ตาย นั้น, เขา เรียก สพ ตาม คำ สับท์ แผลง นั้น.
สับ (732:2)
         คือ การ ที่ เขา เอา มีด ฤๅ พร้า เงื้อ ขึ้น, แล้ว หวด ลง ฟัน ลง ที่ ท่อน ไม้ เปน ต้น นั้น.
      สับท์ สำเนียง (732:2.1)
               คำ นี้ สับท์ กับ คำ สยาม ติด กัน อยู่, สับท์ นั้น เปน คำ มคธ ภาษา, แต่ คำ ว่า สำเนียง เปน คำ สยาม ภาษา ความ เหมือน กัน
      สับ เนื้อ (732:2.2)
               คือ เอา มีด สับ ลง ที่ ชิ้น เนื้อ.
      สับปะคับ (732:2.3)
               คือ เครื่อง สำหรับ นั่ง บน หลัง ช้าง นั้น.
      สับปะหงก (732:2.4)
               คือ อาการ ที่ คน นอน ฤๅ นั่ง, แล สอึก ยก หัว ขึ้น น่อย หนึ่ง นั้น.
      สับปะดน (732:2.5)
               คือ อุตริ ทำ การ วิปะลาศ, ตัว มี ฟัน เคี้ยว ได้, แล ทำ ตำ หมาก กิน นั้น.
      สับประทน (732:2.6)
               คือ ร่ม ทำ ด้วย ผ้า, ฤๅ แพร ศรี แดง มี คัน ยาว เปน เครื่อง ยศ สำหรับ ขุนนาง กั้น.
      สับปะทุน (732:2.7)
               อธิบาย ว่า เปน คน โง่ นั้น.
      สับฟัน (732:2.8)
               คือ อาการ ที่ เรา เอา มีด ฤๅ พร้า สับฟัน, คน จะ ทำ การ อัน ใด ด้วย ไม้, แล เอา มีด เปน ต้น ฟัน นั้น.
      สับ สี (732:2.9)
               คือ สับ เปน รอย มาก กว่า เก้า แผล สิบ แผล, แล้ว เอา ยา สี ถู ลง ที่ แผล สับ นั้น.
      สับ เสี่ยง (732:2.10)
               คือ สับ ลง เปน รอย ที่ หัว คน ว่า สับ เสี่ยง หนึ่ง, สับ ลง ที่ อื่น นั้น ไม่ ว่า เสี่ยง.
      สับเสร็จ (732:2.11)
               คือ สำเร็ทธิ์.
      สับ สน (732:2.12)
               คือ การ ที่ คน เดิน ฤๅ วิ่ง ไป มา มาก หลาย นั้น.
      สับ หัว (732:2.13)
               คือ เอา มีด สัป ลง ที่ หัว นั้น.
      สับ ปลับ (732:2.14)
               คือ พูจ เท็จ, ของ อัน ใด เช่น ยิง ปืน จะ ให้ ถูก ที่ หมาย, มัน ไม่ ถูก ตรง หมาย, เขา ว่า มัน สับ ปลับ ไป นั้น.
      สัปรุษ (732:2.15)
               คือ บุรุษ ที่ ประพฤติ สุจริต ธรรม.
      สัป เหร่อ (732:2.16)
               คือ คน เปน ผู้ เผา กะเฬวะระ ซาก สพ คน ตาย* ที่ เอา ไป เผา ใน ป่าช้า
      สรรพนาม (732:2.17)
               ฯ เปน บทมูล ว่า อักษร ยะ ให้ ว่า ใด, อักษร ตะ ให้ ว่า นั้น, เปน ต้น นั้น.
      สรรพพัญ ญู (732:2.18)
               ฯ แปล ว่า รู้ ซึ่ง ธรรม ทั้ง ปวง โดย ปรกติ, ผู้ อื่น ถึง รู้ ก็ ไม่ เหมือน พระเจ้า.
      สัพยอก (732:2.19)
               คือ การ ที่ พูจ หยอก ต่าง ๆ นั้น.
      สรรพยุทธ์ (732:2.20)
               คือ การ ที่ สู้ รบ กัน.
      สัพรศ (732:2.21)
               คือ ต้น ไม้ ใบ มี หนาม มี ผล กิน เปรี้ยว ๆ หวาน ๆ ต้น มัน เตี้ย อยู่ กับ ดิน.
      สัพะรัศ (732:2.22)
               คือ ต้น ไม้ เช่น ว่า นั้น, แต่ ลูก มัน ใหญ่
      สรรพ สาธารณะ (732:2.23)
               แปล ว่า ทั่ว ทั้ง ปวง.

--- Page 733 ---
สาบ (733:1)
         คือ กลิ่น เหมน ที่ ตัว สัตว ต่าง ๆ, มี ตัว แร้ง เปน ต้น, ลาง ที กลิ่น เหมน ที่ ตัว คน บ้าง นั้น.
      สาบ กา (733:1.1)
               คือ กลิ่น เหมน ที่ ตัว กา, อัน ธรรมดา กา ทั้ง ปวง นั้น, มี กลิ่น ที่ ตัว เหมน นัก.
      สาบ แช่ง (733:1.2)
               คือ กล่าว คำ แช่ง สาบ สรรค์, เช่น เมื่อ พระเยซู แช่ง สาบ ต้น มะเดื่อ ไม่ ให้ มัน มี ลูก นั้น.
      สาบ สูญ (733:1.3)
               คือ เสื่อม หาย ไป.
      สาบ สรรค์ (733:1.4)
               คือ กล่าว คำ แช่ง สาบ สรรค์, เช่น ครั้ง พระเย ซู แช่ง สาบ ต้น มะเดื่อ นั้น.
      สาบ ศรี (733:1.5)
               คือ สอด ศรี, เช่น คน ทำ เครื่อง กะดาด เปน เครื่อง สพ เปน ต้น, มี ศรี ต่าง ๆ นั้น.
สิบ (733:2)
         คือ นับ แต่ หนึ่ง จน ถึง สิบ, คน นับ ของ ว่า หนึ่ง สอง สาม สี่ ตลอด จน เก้า สิบ นั้น.
      สิบ ตัว (733:2.1)
               คือ นับ นก ฤๅ ปลา เปน ต้น, ว่า ตัว หนึ่ง ฤๅ สอง ตัว ตลอด จน ถึง สิบ ตัว นั้น.
      สิบ องค์ (733:2.2)
               สิบ คน, คือ นับ พระ เปน ต้น, ว่า องค์ หนึ่ง ถึง สิบ องค์ นั้น.
สืบ (733:3)
         เสาะ, ต่อ, คือ เที่ยว เสาะ แสวง ไต่ ถาม จะ ใคร่ รู้ ความ ที่ ตน อยาก รู้ นั้น, ว่า สืบ.
      สืบ ข่าว (733:3.1)
               ถาม ข่าว, คือ เที่ยว สืบ ถาม ถึง ความ ที่ ได้ ยิน แต่ ความ ที่ เขา ว่า มา ยัง ไม่ มี ตัว มา นั้น.
      สืบ คน (733:3.2)
               เสาะ หา คน, คือ เที่ยว ถาม หา ตัว คน ที่ หนี ไป เปน ต้น.
      สืบ ความ (733:3.3)
               เสาะ หา ความ, คือ เที่ยว เสาะ ถาม เรื่อง ความ อัน ใด ๆ นั้น
      สืบ ชาติ (733:3.4)
               คือ เกิด ต่อ ๆ ไป นั้น.
      สืบ ต่อ (733:3.5)
               คือ คน จะ ธอ ผ้า แล เอา ฟืม สำหรับ ธอ มา แล้ว เอา เส้น ด้าย ยาว, สืบ ต่อ เข้า กับ ด้าย ซัง ที่ ติด อยู่ กับ ฟืม นั้น.
      สืบ ถาม (733:3.6)
               คือ เที่ยว เสาะ แสวง พูจ กับ เขา ว่า, ท่าน รู้ บ้าง ฤๅ เหน บ้าง ฤๅ, ว่า คน นั้น อยู่ ที่ ไหน เปน ต้น นั้น.
      สืบ ไป (733:3.7)
               คือ เที่ยว สืบ ไป, คน จะ ใคร่ รู้ เรื่อง อัน ใด ๆ แล เที่ยว ไป ถาม เขา ต่อ ๆ ไป นั้น.
      สืบ ผล (733:3.8)
               คือ ต้น ไม้ มี ผล ต่อ ๆ กัน ไป นั้น.
      สืบ พยาน (733:3.9)
               คือ การ ที่ คน ภา กัน ไป สู่ ที่ คน เปน พยาน แล้ว ไต่ ถาม เอา เนื้อ ความ นั้น.
      สืบ มา (733:3.10)
               คือ เที่ยว สืบ มา, คน จะ ใคร่ รู้ ความ อัน ใด ๆ แล เขา เที่ยว มา สืบ ด้วย จะ ใคร่ รู้ นั้น.
      สืบ มา แต่ บูราณ (733:3.11)
               คือ การ ที่ ทำ ตาม อย่าง ต่อ ๆ มา แต่ กาล ก่อน นั้น.
      สืบ เรื่อง (733:3.12)
               คือ อยุด เรื่อง ไว้ แล้ว ต่อ ไป, เช่น คน อ่าน เรื่อง อัน ใด แล อยุด ไว้ แล้ว อ่าน ต่อ ไป.
      สืบ แสวง (733:3.13)
               คือ สืบ ค้น หา, คน อยาก ได้ ของ อัน ใด ฤๅ อยาก รู้ เปน ต้น, เที่ยว ค้น เสาะ ดู นั้น.
      สืบ สันดาร มา (733:3.14)
               คือ สืบ ต่อ เนื่อง กัน มา แต่ ก่อน.
      สืบ สวน (733:3.15)
               คือ ไต่ ถาม เอา เรื่อง เนื้อ ความ.
      สืบ ๆ กัน มา (733:3.16)
               คือ ต่อ ๆ กัน มา, เช่น เรื่อง พระ สาศนา เปน ต้น, คน แต่ ก่อน ได้ เขียน ต่อ ๆ กัน มา นั้น.
      สืบ สาย โลหิต (733:3.17)
               คือ คน เปน ลูก หลาน ญาติ วงษ พงษพันธุ กัน นั้น.
      สืบ สาว ราว เรื่อง (733:3.18)
               คือ ไต่ ถาม เอา เรื่อง เนื้อ ความ ต่อ ๆ ไป เปน ต้น.
      สืบ เสาะ (733:3.19)
               คือ สืบ ขวน ขวาย หา, เช่น คน ค้น หา ของ มี สัตว ที่ มัน หนี หาย ไป เปน ต้น นั้น.
      สืบ หา (733:3.20)
               เสาะ หา, คือ ขวน ขวาย หา, เช่น คน อยาก จะ ภบ คน ที่ หนี หาย แล เที่ยว เสาะ หา.
      สืบ หูก (733:3.21)
               ต่อ หูก, คือ เอา ฟืม เครื่อง ธอ ผ้า มา แล้ว, เอา ด้าย ยาว ที่ จะ ธอ เปน ผืน ผ้า มา ต่อ เข้า กับ ด้าย ซัง นั้น.
      สืบ เอา (733:3.22)
               คือ ค้น หา จะ เอา ของ อัน ใด ๆ, แล เขา เที่ยว หา ของ นั้น เพื่อ จะ ต้อง การ.
สูบ (733:4)
         คือ เอา ของ ใส่ ใน ปาก แล้ว สูด ควัน ให้ เข้า ใน ปาก, เช่น เขา สูบ บูหรี่ เปน ต้น.
      สูบ กล้อง (733:4.1)
               คือ เอา กล้อง ใส่ เข้า ใน ปาก แล้ว ดูด ควัน ให้ เข้า ใน ปาก แล ออก ทาง จะ มูก บ้าง.
      สูบ กันชา (733:4.2)
               คือ การ ที่ คน เอา ดอก กะหลี่ กัญชา หั่น ออก ให้ แหลก แล้ว ใส่ ลง ใน จะหลิ่ม ดูด ชัก ตุ้ง ก่า นั้น.
      สูบ ทอง (733:4.3)
               คือ เอา ทอง ใส่ ใน เบ้า แล้ว เอา เข้า ตั้ง ใน เตา ไฟ แล ชัก สูบ ไป เพื่อ จะ ให้ ละลาย.

--- Page 734 ---
      สูบ น้ำ (734:4.4)
               คือ สูบ น้ำ เข้า ใน ปาก, เช่น ปลา วาน มัน ดูด น้ำ เข้า ใน ปาก แล้ว พ่น น้ำ ออก มา นั้น.
      สูบ บูหรี่ (734:4.5)
               คือ ดูด เอา ควัน บูหรี่, ให้ เข้า ใน ปาก แล้ว ทำ ให้ ออก ทาง จมูก บ้าง นั้น.
      สูบ แฝด (734:4.6)
               คือ ลูก สูบ สอง สูบ ติด กัน เปน คู่ นั้น.
      สูบ ฝิ่น (734:4.7)
               กิน ฝิ่น, คือ การ ที่ คน เอา ฝิ่น ใส่ ลง ใน รู หัว กล้อง แล้ว เอา รอ เข้า กับ เปลว ไฟ ตะเกียง ดูด เข้า ไป นั้น.
      สูบ ไฟ (734:4.8)
               คือ ลูก สูบ สำหรับ ชัก ไฟ โพลง ขึ้น นั้น.
      สูบ ยา (734:4.9)
               คือ สูบ เช่น ว่า แล้ว, แต่ ของ นั้น ยา บูหรี่ บ้าง, ลาง ที เปน ยา รักษา ให้ หาย โรค นั้น.
      สูบ ยาแดง (734:4.10)
               ดูด ยา แดง, คือ เอา ยา แดง ใส่ ลง ใน รู หัว กล้อง แล้ว จุด ไฟ ดูด เข้า ไป นั้น.
สุปะ (734:1)
         ฯ แปล ว่า แกง, คน ทำ แกง ต่าง ๆ เปน อย่าง ไท อย่าง จีน เปน ต้น.
สุภาตระลาการ (734:2)
         คือ คน เปน ผู้ ชำระ ความ อัน ซื่อ สัจ นั้น.
สุภ (734:3)
         ฯ แปล ว่า งาม มี รูป บุรุษ แล หญิง เปน ต้น.
      สุภะผล (734:3.1)
               ฯ แปล ว่า ผล งาม ผล ดี.
      สุภะมัศดุ (734:3.2)
               ฯ แปล ว่า ความ งาม จง มี.
      สุภฤกษ (734:3.3)
               ว่า ฤกษ ดี ฤกษ งาม.
      สุภสาร (734:3.4)
               ฯ คือ หนังสือ สาร อัน งาม.
      สุภอักษร (734:3.5)
               ฯ คือ อักษร อัน งาม.
เสพย์ (734:4)
         เสวย, คือ คบ หา กัน, เช่น คน คบ กัน เปน พวก เพื่อน ด้วย กะทำ กิจการ อัน ใด นั้น.
      เสพย์ คน พาล (734:4.1)
               คบ คน ปัญญา อ่อน, คือ คบ กัน คน โอยก เอยก, เปน คน พาล ประพฤติ์ แต่ การ ทุจริต นั้น.
      เสพย์ ด้วย นักปราช (734:4.2)
               คบ ด้วย ผู้ มี ปัญญา, คือ คบ ด้วย คน เปน นักปราช, คือ เปน คน มี ปัญญา ดี ไม่ ทำ การ ชั่ว นั้น.
      เสพย์ เมถุน (734:4.3)
               ฯ คบ ด้วย คน อัน เปน คู่, คือ กะทำ การ เปน การ แห่ง คน อัน เปน คู่ กัน, คือ การ เปน ผัว เมีย กัน นั้น.
      เสพย์ สุรา (734:4.4)
               เสวย สุรา, คือ กิน เหล้า, คน เปน นักเลง กิน เหล้า ชอบ ใจ กิน เช้า เอย็น นั้น.
      เสพย์ อะสะธรรม (734:4.5)
               เสวย อะสะธรรม, คือ กะทำ การ เปน ของ แห่ง คน เปน ผัว เมีย กัน, เช่น เมถุนะธรรม นั้น.
แสบ (734:5)
         คือ ความ เจ็บ อย่าง หนึ่ง, เช่น ควัน ไฟ เข้า ใน ตา นั้น, เจ็บ เช่น นั้น ว่า แสบ.
      แสบ เจ็บ (734:5.1)
               คือ เจ็ป แสบ, เช่น มี แผล แล ถูก รศ น้ำ เค็ม ฤๅ เปรี้ยว นั้น.
      แสบ ตา (734:5.2)
               เจ็บ ตา, คือ ความ เจ็บ, เช่น พริก เข้า ใน หน่วย ตา จน น้ำ ตา ไหล ออก มา นั้น.
      แสบ ตัว (734:5.3)
               เจ็บ ตัว, คือ เจ็บ เช่น ตัว มี แผล ใหม่ ๆ แล ถูก น้ำ ที่ เค็ม ฤๅ ถูก พริก เข้า นั้น.
      แสบ ท้อง (734:5.4)
               เจ็บ ท้อง, คือ ความ อยาก เข้า, เมื่อ ความ อยาก อาหาร นัก, เฃา พูจ ว่า แสบ ท้อง. อนึ่ง ปวด ใน ท้อง นั้น.
      แสบ หน้า (734:5.5)
               เจ็บ หน้า, คือ เมื่อ หน้า ถูก แดด, แล เจ็บ ที่ หน้า ๆ ร้อน ผ่าว ๆ ให้ แสบ ด้วย นั้น.
      แสบ หนัง (734:5.6)
               เจ็บ หนัง, คือ หนัง ถูก แดด ร้อน กล้า นัก แล ร้อน ผ่าว ๆ วับ ๆ, เช่น ถูก พริก นั้น.
      แสบ เนื้อ (734:5.7)
               เจ็บ เนื้อ, คือ เนื้อ เปน บาด แผล ต้อง ถูก ของ เผ็ด ร้อน มี พริก ไท เปน ต้น นั้น.
      แสบ บ่า (734:5.8)
               เจ็บ บ่า, คือ เจ็บ บ่า, เช่น คน เอา คาน ใส่ บ่า หาบ ของ หนัก ไป เต็ม ที ระบม เจ็บ บ่า นั้น
      แสบ ปาก (734:5.9)
               เผ็ด ร้อน ปาก, คือ ปาก ถูก ของ เผ็ด ร้อน มี พริก เปน ต้น, เจ็บ เช่น นั้น ว่า แสบ ปาก.
      แสบ มือ (734:5.10)
               คือ ที่ มือ มี แผล บาด เจ็บ ใหม่ ๆ, แล ถูก ของ เค็ม ฤๅ ของ เผ็ด แล ร้อน นั้น.
      แสบ รู (734:5.11)
               เจ็บ ใน รู, คือ แสบ ใน รู มี รู จมูก เปน ต้น, เช่น เมื่อ คน เปน หวัด แสบ ใน รู จมูก นั้น.
      แสบ ร้อน (734:5.12)
               คือ ความ ร้อน เหลือ ทน นั้น.
      แสบ ไส้ (734:5.13)
               ร้อน ไส้, คือ โรค ผะผ่าว ร้อน ใน ลำ ไส้, เช่น ถูก ของ ร้อน เช่น นั้น, ว่า แสบ ไส้ นั้น.
      แสบ สมอง (734:5.14)
               ร้อน สมอง, คือ โรค ให้ ขื่น ใน สมอง หัว, เช่น เมื่อ คน เจ็บ โรค หวัด คัด จมูก ขื่น ใน สมอง.
      แสบ หู (734:5.15)
               เจ็บ หู, คือ แสบ ใน รู หู, เช่น คน ที่ มี โรค ใน หู แล เจ็บ ปวด ใน ช่อง หู นั้น.
      แสบ หัว (734:5.16)
               เจ็บ ศีศะ, คือ เจ็บ หัว, เช่น เมื่อ โกน ผม ใหม่ ๆ เจ็บ เช่น นั้น, ว่า แสบ หัว.

--- Page 735 ---
      แสบ อก (735:5.17)
               ร้อน อก, คือ โรค ให้ อก ร้อน ผะผ่าว ๆ, เช่น ถูก ของ เผ็ด ร้อน มี พริก ไท เปน ต้น นั้น.
สอบ (735:1)
         สวน, ชันะสูด, คือ ถาม ฝ่าย โจทย์ แล จำเลย, ว่า เขา หา ว่า เจ้า ตี เฃา จริง ฤๅ หา ไม่, คำ นี้ สอบ โจทย์ เขา ไม่ รับ กลับ สอบ จำเลย ว่า เฃา ไม่ รับ ตัว จะ ว่า กะไร เล่า. อย่าง หนึ่ง ปลูก เรือน ตีน เสา เข้า อยู่ ว่า สอบ.
      สอบ กัน (735:1.1)
               สวน กัน, คือ ถาม คน สอง ฝ่าย, ว่า เขา จะ พูจ คำ ต่าง ๆ กัน อย่าง ไร ฤๅ จะ ถูก ต้อง กัน.
      สอบ ของ (735:1.2)
               เทียบ ของ, คือ เอา ของ มา เปรียบ ดู กัน ว่า ของ นั้น จะ เหมือน กัน ฤๅ ไม่ นั้น.
      สอบ คำ (735:1.3)
               เทียบ คำ, คือ เปรียบ ถ้อย คำ ดู ว่า คำ เขา พูจ ถูก กัน ฤๅ จะ พูจ ต่าง กัน ด้วย จะ ใคร่ รู้ จริง.
      สอบ ความ (735:1.4)
               เปรียบ ความ, คือ เปรียบ ความ ดู ว่า ความ ที่ เขา พูจ ทั้งสอง ฝ่าย จะ เปน อย่าง ไร กัน.
      สอบ เงิน (735:1.5)
               สวน เงิน, คือ ถาม ดู ว่า เงิน ที่ เก็บ ไว้ นั้น, จะ เท่า กัน ฤๅ ไม่.
      สอบ ดู (735:1.6)
               สวน ดู, คือ สวน ดู, เช่น คน จะ ขาย เข้า สาร แล เอา ทะนาน ผู้ จะ ซื้อ มา ตวง ดู กับ ทะนาน ของ ตัว นั้น.
      สอบ ถาม (735:1.7)
               ถาม สอบ, คือ ถาม คน นี้ ก่อน ยัง สงไสย อยู่ แล้ว ซัก ถาม คน อื่น ดู อีก นั้น.
      สอบ ทาน (735:1.8)
               เทียบ ทาน, คือ เทียบ ทาน ดู กัน, เช่น หนังสือ เขียน ไว้ ฉะบับ หนึ่ง, แล เอา มา ทาน ดู กับ ฉะบับ อื่น ว่า จะ เปน อย่าง ไร กัน.
      สอบ เทียบ (735:1.9)
               เทียบ สอบ, คือ อ่าน หนังสือ คำ ฟ้อง เปรียบ ดู กับ หนังสือ ที่ เขียน เทียบ ออก ไว้ นั้น.
      สอบ บาญชีย์ (735:1.10)
               สวน บาญชีย์, คือ เอา บาญชีย์ ที่ เขียน ไว้ หลาย บาญชีย์ มา อ่าน ทาน ดู เพื่อ จะ รู้ ว่า ผิด ถูก นั้น.
      สอบ พยาน (735:1.11)
               คือ ถาม ความ ดู กับ คำ คน เปน พยาน ว่า จะ สม กัน ฤๅ ไม่ นั้น.
      สอบ ไล่ (735:1.12)
               คือ สอบ แล้ว ไต่ ถาม กัน ดู ว่า จะ ผิด กัน อย่าง ไร ฤๅ จะ ถูก ต้อง กัน นั้น.
      สอบ สวน (735:1.13)
               สวน สอบ, การ ที่ เขา สอบ ลอง ดู, เช่น เขา จะ เล่น พะนัน วิ่ง วัว ควาย แข่ง กัน แล เอา มัน วิ่ง ลอง ดู ใน สนาม ก่อน.
      สอบ หาง ว่าว (735:1.14)
               ทาน หาง ว่าว, การ ที่ เอา หนังสือ บาญชีย์ ที่ เขียน ไว้ ยาว เหมือน หาง ว่าว, ออก มา อ่าน ดู กัน ว่า จะ ถูก กัน ฤๅ ไม่.
สวบ (735:2)
         เสียง ดัง สวบ ๆ, เช่น เสียง กรับ ดัง ที่ เขา ตี เมื่อ เล่น ละคอน เปน ต้น นั้น, ว่า เสียง ดัง สวบ ๆ นั้น.
เสียบ (735:3)
         แทง, คือ การ ที่ เขา แทง เข้า, เช่น เขา จะ ย่าง ปลา ทั้ง ตัว แล เขา เอา ไม้ แหลม แทง เข้า คา ไว้ นั้น.
      เสียบ จุก (735:3.1)
               แทง จุก, คือ การ ที่ เขา เอา ไม้ กลัด ฤๅ ปิ่น แทง เข้า ที่ ผม เกล้า เปน จอม ที่ หัว เด็ก ๆ นั้น.
      เสียบ แทง (735:3.2)
               เสียด แทง, คือ การ ที่ เฃา แทง เสียบ เข้า ที่ กาย คน ฤๅ สัตว เปน ต้น. อย่าง หนึ่ง คน พูจ เปรียบ เทียบ ให้ เจ็บ ใจ, ว่า กล่าว เสียบ แทง เปน ความ เปรียบ.
      เสียบ (735:3.3)
                เปน, แทง ทั้ง เปน, คือ การ ที่ เขา เสียบ คน มี โทษ ไว้ ที่ หลาว สำหรับ เสียบ เปน ประจาน ไว้ ไม่ ให้ ตาย นั้น.
      เสียบ ปลา (735:3.4)
               แทง ปลา, คือ การ ที่ เขา เอา ไม้ แหลม แทง เข้า ที่ ตัว ปลา คา ไว้ เพื่อ จะ ย่าง ให้ สุก นั้น.
      เสียบ ปลาย (735:3.5)
               แทง ปลาย, คือ การ ที่ เขา เอา ไม้ ที่ ปลาย แหลม แทง เข้า ที่ ของ อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น.
      เสียบ ไม้ (735:3.6)
               คือ การ ที่ เขา เอา ไม้ แทง เข้า ที่ ของ อัน ใด มี ปลา เปน ต้น นั้น, เฃา ว่า เสียบ ไม้.
      เสียบ เสีย (735:3.7)
               คือ ตัด หัว คน โทษ แล้ว เอา หัว เสียบ ไว้ นั้น.
      เสียบ อก (735:3.8)
               แทง อก, คือ การ ที่ เขา แทง เข้า ที่ อก แล้ว เอา คา ไว้ ไม่ ชัก ออก นั้น, ว่า เสียบ อก นั้น.
สม (735:4)
         ควร, คือ ภอ ดี ภอ ควร กัน, เช่น ให้ ค่าจ้าง แก่ ลูก จ้าง ไม่ มาก ไม่ น้อย ภอ สม เหนื่อย นั้น.
      สม กัน (735:4.1)
               ควร กัน, คือ ภอ ดี กัน ภอ เมาะ กัน, เช่น คน ชาย หนุ่ม หญิง สาว, มี อายุ แล รูป ร่าง แล สมบัติ ภอ เท่า กัน ภอ ดี กัน.
      สม กับ (735:4.2)
               คือ ภอ ดี กับ ที่ พูจจา ว่า ไว้, เช่น คน พูจ คำ อัน ใด ไว้ แล เหตุ นั้น เปน เช่น กับ คำ นั้น.
      สม คำ (735:4.3)
               ต้อง คำ, คือ เหตุ ถูก กับ เช่น คำ วาจา ที่ กล่าว ไว้, เช่น คน พูจ คำ อัน ใด ไว้, แล เหตุ มี เหมือน คำ นั้น.
      สม คิด (735:4.4)
               คิด สม, คือ เหตุ เกิด ถูก กับ ความ คิด, คน ที่ คิด ความ อัน ใด ไว้ แล ความ นั้น สำเร็ทธ์ เหมือน คิด นั้น.

--- Page 736 ---
      สม คบ (736:4.5)
               คือ ประสบ คบ หา กัน เปน มิตร เปน สะหาย กัน กิน อยู่ หลับ นอน เที่ยว เตร่ ด้วย กัน.
      สม คบ โจร (736:4.6)
               คือ คบ หา กับ พวก ขะโมย รู้ กัน กับ ขะโมย.
      สม ความ (736:4.7)
               ต้อง ความ, คือ อาการ ที่ คน กะทำ นั้น, ถูก ต้อง กับ ความ ที่ เขา ว่า ผู้ นั้น, มี เครื่อง มือ สำหรับ โจร นั้น.
      สม ควร (736:4.8)
               ภอ ควร, คือ การ ภอ ดี, คน พูจจา เรียก คน มี อา ยุ ควร จะ เรียก ว่า ปู่ ย่า ตา ยาย เปน ต้น, ก็ เรียก ว่า ปู่ ย่า ตา ยาย นั้น.
      สม เคราะห์ (736:4.9)
               สงเคราะห์, การ ที่ คน เหน คน ได้ ความ ทุกข์ ยาก ลำบาก แล ช่วย ทำ ให้ บันเทา ทุเลา ลง นั้น.
      สม เงิน (736:4.10)
               ควร กับ เงิน, คือ เข้า ของ ภอ สม ภอ ควร ภอ ดี กับ เงิน ราคา, เช่น นาฬิกา ที่ ทำ ยาก เขา ขาย แพง ภอ สม กับ เงิน.
      สม จริง (736:4.11)
               ถูก จริง, คือ เหตุ ถูก ต้อง กับ ความ จริง, เช่น ข่าว เขา ฦๅ ว่า มี กำปั่น ไฟ ความ ฦๅ นั้น จริง.
      สม จร (736:4.12)
               เที่ยว เสพย์, คือ สัตว ดิรัจฉาน มัน ร่วม รัก เปน ผัว เมีย กัน เขา ว่า มัน สม จร กัน.
      สมเด็จ (736:4.13)
               คือ สมมุติ เปน คำ สูง ทรง, ตาม โลกย์ โวหาร, สยาม ภาษา ว่า ประเสริฐ นั้น.
      สมเด็จ เจ้า (736:4.14)
               คือ ภิกขุ ที่ เปน เจ้า คณะ สงฆ์ ทั้ง ปวง.
      สมเด็จ เจ้าพระยา (736:4.15)
               คือ เจ้า พระยา ใหญ่ ยิ่ง กว่า เจ้าพระยา ทั้ง ปวง
      สมเด็จ ภูบาล (736:4.16)
               คือ* สมเด็จ กระษัตริย์ ผู้ รักษา แผ่น ดิน.
      สม ด้วย (736:4.17)
               คือ ภอ ดี ภอ เหมาะ ด้วย กัน, เช่น เขา ทำ กำปั่น แล เสา กะโดง แล ใบ ภอ สม ด้วย ลำเรือ นั้น.
      สม ตน (736:4.18)
               ภอ ตัว, คือ สม ตัว, เช่น คน ตัด เสื้อ ตัด กัง เกง เปน ต้น, ภอ ดี ภอ ใส่ ได้ ไม่ หลวม ไม่ คับ นั้น.
      สม ตัว (736:4.19)
               ควร กัป ตัว, คือ ภอ ดี กับ รูป กาย, เช่น ของ สำหรับ แต่ง ตัว มี เสื้อ แล หมวก เปน ต้น, ภอ ได้ กับ ตัว นั้น.
      สม ทบ (736:4.20)
               คือ การ ที่ เขา เอา ดิน เปน ต้น, ถม เท ลง ให้ ปิด มิด ใน ที่ ลุ่ม แล เปน ปล่อง เปน ช่อง นั้น.
      สม หน้า (736:4.21)
               คือ ภอ ดี กับ หน้า, เช่น คน แต่ง ตัว ด้วย ผ้า นุ่ง ห่ม เปน ต้น, ภอ สม กับ ไวย นั้น.
      สม ใน (736:4.22)
               คือ คน เปน ตัว เลก ของ หญิง ที่* เปน ข้า ราชการ ใน วัง หลวง วัง น่า นั้น.
      สม น้ำ หน้า (736:4.23)
               คือ คน ที่ ชัง กัน, เหน ข้าง หนึ่ง ต้อง โทษ ไภย กล่าว ว่า สม น้ำ หน้า มัน.
      สม นึก (736:4.24)
               คือ ภอ ได้ ของ เช่น ใจ นึก จะ เอา*, เช่น เขา นึก จะ อยาก ได้ ของ อัน ใด, แล ได้ ของ อัน นั้น.
      สม นอก (736:4.25)
               คือ คน เปน ตัว เลก ของ ข้า ราชการ นอก พระราช วัง นั้น.
      สม บูรรณ (736:4.26)
               คือ เต็ม พร้อม เต็ม เปี่ยม, เช่น ของ มี น้ำ เปน ต้น, ที่ คน เท ใส่ ลง ใน ภาชนะ เต็ม เปี่ยม นั้น.
      สมบัติ (736:4.27)
               คือ สิ่ง ของ ทอง เงิน เปน ต้น*, เรียก ว่า สมบัติ, อธิบาย ว่า ของ นั้น ถึง พร้อม ถึง ด้วย ดี นั้น.
      สม เบี้ย (736:4.28)
               คือ ของ ที่ เขา ฃาย ไม่ ถูก นัก ไม่ แพง นัก, ภอ ควร กับ เบี้ย ของ ผู้ ซื้อ นั้น.
      สม ประกอบ (736:4.29)
               คือ การ ประกอบ สม, เช่น คน แก่ แล้ว, มี ความ จน ด้วย นั้น, ว่า สม ประกอบ
      สม ประ ดี (736:4.30)
               คือ มี สติ, เช่น คน สลบ แล้ว กลับ มี สติ ขึ้น
      สมประฤๅดี (736:4.31)
               คือ ความ ยินดี พร้อม, เช่น คน มี จิตร เปน ปรกติ อยู่ แล ยินดี ด้วย ของ ที่ เปน ที่ ชอบ ใจ.
      สม ประสงค์ (736:4.32)
               คือ สม ความ ต้อง การ.
      สม ปัก (736:4.33)
               คือ ผ้า ลาย ฤๅ ผ้า ปูม เปน ต้น, เขา ทำ เปน ผืน ใหญ่ สำหรับ ขุนนาง นุ่ง เข้า เฝ้า ขุนหลวง นั้น, ว่า ผ้า สมปัก.
      สม ปัก ปูม (736:4.34)
               คือ ผ้า เช่น ว่า นั้น, แต่ เปน ผ้า ปูม, เรียก ว่า สมปัก ปูม.
      สม ปอง (736:4.35)
               คือ สม ใจ หวัง, คิด สิ่ง ใด สม ความ ปราถนา.
      สม พงษ (736:4.36)
               คือ ประสม สกูล วงษ, เช่น คน ต่าง ๆ สกูล วงษ มา สู่ ฃอ อยู่ เปน ผัว เมีย กัน.
      สมโพธ (736:4.37)
               ฯ คือ แปลว่า รู้ พร้อม รู้ ดี รู้ เอง, ไม่ มี ผู้ ใด สั่ง สอน นั้น.
      สมโพธ เมือง (736:4.38)
               คือ การ ที่ ขุนหลวง, ให้ มี การ งาน เล่น เต้น รำ ทำ ขวัน เมือง นั้น.

--- Page 737 ---
      สมพร ปาก (737:4.39)
               คือ การ สำเร็ทธิ์, เช่น คำ เขา อวย พร นั้น, เขา ให้ พร ว่า ให้ ท่าน เจริญ, ด้วย อายุ วรรณะ ศุขะ พละ เถิด, ถ้า ได้ เหมือน พร, ว่า สม พร ปาก เขา ว่า.
      สมพาศ (737:4.40)
               คือ เล้า โลม สังวาศ.
      สมเพศ (737:4.41)
               คือ ความ สังเวศ สลด ใจ ปรานี สงสาร, เช่น เขา เหน คน อนาถา ไม่ มี ที่ พึ่ง, แล มี ความ ปรานี นั้น.
      สมเพศ เวทนา (737:4.42)
               คือ ความ สังเวศ สงสาร.
      สมภาร (737:4.43)
               คือ ภิกขุ เปน เจ้า วัต เปน เจ้า อธิการ, สรรพ กิจ การ งาน ใน อาราม เปน ธุระ ของ ภิกขุ เจ้า อาวาศ นั้น.
      สมณะ (737:4.44)
               คือ พระสงฆ์, เปน ผู้ รงับ ซึ่ง บาป ธรรม.
      สมะณะ พราหมณ์ชี (737:4.45)
               คือ พระสงฆ์ แล พวก พราหมณ ที่ บวช นั้น.
      สมะณะ สารูป (737:4.46)
               คือ พระสงฆ์ ประฏิบัติ ควร แก่ ตน.
      สมะนา คุณ (737:4.47)
               คือ ความ ตอบ แทน คุณ, แก่ ท่าน ผู้ ที่ ทำ คุณ ก่อน มี บิดา แล มารดา เปน ต้น.
      สมมุติ (737:4.48)
               คือ กล่าว คำ ตั้ง แต่ง ให้ เปน ที่ อุปัชฌา อาจาริย์ เปน ต้น นั้น ว่า สมมุติ.
      สมมุติ วงษ (737:4.49)
               คือ คน เปน เชื้อ วงษ พงษ กระษัตริย์.
      สม เหมือน (737:4.50)
               คือ เปน เช่น คำ เขา ว่า, ฤๅ เปน เช่น ความ ปราถนา นั้น. ว่า สม เหมือน คำ เขา เปน ต้น นั้น.
      สมมม (737:4.51)
               คือ ไม่ สอาจ โสโครก นั้น.
      สม หมาย (737:4.52)
               คือ การ สำเร็ทธิ์ ดั่ง ใจ คิด ปราถนา, คน คิด จะ เอา สิ่ง ใด แล ได้ สม คิด นั้น.
      สมยศ (737:4.53)
               คือ ควร แก่ ยศ, เช่น คน มี บ่าว ทาษ, ฤๅ ภาชนะ เครื่อง ใช้ ภอ ควร แก่ ยศ นั้น.
      สม รู้ (737:4.54)
                เปน ใจ, คือ สม รู้ ร่วม คิด มี ใจ ยินดี ด้วย.
      สม รัก (737:4.55)
               คือ การ สม ความ รัก จะ ใคร่ ได้ นั้น.
      สมรศ (737:4.56)
               คือ ร่วม สังวาศ.
      สมลุ (737:4.57)
               คือ สำเร็ทธิ์ ดั่ง ใจ ประสงค์, คน ปราถนา สิ่ง ใด ก็ ได้ สิ่ง นั้น สำเร็ทธิ์ นั้น.
      สม วาศนา (737:4.58)
               คือ มี ของ มี บ้าน เรือน เปน ต้น, สมควร กับ วาศนา บันดา ศักดิ์* ของ ตัว นั้น.
      สม สอง (737:4.59)
               คือ คน อยู่ ร่วม ห้อง ครอบ ครอง, เปน คู่ สังวาศ สามี ภรรยา กัน แล กัน นั้น.
      สม เสพย์ (737:4.60)
               คือ สร้อง เสพย์ คบ หา สมาคม กัน
      สมศักดิ (737:4.61)
               เปน ชื่อ หญิง ข้า ราชการ ฝ่าย ใน พระ ราช วัง.
      สม อารมณ (737:4.62)
               คือ สม ใจ, เช่น คน อยาก ได้ อัน ใด, แล ได้ ของ นั้น สม ใจ ปราถนา นั้น.
ส้ม (737:1)
         เปรี้ยว, คือ ของ ที่ เปรี้ยว, เช่น ผลไม้ เปรี้ยว เปน ต้น, เขา เรียก ว่า ส้มโอ เปน ต้น,
      ส้ม กุ้ง (737:1.1)
               ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง ต้น มี รศ เปรี้ยว, เปน ต้น ไม้ เกิด ใน ป่า ทำ อยา ได้ นั้น.
      ส้ม เช้า (737:1.2)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ ย่อม ๆ ต้น มัน เปน หนาม, มี ยาง มาก ศรี ฃาว เหมือน* น้ำ นม, เวลา เช้า เปรี้ยว แรง นัก.
      ส้ม ป่อย (737:1.3)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, มัน เปน เถา เลื้อย, ต้น มี หนาม ใบ มัน รศ เปรี้ยว มี ใน บ้าน.
      ส้ม มือ (737:1.4)
               เปน ชื่อ ต้น ส้ม อย่าง หนึ่ง, ลูก มัน ที่ ปลาย แฉก ๆ เหมือน นิ้วมือ ผิว พรรณ เหมือน ส้ม โอ นั้น.
      ส้ม สันดาร (737:1.5)
               เปน ชื่อ เครือ เขา อย่าง หนึ่ง, มี รศ ที่ เถา มัน เปรี้ยว, มัน ขึ้น ใน ป่า ทำ อยา ได้.
      ส้ม เสี้ยว (737:1.6)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ ใหญ่ อย่าง หนึ่ง ใบ มัน เปรี้ยว, ใบ มี สัณฐาน เหมือน กับ* ท้าว โค มี อยู่ ใน บ้าน.
สัม เข้า (737:2)
         ประ ดัง, คือ ซ้ำ สะสม ลง, เช่น อยาก เยื่อ น้ำ ภัด มา ปะ, ปะทะ กัน สะสม เข้า นั้น,
สัมปะชัญะ (737:3)
         ฯ ความ รู้ พร้อม, แปล ว่า รู้ ด้วย ประการ อัน ชอบ, คือ รู้ ดี ใน การ สุ จริต ธรรม.
สัมมา (737:4)
         (dummy head added to facilitate searching).
      สัมมากัมมันโต (737:4.1)
               ฯ กระทำ การ ชอบ, แปล ว่า กระทำ การ สุจริต ด้วย กาย ไม่ มี โทษ นั้น.
      สัมมาทฤษฐิ (737:4.2)
               ฯ เหน ชอบ, แปล ว่า เหน ใน ใจ ดี, เช่น เหน ใน ใจ ว่า ทำ อย่าง นี้ เปน บาป, ทำ อย่าง นี้ เปน บุญ, ผู้ นั้น เหน ถูก แท้ นั้น.
      สัมมาวาจา (737:4.3)
               ฯ กล่าว ชอบ, แปล ว่า ถ้อย คำ ชอบ ดี, ถ้อย คำ ไม่ มี โทษ คือ ไม่ เท็จ เปน ต้น.
      สัมมาวายาโม (737:4.4)
               ฯ เพียร ชอบ, แปล ว่า มี ความ เพียร ประ- กอป หา สรรพ สิ่ง ของ เลี้ยง ตัว, โดย สุจริต ธรรม.
      สัมมาสะติ (737:4.5)
               ฯ ความ ระฦก ชอบ, แปล ว่า มี สะติ ๆ ไม่ เคลิบ เคลิ้ม หลง ไป ใน การ บาป นั้น.

--- Page 738 ---
      สัมมาสะมาธิ (738:4.6)
               ฯ ตั้ง จิตร มั่น ชอบ, แปล ว่า จิตร ตั้ง ดำรง ดี มั่น คง, ไม่ วุ่นวาย แน่ แน่ว เปน ปรกติ.
      สัมมาสังกับโป (738:4.7)
               ฯ ดำริห์ ชอบ, แปล ว่า ดำริห์ ตฤก ตรอง ชอบ ถูก ดี คือ ไม่ เปน ทุจริต.
      สัมมาอาชีโว (738:4.8)
               ฯ หา กีน ชอบ, แปล ว่า หา อาหาร เลี้ยง ชีวิต ชอบ ธรรม, มี ไม่ ฉ้อ ไม่ ฃะโมย เปน ต้น.
สัมรวม (738:1)
         ระวัง รักษา, คือ อาการ ที่ ไม่ ปมาท, ระวัง หน่วย ตา เปน ต้น, ไม่ เหลือบ แล ไป ไกล เปน ต้น นั้น.
สัมส่อน (738:2)
         สละวน, คือ คน หลาย ภาษา ไป มา ใน บ้าน เดียว, เมือง เดียว ร่วม กัน นั้น, ว่า คน สัมส่อน.
สัมหาว (738:3)
         ขะนอง, เปน คำ ที่ คน พูจ ถึง อะไวยะวะ ที่ ลับ เปน ต้น. อย่าง หนึ่ง พูจ คำ หยาบ มี กู มึง เปน ต้น.
สัมอาง (738:4)
         สอาจ, คือ การ สอาจ เปน ที่ ยินดี นัก, เช่น คน อาบ น้ำ ชำระ กาย ให้ สอาจ, แล ทา ด้วย เครื่อง หอม อบ รม ให้ สะสรวย นั้น.
สั่มสม (738:5)
         สะสม, คือ การ เก็บ งำ เข้าของ มิ ให้ เปน อันตราย ผู้ร้าย ลัก คน ฉ้อ เอา ไป เปน ต้น นั้น.
สั่มเสีย (738:6)
         เสีย หาย, คือ เช่น ฤๅ เชื้อ ชาติ เสีย ไป, เช่น คน เปน เช่น เชื้อ ภาษา ใด ๆ แล ทำ ให้* ตัว ชั่ว เสีย ไป ด้วย เหตุ อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น.*, ว่า คน นั้น เปน คน สั่ม เสีย.
สาม (738:7)
         ตรี, คือ นับ ว่า หนึ่ง สอง สาม นั้น.*, เช่น นับ ว่า คน หนึ่ง, สอง คน, สาม คน, เปน ต้น นั้น.
      สาม ก๊ก (738:7.1)
               สาม เมือง, เปน คำ ภาษา จีน, แปล เปน ภาษา ไทย, ว่า สาม พวก, สาม เหล่า, สาม หมู่, สาม กอง นั้น.
      สาม ฃา (738:7.2)
               สาม ง่าม, คือ ไม้ สาม อัน เขา ผูก รวบ รัด ปลาย เข้า แล้ว, เอา ต้น ไม้ ถ่าง กาง ออก เปน สาม ฃา นั้น.
      สาม โคก (738:7.3)
               เปน ชื่อ เมือง ๆ หนึ่ง อยู่ ทิศ เหนือ เมือง กรุงเทพ อย่าง หนึ่ง ว่า ที่ เปน เนิน สูง เปน โคก ขึ้น สาม โคก นั้น.
      สาม ง่าม (738:7.4)
               สาม แคว, คือ ที่ แม่ น้ำ ฤๅ คลอง เปน สาม แคว สาม แพรก เช่น ที่ ปาก คลอง บางหลวง นี้ นั้น.
      สาม เจ้า (738:7.5)
               สาม นาย, คือ คน เปน ทาษ เขา สอง เจ้า สาม เจ้า อย่าง หนึ่ง เจ้า สาม องค์ ว่า สาม เจ้า.
      สาม จบ (738:7.6)
               จบ สาม หน, คือ สวด ฤๅ อ่าน หนังสือ แต่ ต้น จน สิ้น เรื่อง ลง ถึง สาม หน นั้น ว่า สาม จบ.
      สาม ดอก (738:7.7)
               คือ ดอก ไม้ มี สาม ดอก เปน ต้น, เช่น ดอก ไม้ เดิม มี ดอก เดียว, เกิด ขึ้น อีก สอง ดอก เปน สาม ดอก นั้น.
      สาม ด้าน (738:7.8)
               คือ บ้าน มี ด้าน สี่ ด้าน, แต่ ด้าน หนึ่ง ไป ตาม คลอง น้ำ, แต่ สาม ด้าน อยู่ บก เหมือน บ้าน หมอ นี้.
      สาม เดือน (738:7.9)
               ไตร มาศ, คือ นับ สามสิบ วัน เปน เดือน, นับ เดือน ไป สอง ที สาม ที, ว่า สาม เดือน นั้น.
      สาม ต่อ (738:7.10)
               คือ เขา เอา ไม้ มา สาม ลำ, แล้ว ผูก ปลาย กับ ต้น ต่อ กัน ถึง สาม ที ว่า สาม ต่อ นั้น.
      สาม ตัว (738:7.11)
               คือ เขา นับ นก ฤๅ ปลา เปน ต้น, ว่า ตัว หนึ่ง, สอง ตัว, สาม ตัว นั้น.
      สาม โรง (738:7.12)
               เปน ชื่อ คลอง แห่ง หนึ่ง, อยู่ ฝ่าย ข้าง ทิศ ใต้ กรุงเทพ, อยู่ แขวง เมือง สมุท ปราการ นั้น.
      สามเสน (738:7.13)
               สามแสน, เปน ชื่อ คลอง แห่ง หนึ่ง, อยู่ ฝ่าย ข้าง ทิศ เหนือ กรุงเทพ, เรียก บาง สามเสน.
      สาม สิบ (738:7.14)
               เปน ชื่อ ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง, ต้น มี หนาม รศ ขม เปน เถา เลื้อย อยู่ ตาม ทุ่งนา.
      สาม หาว (738:7.15)
               ผักตบ, เปน ชื่อ ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง, เกิด ใน น้ำ ตาม ทุ่งนา เมื่อ ระดู ฝน ดอก ศรี เฃียว.
      สาม องค์ (738:7.16)
               คือ สาม รูป, เช่น เจ้า สาม คน เปน ต้น, เขา เรียก ว่า องค์ เปน คำ สูง.
สิมพลิ (738:8)
         ต้น งิ้ว, แปล ว่า ไม้ งิ้ว ๆ เปน ต้น ไม้ ใหญ่, ต้น แล กิ้ง มี หนาม มาก.
สุม (738:9)
         คือ มั่ว พิง มูล เข้า ไว้, เช่น เขา เอา ไม้ ฟืน ตั้ง ขึ้น ประชุม เข้า ไว้ มาก นั้น.
      สุม กอง (738:9.1)
               คือ เอา ของ วาง มั่ว ประชุม เข้า ไว้ มาก, เช่น เขา เอา ไม้ วาง ประชุม กอง ไว้ นั้น.
      สุม แกลบ (738:9.2)
               คือ เอา แกลบ มา มั่ว มูล เข้า ไว้, แล้ว เอา ไฟ ติด เข้า ให้ ไหม้ นั้น.
      สุม ขอน (738:9.3)
               คือ เอา ไฟ ติด เข้า ให้ ไหม้ ขอน ไม้ นั้น.
      สุมทุม (738:9.4)
               คือ พุ่ม ป่า ที่ รก ครุม เครือ นั้น, เปน แต่ พุ่ม ต่ำ ๆ เปน อยู่ ชาย ทุ่ง ชาย นา นั้น.

--- Page 739 ---
      สุม ปรอด (739:9.5)
               คือ เอา ปรอด ใส่ เข้า ใน เบ้า ดิน, แล้ว เอา เข้า วาง ที่ เตาไฟ ใส่ ไฟ รุม รึง ไว้ นั้น.
      สุม ไฟ (739:9.6)
               คือ การ ที่ เอา ไฟ ติด เข้า ที่ ไม้ ฟืน, แล้ว รวม ชุม นุม เข้า ไว้, เพื่อ จะ ไม่ ให้ ไฟ ดับ นั้น.
      สุม แร่ (739:9.7)
               คือ เอา แร่ มา กอง มูน เข้า ไว้, แล้ว เอา ไฟ ถ่าน กลบ ไว้ ที่ กอง แร่ นั้น.
      สุม อยา (739:9.8)
               คือ เอา อยา เข้า ใส่ ใน ไฟ แล้ว, เอา ฟืน ฤๅ ถ่าน แล ขยาก ปก คลุม รุม ไว้ นั้น.
      สุม หัว (739:9.9)
               คือ เอา อยา โภก ปะ ไว้ ที่ หัว, คน ปวด ศีศะ แล ตำ อยา โภก ไว้ ที่ ศีศะ เพื่อ ให้ หาย โรค นั้น.
      สุ่ม (739:9.10)
               คือ ของ เขา สาน ด้วย ตอก รูป เหมือน ขันโต, เท่า อ่าง ใหญ่ ก้น มัน เปน รู, ช่อง ภอ ล้วง เอา ปลา ได้.
      สุ่ม* ปลา (739:9.11)
               คือ เอา สุ่ม นั้น ไป เที่ยว ครอบ ปลา ใน ห้วย หนอง คลอง, แล ที่ ท้อง นา เมื่อ น่า น้ำ นั้น.
      สุ่ม สี่ สุ่มห้า (739:9.12)
               คือ คำ เขา พูจ เปรียบ ด้วย คน โลภ, วิไสย คน มี โลภ นัก นั้น ได้ ของ ที่ นี่ แล้ว, ไป เอา ที่ โน่น ได้ แล้ว ไป เอา ต่อ ไป.
      สุ่ม สาน (739:9.13)
               คือ สุ่ม ที่ เขา สาน ด้วย ตอก รูป เช่น ว่า แล้ว, เขา ทำ ไว้ สำหรับ สุ่ม ครอบ ปลา นั้น.
      สุ่ม หา (739:9.14)
               คือ ครอบ หา, เช่น คน เที่ยว สุ่ม ปลา, เอา สุ่ม ครอบ ลง แล้ว เอา มือ ล้วง ลง ค้น หา.
      สุ้ม (739:9.15)
               คือ ซ่อน อยู่ ใน สุมทุม พุ่ม ไม้, คน คอย จะ ทำ ร้าย ผู้ อื่น, แล เข้า แอบ ซุ่ม ซ่อน อยู่ นั้น.
      สุ้ม กัด (739:9.16)
               คือ แอบ ซ่อน อยู่ คอย จะ กัด, เช่น เสือ มัน จะ จับ สัตว กิน มัน ซุ่ม อยู่.
      สุ้ม คน (739:9.17)
               คือ เอา คน เข้า ซ่อน ไว้, เพื่อ จะ กะทำ อันตราย แก่ ผู้ อื่น, ฤๅ เพื่อ จะ หนี เร้น ซ่อน อยู่ นั้น.
      สุ้ม คน (739:9.18)
               คือ ลับ มีด ไม่ แบน ลง ถา ถู ไป, ตั้ง ขึ้น ถา ไป เพื่อ จะ ให้ คม มัน บาง คม เรว นั้น.
      สุ้ม ซ่อน (739:9.19)
               คือ สุ้ม แอบ, คน หนี ไภย มี อันตราย แล เข้า เร้น ซ่อน อยู่ นั้น.
      สุ้ม ทัพ (739:9.20)
               คือ ยก พล ไพร่ ไป ตั้ง เร้น ซ่อน อยู่, เพื่อ จะ ไม่ ให้ ฆ่า ศึก เหน จะ คอย โจม จู่ เข้า ตี เอา นั้น.
      สุ้ม พล (739:9.21)
               คือ เอา พล ไพร่ เร้น ซ่อน ไว้, มิ ให้ ฆ่าศึก รู้ เหน จะ คอย ลอบ จู่ โจม ตี เอา นั้น.
      สุ้ม อยู่ (739:9.22)
               คือ เร้น ซ่อน อยู่, เช่น คน ซ่อน เร้น แอบ แฝง อยู่ นั้น ว่า สุ้ม อยู่.
      สุ้ม ไว้ (739:9.23)
               คือ เอา ของ ซ่อน ไว้ เช่น คน มี ของ แล กลัว อันต ราย, เอา ของ ซ่อน ไว้.
เสม (739:1)
         เปน ชื่อ คน ชื่อ เสม มี บ้าง, บันดา คน เกิด มา ย่อม มี ชื่อ ทุก ตัว คน ตาม ภาษา นั้น.
      เสมหะ (739:1.1)
               เสลด, แปล ว่า เสลด ๆ ย่อม มี ใน ตัว คน ทุก คน ทั้ง เด็ก แล ผู้ ใหญ่,
โสม (739:2)
         เปน ชื่อ ของ สัณฐาน เหมือน เง่า กะชาย, มี ที่ เมือง จีน ราคา แพง นัก, เปน อยา วิเสศ ให้ มี กำลัง, หนึ่ง เปน ชื่อ คน ชื่อ โสม มี บ้าง.
ส้อม (739:3)
         เปน ของ เขา ทำ ด้วย เหล็ก, เปน สาม เส้า, ทำ ดั้ม ไม้ ยาว สัก สี่ ศอก ห้า ศอก, สำหรับ แทง ปลา. อนึ่ง เครื่อง มือ สำหรับ แทง ของ เมื่อ กิน โต๊ะ, เขา แทง เนื้อ ไก่ เปน ต้น นั้น.
      ส้อม เงิน (739:3.1)
               คือ ส้อม เครื่อง สำหรับ กิน โต๊ะ, เขา ทำ ด้วย เงิน นั้น.
      ส้อม แซม (739:3.2)
               คือ แต่ง จัดแจง ที่ เรือน ประหรัก หัก พัง เปน ต้น ว่า ส้อม แซม.
      ส้อม แทง ปลาไหล (739:3.3)
               คือ ส้อม ใหญ่ ทำ ด้วย เหล็ก เล็ก ๆ เท่า นิ้ว ก้อย มือ, ยาว สัก คืบ หนึ่ง มี ดั้ม ไม้ ไผ่, ยาว สัก ห้า ศอก
      ส้อมแปลง (739:3.4)
               คือ ตก แต่ง ที่ อัน ประหรัก หัก ทำลาย, ทำ เข้า ใหม่ แต่ แปลง ไป ไม่ เหมือน เก่า.
      ส้อม เหล็ก (739:3.5)
               คือ ส้อม เขา ทำ ด้วย เหล็ก, เล็ก เท่า นิ้วก้อย, มี ดั้ม ยาว เช่น ว่า, สำหรับ แทง ปลา ไหล ใต้ ดิน.
สวม (739:4)
         คือ กรวม เข้า, เช่น เขา เอา กำไล เถา ติด กัน เจ็ด เส้น ฤๅ ห้าเส้น กรวม ข้อ มือ เด็ก ๆ เข้า นั้น.
      สวม กอด (739:4.1)
               คือ เอา มือ กรวม กอด รัด เข้า นั้น.
      สวม ฅอ (739:4.2)
               คือ กรวม ฅอ รวบ รัด เข้า ไว้ นั้น.

--- Page 740 ---
      สวม ที่ (740:4.3)
               คือ เอา ชื่อ คน เขียน เข้า ที่ ชื่อ คน อื่น, เช่น บาญชีย์ เบี้ยหวัด คน เดิม ตาย ที่ เขา รับ เบี้ยหวัด อยู่ ห้า ตำลึง เปน ต้น, เอา คน อื่น ตั้ง บาญชีย์ ใน ที่ นั้น.
      สวม นิ้ว (740:4.4)
               คือ เอา แหวน เปน ต้น, กรวม เข้า ที่ นิ้ว มือ, เช่น คน จะ ใส่ แหวน เอา แหวน กรวม เข้า ที่ นิ้ว มือ นั้น.
      สวม ลง (740:4.5)
               คือ เอา หมวก เปน ต้น กรวม หัว ลง นั้น, คน จะ ใส่ หมวก, เอา หมวก กรวม หัว ลง.
      สวม ไว้ (740:4.6)
               คือ กรวม ไว้, เช่น คน กลัว ไม้ จะ ผุ, แล เอา ไม้ เปน กะบอก กรวม เข้า ไว้ นั้น.
      สวม ใส่ (740:4.7)
               คือ กรวม ใส่, เช่น คน ใส่ มงกุฎ ฤๅ ชะฎา, แล เอา มงกุฎ ฤๅ ชะฎา กรวม ใส่ หัว.
      สวม สอด (740:4.8)
               คือ กรวม กอด สอด มือ เข้า ที่ ตัว คน นั้น.
      สวม ให้ (740:4.9)
               คือ กรวม ให้, เช่น คน เอา ของ มี แหวน เปน ต้น, กรวม นิ้ว คน อื่น ให้ นั้น.
      สวม องค์ (740:4.10)
               คือ กรวม องค์, คือ คน เอา เครื่อง ประดับ มี มงกุฎ รัดเกล้า เปน ต้น กรวม องค์ พระ นั้น.
ส้วม (740:1)
         ถาน, คือ ที่ เว็จ ฤๅ ที่ ถาน, มี สำหรับ อาราม ทุก อาราม, ให้ พระ ถ่าย อุจาระ แล ปะสาวะ เรียก ว่า ส้วม.
      สวม* กอด (740:1.1)
               คือ เอา มือ กรวม รวบรัด, คน มี ความ กำหนัด รักษ์ บุตร ภรรยา, แล เอา มือ กรวม รัด นั้น.
      ส้วม ถาน (740:1.2)
               คือ เว็จ เปน ที่ ถ่าย อุ จาระ แห่ง พระสงฆ์, เขา ทำ ไว้ ที่ ข้าง วัต นั้น.
      ส้วม* สอด (740:1.3)
               คือ กรวม แล้ว สอด มือ ไป, คน มี ความ สิเนหะ อาไลย รักใคร่ กัน แล ทำ อาการ เช่น ว่า นั้น.
เสียม (740:2)
         คือ จอบ เล็ก ๆ ประมาณ กว้าง สัก สาม นิ้ว, ยาว สัก สี่ นิ้ว มี ดั้ม สำหรับ ขุด ดิน. อนึ่ง เปน* คน ไทย พวก ภาษา อื่น เรียก ว่า เสียม บ้าง.
      เสียม จอบ (740:2.1)
               คือ เครื่อง เหล็ก สำหรับ ขุด ดิน, มี ไม้ เปน คัน ยาว สัก สอง ศอก, ที่ ใหญ่ ว่า จอบ, ที่ เล็ก เรียก ว่า เสียม นั้น.
      เสียม ใหญ่ (740:2.2)
               คือ เสียม เล่ม ใหญ่, ตัว มัน กว้าง สัก สี่ นิ้ว ยาว สัก ห้า นิ้ว มี ดั้ม ทำ ด้วย ไม้.
      เสียมราบ (740:2.3)
               เปน ชื่อ เมือง เขมร เมือง หนึ่ง นั้น.
      เสียม เล็ก (740:2.4)
               คือ เสียม ขนาด เล็ก, ตัว มัน กว้าง สัก สาม นิ้ว ยาว สัก ห้า นิ้ว นั้น.
เสี้ยม (740:3)
         คือ การ ที่ ทำ ของ ให้ แหลม, เช่น เขา จะ เสี้ยม ไม้ ให้ แหลม, เอา พร้า ฤๅ ขวาน ถาก บ้าง, เอา มีด เหลา บ้าง ตาม ไม้ เล็ก ไม้ ใหญ่.
      เสี้ยม ต้น (740:3.1)
               คือ เสี้ยม ข้าง ต้น ไม้ ที่ จะ ปัก ลง ใน ดิน. เอา พร้า ฤๅ ขวาน ถาก ให้ แหลม นั้น.
      เสี้ยม ปลาย (740:3.2)
               คือ เสี้ยม ข้าง ปลาย ไม้ ที่ จะ เสียบ ร้อย ของ อัน ใด. แล เขา เอา ไม้ มา ทำ ข้าง ปลาย ให้ แหลม นั้น.
      เสี้ยม ไม้ (740:3.3)
               คือ ทำ ให้ ไม้ แหลม, เขา ทำ ไม้ ให้ ต้น แหลม บ้าง ปลาย แหลม บ้าง, ให้ แหลม ทั้ง สอง ข้าง บ้าง
      เสี้ยม เหล็ก (740:3.4)
               คือ การ ที่ เขา ทำ ให้ เหล็ก แหลม, เขา จะ ทำ เหล็ก สำหรับ จาน หนังสือ เขา ทำ ให้ เหล็ก แหลม นั้น.
      เสี้ยม แหลม (740:3.5)
               คือ ทำ ให้ เหล็ก ฤๅ ไม้ ให้ แหลม, แทง อะไร ได้ นั้น.
      เสี้ยม สอน (740:3.6)
               คือ แนะ นำ สั่ง สอน ว่า ท่าน จง พูจ อย่าง นี้, ถ้า เขา ว่า อย่าง นี้ ท่าน จง ตอบ อย่าง นี้
เสื่อม (740:4)
         คือ คลาย ซุด ถอย, เช่น โรค ที่ เกิด แต่ แรก หนัก ผ่าย หลัง มา บันเทา เบา บาง ลง.
      เสื่อม คลาย (740:4.1)
               คือ ความ บันเทา ทุเลา ลง นั้น.
      เสื่อม จาก ผล (740:4.2)
               คือ เสีย ผล เสีย ประโยชน์ นั้น, ครั้น ตัว ประพฤติ ชั่ว, มรรค ผล ก็ ไม่ สำเร็ทธิ์ แก่ ตน.
      เสื่อม ชาติ (740:4.3)
               คือ คน มี ชาติ ตระกูล อัน ถอย ลง นั้น
      เสื่อม ถอย (740:4.4)
               คือ บันเทา เบาบาง ไป, เช่น แต่ แรก เกิด โทโส ฤๅ โรค เปน ต้น*, ครั้น ผ่าย หลัง มา โทโส ฤๅ โรค เปน ต้น, ค่อย คลาย ลง
      เสื่อม ไป (740:4.5)
               คือ เมื่อ สาศนา เดิม พระเจ้า นิพพาน ลง ใหม่ ๆ ข้อ ประฏิบัติ ยัง บริบูรณ, ครั้น นาน มา หลาย ร้อย ปี ข้อ ประฏิ บัติ ก็ ย่อ หย่อน ไป
      เสื่อม หมด (740:4.6)
               คือ เสื่อม สิ้น, เช่น โรค แต่ แรก เปน นั้น มาก หนัก. ครั้น นาน มา โรค นั้น คลาย หาย สิ้น.
      เสื่อม แล้ว (740:4.7)
               คือ คลาย ลง แต่ ยัง มี บ้าง, คน มา ถาม ว่า โรค นั้น คลาย แล้ว ฤๅ เขา ว่า คลาย แล้ว.

--- Page 741 ---
      เสื่อม ส่าง (741:4.8)
               เช่น คน กิน เหล้า นาน เวลา แล้ว, เมา ค่อย เหือด คลาย ลง นั้น.
      เสื่อม สูญ (741:4.9)
               คือ เสื่อม จน เปล่า ไป, เช่น สาศนา ครั้น หลาย ร้อย ปี พัน ปี ก็ อันตรธาน ไม่ มี อยู่ เลย นั้น.
      เสื่อม สิ้น (741:4.10)
               คือ เสื่อม หมด, เช่น โรค ร้าย คลาย บันเทา ลง แล้ว หาย คลาย สิ้น.
      เสื่อม เสีย (741:4.11)
               คือ เสื่อม ย่อย ยับ ระยำ ไป, เช่น เมือง เสีย แก่ ฆ่า ศึก, ก็ ซุด โซม ระยำ ยับ ไป นั้น.
      เสื่อม หาย (741:4.12)
               คือ เสื่อม ดับ ลับ ไป, เช่น วิชา ความ รู้ ต่าง ๆ เดิม กำลัง ขลัง, คน ทำ อัน ใด ประสิทธิ เปน ทุก อย่าง, นาน มา เสื่อม คลาย ไป
เสื้อม (741:1)
         คือ อาการ เชื่อม มึน, เช่น คน เปน ไข้ ใหญ่, มัน ทำ ให้ เชื่อม มึน ไม่ ใคร่ พูจจา นั้น.
      เสื้อม ซึม (741:1.1)
               คือ เชื่อม ซึม, เช่น คน กิน ของ เมา จัป หัว ใจ, เหมือน ฝิ่น มัน ทำ อาการ ให้ เชื่อม ซึม มึน นั้น.
เสิม (741:2)
         คือ เติม ต่อ เข้า, เช่น ถัง ฤๅ สัจ ที่ สำหรับ ตวง เข้า ฃาย, รูป มัน ต่ำ ยัง หย่อน อยู่ ไม่ ถึง ยี่สิบห้า ทนาน, เขา ทำ ขอบ เติม ขึ้น ที่ ปาก มัน อีก นั้น.
      เสิม กราบ (741:2.1)
               คือ เติม ต่อ กราบ เรือ ขึ้น, เช่น เรือ ไม่ ได้ ใส่ กราบ มัน ต่ำ อยู่, เขา เอา กราบ ติด ต่อ ขึ้น นั้น.
      เสิม ขึ้น (741:2.2)
               เช่น กราบ เรือ เดิม ทำ มัน ต่ำ เปลี้ย อยู่, แล้ว เอา ไม้ แผ่น กระดาน ต่อ ขึ้น
      เสิม ความ (741:2.3)
               คือ เติม เพิ่ม ความ เข้า, เช่น คน เปน ความ กัน แล ฃอ มี คำ เพิ่ม เติม คำ ฟ้อง นั้น.
      เสิม ต่อ (741:2.4)
               คือ เติม ต่อ ขึ้น, เช่น คน เอา ไม้ เปน ต้น เติม ติด ต่อ ขึ้น ที่ ใด ๆ ก็ ว่า เสิม ต่อ.
      เสิม ท้าย (741:2.5)
               ต่อ ท้าย, คือ เอา ไม้ ทับ ลง ที่ ท้าย เรือ, เช่น เรือ โขน ข้าง ท้าย มัน ต่ำ, แล เอา ไม้ ทับ ที่ ท้าย ลง ให้ สูง นั้น.
      เสิม ปาก (741:2.6)
               ต่อ ปาก, คือ เติม ต่อ ปาก สัจ ปาก ถัง เปน ต้น เช่น ว่า แล้ว.
      เสิม หัว (741:2.7)
               ต่อ หัว, คือ เอา ไม้ เติม ทับ ลง ข้าง หัว เรือ, เช่น หัว เรือ มัน ต่ำ แล เอา ไม้ ทับ เติม ลง อีก นั้น.
เสย (741:3)
         เกย, คือ เอา หวี เสือก สอด เข้า ที่ ผม แล้ว, ให้ ผม มัน ไปล่ แปล้ ไป ข้าง หลัง นั้น.
      เสย ผม (741:3.1)
               หวี ผม, คือ ทำ อาการ เช่น ว่า แล้ว, คน จะ ทำ ผม ให้ มัน ไปล่ ไป ข้าง หลัง แล ทำ เช่น ว่า นั้น.
      เสย หัว (741:3.2)
               หวี หัว, คือ เสย ผม ที่ หัว, คน จัดแจง แต่ง หวี ผม นั้น, เขา ว่า เสย หัว บ้าง.
สาย (741:4)
         คือ เส้น, เช่น เส้น เชือก เขา เรียก สาย เชือก ก็ มี บ้าง, เส้น เชือก บ้าง,
      สาย ใจ (741:4.1)
               สาย เปน ความ เปรียบ, เปน คำ พูจ ว่า หญิง เหมือน สาย ใจ ของ ชาย.
      สาย เชือก (741:4.2)
               คือ เส้น เชือก, เช่น เชือก เขา ฟั่น ตี เกลียว ไว้ ยาว ๆ นั้น เรียก สาย เชือก.
      สาย โซร่ (741:4.3)
               คือ เส้น โซร่, เช่น เส้น โซร่ เขา ทำ ด้วย เหล็ก บ้าง, ด้วย ทอง แดง บ้าง นั้น.
      สายดิ่ง (741:4.4)
               คือ เส้น เชือก ที่ สำหรับ หยั่ง น้ำ, ให้ รู้ ว่า ที่ ตรง นี้ น้ำ ฦก เท่า นั้น. ๆ
      สาย ติ่ง (741:4.5)
               เปน ชื่อ ต้น ผัก มัน เกิด ใน น้ำ, ที่ ทุ่ง นา เมื่อ น่า ฝน น้ำ มาก นั้น.
      สาย น้ำ (741:4.6)
               คือ กระแส น้ำ ที่ ไหล เชี่ยว แรง กว่า ที่ อื่น, มัก มี ข้าง ท้อง คุ้ง เปน ธรรมดา นั้น.
      สาย เบ็ด (741:4.7)
               คือ เส้น เชือก เบ็ด, คน ทำ เบ็ด จะ ตก ปลา, แล เอา สาย มัน ผูก กับ ตัว เบ็ด, ปลาย เชือก ข้าง หนึ่ง ผูก กับ คัน.
      สาย บัน ทัด (741:4.8)
               คือ เส้น ด้าย ที่ ชุบ น้ำ ดำ สำหรับ ทอด ตี ลง ให้ ตรง, เพื่อ จะ เลื่อย ไม้ เปน ต้น.
      สาย บัว (741:4.9)
               คือ ต้น บัว อุบล ต้น ไม่ มี หนาม, ก้าน สาย มัน ยาว ขึ้น ตาม น้ำ ฦก แล ตื้น นั้น.
      สาย ป่าน (741:4.10)
               คือ เส้น ป่าน ที่ เขา ทำ ชัก ว่าว, เขา ทำ มา แต่ เมือง จีน สำหรับ เด็ก ชัก ว่าว นั้น.
      สาย พาน (741:4.11)
               คือ เส้น ด้าย เขา ฟั่น ผูก ที่ โครง ไน, ที่ สำหรับ เขา ปั่น เปน เส้น ด้าย แล้ว ธอ ผ้า นั้น.
      สาย ฟ้า (741:4.12)
               คือ ของ ที่ แล เหน เมื่อ ฟ้า ผ่า ฤๅ ฟ้า แลบ เปน ต้น แดง เปน สาย นั้น.

--- Page 742 ---
      สายยู (742:4.13)
               คือ สาย เหล็ก ที่ ทำ เปน ห่วง, สำหรับ ติด ไว้ ที่ ปะตู เพื่อ จะ ใส่ กุญแจ นั้น.
      สาย ยนต์ (742:4.14)
               คือ สาย ที่ เขา ผูก เข้า ใน รูป หุ่น. ชัก ให้ มัน ยก มือ ยก ท้าว ทำ ถ้า รำ ได้ นั้น.
      สายรยางค์ (742:4.15)
               คือ เชือก ผูก รั้ง เสา ฉัตร, ฤๅ เสา ต้น พุ่ม ดอก ไม้ ไฟ เปน ต้น, เพื่อ จะ ไม่ ให้ ลม ภัด ล้ม นั้น.
      สาย ลด (742:4.16)
               คือ เส้น เชือก* ที่ เขา ผูก กับ ไม้ เพลา ใบ เรือ สำ เภา เปน ต้น, สำหรับ ชัก ไบ ขึ้น แล ปลง ไบ ลง นั้น.
      สาย เลื่อน (742:4.17)
               คือ โรค ไส้ เลื่อน มี กับ ผู้ ชาย นั้น.
      สาย สดึง (742:4.18)
               คือ สาย เชือก ที่ แม่ สดึง สำหรับ ปัก ผ้า นั้น.
      สาย สดือ (742:4.19)
               คือ เส้น สาย มี ที่ สดือ ทารก, เมื่อ แรก ออก จาก ครรภ์ นั้น.
      สาย สมร (742:4.20)
               คือ คำ ร้อง เรียก หญิง สาว เปน ที่ รัก ของ ชาย นั้น.
      สาย สมอ (742:4.21)
               คือ สาย เส้น ทำ ด้วย เหล็ก บ้าง ทำ ด้วย ปอ บ้าง, สำหรับ ผูก กับ สมอ กำปั่น ฤๅ ตะเภา นั้น,
      สาย สะอิ้ง (742:4.22)
               คือ สาย เส้น ทอง คำ ทำ ผูก เครื่อง ประดับ ที่ ลับ ของ หญิง นั้น.
      สาย เส้น (742:4.23)
               คือ เส้น ใน กาย คน เปน สาย อยู่ นั้น.
      สาย สร้อย (742:4.24)
               คือ สาย เส้น ทอง คำ ทำ เปน เครื่อง ประดับ ที่ ฅอ เด็ก เปน ต้น นั้น.
      สาย เอก (742:4.25)
               เส้น เอก, คือ สาย สมอ สำเภา เขา ทำ ด้วย ต้น จั่ง, มัน เหนียว กว่า เชือก สาย อื่น ๆ ถ้า สำเภา ถูก ลม พยุ กล้า จน ต้อง ลง สาย จั่ง อยู่ ได้ นั้น.
ส่าย (742:1)
         กราย, คือ กวาด ไป กวาด มา, เช่น คน จะ ล้าง ท้าว ที่ สระ มี จอก แหน มาก, แล เขา เอา ตีน ปัด ไป ปัด มา นั้น.
      ส่าย แขน (742:1.1)
               กราย แขน, คือ ทำ แขน ปัด ไป แล กวัด มา นั้น.
      ส่าย หน้า. กลอก หน้า (742:1.2)
               คือ ทำ หน้า ให้ หัน ไป ข้าง โน้น มา ข้าง นี้ นั้น.
      ส่าย ไป (742:1.3)
               กลอก ไป, คือ ทำ มือ ฤๅ ท้าว เปน ต้น ให้ หัน ไป หัน มา นั้น. อนึ่ง คน เที่ยว ไป ข้าง โน้น ข้าง นี้ ก็ ว่า เที่ยว ส่าย ไป.
      ส่าย ผ้า (742:1.4)
               คือ เอา ผ้า ลง ซัก แล้ว ถือ วาด ไป ข้าง โน้น แล้ว วาด มา ข้าง นี้, เพื่อ จะ ให้ ผ่อง ใส นั้น.
      ส่าย มา (742:1.5)
               คือ เที่ยว เส มา, คน เที่ยว เร่ เส มา ใน ประเทศ ต่าง ๆ ว่า เขา เที่ยว ส่าย มา.
      ส่าย เสีย (742:1.6)
               คือ ทำ มือ ฤๅ ท้าว ให้ กวัด แกว่ง, คน สั่ง ว่า ให้ เอา ผ้า นี้ ส่าย เสีย สัก ที นั้น
      ส่าย หา (742:1.7)
               คือ เตร่ เร่ หา, เช่น คน มี สัตว เปน ต้น ว่า ฝูง แกะ มัน พรัด หาย ไป แล เที่ยว เตร่ เร่ หา นั้น.
      ส่าย ออก (742:1.8)
               คือ เที่ยว เตร่ เร่ ออก ไป, เช่น คน จะ ไป เที่ยว เล่น แล ตร่าย เตร่ เร่ ออก.
สาว (742:2)
         รุ่น, คือ หญิง แรก เจริญ รุ่น อยู่ ใน ปถมะไวย, มี อายุ ตั้ง แต่ สิบ ห้า ปี ขึ้น ไป จน อายุ ยี่สิบ นั้น.
      สาว แก่ (742:2.1)
               คือ หญิง สาว อายุ กว่า ยี่สิบ ปี, จน ตราบ เท่า ถึง มี ผัว, ถ้า ยัง ไม่ มี ผัว ถึง แก่, เขา เรียก สาว แก่ นั้น.
      สาว ใช้ (742:2.2)
               คือ หญิง สาว เปน ข้า เจ้า เปน ต้น, สำหรับ รับ ราช การ ใช้ เปน ผู้ ดี ใน วัง นั้น.
      สาว เชือก (742:2.3)
               คือ เอา มือ ทั้ง สอง ผลัด กัน, รับ เส้น เชือก * ละ มือ, ชัก มา จน สิ้น เส้น เชือก.
      สาว ใหญ่ (742:2.4)
               คือ หญิง สาว อายุ ยี่สิบ ขึ้น ไป, จน อายุ สาม สิบ เขา เรียก สาว ใหญ่.
      สาว เด็ก (742:2.5)
               คือ หญิง สาว เล็ก ๆ อายุ สิบสาม สิบสี่ นั้น, เรียก ว่า สาว คือ กำลัง งาม ดี.
      สาว ทึนทึก (742:2.6)
               คือ หญิง สาว อายุ ตั้ง แต่ ยี่สิบ ขึ้น ไป จน อายุ ยี่สิบ ห้า ปี นั้น.
      สาว เทื้อ (742:2.7)
               คือ หญิง สาว อายุ ยี่สิบห้า ขึ้น ไป จน สามสิบ นั้น เรียก สาว เทื้อ.
      สาว หนุ่ม (742:2.8)
                คือ หญิง สาว อายุ, ยี่สิบห้า ยี่สิบหก ปี นั้น.
      สาว น้อย (742:2.9)
               คือ หญิง สาว รุ่น อายุ สิบสี่ สิบห้า ขึ้น ไป จน อายุ สิบเจ็ด ปี นั้น.
      สาว ไป (742:2.10)
               เหนี่ยว ไป, คือ เขา เอา มือ ทั้ง สอง ข้าง ยึด สาย ป่าน ฤๅ เส้น เชือก เข้า แล้ว, ผลัด เปลี่ยน กัน จับ ชัก ไป นั้น.
      สาว ป่าน (742:2.11)
               ชัก ป่าน มา, คือ ทำ เช่น ว่า ด้วย เส้น ป่าน, คน เอา มือ จับ สาย ป่าน แล้ว เปลี่ยน มือ ชัก นั้น.

--- Page 743 ---
      สาว พรหมจารีย์ (743:2.12)
               คือ หญิง สาว รุ่น อายุ สิบสี่สิบห้า ปี, ที่ ชาย ยัง ไม่ ได้ ถูก ต้อง โดย สังวาศ นั้น.
      สาว มา (743:2.13)
               เหนี่ยว มา, คือ เอา มือ ผลัด เปลี่ยน กัน จับ เชือก ฤๅ ป่าน, แล้ว ชัก มา นั้น, * ว่า สาว มา
      สาวหยุด (743:2.14)
               เปน ชื่อ ต้น* เถาวัล อย่าง หนึ่ง, มัน เลื้อย ขึ้น ต้น ไม้, ดอก มัน หอม แต่ เวลา เช้า, ครั้น สาย ขึ้น กลิ่น ก็ อยุด ไป นั้น.
      สาว รุ่น (743:2.15)
               คือ หญิง สาว อายุ สิบสี่ สิบห้า ปี, เรียก สาว รุ่น เพราะ เปน แรก แตก เนื้อ เปน สาว ขึ้น มา,
      สาว แส้ (743:2.16)
               คือ หญิง สาว แต่ แส้ เปน คำ ฦๅ ว่า สรวย นัก.
      สาว สะเทิน (743:2.17)
               คือ หญิง สาว อายุ สิบเจ็ด สิบแปด ปี นั้น.
      สาว สนม (743:2.18)
               คือ หญิง สาว เปน เจ้า จอม หม่อม ห้าม ใน หลวง นั้น.
      สาว สวรรค์ (743:2.19)
               คือ หญิง สาว รูป งาม, มี ศรี สรรค์ พรรณ ประเสริฐ, เปรียบ ด้วย นาง ฟ้า นั้น.
      สาว สิบห้า ปี (743:2.20)
               คือ หญิง รุ่น สาว ขึ้น, อายุ ได้ สิบ สี่ สิบห้า ปี, เขา เรียก ต่าง ๆ กัน แต่ อาการ เหมือน กัน บ้าง นั้น.
      สาว สรรค์ (743:2.21)
               คือ หญิง สาว ที่ เขา จัด สรรค์ ไว้, เปน อย่าง ดี นั้น.
      สาว ศรี (743:2.22)
               คือ หญิง สาว ที่ มี ศีริ วรรณ เปน ผู้ ดี นั้น.*
สิว (743:1)
         คือ โรค เปน เม็ด เล็ก ๆ ผุด ขึ้น มา ที่ หน้า หญิง แล ชาย, เมื่อ อายุ ได้ สิบหก สิบเจ็ด ปี, ถ้า มัน แก่ แล้ว ข้าง ใน เปน ไต เหมือน เม็ด เข้า.
      สิว ช้าง (743:1.1)
               คือ โรค เปน เม็ด เช่น ว่า นั้น, แต่ มัน เปน เม็ด โต เท่า เม็ด ถั่ว เขียว บ้าง มัก ขึ้น ข้าง หลัง.
      สิว เสี้ยน (743:1.2)
               คือ เม็ด สิว ที่ มัน มี หัว หนิด ๆ เปรียบ เช่น เสี้ยน หนาม จึ่ง เรียก สิว เสี้ยน.
สิ่ว (743:2)
         คือ เหล็ก เขา ทำ เปน สี้ อัน แบน ๆ บาง ๆ บ้าง หนา บ้าง ใส่ ดั้ม สำหรับ เจาะ ไม้ ต่าง ๆ.
      สิ่ว ฉาก (743:2.1)
               คือ สิ่ว ทำ รูป เช่น ท้าว คน มี บ้อง อยู่ กลาง, มี คม ยาว ออก ไป สอง ข้าง นั้น.
      สิ่ว ตอก หมัน (743:2.2)
               คือ สิ่ว ย่อม ๆ ปาก ไม่ คม เช่น สิ่ว เจาะ ไม้, ปาก ทู่ จะ ได้ ให้ หมัน เข้า ใน แนว เรือ นั้น.
      สิ่ว น่อง (743:2.3)
               คือ สิ่ว ไม่ แบน นัก ปาก หนา มี ไม้ ดั้ม*, ตัว มัน สัณฐาน เช่น น่อง แพะ ฤๅ แกะ นั้น.
      สิ่ว ปาก กลาง (743:2.4)
               คือ สิ่ว ไม่ ใหญ่ ไม่ เล็ก นัก, ภอ เปน อย่าง กลาง สำหรับ เจาะ ไม้ ไม่ ใหญ่ นัก.
      สิ่ว เล็ก (743:2.5)
               คือ สิ่ว เล่ม เล็ก ๆ สำหรับ ช่าง สลัก, เจาะ สลัก เปน ต้นไม้ แล ดอกไม้ ต่าง ๆ
      สิ่ว เล็บ มือ (743:2.6)
               คือ สิ่ว ปาก กล้อ เช่น กับ เล็บ มือ, สำหรับ เจาะ ไม้ ให้ เปน รู กลม นั้น.
สุ้ย (743:3)
         ฉุ้ย, คือ เหล็ก สุ้ย, เขา ทำ สำหรับ ตอก ส่ง หัว ตับปู, ให้ จม ลง ใน ไม้ ไม่ มี หัว เหมือน ตับปู.
แส้ว (743:4)
         แน่ว, คือ ยืน อยู่ ที่ เดียว ฤๅ นอน อยู่ ที่ เดี่ยว ฤๅ นั่ง อยู่ ที่ เดียว, นาน นับ ด้วย โมง นั้น.
สอย (743:5)
         คือ การ ที่ เขา เอา ไม้ ง่าม เลือก ส่ง ขึ้น ไป ถึง ดอก ฤๅ ผล ไม้ ทำ ให้ ก้าน มัน เข้า ใน ง่าม, แล้ว บิด หัน ให้ จน ฃาด ลง มา นั้น.
      สอย ดอก ไม้ (743:5.1)
               คือ การ ที่ เขา เอา ไม้ ง่าม ส่ง ขึ้น ไป ถึง แล้ว, เอา ง่าม ใส่ เข้า ที่ ก้าน ดอก ไม้ บิด ให้ ฃาด ลง มา นั้น.
      สอย ผม (743:5.2)
               คือ การ ที่ เขา เอา ไม้ เล็ก ๆ เท่า ปลาย เหล็ก ไน, ขวิด เข้า ที่ ผม เพื่อ จะ ให้ ผม เรียบ เรียง เส้น นั้น.
      สอย ผล ไม้ (743:5.3)
               คือ การ ที่ เขา เอา ไม้ ง่าม, ทำ เข้า ที่ ผลไม้ เช่น ว่า, ด้วย ปราถนา จะ เอา ผลไม้ นั้น.
      สอย ลูก ไม้ (743:5.4)
               คือ การ ที่ เขา เอา ไม้ ง่าม ทำ เข้า ที่ ก้าน ลูก ไม้ เช่น ว่า, เพื่อ จะ เอา ลูก ไม้ นั้น.
ส้อย (743:6)
         คือ สาย เส้น ที่ เขา ถัก ด้วย ทอง คำ, เปน หลาย อย่าง ต่าง ๆ กัน, เปน เครื่อง ประดับ ฅอ, ห้อย ลง มา จน อก นั้น.
      ส้อย ไก่ (743:6.1)
               คือ ขน ที่ ฅอ ไก่, เช่น ไก่ ตัว ผู้ มัน มี ขน สร้อย ที่ ฅอ ศรี แดง เปน ต้น, เรียก ว่า สร้อย ไก่.
      ส้อย กะดูก งู (743:6.2)
               คือ สร้อย เขา ทำ ด้วย ทอง คำ, มี สัณฐาน เช่น กะดูก งู สำหรับ เปน เครื่อง ประดับ ฅอ นั้น.
      ส้อย คำ (743:6.3)
               คือ ถ้อย คำ คน พูจ พล่อย ๆ ภอ คล่อง ปาก มี ความ บ้าง ไม่ มี ความ บ้าง นั้น.
      ส้อย ความ (743:6.4)
               คือ ความ ที่ ไม่ เปน ใจ ความ เปน แต่ พล ความ นั้น, เรียก ว่า สร้อย ความ.

--- Page 744 ---
      ส้อย ฅอ (744:6.5)
               คือ ฃน เปน สร้อย อยู่ ที่ ฅอ สัตว มี ไก่ แล นก เขา เปน ต้น นั้น, เรียก สร้อย ฅอ.
      ส้อย ดอก จิก (744:6.6)
               คือ สร้อย ทำ ด้วย ทอง คำ, มี สัณฐาน ดั่ง ดอก จิก เปน เครื่อง ประดับ ฅอ นั้น.
      ส้อย ตะขาบ (744:6.7)
               คือ สาย สร้อย เขา ทำ ด้วย ทอง คำ เปน รูป ตะ ขาบ สำหรับ ประดับ ฅอ ตะภาย แล่ง นั้น.
      ส้อย ทอง (744:6.8)
               คือ สร้อย ทุก อย่าง ที่ เขา ทำ ด้วย ทอง คำ นั้น.
      ส้อย ท่อน (744:6.9)
               คือ สร้อย ทำ ด้วย ทอง คำ, เขา ทำ เปน ท่อน ๆ ไม่ ติด กัน เปน เครื่อง ประดับ ใส่ ตะภาย แล่ง.
      ส้อย นก เขา (744:6.10)
               คือ ขน สร้อย ที่ ฅอ นก เขา, เปน ลาย ดำ ๆ ขาว ๆ พร้อย ๆ รอบ ฅอ มัน.
      ส้อย นวม (744:6.11)
               คือ สาย สร้อย เขา ทำ เปน นวม รอง ร้อย ติด กัน เปน พืด สำหรับ ใส่ ที่ ฅอ
      ส้อย สังวาร (744:6.12)
               คือ สาย สร้อย เขา ทำ ด้วย ทอง คำ เปน เครื่อง ประดับ เขา ใส่ ตะภาย แล่ง ทั้ง ซ้าย ขวา นั้น.
      ส้อย สน (744:6.13)
               คือ สาย สร้อย เขา ถัก เปน ลาย คด กฤช สน ไป สน มา, จึ่ง เรียก สร้อย สน ใส่ ฅอ ตะภาย แล่ง.
      ส้อย เศร้า (744:6.14)
               คือ โศก เศร้า, เช่น คน ที่ มี ลูก แล เมีย ตาย หน้า ตา เศร้า โศก นั้น.
สวย (744:1)
         คือ เข้า ที่ เขา หุง ไว้ น้ำ น้อย, สุก แล้ว เมล็ด ไม่ ติด กัน เช่น เข้า นึ่ง นั้น.
      สวย กราก (744:1.1)
               คือ เข้า ที่ เขา หุง เช่น ว่า นั้น, เอา มือ กำ เมล็ด เข้า แล้ว ทิ้ง ไป ไม่ ติด ฝา ร่วง กราว ลง มา นั้น.
      สวย งาม (744:1.2)
               คือ คน รูป งาม นั้น.
      สวย จริง (744:1.3)
               คือ เข้า สวย หนัก, คน หุง เข้า ภอ เดือด ก็ ปลง ลง เช็ด สกัด น้ำ ให้ แห้ง สวย นัก นั้น.
      สวย ตัว (744:1.4)
               คือ ตัว คน เมื่อ อาบ น้ำ ชำระ เหงื่อ ไค หมด จด ขัด สี ด้วย ซ่าบู่ เปน ต้น เบา ตัว นั้น.
ส่วย (744:2)
         คือ ของ เขา เก็บ เอา สิ่ง สาระพัด มี เงิน ทอง เปน ต้น, ถวาย เปน ของ หลวง นั้น.
      ส่วย เกลือ (744:2.1)
               คือ เกลือ เขา เก็บ เอา ถวาย เปน ของ หลวง นั้น, เรียก ส่วย เกลือ.
      ส่วย เข้า (744:2.2)
               คือ เข้า เขา เก็บ เอา แก่ พวก ราษฎร พล เมือง ตาม มาก แล น้อย ถวาย เปน ของ หลวง นั้น.
      ส่วย เงิน (744:2.3)
               คือ เงิน เขา เก็บ เอา แก่ ราษฎร ปี หนึ่ง คนละ สิบ สอง บาท เปน ของ หลวง.
      ส่วย ดีบุก (744:2.4)
               คือ ดีบุก เขา เก็บ เอา แก่ ราษฎร เปน ของ หลวง ทุก ปี นั้น.
      ส่วย ทอง (744:2.5)
               คือ ทอง ที่ เขา เก็บ เอา แก่ ราษฎร ที่ อยู่ ตาม เมือง ที่ ร่อน ทอง ได้ เปน ของ หลวง.
      ส่วย พริก ไทย (744:2.6)
               คือ พริก ไท เขา เก็บ เอา แก่ ราษฎร ที่ อยู่ ตาม เมือง ที่ ปลูก พริก ไท ได้ เปน ของ หลวง.
      ส่วย มาศ (744:2.7)
               คือ มาศ ที่ เขา เก็บ เอา มาศ สุพรรณถัน แก่ ราษ ฎร ที่ มี สุพรรณถัน ถวาย เปน ของ หลวง นั้น.
      ส่วย เร่ว (744:2.8)
               คือ เร่ว ที่ เขา เก็บ เอา ลูก เร่ว ส่ง เปน ของ หลวง คน หนึ่ง* ปี ละหาบ ทุกปี นั้น.
      ส่วย สา อากร (744:2.9)
               คือ ส่วย สาระพัด ทุกสิ่ง, คน พูจ ว่า เสีย ส่วย สา อากร, เช่น คน เสีย เงิน ค่า ผลไม้ ใน สวน นั้น.
      ส่วย สัจ พัทธยา กร (744:2.10)
               คือ ของ ส่วย สาระพัด ทุกสิ่ง, เขา พูจ ว่า ของ ส่วย สัจ พัทธยากร นั้น.
ส้วยเสี้ยว (744:3)
         คือ ของ เปน สาม มุม เหมือน ใบ ข้าง หัว เรือ กำปั่น นั้น.
เสียว (744:4)
         (dummy head added to facilitate searching).
      เสียว หวาด (744:4.1)
               คือ ให้ หวาด เสียว, เช่น คน ขึ้น ไป บน ที่ สูง เหมือน พระปรางค์ เปน ต้น, แล ให้ หวาด กลัว จะ ตก ลง มา นั้น.
      เสียว กาย (744:4.2)
               หวาด กาย, คือ กาย หวาด เสียว, เช่น ตัว จะ ตก ลง จาก ที่ สูง ลอย นั้น, ว่า เสียว กาย.
      เสียว ใจ (744:4.3)
               หวาด ใจ, คือ ใจ วุบวับ, เช่น จะ พลาด พล้ำ ตก ลง จาก ที่ สูง, เช่น พระปรางค์ เปน ต้น.
      เสียว ไป ทั้ง ตัว (744:4.4)
               หวาด ไป ทั้ง ตัว, คือ เสียว หวั่น พรั่น ไป ทั้ง กาย, เช่น ขึ้น ไป ยืน อยู่ บน ที่ สูง ลอย ลิ่ว นั้น.
      เสียว ซ่าน (744:4.5)
               หวาด ซ่าน, คือ หวั่น ซ่า ชา ไป ใน กาย, เช่น คน ป่วย เปน โรค มัน ให้ เหน็บ ชา ไป ใน กาย นั้น.
      เสียว ซาบ (744:4.6)
               คือ ซ่า เสียว ชา ไป ทั่ว กาย, คน ป่วย ให้ เสียว ซ่า ชา ไป สิ้น ทั้ง กาย นั้น.
      เสียว หวาด (744:4.7)
               คือ ใจ หวาด เสียว, เช่น ขึ้น ไป ที่ สูง แล พลาด จะ ตก, ใจ หวาด เสียว เช่น นั้น.

--- Page 745 ---
      เสียว องค์ (745:4.8)
               หวาด องค์, คือ เสียว ตัว เช่น ว่า แล้ว, แต่ เขา ว่า องค์ พูจ เปน คำ สูง สำหรับ เจ้า เปน ต้น.
เสี่ยว (745:1)
         เฉี่ยว, คือ โฉบ เฉี่ยว เอา, เช่น เอยี่ยว มัน บิน อยู่ บน อากาศ แล โผ วูบ ลง ฉวย เอา ปลา ใน น้ำ เปน ต้น นั้น.
เสี้ยว (745:2)
         คือ ที่ ไม่ เปน สี่ เหลี่ยม, ข้าง หนึ่ง กว้าง ข้าง หนึ่ง เสี้ยว เปน ชาย ธง นั้น, ว่า ที่ เสี้ยว.
      เสี้ยว หนึ่ง (745:2.1)
               คือ ซีก เล็ก ผลไม้ มี ลูก แตง โม เปน ต้น, เฃา ผ่า ออก เปน สอง ซีก แล้ว ผ่า ออก อีก เปน สี่ ซีก ๆ นั้น, ว่า เสี้ยว หนึ่ง.
      เสี้ยว ไป (745:2.2)
               คือ จะ ตัด ผ้า ให้ ตรง เปน สี่ เหลี่ยม, ครั้น ตัด ไป มัน ไม่ ตรง มัน เล็ก ไป ข้าง หนึ่ง, เขา ว่า มัน เสี้ยว ไป.
      เสี้ยว มา (745:2.3)
               คือ ตัด ผ้า มัน ไม่ ตรง มา มัน เยื้อง ไป, เขา ว่า มัน เสี้ยว มา.
เสีย (745:3)
         ละ*, คือ ทำ ของ ชั่ว ไป ไม่ ได้ การ. อย่าง หนึ่ง ของ สา ระพัด เก็บ ไว้ ของ นั้น อยู่ ไม่ เปน ปรกติ ใช้ ไม่ ได้,
      เสีย เกรียติยศ * เกรียติยศ (745:3.1)
               คือ เขา ติ เตียน ที่ มี เกรียติ ยศ, คน มี ยศ ศักดิ มาก, แล ประพฤติ์ เปน การ ทุจริต เปน ที่ เขา ติ เตียน ว่า ไม่ ดี นั้น, ว่า เปน คน เสีย เกรียติ ยศ ไป.
      เสีย การ (745:3.2)
               ละ การ, คือ การ ที่ คน ทำ ไม่ สำเร็ทธิ์ ได้ ของ ยับ เยิน ไป ด้วย, ว่า เสีย การ ไป.
      เสีย กล (745:3.3)
               ละ กล, คือ เสีย การ ที่ ประกอบ กล มารยา, เช่น ทำ กล ศึก ฬ่อ ลวง ฆ่า ศึก ไม่ สม คิด เขา รู้ เท่า, ว่า เสีย กล ไป นั้น.
      เสีย กาล (745:3.4)
               ละ กาล, คือ ป่วย เวลา ทำ การ ควร จะ แล้ว ใน เวลา เดียว, การ นั้น ไม่ แล้ว ว่า เสีย กาละ ไป.
      เสีย ของ (745:3.5)
               ละ ของ, คือ ของ สาระพัด ทุกสิ่ง ชั่ว ไป, เดิม ของ นั้น ดี อยู่, ครั้น นาน มา ของ นั้น ผุ รา บูด ไป เปน ต้น นั้น.
      เสีย คน (745:3.6)
               เปน คน ชั่ว ไป, คือ คน เปน คน ชั่ว ไป, เดิม ประ- พฤติ์ การ เปน สุจริต, ครั้น ผ่าย หลัง คน นั้น ประพฤติ์ ชั่ว ว่า คน นั้น เสีย คน ไป ไม่ ดี.
      เสีย เงิน (745:3.7)
               ละ เงิน, คือ ต้อง ให้ เงิน แก่ เขา, เช่น คน เปน ความ ต้อง จำ เปน ให้ เงิน เขา นั้น.
      เสีย งาม (745:3.8)
               ละ งาม, คือ ที่ งาม นั้น ชั่ว ไป ของ เดิม งาม ดี อยู่ ครั้น นาน มา ของ นั้น คร่ำ คร่า ประหรัก หัก พัง ไป นั้น.
      เสีย ใจ (745:3.9)
               น้อย ใจ, คือ ใจ คิด เสีย ดาย เปน ต้น เสีย น้ำ ใจ, เช่น คน ทำ การ อัน ใด ไว้ เปน ต้น, ว่า ทำ นา ลง ไว้ มาก แล เข้า แห้ง ไป ไม่ มี ผล ใจ เศร้า โศก ไป.
      เสีย จิตร (745:3.10)
               เช่น คน เปน บ้า จิตร กำเริบ คลุ้ม คลั่ง ไม่ ได้ สะ ติ เปน ปรกติ นั้น.
      เสีย ชาติ (745:3.11)
               คือ เกิด มา เสีย ที เปน คน บาป ไม่ ประพฤติ์ ชอบ ธรรม ประพฤติ์ แต่ การ ชั่ว นั้น.
      เสีย เชื้อ (745:3.12)
               คือ ของ เปน เชื้อ เช่น เชื้อ แป้ง เข้า สาลี เปน ต้น, ที่ มัน เสีย ไป นั้น.
      เสีย ดาย (745:3.13)
               คือ ความ อาไลย ถึง ของ ที่ เสีย ไป ฤๅ ไม่ ควร เสีย เช่น ของ ที่ เสีย ไป เพราะ ประมาท เปน ต้น นั้น, ตัว มี จิตร์ อาไลย อยู่.
      เสีย ตา (745:3.14)
               คือ ตา บอด ไป, คน มี ตา บอด ข้าง หนึ่ง ฤๅ ทั้งสอง ข้าง นั้น, ว่า เสีย ตา ไป.
      เสีย ตน (745:3.15)
               คือ เสีย ตัว, เดิม คน นั้น รักษา ตัว ดี ไม่ กิน เหล้า เปน ต้น, มา ภาย หลัง กิน เหล้า เปน ต้น, ว่า คน นั้น เสีย ตน ไป.
      เสีย ตีน (745:3.16)
               คือ ตีน หัก เปน ต้น, คน เดิม ตีน ดี อยู่ เปน ปรกติ ครั้น มี โรค ฤๅ ตก ต้น ไม้ ตีน หัก ไป.
      เสีย ตัว (745:3.17)
               คือ การ ที่ หญิง ที่ เปน สาว พรหม จารีย์ มิ ได้ ถูก ต้อง กับ ชาย, มา ภาย หลัง เสีย ท่วง ที กับ ชาย, ว่า หญิง นั้น เสีย ตัว ไป.
      เสีย ที (745:3.18)
               คือ เสีย คราว ที่ มา ฤๅ ที่ กระทำ, เช่น มา ด้วย ปราถนา ของ อัน ใด แล ไม่ ได้ ของ นั้น, ว่า เสีย ที ที่ มา นั้น.
      เสีย ทาง (745:3.19)
               คือ เสีย รอย, เช่น คน ใช้ ใบ แล่น เรือ แล แล่น ก้าว กลับ ถอย หลัง ไป ว่า เสีย ทาง.
      เสีย ทัพ (745:3.20)
               คือ การ ที่ ยก ทัพ ไป รบ กับ ฆ่าศึก, แล ปะราไชย แพ้ แก่ ฆ่าศึก นั้น, ว่า เสีย ทัพ ไป.
      เสีย ท้าย (745:3.21)
               คือ ที่ ข้าง ท้าย ชั่ว ไป, คน ถือ ท้าย เรือ ทำ หัว เรือ ไม่ ตั้ง ตรง ไป ได้, เว้ ไป ข้าง โน้น ข้าง นี้ เพราะ คน ท้าย ทำ ไม่ ดี.

--- Page 746 ---
      เสีย หน้า (746:3.22)
               ขาย หน้า, คือ หน้า ชั่ว ไป เพราะ บาด แผล เปน ต้น. อนึ่ง คน ข้าง หัว เรือ ทำ ไม่ ให้ เรือ ตรง ไป, ว่า เสีย หน้า. อย่าง หนึ่ง คน ทำ กีริยา ไม่ ดี ฤๅ พูจ ไม่ ดี, ว่า ทำ เสีย หน้า.
      เสีย น้อย (746:3.23)
               คือ เสีย เล็ก น้อย, เสีย เงิน ฤๅ ของ อัน ใด ๆ ไม่ มาก เสีย เพียง เฟื้อง สลึง ฤๅ เสีย ของ อื่น หนิด น่อย นั้น.
      เสีย บน (746:3.24)
               คือ คน เสีย ของ ไว้ ก่อน, เช่น คน เล่น เบี้ย เสีย ไว้ ก่อน, มา ภาย หลัง จึ่ง กลับ ได้. อย่าง หนึ่ง คน ตั้ง ความ บวงสรวง ไว้ แก่ เทพารักษ, แล ไม่ ได้ สม ปราถนา ว่า เสีย บน ไว้.
      เสีย บ้าน (746:3.25)
               คือ เสีย ที่ บ้าน, เช่น คน แพ้ แก่ ฆ่า ศึก แล หนี ออก จาก บ้าน ทิ้ง บ้าน เสีย นั้น.
      เสีย เบี้ย (746:3.26)
               คือ การ ที่ คน เล่น เบี้ย เสีย เงิน แก่ เขา, เพราะ เล่น แพ้ เขา นั้น.
      เสีย เปล่า (746:3.27)
               คือ เสีย เงิน เปน ต้น ไม่ มี ประโยชน์, เช่น ป่วย หา หมอ รักษา ไม่ หาย, เสีย เงิน ไป ก่อน นั้น.
      เสีย ปาก (746:3.28)
               คือ ว่า กล่าว ห้าม ปราม, เขา ไม่ ทำ ตาม บังคับ ว่า ๆ เสีย ปาก เปล่า ๆ.
      เสีย เปรียบ (746:3.29)
               คือ การ ที่ เขา เอา คน ต่อ คน เปน ต้น, เปรียบ กัน ถ้า ไม่ เท่า กัน ว่า ข้าง คน เล็ก นั้น เสีย เปรียบ.
      เสีย ผี (746:3.30)
               คือ ทำ กระบาล ให้ ผี กิน, เพื่อ จะ ให้ หาย โรค เปน ต้น นั้น.
      เสีย ผิว (746:3.31)
               คือ ผิว ชั่ว ไป เช่น งา ช้าง เปน ต้น ที่ จม ดิน อยู่ ผ่าย นอก มัน เสีย ไป ไม่ เหมือน ผิว เดิม นั้น.
      เสีย มาก (746:3.32)
               คือ การ ที่ คน ต้อง เสีย ของ มี เงิน เปน ต้น, หลาย คน เล่น เบี้ย ต้อง เสีย เงิน หลาย นั้น.
      เสีย เมือง (746:3.33)
               คือ การ ที่ คน แพ้ แก่ ฆ่าศึก ต้อง ละ ทิ้ง หนี ออก จาก เมือง เพราะ สู้ เขา ไม่ ได้ นั้น.
      เสีย หมด (746:3.34)
               คือ การ ที่ เสีย สิ้น, คน มี เงิน เปน ต้น มาก น้อย เท่า ใด, แล แพ้ ความ เขา, ต้อง เสีย เงิน จน สิ้น ไม่ เหลือ นั้น.
      เสีย ยศ (746:3.35)
               คือ คน มี ยศ ชั่ว ไป, เช่น คน เปน เจ้า ฤๅ เปน ขุน นาง เขา เอา ออก จาก เปน เจ้า นั้น.
      เสีย แรง (746:3.36)
               คือ แรง ชั่ว ไป, คน ทำ การ ด้วย กำลัง แรง แล เหนื่อย สิ้น แรง ไป เปล่า ไม่ เปน การ ได้ นั้น.
      เสีย หลาย (746:3.37)
               คือ เสีย มาก, เช่น คน เล่น เบี้ย บ่อน เปน ต้น, แพ้ เขา ต้อง เสีย เงิน มาก นั้น.
      เสีย แล้ว (746:3.38)
               คือ ชั่ว ไป แล้ว, เช่น คน เปน ความ เปน ต้น, ต้อง ให้ เงิน เขา แล้ว นั้น.
      เสีย สละ (746:3.39)
               คือ ต้อง สละ ของ เปน ที่ รัก เปน ต้น, เช่น อัประ- ฮาม ต้อง สละ ลูก ออก เผา บูชา พระยะโฮวา นั้น.
      เสีย สอง ต่อ (746:3.40)
               คือ เสีย สอง ส่วน นั้น.
      เสีย สูญ (746:3.41)
               คือ เสีย เปล่า, เช่น เรือน ที่ ไฟ ไหม้ นั้น, แล เสีย จน สิ้น เปล่า ไป นั้น.
      เสีย สิ้น (746:3.42)
               คือ เสีย หมด, เช่น คน มี ทรัพย์ มาก แล น้อย, แล ทรัพย์ อันตรธาน ไป หมด นั้น.
      เสีย ศีล (746:3.43)
               คือ ขาด ศีล, เช่น คน ตั้ง ใจ รักษา ศีล, แล มี ความ ประมาท ทำ ผิด ขาด จาก ศีล ที่ ตน รักษา.
      เสีย หาย (746:3.44)
               คือ เสีย ไป ไม่ เหน แต่ ของ นั้น ยัง ไม่ สูญ, เช่น ของ ที่ ขะโมย ลัก เปน ต้น, ของ นั้น หาย ไป, แต่ ของ ยัง ไม่ สูญ.
      เสีย หวย (746:3.45)
               คือ การ ที่ คน เสีย เงิน เพราะ เล่น หวย, แล เขา เอา เงิน แทง, ว่า จะ ออก ตัว นี้ มัน ไม่ ออก ตัว นั้น, ต้อง เสีย เงิน ไป นั้น, ว่า เสีย หวย.
      เสีย อก (746:3.46)
               เสีย ใจ, คือ ความ โทรมนัศ น้อย ใจ, เช่น คน แต่ง เรือ เปน ต้น, ไป ค้า ขาย เรือ ไป เสีย ใน สมุท เสีย น้ำ ใจ นั้น.
เสือ (746:1)
         พยัคฆ์, เปน ชื่อ สัตว สี่ เท้า, อยู่ ใน ป่า มัน ดุ ร้าย เข้ม แขง มี กำลัง มาก, ขบ กัด สัตว อื่น กิน นั้น.
      เสือโคร่ง (746:1.1)
               คือ ชื่อ เสือ ตัว มัน โต เท่า ควาย, พื้น หนัง มัน แดง มี ลาย ดำ เปน ริ้ว ๆ ขวาง ตัว ข้าม สัน หลัง มัน.
      เสือ ใหญ่ (746:1.2)
               พยัคฆ์ ใหญ่, คือ เสือโคร่ง นั้น เอง, แต่ เขา เรียก เสือ ใหญ่ บ้าง, เพราะ ตัว มัน ใหญ่ กว่า เสือ อื่น.
      เสือดาว (746:1.3)
               คือ ชื่อ เสือ ขนาด ย่อม, ตัว มัน เท่า แพะ ใหญ่ ๆ มี ลาย ดำ ฃาว เปน วง ๆ เหมือน ดวง ดาว.
      เสือปลา (746:1.4)
               คือ เสือ ตัว เท่า แมว ใหญ่ ลาย หม่น ๆ ดำ ๆ มัน กิน ปลา ใน น้ำ ได้ จึ่ง ชื่อ เสือ ปลา.

--- Page 747 ---
      เสือแผ้ว (747:1.5)
               คือ เสือ ตัว มัน โต เท่า โค สื่อ ๆ โต กว่า เสือ ดาว, พื้น ตัว มัน แดง ลาย ฃาว.
      เสือ เหลือง (747:1.6)
               คือ เสือ ขนาด ใหญ่ เท่า เสือโคร่ง, แล่ พื้น ตัว มัน ศรี เหลือง มาก มี ลาย ดำ หนิด หน้อย,
      เสือ ลาย ตลับ (747:1.7)
               คือ เสือ ย่อม พื้น ตัว มัน ลาย ฃาว ดำ เปน วง กลม คล้าย* ตลับ นั้น.
      เสือ สมิง (747:1.8)
               คือ เสือ ที่ คน จำแลง ตัว เปน เสือ ได้, เพราะ ปลุก เศก ด้วย เวทย์ มนต์ นั้น.
      เสือ สิงห์ (747:1.9)
               คือ สัตว สอง จำพวก, คือ เสือ แล สิง โต นั้น.
เสื่อ (747:1)
         สาด, คือ ของ เขา สาน เปน แผ่น ๆ ผืน ๆ เท่า กับ ผืน หนัง บ้าง, โต กว่า บ้าง เล็ก กว่า บ้าง.
      เสื่อ กะจูด (747:1.1)
               คือ เสื่อ เขา สาน ด้วย ต้น กะจูด, มัน เกิด ใน น้ำ ต้น มัน ยาว ๆ นั้น.
      เสื่อ กก (747:1.2)
               คือ เสื่อ เขา ธอ ด้วย ต้น กก, มัน เกิด ใน น้ำ ที่ ทุ่ง นา เปน ต้น นั้น.
      เสื่อ คล้า (747:1.3)
               คือ เสื่อ เขา สาน ด้วย ต้นคล้า, ที่ ผืน ใหญ่ กว้าง สาม วา ยาว เจ็ด วา แปด วา บ้าง.
      เสื่อ เตย (747:1.4)
               คือ เสื่อ เขา สาน ด้วย ใบ เตย, เปน ลาย ขัด ตา โต ๆ ผืน กว้าง สาม สอก เปน สี่ เหลี่ยม.
      เสื่อ ลำ แพน (747:1.5)
               คือ เสื่อ เขา สาน ด้วย ตอก เปน ผืน ๆ, กว้าง สอง สอก ยาว สาม สอก เปน ต้น
      เสื่อ ลวด (747:1.6)
               คือ เสื่อ สาน ด้วย ต้น กะจูด เปน ต้น, ผืน กว้าง สัก สอก คืบ, แต่ ยาว สี่ วา ห้า วา นั้น.
      เสื่อ ลันไต (747:1.7)
               คือ เสื่อ เขา ทำ ด้วย หวาย ตะค้า ผ่า สอง ซีก, เอา หวาย อื่น ร้อย เรียบ ติด กัน เปน ผืน ๆ นั้น.
      เสื่อ หวาย (747:1.8)
               คือ เสื่อ เขา สาน ด้วย หวาย โป่ง, เปน ลาย ขัด ด้วย เส้น ปอ กว้าง เปน ผืน ๆ นั้น.
      เสื่อ สาด (747:1.9)
               คือ ของ สำหรับ ลาด ปู, เขา เรียก เช่น นั้น ก็ มี บ้าง.
      เสื่อ ห้อง (747:1.10)
               คือ เสื่อ เขา สาน กว้าง ยาว ปู ภอ เต็ม ห้อง เรือน นั้น.
      เสื่อ อ่อน (747:1.11)
               คือ เสื่อ เขา สาน ด้วย ยอด สาคู ศรี ฃาว ตา เล็ก ๆ ลาง ผืน สาน ทำ เปน ลาย ดอก บ้าง.
เสื้อ (747:2)
         คือ ผ้า เขา ตัด เปน รูป ตัว คน, มี มือ สอง ข้าง กลาง ผ่า แหวะ แล้ว ทำ รัง ทำ ลูก ดุม ใส่ นั้น.
      เสื้อ กะบอก (747:2.1)
               คือ เสื้อ ที่ เอว ไม่ มี เกง, เขา เย็บ ตรง ๆ นั้น.
      เสื้อ กัก (747:2.2)
               คือ เสื้อ มี แต่ ตัว, แต่ แขน ไม่ มี, เรียก เสื้อ กัก ตาม ภาษา จีน, สำหรับ คน จน ใส่ เรว ๆ
      เสื้อ เข้มขาบ (747:2.3)
               คือ เสื้อ เขา ตัด เย็บ ด้วย ผ้า เข้ม ขาบ, เปน ริ้ว ราย ลาย ทอง บ้าง ดอก อย่าง อื่น บ้าง.
      เสื้อ ครุย (747:2.4)
               คือ เสื้อ ใหญ่ ใส่ เฟื้อย แต่ ฅอ ตลอด ลง ไป จน ริม ท้าว, เช่น เสื้อ แม่ มะดำ ใส่ นั้น.
      เสื้อ ฅอ (747:2.5)
               คือ เสื้อ แหวะ แต่ ที่ ฅอ, สำหรับ ผู้ หญิง ใส่, ไม่ มี รังดุม ไม่ มี ลูกดุม, เขา ใส่ สวม ลง แต่ หัว ลง มา.
      เสื้อ ผ้า (747:2.6)
               คือ เสื้อ เขา เย็บ ด้วย ผ้า.
      เสื้อ แพร (747:2.7)
               คือ เขา เย็บ ด้วย ผ้า แพร นั้น.
      เสื้อ ยี่ปุ่น (747:2.8)
               คือ เสื้อ แขน ใหญ่, ตัว ก็ กว้าง ยาว ลง ถึง แค่ง นั้น.
      เสื้อ อย่าง น้อย (747:2.9)
               คือ เสื้อ เขา ตัด ภอ ได้ ตัว, มี แขน มี รังดุม ลูกดุม สำหรับ ขัด ที่ ตรง อก นั้น.
      เสื้อ แสง (747:2.10)
               เปน คำ พูจ ถึง เสื้อ, แต่ แสง เปน คำ สร้อย.
      เสื้อ อัตลัด (747:2.11)
               คือ เสื้อ เขา เย็บ ด้วย ผ้า อัตลัด, มา แต่ เมือง เทษ นั้น.
เส้อ (747:3)
         คือ เซอะซะ, เช่น คน ไป ใน ที่ ตัว ยัง ไม่ เคย ไป, ไม่ รู้ แห่ง เซ่อ ซร่า อยู่ นั้น.
      เส้อ ส้า (747:3.1)
               คือ เคอะ เขลา โฉด, เช่น คน ไม่ สู้ มี ปัญญา* ฉลาด ใจ ไม่ สู้ เย่อ หยิ่ง เซอะซะ นั้น.
แสะ (747:4)
         แซะ, คือ แตระ เอา, เช่น คน เอา จอบ ลง แสะ ต้น หญ้า ที่ มัน ราบ อยู่ กับ ดิน นั้น.
      แสะ ขนม (747:4.1)
               แซะ ขนม, คือ แตระ เอา ขนม, เช่น คน ทำ ขนม เบื้อง, เอา แป้ง ละเลง ที่ กะเบื้อง, สุก แล้ว เอา ไม้ แสะ นั้น.
      แสะเสาะ (747:4.2)
               คือ อาการ คน ครั่น ตัว จวน จะ ป่วย ไข้, แรก เปน วัน หนึ่ง สอง วัน ยัง ไม่ ป่วย หนัก นั้น.
เสาะ (747:5)
         หา, คือ การ ที่ คน สาว ด้าย ฤๅ ไหม นั้น, เช่น ทำ ด้าย ฤๅ ไหม จะ ธอ ผ้า นุ่ง ห่ม นั้น.

--- Page 748 ---
      เสาะ ด้าย (748:5.1)
               คือ การ ที่ เขา สาว ด้าย จะ ธอ ผ้า, เขา เอา ระวิง ตั้ง ลง แล้ว เอา เข็ด ด้าย ใส่ เข้า เสาะ เงื่อน มา.
      เสาะ ไป (748:5.2)
               หา ไป, คือ สืบ ไป, เช่น คน แสวง หา จะ ต้อง การ ของ อัน ใด ๆ นั้น ว่า เสาะ ไป.
      เสาะ มา (748:5.3)
               หา มา, คือ สืบ ไต่ ถาม มา, เช่น คน ยัง ไม่ รู้ ว่า บ้าน เรือน หมอ อยู่ ที่ ไหน แล สืบ ถาม หา มา นั้น.
      เสาะ แสวง (748:5.4)
               สืบ หา, คือ สืบ ขวน ขวาย, คน หยาก จะ ภบ ปะ กัน แล ขวน ขวาย สืบ ไต่ ถาม หา นั้น.
      เสาะ แสะ (748:5.5)
               คือ อาการ ที่ คน โรย แรง โผ เผ, เกือบ จะ เจ็บ ไข้ ป่วย ไป นั้น, เขา ว่า ให้ เสาะ แสะ ไป.
      เสาะ หา (748:5.6)
               เที่ยว หา, คือ การ ที่ เขา สืบ ถาม ว่า คน นั้น, ฤๅ ของ สิ่ง นั้น ใคร เหน อยู่ ที่ ไหน บ้าง ว่า เสาะ หา.
      เสาะ เอา ตัว (748:5.7)
               สืบ เอา ตัว, คือ สืบ สาว ราว เรื่อง จะ เอา ตัว คน ที่ หนี เปน ต้น นั้น.
      เสาะ ออก ไป (748:5.8)
               คือ สืบ ออก ไป, เช่น คน อยู่ ใน บ้าน ใน เมือง สืบ เสาะ หา ของ ที่ มี นอก บ้าน นอก เมือง นั้น.
สรรจร (748:1)
         คือ เที่ยว ไป.
สรรชีพ นรก (748:2)
         เปน ชื่อ นรก ขุม หนึ่ง, ที่ สัตว ตาย แล้ว เกิด บัดเดี๋ยว ตาย ๆ บัด เดี๋ยว เกิด อยู่ ที่ นั่น นั้น.
สรรพ (748:3)
         ฯ เปน คำ แผลง จาก มะคธ ภาษา, อธิบาย ว่า สิ่ง ทั้ง ปวง ของ บันดา มี มาก น้อย นั้น ว่า ทั้ง ปวง.
สรรเพช (748:4)
         ฯ แปล ว่า รู้ โดย ปรกติ ซึ่ง ธรรม ทั้ง ปวง, เช่น พระเจ้า นั้น.
สรรม (748:5)
         คือ อักษร มี สอ นำ น่า อย่าง นี้, ก็ อ่าน ว่า สรรม, คือ ความ ว่า สม ควร สม กัน เปน ต้น.
สรรม จร (748:6)
         คือ สม สมัค รัก ร่วม อยู่ กิน ด้วย กัน, เช่น สัตว* สี่ ท้าว สอง ท้าว เปน ต้น, มัน รัก กัน โดย สังวาศ นั้น.
สอ (748:7)
         คือ ตัว อักษร ที่ มี ใน ฉบับ ก ข นั้น, มี สาม สอ, คือ ตัว อย่าง นี้ ส เรียก สอลอ, ตัว อย่าง นี้ ศ เรียก สอคอ, อย่าง นี้ ษ เรียก สอบอ.
สอ ๆ กัน มา (748:8)
         คือ การ ที่ คน มา มาก หลาย คราว เดียว กัน, เช่น คน ฤๅ สัตว ที่ มา เช่น นั้น.
สอ พลอ (748:9)
         คือ คำ ที่ คน พลอย พูจ ประจบ คำ เขา, เช่น เขา พูจ กัน อยู่ มิ ใช่ การ ของ ตัว, พลอย พูจ ประจบ ว่า ท่าน ว่า จริง เปน ต้น.
      สอ พลอ กอ แก (748:9.1)
               คือ คน พูจ ประจบ ประสม เขา พูจ ไม่ ใช่ ธุระ ของ ตัว นั้น.
ส่อ (748:10)
         บอก, คือ การ ที่ คน เอา ความ ไป บอก แก่ เขา, เช่น คน รู้ เหน ว่า คน หนี ไป อยู่ ที่ นั่น, แล ไป บอก กับ เขา นั้น.
      ส่อ ชาติ (748:10.1)
               บอก ชาติ, คือ คำ ที่ คน สำแดง บอก กำเนิด, เช่น คน เปน กำเนิด แขก เปน ต้น, แล แต่ง ตัว นุ่ง ห่ม อาการ สำแดง ว่า ตัว เปน แขก นั้น.
      ส่อ ตัว (748:10.2)
               บอก ตัว, คือ การ ที่ คน เปล่ง สำเนียง พูจ, แล ร้อง สำแดง ชี้ แจง ว่า ตัว นั้น ภาษา นั้น, เปน ชาว เมือง นั้น บ้าน นั้น
      ส่อ เสียด (748:10.3)
               คือ การ ที่ คน ไป บอก กับ เขา, เช่น ตัว รู้ ว่า คน เขา หลบ หนี ไป อยู่ ที่ ไหน ๆ. แล เอา ความ ไป บอก ผู้ อื่น นั้น.
(748:11)
         
หา (748:12)
         แสวง, คือ การ ที่* คน ขวน ขวาย, เพียร จะ เอา ของ เปน ต้น นั้น.
      หา กัน (748:12.1)
               แสวง หา กัน, คือ การ ที่ คน ขวน ขวาย อยาก จะ ภบ ปะ เพื่อน กัน, เที่ยว ไป ดู ข้าง โน้น ข้าง นี้ นั้น.
      หา กิน (748:12.2)
               คือ การ ที่ คน เที่ยว แสวง เพียร เพื่อ ประโยชน์ ด้วย อาหาร, มี เข้า แล น้ำ เปน ต้น.
      หา การ (748:12.3)
               คือ การ ที่ คน เที่ยว ขวน ขวาย ดู, หวัง จะ ทำ การ จ้าง เขา เอา ค่า จ้าง เปน ต้น นั้น.
      หา แก้ว (748:12.4)
               คือ การ ที่ คน เที่ยว ขวน ขวาย ด้วย อยาก จะ ได้ แก้ว เช่น คน หา เพชร์ นั้น.
      หา ของ (748:12.5)
               คือ การ ที่ คน ขวน ขวาย อยาก จะ เอา ของ อัน ใด ๆ เขา เที่ยว พยายาม จะ เอา ของ นั้น.
      หา คน (748:12.6)
               คือ การ ที่ คน เที่ยว ขวน ขวาย อยาก จะ ได้ คน, เช่น คน หนี หาย ไป, แล เที่ยว เพียร ขวน ขวาย จะ ให้ ภบ ตัว นั้น.

--- Page 749 ---
      หา ความ (749:12.7)
               คือ การ ที่ เขา ไป ฟ้อง หา กล่าว โทษ แก่ ผู้ ทำ ผิด นั้น.
      หา งาน (749:12.8)
               คือ การ ที่ คน ไป หา คน ที่ เปน คน รำ ละคอน เปน ต้น, ไป เล่น เต้น รำ, เปน การ สมโพธ เปน ต้น นั้น.
      หา เงิน (749:12.9)
               คือ การ ที่ คน ไป หา ท่าน, จะ ขาย ตัว อยู่ กับ ท่าน นั้น. อนึ่ง เงิน ตก หาย แล เที่ยว หา นั้น.
      หา เจ้า (749:12.10)
               คือ การ ที่ คน ไป หา คน ที่ เสมอ กัน โดย อายุ เปน ต้น, เขา ว่า ไป หา เจ้า คน นั้น ๆ.
      หา จริง (749:12.11)
               คือ คำ ซัก ถาม จะ เอา ความ จริง, คน เปน ตระลา การ ซัก ถาม ลูก ความ จะ เอา ความ จริง นั้น.
      หา ฉัน ฤๅ (749:12.12)
               คำ นี้ เปน คำ ถาม ผู้ เที่ยว หา, ว่า ท่าน เที่ยว หา ฉัน ฤๅ, เพราะ ไม่ รู้ ว่า เที่ยว หา ใคร.
      หา ช่อง (749:12.13)
               หา โอกาษ, คือ เที่ยว หา ทาง ที่ จะ ออก, เช่น สัตว ที่ เขา ขัง มัน ไว้, มัน รน แต่ ที่ จะ หา ทาง ออก.
      หา ซ่ม (749:12.14)
               คือ การ เที่ยว ขวน ขวาย จะ ต้อง การ ลูก ซ่ม, มี ซ่ม โอ ฤๅ ซ่ม เปลือก บาง เปน ต้น.
      หา ญาติ (749:12.15)
               คือ การ ที่ เที่ยว ไป อยาก ภบ ปะ พี่น้อง, บันดา คน เปน ญาติ กัน เรียก พี่ น้อง กัน นั้น.
      หา ได้ (749:12.16)
               คือ หา ภบ การ เที่ยว หา ของ ฤๅ คน, เที่ยว ไป ภบ ของ ฤๅ คน นั้น, ว่า เขา เที่ยว หา ได้.
      หา ตัว (749:12.17)
               คือ การ เที่ยว หา ตัว คน, เช่น เขา พูจ บอก กัน ว่า คน นั้น เขา เที่ยว หา ตัว เจ้า อยู่
      หา ทอง (749:12.18)
               คือ การ เที่ยว หา ทอง, เช่น คน เที่ยว ขุด ร่อน เก็บ เอา ทอง ตาม ตำแหน่ง ที่ มี ทอง นั้น.
      หา ท่าน (749:12.19)
               คือ การ ที่ คน ไป หา ท่าน ที่ มี วาศนา ฤๅ เปน ผู้ ใหญ่ เปน ที่ คำนับ มี บิดา มารดา เปน ต้น นั้น.
      หา นาง (749:12.20)
               คือ การ ที่ เขา ไป หา ผู้ หญิง สาว หนุ่ม, ที่ ควร จะ เรียก นาง นั้น. ถ้า หญิง แก่ ฟัน หัก แล ผม หงอก, ไม่ ควร เรียก ว่า นาง นั้น.
      หา น้อง (749:12.21)
               คือ การ ที่ เขา ไป หา ชาย หญิง ที่ อายุ น้อย กว่า ตัว, ควร จะ เปน น้อง ว่า หา น้อง นั้น.
      หา นุช (749:12.22)
               คือ การ ที่ ไป หา คน ที่ อายุ ควร เปน น้อง, เพราะ อายุ น้อย กว่า, เด็ก กว่า ตัว นั้น.
      หา นาย (749:12.23)
               คือ การ ที่ ไป หา คน ที่ เปน นาย, เช่น ท่าน ตั้ง ผู้ ใด ให้ เปน ผู้ บังคับ ว่า การ งาน ใช้ สรอย, ไป หา ผู้ นั้น ๆ
      หา ปะ (749:12.24)
               คือ การ ที่ หา ภบ, คน เที่ยว หา ของ ฤๅ สัตว ฤๅ คน แล ภบ เหน นั้น.
      หา พ่อ (749:12.25)
               คือ การ ที่ ไป หา คน ที่ เปน ผัว ของ แม่, ลาง ที เปน แต่ พ่อ เลี้ยง มิ ใช่ พ่อ ตัว นั้น.
      หา แม่ (749:12.26)
               คือ การ ที่ ไป หา คน หญิง ที่ เปน เมีย ของ พ่อ, ลาง ที เปน แต่ แม่ เลี้ยง นั้น.
      หา เมีย (749:12.27)
               คือ การ ที่ ไป หา หญิง ที่ เปน สาว ยัง ไม่ มี ผัว, ตัว อยาก ได้ เขา มา เปน เมีย นั้น.
      หา ฤๅ (749:12.28)
               คือ ปฤกษา ไต่ ถาม กัน นั้น.
      หา ฤๅ บท (749:12.29)
               คือ เอา ความ สอบ กับ บท กฎหมาย, ว่า จะ ว่า อย่าง ไร.
      หา เรา (749:12.30)
               คือ การ ที่ เขา มา หา ตัว, มี ผู้ ถาม ว่า ผู้ นั้น มา หา ใคร, เขา บอก ว่า มา หา เรา นั้น.
      หา ลูก (749:12.31)
               คือ การ ที่ ลูก หาย ไป แล พ่อ แม่ เที่ยว หา, เช่น เมื่อ พระ เยซู ยัง เปน เด็ก, ไป พูจจา สั่ง สนทนา อยู่ ใน วิ หาร พ่อ แม่ เที่ยว หา นั้น.
      หา หลาน (749:12.32)
               คือ การ ที่ คน ไป เที่ยว หา คน ที่ เปน ลูก ของ ลูก เปน ต้น นั้น, ว่า เที่ยว หา หลาน.
ห่า (749:1)
         คือ ห่า มี หลาย อย่าง ห่า ผี ก็ มี ห่า ฝน ก็ มี, ห่า ผี นั้น เช่น ความ ไข้ ประจุบัน ตาย เร็ว, เกิด มี ชุม มาก นัก, เช่น โรค ลง ราก นั้น, ห่า ฝน คือ ฝน ตก ลง มาก นัก นั้น.
      ห่า กิน (749:1.1)
               คือ ความ ไข้ ว่า เกิด เพราะ ผี ห่า, ความ ไข้ นั้น มา หนัก หนา เปน คราว, เช่น ห่า ฝน นั้น ทำ ให้ คน ตาย มาก, เหมือน โรค ลง ราก นั้น เรียก ว่า ห่า กิน.
      ห่า เจ้า (749:1.2)
               คือ เจ้า ผี ห่า นั้น.
      ห่า ฝน (749:1.3)
               คือ ฝน ตก ลง หนัก, เปน คราว ใหญ่ คราว หนึ่ง ภัก หนึ่ง นั้น, เรียก ว่า ห่า ฝน ห่า หนึ่ง.
      ห่า ฟัด (749:1.4)
               คือ ผี ห่า ฟัด ตี เอา ตัว คน นั้น.
      ห่า ลง เมือง (749:1.5)
               คือ โรค ใหญ่ เช่น โรค ลง ราก, เกิด ทั่ว ทั้ง เมือง แก่ คน ทั้ง ปวง นั้น ว่า ห่า ลง เมือง.
      ห่า ลง เรือน (749:1.6)
               คือ เกิด ความ ไข้ ประจุบัน, คน ใน เรือน นั้น ตาย* เร็ว ๆ หลาย คน นั้น.

--- Page 750 ---
      ห่า หัก ฅอ (750:1.7)
               เปน คำ แช่ง ด่า ว่า ให้ ห่า หัก ฅอ มึง, คน โกรธ แค้น แล แช่ง ด่า กัน เช่น นั้น บ้าง.
      ห่า เหว (750:1.8)
               เปน คำ พูจ ถึง ผี ห่า ว่า ห่า เหว นั้น.
ห้า (750:1)
         คือ นับ แต่ หนึ่ง เปน ที่ แรก จน ถึง ห้า, เช่น คน นับ คน เปน ต้น ว่า คน หนึ่ง นั้น.
      ห้า สิ่ง (750:1.1)
               คือ ของ มี ห้า อัน เปน ต้น, เช่น ของ สารพัด ทุก อย่าง ๆ หนึ่ง ก็ เปน สิ่ง หนึ่ง นั้น.
      ห้า องค์ (750:1.2)
               คือ ห้า รูป, เช่น พระสงฆ์ ห้า รูป เปน ต้น, เรียก ว่า ห้า องค์ เปน คำ สูง เพราะ.
หิตานุหิตะ (750:2)
         แปล ว่า ความ เกื้อ กูล อุด หนุน,
      หิ มะ (750:2.1)
               ฯ แปล ว่า หมอก ว่า น้ำ ค้าง, หิมะ นั้น ตก น่า เทศ กาล หนาว มาก นั้น.
      หิ มะ วา (750:2.2)
               แปล ว่า ป่า หิมพานต์.
      หิม วันต์ (750:2.3)
               แปล ว่า ป่า หิมพานต์.
      หิมเวศ (750:2.4)
               แปล ว่า หิมพานต์ ใหญ่.
      หิริ (750:2.5)
               แปล ว่า ละอาย, เหมือน คน แก้ เปลื้อง ผ้า นุ่ง ออก แล ละอาย นั้น.
      หิริ โอตะปะ (750:2.6)
               แปล ว่า ละอาย แต่ บาป สดุ้ง แต่ บาป นั้น.
      หิรัญ (750:2.7)
               แปล ว่า เงิน, บันดา เงิน ทำ เปน รูป ต่าง ๆ ใช้ ตาม ประเทศ นั้น.
หี (750:3)
         เปน ชื่อ อะไวยะวะ ที่ ลับ ของ หญิง, เขา เรียก โดย เสียม ภาษา, มา ตาม บูราณ นั้น.
หึ (750:4)
         เปน คำ คน กล่าว เมื่อ รำคาน ใจ, เช่น เมื่อ เขา เหม็น กลิ่น ชั่ว ว่า หึ เหม็น อะไร นี่ นั้น.
หือ (750:5)
         เปน คำ พูจ หือ ๆ เมื่อ เขา ฟัง ยัง ไม่ เข้า ใจ, เขา ฟัง ยัง ไม่ ได้ ยิน สนัด นั้น.
      หืฤไทย (750:5.1)
               เปน คำ แผลง จาก มะคธ ภาษา, คือ หัว ใจ บันดา หัวใจ มะนุษ ฤๅ สัตว นั้น.
      หืฤโหด (750:5.2)
               ใจ คับ แคบ, คือ ใจ ชั่ว โหด ไร้ ไม่ เอื้อ เฟื้อ, ใจ ไม่ คิด โอบ อ้อม เผื่อ แผ่ แก่ ผู้ ใด ๆ นั้น.
      หืฤหรรษ์ (750:5.3)
               อธิบาย ว่า ยินดี, คน ได้ ของ สิ่ง ใด สม ความ ปราถนา ชื่น ชม ยินดี นั้น.
หู (750:6)
         คือ อะไวยะวะ อยู่ ที่ ข้าง ศีศะ, เบื้อง ทร้าย ขวา เปน ไบ งอก ออก มา แล มี รู สำหรับ ฟัง นั้น.
      หูกา (750:6.1)
               คือ สิ่ง ที่ เขา ทำ ไว้ ที่ ม่อ กา สำหรับ ยึด นั้น.
      หู กาง (750:6.2)
               คือ ไบ หู คน แผ่ กาง ออก ยิ่ง กว่า ปรกติ, เรียก ว่า หู กาง, มัน มี รู สำหรับ ฟัง เสียง.
      หู กวาง (750:6.3)
               เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ต้นไม้ ย่อม ใบ มัน คล้าย กับ หู กวาง.
      หู แจว (750:6.4)
               คือ เชือก ปอ ที่ เขา ทำ เปน วง ห่วง, ใส่ สรวม เข้า ที่ แจว กับ หลัก แจว นั้น.
      หู เจาะ (750:6.5)
               คือ หู คน เขา ทำ เปน รู, ที่ ติ่ง มัน ห้อย ลง ข้าง ล่าง สำหรับ ใส่ ตุ้ม หู ให้ งาม นั้น.
      หู ช้าง (750:6.6)
               คือ หู สัตว ใหญ่ กว่า สัตว บก ทั้ง ปวง, มัน มี งวง งา กิน หญ้า* กิน ใบ ไม้ อยู่ ใน ป่า ใหญ่, ลาง ที เขา ทำ บาน ประตู เหมือน หู ช้าง บ้าง, เรียก ประตู หู ข้าง.
      หู ชอง (750:6.7)
               คือ ของ เขา ทำ ด้วย ใบ ลาน บ้าง, ทำ ด้วย เชือก บ้าง, ทำ เปน ห่วง วง เหมือน หู แจว, สำหรับ ใส่ ผูก ใบลาน หนัง สือ.
      หู ใหญ่ (750:6.8)
               คือ ไบ หู ใหญ่, คน ลาง คน มี ไบ หู ใหญ่ กว่า ปรกติ มัน มี รู สำหรับ ฟัง นั้น.
      หู ตึง (750:6.9)
               โศตร ตึง, คือ หู คน จะ หนวก, แต่ มัน ยัง หนวก น้อย ๆ ยัง ได้ ยิน บ้าง ไม่ ได้ ยิน บ้าง
      หู หนวก (750:6.10)
               คือ หู คน ที่ ไม่ ได้ ยิน เลย, เช่น คน ใบ้ หู ไม่ ได้ ยิน เลย นั้น.
      หู ม่าน (750:6.11)
               คือ ของ เปน วง เช่น วง แหวน, เขา เย็บ ติด ไว้ ที่ ริม ม่าน สำหรับ ร้อย เชือก หู ผูก ขึง มัน, วง นั้น เขา ทำ ด้วย ทอง เหลือง บ้าง, ทอง แดง บ้าง, ตะกั่ว บ้าง.
      หู เสือ (750:6.12)
               คือ หู เสือ เปน สัตว ร้าย อยู่ ใน ป่า, แต่ ลาง ที เขา เรียก ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง, ใบ มัน หนา คล้าย กับ หู เสือ เขา เรียก ใบ หู เสือ.
      หู ห่วง (750:6.13)
               คือ สิ่ง วง เช่น วง แหวน, เขา ใส่ เปน หู ตู้ บ้าง.
      หู เหือง (750:6.14)
               หู นั้น ว่า แล้ว, เหือง เปน คำ สร้อย นั้น.
      หู หีบ (750:6.15)
               คือ สิ่ง เปน วง เขา ใส่ ไว้ ที่ หู หีบ นั้น.
      หู หิ้ว (750:6.16)
               คือ หู สำหรับ หิ้ว ที่ กา ใส่ น้ำ นั้น.
หู่ (750:7)
         คือ คลุ่ม ห่อ เข้า, เช่น ใบ ไม้ สด คลี่ ดี อยู่, ครั้น เด็ด มา จาก ต้น ก็ คลุ่ม ห่อ เข้า นั้น.

--- Page 751 ---
      หู่ หนัง (751:7.1)
               คือ หนัง คลุ่ม ห่อ เข้า, เช่น หนัง สัตว มี โค เปน ต้น, เขา เถือ ออก แล้ว ขึง ไว้ ดี, ครั้น มัน แห้ง มัน ชัก คลุ่ม เข้า นั้น.
      หู่ หี่ (751:7.2)
               คือ ของ เหี่ยว อยู้ อยี้ นั้น.
      หู่ หด (751:7.3)
               คือ ห่อ หด เข้า
      หู่ เหี่ยว (751:7.4)
               คือ ของ ห่อ แห้ง ไป.
      หู่ ห่อ (751:7.5)
               คือ คลุ่ม ห่อ เข้า, เช่น ใบ ไม้ สด ติด ต้น อยู่, แล มด จับ ชัก คลุ่ม ห่อ เข้า ทำ รัง นั้น, ว่า ใบ ไม้ หู่ ห่อ.
เห (751:1)
         หัน, คือ อาการ ที่ ของ เบน ออก, เช่น คน ขึ้น ยืน อยู่ ที่ สูง, ตัว จะ ตก ก็ เบน เอน ลง นั้น
      เห เข้า มา (751:1.1)
               หัน เข้า มา, คือ เร่ เอน เข้า มา เบน เข้า มา, เอน เบือน เข้า มา, เช่น คน อยู่ บน เรือ แล ค้ำ ทำ ให้ เรือ เบน เข้า มา นั้น.
      เห ไป (751:1.2)
               หัน ไป, คือ เร่ ไป, เบน ไป, เอน เบือน ไป, เช่น คน อยู่ บน เรือ แล ค้ำ ทำ ให้ เรือ เร่ ไป นั้น.
      เห มา (751:1.3)
               หัน มา, คือ เร่ มา, เบน มา, เอน เบือน มา, เช่น คน อยู่ บน เรือ แล ค้ำ ทำ ให้ เรือ เร่ มา นั้น.
      เหมันตระดู (751:1.4)
               ฯ ระดู หนาว, แปลว่า ระหว่าง ระดู หิมะ ตก มาก ให้ เกิด เอย็น หนาว นัก นั้น.
      เห รา (751:1.5)
               คือ สัตว มี ท้าว สี่, ตัว มัน ยาว คล้าย กับ มังกร, มี หู หาง ยาว ว่า มี ที่ เมือง จีน นั้น.
      เห ลา (751:1.6)
               เปน คำ เขา ร้อง เมื่อ ลาก ไม้ ซุง ใหญ่, ลาก หลาย คน เขา ร้อง เพื่อ จะ ให้ ชัก พร้อม กัน นั้น.
      เหโลเหล่า (751:1.7)
               เปน คำ พวก คน ลาก ไม้ ใหญ่, ร้อง เพื่อ จะ ให้ ลาก พร้อม กัน นั้น.
      เห หัน (751:1.8)
                คือ เร่ ห่าง แล หัน เหียน ไป นั้น.
เห่ (751:2)
         เปน คำ เขา ร้อง เพลง เห่, เมื่อ จะ กล่อม ทารก ให้ มัน นอน หลับ นั้น ว่า เห่ ๆ นั้น.
      เห่ เรือ (751:2.1)
               เปน คำ เขา ร้อง เพลง เห่, เมื่อ ภาย เรือ เล่น นั้น, เขา ร้อง พร้อม กัน หลาย คน.
แห (751:3)
         อวน, คือ ของ เปน เครื่อง เขา ดัก ปลา, เขา เอา ด้าย ฟั่น แล้ว ถัก ชุน เปน ตา ข่าย, ทอด ลง ใน น้ำ ให้ ปลา ติด จับ เอา.
      แห พาน (751:3.1)
               คือ แห เช่น ว่า เขา ขึง แผ่ พาน เอา ปลา ใน แม่ น้ำ เมื่อ น่า น้ำ มาก นั้น,
แห่ (751:4)
         คือ การ ที่ คน ประชุม กัน มาก, ตั้ง แต่ ยี่สิบ สามสิบ ขึ้น ไป, แล เขา ออก เดิน พร้อม กัน, ลาง ที ไป ออก เรือ พร้อม กัน
      แห่ กะถิน (751:4.1)
               คือ การ เอา ผ้า เหลือง, ไป ให้ พระสงฆ์ ใน วัต น่า ออก พรรษา แล้ว, เขา เอา ผ้า เปน ผ้า กะถิน ไป ถวาย พระสงฆ์, ชวน กัน แห่ ไป.
      แห่ กรวด ลาว (751:4.2)
               คือ การ ที่ พวก ลาว ทำ ดอก ไม้ ไฟ กะบอก ใหญ่, ใส่ หาง ยาว ด้วย ไม้ ไผ่ ลำ หนึ่ง, ถึง วัน จะ จุด เขา ภา กัน เอา กรวด ออก แห่.
      แห่ เจ้า (751:4.3)
               คือ การ ที่ พวก เจ๊ก เอา รูป เจ้า ที่ ตัว นับ ถือ ว่า เปน ที่ พึ่ง, เอา ออก แห่ เล่น สนุกนิ์ นั้น.
      แห่ ช้าง (751:4.4)
               คือ การ ที่ เขา เอา ช้าง ออก เดิน พร้อม กัน มา หลาย ตัว มี คน ขี่ น่า ขี่ ท้าย ไป เนื่อง กัน นั้น.
      แห่ นาค (751:4.5)
               คือ การ ที่ เขา แห่ คน ที่ ผู้ จะ บวช ๆ นั้น เรียก ว่า นาค, เพราะ เมื่อ เขา เข้า บวช นั้น, ท่าน สวด ออก ชื่อ ว่า นาค นั้น.
      แห่ บรม ศพ (751:4.6)
               คือ การ ที่ เขา แห่ พิธี กระบวน ใหญ่, มี ราช รถ รับ พระโกศ มี ขนัด แห่ มาก นั้น.
      แห่ บก (751:4.7)
               คือ การ แห่ ทุก อย่าง ไป ทาง บก นั้น.
      แห่ พระ (751:4.8)
               คือ การ ที่ เขา เอา รูป พระ ออก แห่ เช่น ว่า, เขา พร้อม กัน ไป ทาง บก บ้าง ทาง เรือ บ้าง ต่าง ๆ กัน.
      แห่ ม้า (751:4.9)
               คือ การ ที่ เฃา เอา ม้า ออก มาก หลาย ตัว, มี คน ขี่ เดิน ไป พร้อม กัน เนื่อง เปน ลำดับ กัน.
      แห่ เรือ (751:4.10)
               คือ การ ที่ เขา แห่ ไป ใน เรือ โดย ทาง น้ำ, เช่น แห่ กะถิน เปน ต้น, เอา ผ้า กะถิน ใส่ เรือ ไป ทาง น้ำ.
      แห่ เลียบ เมือง (751:4.11)
               คือ การ ที่ เขา แห่ ขุนหลวง ที่ ท่าน ได้ ครอง สมบัติ ใหม่ ไป รอบ เมือง นั้น.
      แห่ แหน (751:4.12)
               เปน คำ พูจ เปน สร้อย ว่า แหน, คือ มี การ แห่ มาก เปน การ ใหญ่.
      แห่ หาม (751:4.13)
               คือ หาม แล แห่ ไป เปน พวก นั้น.
      แห่ ห้อม (751:4.14)
               คือ การ ที่ เขา แห่ ห้อม ล้อม ไป, เช่น ขุนหลวง เสด็จ เมื่อ มี การ ใหญ่ ๆ นั้น.

--- Page 752 ---
แห้ (752:1)
         นี้ เปน เสียง ดัง แห้ ๆ มี บ้าง, เช่น เสียง หมา มัน ร้อง เมื่อ มัน จะ กัด กัน นั้น. อนึ่ง เปน เสียง ม้า มัน ร้อง อย่าง นั้น บ้าง.
ไห (752:2)
         คือ ภาชะนะ รูป ข้าง ล่าง เล็ก ข้าง บน เล็ก กลาง ป่อง ปาก แคบ, เช่น ไห กะเทียม นั้น.
      ไห กะเทียม (752:2.1)
               คือ รูป ไห เช่น ว่า, แต่ ไห กะเทียม นี้ เจ๊ก ทำ ใส่ กะเทียม ดอง มา แต่ เมือง จีน.
      ไห เขียว (752:2.2)
               คือ รูป ไห เช่น ว่า, แต่ เขา เคลือบ ศรี เขียว เช่น ใบ ไม้ นั้น.
      ไห เคลือบ (752:2.3)
               คือ รูป ไห ข้าง ใน เปน ดิน กระเบื้อง, ข้าง นอก ทา น้ำ ยา เคลือบ ศรี ต่าง ๆ นั้น.
      ไห ปลา ร้า (752:2.4)
               คือ ไห ที่ เขา เอา ปลา ใส่ ไว้ กับ เกลือ, แล ทำ สุก กิน กับ เข้า.
      ไห พะเนียง (752:2.5)
               คือ ไห ใหญ่ สำหรับ ใส่ น้ำ เปน ต้น.
      ไห เฟือง (752:2.6)
               คือ ไห รูป เปน กลีบ ๆ เปน ร่อง ๆ คล้าย กลีบ ลูก มะเฟือง นั้น.
      ไห เหล้า (752:2.7)
               คือ ไห ที่ เขา เอา น้ำ เหล้า ใส่ ลง ไว้, คน ซื้อ เหล้า แล เอา ไห ใส่ ไว้ นั้น.
      ไหหลำ (752:2.8)
               เปน ชื่อ เมือง จีน เมือง หนึ่ง, ต่อ กับ แดน เมือง ยวญ นั้น
ไห้ (752:3)
         ตัว หนังสือ หอ มี ไม้ มะลาย อย่าง นี้, ใช้ เปน ร้อง ไห้ ร่ำ ไร เศร้า โศก ตาม บังคับ ใน จินดา มุนี นั้น.
      ไห้ โหย (752:3.1)
               คือ เสียง ร้อง ให้ ร่ำไร โดย ดัง นั้น.
ให้ (752:4)
         ตัว หอ มี ไม้ ม้วน อย่าง นี้, ใช้ ว่า ให้ ของ แก่ เขา เปน ต้น, ตาม บังคับ จินดา มุนี.
      ให้ การ (752:4.1)
               คือ การ ที่ เขา จัดแจง บังคับ ให้ คน ทำ การ ต่าง ๆ, อย่าง หนึ่ง* บอก เรื่อง ความ ให้ เฃา ฟัง เมื่อ เปน จำเลย นั้น.
      ให้ เกาะกุม (752:4.2)
               คือ การ ที่ เขา ใช้ ให้ คน ไป เอา ตัว คน ผู้ ต้อง คะดี ถ้อย ความ อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น.
      ให้ ข้า (752:4.3)
               คือ การ ที่ เขา ให้ ของ กัน, ผู้ ได้ ของ กล่าว ว่า ของ นี้ เขา ให้ ข้า อย่าง นี้ บ้าง.
      ให้ เขา (752:4.4)
               คือ การ ที่ เขา ให้ ของ กัน, แล พูจ ว่า ของ นี้ เรา ให้ เฃา แล้ว นั้น.
      ให้ ใคร (752:4.5)
               นี้ เปน คำ ถาม ว่า ของ นี้ ให้ ผู้ ใด, ของ นี้ ให้ ใคร นั้น.
      ให้ คุณ (752:4.6)
               คือ การ ที่ เฃา กิน ยา แก้ โรค หาย สะบาย เปน ต้น, ว่า ยา ให้ คุณ นั้น. อนึ่ง วิชา ที่ คน รู้ แล ทำ การ จ้าง ได้ เงิน เปน ต้น.
      ให้ คน (752:4.7)
               คือ การ ที่ เขา ได้ คน มา มาก แต่ ตี ทัพ เปน ต้น, แล เอา คน มา แจก ให้ กัน นั้น.
      ให้ เงิน (752:4.8)
               คือ อยิบ เอา เงิน ออก ให้ เขา, เช่น เงิน เขา ยัง ติด พัน กัน อยู่ แล เอา เงิน ให้ เขา.
      ให้ เจ้า (752:4.9)
               คือ ของ เขา เอา ถวาย เจ้า, คน เปน ข้า เปน บ่าว แล ได้ ของ เอา มา ถวาย เจ้า นั้น.
      ให้ จ้าง (752:4.10)
               คือ ยอม รับ ให้ ลูก จ้าง รับ ทำ การ อัน ใด ๆ, มี เขียน หนังสือ ฤๅ ตี พิมพ์ เปน ต้น นั้น.
      ให้ จริง (752:4.11)
               คือ สำแดง ความ จริง, เช่น คน ตัว ทำ การ อัน ใด ไว้, แล บอก ตาม ที่ ตัว ได้ ทำ ไว้ นั้น.
      ให้ จับ (752:4.12)
               คือ ป่วย ไข้ มัน จับ ตัว สั่น เปน ต้น นั้น, เช่น คน ป่วย ไข้ ถึง เพลา มัน ให้ จับ ตัว สั่น หวั่น ๆ นั้น.
      ให้ ฉัน (752:4.13)
               คือ คำ บอก ว่า เขา ให้ ฉัน. อย่าง หนึ่ง จัดแจง แต่ง ของ ให้ พระสงฆ์ กิน นั้น.
      ให้ ช้ำ (752:4.14)
               คือ ทุบ ตี ให้ ฟก ช้ำ, คน โกรธ แค้น ได้ ท่วง ที แล ทุบ ตี ผู้ อื่น ให้ กาย ช้ำ น่วม นั้น.
      ให้ ซ้ำ (752:4.15)
               คือ ให้ ของ แก่ เขา, ให้ ที หนึ่ง แล้ว รื้อ ให้ อีก นั้น, ว่า ให้ ซ้ำ อีก.
      ให้ ดี (752:4.16)
               คือ ทำ การ สาระพัด ทุก สิ่ง ไม่ ให้ เสีย หาย, เขา ทำ ให้ งาม น่า ชม นั้น.
      ให้ ดู (752:4.17)
               คือ มี งาน ละคร เปน ต้น, ให้ คน ดู เล่น คน จะ ฉลอง วัต เปน ต้น นั้น.
      ให้ ได้ (752:4.18)
               คือ ทิ้ง ลูก ทาน ไป ให้ ผู้ รับ ทาน, ด้วย หวัง จะ ให้ เขา ได้ นั้น.
      ให้ ดิน (752:4.19)
               เช่น คน เปน ช่าง ทอง, ครั้น ทำ รูป แหวน เปน ต้น, เสร็จ แล้ว แล จะ ย้อม ให้ สุก, เอา ดิน ประสิว ละลาย หลอม ขึ้น ร้อน แล้ว, เอา แหวน จุ่ม ลง ให้ ทั่ว แล้ว เอา เข้า ลน ไฟ นั้น.

--- Page 753 ---
      ให้ ตัว (753:4.20)
               คือ ให้ ตัว อักษร หวย เปน ต้น, ลาง ที ผู้ บอก ๆ เปน ปฤษณา, เช่น เหน ว่า จะ เอา ตัว กอ ออก เปน ปฤษณา อยิบ เอา กา น้ำ ให้ นั้น.
      ให้ ถึง (753:4.21)
               คือ ให้ ของ อัน ใด ๆ ไป ถึง ผู้ ใด ผู้ หนึ่ง, คน ฝาก ของ ไป ให้ แก่ คน ที่ อยู่ ไกล กัน.
      ให้ ทำ (753:4.22)
               คือ ยอม ให้ ทำ การ เปน ต้น, เช่น เขา มา ฃอ จ้าง จะ ทำ การ ผู้ เจ้า ของ ยอม ให้ ทำ นั้น.
      ให้ ทุกข์ (753:4.23)
               คือ ให้ ความ ทุกข์ ลำบาก แก่ เขา, เช่น คน อิศระ แล ให้ เขา จอง จำ คน เปน ต้น ว่า ให้ ทุกข์.
      ให้ ทาน (753:4.24)
               คือ ให้ ของ มี เข้า ปลา อาหาร เปน ต้น, แก่ คน จน อะนาถา มา เที่ยว ขอ นั้น.
      ให้ นาน (753:4.25)
               คือ ให้ ทำ การ เปน ต้น, อยู่ ช้า ฤๅ ให้ ไป โดย การ ใช้ สรอย จะ ให้ การ แล้ว เร็ว ให้ ทำ อยู่ ช้า นั้น.
      ให้ นอน (753:4.26)
               คือ การ ที่ เขา ให้ ทารก ผู้ ลูก เปน ต้น มัน นอน หลับ เพื่อ จะ ให้ มัน มี ความ ศุข สะบาย.
      ให้ นาย (753:4.27)
               คือ เอา ของ ไป ให้ แก่ คน ผู้ เปน นาย, คน เปน บ่าว เอา ของ ไป ส่ง ให้ นาย.
      ให้ บ่าว (753:4.28)
               คือ เอา ของ ส่ง ให้ แก่ คน ผู้ เปน บ่าว, คน เปน นาย เอา ของ ให้ แก่ บ่าว.
      ให้ ไป (753:4.29)
               คือ เอา ของ อัน ใด ๆ ให้ แก่ คน ไป, เช่น จะ มี ที่ ไป แล ผู้ อยู่ ให้ ของ ไป.
      ให้ ปัน (753:4.30)
               คือ การ ที่ ให้ ของ แบ่ง ออก เปน ส่วน ๆ ให้ คน โน้น บ้าง ให้ คน นี้ บ้าง นั้น.
      ให้ ผล (753:4.31)
               คือ การ ที่ เขา ปลูก ต้น ไม้ ๆ นั้น งอก งาม จำเริญ ออก ช่อ ต่อ ผล มาก บริบูรณ.
      ให้ พ้น (753:4.32)
               คือ การ ที่ เขา ให้ ล่วง ให้ เกิน, เช่น คน หนี ไภย รีบ ไป ไม่ ให้ ไภย มา ทัน นั้น.
      ให้ ภบ (753:4.33)
               คือ ให้ ปะ ให้ เหน, เช่น คน จะ ไป หา ผู้ ใด ฤๅ ไป เที่ยว หา ของ อัน ใด ขอ ให้ ปะ นั้น.
      ให้ มา (753:4.34)
               คือ ให้ ของ มา ฤๅ ใช้ ให้ มา ด้วย ธุระ อัน ใด, คน ต้อง การ ธุระ อัน ใด ใช้ ให้ มา.
      ให้ มาก (753:4.35)
               คือ ให้ ของ มาก, เช่น คน จะ ให้ ของ แก่ ผู้ อื่น กลัว จะ น้อย ให้ มาก นั้น.
      ให้ เมือง (753:4.36)
               คือ ยอม ให้ เมือง เขา, คน เปน ฆ่า ศึก กัน สู้ รบ เขา ไม่ ได้ ยอม ให้ เมือง เขา นั้น.
      ให้ หมก (753:4.37)
               คือ ให้ ของ จน สิ้น ไม่ เหลือ, คน มี ของ มาก น้อย เท่า ใด ให้ จน สิ้น นั้น.
      ให้ มด (753:4.38)
               การ ที่ คน ให้ ของ แก่ มด มัน กิน, มี น้ำ ตาล แล น้ำ ผึ้ง เปน ต้น.
      ให้ อยู่ (753:4.39)
               คือ ยอม ให้ อยู่, เช่น คน มา ขอ อาไศรย อยู่ ใน บ้าน ใน เมือง ยอม ให้ อยู่.
      ให้ รู้ (753:4.40)
               คือ บอก ความ ให้ เขา รู้, คน อยาก ให้ ผู้ อื่น รู้, แล บอก ด้วย ถ้อย คำ บ้าง ให้ รู้ ด้วย ทำ มือ บ้าง.
      ให้ เรา (753:4.41)
               คือ เขา ให้ ของ แก่ ตัว คน ผู้ ได้ ว่า เขา ให้ เรา นั้น.
      ให้ ลูก (753:4.42)
               คือ เขา ให้ ของ อัน ใด แก่ ลูก, คน มี ทรัพย์ แล จัด แจง ให้ แก่ ลูก นั้น.
      ให้ หลาน (753:4.43)
               คือ เขา ให้ ของ อัน ใด แก่ หลาน, คน มี ทรัพย์ แล จัด แจง ให้ หลาน นั้น.
      ให้ เว้น (753:4.44)
               คือ กล่าว สั่ง สอน ให้ เว้น จาก บาป จาก กรรม, แล เว้น จาก การ ที่ มี โทษ ใน ประจุบัน.
      ให้ เสียง (753:4.45)
               คือ ทำ สำคัญ ด้วย เสียง กะแหร่ม ฤๅ ไอ เปน ต้น, เพื่อ จะ ให้ เขา รู้ ว่า ตัว มา นั้น.
      ให้ สิ้น (753:4.46)
               คือ ให้ ของ ไม่ เหลือ นั้น.
      ให้ ศีล (753:4.47)
               คือ ว่า บาฬี ศีล ไป ก่อน แล้ว, คน ผู้ จะ รับ รักษา จึ่ง ว่า ตาม เปน ต้น, ปาณาติปาตา เวระมะณี นั้น.
      ให้ หา (753:4.48)
               คือ ให้ คน ไป เอา ตัว คน ฤๅ ไป บอก ให้ เขา มา สู่ สำ นักนิ์ ตัว นั้น.
      ให้ อด (753:4.49)
               คือ ไม่ ให้ กิน อาหาร. อย่าง หนึ่ง สั่ง สอน ให้ อด กลั้น ความ โกรธ เปน ต้น นั้น.
โหรา (753:1)
         คือ คน รู้ ทาย ทำนาย การ, มี ชะตา ราศี แล ฤกษ ยาม แล ฝน น้ำ ดี มาก แล น้อย เปน ต้น นั้น.
      โหรา จาริย์ (753:1.1)
               เปน ชื่อ คน เปน อาจาริย์, เปน หมอ ดู ฤกษ เปน ต้น นั้น.
      โหรา พฤฒา จาริย์ (753:1.2)
               เปน ชื่อ คน เปน หมอ ดู ฤกษ ยาม เปน อาจาริย์ ผู้ เฒ่า นั้น.
      โหระภา (753:1.3)
               เปน ชื่อ ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง เปน ต้นไม้ อย่าง เล็ก ใบ มัน หอม.

--- Page 754 ---
โห่ (754:1)
         คือ เสียง ที่ คน เปล่ง ออก ดัง โห่ ๆ, หวีว, เมื่อ จะ ทำ ขวัน แล เอา ฤกษ ยก ทัพ เปน ต้น นั้น.
      โห่ ขึ้น (754:1.1)
               คือ ตั้ง เสียง โห่ ดัง ขึ้น นั้น.
      โห่ ร้อง (754:1.2)
               เปล่ง เสียง โห่ แล ร้อง รับ หวีว นั้น, เขา โห่ เมื่อ จะ เอา ฤกษ ทำ ขวัน เปน ต้น นั้น.
      โห่ สาม ลา (754:1.3)
               คือ โห่ สาม หน, คน หนึ่ง ตั้ง โห่ แล้ว คน อื่น มาก หลาย คน รับ ร้อง หวีว,
      โห่ เอา ไชย (754:1.4)
               คือ โห่ ร้อง รับ กัน, เมื่อ จะ ทำ การ ศึก สงคราม หวัง จะ เอา ไชย ชะนะ นั้น.
      โห่ เอา ฤกษ (754:1.5)
               คือ ตั้ง เสียง โห่ ร้อง เอา ฤกษ นั้น.
เหา (754:2)
         คือ ตัว สัตว หนิด ๆ มัน มัก เกิด อยู่ ที่ เส้น ผม คน, ตัว มัน ขาว ๆ นั้น.
      เหา นอน (754:2.1)
               คือ ง่วง เหงา จะ อยาก หลับ, แล ทำ อ้า ปาก แล้ว สำแดง เสียง หาว ๆ นั้น.
เห่า (754:3)
         คือ อาการ ที่ หมา มัน เหน คน มา แปลก หน้า มา เปน ต้น, แล มัน ร้อง ทำ เสียง หุ ๆ นั้น.
      เห่า หุ ๆ (754:3.1)
               คือ หมา มัน ทำ เสียง ดัง หุ ๆ หมา มัน เหน คน แปลก หน้า มา เปน ต้น, มัน เห่า เช่น นั้น.
      เห่า หอน (754:3.2)
               คือ เสียง ที่ หมา มัน ทำ ดัง หุ ๆ แล้ว มัน ร้อง ดัง ครวน เสียง ก้อง เรื่อย ไป นั้น.
ห้ำหั่น (754:4)
         คือ คน ฟัน บั่น ต้น อยวก เปน ต้น, ให้ เปน ท่อน น้อย แล ท่อน ใหญ่ หลาย ท่อน นั้น.
หะ (754:5)
         เปน เสียง คน เปล่ง เสียง ออก สำแดง เมื่อ จะ เข็น เรือ ฤๅ แบก หาม ของ ที่ หนัก เพื่อ จะ ให้ ยก ขึ้น พร้อม กัน นั้น.
หะณุมาน (754:6)
         เปน ชื่อ ลิง เปน ทหาร นารายน์, ใน เรื่อง ราม เกรียติ นั้น.
หะริภุญไชย (754:7)
         เปน ชื่อ เมือง ใหญ่ ฝ่าย เหนือ เมือง หนึ่ง นั้น.
หะริรักษ (754:8)
         เปน ชื่อ คน เปน กระษัตริย์ มี บ้าง.
หะฤไทย (754:9)
         คือ หัว ใจ, เขา เรียก หะฤไทย นั้น, เปน คำ แผลง จาก มะคะธะ ภาษา นั้น.
หะ ๆ สาละพา (754:10)
         เปน คำ พวก คน มาก ลาก ไม้, แรก ว่า เพื่อ จะ ให้ พร้อม กัน นั้น.
หก (754:11)
         เช่น ของ มี น้ำ เปน ต้น คน ตัก ใส่ ภาชนะ ตั้ง ไว้, แล ภาช- นะ เอน เอียง ตะแคง ลง น้ำ ไหล ออก นั้น.
      หก กลับ (754:11.1)
               คือ การ ที่ คน เดิน ไป ยัง ไม่ ทัน ถึง ที่ ก็ หวน กลับ ตัว เดิน มา นั้น.
      หก ขะเมน (754:11.2)
               คือ อาการ ที่ คน ทำ ให้ หัว กลับ ลง ที่ พื้น ทำ ให้ ตีน ขึ้น อยู่ ข้าง บน นั้น.
      หก คว่ำ (754:11.3)
               คือ การ ที่ ภาชนะ ตั้ง อยู่ แล ที่ นั้น ตะแคง เอียง อยู่ แล ภาชนะ นั้น พลิก คว่ำ ลง นั้น.
      หก ที (754:11.4)
               คือ หก หน หก ครั้ง.
      หก บ่า (754:11.5)
               คือ การ ที่ หก ลง หนิดน่อย, ของ อยู่ ใน ภาชนะ พลัด ตก ลง จาก ภาชนะ บ้าง หนิด น่อย ว่า หก บ่า ไป.
      หก ไป (754:11.6)
               คือ การ ที่ ภาชนะ ใส่ ของ ตั้ง ไว้, เช่น ว่า ที่ เอียง นั้น, แล ภาชนะ มัน พลิก คว่ำ ไป นั้น.
      หก มา (754:11.7)
               เช่น คน เดิน ไป น่อย หนึ่ง แล้ว กลับ เดิน มา, ว่า เขา เดิน หก มา นั้น.
      หก หลัง (754:11.8)
               คือ อาการ ที่ คน กลับ คืน มา ข้าง หลัง, เช่น คน เดิน ไป แล้ว กลับ เดิน มา นั้น.
      หก ล้ม (754:11.9)
               คือ อาการ ตัว คน เอน เซซวน ลง ทอด อยู่ ที่ พื้น ดิน เปน ต้น นั้น.
      หก สิบ (754:11.10)
               คือ นับ แต่ หนึ่ง ไป จน ถึง สิบ ได้ หก หน นั้น.
หัก (754:12)
         คือ ทำ ให้ ไม้ มัน ขาด ออก จาก กัน ด้วย เอา มือ น้าว ทบ เข้า จน มัน ขาด ออก จาก กัน.
      หัก กิน (754:12.1)
               คือ หัก ขนม ปัง กิน. อย่าง หนึ่ง เขา เล่น เบี้ย เล่น โป ติด พัน ค้าง เกิน กัน อยู่, ครั้น ได้ กิน คิด ทอน ลง นั้น.
      หัก ขา (754:12.2)
               คือ การ ที่ คน เอา มือ ฤๅ ไม้ ทำ ให้ ขา คน ฤๅ ขา สัตว ให้ บุบ ค้าน ฤๅ ขาด ออก นั้น.
      หัก แข้ง (754:12.3)
               คือ การ ทำ ที่ แข้ง คน ฤๅ สัตว, ให้ บุบ ค้าน ฉลาย ฤๅ ฃาด ออก นั้น.
      หัก แขน (754:12.4)
               คือ การ ทำ ที่ แขน คน เช่น ว่า, ให้ บุบ ค้าน ฉลาย ฤๅ ขาด ออก นั้น.
      หัก ค้าง (754:12.5)
               คือ คิด ทอน ของ ที่ ติด พัน ค้าง เกิน กัน อยู่, เช่น เล่น โป เปน ต้น ได้ เสีย กัน คิด ทอน ลง ให้ กัน นั้น.
      หัก ฅอ (754:12.6)
               คือ การ ทำ ให้ ฅอ คน ฤๅ สัตว, บุบ ค้าน ทบ ไป ฤๅ ขาด ออก นั้น.
      หัก เงิน (754:12.7)
               คือ ทอน เงิน ที่ ติด ค้าง กัน อยู่, เช่น คน ซื้อ ขาย แล เงิน ค้าง เกิน กัน, แล คิด ปลด ทอน ให้ กัน นั้น.

--- Page 755 ---
      หัก ใจ (755:12.8)
               คือ ข่ม ใจ ลง, เช่น คน มี ความ โกรธ ฤๅ ความ เศร้า โศก หนัก แล คิด ข่ม ใจ ลง ด้วย มี สะติ นั้น.
      หัก จิตร (755:12.9)
               คือ ข่ม จิตร ลง, เช่น คน มี ความ โทมะนัศ แล ข่ม ใจ ลง มิ ให้ โทมะนัศ นั้น.
      หัก ได้ (755:12.10)
               คือ เงิน ที่ คน เล่น ได้ ตัว เสีย อยู่ ก่อน ถึง ได้ มาก, เขา หัก ที่ ได้ ใช้ ที่ เสีย ก่อน นั้น.
      หัก เดาะ (755:12.11)
               คือ หัก ไม่ ขาด ออก ที เดียว, ไม้ มัน หัก ยัง ติด กัน อยู่ นั้น.
      หัก ทำลาย (755:12.12)
               เช่น ของ สูง ใหญ่ เปน ต้น, แล คร่ำคร่า พัง เกลื่อน กล่น ลง นั้น.
      หัก หน้า (755:12.13)
               คือ การ ที่ คน ทำ เกิน เพื่อน, เช่น คน นุ่ง ห่ม แต่ง ตัว ด้วย ผ้า ห่ม นุ่ง ดี กว่า เพื่อน นั้น.
      หัก บาญชีย์ (755:12.14)
               คือ คิด บาญชีย์ ถึง เงิน ฤๅ ของ เปน ต้น, เดิม ตั้ง บาญชีย์ ไว้ มาก, ครั้น เขา เอา ใช้ ให้ เสีย บ้าง ลด บาญ ชีย์ ลง ยัง แต่ น้อย.
      หัก ไป (755:12.15)
               คือ ไม้ ที่ หัก ออก จาก กัน เปน สอง ท่อน นั้น.
      หัก เผาะ (755:12.16)
               คือ ไม้ เปราะ หัก ออก ที เดียว, ไม่ ติด เปน เยื่อ ใย อยู่ นั้น.
      หัก มุก (755:12.17)
               เปน ชื่อ กล้วย อย่าง หนึ่ง, ลูก มัน เปน เหลี่ยม น่อย ๆ นั้น.
      หัก รั้ง (755:12.18)
               คือ การ แผ้ว ถาง ที่ รก ให้ เตียน, เช่น คน ทำ นา ทำ สวน ทำ เช่น นั้น.
      หัก หลัง (755:12.19)
               คือ วก หลัง, เช่น คน รบ ศึก ยก กอง ทัพ เข้า ลอบ ตี เอา เบื้อง หลัง กอง ทัพ อื่น. อนึ่ง ทำ หลัง ให้ บุค้าน นั้น.
      หัก ลด (755:12.20)
               คือ หัก ทอน ลง, เช่น เงิน ค่า เช่า ที่ ใน หลวง ให้ ซื้อ ของ ที่ เมือง นอก มา ให้ ผู้ เช่า ใช้ เงิน แทน นั้น.
      หัก แล้ว (755:12.21)
               คือ หัก สาระพัด, เช่น ว่า ทุก อย่าง นั้น, ที่ เขา ทำ ชำระ เสร็จ ไม่ ค้าง เกิน เหลือ อยู่ นั้น.
      หัก ว่า (755:12.22)
               คือ คำ เขา พูจ ว่า หัก ว่า, เช่น หมอ เที่ยว แจก หนัง สือ แก่ เขา ๆ พูจ ว่า หัก ว่า หมอ เอา เงิน แจก ให้ ด้วย เหน คน จะ นับ ถือ.
      หัก ไว้ (755:12.23)
               คือ หัก เอา เก็บ ไว้, เช่น เขา หัก ผล ไม้ ฤๅ รวง เข้า โภชน์ เปน ต้น เก็บ ไว้ นั้น.
      หัก สุก หัก ดิบ (755:12.24)
               เปน คำ เขา พูจ ว่า ทำ หัก สุก หัก ดิบ, คือ พิ จารณา ชำระ ความ ไม่ เอา ให้ ได้ จริง แท้, แล ข่มเหง ปรับ ไหม เอา นั้น.
      หัก เสีย (755:12.25)
               คือ เงิน ที่ คน เล่น ได้ ไว้ ก่อน, ครั้น เล่น เสีย ลง เขา ก็ ติด หัก ใช้ ที่ เสีย ลง ที หลัง นั้น.
      หัก หาญ (755:12.26)
               คือ ว่า กล่าว ข่มเหง เอา ตาม ชอบ ใจ, เพราะ ตัว เปน คน มี ยศ ศักดิ์ เปน ใหญ่ นั้น.
      หัก โหม (755:12.27)
               คือ จู่ โจม เข้า บุก รุก ตี รัน เอา, เช่น คน ทำ ศึก สงคราม, ครั้น ได้ ท่วง ที มิ รั้ง รอ จู่ โจม ตี เอา โดย อง อาจ นั้น.
หาก (755:1)
         คือ ของ เปน เอง, เช่น ของ สาระพัด ทุก สิ่ง ที่ เกิด ขึ้น แล้ว ตาย นั้น ว่า หาก เปน เอง.
      หาก ทำ (755:1.1)
               คือ จำ ทำ อยู่ เอง, เหมือน เขา ทำ นา ทำ สวน ทุก ปี เปน ต้น.
      หาก บันดาล (755:1.2)
               คือ สิ่ง ของ เกิด ขึ้น ใน โลกย์ นั้น, พวก หมอ อะเมริกา ว่า พระยะโฮวา จำ เปน บันดาล ให้ เปน ขึ้น นั้น.
      หาก (755:1.3)
                เปน ไป, คือ การ ประพฤติ์ เปน ไป เอง ตาม ธรรมดา ไม่ มี ผู้ จัดแจง ให้ เปน นั้น.
      หาก รู้ เอง (755:1.4)
               คือ คน เด็ก ทารก เล็ก ๆ ยัง ไม่ รู้ จัก ความ อัน ใด ก่อน, ครั้น ใหญ่ ขึ้น มัน ก็ ย่อม รู้ นั้น.
      หาก ว่า (755:1.5)
               คือ ถ้า แล ว่า, เช่น ความ ว่า คน ทำ การ นา เปน ต้น, ถ้า แล ว่า ฝน ตก มาก เข้า ใน นา ก็ งาม แท้.
      หาก ให้ เหน (755:1.6)
               คือ คน เหน ดวง พระ อาทิตย, ฤๅ ดวง จันทร์ นั้น, เพราะ มี ผู้ สำแดง ต้อง กระทำ ให้ ปรากฏ นั้น.
      หาก เหน (755:1.7)
               คือ เฉลียว เหน เอง ใน ใจ ซึ่ง การ ทั้ง ปวง นั้น.
หึก (755:2)
         เหิม, คือ อึกกะทึก เอะ อะ, เช่น คน มี มานะ กล้า ถือ ตัว โดย มี ยศ ศักดิ์ สำ แดง อาการ ไม่ เกรง ขาม ใคร นั้น.
      หึก หัก (755:2.1)
               คึก คัก, คือ คน มี มานะ กล้า ถือ ตัว โดย เมา สุรา ฤๅ เมา ยศ ไม่ เกรง กลัว ผู้ ใด นั้น.
      หึก โหม (755:2.2)
               ครึก โครม, คือ การ ที่ คน ทำ อึกกะทึก ครึก โครม ทำ กิริยา คล้าย คน เสีย จริต หร้า เริง ป่อง โป้ง อยู่ นั้น.
หูก (755:3)
         เปน ชื่อ เครื่อง ที่ เขา ธอ ผ้า, ของ มี หลาย สิ่ง มี ไม้ ตะพั้น สำหรับ พัน ผ้า ที่ ธอ ได้ แล้ว เปน ต้น นั้น.

--- Page 756 ---
แหก (756:1)
         ฉีก. ถ่าง, คือ ฉีก ฤๅ ถ่าง ง้าง ออก, เช่น คน จะ กิน ส้ม โอ เปน ต้น, เขา เอา มือ ฉีก กลีบ ส้ม ที่ ปอก เปลือก เสีย แล้ว นั้น.
      แหก ขา (756:1.1)
               คือ คน ถ่าง ขา ออก นั้น. อย่าง หนึ่ง มี ผู้ อื่น เอา มือ จับ ชัก ง้าง ขา ออก นั้น.
      แหก เข้า (756:1.2)
               คือ แหก เข้า ใน ค่าย เปน ต้น.
      แหก จมูก (756:1.3)
               เบิก จมูก, คือ เอา มือ ทำ ที่ จมูก ให้ กว้าง, เพื่อ จะ ดู โรค ใน จมูก เปน ต้น นั้น.
      แหก ตา (756:1.4)
               เบิก ตา, คือ เอา มือ จับ ที่ ริม ตา ข้าง ละมือ แล้ว ชัก ถ่าง ง้าง ออก เพื่อ จะ ดู เปน ต้น นั้น.
      แหก ปาก (756:1.5)
               คือ เอา มือ จับ ที่ ศี ปาก ข้าง บน ข้าง ล่าง ง้าง ออก เพื่อ จะ ดู โรค เปน ต้น นั้น.
      แหก หู (756:1.6)
               คือ เอา มือ จับ ไบ หู เข้า ข้าง ละ มือ แล้ว เย่อ ดู ใน รู หู, เพื่อ จะ รักษา โรค เปน ต้น.
      แหก ออก (756:1.7)
               มี ฆ่า ศึก ล้อม รอบ อยู่, แล คน อยู่ ใน สู้ รบ ตี ออก มา ได้ นั้น.
โหก (756:2)
         คือ เสียง ร้อง โหก ปิบ, เช่น เสือ มัน ร้อง เช่น นั้น. อย่าง หนึ่ง ว่า ซด น้ำแกง เปน ต้น เสียง ดัง โฮก.
หอก (756:3)
         คือ เครื่อง อาวุธ, เขา ทำ ด้วย เหล็ก มี คม สอง ข้าง, ปลาย แหลม มี ไม้ ดั้ม ยาว สัก สาม ศอก นั้น.
      หอก ข้าง แคร่ (756:3.1)
               คือ หอก เขา เอา วาง ไว้ ข้าง แคร่, เมื่อ เขา ขี่ แคร่ เข้า รบ ศึก, เพื่อ จะ หยิบ เอา เร็ว นั้น.
      หอก คู่ (756:3.2)
               คือ เครื่อง อาวุธ เช่น ว่า, แต่ ว่า เขา ถือ สอง คน ๆ ละ เล่ม, เดิน เรียง เคียง กัน เปน คู่ เมื่อ แห่ ขุน หลวง.
      หอก ซัด (756:3.3)
               คือ หอก เล่ม เล็ก ๆ เขา พุ่ง ซัด ไป ไกล, ได้ ถึง สอง เส้น เสศ ให้ ถูก ได้ นั้น.
      หอก ปลาย ปืน (756:3.4)
               คือ รูป หอก อยู่ ที่ ปาก กะบอก ปืน.
      หอก แห่ (756:3.5)
               คือ หอก ที่ เขา ถือ แห่ ไป หน้า ฤๅ หลัง ขุน หลวง เมื่อ เสด็จ ไป ทาง บก นั้น.
เหียก (756:4)
         คือ ลูก เล็ก ๆ เขา ทำ ด้วย ดี บุก, เท่า ลูก ปราย ปืน พวก คน เขมร ฝัง เข้า ไว้ ที่ ลำ ลึง นั้น.
หงษ (756:5)
         เปน ชื่อ สัตว สอง ท้าว มี ปีก บิน ได้, ว่า มี ใน ป่า หิม พานต์, มะนุษ ทุก วัน นี้ ไม่ ได้ เหน มัน.
      หงษ ทอง (756:5.1)
               คือ หงษ เช่น ว่า นั้น, แต่ ขน มัน เปน ทอง ใช้ ได้ ทำ รูปพรรณ มี แหวน เปน ต้น ได้.
หงษี บาท (756:6)
         คือ ศรี แดง อ่อน เช่น ศรี เสน นั้น, เขา ว่า ศรี หงษี บาท ตาม เรียก มา แต่ บูราณ.
หังษะ (756:7)
         ฯ แปล ว่า หงษ เปน สัตว สอง ท้าว, มี ปีก เช่น ว่า มัน อยู่ ใน ป่า นั้น.
หาง (756:8)
         คือ ของ มี ที่ ต่อ ตัว ออก ไป ข้าง ที่ มิ ใช่ หัว, เช่น นก แล กา แล จรเข้ เปน ต้น.
      หาง ไก่ (756:8.1)
               คือ ขน มัน ที่ ยาว เฟื้อย ออก ไป ข้าง ก้น มัน นั้น, เขา เรียก หาง ตาม บูราณ.
      หาง กะเบน (756:8.2)
               คือ หาง ปลา กะเบน, เปน ปลา ทะเล ตัว มัน ไม่ มี เกล็ด, หนัง มัน หรุ หระ เปน เม็ด กรวด หาง ยาว เรียว นั้น.
      หาง กิ่ว (756:8.3)
               คือ ที่ ตรง โคน หาง คอด เล็ก เข้า นั้น.
      หาง เข้า (756:8.4)
               คือ เข้า ลีบ, เช่น เขา ทำ นา เขา นวด เข้า เปลือก ออก, เข้า ที่ เม็ด เต็ม บริบูรณ นั้น ว่า ต้น เข้า, เม็ด ลีบ นั้น เรียก หาง เข้า.
      หาง ฃาด (756:8.5)
               คือ หาง ด้วน, เช่น สัตว เขา ตัด หาง มัน เสีย ไม่ ติด อยู่ กับ ตัว นั้น ว่า หาง ฃาด
      หาง ขอด (756:8.6)
               คือ หาง งอ, ที่ ปลาย หงิก อยู่ น่อย หนึ่ง นั้น.
      หาง คด (756:8.7)
               คือ หาง อัน ใด ที่ ไม่ ตรง แช ไป ข้าง นี้ บ้าง, งอ มา ข้าง นี้ บ้าง นั้น ว่า หาง คด.
      หาง คอด (756:8.8)
               คือ หาง กิ่ว เข้า, เช่น หาง สัตว เปน ต้น, มัน กิ่ว เข้า เล็ก เข้า แล้ว โต ออก ไป นั้น ว่า หาง คอด.
      หาง จรเข้ (756:8.9)
               คือ เนื้อ หนัง มัน งอก ยาว ออก ที่ ก้น จระเข้ นั้น, อย่าง หนึ่ง เปน ต้น อยา อย่าง หนึ่ง มี บ้าง.
      หาง เจ๊ก (756:8.10)
               คือ ผม ที่ หัว เจ๊ก เขา ถัก เข้า ยาว เลื้อย ลง ไป, แล้ว พัน ไว้ รอบ ที่ หัว นั้น.
      หาง ช้าง (756:8.11)
               คือ หาง ช้าง ที่ มัน อยู่ ข้าง ท้าย ก้น มัน, ยาว เลื้อย ลง ไป มัน ทำ แกว่ง ปัด ยุง แล เหลือบ.
      หาง ตา (756:8.12)
               คือ ข้าง ท้าย ที่ สุด หน่วย ตา มิ ใช่ ข้าง จมูก, มัน อยู่ ข้าง ขมับ นั้น เรียก หาง ตา.

--- Page 757 ---
      หาง หนู (757:8.13)
               คือ มัน เปน เนื้อ งอก ยาว เรียว ออก ไป ข้าง ท้าย ก้น นั้น. อย่าง หนึ่ง ผม ที่ เจ๊ก เขา ถัก เฟื้อย ยาว ไว้ ที่ หัว เรียก หาง หนู เจ๊ก
      หาง นก (757:8.14)
               คือ ขน ที่ มี อยู่ ที่ ก้น นก, มัน ยาว ออก ไป ตาม พน เพศ นก เล็ก แล ใหญ่ นั้น.
      หาง นกยูง (757:8.15)
               คือ ขน หาง นกยูง*, มัน งอก ออก ข้าง ก้น มัน นั้น. อย่าง หนึ่ง เปน ชื่อ ต้นไม้ บ้าง.
      หาง นาค (757:8.16)
               คือ ข้าง ท้าย ที่ ก้น มัน, เปน หาง ยาว เลื้อย ลง ไป นั้น. อย่าง หนึ่ง คน จะ บวช เปน เณร, แล คอย บวช เมื่อ เขา บวช พระ แล้ว นั้น.
      หาง เปีย (757:8.17)
               คือ ผม ที่ หัว เจ๊ก มัน โกน ให้ เหลือ อยู่ ข้าง หลัง หัว เปน วง กลม เหมือน งบ น้ำ อ้อย นั้น, แล้ว ถัก ผม ยาว เปน หาง ออก ไป นั้น.
      หาง แพน (757:8.18)
               คือ ขน หาง นก ยูง* มัน กาง ออก ร่า รำ ตาม วิไสย สัตว นั้น, เขา เรียก แพน หาง มัน.
      หาง ม้า (757:8.19)
               คือ ขน ยาว เปน เส้น เล็ก มาก, มัน งอก ออก จาก ก้น, มัน ยาว เฟื้อย ลง ระ น่อง มัน นั้น.
      หาง ไหล (757:8.20)
               เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, มัน เกิด ใน ป่า, พวก หมอ เก็บ เอา มา ทำ อยา ได้ นั้น.
      หาง เลา (757:8.21)
               คือ ขน หาง ไก่อู ที่ ศรี ฃาว ๆ ปน กับ ขน เขียว นั้น.
      หาง ว่าว (757:8.22)
               คือ ผ้า เขา ทำ กว้าง สัก นิ้ว กึ่ง. ยาว สัก สาม วา, ผูก เข้า ที่ ก้น ว่าว อี่ ป้าว. อย่าง หนึ่ง เขา เขียน บาญชีย์ กระ- ดาด ยาว เหมือน หาง ว่าว นั้น บ้าง.
      หาง วัว (757:8.23)
               คือ ของ ที่ มัน มี อยู่ ที่ ท้าย ก้น วัว, มัน กลม ยาว เลื้อย ลง ไป สัก สอง ศอก, ปลาย มี ขน เปน ภู่ ห้อย อยู่ นั้น
      หาง สิง (757:8.24)
               คือ หาง สิงโต, ว่า มี ที่ เมือง จีน แล เมือง อะเมริ กา นั้น. อย่าง หนึ่ง เขา ตัด กะดาด พัน เข้า กับ ไม้ สำหรับ แต่ง เครื่อง สพ เปน ต้น นั้น.
      หาง เสียง (757:8.25)
               คือ เสียง ที่ เปน ที่ สุด คำ, เช่น คน เรียก ว่า พรม หือ ๆ นั้น เปน หาง เสียง.
      หาง เสือ (757:8.26)
               คือ เนื้อ กับ กะดูก มัน งอก ยาว ออก ที่ ก้น เสือ,* อย่าง หนึ่ง ไม้ ที่ เขา ทำ ใส่, ข้าง ท้าย เรือ สำเภา เปน ต้น,* เพื่อ จะ ให้ เรือ มัน ตรง ไป นั้น เรียก หาง เสือ บ้าง.
      หาง หงษ (757:8.27)
               คือ ขน หาง มี ที่ หงษ นั้น
ห่าง (757:1)
         ไกล, คือ ของ อยู่ ไม่ ชิด ติด กัน ว่า ห่าง, เช่น ข่าง ไม้ เข้า ปาก ไม้ ต่อ ตู้ เตียง เปน ต้น ที่ ปาก ไม้ ประจบ กัน ไม่ ชิด นั้น.
      ห่าง ไกล (757:1.1)
               ไกล ห่าง, คือ ห่าง เปน ของ ใหญ่ มี ที่ เปน ต้น, เหมือน ที่ บ้าน ฤๅ วัต ไกล กัน สัก เก้า วา สิบ วา, ว่า ห่าง กัน อยู่ นั้น.
      ห่าง กัน (757:1.2)
               ไกล กัน, คือ ไม่ ชิด กัน, เช่น ปาก ไม้ ที่ มัน ประ- กบ กัน ไม่ ชิด ติด สนิท กัน ว่า ห่าง, เปน อย่าง ของ เล็ก, ถ้า ของ ใหญ่ ห่าง ตั้ง แต่ ศอก หนึ่ง เปน ต้น นั้น.
      ห่าง การ (757:1.3)
               ไกล การ, คือ การ งาน ที่ คน ทำ แล้ว อยุด ไป แล้ว ทำ อีก, แล ทำ ห่าง ไม่ ทำ ร่ำ ไป นั้น
      ห่าง ข้าง (757:1.4)
               ไกล ข้าง, คือ ห่าง อย่าง น้อย, เช่น คน เคย นอน แอบ แนบ ข้าง, แล ออก ไป นอน อยู่ ห่าง กัน นั้น.
      ห่าง คลอง (757:1.5)
               ไกล คลอง, คือ ไกล คลอง ของ มี บ้าน เรือน เปน ต้น, ไม่ อยู่ ริม คลอง ตั้ง อยู่ ไกล คลอง สัก เก้า วา สิบ วา เปน ต้น นั้น.
      ห่าง ตัว (757:1.6)
               ไกล ตัว, คือ ของ ไม่ อยู่ ชิด ตัว, ของ อยู่ ไกล ตัว ลัก คืบ หนึ่ง ศอก หนึ่ง เปน ต้น นั้น.
      ห่าง เหิน (757:1.7)
               เหิน ห่าง, ห่าง มี ความ เช่น ว่า แล้ว, แต่ คำ เหิน นั้น เปน สร้อย คำ คล่อง ปาก นั้น.
      ห่าง องค์ (757:1.8)
               ไกล องค์, คือ ห่าง ตัว, เช่น ของ อยู่ ไกล ตัว เจ้า เปน ต้น, ว่า ห่าง องค์ เปน คำ สูง นั้น.
ห้าง (757:2)
         ทับ, คือ ที่ เขา ทำ เปน พื้น เช่น ร้าน, แต่ ว่า เขา เอา ไม้ ท่อน ขัด ทำ บน ต้นไม้ สูง สัก ห้า วา หก วา นั้น.
      ห้าง ขาย ของ (757:2.1)
               คือ ตึก ที่ เขา ไว้ สินค้า, เปน พ่อ ค้า ใหญ่ รับ สินค้า ไว้ ขาย มาก มี ของ ที่ ต่าง ประ เทศ นั้น.
      ห้าง นา (757:2.2)
               ทับ นา, คือ ห้าง เช่น ว่า, พวก ชาว นา เขา ขัด ที่ บน ต้น ไม้ สำหรับ เฝ้า นา นั้น.
      ห้าง พ่อ ค้า (757:2.3)
               คือ ตึก ที่ เจ้า ของ รับ ซื้อ สินค้า ใส่ ไว้ ขาย มาก เปน พ่อค้า มั่ง มี ใหญ่ นั้น เรียก ห้าง.

--- Page 758 ---
      ห้าง สวน (758:2.4)
               คือ ห้าง ชาว สวน ทำ เปน ที่ ร้าน ไว้ สำหรับ นอน เฝ้า ผลไม้ ใน สวน นั้น.
หิงคุ (758:1)
         คือ มหา หิง ที่ หมอ เขา ประกอบ อยา, มี กลิ่น เหมน แรง นัก แก้ ลม ได้.
      หิงษา (758:1.1)
               คือ ความ หวง แหน นั้น.
หิ่ง หาย (758:2)
         เปน ชื่อ ต้นไม้ เล็ก อย่าง หนึ่ง, มัก ขึ้น ที่ ทุ่ง นา น่า ฝน.
หิ่งห้อย (758:3)
         คือ ตัว สัตว เล็ก ๆ เท่า แมงวัน, เวลา ค่ำ ที่ ก้น มี แสง แดง เช่น แสง ไฟ วับ ๆ นั้น.
หิ้ง (758:4)
         คือ ที่ เขา ทำ เปน แคร่ เล็ก ๆ ฤๅ ร้าน แขวน ห้อย ขึ้น ไว้ ใน เรือน สำหรับ ใส่ ของ เล็ก น้อย นั้น.
หึง นาน (758:5)
         คือ ช้า นาน นับ ด้วย ปี เดือน นั้น.
หึงษ์ (758:6)
         คือ การ หวง แหน แล โกรธ, เช่น ผู้ ชาย หนุ่ม แล มี ความ รัก กับ หญิง สาว อยู่, แล มี ชาย อื่น มา เกี้ยว อยอก ชาย ก่อน นั้น โกรธ เรียก ว่า หึงษ์.
      หึงษ์ กัน (758:6.1)
               คือ ผัว กับ เมีย มี ความ โกรธ, โดย มี ชาย อื่น มา อยอก เกี้ยว, ฤๅ หญิง มา รัก ใคร่ กับ ผัว ของ ตัว นั้น.
      หึงษ์ ผัว (758:6.2)
               คือ ความ หวง ผัว กลัว จะ ไป รัก หญิง อื่น เอา เปน เมีย นั้น.
      หึงษ์ เมีย (758:6.3)
               คือ ชาย เจ้า ผัว เหน เมีย ตัว ไป พูจจา รัก ใคร่ กับ ชาย อื่น, แล มี ความ โกรธ ขึ้น นั้น.
      หึงษ์ หวง (758:6.4)
               คือ หึงษ์ เช่น ว่า เพราะ หวง ๆ นั้น คือ รัก ระวัง คอย ดูแล อยู่ กลัว ว่า เมีย จะ ไป คบ กับ ชาย อื่น.
      หึงษา (758:6.5)
               ความ เช่น หิงษา อธิบาย ว่า เบียด เบียฬ.
หึ่ง (758:7)
         คือ เสียง สัตว เล็ก ๆ เช่น ผึ้ง ฤๅ แมงวัน, มัน ร้อง มาก พร้อม ๆ กัน หลาย ตัว นั้น.
หุง (758:8)
         ต้ม, คือ การ ที่ เขา เอา ของ ใส่ ใน ม่อ แล้ว ตั้ง บน เตา เอา ไฟ ใส่ ให้ ลุก, แล้ว ปลง ม่อ ลง ทำ ให้ น้ำ ตก แล้ว ยก ขึ้น ตั้ง จน สุก.
      หุง เข้า (758:8.1)
               คือ การ ที่ เขา เอา เข้า สาร, ใส่ ใน ม่อ แล้ว ตั้ง บน เตา ใส่ ไฟ ให้ ร้อน เดือด แล้ว, ปลง ลง เช็ด น้ำ แล้ว ยก ขึ้น ตั้ง ไว้ จน สุก
      หุง เข้า เพล (758:8.2)
               ต้ม เข้า เพล, คือ หุง เข้า เมื่อ เวลา จะ เที่ยง, ถวาย ให้ พระ สงฆ์ ฉัน เพล นั้น ว่า หุง เพล.
      หุง ดิน (758:8.3)
               ต้ม ดิน, คือ เขา เอา มูล ดิน ขี้ คั้งคาว ที่ เกิด ขึ้น ใน ถ้ำ, เอา มา ประสม กับ ด่าง แล้ว. เอา ขึ้น* ที่ เกรอะ, กรอง เอา น้ำ มา ใส่ ลง ใน กะทะ เหล็ก ใหญ่, ตั้ง ขึ้น บน เตา ไฟ เขี้ยว ไป นั้น.
      หุง ต้ม (758:8.4)
               หุง มี ความ เช่น ว่า แล้ว, แต่ ต้ม นั้น คล้าย กับ หุง ผิด กัน แต่ ใส่ น้ำ มาก เขี้ยว ไป กว่า ของ จะ สุก, ไม่ ได้ ปลง ริน น้ำ ออก เหมือน หุง.
      หุง ต้ม ล้ม ตาย (758:8.5)
               คือ หุง ต้ม เข้า เปน ต้น แต่ ล้ม ตาย เปน คำ สร้อย.
      หุง ทอง (758:8.6)
               ต้ม ทอง, นั้น ผิด กัน กับ หุง เข้า ด้วย ไม่ ได้ ใส่ น้ำ เขา เอา ทอง ใส่ ใน เบ้า แล้ว เอา เข้า ใส่ ใน อั้ง โล่, เอา ถ่าน ใส่ ติด ไฟ เขี้ยว ไป ให้ เนื้อ ทอง สุก ขึ้น นั้น.
      หุง น้ำ กรด (758:8.7)
               ต้ม น้ำ กรด, เช่น เขา เอา ไห กะเทียม มา ใส่ ดิน ประสิว ให้ เต็ม แล้ว เจาะ ผนึก สุม ไฟ นั้น.
      หุง น้ำ ทิพย์ (758:8.8)
               ต้ม น้ำ ทิพย์, คือ เอา น้ำ ใส่ ภาชนะ ลง, แล้ว เอา ขึ้น บน เตา ไฟ, ทำ ไป ด้วย พิธี วิชา นั้น.
      หุง น้ำ มัน (758:8.9)
               เขี้ยว น้ำ มัน, คือ หุง น้ำ มัน อยา, เขา เอา เครื่อง สรัพ อยา, ใส่ ลง กับ น้ำ มัน งา ตั้ง บน เตา ไฟ เขี้ยว ไป กว่า จะ ได้ นั้น.
      หุง อยา (758:8.10)
               เขี้ยว อยา, คือ หุง เช่น หุง น้ำ มัน อยา เช่น ว่า แล้ว, แต่ ไม่ ได้ ปลง ลง ริน น้ำ ออก นั้น.
แห่ง (758:9)
         ที่, ของ, คือ ตำบล ฤๅ ตำแหน่ง ที่ ใด ที่ หนึ่ง, เช่น ที่ บ้าน ที่ เมือง เปน ต้น เขา ว่า แห่ง.
      แห่ง ใด (758:9.1)
               ที่ ใด, คือ ที่ ตำบล ใด ตำบล ไหน, เช่น เขา บอก ว่า บ้าน ข้า อยู่ เมือง กรุง เปน ต้น, เขา ถาม ว่า บ้าน ท่าน อยู่ ที่ เมืองกรุง อยู่ แห่ง ใด
      แห่ง เดียว (758:9.2)
               ที่ เดียว, คือ ที่ เดียว ตำบล เดียว, เช่น คน มี ที่ ไป จำเภาะ ไป ที่ เดียว ว่า แห่ง เดียว.
      แห่ง นี้ (758:9.3)
               ของ นี้, คือ ที่ นี้, เช่น เขา ถาม ว่า บ้าน คน นั้น ฤๅ เรือน คน นั้น อยู่ ที่ ไหน, เขา ว่า อยู่ ที่ นี้ นั้น.
      แห่ง ไหน (758:9.4)
               ที่ ไหน, คือ เขา ถาม ว่า เรือน เจ้า อยู่ ที่ ไหน, ว่า อยู่ แห่ง ไหน ก็ ได้ ความ อย่าง เดียว กัน.
      แห่ง นั้น (758:9.5)
               ของ นั้น, คือ เขา บอก ว่า อยู่ ที่ นั้น, อยู่ แห่ง นั้น ก็ ได้, มี เนื้อ ความ เช่น กัน นั้น.

--- Page 759 ---
      แห่ง โน้น (759:9.6)
               ของ โน้น, คือ เขา บอก ว่า อยู่ ที่ โน้น, ว่า อยู่ แห่ง โน้น ก็ ได้, มี เนื้อ ความ เปน อัน เดียว กัน.
      แห่ง ไร (759:9.7)
               ที่ ไหน, คือ ถาม ว่า อยู่ ที่ ไร ก็ เช่น กัน กับ ว่า อยู่ แห่ง ไร.
      แห่ง อื่น (759:9.8)
               ของ อื่น, คือ ที่ อื่น, เขา ถาม คน นั้น ว่า อยู่ นี่ ฤๅ, เขา บอก ว่า ไม่ อยู่ ที่ นี่ ดอก เขา อยู่ ที่ อื่น.
แห้ง (759:1)
         เกราะ, ผาก, คือ ของ ถูก แดด ถูก ลม ไม่ ชุ่ม ไม่ เปียก ด้วย น้ำ, สรวย อยู่ นั้น ว่า ของ แห้ง,
      แห้ง เกราะ (759:1.1)
               เกราะ แห้ง, คือ แห้ง กรอบ, ใบ ไม้ ที่ ตก ลง จาก ต้น ฤๅ ต้น หญ้า เล็ก ที่ ฃาด จาก ต้น, ตาก อยู่ กลาง แจ้ง เมื่อ ระดู แล้ง นั้น.
      แห้ง ผาก (759:1.2)
               คือ ที่ ดิน แห้ง เข้า แต่ ยัง ชื้น อยู่ ยัง ไม่ แห้ง แขง เข้า ที่ เดียว นั้น.
      แห้ง หมาด (759:1.3)
               ทับท้าน หมาด, คือ ยัง ไม่ แห่ง เกราะ เช่น ไม้ ท่อน สด เปน ต้น คน เอา ตาก ไว้ กลาง แดด ภอ แห้ง ทับ ท้าน นั้น.
      แห้ง ละ (759:1.4)
               คือ แห้ง ละ สิ่ง เปน ต้น, ของ มี หลาย สิ่ง เอา ไป แจก ให้ คน หลาย แห่ง ๆ ละสิ่ง ละสิ่ง นั้น*.
      แห้ง แล้ง (759:1.5)
               คือ น่า ระดู ร้อน เดือน สี่ เดือน ห้า, ไม่ มี ฝน ตก นั้น, เขา ว่า แห้ง แล้ง นัก นั้น.
      แห้ง โสก (759:1.6)
               ผาก โสก, คือ ที่ แห้ง ไม่ มี ชุ่ม ด้วย น้ำ เลย, เช่น ที่ บน จอม เขา ฤๅ จอม ปลวก เปน ต้น นั้น.
      แห้ง เหี่ยว (759:1.7)
               เหี่ยว แห้ง, คือ ใบ ไม้ ที่ ตก ออก จาก ต้น หล่น ลง แล้ว แห้ง หู่ หี่ เข้า, ไม่ ผึ่ง แผ่ อยู่ เปน ปรกติ นั้น.
โหง พราย (759:2)
         คือ ผี ที่ คน ตาย ไม่ ดี, เปน ต้น ว่า เขา ฆ่า ตาย ฤๅ คลอด ลูก ตาย นั้น.
หอง (759:3)
         ชื่อ แกง อย่าง จีน, รศ ไม่ เผ็ด ร้อน, รศ ออก หวาน เปน กับ เข้า.
      หอง เป็ด (759:3.1)
               คือ เป็ด จีน แกง เรียก ว่า หอง, กิน กับ เข้า รศ หวาน ๆ ไท ก็ ทำ กิน บ้าง.
      หอง หมู (759:3.2)
               คือ หมู จีน แกง อย่าง จีน, เรียก ว่า หอง หมู กิน เปน กับ เข้า.
ห่อง (759:4)
         เปน ชื่อ คน เชื้อ จีน มี บ้าง, คน เจ๊ก มี ชื่อ ห่อง เช่น นี้ ก็ มี บ้าง.
ห้อง (759:5)
         คือ ที่ ระหว่าง เสา เรือน เปน ต้น, เขา กั้น ฝา ไว้ ตรง เสา ข้าง โน้น กับ เสา ข้าง นี้ มี ประตู บ้าง ไม่ มี บ้าง.
      ห้อง กลาง (759:5.1)
               คือ ที่ ระหว่าง เสา เรือน เขา ปลูก เปน สาม ห้อง อยู่ ข้าง โน้น ห้อง หนึ่ง ข้าง นี้ ห้อง หนึ่ง, ห้อง อยู่ หว่าง นั้น เรียก ห้อง กลาง.
      ห้อง เดียว (759:5.2)
               คือ เรือน มี ระหว่าง เสา ระหว่าง เดียว เปน ต้น, เขา ปลูก ยก ขึ้น ห้อง หนึ่ง เรียก ว่า ห้อง เดียว นั้น.
      ห้อง ใน (759:5.3)
               คือ ระหว่าง ที่ เรือน เขา กั้น เปน ห้อง ใส่ ฝา ประจัน ห้อง ไว้ สำหรับ นอน นั้น.
      ห้อง น้ำ (759:5.4)
               คือ ห้อง เปน ที่ อาบ น้ำ, ตัก น้ำ ใส่ ภาชนะ ตั้ง ไว้ สำ หรับ อาบ เปน ต้น นั้น.
      ห้อง นอก (759:5.5)
               คือ ห้อง ผ่าย นอก เปน ที่ สำหรับ รับ แขก นั่ง ฤๅ กิน เข้า เปน ต้น นั้น.
      ห้อง นอน (759:5.6)
               คือ ห้อง เรือน เปน ที่ สำหรับ นอน นั้น.
      ห้อง น้อย (759:5.7)
               คือ ห้อง แคบ ไม่ กว้าง, เช่น เขา ทำ เรือน ขึ้น แล ทำ ห้อง แคบ ไม่ ใหญ่ นั้น.
      ห้อง บน (759:5.8)
               คือ ห้อง อยู่ ที่ สูง, เช่น เขา ปลูก เรือน ทำ เปน สอง ชั้น มี ห้อง ที่ ชั้น สูง นั้น.
      ห้อง ล่าง (759:5.9)
               คือ ห้อง ชั้น ต่ำ, เขา ปลูก เรือน ทำ เปน พื้น สอง ชั้น ๆ ต่ำ มี ห้อง ว่า ห้อง ล่าง.
      ห้อง หับ (759:5.10)
               ห้อง ว่า แล้ว, แต่ หับ นั้น เปน สร้อย.
หวง (759:6)
         ตระหนี่, คือ ใจ เปน ห่วง กังวน อยู่ ด้วย ของ, จะ ไป ไหน ใจ คิด เปน ธุระ ต้อง ฝาก ฝัง ไว้ นั้น.
      หวง กิน (759:6.1)
               ตระหนี่ กิน, คือ มี ของ กิน แล มิ ใคร่ จะ ให้ ผู้ อื่น กิน, ถึง ตัว กิน อิ่ม แล้ว, ก็ ยัง จัด แจง เก็บ ไว้ จะ กิน อีก นั้น.
      หวง เข้า ของ (759:6.2)
               เหนียว เข้า ของ, คือ ระวัง เก็บ งำ เข้า ของ สาระพัด ทุก อย่าง ไม่ ให้ ผู้ ใด อยิบ ฉวย เอา ไป ได้ นั้น.
      หวง เงิน (759:6.3)
               เหนียว เงิน, คือ โลภ หมั่น ระวัง ดู เก็บ ซ่อน เงิน ไว้ มิด ชิด ใส่ หีบ ฤๅ กำปั่น ลั่น กุญแจ ไว้ นั้น.
      หวง ทอง (759:6.4)
               ตระหนี่ ทอง, คือ โลภ ระวัง ดู ทอง ซ่อน เก็บ ไว้ มิด ชิด ใส่ หีบ ใส่ กำปั่น ลั่น กุญแจ ไว้ นั้น.
      หวง ทรัพย์ (759:6.5)
               ตระหนี่ ทรัพย์, คือ โลภ คอย ระวัง ทรัพย์ สิ่ง ของ ๆ ตัว กลัว จะ หาย โจร ผู้ ร้าย จะ ลัก ไป นั้น.

--- Page 760 ---
      หวง บ้าน (760:6.6)
               ห่วง บ้าน, คือ ความ ตระหนี่ ระวัง บ้าน ไม่ ให้ ใคร เข้า มา, ด้วย กลัว จะ ทำ กวน ใจ นั้น.
      หวง แหน (760:6.7)
               คือ หวง มี อาการ เช่น ว่า แล้ว, แต่ แหน นั้น เปน คำ สร้อย.
ห่วง (760:1)
         กังวน, คือ ใจ เปน ธุระ กังวน เวียน อยู่ ที่ ของ ฤๅ บุตร ภรรยา เปน ต้น, กิจ นั้น เปรียบ เหมือน บ่วง ผูก พันธ์ ตัว อยู่ ไม่ วาย นั้น.
      ห่วง กิน (760:1.1)
               คือ เปน ธุระ อยู่ ด้วย จะ กิน, เช่น คน ถือ บวช ต้อง กิน อาหาร แต่ ใน เพลา เที่ยง, ต้อง ระวัง เพลา กิน อยู่ นั้น.
      ห่วง การ (760:1.2)
               กังวน การ, คือ เปน ธุระ อยู่ ด้วย การ อัน ใด อัน หนึ่ง, มี เรียน หนังสือ เปน ต้น, ว่า ห่วง การ.
      ห่วง เข้า ของ (760:1.3)
               กังวน เข้า ของ, คือ เปน ธุระ กังวน เวียน อยู่ ด้วย เข้า ของ ต่าง ๆ มี ผ้า นุ่ง ห่ม เปน ต้น นั้น.
      ห่วง คน (760:1.4)
               กังวน ด้วย คน, คือ เปน ธุระ อยู่ ด้วย คน บ่าว ทาส เปน ต้น, ที่ มัน หนี ไป ต้อง ติด ตาม มัน นั้น.
      ห่วง งาน (760:1.5)
               คือ เปน ธุระ อยู่ ด้วย กิจ การ อัน ใด อัน หนึ่ง, ต้อง จัด แจง กิจการ นั้น เสีย.
      ห่วง โซร่ (760:1.6)
               คือ ลูก โซร่, ที่ เขา ทำ เปน วง ห่วง เกี่ยว คล้อง ติด ๆ เนื่อง กัน นั้น.
      ห่วง ถึง (760:1.7)
               คือ ธุระ คิด ถึง ของ อัน ใด ฤๅ ถึง คน ๆ ใด คน หนึ่ง นั้น.
      ห่วง น้อง (760:1.8)
               คือ เปน ธุระ อยู่ ด้วย น้อง, เช่น ลูก คน ป่า สอง คน พี่ น้อง, พี่ ต้อง เปน ธุระ อยู่ ด้วย น้อง นั้น.
      ห่วง บ้าน (760:1.9)
               คือ เปน ธุระ อยู่ ด้วย บ้าน, เช่น มี การ ต้อง จำ ไป แต่ ใจ เปน ธุระ ระวัง อยู่ ด้วย บ้าน.
      ห่วง พี่ (760:1.10)
               คือ เปน ธุระ อยู่ ด้วย พี่, เช่น พี่ ป่วย ไข้ อยู่ ตัว จะ ไป ก็ เปน ธุระ อยู่ ด้วย พี่.
      ห่วง พ่อ (760:1.11)
               คือ เปน ธุระ กังวน อยู่ ด้วย พ่อ, คน จะ มี การ ต้อง จำ ไป นั้น.
      ห่วง แม่ (760:1.12)
               คือ เปน ธุระ อยู่ ด้วย แม่, เช่น ตัว จะ ไป แห่ง ใด แล เปน ธุระ อยู่ ด้วย แม่ นั้น.
      ห่วง มาก (760:1.13)
               คือ เปน ธุระ อยู่ มาก หลาย นัก, เช่น มี ธุระ กิจ การ หลาย สิ่ง หลาย อย่าง นั้น.
      ห่วง มารดา (760:1.14)
               คือ เปน ธุระ อยู่ ด้วย แม่, เช่น คน จะ มี ที่ ไป แล มี แม่ เปน ธุระ อยู่, ว่า ห่วง ด้วย มารดา ว่า เปน คำ ติด สับท์ เพราะ.
      ห่วง เมีย (760:1.15)
               คือ เปน ธุระ อยู่ ด้วย เมีย, เช่น คน ไป ไกล แล มี เมีย เปน ธุระ อยู่ นั้น.
      ห่วง ร่าง กาย (760:1.16)
               คือ มี รูป กาย เปน ธุระ, ด้วย ต้อง บำรุง มี อาบ น้ำ แล แต่ง กาย เปน ต้น.
      ห่วง เรือน (760:1.17)
               คือ มี เรือน เปน ธุระ อยู่, เช่น เรือน ปลูก สร้าง ไว้ ยัง ไม่ แล้ว ฤๅ แล้ว, ต้อง เปน ธุระ อยู่, ด้วย จะ รักษา นั้น.
      ห่วง เรือ (760:1.18)
               คือ มี เรือ เปน ธุระ อยู่, เช่น เรือ มี อยู่ แล ต้อง เปน ธุระ ที่ จะ ระวัง รักษา เปน ต้น นั้น.
      ห่วง ลูก (760:1.19)
               คือ มี ลูก เปน ธุระ อยู่, เช่น คน มี ลูก แล ต้อง เปน กังวน ที่ จะ เลี้ยง ดู รักษา นั้น.
      ห่วง เหล็ก (760:1.20)
               คือ เหล็ก เขา ทำ เปน วง กลม สำหรับ ใส่ ตะเกียง ติด เสา เปน ต้น.
      ห่วง หลาน (760:1.21)
               คือ มี หลาน เปน ธุระ อยู่, เช่น คน มี หลาน แล ต้อง รักษา พะยาบาล นั้น.
      ห่วง สงสาร (760:1.22)
               คือ ความ รักษ ใน บุตร ภรรยา แล สามี เปน ที่ จะ วง เวียน อยู่ ใน ภพ โลกย์ นั้น.
      ห่วง สมบัติ (760:1.23)
               คือ เปน ธุระ กังวน อยู่ ด้วย สมบัติ เปน ที่ อาไลย เปน ธุระ ที่ จะ รักษา ให้ พ้น ไภย, มี โจระ ไภย เปน ต้น นั้น.
ห้วง (760:2)
         โอฆ, คือ ที่ เปน ที่ ลุ่ม วัง ขัง น้ำ ใหญ่, เช่น ฝน ตก ลง แล น้ำ ไหล ไป ขัง อยู่ ที่ ลุ่ม นั้น.
      ห้วง น้ำ (760:2.1)
               คือ มหา สมุท ใหญ่ นั้น ก็ เรียก ห้วง น้ำ, เพราะ เปน ที่ ขัง น้ำ อยู่.
      ห้วง หนอง (760:2.2)
               คือ ที่ น้ำ ขัง อยู่ แล ที่ เปน แอ่ง ใหญ่ เหมือน สระ นั้น.
      ห้วง มะโหระณพ (760:2.3)
               เปน คำ ไท ติด กับ คำ สับท์, อะธิบาย ว่า ห้วง น้ำ อัน ใหญ่ หลวง นั้น.
เหียง (760:3)
         เปน ชื่อ ต้น ไม้ ใหญ่ ใน ป่า อย่าง หนึ่ง, เขา ตัด เอา มา ทำ เปน กะดาน ใช้ ได้.

--- Page 761 ---
หด (761:1)
         สั้น เข้า, ห่อ, คือ ทำ มือ ที่ เอยียด อยู่ ให้ มัน งอ เข้า มา หา ตัว. อย่าง หนึ่ง เช่น งู มัน ทำ ให้ หัว มัน ถอย เข้า หา ตัว มัน นั้น.
      หด เข้า (761:1.1)
               ชัก* เข้า, คือ คู้ งอ อะไวยวะ ที่ ควร จะ คู้ งอ เข้า. อย่าง หนึ่ง สัตว ที่ มัน ทำ หัว ให้ งอ เข้า นั้น.
      หด ฅอ (761:1.2)
               ชัก ฅอ, คือ ทำ ฅอ ให้ คืน เข้า, เช่น คน ฅอ ยาว อยู่ เปน ปรกติ, แล ทำ ฅอ ให้ คืน เข้า นั้น.
      หด งอ (761:1.3)
               ชัก งอ, คือ ทำ ให้ ฅอ เปน ต้น งอ คู้ เข้า, เช่น งู มัน คู้ งอ ฅอ มัน เข้า นั้น.
      หด ตีน (761:1.4)
               งอ ตีน, คือ ทำ ตีน ให้ งอ คู้ เข้า, เช่น เอยียด ตีน อยู่ แล ทำ ให้ ตีน งอ คู้ เข้า นั้น.
      หด มือ (761:1.5)
               คือ ทำ มือ ที่ เอยียด อยู่ ให้ มือ งอ คู้ เข้า นั้น.
      หด หู (761:1.6)
               คือ สัตว มัน ทำ หู มัน ให้ ธ้อ สั้น เข้า, สัตว ที่ หู มัน ยาว มัน ทำ หู ให้ ธ้อ เข้า.
      หด หู่ (761:1.7)
               คือ งอ คลุ่ม เข้า, เช่น ใบ ไม้ สด ที่ คน เด็ด เอา มา ผึ่ง แดด ไว้, มัน ชัก หด หู่ เข้า นั้น.
      หด เหี่ยว (761:1.8)
               คือ งอ แห้ง เข้า, เช่น ใบ ไม้ ที่ มัน งอ แห้ง เข้า นั้น.
      หด หัว (761:1.9)
               ชัก หัว, คือ ทำ หัว ให้ ธ้อ คืน เข้า, เช่น สัตว มี งู เปน ต้น นั้น.
      หด ห่อ (761:1.10)
               คือ งอ ห่อ เข้า, เช่น ใบ ไม้ ที่ มด มัน ชัก ทำ รัง มัน งอ ห่อ เข้า นั้น.
หัด (761:2)
         เหือด, เปน ชื่อ โรค อย่าง หนึ่ง, มัน เกิด เปน เม็ด เล็ก เท่า เม็ด ทราย, ขึ้น เรี่ย ราย ไป ทั่ว ตัว สาม วัน สี่ วัน แล้ว จม ไป.
      หัด เขียน (761:2.1)
               สอน เขียน, คือ ฝึก สอน ศิละประสาตร, มี วาด เขียน เปน รูป ภาพ ฤๅ ตัว อักษร เปน ต้น.
      หัด จาน หนังสือ (761:2.2)
               คือ คน แรก ฝึก จาน หนังสือ, คน เอา เหล็ก ใส่ เข้า ใน ไม้ ด้ำ แล้ว ลับ ให้ แหลม, จึ่ง เอา ใบ ลาน มา จาฤก.
      หัด ตัว (761:2.3)
               คือ ฝึก ตัว ประพฤติ์ ให้ ดี, เช่น มัก นอน สาย แล ทำ ให้ ตื่น* เช้า เปน ต้น.
      หัตถบาศ (761:2.4)
               แปล ว่า วง มือ มี ศอก เปน ต้น.
      หัด ทำ ทอง (761:2.5)
               คือ หัด ทำ รูป ประพรรณ มี รูป แหวน ต่าง ๆ เปน ต้น, ทำ ได้ ดี แล้ว เปน ช่าง ทอง.
      หัด ทหาร (761:2.6)
               คือ ฝึก คน พวก ทหาร ให้ รู้ วิชา ท่า ทำนอง ยิง ปืน เปน ต้น เพื่อ จะ รบ ศึก นั้น.
      หัททัย (761:2.7)
               คือ หัว ใจ.
      หัด น้ำ ใจ (761:2.8)
               คือ สอน ใจ ของ ตัว ให้ ประพฤติ์ การ ดี การ ชอบ การ ที่ เปน บุญ เปน ต้น นั้น
      หัด ปรือ (761:2.9)
               คือ ฝึก สอน ทำ การ ต่าง ๆ, หัด นั้น คือ ฝึก, แต่ ปรือ นั้น เปน คำ สร้อย.
      หัด มวย (761:2.10)
               สึกษา มวย, คือ หัด ชก ต่อย กัน, เช่น คน จะ สู้ กัน ด้วย มือ เปล่า ไม่ ถือ ไม้ ถือ อาวุธ.
      หัด วิชา (761:2.11)
               สึกษา วิชา, คือ ฝึก สอน เพื่อ จะ ให้ รู้ ศิลประสาตร ต่าง ๆ, มี รู้ มนตร์ แล คาถา เปน ต้น.
      หัด สวด (761:2.12)
               คือ หัด ทำนอง สวด, เหมือน พระสงฆ์ สวด พระ ธรรม ฤๅ พวก หมอ สวด คำ เพลง.
      หัตถ์ (761:2.13)
               ฯ แปล ว่า มือ, เช่น มะนุษ นั้น, มี มือ สอง ข้าง แต่ สัตว ไม่ มี มือ, มี แต่ เท้า น่า เท้า หลัง.
      หัตถกรรม (761:2.14)
               คือ การ สาระพัด ที่ คน ทำ ด้วย มือ, เรียก หัตถ กรรม, มี เย็บ ผ้า ฤๅ เขียน หนังสือ เปน ต้น, เรียก หัตถ กรรม.
      หัศดีลึงค์ (761:2.15)
               หรรถี ลึงค์, เปน ชื่อ นก ใหญ่ อย่าง หนึ่ง, ว่า มัน มี งวง งา เช่น ช้าง, ว่า มัน อยู่ ใน ป่า หิมพานต์ นั้น.
      หรรถี (761:2.16)
               คช สาร, แปล ว่า ช้าง, จะ แปล เปน สัตว อื่น ไม่ ได้, จำเภาะ แปล ได้ แต่ ว่า ช้าง.
      หรรษถา จาริย์ (761:2.17)
               ควาน ช้าง, คือ คน รู้ ฝึก สอน ช้าง ให้ มัน รู้ ตาม กิจการ ที่ มะนุษ จะ ต้อง การ ใช้ นั้น.
หาด (761:3)
         เนิน ทราย, คือ ที่ เปน เนิน สูง ขึ้น เพราะ ทราย นั้น, ที่ อื่น ถึง จะ เปน เนิน สูง ขึ้น ก็ ไม่ เรียก หาด.
      หาด กงสิน (761:3.1)
               เปน ชื่อ หาด ทราย แห่ง หนึ่ง, เขา เรียก ตาม กัน มา แต่ บูราณ นั้น.
      หาด กรวด (761:3.2)
               คือ ที่ เปน เนิน กรวด เม็ด มัน โต กว่า เม็ด ทราย นั้น.
      หาด ขวาง (761:3.3)
               เนิน ทราย ขวาง, เปน ชื่อ หาด ทราย แห่ง หนึ่ง, อยู่ ฝ่าย ข้าง ทิศ เหนือ เขา เรียก เช่น นั้น.

--- Page 762 ---
      หาด ทราย (762:3.4)
               เนิน ทราย, คือ ที่ เนิน ทราย เกิด อยู่ ใน แม่ น้ำ จึง เรียก ว่า หาด ทราย, ถ้า อยู่ บน บก ก็ ไม่ เรียก หาด ทราย นั้น.
      หาด สูง (762:3.5)
               เนิน สูง, คือ หาด ทราย มี อยู่ ฝ่าย ข้าง ทิศ เหนือ กรุง เทพ ฯ นี้.
      หาด สร่วย (762:3.6)
               คือ หาด ทราย เปน ที่ เขา ทำ สร่วย ด้วย ไข่ เต่า ตนุ ที่ ทะเล นั้น.
หิด (762:1)
         เปน ชื่อ โรค อย่าง หนึ่ง, มี ตัว สัตว หนิด ๆ มัน เกิด เปน เม็ด เล็ก ๆ ขึ้น มา ให้ คัน หนัก นั้น.
      หิด ด้าน (762:1.1)
               เปน หัว หิด ผื่น พรึง เปน เม็ด เล็ก ๆ มัน มี ตัว ใน หัว ให้ คัน นัก แต่ ไม่ มี น้ำ เลือด น้ำ หนอง เปื่อย ภัง.
      หิด ตะมอย (762:1.2)
               เปน หิด หัว ใหญ่ คล้าย ฝี แต่ มัน ให้ คัน ให้ ปวด หนัก รักษา ยาก ไม่ ใคร่ หาย.
      หิด เปื่อย (762:1.3)
               เปน หัว หิด เกิด ขึ้น เช่น ว่า มัน มี ตัว ให้ คัน แล ผุภัง เปื่อย มี น้ำ เลือด น้ำ หนอง มาก.
หึด (762:2)
         คือ สำเนียง คน สำแดง เมื่อ ไม่ ยอม ความ อัน ใด ๆ นั้น, ว่า หึด ๆ.
หืด (762:3)
         เปน ชื่อ โรค อย่าง หนึ่ง, มัน จับ เปน เวลา, เมื่อ มัน จับ มัน ให้ หาย ใจ หอบ นัก.
      หืด น้ำ นม (762:3.1)
               เปน ชื่อ โรค เด็ก อย่าง หนึ่ง, มัน ทำ ให้ หายใจ หอบ เหนื่อย นั้น.
      หืด หอบ (762:3.2)
               คือ โรค หืด มัน ชวน ให้ หอบ นัก, คน โรค นั้น หาย ใจ หอบ เหนื่อย นัก นั้น.
หูด (762:4)
         คือ มัน เปน หัว ขึ้น มา สัก เท่า เมล็ด ถั่ว เขียว ฤๅ เมล็ด เข้า โภชน์, มัน เปน ไต แขง อยู่ มัน มัก ขึ้น ที่ มือ ที่ เท้า ให้ ชา ไป.
      หูด เข้า สุก (762:4.1)
               คือ หัว หูด เมื่อ มัน ถูก น้ำ มัน ไน่ ออก ที่ ตรง หัว มัน, เช่น เข้า สุก ถูก น้ำ นั้น.
      หูด ด้าน (762:4.2)
               คือ หัว หูด มัน แขง ถึง ถูก น้ำ ก็ ไม่ ไน่, มัน แน่น แขง เสมอ อยู่ ไม่ เจ็บ ไม่ คัน, เปน แต่ เหน็บ ชา ยิก ก็ ไม่ ใคร่ เจ็บ นั้น.
เห็ด (762:5)
         เปน ชื่อ บันดา กระบิละ เห็ด ทั้ง หมด, เห็ด มัน เปน ของ งอก ขึ้น จาก ดิน เปน ต้น ไม่ เหมือน พืชน์ ต่าง ๆ.
      เห็ด ขา ไก่ (762:5.1)
               เปน ชื่อ เห็ด เท่า ขา ไก่ ที่ มัน งอก ขึ้น จาก ดิน ตาม ที่ เนิน ปลวก เปน ต้น นั้น.
      เห็ด คา (762:5.2)
               เปน ชื่อ เห็ด ที่ มัน ขึ้น จาก ดิน ที่ ดง หญ้า คา มาก นั้น.
      เห็ด โคน (762:5.3)
               เปน ชื่อ เห็ด อย่าง หนึ่ง มัน ขึ้น เมื่อ ระดู ฝน ตก ชุก ที่ ริม ปลวก นั้น,
      เห็ด จาว มะพร้าว (762:5.4)
               คือ เห็ด หัว กลม เช่น กับ จาว มะพร้าว, เขา กิน เปน กับ เข้า ได้.
      เห็ดถอบ (762:5.5)
               คือ เห็ด เปน ลูกกลม ๆ เช่น ลูก มะเขือขื่น* มี ใน ป่า, เขา เอา มา ทำ กิน กับ เข้า นั้น.
      เห็ดปลวก (762:5.6)
               คือ เห็ด มัน ขึ้น ที่ ปลวก นั้น.
      เห็ดยาง (762:5.7)
               คือ เห็ด เปน ลูก กลม, เช่น เห็ดถอบ, แต่ ขึ้น ที่ ใต้ ต้น ยาง เขา กิน เปน กับ เข้า นั้น.
      เห็ด ร่างแห (762:5.8)
               คือ เห็ด ต้น มัน เปน ขึ้น จาก ดิน, สูง สัก สาม นิ้ว สี่ นิ้ว, มัน บาน หัว มัน เปน ตา ข่าย, เช่น ร่าง แห, กิน ไม่ ได้ รศ มัน เมา นัก.
      เห็ด หูหนู (762:5.9)
               คือ เห็ด มัน แบน บาง คล้าย หูหนู, มัน ขึ้น ที่ ไม้ เขา ตัด ทิ้ง ไว้, เขา เก็บ เอา มา แกง กิน กับ เข้า ได้ นั้น.
เหตุ (762:6)
         ปัจจัย, คือ บังเกิด การ อัน ใด ๆ ขึ้น อย่าง หนึ่ง ใน ที่ ใด ๆ ก็ ว่า บังเกิด เหตุ ขึ้น.
      เหตุ การ (762:6.1)
               คือ การ ยัง เหตุ ให้ บังเกิด, เหตุ กับ การ เช่น จะ เปน อัน เดียว กัน แต่ ไม่ เหมือน กัน.
      เหตุ ฉะนี้ (762:6.2)
               คือ เพราะ ความ นี้ ฤๅ การ นี้, คน ไท มัก พูจ เพราะ เหตุ นี้ เรา จึ่ง จัดแจง เปน ต้น.
      เหตุ เช่น นี้ (762:6.3)
               ความ ก็ เช่น กัน กับ เหตุ ฉะ นี้, เขา พูจ ว่า เพราะ เหตุ นี้ เรา จึ่ง ต้อง ไป เปน ต้น.
      เหตุ ใหญ่ (762:6.4)
               คือ ความ ใหญ่, เช่น ความ จะ เกิด รบ พุ่ง กัน นั้น ว่า เปน เหตุ ใหญ่ ความ ใหญ่.
      เหตุ ใด (762:6.5)
               เปน คำ เขา ถาม ว่า เปน เพราะ เหตุ อัน ใด, สิ่ง ที่ มี ขึ้น นั้น.
      เหตุ ดัง นั้น (762:6.6)
               คือ เพราะ เหตุ ดัง นั้น จึ่ง ทำ, เช่น คน กระทำ การ อัน ใด ๆ เพราะ รับ สั่ง ให้ ทำ เปน ต้น.
      เหตุ ทั้ง นี้ (762:6.7)
               คือ เพราะ การ ทั้ง นี้, เปน คำ เขา บอก ว่า เหตุ การ ทั้ง นี้ ก็ เพราะ โลภ เพราะ โทโษ เพราะ โมโห นั้น,

--- Page 763 ---
      เหตุ ประการ ใด (763:6.8)
               คือ เพราะ เหตุ ประการ ใด เขา จึง กระทำ, เพราะ ประการ ที่ เขา ใช้ จึง ทำ.
      เหตุ ผล อย่าง ไร (763:6.9)
               คือ เขา พูจ ว่า เหตุ ผล อย่าง ไร จึ่ง ไป เปน ต้น, เพราะ เหตุ ผล ที่ มี ผู้ บังคับ เปน ต้น นั้น.
      เหตุ เพราะ (763:6.10)
               เปน คำ เขา พูจ บอก ว่า เพราะ เหตุ มี ผู้ สั่ง เรา จึ่ง กระทำ เรา จึ่ง ไป เปน ต้น.
      เหตุ อย่าง นี้ (763:6.11)
               เปน คำ เขา บอก ว่า เพราะ เหตุ อย่าง นี้ เรา จึ่ง ว่า, เรา จึ่ง กระทำ เปน ต้น.
      เหตุ ไร (763:6.12)
               คือ คำ เขา ซัก ถาม ว่า เพราะ เหตุ ไร จึ่ง กระทำ เปน ต้น, คำ ตอบ ว่า มี ผู้ สั่ง.
      เหตุ หลาย อย่าง (763:6.13)
               คือ เพราะ เหตุ มาก หลาย อย่าง จึ่ง ไป เปน ต้น นั้น.
      เหตุ ว่า (763:6.14)
               คือ เพราะ เหตุ ว่า มี ผู้ บัญชา สั่ง เรา จึ่ง ได้ กระทำ นั้น.
โหด (763:1)
         ไร้, คือ ใจ คน ชั่ว มัน ไม่ โอบ อ้อม เอื้อ เฟื้อ เผื่อ แผ่, แก่ บุคคล ผู้ ใด นั้น ว่า โหด
      โหด ร้าย (763:1.1)
               คือ ใจ ชั่ว เช่น ว่า แล้ว, ซ้ำ ดุ ร้าย มัก ทำ เบียฬ ให้ ผู้ อื่น ได้ ความ ทุกข์.
      โหด หืน (763:1.2)
               คือ ไจ ชั่ว เช่น ว่า แล้ว, ซ้ำ หยาบช้า ฮึกฮัก ไม่ คิด เอ็นดู ปรานี แก่ ผู้ ใด นั้น.
      โหด เหี้ยม (763:1.3)
               คือ ใจ โหด เหี้ยม เกรียม ก้าวร้าว, ไม่ ใคร่ เกรง กลัว ใคร เปน ธรรมดา
หวด (763:2)
         ฟาด, คือ เอา ไม้ เปน ต้น ฟาด เข้า, เช่น คน ถือ ไม้ เรียว เล็ก ๆ ฤๅ หวาย ฟาด ไป นั้น.
      หวด หญ้า (763:2.1)
               ถาง หญ้า, คือ หวด ฟาด ต้น หญ้า ที่ มัน ขึ้น รก ที่ นา เปน ต้น, คน เอา พร้า หวด ฟาด ฉาย ไป นั้น.
      หวด นา (763:2.2)
               ถาง นา, คือ การ ที่ เขา ถือ พร้า ใหญ่ สำหรับ ฟาด ถาง ต้น หญ้า ที่ นา, เมื่อ ระดู ฝน จะ ทำ นา นั้น.
      หวด นึ่ง เข้า (763:2.3)
               คือ ภาชนะ อย่าง หนึ่ง, สำหรับ นึ่ง เข้า เหนียว เปน ต้น, เขา ทำ ด้วย ดิน รูป คล้าย กะโถน, เขา เจาะ ก้น ปรุ ไป,
      หวด แผ้ว (763:2.4)
               แผ้ว ถาง, คือ หวด ถาง, คน เอา พร้า หวด ฟาด ฉาย ที่ หญ้า รก ให้ เตียน นั้น.
      หวด ลง ด้วย หวาย (763:2.5)
               ฟาด ลง ด้วย หวาย, คือ เฆี่ยน คน ด้วย หวาย, เขา เอา หลัก ปัก ลง แล้ว เอา คา ใส่ ฅอ คน เข้า เอา ปลาย คา ผูก กับ หลัก เอา หวาย หวด ลง ที่ หลัง.
      หวด สวน (763:2.6)
               แผ้ว สวน, คือ หวด ถาง หญ้า ที่ ใน สวน รก ให้ เตียน, เช่น พวก ชาว สวน หวด หญ้า นั้น.
เหือด (763:3)
         ทรา ลง, คือ ทรา ลง ถอย ลง คลาย ลง เสื่อม ลง, เช่น ไฟ ไหม้ นัก แล้ว ทรา ลง.
      เหือด ไป (763:3.1)
               คือ วาย ไป น้อย ไป, เช่น ผล ไม้ ที่ มัน เปน ผล, น่า ระดู ชุม นัก, ครั้น หมด ไป ยัง บ้าง เล็ก น้อย ว่า เหือด ไป.
      เหือด ลง (763:3.2)
               คือ ค่อย เบา ลง, ยอบ ลง น้อย ลง วาย ลง ทรา ลง.
      เหือด แล้ว (763:3.3)
               คือ วาย แล้ว, เช่น ผล ไม้ มี ผล เมื่อ น่า ระดู ชุม นัก, แล้ว น้อย ไป นั้น.
      เหือด ห่าง (763:3.4)
               คือ เหือด แล ไกล ออก ไป นั้น.
      เหือด แห้ง (763:3.5)
               น้อย แห้ง, คือ น้อย ลง แล แห้ง ไป, เช่น น้ำ ใน สระ แล หนอง, ครั้น ระดู แล้ง ก็ น้อย ลง, แห้ง ไป นั้น.
      เหือด หาย (763:3.6)
               ทรา หาย, คือ น้อย ลง แล หมด สิ้น เข้า แล ไม่ เหน เลย นั้น, เช่น น้ำ เช่น ว่า เปน ต้น, ว่า เหือด หาย ไป นั้น.
หน (763:4)
         ครั้ง, คราว, คือ ครั้ง ฤๅ คราว, แล ที่ หนึ่ง เปน ต้น, อย่าง หนึ่ง ว่า ข้าง หนึ่ง คือ ข้าง เหนือ ข้าง ใต้, ว่า หน เหนือ หน ใต้ นั้น.
      หน ก่อน (763:4.1)
               ครั้ง ก่อน, คือ ที่ ก่อน ครั้ง ก่อน คราว ก่อน, เมื่อ ก่อน เปน ต้น, ว่า เช่น นั้น.
      หน เดียว (763:4.2)
               คือ ที่ เดียว เปน ต้น, เช่น ทำ การ อัน ใด ที เดียว เปน ต้น ว่า หน เดียว.
      หน ต้น (763:4.3)
               คือ คน นาย สำเภา ฤๅ กำปั่น นั้น.
      หน ทาง (763:4.4)
               คือ แห่ง ทาง ที่ ทาง, บันดา ที่ ทาง ใด ๆ คือ ทาง บก ทาง เรือ นั้น ว่า หน ทาง.
      หน นี้ (763:4.5)
               คราว นี้, คือ ที่ นี้, คราว นี้, ครั้ง นี้, แห่ง นี้, เช่น คน ทำ การ เปน ต้น, แห่ง นี้, ที่ นี้, คราว นี้, ครั้ง นี้, ความ อัน เดียว กัน.

--- Page 764 ---
      หน หนึ่ง (764:4.6)
               แห่ง หนึ่ง, คือ ที หนึ่ง, คราว หนึ่ง, ครั้ง หนึ่ง, แห่ง หนึ่ง, คำ ต่าง ๆ กัน แต่ ความ อย่าง เดียว กัน.
      หน ไร (764:4.7)
               คือ ที ไร, คราว ไร, ครั้ง ไร, แห่ง ไร, ความ อธิ บาย เช่น ว่า แล้ว นั้น.
      หน แรก (764:4.8)
               คือ หน เดิม, หน ต้น, หน ปถม นั้น.
      หน หลัง (764:4.9)
               เบื้อง หลัง, คือ ที หลัง, คราว หลัง, ครั้ง หลัง, เบื้อง หลัง, คำ ต่าง ๆ ความ อัน เดียว.
      หน สุด (764:4.10)
               คราว สุด, คือ ที่ สุด, คราว สุด, ครั้ง สุด, แห่ง สุด, มี อธิบาย เช่น ที่ ว่า แล้ว.
      หัน (764:4.11)
               หมุน, เวียน, คือ เวียน ไป ผัน ไป, เช่น จัง หัน ที่ ถูก ลม คล่อง, แล มัน หัน เวียน หมุน นั้น.
      หัน กลับ (764:4.12)
               หมุน กลับ, คือ หัน คืน มา ข้าง หนึ่ง. อย่าง หนึ่ง คน เดิน ไป แล้ว กลับ หน้า เดิน มา นั้น.
      หัน เข้า (764:4.13)
               เช่น ควง ที่ อัด หนังสือ, เขา เอา ดั้ม เหล็ก ใส่ ให้ มัน หัน เข้า จน แน่น ตึง นั้น.
      หันนะกาษ (764:4.14)
               คือ ไม้ หันนะกาษ อย่าง นี้  นั้น.
      หัน หน้า (764:4.15)
               ผัน หน้า, คือ ผัน หน้า ผิน หน้า, เช่น คน เดิน หน้า อยู่ ข้าง หนึ่ง, แล้ว ผัน หน้า กลับ มา ข้าง หนึ่ง.
      หัน ไป (764:4.16)
               หมุน ไป, คือ เวียน ไป, ผัน ไป, ผัด ไป, เช่น จัง หัน ที่ มัน หมุน ไป นั้น.
      หัน มา (764:4.17)
               เวียน มา, คือ เวียน* มา, ผัน มา, ผัด มา, หมุน มา, วง มา, มี คำ ต่าง ๆ แต่ ความ อัน เดียว กัน.
      หัน รอบ (764:4.18)
               หมุน รอบ, คือ เวียน รอบ, เช่น มณฑล พระจันทร์ แล แผ่นดิน เวียน รอบ ดวง อาทิตย์ นั้น.
      หัน เวียน (764:4.19)
               หมุน เวียน, คือ หมุน เวียน, เช่น แผ่นดิน โลกย์ หมุน รอบ ตัว เอง วัน ละ รอบ นั้น.
      หันษา (764:4.20)
               อธิบาย ว่า ความ ยินดี, คน แต่ง หนังสือ เปน คำ สวด เปน ต้น, ใส่ คำ หรรษา ว่า ยินดี.
      หัน หุน (764:4.21)
               คือ เฉียว ฉุน โกรธ เร็ว นั้น.
      หัน หา (764:4.22)
               คือ หัน หน้า มา หา, เช่น คน หน้า เมิน อยู่ ข้าง โน้น ครั้น เขา เรียก ข้าง นี้ หัน มา นั้น.
      หัน เหียน (764:4.23)
               คือ หัน เบือน กลับ นั้น.
      หัน เห (764:4.24)
               คือ หัน เซ เช่น เรือ เปน ต้น, มัน หัน ห่าง ออก ไป นั้น, ว่า มัน หัน เห เซ ไป ตาม ภาษาไทย.
      หัน หวน (764:4.25)
               คือ หัน ม้วน ไป นั้น.
      หัน ออก (764:4.26)
               เห ออก, คือ ผัน ออก, ของ มี เรือ เปน ต้น, ฤๅ สัตว มัน เข้า มา อยู่ ใกล้, แล้ว มัน ห่าง ออก นั้น.
      หั่น (764:4.27)
               ฝาน, ซอย, คือ การ ที่ คน เอา มีด ตัด ของ ลง กับ เขียง, คน จะ หั่น ของ เอา มีด วาง ลง บน ของ, กด ลง เหนือ น่า เขียง.
      หั่น กันชา (764:4.28)
               ฝาน กันชา. ซอย กันชา, คือ การ ที่ คน เอา กัน ชา เปน กำ วาง ลง บน ไม้ เขียง, แล้ว เอา มีด เชือด ตัด ลง นั้น.
      หั่น ข่า (764:4.29)
               ฝาน ข่า, คือ การ ที่ คน เอา ต้น ข่า วาง ลง บน น่า ไม้ เขียง, แล้ว เอา มีด ตัด ลง นั้น
      หั่น ตะไคร้ (764:4.30)
               เชือด ตะไคร้, คือ การ ที่ คน เอา ต้น ตะไคร้ วาง ลง บน น่า ไม้ เขียง, แล้ว เอา มีด เชือด ลง.
      หั่น เนื้อ (764:4.31)
               เชือด เนื้อ, คือ การ ที่ คน เอา เนื้อ เปน ชิ้น ใหญ่, วาง ลง บน น่า ไม้ เขียง, แล้ว เอา มีด ตัด ลง.
      หั่น ปลา (764:4.32)
               เชือด ปลา, คือ การ ที่ คน เอา ปลา วาง ลง บน น่า เขียง, แล้ว เอา มีด เชือด ลง นั้น.
      หั่น ผัก (764:4.33)
               เชือด ผัก, คือ การ ที่ คน ตัด เชือด ผัก ลง กับ น่า เขียง, คน จะ ทำ กับ เข้า เอา ผัก เชือด ลง นั้น.
      หั่น หมู (764:4.34)
               ตัด หมู, คือ การ ที่ เขา ตัด หมู ลง บน น่า เขียง, คน จะ ทำ เนื้อ หมู่ ให้ เปน ชิ้น เล็ก ๆ แล ตัด ลง บน น่า เขียง.
      หั่น อยา (764:4.35)
               ซอย อยา, คือ การ ที่ คน เชือด ตัด ใบ อยา ลง บน น่า เขียง, คน จะ ทำ เปน เส้น อยา สูบ เปน ต้น, แล เอา ใบ อยา วาง ลง หั่น.
      หาญ (764:4.36)
               กล้า, คือ แกล้ว กล้า อง อาจ*, คน ใจ กล้า ไม่ กลัว สัตว ร้าย เปน ต้น นั้น.
      หาญ กล้า (764:4.37)
               กล้า หาญ, คือ คน ใจ กล้า ไม่ ขลาด, คน ใจ กล้า ไม่ กลัว สัตว ร้าย ฤๅ โจร เปน ต้น.
      หาญ เหี้ยม (764:4.38)
               ห้าว เหี้ยม, คือ คน ใจ เหี้ยม ห้าว ดุ ร้าย, คน ใจ ดุ ร้าย แล กล้า หาญ ไม่ กลัว ไภย อัน ใด นั้น.
ห่าน (764:1)
         คือ ตัว สัตว สอง ท้าว มี ปีก, รูป คล้าย เป็ด แต่ มี หงอน ที่ หัว แล ฅอ มัน ยาว

--- Page 765 ---
หิน (765:1)
         สิลา, คือ ก้อน สิลา ที่ เกิด ที่ ภูเขา เปน ต้น, บาง แห่ง เกิด ใน ทะเล มี บ้าง.
      หินะ (765:1.1)
               ฯ แปล ว่า ต่ำ ช้า นั้น
      หิน ฃาว (765:1.2)
               คือ หิน ศรี ฃาว, บันดา หิน ทั้ง หมด มี ศรี ต่าง ๆ, แต่ นี่ ว่า เอา แต่ หิน ฃาว เปน ต้น.
      หิน เขียว (765:1.3)
               คือ หิน ศรี เขียว, บันดา หิน ทั้ง สิ้น มี ศรี ต่าง ๆ แต่ นี่ ว่า แต่ หิน เขียว เปน ต้น.
      หินะ ชาติ (765:1.4)
               คือ คน ชาติ ตระกูล ต่ำ ตระกูล ถ่อย นั้น.
      หิน บด (765:1.5)
               คือ หิน เขา ทำ เปน แผ่น, เช่น น่า กระดาน แล้ว มี หิน กลม ยาว, สำหรับ กลิ้ง บด ยา นั้น.
      หิน ปาก นก (765:1.6)
               คือ หิน ที่ เขา ใส่ ไว้ ที่ ปาก นก ปืน, ลั่น สับ ลง ให้ มี ประกาย ไฟ นั้น.
      หิน ฝน ทอง (765:1.7)
               คือ หิน ศรี ดำ คล้าย ศรี หมึก, เปน ก้อน เล็ก ๆ สำหรับ* ฝน ดู เนื้อ ทอง ว่า จะ สุก แล ไม่ สุก นั้น.
      หิน ฝน หมึก (765:1.8)
               คือ หิน มี ร่อง ขัง น้ำ หมึก, เขา ทำ มา แต่ เมือง จีน นั้น.
      หิน โม่ (765:1.9)
               คือ หิน กลม ๆ เท่า จาน ใหญ่ ๆ ซ้อน กัน สอง อัน หัน ทำ แป้ง นั้น.
      หิน เหล็ก ไฟ (765:1.10)
               คือ หิน ที่ เขา ตี เปน ประกาย ไฟ ออก ติด ชุด นั้น.
      หิน แลง (765:1.11)
               คือ หิน ศรี ดำ มัว, มัน เปน รู พลอน ไป, เหมือน รู เพรียง, เขา ทำ เปน ก้อน.
      หิน เหลือง (765:1.12)
               คือ หิน ศรี เหลือง,
      หิน อยา ตา (765:1.13)
               คือ หิน สำหรับ ฝน อยา ใส่ หน่วย ตา, คน เปน หมอ รักษา ตา ทำ ไว้ สำหรับ ทุก คน ๆ.
      หิน ลับ มีด (765:1.14)
               คือ หิน ก้อน ใหญ่ เนื้อ ไม่ สู้ ละเอียด, เขา ทำ ไว้ สำหรับ ลับ มีด ใหญ่ มีด เล็ก.
      หิน ลับ มีด โกน (765:1.15)
               คือ หิน ศรี แดง ๆ เขา ทำ เปน สี่เหลี่ยม หนา นิ้ว หนึ่ง สำหรับ ลับ มีด โกน ผม.
      หิน ลาย (765:1.16)
               คือ หิน มี ศรี ต่าง ๆ ใน ก้อน เดียว นั้น.
      หิน สิลา (765:1.17)
               หิน นั้น เปน คำ ไทย. สิลา นั้น เปน คำ มะคะธะ ภาษา นั้น.
      หิน อ่อน (765:1.18)
               คือ สิลา เนื้อ ไม่ แขง กระด้าง*, อ่อน ภอ ถาก ภอ เจาะ ทำ รูป ต่าง ๆ ได้.
หืน (765:2)
         คือ กลิ่น หืน, เช่น หน่อ ไม้ ไผ่ ทั้ง ปวง เมื่อ มัน ยัง ดิบ อยู่, กลิ่น มัน เหม็น หืน.
      หืน กลิ่น (765:2.1)
               คือ เหม็น หืน.
      หืน น้ำ* มัน (765:2.2)
               คือ กลิ่น น้ำมัน มะพร้าว ที่ หุง ไว้ นาน ๆ แล กลิ่น มัน ขื่น หืน นั้น.
      หืน เหม็น (765:2.3)
               คือ กลิ่น เหม็น ขื่น, เช่น กลิ่น หน่อ ไม้ เช่น ว่า แล้ว นั้น.
หื่น (765:3)
         คือ อาคละ กำนัศ, เช่น คน ฤๅ สัตว ที่ มี กำนัศ ใน กามราค เมื่อ เกือบ จะ เสพย์ นั้น.
      หื่น เหียก (765:3.1)
               คือ อาการ ที่ หญิง อยาก จะ ร่วม รัก นั้น.
หุน (765:4)
         คือ ตัด ออก จาก กัน, เช่น เขา เอา มือ รวบ ปลาย ใบ เข้า กล้า, เข้า แล้ว บิด ให้ ขาด เสีย นั้น.
      หุน หนึ่ง (765:4.1)
               คือ ของ หนัก หุน หนึ่ง, นับ ตาม ภาษา จีน ว่า ห้า หุน เปน เฟื้อง นั้น.
      หุน หัน (765:4.2)
               คือ ความ โกรธ เกิด เร็ว พลัน นั้น, เช่น คน ใจ เร็ว โกรธ เร็ว พลัน นั้น.
      หุน หวน (765:4.3)
                คือ ใจ โกรธ หมุน ไป หมุน มา นั้น.
หุ่น (765:5)
         รูป, คือ รูป คน ฤๅ สัตว ที่ เขา ทำ ด้วย ไม้ เปน ต้น, ชัก สาย ยนต์ ทำ ให้ มัน ยก แขน ยก ขา ได้ เปน ต้น นั้น.
      หุ่น โครง (765:5.1)
               คือ รูป หุ่น เขา ทำ เปน ร่าง ขึ้น ก่อน นั้น.
      หุ่น จีน (765:5.2)
               รูป จีน, คือ รูป คน เจ๊ก, พวก เจ๊ก ทำ ด้วย ไม้, นุ่ง ผ้า ห่ม ผ้า เปน อย่าง จีน, มี สาย ยนต์ ชัก บน หัว ตัว ห้อย อยู่.
      หุ่น ไทย (765:5.3)
               รูป ไทย, คือ รูป คน ไทย, พวก ไทย ทำ ด้วย ไม้ มี เครื่อง ประดับ ผ้า นุ่ง ห่ม อย่าง ไทย, ชัก สาย ยนต์ ข้าง เบื้อง ท้าว.
      หุ่น ทวาย (765:5.4)
               รูป ทวาย, คือ รูป คน ทวาย, พวก ทวาย ทำ ด้วย ไม้, มี ผ้า นุ่ง ห่ม อย่าง คน ทวาย มี สาย ชัก.
      หุ่น พระ (765:5.5)
               คือ รูป พระ เขา ทำ ด้วย ไม้ เพื่อ จะ บุ พระ, เขา แผ่ เงิน ฤๅ ทอง ให้ บาง แล้ว หุ้ม รูป ไม้ นั้น.
      หุ่น หล่อ รูป (765:5.6)
               คือ รูป ต่าง ๆ ที่ เขา จะ หล่อ มี รูป คน เปน ต้น เขา ปั้น ด้วย ดิน แล้ว เอา ขี้ผึ้ง ชัน พอก ข้าง นอก, แล้ว เอา ดิน พอก อีก ชั้น หนึ่ง.

--- Page 766 ---
หุ้น (766:1)
         คือ คำ ภาษา จีน เปน ภาษา ไทย ว่า ส่วน, คน จีน เข้า ส่วน เงิน กัน เล่น โป ว่า ปี หุ่น.
เหน (766:2)
         ประจักษ, คือ สิ่ง ของ มา ปรากฏ แก่ หน่วย ตา, เช่น คน หลับ ตา อยู่, สิ่ง อัน ใด ไม่ มา ปรากฏ แก่ จักษุ, นั้น ว่า ไม่ เหน. ครั้น ลืม ตา ขึ้น แล ดู มี ของ มา ปรากฏ นั้น ว่า เหน.
      เหน แก่ (766:2.1)
               คือ ดู แก่ เข้า, เพราะ ฟัน หัก ฤๅ ผม หงอก เปน ต้น นั้น.
      เหน เก่า (766:2.2)
               คือ เหน ของ เศร้า หมอง คร่ำ คร่า นั้น.
      เหน โกง (766:2.3)
               คือ เหน ไม้ ที่ คด, เช่น ไม้ กง เรือ เปน ต้น. อย่าง หนึ่ง เหน ตัว คน พูจ ปด ฤๅ ขะโมย เปน ต้น นั้น.
      เหน กัน (766:2.4)
               คือ คน แล ไป เหน เพื่อน กัน, เช่น คน อยู่ ไกล แล ดู เหน กัน นั้น.
      เหน เกิน ไป (766:2.5)
               แล เกิน ไป, คือ เหน ความ อัน ใด ด้วย ปัญ ญา, ผิด วิปลาส ไป. อย่าง หนึ่ง แล ดู ของ อัน ใด เกิน พ้น ไป นั้น.
      เหน คุณ (766:2.6)
               คุณ ปรากฏ, คือ เหน ความ ดี เช่น หมอ รักษา โรค คน ไข้, โรค หาย ไป นั้น, ว่า คุณ ปรากฏ เหน คุณ อยา นั้น.
      เหน คน (766:2.7)
               ดู คน, คือ เขา แล ดู เหน คน อื่น, เช่น คน ต่อ คน ฤๅ สัตว แล เหน คน นั้น.
      เหน ควร (766:2.8)
               เหน สม, คือ เหน ชอบ, เหน ไม่ ผิด, เหน ไม่ มี โทษ, เหน ว่า ทำ บุญ จะ ได้ ไป สวรรค์ เปน ต้น นั้น.
      เหน เงิน (766:2.9)
               เหน เหรียญ, คือ เหน เงิน บาท, เงิน สลึง, เงิน เฟื้อง, เงิน แน่น, เงิน เหรียญ เปน ต้น.
      เหน ใจ (766:2.10)
               เหน น้ำ จิตร, คือ เหน ใจ คน ด้วย ปัญญา รู้ ว่า คน นั้น ใจ ดี, คน นั้น ใจ ร้าย ใจ ดุ เปน ต้น.
      เหน จะ (766:2.11)
               คือ เหน การ จะ มี เปน ต้น, เช่น คน เล็ง เหน ด้วย ปัญญา ว่า จะ มี เปน ต้น.
      เหน จริง (766:2.12)
               ประจักษ แท้, คือ เหน สม เหน แจ้ง ประจักษ, ว่า ของ ฤๅ ความ นั้น ไม่ เปล่า ไม่ เท็จ.
      เหน จน (766:2.13)
               เหน ขัด สน, คือ เหน คน ขัด สน ยากไร้ เขญใจ, ไม่ มี ทรัพย์ สมบัติ จะ ใช้ เปน ต้น. อนึ่ง เหน ความ จน ที่ ตัว ว่า ไม่ มี อัน ใด.
      เหน จวน (766:2.14)
               เหน เจียน, คือ เหน ใกล้ เหน เกือบ, เช่น คน เหน ของ ที่ เกือบ จะ มา ถึง เปน ต้น.
      เหน เจียน (766:2.15)
               เหน เกือบ, คือ เหน จวน, เหน เนียน, เหน แทบ, เหน ใกล้, เช่น คน เหน ของ ที่ เกือบ จะ ถึง เปน ต้น นั้น.
      เหน ฉลาด (766:2.16)
               คือ เหน อาการ คน เรียน วิชา ต่าง ๆ แล คน ผู้ เรียน นั้น รู้ จำ ทำ ได้ เร็ว เปน ต้น.
      เหน ชะนะ (766:2.17)
               คือ เหน การ ที่ มี ไชย. เช่น คน ดู ไก่ มัน สู้ กัน แล มัน ชะนะ อ้าย ตัว หนึ่ง นั้น.
      เหน ชอบ (766:2.18)
               คือ เหน ควร เหน ดี, เหน เปน ธรรม นั้น.
      เหน ชั่ว (766:2.19)
               คือ เหน คน ที่ ชั่ว ไม่ ดี, โดย วาจา ฤๅ กิริยา เปน ต้น, ฤๅ ของ อื่น ที่ ไม่ ดี.
      เหน ดี (766:2.20)
               คือ เหน ด้วย จักษุ ประจักษ. แล รู้ ด้วย ปัญญา ว่า ของ สิ่ง นั้น ดี เปน ต้น.
      เหน ได้ (766:2.21)
               คือ ของ เปน รูป เหน.
      เหน โด่ (766:2.22)
               คือ แล เหน ไม้ หลัก เปน ต้น, ปัก สูง อยู่ ว่า เหน ไม้ ปัก โด่ อยู่ นั้น.
      เหน ดัง นั้น (766:2.23)
               คือ เหน เช่น นั้น เหน อย่าง นั้น.
      เหน แดง (766:2.24)
               เหน ชาด, คือ แล เหน แสง ไฟ ฤๅ เหน ของ ที่ มี ศรี แดง มี ดวง อาทิตย เปน ต้น นั้น.
      เหน แดด (766:2.25)
               เหน รัศมี อาทิตย, คือ เหน แสง อาทิตย สร่อง เมื่อ เวลา กลาง วัน นั้น.
      เหน ดิน (766:2.26)
               เหน ปั ตะพี, ฯ คือ เหน แผ่นดิน, คน แล ไป แล เหน ดิน ที่ เปน โขด อยู่ ใน ทะเล บ้าง.
      เหน เดือน (766:2.27)
               เหน พระจันทร์, คือ แล เหน ดวง พระจันทร์ นั้น, เขา เรียก ว่า เดือน บ้าง เพราะ สอง ปักษ เปน เดือน
      เหน ดับ (766:2.28)
               เหน สูญ, คือ แล เหน แสง ไฟ ที่ วับ ลง, มี แสง สูญ ไป นั้น.
      เหน ดาบ (766:2.29)
               คือ เหน ดาบ ที่ เปน อาวุธ, มี คม ข้าง เดียว สำหรับ จะ ฟัน สัตรู หมู่ ร้าย นั้น.
      เหน ดาว (766:2.30)
               เหน ดวง ดารา, คือ เหน ดวง ดาว ที่ อยู่ ใน อากาศ, มี เปน อัน มาก ใน เวลา กลางคืน.
      เหน ด้วย (766:2.31)
               เหน ร่วม กัน, คือ เหน ความ อัน ใด ฤๅ เหน ของ สิ่ง ใด ด้วย ปัญญา แล จักษุ นั้น.

--- Page 767 ---
      เหน ตาม (767:2.32)
               เหน โดย, คือ เหน ด้วย ปัญญา ฤๅ เหน ด้วย จักษุ ตาม คน ที่ เขา เหน ก่อน นั้น.
      เหน ตัว (767:2.33)
               เหน ตน, คือ เหน รูป ร่าง สิ่ง ใด มี รูป คน แล รูป สัตว เปน ต้น นั้น.
      เหน ถี่ (767:2.34)
               เหน ถ้วน เหน ละเอียด, คือ เหน ของ เรียง กัน อยู่ มาก ติด ชิด* เนื่อง กัน, เช่น สี้ ฟันหวี เปน ต้น.
      เหน ถ้วน (767:2.35)
               เหน ครบ, คือ เหน ของ ถ้วน สิบ ถ้วน ร้อย, เช่น คน นับ คน เปน ต้น ครบ สิบ ครบ ร้อย. อนึ่ง เหน ของ มี หลาย อย่าง, ที่ มี อยู่ ได้ เหน สิ้น นั้น.
      เหน ท่า ทาง (767:2.36)
               คือ เหน อาการ กิริยา คน เปน ต้น, ว่า จะ เปน คน ดี ฤๅ เปน คน ชั่ว เปน ต้น.
      เหน ที (767:2.37)
               คือ เหน ท่วง ที, เหน อาการ, เหน ทำนอง.
      เหน ทุกขะ นิโรธะ คามินี ปัติปะทา (767:2.38)
               เหน ปรนิบัติ ให้ ถึง ดับ ทุกข์, คือ เหน ข้อ ประฏิบัติ, เพื่อ จะ ให้ ถึง ซึ่ง ดับ แห่ง ทุกข์.
      เหน ทุกขะนิโรธ (767:2.39)
               เหน เครื่อง ดับ ทุกข์, คือ เหน ธรรม เปน ที่ ดับ แห่ง กอง ทุกข์ลำบาก, คือ พระ นฤพาน.
      เหน ทุกขะ สะมุทัย (767:2.40)
               เหน เหตุ แห่ง ทุกข์, คือ เหน เหตุ เปน ที่ บัง เกิด พร้อม แห่ง ความ ทุกข์, มี อะวิชฌา แล ตัณหา เปน ต้น นั้น.
      เหน ทุกขะอะริยะสัจ (767:2.41)
               เหน ทุกข มี เปน ความ จริง, คือ เหน ความ ทุกข์ แห่ง สัตว ใน โลกย์, ว่า มี ทุกข์ ลำบาก, มี เมื่อ อยู่ ใน ครรภ์ เปน ต้น.
      เหน นามะธรรม (767:2.42)
               เหน ของ มี แต่ ชื่อ, คือ เหน อะรูปะ ธรรม คือ วิญญาณ ด้วย ปัญญา, ไม่ อาจ เหน ด้วย ตา นั้น.
      เหน หน้า (767:2.43)
               คือ เหน หน้า คน, เช่น คน ไป มา แล เหน หน้า กัน นั้น.
      เหน นก (767:2.44)
               คือ แล เหน นก ใน อากาศ ฤๅ ฝูง นก ที่ จับ อยู่ ที่ ต้น ไม้ เปน ต้น นั้น.
      เหน นาง (767:2.45)
               คือ เหน รูป หญิง สาว, คน แล เหน รูป หญิง สาว มี อายุ สิบห้า ปี เปน ต้น.
      เหน น้อง (767:2.46)
               คือ เหน คน ที่ เปน น้อง, ที่ เกิด ผ่าย หลัง มี อายุ น้อย กว่า ตัว นั้น.
      เหน บุญ (767:2.47)
               คือ เหน การ ที่ เปน บุญ, การ ที่ ชอบ, การ ที่ มี ประโยชน์, การ ที่ จะ ให้ ไป สวรรค์.
      เหน บท (767:2.48)
               คือ เหน โดย บท กฎหมาย เปน ต้น.
      เหน ปด (767:2.49)
               คือ เหน ความ มุ สา ความ เท็จ, คน เหน ความ ที่ คน พูจ ปด ต่าง ๆ นั้น.
      เหน บาป (767:2.50)
               เหน สิ่ง ที่ ลามก, คือ การ ที่ เปน บาป, การ นั้น จะ นำ ให้ ไป บังเกิด ใน จตุราบาย, คือ นะรก หนึ่ง, เปรต หนึ่ง อะสุระกาย หนึ่ง, ดิรัจฉาน หนึ่ง.
      เหน ผล (767:2.51)
               คือ เหน ผล, มี ผล บุญ เปน ต้น, เช่น การ ที่ บัง เกิด ขึ้น เพราะ บุญ นั้น, เกิด ขึ้น เพราะ บาป ก็ เรียก ว่า ผล เหมือน ผล ไม้.
      เหน พล้ำ เผลอ (767:2.52)
               เหน ไหล เหล้อ, คือ เหน การ ที่ คน มัก หลง มัก ลืม, พูจจา กลับ คำ น่า เปน คำ หลัง นั้น.
      เหน พลุ่ม พล่าม (767:2.53)
               เหน ซุ่ม ซ่าม, เหน งุ่ม ง่าม, คือ เหน อาการ กิริยา คน ฟุ้ง ซ่าน, ไม่ อยู่ เปน ปรกติ, เช่น คน มี สติ มัก วุ่น วาย.
      เหน พล (767:2.54)
               เหน กำลัง, คือ เหน คน แล ช้าง ม้า รถ, ที่ ยก มา เปน กอง โยธา ทหาร. อย่าง หนึ่ง มา เรือ นั้น.
      เหน พาล (767:2.55)
               เหน คน อ่อน โดย ปัญญา, คือ เหน ภาชนะ เครื่อง ใช้ เรียก ว่า ภาน. อย่าง หนึ่ง เหน คน ชั่ว มี เสพย์ สุรา เปน ต้น.
      เหน ไฟ (767:2.56)
               คือ แล เหน ไฟ ที่ ติด ไหม้ อยู่ ที่ ไส้ ตะเกียง, แล ติด อยู่ ที่ ดุ้น ฟืน เปน ต้น,
      เหน ไภย (767:2.57)
               คือ เหน สิ่ง ที่ อัน พึง กลัว, มี ราชทัณฑ์ อาญา หลวง แล เพลิง ใหญ่ เปน ต้น.
      เหน มา (767:2.58)
               คือ เหน คน เปน ต้น ที่ เดิน มา ฤๅ มา ใน เรือ, สู่ สำ นักนิ์ ที่ อยู่ ของ เรา เปน ต้น.
      เหน มี (767:2.59)
               คือ เหน ของ สิ่ง ใด ปรากฎ อยู่ นั้น, เช่น คน แล ไป เหน ของ อยู่ นั้น.
      เหน มาก (767:2.60)
               คือ เหน ของ มาก หลาย. อย่าง หนึ่ง ได้ เหน โรค มา มาก กว่า ร้อย กว่า พัน นั้น.
      เหน เมือง (767:2.61)
               เหน นะคร, คือ เหน ประเทศ เมือง, คน เดิน ไป ใน หน ทาง ป่า, ไป จน เหน กำแพง เมือง นั้น.

--- Page 768 ---
      เหน หมด (768:2.62)
               เหน สิ้น, คือ เหน ของ สิ้น ไป ไม่ มี เหลือ, ฤๅ เหน ทั่ว สิ้น นั้น.
      เหน มาร (768:2.63)
               เหน ฆ่า ศึก, คือ เหน พวก มาร ที่ มี ฤทธิ์ องอาจ ประจน พระเจ้า, แต่ พ่าย แพ้ พระเจ้า, ท่าน ว่า ไว้ ใน คัมภีร์ นั้น.
      เหน มัว หมอง* (768:2.64)
               เหน มลทิน, คือ เหน ของ ที่ เศร้า หมอง, เช่น ของ ถูก ต้อง ผงเผ่า เท่า ทุลี.
      เหน แล้ว (768:2.65)
               คือ ดู แล้ว, คน ดู สิ่ง อัน ใด แล เหน ประจักษ แก่ ตา แล้ว นั้น.
      เหน ว่า (768:2.66)
               คือ เหน ความ ว่า จะ เปน เช่น นั้น.
      เหน ไว้ (768:2.67)
               คือ เหน เขา เอา ของ อัน ใด ไว้ นั้น.
      เหน แวว ๆ (768:2.68)
               คือ แล เหน ของ มี แสง แดด, ที่ สร่อง เข้า มา ตาม ช่อง รู เล็ก ๆ เปน ต้น.
      เหน สิ้น (768:2.69)
               ปรากฏ ทั่ว, คือ เหน หมด ไป, บันดา ของ ที่ หมด ไป นั้น ว่า เหน สิ้น ไป. อนึ่ง เหน ของ ที่ มี อยู่ ทุก อย่าง สิ้น นั้น.
      เหน ศุข (768:2.70)
               ความ สบาย ปรากฏ, คือ เหน มี ความ ศุข, คน ที่ มี ทรัพย์ สมบัติ บริบูรณ, แล ไม่ มี โรค, มี ความ ศุข.
      เหน เหตุ (768:2.71)
               เหน ปัจจัย, คือ เหน ข้อ ความ ที่ บังเกิด ขึ้น, เปน เหตุ จะ ให้ เกิด ผล นั้น.
      เหน เอง (768:2.72)
               ปรากฏ ด้วย ตน เอง, คือ เหน ด้วย ตา ของ ตัว, คน เหน สิ่ง ของ อัน ใด ด้วย ตา ของ ตัว นั้น.
แหน แห่ (768:1)
         กระบวน พยุห บาตรา, คือ แห่ แหน, แห่ นั้น การ ที่ ประชุม คน มาก เดิน แวด ล้อม กัน ไป, แต่ แหน นั้น เปน สร้อย.
แหน หวง (768:2)
         รักษา, คือ หวง แหน, หวง นั้น คือ ความ ที่ ไม่ ใคร่ ให้ แก่ ผู้ ใด, แต่ แหน นั้น เปน สร้อย คำ.
โหน (768:3)
         เหนี่ยว ห้อย, คือ ห้อย ตัว, เช่น ชะนี มัน ร่าย ไม้ มัน เอา มือ จับ กิ่ง ไม้ แล้ว ห้อย ตัว ลง โยน ตัว ไป กิ่ง อื่น.
      โหน โตง เตง (768:3.1)
               คือ ห้อย ตัว อยู่ กับ กิ่ง ไม้ ฤๅ กับ ไม้ ราว เปน ต้น, ตัว แกว่ง ไป แกว่ง มา นั้น.
      โหน ไป (768:3.2)
               คือ ห้อย โยน ตัว ไป, เช่น ชะนี มัน ร่าย ไป บน ต้น ไม้ จาก กิ่ง นี้ ไป กิ่ง โน้น.
      โหน ห้อย (768:3.3)
               ห้อย โหน, คือ ห้อย โหน โยน ตัว ไป, เช่น ชะนี มัน ร่าย ไป ใต้ กิ่ง ไม้ ใน ป่า นั้น.
      โหร (768:3.4)
               คือ คน เปน พวก ผู้ รู้ คัมภีร์ เลข ทาย ถวาย ฤกษ แก่ พระ มหา กระษัตริย์ เปน ต้น นั้น.
      โหร ทำนาย (768:3.5)
               คือ พวก โหร ทาย ว่า ปี นี้ น้ำ จะ มาก จะ น้อย เปน ต้น นั้น.
      โหร ถวาย ฤกษ (768:3.6)
               คือ พวก โหร ทูล พระ กรุณา ว่า พระฤกษ วัน นั้น ดี วัน นั้น ร้าย.
หอน (768:4)
         คือ เสียง สุนักข์ มัน ร้อง ดัง เรื่อย ไป นาน จึ่ง อยุด, ไม่ อยุด เร็ว เหมือน เห่า นั้น.
      หอน โจ๋ (768:4.1)
               คือ เสียง สุนักข์ มัน ร้อง เรื่อย เจื้อย ไป บ่อย ๆ นั้น, ว่า สุนักข์ มัน หอน โจ๋ ไป.
      หอน เห่า (768:4.2)
               คือ เสียง สุนักข์ มัน หอน เสียง เรื่อย ไป อยุด ลง แล้ว มัน เห่า เสียง สั้น ๆ.
ห่อน (768:5)
         คือ บ่อ คือ ไม่, เช่น คำ เขา พูจ ว่า ไม่ มี เปน ต้น, ว่า ห่อน มี เปน ต้น นั้น.
      ห่อน เคย (768:5.1)
               คือ ไม่ เคย, บ่อ เคย, เขา ถาม ว่า ท่าน เคย อยู่ ฤๅ บอก ว่า เรา ห่อน เคย.
      ห่อน ได้ (768:5.2)
               คือ ไม่ ได้, เขา ถาม ว่า ท่าน ได้ ฤๅ, เขา บอก ว่า เรา ห่อน ได้.
      ห่อน (768:5.3)
                เปน, คือ ไม่ เปน บ่อ เปน.
      ห่อน มี (768:5.4)
               คือ บ่อ มี ไม่ มี, เขา ถาม ว่า ของ ท่าน มี ฤๅ, เขา บอก ว่า ห่อน มี.
      ห่อน อาย (768:5.5)
               คือ บ่อ มี ความ ละอาย นั้น.
หวน (768:6)
         วนเวียน, คือ กลับ วน เข้า, เช่น ลม ที่ พัด กลับ วน ม้วน เข้า นั้น.
      หวน กลับ (768:6.1)
               คือ วน กลับ ย้อน กลับ, เช่น ใจ คน เปน ต้น, ที่ คิด แล้ว รื้อ กลับ วน เหียน คิด อีก.
      หวน คิด (768:6.2)
               เวียน คิด, คือ กลับ วน คิด ย้อน คิด ถึง ความ ที่ คิด แล้ว, เช่น การ ที่ เปน ที่ โสมนัศ ฤๅ เปน ที่ โทมนัศ คน คิด แล้ว รื้อ กลับ วน คิด อีก นั้น.
      หวน ควัน (768:6.3)
               หมุน ควัน, คือ ควัน ไฟ เดิม ตรง ขึ้น ไป เปน ปรกติ ครั้น ลม พัด วน ก็ ม้วน หวน นั้น.

--- Page 769 ---
      หวน แค้น (769:6.4)
               หมุน แค้น, คือ ใจ แค้น เคือง แล้ว รื้อ กลับ วน เวียน คิด ขึ้น มา แค้น เคือง อีก ด้วย ความ โกรธ นั้น.
      หวน ใจ (769:6.5)
               คือ หัน ใจ คิด เปน ต้น.
      หวน ไป (769:6.6)
               หมุน ไป, คือ กลับ วน เวียน ไป เปน ต้น.
      หวน มา (769:6.7)
               คือ กลับ วน เวียน มา, เช่น ใจ คน คิด แล้ว รื้อ กลับ ย้อน คิด ขึ้น มา อีก นั้น.
      หวน ลำฦก (769:6.8)
               ย้อน ระฦก, คือ นึก แล้ว รื้อ กลับ นึก ถึง อีก, เช่น คน นึก ถึง คน ที่ พรัด พราก ไป, แล รื้อ กลับ วนเวียน นึก ขึ้น อีก
      หวนหัน (769:6.9)
               คือ หัน ใจ คิด กลับ ใจ คิด ขึ้น นั้น.
      หวน หอบ (769:6.10)
               หมุน หอบ, คือ วน เวียน รวบ เอา ไป, เช่น ลม พัด เหียน เวียน ประม้วน เอา ของ อัน ใด ไป นั้น.
ห้วน (769:1)
         สั้น, คือ สำ เนียง เปน ต้น ที่ ไม่ มี หาง เสียง, เช่น เสียง สวด ที่ หวน สั้น อยุด ลง นั้น.
      ห้วน ลง (769:1.1)
               สั้น ลง, คือ สำเนียง ที่ อยุด ลง ไม่ มี หาง เสียง ต่อ ออก ไป นั้น.
เหียน (769:2)
         กลับ, คือ อาการ บังเกิด เมื่อ คน จะ ราก ให้ ป่วน ปั่น ใน ท้อง คลื่น ขึ้น มา นั้น.
      เหียน กลับ (769:2.1)
               หัน กลับ, คือ หัน กลับ หวน กลับ, เช่น เขา แล่น เรือ ไป, เปน แต่ แล่น ก้าว, คือ แล่น ขวาง ลม ขึ้น ไป ที ละ รอย ๆ ถึง ฟาก* แล้ว หัน หัว เรือ กลับ.
      เหียน ใบ (769:2.2)
               กลับ ใบ, คือ หัน ใบ กลับ, เช่น แล่น ก้าว เรือ ถึง ฟาก แล้ว หัน ใบ ให้ หัว เรือ กลับ นั้น.
      เหียน ราก (769:2.3)
               คลื่น อาเจียน, คือ อาการ ที่ ให้ คลื่น ใน ท้อง จะ ให้ อวก ราก, อาการ เกิด เมื่อ จะ ให้ อาเจียน อวก ราก นั้น.
      เหียน ไส้ (769:2.4)
               คลื่น ไส้, คือ อาการ คลื่น เหียน เกิด ขึ้น ใน ลำ ไส้ ตลอด ขึ้น มา จน ลำ ฅอ จะ ให้ ราก นั้น.
      เหียน หัน (769:2.5)
               กลับ หมุน, คือ หัน เหียน, มี ความ เช่น กัน, เปน อัน เดียว กัน, เช่น ว่า มา แล้ว นั้น.
เหี้ยน (769:3)
         (dummy head added to facilitate searching).
      เหี้ยน กุด (769:3.1)
               คือ กร่อน เกรียน สิ้น เข้า ไป, เช่น มือ คน ที่ เปน โรค เรื้อน กุฏฐัง นั้น.
      เหี้ยน เกรียน (769:3.2)
               กุด สั้น กร่อน, คือ กร่อน แกร่น, เช่น เครื่อง เหล็ก เปน ต้น ที่ ร่อย หรอ ไป นั้น.
      เหี้ยน เข้า (769:3.3)
               เกรียน เข้า, คือ เกรียน กร่อน เข้า, เช่น เครื่อง ใช้ ทำ ด้วย เหล็ก เปน ต้น ที่ เกรียน ไป.
      เหี้ยน หด (769:3.4)
               เกรียน หด, คือ เกรียน กร่อน สั้น เข้า ไป, เช่น เครื่อง ใช้ มี จอบ ขุด ดิน เปน ต้น นั้น.
เหิน (769:4)
         คือ เหิน หาว, เช่น นก บิน ตรง ขึ้น ไป ใน อากาศ สูง ตรง ขึ้น ไป นั้น.
      เหิน ทะยาน (769:4.1)
               เหาะ ทะยาน, คือ เหาะ ทะยาน คน เหาะ ได้ ไป ใน อากาศ ทำ กาย ทะลึ่ง ขึ้น ไป นั้น.
      เหิน ห่าง (769:4.2)
               ห่าง เหิน, คือ ห่าง ไกล, เช่น ของ ไม่ อยู่ ชิด อยู่ ที่ มี ระหว่าง ตาม ใกล้ แล ไกล นั้น.
      เหิน เหาะ (769:4.3)
               เหาะ เหิน, คือ เหาะ ตรง ขึ้น ไป สูง ใน อากาศ นั้น.
หับ (769:5)
         หุบ, งับ, คือ งับ ปิด, เช่น คน ปิด ประตู ฤๅ น่า ต่าง ทำ ให้ บาน มัน ชิด เข้า นั้น.
      หับ น่า ต่าง (769:5.1)
               งับ น่า ต่าง, คือ งับ ปิด บาน น่า ต่าง ให้ มิด ชิด มิ ให้ ผู้ ใด แล เหน ใน เรือน นั้น.
      หับ ประตู (769:5.2)
               งับ ประตู, คือ งับ ปิด บาน ประตู ให้ มิด ชิด มิ ให้ ผู้ ใด เข้า ออก ได้ ใน เรือน เปน ต้น.
      หับ เผย (769:5.3)
               คือ งับ ลง แล เปิด ขึ้น, เช่น น่า กะชัง ที่ แพ เปน ต้น, เขา ปิด ลง แล เปิด ขึ้น นั้น.
      หับ พระโอฐ (769:5.4)
               คือ หุบ ปาก ลง นั้น.
      หับ ลง (769:5.5)
               งับ ลง, คือ ปิด ลง หุบ ลง, เช่น แผง น่ากะชัง ที่ แพ เปน ต้น คน งับ ปิด ลง นั้น.
      หับ ห้อง (769:5.6)
               ปิด ห้อง, คือ หับ ปิด ประตู ห้อง, เช่น เขา งับ ปิด บาน ประตู ห้อง ทำ บาน ให้ มิดชิด นั้น.
หาบ (769:6)
         ห้าสิบ ชั่ง ไท, ร้อย ชั่ง จีน, คือ เอา ของ ใส่ ลง ใน สา แหรก สอง สาย แล้ว สอด คาน เข้า, วาง คาน บน บ่า ภา ไป นั้น.
      หาบ ของ (769:6.1)
               คือ หาบ ของ สาระพัด มี เข้า เปน ต้น, ภา ไป สู้ ที่ ใกล้ แล ไกล นั้น.
      หาบ คอน (769:6.2)
               หาบ นั้น เช่น ว่า แล้ว, แต่ คอน นั้น คือ มี ของ ข้าง เดียว ห้อย เข้า ที่ ไม้ วาง บน บ่า ภา ไป นั้น.
      หาบ น้ำ (769:6.3)
               คือ เอา ครุ ฤๅ ถัง คู่ หนึ่ง, ใส่ น้ำ แล้ว วาง คาน บน บ่า ภา เดิน ไป นั้น.

--- Page 770 ---
      หาบ หนึ่ง (770:6.4)
               ร้อย ชั่ง จีน, ห้า สิบ ชั่ง ไท, คือ หาบ เดียว, เช่น ของ ที่ เขา หาบ มี หาบ เดียว ไม่ มี เปน สอง นั้น.
      หาบ ไป (770:6.5)
               คือ เอา คาน สอด ใน สาแหรก แล้ว วาง บน บ่า ภา เดิน ไป นั้น.
      หาบ มา (770:6.6)
               คือ เอา คาน สอด ใน สาแหรก แล้ว วาง บน บ่า ภา เดิน มา นั้น.
      หาบ หาม (770:6.7)
               หาบ นั้น เขา ทำ เช่น ว่า แล้ว, แต่ หาม นั้น คือ คน สอง คน ของ อยู่ กลาง เขา เอา คาน สอด เข้า ที่ สาแหรก ยก ขึ้น พร้อม กัน ภา ไป.
หีบ (770:1)
         คือ เฃา เอา หีบ สำหรับ หีบ ฝ้าย ตั้ง ลง แล้ว เอา ยวง ฝ้าย ป้อน เข้า แล้ว, หัน หีบ ไป ให้ มัน กัน เมล็ด ฝ้าย ออก เสีย ยัง แต่ เนื้อ ฝ้าย.
      หีบ กะจก (770:1.1)
               คือ หีบ มี กะจก อยู่ ที่ ฝา เปน ต้น.
      หีบ ของ (770:1.2)
               กำปั่น ของ, คือ การ ที่ เขา เอา ของ ใส่ ลง ใน หีบ ที่ เขา เอา ไม้ กะดาน ต่อ เปน รูป รี สี่ มุม, มี ฝา ปิด สำหรับ ใส่ ของ ต่าง ๆ.
      หีบ เงิน (770:1.3)
               กำปั่น เงิน, คือ หีบ สำหรับ เขา ใส่ เงิน ไว้. อย่าง หนึ่ง รูป หีบ เฃา ทำ ด้วย เงิน ก็ มี บ้าง
      หีบ ทอง (770:1.4)
               คือ หีบ สำหรับ เขา เอา ทอง ใส่ ไว้. อย่าง หนึ่ง รูป หีบ เขา ทำ ด้วย ทอง นั้น.
      หีบ หนัง (770:1.5)
               คือ หีบ หุ้ม ด้วย หนัง.
      หีบ ผ้า (770:1.6)
               คือ หีบ ไม้ เขา ทำ สำหรับ ใส่ ผ้า, ลาง ที่ ไท ทำ ด้วย ไม้ สัก, ลาง ที่ เจ๊ก ทำ ด้วย ไม้ ชำฉา เอา มา แต่ เมือง จีน บ้าง นั้น.
      หีบ ฝ้าย (770:1.7)
               คือ เอา หีบ เปน เครื่อง จะ หีบ ฝ้าย มา ตั้ง ลง แล้ว เอา ยวง ฝ้าย ป้อน เข้า หัน หีบ ไป, ให้ มัน ทำ ให้ เมล็ด ออก นั้น.
      หีบ เพลง (770:1.8)
               คือ หีบ มี ลูก ลิ้น เปน หลาย อัน, เอา มือ นิ้ว หนึ่ง กด ลง มี เสียง ดัง ออก นั้น.
      หีบ หมาก (770:1.9)
               คือ หีบ เล็ก ๆ เขา ทำ ด้วย ทอง ขาว เปน ต้น, สำ หรับ ใส่ หมาก กิน นั้น.
      หีบ ยา (770:1.10)
               คือ หีบ เขา ใส่ ยา ต่าง ๆ, เช่น คน เปน หมอ เอา ยา ใส่ หีบ นั้น ไว้.
      หีบ เหล็ก (770:1.11)
               กำปั่น เหล็ก, คือ รูป หีบ เขา ทำ ด้วย เหล็ก, มี เหล็ก วิลาด เปน ต้น ทำ ไว้ สำหรับ ใส่ ของ นั้น.
      หีบ อ้อย (770:1.12)
               คือ ไม้ ลูก หีบ สอง อัน ตั้ง ชิด เบียด กัน อยู่ เฃา เอา ลำ อ้อย คอย ยัด ป้อน เข้า ใน ระหว่าง ลูก หีบ บีบ ให้ น้ำ ไหล ออก นั้น.
หุบ (770:2)
         หับ, คือ งุบ งับ เข้า, เช่น ของ ถ่าง กาง อยู่ เช่น ร่ม แล คน ทำ ให้ ของ นั้น งุบ ชิด ติด กัน เข้า.
      หุบ ฃา (770:2.1)
               งับ ขา, คือ งุบ หนีบ ขา ที่ กาง อยู่ ให้ ชิด กัน เข้า คน ถ่าง ฃา อยู่ แล้ว ทำ ขา ให้ งุบ ชิด ติด กัน.
      หุบ เขา (770:2.2)
               หว่าง เขา, คือ ที่ ภู เขา ที่ มี ยอด เปน จอม สูง ขึ้น หลาย ยอด ที่ เปน ระวาง มิ ใช่ ยอด นั้น, เรียก ว่า ที่ หุบ เขา มี มาก.
      หุบ ปาก (770:2.3)
               หับ ปาก, คือ ทำ ปาก ที่ อ้า อยู่ ให้ งุบ ลง ชิด ติด กัน, คน หาว แล ปาก อ้า เขา ทำ งุบ ลง นั้น.
      หุบ ร่ม (770:2.4)
               คือ ทำ ร่ม ที่ กาง กั้น อยู่ ให้ มัน งุบ ชิด กัน.
      หุบ ลง (770:2.5)
               หับ ลง, คือ ทำ ปาก เปน ต้น ที่ อ้า ห่าง อยู่, ให้ งุบ ลง ชิด ติด กัน นั้น.
      หุบ หิน (770:2.6)
               เวิ้ง ผา, คือ ชวาก หิน ที่ เปน ระวาง ก้อน หิน นั้น, เรียก หุบ หิน.
      หุบ หับ (770:2.7)
               หุบ ร่ม, หับ บาน ประตู ฤๅ น่า ต่าง นั้น.
      หุบ เหว (770:2.8)
               หว่าง เหว, คือ ที่ ทำ เน ใน ป่า ที่ มี ภูเขา เปน หุบ เช่น ว่า แล้ว, แล เหว นั้น เปน ที่ ชัน ชงัก คน แล สัตว ขึ้น ไม่ ได้ เปน ฝั่ง ฦก นั้น.
      หุบ ห้วย (770:2.9)
               หว่าง ห้วย, หุบ มี ความ เช่น ว่า แล้ว, แต่ ห้วย นั้น เปน ลำ ธาร ลง จาก เนิน ใน ป่า นั้น.
เห็บ (770:3)
         เปน ชื่อ สัตว ตัว เล็ก เท่า ตัว แมลง หวี่ แล ตัว เหา มัน มัก กัด กิน เนื้อ เลือด คน, มัน กัด ฝัง ใน เนื้อ คน จน มิด ตัว มัน นั้น.
      เห็บ มะเขือ (770:3.1)
               คือ ตัว เห็บ เปน สัตว ตัว เล็ก, เท่า เล็ด มะ เขือ มัน กัด กิน เลือด คน, จน ตัว มัน ฝัง จม ลง ใน เนื้อ คน,
      เห็บ เสี้ยน (770:3.2)
               คือ เห็บ ตัว หนิด ๆ แล ไม่ ใคร่ เหน, มัน กัด ที่ ตัว คน จม อยู่ ใน เนื้อ, ต่อ เอา มือ ลูบ ถูก เข้า จึ่ง เจ็บ ปลาย ๆ นั้น.

--- Page 771 ---
แหบ (771:1)
         คือ เสียง ดัง เช่น เสียง คน เจ็บ ไข้ หวัด, ไอ แสบ ฅอ เสียง ไม่ เปน ปรกติ นั้น.
      แหบ เสียง (771:1.1)
               คือ เสียง แหบ, เช่น เสียง คน เจ็บ ไข้ หวัด ไอ แสบ ฅอ เสียง ผาก แผ่ว ไม่ เปน ปรกติ นั้น.
      แหบ แห้ง (771:1.2)
               คือ เสียง แหบ แห้ง ไป, เช่น เสียง คน เปน โรค อย่าง หนึ่ง, จน พูจ เสียง ไม่ มี นั้น.
หอบ (771:2)
         แบบ, คือ คน วิ่ง ไป โดย กำลัง แรง เร็ว นัก, ครั้น อยุด ลง ถอน หาย ใจ เร็ว นัก เสียง ฮัก ๆ นั้น.
      หอบ เข้า (771:2.1)
               แบก เข้า, คือ คน เอา มือ สอง ข้าง รวบ ประคอง เข้า ฟ่อน แล้ว รัด เข้า กับ ตัว ภา ไป นั้น.
      หอบ ของ. แบก ของ (771:2.2)
               คือ อาการ คน ทำ เช่น ว่า ก่อน นั้น, คน เอา มือ รวบ รัด ของ เข้า กับ ตัว ภา ไป.
      หอบ หนึ่ง (771:2.3)
               แบก หนึ่ง, คือ หอบ เดียว, ของ คน ทำ เช่น ว่า นั้น, ที เดียว ว่า หอบ หนึ่ง นั้น.
      หอบ เหนื่อย (771:2.4)
               คือ หาย ใจ เร็ว ๆ ฮัก ๆ แล้ว ให้ เหนื่อย เช่น วิ่ง ไป เร็ว แล้ว อยุด ลง นั้น.
      หอบ ไป (771:2.5)
               แบก ไป, คือ คน ทำ อาการ เช่น ว่า นั้น, แล้ว ภา เอา ของ สิ่ง นั้น ไป.
      หอบ ผ้า (771:2.6)
               อุ้ม ผ้า, คือ เอา มือ ข้าง เดียว ฤๅ สอง ข้าง, รวบ รัด เอา ผ้า ภา ไป เปน ต้น นั้น.
      หอบ ฟาง (771:2.7)
               โอบ อุ้ม ฟาง, คือ หอบ เอา ฟาง, คือ ต้น เข้า ที่ เขา เอา เล็ด ออก เสีย สิ้น, ยัง แต่ ใบ กับ ต้น นั้น.
      หอบ ฟืน (771:2.8)
               แบก ฟืน, คือ หอบ เอา ดุ้น ฟืน มาก หลาย ดุ้น, ด้วย มือ ข้าง เดียว ฤๅ สอง* ข้าง, รวบ รัด เข้า กับ ตัว แล้ว ภา ไป.
      หอบ รวน (771:2.9)
               คือ หาย ใจ เร็ว ๆ แรง ฮัก ๆ, ภา ให้ ตัว นั้น ไหว เยือบ ๆ นั้น.
      หอบ ละหวย ใจ (771:2.10)
               คือ หาย ใจ เร็ว ๆ ฮัก ๆ แล้ว ให้ เนื่อย แล้ว อ่อน ธ้อ ใจ ไป นั้น.
      หอบ หวน (771:2.11)
               คือ หอบ หัน นั้น.
      หอบ หิว (771:2.12)
               คือ หาย ใจ เร็ว ๆ รวน ฮัก ๆ ใน ใจ, ให้ เหนื่อย แล้ว หิว ใจ ไป นั้น.
      หอบ หิ้ว (771:2.13)
               คือ เอา มือ หอบ เอา ของ อัน ใด แล้ว, เอา มือ หนึ่ง จับ ของ หิ้ว ไป นั้น.
ห่ม (771:3)
         คือ ทำ ผ้า สำหรับ ห่ม ให้ คลุม อยู่ บน ตัว, เพื่อ จะ กัน หนาว เปน ต้น.
      ห่ม เข็ม (771:3.1)
               คือ ข่ม ไม้ เข็ม ลง ใน ดิน, ที่ จะ ทำ ราก ก่อ อิฐ นั้น.
      ห่ม ตัว (771:3.2)
               คือ เอา ผ้า คลุม ไว้ บน ตัว, เพื่อ จะ ให้ กัน ร้อน แล เอย็น เปน ต้น.
      ห่ม นอน (771:3.3)
               คือ ผ้า สำหรับ คลุม เมื่อ นอน, ผืน ผ้า นั้น ใหญ่ กว้าง.
      ห่ม นวม (771:3.4)
               คลุม ด้วย นวม, คือ เอา ผ้า นวม ที่ เขา เอา สำลี ใส่ ไว้ ข้าง ใน, ดู เปน ลูก ๆ เช่น ฟูก, คลุม ลง นั้น.
      ห่ม หนาว (771:3.5)
               คือ ห่ม ผ้า เพื่อ จะ กัน หนาว, เมื่อ ระดู เหมันต์, น้ำ ค้าง ลง มาก นัก นั้น.
      ห่ม ผ้า (771:3.6)
               คลุม ผ้า, คือ เอา ผ้า สำหรับ ห่ม คลุม ลง บน ตัว, เพื่อ จะ กัน เอย็น เปน ต้น.
      ห่ม ผ้วย (771:3.7)
               คลุม ด้วย ผ้วย, คือ เอา ผ้า ที่ เขา เย็บ เปน สอง ชั้น ศรี ต่าง ๆ ข้าง ใน ศรี แดง, ข้าง นอก ลาย เปน ต้น, คลุม ลง บน ตัว เพื่อ อุ่น นั้น.
      ห่ม แพร (771:3.8)
               คลุม ด้วย แพร, คือ เอา แพร ที่ เปน ของ สำหรับ ห่ม, คลุม ลง เบื้อง บน กาย นั้น.
      ห่ม ลง (771:3.9)
               คือ ข่ม ๆ ลง, คน จะ ปัก หลัก แพ เปน ต้น, เขา ช่วย กัน ข่ม ห่ม ลง.
      ห่ม สักกลาด (771:3.10)
               คลุม สักกลาด, คือ เอา ผ้า สักกลาด เปน อย่าง เทษ ฤๅ อย่าง จีน, มา ห่ม คลุม ตัว นั้น.
      ห่ม สั่น (771:3.11)
               คือ ข่ม กด ลง แล้ว โยก โคลง ไป ด้วย.
      ห่ม ส่าน (771:3.12)
               คือ เอา ผ้า ส่าน ที่ เขา เอา มา แต่ เมือง เทษ, มา คลุม ตัว เข้า นั้น.
      ห่ม เสื้อ (771:3.13)
               ใส่ เสื้อ, คือ ใส่ เสื้อ, คน เอา เสื้อ เล็ก แล ใหญ่ ตาม มี, เอา มา ใส่ ตัว เข้า นั้น ว่า ห่ม เสื้อ.
หั้ม (771:4)
         บั่น, รอน, คือ ฟาด ฟัน กัน ตะลุม บอน ฤๅ ฟัน ฉะ ต้น ไม้ ฤๅ กิ่ง ไม้, ให้ ระทม ล้ม ลง นั้น.
      หั้ม กัน ลง (771:4.1)
               บั่น กัน ลง, คือ ฟัน กัน ลง, เช่น พวก สัตรู ฆ่า ศึก เข้า ถึง กัน, แล เอา อาวุธ ฟัน กัน ลง มาก นั้น.
      หั้ม หั่น (771:4.2)
               บั่น รอน, คือ ฟัน ฟอน บั่น ฉะ คน ฤๅ ต้นไม้ ให้ ยับ เยิน ระทม ลง นั้น.

--- Page 772 ---
หาม (772:1)
         แบก หลาย คน, คือ คน สอง คน เปน ต้น, อยู่ คน ละ ข้าง เอา ของ ใส่ สาแหรก, แล้ว เอา คาน สอด วาง บน บ่า ภา เอา ไป นั้น.
      หาม กระดาน (772:1.1)
               แบก กระดาน หลาย คน, คือ สอง คน เข้า หัว กระดาน คน หนึ่ง, ท้าย กระดาน คน หนึ่ง, จับ กระดาน ยก พร้อม กัน ภา ไป.
      หาม แคร่ (772:1.2)
               คือ สอง คน เข้า คน ละ ข้าง, แคร่ อยู่ กลาง, ยา* เอา คาน วาง บน บ่า ภา ไป.
      หาม เปล (772:1.3)
               คือ สอง คน ช่วย กัน เข้า คน ละ ข้าง, เอา คาน วาง บน บ่า ภา ไป พร้อม กัน.
      หาม หมู (772:1.4)
               คือ คน อยู่ สอง ข้าง, หมู อยู่ กลาง, เขา มัด มัน แล้ว เอา คาน สอด ภา ไป.
      หาม เรือ (772:1.5)
               คือ การ ที่ คน สอง คน ช่วย กัน ยก เรือ ขึ้น คน ละ ข้าง, หัว แล ท้าย, ภา เอา ไป นั้น.
      หาม โลง (772:1.6)
               คือ การ ที่ คน สอง คน บ้าง สี่ คน บ้าง, ช่วย กัน หาม โลง ที่ สำหรับ ใส่ สพ ไป นั้น.
      หาม วอ (772:1.7)
               คือ การ ที่ คน สี่ คน เอา คาน วอ วาง บน บ่า ภา ไป, วอ นั้น เปน แคร่ มี หลัง คา เช่น กันยา เรือ.
      หาม เสลี่ยง (772:1.8)
               คือ หาม เสลี่ยง, เขา ทำ รูป เปน สี่ เหลี่ยม มี ราว มี พนัก สำหรับ พิง หลัง.
ห่าม (772:2)
         อ่อน ตัว, คือ ผลไม้ ที่ เกือบ จะ สุก, เช่น ผล มะม่วง ฤๅ กล้วย ที่ เนื้อ มัน เหลือง เกือบ สุก แต่ ห่าม อยู่,
ห้าม (772:3)
         ปราม, คือ ความ ที่ ไม่ ให้ ทำ เปน ต้น, เช่น คำ ว่า อย่า ทำ เปน ต้น เรียก ว่า ห้าม.
      ห้าม กัน (772:3.1)
               ปราม กัน, คือ การ ที่ คน ห้าม คน หนึ่ง, ที่ จะ ทำ ฤๅ จะ ไป เปน ต้น นั้น.
      ห้าม กิน (772:3.2)
               คือ ว่า อย่า กิน.
      ห้าม การ (772:3.3)
               คือ ห้าม ไม่ ให้ ทำ การ อัน ใด ๆ ใน วัน อาทิตย์, จำ เปน แต่ การ หุง เข้า กิน แล ใช้ ใบ แล่น กำปั่น นั้น, ไม่ มี โทษ.
      ห้าม ของ แสลง (772:3.4)
               คือ ความ ห้าม ไม่ ให้ คน ไข้ กิน ของ ที่ จะ ให้ โรค กำเริบ, ให้ เกิด เจ็บ ปวด ต่าง ๆ นั้น.
      ห้าม คน (772:3.5)
               ปราม คน, คือ ความ ว่า ท่าน อย่า ทำ เลย. ท่าน อย่า ไป เลย, ท่าน อย่า กิน เลย เปน ต้น.
      ห้าม ใจ (772:3.6)
               ปราบ ปราม ใจ, คือ ความ ห้าม ใจ ของ ตัว ว่า อย่า ทำ เลย, เรา อย่า กิน เลย, เรา อย่า ไป เลย เปน ต้น.
      ห้าม จิตร (772:3.7)
               ปราม จิตร, คือ ความ ห้าม จิตร ที่ จะ ไป เปน ต้น คือ ห้าม จิตร ของ ตัว เอง ว่า อย่า ไป เปน ต้น นั้น.
      ห้าม ตา (772:3.8)
               ปราม ตา, คือ ความ ที่ ไม่ ให้ ตา ดู สิ่ง ใด, คือ หลับ ตา ลง ไว้, ไม่ ลืม ขึ้น แล ดู อัน ใด นั้น.
      ห้าม ประตู (772:3.9)
               รักษา ประตู, คือ ความ ที่ ห้าม มิ ให้ ผู้* ใด เดิน เข้า ออก ทาง ประตู อย่าง หนึ่ง ห้าม ผู้ หญิง มิ ให้ ออก จาก ประตู วัง เปน ต้น นั้น.
      ห้าม ปาก (772:3.10)
               คือ ความ ที่ ห้าม ปาก เสียง มิ ให้ พูจจา ดัง, เสียง อื้อ อึง ไป นั้น.
      ห้าม ปราม (772:3.11)
               คือ ความ ที่ มิ ให้ กระทำ เปน ต้น.
      ห้าม เฝ้า (772:3.12)
               ไม่ ให้ เฝ้า, คือ ความ ที่ ห้าม ไม่ ให้ คน ที่ ขุน หลวง ทรง กริ้ว. เข้า ไป เฝ้า นั้น.
      ห้าม อยู่ งาน (772:3.13)
               จอม อยู่ งาน, คือ นาง ห้าม เปน ผู้ สำหรับ พัด ฤๅ นวด ขุนหลวง นั้น.
      ห้าม แล้ว (772:3.14)
               ปราม แล้ว, คือ ความ ที่ ห้าม ทุก สิ่ง สารพัด การ ทั้ง ปวง ไม่ ให้ ผู้ ใด กระทำ เปน ต้น.
      ห้าม ไว้ (772:3.15)
               ปราม ไว้, คือ ความ ห้าม ว่า ตั้ง แต่ นี้ ไป, อย่า ให้ ผู้ ใด กระทำ ล่วง เกิน. ถ้า มิ ฟัง ขืน ทำ จะ ลง อาญา.
      ห้าม หู (772:3.16)
               มิ ให้ ฟัง, คือ ความ ที่ ห้าม หู ตัว เอง, ว่า* อย่า ฟัง เสียง อัน ใด เลย, เพราะ รักษา ศีล เปน ต้น.
      ห้าม หวง (772:3.17)
               พิทักษ์ รักษา, คือ ความ ที่ ห้าม มิ ให้ ผู้ ใด กระทำ เพราะ ความ หวง กลัว ของ จะ เปน อันตราย เปน ต้น.
      ห้าม แหน (772:3.18)
               ห้าม หวง, คือ คำ พูจ ถึง นาง ห้าม, ว่า เขา เปน ห้าม แหน อยู่, คือ หญิง ที่ เปน เมีย เจ้า เปน ต้น นั้น.
      ห้าม เอก (772:3.19)
               คือ หญิง หนุ่ม ที่ เปน เมีย เจ้า ๆ รัก ใคร่ มาก นัก นั้น, ว่า เปน ห้าม เอก.
หิมมะพานต์ (772:4)
         เปน ชื่อ ป่า ใหญ่ ว่า มี อยู่ ฝ่าย ทิศ เหนือ นั้น.
หุ้ม (772:5)
         ห่อ, คือ เอา ผ้า ฤๅ ทอง แดง แผ่ ให้ เปน แผ่น บาง แล้ว ทาบ เข้า ที่ ลำ กำปั่น ตรึง ติด เข้า ไว้ นั้น.
      หุ้ม กล้อง (772:5.1)
               คือ การ ที่ เขา เอา เงิน ฤๅ ทอง, แผ่ เปน แผ่น บาง แล้ว, ห่อ หุ้ม ท้าย กล้อง สำหรับ สูบ อยา นั้น.

--- Page 773 ---
      หุ้ม คลุม (773:5.2)
               คือ เอา ผ้า ปก ลง, แล้ว ปิด บัง ของ สิ่ง ใด ไว้ นั้น.
      หุ้ม เงิน (773:5.3)
               ห่อ ด้วย เงิน, คือ การ ที่ เขา เอา เงิน แผ่ ออก เปน แผ่น บาง แล้ว เอา ทาบ เข้า เป่า แล่น ประสาน หุ้ม ไว้.
      หุ้ม ได้ (773:5.4)
               ห่อ ได้, คือ ของ ภอ หุ้ม ได้, เช่น เรือ กำปั่น นั้น ก็ ใหญ่, แต่ ภอ หุ้ม ได้
      หุ้ม ตะกั่ว (773:5.5)
               ห่อ ด้วย ตะกั่ว, คือ การ ที่ เขา เอา ตะกั่ว แผ่ ออก ให้ เปน แผ่น บาง แล้ว, ห่อ หุ้ม ของ อัน ใด ๆ นั้น.
      หุ้ม ทอง (773:5.6)
               ห่อ ด้วย ทอง, คือ ของ ห่อ ด้วย ทอง, เขา เอา ทอง แผ่ ให้ เปน แผ่น บาง แล้ว หุ้ม ของ อื่น นั้น.
      หุ้ม นาก (773:5.7)
               ห่อ ด้วย นาก, คือ ของ หุ้ม ด้วย นาก, เขา เอา นาก แผ่ ให้ เปน แผ่น บาง แล้ว หุ้ม ของ อื่น.
      หุ้ม ผ้า (773:5.8)
               ห่อ ด้วย ผ้า, เขา จะ หุ้ม เสา เปน ต้น, แล เอา ผ้า หุ้ม เข้า ไว้,
      หุ้ม เหล็ก (773:5.9)
               ห่อ ด้วย เหล็ก, คือ ของ หุ้ม ด้วย เหล็ก, เขา เอา เหล็ก แผ่ ให้ เปน แผ่น บาง แล้ว, หุ้ม ของ อื่น.
      หุ้ม ห่อ. ห่อ หุ้ม (773:5.10)
               คือ การ ที่ เขา เอา ของ มี ผ้า เปน ต้น ห่อ หุ้ม ของ อัน ใด ๆ ไว้ นั้น.
เหม (773:1)
         คือ ของ เขา เอา ไม้ ต่อ เช่น หีบ, แต่ ทำ ฝา มี ยอด สูง ขึ้น เปน สาม ยอด เรียง กัน นั้น.
      เหมมะ ราช (773:1.1)
               คือ พระยา หงษ์, ว่า ตาม คำ บูราณ ว่า มี ใน ป่า หิมพานต์ นั้น.
      เหม ใส่ สพ (773:1.2)
               คือ หีบ สำหรับ ใส่ สพ แต่ ฝา มี ยอด สูง ขึ้น เปน สาม ยอด.
      เหม สาม ยอด (773:1.3)
               คือ ของ รูป เช่น หีบ ยาว รี สัก สาม ศอก เสศ ฝา มี ยอด สาม ยอด ๆ กลาง สูง, ยอด สอง ข้าง นั้น ต่ำ.
      เหม หงษ์ (773:1.4)
               เหม นั้น คือ หงษ์ ๆ นั้น, ใน หนังสือ ว่า มัน เปน สัตว สอง ท้าว มี ปีก อยู่ ใน ป่า หิมพานต์.
โหม (773:2)
         ระดม, คือ การ ระดม คน เข้า มาก, เช่น โหม โรง โขน โรง ละคร, เขา ระดม กัน กะทุ้ง ส้าว มาก นั้น.
      โหม ไฟ (773:2.1)
               ระดม ไฟ, คือ การ ที่ เขา เอา ไม้ เชื้อ ใส่ เข้า ใน กอง ไฟ มาก, ใส่ ระดม เข้า มี เปลว ไฟ โพลง ขึ้น แรง มาก นั้น.
      โหม ฟืน (773:2.2)
               คือ การ ที่ เขา เอา ฟืน มาก ใส่ ระดม เข้า ใน กอง ไฟ มี เปลว โพลง ขึ้น แรง นัก นั้น.
      โหม โรง (773:2.3)
               ระดม โรง, คือ การ ที่ คน มา มาก กว่า สิบ คน ขึ้น ไป มือ ถือ ไม้ ส้าว กะทุ้ง บน แผ่น กระดาน, ระดม ลง พร้อม กัน แล้ว โห่ ด้วย นั้น.
      โหม แห่ (773:2.4)
               ระดม แห่, คือ การ ที่ คน มาก ระดม กัน แห่ การ บรม ศพ เปน ต้น นั้น.
      โหม หัก (773:2.5)
               คือ ระดม กัน ช่วย หัก ราน พวก ฆ่าศึก เปน ต้น.
หอม (773:3)
         กลิ่น ดี, คือ จมูก ได้ กลิ่น ที่ ดี, มี กลิ่น ดอก มะลิ แล กลิ่น แก่น จันทน์ เปน ต้น.
      หอม เกสร (773:3.1)
               กลิ่น เกสร, คือ จมูก ได้ กลิ่น เกสร ดอก ไม้ หอม มี เกสร สาระภี เปน ต้น นั้น.
      หอม กระแจะ (773:3.2)
               กลิ่น กระแจะ, คือ จมูก ได้ กลิ่น กระแจะ เปน ของ เขา ปรุง ด้วย เครื่อง หอม, ระคน ปน กัน เข้า หลาย สิ่ง มี แก่น จันทน์ เปน ต้น.
      หอม กรุ่น (773:3.3)
               คือ กลิ่น หอม เรื่อย ๆ เฉื่อย ๆ หอม อ่อน ๆ ไม่ แรง นัก แต่ หอม อยู่ ไม่ ใคร่ หาย.
      หอม กลิ่น (773:3.4)
               คือ จมูก ได้ กลิ่น ของ ที่ หอม, มี กลิ่น ดอก ไม้ แล แก่น ไม้ เปน ต้น,
      หอม เครื่อง (773:3.5)
               คือ กลิ่น หอม ฟุ้ง เข้า ใน จมูก.
      หอม เงิน หอม ทอง (773:3.6)
               คือ เหน ว่า เขา มี เงิน ทอง มาก ก็ อยาก ได้ เขา เปน เมีย ฤๅ เปน ลูก สะใพ้ เปน ต้น.
      หอม ฉุย (773:3.7)
               คือ หอม แรง เข้า ใน ช่อง จมูก, เช่น กลิ่น น้ำ กา ระบูน แล ภิมเสน นั้น.
      หอม ชื่น ใจ (773:3.8)
               คือ กลิ่น ยา เปน ต้น, ที่ หอม เอย็น หอม หวาน ยัง ใจ ให้ ยินดี นัก นั้น.
      หอม ตงิด ๆ (773:3.9)
               คือ กลิ่น หอม น่อย ๆ หนิด ๆ เช่น กลิ่น ของ ที่ ไม่ สู้ หอม นัก นั้น.
      หอม ตลบ (773:3.10)
               กลิ่น ดี ตลบ, คือ กลิ่น ของ ที่ หอม ฟุ้ง เฟื่อง กลบ ตลบ อบ ไป ทั่ว ที่ อยู่ มี เรือน เปน ต้น.
      หอม แป้ง (773:3.11)
               คือ กลิ่น แป้ง ที่ หอม ฟุ้ง เข้า ใน รู จะมูก นั้น.
      หอม เอย็น ๆ (773:3.12)
               คือ กลิ่น ที่ หอม เอย็น มี ดอก สุมะนะ ชาติ แล ดอก มะลิ นั้น.

--- Page 774 ---
      หอม ฟุ้ง (774:3.13)
               คือ กลิ่น ฟุ้ง เฟื่อง ขจร ไป.
      หอม รื่น (774:3.14)
               กลิ่น รื่น, คือ กลิ่น ที่ หอม ชื่น ใจ, เช่น กลิ่น ดอก แก้ว แล กลิ่น ดอก สายอยุด เปน ต้น.
      หอม ร้อน ๆ (774:3.15)
               คือ กลิ่น ที่ หอม ร้อน, มี กลิ่น พริก ไท แล กลิ่น ราก พาด ไฉน เปน ต้น.
      หอม หวน (774:3.16)
               คือ หอม หัน เข้า จมูก.
ห้อม (774:1)
         ล้อม, คือ รอม เข้า. อย่าง หนึ่ง คือ ล้อม เข้า, เช่น เขา จะ จับ คน ร้าย แล ล้อม เข้า นั้น.
      ห้อม เข้า ไว้ (774:1.1)
               ล้อม เข้า ไว้, คือ วง ล้อม เข้า ไว้, เช่น เขา ช่วย กัน มาก หลาย คน, แวด ล้อม คน ร้าย เข้า, เพื่อ จะ จับ นั้น.
      ห้อม ล้อม (774:1.2)
               ล้อม วง, คือ วง ล้อม เข้า, คน มาก หลาย คน ช่วย กัน แวด ล้อม จับ คน ร้าย เปน ต้น นั้น.
      ห้อม ไว้ (774:1.3)
               ล้อม ไว้, คือ ล้อม หุ้ม เข้า ไว้, เช่น เขา จะ จับ ช้าง เถื่อน เปน ต้น, แล เอา ช้าง บ้าน เข้า ล้อม นั้น.
      ห้อม แห่ (774:1.4)
               แห่ ห้อม, คือ ล้อม แห่ ไป, เช่น เขา ช่วย กัน มาก หลาย คน แวด ล้อม แห่ กัน ไป นั้น.
เหี้ยม (774:2)
         เกรียม, คือ อาการ ที่ ใจ คน ดุ ร้าย ไม่ เอื้อ เฟื้อ แก่ ผู้ ใด, การ ไม่ ภอ ที่ จะ โกรธ ก็ โกรธ, ควร จะ ให้ ก็ ไม่ ให้ นั้น.
      เหี้ยม เกรียม (774:2.1)
               คือ อาการ ที่ ใจ คน ดุ มัก โกรธ เร่า ร้อน แรง เช่น ของ ถูก ไฟ ไหม้ เกรียม นั้น.
      เหี้ยม หาญ (774:2.2)
               คือ คน ใจ ร้าย แล กล้า หาญ ด้วย.
      เหี้ยม โหด (774:2.3)
               คือ อาการ ที่ ใจ คน ดุ ร้าย ไม่ ใคร่ นำ ภา แก่ ผู้ ใด ใคร จะ ขอ สิ่ง ใด ก็ ไม่ ภอ ใจ ให้ เลย.
      เหี้ยม หัน (774:2.4)
               คือ อาการ ที่ ใจ คน ดุ ร้าย แล้ว กลับ กลอก ด้วย นั้น.
      เหี้ยม ห้าว (774:2.5)
               คือ อาการ ที่ ใจ คน หาญ กล้า ดุ ร้าย ไม่ เอื้อ เฟื้อ ถึง ผู้ ใด, แม้น ถึง พ่อ แม่ ก็ ไม่ อาไลย.
เหิม (774:3)
         ฮึก, คือ อาการ ที่ ใจ คน ได้ ลาภ ฤๅ ได้ ชะนะ การ พนัน ฤๅ ชก ต่อย แล ปล้ำ, ได้ ชะนะ หลาย ครั้ง หลาย หน มี ใจ กำเริบ นั้น.
      เหิม ใจ (774:3.1)
               กำเริบ ใจ, คือ อาการ ที่ ใจ กำเริบ ลำพอง คะนอง นัก, ด้วย สรรพ ยุทธ์ สู้ รบ กัน เปน ต้น.
      เหิม ฮึก (774:3.2)
               กริ่ม ฮึก, คือ อาการ ที่ ใจ กำเริบ ด้วย มี ไชย ชะนะ การ พนัน ฤๅ มวย ปล้ำ เปน ต้น, แล ยัง อยาก จะ เล่น อีก นั้น.
เหย (774:4)
         เอ๋ย, คือ ที่ สุด ปลาย เสียง ร้อง เรียก, เปน ต้น เรียก ชื่อ คน ว่า หนู เอี่ยม เอ๋ย นั้น.
หาย (774:5)
         สูญ, คือ การ ที่ ของ มี อยู่ แล้ว สูญ ไป, ไม่ ปรากฎ แก่ จักษุ, เช่น ผลไม้ ฤๅ ดอก ไม้ เปน ต้น, มี ที่ ต้น หล่น ร่วง ไป.
      หาย กัน (774:5.1)
               สูญ กัน, คือ การ ที่ เขา ซื้อ ขาย กัน ยัง ไม่ ได้ เงิน ราคา, ว่า เงิน ยัง ค้าง เกิน ติด พัน กัน อยู่, ครั้น ให้ เงิน กัน แล้ว ว่า หาย กัน.
      หาย กวน (774:5.2)
               คือ การ ที่ คน ติด เงิน กัน อยู่ เปน ต้น, แล ผู้ จะ เอา นั้น มา ว่า กล่าว ทวง แล้ว ทวง อีก, จึ่ง ได้ ให้ แก่ กัน ว่า หาย กวน.
      หาย ขาด. สูญ ขาด (774:5.3)
               คือ โรค เปน ขึ้น มา ใน กาย, แล เขา รักษา ด้วย อยา ดี, ไม่ เปน อีก นั้น ว่า หาย ขาด.
      หาย ค้าง (774:5.4)
               ไม่ ค้าง, คือ การ ที่ ของ มี ผลไม้ เปน ต้น, มัน หล่น ลง จาก ต้น มา ติด อยู่ บน กิ่ง ไม้, ไม่ ตก ลง ถึง ดิน ว่า มัน ค้าง อยู่. อย่าง หนึ่ง ลูก จ้าง ทำ การ จ้าง ไว้, ยัง ไม่ ได้ เงิน ว่า เงิน ยัง ค้าง อยู่ ที่ ผู้ จ้าง.
      หาย คุย (774:5.5)
               สิ้น พูจ, คือ การ ที่ สิ้น ที่ พูจ มาก, เช่น คน พูจ มาก, ปด บ้าง จริง บ้าง ไม่ ใคร่ อยุด, ครั้น คน นั้น อยุด ไม่ พูจ ว่า หาย คุย.
      หาย งก (774:5.6)
               หาย สั่น, คือ อาการ ที่ จับ ไข้ ตัว สั่น รัว ๆ ว่า สั่น งก, ครั้น อยุด จับ ตัว ไม่ สั่น ว่า หาย งก. อนึ่ง คน แก่ ตัว สั่น ขา สั่น มือ สั่น งก ๆ, ครั้น สั่น อยุด แล้ว ว่า หาย งก ไป นั้น.
      หาย เงี่ยน (774:5.7)
               สิ้น อยาก, คือ หาย อยาก สิ้น กระหาย, เช่น คน อยาก จะ สูบ ฝิ่น นัก นั้น, ว่า มัน เงี่ยน ครั้น ได้ สูบ ได้ ถุน ก็ หาย เงี่ยน ไป.
      หาย ใจ (774:5.8)
               ระบาย ลม, คือ ระบาย ลม ทาง ช่อง จมูก ทำ ให้ ลม เข้า แล ออก เปน ต้น อยู่ นั้น.
      หาย ใจ เข้า ออก (774:5.9)
               คือ หาย ใจ ทำ ให้ ลม เข้า แล ทำ ให้ ลม ออก โดย รู จมูก นั้น.

--- Page 775 ---
      หาย ใจ ยาว (775:5.10)
               คือ หาย ใจ เรื่อย เรื้อย ชา อยู่ นั้น.
      หาย ใจ สั้น (775:5.11)
               คือ หาย ใจ ทำ ให้ ลม เข้า ออก เร็ว ๆ นั้น.
      หาย จับ (775:5.12)
               คือ อาการ ที่ คน เปน ไข้ มัน ให้ ตัว สั่น สะท้าน อยู่, ครั้น มัน อยุด ลง แล้ว ว่า หาย จับ.
      หาย เจ็บ (775:5.13)
               คือ หาย ป่วย ไข้.
      หาย ฉิบ (775:5.14)
               คือ หาย เร็ว หาย พลัน นั้น.
      หาย ช้า (775:5.15)
               ไม่ ใคร่ หาย, คือ โรค เปน นาน หาย มัน เกิด ขึ้น ไม่ ใคร่ หาย กำเริบ อยู่ หลาย วัน นับ ปี นับ เดือน นั้น, ว่า หาย ช้า,
      หาย ซน (775:5.16)
               ไม่ ซน อีก, คือ อาการ ที่ เด็ก เปน ต้น, มัน มัก จับ โน่น ฉอย ของ นี่ วาง ของ นี่ จับ ของ อื่น, แล้ว มัน นิ่ง อยู่ ไม่ ทำ อีก ว่า หาย ซน.
      หาย ซึม (775:5.17)
               ไม่ ซึม อีก, คือ หาย เชื่อม มึน ที่ มัน ให้ ลืม ตา ไม่ ใคร่ ขึ้น ไม่ ใคร่ พูจจา นิ่ง อึ้ง ไป นั้น.
      หาย ดี (775:5.18)
               หาย เปน ปรกติ, คือ อาการ ที่ คน ป่วย ไข้ แล้ว หาย เสร็จ เด็จ ขาด, โรค ไม่ มี เหลือ อยู่ เลย นั้น.
      หาย เดือด (775:5.19)
               หาย แค้น, คือ ความ โทมนัศ ขัด แค้น ใน ใจ เสีย ใจ น้อย ใจ สงบ ไป นั้น.
      หาย ตัว (775:5.20)
               ไม่ เห็น ตัว, คือ อาการ ที่ เขา มี วิชา ความ รู้ ทำ ไม่ ให้ เหน ว่า เขา หาย ตัว ได้.
      หาย ทุกข์ (775:5.21)
               สิ้น ทุกข์, คือ ความ ทุกข์ สิ้น ไป, เช่น คน มี โรค หนัก เปน ต้น, เกิด ความ ทุกข์ เพราะ ความ ป่วย, ครั้น โรค หาย ก็ สิ้น ความ ทุกข์ นั้น.
      หาย โทษ (775:5.22)
               สิ้น โทษ, คือ โทษ สิ้น ไป, คน มี โทษ หลวง เปน ต้น ท่าน จำ ไว้ ใน คุก, ครั้น โปรด ให้ พ้น, ว่า หาย โทษ นั้น.
      หาย หน้า (775:5.23)
               ไม่ ได้ เหน หน้า, คือ คน เคย เหน กัน อยู่ บ่อย ๆ แล้ว ไม่ เหน กัน นาน หลาย วัน, ว่า หาย หน้า ไป.
      หาย นาน (775:5.24)
               คือ หาย ไป นาน, คน แต่ ก่อน เหน กัน อยู่ เนือง ๆ แล้ว ไม่ เหน กัน หลาย วัน, ว่า หาย ไป นาน.
      หาย ไป (775:5.25)
               สูญ ไป, คือ การ ที่ คน อยู่ บ้าน เดียว กัน เปน ต้น, แล ไม่ เหน คน นั้น.
      หาย ปวด (775:5.26)
               คือ ความ ปวด นั้น บรรเทา หาย ไป นั้น.
      หาย บาป (775:5.27)
               หมด บาป, คือ การ บาป สิ้น ไป, ทำ แต่ การ บุญ ทาน ชอบ การ ปรติบัติ ดี ว่า หาย บาป.
      หาย ผอม (775:5.28)
               สิ้น ผอม, คือ ตัว คน อ้วน ขึ้น, เดิม รูป ผอม อยู่ ครั้น นาน มา กิน อิ่ม บริบูรณ อ้วน ขึ้น นั้น.
      หาย ฝน (775:5.29)
               สิ้น ฝน, คือ ฝน หาย ไป, เช่น ฝน ตก ลง มาก แล้ว อยุด ไป นั้น.
      หาย เพียร (775:5.30)
               คือ สิ้น ความ เพียร, คน มี ความ เพียร กระทำ การ งาน แล้ว อยุด ไป นั้น.
      หาย มา (775:5.31)
               ไม่ มา อีก, คือ การ ที่ คน อยู่ ด้วย กัน แล้ว มา เสีย จาก ที่ นั้น.
      หาย เมา (775:5.32)
               คือ การ เมา เสื่อม สูญ ไป, เดิม คน กิน เหล้า เมา อยู่ แล้ว สร่าง เสื่อม ความ เมา ไป นั้น.
      หาย มาก (775:5.33)
               คือ ของ ขะโมย ลัก ไป ได้ มาก, ขะโมย ขึ้น ย่อง เบา เก็บ เอา ของ ไป ได้ มาก นั้น.
      หาย หมด (775:5.34)
               สูญ สิ้น, คือ ไม่ เหน ทั้ง หมด, ของ มี อยู่ มาก หลาย สิ่ง หลาย อย่าง, ครั้น สิ้น ของ นั้น, ว่า หาย หมด นั้น.
      หาย มวน (775:5.35)
               คือ หาย ปวด มวน ท้อง ไป.
      หาย รัก (775:5.36)
               คือ อาการ ที่ คน เดิม มี ความ รัก กัน, เช่น ผัว เมีย กัน, ครั้น อยู่ มา เบื่อ หน่าย สิ้น รัก กัน นั้น.
      หาย โรค (775:5.37)
               คือ โรค ระงับ ดับ สูญ ไป,
      หาย ร้อน (775:5.38)
               คือ สิ้น ความ ร้อน, เช่น คน ร้อน ด้วย แสง แดด เปน ต้น, แล ลง อาบ น้ำ ตัว เอย็น สบาย นั้น.
      หาย หลัง (775:5.39)
               คือ ของ หาย ไป ที หลัง, เช่น คน มา แล้ว แล ไป แต่ ของ หาย ต่อ ผ่าย หลัง นั้น.
      หาย แล้ว (775:5.40)
               คือ ของ เดิม อยู่ ดี, ครั้น นาน มา ของ นั้น หาย ไป หมด สิ้น, ว่า หาย แล้ว.
      หาย เสียง (775:5.41)
               คือ เดิม ได้ ยิน เสียง ดัง อื้ออึง อยู่, ครั้น นาน มา เสียง สงบ ไป นั้น.
      หาย เหือด (775:5.42)
               คือ หาย คลาย บรรเทา ลง.
      หาย หิว (775:5.43)
               คือ การ ที่ คน เดิม หิว อด เข้า, ครั้น ได้ กิน เข้า อิ่ม บริบูรณ ก็ หาย หิว ไป.
      หาย หัว (775:5.44)
               หลบ หัว ไป, คือ การ ที่ คน เดิม ได้ เหน กัน อยู่, ครั้น นาน มา ไม่ ได้ เหน กัน นั้น.

--- Page 776 ---
      หาย เอง (776:5.45)
               เหือด เอง, คือ อาการ ที่ คน มี โรค เกิด ขึ้น หนิด น่อย, เขา ไม่ ได้ รักษา ด้วย ยา เปน ต้น โรค หาย ไป.
      หาย ฮึก (776:5.46)
               สิ้น เหิม, คือ หาย เหิม ใจ, เช่น คน มี ไชย ชนะ มี ใจ กำเริบ ฟุ้ง ซ่าน อยู่, ครั้น นาน มา กลับ แพ้ ก็ หาย กำ เริบ ไป.
หาว (776:1)
         คือ อาการ ที่ คน ง่วง เหงา หาว นอน, แล อ้า ปาก ขึ้น แล้ว ทำ ลม ให้ ออก ทาง ปาก นั้น.
      หาว งาบ ๆ (776:1.1)
               ง่วง งาบ ๆ, คือ อาการ ที่ คน ง่วง อยาก จะ หลับ นั้น, ทำ ปาก อ้า แล้ว ระบาย ลม ออก จาก ปาก บัด เดี๋ยว ๆ นั้น.
      หาว นอน (776:1.2)
               ง่วง นอน, คือ อาการ ที่ คน ง่วง เหงา อยาก จะ นอน หลับ ให้ อิ่ม* ตา สะบาย ใจ นั้น.
      หาว เรอ (776:1.3)
               คือ อาการ ที่ หาว นอน แล ระบาย ลม เฮอ ออก มา โดย ช่อง ปาก นั้น.
      หาว ลม (776:1.4)
               ง่วง ลม, คือ การ ที่ สูง เลย เกิน กำลัง ลม ที่ พัด แรง ขึ้น ไป, เช่น ว่าว คน อย่อน สาย ป่าน ขึ้น ไป สูง เช่น ว่า มัน ไม่ ใคร่ จะ ถูก ลม นั้น.
ห้าว (776:2)
         แก่ จัด, คือ ของ ที่ แก่ หนัก, เช่น ผล มะพร้าว ที่ แก่ คลอน น้ำ. อย่าง หนึ่ง เหล็ก แขง ที่ มัน เปราะ อย่าง หนึ่ง เช่น คน ที่ มัน กล้า นั้น.
      ห้าว ร้าว (776:2.1)
               คือ อาการ คน ที่ ทำ เสียง พูจจา ดัง อึง ๆ นั้น.
      ห้าว หาญ (776:2.2)
               กล้า หาญ, คือ ใจ คน กล้า นัก เปน ต้น ว่า มัน ฆ่า คน ได้, ลาง คน ใจ อ่อน จะ ทุบ ตี ฆ่า ฟัน คน ไม่ ใคร่ ได้ นั้น.
      ห้าว เหี้ยม (776:2.3)
               คือ ใจ คน ที่ กล้า หาญ แล ไม่ คิด ถึง บุญ คุณ บุก คล ผู้ ใด ไม่ เอื้อ เฟื้อ ใคร, เช่น กับ โจโฉ ใน เรื่อง สาม ก๊ก นั้น.
หิว (776:3)
         ระหวย อ่อน, คือ อาการ สวิง สวาย ใจ, เช่น เรา ลุก ขึ้น เพลา เช้า ยัง ไม่ ได้ กิน เข้า จน สาย นั้น.
      หิว เข้า (776:3.1)
               ระหวย อยาก เข้า, คือ อาการ ที่ อด เข้า อยู่ ไม่ ได้ กิน ล่วง เวลา หนึ่ง เปน ต้น, อาการ โผเผ หวิว อ่อน ใจ ไป.
      หิว ใจ (776:3.2)
               ระหวย ใจ, คือ อาการ ที่ เว้น จาก อาหาร เวลา หนึ่ง ฤๅ สอง เวลา โรเร โผเผ ใจ อ่อน ระทด ไป นั้น.
      หิว ตาย (776:3.3)
               คือ อาการ เช่น ว่า แล้ว นั้น, มี อยู่ หลาย วัน หลาย เดือน จน อด ถึง สิ้น ชีวิตร นั้น.
      หิว ไป (776:3.4)
               คือ แรง น้อย ไป ให้ อก ใจ หวิว ๆ ไป นั้น.
      หิว โรย (776:3.5)
               คือ ใจ หวิว ผ่อย น้อย ร่อย หรอ ไป นั้น.
      หิว หอบ (776:3.6)
               ระหวย หอบ, คือ อาการ เช่น ว่า แล้ว, มัน ให้ หิว หาย ใจ เร็ว ๆ หอบ นัก นั้น.
      หิว โหย (776:3.7)
               คือ อาการ หิว แล ให้ ละหวย อ่อน ธ้อ แท้ ใจ ไป, เช่น คน ไข้ นัก กิน อาหาร ไม่ สู้ ได้ นั้น.
      หิว อ่อน (776:3.8)
               ระทวย อ่อน, คือ อาการ ที่ หิว เช่น ว่า แล ใจ ธ้อแท้ ไป ไม่ แขง แรง, เช่น คน อด อาหาร แล เดิน ทาง ไกล ด้วย นั้น.
หิ้ว (776:4)
         ห้อย, คือ อาการ ที่ คน ตัก น้ำ ด้วย ครุ ถือ ด้วย มือ ข้าง เดียว เปน ต้น
      หิ้ว กระบอก (776:4.1)
               ห้อย กระบอก, คือ การ ที่ คน เอา เชือก ร้อย ที่ รู ไม้ กระบอก ที่ เจาะ ไว้, แล้ว ถือ สาย เชือก ไว้ ห้อย กระ- บอก ลง นั้น.
      หิ้ว ของ (776:4.2)
               ห้อย ของ, คือ การ ที่ คน ถือ ของ ด้วย มือ ข้าง เดียว, ของ นั้น ลง ห้อย อยู่ เขา ภา เอา ไป นั้น.
      หิ้ว ถุง (776:4.3)
               ห้อย ถุง, คือ การ ที่ คน ถือ เอา สาย หู ถุง ด้วย มือ ข้าง เดียว ทำ ให้ ตัว ถุง มัน ลง ห้อย อยู่.
      หิ้ว ผลไม้ (776:4.4)
               ถือ ห้อย ผลไม้, คือ การ ที่ เขา เอา มือ ถือ พวง ผลไม้ มี ผล ส้ม แล่ ฝาหรั่ง เปน ต้น, ผล มัน ลง ห้อย อยู่ นั้น.
      หิ้ว ม่อ (776:4.5)
               ถือ ห้อย ม่อ, คือ การ ที่ คน เอา มือ ถือ ปาก ม่อ แล้ว ทอด แขน ลง ตัว ม่อ มัน ห้อย ลง อยู่ นั้น
      หิ้ว ไห (776:4.6)
               ห้อย ไห, คือ การ ที่ คน เอา มือ ถือ ปาก ไห แล้ว ทอด แขน ลง, ตัว ไห มัน ลง ห้อย อยู่ ข้าง ล่าง นั้น.
หุย (776:5)
         เฉียด, คือ เจียน ถูก เฉียด ถูก แทบ ถูก เกือบ ถูก, เช่น เขา ทิ้ง ก้อน ดิน เปน ต้น, จะ ให้ ถูก สิ่ง ใด ๆ มัน ไม่ ถูก แต่ มัน เฉียด สี ไป เขา ร้อง หุย.
      หุย เฉียด (776:5.1)
               เฉียด สี, คือ เกือบ ถูก ว่า ผิด หนิด หนึ่ง, เช่น เขา ชก เขา ตี กัน ไม่ ถูก แต่ มัน เฉียด ไป, ว่า หุย เฉียด ไป.

--- Page 777 ---
เหว (777:1)
         ห้วง, คือ ที่ คล้าย ถ้ำ ที่ ภูเขา, แต่ เหว นี้ ฦก ตรง ไป, คน ฤๅ สัตว ขึ้น มา ไม่ ได้ นั้น.
      เหว ฦก (777:1.1)
               ห้วง ฦก, คือ ที่ เหว เช่น ว่า, แต่ ว่า ฦก นับ ด้วย* วา เปน อัน มาก, ใน หนังสือ ว่า, สำหรับ ทิ้ง โจร ผู้ ร้าย ให้ ตาย.
แห้ว (777:2)
         เปน ชื่อ หัว หญ้า อย่าง หนึ่ง, กิน มี รศ หวาน หัว มัน เท่า ปลาย นิ้ว มือ.
      แห้ว กะต่าย (777:2.1)
               คือ ต้น หญ้า อย่าง หนึ่ง, หัว มัน เช่น หัว แห้ว มี ใน ป่า กะต่าย กิน
      แห้ว จีน (777:2.2)
               เปน หัว หญ้า เช่น ว่า, แต่ เขา เอา มา แต่ เมือง จีน หัว มัน ใหญ่ กว่า แห้ว ไท นั้น.
      แห้ว ไท (777:2.3)
               คือ แห้ว เกิด ใน เมือง ไท มี หัว ต่าง ๆ แต่ เล็ก กว่า แห้ว จีน.
      แห้ว ทรง กะเทียม (777:2.4)
               คือ หัว แห้ว เช่น หัว กะเทียม, หัว กลม เล็ก ๆ ไม่ เหมือน หัว แห้ว อื่น นั้น.
      แห้ว หมู (777:2.5)
               คือ ต้น หญ้า มี หัว, เช่น หัว แห้ว แต่ มัน มี กลิ่น เหมน เขา ทำ ยา ได้.
โหย (777:3)
         ไห้, คือ เสียง คน เปน ต้น, ที่ ร่ำ ร้อง คร่ำครวญ ดัง* โหว ๆ แล เรื่อย ไม่ ใคร่ อยุด นั้น.
      โหย ละห้อย (777:3.1)
               ไห้ ละห้อย, คือ เสียง คน ร้อง คร่ำ ครวญ เปน ที่ กะบวน ร้อง ไห้ ร่ำ ไร น่า สงสาร นั้น.
      โหย หา (777:3.2)
               คือ สำเนียง เสียง ครวญ คร่ำ ร่ำไร ไห้ หา, เมื่อ คราว พลัดพราก จาก กัน ไป นั้น.
      โหย ไห้ (777:3.3)
               คือ อาการ ที่ คน คร่ำ ครวญ ร้อง โอย ๆ โหย หวน นั้น.
      โหย หวน (777:3.4)
               ไห้ หวน, คือ สำเนียง เสียง ร้อง คำเพลง ดัง ขึ้น หนัก แล้ว กลับ ทุ้ม เสียง ลง นั้น.
      โหย หิว (777:3.5)
               ไห้ ละหวย, คือ ใจ ละหวย อ่อน, เช่น คน อต อา หาร มี อาการ ใจ ธ้อแท้ นัก นั้น.
หอย (777:4)
         ประการัง, คือ สัตว จำพวก หนึ่ง, มัน อยู่ น้ำ จืด น้ำ เค็ม มี รูป ต่าง ๆ, มัน ร้อง ไม่ ได้ มัน กิน ดิน โคลน ที่ เขา เรียก หอย ทาก มัน อยู่ บก ได้.
      หอย กะพง (777:4.1)
               คือ หอย ตัว มัน เล็ก ๆ เท่า ปลาย นิ้ว ก้อย มือ มี เปลือก เปน กาบ สอง อัน มัน อยู่ น้ำ เค็ม นั้น.
      หอย กาบ (777:4.2)
               คือ หอบ ตัว มัน เปน กาบ, เช่น ฝ่า มือ สอง ข้าง ประกอบ กัน เข้า ไว้, มัน อยู่ น้ำ จืด ก็ มี, อยู่ น้ำ เค็ม ก็ มี นั้น.
      หอย โข่ง (777:4.3)
               คือ หอย ตัว มัน เท่า ลูก หมาก วน กลม มัน อยู่ น้ำ จืด ที่ นา นั้น.
      หอย ขม (777:4.4)
               คือ หอย ตัว มัน เวียน กลม เท่า ปลาย นิ้ว มือ มัน อยู่ น้ำ จืด นั้น.
      หอย คราง (777:4.5)
               คือ หอย มัน เปน ฝา สอง ซีก ประกับ กัน โต เท่า ลูก หมาก ใหญ่, มัน อยู่ ที่ โคลน ทะเล น้ำ เค็ม นั้น.
      หอย แครง (777:4.6)
               คือ หอย เช่น เดียว กับ หอย คราง, แต่ ตัว มัน เล็ก เท่า ปลาย แม่ มือ อยู่ น้ำ เค็ม นั้น.
      หอย จุบ แจง (777:4.7)
               คือ หอย ตัว มัน เวียน กลม ยาว ค่า นิ้ว มือ มัน อยู่ ทะเล นั้น.
      หอย ตา งัว (777:4.8)
               คือ หอย ตัว มัน เปน ฝา สอง ซีก ประกบ กัน ตัว สั้น กลม เช่น ตา วัว มัน อยู่ น้ำ จืด.
      หอย ทาก (777:4.9)
               คือ หอย ตัว มัน วน กลม เท่า ลูก หมาก ดิบ, มัน ไป บน บก ไม่ อยู่ น้ำ เขา ไม่ กิน.
      หอย ทราย (777:4.10)
               คือ หอย ตัว เช่น หอย ขม, แต่ มัน อยู่ น้ำ จืด ตาม หาด ทราย นั้น.
      หอย นม สาว (777:4.11)
               คือ หอย ตัว มัน มี สัณฐาน คล้าย นม หญิง สาว มัน อยู่ ทะเล นั้น.
      หอย ปลา ตีน (777:4.12)
               คือ ปลา มี ตีน ว่าย น้ำ เร็ว นัก, ตัว มัน เท่า นิ้ว มือ, มัน อยู่ น้ำ อยู่ บก ได้, คน ไม่ กิน.
      หอย ปาก เป็ด (777:4.13)
               คือ หอย ตัว มัน เช่น ปาก เป็ด มี เส้น เปน ราก ออก จาก ตัว อยู่ ทะเล นั้น.
      หอย ภิมพะการัง (777:4.14)
               คือ หอย ตัว มัน เปน กาบ สอง ซีก, เปน หนาม กรุ กระ โต เท่า หลอด ชุต, ยาว สัก สี่ นิ้ว, เขา กิน ได้.
      หอย แมง ภู่ (777:4.15)
               คือ หอย ตัว ยาว สัก สาม นิ้ว กึ่ง, ผิว เปลือก นอก เขียว, ผิว ข้าง ใน เปน ศรี ชมภู บ้าง, มัน จับ ที่ ไม้ หลัก เปน รัง, อยู่ ทะเล คน กิน ได้.
      หอย มือ เสือ (777:4.16)
               คือ หอย ตัว มัน โต เช่น มือ เสือ เปน นิ้ว ๆ เปน สอง กาบ ประกบ* กัน, มัน อยู่ น้ำ เค็ม ทะเล.

--- Page 778 ---
      หอย หลอด (778:4.17)
               คือ หอย ตัว มัน กลม ยาว สัก สอง นิ้ว เช่น หลอด มัน อยู่ ทะเล เขา กิน ได้.
      หอย สังข์ (778:4.18)
               คือ หอย ตัว ใหญ่, เปลือก มัน เขา เอา มา ทำ เครื่อง สำหรับ ล้าง หน้า นั้น.
      หอย เสียบ (778:4.19)
               คือ หอย ตัว มัน คล้าย กับ หอย กาบ, แต่ ตัว มัน กลม เช่น ตา วัว.
      หอย อี่ รม (778:4.20)
               คือ หอย ตัว มัน คล้าย กับ เนื้อ ใน หอย ปาก เป็ด มี อยู่ ที่ ทะเล เขา กิน ได้.
ห้อย (778:1)
         แขวน, คือ ของ แขวน อยู่, เช่น กับ กะดาน ชิงช้า ฤๅ โคม เปน ต้น.
      ห้อย แขวน (778:1.1)
               แขวน ห้อย, คือ ของ มี ที่ สำหรับ ไว้ ของ กิน, มิ ให้ มด เข้า กิน ได้.
      ห้อย ฅอ (778:1.2)
               แขวน ฅอ, คือ การ ที่ ภาด ไว้ ที่ ฅอ, เช่น ของ มี ผ้า เปน ต้น, คน เอา ภาด ลง ไว้ ที่ ฅอ นั้น, เขา ว่า ของ ห้อย ฅอ อยู่.
      ห้อย ตีน (778:1.3)
               หย่อน ท้าว ลง, คือ อาการ ที่ คน นั่ง บน เก้าอี้ วาง ตีน ทั้ง สอง ให้ หย่อน ลง ที่ พื้น เช่น นั้น.
      ห้อย ตัว (778:1.4)
               หย่อน ตัว ลง, คือ อาการ ที่ คน ห้อย ทำ ให้ ตัว แขวน เช่น คั้งคาว, มัน ห้อย ตัว อยู่ บน ต้น ไม้ ฤๅ ใน ถ้ำ นั้น.
      ห้อย ท้าว (778:1.5)
               หย่อน ตีน ลง, คือ อาการ ที่ คน นั่ง เช่น ว่า นั้น, แต่ ว่า ห้อย ท้าว, ว่า เปน คำ สุภาพ คำ ผู้ ดี นั้น.
      ห้อย บ่า (778:1.6)
               คือ การ ที่ เขา เอา ของ มี ผ้า เปน ต้น, วาง ภาด ลง บน บ่า นั้น.
      ห้อย มือ (778:1.7)
               หย่อน มือ ลง, คือ อาการ ที่ คน ทำ มือ ให้ ลง อยู่ เบื้อง ต่ำ, แขวน ห้อย อยู่ ไม่ ยก ขึ้น นั้น.
      ห้อย ย้อย (778:1.8)
               คือ ห้อย ยาน ลง นั้น.
      ห้อย ลง (778:1.9)
               หย่อน ลง, คือ การ ที่ เขา เอา ของ มี ผ้า เปน ต้น, วาง ภาด เลื้อย ไว้ ที่ สาย สะเดียง เปน ต้น นั้น.
      ห้อย ไว้ (778:1.10)
               คือ การ ที่ เขา เอา ของ มี ผ้า เปน ต้น, วาง ภาด เลื้อย ลง ไว้ บน สาย สะเดียง เปน ต้น.
      ห้อย โหย (778:1.11)
               คือ ห้อย โหน ลง.
      ห้อย หัว (778:1.12)
               หย่อน หัว ลง, คือ อาการ ที่ คน เอา ขา เกี่ยว ไว้ บน ไม้ ลำ เปน ราว, แล้ว ทำ ให้ หัว ลง เบื้อง ต่ำ นั้น.
หวย (778:2)
         ฮวย หวย, คำ นี้ เปน ภาษา จีน ๆ เขียน ชื่อ คน จีน ที่ ตาย ไป แล้ว สามสิบหก ชื่อ, แล้ว เอา ออก แขวน ตัว หนึ่ง ถ้า ใคร ทาย ถูก ตัว นั้น, แทง เฟื้อง หนึ่ง ใช้ ให้ สาม สิบ เฟื้อง.
      หวย จีน (778:2.1)
               คือ ตัว หวย ที่ พวก จีน เขียน ชื่อ จีน เช่น ว่า แล้ว เอา ออก แขวน เล่น กัน นั้น.
      หวย เช้า (778:2.2)
               คือ หวย เช่น ว่า นั้น, ผู้ ออก เอา ออก แขวน เวลา เช้า เวลา หนึ่ง นั้น.
      หวย ไทย (778:2.3)
               คือ ตัว หวย พวก ไทย ทำ เอา อย่าง จีน, แต่ เอา ชื่อ อักษร สามสิบสี่ ตัว, มี กอ เปน ต้น เขียน เอา ออก แขวน เล่น กัน.
      หวย เอย็น (778:2.4)
               คือ หวย เช่น ว่า นั้น, ผู้ ออก เอา ออก แขวน เวลา บ่าย เวลา หนึ่ง นั้น.
ห้วย (778:3)
         ลำ ธาร, คือ ลำ คลอง ย่อม ๆ กว้าง ห้า วา หก วา, ฦก สิบ ศอก ฤๅ สาม วา, มี ใน ป่า ดง นั้น.
      ห้วย กรด (778:3.1)
               เปน ชื่อ ห้วย แห่ง หนึ่ง อยู่ ใน ป่า ดง ฝ่าย เหนือ นั้น, เรียก มา ตาม บูราณ.
      ห้วย คลอง (778:3.2)
               คือ ลำธาร ใหญ่ กว้าง สัก สี่ วา ห้า วา นั้น.
      ห้วย ธาร (778:3.3)
               คือ ลำคลอง เล็ก ๆ มี ใน ป่า ดง, เปน ธ่อ สำหรับ น้ำ ระดู ฝน ไหล ใน ป่า นั้น.
      ห้วย น้ำ ฤทธิ์ (778:3.4)
               คือ ลำคลอง มี ใน ดง ป่า ไม้ เช่น ว่า แล้ว, แต่ ห้วย นั้น มี มาก, มี ชื่อ ต่าง ๆ กัน, ห้วย นี้ ชื่อ น้ำ ฤทธิ์ นั้น.
      ห้วย หนอง (778:3.5)
               ธาร หนอง, คือ หนอง เปน สระ กลม ไม่ รี ยาว เช่น บึง เช่น ห้วย.
      ห้วย บาง (778:3.6)
               คือ ลำคลอง ที่ เขา เรียก ว่า บาง, เช่น คลอง บาง หลวง นี้ เปน ต้น.
      ห้วย ละหาร (778:3.7)
               ธาร ละหาร, คือ ลำธาร ใหญ่ ยาว ไป ไกล, มี ใน ป่า ใหญ่ ไม้ ระหง ดง ดอน นั้น.
      ห้วย เหว (778:3.8)
               คือ ลำห้วย เช่น ว่า, แต่ เหว นั้น มี อยู่ ที่ ภูเขา, มัน เปน ฝั่ง ชัน ชะงัก คน ขึ้น ลง ไม่ ได้ นั้น.
เหี่ยว (778:4)
         (dummy head added to facilitate searching).
      เหี่ยว แดด (778:4.1)
               สลด แดด, คือ ของ มี ดอก ไม้ แล ใบ ไม้ เปน ต้น, ที่ มัน หล่น ออก จาก ต้น ถูก แดด แล บู้ บี้ อยู้ อยี้ ไป นั้น.

--- Page 779 ---
      เหี่ยว ปอด แปด (779:4.2)
               คือ เหี่ยว ปรอด แปรด, เช่น ของ มี นม คน เปน ต้น, เดิม เมื่อ คน ยัง หนุ่ม สาว ก็ ครัด เคร่ง เต่ง เค้า อยู่, ครั้น แก่ ชะรา ก็ เหี่ยว ปอด แปด ไป.
      เหี่ยว ลง (779:4.3)
               ซูบ ลง, คือ กาย รูป คน เมื่อ อายุ ล่วง เข้า หกสิบ เจ็ดสิบ ปี, รูป กาย ก็ ซูบ เสีย นั้น.
      เหี่ยว แห้ง (779:4.4)
               คือ การ เช่น ใบ ไม้ มี ใบ กล้วย เปน ต้น, ที่ มัน แก่ แล้ว ถูก แดด เหี่ยว แห้ง ไป นั้น.
เหี้ย (779:1)
         คือ สัตว สี่ท้าว, ตัว มัน ยาว เหมือน จรเข้ อยู่ น้ำ ก็ ได้ บก ก็ ได้ นั้น.
      เหี้ย ขึ้น เรือน (779:1.1)
               คือ เหี้ย นั้น มัน มา ขึ้น เรือน, เขา ถือ ว่า จะ ถึง ความ ฉิบหาย แห่ง ทรัพย์ นั้น.
เหื่อ (779:2)
         คือ น้ำ ที่ เกิด จาก กาย, เมื่อ กาย ถูก แดด ฤๅ ทำ การ หนัก เปน ต้น นั้น.
      เหื่อ กาล (779:2.1)
               คือ น้ำ ที่ เกิด ขึ้น จาก กาย คน, เมื่อ ป่วย เกือบ จะ ใกล้ ตาย นั้น.
      เหื่อ แตก (779:2.2)
               คือ เหื่อ ใน ตัว คน เมื่อ เขา ถูก แดด ฤๅ ทำ การ, หนัก มัก พลัก ออก มา นั้น.
      เหื่อ ตัว (779:2.3)
               คือ น้ำ เหื่อ ที่ ไหล ออก จาก ตัว คน, ลาง ที น้ำ เหื่อ ไหล ออก จาก หน้า ก็ มี บ้าง จึ่ง เรียก เหื่อ ตัว.
      เหื่อ ตก (779:2.4)
               คือ น้ำ เหื่อ เปน เม็ด ไหล ออก จาก ตัว คน, เปน อยาด อยด ลง จาก กาย คน นั้น.
      เหื่อ โทรม (779:2.5)
               เหื่อ ไหล อาบ, คือ น้ำ เหื่อ ไหล ออก เซิบ ซาบ อาบ ตัว, เช่น กับ คน อาบ น้ำ นั้น.
      เหื่อ หน้า (779:2.6)
               คือ น้ำ เหื่อ เกิด ขึ้น ที่ หน้า, ที่ อะไวยะวะ อื่น ไม่ มี จึ่ง เรียก ว่า เหื่อ หน้า นั้น.
      เหื่อ หนับ (779:2.7)
               เหื่อ เหนอะ, คือ น้ำ เหื่อ ออก ซับ ๆ ที่ ตัว คน, มัน ไม่ ไหล ออก มาก, เปน แค่ ทึบ ทับ นั้น.
      เหื่อ เหนียว (779:2.8)
               คือ น้ำ เหื่อ ซึม ซับ ที่ ตัว, ภอ หนับ ๆ ไม่ ออก มาก นัก นั้น.
      เหื่อ พราก ๆ (779:2.9)
               คือ น้ำ เหื่อ ดก ออก นัก ราว กับ เม็ด ฝน นั้น.
      เหื่อ ย้อย หน้า อยาด (779:2.10)
               เปน คำ เขา พูจ ถึง เมื่อ เขา ทำ การ หนัก เต็ม ที, จน เหื่อ ไหล ไคล ย้อย นั้น.
      เหื่อ ไหล (779:2.11)
               คือ น้ำ เหื่อ ไหล ออก จาก ตัว เปน แถว ๆ เช่น เมื่อ คน เข้า กระโจม รม นั้น.
      เหื่อ ไหล ไคล ย้อย (779:2.12)
               มี ความ เช่น ว่า แล้ว.
      เหื่อ ออก (779:2.13)
               เสโท ซึม ซาบ, คือ น้ำ เหื่อ ซึม ไหล ออก จาก กาย นั้น, เมื่อ คน ร้อน ระงม เหื่อ ออก นั้น.
เหอ (779:3)
         หัวเราะ, นี้ เปน สำเนียง คน หัวเราะ ดัง เหอ ๆ อย่าง นี้ ก็ มี บ้าง นั้น.
หัว (779:4)
         คือ อะไวยะวะ ที่ อยู่ เบื้อง บน ที่ สุด, ต่อ ติด กับ ฅอ มัน มี ปาก มี จมูก มี หู มี ตา เปน ต้น.
      หัว กู (779:4.1)
               คือ คำ พูจ บอก ว่า หัว กู, เช่น คน เปน เพื่อน กัน, ถาม ว่า นี่ หัว ใคร, บอก ว่า หัว กู.
      หัว กะทิ (779:4.2)
               คือ น้ำ กะทิ ที่ เขา คั้น ข้น นั้น.
      หัว แก่น หัว มัน (779:4.3)
               คือ ของ ที่ ดี ฤๅ โต* กว่า เพื่อน, มี อยู่ ไม่ สู้ มาก นัก นั้น.
      หัว เข่า (779:4.4)
               คือ อะไวยะวะ ที่ เปน ข้อ ต่อ ขา กับ แข้ง ต่อ กัน, มัน เปน กระดูก ตุ่ม โต โป อยู่ นั้น.
      หัว โขมด (779:4.5)
               คือ กะ ดูก หัว ผี ที่ มัน ทิ้ง อยู่ กลาง ดง กลาง ป่า เพลา ค่ำ มัก ทำ เปน ดวง ไฟ หลอก คน นั้น.
      หัว ขะโมย (779:4.6)
               คือ คน เปน นาย ขะโมย ใหญ่ นั้น.
      หัว แขง (779:4.7)
               เปน คำ เขา ว่า เด็ก ๆ, ที่ มัน เปน เด็ก ว่า ยาก สั่ง สอน ยาก นั้น.
      หัว ขาด (779:4.8)
               คือ หัว คน ฤๅ สัตว ที่ เขา ตัด* ออก จาก กาย นั้น, เขา เรียก ว่า หัว ขาด.
      หัว โขด (779:4.9)
               คือ ที่ พื้น ดิน ใน ทะเล, ที่ มัน สูง เปน หาด ขึ้น นั้น.
      หัว ขวาน (779:4.10)
               คือ ที่ ขม่อม ขวาน หมู นั้น.
      หัว โขน (779:4.11)
               คือ รูป หัว มะนุษ ฤๅ ยักษ ฤๅ รูป หัว สัตว ต่าง ๆ เขา เอา ดิน ปั้น เปน รูป หัว มะนุษ เปน ต้น, แล้ว เอา กะดาด ปิด ลอก ออก แต่ง เปน ดี นั้น.
      หัว ค่ำ (779:4.12)
               คือ เพลา แต่* พลบ ไป จน ทุ่ม เสศ สอง ทุ่ม นั้น, เขา เรียก ว่า หัว ค่ำ.
      หัว คน (779:4.13)
               คือ หัว เช่น ว่า แล้ว มี อยู่ ที่ ตัว คน ทุก คน นั้น, เขา เรียก หัว คน.
      หัว ควย (779:4.14)
               คือ หัว อะไวยะวะ ที่ ลับ แห่ง บุรุษ, เขา เรียก อย่าง นี้ บ้าง.

--- Page 780 ---
      หัว เหง้า (780:4.15)
               คือ สิ่ง ที่ มี อยู่ ที่ ต้น กล้วย เปน ต้น, มัน มี ต่อ โคน ลง ไป เปน ปุ่ม โต อยู่ ใต้ ดิน นั้น.
      หัว ใจ (780:4.16)
               คือ เนื้อ รูป เช่น ดอก บัว, มี อยู่ ใน กาย ที่ ตรง กลาง อก เปน ที่ สำหรับ จิตร อาไศรย นั้น.
      หัว ใจ ไม ตรี (780:4.17)
               คือ ใจ มี ความ เมตตา นั้น.
      หัว จุก (780:4.18)
               คือ จอม ผม ที่ หัว เด็ก คน ไท, เขา ทำ ผม เปน จอม ไว้ ที่ หัว มัน นั้น.
      หัว เจ็บ หัว แค้น (780:4.19)
               คือ แรก เจ็บ แรก แค้น เช่น คน มี ความ โกรธ กล้า แขง แรง นัก, เพราะ ความ เปน ที่ เจ็บ ใจ ใหญ่ หลวง นั้น.
      หัว ดำ (780:4.20)
               คือ หัว คน ที่ มี ผม ดำ ยัง ไม่ หงอก ขาว นั้น, เขา เรียก ว่า คน หัว ดำ นั้น.
      หัว เดียว (780:4.21)
               คือ หัว คน ผู้ เดียว, เช่น คน มา แต่ ที่ อื่น ถึง ที่ นี่ แต่ ผู้ เดียว นั้น.
      หัว ตา (780:4.22)
               คือ ที่ ต้น หน่วย ตา, มัน ติด อยู่ ข้าง ต้น จมูก นั้น, เขา เรียก หัว ตา แท้.
      หัว เตา (780:4.23)
               คือ เงิน อาการ เตา ไฟ ที่ เขา เขี้ยว น้ำ ตาล, ฤๅ เผา ม่อ เปน ต้น, เขา เก็บ เอา เงิน ค่า เตา ปี ละ บาท, ส่ง เปน เงิน หลวง นั้น.
      หัว ตะคาก (780:4.24)
               คือ กระดูก ที่ ท้อง น้อย, มัน ติด ต่อ กับ กระดูก ต้น ขา นั้น.
      หัว ตะปู (780:4.25)
               คือ ที่ ต้น เหล็ก ตะปู เปน เม็ด อยู่ นั้น.
      หัว ตะแลงแกง (780:4.26)
               คือ ตำแหน่ง ที่ สำหรับ ฆ่า คน นั้น.
      หัว ถอก (780:4.27)
               คือ อะไวยะวะ ที่ ลับ แห่ง ชาย, ที่ เปน ที่ ถ่าย ปะ สาวะ ทุกข สัตว เบา นั้น.
      หัว ที (780:4.28)
               คือ ที แรก, เช่น คน ทำ การ อัน ใด ๆ เปน ที แรก กระทำ นั้น.
      หัว น่า (780:4.29)
               คือ เบื้อง น่า, เช่น คน มา มาก นับ สิบ นับ ร้อย, ผู้ ใด มา เบื้อง น่า, ว่า ผู้ นั้น มา หัว น่า นั้น.
      หัว ปลวก (780:4.30)
               คือ จอม ปลวก นั้น.
      หัว เหน่า (780:4.31)
               คือ อะไวยะวะ มี อยู่ ที่ ใต้ ท้อง น้อย ลง ไป, แต่ อยู่ เหนือ ต้น ขั้ว องคชาติ นั้น.
      หัว น้ำ (780:4.32)
               คือ ต้น น้ำ ฤๅ น้ำ ผึ้ง ที่ มัน คั่ง อยู่ ใน รวง ผึ้ง นั้น.
      หัว น้ำ ขึ้น (780:4.33)
               คือ น้ำ แรก ขึ้น นั้น.
      หัว น้ำ ผึ้ง (780:4.34)
               คือ ที่ รัง ผึ้ง มัน อุ้ม น้ำ กลม ติด อยู่ กับ กิ่ง ไม้ ที่ มัน จับ อยู่ นั้น.
      หัว น้ำ มัน ยาง (780:4.35)
               คือ น้ำ มัน ยาง ที่ ไส นั้น.
      หัว น้ำ ลง (780:4.36)
               คือ น้ำ แรก ลง.
      หัว น้ำ ลด (780:4.37)
               คือ น้ำ แรก เคลื่อน ถอย ลง.
      หัว นม (780:4.38)
               คือ เนื้อ เปน เม็ด อยู่ ที่ ปลาย นม นั้น, มี ทั้ง หญิง ทั้ง ชาย เรียก หัว นม.
      หัว บัก (780:4.39)
               มี ความ เช่น ว่า แล้ว นั้น.
      หัว เบี้ย (780:4.40)
               คือ เงิน เบี้ย ฤๅ ปี้ สกา, ที่ พวก คน เก็บ เอา เมื่อ คน เล่น เบี้ย กัน เปน ต้น, เขา เก็บ เอา เปน สร่วน ของ หลวง นั้น.
      หัว ปี (780:4.41)
               คือ วัน แล เดือน ที่ เปน ต้น ปี, เช่น วัน ขึ้น ค่ำ หนึ่ง เดือน ห้า ปี ใหม่ นั้น.
      หัว ปี ที แรก (780:4.42)
               คือ เวลา ที่ คน ทำ การ อัน ใด ๆ ฤๅ ลูก เกิด แรก นั้น.
      หัว ประ จบ (780:4.43)
               หัว ประสม, คือ การ ที่ คน พลอย พูจ ประ จบ กับ เขา ที่ พูจ กัน อยู่. อย่าง หนึ่ง ผ้า เปน ต้น, วง อ้อม เข้า ภอ ถึง กัน.
      หัว ป้อม (780:4.44)
               คือ ที่ ตั้ง ป้อม แรก นั้น, เช่น ป้อม ที่ อยู่ มุม วัง หลวง ข้าง วัต เชตุพน นั้น.
      หัว เปีย (780:4.45)
               คือ ผม ที่ คน เจ๊ก, ควั่น เปน วง กลม แล้ว ถัก ผม ยาว, เปน หาง หนู นั้น.
      หัว ฝี (780:4.46)
               คือ เม็ด ฝี ฤๅ ต่อม ฝี ที่ มัน ขึ้น มา ที่ ตัว คน นั้น, เขา เรียก หัว ฝี.
      หัว ไฝ (780:4.47)
               คือ เม็ด ไฝ ดำ ๆ มัน มี ขึ้น ที่ หัว คน ลาง คน นั้น, เขา เรียก หัว ไฝ.
      หัว ฝน (780:4.48)
               คือ กาล แรก ระดู, เช่น เดือน หก เปน เทศกาล ฝน ตก แรก นั้น.
      หัว พุง หัว มัน (780:4.49)
               คือ ของ ที่ ดี เช่น สินค้า ต่าง ๆ ที่ มัน ดี กว่า เพื่อน นั้น.
      หัว พวง (780:4.50)
               คือ มัน อยู่ ต้น พวง, อ้าย พวก คน โทษ หลวง เขา เอา สาย โซร่ ร้อย เปน พวง หลาย คน, เมื่อ เวลา นอน นั้น, ใคร อยู่ ต้น แรก ว่า อ้าย หัว พวง.

--- Page 781 ---
      หัว พลัด (781:4.51)
               การ ที่ คน เปน คน บ้าน แตก เมือง เสีย แก่ ฆ่า ศึก พลัด จาก บ้าน เมือง ของ ตัว, ซัด เซ ไป อยู่ บ้าน เมือง อื่น นั้น.
      หัว พลอย (781:4.52)
               คือ การ คน ที่ เหน เขา พูจ กัน อยู่ เปน ต้น, และ สอด พูจ กับ เขา เปน ต้น นั้น.
      หัว พรรค์ (781:4.53)
               คือ คน ที่ เปน นาย คุม คน หลวง นับ พัน ทำ ราช การ นั้น.
      หัว หมู (781:4.54)
               คือ ศีศะ สุกร, ที่ เจ๊ก เขา ขาย นั้น.
      หัว แม่ ตีน (781:4.55)
               คือ นิ้ว ใหญ่ ที่ ตีน, มัน โต กว่า นิ้ว ทั้ง สี่ นั้น, เรียก ว่า หัว แม่ ตีน.
      หัว แม่ มือ (781:4.56)
               คือ นิ้ว ใหญ่ ที่ มือ, มัน โต กว่า นิ้ว ทั้ง สี่ นั้น, เรียก ว่า หัว แม่ มือ.
      หัว ไม้ (781:4.57)
               คือ คน เก่ง กล้า มัก ชก ตี วิวาท ข่ม เหง เพื่อน นั้น.
      หัว ไม้ ศีศะ ไม้ (781:4.58)
               คือ คน เก่ง กาจ ฉะกรรจ์, เที่ยว พาล ตี รัน ผู้ อื่น, เปน คน ต้น ชัก ชวน ก่อน, นำ น่า เพื่อน ไป นั้น.
      หัว เมือง (781:4.59)
               ศีศะ เมือง, คือ ที่ ตำบล แขวง เมือง ขึ้น กับ เมือง หลวง ทั้ง ปวง นั้น.
      หัว เม็ด (781:4.60)
               คือ เม็ด ที่ เขา เอา ไม้ มา กลึง เปน ยอด แหลม ๆ เปน ชั้น ทำ ไว้ ที่ เสา ตะพาน เปน ต้น.
      หัว* หมื่น (781:4.61)
               คือ คน ข้า ราชการ คุม เลก หลวง นั้น.
      หัว มุม (781:4.62)
               หัว แง่, คือ ที่ เปน มุม เช่น มุม บ้าน เปน ต้น, ฤๅ ที่ มุม เมือง นั้น.
      หัว มือ (781:4.63)
               คือ ของ ที่ เขา ให้ เช่น รางวัล, เขา วาน ให้ ช่วย เก็บ ผลไม้, มี หมาก แล มะพร้าว เปน ต้น, แล้ว เขา ให้ ของ ที่ ดี ๆ นั้น.
      หัว แหยม (781:4.64)
               คือ ผม ที่ เปน ปอย อยู่ ที่ หัว, ฤๅ ผม หาง เปีย เด็ก ๆ นั้น.
      หัว เรือ (781:4.65)
               คือ ที่ สุด ข้าง ปลาย เรือ, ที่ ไป ข้าง น่า ก่อน นั้น.
      หัว เราะ (781:4.66)
               คือ สำราญ* สรวล, เมื่อ ชอบ ใจ เหน ของ ที่ ขัน ๆ นั้น.
      หัว รอ (781:4.67)
               คือ ที่ เขา ปัก ไม้ สำหรับ รับ น้ำ ใน แม่ น้ำ, เพื่อ จะ มิ ให้ ตลิ่ง ภัง ฝั่ง ซุด นั้น.
      หัว ร่อ (781:4.68)
               ความ อัน เดียว กับ หัว เราะ.
      หัว ไหล่ (781:4.69)
               คือ อะไวยะวะ ที่ ถัด บ่า ลง ไป นั้น.
      หัว เหล้า (781:4.70)
               คือ น้ำ เหล้า ที่ เขา ทำ ที แรก นั้น.
      หัว ล้น ต้น ไฟ (781:4.71)
               คือ เวลา แรก โกรธ เปน ต้น, ฤๅ แรก ไฟ ติด ขึ้น นั้น.
      หัว เล็บ (781:4.72)
               คือ ที่ ต้น เล็บ ริม เนื้อ มี อยู่ ที่ ปลาย นิ้ว มือ นิ้ว ท้าว. ทั้ง ยี่สิบ นิ้ว นั้น.
      หัว ลม ลง (781:4.73)
               คือ เวลา แรก มี ลม ว่าว, เมื่อ เกือบ จะ สิ้น ระดู ฝน นั้น.
      หัว หอม (781:4.74)
               คือ หัว ผัก อย่าง หนึ่ง, ต้น มัน กลม ๆ เท่า เหล็ก ไน, งอก ขึ้น เปน กอ เง่า มัน ใหญ่ เท่า ลูก หมาก เรียก ว่า หัว หอม.
      หัว อก (781:4.75)
               อุ ระ, คือ อะไวยะวะ ที่ อยู่ ถัด ฅอ ลง ไป จน ถึง ลิ้น ปี่, เหนือ ท้อง ใหญ่ นั้น ว่า หัว อก.
เหะ (781:1)
         เอะ, เปน คำ สำเนียง ออก จาก ปาก คน, เมื่อ จะ ทำ การ หนัก, เปน ต้น ว่า จะ ยก แบก ของ หนัก นั้น.
      เหะหะ (781:1.1)
               เอะอะ, เปน คำ สำเนียง เขา ออก ปาก, เมื่อ จะ ทำ การ หนัก, ต้อง ช่วย กัน หลาย คน, ร้อง เพื่อ จะ ให้ พร้อม กัน.
แหะ ๆ (781:2)
         เปน เสียง หัว เราะ ดัง แหะ ๆ เช่น คน เหน เขา ทำ อาการ ขัน ๆ เปน ต้น, แล หัว เราะ ดัง แหะ ๆ นั้น.
เหาะ (781:3)
         คือ อาการ ที่ ลอย ไป ใน อากาศ ได้, แต่ มิ ใช่ บิน ไป ด้วย ปีก เช่น นก, ไป ได้ ด้วย กำลัง ฤทธิ์ เหมือน เมื่อ พระ เยซู กลับ เปน ขึ้น ไป สวรรค์.
      เหาะ ขึ้น (781:3.1)
               คือ ลอย เลื่อน ขึ้น ไป สวรรค์ นั้น.
      เหาะ ทยาน (781:3.2)
               คือ เหาะ ทำ กาย ทะลึ่ง ขึ้น, เช่น รูป หะณุมาน เหาะ ที่ เขา เขียน ไว้ เปน ต้น นั้น.
      เหาะ ระเห็จ (781:3.3)
               คือ เหาะ ไป เร็ว ๆ นั้น.
      เหาะ ลง (781:3.4)
               คือ เลื่อน ลอย ลง มา จาก อากาศ นั้น.
      เหาะ เหิร (781:3.5)
               คือ เหาะ ไป ใน อากาศ สูง, ถ้า เหาะ ไป ใน อากาศ ต่ำ ๆ ไม่ ว่า เหาะ เหิร.
      เหาะ หาย (781:3.6)
               คือ เหาะ ลอย ลับ ไป นั้น.
หอ (781:4)
         คือ เรือน เปน ที่ โอ่ อวด สอาจ โถง นั้น, เช่น เรือน เปน ที่ รับ แขก เปน ต้น. อนึ่ง เปน เรือน ขาย ปลูก เมื่อ ทำ การ บ่าว สาว อยู่ ด้วย กัน นั้น.

--- Page 782 ---
      หอ กลาง (782:4.1)
               คือ หอ ที่ มี เรือน อื่น อยู่ รอบ, หอ นั้น อยู่ กลาง มี ที่ บ้าน ขุน นาง เปน ต้น นั้น.
      หอ กลอง (782:4.2)
               คือ ที่ เขา ปลูก เปน ชั้น สูง ขึ้น ไป สาม ชั้น, สำ หรับ ใส่ กลอง สาม ใบ ๆ ละ ชั้น นั้น.
      หอ ขวาง (782:4.3)
               คือ หอ ที่ เขา ปลูก ด้าน สกัด เรือน อื่น, จึ่ง เรียก หอ ขวาง
      หอ เครื่อง (782:4.4)
               คือ เรือน หอ สำหรับ ไว้ เครื่อง มือ* ต่าง ๆ มี เสื้อ แล หมวก เปน ต้น.
      หอ คอย (782:4.5)
               คือ หอ ที่ เขา ปลูก เปน ห้าง ไว้ ที่ ปาก น้ำ, สำหรับ คอย ดู เรือ ฆ่าศึก สลัด เปน ต้น นั้น.
      หอ ไตร* (782:4.6)
               คือ หอ ย่อม ๆ เขา ปลูก ไว้ ใน วัต หลวง สำหรับ ไว้ พระไตร ปิฎกธรรม นั้น.
      หอ โทน (782:4.7)
               คือ หอ ที่ เขา ปลูก ไว้ แต่ ลำพัง หลัง เดียว, ไม่ มี เรือน ฤๅ หอ อื่น อยู่ ใกล้ เคียง นั้น.
      หอ นก (782:4.8)
               หอ นั่ง, คือ เรือน ที่ เขา ปลูก เล็ก ๆ เช่น เรือน เขา ปลูก เลี้ยง นก.
      หอ นอก (782:4.9)
               คือ หอ เรือน เขา ปลูก ไว้ ชั้น นอก, เรือน ที่ เปน ที่ อยู่ นั้น.
      หอ แปล พระราช สาสน์ (782:4.10)
               คือ หอ สำหรับ รับ ราชสาสน์ ประชุม กัน แปล ที่ หอ นั้น.
      หอ พระ (782:4.11)
               คือ หอ เล็ก ๆ เขา ปลูก สำหรับ ไว้ พระพุทธ รูป เปน ต้น นั้น.
      หอ พระ ปริด (782:4.12)
               คือ หอ ย่อม ๆ เขา ปลูก ไว้ สำหรับ พระ สงฆ์, สวด พระ ปริตร ใน พระ ราช สถาน.
      หอ พระ มณเฑียร ธรรม (782:4.13)
               คือ หอ ใหญ่ เท่า โรง อุโบสถ, สำ หรับ ไว้ พระ ธรรม ไตร* ปิฎก ใน หลวง นั้น.
      หอ ใหม่ (782:4.14)
               คือ หอ เขา ปลูก ขึ้น ใหม่ นั้น.
      หอ รี (782:4.15)
               คือ หอ ยาว ไป นั้น.
      หอระคุณ (782:4.16)
               คือ วิธี เลข มี ใน คัมภีร์ โหร อย่าง หนึ่ง นั้น.
      หอ ระฆัง (782:4.17)
               คือ หอ สำหรับ แขวน ระฆัง ไว้ มี ที่ วัด นั้น.
      หอระดี (782:4.18)
               เปน ชื่อ ทิศ ตวัน ตก เฉียง ใต้.
      หอระดาน (782:4.19)
               คือ ศรี เหลือง ๆ เกิด แด่ สิลา, เขา เอา มา ละลาย เขียน หนังสือ ได้.
      หอ ระเบียน (782:4.20)
               คือ หอ สำหรับ เก็บ บาญชีย์ หาง ว่าว, เลก ที่ สัก ข้อ มือ ไว้ นั้น.
      หอ รบ (782:4.21)
               คือ หอ ที่ เขา ทำ ไว้ ที่ ประตู กำแพง เมือง, สำหรับ ยิง ปืน ใหญ่ รบ กับ ฆ่าศึก สัตรู นั้น.
ห่อ (782:1)
         หุ้ม, คือ การ ที่ เขา เอา ผ้า เปน ต้น หุ้ม เข้า ข้าง นอก ของ แล้ว ผูก มัด รัด รึง ไว้ นั้น.
      ห่อ ของ (782:1.1)
               คือ การ ที่ คน มี ของ อัน ใด ๆ มี เบี้ย เปน ต้น, แล เขา เอา ใบ ไม้ ฤๅ ผ้า หุ้ม เข้า มิด ปิด ไว้.
      ห่อ เข้า (782:1.2)
               คือ การ ที่ เขา เอา ผ้า เปน ต้น แผ่ ลง, แล้ว เอา เข้า เท ใส่ ลง แล รวบ รัด ชาย ผ้า หุ้ม ห่อ ให้ มิด ชิด นั้น.
      ห่อ ขนม (782:1.3)
               คือ เขา เอา ใบตอง หุ้ม แป้ง ขนม นั้น.
      ห่อ เงิน (782:1.4)
               คือ การ ที่ คน เอา ผ้า เปน ต้น แผ่ ลง แล้ว, เอา เงิน ใส่ ลง แล้ว ตลบ ชาย ผ้า เข้า ห่ม, ให้ มิด ปิด บัง ไว้ นั้น.
      ห่อ ทอง (782:1.5)
               คือ การ ที่ เขา เอา ผ้า หุ้ม ทำ ให้ มิด ชิด ปิด บัง ทอง ไว้, เช่น กัป ห่อ เงิน นั้น.
      ห่อ หนังสือ (782:1.6)
               คือ ผ้า ห่อ หนังสือ คำภีร์ นั้น.
      ห่อ หนึ่ง (782:1.7)
               คือ ห่อ เดียว นั้น.
      ห่อ ผ้า (782:1.8)
               คือ การ ที่ เขา เอา ผ้า วาง ลง ผืน หนึ่ง แล้ว, จึ่ง เอา ผืน ผ้า อื่น ภับ ๆ ลำดับ ลง แล้ว ห่อ ไว้ นั้น.
      ห่อ หมก (782:1.9)
               คือ ห่อ เนื้อ ปลา กับ เครื่อง ปรุง เผ็ด ทำ เปน กับ เข้า นั้น.
      ห่อ อยา (782:1.10)
               คือ การ ที่ เขา เอา ผ้า ฤๅ กะดาด แผ่ ลง, แล้ว เอา อยา วาง ลง หุ้ม ห่อ ไว้ นั้น.
      ห่อ ไว้ (782:1.11)
               คือ ห่อ ที่ เขา เก็บ ไว้ นั้น.
ห้อ (782:2)
         วิ่ง เร็ว, คือ อาการ ที่ เขา ปล่อย ควบ ม้า ไป โดย กำลัง แรง เร็ว, สิ้น ฝี ท้าว ม้า นั้น.
      ห้อ ม้า (782:2.1)
               วิ่ง ม้า, คือ อาการ ที่ ปล่อย ม้า ให้ มัน วิ่ง เต็ม* กำลัง เร็ว นัก, สัตว อื่น วิ่ง ไม่ ทัน นั้น.
      ห้อ เลือด (782:2.2)
               คือ อาการ ที่ ตัว คน ถูก ไม้ เปน ต้น กระทบ หนัก, แต่ ไม่ แตก เปน เลือด ช้ำ เขียว อยู่ ใน ผิว หนัง.
      ห้อ วิ่ง เร็ว นัก (782:2.3)
               คือ การ ที่ คน วิ่ง โดย กำลัง สิ้น ฝี ท้าว, เร็ว ตาม กำลัง คน นั้น

--- Page 783 ---
(783:1)
         
ฬา (783:2)
         คือ ของ ไม่ งอ นัก, เช่น เหล็ก ลวด ทำ ขด เปน เบ็ด, ไม่ งอ นัก นั้น ว่า มัน ยัง ฬา อยู่.
ฬ่อ (783:3)
         คือ ของ แรก แพลม ปริ่ม ออก, เช่น เจาะ ไม้ ด้วย เหล็ก หมาด เปน ต้น, มัน แรก ทะลุ ออก, ว่า ปลาย เหล็ก มัน ฬ่อ ออก.
      ฬอ แล่ (783:3.1)
               อ้อ แอ้, คือ คำ คน พูจ ลิ้น ไก่ สั้น ไม่ ใคร่ ได้ ความ ชัด, เช่น คน ป่วย หนัก เกือบ จะ ตาย นั้น.
      ฬ่อ หลอก (783:3.2)
               ลวง หลอก, คือ ถ้อย คำ คน พูจจา นำ แนะ ไป, โดย คำ ปด บ้าง จริง บ้าง นั้น.
      ฬ่อ ลวง (783:3.3)
               หลอก ลวง, คือ คำ เขา พูจจา แนะนำ ไป ด้วย คำ เท็จ ไม่ จริง นั้น.
      ฬ่อ ไว้ (783:3.4)
               ลวง ไว้, คือ อาการ ที่ คน ออก ข้าง น่า แต่ ผู้ เดียว, ให้ สัตรู เหน, พวก คน มาก เอา ซ่อน บัง ไว้. อย่าง หนึ่ง ทำ มือ เปน ต้น ให้ เหน แพลม อยู่ นั้น.
      ฬ่อ เอา ความ (783:3.5)
               หลอก เอา ความ, คือ ชัก นำ พูจจา ด้วย ปราถนา จะ ใคร่ รู้ ความ อัน ใด อัน หนึ่ง, ไม่ ให้ ผู้ นั้น ทัน รู้ ตัว
(783:4)
         
อา (783:5)
         คือ คำ เขา เรียก คน ที่ เปน น้อง ของ พ่อ, เช่น ทั้ง ผู้ หญิง ผู้ ชาย นั้น.
อากาศา นัญจายัตะนะ (783:6)
         นี้ เปน ชื่อ พรหม โลกย์ ฤๅ เปน ชื่อ ฌาน นั้น, เช่น อย่าง อากาศา นัญจายัตะนะ สะมา บัติ เปน ต้น นั้น.
อากึ่ง (783:7)
         เปน ชื่อ พวก เจ๊ก นาย ช่าง เรือ เปน ต้น, เช่น อย่าง พวก อากึ่ง พนัก งาน นาย ช่าง ต่อ ตะเภา เปน ต้น.
อากิญจัญา ยัตะนะ (783:8)
         เปน ชื่อ แห่ง พรหมโลกย์ ชั้น หนึ่ง, อย่าง อากิญจัญา ยัตะนะ พรหม เปน ต้น.
อาเกียน (783:9)
         เรี่ย ราย, คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ มี เรี่ยราย ไป นั้น, เช่น เข้า ของ ที่ มี ดาษ ไป เปน ต้น นั้น.
อากัป กิริยา (783:10)
         คือ กิริยา อาการ ต่าง ๆ นั้น, เช่น ลักขณะ กิริ ยา คน เปน ต้น.
อาการ (783:11)
         ลักขณะ, คือ กีริยา ที่ เปน ไป ต่าง ๆ นั้น, อย่าง คน ถาม ถึง อาการ ป่วย ไข้ ทั้ง ปวง นั้น.
อากอร (783:12)
         สมพัจษร, คือ เงิน ที่ ต้อง เก็บ ส่ง ใน หลวง ทุก ๆ ปี นั้น
อากูล (783:13)
         คือ มี มาก มูลมอง นั้น.
อากาศ (783:14)
         เวหา, คือ ที่ เปล่า ทั้ง ปวง นั้น, เช่น อย่าง ที่ ว่าง เปล่า ใน ท้อง ฟ้า นั้น.
อาเขย (783:15)
         คือ ผัว ของ อา ผู้ หญิง, เช่น ชาย ที่ เปน ผัว น้อง หญิง ของ พ่อ เรา นั้น.
อาคะเน (783:16)
         ทิศ ตวัน ออก เฉียง ใต้, เปน ชื่อ ทิศ น้อย ใน ระ หว่าง ทิศ บูรพ์ กับ ทิศ ทักษิณ ต่อ กัน นั้น.
อาคันตุกะ (783:17)
         ฯ คือ คน มา แต่ ไกล มา ใหม่ แล พึง มา.
อาคม (783:18)
         คาถา, คือ คาถา เวท มนตร์ ที่ เศก กัน อันตราย ต่าง ๆ นั้น.
อาฆาฏ (783:19)
         ผูก เวร, คือ การ ที่ คน จอง เวร หมาย มั่น คิด จะ ฆ่า กัน นั้น.
อาจิณะกรรม (783:20)
         กระทำ กรรม ส่ำ สม ไว้, คือ การ ที่ คน กระทำ ส่ำ สม ไว้ เนือง ๆ นั้น.
อาเจียน (783:21)
         เหียน ราก, คือ คลื่น เหียน ต่าง ๆ นั้น.
อาจม (783:22)
         คูธ, คือ อุจจาระ ที่ เปน ของ โสโครก อยู่ ใน ท้อง นั้น
อาจาริย์ (783:23)
         ครู, คือ การ ประพฤติ ดี ฤๅ ผู้ สั่ง สอน วิชา ความ รู้ ต่าง ๆ นั้น.
      อาจาริย์ วัต (783:23.1)
               ปรติบัฏิ ครู, คือ การ ที่ คน ปรติบัฏิ อาจาริย์ ฤๅ คน ประพฤติ ความ ดี นั้น.
อาชา (783:24)
         คือ คน ดี รู้ จัก ประมาณ ฤๅ ม้า นั้น.
อาชาไนย (783:25)
         คือ คน ฤๅ สัตว ที่ มี กำลัง กาย กำลัง ปัญญา รอบ รู้ ยิ่ง กว่า คน แล สัตว ทั้ง ปวง นั้น.
อาชาไศรย (783:26)
         คือ อาการ คน ที่ มี ใจ โอบ อ้อม อารีย์ รู้ ประมาณ การ ดี การ ชั่ว นั้น.

--- Page 784 ---
อาชา อาไศรย (784:1)
         คือ อาการ คน ประกอบ ไป ด้วย ความ เมตตา นั้น.
อาชีวก (784:2)
         คือ คน พวก หนึ่ง, ถือ ลัทธิ ผ่าย นอก พระ สาศนา ว่า ประพฤติ์ เปน คน บวช บ้าง นั้น.
อาญา (784:3)
         คือ กรรมกรณ์ เฆี่ยน ตี เปน ต้น.
      อาญา สิทธิ์ (784:3.1)
               คือ ให้ สำเร็ทธิ์ ด้วย อาญา ของ ตน, เช่น แม่ ทัพ มี อาญา สิทธิ์ เปน ต้น.
อาณา จักร์ อาญา จักร์ (784:4)
         คือ อาญา เช่น จักร์ อัน พัด ผัน อยู่ นั้น เช่น อำนาท อาญา พระ มหา กระษัตริย์ เปน ต้น
อาดูร (784:5)
         เดือด ร้อน, แปล ว่า ระส่ำ ระสาย.
อาทิ (784:6)
         ต้น, แปล ว่า เบื้อง ต้น, ของ สิ่ง ใด เกิด แรก เกิด เดิม, ว่า ของ สิ่ง นั้น เปน อาทิ ตาม มะคธ.
อาทิตย์ (784:7)
         สุริยา, คือ ดวง ที่ ร้อน ใน เดิม นั้น, เช่น ดวง ตะ วัน ที่ เปน แสง แดด นั้น.
อาธาร (784:8)
         คือ สิ่ง ของ เปน ที่ สำหรับ รับ รอง นั้น, อย่าง อาธาร สำหรับ จาน หนังสือ นั้น, ฤๅ โต๊ะ ไม้ ที่ สำหรับ รอง ภาชนะ กิน เข้า นั้น.
อาธรรม (784:9)
         ไม่ สัจ ซื่อ, คือ การ ที่ ไม่ เปน ธรรม อัน ชอบ ดี นั้น เช่น คน ลำเอียง ตัด สีน ความ ไม่ ตรง นั้น.
อานาทร (784:10)
         ไม่ เอื้อเฟื้อ, คือ การ ที่ ไม่ มี ใจ เอื้อเฟื้อ อาไลย นั้น, อย่าง คน ที่ ทิ้ง ลูก อญ่า เมีย เสีย เปน ต้น.
อานาปา (784:11)
         คือ การ กำหนด ลม หาย ใจ เข้า ออก, อย่าง อานาปา นุศติ กรรมฐาน เปน ต้น.
อานิสงษ์ (784:12)
         ผล, คือ ผล ที่ บังเกิด ไหล มา เพราะ ความ ชอบ นั้น, อย่าง อานิสงษ์ ศีล ทาน เปน ต้น.
อานุภาพ (784:13)
         เดช, คือ อำนาท ฤทธิ์ ต่าง ๆ นั้น, อย่าง พระเจ้า มี อานุภาพ มาก เปน ต้น นั้น.
อานนท์ (784:14)
         คือ เปน ชื่อ พระ มหา เถร องค์ หนึ่ง, มี อยู่ ใน นิทาน อย่าง พระ อานนท เถร นั้น.
อาบรรติ (784:15)
         ฯ คือ บาป ที่ บังเกิด มี เพราะ พระ บัญญัติ ห้าม นั้น, อย่าง ภิขุ ต้อง อาบรรติ เปน ต้น.
อาโป (784:16)
         ฯ คือ ธาตุ น้ำ, อย่าง คำ เขา พูจ กัน ว่า อาโป ธาตุ เปน ต้น นั้น.
      อาโป ธาตุ (784:16.1)
               ฯ คือ น้ำ ที่ ดำรง ทรง ไว้ ซึ่ง ตน นั้น.
อาพัด (784:17)
         คือ การ ที่ เศก เหล้า กิน อยู่ คง ฟัน แทง ไม่ เข้า นั้น, อย่าง นักเลง สุรา นั้น.
อาพาธ (784:18)
         ป่วย, คือ อาการ ที่ เจ็บ ไข้ ทั้ง ปวง นั้น, อย่าง พระ สงฆ์ อาพาธ ป่วย เปน ต้น นั้น.
อาเพี่ยน (784:19)
         คำ ไท ว่า ฝิ่น.
อาภรณ (784:20)
         ฯ คือ เครื่อง ประดับ ต่าง ๆ ทั้ง ปวง นั้น, อย่าง เครื่อง แต่ง ตัว นั้น.
อาภัพ (784:21)
         คือ คน ที่ วาศนา หา ไม่, ทำ คุณ คน ไม่ มี ความ ชอบ นั้น.
อามิศ (784:22)
         คือ อามิศ สีนจ้าง สินบน, อามิศ บูชา, ของ กิน ต่าง ๆ นั้น.
อายุ (784:23)
         คือ คน ที่ เกิด มา, มี ชีวิตร เปน อยู่ ได้ เท่า นั้น เท่า นี้ นั้น.
อายัด (784:24)
         คือ การ ที่ เอา สิ่ง ของ ต่าง ๆ มอบ ให้ เขา รักษา ไว้ นั้น เช่น อย่าง เรา จับ เอา ลูก นี่ อายัด ไว้ กับ นาย อำเภอ เปน ต้น นั้น.
อายัตะนะ (784:25)
         คือ ภาย ใน หก, ภาย นอก หก, เข้า กัน เปน สิบสอง, จักขุ หนึ่ง, โศตะ หนึ่ง, ฆานะ หนึ่ง, ชิวหา หนึ่ง, กายะ หนึ่ง, มะนะ หนึ่ง, เปน หก. รูป หนึ่ง, เสียง หนึ่ง, กลิ่น หนึ่ง, รศ หนึ่ง, สำผัศ หนึ่ง, ธรรม หนึ่ง, เปน หก.
อาร่า อาหร่ำ (784:26)
         คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ ยัง เก็บ เกี่ยว ไม่ หมด นั้น เช่น เข้า สุก ใน นา เปน ต้น.
อาหริ (784:27)
         วิวาท กัน, คือ คน ที่ เปน ฆ่าศึก สัตรู กัน นั้น, เช่น คน ที่ โกรธ คิด จะ ทำ อันตราย กัน เปน ต้น.
อารีย์ (784:28)
         ใจ ดี, คือ ใจ เมตตา ใจ กรุณา ใจ ดี นั้น, อย่าง คน ใจ โอบ อ้อม อารีย์, บำรุง ราษฎร ให้ อยู่ เอย็น เปน ศุข เปน ต้น นั้น.
อารักษ์ (784:29)
         คือ ผู้ ประกอบ ไป ด้วย การ ระวัง การ รักษา นั้น, อย่าง เทพารักษ ที่ เขา ทำ ศาล ไว้ ตาม ปาก คลอง เปน ต้น.
อาราธนา (784:30)
         นิมนต์, ฯ คือ การ เชื้อ เชิญ ให้ ยินดี นั้น, อย่าง คน อาราธนา พระสงฆ์ ให้ สำแดง ธรรม เปน ต้น นั้น.
อารมณ์ (784:31)
         ใจ ยินดี, ฯ คือ จิตร ที่ ยินดี ใน ของ ทั้ง ปวง นั้น, อย่าง รูปารมณ์ ศรรทธา รมณ เปน ต้น นั้น.

--- Page 785 ---
อาราม (785:1)
         สวน, วัต, ฯ คือ ที่ อยู่ แห่ง พวก พระสงฆ์ ฤๅ สวน ทั้ง ปวง นั้น, อย่าง วัต ฤๅ สวน อุทธยาน เปน ต้น นั้น.
อาหร่าม (785:2)
         คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ สุก สด รุ่ง เรือง อยู่ นั้น. อย่าง มหา ปราสาท เปน ต้น.
อาหรุ่ม ฝน (785:3)
         คือ อากาศ คลุม มืด มัว ด้วย เมฆ ฝน มี อยาด ลง ปรอย ๆ นั้น.
อาหรุ่ม อาเหรื่อ (785:4)
         คือ อากาศ มืด คลุ้ม, มี เม็ด ฝน ลง ปรอย ๆ นั้น.
อาหร่อย (785:5)
         คือ สิ่ง ของ ที่ กิน ดี มี รศ ทั้ง ปวง นั้น. อย่าง อาหาร มี รศ เปน ต้น.
อาไลย (785:6)
         ความ รักษ, คือ ใจ ที่ รัก ใคร่ เปน ห่วง คิด ถึง กัน มาก นั้น, อย่าง ผัว เมีย จาก กัน ไป, คิด อาไลย ถึง กัน เปน ต้น นั้น.
อาลักษณ์ (785:7)
         ฯ คือ ว่า เปน ผู้ เขียน หนังสือ เปน ต้น, อย่าง พวก อาลักษณ์ สำหรับ เขียน หนังสือ ไท, ใน พระ ราช วัง เปน ต้น นั้น.
อาวาหะ มงคล (785:8)
         งาน บ่าว สาว, ฯ คือ แต่ง การ บ่าว สาว ให้ อยู่ กิน เปน ผัว เมีย กัน นั้น, อย่าง ผู้ หญิง ต้อง ไป อยู่ บ้าน ผู้ ชาย เปน ต้น
อาวุโส (785:9)
         ท่าน ผู้ มี อายุ, ฯ แปล ว่า ท่าน ผู้ มี อายุ, เปน คำ พระสงฆ์ ผู้ ใหญ่ เรียก พระสงฆ์ ผู้ น้อย, อย่าง คำ ว่า อาวุ โส เปน ต้น.
อาวุธ (785:10)
         เครื่อง สรรพ ยุทธ์, คือ ของ สำหรับ ฟัน แทง แล ยิง มี ปืน หอก ดาบ โล่ เขน เปน ต้น.
อาวร (785:11)
         คือ การ ที่ คน มี ใจ อาไลย คิด ถึง กัน นั้น, เช่น ผัว เมีย พี่ น้อง เมื่อ พลัดพราก จาก กัน ไป เปน ต้น.
อาวาศ (785:12)
         วัต พระสงฆ์, คือ ที่ อยู่ แห่ง พวก พระสงฆ์ นั้น, อย่าง วัด ต่าง ๆ นั้น.
อา สะใพ้ (785:13)
         คือ หญิง ที่ เปน เมีย น้อง ชาย ของ พ่อ นั้น, คือ เมีย ของ อา ผู้ ชาย นั้น.
อาสะวะ (785:14)
         คือ ของ ใน ตัว คน, ที่ โทษ อัน เปน ของ ชั่ว, มี โลภะ, โทษะ, โมหะ, ตัณหา, มานะ ทฤฐิ, เปน ต้น นั้น.
อาสัจ (785:15)
         อาธรรม, คือ การ ที่ คน ไม่ ซื่อ ตรง มัก พูจจา กลับ กลอก นั้น.
อาสน (785:16)
         คือ ความ ปราถนา, เช่น คำ ว่า มี อาสน มา กู้ เงิน ฤๅ มี อาสน มา ขาย ตัว เปน ต้น.
อาสัน (785:17)
         ฯ ว่า ที่ ใกล้, อย่าง อาสัน กรรม คือ กาล ใกล้ กระทำ มรณะ เปน ต้น.
อาษา (785:18)
         คือ การ ที่ คน มี ใจ ฃอ ช่วย ธุระ ใน การ ต่าง ๆ, อย่าง เจ้า บ่าว ทำ การ อาษา จะ เอา เจ้า สาว เปน ต้น.
      อาษา จาม (785:18.1)
               คือ แขก พวก หนึ่ง สำหรับ อาษา ราชการ ฝ่าย ทะ เล นั้น.
      อาษา หก เหล่า (785:18.2)
               เปน ชื่อ ข้า ราชการ จำ พวก หนึ่ง เปน พระยา สีหราช เตโช เปน นาย นั้น.
อาไศรย (785:19)
         คือ การ ที่ คน ไป ฃอ พึ่ง อยู่ ใน บ้าน ใน เรือน คน อื่น อย่าง คน ไป พึ่ง ภา อาไศรย เขา อยู่ เปน ต้น.
อาศนะ (785:20)
         คือ เครื่อง สำหรับ ปูลาด ทั้ง ปวง นั้น, มี พรม เจียม เสื่อ สาด เปน ต้น.
อาศม (785:21)
         สะถาน, คือ กุฏิ เปน ที่ อยู่ ของ ดาบศ ทั้ง ปวง นั้น, มี อาศม แห่ง ฤาษี เปน ต้น.
อาศภ (785:22)
         คือ รูป แห่ง คน ฤๅ สัตว อัน ตาย ทั้ง ปวง นั้น, เช่น ซาก ผี ทั้ง ปวง นั้น.
อาเศียร พาศ (785:23)
         ฯ แปล ว่า กล่าว ซึ่ง อักขระ.
อาหะ (785:24)
         ฯ คือ กล่าว แล้ว, ว่า มา แล้ว นั้น.
อาหาร (785:25)
         ของ กิน, คือ สิ่ง ของ ทั้ง ปวง ที่ เลี้ยง ชีวิตร ให้เปน มี ของ กิน ต่าง ๆ เปน ต้น.
อาฬะวะกะ ยักษ์ (785:26)
         คือ เปน ชื่อ ยักษ์ ตน หนึ่ง มี ฤทธิ์ มาก เหาะ ได้, มี อยู่ ใน เรื่อง นิทาน บูราณ นั้น.
อ่า (785:27)
         เปน คำ คัด ค้าน ว่า ไม่, มี คำ เขา เถียง กัน ว่า อ่า เหน จะ ไม่ ได้ เปน ต้น นั้น.
อ้า (785:28)
         เงื้อ, คือ เปิด ขึ้น ไว้ เงื้อ ไว้, มี คน อ้า ปาก อ้า มือ ฤๅ ปู อ้า ก้าม ไว้ เปน ต้น นั้น.
      อ้า ก้าม (785:28.1)
               คือ เปิด ก้าม ขึ้น อ้า ไว้, มี ปู ฤๅ กุ้ง อ้า ก้าม ขึ้น ไว้ เปน ต้น นั้น.
      อ้า ปาก (785:28.2)
               คือ เปิด ปาก ขึ้น อ้า ไว้ นั้น, มี จรเข้ นอน อ้า ปาก ฤๅ คน อ้า ปาก เปน ต้น นั้น.

--- Page 786 ---
      อ้า มือ (786:28.3)
               ง่า มือ, คือ ยก มือ ขึ้น อ้า ไว้ นั้น.
      อ้า โอฐ (786:28.4)
               คือ อ้า ปาก, คน อ้า ปาก หาว นอน ฤๅ นอน หลับ อ้า ปาก เปน ต้น นั้น.
อ๋า (786:1)
         คือ คำ เขา มา เล่า ความ ให้ ฟัง, เรา ยัง ไม่ เชื่อ จึ่ง ร้อง ว่า อ๋า, เปน อย่าง นั้น เจียว ฤๅ
อิธะ โลกย์ (786:2)
         คือ โลกย์ นี้ นั้น.
      อิ บัด (786:2.1)
               อิ โรย, คือ ความ ผัว เมีย จะ จาก กัน, แล ทำ สิ่ง ที่ ไม่ ให้ ชอบ ใจ กัน นั้น.
      อิ โปง (786:2.2)
               ของ ทำ ด้วย งาช้าง สำหรับ ปั่น เล่น.
      อิเป็ด (786:2.3)
               คือ รูป เรือ ย่อม อย่าง หนึ่ง.
      อิแปะ (786:2.4)
               ทอง เหลือง ทำ ใช้ เปน เบี้ย
      อิริยาบถ (786:2.5)
               คือ อาการ ทั้ง สี่ คือ นั่ง นอน เดิน ยืน นั้น.
      อิรม (786:2.6)
               เปน ชื่อ หอย อย่าง หนึ่ง.
      อิ สุก (786:2.7)
               เปน ชื่อ คน หญิง.
      อิสุก อิไส (786:2.8)
               เปน ชื่อ โรค อย่าง หนึ่ง.
      อิสินทร (786:2.9)
               เปน ชื่อ ภู เขา ใหญ่ แห่ง หนึ่ง.
      อิ สูร (786:2.10)
               เปน ชื่อ อะสูร.
      อิ ศิริ ยศ (786:2.11)
               คือ ยศ เปน ใหญ่ ของ คน.
อี (786:3)
         เปน คำ หยาบ สำหรับ เรียก ชื่อ หญิง คน ยาก, ที่ เปน หญิง ทาษี นั้น.
      อีกา (786:3.1)
               คือ คำ หยาบ สำหรับ เรียก กา ตัว เมีย ทั้ง ปวง นั้น.
      อี กุ (786:3.2)
               คือ เรือ รูป เหมือน เรือ กุและ, แต่ หัว มัน เปน เส้า น้ำ สาม เส้า นั้น.
      อี กาก (786:3.3)
               คือ เปน คำ หยาบ สำหรับ ด่า หญิง คน โง่ แล้ว ชั่ว ด้วย นั้น, เพราะ หญิง นั้น เปรียบ เหมือน กาก ของ ทั้ง ปวง นั้น.
      อี เก้ง (786:3.4)
               เปน ชื่อ สัตว สี่ท้าว อย่าง หนึ่ง, ตัว มัน เท่า แพะ ใหญ่ ๆ เปน สัตว ป่า.
      อี โกง (786:3.5)
               เปน คำ เขา ด่า หญิง ที่ พูจ ไม่ จริง ว่า อี คน โกง.
      อี โก้ง (786:3.6)
               คือ นก อย่าง หนึ่ง ดู คล้าย ๆ ลูก ไก่ อู หนุ่ม ๆ, เขา เรียก นก อี โก้ง.
      อี ขี้ ข้า (786:3.7)
               คือ เปน คำ หยาบ สำหรับ ด่า หญิง ทาษี ทั้ง ปวง, เปน คำ ด่า ประจาน หญิง นั้น ว่า เปน ข้า เขา เปน ต้น.
      อี ขี้ เย็ด (786:3.8)
               คือ เปน คำ หยาบ ด่า หญิง ชั่ว, ที่ อยาก มี ผัว มาก ๆ นั้น.
      อี เคอะ (786:3.9)
               คือ คำ หยาบ ด่า หญิง ชั่ว แล้ว โง่ ด้วย นั้น, มี หญิง บ้า ไม่ ใคร่ รู้ อะไร เปน ต้น.
      อี จู้ (786:3.10)
               คือ เครื่อง สำหรับ ดัก ปลา. อย่าง หนึ่ง ปลา เข้า แล้ว ออก ไม่ ได้.
      อีฉุย อีแฉก (786:3.11)
               คือ การ ที่ คน ใช้ สรอย เข้า ของ เงิน ทอง สุ*รุ้ย สร้าย นั้น, มี หญิง นักเลง มักง่าย เปน ต้น.
      อี ชาติ ชั่ว (786:3.12)
               คือ คำ หยาบ ด่า ถึง หญิง ที่ ไม่ ดี นั้น.
      อี ดำ อี แดง (786:3.13)
               คือ คน ป่วย เปน ไข้ อีดำ อีแดง นั้น.
      อี แดก แห้ง (786:3.14)
               คือ เปน คำ หยาบ ด่า ประจาน หญิง เด็ก ๆ ว่า หญิง นั้น มี ผัว แต่ อายุ สิบสอง ปี, ยัง แห้ง อยู่ ยัง ไม่ มี ระดู เปน ต้น.
      อี ดอก กะทือ (786:3.15)
               คือ คำ หยาบ ด่า หญิง เปน คำ ผวน กลับ เหมือน กัน.
      อี ดอก ทอง (786:3.16)
               คือ คำ หยาบ ด่า หญิง, เปน คำ ผวน สำนวน กลับ นั้น.
      อี ตอแหล (786:3.17)
               คือ คำ หยาบ ด่า หญิง โกหก นั้น.
      อี ทิ้ม ขิ้น* (786:3.18)
               คือ คำ หยาบ ด่า ประจาน ผู้ หญิง ว่า หญิง นั้น นอน เบื้อง บน ผัว ๆ นอน เบื้อง ล่าง เปน ต้น นั้น.
      อี หน้า เกือก (786:3.19)
               เปน คำ หยาบ ด่า ประจาน ผู้ หญิง ว่า หน้า แขง ไม่ มี อาย อย่าง หนัง เกือก เปน ต้น นั้น.
      อี หน้า ด้าน (786:3.20)
               คือ เปน คำ หยาบ ด่า ประจาน หญิง, ว่า หญิง นั้น ไม่ มี อาย หน้า ด้าน เหมือน ส้น ตีน* นั้น.
      อี หน้า (786:3.21)
                เปน, คือ คำ หยาบ ด่า ประจาน หญิง ว่า หน้า เปน คือ ไม่ สลด, เช่น หญิง ชั่ว มาก ชู้ หลาย ผัว, หัว เราะ อยู่ เสมอ เปน ต้น.
      อี หน้า สด (786:3.22)
               คือ เปน คำ หยาบ ด่า ประจาน หญิง ว่า หน้า ไม่ แห่ง รื่น เริง อยู่ เปน นิตย, เช่น หญิง คน ชั่ว นั้น.
      อี หนู (786:3.23)
               คือ เรียก ญิง เด็ก ๆ, ว่า อี หนู เฮย มา นี่ เปน ต้น นั้น.
      อี เปรด (786:3.24)
               คือ คำ เขา ด่า หญิง โดย โกรธ, ว่า อี เปรด ๆ นั้น เปน กำเนิด ต่ำ ช้า, คน ตาย* ไป เกิด บ้าง, สัตว นะรก มา เกิด เปน เปรต บ้าง.

--- Page 787 ---
      อี ผี ทะเล (787:3.25)
               คือ คำ ด่า หญิง โดย โกรธ, ว่า มึง เหมือน ผี ที่ มัน อยู่ ที่ ทะเล ๆ คือ คน เรือ ล่ม จม นา ตาย เปน ต้น นั้น.
      อีมด (787:3.26)
               อี ท้าว, คือ หญิง เปน คน สำหรับ ผี เข้า นั้น, เรียก ว่า อี มด อี ท้าว.
      อี ยักขินี (787:3.27)
               คือ คำ ด่า หญิง โดย โกรธ, ว่า มึง ราว กับ อี ยักขินี นั้น, มัน ร้าย กาจ กิน เนื้อ มะนุษ ฤๅ เนื้อ สัตว เปน อาหาร, ต่ำ ชาติ นัก.
      อี เอยี่ยว (787:3.28)
               คือ ตัว นก เอยี่ยว นั้น.
      อี ร้า (787:3.29)
               เปน ชื่อ ตำบล หนึ่ง, ชื่อ บาง อีร้า อยู่ เหนือ กรุง เก่า นั้น.
      อี ไร (787:3.30)
               เปน ชื่อ ผัก อย่าง หนึ่ง.
      อี ระยำ (787:3.31)
               คือ คำ ด่า หญิง ที่ ทำ ให้ เคือง ใจ, เขา ด่า ว่า อี ระ ยำ, คือ คน นั้น เปน หญิง ชั่ว ถ่อย หลาย อย่าง นั้น.
      อี ริน (787:3.32)
               เปน ชื่อ ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง. อนึ่ง เปน ชื่อ บ่วง ดัก เนื้อ เปน ต้น
      อี ร้อย ควย (787:3.33)
               เปน คำ ด่า หญิง ว่า อี มี ผัว ร้อย คน, ถ้า หญิง ใด คบ กับ ชาย มาก ก็ ย่อม เปน ที่ อาย นัก.
      อี ร้อย ซ้อน (787:3.34)
               เปน คำ ด่า หญิง ชั่ว ว่า อี ร้อย ซ้อน, อะธิบาย ความ ว่า มี ผัว อยู่ แล้ว คบ ชาย อีก ร้อย คน นั้น.
      อี เลิ้ง (787:3.35)
               คือ ม่อ ใหญ่ สำหรับ ใส่ น้ำ นั้น
      อี หลุบ (787:3.36)
               คือ เรือ สลุบ นั้น.
      อี ลุ้ม (787:3.37)
               คือ เปน ชื่อ ว่าว, แล นก อย่าง หนึ่ง อยู่ ที่ ทุ่ง นา.
      อีเสเพล (787:3.38)
               เปน คำ ด่า หญิง ชั่ว ว่า อีเสเพล, คือ หญิง ต่ำ ชาติ ต่ำ สกูล ไม่ มี ผู้ ใด นับ ถือ เปน หญิง นักเลง นั้น.
      อี ห่า ฟัด (787:3.39)
               เปน คำ ด่า หญิง โดย โกรธ ว่า อี ห่า ฟัด, ความ ว่า ให้ ผี ห่า เช่น โรค ลง ราก เปน ต้น เบียดเบียน นั้น.
      อีเหน (787:3.40)
               คือ สัตว อย่าง หนึ่ง ตัว เหมือน กะเอื้อย, กิน ผลไม้ สุก ๆ.
      อีแอ่น (787:3.41)
               คือ นก อย่าง หนึ่ง อยู่ ตาม ภูเขา ชาย ทะเล มัน ทำ รัง ด้วย น้ำ ลาย กิน ดี นัก.
อี่ (787:1)
         คือ คำ อยาบ คำ ต่ำ, คน ที่ เปน นาย เปน เจ้า เปน ต้น เรียก ทาษ ว่า อี่ นั่น อี่ นี่ นั้น.
อึ (787:2)
         อึอะ, เปน คำ ขัด ขวาง ไม่ ยอม ไม่ อะนุญาต, เช่น เขา ฃอ ของ เปน ต้น ไม่ ยอม ให้ ว่า อึ ไม่ ได้.
อื (787:3)
         เปน คำ ยอม อะนุญาต ให้, เช่น เขา มา ฃอ ของ เปน ต้น, ยอม ให้ ว่า อื เอา เถิด นั้น.
อื้ (787:4)
         คือ สำเนียง เสียง ดัง เช่น เสียง ลม พะยุ พัด ดัง มา แต่ ไกล นั้น.
อื้อ อึง (787:5)
         คือ สำเนียง เสียง ดัง เซง แซ่ อึกกะทึก.
อุ (787:6)
         เปน ชื่อ น้ำ เมา อย่าง หนึ่ง, ลาว ทำ ด้วย แกลบ เข้า เหนียว ใส่ ไห ไว้ กิน เมา นั้น.
      อุกาสะ (787:6.1)
               ฯ แปล ว่า ดัง ข้าพเจ้า คำรพย์.
      อุกฤฐ (787:6.2)
               ฯ แปล ว่า เปน ส่วน ใน เบื้อง บน, คือ ของ ฤๅ ธรรม เปน อย่าง ยิ่ง.
      อุโฆษ (787:6.3)
               ฯ แปล ว่า เสียง กึก ก้อง, เช่น เสียง ฟ้า ดัง เปน ต้น นั้น.
      อุ จาระ (787:6.4)
               ฯ แปล ว่า ทุกขะสัจ หนัก, คือ อาจม, คือ อาหาร เก่า ที่ ออก จาก ทวาร นั้น, ภาษา สยาม ว่า ขี้.
      อุ จาด (787:6.5)
               น่า เกลียด, คือ อาการ ที่ จะ ให้ เกิด ความ ละอาย, เช่น คน ผู้ ดี แล จะ นอน ไป ใน เรือ เปน ต้น, แล ไม่ ปิด ปก หลก ขา ให้ คน เหน นั้น ว่า ทำ อุจาด.
      อุดม (787:6.6)
               ฯ แปล ว่า ยิ่ง, ว่า บริบูรณ, ว่า เลิศ, ของ บริบูรณ ว่า อุดม.
      อุดม มัทยม (787:6.7)
               ฯ แปล ว่า บริบูรณ์ เปน อย่าง กลาง ไม่ ยิ่ง ไม่ อย่อน นั้น.
      อุดร (787:6.8)
               ฯ อุดร ทิศ, ฯ คือ ที่ สูง ที่ ทิศ เหนือ, เรียก ตาม คำ สับท, ทิศ เหนือ นั้น ว่า ทิศ อุดร.
      อุดร กาโร (787:6.9)
               ฯ ชื่อ ทะวีป หนึ่ง เรียก อุดะระกาโร ทะวีป.
      อุตะมังคะรุหา (787:6.10)
               ฯ แปล ว่า งอก ขึ้น บน ศีศะ, คือ เส้น ผม มัน งอก ขึ้น บน หัว นั้น.
      อุ ตะรา สาเธ (787:6.11)
               ฯ เปน ชื่อ ดาว ฤกษ์ สอง ดวง, ประ*จำ เดือน แปด, ตาม ธรรม เนียม ไทย นั้น.
      อุ ตริ (787:6.12)
               คำ พูจ ถึง ของ ที่ ไม่ ควร มี ว่า เรา ได้ เหน, คน เหาะ ไป อย่าง นี้ เปน ต้น.
      อุตะระพละคุณี (787:6.13)
               ฯ เปน ชื่อ ดาว ฤกษ์ สอง ดวง, ประ จำ เดือน สี่ ตาม ธรรมเนียม ไทย นั้น.
      อุตะระพัทโธ (787:6.14)
               ฯ เปน ชื่อ ดาว ฤกษ์ สอง ดวง, ประจำ เดือน สิบ, มี ตาม ธรรมเนียม ไทย นั้น.

--- Page 788 ---
      อุทาหรณ์ (788:6.15)
               ฯ แปล ว่า นำ ขึ้น, เช่น คน กล่าว ตำนาน นิทาน ขึ้น บท เรื่อง หนึ่ง ว่า อุทาหรณ์ หนึ่ง.
      อุไทย (788:6.16)
               ฯ แปล ว่า ไป ใน เบื้อง บน, เช่น อาทิตย ไป ใน อา กาศ นั้น.
      อุไทยธานี (788:6.17)
               ฯ เปน ชื่อ เมือง หนึ่ง อยู่ ฝ่าย เหนือ, ขึ้น กับ กรุง เทพ นั้น.
      อุทกะธารา (788:6.18)
               ฯ แปล ว่า ธ่อ น้ำ
      อุทะกัง (788:6.19)
               ฯ แปล ว่า น้ำ, เช่น น้ำ ฝน แล น้ำ ใน แม่ น้ำ ฤๅ ใน บ่อ ใน สระ ทั้ง ปวง นั้น.
      อุทะยาน (788:6.20)
               ฯ แปล ว่า ที่ เปน ที่ แล ดู ใน เบื้อง บน แล้ว แล ไป คือ ที่ สวน ของ กระษัตริย์.
      อุทก ไภย (788:6.21)
               ฯ คือ ไภย เกิด เพราะ น้ำ.
      อุทัจ (788:6.22)
               ฯ แปล ว่า ฟุ้ง ส้าน, เช่น คน ใจ ไม่ องอาจ แล สำ แดง ธรรม มี ใจ กำเริบ สะทก สะท้าน ไป.
      อุทาน (788:6.23)
               ฯ คือ เปล่ง ขึ้น ซึ่ง คำ สำแดง ความ ชอบ ธรรม ของ ตัว นั้น.
      อุทาน วาจา (788:6.24)
               ฯ แปล ว่า เปล่ง ขึ้น ซึ่ง ถ้อย คำ, เช่น คำ ที่ พระ เยซู กล่าว ขึ้น เมื่อ ใกล้ เขา จะ จับ ตัว ไป, แล กล่าว ถึง พระยะโฮวา นั้น.
      อุเทน (788:6.25)
               ฯ เปน ชื่อ กระษัตริย์ องค์ หนึ่ง มี ใน เรื่อง นิทาน แต่ ก่อน นั้น.
      อุทาม (788:6.26)
               ฯ คือ คะนอง กาย แล วาจา.
      อุทร (788:6.27)
               ฯ แปล ว่า ท้อง น้อย ๆ, นั้น อยู่ ใต้ สะดือ ลง ไป นั้น, เรียก อุทร.
      อุทร ประเทศ (788:6.28)
               ฯ คือ ที่ ท้อง.
      อุทิศ (788:6.29)
               ฯ แปล ว่า จำเภาะ, ของ ที่ เขา เจตนา จง ใจ จะ ให้ แก่ ผู้ ใด ว่า เขา จำเภาะ ให้ นั้น.
      อุทิศ ส่ง ไป (788:6.30)
               คือ ให้ ส่วน บุญ ส่ง ไป ด้วย ใจ ยินดี.
      อุทิศ ส่วน บุญ (788:6.31)
               ฯ คือ ให้ ส่วน บุญ แก่ ผู้ อื่น.
      อุธร ตระลาการ (788:6.32)
               คือ ความ ฟ้อง ตระลาการ, ว่า กระทำ ผิด จาก กฎหมาย นั้น.
      อุ นาโลม (788:6.33)
               ฯ แปล ว่า เส้น ขน, คือ เส้น พระ อุนาโลม มี ที่ ระหว่าง คิ้ว พระเจ้า นั้น.
      อุบาสิกา (788:6.34)
               ฯ แปล ความ เช่น ว่า แล้ว, เปน คำ เรียก ผู้ หญิง ที่ ถือ เช่น ว่า นั้น.
      อุบาศก (788:6.35)
               ฯ แปล ว่า เข้า ไป ใกล้, ถือ พระไตรย สะระณาคม คือ พระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์, เปน ที่ ระฦก นั้น เปน คำ เรียก ผู้ ชาย ที่ ถือ เช่น ว่า นั้น.
      อุโบสถ (788:6.36)
               ฯ แปล ว่า เข้า ไป ใกล้ อยู่, คือ คน จัดแจง ธุระ การ งาน แล้ว ถือ ศีล แปด นั้น.
      อุ บะ (788:6.37)
               คือ พวง ดอก ไม้ ที่ เขา ร้อย เปน สาย แล้ว รวป ต้น เข้า ไว้ แห่ ง เดียว กัน.
      อุ เบกขา (788:6.38)
               ฯ แปล ว่า ใจ เปน ท่ำกลาง, คือ ใจ ไม่ โสม นัศ ไม่ โทมนัศ นั้น.
      อุบัติ (788:6.39)
               ฯ แปล ว่า บังเกิด, เช่น สัตว จุติ ไป เอา ปัตติสน ธิ ใน ภพ ใหม่ นั้น.
      อุบัติ เหตุ (788:6.40)
               ฯ คือ เหตุ บังเกิด ขึ้น.
      อุบาทว์ (788:6.41)
               ฯ แปล ว่า เบียด เบียฬ, เช่น ความ อันตราย เล็ก น้อย ถึง ตัว ให้ ได้ ความ รำคาน มี หนู กัด ผ้า เปน ต้น.
      อุบาทว์ จังไร (788:6.42)
               คือ ความ ที่ เบียด เบียฬ บังเกิด ขึ้น เล็ก น้อย นั้น.
      อุบล (788:6.43)
               ฯ แปล ว่า บัว สาย ต้น ไม่ มี หนาม, มี ก้าน ขึ้น มา จาก เง่า ใน น้ำ เปน ใบ แล ดอก นั้น.
      อุบาย (788:6.44)
               แปล ว่า แยบ คาย, เช่น คน ทำ การ ซ่อน กำบัง ไม่ ให้ ใคร ผู้ อื่น รู้ ว่า ตัว รัก คน นั้น ชัง คน นั้น, ด้วย ทำ เล่ห์ กล นั้น.
      อุปาทาน (788:6.45)
               ฯ แปล ว่า เข้า ถือ เอา, เช่น จิตร แห่ง สัตว อัน กิเลศ มี โลโภ เปน ต้น เข้า ถือ เอา นั้น.
      อุปกิเลศ (788:6.46)
               ฯ แปล ว่า ของ ที่ มัน เข้า กระทำ ให้ กาย แล จิตร เศร้า หมอง มี โลภ เปน ต้น นั้น.
      อุปะการะ (788:6.47)
               ฯ แปล ว่า เข้า ใกล้ ทำ เกื้อ กูล, เช่น คน ช่วย ธุระการ ผู้ อื่น โดย เมตตา รัก ใคร่ นั้น.
      อุปการ (788:6.48)
               ฯ แปล ว่า การ อัน ใกล้.
      อุปจาร (788:6.49)
               ฯ แปล ว่า ที่ ใกล้, เช่น เรือน แล วัต ออก ไป ประ- มาณ สาม ศอก นั้น.
      อุปถำภ์ (788:6.50)
               ฯ แปล ว่า อุดหนุน, เช่น คน เหน คน อื่น พูจจา ไม่ ถี่ ถ้วน เปน ต้น แล ช่วย พูจจา เพิ่ม เติม เข้า นั้น.

--- Page 789 ---
      อุปาทะวะ (789:6.51)
               ฯ คือ อันตราย เล็ก น้อย, เปน ต้น ว่า หนู กัด ผ้า ฤๅ ปลวก กัด ของ อัน ใด อัน หนึ่ง เปน ต้น นั้น.
      อุปะ ฐาก (789:6.52)
               ฯ แปล* ว่า เปน ผู้ บำรุง, เช่น คน ช่วย ทำ การ ประฏิบัติ ใน อาราม เปน ต้น.
      อุปถำภก (789:6.53)
               ฯ แปล ว่า อุตหนุน.*
      อุปเท (789:6.54)
               ฯ คือ การ ที่ ทำ สำเร็ทธิ์ ด้วย มนต์ ฤๅ คาถา หาย ตัว ได้ ฤๅ ฟัน ไม่ เข้า เปน ต้น.
      อุปะทูต (789:6.55)
               ฯ เปน ชื่อ ตั้ง คน เปน ทูต, ไป เมือง อื่น นั้น.
      อุปนิศไสย (789:6.56)
               ฯ ความ ว่า การ ที่ คน ทำ ไว้ ชาติ นี้ เปน เหตุ ที่ ใน ชาติ น่า, จะ รู้ เหน โดย ง่าย เร็ว นั้น.
      อุปโภค (789:6.57)
               ฯ คือ ของ เครื่อง ใช้ มี ถ้วย ชาม แล หมวก เสื้อ แล กางเกง เปน ต้น.
      อุปมา (789:6.58)
               ฯ คือ ความ เปรียบ ของ สาระพัศ ทุก อย่าง, มี ของ เปรียบ ด้วย* ดวง* จันทร์ เปน ต้น, เช่น ความ ว่า ท่าน ที่ มี อะระหรรตคุณ นั้น, ถึง จะ บูชา ตี ก็ ไม่ ยินดี*, บูชา ชั่ว ก็ ไม่ โกรธ, แผ่นดิน* นั้น คน จะ เอา เครื่อง หอม เครื่อง เหม็น ใส่ ลง ก็ ไม่ โกรธ ไม่ ยินดี* ฉัน ใด*, คน ผู้ มี พระ อะระหรรต คุณ นั้น ฉัน นั้น.
      อุปะไมย (789:6.59)
               ฯ คือ ความ เปรียบ, เช่น ความ ว่า แผ่นดิน ไม่ โกรธ ไม่ ยินตี ฉันใด*, นี่ เปน คำ อุปมา คน มี อะระหรรต คุณ นั้น, ถึง คน บูชา ดี ก็ ไม่ ยินดี บูชา ชั่ว ก็ ไม่ โกรธ, ฉัน นั้น, นี่ เปน คำ อุปไมย.
      อุปะหริ (789:6.60)
               ความ เช่น อุตริ.
      อุปราช (789:6.61)
               ฯ คือ คน เข้า ไป ใกล้ ที่ จะ เปน กระษัตริย์ ใหญ่, ใน โลกย์ เขา เรียก ว่า มหา อุปราช, คือ ที่ วัง น่า.
      อุปสมบท (789:6.62)
               ฯ แปล ว่า ถึง ซึ่ง เบื้อง บน จาก สามาเณระ ภูม, คือ พ้น จาก ที่ สามเณร ถึง ซึ่ง เปน พระ
      อุ ปัชฌายะ (789:6.63)
               ฯ แปล ว่า เพ่ง ขึ้น, เช่น พระสงฆ์ เปน อุ ปัช ฌา, ไป นั่ง คอย ดู* การ จะ บวช คน ให้ เปน ภิกขุ, มิ ให้ ผิด นั้น.
      อุปัทวะ (789:6.64)
               ฯ แปล ว่า เบียต เบียฬ
      อุมาภควดี (789:6.65)
               เปน ชื่อ นาง เทวดา* องค์ หนึ่ง, ว่า เปน ผู้ ตั้ง แผ่นดิน โลกย์ นั้น.
      อุเหม่ (789:6.66)
               เปน คำ คน พูจ ขู่ ว่า อุเหม่, ทำ การ ชั่ว จริง หนอ อย่าง นั้น.
      อุมงค์ (789:6.67)
               ฯ แปล ว่า อุโมงค์, คือ เปน ช่อง เปน ปล่อง ใต้ แผ่น ดิน* นั้น.
      อุโมงค์ (789:6.68)
               ฯ คือ ที่ เขา ขุต เปน โพรง ปล่อง ไป ใต้ ดิน.*
      อุรา (789:6.69)
               ฯ แปล ว่า อก.
      อุรุ (789:6.70)
               ฯ แปล ว่า ขา, เช่น ขา คน ฤๅ ขา สัตว มี สี่ ขา บ้าง, สอง ขา บ้าง นั้น.
      อุไร (789:6.71)
               เปน ชื่อ ทอง คำ อย่าง หนึ่ง, เนื้อ อ่อน ไม่ สู้ สุก นัก, แต่ ศรี เหลือง อ่อน งาม.
      อุระ (789:6.72)
               ฯ แปล ว่า อก, เหมือน อะไวยะวะ ถัต ฅอ ลง ไป เบื้อง หน้า จน ถึง ท้อง นั้น ว่า อก.
      อุระคะ (789:6.73)
               ฯ แปล ว่า ไป ด้วย* อก ๆ คือ งู, บันดา* งู เล็ก แล งู ใหญ่ ใน น้ำ ใน บก, มัน ย่อม ไป ด้วย* อก สิ้น ทั้ง นั้น.
      อุลามก (789:6.74)
               คือ ความ ลามก ขึ้น นัก, เช่น คน ทำ ความ พึง เกลียต ทำ ชั่ว, แล กอง กิเลศ นั้น.
      อุโลก (789:6.75)
               คือ ไม้ อย่าง หนึ่ง, เขา เลื่อย ทำ กะดาน สำหรับ ต่อ โลง โดย มาก.
      อุสาโยค (789:6.76)
               ฯ คือ เวลา ประกอบ ด้วย ฤกษ์ ดี* ยาม ดี, ตาม วิธี พวก ไทย นับ ถือ มี การ ยาตรา เปน ต้น.
      อุสาห (789:6.77)
               ฯ แปล ว่า อต ทน.
      อุส่าห์ (789:6.78)
               ฯ ว่า ความ อต ทน ทำ การ งาน เปน ต้น.
      อุสุทธ นะรก (789:6.79)
               ฯ เปน ชื่อ ขุม นะรก ขุม หนึ่ง, เปน ที่ สัตว ทน ทุกข์ ลำบาก ต่าง ๆ.
      อุสุพ (789:6.80)
               ฯ แปล ว่า ที่ ยาว แล กว้าง, เส้น หนึ่ง กับ สีบ ห้า วา นั้น.
      อุศุภราช (789:6.81)
               ฯ เปน ชื่อ วัว ผู้ ที่ เปน พระยา ใหญ่ กว่า ฝูง โค ทั้ง ปวง นั้น.
      อุ อะ (789:6.82)
               อาการ คน มุทะลุ ทำ อุอะ นั้น.
      อุอะมะเทิ่ง (789:6.83)
               คือ คน กิริยา ชั่ว โทโส มาก เปน ต้น, ไม่ สู้ เกรง ใจ คน นั้น.
อู (789:1)
         เปน ชื่อ ไก่ อย่าง หนึ่ง, หงอน ไม่ ใหญ่ ไม่ บาง ขน เขียว ๆ แดง* ๆ ขาว บ้าง นั้น.

--- Page 790 ---
อู (790:1)
         คือ คลอง ที่ เขา ขุด ไม่ ยาว นัก ขุด ภอ จุ เรือ ลำ หนึ่ง กว้าง ตาม เรือ เล็ก แล ใหญ่ นั้น.
      อู่ กำปั่น (790:1.1)
               คือ คลอง สั้น ภอ จุ เรือ กำปั่น, สำหรับ ต่อ กำปั่น ใหม่ ฤๅ ไว้ กำปั่น เก่า เพื่อ จะ โต้สิว* นั้น
      อู่ เข้า (790:1.2)
               คือ ที่ ตำบล มี เข้า บริบูรณ นั้น
      อู่ ตะเภา (790:1.3)
               คือ คลอง สั้น ภอ จุ เรือ ตะเภา สำหรับ ต่อ ตะเภา ใหม่ ฤๅ ไว้ ตะเภา เก่า เมื่อ จะ โต้สิว*.
      อู่ ทอง (790:1.4)
               คือ รูป เปล เขา ทำ ด้วย ทอง คำ ให้ ลูก กระษัตริย์ นอน นั้น.
      อู่ น้ำ (790:1.5)
               คือ คลอง สั้น เช่น ว่า, แต่ ว่า เขา ทำ ขัง น้ำ ไว้ ใช้ ริม บ้าน นั้น.
      อู่ นอน (790:1.6)
               เปล นอน, คือ รูป เปล เขา ทำ สำหรับ ให้ เด็ก นอน เขา สาน ด้วย หวาย บ้าง ด้วย ตอก บ้าง นั้น.
      อู่ เปล (790:1.7)
               คือ รูป เปล เช่น ว่า แล้ว, เขา ทำ ให้ เด็ก นอน, สาน บ้าง ถัก ด้วย ด้าย บ้าง เย็บ ด้วย ผ้า บ้าง.
      อู่ ผ้า (790:1.8)
               เปล ผ้า, คือ รูป เปล เขา ทำ ด้วย ผ้า ไว้ สำหรับ ให้ ลูก เด็ก เล็ก ๆ มัน นอน นั้น.
      อู่ โมงค์ (790:1.9)
               คูหา, คือ ที่ เขา ขุด ลง ใต้ ดิน เปน ปล่อง ช่อง ไป นั้น.
      อู่ เรือ (790:1.10)
               คือ ที่ ดิน เขา ขุด เปน ร่อง สัณฐาน เช่น เปล แต่ ยาว ใหญ่ ภอ ไว้ เรือ ตาม เล็ก แล ใหญ่ ได้.
อู้ (790:2)
         (dummy head added to facilitate searching).
      อู้ ๆ (790:2.1)
               คือ เสียง ดัง อู้ ๆ, เช่น เสียง ลม พยุ นัก พัด ถูก ใบ ไม้, ฤๅ น้ำ ไหล ถั่ง กำลัง แรง นั้น.
      อู้ อ้า (790:2.2)
               เปน เสียง คน ร้อง ดัง อย่าง นั้น มี บ้าง.
      อู้ อี้ (790:2.3)
               เปน เสียง คน พูจ ดัง เช่น นั้น บ้าง.
อู๋ หนัก (790:3)
         เปน คำ จีน เปน คำ ไท ว่า รวย หนัก มั่ง มี นัก.
เอ (790:4)
         เปน คำ เขา พูจ เอ มี บ้าง, เช่น คน นาน ๆ มา ได้ เหน กัน ดี ใจ ร้อง ทัก ว่า เอ มา แล้ว ฤๅ นั้น.
เอกา (790:5)
         แปล ว่า หนึ่ง เปน ต้น, นับ จน ตลอด ถึง อะสงไขย นั้น.
เอโก (790:6)
         ฯ เปน คำ นับ ตาม มคะธะ ว่า หนึ่ง นั้น.
เอเต (790:7)
         คือ คน นอน เอน กาย อยู่ ไม่ นอน ราบ ที เดียว, เขา ว่า คน นั้น นอน เอเต อยู่.
เอราวรรณ (790:8)
         เปน ชื่อ ช้าง ตัว หนึ่ง, ใน หนังสือ ว่า มี อยู่ ใน สวรรค์ ชั้น ที่ สอง ชื่อ ดาวะดึงษ์.
เอ้แอ่น (790:9)
         คือ คน เกียจ คร้าน ทำ การ อัน ใด อยิบ ๆ วาง ๆ ไม่ ใคร่ รู้ แล้ว นั้น
แอ (790:10)
         แง, เปน ชื่อ คน ชื่อ อ้าย แอ มี บ้าง, เขา เรียก ลูก วัว ลูก ควาย เล็ก ๆ ว่า ลูก แอ บ้าง.
      แออัด (790:10.1)
               คือ คับ คั่ง กัน นัก, เช่น คน เสียด เยียด ยัด กัน อยู่ มาก นั้น.
ไอ (790:11)
         คือ เสียง คน เมื่อ เจ็บ ไข้ หวัด, เขา กะทำ เสียง ดัง หุ ๆ เพราะ เสมหะ กำเริบ นั้น.
      ไอ จาม (790:11.1)
               คือ ไอ แล จาม เพราะ ลม กำเริบ, ลาง คน จาม ร่ำ ไป นาน ๆ นับ ร้อย ที่ นั้น.
      ไอยะกา (790:11.2)
               ฯ คือ คน ผู้ ชาย ที่ เปน พ่อ ของ พ่อ, คือ ปู่ เรียก ตาม สับท์ นั้น.
      ไอยกี (790:11.3)
               ฯ คือ คน หญิง ที่ เปน แม่ ของ พ่อ คือ ย่า, เรียก ตาม สับท์ นั้น.
      ไอยการ (790:11.4)
               เปน ชื่อ กฎหมาย. อย่าง หนึ่ง เขา เรียก ว่า พระ ไอยการ นั้น.
      ไอย มะนี (790:11.5)
               คือ เครื่อง สรรพ วัตถุ สำหรับ ใช้ สอย นั้น.
      ไอยรา (790:11.6)
               ฯ แปล ว่า ช้าง.
      ไอยเรศ (790:11.7)
               ฯ แปล ว่า ช้าง เปน ใหญ่.
      ไอ หวัด (790:11.8)
               คือ ไอ เกิด ขึ้น, แล มี น้ำ มูก แล เสมหะ ใน ฅอ นั้น.
      ไอสวรรย์ (790:11.9)
               เปน คำ แผลง ออก จาก สับท์ อิ สิริยะ นั้น ๆ แปล ว่า คน เปน อิศระ นั้น.
      ไอสูรย์ (790:11.10)
               เปน คำ แผลง ออก จาก สับท์ อิสิริยะ ๆ นั้น แปล ว่า คน เปน อิศระ นั้น.
      ไอ แห้ง (790:11.11)
               คือ ไอ เปล่า ๆ ไม่ มี น้ำ มูก แล เสมหะ นั้น.
ไอ้ (790:12)
         เปน คำ เรียก คน ต่ำ ชาติ, มี ทาษ เปน ต้น ว่า ไอ้ นั่น.
      ไอ้ กาก (790:12.1)
               คือ คำ เขา ด่า ชาย ว่า ไอ้ กาก ๆ นั้น เปรียบ เช่น กาก เข้า นั้น.
      ไอ้ ก้อง (790:12.2)
               เปน ชื่อ ที่ บ้าน แห่ง หนึ่ง, อยู่ แขวง เมือง นคร ไชย ศรี ชื่อ อย่าง นั้น.

--- Page 791 ---
      ไอ้ เคอะ (791:12.3)
               คือ คำ ด่า ชาย ว่า ไอ้ เคอะ ๆ นั้น, คือ ปัญญา เขลา ไม่ ใคร่ รู้ การ อะไร นัก นั้น
      ไอ้ โง่ (791:12.4)
               เปน คำ ด่า คน ปัญญา เขลา ไม่ ฉลาด นั้น.
      ไอ้ งั่ว (791:12.5)
               คือ นก อย่าง หนึ่ง คล้าย กับ นก กา น้ำ, หา กิน ใน น้ำ กิน ปลา.
      ไอ้ ถ่อย (791:12.6)
               คำ ด่า ชาย ที่ ทำ การ แล กิริยา ชั่ว เปน ต้น นั้น.
      ไอ้ บ้า (791:12.7)
               คือ คำ ด่า ชาย ว่า ไอ้ บ้า ๆ นั้น, คือ คน เสีย จริต คือ ไม่ มี สะติ ไม่ รู้ จัก ของ ที่ เกลียด แล สอาจ นั้น.
      ไอ้ ระยำ (791:12.8)
               คือ คำ ด่า ชาย ว่า ไอ้ ระยำ ๆ นั้น, คือ มัน ชั่ว หลาย อย่าง มัน กิน เหล้า สูบ ฝิ่น เปน ต้น.
โอ (791:1)
         คือ รูป ภาชนะ คล้าย กับ รูป ขัน, เขา ทำ สำหรับ ใส่ น้ำ นั้น, เรียก ว่า โอ.
      โอ กำมะลอ (791:1.1)
               คือ รูป โอ เขา ลง รัก ดำ แล้ว เขียน ลาย น้ำ มัน เปน เครือ ดอก ไม้ นั้น.
      โอ กะลา (791:1.2)
               คือ รูป โอ เขา ทำ ด้วย กะลา ลูก มะพร้าว สำหรับ ใส่ น้ำ นั้น.
      โอกาษ (791:1.3)
               แปล ว่า ช่อง ก็ ได้, ว่า เวลา เปล่า ไม่ มี ธุระ การ งาน อัน ใด ก็ ได้.
      โอฆะ สงสาร (791:1.4)
               ฯ เปน สับท์ สอง สับท์, โอฆะ สับท์ หนึ่ง, แปล ว่า ห้วง, สงสาร สับท์ หนึ่ง, แปล ว่า ท่อง เที่ยว, ลักขณะ ที่ เวียน ตาย เวียน เกิด อยู่ นั้น.
      โอชา (791:1.5)
               แปล ว่า โอชะ คือ รศ ละเอียด.
      โอชา รศ (791:1.6)
               ฯ เปน สอง สับท์, โอชา นั้น แปล ว่า โอชะ อาหาร ที่ ซึม ซ่าน ซาบ ไป ทั่ว อะไวยวะ, ให้ เกิด เปน เนื้อ เปน เลือด ใน กาย เปน ต้น นั้น, รศ นั้น คือ รศ อัน เปรี้ยว เปน ต้น นั้น.
      โอตะปะ (791:1.7)
               ฯ แปล ว่า สะดุ้ง, เช่น คน เปน บาป แล มี ความ สะดุ้ง จิตร คิด กลัว แต่ การ บาป ของ ตัว นั้น.
      โอเถา (791:1.8)
               คือ รูป โอ เขา สาน ด้วย ตอก แล้ว ลง รัก น้ำ รั่ว ออก ไม่ ได้ เปน เถา กัน เถา ละ สิบสาม นั้น.
      โอ่ โถง (791:1.9)
               คือ อาการ ที่ คน รัก งาม รัก สอาจ, ให้ เขา ชม เชย ดู นั้น.
      โอทาโต (791:1.10)
               ฯ แปล ว่า ศรี ขาว, เช่น ของ มี ผ้า เปน ต้น ที่ มัน มี ศรี ขาว นั้น.
      โอ น้ำ (791:1.11)
               คือ โอ ทุก อย่าง ที่ เขา ใส่ น้ำ กิน, โอ สาน ก็ ใส่ ได้ โอ กะลา ก็ ใส่ ได้ นั้น.
      โอภา ปราไศรย (791:1.12)
               คือ กล่าว ทัก ถาม โดย ความ เมตตา นั้น.
      โอภาษ (791:1.13)
               สว่าง, ฯ แปล ว่า แสง สว่าง, เช่น แสง ไฟ แล แสง อาทิตย์ เปน ต้น นั้น.
      โอรส (791:1.14)
               บุตร, ฯ แปล ว่า ลูก, เพราะ ลูก นั้น มัน เกิด แต่ อก จึง เรียก โอรส.
      โอวาท (791:1.15)
               ฯ แปล ว่า คำ สำหรับ สั่ง สอน.
      โอวาท สั่งสอน (791:1.16)
               คือ คำ กล่าว สั่ง สอน นั้น.
      โอสถ (791:1.17)
               ยา, ฯ แปล ว่า ยา สำหรับ ระงับ ดับ โรค ร้าย ต่าง ๆ นั้น.
      โอหัง (791:1.18)
               เปน คำ โลกย์ เขา พูจ ถึง คน ที่ มี มานะ ถือ ตัว ว่า ตัว เปน คน มี ชาติ สะกูล เปน ต้น.
      โอหัง มังกะโร (791:1.19)
               เปน คำ โลกย์ ว่า จองหอง พอง ขน ถือ ตัว เย่อ หยิ่ง.
      โอฬาฤก (791:1.20)
               ฯ แปล ว่า ล้ำ เลิศ ประเสีฐ. อย่าง หนึ่ง แปล ว่า ของ อยาบ นั้น.
      โอฬาฬาร (791:1.21)
               ฯ แปล ว่า ล้ำเลิศ ประเสิฐ.
      โอฬาร (791:1.22)
               ฯ แปล ว่า เลิศ ล้ำ, เช่น ของ ที่ วิเสศ ประเสิฐ นั้น.
โอ่ (791:2)
         คือ อาการ ที่ คน มัก แต่ง ตัว, ด้วย ผ้า นุ่ง ผ้า ห่ม ฤๅ เครื่อง ประดับ มี แหวน เปน ต้น.
      โอ โถง (791:2.1)
               โอ่ นั้น มี ความ เช่น ว่า แล้ว, แต่ คำ ว่า โถง นั้น, เปน คำ สร้อย ไม่ มี ความ.
โอ้ (791:3)
         เปน คำ ต้น คน กล่าว เมื่อ เวลา ใจ สลด สังเวศ ฤๅ มี ทุกข์ ร้อน ใน ใจ นั้น.
      โอ้ โย้ (791:3.1)
               คือ คำ พูจ อวด ของ ต่าง ๆ นั้น.
      โอ้ ร่าย (791:3.2)
               เปน บท เพลง ร้อง ละคอน อย่าง หนึ่ง.
      โอ้ โลม (791:3.3)
               คือ บท เขา ร้อง ละคอน อย่าง หนึ่ง นั้น.
      โอ้เอ้ (791:3.4)
               เปน คำ เขา พูจ ถึง คน ที่ ทำ การ งาน เปน ต้น ทำ โลเล ไม่ ใคร่ รู้ แล้ว นั้น.
      โอ้ โอ๋ (791:3.5)
               เปน คำ คน มี ความ ทุกข์, ร้อง ว่า โอ้โอ๋ พระทูล กระ- หม่อม ของ ฉัน เอ๋ย.
      โอ้ อวต (791:3.6)
               คือ คน กล่าว คำ โว อึง แล้ว อวด ด้วย, ว่า เรา ดี สา ระพัด ไม่ มี ใคร สู้ ได้ นั้น.

--- Page 792 ---
โอ๋ (792:1)
         เปน คำ เขา ตก ใจ พูจ ขึ้น ว่า โอ๋ ข้า ลืม ไป นั้น
เอา (792:2)
         คือ ความ ต้อง การ อย่าก ได้ ของ อัน ใด ๆ ที่ ตน ปราถนา นั้น ว่า เอา.
      เอา กัน (792:2.1)
               คือ เขา ต้อง การ ด้วย กัน ทั้ง สอง ฝ่าย, มี อยาก จะ ชก ต่อย กัน.
      เอา เกิน (792:2.2)
               คือ คน เอา ของ กิน ราคา ที่ ซื้อ ขาย อย่าง หนึ่ง เก็บ เอา เงิน อากร เกิน พิกัด นั้น.
      เอา การ (792:2.3)
               คือ ปราถนา อยาก ได้ ทำ การ งาน อัน ใด ๆ เพื่อ ประ- โยชนะ แก่ ทรัพย์ นั้น.
      เอา ของ (792:2.4)
               คือ ต้อง การ ของ ต่าง ๆ แล เก็บ เอา ของ นั้น ไว้ เปน ของ ตัว ไม่ ให้ ใคร.
      เอา คุณ (792:2.5)
               คือ อยาก ได้ ประโยชน์ ผ่าย น่า, แล ทำ การ สง เคราะห์ อุปะการะ ไว้ ก่อน.
      เอา เงิน (792:2.6)
               คือ เก็บ เงิน ที่ เขา ให้ เปน ค่า จ้าง นำ ไป ไว้ ตาม ชอบ ใจ ตัว นั้น.
      เอา ใจ (792:2.7)
               คือ คำ ที่ คน กล่าว แก่ คน เมื่อ มี ความ ทุกข โศรก เศร้า เบียดเบียน ว่า ไม่ เปน ไร ท่าน อย่า กลัว.
      เอา ไชย (792:2.8)
               เอา ชะนะ, คือ ความ ต้อง การ ได้ ชะน, เช่น คน สู้ รบ กัน ฤๅ เล่น การ พะนัน กัน นั้น.
      เอา ได้ (792:2.9)
               คือ ต้อง การ ได้ สม ความ ปราถนา, คน มี ความ ปราถนา ของ อัน ใด แล ได้ สม ความ ปราถนา.
      เอา ตัว (792:2.10)
               คือ จับ ได้ ตัว คน ฤๅ สัตว เปน ต้น, เช่น คน ปราถนา จะ จับ ตัว คน ฤๅ สัตว แล จับ ได้ นั้น.
      เอา เถีด (792:2.11)
               คือ เปน คำ ยอม ให้. อย่าง หนึ่ง เปน การ เล่น ปิด ตา ของ เด็ก ๆ.
      เอา โทษ (792:2.12)
               คือ คน ทำ ความ ผิด หลาย ครั้ง หลาย หน แล้ว, ต้อง ลง โทษ เสีย บ้าง ภอ ให้ เข็ด หลาบ.
      เอา บุญ (792:2.13)
               คือ ได้ การ บุญ สม ความ ปราถนา นั้น.
      เอา ไป (792:2.14)
               คือ นำ ไป ได้ สม ความ ปราถนา, เช่น คน นำ สิ่ง ของ ที่ ต้อง การ ไป สม ความ ปราถนา นั้น.
      เอา ผล (792:2.15)
               คือ ต้อง การ ผล ประโยชน์ แล ปลูก พืชน์ มี เมล็ด เข้า เปน ต้น ด้วย ต้อง การ ได้ รวง เข้า มาก นั้น.
      เอา เพื่อน (792:2.16)
               คือ หวัง เพื่อ จะ ได้ เพื่อน บ้าน, แล มี ของ อัน ใด แจก ให้ แก่ เพื่อน บ้าน นั้น.
      เอา เมีย (792:2.17)
               คือ หา เมีย ได้ สม ความ ปราถนา, ชาย ยัง ไม่ มี เมีย, แล หา เมีย ได้ สม หวัง นั้น.
      เอา เยี่ยง (792:2.18)
               คือ ความ ที่ เอา อย่าง เขา นั้น, เช่น คน ที่ ไม่ รู้ จัก การ ต้อง เอา เยี่ยง เอา อย่าง เขา นั้น.
      เอา รส (792:2.19)
               เปน คำ แผลง จาก สับท์* โอรส นั้น.
      เอา หลาย (792:2.20)
               คือ ต้อง การ ของ มาก, คน จะ ต้อง การ ของ อัน ใด แล ได้ มาก มาย นั้น.
      เอา ไว้ (792:2.21)
               คือ เก็บ ได้ ของ ไว้, คน เก็บ ของ ต่าง ๆ ไว้ นั้น.
      เอาวะ (792:2.22)
               คือ เปน คำ บังคับ, เช่น นาย สั่ง กับ บ่าว ว่า, เอาวะ จับ ตัว ให้ ได้ นั้น.
      เอา ออก (792:2.23)
               คือ การ ที่ เอา ออก เสีย จาก ที่ นั้น, เช่น อย่าง เอา คน โทษ ออก จาก คุก เปน ต้น.
อำ (792:3)
         คือ งำ ปิด ไว้ เสีย, เช่น คน มี ความ ลับ ไม่ ปราถนา จะ ให้ ผู้ ใด รู้ สงบ ความ เสีย นั้น.
      อำ ความ (792:3.1)
               คือ งำ ปิด ความ เสีย, คน ถึง รู้ ความ อยู่ มี ผู้ มา ถาม ก็ แส้ง นิ่ง เสีย ไม่ บอก นั้น.
      อำแดง (792:3.2)
               คือ เปน คำ เรียก หญิง พลเรือน ผู้ ต้อง คะดี นั้น, เช่น คำ ว่า ข้าพเจ้า อำแดง นี้ นั้น เปน ต้น
      อำนาท (792:3.3)
               คือ อานุภาพ, เช่น คน วาศนา มาก, มี บุญ มาก, แล มี สง่า อานุภาพ, คน ทั้ง ปวง เกรง กลัว คำนับ คารวะ นั้น.
      อำนวย (792:3.4)
               ให้, อะธิบาย ว่า ให้, เช่น คน ให้ ของ เปน ต้น.
      อำ พา (792:3.5)
               ฯ เปน ชื่อ คน ชื่อ อย่าง นั้น มี บ้าง, เปน สับท์ แปล ว่า ไม้ ม่วง บ้าง.
      อำไพ (792:3.6)
               แปล ว่า งาม ดี.
      อำพราง (792:3.7)
               คือ ปิด บัง งำ เสีย, เช่น มี คน อื่น มา อยู่ ใน เรือน ของ ตัว แล มี ผู้ มา ถาม หา แล บอก ว่า ไม่ รู้ เปน ต้น.
      อำพัน (792:3.8)
               คือ ของ แขง เปน ก้อน* เช่น ขี้ ครั่ง, มี กลิ่น หอม ได้ แต่ ทำ ยา นั้น.
      อำพัน ขี้ ปลา (792:3.9)
               คือ อำพัน ทอง นั้น.
      อำพันทอง (792:3.10)
               คือ ของ เขา เก็บ มา แต่ ทะเล มี กลิ่น หอม, เขา ว่า ขี้ ปลาวาน นั้น.
      อำพล (792:3.11)
               อธิบาย ว่า งาม ว่า ดี, เช่น ของ มี ปราสาท เปน ต้น, งาม ดี ว่า อำพล.

--- Page 793 ---
      อำภร (793:3.12)
               แปล ว่า อากาศ, ว่า ฟ้า, ว่า นพภาไลย เบื้อง บน นั้น.
      อำเภอ (793:3.13)
               คือ ที่ ตำบล เปน แห่ง ๆ, ท่าน ตั้ง คน ให้ เปน นาย ว่า กล่าว บังคับ ราษฎร ใน ตำบล นั้น.
      อำเภอ ใจ (793:3.14)
               คือ ตาม ชอบ ใจ ตัว, เช่น ใน ที่ บ้าน ของ ผู้ ใด ผู้ นั้น จะ ทำ ประการ ใด ก็ ทำ ตาม ชอบ ใจ.
      อำมะพฤกษ (793:3.15)
               เปน ชื่อ เส้น เทพจร อย่าง นั้น บ้าง.
      อำมะพาธ (793:3.16)
               เปน ชื่อ โรค ลม อย่าง หนึ่ง, มัน ทำ ให้ มือ แขน ชา ตาย ไหว ไม่ ได้* พูจ ไม่ ใคร่ ได้ นั้น.
      อำมะรา (793:3.17)
               ฯ อะธิบาย ว่า เทวะดา, แต่ ท่าน เอา มา ตั้ง เปน ชื่อ คน เปน นาย พวก สัก คน บ้าง นั้น.
      อำมะระวะตี (793:3.18)
               ฯ อะธิบาย ว่า เปน วงษ อัน ไม่ รู้ ตาย, ท่าน เอา มา ตั้ง เปน ชื่อ เมือง บ้าง.
      อำมะรินทร์ (793:3.19)
               ฯ อะธิบาย ว่า เทวะดา เปน ใหญ่, ท่าน เอา มา ตั้ง เปน ชื่อ คน เปน นาย กอง สัก คน.
      อำมะรินทร วินิจไฉย (793:3.20)
               ฯ เปน ชื่อ ท้อง พระ โรง ขุนหลวง องค์ หนึ่ง เรียก อย่าง นั้น.
      อำมะฤคต์ (793:3.21)
               อะธิ บาย ว่า ไม่ ตาย, เขา พูจ ว่า อำมะฤคต์ รศ, คือ รศ ไม่ ตาย.
      อำมะฤคโชก (793:3.22)
               เปน ชื่อ ฤกษ อย่าง หนึ่ง, พวก โหร เรียก อย่าง นั้น ว่า เปน ฤกษ ดี.
      อำมะฤตยรศ (793:3.23)
               ฯ แปล ว่า รศ ไม่ รู้ ตาย เลย.
      อำมาตย์ (793:3.24)
               ฯ อะธิบาย ว่า เปน คน อยู่ กับ ด้วย* กระษัตริย์, จำ เภาะ ว่า แต่ กระษัตริย์, คน เปน เสฐี แล คะหะบดี ถึง มี คน อยู่ เช่น นั้น ก็ ไม่ เรียก อำมาตย์.
      อำยวน (793:3.25)
               คือ อำ ความ ไว้ ไม่ บอก ความ อัน ใด* ๆ นั้น.
      อำลา (793:3.26)
               คำ อำ นั้น, เปน คำ สร้อย, แต่ คำ ว่า ลา นั้น, เปน คำ บอก เมื่อ จะ ไป ว่า ข้า จะ ลา ไป แล้ว.
      อำ ไว้ (793:3.27)
               คือ พราง ไว้, เช่น คน มา ซ่อน ตัว อยู่ มี ผู้ มา ถาม ว่า คน นั้น อยู่ นี่ ฤๅ, บอก ว่า เขา ไม่ อยู่ นี่ กล่าว คำ มุสา แต่ ความ ว่า เปน คำ อำ ไว้
      อำอวม (793:3.28)
               คือ กล่าว คำ ไม่ ให้ ความ จริง นั้น.
อ่ำ (793:1)
         เปน ชื่อ คน ชาย หญิง เขา ให้ ชื่อ อ่ำ มี บ้าง, บันดา คน เกิด ใน ทุก ประเทศ ทุก ภาษา, ต้อง ให้ มี ชื่อ ต่าง ๆ ตาม ภาษา มี แต่ บุราณ เพื่อ จะ ได้ เรียก จำเภาะ ผู้ นั้น.
อ้ำอึ้ง (793:2)
         คือ ความ นิ่ง มัทะยัต อยู่, เช่น มี ผู้ มา ถาม ฤๅ มา ฃอ ของ ผู้ นั้น นิ่ง อึ้ง อยู่ จะ ให้ ฤๅ ไม่ ให้ ก็ ไม่ ว่า.
อะ (793:3)
         เปน เสียง เขา กล่าว เมื่อ ไม่ ยอม แล ไม่ ให้ เปน ต้น, ฤๅ เมื่อ ตก ใจ ด้วย เหตุ อัน ใด* อัน หนึ่ง นั้น.
อะกุศล (793:4)
         ฯ อะธิบาย ว่า บาป, บันดา การ ชั่ว เปน โทษ อัน นักปราช พึ่ง เว้น เสีย นั้น.
      อะกุศล กรรม (793:4.1)
               ฯ แปล ว่า กะทำ การ บาป.
อะกตัญ (793:5)
         ฯ แปล ว่า ไม่ รู้ โดย ปรกติ ซึ่ง คุณ อัน ท่าน กะทำ ไว้ ก่อน มี คุณ มารดา* เปน ต้น.
อะกับปียะ (793:6)
         อะกับปี ยัง, ฯ แปล ว่า ไม่ ควร นั้น.
      อะกับปียะ วัตถุ (793:6.1)
               ฯ แปล ว่า ของ ไม่ ควร, เช่น ของ อื่น ที่ นอก จาก คำ บัญญัติ นั้น.
อะโข (793:7)
         เปน คำ โลกย์ พูจ ว่า ของ มี อะโข, คือ ว่า ของ นั้น มี มาก กว่า ร้อย กว่า พัน นั้น.
      อะโขเภนี (793:7.1)
               ฯ คือ ลักขณะ อัน นับ ตั้ง แต่ หนึ่ง จน ถึง อะสง ไขย นั้น.
อะขะนิฐ พรหม (793:8)
         ฯ เปน ชื่อ ชั้น พรหม โลกย์ สิบหก ชั้น, มี ชั้น พรหม ชื่อ พรหมะปาริ สัชชา เปน ต้น.
อะคมนิยะฐาน (793:9)
         ฯ คือ หญิง ยี่สิบ จำพวก ที่ เขา หวง แหน นั้น ไม่ ควร ที่ บูรุษ จะเสพ.
อะจีระวะดี (793:10)
         เปน ชื่อ แม่ น้ำ แห่ง หนึ่ง, มี ใน เรื่อง หนังสือ ว่า เขา นับ เข้า ใน แม่ น้ำ ห้า แถว, ชื่อ ว่า คงคา, ยมนา, อะ จีระวะดี, สาระภู, มะหิมหานที นั้น.
อะจินไตย (793:11)
         ฯ แปล ว่า อย่า พึ่ง คิด, เช่น การ ที่ ประพฤติ์ เปน ไป ต่าง ๆ, ที่ คิด ไม่ เหน นั้น อย่า พึ่ง คิด.
อะณา จักร (793:12)
         คือ อาญา มหา กระษัตริย์ ทั้ง สิ้น นั้น.
อะณา ประโยชนะ (793:13)
         ฯ เขา พูจ ถึง ประโยชน์ ของ ตน.
อะณา ประชาชน (793:14)
         ฯ คือ หมู่ ชน ใน อะณา เขตร แห่ง มหา กระ- ษัตริย์.
อะณา ประชา ราษฎร (793:15)
         ฯ อะธิบาย ว่า หมู่ ชน ชาว เมือง อยู่ ใน อาญา เจ้า ชีวิตร.

--- Page 794 ---
อะณู (794:1)
         ฯ แปล ว่า ผง หนิด ๆ ที่ มัน ปลิว อยู่ คน ได้ เหน แต่ ที่ ช่อง มี แดด ส่อง เข้า มา นั้น.
อะโณไทย (794:2)
         ฯ อะธิบาย ว่า ดวง อาทิตย์ นั้น.
อะดีต (794:3)
         ฯ แปล ว่า กาล เวลา ล่วง พ้น ไป แล้ว เพราะ มี สาม กาล คือ อะดีต, อะนาคต, ปัจจุบัน.
อะดูลย์ (794:4)
         ฯ แปล ว่า ไม่ มี ผู้ ใด จะ หนัก เสมอ ด้วย คุณ เปน ต้น นั้น.
อะดิเรก (794:5)
         ฯ แปล ว่า ยิ่ง, เช่น ของ มี อยู่ เหลือ จาก ที่ ใช้ อยู่ มี ผ้า นุ่ง ห่ม เปน ต้น นั้น.
อะติสาร (794:6)
         คือ ชื่อ โรค ลง แดง.
อะทินนาทาน (794:7)
         ฯ แปล ว่า ไม่ ได้ ถือ เอา ซึ่ง ทรัพย์, อัน เจ้า ของ มิ ได้ ให้ นั้น.
อะธิกะมาศ (794:8)
         ฯ แปล ว่า เดือน ยิ่ง ออก ไป นั้น.
อะธิ กรณ (794:9)
         ฯ แปล ว่า กะทำ ยิ่ง.
อะธิการ (794:10)
         ฯ แปล ว่า การ อัน ยิ่ง.
อะธิจิตร (794:11)
         ฯ แปล ว่า จิตร อัน ยิ่ง ข้าง การ บุญ.
อะธิ บดี (794:12)
         ฯ แปล ว่า เปน ใหญ่ ยิ่ง, เช่น คน เปน ใหญ่ มี มาก แต่ คน ที่ เปน ใหญ่ ยิ่ง กว่า นั้น ว่า อะธิ บดี.
อะธิบาย (794:13)
         คือ วิสัชนา เรื่อง ความ ที่ ย่อ สั้น ฟั่น เฟือน อยู่ ให้ คน ที่ ไม่ รู้ ไม่ เข้า ใจ ให้ เหน แจ้ง นั้น.
อะธิ ปัญญา (794:14)
         ฯ แปล ว่า ปัญญา ยิ่ง.
อะธิ ศีล (794:15)
         แปล ว่า ศีล ยิ่ง.
อะธรรม (794:16)
         ฯ แปล ว่า ใช่ ธรรม ว่า อะธรรม, คือ ธรรม มี โทษ อัน นักปราช ย่อม เว้น ย่อม ละ.
อะนาคามิผล (794:17)
         ฯ แปล ว่า ผล ที่ เปน เหตุ ไป แล้ว มิ ได้ ให้ กลับ ลง มา เกิด อีก.
อะนาคามิมรรค (794:18)
         ฯ แปล ว่า มรรค เปน เหตุ ไป แล้ว มิ ได้ กลับ มา เกิด อีก นั้น.
อะนาคต (794:19)
         ฯ แปล ว่า กาล เวลา อัน ยัง ไม่ มา ถึง, กาล นั้น จะ ค่อย มา ข้าง น่า.
อะนาถา (794:20)
         ฯ แปล ว่า ไม่ มี ที่ พึ่ง ที่ อาไศรย, เช่น คน ขัด สน ไม่ มี ผู้ จะ สงเคราะห์.
อะนาธร ร้อน ใจ (794:21)
         คือ ไม่ เอื้อเฟื้อ รำคาน ใจ ๆ สบาย ด้วย มี ความ ศุข อยู่.
อะนาปา (794:22)
         ฯ แปล ว่า อะนาปานะสติ กรรมฐาน คือ กำหนด ลม หาย ใจ เข้า ออก เปน วิธี พระ กรรมฐาน
อะนาวรญาณ (794:23)
         ฯ แปล ว่า รู้ ตลอด ไป ไม่ มี สิ่ง อัน ใด กั้น บัง นั้น.
อะหนาถ (794:24)
         คำ พูจ ถึง การ ปลาด อัษจรริย์ ควร พิศวง ใน ใจ, ว่า น่า อะหนาถ ใจ.
อะหนี (794:25)
         เปน ชื่อ สุรา อย่าง หนึ่ง, รศ เข้ม สำหรับ เจือ สุรา ให้ มี รศ.
อะนุ (794:26)
         ฯ เปน นิบาต สับท์, แปล ว่า ไป ตาม, ว่า เนือง ๆ บ้าง.
      อะนุกรม (794:26.1)
               ฯ แปล ว่า ไป ตาม ลำดับ, เช่น ที่ หนึ่ง แล้ว ถึง ที่ สอง เปน ต้น.
      อะนุกูล (794:26.2)
               ฯ อะธิบาย ว่า เกื้อกูล, คือ ทำ ให้ สม ความ ปราถนา แก่ ผู้ มา พึ่ง.
      อะนุเคราะห์ (794:26.3)
               ฯ คือ ความ สงเคราะห์ ตาม ใจ แก่ ผู้ ปราถนา จะ มา พึ่ง นั้น.
      อะนุจร (794:26.4)
               ฯ แปล ว่า ประพฤติ์ ตาม เดิน ตาม.
      อะนุชา (794:26.5)
               ฯ แปล ว่า เกิด ตาม ภาย หลัง, ว่า เปน น้อง ชาย นั้น.
      อะนุ ชาติบุตร (794:26.6)
               ฯ แปล ว่า ลูก เปน ตาม พ่อ แม่.
      อะนุญาต (794:26.7)
               ฯ แปล ว่า ยัง คน ให้ รู้ ตาม, คือ ความ ยอม นั้น.
      อะนุทยา (794:26.8)
               ฯ แปล ว่า ความ กรุณา, เช่น เหน คน ถึง ทุกข์ ยาก แล มี ใจ คิด สงสาร เอนดู นั้น.
      อะนุปัศนา (794:26.9)
               แปล ว่า เหน ตาม, แล เหน เนือง ๆ, คือ เหน ด้วย ตา บ้าง ด้วย ปัญญา บ้าง.
      อะนุ ภรรยา (794:26.10)
               ฯ แปล ว่า เมีย ตาม ลำดับ เมีย หลวง.
      อะนุ โมทนา (794:26.11)
               ฯ แปล ว่า ชื่น ชม ตาม.
      อะนุมาน (794:26.12)
               ฯ ว่า เปน ไป ตาม น้ำ ใจ.
      อะนุรูปะ (794:26.13)
               ฯ แปล ว่า ไป ตาม ซึ่ง รูป, คือ การ เปน ไป ตาม ซึ่ง รูป ความ เปน ต้น.
      อะนุราธ (794:26.14)
               ฯ เปน ชื่อ เมือง ๆ หนึ่ง, ใน หนังสือ ว่า มี อยู่ ที่ เกาะ ลังกา นั้น.
      อะนุโลม (794:26.15)
               ฯ ว่า เปน ไป ตาม การ.

--- Page 795 ---
      อะนุไสย (795:26.16)
               ฯ แปล ว่า นอน อยู่ ตาม.
      อะนุสะติ (795:26.17)
               ระฦก ตาม, ฯ แปล ว่า มี สะ ติ ตาม ฤๅ มี สะ ติ เนือง ๆ ใน ใจ นั้น.
      อะนุสนธิ์ (795:26.18)
               ฯ แปล ว่า สืบ ต่อ ไป ตาม ลำดับ เรื่อง ที่ อยุด ไว้ นั้น.
      อะนุสาศน์ฯ แปล ว่า สั่ง สอน เนือง ๆ (795:26.19)
               เช่น คน ครู สอน สิษ บ่อย ๆ
      อะนุศร คำนึง (795:26.20)
               ว่า ระฦก ถึง เนือง ๆ. อย่าง หนึ่ง ว่า รำพึง ถึง เนือง ๆ.
อะเนสะนะ (795:1)
         ฯ แสวง หา ไม่ ควร, แปล ว่า แสวง หา ของ อัน ใด ไม่ สมควร คือ หา ไม่ ตาม บัญญัติ.
อะโน ดาต (795:2)
         เปน ชื่อ สระ ใหญ่ อัน หนึ่ง, ใน หนังสือ ว่า มี อยู่ ใน ป่า หิมพานต์.
อะเนก (795:3)
         ฯ แปล ว่า ใช่ อัน เดียว, อะธิบาย ว่า ของ มี มาก นั้น
      อะเนก บรรยาย (795:3.1)
               คือ เหตุ ใช่ อันเดียว อย่าง หนึ่ง ว่า กล่าว พรรณนา มาก.
อะนงค์ (795:4)
         ว่า นาง งาม นาง หญิง ที่ รูป ราง งาม, ว่า นาง นารี ที่ รูป สรวย.
      อะนงค์นาฎ (795:4.1)
               ว่า หญิง เปน นาง ฟ้อน นาง รำ นั้น.
อะนิจกรรม (795:5)
         ฯ คือ การ ที่ ไม่ เที่ยง, มี ชีวิตร อยู่ แล้ว ถึง ตาย นั้น.
อะนิจจา (795:6)
         ฯ แปล ว่า ไม่ เที่ยง ไม่ ยั่ง ยืน ไม่ แน่ นอน, เช่น เวลา เปน ต้น
อะนิจัง (795:7)
         ฯ มี เนื้อ ความ อย่าง เดียว กับ อะนิจา เปลี่ยน แต่ วิภัติ เปน เอกะ วะจะนะ แล พะหู วะจะนะ นั้น.
อะเหน็ด อะหนาถ (795:8)
         เปน คำ เขา พูจ ถึง ของ ที่ ไม่ ควร เปน แล เปน ขึ้น นั้น.
อะนัตตา (795:9)
         แปล ว่า ใช่ ตน ใช่ ของ ๆ ตน, คือ ว่า รูป กาย ถือ ว่า ไม่ ใช่ ของ ตน
อะนุตตะโร (795:10)
         ฯ แปล ว่า มี สิ่ง จะ ยิ่ง กว่า นี้ ไม่ มี นั้น.
อะนันต์ (795:11)
         ฯ แปล ว่า ไม่ มี ที่ สุด, อะนะ สับท์ แปล ว่า ไม่ มี อันตะ แปล ว่า ที่ สุด.
อะนันตัง (795:12)
         ฯ แปล ว่า ไม่ มี ที่ สุด, เช่น อากาศ แล กาล ที่ พวก ทูต สวรรค์ ตั้ง อยู่ ใน สวรรค์ เปน นิจ เปน ต้น นั้น.
อะบาย (795:13)
         ฯ แปล ว่า ประเทศ ไม่ เปน ที่ จำเริญ แล ไม่ เปน ที่ ยินดี, คือ ที่ นะรก เปน ต้น.
อะปมาทธรรม (795:14)
         ฯ แปล ว่า ไม่ ประมาท เปน ธรรม, การ ที่ บุคคล ไม่ ประมาท คือ ไม่ ประพฤติ์ ชั่ว ว่า เปน ธรรม.
อะปะมงคล (795:15)
         ฯ แปล ว่า ไม่ มี มงคล ๆ คือ การ ที่ ไม่ ให้ ถึง ซึ่ง ความ จำเริญ นั้น.
อะปะราไชย (795:16)
         ฯ แปล ว่า มี ไชย อัน เรา ชะนะ แก่ ฆ่า ศึก เปน ต้น นั้น.
อะปันนะกะ (795:17)
         ฯ เปน ชื่อ หนังสือ เรื่อง ชาฎก อัน หนึ่ง, ว่า ถึง พระเจ้า ยัง สร้าง บาระมี เปน โพธิสัตร นั้น.
อะพรหมจารี (795:18)
         ฯ แปล ว่า ประพฤติ์ ไม่ ประเสิฐ.
อะภิทานอักขระ (795:19)
         ฯ คือ คำภีร์ ว่า ด้วย อักษร ต้น สับท์ ต่าง ๆ นั้น.
อะภิธรรม (795:20)
         ฯ แปล ว่า ธรรม อัน ยิ่ง.
อะภิบาล (795:21)
         ฯ แปล ว่า เลี้ยง ยิ่ง รักษา ยิ่ง, เช่น แม่ ที่ เลี้ยง ลูก ที่ เกิด จาก อุทร นั้น.
อะภิปราย (795:22)
         คือ กล่าว คำ เปรียบ ด้วย อะธิบาย.
อะภิรมย์ (795:23)
         ฯ แปล ว่า ยินดี ยิ่ง, เช่น การ ที่ เปน ที่ ยินดี นัก นั้น.
อะภิรุมชุมสาย (795:24)
         คือ ฉัตร เปน เครื่อง สูง ใน หลวง อย่าง หนึ่ง นั้น.
อะภิวาท (795:25)
         ฯ แปล ว่า กล่าว ยิ่ง, เช่น กล่าว คำ ดี เพราะ เปน ที่ จำเริญ ใจ นั้น.
อะภิวันทนาการ (795:26)
         ฯ แปล ว่า กระทำ อาการ คือ ไหว้.
อะภิเศก (795:27)
         ฯ แปล ว่า รด น้ำ ลง ยิ่ง.
อะไภย (795:28)
         ฯ อะธิบาย ว่า ไม่ มี ไภย, เช่น คน อยู่ ปราศ จาก ไภย มี ราช ไภย เปน ต้น นั้น.
อะโภกาศ (795:29)
         ฯ แปล ว่า ที่ แจ้ง นัก ไม่ มี ร่ม เงา เลย.
อะภิชฌา (795:30)
         ฯ แปล ว่า เพ่ง เอา ซึ่ง ทรัพย์ ของ เขา.
อะภัพะ (795:31)
         ฯ แปล ว่า ไม่ ควร. อย่าง หนึ่ง เขา พูจ ว่า เปน คน อาภัพ ว่า ทำ คุณ ท่าน ๆ ว่า ไม่ ดี นั้น.

--- Page 796 ---
อะมะตัง (796:1)
         ฯ แปล ว่า ไม่ ตาย, เช่น ใน เมือง นฤพาน นั้น, ไม่ มี ตาย เลย.
อะมะนุษ (796:2)
         คือ สัตว ใช่ มะนุษ, เปน เพศ ยักษ์ แล อะสุระกาย นั้น.
อะมร (796:3)
         ฯ แปล ว่า เทวะดา*, บันดา* พวก เทวะดา ทั้ง หมด, เรียก ชื่อ อะมร นั้น.
อะมรโค ยานี (796:4)
         เปน ชื่อ ทะวีป อัน หนึ่ง มี บ้าง.
อะมะหิศ (796:5)
         คือ ใจ คน ไม่ ดี หงุตหงิต ดุ* ร้าย เช่น ใจ แขก.
อะริ (796:6)
         ฯ แปล ว่า ฆ่าศึก ว่า สัตรู, เช่น คน มี เวร ต่อ กัน มุ่ง แต่ จะ เบียฬ กัน.
อะริยะ (796:7)
         ฯ แปล ว่า ประเสริฐ, เช่น คน ตั้ง อยู่ ใน มัค แล ผล ว่า เปน พระอาริย.
อะริยะสัจ (796:8)
         แปล ว่า สิ่ง เปน เที่ยง แท้ อย่าง ยิ่ง.
อะรุโณไทย (796:9)
         ฯ แปล ว่า ขึ้น มา แห่ง อารุณ, คือ เมื่อ เวลา ปัจจุ ไสมย เกือบ แจ้ง เช้า นั้น.
อะไร (796:10)
         เปน คำ โลกย์ พูจ ถาม ด้วย* ความ สงไสย, ความ ไม่ รู้ ว่า นั่น เปน อะไร นั้น.
อะโรคา (796:11)
         ฯ หา โรค มิได้, แปล ว่า ไม่ มี โรค, บันดา คน ที่ ไม่ มี โรค นั้น.
อะระหรรต์ (796:12)
         ฯ แปล ว่า ไกล จาก ฆ่าศึก, คือ กิเลศ เปน เหตุ ให้ เศร้า หมอง มี โลโภ, โทโส, โมโห เปน ต้น.
อะรัญ (796:13)
         ฯ แปล ว่า ป่า, เช่น ที่ รก ด้วย ต้น ไม้ ว่า ป่า ไม้ เปน ต้น.
      อะรัญะประเทศ (796:13.1)
               ฯ แปล ว่า ที่ ป่า, คือ ประเทศ ไป เปน ที่ ยินดี.*
      อะรัญวาศรี (796:13.2)
               ฯ แปล ว่า อยู่ ใน ป่า, เช่น ฤๅษี มี ความ ยินดี บวช อยู่ ใน ป่า.
อะรุณ (796:14)
         แปล ว่า แจ้ง ว่า สว่าง, ว่า อะรุณ มี สาม อย่าง, คือ เวลา ใกล้ อาทิตย์ จะ ขึ้น มา มี ศรี ขาว เรื่อ ๆ. อย่าง หนึ่ง ศรี ขาว ชัด อย่าง หนึ่ง. ศรี แดง อย่าง หนึ่ง.
อะรินท ไภย (796:15)
         ฯ เปน สับท์ แปล ว่า ไภย เกิด แต่ ฆ่าศึก เปน ใหญ่ นั้น.
อะรูป (796:16)
         ฯ แปล ว่า ไม่ มี รูป, ใน หนังสือ ว่า มี พรหม จำพวก หนึ่ง ไม่ มี รูป กาย มี แต่ วิญญาณ นั้น.
      อะรูป ภพ (796:16.1)
               ฯ คือ ขั้น พรหม ที่ ไม่ มี รูป.
อะหร่าม (796:17)
         คือ ของ ที่ ปิด ทอง ดู เหลือง ครืด อยู่ เปน ต้น นั้น, ว่า อะหร่าม อยู่.
อะเหร่ม (796:18)
         ว่า สรรพ ของ ที่ ผ่อง ใส รุ่ง เรือง.
อะหร่อย (796:19)
         คือ ของ ที่ ชอบ ปาก ชอบ ใจ คน, มี รศ หวาน เปน ต้น.
อะลำภุษา (796:20)
         เปน ชื่อ นาง เทวะดา* นาง หนึ่ง, อยู่ ใน วิมาน อา กาศ มี อยู่ ใน หนังสือ นั้น.
อะหลักอะเหลื่อ (796:21)
         คือ อาการ ที่ ลำบาก ปล้ำ ตัว, เช่น แม่ หญิง ที่ มี ครรภ์ แก่ ทารก จำเริญ อยู่ ใน ท้อง, แล หนัก ท้อง ลำ บาก นั้น.
อะลงกฏ (796:22)
         แต่ง ตัว, แปล ว่า กระทำ ให้ เต็ม ให้ ภอ, อะธิ บาย ว่า ประดับ* กาย แต่ง กาย.
อะลัชชี (796:23)
         ฯ ไม่ มี อาย, แปล ว่า ไม่ มี ความ ละอาย, เช่น ภิกขุ ที่ ประฏิบัติ ผิด จาก ศีล บัญญัติ นั้น.
อะวิชา (796:24)
         ฯ แปล ว่า ไม่ รู้ คือ สัตว ทั้ง หลาย มี สันดาน* จิตร ไม่ รู้ ว่า การ เปน บาป แล เปน บุญ เปน ต้น นั้น.
อะเวจี (796:25)
         ฯ ไฟ ไม่ รู้ ดับ, แปล ว่า มี เปลว ไฟ ไม่ เหือด, คือ นะรก ใหญ่ ที่ มี เปลว ไฟ ไม่ รู้ เหือต นั้น.
อะไวยวะ (796:26)
         ฯ คือ ของ ที่ ยก ขึ้น เปน สิ่ง ๆ, เช่น กาย คน เปน ต้น ยก ว่า แต่ แขน เปน ต้น สิ่ง หนึ่ง นั้น.
อะวะตาร (796:27)
         แปล ว่า เปน ที่ พึ่ง ที่ เร้น, เปน ชาติ ผู้ มี ฤทธิ์ แบ่ง ไป บังเกิด.
อะวะสาน (796:28)
         ฯ ที่ สุด, แปล ว่า ที่ สุด, เช่น เรื่อง หนังสือ เปน ที่ จบ ลง ไม่ มี อีก นั้น.
อะวิญญาณะกะทรัพย์ (796:29)
         ฯ แปล ว่า ไม่ มี จิตร, คือ ของ เปน ทรัพย์ มี เงิน แล ทอง เปน ต้น นั้น.
อะสุรา (796:30)
         คือ พวก อะสุร ทั้ง หลาย, ที่ อยู่ ใน อะสระ ภิภพ ที่ ระ หว่าง เขา ตรีกูฏ ใต้ เชิง เขา สุเมรุ นั้น.
อะสุรี (796:31)
         คือ นาง อะสุร เปน ยักษิ์ ผู้ หญิง.
อะสุระ (796:32)
         คือ อะสุร เช่น ว่า, เรียก ว่า อะสุร ๆ นั้น คือ เรียก จำ เภาะ แต่ คน เดียว* นั้น.
      อะสุรกาย (796:32.1)
               คือ พวก อะสุรกาย ใน หนังสือ ว่า มัน เที่ยว ทุก แห่ง แต่ ตา มะนุษ แล ไม่ เหน มัน.

--- Page 797 ---
อะสุภะกรรมฐาน (797:1)
         ฯ แปล ว่า ธรรม เปน ที่ ตั้ง แห่ง การ คือ พิจารณา ดู ซาก อะศภ ว่า เปน ที่ พึ่ง เกลียด.
อะสุระภักตร์ (797:2)
         ฯ คือ หน้า อะสุร เปน หน้า ยักษ ต่าง ๆ.
อะสุรินทราหู (797:3)
         ฯ คือ ตัว ราหู ที่ เขา ถือ ว่า มา เที่ยว จับ ดวง พระจันทร์ ฤๅ อาทิตย์, ว่า เปน ใหญ่ กว่า พวก อะสูร ทั้ง ปวง นั้น.
อะสะนีบาตร (797:4)
         ฯ แปล ว่า ตก ลง แห่ง ขวาน ฟ้า, เขา เรียก ว่า ฟ้า ผ่า มี ขวาน ตก ลง.
อะสะมะ (797:5)
         ฯ แปล ว่า ไม่ เสมอ, เช่น คน ไม่ เท่า กัน ด้วย รูป เปน ต้น นั้น.
อะสระพิศม์ (797:6)
         ฯ แปล ว่า มี พิศม์ แล่น เร็ว มา เร็ว, คือ สัตว ตัว ยาว เรียก ว่า งู.
อะสงไขย (797:7)
         ฯ แปล ว่า นับ มิ ได้, แต่ เปน ที่ นับ ใน ที่ สุด สังขยา นั้น.
อะสับปุรุษ (797:8)
         ฯ แปล ว่า บุกคล ไม่ เปน บุรุษ ดี.
อะสรรญี่ (797:9)
         ฯ แปล ว่า ไม่ มี สัญญา, เช่น พรหม จำพวก หนึ่ง ชื่อ อะสัญญี สัตว.
อะหิ (797:10)
         ฯ แปล ว่า งู, บันดา งู มี ใน น้ำ ใน บก เรียก ว่า อะหิ นั้น.
อะหิวาตะกะโรคย์ (797:11)
         ฯ แปล ว่า โรค ลม มี พิศม์ เสมือน พิศม์ งู นั้น.
อะโห (797:12)
         ฯ แปล ว่า โอ้, เช่น คน ที่ มี ความ ทุกข์ เปน ต้น ออก วาจา ว่า โอ้ นั้น.
อะโหสิ (797:13)
         ฯ แปล ว่า มี แล้ว กัน.
อะโหสิกรรม (797:14)
         ฯ คือ ว่า มิ ได้ กระทำ ต่อ ไป ฤๅ กรรม เปน อัน แล้ว กัน.
อะหัง (797:15)
         ฯ แปล ว่า เรา, ว่า กู, ว่า อาตมา ภาพ.
อะหังการ (797:16)
         อะหังกา, ฯ แปล ว่า คน ถือ ตัว ว่า ตัว ดี.
อะหัง การ มะมังการ (797:17)
         คือ ถือ มั่น ใน ใจ ว่า นี่ ตัว เรา นี่ ของ เรา เปน ต้น.
อะเหตุ (797:18)
         ฯ แปล ว่า ใช่ เหตุ ไม่ มี เหตุ.
อะเหตุกะ ปัติสนธิ (797:19)
         ฯ แปล ว่า สัตว บังเกิด ไม่ มี เหตุ ที่ จะ ถึง มัค ถึง ผล.
อก (797:20)
         คือ อะไวยวะ ที่ มี อยู่ ถัด ฅอ ลง ไป ถัด ท้อง ขึ้น มา นั้น, ย่อม มี ทุก ตัว คน นั้น.
      อก ไก่ (797:20.1)
               คือ ไม้ เครื่อง เรือน มี อยู่ ที่ เบื้อง บน ที่ สุด เจาะ ใส่ ลง ที่ ปลาย เสา ดัง* นั้น.
      อก กรม (797:20.2)
               คือ อก ใจ กรอม ด้วย ความ ทุกข์ อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น.
      อก เต่า (797:20.3)
               คือ อก ที่ ตัว เต่า. อย่าง หนึ่ง เขา เรียก ตำบล ที่ ทะเล เรียก ว่า อก เต่า บ้าง.
      อก ไหม้ ไส้ ขม (797:20.4)
               เปน คำ ตลาด โลกย์ เขา พูจ, เมื่อ เขา ได้ ความ ลำบาก อด ๆ อยาก ๆ เขา พูจ อย่าง นั้น
      อก เอ๋ย (797:20.5)
               คำ เขา พูจ ออก ปาก เมื่อ มี ความ วิ ตก ถึง ทุกข์ ร้อน ว่า อก เอ๋ย จะ ทำ ไฉน ดี นั้น.
อัก (797:21)
         คือ สำเนียง ดัง อัก ๆ, เขา พูจ ถึง เสียง ที่ คน ชก ตี กัน, ดัง เสียง อัก ๆ นั้น.
      อักขี (797:21.1)
               ฯ แปล ว่า ตา, บันดา ตา คน ฤๅ สัตว นั้น เรียก ว่า อักขี นั้น.
      อักโขเภนี (797:21.2)
               ฯ คือ นับ มี ใน สังขยา นั้น.
      อักเสพ (797:21.3)
               กำเริบ, คือ อาการ ที่ แผล มี แผล ฝี เปน ต้น กำเริบ เจ็บ มาก ขึ้น เพราะ กะทบ ถูก อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น.
      อักษร (797:21.4)
               อักขระ, คือ ตัว หนังสือ ขอม ไท เช่น ว่า แล้ว, เรียก ว่า อักษร นั้น, เพราะ เอา ขอ เปน ษอ นั้น.
      อัก อ่วน ป่วน ใจ (797:21.5)
               ทุรนทุราย, คือ การ ที่ ใจ ไม่ สบาย ด้วย จะ อยู่ ฤๅ ไป เปน ต้น คิด แล้ว คิด อีก ไม่ ตก ลง นั้น.
อัคคี (797:22)
         ฯ แปล ว่า ไฟ, บันดา ไฟ ที่ เกิด ขึ้น ใน หิน ใน ไม้ เปน ต้น.
      อัคคี นาค ราช (797:22.1)
               ฯ เปน ชื่อ นาง ใน เรื่อง รามเกียรติ์ คน หนึ่ง นั้น.
      อัคคี ไภย (797:22.2)
               ฯ แปล ว่า กลัว แต่ ไฟ.
อัคคะ (797:23)
         ฯ แปล ว่า เลิศ.
      อัคคะชายา (797:23.1)
               ฯ ว่า นาง เปน เมีย เลิศ.
      อัคคะถาน (797:23.2)
               ฯ แปล ว่า ที่ อันเลิศ, เช่น คน มี ทรัพย์ สมบัติ มาก เขา ว่า คน นั้น เปน อัคคะถาน.
      อัคะเนสัน (797:23.3)
               เปน ชื่อ ฝี อย่าง หนึ่ง, มัน ขึ้น ที่ ริม สัน หลัง หัว ใหญ่ รักษา ยาก นัก ร้อย คน จะ รอด สัก คน หนึ่ง.

--- Page 798 ---
      อัคคะ บุคคล (798:23.4)
               ฯ แปล ว่า บุคคล อัน เลิศ.
      อัคคะ มหา เสนา บดี (798:23.5)
               ฯ แปล ว่า คน เปน เสนา บดี ที่ ใหญ่ ล้ำ เลิศ นั้น.
      อัคคะ มะเหษี (798:23.6)
               ฯ อะ ธิบาย ว่า หญิง เปน เมีย มหา กระษัตริย์ เปน หญิง เลิศ ประเสิฐ นั้น.
      อัคคะเรศร (798:23.7)
               ว่า นาง เลิศ เปน ใหญ่.
      อัคคะ สาวก (798:23.8)
               ว่า คน เปน สาวก อัน เลิศ.
อีก (798:1)
         คือ ซ้ำ เติม, เช่น คน ได้ ของ ฤๅ กิน ของ เปน ต้น, เอา ซ้ำ ฤๅ กิน ซ้ำ นั้น.
      อีก ที (798:1.1)
               คือ ซ้ำ หน, ซ้ำ ครั้ง, ซ้ำ คราว เปน ต้น.
      อีก หนิด (798:1.2)
               คือ เอา แล้ว ฤๅ ได้ แล้ว, แล เอา ซ้ำ ฤๅ ได้ ซ้ำ ที ละ หนิด นั้น.
      อีก หน่อย (798:1.3)
               อีก หนิด, คือ ได้ ซ้ำ ฤๅ เอา ซ้ำ, ได้ แล้ว ฤๅ เอา แล้ว, แล ได้ ซ้ำ ฤๅ เอา ซ้ำ ที ละ น้อย ๆ นั้น.
      อีก เล่า (798:1.4)
               คือ ซ้ำ กิน, ฤๅ ซ้ำ ทำ, ซ้ำ ไป, ซ้ำ มา เปน ต้น นั้น.
อึก (798:2)
         เปน เสียง ดัง อึก, เช่น เขา เอา ศอก ฤๅ เข่า ทำ กะทบ เข้า ที่ กาย ผู้ อื่น ดัง อึก นั้น.
      อึกกะทึก (798:2.1)
               คือ ความ อื้ออึง ครื้น เครง นั้น.
      อึก หนึ่ง (798:2.2)
               คือ ดื่ม น้ำ เข้า ไป, เสียง ดัง อึก ที่ ใน ฅอ ที่ หนึ่ง นั้น.
      อึกอัก (798:2.3)
               เปน เสียง ดัง เช่น นั้น, เมื่อ เขา ทุบ ตี กัน นั้น บ้าง.
อุก (798:3)
         คือ บุก รุก, เช่น คน ทะเลาะ วิวาท กัน, แล ฝ่าย ข้าง หนึ่ง องอาจ บุกรุก เข้า ไป นั้น.
      อุกกาบาต (798:3.1)
               คือ ใน เวลา กลาง คืน มี ดวง ไฟ เหมือน คบ เพลิง ตก ลง จาก อากาศ นั้น.
      อุกฉกรรจ (798:3.2)
               คือ บุก รุก เข้า ทำ ประทุษฐร้าย แก่ ฝ่าย ข้าง หนึ่ง, โดย การ อยาบ ช้า กล้า แขง นั้น.
      อุกลาบาต (798:3.3)
               คือ ใน เวลา ราตรี มี ดวง ไฟ ใหญ่ เท่า บาตร เลื่อน ลอย มา ใน อากาษ แล้ว ตก ลง นั้น.
      อุกอาจ (798:3.4)
               คือ บุกรุก โดย ทะนง ใจ, ว่า ใคร จะ ทำ อะไร กู ได้, ไม่ มี ใคร ต่อ สู้ กู ได้ นั้น.
      อุกอาจ หยาบหยาม (798:3.5)
               คือ อาการ คน ที่ ใจ พาล ทำ อหังการ จอง หอง องอาจ นั้น.
เอก (798:4)
         ฯ คือ ว่า เปน หนึ่ง, มี แต่ หนึ่ง, อัน ธรรมดา ของ อัน ใด ถ้า มี แต่ หนึ่ง แล้ว เปน ของ ดี วิเสศ นัก.
      เอกเขนก (798:4.1)
               คือ อาการ ที่ นั่ง เอน ตัว ลง พิง อยู่ นั้น.
      เอกเทศ (798:4.2)
               คือ ประเทศ ที่ แห่ง หนึ่ง นั้น.
      เอกภรรยา (798:4.3)
               คือ เมีย ที่ หนึ่ง, คน มี เมีย ดี เปน ที่ หนึ่ง นั้น, ว่า เปน เอกภรรยา.
      เอกมะเหษี (798:4.4)
               คือ หญิง ดี เปน เมีย กระษัตริย์ เปน ที่ หนึ่ง, เรียก เอก มะเหษี.
      เอกะระ (798:4.5)
               คือ คน เปน คน ถือ ตัว มานะ ไม่ กลัว ผู้ ใด นั้น.
      เอก ฤกษ (798:4.6)
               คือ ฤกษ อัน หนึ่ง.
      เอกราช (798:4.7)
               แปล ว่า พระยา องค์ เดียว.
      เอกลาภ (798:4.8)
               คือ ได้ ลาภ อย่าง เดียว ลาภ ไม่ ควร จะ ได้ มา ก็ ได้ มา นั้น.
      เอกสาร (798:4.9)
               คือ สาร อัน เดียว.
      เอกศก (798:4.10)
               คือ สิ้น ปี ลง เสร็จ ปี หนึ่ง เบื้อง ต้น.
      เอกอุ (798:4.11)
               คือ ของ ดี วิเสศ เช่น ว่า นั้น, แต่ เปน เอก ที่ หนึ่ง, ด้วย เอก มี สาม อย่าง, คือ เอกอุ หนึ่ง, เอก มอ หนึ่ง, เอก สอ หนึ่ง.
แอก (798:5)
         คือ ไม้ ที่ เขา ทำ สำหรับ วาง บน ฅอ วัว ฤๅ ควาย แล้ว ผูก มัน เข้า ไว้ นั้น.
      แอก เกวียน (798:5.1)
               คือ ไม้ เช่น ว่า เขา ทำ ไว้ ที่ งอน เกวียน สำหรับ เทียม วัว ฤๅ ควาย นั้น.
      แอก คราด (798:5.2)
               คือ ไม้ เช่น ว่า เขา ทำ ไว้ ที่ คราด สำหรับ เทียม วัว ฤๅ ควาย นั้น.
      แอก ไถ (798:5.3)
               คือ ไม้ เช่น ว่า, เขา ไว้ ที่ ไถ สำหรับ เทียม วัว ฤๅ ควาย นั้น.
      แอก รถ (798:5.4)
               คือ ไม้ เช่น ว่า เขา ทำ ไว้ ที่ งอน รถ สำหรับ เทียม ม้า ให้ มัน ภา รถ ไป.
      แอก เลื่อน (798:5.5)
               คือ ไม้ แอก เช่น ว่า, เขา ทำ ไว้ ที่ เลื่อน สำหรับ เทียม วัว ฤๅ ควาย นั้น.
แอ๊ก (798:6)
         เปน เสียง ดัง แอ๊ก ๆ มี บ้าง, คน เขมร ชื่อ แอ๊ก มี บ้าง.
โอก ๆ (798:7)
         เปน เสียง ดัง โอก ๆ เช่น เสียง ไก่ มัน ร้อง มี บ้าง.

--- Page 799 ---
      โอฆสงสาร (799:7.1)
               ฯ คือ การ ที่ สัตว เที่ยว ท่อง เวียน เกิด เวียน ตาย อยู่ นั้น เปรียบ เหมือน ห้วง น้ำ.
ออก (799:1)
         คือ ไป ฤๅ มา จาก ที่ ใด ที่ หนึ่ง, เช่น ทิศ ตะวัน ออก คือ อาทิตย์ ออก ทิศ นั้น เปน ธรรมดา นั้น.
      ออก ความ (799:1.1)
               คือ ไต่ ถาม ได้ เนื้อ ความ ออก นั้น.
      ออก คำ (799:1.2)
               คือ ออก วาจา มา นั้น.
      ออก เงิน (799:1.3)
               คือ ต้อง เอา เงิน ออก ใช้ ให้ เขา นั้น.
      ออก จาก กัน (799:1.4)
               คือ พ้น จาก กัน, เช่น ราหู เข้า จับ ดวง จันทร์ แล้ว ละ พ้น จาก กัน นั้น.
      ออก ชะรา (799:1.5)
               คือ คน แก่ คร่ำ คร่า นั้น.
      ออก ชื่อ (799:1.6)
               คือ พูจ ถึง ชื่อ คน เปน ต้น นั้น.
      ออก ได้ (799:1.7)
               คือ พ้น ได้, เช่น คน ติด โทษ อยู่ ใน คุก เปน ต้น แล พ้น ไป ได้ นั้น.
      ออก ดอก (799:1.8)
               คือ ต้น ไม้ ถึง น่า ระดู มัน มี ดอก ออก มา นั้น.
      ออก ตัว (799:1.9)
               คือ พ้น จาก ตัว, เช่น คน ทำ ความ ผิด มาก ด้วย กัน, แต่ คน หนึ่ง แก้ ความ ตัว พ้น ไป จาก โทษ นั้น.
      ออก นอก หน้า (799:1.10)
               คือ ทำ การ ดี ฤๅ การ ชั่ว, จะ สำแดง ให้ คน ทั้ง ปวง รู้ เหน นั้น.
      ออก นอก ราชการ (799:1.11)
               คือ ไม่ เข้า ทำ ราชการ, เดิม ตัว ต้อง ทำ ราชการ เปน ที่ ขุนนาง อยู่ ผ่าย หลัง ออก เสีย นั้น.
      ออก ไป (799:1.12)
               คือ พ้น ไป จาก เมือง เปน ต้น, เช่น เรือ กำปัน ฤๅ เรือ สำเภา เปน ต้น พ้น ไป จาก ปาก น้ำ นั้น.
      ออก ปาก (799:1.13)
               คือ กล่าว วาจา ออก, เช่น คน อด ทน ไม่ ได้ ด้วย กลัว เปน ต้น กล่าว ว่า ไม่ ทำ ต่อ ไป เปน ต้น.
      ออก ผล (799:1.14)
               คือ มี ผล ออก มา, เหมือน ต้น ไม้ ที่ เขา ปลูก ไว้ นาน แล มัน มี ผล ออก มา นั้น.
      ออก ฝี (799:1.15)
               เปน ฝีดาษ, คือ เกิด ฝี เม็ด เล็ก ๆ ขึ้น มาก เต็ม ตัว บ้าง, ลาง ที่ น้อย บ้าง มี มา เปน คราว ๆ, เขา เรียก ฝี ธร พิศม์ บ้าง, เรียก ฝีดาษ บ้าง, เขา ปลูก กัน ได้ บ้าง.
      ออก ไฟ (799:1.16)
               คือ ออก จาก ที่ นอน ผิง ไฟ, เหมือน แม่ หญิง คลอด ลูก แล้ว อยู่ อัง ไฟ แล้ว ออก เสีย นั้น.
      ออก มา (799:1.17)
               คือ ออก จาก ที่ มา ปรากฎ แก่ เรา, เหมือน แดด เดิม ยัง เช้า นัก ยัง ไม่ มี, ครั้น เวลา สาย อาทิตย์ ขึ้น สูง จึง มี มา นั้น
      ออก มาก (799:1.18)
               ออก หนัก, คือ ออก หลาย, เหมือน คน ถูก อาวุธ เปน ต้น แล มี เลือด ไหล ออก มาก นั้น.
      ออก หมด (799:1.19)
               ออก สิ้น, คือ ออก ไม่ เหลือ, เหมือน เขา เท น้ำ มัน ออก จาก ขวด จน สิ้น ไม่ เหลือ นั้น.
      ออก มือ (799:1.20)
               เข็ด มือ, คือ เข็ด ขยาด ระอา ครั่น พรั่น, เหมือน คน สู้ ชก ตี กัน ด้วย มือ แล เข็ด ขยาด กัน เข้า นั้น.
      ออกยา (799:1.21)
               เปน คำ ยก ย่อง เกรียติยศ ขุนนาง ผู้ มี บันดา ศักดิ์ เปน ที่ พระยา มี พระยา ราช สุภาวะดี เปน ต้น.
      ออก ร้าน (799:1.22)
               ออก ขาย ของ, คือ เอา ของ ออก วาง ที่ ร้าน สำ หรับ ขาย นั้น.
      ออก ลูก (799:1.23)
               คือ แม่ หญิง คลอด ลูก, แม่ หญิง มี ครรภ์ แก่ แล้ว บุตร ออก จาก ครรภ์ นั้น.
      ออก วาจา (799:1.24)
               คือ เปล่ง วาจา ออก นั้น.
      ออก ไว้ (799:1.25)
               คือ เอา ออก ไว้ นั้น.
      ออก วัง (799:1.26)
               คือ ออก ตั้ง วัง ใหม่, เหมือน เจ้า ลูก ขุนหลวง เปน ผู้ ชาย ครั้น ใหญ่ เปน หนุ่ม, แล ออก สร้าง วัง อยู่ ใหม่ นั้น.
อวก (799:2)
         คือ อาการ ที่ ทำ เหมือน จะ ราก ออก นั้น, เหมือน คน ป่วย แล มัน ให้ อาเจียน อวก นั้น.
      อวก ลม (799:2.1)
               คือ อาการ ที่ เปน เช่น ว่า นั้น, แต่ มัน ให้ เปน แต่ ลม เปล่า ๆ ไม่ มี อัน ใด นั้น.
      อวกอาก (799:2.2)
               คือ อาการ เหมือน คน อาเจียน ราก นั้น.
เอือก (799:3)
         คือ เสียง ดัง ใน ฅอ เมื่อ เขา ดื่ม น้ำ เปน ต้น, เมื่อ เขา ดื่ม น้ำ แรง ๆ หนัก ดัง เช่น นั้น.
เอิกเกริก (799:4)
         อื้อ อึง, คือ การ งาน ที่ เขา เรียก ว่า มงคล การ, มี การ โกน จุก ฤๅ งาน บ่าว สาว เปน ต้น.
องค์ (799:5)
         ตัว, มี ความ อะธิบาย ว่า เหตุ ที่ ดี, เหมือน เหตุ อัน ใด ฤๅ ของ อัน ใด ที่ เปน อย่าง ดี วิเสศ เรียก ว่า องค์, เปน คำ สูง โดย คำนับ.
      องค์การ (799:5.1)
               คือ ความ อะธิบาย ว่า การ ที่ เปน อย่าง ดี วิเสศ, เหมือน คำ ขุนหลวง ตรัศ ว่า องค์ การ.
      องคชาต (799:5.2)
               คือ อะไวยวะ ที่ ลับ แห่ง บุรุษ นั้น.
      องค์ ใด (799:5.3)
               เปน คำ ถาม ถึง เจ้า ฤๅ พระสงฆ์ นั้น, ว่า องค์ ใด, ถาม โดย คำรพย์ เปน คำ สูง.

--- Page 800 ---
      องค์ เดียว (800:5.4)
               คน หนึ่ง, เหมือน เจ้า ฤๅ พระสงฆ์ เปน ต้น มี อยู่ องค์ หนึ่ง, เขา ว่า องค์ เดียว นั้น.
      องค์ นี้ (800:5.5)
               เปน คำ เขา บอก ว่า องค์ นี้, มี ผู้ ถาม ถึง เจ้า ฤๅ พระ เปน ต้น ว่า องค์ ไหน เขา บอก ว่า องค์ นี้.
      องค์ ไหน (800:5.6)
               เปน คำ เขา ถาม ว่า องค์ ไหน, มี ผู้ สงไสย ไม่ รู้ ว่า เจ้า ฤๅ พระ เปน ต้น องค์ ใด แล ถาม ว่า องค์ ไหน นั้น.
      องค์ นั้น (800:5.7)
               เปน คำ เขา บอก ถึง พระ เปน ต้น, มี ผู้ รู้ จัก เจ้า ฤๅ พระ เปน ต้น แล เขา ชี้ บอก ว่า องค์ นั้น.
      องค์ พระ (800:5.8)
               กาย พระ, คือ รูป พระ, บันดา รูป พระ ที่ เขา เขียน ฤๅ หล่อ ฤๅ ปั้น เปน ต้น นั้น, เรียก ว่า องค์ พระ.
      องค์ราช (800:5.9)
               คือ องค์ ราช มเหษี ฤา องค์ ราช บุตร เปน ต้น.
      องค์ สมเด็จ (800:5.10)
               คือ องค์ สมเด็จ พระพุทธิเจ้า เปน ต้น นั้น.
      องคุลี (800:5.11)
               แปล ว่า นิ้ว, เหมือน ของ อัน ใด ยาว นิ้ว มือ หนึ่ง ว่า มัน ยาว องคุลี หนึ่ง.
      องอาจ (800:5.12)
               กล้า หาญ, คือ อาการ ที่ อาจ หาญ ไม่ เกรง ขาม ผู้ ใด, เหมือน คน ผู้ มี อิศีริยศ ศักดิ์ เข้า สู่ ที่ ประชุม ไม่ ครั่น คร้าม ผู้ ใด นั้น.
อัง (800:1)
         คือ นฤคะหิต มี รูป อย่าง นี้, ํ. อย่าง หนึ่ง ว่า ลน ว่า ผิง, เหมือน เขา เอา ขี้ ผึ้ง เข้า ให้ ใกล้ ไฟ นั้น.
      อังกา (800:1.1)
               คือ ตัว อักษร สิบสอง ตัว มี ที่ เขา เขียน ไว้ หัว ใบ ลาน ที่ จาน ตัว หนังสือ แล้ว ทำ ไว้ เปน สำคัญ, หมาย เปน ลำดับ ให้ รู้ ว่า ใบ ที่ หนึ่ง ที่ สอง เปน ต้น, สิบสอง ตัว เปน อังกา สอง อังกา เปน ผูก นั้น.
      อังกุระ (800:1.2)
               แปล ว่า หน่อ, เหมือน ต้น กล้วย ฤๅ ไม้ ไผ่ เปน ต้น ที่ มัน งอก ขึ้น จาก เง่า ใต้ ดิน ที่ โคน นั้น.
      อังกาบ (800:1.3)
               เปน ชื่อ ต้น ดอก ไม้ อย่าง หนึ่ง, มัน มี ดอก ศรี เหลือง ไม่ มี กลิ่น, เขา เอา มา จาก เมือง นอก ดอก มัน เขียว นั้น.
      อังกฤษ (800:1.4)
               คือ ทอง อังกริด, เมือง อังกฤษ, แต่ง ตัว เปน อัง กฤษ นั้น.
      อังคาพะยพ (800:1.5)
               แปล ว่า อะไวยะวะ น้อย ใหญ่ ที่ กาย คน ฤๅ สัตว นั้น.
      อังคาร (800:1.6)
               เปน ชื่อ วัน ที่ สาม นับ แต่ วัน อาทิตย์ ไป. อย่าง หนึ่ง แปล ว่า ถ่าน บ้าง.
      อังคาศ (800:1.7)
               คือ เอา ของ คาว หวาน แจก ให้ พระสงฆ์ เมื่อ นั่ง ฉัน อยู่ หลาย รูป นั้น.
      อังฆาฏ (800:1.8)
               คือ แปล ว่า เบียดเบียฬ องค์, เหมือน จันทร์ อังฆาฏ นั้น.
      อังเชิญ (800:1.9)
               เปน คำ ร้อง เชิญ คน ที่ มา หา, ว่า อัง เชิญ เปน คำ เพราะ คำ หลวง นั้น.
      อังชัญ (800:1.10)
               เปน ชื่อ เครือ เถา วัล อย่าง หนึ่ง, มัน มี ดอก เขียว บ้าง ขาว บ้าง ไม่ มี กลิ่น.
      อัง ไฟ (800:1.11)
               คือ ลน ไฟ, เหมือน คน เอา ขี้ผึ้ง* เปน ต้น เอา เข้า ใกล้ ไฟ เพื่อ จะ ให้ ร้อน อ่อน นั้น.
      อังแพลม (800:1.12)
               เปน ชื่อ เครื่อง สำหรับ มือ ขะโมย สำหรับ จุด ไฟ ส่อง เอา ของ กลาง คืน.
      อังโล่ (800:1.13)
               คือ ดิน เขา ปั้น เปน รูป คล้าย ถัง สำหรับ ทำ เตา ไฟ, ใส่ ถ่าน ต้ม น้ำ เปน ต้น นั้น.
      อังวะ (800:1.14)
               เปน ชื่อ เมือง พะม่า เปน เมือง หลวง, ชื่อ บูรัตะนะ อังวะ นั้น.
      อังสะ (800:1.15)
               เปน ชื่อ ผ้า สำหรับ พระสงฆ์ ห่ม. อย่าง หนึ่ง เขา คลุม แต่ บ่า ลง มา นั้น.
      อังษา (800:1.16)
               แปล ว่า บ่า, บันดา บ่า ที่ มี ที่ ตัว คน ฤๅ สัตว นั้น, เรียก อังษา.
อางขนาง (800:2)
         คือ อาการ ที่ ใจ รำคาน คิด ว่า จะ ให้ ฤๅ อย่า ให้ ดี จะ กิน ดี ฤๅ อย่า กิน ดี เปน ต้น.
อ่าง (800:3)
         คือ รูป ภาชนะ สำหรับ ใส่ น้ำ เปน ต้น, รูป มัน ต่ำ บ้าง สูง บ้าง แบน บ้าง กลม บ้าง นั้น.
      อ่าง แก้ว (800:3.1)
               กะถาง แก้ว, คือ อ่าง เขา ทำ ด้วย แก้ว. อย่าง หนึ่ง เขา ทำ กับ พื้น ดิน พื้น หิน, หาก เรียก ว่า อ่าง แก้ว นั้น.
      อ่าง เขียว (800:3.2)
               กะถาง เขียว, คือ อ่าง รูป สูง สัก ศอก เสศ, เขา ทำ มา จาก เมือง จีน เคลือบ ด้วย น้ำ ยา ศรี เขียว.
      อ่าง เคลือบ (800:3.3)
               กะถาง เคลือบ, คือ อ่าง รูป ต่าง ๆ เขา เคลือบ ด้วย น้ำ ยา ศรี ต่าง ๆ รูป สูง บ้าง ต่ำ บ้าง นั้น
      อ่าง ทอง (800:3.4)
               กะถาง ทอง, คือ อ่าง เขา ทำ ด้วย ทอง. อย่าง หนึ่ง เปน ชื่อ หัว เมือง ขึ้น กรุง เทพะ มะหา นะครฯ อยู่ แขวง เหนือ นั้น

--- Page 801 ---
      อ่าง น้ำ (801:3.5)
               กะถาง น้ำ, คือ อ่าง เช่น ว่า แต่ เขา ใส่ น้ำ ไว้, บัน ดา อ่าง ที่ เขา ขัง น้ำ ไว้, เรียก ว่า อ่าง น้ำ.
      อ่าง ยืน (801:3.6)
               กะถาง ยืน, คือ อ่าง รูป สูง สัก สอง ศอก ก้น เล็ก ปาก กว้าง นั้น.
      อ่าง ปลา (801:3.7)
               กะถาง ปลา, คือ อ่าง เช่น ว่า ทุก อย่าง, เขา เลี้ยง ปลา ไว้ ชม เล่น นั้น, เรียก ว่า อ่าง ปลา.
      อ่าง หิน (801:3.8)
               กะถาง หิน, คือ อ่าง เขา ทำ ด้วย สิลา. อย่าง หนึ่ง ประเทศ ริม ฝั่ง ทะเล* ทิศ ตะวัน ออก, เขา เรียก บ้าน อ่าง หิน.
อ้าง (801:1)
         อาไศรย, คือ กล่าว ถึง คน ที่ ได้ รู้ ได้ เหน, ว่า คน นั้น ๆ เขา รู้ เขา เหน ด้วย เปน แน่ แท้.
      อ้าง พยาน (801:1.1)
               อาไศรย พยาน, คือ กล่าว ถึง ผู้ ที่ ได้ รู้ เหน, เหมือน คน หา ความ กัน ว่า ตี เปน ต้น, ผู้ จำเลย ไม่ รับ ผู้ ฟ้อง กล่าว ถึง คน ผู้ รู้ เหน, ว่า ผู้ นั้น ๆ ก็ ได้ เหน ว่า ตี ข้า เปน ต้น.
      อ้าง ไม่ สม (801:1.2)
               อาไศรย ไม่ สม,* คือ กล่าว อ้าง ถึง คน นั้น ๆ ว่า เขา ได้ รู้ ได้ เหน, ผู้ นั้น ปัติเสท ว่า ข้า ไม่ ได้ รู้ ไม่ ได้ เหน เปน ต้น.
      อ้าง ยิง ปืน (801:1.3)
               คือ กล่าว อวด ว่า เรา ยิง ปืน ใหญ่ ก็ ได้ ยิง เป้า ก็ ได้ เปน ต้น นั้น.
      อ้าง ว้าง (801:1.4)
               คือ อาการ วังเวง ใจ อยู่, เหมือน คน หลง ไป อยู่ แต่ ผู้ เดียว ใน ป่า ใหญ่ ใจ วังเวง เปลี่ยว อยู่ นั้น.
      อ้าง อิง (801:1.5)
               คือ กล่าว คำ ถึง คน ที่ เปน ใหญ่ เอา เปน พยาน ตัว นั้น.
อ้าง อวด (801:2)
         อวด อ้าง, คือ กล่าว อ้าง ว่า เรา ทำ การ อัศจรริย์* มี ทำ ไม่ ให้ คน เหน ตัว เปน ต้น, มี สำคัญ คน ได้ เหน มาก นั้น.
อิง (801:3)
         คือ เอน ตัว ลง ไม่ ราบ พิง หมอน เปน ต้น นั้น.
      อิง พิง (801:3.1)
               ความ เหมือน ว่า แล้ว นั้น.
      อิง อ้าง (801:3.2)
               ความ เหมือน อ้างอิง นั้น.
      อิง เอน (801:3.3)
               คือ พิง ตัว เอน อยู่ กับ อัน ใด อัน หนึ่ง นั้น.
      อิง แอบ (801:3.4)
               คือ พิง ตัว ลง ชิด กับ ตัว คน อื่น ฤๅ ของ อัน ใด ๆ นั้น.
อึง (801:4)
         ดัง, คือ เสียง สรรพ ที่ ดัง นั้น.
      อึง คะนึง (801:4.1)
               อึง เหมือน ว่า แล้ว, แต่ คะนึง นั้น เปน สร้อยคำ แอบ เข้า.
      อึง อึกกะทึก (801:4.2)
               ดัง กึกก้อง, คือ เสียง อึง แล คน วุ่นวาย เหมือน เมื่อ ไฟ ไหม้ บ้าน เรือน คน วุ่นวาย อึง อยู่ นั้น.
      อึง อื้อ (801:4.3)
               ดัง อื้อ, คือ เสียง ดัง อึง แล ดัง อื้อฮือ อยู่ เช่น เสียง ลม พยุ พัด หนัก อยู่ นั้น.
อึ่ง (801:5)
         เปน ชื่อ สัตว สี่ เท้า อย่าง หนึ่ง, เขา เรียก* อึ่ง มัน อยู่ ใน ดิน ที่ ชุ่ม เปียก นั้น.
      อึ่ง พร้าว (801:5.1)
               เปน อึ่ง ตัว เล็ก ๆ มัน อยู่ ใน ป่า ไม้ ไผ่ นั้น.
      อึ่ง ยาง (801:5.2)
               เปน อึ่ง ตัว เล็ก ๆ มัก เกิด ที่ ขอน ไม้ ยาง ที่ ล้ม ทอด อยู่ กับ ดิน นั้น.
      อึ่ง อ้าง (801:5.3)
               เปน สัตว อึ่ง ตัว มัน โต กว่า อึ่ง ยาง อึ่ง ไผ่, มัก เกิด อยู่ ใน บ้าน ที่ ดิน เปียก ๆ นั้น.
อึ้ง (801:6)
         นิ่ง, คือ นิ่ง ความ กัน อยู่ ไม่ ว่า กัน ประการ ใด, ว่า ยัง อึ้ง กัน อยู่.
      อึ้ง กัน อยู่ (801:6.1)
               นิ่ง กัน อยู่, คือ อั้น นิ่ง กัน อยู่, เช่น กอง ทัพ สอง ฝ่าย ยก มา ตั้ง ค่าย ประชิ กัน, แล ยัง ไม่ รบ กัน นิ่ง อั้น อยู่.
      อึ้ง ความ (801:6.2)
               นิ่ง ความ, คือ ความ ที่ ว่า กัน, แล กราบทูล เจ้า ชีวิตร ขึ้น. ยัง ไม่ ตรัส ประการ ใด. ว่า อึ้ง อยู่ เปน ต้น.
      อึ้ง อยู่ (801:6.3)
               นิ่ง อยู่, คือ นิ่ง อั้น อยู่, เช่น เขา เอา ความ มา บอก ขึ้น, ผู้ ฟัง นั้น ยัง ไม่ ว่า ประการ ใด นิ่ง อั้น อยู่,
      อึ้ง อ้ำ (801:6.4)
               คือ อั้น อำ อยู่, เช่น คน ได้ ฟัง ความ เขา บอก เล่า ยัง ไม่ รู้ จะ ว่า ประการ ใด.
อุ้ง (801:7)
         คือ บวม โต ห้อย อยู่, เช่น ลูก อัณฑะ คน ที่ เปน โรค, มัน บวม โต ห้อย ยาน อยู่
      อุ้ง มือ (801:7.1)
               คือ ที่ ใน ซอง มือ, เช่น ทำ ฝา มือ ให้ ขลุ้ม เข้า, ใน ซอง มือ นั้น เขา เรียก ว่า อุ้ง มือ.
เอง (801:8)
         มึง, เจ้า, เปน คำ คน มี อายุ ฤๅ ยศ ศักดิ์, ร้อง เรียก คน ที่ อายุ เด็ก กว่า ตัว, ฤๅ คน เปน ทาษ เปน ต้น นั้น.
      เอง มา นี่ (801:8.1)
               มึง มา นี่, เปน คำ คน ผู้ใหญ่ ฤๅ เปน นาย, เรียก คน เด็ก ฤๅ คน ที่ เปน ทาษ.

--- Page 802 ---
      เอง อยู่ ฤๅ (802:8.2)
               เจ้า อยู่ ฤๅ, เปน คำ คน ผู้ ใหญ่ ฤๅ เปน นาย, ถาม คน เด็ก ฤๅ คน ทาส เปน ต้น.
แอ่ง (802:1)
         ตะภัก, เปน ชื่อ ที่ ใน น้ำ, มี ที่ บึง ฤๅ ที่ หนอง น้ำ เปน ต้น, ที่ มัน เปน ชะวาก แหว่ง เข้า ไป ที่ ดิน ฝั่ง เปน ต้น นั้น.
      แอ่ง ปลา (802:1.1)
               ตะภัก ปลา, คือ ที่ แอ่ง เช่น ว่า, แต่ หมู่ ปลา มัน เข้า อาไศรย อยู่ มาก, มัน มี อยู่ ที่ ตลิ่ง น้ำ นั้น.
      แอ่ง ฦก (802:1.2)
               ตะภัก ฦก, คือ ที่ แอ่ง เช่น ว่า, แต่ มัน เปน ชะ วาก แอ่ง*, แอ่ง ฦก ลุ่ม ลง ไป นั้น, เรียก ว่า แอ่ง ฦก นั้น.
แอ้งแม้ง (802:2)
         คือ เขา มัด เข้า ไว้, เช่น คน โทษ ต้อง มัด มือ ทั้ง สอง ข้าง อก แอ่น อยู่ เขา ว่า ต้อง มัด แอ้งแม้ง อยู่.
โองการ (802:3)
         คือ ถ้อย คำ ขุนหลวง.
โอ่ง (802:4)
         ตุ่ม, คือ ภาชนะ สำหรับ ใส่ น้ำ กิน เปน ต้น, คน มอญ ทำ ด้วย ดิน, รูป สูง สัก ศอก คืบ. โต สัก สิบ สอง กำ เปน ต้น.
      โอ่ง น้ำ (802:4.1)
               คือ โอ่ง เขา ใส่ น้ำ ไว้, เขา ตัก น้ำ ไว้ มาก ใส่ ลง ใน โอ่ง ทั้ง ปวง เอา ไว้ กิน นาน ๆ นั้น.
      โอ่ง นะคร สวรรค์ (802:4.2)
               คือ รูป โอ่ง ใหญ่ สัก สาม อ้อม, ใส่ น้ำ ได้ มาก สัก ยี่สิบ หาบ สามสิบ หาบ, เขา ทำ ที่ เมือง นะ คร สวรรค์ แต่ บูราณ นั้น.
      โอ่ง อ่าง (802:4.3)
               คือ ภาชนะ สำหรับ ใส่ น้ำ, โอ่ง รูป สูง, อ่าง นั้น รูป แบน ต่ำ ๆ.
อ่อง (802:5)
         คือ ผ่อง ใส, เช่น ของ อัน ใด มี เรือ เปน ต้น, ที่ เขา ทำ แล้ว ใหม่ ๆ นั้น.
      อ่อง ฃาว (802:5.1)
               คือ ผ่อง ใส บริสุทธิ์, เช่น เครื่อง แก้ว ใหม่ ๆ ยัง ไม่ มี มลทิน จับ นั้น.
      อ่อง ใหม่ (802:5.2)
                คือ ของ ผ่อง ใส ใหม่ อยู่, เช่น เรือ ที่ ใหม่ เปน ต้น นั้น.
      อ่อง เอี่ยม (802:5.3)
               คือ ของ ผ่อง งาม นั้น.
อ้องแอ้ง (802:6)
         คือ รูป คน เล็ก ๆ, เอว บาง ร่าง น้อย ไม่ ล่ำ สัน นั้น.
เอียง (802:7)
         ตะแคง, คือ ตะแคง, เช่น เรือ เปน ต้น เมื่อ เขา ชัก ไบ ขึ้น แล่น ไป, ข้าง หนึ่ง สูง, ข้าง หนึ่ง ต่ำ เปน ต้น นั้น.
      เอียง ข้าง (802:7.1)
               ตะแคง ข้าง, คือ เอียง เหมือน เรือ เช่น ว่า นั้น, ว่า มัน เอียง ข้าง.
      เอียง ฅอ (802:7.2)
               ตะแคง ฅอ, คือ ฅอ ที่ คน มี โรค เจ็บ ที่ ฅอ มี ฝี เปน ต้น, มัน ทำ ให้ ฅอ บิด เบือน ไม่ ใคร่ ได้.
      เอียง ตัว (802:7.3)
               ตะแคง ตัว, คือ เอน ตัว ตะแคง ตัว, เช่น นั่ง อยู่ ตรง ตัว, แล้ว ทำ ให้ ตัว ตะแคง ลง นั้น.
      เอียง หน้า (802:7.4)
               ตะแคง หน้า, คือ หน้า ตะแคง ไป, เช่น คน เดิม หน้า ตั้ง ตรง อยู่, แล้ว ทำ ให้ หน้า ตะแคง ไป.
      เอียง ไป (802:7.5)
               เอน ไป, คือ ตะแคง ไป, เช่น ของ อัน ใด มี ภาช นะ ถ้วย ชาม เปน ต้น, ที่ มัน ตั้ง ตะแคง นั้น.
      เอียง มา (802:7.6)
               คือ ตะแคง มา ข้าง นี้. เหมือน เรือ เดิม ตั้ง ลำ ตรง อยู่, ครั้น มัน ตะแคง มา ว่า เอียง มา.
      เอียง เรือ (802:7.7)
               คือ ทำ ให้ เรือ มัน ตะแคง อยู่, เขา จะ ยาเรือ แล ยก มัน ขึ้น ตะแคง บน บก.
      เอียง ลง (802:7.8)
               คือ ตะแคง ลง, เหมือน เขา ทำ ให้ ของ มี เรือ เปน ต้น.
      เอียง ไว้ (802:7.9)
               ตะแคง ไว้, คือ ตะแคง ไว้, เหมือน เขา วาง ของ มี ภาชนะ เปน ต้น, ให้ มัน ตะแคง อยู่, ว่า ตั้ง เอียง มัน ไว้ นั้น.
      เอียง หัว (802:7.10)
               ตะแคง หัว, คือ ตะแคง หัว, เช่น คน จะ ให้ เขา โกน ผม.
      เอียง เอน (802:7.11)
               คือ เอียง ตะแคง ตัว แล้ว ทำ ตัว ให้ เอน ลง แต่ ไม่ ราบ ถึง พื้น นั้น.
      เอียง โอน (802:7.12)
               คือ ต้นไม้ ที่ มัน อยู่ ริม ที่ ตลิ่ง, มัน เอน ชาย ลง นั้น.
เอี้ยง (802:8)
         คือ เปน ชื่อ นก จำพวก หนึ่ง, ตัว มัน ย่อม เท่า ลูก ไก่ สื่อ ๆ, ขน ตัว มัน ดำ มี ขน ที่ หัว เช่น ผม คน ขึ้น เปน ฝอย อยู่. อย่าง หนึ่ง คน ชื่อ เอี้ยง มี บ้าง.
เอื้อง (802:9)
         คือ หญ้า แล ใบ ไม้ ที่ โค ควาย มัน กิน เข้า ไป ใน ท้อง แต่ กลาง วัน, ครั้น ค่ำ มัน นอน มัน รื้อ ผ่อน เอา กลับ มา เคี้ยว ให้ ละเอียด อีก.

--- Page 803 ---
      เอื้อง ใหญ่ (803:9.1)
               เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, ต้น มัน ไม่ โต นัก เขา เอา มา ทำ อยา ได้ ใบ เปน ขน ๆ นั้น.
      เอื้อง เพ็ดม้า (803:9.2)
               เปน ชื่อ ต้นไม้ อย่าง หนึ่ง, ต้น มัน เล็ก ๆ สูง สัก สอง ศอก, ใบ เปน ขน เขา ทำ อยา ได้.
เอิ้งเวิ้ง (803:1)
         คือ ที่ ๆ เปน ที่ ปิด บัง, เช่น ถ้ำ ที่ กว้าง ขวาง เปน ต้น นั้น.
อด (803:2)
         กลั้น, คือ อาการ ที่ อยาก แล ไม่ ได้ กิน เปน ต้น, แล กลั้น ข่ม, โลโภ, โทโส, โมโห, ลง ไว้ ได้ ก็ ว่า อด ได้ เช่น อยาก จะ ลัก ของ เขา, แล สะกด ใจ ห้าม ใจ ไว้ ได้ นั้น.
      อด แกง (803:2.1)
               ไม่ มี แกง, คือ ไม่ มี แกง กิน, ฤๅ ไม่ ได้ กิน แกง, คน อยาก จะ กิน แกง ไม่ ได้ กิน, ก็ ชื่อ ว่า อด แกง นั้น.
      อด กิน (803:2.2)
               ไม่ มี กิน, คือ แกล้ง อด ไม่ กิน, ด้วย รักษา ศีล เปน ต้น, ฤๅ กลัว จะ เปน อาหาร สำแลง, ที่ จะ ให้ เกิด โทษ นั้น.
      อด กลั้น (803:2.3)
               ทน กลั้น, คือ อด ทน เปรียบ เหมือน อัด ใจ ไม่ ระ บาย ลม หาย ใจ เข้า ออก, เหมือน เขา ประทุษฐ ร้าย ภอ จะ ตอบ แทน ได้, แต่ ไม่ ทำ นั้น.
      อด กับเข้า (803:2.4)
               ไม่ มี กับเข้า, คือ อด ของ คาว ที่ กิน สำหรับ กับ เข้า, มี หมู แล ไก่ แล ปลา เปน ต้น.
      อด เข้า (803:2.5)
               ไม่ มี เข้า กิน, คือ ไม่ ได้ กิน เข้า, ลาง ที ไม่ มี เข้า จะ กิน จึ่ง ต้อง อด, ลาง ที ขัด สน ด้วย หุง ไม่ ได้ ก็ มี บ้าง นั้น.
      อด ขนม (803:2.6)
               ไม่ มี ขนม กิน, คือ ไม่ มี ขนม อัน ใด เลย, จึ่ง ต้อง อด, ลาง ที ไม่ มี ทรัพย์ จะ ซื้อ เขา นั้น.
      อด ขาด (803:2.7)
               ไม่ ได้ กิน เลย, คือ ไม่ ได้ กิน เลย, ด้วย กันดาร นัก ไม่ มี เข้า ของ อัน ใด เลย ที่ เปน อาหาร นั้น.
      อด ใจ (803:2.8)
               ข่ม ใจ, คือ ห้าม ใจ ให้ มัน นิ่ง เสีย, เช่น เขา เบียด เบียฬ ตัว, แล ห้าม ใจ ไม่ ให้ ทำ ตอบ แทน เขา เปน ต้น นั้น.
      อด จิตร (803:2.9)
               คือ ห้าม จิตร ไม่ ให้ ประพฤติ์ การ ชั่ว, ที่ นักปราช* พึง ติเตียน เปน ต้น.
      อด โซ (803:2.10)
               คือ เมื่อ เวลา กันดาร ไม่ มี อาหาร กิน อด อยาก เที่ยว โซ เซ อยู่ นั้น.
      อด ได้ (803:2.11)
               ทน ได้, คือ ห้าม ใจ ไม่ ให้ โกรธ เปน ต้น, เช่น เขา ทำ ให้ โกรธ เปน ต้น, แล ห้าม ใจ ไม่ ให้ โกรธ, เปน ต้น นั้น.
      อด ทน (803:2.12)
               กลั้น ทน, คือ กลั้น ห้าม ใจ เสีย, สู้ ทน เอา การ ที่ จะ ไม่ ให้ เกิด ความ โกรธ เปน ต้น นั้น.
      อด เที่ยว (803:2.13)
               กลั้นเที่ยว, คือ เขา เคย เที่ยว ไป อยู่ ไม่ ใคร่ ได้, อุส่าห์ หัก ใจ เสีย ไม่ ไป เที่ยว นั้น.
      อด น้ำ (803:2.14)
               ไม่ มี น้ำ กิน, คือ ไม่ ได้ กิน น้ำ, ด้วย ไป ที่ กันดาร ไม่ มี น้ำ กิน, ลาง ที่ ป่วย ใน ลำ ฅอ ดื่ม น้ำ ไม่ ได้.
      อด นอน (803:2.15)
               คือ ไม่ ได้ นอน หลับ, ด้วย ต้อง ทำ การ งาน บ้าง ลาง ที่ โรค กำเริบ เปน ต้น.
      อด นม (803:2.16)
               คือ ไม่ ได้ ดื่ม น้ำ นม, เช่น ทารก อ่อน แม่ ไม่ มี น้ำ นม ให้ กิน.
      อด เนื้อ (803:2.17)
               คือ ไม่ มี เนื้อ อัน ใด จะ บริโภค เปน อาหาร เปน ต้น นั้น.
      อด ปาก (803:2.18)
               คือ กลั้น บำอยัด ปาก, ไม่ ออก ปาก พูจจา อัน ใด นั้น.
      อด พูจ (803:2.19)
               กลั้น พูจ, คือ สำรวม ปาก ไม่ กล่าว ถ้อย คำ อัน ใด, นิ่ง เสีย ไม่ พูจ นั้น.
      อด เพล (803:2.20)
               ไม่ ได้ กิน เพล, คือ ไม่ ได้ กิน อาหาร เวลา ใกล้ เที่ยง, เช่น พระสงฆ์ แล สามเณร, ไม่ ได้ กิน เวลา เพล นั้น.
      อด หมาก (803:2.21)
               หา มี หมาก กิน ไม่, คือ ไม่ มี หมาก กิน, ก็ ไม่ ได้ กิน หมาก, เหมือน คน ไทย เคย กิน หมาก, แล ไม่ มี หมาก จะ กิน นั้น.
      อด อยาก (803:2.22)
               คือ อด แล อยาก ด้วย, ลาง ที่ เปน แต่ อด เปล่า ๆ ลาง ที่ อด แล้ว ให้ อยาก ด้วย.
      อด เหล้า (803:2.23)
               คือ ไม่ มี เหล้า จะ กิน จะ ดื่ม, ก็ ไม่ ได้ ดื่ม, เช่น คน ดื่ม เหล้า ทุก วัน, ไม่ มี เหล้า จะ ดื่ม, ก็ ไม่ ได้ ดื่ม นั้น.
      อด ไว้ (803:2.24)
               กลั้น ไว้, คือ งด ไว้ กลั้น ไว้, เช่น มี ผู้ ด่า ว่า อยาบ ช้า ทา รุณ ถึง เจ็บ แค้น, สู้ อด ทน กลั้น เอา นั้น.

--- Page 804 ---
      อดสู (804:2.25)
               ขาย หน้า, มี ความ ไม่ เหมือน คำ นั้น, คน กล่าว ว่า อดสู นั้น, เขา เล็ง เอา ความ ละอาย น้อย ๆ เช่น คน หญิง สาว เคย ห่ม ผ้า, แล ผ้า ผลัด หลุด ลง จาก ตัว เปน ต้น นั้น.
      อดส่าห์ (804:2.26)
               คือ มี ความ เพียร ทำ การ, หมั่น ทำ การ งาน สาระ พัด ทุก สิ่ง ทุก อย่าง ต่าง ๆ นั้น.
      อด เสีย (804:2.27)
               คือ กลั้น นิ่ง เสีย ไม่ ว่า ประการ ใด นั้น.
      อด หิว (804:2.28)
               แสบ ท้อง หิว, คือ ไม่ ได้ กิน อาหาร เว้น สอง เวลา สาม เวลา, แล ละหวย อ่อน, ไม่ มี กำลัง จะ นั่ง จะ ยืน นั้น.
      อด อาหาร (804:2.29)
               คือ ไม่ มี อาหาร จะ กิน ก็ ไม่ ได้ กิน นั้น, คน ไม่ มี เข้า เปน ต้น ที่ จะ กิน ก็ ไม่ ได้ กิน นั้น.
      อด ออม (804:2.30)
               อด นั้น ว่า แล้ว, แต่ ออม นั้น คือ มี ของ อยู่ น้อย, ค่อย กิน แต่ น้อย ๆ กลัว จะ อด นั้น.
      อด อาย (804:2.31)
               อัปยศ, อด กลั้น ความ ละอาย ด้วย ขัด สน, เช่น ลูก ตระกูล มั่ง มี, ครั้น ยาก จน ลง ต้อง ทำ การ ที่ ตัว ไม่ เคย ทำ, สู้ อด กลั้น ความ อาย เอา.
อัจฉิริยัง (804:1)
         ฯ อรรษจรริย์*, แปล ว่า การ เปน ปลาด ใจ, ไม่ เคย เหน เปน อรรษจรรย์ ใน ใจ นั้น.
อัจฉรา (804:2)
         ฯ นาง สวรรค์, แปล ว่า นาง ฟ้า, ว่า นาง เทวดา ว่า นาง อับษร สวรรค์, นาง เทพย์ ธิดา นั้น.
อัชฌาไศรย (804:3)
         คือ อาการ ที่ คน มี สะติ ดี, รู้ น้ำ ใจ คน แล กระ- ทำ ไม่ ให้ เขา ขัด เคือง ใจ ทำ ดี นั้น.
อัฐ (804:4)
         ฯ แปล ว่า ที่ แปด, เช่น นับ แต่ หนึ่ง ไป จน ถึง ที่ เจ็ด แล้ว แปด นั้น.
อัฐิ (804:5)
         ฯ แปล ว่า กระดูก, บันดา กระดูก ที่ มี ใน กาย เว้น ไว้ แต่ เล็บ แล ฟัน นั้น, ทั้งนั้น เรียก อัฐิ.
อัด (804:6)
         กด ลง, คือ ทำ ของ ให้ แน่น นัก, เช่น เขา เอา ใบ ลาน ที่ จาน ตัว อักษร* แล้ว, ลำดับ ชั้น กัน เข้า มาก แล้ว ใส่ เข้า ที่ ควง, หัน ควง เข้า ให้ แน่น. อย่าง หนึ่ง เขา เอา กะดาด ที่ ตี พิมพ์ แล้ว, ลำดับ ซ้อน เข้า ที่ ควง แล้ว หัน เข้า ให้ แน่น นั้น.
      อัด ควัน (804:6.1)
               สูด ควัน ไว้, คือ สูบ ควัน เข้า ไป ใน ฅอ, เหมือน คน สูบ ฝิ่น สูบ กันชา, เขา ทำ ควัน ให้ เข้า ใน ฅอ เปน ต้น นั้น.
      อัด ใจ (804:6.2)
               คือ อั้น กลั้น ลม หาย ใจ ออก เข้า ไว้ นั้น, เช่น คน จะ ยิง ปืน เล็ก ๆ ที่ ประทับ กับ แก้ม นั้น, เมื่อ จะ ลั่น กลั้น ลม หาย ใจ ออก เข้า เพื่อ จะ ไม่ ให้ ปืน ไหว นั้น.
      อัดตะกลับ (804:6.3)
               คือ ของ ทำ ด้วย ทอง ฃาว, รูป แบน เหมือน กะ ด้ง, มี สาย ระย้า ห้อย สำหรับ ตาม ตะเกียง.
      อัด แอ (804:6.4)
               ยัด เยียด, คือ ของ ที่ มา เบียด เสียด กัน แน่น อยู่ ที่ คลอง แคบ, แล เรือ แพ มา คับ คั่ง เบียด กัน แน่น อยู่ นั้น.
      อัด อก (804:6.5)
               แน่น อก, เปน แต่ คำ พูจ ว่า อัด อก, แต่ อาการ อย่าง ไร ไม่ เหน มี, แต่ เขา พูจ ว่า อัด อก อัด ใจ เช่น นี้ มี บ้าง.
      อัด อั้น (804:6.6)
               แน่น อั้น, คือ จะ คิด อ่าน การ อัน ใด อัน หนึ่ง, การ นั้น ไม่ สำเร็ทธิ์, ให้ อ้น อั้น ตัน ใจ ไป, คิด ไม่ เหน เลย นั้น.
อัตตา (804:7)
         ฯ แปล ว่า ตัว ว่า ตน, มี อธิบาย ว่า, อัตตา นั้น คือ มัน กิน ซึ่ง ศุข แล ทุกข์.
อัตตรา (804:8)
         เปน คำ เขา พูจ ถึง เวลา เปน นิจ นั้น, ว่า มี อยู่ อัต ตรา, เขา มา บ่อย ๆ เปน นิจ นั้น.
อัดตะคัด (804:9)
         เปน คำ โลกย์ เขา พูจ, เหมือน คน ขัด สน, มี ทรัพย์ สิน น้อย หา ไม่ ใคร่ จะ ทัน กิน นั้น.
อัตตะโช (804:10)
         ฯ แปล ว่า เกิด แต่ ตน, เหมือน ทารก เกิด ใน ครรภ์ แห่ง มารดา นั้น.
อัตตะโน นาโถ (804:11)
         ฯ แปล ว่า ตน เปน ที่ พึ่ง แก่ ตน
อัตตะโนมัต (804:12)
         ฯ แปล ว่า ตาม ที่ รู้ ของ ตน.
อัตตะปื* (804:13)
         เปน ชื่อ เมือง ฝ่าย เหนือ, เปน เมือง ลาว เมือง หนึ่ง.
อัตตะภาโว (804:14)
         ฯ แปล ว่า อัตตะภาพ, คือ รูป กาย แห่ง คน ฤๅ สัตว เปน ต้น นั้น.
อัตตะมัตย์ (804:15)
         แปล ว่า อธิบาย แห่ง ตน.
อัดตลัด (804:16)
         เปน ชื่อ ผ้า ไหม อย่าง หนึ่ง, มี ดอก ทำ ด้วย ไหม ศรี ทอง, มา แต่ เมือง เทษ.

--- Page 805 ---
อัทยาไสย (805:1)
         ความ เหมือน กับ อัชฌาไสย.
อัศฎร (805:2)
         แปล ว่า ม้า.
อัศวราช (805:3)
         ฯ แปล ว่า พระยา ม้า.
อัศสาสะ (805:4)
         ฯ แปล ว่า ลม หาย ใจ ออก, เมื่อ ทารก ออก จาก ครรภ์ มี ลม หาย ใจ ออก ก่อน แล้ว, จึ่ง มี ลม หาย ใจ เข้า นั้น.
      อัศสาสะปะสาศ (805:4.1)
               ฯ แปล ว่า ลม หาย ใจ ออก เข้า.
อัศสุ ชล (805:5)
         ฯ แปล ว่า น้ำ ตา.
อัศสุนีบาต (805:6)
         คือ ฟ้า ผ่า ๆ นั้น มี ขวาน ฟ้า, รูป เหมือน ขวาน แต่ เปน หิน เหมือน ศรี หิน เล็ก ไฟ.
อรรฒจรร (805:7)
         คือ ไม้ เขา ทำ เปน ชั้น ๆ ลด กัน ต่ำ ลง เหมือน ขั้น บันได, สาม ชั้น* บ้าง ห้า ชั้น* บ้าง, สำหรับ ก้าว ขึ้น, ก้าว ลง.
อรรถ (805:8)
         ฯ คือ สับท์ ที่ ยัง ไม่ ได้ แปล ออก นั้น, เรียก ว่า อรรถ เหมือน สับท์ ว่า ชะโน เปน ต้น นั้น.
      อรรถ กะถา (805:8.1)
               ฯ แปล ว่า กะทำ ซึ่ง ถ้อย คำ ไว้.
      อรรถถาธิบาย (805:8.2)
               ฯ คือ วิสัชชะนา เนื้อ ความ ใน คำ อรรถ, ว่า ชะโน, แปล ว่า คน, ชะนะ นั้น อธิบาย ว่า เกิด, ว่า คน นั้น ทับ สับท์ อยู่, แต่ ว่า เพราะ มัน เกิด.
อรรศกัน (805:9)
         เปน ชื่อ เขา สัตตะบริพันท์ ที่ หก, เขา ที่ หนึ่ง ชื่อ เขา ยุคุนธร, มี ชื่อ เปน ลำดัพ ถึง เจ็ด ชั้น.
อรรศฎงคต (805:10)
         ฯ แปล ว่า ถึง ซึ่ง สิ้น ไป, เหมือน ดวง พระ อาทิตย์ ลับ ไป นั้น.
อาจ (805:11)
         กล้า, คือ ห้าว หาญ, คน มี ใจ ไม่ ครั่น คร้าม เกรง ขาม ผู้ ได นั้น, ว่า อาจ. อย่าง หนึ่ง, คน ชื่อ อาด ก็ มี บ้าง นั้น.
      อาจ ทำ (805:11.1)
               กล้า ทำ, คือ เคย ทำ การ สิ่ง ใด ๆ อยู่ แล้ว, มี ผู้ ถาม ว่า ท่าน ทำ ได้ ฤๅ กล้า รับ ว่า เรา ทำ ได้.
      อาจ หาญ (805:11.2)
               องอาจ, คือ กล้า หาญ, บันดา คน แกล้ว กล้า องอาจ นั้น, เรียก ผู้ อาจ หาญ.
      อาจ อง (805:11.3)
               แกล้ว กล้า, คือ ความ องอาจ, คน องอาจ คือ คน ใจ ไม่ เกรง กลัว ครั่น คร้าม ผู้ ใด นั้น.
อาตะมา (805:12)
         ฯ ตัว เรา, แปล ว่า ตัว ว่า ตน, ใน คำ เทศนา, มัก ว่า อาตะมา ภาพ.
อาทมาตย์ (805:13)
         อำมาตย์ ตัว กล้า, เปน ชื่อ พวก ทหาร หมู่ หนึ่ง เปน กอง ทหาร สอด แนม จับ คน ร้าย ใน นะคร.
อิจฉา (805:14)
         ฯ อยาก ได้, แปล ว่า ความ ปราถนา, เหมือน คน อยาก ได้ ของ สิ่ง ใด ๆ นั้น.
อิฐ (805:15)
         เปน อิฐ ที่ เขา ทำ มา ขาย, สำหรับ ก่อ กำแพง เมือง, ฤๅ ก่อ ฝา ผนัง โบสถ์ เปน ต้น.
      อิฐ หน้า วัว (805:15.1)
               คือ อิฐ บาง เปน สี่เหลี่ยม, ที่ เขา เอา มา แต่ เมือง จีน, สำหรับ ปู พื้น ให้ เสมอ ดี นั้น.
      อิฐ ผา (805:15.2)
               เปน คำ เขา ร้อง เรียก อิฐ, แต่ เอา ผา ใส่ ด้วย เปน สร้อย คำ แต่ เล็ง เอา หิน.
      อิฐ พื้น (805:15.3)
               คือ อิฐ ลำดับ ลง เปน พื้น, มี พื้น ตึก เปน ต้น.
      อิฐ รู (805:15.4)
               คือ แผ่น อิฐ ใหญ่ หนา, เขา เจาะ รู ไว้ แผ่น ละ หก รู บ้าง แปด รู บ้าง, เพื่อ จะ ให้ ไฟ เข้า ไป ตลอด จะ ได้ สุก ทั่ว นั้น.
      อิฐ หัก (805:15.5)
               คือ อิฐ เปน ท่อน เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ มัน แตก หัก ออก จาก แผ่น อิฐ ใหญ่ นั้น.
อิด ใจ (805:16)
         ท้อ ใจ, คือ ระอา ใจ, เหมือน จำ เปน ขืน ใจ ทำ การ อัน ใด ๆ ทุก วัน ๆ, ไม่ ได้ ผล อัน ใด, แล เบื่อ ใจ เข้า นั้น.
อิดโรย (805:17)
         ธ้อ ถอย, คือ ธ้อแท้ ใจ, เช่น คน เขา ใช้ ให้ ภาย เรือ เปน ต้น, ไป ไกล ไป นาน ไม่ ได้ อยุด อย่อน นั้น.
อิด ออด (805:18)
         คือ ทำ พูจ เอื้อน อำ, ไม่ ใคร่ จะ บอก จะ กล่าว เช่น คน ป่วย เขา ถาม ไม่ ใคร่ พูจ ออก, ฤๅ พูจ เสียง เบา ๆ นั้น.
อิด อ่อน ใจ (805:19)
         คือ ระอา อ่อน ใจ, เช่น คน ต้อง ทำ การ หนัก, ไม่ ได้ อยุด อย่อน ระอา อ่อน ใจ นั้น.
อิด เอื่อน (805:20)
         คือ อาการ ที่ คน ไม่ ใคร่ พูจจา, เขา ถาม ก็ บอก หนิด หน่อย แล้ว นิ่ง เสีย.
อิตถี (805:21)
         ฯ อิษัตรี, แปล ว่า หญิง, บันดา หญิง มะนุษ หญิง สัตว เดียระฉาน แล หญิง เปรต ก็ ว่า อิตถี สิ้น.
      อิตถี ลึงค์ (805:21.1)
               คือ คำ มะคธ บทมาลา, ว่า เปน สับท์ สำหรับ หญิง, มี นะที แล ราตรี เปน ต้น นั้น.
อิทธิ ฤทธิ์ (805:22)
         ฤทธิ์ เดช, คือ มี ฤทธิ์ ยิ่ง. เหมือน พระเจ้า, ท่าน มี ฤทธิ์ ยิ่ง ไม่ มี ผู้ ใด สู้ ได้ นั้น.

--- Page 806 ---
อิศสะโร (806:1)
         ฯ เปน ใหญ่, แปล ว่า เปน ใหญ่, เช่น คน เปน กระษัตริย์ เปน ต้น นั้น.
อิศสระ (806:2)
         ฯ แปล ว่า เปน ใหญ่ เหมือน กัน กับ อิศสะโร, แต่ อิศสะโร สับท์ นี้, มี สิ วิภัติ, เอา สิ เปน โอ, อิศสระ นั้น ไม่ มี วิภัติ.
อิศศิริยศ (806:3)
         ฯ แปล ว่า มี ยศ เปน ใหญ่
อึดตะปือ (806:4)
         คือ ของ มี มาก, เหมือน ต้น หญ้า ใน แผ่นดิน เปน ต้น นั้น.
อึดอัด (806:5)
         คือ เสียง คน ดัง เมื่อ ปล้ำ กัน นั้น.
อุจจา (806:6)
         ฯ แปล ว่า สูง, เหมือน สับท์ ว่า อุจจาศะนะ นั้น, ว่า อาศนะ สูง.
อุจจาระ (806:7)
         ฯ เครื่อง โสโครก, แปล ว่า ขี้, จำเภาะ ขี้ ที่ ออก จาก ทวาร หนัก นั้น, เรียก อุจจาระ.
อุจเฉท ทฤฐิ (806:8)
         ความ เหน ขาด สูญ, คือ คน เหน ด้วย ใจ ว่า สัตว เกิด มา แล้ว ตาย ไป ก็ ขาด สูญ, ไม่ ไป เกิด อีก เปน ต้น นั้น.
อุด (806:9)
         คือ ปิด อั้น เข้า ไว้, เช่น เขา เอา ปล้อง ไม้ ไผ่ กลวง ทำ กลัก, เอา กะดาน ทำ ให้ กลม เท่า รู ไม้ แล้ว ใส่ เข้า ปิด ไว้ นั้น.
      อุด ก้น (806:9.1)
               จุก ก้น, คือ ปิด ก้น ไว้, คน ทำ กลัก เช่น ว่า, แล เอา ไม้ กะดาน ปิด ก้น กลัก ไว้ นั้น.
      อุด ขวด (806:9.2)
               จุก ขวด, คือ เอา ไม้ ใส่ เข้า ใน รู ฅอ ขวด จุก ไว้, คน ปราถนา จะ ไม่ ให้ กลิ่น เปน ต้น ออก ได้, แล ปิด จุก ไว้ นั้น.
อุดจาด (806:10)
         น่า เกลียด, คำ นี้ เอา ความ ว่า เผย ไว้, เปน ที่ ละ- อาย แก่ คน ทั้ง หลาย, เช่น คน นอน หลับ อยู่ แล ผ้า นุ่ง หลุด จาก กาย, เช่น นั้น ว่า อุดจาด, เขา ช่วย ปก ปิด เสีย นั้น.
อุด เตา (806:11)
         เครื่อง บด ผ้า, คือ เครื่อง ที่ ใส่ ไฟ สำหรับ รีด ผ้า, เปน ของ อย่าง จีน ก็ มี อย่าง ฝรั่ง ก็ มี, เขา ทำ ด้วย ทอง เหลือง.
อุดตะพิศ (806:12)
         เปน ชื่อ ต้น ผัก อย่าง หนึ่ง, มัน ขึ้น เอง ที่ ดิน, เมื่อ* น่า ฝน เขา กิน กับ เข้า ได้.
อุดตริ (806:13)
         เปน คำ โลกย์ เขา พูจ, ว่า อุตตริ ทำ ฤๅ อุตตริ พูจ, เหมือน คน พูจ ว่า เรา เหาะ ไป ก็ ได้ เปน ต้น, ฤๅ ว่า ทำ ธ่อ ดัก ลม เปน ต้น.
      อุดตะริ มะนุษธรรม (806:13.1)
               ฯ เปน ธรรม จะ ยิ่ง กว่า ไม่ มี, แปล ว่า ธรรม เปน ธรรม, มี ธรรม จะ ยิ่ง กว่า ไม่ มี นั้น.
อุดตะหลุด (806:14)
         คือ การ ที่ เกิด วุ่น วาย, เหมือน เมื่อ ไฟ ไหม้ เปน ต้น.
อุด หนุน (806:15)
         เกื้อ กูน, เปน คำ พูจ ถึง คน ที่ ช่วย อุปะการะ ทำ การ อัน ใด ให้ สำเรทธิ์ นั้น ว่า ช่วย อุดหนุน.
อุด บน (806:16)
         จุก ข้าง บน, คือ ปิด อั้น เบื้อง บน, เหมือน ฝา กลัก, เขา ทำ กะดาน ปิด บน, เพื่อ จะ ไม่ ให้ ของ ตก ไป นั้น.
อุด ปาก (806:17)
         จุก ปาก, คือ เอา ผ้า ม้วน เข้า แล้ว ปิด ปาก มิ ให้ ร้อง ออก ได้, เหมือน คน เปน โจร มัน จะ ลัก เอา ของ ที่ ตัว เด็ก, แล มัน เอา ผ้า อุด ปาก.
อุทธะยาน (806:18)
         ฯ สวน ใหญ่, แปล ว่า ที่ สวน หลวง, อะธิบาย ว่า สวน เปน ที่ แล ดู ใน เบื้อง บน แล้ว จึ่ง ไป
อุทธังคะมาวาต (806:19)
         ฯ ลม พัด ขึ้น, แปล ว่า ลม ใน กาย มะนุษ พัด ขึ้น มา เบื้อง บน นั้น
อูฐ (806:20)
         เปน ชื่อ สัตว สี่ ท้าว อย่าง หนึ่ง, ตัว มัน เท่า ม้า ย่อม ๆ ฅอ มัน ยาว, ใน เมือง ไทย ไม่ มี, เขา เอา มา แต่ เมือง นอก.
อูด (806:21)
         เปน สำเนียง ดัง อูด ๆ เหมือน เสียง ว่าว คุลา, เขา ขึง สาย ป่าน ที่ หัว มัน ดัง อูด ๆ นั้น.
      อูด ขึ้น (806:21.1)
               ฟู ขึ้น, คือ เสียง ว่าว คุลามัน ดัง, เมื่อ คน ชัก สาย ป่าน ให้ มัน ขึ้น ไป ใน อากาศ นั้น.
      อูด ลง (806:21.2)
               คือ เสียง ว่าว คุลา มัน ดัง, เมื่อ เขา ชัก สาย ป่าน ให้ มัน คว้า ลง นั้น.
      อูด ว่าว (806:21.3)
               คือ สาย ป่าน ที่ เขา ผูก ขึง ไว้ ที่ หัว ว่าว คุลา, เพื่อ จะ ให้ มี เสียง ดัง นั้น.
      อูด อาด (806:21.4)
               คือ เสียง ว่าว มัน ดัง เช่น นั้น, เหมือน ว่าว คุลา, เมื่อ เขา ชัก ให้ มัน ขึ้น แล คว้า ลง นั้น.
เอ็ด (806:22)
         ว่า หนึ่ง บ้าง, เหมือน คำ ว่า ร้อยเอ็ด นั้น.

--- Page 807 ---
แอด (807:1)
         คือ เสียง* หีบ ฝ้าย มัน ดัง เมื่อ เขา หีบ ฝ้าย. อย่าง หนึ่ง เปน เสียง ที่ เพลา ขา เกวียน มัน ดัง แอด ๆ.
      แอด ออด (807:1.1)
               คือ เสียง คน ป่วย ไข้ หนัก, เขา พูจ ไม่ ใคร่ ดัง ออก ได้ ด้วย กำลัง น้อย.
โอชะ (807:2)
         คือ ซาบ เกิด แต่ รศ ซาบ ซ่าน ไป, ใน อะไวยะวะ นั้น.
โอฐ (807:3)
         ฯ แปล ว่า ปาก, เหมือน ปาก คน ฤๅ ปาก เทวดา นั้น, แต่ ปาก สัตว เดียระฉาน ไม่ เรียก โอฐ.
      โอฐ อ้า (807:3.1)
               อ้า ปาก, คือ ปาก อ้า, เหมือน หาว นอน ฤๅ จะ กิน อาหาร, ทำ ปาก ให้ เผย อ้า ขึ้น นั้น.
โอด (807:4)
         คือ ความ ทำ ร้อง ไห้ เศร้า โศรก, เมื่อ คน เล่น ละคอน ฤๅ โขน, ถึง ที ร้อง ไห้ นั้น.
      โอด ครวญ (807:4.1)
               คร่ำ ครวญ, คือ ร้อง ไห้ ร่ำไร ไป มา นั้น, คน มี ความ ทุกข โศรก เศร้า, ด้วย ความ วิโยค พรัด พราก จาก กัน เปน ต้น, แล ร้องไห้ ร่ำไร ถึง กัน.
ออด (807:5)
         คือ เสียง ดัง ออด ๆ, เหมือน เสียง ที่ คน แก่ ชะรา ฤๅ ป่วย หนัก, กำลัง น้อย พูจ ไม่ ใคร่ ดัง นั้น.
      ออด แอด (807:5.1)
               คือ เสียง ออด แอด, เหมือน เสียง คน แก่ เฒ่า คร่ำ คร่า, ฤๅ เปน โรค หนัก เสียง เบา ไป นั้น.
อวด (807:6)
         แสดง คุณ อัน ไม่ มี ใน ตัว, คือ ความ เล่า สำแดง ให้ เขา ฟัง. ฤๅ ชี้ แจง สำแดง ให้ เขา เหน อาการ ของ ตัว บ้าง ของ ผู้ อื่น บ้าง นั้น.
      อวด กัน (807:6.1)
               ยก ย่อง กัน, คือ สำแดง ความ ให้ เพื่อน ฟัง, ถึง ตัว ชก ตี เปน ต้น, มี ไชย ชะนะ, ฤๅ สำแดง ของ อัน ใด ของ ตัว ให้ เพื่อน เหน.
      อวด เกิน (807:6.2)
               ยก ย่อง เกิน, คือ ชี้ แจง สำแดง ให้ เขา ฟัง บ้าง ให้ เขา เหน บ้าง, แต่ สำแดง ยิ่ง กว่า เหตุ นั้น.
      อวด ขี่ ช้าง อ้าง ยิง ปืน (807:6.3)
               คือ สำแดง ว่า ตัว ขี่ ช้าง ก็ ดี ยิง ปืน แม่น ไม่ มี ใคร สู้ ได้ นั้น.
      อวด เขา (807:6.4)
               คือ ความ ที่ สำแดง กิจการ แล สิ่ง ของ ๆ ตัว ให้ เขา เหน บ้าง, ฤๅ ให้ เขา ฟัง บ้าง นั้น.
      อวด ของ (807:6.5)
               คือ สำแดง ของ ๆ ตัว บ้าง, ของ ๆ ผู้ อื่น บ้าง, ให้ เขา เหน เขา ฟัง เช่น ว่า นั้น.
      อวด คน (807:6.6)
               คือ สำแดง ให้ คน ทั้ง ปวง ได้ ยิน ได้ ฟัง ได้ เหน, กิจ การ ฤๅ ของ ๆ ตัว ฤๅ กิจ การ ฤๅ สิ่ง ของ ๆ ผู้ อื่น เปน ต้น นั้น.
      อวด ดี (807:6.7)
               คือ ความ สำแดง อานุภาพ แล วิชา ความ รู้ อยู่ คง กะ พัน ชาตรี, ดี ทุก อย่าง นั้น.
      อวด ตน. ยก ย่อง ตัว เอง (807:6.8)
               คือ ตัว สำแดง ว่า ตัว ทำ การ สา ระพัด ได้ ทุก อย่าง, ฤๅ รู้ ทำ หนังสือ ขอม ไทย, เปน ต้น นั้น.
      อวด ตัว (807:6.9)
               ยก ยอ ตน, คือ ตน สำแดง ตน ว่า ตน ทำ การ เปน สาระพัด ทำ ได้ ทั้ง หนังสือ เปน ต้น นั้น.
      อวด ผล (807:6.10)
               คือ สำแดง ผล, มี ผล แล พืชนะ เข้า เปลือก เปน ต้น, ที่ ตน หว่าน โปรย, ปลูก ลง ใน นา ใน สวน เปน ต้น นั้น.
      อวด เมีย (807:6.11)
               ยก ย่อง ภรรยา, คือ สำแดง กิจ การ ฤๅ สิ่ง ของ ๆ ตัว ให้ เมีย ฟัง ให้ เมีย เหน. อย่าง หนึ่ง สำแดง รูป เมีย ให้ เขา เหน บ้าง, ลาง ที เล่า ว่า เมีย ตัว ดี อย่าง นั้น ๆ, ก็ มี* บ้าง.
      อวด ลูก (807:6.12)
               สรรเสิญ ลูก, คือ ความ สำแดง กิจ การ ฤๅ สิ่ง* ของ ๆ ตัว ให้ ลูก เหน บ้าง ฟัง บ้าง, ลาง ที สรรเสิญ ลูก ของ ตัว ให้ เขา ฟัง บ้าง นั้น.
      อวด หลาน (807:6.13)
               คือ สำแดง ของ ฤๅ สำแดง กิจการ ของ ตัว ให้ หลาน เหน ฤๅ ฟัง. อย่าง หนึ่ง สำแดง หลาน ให้ เขา เหน เขา ฟัง นั้น.
      อวด ส่ง (807:6.14)
               คือ สำแดง วิธี ที่ ส่ง เพลง ปี่พาทย์, เช่น คน ขับ เสภา ฤๅ ร้อง ละคร, แล ส่ง ลำ ทำนอง ให้ ประหลาด ให้ ปี่พาทย์ ตี รับ นั้น.
      อวด เสียง (807:6.15)
               คือ สำแดง เสียง ตัว ให้ เขา ฟัง, ว่า เสียง เพราะ ลาง ที อวด เสียง ผู้ หญิง ที่ เปน คน ของ ตัว, ให้ ร้อง เพลง ให้ เขา ฟัง.
      อวด อ้าง (807:6.16)
               คือ อวด กิจการ ต่าง ๆ ฤๅ เล่า ความ ดี ของ ตัว ให้ เขา ฟัง, แล้ว อ้าง ถึง ผู้ ได้ เหน ได้ ฟัง นั้น.
เอียด (807:7)
         เปน สำเนียง ดัง เอียด ๆ เช่น เสียง ที่ เขา ชัก รอก ของ หนัก ๆ ขึ้น นั้น.

--- Page 808 ---
เอือด เกลือ (808:1)
         เอือด นั้น เปน คำ สร้อย, แต่ เกลือ นั้น, คือ ก้อน เกลือ ที่ เขา ทำ ด้วย น้ำเค็ม นั้น.
อละหม่าน (808:2)
         คือ ความ วุ่นวาย, เช่น มี การ แห่ ใหญ่ มี งาน บรม ศภ เปน ต้น, พวก เจ้า พะนักงาน ต่าง คน ต่าง จัดแจง การ งาน นั้น.
อละเวง (808:3)
         คือ อื้ออึง อึ*กะ ทึก นั้น.
อละวน (808:4)
         คือ ความ พะวัก พะวน, เช่น เกิด ไฟไหม้ ที่ ใกล้ เรือน, เจ้า เรือน ห่วง ของ ทุกสิ่ง ๆ นั้น ก็ จะ เอา สิ่ง นี้ ก็ จะ เอา สิ่ง นั้น วุ่นวาย นั้น.
อ้น (808:5)
         เปน ชื่อ สัตว สี่ เท้า ตัว มัน เล็ก ๆ อยู่ รู ที่ ดิน นั้น.
อ้นอั้น (808:6)
         คือ ความ สิ้น คิด ๆ ไม่ ออก, ว่า จะ ทำ ประการ ใด ให้ ตัน ติด อยู่ ใน ใจ นั้น.
อนทการ (808:7)
         คือ มืด มา ถึง เช้า เช่น เวลา ค่ำ ลง นั้น.
อัญชะลี (808:8)
         ประนม มือ, แปล ว่า กระภุ่ม แห่ง มือ อัน รุ่งเรือง, คือ ประนม นิ้ว เรียบ เรียง ดี นั้น.
อัณทะชา (808:9)
         เกิด แต่ ฟอง, แปล ว่า เกิด แต่ ไข่, เช่น สัตว ดิรัจฉาน มี ไก่ แล กา เปน ต้น นั้น.
อัน (808:10)
         ที่, คือ ของ ที่ เปน สิ่ง หนึ่ง, เช่น ขนม เปน ต้น ที่ ควร จะ เรียก อัน นั้น มี เปน อันมาก.
      อัน ใด (808:10.1)
               อะไร, คือ ของ สิ่ง ใด, คน ไม่ รู้ จัก ว่า เปน ของ สิ่ง ใด แล เขา ถาม ว่า นั่น อัน ใด.
      อันดับ นั้น (808:10.2)
               คือ เปน ลำดับ ลง มา, เหมือน พระสงฆ์ นับ ตาม วรรษา แก่ แล อ่อน นั้น, ถ้า คฤหัฐ นับ ตาม ที่ ตั้งแต่ง มี สมเด็จ เจ้าพระยา ลง มา จน หมื่น พัน นั้น.
      อัน เดียว (808:10.3)
               คือ อัน หนึ่ง, เช่น ของ อัน ใด ๆ, ถ้า มี แต่ สิ่ง หนึ่ง, ว่า ของ นั้น อัน เดียว.
      อันเตวาสิก (808:10.4)
               แปล ว่า คน อยู่ ใน ฝ่าย* ใน เรือน เปน ผู้ ฝึก สอน เล่า เรียน หนังสือ เปน ต้น นั้น.
      อันโต (808:10.5)
               แปล ว่า ที่ สุด, แปล ว่า ฝ่าย* ใน, ที่ อัน ใด เปน ที่ สุด เปน ฝ่าย* ใน นั้น ว่า อันโต.
      อันตะมะโส (808:10.6)
               แปล ว่า โดย ที่ สุด ฤๅ โดย ต่ำ นั้น.
      อันตะรากลัป (808:10.7)
               แปล ว่า กลัป ใน ระวาง กลัป ใหญ่, ที่ เรียก ว่า มหา กลับ นั้น.
      อันตะระธาน (808:10.8)
               ทรุด โทรม, แปล ว่า เสื่อม สูญ ไป, เหมือน สาศนา เสื่อม ไป ๆ เปน ต้น นั้น.
      อันตราย (808:10.9)
               คือ เหตุ ที่ เปน อุปัทวะ คือ จะ ได้ ของ แล้ว ไม่ ให้ ได้ เปน ต้น, ว่า การ เบียดเบียฬ อย่าง หนึ่ง.
      อันตะลิกเข (808:10.10)
               แปล ว่า อากาศ สูง ที่ นก ร่อน จร ขึ้น ไป ไม่ ถึง นั้น.
      อันทะ (808:10.11)
               แปล ว่า มืด, ว่า คน ตาบอด, คือ ตา เสีย ไป ไม่ เหน นั้น.
      อันทะการ (808:10.12)
               แปล ว่า กะทำ ซึ่ง มืด, คือ เวลา ราตรี นั้น เปน ผู้ กะทำ ซึ่ง มืด.
      อันทะพาล (808:10.13)
               แปล ว่า คน พาล ใจ มืด ไม่ เหน สว่าง, คือ ความ ชอบ ธรรม นั้น.
      อัน นา (808:10.14)
               คือ กะทง นา, เขา ยก ดิน พูน ขึ้น เปน คัน กั้น เปน ห้อง ๆ ไว้ นั้น.
      อัน นี้ (808:10.15)
               สิ่ง นี้, คือ ความ สำแดง บอก ของ ว่า อัน นี้, มี ผู้ ถาม ว่า อัน ไหน, มี ผู้ รู้ สำแดง บอก ให้ รู้ ว่า อัน นี้.
      อัน ไหน (808:10.16)
               สิ่ง ไหน, คือ ความ ผู้ ไม่ รู้ ถาม ว่า อัน ไหน, มี ผู้ รู้ สำแดง ของ อัน ใด อัน หนึ่ง, แก่ ผู้ ถาม ว่า อัน ไหน เปน ต้น นั้น.
      อันนะราย (808:10.17)
               คือ อันตราย, แต่ โลกย์ พูจ ว่า อันนะราย มี โดย มาก เหตุ ว่า คล่อง ปาก เขา.
      อัน หนึ่ง (808:10.18)
               สิ่ง หนึ่ง, คือ ของ อัน เดียว, ถึง มิ ใช่ ของ เปน ถ้อย ความ ใน หนังสือ ข้อ หนึ่ง ก็ ว่า อัน หนึ่ง ได้.
      อัน นั้น (808:10.19)
               สิ่ง นั้น, เปน คำ บอก แก่ เขา ว่า อัน นั้น. มี ผู้ ไม่ รู้ ถาม ถึง ของ อัน ใด, มี ผู้ ชี้ บอก ว่า อัน นั้น ๆ.
      อัน โน้น (808:10.20)
               สิ่ง โน้น, เปน คำ บอก แก่ เขา ว่า อัน โน้น, มี ผู้ ถาม ถึง ของ อัน ใด ว่า อัน ไหน, มี ผู้ บอก ว่า อัน โน้น เปน ต้น นั้น.
      อัน ไร (808:10.21)
               สิ่ง ใด, เปน คำ ถาม ว่า อัน ไร, คน ผู้ รู้ บอก แก่ ผู้ ถาม ว่า อัน ไร นั้น.
      อันละวาท (808:10.22)
               คือ อาการ ที่ ช้าง วุ่นวาย, ช้าง ที่ มัน ตก มัน นัก นั้น มัน มัก ไล่ แทง คน แล ทำลาย ที่ ต่าง ๆ, มี ศาลา แล โรง เปน ต้น.

--- Page 809 ---
      อัน ว่า (809:10.23)
               นี่ เปน คำ แปล หนังสือ ใน คำภีร์ มูล, ว่า อัน ว่า, เหมือน สับท์ ว่า ชะโน แปล ว่า อัน ว่า คน นั้น.
      อัน เหตุ นั้น (809:10.24)
               นี่ เปน คำ แปล หนังสือ ใน คำภีร์ มูล ว่า อันเหตุ นั้น เพราะ ลง วิภัติ นา, จึ่ง แปล ว่า อัน เหตุ นั้น.
อั้น (809:1)
         คือ อัดอื้อ อยู่, เช่น ระดู ลม ๆ เคย พัด, ครั้น เมฆ ตั้ง ขึ้น ฝน จะ ตก ลม สงบ อั้น อยู่ นั้น.
      อั้น ใจ (809:1.1)
               คือ อัด ใจ ไม่ หาย ใจ. อย่าง หนึ่ง จน ใจ อยู่ ไม่ รู้ จะ คิด อ่าน ประการ ใด นั้น
      อั้น ตู้ (809:1.2)
               คือ การ ที่* เขา สัญญา กัน เมื่อ เล่น โป เปน ต้น ว่า จะ ให้ แทง แต่ ประตู ละ เท่า นั้น ๆ.
      อั้น ตั้น (809:1.3)
               คือ รูป ทรง สัณฐาน มี รูป คน เปน ต้น, ที่ สั้น ต่ำ เตี้ย อยู่ นั้น.
      อั้น ประตู (809:1.4)
               คือ ความ สัญญา กัน ว่า, ให้ แทง ประตู ละ ยี่สิบ บาท เปน ต้น, เช่น คน เจ๊ก จะ เล่น โป กัน แทง สี่ ประตู เอา สัญญา กัน ว่า, ให้ แทง ประตู ละ ยี่สิบ บาท เท่า นั้น, ไม่ ให้ แทง มาก กว่า นั้น.
      อั้น ลม (809:1.5)
               คือ อัด ลม ไว้, เช่น หมอน ลม เมื่อ เขา ทำ ให้ ลม เข้า อยู่ ใน มัน พอง ขึ้น ตึง อยู่ นั้น.
      อั้น ไว้ (809:1.6)
               คือ ปิด ไว้, เช่น เขา ไข น้ำ ออก จาก ธ่อ, แล้ว ปิด ไว้ ไม่ ให้ น้ำ ออก ได้ นั้น.
      อั้น อ้น (809:1.7)
               คือ น้ำ ไม่ ไหล ออก จาก ที่ ได้, เช่น น้ำ ที่ เขา ปิด ไว้ ไม่ ให้ ไหล ออก จาก ที่ ได้ นั้น.
อาน (809:2)
         คือ เครื่อง ปู บน หลัง ม้า สำหรับ คน ขึ้น นั่ง ขี่ นั้น, แต่ ช้าง นั้น เรียก สับประคับ.
      อาน ช้าง (809:2.1)
               คือ เครื่อง สับประคับ สำหรับ วาง บน หลัง ช้าง แล้ว คน ขึ้น นั่ง บน นั้น.
      อาน ดาบ (809:2.2)
               ขัด ดาบ, คือ ลับ ดาบ, คน ชำระ ดาบ ด้วย สิ ลา ให้ มัน หมด สนิม แล คม นั้น.
      อาน ม้า (809:2.3)
               คือ เครื่อง ที่ เขา ผูก ที่ หลัง ม้า สำหรับ คน ขึ้น นั่ง ขี่ นั้น.
      อาน มีด (809:2.4)
               ขัด มีด, คือ ลับ มีด, คน เอา มีด ถู ไป บน หิน เพื่อ จะ ให้ มีด บาง คม นั้น
      อาน หอก (809:2.5)
               ขัด หอก, คือ ลับ หอก, คน ชำระ หอก ด้วย สิ ลา ให้ มัน หมด มลทิน แล คม นั้น.
      อาน อาวุธ (809:2.6)
               ขัด อาวุธ, คือ ลับ อาวุธ ต่าง ๆ, มี หอก ดาบ แล ทวน ง้าว เปน ต้น.
อ่าน (809:3)
         คือ ออก วาจา กล่าว เรื่อง หนังสือ อัน ใด ทุก อย่าง เปน ทำ นอง อย่าง หนึ่ง นั้น.
      อ่าน กฎหมาย (809:3.1)
               คือ กล่าว คำ สำแดง เรื่อง กฎหมาย พระราช บัญญัติ อัน โบราณ กระษัตริย์ ห้าม ไม่ ให้ คน กระทำ, แล ให้ กระทำ นั้น.
      อ่าน ตรวจ (809:3.2)
               คือ อ่าน บาญชีย์ ชื่อ คน, ให้ รู้ ว่า อยู่ ครบ ตาม บาญชีย์ ฤๅ ไม่ ครบ ขาด ไป นั้น.
      อ่าน ท้อง สำนวน (809:3.3)
               คือ อ่าน หนังสือ เรื่อง เขา ฟ้อง กัน ฤๅ คำ จำเลย ให้ การ แก้ ความ นั้น.
      อ่าน หนังสือ (809:3.4)
               คือ กล่าว คำ สำแดง เรื่อง หนังสือ ทุก อย่าง, เปน หนังสือ ไท ฤๅ ขอม นั้น.
      อ่าน บาญชีย์ (809:3.5)
               คือ อ่าน หนังสือ จดหมาย ราย ชื่อ คน แล ตำบล บ้าน ว่า คน ชื่อ นั้น อยู่ บ้าน นั้น เปน ต้น.
      อ่าน พระเวท (809:3.6)
               คือ อ่าน วิทยา อาคม ต่าง ๆ เปน ต้น ว่า ปัด พิศม์ ปิด แสลง นั้น.
      อ่าน มนตร์ (809:3.7)
               คือ อ่าน คาถา แต่ ตั้ง ต้น ขึ้น ว่า โอม นั้น, เหมือน อ่าน ว่า โอมะ พระเพลิง เปน ต้น นั้น.
      อ่าน หมาย (809:3.8)
               คือ อ่าน หนังสือ ที่ เขา จดหมาย รับ พระราช โอง การ ว่า จะ ทำ การ สิ่ง ใด ๆ, เปน การ ใน เร็ว ๆ มี วัน หนึ่ง เปน ต้น นั้น.
      อ่าน โองการ (809:3.9)
               คือ กล่าว คำ พรรณนา ว่า จะ สรรเสิญ ให้ จระเข้ มัน ผุด ขึ้น ฤๅ พ่น ปัด พิศม์ ฝี เปน ต้น นั้น.
อิน (809:4)
         เปน ชื่อ คน มี บ้าง ชื่อ เจ้า อิน. อย่าง หนึ่ง เปน ชื่อ ผลไม้ เรียก ลูก อิน.
      อินท์ (809:4.1)
               แปล ว่า เปน ใหญ่, เหมือน* เทวดา ชื่อ พระอินท์ เพราะ เปน ใหญ่.
      อินทรา (809:4.2)
               แปล ว่า เปน ใหญ่, เหมือน พวก เทวดา ชื่อ พระ อินทรา นั้น.
      อินทรีย์ (809:4.3)
               แปล ว่า เปน ใหญ่, เช่น คำ ว่า กายินทรี เปน ต้น คือ ว่า กาย เปน ใหญ่ นั้น.

--- Page 810 ---
      อินทรียะสังวรศีล (810:4.4)
               แปล ว่า สำรวม อินทรีย์, คือ ทำ ตา ไม่ ให้ แล ดู สิ่ง ที่ ไม่ ควร จะ ดู, มี รูป สัตรี เปน ต้น ที่ เปน ที่ จะ ให้ เกิด กำหนัด เปน ต้น นั้น.
      อินทะผาลำ (810:4.5)
               คือ ลูก ไม้ เขา เอา มา แต่ เมือง แขก ๆ เรียก ลูก ซะระหม่า นั้น.
      อินทะเภรี (810:4.6)
               แปล ว่า กลอง ใหญ่ ฤๅ กลอง ของ พระอินท์ ใน ชั้น ดาวะดึงษ นั้น.
      อินทะวิเชียร (810:4.7)
               เปน ชื่อ คาถา อย่าง หนึ่ง ที่ ท่าน แต่ง ฉันท คาถา เรียก ว่า คาถา อินทวิเชียระ ฉันท์, อะธิบาย ว่า แก้ว วิเชียร ใหญ่ นั้น.
      อินท์ ธะนู (810:4.8)
               คือ ที่ ต้น แขน เสื้อ ที่ เปน เครื่องแต่ง ตัว เมื่อ เขา เล่น ละคอน เปน ต้น เขา ทำ เปน กาบ พรมะสร ไว้ นั้น.
      อินทนิล (810:4.9)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, มี ดอก ศรี ม่วง อ่อน นั้น.
      อินทปัต (810:4.10)
               เปน ชื่อ เมือง ใน เรื่อง หนังสือ อย่าง นั้น มี บ้าง.
      อินท์ พรหม (810:4.11)
               เปน คำ โลกย์ เรียก เทวดา ว่า, พระอินท์ พระ พรหม นั้น.
      อินะบริโภค (810:4.12)
               แปล ว่า กิน แล ใช้ สอย เข้า ของ เปน นี่ เขา นั้น.
      อินนัง (810:4.13)
               คือ ความ เอื้อ เฟื้อ กัน.
      อินศวร (810:4.14)
               เปน ชื่อ เทวดา ผู้ เปน ใหญ่ องค์ หนึ่ง, ว่า อยู่ บน ภู เขา ไกรลาศ นั้น.
อื่น (810:1)
         ต่าง หาก, คือ ของ ฤๅ บ้าน เมือง ที่ มิ ใช่ ของ ฤๅ บ้าน เมือง ของ ตัว, เช่น คน ให้ หยิบ ของ เปน ต้น อยิบ ผิด ไป มิ ใช่ อัน นั้น ว่า อัน อื่น.
      อื่น ดอก (810:1.1)
               ต่าง หาก ดอก, เปน คำ บอก ว่า มิ ใช่ อัน นี้ อัน อื่น ดอก, เช่น คน ให้ หยิบ ของ ผิด ไป ผู้ ใช้ ว่า อัน อื่น ดอก นั้น.
อุ่น (810:2)
         ร้อน ตลุ่น, คือ การ ที่ ไม่ ร้อน นัก, เช่น เวลา เช้า สัก โมง เสศ สอง โมง แดด ยัง ไม่ ร้อน กล้า นัก นั้น.
      อุ่น แกง (810:2.1)
               คือ แกง เอย็น อยู่, แล เขา เอา ใส่ ภาชนะ ตั้ง บน เตา ไฟ ภอ ร้อน น่อย ๆ นั้น.
      อุ่น เข้า (810:2.2)
               คือ เข้า สุก เอย็น อยู่ แล เขา เอา ใส่ ภาชนะ ตั้ง บน เตา ไฟ ภอ ให้ ร้อน น่อย ๆ นั้น.
      อุ่น ของ กิน (810:2.3)
               คือ ของ อาหาร ต่าง ๆ มัน เอย็น อยู่, แล เอ มัน ใส่ ภาชนะ ตั้ง บน เตา ไฟ ให้ ร้อน เช่น ว่า นั้น.
      อุ่น ขนม (810:2.4)
               คือ เอา ขนม ที่ เอย็น อยู่, เขา เอา ใส่ ภาชนะ ตั้ง บน เตาไฟ ภอ ให้ ร้อน น่อย ๆ นั้น.
      อุ่น ใจ (810:2.5)
               คือ อาการ ที่ วาง ใจ ไว้ ใจ, เช่น กลัว ไภย อัน ใด อยู่ แต่ มี เพื่อน อยู่ ด้วย ว่า ค่อย อุ่น ใจ อยู่.
      อุ่น ตลุ่น (810:2.6)
               คือ น้ำ เขา เอา ตั้ง บน เตา ไฟ ภอ ร้อน น่อย ๆ เอา มือ อยั่ง ลง ได้ ไม่ สู้ ร้อน นัก นั้น.
      อุ่น ท้อง (810:2.7)
               คือ รับ อาหาร ภอ รอง ท้อง ไม่ อิ่ม นัก, เช่น อยาก อาหาร ไม่ มี อาหาร กิน มาก มี น้อย กิน ภอ อุ่น ท้อง นั้น.
      อุ่น น้ำ (810:2.8)
               คือ เอา น้ำ ใส่ ภาชนะ ลง แล้ว ตั้ง ขึ้น บน เตาไฟ ภอ ให้ น้ำ ใน ภาชนะ ร้อน น่อย ๆ นั้น.
      อุ่น นม (810:2.9)
               คือ เอา น้ำ นมโค ที่ มัน เอย็น ใส่ ภาชนะ ลง แล้ว, ยก ขึ้น ตั้ง บน เตา ไฟ ภอ ให้ ร้อน น่อย ๆ นั้น.
      อุ่น เนื้อ (810:2.10)
               คือ มี เนื้อ มัน เอย็น อยู่, แล เขา เอา ขึ้น ย่าง บน เตา ไฟ ภอ ให้ มัน ร้อน น่อย ๆ นั้น.
      อุ่น ปลา (810:2.11)
               คือ เอา ปลา ที่ สุก แล้ว มัน เอย็น อยู่, เอา ขึ้น บน เตา ไฟ ภอ ให้ มัน ร้อน น่อย ๆ นั้น.
      อุ่น ไฟ (810:2.12)
               คือ เอา ของ ทุก อย่าง ที่ ควร จะ อุ่น เอา ขึ้น อุ่น บน เตา ไฟ ภอ ให้ มัน ร้อน น่อย ๆ นั้น.
      อุ่น มือ (810:2.13)
               คือ มือ เอย็น เช่น ระดู หนาว, เอา ถุง มือ ใส่ มิ ให้ เอย็น นั้น.
      อุ่น ยา (810:2.14)
               คือ เอา น้ำ ยา ใส่ ลง ใน ภาชนะ แล้ว ยก ขึ้น ตั้ง บน เตา ไฟ ภอ ให้ มัน ร้อน น่อย ๆ นั้น.
      อุ่น แล้ว (810:2.15)
               คือ เอา ของ ควร จะ อุ่น ให้ มัน ร้อน เอา ขึ้น ตั้ง บน เตา ไฟ ภอ ให้ ร้อน น่อย ๆ นั้น.
      อุ่น ไว้ (810:2.16)
               คือ เอา ของ ที่ ควร จะ อุ่น ๆ ไว้, คน มี ของ ควร จะ อุ่น เอา ขึ้น อุ่น แต่ ยัง ไม่ กิน เก็บ ไว้ นั้น.
      อุ่น องค์ (810:2.17)
               คือ ตัว อุ่น, เหมือน เจ้า เอา เสื้อ ใส่ เมื่อ ระดู หนาว ตัว เจ้า ก็ อุ่น ดี นั้น.
เอน (810:3)
         เอียง, คือ ตั้ง อยู่ ไม่ ตรง, เหมือน เสา ฤๅ ต้น ไม้, ฤๅ ตัว คน เปน ต้น, ที่ ไม่ ตรง อยู่ ทอด ล้ม อยู่ หน่อย หนึ่ง นั้น.

--- Page 811 ---
      เอน กาย (811:3.1)
               เอียง กาย, คือ ทอด กาย ลง ไม่ ถึง พื้น, เหมือน คน ทำ กาย เอก เขนก อิง พิง หมอน อิง นั้น.
      เอน ตัว (811:3.2)
               เบน กาย, คือ ทำ ตัว ทอด ลง แต่ ไม่ ถึง พื้น นั้น, ว่า เอน ตัว.
      เอน ไป (811:3.3)
               เอียง ไป, คือ ล้ม ทอด เท ไป แต่ ยัง ไม่ ถึง พื้น, เหมือน ต้น ไม้ เปน ต้น, ที่ โอน ทอด เท ไป เช่น ว่า เปน ต้น นั้น.
      เอน มา (811:3.4)
               โอน มา, คือ ล้ม ทอด เท มา แต่ ยัง ไม่ ถึง พื้น, เหมือน ต้น ไม้* เปน ต้น โอน ทอด มา นั้น.
      เอน อยู่ (811:3.5)
               โอน อยู่, คือ ล้ม ทอด เท เช* อยู่, เช่น ไม้ ที่ ต้น มัน ไม่ ตรง อยู่ มัน ล้ม ซวน เซ อยู่ นั้น.
      เอน ลง (811:3.6)
               เบน ลง, คือ ล้ม ลง ยัง ไม่ ถึง พื้น, เช่น ต้น ไม้ เอน ชาย ลง, แต่ ยัง ไม่ ถึง พื้น นั้น.
      เอน องค์ (811:3.7)
               คือ เอน ตัว ลง เช่น เจ้า เอน ตัว ลง, เขา ว่า เธอ เอน องค์ ลง เปน คำ สูง นั้น.
      เอน เอียง (811:3.8)
               เอียง เอน, คือ เอน ตะแคง อยู่, เช่น ของ ที่ ใหญ่ สูง, มี พระ ปรางค์ เปน ต้น, คร่ำ คร่า ก็ เอน ตะแคง นั้น.
      เอน โอน (811:3.9)
               โอน เอน, คือ ล้ม ลง ยัง ไม่ ถึง พื้น, โอน, คือ ค้อม น้อม ลง, เช่น ต้น ไม้ ที่ เอน น้อม ลง นั้น.
      เอน อ่อน (811:3.10)
               โอน อ่อน, คือ เอน ลง ไม่ แขง กระด้าง, เช่น ลำ ไม้ไผ่ ที่ เอน ทอด น้อม ลง ไม่ หัก นั้น.
เอ็น (811:1)
         เส้น, คือ เส้น ใหญ่ ๆ ที่ มี ใน กาย คน ฤๅ ที่ ตัว สัตว เดียระฉาน. มัน เปน สาย อยู่ เหมือน เส้น เชือก นั้น.
      เอ็น ดู (811:1.1)
               กรุณา, คือ ความ สงสาร เมตตา, เหมือน คน เหน ทารก เกิด ได้ สัก เดือน หนึ่ง ฤๅ สอง เดือน, มี จิตร เมตตา สงสาร นั้น.
แอ่น (811:2)
         เด้ง, คือ ทำ ให้ ตัว หงาย ดุ้ง เด้ง ขึ้น, เหมือน คน ทำ ตัว ให้ อก ออก มา ข้าง หน้า, เหมือน บิด คร้าน เปน ต้น นั้น.
      แอ่น กาย (811:2.1)
               เด้ง กาย, คือ คน ทำ กาย ให้ อก ออก ข้าง หน้า เหมือน คน บิด คร้าน นั้น, ข้าง หลัง แอ่น ไป นั้น.
      แอ่น ขึ้น (811:2.2)
               เด้ง ขึ้น, คือ คน ทำ กาย ให้ อก ออก ข้าง ล่าง, เช่น คน บิด คร้าน ทำ ตัว ให้ แอ่น ขึ้น นั้น.
      แอ่น หงาย (811:2.3)
               คือ คน ทำ อก ให้ หงาย เด้ง ขึ้น นั้น, ว่า แอ่น หงาย.
      แอ่น ตัว (811:2.4)
               เด้ง ตัว, คือ ดัด กาย ให้ อก ออก ข้าง หนึ่ง, เช่น คน บิด คร้าน ทำ ตัว ให้ แอ่น นั้น.
      แอ่น ท้อง (811:2.5)
               เด้ง ท้อง, คือ เบ่ง ท้อง ทำ กาย ให้ แหงน แอ่น ท้อง ออก ข้าง หน้า, เช่น คน บิด คร้าน นั้น.
      แอ่น หน้า (811:2.6)
               อาด หน้า, คือ คน ทำ กาย ให้ อก ออก ข้าง หน้า, เช่น คน บิด คร้าน ทำ ให้ กาย แอ่น นั้น.
      แอ่น ไป (811:2.7)
               อาด ไป, คือ คน เดิน ทำ อก แอ่น ไป, เช่น คน ทำ กาย ให้ บิด ดัด แอ่น แล้ว เดิน ไป นั้น.
      แอ่น มา (811:2.8)
               อาด มา, คือ คน เดิน ทำ อก แอ่น มา, เช่น คน ทำ ตัว ให้ บิด ดัด แอ่น แล้ว เดิน มา นั้น.
      แอ่น ลง (811:2.9)
               ดุ้ง ลง, คือ คน ทำ กาย ให้ อก ออก ข้าง บน, เช่น คน บิด คร้าน ทำ ตัว ให้ แอ่น ลง นั้น.
      แอ่น หลัง (811:2.10)
               อาด หลัง, คือ คน ทำ ตัว ให้ อก ออก ข้าง หน้า แอ่น หลัง, เช่น คน ทำ ตัว ให้ บิด คร้าน กาย นั้น.
      แอ่น อก (811:2.11)
               เด้ง อก, คือ คน ทำ ตัว ให้ อก ออก ข้าง หน้า, อา การ เช่น บิด คร้าน นั้น.
      แอ่น เอว (811:2.12)
               คือ คน ทำ ตัว ดัด เอว, เช่น คน บิด คร้าน, แต่ เอว นั้น แอ่น ดัด เด้ง นั้น.
โอน (811:3)
         เอน, น้อม, คือ เอน น่อย ๆ ไม่ เอน มาก, เช่น ต้น ไม้ ที่ เอน ทอด น่อย ๆ นั้น ว่า โอน.
      โอน กลับ (811:3.1)
               อ่อน กลับ, คือ เอน กลับ น่อย ๆ เช่น ต้นไม้ ที่ เอน กลับ น่อย ๆ นั้น.
      โอน เข้า (811:3.2)
               เอน เข้า, คือ เอน เข้า น่อย ๆ เช่น ต้น ไม้ ที่ เอน เข้า น่อย ๆ นั้น.
      โอน น้อม (811:3.3)
               คือ โค้ง น้อม ลง นั้น.
      โอน บาญชีย์ (811:3.4)
               คือ หัก ราย ชื่อ คน ตำบล บ้าน ออก จาก นาย นี้ เอา ชื่อ คน นั้น บวก ขึ้น ที่ นาย อื่น นั้น.
      โอน ไป (811:3.5)
               เอน ไป, คือ เอน ไป น่อย ๆ เช่น ต้น ไม้ ที่ เอน ทอด ไป น่อย ๆ นั้น.
      โอน มา (811:3.6)
               คือ เอน มา น้อย ๆ เช่น ต้น ไม้ ที่ เอน มา น่อย ๆ นั้น.

--- Page 812 ---
      โอน ลง (812:3.7)
               คือ โค้ง ลง.
      โอน สกล (812:3.8)
               คือ โอน กาย เอน กาย.
      โอน เอียง (812:3.9)
               ความ เหมือน เอียง โอน, ที่ ว่า แล้ว เปน ต้น นั้น.
      โอน เอน (812:3.10)
               โอน นั้น คือ เอน น่อย ๆ, เอน นั้น, คือ เอน ทอด ลง กว่า โอน นั้น.
      โอน อ่อน (812:3.11)
               คือ โอน น้อม ลง ไม่ หัก ลัน, เช่น ไม้ ลำ อ่อน แล โอน ลง นั้น.
อ่อน (812:1)
         น้อม, คือ ผล ไม้ ฤๅ ดอก ฤๅ ต้น ไม้ ต้น ผัก ต้น หญ้า เปน ต้น, ที่ มัน งอก แรก ออก ใหม่ ๆ. อย่าง หนึ่ง ของ ที่ ไม่ แขง กระด้าง, เอา มือ จัป ต้อง เข้า แล น่วม นุ่ม มือ, เหมือน นุ่น แล สำลี เปน ต้น.
      อ่อน เกล้า (812:1.1)
               น้อม เกล้า, คือ น้อม หัว ลง กราบ ไหว้ เปน ต้น เช่น คน ทำ คำรพย์ แก่ ผู้ เปน ที่ คำรพย์ เปน ต้น นั้น.
      อ่อน เกษ (812:1.2)
               น้อม เกษ, คือ น้อม หัว ลง ซบ ไหว้, เช่น คน มี ใจ คำรพย์ แก่ ผู้ ใหญ่ แล น้อม ศีศะ ลง กราบ ไหว้ เปน ต้น นั้น.
      อ่อน กาย (812:1.3)
               โอน กาย, คือ น้อม กาย ลง คำนับ, แก่ คน ที่ ควร จะ คำนับ เปน ต้น, โดย จิตร คาระวะ เปน ต้น นั้น.
      อ่อน ง้อ (812:1.4)
               คือ ไม่ ถือ โกรธ ทำ ใจ ให้ ดี มี เมตา แก่ คน ที่ โกรธ กัน อยู่, ไป ฃอ พูจ กับ เขา ก่อน
      อ่อน ใจ (812:1.5)
               อิด ใจ, คือ ใจ ธ้อ ถอย, เช่น คน เดิน ไป ใน หน ทาง ไกล, ช้า นาน เหนื่อย ใจ, ธ้อ ถอย ไป ไม่ได้ เปน ต้น นั้น.
      อ่อน จิตร (812:1.6)
               คือ จิตร ย่อ อย่อน ลง, เช่น คน เดิม มี ความ โกรธ มาก, ครั้น มี ผู้ มา อ้อน วอน, ใจ อย่อน ลง จาก ความ โกรธ นั้น.
      อ่อน เชิง (812:1.7)
               คือ ชั้น เชิง อ่อน นั้น.
      อ่อน ตาม (812:1.8)
               น้อม ตาม, คือ อ่อน ใจ ไป ตาม เขา บ้าง, อ่อน กาย ไป ตาม เขา บ้าง, เช่น จะ ฝึก สอน วิชา การ ต่าง ๆ แล อ่อน จิตร อ่อน กาย ไป ตาม นั้น.
      อ่อน เต็ม ที (812:1.9)
               อิด โรย เต็ม ที, คือ กาย ฤๅ ใจ, ที่ ทน ทุกข์ ลำบาก อยู่ ช้า นาน, เช่น คน ทน ทำ การ งาน นาน นัก, ธ้อ แท้ ใจ เต็ม ที นั้น.
      อ่อน ตัว (812:1.10)
               โน้ม กาย, คือ ทำ ตัว ให้ น้อม ไป น้อม มา, เช่น คน หัด เล่น ละคร ฤๅ โขน, ทำ ตัว ให้ น้อม ไป น้อม มา นั้น.
      อ่อน หนัก (812:1.11)
               คือ ของ ที่ เกิด ขึ้น ใหม่ ๆ, เช่น ทารก พึง ออก ใหม่ เปน ต้น, ฤๅ ของ ที่ ละมุน, มี นุ่น แล สำลี เปน ต้น นั้น.
      อ่อน นิ่ม (812:1.12)
               คือ ของ อ่อน นุ่ม, เช่น หมอน ที่ ยัด นุ่น* ไม่ แน่น จับ ต้อง อ่อน น่วม อยู่ นั้น.
      อ่อน นุ่ม (812:1.13)
               คือ ของ อ่อน นิ่ม, เช่น หมอน ที่ ยัด นุ่น ไม่ แน่น จับ ต้อง อ่อน น่วม อยู่ นั้น.
      อ่อน น้อม (812:1.14)
               คือ อ่อน ค้อม ลง นั้น.
      อ่อน น่วม (812:1.15)
               คือ อ่อน ละมุน นั้น.
      อ่อน นวล (812:1.16)
               คือ อ่อน โยน นั้น.
      อ่อน ไป (812:1.17)
               น่วม ไป, คือ ของ อ่อน นิ่ม ไป, เช่น ผล ไม้ มี ลูก มะม่วง สุก เปน ต้น, จับ ต้อง อ่อน น่วม ไป.
      อ่อน เปียก (812:1.18)
               นุ่ม เปียก, คือ อ่อน เหลว, เช่น ดิน ที่ อ่อน เปียก, เขา ว่า ดิน โคลน, ที่ ชุ่ม น้ำ อยู่ เปน ต้น นั้น.
      อ่อน ปัญญา (812:1.19)
               เยาว์ ปัญญา, คือ คน ปัญญา น้อย จะ คิด อ่าน การ อัน ใด ไม่ ใคร่ จะ เหน ถ้อย ความ, เหมือน คน ปัญญา กล้า นั้น.
      อ่อน เปลี้ย (812:1.20)
               หิว เปลี้ย, คือ คน เดิน ทาง บก ด้วย ท้าว, แล ขา เมื่อย ทั้ง สอง ข้าง ก้าว ไป ไม่ ใคร่ ได้ นั้น.
      อ่อน พับ (812:1.21)
               โอน พับ, คือ อ่อน พับ, เหมือน ผ้า เปน ต้น, คน เขา ทบ เข้า, พับ ได้ หลาย ชั้น นั้น.
      อ่อน เพลีย (812:1.22)
               ระหวย* เพลีย, คือ แค่ง ขา คน ที่ เดิน ทาง ไกล ด้วย ท้าว, เดิน นาน นัก จน จะ ก้าว ไม่ ออก นั้น.
      อ่อน มา (812:1.23)
               คือ น้อม มา, เหมือน ต้น ไม้ ที่ อ่อน ๆ มัน โน้ม น้อม มา สู่ ที่ เรา อยู่ นั้น.
      อ่อน มือ (812:1.24)
               คือ ของ ที่ ละมุน มือ, เหมือน ขัน ที่ เขา ทำ จะ ยา เรือ นั้น, อ่อน ละไม มือ นัก นั้น.
      อ่อน อย่อน (812:1.25)
               คือ น่วม ยอบ ยุบ ลง นั้น.
      อ่อน ระ หวย* (812:1.26)
               หิว ระ ทวย, คือ คน ป่วย หนัก, มัน ให้ หิว อก ใจ ธ้อ แท้ ไป. อย่าง หนึ่ง เดิน ทาง ไป เรือ ฤๅ บก นาน นัก, เหนื่อย เต็ม ที่ ธ้อ แท้ ใจ นั้น.

--- Page 813 ---
      อ่อน ละไม (813:1.27)
               คือ ของ ที่ อ่อน ละมุน, เหมือน ลวด เส้น เล็ก ๆ เปน ต้น, คน ลน ไฟ ให้ อ่อน นั้น.
      อ่อน ละมุน (813:1.28)
               คือ ของ ที่ อ่อน ละไม, เหมือน ลวด ทอง เปน ต้น คน เอา ลน ไฟ ให้ อ่อน นั้น.
      อ่อน ลง (813:1.29)
               คือ น่วม ยอบ ลง. อย่าง หนึ่ง เหมือน คน แรก โกรธ นัก, แล้ว ค่อย เบา ลง.
      อ่อน หวาน (813:1.30)
               คือ ถ้อย คำ เพราะ จับ ใจ, ว่า เปน อ่อน หวาน, เปรียบ เหมือน น้ำ ผึ้ง เปน ต้น.
      อ่อน สวิง สวาย (813:1.31)
               คือ คน ป่วย หนัก ฤๅ อด เข้า เวลา สาย นัก, อก ใจ ให้ วุบ ๆ วับ อ่อน ไป นั้น.
      อ่อน ศักดิ์ (813:1.32)
               คือ ยศ ศักดิ์ น้อย ลง, เหมือน คน เปน ขุนนาง ใหญ่, แล้ว ต้อง ลด ลง เปน ที่ น้อย นั้น.
      อ่อน หิว (813:1.33)
               หิว อ่อน, คือ คน อ่อน ไม่ ได้ รับ อาหาร, แล ใจ ละหวย หิว เข้า แรง โรย ไป นั้น.
      อ่อน แอ (813:1.34)
               คือ อ่อน ธ้อ แท้, เหมือน คน อ่อน กำลัง น้อย, ฤๅ ลูก เด็ก ที่ ยัง อ่อน นั้น.
      อ่อน องค์ (813:1.35)
               โอน กาย, คือ อ่อน ตัว, เหมือน เจ้า ทำ ตัว ให้ อ่อน ละมุน นั้น, เรียก ว่า อ่อน องค์, เปน คำ สูง เปน ต้น นั้น.
อ้อน (813:1)
         รบ, คือ วอน, เหมือน ทารก เล็ก ๆ จะ เอา ของ อัน ใด แล ร้อง ไห้ รบ มารดา บิดา นั้น.
      อ้อน กิน (813:1.1)
               วอน กิน, คือ วอน แล้ว วอน อีก หลาย หน, เพื่อ อยาก จะ กิน, เหมือน ทารก วอน แม่ จะ กิน นม เปน ต้น นั้น.
      อ้อน ไป (813:1.2)
               วอน ไป, คือ วิง วอน ร่ำ ไป, เหมือน ทารก วอน จะ เอา สิ่ง ใด ยัง ไม่ ได้, แล วิง วอน ไป นั้น.
      อ้อน มา (813:1.3)
               วอนมา, คือ วิง วอน มา, เหมือน คน อยาก จะ ได้ ของ อัน ใด, แล วิง วอน สั่ง เขา มา ถึง เจ้า ของ เปน ต้น นั้น.
      อ้อน วอน (813:1.4)
               วิง วอน, คือ วอน ว่า บ่อย ๆ, เหมือน กับ คน อยาก จะ ใคร่ ได้ ของ ๆ ผู้ อื่น, แล วอน ว่า แล้ว ว่า เล่า นั้น.
      อ้อน แอ้น (813:1.5)
               ระโอด ระองค์, คือ คน รูป ร่าง ไม่ โต ใหญ่ ล่ำสัน รูป กาย นั้น เล็ก ๆ, เปน คน รูป งาม รูป สรวย เปน ต้น นั้น.
อวน (813:2)
         โป่ง, ข่าย, คือ ของ เปน เครื่อง เขา ดัก ปลา ตา มัน เหมือน แห, แต่ มัน เปน ผืน กว้าง ยาว ยี่สิบ วา บ้าง สาม สิบ วา บ้าง, สำหรับ ล้อม วง ปลา ใน น้ำ นั้น.
      อวน ใหญ่ (813:2.1)
               โป่ง ใหญ่, คือ อวน ผืน ใหญ่, สำหรับ เขา เอา ทิ้ง ลง ใน น้ำ, วง ล้อม ปลา ใน ทะเล, ที่ มัน อยู่ เปน หมู่ มาก นั้น.
      อวน เล็ก (813:2.2)
               โป่ง เล็ก, คือ อวน ผืน เล็ก ๆ, ที่ สำหรับ เขา ทิ้ง ลง วง อ้อม ล้อม จับ ฝูง ปลา ใน ทะเล นั้น.
อ้วน (813:3)
         ภี, สมบูรณ, คือ รูป คน ฤๅ สัตว, ที่ มัน มี เนื้อ หนัง มาก บริบูรณ ไม่ ซูบ ผอม, รูป มัน พ่วง ภี นั้น.
      อ้วน ภี (813:3.1)
               ภี อ้วน, คือ รูป คน ฤๅ สัตว ที่ มี เนื้อ มาก เต็ม ทั่ว ทั้ง กาย ไม่ ซูบ ผอม, ว่า รูป มัน อ้วน ภี นั้น.
      อ้วน สม บูรณ (813:3.2)
               คือ รูป มะนุษ ที่ มี วาศนา, ได้ เปน เจ้า เปน ท้าว เปน พระยา, แล อ้วน ภี ไม่ ไผ่ ผอม นั้น.
เอียน (813:4)
         คลื่น, คือ อาการ คน ที่ เหน ของ น่าเกลียด มี หนอน เปน ต้น, แล มัน ให้ แสยง ขน นั้น, ว่า สะอิด สะเอียน เปน ต้น.
เอือน (813:5)
         คือ เนื้อ มะพร้าว ที่ มัน แก่, แล มัน บาง พรุน ๆ อยู่ ไม่ มัน, ออก รศ หวาน ว่า เปน เอือน นั้น.
      เอือน กิน (813:5.1)
               คือ เนื้อ ใน ผล มะพร้าว, มัน แก่ แล้ว เยื่อ บาง มี รศ ไม่ มัน รศ ออก หวาน นั้น, เขา ว่า มะพร้าว เอือน กิน, แต่ ตัว เอือน นั้น ไม่ มี.
เอื้อน (813:6)
         อำ, คือ อาการ ที่ คน ไม่ ใคร่ พูจ ออก วาจา, เหมือน มี ผู้ ถาม ความ อัน ใด, แล ผู้ นั้น ทำ ที ไม่ ใคร่ ออก ปาก บอก นั้น.
      เอื้อน ความ (813:6.1)
               อำ ความ, คือ ทำ ที อิด เอื้อน ไม่ ใคร่ จะ บอก ความ อัน ใด, แก่ ผู้ ถาม ประการ ใด นั้น.
      เอื้อน ตรัส (813:6.2)
               คือ ออก วาจา, เปน คำ หลวง ว่า.
      เอื้อน วาจา (813:6.3)
               คือ ทำ ที อิด เอื้อน ไม่ ใคร่ ออก วาจา ประการ ใด แก่ ผู้ ถาม นั้น.

--- Page 814 ---
      เอื้อน โอง การ (814:6.4)
               คือ ขุนหลวง ตรัส, ว่า เปน คำ หลวง ว่า เปน ต้น.
      เอื้อน โอฐ (814:6.5)
               คือ คำ ที่ มิ ออก ปาก, เหมือน คน มิ ใคร่ จะ ออก ปาก พูจ นั้น.
      เอื้อน อรรถ (814:6.6)
               คือ ทำ ที อิด เอื้อน ไม่ ใคร่ จะ ออก อรรถ, ไม่ ใคร่ จะ สำแดง อรรถ ออก นั้น.
เอิ้น (814:1)
         ถาม, คือ ร้อง ถาม ไป ภอ ได้ ยิน, เหมือน คน อยู่ ไกล กัน ภอ พูจ ได้ ยิน, แล ร้อง เรียก ถาม ความ กัน ภอ ได้ ยิน.
อบ (814:2)
         รม, คือ ทำ ให้ น้ำ เปน ต้น หอม, เขา เอา น้ำ ใส่ ลง ใน ภาชนะ, แล้ว เอา เทียน สำหรับ อบ จุด ไฟ เข้า แล้ว ติด กับ ฝา โถ ปิด ครอบ ลง ให้ น้ำ หอม นั้น.
      อบ เกสร (814:2.1)
               รม เกสร, คือ เอา เกสร ดอกไม้ ใส่ ลง ใน ภาชนะ แล้ว เอา ฝา ปิด ลง ไว้ ให้ หอม นั้น.
      อบ กลิ่น (814:2.2)
               รม กลิ่น, คือ เอา ของ ที่ กลิ่น หอม มี ธูป เปน ต้น ใส่ ลง ใน ภาชนะ เอา ฝา ปิด งำ ไว้ ให้ หอม.
      อบ ควัน (814:2.3)
               รม ควัน, คือ เอา เทียน จุด ไฟ ติด เข้า กับ ฝา โถ แล้ว ดับ ไฟ เสีย ให้ เปน ควัน, เอา ปิด งำ ลง ให้ ควัน อบ อั้น อยู่ ใน นั้น.
      อบ เชย (814:2.4)
               เปน ชื่อ ต้น ไม้ อย่าง หนึ่ง, เปน ไม้ อย่าง ย่อม, มัน เกิด ใน ป่า เปลือก มัน หอม.
      อบ น้ำ (814:2.5)
               คือ เอา น้ำ ทำ ให้ หอม, คน จะ อบ น้ำ นั้น ย่อม เอา น้ำ ใส่ ใน โถ แล้ว เอา เทียน, ที่ ประสม เครื่อง หอม จุด ไฟ ดับ เสีย แล้ว ปิด ลง ไว้ ให้ ควัน อบ อยู่.
      อบ ไป (814:2.6)
               คือ อบ ร่ำ ไป, เหมือน คน ผู้ จะ อบ เช่น ว่า นั้น, อบ แล้ว อบ อีก อบ ร่ำ ไป นั้น.
      อบ ผ้า (814:2.7)
               คือ ทำ ให้ ผ้า หอม, เหมือน คน เอา หีบ สำหรับ ใส่ ผ้า มา แล้ว, เอา เครื่อง หอม ประพรม ใน หีบ แล้ว เอา ผ้า ใส่ ลง ให้ หอม.
      อบ ฟุ้ง (814:2.8)
               คือ เอา เครื่อง หอม ใส่ ลง ที่ ไฟ, มี กลิ่น ควัน หอม เฟื่อง ไป นั้น.
      อบ ภิรม (814:2.9)
               คือ กรม* อบ ภิรม, เครื่อง ฉัตร เปน เครื่อง สูง นั้น.
      อบ ภิรม ชุมสาย (814:2.10)
               คือ เครื่อง สูง รูป* เปน ฉัตร, แล มี สาย ประชุม กัน หลาย สาย นั้น
      อบ รม (814:2.11)
               คือ อบ เอา ควัน รม ให้ หอม, ผู้ จะ อบ ผ้า นั้น เอา ไม้ ทำ กระโจม, แล้ว เอา ผ้า คลุม ลง ที่ กระโจม แล้ว เอา เครื่อง หอม จุด ไฟ ใส่ ไว้ ใน นั้น.
      อบ อาบ (814:2.12)
               คือ อบ แล โซม ซาบ กาย เปน ต้น.
      อบ อาย (814:2.13)
               รม อาย, คือ อบ เอา อาย ที่ พลุ่ง ออก มา แต่ น้ำ ร้อน นั้น, เหมือน จะ รม ให้ หาย โรค, อบ เอา อาย น้ำ ร้อน นั้น.
      อพยพ (814:2.14)
               เท ครัว, คือ ยก ครัว ออก จาก ที่ หนี ไป, เหมือน คน กลัว ไภย อันตราย, แล ภา บุตร ภรรยา หนี ไป เปน ต้น นั้น.
อับ (814:3)
         คือ กลิ่น ของ เหมน อับ, เหมือน ของ มี เข้าสาร เปน ต้น ที่ เปน รา แรม ค้าง อยู่ นาน.
      อับ เงิน (814:3.1)
               คือ รูบ คล้าย ตลับ มี ตัว มี ฝา, เขา เอา เงิน มา แผ่ แล้ว ทำ รูป ให้ กลม เหมือน ตลับ ปล้อง อ้อย นั้น.
      อับ จน (814:3.2)
               คือ คน ที่ จน ขัด สน ทรัพย์ นั้น ว่า เช่น นั้น, เหมือน ของ ที่ อับ รา จะ เสีย นั้น.
      อับเฉา (814:3.3)
               คือ หิน ดิน แล ทราย ที่ เขา ใส่ บันทุก ลง ใน ท้อง เรือ สำเภา ฤๅ กำปั่น เปน ต้น, เพื่อ จะ ไม่ ให้ มัน โคลง เปน ต้น นั้น.
      อับ ตะกั่ว (814:3.4)
               คือ รูป อับ เช่น ว่า เขา เอา ตะกั่ว แผ่ ออก แล้ว, ทำ รูป ให้ เหมือน อับ เงิน นั้น.
      อับ ทอง (814:3.5)
               คือ รูป อับ เช่น ว่า, แต่ เขา เอา ทอง มา แผ่ ออก แล้ว ทำ รูป เหมือน อับ เงิน นั้น.
      อับปรี (814:3.6)
               คือ การ ไม่ มี ศิริมงคล, เหมือน ความ ชั่ว ไม่ ควร จะ เปน ก็ เปน ขึ้น เปน ต้น ว่า ผ้า ไฟ ไหม้, ไม่ ควร จะ ไหม้ ไฟ ก็ ไหม้, ของ ถึง วิบัติ ต่าง ๆ,
      อับเปหิ (814:3.7)
               แปล ว่า จง หลีก ไป.
      อับปะภาคย์ (814:3.8)
               คือ ผู้ มี ยศ มาก แล น้อย ทำ การ ผิด, แล ต้อง ตำหนิ ติเตียน ใน ที่ ประชุม คน ทั้ง ปวง, ต้อง เสื่อม ยศ ถด ถอย ลง นั้น.
      อัปะมงคล (814:3.9)
               คือ การ ปราศจาก ความ จำเริญ, มี หน้า อัน เศร้า หมอง นั้น.

--- Page 815 ---
      อับปาง (815:3.10)
               คือ การ ที่ สำเภา ฤๅ กำปั่น, น้ำ เข้า เพียบ จม ลง ใน กลาง มหา สมุท นั้น.
      อับ ปัญญา (815:3.11)
               คือ คน ปัญญา มี น้อย ไม่ สู้ ฉลาด เฉลียว เปน ต้น นั้น.
      อับ ฝน (815:3.12)
               คือ ฟ้า อากาศ มืด มัว ลม ก็ ไม่ พัด, เหมือน ฝน เกือบ จะ ตก นั้น ว่า อับ ฝน. อย่าง หนึ่ง ดิน สำหรับ ยิง ปืน เมื่อ ฝน ตก จุด ไม่ ใคร่ ติด นั้น.
      อับ ฝิ่น (815:3.13)
               คือ รูป ของ สำหรับ ใส่ ฝิ่น, เขา ทำ รูป คล้าย ตลับ ปล้อง อ้อย ทำ ด้วย ทอง เหลือง.
      อับ ยา (815:3.14)
               คือ รูป อับ เช่น ว่า นั้น แต่ สำหรับ ใส่ ยา, คน เอา ตะกั่ว ทำ บ้าง ทอง เหลือง ทำ บ้าง.
      อับ ลง (815:3.15)
               คือ เสื่อม ลง ถอย ลง, เหมือน มี ยศ แล้ว กลับ ถอย ลง.
      อับ แสง (815:3.16)
               คือ แสง อัน ใด มี แสง อาทิตย์ เปน ต้น, ที่ ไม่ แจ่ม ใส มืด มัว นั้น.
      อับษร (815:3.17)
               แปล ว่า นาง ฟ้า.
      อับษร กัลยา (815:3.18)
               ว่า นาง สวรรค์ งาม.
      อับ ศรี (815:3.19)
               คือ ศรี อัน ใด ๆ ที่ ไม่ แจ่ม กระจ่าง, แล มัว หมอง นั้น.
      อับ อาย (815:3.20)
               คือ การ ที่ อับ ลง แล้ว, ต้อง อาย เขา ด้วย เปน ต้น นั้น.
      อัปยศ (815:3.21)
               คือ คน ที่ มี ยศ แล้ว, กลับ ยศ น้อย ถอย ศักดิ์ เปน ต้น.
      อัพพะลาภ (815:3.22)
               คือ คน ที่ เสื่อม ยศ ศักดิ์ ลง ฤๅ ชะรา ลง, มี ลาภ น้อย ไป ไม่ เหมือน แต่ ก่อน นั้น.
อาบ (815:1)
         เคลือบ, คือ เอา น้ำ เท รด ลง ที่ ตัว, ก็ ว่า อาบ น้ำ ลาง ที ลง ไป จุ่ม ตัว ใน น้ำ บ้าง นั้น ว่า อาบ น้ำ.
      อาบ เคลือบ (815:1.1)
               คือ กะไหล่, คน เอา ทอง แดง ฤๅ เงิน ทำ เปน ภาชนะ ต่าง ๆ แล้ว เอา ทอง คำ ทำ ไว้ ข้าง นอก ให้ เหน เช่น ทอง คำ นั้น.
      อาบ ซาบ (815:1.2)
               คือ เซิบ ซาบ, เขา เอา น้ำ รัก ทา ลง ที่ พื้น กะ ดาน, มัน เซิบ ซาบ ว่า อาบ ซาบ.
      อาบ ซึม (815:1.3)
               คือ โซม ซึม, เหมือน น้ำ ที่ ไหล ออก จาก แผล แนว เรือ ที่ แตก ร้าว นั้น.
      อาบ น้ำ (815:1.4)
               คือ คน เอา น้ำ เท รด ลง บน ตัว, ฤๅ ลง ไป ใน น้ำ นั้น.
      อาบ น้ำ มนตร์ (815:1.5)
               รด น้ำ มนตร์, คือ เอา น้ำ ที่ เขา เศก ด้วย คุณ พระ เปน ต้น ว่า นะโม นั้น, เท รด ตัว เอา บ้าง ให้ คน อื่น เท รด บ้าง.
      อาบ น้ำ มัน (815:1.6)
               รด น้ำ มัน, คือ เอา น้ำ มัน ชโลม ที่ ตัว ให้ ทั่ว ฤๅ ให้ คน อื่น ชะโลม นั้น.
      อาบ ยา (815:1.7)
               รด ยา, คือ เอา น้ำ ยา รด ตัว ลง, คน พล ทหาร จะ ทำ ตัว ให้ ทน อาวุธ ไม่ ให้ ฟัน แทง เข้า, ทำ ว่าน ยา ขึ้น อาบ นั้น.
      อาบ รัก (815:1.8)
               โทรม รัก, คือ เอา น้ำ รัก เข้า ชะโลม ทา, เหมือน คน จะ ปิด ทอง รูป พระ เปน ต้น แล เอา น้ำ รัก ชะโลม ทา ให้ ซาบ ติด นั้น.
      อาบ ว่าน (815:1.9)
               ชะโลม ว่าน, คือ เอา หัว ว่าน ตำ เอา น้ำ ได้ มาก แล้ว เอา ชะโลม ทา รด ลง ทั่ว ทั้ง ตัว, เพื่อ จะ ไม่ ให้ อาวุธ เข้า ได้ นั้น.
      อาบ เอิบ (815:1.10)
               ซึม เอิบ, คือ น้ำ ฝน เปน ต้น ตก ลง รด ที่ พื้น ดิน เปน ต้น.
อุบ (815:2)
         เปน เสียง ดัง อุบ ๆ มี บ้าง, เช่น เสียง คน ที่ ทุบ ตี กัน นั้น.
      อุบ อับ (815:2.1)
               พะอำพะอาก, คือ เสียง ดัง อุบอับ, เช่น คน ชก ตี กัน นั้น.
      อุบ อิบ (815:2.2)
               อู้ อี้, คือ เสียง ดัง อุบอิบ, เช่น คน พูจ เสียง เบา ริม สีปาก นั้น.
อุปะการะ (815:3)
         คือ คน ช่วย ธุระ เล็ก น้อย ฤๅ ธุระ ใหญ่ แก่ ผู้ ต้อง การ นั้น.
อุปฐาก (815:4)
         บำเรอ, คือ ความ ช่วย บำรุง, เหมือน คน ปราถนา จะ เอา บุญ, แล ช่วย ธุระ ใน การ บุญ, ใน อาราม เปน นิจ นั้น.
อุปะดิษฐ (815:5)
         เปน ชื่อ คน มี ใน หนังสือ แต่ ก่อน มี บ้าง.
อุปถัมภ์ (815:6)
         อุด หนุน, คือ ความ ช่วย ค้ำ ชู อุด หนุน, เช่น มี ผู้ จะ ยก ย่อง ตั้งแต่ง คน ขึ้น ใน ที่ มี ยศ ศักดิ์, แล มี ผู้ ช่วย ว่า กล่าว เพิ่ม เติม ว่า คน นั้น ดี นั้น.

--- Page 816 ---
อุปเท (816:1)
         อะธิบาย, คือ ความ บอก อะธิบาย ใน เวท มนตร์ เปน ต้น, เหมือน ว่า คาถา อย่าง นี้ ใช้ อย่าง นั้น ๆ, คือ บอก ว่า มนตร์ นี้ สำหรับ ดับ พิศม์ ไฟ เปน ต้น.
อุปทม (816:2)
         จะโบ้ห่วง, คือ ชื่อ โรค สำหรับ บูรุษ, คือ โรค เปน ที่ องคชาต ที่ ลับ ของ ชาย นั้น.
อุปมา (816:3)
         คือ ความ ว่า แผ่น ดิน นั้น คน เอา ของ ชั่ว แล ของ ดี ใส่ ลง ทิ้ง ลง แผ่นดิน ก็ ไม่ โกรธ ไม่ ยินดี ฉัน ใด, นี่ เปน ความ อุประมา.
อุปะไมย (816:4)
         เปรียบ เทียบ, คือ ความ ว่า คน ผู้ มี พระอรหรรตะ คุณ นั้น, บุคคล จะ บูชา ชั่ว แล ดี ท่าน ก็ ไม่ โกรธ ไม่ ยินดี ฉัน นั้น, นี่ เปน ความ อุประไมย.
แอบ (816:5)
         แฝง, แนบ, คือ ความ ซ่อน เร้น, เช่น คน จะ ไม่ ให้ ผู้ อื่น เหน ตัว นั้น.
      แอบ กัน (816:5.1)
               แฝง กัน, คือ ซ่อน เร้น บัง แฝง, เช่น คน จะ ไม่ ให้ เพื่อน กัน เหน นั้น.
      แอบ เข้า มา (816:5.2)
               แฝง เข้า มา, คือ ลอบ บัง เข้า มา, เช่น คน คิด จะ ลัก ของ เปน ต้น, กลัว คน จะ เหน แล ค่อย ลอบ บัง เข้า มา นั้น.
      แอบ คำ (816:5.3)
               แฝง คำ, คือ เลียน คำ, เช่น คน พูจ ว่า เจ้า มัน ดี แต่ กิน เปน ต้น, เลียน คำ ว่า ข้า แล มัน ดี แต่ กิน เปน ต้น.
      แอบ เงา (816:5.4)
               บัง เงา, คือ ซ่อน บัง เข้า มา ที่ เงา ไม้ เปน ต้น, เช่น คน คิด จะ ทำ ร้าย เขา ใน เพลา กลาง คืน มี แสง ไฟ ฤๅ แสง จันทร์ บัง เงา ไม้ เข้า ไป นั้น.
      แอบ ซ่อน (816:5.5)
               แฝง ซ่อน, คือ เร้น แฝง ของ ฤๅ ตัว ไว้, คน จะ ไม่ ให้ ผู้ อื่น เหน ของ ฤๅ ตัว เปน ต้น, แล เอา เร้น แฝง ไว้ นั้น.
      แอบ ตัว (816:5.6)
               แฝง กาย, คือ ซ่อน ตัว บัง ตัว, เช่น คน กลัว ผู้ อื่น จะ เหน ตัว นั้น.
      แอบ ไป (816:5.7)
               แฝง ไป, คือ ซ่อน บัง ตัว ไป, เช่น จะ ไป ไม่ ให้ เขา เหน ตัว นั้น.
      แอบ แฝง (816:5.8)
               แฝง แอบ, คือ ซ่อน เร้น ตัว เสีย, เช่น คน แฝง ตัว ไม่ ให้ ผู้ ใด เหน ตัว นั้น.
      แอบ ฟัง (816:5.9)
               แฝง ฟัง, คือ แฝง ตัว คอย ฟัง ความ อัน ใด ฤๅ เสียง อัน ใด นั้น.
      แอบ มอง (816:5.10)
               แฝง มอง, คือ แฝง ตัว คอย แล ดู, เช่น คน จะ ไม่ ให้ เขา เหน แล คอย แฝง ตัว แล ดู นั้น.
      แอบ อยู่ (816:5.11)
               แฝง อยู่, คือ เร้น ซ่อน อยู่ กับ ที่ ไม่ ไป ไหน, เช่น คน กลัว เขา จะ เหน เมื่อ ออก ไป, แล เร้น ซ่อน อยู่ กับ ที่ นั้น.
      แอบ เร้น (816:5.12)
               บัง ซ่อน, คือ ซ่อน แฝง บัง เสีย, คน จะ ไม่ ให้ ผู้ ใด เหน ของ ฤๅ กาย นั้น.
      แอบ หลัง (816:5.13)
               บัง หลัง, คือ ซ่อน ไป ข้าง เบื้อง หลัง ผู้ อื่น, คน กลัว เขา จะ เหน, แล เดิน ซ่อน แฝง ไป เบื้อง หลัง เขา นั้น.
      แอบ ไว้ (816:5.14)
               แฝง ไว้, คือ เอา ของ อัน ใด แฝง บัง ไว้, คน จะ ไม่ ให้ ผู้ ใด เหน ของ นั้น.
      แอบ อิง (816:5.15)
               แฝง พิง, คือ เอา ของ เร้น พิง ไว้. อย่าง หนึ่ง เช่น คน จน เข้า พึ่ง คน มี บุญ มี วาศนา อยู่
โอบ (816:6)
         อ้อม, คือ ทำ มือ สอง ข้าง ให้ อ้อม รอบ ต้น ไม้ เปน ต้น เช่น จะ ขึ้น ต้น ไม้ ใหญ่, แล ทำ มือ ทั้ง สอง ให้ อ้อม ต้น ไม้ นั้น.
      โอบ กาย (816:6.1)
               อ้อม กาย, คือ ทำ มือ ทั้ง สอง ข้าง ให้ อ้อม รอบ กาย คน อื่น, เช่น ทารก รวบ รัด กาย แม่ นั้น.
      โอบ เข้า ไว้ (816:6.2)
               อ้อม เข้า ไว้, คือ เอา มือ สอง ข้าง อ้อม รอบ รัด เข้า ไว้, คน เอา มือ สอง ข้าง อ้อม ต้น ไม้ รวบ รัด เข้า ไว้ นั้น.
      โอบ ขึ้น (816:6.3)
               อ้อม ขึ้น, คือ เอา มือ อ้อม รวบ รัด ต้น ไม้ แล้ว ขยับ ขึ้น ไป นั้น, คน ขึ้น ต้น ไม้ ใหญ่ ทำ เช่น ว่า นั้น.
      โอบ ต้น ไม้ (816:6.4)
               คือ เอา มือ ทั้ง สอง อ้อม ตรอม เข้า ที่ ต้น ไม้ แล้ว ขึ้น ไป นั้น.
      โอบ ท้อง (816:6.5)
               อ้อม ท้อง, คือ เอา มือ ทั้งสอง อ้อม รัด ท้อง คน อื่น นั้น.
      โอบ ไป (816:6.6)
               วง ไป, คือ อ้อม ไป, เหมือน คน วัด ที่ แล มี ของ ใหญ่ มี ป้อม เปน ต้น, กีด ขวาง อยู่ จะ วัด ตรง ไป ไม่ ได้ ต้อง วัด โอบ อ้อม ไป นั้น.

--- Page 817 ---
      โอบ มา (817:6.7)
               คือ อ้อม มา, เช่น เขา วัด ที่ ถ้า มี ของ ใหญ่ ขวาง อยู่ แล เขา วัด อ้อม มา นั้น
      โอบ ลง (817:6.8)
               อ้อม ลง, คือ อ้อม ลง ค้อม ลง, เช่น รุ้ง กิน น้ำ ที่ ปรากฎ ใน อากาศ ค้อม ลง นั้น.
      โอบ ไว้ (817:6.9)
               คือ เอา มือ ทั้งสอง อ้อม คร่อม ไว้, เหมือน คน เอา มือ ทั้งสอง อ้อม คร่อม ต้น ไม้ ไว้ นั้น.
      โอบ เอา (817:6.10)
               คือ โอบ รวบ เข้า ไว้ นั้น.
      โอบ อุ้ม (817:6.11)
               คือ โอบ เอา ตัว คน แล้ว ยก ประเทือง ขึ้น นั้น.
      โอบ อ้อม อารีย์ (817:6.12)
               คือ ใจ คน ที่ เผื่อ แผ่ มี ความ เมตตา มาก, คิด สงเคราะห์ แก่ เพื่อน บ้าน, แล ญาติ ด้วย ให้ ของ เปน ต้น นั้น.
ออบ (817:1)
         เปน เสียง ดัง ออบ ๆ มี บ้าง, เหมือน กบ มัน ร้อง เมื่อ ระดู ฝน เสียง ออบ ๆ นั้น.
ออบ แอบ (817:2)
         คือ ของ เครื่อง ใช้, มี เรือ เปน ต้น ที่ มัน ไม่ แน่น หนา เบา บาง นั้น.
เอิบ (817:3)
         ซาบ, คือ เซิบ, เช่น โอ่ง ดิน ปน ทราย เนื้อ มัน ห่าง ไม่ ชิด ใส่ น้ำ ไว้ น้ำ มัน เซิบ ออก มา นั้น.
      เอิบ ซาบ (817:3.1)
               ซาบ เอิบ, คือ เซิบ ซึม ออก มา, เช่น น้ำ ใน ภาชนะ เนื้อ อยาบ เซิบ ออก มา ชุ่ม ข้าง นอก นั้น.
      เอิบ ซึม (817:3.2)
               ซึม ซาบ, คือ เซิบ ซึม ออก มา, เช่น ภาชนะ ดิน ที่ อยาบ, ใส่ น้ำ ไว้ น้ำ เซิบ ซึม ออก ได้ นั้น.
      เอิบ อาบ (817:3.3)
               อาบ เอิบ, คือ เซิบ ซาบ ออก มา, เหมือน น้ำ ใน ภาชนะ เนื้อ อยาบ ซึม ซาบ ออก ชุ่ม ถึง นอก นั้น.
อม (817:4)
         คาบ, คือ เอา ของ อัน ใด ๆ มี น้ำ เปน ต้น ใส่ เข้า ไว้ ใน ปาก คา ไว้ ไม่ กลืน เข้า ไป นั้น.
      อม แก้ว (817:4.1)
               คาบ แก้ว, คือ เอา ลูก แก้ว ใส่ เข้า ไว้ ใน ปาก แล้ว หุบ ปาก ลง ไว้ ให้ มัน อยู่ ใน ปาก นั้น.
      อม เข้า (817:4.2)
               คาบ เข้า, คือ เอา เข้า ใส่ ใน ปาก ไม่ เคี้ยว ไม่ กลืน ทำ ให้ เข้า อยู่ คา ปาก นั้น.
      อม ของ (817:4.3)
               คาบ ของ, คือ เอา ของ อัน ใด ใส่ เข้า ใน ปาก แล้ว ไม่ กลืน ไม่ เคี้ยว นั้น.
      อม ควัน (817:4.4)
               คือ ดูด ควัน เข้า ไป ใน ปาก, แล้ว ไม่ พ่น ออก มา ไม่ กลืน นั้น.
      อม เงิน (817:4.5)
               คาบ เงิน, คือ เอา เงิน ใส่ ใน ปาก แล้ว ไม่ กลืน ไม่ คาย นั้น.
      อม ถ่าน (817:4.6)
               คือ เอา ถ่าน ไฟ ดับ ใส่ เข้า ใน ปาก แล้ว, ไม่ กลืน ไม่ คาย นั้น.
      อม ทอง (817:4.7)
               คาบ ทอง, คือ เอา ทอง ใส่ เข้า ใน ปาก แล้ว ไม่ กลืน ไม่ คาย นั้น.
      อม น้ำ (817:4.8)
               คือ เอา น้ำ ใส่ ไว้ ใน ปาก, แล้ว ไม่ กลืน ไม่ บ้วน หุบ ปาก ลง นั้น.
      อม นม (817:4.9)
               คือ เอา หัว นม ใส่ เข้า ใน ปาก แล้ว ดื่ม น้ำ นม อยู่, เช่น ทารก ดื่ม นม แม่ นั้น.
      อม ปาก (817:4.10)
               คือ ทำ ปาก มิด ปิด ไว้, ไม่ อ้า ปาก ออก พูจ จา เปน ต้น นั้น.
      อมพะนำ (817:4.11)
               คือ ความ ว่า คน ไม่ ใคร่ พูจจา ออก นั้น, เช่น มี ถ้อย ความ* เขา ไต่ ถาม ตัว กลัว จะ ผิด ๆ ถูก ๆ, แล อ้ำอึ้ง นิ่ง อยู่ นั้น.
      อม พระ (817:4.12)
               คือ เอา รูป พระ ใส่ ปาก เข้า อม ไว้. อย่าง หนึ่ง คน สะบถ ว่า อย่า รู้ ภบ พระ เลย, แล ความ ไม่ จริง เปน คน ทน สบถ นั้น ว่า อม พระ.
      อม เพลิง (817:4.13)
               คือ อม ไฟ. อย่าง หนึ่ง ไม้ ที่ เขา ตัด เอา มา ทำ เสา, ถ้า* มัน มี เปลือก เปน ชั้น อยู่ ข้าง ใน บ้าง เล็ก น้อย ว่า อม เพลิง.
      อม ไฟ (817:4.14)
               คือ อม เพลิง, เรียก ว่า เพลิง นี้ เปน คำ ภาษา เขมร มี ความ อะธิบาย เหมือน อม เพลิง นั้น.
      อม หมาก (817:4.15)
               คือ เอา หมาก ใส่ เข้า ใน ปาก แล้ว หุบ ปาก ลง นิ่ง ไว้ นั้น.
      อม เมี่ยง (817:4.16)
               คือ อม ของ เขา ทำ ด้วย มะพร้าว ขูด ขั้ว แล้ว ใส่ เครื่อง ปรุง ลง หลาย สิ่ง นั้น.
      อม ยา (817:4.17)
               คือ อม เอา ยา ใส่ เข้า ใน ปาก, แล้ว ไม่ กลืน ไม่ คาย นั้น.
      อม โรค (817:4.18)
               คือ โรค มี อยู่ ใน กาย เปน นิจ นั้น.
      อม ไว้ (817:4.19)
               คือ ไม่ กลืน ไม่ คาย, เอา ของ ใส่ เข้า ใน ปาก แล้ว หุบ สีปาก ลง ไว้ นั้น.

--- Page 818 ---
      อม เออ (818:4.20)
               อ้ำอึ้ง, คือ ความ อ้ำอึ้ง อยู่, เช่น เขา มา ฃอ ของ อัน ใด, เปน ต้น จะ ให้ ฤๅ จะ ไม่ ให้, ว่า ออก ไม่ ใคร่ ได้ นั้น.
อัม (818:1)
         บัง, คือ ความ พราง, เช่น มี ผู้ มา ถาม ถึง คน ฤๅ ของ อัน ที่ มี อยู่ บน เรือน เปน ต้น, แล คน รู้ อยู่ แกล้ง บอก ว่า ไม่ เหน ไม่ มี นั้น.
      อัม คำ (818:1.1)
               บัง คำ, คือ กด คำ นิ่ง อยู่, มี ผู้ มา ถาม ถึง ความ อัน ใด, คน รู้ ความ นั้น อยู่, แต่ แกล้ง พราง ว่า ไม่ รู้ ไม่ เหน นั้น.
      อัม ความ (818:1.2)
               พราง ความ, คือ ปิด ความ เสีย ไม่ สำแดง ความ ออก, มี ผู้ มา ไต่ ถาม ความ, แล ผู้ รู้ ความ อยู่ แกล้ง บอก ปด ว่า ไม่ รู้.
      อัมแดง (818:1.3)
               นาง, คือ คำ เรียก หญิง พล ไพร่ เขา เรียก ใน จด หมาย บาญชีย์, ว่า อำแดง เช่น เรียก ชาย ว่า นาย นั้น.
      อัมพะวัน (818:1.4)
               ป่า มะม่วง, แปล ว่า ป่า ไม้ ม่วง, สวน มี ต้น ไม้ ม่วง มาก นั้น.
      อัม พราง (818:1.5)
               คือ ไม่ บอก จริง ให้ แจ้ง, มี ผู้ ถาม ถึง ของ เปน ต้น, แล คน ผู้ รู้ แกล้ง ปด เปน อื่น นั้น.
      อัมพร (818:1.6)
               ฟ้า, แปล ว่า อากาศ, เหมือน อากาศ ทั้ง สิ้น นั้น, เรียก ว่า อำพร นั้น.
      อัมมะ (818:1.7)
               แปล ว่า แม่, บันดา หญิง ที่ มี บุตร์ ๆ ย่อม เรียก แม่ ตาม ภาษา ไท.
      อัมมะรา (818:1.8)
               พระอินท์, เปน ชื่อ คน เปน นาย ใน กอง สัก เลก หลวง นาย หนึ่ง นั้น.
      อัมมะรินท์ (818:1.9)
               มะฆะวาร, อะธิบาย ว่า เทวดา เปน ใหญ่ กว่า เทวดา อื่น, แต่ ท่าน เอา ตั้ง เปน ชื่อ คน เปน นาย ใน โรง สัก เลก นาย หนึ่ง ชื่อ อัมรินท์.
      อัมเรนท์ (818:1.10)
               แปล ว่า เทวดา เปน ใหญ่, แต่ ท่าน เอา มา ตั้ง เปน ชื่อ คน บ้าง.
      อัมมะฤคย์ (818:1.11)
               แปล ว่า ไม่ ตาย, เหมือน* ใน เมือง คือ พระ นิพพาน นั้น ตาย ไม่ มี เลย.
      อัม ลา (818:1.12)
               ลา ไป, คือ บอก โดย คำนับ เมื่อ จะ ไป จาก กัน ตาม ประเทศ ตาม ภาษา นั้น.
      อัม ไว้ (818:1.13)
               พราง ไว้, คือ ปิด บัง ซ่อน ไว้, เช่น มี ผู้ มา ถาม คน ผู้ รู้ ความ แกล้ง กล่าว มุสา ว่า ไม่ รู้ ไม่ เหน นั้น.
      อัม เสีย (818:1.14)
               พราง เสีย, คือ นิ่ง อั้น เสีย, คน ผู้ รู้ ความ เหตุ ผล อยู่ ไม่ บอก แกล้ง นิ่ง เสีย นั้น.
อั่ม (818:2)
         เปน ชื่อ คน เขา ให้ ชื่อ อั่ม ตาม ภาษา ไท มี ชุม, บันดา มะ นุษ เกิด มา ย่อม มี ชื่อ ทุก ภาษา, เพื่อ จะ ได้ เรียก กัน เปน ต้น นั้น.
อั้ม (818:3)
         อึ้ง, คือ อ้น* อั้น เสีย, เช่น คน กลัว เขา จะ รู้ ความ ลับ ของ ตัว เปน ต้น, อั้ม อั้น เสีย ไม่ พูจ นั้น.
      อั้ม อึ้ง (818:3.1)
               คือ อำ ความ ไว้ มึน ตึง อยู่, เช่น มี ผู้ ว่า กล่าว ด้วย ความ อัน ใด ๆ ผู้ นั้น นิ่ง อั้น มึน ตึง อยู่ นั้น.
อิ่ม (818:4)
         ไม่ หิว, คือ เมื่อ เวลา รับ อาหาร แล้ว, จิตร ก็ สบาย กาย ก็ มี ความ ศุข ไม่ หิว โหย กระวน กระวาย นั้น.
      อิ่ม เกิน (818:4.1)
               คือ อิ่ม เหลือ ขนาด อิ่ม เต็ม ที่ จน จะ กิน เข้า ไป อีก ไม่ ได้ นั้น.
      อิ่ม เข้า (818:4.2)
               ไม่ อยาก เข้า, คือ รับ โภชนา หาร อิ่ม บริบูรณ์ เต็ม ดี, เช่น คน กิน เข้า ใน เวลา เคย กิน ภอ เปน อยา ปะ นะมัต.
      อิ่ม ของ (818:4.3)
               ไม่ อยาก ของ, คือ ของ บริบูรณ, เช่น คน มั่ง มี สมบัติ พัศถาน มาก ชื่น ชม เปรมปรีดิ์ ใน ใจ.
      อิ่ม เงิน (818:4.4)
               ไม่ อยาก เงิน, คือ เงิน มี บริบูรณ, คน ที่ มี เงิน มาก เขา มี ใจ ปีติ ยินดี ชื่น ชม โสมนัศ นั้น.
      อิ่ม ใจ (818:4.5)
               เปรม ใจ, คือ ใจ มี ความ ปีติ ด้วย มี ทรัพย์ สมบัติ บริบูรณ ฤๅ มี ความ ปรารถนา สำเร็ทธิ์.
      อิ่ม ท้อง (818:4.6)
               ภอ ท้อง, คือ ภอ เต็ม ท้อง บริบูรณ, เช่น คน กิน อาหาร ภอ เต็ม บริบูรณ์ ดี นั้น.
      อิ่ม หนำ (818:4.7)
               อิ่ม นั้น มี ความ ว่า แล้ว, แต่ หนำ นั้น เปน คำ สร้อย, คน พูจ มี สร้อย คำ คือ จะ เหน ว่า อิ่ม สะบาย ฤๅ ของ มี มาก เปน ต้น.
      อิ่ม ไป (818:4.8)
               คือ บริบูรณ์ ไป ด้วย สมบัติ เปน ต้น, เช่น คน บริ บูรณ มี ของ มาก แล เขา มี ปรี ดา ปราโมช นั้น.
      อิ่ม แล้ว (818:4.9)
               คือ กิน เข้า ภอ ยัง ชีวิตร ให้ เปน ไป แล้ว, คน กิน อาหาร บริบูรณ์ แล้ว นั้น.

--- Page 819 ---
      อิ่ม อก อิ่ม ใจ (819:4.10)
               คือ ยินดี ปรีดา ด้วย สมบัติ บริบูรณ, คน ปราถนา สมบัติ ได้ สำเร็ทธิ์ ชุ่ม ชื่น ใน ใจ นั้น.
      อิ่ม เอิบ (819:4.11)
               คือ อิ่ม เซิบซาบ, เหมือน เขา เอา น้ำ เท ลง ที่ พื้น ดิน แห้ง จน ดิน ชุ่ม เปียก เต็ม นั้น.
      อิ่ม เอี่ยม (819:4.12)
               คือ ของ เต็ม บริบูรณ สอาจ งาม นั้น.
อูม (819:1)
         คือ บวม พอง อยู่, เหมือน ฝี หัว ใหญ่, แล ขึ้น บวม พอง โต เต็ม ที่.
      อูม ฅอ (819:1.1)
               พอง ฅอ, คือ ฅอ บวม พอง อยู่, เหมือน คน เปน ฝี คาง ทุม ที่ ฅอ ต่อ กับ แก้ม นั้น.
      อูม เปลี่ยว (819:1.2)
               บวม เปลี่ยว, คือ ฅอ โค ฤๅ กระบือ, ที่ หนุ่ม แล เขา ไม่ ได้ ตอน ลด อัณทะ นั้น, ฅอ มัน บวม พอง โต อยู่ นั้น.
อู้ม (819:2)
         คือ เอา มือ ประคอง จับ เข้า ไว้ กับ ตัว ของ ตัว, เช่น* คน จับ ตัว ทารก ประคอง ไว้ กับ ตัว นั้น.
      อู้ม ไก่ (819:2.1)
               คือ จับ เอา ตัว ไก่ แนบ เข้า ไว้ กับ ตัว, คน เล่น ไก่ เอา มือ จับ อู้ม ไก่ เข้า ไว้ กับ ตัว นั้น.
      อู้ม ครรภ์ (819:2.2)
               ทรง ครรภ์, คือ ทรง ตำรง* ท้อง ที่ ทารก เกิด อยู่ ใน, เช่น แม่ หญิง มี ครรภ* นั้น.
      อู้ม ท้อง (819:2.3)
               มี ครรภ์, คือ ตำรง* ทรง ครรภ์ ห้วง อุทร ที่ มี ทารก อยู่ ใน, เช่น หญิง ที่ มี ครรภ์ นั้น.
      อู้ม น้อง (819:2.4)
               โอบ น้อง, คือ เอา มือ จับ ตัว น้อง เข้า แล้ว ประ- คอง เข้า กับ ตัว, คน ผู้ เปน พี่ ยก ตัว น้อง ใส่ ที่ เอว แล้ว กอด รัด ไว้ นั้น.
      อู้ม* บาตร (819:2.5)
               ทรง บาตร, คือ เอา มือ ประคอง บาตร ไว้ ตรง หน้า เช่น* พระสงฆ์ นั้น.
      อู้ม ลูก (819:2.6)
               คือ ประคอง รัด ตัว ลูก ไว้ กับ อก กับ เอว, คน เปน พ่อ เปน แม่ ทำ เช่น ว่า นั้น.
      อู้ม หลาน (819:2.7)
               คือ ประคอง ตัว หลาน ไว้ กับ อก ฤๅ กับ เอว นั้น, คน เปน น้า ทำ เช่น นั้น.
      อู้ม ไว้ (819:2.8)
               โอบ ไว้, คือ เอา มือ ประคอง ตัว เด็ก เข้า ไว้ กับ เอว ฤๅ กับ อก นั้น.
      อู้ม เอา (819:2.9)
               คือ เขา อู้ม เอา คน ฤๅ สัตว, ฤๅ ประคอง รัด เอา ภาชนะ นั้น.
      อู้ม องค์ (819:2.10)
               โอบ องค์, คือ อู้ม เอา ตัว เจ้า เปน ต้น, คน เปน พี่ เลี้ยง ฤๅ แม่ นม อู้ม เจ้า นั้น.
เอม (819:3)
         เปน ชื่อ คน ชื่อ เอม, ทั้ง หญิง ชาย มี บ้าง, เพราะ เขา จะ ได้ เรียก จำ เภาะ ตัว คน นั้น ๆ.
      เอม โอชา รศ (819:3.1)
               หวาน อะหร่อย, เปน คำ พูจ ถึง รศ ของ อัน หวาน, มี รศ น้ำ ผึ้ง ฤๅ น้ำ อ้อย, แล น้ำ ตาน กรวด, น้ำ ตาน ทราย เปน ต้น.
      เอม โอช (819:3.2)
               คือ มี รศ หวาน, เช่น* ของ มี รศ หวาน, มี น้ำ ผึ้ง ฤๅ น้ำ ตาล เปน ต้น นั้น.
แอม (819:4)
         คือ เสียง ที่ คน มี เสมหะ ติด ใน ฅอ, แล ทำ เสียง กะ แอม ให้ เสลด มัน ออก นั้น.
โอม (819:5)
         คือ เปน คำ ขึ้น ต้น มนตร์, สำหรับ พ่น ปัด พิศม์ ไฟ ฤๅ พิศม์ งู เปน ต้น, ว่า โอม พระ เพลิง สวาหาย.
      โอม อ่าน พระ เวท (819:5.1)
               คือ คำ ขึ้น ต้น เมื่อ จะ อ่าน มนตร์ วิชา, สำหรับ ปัด พิศม์ ทั้ง ปวง, มี พิศม์ ไฟ ฤๅ พิศม์ ฝี เปน ต้น, ว่า โอม หุ ลู ๆ สวาหาย.
ออม (819:6)
         ถนอม, คือ ขยัด ของ อาหาร กิน เช่น ว่า นั้น, เหมือน ของ มี เข้า เปน ต้น, มี น้อย กลัว เข้า จะ หมด เร็ว ของ ภอ มื้อ หนึ่ง ขยัด ไว้ เปน สอง มื้อ สาม มื้อ ได้ นั้น.
      ออม กิน (819:6.1)
               ถนอม กิน, คือ ขยัด ของ อาหาร กิน เช่น* ว่า นั้น, คน มี อาหาร น้อย ค่อย ขยัด กิน นั้น.
      ออม เก็บ (819:6.2)
               คือ ขยัด ของ เก็บ ไว้, คน มี ของ น้อย กลัว จะ หมด อด ขยัด ของ เก็บ ไว้ นั้น.
      ออม ใช้ (819:6.3)
               คือ ขยัด ของ ไว้ ค่อย ใช้ ที ละ น้อย ๆ นั้น.
      ออม อด (819:6.4)
               คือ ขยัด ของ ไว้ ไม่ กิน เปน ต้น, ด้วย กลัว ของ จะ สิ้น จะ ไม่ ภอ กิน ผ่าย น่า นั้น.
อ่อม (819:7)
         เปน ชื่อ แกง อย่าง หนึ่ง, เขา เรียก แกง อ่อม, คือ แกง เขา ใส่ น้ำ กะทิ เปน แกง เผ็ด นั้น.
      อ่อม ปลา ดุก (819:7.1)
               คือ แกง เซ่น ว่า แต่ เขา ใส่ เนื้อ ปลา ดุก, ใส่ น้ำ กะทิ เปน แกง เผ็ด นั้น.
      อ่อม มะระ (819:7.2)
               คือ แกง เซ่น ว่า, แต่ ใส่ ผัก มะระ กับ เนื้อ ปลา ดุก ด้วย.
อ้อม (819:8)
         โอบ, คือ วง โอบ ค้อม ไป รอบ บ้าง, ไม่ รอบ บ้าง, เหมือน คุ้ง ใหญ่ ที่ ท่าน ให้ ขุด คลอง ลัด เสีย นั้น.

--- Page 820 ---
      อ้อม เข้า (820:8.1)
               โอบ เข้า, คือ วง เข้า มา, เหมือน เรือ กำ ปั่น ที่ ออก จาก เมือง อะเมริกัน, แล่น วง รอบ ขอบ ทวีป มา ข้าง เมือง จีน มา ถึง เมือง ไทย นั้น.
      อ้อม คด (820:8.2)
               โอบ คด, คือ วง รอบ คอบ แต่ ไม่ ตรง ค้อม คด ไป, เหมือน เรือ กำ ปั่น แล่น วง รอบ เกาะ, แต่ วง คด ไป ตาม อ่าว ทะเล นั้น.
      อ้อม ค้อม (820:8.3)
               คือ วง เวียน ค้อม ไป, เหมือน เรือ ที่ แล่น วง รอบ เกาะ ชมพู ทวีป, ออก จาก เกาะ อะเมริกัน
      อ้อม ไป (820:8.4)
               คือ วง ค้อม รอบ ไป นั้น.
      อ้อม หลัง (820:8.5)
               โอบ หลัง, คือ วก เวียน วง มา เบื้อง หลัง, เช่น เรือ แล่น มา จาก อะเมริกัน มา เบื้อง หลัง เกาะ นั้น.
      อ้อม วก (820:8.6)
               คือ เลี้ยว มา เบื้อง หลัง.
      อ้อม เวียน (820:8.7)
               โอบ รอบ, คือ วง รอบ คอบ เวียน ไป, เหมือน เรือ แล่น วง กลม รอบ เกาะ นั้น.
      อ้อม โอบ (820:8.8)
               คือ คน เอา มือ รวบ โอบ ต้น ไม้ เปน ต้น, เหมือน คน ขึ้น ต้น ไม้.
อ่วม (820:1)
         เปน ชื่อ คน ชื่อ อ่วม มี บ้าง ทั้ง ชาย หญิง, อัน ธรรม ดา คน เกิด มา ย่อม มี ชื่อ.
เอี่ยม (820:2)
         อ่อง, เปน ชื่อ คน บ้าง. อย่าง หนึ่ง เหมือน ของ อัน ใด มี เรือ เปน ต้น, ที่ เปน ของ ใหม่ งาม ดี นั้น.
      เอี่ยม สอาจ (820:2.1)
               อ่อง สอาจ, คือ ของ ที่ เปน ของ ใหม่, แล งาม ดี หมด จด นั้น.
      เอี่ยม อ่อง (820:2.2)
               อ่อง เอี่ยม, คือ ของ ใหม่ ที่ งาม ดี คน ขัด สี ไว้, เหมือน เรือ ยาว มี โขน เปน ต้น.
เอื้อม (820:3)
         ยื่น, คือ ทำ กาย ทยาน ยื่น มือ ขึ้น หยิบ เอา ของ อัน ใด ๆ ที่ อยู่ สูง นั้น.
      เอื้อม กิน (820:3.1)
               ยื่น หยิบ กิน, คือ เอื้อม ทำ เช่น ว่า แล้ว, เพื่อ จะ หยิบ เอา ของ มา กิน.
      เอื้อม ขึ้น (820:3.2)
               ยื่น ขึ้น, คือ ทำ กาย ให้ ทยาน ยื่น มือ ขึ้น หยิบ เอา ของ อยู่ ที่ สูง.
      เอื้อม คว้า (820:3.3)
               ยื่น มือ คว้า, คือ ทำ กาย ให้ ทยาน ขึ้น ยื่น มือ ไป กวาด เอา ของ ที่ อยู่ สูง ไกล มือ นั้น.
      เอื้อม จับ (820:3.4)
               ยื่น จับ, คือ ทำ กาย ให้ ทยาน เงื้อม ไป จับ เอา ของ ที่ มัน อยู่ ไกล ตัว.
      เอื้อม ฉวย (820:3.5)
               ยื่น ฉวย, คือ ทำ ตัว ให้ ทยาน เอน ออก ไป ฉวย เอา ของ อัน ใด ที่ มัน อยู่ ไกล.
      เอื้อม ถึง (820:3.6)
               คือ ยื่น มือ จน กระทั่ง ของ อัน ใด ๆ นั้น.
      เอื้อม พระหัตถ์ (820:3.7)
               คือ ขุนหลวง เอื้อม พระหัตถ์ เปน ต้น, เปน คำ หลวง.
      เอื้อม มือ (820:3.8)
               คือ ทำ กาย ให้ ทยาน เงื้อม ออก ไป, แล้ว ยื่น มือ ออก หยิบ เอา ของ.
      เอื้อม หยิบ (820:3.9)
               คือ ทำ กาย ให้ ทยาน ลอึก* เอน ออก ไป, หยิบ เอา ของ.
      เอื้อม อาจ (820:3.10)
               คือ เอื้อม วาจา พูจ องอาจ ทนง ใจ, ว่า เรา ไม่ กลัว ใคร ทุก อย่าง เช่น นั้น.
เอย (820:4)
         คือ คำ ส่ง บท เพลง ยาว ที่ สุด จบ นั้น, มัก ลง เอย นั้น.
เอ่ย (820:5)
         แรก, เปน คำ เขา พูจ แรก ขึ้น, เหมือน พูจ ถาม กัน, ว่า ท่าน ไป พูจ เมื่อ แรก เอ่ย ขึ้น ว่า กะไร
      เอ่ย ขึ้น (820:5.1)
               แรก ขึ้น, คือ ตั้ง ต้น นั้น ว่า เอ่ย ขึ้น, เหมือน คน มา พูจ จา กัน, คำ แรก นั้น ว่า เอ่ย ขึ้น
      เอ่ย ถาม (820:5.2)
               แรก ถาม, คือ แรก ถาม, เหมือน คน ไป มา หา กัน, ครั้น ถึง กล่าว คำ ถาม คำ แรก นั้น, ว่า เอ่ย ถาม นั้น.
      เอ่ย พูจ (820:5.3)
               แรก พูจ, คือ คำ แรก พูจ, เหมือน คน ไป มา หา กัน, ครั้น ถึง ออก วาจา กล่าว คำ อัน ใด ก่อน, คำ นั้น ว่า เอ่ย พูจ.
      เอ่ย มา (820:5.4)
               คือ คำ แรก กล่าว ขึ้น ว่า เอ่ย มา, เหมือน คน มา หา พูจจา กัน. มี ผู้ ถาม ว่า คน นั้น มา หา เอ่ย มา ว่า กะไร ก่อน.
      เอ่ย ว่า (820:5.5)
               แรก ว่า, คือ คำ แรก ว่า ขึ้น นั้น, ว่า เอ่ย ว่า เปน ต้น.
      เอ่ย หา (820:5.6)
               แรก หา, คือ แรก หา, เหมือน คน แรก หา ของ อัน ใด ๆ นั้น.
      เอ่ย ออก ไป (820:5.7)
               คือ แรก ออก ไป, เหมือน คน แรก ออก ไป ใน ประเทศ ใด ๆ นั้น.
เอ๊ย (820:6)
         คำ นี้ คน ร้อง เอ๊ย มี บ้าง.

--- Page 821 ---
เอ๋ย (821:1)
         เหวย, เปน คำ เขา พูจ, เหมือน เขา เรียก ขวัน ว่า ขวัน เอ๋ย มา เถิด นั้น.
อาย (821:2)
         หิริ, ขาย หน้า, คือ ความ ละ อาย, เหมือน คน เคย นุ่ง ผ้า เปน ต้น, ครั้น เอา ผ้า นุ่ง ออก เสีย ก็ กลัว เขา จะ เหน ของ ที่ ลับ นั้น.
      อาย กัน (821:2.1)
               อดสู, บัด สี, คือ ละอาย เพื่อน กัน เปน ต้น, เช่น มะนุษ ต่อ มะนุษ เหมือน กัน อาย กัน นั้น.
      อาย เขา (821:2.2)
               อด สู เขา, คือ ละอาย ผู้ ใด ๆ นั้น, เหมือน คน ว่า กับ ผู้ ที่ ทำ ฤๅ พูจ เปน ต้น, ที่ ควร จะ อาย ว่า อย่า ทำ อย่า พูจ ไม่ ดี อาย เขา.
      อาย แขก (821:2.3)
               บัดสี แขก, คือ อาย แก่ คน ที่ มา หา, มิ ใช่ คน ที่ เคย อยู่ ด้วย กัน ทุก วัน.
      อาย คน (821:2.4)
               ขาย หน้า คน, คือ อาย แก่ มะนุษ เหมือน กัน, เขา พูจ ว่า อย่า ทำ ฤๅ อย่า พูจ เลย อาย แก่ คน.
      อาย ใจ (821:2.5)
               บัดสีใจ, คือ อาย ใน ใจ, เหมือน เขา มา ฃอ ของ อัน ใด ๆ ที่ ควร จะ ให้, ได้ ออก ปาก ให้ แล้ว, กลับ เสีย จะ ไม่ ให้ ก็ คิด รัง เกียจ ใน ใจ นั้น.
      อาย แดด (821:2.6)
               อาย แสง สุริยา, คือ พิศม์ ร้อน ที่ ฟุ้ง พัด เข้า มา แต่ แสง แดด, เมื่อ เวลา แดด กล้า ร้อน นัก นั้น.
      อาย ดิน (821:2.7)
               อาย ปัดพี, คือ พิศม์ ที่ ร้อน ผ่าว ๆ ขึ้น จาก ดิน, เหมือน เวลา ฝน ตก ลง ใหม่ ๆ, แล มี แดด แผด กล้า ร้อน นัก, มี พิศม์ เปน ขึ้น มา นั้น.
      อาย ตัว (821:2.8)
               คือ ควัน ที่ พลุ่ง ออก จาก กาย, เหมือน เมื่อ ระดู หนาว, คน ลง อาบ น้ำ เช้า, จุ่ม ตัว ลง แล้ว ขึ้น มา จาก น้ำ, มี ควัน พลุ่ง ออก จาก ตัว นั้น.
      อาย หน้า (821:2.9)
               ขาย หน้า, คือ มี ความ ละอาย ซ่อน หน้า, เหมือน คน ไป ใน ที่ ประชุม คน มาก, แล ตัว วิปะลาศ พลาด ล้ม ผ้า ลุ่ย อาย ซ่อน หน้า.
      อาย น้ำ (821:2.10)
               คือ เมื่อ ระดู หนาว, ที่ หลัง น้ำ เปน ละออง เปลว ควัน ขึ้น คล้าย กับ หมอก นั้น.
      อาย หนัก (821:2.11)
               อดสู หนัก, คือ มี ความ ละอาย มาก, เหมือน ต้อง เฆี่ยน ใน ที่ ประชุม, เมื่อ มี งาน การ ไหญ่ เปน ต้น นั้น.
      อาย บาป (821:2.12)
               บัดสี บาป, คือ คน จะ ทำ บาป อัน ใด, ที่ ไม่ ควร จะ ทำ มี ผิด ผัว ผิด เมีย เปน ต้น, แล คิด กลัว บาป ไม่ กระ- ทำ นั้น.
      อาย ปาก (821:2.13)
               ขวย ปาก, คือ คน อาย ปาก ของ ตัว แหว่ง. อย่าง หนึ่ง คน พูจ อวด ไม่ ได้ เหมือน ปาก พูจ ว่า อาย ปาก เปน ต้น นั้น.
      อาย ผัว (821:2.14)
               บัดสี ผัว, คือ หญิง อาย สามี ของ ตัว, เหมือน หญิง มี ความ ละอาย แก่ ผัว, ด้วย สิ่ง ที่ ควร จะ อาย เปน ต้น.
      อาย มาก (821:2.15)
               ขาย* หนัก, คือ อาย หนัก, เหมือน คน ต้อง โทษ อาญา ใน ที่ ประชุม ใหญ่, เมื่อ มี งาน มะโหระสพ เปน ต้น นั้น.
      อาย เมีย (821:2.16)
               อด สู ภรรยา, คือ ชาย อาย ภรรยา ของ ตัว, เช่น ชาย มี ความ ละอาย แก่ เมีย, ด้วย สิ่ง ที่ ควร จะ ละอาย เปน ต้น.
      อาย อด สู (821:2.17)
               อดสู ดู ร้าย, เปน คำ พูจ ถึง เมื่อ อาย ใหญ่ แล อาย น้อย, อาย ใหญ่ เช่น ว่า แล้ว, อดสู คือ อาย น้อย เปน แต่ ทำ พลาด พลั้ง ภอ เก้อ เปน ต้น.
อ้าย (821:3)
         เจ้า, นี่ เปน คำ ภาษา ลาว พูจ มา แต่ เดิม, อ้าย คือ หนึ่ง, เหมือน เดือน อ้าย เปน เดือน ที่ หนึ่ง, แต่ เดี๋ยว นี้ เขา เรียก ผู้ ชาย เปน คน ทาษ เปน ต้น*.
      อ้าย จังไร (821:3.1)
               เจ้า จังไร, เปน คำ เขา ด่า คน ชาย ต่ำ ช้า, ว่า อ้าย จังไร, อะธิบาย ว่า คน ไม่ ดี, คน อับปรี มี แต่ ความ อัปะมงคล นั้น.
      อ้าย ชาติ ข้า (821:3.2)
               คือ คำ ด่า คน ชาย ว่า อ้าย ส่ำ* ขี้ ข้า, คน เปน นาย เปน ต้น เขา ด่า ชาย ทาษ เช่น นั้น.
      อ้าย ดัด หัว (821:3.3)
               เปน คำ ด่า คน ชาย เปน ทาษ เปน ต้น*, ว่า อ้าย เขา ดัด หัว.
      อ้าย ระยำ (821:3.4)
               ลูก อี่ ระยำ, เปน คำ ด่า ชาย, คน เปน นาย ด่า ทาษ เปน ต้น*.
อาว (821:4)
         เปน คำ ขู่ คน ที่ ทำ ให้ เคือง ใจ, เปน ต้น ว่า ใช้ ให้ หยิบ ของ อัน ใด, หยิบ ผิด ไป ขู่ ว่า อาว นั้น.
อาววะ (821:5)
         เป็น คำ ขู่ คน ทาษ ทำ การ ผิด พลั้ง หนิด น่อย, ว่า อาววะ สั่ง ให้ ทำ อย่าง นี้, สิ ไป ทำ อย่าง นั้น เล่า.

--- Page 822 ---
อ่าว (822:1)
         ปาก น้ำ, คือ ที่ ทะเล จะ เข้า ปาก น้ำ ขึ้น ไป แม่ น้ำ, ฉะเภาะ แต่ ที่ เช่น ว่า นั้น, นอก นั้น ไม่ เรียก อ่าว.
      อ่าว ท่า จีน (822:1.1)
               ปาก น้ำ ท่า จีน, คือ อ่าว ทะเล ที่ จะ เข้า ไป ใน ลำ แม่ น้ำ เมือง สมุท สาคร, เขา เรียก บ้าน ท่า จีน เปน ต้น นั้น.
      อ่าว ทะเล (822:1.2)
               ปาก ทะเล, คือ อ่าว ที่ มี ใน ทะเล ใน สมุท เช่น ว่า นั้น, ถ้า ที่ มหา สมุท เปน อ่าว ใหญ่ กว้าง นัก.
      อ่าว บาง ปะกง (822:1.3)
               ปาก น้ำ บาง ปะกง, คือ อ่าว ทะเล ที่ เข้า ไป ใน ลำ แม่ น้ำ เมือง ฉะเซิงเซา, ที่ เขา เรียก เมือง แปด ริ้ว อยู่ เบื้อง ตวัน ออก กรุงเทพ.
      อ่าว บางเหี้ย (822:1.4)
               ปาก น้ำ บางเหี้ย, คือ อ่าว ทะเล ที่ เข้า ไป ใน ลำ น้ำ เปน คลอง ใหญ่ มิ ใช่ แม่ น้ำ, มี อยู่ ทิศ ตวัน ออก กรุงเทพ.
      อ่าว แม่กลอง (822:1.5)
               ปาก น้ำ แม่กลอง, คือ อ่าว ทะเล ที่ เข้า ไป ใน แม่น้ำ เมือง สมุท สงคราม, แล เมือง ราชบูรีย์ มี อยู่ ทิศ ตวัน ตก กรุงเทพ.
      อ่าว สมุท ปราการ (822:1.6)
               ปาก น้ำ สมุท ปราการ, คือ อ่าว ทะเล ที่ เขา เรียก หลัง เต่า, ที่ จะ เข้า ปากน้ำ กรุงเทพ มหา นะคร นั้น.
อ้าว (822:2)
         ระงม ร้อน, คือ เวลา เมื่อ ไม่ มี ลม พัด เลย อั้น ลม อยู่ แล ร้อน ระงม นัก นั้น.
      อ้าว แดด (822:2.1)
               ระงม แดด, คือ เวลา กำลัง แดด กล้า ร้อน นัก, ไม่ มี ลม พัด เลย.
      อ้าว ฝน (822:2.2)
               ร้อน ระงม ฝน, คือ เวลา เมื่อ ฝน เกือบ จะ ตก, ไม่ มี แดด ไม่ มี ลม เลย.
      อ้าว ร้อน (822:2.3)
               ระงม ร้อน, คือ เวลา ไม่ มี ลม ไม่ มี แดด อั้น อยู่, นั้น.
อุย (822:3)
         อ้วน, คือ เนื้อ มาก อ้วน, เหมือน ปลาดุก ที่ ตัว อ้วน นั้น.
      อุย เนื้อ เหลือง (822:3.1)
               อ้วน เนื้อ เหลือง, คือ ปลา ดุกอุย อ้วน เช่น ว่า, ครั้น เขา ย่าง มัน สุก แล้ว เนื้อ มัน เหลือง.
อุ่ย (822:4)
         โอย, เปน เสียง คน ร้อง เมื่อ ถูก เจ็บ, มี เข็ม แทง ถูก มือ เปน ต้น นั้น.
      อุ่ย หน่า (822:4.1)
               โอย หน่า, เปน เสียง คน ร้อง เมื่อ ถูก เจ็บ หนิด น่อย, มี กะทบ ไม้ เปน ต้น นั้น.
อุ้ย (822:5)
         ตึ่ง, คือ ของ หนัก แน่น, เหมือน แท่ง ดีบุก ที่ ใหญ่ ๆ นั้น ยก ขึ้น ว่า มัน หนัก อุ้ย.
      อุ้ย หนัก (822:5.1)
               หนัก อุ้ย, คือ ของ ที่ เนื้อ แน่น หนัก, เหมือน แท่ง ดีบุก เปน ต้น.
      อุ้ย ยุ้ย (822:5.2)
               คือ เนื้อ คน ที่ อ้วน ภี นัก, จน ท้อง โต ออก เกิน หน้า นั้น.
      อุ้ย อ้าย (822:5.3)
               คือ คน อ้วน ภี เช่น ว่า เนื้อ หนัง อุ้ย ยุ้ย, เมื่อ เขา เดิน ปล้ำ ตัว อยู่ ไม่ ใคร่ ว่อง ไว รวด เร็ว ไป ได้, เขา ว่า เดิน อุ้ย อ้าย อยู่ นั้น.
เอว (822:6)
         คือ อะไวยะวะ ที่ กึ่ง ตัว มะนุษ, อยู่ ต่อ กับ หัว ตะคาก เบื้อง ล่าง ต่อ กับ ชาย โครง เบื้อง บน นั้น.
      เอว กลึง (822:6.1)
               เอว ดุจ กลึง, คือ เอว กลม ราว กับ กลึง, เอว คน ชาย หญิง ที่ เอว ไม่ แบน กลม นั้น, เขา ว่า คน นั้น เอว* กลม ราว กับ กลึง.
      เอว กลม (822:6.2)
               คือ เอว ไม่ แบน กลม เหมือน ต้น กล้วย, เขา ว่า เอว กลม นั้น.
      เอว กิ่ว (822:6.3)
               เอว คอด, คือ เอว คอด, เหมือน คน เอว เล็ก นัก ไม่ เปน ปรกติ.
      เอว คด (822:6.4)
               คือ เอี้ยว แอ่น, เหมือน คน เอว วิกาล เอี้ยว แอ่น, เขา ว่า เอว คด.
      เอว คอด (822:6.5)
               คือ เอว กิ่ว, เหมือน คน เอว เล็ก เข้า กว่า ปรกติ ไม่ สม ตัว.
      เอว บาง ร่าง น้อย (822:6.6)
               คือ เอว คน ที่ รูป กาย ไม่ อ้วน ภี โต ใหญ่ เอว ก็ เล็ก รูป กาย ก็ เล็ก นั้น.
      เอว อ่อน (822:6.7)
               คือ เอว ไม่ แขง กระด้าง เปน ปรกติ ดี อยู่, จะ เอน เอี้ยว ไป ข้าง โน้น ข้าง นี้ อ่อน ไป ได้.
แอ่ว (822:7)
         ขับ ร้อง, คำ นี้ เปน คำ ภาษา ลาว, พูจ ว่า จะ ไป เที่ยว เป่า แคน เล่น กับ หญิง สาว.
      แอ่ว สาว (822:7.1)
               เกี้ยว สาว, คือ ลาว ชาย หนุ่ม ไป เที่ยว พูจ เล่น กับ ลาว หญิง สาว แล เป่า แคน ด้วย.
โอย (822:8)
         อุ่ย, เปน สำเนียง เสียง ร้อง เมื่อ เขา ได้ ทุกข เวทนา, เจ็บ ปวด นั้น.

--- Page 823 ---
      โอย เจ็บ นัก (823:8.1)
               อุ่ย เจ็บ นัก, เปน คำ คน ร้อง เมื่อ ได้ ความ ทุกข เวทนา, เจ็บ ปวด เต็ม ที นั้น.
      โอย ฉัน กลัว แล้ว (823:8.2)
               เปน เสียง คน ร้อง เมื่อ ต้อง ตี โบย ด้วย ทำ ความ ผิด.
      โอย ตาย แล้ว (823:8.3)
               เปน เสียง คน ร้อง เมื่อ ต้อง ตี เปน ต้น, ครั้น เจ็บ เข้า นัก ร้อง โอย ตาย แล้ว.
      โอย พ่อ โอย (823:8.4)
               เปน เสียง คน ร้อง เมื่อ เขา เฆี่ยน ตี เจ็บ เข้า, ก็ ร้อง โอย พ่อ โอย.
      โอย แม่ โอย (823:8.5)
               เปน เสียง คน ร้อง เมื่อ ต้อง ทุกข เวทนา เจ็บ ปวด.
โอ่ย (823:1)
         เปน คำ ใช้ เหมือน โอย ก็ ได้ บ้าง.
โอ้ย (823:2)
         คำ นี้ ใช้ เหมือน คำ โอ่ย ได้ บ้าง.
โอ๊ย (823:3)
         เปน คำ เขา พูจ เมื่อ สดุ้ง ตก ใจ, ว่า โอ๊ย ข้า ลืม ไป แล้ว เปน ต้น.
โอ๋ย (823:4)
         เปน คำ ตก ใจ พูจ ออก มา ว่า โอ๋ย, ข้า ลืม ไป แล้ว เปน ต้น.
อ่อย (823:5)
         หย่อย, คือ ค่อย หย่อย มา. อย่าง หนึ่ง คือ เอื่อย ๆ ช้า ๆ เหมือน คน ค่อย ๆ พูจ เปน ต้น นั้น.
      อ่อย กัน มา (823:5.1)
               หย่อย กัน มา, คือ คน หลาย คน จะ มา สู่ ที่ อัน เดียว กัน, เขา ค่อย หย่อย มา ที ละคน ๆ นั้น.
      อ่อย เข้า ไป (823:5.2)
               หย่อย เข้า ไป, คือ คน มาก ค่อย หย่อย เข้า ไป ที ละ คน ๆ ใน ที่ แห่ง เดียว กัน.
      อ่อย ไป (823:5.3)
               หย่อย ไป, คือ คน มาก ค่อย หย่อย ไป ที ละคน ๆ ใน ที่ แห่ง เดียว กัน นั้น.
      อ่อย มา (823:5.4)
               หย่อย มา, คือ คน มาก ค่อย หย่อย มา ที ละคน สอง คน, ใน ที่ แห่ง เดียว กัน.
      อ่อย เหยื่อ (823:5.5)
               คือ เอา ของ อัน ใด ให้ กัน, ด้วย ใจ รัก สังวาศ แต่ ค่อย ๆ ให้ เหมือน หญิง ชาย หมาย ร่วม รัก กัน นั้น.
      อ่อย ให้ (823:5.6)
               หย่อย ให้, คือ หย่อย ให้, คน เอา เงิน เปน ต้น, ค่อย ๆ อ่อย ส่ง ให้ เขา นั้น.
อ้อย (823:6)
         เปน ต้นไม้ มี น้ำ อยู่ ใน ลำ มี รศ หวาน, ลำ มัน ที่ อย่าง ใหญ่ เท่า แขน คน นั้น.
      อ้อย แขม (823:6.1)
               คือ อ้อย ลำ เล็ก ๆ เท่า ต้น แขม โต เท่า นิ้ว, แต่ มี รศ หวาน เข้ม น้ำ มัน น้อย.
      อ้อย ควั่น (823:6.2)
               คือ อ้อย ลำ ที่ เขา ปอก แล้ว หั่น ตัด เปน ข้อ ๆ ยาว องคุลี บ้าง ครึ่ง องคุลี บ้าง นั้น.
      อ้อย จีน (823:6.3)
               คือ อ้อย ลำ ใหญ่ เท่า แขน คน, น้ำ มัน รศ ไม่ สู้ หวาน แต่ เนื้อ มัน อ่อน.
      อ้อย แดง (823:6.4)
               คือ อ้อย ต้น มัน แดง ใบ แดง เจือ เขียว ลำ เท่า อ้อย ไท รศ มัน หวาน เขา ทำ ยา.
      อ้อย ตะเภา (823:6.5)
               คือ อ้อย จีน ที่ ว่า แล้ว, เขา เรียก ว่า อ้อย ตะเภา บ้าง, เพราะ เขา เอา พัน มา แต่ เมือง จีน.
      อ้อย ตอ (823:6.6)
               คือ อ้อย ลำ ที่ เขา ตัด แล้ว, ต้น ที่ มัน ยัง ติด อยู่ กับ ดิน นั้น.
      อ้อย ไท (823:6.7)
               คือ อ้อย ที่ มี ใน เมือง ไท, มิ ใช่ เอา มา แต่ เมือง อื่น พวก ไท ปลูก ไว้ นั้น.
      อ้อย ลำ (823:6.8)
               คือ อ้อย เปน ลำ มิ ใช่ ที่ ตัด ที่ ควั่น นั้น, เขา เรียก ว่า อ้อย ลำ ทั้ง สิ้น.
      อ้อย สำลี (823:6.9)
               คือ อ้อย ไส้ ใน มัน อ่อน นุ่ม, เขา จึง เรียก มัน ว่า อ้อย สำลี นั้น.
อวย (823:7)
         (dummy head added to facilitate searching).
      อวย ไชย (823:7.1)
               ให้ ชะนะ, คือ คำ ว่า อวยพร ให้ จำเริญ แก่ คน ผู้ จะ ไป การ ณรง สงคราม ว่า ให้ ได้ ชะนะ นั้น.
      อวย ทาน (823:7.2)
               ให้ ทาน, คือ บริจาก ทาน, คน มี ศัทธา กล้า ไม่ ตะหนี่ ทรัพย์ เอา ออก ให้ แก่ คน อะนาถา นั้น.
      อวย พร (823:7.3)
               ให้ พร, คือ กล่าว อวย ไชย แก่ ผู้ จะ ไป ทำ ศึก สง คราม, ว่า ท่าน จง มี ไชย ชะนะ แก่ สัตรู เถิด.
      อวย ผล (823:7.4)
               คือ ให้ ผล, อำนวย ผล, เหมือน คน ทำ กุศล ไว้ แล ไป ชาติ น่า กุศล นั้น ให้ ผล สมบัติ เปน ต้น.
เอี้ยว ตัว (823:8)
         คือ ทำ ตัว ให้ เยื้อง เลี้ยว ไป น่อย หนึ่ง ข้าง ๆ นั้น.
เอื่อย (823:9)
         คือ เรื่อย อ่อย หง่อย เฉื่อย ช้า, เหมือน น้ำ ขึ้น เวลา เข้า ค่อย ไหล เรื่อย ๆ นั้น.
      เอื่อย ไหล (823:9.1)
               คือ ไหล เฉื่อย เรื่อย, เหมือน น้ำ ไหล เมื่อ แรก ขึ้น นั้น.
เอื้อย (823:10)
         เปน คำ ภาษา ลาว พูจ ถึง คน ที่ เกิด ท้อง เดียว กัน หลาย คน แต่ เรียก คน เกิด ก่อน แรก ว่า พี่ เอื้อย.
      เอื้อย อ้าย (823:10.1)
               เปน คำ ภาษา ลาว เรียก พี่ หัว ปี ว่า พี่ เอื้อย, พี่ ที่ สอง ว่า พี่ อ้าย นั้น.

--- Page 824 ---
เอื้อเฟื้อ (824:1)
         อาไลย, คือ คิด ถึง ด้วย เมตตา จิตร น่อย ๆ นั้น.
เออ (824:2)
         เจ้า ข้า, คือ คำ รับ ว่า ค้า, ว่า คะ, ว่า เจ้าคะ, ว่า ฃอ รับ, เหมือน เขา ว่า รู้ แล้ว ฤๅ เขา รับ ว่า เออ เปน ต้น.
      เออ รู้ แล้ว (824:2.1)
               คือ คำ รับ, เขา พูจ ถึง ความ ที่ ตัว รู้ อยู่ แล้ว, คน นั้น รับ ว่า เออ ข้า รู้ แล้ว นั้น.
เอ่อ (824:3)
         เปน คำ คน กล่าว ด้วย เคือง ใจ, เช่น คน ทำ การ เล็ก* น้อย ไม่ ถูก ใจ ไม่ ชอบ ใจ, เขา ว่า เอ่อ ทำ อาไร เช่น นั้น
เอ้อเร้อ (824:4)
         คือ ลม กำเริบ ใน ท้อง มัน ทำ ให้ ท้อง เฟ้อ ไป เมื่อ เวลา รับ อาหาร แล้ว เปน ต้น.
เอ๊อ (824:5)
         เปน คำ เขา พูจ เมื่อ แรก ระฦก ถึง ของ ฤๅ คน ว่า เอ๊อ ข้า ลืม ไป ที เดียว.
เออะ (824:6)
         เปน คำ พูจ โดย เคือง ใจ ว่า เออะ, ทำ ไม จึ่ง ทำ อย่าง นั้น เปน ต้น.
อั้วเอี้ย (824:7)
         คือ อาการ ที่ ไป ไม่ ใคร่ เร็ว, เช่น เป็ด มัน เดิน ค่อย ตั้วเตี้ย ไป นั้น.
เอะ (824:8)
         คำ คน กล่าว แรก เมื่อ แปลก ใจ ฤๅ ตก ใจ ด้วย เหตุ ไภย มี ไฟ ไหม้ เปน ต้น.
      เอะ ผิด แล้ว (824:8.1)
               โอ๋ ผิด แล้ว, เปน คำ เขา กล่าว เมื่อ ขณะ โกรธ เคือง น้อย ๆ เปน ต้น แก่ คน ทำ ผิด นั้น.
      เอะ ไม่ ได้ การ (824:8.2)
               โอ๋ ไม่ ได้ การ, เปน คำ เขา พูจ ขึ้น ด้วย หวาด ใจ เสีย ใจ เมื่อ คน ทำ การ งาน เสีย ไป เปน ต้น นั้น.
แอะ (824:9)
         เปน คำ เขา กล่าว ขึ้น ถึง คน ที่ เดิน ไป ล้ม ลง เหนือ พื้น ดิน เสียง แอะ นั้น.
      แอะ ๆ (824:9.1)
               คือ เสียง ดัง แอะ ๆ, เช่น คน ล้ม ลง กับ พื้น ดิน ดัง เสียง แอะ ๆ นั้น.
ออ (824:10)
         คือ คำ คน เข้า ใจ ความ ที่ พูจ กัน แล้ว ร้อง ว่า ออ. อย่าง หนึ่ง คน ฤๅ สัตว เข้า อยู่ คับ คั่ง กัน มาก, เขา ว่า มา ออ กัน อยู่ นั้น.
      ออ กัน อยู่ (824:10.1)
               คือ คั่ง กัน อยู่, คือ คน ฤๅ สัตว เข้า มา มาก ยืน สะพรั่ง อยู่ นั้น.
      ออ เจ้า (824:10.2)
               เปน คำ คน ผู้ ใหญ่ ออก ชื่อ เรียก คน ที่ อายุ น้อย กว่า ตัว ว่า ออ เจ้า นั้น.
      ออ เด็ก ๆ (824:10.3)
               เจ้า เด็ก ๆ, นี่ ก็ เปน คำ คน ใหญ่ เรียก คน เด็ก, ว่า ออ เด็ก ๆ เอ๋ย นั้น.
      ออ หนุ่ม ๆ (824:10.4)
               เจ้า หนุ่ม ๆ, เปน คำ ผู้ ใหญ่ เรียก เด็ก ชาย รุ่น หนุ่ม ๆ, ว่า ออ หนุ่ม ๆ นั้น.
      ออ น้อย ๆ (824:10.5)
               เจ้า น้อย ๆ, เขา เปน ผู้ ใหญ่ เรียก คน อายุ น้อย กว่า ตัว, ว่า ออ น้อย ๆ นั้น.
ออระชอน (824:11)
         คือ อ้อนแอ้น, คน ชาย หญิง รูป ร่าง เอว บาง ร่าง น้อย อ้อน แอ้น วา รูป ออระชอน.
ออระไทย (824:12)
         เปน คำ ออก ชื่อ เรียก นาง ที่ เปน ชาติ เชื้อ ตระ*กูล นั้น
ออระหรร (824:13)
         นี่ ก็ เปน ชื่อ คน ท่าน ผู้ วิเสศ เช่น ว่า แล้ว บ้าง, เปน ชื่อ สัตว สอง เท้า มี ปีก หัว เหมือน คน นั้น.
ออระหรรต์ (824:14)
         ผู้ ควร, เปน ชื่อ คน ท่าน ที่ เปน อะริยะบุคคล สิ้น กิเลศ ๆ ไม่ มี ใน จิตร ท่าน นั้น.
อ่อ (824:15)
         เออ, คือ คำ คน ที่ เข้า ใจ ความ ต่าง ๆ แล้ว กล่าว รับ ว่า อ่อ นั้น.
      อ่อ เท่า นั้น ฤๅ (824:15.1)
               เออ เท่า นั้น ฤๅ, คือ คำ คน ผู้ เข้า ใจ ความ แล้ว ถาม ซ้ำ, ว่า อ่อ เท่า นั้น ดอก ฤๅ.
      อ่อ รู้ แล้ว (824:15.2)
               เออ รู้ แล้ว, เปน คำ บอก รับ ว่า อ่อ เรา รู้ แล้ว, เช่น คน แจ้ง ความ ใน ใจ แล้ว บอก ว่า เรา รู้ แล้ว.
อ้อ (824:16)
         เปน ชื่อ ต้น หญ้า อย่าง หนึ่ง, ต้น มัน เท่า ไม้ เท้า เปน ปล้อง ๆ เช่น ลำ ไม้ ไผ่ นั้น.
      อ้อ ช้าง (824:16.1)
               คือ ต้น อ้อ เช่น ว่า, แต่ มัน เปน อย่าง ใหญ่ กว่า อ้อ อื่น ๆ นั้น.
      อ้อ อย่าง นั้น ฤๅ (824:16.2)
               อ้อแอ้, เปน คำ คน เข้า ใจ เนื้อ ความ ที่ เขา บอก แล้ว รับ ว่า อ้อ อย่าง นั้น ดอก ฤๅ.
อ๊อ (824:17)
         เปน คำ รับ เมื่อ เข้า ใจ เนื้อ ความ ที่ เขา พูจ มา นั้น.
อ๋อ (824:18)
         เปน คำ ภาษา จีน เรียก การ ที่ เล่น โป อย่าง หนึ่ง, ว่า แทง อ๋อ ๆ นั้น, ถ้า แทง ถูก เฟื้อง หนึ่ง, เจ้า มือ ต้อง ใช้ สาม เฟื้อง.
      อ๋อ กลาง แปลง (824:18.1)
               คือ แทง แต่ อ๋อ อย่าง เดียว ไม่ ได้ ควบ อ๋อ เข้า แทง ด้วย แทง อย่าง อื่น.
      อ๋อ ฮอ (824:18.2)
               เปน คำ คน พูจ ไม่ ปรานี, เช่น เด็ก จะ ขึ้น ต้น ไม้ ผู้ หนึ่ง ห้าม ไม่ ให้ มัน ขึ้น, มัน ขืน ขึ้น ไป พลัด ตก ลง มา ภอ ไม่ เจ็บ นัก ผู้ ห้าม ว่า อ๋อ ฮอ สม น้ำ หน้า.

--- Page 825 ---
(825:1)
         
ฮา (825:2)
         หัวเราะ ดัง, คือ เสียง คน ร้อง ฮา แล้ว หัวเราะ ด้วย, เช่น เมื่อ เขา ประชุม กัน มาก ๆ, แล ดู งาน เหน ฤๅ ได้ ฟัง ตลก เล่น ทำ ขัน ๆ หัวเราะ ฮา นั้น.
      ฮา กัน (825:2.1)
               หัวเราะ กัน ดัง, คือ เขา พร้อม กัน ร้อง ฮา แล้ว หัว เราะ ด้วย กัน เมื่อ เหน ฤๅ ได้ ฟัง ขัน ๆ นั้น.
      ฮา ลั่น (825:2.2)
               หัวเราะ สนั่น, คือ เสียง ฮา ดัง สนั่น, เช่น คน ประ- ชุม พร้อม กัน มาก แล ร้อง ฮา ขึ้น นั้น
      ฮา เฮ (825:2.3)
               หัวเราะ เฮ ฮา, คือ เสียง ดัง ฮา แล้ว เฮ ด้วย, เมื่อ เขา ประชุม กัน มาก แล ร้อง ฮาเฮ ขึ้น นั้น*.
ฮ้า (825:3)
         เฮย, เปน คำ ห้าม, เช่น คน เหน คน อื่น ทำ การ ผิด แล ร้อง ห้าม ว่า ฮ้า นั้น.
      ฮ้า ขอ ที (825:3.1)
               เปน คำ ห้าม, เมื่อ เหน เขา วิวาท กัน ฤๅ จะ ตี กัน เขา ร้อง ห้าม ว่า ฮ้า ฃอ ที เถิด.
      ฮ้า อย่า (825:3.2)
               เฮ้ย อย่า, เปน คำ ห้าม, เช่น คน เหน คน จะ วิวาท เถียง กัน, แล จะ ตี กัน ห้าม ว่า ฮ้า อย่า ทำ.
ฮึ หือ (825:4)
         เปน คำ คน ทำ สำเนียง เมื่อ ยิง ปืน ถูก เข้า เปน ต้น นั้น, เขา กล่าว ด้วย ดี ใจ นั้น.
ฮื ขึ้น (825:5)
         เหมือน ไฟ ลุก โพลง ขึ้น เขา ว่า เช่น นั้น.
ฮื ไม่ นา (825:6)
         เปน คำ ไม่ ให้ ไม่ ฟัง เปน ต้น, เขา ว่า ฮือ ไม่ ได้ นา ฮือ ไม่ นา เขา ว่า ด้วย รำคาน ใจ.
ฮื ฮา (825:7)
         เช่น คน มาก เหน สิ่ง ที่ เล่น สนุกนิ์ หัวเราะ อึง ขึ้น ฮือ ฮา นั้น.
ฮุ ๆ (825:8)
         เปน เสียง ดัง ฮุ ๆ เช่น สุนักข์ มัน เหน คน อื่น มา แปลก หน้า มัน ร้อง ฮุ ๆ เห่า นั้น.
เฮ (825:9)
         คือ เสียง ดัง เฮ เมื่อ คน ประชุม กัน มาก, ใน ที่ การ เล่น แล ร้อง เสียง เฮ นั้น.
      เฮ ล่า (825:9.1)
               เปน คำ คน มาก ลาก ไม้ ใหญ่, เขา คน หนึ่ง ร้อง ขึ้น ก่อน, ให้ คน อื่น มาก ร้อง รับ ว่า เฮลา, เพื่อ จะ ฉุด ลาก ให้ พร้อม กัน.
      เฮโล (825:9.2)
               เปน คำ คน มาก ลาก ไม้ ใหญ่ เช่น ว่า นั้น, เขา ว่า เฮ โล บ้าง.
      เฮ ฮา (825:9.3)
               คือ เสียง ดัง เฮ แล้ว ฮา ด้วย, คน ประชุม กัน มาก ใน ที่ เล่น เปน ต้น แล ร้อง เฮฮา นั้น.
แฮ (825:10)
         เฮ้ย, เปน คำ ขู่ คน ที่ ทำ การ ถูก เจ็บ ปวด, เปน ต้น ขึ้น ต้น ไม้ เล่น แล พลาด ตก ลง ไม่ สู้ เจ็บ, ลาง ที เปน คำ เพื่อน กัน เรียก จะ ให้ เหลียว บ้าง นั้น.
      แฮ ไม่ เข็ด ฤๅ (825:10.1)
               เปน คำ คน พูจ ด้วย โกรธ น่อย ๆ, เมื่อ เหน เด็ก ที่ ห้าม ไม่ ฟัง, มัน ขืน ทำ พลาด พลั้ง ถูก เจ็บ ปวด นั้น.
      แฮ สม น้ำ หน้า (825:10.2)
               เปน คำ เขา ว่า ด้วย ไม่ ปรานี, เมื่อ เหน คน ที่ ขืน ทำ ได้ ความ เจ็บ ปวด นั้น.
แฮ่ (825:11)
         เปน คำ คน เพื่อน กัน ร้อง เรียก กัน ว่า แฮ่.
      แฮ่ สะเด็จ (825:11.1)
               เปน คำ ตำรวจ ร้อง บอก คน ทั้ง ปวง เมื่อ เจ้า สะเด็จ ใกล้ เพื่อ จะ ให้ นั่ง ลง นั้น.
ไฮ (825:12)
         เปน คำ ขัด ผู้ อื่น, เช่น คน ทำ การ ผิด ฤๅ ฃอ ของ ที่ เขา จะ ไม่ ให้ เขา ว่า ไฮ นั้น.
      ไฮ ใม่ ชอบ (825:12.1)
               เปน คำ ห้าม ขัด คน ทำ การ ไม่ ดี, เขา เหน คน ทำ ไม่ ดี ห้าม ว่า ไฮ ไม่ ชอบ*.
โฮ (825:13)
         คือ เสียง ร้อง ไห้ ดัง โฮ ๆ, เช่น คน มี ความ ทุกข์ มี พรัด พราก จาก คน เปน ที่ รัก เปน ต้น, แล ร้อง ให้ ดัง โฮ ๆ นั้น.
เฮา (825:14)
         เปน คำ เขา พูจ สอน ช้าง ให้ มัน ซุด เท้า* ลง ต่ำ เพื่อ จะ ขึ้น บน ตัว มัน นั้น.
เฮ่า (825:15)
         จัด, คือ แก่ จัด, เช่น ผล มะพร้าว ที่ แก่ จัด เปลือก แห้ง คลอน น้ำ นั้น.
      เฮ่า แก่ (825:15.1)
               คือ แก่ จัด, เช่น ผล มะพร้าว ที่ แก่ จัด เปลือก แห้ง กับ ต้น นั้น.
      เฮ่า ก้ามปู (825:15.2)
               คือ แก่ ภอ ประมาณ ไม่ จัด นัก, เปลือก ยัง เขียว อยู่ เยื่อ ใน ยัง อ่อน เช่น เนื้อ ใน ก้ามปู นั้น.
      เฮ่า จัด (825:15.3)
               คือ ผล มะพร้าว แก่ เต็ม ที่ เปลือก แห้ง กับ ต้น จน หล่น ลง เอง นั้น.
      เฮ่า หาญ (825:15.4)
               คือ กล้า หาญ, คน ที่ องอาจ กล้า แกล้ว ไม่ ครั่น คร้าม ใน การ ณะรงค์ เปน ต้น นั้น.

--- Page 826 ---
ฮะ ๆ (826:1)
         เปน คำ คน กล่าว ห้าม กล่าว ทัด ทาน เปน ต้น ว่า ฮะ ๆ อยุด ก่อน นั้น.
ฮก (826:2)
         เปน ชื่อ คน เจ็ก เขา ชื่อ ฮก มี บ้าง, คน ไท แล ภาษา อื่น ไม่ สู้ ชื่อ.
ฮึก (826:3)
         กร้อ, คือ อาการ คน โอยก เอยก, ทำ สำแดง ความ กล้า หาญ เปน ต้น ว่า ทำ กิริยา นุ่ง ห่ม.
      ฮึก ก้อ (826:3.1)
               คือ อาการ คน เก่ง ดุร้าย ห้าว หาญ ไม่ กลัว ใคร, สำ แดง กีริยา แล้ว พูจ อวด ตัว ดี ด้วย.
      ฮึก ขึ้น (826:3.2)
               คำ พูจ ถึง คน ที่ ได้ ลาภ ได้ ยศ ศักดิ์ ใหม่ ๆ ฟื้น ตัว ขึ้น นั้น.
      ฮึก หนัก (826:3.3)
               กร้อ หนัก, คือ สำแดง อาการ กีริยา เก่ง กาจ ฉะ กรรจ นัก, แล พูจ อวด อ้าง สูง ศักดิ์ นัก นั้น.
      ฮึก ฮัก (826:3.4)
               กร้อ, คือ สำแดง อาการ กีริยา แขง แรง เหี้ยม ห้าว กล่าว วาจา ว่า กู ไม่ ยั่น ใคร.
ฮุก ๆ (826:4)
         คือ เสียง สุนักข์ มัน เหน คน มัน จะ เห่า คน ที่ เขา พึ่ง มา แปลก หน้า นั้น.
ฮูก (826:5)
         เปน ชื่อ นก อย่าง หนึ่ง, มัน เที่ยว หา กิน ใน เวลา กลาง คืน เพราะ ตา มัน เหน สนัด.
โฮก (826:6)
         คือ เสียง คน ราก ออก เสียง โฮก นั้น. อย่าง หนึ่ง ว่า คน พูจ เสียง โฮก ฮาก บ้าง.
      โฮก ฮาก (826:6.1)
               คือ เสียง คน พูจ ไม่ เรียบ ราบ, พูจ เสียง กระโชก กระชาก นั้น.
ฮ่าง (826:7)
         ทับ, คือ รูป ร้าน ที่ เขา ทำ ไว้ บน ต้น ไม้ เปน ต้น, เช่น จะ ยิง เสือ แล ทำ ร้าน ขึ้น บน ต้น ไม้ สูง นั้น.
      ฮ่าง ขาย ของ (826:7.1)
               คือ ตึก เปน ต้น ที่ เขา ไว้ สินค้า สำหรับ ขาย นั้น เปรียบ เหมือน ห้าง เช่น ว่า นั้น.
      ฮ่าง นา (826:7.2)
               ทับ นา, คือ รูป ร้าน เขา ทำ สี่ เสา สูง สัก สาม วา เสศ ที่ นา สำหรับ เฝ้า เข้า ใน นา นั้น.
      ฮ่าง สวน (826:7.3)
               ทับ สวน, คือ รูป ร้าน เขา ทำ บน ต้น ไม้ สูง สัก สาม วา สี่ วา ใน สวน สำหรับ เฝ้า ผล ไม้ นั้น.
ฮัด (826:8)
         คำ พูจ ถึง ช้าง ที่ มัน ตก มัน ใจ บ้า, มัน ดัน เสา ตะลุง จะ ออก ไล่ แทง คน นั้น.
ฮึด ฮัด (826:9)
         คำ พูจ ถึง คน โกรธ นัก แล ทำ ฮึดฮัด, เพื่อ จะ ประ- ทุษฐร้าย ผู้ อื่น นั้น.
ฮึด ฮือ (826:10)
         คำ พูจ ถึง คน ที่ ร่าน รน อยู่ จะ ทำ ร้าย คน อื่น ด้วย กำลัง โทโส นั้น.
ฮืด (826:11)
         คือ เสียง ดัง ฮืด, เหมือน เสียง ลม พยุ เปน ต้น นั้น.
ฮวด (826:12)
         เปน ชื่อ คน จีน ชื่อ เจ๊ก ฮวด มี บ้าง.
เฮย (826:13)
         เปน คำ คน ผู้ ใหญ่, ฤๅ คน มี ยศ ศักดิ์ ฤๅ คน เปน เพื่อน กัน ร้อง เรียก คน เด็ก, ฤๅ คน ต่ำ ศักดิ์, ฤๅ คน เพื่อน กัน มี บ้าง.
      เฮย มา นี่ (826:13.1)
               คำ เขา ร้อง เรียก คน ต่ำ ศักดิ์ เปน ต้น ให้ มา หา ตัว นั้น.
      เฮย เอง จะ ไป ไหน (826:13.2)
               เปน คำ เขา ร้อง ทัก คน ต่ำ ศักดิ์ ต่ำ อา ยุ แล เพื่อน กัน เช่น นั้น บ้าง
ฮาย (826:14)
         ไม่ นา, เปน คำ ห้าม กัน ไม่ ให้ ทำ ฤๅ ไม่ ให้ ไป เปน ต้น นั้น.
      ฮาย ขาย หน้า (826:14.1)
               ไม่ นา ขาย หน้า, เปน คำ ห้าม ว่า อย่า ทำ ขาย หน้า นั้น.
      ฮาย น่า อาย (826:14.2)
               ไม่ นา น่า อาย, เปน คำ ห้าม เช่น คำ ว่า อย่า ทำ เปน ต้น นั้น.
      ฮาย ไม่ ดี (826:14.3)
               ไม่ นา ไม่ ดี, เปน คำ ห้าม คำ ขัด, เหมือน คน ทำ การ ฤๅ พูจ ไม่ ดี, เขา ไม่ ชอบ ใจ แล กล่าว ห้าม ว่า ฮาย ไม่ ดี.
ฮ่าว (826:15)
         (dummy head added to facilitate searching).
      ฮ่าว หาญ (826:15.1)
               แกล้ว กล้า, คือ กล้า หาญ, คน ใจ กล้า แกล้ว องอาจ สามารถ, ไม่ กลัว เกรง ผู้ ใด, โดย การ รบ ตี แล ฟัน แทง.
      ฮ่าว เฮี่ยม (826:15.2)
               มุทะลุ มุมะ, คือ ใจ ทมิน มุ โมโห ดุ ร้าย, ไม่ ใคร่ มี เมตตา แก่ ผู้ ใด, ถึง ทุบ ตี ชก ต่อย ฟัน แทง เปน ต้น นั้น.
ฮิ่ว (826:16)
         คือ ถือ ของ อัน ใด ห้อย ไว้, เหมือน คน ได้ ของ มี ผล มะพร้าว เปน ต้น.
      ฮิ่ว ห่อ (826:16.1)
               คือ เอา มือ ถือ ของ ที่ ห่อ ห้อย ไป, เหมือน ห่อ ของ มี เข้า เปน ต้น.
ฮึย (826:17)
         เปน คำ เขา ร้อง ไล่ ควาย ว่า ฮึย ๆ เพื่อ จะ ให้ มัน เดิน ไป เร็ว ๆ นั้น.

--- Page 827 ---
ฮุย (827:1)
         คือ เกือบ จะ ถูก, เหมือน คน ทิ้ง ก้อน ดิน เปน ต้น, เพื่อ จะ ให้ ถูก ของ อัน ใด, แล เกือบ จะ ถูก เขา ร้อง ว่า ฮุย นั้น.
      ฮุย เฉียด (827:1.1)
               คือ เกือบ จะ ถูก เบียด สี ชิด ไป, เขา ทิ้ง คว่าง ก้อน ดิน เปน ต้น.
ฮุ้ย หุ่ย (827:2)
         คือ คำ พูจ เมื่อ เขา ทิ้ง คว่าง ก้อน ดิน เปน ต้น, ลอย ไป เกือบ จะ ถูก ของ ที่ หมาย จะ ให้ ถูก, แล มัน เฉียด ไป นั้น.
แฮ่ว (827:3)
         คือ ต้น เหมือน หญ้า มัน ขึ้น ที่ ทุ่ง นา, มี หัว เท่า หัว กะเทียม กิน มี รศ หวาน มัน.
      แฮ่ว กะต่าย (827:3.1)
               คือ ต้น แฮ่ว เช่น ว่า มัน เกิด ใน ทุ่ง นา, กะต่าย มัน ได้ อาไศรย กิน นั้น.
      แฮ่ว จีน (827:3.2)
               คือ ต้น แฮ่ว เช่น ว่า นั้น, แต่ ต้น มัน โต หัว ก็ ใหญ่ กว่า แฮ่ว ไทย, มี ที่ เมือง จีน นั้น.
      แฮ่ว ไทย (827:3.3)
               คือ ต้น แฮ่ว ไทย มิ ใช่ แฮ่ว จีน, บันดา แฮ่ว ที่ มิ ใช่ แฮ่ว จีน นั้น เปน แฮ่ว ไทย สิ้น.
      แฮ่ว ทรงกะเทียม (827:3.4)
               คือ ต้น แฮ่ว หัว มัน เหมือน หัว กะเทียม, หัว มัน กลม ไม่ แบน ไม่ รี นั้น.
      แฮ่ว หมู (827:3.5)
               คือ ต้น หญ้า แฮ่วหมู หัว มัน เล็ก ๆ มี กลิ่น เหม็น, รศ มัน ขม เขา ทำ อยา ได้.
โฮย (827:4)
         โวย, เปน คำ เขา ขาน เพื่อน กัน ว่า โฮย, คน เปน เพื่อน กัน เรียก กัน เขา ขาน เช่น นั้น.
      โฮย ทำไม (827:4.1)
               โวย ทำไม, เปน คำ ขาน ว่า โฮย, แล้ว ย้อน ถาม ว่า เรียก ทำไม นั้น.
      โฮย อยู่ นี่ (827:4.2)
               เปน คำ* ขาน ว่า โฮย, แล้ว บอก ว่า เรา อยู่ นี่ นั้น.
      โฮย ว่า กะไร (827:4.3)
               เปน คำ ขาน ก่อน, แล้ว ย้อน ถาม ว่า เรียก เรา ว่า กะไร นั้น.
      โฮย เอง มา ฤๅ (827:4.4)
               เปน คำ ขาน, แล้ว ย้อน ถาม เล่า ว่า เอง จะ มา ฤๅ นั้น.
ฮวยกัว (827:5)
         เปน ชื่อ ตัว หวย ที่ เจ๊ก เขียน เปน ชื่อ จีน ตาย แล้ว แต่ ก่อน, เอา ออก แขวน ทาย กัน นั้น.
ฮ่วย (827:6)
         ลำธาร, เปน ชื่อ ลำธาร น้ำ ใน ป่า, เปน คลอง ย่อม ๆ กว้าง สาม วา สี่ วา นั้น.
      ฮ่วย กะบอก (827:6.1)
               เปน ชื่อ เช่น ว่า, แต่ เขา เรียก ชื่อ ฮ่วย กะ บอก ตาม สังเกต นั้น.
      ฮ่วย กรด (827:6.2)
               เปน ชื่อ ฮ่วย, คน ให้ ชื่อ ฮ่วย ชื่อ ฮ่วย กรด ตาม สังเกต ภอ จะ ได้ เรียก.
      ฮ่วย ธาร (827:6.3)
               คือ ลำธาร เช่น ว่า แล้ว, แต่ เปน ลำคลอง ใหญ่ กว่า ลำธาร นั้น.
      ฮ่วย ละหาน (827:6.4)
               คือ ลำธาร ใหญ่ แล ยาว ไป มาก, เหมือน ลำ คลอง บึง บาง นั้น.
      ฮ่วย แห้ง (827:6.5)
               เปน ชื่อ ห้วย*, เขา เรียก ชื่อ ห้วย นั้น ว่า ห้วย แห้ง ภอ สังเกต เรียก.
เฮี่ย (827:7)
         เปน ชื่อ สัตว สี่ ท้าว มี หาง ยาว เหมือน จรเข้, แต่ ตัว ย่อม กว่า จรเข้.
      เฮี่ย ไข่ (827:7.1)
               คือ เฮี่ย มัน ไข่ มัน เหมือน จรเข้, แต่ ไข่ ลูก เล็ก กว่า ไข่ จรเข้.
เฮอ (827:8)
         คือ เรอ ออก จาก ปาก, เสียง คน ทำ ใน ฅอ ให้ มัน ออก มา จาก ปาก นั้น.
      เฮอ ลม (827:8.1)
               คือ เรอ ระบาย ลม ออก จาก ฅอ จาก ปาก, เสียง ดัง เฮอ ๆ นั้น.
เฮะ (827:9)
         เอะ, คือ เสียง ดัง เฮะ, เมื่อ คน จะ ยก ฤๅ จะ ลาก ไม้ ที่ หนัก ๆ มาก หลาย คน, เพื่อ จะ ให้ พร้อม กัน ร้อง ว่า เฮะ เปน ต้น.
      เฮะ หะ (827:9.1)
               เอะ อะ, คือ เสียง คน ร้อง, เมื่อ จะ ยก ฤๅ ลากไม้ ที่ หนัก, มี ไม้ ซุง เปน ต้น นั้น.
เฮาะ (827:10)
         คือ คน ไป ได้ ใน อากาศ ใน หนังสือ ว่า คน มี ฤทธิ์ เปน ฤๅษี มุนี ว่า ไป ได้ ใน อากาศ, ด้วย กำลัง ฤทธิ์ แห่ง ฌาน ว่า เฮาะ.
      เฮาะ เหิน (827:10.1)
               คือ เฮาะ ไป เช่น ว่า, แต่ ว่า ไป สูง, เพราะ ใส่ คำ เหิน เข้า.
ฮอ (827:11)
         เปน คำ ภาษา จีน, เจ๊ก พูจ ว่า ฮอ ๆ เปน ภาษา ไทย นั้น ว่า ดี.
ฮ่อ (827:12)
         คือ ไป เร็ว, เหมือน เขา ขี่ ม้า ปล่อย ให้ มัน วิ่ง ไป เร็ว เต็ม ที่ จน สิ้น ฝี ท้าว นั้น.
      ฮ่อ ม้า (827:12.1)
               คือ ปล่อย ให้ ม้า มัน วิ่ง เร็ว ไม่ ชัก บัง เหียน เลย, มัน วิ่ง ไป เต็ม กำลัง นั้น.

--- Page 828 ---
      ฮ่อ เลือด (828:12.2)
               คือ โลหิต ขัง อยู่ ไน ผิว หนัง, เหมือน คน ถูก เจ็บ เปน ต้น ว่า เขา ทุบ ตี, เลือด คั่ง อยู่ ที่ รอย ไม่ ออก มา ได้.
ฮ้อ (828:1)
         มี คำ พูจ อย่าง หนึ่ง ว่า อ๋อ ฮ้อ สม นั้ม หน้า, อ๋อ ฮ้อ สากะ ใจ, ใจ ความ ว่า เขา พูจ ด้วย โกรธ น่อย ๆ เพราะ ว่า ห้าม ผู้ นั้น ไม่ เชื่อ ฟัง.
ฮุ่ (828:2)
         คือ คน เอา ผ้า ฤๅ กะดาด, ทาบ เข้า ข้าง แล้ว ปะปิด เข้า ไว้. อย่าง หนึ่ง ของ เกิด เพราะ พระ ยะโฮวา สาบ สรรพ์ สร้าง เหมือน กาบ กล้วย ที่ มัน หุ้ม ต้น เปน ต้น นั้น.
ฮ่รรม (828:3)
         คือ เอา สาตรา มี มีด เปน ต้น ฟัน ลง หลาย หน เหมือน กับ สับ ซอย นั้น.
      ฮ่รรม กัน ลง (828:3.1)
               คือ สับ ฟัน กัน ลง หลาย ที, เหมือน สับ ซอย คือ คน ต่อ คน ฟัน กัน.
      ฮ่รรม หั่น (828:3.2)
               คือ สับ ฟัน แล้ว หั่น ลง, เหมือน คน ฟัน ลง หลาย ที ซ้ำ ๆ นั้น.
(828:4)
         
ฤกษ์ (828:5)
         คือ ฤกษ์ มี ยี่สิบ เจ็ด มี ฤกษ์ ชื่อ อะสะวะนี เปน ต้น, ฤกษ์ ชื่อ สัตตะพิศ เปน ที่ สุด นั้น.
ฤทธานุภาพ (828:6)
         คือ ฤทธิ์ เช่น ว่า แล อานุภาพ คือ สง่า แผ่ ออก จาก ตัว, คน กลัว เกรง นั้น.
ฤทธิ์ (828:7)
         คือ วิธี ที่ สำแดง การ ปลาด อรรษจรวิย์* ต่าง ๆ มี เหาะ ไป ใน อากาศ นั้น.
      ฤทธิ์ เดช (828:7.1)
               คือ วิธี ที่ ทำ ได้ ซึ่ง การ ปลาด อรรษจรริย์ ต่าง ๆ มี ทำ ของ น้อย ให้ มาก แล น้ำ จืด ให้ เปน เหล้า เข้ม นั้น.
ฤทสี่ดวง (828:8)
         เปน คำ เรียก ชื่อ โรค อย่าง หนึ่ง, เขา เรียก ว่า โรค ฤทสี่ ดวง นั้น.
      ฤทสี่ดวง งอก (828:8.1)
               คือ โรค ฤทสี่ดวง เกิด ขึ้น ใน รู ทวาร, มัน เปน หัว เล็ก ๆ ที่ ทวาร หนัก แล มัน ให้ แสบ คัน นั้น.
      ฤทสี่ดวง จมูก (828:8.2)
               คือ โรค ที่ มัน เกิด ใน รู จมูก, แล มัน เปื่อย ออก ไป จน เปน บุพโพ โลหิต ไหล ออก นั้น.
      ฤทสี่ดวง พลวก (828:8.3)
               คือ โรค ที่ มัน มัก ให้ ลง ท้อง แล้ว อยุด ไป บ้าง, อาจม เหม็น คาว นัก มัน มัก ให้ อยาก กิน ของ คาว ๆ
      ฤทสี่ดวง แห้ง (828:8.4)
               คือ โรค ที่ มัน ให้ ไอ แล กิน อาหาร ได้ น้อย, ปาก เสี้ยม ซูบ ผอม ไป จน ตาย นั้น.
ฤๅ (828:9)
         หนะ, เปน คำ ถาม วา จะ ไป ฦๅ, จะ กิน ฤๅ เปน ต้น, ฤๅ นี่ เปน ปลาย คำ พูจ ถาม ด้วย สงไสย นั้น.
ฤๅดี (828:10)
         แปล ว่า ยินดี, เช่น ชื่อ พระ ที่ นั่ง* ชื่อ ว่า ราช ฤๅดี, ว่า เปน ที่ ยินดี ของ พระยา
ฤๅษรี (828:11)
         ดาว บศ, คือ คน ถือ บวช พวก หนึ่ง, เขา ถือ ศีล ห้า แล เพียร ประฏี นัดิ จะ ให้ ได้ ฌาน สะมา บัติ นั้น.
(828:12)
         
ฦๅ (828:13)
         คือ ระบือ ข่าว ฤๅ ความ อัน ใด ๆ เปน ต้น ว่า การ ศึก สง คราม เปน ต้น นั้น.
      ฦๅ กะฉ่อน (828:13.1)
               คือ ฦๅ สะท้อน, คน ได้ ฟัง ความ ปัจจุบัน นะ เหตุ ที่ บังเกิด ขึ้น ใน เร็ว ๆ, พูจ เล่า ฦๅ สะท้อน เปน ต้น นั้น.
      ฦๅ กัน มา (828:13.2)
               คือ เขา เล่า ต่อ ๆ กัน มา อื้อ อึง, คน ได้* ยิน ความ อัน ใด แล พูจจา เล่า กัน ต่อ ๆ มา นั้น.
      ฦๅ ขะจร (828:13.3)
               คือ เล่า กัน ด้วย เสียง ดัง ๆ ไม่ ค่อย ซุบ ซิบ จึง เรียก ว่า ฦๅ.
      ฦๅ ข่าว (828:13.4)
               คือ เขา พูจจา เล่า ความ อัน ใด อัน หนึ่ง, ที่ เปน ปัจจุบันนะเหตุ บัง เกิด ขั้น นั้น.
      ฦๅ ชา (828:13.5)
               คำ ฦๅ นั้น อะธิบาย เช่น ว่า แล้ว, แต่ คำ ชา นั้น เปน คำ สร้อย.
      ฦๅ ดี (828:13.6)
               คือ คำ เล่า ความ ชอบ ของ คน ที่ มี ความ ชอบ, แต่ เขา พูจ อึง ๆ ดัง ๆ ไม่ ต้อง ซ่อน, ว่า คน นั้น เขา ดี เปน ต้น
      ฦๅ ทั่ว (828:13.7)
               คือ ความ เขา พูจ จา*บอก เล่า กัน ตลอด จบ เมือง จบ ประเทศ ต่าง ๆ นั้น.
      ฦๅ ไป (828:13.8)
               คือ ความ เกิด ขึ้น ที่ นี่, แล เขา พูจจา เล่า กัน ต่อ ๆ ไป.
      ฦๅ มา (828:13.9)
               คือ ความ เกิด ขึ้น ที่ อื่น เขา เล่า อื้อ อึง ตลอด มา จน ถึง ที่ เบา อยู่ นั้น.
      ฦๅ เล่า (828:13.10)
               คือ เล่า ระบือ ข่าว ปัจจุบันนะเหตุ ต่อ ๆ กัน นั้น ว่า ฦๅ เล่า กัน.
      ฦๅ ว่า (828:13.11)
               เปน คำ พูจ ว่า เขา ฦๅ ว่า, เขา ได้ ช้าง* เผือก เปน ต้น
      ฦๅ ออก อึง (828:13.12)
               คือ ฦๅ เล่า กัน อื้อ อึง คะนึง, เช่น มี ของ ประหลาด มี ช้าง เผือก เปน ต้น นั้น.